Aw สารป๋วย มกราคม 2559 ebook

Page 1

สารปวย นิตยสารรายเดือน เพื่อรำลึกและฉลอง 100 ป ชาตกาล ศ.ดร.ปวย อึ๊งภากรณ

ปที่ 1 ฉบับที่ 9 มกราคม 2559

เรื่องของ

อาจารย ปวย

ที่ จังหวัดชัยนาท

สามารถอานฉบับยอนหลังไดที่เว็บไซต www.alumni.tu.ac.th และ www.puey.tu.ac.th Cover-puay-9 January 2559.indd 1

24/12/2558 13:02:01


สารบัญ / CONTENTS ปฏิทินกิจกรรม

1

เรื่องจากปก

รายงานพิเศษ

2

เรื่องของอาจารยปวย ที่จังหวัดชัยนาท

4

“อนุสาวรีย” ที่ยั่งยืนสําหรับ ดร.ปวย…

เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี

บทความพิเศษ

ปาฐกถา 100 ป คณะเศรษฐศาสตร

7

อาจารยปวย เเรงบันดาลใจของข้าพเจ้า

ปฏิทินปวย 2559

ปลายปากกาปญญาชนสยาม

ความเปลี่ยนแปลงในชนบท : การเคลื่อนเข้าสู่ประชาธิปไตย จาก ‘สังคมชาวนา’ สู่การเปน ‘สังคมผู้ประกอบการ’

ปวยเสวนาสัญจร คิดถึงอาจารยปวยที่สงขลา

มองปวย

กวีนิพนธ

14 20 23 27

บัตรประชาชน

รายงานพิเศษ 10

28

สืบสาน ‘ญาณสังวร’

ลูกผูชายชื่อ “ปวย”

30

บทบรรณาธิการ

ในระยะต้นปีใหม่ 2517 อาจารย์ป๋วย พูดทางวิทยุตอนหนึ่งว่า “การผูกปัญหา เพื่อลิดรอนจ�ากัดเสรีภาพนั้น ท�าได้ง่าย แต่การคลายปัญหาเพื่อส่งเสริมเสรีภาพนั้นยากนัก” นั่นเป็นข้อคิดสําหรับสังคมไทยหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่ขับไล่เผด็จการทหารออกไปได้สําเร็จ นอกจากนี้ อาจารย์ป๋วย ยังได้ กล่าวถึงหลักประชาธรรมไว้เตือนใจในคราวเดียวกันว่า “ประชาชนและราชการไทยได้พยายามเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองของประเทศเราให้ถูกต้องชอบธรรมยิ่งขึ้น กล่าวคือ พยายาม ยึดหลักประชาธิปไตย ซึ่งหมายความว่าเราจะถือประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมเป็นใหญ่ บ้านเมืองจะพึงมีขื่อมีแป คือจะบริหารราชการด้วย กฎหมาย ไม่ ใช่ด้วยอ�าเภอใจของคนกลุ่มเล็ก และกฎหมายนั้นจะต้องเป็นธรรมแก่ประชาชน ไม่ ใช่เป็นเครื่องมือของผู้ทรงอ�านาจ หลักการทั้งหมดนี้ ผมขอเรียกว่าเป็นหลักประชาธรรม” สังคมไทยเมื่อ 42 ปีก่อน ในสังคมก็มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางก้าวหน้ากับกลุ่มที่ต้องการอนุรักษ์ สังคมเก่าเอาไว้นั้น อาจารย์ป๋วย จึงเรียกร้องว่า “คุณธรรมที่ต้องการมากในระยะนี้ คือความสมานฉันท์ หมายความว่า ความร่วมมือกัน อย่างมีจิตใจ รักใคร่กัน รัฐบาลก็รักราษฎร ราษฎรก็เห็นอกเห็นใจในความยากล�าบากของรัฐบาลในการบริหารประเทศ นักการเมืองระบบประชาธิปไตย แต่ละคน แต่ละพรรค ก็มุ่งหาประโยชน์ของชาติเป็นใหญ่ ไม่ ใช่จะแก่งแย่งกันเพื่อหาอ�านาจ” ก็ “ด้วยความสมานฉันท์ และเสรีภาพในหมู่ชาวไทย” อาจารย์ป๋วย เชื่อว่า “ในปี 2517 นี้ เราจะสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ให้ลุล่วงไปได้ โดยดี น�าความเจริญมาสู่คนไทยแต่ละคนและส่วนรวมได้” อาจารย์ป๋วย ตั้งความหวังว่า “ปี 2517 นี้ จึงควรจะเรียกว่าเป็นปีแห่งเสรีภาพ และ สมานฉันท์ของไทย” ที่น่าคิดต่อก็คือ ปี 2559 นี้ นอกจากเป็นปีที่ท่านมีชาตกาลครบศตวรรษแล้ว ควรเป็นปีแห่งอะไร? ถ้าเป็นปีแห่ง สันติประชาธรรม ได้ อาจารย์ป๋วย คงพอใจ กษิดิศ อนันทนาธร ข้อเขียนต่างๆ ในวารสารเล่มนี้ เปนความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียน เจ้าของและบรรณาธิการไม่จําเปนต้องเห็นพ้องด้วยเสมอไป เจ้าของ: คณะกรรมการเตรียมงาน 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ปรึกษา: ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ บุญสม อัครธรรมกุล บรรณาธิการ: กษิดิศ อนันทนาธร กองบรรณาธิการ: มนธีร์ กรก�าแหง วันฟาใหม่ เทพจันทร์ ปิยะดา รัตนกูล ธนวันต์ บุตรแขก ศิลปกรรม: ธิดาพร วงษ์ส�าราญ แยกสี/พิมพ์: บริษัทโฮมเพรส พลัส จ�ากัด สํานักงาน ติดต่อ: ส�านักงานเลขานุการคณะกรรมการเตรียมงาน 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0-2613-3777 โทรสาร 0-2613-2043 E-mail: tualumnioff@gmail.com http:// www.alumni.tu.ac.th www.facebook.com/ สู่ 100 ปีชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์

Inside-puay January 59.indd 1

24/12/2558 13:18:54


ปฏิทินกิจกรรม

ปาฐกถา 100 ป ป๋วยอึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 10 “เรื่องเลาในบานอึ๊งภากรณ์”

โดย อาจารย์จอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อํานวยการโครงการอินเทอร์เน็ต เพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) วันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2559 เวลา 13.30 - 15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

การบรรยายชุดพิเศษ “นํ้า”… พาณิชย์ ชิดนํ้า

โครงการอนุสรณ์อยุธยา-ธนบุรี 250 ปี เชิญร่วมฟังบรรยาย “พาณิชย์ ชิดนํ้า” อยุธยาศูนย์กลางการค้านานาชาติ การค้าทางนํ้าบ่อเกิดวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมา โดย คุณพิมประไพ พิศาลบุตร วันที่ 16 มกราคม 2559 เวลา 14.00 - 16.00 น. ณ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ อาคารเฉลิมพระเกียรติชั้น 4 สํารองที่นั่งที่ AyutthayaThonburi250@gmail.com

1  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 1

24/12/2558 13:18:58


รายงานพิเศษ คณะผูจัดทําปฏิทิน มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป

ปฏิทินปวย

2559

ปฏิทินป๋วย ปนี้จัดทําขึ้นเปนปที่ 4 แล้ว โดยในปแรก 2556 เปนเรื่อง อาจารย์ป๋วย รวมคําคมและรูปภาพของอาจารยปวย ปถัดมา 2557 เปนเรื่อง บุคคลแหงสันติประชาธรรม แนะนําคนไทยที่น่ารู้จักนอกเหนือ ไปจากอาจารยปวย ปที่แล้ว 2558 เปนเรื่อง คนที่นารูจักในประเทศ อาเซียน ต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปลายปนี้ ส า ร ป๋ ว ย  2

Inside-puay January 59.indd 2

24/12/2558 13:18:59


และปีหน้า 2559 จัดท�ำในเรื่อง “สิ่งที่ผมปรารถนา” โดยคัดมาจากจดหมายที่อาจารย์ป๋วยเขียนถึง ธงชัย วินิจจะกูล ในปี 2521 ที่น่าสนใจก็คือ เป็นจดหมายฉบับแรกที่อาจารย์ป๋วย เขียนเองนับตั้งแต่อาจารย์ป๋วยล้มป่วยลง ดังที่ จอน อึ๊งภากรณ์ เขียนในจดหมายลงวันที่ 23 ตุลาคม 2521 ถึง ธงชัย ว่า “คุณพ่อได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มทีเ่ ขียนจดหมาย ตอบคุณธงชัยตามที่แนบมาด้วย จดหมายนี้คุณพ่อคิดและเขียน เองหมด โดยใช้มือซ้ายเขียน (เพราะมือขวายังชาอยู่) เนื่องจาก คุณพ่อยังมีปญั หาในด้านการแสดงออก โดยเฉพาะปัญหาในการ คิดใช้ค�ำเอง คุณพ่อจึงได้ลอกข้อความจากจดหมายคุณธงชัย ซึ่งตรงกับความรู้สึกของคุณพ่อ (เฉพาะข้อความตอนท้าย “เป็น สิ่งที่ผมปรารถนา” ผมช่วยคุณพ่อเขียนให้ถูกต้อง) การเขียน จดหมายฉบับนี้ นับว่าเป็นฉบับแรกที่คุณพ่อเขียนเอง และเป็น ก้าวกระโดดในการฟื้นตัวของคุณพ่อ” ส่วนภาพหน้าปกทีเ่ ป็นรูป อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ นัง่ คู่ กับ อาจารย์ป๋วย นั้น เป็นภาพที่ถ่ายที่อังกฤษ เมื่อปี 2520 เป็นภาพที่เราน�ำมาสื่อว่า ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความสันติสุข และผาสุกของประชาชน ไม่เพียงแต่เป็นสิง่ ทีท่ า่ นทัง้ สองปรารถนา

เท่านัน้ (ดังจะดูได้จากชีวติ ของท่านทัง้ สอง) แต่พวกเราทัง้ หลาย ก็ปรารถนาเช่นนั้นเหมือนกัน นอกจากนี้ ที่เราเชื่อมอาจารย์ป๋วยกับอาจารย์ปรีดีเข้า ด้วยกันนั้น เพราะอาจารย์ปรีดีเป็นผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งอาจารย์ป๋วยเป็นนักศึกษาที่นี่ และก็ได้เป็นอธิการบดีในเวลาต่อมา อาจารย์ปรีดีเป็นผู้ก่อตั้ง ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งในเวลาต่อมาอาจารย์ป๋วยมาเป็น ผู้ว่าการฯ อาจารย์ปรีดีเปลี่ยนแปลงการปกครองเพื่อเปลี่ยน โครงสร้างอ�ำนาจให้ “อ�ำนาจสูงสุดของประเทศนัน้ เป็นของราษฎร ทั้งหลาย” ซึ่งอาจารย์ป๋วยก็ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย และการพัฒนาชนบท ให้ประชาชนมีสิทธิที่จะก�ำหนดชะตาชีวิต ของตนเอง ฯลฯ ในส่วนของเนื้อหานั้น ได้คัดเลือกข้อความที่เสนอ แนวคิดของอาจารย์ป๋วยได้ด้านต่างๆ มาลงไว้พร้อมรูปของท่าน เช่น ข้อคิดจากแม่ เรื่องนักเศรษฐศาสตร์ เรื่องการต่อต้าน คอร์รัปชัน เรื่องการศึกษา เรื่องมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องแบงก์ชาติ เรื่องสังคมสันติประชาธรรม ฯลฯ n

n

n

ปฏิทินป๋วย 2559 จ�ำหน่ายในราคาชุดละ 80 บาท ติดต่อสั่งซื้อได้ที่ ส�ำนักศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร. 0-2613-3777 หรือทาง tualumnioff@gmail.com

3  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 3

24/12/2558 13:19:00


ปลายปากกาปญญาชนสยาม ส. ศิวรักษ

เจ้าพระยา พระเสด็จสุเรนทราธิบดี

ปนี้ ยูเนสโก ยกย่อง นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่มีชาตกาลครบศตวรรษ พร้อมกันนั้นก็ ยกย่อง เจาพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปย มาลากุล) ซึ่งถึงอสัญกรรมครบ 100 ป หนังสือพิมพไทยพาดหัวว่า “ยูเนสโก ยก 2 คนไทย ดร.ป๋วย ม.ร.ว.เปย บุคคลสําคัญของโลก” แสดงว่านี่ไม่รู้เรื่องบรรดาศักดิ์สมัยโบราณกัน แล้ว ถึงเรียกเจ้าพระยาพระเสด็จฯ ว่า ม.ร.ว.เปย เฉยๆ เช่นนี้ ส า ร ป๋ ว ย  4

Inside-puay January 59.indd 4

24/12/2558 13:19:01


สมเด็จกรมพระยาบําราบปรปกษ ที่จริง ยูเนสโก ยกย่องบุคคลที่รัฐบาลไทยเสนอไป แทบทั้งนั้น บางคนก็สมควรแก่การยกย่องเชิดชู บางคนก็ไม่มี คุณวิเศษอะไรเท่าไหร่นัก ความข้อนี้จะโทษยูเนสโกไม่ได้ ต้อง โทษหน่วยงานของราชการไทยที่ไม่รู้จักแสวงหาความเป็นเลิศ หรืออัจฉริยภาพของบุคคล ไม่ใช่วา่ ใครจะเสนอใครมา กระทรวง ศึกษาธิการ หรือ ยูเนสโกไทย ก็เสนอไปปารีสทั้งนั้น น่าเสียดายที่เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่ นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) ได้รับการยกย่องเชิดชูจากยูเนสโกนั้น ชื่อของ นายดิเรก ชัยนาม ตกไป ทั้งนี้ก็เพราะมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ทเี่ สนอชือ่ ท่านไป ไม่เข้าใจถึงคุณวิเศษหรืออัจฉริยภาพ ของท่าน ทางยูเนสโกเขาไม่ได้ปฏิเสธ แต่เขาขอให้เสนอไปใหม่ แต่ทางมหาวิทยาลัยก็ไม่ไยดี นี่น่าจะเป็นความเสื่อมเสียของ มหาวิทยาลัยมากกว่าอะไรอื่น ส�าหรับปีนี้ที่ยกย่องเจ้าพระยาพระเสด็จฯ ร่วมด้วยนั้น คนในสมัยนี้คงไม่รู้จักท่านกันแล้ว จึงขอเล่าย้อนความหลังว่า ท่านเป็นบุตรคนโตของ กรมหมื่นปราบปรปกษ์ ซึ่งเป็นโอรสของ สมเด็จกรมพระยาบําราบปรปกษ์ ต้นราชสกุลมาลากุล สมเด็จ กรมพระยาบ�าราบฯ ทรงรอบรู้ศิลปวัฒนธรรมไทยเกือบทุกแขนง และเมื่อที่ประชุมเลือก เจ้าฟาจุฬาลงกรณ์ ให้เสวยราชสมบัติ เป็นรัชกาลที่ 5 นั้น ที่ประชุมมีมติให้ สมเด็จเจ้าพระยาบรม มหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้ส�าเร็จราชการฯ แต่ท่าน ขอร้องว่าท่านไม่ช�านาญเรื่องการในรั้วในวัง ขอเสนอให้สมเด็จ กรมพระยาบ�าราบฯ เป็นผูส้ า� เร็จราชการในพระราชวังอีกท่านหนึง่

กรมหมื่นปราบปรปกษ ขอย�้าว่าสมเด็จกรมพระยาบ�าราบฯ ทรงรอบรู้ศิลป วัฒนธรรมไทยแทบทุกอย่าง นอกเหนือไปจากทีท่ รงบังคับบัญชา กรมพระคชบาล ซึ่งเป็นกรมที่มีอ�านาจมากที่สุดในสมัยโบราณ ส่วนโอรสของท่านที่ได้เป็น กรมหมื่นปราบปรปกษ์ สืบทอดจาก พระบิดานั้น ก็เป็นผู้ที่มีความสามารถมิใช่น้อย ที่ส�าคัญคือท่าน เป็นช่างฝีมอื ด�าเนินรอยตามพระบาทพระบิดา และท่านต้องการ ให้บุตรชายคนโตของท่านคือ ม.ร.ว.เปีย ให้สืบวิชาการช่าง ตามรอยของท่าน แต่คุณชายเปียไม่สนใจการช่าง ในกรมถึงกับเฆี่ยนตี ดุว่า เท่าไหร่ๆ ก็ไม่ส�าเร็จ สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ จึงทูลกรมหมื่นปราบฯ ว่าที่คุณเปียไม่สนใจการช่างนั้น เห็นที เธอจะสนใจงานหนังสือมากกว่า ถ้ากระไร ขอให้คุณเปียไปเรียน หนังสือที่โรงเรียนพระต�าหนักสวนกุหลาบ ซึ่งเพิ่งตั้งขึ้นใหม่ จะดีไหม กรมหมื่นปราบฯ ดีพระทัย ถวายคุณเปียให้สมเด็จ กรมพระยาด�ารงฯ และรับสัง่ ว่า ไอ้เปียมันจะฆ่าหม่อมฉัน เพราะ สอนมันเท่าไหร่มันก็ไม่เอา ถ้าหม่อมฉันฆ่ามัน ก็คงจะโดน ราชภัยตามมาถึงตัว ที่ ในกรมรับเอาไปเรียนหนังสือเสียได้ เช่นนี้ หม่อมฉันก็โล่งอก ผลก็คือ ม.ร.ว.เปีย เข้าเรียนโรงเรียนพระต�าหนัก สวนกุหลาบเป็นรุ่นแรก สอบได้เป็นเลิศ เป็นเหตุให้พระบิดา พอพระทัยมาก ยกถวายเป็นสิทธิขาดของสมเด็จกรมพระยา ด�ารงฯ เอาเลยทีเดียว เวลานั้นสมเด็จกรมพระยาฯ นอกจาก

5  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 5

24/12/2558 13:19:02


ทรงจัดตั้งโรงเรียนสวนกุหลาบแล้ว ยังได้รับพระมหากรุณา ให้เป็นอธิบดีกรมศึกษาธิการ มีสถานะเทียบเท่าเจ้ากระทรวง อีกด้วย ในกรมขอเอาคุณเปียไปเป็นเลขานุการส่วนพระองค์ จนได้เป็น พระมนตรีพจนกิจ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แลเห็น คุณวิเศษของพระมนตรีพจนกิจ ถึงกับโปรดให้ส่งไปถวาย พระอักษรสมเด็จพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกเธอ ที่ไปเรียน อังกฤษ และที่อังกฤษนั้นท่านได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยา วิสุทธสุริยศักดิ์ โดยด�ารงต�าแหน่งเป็นอัครราชทูตที่กรุงลอนดอน อีกด้วย ณ กรุงลอนดอนนี้เองที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรง มีลายพระราชหัตถ์ติดต่อกับพระยาวิสุทธฯ ด้วยเรื่องการศึกษา ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกเธอ ซึ่งท่านเจ้าคุณก็ กราบบังคมทูลอย่างตรงไปตรงมา แม้กล้าขัดพระราชหฤทัย เช่นพระเจ้าอยู่หัวจะโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเรียนเป็นทหาร ส่วนพระเจ้าลูกเธอจะให้เรียนวิชาพลเรือน เจ้าคุณวิสุทธิฯ ค้าน อย่างแยบคายจนพระเจ้าอยู่หัวทรงยินยอม อนึ่ง ในระหว่างที่อยู่อังกฤษ ท่านเจ้าคุณได้ศึกษา งานด้านการศึกษาของประเทศนั้นอย่างตั้งอกตั้งใจ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ เคยไปเข้าสถาบันการศึกษาแห่งใดในที่นั้น เมื่อกลับมาเมืองไทย ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น อธิบดีกรมศึกษาธิการ ซึ่งท่านตั้งใจวางแผน การศึกษาสมัยใหม่ และเขียนต�ารับต�าราภาษาไทย รวมทั้งเลือก วรรณคดีอย่างดี ที่ท่านเรียกว่าหนังสือกวีนิพนธ์ ให้เด็กได้เรียน ตามชั้นต่างๆ อย่างน่าทึ่ง

ม.ล.ปน มาลากุล ครั้นถึงรัชกาลที่ 6 แล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เลื่อนขึ้นเป็น เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี คุม กระทรวง ธรรมการ ซึง่ รวมงานด้านศึกษาและงานด้านพระเจ้าพระสงฆ์ดว้ ย ท่านเป็นผู้ซึ่งเข้มงวดกวดขันกับตนเอง รับราชการด้วยความ ซื่อสัตย์สุจริต แต่อาจโหมงานเกินไปจนโรคประสาทเข้ามาแทรก จึงต้องแก่อสัญกรรมในต�าแหน่ง ซึ่งนับว่าน่าเสียดายนัก ทั้งๆ ที่ ท่านกับสมเด็จกรมพระยาด�ารงฯ มีอายุไล่เลี่ยกัน ดัง เจ้าพระยา ยมราช (ปน สุขุม) อีกคนหนึ่ง เจ้าพระยายมราช นีส่ มเด็จกรมพระยาด�ารงฯ โปรดปราน จนได้ไปถวายพระอักษรพระเจ้าลูกเธอทีอ่ งั กฤษคล้ายๆ กัน และ ได้เลื่อนจาก ขุนวิจิตรวรสาส์น หากย้ายตามสมเด็จกรมพระยา ด�ารงฯ ไปอยู่กระทรวงมหาดไทย จนได้เป็น พระยาสุขุมนัยวินิต และเป็นเจ้าพระยายมราชแต่ในรัชกาลที่ 5 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ท่านได้เป็นมหาอ�ามาตย์นายก เฉกเช่น สมเด็จกรมพระยา เทววงศ์วโรปการ และเมื่อได้เปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว สภาผู้แทนราษฎรก็ ได้เลือกให้ท่านเป็นหนึ่งในคณะผู้ส�าเร็จ ราชการแทนพระองค์ด้วย แต่เสียดายที่รัฐบาลไทยได้มองข้าม เจ้าพระยายมราชไป แต่ทยี่ กย่องเจ้าพระยาพระเสด็จฯ ในวาระนี้ ก็นบั ได้วา่ เป็นการสมควร โดยทีล่ กู ชายท่านก็ได้รบั การยกย่องจากยูเนสโก เมื่อชาตกาลครบ 100 นั้นแล้ว แต่สําหรับส่วนตัวของผมแล้ว เห็นว่า ม.ล.ปน มาลากุล ไม่มีคุณวิเศษดังท่านเจ้าคุณบิดา แม้ ม.ล.ปน จะเป็นครูที่ดี แต่ก็เป็นนักการศึกษาซึ่งอ่อนแอมาก และรับใช้เผด็จการอย่างไม่รู้สึกเป็นความผิดด้วยประการใดๆ ทั้งสิ้น n n n

ส า ร ป๋ ว ย  6

Inside-puay January 59.indd 6

24/12/2558 13:19:04


ปาฐกถา 100 ป กองบรรณาธิการ

ความเปลี่ยนแปลงในชนบท : การเคลื่อนเขาสู ประชาธิปไตย

จาก

‘สังคมชาวนา’ สูการเปน ‘สังคมผูประกอบการ’

ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในชนบท พรอมๆ กับการขยายตัวของรัฐทั้งในเชิง การบริการและการควบคุมในหลายทศวรรษที่ผานมา ไดสงผลใหผูคนในชนบทเชื่อมโยงการผลิตและ การคาของตนออกไปกวางขวางกวาเดิมมาก เชน ชาวบานที่ปลูกขาวโพดและออยในพื้นที่ภาคเหนือ ตอนบน ภาคเหนือตอนกลาง และภาคอีสานนั้น ไมเพียงแตจะเชื่อมตนเองเขากับระบบอุตสาหกรรม อาหารสัตวและโรงอุตสาหกรรมนํ้าตาลเทานั้น แตยังไดเชื่อมตัวเองกับกลไกของอํานาจรัฐอยางเต็มตัว เชน การศึกษาของลูกหลานที่หมายถึงอนาคตใหมที่คาดหวังไว หรือการรวมตัวเพื่อเรียกรองการ ดูแลจากรัฐในกรณีผลผลิตราคาตกตํ่า และในกรณีที่เกิดโครงการหรือนโยบายรัฐที่สงผลกระทบ ตอผลประโยชนใดๆ ของชาวบาน พวกเขาก็พรอมที่จะเคลื่อนไหวเพื่อตอรองหรือกดดัน เปนตน 7  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 7

24/12/2558 13:19:05


ศาสตราจารย์ ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ องค์ปาฐกใน งานปาฐกถา 100 ปี ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 9 เรื่อง “ความเปลี่ยนแปลงในชนบท : การเคลื่อนเข้าสู่ประชาธิปไตย” ซึ่งจัดโดย คณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังคงยึดภาพ ชนบทแบบเดิม เช่น การเป็นสังคมชาวนา หรือเป็น วัฒนธรรมชุมชน ส่งผลให้นโยบายของรัฐไม่สนับสนุน ให้สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในชนบทมีความเข็มแข็ง และปัจจุบัน สังคมชนบทได้เปลี่ยนแปลงจาก “สังคมชาวนา” หรือ “วัฒนธรรมชุมชน” สูก่ ารเป็นสังคมผูป้ ระกอบการไปแล้ว โดยมีแรงจูงใจจากผลก�ำไรที่เกิดขึ้น และความภาคภูมิใจ ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากการต่อยอดองค์ความรู้พื้นฐาน “ในช่วงชีวิตของท่านอาจารย์ป๋วย ที่ได้มีการ เปลี่ยนแปลงหลายอย่าง การขยายตัวของรัฐก็มีมาก อาจารย์ป๋วยเห็นถึงความส�ำคัญของระบบราชการและ ท่ า นเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการสร้ า งความหมายของค� ำ ว่ า ข้าราชการ ยุคของอาจารย์ป๋วยสิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า อาจารย์ ได้มองเห็นความส�ำคัญในชนบท เพราะเป็นช่วง ที่อาจารย์ท�ำงานประมาณ เมื่อปี 2509 เป็นช่วงที่ท่าน ได้หันมาสนใจเรื่องนี้ เพราะตอนนั้นความยากจนได้เริ่ม ปรากฏมากขึ้น การอพยพเข้ามาท�ำงานในเมืองเกิดขึ้น สลั ม ขยายตั ว การสู ญ เสี ย ที่ ดิ น เริ่ ม ขยายตั ว มากขึ้ น

ความเปลี่ยนแปลงในชนบทเกิดขึ้นพร้อมๆ กับกลไกของ ทางราชการขยายตั ว ก็ ไ ปครอบง� ำ ทุ ก อย่ า งมากขึ้ น ระบบการเงินการธนาคารขยายตัว ไปดูดทรัพย์ส่วนเกิน จากชนบท บริบทอย่างนี้เองอาจารย์ป๋วยถึงได้มองเห็น ว่าจะต้องคิดถึงเรื่องชนบท จนได้ตั้งนักพัฒนาชนบท ขึ้นมา เพื่อจะค้นหาพลังของชุมชน และพลังของชุมชน นั่นคือสิ่งที่เราค้นหา ชนบทจ�ำเป็นที่จะต้องคิดกันใหม่ และถ้าหากชาวชนบทช่วยเหลือตัวเองได้จะมีความสุข ขึ้นมาก นี่คือสิ่งที่อาจารย์ป๋วยเคยพูดไว้” อาจารย์อรรถจักร์ ได้สะท้อนความเปลี่ยนแปลง ของสังคม โดยเฉพาะ “สังคมชาวนา” ว่าได้เปลี่ยนแปลง ไปสู่การเป็น “สังคมผู้ประกอบการ” พร้อมกันนี้จึงได้ เสนอภาครัฐ ให้ความส�ำคัญกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อน�ำไปสู่การวางนโยบายที่สอดคล้อง และหนุนเสริม ความต้องการของสังคมได้อย่างตรงจุด นอกจากนี้ยัง กล่าวอีกว่า คนส่วนใหญ่ในสังคมไทย มีวิถีการด�ำรงชีวิต ที่ มี ความสั ม พั น ธ์ อ ยู ่ กั บ พื้ น ที่ “ชนบท” ไม่ ท างใดก็ ทางหนึ่ง ส่งผลให้กระบวนการเคลื่อนเข้าสู่การปกครอง ในระบอบประชาธิ ป ไตย จึ ง สั ม พั น ธ์ กั บ คนในพื้ น ที่ “ชนบท” อย่างลึกซึ้ง “การคิดเรือ่ งสังคมผูป้ ระกอบการ จะท�ำให้เราเห็น ทิศทางในการผลักดันสังคม / สังคมชนบทไทย ที่ส�ำคัญ จะเป็นการเปลี่ยนจินตนาการประเทศไทยที่มีต่อชนบท

ส า ร ป๋ ว ย  8

Inside-puay January 59.indd 8

24/12/2558 13:19:06


ชนบทต้องเปลี่ยน และที่ส�ำคัญคือจินตนาการของเรา ต้องเปลี่ยน ถ้าเราคิดถึงผู้ประกอบการเราจะสร้างชนบท อีกแบบหนึ่งที่มีความหมายเป็นแหล่งท่องเที่ยวก็ได้ และ อื่นๆ อีกมากมายมหาศาล นั่นคือสิ่งที่จะท�ำให้พี่น้อง ในชนบทสามารถเติบโตจนเป็นผู้ประกอบการได้ แต่ถ้า เราไม่เปลี่ยน เราเดินต่อไปไม่ได้” ขณะที่การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความเปลี่ยนแปลง ของสังคม “ชนบท” ที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการ เคลื่อนเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตย ยังไม่เพียงพอ ส่งผล ให้ความเข้าใจในพลวัต และความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ขาดความชัดเจน ซึ่งน�ำไปสู่ความ ขัดแย้งในหลายมิติ และหลายระดับ “การสร้า งสังคมเศรษฐกิจ ลักษณะใหม่ เพื่อ หาทางหลบออกจากกับดักรายได้ปานกลาง หรือที่มี ความหมายอี ก ด้ า นหนึ่ ง คื อ ประเทศที่ รั บ จ้ า งผลิ ต โดย ไม่สามารถยกระดับการผลิตได้ ซึ่งกระบวนการผลักดัน การสร้ า งสั ง คมลั ก ษณะใหม่ นี้ จ� ำ เป็ น ต้ อ งศึ ก ษาและ ต้องท�ำความเข้าใจ Rural Entrepreneurs Informal Entrepreneurs, Unskilled Entrepreneurs เพื่อที่จะ สร้ า งนโยบายที่ ส อดคล้ อ งไปกั บ ความเปลี่ ย นแปลงที่ เป็นจริง การสร้างตลาดภายในที่เข้มแข็งเพื่อสร้างฐาน ในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า เพื่อลดสัดส่วนการพึ่งพิง การส่งออกแบบโรงงานประเทศไทยเป็นการสร้างโอกาส

/ ความเปลี่ยนแปลงจากผู้ประกอบการไม่เป็นทางการ มาสู่ผู้ประกอบการที่เป็นทางการ ผมคิดว่าถ้าหากเรา เดินตรงนี้ เราสามารถสร้างสังคมเศรษฐกิจลักษณะใหม่ ขึ้นมา ที่มีฐานเป็นผู้ประกอบการในชนบทที่หลากหลาย มากขึ้น” ในขณะเดี ย วกั น สั ง คมไทยกลั บ ขาดความรู ้ ความเข้าใจ ความเปลี่ยนแปลงอันไพศาลและเต็มไปด้วย ความซับซ้อนที่เกิดขึ้นในชนบท รวมทั้งเรื่อง “การเคลื่อน ไปสู่ประชาธิปไตย” ของสังคมชนบท ทั้งๆ ที่ประชาธิปไตย มี ความส� ำ คั ญ อย่ า งยิ่ ง ต่ อ การจั ด สรรทรั พ ยากรทั้ ง หลาย ของรัฐและสังคมไทยให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น และจะ น�ำไปสู่การแก้ไขปัญหาความตึงเครียดและความขัดแย้ง ในรัฐและสังคมไทยอย่างยั่งยืน รวมทั้งเอื้อต่อการก�ำหนด นโยบายการพั ฒ นาประเทศที่ จ ะช่ ว ยลดความเหลื่ อ มล�้ ำ ของรายได้และทรัพย์สินในอนาคตอีกด้วย “เราหวังว่าจะหาทางออกให้แก่ความเปลีย่ นแปลง ของสังคมไทย โดยท�ำความเข้าใจความเปลี่ยนแปลง ในชนบท เพราะสังคมไทยต้องสร้างความรู้ที่เท่าทัน ความเปลี่ยนแปลง เพราะที่ผ่านมาเราล้าหลังในเกือบ ทุกเรื่อง ไม่ ใช่แค่ประวัติศาสตร์ แต่ทั้งสังคมศาสตร์และ มนุษ ยศาสตร์ โดยรวม” อาจารย์อรรถจักร์ กล่าวใน ตอนท้าย n n n

9  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 9

24/12/2558 13:19:07


ป๋วยเสวนาสัญจร ทีมงานป๋วยเสวนาคารสัญจร

ป ว ๋ ย สงขลา

คิดถึง อาจารย ที่

ถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกัน คิดถึงอาจารยปวยที่สงขลา งาน “คิดถึงอาจารย์ป๋วยที่สงขลา” เกิดขึ้นได้เพราะกลุ่มคนจากสงขลา ผนึกกําลังกันดําเนินการเผยแพร่แนวคิดผลงานแนวทางการทํางานของ อาจารย์ป๋วย ให้คนรุ่นใหม่และคนทั่วไป ได้เรียนรู้ และคนทํางานเองก็ค่อนข้างจริงจังกับเวทีคิดถึงอาจารยปวยอยู่มาก เพราะเจ็บปวดกับคนดีประเทศไทย ที่ไม่มีที่ยืนมาขึ้นทุกที เรามีคนตําแหน่งสูง ที่กึ่งดิบกึ่งดีเพิ่มมากขึ้นทุกที จึงอยากได้พลังใจจากแนวคิดของ “คนจริง” อย่าง อาจารย์ป๋วย คณะทํางานเองมีความเชื่อมั่นว่าแม้โลกจะเดินทางมาถึงยุคใหม่แล้ว แต่คมความคิดของอาจารย ยังสมสมัยและนําไปปฏิบัติได้จริง งานนี้ กลุมสงขลาฟอรั่ม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัราชภัฏสงขลา และ สมาคมธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมนี้ขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2558 ที่ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ภาคเช้าเปนการปาฐกถา “คมความคิดอาจารย์ป๋วยกับอนาคตสังคมไทย” โดย ผศ.ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ซึ่งอดีตเปน เลขานุการส่วนตัวของอาจารยปวย ช่วงป 2518-2519 มานําเสนอ ความคิดผ่านประสบการณตรงที่ได้ร่วมงานกับอาจารยปวยเมื่อครั้งสมัยเปนนักศึกษาจนจบมาเปนอาจารยสอน ที่ธรรมศาสตร ถือได้ว่าเปนบุคคลหนึ่งที่ได้รับการสอนด้านชีวิตและทํางาน สอนให้มองเปนคุณค่าของมนุษยจาก อาจารยปวยที่ใกล้ชิดคนหนึ่งเลยทีเดียว ส า ร ป๋ ว ย  10

Inside-puay January 59.indd 10

24/12/2558 13:19:08


บุญสม อัครธรรมกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝายศิษยเก่าสัมพันธ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร กล่าวเปดงาน

ผศ.ดร.ไตรรงค สุวรรณคีรี

“ในฐานะที่ผมเปนศิษยที่ใกล้ชิด แต่มีคนที่ใกล้ชิด อีกมาก ผมมีโอกาสได้อยู่ใกล้ได้รับการสั่งสอนเปนช่วงๆ ลําดับ เหตุการณ ได้ ผมสอบเข้าธรรมศาสตร 2506 อาจารยปวยมา สอนเศรษฐศาสตรเบื้องต้น ผมได้คะแนน 60 จาก 100 หลังจาก เรียนเศรษฐศาสตร 4 ป ท่านมาเปนคณบดีเศรษฐศาสตร 2507 มีอยู่วันหนึ่งอาจารยปวยนั่งรถจะกลับไปเซ็นหนังสือ ที่ธนาคารชาติ ผมถามว่า สภาพเศรษฐกิจประเทศไทยเมื่อ เปรียบเทียบกับเศรษฐกิจทั่วโลกเราอยู่อันดับไหน? วิธีที่จะรู้ ไปดูตัวเลขที่จัดอันดับไว้ มีสถาบัน ไอ.เอ็ม.เอฟ.จัดไว้ แต่ผม ไปค้นแล้วไม่มี จะมีที่ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น จึงขอพึ่งบารมีท่าน ท่านบอกขึ้นรถมาเลย วันนั้นผมมีผู้ว่า ธนาคารฯ เปนคนขับ ท่านพาผมไปห้องสมุดและใช้ชื่อท่าน ยืมห้องสมุดเอาหนังสือมาให้อ่าน

หลังจากนั้น 1 อาทิตย ท่านให้นักการมาตามผมไป พบที่ห้องคณบดี บอกว่าวันนี้อย่าไปไหนนะ เดี๋ยวไปกันข้าวกัน ผมดีใจมาก คิดในใจว่า วันนี้ผู้ว่าการธนาคารฯ จะเลี้ยงข้าว ดร.ปวยเปนคนขับรถ ให้ผมนั่งหลัง ขับไปที่บางลําพู ตลาด บางลําพู เพิงสังกะสี ริมคลองหลอด นั่งเก้าอี้หัวล้าน แล้วสั่ง ข้าวผัดหมูใส่ไข่สองจาน โอเลี้ยงสองแก้ว กินเสร็จท่านถามว่า อิ่มไหมไตรรงค ผมเปนผู้ว่าเงินเดือนเปนแสน ผมจะพาคุณ ไปกินที่ห้อยเทียนเหลาก็ได้ แต่ว่ากินข้าวผัดสองจากมันก็อิ่ม เหมือนกันใช่ไหม จ่ายหมื่นก็อิ่มเท่ากัน แล้วเรื่องอะไรต้องไป กินของแพงๆ คนที่เปนหนี้เปนสินเพราะไม่ประมาณในการ ใช้จ่าย ทั้งเรื่องกิน ใช้ นี่คือหลักพุทธเจ้า มัตตัญุตา ให้เรา พอประมาณ ถ้าเราไม่รู้จักประมาณเราก็ต้องเปนหนี้เปนสิน “รู้ไหมท�าไมผมชวนมากินข้าว ผมให้เจ้าหน้าที่รวบรวมประวัติ คุณทั้งหมด ผมต้องการคนอย่างคุณมาเป็นอาจารย์ธรรมศาสตร์ ผมบอกผมเกเร ปากไม่ดี ก็คดิ อย่างนี้ ธรรมศาสตร์ถงึ จะฉิบหาย ธรรมศาสตร์เป็นศูนย์กลางความคิดทางการเมือง จุดพลุการเมือง จะไม่ มี ค นเป็ น ที่ ป รึ ก ษากั บ นั ก ศึ ก ษา ต้ อ งมี ค นเหมื อ นคุ ณ ผมบังคับคุณไม่ได้ ผมขอร้อง” ความเห็น ดร.ปวย ก้องหูอยู่ ผมมานั่งพิจารณาปรึกษาผู้ใหญ่จะเอาอย่างไรดี ถ้าทํางานกับ อาจารยปว ย จะเปนเหมือนพระเครือ่ งห้อยคอคุม้ ครองตลอดชีวติ ผมตัดสินใจไปสอบแล้วติด 1 ใน 10 บอกท่านว่าผมจะมาอยู่ กับอาจารย เมื่อกลางป 2514 ท่านบินไปเยี่ยมแล้วพาไปนอน ที่โรงแรม ท่านสอนผม 3 ทุ่มจนถึงตี 3 คําถามแรก ผมตั้งใจ กับคุณมากเพื่อจะได้กลับไปเปนคณบดีแทนผม ผมจะได้ไป ทําอย่างอื่นบ้าง ผมบอกผมไม่เปนเด็ดขาด ท่านว่าโล่งอก

บุญสม อัครธรรมกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝายศิษยเก่าสัมพันธ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร มอบของที่ระลึกแด่ ผศ.ดร.ไตรรงค สุวรรณคีรี

11  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 11

24/12/2558 13:19:10


หมายความว่า ผมอยากรู้ ถ้าคุณอยากเปนแล้วไม่ได้เปน ผมว่า คณะผมแตกแน่นอน ผมเปนห่วงว่าคณะผมจะแตก นีเ่ ปนวิธกี าร ดูคนของท่าน มีความรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องมีศิลปะด้วย ต้อง ใช้ทั้งศาสตรและศิลป จําได้ว่าท่านให้เงินผมหนึ่งหมื่นจ้างให้ ไปหาเด็ก เอาเงินไปจ้างเด็กรื้อหนังสือพิมพ ให้หอสมุดแห่งชาติ ย้อนไป 20 ป มีข่าว ดร.ปวย อะไรตัดมาให้หมด แล้วนํามาดูว่า มีอะไรทีข่ ดั แย้งกันเองบ้างไหม ท่านต้องการจะสอนผมให้มคี วาม มั่นคง ต้องมีจุดยืนที่มั่นคงถาวร “ท่านเป็นนักเสรีประชาธิปไตย ท่านมองเห็นว่าการให้เสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น จะได้ความคิดใหม่ๆ เพือ่ ความเจริญก้าวหน้าของประเทศได้ นีค่ อื สิ่งที่ ดร.ป๋วย ต้องการ” หลังจากนัน้ ภาคบ่ายจะเป็นวงเสวนา หัวใจการท�างาน พัฒนาสังคม ตามแนวคิดสันติประชาธรรมของอาจารย์ป๋วย เริ่มด้วยวีดีทัศน์ของ นายบรรจง นะแส ผู้ที่ ได้รับ รางวัล สันติประชาธรรม ปีล่าสุด “อาจารยปว ย สร้างคุณปู การผลักดันให้เกิดการพัฒนา ชุมชน กรอบคิดที่เปนทิศทางหลักยึดให้ทํางาน กระบวนการ พัฒนาชุมชน สร้างชุมชน ปลดปล่อยเขาอย่างไร สิง่ นีค้ อื สิง่ ทีผ่ ม ได้จากอาจารยปวย ถือเปนแนวคิดสังคมนิยม มันสะท้อนสังคม อุดมคติ สังคมไม่มีความมั่นใจในระบบสังคม ทุกคนสร้างความ มั่นคงด้วยตนเอง จึงเกิดการทุจริตคอรัปชั่น เพื่อให้ลูกหลาน ตัวเองไม่ลําบาก เพราะสังคมไม่ตอบโจทยเขาได้ อาจารยปวย มองเห็นสังคมในอนาคตต้องดูแลเด็ก พ่อแม่ยามชรา มีงบดูแล นีค่ อื ความคิดของสังคมนิยม แต่ของเราติดทีก่ รอบประชาธิปไตย ซึ่งมีหลายเนื้อหา ถ้ามีประชาธิปไตยที่นําไปสู่สร้างสังคมที่ เปนธรรม เราจะกลับมาสร้างสังคมให้ความเชื่อมั่นกับประชากร ในประเทศของเขาได้อย่างไร การจัดการที่ดิน ควรจะมีระบบ ภาษีที่เปนธรรม เพื่อนําภาษีไปจัดการผู้ที่อ่อนแอกว่า นี่คือ แนวคิดสังคมนิยม ที่จะพาสังคมไปสู่ความสงบสุข ถ้าสังคมถูก ปลดปล่อย ไม่ผูกมัดต้องสร้างความมั่นคง แต่เราไปทําร้าย

ทําลายศักยภาพของปจเจกที่ควรจะออกมา หมอบางคนอาจจะ เปนศิลปน เปนกวี เปนนักดนตรีที่ดี ถ้ามันถูกปลดปล่อย อันนี้ คือสิ่งที่อาจารยปวยคิด แล้วเราพูดกันน้อยมาก” ดร.วิชัย กาญจนสุวรรณ ผู้อํานวยการสถาบันสันติ ศึกษา ร่วมอภิปรายว่า “ผมว่าท่านเขียนชัดเจนที่สุด แนวทาง มูลนิธิบูรณะพัฒนาชนบท ไปหาชาวบ้าน อยู่กับเขา เรียนรู้ จากเขา วางแผนกับเขา ทํางานกับเขา เริ่มจากสิ่งที่เขารู้ สร้างจากสิ่งที่เขามี สอนโดยชี้ให้เห็น เรียนจากการกระทํา ชีวิตคุณบรรจงเหมาะสมที่สุด ผมอยากมองอย่างนี้ มองคน ในชีวติ เพือ่ นร่วมทุกข เกิด แก่ เจ็บ ตาย มองให้ความเปนมนุษย ของ ดร.ปวย ตอนท่านลาออกจากอธิการบดี ถ้าเปนคนอื่น คงจะโกรธประเทศตัวเอง อยู่ ในสุจริตธรรมกลับโดยทําร้าย แต่ตัวท่านกลับไปทําประโยชน ท่านไปที่รัฐสภาของอเมริกา เพราะต่างประเทศอยากรู้เรื่องของไทย ท่านไปปกปองอย่าให้ อเมริกาส่งอาวุธมาไทย ไม่เช่นนั้นเกิดสงครามการเมืองแน่ ต้องขอบคุณอาจารยปวยมาก พยายามชี้ ให้ไทยหลีกเลี่ยง สงครามการเมือง ท่านทํางานหนักมาก ภารกิจตรงนี้ทําให้ ท่านเหนื่อยมาก ส่งผลให้ท่านเปนอัมพฤกษ มีจดหมายที่ท่าน เขียนถึง ธงชัย วินิจจะกูล เมื่อป 2521 ว่า สิ่งที่ท่านปรารถนา คือ ประชาธิปไตย เสรีภาพ ความสันติสุข และความผาสุกของ ประชาชน ขณะเดียวกันในความหมายของท่าน ประชาชนต้องตืน่ รู้สิทธิของตนเอง ตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพ สันติประชาธรรม มีหลักเปนแก่นสาร 2 ประการ ประการที่ 1 เสรีภาพของสิทธิ ของประชาชนภายในขอบเขตไม่ทําลายสิทธิของผู้อื่น ประการ ที่ 2 สําคัญมาก การมีส่วนร่วมกําหนดโชคชะตาของสังคม ทีเ่ ราอาศัยอยู่ แต่ละคนมีสทิ ธิหน้าทีเ่ ท่ากัน ไม่วา่ จะมีฐานะ เพศ กําเนิดมาอย่างไร ประชาธรรมคือธรรมเปนอํานาจ ไม่ใช่อาํ นาจ เปนธรรม บ้านเมืองที่มีประชาธรรมนั้นต้องมีขื่อมีแป ไม่ใช่ ปกครองตามอําเภอใจของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ผมคิดว่าประชาชน ต้องตื่นขึ้นมารู้สิทธิตัวเองและกําหนดชะตากรรมของสังคม

ส า ร ป๋ ว ย  12

Inside-puay January 59.indd 12

24/12/2558 13:19:12


บรรยากาศหน้าห้องเสวนา

ร่วมกัน เราในฐานะปจเจกชน แนวคิดอาจารยปวย เราสามารถ นํามาประยุกต ใช้ในปจจุบันได้ เราใช้ชีวิตเรียบง่ายมีความสุข ในปจจุบันได้” ส่วน น้องอลิสา บิลดุสะ คณะนิติศาสตร์ ปี 2 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พยายามจะเชื่อมโยงกฎหมายสู่ สังคม เป็นแกนน�าพลเมืองเยาวชนสงขลา ในฐานะเป็นพลเมือง ฟังแนวคิด อาจารย์ป๋วย แล้วคิดอย่างไร “เดิมไม่เข้าใจแนวคิดอาจารยปวยเท่าไร่ การพัฒนา แนวคิดอาจารยปวยเข้าใจได้ว่าคือการที่เรารู้ในสิทธิที่เรามีอยู่ และนําสิทธิทเี่ ราไปใช้ และมีละเมิดหรือทําลายสิทธิผอู้ นื่ นําสิทธิ นัน้ ไปกําหนดโชคชะตาส่วนรวมของเรา พอมาคิดกับงานทีเ่ ราทํา ก็ตรงกับแนวคิดอาจารยปวย ในฐานะนักศึกษาและคนสงขลา ลุกขึ้นมากําหนดชะตากรรมของหาดทรายบ้านเรา มองว่า การที่เราต้องเคารพสิทธิ เคารพในศักดิ์ความเปนมนุษยมันใช้ ได้ตลอดไม่ว่าจะยุคสมัยไหน แม้กระทั่งที่หนูมาอยู่บนเวที แสดงว่าผู้ใหญ่เคารพในความคิดในเสรีภาพของหนูที่จะได้ แสดงความคิดเห็น ที่จะพูดเหมือนของอาจารยปวย ไม่ว่าคุณ อายุเท่าไหร่ เพศอะไร คุณมีสิทธิ์ที่จะกําหนดชะตากรรมของ บ้านเมืองของตนเอง มันเปนสิ่งที่ยุคนี้ต้องใช้ไม่ใช่รอรัฐ หรือ คนที่มีหน้าที่มาทําเราเปนคนหนึ่งในบ้านเมือง เราก็มีสิทธิที่จะ ลุกมาทําอะไรเพื่อบ้านเมือง ชอบที่อาจารยปวยเขียน ท่านเพิ่ง จะมาสนใจการบ้านการเมืองก็ช้าเสียแล้ว สนใจการเมืองอายุ 22 ปแล้ว ก่อนหน้านั้นเปนไทยมุง อยากให้เปลี่ยนมาเปน ไทยสน ไทยทําบ้าง อยากให้มีความกล้าหาญ กล้าจะคิด กล้า ที่จะออกนอกกรอบเดิม สนใจเรื่องของบ้านเมืองบ้าง อยากจะ ฝากวัยของพวกเราคนหนุ่มสาว ยังมีไฟ มีพลังให้บ้านเมืองได้” พันตํารวจเอกหญิงณัฎฐ์ฑิรา โรจนหัสดิน บูรณากร นักพัฒนา มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรม

ราชูปถัมภ์ เล่าว่า “การเปนบูรณาการ เหมือนเรามีกรมพัฒนา ชุมชน คือ พัฒนากร มองว่าทําในสิ่งที่มีอยู่แล้วมาบูรณะ บูรณาการให้เหมาะสมกับท้องถิ่น อยากเปนห้องแลปให้รัฐบาล เห็นว่าทําโดยวิธกี ารนีก้ ระจายรายได้ ลดความยากจน แก้ปญ หา สุขภาพ ปกครองตนเอง ทําทั้งหมด 4 ด้าน คือ สุขภาพ การศึกษา อาชีพ อัตประชาภิบาล (การปกครองตนเอง) ทําไป พร้อมๆ กัน ดร.ปวย ยํ้าเสมอว่าทําในสิ่งที่เขาเปนนะ มิใช่ เปนการปลดเปลื้องแต่เปนการปลดปล่อย เข้ากับหลักการ สงเคราะหที่เรียนมา หลักการในการทํางานบูรณะกร : ไปหา ชาวบ้าน อยู่กับเขา เรียนรู้จากเขา วางแผนกับเขา ทํางาน กับเขา เริ่มจากสิ่งที่เขารู้ สร้างจากสิ่งที่เขามี สอนโดยการชี้ ให้เห็น เรียนจากการกระทํา ไม่ใช่เพือ่ อวด แต่เพือ่ เปนแบบแผน ไม่ใช่สงิ่ ละอันพันละน้อย แต่เปนระบบ ไม่ใช่ทาํ ทีละอย่าง แต่ใช้ หลักผสมผสาน ไม่ใช่ทาํ ตามใจ แต่ชว่ ยให้การเปลีย่ นแปลง ไม่ใช่ โอบอุ้ม แต่ช่วยสร้างพลัง (ไม่ใช่คุณแค่ปลดเปลื้องให้เขาหมด ภาวะ แต่เพื่อการปลดปล่อยจากสิ่งที่เขาเปนอยู่) ขึ้นอยู่กับ บูรณากรแต่ละคน ดร.ปวย จะเน้นอบรมเราก่อน คุณต้องมี ความรู้ มีพลังออกไปทํางานกับเขาได้” งานในวันนี้ได้สร้างความอิ่มเอมใจให้กับคนสงขลา n นส่n เป็นอย่างมาก ที่ได้มีส่วnนร่วมเป็ วนหนึ่งในการเชิดชูเกียรติ ให้กับบุคคลที่ซื่อสัตย์พอที่จะเรียกร้องให้ผู้อื่นซื่อสัตย์ตามได้ ข้าราชการตัวอย่างที่กล้าคิดคัดค้านและกล้ายืนหยัดเพื่อความ ถูกต้อง นักเศรษฐศาสตร์ที่ต้องการให้สังคมเป็นธรรมมากขึ้น ผูใ้ ฝ่สนั ติทสี่ อนให้คนต่อสูเ้ พือ่ เสรีภาพและสังคมทีเ่ ป็นธรรมด้วย สันติวิธี คนดีที่ทําความดีไว้มากจนเป็นที่ศรัทธาของทุกคน… ท่านผู้นี้คือ “นายป๋วย อึ๊งภากรณ์” n n n

13  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 13

24/12/2558 13:19:13


เรื่องจากปก บุญสม อัครธรรมกุล

อาจารย ป๋วย

เรื่องของ

ที่ จังหวัดชัยนาท

เมื่อวันที่ 19 - 20 ธันวาคม 2558 มี 2 กิจกรรมที่จังหวัดชัยนาท ซึ่งจัดขึ้น เพื่อเชิดชู คุณงามความดีของ อาจารย์ป๋วย ในวาระ 100 ปชาตกาลของท่าน และในโอกาสที่ท่านได้รับ การยกย่องจาก UNESCO ให้เปน บุคคลสําคัญของโลก ในป 2559 - 2560 ส า ร ป๋ ว ย  14

Inside-puay January 59.indd 14

24/12/2558 13:19:14


นายคณิต เอี่ยมระหงส (สวมแว่น) และคณะ หน้าอนุสรณสถานอาจารยปวย

กิจกรรมแรก ในวันที่ 19 ธันวาคม 2558 นายคณิต เอี่ยมระหงส์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตําบลวังตะเคียน อําเภอหนองมะโมง ซึ่งประกอบด้วย นายอําเภอ หนองมะโมง นายก อบต. และปลัด อบต. หลายตําบล กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน และปราชญ์ชาวบ้าน จัดให้มี พิธีการวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานอาจารย์ป๋วย ณ บ้านวังนํ้าขาว ต.วังตะเคียน อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท อันเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่ครั้งหนึ่งอาจารย์ป๋วยเคยกระโดดร่มลงที่แห่งนี้เมื่อครั้งปฏิบัติงานในฐานะ สมาชิกขบวนการเสรีไทยในปี 2487 จนเกือบเอาชีวิตไม่รอด โชคยังดีที่มี ลุงทํา ปานแก้ว ช่วยชีวิตไว้ ดังนั้น ผู้น�าท้องถิ่นและชาวบ้านต�าบลวังตะเคียน จึงพร้อมใจกันจัดสร้างอนุสรณ์สถาน อาจารย์ป๋วยไว้เมื่อปี 2542 แต่ปัจจุบันช�ารุดทรุดโทรม จังหวัดชัยนาทจึงร่วมกับประชาชนในพื้นที่ จัดโครงการบูรณะขึ้นใหม่ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชีวิตและงาน ดร.ป๋วย และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ด้วยงบประมาณ 3.4 ล้านบาท ของทางจังหวัดฯ และได้รับการสนับสนุนการออกแบบอาคารจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ภายในอนุสรณสถานก่อนการปรับปรุง

แบบภายในอนุสรณสถานหลังการปรับปรุง

15  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 15

24/12/2558 13:19:17


ปายอนุสรณบริเวณจุดที่อาจารยปวยกระโดดร่ม

บริเวณจุดที่อาจารยปวยกระโดดร่ม

นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดท�าลานประวัติศาสตร์ ในจุดที่อาจารย์ป๋วยกระโดดร่มมาลงอีกด้วย โดยประชาชนในท้องถิ่น นับว่านี่เป็นประวัติศาสตร์แห่งท้องถิ่นของชาวชัยนาท และยกย่องอาจารย์ป๋วย เป็น “วีรบุรุษแห่งวังน�้าขาว” และในวันเดียวกันนี้ได้มี ขบวนจักรยานปนย้อนรอยเสรีไทย มาร่วมงานด้วยเกือบ 1,000 คัน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในพิธี นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดหน่วยแพทย์ เคลื่อนที่จากหลายคณะ และ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มาให้บริการตรวจสุขภาพ X-Ray ตรวจสุขภาพช่องปาก คัดกรองมะเร็ง ตรวจสุขภาพตา ตรวจการท�างานของไต และบริการ แพทย์แผนไทยประยุกต์ มาให้บริการแก่ชาวบ้าน อ.หนองมะโมง กว่า 600 คน ที่มารับบริการด้วย

ตรวจสุขภาพช่องปาก

มอบผ้าห่มแก่ประชาชนที่มารับการรักษา

ส า ร ป๋ ว ย  16

Inside-puay January 59.indd 16

24/12/2558 13:19:19


ภายในลานนิทรรศการอาจารยปวย Puey Open Library

กิจกรรมที่ 2 เป็น การเปดลานนิทรรศการอาจารย์ป๋วย Puey Open Library ในวันที่ 20 ธันวาคม ที่ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.บ้านกล้วย อ.เมือง จ.ชัยนาท อันเป็นมูลนิธิที่อาจารย์ป๋วยร่วมก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2510 ปัจจุบันมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นประธานกรรมการอ�านวยการ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ให้สัมภาษณ์ว่า อาจารย์ป๋วยเป็นผู้น�าในการก่อตั้งร่วมกับคณะบุคคลใน วงราชการและธุรกิจเอกชน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะรวบรวมและประสานความคิด ก�าลังกาย ก�าลังใจ และ ทรัพยากร ทั้งของราชการและภาคเอกชน ในการบูรณะและพัฒนาให้ชาวชนบทไทยมีสภาพความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น เริ่มบุกเบิกงานในยุคแรกด้วยการพัฒนาชนบทแบบผสมผสานในรูปแบบต่างๆ คือพัฒนาอาชีพ พัฒนาการศึกษา พัฒนาสุขอนามัย พัฒนาการพึ่งพาตนเองแบบร่วมมือกัน และเพิ่มขีดความสามารถ ในการจัดการ ผลจากความมุ่งมั่นดังกล่าว มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2512

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล และ ดร.ปยบุตร ชลวิจารณ

17  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 17

24/12/2558 13:19:21


ม.ร.ว.ปรีดิยาธร (คนที่ 3) บุญสม (คนที่ 5) และคณะจากสมาคมอัสสัมชัญ

ในวันงานมีผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่านที่เคารพรักอาจารย์ป๋วยมาร่วมงาน อาทิ ดร.อรัญ ธรรมโน อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ดร.ปยบุตร ชลวิจารณ์ นายกสมาคมอัสสัมชัญ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกฯ คุณธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติ คุณณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีต รมว.กระทรวง พลังงาน คุณมนู เลียวไพโรจน์ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายบุญสม อัครธรรมกุล ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณาจารย์และศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายนันทวัฒน์ สังข์หล่อ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีวิทยาลัย พัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ตัวแทนเครือข่ายนักพัฒนาชนบทหลายท่าน รวมทั้งครอบครัวพี่น้องและ ลูกหลานอาจารย์ป๋วยอีกหลายสิบคน ซึ่งนอกจากจะเปิดลานนิทรรศการอาจารย์ป๋วยแล้ว ยังได้ตั้งรูปปั้น อาจารย์ป๋วยในอิริยาบถเรียบง่ายโดยจ�าลองจากภาพอาจารย์ป๋วยเมื่อครั้งออกเยี่ยมบัณฑิตอาสาในชนบท

ผู้ที่มาร่วมงานถ่ายภาพร่วมกันหน้ารูปปนอาจารยปวย ส า ร ป๋ ว ย  18

Inside-puay January 59.indd 18

24/12/2558 13:19:23


ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งในพิธีเปิดครั้งนี้ว่า “…มูลนิธิฯ หวังว่า การสร้าง ลานนิทรรศการอาจารย์ป๋วย นอกจากจะเป็นอนุสรณ์สถานของปูชนียบุคคลที่สมบูรณ์ด้วยความจริง ความดี ความงามแล้ว ยังจะเป็นเครื่องมือในการส่งต่อความเป็นมนุษย์ที่ดีให้แก่ชนรุ่นหลังที่จะเข้ามา รับการอบรมที่ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ ตลอดจนผู้ที่จะมาเยี่ยมเยือนสถานที่แห่งนี้ต่อไป…” ขอยํา้ อีกครัง้ ว่า ท่านผูอ้ า่ นทีไ่ ด้ผา่ นไปจังหวัดชัยนาท ไม่ควรพลาดชมอนุสรณ์สถาน ดร.ป๋วย จุดที่ท่านกระโดดร่ม และมูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ ครับ n n n

19  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 19

24/12/2558 13:19:25


มองป๋วย สุทธิชัย หยุน

“อนุสาวรีย์” ที่ ยั่ ง ยื น สํ า ห รั บ

ดร.ป๋วย…

ส า ร ป๋ ว ย  20

Inside-puay January 59.indd 20

24/12/2558 13:19:27


ถ้าคนไทยรู้สึกชื่นชมสนับสนุนคนดีตั้งแต่เขายังไม่ตาย บางทีอาจจะไม่ต้องถกกันว่าจะสร้าง “อนุสาวรีย์” ให้กับ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ หรือไม่ ผมเข้าใจลูกหลานของ อาจารย์ป๋วย ที่บอกว่า ท่านไม่ต้องการอนุสาวรีย์ และผมก็เชื่อว่า อาจารย์ป๋วยต้องการให้ทุกอย่าง “เรียบง่ายและสามัญ” เพราะ นั่นคือปรัชญาพื้นฐานของคนยิ่งใหญ่ คนอื่นต่างหากที่ไม่เข้าใจว่า ความสามัญคืออะไร เข้าใจผิดเสมอว่า “ความยิ่งใหญ่” ต้องไปกับการสร้างวัตถุมาประกอบ หากเราจะได้บทเรียนอะไรจากชีวิตและผลงานของ ดร.ป๋วย มันก็คือว่า สังคมไทยจะแสดงความชื่นชอบคนดีคนเก่งก็ต่อเมื่อเขาตายไปแล้วเท่านั้นเอง ยามเขาอยู่ ยามเขามีชีวิต และพยายามท�ำความถูกต้องให้ปรากฏคนไทยมักจะ ไม่สนใจ ไม่สนับสนุน และเผลอๆ อาจจะแสดงความหมั่นไส้จนเสียผู้เสียคน ไปเลยก็มี ดร.ป๋วย เป็นผูท้ วนกระแสในสมัยของท่าน แต่ทกุ วันนี้ คนไทยมักไม่ชนื่ ชม คนที่ท�ำอะไรไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นไป และยังสั่งสอนลูกหลานว่าการ “รักษา ตัวรอดนั้นเป็นยอดดี” อยู่วันยังค�่ำ หากจะ “สร้างอนุสาวรีย์” ให้ ดร.ป๋วย จริงๆ สิ่งที่จะเป็นอนุสรณ์อย่าง แท้จริงคงไม่ใช่รูปปั้นหรือภาพเหมือนเอาไว้จุดธูปจุดเทียน แต่ควรจะเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมของสังคมไทยที่จะสอนลูกหลานว่า ถ้าจะแสดงความเคารพนับถือ ดร.ป๋วย จริง คนไทยต้องกล้าสอนลูก ให้กล้าทวนกระแส ต้องเอาความซื่อสัตย์เหนือการเอาตัวรอด ต้องพร้อมจะ เสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเพื่อรักษาหลักการแห่งชีวิต และต้องพร้อมจะเสียสละแม้ ความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม และอย่าสอนให้ลูกหลานกะล่อน เอาตัวรอดเฉพาะหน้า และยึดเอาความ ร�่ำรวยทางวัตถุเหนืออิสรภาพแห่งความคิด สมัย ดร.ป๋วย อาจจะไม่มีใครพูดถึง “ความโปร่งใส” หรือ “กู๊ด กัฟ เวอแนนซ์” แต่ ดร.ป๋วย เป็นผู้วางพื้นฐานแห่งการตรวจสอบการท�ำงานของรัฐ และเป็นผู้กล้าหาญไม่กี่คนในยุคสมัยที่น้อยคนจะอาจหาญเพียงพอที่จะออกมา พูดถึงเรื่องการต่อต้านคอรัปชันอย่างเปิดเผย ถ้ารักและเคารพ ดร.ป๋วย จริง คนไทยจะต้องเดินหน้าต่อต้านการโกงกิน ชาติบ้านเมืองอย่างเอาจริงเอาจังในชีวิตประจ�ำวัน ไม่ใช่เพียงแต่บ่นพึมพ�ำและ เรียกร้องให้คนอื่นมีความซื่อสัตย์สุจริต แต่ตนเองกลับเล่นเส้น เอารัดเอาเปรียบ สังคม และปล่อยให้ลูกหลานและญาติพี่น้องของตนท�ำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ ความถูกต้องที่ว่านี้ เลือ่ มใส ดร.ป๋วย จริง คนไทยต้องปรับเปลีย่ นวิถชี วี ติ ให้เรียบง่ายและยึดถือ เอาความสัตย์ซื่อเป็นหลักแห่งการด�ำรงชีวิตประจ�ำวันดั่งที่ ดร.ป๋วย ได้กระท�ำอย่าง ตรงไปตรงมาและมัน่ คงตลอดช่วงของชีวติ ไม่วา่ จะอยู่ในเมืองไทยและต่างประเทศ

21  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 21

24/12/2558 13:19:27


นักวิชาการไทยที่แสดงความนับถือ ดร.ป๋วย หลังการจากไปในช่วง อาทิตย์ที่ผ่านมา ต้องยืนยันความนับถือด้วยการปฏิบัติตนเหมือน ดร.ป๋วย เมื่อตอนที่ต้องเผชิญกับเผด็จการและอ�านาจรัฐที่พยายามจะบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อหลอกให้ประชาชนตายใจ ดร.ป๋วย รักษาความเป็นนักวิชาการอย่างน่าเลื่อมใส เพราะท่านไม่ยอม ขายวิญญาณและไม่ยอมประนีประนอมในหลักการ ท่านออกมาบอกกล่าวกับ ประชาชนทุกครั้งที่เห็นว่ารัฐบาลและผู้กุมอ�านาจรัฐโกหกประชาชน หรือบอก ความจริงเพียงส่วนเดียว ท่านถือว่าการบอกความจริงและให้ข้อเท็จจริงกับประชาชนอย่าง ตรงไปตรงมา ไม่ยอมก้มหัวให้กับอิทธิพลการเมืองหรือธุรกิจ คือภาระหน้าที่หลัก ของนักวิชาการที่อยู่ข้างชาวบ้านอย่างแท้จริง ทุกวันนี้ เราเห็นนักวิชาการตามแนวทางของ ดร.ป๋วย เช่นนี้ น้อยลง ทุกวัน เพราะนักวิชาการต้องการมี “สังกัด” และต้องการสร้าง “ค่าย” ของตนเอง แต่น้อยคนเหลือเกินที่ยืนอยู่ข้างประชาชน และพร้อมที่จะ “ดับเครื่องชน” เพื่อ เอาข้อมูลและข่าวสารวิเคราะห์วิจัยทุกๆ ด้าน มาบอกกล่าวกับสาธารณชน ทั้งสิ้นทั้งปวงนี้ คือ “อนุสาวรีย์” ที่คนรุ่นนี้ควรจะสร้างให้กับ ดร.ป๋วย เพราะมรดกทางสังคมอันยิ่งใหญ่คือการสืบสานเอาคุณภาพแห่งความเป็นมนุษย์ อันหายากยิ่ง มาเป็นส่วนหนึ่งแห่งวิถีชีวิตของคนรุ่นต่อไป มิได้อยู่ที่ความยิ่งใหญ่ของพิธีศพ มิได้อยู่ที่วาทะไพเราะแห่งการไว้อาลัย เฉพาะสัปดาห์ที่ผ่านมาเท่านั้น n n n

ที่มา - เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 375, วันที่ 12 - 18 สิงหาคม 2542 หน้า 3 ส า ร ป๋ ว ย  22

Inside-puay January 59.indd 22

24/12/2558 13:19:28


บทความพิเศษ อาทิมา ทาบโลกา 1

อาจารย ป๋วย

เเรงบันดาลใจ ของ ขาพเจา

คุณธาริสา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ กล่าวในงานรําลึก 99 ป ของ อาจารยปวย ที่หอสมุดปรีดี พนมยงค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ท่าพระจันทร ว่า อาจารยปวย ท่านเคยกล่าวไว้ว่า “คนเกงหาไมยากหรอก แตที่สําคัญมากกวาคือตองเปนคนเกงและคนดีที่มีความ ซื่อสัตยสุจริต มีคุณธรรม จริยธรรม แลวก็มีความกลาที่จะบอกวาอันนี้ถูกอันนี้ไมถูก” 2 ชีวิตของอาจารย์ป๋วยเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้ามีชะตาได้รจู้ กั อาจารย์ปว๋ ยผ่านตัวอักษรเรียงร้อย ถ้อยค�าถึงชีวประวัตแิ ละผลงานของอาจารย์ปว๋ ยหลายเล่มด้วยกัน ผู้เขียนหนังสือเหล่านั้นล้วนแต่สดุดีการด�าเนินชีวิตของอาจารย์ ในหลายแง่มุม 3 อาทิเช่น เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นผู้ใช้ชีวติ อย่างสมถะ ฯลฯ

เมื่ออนุชนรุ่นหลังอย่างข้าพเจ้าอ่านแล้วจึงเกิดแรง บันดาลใจในการประพฤติปฏิบัติตามอย่างอาจารย์ ผู้ซึ่งสามารถ กล่าวได้ว่า “เป็นตัวอย่างของคนธรรมดาสามัญผู้พัฒนาตนให้ เป็นทองค�า” นั่นเอง ส�าหรับในบทความนี้ข้าพเจ้าจักขอเขียนถึงคุณสมบัติ ของอาจารย์ป๋วยเป็นหัวข้อต่างๆ ที่มีอิทธิพลในการด�าเนินชีวิต ของข้าพเจ้า ดังนี้

1 2 3

นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โปรดดู http://thaipublica.org/2015/03/a-man-called-puey/ เช่น บทน�าของพระไพศาล วิสาโล ในหนังสือ ปวย อึ๊งภากรณ : ประสบการณชีวิต และข้อคิดสําหรับคนหนุ่มสาว (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2538) และบทความต่างๆ ใน puey-ungphakorn.org

23  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 23

24/12/2558 13:19:29


ประการแรก อาจารยปวยเปนผูมีความกตัญู

นิมิตตํ สาธุรูปานํ กตฺูกตเวฑิตา - ความกตัญู เปนเครื่องหมายของคนดี เราอาจกล่าวได้ว่าอาจารย์ป๋วยใช้ความกตัญูเป็น แนวทางการด�าเนินชีวิตเสมอมา จากการที่ได้ศึกษาประวัติตาม ช่วงล�าดับอายุแล้วจะเห็นว่า อาจารย์ปว๋ ยได้ตอบแทนบุญคุณของ ครอบครัว สถานศึกษา และประเทศเสมอมา ขอไล่ล�าดับดังนี้ ทางด้านครอบครัว จากบทความ ผู้หญิงในชีวิตของ ผม - เเม่ ได้บรรยายให้เห็นความรักที่อาจารย์ป๋วยมีต่อ มารดา เติบใหญ่ก้าวหน้าในชีวิตก็เพราะมีมารดาเป็นผู้สนับสนุน ทั้งส่ง ไปเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งในสมัยนั้นถือเป็นโรงเรียนที่มี ค่าเล่าเรียนสูงมาก แม้ทบี่ า้ นจะฐานะไม่ดนี กั แต่มารดาก็ยงั กัดฟัน ส่งจนเรียนจบ อีกทั้งยังอบรมอาจารย์ป๋วยอย่างไม่คิดหน่าย ดังอาจารย์ป๋วยได้กล่าวถึงมารดาตนว่า “แม่มีคาถาอยู่ 3 - 4 ข้อ…ความมานะเด็ดเดี่ยว… แม่รักอิสรภาพและเสรีภาพยิ่งกว่าชีวิต…ความซื่อสัตย์สุจริต… ความใจกว้างเมตตากรุณา” 4 หากมารดาอาจารย์ปว๋ ยมีชวี ติ อยูจ่ วบจนเห็นการด�าเนิน ชีวิตของอาจารย์เเล้วไซร้ ท่านจะเห็นได้ว่าลูกป๋วยของตนนั้น ใช้คาถาของมารดาในการด�าเนินชีวิตทุกประการ และคาถา เหล่านี้เองที่ท�าให้อาจารย์ป๋วยผู้ซึ่งก้าวตามรอยเท้าของมารดา ได้รบั ค�ากล่าวขวัญชืน่ ชมจวบจนยุคปัจจุบนั สิง่ เหล่านีเ้ องแสดงให้

เห็นว่าอาจารย์ป๋วยเป็นผู้กตัญูต่อมารดา กล่าวคือประพฤติตน ด�ารงชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลไม่ให้ใครมาติฉินนินทาได้ ในขณะ เดียวกันยังเป็นผู้ท�าให้วงศ์ตระกูลได้รับการเชิดชูนั่นเอง ในด้านสถานการศึกษา ความที่อาจารย์ป๋วยนั้นเป็น ศิษย์เก่าของโรงเรียนอัสสัมชัญ ครั้นเมื่อจบการศึกษาจากแผนก ฝรั่งเศส อาจารย์ป๋วยได้กลับมาเป็นครูที่โรงเรียนแห่งนี้เพื่อสอน วิชาค�านวณและภาษาฝรั่งเศส นอกจากนั้นเช่นการที่ท่านกลับ มากล่าวสุนทรพจน์เนือ่ งในงานมรณกรรมของ ภราดา ฟ. ฮีแลร์ และ ภราดาฮูแบร์โต โดยที่รายแรกนั้นท่านกล่าวเป็นภาษา ฝรั่งเศสเอาเลยทีเดียว มิพักต้องเอ่ยถึงค�าไว้อาลัยที่ท่านเขียน ถึงครูของท่านอย่าง มาสเตอร์เจือ ฉั่วประยูร นีย่ งั ไม่จา� ต้องกล่าวถึงความหาญกล้าของท่านทีเ่ ดินทาง ไปพบ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ทีฝ่ รัง่ เศส เพือ่ แสดงความกตัญู ในฐานะศิษย์ - อาจารย์ แต่ปีแรกที่ท่านรัฐบุรุษอาวุโสย้ายไป พ�านักในกรุงปารีส โดยที่เวลานั้นชื่อเสียงของอาจารย์ปรีดียัง มัวหมองนัก ส�าหรับประเทศนั้นอาจารย์ป๋วยได้แสดงความกตัญู เสมอมา นับแต่เสียสละตนมาเป็นเสรีไทยเพื่อผดุงอธิปไตยของ ประเทศ จวบจนด�ารงต�าแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความโปร่งใส และได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในสิ่งดีๆ อยู่ หลายประการ อาทิ ให้ทนุ เเบงก์ชาติเพือ่ สร้างเยาวชนให้มโี อกาส ไปเรียนต่อต่างประเทศเพื่อกลับมาท�างานให้แก่ประเทศชาติ เป็นต้น

4

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (บรรณาธิการ), ปวย อึ๊งภากรณ : ชีวิต งาน และความหลัง (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2529), หน้า 96 ส า ร ป๋ ว ย  24

Inside-puay January 59.indd 24

24/12/2558 13:19:30


ประการสอง อาจารยปวยเปนผูเสียสละ

ในช่วงชีวิตขณะหนึ่ง หากชีวิตของคุณก�าลังโรยด้วยกลีบ กุหลาบ ได้รบั ทุนไปศึกษาต่อปริญญาเอก หากแต่ในขณะเดียวกันนัน้ สงครามได้ปะทุขึ้น ประเทศของคุณก�าลังได้รับภัยจากสงคราม คําถามคือคุณจะยอมเสียสละประโยชนส่วนตนเพื่อ พิทักษไว้ซึ่งผลประโยชนประเทศหรือไม่ ? คําถามในเบือ้ งต้นนีเ้ ปนคําถามทีน่ า่ ฉุกคิดสําหรับหนุม่ สาวในยุคปจจุบัน ในฐานะที่เปนวัยที่มีกําลังวังชาในการปองกัน ประเทศมากทีส่ ดุ จะยอมเสียสละความสุขตนเพือ่ ส่วนรวมไหม? อย่างไรก็ดสี า� หรับคนหนุม่ ชือ่ ป๋วยในตอนนัน้ ได้ตดั สินใจ อย่างไม่ลังเลในการพักเรื่องเรียนเพื่อเข้ารับราชการในกองทัพ แห่งสหราชอาณาจักรเพือ่ ท�างานให้กบั เสรีไทย โดยการออกปฏิบตั ิ ภารกิจต่างๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อชีวิต อาทิ ลอบโดดร่มลงประเทศไทย เพื่อเข้าพบกับ นายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าเสรีไทย ดังนีแ้ สดงให้เห็นถึงความกล้าหาญของลูกผูช้ ายชือ่ ป๋วย ทีท่ า� เพือ่ ประเทศชาติไม่ให้ตกเป็นประเทศแพ้สงคราม ความข้อนี้ ท�าให้เห็นถึงใจของชายชื่อป๋วยว่าเป็นผู้เสียสละต่อบ้านเมือง อย่างแท้จริง แม้ชีวิตของตนก็ตาม นี่ยังไม่จ�าต้องเอ่ยว่า ท่านมี คติแนวแน่เพียงใดที่จะไม่ฆ่าฟันคนไทยด้วยกันในยามสงคราม อีกประการหนึ่งในแง่ของความเสียสละ คือในเวลาที่ ท่านด�ารงต�าแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ท่านเลือกรับ เงินเดือนเต็มในฐานะคณบดี โดยที่รับเงินเดือนผู้ว่าการฯ เพียง

ครึง่ เดียว ทัง้ ๆ ทีเ่ งินเดือนในต�าแหน่งหลังมากกว่ามาก เหตุเพราะ ท่านต้องการอุทิศชีวิตเพื่อการศึกษาของเยาวชนนั่นเอง จะมีใครอีกไหมในประเทศนี้ ที่ปฏิเสธเงินที่จ�านวน มากกว่า แล้วไปยอมรับเงินเดือนทีน่ อ้ ยกว่าอย่างเช่นอาจารย์ปว๋ ย และคิดถึงคนอื่น โดยเฉพาะอนาคตของชาติ ยิ่งกว่าความมั่งคั่ง ของตนเอง ประการตอมา อาจารยปวยเปนผูรักษาสัจจะ

ในช่วงชีวติ ของอาจารย์ปว๋ ยจะเห็นได้วา่ อาจารย์ไม่เคย ด�ารงต�าแหน่งทางการเมืองเลย แม้นจะมีผเู้ สนอต�าแหน่งให้ทา่ น มากมาย เหตุเพราะท่านยึดมัน่ ในค�าสาบานเมือ่ คราวเป็นเสรีไทย ที่จะไม่แสวงหาผลประโยชน์ทางด้านการเมือง ความรักสัจจะนี้ นับว่าเป็นความงามในรูปแบบหนึ่ง ก่อให้เกิดการด�ารงชีวิตใน ทางสุจริต ในทางโปร่งใสตามมา โดยที่ต้องไม่ลืมว่านอกจาก การเสนอต�าแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาล จอมพล ส.ธนะรัชต์ แล้ว หลัง 14 ตุลาคม 2516 กระแสเรียกร้อง ให้อาจารย์ป๋วยเป็นนายกรัฐมนตรีก็มีไม่น้อยทีเดียว ประการสุดทาย อาจารยปวยเปนนักพัฒนาสังคม

บทความชิน้ ส�าคัญ คุณภาพแห่งชีวติ ปฏิทนิ แห่งความหวัง จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน ได้สะท้อนแนวคิดของอาจารย์ป๋วย ในเรื่องรัฐสวัสดิการ ตั้งแต่เกิดจนตาย ว่ารัฐควรให้ความช่วยเหลือ ใดบ้าง อาทิ ระบบสาธารณสุข ใครเจ็บปวยควรได้รับการรักษา แนวคิดนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อ 40 ปีที่แล้ว คนๆ หนึ่งสามารถ มองได้ไกลถึงขนาดที่ว่าปัจจุบันเกิดขึ้นจริงแล้วในสังคมไทย

25  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 25

24/12/2558 13:19:31


นอกจากนี้อาจารย์ป๋วยยังเป็นผู้สร้างแนวคิด “บัณฑิต ให้รับผิดชอบต่อสังคม” โดยโครงการแรกเป็นโครงการรับสมัคร บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพือ่ เป็นอาสาสมัครออกไป ท�างานสอนหนังสือและใช้ชวี ติ ร่วมกับคนในชนบท ตัง้ แต่เหนือสุด คือแม่สะเรียง จนถึงใต้สุดคือสุไหงโกลก อาจารย์ป๋วยได้ทุ่มเท เวลาให้เป็นอย่างมากโดยได้ออกไปเยี่ยมอาสาสมัครอย่างทั่วถึง และตอบจดหมายของอาสาสมัครด้วยตนเอง โดยที่ยังไม่จ�าต้อง กล่าวว่าโครงการพัฒนาลุ่มน�้าแม่กลองที่ท่านท�าไว้นั้นน่าศึกษา เพียงใด ฉะนั้นการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยจึงมิใช่เพียงแต่ เพียงการเรียนหนังสือจบมาเป็นบัณฑิตในสาขาอาชีพของตน หากแต่ยังต้องมีใจช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ในฐานะที่ยากล�าบาก กว่าเรา ในขณะเดียวกันด้วยจึงจะเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์พร้อม ทั้งคุณวุฒิและคุณธรรม บทสรุป

ทัง้ หมดที่ได้กล่าวไปในเบือ้ งต้นนีเ้ พือ่ ทีจ่ ะสดุดคี ณุ ความดี ของสามัญชนคนหนึ่ง ที่พัฒนาตนจากลูกจีนคนธรรมดากลายเป็น บุคคลส�าคัญของประเทศ โดยอาศัยคุณสมบัติ 4 ประการเป็นส�าคัญ พร้อมกันนีย้ งั เป็นแรงบันดาลใจและข้อคิดให้แก่ขา้ พเจ้านิสติ ธรรมดา ผู้หนึ่ง ซึ่งก�าลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้ายของมหาวิทยาลัยในแง่ของ 5

การด�ารงชีวิตเสมอมา กล่าวคือในขณะที่ข้าพเจ้าเป็นนิสิตอยู่ในวัย เรียนรู้ ณ รั้วมหาวิทยาลัย ข้าพเจ้าต้องตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่และ ประพฤติตนด�ารงชื่อเสียงวงศ์ตระกูล เพื่อตอบเเทนคุณบิดามารดา ที่ได้อุปการะอุ้มชูข้าพเจ้าให้เติบใหญ่จวบจนทุกวันนี้ที่ข้าพเจ้าได้ รับการศึกษาตามสมควรแก่วัย พร้อมทั้งจักต้องมิลืมบุญคุณของ คณาจารย์ทงั้ ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทีไ่ ด้อบรมสัง่ สอน หาโอกาส ตอบแทนบุญคุณเมือ่ มีโอกาสตามสมควร หาโอกาสช่วยเหลือพัฒนา สังคมตามวาระอันสมควร ครั้นในอนาคตข้างหน้าหากได้เติบใหญ่ ในต�าแหน่งหน้าที่การงานจักต้องมิลืมตน รู้จักรักษาสัจจะและด�ารง ตนด้วยความเรียบง่าย ประการส�าคัญคือเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ในหน้าที่การงานเหมือนอาจารย์ป๋วย ที่แม้นจักเป็นด�ารงต�าแหน่ง ใหญ่แค่ไหนก็ตาม ก็มิลืมที่จักรักษาความสุจริตเรียบง่ายให้ปรากฏ เป็นความงามแก่อนุชนรุ่นหลังสืบต่อไป ภราดาจอห์น แมรี แห่งโรงเรียนอัสสัมชัญ กล่าวไว้ ได้อย่างดีว่า “ในบรรดาผู้คนบนโลกนี้ มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ เปรียบเสมือนคนถือคบไฟคอยส่องแสงสว่างน�าทางให้แก่ผู้คน อาจารย์ปว๋ ยเป็นคนหนึง่ ทีถ่ อื คบไฟส่องแสงสว่างให้คนรุน่ ปัจจุบนั และรุ่นต่อไป… สัตบุรุษเช่นนี้ เราจะลืมไม่ได้” 5 n

n

n

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ (บรรณาธิการ), สารคดีฉบับพิเศษ ปวย อึ๊งภากรณ, หน้า 178

ส า ร ป๋ ว ย  26

Inside-puay January 59.indd 26

24/12/2558 13:19:33


กวีนิพนธ วันฟาใหม เทพจันทร

บัดเอย บัตรนั้น ฉันชื่อว่าประชาชน ต่อสู้และดิ้นรน ทนทุกรัฐบาลไทย ทําบัตรและพกบัตร ต้องมีบัตรให้เหมือนใบ เบิกทางทุกทางไป ไปสู่สิทธิ์และเสรี พัฒนาประเทศชาติ สมารทการดที่เรามี ใช้ไม่ได้สักที จึงเหมือนมีไม่สมบูรณ จึงเหมือนมีแต่เพียง ชื่อเสียงสกุลอันเปล่าสูญ กี่บัตร กี่ใบ อาดูร ประชาชนเช่นนี้ อยู่เช่นเดิม เลือกตั้ง กี่ครั้งครา เอาบัตรแลกมาต่อเติม หวังประชาธิปไตยเพิ่ม พูนขึ้นจนเติมเต็มใบ หากเพิ่มรายละเอียดลง ตรงบัตรประชาชนทุกใบ ขยายขนาดก็ได้ ถ้าเปนประชาชนเต็มใบ สักที

บัประชาชน ตร 27  ส า ร ป๋ ว ย

Inside-puay January 59.indd 27

24/12/2558 13:19:35


รายงานพิเศษ วันฟาใหม เทพจันทร

สืบสาน

‘ญาณสังวร’

ผ่านไปอย่างสมพระเกียรติแ ห่งสมณศักดิ์ กับพระราชพิธีพระราชทานเพลิง พระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก โดยในการนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระเกียรติยศสูงสุด อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เดิมทีเดียวพระศพสมเด็จพระสังฆราชฯ ตามราชประเพณี จะต้องทรงพระศพลงพระโกศกุดั่นน้อย หากก็โปรดเกล้าฯ ให้ พระโกศกุดั่นใหญ่แต่แรกทีเดียว และเมื่องานออกพระเมรุ ยังได้ พระราชทานเลื่อนเป็นพระโกศทองน้อย เทียบเท่าพระศพพระ สังฆราชเจ้า หรือเจ้าฟานั่นเลย นอกจากนี้ยังรับพระราชทาน ฉัตรเหลืองห้าชั้น นับว่าเป็นประวัติศาสตร์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ทีส่ มเด็จพระสังฆราชสามัญชนได้รบั พระเกียรติยศสูงสุดถึงเพียงนี้ โดยในประกาศพระบรมราชโองการตอนหนึ่งได้กล่าวว่า… “ด้วยเป็นพระอภิบาล ถวายโอวาทานุศาสน์ ทรงเป็น พระมหาเถระทีท่ รงพระราชศรัทธา นับถือยกย่องอย่างสูงในฐานะ คุรุฐานียบุคคล”

ส า ร ป๋ ว ย  28

Inside-puay January 59.indd 28

24/12/2558 13:19:38


พระศากยวงศวิสุทธิ์ หรือ พระอนิลมาน ธมฺมสากิโย พระราชภาระในหน้าทีส่ งั ฆราชา สังฆบิดรแห่งหมูส่ งฆ์ นั้นยาวนานกว่า 25 ปี โดยพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจ ในหน้าที่ส่วนรวม และพระจริยวัตรส่วนพระองค์ ได้อย่างมิมีข้อ ด่างพร้อยเอาเลย แม้แต่ลาภยศสรรเสริญอันปรุงแต่งพระองค์ ท่านก็มิได้ยึดติดในฐานันดรอันนั้น โดยด�ารงพระองค์สมกับเพศ สมณะ คือมีความสุขุม สงบ ร่มเย็น และยึดเอาหลักแห่งสมถะ เป็นที่ตั้ง ดังพระเทศนาวาทบางตอนที่ว่า “เราเกิดมาด้วยตัณหา ความอยากและกรรมเพือ่ สนอง ตัณหาและกรรมของตนเอง ตัณหาและกรรมจึงเป็นตัวอ�านาจ หรือผู้สร้างให้เราเกิดมา ใครเล่าเป็นผู้สร้างอ�านาจนี้ ตอบได้ว่า คือ ตัวเอง เพราะตนเองเป็นผูอ้ ยากเองและเป็นผูท้ า� กรรม ฉะนัน้ ตนนี้เองแหละเป็นผู้สร้างให้ตนเองเกิดมาอนุมาน ดูตามค�าของ ผูต้ รัสรูน้ ี้ในกระแสปัจจุบนั สมมติวา่ อยากเป็นผูแ้ ทนราษฎร ก็สมัคร รับเลือกตัง้ และหาเสียง เมือ่ ชนะคะแนนก็เป็นผูแ้ ทนราษฎร นีค่ อื ความอยากเป็นต้นเหตุให้ท�ากรรม คือท�าการต่างๆ ตั้งแต่การ สมัคร การหาเสียง เป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับผล คือ ได้เป็น ผู้แทน” เมื่อปีกลาย คณะกรรมการเตรียมงานรําลึก 100 ปี ชาตกาล นายป๋วย อึง๊ ภากรณ์ ภายใต้ฉายา มูลนิธเิ สฐียรโกเศศ นาคะประทีป ได้จดั กิจกรรม PUEY TALKS ทีห่ อศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีบุคคลทั้งนักพูด นักคิด นักเขียน นักเรียน และสมณะ ซึ่งสมณะท่านนี้ก็คือ พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ หรือ พระอนิลมาน ธมฺมสากิโย อดีตสามเณรชาวเนปาล ผู้สืบสาย ‘ศากยวงศ์’ แห่งพระพุทธโคดม ตอนหลังท่านได้เดินทางมาศึกษา พระธรรมที่ประเทศไทย และเข้าบวชเป็นพระภิกษุที่วัดบวรฯ โดยมี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็น พระอุปัชฌาย์ และต่อมาก็ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการสมเด็จ พระญาณสังวรฯ เรื่อยมาด้วยดี นับว่าเป็นศิษย์อันใกล้ชิดและ ยกเอาพระจริยวัตรของพระองค์ท่านมาด�าเนินรอยตามได้อย่าง งดงาม น่าสนับสนุนในทางธุระพระศาสนาให้ท่านมีต�าแหน่ง ยิ่งกว่าพระผู้ใหญ่บางรูปที่ด้อยศีลาจารวัตรเสียอีก ดังความตอนหนึ่งที่ท่านได้กล่าวถึงเจ้าพระคุณสมเด็จ พระสังฆราช พระผู้เป็นคุรุอุปัชฌาย์ บนเวที PUEY TALKS ซึ่งได้ถอดเทปมาดังนี้

“ความเป็นญาณสังวรในทีน่ ี้ อยากให้ทกุ คนได้ตระหนัก ถึงว่าเป็นสิง่ ทีจ่ า� เป็นอย่างยิง่ ในยุคนี้ ในศตวรรษนี้ และเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชพยายามที่จะด�ารงพระองค์ ให้เห็นเป็นแรง บันดาลใจแก่พุทธศาสนิกชนและชาวพุทธโลก เพื่อให้เห็นว่า ความรู้ เพื่อให้เห็นว่าสติปัญญา สามารถที่จะใช้ในทางที่ถูกต้อง ที่เรียกว่าสังวร ส�ารวม เพื่อให้เกิดปัญญาและก็สร้างความดีใน ชีวติ ของเรา สร้างมรดกธรรมในชีวติ ของเรา สร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้คนสามารถที่จะปฏิบัติเดินตามได้ ‘ญาณสังวร’ ซึ่งเป็น พระนามเฉพาะ แน่นอนว่ามี ในรัตนโกสินทร์แค่สองพระองค์ ญาณสังวรในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น กับญาณสังวรในยุคของ พวกเรา ญาณะ แปลว่าความรู้ สังวรก็คือการส�ารวม การใช้สติ ปัญญาตัดกระแสแห่งตัณหา การที่เราใช้ปัญญาตัดซึ่งกิเลสหรือ ความชั่วทั้งหลาย นี้เรียกว่า ‘ญาณสังวร’ แต่ในศตวรรษนีจ้ ะเห็นได้วา่ ทัง้ ๆ ทีเ่ รามีแรงบันดาลใจ เรามีพระองค์อยู่กับพวกเรา ซึ่งน้อมน�าเอาสติปัญญามาแก้ไข ปัญหา ไม่วา่ จะในทางอาณาจักร และศาสนจักร แต่พวกเราหาได้ ปฏิบัติตามไม่ เราใช้ความรู้ความสามารถของเราในทางที่ผิด มากกว่าที่จะใช้ในทางที่จะสร้างสรรค์สังคมและชีวิตของคนให้ มีคณุ ภาพ เรามีปริญญาเอก เรามีผรู้ ู้ เรามีปราชญ์มากมายแต่วา่ หาได้ฟังสิ่งเหล่านั้นไม่ แม้เอามาฟัง เอามาถกเถียง เอามาเป็น ประเด็น แต่ว่าหาได้เอามาเพิ่มศักยภาพ เพิ่มสมรรถภาพของ มนุษยชาติไม่ เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งมีพระนามว่า ญาณสังวร พระองค์เพียบพร้อมทุกด้าน แม้ว่าพระองค์จะมี พระชันษาสูง ความใฝรู้ของพระองค์ ความกรุณาของพระองค์ พระเมตตาพระองค์ ไม่เคยเหือดแห้งไปจากชีวิตพระองค์เลย” นี่คือความตอนหนึ่งจากปากของสังฆานุศิษย์ของ พระองค์ ซึ่งเมื่อสิ้นพระองค์และเสร็จการพระศพไปแล้ว คําสอน วัตรปฏิบัติ พระเมตตากรุณาอันเปียมล้นจะยังคงอยู่ เตือนสติ คูช่ าติบา้ นเมืองเสมอไป อย่างน้อยก็ในพระอนิลมาน รูปนี้ ที่จะเป็นผู้สืบสาน ‘ญาณสังวร’ ให้พุทธศาสนาและ พุทธศาสนิกชนได้เป็นที่พึ่งสืบไป n

n

n

29  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 29

24/12/2558 13:19:39


ลูกผูชายชื่อ “ปวย” 2457

2477

2457 - 2461 สงครามโลกครั้งที่ 1

2476

เป็นนักศึกษารุ่นแรกของมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง

เป็นมาสเตอร์ สอนวิชาค�านวณและ ภาษาฝรั่งเศส โรงเรียนอัสสัมชัญ

2481

2467

สอบได้ทุนไปเรียนที่ LSE มหาวิทยาลัยลอนดอน

เข้าโรงเรียน โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก

2479

ส�าเร็จการศึกษาเป็น ธรรมศาสตร์บัณฑิต

2477

นายปรีดี พนมยงค กอตั้งมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตรและการเมือง และดํารง ตําแหนงผูประศาสนการ

2459

9 มีนาคม 2459 เกิดที่บ้าน ตลาดน้อย กรุงเทพฯ เป็นบุตรคนที ่ 4 ของนางเซาะเซ็ง แซ่เตียว และนายซา แซ่อึ้ง

2475

คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง

2482

จอมพล ป. เริ่มนโยบายรัฐนิยม

ส า ร ป๋ ว ย  30

Inside-puay January 59.indd 30

24/12/2558 13:19:51


คําว่า

“ปวย” แปลตรงตัวได้ว่า “พูนดินที่โคนตนไม”

แต่มีความหมายกว้างขวางออกไปอีก คือ “บํารุง” “หล่อเลี้ยง” “เพาะเลี้ยง’ และ “เสริมกําลัง”

ปวย อึ๊งภากรณ (2512)

2484

นายปรีดี พนมยงค และคณะ กอตั้งขบวนการเสรีไทยเพราะไมเห็นดวยกับการประกาศสงคราม ของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม

2487

กระโดดร่มลักลอบเข้าประเทศไทยเพื่อปฏิบัติงานลับของเสรีไทย

2484

2489

จบปริญญาตรีสาขา วิชาเศรษฐศาสตร์ และการคลัง ผลการเรียนสูงสุด เป็นอันดับหนึ่ง ในบรรดาเกียรตินิยม

แต่งงานกับมาร์เกร็ท สมิท เรียนต่อปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยลอนดอน

2490

รัฐประหารโดย พลโทผิน ชุณหวัณ

2488

2484

2484 - 2488 สถานการณ สงครามโลก ครั้งที่ 2 ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟค

กลับไปเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ ให้ยอมรับขบวนการเสรีไทย ได้รับยศพันตรีแห่งกองทัพบกอังกฤษ

14 สิงหาคม 2488 ญี่ปุนประกาศยอมแพสงคราม

2485

ร่วมก่อตั้งคณะเสรีไทยขึ้น ในอังกฤษ ได้ชื่อจัดตั้งว่า นายเข้ม เย็นยิ่ง

16 สิงหาคม 2488 นายปรีดี พนมยงค ลงนามประกาศสันติภาพ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจาอยูหัวอานันทมหิดล

31  ส า ร ป๋ ว ย Inside-puay January 59.indd 31

24/12/2558 13:20:02


“การยอมรับความชั่วนั้นเปนความชั่วอยู่ในตัว (toleration of evil is evil itself)” ปวย อึ๊งภากรณ (2511)

2505

เป็นผู้อ�านวยการส�านักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง

2500

2494

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต ยึดอํานาจ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม

เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตรและการเมือง เปนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร มีจอมพล ป. พิบูลสงคราม เปนอธิการบดีคนแรก

2492

กลับเมืองไทย เข้ารับราชการ ต�าแหน่งเศรษฐกร กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

2492

นายปรีดี พนมยงค และขบวนการ ประชาธิปไตย 26 กุมภาพันธ ซึ่งตองการฟนฟู การปกครองใหเปน ประชาธิปไตย ประสบความลมเหลว

2491

จบปริญญาเอกด้วยวิทยานิพนธ์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการ ควบคุมดีบุก

2502

เป็นผู้อ�านวยการ ส�านักงบประมาณ ส�านักนายกรัฐมนตรี

2496

เป็นรองผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทย

2502

2495

เป็นผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทย

ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วย ฝายวิชาการ ของปลัด กระทรวงการคลังและ กรรมการธนาคาร แห่งประเทศไทย

2504

เริ่มใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแหงชาติฉบับที่ 1

2499

เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจการคลัง ประจ�าสถานเอกอัครราชทูตไทยในอังกฤษ

ส า ร ป๋ ว ย  32

Inside-puay January 59.indd 32

24/12/2558 13:20:15


“การที่จะเกิดประชาธิปไตยได้ต้องให้คนเกลียดเผด็จการ เวลานี้คนยังไม่ได้เกลียด เผด็จการ เพราะเหตุว่า หนึ่ง มีความกลัวเผด็จการ เลยไม่แสดงท่าว่าเกลียด สอง บางคนนั้นนึกว่าเผด็จการดีกว่าอย่างอื่นซึ่งเราเคยกันมาแล้ว”

2506

ปวย อึ๊งภากรณ (2520)

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต ถึงแกอสัญกรรม จอมพลถนอม กิตติขจร ขึ้นเปนนายกรัฐมนตรี

2507

เป็นคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2518

ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกให้เป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนที่ 10

2519 2508

ได้รับรางวัล แมกไซไซ สาขาบริการ สาธารณะ

ลี้ภัยการเมืองออกนอกประเทศ

2513

ลาพักไปสอน ที่ ม.ปริ๊นชตัน สหรัฐอเมริกา

2520

เดือนกันยายน ล้มปวยด้วยอาการ เส้นโลหิตในสมองแตก ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายที่ประเทศอังกฤษ

2519

2510

เหตุการณ 6 ตุลาคม

ร่วมก่อตั้ง มูลนิธิบูรณะชนบท แห่งประเทศไทย

2512

2530

เดินทางกลับมาเยี่ยม บ้านเกิดที่เมืองไทย ครั้งแรก

2516

ก่อตั้งโครงการ บัณฑิตอาสาสมัคร

เหตุการณ 14 ตุลาคม

2515

กุมภาพันธ์ 2515 เกิดจดหมาย เปิดผนึกของนายเข้ม เย็นยิ่ง ถึงพี่ท�านุ เกียรติก้อง แห่งหมู่บ้าน ไทยเจริญ แสดงจุดยืน สนับสนุน ให้ใช้ระบอบประชาธิปไตย ในการแก้ปัญหาของประเทศ

Inside-puay January 59.indd 33

2542

28 กรกฎาคม ถึงแก่กรรมอย่างสงบ ที่บ้าน ณ กรุงลอนดอน รวมอายุได้ 83 ปีเศษ

33  ส า ร ป๋ ว ย 24/12/2558 13:20:28


ชาวไทยเรามักจะเคยตัว คิดแคบ ยกยองแตผูมีอํานาจ ผูมีตําแหนงสูง ในราชการ นาจะเปลี่ยนอุดมคติเสียที เพราะคนอยางขํา ราษฎรสามัญอยางขํา เปนผูที่ควรแกการยกยองนับถือ ผูที่ควรแกการยกยองและเคารพ คือผูที่ ทรงไวซึ่งคุณธรรม มิใชผูที่ทรงอํานาจ แตไรคุณธรรม หนาทีน่ กั กฎหมายทนายความอยางขํา ตองปฏิบตั ติ นอยูในจรรยาบรรณ ทนายความก็เปนสวนประกอบสําคัญแหงกระบวนการยุติธรรม เพื่อนเอย นอกจากขําจะทรงไวซงึ่ ความเมตตา มุทติ าจิตตอลูกความ และนอกจากขําจะเปน ทีพ ่ งึ่ แกผทู เี่ ดือดรอนในเชิงคดีแลว ขํายังปฏิบตั หิ นาทีส่ มเปนหลักสําคัญสวนหนึง่ แหงกฎหมาย ความยุติธรรมและความชอบธรรม บานเมืองใดใชอําเภอใจเปน กฎหมาย บานเมืองใดปราศจากเสรีภาพและความชอบธรรม บานเมืองนั้น ทานวาขาดขื่อแป ภัยพิบัติมักจะเกิดขึ้นไดโดยงาย

(อาลัยรัก ขํา พงศหิรัญ, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๑๕)

Inside-puay January 59.indd 34

24/12/2558 13:20:29


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.