ฺBP นางสุรัตน์ วีระกุล โรงเรียนวัดวังศาลา

Page 1


“ผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice (BP)” 

๑. ชื่อผลงาน BP วิทยากรถ่ายทอดความรู้คู่กิจกรรม กลุ่มสาระเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ด้าน (วิชาการ/บริหารจัดการ/นวัตกรรม) ด้านบริหารจัดการ ๒. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา BP ๒.๑ ชื่อผู้พัฒนา BP นางสุรัตน์ วีระกุล ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชานาญการพิเศษ ๒.๒ โรงเรียน โรงเรียนวัดวังศาลา ตาบลวังศาลา อาเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๑ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๒.๓ โทรศัพท์ : ๐๘-๙๒๕๕-๒๕๗๔ E-mail : Surat_Verakun@hotmail.com facebook : http://www.facebook.com/สุรัตน์ วีระกุล ๓. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา BP ๓.๑ เพื่อให้นักเรียนตระหนักและเห็นคุณค่าของวิชาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ๓.๒ เพื่อให้นักเรียนเกิดความรัก หวงแหน และภูมิใจในแผ่นดินเกิด ๓.๓ เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจและจดจาอย่างยั่งยืน ๔. ระยะเวลาในการพัฒนา BP (ระบุช่วงเริ่มต้นการพัฒนา และระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนา BP) พฤษภาคม ถึง กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ๕. ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง BP กับเป้าหมาย/จุดเน้นของ สพป./สพม./สพฐ./สถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการจัดเนื้อหา สาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคานึงถึง ความแตกต่าง ระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มา ใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้คิด ได้ คิดเป็น ทาเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระ ความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอัน พึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมสื่อการเรียน และ อานวยความสะดวกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้ครูและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไ ปพร้อมกัน จากสื่ อการเรียนการสอนและ


แหล่ง วิทยากรประเภทต่า งๆ จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความ ร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ๖. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นามาใช้ในการพัฒนา BP ปัญหาอุปสรรคในการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ๑. วิชาประวัติศาสตร์ ขาดความเป็นเอกเทศ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของวิชาสังคมศึกษาเท่านั้น ที่สาคัญที่สุดจากแง่มุมของการศึกษาก็คือการตระหนักว่า การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติเท่ากับเป็นการ ทาความรู้จักสังคมของตนเอง นอกจากนี้ประวัติศาสตร์เท่านั้นที่จะช่วยปลูกฝังความรักมาตุภูมิ ความ มุ่งมั่นในปณิธานแห่งชาติ และความเข้าใจวัฒนธรรมประจาชาติ ๒. ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ มุ่งเน้นในเรื่องการถ่ายทอดความรู้ที่มี อยู่ มากกว่าการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ผลที่ตามมาก็คือครูรับบทบาทเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาการการวัดผล ประเมินผลก็เน้นการท่องจามากกว่าการสร้างสรรค์ ซึ่งมุ่งเน้นในการดึงศักยภาพในการวิเคราะห์วิจารณ์ ของนักเรียนที่จะให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ได้ ๓. แนวคิ ด การพั ฒ นาการเรี ย นการสอนประวั ติ ศ าสตร์ ไ ทย ควรให้ ค วามส าคั ญ แก่ ค รู ผู้ ส อน ประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะนักวิชาการทางการศึกษาควรให้ความสาคัญต่อครูที่สอนวิชาประวัติศาสตร์ ไทยให้มาก ครูต้องมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาที่ตนสอน มีความภาคภูมิใจว่า การสอนประวัติศาสตร์ไทยเป็น ภารกิจอันยิ่งใหญ่ ๔. ปัญหาการวัดและประเมินผล มีความเข้าใจผิดๆ ที่ว่าการวัดผลแบบปรนัย ใช้ได้กับทุกวิชาใน ทุกสถานการณ์ ท าให้เ กิดการละเลยคุ ณค่าอย่างมหาศาลของการฝึกหัด เรีย งความ แม้ กระทั่ ง วิช า ประวัติศาสตร์ เกิดผลกระทบต่อสังคมไทย ความสาคัญต่อคุณภาพของผู้เรียนความสามารถอ่านเป็น คิดเป็น และเขียนเป็น ถ้าสอนถูกวิธีประวัติศาสตร์ เป็นวิชาเดียวที่ให้ผู้เรียนเกิดความคิดวิเคราะห์ได้ดี ที่สุด เป็นเรื่องการอธิบายเหตุและผลของเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ในอดีตซึ่ง ส่ง ผลกระทบมาถึง ปัจจุบัน ๕. ปัญหาสื่อการเรียนการสอน มีอยู่ หลายประเภท แต่สื่อที่ สาคัญ ที่สุด ก็ยัง คง ได้ แก่ หนัง สื อ แบบเรีย นประวั ติ ศ าสตร์ แ ละหนั ง สือ อ่ า นประกอบรายวิช าต่ า งๆ เป็ นที่ น่ า เสี ย ดายว่ า ขณะที่ ก าร ค้ น คว้ า วิ จั ย เกี่ ย วกั บ ประวั ติ ศ าสตร์ ไ ทยเฉพาะด้ า นได้ ก้ า วหน้ า ไปมากเรากลั บ ขาดแคลนหนั ง สื อ ประวั ติ ศ าสตร์ ไ ทยฉบั บ มาตรฐานที่ ดี ๆ ความเข้ า ใจด้ า นความรู้ ท างประวั ติ ศ าสตร์ ห าได้ ห ยุ ด นิ่ ง ไม่นักประวัติศาสตร์ค้นพบหลักฐานใหม่อยู่เสมอ แนวคิดในการวิเคราะห์วิพากษ์ก็ยัง คงเปลี่ยนไป การค้นคว้าวิจัยในระดับสูงได้นาไปสู่ข้อถกเถียงและตีความใหม่มากมายหลายประเด็น การปรับปรุง ตาราเรียนประวัติศาสตร์ไทยจึงต้องกระทาอย่างสม่าเสมอ ในการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ หากถามนักเรียนหลาย ๆ หลายคน มักจะบอกว่าเป็นวิ ชา ท่องจา ต้องอ่านมาก ต้องจามากทาให้น่าเบื่อหน่าย ไม่เห็นสนุกเลย ตอนที่ผู้เขียนเป็นหัวหน้าหมวด


สัง คมศึ กษา มี ลูก น้อ งหมวดบางคน กล่ าวว่ า อย่ าให้ส อนประวัติ ศาสตร์เ ลยหัวหน้า เพราะเด็ กจะ เบื่อง่าย ง่วงง่ายไม่อยากสอน ก็พยายามนิเทศแนะนาเขา เพราะเท่าที่ผู้เขียนสอนวิชาประวัติศาสตร์มา นับสิบปีนักเรียนส่วนใหญ่ก็ชอบและตั้งใจเรียนดี เพราะ เราไม่ได้สอนแบบท่องจา หรือบังคับให้นักเรียน นั่งอ่านหนังสือ ขอเรียนย้าว่า อย่าท่องจาและอย่าออกข้อสอบเป็นตัวเลขโดยเด็ดขาด แต่ให้นักเรียน เข้าใจสาเหตุ ปัจจัย กระบวนการ และจุดเด่น ของแต่ละยุคสมัยของประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์อาจจะมีเงื่อนไขของมิติเวลา เป็นกรอบระยะเหตุการณ์ที่ศึกษา หากนักเรียน เข้าใจ สิ่งเหล่านั้น (พ.ศ.) ก็จะจาโดยอัตโนมัติ ขั้นตอนการเตรียมการสอน สิ่งแรกที่นักเรียนควรรู้ คือเราควรให้นักเรียนรู้จักตนเองก่อนแล้ว ค่อย ๆ ขยายไปสู่การรู้จักจังหวัด ประเทศ เพื่อนบ้านตามลาดับ ซึ่งการสอนต้องกระทาดังนี้ ๑. การเขียนแผนการสอนที่กระชับชัดเจน ไม่ยืดเยื้อ ๑ แผน ต่อ ๑ หัวข้อ เน้นการวิเคราะห์ ปฏิบัติ ด้วย ตัวเอง แล้วใช้งานกลุ่มในการสอนในลาดับต่อไป ๒. ให้นักเรียนเข้าใจวิธีการประวัติศาสตร์ ด้วยการศึกษาง่าย ๆ เช่น ค้นหาบรรพบุรุษของตน ในสามชั่ ว คน ให้ ง านกลุ่ ม ค้ น คว้ า ประวั ติ ศ าสตร์ ท้ อ งถิ่ น จากนั้ น สรุ ป ร่ ว มกั น ว่ า ว่ า เราเรี ย น ประวัติศาสตร์เพื่ออะไรทาให้นักเรียนเข้าใจด้วยการปฏิบัติด้วยตนเอง ๓. บูรณาการวิชาวาดเขียน เรียงความ การเล่าเรื่องตานาน ประกอบการสอนประวัติศาสตร์ มาใช้ในการสอน เช่น นาไปวาดรูปโบราณสถานในท้องถิ่น นาภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเล่านิทานตานาน มุขปาฐะให้นักเรียนฟัง ๔. นานักเรียนทัศนศึกษาในสถานที่ใกล้ๆ โรงเรียน หรือแหล่งโบราณคดีในท้องถิ่น แล้วสรุป เป็นรายงาน บทความ รวมทั้งจัดนิทรรศการในชั้นเรียน ๕. จัดการแสดงละครประวัติศาสตร์ หรือละครพื้นบ้านท้องถิ่น ในกิจกรรมวันสาคัญต่างของ โรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ในขั้นสูงจดจาและเข้าใจได้ง่าย ๖. การวัดผล ไม่ควรออกข้อสอบเป็น พ.ศ.เป็นตัวเลข ความจา แต่ให้นักเรียนเข้าใจว่าใคร ทาอะไร ที่ไหนอย่างไร ทาไมถึงทาอย่างนั้น เป็นข้อเขียน ผสมเลือกตอบ สาหรับระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น และให้เขียนตอบสาหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากปัญหาที่ก ล่า วมาข้างต้น จึ ง ได้ นาแนวคิด การจั ดการเรียนการสอนโดยยึ ดผู้เ รียนเป็ น ศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) เป็นแนวคิดของทิศนา แขมมณี ที่กล่าวว่า ซิปปา (CIPPA) เป็ น หลั ก การซึ่ ง สามารถน าไปเป็ น หลั ก ในการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ต่ า งๆ ให้ แ ก่ ผู้ เ รี ย น การจั ด กระบวนการเรี ย นการสอนตามหลั ก “CIPPA” สามารถใช้ วิ ธี ก ารและกระบวนการที่ ห ลากหลาย อาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ CIPPA MODEL เป็นวิธีหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรีย นเป็ นสาคัญ เป็น รูปแบบการจั ดกิจ กรรมการเรี ยนการสอนที่ มุ่ง เน้นให้นัก เรีย นศึก ษาค้ นคว้ า รวบรวมข้ อ มู ลด้ ว ยตนเอง การมี ส่ ว นร่ ว มในการสร้ า งความรู้ การมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ กั บ ผู้ อื่ น และการ


แลกเปลี่ยนความรู้ การได้เคลื่อนไหวทางกาย การเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ และการนาความรู้ไ ป ประยุกต์ใช้ การจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA MODEL มาจากแนวคิดหลัก ๕ แนวคิด ซึ่งเป็นแนวคิด พื้นฐานในการจัดการศึกษา ได้แก่ ๑. แนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้ (Contructivism) ๒. แนวคิดเรื่องกระบวนการกลุ่มและการเรียนแบบร่วมมือ (Group Process and Cooperative Learning) ๓. แนวคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้ (Learning Readiness) ๔. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้กระบวนการ (Process Learning) ๕. แนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนการเรียนรู้ (Transfer of Learning) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) ตามรูปแบบของ ทิศนาแขมมณี มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ ขั้นที่ ๑ การทบทวนความรู้เดิม ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความ พร้ อ มในการเชื่ อ มโยงความรู้ ใ หม่ กั บ ความรู้ เ ดิ ม ของตน ซึ่ ง ผู้ ส อนอาจใช้ วิ ธี ก ารต่ า ง ๆ ได้ อ ย่ า ง หลากหลาย เช่น ผู้สอนอาจใช้การสนทนาซักถามให้ผู้ เรียนเล่าประสบการณ์เดิม หรือให้ผู้เรียนแสดง โครงความรู้เดิม (Graphic Organizer) ของตน ขั้นที่ ๒ การแสวงหาความรู้ใหม่ ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เ รียนจากแหล่ง ข้ อมูล หรือแหล่ ง ความรู้ต่าง ๆ ซึ่งผู้สอนอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คาแนะนาเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้ในขั้นนี้ผู้สอนควรแนะนาแหล่ง ความรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียนตลอดทั้ง จัดเตรียม เอกสารสื่อต่าง ๆ ขั้นที่ ๓ การศึกษาทาความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้ เดิม ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนศึกษาและทาความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หามาได้ ผู้เรียนสร้างความหมาย ของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยใช้กระบวนต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด กระบวนการ กลุ่มในการอภิปราย และสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งจาเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับ ความรู้เดิม ในขั้นนี้ ผู้สอนควรใช้กระบวนการต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรม เช่น กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการสร้างลักษณะนิสัย กระบวนการทักษะทางสังคม ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง


ขั้นที่ ๔ การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรวมทั้งขยาย ความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น ซึ่ง จะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่ งปันความรู้ความเข้าใจของตนเองแก่ ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อม ๆ กัน ขั้นที่ ๕ การสรุปและจัดระเบียบความรู้ ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และ จัดสิ่ ง ที่ เรี ยนให้ เป็ นระบบระเบีย บ เพื่ อให้ผู้ เรี ยนจดจาสิ่ง ที่เ รีย นรู้ ไ ด้ ง่า ย ผู้ส อนควรให้ผู้ เรี ยนสรุ ป ประเด็นสาคัญประกอบด้วยมโนทัศน์หลักและมโนทัศน์ย่อยของความรู้ ทั้งหมด แล้วนามาเรียบเรียงให้ ได้สาระสาคัญครบถ้วน ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนจดเป็นโครงสร้างความรู้ จะช่วยให้จดจาข้อมูลได้ง่าย ขั้นที่ ๖ การปฏิบัติและ / หรือการแสดงผลงาน ขั้นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้าหรือตรวจสอบความเข้าใจของตน และช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิด สร้างสรรค์ แต่หากต้องมีการปฏิบัติตามข้อมูล ที่ไ ด้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติและมีการแสดงผลงานที่ไ ด้ ปฏิบัติด้วย ในขั้นนี้ผู้เรียนสามารถแสดงผลงานด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การจัดนิทรรศการการอภิปราย การแสดงบทบาทสมมติ เรียงความ วาดภาพ ฯลฯ และอาจจัดให้มีการประเมิ นผลงาน โดยมีเกณฑ์ ที่เหมาะสม ขั้นที่ ๗ การประยุกต์ใช้ความรู้ ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนาความรู้ความเข้าใจของตนไป ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลาย เพิ่มความชานาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและ ความจาในเรื่องนั้น ๆ เป็นการให้โอกาสผู้เรียนใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ เป็นการส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์ หลังจากประยุกต์ใช้ความรู้ อาจมีการนาเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกครั้งก็ได้ หรือ อาจไม่มีการนาเสนอผลงานในขั้นที่ ๖ แต่นาความมารวม แสดงในตอนท้ายหลังขั้นการประยุกต์ใช้ก็ได้ เช่นกัน ขั้นที่ ๑-๖ เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (Construction of Knowledge) ขั้นที่ ๗ เป็นขั้นตอนที่ช่วยให้ผู้เรียนนาความรู้ไปใช้ (Application) จึงทาให้รูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลัก CIPPA ประโยชน์ ๑. ผู้เรียนรู้จักการแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริงจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อนามาใช้ใน การเรียนรู้ ๒. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดที่หลากหลาย เป็นประสบการณ์ที่จะนาไปใช้ได้ในการ ดาเนินชีวิต ๓. ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับสมาชิกภายในกลุ่ม


๗. กระบวนการพัฒนา BP ๗.๑ กลุ่ ม เป้ า หมายในการน า BP ไปใช้ ( ระบุ ร ายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ ประเภทและจ านวน กลุ่มเป้าหมาย) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จานวน ๗๑ คน โรงเรียนวัดวังศาลา อาเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ ๗.๒ ขั้นตอนการพัฒนา BP (อาจระบุเป็นแผนภาพ/แผนผังประกอบขั้นตอนการพัฒนา) ขั้นนา สร้าง / กระตุ้นความสนใจหรือเตรียมความพร้อมในการเรียน ขั้นกิจกรรม จัดกิจกรรมตามหลักการ ™ ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง (C : Construct) ™ ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ช่วยกันเรียนรู้ (I : Interaction) ™ ผู้เรียนมีบทบาท / ส่วนร่วมในการสร้าง (P : Physical Participation) ™ ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการควบคู่กับ ผลงาน /ข้อสรุปความรู้ (P:Process Learning) ™ ผู้เรียน นาความรู้ไปใช้ (A : Application)

ขั้นวิเคราะห์ วิเคราะห์อภิปรายผลงาน / ข้อความรู้ที่สรุปได้จากกิจกรรม และอภิปรายกระบวนการเรียนรู้ (Process)

ขั้นสรุปและประเมินผล สรุปผลและประเมินผลการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์


๗.๓ การตรวจสอบคุณภาพ BP (ระบุวิธีการและผลการตรวจสอบคุณภาพที่ได้) โรงเรียนมีการตรวจสอบคุณภาพโดยใช้วิธีการประเมินผลการดาเนินกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ใน การประเมินมีแบบทดสอบ แบบประเมิน กิจกรรม เป็นต้น นาผลสรุปที่ได้จากการการประเมินกิจกรรม ไปหาข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไขเพื่อนาไปพัฒนาต่อไป ๗.๔ แนวทางการนา BP ไปใช้ประโยชน์ นาไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย สาหรับการจัด การศึกษาแบบบูรณาการในการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน นักเรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้และเกิด ประโยชน์แก่ผู้เรียน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนให้ ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้าหรือตรวจสอบความเข้าใจของตน และช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ๘. ผลสาเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา BP (เปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของ BP) ๘.๑ ผลสาเร็จเชิงปริมาณ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดวังศาลา ร้อยละ ๙๕ ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ จาก วิทยากรถ่ายทอดความรู้คู่กิจกรรม ๘.๒ ผลสาเร็จเชิงคุณภาพ นัก เรี ย นชั้ น มัธ ยมศึ ก ษาตอนต้ นโรงเรีย นวัด วั ง ศาลา ได้ ต ระหนั ก และเห็ น คุณ ค่ าของวิ ช า ประวัติศาสตร์ เกิดความรัก หวงแหน และภูมิใจในแผ่นดินเกิด และได้รับความรู้ ความเข้าใจและจดจา อย่างยั่งยืน ๘.๓ ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ BP (ระบุค่าร้อยละของความพึงพอใจจากผู้เกี่ยวข้องและ วิธีการได้มาเกี่ยวกับข้อมูลความพึงพอใจ) นั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น โรงเรี ย นวั ด วั ง ศาลา มี ค วามพึ ง พอใจในการเรี ย นรู้ ประวัติศาสตร์โดยใช้วิทยากรถ่ายทอดความรู้คู่กิจกรรม ร้อยละ ๙๙.๑๓ ครู ชุมชน และผู้ปกครองมี ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารเห็นความสาคัญ ของกิจกรรมให้คาแนะนาและ สนับสนุน ๘.๔ ปัจจัยความสาเร็จของการพัฒนา BP/ประสบการณ์เรียนรู้จากการนา BP ไปใช้ นักเรียนเกิดความพึงพอใจและนาความรู้ที่ไ ด้จากการเรียนรู้โดยวิทยากรถ่ายทอดความรู้คู่ กิจกรรมไปขยายผลและเผยแพร่ความรู้ในโรงเรียน ชุมชน และได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่าย นักเรียน ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี


๙. กระบวนการตรวจสอบซ้าเพื่อพัฒนาปรับปรุง BP ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง ๙.๑ วิธีการตรวจสอบซ้า BP วิธีการตรวจสอบใช้วิธีการสัง เกตพฤติกรรม ลงมือปฏิบัติจริงและตรวจสอบผลงานในแต่ละ กิจกรรม ผลของการตรวจสอบคุณภาพ ผู้เรียนมีคุณภาพตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้ง ไว้ ใช้ กระบวนการตรวจสอบแบบ PDCA ทบทวนความรู้เดิม แสวงหาความรู้ใหม่ ศึกษาทาความเข้าใจ แลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม สรุปและจัดระเบียบความรู้ แสดงผลงาน ประยุกต์ใช้ความรู้ ๙.๒ ผลการตรวจสอบซ้าเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง BP ผลการตรวจสอบซ้าเพื่อปรับปรุงและพัฒนา BP นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิดที่หลากหลาย เป็นประสบการณ์ที่จะนาไปใช้ได้ในการดาเนินชีวิต ได้ฝึกฝนการนาความรู้ความเข้าใจของตนไปใช้ใน สถานการณ์ต่างๆ ที่หลากหลาย เพิ่มความชานาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและ ความจาในเรื่องนั้น ๆ ๑๐. การประชาสัมพันธ์ผลสาเร็จของ BP และการเผยแพร่ ขยายผล ในวงกว้าง (ระบุวันเวลา และ รูปแบบ/วิธีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และขยายผล) การประชาสัม พันธ์ และเผยแพร่ผ ลส าเร็ จของ BP วิทยากรถ่า ยทอดความรู้คู่ กิจ กรรมให้กั บ ครูผู้สอนสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาประวัติศาสตร์ โรงเรียนในเขตอาเภอท่าม่วง และในกลุ่มเครือข่ายชาววัง จุลสารโรงเรียนวัดวังศาลา http://www.facebook.com/สุรัตน์ วีระกุล และนิทรรศการแสดงผลงานผู้ มีผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice ณ โรงเรียนวัดโพธิ์ศรี สุขาราม วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖

ลงชื่อ

สุรัตน์ วีระกุล ผู้ขอรับการประเมิน ( นางสุรัตน์ วีระกุล ) ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชานาญการพิเศษ


ภาพกิจกรรม BEST PRACTICE “ วิทยากรถ่ายทอดความรูค้ ู่กจิ กรรม ”

กิจกรรมหนูอยากวาดภาพที่หนูฝน ั ไว้ในใจให้เพื่อน ๆ ดู

กิจกรรมหนูอยากวาดภาพที่หนูฝน ั ไว้ในใจให้เพื่อน ๆ ดู


กิจกรรมโครงงานเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านเฟสบุ๊ก

กิจกรรมโครงงานเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านเฟสบุ๊ก


กิจกรรมคิดวิเคราะห์เรื่องราวที่ฟังจากวิทยากรถ่ายทอด

ภาพกิจกรรม BEST PRACTICE “ วิทยากรถ่ายทอดความรูค้ ู่กจิ กรรม ”

กิจกรรมคิดวิเคราะห์เรื่องราวที่ฟังจากวิทยากรถ่ายทอด


เรียนรู้ประวัติศาสตร์อนุสรณ์ดอนเจดีย์จากวิทยากรถ่ายทอด

Walk Rally เรียนรู้ประวัติศาสตร์อนุสรณ์ดอนเจดีย์


เรียนรู้ประวัติศาสตร์สะพานข้ามแม่น้าแควจากวิทยากรถ่ายทอด

Walk Rally เรียนรู้ประวัติศาสตร์สะพานข้ามแม่น้าแคว


เรียนรู้ประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพจากวิทยากรถ่ายทอด

Walk Rally เรียนรู้ประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.