Inside puay september 58 ส่งเมล

Page 1

วารสารรายเดือนเพื่อเชิดชูเกียรติ และรวมรำลึกในโอกาส 100 ปชาตกาล ดร.ปวย อึ๊งภากรณ

ปที่ 1 ฉบับที่ 5 กันยายน 2558

มองปวย :

อาจารยปวยของ รศ.ดร.วรากรณ สามโกเศศ บันทึกรำลึกปวย :

นี่แหละอาจารยปวย...ใชเลย ปาฐกถา 100 ป ปวย อึ๊งภากรณ :

จะตอสูกับคอรรัปชั่นอยางไรดี?

รางวัลสันติประชาธรรม 2558

บรรจง นะแส - สนั่น ชูสกุล - บำรุง คะโยธา Cover-puay-5 September.indd 1

23/8/2558 22:44:52


สารบัญ / CONTENTS ปฏิทินกิจกรรม

1

สืบสานป๋วย

3

ปลายปากกาปญญาชนสยาม

6

ปาฐกถา 100 ป คณะเศรษฐศาสตร์

9

100 ป รอยกิจกรรม สาน 4 ปณิธาน อาจารยปวย อึ๊งภากรณ ถาปวยไดเปนผูวา กทม.

จะตอสูกับคอรรัปชั่นอยางไรดี…รัฐประหารแกปญหาไดจริงหรือ?

ป๋วยเสวนาสัญจร

12

เรื่องจากปก

16

อุดมการณอาจายปวยกับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย ‘สันติประชาธรรม’ รางวัลเกียรติยศของผูอุทิศตน เพื่อสังคมตามแนวทางอาจารยปวย บรรจง นะแส – สนั่น ชูสกุล – บํารุง คะโยธา

มองป๋วย

20

บันทึกรําลึกป๋วย

24

กวีนิพนธ์

27

รายงานพิเศษ

28

ลูกผูชายชื่อ “ปวย”

30

อาจารยปวยของ รศ.ดร.วรากรณ สามโกเศศ … คือความรักความทรงจําที่สงผานจากรุนพอสูรุนลูก นี่แหละอาจารยปวย…ใชเลย

เครือขายศิลปน เรียกรองสันติภาพคืนสูสังคมไทย

บทบรรณาธิการ

15 กันยายน ศกนี้ ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี อาจารย์ฝรั่งผู้มีคุณูปการต่อวงการศิลปะ ของไทย จะมีชาตกาลครบ 123 ปี ดังมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดงานร�าลึกถึงท่านทุกปีอย่างสมเกียรติ หลายคนมักจ�าอาจารย์ป๋วยผ่านค�า 3 ค�า คือ “ความดี ความจริง และความงาม” แต่น้อยคนที่จะยังจ�าได้ว่า อาจารย์ ป๋วยมีคุณูปการต่อวงการศิลปะในบ้านเราเพียงใด เช่น การซื้อผลงานศิลปะ การวางแผนสร้างหอศิลปสมัยใหม่ในประเทศไทย เป็นต้น ข้อเขียนของอาจารย์สิทธิธรรม โรหิตสุข เรื่อง “ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ศิลป์ พีระศรี และหอศิลป์ พีระศรี จากข้อเขียน ในสูจิบัตรสู่พลังร่วมในการก่อตั้งหอศิลป์ในประเทศไทย” ใน ปาจารยสาร ปีที่ 39 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2558) ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปูชนียบุคคลของสังคมไทยทั้ง 2 ท่านได้อย่างน่าสนใจ อาจารย์ป๋วยเคยกล่าวเอาไว้ในวันครบรอบปีการเปิดหอศิลป พีระศรี (พ.ศ.2518) ความตอนหนึ่งว่า “ประชาคมใด ที่เพิกเฉยต่อความงามและศิลป์ ประชาคมนั้นย่อมจะเจริญสมบูรณ์มิได้ และประชาคมใดที่เอาใจใส่บ�ารุงศิลปวิทยา ประชาคม นั้นย่อมจะประสบความเจริญ มิใช่แต่ในด้านศิลปะอย่างเดียว ย่อมจะเจริญในด้านความดีและความจริง อันเป็นองค์ประกอบ แห่งสันติสุขแห่งมนุษย์ ในประชาคม” อาจารย์ป๋วยไม่ได้เป็นเพียงนักเศรษฐศาสตร์ นักการศึกษา นักพัฒนา นักบริหาร หรือนักสันติวิธีเท่านั้น หาก ท่านยังเป็นนักประชาธิปไตย เป็นเหยื่อของการเมืองเป็นพิษ เป็นผู้ใฝใจในศิลปะ ฯลฯ อีกด้วย บางคนเลือกจ�าอาจารย์ป๋วย เพียงบางมุม แต่อาจารย์ป๋วยก็คืออาจารย์ป๋วย คนที่ยังคงยืนเด่นโดยท้าทาย! กษิดิศ อนันทนาธร ข้อเขียนต่างๆ ในวารสารเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียน เจ้าของและบรรณาธิการไม่จ�าเป็นต้องเห็นพ้องด้วยเสมอไป เจ้าของ: คณะกรรมการเตรียมงาน 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปรึกษา: ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ บุญสม อัครธรรมกุล บรรณาธิการ: กษิดิศ อนันทนาธร กองบรรณาธิการ: มนธีร์ กรก�าแหง วันฟ้าใหม่ เทพจันทร์ ปิยะดา รัตนกูล ธนวันต์ บุตรแขก ศิลปกรรม: ธิดาพร วงษ์ส�าราญ แยกสี/พิมพ์: บริษัทฐานการพิมพ์ จ�ากัด ส�านักงาน ติดต่อ: ส�านักงานเลขานุการคณะกรรมการเตรียมงาน 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0-2613-3777 โทรสาร 0-2613-2043 E-mail: tualumnioff@gmail.com http:// www.alumni.tu.ac.th www.facebook.com/ สู่ 100 ปีชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์


ปฏิทินกิจกรรม

สถาบันปรีดี พนมยงค ขอเชิญรวมงานเสวนาเปดตัวหนังสือ พรอมเวทีสาธารณะ ปรีดีศึกษา ครั้งที่ 2

โมฆสงคราม

งานนิพนธที่คนพบลาสุดของ ปรีดี พนมยงค วันเสาร์ที่ 12 กันยายน 2558 เวลา 13.00 น. ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์ วิทยากรเสวนา : ศ.ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธิดา ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ เลขานุการส่วนตัวอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ สันติสุข โสภณสิริ ประธานกรรมการสถาบันปรีดี พนมยงค์ กษิดิศ อนันทนาธร กรรมการสถาบันปรีดี พนมยงค์ ด�าเนินรายการโดย สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย 1  ส า ร ป๋ ว ย


ส า ร ป๋ ว ย  2


สืบสานปวย กองบรรณาธิการ

100 ป รอยกิจกรรม สาน 4 ปณิธาน อาจารยปวย อึ๊งภากรณ

วิบูลย เสรีชัยพร – สกนธ วรัญูวัฒนา – ปยะบุตร ชลวิจารณ – สมคิด เลิศไพฑูรย – ส. ศิวรักษ – บุญสม อัครธรรมกุล – ไพบูลย กิตติศรีกังวาน – วัฒนชัย กันตะเสน – จิตติ มงคลชัยอรัญญา

ในวาระ 100 ปชาตกาล ของศาสตราจารย ดร.ปวย อึง๊ ภากรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร พรอมภาคีเครือขาย ไดรว มกันจัดงานแถลงขาว “100 ป รอยกิจกรรมสาน 4 ปณิธาน อาจารยปว ย อึง๊ ภากรณ” โดยมี อาจารยสลุ กั ษณ ศิวรักษ ประธานกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป 1ศาสตราจารย ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร นายไพบูลย กิตติศรีกงั วาน รองผูว า การธนาคารแหงประเทศไทย นายวัฒนชัย กันตะเสน นายอําเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท และ ดร.ปยะบุตร ชลวิจารณ นายกสมาคมอัสสัมชัญ 1

ในฐานะผูเ ริม่ โครงการเตรียมงาน 100 ปฯ โดยทีข่ อ ความที่ ส. ศิวรักษ กลาวในงานดังกลาว จะนํามาตีพมิ พในคอลัมน “ปลายปากกา ปญญาชนสยาม” ใน สารปวย ฉบับที่ 6-8 ตุลาคม -ธันวาคม 2558

3

ส า ร ป ว ย


ร่วมแถลงข่าวการจัดกิจกรรมเพื่อเชิดชูเกียรติและ ร�าลึกถึงศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในวาระ 100 ปีชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่า การจัดกิจกรรม เชิดชูอาจารย์ปว๋ ยในส่วนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั้ น ได้ มี ก ารเตรี ย มจั ด กิ จ กรรมหลายเรื่ อ ง เพื่ อ เฉลิ ม ฉลองและเชิ ด ชู แ นวคิ ด หลั ก ใน 4 ด้ า นของ อาจารย์ปว๋ ยมาเผยแพร่และปฏิบตั ิ ซึง่ ได้แก่ “เศรษฐกิจ คิดแบบป๋วย” แนวคิดในการสร้างชุมชนเข้มแข็งคู่การ พัฒนาประเทศ “ป๋วยคิดลิขิตการศึกษา” แนวคิดใน การปฏิรปู การศึกษาไทย “ป๋วยต้านโกง” แนวคิดในการ ต่อต้านคอร์รัปชั่น และ “ป๋วยพัฒนาชุมชน” แนวคิด ในการพัฒนาชนบท ซึ่งจะทยอยน�าเสนอผ่านกิจกรรม ต่างๆ ตลอดปี “นอกจากนีจ้ ะมีการก่อสร้าง “โครงการอุทยาน เรียนรู้ป๋วย 100 ปี” ที่ศูนย์รังสิต ซึ่งอาคารหลังนี้จะมี พิพิธภัณฑ์ของอาจารย์ป๋วย ที่จะเผยแพร่ประวัติและ แนวความคิดของอาจารย์ป๋วยด้วย และยังสามารถใช้

บรรยากาศงานแถลงข่าวที่ห้อง 80 ปี อาจารย์ป๋วย คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ส า ร ป๋ ว ย  4


เป็นหอประชุม และสถานที่จัดนิทรรศการต่างๆ ได้ โดยจะมีหอ้ งสมุดประชาชนให้ประชาชนสามารถเข้าไป อ่านหนังสือได้ ซึ่งเป็นแนวคิดตามแบบฉบับ ‘ป๋วย’ ที่แปลว่า ติดดิน คือให้อาคารหลังนี้ติดดิน ใกล้ชิด กับประชาชน ประชาชนสามารถเข้าถึงธรรมศาสตร์ ได้ ถัดมาคือ ‘อนุสรณ์สถาน’ ที่บ้านหนองน�้าขาว จังหวัดชัยนาท สถานที่ที่อาจารย์ป๋วยได้ไปสัมผัส ความทุกข์ร้อนของชาวบ้าน และมีวารสาร “สารป๋วย” ซึ่งจะสอดแทรกแนวความคิดของอาจารย์ป๋วย การ จัดปาฐกถา 100 ปีฯ ที่คณะเศรษฐศาสตร์เป็นประจ�า ทุกเดือน นอกจากนีย้ งั มีกจิ กรรมทีธ่ รรมศาสตร์รว่ มมือ กับหน่วยงานต่างๆ อีกหลายหน่วยงาน เช่น สมาคม เศรษฐศาสตร์จัดท�าละครเวทีมังกรสลัดเกล็ด ธนาคาร แห่ ง ประเทศไทยจะท� า ทุ นวิ จั ย สมาคมอั ส สั ม ชั ญ จั ด ท� า แสตมป์ และรู ป ปั ้ น ซึ่ ง ทางมหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ก็ ยิ น ดี มี ส ่ ว นร่ ว มเพื่ อ ช่ ว ยกั น ท� า ให้ จิตวิญญาณของอาจารย์ป๋วยเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป” อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าว ด้าน นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน รองผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกิจกรรมในส่วน ของธนาคารแห่งประเทศไทยว่า ในปีนี้ก�าลังจะมีการ จัดปาฐกถาโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ถึง แนวคิดของอาจารย์ป๋วย การจัดท�าหนังสือแนวคิด ของการเป็นธนาคารกลางที่ดีตามที่ท่านอาจารย์ป๋วย ได้วางไว้ นอกจากนี้ก็มีการจัดท�าวีดีทัศน์เกี่ยวกับ ประวัติอาจารย์ป๋วยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธนาคารแห่ง ประเทศไทย และยังมีการก่อสร้างศูนย์การเรียนรู้ที่ตั้ง โรงพิมพ์ธนบัตรเก่าที่วังบางขุนพรม ซึ่งทางธนาคาร แห่งประเทศไทยจะสร้างเป็นอาคารรวมแหล่งความรู้ ทางเศรษฐศาสตร์ ประวัติ บทบาทและหน้าที่ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะเป็นไปตามอธิษฐาน ของอาจารย์ปว๋ ยที่ให้ความส�าคัญกับการเรียนรูแ้ ละการ ศึกษา และที่ได้จดั ท�าไปแล้วก็คอื การจัดตัง้ สถาบันวิจยั

ทางเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (PIER) ดร.ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ นายกสมาคมอัสสัมชัญ กล่าวถึงกิจกรรมในส่วนของสมาคมอัสสัมชัญที่จะเริ่ม ท�าในช่วงปลายปีนี้ไปจนถึงต้นปีหน้าว่า จะมีการผลิต และจ�าหน่ายตราไปรษณียากรอากรที่ระลึก 100 ปี อาจารย์ป๋วย ซึ่งใน 1 ชุดจะมี 4 ดวง จัดท�าขึ้นทั้งหมด 200,000 ดวง โดยจะเริม่ จ�าหน่ายตัง้ แต่วนั ที่ 9 ธันวาคม 2558 นอกจากนีย้ งั มีการประมูลภาพสีนา�้ ภาพเหมือน อาจารย์ป๋วย และรูปปั้นอาจารย์ป๋วยอีกด้วย ในส่ ว นของจั ง หวั ด ชั ย นาท นายวั ฒ นชั ย กันตะเสน นายอ�าเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท กล่าวว่า จะมีบูรณะและปรับภูมิทัศน์อนุสรณ์สถาน อาจารย์ปว๋ ย ทีบ่ า้ นวังน�า้ ขาว ต.วังตะเคียน อ.หนองมะโมง ให้เป็นแหล่งเรียนรูอ้ ดุ มการณ์แนวคิดของอาจารย์ปว๋ ย นอกจากนี้ ยั ง มี เ รื่ อ งส� า คั ญ อี ก เรื่ อ งหนึ่ ง คื อ มู ล นิ ธิ ป ๋ ว ย และมหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ยั ง ได้ เสนอชื่อ ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นบุคคลส�าคัญของ โลกต่อยูเนสโก ซึ่งคาดว่าจะทราบผลปลายปี 2558 นี้ และในช่ ว งต้ น ปี 2559 จะมี การเผยแพร่ ส ารคดี อาจารย์ปว๋ ยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบเี อส และเนชั่นทีวีอีกด้วย n 5  ส า ร ป๋ ว ย


ปลายปากกาปญญาชนสยาม ส. ศิวรักษ

ถาปวยไดเปนผูวา กทม. II สิ่ ง ส� า คั ญ ประการหนึ่ ง ซึ่ ง คุ ณ ป๋ ว ยจะต้ อ ง ก�าหนดให้มีใน กทม. คือ พิพิธภัณฑสถานอันทันสมัย หอศิลปซึ่งเปิดโอกาสให้ศิลปินมีส่วนร่วมด้วยอย่าง จริงจัง (หลายๆแห่ง1) คีตสถาน รวมทั้งอุดหนุนการ ละคร และการแสดงต่างๆ ทางจิตรกรรม ประติมากรรม ร่วมสมัย ซึง่ เปิดให้ยวุ ศิลปินจากต่างจังหวัดได้มโี อกาส มาร่วมแสดงด้วย (นอกเหนือไปจากการเปิดรับศิลปิน จากนานาชาติ) และอุดหนุนให้ศิลปินนั้นๆ ได้ไปแสดง ยั ง นานาประเทศอี ก ด้ ว ย นอกเหนื อ จากการกั น ที่ ไว้ให้เป็นวนา ให้เป็นพื้นที่สีเขียว ให้ผู้คนได้มีโอกาส ปลูกผักผลไม้ ชนิดที่ปลอดไปจากยาฆ่าแมลงและ มลภาวะอื่นๆ ดังได้กล่าวมาแต่ต้นแล้ว ว่าคุณป๋วยย่อมต้อง ดูแลคนยากไร้ คนยากจนคนปลายอ้อปลายแขม ที่ถูก เอาเปรียบต่างๆ แม้เขาจะไม่ใช่คนไทย ให้ได้รับสิทธิ มนุษยชนและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ส�าหรับชนชั้นกลางนั้น คุณป๋วยก็จะช่วยดูแล ให้เขาไม่ถูกไล่ไปจากที่อยู่อาศัย ให้ที่อยู่อาศัยเขา ปราศจากมลพิษ และการเดินทางไปท�างานของเขา ควรได้รับความสะดวกสบาย นายจ้างต้องตอบแทน ค่าแรงเขา ตัง้ แต่ตอนเขาออกเดินทางแล้ว ไม่ใช่นบั เวลา แต่เมื่อเขามาถึงที่ท�างานเท่านั้น บ้านเรือนร้านรวง 1

ของเขาต้องไม่ถกู นายทุนเอาเปรียบ และให้เขามีโอกาส ได้เข้าถึงที่พักผ่อนหย่อนใจตามวนา สวนสาธารณะ และวัดวาอาราม ซึ่งต้องไม่เป็นสถานที่รีดไถผู้คน หรื อ มอมเมาผู ้ ค นด้ ว ยพิ ธี กรรมต่ า งๆ แม้ ง านศพ ของเขาก็ต้องไม่สิ้นเปลืองไปด้วยพวงหรีด ฯลฯ ทั้งนี้ คุณป๋วยย่อมได้รบั ความร่วมมือกับพระสังฆเถระทีเ่ ป็น ลัชชีรวมอยู่ด้วย ทางด้ า นชนชั้ น สู ง ทางด้ า นเศรษฐกิ จ นั้ น คุณป๋วยจะหาทางสนทนาพาทีให้เขาเหล่านั้นเห็นด้วย กั บ การบริ จาคที่ ดิ น ของเขาให้ เ ป็ น สวนสาธารณะ สวนรุกขชาติ และสร้างสวนศิลป สวนวิทยาศาสตร์ และสวนวิชาการขึ้น ให้แพร่หลายกระจายออกไป

แต่ละแห่งควรตั้งชื่อตามปูชนียบุคคลร่วมสมัย เช่น หอวรรณศิลปเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป หอศิลป พีระศรี หอวิจิตรศิลปเฟื้อ หริพิทักษ์ หอวิจิตรศิลป-วรรณศิลปอังคาร กัลยาณพงศ์ หอคีตศิลปพระเจนดุริยางค์ หอวิทยาศาสตร์ตั้ว ลพานุกรม หออุดมคติ ส�าหรับเยาวชน ซิม วีระไวทยะ หอสตรีศึกษา ศรีพรหมา กฤดากร ฯลฯ

ส า ร ป๋ ว ย  6


ผู้ที่บริจาคเหล่านี้จะได้รับการตอบแทนจาก กทม.ด้วย การเชิดชูเกียรติ แม้จนอาจขอพระราชทานกิตติบัตร ซึ่งมีค่ายิ่งกว่าเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ ซึ่งเฝือไป แล้ว ดังการเชิดชูเกียรติต้องต่างไปจากการกระท�า อย่างกึ่งดิบกึ่งดี เช่น การให้เป็นศิลปินแห่งชาติ แม้ บริษัทห้างร้านที่ยกย่องวรรณกรรม ฯลฯ นั่นก็เป็นการ โฆษณาชวนเชื่อให้ห้างร้านนั้นๆ มากกว่า ยิ่งบรรษัท ข้ามชาติด้วยแล้ว ต้องถูกสกัดโดยกฎบัตรกฎหมาย ไม่ ให้พวกนี้เบียดเบียนบีฑาร้านเล็กร้านน้อยต่างๆ ซึ่งควรประกอบสัมมาชีพได้อย่างพอควรแก่อัตภาพ ยิ่งบรรษัทข้ามชาติที่ขายอาหารด้วยแล้ว ควรได้รับ การตรวจตราว่า ผักผลไม้ปราศจากการใช้ปุ๋ยเคมี เพียงใดหรือไม่ เนื้อปลาและเนื้อสัตว์ต่างๆ นั้น เมื่อ สัตว์เหล่านั้นยังมีชีวิต ได้ถูกเอาเปรียบอย่างเลวร้าย เพียงใด โดยต้องค�านึงถึงสิทธิของสัตว์ เท่าๆ กับสิทธิ มนุษยชน แม้คณ ุ ป๋วยจะก้าวก่ายไม่ได้กบั สือ่ มวลชนทีท่ า� ตนเป็นสื่อมวลสัตว์ หรือสถาบันการศึกษาที่คงสภาพ อย่างเต่าล้านปี ท่านก็จะอุดหนุนให้มีสื่อทางเลือก และการศึกษาทางเลือก อุดหนุนให้มีการเสวนาอย่าง แพร่หลายทั่วไป ให้เกิดความใจกว้าง ยอมรับทัศนะ ที่ต่างไปจากเราอย่างด�าเป็นขาว และสร้างความ กล้าหาญทางจริยธรรมให้เกิดขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่ ถ้า กิจกรรมดังกล่าวขยายออกไปนอกราชธานีมากเท่าไร เราจะแสวงหาปราชญ์ชาวบ้านได้มากขึ้น แสวงหา กวีและศิลปินนอกกระแสหลักได้มากขึ้น ที่ว่านี้คือเนื้อหาสาระแห่งสันติประชาธรรม ที่ เป็นไปในทางความงาม ความดีและความจริง มิใช่หรือ ถ้าคุณธรรมดังกล่าวแผ่ขยายไปมากเพียงไร การปฏิวตั ิ รัฐประหารจะมีขึ้นได้ยากอย่างยิ่ง พวกเนติบริกรที่ รับใช้เผด็จการจะปลาสนาการไป ทหารทั้งหลายก็จะ คืนกลับเข้าสู่กรมกอง โดยลดปริมาณนายทหารต่างๆ ลง และลดอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ลงด้วย โดยที่ ต�ารวจจะหมดความเป็นโจรในเครือ่ งแบบ กลายมาเป็น ผู้พิทักษ์สันติภาพสมนาม ส่วนขบวนการยุติธรรมจาก

ขั้นอัยการถึงศาลนั้น ถ้าปราศจากความกล้าหาญทาง จริยธรรม และท่านนั้นๆ แลไม่เห็นทุกขสัจทางสังคม อันประกอบไปด้วยเมตตากรุณาธรรมในตัวท่านเอง แล้วไซร้ เห็นจะแก้ไขอะไรๆ ได้ยาก แต่ก็เชื่อว่า คุณป๋วยจะสามารถสร้างสรรค์สังคมไทย จาก กทม. ออกไปให้พ้นความกึ่งดิบกึ่งดี และเข้าถึงความเป็น เลิศได้ โดยนี่จะเป็นความฝันเฟื่องมากไปหรือเปล่า แต่ต้องไม่ลืมว่าคุณป๋วยพูดอยู่เสมอว่าอุดมคติคือ ความฝันอันประเสริฐ ซึ่งเราต้องท�าความฝันดังว่านี้ ให้กลายมาเป็นความจริงให้จงได้ n 7  ส า ร ป๋ ว ย


ปลายปากกาปญญาชนสยาม ส. ศิวรักษ

If Puey Ungphakorn Were Governor of Bangkok II As Governor of Bangkok, Puey would definitely push for the construction of modern museums and art centers. He would support the exhibition or performance of various art forms, enabling young artists from the provinces to take part in them and exposing the public to works by international artists. Moreover, he would find ways to help Thai artists go exhibit their works abroad. He would also try to find spaces for communal organic farming. Puey would not neglect the poor and the marginalized—irrespective of their nationality—as mentioned above. As for the middle class, he would strive to protect them from unjust eviction, to ensure that they live in healthy environments, to create a reliable mass transportation system, to empower workers and shield them from overexploitation, to make them have adequate time and places for leisure, especially those that are not commercialized or privatized, and so on. Turning to the economic elites, Puey would find ways to convince them to donate lands for the creation of public parks, art and science parks, etc. throughout the city. The BMA would duly honor the philanthropists. Puey might even go as far as asking that royal certificates be granted to the land donors. Means would be found to curb the power of the economic elites and transnational economic class so that they wouldn’t squeeze small business owners out of the market, feed the people with unhealthy, dangerous products, ruin the natural environment, abuse animal rights, etc.

ส า ร ป๋ ว ย  8

Although Puey wouldn’t intervene in the workings of the mainstream mass media (which cultivates the herd mentality) and higher education institutions (which are often mediocre and rarely progressive), he would promote the creation of alternative media and education channels. He would support the organization of public activities for discussions and debates not only to broaden the intellectual horizon of the people but also to cultivate in them the spirit of tolerance, openmindedness, and respect for diversity. In other words, these activities would help to foster moral courage among the younger generation. The more these activities are extended throughout the kingdom, the more we will have local sages and independent poets and artists. To sum up, my speculations on what Puey would do are based on the essence of santiprachadhamma, which upholds Beauty, Goodness, and Truth. The more santiprachadhamma disseminates in society, the less likely that there will be another military coup in the future. Legal scholars who serve the military dictatorship will gradually become extinct. Soldiers will return to their barracks. The military budget will be slashed, and the military will be smaller and leaner. Police officerswill truly be keepers of peace. And so on. I believe Puey would be able to transform Thai society by first reforming Bangkok, changing it from a mediocre city into one approaching excellence. Perhaps, I am being overly idealistic. But as Puey often claimed, idealism is a noble dream, and we must strive to realize it. n


คอลัมน ปาฐกถา 100 ป กองบรรณาธิการ เรื่อง/ภาพ

จะตอสูกับคอรรัปชั่นอยางไรดี… รัฐประหารแกปญหาไดจริงหรือ? ปั จ จุ บั น การคอร์ รั ป ชั่ น ในระบบการบริ ห าร ราชการแผ่นดินของประเทศไทย เป็นปัญหาที่นับวัน จะทวีความรุนแรง และลุกลามออกไปมากยิง่ ขึน้ เรือ่ ยๆ จนประชาชนบางส่วนก็ยอมรับว่าการคอร์รัปชั่นได้ นั้นถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะต้องเกิดขึ้น หาก ประชาชนมีความจ�าเป็นที่จะต้องติดต่อกับหน่วยงาน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์ ประจ�าคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ที่ท�างานวิจัย เกี่ ย วกั บ การคอร์ รั ป ชั่ น ในไทยมานานกว่ า 25 ปี องค์ปาฐกในหัวข้อ “จะต่อสู้กับคอร์รัปชั่นอย่างไรดี?” ในการจัดปาฐกถา 100 ปี อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 5 เริ่มต้นด้วยการกล่าวยกย่องอาจารย์ป๋วยว่า ท่านเป็น “ผู้ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลและเป็นผู้ซึ่งมีผลงาน

เป็นคุณูปการกับสังคมไทยอย่างสูงยิ่ง และยังเป็น นักเศรษฐศาสตร์ ในอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์ ไทย จ�านวนมาก” จากนั้นท่านได้ยกค�าของอาจารย์ป๋วยมา ว่า “ผมมีความเชือ่ มัน่ อย่างแน่นแฟนในประชาธิปไตย และในศักดิศ์ รีของมนุษย์ทกุ คน ผมเชือ่ ในเสรีภาพและ สิทธิมนุษยชน… ผมเชื่อในสิทธิของชายหญิงทุกคน ที่จะมีส่วนร่วมในการก�าหนดชะตากรรมสังคมที่เขา อาศัยอยู่ ผมเกลียดเผด็จการไม่ว่าจะมีรูปแบบสีสีน อย่างใดก็ตาม…” ในเรื่ อ งการต่ อ ต้ า นคอร์ รั ป ชั่ น การแสดง ความโปร่งใส อาจารย์ป๋วยยังได้แสดงความกล้าหาญ ในการตักเตือนผู้มีอ�านาจให้เห็นมาแล้ว เช่น ปาฐกถา ในงานเลี้ ย งสมาคมธนาคารไทย พ.ศ.๒๕๐๗ ที่ ตั้งค�าถามต่อจอมพลถนอม กิตติขจร อย่างตรงไป ตรงมา เป็นต้น 9  ส า ร ป๋ ว ย


จากนั้นอาจารย์ผาสุกกล่าวต่อไปว่า แม้การ ต่อต้านคอร์รปั ชัน่ จะเป็นเรือ่ งยาก แต่สามารถแก้ไขได้ จากกรณีศึกษาต่างๆ ท�าให้ได้ข้อสรุปว่า การต่อต้าน คอร์รัปชั่นมียุทธศาสตร์และมาตรการ 3 ระดับ คือ 1. ระดับปฏิบัติเฉพาะจุดในหน่วยราชการ ที่เป็นปัญหามาก และไม่สร้างต้นทุนมาก เช่น หาก มี ห ลั ก ฐานว่ า ท� า ผิ ด ต้ อ งลงโทษทั น ที แ ละหนั ก ตาม สมควร 2. ระดับสถาบัน ต้องมีมาตรการป้องกัน การ ตรวจสอบภายในที่ได้ผล หน่วยงานที่มีการคอร์รัปชั่น เป็นระบบมาเนิ่นนาน อาจต้องมีการนิรโทษกรรมแล้ว ก�าหนดวันว่าหลังจากนี้จะใช้ยาแรง มาตรการเช่นนี้ ส�าเร็จในการปฏิรูประบบต�ารวจในฮ่องกง นอกจากนี้ ยังมีระดับสังคมภายนอก ซึ่งต้องมีการก�ากับที่ดี อาจ ต้องนึกถึงศาลพิเศษในการจัดการกับคอร์รปั ชัน่ ดังเช่น ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในอิ น โดนี เ ซี ย หรื อ กฎหมายตรวจสอบ ข้าราชการที่ร�่ารวยผิดปกติที่ฮ่องกง แต่ต้นทุนอาจจะ สูง นอกจากนี้ประชาชน สื่อมวลชน ต้องมีเสรีภาพ ในการตรวจสอบการคอร์รัปชั่น และภาคธุรกิจอาจมี บทบาทเรือ่ งนีด้ ว้ ย และเป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งท�าอย่างต่อเนือ่ ง 3. ระดับระบอบการเมือง ต้องมีระบอบทีเ่ อือ้ กับการต่อสู้คอร์รัปชั่น เรื่องนี้เป็นเรื่องส�าคัญที่สุด เพราะเป็นโครงสร้างใหญ่และเป็นปัจจัยทีก่ า� หนดความ

ส� า เร็ จ ในระยะยาว ระบอบประชาธิ ป ไตยที่ มี ห ลั ก นิติธรรม หลักการความเสมอภาค หลักสิทธิเสรีภาพ จะเปิ ด โอกาสให้ ป ระชาชนมี ส ่ ว นร่ ว มได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ ในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นที่ สตง. จะตรวจสอบการใช้เงินทุกหน่วยงานอย่างเต็มที่ “รั ฐ ประหารไม่ ส ามารถแก้ ค อร์ รั ป ชั่ น ได้ หลายครั้งที่มีการอ้างว่ารัฐประหารเพื่อแก้คอร์รัปชั่น แต่แก้ไม่ได้สักครั้ง เราอาจเห็นความพยายามแต่ล้วน เป็ นมาตรการระยะสั้ น และรั ฐ บาลรั ฐ ประหารมั ก ปรับแปลงสถาบันส�าคัญต่างๆ เป็นระบบปิดที่เอื้อ ต่อการคอร์รัปชั่นของรัฐ ส่งผลให้การแก้คอร์รัปชั่น ยิ่งยากเข้าไปอีก” อาจารย์ผาสุกกล่าว อาจารย์ ผ าสุ ก ยั ง แบ่ ง การคอร์ รั ป ชั่ น แบบ คร่าวๆ ออกเป็น คอร์รัปชั่นภาคครัวเรือน ที่ประชาชน ติดสินบนเล็กๆ น้อยๆ กับหน่วยงานราชการ และ คอร์รปั ชัน่ ภาคธุรกิจ ซึง่ เป็นการติดสินบนใหญ่หรือการ ปรับนโยบายให้เอื้อผลประโยชน์ส่วนตัว พบว่าในรอบ 15 ปี ประชาชนติดสินบนหน่วยงานราชการน้อยลงมาก และมูลค่าก็ลดลงมาก สืบเนื่องจากการปฏิรูประบบ ราชการ ซึ่งส่งผลต่อข้าราชการระดับปฏิบัติงาน แต่ ข้าราชการระดับสูงสามารถรับสินบนกับภาคธุรกิจได้ ด้วยตัวเอง อาจจะร่วมมือหรือไม่รว่ มมือกับนักการเมือง ก็ได้ ซึ่งในระดับนี้ตรวจสอบยากมาก การปฏิรูประบบ

บรรยากาศภายในห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ส า ร ป๋ ว ย  10


ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์ประจ�าคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ราชการไม่สามารถจัดการกับกลุม่ นี้ได้ หากดูจากดัชนี ความโปร่งใส (CPI) ขององค์การโปร่งใสนานาชาติ (IT) พบว่าคะแนน 15 ปีประเทศไทยแทบไม่ดขี นึ้ และอันดับ ของประเทศไทยก็ตกลงมาเนื่องจากประเทศในเอเชีย พากันพัฒนาขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าเราขาดกลไกการ ตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ ป.ป.ช. อ่อนแอ รวมถึง การยอมรับกับวัฒนธรรมคอร์รัปชั่นในหมู่ข้าราชการ นักการเมืองก็เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องศึกษาวิจัยหาทาง แก้ไขจริงจังกว่าที่เป็นอยู่ ส� า หรั บ มุ ม มองสุ ด ท้ า ยเป็ น มุ ม มองสั ง คม ระยะเปลี่ยนผ่าน ซึ่งอาจารย์ผาสุกเห็นว่า ผู้คนสับสน ระหว่ า งคุ ณ ค่ า ใหม่ แ ละคุ ณ ค่ า เก่ า บางคนเห็ นว่ า คอร์รปั ชัน่ ไม่เป็นปัญหา บางคนเห็นว่าเป็น เพราะสร้าง ความเสียหายต่อสาธารณะ เส้นแบ่งระหว่างสินน�้าใจ กับสินบนเบลอมากขึ้น ความสับสนนี้เป็นมูลเหตุให้ ยากที่จะปราบคอร์รัปชั่น สังคมไทยเป็นสังคมที่เริ่ม สู่ระบอบประชาธิปไตย งานศึกษาหลายประเทศชี้ว่า คอร์รัปชั่นมักเพิ่มสูงในระยะแรกของการเปลี่ยนผ่าน สู ่ สั ง คมประชาธิปไตย เพราะมันเปิดโอกาสให้ ค น กลุ่มใหม่ๆ เข้าถึงอ�านาจและทรัพยากร แต่เมื่อเวลา ผ่านไประดับหนึ่ง คอร์รัปชั่นจะคงที่และลดลงเรื่อยๆ เมือ่ สถาบันทางสังคมแข็งแรง ประกอบกับแรงผลักดัน ของภาคประชาสังคมจะท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สถาบั น ต่ า งๆ ให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภาพให้ ส อดคล้ อ งกั บ

ความเป็นโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม กระบวนการปรับแปลงเหล่านี้ต้องใช้เวลาและต้องการ ความต่อเนื่อง ปัญหาการคอร์รปั ชัน่ ในประเทศไทย มักเกิดขึน้ ภายใต้การปกครองที่รวมศูนย์อ�านาจ และระบบที่ ข้าราชการเป็นใหญ่ ซึ่งกลายเป็นระบบที่ขาดการ ตรวจสอบ ดังนั้น การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นด้วยระบบ ที่เป็นเผด็จการ มีแต่จะท�าให้ปัญหาคอร์รัปชั่นเลวร้าย ลง โดยเฉพาะเผด็จการทหาร ทีป่ ระวัตศิ าสตร์ชี้ให้เห็น ว่ามีผลงานคอร์รัปชั่นมากที่สุด มากกว่านักการเมือง ในระบอบประชาธิ ป ไตยที่ ป ระชาชน สื่ อ มวลชน มีส่วนร่วมตรวจสอบได้ “ไทยเป็ น สั ง คมเปลี่ ย นผ่ า นและยั ง มี ร ะบบ พวกพ้อง ที่เรียกว่า ระบบศักดินาราชูปถัมภ์ ที่มากับ ความเป็ น สมั ย ใหม่ ใ นรั ช กาลที่ 5 กระบวนการ เปลี่ยนผ่านของไทยไม่ราบรื่น หยุดชะงักและถอยหลัง เสมอ หลังทศวรรษ 2530 คอร์รัปชั่นมีบทบาททั้ง กระตุ้นการเปลี่ยนแปลง เช่น รัฐธรรมนูญ 40 และ คอร์ รั ป ชั่ น ยั ง เป็ น ตั ว ถ่ ว งรั้ ง การเปลี่ ย นผ่ า นดั ง ใน ทศวรรษ 2550 งานของมาร์ก ซัคซาร์ วิเคราะห์ว่า วาทกรรมคอร์รัปชั่นสูงโดยนักการเมืองที่มาจากการ เลือกตั้งเป็นเครื่องมือในการชะลอ หรือก�าจัดระบบ กฎหมายและระบอบรัฐสภาอย่างเต็มที่ ภายใต้หลัก การหนึ่งคนหนึ่งเสียง” อาจารย์ผาสุกกล่าวทิ้งท้าย n 11  ส า ร ป๋ ว ย


ปวยเสวนาสัญจร ทีมปวยเสวนาคารสัญจร

อุดมการณอาจารยปวย กับคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย

วันที่ 15 กรกฎาคม 2558 ที่ผานมาคณะ กรรมการเตรียมงานรําลึก 100 ปชาตกาลอาจารยปวย อึ๊งภากรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร รวมกับจังหวัด ชัยนาท ไดจัดกิจกรรมปวยเสวนาคารสัญจร ครั้งที่ 1 ในหัวขอเรือ่ ง “อุดมการณอาจารยปว ยกับคุณภาพชีวติ ทีด่ ขี องคนไทย” ณ หอประชุมใหญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดชัยนาท ภายในงานมีนิทรรศการ ประวัตชิ วี ติ และการทํางานของอาจารยปว ย โดยเฉพาะ ส า ร ป ว ย

12

การโดดรมเมื่อคราวที่ทานเปนเสรีไทยในสงครามโลก ครั้งที่ 2 ซึ่งสัมพันธกับจังหวัดชัยนาทโดยตรง งานนี้ตองขอขอบคุณผูเขารวมงานทุกทาน องคการบริหารสวนจังหวัดชัยนาท คุณชวพล พันธุมรัตน ปลัดจังหวัดชัยนาท และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดชัยนาท ทีเ่ อือ้ เฟอ สถานที่ ซึง่ ผูเ ขารวมฟงเสวนา ก็มีทั้งบุคคลทั่วไปและนักเรียนมัธยมปลายที่คุณครู พามารวมกิจกรรม ทําใหบรรยากาศภายในงานและ


การพูดคุยเป็นไปอย่างสนุกสนาน ในพิธีเปิดการเสวนามีการเปิดวีดิทัศน์เรื่อง “คิดถึง...อาจารย์ป๋วย” และ “จากครรภ์มารดาถึงเชิง ตะกอน” เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจแนวคิดของอาจารย์ป๋วย ที่ปรารถนาจะวางรากฐานคุณภาพชีวิตของคนไทย หลังจากนั้น คุณเดช พุ่มคชา ตัวแทนคณะกรรมการ เตรียมงานร�าลึก 100 ปีฯ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของ การจัดงานตอนหนึ่งว่า “ส่วนหนึ่งที่อาจารย์ป๋วยได้ เลือกมาอยูท่ ชี่ ยั นาท และท�างานในมูลนิธบิ รู ณะชนบทแห่งประเทศไทย เพราะว่าทีน่ เี้ ป็นจังหวัดแรกทีม่ เี ขือ่ น (เขือ่ นเจ้าพระยา) นัน่ หมายความว่าเขือ่ นจะน�าน�า้ ไปยัง ทุกบ้านที่ท�าเกษตร ท�าให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น งานครัง้ นีเ้ ราปรารถนาให้คนหนุม่ คนสาวเห็นว่าคุณภาพ ชีวติ ทีด่ ตี งั้ แต่ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอนนัน้ เป็นอย่างไร” จากนั้ น จึ ง เป็ น พิ ธี เ ปิ ด งานโดย คุ ณ เฉลิ ม เกี ย รติ วรวุฒิพุทธพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ส�าหรับวิทยากรผู้ร่วมเสวนา คุณศิริวรรณ เจนการ หรือป้าหมู ผูอ้ า� นวยการศูนย์การเรียนรูช้ มุ ชน ป๋ ว ย อึ๊ ง ภากรณ์ ได้ แ ลกเปลี่ ย นถึ ง ช่ ว งที่ ต นเอง ได้เคยเป็นศิษ ย์อาจารย์ป๋วยในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าท่านเป็นครูทมี่ เี มตตาและ เป็นแรงบันดาลใจในการท�างาน ครัน้ เมือ่ เติบโตและถึง จุ ด อิ่ ม ตั ว ในการงานภาคธุ ร กิ จ และป้ า หมู ไ ด้ อ ่ า น หนังสือของอาจารย์ปว๋ ยทีอ่ ธิบายถึงการพัฒนาประเทศ ในปัจจุบนั มีลกั ษณะบนลงล่าง คือข้างบนสัง่ ข้างล่างท�า ซึ่งท�าให้เกิดปัญหาหลายอย่าง อาจารย์ป๋วยจึงได้ พยายามพลิกวิธกี ารท�างานโดยพัฒนาจากฐานล่างขึน้ บน และเน้ น ช่ ว ยคนให้ ช ่ ว ยตนเอง สิ่ ง เหล่ า นี้ ท� า ให้

ป้าหมูเกิดแรงบันดาลใจและหันมาท�างานในมูลนิธิ บูรณะชนบทฯ ตั้งแต่นั้นจวบจนทุกวันนี้ ด้าน คุณอธิคม คุณาวุฒิ บรรณาธิการบริหาร นิ ต ยสาร way เข้ า ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี ที่ ค ณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากมี อาจารย์ป๋วยเป็นบุคคลต้นแบบ (Idol) เหตุที่คนรุ่นเขา มีความคิดเช่นนั้น เพราะอาจารย์ป๋วยเป็นผู้น�าทาง ความคิดทีน่ า� ความรูท้ างวิชาการมารับใช้ประเทศ และ มีความกล้าหาญทางจริยธรรม กล้าเขียนจดหมาย ทักท้วงนายกรัฐมนตรี (จอมพลถนอม กิตติขจร) และ เป็นผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยในยุคที่เริ่มต้นแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ “เราเห็นว่าคนคนนี้เจง ดูคงแก่เรียน สุภาพ เรียบร้อย แต่เขากลับต่อสู้ด้วยองค์ความรู้ เวลาท�า อะไรก็ทา� อย่างแข็งขัน คิดอะไรก็คดิ จากประโยชน์ของ ส่วนร่วม นี่คือแรงบันดาลใจที่ส่งต่อให้กับเรา” ส�าหรับ คุณอมรรัตน์ สีหะปัญญา หรือครูส้ม จากมูลนิธิ Teach for Thailand เดิมทีเป็นนักจิตวิทยา 13  ส า ร ป๋ ว ย


คณะกรรมการเตรียมงานร�าลึก 100 ปีฯ มอบของที่ระลึกให้ นายเฉลิมเกียรติ วรวุฒิพุทธพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท (คนกลาง)

ในหน่วยงานแห่งหนึง่ แต่มกั คิดว่าอยากจะท�าให้ตวั เอง มีความสุขอย่างยัง่ ยืน แต่ความสุขทีย่ งั่ ยืนมิใช่ความสุข ส่วนตัวหากสังคมรอบข้างไม่มคี วามสุข ผูค้ นมีคณุ ภาพ ชีวิตไม่ดี เธอก็เป็นสุขไม่ได้อย่างแท้จริง จึงคิดว่ามี เครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยให้คนในสังคมมีคุณภาพ ชี วิ ต ที่ ดี ขึ้ น คื อ การศึ ก ษาที่ มี คุ ณ ภาพและความ เท่าเทียม จึงเข้ามาเป็นครูในโครงการฯ ของมูลนิธิ Teach for Thailand ในการเสวนาถึงความหมายของ “คุณภาพชีวติ ที่ดี” คุณอมรรัตน์ให้ความเห็นว่า เราแต่ละคนมีสิทธิ สร้างและก�าหนดคุณภาพชีวิตได้ด้วยการศึกษา ซึ่งจะ ช่วยให้แต่ละคนมีวจิ ารณญาณและมีความเท่าเทียมกัน มากขึน้ แต่ในปัจจุบนั การเข้าถึงการศึกษายังไม่เท่าเทียม กัน ดังนั้นเธอจึงอยากใช้ชีวิตเพื่อให้คนรุ่นถัดไปมี โอกาสก�าหนดชีวิตตัวเองผ่านการศึกษาที่มีคุณภาพ และมีความเท่าเทียมกันมากขึน้ ในขณะทีป่ า้ หมูพบว่า คุณภาพชีวิตที่ดี คือความสุขจากการท�างานที่รัก แม้ อาจจะไม่ร�่ารวยแต่พออยู่พอกิน และงานที่รักจะช่วย หล่อเลี้ยงจิตใจ แม้งานนั้นจะเห็นผลเพียงเล็กน้อย แต่เมื่อใจเรารู้จัก “พอ” ก็พบความสุขได้ทันที ด้าน คุณอธิคมให้ความเห็นว่า บทความ “จากครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน” เป็นหนึ่งแนวคิดที่วางรากฐานนโยบาย เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ดี ในสังคมไทย เช่น ระบบ ประกันสุขภาพถ้วนหน้า สวัสดิการการศึกษา และ ส า ร ป๋ ว ย  14

ข้อความที่น่าสังเกตคือ “เมื่อออกจากโรงเรียนแล้วผม ต้องการงานอาชีพที่มีความหมายท�าให้ได้รับความ พอใจว่าตนได้ท� างานเป็นประโยชน์แก่สังคม” ซึ่ง หมายความว่า การงานไม่ใช่ทมี่ าของความมัง่ คัง่ ร�า่ รวย แต่ก่อให้เกิดความพอใจและสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น ซึง่ สอดคล้องกับสิง่ ทีค่ ณ ุ อธิคมพบว่าคนรุน่ ใหม่จา� นวน มากไม่ว่าจะเรียนหนังสือมาสูงมากแค่ไหน แต่กลับ บอกไม่ได้วา่ อยากท�าอาชีพอะไร จนถึงประโยคสุดท้าย ที่อาจารย์ป๋วยเขียนว่า “เมื่อตายแล้วยังมีทรัพย์สมบัติ เหลืออยู่เก็บไว้ให้เมียผมพอใจในชีวิตของเธอ ถ้าลูก ยั ง เล็ ก อยู ่ ก็ เ ก็ บ ไว้ เ ลี้ ย งให้ โ ตแต่ ลู ก ที่ โ ตแล้ ว ไม่ ใ ห้ นอกนัน้ รัฐบาลควรเก็บไปหมดจะได้ใช้เป็นประโยชน์ ใน การบ�ารุงชีวติ ของคนอื่นๆ บ้าง” โดยรวมแล้วบทความ ดั ง กล่ า วต้ อ งการสร้ า งความมั่ น คงของชี วิ ต ผ่ า น โครงสร้างสังคมทีท่ กุ คนเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ได้ เช่น ที่ดิน การศึกษา สุขภาพ มากกว่าสร้างความมั่งคั่ง ส่วนบุคคล ในฐานะที่คุณอธิคมเป็นลูกจ้างมาเกือบ ตลอดชีวิต เมื่อมาท�านิตยสารของตัวเองจึงพยายาม ท�าตามอุดมคติที่อาจารย์เขียนไว้ว่า “ในฐานะที่ผม เป็นกรรมกร ผมก็ควรจะมีหุ้นมีส่วนในโรงงานบริษัท ห้างร้านที่ผมท�าอยู่” ในเชิงพฤตินัยเขาพยายามให้ คนท�างานรู้สึกเป็นเจ้าของงานที่ท�า และต่อไปอยาก จะท�าในเชิงนิตินัยคือให้พนักงานทุกคนได้เป็นหุ้นส่วน บริษัทได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับงานที่ท�าจริงๆ ในช่วงท้ายของการเสวนา คุณอธิคมยังเสริม ว่า “หากดูนิทรรศการจะเห็นภาพภาพหนึ่งที่อาจารย์ ป๋วยนั่งบนม้านั่งคู่กับอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ กล่าว คือ อาจารย์ปรีดีเป็นคนที่น�าเอาระบอบการปกครอง ประชาธิ ป ไตยมาใช้ ใ นประเทศไทย ส่ ว นอาจารย์ ป๋วยเป็นคนที่วางรากฐานเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ ใน ประเทศไทย ในโลกนี้มีข้อมูลเยอะมากถ้าเราอยากรู้ อะไรเพิม่ เติมจากท่านทัง้ สองคนเราสามารถไปค้นเพือ่ เป็นบทเรียนของเราได้อาจจะมีเรือ่ งเศร้าบางเรือ่ งแต่ก็ เป็นแรงบันดาลใจและเป็นบทเรียนที่ดีฉะนั้นไม่อยาก ให้จบการเรียนรู้อยู่แค่เวทีตรงนี้” n


เรื่องจากปก กองบรรณาธิการ

‘สันติประชาธรรม’

รางวัลเกียรติยศของผูอุทิศตน เพื่อสังคมตามแนวทางอาจารยปวย

บรรจง นะแส – สนั่น ชูสกุล – บํารุง คะโยธา

ในวาระ 100 ปีชาตกาล ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เห็นชอบให้มี การจัดตั้ง “รางวัลสันติประชาธรรม” เพื่อสานต่อจากงานของโครงการเตรียมงานร�าลึก 100 ปีชาตกาล นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ภายใต้ฉายามูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ซึ่งได้จัดให้มีการมอบ “รางวัลสันติประชาธรรม” มา เป็นเวลา 3 ปีแล้ว โดยมีโล่เกียรติยศ และเงิน 500,000 บาท เป็นรางวัล โดยจะท�าการมอบในวันสันติภาพไทย 16 สิงหาคมของทุกปี โดยมี นางสาวสุดา พนมยงค์ บุตรีของหัวหน้าขบวนการเสรีไทยเป็นผู้มอบ ผู้ที่ได้รับรางวัลเกียรติยศสันติประชาธรรม ประจ�าปี 2558 นี้ ก็คือ นายบรรจง นะแส นายกสมาคม รักษ์ทะเลไทย ส่วนผู้ได้รับโล่เกียรติยศสันติประชาธรรม (พิเศษ) มี 2 รางวัล คือ นายสนั่น ชูสกุล และนายบ�ารุง คะโยธา โดยมีพิธีมอบรางวัลเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2558 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 15  ส า ร ป๋ ว ย


บรรจง นะแส

บรรจง นะแส … ผูปลดปลอยทองทะเลไทย รางวัลเกียรติยศสันติประชาธรรม ประจําป 2558 บรรจง นะแส อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร วิทยาเขตหาดใหญ ผูท าํ งานคลุกคลีกบั กลุม ชาวประมงพืน้ บานมาตัง้ แตเรียนจบมหาวิทยาลัย ป จ จุ บั น เป น นั ก พั ฒ นาที่ มี บ ทบาทสํ า คั ญ มากต อ วิถีประมงพื้นบานและการรักษาทรัพยากรสัตวนํ้าและ ทรัพยากรชายฝง บรรจงเริ่มทํางานแกปญหาของ ชุมชนประมงขนาดเล็กตั้งแตเรียนจบมหาวิทยาลัย และยั ง คงทํ า งานล ม หั ว จมท า ยอยู  กั บ ชาวประมง พื้นบานมาจนปจจุบัน บรรจงทํางานประสานกับหลายฝาย จนกลาย เปนเครือขายชาวประมงขนาดเล็กตลอดสองชายฝง ในพื้นที่ 13 จังหวัดภาคใต เขามีความผูกพันลึกซึ้งกับ ทองทะเลเปนอยางมาก ทั้งในฐานะคนทองถิ่น และ นายกสมาคมรักษทะเลไทย ในแนวทางการทํางาน บรรจงบอกวาผูที่เปนแบบอยางและแรงบันดาลใจ ใหเขาก็คือ อาจารยปวย อึ๊งภากรณ “ตอนเรียนมัธยมไดอา นเรือ่ ง ‘จากครรภมารดา ถึงเชิงตะกอน’ เราก็รูสึกวาเปนแนวทางที่สังคมควรจะ เปนอยางนัน้ แตวธิ กี ารทีจ่ ะทําใหสงั คมมันเปนอยางนัน้ ส า ร ป ว ย

16

ก็มีหลายทาง เปนขาราชการที่ดีก็ได เปนนักการเมือง ที่ดีก็ ได เปนนักธุรกิจที่ดีก็ ได และเราอยูกับชนบท เราก็จะเปนคนทํางานพัฒนาที่ดีได โดยมีเปาหมาย สั ง คมร ว มกั น เป า หมายสั ง คมที่ ถู ก ออกแบบเป น แทงๆ นี้ มันมีปญหาเยอะใชไหม เปนประชาธิปไตย ก็หาวานูนนี่นั่น สังคมนิยมก็นูนนี่นั่น มันยากไง ที่นี้ อาจารยปวยใหแคคอนเซ็ปต (concept) จากครรภ มารดาสูเชิงตะกอน มันคือคอนเซ็ปตที่จะทําใหเปน อยางนั้น แตการจะทําใหเปนไดมันมีหลายวิธีการที่ มันสอดคลองกับแตละคน สวนผมสอดคลองกับเรื่อง ชนบทก็เลยเปนแรงจูงใจใหทําตรงนั้น โดยสวนตัว ผมคิดวาคนที่ไดรับรางวัลนี้ คือ พวกที่ยังทํางานไมสําเร็จนะ คืองานที่เราคิดและใฝฝน มันยังไมสาํ เร็จ ยังมีคนทีม่ องอยูว า งานทีเ่ ราทํานาจะใช หรือนาจะเปนประเด็นที่จะคลี่คลายปญหาของสังคมนี้ ได ก็ขอขอบคุณกรรมการที่ใหกาํ ลังใจ และโดยสวนตัว ก็คือยังทํางานไมสําเร็จตามที่คิดไว ซึ่งก็ตองทําตอไป” ความทุมเททํางานกับชุมชนประมงขนาดเล็ก ตลอดระยะเวลากว า 34 ป ด ว ยความหวั ง ที่ จ ะ ปลดปลอยทองทะเลใหชาวบานไดดูแลเอง บัดนี้เริ่ม ดูจะมีแววสัมฤทธิ์ผลมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นไดจากกรณี ของเรือปน ไฟปลากะตัก เรืออวนลาก เรืออวนรุน ของ


นายทุนใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมายาวนาน ก�าลังจะเปลี่ยนแปลงไปด้วยแรงขับของกระแสการ พิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม ดังถ้อยค�าของอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่ได้ น�าเสนอไว้ใน ข้อคิดเรื่องการพัฒนาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส�าหรับ ค.ศ.1970 มีข้อความตอนหนึ่งใน ข้อ 18 ทีม่ ใี จความว่า “...ความสัมพันธ์ทสี่ า� คัญอย่างหนึง่ ส�าหรับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เฉพาะอย่างยิ่ง ในชนบท คือความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม ศาสนาและ ชุมชน ความมีส่วนร่วมในชุมชนของตน ด้วยเหตุฉะนี้ วั ดวาอารามในพุ ท ธศาสนาและมั ส ยิ ด ของอิ ส ลาม จึ ง เป็ น ศู น ย์ ส� า คั ญ ส� า หรั บ ชุ ม ชนในงานสั ง คม พิ ธี วัฒนธรรม และวรรณคดี อากาศบริสุทธิ์ ภูมิประเทศ งดงาม ล�าธารอันใส และสิ่งอื่นๆ ประเภทนี้ ไม่ต้องซื้อ ต้องหาในชนบท สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ เป็นสิ่งทดแทน เงินได้อันต�่าของชาวชนบท เราจะต้องบ�ารุงรักษาให้ เขาและลูกหลานของเขา” สนั่น ชูสกุล กับรางวัลเกียรติยศ สันติประชาธรรม (พิเศษ) สนั่น ชูสกุล หรือประธานแต ของเพื่อนพ้อง น้องพี่ในชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรั้ว

เหลือง-แดง เป็นผู้ร่วมก่อตั้งคณะกรรมการฯ อนุรักษ์ 8 สถาบัน ก่อนหน้าที่จะทวีจ�านวนขึ้นอีกเป็นเท่าตัว จนสามารถยุติการสร้างเขื่อนน�้าโจน สนั่นยังเป็นทั้ง นักเขียน นักดนตรีและนักพัฒนา เขากล่าวถึงการได้ รับรางวัลครั้งนี้และสิ่งที่ได้รับจากอาจารย์ป๋วยว่า “ดีใจ และมั่นใจว่าสิ่งที่เราท�า เราคิดค้น เรา ล้มลุกคลุกคลาน ล้มเหลวบ้าง ส�าเร็จบ้าง ยังมีคนเห็น ความส�าคัญ เหมือนกับได้รบั การรับรอง อันนีเ้ ป็นเรือ่ ง ภายนอก แต่เรื่องจิตใจเราคิดว่าเราก็คงยืนหยัดและ ทุ่มเทต่อไปในเรื่องที่เราได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กับ เรื่องที่เราท�า คิดว่านี่เป็นแรงผลักดันที่ดีมากส�าหรับ เรา ท�าให้เรามีก�าลังใจ มีความมั่นใจมากขึ้นในเรื่อง ที่เราท�าอยู่ อาจจะยังไม่ประสบความส�าเร็จ อาจจะ ยังไม่แตกฉาน แต่ท�าให้เราเกิดความมุมานะพยายาม และก็มีความมั่นใจเชื่อมั่นมากขึ้น “สิ่งที่ได้จากอาจารย์ป๋วยคือ อาจารย์ป๋วยท่าน เป็นคนตรง แน่วแน่ ยืนหยัดกับเรื่องที่ถูกต้องดีงาม และมีความกล้าที่จะวิพากษ์วิจารณ์คนมีอ�านาจ พูด ในเรื่องที่เป็นเรื่องจริง เรื่องดี เรื่องงาม อีกส่วนหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับเราโดยตรงก็คือ ท่านเป็นผู้บุกเบิกใน เรื่องของการท�างานแบบองค์กรพัฒนาเอกชน และก็ ท่านสอนให้เราเป็นคนถึงลูกถึงคน ลงมาจากหอคอย 17  ส า ร ป๋ ว ย


สนั่น ชูสกุล

งาช้าง และก็ท�าอะไรก็ท�าให้รู้จริง ท�าให้แตกฉาน กัด ไม่ปล่อย ทีส่ า� คัญก็คอื ท�าอะไรก็ตอ้ งมีอดุ มคติอยู่ในใจ เสมอ ปัจจุบันแม้ว่าเทคโนโลยีหรือเหตุการณ์ทาง สังคมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่เรื่องวิถีของความ เป็นมนุษย์ ของความเป็นสังคม ความเป็นธรรมชาติ มันเป็นเรื่องเดิม เป็นเรื่องพื้นฐานที่ ไม่ว่าจะอยู่ ใน ยุคไหนก็ต้องเจอ คนต้องอยู่กับคน ท�าอย่างไรที่จะ อยู่อย่างเข้าใจ มีมนุษยธรรม เมื่อเกิดความขัดแย้ง ก็ตอ้ งพยายามทีจ่ ะเปลีย่ นผ่านอย่างสันติให้ได้ ก็อยาก ฝากให้คนรุ่นใหม่ได้จริงจัง ให้มุมานะ และควรที่จะ แก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ อย่างสันติด้วย” บํารุง คะโยธา กับรางวัลเกียรติยศ สันติประชาธรรม (พิเศษ) บ�ารุง คะโยธา ชายร่างเล็กจากแผ่นดินทีร่ าบสูง ผู้น�าขบวนสมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน และ ผูน้ า� กรรมกรเข้าร่วมเคลือ่ นไหวเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ตอ่ สูเ้ พือ่ สิทธิผใู้ ช้แรงงาน เปิดใจถึงการได้รบั รางวัล และได้กล่าวถึงอาจารย์ปว๋ ย พร้อมฝากแง่คดิ ทีน่ า่ สนใจ ว่า “ดีใจและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง คือผมเป็นคน ตัวเล็กๆ แต่ได้รบั เกียรติในระดับชาติ ผมติดตามผลงาน อาจารย์ปว๋ ยมาตัง้ แต่ผมเป็นเด็กหนุม่ คือช่วงทีผ่ มเป็น ส า ร ป๋ ว ย  18

บ�ารุง คะโยธา

กรรมกร มันมีความคิดแตกอยู่เป็นสองแนว แนวหนึ่ง คือแนวจับอาวุธ แนวหนึง่ ก็คอื แนวชุมชน พลังประชาชน สันติวิธี ผมก็ยึดถือแนวนี้ ผมอ่านและติดตามงานของ อาจารย์ป๋วย อาจารย์สุลักษณ์ ช่วงที่ผมเป็นกรรมกร จนผมต้องออกไปท�าเกษตร ท�าไร่ ท�านาจนถึงปัจจุบัน 30 กว่าปี แนวทางก็คือ ค�าตอบอยู่ที่หมู่บ้าน สันติวิธี สันติประชาธรรม ผมติดตามในฐานะเป็นกรรมกร สมัยนั้นก็เข้าร่วมอยู่ในยุคสมัย 14 ตุลา 16 เป็นต้นมา ผมยังยึดมัน่ แนวทางสันติวธิ ี สันติประชาธรรม มาตลอด 30 ปี และจะเดินแนวทางนีต้ ลอด อีกอย่างหนึง่ ก็คือ ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล�้า ซึ่งต้อง ท�าตลอด ช่วงชีวิตผมอาจจะยังไม่เห็นผล แต่เรา ต้องวางรากฐานไว้ให้คนรุ่นต่อไป คือต้องลดความ เหลื่ อ มล�้ า สมั ย เมื่ อ 30 ปี ก ่ อ นเราก็ พู ด ถึ ง ความ เป็ น ธรรมในสั ง คม ทุ กวั น นี้ เ ราก็ ใ ช้ ค� า ว่า ลดความ เหลื่อมล�้า อย่าให้มันเหลื่อมล�้ามากในระบบทุนนิยม สิ่งนี้คือการเปลี่ยนแปลงสังคม ซึ่งผมท�ามาค่อนชีวิต คือการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยพลังประชาชน โดย สันติวิธี หนึ่ง ทุกวันนี้สังคมมันก้าวไปมาก เราต้าน มันไม่ได้ แต่เราจะปรับตัวอย่างไรจึงจะอยู่กับมันได้ สอง แนวทางสันติวิธีคือแนวทางที่ดีที่สุดที่ผมคิดว่า เหมาะสมที่สุด การใช้ความรุนแรงผมว่ามันไม่ ใช่ ทางออก ก็ฝากคนรุ่นใหม่ว่า สันติวิธีคือทางออกของ สันติสุขของมวลมนุษยชาติ” n


Cover story Editorial board

‘Santi-Pracha-Dhamma’

An award for those who dedicate themselves to Ajarn Puey’s principles To celebrate 100 years since Ajarn Puey’s birth, Thammasat University has set up the “Santi-

communities in performing traditional fishing sustainably.

Pracha-Dhamma Award” under SathirakosesNagapradjpa Foundation (SNF). This award has

Sanan Chusakul with special trophy award

been given for more than 3 years. The award

Sanan Chusakul is also known as President

consist of a 500,000 Baht fund and a trophy. This

-Tae of the Green Club of Thammasat University.

year, Mr. Banjong Nasae, the President of the

He is one of the co-founders of the Green

Marine Conservation Society, is the fund recipient,

committee of eight institutions, who have joined

while Mr. Sanan Chusakul and Mr. Bumrung Kay-

forces in the anti-Nam-Jone Dam movement.

otha are the trophy recipients.

Sanan is also a writer, a musician, and a community developer. He told us, “I am so happy to receive this

Banjong Nasae … releasing Thai sea to freedom

trophy as a confirmation of my strong intention to

Santi-Pracha-Dhamma Award 2015

work with Ajarn Puey’s philosophy to be a hands-on

Banjong Nasae is an alumni of Prince of Songkhla University. He has worked closely with

person who works with Thai people to solve many social problems peacefully”.

many small local fishing communities ever since his graduation. Currently he is an active advocate

Bumrung Kayotha with special trophy award

for preserve traditional fishing practice and the

Bumrung Kayotha is a man from northeastern

reservation of marine lives and resources. He works

Thailand who leads a union of many local

with several small organizations and integrate them

agriculture co-ops to express their voice for

into a network of small fishing communities

democracy and fight for the rights of laborers.

throughout 13 southern provinces. He is the

He told us, “I am very happy and honored to be just

President of Marine Conservation Society of

a small man but to receive nationwide recognition

Thailand, and adheres to the work ethic of Ajarn

in my continuous campaign for working to reduce

Puey. He has embraced Ajarn Puey’s message of

the social and economic gap of farmers and laborers,

trying to improve the condition of rural Thais in

as well as voicing their rights to the rest of Thailand.

his work at the Society. He hopes that his

We must achieve a balanced and peaceful capitalism

dedication of 34 years will support local fishing

at the grassroots level.” n

19  ส า ร ป๋ ว ย


มองปวย กองบรรณาธิการ

อาจารยปวยของ

รศ.ดร.วรากรณ สามโกเศศ …คือความรักความทรงจําที่สงผานจากรุนพอสูรุนลูก

“ผมรูจักอาจารยปวยมาตั้งแตเกิดเลยกระมัง เพราะไดยินชื่อของอาจารยปวยมาตั้งแตจําความได พอของผมเปนคนที่มีความรักใหอาจารยปวยมาก ตลอดชีวิตของผมจนถึงอายุ 18 ป เกือบจะเรียกไดวา ทุกวันพอผมจะตองพูดถึงอาจารยปวย คือเกือบเปน ชีวิตประจําวัน” คําบอกเลาถึงความรักความศรัทธาตออาจารย ปวย อึง๊ ภากรณ จากปากของ รศ.ดร.วรากรณ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย อดีตคณบดี คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ที่มีมา ตั้งแตสมัยรุนพอ ซึ่งเปนเพื่อนรวมชั้นกับอาจารยปวย และไดถา ยทอดมาสูอ าจารยวรากรณ ผูเ ปนลูกชาย โดย อาจารยวรากรณ เลาวาพอของทานนัน้ รักอาจารยปว ย มาก เพราะเปนเพื่อนที่มีความจริงใจตอกัน และได ทุนรัฐบาลไปเรียนทีเ่ ดียวกัน ซึง่ อาจารยปว ยมักจะเปน คนคอยติวใหเพือ่ นๆ ในรุน และเปนคนสรางอุดมการณ ใหกับเพื่อนๆ มีเรื่องหนึ่งที่พอของทานเคยเลาใหฟง วา เมื่อครั้งมีการเรี่ยไรเงินเพื่อนําเงินไปสรางบอนํ้า ในประเทศไทย อาจารยปวยก็บริจาคเงินใหจนหมด จนไมมีเงินซื้ออาหารกลางวัน แสดงใหเห็นถึงความ มีอุดมการณมุงมั่นที่จะทําเพื่อประเทศชาติของทาน อาจารยปวย…ผูปลุกอุดมการณ ชวงที่ อาจารยวรากรณ อายุได 8-10 ป ก็มี โอกาสไดเห็นและซึมซับเรือ่ งราวเกีย่ วกับความเสียสละ ของอาจารยปว ยอยูไ มนอ ย โดยเฉพาะเมือ่ ทานเขารวม ส า ร ป ว ย

20

ขบวนการเสรีไทย “ตอนนัน้ พอของผมเรียนจบแลว อาจารยปว ย ก็เรียนจบ แตยังตองเรียนเกียรตินิยมอีก ซึ่งเปนการ ตัดสินใจที่สําคัญมาก เพราะหลายคนในรุนเดียวกันก็ ตัดสินใจทีจ่ ะไมกลับบาน ซึง่ ถากลับบานก็คงไมลาํ บาก เพราะสมัยนัน้ คนทีจ่ บการศึกษาแบบนัน้ มีไมมาก แตก็ ตัดสินใจรวมเปนรวมตายกับเพื่อนๆ อาจารยปวยทาน ปลุกเราความมีอุดมการณ ในเพื่อนๆ ตอนผมเปนเด็ก จะเห็นพวกทานมีวันนัดพบปะกันทุกป คุยกันแตเรื่อง งาน ทุกคนพยายามที่จะทําสิ่งที่เปนประโยชนตอชาติ ตอสังคม ทําแบบเดียวกัน ไมมีใครกลาออกมานอก

รศ.ดร.วรากรณ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย


ขอบเขต จะเนื่องด้วยคนสมัยก่อนมีการอบรมนิสัย แตกต่างจากสมัยปัจจุบัน หรือเพราะว่าอาจารย์ป๋วย เป็นผู้น�าทางความคิดของเพื่อน ท่านอยู่ ในกรอบ ความคิดที่มีอุดมการณ์ ทุกคนเลยต้องมีอุดมการณ์ ไปด้ ว ย อั น นี้ คื อ ความคิ ด ของผมในตอนอายุ สั ก 8-10 ปีนะครับ” อีกเรื่องหนึ่งที่อาจารย์วรากรณ์ เล่าว่าพ่อของ ท่านรักใคร่อาจารย์ปว๋ ยเป็นพิเศษก็คอื สมัยนัน้ แทงค์นา�้ จะเป็นของที่หายากและมีราคาแพง แต่ตอนที่อาจารย์ ป๋วยกลับมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านมีแทงค์น�้า มาด้วย 3 ใบ ซึ่งท่านได้ยกให้พ่อของอาจารย์วรากรณ์ 1 ใบ แสดงให้เห็นถึงความเป็นคนใจกว้าง มีน�้าใจกับ เพื่อน ซึ่งยังเผื่อแผ่ไปถึงบรรดาลูกๆ ของเพื่อนด้วย เห็นได้จากการที่ท่านสามารถจ�าชื่อลูกของเพื่อนได้ ทุ ก คน แสดงให้ เ ห็ นว่ า ท่ า นสนใจคนอื่ น ด้ ว ย ซึ่ ง อาจารย์ วรากรณ์ก็มีอายุรุ่นราวคราวเดี ย วกั บ จอน ลูกชายคนโตของท่าน และยังเรียนโรงเรียนเดียวกัน ก็ยิ่งท�าให้สองครอบครัวมีความผูกพันกันมาก “อาจารย์ป๋วยมาที่บ้านผมบ่อย สมัยก่อน มาเล่นบริดจ์ มีเพื่อนๆ หลายคนมาเล่นด้วย เช่น ดร.ก�าแหง พลางกูร ตอนนั้นเป็นยุคสมัยของคน รุน่ ใหม่ทมี่ คี วามคิดก้าวหน้าทีเ่ ข้ามาสร้างประเทศไทย ตอนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คนที่มาจากครอบครัว ธรรมดาจะเป็นกลุ่มหนึ่ง ลูกของข้าราชการชั้นสูง ก็ อี ก กลุ ่ ม หนึ่ ง เจ้ า ก็ อี ก กลุ ่ ม หนึ่ ง ในบริ บ ทของ สมัยนั้นเท่าที่ผมเข้าใจ คนที่จะท�าอะไรที่ส�าคัญและ เป็นประโยชน์ตอ่ บ้านเมืองได้ตอ้ งมาจากสองกลุม่ หลัง แต่อาจารย์ป๋วยได้พิสูจน์ ให้เห็นว่า คนธรรมดาที่ไม่ได้ มี อ ะไรแตกต่ า งจากคนอื่ น ไม่ มี ข ้ อ ได้ เ ปรี ย บจาก คนอื่ น ก็ ส ามารถท� า ประโยชน์ ใ ห้ กั บ บ้ า นเมื อ งได้ จุดนี้เองที่จุดประกายไฟให้กับคนจ�านวนมากที่เกิด มาเป็นคนธรรมดา ได้มองเห็นว่าตัวเองนั้นมีคุณค่า ท�าให้เกิดคนที่ร่วมอุดมการณ์กับท่านขึ้นมามากมาย เกิดคนดีขึ้นมาในประเทศไทยยุคปี 2513 จนกระทั่ง ถึงปี 2530 หรือแม้แต่ปี 2540 มากทีเดียว”

แรงบันดาลใจจากอาจารย์ป๋วย เรื่องราวของอาจารย์ป๋วยที่อาจารย์วรากรณ์ ได้ซึมซับมาตั้งแต่เด็กนั้น เกิดจากการได้ยินได้ฟัง เรื่องราวจากพ่อ ซึ่งมักจะเล่าถึงอาจารย์ป๋วยว่าเป็น คนอย่างไร เสียสละต่อประเทศชาติอย่างไร กระตุ้น ให้ อาจารย์ วรากรณ์ รู ้ สึ กว่ า วิ ชาเศรษฐศาสตร์นั้น น่าสนใจ จนตัดสินใจที่จะเรียนในด้านนี้อย่างอาจารย์ ป๋วย ซึง่ เป็นความคิดทีต่ า่ งจากเพือ่ นๆ มัธยมส่วนใหญ่ ในขณะนั้น ที่จะเลือกเรียนต่อแพทย์หรือวิศวะ “ผมรูว้ า่ ผมต้องการอะไรตัง้ แต่สมัยมัธยมปลาย มันเป็นอิทธิพลของอาจารย์ป๋วยอย่างไม่ต้องสงสัย ตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัย ผมเลือกเศรษฐศาสตร์ทงั้ นัน้ แต่ตอนนั้นเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ไม่มี ผมก็เลือกบัญชี จุฬาฯ เป็นอันดับหนึ่งและสอบติด เลยไม่ได้เรียนที่ ธรรมศาสตร์ ผมเรียนที่จุฬาฯ อยู่พักหนึ่งก็ไปเรียนที่ ออสเตรเลีย ก็ตั้งเข็มว่าจะเรียนเศรษฐศาสตร์ ผมได้ รับทุนโคลอมโบและได้กลับมาสอนทีค่ ณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ตอนนั้นอาจารย์ป๋วยเป็นคณบดีด้วย ผม ก็ไปรายงานตัวกับท่านในวันรุ่งขึ้นที่มาถึงเลย ท่านก็ เรียกเลขานุการให้บันทึกว่ามาวันนี้ อาจารย์ป๋วยท่าน วางรากฐานอะไรไว้มากมาย ที่ผมประทับใจมากที่สุด คือ เมื่อผมยืนดูเวลาที่ท่านมาสอน ซึ่งท่านจะท�างาน ที่แบงก์ชาติครึ่งวัน และท�างานที่คณะครึ่งวัน ท่านรับ เงินเดือนครึ่งเดียวนะครับ เวลาอยู่แบงก์ชาติท่านมี คนดูแล มีคนขับรถให้ แต่เวลาที่ท่านมาธรรมศาสตร์ ท่านจะขับรถออสตินของท่านมาคนเดียว และมาจอด ข้างตึก ไม่มีใครมาดูแลมาติดตามท่าน ผมอยู่ในช่วงที่ เกิดวิกฤตทีท่ า่ นต้องไปสอนต่างประเทศด้วย ตอนทีผ่ ม ได้ทุนไปเรียนที่อเมริกา ผมก็ไปแวะหาท่านที่อังกฤษ ไปนอนกับท่านคืนหนึ่ง ท่านพักอยู่อพาร์ตเม้นต์เล็กๆ ส�าหรับอาจารย์ ท่านพาผมไปเที่ยวพร้อมกับลูกชาย ของเพื่อนท่านอีกคนหนึ่ง นั่นเป็นช่วงเวลาที่ผมได้มี โอกาสคุยกับท่านเป็นส่วนตัวมากที่สุด” อาจารย์วรากรณ์ยังเล่าถึงอาจารย์ป๋วยด้วย ความชื่นชมในความเป็นคนธรรมดาที่ไม่ธรรมดาของ ท่านอีกว่า 21  ส า ร ป๋ ว ย


“โดยส่วนตัวผมคิดว่าสิ่งที่ส�าคัญของท่านคือ ความเป็นมนุษย์ทมี่ ีจติ ใจโอบอ้อมอารี ถือว่าเป็นเสน่ห์ ทีส่ า� คัญมาก ท่านไม่ยดึ ติดกับเงิน ท่านเป็นคนธรรมดา วงจรชีวิตสูบซิการ์ กินบรั่นดี แต่ว่าท่านมีอุดมการณ์ ที่มั่นคง และชีวิตของท่านท�าประโยชน์ ให้กับคนอื่น การทีท่ า่ นมีอดุ มคติก็ได้กลายเป็นโรคระบาดทีต่ ดิ ไปกับ คนอืน่ ทีอ่ ยูก่ บั ท่านด้วย ผมรูส้ กึ อย่างนัน้ นะ หลายๆ คน ที่ท�างานกับท่านก็ติดเชื้อนี้มา คนดีเพียงคนเดียว สามารถท�าเชื้อดีๆ ให้ติดจ�านวนมากในประเทศไทย” เศรษฐศาสตร์ ... ศาสตร์ เ พื่ อ การพั ฒ นา ประเทศ ในประวั ติ ศ าสตร์ การใช้ วิ ช าเศรษฐศาสตร์ ในประเทศไทยนั้น ในอดีตวิชานี้เป็นที่หวาดระแวง ของคนส่ ว นใหญ่ เพราะเชื่ อ ว่ า เป็ น เชื่ อ มโยงกั บ คอมมิวนิสต์ กว่าที่คนไทยจะยอมรับ และมีการจัดตั้ง คณะเศรษฐศาสตร์ขึ้นได้ ก็ในปี 2492 เป็นช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 คือมีการก่อตั้งคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งช่วงนั้นอาจารย์ป๋วย ก็กลับมา ท่านเป็นกลุ่มคน 4-5 คนรุ่นแรกที่กลับมา สอนเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ เศรษฐศาสตร์สมัยเก่าจะ เอาไปปนกับเรื่องการเมือง แต่เศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ ที่อาจารย์ป๋วยสอนนั้น จะเป็นเรื่องคณิตศาสตร์ สถิต ิ คือเป็นเศรษฐศาสตร์ลว้ นๆ แยกขาดจากเรือ่ งการเมือง ถือได้ว่าท่านคือผู้บุกเบิกคนหนึ่ง ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ไทยถูก บีบบังคับทางอ้อมให้มีแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่ง จ�าเป็นต้องใช้คนที่มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ และ อาจารย์ป๋วยก็เป็นบุคคลที่ โดดเด่นมากในขณะนั้น ท่านจึงได้เข้ามาท�างานให้จอมพลสฤษดิ์ มีการตั้ง ส�านักงบประมาณ ส�านักงานเศรษฐกิจการคลัง และ พัฒนาเศรษฐกิจ ถือเป็นช่วงทีท่ า่ นมีบทบาทส�าคัญมาก ในการวางรากฐานทางเศรษฐกิจให้ประเทศไทย “อาจารย์ป๋วยท่านกู้เงินธนาคารโลกมาเพื่อ มาตั้งโรงเรียนพาณิชย์ เพราะท่านคิดว่ากระบวนการ พัฒนาเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นมันต้องมีคนที่มีความรู้ใน ส า ร ป๋ ว ย  22

เรื่องเศรษฐกิจ พวกเลขานุการ พวกมีความรู้เกี่ยวกับ บัญชี ต้องไปคู่กัน คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ก็ เป็นส่วนหนึ่งในการผลิตนักเศรษฐศาสตร์หัวกะทิที่จะ มาท�างานในหน่วยงานต่างๆ แต่ก็ต้องซัพพอร์ตโดย โรงเรียนพาณิชย์ทั้งหลาย โรงเรียนพาณิชย์จึงเกิดขึ้น มาก ต่อมาก็พัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยต่างๆ ในปัจจุบัน บทบาทท่านก็เป็นช่วงระยะเวลาตั้ง 10 ปีเต็ม ที่เรียก ได้ว่าเป็น key man ส�าคัญเลย” อาจารย์วรากรณ์ยังแสดงมุมมองถึงอาจารย์ ป๋วยว่า เป็นผูว้ างรากฐานเรือ่ งการศึกษาเศรษฐศาสตร์ ไว้ อ ย่ า งดี แม้ แ ต่ ค ณาจารย์ ที่ ค ณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ อาจารย์ป๋วยก็จะรับอาจารย์ที่จบจาก ทุกสถาบัน ซึ่งวิธีการคิดของท่านคือเปิดกว้าง ให้ มี ความหลากหลาย ส่ ง เสริ มให้ ค นคิ ด หลากหลาย และประเพณีนี้ก็ยังคงอยู่ ในต�าราเศรษฐศาสตร์ของ อาจารย์ป๋วยจะเขียนเกี่ยวกับเศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่งงานเศรษฐศาสตร์ที่ส�าคัญของท่านก็คือ การวาง รากฐานที่มั่นคงให้กับแบงก์ชาติเกี่ยวกับเรื่องอัตรา แลกเปลี่ ย น ซึ่ ง ท� า ให้ เ กิ ด ความมั่ น คงตลอดช่ ว ง ระยะเวลา 10 ปี ที่ท่านเป็นผู้ว่าการฯ “สิ่งที่อยากจะฝากส�าหรับคนรุ่นใหม่ คือ ถ้า มองย้อนไป คนที่ไม่รู้จักอาจารย์ป๋วยเลย อยากให้ ลองมองดูว่า หนึ่ง อาจารย์ป๋วยเป็นคนธรรมดาที่เป็น คนพิเศษ คือโดยก�าเนิดมาไม่ใช่คนในฐานะที่ได้เปรียบ คนอืน่ แต่ก็ได้แสดงให้คนอืน่ เห็นว่าไม่วา่ จะมาจากไหน มันไม่ใช่เรื่องส�าคัญ แต่ส�าคัญจะไปไหน อาจารย์ป๋วย แสดงให้เห็นว่าสามารถทีจ่ ะไปไหนและท�าประโยชน์ ให้ สังคมได้ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามในสังคมนี้ สอง ท่าน มีอุดมคติในชีวิต มีความตั้งใจมุ่งมั่นว่าจะท�าในสิ่งที่ จะเกิดประโยชน์ต่อสังคม ผมคิดว่าสองประเด็นนี้เป็น สิ่งที่อาจารย์ป๋วยสร้างคุณูปการให้แก่สังคมไทย คือ ให้ ค นธรรมดาทั่ ว ไปซึ่ ง 99.99% เห็ นว่ า ตั ว เองมี ความส� า คั ญ และสามารถร่ ว มกั น สร้ า งชาติ ไ ด้ ขณะเดี ย วกั น เป็ น การสร้ า งชาติ ด ้ ว ยการมี อุ ด มคติ ไม่ได้ท�าสะเปะสะปะ โดยที่ไม่ได้มีความคิดอะไรที่เป็น จุดมุ่งมั่นที่จะท�าให้สังคมดีขึ้น” n


Looking back at AjarnPuey Editorial board

Assoc.Prof.Dr.Varakorn Samkoses recalls Ajarn Puey’s stories passed to him from his father Assoc.Prof.Dr.Varakorn Samkoses, the President of Dhurakij Pundit University (DPU) and the ex-Dean of the Faculty of Economics, Thammasat University (TU), described how he got to hear Ajarn Puey’s stories daily during his childhood, through his father. As his father was a close friend of Ajarn Puey, he went to study economics at the same UK university under the same Thai government scholarship. One of the stories is about how Ajarn Puey donated all his lunch money to help build water ponds in the Thai rural communities. Ajarn Puey, a man who rallied for Thai betterment When AjarnVarakorn was 8-10 years old, he heard so many stories of Ajarn Puey’s generosity to others. “During World War II, Ajarn Puey chose to stay in the UK after his graduation, in order to help with the Free Thai movement. He also led and rallied many other Thai students in the UK to do things for Thailand. Ajarn Puey was a great example of a devoted Thai from a normal family who dedicated himself entirely to the service of Thailand. Normally, this level of involvement would have been successfully done only by a Thai elite from either a wealthy or royal family. I believe that he inspired many normal Thai people to step up and work for the advancement of Thailand during 1970-1998”.

Inspiration from Ajarn Puey AjarnVarakorn heard so many stories from his father of how Ajarn Pueyhad tried to establish a strong foundation for theThai economic system. He was thus committed to furthering his education in economics though medicine and engineering were very popular choices at that time. “I have no doubt that my education choice was a result of Ajarn Puey’s stories. When I had returned to Thailand to teach at the Faculty of Economics at TU, in which Ajarn Puey was the Dean, I had a chance to see how Ajarn Puey spent his afternoon teaching at TU. He worked in the morning at the Bank of Thailand. He collected only half pay at each place. I met up with Ajarn Puey again when I visited him in London, while he was a guest lecturer. I stayed one night at his small apartment in London. I felt so lucky to get such a close opportunity to talk with him”. Economics… crucial knowledge for Thailand’s development Ajarn Puey had a solid background in economics and accountancy education. Ajarn Puey was a key man who believed that Thailand’sdevelopment needed both areas of expertise. He helped set up the Budget Bureau and the Fiscal Policy Office of Thailand. “I want to ask the newgeneration of Thais to be confident in helpingthe betterment Thailand with a clear goal, just like Ajarn Puey”. n

23

ส า ร ป ว ย


บันทึกรําลึกป๋วย ทินวัฒน  มฤคพิทักษ

นี่แหละอาจารยปวย …ใชเลย เมื่อปี พ.ศ. 2507 ผมก�าลังเล็งว่าจะเรียนต่อคณะไหนดี หลังจากจบปี 1 จากคณะศิลปศาสตร์แล้ว พอดีได้ข่าวว่า ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จะมาด�ารงต�าแหน่งคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ แทน ดร.สมทบ สุวรรณสุทธิ ซึ่งก�าลังจะเกษียณอายุ ผมเช็คข่าวจนแน่ใจว่า ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มาแน่ ผมตัดสินใจกรอกใบสมัครเข้าเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ เลย มีคนถามผมเสมอว่า ท�าไมถึงเลือกเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ ทั้งๆ ที่บุคลิกน่าจะไปทางนิเทศศาสตร์หรือ อักษรศาสตร์ หรือไม่ก็รัฐศาสตร์มากกว่า ผมก็ตอบทุกครั้งว่า ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์ เพราะอยากเป็นลูกศิษย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์

ส า ร ป๋ ว ย  24


ผมได้ รั บ ความไว้ วางใจจากเพื่ อ นร่ ว มรุ ่ น ให้เป็นประธานนักศึกษา ร่วมกับเพื่อนอีก 4 คน (ยงยุทธ ยงพันธ์กุล เปรมฤดี (ศวิตชาติ) จาติกวณิช จรุง สุวรรณพงษ์ ศุภกิจ นิมมานนรเทพ) วันหนึ่งพวกผมเสนอโครงการจัดหารายได้ เพื่อซื้อหนังสือให้ห้องสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ของคณะ เศรษฐศาสตร์ โดยจัดฉายภาพยนตร์ และแสดงดนตรี ในหอประชุมใหญ่ จ�าได้ว่าภาพยนตร์เรื่อง “HOW TO MURDER YOUR WIFE” น�าแสดงโดย แจ๊ค นิโคลสัน ส่วนดนตรีวงสโมสรนักศึกษาธรรมศาสตร์ ปรากฏว่ า คนดู เ ต็ ม โรง มี ร ายรั บ ประมาณ 5 หมื่นบาทเศษ ผมและคณะผู้จัดก็เอาค่าใช้จ่ายมา เคลียร์กนั ก็มคี า่ พิมพ์บตั ร ค่าเขียนโปสเตอร์ ค่าสูจบิ ตั ร ค่าเครื่องดื่ม ค่าเบี้ยเลี้ยงการฝึกซ้อมดนตรี ฯลฯ รวมประมาณ 2 หมื่นบาท ก็ท�าบัญชีรายรับรายจ่าย จดหมายปะหน้าเรียบร้อย เงินสด 3 หมื่นบาทเศษ ใส่พานเข้าไปมอบ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ คณบดี ด้วย ความเบิกบานส�าราญใจเป็นที่สุดที่งานส�าเร็จด้วยดี ดร.ป๋ ว ย แกะซองจดหมายออกอ่ า นแล้ ว ถามว่า “หักค่าอะไรตั้ง 2 หมื่นบาท” ผมก็บอกว่า “หัก

ค่าใช้จ่ายตามบัญชีที่แนบนั่นแหละครับ บางรายการ ก็มีใบเสร็จบางรายการก็ ไม่มี แต่เป็นค่าใช้จ่ายจริง ทั้งนั้นครับ” “หักไม่ได้หรอก” ดร.ป๋วย บอก “ตอนคุณ ท� า โครงการมาขออนุ ญ าต บอกแต่ เ พี ย งว่ า จะหา รายได้ซื้อหนังสือให้ห้องสมุด คุณไม่ได้บอกว่าจะมี รายจ่ายอะไรนี่” พวกผม 4-5 คนก็คอตกหมด ผมท�าใจดีสู้เสือ ถามว่า “แล้วอาจารย์จะให้พวกผมท�าอย่างไรเล่าครับ เงินตั้ง 2 หมื่นบาท แล้วพวกผมก็ใช้ไปแล้วจริงๆ” “ผมก็ไม่ได้บอกว่าไม่จริง แต่มันผิดระเบียบ เอายั ง งี้ ก็ แ ล้ ว กั น คราวนี้ ผ มออกให้ พ วกคุ ณ ก่ อ น” ดร.ป๋วยพูดพลางควักเงินสดๆ 2 หมืน่ บาท จากกระเป๋า ใส่ลงไปในซองที่น�ามาเสนอ “แล้วทีหลังจะท�าโปรเจ็ค อะไรต้องเสนอมาทั้งรายรับและรายจ่าย จ�าไว้” ท่าน ส�าทับ ผมรี บ ยกมื อ ไหว้ แล้ ว ลนลานออกมาจาก ห้องท่านเหมือนตายแล้วเกิดใหม่ อาจารย์สอนดี สอนตรง สอนแรง และสอน แพงมาก

25  ส า ร ป๋ ว ย


มีคนเลาวาตอนทานเปนคณบดีไดครบเดือน เงินเดือนก็จะออก ตนสังกัดคือธนาคารแหงประเทศไทย ซึ่ ง ท านยังเปนผูวาการอยูถามวา จะรั บ เงิ น เดื อ น อยางไร เพราะเปนขาราชการ ทํางาน 2 แหงพรอมกัน ตามกฎ ก.พ. บอกวาตองรับเงินเดือนที่หนึ่งเต็ม อีกที่หนึ่งครึ่ง (สมัยนั้นเงินเดือนผูวา ธปท. 5 หมื่นบาท เงินเดือนคณบดี 8 พันบาท) ดร.ปวย ตอบวา ผมขอรับเงินเดือนคณบดีเต็ม รับ ธปท. ครึง่ เหตุผลคือ “ผมทํางานใหคณะเศรษฐศาสตร มากกวา งานแบงกชาติอยูตัวแลว ผมไมคอยไดไป ทําเต็มที่” สรุปแลวแทนที่จะรับเงินเดือน 50,000 บวก 4,000 กลายเปนรับ 8,000 บวก 25,000 นี่แหละ อาจารยปวยของผม รูปประกอบบทความนี้ ถายตอนไปเยือนทาน ที่ลอนดอน เมื่อป 2531 ผมไมรูจักบานทานหรอก ไปถามที่สถาน-

ทูตไทยประจํากรุงลอนดอน ทานเอกอัครราชทูตไทย บอกวา ตอนแรกก็ไมรจู กั ดร.ปวย แตเชาวันหนึง่ เห็น คนแกคนหนึง่ มายืนเขาคิวยาวเหยียด หนาวตัวสัน่ งกๆ รอรับเงินบํานาญอยูหนาตึก พอรูวาเปน ดร.ปวย ก็ให คนไปเชิญใหเขามานั่งขางใน ทานไมยอมเขามา ขอ เขาคิวตามลําดับไมอยากเอาเปรียบใคร ก็นี่แหละอาจารยปวยละ ยังเคยมีคนเลาใหผมฟงอีกวา เมื่อคราวที่ ดร.ปวย ลี้ภัยการเมือง สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต ลาออกจากผูวาการธนาคารแหงประเทศไทย ไปอยู ประเทศอังกฤษ สถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ก็ตั้ง ใหทานเปนที่ปรึกษา ดีกวาอยูเปลาๆ วางั้น* ตอมาก็มีเงินเดือนตกเบิกพรอมคาเชาบาน ดร.ปวย ก็แยกเอาเงินเดือนออกมา สวนคาเชาบาน สงคืนหลวงหมด พรอมหมายเหตุวา “ผมไมไดจา ยคาเชาบาน ผมนอนบานเมียผม” “นี่แหละอาจารยปวย…ใชเลย” n ที่มา : หนังสือ อาจารยปวยกับธรรมศาสตร (2542) หนา 43-45

* หมายเหตุ : ขอเท็จจริงดังกลาวมีความคลาดเคลื่อนไปบาง กลาวคือ ดร.ปวย ลี้ภัยการเมืองไปเปนที่ปรึกษาฯ ในป 2499 สมัย รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม และทานมาเปนผูวาการธนาคารแหงประเทศไทยในป 2502 สมัยรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต โดยบุคคลที่ชวยหาทางออกสงอาจารยปวยไปเปนที่ปรึกษาฯ ที่อังกฤษก็คือ พระบริภัณฑยุทธกิจ - บรรณาธิการ ส า ร ป ว ย

26


กวีนิพนธ วันฟาใหม เทพจันทร

จงปลุกดวงตา ตะวันตระเวน ที่ใกลที่ไกล ชีวิตชีวา ดวยเรี่ยวดวยแรง ไมเมียงไมมอง เปนคาเปนคน อยากแกรงอยากกลา ทิ้งกฎทิ้งเกณฑ ถึงยากถึงยุง ตะเกียกตะกาย เมื่อเติบเมื่อโต พนวารพนวัน ใครทานใครทัด แมกลํ่าแมกลืน กระจัดกระจาย ถึงชอกถึงชํ้า พะวาพะวง ในเฟอนในไฟ อาจขมอาจขื่น สะเทือนสะทอน มนุษยมนา สุขแทสุกทุกข

จะเสนจะใส ก็แจมก็แจง จะฝาจะแฝง แหงตัวแหงตน จะหมองจะหมน ตองจัดตองเจน ตองหาตองเห็น ใหกลับใหกลาย ที่มุงที่หมาย เพื่อฝาเพื่อฝน จะโผลจะผัน ผานคํ่าผานคืน ไมขัดไมขืน ตองทนตองทํา ระสายระสํ่า ตั้งจิตตั้งใจ อยาหลงอยาใหล จะรุมจะรอน เปนฟนเปนฟอน ทั้งลมทั้งลุก ลูกตากระตุก จงปลุกดวงตา 27  ส า ร ป๋ ว ย


รายงานพิเศษ วันฟาใหม เทพจันทร

เครือขายศิลปน

เรียกรองสันติภาพคืนสูสังคมไทย เมื่อเช้าของวันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558 บริเวณลานหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิรด์ เครือข่าย ศิ ล ปิ น น� า โดย อาจารย์ เ นาวรั ต น์ พงษ์ ไ พบู ล ย์ อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี วสันต์ สิทธิเขตต์ หงส์จร เสน่ห์งามเจริญ รวมทั้งศิลปิน กวีอื่นๆ ได้ร่วมจัด กิจกรรมร่วมกับภาครัฐ ซึ่งในวันดังกล่าวมีกิจกรรม ท�าบุญของห้าศาสนา คือ พุทธ คริสต์ อิสลาม ซิกข์ และพราหมณ์-ฮินดู เพือ่ อุทศิ แก่ผเู้ สียชีวติ จากเสียการ ระเบิดทีศ่ าลพระพรหม เมือ่ วันที่ 17 สิงหาคม ทีผ่ า่ นมา ส า ร ป๋ ว ย  28

“คารวะบริสุทธิชน ท่านบันดลให้เราได้ร่วมตระหนัก ว่าโลกนี้อันตรายโหดร้ายนัก มิอาจหักห้ามใจได้ชั่วคืน” คือตอนหนึ่งของกวีที่ถ่ายทอดโดย อาจารย์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ โดยเหตุการณ์ดงั กล่าวสร้างความ ตื่นตระหนกให้กับสังคมไทย ทั้งยังสะเทือนขวัญผู้คน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ ผู ้ ไ ด้ รั บ บาดเจ็ บ และผู ้ สู ญ เสี ย ซึ่ ง ศาลพระพรหม


แยกราชประสงค์นั้น ถือเป็นสถานที่แห่งความศรัทธา ของผู้คนหลากชาติเชื้อชาติที่หลั่งไหลมาด้วยความ ศรัทธา หากทว่าความศรัทธาก็น�าพาผู้บริสุทธิ์เหล่านี้ ต้องเดินทางมาพบกับจุดจบของชีวิตเช่นกัน สันติภาพ ความสงบสุขของมนุษยชาตินั้น ถูกเรียกร้องมาทุกยุคทุกสมัย แม้แต่อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ท่านก็กล่าวถึงหลัก “สันติประชาธรรม” เพื่อสันติสุขของประชาชนในสังคม วันนี้ล่วงเลยมา นานหลายสิบปี กระทัง่ อาจารย์ปว๋ ยเองหากยังมีชวี ติ อยู่ จะมีอายุครบ 100 ปีชาตกาลในปีหน้านี้แล้ว สันติภาพ ก็ยังมิบังเกิดในหมู่ชนอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพราะความ เห็นแก่ตัวของคนไม่กี่คนที่มีอ�านาจ มีเงิน และลุแก่ อ�านาจนั้นๆ สร้างความแตกแยก และถึงขึ้นท�าร้าย ผู้บริสุทธิ์ได้ เหตุ ก ารณ์ นี้ ท� า ลายสั น ติ ภ าพในเมื อ งไทย เสียยับเยิน

เครือข่ายศิลปินจึงได้ร่วมกันออกมาแสดง เจตนา เรียกร้องสันติภาพให้กลับคืนมาสู่สังคมไทย โดยในฐานะเป็นประชาชนในสังคมด้วยกัน ความ ตอนหนึ่งในแถลงการณ์ว่า “เราขอสนับสนุนให้เกิด ความรั ก ความร่ ว มมื อ กั น ในภาคประชาชนและใน ทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สันติภาพให้เกิด ขึ้นในสังคมไทยและโลกนี้ ด้วยความเมตตาช่วยเหลือ เกื้อกูล แบ่งปันความรักกันอย่างจริงใจ ด้วยเราเชื่อว่า ความรักเป็นพลังอันยิ่งใหญ่และบริสุทธิ์เหนือสิ่งอื่นใด ซึ่งมีอยู่ในหัวใจทุกดวง” นอกจากนี้ เ ครื อ ข่ า ยศิ ล ปิ น ยั ง จั ด กิ จ กรรม แสดงสัญลักษณ์ โดยเชิญชวนพี่น้องประชาชนมา ร่วมกันเขียนหรือสร้างสรรค์สญั ลักษณ์ใดๆ ลงบนผืนผ้า ขนาดใหญ่ เพื่อส่งเป็นก�าลังใจและสื่อถึงความรัก สันติภาพ ความสุขสงบที่เราต่างมุ่งหวังให้บังเกิดขึ้น ทุกยุคทุกสมัย n

29  ส า ร ป๋ ว ย


ลูกผูชายชื่อ “ป๋วย” 2457

2477

2457 - 2461 สงครามโลกครั้งที่ 1

2476

เป็นนักศึกษารุ่นแรกของมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

เป็นมาสเตอร์ สอนวิชาค�านวณและ ภาษาฝรั่งเศส โรงเรียนอัสสัมชัญ

2481

2467

สอบได้ทุนไปเรียนที่ LSE มหาวิทยาลัยลอนดอน

เข้าโรงเรียน โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก

2480

ส�าเร็จการศึกษาเป็น ธรรมศาสตรบัณฑิต

2477

นายปรีดี พนมยงค์ กอตั้งมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และดํารง ตําแหนงผูประศาสนการ

2459

9 มีนาคม 2459 เกิดที่บ้าน ตลาดน้อย กรุงเทพฯ เป็นบุตรคนที่ 4 ของนางเซาะเซ็ง แซ่เตียว และนายซา แซ่อึ้ง

2475

คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ส า ร ป๋ ว ย  30

2482

จอมพล ป. เริ่มนโยบายรัฐนิยม


คําวา

“ป๋วย” แปลตรงตัวไดวา “พูนดินที่โคนตนไม”

แตมีความหมายกวางขวางออกไปอีก คือ “บํารุง” “หลอเลี้ยง” “เพาะเลี้ยง’ และ “เสริมกําลัง”

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2512)

2484

นายปรีดี พนมยงค์ และคณะ กอตั้งขบวนการเสรีไทยเพราะไมเห็นดวยกับการประกาศสงคราม ของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม

2487

กระโดดร่มลักลอบเข้าประเทศไทยเพื่อปฏิบัติงานลับของเสรีไทย

2484

2489

จบปริญญาตรีสาขา วิชาเศรษฐศาสตร์ และการคลัง ผลการเรียนสูงสุด เป็นอันดับหนึ่ง ในบรรดาเกียรตินิยม

แต่งงานกับมาร์เกร็ท สมิท เรียนต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยลอนดอน

2490

รัฐประหารโดย พลโทผิน ชุณหวัณ

2488

2484

2484 - 2488 สถานการณ์ สงครามโลก ครั้งที่ 2 ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟค

กลับไปเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ ให้ยอมรับขบวนการเสรีไทย ได้รับยศพันตรีแห่งกองทัพบกอังกฤษ

14 สิงหาคม 2488 ญี่ปุนประกาศยอมแพสงคราม

2485

ร่วมก่อตั้งคณะเสรีไทยขึ้น ในอังกฤษ ได้ชื่อจัดตั้งว่า นายเข้ม เย็นยิ่ง

16 สิงหาคม 2488 นายปรีดี พนมยงค์ ลงนามประกาศสันติภาพ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดล

31  ส า ร ป๋ ว ย


“การยอมรับความชั่วนั้นเปนความชั่วอยูในตัว (toleration of evil is evil itself)” ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (2511)

2503

เป็นผู้อ�านวยการส�านักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

2500

2494

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอํานาจ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม

เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เปนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เปนอธิการบดีคนแรก

2492

กลับเมืองไทย เข้ารับราชการ ต�าแหน่งเศรษฐกร กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

2492

นายปรีดี พนมยงค์ และขบวนการ ประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ์ ซึ่งตองการฟนฟู การปกครองใหเปน ประชาธิปไตย ประสบความลมเหลว

2491

จบปริญญาเอกด้วยวิทยานิพนธ์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการ ควบคุมดีบุก ส า ร ป๋ ว ย  32

2501

ผู้อ�านวยการส�านักงบประมาณ ส�านักนายกรัฐมนตรี

2496

เป็นรองผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทย

2502

2495

ผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทย

ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วย ฝายวิชาการ ของปลัด กระทรวงการคลังและ กรรมการธนาคาร แห่งประเทศไทย

2504

เริ่มใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแหงชาติฉบับที่ 1

2499

เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจการคลัง ประจ�าสถานเอกอัครราชทูตไทยในอังกฤษ


“การที่จะเกิดประชาธิปไตยไดตองใหคนเกลียดเผด็จการ เวลานี้คนยังไมไดเกลียด เผด็จการ เพราะเหตุวา หนึ่ง มีความกลัวเผด็จการ เลยไมแสดงทาวาเกลียด สอง บางคนนั้นนึกวาเผด็จการดีกวาอยางอื่นซึ่งเราเคยกันมาแลว”

2506

ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (๒๕๒๐)

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงแกอสัญกรรม จอมพลถนอม กิตติขจร ขึ้นเปนนายกรัฐมนตรี

2507

เป็นคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2518

ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกให้เป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนที่ 10

2519 2508

ได้รับรางวัล แมกไซไซ สาขาบริการ สาธารณะ

ลี้ภัยการเมืองออกนอกประเทศ

2514

ลาออกจาก ต�าแหน่งผู้ว่าการ ธนาคารแห่ง ประเทศไทย

2520

เดือนกันยายน ล้มปวยด้วยอาการ เส้นโลหิตในสมองแตก ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายที่ประเทศอังกฤษ

2519

2510

เหตุการณ์ 6 ตุลาคม

ที่ปรึกษากระทรวง การคลัง ร่วมก่อตั้ง มูลนิธิบูรณะชนบท แห่งประเทศไทย

2513

2530

เดินทางกลับมาเยี่ยม บ้านเกิดที่เมืองไทย ครั้งแรก

2516

ลาพักไปสอน ที่ ม.ปริ๊นชตัน สหรัฐอเมริกา

เหตุการณ์ 14 ตุลาคม

2515

กุมภาพันธ์ 2515 เกิดจดหมาย เปิดผนึกของนายเข้ม เย็นยิ่ง ถึงพี่ท�านุ เกียรติก้อง แห่งหมู่บ้าน ไทยเจริญ แสดงจุดยืน สนับสนุน ให้ใช้ระบอบประชาธิปไตย ในการแก้ปัญหาของประเทศ

2542

28 กรกฎาคม ถึงแก่กรรมอย่างสงบ ที่บ้าน ณ กรุงลอนดอน รวมอายุได้ 83 ปีเศษ


เมื่อจะตาย ก็ขออยาใหตายอยางโงๆ อยางบาๆ คือตายในสงครามที่คนอื่นกอใหเกิดขึ้น ตายในสงครามกลางเมือง ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต ตายเพราะนํ้าหรืออากาศเปนพิษ หรือตายเพราะการเมืองเปนพิษ เมื่อตายแลวยังมีทรัพยสมบัติเหลืออยู เก็บไว ใหเมียผมพอใช ในชีวิตของเธอ ถาลูกยังเล็กอยูก็เก็บไวเลี้ยงให โต แตลูกที่โตแลวไม ให นอกนั้นรัฐบาลควรเก็บไปหมด จะได ใชประโยชน ในการบํารุงชีวิตของคนอื่นๆ บาง ตายแลว เผาผมเถิด อยาฝง คนอื่นจะไดมีที่ดินอาศัยและทํากิน และอยาทําพิธีรีตองในงานศพใหวุนวายไป

จาก คุณภาพแหงชีวิต ปฏิทินแหงความหวัง: จากครรภมารดาถึงเชิงตะกอน (2516)


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.