BP นางเบญจมาศ ลิขิตวัฒนกิจ ผอ.โรงเรียนวัดหนองบัว

Page 1

ด้าน นวัตกรรม การพัฒนาครู 5 สาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring


Best Practice 1. ชื่อผลงาน

การพัฒนาครู 5 สาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring

ด้าน นวัตกรรม 2. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา BP 2.1 ชื่อ โรงเรียนวัดหนองบัว ต.กลอนโด อ. ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี 2.2 เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากลอนโด 2.3 โทรศัพท์ 081-8748319 E – mail: watnongbua.school@gmail.com

3. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา BP 3.1 เพื่ อพั ฒ นาครู ผู้ ส อน 5 กลุ่ ม สาระการเรี ยนรู้ คือ คณิต ศาสตร์ วิ ทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา ในระดับประถมศึกษาให้มีทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น 3.2 เพื่อพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และ สังคมศึกษา ให้มีความสามารถในการผลิตสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน 3.3 เพื่อพัฒนาครูผู้สอน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดี เป็นครูดีมีคุณธรรมและเป็นครูเก่ง

4. ระยะเวลาในการพัฒนา เตรียมการ ตุลาคม 2555 ดาเนินการ พฤษภาคม – ตุลาคม 2556

5. ความเชื่อมโยง/ความสัมพันธ์ระหว่าง BP กับเป้าหมาย/จุดเน้นของ สพป. /สพฐ./สถานศึกษา 5.1 กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับจุดเน้นของ สพฐ จุดเน้นด้านที่ 1 พัฒนาด้านผู้เรียน และจุดเน้นด้านที่ 2 การพัฒนาด้านครูและบุคลากรโดยใช้ กลยุทธ์ดังนี้ 1. หลักการมีส่วนร่วม ของบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับประโยชน์ และร่วมติดตามผล 5.2 ความเชื่อมโยงของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ครู ชุมชน ผู้ปกครองและองค์ส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ดังนี้ 1. นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึง เป็นคนดีมีคุณธรรม อยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากาหนด


2. บุคลการทุกคนเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชนและมีความสามัคคี ให้ ความร่วมมือกับสถานศึกษาในการพัฒนานักเรียน พัฒนาตนเองและพัฒนางาน 3. ชุมชนและองค์กรท้องถิ่นมีความพึงพอใจกับระบบการพัฒนาและชื่นชมกับความสาเร็จของ สถานศึกษา

6. แนวคิดหลักการทฤษฎีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP สืบเนื่องจากผลการทดสอบ O-NET ของนักเรียนในระดับประถมศึกษาของโรงเรียนในสังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน 5 กลุ่มสาระการ เรี ย นรู้ โ ดยเฉพาะวิ ช าคณิ ต ศาสตร์ ต่ ากว่ า เกณฑ์ ม าตรฐานของระดั บ ชาติ แ ละระดั บ เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาทั้ ง นี้ เนื่ องมาจากกระบวนการจั ดการเรี ย นการสอนของครู ด้านเทคนิคการสอนและการจัดการเรียนรู้ที่ ยังไม่เป็ น มาตรฐานและยังไม่ส่งผลถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างแท้จริง เพื่อเป็นการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ 5 กลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ วิ ช าคณิ ต ศาสตร์ วิ ท ยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอั ง กฤษ และสั ง คมศึ ก ษาในระดั บ ประถมศึกษาอีกทั้งเป็นการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนของครูให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน โรงเรียนวัดหนองบัวจึงได้จัดทาโครงการพัฒนาครูผู้สอน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษาขึ้น โดยยึดแนวทางการนิเทศสอนแนะ (Coaching) การ พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) บุคลากรในสถานศึกษาต้องมีการเรียน รู้อยู่ตลอดเวลา และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการนิเทศสอนงาน เป็นเทคนิคหนึ่งที่สาคัญที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ให้กับครู อันจะเป็นตัวจักรสาคัญที่จะนาไปสู่ความสาเร็จ โดยมุ่งเน้นให้ครูมีความสามารถ มีผลการปฏิบัติงานที่ดี ขึ้น และสถานศึกษาที่มีความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลง เทคนิคการนิเทศสอนแนะ (Coaching) เป็นการสอนงานครู โดยผู้สอนงาน (Coach) อาจเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นิเทศภายในที่สามารถเป็นผู้สอนงานได้ ผู้ถูกสอนแนะ (Coachee) ส่วนใหญ่เป็นครูที่อยู่ใน สถานศึกษาเดียวกัน การนิเทศสอนงานจะเน้นไปที่การพัฒนาผลการปฏิบัติง าน (Individual Performance) และ พัฒนาศักยภาพ (Potential) ของครู Coaching เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา และครู เป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Two way Communication) ทาให้ผู้บริหาร สถานศึกษา และครูได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น ปัญหาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของผู้เรียนต่า ผู้เรียนออกกลางคัน สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่มีคุณภาพ ซึ่งการร่วมกัน แก้ไขปัญหาดังกล่าว ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนแนะ (Coach) และผู้ถูกสอนแนะ (Coachee) อย่างไรก็ตามการที่จะ Coaching ได้ดีนั้น ต้องมีความพร้อมทั้งผู้สอนแนะและผู้ถูกสอนแนะ กล่าวโดยสรุป Coaching คือ การที่ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้นิเทศภายใน เป็นผู้สอนแนะ (Coach) ในเรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ กับครู ซึ่งเป็นผู้ถูกสอนแนะ ซึ่งผู้ที่ทาหน้าที่นิเทศสอนแนะ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีผลงานอยู่ในระดับมาตรฐาน เพื่ อ ให้ ค รู ไ ด้ น าผลจากการพั ฒ นาตามไปพั ฒ นาผู้ เ รี ย นให้ มี คุ ณ ภาพโดยมี จุ ด เน้ น ให้ พั ฒ นา ความสามารถและทักษะใน 3 ด้านคือ 1. การอ่านและการเขียน (Literacy) 2. ด้านการคิดคานวณ (Numeracy) 3. ด้านการคิด(Reasoning Ability)ใช้หลักการแบบ PBL (Project- Based Learning)


7. กระบวนการพัฒนาBP ใช้หลักการวัฏจักรเดมิ่ง (Deming Cycle) - การวางแผน ( Plan ) - การปฏิบัติ ( Do ) - การตรวจสอบ (Check ) - แก้ไขปรับปรุง ( Action ) โรงเรียนได้มีการดาเนินงานบริหารจัดการการฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ - การวางแผน (Plan) วางแผนการปฏิบัติงาน โดยยึดวัตถุประสงค์ของของกิจกรรม โดยร่วม ประชุมระดมความคิด ปรึกษาหารือ - การปฏิบัติ ( Do ) ดาเนินการปฏิบัติกิจกรรมตามแผนด้วยเทคนิควิธีต่าง ๆ ได้แก่ ให้การ นิเทศแบบกัลยาณมิตร การใช้เทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - การตรวจสอบ ( Check ) ติดตามและตรวจสอบความสาเร็จของงานตามวัตถุประสงค์ โดย มอบหมายให้หัวหน้างาน เป็นผู้ตรวจสอบและติดตามตามผลการดาเนินงาน - การแก้ไขปรับปรุง ( Action ) ค้นหาสาเหตุของปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติ หาแนวทาง ในการแก้ไขปรับปรุง เพื่อนาไปพัฒนางานให้เกิดผลสาเร็จ

7.1 กลุ่มเป้าหมายในการนาBPไปใช้ มีเป้าหมายที่ต้องการพัฒนาและบรรลุ 3 ประการ คือ ครู นักเรียน ชุมชน ด้านครู 1 การแก้ปัญหาในการทางาน 2 พัฒนาความรู้ ทักษะหรือความสามารถในการทางาน 3 การประยุกต์ใช้ทักษะหรือความรู้ในการทางาน ด้านนักเรียน 1. ได้รับกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย 2. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น ด้านชุมชน 1. ยอมรับศักยภาพของโรงเรียน 2.สนับสนุนและเชื่อมั่นในคุณภาพของโรงเรียน


7.2 ขั้นตอนการพัฒนา BP 1. เตรียมการ วางแผน 2. ศึกษา วิเคราะห์ปัญหา 3. ตั้งสมมุติฐาน หาแนวทางแก้ปัญหา 4. ติดต่อประสานงานกับวิทยากรภายนอกที่ เป็นCoach P

1. ผลที่เกิดกับครู ผู้บริหาร 2. นักเรียน 3. ผู้ปกครอง ชุมชน 4.ปรับปรุง แก้ไข

D

A

1. พัฒนาครู โดย กระบวนการ Coaching & Mentoring 2. PBL (Project- Based Learning 3. Classroom Action Research

C 1. ตรวจสอบการวางแผน 2. ตรวจสอบการปฏิบัติ 3. การวัดผล /ประเมินผลของครู/ ผู้เรียน

7.3 การตรวจสอบคุณภาพBP - แบบประเมินการพัฒนาสมรรถนะครู รายบุคคล - แบบรายงานผลการดาเนินงาน - แบบสอบถามความพึงพอใจของครู

7.4 แนวทางการนาBP ไปใช้ประโยชน์ การนารูปแบบนวัตกรรมการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring ของโรงเรียนวัดหนองบัวมาพัฒนาครูทาให้เกิด Best Practice ที่เกิดจากการพัฒนาครูส่งผลให้ครูจัด กิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8. ผลสาเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาBP 8.1 ผลสาเร็จเชิงปริมาณ 1) ผลที่เกิดกับครู นักเรียน ผู้บริหาร -

ผู้เรียนรู้จักรับฟังและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ผู้เรียนเป็นผู้นา ผู้ตามที่ดี มีจิตอาสาช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียนและชุมชน ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ซึ่งใช้กิจกรรมโครงงาน ครูรู้จักกระบวนการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นสามารถตรวจสอบได้


- ผู้บริหารมีบุคลากรที่มีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนที่สูงด้วย 2) ผลที่เกิดกับผู้ปกครอง และชุมชน - ผู้ปกครองเกิดการยอมรับพฤติกรรมของนักเรียนที่มีการพัฒนาในทางที่ดี - ชุมชนได้รับความร่วมมือจากนักเรียน ครู ในการร่วมกิจกรรมของชุมชน 3) ผลที่เกิดกับหน่วยงาน / องค์กร - โรงเรียนได้รับการพัฒนาครู ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น - โรงเรียนมีศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น - โรงเรียนได้รับการยกย่องจากชุมชนในทางที่ดี

8.2 ผลสาเร็จเชิงคุณภาพ 1. ผลที่เกิดกับผู้นิเทศสอนแนะ (Coach) 1.1 ผู้นิเทศสามารถปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 1.2 ผู้นิเทศสามารถช่วยเหลือครู ในการสะท้อนจุดเด่น และจุดที่ยังมีปัญหาของการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ของครูได้อย่างแท้จริง และครูสามารถนาข้อมูลต่าง ๆ จากผู้นิเทศไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ 1.3 ผู้นิเทศสามารถทาความเข้าใจเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ และปัญหา การ เปลี่ยนแปลง การเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของสถานศึกษาให้ครูได้เข้าใจตรงกัน และมีทิศทางในการ ทางานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 1.4 ผู้นิเทศสามารถรับรู้ความคาดหวัง สภาพและปัญหา อุปสรรค ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ของครู ซึ่งจะนาไปสู่ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการในการนิเทศอย่างแท้จริง 1.5 เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในการทางานระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ 2. ผลที่เกิดกับครูผู้รับการสอนแนะ (Coachee) 2.1 การสอนแนะจะช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีคุณภาพ 2.2 Coaching เป็นกระบวนการหนึ่งที่จะช่วยผลักดันและสนับสนุนให้ครูทางาน ให้บรรลุ เป้าหมาย (Performance Goal) ตามแผนงานที่กาหนด 2.3 เข้าใจขอบเขต เป้าหมาย ของงาน และความต้องการที่ผู้นิเทศคาดหวัง 2.4 ได้รับรู้สถานการณ์ การเปลี่ยนแปลง ปัญหา อุปสรรค ของการจัดการศึกษาในสถานศึกษา และภารกิจที่สถานศึกษากาลังดาเนินการในปัจจุบัน และจะดาเนินการต่อไปในอนาคต 2.5 ได้รับรู้ถึงปัญหา หรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น ในการจัดการเรียนรู้ร่วมกับผู้นิเทศ และมีส่วนร่วมกับ ผู้นิเทศ ในการพิจารณา แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 2.6 มีโอกาสรู้ถึงจุดแข็ง จุดอ่อนของตน เพื่อสามารถนาไปพัฒนา และปรับปรุงการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ผลที่เกิดกับโรงเรียน 3.1 โรงเรียนมีผลการปฏิบัติงาน (Organization Performance) เป็นไปตามเป้าหมายที่กาหนดไว้ 3.2 โรงเรียนมีความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในยุคโลกาภิวัตน์ เนื่องจากการ สอนงานทาให้ครูมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งด้านการทางานตามนโยบาย กลยุทธ์ วิธีการทางาน และการนาเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เป็นต้น 3.3 เป็นการส่งเสริมการสร้างบรรยากาศการทางานเป็นทีมในสถานศึกษา


8.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ BP จากแบบสอบถามความพึงพอใจ ครู นักเรียนตั้งแต่ ชั้น ป.1 –ป.6 กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง จานวน 100 คน มีความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 98

8.4 ปัจจัยความสาเร็จของการพัฒนาBP/ประสบการณ์เรียนรู้จากการนา BP ไปใช้ 1.ด้านการบริหาร/งบประมาณสนับสนุน ผู้บริหารโรงเรียนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่นมีความรู้และสามารถในการส่งเสริม พัฒนาให้บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมีความรักสามัคคีประสานงานประสานประโยชน์ร่วมกันมุ่ง ผลสัมฤทธิ์ของงานโดยใช้หลั กการบริ หารแบบมีส่ วนร่ว มบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลผู้ บริหารโรงเรียนมี วิสัยทัศน์ที่ต้องกาหนดเป็นนโยบายของโรงเรียนมีภาวะความเป็นผู้นาสามารถเป็นตัวแบบที่ดีและแนะนามาจัด กิจกรรมแก่ครูและบุคลากรจัดหางบประมาณในการดาเนินการและสร้างแรงจูงใจที่ดีแก่ผู้ปฏิบัติ 2. ด้านหลักสูตร-การเรียน-การสอน โรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง ในและนอกสถานศึก ษาและเป็ น ระบบเพื่อให้ กิ จกรรมเป็ นส่ ว นหนึ่ งของวิ ถีชี วิต เพื่อ พัฒ นาผู้ เ รียนให้ มี ทั กษะ กระบวนการทางการเรียนส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นและมีจิตอาสา 3. ด้านครู คือปัจจัยที่สาคัญของกระบวนการพัฒนาครูเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับครู ให้ครูเป็นครูที่สอนดี มี จิตวิญญาณความเป็นครูนาไปสู่การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาครูต้องรู้จักครู รายบุคคล รู้จุดเด่นจุดที่ควรพัฒนา เน้นครูเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา มีการตั้งเป้าหมายของการพัฒนาร่วมกัน ไม่บอกความรู้ครู แต่ส่งเสริมให้ครูสร้างความรู้ด้วยตนเอง มุ่งก่อเกิดความรู้ในการปฏิบัติ (Knowledge in Practices) และความรู้ของการปฏิบัติ (Knowledge of Practices) และใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่าเสมอต่อเนื่อง

9. กระบวนการตรวจสอบซ้าเพื่อการพัฒนาปรับปรุง BP 9.1 วิธีการตรวจสอบซ้า 1) การตรวจสอบการวางแผน - แบบประเมินผลการเรียน - ผลงาน / ชิ้นงาน / นักเรียนและครู 2) การตรวจสอบการลงมือปฏิบัติ - แบบสังเกตการณ์จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน - แบบประเมินนักเรียนรายบุคคล - ผลการวิจัยชั้นเรียน

9.2 ผลการตรวจสอบซ้าเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง ส่งผลให้ครู และผู้เรียน มีศักยภาพทางการเรียนที่สูงขึ้น


10. การประชาสัมพันธ์ผลสาเร็จของBP และการเผยแพร่ ขยายผล ในวงกว้าง 1. จุลสารโรงเรียน 2. เว็บไซด์โรงเรียน / Face book 3. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสาเร็จของ BP งานวิชาการสู่โลกกว้างระดับเขตพื้นที่ฯและระดับ เครือข่าย 4. การรายงานคณะกรรมการสถานศึกษา

ผู้ส่งผลงาน (นางเบญจมาศ ลิขิตวัฒนกิจ) ผู้อานวยการโรงเรียนวัดหนองบัว

ผู้เห็นชอบผลงาน

(นายเฉลิมชัย แย้มชื่น) ประธานเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษากลอนโด


ภาคผนวก


ประชุมวางแผนการพัฒนา


ดาเนินการพัฒนา โดยวิทยากร


การนาไปใช้พัฒนาผู้เรียน


กิจกรรมที่หลากหลาย


จัดแสดงผลงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.