ผลการประเมินธนาคารพาณิชย์ไทยตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International ประจำปี พ.ศ. 2564

Page 1



การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ” ครั้งที่ 4



การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ” (Fair Finance Guide International) ครั้งที่ 4 รายงานประจํ​ําปี​ี พ.ศ. 2564

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย Fair Finance Thailand

มกราคม 2565


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ” (Fair Finance Guide International) ครั้งที่ 4 พิมพ์ครั้งแรก มกราคม 2565 จัดพิมพ์โดย แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand)

เว็บไซต์ www.fairfinancethailand.org Facebook

สถานที่ตั้ง

Fair Finance Thailand

บ ริษัท ป่าสาละ จํากัด 2 สุขุมวิท ซอย 43 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110; อีเมล info@salforest.com; โทรศัพท์ 02 258 7383


สารบั​ัญ

บทสรุ​ุปสํ​ําหรั​ับผู้​้�บริ​ิหาร

5

ผลการประเมิ​ินธนาคารไทยตามเกณฑ์​์ Fair Finance Guide International ประจํ​ําปี​ี พ.ศ. 2564 25

ขั้นตอนการประเมิน 30 หัวข้อที่ใช้ในการประเมิน 31 หมวดทีไ่ ม่ใช้ในการประเมินสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 33 ผลการประเมิ​ินนโยบายธนาคารไทย 11 แห่​่ง ประจำำ�ปี​ี พ.ศ. 2564 สรุ​ุปผลคะแนนรายหมวด และนโยบายที่​่�น่​่าสนใจ

—3—

35 45


ความแตกต่​่างระหว่​่าง Fair Finance Guide International (FFGI) และ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI)

105

ภาคผนวก

117

หัวข้อประเมินตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International 2020 รายหมวด สรุปเกณฑ์ทไ่ี ด้คะแนนเป็นครัง้ แรกในแต่ละหมวด แนะนําโครงการ Fair Finance Thailand แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ (Fair Finance Guide International)

—4—

119

167 177 181


บทสรุปสําหรับผู้บริหาร ปลายปี พ.ศ. 2564 Fair Finance Thailand (แนวร่วมการ เงินทีเ่ ป็นธรรมประเทศไทย เว็บไซต์ www.fairfinancethailand.org) จัดทำ�การประเมินนโยบายด้านต่างๆ ของสถาบัน การเงิ น ไทยที่ เปิด เผยสู่สาธารณะ ปีนี้นับเป็นปีที่สี่ที่มี การนำ�มาตรฐาน Fair Finance Guide International (FFGI: แนวปฏิบตั ขิ องแนวร่วมการเงินทีเ่ ป็นธรรมนานาชาติ เว็บไซต์ www.fairfinanceguide.org) มาใช้ในประเทศไทย โดยมาตร­ ฐานที่ใช้ในปัจจุบันคือ FFGI ฉบับปี ค.ศ. 2020 ผลการประเมินนโยบายของธนาคารไทย 11 แห่ง (ธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของ รัฐ 3 แห่ง) ตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International 13 หมวด ประจำ�ปี พ .ศ . 2564 โดยใช้ ข้ อ มู ล ที่ ธ นาคาร เปิดเผยภายใน 31 ตุลาคม 2564 พบว่าธนาคารโดยรวม

—5—


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ได้คะแนนเฉลี่ย 30.66 คะแนน เพิ่มขึ้น 20.73% จาก คะแนนเฉลี่ยในปีที่สาม 25.37 คะแนน โดยธนาคารที่ได้ คะแนนสูงสุด 6 อันดับแรก ได้แก่ ธนาคารทหารไทย­ ธนชาต (41.90%) ธนาคารกรุงไทย (33.69%) ธนาคาร กสิ ก รไทย (29.03%) ธนาคารไทยพาณิ ช ย์ (26.19%) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (24.58%) และธนาคารกรุงเทพ (23.23%)

ธนาคารพาณิชย์ทงั้ 8 แห่ง มีคะแนนเฉลีย่ อยูท่ ี่ 34.98 คะแนน เพิ่ มขึ้ น 23.98% จากคะแนนเฉลี่ยในปีที่สาม 28.22 คะแนน ส่วนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 3 แห่ง ซึ่งได้รับการประเมินเป็นปีที่สอง พบว่ามีคะแนนเฉลี่ย 19.12 คะแนน เพิ่มขึ้น 15.77% จากคะแนนเฉลี่ย 16.52 คะแนนในปีแรก ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 8 แห่งมีคะแนนเพิ่มขึ้นค่อนข้าง มากเมื่อเทียบกับปี 2563 โดยธนาคารที่มีคะแนนเพิ่มขึ้น สูงสุด 4 อันดับแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย (เพิ่มขึ้น 50.40%) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (เพิม ่ ขึน้ 45.65%) ธนาคาร

—6—


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

กสิกรไทย (เพิ่มขึ้น 40.88%) และธนาคารไทย­พาณิชย์ (เพิม ่ ขึน้ 23.83%) ส่งผลให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคาร กสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ มีอันดับสูงขึ้นเมื่อ เทียบกับการประเมินในปีที่สาม ขณะที่สถาบันการเงิน เฉพาะกิจ 2 แห่ง ที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ได้แก่ ธนาคารออมสิน (เพิ่มขึ้น 30.68%) และธนาคาร พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศ​ไทย (เพิ่มขึ้น 24.66%) สำ�หรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 1 แห่งที่ได้คะแนน ลดลง คือ ธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ลดลง 32.60%) เนื่ อ งจากในปี นี้ แ นวร่ ว มการเงิ น ที่ เ ป็ น ธรรมประเทศไทยได้ขยายขอบเขตการประเมินเพิ่มขึ้น ในหมวดสุขภาพและธรรมชาติ รวมถึงหัวข้อที่คาดหวังให้ ธนาคารไปกำ�หนดนโยบายสำ�หรับบริษทั ลูกค้า ทำ�ให้แม้วา่ คะแนนดิบของธนาคารจะไม่เปลีย่ นแปลง แต่เมือ่ คิดเทียบ กับคะแนนรวมที่เพิ่มขึ้น กลับส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยลดลง ผลการประเมินแสดงเป็นแผนภาพในหน้าแทรกพิเศษ 1

—7—


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

และสรุปอันดับของธนาคารเปรียบเทียบกับปี 2563 ดูได้ จากตารางในหน้าแทรกพิเศษ 2 หมวดที่ ธ นาคารได้ ค ะแนนเฉลี่ ย สู ง สุ ด ในผลการ ประเมินนโยบายปีที่สี่ ยังคงเป็นสามหมวดเดิมที่ธนาคาร ได้ คะแนนสู งสุ ด นับตั้ง แต่ปี 2561 ที่ เ ริ่ ม โครงการ Fair Finance Thailand เป็นปีแรก 3 หมวดดังกล่าว ได้แก่ การ คุ้มครองผู้บริโภค (65.3% เพิ่มขึ้นจาก 54.6%) การขยาย บริการทางการเงิน (64.4% เพิ่มขึ้นจาก 57.1%) และการ ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน (43.2% ลดลงจาก 44.4%) ในขณะเดียวกัน หมวดทีธ่ นาคารได้คะแนนเฉลีย่ ต่ำ�สุด 3 อันดับสุดท้าย ได้แก่ การเปลีย ่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ (4.1% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 2.7%) สุขภาพ (5.5% เพิ่มขึ้น จาก 0.6%) และนโยบายค่าตอบแทน (9.0% เพิ่มขึ้นจาก 5.6%) ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับผลการประเมินในปีก่อน หน้ า (2563) พบว่ า ในปี นี้ ธ นาคารให้ ค วามสำ�คั ญ กั บ ประเด็นความเท่าเทียมทางเพศเพิม่ ขึน้ อย่างมาก ส่งผลให้ ในหมวดความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งเคยเป็นหมวดที่ได้

—8—


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

คะแนนต่ำ�สุด 3 อันดับสุดท้ายในปีก่อน มีคะแนนที่เพิ่ม สูงขึ้นมาก (10.3% เพิ่มขึ้นจาก 3.3%) สำ�หรั บ พั ฒนาการของคะแนนที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ในปี 2564 เทียบกับปี 2563 หมวดทีธ่ นาคารทัง้ หมดได้คะแนนเฉลีย่ เพิ่มขึ้นมากที่สุดจากปีที่แล้ว 3 อันดับแรก ได้แก่ การ คุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค (+1.06 คะแนนจากคะแนนเต็ ม 10 คะแนน) ธรรมชาติ (+0.86 คะแนน) และการขยายบริการ ทางการเงิน (+0.73 คะแนน) ขณะที่หมวดที่ได้คะแนน ลดลงจากปีที่แล้วมี 2 หมวด ได้แก่ การทุจริตคอร์รัปชัน (-0.13 คะแนน) และความโปร่งใสและความรับผิด (-0.02 คะแนน) หากพิจารณาความคืบหน้าของนโยบายของธนาคาร ในแต่ละหมวด โดยวัดจาก จำ�นวนเกณฑ์ ในแต่ละหมวด ที่มีธนาคารอย่างน้อย 1 แห่งได้คะแนน พบว่าหมวดที่ ธนาคารไทยมีความคืบหน้ามากทีส่ ดุ 3 อันดับแรก ได้แก่ สุขภาพ เพิ่มขึ้นจาก 1 ข้อเป็น 8 ข้อ (คิดเป็น +43.8% ของจำ�นวนเกณฑ์ทงั้ หมดในหมวดดังกล่าว) สิทธิมนุษยชน

—9—


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

เพิม่ ขึน้ จาก 5 ข้อเป็น 9 ข้อ (คิดเป็น +33.3% ของจำ�นวน เกณฑ์ทั้งหมด) และธรรมชาติ เพิ่มขึ้นจาก 7 ข้อเป็น 10 ข้อ (คิดเป็น +20% ของจำ�นวนเกณฑ์ทั้งหมด)

— 10 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ผลการประเมิ​ินธนาคารประจำำ�ปี​ี 2564 บอกอะไรกั​ับเราบ้​้าง? 1. ธนาคารที่​่�ได้​้คะแนนสู​ูงสุ​ุด 5 อั​ันดั​ับแรก ให้​้ความสำำ�คั​ัญ กั​ั บ การเปลี่​่�ยนแปลงสภาพภู​ูมิ​ิ อ ากาศและสุ​ุ ข ภาพ ในการ กำำ�หนดนโยบายสิ​ิน เชื่​่�อมากขึ้​้�น

ผลกระทบจากการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่คุกคามสุขภาพความเป็นอยู่ของ ประชาชน ล้วนเป็นปัญหาทัง้ ในระดับโลกและประเทศไทย ดังนัน้ จึงนับเป็นความคืบหน้าทีธ่ นาคารพาณิชย์ 5 แห่ง ที่ ได้คะแนนสูงสุดในปีนี้ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคาร กรุงไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ล้วนได้คะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยสำ�คัญในหมวดการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ และ หมวดสุขภาพ ในหมวดการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ธนาคารทัง้ 5 แห่งข้างต้นได้คะแนนในหมวดนี้ โดยธนาคารไทยพาณิชย์

— 11 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

กลับมาได้คะแนนอีกครัง้ ในปีนี้ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้คะแนนปีนี้เป็นปีแรก โดยธนาคารเหล่านี้มีพัฒนาการ ในเกณฑ์ 7 ข้อ ซึ่งแบ่งเป็นประเด็นที่มีธนาคารไทยได้ คะแนนปีนี้เป็นปีแรก 2 ข้อ ได้แก่ • ธนาคารวัดและเปิดเผยผลกระทบที่เกี่ยวกับการ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ตามแนวทางทีแ่ นะนำ� โดย Task Force on Climate-related Financial Disclosures (เกณฑ์ ข้ อ 7) มี ธนาคารที่ ได้คะแนน บางส่วนในปีนี้เป็นปีแรก เนื่องจากมีการเปิดเผย รายงานตามแนวทาง Task Force on Climate-related Financial Disclosures ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทย • ธนาคารสนับสนุนให้บริษทั เปลีย่ นจากการใช้เชือ้ เพลิง ฟอสซิลมาเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน (เกณฑ์ข้อ 14) ธนาคารทีไ่ ด้คะแนนปีนเ้ี ป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคาร ทหารไทยธนชาต

— 12 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ส่วนประเด็นที่ธนาคารไทยมีความคืบหน้าในปีนี้ ข้อ ได้แก่

5

• ธนาคารมีนโยบายจำ�กัดการสนับสนุนทางการเงิน แก่อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน และ/ หรือเหมืองถ่านหิน ไว้ไม่เกินร้อยละ 30 และร้อยละ 0 ของการสนับสนุนทางการเงินทั้งหมด (เกณฑ์ข้อ 8–10) ธนาคารทีไ่ ด้คะแนนทัง ้ 2 ปี ได้แก่ ธนาคาร ทหารไทยธนชาต และธนาคารที่ได้คะแนนปีนี้เป็น ปีแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา • ธนาคารจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษทั ผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน (เกณฑ์ข้อ 16) ธนาคารที่ ได้คะแนนทัง้ 2 ปี ได้แก่ ธนาคารทหารไทยธนชาต และธนาคารทีไ่ ด้คะแนนปีนเ้ี ป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา • ธนาคารจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจ ทรายน้ำ�มัน (เกณฑ์ขอ้ 19) ธนาคารทีไ่ ด้คะแนนทัง้

— 13 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ปี ได้แก่ ธนาคารทหารไทยธนชาต และธนาคาร ที่ได้คะแนนปีนี้เป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย • ธนาคารจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครง­ การเกษตรกรรมที่แปลงมาจากพื้นที่ชุ่มน้ำ� ป่าพรุ หรือพื้นที่อื่นๆ ที่กักเก็บคาร์บอนในระดับสูง (high-​ carbon stock) (เกณฑ์ขอ ้ 21) ธนาคารทีไ่ ด้คะแนน ปีนเี้ ป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย และธนาคาร ที่ปีที่แล้วได้คะแนน แต่ปีนี้ไม่ได้ ได้แก่ ธนาคาร ทหารไทยธนชาต 2

นอกจากนี้ ธนาคารทหารไทยธนชาต ยังประกาศ นโยบายสิ น เชื่ อ ที่ บ่ ง ชี้ “เส้ น ทาง ” ไปสู่ เ ป้ า หมาย เช่ น นโยบายสินเชื่อของธนาคารระบุว่า “ธนาคารตระหนักถึง ผลกระทบจากพลังงานถ่านหินต่อการเปลีย่ นแปลงสภาพ ภูมิอากาศ คุณภาพสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของชุมชน และสังคม ธนาคารจึงหยุดการให้สินเชื่อกับโครงการโรง­ ไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน โดยจะทยอยลดสัดส่วนสินเชื่อ

— 14 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ที่มีอยู่จนเป็นศูนย์” สำ�หรั บ หมวดสุ ข ภาพ ธนาคารไทยมี พั ฒ นาการ ในเกณฑ์ 7 ข้ อ จากเกณฑ์ที่ได้ค ะแนนทั้ง หมด 8 ข้ อ โดยเป็นประเด็นที่ธนาคารไทยได้คะแนนในปีนี้เป็นปีแรก ทั้งหมด เช่น การกำ�หนดให้บริษัทลูกค้าเคารพในสิทธิ แรงงานว่าด้วยสุขอนามัยและความปลอดภัยในที่ทำ�งาน ตามอนุสัญญา ILO และ MNE Declaration (เกณฑ์ข้อ 2) ธนาคารที่ได้คะแนนปีนี้เป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคารทหาร­ ไทยธนชาต, ธนาคารกำ�หนดให้บริษัทเคารพในข้อตกลง ระหว่างประเทศว่าด้วยการผลิตและใช้สารพิษและสาร อันตรายตามที่ระบุใน Montreal Protocol (สารที่ทำ�ลาย ชั้นโอโซน) (เกณฑ์ข้อ 4) ธนาคารที่ได้คะแนนปีน้ีเป็น ปีแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, และธนาคารกำ�หนดให้ บริษทั ลูกค้าเคารพในข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการ ผลิตและใช้สารพิษและสารอันตรายตามที่ระบุใน Stockholm Convention (ว่าด้วย Persistent Organic Pollutants: POPs) (เกณฑ์ข้อ 5) ธนาคารที่ได้คะแนนปีนี้เป็นปีแรก

— 15 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกสิกรไทย 2. สิ​ิทธิ​ิมนุ​ุษยชน เริ่​่�มเป็​็นประเด็​็นที่​่�ธนาคารให้​้ความสำำ�คั​ัญ และออกแนวปฏิ​ิบั​ัติ​ิที่​่�ชั​ัดเจนมากขึ้​้�น

การละเมิ ด สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนที่ เ กิ ด ในบริ บ ทของการ ประกอบธุรกิจ เป็นอีกหนึง่ ปัญหาทีท่ วั่ โลกให้ความสำ�คัญ มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในประเทศไทย รัฐบาลได้ประกาศ แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (2562–2565) ซึง่ มีประเด็นครอบคลุมการลงทุน ข้ามพรมแดนของบริษทั ไทย ซึง่ มักจะมีธนาคารขนาดใหญ่ ให้การสนับสนุนทางการเงิน หมวดสิทธิมนุษยชน ในปีนี้มีธนาคาร 6 แห่งที่ได้ คะแนน ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคาร ไทยพาณิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารเกียรตินาคินภัทร ธนาคารทุกแห่งได้คะแนน จากการประกาศว่า ธนาคารเคารพในสิทธิมนุษยชนตาม หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนขององค์การ

— 16 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

สหประชาชาติ

(United Nations Guiding Principles on

Business and Human Rights)

ธนาคารทหารไทยธนชาต โดดเด่นเพิม่ ขึน้ จากปีทผี่ า่ น มาด้วยการประกาศแนวปฏิบตั เิ พิม่ เติมด้านสิทธิมนุษยชน ที่บริษัทลูกค้าต้องปฏิบัติตาม ตามแนวปฏิบัติที่ดี (best practices) ในระดับสากล ยกตัวอย่างเช่น ก่อนการดำ�เนิน โครงการ ธนาคารกำ�หนดให้บริษัทลูกค้าต้องสำ�รวจเพื่อ ระบุตัวบุคคลที่มีความจำ�เป็นต้องย้ายถิ่นฐาน โดยระบุ ตัวอย่างแผนการดำ�เนินงาน เช่น 1) ค่ า ชดเชยสำ�หรั บ ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบ : หากการ ย้ายถิ่นฐานไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ลูกค้าต้องนำ�เสนอ ค่าชดเชยให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบและชุมชนที่ได้รับผล­ กระทบ สำ�หรับการสูญเสียสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนเงิน ช่วยเหลือสำ�หรับการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีดังเดิม 2) กลไกการร้องเรียน: ลูกค้าต้องมีกลไกการบริหาร จัดการข้อร้องเรียนหรือข้อกังวลของผู้ที่ได้รับผลกระทบ และชุมชน และ

— 17 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

การประเมิ น ผลกระทบต่ อ สั ง คม แผนงานย้ า ย ถิ่ น ฐาน : หากการย้ า ยถิ่ น ฐานไม่ ส ามารถหลี ก เลี่ ย งได้ ลูกค้าต้องสำ�รวจเพื่อระบุบุคคลที่มีความจำ�เป็นต้องย้าย ถิ่นฐาน ทำ�ความเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และ กำ�หนดกรอบการให้ค่าชดเชยตามหลักความยินยอมโดย สมัครใจโดยได้ข้อมูลล่วงหน้า (free, prior, and informed 3)

consent: FPIC)

3. ธนาคารมี​ีพั​ัฒนาการด้​้าน “การขยายบริ​ิการ ทาง​การเงิ​ิน” และ “การคุ้​้�มครองผู้​้�บริ​ิโภค” อย่​่างต่​่อเนื่​่�อง

หมวดการขยายบริการทางการเงิน และหมวดการ คุ้มครองผู้บริโภค ยังคงเป็นหมวดที่ธนาคารได้คะแนนมา เป็นอันดับหนึ่งต่อเนื่องหลายปี และไม่มีธนาคารใดไม่ได้ คะแนนในหมวดนี้ นโยบายการคุม้ ครองผูบ้ ริโภคหลายข้อ เป็นการปฏิบตั ติ ามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรือ่ ง “การกำ�กับดูแลการให้บริการแก่ลก ู ค้าอย่างเป็นธรรม” หรือ “market conduct” ซึ่งเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์

— 18 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

เป็นต้นมา อย่ า งไรก็ ดี ตั้ ง แต่ ปี 2563 สื บ เนื่ อ งถึ ง ปี นี้ (2564) แนวร่ ว มการเงิ น ที่ เ ป็ น ธรรมประเทศไทย ได้ เ ห็ น การ ประกาศนโยบายคุม้ ครองผูบ้ ริโภคทีม่ คี วามเฉพาะเจาะจง อธิบายกลไกการรับผิดและกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน ของธนาคารที่ชัดเจนกว่าในปีที่แล้ว นับเป็นพัฒนาการ ที่ น่ าชื่ น ชมและต่อ เนื่อ ง โดยผลการประเมินปีนี้พ บว่า ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ได้คะแนนเพิ่มขึ้นในหมวดนี้ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐก็มีผลคะแนนที่ใกล้ เคียงกับธนาคารพาณิชย์ โดยในภาพรวมพบว่า ธนาคาร ส่วนใหญ่มีการประกาศนโยบายหรือมาตรการคุ้มครอง ผูบ้ ริโภครายย่อยทีค่ ล้ายคลึงกัน จึงทำ�ให้ธนาคารส่วนใหญ่ ได้คะแนนในข้อเดียวกัน สำ�หรับประเด็นโดดเด่นที่ทำ�ให้ ธนาคารบางแห่งได้คะแนนเพิ่มขึ้น ได้แก่ 2561

• ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคาร กรุงศรีอยุธยา มีการเปิดเผยนโยบาย ขั้นตอนการ

— 19 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ติดตามหนี้ และ/หรือบริษัทที่เป็นตัวแทนในการ ทวงหนี้ • ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคาร ทหารไทยธนชาต มีนโยบายและขั้นตอนรับผิดที่ ชั ด เจน ในกรณี ที่ เ กิ ด การโจรกรรม ลั ก ทรั พ ย์ ฉ้อโกง เกี่ยวกับลูกค้ารายย่อยซึ่งเกิดขึ้นในสาขา ตู้กดเงินสด อินเทอร์เน็ต หรือตัวแทนที่ได้รับมอบ หมาย • ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคาร กรุงไทย และธนาคารทหารไทยธนชาต มีนโยบาย เปิ ด ให้ ลู ก ค้ า รายย่ อ ยที่ เ ป็ น ผู้ พิ ก ารหรื อ มี ค วาม ต้องการพิเศษสามารถเข้าถึงสาขาทางกายภาพและ บริการอิเล็กทรอนิกส์ โดยธนาคารเหล่านี้มีบริการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้พิการทางสายตา สำ�หรับผลการประเมินในหมวด “การขยายบริการ ทางการเงิน” ซึ่งธนาคารทุกแห่งได้คะแนนเพิ่มขึ้น และ

— 20 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ไม่มีธนาคารใดได้คะแนนต่ำ�กว่า 20% ของคะแนนรวม ส่วนหนึง่ เป็นผลจากความตืน่ ตัวของธนาคารไทยทุกแห่งต่อ กระแสธนาคารดิจทิ ลั (digital banking) และการขยับขยาย บริการทางการเงินไปยังกลุม่ ผูด้ อ้ ยโอกาสและกิจการขนาด กลางและขนาดย่อม (SMEs) อย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้มี ประเด็นทีม่ คี วามคืบหน้าจากปี 2563 จำ�นวน 2 ข้อ ได้แก่ • ธนาคารประกาศว่าไม่คิดค่าธรรมเนียมในการเปิด บัญชีเงินฝากพื้นฐาน หรือคิดค่าธรรมเนียมเพียง เล็กน้อยทีส่ มเหตุสมผล (เกณฑ์ขอ้ 9) โดยธนาคาร กรุงไทย และธนาคารกสิกรไทย ได้คะแนนทัง้ 2 ปี ขณะที่ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารทหารไทยธนชาต และธนาคารออมสิน ได้คะแนนในปีนี้เป็นปีแรก • ธนาคารมีมาตรฐานระยะเวลาการพิจารณาสินเชื่อ และเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณะ (เกณฑ์ข้อ 11) โดยธนาคารกรุงเทพ และธนาคารทหารไทย­ธน­ ชาต ได้คะแนนทัง้ 2 ปี ขณะทีธ่ นาคารไทยพาณิชย์

— 21 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงศรี­ อยุธยา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ­ เกษตร และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ได้คะแนนเป็นปีแรก 4. จากการแข่​่ ง ขั​ั น ทำำ�คะแนน สู่​่�การพั​ั ฒ นาเพื่​่�อรั​ั บมื​ือกั​ั บ ความเสี่​่�ยงด้​้าน ESG และระบบการเงิ​ินไร้​้ตั​ัวกลาง

แนวร่วมการเงินทีเ่ ป็นธรรมประเทศไทย (Fair Finance Thailand) เห็นว่า พัฒนาการของคะแนนในปีทผ ี่ า่ นมาและ ปีนี้ โดยเฉพาะการเปิดเผยนโยบายในทางทีต่ รงกับเกณฑ์ การประเมิน FFGI มากขึ้น สะท้อนบรรยากาศที่ธนาคาร ขนาดใหญ่มีการแข่งขันกันอย่างชัดเจนเพื่อช่วงชิงอันดับ การประเมิ น ซึ่ ง เป็ น ประโยชน์ ต่ อ ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ของ ธนาคารทุกฝ่ายและสังคมโดยรวม เรามองว่าความท้าทาย ในระยะต่อไป คือ การเร่งปรับปรุงนโยบายสินเชือ่ (credit policy) ของธนาคาร รวมถึงการพัฒนารายการอุตสาหกรรม ที่ธนาคารไม่ให้การสนับสนุนทางการเงิน (exclusion list)

— 22 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

และนโยบายด้านอื่นๆ อย่างเพียงพอและทันท่วงที ทั้งนี้ เพือ่ เสริมสร้างศักยภาพของธนาคารในการรับมือกับความ เสีย่ งด้านสิง่ แวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG risks) ซึ่งทวีความเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะความเสี่ยงจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิทธิมนุษยชน สุขภาพ รวมถึงประเด็นท้าทายใหม่ๆ ทีม่ าพร้อมกับเทคโนโลยีการ เงิน (FinTech) และระบบการเงินไร้ตัวกลาง (DeFi)

— 23 —



ผลการประเมิ​ินธนาคารไทยตามเกณฑ์​์ Fair Finance Guide International ประจํ​ําปี​ี พ.ศ. 2564 60

54.47 (41.90%)

50 43.80 (33.69%) 37.73 (29.03%)

40

30

30.19 (23.23%)

34.05 (26.19%)

31.95 (24.58%)

30.66 (23.58%)

22.64 (17.42%)

26.09 (20.07%)

25.02 (19.24%)

17.86 (14.88%)

20

13.42 (11.18%)

10

0

BBL

SCB

KTB

KBANK

BAY

TTB

TISCO

KKP

GSB

BAAC

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สิทธ�แรงงาน

การขยายบร�การทางการเง�น

การทุจร�ตคอร รัปชัน

ธรรมชาติ

นโยบายค าตอบแทน

ความเท าเทียมทางเพศ

ภาษี

ความโปร งใสและความรับผิด

สุขภาพ

อาวุธ

สิทธ�มนุษยชน

การคุ มครองผู บร�โภค

คะแนนรวม (รวมทั้งหมด

= 130, rebased

ให้แต่ละหัวข้อ

SMEB

เฉลี่ย

= 10) หน้​้าแทรกพิ​ิเศษ 1


สรุ​ุปอั​ันดั​ับของธนาคารเปรี​ียบเที​ียบกั​ับปี​ี 2563 คะแนนปี 2564

คะแนนเพิ่ ม/ลด

1

41.9%

+7.8%

2

2

33.7%

+50.4%

3

6

29.0%

+40.9%

4

5

26.2%

+23.8%

5

7

24.6%

+45.7%

6

4

23.2%

+6.4%

7

10

20.1%

+30.7%

8

8

19.2%

+19.8%

9

9

17.4%

+9.8%

10

3

14.9%

-32.6%

11

12

11.2%

24.7%

อันดับปี 2564

อันดับปี 2563

1

หมายเหตุ: จำ�นวนธนาคารที่ประเมินในปีนี้ หน้าแทรกพิเศษ 2

11

แห่ง ลดลงจากปี

อันดับเพิ่ม/ลด

2563

ซึ่งมีจำ�นวน

12

แห่ง


ผลการประเมิ​ินธนาคารไทย ตามเกณฑ์​์ Fair Finance Guide International ประจํ​ําปี​ี พ.ศ. 2564



แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทยได้เลือกธนาคาร สัญชาติไทย 11 แห่ง ตามขนาดสินทรัพย์รวม (จากงบ การเงินรวมทั้งธนาคารและบริษัทย่อยที่ได้รับการตรวจ สอบแล้ว) จากมากไปหาน้อย โดยอ้างอิงข้อมูลสินทรัพย์ ล่าสุดทีเ่ ปิดเผยต่อสาธารณะ ธนาคารทีไ่ ด้รบั การประเมิน มีรายนามดังตารางในหน้า 29 ข้ อ มู ล ที่ ใ ช้ ใ นการประเมิ น ครั้ ง นี้ ได้ แ ก่ เอกสาร นโยบายและข้อมูลต่างๆ ที่ธนาคารเปิดเผยต่อสาธารณะ ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 รวมถึงข้อมูลที่ธนาคารเปิด เผยเพิ่มเติมบนเว็บไซต์ระหว่างช่วงรับฟังความคิดเห็น สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2564 ประกอบด้วย • รายงานประจำ�ปี (annual report) พ.ศ. 2563 • รายงานความยั่งยืน (sustainability report) หรือ รายงานความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (CSR Report) ประจำ�ปี พ.ศ. 2563

— 27 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

• แบบฟอร์ม 56-1 (ในกรณีที่ธนาคารเป็น บริษัทจดทะเบียน รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย) • ข้อมูลหรือเอกสารเผยแพร่บนเว็บไซต์ธนาคาร • แถลงการณ์สาธารณะของธนาคารเอง • จดหมายข่าวที่ออกโดยธนาคารเอง

— 28 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

รายนามของธนาคารที่ได้รับการประเมิน ธนาคารไทยตามเกณฑ์ Fair Finance Guide International ประจําปี พ.ศ. 2564 ชื่อธนาคาร

ตัวอักษรย่อ

สินทรัพย์ ณ วันที่ 30 ก.ย. 2564 (ล้านบาท)

ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารออมสิน* ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร* ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ธนาคารทิสโก้ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาด ย่อมแห่งประเทศไทย*

BBL

4,275,691.00

KBANK

4,029,830.62

KTB

3,497,160.50

*ข้อมูล

SCB

3,272,204.00

GSB

2,859,606.48

BAY

2,489,288.23

BAAC

2,101,414.72

ttb

1,750,039.18

KKP

411,008.35

TISCO

244,634.71

SMEB

105,340.60

ณ วันที่

30

มิถุนายน

— 29 —

2564


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ขั้​้�นตอนการประเมิ​ิน

การประเมินนโยบายทีเ่ ปิดเผยต่อสาธารณะของธนาคาร ครั้งนี้ ใช้เวลารวมทั้งสิ้น 6 เดือน โดยมีขั้นตอนต่อไปนี้ สิงหาคม–กันยายน 2564

คณะวิ จั ย ประเมิ น นโยบายที่ ธ นาคารเปิ ด เผยต่ อ สาธารณะ ส่งผลการประเมินเบื้องต้นพร้อมรายละเอียด และเกณฑ์การประเมินให้ธนาคารทุกแห่ง ตุลาคม–พฤศจิกายน 2564

ช่วงเวลารับฟังความคิดเห็นและข้อมูลเพิ่มเติมจาก ธนาคาร ในช่วงเวลาดังกล่าว คณะวิจยั ได้เข้าพบปะหารือ ผลการประเมินกับธนาคาร 9 แห่ง ในจำ�นวนนีม้ ธี นาคาร 5 แห่ง ทีเ่ ปิดเผยนโยบายเพิม ่ เติมบนเว็บไซต์ของธนาคาร ในระดับที่เข้าข่ายได้คะแนนเพิ่ม ประกอบด้วยธนาคาร กรุ ง เทพ ธนาคารกรุ ง ไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารออมสิน

— 30 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ธันวาคม 2564–มกราคม 2565

คณะวิจยั ปรับปรุงผลการประเมิน จัดทำ�รายงาน และ เผยแพร่ผลการประเมินสู่สาธารณะ ผ่านเว็บไซต์ www. fairfinancethailand.org

หั​ัวข้​้อที่​่�ใช้​้ ในการประเมิ​ิน

เกณฑ์ในการประเมินครัง้ นีย้ งั คงใช้ระเบียบวิธขี อง Fair 1 Finance Guide Methodology 2020 ที่ได้รับการปรับปรุง จากฉบับปี ค.ศ. 2018 ซึ่งคำ�อธิบายโดยละเอียดของการ เปลี่ยนแปลงเกณฑ์การประเมิน อ่านได้ในภาคผนวก ก ของรายงานฉบับนี้ ในการประเมินครัง้ ทีส่ โี่ ดยใช้ขอ้ มูลปี พ.ศ. 2564 คณะ วิจยั ประเมินนโยบายธนาคารในด้านต่างๆ รวม 13 หมวด เช่นเดียวกับปี 2563 โดยใช้เกณฑ์บังคับขั้นต่ำ� (minimum 1

ดาวน์โหลดได้จาก

https://fairfinanceguide.org/ff-international/

news/2020/new-release-fair-finance-methodology-2020/

— 31 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ตาม Fair Finance Guide International จำ�นวน 10 หมวด และเกณฑ์ทางเลือก (optional) ทีเ่ ห็นว่า มีความสำ�คัญสำ�หรับประเทศไทย 3 หมวด โดยประกอบ ด้วยรายการต่อไปนี้2

requirement)

หมวดรายประเด็​็น 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การทุจริตคอร์รัปชัน (12) ความเท่าเทียมทางเพศ (15) สุขภาพ (16) สิทธิมนุษยชน (12) สิทธิแรงงาน (15) ธรรมชาติ (15) ภาษี (17)

(26)

หมายเหตุ: ตัวหนา คือหมวดบังคับขั้นต่ำ� และตัวเลขในวงเล็บคือ จำ�นวนข้อที่มีการให้คะแนนในหมวดนั้นๆ 2

— 32 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

หมวดรายอุ​ุตสาหกรรม 9.

อาวุธ

(15)

หมวดการปฏิ​ิบั​ัติ​ิการภายใน

การคุ้มครองผู้บริโภค (21) 11. การขยายบริการทางการเงิน (13) 12. นโยบายค่าตอบแทน (12) 13. ความโปร่งใสและความรับผิด (24) 10

การแสดงผลการประเมินในรายงานฉบับนี้ ใช้วธิ ปี รับ คะแนนดิบตามส่วน (pro rata) ให้ทุกหมวดมีผลคะแนน รวมเท่ากับ 10 คะแนน เพื่อความสะดวกในการเปรียบ­ เทียบข้ามหมวด หมวดที่​่�ไม่​่ ใช้​้ ในการประเมิ​ินสถาบั​ันการเงิ​ิน เฉพาะกิ​ิจ

เนือ่ งจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 2 แห่ง ปัจจุบนั มี ลักษณะการดำ�เนินธุรกิจที่แตกต่างจากธนาคารพาณิชย์

— 33 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

คณะวิจัยจึงยกเว้นหมวดบางหมวดในการให้คะแนน โดย มีรายละเอียดดังนี้ 1. ธ นาคารเพื่ อ การเกษตรและสหกรณ์ ก ารเกษตร (ธ.ก.ส.) ไม่ประเมินในหมวดอาวุธ เนือ ่ งจากธนาคาร ไม่มีการให้บริการทางการเงินแก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กับอาวุธ 2. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แห่งประเทศไทย (ธนาคารเอสเอ็มอี) ไม่ประเมิน ในหมวดการคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากไม่มีการ ให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้ารายย่อย ส่วนธนาคารออมสิน แม้เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ แต่มีลักษณะการประกอบธุรกิจเช่นเดียวกันกับธนาคาร พาณิชย์ทั่วไป จึงไม่มีหมวดใดที่ได้รับการยกเว้นในการ ประเมินนโยบาย

— 34 —


ผลการประเมิ​ินนโยบาย ธนาคารไทย 11 แห่​่ง ประจำำ�ปี​ี พ.ศ. 2564



ผลการประเมินนโยบายของธนาคารไทย 11 แห่ง ตาม เกณฑ์ Fair Finance Guide International 13 หมวด ประจำ�ปี พ.ศ. 2564 โดยใช้ขอ้ มูลทีธ่ นาคารเปิดเผยภายใน 31 ตุลาคม 2564 พบว่าธนาคารได้คะแนนเฉลี่ย 30.66 คะแนน เพิ่ มขึ้ น 20.85% จากคะแนนเฉลี่ยในปีที่สาม 25.37 คะแนน โดยธนาคารที่ได้คะแนนสูงสุด 6 อันดับ แรก ได้แก่ ธนาคารทหารไทยธนชาต (41.90%) ธนาคาร กรุงไทย (33.69%) ธนาคารกสิกรไทย (29.03%) ธนาคาร ไทยพาณิชย์ (26.19%) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (24.58%) และธนาคารกรุงเทพ (23.23%) หากประเมิน ผลคะแนนเฉพาะธนาคารพาณิชย์ทั้ง 8 แห่ง พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 34.98 คะแนน เทียบกับ คะแนนเฉลี่ยในปีที่สามที่ 28.22 คะแนน หรือเพิ่มขึ้น 23.98% ส่วนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 3 แห่ง ที่ ได้รบั การประเมินเป็นปีทสี่ อง พบว่ามีคะแนนเฉลีย่ 19.12 คะแนน เทียบกับคะแนนเฉลี่ยในปีแรกที่ 16.52 คะแนน

— 37 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

หรือเพิ่มขึ้น 15.77% ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 8 แห่งมีคะแนนเพิ่มขึ้นค่อนข้าง มากเมื่อเทียบกับปี 2563 โดยธนาคารที่มีคะแนนเพิ่มขึ้น สูงสุด 4 อันดับแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย (เพิ่มขึ้น 50.40%) ธนาคารกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ( เพิ่ ม ขึ้ น 45.65%) ธนาคารกสิกรไทย (เพิ่มขึ้น 40.88%) และธนาคารไทย­ พาณิชย์ (เพิม่ ขึน้ 23.83%) ส่งผลให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ มีอันดับ สูงขึ้นเมื่อเทียบกับการประเมินในปีที่สาม ขณะที่สถาบัน การเงินเฉพาะกิจ 2 แห่ง ทีม่ คี ะแนนเพิม่ ขึน้ เมือ่ เทียบกับ ปีก่อน ได้แก่ ธนาคารออมสิน (เพิ่มขึ้น 30.68%) และ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่ง ประเทศไทย (เพิ่มขึ้น 24.66%) สำ�หรับสถาบันการเงิน เฉพาะกิจ 1 แห่งที่ได้คะแนนลดลง คือ ธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์ ก ารเกษตร (ลดลง 32.60%) เนือ่ งจากในปีนแี้ นวร่วมการเงินทีเ่ ป็นธรรมประเทศไทยได้ ขยายขอบเขตการประเมินเพิ่มขึ้นในหมวดสุขภาพและ

— 38 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ธรรมชาติ รวมถึงหัวข้อที่คาดหวังให้ธนาคารไปกำ�หนด นโยบายสำ�หรับบริษัทลูกค้า ทำ�ให้แม้ว่าคะแนนดิบของ ธนาคารจะไม่เปลีย่ นแปลง แต่เมือ่ คิดเทียบกับคะแนนรวม ที่เพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยลดลง ผลการประเมินสรุปเป็นแผนภาพในหน้าแทรกพิเศษ 1 และสรุปอันดับของธนาคารเปรียบเทียบกับปี 2563 ดูได้ จากตารางในหน้าแทรกพิเศษ 2 เมื่ อ ดู ผ ลการประเมิ น รายหมวด หมวดที่ ธ นาคาร ทั้งหมดได้ คะแนนสูงสุด 3 อันดับแรก ยังคงเป็นหมวด เดียวกันกับหมวดที่เคยได้คะแนนสูงสุดในผลการประเมิน นโยบายปีทสี่ าม ได้แก่ การคุม้ ครองผูบ้ ริโภค (65.3% เพิม่ ขึน้ จาก 54.6%) การขยายบริการทางการเงิน (64.4% เพิม่ ขึ้ น จาก 57.1%) และการต่ อ ต้ า นการทุ จริ ต คอร์ รั ป ชั น (43.2% ลดลงจาก 44.4%) ขณะที่หมวดที่ได้ คะแนนต่ำ�สุด 3 อันดับสุดท้าย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (4.1% เพิ่มขึ้น จาก 2.7%) สุ ข ภาพ (5.5% เพิ่ ม ขึ้ น จาก 0.6%) และ

— 39 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

นโยบายค่าตอบแทน (9.0% เพิม่ ขึน้ จาก 5.6%) ทัง้ นี้ เมือ่ เปรียบเทียบกับผลการประเมินในปีก่อน พบว่าในปีนี้ ธนาคารให้ความสำ�คัญกับประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ เพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้ในหมวดความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่ง เคยเป็นหมวดทีไ่ ด้คะแนนต่ำ�สุด 3 อันดับสุดท้ายในปีกอ่ น มีคะแนนที่เพิ่มสูงขึ้นมาก (10.3% เพิ่มขึ้นจาก 3.3%) สำ�หรั บ พั ฒนาการของคะแนนที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ในปี 2564 เทียบกับปี 2563 หมวดทีธ่ นาคารทัง้ หมดได้ คะแนนเพิม่ ขึน้ มากทีส่ ดุ จากปีทแ่ี ล้ว 3 อันดับแรก ได้แก่ การคุม้ ครอง ผู้บริโภค (+1.06 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ธรรมชาติ (+0.86 คะแนน) และการขยายบริการทางการ เงิน (+0.73 คะแนน) ขณะทีห่ มวดทีไ่ ด้ คะแนนลดลงจาก ปีที่แล้วมี 2 หมวด ได้แก่ การทุจริตคอร์รัปชัน (-0.13 คะแนน) และความโปร่งใสและความรับผิด (-0.02 คะแนน) รายละเอียดดังรูปที่ 1

— 40 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

0.14

การทุจร�ตคอร รัปชัน

0.13

ความเท าเทียมทางเพศ

0.70

สุขภาพ

0.50

สิทธ�มนุษยชน

0.57

สิทธ�แรงงาน

0.44

ธรรมชาติ

0.86

ภาษี

0.57

อาวุธ

0.44

การคุ มครองผู บร�โภค

1.06

การขยายบร�การทางการเง�น

0.73

นโยบายค าตอบแทน

0.35

ความโปร งใสและความรับผิด

0.02

0 2020

รูปที่

1

1

2 +2021

3

4

5

6

-2021

(หน่วย: คะแนน) การเปลี่ยนแปลงคะแนนเฉลี่ยรายหมวดของธนาคารไทย เปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2563 — 41 —

7

8


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

หากพิจารณาความคืบหน้าของนโยบายของธนาคาร ในแต่ ล ะหมวด (จากจำ�นวนเกณฑ์ ใ นแต่ ล ะหมวดที่ มี ธนาคารอย่างน้อย 1 แห่งที่ได้คะแนน) พบว่าหมวดที่ ธนาคารไทยมีความคืบหน้ามากทีส่ ดุ 3 อันดับแรก ได้แก่ สุขภาพ เพิ่มขึ้นจาก 1 ข้อเป็น 8 ข้อ (คิดเป็น +43.8% ของจำ�นวนเกณฑ์ทงั้ หมดในหมวดดังกล่าว) สิทธิมนุษยชน เพิม่ ขึน้ จาก 5 ข้อเป็น 9 ข้อ (คิดเป็น +33.3% ของจำ�นวน เกณฑ์ทั้งหมด) และธรรมชาติ เพิ่มขึ้นจาก 7 ข้อเป็น 10 ข้อ (คิดเป็น +20% ของจำ�นวนเกณฑ์ทั้งหมด) สำ�หรับหมวดทีย่ งั ไม่มนี โยบายใหม่ๆ จากธนาคารไทย ในปีนี้ มีทั้งหมด 4 หมวด ได้แก่ การคุ้มครองผู้บริโภค และการขยายบริการทางการเงิน อันเป็นหมวดทีม่ จี ำ�นวน เกณฑ์ที่ธนาคารไทยได้คะแนนมากที่สุดในปีนี้เป็นอันดับ ที่ 2 และ 3 ตามลำ�ดับ ซึ่งสามารถอนุมานได้ว่าเกณฑ์ที่ ยังไม่มธี นาคารใดได้คะแนนเลยอาจเป็นเกณฑ์หรือนโยบาย ทีค่ อ่ นข้างยากและต้องอาศัยเวลาดำ�เนินการสำ�หรับธนาคาร ส่วนใหญ่ ขณะทีอ่ กี 2 หมวดทีเ่ หลือ คือ หมวดการทุจริต

— 42 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

คอร์รัปชันและหมวดนโยบายค่าตอบแทน แม้ว่าจะไม่มี นโยบายใหม่ๆ เช่นเดียวกัน แต่ยงั คงมีเกณฑ์อกี จำ�นวนหนึง่ ที่ธนาคารไทยสามารถเพิ่มนโยบายใหม่ๆ ได้อีกค่อนข้าง มาก รายละเอียดดังรูปที่ 2

— 43 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3.8%

การทุจร�ตคอร รัปชัน

0.0%

ความเท าเทียมทางเพศ

13.3%

สุขภาพ

43.8%

สิทธ�มนุษยชน

33.3%

สิทธ�แรงงาน

6.7%

ธรรมชาติ

20.0%

ภาษี

5.9%

อาวุธ

6.7%

การคุ มครองผู บร�โภค

0.0%

การขยายบร�การทางการเง�น

0.0%

นโยบายค าตอบแทน

0.0%

ความโปร งใสและความรับผิด

4.2%

0

20% 2020

รูปที่

2

40%

60%

80%

+2021

(ร้อยละของจำ�นวนเกณฑ์ทั้งหมด) การเปลี่ยนแปลงจำ�นวนเกณฑ์ที่ธนาคารไทยได้คะแนนจากปี

— 44 —

100%

2563


สรุ​ุปผลคะแนนรายหมวด และนโยบายที่​่�น่​่าสนใจ

รายละเอียดคะแนนรายหมวดแสดงดังต่อไปนี้ โดยสามารถ อ่านรายการหัวข้อทั้งหมดที่มีการประเมินได้ในภาคผนวก ก ของรายงานฉบับนี้ อนึ่ง การแสดงผลการประเมินรายหมวดทั้งหมดในส่วนนี้ ใช้วิธีปรับคะแนนดิบตามส่วน (pro rata) ให้มีคะแนนรวม 10 คะแนนเท่ากันทุกหมวด เพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบ ข้ามหมวด



การเปลี่​่�ยนแปลงสภาพภู​ูมิ​ิอากาศ (climate change)

เกณฑ์หมวดนี้มุ่งประเมินบทบาทของธนาคารในการ ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิด จากการดำ�เนินงานทั้งทางตรงและทางอ้อมของธนาคาร อาทิ การตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ ธนาคารทั้งทางตรงและทางอ้อม การจำ�กัดการสนับสนุน ทางการเงินแก่อตุ สาหกรรมทีผ่ ลิตไฟฟ้าจากถ่านหินไม่เกิน ร้อยละ 30 การมีนโยบายสินเชือ่ สนับสนุนให้ธรุ กิจเปลีย่ น จากการใช้เชือ้ เพลิงฟอสซิลมาเป็นแหล่งพลังงานหมุน­เวียน เป็นต้น ในปีนี้ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคาร ทหารไทยธนชาต ธนาคารไทยพาณิ ช ย์ และธนาคาร กรุงศรีอยุธยา เป็นธนาคาร 5 แห่งทีไ่ ด้คะแนนในหมวดนี้ โดยธนาคารไทยพาณิชย์ กลับมาได้คะแนนอีกครั้งในปีนี้ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้คะแนนปีนี้เป็นปีแรก ในรายละเอียด ธนาคารไทยมีพัฒนาการในเกณฑ์

— 47 —


2.44

การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

1.92

2.5 2.0

0.87

KBANK

BAY

0.00 0.00 0.00 0.00

0.00

KTB

0.00 0.00 0.00 0.00

0.00 0.00 0.00

0.57

0.42 0.42 0.38 0.58

0.38 0.00 0.00

SCB

0.00 0.00 0.00 0.00

0.00 0.19

BBL

0.00 0.00 0.00 0.00

0.00 0.00

0.00

0.0

0.00 0.00 0.00 0.00

0.5

0.42

1.0

0.63 0.68

0.96

1.5

TTB

TISCO

KKP

GSB

BAAC

SMEB

2.5 2.0 1.5

0.5 0.0

ป 2018

ป 2019

ป 2020

เฉลี่ย

ป 2021

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ปรับ: คะแนนรวม — 48 —

0.12 0.23 0.27 0.41

1.0

= 10)


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ข้อ จากเกณฑ์ที่ได้คะแนนทั้งหมด 10 ข้อ แบ่งเป็น ประเด็นที่มีธนาคารไทยได้คะแนนปีนี้เป็นปีแรก 2 ข้อ ได้แก่ 7

• ธนาคารวัดและเปิดเผยผลกระทบที่เกี่ยวกับการ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ตามแนวทางทีแ่ นะนำ� โดย Task Force on Climate-related Financial Disclosures (เกณฑ์ ข้ อ 7) มี ธ นาคารที่ ได้คะแนน บางส่วนในปีนี้เป็นปีแรก เนื่องจากมีการเปิดเผย รายงานตามแนวทาง Task Force on Climate-related Financial Disclosures ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทย • ธนาคารสนับสนุนให้บริษทั เปลีย่ นจากการใช้เชือ้ เพลิง ฟอสซิลมาเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน (เกณฑ์ข้อ 14) ธนาคารทีไ่ ด้คะแนนปีนเ้ี ป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคาร ทหารไทยธนชาต

— 49 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

และประเด็นทีธ่ นาคารไทยมีความคืบหน้าในปีนี้ 5 ข้อ ได้แก่ • ธนาคารมีนโยบายจำ�กัดการสนับสนุนทางการเงินแก่ อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน และ/หรือ เหมืองถ่านหิน ไว้ไม่เกินร้อยละ 30 และร้อยละ 0 ของการสนับสนุนทางการเงินทั้งหมด (เกณฑ์ข้อ 8–10) ธนาคารทีไ่ ด้คะแนนทัง ้ 2 ปี ได้แก่ ธนาคาร ทหารไทยธนชาต และธนาคารที่ได้คะแนนปีนี้เป็น ปีแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา • ธนาคารจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษทั ผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน (เกณฑ์ข้อ 16) ธนาคารที่ ได้คะแนนทัง้ 2 ปี ได้แก่ ธนาคารทหารไทยธนชาต และธนาคารทีไ่ ด้คะแนนปีนเ้ี ป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา • ธนาคารจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจ ทรายน้ำ�มัน (เกณฑ์ขอ้ 19) ธนาคารทีไ่ ด้คะแนนทัง้

— 50 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ปี ได้แก่ ธนาคารทหารไทยธนชาต และธนาคาร ที่ได้คะแนนปีนี้เป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย • ธนาคารจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครง­ การเกษตรกรรมที่แปลงมาจากพื้นที่ชุ่มน้ำ� ป่าพรุ หรือพื้นที่อื่นๆ ที่กักเก็บคาร์บอนในระดับสูง (high-​ carbon stock) (เกณฑ์ขอ ้ 21) ธนาคารทีไ่ ด้คะแนน ปีนเี้ ป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย และธนาคาร ที่ปีที่แล้วได้คะแนน แต่ปีนี้ไม่ได้ ได้แก่ ธนาคาร ทหารไทยธนชาต 2

เกณฑ์อกี 2 ข้อสุดท้ายทีธ่ นาคารไทยได้คะแนนในปีนี้ แต่ไม่มกี ารเปลีย่ นแปลงจากปีกอ่ นหน้า ได้แก่เกณฑ์ขอ้ 15 และ 18 ที่ระบุให้ธนาคารต้องไม่สนับสนุนบริษัทผลิต ไฟฟ้ า จากถ่ า นหิ น ที่ ไ ร้ ม าตรการลดผลกระทบ เช่ น มี เทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอน และธนาคารจะไม่สนับสนุน ทางการเงินแก่เหมืองถ่านหิน โดยมีเพียงธนาคารทหาร­ ไทยธนชาต ที่ได้คะแนนทั้งสองปี

— 51 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

นอกจากนี้ มีเกณฑ์ทธี่ นาคารทหารไทยธนชาตเคยได้ คะแนน แต่ในปีนี้ไม่ได้คะแนน คือ เกณฑ์ข้อ 9 ธนาคาร มีนโยบายจำ�กัดการสนับสนุนทางการเงินแก่อตุ สาหกรรม การผลิตไฟฟ้าจากเชือ้ เพลิงฟอสซิล และ/หรือการขุดเจาะ น้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติ ไว้ไม่เกินร้อยละ 30 ของการ สนั บ สนุ น ทางการเงิ น ทั้ ง หมด และไม่ มี ธ นาคารอื่ น ได้ คะแนน การทุ​ุจริ​ิตคอร์​์รั​ัปชั​ัน (corruption)

เกณฑ์หมวดนี้มุ่งประเมินบทบาทของธนาคารในการ ป้องกันการทุจริตคอร์รปั ชัน รวมถึงมีมาตรการต่อต้านการ ฟอกเงิน การก่อการร้าย และมีกลไกที่สามารถยืนยันได้ ถึ ง ผู้ รั บ ประโยชน์ ที่ แ ท้ จริ ง (ultimate beneficiary) ของ บริษัทลูกค้า ในหมวดนี้ธนาคารไทยยังคงได้คะแนนทั้งหมด 5 ข้อ จาก 12 ข้อ เท่ากันทุกธนาคาร โดยธนาคารทหารไทย­ ธนชาต ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคาร

— 52 —


4

2

0 KBANK BAY TTB

TISCO

KKP

ป 2018

GSB

ป 2019

— 53 — 0.00 0.00 2.50 2.50

KTB

0.00 0.00

4.17 4.26 4.44 4.32

4.17

8.33

SCB

4.17 4.17

BBL

0.00 0.00

4.17 5.00 5.00 5.00

6 4.17 4.17 4.17 4.17

8 4.17 4.17 4.17 5.00

10 4.17 4.17 5.00 5.00

0 4.17 4.17 5.00 5.00

2

4.17 4.17 4.17 4.17

4 4.17 4.17 4.17 4.17

6

4.17 4.17 4.17 4.17

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

10

8

BAAC

ป 2020

การทุจริตคอร์รัปชัน (ปรับ: คะแนนรวม

SMEB

ป 2021

= 10)

เฉลี่ย


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

กสิกรไทย ได้คะแนนมากกว่าธนาคารอื่น ในปีนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีการขยายขอบเขตการประเมินเพิม่ เติมในหัวข้อทีค่ าดหวัง ให้ธนาคารไปกำ�หนดนโยบายสำ�หรับบริษัทลูกค้า จึงมี คะแนนที่คิดเป็นสัดส่วนเท่ากันกับธนาคารอื่น และทำ�ให้ สัดส่วนคะแนนลดลงอย่างเห็นได้ชดั แม้วา่ คะแนนดิบของ ธนาคารจะไม่เปลีย่ นแปลงมากนัก แตกต่างจากการประเมิน ในปีที่สามที่สัดส่วนคะแนนประเมินของธนาคารค่อนข้าง สูง เนือ่ งจากไม่มกี ารประเมินในหัวข้อทีเ่ กีย่ วข้องกับสินเชือ่ ธุรกิจ ธนาคารทุ ก แห่ ง ยั ง คงได้ ค ะแนนจากการประกาศ ไม่รับสินบน มีนโยบายต่อต้านการฟอกเงิน ป้องกันการ สนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มก่อการร้าย มีการเปิดเผย ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง และมีมาตรฐานเพิ่มเติม เกี่ ยว­กั บ บุ ค คลที่ มี ส่ ว นเกี่ ยวข้ อ งทางการเมื อ ง ซึ่ ง การ ประกาศนโยบายเหล่านีเ้ ป็นการปฏิบตั ติ าม พ.ร.บ. ป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรการป้องกัน

— 54 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุน ทางการเงินแก่การก่อการร้าย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารไทยพาณิ ช ย์ ธนาคารกรุ ง ไทย ยั ง คงได้ ค ะแนนจากการประกาศว่ า ธนาคารไม่มีพฤติกรรม กิจกรรม หรือการมีส่วนร่วมใน การล็อบบี้ ส่วนธนาคารกสิกรไทยได้รับคะแนนเพิ่มจาก การประกาศนโยบายดังกล่าวเป็นปีแรก นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยยังประกาศนโยบาย เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันไว้อย่างน่าสนใจ โดย ประกาศว่าธนาคารจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ ธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน เช่น การ จัดซือ้ จัดจ้าง การได้รบั สัมปทานหรือใบอนุญาต โดยมีการ ใช้อำ�นาจตำ�แหน่งทางราชการหรือการเมืองเพื่อเอื้อต่อ ธุรกิจ หรือการเรียกรับเงินสินบน เป็นต้น

— 55 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ความเท่​่าเที​ียมทางเพศ (gender equality)

เกณฑ์ในหมวดนีค้ าดหวังให้ธนาคารสะท้อนถึงคุณค่า ความเท่าเทียมในบริบทของเพศ โดยความเท่าเทียมทาง เพศ หมายถึง การมีสิทธิ ความรับผิดชอบ และโอกาส ที่เท่าเทียมกันโดยไม่มีข้อกำ�หนดด้านเพศ โดยนโยบาย ที่คาดหวัง อาทิ การมีนโยบายไม่ยอมรับการล่วงละเมิด ทางเพศ (zero tolerance policy) นโยบายรับประกันการมี ส่วนร่วมของสตรีในคณะกรรมการบริษัท และมาตรการ ส่งเสริมให้สตรีได้เข้าสู่ตำ�แหน่งผู้บริหารระดับสูง ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารเกียรตินาคินภัทร ได้คะแนนจากการระบุว่า ธนาคารมีนโยบายไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติทางเพศทุก รูปแบบในการจ้างงานและการทำ�งาน รวมถึงการคุกคาม ทางวาจา กายภาพ และทางเพศ (zero tolerance policy) จึงได้คะแนนในหัวข้อย่อยนี้ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ได้คะแนน

— 56 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

2.67

3.0

2.00

2.5 1.33

SCB

KTB

KBANK

0.00

0.00 0.00 0.00

0.00

0.00 0.00

0.33

0.50

0.67 0.67

0.67

0.67 0.67

BBL

0.00 0.00 0.00

0.0

0.00

0.5

1.00

1.5 1.0

1.33

1.67

2.0

BAY

TTB

3.0 2.5 1.33

2.0

KKP ป 2018

GSB ป 2019

BAAC

SMEB

ป 2020

ความเท่าเทียมทางเพศ (ปรับ: คะแนนรวม — 57 —

0.15 0.28 0.33

0.00 0.00 0.00

0.00 0.00 0.00 0.00

0.33

TISCO

0.00 0.00 0.00

0.0

0.00 0.00 0.00

0.5

0.67 0.67 0.67 0.67

1.0

0.67

1.03

1.5

ป 2021 = 10)

เฉลี่ย


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

จากการมีนโยบายกำ�หนดเงินเดือนและโบนัสที่เป็นธรรม เท่าเทียมกัน พร้อมทัง้ เปิดเผยช่องว่างค่าตอบแทนระหว่าง เพศหญิงและชาย (gender pay gap) ธนาคารกรุงไทย และธนาคารทหารไทยธนชาต มี​ นโยบายการป้องกันและบรรเทาการเลือกปฏิบัติทางเพศ ต่อลูกค้า ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคาร ออมสิน และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมแห่งประเทศไทย มีสดั ส่วนผูห้ ญิงในตำ�แหน่งผูบ้ ริหาร ระดับสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 และ/หรือตั้งเป้าหมายให้ มีสัดส่วนผู้หญิงในระดับดังกล่าวไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 สำ�หรั บ ธนาคารที่ ไ ด้ ค ะแนนสู ง สุ ด ในหมวดนี้ คื อ ธนาคารกสิกรไทย จากการระบุวา่ ธนาคารส่งเสริมให้สตรี มีโอกาสเติบโตเข้าถึงตำ�แหน่งบริหารและกรรมการบริษัท อย่างเท่าเทียม

— 58 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

สุ​ุขภาพ (health)

เกณฑ์หมวดนีค้ าดหวังให้ธนาคารกำ�หนดนโยบายเพือ่ พิทักษ์สุขภาพของชุมชน ลูกจ้าง และลูกค้าของบริษัท ลูกค้าทีธ่ นาคารให้การสนับสนุนทางการเงิน เช่น กำ�หนด ว่าบริษัทต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้สุขภาพของลูกจ้าง ลูกค้า และชุมชนใกล้เคียงถูกลิดรอนโดยผลิตภัณฑ์หรือ กระบวนการผลิ ต ของบริ ษั ท ตามหลั ก ความรอบคอบ (precautionary principle), กำ�หนดว่ าบริ ษัท เคารพในข้อ ตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการผลิตและใช้สารพิษและ สารอันตรายตามทีร่ ะบุใน Stockholm Convention (ว่าด้วย Persistent Organic Pollutants: POPs), กำ�หนดว่าบริษัท หาวิธีลดการปล่อยสารอันตรายออกสู่ผิวดิน น้ำ� และ อากาศ ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดที่มี (best available technologies: BAT) และกำ�หนดให้บริษัทจำ�กัดการใช้สาร เคมีทม่ี ขี อ้ สงสัยในงานวิจยั วิทยาศาสตร์วา่ อาจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพ และถ้าใช้กใ็ ช้อย่างระมัดระวังทีส่ ดุ (ตามหลัก ความรอบคอบ) เป็นต้น

— 59 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ในปี นี้ ธ นาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุ ง ไทย และธนาคารกสิกรไทย เป็นธนาคาร 3 แห่งที่ได้คะแนน ในหมวดนี้ โดยธนาคารกรุงไทยและธนาคารกสิกรไทยได้ คะแนนปีนี้เป็นปีแรก ในรายละเอียดธนาคารไทยมีพัฒนาการในเกณฑ์ 7 ข้อจากเกณฑ์ที่ได้คะแนนทั้งหมด 8 ข้อ โดยเป็นประเด็น ที่ธนาคารไทยได้คะแนนในปีนี้เป็นปีแรกทั้งหมด ได้แก่ • ธนาคารกำ�หนดให้ บ ริ ษั ท เคารพในสิ ท ธิ แ รงงาน ว่าด้วยสุขอนามัยและความปลอดภัยในที่ทำ�งาน ตามอนุสญ ั ญา ILO และ MNE Declaration (เกณฑ์ ข้อ 2) ธนาคารที่ได้คะแนนปีนี้เป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคารทหารไทยธนชาต • ธนาคารกำ�หนดให้บริษทั พยายามอย่างต่อเนือ่ งทีจ่ ะ ยกระดับสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างอย่าง เป็นระบบ และพัฒนาวัฒนธรรมป้องกันไว้ก่อนใน องค์กร (เกณฑ์ข้อ 3) ธนาคารที่ได้คะแนนปีนี้เป็น

— 60 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

2.50

3.0 2.19

2.5

1.41

2.0 1.5

BBL

SCB

KTB

KBANK

0.00

0.00

0.00

0.00

0.00

0.00

0.00

0.0

0.00

0.5

0.63

1.0

BAY

TTB

3.0 2.5 2.0 1.5

TISCO

KKP

GSB ป 2020

BAAC

= 10)

0.06

0.00

SMEB

ป 2021

สุขภาพ (ปรับ: คะแนนรวม — 61 —

0.00

0.00

0.00

0.00

0.00

0.00

0.00

0.00

0.0

0.00

0.5

0.55

1.0

เฉลี่ย


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ปีแรก ได้แก่ ธนาคารทหารไทยธนชาต และธนาคาร กรุงไทย • ธนาคารกำ�หนดให้บริษัทเคารพในข้อตกลงระหว่าง ประเทศว่ า ด้ ว ยการผลิ ต และใช้ ส ารพิ ษ และสาร อันตรายตามที่ระบุใน Montreal Protocol (สารที่ ทำ�ลายชัน้ โอโซน) (เกณฑ์ขอ้ 4) ธนาคารทีไ่ ด้คะแนน ปีนี้เป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย • ธนาคารกำ�หนดให้บริษัทเคารพในข้อตกลงระหว่าง ประเทศว่ า ด้ ว ยการผลิ ต และใช้ ส ารพิ ษ และสาร อันตรายตามที่ระบุใน Stockholm Convention (ว่า ด้วย Persistent Organic Pollutants: POPs) (เกณฑ์ ข้อ 5) ธนาคารที่ได้คะแนนปีนี้เป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกสิกรไทย • ธนาคารกำ�หนดให้บริษัทเคารพในข้อตกลงระหว่าง ประเทศว่าด้วยการค้าสารเคมีและของเสียเคมี ตาม ข้อตกลง Basel Convention (เกณฑ์ขอ้ 6) ธนาคาร ที่ได้คะแนนปีนี้เป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย

— 62 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

และธนาคารกสิกรไทย • ธนาคารกำ�หนดให้บริษัทเคารพในข้อตกลงระหว่าง ประเทศว่าด้วยการค้าสารเคมีและของเสียเคมี ตาม ข้ อ ตกลง Rotterdam Convention (เกณฑ์ ข้ อ 7) ธนาคารที่ได้คะแนนปีนี้เป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคาร กรุงไทย และธนาคารกสิกรไทย • ธนาคารกำ�หนดให้บริษทั จำ�กัดการใช้สารเคมีทมี่ ขี อ้ สงสัยในงานวิจัยวิทยาศาสตร์ว่าอาจเป็นอันตราย ต่ อ สุ ข ภาพ และถ้ า ใช้ ก็ ใ ช้ อ ย่ า งระมั ด ระวั ง ที่ สุ ด (ตามหลักความรอบคอบ) (เกณฑ์ขอ ้ 9) ธนาคารที่ ได้คะแนนปีนี้เป็นปีแรก ได้แก่ ธนาคารทหารไทย­ ธนชาต เกณฑ์ข้อสุดท้ายที่ธนาคารไทยได้คะแนนในปีนี้ แต่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า คือ เกณฑ์ข้อ 1 ที่ ระบุให้ธนาคารต้องกำ�หนดให้บริษทั ป้องกันไม่ให้สขุ ภาพของ ลูกจ้าง ลูกค้า และชุมชนใกล้เคียงถูกลิดรอนโดยผลิตภัณฑ์

— 63 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

หรือกระบวนการผลิตของบริษทั (ตามหลักความรอบคอบ —precautionary principle) โดยมีเพียงธนาคารทหารไทย­ ธนชาต ที่ได้คะแนนทั้ง 2 ปี สิ​ิทธิ​ิมนุ​ุษยชน (human rights)

เกณฑ์หมวดนี้คาดหวังให้ธนาคารมีนโยบายด้านสิทธิ มนุษยชน ตามหลักการชีแ้ นะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และมี กลไกติดตามตรวจสอบให้ลูกหนี้ธุรกิจของธนาคารปฏิบัติ ตามหลักการชี้แนะดังกล่าวด้วย หมวดนีม้ ธี นาคาร 6 แห่งทีไ่ ด้คะแนน ได้แก่ ธนาคาร กรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคาร ทหารไทยธนชาต ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารเกียรติ­ นาคินภัทร ธนาคารทุกแห่งได้คะแนนจากการประกาศว่า ธนาคารเคารพในสิทธิมนุษยชนตามหลักการชีแ้ นะว่าด้วย ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (United

— 64 —


0

2

TISCO

4

KKP

ป 2018 BAY TTB

0.17 0.26 0.66 1.23

6 KBANK

0.00 0.00 0.00 0.00

8 KTB

0.00 0.00 0.00 0.00

SCB

0.00 0.00 0.00 0.00

0.83

BBL

0.00 0.00 0.00

0 1.25 0.83

ป 2019

— 65 —

ป 2020

สิทธิมนุษยชน (ปรับ: คะแนนรวม

= 10)

0.00 0.77

0.00 0.00 0.00 0.00

2.08

0.83 1.46 0.77 0.77 0.83

0.00 0.00

0.77 0.77 0.83 0.83

0.00 0.00

2

0.00 0.00 0.00 0.00

4 4.17

8 7.50

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

6

GSB

BAAC

SMEB

เฉลี่ย

ป 2021


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

Nations Guiding Principles on Business and Human Rights)

ธนาคารทหารไทยธนชาต ได้คะแนนมากกว่าธนาคาร อืน่ ๆ จากการประกาศว่าบริษทั ลูกค้าต้องมีความทุม่ เทเชิง นโยบายในการแสดงการเคารพสิทธิมนุษยชน มีกระบวน­ การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (human rights due diligence) มีกระบวนการที่นำ�ไปสู่การเยียวยา ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน และจัดตัง้ หรือมีสว่ นร่วมใน กลไกรับเรื่องร้องเรียนระดับปฏิบัติการจากปัจเจกและ ชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ โดยใช้แนวปฏิบัติดังนี้ • ธนาคารจะไม่ ส นั บ สนุ น ทางการเงิ น หรื อ บริ ก าร แก่ลูกค้าที่มีกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่เคารพ/ละเมิด สิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน หรือมีหลักฐานทีแ่ สดง ถึงกรณีดังกล่าว จึงมีความจำ�เป็นที่ธนาคารต้อง ประเมิ น ธุ ร กิจ ของลูก ค้าและหลัก ฐานที่แสดงถึง ความสามารถของลูกค้าทีจ่ ะพัฒนาสถานะทางสังคม และสิ่งแวดล้อม

— 66 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

• นโยบายสิทธิมนุษยชนของธนาคารกล่าวถึงความ มุ่ ง มั่ น ที่ ธ นาคารเคารพในสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนของผู้ มี ส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการดำ�เนินธุรกิจ สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หลักการชีแ้ นะเรือ่ งธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ข้อตกลง แห่งสหประชาชาติ และองค์การแรงงานระหว่าง ประเทศ • ธนาคารจั ด ทำ�นโยบายสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน (Human Rights Policy) ขึ้นในปี 2562 เพื่อให้สอดคล้องกับ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ข้อตกลงโลกแห่งสห­ ประชาชาติ (UN Global Compact Principles) และ หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของ องค์การสหประชาชาติ (UN Guiding Principles for Business and Human Rights) และองค์การแรงงาน ระหว่างประเทศ (International Labor Organization) • ธนาคารประเมิ น ความเสี่ ย งด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน

— 67 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

รอบด้านโดยมีจุดประสงค์เพื่อระบุความเสี่ยงด้าน สิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ของ กิจกรรมทางธุรกิจ รวมทัง้ บริหารจัดการเพือ่ บรรเทา ผลกระทบที่เกิดขึ้น การประเมินความเสี่ยงด้าน สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนดั ง กล่ า วมี ข อบเขตครอบคลุ ม การ ดำ�เนินงานทั้งหมดของธนาคารและบริษัทในเครือ ที่ธนาคารมีอำ�นาจควบคุม รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสีย ทั้ ง หมด ได้ แ ก่ พนั ก งาน ลู ก ค้ า คู่ ค้ า ผู้ รั บจ้ า ง ชุมชนและกลุ่มเปราะบาง (เช่น คนพื้นเมือง เด็ก แรงงานข้ามชาติ) ซึ่งธนาคารจะกำ�หนดมาตรการ เพิ่มเติมแก่กลุ่มดังกล่าวเนื่องจากมีความเสี่ยงด้าน สิทธิมนุษยชนในระดับสูง นอกจากนี้ ธนาคารจะ ดำ�เนินการเชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหาและผลกระทบใน กรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ธนาคารทหารไทยธนชาตยังประกาศให้บริษัทลูกค้า ต้องสำ�รวจเพือ่ ระบุบคุ คลทีม่ คี วามจำ�เป็นต้องย้ายถิน่ ฐาน

— 68 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

และทำ�ความเข้าใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น กำ�หนด กรอบการให้ค่าชดเชยตามหลักความยินยอมโดยสมัครใจ โดยได้ รั บ ข้ อ มู ล ล่ ว งหน้ า (free, prior, and informed consent: FPIC) โดยใช้แนวปฏิบัติดังนี้ • หากธุรกิจของลูกค้าจำ�เป็นต้องมีการซื้อที่ดินและ การย้ายถิน่ ฐาน ทัง้ ถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยหรือแหล่งประกอบ อาชีพ ควรมีการบริหารจัดการเป็นพิเศษเพือ่ ป้องกัน ผลกระทบ ทัง้ ความยากลำ�บาก ความยากจนทีอ่ าจ เกิดขึ้นต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบและชุมชน (รวมถึง ชนพื้นเมือง) • ควรหลีกเลี่ยงการทำ�ให้เกิดการย้ายถิ่นฐานโดยไม่ สมัครใจ และลดผลกระทบให้น้อยที่สุด อย่างไร ก็ตาม หากการย้ายถิ่นฐานไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มาตรการลดผลกระทบต่อบุคคลและชุมชน (รวมถึง ชนพื้น­เมือง) ที่ต้องโยกย้ายถิ่นฐาน ควรมีการวาง­ แผนและดำ�เนินการอย่างมีประสิทธิภาพ การเปิด

— 69 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

เผยข้อมูลทีจ่ ำ�เป็น การปรึกษาหารือร่วมกับผูไ้ ด้รบั ผล​กระทบ ตัวอย่างแผนการดำ�เนินงาน เช่น 1) ค่า ชดเชยสำ�หรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ: หากการย้าย ถิ่นฐานไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ลูกค้าต้องนำ�เสนอ ค่าชดเชยให้แก่ผทู้ ไี่ ด้รบั ผลกระทบและชุมชนทีไ่ ด้รบั ผล­กระทบ สำ�หรับการสูญเสียสิ่งปลูกสร้าง ตลอด จนเงินช่วยเหลือสำ�หรับการใช้ชวี ติ ความเป็นอยูใ่ ห้ดี ดังเดิม 2) กลไกการร้องเรียน: ลูกค้าต้องมีกลไก การบริหารจัดการข้อร้องเรียนหรือข้อกังวลของผู้ที่ ได้รับผลกระทบและชุมชน และ 3) การประเมิน ผลกระทบต่ อ สั ง คม แผนงานย้ า ยถิ่ น ฐาน: หาก การย้ายถิ่นฐานไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ลูกค้าต้อง สำ�รวจเพือ่ ระบุบคุ คลทีม่ คี วามจำ�เป็นต้องย้ายถิน่ ฐาน และสร้ า งความเข้ า ใจถึ ง ผลกระทบที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น กำ�หนดกรอบการให้คา่ ชดเชยตามหลัก ความยินยอม โดยสมัครใจโดยได้รับข้อมูลล่วงหน้า (free, prior, and informed consent: FPIC)

— 70 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

สิ​ิทธิ​ิแรงงาน (labor rights)

เกณฑ์หมวดนี้คาดหวังให้ธนาคารมีนโยบายด้านสิทธิ แรงงานสอดคล้ อ งกั บ คำ�ประกาศขององค์ ก รแรงงาน ระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ว่าด้วยหลักการและสิทธิขน้ั พืน้ ฐานในทีท่ ำ�งาน นอกจากนี้ เกณฑ์การประเมินยังครอบคลุมนโยบายด้านสิทธิแรงงาน ของบริษทั ทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารด้วย ผลการประเมินปีนี้ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทย­ พาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุง­ ศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทยธนชาต และธนาคารออมสิน รวม 7 แห่ง ได้คะแนนจากการประกาศนโยบายด้านสิทธิ แรงงานที่อ้างอิงคำ�ประกาศขององค์กรแรงงานระหว่าง ประเทศว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในที่ทำ�งาน (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights

อาทิ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีแนวทาง การไม่เลือกปฏิบัติต่อพนักงานในเรื่องเชื้อชาติ เพศ อายุ สัญชาติ ศาสนา ความพิการ ไม่ใช้แรงงานเด็กและแรงงาน at Work)

— 71 —


1

0

4

3

2

TISCO

KKP

ป 2018

GSB

ป 2019

— 72 —

BAAC

ป 2020

สิทธิแรงงาน (ปรับ: คะแนนรวม

= 10) 0.26

KBANK

0.00 0.00 0.00 0.00

KTB

0.00 0.00 0.00

0.89 1.21 1.65

SCB 0.00

0.00

0.71 0.67

0.89

1.67 2.32

2.50 2.17

1.79

1.33

2.33 2.33

2.33 2.33

4.67 4.67

4.33

5

0.00

0.71 0.71

1.79

2

0.00

0.71

3

0.00 0.00 0.00 0.67

5 BBL

0.00 0.00 0.00 0.00

0 0.00

1

0.00 0.00 0.00 0.00

การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

4

BAY TTB

SMEB

ป 2021

เฉลี่ย


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ผิดกฎหมาย และเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถสมัครเป็น สมาชิกสหภาพแรงงานได้โดยไม่มีการปิดกั้น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคาร กรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และ ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้คะแนนเพิ่มเติมจากการประกาศ ว่า ธนาคารจะไม่ยอมรับการใช้แรงงานเด็กและแรงงาน บังคับในธุรกิจของลูกค้าธนาคาร ธนาคารทหารไทยธนชาต ได้คะแนนเพิม่ เติมจากการ ประกาศว่า ธนาคารจะไม่สนับสนุนทางการเงินหรือบริการ แก่ลูกค้าที่มีกิจกรรมทางธุร กิจที่ไม่เคารพ/ละเมิดสิทธิ มนุษยชน สิทธิแรงงาน หรือมีหลักฐานที่แสดงถึงกรณี ดังกล่าว จึงมีความจำ�เป็นทีธ่ นาคารต้องประเมินธุรกิจของ ลูกค้าและหลักฐานทีแ่ สดงถึงความสามารถของลูกค้าทีจ่ ะ พัฒนาสถานะทางสังคมและสิง่ แวดล้อม และการประเมิน ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งบริ ษั ท และพนั ก งานของลู ก ค้ า สามารถพิจารณาประเด็นต่างๆ ดังเช่น

— 73 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

• การให้สิทธิพนักงานในการจัดตั้งสหภาพ จัดตั้ง ตัวแทนพนักงาน และมีกระบวนการร้องเรียน • สภาพการทำ�งาน: สภาพพืน้ ทีท่ ำ�งานทีด่ แี ละปลอด­ ภัย และมาตรการป้องกันสุขภาพและความปลอดภัย ทีเ่ หมาะสม ตลอดจนการปฏิบตั ติ อ่ พนักงานรวมถึง พนักงานทีเ่ ป็นแรงงานต่างชาติทเี่ ท่าเทียมกัน ลูกค้า ควรเคารพสิทธิแรงงานในเรื่องสุขภาพและความ ปลอดภัยในที่ทำ�งานตาม ILO Conventions ลูกค้า ควรมีการพัฒนากระบวนการปฏิบตั งิ านด้านสุขภาพ และความปลอดภัยของพนักงานอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยที่ดีใน สถานที่ทำ�งาน ธนาคารกรุงไทย ได้คะแนนจากการประกาศเพิ่มเติม ว่า ธุรกิจ (ที่ธนาคารให้การสนับสนุนทางการเงิน) ต้อง ไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและในที่ทำ�งาน และให้ ความเคารพสิทธิเด็ก เป็นพิเศษ มีก ารบังคับใช้

— 74 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

เพดานชั่วโมงทำ�งาน มีการรับรองสิทธิในการรวมกลุ่ม ต่อรอง มีนโยบายสุขภาพและความปลอดภัยที่รอบด้าน ครบถ้วน มีความพยายามทีจ่ ะยกระดับสุขภาพและความ ปลอดภัยของลูกจ้างอย่างเป็นระบบ และสนับสนุนให้เป็น วัฒนธรรมองค์กร ธรรมชาติ​ิ (nature)

เกณฑ์หมวดนีป้ ระเมินนโยบายเกีย่ วกับธุรกิจทีธ่ นาคาร ให้การสนับสนุนทางการเงิน เกณฑ์หลายข้อมุ่งเน้นให้ ธนาคารมีนโยบายสินเชื่อเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่สุ่มเสี่ยง ต่ อ การสร้ า งผลกระทบต่ อ สั ง คมและสิ่ ง แวดล้ อ ม เช่ น อุตสาหกรรมทรายน้ำ�มัน และการค้าพืชและสัตว์ใกล้ สูญพันธุท์ อี่ ยูใ่ นรายการแนบท้ายอนุสญ ั ญาไซเตส (CITES) เป็นต้น ผลการประเมินในปีนี้ นอกจากธนาคารกรุงเทพ และ ธนาคารทหารไทยธนชาต ซึง่ เป็นธนาคารทีเ่ คยได้คะแนน หมวดนี้ในปีท่ีผ่านมาแล้ว ยังมีธนาคารหลายแห่งที่ได้

— 75 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

คะแนนในหมวดนี้เป็นครั้งแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยประเด็น ที่ ทำ�ให้ ธ นาคารหลายแห่ ง ได้ ค ะแนนในปี นี้ คื อ การที่ ธนาคารประกาศรายการสินเชือ่ ต้องห้าม หรือประกาศว่า จะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กจิ กรรมเหล่านี้ ได้แก่ • กิจกรรมที่ส่งผลกระทบทางลบต่อพื้นที่ที่มีคุณค่า ด้านการอนุรักษ์สูง (High Conservation Value— HCV—areas) • กิจกรรมที่ส่งผลกระทบทางลบต่อพื้นที่ระดับ I–IV ตามการจัดหมวดขององค์กรระหว่างประเทศเพื่อ การอนุ รั ก ษ์ ธ รรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN)

• กิจกรรมที่ส่งผลกระทบทางลบต่อพื้นที่มรดกโลก ยูเนสโก (UNESCO World Heritage) • กิจกรรมทีส่ ง่ ผลกระทบทางลบต่อพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ตาม อนุสญ ั ญาแรมซาร์วา่ ด้วยพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำ�ทีม่ คี วามสำ�คัญ

— 76 —


2

0

ป 2018

ป 2019

ธรรมชาติ (ปรับ: คะแนนรวม

— 77 —

1 BAY

TISCO

KKP

GSB

BAAC

SMEB

ป 2020

= 10)

0.00

0.00 0.00 0.00

1.50

1.67

3.50

3.00

3

0.00 0.00 0.00

0.00 0.00 0.00

0.00 0.00 0.00 0.00

4

0.00 0.17 0.52 1.38

3 KBANK

0.00 0.00 0.00 0.00

4 KTB

0.00 0.00 0.00 0.00

5 SCB

0.00 0.00 0.00 0.00

6 BBL

0.00 0.00 0.00 0.00

0 1.00 1.00

1

0.00 0.00

2

0.00 0.00 0.00 0.00

5 4.67

6 6.00

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

TTB

ป 2021

เฉลี่ย


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ระหว่างประเทศ (Ramsar Convention on Wetlands) • กิจกรรมที่ส่งผลกระทบทางลบต่อประชากรสัตว์ที่ อยูใ่ นบัญชีแดงสัตว์ใกล้สญ ู พันธุข์ องไอยูซเี อ็น (IUCN Red List of Threatened Species)

• การค้าสัตว์ปา่ หรือผลิตภัณฑ์ตามทีร่ ะบุในอนุสญ ั ญา ว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและ ธรรมชาติ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES)

ธนาคารที่ได้คะแนนสูงสุดในหมวดนี้ ได้แก่ ธนาคาร ทหารไทยธนชาต ซึง่ นอกจากประกาศว่าจะไม่ให้การสนับ­ สนุนทางการเงินแก่กจิ กรรมทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังได้ คะแนนเพิ่มเติมจากการประกาศสินเชื่อต้องห้ามสำ�หรับ กิ จกรรมที่ เกี่ ยวข้อ งกับการดัด แปลงพันธุก รรมที่ทำ�ใน มนุษย์ และการดัดแปลงพันธุกรรมที่ทำ�ในพืช และ/หรือ สัตว์ ที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์หรือเป็นการใช้ที่ผิด

— 78 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ศีลธรรม รวมถึงธนาคารประกาศว่าจะตรวจสอบให้มนั่ ใจ ว่าการดำ�เนินธุรกิจของลูกค้ามีความสอดคล้องกับกฎหมาย ทางด้านสิง่ แวดล้อมและสังคม ซึง่ ครอบคลุมถึงการป้องกัน และแก้ไขการคุกคามของพันธุ์ต่างถิ่นตามที่กำ�หนดใน IUCN Invasive Species ซึ่งอาจเป็นความเสี่ยงต่อการคง อยู่ของพันธุ์พื้นเมืองและความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ภาษี​ี (tax)

เกณฑ์ ห มวดนี้ ป ระเมิ น กลไกและกระบวนการการ ดำ�เนินงานของธนาคารและนโยบายเกีย่ วกับธุรกิจทีธ่ นาคาร ให้การสนับสนุนทางการเงิน รวมถึงธุรกรรมในประเทศ เขตปลอดภาษี เพือ่ ป้องกันการหลบเลีย่ งภาษีของธนาคาร และธุรกิจที่เป็นลูกค้าธนาคาร ตัวอย่างเกณฑ์ในหมวดนี้ อาทิ 1) ธนาคารจะไม่ให้ บริการทางการเงินแก่บริษทั ทีต่ งั้ อยูใ่ นเขตปลอดภาษี (tax haven) ยกเว้นว่าบริษัทนั้นๆ จะมีกิจกรรมทางธุรกิจจริง และได้กำ�ไรจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้นจริง

— 79 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

และ 2) ธนาคารจะไม่มีบริษัทในเครือ สาขา หรือบริษัท ร่วมลงทุนใดๆ ในเขตอำ�นาจศาล (jurisdiction) ทีไ่ ม่มภี าษี เงินได้ หรือเก็บภาษีเงินได้ในอัตราศูนย์เปอร์เซ็นต์ ยกเว้น ว่าธนาคารจะมีกิจกรรมทางธุรกิจจริง และได้กำ�ไรจาก กิจกรรมทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้นจริง ธนาคารไทยพาณิ ช ย์ ธนาคารเกี ย รติ น าคิ น ภั ท ร ธนาคารทิสโก้ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพือ่ การเกษตร และสหกรณ์การเกษตร ได้คะแนนจากการเปิดเผยข้อมูล รายได้ ค่าใช้จ่าย กำ�ไร และจำ�นวนภาษีที่จ่ายให้ภาครัฐ จากภายในประเทศและต่างประเทศ และได้เปิดเผยข้อมูล อัตรากำ�ลังพนักงาน และแจกแจงข้อมูลเหล่านี้รายสาขา ในต่างประเทศทั้งหมด ธนาคารไทยพาณิ ช ย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ธนาคารทิสโก้ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่ อ การเกษตรและสหกรณ์ ก ารเกษตร และ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่ง ประเทศไทย ได้คะแนนจากการเปิดเผยข้อมูลสินทรัพย์

— 80 —


0

TISCO

KKP

ป 2018 KBANK

GSB

ป 2019

— 81 —

BAAC

ป 2020

ภาษี (ปรับ: คะแนนรวม

= 10) 1.46

KTB

0.27 0.60 0.90

1.25 1.25

2.86 2.50

2.50

SCB

0.00 0.00

2 1.25

2.94

0.00

0.00

0.00 0.00 0.00 0.00

0.00

0.00

0.00 0.00

0.63 0.63 0.59

0.59 0.59 0.59

0.59

0.59

1.18

1.18 1.76 1.76

2.06

2

0.00 0.00

0.59

BBL

0.00 0.00

1

0.00 0.00

3 2.50

0 0.00

1

0.63 0.63 0.63

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

5

4

3

BAY TTB

5

4

SMEB

ป 2021

เฉลี่ย


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

รวมในทุกประเทศที่เปิดให้บริการ ทั้งนี้ ธนาคารทิสโก้ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร และธนาคารเฉพาะกิจล้วนไม่มี สาขาต่างประเทศ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารเกียรตินาคินภัทร เป็นธนาคารเพียง 2 แห่งทีม่ นี โยบายว่าจะไม่มสี ว่ นร่วมใดๆ ในธุรกรรมกับโครงสร้างระหว่างประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายที่ จะหนีภาษีหรือหลบเลี่ยงภาษี ธนาคารไทยพาณิช ย์ เป็นธนาคารเดียวที่เผยแพร่ ข้อมูลสำ�คัญเกี่ยวกับคำ�ตัดสินทางภาษีที่เฉพาะเจาะจง ระดับบริษทั ซึง่ ธนาคารได้รบั มาจากหน่วยงานกำ�กับดูแล ด้านภาษี อาวุ​ุธ (arms)

เกณฑ์หมวดนี้คาดหวังให้ธนาคารมีนโยบายไม่ให้การ สนับสนุนทางการเงินแก่บริษทั ทีเ่ กีย่ วข้องกับอุตสาหกรรม อาวุธที่มีอานุภาพทำ�ลายล้างสูง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะ เกีย่ วข้องกับการคอร์รปั ชัน การฟอกเงิน และการก่อการร้าย

— 82 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ผลการประเมินในปีนพ้ี บว่า ธนาคารทุกแห่งได้คะแนน ในหมวดนี้ เนือ่ งจากทุกธนาคารประกาศนโยบายไม่ให้การ สนับสนุนทางการเงินและสินเชื่อแก่ธุรกิจที่ผลิตหรือค้า อาวุธทีม่ อี านุภาพทำ�ลายล้างสูง รวมถึงอาวุธกัมมันตภาพ­ รังสี อาวุธชีวภาพ และอาวุธเคมี ซึง่ การประกาศนโยบาย ดังกล่าวเป็นไปตามพระราชบัญญัตปิ อ้ งกันและปราบปราม การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทําลายล้างสูง พ.ศ. 2559 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย และธนาคาร กสิกรไทย ได้คะแนนเพิ่มขึ้นในปีนี้ โดยแต่ละธนาคารมี ประเด็นโดดเด่นที่แตกต่างกัน อาทิ • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารกรุงไทย ไม่ให​้ การสนับสนุนทางการเงินแก่ธรุ กิจทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้อง กับการผลิต ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ของอาวุธ การส่งอาวุธ และระบบการส่งอาวุธ ที่มีอานุภาพ ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ สัตว์ พืช จำ�นวน

— 83 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

BBL

SCB

KTB

KBANK

0.00

0.00

2.50 2.67

1.67 2.50 2.67 3.56

4.33 2.50 2.67 0.00

0

0.00

2

1.67 2.50 2.67 2.67

2.50

4

3.56 3.56

6

3.33

6.22

8

6.33

8.00

10

BAY

TTB

10 8

TISCO

KKP ป 2018

0.00 0.00

0.00 0.00

0.00

0

0.00

2 GSB ป 2019

SMEB ป 2020

อาวุธ (ปรับ: คะแนนรวม — 84 —

= 10)

2.59 3.29 3.73 0.37

2.67 2.67

2.67 2.67

2.50 2.67 2.67

4

2.50 2.67 2.67

6

เฉลี่ย ป 2021


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

มาก หรือต่อสิง่ แวดล้อมอย่างร้ายแรง โดยธนาคาร กรุงไทยประกาศเพิ่มเติมว่า จะไม่ให้การสนับสนุน ทางการเงินแก่ธุรกิจที่ส่งอาวุธไปยังประเทศที่ถูก ห้ามส่งสินค้าเข้าโดยองค์การสหประชาชาติ หรือ องค์กรระหว่างประเทศอืน่ ๆ ทีอ่ อ่ นไหวต่อการทุจริต คอร์รัปชัน ประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่าง รุนแรง และประเทศที่รัฐล้มเหลวหรือเปราะบาง รวมถึงประเทศทีม่ คี วามเสีย่ งว่าจะถูกนำ�อาวุธไปใช้ ละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมายมนุษยธรรมอย่าง รุนแรง แต่ยังให้การสนับสนุนทางการเงินในเรื่อง ดังกล่าวแก่หน่วยงานราชการของไทย จึงได้คะแนน เพิ่มเพียงบางส่วน • ธนาคารกรุงไทย และธนาคารกสิกรไทย ไม่ให้การ สนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการ ผลิตหรือค้าอาวุธทีม่ อี านุภาพทำ�ลายล้างสูง ทัง้ ทุน่ ระเบิดสังหารบุคคล (anti-personal landmines) และ ระเบิดลูกปราย (cluster munition)

— 85 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

• ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ไม่ให้การสนับสนุนธุรกิจที่ ผลิตระเบิดดาวกระจาย (cluster bomb) ทั้งที่เป็น ธุรกิจทีผ่ ลิตระเบิดดังกล่าวด้วยตัวเอง และธุรกิจใน กลุม่ ทีเ่ กีย่ วข้อง ซึง่ ถือเป็นอาวุธประเภทเดียวกันกับ ระเบิดลูกปราย (cluster munitions) ขณะที่ธนาคารทหารไทยธนชาต แม้ยังคงมีคะแนน มากทีส่ ดุ ในหมวดนี้ แต่ธนาคารได้คะแนนลดลงจากปีกอ่ น เนื่องจากนโยบายการจำ�กัดการสนับสนุนทางการเงินแก่ ธุรกิจทีเ่ กีย่ วข้องกับอุปกรณ์ ระบบลำ�เลียง และสินค้าทาง​ การทหารอื่นๆ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน การละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมายมนุษยธรรมนั้น ไม่ ไ ด้ จำ�กั ด ครอบคลุ ม ถึ ง กลุ่ ม ที่ เ ป็ น หน่ ว ยงานภาครั ฐ ธนาคารจึงได้รับคะแนนเพียงบางส่วนจากการประกาศ รายการสินเชื่อต้องห้ามของธนาคาร ในธุร กิจที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับ “อาวุธซึ่งเป็นที่ถกเถียงในสังคม” (controversial weapons) ซึ่ ง นิ ย ามครอบคลุ ม ถึ ง ทุ่ น ระเบิ ด สั ง หาร

— 86 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

บุ ค คล และระเบิ ด ลู ก ปราย รวมถึ ง การส่ ง อาวุ ธ ไปยั ง ประเทศที่มีชื่ออยู่ใน UN/EU Embargo การคุ้​้�มครองผู้​้�บริ​ิโภค (consumer protection)

เกณฑ์หมวดนีค้ าดหวังให้ธนาคารมีมาตรการคุม้ ครอง ผูบ้ ริโภครายย่อยทีค่ รอบคลุม อาทิ มีนโยบายเปิดเผยสิทธิ ของลู กค้ ารายย่ อย และความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และ บริการ สร้างหลักประกันว่าลูกค้ารายย่อยเข้าถึงกลไกรับ เรือ่ งร้องเรียนและเยียวยาทีม่ กี ระบวนการค้นหาความจริง (due diligence) มี น โยบายปรั บ โครงสร้ า งหนี้ สำ�หรั บ ผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเป็นหนี้เกินตัว มีนโยบายและขั้น ตอนทีจ่ ะหลีกเลีย่ งการพ่วงขายผลิตภัณฑ์ หรือพฤติกรรม การขายที่ไม่เหมาะสม ออกแบบโครงสร้างค่าตอบแทน สำ�หรับพนักงานและตัวแทน ในทางที่ส่งเสริมพฤติกรรม การทำ�ธุรกิจอย่างรับผิดชอบ การปฏิบัติต่อลูกค้าอย่าง เป็นธรรม และการหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน และมี​ นโยบายทีจ่ ะเปิดให้ลกู ค้ารายย่อยทีเ่ ป็นผูพ้ กิ ารหรือมีความ

— 87 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ต้องการพิเศษสามารถเข้าถึงสาขาทางกายภาพและบริการ อิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่นแพล็ตฟอร์มออนไลน์ได้ ผลการประเมินปีนพ้ี บว่า ธนาคารพาณิชย์สว่ นใหญ่ได้ คะแนนเพิ่มขึ้นในหมวดนี้ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ของรัฐก็มผี ลคะแนนทีใ่ กล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์ โดยใน ภาพรวมพบว่า ธนาคารส่วนใหญ่มกี ารประกาศนโยบายหรือ มาตรการคุม้ ครองผูบ้ ริโภครายย่อยทีค่ ล้ายคลึงกัน จึงทำ�ให้ ธนาคารส่วนใหญ่ได้คะแนนในข้อเดียวกัน สำ�หรับประเด็น โดดเด่นที่ทำ�ให้ธนาคารบางแห่งได้คะแนนเพิ่มขึ้น ได้แก่ 1. ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคาร กรุงศรีอยุธยา มีการเปิดเผยนโยบาย ขัน้ ตอนการติดตาม หนี้ และ/หรือบริษัทที่เป็นตัวแทนในการทวงหนี้ 2. ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคาร ทหารไทยธนชาต มีนโยบายและขัน้ ตอนรับผิดทีช่ ดั เจน ใน กรณีทเี่ กิดการโจรกรรม ลักทรัพย์ ฉ้อโกง เกีย่ วกับลูกค้า รายย่อยซึง่ เกิดขึน้ ในสาขา ตูก้ ดเงินสด อินเทอร์เน็ต หรือ ตัวแทนที่ได้รับมอบหมาย

— 88 —


0

TISCO

ป 2018

KKP

8

GSB

ป 2019

— 89 — 6.53

KBANK

BAAC

ป 2020

การคุ้มครองผู้บริโภค (ปรับ: คะแนนรวม

= 10) 4.68 5.46

KTB

3.47

6.00

SCB

4.00 4.50

4.50

BBL

5.71

0

4.05 4.76

2.86

4.67

6.67 7.38

4.86 5.71 6.43

4.05 4.86 4.76 5.24

8.57

8.10

7.14

6.19 5.48 5.00

4.24

3.75

2.86

7.62 7.62

10

0.00 0.00

0.00 0.00

4 5.27

8

3.10

6 3.33

4

4.95 5.24 5.71

6

3.52

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

2

BAY TTB

10

2

เฉลี่ย

ป 2021


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคาร กรุงไทย และธนาคารทหารไทยธนชาต มีนโยบายเปิดให้ ลูกค้ารายย่อยที่เป็น ผู้พิการหรือมีความต้องการพิเศษ สามารถเข้าถึงสาขาทางกายภาพและบริการอิเล็กทรอนิกส์ โดยธนาคารเหล่ า นี้ มี บ ริ ก ารทางอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ใ ห้ แ ก่ ผู้พิการทางสายตา 3.

การขยายบริ​ิการทางการเงิ​ิน (financial inclusion)

เกณฑ์หมวดนี้คาดหวังให้ธนาคารมีนโยบายให้การ สนับสนุนทางการเงินแก่ลูกค้าที่ยังเข้าไม่ถึงบริการทาง​ การเงินในระบบ ผูม้ รี ายได้นอ้ ย และกลุม่ เปราะบาง โดย ให้บริการทางการเงินที่เหมาะสม สะดวก และลูกค้ามี กำ�ลังซื้อ นอกจากนี้ ยังให้คะแนนธนาคารที่มีบริการทาง โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ (mobile banking) และบริ ก ารเงิ น อิเล็กทรอนิกส์ (e-money) รวมถึงมีนโยบายหรือโครงการ เสริมสร้างความรู้เรื่องทางการเงิน (financial literacy) แก่ ลูกค้ากลุม่ ผูม้ รี ายได้นอ้ ย กลุม่ เปราะบาง และผูป้ ระกอบ

— 90 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

การขนาดจิ๋ว ขนาดย่อมและขนาดกลาง

(MSME: micro-

enterprise and SMEs)

ธนาคารทุกแห่งได้คะแนนในหมวดนี้ โดยมีเกณฑ์ที่ ธนาคารทุกแห่งได้คะแนน 4 ข้อจากเกณฑ์ที่ได้คะแนน ทั้งหมด 11 ข้อ ได้แก่ • ธนาคารมีสาขาในเขตชนบท ไม่ใช่เฉพาะในเมือง (เกณฑ์ข้อ 2) • ธนาคารมี บ ริ ก ารธนาคารทาง โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ (mobile banking) และบริ ก ารเงิ น อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (e-money) (เกณฑ์ข้อ 3) • ธนาคารเผยแพร่เงื่อนไขของบริการทางการเงินใน ภาษาท้องถิ่น (เกณฑ์ข้อ 7) • ธนาคารมีบริการรับหรือโอนเงินในประเทศทีเ่ หมาะสม สะดวก และลูกค้ารายย่อยมีกำ�ลังซื้อ (เกณฑ์ข้อ 12) โดยในปีนี้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ได้คะแนนเป็นปีแรก

— 91 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ในรายละเอียดเกณฑ์ขอ้ อืน่ ๆ ทีธ่ นาคารได้คะแนน พบ ว่าในปีนี้ธนาคารมีพัฒนาการในเกณฑ์ 5 ข้อ แบ่งเป็น ประเด็นทีธ่ นาคารไทยได้คะแนนในปีนเ้ี ป็นปีแรก 1 ข้อ คือ • ธนาคารมีนโยบายเปิดเผยสิทธิของลูกค้าและความ เสี่ยงของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (รวมถึงความเสี่ยง ทีจ่ ะเป็นหนีเ้ กินตัว) สำ�หรับลูกค้าทีไ่ ม่รหู้ นังสือและ MSME (เกณฑ์ข้อ 6) มีธนาคารได้คะแนนปีนี้เป็น ปีแรก ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเด็นทีธ่ นาคารไทยมีความคืบหน้าจากปีทแี่ ล้ว 2 ข้อ • ธนาคารประกาศว่าไม่คิดค่าธรรมเนียมในการเปิด บัญชีเงินฝากพื้นฐาน หรือคิดค่าธรรมเนียมเพียง เล็กน้อยทีส่ มเหตุสมผล (เกณฑ์ขอ้ 9) โดยธนาคาร กรุงไทย และธนาคารกสิกรไทย ได้คะแนนทัง้ 2 ปี ขณะที่ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารทหารไทยธนชาต

— 92 —


0

10

8

6

4

2

0

KKP

ป 2018

GSB

ป 2019

— 93 —

BAAC

7.69 7.69

7.31 6.38 5.62

5.81 5.59 6.15

ป 2020

การขยายบริการทางการเงิน (ปรับ: คะแนนรวม 6.01 6.15 6.15

BAY 4.08

5.46 5.62 6.15 6.92

2

KBANK

4.93 5.44 5.71 6.44

5.83

5.38 5.38

4 4.71 5.44 6.15 6.92

KTB

0.00 0.00

0.00 0.00

3.85

TISCO 5.38 6.15

SCB

0.00 0.00

BBL

4.73 5.40 6.15 6.15

6 4.60 5.28 6.15 6.92

8

4.42 4.77 5.38 5.38

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

10

TTB

SMEB

ป 2021

= 10)

เฉลี่ย


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

และธนาคารออมสิน ได้คะแนนในปีนี้เป็นปีแรก • ธนาคารมีมาตรฐานระยะเวลาการพิจารณาสินเชื่อ และเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณะ (เกณฑ์ ข้อ 11) โดยธนาคารกรุงเทพ และธนาคารทหารไทย­ ธนชาต ได้คะแนนทั้ง 2 ปี ขณะที่ธนาคารไทย­ พาณิ ช ย์ ธนาคารกรุ ง ไทย ธนาคารกสิ ก รไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารเพือ่ การเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มแห่ ง ประเทศไทย ได้ คะแนนเป็นปีแรก

2

และประเด็นทีธ่ นาคารไทยได้คะแนนลดลงจากปีทแี่ ล้ว ข้อ • ธนาคารมีสดั ส่วนการปล่อยสินเชือ่ ให้กบั ธุรกิจขนาด จิ๋วจนถึงขนาดกลาง (Micro to SME: MSME) มาก​ กว่า 10% ของสินเชื่อทั้งหมด (เกณฑ์ข้อ 4) โดย

— 94 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ธนาคารเพื่ อ การเกษตรและสหกรณ์ ก ารเกษตร ไม่ได้คะแนนในปีนี้จากเดิมที่เคยได้ • ธนาคารไม่กำ�หนดว่า MSME ต้องมีหลักประกันใน การกู้ (เกณฑ์ข้อ 5) โดยธนาคารทหารไทยธนชาต ไม่ได้คะแนนในปีนี้จากเดิมที่เคยได้ เกณฑ์ 2 ข้อสุดท้ายที่ธนาคารไทยได้คะแนนในปีนี้ แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า ได้แก่ เกณฑ์ ข้อ 1 และ 8 ที่ระบุให้ธนาคารให้บริการกลุ่มคนจนและ คนชายขอบอย่างเฉพาะเจาะจง และมีนโยบายปรับปรุง ความรูเ้ รือ่ งทางการเงินของลูกค้ากลุม่ ผูม้ รี ายได้นอ้ ย กลุม่ ชายขอบ และ MSME ตามลำ�ดับ โดยมีเพียงธนาคาร พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ที่ยังไม่ได้คะแนนในเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อนี้ นอกจากนี้ มีเกณฑ์ที่ธนาคารกรุงไทย เคยได้คะแนน แต่ในปีนี้ไม่ได้คะแนน คือเกณฑ์ข้อ 13 ธนาคารปล่อย สินเชือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยให้กบั ผูม้ รี ายได้นอ้ ย เนือ่ งจากในปีทแี่ ล้ว

— 95 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

มีโครงการสินเชื่อบ้านร่วมกับนโยบายรัฐบาล แต่ในปีนี้ โครงการดังกล่าวได้หมดระยะเวลาดำ�เนินการไปแล้ว และ ไม่มีธนาคารอื่นได้คะแนนในเกณฑ์ข้อนี้เช่นกัน นโยบายค่​่าตอบแทน (renumeration)

เกณฑ์หมวดนีม้ งุ่ เน้นการเปิดเผยโครงสร้างค่าตอบแทน และคาดหวังให้ธนาคารมีนโยบายการจ่ายโบนัสทีไ่ ม่เอือ้ ต่อ การสร้างแรงจูงใจที่ไม่เหมาะสมแก่พนักงานและผู้บริหาร ผลการประเมินในปีนี้ นอกจากธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย­ ธนชาต ทีเ่ คยได้คะแนนในหมวดนีใ้ นปีทผี่ า่ นมาแล้ว ยังมี ธนาคารอีก 2 แห่งที่ได้คะแนนในหมวดนี้เป็นครั้งแรก ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารออมสิน ทั้ ง นี้ ธนาคารออมสิ น เป็ น ธนาคารเดี ยวที่ กำ�หนด เพดานการจ่ายโบนัสไว้ไม่เกิน 100% ของเงินเดือนตลอด ปี โดยระบุวา่ อัตราการจ่ายเป็นไปตามกรอบการจ่ายโบนัส ตามผลการดำ�เนินงานทีค่ ณะรัฐมนตรีกำ�หนด ซึง่ ธนาคาร

— 96 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ออมสิน ถูกจัดให้อยูใ่ นกลุม่ รัฐวิสาหกิจกลุม่ ที่ 2 ทีส่ ามารถ จัดสรรวงเงินการจ่ายโบนัสสูงสุดร้อยละ 11 จากกำ�ไรสุทธิ และจ่ายได้สูงสุดไม่เกิน 8 เท่าของเงินเดือนพนักงาน ในขณะที่ธนาคารอีก 4 แห่งได้รับคะแนนจากการ ประกาศว่าผูกโยงเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนของพนักงาน และผู้ บ ริ ห ารเข้ า กั บ เกณฑ์ ต่ อ ไปนี้ น อกเหนื อ จากผล ประกอบการทางธุรกิจ • เงินโบนัสอย่างน้อยหนึ่งในสามอิงกับหลักเกณฑ์ที่ ไม่ใช่เกณฑ์ทางการเงิน • ความพึงพอใจของพนักงาน • ความพึงพอใจของลูกค้า • การปรับปรุงผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ของการบริ ห ารจั ด การของสถาบั น การเงิ น และ ธรรมเนียมปฏิบัติในการปฏิบัติการ • การปรับปรุงผลกระทบด้านสังคมและสิง่ แวดล้อมของ การลงทุนและบริการทางการเงินของสถาบันการเงิน

— 97 —


0

TISCO SCB

KKP

ป 2018

5

4

3

2

GSB BAY

BAAC

SMEB

ป 2019

— 98 —

ป 2020

นโยบายค่าตอบแทน (ปรับ: คะแนนรวม

= 10) 0.18 0.41 0.56 0.90

KBANK

0.00 0.00 0.00 0.00

KTB

0.00 0.00 0.00 0.00

0.56

BBL 0.00 0.00

0.00 0.00 0.00 0.00

0.00 0.00

1.67 1.67

1.60 1.60 1.67

1.11

1.58 1.67

2.22

2.64

2.22

3

0.00 0.00 0.00

0.00

0.56

2

0.00 0.00 0.00 0.00

0.00 0.00 0.00

1

0.00

1 0.52 0.56

0

0.00

การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

5

4

TTB

ป 2021

เฉลี่ย


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ธนาคารกรุงเทพ กำ�หนดค่าตอบแทนเชื่อมโยงกับตัว ชีว้ ดั ผลการดำ�เนินงานของธนาคารทัง้ ในระยะสัน้ และระยะ ยาว และสะท้อนผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารแต่ละคน ประกอบด้วยตัวชีว้ ดั ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านการปรับ­ ปรุงและพัฒนากระบวนการทำ�งาน และด้านการพัฒนา บุคลากร เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้คะแนนจากการประกาศว่า ค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูงพิจารณามิติด้านการสร้าง รากฐานองค์กร 60% หนึ่งในนั้นประกอบด้วยด้านวัฒน­ ธรรมองค์กรและด้านความยัง่ ยืน อาทิ การเสริมสร้างและ ปฏิบัติหน้าที่ตามคุณค่าหลักขององค์กรด้านการยึดลูกค้า เป็นศูนย์กลาง การเป็นสมาชิกในดัชนีความยัง่ ยืนดาวโจนส์ พร้อมมุ่งขับเคลื่อนการดำ�เนินงานด้านการเงินเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อม (green finance) ธนาคารกรุงไทย ได้คะแนนจากการระบุว่าตัวชี้วัด เชิงกลยุทธ์ (KPIs) เชื่อมโยงการให้ผลตอบแทนเข้ากับ ระดับความพึงพอใจของพนักงานและลูกค้า นอกจากนี้

— 99 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ยังกำ�หนดให้การบรรลุเป้าหมายทางสังคมและสิง่ แวดล้อม อาทิ การเพิ่ม green financing การลดก๊าซเรือนกระจก และข้อพิพาทด้านแรงงานเป็นศูนย์ เป็นส่วนหนึ่งในการ พิ จารณาค่ าตอบแทนของพนัก งานทุก ระดับ รวมถึงผู้ บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้อง ธนาคารทหารไทยธนชาต ได้คะแนนจากการกำ�หนด ตัวชี้วัดผลการดำ�เนินงานขององค์กรที่สอดคล้องกับเป้า­ หมายการดำ�เนินงานระยะยาวขององค์กร ทั้งตัวชี้วัดผล การดำ�เนินงานทางการเงิน 40% และสุขภาพขององค์กร (ที่ไม่ใช่ทางการเงิน) 60% โดยตัวชี้วัดผลการดำ�เนินงาน ขององค์กรนีจ้ ะใช้เป็นปัจจัยสำ�หรับการพิจารณาเงินโบนัส สำ�หรับพนักงานของธนาคาร อาทิ ความพึงพอใจของ ลูกค้า การลดการใช้ทรัพยากร และอัตราการอนุมตั คิ ำ�ขอ เข้าร่วมโครงการบรรเทาหนี้ของลูกค้า เป็นต้น

— 100 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ความโปร่​่งใสและความรั​ับผิ​ิด (transparency and accountability)

เกณฑ์หมวดนี้มุ่งเน้นการเปิดเผยข้อมูลสำ�คัญ อาทิ รายชื่อบริษัทที่ธนาคารเข้าไปลงทุน ปล่อยสินเชื่อเกิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ พอร์ตสินเชื่อแบ่งตามอุตสาหกรรม สถิติการออกเสียง เป็นต้น ธนาคารหลายแห่งได้คะแนนจากหัวข้อต่อไปนี้ 1. เผยแพร่สถิติการออกเสียงของบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) ในเครือของธนาคาร 2. มีกลไกรับเรือ ่ งร้องเรียนจากลูกค้าและบุคคลทีไ่ ม่ใช่ ลูกค้า 3. เผยแพร่รายงานความยัง ่ ยืนทีท่ ำ�ตามมาตรฐาน GRI (ระดับ core หรือ comprehensive) ทั้งฉบับ โดยธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคาร ทหารไทยธนชาต และธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นธนาคาร เพียง 4 แห่งที่รายงานความยั่งยืนของธนาคารได้รับการ

— 101 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ตรวจทานจากบุคคลที่สาม ธนาคารพาณิชย์ทงั้ 8 แห่ง ได้คะแนนจากการกำ�หนด กรอบการพิจารณาสินเชือ่ ธุรกิจและโครงการโดยใช้ประเด็น ความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมติดตามและ ตรวจสอบผู้ที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคาร เพือ่ ไม่ให้สร้างผลกระทบด้านลบต่อสังคมและสิง่ แวดล้อม ในอนาคต อีกทั้งมีธนาคาร 2 แห่งได้รับการตรวจทาน เรื่องกรอบการออกหุ้นกู้ด้านความยั่งยืนจากบุคคลที่สาม ประกอบด้วย กรอบการออกหุน้ กูเ้ พือ่ อนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม (green bond framework) ของธนาคารทหารไทยธนชาต และหุ้นกู้สำ�หรับสุภาพสตรี (women bond framework) ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารออมสินเป็นธนาคารแห่งเดียวทีร่ ายงานกลไก รับเรื่องร้องเรียน รวมถึงความก้าวหน้าและประสิทธิผล ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายรวมทั้งลูกค้าของธนาคาร ของธนาคาร ธนาคารกรุงไทยเป็นธนาคารเพียงแห่งเดียวทีม่ นี โยบาย

— 102 —


0

1

TISCO

KKP

ป 2018 0.50 0.50

GSB

ป 2019

— 103 —

BAAC

ป 2020 1.10 1.43 1.97 1.95

1.50 1.30

2.29 2.29

2.50 2.66 2.34

KBANK BAY

ความโปร่งใสและความรับผิด (ปรับ: คะแนนรวม 2.71 2.50

2.16 2.16 1.98 2.50 0.34 0.68

0.80 0.80

1.70

2.29 1.88

2.10 2.10 2.40 2.40

KTB

0.00 0.00

0.00 0.00

SCB

2.00 2.00

BBL

0.00 0.00

2 1.48

3

1.88 1.88

0

0.34 0.68

1 0.34

2

1.36 1.70 1.98 1.88

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

5

4

TTB

5

4

3

SMEB

เฉลี่ย

ป 2021

= 10)


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ให้ความร่วมมือในกระบวนการร้องทุกข์ที่เกิดขึ้นในรัฐ ทั้งที่มีและไม่มีการพิจารณาคดีในกรณีที่ธนาคารมีส่วน เกี่ยวข้องด้วยต้องเข้าสู่กระบวนการร้องทุกข์ดังกล่าว ธนาคารทหารไทยธนชาติ เป็ น ธนาคารเดี ย วที่ ไ ด้ คะแนนในหัวข้อ “สถาบันการเงินรายงานการปรึกษาหารือ กับองค์กรภาคประชาสังคมและผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่นๆ” เนื่องจากเปิดเผยรายการประเด็นหลักที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ ความสำ�คัญในรายงานความยัง่ ยืนประจำ�ปี พ.ศ. 2562 ซึง่ สะท้อนว่ามี กระบวนการปรึกษาหารือ ระหว่างผู้มีส่วน ได้เสียกับธนาคาร มิใช่การรายงานประเด็นทีผ่ มู้ สี ว่ นได้เสีย ให้ความสนใจทางเดียว สำ�หรับผลสรุปเกณฑ์ทไี่ ด้คะแนนเป็นครัง้ แรกในแต่ละ หมวด อ่านได้จากภาคผนวก ข ของรายงานฉบับนี้

— 104 —


ความแตกต่​่างระหว่​่าง Fair Finance Guide International (FFGI) และ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI)



ดัชนีความยั่ง ยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) จัดทำ�ขึ้นด้วยความร่วมมือของ S&P Dow Jones Indices และ RobecoSAM โดยเชิ ญ บริ ษั ท จด ทะเบียนขนาดใหญ่ทั่วโลกใน 60 อุตสาหกรรม เข้าร่วม การประเมินการดำ�เนินงานด้านความยั่งยืน บริษัทจะถูก ประเมินด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า Corporate Sustainability Assessment หรื อ CSA ซึ่ ง ครอบคลุ ม 3 มิ ติ ทั้ ง ด้ า น เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในขณะที่แนวปฏิบัติ การเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ (Fair Finance Guide International: FFGI) คือ ดัชนี และ เครือ ่ งมือ สำ�หรับผูบ้ ริโภค ในการเจรจาต่อรอง การรณรงค์ การให้การสนับสนุน การ มีส่วนร่วมในภาครัฐและสถาบันการเงิน เพื่อสร้างความ ร่วมมือด้านการเงินที่เป็นธรรม ความแตกต่างระหว่าง FFGI กับ DJSI อาจสรุปได้ดงั นี้

— 107 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายต่างกัน DJSI นำ�เสนอดัชนีความยั่งยืนของบริษัทแก่นักลงทุน ส่วน FFGI เน้นเสริมสร้างมาตรฐานด้านสังคม สิง่ แวดล้อม และสิทธิมนุษยชนในอุตสาหกรรมธนาคารและสร้างการ รับรู้แก่ลูกค้าธนาคารและบุคคลทั่วไป 1)

อุตสาหกรรมที่ประเมิน DJSI ประเมิ น ทุ ก อุ ต สาหกรรม และนำ�คะแนนมา เปรียบเทียบกันภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน ส่วน FFGI ประเมินอุตสาหกรรมธนาคารเท่านั้น 2)

การเปิดเผยข้อมูลวิธกี ารประเมินและแบบสอบถาม ที่สมบูรณ์ DJSI ไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณชน ต่างจาก FFGI ที่เน้นกระบวนการประเมินที่เข้มงวดและมีหลักฐาน สนับสนุน เปิดเผยกระบวนการประเมินบนเว็บไซต์ 3)

— 108 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

เนื้อหาการประเมิน FFGI ประเมินทัง ้ ในระดับเนือ้ หานโยบายและขอบเขต ของนโยบาย อันเนือ่ งมาจากหลายครัง้ นโยบายของธนาคาร ไม่ได้ถกู นำ�ไปปรับใช้ในทุกผลิตภัณฑ์ ส่วน DJSI ไม่มกี าร ระบุขอบเขตของการประเมินทีแ่ น่ชดั มีเพียงตัวอย่างด้าน สิทธิมนุษยชน ที่ระบุว่า เกณฑ์จะครอบคลุมด้านสิทธิ มนุษยชนเท่าทีป่ รากฏในเนือ้ หานโยบายภายในของบริษทั เท่านั้น1 นอกจากนี้ FFGI มีเกณฑ์อีกส่วนหนึ่งที่ระบุถึงบริษัท ทีธ่ นาคารให้การสนับสนุน เพือ่ ให้มนั่ ใจว่าบริษทั ทีธ่ นาคาร ให้การสนับสนุนมีนโยบายด้านความยั่งยืน 4)

ข้อมูลที่ใช้ในการประเมิน DJSI ใช้ขอ ้ มูลทัง้ ทีเ่ ปิดเผยและไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ 5)

1

[page 6] https://eerlijkegeldwijzer.nl/media/494706/eb-ev-ana​

lyse-duurzaamheidsbeoordelingen-180323.pdf

— 109 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ให้บริษัทผู้สมัครเป็นผู้ให้ข้อมูล จึงมีข้อมูลบางส่วน เป็นข้อมูลภายในของบริษัท โดย DJSI ระบุใน รายงาน เล่ ม ขาว “Measuring Intangibles” ว่ า วิ ธี นี้ ช่ ว ยให้ ก าร ประเมินเรือ่ งความยัง่ ยืนมีความลึกซึง้ มากขึน้ 2 ส่วน FFGI ใช้ข้อมูลที่ธนาคารเปิดเผยต่อสาธารณะในการประเมิน เท่านั้น โดยเป็นการประเมินจากบุคคลภายนอก คือแนว ร่วมการเงินที่เป็นธรรมในประเทศนั้นๆ DJSI

6)

การเปลีย่ นแปลงคะแนนเมือ่ พบว่าข้อมูลไม่ตรงกับ

ที่ให้ไว้ ในการประเมินทั้งสองแบบ จะใช้ข้อมูลจากสื่อและ แนวร่วมเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติงานของธนาคาร โดย ข้ อมู ลดั งกล่ าวมีผ ลกระทบต่อ ผลคะแนนต่างกัน หาก 2

[page 1] https://www.robecosam.com/media/c/2/f/c2fb51336d​

88cfe5d5cba1241da83d26_measuring-intangibles-csa-methodo​ logy_tcm1016-14370.pdf

— 110 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

พบว่าบริษัทไม่ปฏิบัติตามนโยบายที่ระบุไว้และส่ง ผลกระทบทางลบต่อธนาคารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของ ธนาคาร คะแนนที่ประเมินจะถูกหักตามความรุนแรงของ เหตุการณ์3 ต่างจาก FFGI ทีข่ อ้ มูลจากสือ่ หรือแนวร่วมไม่ ส่งผลต่อคะแนน เพราะการประเมินใช้จากข้อมูลนโยบาย ที่ธนาคารเปิดเผยเท่านั้น DJSI

ระบบคะแนน DJSI ใช้ระบบคะแนนสัมพัทธ์ (relative score system) ในขณะที่ FFGI ใช้ระบบคะแนนสัมบูรณ์ (absolute score system) โดย DJSI จะคัดเลือกบริษัทที่มีคะแนนสูงสุดใน แต่ละอุตสาหกรรม และยกให้เป็น “บริษัทที่ดีที่สุดในรุ่น” (Best in Class) ระบบนีม ้ ขี อ้ เสียคือ บริษทั ทีด่ ที สี่ ดุ อาจได้ 7)

3

[page 12] https://www.robecosam.com/media/c/2/f/c2fb51​

336d88cfe5d5cba1241da83d26_measuring-intangibles-csa-meth​ odology_tcm1016-14370.pdf

— 111 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

คะแนนน้อยและมิใช่ผู้นำ�ด้านความยั่งยืนอย่างที่คาดหวัง ต่างจากเกณฑ์ FFGI ซึ่งถูกพัฒนาตามแนวปฏิบัติที่ “ดี ทีส่ ดุ ” ดังนัน้ ธนาคารทีไ่ ด้คะแนนเต็มหรือเกือบเต็ม 100% จึงนับเป็นธนาคารทีม่ แี นวปฏิบตั ทิ เี่ ป็นเลิศตามอุดมคติของ แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรม (ideal best practice)

— 112 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

เกณฑ์​์ที่​่� ใช้​้ ในการประเมิ​ิน DJSI4

มิติด้านธุรกิจ: -  ธรรมาภิบาล

(Corporate and

-  จรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจ (Codes of business conduct) -  การจัดการความเสี่ยงและวิกฤต (Risk and crisis

cyber security) -  กลยุทธ์ด้านภาษี (Tax -  อิทธิพลของนโยบาย (Policy

management)

influence)

-  ความมั่นคงทางการเงินและ

-  การจัดการลูกค้าสัมพันธ์

(Financial

instability and systemic risk)

4

(Information security and

strategy)

-  สาระ (Materiality)

ความเสี่ยงของระบบ

-  ความปลอดภัยของข้อมูลและ

ความปลอดภัยทางไซเบอร์

governance)

(Customer relationship management)

[page 3] https://www.robecosam.com/media/e/3/5/e3545dc​

00f11f2515ff00dabee0bed61_robecosam-corporate-sustainability-​ assessment-weightings-2018_tcm1016-14374.pdf

— 113 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

มิติด้านสิ่งแวดล้อม: -  ความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจ (Business risk and

(Climate strategy) -  นโยบายการดําเนินงานและการ

opportunities) -  รายงานสิ่งแวดล้อม

จัดการ

(Environmental reporting)

retention)

safety) -  การเป็นพลเมืองที่ดีในภาคธุรกิจ

capital development)

ขัดแย้ง ใน การปล่อยสินเชื่อและการจัดหา เงิน (Controversial issues,

-  การขยายบริการทางการเงิน

reporting) (Occupational health and

-  การพัฒนาทุนมนุษย์ (Human

financing)

-  รายงานสังคม (Social -  อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

(Talent attraction and

dilemmas in lending and

(Operational policy

and management)

มิติด้านสังคม: -  การสร้างแรงจูงใจและการรักษา พนักงานที่มีความสามารถ

-  ประเด็นที่ถกเถียง

-  กลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ

และการสาธารณกุศล (Corporate citizenship and philanthropy) -  ตัวชี้วัดการปฏิบัติด้านแรงงาน (Labor practice indicators) -  สิทธิมนุษยชน (Human rights)

(Financial inclusion)

— 114 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

FFGI

กลุ่มหัวข้อรายประเด็น: -  สวัสดิภาพสัตว์ (Animal

-  สุขภาพ (Health) -  สิทธิมนุษยชน (Human rights)

welfare) -  การเปลี่ยนแปลงสภาพ

-  สิทธิแรงงาน (Labor ภูมิอากาศ (Climate change) -  ธรรมชาติ (Nature) -  การทุจริต (Corruption) -  ภาษี (Tax) -  ความเท่าเทียมทางเพศ (Gender

rights)

equality)

กลุ่มหัวข้อรายอุตสาหกรรม: -  อาวุธ (Arms) -  ภาคการเงิน (Financial sector) -  การประมง (Fisheries) -  อาหาร (Food) -  ป่าไม้ (Forestry) -  บ้านและอสังหาริมทรัพย์

-  อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing industry) -  เหมือง (Mining) -  นํ้ามันและแก๊ส (Oil and gas) -  การผลิตกระแสไฟฟ้า (Power generation)

(Housing and real estate)

— 115 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

กลุ่มหัวข้อการดําเนินงานภายใน: -  ความโปร่งใสและการรับผิด -  การขยายบริการทางการเงิน (Transparency) -  การคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer protection)

(Financial inclusion) -  นโยบายค่าตอบแทน (Remuneration)

— 116 —


ภาคผนวก



ภาคผนวก ก

หั​ัวข้​้อประเมิ​ินตามเกณฑ์​์ Fair Finance Guide International 2020 รายหมวด

“บริษัท”

หมายถึ ง บริ ษั ท ที่ ส ถาบั น การเงิ น ให้ ก าร สนับสนุนทางการเงิน หรือเข้าไปลงทุน ตัวเอนขีดเส้นใต้ หมายถึง หัวข้อใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในปี 2020 ตัวเอน หมายถึง หัวข้อเดิมที่มีการเปลี่ยนแปลงใน สาระสำ�คัญ อาจส่งผลให้คะแนนเปลีย่ นแปลง

— 119 —



การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินกำ�หนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกขององค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่ สามารถวัดได้ ซึ่งสอดคล้องกับการจำ�กัดการเพิ่มขึ้น ของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส 2. สถาบั น การเงิ น ประกาศว่ า จะใช้ พ ลั ง งานจากแหล่ ง พลังงานหมุนเวียนเท่านั้นในปฏิบัติการของตัวเอง 3. สถาบันการเงินเปิดเผยว่ามีสว ่ นแบ่งเท่าไรในการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกของกลุ่มบริษัทหรืออุตสาหกรรมที่ องค์กรให้การสนับสนุนทางการเงิน 4. สถาบั น การเงิ น เปิ ด เผยว่ า มี ส่ ว นแบ่ ง เท่ า ไรในการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษทั และโครงการทัง้ หมด ที่องค์กรให้การสนับสนุนทางการเงิน 1.

— 121 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

สำ�หรับสินเชื่อโครงการขนาดใหญ่ สถาบันการเงิน ประเมิน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยใช้ข้อมูลการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความเสี่ยงด้านสภาพภูมิ­ อากาศ (climate risks risks)) เป็นข้อมูลประกอบการประเมิน 6. สถาบันการเงินกำ�หนดเป้าหมายการลดส่วนแบ่งใน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่องค์กรให้การสนับสนุน ทางการเงิน ซึง่ สอดคล้องกับการจำ�กัดการเพิม่ ขึน้ ของ อุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส 7. สถาบันการเงินวัดและเปิดเผยผลกระทบที่เกี่ยวข้อง กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามแนวทางที่ แนะนำ�โดย Task Force on Climate-related Financial 5.

Disclosures

มีนโยบายจำ�กัดการสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาห­ กรรมการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน และ/หรือเหมือง ถ่านหิน ไม่เกินร้อยละ 30 ของการสนับสนุนทาง​ การเงินทั้งหมด 9. มีนโยบายจำ�กัดการสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาห­ 8.

— 122 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

10.

11.

กรรมการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และ/หรือ การขุดเจาะน้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติ ไม่เกินร้อยละ 30 ของการสนับสนุนทางการเงินทั้งหมด มีนโยบายจำ�กัดการสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาห­ กรรมการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน และ/หรือเหมือง ถ่ า นหิ น ไม่ เ กิ น ร้ อ ยละ 0 ของการสนั บ สนุ น ทาง​ การเงินทั้งหมด มีนโยบายจำ�กัดการสนับสนุนทางการเงินแก่อุตสาห­ กรรมการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และ/หรือ การขุดเจาะน้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติ ไม่เกินร้อยละ 0 ของการสนับสนุนทางการเงินทั้งหมด

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน 12.

บริษทั เปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทัง้ ทาง ตรงและทางอ้อม

— 123 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

13.

14.

15.

บริษัทลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและ ทางอ้อม บริษทั เปลีย่ นจากการใช้เชือ้ เพลิงฟอสซิลมาเป็นแหล่ง พลังงานหมุนเวียน สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ บริษทั ผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินทีไ่ ร้มาตรการลดผลกระทบ ( นั่ น คื อ ไม่ ใ ช้ เ ทคโนโลยี กั ก เก็ บ คาร์ บ อน — carbon capture and storage)

16.

17.

18.

19.

20.

สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ บริษัทผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ บริษัทผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ เหมืองถ่านหิน สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ ธุรกิจทรายน้ำ�มัน สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่

— 124 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

21.

ธุรกิจขุดเจาะน้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติ สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ โครงการเกษตรกรรมทีแ่ ปลงมาจากพืน้ ทีช่ มุ่ น้ำ� ป่าพรุ หรือพื้นที่อื่นๆ ที่กักเก็บคาร์บอนในระดับสูง (high-​ carbon stock)

22.

การผลิตวัสดุชวี ภาพ (biomaterials) เป็นไปตามหลักการ 12 ข้อ ของ Roundtable on Sustainable Biomaterials (RSB)

23.

24.

25.

การชดเชยก๊าซเรือนกระจก (CO compensation) ได้รบั การรับรองตามมาตรฐานระดับสากล บริษัทไม่มีส่วนในการล็อบบี้ (พยายามส่งอิทธิพลต่อ การตัดสินใจของผูด้ ำ�เนินนโยบายหรือหน่วยงานกำ�กับ ดูแล) ซึ่งมีเป้าหมายทำ�ให้นโยบายด้านการเปลี่ยน­ แปลงสภาพภูมิอากาศอ่อนแอลง บริ ษั ท บู ร ณาการประเด็ น การเปลี่ ย นแปลงสภาพ ภู มิ ­อ ากาศเข้ า ไปในนโยบายการจั ด ซื้ อจั ด จ้ า งและ นโยบายปฏิบัติการของบริษัท 2

— 125 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

26.

บริษัทกำ�หนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมอิ ากาศเป็นเงือ่ นไขในสัญญาทีล่ งนามกับผูร้ บั เหมาช่วงและคู่ค้า

การทุจริตคอร์รัปชัน

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินประกาศว่าจะไม่นำ�เสนอ สัญญา เรียก ร้องสินบนและข้อได้เปรียบอื่นๆ ที่ไม่เป็นธรรม ทั้ง ทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ได้มาซึ่งธุรกิจและข้อได้ เปรียบอื่นๆ ที่ไม่เป็นธรรม 2. สถาบันการเงินมีนโยบายต่อต้านการฟอกเงิน 3. สถาบั น การเงิ น มี น โยบายป้ อ งกั น การสนั บ สนุ น ทางการเงินแก่กลุ่มก่อการร้ายและอาวุธนิวเคลียร์ 4. สถาบั น การเงิ น ยื น ยั น ได้ ถึ ง ผู้ รั บ ประโยชน์ ที่ แ ท้ จ ริ ง 1.

— 126 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

(ultimate beneficiary)

ของบริษทั (ทีต่ นให้การสนับสนุน

ทางการเงิน) 5. สถาบั น การเงิ น มี ม าตรฐานเพิ่ ม เติ ม เมื่ อ ทำ�ธุ ร กิ จ ทั้ ง ทางตรงหรือทางอ้อมกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องทาง​ การเมือง (Politically Exposed Persons: PEP) 6. สถาบันการเงินรายงานการมีส่วนร่วมในกระบวนการ ตัดสินใจของการกำ�หนดปทัสถานระหว่างประเทศและ กระบวนการออกกฎหมาย (พฤติกรรมการล็อบบี)้ องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน บริษัทเปิดเผยผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง หรือเจ้าของที่​ แท้จริง รวมถึงชื่อจริงนามสกุลจริง วันเกิด สัญชาติ แหล่งพำ�นัก จำ�นวนและประเภทหุน้ และสัดส่วนการ ถือหุ้นหรือสัดส่วนอำ�นาจควบคุมบริษัท 8. บริ ษั ท ประกาศว่ า จะไม่ นำ�เสนอ สั ญ ญา เรี ย กร้ อ ง 7.

— 127 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

9.

10.

11.

12.

สินบนและข้อได้เปรียบอื่นๆ ที่ไม่เป็นธรรม ทั้งทาง ตรงและทางอ้ อ ม เพื่ อ ให้ ไ ด้ ม าซึ่ ง ธุ ร กิ จ และข้ อ ได้ เปรียบอื่นๆ ที่ไม่เป็นธรรม บริษทั มีระบบการบริหารจัดการซึง่ ลงมือทันทีทเี่ กิดข้อ สงสัยว่าพนักงานหรือคู่ค้ากระทำ�ความผิดฐานทุจริต คอร์รัปชัน บริษัทรายงานการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ เพือ่ กำ�หนดปทัสถานระหว่างประเทศและกระบวนการ ออกกฎหมาย (พฤติกรรมการล็อบบี)้ บริ ษั ท บู ร ณาการหลั ก เกณฑ์ ด้ า นคอร์ รั ป ชั น ไว้ ใ น นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและนโยบายปฏิบัติการของ บริษัท บริษทั กำ�หนดหลักเกณฑ์เกีย่ วกับการทุจริตคอร์รปั ชัน เป็นเงื่อนไขในสัญญาที่ลงนามกับผู้รับเหมาช่วงและ คู่ค้า

— 128 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ความเท่าเทียมทางเพศ

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินมีนโยบายทีค่ �ำ นึงถึงความอ่อนไหวทาง เพศ (gender-sensitive policy) ซึ่งไม่ยอมรับการเลือก ปฏิบตั ทิ างเพศทุกรูปแบบ (zero tolerance policy) ในการ จ้างงานและการทำ�งาน รวมถึงความเสียหายทางจิต­ วิทยา และการคุกคามทางวาจา กายภาพ และทางเพศ 2. สถาบันการเงินมีระบบการจัดการความเท่าเทียมของ ค่าตอบแทน (pay equity) เชิงรุก 3. สถาบั น การเงิ น มี ร ะบบการป้ อ งกั น และบรรเทาการ เลือกปฏิบัติทางเพศต่อลูกค้า 4. สถาบันการเงินให้หลักประกันว่า ผูห ้ ญิงจะมีสว่ นร่วม ไม่น้อยกว่า 30% ในตำ�แหน่งบริหารระดับสูง และ ผู้หญิงและผู้ชายจะเข้าถึงตำ�แหน่งบริหารระดับสูงได้ 1.

— 129 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

อย่างเท่าเทียมกัน 5. สถาบันการเงินให้หลักประกันว่า ผูห ้ ญิงจะมีสว่ นร่วม ไม่น้อยกว่า 40% ในตำ�แหน่งบริหารระดับสูง และ ผู้หญิงและผู้ชายจะเข้าถึงตำ�แหน่งบริหารระดับสูงได้ อย่างเท่าเทียมกัน 6. สถาบันการเงินมีโครงการพัฒนาศักยภาพในสายอาชีพ สำ�หรับพนักงาน เพือ่ ส่งเสริมให้ผหู้ ญิงเข้าถึงตำ�แหน่ง บริหารและกรรมการบริษัทอย่างเท่าเทียม องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน บริษทั มีความทุม่ เทเชิงนโยบายทีจ่ ะบรรเทาความเสีย่ ง ด้านสิทธิมนุษยชนที่คนประสบ อันเป็น ผลมาจาก เพศสภาพของตนเอง 8. บริ ษั ท มี น โยบายที่ คำ � นึ ง ถึ ง ความอ่ อ นไหวทางเพศ (gender-sensitive policy) ซึง ่ ไม่ยอมรับการเลือกปฏิบตั ิ 7.

— 130 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ทางเพศทุกรูปแบบ (zero tolerance policy) ในการจ้าง งานและการทำ�งาน รวมถึงความเสียหายทางจิตวิทยา และการคุกคามทางวาจา ทางกายภาพ และทางเพศ 9. บริษท ั มีระบบการจัดการความเท่าเทียมของค่าตอบแทน (pay equity) เชิงรุก 10. บริษท ั มีระบบการป้องกันและบรรเทาการเลือกปฏิบตั ิ ทางเพศต่อลูกค้า 11. บริษัทให้หลักประกันว่า ผู้หญิงจะมีส่วนร่วมไม่น้อย กว่า 30% ในตำ�แหน่งบริหารระดับสูง และผู้หญิง และผู้ชายจะเข้าถึงตำ�แหน่งบริหารระดับสูงได้อย่าง เท่าเทียมกัน 12. บริษัทให้หลักประกันว่า ผู้หญิงจะมีส่วนร่วมไม่น้อย กว่า 40% ในตำ�แหน่งบริหารระดับสูง และผู้หญิง และผู้ชายจะเข้าถึงตำ�แหน่งบริหารระดับสูงได้อย่าง เท่าเทียมกัน 13. บริษัทมีโครงการพัฒนาศักยภาพในสายอาชีพสำ�หรับ พนักงาน เพือ่ ส่งเสริมให้ผหู้ ญิงเข้าถึงตำ�แหน่งบริหาร

— 131 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

14.

15.

และกรรมการบริษัทอย่างเท่าเทียม บริษัทบูรณาการหลักเกณฑ์ด้านความเท่าเทียมทาง เพศและสิทธิสตรีเข้าไปในนโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง และนโยบายปฏิบัติการของบริษัท บริษัทกำ�หนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความเท่าเทียมทาง เพศและสิทธิสตรีเป็นเงื่อนไขในสัญญาที่ลงนามกับ ผู้รับเหมาช่วงและคู่ค้า

สุขภาพ (ใหม่)

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน 1.

บริษทั ป้องกันไม่ให้สขุ ภาพของลูกจ้าง ลูกค้า และชุมชน ใกล้เคียงถูกลิดรอนโดยผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ ผลิตของบริษทั (ตามหลักความรอบคอบ—precautionary principle)

— 132 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

2.

บริษัทเคารพในสิทธิแรงงานว่าด้วยสุขอนามัยและ ความปลอดภัยในที่ทำ�งาน ตามอนุสัญญา ILO และ MNE Declaration

บริษทั พยายามอย่างต่อเนือ่ งทีจ่ ะยกระดับสุขภาพและ ความปลอดภัยของลูกจ้างอย่างเป็นระบบ และพัฒนา วัฒนธรรมป้องกันไว้ก่อนในองค์กร 4. บริษัทเคารพในข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการ ผลิ ต และใช้ ส ารพิ ษ และสารอั น ตรายตามที่ ร ะบุ ใ น Montreal Protocol (สารที่ทำ�ให้ชั้นโอโซนเป็นรู) 5. บริษัทเคารพในข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการ ผลิ ต และใช้ ส ารพิ ษ และสารอั น ตรายตามที่ ร ะบุ ใ น Stockholm Convention (ว่าด้วย Persistent Organic 3.

Pollutants: POPs) 6.

บริ ษั ท เคารพในข้ อ ตกลงระหว่ า งประเทศว่ า ด้ ว ย การค้าสารเคมีและของเสียเคมี ตามข้อตกลง Basel Convention

7.

บริษทั เคารพในข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการค้า

— 133 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

สารเคมีและของเสียเคมี ตามข้อตกลง

Rotterdam

Convention 8.

บริษทั ลดการปล่อยสารอันตรายออกสูผ่ วิ ดิน น้ำ� และ อากาศ ด้วยการใช้เทคโนโลยีทดี่ ที สี่ ดุ ทีม่ ี (best available technologies: BAT)

9.

10.

11

12.

13.

บริ ษั ทจำ�กั ด การใช้ ส ารเคมี ที่ มี ข้ อ สงสั ย ในงานวิ จั ย วิทยาศาสตร์วา่ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และถ้าใช้ ก็ใช้อย่างระมัดระวังที่สุด (ตามหลักความรอบคอบ) บริษัทยาสร้างความมั่นใจว่าผู้ป่วยที่มีโรคที่สามารถ หลีกเลี่ยงได้และรักษาให้หายได้ จะได้เข้าถึงยา บริษทั ใช้ยาปฏิชวี นะอย่างระมัดระวังในมนุษย์ เพือ่ ลด อาการดื้อยาปฏิชีวนะให้เหลือน้อยที่สุด บริ ษั ท ผู้ ผ ลิ ตนมผงทำ�ตามหลั ก เกณฑ์ ข ององค์ ก าร อนามัยโลก (WHO) ว่าด้วยการโฆษณานมผง บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ทำ�ตาม WHO Framework Convention on Tobacco Control และประกาศอื่ น ๆ ของ WHO ว่าด้วยการพิทก ั ษ์สขุ ภาพของคนและคนรุน่ หลัง

— 134 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

14.

15.

16.

จากควันบุหรี่ บริษัทไม่ยอมรับการผลิตบุหรี่และผลิตภัณฑ์ที่ทำ�จาก ยาสูบ บริษัทบูรณาการเกณฑ์ด้านสุขภาพในนโยบายจัดซื้อ จัดจ้างและการปฏิบัติการ บริ ษั ท รวมเงื่ อ นไขทำ�ตามหลั ก เกณฑ์ ด้ า นสุ ข ภาพ เข้าไปในสัญญาที่ทำ�กับผู้รับเหมาและคู่ค้า

สิทธิมนุษยชน

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน 1.

สถาบันการเงินเคารพในสิทธิมนุษยชนตามหลักการ ชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนขององค์การสห­ ประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights)

— 135 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน 2.

บริ ษั ท เคารพในสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนทุ ก ข้ อ ตามหลั ก การ ชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนขององค์การสห­ ประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights)

บริษัทมีความทุ่มเทเชิงนโยบายที่จะแสดงความรับ­ ผิดชอบในการเคารพสิทธิมนุษยชน 4. บริษท ั มีกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง รอบด้ า น (human rights due diligence) เพื่ อ ระบุ ป้องกัน บรรเทา และรายงานวิธีที่บริษัทจัดการกับ ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน 5. บริษัทมีกระบวนการที่นำ�ไปสู่การเยียวยาผลกระทบ ด้านสิทธิมนุษยชนเชิงลบใดๆ ก็ตาม ทีบ่ ริษทั เป็นผูก้ อ่ หรือมีส่วนในการก่อ 6. บริษท ั จัดตัง้ หรือมีสว่ นร่วมในกลไกรับเรือ่ งร้องเรียนระดับ 3.

— 136 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ปฏิบตั กิ าร จากปัจเจกและชุมชนทีอ่ าจได้รบั ผลกระทบ 7. บริษท ั ป้องกันความขัดแย้งเรือ่ งสิทธิในทีด่ นิ ทำ�กิน และ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการใช้กระบวนการ ปรึกษาหารืออย่างมีความหมายกับชุมชนท้องถิน่ และ ได้รบั ความยินยอมโดยสมัครใจโดยได้รบั ข้อมูลล่วงหน้า (free, prior, and informed consent: FPIC) ในประเด็น ที่เกี่ยวกับชนพื้นเมือง 8. บริ ษั ท ป้ อ งกั น ความขั ด แย้ ง เรื่ อ งสิ ท ธิ ใ นที่ ดิ น ทำ � กิ น และใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยได้รบั ความยินยอมโดย สมัครใจที่เป็นอิสระและได้รับข้อมูลล่วงหน้า (free, prior, and informed consent: FPIC) จากผู้ใช้ที่ดินที่ เกี่ยวข้องก่อนเท่านั้น 9. บริษท ั ให้ความสำ�คัญเป็นพิเศษกับการเคารพสิทธิเด็ก 10. บริษัทไม่ย อมรั บให้ มีก ารตั้ ง ถิ่ นฐานใดๆ รวมถึงการ ตั้งถิ่นฐานกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตนเอง ในเขตที่ ถูกบุกรุก (occupied territories) เพื่อเคารพกฎหมาย มนุษยธรรมระหว่างประเทศ

— 137 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

11.

12.

บริษัทบูรณาการหลักเกณฑ์ด้านสิทธิมนุษยชนเข้าไว้ ในนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและนโยบายปฏิบัติการ ของบริษัท บริ ษั ท กำ�หนดหลั ก เกณฑ์ ด้ า นสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนเป็ น เงื่อนไขในสัญญาที่ลงนามกับผู้รับเหมาช่วงและคู่ค้า

สิทธิแรงงาน

องค์ประกอบต่อไปนี้สำ�คัญสำ�หรับนโยบายระดับปฏิบัติ การของสถาบันการเงิน 1.

สถาบันการเงินเคารพคำ�ประกาศของ ILO ว่าด้วย หลักการและสิทธิพื้นขั้นฐานในที่ทำ�งาน (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work)

2.

สถาบันการเงินอย่างน้อยมีการบูรณาการมาตรฐาน แรงงานตามคำ�ประกาศของ ILO ว่าด้วยหลักการและสิทธิ ขัน้ พืน้ ฐานในทีท่ ำ�งาน (ILO Declaration on Fundamen-

— 138 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ไว้ในนโยบายการ จัดซื้อจัดจ้างและนโยบายปฏิบัติการขององค์กร tal Principles and Rights at Work)

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน บริษทั รับรองสิทธิในการรวมกลุม่ และตระหนักอย่างมี ประสิทธิผลในสิทธิในการรวมกลุ่มต่อรอง 4. บริษัทไม่ยอมรับการใช้แรงงานบังคับทุกรูปแบบ 5. บริษัทไม่ยอมรับการใช้แรงงานเด็ก 6. บริษท ั ไม่ยอมรับการเลือกปฏิบตั ใิ นการจ้างงานและใน ที่ทำ�งาน 7. บริ ษั ท ประกาศว่ า จะจ้ า งงานอย่ า งเป็ น ธรรม (fair 3.

recruitment practices)

บริษัทจ่ายค่าแรงที่เลี้ยงชีพและครอบครัวได้ wage) แก่พนักงาน 9. บริษัทบังคับใช้เพดานชั่วโมงทำ�งาน 8.

— 139 —

(living


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

10.

11.

12.

13.

14.

15.

บริษทั มีนโยบายสุขภาพและความปลอดภัยทีร่ อบด้าน ครบถ้วน บริษัทรับประกันได้ว่าแรงงานข้ามชาติจะได้รับการ ปฏิบัติอย่างเท่าเทียม และมีสภาพการทำ�งานที่เท่า เทียมกับลูกจ้างคนอื่นๆ บริษัทมีระบบการบริหารจัดการที่สามารถติดตาม ได้อย่างชัดเจน และแก้ไขการปฏิบัติตามมาตรฐาน แรงงานตามกฎหมายแรงงานเมื่อจำ�เป็น บริษทั จัดตัง้ กระบวนการรับและจัดการกับเรือ่ งร้องเรียน จากพนักงาน และเพื่อแก้ไขข้อพิพาทและการละเมิด ต่างๆ โดยควรปรึกษาหารือกับสหภาพแรงงานทีเ่ กีย่ วข้อง บริษัทบูรณาการหลักเกณฑ์ด้านสิทธิแรงงานไว้ใน นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัท บริษทั กำ�หนดหลักเกณฑ์ดา้ นสิทธิแรงงานเป็นเงือ่ นไข ในสัญญาที่ลงนามกับผู้รับเหมาช่วงและคู่ค้า

— 140 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ธรรมชาติ

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน บริษทั ป้องกันผลกระทบทางลบต่อพืน้ ทีท่ มี่ คี ณ ุ ค่าด้าน การอนุรกั ษ์สงู (High Conservation Value—HCV—areas) ภายในเขตปฏิบตั กิ ารของบริษทั และพืน้ ทีท่ บ่ี ริษทั บริหาร จัดการ 2. บริษัทป้องกัน ผลกระทบทางลบต่อพื้นที่ระดับ I–IV ตามการจัดหมวดขององค์กรระหว่างประเทศเพือ่ การ อนุรกั ษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) ภายในเขตปฏิบต ั กิ ารของบริษทั และ พื้นที่ที่บริษัทบริหารจัดการ 3. บริ ษั ท ป้ อ งกั น ผลกระทบทางลบต่ อ พื้ น ที่ ม รดกโลก ยูเนสโก (UNESCO World Heritage) ภายในเขตปฏิบตั ­ิ การของบริษัทและพื้นที่ที่บริษัทบริหารจัดการ 1.

— 141 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

บริษัทป้องกัน ผลกระทบทางลบต่อพื้นที่อนุรักษ์ตาม อนุสัญญาแรมซาร์ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ�ที่มีความสำ�คัญ ระหว่างประเทศ (Ramsar Convention on Wetlands) ภายในเขตปฏิ บั ติ ก ารของบริ ษั ท และพื้ น ที่ ที่ บ ริ ษั ท บริหารจัดการ 5. บริษท ั ป้องกันผลกระทบทางลบต่อประชากรสัตว์ทอี่ ยู่ ในบัญชีแดงสัตว์ใกล้สญ ู พันธุข์ องไอยูซเี อ็น (IUCN Red 4.

List of Threatened Species)

การค้าพืชและสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เป็นไปตามเงื่อนไขใน อนุสัญญาไซเตส (CITES) 7. บริษัทไม่ยอมรับการค้าพืชและสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่อยู่ ในรายการแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส (CITES) 8. การดำ�เนินงานในสาขาวัสดุพันธุกรรมและวิศวพันธุ­ กรรม (genetic materials & genetic engineering) จะ เกิดได้ก็ต่อเมื่อการดำ�เนินการนั้น ผ่านเงื่อนไขการ อนุญาตและประมวลผลตามอนุสัญญาว่าด้วยความ หลากหลายทางชีวภาพขององค์การสหประชาชาติ 6.

— 142 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

และแนว หรือพิธสี ารนาโกยา

(UN Convention on Biological Diversity)

ปฏิบตั บิ อนน์

(Bonn Guidelines)

เท่านั้น 9. การผลิตหรือการซื้อขายสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม สามารถทำ�ได้ ก็ ต่ อ เมื่ อ ได้ รั บ อนุ ญ าตจากประเทศ ผู้นำ�เข้าสินค้าและปฏิบัติตามข้อกำ�หนดของพิธีสาร คาร์ตาเฮนา 10. บริษท ั ป้องกันการนำ�ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ รุกราน (invasive alien species) (พืชหรือสัตว์) เข้าสู่ระบบนิเวศ 11. บริษท ั จัดทำ�รายงานประเมินผลกระทบจากภาวะขาด​ แคลนน้ำ� (water scarcity impact assessment) ใน พื้นที่ขาดแคลนน้ำ� 12. บริษท ั มีมาตรการบรรเทาผลกระทบทีค่ รอบคลุม เพือ่ ตอบสนองต่อความต้องการน้ำ�ของชุมชนและระบบ นิเวศ ในพืน้ ทีท่ รี่ ายงานผลกระทบสิง่ แวดล้อมระบุวา่ โครงการหรือปฏิบัติการของบริษัทอาจมีผลกระทบ อย่างมีนัยสำ�คัญต่อแหล่งน้ำ� (Nagoya Protocol)

— 143 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

13.

14.

15.

บริษัทจัดทำ�การประเมิน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยผลกระทบโดยรวมของโครงการขนาดใหญ่ต่อ ความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างน้อยตามแนวทาง ที่ระบุในมาตรฐาน GRI 304: Biodiversity 2016 หรือ มาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง บริษทั บูรณาการหลักเกณฑ์ดา้ นธรรมชาติไว้ในนโยบาย การจัดซื้อจัดจ้างและนโยบายปฏิบัติการของบริษัท บริษทั กำ�หนดหลักเกณฑ์ดา้ นธรรมชาติเป็นเงือ่ นไขใน สัญญาที่ลงนามกับผู้รับเหมาช่วงและคู่ค้า

ภาษี

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน 1.

สถาบั น การเงิ น รายงานรายได้ กำ�ไร อั ต รากำ�ลั ง พนักงาน เงินอุดหนุนจากรัฐ และเงินภาษีที่จ่ายรัฐ

— 144 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

สำ�หรับกิจการในแต่ละประเทศทีส่ ถาบันเปิดให้บริการ ไม่ต่ำ�กว่า 3 ใน 4 ของประเทศทั้งหมด และ/หรือ ไม่ตำ�่ กว่า 3 ใน 4 ของรายได้ทั้งหมด และรายงาน ในทางที่สอดคล้องกับงบการเงินรวม 2. สถาบั น การเงิ น รายงานรายได้ กำ�ไร อั ต รากำ�ลั ง พนักงาน เงินอุดหนุนจากรัฐ และเงินภาษีที่จ่ายรัฐ สำ�หรับกิจการในแต่ละประเทศทีส่ ถาบันเปิดให้บริการ ครบทุกประเทศทีเ่ ปิดให้บริการ และรายงานในทางที่ สอดคล้องกับงบการเงินรวม 3. สถาบั น การเงิ น เปิ ด เผยข้ อ มู ล สิ น ทรั พ ย์ ร วมในทุ ก ประเทศทีเ่ ปิดให้บริการ และรายงานในทางทีส่ อดคล้อง กับงบการเงินรวม 4. สถาบั น การเงิ น ไม่ ใ ห้ คำ�ปรึ ก ษาแก่ ลู ก ค้ า ในการทำ� ธุรกรรมกับโครงสร้างระหว่างประเทศ ซึ่งมีเป้าหมาย ที่จะหนีภาษีหรือหลบเลี่ยงภาษี 5. สถาบันการเงินไม่มีส่วนร่วมใดๆ ในธุรกรรมกับโครง­ สร้างระหว่างประเทศ ซึง่ มีเป้าหมายทีจ่ ะหนีภาษีหรือ

— 145 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

หลบเลี่ยงภาษี 6. สถาบันการเงินเผยแพร่ขอ ้ มูลสำ�คัญเกีย่ วกับคำ�ตัดสิน ทางภาษีทเี่ ฉพาะเจาะจงระดับบริษทั ซึง่ องค์กรได้รบั มาจากหน่วยงานกำ�กับดูแลด้านภาษี 7. สถาบันการเงินไม่มีบริษัทในเครือ สาขา หรือบริษัท ร่วมลงทุนใดๆ ในเขตอำ�นาจศาล (jurisdiction) ทีไ่ ม่มี ภาษีเงินได้ หรือเก็บภาษีเงินได้ในอัตราศูนย์เปอร์เซ็นต์ หรือในเขตอำ�นาจศาลทีม่ พี ฤติกรรมการเก็บภาษีธรุ กิจ ทีเ่ ป็นอันตรายต่อสังคม ยกเว้นว่าสถาบันการเงินจะมี กิจกรรมทางธุรกิจจริงๆ และได้กำ�ไรจากกิจกรรมทาง เศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้นจริงๆ 8. สถาบันการเงินไม่ให้บริการทางการเงินแก่บริษท ั ทีต่ ง้ั อยู่ ในเขตปลอดภาษี (tax haven) ยกเว้นว่าบริษัทนั้นๆ จะมีกจิ กรรมทางธุรกิจจริงๆ และได้กำ�ไรจากกิจกรรม ทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้นจริงๆ

— 146 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน 9.

10.

11.

บริษัทเผยแพร่โครงสร้างกลุ่มบริษัททั้งหมด รวมถึง องค์กรที่บริษัทมีอำ�นาจควบคุมทางอ้อมและร่วมกับ องค์กรอื่น บริษทั เผยแพร่คำ�อธิบายกิจกรรม ขอบเขตการปฏิบตั ­ิ การและเจ้าของทีแ่ ท้จริง (ultimate shareholder) ของ กิจการในเครือ สาขา กิจการร่วมทุน หรือกิจการร่วมค้า ทีต่ ง้ั อยูใ่ นเขตอำ�นาจศาล (jurisdiction) ทีไ่ ม่มภี าษีเงินได้ หรือเก็บภาษีเงินได้ในอัตราศูนย์เปอร์เ­ซ็นต์ หรือใน เขตอำ�นาจศาลทีม่ พี ฤติกรรมการเก็บภาษีธรุ กิจทีเ่ ป็น อันตรายต่อสังคม บริษทั รายงานรายได้ กำ�ไร อัตรากำ�ลังพนักงาน เงิน อุดหนุนจากรัฐ และเงินที่จ่ายรัฐ (เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, เงินค่าสัมปทาน และภาษีเงินได้ธุรกิจ) จาก แต่ละประเทศที่บริษัทมีกิจการ ครบทุกประเทศที่

— 147 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

12.

13.

14.

15.

16.

บริษัทมีกิจการ บริษทั จัดโครงสร้างกิจการระหว่างประเทศและธุรกรรม ระหว่างประเทศในทางที่สะท้อนสาระทางเศรษฐกิจ ของกิจกรรมและธุรกรรมของบริษทั โดยไม่ผา่ นขัน้ ตอน ที่ทำ�ไปเพื่อแสวงความได้เปรียบทางภาษีเป็นหลัก บริษทั เผยแพร่ขอ้ มูลสำ�คัญเกีย่ วกับคำ�ตัดสินทางภาษี ที่เฉพาะเจาะจงระดับบริษัท ซึ่งบริษัทได้รับมาจาก หน่วยงานกำ�กับดูแลด้านภาษี บริษทั เผยแพร่คำ�ตัดสินหรือคำ�ระงับข้อพิพาทเกีย่ วกับ ภาษี ซึ่งบริษัทหรือบริษัทในเครือเป็นฝ่ายเกี่ยวข้อง เท่าที่จะทำ�ได้ตามกฎหมายและเป็นไปได้ (practical) ไม่ว่าจะในชั้นศาลหรือชั้นอนุญาโต­ตุลาการก็ตาม บริษัทมีระบบการบริหารจัดการซึ่งส่งผลทางปฏิบัติ ทันทีที่เกิดข้อสงสัยว่าพนักงานหรือคู่ค้าอาจช่วยหลบ เลี่ยงภาษี บริษทั บูรณาการหลักเกณฑ์ดา้ นภาษีเข้าไปในนโยบาย การจัดซื้อจัดจ้างและนโยบายปฏิบัติการของบริษัท

— 148 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

17.

บริ ษั ท กำ�หนดหลั ก เกณฑ์ ด้ า นภาษี เ ป็ น เงื่ อ นไขใน สัญญาที่ลงนามกับผู้รับเหมาช่วงและคู่ค้า

อาวุธ

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายเกีย่ วกับบริษทั ที่สถาบันการเงินลงทุนหรือให้การสนับสนุนทางการเงิน สถาบันการเงินไม่ยอมรับการใช้ การผลิต การพัฒนา การบำ�รุงรักษา การทดสอบ การกักตุน และการค้า ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (anti-personal landmines) รวมถึงส่วนประกอบสำ�คัญของทุน่ ระเบิดสังหารบุคคล 2. สถาบันการเงินไม่ยอมรับการใช้ การผลิต การพัฒนา การบำ�รุงรักษา การทดสอบ การกักตุน และการค้า ระเบิดลูกปราย (cluster munition) รวมถึงส่วนประกอบ สำ�คัญของระเบิดลูกปราย 3. สถาบันการเงินไม่ยอมรับการใช้ การผลิต การพัฒนา 1.

— 149 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

การบำ�รุงรักษา การทดสอบ การกักตุน และการค้า อาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงส่วนประกอบสำ�คัญของอาวุธ นิ ว เคลี ย ร์ ในประเทศหรื อ ไปยั ง ประเทศที่ ไ ม่ ใ ห้ สัตยาบันในสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Non-Proliferation Treaty)

สถาบันการเงินไม่ยอมรับการใช้ การผลิต การพัฒนา การบำ�รุงรักษา การทดสอบ การกักตุน และการค้า อาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงส่วนประกอบสำ�คัญของอาวุธ นิวเคลียร์ 5. สถาบันการเงินไม่ยอมรับการใช้ การผลิต การพัฒนา การบำ�รุงรักษา การทดสอบ การกักตุน และการค้า อาวุธเคมี รวมถึงส่วนประกอบสำ�คัญของอาวุธเคมี 6. สถาบันการเงินไม่ยอมรับการใช้ การผลิต การพัฒนา การบำ�รุงรักษา การทดสอบ การกักตุน และการค้าอาวุธ ชีวภาพ รวมถึงส่วนประกอบสำ�คัญของอาวุธชีวภาพ 7. สถาบันการเงินไม่ยอมรับการใช้ การผลิต การพัฒนา การบำ�รุงรักษา การทดสอบ การกักตุน และการค้า 4.

— 150 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ระบบอาวุ ธ อั ต โนมั ติ รุ น แรง (lethal autonomous weapons systems systems:: LAWS LAWS)) รวมถึ ง ส่ ว นประกอบที่ ออกแบบมาสำ�หรับ LAWS 8. สำ�หรับสินค้าที่สำ�คัญสำ�หรับเป้าหมายทางการทหาร แต่ยงั สามารถใช้เป็นผลิตภัณฑ์พลเรือน (สินค้า “dual-​ use”) สถาบั น การเงิ น จั ด ประเภทสิ น ค้ า ชนิ ด นี้ เ ป็ น สินค้าทางทหาร เมื่อมันมีเป้าหมายที่ไม่ใช่เป้าหมาย ทางพลเรือน 9. สถาบัน การเงิ นไม่ ยอมรั บการส่ ง อาวุ ธ และระบบส่ง อาวุธ ระบบลำ�เลียงทางการทหาร และสินค้าทาง ทหารอื่นๆ ไปยังประเทศที่ถูกห้ามส่งสินค้าเข้าโดย องค์การสหประชาชาติ หรือองค์กรระหว่างประเทศอืน่ 10. สถาบันการเงิ นไม่ ยอมรั บการส่ ง อาวุ ธ และระบบส่ง อาวุธ ระบบลำ�เลียงทางการทหาร และสินค้าทาง ทหารอืน่ ๆ ถ้าหากมีความเสีย่ งสูงว่าอาวุธเหล่านัน้ จะ ถูกใช้ในการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมายด้าน มนุษยธรรมอย่างรุนแรง

— 151 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

11.

12.

13.

14.

15.

สถาบันการเงินไม่ยอมรับการส่งอาวุธและระบบส่งอาวุธ ระบบลำ�เลียงทางการทหาร และสินค้าทางทหารอืน่ ๆ ไปยังประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง สถาบันการเงินไม่ยอมรับการส่งอาวุธและระบบส่ง อาวุธ ระบบลำ�เลียงทางการทหาร และสินค้าทาง ทหารอื่นๆ ไปยังคู่ขัดแย้งที่มีส่วนร่วมในความรุนแรง ยกเว้นว่าเป็นฝ่ายที่กำ�ลังทำ�ตามมติของคณะมนตรี ความมัน่ คงแห่งสหประชาชาติ (UN Security Council) สถาบันการเงินไม่ยอมรับการส่งอาวุธและระบบส่ง อาวุธ ระบบลำ�เลียงทางการทหาร และสินค้าทาง ทหารอื่ น ๆ ไปยั ง ประเทศที่ อ่ อ นไหวต่ อ การทุ จริ ต คอร์รัปชัน สถาบันการเงินไม่ยอมรับการส่งอาวุธและระบบส่ง อาวุธ ระบบลำ�เลียงทางการทหาร และสินค้าทาง ทหารอื่นๆ ไปยังประเทศที่รัฐล้มเหลวหรือเปราะบาง สถาบันการเงินไม่ยอมรับการส่งอาวุธและระบบส่ง อาวุธ ระบบลำ�เลียงทางการทหาร และสินค้าทาง

— 152 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ทหารอืน่ ๆ ไปยังประเทศทีใ่ ช้เงินงบประมาณมากเกิน สัดส่วนที่สมควรไปกับการซื้ออาวุธ การคุ้​้�มครองผู้​้�บริ​ิโภค

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายของสถาบันการ เงินที่สัมพันธ์กับลูกค้ารายย่อย สถาบั น การเงิ น มี น โยบายเปิ ด เผยสิ ท ธิ ข องลู ก ค้ า รายย่อย และความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และบริการ 2. สถาบั น การเงิ น มี น โยบายอบรมจรรยาบรรณของ พนักงานและกำ�กับให้พนักงานให้บริการต่อลูกค้าโดย ไม่เลือกปฏิบัติ 3. สถาบันการเงินสร้างหลักประกันว่าลูกค้ารายย่อยเข้า ถึงกลไกรับเรื่องร้องเรียนและเยียวยาที่มีกระบวนการ ค้นหาความจริง (due diligence) 4. สถาบั น การเงิ น เปิ ด เผยผลการติ ด ตามสถิ ติ ก ารร้ อ ง 1.

— 153 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

เรียนของลูกค้ารายย่อย อาทิ จำ�นวนเรื่องร้องเรียน ประเด็นร้องเรียนหลัก องค์กรทีล่ กู ค้าติดต่อร้องเรียน ทั้งทางตรงและทางอ้อม แบ่งตามช่องทางที่รับเรื่อง ร้องเรียน (เช่น ทางโทรศัพท์ เว็บไซต์ สาขา ฯลฯ) 5. สถาบันการเงินประกาศต่อสาธารณะว่าจะลดจำ�นวน เรื่องร้องเรียน กำ�หนดเป้าหมายที่ชัดเจน และเปิดให้ ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเข้าถึงข้อมูลนี้ได้ 6. สถาบั น การเงิ น มี ก ลไกจั ด การข้ อ พิ พ าททางเลื อ ก [Alternative Dispute Resolution (ADR) Mechanisms]

กระบวนการเยี ย วยาอิ ส ระสำ�หรั บ การจั ด การกั บ ข้ อ ร้ อ งเรี ย นที่ ไ ม่ อ าจคลี่ ค ลายได้ ด้ ว ยกระบวนการ ภายในของสถาบั น การเงิ น หรื อ ตั ว แทนที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายจากสถาบันการเงิน 7. สถาบัน การเงิ นมี นโยบายปรั บโครงสร้ างหนี้สำ�หรับ ผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเป็นหนี้เกินตัว 8. สถาบั น การเงิ น มี น โยบายหรื อ แนวปฏิ บั ติ ที่ ชั ด เจน ในการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้เป็นหนี้เกินตัว

— 154 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

9.

10.

11.

12.

13.

สถาบันการเงินพัฒนาและลงมือใช้บัญชีความเสี่ยง สำ�หรับลูกค้า (risk profile) ในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ ด้านการลงทุน สถาบันการเงินคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า รายย่ อ ย (ไม่ เ ปิ ด เผยข้ อ มู ล ต่ อ บุ ค คลอื่ น เว้ น แต่ จ ะ ได้รับอนุญาตจากลูกค้า) ข้ อ มู ล ทางการเงิ น และข้ อ มู ล ส่ ว นบุ ค คลของลู ก ค้ า ได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม ด้วยกลไกควบคุม และคุ้มครอง มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและเผยแพร่ต่อ สาธารณะว่าสถาบันการเงินจะจัดเก็บ ประมวลผล บันทึก ใช้ และเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้อย่างไรบ้าง สถาบันการเงินมีนโยบายและขั้นตอนรับผิดที่ชัดเจน ในกรณี ที่ เ กิ ด การโจรกรรม ลั ก ทรั พ ย์ และฉ้ อ โกง เกี่ยวเนื่องกับลูกค้ารายย่อยซึ่งเกิดขึ้นในสาขา ตู้กด เงินสด อินเทอร์เน็ต หรือตัวแทนที่ได้รับมอบหมาย จากสถาบันการเงิน สถาบันการเงินตีพิมพ์เผยแพร่นโยบายหรือขั้นตอน

— 155 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

14.

15.

16.

17.

การติ ด ตามหนี้ และบริ ษั ท ที่ ไ ด้ รั บมอบหมายจาก สถาบันการเงิน (บุคคลที่สาม) ให้เป็นตัวแทนในการ ทวงหนี้ สถาบันการเงินมีนโยบายและขั้นตอนที่จะหลีกเลี่ยง การพ่วงขายผลิตภัณฑ์ หรือพฤติกรรมการขายที่ไม่ เหมาะสม สถาบันการเงินเปิดเผยข้อมูลสำ�คัญแก่ลูกค้ารายย่อย ว่าด้วยประโยชน์ ความเสี่ยง และเงื่อนไขพื้นฐาน ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ท างการเงิ น และการเปลี่ ย นแปลง ค่าธรรมเนียม สถาบั น การเงิ น มี น โยบายหรื อ แนวปฏิ บั ติ ที่ ชั ด เจน เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลสินเชื่อที่อยู่อาศัย ก่อน ขั้นตอนลงนามในสัญญา สถาบันการเงินออกแบบโครงสร้างค่าตอบแทนสำ�หรับ พนักงานและตัวแทน ในทางทีส่ ง่ เสริมพฤติกรรมการ ทำ�ธุรกิจอย่างรับผิดชอบ การปฏิบัติต่อลูกค้าอย่าง เป็นธรรม และการหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน

— 156 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

18.

19.

20.

21.

สถาบันการเงินมีโครงการอบรมพนักงานและตัวแทน อย่างเหมาะสม ในประเด็นสิทธิผู้บริโภค นโยบาย คุ้มครองผู้บริโภค และธรรมเนียมปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง สถาบันการเงินมีโครงการอบรมพนักงานและตัวแทน อย่ า งเหมาะสม ในประเด็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละบริ ก าร ต่างๆ ที่นำ�เสนอต่อผู้บริโภค สถาบันการเงินรับประกันได้ว่าไม่มีข้อจำ�กัดใดๆ ด้าน เทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) ที่จะกีดกัน ไม่ให้ลูกค้ารายย่อยเข้าถึงบริการทางการเงิน สถาบันการเงินมีนโยบายที่จะเปิดให้ลูกค้ารายย่อยที่ เป็น ผู้พิการหรือมีความต้องการพิเศษสามารถเข้าถึง สาขาทางกายภาพและบริการอิเล็กทรอนิกส์ อย่าง เช่นแพล็ตฟอร์มออนไลน์ได้

— 157 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

การขยายบริ​ิการทางการเงิ​ิน

องค์ประกอบต่อไปนี้สำ�คัญสำ�หรับนโยบายของสถาบัน การเงินที่สัมพันธ์กับลูกค้ารายย่อย สถาบันการเงินมีนโยบาย บริการ และผลิตภัณฑ์ที่ พุ่งเป้าไปยังกลุ่มคนจนและคนชายขอบอย่างเฉพาะ เจาะจง 2. สถาบันการเงินมีสาขาในเขตชนบท ไม่ใช่เฉพาะในเมือง 3. สถาบันการเงินมีบริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือ (mobile banking) และบริ ก ารเงิ น อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ 1.

(e-money)

สถาบันการเงินมีสัดส่วนสินเชื่อที่ปล่อยให้กับธุรกิจ ขนาดจิ๋วจนถึงขนาดกลาง (Micro to SME: MSME) มากกว่า 10% ของสินเชื่อทั้งหมด 5. สถาบั น การเงิ น ไม่ กำ�หนดว่ า MSME ต้ อ งมี ห ลั ก ประกันในการกู้ 4.

— 158 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

สถาบันการเงินมีนโยบายเปิดเผยสิทธิของลูกค้า และ ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (รวมถึงความ เสี่ยงที่จะเป็นหนี้เกินตัว) สำ�หรับลูกค้าที่ไม่รู้หนังสือ และ MSME 7. สถาบันการเงินเผยแพร่เงือ ่ นไขของบริการทางการเงิน ในภาษาท้องถิ่น 8. สถาบันการเงินมีนโยบายปรับปรุงความรู้ทาง​การเงิน (financial literacy) ของลูกค้ากลุม ่ ผูม้ รี ายได้นอ้ ย กลุม่ ชายขอบ และ MSME 9. สถาบั น การเงิ น ไม่ คิ ด ค่ า ธรรมเนี ย มในการเปิ ด บั ญ ชี เงินฝากพื้นฐาน หรือคิดค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อย อย่างสมเหตุสมผล 10. สถาบันการเงินไม่กำ�หนดเงินคงเหลือในบัญชีขั้นต่ำ� (minimum balance) สำ�หรับบัญชีเงินฝากพื้นฐาน 11. สถาบั น การเงิ น มี ม าตรฐานระยะเวลาการพิ จ ารณา สินเชื่อ และเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณะ 12. สถาบันการเงินมีบริการรับหรือโอนเงินในประเทศที่ 6.

— 159 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

13.

เหมาะสม สะดวก และลูกค้ารายย่อยมีกำ�ลังซื้อ สถาบันการเงินปล่อยสินเชือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยให้กบั ผูม้ รี ายได้ น้อย

นโยบายค่​่าตอบแทน

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน สถาบั น การเงิ น สงวนสิ ท ธิ ที่ จ ะเรี ย กเงิ น โบนั ส คื น ถ้าหากปรากฏภายหลังจากที่ได้เงินไปแล้วว่าได้รับ โบนัสโดยมิชอบ (กลไก clawback) 2. สถาบันการเงินกำ�หนดเพดานการจ่ายโบนัสไว้ไม่เกิน 100% ของเงินเดือนตลอดปี 3. สถาบันการเงินกำ�หนดเพดานการจ่ายโบนัสไว้ไม่เกิน 20% ของเงินเดือนตลอดปี 4 สถาบั น การเงิ น กำ�หนดเพดานการจ่ า ยเงิ น เดื อ นไว้ 1.

— 160 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ไม่เกินยี่สิบเท่าของเงินเดือนที่ต่ำ�ที่สุดในองค์กร หรือ ขั้นสูงสุดของช่วงเงินเดือนที่ต่ำ�ที่สุดภายในสถาบัน 5. เงินโบนัสอย่างน้อย 60% ขึน ้ อยูก่ บั เป้าหมายระยะยาว (ซึง ่ ไม่เหมือนกับข้อตกลงทีจ่ ะเลือ่ นจ่ายโบนัสออกไป) 6. เงินโบนัสอย่างน้อย 1 ใน 3 อิงกับหลักเกณฑ์ที่ไม่ใช่ เกณฑ์ทางการเงิน 7. เงินโบนัสอย่างน้อย 2 ใน 3 อิงกับหลักเกณฑ์ที่ไม่ใช่ เกณฑ์ทางการเงิน 8. เงินโบนัสอิงกับความพึงพอใจของพนักงาน 9. เงินโบนัสอิงกับความพึงพอใจของลูกค้า 10. เงินโบนัสอิงกับการปรับปรุงผลกระทบด้านสังคมและ สิง่ แวดล้อมของการบริหารจัดการของสถาบันการเงิน และธรรมเนียมปฏิบัติในการปฏิบัติการ 11. เงินโบนัสอิงกับการปรับปรุงผลกระทบด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อมของการลงทุนและบริการทางการเงินของ สถาบันการเงิน 12.. สถาบั น การเงิ น ปรั บ ใช้ น โยบายการตอบแทนกั บ ทั้ ง 12

— 161 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

องค์กร รวมถึงคณะกรรมการบริษทั กรรมการ (กรณีมี โครงสร้างคณะกรรมการแบบ 2 ชัน้ ) ผูบ้ ริหารระดับสูง และผู้ตัดสินใจรับความเสี่ยง (risk takers takers)) ความโปร่งใสและความรับผิด

องค์ประกอบต่อไปนีส้ ำ�คัญสำ�หรับนโยบายระดับปฏิบตั กิ าร ของสถาบันการเงิน สถาบันการเงินอธิบายกรอบการให้เงินสนับสนุนและ การลงทุนขององค์กร ทีเ่ กีย่ วข้องกับประเด็นทางสังคม และสิง่ แวดล้อม และอธิบายว่าองค์กรจะมัน่ ใจได้อย่างไร ว่าการลงทุนเป็นไปตามเงือ่ นไขในนโยบายขององค์กร 2. กรอบการให้เงินสนับสนุนและการลงทุนของสถาบัน การเงินได้รับการตรวจสอบโดยองค์กรภายนอก และ มีการเผยแพร่ผลการตรวจสอบต่อสาธารณะ 3. สถาบันการเงินเผยแพร่รายชื่อของรัฐบาลที่ตนเข้าไป 1.

— 162 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ลงทุน (เช่น ลงทุนในกองทุนบำ�นาญของประเทศ หนึ่งๆ เป็นต้น) 4. สถาบันการเงินเผยแพร่รายชื่อของบริษัทที่ตนเข้าไป ลงทุน 5. สถาบันการเงินเปิดเผยรายชื่อบริษัทที่ปล่อยสินเชื่อ ใหม่ในปีที่ผ่านมา บนเว็บไซต์ของสถาบันการเงิน 6. สถาบันการเงินเปิดเผยรายชื่อบริษัทที่ปล่อยสินเชื่อ ทัง้ หมด (เก่าและใหม่) บนเว็บไซต์ของสถาบันการเงิน 7. สถาบันการเงินเผยแพร่ชื่อสินเชื่อโครงการ (project finance) และสินเชือ ่ ธุรกิจทัง้ หมดทีเ่ กีย่ วข้องกับโครงการ รวมถึงข้อมูลทีก่ ำ�หนดในมาตรฐานอีเควเตอร์ (Equator Principles III)

สถาบันการเงินเผยแพร่พอร์ตสินเชือ่ ตามภูมภิ าค ขนาด และอุตสาหกรรม (ตามมาตรฐาน GRI FSSD FS6) 9. สถาบั น การเงิ น เผยแพร่ พ อร์ ต สิ น เชื่ อ ในตารางไขว้ ผสมข้อมูลสินเชื่อรายอุตสาหกรรมกับข้อมูลสินเชื่อ รายภูมิภาค 8.

— 163 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

10.

11.

12.

13.

14.

15.

16.

สถาบันการเงินตีพมิ พ์เผยแพร่พอร์ตสินเชือ่ โดยละเอียด เช่น ตามมาตรฐานการเผยแพร่ขอ้ มูลสองหลักแรกของ NACE และ ISIC สถาบันการเงินตีพมิ พ์เผยแพร่พอร์ตสินเชือ่ โดยละเอียด เช่น ตามมาตรฐานการเผยแพร่ข้อมูลสี่ข้อแรกของ NACE และ ISIC สถาบันการเงินเผยแพร่จำ�นวนบริษัทที่องค์กรเคยมี ปฏิ สั ม พั น ธ์ ด้ ว ยในประเด็ น สั ง คมและสิ่ ง แวดล้ อ ม (ตามมาตรฐาน GRI G4 FSSD FS10) สถาบันการเงินเผยแพร่ชื่อบริษัทที่องค์กรเคยมีปฏิ­ สัมพันธ์ด้วยในประเด็นสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันการเงินเผยแพร่ผลของการมีปฏิสัมพันธ์ตาม ข้อ 12. รวมถึงหัวข้อ เป้าหมาย และเส้นตาย สถาบันการเงินเผยแพร่ชอ่ื ของบริษทั ทีต่ ดั สินใจไม่ลงทุน เนื่องจากประเด็นด้านความยั่งยืน รวมถึงเผยแพร่ เหตุผลที่ไม่ลงทุน สถาบันการเงินเผยแพร่สถิติการออกเสียง

— 164 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

17.

สถาบันการเงินเผยแพร่รายงานความยั่งยืนที่เนื้อหา บางข้อทำ�ตามมาตรฐาน GRI (ระดับ Core หรือ Com­ prehensive)

18.

19.

20.

21.. 21

22.

23.

สถาบันการเงินเผยแพร่รายงานความยั่งยืนที่ทำ�ตาม มาตรฐาน GRI (ระดับ Core หรือ Comprehensive) ทั้งฉบับ รายงานความยัง่ ยืนของสถาบันการเงินได้รบั การตรวจ ทานจากบุคคลที่สาม สถาบันการเงินรายงานการปรึกษาหารือกับองค์กร ภาคประชาสังคมและผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มอื่นๆ สถาบันการเงินมีกลไกรับเรื่องร้องเรียน จากลูกค้า และบุคคลที่ไม่ใช่ลูกค้า สถาบันการเงินจัดตั้งหรือมีส่วนร่วมในกลไกรับเรื่อง ร้องเรียนระดับปฏิบตั กิ าร จากปัจเจกบุคคลและชุมชน ที่อาจได้รับผลกระทบทางลบจากกิจกรรมที่เกี่ยวโยง กับสถาบันการเงิน สถาบันการเงินรายงานกลไกรับเรือ่ งร้องเรียน รวมถึง

— 165 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

24.

ความก้าวหน้าและประสิทธิผล สถาบันการเงินต้องเคารพและยินดีให้ความร่วมมือใน กระบวนการร้องทุกข์ที่เกิดขึ้นในรัฐ ทั้งที่มีและไม่มี การพิจารณาคดี เมื่อกรณีที่สถาบันการเงินมีส่วน เกี่ยวข้องด้วยต้องเข้าสู่กระบวนการร้องทุกข์ดังกล่าว

— 166 —


ภาคผนวก ข

สรุ​ุปเกณฑ์​์ที่​่�ได้​้คะแนน เป็​็นครั้​้�งแรกในแต่​่ละหมวด

— 167 —



สำ�หรับเกณฑ์ที่ธนาคารไทยได้คะแนนเป็นครั้งแรกใน แต่ละหมวด (●) สำ�หรับเกณฑ์ทเี่ คยได้คะแนนในปีทแี่ ล้ว แต่ในปีนไ้ี ม่มธี นาคารใดได้คะแนนเลย พร้อมทัง้ ยกตัวอย่าง ธนาคารทีไ่ ด้คะแนนในเกณฑ์ดงั กล่าวในบรรดาธนาคารทีไ่ ด้ คะแนน 5 อันดับแรกในปีนี้ รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้ (✓)

การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ

7

สถาบันการเงินวัดและเปิดเผยผลกระทบ ที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามแนวทางที่แนะนำ�โดย Task Force on

ttb

BAY

KTB

KBANK

นโยบาย

SCB

หมวด

เกณฑ์

ตารางสรุปการเปรียบเทียบ 5 อันดับแรกของธนาคาร การที่ได้คะแนนในเกณฑ์ที่น่าสนใจ

Climate-related Financial Disclosures

8

มีนโยบายจำ�กัดการสนับสนุนทางการเงิน แก่อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน และ/หรือเหมืองถ่านหิน ไม่เกินร้อยละ 30 ของการสนับสนุนทางการเงินทั้งหมด

— 169 —


ความเท่าเทียม ทางเพศ

การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ

14

21

2

9

สุขภาพ

2

3

บริษัทเปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล มาเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน สถาบันการเงินจะไม่ให้การสนับสนุนทาง​ การเงินแก่โครงการเกษตรกรรมทีแ่ ปลงมาจาก พื้นที่ชุ่มน้ำ� ป่าพรุ หรือพื้นที่อื่นๆ ที่กักเก็บ คาร์บอนในระดับสูง (high-carbon stock) สถาบันการเงินมีระบบการจัดการความ เท่าเทียมของค่าตอบแทน (pay equity) เชิงรุก บริษัทมีระบบการจัดการความเท่าเทียม ของค่าตอบแทน (pay equity) เชิงรุก บริษัทเคารพในสิทธิแรงงานว่าด้วย สุขอนามัยและความปลอดภัยในที่ทำ�งาน ตามอนุสัญญา ILO และ MNE Declaration กำ�หนดว่าลูกค้าต้องพยายามอย่างต่อเนื่อง ที่จะยกระดับสุขภาพและความปลอดภัย ของลูกจ้างอย่างเป็นระบบ และพัฒนา วัฒนธรรมป้องกันไว้ก่อนในองค์กร

— 170 —

ttb

BAY

KTB

KBANK

นโยบาย

SCB

หมวด

เกณฑ์

การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

✓ ✓ ✓


5–7

สุขภาพ

4

บริษัทเคารพในข้อตกลงระหว่างประเทศว่า ด้วยการผลิตและใช้สารพิษและสารอันตราย ตามที่ระบุใน Montreal Protocol (สารที่ทำ�ให้ชั้นโอโซนเป็นรู) กำ�หนดว่าลูกค้าต้องเคารพในข้อตกลง ระหว่างประเทศว่าด้วยการผลิต การค้า และใช้สารพิษ สารเคมี ของเสียเคมี และสารอันตราย ได้แก่ Stockholm

ttb

BAY

KTB

KBANK

นโยบาย

SCB

หมวด

เกณฑ์

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

✓ ✓

Convention, Basel Convention, Rotterdam Convention

9

กำ�หนดว่าลูกค้าต้องจำ�กัดการใช้สารเคมีที่มี ข้อสงสัยในงานวิจัยวิทยาศาสตร์ว่าอาจเป็น อันตรายต่อสุขภาพ และถ้าใช้ก็ใช้อย่าง ระมัดระวังที่สุด (ตามหลักความรอบคอบ)

— 171 —


3

สิทธิมนุษยชน

4

5

6

สิทธิแรงงาน

9

บริษัทมีความทุ่มเทเชิงนโยบายที่จะแสดง ความรับผิดชอบในการเคารพสิทธิมนุษยชน บริษัทมีกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิ มนุษยชนอย่างรอบด้าน (human rights due diligence) เพื่อระบุ ป้องกัน บรรเทา และรายงานวิธีที่บริษัทจัดการกับผลกระทบ ด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทมีกระบวนการที่นำ�ไปสู่การเยียวยา ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเชิงลบใดๆ ก็ตาม ที่บริษัทเป็นผู้ก่อ หรือมีส่วนในการ ก่อ บริษัทจัดตั้งหรือมีส่วนร่วมในกลไกรับเรื่อง ร้องเรียนระดับปฏิบัติการ จากปัจเจกและ ชุมชนที่อาจได้รับผลกระทบ บริษัทบังคับใช้เพดานชั่วโมงทำ�งาน

— 172 —

ttb

BAY

KTB

KBANK

นโยบาย

SCB

หมวด

เกณฑ์

การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”


2

ttb

(International Union for Conservation

ภายในเขตปฏิบัติการ ของบริษัทและพื้นที่ที่บริษัทบริหารจัดการ การดำ�เนินงานในสาขาวัสดุพันธุกรรมและ วิศวพันธุกรรม (genetic materials & genetic engineering) จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อ ผ่านเงื่อนไขการอนุญาตและประมวลผล ตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทาง ชีวภาพขององค์การสหประชาชาติ (UN Convention on Biological Diversity) และ แนวปฏิบัติบอนน์ (Bonn Guidelines) หรือ พิธีสารนาโกยา (Nagoya Protocol) เท่านั้น การผลิตหรือการซื้อขายสิ่งมีชีวิตดัดแปลง พันธุกรรมสามารถทำ�ได้ก็ต่อเมื่อได้รับ อนุญาตจากประเทศผู้นำ�เข้าสินค้าและ ปฏิบัติตามข้อกำ�หนดของพิธีสารคาร์ตาเฮนา

BAY

KTB

บริษัทป้องกันผลกระทบทางลบต่อพื้นที่ ระดับ I–IV ตามการจัดหมวดขององค์กร ระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

KBANK

นโยบาย

SCB

หมวด

เกณฑ์

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ธรรมชาติ

of Nature: IUCN)

8

9

— 173 —


ภาษี

6

7

สถาบันการเงินเผยแพร่ข้อมูลสำ�คัญเกี่ยวกับ คำ�ตัดสินทางภาษีที่เฉพาะเจาะจงระดับ บริษัท ซึ่งองค์กรได้รับมาจากหน่วยงาน กำ�กับดูแลด้านภาษี สถาบันการเงินไม่ยอมรับการใช้ การผลิต การพัฒนา การบำ�รุงรักษา การทดสอบ และการค้าระบบอาวุธอัตโนมัติรุนแรง

(Lethal Autonomous Weapons

รวมถึงส่วนประกอบ ที่ออกแบบมาสำ�หรับ LAWS สถาบันการเงินไม่ยอมรับการส่งอาวุธและ ระบบส่งอาวุธ ระบบลำ�เลียงทางการทหาร และสินค้าทางทหารอื่นๆ ไปยังคู่ขัดแย้งที่มี ส่วนร่วมในความรุนแรง ยกเว้นว่าเป็นฝ่ายที่ กำ�ลังทำ�ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคง แห่งสหประชาชาติ (UN Security Council) สถาบันการเงินไม่ยอมรับการส่งอาวุธและ ระบบส่งอาวุธ ระบบลำ�เลียงทางการทหาร และสินค้าทางทหารอื่นๆ ไปยังประเทศ ที่ใช้เงินงบประมาณมากเกินสัดส่วนที่สมควร ไปกับการซื้ออาวุธ

ttb

BAY

KTB

KBANK

นโยบาย

SCB

หมวด

เกณฑ์

การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

อาวุธ

Systems: LAWS)

12

15

— 174 —

✓ ✓


นโยบายค่า ตอบแทน

การขยายบริการ ทางการเงิน

6

13

11

ความโปร่งใสและความรับผิด

2

20

24

สถาบันการเงินมีนโยบายเปิดเผยสิทธิของ ลูกค้า และความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์หรือ บริการ (รวมถึงความเสี่ยงที่จะเป็นหนี้เกิน ตัว) สำ�หรับลูกค้าที่ไม่รู้หนังสือและ MSME สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้กับ ผู้มีรายได้น้อย เงินโบนัสอิงกับการปรับปรุงผลกระทบ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของการลงทุน และบริการทางการเงินของสถาบันการเงิน กรอบการออกเงินสนับสนุนและการลงทุน ของสถาบันการเงินได้รับการตรวจสอบโดย องค์กรภายนอก และเผยแพร่ผลการตรวจ สอบต่อสาธารณะ สถาบันการเงินรายงานการปรึกษาหารือ กับองค์กรภาคประชาสังคมและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ ธนาคารต้องเคารพและยินดีให้ความร่วมมือ ในกระบวนการร้องทุกข์ที่เกิดขึ้นในรัฐ ทั้งที่มีและไม่มีการพิจารณาคดี เมื่อกรณี ที่สถาบันการเงินมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยต้อง เข้าสู่กระบวนการร้องทุกข์ดังกล่าว — 175 —

ttb

BAY

KTB

KBANK

นโยบาย

SCB

หมวด

เกณฑ์

แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

✓ ✓ ✓

✓ ✓



ภาคผนวก ค

แนะนําโครงการ Fair Finance Thailand

— 177 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

แนวร่วมการเงินทีเ่ ป็นธรรมประเทศ​ ไทย เว็บไซต์ www.fairfinancethailand.org) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2561 สมาชิกประกอบด้วยบริษทั วิจยั 1 บริษทั และ องค์กรภาคประชาสังคม 4 องค์กร ทีม่ คี วามสนใจร่วมกัน ในการติ ด ตามผลกระทบและความท้ า ทายของธุ ร กิ จ ธนาคาร และประสงค์จะร่วมกันผลักดันภาคธนาคารไทย ให้ก้าวสู่แนวคิดและวิถีปฏิบัติของ “การธนาคารที่ยั่งยืน” (sustainable banking) อย่างแท้จริง ผ่านการนํามาตรฐาน Fair Finance Guide International (แนวปฏิบต ั ขิ องแนวร่วม การเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ เว็บไซต์ www.fairfinance​ guide.org) มาใช้ใ นการประเมิ นนโยบายด้ านต่ างๆ ของ ธนาคารพาณิชย์ไทยที่เปิดเผยสู่สาธารณะ เริ่มจาก พ.ศ. 2562 เป็นปีแรก Fair Finance Thailand (

— 178 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

สมาชิกแนวร่วม

1.

Fair Finance Thailand

บริษัท ป่าสาละ จํากัด

2. International Rivers

3.

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

— 179 —

ได้แก่


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

4.

มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม

5.

มูลนิธิบูรณะนิเวศ

— 180 —

(EnLaw)

(EARTH)


ภาคผนวก ง

แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ (Fair Finance Guide International)

— 181 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

— 182 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

— 183 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ คือ ดัชนี และ เครื่องมือ สําหรับผู้บริโภค ในการเจรจาต่อรอง รณรงค์ ให้การสนับสนุน มีส่วนร่วมในภาครัฐและสถาบันการเงิน เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการเงินที่เป็นธรรม ในปี พ.ศ. 2559 องค์กรภาคประชาสังคม 39 แห่ง ได้ ดํ า เนิ น งานตามแนวปฏิ บั ติ ก ารเงิ น ที่ เ ป็ น ธรรมใน 9 ประเทศ (ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 10 โดยเข้าเป็น สมาชิกแนวร่วมใน พ.ศ. 2561) โดยสามารถเข้าถึงบุคคล ทั่วไปกว่า 4 ล้านคน ผ่านช่องทางทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก ในขณะที่เว็บไซต์แนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรม มีสถิติ ผู้เข้าเยี่ยมชมมากกว่า 400,000 คน ใน พ.ศ. 2560 เพียง ปี เ ดี ย ว มี ป ระชาชนส่ ง ข้ อ คิ ด เห็ น หรื อ ข้ อ ร้ อ งเรี ย นต่ อ ธนาคารที่ตนใช้บริการมากกว่า 60,000 คน ในปี พ.ศ. 2562 นโยบายการดำ�เนินธุรกิจของสถาบัน การเงินกว่า 110 แห่งใน 11 ประเทศถูกประเมินด้วยหลัก­ เกณฑ์การประเมินกว่า 422 ข้อ (ซึ่งผ่านความเห็นชอบ ระหว่างประเทศ) และเครือข่ายแนวปฏิบัติการเงินที่เป็น­

— 184 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ธรรมได้จดั ทำ�กรณีศกึ ษา 45 ชิน้ ซึง่ เปรียบเทียบนโยบาย กับการปฏิบัติจริงของธนาคาร รวมถึงได้ออกรายงาน เปรียบเทียบการลงทุนในกลุ่มน้ำ�มันเชื้อเพลิงและแหล่ง พลังงานทดแทนของธนาคาร 75 แห่งทั่วโลก ในรายงาน ชื่อ “Undermining our Future” โดยใช้ข้อมูลปี พ.ศ. 2558 ระหว่างปี พ.ศ. 2552–2560 สมาชิกในแนวร่วมแนว ปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรมได้จัดประชุมร่วมกับธนาคาร ต่างๆ มากกว่า 100 ครั้งนอกเหนือจากการติดต่อผ่าน ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือโทรศัพท์ ซึ่งการประชุม 25 ครัง ้ จัดขึน้ ในหลายประเทศโดยมีวฒ ุ สิ มาชิกหรือสมาชิก สภาผู้ แ ทนราษฎรจากพรรคการเมื อ งเข้ า ร่ ว มประชุ ม กิ จ กรรมทั้ ง หมดนี้ นำ�ไปสู่ ก ารตกลงที่ จ ะเปลี่ ย นแปลง นโยบายของธนาคาร 25 แห่งทั่วโลก ความเป็นมา

การนํ า มุ ม มองด้ า นสั ง คม สิ่ ง แวดล้ อ ม และหลั ก​ ธรรมาภิบาล (Environmental, Social, Governance นิยม

— 185 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

ย่อว่า ประเด็น ESG) มาบูรณาการกับนโยบายและการ​ ดําเนินงานของธนาคารรวมถึงธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุน ทางการเงินจากธนาคาร นําไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้ ค น และการอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ ทั่ ว โลก ยกตั ว อย่ างเช่ น การลดการมีส่ว นในการเปลี่ย นแปลง สภาพภูมอิ ากาศ การละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อตกลงเรือ่ ง การค้าอาวุธ การยึดครองทีด่ นิ การพัฒนาการบริการทาง การเงินสําหรับผูผ้ ลิตรายย่อย และการพัฒนาห่วงโซ่คณ ุ ค่า ที่เป็นธรรมมากขึ้น แนวปฏิบตั กิ ารเงินทีเ่ ป็นธรรมนานาชาติสนับสนุนการ​ บูรณาการและประยุกต์ใช้กรอบการดําเนินงานที่คํานึงถึง สังคม สิ่งแวดล้อม หลักธรรมาภิบาล และสิทธิมนุษยชน ในการดําเนินธุรกิจของธนาคาร รวมถึงลูกค้าของธนาคาร ซึ่งดําเนินงานในประเทศกําลังพัฒนา แนวปฏิบตั กิ ารเงินทีเ่ ป็นธรรรม มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้ เกิดการแข่งขันสู่การเป็นที่หนึ่งระหว่างธนาคารภายใต้ กรอบ​การคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาล และ

— 186 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

สิทธิมนุษยชน โดยใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้ • เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้เลือกบริการทางการเงิน ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง • เปิดช่องทางโดยตรงให้ลูกค้าของธนาคารสามารถ เสนอข้อคิดเห็น ข้อร้องเรียน หรือเปลี่ยนธนาคาร ที่ใช้บริการ • เสนอบรรทัดฐาน (benchmarks) ที่สถาบันการเงิน และหน่วยงานกํากับดูแลสามารถนําไปใช้พฒ ั นาการ​ ดําเนินงานให้มีความรับผิดชอบ เป็นธรรม และ ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น • รณรงค์เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงให้ระบบการเงิน โลกมีความเป็นธรรมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (inclusive)

แนวปฏิบตั กิ ารเงินทีเ่ ป็นธรรมริเริม่ ใน พ.ศ. 2552 โดย องค์กรภาคประชาสังคมหลายแห่งในประเทศเนเธอร์แลนด์

— 187 —


การประเมินธนาคารไทยตามเกณฑ์ “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมนานาชาติ”

โดยพัฒนาระเบียบวิธวี จิ ยั ร่วมกับสถาบันวิจยั PROFUNDO และแนวปฏิบตั นิ ไ้ี ด้ถกู นํามาใช้ในระดับนานาชาติ ใน พ.ศ. 2557 ปั จ จุ บั น เครื อ ข่ า ยแนวปฏิ บั ติ ก ารเงิ น ที่ เ ป็ น ธรรม​ ดํ า เนิ น งานใน 10 ประเทศ ได้ แ ก่ เบลเยี ย ม บราซิ ล ฝรัง่ เศส เยอรมนี อินโดนีเซีย ญีป่ นุ่ เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และไทย ในแต่ละประเทศจะมีแนวร่วมขององค์กร ภาคประชาสังคมในท้องถิ่น ร่วมด้วยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ด้าน ดําเนินกิจกรรมหลัก ได้แก่ การวิจัย การติดตาม ตรวจสอบ การรณรงค์ตอ่ สาธารณะ และการหารือกับภาค การเงิน ภายใต้กรอบการดําเนินงานของแนวปฏิบัติการ เงินที่เป็นธรรมนานาชาติ การประเมินคุณภาพของนโยบายและการปฏิบัติของ ธนาคารภายใต้ ก รอบแนวคิ ด ด้ า นความยั่ ง ยื น ในหั ว ข้ อ เฉพาะด้านและเผยแพร่คะแนนการประเมินช่วยเพิ่มแรง กดดันจากสาธารณะ ซึง่ จะนําไปสูก่ ารพัฒนานโยบายและ การปฏิบัติที่เกี่ยวกับการลงทุนของธนาคาร โดยองค์กรที่ เข้าร่วมเป็นสมาชิกแนวร่วมแนวปฏิบัติการเงินที่เป็นธรรม

— 188 —


แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย

ในแต่ละประเทศ สามารถใช้ผลลัพธ์ทไี่ ด้จากการประเมิน ในการหารือและส่งอิทธิพลต่อหน่วยงานกํากับดูแลภาค ธนาคาร ในการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบการ เงินที่เป็นธรรม เช่น ผ่านกลไกของรัฐสภาหรือสื่อมวลชน

— 189 —





Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.