BEST PRACTICE นางสาวเบญมาศ ทองศรี ศึกษานิเทศก์ สพป.กาญจนบุรี เขต ๑

Page 1


1. ชื่อผลงาน BP การพัฒนาชุดนิเทศการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมตามมาตรฐานการเรียนร่วมของครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 (ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน) 2. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา BP 2.1 ชื่อผู้พัฒนา BP นางสาวเบญจมาศ ทองศรี 2.2 สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 2.3 โทรศัพท์ 081-0409408 3. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา BP 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดนิเทศการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมตามมาตรฐาน การเรียนร่วมสาหรับครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครู ก่อนและหลังการ ศึกษาชุดนิเทศการจัดการ เรียนร่วมและเรียนรวมตามมาตรฐานการเรียนร่วมสาหรับครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อ ชุดนิเทศการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมตามมาตรฐาน การเรียนร่วมสาหรับครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 4. ระยะเวลาในการพัฒนา BP ผู้รายงานได้กาหนดระยะเวลาที่ใช้ในทดลองใช้ชุดนิเทศการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมตาม มาตรฐานการเรียนร่วมสาหรับครูผู้สอนในโรงเรียนสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 4 ใช้ระยะเวลาระหว่าง 1 มีนาคม 2557 – 30 มีนาคม 2558 โดยดาเนินการพัฒนา ปรับปรุงตามความต้องการของครูผู้สอนและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แล้วนามาใช้กับครูผู้สอนใน โรงเรียนต้นแบบเรียนรวมและโรงเรียนแกนนาเรียนร่วม 5. ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง BP กับเป้าหมาย/จุดเน้น ของ สพป./ สพฐ./สถานศึกษา สนองกลยุทธ์ ข้อที่ 2 ขยายโอกาสเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียนใน การพัฒนาและมีคุณภาพ จุดเน้นด้านที่ 1 การพัฒนาผู้เรียน ข้อที่ 3 นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเต็มศักยภาพเป็น รายบุคคล 6. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีเจตนารมณ์ที่เกี่ยวข้องผู้พิการหรือทุพลภาพ ย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ การเลือกปฏิบัติจะ กระทาไม่ได้ ส่วนที่ 2 ความเสมอภาค มาตรา 30 ได้บัญญัติว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและ


ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่ เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกาเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทามิได้ มาตรการที่รัฐกาหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้ เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม ตามวรรคสามสิทธิและเสรีภาพ ในการศึกษา และมาตรา 49 ได้บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบ สองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลาบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับ การศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น (สานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552: 8-15) สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) ยุทธศาสตร์การพัฒนา ข้อ 5.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ให้ความสาคัญในการส่งเสริม การเรียนรู้ตลอดชีวิต มุ่งสร้างกระแสสังคม ให้การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน มีนิสัยใฝ่รู้รัก การอ่านตั้งแต่วัยเด็กและส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของคนต่างวัย ควบคู่กับการส่งเสริมให้องค์กร กลุ่ม บุคคล ชุมชน ประชาชน และสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สื่อสารด้วยภาษาที่เข้าใจ ง่าย รวมถึงส่งเสริมการศึกษาทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และสร้างสังคมแห่ง การเรียนรู้ที่มีคุณภาพและสนับสนุนปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (สานักงานพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ, 2555: 11) และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 หมวด 1 บททั่วไป ได้กาหนดความมุ่งหมายและหลักการจัด การศึกษาสาหรับคนไทยทุกคนไว้ในมาตรา 6 ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกายจิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนาธรรม ในการดารงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและยังได้กล่าวถึงคนพิการทุกประเภทไว้ใน หมวด 2 ว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาในมาตรา 10 วรรคสอง กล่าวว่า การจัดการศึกษา สาหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและ การ เรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือ ไม่มีผู้ดูแลหรือ ด้อยโอกาสต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ วรรคสาม กล่าวว่า การศึกษาสาหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสีย ค่าใช้จ่ายและให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอานวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใด ทางการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในกฎกระทรวง (สานักงานคณะกรรมการ การศึกษา ขั้นพื้นฐาน, 2548: 5-7) จากพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสาหรับคนพิการ พ.ศ.2551 เรื่อง สิทธิและหน้าที่ ทางการศึกษา มาตรา 5 กล่าวว่า คนพิการมีสิทธิทางการศึกษาดังนี้ (1) ได้รับการศึกษาโดย ไม่เสีย ค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอานวยความ สะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา (2) เลือกบริการ ทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบทางการศึกษาโดยคานึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและ ความต้องการจาเป็นพิเศษและ (3) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้ง การจัดหลักสูตรกระบวน การเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษาที่เหมาะสม สอดคล้องกับความ ต้องการจาเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล มาตรา 8 วรรค 5 กล่าวว่าสถานศึกษาใด


ปฏิเสธไม่รับคนพิการเข้าศึกษา ให้ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามกฎหมาย และในมาตรา 19 กล่าวว่ากาหนดให้สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่ดาเนินการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการ จัดการเรียนร่วม การนิเทศ กากับ ติดตาม เพื่อให้คนพิการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ตามที่กฎหมายกาหนด (สานักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, 2551: 1-12) ซึ่งนโยบายการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปี 2557 ข้อที่ 7 เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้ ประชาชนทุกกลุ่มอายุได้รับบริการการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสและการพัฒนา กองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (ICL) ให้สามารถเป็นกลไกในการพัฒนาคุณภาพ เพิ่มโอกาส และผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ (สานักงานปลัดกระทรวงศึกษา ธิการ, 2557: 9) จากสาระสาคัญที่กาหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ รวมทั้งกฎหมาย กฎกระทรวง นโยบายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงแนวทางและระบบการจัดการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นปฏิรูป การศึกษาดังกล่าว แสดงถึงเจตนารมณ์ในการจัดการศึกษาในทิศทางเดียวกัน คือการจัดการศึกษาขั้น พื้นฐานให้กับเด็กทุกคนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยเป็นการจัดการศึกษาแบบให้เปล่า ทั้งนี้สาหรับ เด็กพิการหรือเด็กที่มีความบกพร่องทุกประเภทนั้น รัฐต้องจัดให้เป็นพิเศษ กล่าวคือการจัดให้ได้รับ การศึกษาขั้นพื้นฐานและได้รับการพัฒนาศักยภาพในรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม โดยต้องขจัด ปัญหาและอุปสรรคอันเนื่องมาจากความพิการและจัดให้ได้เข้าเรียนในสภาพแวดล้อมที่มีขีดจากัดน้อย ที่สุดซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงจัดให้เข้าเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติร่วมกับนักเรียนทั่วไป ยกเว้นในกรณีที่มี ความพิการมากจนโรงเรียนไม่สามารถสนองต่อความต้องการจาเป็นพิเศษทางการศึกษาของนักเรียนที่ พิการให้เป็นเฉพาะบุคคลได้เท่านั้นจึงจาเป็นต้องจัดให้เรียนในรูปแบบอื่น นอกจากนี้ต้องจัดให้บริการ ตามกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎกระทรวงกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับ สิ่งอานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ. 2550 โดยให้ สอดคล้องกับความต้องการจาเป็นพิเศษทางการศึกษาเป็นเฉพาะบุคคล ดังนั้น จึงเป็นความพยายาม และความร่วมมือกันของทุกฝ่ายตลอดมา โดยมุ่งหวังให้การจัดการศึกษาสาหรับคนพิการบรรลุผลตาม เจตนารมณ์ที่กาหนดไว้ในกฎหมาย กฎกระทรวง นโยบายและแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาของ ประเทศ (สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2550: 4) ดังนั้นเพื่อพัฒนาให้เด็กและเยาวชนพิการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องตามเจตนารมณ์ที่ กาหนดในกฎหมาย พระราชบัญญัติและนโยบายที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพปลอดจากอุปสรรค และตั้งอยู่บนฐานของสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550 : 7) ได้ดาเนินการจัดโครงการโรงเรียนแกนนาจัดการเรียนร่วม เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก พิการได้เรียนร่วมกับเด็กทั่วไป โดยในปีการศึกษา 2547 จานวน 390 โรงเรียน กระจายครอบคลุมทุก จังหวัดๆ ละ 2 อาเภอๆ 1 โรงเรียน ต่อมาในปีการศึกษา 2548 ขยายผลเพิ่มขึ้นเป็นจานวน 2,000 โรงเรียน ครอบคลุมทุกอาเภอๆ ละ 1-2 โรงเรียน และในปัจจุบัน ปี 2556 มีโรงเรียนที่จัดการศึกษา เรียนร่วมจานวน 18,370 โรงเรียน ทั้งนี้โดยมุ่งหวังให้โรงเรียนได้เพิ่มประสิทธิภาพใน การบริหารตาม กรอบแนวคิด 2 ประการ คือ การบริหารจัดการทั้งระบบโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School–Based Management : SBM) และการบริหารโดยใช้โครงสร้างซีท ( SEAT Framework : โดยที่ SStudents คือนักเรียน, E-Environment คือสภาพแวดล้อม A-Activities คือกิจกรรมการเรียนการ สอนและT-Tools คือเครื่องมือ) ทั้งนี้โรงเรียนสามารถปรับเปลี่ยนกลไกการบริหารตามบริบทของแต่ ละโรงเรียน โดยมีความร่วมมือจากเครือข่ายทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถานศึกษาซึ่งแสดงถึง


กระบวนการที่มีความยืดหยุ่นและคมชัดในการดาเนินงาน ทั้งในระดับชั้นเรียนร่วมแล ะในโรงเรียน ทั้งระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มโอกาสให้เด็กพิการทุกคนได้เข้าเรียนและเรียนในโรงเรียนใกล้บ้าน ทั้งนี้ ได้มีการทบทวนถึงภารกิจที่จาเป็นที่สถานศึกษาทั่วไป ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ทั้งการ จัดให้เด็กพิการ ทุกคน ที่อยู่ในเขตบริการได้เข้าเรียนในโรงเรียนและการพัฒน าให้โรงเรียนมีคุณภาพ รองรับ การให้บริการด้านการจัดการศึกษาสาหรับเด็กพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพของการ จัดการศึกษาเรียนร่วมจึงเป็นตัวชี้วัดที่สาคัญอย่างหนึ่งของคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จากรายงานการดาเนินงานโครงการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเรียนร่วม ปี 2556 (สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4, 2556: 6) พบว่า สภาพการจัดการเรียน ร่วมและเรียนรวมของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ส่วนใหญ่ครูไม่มีวุฒิ หรือไม่ผ่านการอบรมด้านการศึกษาพิเศษ จึง ทาให้ขาด ความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีเกี่ยวกับ การ จัดการเรียนร่วมและเรียนรวม รวมทั้งครูโยกย้ายบ่อย ขาดแคลนอัตรากาลังครูอีกทั้งผู้บริหารโรงเรียน ไม่ได้นิเทศ ติดตาม ประเมินผลในชั้นเรียนร่วมอย่างจริงจัง ด้วยเหตุผลความเป็นมาและความต้องการดังกล่าว ผู้รายงานในฐานะศึกษานิเทศก์ สานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาพิเศษ งาน วิเคราะห์ วิจัยเพื่อพัฒนาการสอนและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ มีความสนใจ เป็นกรณีพิเศษและมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะพัฒนาครูผู้สอนให้เกิดความรู้และทักษะ ความสามารถในสิ่งที่ครูต้องการสอดคล้องกับภาระงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ การพัฒนาครูผู้สอนด้านการ จัดการเรียนร่วมและเรียนรวม มุ่งส่งเสริมให้ครูสามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนให้เกิดสัมฤทธิ์ผล ด้านการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ จึงได้ศึกษาและสรุปสภาพปัญหาอันเป็น บริบทของการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ศึกษาทฤษฎี หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วม และเรียนรวม หลักการและแนวทางในการสร้างนวัตกรรม ได้แก่ รูปแบบการสร้างชุดฝึกหรือชุดนิเทศ เครื่องมือในการเก็บรวบรวม หลักการ เทคนิคกระบวนการและรูปแบบการนิเทศการศึกษา เพื่อ นามาใช้ในการสร้างและพัฒนาชุดนิเทศการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมตามมาตรฐานการเรียนร่วม สาหรับครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ให้ สามารถนาไปพัฒนาคุณภาพการศึกษาสาหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษอย่างเต็มตามศักยภาพ 7. กระบวนการพัฒนา BP 7.1 กลุ่มเป้าหมายในการนา BP ไปใช้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 4 ปีการศึกษา 2557 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จากโรงเรียนต้นแบบเรียนรวมจานวน 3 โรงเรียน โรงเรียนแกนนา เรียนร่วมจานวน 10 โรงเรียน รวมจานวน 13 โรงเรียน โรงเรียนละ 4 คน รวมจานวน 52 คน โดย ผู้รายงานใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)


7.2 ขั้นตอนในการพัฒนา BP กรอบแนวคิดในการพัฒนาชุดนิเทศการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมตาม มาตรฐานการ เรียนร่วมสาหรับครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ผู้รายงานได้ ศึกษาแนวคิดและงานวิจัยต่างๆ และได้วิเคราะห์วางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนา ชุดนิเทศซึ่งใช้กระบวนการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนร่วม และเรียนรวม 2 ) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดนิเทศ 3) การทดลองใช้ชุดนิเทศ 4) การประเมินและปรับปรุงโดยเนื้อหา ชุดนิเทศที่สอดคล้อง ตามมาตรฐานการเรียนร่วม เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ปี พ.ศ. 2555 ของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 ด้าน คือ ด้านที่ 1 มาตรฐานด้าน คุณภาพผู้เรียน ด้านที่ 2 มาตรฐานด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านที่ 3 มาตรฐานด้านการบริหาร จัดการเรียนร่วม และด้านที่ 4 มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีการประเมินความรู้ ความเข้าใจและความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อชุดนิเทศ โดยมีกรอบแนวคิดการศึกษาได้ดังแผนภูมิที่ 1


และ

การศึกษา ข้อมูลพื้นฐาน

การพัฒนาและ หาประสิทธิภาพชุดนิเทศฯ

การทดลองใช้ชุดนิเทศฯ

การประเมิน และปรับปรุง

- ศึกษาสภาพ ความต้องการ การจัดการ เรียนร่วม และเรียนรวม จากการ สอบถาม การสัมภาษณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้อง - ศึกษาทฤษฎี หลักการ แนวคิด เกี่ยวกับการจัด การเรียนร่วม และเรียนรวม และรูปแบบ การนิเทศ - ศึกษาหลักการ และแนวทางใน การสร้างชุด นิเทศ เครื่องมือ ในการเก็บ รวบรวม - ศึกษาหลักการ เทคนิคกระบวน การและรูปแบบ การนิเทศ

ออกแบบชุดนิเทศตามมาตรฐาน การเรียนร่วม จานวน 8 เล่ม

- นาชุดนิเทศไปใช้จริงกับ กลุ่มตัวอย่าง - ประเมินผลระหว่างใช้ ชุดนิเทศและหา ประสิทธิภาพ (E1/E2)

- เปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของครูก่อน และหลังการศึกษา ชุดนิเทศ - ศึกษาความ พึงพอใจของ ครูผู้สอนที่มีต่อ ชุดนิเทศ

ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ ปรับปรุงแก้ไข หาประสิทธิภาพแบบรายบุคคล Individual Tryout (E1/E2) ปรับปรุงแก้ไข หาประสิทธิภาพแบบ Small Group : Tryout (E1/E2) ปรับปรุงแก้ไข หาประสิทธิภาพแบบ Field Tryout (E1/E2) ปรับปรุงแก้ไข

ไม่ผ่าน ปรับปรุง แก้ไข

ผลการ

ชุดนิเทศที่สมบูรณ์

ป ร ะ เ มิ น

ผ่าน

แผนภูมิที่ 1 กรอบแนวคิดการศึกษา

หน้า 6


7.3 การตรวจสอบคุณภาพ BP 1. ชุด นิเทศการจัดการเรียนร่วม และเรียนรวมตามมาตรฐานการเรียนร่วมสาหรับครู ผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 จานวน 8 เล่มโดยประกอบด้วย สาระสาคัญ ดังนี้ เล่มที่ 1 กฎหมาย ประกาศกระทรวงและนโยบายที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษ 1) กฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษ 2) ประกาศกระทรวงที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษ 3) นโยบายที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษ เล่มที่ 2 การบริหารจัดการเรียนร่วมและเรียนรวม 1) ความหมายของการเรียนร่วมและเรียนรวม 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมและเรียนรวม 3) รูปแบบการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวม 4) ประโยชน์การจัดการเรียนร่วมและเรียนรวม 5) การบริหารจัดการโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT Framework) เล่มที่ 3 มาตรฐานการเรียนร่วมเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา .ศ. พ 2555 1) มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีผลการพัฒนาเต็มศักยภาพ 2) มาตรฐานที่ 2 ครูปฏิบัติงานเรียนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล 3) มาตรฐานที่ 3ผู้บริหารบริหารจัดการเรียนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 4) มาตรฐานที่ 4 สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นสังคม แห่งการ เรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนร่วม เล่มที่ 4 ประเภทและการคัดกรองคนพิการทางการศึกษา 1) ประเภทของคนพิการทางการศึกษา 2) วิธีการคัดกรองคนพิการทางการศึกษา เล่มที่ 5 การจัดทาแผนการศึกษาเฉพาะบุค(Individualized คล Education Program : IEP) 1) องค์ประกอบแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 2) การกรอกแบบบันทึกแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP)( ระดับก่อนการศึกษาขั้นพื้นฐาน/ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เล่มที่ 6 แนวทางการพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ 1) แนวทางพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities) 2) ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้โดยภาพรวม 3) แนวทางพัฒนานักเรียนที่มปี ัญหาทางการเรียนรู้ 4) ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้พัฒนานักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ เล่มที่ 7 การขอสิ่งอานวยความสะดวกสื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา 1) ระเบียบคณะกรรมการพิจารณาให้คนพิการได้รับสิทธิช่วยเหลือทางการศึกษาว่าด้วยการ ขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษาเพื่อขอรับหรือซื้อสิ่งอานว ยความสะดวก สื่อ บริการและ ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ. 2551 2) แนวปฏิบัติสาหรับสถานศึกษาในการขอรับเงินอุดหนุนทางการศึกษา หน้า 7


3) ลาดับขั้นตอนการขอรับเงินอุดหนุนเพื่อรับหรือซื้อสิ่งอานวยความสะดวก สื่อบริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา 4) เอกสารการสมัครเป็นหน่วยบริการและผู้ให้บริการ 5) เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอสิ่งอานวยความสะดวก สื่อ บริการและความ ช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา 6) เอกสารการขอรับเงินค่าให้บริการ 7) การดาเนินการหลังจากรับคูปอง เล่มที่ 8 การจัดทาแผนเปลี่ยนผ่านสาหรับนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ 1) การเปลี่ยนผ่านและความสาคัญของการช่วยเหลือนักเรียนในระยะเปลี่ยนผ่าน 1.1 ความหมายและความสาคัญของการวางแผนการเปลี่ยนผ่าน 1.2 หลักการวางแผนการเปลี่ยนผ่านและแนวทางการจัดทาแผนการเปลี่ยนผ่าน 1.3 แนวทางการพัฒนาแผนการเปลี่ยนแผน 1.4 การเปลี่ยนผ่านกับผู้เรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ 2) กระบวนการและเครื่องมือในการจัดทาแผนการเปลี่ยนผ่านสาหรับผู้เรียนที่มีความ ต้องการจาเป็นพิเศษ 3) การนาแผนการเปลี่ยนผ่านไปใช้ในสภาพจริง ส่วนประกอบของชุดนิเทศการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมตามมาตรฐานการเรียนร่วม แต่ละเล่มประกอบด้วย 1. ปกนอก 2. ปกใน 3. คานา 4. คาชี้แจง 5. สารบัญ 6. แผนการนิเทศ 7. แบบทดสอบก่อนการศึกษา (5 ข้อๆ ละ 1 คะแนน) 8 เนื้อหาสาระ 9. แบบฝึกหัด (รวม 20 คะแนนต่อเล่ม) 10. บรรณานุกรม 11. ภาคผนวก 12. แบบทดสอบหลังการศึกษา (5 ข้อ วางสลับข้อ พร้อมเฉลยทั้งก่อนและหลัง) 13. เฉลยแบบทดสอบก่อนและหลักการศึกษา 14. แนวการตอบแบบฝึกหัดที่ 1-2 1 5. สรุปคะแนนและเกณฑ์การตัดสิน 16. ปกหลัง 2. คู่มือการใช้ชุดนิเทศการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมตามมาตรฐานการเรียนร่วม มีลักษณะเป็น เอกสารรูปเล่มที่จัดทาขึ้น เพื่อใช้เป็นคู่มือของครูผู้สอนที่นาชุดนิเทศการจัดการ เรียนร่วมและเรียนรวมไปใช้ด้วย ตนเอง มีประกอบสาคัญ คือ 1. ปกนอก หน้า 8


2. ปกใน 3. คานา 4. คาชี้แจง 5. สารบัญ 6. บทที่ 1 บทนา 7. บทที่ 2 แนวทางการศึกษาเอกสารชุดนิเทศ 8. บทที่ 3 หลักสูตร/สาระความรู้ชุดนิเทศ 9. บทที่ 4 การติดตามและประเมินผลการศึกษาชุดนิเทศการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวม 10. บรรณานุกรม 11. ภาคผนวก 12. ปกหลัง 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมตามมาตรฐานการ เรียนร่วม 4. แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อชุดนิเทศการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมตาม มาตรฐานการเรียนร่วม การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1. การสร้างและพัฒนาชุด นิเทศการจัดการเรียนร่วม และเรียนรวม ตามมาตรฐานการเรียนร่วม ผู้รายงานได้ดาเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1.1 ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนร่วม และเรียนรวม ตามแนวทางการประเมินมาตรฐานการเรียนร่วมและการสร้างชุดฝึกอบรม 1.2 ประมวลข้อมูล ความรู้ที่ได้จากการศึกษามาสร้างชุดนิเทศการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวม ตามมาตรฐานการเรียนร่วมสาหรับครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 4 1.3 กาหนดโครงสร้าง ขอบเขตเนื้อหาของชุดนิเทศการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมตามมาตรฐาน การเรียนร่วม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ความชัดเจน และความเหมาะสมของการใช้ภาษา (มาเรียม นิลพันธุ์ 2555 : 176-177) และ หาดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ +1 ถ้าแน่ใจข้อคาถามนั้นสอดคล้องกับเนื้อหาตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด 0 ถ้าไม่แน่ใจข้อคาถามนั้นสอดคล้องกับเนื้อหาตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด -1 ถ้าแน่ใจข้อคาถามนั้นไม่สอดคล้องกับเนื้อหาตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด โดยพิจารณา ถ้าIOC มีค่า  0.50 ขึ้นไป แสดงว่าคาถามนั้นใช้ได้ มีความเหมาะสม หรือสอดคล้องกับ จุดประสงค์หรือลักษณะพฤติกรรม แต่ถ้าต่ากว่า 0.50 แสดงว่าข้อคาถามนั้นไม่สอดคล้อกง ับจุดประสงค์หรือ ลักษณะพฤติกรรมควรตัดทิ้งหรือนามาปรับปรุงแก้ไขใหม่ 1.4 นาข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ มาดาเนินการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างขอบเขต เนื้อหาและ วัตถุประสงค์ของชุดนิเทศให้เหมาะสมยิ่งขึ้น 1.5 นาโครงสร้างเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่ได้ทั้งหมดมาออกแบบเป็นชุดนิเทศ หน้า 9


1.6 นาชุดนิเทศที่สร้างสาเร็จแล้ว ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จานวน5 คน ทาการตรวจคุณภาพและ ความถูกต้องเหมาะสมและหาค่าดัชนีความสอดคล้อIndex ง ( of Item Objective Congruence : IOC) 1.7 จากนั้นนาข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ มาดาเนินการปรับปรุงแก้ไขชุดนิเทศให้สมบูรณ์ มากยิ่งขึ้น 1.8 นาชุดนิเทศที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้กับครูผู้สอนกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช่ กลุ่มตัวอย่าง จริงและยังไม่เคยอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมมาก่อน แบบรายบุคคล 1 : 1 x 3 (One to one tryout) โดยทดลองใช้กับครูผู้สอนโรงเรียนบ้านยางสูง อาเภอบ่อพลอย สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต4 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วม จานวน 3 คนโดยได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ทาการทดสอบก่อนการศึกษาชุดนิเทศ (Pretest) จากนั้นครูผู้สอนดาเนินการเรียนชุด นิเทศที่สร้างขึ้น ระหว่างการศึกษาชุดนิเทศมีการประเมินแต่ละเล่ม และเมื่อจบเนื้อหาทั้งหมดทาการทดสอบ หลังการศึกษาชุดนิเทศ (Posttest) หลังจากนั้นให้ครูผู้สอนทาแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดนิเทศ โดย สังเกตพฤติกรรมระหว่างการศึกษาชุดนิเทศ อย่างใกล้ชิดพิจารณาความเหมาะสม ความชัดเจนเกี่ยวกับภาษา แบบฝึกหัดที่ใช้ในชุดนิเทศและนาคะแนน ไปคานวณหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และวิเคราะห์ข้อบกพร่อง จาการทดลองใช้ จากการดาเนินดังกล่าว เมื่อนาคะแนนที่ได้มาคานวณหาประสิทธิภาพของชุดนิเทศ พบว่า มี ประสิทธิภาพเท่ากับ 67.50/77.49 1.9 นาชุดนิเทศที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลองกลุ่มย่อย (small group tryout) ซึ่งเป็นครูที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจริง และยังไม่เคยอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมมาก่อน จาก โรงเรียนบ้านยางสูง อาเภอบ่อพลอย สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต4 ซึ่งเป็น โรงเรียนที่จัดการเรียนร่วม โดยได้จากการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จานวน 9 คน ทาการ ทดสอบก่อนการศึกษาชุดนิเทศ (Pretest) จากนั้นครูผู้สอนดาเนินการศึกษาชุดนิเทศที่สร้างขึ้น ระหว่าง การศึกษาชุดนิเทศมีการประเมิน แต่ละเล่มและ เมื่อจบเนื้อหาทั้งหมด ทาการทดสอบหลังการศึกษาชุดนิเทศ (Posttest) แล้วให้ครูผู้สอนทาแบบสอบถาม ความพึงพอใจที่มีต่อชุดนิเทศอีกครั้ง พิจารณาความเหมาะสม ชัดเจนเกี่ยวกับภาษา กิจกรรม สื่อต่างๆ ที่ใช้ในชุดนิเทศและทดลองจับเวลาว่าเป็นไปตามที่กาหนดไว้หรือไม่ แล้วนาคะแนนไปคานวณหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.75/85.56 1.10 แล้วนาชุดนิเทศที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขสมบูรณ์เรียบร้อยแล้วไปทดลองใช้กับ กลุ่มตัวอย่าง จริง (Field tryout) ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จานวน 52 คน ก่อนการศึกษาชุด นิเทศผู้รายงานได้ชี้แจงทาความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชุดนิเทศ ทาการทดสอบก่อน การศึกษา (Pretest) แล้ว ดาเนินการให้กลุ่มตัวอย่างได้ศึกษาชุดนิเทศที่ผู้รายงานสร้าง โดยศึกษาเนื้อหา และปฏิบัติกิจกรรมตามลาดับขั้นตอน ที่กาหนดไว้ในคู่มือการใช้ชุดนิเทศ หลังจากจบเนื้อหาแต่ละเล่มผู้รายงานได้ทาการทดสอบเพื่อวัดความรู้ความ เข้าใจของครูในแต่ละเล่มและเมื่อศึกษาเนื้อหาจนครบทุกเล่มแล้วให้ครูผู้สอนทาการทดสอบหลังการเรียน (Posttest) อีกครั้ง หลังจากนั้นทาแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดนิเทศแล้วจึงนาคะแนนที่ได้ไป คานวณหาประสิทธิภาพของชุดนิเทศตามเกณฑ์ที่กาหนด 80/80 ดังแผนภูมิที่ 2

หน้า 10


กาหนดจุดประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา/กิจกรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและชุดนิเทศตรวจสอบความถูกต้อง

สร้างชุดนิเทศ - ความถูกต้องด้านเนื้อหา - ความเหมาะสมชัดเจน

ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาตรวจสอบความถูกต้อง

ทดลองครั้งที่ 1 รายบุคคล 1 : 1x3

ปรับปรุง ไม่ผ่าน

เกณฑ์มาตรฐาน

- ความถูกต้องด้านเนื้อหา - ความเหมาะสมชัดเจน

ทดลองครั้งที่ 2 กลุ่มย่อย 9 คน

8 0 ผ่าน / 8 0

ปรับปรุง เกณฑ์มาตรฐาน

- หาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80

ไม่ผ่าน

8 0 ผ่าน / ทดลองครั้งที่ 3 8 กลุ่มตัวอย่าง 52 คน 0

เกณฑ์มาตรฐาน

ไม่ผ่าน

ปรับปรุง

8 0 ผ่าน / ชุดนิเทศต้นแบบที่สมบูร8ณ์ 0

แผนภูมิที่ 2 ขั้นตอนการสร้างและพัฒนาหาประสิทธิภาพของชุดนิเทศ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวม ตามมาตรฐานการ เรียนร่วม เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูผู้สอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมตาม มาตรฐานการเรียนร่วม ที่ใช้สาหรับการทดสอบก่อนและหลังการศึกษาชุดนิเทศ ผู้รายงานได้สร้างแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามขั้นตอนดังนี้ หน้า 11


2.1 ศึกษาแนวการสร้างแบบทดสอบจากเอกสาร ตาราต่างๆ 2.2 วิเคราะห์ เนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้ 2.3 สร้างแบบทดสอบให้ครอบคลุมจุดประสงค์และเนื้อหา ลักษณะแบบทดสอบเป็นแบบ ปรนัย 4 ตัวเลือก จานวน 40 ข้อ แล้วตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสม 2.4 นาแบบทดสอบที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาตรวจสอบความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหา (Content Validity) ความเหมาะสมของภาษาและหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ( Index of Item Objective Congruence : IOC) (มาเรียม นิลพันธุ์ 2555: 176-177) โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ +1 ถ้าแน่ใจข้อคาถามนั้นสอดคล้องกับเนื้อหาตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด 0 ถ้าไม่แน่ใจข้อคาถามนั้นสอดคล้องกับเนื้อหาตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด -1 ถ้าแน่ใจข้อคาถามนั้นไม่สอดคล้องกับเนื้อหาตามจุดประสงค์ที่ต้องการวัด โดยพิจารณา ถ้า IOC มีค่า  0.50 ขึ้นไป แสดงว่าคาถามนั้นใช้ได้ มีความเหมาะสม หรือ สอดคล้องกับจุดประสงค์หรือลักษณะพฤติกรรม แต่ถ้าต่ากว่า  0.50 แสดงว่าข้อคาถามนั้นไม่สอดคล้องกับ จุดประสงค์หรือลักษณะพฤติกรรมควรตัดทิ้งหรือนามาปรับปรุงแก้ไขใหม่ 2.5 นาแบบทดสอบที่ได้สร้างไว้ทั้ง 65 ข้อ ไปทดลองใช้กับครูผู้สอนโรงเรียนบ้านหนอง กระทุ่ม อาเภอบ่อพลอย สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ซึ่งเป็นโรงเรียน จัดการเรียนร่วมและผ่านการอบรมในเนื้อหาการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมตามมาตรฐานการเรียนร่วม จานวน 14 คน นามาวิเคราะห์หาค่าความยาก (P) ค่าอานาจจาแนก (r) คัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่าย (P) คือ ระหว่าง 0.20 – 0.80 ถ้าค่าความยากง่าย < 0.20 ถือว่าข้อคาถามนั้นยากเกินไป และถ้าค่าความยาก ง่าย > 0.80 ถือว่าข้อคาถามนั้นง่ายเกินไป นั่นคือ ค่า p น้อย ยาก ค่า p มาก ง่าย จานวน 40 ข้อ (มาเรียม นิลพันธุ์ 2555: 188) โดยครอบคลุมเนื้อหาและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กาหนดไว้ 2.6 นาผลที่ได้มาหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson, อ้างในมาเรียม นิลพันธุ์ 2555: 182) ซึ่งความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ที่สร้างขึ้นมีค่า เท่ากับ 0.93 2.7 นาแบบทดสอบที่ได้ทั้ง 40 ข้อ ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริงแล้วเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อทาการ วิเคราะห์ผลต่อไป

หน้า 12


ศึกษาแนวทางในการสร้างแบบทดสอบ จากเอกสารตาราต่างๆ วิเคราะห์เนื้อหา และจุดประสงค์ เชิงพฤติกรรม สร้างแบบทดสอบได้ครอบคลุม จุดประสงค์และเนื้อหา ตรวจสอบความถูกต้อง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผ่าน

ปรับปรุง

นาแบบทดสอบไป ทดลองใช้กับครู 14 คน

หาค่าความยากง่าย (P) ค่าอานาจจาแนก (r) ผ่าน คัดเลือกข้อสอบ ที่ใช้ได้ 40 ข้อ หาความเชื่อมั่น นาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจริง แผนภูมิที่ 3 สรุปขั้นตอนการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3. การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่ต่อชุดนิเทศ การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่ต่อชุดนิเทศ ผู้รายงานมีวิธีการสร้างดังนี้ หน้า 13


3.1 ศึกษาหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามจากหนังสือวิธีวิจัย ทางการศึกษา ของมาเรียม นิลพันธุ์ (2555: 161-164) และการสร้างแบบวัดเจตคติจากหนังสือระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ ของพิชิต ฤทธิ์จรูญ (2547: 217-231) 3.2 สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีการของ ลิเคอร์ท (Likert’s scale, อ้างอิงในพิชิต ฤทธิ์จรูญ 2547: 224-225) คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง จานวน 15 ข้อ การกาหนดค่าระดับของข้อคาถามในแบบสอบถามความพึงพอใจมีดังนี้ เห็นด้วยมากที่สุด ให้ค่าระดับเท่ากับ 5 เห็นด้วยมาก ให้ค่าระดับเท่ากับ 4 เห็นด้วยปานกลาง ให้ค่าระดับเท่ากับ 3 เห็นด้วยน้อย ให้ค่าระดับเท่ากับ 2 เห็นด้วยน้อยที่สุด ให้ค่าระดับเท่ากับ 1 3.3 นาแบบสอบถามความพึงพอใจที่สร้างขึ้นทั้ง 15 ข้อ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและการ สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ จานวน 3 ท่าน ตรวจสอบความเหมาะสมของคาถาม หาค่าความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหา (Content validity) และรูปแบบภาษาและหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) แล้วนาข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไข 3.4 นาแบบสอบถามความพึงพอใจที่ผ่านการตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้ไปทดลอง ว ใช้กับครูผู้สอนที่ทดลองใช้ชุดนิเทศในขั้นทดลองรายบุคคลและกลุ่มย่อย จากนั้นนามาปรับปรุงแก้ไข 3.5 นาแบบสอบถามความพึงพอใจที่ผ่านเกณฑ์เรียบร้อยแล้วไปเก็บข้อมูลกับครูผู้สอนที่เป็น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาทั้ง 52 คน แล้วดาเนินการวิเคราะห์ผล

หน้า 14


ศึกษาเอกสารตาราการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ

ตรวจสอบแบบสอบถาม ความพึงพอใจโดยผู้เชี่ยวชาญ ผ่าน ไม่ผ่าน

ไม่ผ่าน

ปรับปรุง

นาแบบสอบถามความพึงพอใจ ไปทดลองใช้กับรายบุคคลและกลุ่มย่อย

ปรับปรุง ได้แบบสอบถามความพึงพอใจของ ครูผู้สอนที่มีต่อชุดนิเทศ นาแบบสอบถามความพึงพอใจ ที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างจริง แผนภูมิที่ 4 สรุปขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อชุดนิเทศ 7.4 แนวทางการนา BP ไปใช้ประโยชน์ 1. ศึกษานิเทศก์มีชุดนิเทศการจัดการเรียนร่วแมละเรียนรวมตามมาตรฐานการเรียนร่วมสาหรับครูผู้สอนใน โรงเรียนสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่และเรี วม ยนรวมตามมาตรฐานการเรียนร่วม 3. นักเรียนที่มีความต้องการ จาเป็นพิเศษได้รับการพัฒนาการศึกษาเต็มศักยภาพตามมาตรฐาน การเรียนร่วม 5. เป็นแนวทางสาหรับการสร้างชุดนิเทศการศึกษาสาหรับครูผู้สอนในสถานศึกษา 8. ผลสาเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา BP 8.1 ผลสาเร็จเชิงปริมาณ - ครูผู้สอน โรงเรียนต้นแบบเรียนรวม 3 โรงเรียน โรงเรียนแกนนาเรียนร่วม จานวน 10 โรงเรียน โรงเรียนละ 4 คน รวมเป็น 52 คน 8.2 ผลสาเร็จเชิงคุณภาพ หน้า 15


- ครูผู้สอน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมตามมาตรฐานการเรียนร่วม รวมทั้งเห็นความสาคัญในพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวมสาหรับนักเรียนที่มีความต้องการ พิเศษตามมาตรฐานการเรียนร่วม - นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพตามแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 8.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ BP - ครูผู้สอนที่เรียนด้วยชุดนิเทศมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดต่อชุดนิเทศการจัดการเรียนร่วมและ เรียนรวมตามมาตรฐานการเรียนร่วมสาหรับครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 โดยมีค่าเฉลี่ย ( x ) เท่ากับ 4.51 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.53 8.4 ปัจจัยความสาเร็จของการพัฒนา BP/ประสบการณ์เรียนรู้จากการนา BP ไปใช้ 9. กระบวนการตรวจสอบซ้าเพื่อพัฒนาปรับปรุง BP ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง 9.1 วิธีการตรวจสอบซ้า BP ทดสอบโดยใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูผู้สอนหลังจากการศึกษาชุดนิเทศการจัดการ เรียนร่วมและเรียนรวมตามมาตรฐานการเรียนร่วมสาหรับครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 9.2 ผลการตรวจสอบซ้าเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง BP พบว่า ผลสัมฤทธิท์ างการเรียนของครูทเ่ี รียนด้วยชุดนิเทศ สูงกว่าก่อนศึกษาชุดนิเทศ อย่างมีนยั สาคัญ ทางสถิติที่ ระดับ .05 10. การประชาสัมพันธ์ผลสาเร็จของ BP และการเผยแพร่ ขยายผลในวงกว้าง 1. การเผยแพร่ โดยการเป็นวิทยากรให้ความรู้ในการประชุมอบรมในโอกาสต่างๆ ดังนี้ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาการจัดทาสื่อการอ่านสาหรับนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้ (LD) ณ โรงเรียนบ้านรางขาม ตาบลหนองกุ่ม อาเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี มีครูเข้าอบรม 62 คน 2) การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการศึกษาในโรงเรียนต้นแบบแกนนาจัดการเรียนร่วม ณ ศูนย์ การศึกษาพิเศษประจาจังหวัดกาญจนบุรี อาเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี มีครูเข้าอบรม 15 คน 3) การอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ดาเนินการคัดกรองหลักสูตร “ผู้ดาเนินการคัดกรองคนพิทางการศึ การ กษา” ตามแนบประกาศคณะกรรมการพิจารณาให้คนพิการได้รับสิทธิช่วยเหลือทางการศึกษา เรื่องกาหนด หลักเกณฑ์ และวิธีการ การรับรองบุคคลของสถานศึกษาว่าเป็นคนพิการ ณ ห้องประชุมที่ว่าการอาเภอบ่อพลอย อาเภอ บ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี มีครูเข้าอบรม 138 คน 4) การอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ดาเนินการคัดกรองหลักสูตร “ผู้ดาเนินการคัดกรองคนพิทางการศึ การ กษา” ตามแนบประกาศคณะกรรมการพิจารณาให้คนพิการได้รับสิทธิช่วยเหลือทางการศึกษา เรื่องกาหนด หลักเกณฑ์ และวิธีการ การรับรองบุคคลของสถานศึกษาว่าเป็นคนพิการ ณ ห้องประชุมสานักงานเขตพื้นการศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 อาเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี มีครูเข้าอบรม 210 คน 2. การเผยแพร่โดยการสาเนาเอกสาร, แผ่น CD และ Flied ข้อมูลทาง E-mail ให้กับผู้ที่สนใจและแจ้ง ความประสงค์ขอรับไปศึกษาด้วยตนเอง 3. การเผยแพร่ทาง Internet ในเว็บไซด์ http://www.kan4.go.th ของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 หน้า 16


ตัวอย่างการเผยแพร่ผลงาน โดยการสาเนาเอกสาร, แผ่น CD และ Flied ข้อมูลทาง E-mail ให้กับผู้ที่สนใจ และแจ้งความประสงค์ขอรับไปศึกษาด้วยตนเอง

หน้า 17


ตัวอย่างการเผยแพร่ผลงาน โดยทาง Internet ในเว็บไซด์ http://www.kan4.go.th ของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4

หน้า 18


ตัวอย่างการเผยแพร่ผลงาน โดยทาง Internet ในเว็บไซด์ http://www.kan4.go.th ของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 (ต่อ)

หน้า 19


ตัวอย่าง ภาพการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนร่วมและเรียนรวม

หน้า 20



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.