BP นายผดุง จันทร์คา

Page 1

Best Practice

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(ด้านดนตรี)

2556

สังคีตขับขาน...อนุบาลกาญจน์ประสานเสียง

นายผดุง จันทร์คา ครู โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี สพป.กจ.เขต 1


BEST PRACTICE “สังคีตขับขาน.....อนุบาลกาญจน์ประสานเสียง” 1.ชื่อผลงาน BEST PRACTICE “สังคีตขับขาน.....อนุบาลกาญจน์ประสานเสียง” (ด้านวิชาการ) 2. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา BEST PRACTICE (BP) 2.1 ชื่อผู้พัฒนา นายผดุง จันทร์คา 2.2 โรงเรียน โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี เครือข่าย สะพานข้ามแม่น้าแคว ส้านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 2.3 โทรศัพท์ 089- 9121729 e-mail phadung27@gmail.com 3. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา BP 3.1 เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในด้านการขับร้องประสานเสีย ง และเพิ่มพูนความรู้ทางด้านดนตรี 3.2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออกในทางที่ดี รู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 3.3 เพื่อให้นักเรียนเกิดพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ พัฒนาตนเองให้เข้ากับกลุ่มหรือ สภาพแวดล้อมของสังคม 4. ระยะเวลาในการพัฒนา BP ปีการศึกษา 2555 5. ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง BP กับเป้าหมาย/จุดเน้นของสพป./สพฐ./สถานศึกษา) โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี มุ่งเน้นการจัดการศึกษาให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร ได้มีการ จัดท้าหลักสูตรให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน โดยเชื่อมโยงไปถึงกรอบกลยุทธ์ที่ส้าคัญในข้อที่ 1 คือการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านดนตรี ในกิจกรรมการขับร้องประสานเสียง เป็นกิจกรรมที่ เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ท้าให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้าน ทักษะ และสุนทรียภาพทางด้านดนตรี โดยที่ไม่ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนเพื่อการเรียนรู้ และใน กระบวนการจัดกิจกรรมยังสามารถสอดแทรกคุณธรรม ความส้านึกในความเป็นไทย ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ ในข้อที่ 2 ของโรงเรียนคือ การปลูกฝังคุณธรรม ความส้านึกในความเป็นไทย และวิถีชีวิตตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางด้านดนตรี นับว่ามีความจ้าเป็น และมีประโยชน์ต่อพัฒนาการ ของเด็ก ประโยชน์ของดนตรี มีผลโดยตรงต่อพัฒนาการทางสมอง ร่างกาย และจิตใจ เพื่อสร้างเสริม ความสามารถ ทั้งด้านสติปัญญา ความรู้สึก สร้างความสมดุลทางด้านร่างกายและจิตใจ 6. แนวคิดหลักการทฤษฏีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 22 ก้าหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมี ความส้าคัญที่สุด ฉะนั้นครูผู้สอน และผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นผู้ชี้น้าผู้ถ่ายทอด


ความรู้ไปเป็นผู้ช่วยเหลือส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ และ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียนเพื่อน้าข้อมูลเหล่านั้นไปใช้สร้างสรรค์ความรู้ของตน การน้ากระบวนการฝึกขับร้องประสานเสียงหรือกระบวนการทางดนตรี มาใช้ประกอบในการสอนแบบ สร้างสรรค์ทางศิลปะสามารถส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ เสริมสร้างความคิดจินตนาการ ช่วยกระตุ้นให้มีการ แสดงออกในทางสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ระหว่างประสาทหู กล้ามเนื้อ ให้สอดคล้องกับการใช้ ความคิด ท้าให้หายเหนื่อย และผ่อนคลายความตึงเครียด หลักการดังกล่าวนี้มีใช้มาตั้งแต่สมัยกรีก ในยุคเฮเลนิ สติค ชนชาติกรีกได้พัฒนาหลักการของ อีธอส ซึ่งเป็นความเชื่อในเรื่องของพลังแห่งสัจธรรมของดนตรี โดย กล่าวไว้ว่าพลังของดนตรีมีผลเกี่ยวเนื่องกับการแสดงออกถึงความชื่นชอบหรือความขัดแย้ง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ดนตรีเกี่ยวข้องกับความดีและความชั่วร้าย อริสโตเติล ได้อธิบายว่าดนตรีมีอ้านาจเหนือจิตใจมนุษย์ ด้านจิตวิทยา ใช้เสียงดนตรีปรับเปลี่ยนนิสัยก้าวร้าวของมนุษย์ รักษาโรคสมาธิสั้น โดยเฉพาะเด็กจะท้า ให้มีสมาธิยาวขึ้น อ่อนโยนขึ้น โดยใช้หลักทฤษฎี อีธอส (Ethos) ของดนตรี ซึ่งเชื่อว่าดนตรีมีอ้านาจในการที่จะ เปลี่ยนนิสัยของ มนุษย์ จนกระทั่งในบางกรณีสามารถรักษาโรคให้หายได้ ปัจจุบัน มีนักดนตรีบ้าบัดผู้ซึ่งมี ความสามารถฟื้นฟูและบ้าบัดรักษาความเจ็บปุวยทั้งทางร่างกายและจิตใจ ท้างานในด้านนี้ มีหลักการและทฤษฎีอืน่ ๆอีกมากมาย ทีช่ ี้ให้เห็น ความส้าคัญของการจัดกิจกรรมทางด้านดนตรี ซึ่งการ ฝึกฝนให้นักเรียนได้ขับร้องเพลงประสานเสียง ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางด้านดนตรีที่สมบูรณ์แบบอีก กิจกรรมหนึ่ง ที่จะท้าให้นักเรียนเกิดพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การพัฒนาตนเองให้เข้ากับกลุ่ม หรือสภาพแวดล้อมของสังคมต่าง ๆ เพื่อให้เป็นพลเมืองที่ดีของชาติต่อไปได้ในอนาคต ส้าหรับ BEST PRACTICE เรื่อง “สังคีตขับขาน.....อนุบาลกาญจน์ประสานเสียง” เน้นกระบวนการฝึก ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสกับกิจกรรมการขับร้องประสาน เสียง ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข 7. กระบวนการพัฒนา BP 7.1 กลุ่มเป้าหมายในการนา BP ไปใช้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี ปีการศึกษา 2555 7.2 ขั้นตอนการพัฒนา BP 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ 2) การวางแผนและน้าเสนอรูปแบบและวิธีการ - ก้าหนดวัตถุประสงค์ และก้าหนดรูปแบบในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ - แต่งตั้งคณะท้างาน 3) ก้าหนดแนวทางการเรียนรู้ - รูปแบบการสอนที่เหมาะสม เทคนิค วิธีการ - ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4) จัดกิจกรรมการขับร้องประสานเสียง 5) ก้ากับ ติดตาม และประเมินผล - ประเมินผลทั้งผลผลิต กระบวนการ และผลส้าเร็จที่ได้รับ - น้าผลที่ได้จากการประเมินเป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในปีการศึกษาต่อไป


ขั้นตอนการจัดกิจกรรม “สังคีตขับขาน.....อนุบาลกาญจน์ประสานเสียง” ผู้พัฒนาได้ดาเนินการพัฒนาการปฏิบัติงาน โดยใช้กระบวนการ PDCA ดังนี้

สังคีตขับขาน...อนุบาลกาญจน์ประสาน เสียง

ทาอย่างไรให้นักเรียน ร้องเพลงในรูปแบบการ ประสานเสียงได้ทุกคน

ศึกษาสภาพปัญหาและบริบทของโรงเรียน

P

ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร

สร้างรูปแบบที่ดีเลิศ ตามศักยภาพและบริบท

D ด้าเนินการจัดกิจกรรม สังคีตขับขาน อนุบาลกาญจน์ประสานเสียง

สังเกตพัฒนาการของนักเรียน

C ประเมินผลความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง

A

พัฒนาแนวทางที่ประสบผลส้าเร็จ ปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


7.3 การตรวจสอบคุณภาพ BP(ระบุวิธีการและผลการตรวจสอบคุณภาพที่ได้) 7.3.1 ติดตามการด้าเนินงานกิจกรรมการสอนเรื่อง“สังคีตขับขาน.....อนุบาลกาญจน์ประสานเสียง” 7.3.2 ประเมินผลความส้าเร็จจากการน้านักเรียนเข้าร่วมแข่งขันขับร้องประสานเสียงในงานวิชาการ ต่างๆ 7.4 แนวทางการนา BP ไปใช้ประโยชน์ 7.4.1 พัฒนาให้นักเรียนที่ผ่านการฝึกฝนให้ได้รับประสบการณ์จริงจากการออกแสดงผลงาน 7.4.2 นักเรียนได้ค้นพบขีดความสามารถของตัวเองจากผลการด้าเนินกิจกรรม 7.4.3 นักเรียนได้พัฒนาเจคติที่ดี มีจิตส้านึกและท้าประโยชน์เพื่อสังคมและส่วนรวม 7.4.4 นักเรียนเห็นคุณค่าของการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง 7.4.5 นักเรียนรู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์กับตนเอง 7.4.6 นักเรียนเกิดทักษะชีวิต น้าไปใช้ในชีวิตประจ้าวันของนักเรียนอยู่ร่วมในสังคมในอย่างมีความสุข 8. ผลสาเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา BP (เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของ BP) 8.1 ผลสาเร็จเชิงปริมาณ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี ปีการศึกษา 2555 จ้านวน 40 คน 8.2 ผลสาเร็จเชิงคุณภาพ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรี ปีการศึกษา 2555 จ้านวน 40 คน ได้ค้นพบศักยภาพของตนเอง เกิดการพัฒนาทักษะทางด้านการขับขานประสานเสียง 8. 8.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ BP จากการใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เกีย่ วข้องต่อ BP พบว่า นักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนมีความพึงพอใจ ในผลงานการขับร้องเพลงประสาน เสียงของนักเรียน และเปิดโอกาสให้ได้แสดงในกิจกรรมต่าง ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ส่งผลต่อการเรียน และการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 8.4 ปัจจัยความสาเร็จของการพัฒนา BP/ประสบการณ์เรียนรู้จากการนา BP ไปใช้ 8.4.1 ผู้บริหารสถานศึกษาให้ค้าปรึกษา สนับสนุน การจัดกิจกรรมการสอนขับขานประสานเสียง 8.4.2 คณะครูมีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการขับขานประสานเสียง 8.4.3 ผู้ปกครองให้ความร่วมมือ และช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมขับขานประสานเสียงทุกครั้ง 8.4.4 ชุมชนให้ความร่วมมือ และเปิดโอกาสให้กับการแสดงผลงานของนักเรียน 8.4.5 โรงเรียนด้าเนินการพัฒนานักเรียนได้อย่างมีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ขัน้ พืน้ ฐาน 9. กระบวนการตรวจสอบซ้าเพื่อพัฒนาปรับปรุง BP ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง 9.1 วิธีการตรวจสอบซ้า BP 9.1.1 มีการรายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขับขานประสานเสียง ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทราบอย่างเป็นระบบ


9.1.2 การนิเทศติดตาม และน้าผลการนิเทศมาปรับปรุงการด้าเนินงาน 9.2 ผลการตรวจสอบซ้าเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง BP ท้าให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนคณะครูและนักเรียน รับทราบถึงผลการจัดกิจกรรม และเกิด การชี้แนะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง เพื่อการพัฒนาปรับปรุง ให้ดียิ่งขึ้นไป 10. การประชาสัมพันธ์ผลสาเร็จของ BP และการเผยแพร่ ขยายผล ในวงกว้าง เผยแพร่การจัดกิจกรรม “สังคีตขับขาน.....อนุบาลกาญจน์ประสานเสียง” กับครูโรงเรียนอนุบาล กาญจนบุรีและหน่วยงานอื่นๆ ในชุมชนใกล้เคียง 1. การแสดงขับขานประสานเสียงในกิจกรรมวันส้าคัญต่างๆ ของทางโรงเรียน เช่น วันแม่ วันคริสต์มาส วันปีใหม่ โดยได้รับความชื่นชมจากคณะครู ผู้ปกครอง และเพือ่ นนักเรียน 2. การแสดงขับขานประสานเสียง ที่หน่วยงานอื่นขอให้ไปจัดแสดงเช่น โรงพยาบาลเมโมเรียล มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยได้รับความชื่นชมในทุกที่ ทีไ่ ด้ไปแสดง 3. การน้านักเรียนไปร่วมแข่งขันเข้าร่วมแข่งขันในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ทั้งในระดับกลุ่ม เครือข่าย ระดับเขตพืน้ ที่ และระดับภาคกลางและภาคตะวันออก โดยมีผลงานทีด่ ขี ึน้ ตามล้าดับ 4. โอกาสอื่นๆ เช่น การแสดงให้กับแขกผู้มีเกียรติที่มาเยี่ยมชมโรงเรียนได้รับชม


การขับร้องประสานเสียงในรูปแบบของ “สังคีตขับขาน.....อนุบาลกาญจน์ประสานเสียง

รูปแบบหลากหลาย เลือกที่เหมาะสม

ร้องแค่ 2 แนวก็ได้

เพลงร้องเล่นสนุกๆ มีอยู่มากมาย

มีแนวเพลงอยู่ มากมายให้ได้ชม

เพลงในท้องถิ่น

เทคนิคน่าภิรมย์ ผสมให้ลงตัว

เพลงสากล เพลงลูกทุ่งไทย เพลงไทยสากล

แบบล้อไล่(Canon)

เพลงลูกกรุง แบบวน(Round) แบบซ้าคาหลัง แบบผสมผสาน

หนูทาได้

เพลงพระราชนิพนธ์ เพลงราวง

วอล์มเสียง ต้องสนุก

เพลงร้องเล่นทั่วไป

แบบลัลล้า ลัลล้า

เพลงร้องโน้ต หมาเห่า

ฯลฯ

นับเลข เป่ามือ

อึ่งอ่าง

เพลง Dance

ผีหลอก


ก่อนจะมาเป็น BEST PRACTICE

“สังคีตขับขาน อนุบาลกาญจน์ประสานเสียง”

ข้าพเจ้าได้ศึกษาและวิเคราะห์ หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ในกลุ่ม สาระศิลปะ ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สาระที่ 2 ดนตรี เพื่อให้ทราบถึงเปูาหมายตัวชี้วัดของหลักสูตร เพื่อ น้ามาก้าหนดเป็นเนื้อหา รูปแบบการสอนที่เหมาะสมและดีเลิศ โดยศึกษาจากตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลาง หลังจากทีไ่ ด้ท้าการศึกษาหลักสูตรแล้ว ข้าพเจ้าจึงได้เลือกกิจกรรมการขับร้องเพลงประสานเสียง ทีม่ ี ชื่อว่า “สังคีตขับขาน อนุบาลกาญจน์ประสานเสียง” ด้วยเหตุผลดังนี้ 1 หลังจากผ่านกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ครอบคลุม หลายตัวชี้วัด คือ มาตรฐาน ศ 2.1 เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ้าวัน มาตรฐาน ศ 2.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรี ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ตัวชี้วัด ศ 2.1 ป.4/1 บอกประโยคเพลงอย่างง่าย ป.4/3 ระบุทิศทางการเคลื่อนที่ขึ้น – ลงง่าย ๆ ของท้านอง รูปแบบจังหวะและความเร็ว ของจังหวะในเพลงที่ฟัง ป.4/4 อ่าน เขียนโน้ตดนตรีไทยและสากล ป.4/5 ร้องเพลงโดยใช้ช่วงเสียงที่เหมาะสมกับตนเอง ศ 2.2 ป.4/1 บอกแหล่งที่มาและความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตไทย ที่สะท้อนในดนตรีและเพลง ท้องถิ่น ป.4/2 ระบุความส้าคัญในการอนุรักษ์ส่งเสริมวัฒนธรรมทางดนตรี ด้วยความหลากหลายของแนวเพลง สามารถบูรณาการความรู้ได้ครอบคลุมหลายตัวชี้วัด 2 เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน เนื่องจากโรงเรียนอนุบาลกาญจนบุรีเป็นโรงเรียนประถมศึกษา ขนดใหญ่ แต่สถานที่คับแคบ ถ้าเป็นกิจกรรมการเล่นดนตรี หรือการซ้อมดนตรี จะเกิดปัญหาทางด้านเสียง รบกวนค่อนข้างมาก จึงเลือกที่จะเป็นกิจกรรมการขับร้องประสานเสียง แม้มีนักเรียนในแต่ละชั้นประมาณ 4045 คน แต่นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมทุกคน 3 การขับร้องประสานเสียง ในรูปแบบของ “สังคีตขับขาน อนุบาลกาญจน์ประสานเสียง” เป็น กิจกรรมทางด้านดนตรีที่นักเรียนสามารถร่วมกิจกรรมได้ทุกคนในห้องเรียน มิได้จ้ากัดเฉพาะเด็กที่มีความ สามารถพิเศษเท่านั้น 4 การขับร้องประสานเสียง ในรูปแบบของ “สังคีตขับขาน อนุบาลกาญจน์ประสานเสียง” เป็นการ คิดค้นรูปแบบการประสานเสียงโดยย่อขนาดลงให้มีรูปแบบที่ง่าย น่าสนใจ ไม่ยากเกินไป หยิบบทเพลงต่างๆ ที่ใกล้ตัวนักเรียน มาเป็นรูปแบบต่างๆ ที่ไม่เกินความสามารถของนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้สัมผัส กับรูปแบบการร้องเพลงประสานเสียง และสร้างพัฒนาการพื้นฐานการขับร้องเพลงประสานเสียงให้กับนักเรียน ที่มีความสามารถทางด้านการร้องเพลงอีกด้วย


ผลการสอบ O – Net ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555 ที่ผ่านมา


ภาคผนวก


สถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม “สังคีตขับขาน.....อนุบาลกาญจน์ประสานเสียง”


ใช้เทคนิค วิธีการ ที่น่าสนใจในการฝึกร้องเพลงประสานเสียง


แสดงผลงานในวันแม่แห่งชาติ

แสดงผลงานในวันพ่อแห่งชาติ


ได้รับเชิญไปแสดงในงานวันเด็กแห่งชาติ ที่โรงพยาบาลเมโมเรียลกาญจนบุรี


ได้รับเชิญให้ไปแสดงที่มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เนื่องในงานแสดงศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติ ปี 2555 และ 2556


ผลการแข่งขันขับขานประสานเสียงในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนที่ผ่านมา

ปีการศึกษา 2554 ได้รับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศอันดับที่ 1 ในการแข่งขันขับขานประสานเสียงในงาน ศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษาของ สพป.กจ. เขต 1 ได้รับรางวัลเหรียญทอง คะแนนอันดับที่ 11 ในการแข่งขันขับขานประสานเสียงในงาน ศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับภาคกลางและภาคตะวันออกครั้งที่ 61

ปีการศึกษา 2555 ได้รับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศอันดับที่ 1 ในการแข่งขันขับขานประสานเสียงในงาน ศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษาของ สพป.กจ. เขต 1 ได้รับรางวัลเหรียญทอง คะแนนอันดับที่ 9 ในการแข่งขันขับขานประสานเสียงในงาน ศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับภาคกลางและภาคตะวันออกครั้งที่ 62

จากผลการแข่งขันเปรียบเทียบในครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 ที่นักเรียนได้เข้าร่วมแข่งขันในระดับภาค แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ตามลาดับ


นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดพัฒนาการทั้งทางด้านทักษะทาง ดนตรี และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ครบถ้วนทุกประการ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.