BP นางทิพวรรณ ชุ่มเพ็งพันธ์

Page 1

ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศBest Practice (BP) การบริหารจัดการแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ พิชิตชัย ก้าวไกลสู่อาเซียน

“ด้านบริหารจัดการ กลุ่มรองผู้อานวยการสถานศึกษายอดเยี่ยม (ขยายโอกาส)

ANUBANWADCHAICHOOMPOLCHANASONGKAM SCHOOL EDUCATIONAL INNOVATION

โรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

EDUCATIONAL INNOVATION

นางทิพวรรณ ชุ่มเพ็งพันธ์ ตาแหน่งรองผู้อานวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อานวยการชานาญการ

ANUBANWADCHAICHOOMPOLCHANASONGKAM SCHOOL

(Results Based Management ; RBM)


1. ชื่อผลงาน BP การบริหารจัดการแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์พิชิตชัย ก้าวไกลสู่อาเซียน (Results Based Management; RBM) กลุ่มรองผู้อานวยการสถานศึกษายอดเยี่ยม (ขยายโอกาส) ด้านบริหารจัดการ 2. ข้อมูลทั่วไปของผู้พัฒนา Best Practice 2.1 ชื่อผู้พัฒนา Best Practice นางทิพวรรณ ชุ่มเพ็งพันธ์ 2.2 โรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ระดับประถมศึกษา 2.3 โทรศัพท์ 087-813-0379 e-mail tipmalai@hotmail.com 3. เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของการพัฒนา Best Practice การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองเป็นไปอย่างรวดเร็ว พลเมืองต้องมีการ ปรับตัว เตรียมพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงสู่การแข่งขันในตลาดแรงงาน เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตใน สังคมได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี ในปี พ.ศ.2550 ได้จัดประชุมอาเซียนต่อมาจึงได้ก่อตั้ง สมาคมอาเซียนได้มีการลงนามรับรอง “กฎบัตรอาเซียน”เพื่อเป็นกติการอยู่ร่วมกัน เน้นความยึดมั่น ในหลักการประชาธิปไตยหลักธรรมาภิบาล การเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้น พื้นฐาน ที่จะนาไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียว ส่งผลให้เกิดการเตรียมความพร้อมที่จะขับเคลื่อนให้ก้าวไปสู่ การเป็นประชาคมอาเซียน การศึกษาต้องเตรียมความพร้อมทั้งผู้บริหาร ครูเกิดความตระหนักใน บทบาทหน้าที่ มีความรู้ความเข้าใจ นักเรียนต้องมีสมรรถนะ ทักษะ ความรอบรู้ มีความพร้อมและ เข้าใจเพื่อให้การก้าวสู่ประชาคมอาเซียนเป็นไปอย่างมั่นคงและมีคุณค่า ต้องเสริมสร้างสมรรถนะ ศักยภาพและขีดความสามารถของบุคลากรทางการศึกษาซึ่งประกอบด้วย ความรู้ที่รอบด้าน ทักษะที่ สาคัญสาหรับในศตวรรษที่ 21เข้าใจและยอมรับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่เกิดขึ้น มีภูมิคุ้มกันที่ ดีในตัวเอง มีความเข้าใจถ่องแท้ความเป็นไทยพร้อมก้าวไกลไปในสากล มีความคิดสร้างสรรค์ ผลิต งานที่มีคุณภาพ สร้างมูลค่ากับสินค้า ซึ่งเป็นฟันเฟืองที่สาคัญที่นาไปสู่การยืนหยัดอย่างภาคภูมิใน ประชาคมอาเซียน โรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นโรงเรียนหนึ่ง ในจานวนโรงเรียน 500 โรงเรียนที่เข้าร่วมในโครงการมาตรฐานสากล ได้ดาเนินการตามกระบวนการพัฒนาโรงเรียนสู่ มาตรฐานสากลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2553 การ บริหารหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนการวัดและ ประเมินผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโรงเรียนมาตรฐานสากลให้ผู้เรียนมีศักยภาพเป็นพลโลก การบริหารจัดการเป็นการบริหารตามโครงสร้างโดยแบ่งเป็น 4 ฝ่าย คือ บริหารวิชาการ บริหาร งบประมาณ บริหารงานบุคคลและบริหารทั่วไป โดยมีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ทาให้การดาเนินงานต่าง ๆ ของโรงเรียนมีความราบรื่น ประสบความสาเร็จ มีส่วนช่วย ในการรวบรวมทรัพยากร ประชาสัมพันธ์ความสาเร็จของผลงานโรงเรียนซึ่งเป็นจุดขายหรือจุดเด่น


ของโรงเรียน สื่อสารทั้งภายในและนอกองค์กร พัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกให้สอดรับ กับนโยบายการพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีสมรรถนะเทียบเท่าสากล เป็นที่ยอมรับของสังคมและ ประเทศต่าง ๆ ประชาชนมั่นใจในคุณภาพและการบริหารจัดการของโรงเรียนว่าสามารถผลิตคนที่มี คุณภาพสู่สังคม อาคารสถานที่มีความปลอดภัย สะอาด ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการรอบด้าน พร้อมใช้จัดการเรียนรู้ตลอดเวลา การบริหารจัดการงานงบประมาณมีระบบที่ดี ถูกต้อง ชัดเจนและมี การบริการที่ดี และที่สาคัญที่สุดการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะ ศักยภาพ ทักษะ กระบวนการทั้งการสอนและการใช้ชีวิตให้พร้อมก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน ที่กล่าวมาข้างต้นการก้าว เดินต้องเป็นไปทั้งองค์กรมิใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้นเพื่อการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดบริหารแบบ มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ มีหลักการว่า ต้องมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและคุ้มค่า ในทุกการบริหารจัดการ การบริหารจัดการแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ พิชิตชัย ก้าวไกลสู่อาเซียน (Results Based Management ; RBM) โรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงครามจึงเป็นกลยุทธ์สาคัญในการ ขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ของการ พัฒนา Best Practice ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนรองรับ การก้าวสู่ ประชาคมอาเซียน 2) เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภาษา และสื่อเกี่ยวกับอาเซียน 3) เพื่อพัฒนาคุณภาพ สถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 4) เพื่อพัฒนาระบบ การให้บริการและจัดการด้านอาคารสถานที่อย่างมีประสิทธิภาพ 5) เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการ งบประมาณให้มีประสิทธิภาพ และ6) เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ 4. ระยะเวลาในการพัฒนา Best Practice ปีการศึกษา 2554– 2556 5. ความเชื่อมโยง/สัมพันธ์ระหว่าง Best Practice กับเป้าหมาย/จุดเน้นของ สพป./สพฐ./ สถานศึกษา การบริหารจัดการแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ พิชิตชัย ก้าวไกลสู่อาเซียน (Results Based Management ; RBM) ซึ่งประกอบด้วย ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความคุ้มค่า เป็นการบริหาร จัดการงานตามโครงสร้าง คือ บริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารงานบุคคล และงาน บริหารทั่วไป มีเป้าหมาย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนรองรับ การก้าวสู่ ประชาคมอาเซียน 2) เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภาษาและสื่อเกี่ยวกับอาเซียน 3) เพื่อพัฒนาคุณภาพ สถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน 4) เพื่อพัฒนาระบบ การให้บริการและจัดการด้านอาคารสถานที่อย่างมีประสิทธิภาพ 5) เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการ งบประมาณให้มีประสิทธิภาพ และ 6) เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจและกลยุทธ์ของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 1 วิสัยทัศน์ของ สพป.กจ.1 คือเป็นองค์กรคุณภาพ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ มาตรฐานสากลภายในปี 2563 พันธกิจของ สพป.กจ.1คือ พัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัด


การศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ บนพื้นฐานวิถีชีวิตตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและ พัฒนาสู่ระดับสากล เป้าประสงค์ของ สพป.กจ.1 คือข้อ1. ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาปฐมวัยเต็มตามศักยภาพสู่มาตรฐานสากล ข้อ 2 ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึงและเสมอภาค ข้อ 3 ครูและ บุคลากรทางการศึกษา มีมาตรฐานวิชาชีพและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มตาม ศักยภาพและข้อ 5 ผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาการศึกษาเพื่อเข้าสู่ ประชาคมอาเซียนและรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน : โครงการท่าเรือน้าลึกและนิคม อุตสาหกรรมทวาย กลยุทธ์ของสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 คือข้อ1 พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถด้าน เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ข้อ 2 ปลูกฝังคุณธรรมความสานึกในความเป็นชาติไทยและวิถี ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ข้อ 3 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงและต่อเนื่อง ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ข้อ 4 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่มืออาชีพ และ ข้อ 5 พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศสอดคล้องกับกลยุทธ์ ของโรงเรียน อนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ข้อ 1 บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลโดยน้อมนาหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ข้อ 2 พัฒนาผู้เรียนให้เป็นเลิศทางวิชาการ ข้อ 3 ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารข้อ 4 ส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ ข้อ 5 พัฒนาวินัยและ คุณธรรมของนักเรียน ข้อ 6 ส่งเสริมการใช้สื่อ สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา ข้อ 7 พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและสมรรถนะการสอนตามมาตรฐานสากล ข้อ 8 โรงเรียนจัดการ ศึกษาสาหรับเด็กที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษตามระบบการประกันคุณภาพ 6. แนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่นามาใช้ในการพัฒนา Best Practice การพัฒนา Best Practice ในครั้งนี้ ได้วิเคราะห์ สังเคราะห์แนวคิด ต่างๆ ซึ่งเป็นหลักการที่ มีความสอดคล้องกันอยู่ สรุปได้ดังนี้ 6.1 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดารัสชี้แนะแนวทาง การดาเนินชีวิตแก่พสกนิกร ชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ว่า“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่ ทรงเน้นย้า แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดารงอยู่ได้อย่างมั่นคงและ ยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลง มีหลักพิจารณา ดังนี้ กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดารงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดย มีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนามาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมอง โลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนามาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติ


ตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ความ พอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้ 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่ เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไป อย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคานึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการ กระทานั้น ๆ อย่างรอบคอบ 3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการ เปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคานึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล เงื่อนไข การตัดสินใจและการดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับ พอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนาความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความ ระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อ สัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดาเนินชีวิตแนวทางปฏิบัติ/ผลที่ คาดว่าจะได้รับ จากการนาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและ ยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และ เทคโนโลยี 6.2 หลักการธรรมาภิบาล หลักธรรมาภิบาลกับการศึกษา(Good Governance) การกระจายอานาจการมีส่วนร่วม ทาง การศึกษา นับเป็นปัจจัยที่สาคัญที่สุด ในการปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์แห่ง พ.ร.บ.การศึกษาฯ พ.ศ.2542 แก้ไขเพื่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 เพราะจะช่วยให้มีคณะบุคคลเข้ามามีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษาหน่วย งานทางการศึกษา และบริหารจัดการโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ อาทิ การสร้าง หลักสูตรอันเหมาะสมของท้องถิ่นที่ทันสมัย ทันโลก ผสมผสานกับภูมิปัญญาของท้องถิ่น สอ ดคล้อง กับความต้องการของผู้เรียนและชุมชน ทาให้เกิดการประหยั ดการใช้ทรัพยากร ในด้านต่างๆ อาทิ ทรัพยากรบุคคล งบประมาณ เพราะทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาโดยเข้ามามีส่วนร่วม ในความรับผิดชอบ เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ผลจากการเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบ มีผลทา ให้การจัดการศึกษาในท้องถิ่นดีขึ้น สอดคล้องกับระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบ บริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542 ไว้ใน ข้อ 4 หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและ สังคมที่ดี ที่ระบุไว้ในข้อย่อย 4.2 ว่าในการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ควรจัดหรือส่งเสริม ให้สังคมไทยอยู่บนพื้นฐานของหลักสาคัญอย่างน้อย 6 ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลัก ความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่าคุ้มทุน โดยเฉพาะ หลักการมีส่วนร่วมเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็นในการตัดสินใจ การ


ดาเนินงานต่าง ๆ ของสถานศึกษา ซึ่งมีส่วนที่คล้ายกับการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ อาจกล่าวได้ ว่าเป็นแนวทางเดียวกัน 6.3 การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ การดาเนินกิจกรรมจะมีจุดเริ่มต้นที่วัตถุประสงค์การ ดาเนินงาน ซึ่งได้แก่ การระบุถึงรายละเอียดของผลงาน (ผลผลิตและผลลัพธ์ ) ที่คาดหวัง ที่ส่วนใหญ่ จะต้องพัฒนามาจากวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งมีปัจจัยนาเข้า อันได้แก่ ทรัพยากรที่จะเป็นสาหรับการดาเนินกิจกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงปัจจัยนาเข้าให้เป็นผลผลิตและผลลัพธ์ การวัดผลการปฏิบัติงานโดยทั่วไปจะมีจุดเน้นของการดาเนินการ 3 ด้าน อันได้แก่ ความประหยัด (Economy) หมายถึง การใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในการผลิตหรือการดาเนิน กิจกรรม ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง การสร้างผลผลิตในระดับที่สูงกว่าปัจจัยนาเข้า ความมีประสิทธิภาพสามารถวัดได้โดยนาปัจจัยนาเข้าจริงหารด้วยผลผลิตจริง หากได้ค่าน้อยแสดงว่า มีผลผลิตเพิ่มขึ้นมากกว่าการเพิ่มขึ้นของปัจจัยนาเข้า ซึ่งหมายถึงการดาเนินกิจกรรม /องค์กรมี ประสิทธิภาพในการดาเนินงาน ความมีประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ระดับการบรรลุวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ ล่วงหน้า ว่าได้ก่อให้เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด 6.4 การบริหารงาน ในโครงสร้างงานได้กาหนดโดยใช้ประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การบริหารภายในสถานศึกษา แบ่งเป็น 4 ฝ่าย คือ บริหารวิชาการ บริหารงบประมาณ บริหารบุคคล และบริหารทั่วไป แต่ละงานมีความแตกต่างกันตามธรรมชาติของงาน สรุปได้ว่าแนวคิดของทฤษฎีทั้ง 3 นั้นมีความสอดคล้องกัน แตกต่างกันที่รายละเอียด ผู้พัฒนา Best Practice เห็นว่า การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์มีความน่าสนใจ พัฒนางานให้เกิด สัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของสถานศึกษาได้อย่างแน่นอนจึงนามาใช้ในการบริหารจัดการ 7. กระบวนการพัฒนา Best Practice 7.1 กลุ่มเป้าหมายในการนา Best Practice ไปใช้กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาได้แก่ ครูและ บุคลากร นักเรียน ของโรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงครามและผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาจานวน 83 คน นักเรียนจานวน 1,164 คน ผู้ปกครองนักเรียน จานวน 1,164 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจานวน 13 คน รวม 2,424 คน 7.2 ขั้นตอนการพัฒนา Best practice การพัฒนา Best practice เรื่อง การบริหารจัดการแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ พิชิตชัย ก้าวไกลสู่ อาเซียน (Results Based Management ; RBM) โรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้


การบริหารจัดการแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ พิชิตชัย ก้าวไกลสู่อาเซียน (Results Based Management ; RBM)

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย • เพื่อการพัฒนาระบบ ข้อมูลสารสนเทศของ สถานศึกษาให้มีคณ ุ ภาพ รองรับการก้าวสู่ ประชาคมอาเซียน • เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพส่งเสริม การเรียนรู้ การใช้ภาษา สื่อสาร ชีวิต วัฒนา ธรรมและ สภาพแวดล้อมของคน ในอาเซียน • เพื่อพัฒนาคุณภาพ การศึกษาให้มีมาตรฐาน เทียบเคียงสากลมีความ เท่าเทียมทั่วถึง • เพื่อพัฒนาอาคาร สถานที่ให้มีความพร้อม ในการพัฒนาการทุก ด้าน • เพื่อบริหารงาน งบประมาณอย่างมี คุณภาพ ทั้งระบบและ การให้บริการ • เพื่อพัฒนาครูและ บุคลากรทางการศึกษา ให้มีสมรรถนะ พัฒนา เต็มศักยภาพพร้อมก้าว สู่อาเซียน

ทรัพยากรณ์ที่ใช้ • งบประมาณที่ใช้ใน การบริหารจัด การศึกษา จาแนก เป็น บริหารวิชาการ ร้อยละ 52 บริหาร บุคคลร้อยละ 10 บริหาร ทั่วไปร้อยละ 20 งบสารองจ่าย (วิชาการ) ร้อยละ 8 • มอบหมายงานตาม โครงสร้างวางตัว บุคลากรตามความ เหมาะสม ความสามารถ ความ ถนัด เพียงพอกับ ปริมาณภาระงานที่ รับผิดชอบ • กระจายภาระงานไป ตามโครงสร้างการ บริหาร 4 ฝ่าย โดยมี โครงการ กิจกรรม งานรองรับชัดเจน เป็นไปตาม แผนปฏิบตั ิการ • การบริหารจัดการทุก งานมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ ความคุ้มค่า

กระบวนการ • กระบวนการมีความ หลากหลาย ยืดหยุ่นสามารถทา ให้งานประสบ ความสาเร็จได้ตาม วัตถุประสงค์ โดย งานแต่ละอย่าง โครงการแต่ละ โครงการมี กระบวนการทางาน ที่แตกต่างกันไปแต่ โดยหลักการใหญ่ คือ ใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของ ดร. เดมมิ่ง คือวางแผน ปฏิบัติ ตรวจสอบ ทบทวนปรับปรุง ให้เกดิคุณภาพ อย่างต่อเนื่อง

ผลผลิต+ผลลัพธ์ 1.ระบบข้อมูล สารสนเทศของ สถานศึกษาให้มี คุณภาพรองรับการก้าว สู่ประชาคมอาเซียน 2.แหล่งเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพส่งเสริม การเรียนรู้ การใช้ภาษา สื่อสาร ชีวิต วัฒนา ธรรมและ สภาพแวดล้อมของคน ในอาเซียน 3.คุณภาพการศึกษาให้ มีมาตรฐานเทียบเคียง สากลมีความเท่าเทียม ทั่วถึง 4.อาคารสถานที่ให้มี ความพร้อมในการ พัฒนาการทุกด้าน 5.ระบบการบริหารงาน งบประมาณมีคณ ุ ภาพ ทั้งระบบและการ ให้บริการ 6.ครูและบุคลากร ทางการศึกษาให้มี สมรรถนะ พัฒนาเต็ม ศักยภาพพร้อมก้าวสู่ อาเซียน

คุ้มค่า

ประสิทธิภาพ

ประสิทธิผล

Economy

Efficiency

Effectiveness


7.3 การตรวจสอบคุณภาพ Best Practice ในขั้นตอนนี้ผู้พัฒนาได้ดาเนินการดังนี้ การทางานในระบบการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ต้องมีการประชุมชี้แจงให้เกิดความเข้าใจตรงกัน การทางานในระบบ มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเป็นหลัก ใส่ปัจจัยหรือทรัพยากรที่สาคัญจาเป็นแล้ว ผ่านกระบวนการที่แตกต่างกันไปของแต่ละงาน ประเมินผลว่าผลผลิตและผลลัพธ์อยู่ในระดับใด เป็นไปตามเป้าประสงค์หรือไม่ นาข้อมูลไปปรับปรุงพัฒนาและใช้จนเป็นวงจร ทั้งหมดนี้เป็นการ ทางานแบบวงจรคุณภาพ การนาข้อมูลจากการวัดผลประเมินผลมาใช้และปรับปรุงนั้นเป็นการ ตรวจสอบคุณภาพที่ดีที่สุด เหมาะสมกับองค์กรมากที่สุดโดยมุ่งเน้น ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและ ความคุ้มค่าขององค์กรหรือสถานศึกษา 7.4 แนวทางการนา Best Practice ไปใช้ประโยชน์ 1) ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมใช้และร่วมประเมิน 2) ทุกคนตระหนักถึงความสาคัญในการพัฒนาองค์กรให้มีสมรรถนะพร้อมก้าวสู่ประชาคม อาเซียน การจัดการเรียนรู้ ให้นักเรียนมีคุณภาพ ความรู้ ทักษะ เจคติที่ดีต่อประชาคมอาเซียน 3) ทาให้เกิดองค์กรคุณภาพ ผู้บริหารและ ครูมีสมรรถนะ ศักยภาพและทักษะ มั่นใจในการ จัดการเรียนรู้ 4) มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทาให้เกิดระบบงานที่มีคุณภาพเกิดความยั่งยืน 5) ทุกฝ่ายต้องมีการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน ทิศทางเดียวกันและชัดเจน 8. ผลสาเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา Best Practice 8.1 ผลสาเร็จเชิงปริมาณ 1) มีการปรับปรุงฐานข้อมูลร ะบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนรองรับ การก้าวสู่อาเซียนทุก เดือน ต่อเนื่อง 2) มีจานวน แหล่งเรียนรู้ภาษา และสื่อเกี่ยวกับอาเซียน ทั้งในและนอกสถานศึกษาอย่าง เพียงพอ 3) มีผลการ พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายการเตรียมความพร้อมสู่ ประชาคมอาเซียน อยู่ในระดับดีมาก 4) มีการพัฒนาระบบการให้บริการและจัดการด้านอาคารสถานที่อย่าง เพียงพอต่อความ ต้องการ 5) มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการงบประมาณให้มี ความถูกต้อง รวดเร็วและการบริการที่ดี เป็นที่พึงพอใจ 6) มีการแผนงานพัฒนาระบบบริหารจัดการบุคลากรกิจกรรม โครงการพัฒนาบุคลากร


8.2 ผลสาเร็จเชิงคุณภาพ 1) มีการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนในระบบสองภาษา รองรับการก้าวสู่ อาเซียน 2) มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภาษา และสื่อเกี่ยวกับอาเซียน ที่ทันสมัย 3) มีการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายการเตรียมความพร้อมสู่ ประชาคมอาเซียน 4) มีการพัฒนาระบบการให้บริการและจัดการด้านอาคารสถานที่อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ 5) มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพผู้รับบริการมีความพึงพอใจ 6) มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการบุคลากรให้มีประสิทธิภาพผู้รับบริการมีความพึงพอใจ 8.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อ Best Practice จากการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุม พลชนะสงคราม นักเรียน ผู้ปกครอง ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จานวน 8 3 คน นักเรียนจานวน 1,1 64 คน ผู้ปกครอง นักเรียนจานวน 1,1 64 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้น พื้นฐานจานวน 13 คน รวม 2,424 คน โดยใช้แบบสอบถาม ภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับดีมาก 8.4 ปัจจัยความสาเร็จของการพัฒนา Best Practice /ประสบการณ์เรียนรู้จากการนา Best Practice ไปใช้ ปัจจัยที่ทาให้เกิดความสาเร็จในการพัฒนาครูและบุคลากรคือ 1) ผู้บริหารให้การสนับสนุน ส่งเสริม เป็นที่ปรึกษา แนะแนวทางสร้างแนวคิดการทางานแบบ มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจัง ต่อเนื่อง 2) ครูมีความตระหนักเห็นคุณค่าของการพัฒนาตน และวิชาชีพ เพื่อ ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน อย่างภาคภูมิ 3) องค์กรมีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน 4) การจัดการความรู้ถูกนามาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง 5) การพัฒนามีความต่อเนื่องทาให้เกิดความยั่งยืน 9. กระบวนการตรวจสอบซ้าเพื่อพัฒนาปรับปรุง Best Practice ให้เกิดผลดีอย่างต่อเนื่อง 9.1วิธีการตรวจสอบซ้า Best Practice จากการดาเนินงานในปีการศึกษาแรกประสบความสาเร็จในระดับหนึ่ง ได้นาข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นต่าง ๆ มาปรับปรุง เก็บข้อมูลเพื่อ การพัฒนา เครื่องมือให้มีความหลากหลายที่ตอบ วัตถุประสงค์ของการทางาน ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบหาคุณภาพ เครื่องมือ นาเครื่องมือไปใช้ รวมถึง ผู้พัฒนาได้ศึกษาเรื่อง โปรแกรม ICExcell หรือภาวะผู้นาทางวิชาการและเทคนิคการบริหารงานแบบ


ใหม่ RBM จากสถาบัน พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และกลับมาพัฒนาให้เกิดการ ปฏิบัติที่เป็นเลิศ ปีการศึกษาต่อมาได้มีการปรับปรุงบางส่วนและดาเนินการใช้อย่างต่อเนื่อง และได้ รวบรวมประเมินผลการใช้งานเพื่อพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในปีต่อไปเป็นระบบวงจรคุณภาพ 9.2 ผลการตรวจสอบซ้าเพื่อการพัฒนาและปรับปรุง Best Practice ผลการประเมินพบว่า การบริหารจัดการแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ มีผลต่อ คุณภาพของการบริหารจัดการงานตาม โครงสร้างดังนี้ 1) มีการปรับปรุงฐานข้อมูลระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนรองรับการก้าวสู่ อาเซียนทุกเดือน ต่อเนื่อง ทั้งเว็บไซด์ วารสาร แผ่นพับ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาสู่ สังคมได้อย่างดี 2) มีจานวนแหล่งเรียนรู้ภาษา และสื่อเกี่ยวกับอาเซียนทั้งในและนอกสถานศึกษาที่ มีคุณภาพและจานวนมากขึ้น 3) มีผลการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทีส่ อดคล้องกับนโยบายการเตรียมความ พร้อมสู่ประชาคมอาเซียน อยู่ในระดับดีมาก 4) มีการพัฒนาระบบการให้บริการและจัดการด้านอาคารสถานที่อย่างเพียงพอต่อ ความต้องการ 5) มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการงบประมาณให้มีความถูกต้อง รวดเร็วและการ บริการที่ดีเป็นที่พึงพอใจของผู้มารับบริการอยู่ในระดับดีมาก 6) มีแผนงานพัฒนาระบบบริหารจัดการบุคลากร กิจกรรม โครงการพัฒนา บุคลากรฯ ที่มีคุณภาพ 10. การประชาสัมพันธ์ผลสาเร็จของ Best Practice และการเผยแพร่ ขยายผลในวงกว้าง โรงเรียนได้เผยแพร่ผ่านทางอินเตอร์เน็ท ในปี 2554 จนถึงปัจจุบันจัดนิทรรศการเผยแพร่ ผลงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงครามได้เผยแพร่เป็นเอกสารไปยังโรงเรียนใน กลุ่มโรงเรียน เขตพื้นที่ (ศธ 04017.1140/115 ลว 20 ธ.ค.55) เผยแพร่ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (10 ก.ค.56) ระดับจังหวัด (ศธ 04017.1140/113 ลว 20ธ.ค.55) เผยแพร่ระดับภาค (9-12 ธ.ค.55) และระดับจังหวัด ที่เมืองทองธานี นนทบุรี (14 ก.พ.56) เผยแพร่บนเครือข่ายออนไลน์ อินเตอร์เน็ท (http://www.kroobannok.com) นาเสนอที่ประชุมในระดับภาค (ศธ 040126/4335 ลว 20ธ.ค. 55) และระดับประเทศ ผลงานได้รางวัลระดับประเทศ (ศธ 04008/ว73 ลว 24เม.ย.56) ในการ คัดเลือกผลงานวิจัยและนิทรรศการเพื่อนาเสนอในงานประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ประจาปี 2556 สานักนวัตกรรมทางการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (เกียรติบัตร 10/2556 สพฐ.) ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Educational Innovation OBEC Research Symposium 2013 (หน้า12-13)สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ และ


หนังสือ ผลงานวิจัยด้านการบริหารการศึกษา การนิเทศการศึกษา การวัดและประเมินผลและการ ประกันคุณภาพการศึกษา สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ นาเสนอผลงานวิจัยในงาน “การ ประชุมสัมมนาวิชาการ นาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ประจาปี 2556” วันที่10-12 มิถุนายน 2556 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร


ส่งเสริมบุคลากรทุกคนเข้ารับการพัฒนาตนสม่าเสมอเพื่อประสิทธิภาพในการทางาน ทาให้การบริการมีคุณภาพ

ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาและภาคี 4 ฝ่ายเพื่อให้การทางานเป็นไปตามระบบและให้เกิด ความถูกต้อง รวดเร็ว มีส่วนร่วม โปร่งใส ตรวจสอบได้ เกิดความรับผิดชอบร่วมกัน

ร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรม โครงการ เพื่อกากับ ติดตาม ประเมินผลและ ตรวจสอบความคุ้มค่าใน การการใช้ทรัพยากรของสถานศึกษา


มีการวางแผน ปฏิบัติงาน และประเมินผลร่วมกัน

ประชุมชี้แจง มีคณะกรรมการดาเนินงานที่ชัดเจน เพื่อความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ตัวชี้วัดที่ ชัดเจน ทาให้เห็นเป้าหมายในการให้บริการ รวมทั้งประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและความคุ้มค่าที่ ต้องการให้เกิดขึ้นในระบบงานทั้งผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย


พัฒนาตนทั้งการอบรมเชิงปฏิบัติการ ศึกษาดูงานการบริหารงานการศึกษา การสอน เศรษฐกิจพอเพียง การเรียนร่วม

ศึกษาดูงานโรงเรียนที่มีคุณภาพการบริหารจัดการทั้งในและต่างประเทศ

จ.นครศรีธรรมราช

ประเทศเวียดนาม

เพิ่มพูนความรู้เข้าอบรมสถาบันครูและบุคลากร ทางการศึกษา(วัดไร่ขิง) โครงการพัฒนาเทคนิคการบริหาร มุ่งผลสัมฤทธิ์แนวใหม่ (RBM)


นาเสนอผลงานทางวิชาการระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาค และระดับชาติ การบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์แนวใหม่ (Results Based Management ; RBM)

ท่านรองฯเลขาสพฐ.อนันต์ ระงับทุกข์และท่าน ดร.ปัญญา แก้วกรียูร เข้าฟังการนาเสนอผลงาน 10ธ.ค.55 จ. ระยอง

นาเสนองานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับคัดเลือกนาเสนองานวิจัยระดับชาติ สานักนวัตกรรมฯ สพฐ. ปี2556

เหรียญทองระดับชาติ

OBEC AWARD ปี 2555


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.