เทียบท่าหน้าตึก 6 ฉบับที่ 2 ธค 57 มค 58

Page 1

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เทียบท่าหน้าตึก 6 ข่าวและการรายงานความก้าวหน้าของงานหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา ศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ตาราและเอกสารทางวิชาการ

ฉบับที่ 2 เดือน ธันวาคม ปี 2557-มกราคม ปี 2558

สวัสดีปีใหม่ 2558 แด่ คณาจารย์ที่เคารพทุกท่าน

May 2015 be the year when all your dreams come true, all your hard work reap great results and rewards. Happy New Year 2015 คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่งานหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน

ฝ่ายวิชาการ ทีมงาน รองศาสตราจารย์ ดร.เนาวนิตย์ สงคราม ที่ปรึกษา/ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ ผู้รายงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณี หงษ์ศิริวฒ ั น์ ผู้รายงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สันติ ศรีประเสริฐ ผู้รายงาน อาจารย์ ดร. ปราณภา โหมดหิรัญ ผู้รายงาน อาจารย์ ดร. รุ่งระวี สมะวรรธนะ ผู้รายงาน อาจารย์ ดร.ฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร ผู้รายงาน อาจารย์ ดร. บุษกร เลิศวีระศิริกุล ผู้รายงาน หมายเหตุ: เอกสารนี้มิใช่เอกสารทางราชการ และการออกเอกสารจะดาเนินการทุก 2 เดือน


วามก้าวหน้าของโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.)

โดยมีโครงการทีด่ าเนินการในขณะนี้ 2 โครงการได้แก่ 1.โครงการประชาสัมพันธ์รับสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนิสิตทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่ มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระดับปริญญาโททาง การศึกษา ปีการศึกษา 2558 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ ดาเนินโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระยะที่ 3 (พ.ศ.2556-2561) เพื่อผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษระดับปริญญาโททาง การศึกษา ในสาขาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์แ ละคอมพิวเตอร์ โดยมีเงื่อนไขข้อผูกพันให้ นิสิตนักศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ (สควค.) เมื่อสาเร็จการศึกษาแล้วบรรจุเข้ารับราชการในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชา การศึกษาวิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2516 ถึงปัจจุบัน มีบัณฑิตได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแล้ว จานวน 20 รุ่น ในฐานะ เป็นหน่วยงานกลางของรัฐที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเห็นความสาคัญของการ ผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.)โดยจะรับสมัครนิสิต เข้า รับทุนโครงการดังกล่าวในปีการศึกษา 2558 จานวน 15 ทุน ทั้งนี้เพื่อให้นิสิต นักศึกษา และ ผู้สนใจได้ทราบรายละเอียดกระบวนการรับสมัครและสอบคัดเลือกคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จึงได้จัดทาโครงการประชาสัมพันธ์รับสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนิสิตทุนโครงการ ส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระดับ ปริญญาโททางการศึกษา ปีการศึกษา 2558 โดยมีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับ เกณฑ์การสมัครรับทุนโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ (สควค.) ระดับปริญญาโททางการศึกษา ปีการศึกษา 2558 ให้กับนิสิตชั้นปีที่ 3-5 สาขาวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ คณะครุ ศ าสตร์ แ ละคณะวิ ท ยาศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า ธนบุ รี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง อีกทั้งเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน และการดาเนินกิจกรรมส่งเสริมความเป็นครูวิทยาศาสตร์ และเป็นการสร้างเครือข่าย ระหว่างคณะครุศาสตร์กับคณะวิทยาศาสตร์ จากกลุ่มมหาวิท ยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล

2

โครงการส่งเสริมการผลิตครู ที่มีความสามารถพิเศษทาง วิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ (สควค.) มติ ข องคณะรั ฐ มนตรี เมื่ อ วันที่ 3 มิถุ นายน พ.ศ.2552 อนุมัติให้สถาบันส่งเสริมการ ส อ น วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ แ ล ะ เทคโนโลยี (สสวท.) และ สานักงานคณะกรรมการการ อุ ด มศึ ก ษา ร่ ว มกั น ด าเนิ น โครงการส่งเสริมการผลิตครูที่ มี ค วามสามารถพิ เ ศษทาง วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2556 - 2561) เพื่อผลิตครูที่ มี ค ว า ม ส า ม า ร ถ พิ เ ศ ษ ส า ข า วิ ช า วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ (ฟิสิ ก ส์ เคมี ชีว วิท ยา) และ คณิตศาสตร์ ระดับปริญญาโท ทางการศึ ก ษา โดยครู ที่ จ บ จากโครงการ สควค. เป็นผู้ที่ มีคุ ณ ภาพสู ง เยี่ย ม และเป็ น ผู้ น าทางวิ ช าการ สามารถ จัดการเรียนการสอนสาหรับ นั ก เรี ย นที่ มี ค วามสามารถ พิ เ ศษทางวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ คณิ ต ศาสตร์ และนั ก เรี ย น ทั่วไประดับ มัธยมศึกษาตอน ปลายได้อย่างดีเยี่ยม


2.โครงการประชุมปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาทักษะความเป็นครูมืออาชีพภายใต้ความร่วมมือ ระหว่ า งโครงการ สควค. ศู น ย์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย และสถาบั น ส่ ง เสริ ม การสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สควค.) เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีสาระสาคัญในแต่ละมิติดังนี้ มิตทิ ี่ 1 การพัฒนาทักษะการวิจัยสาหรับวิชาชีพครู การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Research) เป็นกระบวนการหนึ่งที่สาคัญมากใน การพัฒนาการเรียนการสอนของผู้สอนและเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยพัฒนาวิชาชีพ เพราะทาให้ครูได้องค์ ความรู้ใหม่ในการสอน เข้าใจตนเองในฐานะผู้สอนมากขึ้น เกิดความชัดเจนในความเชื่อเกี่ยวกับการ สอนของตนเอง พัฒนาความรู้ในเนื้อหา ความรู้ในการสอน และความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอน ส่งเสริมการทางานร่วมกันระหว่างครูและเพื่อนครู ส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพและพัฒนาทักษะการ ทาวิจัยของครู การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของครูให้เป็น “ครูผู้วิจัย” ที่มีความ เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนและแก้ปัญหาและผลงานวิจัยจะนามา ซึ่งองค์ความรู้ใหม่ในด้านหลักการหรือทฤษฎีทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีความจาเป็นและสาคัญ อย่างยิ่งในการจัดการศึกษาทั้งระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา มิติที่ 2 การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสาหรับวิชาชีพครู การน าเอาเทคโนโลยี ส ารสนเทศมาใช้ ป ระโยชน์ ใ นวงการศึ ก ษามี ป ริ ม าณที่ เ พิ่ ม มากขึ้ น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เทคโนโลยี จึงมีความจาเป็นในหลายด้าน อาทิ 1) ด้านการเรียนการสอน ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานที่ต้องอาศัย บุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย 2) ด้านกระบวนการเรียนรู้ เป็น มาตรฐานที่เน้นตัวผู้เรียนเป็นเป้าหมาย มีสาระสาคัญประกอบด้วย ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรูปแบบที่หลากหลาย ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ตาม ความสนใจ มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ต ามหลัก สู ตร 3) ด้ า นทรัพ ยากรการเรี ยนรู้ ซึ่ งจะเอื้ อต่ อ การจัด การเรี ย นการสอนได้ กาหนดให้มีเว็บไซต์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน จัดการแหล่งการเรียนรู้ รวบรวม สื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเป็นระบบ จัดเป็น คลังแหล่งเรียนรู้ มิติที่ 3 การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้สาหรับวิชาชีพครู ความท้ า ทายด้า นการศึ กษาในศตวรรษที่ 21 ในการเตรี ยมนั กเรี ย นให้ พร้ อ มกั บ ชีวิ ต ใน ศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสาคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผล ต่อวิถีการดารงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการ เรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสาหรับการออกไปดารงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สาคัญที่สุด คือ ทักษะการ เรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจาเป็นในศตวรรษที่ 21 มิติที่ 4 มิติการพัฒนาทักษะชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู การพัฒนาสมรรถนะให้เป็นครูดี ครูเก่ง มีคุณภาพ การสร้างความเข้มแข็งของสมรรถนะด้าน การจั ด การเรี ย นการสอนในบริ บ ทที่ ห ลากหลาย โดยใช้ ก ระบวนการสร้ า งระบบการชี้ แ นะ (Coaching) และการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) เพื่อส่งเสริมจิตวิญญาณและอุดมการณ์ของความ เป็ น ครู และการพั ฒนาผู้เ รี ยนให้มี ค วามรู้ ความสามารถด้า น Literacy, Numeracy และ Reasoning Ability ตามแนวทางของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ มี ความเห็นว่าองค์ความรู้และประสบการณ์จากทั้ง 4 มิติ จะสามารถนามาเป็นส่วนขับเคลื่อนและ พัฒนาการสอนของอาจารย์ผู้สอนและการเรียนรู้ของนิสิตครู

โครงการประชุม ปฏิบั ติการ เรื่อง การพัฒนาทักษะความ เป็นครูมืออาชีพภายใต้ความ ร่ ว มมื อ ระหว่ า งโครงการ สควค. ศู น ย์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิ ท ยาลั ย และสถาบั น ส่ ง เ ส ริ ม ก า ร ส อ น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สควค.) เดือนมกราคมและ กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 คณะ ค รุ ศ า ส ต ร์ จุ ฬ า ล ง ก ร ณ์ มหาวิทยาลัย มุ่ ง เน้ น การพั ฒ นาอาจารย์ ผู้สอนจากสถาบันการผลิตครู ที่ มี โ ค ร ง ก า ร ส ค ว ค . คณาจารย์ผู้สอนรายวิชาต่างๆ ใ น ส า ข า วิ ช า ก า ร ศึ ก ษ า วิท ยาศาสตร์ และสาขาวิ ช า การศึก ษาคณิตศาสตร์ คณะ ครุศาสตร์ และคณะกรรมการ ดาเนินโครงการฯ สควค. ศูนย์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ผู้แ ทนจาก สสวท. และนิสิ ต ช่ ว ย งา น โ ดย มุ่ ง เน้ น กา ร พัฒนาใน 4 มิติ ประกอบด้วย มิติที่ 1 การพัฒนาทักษะการ วิจัยสาหรับวิชาชีพครู มิติที่ 2 ก า ร พั ฒ น า ทั ก ษ ะ ก า ร ใ ช้ เทคโนโลยีสาหรับ วิชาชีพ ครู มิติที่ 3 การพัฒนาทักษะการ จัดการเรีย นรู้สาหรับ วิชาชีพ ครู และมิติที่ 4 มิติการพัฒนา ทั ก ษะชุ ม ชนแห่ ง การเรี ย นรู้ ทางวิชาชีพครู

อรุณี: รายงาน 3


ารประชุมเพื่อหาแนวทางการดาเนินการจัดทาแบบรายงานผลการดาเนินงานของหลักสูตร (มคอ 7)

งานหลั ก สู ต รและการจั ด การเรี ย นการสอนได้ จั ด ประชุ มเพื่ อ ด าเนิ น การเกี่ ย วกั บ การจั ด ท า แบบรายงานผลการ ดาเนินงานของหลักสูตร (มคอ 7) เมื่อวันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 12.00-14.00 น.ในการนี้ได้รับความร่วมมือจาก สาขาวิชาต่างๆอย่างดีเยี่ยมในการเข้าประชุมเพื่ อหารือแนวทางการจัดทามคอ.7 และจากอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเกณฑ์ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ณรุทธ์ สุทธจิตต์ อาจารย์ ดร. บุณฑริกา บูลภักดิ์ และ อาจารย์ ดร.ปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์ ได้ช่วยชี้แนะในการจัดทา มคอ 7 ในครั้งนี้ โดยจุดประสงค์หลักของการประชุมได้ เน้นในเรื่องแนวปฏิบัติการทวนสอบและการบันทึก รายการลงแบบรายงานผลการดาเนินงานหลักสูตร โดยที่ประชุมได้ให้ความ คิดเห็นซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1.แบบรายงานผลการดาเนินงานหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต งานหลักสูตรและการจัดการเรียน การสอน เป็นผู้รับผิดชอบการจัดทา โดยขอความร่วมมือไปยังสาขาวิชาต่างๆ ในการรวบรวมและกรอกข้อมูล บางส่วนและ ส่งกลับมายังงานหลักสูตรฯ เพื่อดาเนินการจัดทาให้สมบูรณ์ โดยได้แนบแบบฟอร์ม มคอ 7 พร้อมตัวอย่างแนวทางในการกรอก ข้อมูลที่จาเป็น อาทิ ข้อมูลในองค์ประกอบที่ 1, 2, 4, และ2.รายงานผลการดาเนินงานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชา ต่างๆ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการดาเนินการจัดทารายงาน มคอ 7 โดยงานหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนได้แนบ แบบฟอร์ม มคอ 7 พร้อมตัวอย่างแนวทางในการกรอกข้อมูลในทุกองค์ประกอบ ซึ่งการดาเนินการของงานหลักสูตรฯต่อจากนี้ไป จะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับทุกหลักสูตรในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เพื่ออานวยความสะดวกในการจัดทาให้แล้วเสร็จ ซึ่ง งานหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ได้ส่งแบบบันทึกรายงานผลฯ มคอ 7 พร้อมตัวอย่างในการบันทึกข้อมูล และแนวทาง ในการเก็บเอกสารหลักฐาน รวมทั้งแนวปฏิบัติการทวนสอบไปยังสาขาวิชาต่างๆแล้วในเบื้องต้นเมื่อวันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา นอกจากนี้งานหลักสูตรฯได้นาไฟล์เอกสารทั้งหมดขึ้นเว็บไซต์ของงานหลักสูตรฯเพื่ออานวยความสะดวกให้แก่ท่าน อาจารย์อีกช่องทางหนึ่ง โดยทั้งนี้ในส่วนของรายงานผลการดาเนินงานของหลักสูตรปริญญาบัณฑิตที่สาขาได้ดาเนินการให้ข้อมูล บางส่วนนั้น มีกาหนดส่งในวันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม 2557 รายงานผลการดาเนินการของหลักสูตร มคอ 7 ประกอบด้วย 9 หมวด 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ข้อมูลเชิงสถิติ 3) การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อหลักสูตร4) ข้อมูลสรุปรายวิชาของหลักสูตร 5) การบริหารหลักสูตร 6) สรุปประเมินหลักสูตร 7) คุณภาพการสอน 8) ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ คุณภาพหลักสูตรจากผู้ประเมินอิสระ 9) แผนการดาเนินการเพื่อพัฒนาหลักสูตร Affair สามารถ Download ได้ที่ www.edu.chula.ac.th/academic ารดาเนินงานเกี่ยวกับ IT for รุAcademic ่งระวี: รายงาน

4


ารดาเนินงานIT for Academic Affair

ตามที่ฝ่ายงานหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนมีแนวทางในการดาเนินงานทางด้านระบบ IT ที่จะนามาเสริมการ ทางานเพื่ออานวยความสะดวกให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการฯ ผู้รับบริการฯ และเจ้าหน้าที่ฯ อีกทั้งยังจะ ช่วยให้การทางานรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น งานหลักสูตรได้เริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อกลั่นกรองวิทยานิพนธ์ เพื่อ เป็นระบบนาร่อง ซึ่งมีแผนงานที่จะนามาใช้ในภาคการศึกษาปลาย 2557 มีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้ จุดประสงค์ของระบบ 1.เพื่อพัฒนาสารสนเทศสาหรับการนาเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสาหรับการพิจารณากลั่นกรองวิทยานิพนธ์ของคณะกรรมการพิจารณาวิทยานิพนธ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาพรวมของระบบ (System Overview) จากการสารวจความต้องการของผู้ใช้งานและนามาวิเคราะห์ฯ จึงออกแบบภาพรวมของระบบฯ โดยระบบฯ จะแบ่ง ออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนหน้าของระบบ (Front-end) และ ส่วนงานสนับสนุน (Back-end) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ส่วนหน้าของระบบ Front-end ประกอบด้วย 2 ส่วนย่อย ดังนี้ 1.1 .สาหรับนิสิต สาหรับการส่งหัวข้อวิทยานิพนธ์ มีคุณลักษณะคือระบบสารสนเทศจะแสดงผลเป็นเว็บไซต์โดยมี แบบฟอร์มเพื่อทาหน้ารับข้อมูลจากการป้อนข้อมูลของนิสิตบัณฑิตศึกษา โดยแยกตามหลักสูตรมหาบัณฑิต/ดุษฏีบัณฑิต โดย นิสิตสามารถติดตามความคืบหน้าของกระบวนการพิจารณาโครงร่างฯ และกาหนดการประกาศหัวข้อโครงร่างวิทยานิพนธ์ อันจะ เอื้อประโยชน์ให้นิสิตสามารถวางแผนการดาเนินงานวิทยานิพนธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 1.2 สาหรับคณะกรรมการกลั่นกรองวิทยานิพนธ์ มีคุณลักษณะเป็นส่วนต่อเนื่องจากการรับข้อมูลจากนิสิต เพื่อ แสดงผลของข้อมูลในรูปแบบเว็บเพจเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองดูหัวข้อวิทยาพนธ์ รวมถึงรายละเอียดขอบเขต ข้อมูลทั้งหมด ไฟล์แนบโครงร่างวิทยานิพนธ์ รวมถึงรายชื่อคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ และสามารถเรียกดูหัวข้อวิทยานิพนธ์ ย้อนหลังเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาได้ ระบบฯ ดังกล่าวจะเอื้อประโยชน์ให้คณะกรรมการฯ สามารถเรียกดูข้อมูลต่างๆ ล่วงหน้าได้จากที่ไหน เวลาใดก็ได้ อันจะส่งผลให้สามารถลดระยะเวลาการพิจารณา และสามารถพิจารณาหัวข้อฯ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2) ระบบสนับสนุนการทางาน (Back-end) เป็นส่วนของเจ้าหน้าที่ของงานหลักสูตรและการสอน หรือผู้ดูแล ระบบ เป็นผู้มีสิทธิ์ในการจัดการข้อมูลทั้งหมด ประกอบด้วย 2 ส่วนย่อย ดังนี้ 2.1 ส่วนสาหรับผู้ดูแลระบบ มีคุณลักษณะเป็นระบบที่ได้พัฒนาด้วย Open Source เพื่อให้สามารถจัดการชื่อ ผู้ใช้งาน เพื่อกาหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงรายละเอียดของหัวข้อวิทยานิพนธ์และไฟล์โครงร่างวิทยานิพนธ์ในรูปแบบ Acrobat Reader (.pdf) รวมถึงสามารถจัดการเนื้อหาข่าวประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับงานหลักสูตรและการสอนได้ 2.2 ส่วนการจัดการข้อมูลและการออกรายงาน มีคุณลักษณะเป็นระบบรายงาน สามารถจัดทารายงานตาม รายชื่อของผู้ส่งหัวข้อวิทยานิพนธ์เพื่อกลั่นกรอง โดยเรียงตามลาดับรหัสอ้างอิงที่ส่งข้อมูล และแยกหมวดหมู่ตามระดับการศึกษา ของผู้เสนอหัวข้อและโครงร่างวิทยาพนธ์ ได้แก่ ระดับมหาบัณฑิต และระดับดุษฏีบัณฑิต โดยระบบจะสามารถการออกรายงาน ได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) เว็บเพจ HTML และ (2) ไฟล์ Microsoft Word

5


งานหลักสูตรและการสอน หน้าหลัก | กาหนดการประจาปี | กาหนดการประชุมกลั่นกรอง | เสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ | รายชื่อนิสิตเสนอหัวข้อ | คณะกรรมการกลั่นกรอง ข้อความประชาสัมพันธ์ (ข้อความวิ่ง)     

ประกาศ กาหนดการประจาปี กาหนดการประชุมกลั่นกรอง เสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ รายชื่อนิสิตเสนอหัวข้อ  หลักสูตรมหาบัณฑิต  หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต คณะกรรมการกลั่นกรอง  หลักสูตรมหาบัณฑิต  หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต

รายชื่อนิสิตเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ ระดับมหาบัณฑิต รหัสอ้างอิง โท001/2557

ชื่อ-นามสกุล

รหัสประจาตัวนิสิต

นายภูริวรรษ คาอ้ายกาวิน 558 42869 27

สาขา

พัฒนาศึกษา

โท002/2557 นางสาวศิริพร จินะณรงค์ 548 42720 27 การศึกษานอกระบบ ระบบระบบ โท...../2557 ............................... ...................... ...........................

เข้าสู่ระบบ

โท...../2557

...............................

...................... ...........................

Username Password ประเภท ลืมรหัสผ่าน ลงทะเบียน

โท...../2557

...............................

...................... ...........................

ภาพที่ 1 หน้าเว็บเพจสาหรับนิสิต รายชื่อเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ หลักสูตรมหาบัณฑิต

6


งานหลักสูตรและการสอน หน้าหลัก | กาหนดการประจาปี | กาหนดการประชุมกลั่นกรอง | เสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ | รายชื่อนิสิตเสนอหัวข้อ | คณะกรรมการกลั่นกรอง ข้อความประชาสัมพันธ์ (ข้อความวิ่ง)     

ประกาศ กาหนดการประจาปี กาหนดการประชุมกลั่นกรอง เสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ รายชื่อนิสิตเสนอหัวข้อ  หลักสูตรมหาบัณฑิต  หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต คณะกรรมการกลั่นกรอง  หลักสูตรมหาบัณฑิต  หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต

รายชื่อนิสิตเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ รหัสอ้างอิง โท001/2557

ชื่อ-นามสกุล

รหัสประจาตัวนิสิต สาขา

นายภูริวรรษ คาอ้ายกาวิน 558 42869 27

พัฒนาศึกษา

โท002/2557 นางสาวศิริพร จินะณรงค์ 548 42720 27 การศึกษานอกระบบ ระบบระบบ โท...../2557 ............................... ...................... ........................... โท...../2557

...............................

...................... ...........................

โท...../2557

...............................

...................... ...........................

ภาพที่ 2 หน้าเว็บเพจสาหรับคณะกรรมการกลั่นกรองวิทยานิพนธ์ รายชื่อเสนอกลั่นกรองวิทยานิพนธ์ หลักสูตรมหาบัณฑิต พร้อมแสดงสัญรูป (icon) ไฟล์แนบ

7


งานหลักสูตรและการสอน หน้าหลัก | กาหนดการประจาปี | กาหนดการประชุมกลั่นกรอง | เสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ | รายชื่อนิสิตเสนอหัวข้อ | คณะกรรมการกลั่นกรอง ข้อความประชาสัมพันธ์ (ข้อความวิ่ง)     

ประกาศ กาหนดการประจาปี กาหนดการประชุมกลั่นกรอง เสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ รายชื่อนิสิตเสนอหัวข้อ  หลักสูตรมหาบัณฑิต  หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต คณะกรรมการกลั่นกรอง  หลักสูตรมหาบัณฑิต  หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต

รายชื่อนิสิตเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ โท001/2557

นายภูริวรรษ คาอ้ายกาวิน 558 42869 27

พัฒนาศึกษา

ชื่อหัวข้อ (ภาษาไทย) ชื่อหัวข้อ (ภาษาอังกฤษ) ประธานกรรมการ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม กรรมการ

กรรมการ กรรมการ กรรมการภายนอก

ภาพที่ 3 หน้าเว็บเพจสาหรับคณะกรรมการกลั่นกรองวิทยานิพนธ์ รายละเอียดการเสนอกลั่นกรองวิทยานิพนธ์รายบุคคล พร้อมแสดงไฟล์แนบ จินตวีร์: รายงาน

8


ก ความก้าวหน้าการดาเนินงาน ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพิจารณามอบรางวัลชมเชยให้ศูนย์ บรรณสารสนเทศทางการศึก ษา คณะครุ ศ าสตร์ จากการส่งการ ผลงานการพัฒนาคุณภาพงานในงานมหกรรมคุณภาพ ปี 2557 ก้าว สู่ปี 2558 “ก้าวเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่...ก้าวใหม่ๆ เพื่อจุฬาฯ” เมื่อวันที่ 10 พฤศจิ ก ายน 2557 โดยมี โ ครงการเข้ า รอบทั้ ง สิ้ น 22 โครงการ โครงการที่ ศู น ย์ บ รรณสารสารสนเทศทางการศึ ก ษาจั ด ท านี้ เ ป็ น โครงการอนุรักษ์หลักสูตรและแบบเรียนไทย รวบรวมหลักสูตรและ แบบเรี ยนตั้ งแต่ ปี พ.ศ. 2435 น ามาให้บ ริก ารในรูป แบบหนังสื อ อิเล็กทรอนิกส์

ารดาเนินงานศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ 1. วันเวลาเปิดบริการศูนย์บรรณสารสนเทศทาง การศึกษาในช่วงปิดและเปิดภาคการศึกษา ช่วงเปิดภาคการศึกษาเทอมปลาย (5 มกราคม 2557- 20 พฤษภาคม 2558) วันจันทร์- ศุกร์ 08.00- 19.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ 09.00- 18.00 น. 2. เปิดอบรมการใช้ EndNote X7 รับสมัครเป็น กลุ่มกลุม่ ละไม่เกิน 10 ท่าน ระยะเวลาอบรม ธันวาคม 2557– พฤษภาคม 2558 วันเวลาอบรม : จันทร์-ศุกร์ รอบเช้า 10.00-11.30 น. รอบบ่าย 13.30-15.00 น. รอบเย็น 17.00-18.30 น. วิธีการสมัคร ผู้สนใจส่งรายชื่อ รหัสนิสิต ระดับชั้น สาขาวิชา อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ กลับ และนัดวันเวลา ฐานข้อมูลที่ต้องการอบรม ได้ ที่อีเมล sriprai.c@chula.ac.th นางสาวศรีไพร โชติจิรวัฒนา โทร. 081 177 3930 สถานที่อบรม ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา ห้องประชุม ชั้น 3

2. ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษาจัดกิจกรรมตลาดนัด หนังสือในวันที่ 29-30 มกราคม 2558 โดยมีวตั ถุประสงค์เพื่อให้ คณาจารย์ นิสติ และบุคลากรได้คดั เลือกหนังสือจากร้านค้า สานักพิมพ์ที่นามาจัดแสดงเข้าศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา และซื้อหนังสือในราคาพิเศษ ภายในงานมีการออกร้านหนังสือทาง การศึกษาและร้านจาหน่ายอุปกรณ์เครื่องเขียนที่ลดราคาสาหรับ คณาจารย์และนิสติ บุษกร: รายงาน

9


ารดาเนินงานของศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

กิจกรรมการสัมมนากลุ่มย่อยระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานศึกษา หัวข้อ การเป็นผู้นาตนเอง ศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพดาเนินการจัดกิจกรรมการสัมมนากลุ่มย่อยระหว่างฝึกประสบการณ์วิชาชีพใน สถานศึกษา ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2557 ในหัวข้อ การเป็นผู้นาตนเอง โดยวิทยากร Adjunct Professor Jyrki Loima ห้อง 401 ชั้น 4 อาคารประชุมสุข อาชวอารุง คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้ดาเนินการเป็นปีที่ 2 ขณะนี้มี นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพเข้าร่วมกิจกรรมไปแล้ว 3 กลุ่ม จานวน 167 คน และยังมีการจัดกิจกรรมให้ กับนิสิตอีกใน วันศุกร์ที่ 9 , 16 และ 30 มกราคม 2558 อาจารย์นิเทศที่สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวได้ โครงการผลิตนวัตกรรมสร้างสรรค์ทางการศึกษา ด้วยคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นแหล่งผลิตนิสิตครูชั้นนาที่มีกระบวนการการเตรียมนิสิตและการนิเทศนิสิตฝึก ประสบการณ์ วิ ช าชี พ ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ เป็ น แนวปฏิ บั ติ ที่ ดี ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต่ อ เพื่ อ นร่ ว มวิ ช าชี พ ในการน าไป ประยุกต์ใช้ งานหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนและศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ คณะครุศาสตร์ เล็งเห็นประโยชน์ ในการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีดังกล่าวให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในสถานศึกษาและสถาบันครุศึกษาต่างๆ ได้รับทราบข้อมูลที่ เป็นประโยชน์จากแนวปฏิบัติที่ดีดังกล่าว จึงมีโครงการผลิตนวัตกรรมสร้างสรรค์ทางการศึกษาเพื่อนาเสนอในรูปแบบ รายการโทรทัศน์ผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น YouTube และ Facebook ฯลฯ โดยจะเริ่มดาเนินการผลิตรายการดังกล่าวใน ปี พ.ศ. 2558 และคาดว่าจะสามารถนาเสนอผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ ได้ในปีการศึกษา 2558 นี้ ฉัตรวรรณ์: รายงาน

10


ารดาเนินงานศูนย์ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ตาราฯ

1. การเตรียมความพร้อมในการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการ ตามวารสารครุศาสตร์ จุฬาฯ ถูกจัดให้เป็นวารสารกลุ่มที่ 2: วารสารที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงคุณภาพ เพื่อขอรับการ รับรองจาก TCI และอยู่ในฐานข้อมูล TCI นั้น บัดนี้ ถึงระยะเวลาที่ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) จัดให้มีการประเมิน คุณภาพอีกครั้ง ซึ่งในการประเมินคุณภาพครั้งนี้ จะมีระยะเวลาการรับรองคุณภาพวารสารเป็นระยะเวลา 5 ปี คือ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ในการนี้ ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมฯ ต้องดาเนินการจัดเตรียมเอกสาร ได้แก่ รายงานแบบฟอร์มสาหรับการประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI ประจาปี พ.ศ. 2558 สาเนาผลการประเมิน ต้นฉบับของ ผู้ทรงวุฒิที่พิจารณาต้นฉบับทั้งหมดที่ส่งมาเพื่อขอรับการพิมพ์ในปี พ.ศ. 2557 รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ตัวเล่มวารสารทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2557 และการปรับปรุงแว็บไซต์ เพื่อใช้ประกอบการประเมินคุณภาพ และจัดกลุ่มคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 นี้ 2. การสร้างเครือข่าย และการสร้างรายได้จากโครงการตาราฯ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ตาราฯ ได้หารือร่วมกับสานักพิมพ์แห่งจุฬาฯ เรื่อง แนวทางการร่วมมือจัดพิมพ์ตาราฯ โดยได้ข้อสรุป ดังนี้ 2.1 ความร่วมมือในการจัดพิมพ์ตาราฯ ร่วมมือจัดพิมพ์ตารา หนังสือวิชาการ เพื่อเผยแพร่ไปสู่วงวิชาการเป็นลักษณะ Co - Publisher ในลักษณะศูนย์ส่งเสริม การพัฒนานวัตกรรมฯ ตรวจคุณภาพเนื้อหา สานักพิมพ์ดูแลการพิมพ์ การจัดทา ต้นฉบับอาร์ตเวิร์ก พิสูจน์อักษร พิมพ์เป็นรูปเล่ม ประชาสัมพันธ์การเปิดตัวหนังสือ การทาข่าว กิจกรรมพิเศษ และการตลาด จ่ายค่าลิขสิทธิ์ให้ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ตาราฯ ร้อยละ 20 ซึ่งจะมีการหารือเชิงนโยบายกับคณะผู้บริหารต่อไป 2.2 การทากิจกรรมนาหนังสือที่ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาฯ พิมพ์และมียอดคงเหลืออยู่ โดยสานักพิมพ์ช่วยประชาสัมพันธ์ ขายในงาน เช่น งานเชียงใหม่บุ๊กแฟร์ งานสัปดาห์หนังสือ งานสัมมนานักเขียน และงานมหกรรมหนังสือ ซึ่งสานักพิมพ์ฯ จัด ขึ้นทุกปี ทั้งนี้ เพื่อเปิดตลาดหนังสือ และสร้างมูลค่าให้แก่หนังสือที่ผลิตในศูนย์ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ตาราฯ ออกสู่ตลาด ภายนอกให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น 3. การจัดโครงการสัมมนาโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตาแหน่งวิชาการ เรื่อง “เขียนผลงาน วิชาการอย่างไรให้ได้พิมพ์” ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ตาราฯ จะจัด โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการจัดเรียนการสอนที่มี คุณภาพจากผลิตผลงานวิชาการของคณาจารย์ที่มีคุณภาพสูงและได้มาตรฐาน นอกจากนั้นยังเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ ตาแหน่งวิชาการ โดยจะจัดในหัวข้อ “เขียนผลงานวิชาการอย่างไรให้ได้พิมพ์ ” ให้แก่คณาจารย์ในคณะ ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คณาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถพัฒนาการเขียนผลงานวิชาการให้มีความเหมาะสม ถูกต้อง และบรรลุเป้าหมายการ เข้าสู่ตาแหน่งวิชาการ โดยนาความรู้ ความเข้าใจ เกิดแนวคิดแนวทางที่จะพัฒนาผลงานวิชาการ ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์การเสนอขอผลงานวิชาการ และได้รับการจัดพิมพ์ และเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ ซึ่งจะจัดโครงการดังกล่าว ในเดือน พฤษภาคม 2558 นี้ โดยในรายละเอียดการจัดโครงการดังกล่าวจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

ปราณภา: รายงาน

11


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.