ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย: ความเห็นของ Fair Finance Thailand

Page 1

ภูมิทศั น์ใหม่ภาคการเงินไทย ความเห็นของแนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) เสนอ ธนาคารแห่งประเทศไทย

โดย แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) กุมภาพันธ์ 2565

1


แนวร่ว มการเงิน ที ่เ ป็ น ธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand, “แนวร่ว มฯ”) น าส่ง ความเห็ น และ ข้อเสนอแนะต่อแนวนโยบายดังระบุในเอกสาร “ภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย” ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)1 บางหัวข้อ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (แนวนโยบายที่ ธปท. ประกาศ แสดงเป็นตัวหนังสือในกรอบ)

1. ความเห็นต่อส่วนที่ 2: Leveraging on Technology and Data to Drive Innovation (1.1) เพิ่ม virtual bank เป็นผู้เล่นใหม่ เปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการทั้งรายใหม่และรายเดิมขอจัดตั้ งธนาคารพาณิชย์รูปแบบใหม่ ได้แก่ virtual bank เพื่อให้แข่งขันกั นพัฒนานวัตกรรมและบริ การทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริ การ และช่วยให้ SMEs และรายย่อยเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบอย่างเหมาะสม โดยไม่ก่อให้เกิดการผูกขาด เนื่องจากการ ดาเนินงานในรูปแบบ virtual bank จะคล่องตัวกว่าและมีค่าใช้จ่ายในการดาเนินงานต่ากว่าธนาคารพาณิชย์ แบบดั้งเดิม (traditional bank) ความเห็นของ Fair Finance Thailand แนวร่วมฯ สนับสนุนแนวนโยบายของ ธปท. ที่จะเพิ่ม virtual banks เป็นธนาคารพาณิชย์รูปแบบใหม่ รวมถึง แนวนโยบายโดยรวมที่อยากส่งเสริมให้สังคมไทยก้าวไปเป็น “สังคมไร้เงินสด” (cashless society) อย่างไรก็ดี ในเมื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ “สังคมไร้เงินสด” สุ่มเสี่ยงที่จะทิ้งประชาชนรายได้น้อยจ านวนมาก ที่เข้าไม่ถึง virtual bank หรื อ บริ ก าร Internet banking ไว้ ข ้ า งหลั ง อี ก ทั ้ ง ยั ง มี ค วามเสี ่ ย งที ่ ค นจะเข้ า ไม่ ถ ึ ง เงิ น (unavailability) หากเกิดอุบัติภัย อาทิ ไฟดับ น้าท่วม หรือเกิดข้อขัดข้องทางเทคนิคในระบบคอมพิวเตอร์ หากสาธารณูปโภคของเงินสดไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้ตลอดเวลา แนวร่วมฯ จึงเห็นว่า ธปท. ควรทาเรื่องนี้ ควบคู่ไปกับการสร้างหลักประกันว่า “เงินสด” จะยัง คงเป็นเงินตราหลักที่ใช้ได้ตามกฎหมาย สาธารณูปโภค ของเงินสดจะยังได้รับการดูแลรักษา และธนาคารดั้งเดิมทุกแห่งจะยังคงให้บริการรับฝาก-ถอน-แลก เงินสด ต่อไปในอนาคต ดังตัวอย่างแนวทางของธนาคารกลางสวีเดน (ดู Payments Report 2021, ธนาคารกลาง สวีเดน)2

1

เว็บไซต์ https://www.bot.or.th/landscape/en/ เข้ า ถึ ง ได้ จ าก https://www.riksbank.se/en-gb/payments--cash/payments-in-sweden/payments-report-2021/3.-the-riksbanks-work-andpolicy/the-position-of-cash-as-legal-tender-needs-strengthening/ 2

2


(2.3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกลไกการค้าประกันเครดิต พัฒนากลไกการค้าประกันเครดิตให้สามารถช่วยสนับสนุนความต้องการเงินทุนที่หลากหลายร่วมกับภาครัฐ ด้วยการจัดตั้ง General Credit Guarantee Facility (GCGF) เพื่อช่วยให้ธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs ในแต่ละช่วง ของวงจรธุรกิจ และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบในภาวะวิกฤต สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ดีขึ้น ความเห็นของ Fair Finance Thailand แนวร่วมฯ เห็นว่า ปัจจุบัน บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหน่วยงานภาครัฐซึ่งทา หน้าที่ค้าประกันเครดิตสาหรับ SMEs ตามพันธกิจหลักอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดๆ ที่รัฐจะจัดตั้ง GCGF ขึ้นมาเป็นหน่วยงานรัฐแห่งใหม่ เนื่องจากหน่วยงานนี้มีแนวโน้มที่จะทาหน้าที่ซ้าซ้อน หรือแข่งขันกับ บสย. สิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ แต่ควรใช้แนวทางปรับปรุงและแก้กฎหมาย บสย. เดิม ให้มีความคล่องตัว สามารถขยายขอบเขตการให้บริการ และเพิ่มความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพการดาเนินงานได้ดีขึ้น จนตอบ โจทย์ GCGF ได้ตามความมุ่งหมายของ ธปท. นอกจากนี้ อุปสรรคสาคัญในการเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs คือ การไม่สามารถใช้สินทรัพย์บางอย่างขององค์กร เช่น ลูกหนี้การค้า เป็นหลักประกันสินเชื่อได้อย่างสะดวกและมีต้นทุนต่า แนวร่วมฯ จึงเห็นว่า สิ่งที่ ธปท. ควร ผลักดันควบคู่ไปกับ GCCF คือ การจัดตั้งทะเบียนหลักประกั นแห่งชาติ (National Collateral Registry: NCR) โดยอาจผลักดันร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ จากเอกสารของแนวร่วมฯ เรื่อง “ผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ สถานการณ์และความต้องการของลูกหนี้รายย่อย ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19”3 (กันยายน 2564) – [NCR] เป็นนวัตกรรมทางการเงินที่ยังไม่เคยใช้ในประเทศไทย บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) ในเครือ ธนาคารโลก (World Bank) ส่งเสริมมานานนับทศวรรษ ทะเบียนนี้เป็นระบบซอฟต์แวร์บนเว็บไซต์ ปกติ เจ้าภาพจะเป็นธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ ใช้เพื่อบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ (สินทรัพย์ที่ เคลื่อนย้ายได้ อาทิ วัว ควาย คอมพิวเตอร์ รถไถ ฯลฯ) ที่ใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน ให้กับเจ้าหนี้ ซอฟต์แวร์ของระบบทะเบียนจะกาหนดหมายเลขทะเบียน วันเวลาที่เจ้าหนี้ยื่นจดทะเบียน รายการทางการเงิน (financial statement) ที่ระบุสิทธิในทรัพย์สินนั้นๆ โดยอัตโนมัติ ลาดับความสาคัญของ เจ้าหนี้ที่อ้างสิทธิในหลักประกันเดียวกันจะถูกจัดตามวันเวลาที่บันทึกไว้ เจ้าหนี้ที่ลงทะเบียนก่อนมีสิทธิ เหนือกว่า

3

เข้ า ถึ งได้ จาก https://fairdebtthailand.org/2021/09/14/results-of-research-on-the-situation-and-needs-of-retail-debtors-affected-by-covid-

19/

3


ระบบนี้ปัจจุบันหลายประเทศใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain) รับรองความปลอดภัยและความ ‘แท้’ (authentic) ของข้อมูล ด้วยความที่ระบบนี้อยู่บนเว็บฯ ใครๆ ก็เข้าถึงได้จากออนไลน์โดยไม่ต้องเสียเวลา เดินทางไปจดทะเบียน ทุกฝ่ายจึงประหยัดเวลาและทรัพยากรได้มาก และความที่สินทรัพย์แทบทุกชนิด สามารถนามาจดทะเบียนได้ ระบบนี้จึงจะช่วยขยายโอกาสได้อย่างมหาศาลในการเข้าถึงสินเชื่อสาหรับ SMEs ในเมื่อประเทศไทยมี ‘กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ’ (บังคับใช้ปี พ.ศ. 2559) อนุญาตให้นาสังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้อง ทรัพย์สินทางปัญหา และทรัพย์สินอื่นๆ มาเป็นหลักประกันเงินกู้ การจัดตั้งทะเบียนหลักประกัน แห่งชาติก็นับเป็น ‘ขั้นตอนถัดไป’ ที่ควรทาอยู่แล้วในภาวะปกติ เพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงเงินกู้และลดต้นทุน ของการให้บริการแก่ SMEs

2. ความเห็นต่อส่วนที่ 3: Managing Transition towards Sustainability (1.1) จากัดนิยามกิจกรรมทางเศรษฐกิจสีเขียว ผลักดันให้มีการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจสีเขียวตามนิยามเดียวกัน (taxonomy) เพื่อให้สามารถจาแนก และจัดสรรเงินทุนไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ให้ความสาคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อม รวมถึงธุรกิจที่อยู่ระหว่าง การปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่านได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของไทย (Thai Taxonomy) โดยจะ เริ่มจากภาคอุตสาหกรรมที่ต้องปรับตัวมากในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อุตสาหกรรมที่มีปริมาณการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกสูง ทั้งนี้ กรอบการจัดทา Thai Taxonomy จะสอดคล้องกับมาตรฐานในระดับภูมิภาค (ASEAN Taxonomy) และมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล (เช่น EU Taxonomy และ Climate Bonds Taxonomy) ความเห็นของ Fair Finance Thailand แนวร่วมฯ เห็นด้วยกับแนวนโยบายของ ธปท. ที่จะผลักดันการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจเขียวให้มีนิยาม เดียวกัน (Thai Taxonomy) และเห็นด้วยที่กรอบการจัดทา Thai Taxonomy ดังกล่าว จะสอดคล้องกับ มาตรฐานในระดับภูมิภาคและมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่ง ธปท. ได้อ้างอิง ASEAN Taxonomy4 และ EU Taxonomy5 เป็นมาตรฐานระดับภูมิภาคและมาตรฐานสากลตามลาดับ

4 5

Version 1 เข้าถึงได้จาก https://asean.org/book/asean-taxonomy-for-sustainable-finance/ เข้าถึงได้จาก https://ec.europa.eu/info/business-economy-euro/banking-and-finance/sustainable-finance/eu-taxonomy-sustainable-

activities_en

4


อย่างไรก็ดี เนื่องจาก taxonomy ของแต่ละประเทศหรือภูมิภาค มีความสุ่มเสี่ยงที่จะถูกใช้ในการ “ฟอกเขียว” (greenwash) กิจกรรมที่ “ไม่เขียว” และหลักเกณฑ์อาจไม่ครอบคลุมความเสี่ยงหรือผลกระทบทุกด้านอย่าง เพียงพอ แนวร่วมฯ จึงมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ 1. Thai Taxonomy ควรอ้างอิงข้อตกลงระหว่างประเทศ มาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชน และใช้กบั โครงการหรือธุรกิจของบริษัทไทยทีล่ งทุนข้ามพรมแดนด้วย ASEAN Taxonomy (Version 1) ระบุว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะใช้นิยาม “ยั่งยืน” ได้ หากกิจกรรมนั้นๆ มี ส่วนบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างน้อย 1 ใน 4 เป้าหมายต่อไปนี้ – การบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ (climate change mitigation), การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change adaptation), การปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ (protection of healthy ecosystem and biodiversity) และการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างยืดหยุ่นและเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจ หมุนเวียน (promotion of resource resilience and the transition to a circular economy) นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังต้องเข้าเกณฑ์สาคัญ (essential criteria) อีกสองประการ ได้แก่ การไม่ส่งผลกระทบอย่าง มีนัยสาคัญ (DNSH: do no significant harm) ต่อเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมอื่น หรือสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง และการบรรเทาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจะต้องมีมาตรการหลีกเลี่ยงหรือลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด

อย่างไรก็ดี เกณฑ์สาคัญทั้งเรื่อง “การไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสาคัญ” และ “การหลีกเลี่ยงหรือลดความ เสี่ยง” ใน ASEAN Taxonomy นั้น แตกต่างจากเกณฑ์ใน EU Taxonomy อย่างมีนัยสาคัญ ตรงที่ ASEAN Taxonomy อ้างอิงเพียงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และมาตรการทางกฎหมายในแต่ละประเทศสาหรับการ 5


จัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) ในขณะที่ EU Taxonomy ระบุว่า การบรรเทาความเสี่ยงและผลกระทบจะต้องปฏิบัติตาม กฎหมายและมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชน และสรุปว่า การวาง “หลักประกันทางสังคม” หรือ social safeguards (จากการปฏิบัติอย่างสอดคล้องกับมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชนดังกล่าว) ควรเป็น “เงื่อนไข” ก่อนที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจใดๆ จะได้ชื่อว่า มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (environmentally sustainable) เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังเผชิญกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายประการที่เกิดในบริบทของการ ดาเนินธุรกิจ ผ่านหลากหลายกิจกรรม อาทิ ขบวนการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานทาสสมัยใหม่ การแย่งน้ากับ ชุมชน การโยกย้ายถิ่นฐานโดยไม่สมัครใจ เป็นต้น ซึ่งการละเมิดสิทธิเหล่านี้หลายกรณีมีความเกี่ยวโยงกับ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการหรือการประกอบการของธุรกิจ อีกทั้งรัฐบาลไทยก็ได้ประกาศใช้ แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Rights - NAP) ระยะที่ 1 (ปี 2562 - 2565) แนวร่วมฯ จึงเสนอว่า Thai Taxonomy ควรระบุให้การสร้างและรักษา “หลักประกันทางสังคม” (social safeguards) เป็นเงื่อนไขหลักในการนิยามกิจกรรมที่ยั่งยืนด้วย โดยต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิ มนุษยชนระหว่างประเทศ อาทิ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทาง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights ICESCR), กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPPR) และมาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชน อาทิ หลักการชี้แนะของ สหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ตามแนวทางของ EU Taxonomy หรือ ร่าง taxonomy ของ สิงคโปร์ และ มาเลเซีย สองประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้มีการจัดทาและเผยแพร่ร่าง taxonomy ไปแล้วก่อน หน้านี้ นอกจากนี้ เนื่องจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายประการ เกิดขึ้นในบริบทของการลงทุนข้ามพรมแดนของ บริษัทไทย โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้าน แนวร่วมฯ จึงเสนอว่า Thai Taxonomy ควรใช้กับกิจกรรมทาง เศรษฐกิจของบริษัทไทยที่ไปลงทุนข้ามพรมแดนด้วย 2. Thai Taxonomy ควรสอดคล้องกับเป้าหมาย Net Zero ของไทย และส่งเสริมเป้าหมาย Net Zero ที่ ทะเยอทะยานกว่าในปัจจุบนั Thai Taxonomy จะเป็นเครื่องมือที่สาคัญอย่างยิ่งในการกระตุ้นการลงทุนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม บรรเทาหรือปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกระตุ้นการลงทุนในการเปลี่ยน ผ่านไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น การเปลี่ยนการลงทุนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นพลังงานหมุนเวียน

6


อย่างไรก็ดี ในเมื่อเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของประเทศไทยยังค่อนข้าง “อ่อน” เมื่อเทียบกับนานาประเทศ (เช่น ปีเป้าหมายของไทยคือ ค.ศ. 2065 ไม่ใช่ 2050) และยังมีข้อท้วงติง จากหลายภาคส่วนว่า ตั้งอยู่บนสมมุติฐานการพยากรณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีเกินจริง6 แนวร่วมฯ จึงเห็น ว่า เนื้อหาของ Thai Taxonomy นอกจากจะควรสอดคล้องกับเป้าหมาย Net Zero ในปัจจุบันแล้ว ยังควรที่ จะส่งเสริมการขับเคลื่อนไปสู่เป้า Net Zero ที่ทะเยอทะยานกว่าในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ควรระบุชัดเจนว่า ไม่สนับสนุนโครงการที่ผลิตหรือใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทุกชนิด ทั้งถ่านหิน น้ามัน ตลอดจนก๊าซธรรมชาติ รวมก๊าซ ธรรมชาติเหลวหรือ LNG อนึ่ง การรวมก๊าซธรรมชาติเข้ามาใน taxonomy ระดับชาติ ปัจจุบันเป็นประเด็นใหญ่ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันอย่าง ร้อนแรงใน EU และหลายประเทศนอก EU นักสิ่งแวดล้อมและองค์กรภาคประชาสังคมจานวนมากมองว่า การ ยอมรับก๊าซธรรมชาติในนิยามโครงการเปลี่ยนผ่าน (transition สู่เศรษฐกิจหมุนเวียน) นั้น สุ่มเสี่ยงที่จะเป็นการ “ฟอกเขียว” และทาให้ประเทศนั้นๆ อาจไม่บรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้ – ดูตัวอย่างตารางสรุปสถานะของ โครงการผลิตก๊าซธรรมชาติด้านล่าง จากรายงาน “Asian Hopes for Sustainable Finance Will Rest on More Credible Taxonomies” โดย Institute for Energy Economics and Financial Analysis7

3. ธปท. ควรเปิดให้ภาคประชาสังคมมีสว่ นร่วมในการออกแบบ และให้ขอ้ เสนอแนะต่อ Thai Taxonomy เนื่องจาก Thai Taxonomy จะเป็นมาตรฐานหลักในการระดมทุนสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และกีดกันกิจกรรมที่ทาลายสิ่งแวดล้อม แนวร่วมฯ เห็นว่า ธปท. ควรเชิญองค์กรภาคประชาสังคมที่มีความ

6

ดูตัวอย่างข้อท้วงติงใน สฤณี อาชวานันทกุล, “Net Zero, COP26 กับการพิสูจน์ ‘ความจริงใจ’ ของรัฐบาล,” 7 พฤศจิกายน 2564, เข้าถึงได้จาก https://www.greenpeace.org/thailand/story/20621/climate-renewable-energy-thailand-net-zero-emission-plan/ 7 เข้าถึงได้จาก https://ieefa.org/ieefa-accepting-gas-power-plants-as-sustainable-investments-in-asian-taxonomies-heightens-greenwash-risk/

7


เชี่ยวชาญด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เข้ามามีส่วนร่วมกับกระบวนการออกแบบ Thai Taxonomy โดยเฉพาะ การให้ข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับระดับความเสี่ยงและผลกระทบของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ดาเนินอยู่ใน ประเทศไทย และ/หรือโดยบริษัทไทยในต่างแดน เพื่อให้เนื้อหาใน Thai Taxonomy สอดคล้องกับบริบทของ ประเทศไทยอย่างแท้จริง แนวร่วมฯ ขอยกตัวอย่างสองกรณีต่อไปนี้เพื่อชี้ให้เห็นประโยชน์จากการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ในการ ออกแบบ Thai Taxonomy -1. เอกสาร ASEAN Taxonomy อ้างอิงการปฏิบัติตามกฎหมาย รายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) ในแต่ละประเทศ เป็นมาตรฐานที่ยอมรับได้ในการผ่านเกณฑ์ ความยั่งยืนตาม Taxonomy แต่ในประเทศไทย กฎหมาย EIA ยังมีปัญหามาก อาทิ การที่เอกชนเจ้าของ โครงการหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนไม่จัดทารายงาน EIA ปัญหาการจัดทารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ เป็นเท็จ หรือปัญหาความไม่น่าเชื่อถือของคุณภาพรายงาน EIA ซึ่งนาไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับ หน่วยงานเจ้าของโครงการ เป็นต้น ดังนั้น Thai Taxonomy จึงไม่อาจอ้างอิงกฎหมาย EIA เป็นมาตรฐานที่ เพียงพอในการผ่านเกณฑ์ความยั่งยืนได้ ในประเด็นนี้ การมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคมไทย จะช่วยใน กระบวนการออกแบบ Thai Taxonomy ว่า เกณฑ์ความยั่งยืนที่เพียงพอควรเป็นอย่างไร และอะไรคือกลไก การติดตามตรวจสอบที่เหมาะสม 2. การมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคมไทย จะช่วยให้ข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับลักษณะธุรกิจและโครงการที่ไม่ ควรสนับสนุน หรือเข้าข่าย “ต้องห้าม” ใน Thai Taxonomy ยกตัวอย่างเช่น แนวร่วมฯ และองค์กรภาค ประชาสังคมและบุคคลต่างๆ รวม 32 คนและองค์กร ได้เคยออกแถลงการณ์ เรื่อง “เรียกร้องความรับผิดชอบ ของธนาคารเจ้าหนี้ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้าไซยะบุรี”8 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เนื่องจากโครงการ ดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างใหญ่หลวง โดยหนึ่งในข้อเสนอต่อธนาคารเจ้าหนี้ คือ “ประกาศว่าจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินใดๆ แก่โครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้าที่สร้างในแม่น้าสายหลัก (mainstem) ของลุ่มน้าโขงตอนล่าง ที่มีแผนจะก่อสร้างในอนาคต (exclusion list) อย่างน้อยเป็นเวลา 10 ปี ตามข้อเสนอของผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าของคณะกรรมการแม่น้าโขง” ดังนั้น แนว ร่วมฯ จึงประสงค์ที่จะเห็นข้อเสนอดังกล่าว สะท้อนอยู่ในรายการต้องห้ามสาหรับการสนับสนุนทางการเงิน (exclusion list) ของ Thai Taxonomy เช่นกัน

8

เข้าถึงได้จาก https://fairfinancethailand.org/news/2019/fair-finance-thailand-statement-on-the-responsibility-of-bank-for-xayaburihydropower-plant-project/

8


(1.2) กาหนดมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล กาหนดมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงิน (disclosure) เพื่อให้สถาบันการเงินแสดงความมุ่งมั่น และดาเนินการด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับมาตรฐานสาสกล เช่น มาตรฐานการเปิดเผย ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศที่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของ Task Force on Climaterelated Financial Disclosures (TCFD) รวมถึงร่วมมือกับหน่วยงานกากับดูแลที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดัน มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลในภาคการเงินอื่นและภาคธุรกิจ เพื่อยกระดับข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของไทย นอกจากนี้ จะพิจารณาความเป็นไปได้ในการผลักดันให้เกิดฐานข้อมูลหรือ data platform ที่เอื้อให้เกิดการ เชื่อมหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จาเป็นในการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง รวมถึงโอกาสด้านสิ่งแวดล้อม ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและนอกภาคการเงิน ความเห็นของ Fair Finance Thailand แนวร่วมฯ เห็นด้วยกับแนวนโยบายดังกล่าวของ ธปท. และขอเสนอเพิ่มเติมว่า ธปท. ควรประกาศให้สถาบัน การเงินใต้กากับ เปิดเผยข้อมูลตามเกณฑ์ความโปร่งใสของ Fair Finance Guide International ดังต่อไปนี้ต่อ ธปท. และในรายงานประจาปีของธนาคารทุกปี เพื่อสร้างแรงจูงใจเชิงบวกให้สถาบันการเงินต่างๆ เร่งจัดการ และลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการปล่อยสินเชื่อของตนเองได้ดียิ่งขึ้น - ข้อมูลพอร์ตสินเชื่อตามภูมิภาค ขนาด และอุตสาหกรรม ตามมาตรฐาน GRI FSSD FS6 - รายงานสรุปการปรึกษาหารือกับองค์กรภาคประชาสังคมและผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่นๆ - ชือ่ สินเชื่อโครงการ (project finance) ที่ธนาคารปล่อยกู้รายปี รวมถึงข้อมูลที่กาหนดในมาตรฐานอี เควเตอร์ (Equator Principles III) (2.1) ยกระดับความรูท้ างการเงิน ยกระดับการให้ความรู้และทักษะทางการเงินและการเงินดิจิทัล (financial/digital literacy) ที่จะนาไปสู่การ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางการเงิน และช่วยให้ประชาชนเท่าทันพัฒนาการของเทคโนโลยี และภัยทางการเงิน รูปแบบใหม่ ความเห็นของ Fair Finance Thailand แนวร่วมฯ เห็นด้วยกับแนวนโยบายของ ธปท. แต่เสนอเพิ่มเติมว่า ธปท. ควรบัญญัติให้การให้ความรู้ทางการ เงิน และการแจกแจงเงื่อนไขทางการเงินด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นส่วนหนึ่งของกฎเกณฑ์ด้านการให้บริการ แก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม (market conduct) ของ ธปท. เช่น กาหนดให้พนักงานของผู้ให้บริการทางการเงิน 9


ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารหนี้ ณ จุดที่ลูกค้ามาเปิดบัตรเครดิตหรือยื่นคาขอสินเชื่อ (รวมถึงในแพล็ต ฟอร์มออนไลน์ด้วย) ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันการเงินมองว่า การให้ความรู้ทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินของตน เป็นหัวใจของการแสดง “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ไม่ใช่การจัดโครงการให้ ความรู้ทางการเงินแบบ CSR after-process นอกบริบทการดาเนินธุรกิจ (2.2) ส่งเสริมการให้สนิ เชือ่ อย่างรับผิดชอบ ผลักดันการให้สินเชื่อแก่รายย่อยอย่างเหมาะสมกับความสามารถของลูกค้าเพื่อดูแลไม่ให้ลูกค้าก่อหนี้จนเกิน ตัว โดยกากับดูแลให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อยภายใต้การกากับของ ธปท. พิจารณาให้ สินเชื่อแก่รายย่อย โดยให้ความสาคัญกับการที่ลูกค้ามีเงินเหลือหลังหักชาระหนี้ทั้งหมดเพียงพอดารงชีพและ ไม่ก่อหนี้จนเกินตัว ความเห็นของ Fair Finance Thailand แนวร่วมฯ เห็นด้วยกับแนวนโยบายของ ธปท. แต่เห็นว่า ธปท. ควรผลักดันการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตาม หลักความเป็นธรรม เพื่อให้ผู้ให้บริการทางการเงินทุกรายทุกประเภทปฏิบัติตามมาตรฐาน “หนี้ที่เป็นธรรม” ชุดเดียวกัน และไม่เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ให้บริการ โดยอาจศึกษากฎหมายทานองนี้จาก ต่างประเทศเป็นแนวทาง เช่น กฎหมายระดับรัฐบาลกลางอเมริกา (federal law) ที่ห้ามหักค่าจ้างจากบัญชี เงินเดือนไปชาระหนี้ (wage garnishment) เกินร้อยละ 25 ของรายได้สุทธิ หรือส่วนต่างระหว่างรายได้กับ 30 เท่าของค่าแรงขั้นต่า แล้วแต่กรณีใดน้อยกว่า (2.3) ผลักดันการแก้หนี้แบบครบวงจร ผลักดันกลไกการแก้หนี้ครัวเรือนอย่างครบวงจรสาหรับครัวเรือนที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ให้สามารถปรับตัวและไป ต่อได้ในระยะยาวโดยไม่กลับมามีหนี้สินล้นพ้นตัวอีก โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทาแผนการแก้ไข ปัญหาหนี้สินของครัวเรือนที่มีหนี้ล้นพ้นตัว กับผู้ให้บริการหรือหน่วยงานอื่นอย่างยั่งยืน เช่น หนี้สหกรณ์ หนี้ ข้าราชการ และหนี้กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นต้น ซึ่งรวมถึงการออกแบบแผนการชาระคืนหนี้ที่ สอดคล้องกับความสามารถในการชาระหนี้ของลูกหนี้ในระยะยาว โดยต้องมีเงินเหลือหลังหักชาระหนี้เพียงพอ ดารงชีพ การปรับปรุงเกณฑ์หรือเงื่อนไขการให้กู้ยืมเพื่อช่วยลดภาระในการผ่อนหนี้และเป็นธรรมกับผู้กู้มากขึ้น เช่น การปรับลาดับการตัดชาระหนี้โดยตัดเงินต้นก่อน เป็นต้น และการกาหนดเงื่อนไขที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้กู้ จ่ายคืนหนี้อย่างต่อเนื่องและปิดหนี้ได้เร็วขึ้น เช่น ลดเงินต้นสาหรับผู้กู้ที่มีประวัติการชาระดี

10


ความเห็นของ Fair Finance Thailand แนวร่วมฯ เห็นด้วยกับการผลักดันการแก้หนี้แบบครบวงจร แต่เห็นว่า การผลักดันของ ธปท. ในเรื่องนี้ ควร เน้นไปที่การสร้างกลไก “เชิงโครงสร้าง” มากกว่าการจัดทามาตรการแก้หนี้เฉพาะหน้า เช่น การออกแบบ แผนการชาระคืนหนี้ แนวร่วมฯ เห็นว่า ธปท. ควรผลักดันกลไกเชิงโครงสร้างสาหรับการแก้ปัญหาหนี้สองประการ ได้แก่ การจัดตั้ง กลไกไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการแก้กฎหมายล้มละลาย เปิดช่องให้บุคคลธรรมดายื่นฟื้นฟูหนี้สิน และ/หรือ ล้มละลายโดยสมัครใจ (เนื้อหาด้านล่างบางส่วนมาจากเอกสารของแนวร่วมฯ เรื่อง “ผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ สถานการณ์และความ ต้องการของลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19”9 (กันยายน 2564) – 1. การจัดตัง้ กลไกไกล่เกลีย่ ข้อพิพาทนอกศาล (Alternative Dispute Resolution: ADRs) ด้วยเหตุที่ลูกหนี้ส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์ในการเจรจากับเจ้าหนี้ ลูกหนี้จึงตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการ เจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ และเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น เจ้าหนี้ก็ขาดแรงจูงใจในการเข้าร่วมกระบวนการ ไกล่เกลี่ย เนื่องจากรู้ดีว่าสุดท้ายสามารถสั่งฟ้องลูกหนี้ในคดีล้มละลายได้ ในขณะที่ลูกหนี้ไม่มีสิทธิริเริ่ม กระบวนการฟื้นฟู/ล้มละลายด้วยตัวเองแต่อย่างใด เนื่องจากไทยยังไม่มีกฎหมายล้มละลายส่วนบุคคล (ดู หัวข้อถัดไป) ในระยะสั้น ธปท. สามารถรับบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยชั่วคราว (ดังที่ ธปท. ได้ก่อตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยและจัดทา ข้อตกลงร่วมกับศาลมาแล้ว) แต่กลไกเช่นนี้มิใช่กลไกที่ยั่งยืนในระยะยาว แนวร่วมฯ เห็นว่า ธปท. ควรผลักดัน กลไกไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution: ADR) หลายรูปแบบ ซึ่งเป็นที่นิยมใน หลายประเทศ เนื่องจากเป็นวิธีการที่ช่วยยกระดับกระบวนการการให้การคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินในด้าน การเยียวยาจากข้อพิพาทโดยการหาคนกลางที่มีความน่าเชื่อถือ (third party) มาท าหน้าที่ไกล่เกลี่ยและ ตัดสินข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ใช้บริการและสถาบันการเงิน โดยจากการสารวจของธนาคารโลกเกี่ยวกับ โครงสร้างของ ADR ทางการเงินทั่วโลกพบว่ากว่าร้อยละ 70 มีสถานะเป็นหน่วยงานอิสระภายใต้หน่วยงาน กากับดูแลคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน (ร้อยละ 46) และเป็นองค์กรอิสระภายใต้กฎหมายโดยที่ต้องรายงาน ตรงต่อรัฐสภาหรือรัฐบาล (ร้อยละ 22) นอกจากนั้น ADR ในบางประเทศใช้โครงสร้างอันเกิดจากการสนับสนุน ด้านทรัพยากรจากอุตสาหกรรมการเงินเอง (industry-based ADR) โดยหลักการ ADR ทางการเงินส่วนใหญ่จะมีกระบวนการไกล่เกลี่ยตามแนวทางที่ช่วยให้ “ผู้ยื่นคาร้อง” (ในที่นี้ คือผู้ใช้บริการทางการเงิน) สามารถดาเนินการเพื่อบรรลุข้อตกลงในการเจรจาต่อรองกับคู่กรณี (ในที่นี้คือ สถาบันการเงิน) โดยหวังผลให้ได้ข้อตกลงร่วมกัน (negotiated settlement) กระบวนการเช่นนี้มีภาษาเรียก 9

เข้ า ถึ งได้ จาก https://fairdebtthailand.org/2021/09/14/results-of-research-on-the-situation-and-needs-of-retail-debtors-affected-by-covid-

19/

11


ทางกฎหมายว่า “mediation” ซึ่งจะแตกต่างจากกระบวนการ ADR ที่ใช้ในวงการทั่วไปที่มักใช้กระบวนการ แบบ “arbitration” ที่เน้นหาข้อสรุปที่มีผลทางกฎหมายเป็นสาคัญ ประโยชน์ของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางจะลดช่องว่างทางการกากับดูแล โดยการเพิ่มศักยภาพแก่ผู้ใช้บริการ ด้วยการสร้างกระบวนการที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และช่วยลดต้นทุนในการตัดสินข้อพิพาททางการเงินอย่าง มีนัยสาคัญ ดังนั้นจึงเริ่มเป็นที่นิยมในหลายประเทศ แต่ยังไม่มีการดาเนินการในประเทศไทย สาหรับโครงสร้างของกลไก ADR ในประเทศไทย ธปท. สามารถพิจารณาจากหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ (1) หน่วยงานอิสระ (2) องค์กรอิสระภายใต้ภาครัฐ (3) องค์กรจัดตั้งโดยสมาพันธ์วิชาชีพ และ (4) หน่วยงาน ภายใต้องค์กรที่ดูแลคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน ดังตัวอย่างจากต่างประเทศในตารางต่อไปนี้

12


2. การปรับปรุงกฎหมายล้มละลายสาหรับลูกหนี้บุคคลธรรมดา คดีล้มละลายในปัจจุบันส่วนใหญ่จะฟ้องโดยเจ้าหนี้สถาบันการเงินที่ฟ้องลูกหนี้ประเภทบุคคลธรรมดา ถ้า ปรากฏว่าลูกหนี้มีมูลหนี้ไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท (ขั้นต่าตามกฎหมาย) โดยมูลหนี้ที่ฟ้องมักจะเกิดจากการซื้อ บ้าน เช่าซื้อรถยนต์ หรือบัตรเครดิต ซึ่งเป็นหนี้ในการใช้ชีวิตประจาวันแทบทั้งสิ้น กฎหมายล้มละลายจึงถูกใช้ เพื่อการบังคับข่มขู่ลูกหนี้ หรือใช้ ไปในทางการจาหน่ายหนี้สูญ หรือเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมในการฟ้อง บังคับคดีแพ่ง เป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้โดยไม่ได้มองถึงผลกระทบที่จะเกิดแก่บุคคลธรรมดา เช่น เกษตรกรรายย่อย ข้าราชการ ผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้างซึ่งไม่ได้ประกอบธุรกิจแต่อย่างใด โดยเฉพาะในกรณีที่ลูกหนี้ เป็นข้าราชการ เมื่อล้มละลายก็ต้องถูกให้ออกจากราชการ ซึ่งไม่เป็นประโยชน์กับเจ้าหนี้เองด้วย เพราะเมื่อ ข้าราชการถูกให้ออกแล้วย่อมไม่ได้รับเงินเดือน บาเหน็จ บานาญ และเงินสะสม ส่งผลให้ข้าราชการหรือบุคคล ธรรมดาที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจอาจถึงกับหมดหนทางในการชาระหนี้ เกิดปัญหากับชีวิตและครอบครัวตามมา ซา้ เติมภาวะหนีเ้ กินตัวให้เลวร้ายลงกว่าเดิม นอกจากนั้น เมื่อใกล้ครบระยะเวลาบังคับคดี เจ้าหนี้ผู้รับจานองซึ่งได้รับชาระหนี้จากการบังคับจานองแล้ว มี แรงจูงใจที่จะนาหนี้ส่วนที่เหลือและดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจนเกินหนึ่งล้านบาท มาฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย เพื่อ บังคับเอาแก่ลูกหนี้ที่ไม่มีแม้ที่อยู่อาศัย แม้ว่ากฎหมายล้มละลายจะมีหลักการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ที่ เปิดโอกาสให้ลูกหนี้เจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ก่อนที่ศาลจะมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ทว่ากฎหมายก็ ยังช่วยเหลือเจ้าหนี้ในการพิจารณาเงื่อนไขในคาขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ โดยกาหนดว่าคาประนอมหนี้นั้นจะ สาเร็จได้ก็จะต้องได้รับมติพิเศษจากที่ประชุมเจ้าหนี้และมีคาสั่งเห็นชอบจากศาลแล้ว และเงื่อนไขนั้นจะต้อง “เป็นประโยชน์โดยเท่าเทียมกันแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย” ซึ่งเห็นชัดว่าบทบัญญัติดังกล่าวมุ่งคุ้มครองเจ้าหนี้มากกว่า คานึงถึงความต้องการของลูกหนี้ สาหรับบทบาทของศาลล้มละลายกลางนั้น เมื่อศาลล้มละลายกลางได้สั่งรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้ว จะต้อง ดาเนินกระบวนพิจารณาเป็นการด่วน ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 และในการพิจารณาคาฟ้อ ง ของเจ้าหนี้ ลูกหนี้จะต้องนาสืบพิสูจน์ให้ศาลเห็นแต่เพียงว่า ตนไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่มีเหตุที่จะพิพากษา ให้ล้มละลายเท่านั้น แต่ทว่าหากไม่สามารถนาสืบพิสูจน์ได้ ลูกหนี้จะต้องถูกศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และเมื่อการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายไม่สาเร็จ ลูกหนี้ก็จะถูกศาลมีคาพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เนื่องจากลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาไม่สามารถยื่นคาร้องขอฟื้นฟูกิจการ เพื่อปรับโครงสร้างการช าระหนี้ ให้กับเจ้าหนี้เช่นเดียวกับลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้ จึงชัดเจนว่าการล้มละลายของบุคคลธรรมดาในประเทศไทย มิได้ก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม และเศรษฐกิจ ในทางตรงข้ามกลับกลายเป็นการสร้างปัญหาให้กับสังคมและ เศรษฐกิจ เพราะเมื่อบุคคลธรรมดาถูกฟ้องล้มละลายแล้ว ย่อมส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของบุคคลนั้นๆ ในการ ทางาน หลายคนต้องหมดอนาคต โดยอาจถูกให้ออก หรือหมดโอกาสก้าวหน้าในหน้ าที่การงาน ทาให้บุคคล เหล่านี้หมดความสามารถในการชาระหนี้โดยปริยาย

13


การฟ้องบุคคลธรรมดาให้ล้มละลายได้โดยง่ายเกินไป จึงไม่เป็นไปตามหลักการและวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของ กฎหมายล้มละลาย และไม่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวลูกหนี้ เจ้าหนี้ เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงควรปรับปรุงกฎหมายล้มละลายสาหรับลูกหนี้ประเภทบุคคลธรรมดา โดยมีมาตรการในการช่วยเหลือและ ฟื้นฟูก่อนศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพื่อเปิดโอกาสให้กับลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่สุจริตปลดเปลื้องภาระ หนี้สิน เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ ได้รับการช่วยเหลือและฟื้ นฟูทางด้านการชาระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ได้ตามพอสมควร โดยที่ลูกหนี้ไม่ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลาย สามารถดาเนินชีวิตประจาวันได้อย่างปกติสุข นอกจากนี้ ภาวะวิกฤติโควิด -19 ส่งผลให้ลูกหนี้รายย่อยจ านวนมากมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ไม่สามารถยื่น ล้มละลายด้ว ยตัวเองได้ เนื่องจากกฎหมายล้มละลายของไทยยังไม่เปิดช่องให้ลูกหนี้รายย่อยมีสิทธิยื่น ล้มละลายโดยสมัครใจ แตกต่างจากนิติบุคคลที่มีสิทธิยื่นล้มละลายโดยสมัครใจได้ (กระบวนการฟื้นฟูกิจการ) แนวร่วมฯ จึงเห็นว่า ธปท. ควรผลักดันให้รัฐ ออกกฎหมายล้มละลายโดยสมัครใจ/ฟื้นฟูหนี้สินสาหรับบุคคล ธรรมดา ในฐานะ ‘เครื่องมือพื้นฐาน’ ที่จาเป็นต่อการรับมือกับวิกฤติหนี้รายย่อย เพราะนอกจากจะเป็นการ รับประกัน ‘สิทธิพื้นฐาน’ ในการมี ‘ชีวิตใหม่’ หลังโควิด-19 (อันเป็นวิกฤติที่ทาให้สูญเสียความสามารถในการ ชาระหนี้ ทั้งที่ไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้) แล้ว ยังเป็นวิธีรับมือกับวิกฤติที่มีประสิทธิภาพกว่าการปล่อยให้เจ้าหนี้ ยื่นฟ้องล้มละลายฝ่ายเดียว อีกทั้งยังทาให้ลูกหนี้รายย่อยมีสิทธิทัดเทียมกับลูกหนี้บริษัท ซึ่งได้รับสิทธิในการยื่น ล้มละลายโดยสมัครใจ (ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ) มากว่าสองทศวรรษแล้ว นับตั้งแตเมื่อเกิดวิกฤติต้มยากุ้ง พ.ศ. 2540 นอกจากนี้ การเพิ่มสิทธิให้ลูกหนี้รายย่อยยื่นล้มละลายโดยสมัครใจ ยังเป็นโอกาสให้ รัฐและ ธปท. สามารถ ยกระดับการให้ความรู้ทางการเงินในไทยอย่างเป็นระบบ เพราะสามารถกาหนดให้ลูกหนี้ที่ใช้ช่องทางนี้ต้องเข้า รับการอบรมและปรึกษาหารือระหว่างทาแผนฟื้นฟู อีกทั้งยังจะเปิดโอกาสให้มีการรวบรวมข้อมูลหนี้รายย่อย อย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรก เนื่องจากลูกหนี้ที่ยื่นล้มละลายโดยสมัครใจจะต้องเปิดเผยหนี้สินและทรัพย์สิน ทั้งหมดของตัวเองต่อศาล รวมถึงหนี้นอกระบบ เพื่อขอคุ้มครอง การได้เห็นข้อมูลหนี้สินและทรัพย์สินที่ครบถ้วนย่อมเป็นประโยชน์ต่อทั้ งตัวลูกหนี้เองและเจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะ สามารถประเมินความสามารถในการชาระหนี้ในอนาคตของลูกหนี้ได้อย่างเที่ยงตรงและสอดคล้องกับความ จริงมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่เจ้าหนี้อย่างมากก็มีเพียงข้อมูลหนี้ในระบบจากเครดิตบูโร ไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าลูกหนี้มี หนี้นอกระบบจานวนเท่าไรและมีเจ้าหนี้กี่ราย ทั้งนี้ แนวร่วมฯ เห็นว่าในการออกกฎหมายดังกล่าว การนิรโทษกรรมเจ้าหนี้นอกระบบของลูกหนี้ที่สมัครใจเข้า ร่วมกระบวนการ น่าจะเป็นขั้นตอนที่จ าเป็น เพื่อให้สามารถรับมือกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ครอบคลุมหนี้ทุกรูปแบบ สาหรับลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ยอดหนี้ทั้งหมดมีจานวนไม่มาก (เช่น หลักแสนหรือหลักหมื่นบาท) และ พิสูจน์ได้ชัดว่าเหลือทรัพย์สินติดตัวน้อยมาก (เช่น ไม่มีบ้านส่วนตัว มีทรัพย์สินทั้งหมดมูลค่าไม่ถึงหนึ่งหมื่น

14


บาท) เราอาจพิจารณาใช้กลไก ‘คาสั่งพักหนี้’ (debt relief order) คล้ายกับแบบที่ใช้ในอังกฤษ เพื่อประหยัด ทรัพยากรและป้องกันคดีรกศาล กลไกนี้ให้ผู้ที่เข้าข่าย (ซึ่งต้องผ่านการรับรองโดยผู้เชี่ยวชาญหรือองค์กร ตรวจสอบ) สามารถขอยื่นยกเว้นไม่ต้องชาระหนี้นานติดต่อกัน 12 เดือน จากนั้นถ้าหากสถานการณ์ทางการ เงินยังไม่กระเตื้อง เจ้าหนี้ต้องตัดหนี้สูญทั้งจานวน เพราะถือว่าลูกหนี้ไร้ซึ่งความสามารถใดๆ แล้วที่จะชาระหนี้ แต่ในฐานะผู้ด้อยโอกาสก็สมควรมี ‘ชีวิตใหม่’ เช่นกัน สาหรับข้อกังวลที่ว่า กฎหมายล้มละลายโดยสมัครใจสาหรับบุคคลธรรมดาอาจส่งผลให้ดอกเบี้ยสินเชื่อแพงขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเกิด ปัญหาจริยวิบัติ แนวร่วมฯ เห็นว่า ประเทศไทยมีกฎหมายล้มละลายโดยสมัครใจ สาหรับนิติบุคคล (ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ) มานานกว่าสองทศวรรษแล้ว ไม่ปรากฎว่ากฎหมายนี้ส่งผลให้ต้นทุน ทางการเงินสูงขึ้นแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม การให้สิทธิลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวได้มี ‘ชีวิตใหม่’ หลาย กรณีเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ด้วย เพราะเมื่อลูกหนี้ฟื้นตัวได้แล้วก็จะกลับมาชาระหนี้ได้ อย่างน้อยก็บางส่วน แทนที่เจ้าหนี้จะต้องตัดหนี้สูญหรือยึดหลักประกันไปลุ้นราคาตลาดว่าจะขายได้คุ้มทุนหรือไม่ ซึ่งตรงกับ ประสบการณ์ของนานาประเทศที่คุ้มครองสิทธิของลูกหนี้ ส่วนการป้องกันปัญหาจริยวิบัติ (moral hazard) ของลูกหนี้ ทาได้ด้วยการกาหนดเกณฑ์ของลูกหนี้ที่จะเข้า ข่ายขอยื่นล้มละลายโดยสมัครใจ/เข้ากระบวนการฟื้นฟูหนี้สินอย่างชัดเจน และกาหนดบทลงโทษในกรณีที่แจ้ง หนี้สินและทรัพย์สินเป็นเท็จ

15


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.