PESALOCATION

Page 1



เปสโลภิกขุ

1


แด่...ทุกความคิดเห็น ที่รอนแรมผ่านไซเบอร์สเปซมาสู่บล็อกของข้าพเจ้า

2


Pesalocation คัดสรรจากบล็อก http://fearlessdiary.exteen.com ผู้คัดสรร เปสโลภิกขุ ภาพถ่ายปก (Shooting Star) กรกฤช เจียรพินิจนันท์ ออกแบบปกและรูปเล่ม Dhamma Design Club คอมพิวเตอร์กราฟิก ibeepdesign@gmail.com พิสูจน์อักษร มานี มีตา จัดพิมพ์เป็นของขวัญธรรมะครั้งแรก กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ จำนวน หนึ่งพันเล่มเต็มรัก Copyright 2010 © Dhamma Design Club คิดถึงเปสโลภิกขุ Peslo123@yahoo.co.th พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ ๐๒-๔๓๓-๐๐๒๖-๗ 3


“การตั้งสติเฝ้ากำหนดพิจารณาความทุกข์ที่เกิดขึ้นแก่ตน จะเป็นทางเข้าถึงพุทธศาสนาได้ดีที่สุด ถ้ามัวแต่ศึกษาพุทธศาสนาในแง่ของภาษาหรือวรรณคดี จะไม่มีทางรู้ว่าอะไรเป็นอะไร…”

4


พระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ.๒๕๓๗-ปัจจุบัน)

5


คำเตือน ได้เห็นประกายของคนทำงานศิลปะไม่ว่าจะเป็น เชิงคิด เขียน หรือรูปเล่ม แม้แต่ลีลาการนำเสนอทีเล่น ทีจริงของท่านใน blog ซึง่ น่าสนใจน่าติดตาม ในแง่เจตนา ก็เชือ่ ว่าท่านอยากแบ่งปันสิง่ ดีๆเหล่านี้ ให้กบั คนรุน่ ใหม่ ในวงกว้างขึน้ แต่ทางหนึง่ นัน้ มันเป็น “กับดัก” ของอัตตา ตัวตนด้วยหรือเปล่า? ในขณะเดียวกันก็อดคิดไม่ได้ว่า ท่านจะมีเวลา ปลีกวิเวกทางกาย หรือปลีกวิเวกเร่งความเพียรทางจิต มากน้อยแค่ไหน และอะไรที่เรียกว่าพอดีหรือเกินพอดี? ทั้งหมดนี้หวั่นแทนท่านเปสโลภิกขุว่า อาจกลายเป็น เกิ น งามโดยพลั้ ง ไป เพราะโลกและโลกย์ มั น รุ ม เร้ า เอาการอยู่ มิได้ริสอนผู้ทรงศีลแต่อย่างใด ขอให้ทราบเจตนา บริสุทธิ์ที่นึกห่วงการครองสมณเพศของท่านเท่านั้นเอง หากทำให้ระคายเคืองก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ค่ะ ขอให้ศีลปกปักรักษาท่านให้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ สมเจตนานะค่ะ จาก น้าหมีผู้หวังดี ๐๗/๐๙/๕๒


P E S A L O C AT I O N

ข้ อ เ ขี ย น คั ด ส ร ร จ า ก วั น ว่ า ง

7


เล่น โยม : ผมขอกราบเรียนถามพระอาจารย์ครับ คือผมเห็น พระหลายรูปทีม่ ี blog ใน exteen ผมไม่มเี จตนาดูหมิน่ แต่ผมอยากทราบว่า การที่พระใช้ Internet มีขอบเขต อย่างไร? และจะหลีกเลี่ยงการอาบัติอันเกิดจากการได้ พบเห็นสิง่ ยัว่ ยุมากมายในโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างไรครับ? บางครั้งผมคิดว่าการที่พระเล่นอินเตอร์เน็ตดูไม่ใช่กิจ ของสงฆ์ และดูหมิ่นเหม่ต่อการผิดศีลมากเลยครับ เปสโลภิกขุ : อาตมาทำ blog นีข้ น้ึ มาเพือ่ เล่าถึงขัน้ ตอน และอุปสรรคต่างๆในการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ในต่ า งประเทศของพระภิ ก ษุ ถ้ า ได้ ไ ปตามที่ ตั้ ง ใจก็ จะเล่าต่อถึงความเป็นไปของพุทธศาสนาในบ้านอื่น เมืองอื่น ก่อนที่จะทำ blog ก็พิจารณาเรื่องนี้อยู่นาน เหมือนกัน Internet ก็เหมือนยานพาหนะชนิดหนึง่ จะขับ ไปปล้นธนาคารก็ได้ จะขับไปทำบุญทีว่ ดั ก็ได้ อยูท่ เ่ี จตนา ของผู้ ใ ช้ ส่ ว นขอบเขตและการหลี ก เลี่ ย งจากอาบั ติ พระเณรที่ เ กี่ ย วข้ อ งก็ ต้ อ งดู แ ลตั ว เอง ถ้ า รั บ ผิ ด ชอบ ตัวเองไม่ได้ก็ควรจะพิจารณา ที่โยมบอกว่าพระ “เล่น” Internet ไม่ใช่กจิ สงฆ์นน้ั ถูกแล้ว เพราะพระเราไม่ “เล่น” ไม่ว่าจะเป็นพูดเล่น กินเล่น นอนเล่น เที่ยวเล่น (อาตมา ไม่ได้เล่นลิ้นนะ) มีพระวินัยอยู่ข้อหนึ่ง... ห้ามพระเขียน บทกวีเพือ่ เล่น เว้นแต่จะเขียนเพือ่ สอนธรรม การใช้ Internet 8


เพื่อประโยชน์ทางพระศาสนา พอจะสงเคราะห์เข้ากับ พระวินัยข้อนี้ได้ไหม? อย่างไรก็ตาม หากมีเสียงติเตียน ในทำนองนี้เข้ามามาก อาตมายินดีที่จะปิด blog นี้โดย ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆทั้งสิ้น ป.ล.พระใช้ MacBook-iPod-iPhone-กล้อง Lomo ได้ไหม? E-mail: Hello We just had the 2009 Bicycle Pilgrimage here and it was quite successful. Unfortunately the weather was about 108 the first day and 103 on the last day. Two days of 160 miles of bike riding to different meditation centers and monasteries, chanting and meditation. People really enjoyed themselves. Some people are not so into Buddhism and the others are not so into riding...so they helped each other and really had a good time. It was very well organized complete with training sessions and insurance! Tan Ajahn, went on the road and gave teachings and encouragement. I had my first year of helping organize the set-up at the final stop, Abhayagiri Buddhist Monastery. When people arrived, they really wanted a shower and then some cold drinks. 9


We offered tours to show people something about what we do here. People seemed to really have a lot of questions and were interested to learn what the monks had to share about their way of life. The day ended with auspicious chanting and thanking all the people who organized the event. Many people are looking forward to next year’s ride in 2010 already. Even the organizers were tired-out afterwards, not to mention the riders! Luckily, despite the extreme heat, nobody was hospitalized or passed-out. People really looked-out for each other and enjoyed the challenge. Effort, diligence, and spiritual friendships were developed. Everyone found it a rewarding experience. It is almost the end of the rains residence here and some more trips and ceremonies will take place soon here. The monks are doing well at Abhayairi. Take Care and be well, G Bhikkhu

10


The Abhayagiri Buddhist Monastery Daily Routine 5:00 AM: Morning group meditation and chanting (Puja) 6:00 AM: Daily clean up 7:00 AM: Light breakfast and discussion of tasks for the day. 8:00 AM: General work begins. 11:00 AM: Meal offering to the community. The meal, eaten in silence, is the last meal of the day. 12:30 PM: Time for individual meditation and study. 5:30 PM: Tea. 7:30 PM: Evening group chanting and meditation. (Dhamma talk on Saturdays and lunar quarter.) E-mail: Greeting Namasakan Ajahn, I just thought I would let you know that an officer from the immigration came to Abhayagiri for an inspection. This is very good, because without this visit, they will not let any monks come from other 11


countries and get visas to live at Abhayagiri. So, we can still only wait...but at least something is hapening. The officer was impressed and saw that we have a good monastery. The officer said they had gone to other places and just saw monks watching TV! They said it is hard to explain why they should be allowed to bring-in more monks to that monastery to watch TV. Remember, in the past, maybe 30% or more of religious visa recipients were not legitimate and doing what they were supposed to be doing. Lots of lies and bad conduct make it hard for honest monks in the future. But like I said, the officer was impressed with us. This is good for you. And in the West, if they are not impressed, they will just tell you directly. Hope you are well, and Kathina goes well for you there. Metta, G Bhikkhu E-mail: If You Don’t Mind ภาวนาให้ท่านได้ไปวัดป่าอภัยคิรีนะ ที่นั่นต้องการ แรงงานอีกมาก งานเยอะค่ะ ท่านได้ภาวนาตอนออกแรง 12


แน่ๆ วิธีจับงูก็แสนน่ารัก พระฝรั่งเอาไม้มาตักใส่ถัง โอ๊ย! เสียดายวันนัน้ ไม่มกี ล้องไป ไม่ได้ถา่ ย แต่ขอบอกว่า อยูไ่ กล เป็นชนบทแบบว่าภูเขา คราวทีแ่ ล้วเราขับรถไปกัน เกือบสี่ชั่วโมงจาก SFO ไม่ทันฉันเพล เลยเอาสลัดผัก ไปถวายที่ห้องครัวแล้วกินอาหาร ขอบอกว่าเป็นอาหาร กระป๋องนะคะ แบบว่าอะไรต่ออะไรมาอุ่น พวกถั่ว มัน funny taste of cury เลยกินไปนิดเดียว อยากไปเป็น แม่ครัวให้พระจริงๆ ในวันธรรมดาจะมีคนแบ่งเวรมา ช่วยทำ แต่วนั พระอาหารตรึมจนต้องเอาไปให้ homeless หากว่าท่านไม่มายเรื่องออกแรง you will enjoy lot of work there ท่านต้องเดินจากกุฏไิ ปโรงฉัน ก็หลายกิโลได้ อ๋อ! หากไปช่วงวินเทอร์กเ็ ป็นพระโม่ง หนาวมาก เพราะว่า ลมแรง ต้องใส่ถงุ เท้า ผ้าพันคอ เสือ้ กันหนาว แต่ทอ่ี ยูส่ บาย เท่าที่เห็นจากสภาพแวดล้อม โยมยังเคยคิดว่าจะไป ปฏิบัติธรรมเลย... Forever Young Artist เข้าไปดู blog ของมิตรสหายสมัยเรียน วจศ.มช. เห็นเขาเอาผลงานมาอวดกันแล้วคันไม้คันมือ นึกอยาก แสดงอิทธิฤทธิข์ องศิลปินละแวกเชิงดอยสุเทพกับเขาบ้าง ว่ าแล้ ว ก็ ไ ปขุ ด งานเก่าๆสมัยนั้นมา Upload ซะเลย ข้าฯเคยเรียนภาพพิมพ์มาก่อน เทคนิคที่ถูกจริตสุดๆคือ Wood Cut เพราะรู้สึกได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติและใช้ 13


เครือ่ งไม้เครือ่ งมือเพียงไม่กช่ี น้ิ รองลงมาคือ Silk Screen เพราะให้สีสันสดใสสมวัย หลังจากวิเคราะห์ผลงาน ของตัวเองแล้วพบว่า ได้รับอิทธิพลจากลัทธิทางศิลปะ ๓ ลัทธิคอื Pop Art, Surrealism และ Expressionism... ว่าไปโน่น อันที่จริงการทำงานศิลปะก็ไม่ต่างอะไรจาก การเขียนบันทึก เพียงแต่มนั อึกทึกและทำให้ชวี ติ ซึง่ ยุง่ ยาก ซับซ้อนอยู่แล้วยุ่งยากซับซ้อนเข้าไปอีก แต่ช่างมันเถอะ เรื่องมันผ่านไปแล้ว มาติดตามความไร้เดียงสาของข้าฯ ในวัยนั้นกันเลยดีกว่า ชื่อภาพ : The Seeker / เทคนิค : Silk Screen / แนวความคิด : ขณะนั้นกำลังเรียนอยู่ชั้นปีที่ ๒ เป็น ช่วงเวลาของการแสวงหา...หาหลายอย่าง ตัง้ แต่หาตัวเอง ยั น หาแฟน แต่ ข้ า ฯให้น้ำหนักกับ อย่างแรกมากกว่า ไม่ รู้ ท ำไมจึ ง ชอบรู ป ทรงประหลาดหรื อ ตั ว ประหลาด ในบรรยากาศประหลาด (Surrealism) อาจารย์ผู้สอน ก็ถามเหมือนกัน แต่อธิบายให้เขาฟังไม่ได้ ชอบเฉยๆ ใครจะทำไม เทคนิค Silk Screen ให้บรรยากาศและ สีสันสดใสสนุกสนานแบบร่วมสมัย เมื่อมาประกอบเข้า กับการ์ตนู ยิง่ ดูสนุกเข้าไปใหญ่ (Pop Art) แต่อาจจะเป็น เพราะข้าฯมีพื้นนิสัยใจร้อนชอบอะไรเร็วๆแรงๆ หาก ดมดู ดี ๆ จะมี ก ลิ่ น ของวิ น เซนต์ แวนโก๊ ะ เจื อ อยู่ นิ ด ๆ (Expressionism) ความสับสนของคนที่อยู่ในช่วงของ การแสวงหานี่มันเอาเรื่องเหมือนกัน บ่อยครั้งที่จับต้น 14


ชนปลายไม่ถูก ในขณะที่ชีวิตกำลังดำเนินไปแต่มันไม่รู้ จะเอายังไง เบลอไปหมด อ่านหนังสือก็แล้ว โบกรถ เดินทางก็แล้ว ดูหนังฟังเพลงก็แล้ว ทำงานศิลปะก็แล้ว มีคนรักก็แล้ว ลองมันทุกอย่าง แต่ก็ไม่เคยอิ่มไม่เคยพอ ทำไปทำมาจนรู้สึกเหน็ดเหนื่อยหน่ายจึงทดลองเปลี่ยน เส้ น ทาง ทุ ก วั น นี้ ค่ อ ยๆอิ่ ม ขึ้ น มาที ล ะเล็ ก ที ล ะน้ อ ย โดยอาศัยเพียงเครื่องมือง่ายๆคือลมหายใจเข้า-ออก ความสุขที่แตกต่าง ข้าฯอยู่ที่วัดแห่งนี้มากว่าสิบปีแล้ว เมื่อก่อนมีผู้คน ไปมาหาสูน่ อ้ ย ข้าฯชอบมาเดินเล่นริมอ่างเก็บน้ำใน ช่วงเย็น หรือเวลาทีต่ อ้ งการความปลอดโปร่ง แต่ทกุ วันนีเ้ ฉียดเข้า ไปใกล้ไม่ได้เลย เพราะชาวบ้านมาตัง้ ร้านขายอาหารและ เครือ่ งดืม่ อ่างเก็บน้ำทีอ่ ยูต่ ดิ กับวัดจึงกลายเป็นทีอ่ โคจร สำหรับพระ นึกถึงคำพูดของโบราณจารย์ที่ท่านบอกว่า ให้รบี เร่งขวนขวายในการประพฤติปฏิบตั ิ อนาคตข้างหน้า สถานทีส่ งบวิเวกเหมาะแก่การเจริญสมณธรรมจะหายาก ก็สังเกตอยู่เหมือนกันว่า คนที่มาเที่ยวที่อ่างเก็บน้ำ แห่งนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นชาวบ้านที่หาเช้ากินค่ำ หรือไม่ก็ พวกนักเรียนนักศึกษา แต่มันก็เป็นความสุขของเขา และเขาก็ ต้ อ งการเพี ย งแค่ นั้ น ส่ ว นคนที่ ขั บ รถผ่ า น อ่างเก็บน้ำตรงเข้ามาที่วัดเพื่อปฏิบัติธรรม กลับเป็น นักธุรกิจจากกรุงเทพฯ หรือเจ้าหน้าที่ระดับสูงในองค์กร 15


บางคนมีความเป็นอยู่สะดวกสบาย ถึงขนาดเล่นตุ๊กตา Blythe หรือหัดทำขนมเค้กเพลินๆได้ทั้งวัน โดยไม่ต้อง อาทรเรื่องการทำมาหากิน เช้าวันนี้เวลาแปดนาฬิกา ยี่ สิ บ ห้ า นาที กระเพาะของข้ า ฯคำรามถามว่ า เป็ ด (จั ก รยานน้ ำ ) ตั ว นั้ น จะพาผู้ โ ดยสารล่ อ งไปได้ ไ กล สักแค่ไหน? การ์ตูนนิสต์ที่รอคอย ตามหานั ก เขี ย นการ์ ตู น ที่ มี ฝี ไ ม้ ล ายเส้ น ถู ก จริ ต มานานหลายปี ในที่สุดก็...BOOM! เขาอยู่ใกล้ๆเรามา ตั้งนานแล้ว เขาผู้นั้นมีชื่อว่าโต๊ะมิหรืออีกชื่อหนึ่งที่ใช้ใน วงการก็ คื อ Neo Caravada ใช่ แ ล้ ว นี โ อจารวาท คนเดียวกับที่วาด Tang’s-Mo Love Story ใน Blog นี้ ข้ า ฯแอบชอบงานของโต๊ ะ มิ ม าตั้ ง แต่ เ ป็ น นั ก ศึ ก ษา ร่วมชัน้ ปี เมือ่ Present งานเขามักจะบอกว่า งานของเขา พูดถึงความกดดันในชีวิต แต่มันก็ดูสนุกไปเสียทุกครั้ง เพราะมันเป็นการ์ตนู มันเป็นการ์ตนู ตัง้ แต่ยงั ไม่ได้คลอด ออกมาเป็ น ผลงานด้ ว ยซ้ ำ การ์ ตู น ของโต๊ ะ มิ จ ะมี บรรยากาศของความล่องลอยหลอกหลอน แต่แฝงฝัง ไปด้วยความอุ่นละมุน ซึ่งอย่างหลังเขาฝังไว้ลึกมาก ความเป็นไทยก็เป็นอีกสิง่ หนึง่ ทีจ่ ะขาดเสียมิได้ในผลงาน ของเขา

16


กาลครั้งหนึ่งในวิชาภาพพิมพ์เทคนิค Wood Cut ผลงานชิ้ น หนึ่ ง ของโต๊ ะ มิ ไ ด้ ๑๐๐ คะแนนเต็ ม เป็ น ภาพพิมพ์รูป BATMAN หลากบุคลิก พิมพ์ด้วยสีดำ เพียงสีเดียว ในการทำงานภาพพิมพ์ เมือ่ ทำบล็อกแม่แบบ ขึ้นมาชิ้นหนึ่ง สามารถพิมพ์ผลงานออกมาได้หลายชิ้น จนกว่าบล็อกแม่แบบจะผุพัง ข้าฯชอบงาน BATMAN ชิ้นนั้นมากจนทนไม่ไหว จึงนำผลงานของตัวเองไปแลก โต๊ะมิไม่วา่ กระไร เพียงแต่แย้มยิม้ แล้วเดินจากไป ข้าฯก้มลง ดูผลงานของตัวเองด้วยความรูส้ กึ สมเพช ก็สมควรอยูห่ รอก ที่จะถูกเมิน เพราะผลงานชิ้นนั้นของข้าฯ อาจารย์ผู้สอน ให้มาเพียง ๖๕ คะแนน ทุกวันนี้ข้าฯแอบลุ้นอยู่ทุกลมหายใจว่า เมื่อไหร่ ลูกชายฝาแฝดอายุสามขวบของเขาจะพึง่ ตัวเองได้เสียที พ่อจะได้มาช่วยหลวงลุงทำหนังสือการ์ตูน ทั้งนี้ข้าฯได้ เตรียมพล็อตเรือ่ งเอาไว้แล้ว เป็นเรือ่ งเกีย่ วกับนักศึกษาศิลปะ ละแวกเชิงดอยสุเทพที่ตกหลุมรักเพื่อนสนิทของตัวเอง (อ๊ะ! คุ้นๆ) และนักศึกษาผู้นั้นได้ทำการค้นคว้าทดลอง หาความสุขที่จะอยู่กับเขาได้นานๆ การ์ตูนเล่มนี้จะถูก นำไปแจกในงานฌาปนกิ จ ของข้ า ฯ ก็ ไ ด้ แ ต่ ห วั ง ว่ า มันคงจะไม่สายเกินไป เพราะวันนั้นจะมาถึงเมื่อไหร่ ไม่ว่าข้าฯหรือใครก็ไม่อาจล่วงรู้ได้เลย

17


Depend on You ในช่ ว งสามปี ที่ ผ่ า นมา ข้ า ฯพบเจอผู้ ค นแสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับพุทธศาสนาตามสือ่ ต่างๆมากมาย หลายกระจุก จึงขอนำเสนอมุมมองของผู้ที่อยู่ในแวดวง นี้บ้าง ส่วนจะผิดชอบชั่วดีถี่ห่างอย่างไร ก็ขอให้กรอง กันเอาเองตามอัธยาศัย ความเห็ น จากสื่ อ  : การห้ อ ยพระเครื่ อ งจะทำให้ แคล้วคลาดจากอุบัติภัย ความเห็นจากข้าฯ : เป็นความเห็นของผูท้ น่ี ยิ มพระเครือ่ ง แต่ละคนๆไป ผู้ที่ห้อยพระเครื่องเพื่อให้เกิดสังฆานุสติ คือการระลึกถึงครูบาอาจารย์หรือพระอริยสงฆ์ทปี่ ฏิบตั ดิ ี ปฏิบตั ชิ อบก็มมี าก แต่มนั ก็เป็นเรือ่ งสำหรับคนทีย่ งั เด็กอยู่ ที่ต้องอาศัยวัตถุมาล่อสักหน่อยหนึ่ง ส่วนคนที่โตแล้ว เขาไม่ต้องห้อยก็ได้ เพราะเขามีที่พึ่งอยู่ในใจให้ระลึกถึง ได้ตลอดเวลา ความเห็ น จากสื่ อ  : สวดมนต์ ภ าษาบาลี ฟั ง ไม่ อ อก แปลไม่ได้สักคำ ความเห็นจากข้าฯ : วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี และสำนั ก สาขากว่ า สองร้ อ ยแห่ ง ทั่ ว ประเทศ มี ก าร สวดมนต์แปลบาลี-ไทยมาไม่ต่ำกว่ายี่สิบปี นอกจากนี้ วั ด ป่ า นานาชาติ แ ละสำนั ก สาขาของวั ด หนองป่ า พง 18


อี ก เกื อ บยี่ สิ บ แห่ ง ในต่างประเทศ ยังมี การสวดมนต์ แปลบาลี-อังกฤษด้วย นี่คือตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ นะโม ตัสสะภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็น ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง Homage to the Blessed, Noble and Perfectly Enlighten One. ความเห็นจากสือ่  : การกรวดน้ำอุทศิ ส่วนกุศลไม่มเี หตุผล ความเห็นจากข้าฯ : เมือ่ ไปกิจนิมนต์ในบ้าน ถ้าโยมไม่ได้ เตรี ย มที่ ก รวดน้ ำ ไว้ พระอาจารย์ ท่ า นก็ จ ะบอกว่ า ไม่เป็นไร กรวดน้ำธรรมในใจก็ได้ ทำจิตให้ระลึกถึงคน ที่เราต้องการอุทิศส่วนกุศลให้แก่เขา การกรวดน้ำก็เป็น อุ บ ายอย่ า งหนึ่ ง จู่ ๆ จะให้ ตั้ ง จิ ต อุ ทิ ศ ส่ ว นกุ ศ ลทั น ที บางคนเขายังไม่ถนัด พอมีกิจกรรมตรงนี้ เขาก็ตั้งใจขึ้น คนที่กำลังทำกิจกรรมอย่างอื่นอยู่หรือคุยกันอยู่ก็จะได้ หยุด แล้ววิง่ มาต่อแขนกัน (ฮา) เมือ่ มีการเพ่งจุดสนใจไป ที่เดียวกัน บรรยากาศโดยรวมก็สงบขึ้น  ถ้าบรรยากาศ สงบก่อนกรวดน้ำรับพรพระอาจารย์ท่านอาจจะแสดง ธรรม เพื่ อ ให้ ข้ อ คิ ด ในการดำเนิ น ชี วิ ต ถ้ า ผู้ ฟั ง รั บ ไป ประพฤติ ปฏิบัติ มันก็เป็นมงคลกับผู้อยู่อาศัย กับบ้าน กับสถานที่นั้นขึ้นมา

19


ความเห็นจากสื่อ : สามีภรรยาชาวไทยคู่หนึ่งจบจาก เมืองนอกระดับรองศาสตราจารย์ สอนอยูใ่ นมหาวิทยาลัย ชื่ อ ดั ง ในกรุ ง เทพฯ ให้สัมภาษณ์ว่า ทั้งคู่เปลี่ยนจาก ศาสนาพุทธมานับถืออีกศาสนาหนึง่ เพราะต้องการคำสอน ในระดับชีวิตประจำวัน ไม่ต้องการจะหนีจากโลกหรือ ไปพระนิพพาน ความเห็นจากข้าฯ : คำสอนทางพุทธศาสนาในระดับ ชาวบ้านก็มีอยู่ เช่นในหมวดฆราวาสธรรมหรือในส่วน ของคิหิปฏิบัติ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่เป็นคฤหัสถ์ พระพุทธเจ้าท่านทรงมีพระมหาปัญญาธิคุณ ท่านรู้ว่า ทางโลกต้องแบ่งเวลาสำหรับครอบครัวหรือการทำมา หากิน ท่านก็จดั ให้อยูใ่ นระดับทาน ศีล ภาวนา ส่วนพระ หรื อ ผู้ ป ฏิ บั ติ ธ รรมไม่ มี ภ าระตรงนั้ น จึ ง สามารถทำ ความเพี ย รได้ เ ต็ ม ที่ ก็ ย กขึ้ น มาเป็ น ระดั บ ศี ล สมาธิ ปัญญา ความเห็นจากสื่อ : ถ้าคนมาบวชกันหมด พุทธบริษัท จะไม่ครบ เกรงว่าจะขาดคนทำหน้าที่ใส่บาตร ความเห็ น จากข้ า ฯ : พุ ท ธศาสนาดำรงอยู่ ม ากว่ า สองพันห้าร้อยปี คงจะมีคนพูดประโยคนีเ้ ป็นแสนๆล้านๆ ครั้ง ขนาดว่าข้าฯบวชมาเพียงสิบปีเศษก็ยังได้ยินคำพูด ทำนองนีม้ านับครัง้ ไม่ถว้ น แต่เหตุการณ์นกี้ ไ็ ม่เคยเกิดขึน้ มาตลอดสองพันกว่าปี และข้าฯเชือ่ แน่วา่ จะไม่เกิดขึน้ ชัว่ 20


กาลปาวสาน ต่อไปภายภาคหน้าจะไม่มพี ระให้ใส่บาตร จะเหลือเพียงคนใส่บาตรด้วยซ้ำ ผ่านวันเข้าพรรษามาได้ ยังไม่ถงึ หนึง่ สัปดาห์ พระบวชใหม่กห็ าฤกษ์สกึ ออกไปเป็น คนใส่บาตรกันแล้ว (สึกไปแล้วก็ไม่รู้ว่าทำกันหรือเปล่า) ทัง้ ๆทีม่ เี วลากว่าสามเดือนทีจ่ ะประพฤติวตั รปฏิบตั ธิ รรม ให้สมควรกับการเป็นผูท้ ญ ี่ าติโยมเขาเคารพกราบไว้และ ใส่บาตร พระอาจารย์รูปหนึ่งท่านบอกว่า คำพูดนี้เป็น เพียงคำพูดลอยๆ พอๆกับพูดว่า “ถ้าทุกคนเป็นคนขับรถ กันหมด แล้วใครจะเป็นผู้โดยสาร” Collection นมนานมาแล้ว โยมเพื่อนสมัยเป็นนักศึกษาแวะ มาเยี่ยมและพักค้างคืนที่วัด ในวันจะกลับเขาใส่เสื้อยืด สกรีนรูปท่านประธานมิก้ กีเ้ หมาตัวเบ้อเร่อ (รูปเหมาเจ๋อตุง มีหแู บบมิกกีเ้ ม้าส์) ข้าฯหัวร่องอหงายจนน้ำลายฟูมปาก ช่างเป็นรูปที่ฮาเหลือทนจนต้องบอกโยมเพื่อนสแกน ส่ ง มาให้ ก่ อ นหน้ า นี้ไม่นานข้าฯอ่านพบบทความใน หนังสือเกีย่ วกับการดูแลสุขภาพกายสุขภาพใจ ซึง่ ผูเ้ ขียน แนะนำไว้วา่ ให้หารูปหรือหนังตลกเก็บสะสมไว้ เมือ่ ใดที่ อยูใ่ นภาวะยิม้ ไม่ได้ขำไม่ออก ก็ให้เอาของพวกนีอ้ อกมาดู ข้าฯดูรปู ท่านประธานมิก้ กีเ้ หมาอยูห่ ลายวัน แรกๆก็กา๊ ก วันถัดไปคริคริ หลายวันเข้าเหลือเพียงหึหึ ไม่ถึงสัปดาห์ ก็รู้สึกเฉยๆ ก่อนหน้านี้ข้าฯเคยคิดจะสะสมหนังขาวดำ 21


คลาสสิกของ Chalie Chaplin กับ Buster Keaton เหมือนกัน แต่เมื่อเทียบเคียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับรูป ท่านประธานมิ้กกี้เหมาแล้วข้าฯก็เปลี่ยนใจ ทุกวันนี้ข้าฯ ขะมักเขม้นสะสมอยู่เพียงอย่างเดียวคือ ความคิดเห็นที่ จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ คาถา เดินทางไปทำธุระที่กรุงเทพฯ มีเวลาเหลืออยู่เยอะ จึงแวะไปกราบศพครูบาอาจารย์สายวัดป่าทีพ่ ง่ึ มรณภาพ หลวงตารูปหนึ่งที่วัดนั้น ท่านทำหน้าที่ต้อนรับขับสู้พระ อาคันตุกะที่แวะเวียนไปมา พูดคุยถามไถ่กันจึงได้รู้ว่า บ้านเดิมของท่านอยูท่ อ่ี บุ ล...คนบ้านเดียวกัน ก่อนจะกลับ หลวงตาได้มอบหนังสือธรรมะและรูปครูบาอาจารย์ให้ เป็นทีร่ ะทึก แถมยังใจดีอธิบายให้ฟงั อีกว่าด้านหลังของรูป มีคาถาดี เอาไว้ท่องเวลาขึ้นรถลงเรือไปเหนือล่องใต้ ป้องกันอุบตั ภิ ยั ดีนกั แล ข้าฯเห็นหลวงตาเล่าเป็นตุเป็นตะ จึงแกล้งถามหยัง่ เชิงดูวา่ ใช้ได้เฉพาะรถกับเรือหรือครับ? เครื่องบินไหวไหมครับเพราะผมกำลังจะเดินทางไกล? หลวงตาตอบว่า สบายมาก แล้วเล่าเป็นตุเป็นตะกว่าเดิม อีกว่า มีโยมใช้ได้ผลมาแล้ว ข้าฯพิจารณาคาถาภาษา บาลี ค ร่ า วๆเห็ น มี ค ำว่ า พุ ท ธั ง ธั ม มั ง สั ง ฆั ง อยู่ ด้ ว ย ในสถานการณ์คับขันขนาดนั้นให้จติ ใจของเราได้จดจ่อ อยูก่ บั พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยังจะดีกว่าปล่อยให้ 22


ฟุง้ ซ่านเรือ่ งญาติพนี่ อ้ งหรือทรัพย์สมบัติ ถ้ามีโอกาสเจอ หลวงตาในครั้งหน้าข้าฯจะถามว่า เรือดำน้ำกับยาน อวกาศไหวไหมครับ? 123 Diary ตีพมิ พ์ครัง้ แรกในจุลสารฟรีกอ็ ปปีร้ ายสามเดือนชือ่ HideAway Vol.2 No.6 July-September 2009 ฉบับนีม้ ี Concept ว่า I Love… ๑. สามี ถ ามภรรยาว่ า คุ ณ รั ก ใครมากที่ สุ ด ในโลก? ภรรยาตอบว่า ดิฉนั รักตัวเองมากทีส่ ดุ ในโลก สามีนง่ิ คิด อยู่ครู่หนึ่งก่อนพูดขึ้นว่า ผมก็เหมือนกัน ๒. พ็อกเก็ตบุ๊กลำดับที่ห้าของตัวเองยังไม่ทันเสร็จดี ข้าฯก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า “การงานในวัฏฏสงสารนี่ มั น น่ า เบื่ อ ” ขบวนการผลิ ต หนั ง สื อ ออกมาเล่ ม หนึ่ ง มีขน้ั ตอนทีค่ อ่ นข้างตายตัว : เตรียมเนือ้ หา-ออกแบบปก และรูปเล่ม-ส่งให้โรงพิมพ์จดั อาร์ตเวิรค์ -ตรวจแก้ตน้ ฉบับส่ ง กลั บ ไปให้ โ รงพิ ม พ์ อี ก ครั้ ง เมื่ อ สำเร็ จ เป็ น รู ป เล่ ม ก็ออกจำหน่ายจ่ายแจก พอเสร็จเล่มนี้ก็เตรียมเนื้อหา สำหรับเล่มหน้า แต่อนั ทีจ่ ริงการงานในโลกไม่วา่ ชนิดใด ก็ล้วนวนเวียนไปมาอยู่อย่างนี้ไม่รู้จบสิ้น

23


๓. หญิงสาวพูดกับชายหนุม่ ว่า “ถ้าเราทำงานใหญ่สำเร็จ สักชิน้ หนึง่ แล้วคิดถึงใครเป็นคนแรก คนนัน้ คือคนทีเ่ รารัก” ข้าฯเคยผลิต Bookazine สำหรับเยาวชนคนหนุ่มสาว ที่รักศิลปะ การอ่าน และการเดินทางออกมา ๒ เล่ม ใช้งบประมาณเล่มละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท มีผู้ร่วมงานกว่า ๒๐ ชีวติ เล่มแรกใช้เวลาจัดทำนานถึง ๑๔ เดือน เล่มหลัง ๑๑ เดือน เป็นงานใหญ่และหนักที่สุดในชีวิตของข้าฯ เมื่อโครงการนี้ลุล่วงคนแรกที่ข้าฯคิดถึงคือ...ตัวเอง Fat Bhikkhu Slim โยม : พระท่านฉันอาหารแค่ม้อื สองมื้อ แต่ทำไมบางรูป ท่านดูอวบอิ่มจัง? ไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงใดๆนะคะ แต่อดสงสัยไม่ได้ (ยกตัวอย่างเช่นพระอาจารย์...เจอท่าน ทีไรรู้สึกว่าท่านอวบขึ้นทุกทีๆ) รบกวนหลวงพี่ช่วยไข ข้อข้องใจด้วยค่ะ เปสโลภิกขุ : เป็นข้อข้องใจที่น่าเอ็นดูมาก ถ้าไม่รีบไข เกรงว่าไขมันจะอุดตัน อาตมาเองก็เคยสงสัยเหมือนกันว่า ใครเป็นคนกำหนดให้มนุษย์ต้องบริโภคอาหารวันละ สามมื้อ ความรู้ทางการแพทย์ในปัจจุบันให้ข้อมูลว่า มื้ อ เช้ า ให้ บ ริ โ ภคอย่ า งพระราชา มื้ อ เที่ ย งให้ บ ริ โ ภค อย่างเศรษฐี ส่วนมื้อเย็นให้บริโภคอย่างยาจก คำตอบ เล็กๆน้อยๆที่ได้จากการสังเกตและแลกเปลี่ยนความรู้ 24


กับเพือ่ นพระมีอยูว่ า่ ร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนมี ก ารดู ด ซึ ม ที่ ดี บางคนมี ก ารดู ด ซึ ม ที่ ไ ม่ ดี พระอาจารย์ บ างท่ า นนอกจากจะฉั น มื้ อ เดี ย วแล้ ว ยังฉันเร็วมาก เพียง ๑๐-๑๕ นาทีต่อวัน แต่ก็เห็นท่าน อ้วนเอาๆ ชนิดทีว่ า่ ถ้าขึน้ เครือ่ งชัง่ น้ำหนัก แล้วก้มลงมอง ไม่เห็นตัวเลขเพราะติดพุง ครูบาอาจารย์ที่ท่านอายุมาก แต่รูปร่างผอมเพรียวก็มีนะ เช่นหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อพุธ ฐานิโย Have a Good Night สิ่งหนึ่งที่คนออกแบบกุฏิสำหรับวัดป่ามักจะพลาด อย่างไม่นา่ ให้อภัยก็คอื ลืมพิจารณาทำทีก่ นั มดและสัตว์ เลื้อยคลาน ป่าเป็นที่ชุมนุมของสัตว์นานาชนิด ข้าฯเคย พบกวางขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่เรียกว่ากวางม้า วิ่งหนี นายพรานลงมาซ่อนตัวอยู่ในวัด งูเหลือมหรืองูจงอาง ขนาดสามเมตรเศษๆก็เลื้อยมาให้เห็นอยู่เสมอ หมูป่า ลิงค่างบ่างชะนียิ่งตีสนิทได้สบาย แต่สัตว์เหล่านี้ก็ไม่ได้ ทำความรำคาญอะไรให้มากนัก สัตว์ที่ต้องพบปะและ สัมผัสกันอยู่เป็นประจำก็คือมด ปลวก ตะขาบ และ แมงป่ อ ง ข้ า ฯเคยเดิ น ทางไปพำนั ก ที่ วั ด ป่ า แห่ ง หนึ่ ง กุฏิที่พักสร้างจากไม้และเขาทำห้องน้ำติดกับตัวกุฏิด้วย ความชื้ น เป็ น สิ่ ง ดึ ง ดูดสัตว์เลื้อยคลานข้างต้นได้เป็น อย่างดี กลางดึกคืนหนึ่งขณะจำวัด ข้าฯจึงโดนแมงป่อง 25


ต่อยเข้าที่ต้นแขน พลิกหมอนเปิดผ้าห่มค้นหาตัวการ อยู่ ตั้ ง นานแต่ ก็ ไ ม่ เ จอ จึงข่มความเจ็บปวดล้มตัวลง จำวัดต่อไป! ในบางคื น หลั ง จากสวดมนต์ ท ำสมาธิ เ สร็ จ แล้ ว เมื่อข้าฯกลับไปที่กุฏิ พอเปิดประตูก็พบปลวกชนิดหนึ่ง ทีเ่ รียกว่าปลวกน้ำนอง เป็นปลวกทีไ่ ม่กนิ ไม้ แต่จะอพยพ หนี น้ำ ขึ้น มาอยู่บ นที่สูง ในช่ ว งที่มีฝ นตก ฝู ง ปลวกทั้ ง คลานและไต่ยั้วเยี้ยอยู่บนพื้นและผนังอย่างเพลิดเพลิน ที่ ท ำได้ ในตอนนั้นก็คือเก็บสัมภาระเท่าที่จำเป็นย้าย ออกไปจำวัดที่ศาลา ปล่อยให้ฝูงปลวกพักผ่อนกันตาม อัธยาศัยสักหนึ่งคืน จากเหตุการณ์ทไี่ ด้ประสบมา ข้าฯจึงอยากจะทำกุฏิ ทีส่ ามารถป้องกันเหลือบยุงลมแดดและสัตว์เลือ้ ยคลาน ได้ทุกชนิด หากสามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง จะเป็นการ ปฏิ วั ติ ว งการออกแบบกุฏิวิหารอย่างคาดไม่ถึง ข้าฯ กำหนดคุณสมบัตขิ องสถาปนิกทีจ่ ะมาปลุกปัน้ โครงการนี้ ไว้เพียงข้อเดียวคือ ต้องผ่านการอุปสมบทในสายวัดป่า อย่างน้อยหนึง่ พรรษา เพือ่ ทีส่ ถาปนิกผูน้ นั้ จะได้เข้าใจว่า อะไรเป็ น สิ่ ง ที่ จ ำเป็ น หรื อ เกิ น จำเป็ น สำหรั บ กุ ฏิ พ ระ กรรมฐาน และสถาปนิกคนแรกๆที่ข้าฯนึกถึงคือ Tadao Ando

26


Talkie Gang นั่งรถตู้ ๙ ชั่วโมงจากชลบุรีไปร่วมงานฌาปนกิจที่ อุบลราชธานี ทุ่งท่านาทองสองข้างทางเปียกชุ่มไปด้วย เม็ดฝน แม่นำ้ มูลหนุนขึน้ สูงกว่าปรกติ ถ้าตกหนักเรือ่ ยๆ อย่างนี้อีกไม่นานคงล้นตลิ่ง ชาวบ้านสนุกสนานกับการ จับปูจับปลา โยมเล่าให้ฟังว่า พระอาจารย์รูปหนึ่งบอก ให้ญาติโยมที่นั่งรถไปด้วยกัน ซื้อปูที่ชาวบ้านจับมาวาง ขายสองข้างทางเอาไปปล่อย อันที่จริงก็น่าอนุโมทนา ในความการุณย์ของท่าน แต่คงต้องกู้แบ็งค์มาซื้ออีก หลายภพหลายชาติกว่าปูจะหมด และมีความเป็นไปได้ ในระดับสูงว่า ตังค์ทฝ่ี ากไว้ในแบ็งค์จะชิงหมดไปเสียก่อน คุณป้าช่างสังเกตคนหนึ่งบอกว่า ถ้าผู้ชายนั่งรถไป ด้วยกันต่างคนจะต่างนัง่ กันเงียบๆ แต่ถา้ เป็นผูห้ ญิง จะคุย กันไปตลอดทาง คงพูดได้ไม่เต็มปากเต็มคำว่าเป็นความ จริงเต็มร้อย เพราะข้าฯเคยนัง่ รถไปกับพระด้วยกันล้วนๆ มีพระรูปหนึ่งพูดไม่หยุดตั้งแต่จันทบุรีถึงอุบลราชธานี เมือ่ ข้าฯยังเป็นวัยรุน่ พีส่ าวคนหนึง่ ซึง่ เป็นญาติหา่ งๆเคย สอนข้าฯว่า “ผู้ชายน่ะเขาไม่พูดมากหรอก” ข้าฯก็ไม่รู้ เหมือนกันว่าทำไมผู้ชายจึงไม่ควรพูดมาก มันคงดูไม่น่า เชื่อถือกระมัง บางทีอาจจะเป็นเหมือนที่ ครูบาอาจารย์ ท่ า นบอกว่ า “คนพู ด มากมี ค นเกรงน้ อ ย คนพูดน้อย มีคนเกรงมาก” หรือนี่อาจจะเป็นเพียงรสนิยมส่วนตัว ของพี่สาวก็ได้ 27


Believe กลับจากบิณฑบาตมานั่งพลิกดูเอกสารเกี่ยวกับ พุทธทำนาย อันที่จริงถ้าเป็นต้นฉบับที่ไม่มีการตัดแต่ง เพิม่ เติมเสริมความเห็นประหลาดๆเข้าไปก็คงจะน่าศึกษา แต่ ต อนท้ า ยของเอกสารที่ พิ ม พ์ แ จกฉบั บ นี้ ดั น มี พิ รุ ธ เขาบอกว่าอ่านแล้วต้องพิมพ์แจกต่อๆไปภายใน ๑๕ วัน มิฉะนั้นจะมีอันเป็นไป อ้าว! เจอแจ็คพ็อตเข้าแล้วสิ พระป่าไม่มปี จั จัยเงินทองเป็นของส่วนตัวด้วยจะทำยังไง ดีละ่ ทีน้ี หนำซ้ำเขายังพูดป้องกันตัวเองเสียดิบดีวา่ ไม่เชือ่ อย่าลบหลู่ จากนั้นก็ยกตัวอย่างสารพัดมาข่มขู่ เช่น ชายคนหนึง่ อ่านแล้วฉีกทิง้ สองวันต่อมาลูกชายของเขาก็ เสียชีวติ อีกคนหนึง่ ผัดวันประกันพรุง่ ไม่พมิ พ์แจกภายใน ๑๕ วัน ธุรกิจของเขาก็ถึงแก่การล้มละลาย ข้าฯลองมา นึกๆดูวา่ มีใครบ้างในโลกนีท้ จ่ี ะไม่พลัดพรากจากบุคคล หรือสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจ มีใครบ้างที่จะได้แต่สิ่งที่ ตัวเองชอบในทุกโอกาส หรือมีใครบ้างทีจ่ ะไม่ประสบกับ สิ่งที่ตัวเองไม่ชอบไม่อยากได้ คำตอบคือ “ไม่มี” ทุกคน ในโลกจะต้องเป็นอย่างนี้และเราต่างก็หวาดกลัว เพราะ ไม่ รู้ ต ามความเป็ น จริ ง ในข้ อ นี้ คนจำนวนมากจึ ง ตก เป็ น เหยื่ อ ของจดหมายลู ก โซ่ หากเราลองพิ จ ารณา กันให้ถว้ นถี่ อย่าว่าแต่จะพิมพ์แจกเลย แม้เอกสารชุดนี้ จะไม่ถกู ผลิตขึน้ มา ความทุกข์ตา่ งๆ ข้างต้นก็ตอ้ งเกิดขึน้ อย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้อยูแ่ ล้ว ข้าฯควรจะทำยังไงกับเอกสาร 28


ชุดนี้ดีนะ วันนี้เป็นวันโกน ต้องติดไฟต้มน้ำย้อมจีวร เสียด้วยสิ Sawasdee Pra Farang อีกเพียงหนึ่งสัปดาห์จะถึงวันออกพรรษา พระใหม่ ดูคกึ คักครึกครืน้ เป็นพิเศษเพราะจะได้ลาสิกขากลับไปใช้ ชีวิตทางโลกเสียที เคยมีพระใหม่ถามข้าฯเหมือนกันว่า เพือ่ นทีบ่ วชรุน่ เดียวกับหลวงพีไ่ ปอยูท่ ไ่ี หนกันหมด? ก็บอก เขาว่าส่วนใหญ่จะอยูท่ ว่ี ดั ป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี เพราะพระฝรัง่ ส่วนใหญ่เขาบวชกันนานๆ และกว่าจะบวชได้ ไม่ใช่ของง่ายๆ ต้องดูตัววัดใจกันนานเป็นปีๆ แต่พระฝรัง่ ท่านทรมานกว่าเราเยอะ ไหนจะเรือ่ งอาหาร อากาศ ภาษา วัฒนธรรม แค่นงั่ กับพืน้ ก็ตอ้ งฝึกหัดกันอยูน่ าน จนตาตุม่ กลายเป็นแผ่นหนังด้านๆนัน่ แหละมันจึงจะรูเ้ รือ่ ง แต่เมือ่ ผ่านความทุกข์ยากลำบากมาแล้วมันทำให้หนังเหนียว มีอะไรมากระทบกระทั่งมันก็ไม่กระเทือนง่ายๆ ถึงวัน ออกพรรษาก็มแี ต่ถามไถ่กนั ว่า จะไปธุดงค์หรือปลีกวิเวก ที่ไหนดี? สงสัยประโยคหนาหูที่ว่า “ดอกบัวบานทาง ทิศตะวันตก” จะเป็นความจริงแล้วกระมัง ป.ล.ดอกบัว หมายถึงพุทธศาสนา / ทิศตะวันตก หมายถึง ชาวตะวันตก

29


This is the Way Thing Are โยม : เห็นท่านบอกว่าใกล้จะออกพรรษา มีพระใหม่ ดีใจจะได้ลาสิกขา จริงหรอคะ? น่าเศร้าจัง... เปสโลภิกขุ : เรือ่ งพระใหม่ อาตมาก็เคยเศร้าเคยเขียนไว้วา่ ระฆังยามบ่าย วังเวงกว่าเคย เพื่อนลาสิกขา แต่ทกุ วันนีเ้ ฉยๆ อันทีจ่ ริงก็สงสารเขาเหมือนกัน บางรูป ไม่ได้อยากบวชแต่ตามใจพ่อแม่หรือพ่อแม่แฟน ก็ทนอยู่ กันไป กว่าจะผ่านไปได้แต่ละวันนานเหมือนอยู่ในนรก โยม : บทนีส้ ดุ ยอดดดด ชอบมากกก มันดูวงั เวงทัง้ ทางโลก และทางธรรม เฮ้อออ... อยากให้มีพระอยู่กันเยอะๆค่ะ ครึกครืน้ ดี (อ้าววว!!) คือเห็นพระใหม่ทม่ี าบวช ก็จะมีโยมพ่อ โยมแม่โยมพีน่ อ้ งผองเพือ่ นตามมาเข้าวัด เป็นการดึงคน ให้มาสนใจศาสนาโดยทีเ่ ค้าอาจไม่รตู้ วั ค่ะ เปสโลภิกขุ : ในฤดูแล้งบางปีที่วัดของเราจะเหลือพระ อยู่เพียง ๔ รูป (วัดใหญ่เบ้อเร่อ) รูปใดนั่งท้ายแถว ก็เหนือ่ ยหน่อย โน่นแหละปลายมีนา’หรือต้นเมษา’ จึงจะมี นักศึกษามาบวชช่วงสัน้ ๆตอนปิดเทอม วัดทางภาคอีสาน ยิง่ หนักเข้าไปใหญ่ เหลือเจ้าอาวาสเฝ้าวัดอยูเ่ พียงรูปเดียว แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง เมื่อคนน้อยลงปัญหาก็น้อยลง 30


มันก็สงบไปอีกแบบ Wing โยม : ทำไมโยมฝึกภาวนามาตั้งนานแล้ว ไม่เคยเห็น แสงวิ้งๆอย่างคนอื่นเค้าซักที เห็นคนโน้นคนนี้คุยกัน มีวิ้งๆอย่างงั้น วิ้งๆอย่างงี้ จริงๆแล้วมันต้องมีไหมคะ? พระอาจารย์เคยวิ้งๆไหมคะ? เปสโลภิกขุ : แค่อยากเห็นแสงวิ้งๆไม่เห็นต้องฝึกภาวนา กันให้ลำบาก อาตมาเองก็เห็นอยู่เกือบทุกวัน วิ้งมีอยู่ สองแบบคือ วิง้ แบบ Mac กับวิง้ แบบ Windows คงต้อง ทบทวนเป้าหมายของการภาวนาบ่อยๆว่า เราภาวนากัน ไปทำไม? จะได้ ตั ด สิ่ ง ที่ ไ ม่ ใ ช่ เ ป้ า หมายออกไป เพราะมันทำให้เสียเวลา Old Fashion ขณะนั่งรถไปกิจนิมนต์ โยมคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ลูกสาวของเขาทำงามหน้าชิงสุกก่อนห่ามในวัยเรียน ผูช้ ายทีม่ าชิงสุกลูกสาวมีอายุมากกว่าแต่ไม่เป็นโล้เป็นพาย แถมยังติดการพนันด้วย เขาจึงให้คนทัง้ สองเลิกติดต่อกัน แล้วเอาหลานมาเลี้ยงเสียเอง โยมคนนี้กังวลว่าจะเป็น การพรากลูกเขามาหรือเปล่า ข้าฯบอกเขาว่า เราเลือก สิง่ ทีด่ ที ส่ี ดุ ให้กบั ลูกหลาน ถ้าปล่อยให้เขาอยูใ่ นสิง่ แวดล้อม แบบนั้น หน้าอาจจะงามขึ้นอีกหลายเท่า 31


อั น ที่ จ ริ ง เรื่ อ งแบบนี้ ก็ เ คยได้ ยิ น มาแต่ ไ หนแต่ ไ ร โยมเพื่ อ นสมั ย เรี ย นมหา’ลั ย คนหนึ่ ง ชิ ง สุ ก นั ก ศึ ก ษา แลกเปลี่ยนชาวญี่ปุ่น จนเป็นเหตุให้ตัวเองต้องถูกสั่ง พักการเรียน ผูใ้ หญ่ในบ้านเมืองของเราก็ไม่ได้นง่ิ นอนใจ กั บ เรื่ อ งนี้ ขวนขวายหาสารพั ด วิ ธี ม าแก้ ปั ญ หา ถุงยางอนามัยก็เป็นวิธหี นึง่ แต่นเ่ี ป็นเพียงการแก้ปญ ั หา ที่ปลายเหตุ แล้วต้นเหตุมันคืออะไร? เคยอ่านพบใน หนังสือพุทธธรรมของพระเดชพระคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโฺ ต) ท่านอรรถาธิบายว่า ธรรมชาติสร้างเพศรส ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวล่อให้มนุษย์สืบเผ่าพันธุ์ ธรรมชาติรู้ว่า ถ้ า ไม่ มี เ พศรสเป็ น ตั ว ล่ อ มนุ ษ ย์ จ ะไม่ ย อมประกอบ กิจกรรมนี้ เพราะมันเป็นเรือ่ งน่าเหนือ่ ยหน่าย แต่ไปๆมาๆ มนุษย์กลับประกอบกิจกรรมทางเพศเพราะต้องการเพียง เพศรส ถุงยางอนามัยจึงถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อตอบสนอง ความต้องการนี้ หากใครนำเรื่องแบบนี้ไปอธิบายให้ วัยรุ่นฟัง เขาคงส่ายหน้าหาว่าโบราณคร่ำครึ เพราะหนัง Hollywood มั น น่ า เอาเป็ น ตั ว อย่ า งกว่ า เยอะ ไหนๆ ตอนต้นๆก็ได้ยกสุภาษิตคำพังเพยมาเปิดประเด็นไปแล้ว ขอส่งท้าย Entry นี้อีกสักหนึง่ บทน่าจะดี--หมูเขาจะหาม นิ่งเสียตำลึงทอง

ถังเหลืองเปลืองใจ ชาวพุทธผู้หวังประโยชน์แก่พระศาสนากลุ่มหนึ่ง 32


กำลั ง ดำเนิ น การจั ด พิ ม พ์ ห นั ง สื อ เพื่ อ อธิ บ ายถึ ง การ ถวายสั ง ฆทาน โดยตั้ ง ชื่ อ หนั ง สื อ ว่ า “สั ง ฆทาน vs ถังเหลือง” ข้าฯเห็นว่าชื่อหนังสือยังไม่ชวนอ่านจึงเสนอ เข้าชิงอีก ๔ ชื่อ ๑. ถังเหลืองเปลืองใจ ๒. สังฆทานรีเทิรน์ (Begin / Forever / Dark Knight) ๓. สังฆทานท่านได้แต่ใดมา ๔. สังฆทานบานตะไท แล้วตามด้วยวิธีแก้ปัญหาเครื่องสังฆทานล้นเกิน สองวิธีคือ ๑. ปวารณาด้วยปัจจัยสี่แก่พระสงฆ์ ๒. หย่อนปัจจัยลงในตูบ้ ริจาคแล้วถวายใบปวารณา แก่พระสงฆ์ วิธีแรกก็เพียงแต่คลานเข้าไปหาพระแล้วบอกว่า โยมมีศรัทธาจะถวายปัจจัยจำนวน...บาท ถ้าพระคุณเจ้า ประสงค์ สิ่ ง ใดก็ บ อกโยมได้ หรื อ โยมเป็ น เภสั ช กร ถ้าพระคุณเจ้าต้องการยารักษาโรคก็บอกโยมได้ และ อาจจะกำหนดระยะเวลาไว้ด้วยว่า พระคุณเจ้าขอได้ ภายในช่วงเข้าพรรษา ๓ เดือน ส่วนจะมากหรือน้อย กว่านัน้ ก็แล้วแต่กำลังของญาติโยม ตามพระวินยั หากโยม ทีป่ วารณาปัจจัยสีไ่ ม่ได้กำหนดระยะเวลาในการปวารณา พระจะขอได้ไม่เกิน ๔ เดือน ข้าฯเคยสงสัยเหมือนกันว่า ทำไมต้อง ๔ เดือน ครูบาอาจารย์ท่านให้เหตุผลว่า 33


เพราะศรัทธาของคนเปลีย่ นได้ ช่วงเวลา ๔ เดือนก็รแู้ ล้วว่า อะไรเป็นอะไร วิธนี ้ี ญาติโยมต้องเป็นผูม้ ปี ญ ั ญาในการเลือก พระทีจ่ ะปวารณาสักหน่อย ถ้าสุม่ สีส่ มุ่ ห้าไปปวารณาพระ ทีไ่ ม่รจู้ กั ประมาณในการขอ อาจจะหมดเนือ้ หมดตัวเอาได้ วัดในสายของวัดหนองป่าพงไม่สู้จะมีปัญหาในเรื่องนี้ เพราะหลวงพ่อชาและ ครูบาอาจารย์ชน้ั หลังๆท่านเตือน อยู่เสมอว่า ถ้ามีญาติโยมมาปวารณาปัจจัยสี่ให้กลัว เอาไว้ก่อน อย่าพึ่งไปขอเขา ดูๆกันไปก่อนว่าเขามีศรัทธา จริงหรือเปล่า เรามีบิณฑบาตพอได้ฉัน มีกุฏิพอได้พัก บำเพ็ญภาวนา แค่นี้ก็พอแล้ว วิ ธี ที่ ส อง ถ้ า ญาติ โ ยมมาได้ ยิ น พระแนะนำให้ หย่อนปัจจัยลงในตู้บริจาค อาจจะคิดว่าพระเห็นแก่ได้ แต่หากพิจารณากันให้ลึกๆก็จะเห็นแง่มุมที่อยู่ลึกๆๆ เข้าไปว่า เงินเป็นตัวกลางที่สามารถนำไปแลกเปลี่ยน เป็นสิ่งต่างๆได้อย่างสะดวก เช่นค่าน้ำค่าไฟ ค่าใช้จ่าย ในการเดิ น ทาง ค่ า รั ก ษาพยาบาล ค่ า วั ส ดุ อุ ป กรณ์ ซ่ อ มแซมกุ ฏิ วิ ห ารฯ หากมนุ ษ ย์ ไ ม่ ป ระดิ ษ ฐ์ สิ่ ง ที่ เรี ย กว่ า เงิ น ขึ้ น มา โลกของเราคงทุ ลั ก ทุ เ ลน่ า ดู ช ม พระคงต้องแบกเทียนจำนำพรรษาหรือหลอดไฟไปคลินกิ เพื่ อ เป็ น ค่ า ขู ด หิ น ปู น ทั น ตแพทย์ อ าจต้ อ งถื อ หลอด ตะเกียบไปจ่ายค่าก๋วยเตี๋ยว และแม่ค้าน่าจะทอนด้วย สบู่หอมนกแก้วครึ่งก้อน วัดในสายของวัดหนองป่าพง มีข้อวัตรอยู่ว่า ปัจจัยเงินทองที่มาจากการบริจาคของ 34


ญาติ โ ยม  มิ ไ ด้ ต กเป็ น ของพระภิ ก ษุ ส ามเณรรู ป ใด รูปหนึ่ง หากแต่เป็นสมบัติของคณะสงฆ์ เมื่อพระหนุ่ม เณรน้อยรูปใดมีเหตุจำเป็นต้องใช้ ก็ให้มากราบเรียน ครู บ าอาจารย์ ผู้ เ ป็ น ประธานสงฆ์ เพื่ อ ที่ ท่ า นจะได้ พิจารณาตามสมควรกรณี แม้ทง้ั สองวิธนี ไ้ี ม่อาจทำให้ถงั เหลืองสูญพันธุไ์ ปจาก เมืองไทย แต่ก็คงจะมีส่วนช่วยให้เงินทองที่ญาติโยมสู้ อุตส่าห์แสวงหากันมาด้วยความเหนื่อยยากตรากตรำ เกิดประโยชน์คุ้มค่าอย่างที่ควรจะเป็น Autopsy โยม : ท่านเปสโลภิกขุเคยพิจารณาซากศพใช่ไหมคะ? ที่โรงพยาบาลเหรอคะ? แล้วตอนไปมีเกณฑ์ไหมคะว่า ต้องบวชกีพ่ รรษา หรือว่าแล้วแต่ดลุ ยพินจิ ของพระอาจารย์? เปสโลภิ ก ขุ  : เคยไปที่ โ รงพยาบาลเพราะเขาอำนวย ความสะดวกดี ไม่แน่ใจว่าโยมจำสามเณรน่ารักอายุ ๑๒ ขวบที่ชื่อกระต่ายได้หรือเปล่า? เขาเคยไปดูผ่าศพ กั บ พระด้ ว ย ตอนอาตมาเป็ น สามเณรก็ เ คยขอให้ พระอาจารย์พาไป แต่ทา่ นบอกว่าให้ฝกึ ดูรปู ไปก่อน ทีน่ งั่ สำหรับดูผ่าศพที่โรงพยาบาลศิริราชจะทำลดหลั่นแบบ อัฒจรรย์เชียร์กฬี า โดยมีเตียงผ่าศพตัง้ อยูต่ รงกลาง เข้าชม ได้ครัง้ ละ ๒๐-๓๐ คน ถ้าดูไปปรบมือไปคงสนุกพิลกึ โยมอยู่ กรุงเทพฯถ้ามีเวลาว่างก็ชวนเพื่อนๆไปเดินเล่นที่นี่ได้ 35


ตื่นเต้นกว่าเดินห้างฯเป็นไหนๆ เขามีพิพิธภัณฑ์เก็บศพ ซีอยุ ด้วย แต่ทน่ี ม่ี สี ง่ิ ทีน่ า่ สนใจกว่าซีอยุ มากมาย เช่นเกิด ไฟไหม้ในโรงหนัง เด็กคนหนึง่ วิง่ หนีไฟลงไปอยูใ่ นโอ่งทีม่ ี น้ำอยูเ่ ต็ม แต่ไฟโหมมาจากทุกทิศทุกทางและไหม้อยูน่ าน หลายชั่วโมงจนน้ำในโอ่งเดือด เด็กก็เลยถูกต้มเสียสุก โอ่งใบนีถ้ กู นำมาเก็บไว้ทพ่ี พิ ธิ ภัณฑ์แห่งนี้ และมีภาพถ่าย หลังเกิดเหตุประกอบด้วย (น่าจะทำหุน่ ขีผ้ ง้ึ ในท่านั่งขดใส่ ไว้ในโอ่งด้วยจะได้สมจริง) นอกจากนีย้ งั มีอปุ กรณ์สำหรับ ฆ่าตัวตายที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว รวมถึงภาพถ่าย คนตายหลากหลายอรรถรส อวัยวะมนุษย์ ทั้งแบบดอง และแช่อิ่มฯ น่าตื่นเต้นไปเสียทุกอย่าง (ขอเล่าแทรก นิดหน่อย สามเณรหนุม่ รูปหนึง่ คุยโวว่าเคยไปพักทีว่ ดั ป่า แห่ ง หนึ่ ง ที่ วั ด นั้ น มี ทั้ ง แขนดอง ขาดอง หั ว ใจดอง ตั บ ดอง ดองทุ ก อย่ า ง อาตมาเลยถามเขาว่ า ดอง ทุกอย่างเลยเหรอ? มะม่วงดองมีไหม?) ยังนึกอยู่ว่า น่ า จะจั บ วั ย รุ่ น ที่ ช อบไปเที่ ย วส่ อ งดู ผี ต ามบ้ า นร้ า ง มาขังเดี่ยวไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สักคืน รุ่งเช้าใครเอา ชี วิ ต รอดมาได้ โ ดยไม่ เ ป็ น บ้ า ไปเสี ย ก่ อ นจะให้ รางวัลชมเชย โรงพยาบาลบางแห่งใจดีสุดๆ คุณหมออนุญาต ให้ ใ ส่ ถุ ง มื อ แล้ ว ลู บ คลำศพได้ ต ามชอบใจ ครั้ ง หนึ่ ง หลั ง จากดู ผ่ า ศพ อาตมาได้ ยิ น พระท่ า นคุ ย กั น ลับหลังว่า เวลาไปดูผ่าศพ แล้วมีโยมผู้หญิงอยู่ด้วยรู้สึก 36


เขินๆ เพราะถ้าเป็นกลุ่มพระภิกษุสามเณรไปดู ทาง โรงพยาบาลจะจัดศพผู้ชายมาผ่า ตามวิปัสสนาตำรา บอกว่า ผู้ชายควรดูศพผู้ชาย ผู้หญิงควรดูศพหญิง ซึ่งก็ น่าจะเป็นอย่างนั้น เพราะศพคนตายใหม่ๆไม่ต่างอะไร จากคนนอนหลับ เพียงแต่แผ่นอกหยุดกระเพื่อมขึ้นลง เพราะปราศจากลมหายใจเท่านั้นเอง The Practice of Wandering โยม : ตอนธุดงค์เป็นยังไงบ้าง? หฤหรรษ์ขนาดไหน? รบกวนท่านเปสโลภิกขุเล่าหน่อยสิคะ เปสโลภิ ก ขุ  : อาตมาไม่ ค่ อ ยถนั ด เรื่ อ งการเดิ น ธุ ด งค์ เคยลองแค่ ๒-๓ ครั้ง ทยอยเล่าไว้หมดแล้วในหนังสือ เกือบทุกเล่มทีท่ ำผ่านมา พระทีจ่ ะไปเดินธุดงค์ตอ้ งแข็งแรง อยู่วัดต้องขยันเดินจงกรม พอไปแล้วอาหารการขบฉัน จะไม่ได้ตามใจ อาจต้องฉันข้าวเปล่าหลายวัน น้ำปานะ ก็ไม่ได้มที กุ วัน สมัยเรียน ม.ช. อาตมาเคยไปโบกรถเทีย่ ว กับเพือ่ นๆ แต่มนั ไม่เหมือนกัน ตอนนัน้ อยากกินอะไรก็กนิ สนุกสนานเฮฮากันไป ไปธุดงค์กลับมาผอมกะหร่อง เหลือแต่หัวโตๆ การไปธุดงค์ต้องรู้จักความพอดี รู้จัก ประมาณ ยิ่งไปรูปเดียวยิ่งทำตามความอยากได้ง่ายๆ มีพระรูปหนึ่งท่านเดินจากกาญจนบุรีมาชลบุรี แล้วเดิน จากชลบุรีไปอุบลฯโดยไม่นั่งรถเลย ท่านเล่าให้ฟังว่า 37


มีอยูว่ นั หนึง่ เดิน ๒๔ ชัว่ โมง คือเดินจากเช้าวันหนึง่ ไปจนถึง เช้าของอีกวันหนึ่งแล้วก็เข้าหมู่บ้านบิณฑบาต พอจบ การเดินธุดงค์ต้องเข้าทำการรักษาที่โรงพยาบาล เพราะ เส้นเอ็นอักเสบ ต้องรักษากันตลอดชีวติ อาตมาเดินวันหนึง่ ๆ ประมาณ ๑๗-๑๘ กิ โลเมตร มารู้ทีหลังว่าสมัยโน้น พระพุทธองค์เสด็จทางไกลในแต่ละวันก็เป็นระยะทาง ประมาณนี้ Childhood โยม : เคยอ่ า นหนั ง สื อ ของท่ า นเปสโลภิ ก ขุ จ ำได้ ว่ า ท่านเริม่ สนใจเข้าวัดตัง้ แต่ยงั เด็กใช่ไหมคะ? พระอาจารย์ ที่วัดบอกว่าต้องเคยมีอุปนิสัยมาก่อนถึงจะไปทางนี้ เปสโลภิกขุ : เด็กอีสานส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการไปวัด กั น อยู่ แ ล้ ว การได้ ม าบวชเป็ น พระป่ า แล้ ว บอกว่ า เป็นคนอีสานถือเป็นเรื่อง Awesome dude! พอๆกับ นักดนตรีแจ๊ซมักจะภูมิใจถ้าได้บอกว่าตัวเองมาจาก New Orleans ตัวอาตมาในวัยนัน้ เพียงแต่ตามคุณยาย ไปกินขนมอร่อยๆที่วัด พอกินข้าวกินขนมเสร็จก็ชวน คุณยายกลับบ้านยิกๆ เพือ่ ให้ทนั ดูการ์ตนู ช่วงเช้าวันหยุด สุดสัปดาห์ ไม่รอู้ ย่างนีจ้ ะเรียกว่าสนใจเข้าวัดได้หรือเปล่า Teenage Fanclub เปสโลภิ ก ขุ   : โยมมาวั ด นี่ ม าเป็ น เพื่ อ นแม่ ห รื อ มี 38


แรงบันดาลใจอะไร? โยม : ไม่ได้มาเป็นเพือ่ นใคร แต่ใครๆมักจะมาด้วยมากกว่า (กวนป่ะเนีย่ ) สมัยเรียนธรรมศาสตร์มอี ยู่ Class นึง ว่าด้วย การถกประเด็นของศาสนาล้วนๆ (Cultural and Religious theory) มีเพื่อนหลายเชื้อชาติ นับถือศาสนาต่างกัน มาแลกเปลีย่ นความเห็นเกีย่ วกับศาสนาของตน นักศึกษา ที่นับถือศาสนาพุทธมีมากกว่าครึ่งห้อง ส่วนใหญ่มักพูด ถึงเรื่องเครื่องรางของขลัง การสะเดาะเคราะห์ ขึน้ สวรรค์ ลงนรกหรื อ เรื่ อ งผี มี เ พื่ อ นฝรั่ ง คนนึ ง เคยได้ ยิ น ว่ า ศาสนาพุทธสอนให้คนนั่งหลับตาที่เรียกว่า meditation เขาสงสั ย ว่ า ทำไม? เป็ น คนหนึ่ ง ที่ อ ยากรู้ เ หมื อ นกั น ว่าทำไม? ก็เลยหาพรรคพวกได้ ๔-๕ คน มาปฏิบัติธรรม ที่วัด ความจริงแค่อยากถามคำถามนี้กับหลวงพ่อเฉยๆ แต่ท่านบอกว่าศาสนานี้มีเหตุมีผลในตัวเอง แต่อธิบาย ไปก็ ค งไม่ เ ข้ า ใจ ต้ อ งลองศึ ก ษาเอง  เปรี ย บเหมื อ น อาตมาลิม้ รสน้ำตาลแล้วมันหวานหอม แต่ไม่รจู้ ะอธิบาย ความหวานนั้ น ให้ ฟั ง ยั ง ไง ถ้ า หนู อ ยากรู้ ก็ ต้ อ ง ลองชิมเอง เปสโลภิกขุ : โดนเพื่อนล้อไหม? โยม : จะเหลือเหรอคะ อกหักรักคุดบ้างล่ะ มีเรือ่ งทุกข์ใจ จนเข้าหาวัดบ้างล่ะ แต่ที่ชอบที่สุดคือบางคนจะอวยชัย 39


ให้พรด้วยอย่างเช่น “มัวแต่เข้าวัดแบบนี้ ไม่บวชซะเลยล่ะ จะได้ บ รรลุ อ รหั น ต์ ! !” ก็ เ ลยได้ แ ต่ “โมทนาสาธุ ๆ ๆ ขอให้เป็นจริงเถอะ” แล้วเพื่อนก็ค่อยๆเลิกยุ่งกับเราไป ส่วนที่เหลืออยู่ก็จะเริ่มสนใจแบบเรา เย้ๆๆ เปสโลภิกขุ : มาอยูร่ ว่ มกับกลุม่ ผูส้ งู อายุเบือ่ หรือเปล่า? โยม : โอ้โห! สนุกมาก สนุกกว่าอยูก่ บั รุน่ ราวคราวเดียวกัน ซะอีก (จริงๆนะ ไม่เชื่อท่านลองดู) Help Me! โยม : “เห็นชัดกับตัวเองว่าความทุกข์ทเ่ี คยมีอยู่ ก่อนหน้านี้ ลดน้อยลง” เวลาโยมอ่านเจอข้อความแบบนีท้ ไี ร มันก็อด ที่จะให้สงสัยไม่ได้ซักทีว่า คนเรานี่มีเรื่องทุกข์อะไรกัน นักหนา ถึงขั้นต้องมานั่งดับ เพื่อนเคยแซวว่าเค้าปฏิบัติ กันให้พ้นทุกข์ แล้วมึงมีทุกข์อะไรนักหนาให้ต้องพ้นวะ กลับมาถามตัวเองว่าเรามีทกุ ข์อะไร...ไม่มี หรือว่าเราทุกข์ แต่ไม่รู้ตัวว่าทุกข์ แต่หลังข้อสงสัยก็แอบบอกตัวเองว่า ถ้าไม่ฝึกไว้เวลาทุกข์มันมาจะเอาอะไรไปสู้กับมันล่ะ ……………… สามวันผ่านไป ……………… โยม : หลวงพีช่ ว่ ยด้วย! วันก่อนเพิง่ บ่นว่าทุกข์ไม่มี ฮือ ฮือ วันนี้ทุกข์มันก็เลยสำแดงเดช ไปช้อปหนังสือ ๑๒ เล่ม 40


เช็คบิลไป ๑๔,๐๐๐ เป็นค่าหนังสือ ๒,๐๐๐ ที่เหลือเป็น ค่าโง่ ทำมือถือหาย ฮือ ฮือ / จากหนูน้อยผู้น่าสงสาร เปสโลภิกขุ : ค่าโง่ ๑๒,๐๐๐ ก็เอาเรื่องอยู่เหมือนกัน แต่แลกกับการได้เห็นความจริงของชีวิตก็ถือว่าคุ้ม The Quiet Strom งานบุญกฐินของวัดป่าอัมพวัน จังหวัดชลบุรีปีนี้ มีครูบาอาจารย์จากภาคอีสานให้ความเมตตามาร่วมงาน กันอย่างคับคั่ง มีพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งซึ่งข้าฯคุ้นเคยมา ตั้ ง แต่ เ ป็ น เด็ ก เพราะยายย่ า พ่ อ แม่ พ าข้ า ฯกั บ น้ อ งๆ ไปทำบุญที่วัดของท่านเป็นประจำทุกวันหยุดสุดสัปดาห์ ญาติผู้พี่ซึ่งเคยบวชปฏิบัติกับท่านเล่าให้ฟังว่า หลังฉัน ภั ต ตาหารในเช้ า วั น หนึ่ ง พระเณรก็ นั่ ง คุ ย กั น อย่ า ง สนุกสนานระหว่างการเช็ดบาตร ซึ่งไม่เป็นการสมควร เพราะอาจเผลอสติทำบาตรหลุดมือ ขณะกำลังเม้าส์กัน เมามันได้ที่ หลวงพ่อก็ขว้างกระโถนลงมาจากชั้นสอง ของโรงฉันแล้วตวาดว่าสนุกกันเข้าไป! ก่ อ นวั น ทอดกฐิ น มี ก ารแสดงธรรมตลอดทั้ ง คื น หลวงพ่ อ ให้ ค วามเมตตาเทศน์ โ ปรดญาติ โ ยม ท่านเป็นพระที่พูดน้อย ลีลาการเทศน์ก็เรียบๆเรื่อยๆ พอท่านแสดงธรรมจบ พระใหม่รูปหนึ่งก็ลุกออกจาก ศาลาพร้อมพูดว่า “ไม่ถึง” ข้าฯจะพอจะอธิบายได้ว่า เกิดอะไรขึ้น โปรดติดตามตอนต่อไป 41


ปก a day นั้นสำคัญไฉน เมื่อแรกเห็นนิตยสาร a day ข้าฯรู้สึกเหมือนได้เจอ เพื่อนเก่าที่ชื่อนิตยสารไปยาลใหญ่ (ปิดตัวไปนานแล้ว) หากพบความแปลกใหม่และอารมณ์ขนั ในหนังสือของข้าฯ และชาวคณะสหายธรรมหนุม่ ก็ตอ้ งยกความดีความชอบ หลายๆส่วนให้กบั ไปยาลใหญ่นแี่ หละ เมือ่ a day นิตยสาร วัยรุน่ ทีว่ า่ กันว่าแนวทีส่ ดุ ในยุคนี้ หยิบ Concept พุทธศาสนา มานำเสนอข้าฯก็พลอยดีใจ แต่เมื่อสายตาปะทะเข้ากับ หน้ า ปกความดี ใ จก็ ห ดหายไปกว่ า ครึ่ ง ปก a day ฉบับนี้เป็นภาพพระพุทธเจ้ามวยผม อย่างที่เราเคยเห็น ในโปสเตอร์ แ บบแขกๆ ซึ่ ง นั่ น ก็ ไ ม่ ใ ช่ เ รื่ อ งผิ ด ปรกติ อะไร แต่ที่สะเทือนใจข้าฯก็คือ ชื่อนิตยสารดันมาวาง อยู่เหนือเศียรของพระพุทธเจ้านี่สิ เอ๊ะ! ก็แค่กระดาษ เปื้อนหมึกแผ่นเดียว ทำไมต้องคิดมากด้วย ฟ้า Says : มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพในส่วนปกค่ะ เพราะชื่อของนิตยสารปิดบังพระโมลีทำให้เรารู้สึกว่า ไม่ควรค่ะ ยกตัวอย่างถ้ามีภาพเกีย่ วกับพระบรมวงศานุวงศ์ ลงนิตยสารเล่มใด ก็จะนำเอาชือ่ นิตยสารมาจัดเรียงใหม่ ในด้านล่างด้วยเหมือนกันค่ะ อันนีเ้ ป็นความคิดเห็นส่วนตัว นะคะ เสนอแนะมาไม่ได้มีเจตนาอื่นใดค่ะ บรรณาธิการ Says : ขอบคุณความเห็นจากคุณฟ้านะครับ 42


ก่อนจะเป็นภาพปกนีท้ างเราได้ปรึกษาผูท้ อี่ ยูใ่ นแวดวงนี้ ได้ความว่า เรือ่ งแถบหัวหนังสือนัน้ เป็นประเด็นในเรือ่ งของ พระบรมวงศานุวงศ์ครับ ส่วนพระพุทธเจ้าก็แล้วแต่ว่า เราจะมอง ถ้าเรามองว่า เป็นกษัตริย์ก็ควรเอาแถบไว้ ด้านล่าง แต่ถา้ เรามองว่าท่านเป็นบุคคลธรรมดาก็ไม่ตอ้ ง คำนึงถึงเรือ่ งแถบก็ได้ a day เลือกมองในประเด็นหลังครับ เรามองว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุคคลธรรมดาทีค่ น้ พบสัจธรรม อันยิง่ ใหญ่ เราสนใจและเคารพความคิดของท่าน มากกว่า การเทิดทูนในเชิงประเพณีวฒ ั นธรรมทีอ่ ยูส่ งู เกินจับต้อง เราอยากนำเสนอท่านในมุมนี้ครับ เนื้อหาในเล่มก็พูดถึง หลักธรรมที่เป็นแก่น ไม่ใช่เปลือก ซึ่งนั่นทำให้เราพบว่า ศาสนาพุทธทุกวันนี้เราล้วนติดอยู่กับเปลือก บูชาโดย ขาดปัญญา ติดอยู่กับพิธีกรรม ความเชื่อ โดยลืมไปว่า ศาสนาพุทธสอนเรือ่ งความคิดและการไม่ยดึ ติด ผมคิดว่า ไม่ใช่แค่ปกหรอกครับทีด่ แู ล้วขัดใจ เนือ้ หาด้านในหลายๆ อย่างซึ่งมาจากปากของพระผู้ใหญ่หลายท่านก็น่าจะ ขัดใจหลายคน เพราะมันตรงกันข้ามกับสิ่งที่เราคิดมา ตลอดว่า ศาสนาพุทธเป็นอย่างนัน้ เผลอๆอ่านจบ อาจจะ พบว่า ทีผ่ า่ นมาเราไม่เคยเป็นชาวพุทธอย่างทีศ่ าสนาพุทธ สอนเลยด้วยซ้ำ เราอยากให้คนมองศาสนาพุทธในอีก มุมหนึ่งครับ ปกก็เลยออกมาเป็นเช่นนี้ เปสโลภิกขุ Says : อาตมาขอเสนอมุมมองตามประสา 43


พระผู้น้อยดังต่อไปนี้ ๑.ผูท้ ศ่ี กึ ษาพุทธศาสนาแบ่งออกเป็น ๔ ประเภทคือ ๑.๑ ผู้ท่ีประสบความสำเร็จในการสื่อสารกับ บุคคลอืน่ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการเข้าถึงธรรมะ ๑.๒ ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการเข้าถึงธรรมะ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการสื่อสารกับบุคคลอื่น ๑.๓ ผู้ที่ประสบความสำเร็จทั้งสองอย่าง ๑.๔ ผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จทั้งสองอย่าง ถ้า a day ต้องการข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ถูกต้อง ปลอดภัย และไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ต้องเข้า ไปหาบุ ค คลประเภทที่ ๑.๓ ถ้าไม่รู้ว่าจะไปหาที่ไหน อาตมายินดีจะให้คำปรึกษาในการเข้าพบท่าน ๒.ชาวพุ ท ธที่ แ ท้ ไ ม่ ว่ า ในวั ฒ นธรรมใดย่ อ มบู ช า เทิดทูนพระพุทธเจ้าในพระปัญญาธิคณ ุ พระบริสทุ ธิคณ ุ พระกรุณาธิคณ ุ ซึง่ เป็นเรือ่ งทีจ่ บั ต้องหรือนำมาศึกษาได้ ๓.แก่ น ก็ ต้ อ งอาศั ย กระพี้ แ ละเปลื อ กห่ อ หุ้ ม อยู่ แม้เราจะลอกส่วนที่อยู่ภายนอกออกเพื่อนำส่วนที่อยู่ ภายในมาใช้ ง าน แต่ ทั้ ง สองส่ ว นก็ ต้ อ งอิ ง อาศั ย ซึ่งกันและกันมาก่อน ๔.“ปก” ขั ด ใจเพราะไม่ ถู ก กาลเทศะ ส่ ว น “เนื้อหาภายใน” ถ้าจะขัดใจก็คงจะเป็นเพราะไม่ถูกกับ กิเลสของเรา เป็นความขัดใจคนละอย่างกัน

44


R U Vegetarian? เมื่ อ สั ง เกตเห็ น ว่ า ไก่ ย่ า งห้ า ดาวและข้ า วเหนี ย ว หมูปง้ิ หายหน้าไปหลายวัน ข้าฯก็ชกั จะคิดถึงขึน้ มาตงิดๆ คงจะเป็ น เพราะอยู่ ใ นช่ ว งเทศกาลกิ น เจ ข้ า ฯเคย แลกเปลี่ ย นความคิ ดเห็นในเรื่องนี้กับโยมคนหนึ่งว่า “ถ้าอาตมาจะฉันมังสวิรตั กิ ค็ งจะเป็นเหตุผลด้านสุขภาพ และคงทำอย่างสม่ำเสมอไม่เลือกเทศกาล” เพราะเรื่อง สุขภาพต้องดูแลเอาใจใส่กันตลอดทั้งปี มีพระอาจารย์ ท่านหนึ่งเป็นนักมังสวิรัติที่เคร่งครัดตั้งแต่ก่อนจะบวช จนกระทั่งพรรษาที่ ๓๐ กว่าๆท่านมีปัญหาด้านสุขภาพ เมือ่ คุณหมอตรวจดูอาการแล้วก็แนะนำให้ทา่ นฉันเนือ้ ปลา ท่านก็ปฏิบัติตามคำแนะนำนั้นด้วยดี นี่แสดงให้เห็นว่า ท่านให้ความสำคัญกับเรือ่ งสุขภาพมากกว่าความยึดมัน่ ถือมัน่ ในเรือ่ งอาหารการกิน หากเรามีสขุ ภาพดียอ่ มทำให้ มีกำลังในการบำเพ็ญคุณงามความดีได้ยาวนานยิ่งขึ้น ข้าฯไม่ได้กลัวอายุสั้นแต่เบื่อที่จะต้องมาเกิดอีก กว่า จะหัดพลิกคว่ำพลิกหงาย หัดคลาน หัดเดิน หัดวิง่ มันใช้ เวลามากจริงๆ ไหนๆชาตินี้ก็ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบ พุทธศาสนา ขอใช้ให้คุ้มค่าหน่อยก็แล้วกัน Teeth & Truth และแล้ววาระแห่งการตรวจฟันประจำปีกเ็ วียนมาถึง คราวนี้ข้าฯลองเปลี่ยนคลินิกใหม่ ที่นี่ทำเลดีมาก มีร้าน 45


ไอศกรีมขนาบอยู่ฝั่งขวาและร้านพิซซ่าขนาบอยู่ฝั่งซ้าย ระหว่างนั่งรอคิวก็คว้าหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ฉบับหนึ่ง มาพลิกอ่าน ซึ่งนานน๊านจะได้เจอหน้าค่าตากันสักที สะดุดใจอยูเ่ รือ่ งหนึง่ คือ พระหนุม่ ผูม้ ชี อ่ื เสียงให้สมั ภาษณ์วา่ หลวงพ่อชาท่านบอกกับลูกศิษย์วา่ “วันหนึง่ ข้างหน้าผมอาจจะ ลาสิกขาก็ได้” ข้าฯอ่านแล้วให้รู้สึกแปลกๆ เพราะบวช ในสายวัดหนองป่าพงมา ๑๔ พรรษา ฟังพระธรรมเทศนา ของหลวงพ่อชาทัง้ ภาษาไทยและภาษาอีสาน เรียกได้วา่ ทุกกัณฑ์เท่าที่เคยมีการบันทึกเสียงเอาไว้ฟัง ตั้งแต่ยุค คาสเซ็ท มาถึงยุคซีดี จนล่วงเข้ายุค iPod กัณฑ์หนึ่งๆฟัง หลายรอบโดยเฉพาะภาษาอีสานซึ่งจะได้รสชาติถึงใจ เป็นพิเศษ แต่กไ็ ม่เคยได้ยนิ ประโยคทีพ่ ระหนุม่ ยกมาเลย แม้แต่ครั้งเดียว เป็นไปได้ไหมว่าอาจจะหลงหูหลงตา ข้าฯเคยอ่านหนังสือของพระอาจารย์ฝรั่งรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงพ่อชา พระอาจารย์ฝรั่ง ท่ า นถามตั ว เองว่ า ถ้ า หลวงพ่ อ ชาลาสิ ก ขาออกไปมี ครอบครัวเราจะทำยังไง? แล้วพระอาจารย์ฝรั่งท่านก็ ขยายความว่า ให้ยดึ มัน่ ในธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ ไ ม่ ใ ห้ ยึ ด มั่ น ถื อ มั่ น ในตั ว บุ ค คล เพราะบุ ค คล เปลี่ยนแปลงได้ ระหว่างที่คุณหมอแซะหินปูนที่กัดกิน ลึกเข้าไปในร่องเหงือก ข้าฯก็ซาบซึง้ ถึงความเปลีย่ นแปลง ที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลอย่างถึงพริกถึงขิง

46


เรากำลังจะเป็นสิ่งที่เราอ่าน เหลือบมองชั้นหนังสือเล็กๆบนหัวเตียงก็พบว่ามี หนัง สื อ อยู่หลากหลายประเภท บางเล่มก็ขวนขวาย หามาเอง บางเล่มก็ยืมมาจากห้องสมุด บางเล่มก็มี ญาติโยมฝากมาให้ ซึง่ ทัง้ หมดพอจะจัดหมวดหมูไ่ ด้ดงั นี้ ๑. หมวดธรรมะและบทสวดมนต์ ๒. หมวดคอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรมต่างๆ ๓. หมวดฝึกฝนภาษาอังกฤษ ๔. หมวดพจนานุกรม ๕. หมวดสุขภาพ ๖. หมวดวรรณกรรมและการ์ตูน ในจำนวนนี้มีอยู่สามเล่มที่ยังไม่แน่ใจว่าจะจัดเข้า หมวดใด ๑. ตายฉับพลันจากโรคที่คาดไม่ถึง ๒. ฆ่าคนตายหรือฆาตกรรม ๓. ชันสูตรผ่าศพในทางนิติเวช ทั้งสามเล่มเป็นหนังสือรวมภาพถ่ายศพพิมพ์สี่สี สวยสด พร้อมคำบรรยายเรียบๆไม่เจืออารมณ์ นานๆ จึงจะได้เปิดดูสกั ที ขณะทีพ่ ลิกผ่านไปแต่ละหน้า ปัญหา ต่างๆทีก่ ำลังรุมเร้าอยูก่ ลายเป็นเรือ่ งเล็กในพริบตา เพราะ เกิดความรู้ขึ้นมาว่าเรากำลังจะเป็นสิ่งที่เราอ่านและดู เราอาจจะไม่ ไ ด้ อ ยู่ถึง ตอนที่ปัญ หามั น คลี่ค ลายก็ ไ ด้ ท้ายที่สุด ข้าฯก็ตัดสินใจจัดหนังสือสามเล่มนี้ให้อยู่ใน 47


หมวดหนังสือดีที่ชาวโลกควรอ่าน อะไรๆก็โธมัส กลับมาเยีย่ มบ้านทีอ่ บุ ลฯต้นเดือนพฤศจิกา’ อากาศ น่ารักจนไม่อยากจากไปไหน สำรวจดูรอบๆบ้านรอบๆตัว เห็นแต่เจ้าหัวรถจักรสีฟา้ ทีช่ อื่ โธมัส มีทงั้ คอลเลคชัน่ ดีวดี ี เสื้ อ กางเกง กระเป๋ า รองเท้ า สบู่ เ หลว แปรงสี ฟั น ยันของเล่น Thomas & Friends ทุกชิ้นเป็นสมบัติของ เจ้าหลานชายจอมซน ชิ้นที่ข้าฯชอบใจเป็นพิเศษคือ แปรงสีฟนั ทีร่ อ้ งเพลงได้ ด้ามแปรงมีลกั ษณะอ้วนๆกลมๆ ประดับด้วยช่องลำโพงและปุ่มเปิด-ปิด ดีไซน์ผสาน ฟั ง ชั่ น แบบนี้ ท ำให้ เ ด็ ก ๆพิ ส มั ย การแปรงฟั น ขึ้ น มา อย่ า งผิ ด หู ผิ ด ตา นึ ก อยากนำไอเดี ย นี้ ไ ปทำเป็ น แปรงสีฟนั สำหรับผูใ้ หญ่บา้ ง โดยเปลีย่ นทำนองเพลงเป็น บทสวดมาติกาที่พระใช้สวดในงานศพ กุศลาธรรมา... อกุศลาธรรมา... แปรงฟันวันละสองเวลา ก็น่าจะช่วย กระตุ้นเตือนให้ผู้ใหญ่ ได้สำนึกสำเหนียกถึงช่วงเวลา อั น มี ค่ า และหน้ า ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบที่ มี ต่ อ ตั ว เอง ครอบครัว และสังคม ขุดอะไร? เช้ า ๆออกเดิ น บิ ณ ฑบาตบนถนนสายหลั ก ของ หมู่ บ้ า นแห่ ง หนึ่ ง ในชนบทของจั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี 48


ชายวัยฉกรรจ์คนหนึ่งกับเด็กเล็กเดินถือเสียมข้ามถนน มายังผืนนาทีเ่ ก็บเกีย่ วแล้ว จากนัน้ ก็ลงมือขุดๆๆ ไม่ไกล กันนัน้ ก็มเี ด็กผูห้ ญิงวัยประถมสองคนกำลังทำอาการขุดๆๆ เช่นเดียวกัน ข้าฯเดาว่าเขาคงกำลังขุดหาอาหารเช้า แต่ไม่รวู้ า่ เป็นตัวอะไร จึงถามคุณป้าบ้านข้างๆที่ออกมา ใส่บาตรด้วยความสงสัย คุณป้ายิม้ แปลกๆแต่ไม่ตอบว่า กระไร ตัง้ แต่วนั นัน้ เป็นต้นมา ตลอดทัง้ สัปดาห์ทขี่ า้ ฯออก บิณฑบาต ก็ไม่เห็นใครออกมาขุดอะไรอีกเลย หนูสงสัย โยม : หนูสงสัยอะค่ะว่าเป็นภิกษุนี่ทำงานศิลปะหรือ ฟังเพลงได้ไหมค่ะ? คือทราบมาจากในหนังสือว่าท่าน เคยเป็นนักเรียนศิลปะมาก่อน เปสโลภิกขุ : อย่าว่าแต่ฟังเพลงเลย ตามพระวินัยห้าม พระจับต้องเครื่องดนตรีด้วยซ้ำ (ถ้าไม่มีพระวินัยข้อนี้ อาตมาก็อยากลอง Turntable สักตัง้ เหมือนกัน) เมือ่ ก่อน ก็เคยมีพระบวชใหม่ทเ่ี ป็นนักศึกษาศิลปะมาก่อน เขาเอา สีนำ้ มาวาดรูปด้วย พระอาจารย์ตอ้ งสัง่ ห้าม เพราะเกรงว่า จิตใจจะไปหมกมุน่ อยูก่ บั ความเคยชินเก่าๆจนไม่เป็นอัน บำเพ็ญสมณธรรม ส่วนอาตมาเอง หลังจากบวชแล้ว ก็ทิ้งเรื่องนี้ไปเลย อาตมาเริ่มทำ Dhamma Design เมือ่ บวชได้ ๙ พรรษา ก็วานให้โยมเพือ่ นๆในวงการศิลปะ ช่วยดูแลเรือ่ ง Design ส่วนอาตมาก็ดแู ลเนือ้ หา Dhamma 49


ถ้าจะให้อาตมาไปทำ Design ก็คงจะออกมาแบบเชยๆ เพราะไม่ได้ตดิ ตามความเคลือ่ นไหวของวงการมานานแล้ว แต่ความรูด้ า้ นองค์ประกอบศิลป์ทเ่ี คยร่ำเรียนมาก็ยงั ได้ใช้ ประโยชน์อยู่นะ อย่างเช่นเส้น สี น้ำหนัก รูปทรง แสงเงา พื้นผิว เอกภาพ การซ้ำฯ ซึ่งมันก็ทำให้สามารถ “จูน” กับ Graphic Designer ได้อย่างไม่เคอะเขิน โยม : ถ้ามีคนเห็นการนุ่งจีวรของสงฆ์เเล้วนำมาเป็น เเรงบันดาลใจในการทำเสือ้ ผ้าให้คนธรรมดาใส่ ไม่ทราบว่า อันนี้ผิดวินัยไหมค่ะ เปสโลภิกขุ : ถ้าพระล่วงละเมิดศีลจึงจะเรียกว่าทำผิด พระวินยั ส่วนการออกแบบเสือ้ ผ้าก็ตอ้ งดูวา่ ทำออกมาแล้ว มันดูเหมือนการนุ่งห่มจีวรของพระหรือเปล่า ถ้าเป็น อย่างนัน้ ก็คงจะผิดทีผ่ ดิ ทางหรือผิดกาลเทศะไปสักหน่อย และถ้าใส่ออกไปเดินเพ่นพ่านอาจจะถูกตำรวจจับใน ข้อหาปลอมบวชด้วย แต่ถา้ ทำออกมาแล้วไม่รสู้ กึ อย่างนัน้ ก็ไม่น่าจะเป็นไร ไปไงมาไง เปสโลภิกขุ : โยมได้หนังสือ “เสียงฝนบนภูเขา” มาจาก ที่ไหน? โยม : หนูไปงานแฟต (Fat Featival) เพราะไปช่วยเพือ่ น ขายของ ตอนพักก็ไปดูหนังสือเรื่อยเปื่อยอะค่ะ เเล้วก็ 50


สะดุดตากับปก เห็นว่าดูตลกๆดี คำโปรยก็นา่ สนใจ ปกติ หนังสือพระไม่ดทู นั สมัยขนาดนี้ เเล้วหนูกบ็ น่ กับเพือ่ นว่า อยากได้เหมือนกันเเต่ไม่มตี งั ค์ เขาก็บอกไม่เป็นไรค่ะน้อง เเจกฟรี น่าจะเป็นบูธของนิตยสาร open เพือ่ นอีกคนมาเห็น ก็บอกว่าท่านเขียนหนังสือสนุกดี เมือ่ ทราบว่ามีเล่มอืน่ ด้วย เลยไปซือ้ หามาอ่านดูคะ่ หนังสือเล่มอืน่ ของท่าน จัดอยูใ่ น หมวดเรือ่ งสัน้ นะคะ เพราะตอนไปถามพีค่ นขาย เขาไปหา ในหมวดธรรมะไม่เจอ เปสโลภิกขุ : หนังสือของอาตมากับหนังสือของท่าน... ...คนละชั้นกัน ปล่อย ข้ า ฯได้ ยิ น คำว่ าอินเตอร์เน็ตครั้งแรกเมื่อบวชได้ สามพรรษา ถัดมาอีกหกพรรษาจึงได้เข้าไปคลิก๊ คลีตโี มง เพราะมีเหตุให้ต้องจัดทำเกี่ยวกับงานสิ่งพิมพ์ เมื่อข้าฯ ต้องมาเกี่ยวข้องกับโลกไซเบอร์ สิ่งหนึ่งที่รู้สึกไม่ค่อย โสภานักเกี่ยวกับนิสัยของตัวเอง ซึ่งฝักใฝ่ความรวดเร็ว รุนแรงอยูเ่ ป็นทุนเดิมก็คอื อินเตอร์เน็ตสามารถตอบสนอง ความรู้ สึ ก ของข้ า ฯได้ อ ย่ า งทั น ท่ ว งที หากเห็ น สิ่ ง ใด ไม่ชอบมาพากล ข้าฯมักอดไม่ได้ทจ่ี ะท้วงติง โดยไม่สนใจว่า ใครคนนั้นจะเป็น Idol ของสื่อหรือของใครถูกผิดก็ว่า กันไปตามเนือ้ ผ้า ทำมาทำไปหลายปีจงึ เกิดความรูอ้ นั หนึง่ 51


ขึน้ มาว่า “มัวแต่ไปแก้ไขความคิดเห็นของคนอืน่ มันไม่จบ สักที เอาพลังงานมาแก้ไขความเห็นผิดของตัวเองยังจะมี โอกาสได้พบความสุข” ทุกวันนี้เวลาหิวหรือเหนือ่ ย ข้าฯ จะหาที่เงียบๆนั่งพักหรือทำกิจกรรมเบาๆ เช่นกวาดกุฏิ หลีกเลี่ยงการพูดคุยหรือสื่อสารกับผู้คน ปล่อยให้โลก ดำเนินไปตามจังหวะของเขา อิ่มสบายท้อง โยม : ขอถามนิดค่ะว่าพระวัดป่าฉันโอวัลตินได้อะ๊ เป่าคะ? แล้วถ้าเกิดชงถวายแล้วพระท่านฉันหมดแต่ผิดศีล โยม ต้องแก้ไขยังไงอ่ะคะ? เปสโลภิกขุ : ขอเฉลยเป็นข้อๆดังต่อไปนี้ ๑. โอวัลตินมีส่วนผสมของนมซึ่งตามพระวินัยอนุญาต ให้ฉันได้ก่อนเที่ยงวัน ๒. พระท่านฉันหมดแสดงว่าโยมชงอร่อยมาก (ฮา) ๓. แก้ไขด้วยการถวายท่านก่อนเที่ยงวันในคราวหน้า ซึ่งโดยปรกติหากไม่เจ็บไข้ท่านก็คงจะฉันให้เสร็จพร้อม อาหารในตอนเช้าในคราวเดียว เพราะพระป่าท่านฉัน อาหารเพียงมื้อเดียวต่อวัน โยม : วันที่ชงโอวันตินถวายน่ะ พระชาวต่างประเทศ สามรูปมานั่งเก๋ใช้แมคต่อเน็ต ทำข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง การบวชภิกษุณีเถรวาทที่ส่งให้หลวงพี่อะค่ะ โยมว่า 52


โยมชงไม่อร่อยหรอก แต่หลวงพีท่ งั้ หลายท่านเกรงใจทีม่ า นัง่ ทำงานทีร่ า้ นมากกว่า แต่กป็ ลืม้ อ่ะนะ ทัง้ เรือ่ งทีม่ พี ระ ต่างประเทศมานั่งทำงาน แล้วก็ที่ท่านฉันโอวัลตินหมด เปสโลภิกขุ : เล่ารายละเอียดประกอบแบบนี้ก็พอจะ วินิจฉัยเพิ่มเติมได้ ๑. แสดงว่าพระท่านไว้วางใจว่าเป็นบ้านของคนที่รู้จัก วัดป่า คงจะทราบว่าอะไรฉันได้เวลาไหน พอโยมยก โอวัลตินมาให้ พระท่านก็เลยซดเพราะความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ ๒. คงจะเป็นพระใหม่ เพราะถ้าเป็นพระเก่าแค่กลิ่น เราก็ รู้ แ ล้ ว ว่ า มั น ต่ า งจากโกโก้ ธ รรมดา หรื อ แค่ จิ บ ๆ ก็รู้แล้วว่าอะไรเป็นอะไร นี่เล่นซดจนหมดแก้วแสดงว่า ท่ า นไม่ รู้ จ ริ ง ๆ หรื อ รู้ แ ต่ อ ดใจไม่ ไ หวเพราะมั น อร่ อ ย แต่ถ้าเป็นพระใหม่ไปไหนมาไหนก็ควรจะมีพระพี่เลี้ยง ไปด้วย เพราะท่านยังดูแลตัวเองไม่ได้ ๓. ความเกรงใจเป็นสมบัตขิ องผูด้ กี จ็ ริง แต่พระธรรมวินยั ต้องมาก่อน สัมภาษณ์วีซ่า (กึ่งยิงกึ่งผ่าน) หลายวั น ก่ อ นข้ า ฯเดิ น ทางไปสั ม ภาษณ์ วี ซ่ า ที่ สถานฑู ต สหรั ฐ อเมริ ก าประจำประเทศไทย ไปถึ ง ก่ อ นเวลานั ด หมาย(๐๘.๐๐ น.) เกื อ บหนึ่ ง ชั่ ว โมง สะดุดใจกับประตูทางเข้าของสถานฑูตฯซึ่งผลิตจาก โลหะหนาประมาณหนึ่งนิ้วครึ่ง ก่อนเข้าไปสัมภาษณ์ 53


จะมีการตรวจเอกสารสองครั้ง โดยครั้งแรกเจ้าหน้าที่ หญิ ง สาวชาวไทยแท้ จ ะช่ ว ยเพิ่ ม เติ ม ข้ อ มู ล ที่ ยั ง ไม่ ส มบู ร ณ์ ใ นเอกสาร ส่ ว นครั้ ง ที่ ส องจะเป็ น การ ตรวจเอกสารอย่างละเอียดพร้อมทั้งสแกนลายนิ้วมือ จากนั้นจึงเดินเข้าไปในห้องโถงขนาดกลางนั่งชมข่าว ภาคภาษาอังกฤษรอเรียกหมายเลขตามบัตรคิว เมื่ อ เจ้ า หน้ า ที่ ป ระกาศหมายเลขบั ต รซึ่ ง ก็ ไ ม่ ไ ด้ เป็นไปตามลำดับ ผู้ที่ถูกเรียกก็ลุกไปยืนหน้าเคาน์เตอร์ ที่มีกระจกอย่างหนากั้นเจ้าหน้าที่ผู้ทำการสัมภาษณ์ เอาไว้ในโลกแห่งเครื่องหมายคำถาม เมื่อทั้งสองฝ่าย ยืนประจัญหน้ากันแล้วเจ้าหน้าทีก่ จ็ ะเริม่ ยิงคำถามผ่าน ไมโครโฟน ผู้ที่ได้รับเกียรติให้มาสัมภาษณ์ข้าฯวันนี้เป็น สุภาพสตรีฝรั่งผมสีทองพูดไทยได้คล่องแคล่ว หน้าตาดี แต่ไม่ยิ้มแย้มแจ่มใสต่างจากเจ้าหน้าที่ชาวไทยที่อยู่ ด้ า นนอก (สงสั ย จะกลั ว พระหรื อ ไม่ ก็ เ ป็ น นโยบาย ของทางสถานทู ต ฯ) คำถามจากเจ้ า หน้ า ที่ ผ มสี ท อง มีดังต่อไปนี้ ถาม : คุณเป็นพระมากี่ปีแล้ว? ตอบ : ๑๔ ปี ถาม : คุณจะไปทำอะไรที่อเมริกา? ตอบ : ไปสอนพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและ 54


ญาติโยม (ตอบให้ดูน่าเชื่อถือไปอย่างนั้นเอง) ถาม : คนที่คุณจะไปอยู่ด้วยเขาเป็นอะไรกับคุณ? ตอบ : เป็นอาจารย์ ถาม : คุณมีน้องสาวอยู่อเมริกา เขาอยู่ที่ไหน? ตอบ : เท็กซัส ถาม : แต่คุณจะไปแคลิฟอร์เนียร์? ตอบ : ใช่ ถาม : คุณเคยไปอินเดียกับลาว ไปทำไม? ตอบ : อินเดีย...ไปนมัสการสถานที่เกิดพระพุทธเจ้า ลาว...ไปเยี่ยมญาติ ระหว่างการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ก็จะพลิกดูเอกสาร ไปด้วย หากเกิดข้อสงสัยก็จะค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ทีต่ ง้ั อยูต่ รงหน้า สำหรับเอกสารของข้าฯเจ้าหน้าทีต่ รวจสอบ ข้อมูลเกีย่ วกับการชำระภาษี แต่ทางวัดทีข่ า้ ฯจะเดินทาง ไปพำนักก็จดั เตรียมเอกสารมาให้เป็นอย่างดี เมือ่ เจ้าหน้าที่ ซักถามจนมัน่ ใจจึงสอดพาสปอร์ตผ่านช่องเล็กๆใต้กระจก กลับมาให้แล้วบอกว่า คุณต้องไปจ่ายเงิน ๑๕ เหรียญ ทีเ่ คาน์เตอร์ใกล้ๆ (๑๕x๓๔=๕๑๐ บาท) เมือ่ โยมทีม่ าด้วย 55


ช่วยชำระค่าธรรมเนียมให้เรียบร้อยแล้ว ข้าฯก็ถอื พาสปอร์ต พร้อมใบเสร็จกลับมายืน่ ให้เจ้าหน้าทีผ่ มสีทอง แล้วเจ้าหล่อน ก็พดู ผ่านไมโครโฟนโดยไม่มองหน้าว่า อีกสามสีว่ นั จะส่ง พาสปอร์ตกลับไปให้เด้อ ก่อนจะหันหลังให้เคาน์เตอร์ ข้าฯได้ยนิ เจ้าหน้าทีส่ ภุ าพสตรีผมสีนำ้ ตาลในช่องสัมภาษณ์ ถัดไปบอกแก่ชายหนุม่ ชาวไทยว่า “คุณไม่ผา่ น” ชายหนุม่ ถามกลั บ ทั น ที ว่ า ทำไม? ทรานสคริ ป ต์ ข องผมก็ มี เจ้าหน้าทีต่ อบกลับทันทีเช่นกัน “ไม่มน่ั ใจว่าคุณจะไปเรียน” ข้าฯเดินถอยฉากออกมาพลางงึมงำกับตัวเองว่า โห... ฝรั่งเขาเล่นกันตรงๆแบบนี้เลยหรือนี่ ประเด็นร้อน : การบวชภิกษุณีเถรวาท เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ สำนักสาขาน้อยใหญ่ ในสายวัดหนองป่าพงเกิดประเด็นร้อน เพราะท่านเจ้าอาวาส วัดป่าโพธิญาณ สำนักสาขาของวัดหนองป่าพงที่เมือง เพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย ทำการบวชภิกษุณีแบบลับๆ ซึ่ ง ไม่ ผ่ า นการเห็ น ชอบของคณะสงฆ์ วั ด หนองป่ า พง ทั้งนี้คณะสงฆ์ฯได้ทำการตักเตือนก่อนเกิดเหตุไปแล้ว หลายครัง้ แต่ทา่ นเจ้าอาวาสก็ยงั ฝ่าฝืนมติของคณะสงฆ์ฯ เป็นเหตุให้วัดป่าโพธิญาณต้องถูกตัดออกจากการเป็น สำนักสาขาของวัดหนองป่าพง ญาติโยมชาวไทยที่ให้ การสนับสนุนวัดด้วยดีตลอดมา จึงรวมตัวกันเพือ่ เรียกร้อง วัดป่าโพธิญาณกลับคืน หมายความว่า ท่านเจ้าอาวาส 56


จะโยกย้ายไปอยู่แห่งหนตำบลใดก็สุดแต่ใจของท่าน แต่ขอให้วัดป่าแห่งนี้กลับเข้ามาเป็นสำนักสาขาของ วัดหนองป่าพงตามเดิม พิจารณาดูแล้วก็เจ็บแสบอยูไ่ ม่นอ้ ย เพราะญาติ โ ยมเห็ นไปในทิศทางเดียวกันว่า “บุคคล ไม่สำคัญไปกว่าคณะสงฆ์” การทีพ่ ระต้องอาศัยอาหารบิณฑบาตจากญาติโยม เพื่ อ เลี้ ย งชี พ นั้ น มี ส่ ว นดี เ อนกอนั น ต์ ที่ เ ห็ น ได้ ชั ด จากเรื่องนี้ก็คือทำให้พระไม่ทะนงตัว ในครั้งพุทธกาล หากมี พ ระที่ ดื้ อ รั้ น ชาวบ้ า นชาวเมื อ งก็ จ ะประท้ ว ง ด้วยการงดใส่บาตร ไม่ใช่เพื่อกลั่นแกล้งแต่เพื่อให้ท่าน สำนึกผิด แล้วหันกลับมาอยูใ่ นร่องรอยของพระธรรมวินยั ตามเดิ ม หากพุ ท ธศาสนิ กชนกล้ าคิด กล้ าทำในสิ่ งที่ ถูกต้องเช่นนี้ ความเจริญงอกงามของพระศาสนาก็เป็น อันหวังได้ ป.ล.เคยอ่านเจอในเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งมีผู้แสดง ความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า “พระฝรั่งกลับไปอยู่บ้านของ ตัวเองแล้วนิสัยก็เหมือนเดิม” ซี้ดดดดดด... เหตุใดจึงไม่สามารถทำการบวชภิกษุณีเถรวาทได้ (คำอธิบายโดยสังเขป) ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า พุทธศาสนา ฝ่ายเถรวาทมีความแตกต่างจากพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน หลายประการ ทีเ่ ห็นได้ชดั ก็คอื ฝ่ายเถรวาทจะรักษาและ 57


ปฏิ บั ติ ต ามพระธรรมวิ นั ย ของพระพุ ท ธเจ้ า ตามแบบ ดั้งเดิม ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด แม้แต่ฝ่ายมหายานเอง ก็ให้การยอมรับและมาศึกษาจากเราด้วย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันระบุ ตรงกั น ว่ า ภิ ก ษุ ณี ห ายสาปสู ญ ไปนานแล้ ว แต่ จู่ ๆ เ มื่ อ ไ ม่ กี่ ร้ อ ย ปี ที่ ผ่ า น ม า ก็ เ กิ ด มี ภิ ก ษุ ณี ฝ่ า ย มหายานขึ้น น่าจะเป็นประเทศแถบๆไต้หวัน ซึ่งฝ่าย เถรวาทไม่ ใ ห้ ก ารยอมรั บ เพราะกั ง ขาเกี่ ย วกั บ ความ ถู ก ต้ อ งในการบวช ส่ ว นการบวชภิ ก ษุ ณี ที่ ถู ก ต้ อ ง ตามพ ร ะ วิ นั ย แ บ บ ดั้ ง เ ดิ ม นั้ น ต้ อ ง บ ว ช ใ น ส ง ฆ์ ทั้ ง สองฝ่ า ย คื อ ฝ่ า ยภิ ก ษุ ส งฆ์ แ ละฝ่ า ยภิ ก ษุ ณี ส งฆ์ เมือ่ ภิกษุณหี ายสาปสูญไปแล้วจะเอาภิกษุณสี งฆ์มาจาก ที่ใด แต่ทั้งนี้พระผู้ใหญ่ในเมืองไทยก็ยังเปิดช่องไว้ให้ อยูบ่ า้ ง คือถ้ามีหลักฐานทีช่ ดั เจนสามารถยืนยันทีม่ าทีไ่ ป ของภิกษุณสี งฆ์ได้อย่างน่าเชือ่ ถือ ท่านก็ให้เอามาคุยกัน ไม่ใช่แอบไปทำแบบลับๆล่อๆอย่างที่เกิดเรื่องเกิดราว กันอยู่ ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขและสถานที่ในย่อหน้าที่สอง อาจคลาดเคลือ่ นไปบ้าง เพราะข้าฯฟังคำอธิบายเกีย่ วกับ เรื่องนี้มาตั้งแต่ ๕ ปีที่แล้ว หากต้องการความถูกต้อง ด้ า นข้ อ มู ล ควรหาซี ดี ธ รรมะบรรยายเรื่ อ ง “ปั ญ หา ภิ ก ษุ ณี คิ ด ให้ ดี ก็ แ ก้ ไ ม่ ย าก” ของพระเดชพระคุ ณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุต.โต) มาพิจารณากันดู 58


ในซีดีธรรมะบรรยายชุดนี้ยังมีประเด็นอื่นๆที่น่าสนใจ อีกเช่น พระเดชพระคุณฯท่านเมตตาคลายความสงสัย ของบรรดาเฟมินสิ ต์ในข้อทีว่ า่ ถ้าคณะสงฆ์ยอมให้มกี าร บวชภิกษุณี โสเภณีจะหมดไปจากเมืองไทย! หนังสือวันศุกร์ วั น นี้ ไ ด้ ห นั ง สื อ มาสองเล่ ม เล่ ม แรกเป็ น หนั ง สื อ เดินทางพระธรรมทูต ร่ำลือกันหนาหูในวงการพระสงฆ์วา่ กว่าจะเสาะแสวงหามาได้เลือดตาแทบกระฉูด แต่ทำไม ของเรา Smooth as Silk ความพิเศษของพาสปอร์ต พระธรรมทูตก็คอื สามารถเดินทางท่องประเทศแถบยุโรป ได้ โ ดยไม่ ต้ อ งใช้ วี ซ่ า คงจะเป็ น ข้ อ ตกลงทางการทู ต เพราะเราไม่ได้ไปในฐานะนักท่องเที่ยว แต่ไปในฐานะ ตัวแทนของทางราชการ หน้าปกสีนำ้ เงินเข้มขลังอลังการ จึงมีข้อความสีทองผ่องอำไพประทับใต้เงาปีกพญาครุฑ หน้ า ดุ ว่ า THAILAND OFFICIAL PASSPORTหนังสือเดินทางราชการ ประเทศไทย หนังสืออีกเล่มหนึง่ ที่ได้มาในวันเดียวกันมีชื่อว่า Toilets of the World จากร้าน Kinokuniya เป็นหนังสือรวมภาพถ่ายส้วม ที่ ผ่ า นการใช้ ง านมาแล้ ว จากนานาประเทศ ทั้ ง ฝั่ ง ตะวันตกและฝั่งตะวันออก หนังสือไม่ได้เน้นภาพถ่าย เ ชิ ง ส ถ า ปั ต ย ก ร ร ม ห รื อ ก า ร อ อ ก แ บ บ ต ก แ ต่ ง แต่ภาพทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมการใช้ส้วม 59


ตั้งแต่โถส้วมที่ทำด้วยทอง ระเรื่อยไปถึงส้วมหลุมตาม โคนต้นไม้ ส้วมทีน่ า่ นัง่ ทีส่ ดุ สำหรับข้าฯคือส้วมริมทะเลที่ ประเทศปานามา ชาวบ้านทำสะพานยื่นออกไปในทะเล แล้ ว สร้ า งที่ ก ำบั ง ขึ้ น อย่ า งง่ า ยๆ นั่ ง ปลดทุ ก ข์ ค ลอ เสียงคลื่นคงมีความสุขพิลึก เมื่อข้าฯพลิกหน้าหนังสือ ไปเจอภาพหนึ่ ง แล้ ว ตกใจ โถยื น ปั ส สาวะสำหรั บ สุภาพสตรี!! ไอเดียสนุกๆแบบนี้อยู่ที่ประเทศแคนาดา ภายในบริ เ วณที่ ติ ด ตั้ ง โถยื น ปั ส สาวะจะมี ภ าพ สาธิ ต วิ ธี ก ารใช้ ใ ส่ ก รอบแขวนไว้ ด้ ว ย แต่ อ ย่ า ให้ บรรยายเลย...พระเขิน ด้านล่างของภาพเป็นการ์ตูน ผู้ ห ญิ ง ในชุ ด รั ด รู ป กำลั ง ผายมื อ เชื้ อ เชิ ญ พร้ อ มพู ด ว่ า “Just like the boyz” จับได้คาหนังคานัน่ เลยว่า ประเด็น ความเท่าเทียมกันระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงแพร่ระบาด ไปทั่วทุกวงการจริงๆ วีซ่าอะไรกันนะ หลังจากผ่านการสัมภาษณ์วีซ่าก็เกิดคำถามขึ้นมา ในใจว่า เจ้าหน้าที่ผู้ทำการสัมภาษณ์เรียนจบอะไรมา? หรื อ ผ่ า นการอบรมหลั ก สู ต รมาอย่ า งไร? ทำไมจึ ง สามารถบอกได้ว่าคนนี้ไว้ใจได้ แต่คนนี้ไม่น่าไว้วางใจ เพียงแค่พลิกดูเอกสารแบบผ่านๆ และพูดคุยกับผู้ที่มา สัมภาษณ์เพียงไม่กป่ี ระโยค เขาใช้เกณฑ์อะไรมาตัดสินว่า คนนีผ้ า่ นหรือไม่ผา่ น การเดินทางไปต่างประเทศสำหรับ 60


บางคนอาจเป็นเพียงการไปทำงาน ไปเรียน ไปเที่ยว ไปเยี่ ย มญาติ หรื อ ไปหาประสบการณ์ แ ปลกใหม่ แต่ ส ำหรั บ บางคนมั น คื อ การเปลี่ ย นชี วิ ต ทั้ ง ชี วิ ต ของเขาเลยที เ ดี ย ว ผู้ ที่ ส ามารถชี้ เ ป็ น ชี้ ต ายผู้ อื่ น ได้ ชั่ ว เคี้ ย วหมากแหลก ย่ อ มถื อ ว่ า ไม่ ธ รรมดา น่ า จะมี คุ ณ สมบั ติ พิ เ ศษบางอย่ า งที่ ม นุ ษ ย์ อื่ น ไม่ มี อี ก อย่ า ง ก่ อ นการสั ม ภาษณ์ วี ซ่ า ต้ อ งจ่ า ยค่ า ธรรมเนี ย ม ในการเข้าสัมภาษณ์เป็นจำนวนเงินถึง ๑๓๑ เหรียญ (๑๓๑x๓๔ = ๔,๔๕๔ บาท) และผู้ที่เข้าสัมภาษณ์ ต้ อ งหวานอมขมกลื น กั บ กฎระเบี ย บที่ ว่ า ไม่ ว่ า คุ ณ จะผ่ า นการสั ม ภาษณ์ ห รื อ ไม่ เงิ น จำนวนนี้ ไ ม่ มี ก าร จ่ายคืนเด็ดขาด! ป.ล.วี ซ่ า เข้ า ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก าคื อ กระดาษ แผ่ น บางๆมี ล วดลายซั บ ซ้ อ น ปรากฏรู ป สลั ก ข อ ง ป ร ะ ธ า น า ธิ บ ดี ลิ น ค อ ล์ น ส ถิ ต อ ยู่ ก ล า ง หน้ า กระดาษขนาด ๘x๑๒ ซ.ม. กว่ า จะได้ ม า ต้ อ งใช้ เ อกสารปึ ก ใหญ่ ห นึ่ ง ปึ ก ต้ อ งจ่ า ยค่ า ส่ ง พั ส ดุ ค่ า โทรศั พ ท์ ค่ า อิ น เตอร์ เ น็ ต ค่ า น้ ำ มั น รถ และอี ก สารพัดค่าหยุมหยิมจนขี้เกียจจะจดจำ นี่ยังไม่นับรวม ที่ ต้ อ งไหว้ ว านให้ ค นอื่ น ช่ ว ยตรวจสอบความถู ก ต้ อ ง ขอ ง เ อ ก ส า ร อี ก ห ล า ย ค รั้ ง ห ล า ย ค ร า แ ต่ ด้ ว ย ความเพี ย รระดั บ เอกอุ ในที่สุดกระดาษบางๆแผ่นนี้ ก็ ต กมาอยู่ ใ นเงื้ อ มมื อ ของข้ า ฯ สิ ริ ร วมเวลาในการ 61


ดำเนิ น การทั้ ง สิ้ น เพี ย ง ๖ เดื อ นเท่านั้นเอง :Please enjoy a wonderful and rewarding visit to the United States of America. ที่ตั้งของกำลังใจ โยม : อาการโยมแม่ของท่านพระอาจารย์โดยรวมถือว่า ทรงตัวดี พูดคุยได้ ความจำดี หากแต่อ่อนเพลียเพราะ ฤทธิ์ยา คงจะเป็นเพราะได้กำลังใจที่ดี กำลังใจเป็น สิ่งสำคัญในยามเจ็บไข้ ซึ่งโยมมองย้อนกลับมาที่ตัวเอง แล้ ว เห็ น ว่ า ลู ก ของโยมอยู่ ไ กลถึ ง ต่ า งประเทศ คงต้ อ งใช้ ภ าษิ ต “ตนเป็ น ที่ พึ่ ง แห่ ง ตน” เป็ น ที่ ตั้ ง เมื่อยามนั้นถึง เปสโลภิกขุ : มีอยู่ปีหนึ่งท่านพระอาจารย์ไปจำพรรษา ที่จันทบุรี พวกเราก็อยู่กันเองที่ชลบุรี ช่วงกลางพรรษา อาตมาเดิ น ทางไปกราบหลวงพ่ อ ที่ วั ด หนองป่ า พง เพราะท่านเรียกประชุมพระที่ท่านเคยบวชให้ ท่านถาม อาตมาว่าอาจารย์มาเยีย่ มบ้างหรือเปล่า? อาตมาก็ตอบ ไปตามที่ เ ขานิ ย มพู ด กั น ...พระอาจารย์ ม าเยี่ ย มให้ กำลังใจเหมือนกันครับ หลวงพ่อพูดว่า “ไม่ใช่มาให้ กำลังใจ ท่านแค่มาถามข่าวคราว กำลังใจมันอยู่กับ ตัวเราเองต่างหาก”

62


สิ่งที่ไม่เคยบอก ช่วงที่ทำ “เสียงฝนบนภูเขา” หนังสือที่สมรู้ร่วมคิด กับนักเขียนชื่อเจหวาน มีบทสนทนาหลายตอนที่ถูก ตัดออกไป บางตอนเจหวานเป็นคนเสนอให้ตัดออก เพราะความตรงไปตรงมาของมัน บางตอนข้าฯก็ตดั ออกเอง ด้วยเหตุผลเดียวกัน เปสโลภิกขุ : อาตมาไม่อา่ นนะหนังสือธรรมะทีโ่ ยมเขียน เจหวาน : หมายถึงหนังสือที่เขาวางขายกัน เปสโลภิกขุ : ใช่ อาตมาไม่อ่าน คือถ้ามีหนังสืออยู่เต็ม ห้องสมุด แล้วมีเวลาอ่านหนังสือหนึง่ ชัว่ โมงต่อวัน อาตมา จะเลือกอ่านหนังสือของครูบาอาจารย์ทที่ า่ นมีชวั่ โมงบิน สูงๆดีกว่า แน่นอนกว่า อาจจะเป็นเพราะว่าเรากับท่าน มีเพศภาวะอันเดียวกัน มันสื่อสารกันได้ถึงใจกว่า อันนี้ พูดในแง่สว่ นตัวนะ ทีอ่ เมริกามีศนู ย์ปฏิบตั ธิ รรมแห่งหนึง่ ชื่อ Spirit Rock โด่งดังมาก คนที่ก่อตั้งก็เป็นอาจารย์ สอนด้วย เขาชือ่ Jack Konfield เขาเคยบวชกับหลวงพ่อชา หนึ่งพรรษา แล้วก็ลาสิกขาไปตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมแห่งนี้ ตอนที่หลวงพ่อชาท่านไปอเมริกา ลุง Jack ก็นิมนต์ท่าน ไปเทศน์ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรม ช่วงสนทนาธรรมคนที่มา เข้ า อบรมถามหลวงพ่ อ ชาว่ า ธรรมะของ Jack เชื่อได้ไหม? หลวงพ่อตอบว่า หัวดำนี่ยังเชื่อไม่ได้นะ ต้องนี่...ท่านชี้นิ้วใส่ตัวเอง 63


มันมากับความมืด เวลาประมาณ ๑๗.๓๐ น. ขณะทีข่ า้ ฯกำลังง่วนอยูก่ บั การกวาดลานวัด มีบรุ ษุ หนึง่ ขีม่ อเตอร์ไซค์เข้ามาจอดใกล้ๆ พอถอดหมวกกั น น็ อ คออกก็ เ ห็ น เป็ น ชายหนุ่ ม หวี ผ ม เรียบแปล้ เขาเดินเข้ามาไหว้ดว้ ยท่าทางอ่อนน้อม พร้อม กล่าวคำทักทายอย่างสุภาพเกินกว่าจะเป็นคนแถวนี-้ -ทีน่ ่ี ไม่มใี ครพูดจากันนุม่ นิม่ ขนาดนีห้ รอก จากนัน้ เขาก็เล่าว่า เขาขี่มอเตอร์ไซค์มาจากพัทยา มาหาเพื่อนที่ปลูกบ้าน อยูแ่ ถวนี้ แต่หาไม่เจอ ตอนนีน้ ำ้ มันก็ใกล้จะหมด หลวงพี่ พอจะสงเคราะห์เขาได้ไหม? ข้าฯแย้มยิม้ พลางคิดในใจว่า พวกเวร เอ้ย! พวกนีอ้ กี แล้วเหรอ ขออภัย...อยูช่ ลบุรซี ะนาน คงจะซึมซับมาโดยไม่รตู้ วั เมื่อตั้งสติได้จึงพูดกับเขาสอง ประโยคว่ า “พระที่ นี่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ ปั จ จั ย เราไม่ มี ปั จ จั ย เป็นของส่วนตัว” เขายิ้มแย้มแล้วถอยกรูดออกไปอย่าง สุภาพพร้อมพูดว่า ถ้าอย่างนัน้ ผมคงต้องไปหาตำรวจ เมื่ อ ข้ า ฯมาอยู่ ที่ นี่ ใ หม่ ๆ น่ า จะสิ บ กว่ า ปี ม าแล้ ว เคยมีฝรั่งท่าทางแขกๆขี่มอเตอร์ไซค์มาในแบบเดียวกัน แถมเวลาก็ ใ กล้ เ คี ย งกั น หนำซ้ ำ ยั ง มาจากพั ท ยา เหมื อ นกั น อี ก เขาเดิ น มาหาพระที่ พ อจะพู ด ภาษา อังกฤษได้แล้วบอกความในใจว่า ผมทำกระเป๋าตังค์หาย น้ ำ มั น ก็ ใ กล้ จ ะหมด ขอให้ พ ระช่ ว ยเหลื อ เขาด้ ว ย ตอนนั้ น ข้ า ฯยั ง ไม่ ป ระสี ป ระสาจึ ง หลงพู ด คุ ย กั บ เขา อยู่ตั้งนาน แต่ในที่สุดก็ต้องปฏิเสธไป เพราะเราไม่มี 64


ปั จ จั ย จริ ง ๆ ในช่ ว งฉั น น้ ำ ปานะข้ า ฯได้ เ ล่ า เรื่ อ งนี้ ให้ ท่ า นพระอาจารย์ทราบ ท่านบอกว่าอยู่ที่นี่จะเจอ แบบนี้บ่อย คราวหลังก็ทำเป็นไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ ก็แล้วกัน ประสบการณ์ไม่ผ่านเลย โยม : ดีใจกับหลวงพีด่ ว้ ยนะคะทีว่ ซี า่ ผ่านฉลุย (ไม่นา่ เชือ่ ) แล้วออกตัว๋ รึยงั คะ? จะได้โกอินเตอร์เมือ่ ไหร่? เมือ่ วันพ่อ ที่ผ่านมา โยมแอบไปเดินธรรมยาตราลุ่มน้ำลำปะทาว มาด้วย เค้าเดินกัน ๙ วันแต่ไปแจมแค่ ๒ วัน สะสมไมล์ ได้ตั้ง ๒๓.๕ ก.ม.แดดมันแสบร้อน เห็นภาพที่ท่านเขียน เล่าเรื่องตอนออกธุดงค์เลย หลวงพี่ทำได้ไงนะ ไปทีตั้ง หลายๆวั น เป็ น พระป่ า นี่ ก็ ต้ อ งมี ค วามอดทนสู ง น่ า ดู ถ้าไม่นบั แดดทุกอย่างก็เพอร์เฟค เพลิดเพลินเจริญใจมาก พอแดดออกก็ต้องเดินไปภาวนาไป (ภาวนาว่า “เมฆจ๋า ลอยมาบั ง พระอาทิ ต ย์ ที น ะ ฉั น ตั บ จะแตกอยู่ แ ล้ ว ”) พระสงฆ์บางรูปท่านเดินเท้าเปล่าด้วย อึ้งมาก ไม่รู้ท่าน ทำได้ยังไง อย่างพระนี่ทาครีมกันแดดได้มั้ยคะ? ไม่ได้ หมายถึงกลัวดำนะ แต่นัยเรื่องป้องกันรังสี UV เพราะ ตากแดดนานๆนี่ก็อันตรายได้เหมือนกัน ตอนที่หลวงพี่ เดินธุดงค์กลางแดด ท่านเจริญสติยังไงคะ? แนะแนว เด็กใหม่ด้วย เผื่อครั้งหน้าไปเดินอีกจะได้ฝึกไว้แต่เนิ่นๆ ป.ล.เรื่อง “มันมากับความมืด” ระวังคนเมืองชล 65


เค้ า จะเคื อ งเอานา ไปว่ า เค้ า ไม่ สุ ภ าพน่ ะ ว่ า แต่ . .. เค้าเป็นอย่างงั้นกันจริงเหรอ? หลวงพี่เม้าท์ป่าว เปสโลภิกขุ : ยังไม่ได้ออกตั๋ว แต่ถ้าทุกอย่างลื่นไหลก็ คงจะเหาะประมาณปลายเดือนมกราคมปีหน้า จะไปส่ง อาตมาทีส่ วุ รรณภูมกิ ไ็ ด้นะ เผือ่ ไม่ได้เจอกันอีก อ้าว! พระ ถอดรองเท้ า เดิ น บิ ณ ฑบาตทุ ก วั น ฝ่ า เท้ า จึ ง หนากว่ า ชาวบ้านทั่วไป และพระก็ใช้ครีมกันแดดได้ด้วย ถ้าใช้ เพื่อป้องกันรังสี UV อย่างที่ว่ามา อาตมาเจริญสติยังไง ตอนไปเดินธุดงค์นะ่ เหรอ? เอ...จำไม่ได้แล้วสิ จำได้แต่วา่ มีคำถามหนึ่งเกิดขึ้นในใจอยู่ตลอดเวลา--กูมาทำไม วะเนี่ย? ก็ต้องตอบตัวเองให้ได้ เพราะถ้าไม่สามารถ หาคำตอบที่ ท ำให้ ตั ว เองยอมรั บ ได้ ก็ ต้ อ งทนทุ ก ข์ ทรมานตลอดการเดินธุดงค์ แบบนี้ก็น่าจะเรียกว่าการ ภาวนาได้นะ คนชลบุรเี ค้ามีนสิ ยั โผผางกันเป็นส่วนใหญ่ คิดอะไรก็พูดออกไปตรงๆแล้วก็พูดเสียงดังด้วย คุยกัน ธรรมดายั ง นึ ก ว่ า ทะเลาะกั น แต่ พ ออยู่ ไ ปนานๆ จึงเข้าใจ ที่จริงแล้วเขามีจิตใจดีงาม เรื่องการทำบุญ ทำทานนี่ ห ายห่ ว ง ถึ ง ไหนถึ ง กั น และเขาก็ มี ก ำลั ง ที่ จ ะทำได้ เ ต็ ม ที่ เพราะเศรษฐกิ จ ทางภู มิ ภ าคนี้ ค่อนข้างคึกคัก ทุนที่อาตมานำมาพิมพ์หนังสือแจกเป็น ธรรมทานให้อา่ นกันเป็นสิบเล่ม มาจากศรัทธาญาติโยม ชาวชลบุรีกว่า ๗๐% ที่เล่าเรื่อง “มันมากับความมืด” 66


เพราะต้องการเปรียบเทียบให้เห็นว่า คนที่แสดงกิริยา อาการสุภาพเรียบร้อยจนเกินเหตุ มักจะมีเจตนาน่าสงสัย อยู่เบื้องหลัง รสชาติที่เปลี่ยนไป เย็นๆย่ำๆมีเพือ่ นรุน่ น้องคนหนึง่ โทรศัพท์มาสนทนา ด้วย เขาบวชอยู่ที่วัดป่าใกล้บ้านแห่งหนึ่ง พรรษานี้เป็น พรรษาแรก เขาผลัดวันประกันพรุง่ ทีจ่ ะลาสิกขามาหลาย เพลาแล้ว เพราะติดอกติดใจในวิถีความเป็นอยู่แบบ พระป่า ก่อนหน้านี้เขาเคยโทรศัพท์มาปรึกษาว่าควร จะบวชวัดที่ไหนดี วัดป่าที่อยู่ใกล้บ้านก็มี แม่จะได้ไป ทำบุญด้วย ข้าฯให้ความเห็นกับเขาว่า ควรจะเลือกวัดทีม่ ี ครู บ าอาจารย์ ที่ มี ป ระสบการณ์ ห รื อ มี คุ ณ ธรรมสู ง เพราะท่านจะให้ธรรมะได้แม่นยำกว่า อุปมาเหมือน เราจะฝึ ก เล่ น กี ต าร์ ถ้ า Jimi Hendrix ยั ง มี ชี วิ ต อยู่ และไม่ เ หลื อ บ่ า กว่ า แรง เราก็ ค วรจะไปฝึ ก กั บ Jimi Hendrix แต่ในที่สุดเขาก็เลือกวัดที่อยู่ใกล้บ้าน เพราะ เห็นแก่แม่ที่กำลังป่วย ก่อนบวชเขาเล่นดนตรีกบั เพือ่ นๆและเคยออกอัลบัม้ กับค่ายเพลงอินดี้ที่ชื่อ SO::ON Dry Flower นอกจากนี้ เขายั ง ทำงานด้ า นกราฟิ ก ดี ไ ซน์ มี ชื่ อ เสี ย งในวงการ อยู่พอสมควร ข้าฯมีโอกาสได้รู้จักเขาเพราะเมื่อสองปี ที่แล้วเคยว่าจ้างให้เขาออกแบบปกและรูปเล่มหนังสือ 67


Dhamma Design เราคุยกันหลายเรื่องตามประสา ผู้ครองเพศนักบวช ก่อนวางสายเขาพูดประโยคหนึ่งที่ สะดุดใจข้าฯไม่รู้ลืม... “พอได้มาปฏิบัติธรรมแล้ว เรื่อง ดนตรีเรื่องศิลปะนี่จืดไปเลย” บันทึกบนรถไฟ(ตู้นอน)อุบลราชธานี-หัวลำโพง ๑.กราบขอขมาหลวงพ่อผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ก่อน เดินทางไกล…ท่านบอกว่า “อยู่เมืองนอกสองสามวันก็ เบื่อแล้ว…อีหลีนั่นแหล่ว” ๒.แวะเยีย่ มบ้าน…ขณะทีข่ า้ ฯกำลังหยิบคอลเลคชัน่ ดีวีดี Thomas & Friends ที่วางอยู่ใกล้ทีวีมาพลิกดู หลานสาวอายุ ส องขวบก็ ถ ามขึ้ น ว่ า “หลวงลุ ง จะดู โธมัสเหรอ?” ๓.มอบของขวั ญ เล็ ก ๆชิ้ น หนึ่ ง ให้ ห ลานชายอายุ สี่ขวบแล้วบอกเขาว่า “หนูต้องดูแลน้องนะ” E-mail: Making your’s way to Hawaii-ALOHA Happy New Year Luang Pi! That’s great that you’re going to Abhayagiri and perhaps even to Texas. It would be fantastic if you were able to come out here to Maui too. We would all be so happy to have you here with us - there are amazing places to have a little retreat if you’d 68


like and I’ll have the surfboards ready! I’d like to offer bavarana to please let me know if there is anything we can do or anything you would like, I wholeheartedly invite you to feel free to ask. Wishing you much joy and peace for this new year and many more… Little bro. ว่าง โยม : ท่ า นทำหนั ง สื อ ออกมาหลายเล่ ม ท่ า ทางคง จะว่างมาก เปสโลภิกขุ : ก็ไม่วา่ งมากหรอก แค่วา่ งพอจะทำประโยชน์ ตนประโยชน์ท่านเท่านั้นเอง

69


เปสโลภิกขุ เกิดเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ใช้ชวี ติ วัยเด็กแถบชานเมือง วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นเดินทางเข้าสู่ ตัวจังหวัดเพือ่ ศึกษาต่อชัน้ มัธยมต้นและปลายทีโ่ รงเรียน เบ็ญจะมะมหาราช ขยันอย่างยอดเยี่ยมจนสอบเข้ า มหาวิทยาลัยไม่ได้ เคว้งคว้างอยู่ระยะหนึ่งจึงเนรเทศ ตัวเองไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต พระราชวั ง สนามจั น ทร์ ทนเหงาอยู่ ส องเทอมก่ อ น ตัดสินใจย้ายที่เรียน นั่งรถไฟไปทดลองใช้ชีวิตนักศึกษาศิลปะที่คณะ วิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โน่นนัน่ นีอ่ ยูส่ องปีครึง่ จึงหนีเพือ่ นๆมาบวชทีว่ ดั หนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่ อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ อี ก เก้ า ปี ถั ด มาได้ ชั ก ชวนเพื่ อ น พ้องน้องพีท่ งั้ คฤหัสถ์และบรรพชิตก่อตัง้ คณะสหายธรรม หนุ่ม (Dhamma Design Club) เพื่อผลิตหนังสือธรรมะ แนวทดลองหลากหลายรูปแบบ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือวัยแสวงหา หนังสืออันดับที่ ๕ ของเปสโลภิกขุทชี่ ื่อ เรื่องของเรา ถูกจัดอยู่ในชั้น “หนังสือน่าอ่าน” ประจำร้านหนังสือ แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี (เท่านี้ก็ดีใจ) เช้ า ตรู่ ข องวั น ที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓ เปสโลภิกขุเดินทางไปประจำการที่วัดป่าอภัยคีรี มลรัฐ 70


แคลิ ฟ อเนี ย ร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สำนักสาขาใน ต่ า งประเทศของวั ด หนองป่ า พง เพื่ อ ศึ ก ษาวิ ถี ชี วิ ต ของตั ว เองและผู้ ค นที่ นั่ น (ซึ่ ง ว่ า กั น ว่ า เปิ ด กว้ า ง และยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรม) เปสโลภิกขุ ตั้งปณิธานอย่างแน่นหนาว่า จะถ่ายทอดประสบการณ์ ผ่าน blog ให้ได้เดือนละครั้ง ผลงานเดี่ยวไฉไล : บทกวีในที่ว่าง / แดนสนทนา / เรื่องเป็นเรื่อง / หนึ่งร้อย ผลงานสมรู้ร่วมคิด : บุ๊กกาซีน Dhamma Design Issue 1&2 (บรรณาธิการ) / เรื่องของเรา (+ปัญญาวุ ฒ โฑภิ ก ขุ ) / เสี ย งฝนบนภู เ ขา (+เจหวาน) / Poems on the Road (+Andrew Binkley) ผลงานรีเมค : Dhammascape (DD1+DD2) ร่วมกับ สำนักพิมพ์พาบุญมา

71


สนับสนุนการจัดพิมพ์เป็นอย่างดี คุณสนธิ-คุณสุกัญญา สุวรรณกูล คุณรัฐพล-คุณอรอุษา สุวรรณกูล คุณเวียง-คุณปิยพร วงศ์พระจันทร์ คุณพุทธพร สุวรรณกูล ด.ช.พุทธมนตร์-ด.ญ.พุทธิฌา สุวรรณกูล ด.ญ.ชาณา วงศ์พระจันทร์ คุณกิตติพงค์-คุณศศิวรรณ ทุมนัส ด.ญ.ต้นน้ำ-ด.ญ.ต้นข้าว-ด.ญ.ต้นไผ่ ทุมนัส คุณพูนเกียรติ-คุณณัฐหทัย วะระทรัพย์ คุณกิตติพงษ์ วะระทรัพย์ ครอบครัวสุวรรณเบญจางค์ คุณอโณทัย คลังแก้ว และครอบครัว คุณลดาวัลย์-คุณดาริน ตั้งทรงจิตรากุล คุณวรรณี สิชฌนุกฤฏ์ คุณธานินทร์ เฮงจิตตระกูล คุณรัชต์วดี สัจธรรมธนพิธ คุณพิศลย์ ศิริคูณ

72


73


www.abhayagiri.org

74




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.