obec award 2556

Page 1

แบบรายงานผลงานด้านวิชาการ (OBEC AWARDS) “การจัดการเรียนรวม ร่วมใจพัฒนาศิษย์” ชื่อรางวัลที่เสนอขอ สถานศึกษายอดเยี่ยม ประเภท ขยายโอกาสทางการศึกษาฯ ด้าน วิชาการ

โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


แบบเสนอผลงาน/นวัตกรรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ชื่อผลงาน ชื่อผู้เสนอผลงาน

การจัดการเรียนรวม ร่วมใจพัฒนาศิษย์ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 1 โทรศัพท์ 034604098 โทรสาร 034604099 e-mail khaodin.kan.ed1@gmail.com รายละเอียดการนาเสนอผลงาน 1. ความสาคัญของผลงานที่นาเสนอ การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) เป็นการศึกษาสาหรับทุกคน โดยรับเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละ บุคคล โดยถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและเป็นสิทธิของเด็กทุกคนที่จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี แห่งความเป็นมนุษย์ เด็กทุกคนควรมีสิทธิจะเรียนรวมกันโดยทางโรงเรียนและครูจะต้องเป็นผู้ปรับ สภาพแวดล้อม หลักสูตร การประเมินผล วัตถุประสงค์ ฯลฯ เพื่อครูและโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการ สอนเพื่อสนองตอบความต้องการของนักเรียนทุกคนและเฉพาะบุคคลได้ การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ถือว่า เป็นแนวคิดใหม่ทางการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน ไม่มีการแบ่งแยกว่า เด็กคนใดเป็นเด็กทั่วไป หรือเด็กคนใดที่มีความต้องการพิเศษ โดยโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้อย่าง เหมาะสม เพื่อให้เด็กสามารถดารงชีพในสังคมร่วมกันได้อย่างมีความสุขและยอมรับซึ่งกัน การจัดการเรียนรวม เป็นการดาเนินการจัดการศึกษาที่มีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 49 ได้บัญญัติไว้ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่ น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและ มีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือ ทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลาบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชนการศึกษา ทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและ ส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ในมาตรา ต่างๆดังนี้ มาตรา 10 .....การจัดการศึกษาสาหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคล ซึ่งไม่ สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับ การศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ การศึกษาสาหรับคนพิการในวรรคสองให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความ พิการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอานวยความสะดวก สื่อ บริการ และ ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กาหนดในกฎกระทรวง การจัด การศึกษา


สาหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคานึงถึงความสามารถของบุคคล นั้น มาตรา 22 หลักการจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และ พัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ มาตรา 24 กระบวนการเรียนรู้ ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และความแตกต่างของผู้เรียน มาตรา 26 การประเมินผลการเรียนรู้ พิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ สังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่กันไปตามความเหมาะสมของแต่ละ ระดับและรูปแบบการศึกษา และให้นาผลการประเมินดังกล่าวมาใช้ประกอบ โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร ในฐานะสถานศึกษา ทาหน้าที่พัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งนักเรียน ปกติและนักเรียนที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษ จึงต้องมีการปรับหลักสูตรการศึกษาให้เหมาะสมและ สอดคล้องกับนักเรียนทุกคนทั้งในส่วนเป้าหมายคุณภาพผู้เรียน สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการจัดการเรียน การสอน สื่อประกอบการจัดการเรียนการสอน และวิธีการวัดและประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้ สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ 2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดาเนินงาน เพื่อปรับหลักสูตรในด้าน เนื้อหา วิธีสอน สื่อการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล ให้ เหมาะสมกับความต้องการของนักเรียนเรียนรวม 3. ขั้นตอนการดาเนินงาน

ข้อมูลย้อนกลับ


4. ผลการดาเนินงาน  หลักสูตรการเรียนรวม การปรับหลักสูตรเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรวมของโรงเรียนเขาดินวิทยาคาร เป็นการ ปรับเปลี่ยนและดัดแปลงเพื่อตอบสนองลักษณะและความต้องการของผู้เรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ โดย ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบหลักสูตร ตามลักษณะความสามารถทางการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนแต่ละประเภท เป็น การจัดหลักสูตรโดยเอาความสามารถของเด็กเป็นตัวตั้งและครูเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือสนับสนุน องค์ประกอบ สาคัญของการปรับหลักสูตรและการสอนของโรงเรียนเขาดินวิทยาคาร ได้แก่ 1) ปรับวิธีการประเมินผล 2) ปรับเนื้อหาในหลักสูตร 3) ปรับและดัดแปลงสื่ออุปกรณ์การสอนและเทคโนโลยีสิ่งอานวยความสะดวก 4) ปรับและดัดแปลงวิธีการสอนและความช่วยเหลือ 5) ปรับและดัดแปลงสิ่งแวดล้อมในการเรียนการสอน 6) ปรับและดัดแปลงกระบวนการประเมินผลและรายงานผล ในการปรับหลักสูตร โรงเรียนเขาดินวิทยาคารดาเนินการวิเคราะห์ คัดกรองผู้เรียน โดย พิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการใช้แบบคัดกรอง ดาเนินการประเมินศักยภาพและความสามารถ พื้นฐานของผู้เรียน โดยการทดสอบพื้นฐาน วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน/สถานศึกษา โดยการวิเคราะห์มาตรฐาน ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกกลุ่ม สาระการเรียนรู้ ปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนและจัดหาสิ่งอานวยความสะดวก โดยการปรับ เนื้อหา สาระการเรียนรู้ ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับศักยภาพและความสามารถพื้นฐานของ ผู้เรียน ออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร ให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล เช่น ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับศักยภาพ ความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนแต่ละประเภท ใช้สื่อ และอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน และสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน การสอน ปรับวิธีการวัดและประเมิน โดยการกาหนดวิธีการวัดการประเมินและเกณฑ์การประเมินทีเ่ หมาะสม กับผู้เรียน เช่น ความสามารถในการอ่านคา จัดทาแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และนาเสนอ คณะกรรมการจัดทาแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และจัดทาแผนการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคล (IIP) ให้ สอดคล้องกับแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)  แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เป็นแผนที่กาหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้อง กับความต้องการจาเป็นพิเศษของบุคคลพิการแต่ละบุคคล ตลอดจนกาหนดสิ่งอานวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้เป็นเฉพาะบุคคล วัตถุประสงค์ในการใช้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะ บุคคล(IEP) ของโรงเรียนเขาดินวิทยาคาร คือ เป็นแผนที่เขียนสาหรับเด็กคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ ใช้เป็น


เครื่องมือในการจัดการกับกระบวนการสอนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินผล รวมทั้งการนิเทศกากับ ติดตาม แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) กระบวนการตรวจสอบและกระบวนการสอนตาม IEP แบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ 1. เตรียมพร้อมก่อนดาเนินการ ครูจะทาการวิเคราะห์ปัญหาวิชาการและพฤติกรรมของ นักเรียน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายทาง เช่น จากพ่อแม่ ครูคนอื่น ๆ ผู้ซึ่งรู้จักคุ้นเคยกับนักเรียน หรือ เพื่อนของนักเรียน เป็นต้น 2. ลงมือเขียนแผน IEP เนื้อหาสาระของ IEP ประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระ ดังนี้ 1). ข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับนักเรียน 2). ผู้ร่วมประชุมเขียน IEP 3). ระดับความสามารถในการปฏิบัติงานในปัจจุบันในด้านต่าง ๆ 4). เป้าหมายระยะยาวหนึ่งปี 5). จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือจุดประสงค์ระยะสั้น 6). กระบวนการประเมิน 3. ขั้นการเรียนการสอน ในขั้นนี้จะประกอบด้วยการสอนและการติดตามความก้าวหน้าของ เด็ก ดังนี้ 1) การปฏิบัติตามแผนการสอน นักเรียนจะได้รับการจัดให้เข้า เรียนตามที่ตกลงกันไว้ใน IEP และจะได้รับการสอนตามแผนการสอนเฉพาะบุคคล เพื่อช่วยให้นักเรียนบรรลุ จุดประสงค์และเป้าหมายที่กาหนดไว้ใน IEP 2) การติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน กาหนดวิธีการ ดาเนินการประเมิน ผู้ประเมินและกาหนดการใช้เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน และการเสนอรายงานผล การประเมินในลักษณะพัฒนาการ  สื่อการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นมากใหม่ หรือการปรับสื่อการเรียน (เช่น แบบฝึกหัด หนังสือเรียน วิดีทัศน์ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ) จะช่วยให้นักเรียนที่มีความบกพร่องไม่มาก สามารถเรียนหลักสูตรของ นักเรียนทั้งชั้นได้ โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนอย่างอื่นมากนัก มีข้อสังเกตว่าเมื่อจะเลือกหรือปรับสื่อ ให้พิจารณา วิธีการนาเสนอแบบอื่น ๆ ด้วย เช่น ถ้าการอ่านและเขียนเป็นปัญหาใหญ่สาหรับเด็กควรใช้เทปเสียง CD/VCD MP3 เทปวิดีทัศน์ ภาพหรืออื่น ๆ ที่จะเตรียมปูทางให้เด็กได้ท่อง อ่านและเขียนต่อไป ในด้านการใช้สื่อการเรียนการสอนที่เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนนั้น กาหนดให้มี วิธีการ 4 แนวทางด้วยกัน ดังนี้


1) ปรับเปลี่ยนเอกสารที่มีอยู่แล้ว กล่าวคือมีแบบเรียนที่กาหนดให้ใช้อยู่แล้ว 2) นาเอกสารอื่นมาใช้ทดแทน 3) ทาขึ้นมาใหม่ 4) ใช้วิธีการแบบผสมผสานกัน (วิธีการที่ 1-3 รวมกัน) สื่อการเรียนรู้ต้องมุ่งเน้นการทาภาษาให้ง่ายกว่าเดิม โดยประโยคจะต้องง่ายไม่ซับซ้อน ศัพท์ จะต้องเป็นคาที่ใช้ในชีวิตประจาวัน อ่านง่าย สะกดง่าย เข้าใจง่าย ความยาวของเนื้อเรื่อง ต้องลดลง โดยครูจะ ยึดหลักของการเลือกเนื้อหาดังนี้ สิ่งที่ต้องรู้ ควรรู้ และสิ่งที่จะรู้ด้วยก็ได้ แต่ไม่รู้ก็ไม่เป็นไร แนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ของโรงเรียนเขาดินวิทยาคาร มีขั้นตอนตามลาดับ ดังต่อไปนี้ 1) ระดับความสามารถของนักเรียนส่วนใหญ่ หากนักเรียน มีระดับแตกต่าง กันมาก อาจต้องทา 2 ชุด อย่างไรก็ตามหาเกณฑ์ความสามารถกลางของนักเรียนส่วนใหญ่ว่าจะอยูท่ ี่ความยาก ง่ายเพียงใด 2) ตัดสินใจว่าจะให้เนื้อหาส่วนไหน เป็นสิ่งที่นักเรียน "ต้องรู้" "ควรรู"้ และ "รู้ได้" 3) ตัดสินใจเรื่องคาศัพท์และภาษาที่จะใช้ ที่สาคัญเมื่อเปลี่ยนแปลงตรงไหน ตัดทอนตรงไหน จะต้องทาใช้ตลอดสม่าเสมอ ไม่ใช่ใช้บ้าง ไม่ใช้บ้าง 4) คิดกิจกรรมที่จะใช้สอนคาศัพท์ หรือความหมายของภาษาไว้ด้วยพร้อมกัน โดยเฉพาะกิจกรรมที่ให้นักเรียนปฏิบัติ ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียน 5) ปรับเกณฑ์การวัด โดยปรับเปลี่ยนเริ่มตั้งแต่จุดประสงค์เป็นต้นมา 6) เมื่อปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่อง ศัพท์ วิธีการสอนและการวัดผลแล้ว ตรวจให้แน่ใจ ว่าไม่มีสื่อหรือกิจกรรมไหนที่เรามองข้ามไปไม่ได้ปรับ โดยให้เพื่อนครูดาเนินการตรวจสอบได้ สรุปในการเตรียมสื่อการเรียนการสอน โรงเรียนเขาดินวิทยาคารใช้หลักการ ดังต่อไปนี้ ลดรายละเอียดที่มากไป สอนศัพท์ที่สาคัญก่อนจะเริ่มใช้ ตัวพิมพ์อ่านง่าย ตัวหนังสือมาตรฐาน รูปแบบไม่สับสน ให้คาแนะ หรือคาใบ้เมื่อต้องการให้นักเรียนตอบ

เน้นจุดเด่นที่ต้องการใช้ประโยชน์ ใช้ภาษาที่ง่าย (ประโยคต้องสั้น คาศัพท์ เข้าใจง่าย) มีรูปภาพ หรือแผนภูมิประกอบ เปิดโอกาสให้เปลี่ยนหรือแก้คาตอบได้


5.

ปัจจัยความสาเร็จ 1) ระบบการจัดการความรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Facebook) เป็นเครื่องมือในการถ่ายโอน ความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรวม 2) การได้รับมอบหมายให้เป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรวม ของสพป. กจ. 1

6. บทเรียนที่ได้รับ 1) โอกาสเป็นเรื่องสาคัญ นักเรียนทุกคนควรมีโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน 2) การเคารพในความหลากหลายของนักเรียน 3) นักเรียนเป็นผู้มีศักยภาพทุกคน แต่ศักยภาพของนักเรียนทุกคนไม่เท่ากัน การจัดการศึกษาจึงควร มุ่งเน้นต่อการบรรลุศักยภาพของนักเรียนแต่ละคน 7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ ผลงานดีเด่น โรงเรียนเขาดินวิทยาคาร สพป.กาญจนบุรีเขต 1 ปีการศึกษา 2555 ประเภท สถานศึกษา

ระดับรางวัล/ชื่อรางวัลที่ได้รับ

หน่วยงานที่มอบรางวัล

สถานศึกษาพอเพียง

สพฐ กระทรวงศึกษาธิการ

ต้นแบบโรงเรียนในฝัน รุ่นที่ 3

สพฐ กระทรวงศึกษาธิการ

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ.

สพฐ กระทรวงศึกษาธิการ

AWARDS)

(OBEC

ระดับเหรียญเงิน

สถานศึกษายอดเยี่ยม ด้านนวัตกรรมและเทคโลยีฯ ประเภท โรงเรียนขยายโอกาสฯ ผู้บริหารโรงเรียน นายณรงค์ มุกดาแสงสว่าง

รางวัลชมเชย ผู้บริหารดีเด่น

มูลนิธิครูกาญจนบุรี

รางวัลหนึ่งแสนครูดี

สานักงานเลขาธิการคุรุสภา

ระดับครูผู้สอน 1. นางสุกัญญา บุญน้อม 2. นางณัฐกมล สระทองอุ่น

กระทรวงศึกษาธิการ


ประเภท 3. นางศุภวรรณ ทักษิณ

ระดับรางวัล/ชื่อรางวัลที่ได้รับ รางวัลทรงคุณค่า สพฐ.(OBEC

หน่วยงานที่มอบรางวัล สพฐ กระทรวงศึกษาธิการ

AWARDS) รางวัลชมเชย ครูผู้สอนยอดเยี่ยม(บูรณาการ) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับภาคกลางและภาคตะวันออก 4. นางเนตรดาว ทศพร

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ.(OBEC AWARDS) รางวัลชมเชย ครูผู้สอนยอดเยี่ยม(วิทยาศาสตร์) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับภาคกลางและภาคตะวันออก

สพฐ กระทรวงศึกษาธิการ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.