BP นางสาวสิริลักษณ์ หาปัญณะ โรงเรียนวัดหนองเสือ

Page 1

1. ชื่อผลงาน BP

การดูแลนักเรียนเพื่อการพัฒนา

กลุ่มสาระเรียนรู้

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ด้าน

บริหารจัดการ

2. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา BP 2.1 ชื่อผู้พัฒนา BP นางสาวสิริลักษณ์ หาปัญณะ 2.2

โรงเรียนวัดหนองเสือ

เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น 2.3

โทรศัพท์ 089-9357330

e-mail Nook_may2528@hotmail.co.th 3. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา BP เพื่อพัฒนากิจกรรมแนะแนวนักเรียนด้านการดูแลให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น 4. ระยะเวลาในการพัฒนา BP (ระบุช่วงเริ่มต้นการพัฒนาและระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนา) พฤษภาคม2556-มีนาคม2557 5. ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง BP กับเป้าหมาย/จุดเน้นของสพป./สพม./สพฐ./สถานศึกษา หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้กาหนดให้มีสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มวิชาและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางสังคมและเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย ส่งผลให้การ ดาเนินชีวิตในปัจจุบันมีความยุ่งบาก ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น บุคคลจึงจาเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีการดาเนินชีวิตให้ สามารถดารงชีวิตอยู่ในสั งคมได้อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี กิจกรรมแนะแนวจึงมีความสาคัญในการทาให้ทุกคน อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขบนพื้นฐานการรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น การแนะแนวคือจิตวิทยาประยุกต์ แขนงหนึ่งที่ว่าด้วย กระบวนการพัฒนาคนให้รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ รู้จักความถนัด ความชอบ สติปัญญา ภูมิหลังของตนเอง วิเคราะห์ตนเองได้ถูกต้อง รู้จักเลือ กและตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้องและสมควรได้ วิเคราะห์ ตนเองได้ถูกต้อง รู้จักเลือกและตัดสินใจได้ ปรับตนเองได้อย่างเหมาะสมและสามารถดาเนินชีวิตได้อย่างเป็น สุข พึ่งตนเองได้ เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้บุคคลได้มีบทบาทเต็มที่ในการเรียนรู้เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพ และสามารถจัดการกับชีวิตของตนอย่างฉลาดเฉลียว การจัดประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่จะพัฒนา ศักยภาพ นั้นต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ความพร้อมในการเรียนรู้ ความถนัด ความสนใจและความต้องการของ ผู้เรียน


การแนะแนวเป็นกระบวนการหนึ่งของการศึกษาที่จะพัฒนามนุษย์ให้เป็นพลเมืองดี มีความรู้ ความสามารถในทักษะกระบวนการต่างๆสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้และมีความสุขในการดารงชีวิต การดูแล นักเรียนจึงเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนานักเรียนได้เป็นอย่างดี 6. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP ประสิทธิ์ พงษ์อักษร(2537 :17;อ้างถึงพูนสุข บุญก่อเกื้อ.2548:19) กล่าวว่า กิจกรรมแนะแนวเป็น กระบวนการที่ช่วยให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจตนเอง รู้จักสภาพแวดล้อม สามารถเลือกตัดสินใจแก้ปัญหา ให้กับตนเองได้ และสามารถพัฒนาตนเองให้มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านต่างๆ กรมวิชาการ (2545:6) ได้ให้ความหมายของกิจกรรมแนะแนวว่า เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนา ความสามารถของผู้เรียนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของ ตน เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญาและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ผ่องพันธ์ เกิดพิทักษ์ ( 2545: 81; อ้างถึงในพิทยาภรณ์ พิทยาธรกุล.2546:35) กล่าวว่า กิจกรรม แนะแนวเป็นกิจกรรมที่ผู้ให้บริการแนะแนวจัดให้แก่ผู้รับบริการในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนโดยมีเ นื้อหา เกี่ยวกับงานบริการแนะแนวด้านต่างๆทั้งด้านการศึกษา อาชีพส่วนตัวและสังคม เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่รู้จักและเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ได้ค้นพบความสามารถ ความถนัด ความสนใจ และความต้องการของตนเอง มีเจตคติที่ดีต่อการเรียน ได้เรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาและตัดสินใจ การ ปรับตัวทั้งด้านการเรียน ส่วนตัวและสังคม ตลอดทั้งการวางแผนอนาคตด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและ สังคม กรมวิชาการ (2546 : 24) ได้ให้หลักการจัดกิจกรรมแนะแนวดังนี้ 1. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ ความสนใจและธรรมชาติของผู้เรียน 2. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาที่ต้องสนองตอบจุดหมายของหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 3. จัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนโดยครอบคลุมด้านการศึกษา การงานและอาชีพ ชีวิตและ สังคม 4. จัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ โดยผู้เรียนมีอิสระในการคิดและการตัดสินใจ 5. จัดกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตัวเองให้มากที่สุดด้วยการปฏิบัติจนเกิดทักษะหรือการ เรียนรู้ 6. ให้ ค รู ทุ ก คนมี ส่ ว นร่ ว มในการจั ด กิ จ กรรม โดยครู แ นะแนวท าหน้ า ที่ เ ป็ น พี่ เ ลี้ ย งและ ประสานงาน ช่อลดา ขวัญเมือง (2541:69-72) ได้เสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมแนะแนวในชั้นเรียนที่สอดคล้อง กันทั้งกระบวนการ สรุปได้ดังนี้ 1. ขั้นวิเคราะห์นั กเรีย น เพื่อให้ รู้จักนักเรียน เข้าใจธรรมชาติ รู้เกี่ยวกับความรู้เดิมของ นักเรียน


2. 3. 4. 5. 6. 7.

ขั้นกาหนดจุดมุ่งหมาย เพื่อกาหนดว่าต้องการให้เกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง ขั้นวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อให้รู้ว่าจะต้องรู้อะไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ขั้นกาหนดเทคนิค วิธีการจัดที่เหมาะสมกับเนื้อหา ขั้นวางแผน เป็นการจัดทารายละเอียดทั้งหมด ขั้นเตรียมการ เป็นการจัดเตรียมจากแผนที่กาหนดไว้ ขั้นจัดกิจกรรมแนะแนว เป็นการดาเนินการตามที่ได้ เตรียมการไว้ โดยแบ่งเป็นกิจกรรม อุ่นเครื่อง กิจกรรมนา กิจกรรมหลัก กิจกรรมสรุป 8. ขั้ น ประเมิ น ผล ท าทั้ ง ขณะด าเนิ น การและหลั ง เสร็ จ สิ้ น กิ จ กรรม เพื่ อ ดู ว่ า บรรลุ วัตถุประสงค์ตามที่วางไว้หรือไม่ 9. ขั้นป้อมข้อมูลย้อนกลับ เป็นการนาผลจากการประเมินมาแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อปรับปรุง ให้มีประสิทธิภาพ 7. กระบวนการพัฒนา BP 7.1 กลุ่มเป้าหมายในการนา BP ไปใช้ กิจกรรมแนะแนวนักเรียนนาไปใช้กับนักเรียน กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา2556 จานวน 67 คน 7.2 ขั้นตอนการพัฒนา BP

วางแผน/กาหนดเวลา/อธิบาย/ชี้แจง

ดาเนินการเก็บข้อมูล

วิเคราะห์/ประเมินผล ป้องกันและแก้ปัญหา/ให้คาปรึกษา/หาทุน/หารายได้พิเศษ

สรุปและรายงานผล


7.3 การตรวจสอบคุณภาพ BP วิธีการตรวจสอบคุณภาพมีขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษารายละเอียดของทฤษฎี หลักการและแบบเก็บข้อมูล 2. จัดทาเอกสารคู่มือแนะแนวนักเรียน 3. นาเอกสารไปใช้กับนักเรียนเพื่อเก็บข้อมูลรายบุคคล 4. รวบรวมข้อมูลรายบุคคล รายห้อง 5. วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลข้อมูลและรายงานผล 6.ปรับปรุง เพิ่มเติม กิจกรรมแนะแนวนักเรียนแล้วนาไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 7.4 แนวทางการนา BP ไปใช้ประโยชน์ กิจกรรรมแนะแนวนักเรียนสามารถนาไปใช้ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ทั้ง 5 กิจกรรม คือ 1. รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านความสามารถ การเรียน อื่นๆ ด้านสุขภาพ กาย ใจ พฤติกรรม ด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การคุ้มครองนักเรียน 2. การคัดกรองนักเรียน(ดูข้อมูล จัดกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง) 3. การส่งเสริมพัฒนาให้ได้คุณภาพ การศึกษาต่อและประกอบอาชีพสุจริต 4. การป้องกันและแก้ปัญหาใกล้ชิด หาข้อมูล ให้คาปรึกษาและจัดหาทุนการศึกษา 5. การส่งต่อทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน 8. ผลสาเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา BP 8.1 ผลสาเร็จเชิงปริมาณ นักเรียนร้อยละ 80 มีการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ปีการศึกษา 2556 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างได้รับ คัดเลือกได้เป็นนักเรียนดีเด่นด้านคุณธรรมระดับประเทศเพื่อให้ได้รับทุนการศึกษาจากธนาคารออมสิน 8.2 ผลสาเร็จเชิงคุณภาพ คู่มือแนะแนวนักเรียนมีประโยชน์ต่อกิจกรรมแนะแนวนักเรียนและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทาให้ ปฏิบัติได้ครอบคลุมทุกกิจกรรม


8.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ BP นักเรียนร้อยละ 80 มีความพึงพอใจและได้รับความช่วยเหลือตรงตามความต้องการ 8.4 ปัจจัยความสาเร็จของการพัฒนา BP / ประสบการณ์เรียนรู้จากการนา BP ไปใช้ 1. สามารถแก้ปัญหาหรือให้คาปรึกษา ให้ความช่วยเหลือได้ตรงตามความต้องการ 2. นักเรียนรู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง ยอมรับตนเองและปรับตนเองได้ 9. กระบวนการตรวจสอบซ้าเพื่อพัฒนาปรับปรุง BP ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง 9.1 วิธีการตรวจสอบซ้า BP รวบรวมปัญหา ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนามาพัฒนากิจกรรมแนะแนวนักเรียน 9.2 ผลการตรวจสอบซ้าเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง BP กิจกรรมแนะแนวทาให้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 10. การประชาสัมพันธ์ผลสาเร็จของ BP และการเผยแพร่ ขยายผลในวงกว้าง หลังจากการจัดกิจกรรมแนะแนวนักเรียน ตามโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแล้วทาให้ นักเรียนได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนดีเด่นด้านคุณธรรมและจริยธรรมระดับเขต ได้รับทุนการศึกษาจากธนาคาร ออมสินประจาปี 2556


ภาคผนวก

รางวัลชนะเลิศการประกวดโรงเรียนและนักเรียนดีเด่นด้านคุณธรรมและจริยธรรม ประจาปี ๒๕๕๖

เข้าร่วมโครงการวัยรุ่น วัยรัก วัยเรียน วัยเสี่ยง จริงหรือ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.