BookHakka

Page 1

ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

จุลสาส์น “ไหง่…เฮ้ฮากกาหงิ่น” เล่มนี้ จัดพิมพ์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงาน ฉลองครบรอบ 5 ปี ของการก่อตั้งสมาคมเหมยเซี่ยน - ประเทศไทย วันที่ 25 มิถุนายน 2554 ณ หอการค้าไทย - จีน กรุงเทพ หนังสือที่จะจัดพิมพ์เพื่องานนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ ไหง่เฮ้…ฮากกาหงิ่น ส่วนที่ 2 จะพิมพ์เป็นภาษาจีนและไทย มีเรื่องราวของคนฮากกาในประเทศไทย เขียนโดยผู้รู้ของฮากกาทุกเชื้อสาย พร้อมทั้งภาพและกิจกรรมต่างๆ ของงาน วันที่ 25 มิถุนายน 2554 นี้ เพื่อบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ ให้ลูกหลานฮากกา…ได้อ่านในอนาคต - ฮากกาหงิ่น -

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 1

Book Hakka.indd 1

20/6/2554 20:48:05


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น ไหง่ เฮ้…ฮากกาหงิ่น

ผู้แต่งเนื้อร้อง/ทำ�นอง/ขับร้อง โดย แอ๊ด คาราบาว

ไหง่ เฮ้…ฮากกาหงิ่น ละถิ่นฐานกันมานานนม แผ่นดินสยามอุ้มสม ให้เรารื่นรมย์อยู่สุขสบาย วันนี้พี่น้องฮากกา ไม่ต้องบากหน้า ถอยหนีผู้ใด ในบ้านแสนสุขอุ่นใจ ในนามคนไทย เชื้อสายฮากกา ไหง่ เฮ้…ฮากกาหงิ่น ผู้คนเคยชิน เรียกขานจีนแคะ ปณิธานใฝ่เรียนแน่วแน่ นี่คือธาตุแท้ จีนแคะทั้งหลาย ดร.ซุนยัดเซ็น เป็นแบบอย่าง จิตวิญญาณฮากกาผู้ยิ่งใหญ่ ความดีได้จารึกไว้ ในความภูมิใจของชาวฮากกา แม้กาลเวลาจะผ่านเลย เราไม่เคยลืมคำ�มั่นสัญญา พวกเราคือ ชาวฮากกา ผู้มุ่งมั่นปรารถนาแสวงหาสันติ กลมกลืนกับทุกชาติพันธุ์ ร่วมสานฝันให้แดนดินถิ่นนี้ มั่นคงดำ�รงเสรี สันติสุขสามัคคี ทั่วแดนไทย ไหง่ เฮ้…ฮากกาหงิ่น จำ�พรากจากถิ่น ไกลสุดขอบฟ้า เราคือ อาคันตุกะ รากเหง้าฮากกา คือชนชาติฮั่น ตะวันขึ้นทิศบูรพา นำ�คำ�สัญญา จากใจผูกพัน แสงทองสาดส่องนิรันดร์ ไม่เคยลืมกันชาติพันธุ์ฮากกา เวลาที่เหลือมี ของชีวิต จะลิขิต ตั้งจิต อธิษฐาน จะกล้าก่อ สรณะ ปณิธาน จะต่อสาน คำ�ฮากกา ให้สืบไป ไหง่ เฮ้…ฮากกาหงิ่น

นับจากวันที่ 25 มิถุนายน 2554 เป็นต้นไป เพลง “ไหง่ เฮ้... ฮากกา หงิ่น” ที่แต่งโดย แอ๊ด คาราบาว จะ กลายเป็นส่วนหนึ่งของตำ�นานชุมชน ฮากกาในแผ่นดินไทย จะเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมทีม่ คี า่ ชิน้ หนึง่ ของหอศิลป์ ฮากกา (ในอนาคต) และจะเป็นเพลง ที่ถูกเปิดกระหึ่มซ้ำ�...ซ้ำ�นับครั้งไม่ถ้วน ในทุกงาน ในทุกองค์กร และในทุกพืน้ ที่ ทั่วไทย...ที่มีคนฮากกาอยู่ ในนามของคนชาติพันธุ์ฮากกา ในสังคมไทย เราไม่อาจประเมินน้ำ�ใจ ของแอ๊ด คาราบาว เป็นตัวเลขเงินได้ แต่ขอให้คนฮากกาทุกคน ที่อยู่ในทุก ภาค ทุกจังหวัด และทุกอำ�เภอ เวลา พบเห็น แอ๊ด คาราบาว เปล่งเสียงบอก แทนคำ�ขอบคุณว่า “ไหง่ เฮ้...ฮากกา หงิ่น”

2 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 2

20/6/2554 20:48:06


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น ไหง่ ไหง่… ไหง่…

คือคำ�สรรพนาม ที่หมายถึง “ฉัน” ในภาษาพูดฮากกา มิได้เป็นตัวอักษรที่บัญญัติไว้ ในสารานุกรมของจีนฮั่น ลูกหลานฮากกาทุกคน เปล่งคำ�นี้ได้ตั้งแต่วัยแรกหัดพูด และบ่งบอกตัวเองที่เป็นฮากกา ด้วยประโยค…ไหง่ เฮ้ ฮากกาหงิ่น ในฐานะตัวตนเต็มแท้ของสายพันธุ์ฮากการุ่นที่ 3 ในสังคมไทย ปรารถนาด้วยจิตพิสุทธิ์ที่จะให้คำ�ว่า “ไหง่” มิใช่หมายเพียงตัวฉันในเชิงปัจเจก ที่แบ่งฮากกาตามสำ�เนียงถิ่น และยิ่งมิใช่หมายแค่ตัวป้ายชื่อ ที่ประดับหน้าองค์กรสมาคม แต่หมายกว้างกว่า และหมายลึกว่า ถึงองค์รวมของ “ชุมชนฮากกา” ที่ “มีและเป็น” อยู่ทั่วทุกภาคแผ่นดินของสังคมไทย เพื่อให้ “ตัวจริง เสียงจริง และชีวิตจริง” ของคนฮากกา ได้ “รู้จักและเข้าใจ” ความเป็นสารัตถะแห่งชาติพันธุ์ฮากกา ว่า เราเป็นใคร และเรามาจากไหน (หากไม่เป็นลูกหลานที่เคารพอดีตแล้ว ก็ยากที่จะให้ลูกหลาน…เคารพเราในอนาคต - ไมเคิล ไรท์)

หากได้ยินเสียงใครพูด “ไหง่” ที่ใด รู้ได้ทันที่ว่า คนนั้น คือ คนฮากกาโดยไม่ต้องถาม คำ� “ไหง่” จึงเป็นรูปตราอัตลักษณ์ (Identity Brand) ที่บอกความเป็นฮากกา ได้อย่างง่ายที่สุด เฮ้…ไหง่เฮ้ ฮากกาหงิ่น นภดล ชวาลกร 25 มิถุนายน 2554 กรุงเทพ ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 3

Book Hakka.indd 3

20/6/2554 20:48:06


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

สารบั ญ .............................................................................................................. 1. ข้อมูลจำ�เพาะ ส่วนผสมของประชากรจีน - ตามกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษาพูด 7 ตระกูลของจีนฮั่น เชื้อสายของ จีนโพ้นทะเล - ตามประเทศ ประชากรคนฮากกาในจีน และโพ้นทะเล เพลง สืบสานวัฒนธรรมฮากกา สาวฮากกาตีนโต

6 8 11 12 16 18

2. ข้อมูล - คนไทยเชื้อสายจีน - ฮากกาในไทย สัญลักษณ์ขององค์กรจีนฮากกาที่อยู่โพ้นทะเล กลุ่มชุมชนฮากกาฮ่องกงใช้คำ� ฉงเจิ้ง เป็นชื่อของสมาคม คนฮากกาอพยพเข้ามาปักหลักอยู่ในไทย…ตั้งแต่เมื่อใด สัดส่วนประชากรคนฮากกาในประเทศไทย การวิเคราะห์สัดส่วนคนฮากกาในไทย - ตามเชื้อสายสำ�เนียงถิ่น

20 21 22 24 27

4 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 4

20/6/2554 20:48:06


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

สารบั ญ .................................................................................................................. 3) ข้อเขียนเชิงตรรกะ - ฮากกา ของ กู่เค่อ (GU KE) บทนิยามของ…ความเป็นฮากกา จิตวิญญาณของ…คนฮากกา ไหง่ เฮ้…ฮากกาหงิ่น ฮากกา…เจ้ามาจากไหน ฮากกา…เจ้าจะไปไหน เส้นทางวิบากของคนฮากกา จากถิ่นฐานเทือกเขาสูง…สู่ประเทศไทย The Chinese Hot Pot หม้อไฟ สุกี้จีน บทละครเวที พิพิธภัณฑ์ฮากกาประเทศ ปี ค.ศ. 2071 มหากาพย์แห่งเจิ้งซี่…ของคนฮากกา เพลงมาร์ชฮากกา ของสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย บทขยายความ จงหยวน หนานฟัง และหนานหยาง ในบทเพลงประจำ�สมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย เยียะกวงกวง…บทกล่อมลูก เพลงพื้นบ้านของคนฮากกา เพราะสงคราม เพราะการย้ายถิ่น จึงเกิดจีนฮั่นเผ่าหนึ่ง ที่ถูกเรียนขานว่า…ฮากกา เพราะมาช้ากว่า เพราะมาน้อยกว่า คนฮากกา…สุดท้าย ต้องเลือกอยู่บนภูเขา เมื่อคนฮากกา…เลือกการเรียน เป็นทางออกของชีวิต อยากรู้ไหมว่า…ฉันเป็นใคร

29 34 37 38 39 40 41 42 48 50 51 52 60 64 70 73 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 5

Book Hakka.indd 5

20/6/2554 20:48:06


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น ส่วนผสมของประชากรจีน-ตามกลุ่มชาติพันธุ์ ประชากรของประเทศจีน เมื่อปี 2005 มีประมาณ 1,300 ล้านคน เป็นชาวจีน - ฮั่น 92% ประมาณ 1,196 ล้านคน เป็นชนส่วนน้อย - ชาติพันธุ์อื่น 8% ประมาณ 104 ล้านคน ชนส่วนน้อยของจีนทั้งประเทศ มี 55 กลุ่มชาติพันธุ์ ชนส่วนน้อย ที่อยู่ทางภาคใต้ มี 34 กลุ่มชาติพันธุ์ ส่วนที่อยู่ทางภาคเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือ มี 21 กลุ่มชาติพันธุ์ ชนส่วนน้อย ที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคนขึ้นไป มี 15 ได้แก่ จ้วง หุย อุยฆูร์ ยี แมนจู มงโกล ธิเบต ถูเจีย ตัง เย้า เกาหลี ไป๋

กลุ่มชาติพันธุ์ ม้ง บู้อี ฮานี

ชนส่วนน้อย ที่เคยยกกำ�ลังมารุกราน และครอบครองจีนสำ�เร็จ มี 2 กลุ่มชาติพันธุ์ คือ มงโกล และแมนจู มงโกล ตั้งราชวงศ์หยวนปกครองจีน ระหว่าง ค.ศ. 1279 - 1368 รวม 89 ปี แมนจู ตั้งราชวงศ์ชิงปกครองจีน ระหว่าง ค.ศ. 1644 - 1911 รวม 267 ปี

6 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 6

20/6/2554 20:48:06


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

“บ้านทรงมังกรโอบ รูปแบบที่อยู่อาศัยของคนฮากกา ที่พบได้มากในเมืองเหมยโจว” ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 7

Book Hakka.indd 7

20/6/2554 20:48:07


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น ภาษาพูด 7 ตระกูลของจีนฮั่น 1) ภาษาราชการ ( = Guanhua = กวานฮว่า) เดิมเป็นภาษาทางภาคเหนือ ( ) ภาษาอังกฤษ เรียกว่า แมนดาริน (Mandarin) คนจีนในประเทศไทย เคยเรียกกันว่า ภาษาจีนกลาง ( ) คนจีนใน สิงค์โปร มาเลเซีย อินโดนีเซีย และโพ้นทะเล นิยมเรียกว่า หวาอวี่ ( ) ประเทศจีนมีอาณาเขตพื้นที่กว้างใหญ่ มีภาษาท้องถิ่นที่แตกต่างกันมากมาย รัฐบาลจีนในระบอบสาธารณรัฐประชาชน ตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1949 เป็นต้นมา ได้ก�ำ หนด ให้ภาษาทางภาคเหนือนี้ เป็นภาษาราชการ เรียกว่า ฮั่นอวี่ ( ) รัฐบาลจีนได้ก�ำ หนดเป็นหลักสูตร ส่งเสริมให้ประชาชนพูดภาษาฮัน่ อวีจ่ นแพร่ หลายทั้งประเทศ คนจีนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า ผู่ทงฮว่า ปัจจุบัน มีผู้ใช้ภาษาราชการ นี้มากถึง 70% ของประเทศ 2) ภาษาอู๋ ( = Wu) เป็นภาษาพูดที่ใช้กันมากเป็นอันดับสองรองจากภาษาจีนกลาง มีหลักฐาน ปรากฏ การใช้ภาษาอู๋มาตั้งแต่ราชวงศ์โจว (ประมาณ 3,000 ปี) มีผู้พูดภาษานี้มาก ในพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทะเล ภาคตะวันออก เช่น มณฑลเจียงซู เจ้อเจียง มีภาษาเซียงไฮ้ เป็น มาตรฐาน ผู้ใช้ภาษาอู๋นี้มี จำ�นวนประมาณ 8% ของประเทศ 3) ภาษาเซี่ยง ( = Xiang Yu) ใช้กนั มากในพืน้ ทีม่ ณฑลหูหนาน หูเป่ย มีภาษาฉางซา ( จำ�นวนผู้ใช้ภาษาเซียงนี้มีประมาณ 5% ของประเทศ

) เป็นมาตรฐาน

8 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 8

20/6/2554 20:48:07


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น 4) ภาษากั้น ( = Gan) ใช้กันมากในมณฑลเจียงซี มีสำ�เนียงการพูดคล้ายกับภาษาฮากกาในมณฑล กวางตุ้ง มีภาษาเจียงซีเป็นมาตรฐาน จำ�นวนผู้ใช้ภาษากั้นนี้ มีประมาณ 2% ของ ประเทศ 5) ภาษฮากกา ( = Hakka) ใช้กันมากในพื้นที่มณฑลกวางตุ้ง มีภาษาเหมยเซียนเป็นมาตรฐาน จำ�นวนผู้ใช้ ภาษาฮากกานี้มีประมาณ 4% ของประเทศ ภาษาฮากกามีภาษาสายย่อย (Sub - Dialect) แตกออกไปอีกหลายสำ�เนียง ตามพื้นที่ท้องถิ่น อาทิ สำ�เนียงปั้นซันฮัก สำ�เนียงฮุ่ยโจว สำ�เนียงไห่ลู่-ฟุง เป็นต้น 6) ภาษาหมิ่น ( = Min) ใช้กันมากในมณฑลฮกเกี้ยน มีภาษาเซี่ยเหมิน เป็นมาตรฐาน มีสำ�เนียงแยก ย่อยได้อกี 2 สาย คือ หมิน่ หนัน และ หมิน่ เป่ย จำ�นวนผูใ้ ช้ภาษานีป้ ระมาณ 4% ของ ประเทศ (ภาษาแต้จิ๋ว และไหลำ� จัดอยู่ในภาษาเชื้อสายหมิ่นหนัน) 7) ภาษาเยว่ ( = Yue) คือภาษากวางตุ้ง ใช้กันมากทางภาคใต้ ชายฝั่งทะเลของมณฑลกวางตุ้ง และ กวางซีมีภาษากวางเจาเป็นมาตรฐาน จำ�นวนผู้ใช้ภาษานี้ มีประมาณ 5% ของประเทศ หมายเหตุ รัฐบาลจีนได้กำ�หนดให้ภาษาทางเหนือ เป็นภาษามาตรฐานประจำ�ชาติพันธุ์ฮั่น เพื่อเป็นนโยบายให้สังคมจีนมีเอกภาพในการพูดสื่อสาร คือ กวนฮว่า (ผู่ทุงฮว่า) ส่วนภาษาตระกูลอื่น รัฐบาลจีนมิได้กำ�หนดเป็นทางการเหมือนผู่ทุงฮวา แต่ใน ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 9

Book Hakka.indd 9

20/6/2554 20:48:07


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น ทางปฏิบตั ขิ องการจัดทำ�รายการโทรทัศน์ในเมืองหลวงปักกิง่ ทีม่ รี ายการเฉพาะของแต่ละ ตระกูลภาษา รวมทัง้ รายการของสถานีแต่ละภูมภิ าค จำ�เป็นต้องคัดเลือกสำ�เนียงถิน่ แห่ง หนึง่ เป็นหลักในการพูดออกอากาศ ทำ�ให้ส�ำ เนียงถิน่ ทีไ่ ด้รบั คัดเลือกนัน้ ถูกยกเป็นสำ�เนียง มาตรฐานของตระกูลภาษานั้นอย่างไม่เป็นทางการ

“ที่เมืองกวางโจว เนินเขาเยี่ยะซิ่ว จะมีการแสดงเพลงพื้นบ้านฮากกา - ซันโก ทุกวันที่ 12 ของเดือน” 10 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 10

20/6/2554 20:48:07


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น เชื้อสายของจีนโพ้นทะเล - ตามประเทศ ในรอบระยะเวลาช่วง 150 ปีที่ผ่านมา ด้วยปัญหา และสาเหตุทางการเมือง การปกครองภายในของจีน (ช่วงปลายราชวงศ์ชงิ ช่วงหลังปฏิวตั ซิ งิ ไฮ และช่วงแตกแยก เป็นสองแนวคิดทางการเมือง) ได้สร้างความปั่นป่วนทางสังคม และความตกต่ำ�ทาง เศรษฐกิจต่อสังคมจีนอย่างสาหัสใหญ่หลวง จนทำ�ให้ประชาชนจีนได้พากันอพยพไปอยู่ ยังที่ต่างๆ ของประเทศ โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณภาคใต้ของจีน ส่วนใหญ่ มาจากมณฑลฮกเกี้ยน และกวางตุ้ง คนจีนตามข้างต้น ถูกเรียกว่า เป็นจีนหัวเฉียว (จีนโพ้นทะเล) พอจำ�แนกแต่ละ เชื้อสายที่อยู่ตามแต่ละประเทศได้ดังนี้ 1) ฮ่องกง - มาเก๊า 2) ไต้หวัน 3) อินโดนีเซีย 4) มาเลเซีย 5) สิงคโปร์ 6) เวียดนาม 7) ฟิลิปปินส์ 8) ไทย แต้จิ๋ว อื่นๆ - สหรัฐอเมริกา - แคนาดา - ออสเตรเลีย

เชื้อสายส่วนใหญ่ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ฮากกา ฮกเกี้ยน ฮากกา ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง ฮากกา ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง ใหหนำ� กวางตุ้ง ใหหนำ� ฮากกา ใหหนำ� กวางตุ้ง กวางตุ้ง กวางตุ้ง ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 11

Book Hakka.indd 11

20/6/2554 20:48:07


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

ประชากรคนจีนฮากกาในประเทศจีน และโพ้นทะเล

จำ�นวน (พันคน) ประชากรคนจีนฮากกา - ทั่วโลกรวม 65,756

ประชากรคนจีนฮากกาในประเทศจีน

1) เมืองเหมยโจว - มณฑลกวางตุ้ง 2) มณฑลเจียงซี 3) มณฑลกวางซี 4) มณฑลฮกเกี้ยน 5) มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) 6) มณฑลหูหนาน 7) มณฑลใหหนำ� 8) มณฑลหูเป่ย 9) มณฑลกุ้ยโจว 10) มณฑลเจียงซู 11) มณฑลยูนนาน 12) มณฑลอันฮุย 13) มณฑลเจ๋อเจียง 14) มณฑลส่วนซี 14) เขตซิงเจียง 16) มณฑลอื่นๆ

21,000 12,500 6,000 5,000 3,800 2,000 1,500 150 100 20 20 20 10 5 3 3,000 55,128

12 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 12

20/6/2554 20:48:08


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

17) ไต้หวัน 4,600 18) ฮ่องกง 1,250 19) มาเก๊า 100 รวม

ประชากรคนจีนฮากกาในเอเชีย

1) มาเลเซีย 2) อินโดนีเซีย 3) สิงคโปร์ 4) เวียดนาม 5) ซาบาร์ (รัฐหนึ่งในมาเลเซีย) 6) พม่า 7) อินเดีย 8) ซาราวัค 9) ญี่ปุ่น 10) กัมพูชา 11) บรูไน 12) ฟิลิปปินส์ 13) ลาว 14) ติมอร์ 15) ไทย รวม

5,950 61,078 พันคน 1,250 1,200 200 150 70 60 25 20 10 10 8 7 5 4 1,060 4,079

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 13

Book Hakka.indd 13

20/6/2554 20:48:08


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

ประชากรคนจีนฮากกาในยุโรป - อเมริกา - อัฟริกา - ออสเตรเลีย

พันคน 1) อังกฤษ 150 2) เปรู 150 3) อเมริกา 100 4) แคนนาดา 80 5) ฝรั่งเศส 30 6) เมาดีฟ 25 7) ซานฟรานซิสโก 20 8) อัฟริกาใต้ 15 9) ออสเตรเลีย 11 10) ฮาวาย 10 11) คิวบา 8 รวม 599

อ้างอิง 1) ข้อมูลจากหนังสือ หนังสือข้ามทะเลฝ่าสมุทร ของคนฮากกา มหาวิทยาลัยเหอหนาน 2003

14 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 14

20/6/2554 20:48:08


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

“บ้านป้อมดิน ที่อยู่ รวมกลุ่มหนาแน่น ณ ที่เมืองหนานฉิง มณฑลฮกเกี้ยน ) ( ณ บริเวณพื้นที่ราบ ระหว่างหลืบเขา โดยมีแนวธารน้ำ�ไหล หล่อเลี้ยงชุมชน มายาวนานกว่า 700 ปี” ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 15

Book Hakka.indd 15

20/6/2554 20:48:08


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

เพลง สืบสานวัฒนธรรมฮากกา

C2/4 ทำ�นองเพลงสมาคมฮากกา ของจังเจิ้นคุน วีฟัดแปล-อาฉีคำ�ร้องไทยwww.hakkapeopie.com

จากจุงเหงียน สู่แดนใต้ ฮากกาเรานี้ ชื่อระบือนาม ลูกหลานฮักกา_จง_ตระหนัก ทนยากเข็ญ อย่างไม่เว้นวัน

จากแดนใต้ มาสยาม ว่ามี. สมบูรณ์ ความเกื้อกูลกัน ควรรู้รัก บรรพชนขยัน เพื่อให้ลูกหลาน_สร้าง_สรรความดี

…Intro… วัฒนธรรมล้ำ�ค่า_จงจดจำ� เสริมรัก สามัคคี_ที่เกรียงไกร ลูกหลานฮักกา_จง_ตระหนัก ทนยากเข็ญ อย่างไม่เว้นวัน ทนยากเข็ญ อย่างไม่เว้นวัน

สืบสร้างสรรค์ อย่างเลื่อมใส จารึก.มอบไว้ให้ ลูกหลาน เทอญ. ควรรู้จัก บรรพชนขยัน เพื่อให้ลูกหลาน_สร้าง_สรรความดี เพื่อให้ลูกหลาน_สร้าง_สรรความดี

16 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 16

20/6/2554 20:48:08


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

ฉุ่ง จุง เหงียน เต๊าหน่ำ�ฟอง ฮากกายืองี่ ซ่องเที่ยนเซีย

ฉุ่งหน่ำ�ฟอง เต๊าหน่ำ�ยอง ลิคชิ้น เกียนหนั่น อี ชองซอง

ขุ่นฟุ้นจิน ชี่ ช่องเหงียบจี้ด

เกียนยิ้นปุดพัด เซียงอ๊อยเซียงปอง

ฮากกาจือแกน เหล่าเหล่ากี้

ฉ่อนทุ่ง มี เต็คท้อยท้อยหย่อง

ฮากกาจือแกน เหล่าเหล่ากี้

ฉ่อนทุ่ง มี เต็คท้อยท้อยหย่อง

ทำ�นองเพลงสมาคมฮากกา (

) ของจังเจิ​ิ้นคุน

ผู้แปล สมชัย ชัยวีรสกุล (วี​ี่ฟัด) ฮากการาชบุรี ผู้เรียบเรียงเนื​ื้อเพลง คณากร ศรีมิ่งมงคลกุล www.hakkapeople.com ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 17

Book Hakka.indd 17

20/6/2554 20:48:09


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น สาวฮากกาตีนโต เนื้อร้อง : เขียนโดย นายวิวัฒน์ โรจนาวรรณ / หน่ำ�จิ๊น แซ่หว่อง / ฮากกา - เหมยเซี่ยน ทำ�นอง : คิดโดย นายธนภณ วัฒนาชีพ / ฮากกา - เหมยเซี่ยน ความเป็นมาเพลง “สาวฮากกาตีนโต” คือ เพลงทีเขียนเพราะ / ระลึกถึง อาเจี้ยผ่อ “นางฮั่น เซี่ยงลี่” สาวฮากกาจากเหมยเซี่ยน และคำ�พูดของ คุณนภดล ชวากร / ฮากกา เหมยเซี่ยน “DNA.ฮากกานี่มันแรงจริงๆ”

วันเวลาผันผ่าน เนิ่นนานสุดที่จดจำ� บนผืนแผ่นดินฮั่น บนผืนแผ่นดินไทย มีชนชาติฮากกา มีชุมชนฮากกา มีคนพูดฮากกา เป็นภาษาฮากกา สายลมเป็นสื่อ พาถ้อยคำ�ภาษาฮากกา สู่โสตชนทั่วหล้า แขก ฝรั่ง จีน ไทย มีคนพูดฮากกา มีภาษาฮากกา เป็นเสียง คนหนุ่ม เพรียกหา สาวฮากกา

18 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 18

20/6/2554 20:48:09


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น ฮากกาหม่อย ฮากกาหม่อย ฮากกาหม่อย

(พูด) สาวฮากกา เธอคือหญิงแท้ แม้จะไม่สวย เสน์หของเธอ ที่คนกล่าวขาน ว่าแม่นงคราญ ที่ตีนเธอโต เพราะใจเธอสู้ ไม่เกี่ยงไม่อู้ เธอสู้งานหนัก คำ�น้อยไม่เคยว่า คำ�บ่นไม่เคยมี มีทั้ง ปลูกผัก ทำ�สวนปลูกข้าว เลี้ยงหมูเลี้ยงปลา ไม่มีเวลาเสริมสวย มองกระจกแต่งหน้า นี่คือศรีภรรยา ของหนุ่มๆ ฮากกา ของคนฮากกา เป็น อาผ่อ อาแม อากู อาหยี่ เสาเส่า อาจี้ ของคนฮากกา

แต่ร่ำ�รวยเสน่ห์ นั่นมี ตีนโต ไม่มัวแต่คุย ดูแลครอบครัว ทำ�กับข้าวในครัว นี่คือกุลสตรี

ฮากกาหม่อย ฮากกาหม่อย ฮากกาหม่อย

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 19

Book Hakka.indd 19

20/6/2554 20:48:09


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น สัญลักษณ์ขององค์กรฮากกาที่อยู่โพ้นทะเล

องค์กรของคนฮากกาในประเทศไทย และในกลุ่มประเทศเอเซีย เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซียน จะใช้อักษร เป็นสัญลักษณ์ประจำ�ขององค์กรสมาคม เป็นอักษรจีนที่อยู่ในคัมภีร์โบราณซั่งซู อ่านออกเสียงว่า “ฝู” ไม่ปรากฏ ความหมายคำ�ที่ชัดเจน ตามธรรมเนียมปฏิบัติของระบบจารีตจีนในอดีต องค์จักรพรรดิ์ จะพระราชทานเครื่องแบบ ที่ประดับเครื่องหมาย นี้ ให้แก่ขุนนางระดับสูงที่สร้าง คุณงามความดีต่อประเทศ เพื่อประกาศเกียรติคุณ โดยที่ประวัติศาสตร์คนฮากกาในช่วง 1,700 ปีที่ผ่านมา เต็มไปด้วยเรื่องราว การอพยพย้ายถิ่นจากภัยสงครามและเศรษฐกิจ ความสามัคคีจึงเป็นทั้งคุณธรรมและ วินัยที่คนฮากกาเน้นย้ำ�ประจำ�จิตสำ�นึก องค์กรฮากกาโดยเฉพาะในแถบอุษาอาคเนย์ จึงได้นำ�อักษรนี้มาเป็นสัญลักษณ์ ประจำ�สมาคม เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจว่า หากเกิดการแตกแยกเมื่อใด ชุมชนฮากกาก็ จะเหมือนอักษร ที่ถูกผ่ากลางพรากจากกันคนละทิศทาง

สำ�หรับคนอื่น ทำ�อะไรไม่ได้...จึงเรียน แต่สำ�หรับคนฮากกา เพราะเรียนไม่ได้ จึงต้อง...ทำ�อย่างอื่น 20 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 20

20/6/2554 20:48:09


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น กลุ่มชุมชนฮากกาฮ่องกงใช้คำ� เป็นชื่อของสมาคม

(ฉงเจิ้ง)

คำ�ว่า ฉงเจิง้ (Chong Zheng) หมายถึง จิตสำ�นึกทีเ่ ทิดทูนความถูกต้อง และ ความเป็นธรรม ในบทกวี บทวรรณกรรม และบทความของคนฮากกา จะอ้างอิงถึงคำ� นี้บ่อยที่สุด จนกลายเป็นความหมายอุดมคติเชิงสัญลักษณ์ของคนฮากกา มหากาพย์เจิ้งชี่เกอ ของ เหวินเทียนเสียง (­ ) วีรบุรุษฮากกา จาก เจียงซี (ค.ศ. 1236 - 1283) ปลายราชวงศ์ซุ่ง เป็นบุคคลแบบอย่างอมตะตลอดกาล ในความหมายของ ฉงเจิ้ง / เจิ้งชี่ มีชมุ ชนฮากกาอีกกลุม่ หนึง่ ทีฮ่ อ่ งกง ใช้ค�ำ ว่า ฉงเจิง้ เป็นชือ่ ของสมาคม เขียน เป็นภาษาอังกฤษว่า Tsung Tsin Association ก่อตัง้ เมือ่ ค.ศ.1921 ผูร้ เิ ริม่ ก่อตัง้ คือ นายไล่จี้ซี ( ) หัวหน้าภาควิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยฮ่องกง พร้อมด้วยกลุ่ม นักธุรกิจฮากกา - ฮ่องกงในขณะนั้น ต่อมา นายหูเหวินหู่ ( ) นักธุรกิจฮากาชาวสิงคโปร์เข้ามาสนับสนุน จนสมาคมฉงเจิ้งขยายเครือข่ายไปหลายประเทศ เช่น สหัฐอเมริกา (นิวยอร์ค ซานฟรานซิสโก ฮอนโนลูล)ู ในยุโรป เช่น ฮอลแลนด์ อังกฤษ (ลิเวอร์พลู ) ประเทศแคนนาดา คิวบา เป็นต้น นายหลอเซียงหลิน ( ) นักวิชาการฮากกา - เมืองซิงหนิง มณฑล กวางตุง้ ผู้มีชื่อเสียง จากหนังสือ การวิจัยชาติพันธุ์ฮากกา หนีภัยการเมืองจากจีนเข้า มาร่วมสังกัดสมาคมนี้ ทำ�ให้สมาคมฉงเจิง้ ของฮ่องกง ได้ตง้ั หน่วยงานการศึกษาชาติพนั ธุ์ ฮากกา ได้จดั การประชุมฮากกานานาชาติ และได้ผลิตเอกสารวิชาการฮากกามากมาย

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 21

Book Hakka.indd 21

20/6/2554 20:48:09


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น คนจีนฮากกา…อพยพเข้ามาปักหลักอยู่ในไทย ตั้งแต่เมื่อใด จากการค้นคว้าของฝ่ายวิชาการ ศูนย์ฮากกาศึกษา-กรุงเทพ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2548 - 2550 ตามเอกสารและแหล่งข้อมูล (ที่อ้างถึงท้าย ข้อนี้) พอได้บทสรุป ดังนี้

คนจีนฮากกา เริ่มปรากฏร่องรอยการอพยพเข้ามาปักหลักอยู่ในไทยระหว่างปลาย กรุงศรีอยุธยา ก่อนปี พ.ศ. 2300 คนจีนฮากกา อพยพเข้าไทยมากที่สุด ในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2411 - 2453 ซึง่ เป็นยุคทีร่ ฐั บาลไทย กำ�ลังพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ก่อสร้างถนน สะพาน เส้นทางรถไฟทุกภาค และการก่อสร้างอาคารต่างๆ ในกรุงเทพมากที่สุด อ้างอิง 1) หนังสือสังคมจีนในไทย ประวัตศิ าสตร์เชิงวิเคราะห์ ของ นาย G.William Skinner 2) หนังสือจิ้มก้อง และกำ�ไร - การค้าไทยจีน 2195 - 2396 ของนายสารสิน วีระผล 3) จีนโพ้นทะเลสมัยใหม่ ของ ภูวดล ทรงประเสริฐ 4) จีนทักษิณ วีถี และพลัง ของสุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์, ดิลก วุฒิพาณิชย์ และ ประสิทธ์ ชินการณ์ 5) หนังสือประวัติ ของสมาคมฮุ่ยโจวสากล 6) เอกสารวิจัย เรื่อง ก๋งสี ของ อาจารย์พรรณี บัวเล็ก 7) หนังสือ การวิจัยประวัติคนจีนในประเทศไทย ของ นางหงหลิน และนายหลี เต้ากัง 8) จากการถอดความภาษาจีน จากประวัติแผ่นหิน ของ ศาลเจ้าฮ้อนหว่อง กรุงเทพ เมื่อปี พ.ศ. 2549 22 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 22

20/6/2554 20:48:10


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น 9) หนังสือจดหมายเหตุของอำ�เภอฟุงชุ่น ในหนังสือปั้นซันฮัก ของนายหลิวชิงซัน ( ) 10) หนังสือคนฮากกาในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( ) 11) หนังสือคนจีนในมาลายาและสิงคโปร์ ( ) 12) หนังสือคนจีนในอุษาอาคเนย์ ( ) 13) จากการวิจัยศึกษาเรื่องคนจีนในอินโดนีเซีย ของศูนย์ฮากกาศึกษา – กรุงเทพ 14) จากเอกสารประวัติคนฮากกา ที่ศูนย์ฮากกาศึกษา – กรุงเทพ ได้รวบรวมจากการ ร่วมสัมมนา ของฮากกาอะคาเดมี่ ทัง้ ในจีน ไต้หวัน และฮ่องกง มากกว่า 20 แห่ง ระหว่างปี 2549 - 2553

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 23

Book Hakka.indd 23

20/6/2554 20:48:10


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น สัดส่วนประชากรคนฮากกาในประเทศไทย เนื่องจากไม่มีสถิติที่แน่ชัดว่า คนไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทย มีประชากร แต่ละเชื้อสายประมาณเท่าใด จึงต้องพิจารณาศึกษาข้อมูลจากเอกสารหลายแหล่ง ซึ่งมีตัวเลขหลายชุดที่แตกต่างกัน ทีมงานฝ่ายวิชาการ ของ ศูนย์ฮากกาศึกษา - กรุงเทพ ได้ยึดถือข้อมูล จาก หนังสือสังคมจีนในไทย ของ G.William Skinner (นักจีนวิทยา - Sinologist) ชาว อเมริกัน เป็นเกณฑ์ คำ�นวณ ประชากรแต่ละเชื้อสาย ดังนี้ แต้จิ๋ว ฮากกา ใหหนำ� กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน อื่นๆ

% 56 16 12 7 7 2 100

ประชากรรวมของไทย - ปี 2549 คนไทยเชื้อสายจีน (โดยประมาณ คนไทยเชื้อสายจีน (โดยประมาณ) คนไทย - เชื้อสายจีนฮากกา (โดยประมาณ)

63.0 ล้านคน 10.5 % 6.62 ล้านคน 1.06 ล้านคน

24 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 24

20/6/2554 20:48:10


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น หมายเหตุ หนังสือ Chinese Society in Thailand ของ Skinner เดิมเป็นวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก ถูกนำ�มาปรับปรุงตีพิมพ์เป็นหนังสือครั้งแรก เมื่อ 2500 / 1957 ได้รับ การแปลเป็นภาษาไทยตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี 2529 / 1986 และพิมพ์ ครั้งที่ 2 เมื่อ ปี 2548 / 2005 โดยมูลนิธิโตโยต้า และมูลนิธิโครงการตำ�ราสังคมศาสตร์ และ มนุษย์ศาสตร์ ระยะเวลาของสังคมจีนในไทยที่ Skinner ศึกษาวิจัยนี้ อยู่ในช่วงทศวรรษ ระหว่าง 2490 - 2500 / 1947 - 1957 ซึ่งมีนัยสำ�คัญอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างสังคมจีนในไทย และกลุม่ ประเทศในแถบอุษาอาคเนย์ เนือ่ งจากในปี 2492 / 1949 พรรคคอมมูนิสต์จีน ได้ชัยชนะเหนือพรรคก๊กหมิงตั๋งเด็ดขาด ทำ�ให้คนจีนไม่ สามารถอพยพออกสู่ต่างประเทศ ได้อย่างเสรีด้วยนโยบายที่เข้มงวดของรัฐบาลจีน ที่สำ�คัญคือรัฐบาลไทยในยุคจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ใช้นโยบายชาตินิยม จำ�กัด จำ�นวนคนจีนเข้าประเทศจากเดิม 10,000 คน เหลือ 200 คนต่อปี การเปลีย่ นแปลงในด้านนโยบายการเมืองทัง้ จีนและไทยข้างต้น ส่งผลให้ประชากร คนจีนในไทยช่วงนั้นอยู่ในภาวะสถิต เนื่องจากไม่มีคนจีนใหม่เข้ามาเพิ่ม และคนจีนที่ อยู่เดิมไม่กล้าเดินทางกลับสู่สมรภูมิ ด้วยเกรงว่าจะไม่สามารถกลับเข้าไทยได้อีก ผลทีต่ ามมาอีกประการหนึง่ ทำ�ให้คนจีนจำ�เป็นต้องปรับตัวกลืนกลาย (Assimilation) เข้าสู่สังคมไทยอย่างไม่มีทางเลือก ด้วยนโยบายที่กีดกัน และจำ�กัดบทบาทของคนจีนที่ ตามมาอีกหลายประการของรัฐบาล จอมพล ป.พิบลู สงคราม และจอมพลสฤษดิ์ ธนรัฐ เป็นเวลาทีย่ าวนานกว่า 30 ปี ทำ�ให้ลกู หลานของคนจีนต่างด้าวในช่วงหลังจากปี 2492 / 1949 ได้กลายมาเป็น “คนไทยเชื้อสายจีน” รุ่นที่ 2- 4 ที่อยู่ร่วมกับสังคมไทยที่ หลากหลายด้วยชาติพันธุ์และวัฒนธรรมอย่างกลมกลืน การที่ศูนย์ฮากกาศึกษา - กรุงเทพ ยึดถือตัวเลขของ Skinner เป็นเกณฑ์ คำ�นวณนี้ ด้วยเหตุผลดังนี้ ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 25

Book Hakka.indd 25

20/6/2554 20:48:10


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น บริบทเรื่องระยะเวลาที่ Skinner ทำ�การศึกษานั้น เป็นช่วงปี 1947 - 1957 / 2490 - 2500 ซึง่ โครงสร้างประชากรจีนในไทยออูใ่ นภาวะนิง่ ทีส่ ดุ กระแสการเคลือ่ นไหว ออก - เข้า ของคนจีนในไทยอยูใ่ นระดับทีต่ �ำ่ ทีส่ ดุ ด้วยนโยบายการเมืองทีเ่ ปลีย่ นแปลง ของรัฐบาลทั่วไปไทยและจีน ข้อมูล ตัวเลข สถิติ ต่างๆ ที่ Skinner จัดทำ�และเขียนนั้น มีความเป็นระบบ การอ้างอิง ที่ดีกว่าแหล่งข้อมูลอื่น หรือนักวิชาการอื่น เชือ่ ว่า ทีมงานของ Skinner ต้องมีกรู นู กั วิชาการจีนในยุคนัน้ ร่วมด้วย เนือ่ งจาก ข้อมูลหลายอย่าง เป็นเรื่องจำ�เพาะเชื้อสายจีนแต่ละองค์กร และแต่ละท้องถิ่น

ทิวทัศน์โฉมหน้า เมืองเหมยโจว ทุกวันนี้ ปี 2011

26 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 26

20/6/2554 20:48:11


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น การวิเคราะห์สัดส่วนคนฮากกาในไทย ตามเชื้อสายสำ�เนียงถิ่น ผลทีต่ ามมาจากเนือ้ หาสัดส่วนประชากรฮากกาในประเทศไทย ศูนย์ฮากกาศึกษา กรุงเทพ มีความประสงค์แรงกล้า ทีจ่ ะจำ�แนกประชากรฮากกาในไทย ให้ลกึ ลงถึงสัดส่วน แต่ละเชื้อสายสำ�เนียงถิ่น เป็นสิ่งที่ยากยิ่งสำ�หรับเป้าหมายข้างต้น ศูนย์ฮากกาศึกษาได้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่าย วิชาการประสานกับสถาบันการศึกษา ที่มีศูนย์จีนจัดตั้งอยู่ และองค์กรสมาคมฮากกา สำ�เนียงถิ่นทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ได้ข้อเท็จจริงดังนี้ 1. สถาบันการศึกษาต่างๆ มีความสนใจเรื่องจีนถิ่นน้อยมาก ส่วนใหญ่มุ่งสู่ ภาษาจีนกลาง ซึ่งเป็นกระแสหลักตามนโยบายของฝ่ายบริหารระดับสถาบัน และระดับ ประเทศ 2. องค์กรของฮากกาสำ�เนียงถิ่น (รวมทั้งจีนอื่น) ไม่ว่าจะเป็นสมาคม มูลนิธิ หรือชมรมต่างๆ ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด กิจกรรมเกือบทั้งหมดเพื่อการสังสรรค์ บันเทิง ท่องเที่ยว และการกุศล ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นประวิติการก่อตั้งสมาคม รายชื่อ คณะกรรมการแต่ละสมัย ไม่มีตัวเลขสถิติใดๆ เกี่ยวกับด้านวิชาการและวัฒนธรรม เพือ่ ให้เป้าหมายข้างต้นได้บรรลุผลในเบือ้ งต้น ศูนย์ฮากกาศึกษาจึงต้องใช้กระบวนการ วิเคราะห์ประมาณการตามฐานข้อมูล ทีม่ อี ยูจ่ ากประสบการณ์ภาคสนามในรอบ 5 ปีทผ่ี า่ นมา

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 27

Book Hakka.indd 27

20/6/2554 20:48:11


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น สรุปประชากรฮากกาสัดส่วนสำ�เนียงถิ่นในประเทศไทยได้ดังนี้ จากเมือง ฮากกาสำ�เนียงถิ่น % เหมยโจว ฟุ่งซุ่น 30 เหมยเซี่ยน 22 ไท้ปู 8 หินเหม่น 7 เจียวเลียง - อีฝ่า - ผิ่นเยี่ยน - อื่นๆ 1 68 แต้จิ๋ว เกี้ยดหย่อง เกี้ยดซี ฮุ่ยโจวและบริเวณใกล้เคียง หย่งติ้ง - ฮกเกี้ยน ไต้หวัน

15 7 22 8 1 1 10 100

หน่วย : คน 318,000 233,200 84,800 74,200 10,600 720,800 159,000 74,200 233,200 84,800 10,600 10,600 106,000 1,060,000

ศูนย์ฮากกาศึกษา - กรุงเทพ ยินดีที่จะรับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิด เห็นจากผูร้ ฮู้ ากกาเชือ้ สายสำ�เนียงถิน่ เพือ่ วิเคราะห์ตวั เลขสัดส่วนคนฮากกาข้างต้น ให้ได้ ความสมบูรณ์ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ที่ผ่านมามีแต่องค์กรฮากกาจากต่างประเทศหลายแห่ง เสนอตัวเลขจากฐานที่เรามิเคยรับรู้ ถึงเวลาแล้วที่ชาวฮากกาในไทย ควรจะมีข้อมูลสถิติ เป็นองค์ความรู้ของพวกเราเอง ในฐานะเจ้าของพื้นที่

28 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 28

20/6/2554 20:48:11


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น บทนิยามของ…ความเป็นฮากกา จิตวิญญาณของ…คนฮากกา

ฮากกา…เป็นเชื้อสายหนึ่งของชาติพันธุ์ฮั่น ที่ไม่แสดงชื่อตาม ถิ่นฐานแหล่งกำ�เนิด ฮากกา…เป็นชื่อที่ผู้อื่นเรียก…อาคันตุกะ ผู้มาเยือน จากแดนไกล ฮากกา…รากเหง้าดั้งเดิม อยู่ที่ไหน ไกลแค่ไหน…ไม่รู้…แม้แต่คนฮากกาเอง ฮากกา…เหมือนผูล้ ล้ี บั จากแดนสนธยา แต่ปรากฏตัวตนตลอดมา…ในประวัตศิ าสตร์

กี่ศึกกี่สงคราม กี่กลียุคในอดีต นับแต่ราชวงศ์ซ่ง หยวน หมิง และ ชิง เป็นภาพขัดแย้ง ของชนชาวฮั่น ที่อุดมด้วยอารยธรรม…สูงส่งล้ำ�ลึก มากมายแนวคิด ปรัชญาอุดมการณ์…แต่ระบบการปกครอง อ่อนแอล้าหลัง โอ้…ซือหม่าเชียน ท่านไม่ควรบันทึก ประวัติจีนด้วยรอยหมึก…ต้องเป็นรอยเลือด

กี่ศพกี่ร่าง ที่หลั่งเลือดพลีกาย…ลับหายไปใน สนามสงคราม กี่ตัวเลขสถิติ ของชีวิตคน ที่ตายเหมือนใบไม้ร่วง…สูญไปกับกาลเวลา ไม่มากกว่าใคร ไม่น้อยกว่าใคร แต่ไม่รู้เท่าไหร่ นับไม่ถ้วน…ศพของคนฮากกา คนฮากกา…ผู้ไม่เคยตกหล่น จากประวัติศาสตร์ ในฐานะวีรชน…นิรนาม

การเข่นฆ่าที่หฤโหด ของศัตรูผู้พิชิต…จากซยงหนู จากมองโกล จากแมนจู คลื่นคนเผ่าอื่น อพยพหลบหนี ไปสู่แคว้นอื่น ที่ปลอดภัย ที่ดีกว่า แต่ฮากกายืนหยัดต่อต้าน ที่สุด…พ่ายแพ้ แตกยับกระเจิง สาหัสสากรรจ์ สู้ด้วยศักดิ์ศรีฮั่น…ทั้งที่ฮ่องเต้ขุนนาง ขลาดเขลากลัวตาย…คุกเข่าจำ�นน

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 29

Book Hakka.indd 29

20/6/2554 20:48:11


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

ที่สุด…อยู่ไปก็ตาย อยู่ไปก็อัปยศ จำ�พรากจากถิ่น…ไปไกล ไปไหนไม่รู้ ไม่ใช่เป็นการอพยพธรรมดา แต่เป็นการหนีศัตรู ที่ตามฆ่า…ล้างโคตรเผ่าพันธุ์ ไป…ให้ไกลสุดพสุธา ไป…ให้ไกลสุดเส้นขอบฟ้า…ไป…ให้ไกลที่สุด เก็บชีวิตไว้ ตัวชาติคือตัวคน ตราบที่ตัวตนยังอยู่…ตัวชาติจะยัง ดำ�รงนิรันดร์

คาราวานเดินทาง ครั้งแล้วครั้งเล่า สุดทาง…ที่ไหน ไม่มีเป้าหมาย ครั้งนี้…ไม่ใช่ครั้งแรก และครั้งนี้…ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย ที่ต้องเดินทาง ตรรกะของทั้งหมด เป็นต้นทุนของเกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีของชาติพันธุ์ ไม่ใช่เพราะลิขิตสวรรค์ แต่เป็นสิ่งที่ฮากกา…เลือกแล้วที่จะเป็น

ระหกเหินไป ถึงแผ่นดินใด ล้วนมีชนเผ่าฮั่นอื่น…จับจองอยู่ก่อน ชัยภูมิทำ�เล อุดมสมบูรณ์ ไม่เหลือเผื่อให้ สำ�หรับฮากกา…ผู้มาใหม่ ทางเลือกทางเดียว…เทือกเขาสูงไกล ทุรกันดาร…โอ้ฮากกา…หรือเจ้ามีทางเลือกอืน่ ที่ใดที่อยู่ได้ ที่นั่นเป็นบ้าน…ดีที่สุดแล้ว บ้านของฮากกา…ซอกหลืบขุนเขา

ชุมชนฮากกา ไม่มีบ้านเรือน ที่วิจิตรยิ่งใหญ่ โดดเด่นอลังการ มีแต่กองกระดูก แผ่นป้ายบรรพชน…มีแต่หนังสือตำ�รา เทิดทูนหวงแหน เพื่อเป็นสักขี ว่าคนฮากกา ยังมีรากเหง้า ชาติพันธุ์ของฮั่น…อย่างทรนง เพื่อเป็นอัตลักษณ์ แห่งภาษาและวัฒนธรรม…ที่ฮากกา ไม่ยอมสูญสลาย

ความอดทนของชีวิต จะบ่มเพาะได้ จากสภาวะที่…ทุกข์ยากแสนเข็ญ ความแข็งแกร่งของจิตใจ จะหล่อหลอมได้ จากทุกขณะ…ที่กดดันบีบคั้น สำ�นึก ที่หยั่งลึก ทุกอนูสายเลือด เป็นความหมาย…เป็นมรดกของจิตวิญญาณ คำ�สั่งเสียของ บรรพชนฮากกา แม้ก่อนสิ้นลม…ลูกเอ่ย ต้องเรียน

30 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 30

20/6/2554 20:48:11


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

อย่ากังขา ทางเลือกของฮากกา…ในขณะนัน้ …ด้วยสายตาและความคิด…ในขณะนี้ ชัยภูมิที่แร้นแค้นไม่มีทรัพย์ในดิน ไม่มีสินในน้ำ�…ความมั่งคั่งของทรัพย์กร ธรรมชาติ…ไม่มี ปัจจัยการผลิต ทุกอย่างขาดแคลน ห่างไกลความเจริญ…บุญแล้ว ที่ยังมีชีวิตอยู่ ทางเลือก…ต้องเรียน เพื่อสร้างคน คนที่มีความรู้ คนที่มีความคิด

การเรียนสำ�หรับฮากกา ไม่ใช่เรียนตามหน้าที่…แต่มันเป็นสรณะของชีวิต ต้องเรียนให้มากที่สุด ลึกที่สุด สูงที่สุด จนถึงระดับ…ราชบัณฑิต กระดาษ จานหมึก แท่งหมึก และพู่กัน…เป็นสมบัติที่ศักดิ์สิทธิ์ ของฮากกา ภาพลูกหลานผู้ใฝ่เรียน เป็นเกียรติยศยิ่งแล้ว…สำ�หรับครอบครัวฮากกา

ไม่น่าเชื่อ ที่ทางเลือก ของคนฮากกา ในวันที่…อับจนและมืดมิด จะกลายเป็นแสงสว่าง ฉายทางให้ฮากกา…ไปสู่พลังการเรียน ที่หนักแน่นเข้มข้น มิได้หมายความว่า ชนฮั่นเผ่าอื่น จะละเลยการเรียน…แต่สำ�หรับคนฮากกาแล้ว นิยามการเรียน เป็นความหวังอนาคต เป็นเป้าหมายชีวติ …เป็นทัง้ หมดของชาติพนั ธุ์

จากอดีตที่ยาวนาน นับแต่มีคำ�ว่า “คนฮากกา” ในประวัติศาสตร์จีน ทุกมณฑลเมือง ทุกตำ�บลหมู่บ้าน ที่มีชุมชนฮากกา ตั้งรากฐานอยู่ จะไม่ปรากฏ โบราณสถาน ปราสาทราชวัง คฤหาสน์ที่…โอ่อ่าโอฬาร ไม่มีคนฮากกา ที่มั่งมีด้วยลาภยศ ในบริบทของ ฮก ลก ซิ้ว

ในพิพิธภัณฑ์ ในหอวัฒนธรรม ของฮากกา ในแต่ละเมือง จะปรากฏแต่ รูปภาพชื่อคน ผู้กล้าฮากกา ที่สละชีพ…เพื่อชาติ จะบันทึกแต่ ประวัติบัณฑิต นักคิด นักกวี…คนเก่งของฮากกา อย่าประหลาดใจ ตำ�นานฮากกา ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่…มีเพียงเล็กน้อย เท่านี้จริงๆ ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 31

Book Hakka.indd 31

20/6/2554 20:48:11


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

ซุนยัดเซ็น ใช้เวลาทั้งชีวิต เพื่อทำ�งานเล็กๆ เพียงชิ้นเดียว…ปฏิวัติราชวงศ์ชิง เติ้งเสียวผิง ผู้เกิดมา เพื่อทำ�งานง่ายๆ เพียงอย่างเดียว…เปิดจีนเสรี กำ�แพงยักษ์ พระราชวังสี่ฤดู อาจสร้างใหม่ได้…ด้วยเวลาเพียงไม่กี่สิบปี แต่คนอย่าง เหวินเทียนเสียง ชิวฝงเจี่ย เยียะเจี้ยนอิง…เวลากี่ร้อยปี จะมีได้อีก

สิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นรูปธรรม หลงเหลือให้เห็น เป็นวัตถุพยานประวัติศาสตร์ บ้านทรงมังกรโอบ บ้านทรงป้อมอิฐ ทรงเหลี่ยมทรงกลม…หยาบทื่อ แข็งแกร่ง บ่อน้ำ�ประจำ�บ้าน ศาลาบรรพชน…เรียบง่าย ไร้รูปรอยประดิษฐ์ศิลป์ แต่นี่คือ ที่เกิด ที่อยู่ ของวีรชนที่ฮากกาสร้างไว้…สำ�หรับแผ่นดินจีน

ฮากกา…ผู้ไม่ปรากฏ ต้นรากที่มา ที่อยู่ฐานถิ่น…ของแผ่นดินจีน ฮากกา…ผู้เป็นทุกอย่าง ทั้งรูปธรรมนามธรรม…ของอารยธรรมจีน ฮากกา…ผู้ปรากฏแต่ชื่อ ในบันทึกวีรกรรมสงคราม…ของประวัติศาสตร์จีน ฮากกา…ผู้ฝากเสียงภาษา ผู้ฝากคำ�กวี เป็นมรดก…ของวรรณกรรมจีน ตัวคน…คือผู้มีชีวิต เป็นหลักฐานบทนิยาม…ของอารยธรรมชาติหนึ่ง ตัวคน…คือผู้มี คือผู้เป็น บทพิสูจน์คุณค่า…ของวัฒนธรรมชาติหนึ่ง ประเทศ แผ่นดิน สังคม ในที่สุดของความหมาย…คือชีวิต คือตัวคน โอ้…ฮากกา เจ้าได้ทำ� เจ้าได้เป็น ในสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว…ของความเป็นคน

กู่เค่อ กรุงเทพ - มกราคม 2006 32 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 32

20/6/2554 20:48:11


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

บ้านป้อมดินที่เก่าแก่ ดูสงบ แต่ขรึมขลัง เป็นภาพที่ไม่ต้องการคำ�อื่นใดบรรยายประกอบ เหมือนนักรบฮากกา…ที่แม้ดูชรา แต่องอาจ…เหนือกาลเวลา ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 33

Book Hakka.indd 33

20/6/2554 20:48:12


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น ไหง่เฮ้…ฮากกาหงิ่น

ในวิถีชีวิตของสังคมไทย ที่มีโครงสร้างเป็น “พหุลักษณ์” หลากหลายด้วยชนต่างชาติพันธุ์ ศาสนา และประเพณี อยู่ร่วมกัน…ในความแตกต่างของวัฒนธรรม แต่กลมกลืน จนเนียนแนบสนิท…เป็นเนื้อเดียวกัน

ฉันเอง…เกิด และเติบโตในแผ่นดินลุ่มเจ้าพระยา ด้วยความรู้สึก ที่เป็น “ทวิลักษณ์” ปรากฏเงา ทับซ้อนพื้นที่ใจตัวเอง ในนิยามคำ�ว่า คนไทย เชื้อสายจีน

ลึกลงไปกว่านั้น ฉันปฏิเสธไม่ได้ว่า ฉันแยกตัวไม่ออก จากสำ�นึกอย่างหนึ่ง ที่ซ่อนตะกอนผลึก เข้มข้น และฝั่งแน่น เป็นเสียงแผ่ว แต่สั่นไหว…สะท้านถึงภวังค์

เป็นเสียงเพรียก….จากภายใน ที่ฉันได้ยิน ที่ฉันรับรู้…ได้เพียงคนเดียว เป็นแรงขับเคลื่อน ให้ฉันต้องเดิน…ในวันนี้ เพื่อค้นหา รากเหง้าแห่งความเป็น…ฮากกา

34 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 34

20/6/2554 20:48:12


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

เพียงพินิจชื่อ ฮากกาตามอักษรจีน ( - เค่อเจีย) ที่พลันเกิดปมปริศนามากมาย…ที่ท้าทาย คำ�ฮากกา มิได้หมายถึง ดินแดนถิ่นที่อยู่…เหมือนจีนอื่น คำ�ฮากกา คือ อาคันตุกะ ที่เดินทางจากที่อื่น…จากแดนไกล

ฮากกา…เธอตอบได้ไหม ว่าแท้จริง เธอคือใคร ฮากกา…เธอตอบได้ไหม ว่าแท้จริง เธอมาจากไหน ที่นั่น…ที่เธอเดินทางมาจากนั้น คือ ที่ใด เหตุใด…เธอจึงกลายเป็น อาคันตุกะ…บนมาตุภูมิตัวเอง

ทำ�ไม…เธอต้องอพยพย้ายถิ่น…ครั้งแล้วครั้งเล่า ทำ�ไม…เธอต้องสร้างบ้านซุกอยู่กลางหลืบเทือกเขาสูง ทำ�ไม…วิถีชีวิตเธอ จึงเข้มข้นมุ่งมั่น แต่เรียน…และเรียน ทำ�ไม…ตำ�นานบรรพชนของเธอ จึงมีแต่บัณฑิต และนักรบ

ฉันถามเธอ ด้วยที่สุดของหัวใจ…ที่ผูกพันล้ำ�ลึก ฉันถามเธอ ด้วยที่สุดของสำ�นึก…ที่ศรัทธาหนักแน่น เพราะในอณู หน่อเนื้อของ…ตัวฉัน มี และ เป็น รากร่วมสายพันธุ์เหมือน…ตัวเธอ

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 35

Book Hakka.indd 35

20/6/2554 20:48:12


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

วันนี้ ฉันเดิน…เพื่อสร้างประวัติศาสตร์ วันนี้ ฉันเปล่งคำ�บอกเธอ…ไหง่เฮ้ ฮากกาหงิ่น เธอได้ยินไหม มันเป็น The Sound Of Silence, เธอต้องสัมผัสเสียงนี้ ด้วยสำ�นึก และจิตวิญญาณ…แห่งฮากกา

กู่เค่อ เขียน ในโอกาสงาน “ย่านจีนถิ่นบางกอก” BANGKOK CHINATOWN กรุงเทพ -18 ธันวาคม 2553

“ทางเดินเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 500 ปี ที่อำ�เภอเจียวเลี่ยวเป็นเส้นทางที่เชื่อมระหว่าง หมิ่น (ฮกเกี้ยน) กับเย่ว์ (กวางตุ้ง)” 36 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 36

20/6/2554 20:48:12


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น โอ้…ฮากกา

เจ้ามาจากไหน

โปรดอย่าถามฉัน ฉันมาจากบรรพชน ฉันมาจากอารยธรรม อายุฉัน…ชีวิตฉัน

มาจากที่ไหน ฉันมาจากวัฒนธรรม ฉันมาจากความจริง ไม่นานหรอก…แค่พันกว่าปี

ฉันไม่จำ�เป็น ว่าฉันเป็น…ฮั่น ภาษาพูดของฉัน สิ่งที่ฉันทำ�

ฉันเดินทางไกล ฉันเห็น…สงคราม ครั้งนี้…มิใช่ครั้งแรก ฉันไม่ได้ค้นหาประวัติศาสตร์

ที่จะต้องตอบ หรือเป็น…ฮากกา บอกชาติพันธุ์ของฉัน พิสูจน์ความเป็นตัวฉัน

ครั้งแล้ว ครั้งเล่า แต่ฉันรัก…สันติภาพ ครั้งนี้…มิใช่ครั้งสุดท้าย แต่ฉันกำ�ลังสร้างประวัติศาสตร์

ฉันอยู่ที่ไกลมาก ไกลสำ�หรับบางคน…ตรรกะที่ต่างกัน ฉันอยู่ที่ใกล้มาก ใกล้สำ�หรับบางคน…สำ�นึกที่เหมือนกัน สำ�หรับคนที่แตกต่าง ถึงใกล้…เหมือนไกลคนละฟากฟ้า สำ�หรับคนคิดเหมือนกัน ถึงไกล…แต่ใกล้ เป็นเนื้อเดียวกัน โดย : กู่เค่อ ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 37

Book Hakka.indd 37

20/6/2554 20:48:13


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น โอ้…ฮากกา เจ้าจะไปไหน

ฉันไปมาแล้ว ฉันไปมาแล้ว ฉันไปมาแล้ว …ฉันเหนื่อยเหลือเกิน

เส้นทางประวัติศาสตร์…ของฮั่น จากเหนือจงหยวน มาถึงถิ่นใต้ ฝ่าดงข้ามเขา ฝ่าคลื่นสมุทร ถึงทุกแผ่นดิน ฉันเดินทางมาไกล…อยากจะพักสักครู่

ฉันเห็นมาแล้ว ฉันเห็นมาแล้ว ฉันเห็นมาแล้ว …ฉันตอบไม่ได้

สังคมฮั่นในอดีต ที่ชุ่มด้วยเลือดและน้ำ�ตา สงครามที่ไร้สาระ…หฤโหด โลกในอดีต ที่ไม่ต่างจาก โลกปัจจุบัน โลกแบบไหน จะดีกว่ากัน

ฉันรู้แล้ว ฉันรู้แล้ว ฉันรู้แล้ว ฉันรู้แล้ว

ฉันเป็นฮากกา เพราะฉันมาช้ากว่า ทำ�ไมฉันจึงเป็น…อาคันตุกะ ทำ�ไมฉันจึง เดินทางไม่หยุด เพราะฉันเกิดมา เพื่อเป็นสิ่งนี้…เป็นฮากกา

ฉันไม่ไปไหนอีกแล้ว คนฮั่น…คนฮากกา…คนอื่นๆ วัฒนธรรม สังคม ชาติ คุณค่าตัวตนของคน

เพราะฉันรู้แล้ว ฉันเข้าใจแล้ว ไม่มีอะไรแตกต่าง คนเหมือนกัน สุดท้ายคือ…ตัวตนของคน คนที่มี…เจิ้งซี่

38 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 38

20/6/2554 20:48:13


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น หมายเหตุ - เจิ้งซี่ หมายถึง สำ�นึก จิตใจ การกระทำ�ของความถูกต้อง จิตวิญญาของ ความเป็นธรรมเหวินเทียนเสียง วีรบุรุษยุคราชวงศ์ซ่ง ศตวรรษที่ 13 ได้ เขียนมหากาพย์เจิ้งซี่เกอไว้ ขณะถูกคุมขังโดยกองทัพมงโกลจนเสียชีวิต

โดย : กู่เค่อ

เส้นทางวิบากของคนฮากกา จากถิ่นฐานเทือกเขาสูง...สู่ประเทศไทย หันหลัง…หลั่งน้ำ�ตา จำ�ลาแล้ว…บ่อน้ำ�บ้าน พลัดฐาน พลัดถิ่น แผ่นดินอื่น…แผ่นดินไกล ข้ามหลืบเขาเขิน ข้ามเนินไศล ข้ามเทือก ภูไพร ร้างไกล กันดาร ล่องสำ�เภา ฝ่าสมุทร ไกลสุดตา…สะเทือนสะท้าน บอกใจ บอกคำ�…สาบาน ไม่กลับบ้านหากยัง…ไม่ได้ดี – กู่เค่อ – เขียน...ในการบรรยายที่ สระบุรี ย้อนรอย วิถีบรรพชนฮากกา 27 ตุลาคม 2550

“บ่อน้ำ�ประจำ�บ้านตระกูลหนึ่ง ที่มีอายุมากกว่า 1000 ปี” ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 39

Book Hakka.indd 39

20/6/2554 20:48:13


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น CHINESE HOT POT - MY DREAM OF AMERICA IS LIKE DA BIN LOUH , WITH PEOPLE OF ALL PERSUASIONS AND TASTES, SITTING DOWN AROUND A COMMON POT. - CHOPSTICKS AND BASKET ACOOPS HERE AND THERE, AND THESE, SOME COOKING SQUID AND OTHERS BEEF, SOME TO FU OR WATERCRESS, ALL IN ONE BROTH, LIKE A STEW THAT REALLY ISN’T. - AS EACH OUE CHOOSES WHAT HE WISHES TO EAT, ONLY THAT THE POT AND FIRE ARE SHARTED, ALONG WITH THE GOOD COMPANY, AND THE SWEET SOUP, SPOONED OUT AT THE END OF THE MEAL.

WIN TEK LOM วิน เต็ก ลำ� นักเขียนอเมริกาเชื้อสายจีน 40 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 40

20/6/2554 20:48:13


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น หม้อไฟ- สุกี้จีน เมื่อฉันนึกถึงสังคมอเมริกา ผู้คนมากมาย หลากหลายสีสรร

สังคมที่ดูคล้าย หม้อไฟสุกี้จีน แตกต่าง…วัฒนธรรม

ร่วมอยู่ ร่วมนั่ง ตะเกียบ ตะกร้า กะชอน

ร่วมล้อมหม้อไฟสุกี้ด้วยกัน ต่างคนต่างถือ ตรงนี้ ตรงนั้น

บ้างเลือก เนื้อปลาหมึก บ้างตักเต้าหู้ ทั้งหมด ทั้งมวล ในหม้อไฟ ช่างเหมือนการปรุงสะตู

บ้างเลือกเนื้อนุ่มเนียน บ้างจุ่มน้ำ�จิ้ม หนึ่งเดียวร่วมกัน แต่มิใช่เลย

แต่ละอย่าง แต่ละคน แต่ละปรารถนา…ตามแต่ใจจะเลือก เพียงหม้อไฟสุกี้ ที่อุ่นร้อนด้วยเปลวไฟ…แบ่งปันร่วมกัน มิตรจิตมิตรใจ จุนเจือเกื้อกูล ร่วมเรียงเคียงกัน สุดท้าย ปรีเปรม เอมอิ่มรสซุป วางช้อนอย่างสุขสันต์ หลังมื้อรสทิพย์…หม้อไฟสุกี้จีน - กู่เค่อ เขียน…ในงานบรรยาย รากเหง้า…คนฮากกา ที่บุรีรัมย์ กันยายน 2549 (ถอดความจาก CHINESE HOT POT) ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 41

Book Hakka.indd 41

20/6/2554 20:48:13


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

บทละครเวที

เพื่อแสดงในงาน ฉลองครบรอง 5 ปี ก่อตั้งสมาคมเหมยเซี่ยน ประเทศไทย สถานที่ วันที่ รูปแบบการแสดง

หอประชุม หอการค้าไทย - จีน กรุงเทพ วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2011 (2554) สนทนาเดี่ยว (MONOLOQUE)

ละครเวที เรื่อง พิพิธภัณฑ์ฮากกาแห่งประเทศไทย ปี ค.ศ.2071 (จำาลองเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นอีก 60 ปี ในอนาคต) - กู่เค่อ เขียนบท / กำากับ / แสดง 42 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 42

20/6/2554 20:48:14


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

ฉากที่ 1 ตัวละคร : ประธานจัดงาน สถานที่ : เมืองเหมยโจว ประเทศจีน ห้องจัดงาน มิตรสัมพันธ์ฮากกาสากล ปี ค.ศ. 2071 วันที่ - เวลา : ตอนกลางวัน วันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2071 เครื่องแต่งกาย : ชุดสูทสากล ฉาก : ป้ายคณะจัดงานมิตรสัมพันธ์ฮากกาสากล เหมยโจว โต๊ะทำ�งาน / มีแฟ้มเอกสารวางอยู่ ชั้นวางเอกสารตั้งอยู่ด้านข้าง ประธาน :

(แต่งชุดสากล เดินเข้ามาในห้อง) กำ�ลังพูดโทรศัพท์มือถือ - (พูดเป็นภาษาฮากกา) “อ้อ….ดี…ขอบคุณมาก….” (ประธานเดินมานั่งที่โต๊ะ ยกถ้วยชาขึ้นจิบ เปิดแฟ้มเอกสารออกดู อ่านเอกสารสักครู่ ทำ�ท่านึกขึ้นได้ ยกโทรศัพท์กดพูด) “นี่…รายชื่อฮากกาจากต่างประเทศ ตอบมาครบหรือยัง… มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน ได้แล้ว ดี…ขาดประเทศไหน อ้าว…ขาดประเทศไทยอีกแล้ว…” (เว้นช่วงสักครู่) “ติดต่อไม่ได้เลยหรือ…คุยกันไม่รู้เรื่อง…เอ….”

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 43

Book Hakka.indd 43

20/6/2554 20:48:14


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

(ประธานเดินไปที่ชั้นวางเอกสาร หยิบแฟ้มประเทศไทยกลับมานั่งที่โต๊ะ พลิกแฟ้มอ่านช้าๆ …จุดบุหรี่ขึ้นสูบ…ใช้ความคิด “เอ…ในอดีต ประเทศไทยส่งคณะมาร่วมงาน ไม่เคยขาด ช่วยเหลือการเงินมาตลอด แผ่นดินไหวก็ช่วย น้ำ�ท่วมก็ช่วย ตอนสร้างอาคารฮากกาหนานหยางก็ออกเงินช่วยตั้งหลายล้าน… แต่ทำ�ไม…

ประธาน :

(ประธานขยับแว่น ลุกขึ้นยืน เปิดแฟ้มต่อ…) “อ้อ…ปี 2011 เมื่อ 60 ปีที่ผ่านมา ยุคที่สมัย 43 คุณปกรณ์ เป็นนายก ลงทุนบูรณะอาคารใหม่เกือบ 70 ล้านบาท ตอนเปิดตึก ก็จัดงานพิธีฉลองใหญ่โตมโหฬาร…” “เกิดอะไรขึ้น ไทยขาดส่งคณะผู้แทนมาร่วมงานกว่า 30 ปีแล้ว ทำ�ไมไม่มีใครไปตรวจดูบ้างเลยหรือ…” (ประธานนิ่งอยู่สักครู่ ยกโทรศัพท์ขึ้นพูด…) “ช่วยจองตั๋วเครื่องบินไปกรุงเทพ พรุ่งนี้ด่วน อ้อ…แจ้งสถานทูตจีนในกรุงเทพ…ช่วยจัดล่ามด้วยนะ…

- ไฟค่อยๆ หรี่ดับ - จบฉากที่ 1 ********************

44 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 44

20/6/2554 20:48:14


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

ฉากที่ 2 ตัวละคร สถานที่ วันที่ - เวลา เครื่องแต่งกาย ฉาก แสง

: : : : : :

ภารโรง หน้าอาคารพิพิธภัณฑ์ฮากกาแห่งประเทศไทย ตอนกลางวัน / วันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2071 ชุดภารโรง ใส่เสื้อยืดปล่อยชาย ใส่หมวก มีป้ายภาษาอังกฤษ MUSEUM OF HAKKA - THAILAND ให้ไฟ Spot Light ฉายไฟมาที่ป้าย

ภารโรง :

(ภารโรงถือไม้กวาด กำ�ลังกวาดพื้น บริเวณหน้าอาคาร) (พร้อมกับฮัมเพลง…) (ภารโรงมองไปที่หน้าประตู ทำ�ท่าพยักหน้า…แล้วยิ้ม) (ยกมือไหว้ ต้อนรับแขกผู้มาเยือน - พูดเป็นภาษาไทย)

ภารโรง :

“สวัสดีครับ…เชิญครับ…คุณลุง” “คุณลุงมาจากเมืองจีน…เมืองเหมยโจว ผม…ผมพูดจีนไม่ได้ อ้อ…มีล่ามมาด้วย เอ้อ…ค่อยยังชั่ว” (ทำ�ท่าเชื้อเชิญให้นั่ง) “เชิญนั่งครับ ผมเหรอ ผม…ตำ�แหน่งภารโรง” “คุณลุงดื่มน้ำ�อะไรดี ชาจีนเหรอ…ไม่มี” “เอานี่ ดีกว่า…คาราบาวแดง”

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 45

Book Hakka.indd 45

20/6/2554 20:48:14


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น (ยื่นขวด เครื่องดื่มชูกำ�ลัง - คาราบาวแดง) “ที่นี่ ทุกคนดื่มแต่คาราบาวแดง เพราะคุณแอ้ด คาราบาว เคยแต่งเพลงให้ฮากกา เมื่อ 60 ปีที่แล้ว ทุกคนยังไม่ลืม…”

(ภารโรง ยกขวดคาราบาวแดงขึ้นดื่ม…) “ที่นี่ เมื่อก่อนเคยเป็นสมาคมฮากกา ตอนหลังพอผู้ใหญ่อาวุโส ไป…” (ทำ�มือ ชี้ขึ้นฟ้าข้างบน ทำ�หน้าซึมเล็กน้อย ถอนหายใจ…) “พอฮากการุ่นใหม่เข้ามาแทน ไม่มีใครพูดฮากกาได้ เลยเปลี่ยนมาเป็นพิพิธภัณฑ์…หมดเรื่องหมดราว”

“ผมเหรอ…แน่นอน ผมเป็นลูกหลานฮากกาที่เกิดในไทย เป็นรุ่นที่ 5 แล้ว…แซ่อะไรเหรอ ช่างเถอะ เปลี่ยนเป็นนามสกุล หมดแล้ว….” (ส่ายหน้า) “ประวัติศาสตร์ฮากกาเป็นใคร มาจากไหน….ไม่รู้…รู้แต่ว่า เมื่อ 200 กว่าปีที่ผ่านมามีคนจีนเชื้อสายฮากกาเคยอยู่ในเมืองไทย …ก็ ไหง่ๆ หงี่ๆ…”

“อะไรนะ! งานมิตรสัมพันธ์ฮากกาสากลเหรอ ไม่มีใครไปแล้ว สาเหตุคือ…พูดภาษาฮากกาไม่ได้ ฟัง…ก็ไม่รู้เรื่อง”

ภารโรง : “เรื่องเงินหรือ ไม่มีปัญหา…ปัญหาเรื่องเงิน ไม่มี เพราะเรามี รายได้จากที่จอดรถ…มาก” (ลากเสียวยาว…) “เรามีรายได้จากการให้เช่าห้องจัดเลี้ยง…มาก เรามีเงินบริจาคการ กุศล…มากเรามีกิจกรรมบันเทิง ร้องเพลง…รายได้…มาก” 46 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 46

20/6/2554 20:48:14


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

“ขาดอยู่อย่างเดียว ไม่มีอย่างเดียว…ไม่มีภาษาฮากกา”

“โอ๊ย…อย่าว่าแต่ผมเลย! ทั้งนายกพิพิธภัณฑ์ ทั้งรองนายก ทั้ง กรรมการต่างๆ ก็พูดภาษาฮากกา…ไม่ได้ พูดได้แต่ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ…”

“คำ�ฮากกา…เหลืออยู่ทีเดียว นั่นไง…” (ภารโรงชี้ไปที่ป้าย - ไฟ Spot light ฉายที่ป้าย) “คุณลุง คุณลุงร้องไห้ ร้องไห้ทำ�ไม” “ว่าไงนะ เสียดาย ผิดหวัง ที่ภาษาฮากกาไม่เหลือแล้ว” “อ้าว…จะไปแล้วหรือ ครับ…ครับ…สวัสดี” (ภารโรงยืนนิ่งอยู่กับที่…พึมพำ�กับตัวเอง…) “เสียดาย…ผมไม่รู้ ความผิดของใคร…ผมไม่รู้จริงๆ”

- ไฟค่อยๆ หรี่ดับลง…จบ ********************

หมายเหตุ งานมิตรสัมพันธ์ฮากกาสากล เป็นงานที่จัดชุมนุมคนฮากกา ในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง และจีนฮากกาในโพ้นทะเล กำ�หนด 2 ปีต่อครั้ง สำ�หรับปี 2011 นี้ งานจะจัดที่มณฑลกวางซี เมืองเป่ยไห่ ช่วงปลายปีที่ ผ่านมามีคนฮากกาจากประเทศต่างๆ มาร่วมงานประมาณ 2,000 คน ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 47

Book Hakka.indd 47

20/6/2554 20:48:14


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น มหากาพย์แห่งเจิ้งซี่…ของคนฮากกา - เหง้าราก…คนฮากกา ข้ามน้ำ� ข้ามภูไพร

ปริศนา…มาจากไหน สัญจรไกล ตลอดกาล

- ทุกที่…ทุกหนแห่ง สัจจะ อมตะนาน

ไร้แหล่ง ไร้ถิ่น…เป็นบ้าน สืบสาน ศักดิ์ศรี ชีวา

- เกียรติคน ทรนง ยอมเป็น…อาคันตุกะ

ยืนยง ฉงเจิ้ง…ศรัทธา ดีกว่า เป็นทาส จมดิน

- เก็บกระดูก บรรพชน อัสสุชล หลั่งถวิล จูบซาก เศษหญ้าดิน ลาถิ่น สุดรัก…บูชา - เก็บภูมิ เก็บความคิด เก็บใส่จิต เก็บตำ�รา ข้ามทาง ข้ามเวลา จิตกล้า ฮากกา…ส่องนาน - บทเพลง…ยังไม่จบ จะรบ จะสู้…สืบสาน อหังการ์ ตลอดกาล ขับขาน เพลงเจิ้งซี่ใจ - จิตวิญญาณ เจิ้งซี่ น้ำ�ตา จะหลั่งให้

สดุดี ชาตินี้ ชาติไหน มหากาพย์ เทิดไว้ ไม่คลาย

48 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 48

20/6/2554 20:48:14


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น - ตัวชาติ คือ…ตัวคน เกียรติศักดิ์ ชาติเชิงชาย

ตัวตน สร้างใหม่ ไม่สาย บอกความหมาย…คนฮากกา

- กู่เค่อ เขียน…วันก่อตั้งสมาคมเหมยเซี่ยน - ประเทศไทย 9 มกราคม 2548 กรุงเทพ

“ท่าเรือโบราณ ที่ตำ�บลซงโข่ว เมืองเหมยโจว” ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 49

Book Hakka.indd 49

20/6/2554 20:48:15


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น เพลงสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย เพลงมาร์ชฮากกา

โอ้เอย…ฮากกา แรมรอน สู่แดนเอเซีย อาคเนย์ไกล ชีวิต…ถึงจะทุกข์ ถึงจะยาก สายพันธุ์ฮากกา กล้าแกร่งกมล จะคล้องแขนมั่น รักกันน้องพี่ ทุกรุ่นทุกกาล สืบสานสร้างธรรม

สัญจรพรากถิ่น จงหยวน…สู่ใต้ ด้วยใจบากบั่น สร้างฝันสร้างตน ลำาบากลำาเค็ญ สาหัสขัดสน อดทนทรนง ไม่ปลงท้อคำา สามัคคีจุนเจือ เกื้อกูลจดจำา สำานึกนิยาม…รากเหง้าฮากกา

ในโอกาสที่ ส มาคมฮากการาชบุ รี เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันปิงปอง

คุณจะสอนลูกหลานได้อย่างไร เมื่อคุณไม่ได้แสดงอะไร ให้ลูกหลานเข้าใจ 50 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 50

20/6/2554 20:48:16


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น บทขยายความ จงหยวน หนานฟัง และหนานหยาง ในบทเพลงประจำ�สมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย

1) จงหยวน หมายถึงดินแดนอาณาจักรที่เคยป็นศูนย์กลางความเจริญรุ่งเรืองของ จีนฮั่นในอดีต ที่อยู่แถบกลุ่มน้ำ�หวงเหอ มีเมืองเอก ชื่อ ลั่วหยาง และ ฉางอาน ดินแดนจงหยวนนั้น ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่บริเวณดังนี้ ทางเหนือ : มณฑลซานซี อำ�เภอจื้อเยี่ยน ทางตะวันตก : มณฑลเหอหนาน อำ�เภอหลิงเป่า ทางตะวันออก : มณฑลอ้นฮุย อำ�เภอโซ่วเหยี่ยน ทางใต้ : มณฑลหูเป่ย อำ�เภอหวงปอ พื้นที่จงหยวนส่วนใหญ่ มีศูนย์กลางอยู่ที่ มณฑลเหอหนาน (ซิ้นไช่ และอันฟุง) 2) หนานฟัง ด้วยเหตุของภัยสงคราม ทำ�ให้คนฮากกาอพยพย้ายถิ่นจากดินแดน จงหยวน ลงมาสู่ทางใต้ - หนานฟาง ปัจจุบันคือบริเวณ เทือกเขาที่ อยู่ระหว่าง 3 มณฑล คือ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลกวางตุ้ง ทางตะวันตกของมณฑลฮกเกี้ยน และทางภาคใต้ของมณฑลเจียงซี ซึ่ง เฉพาะในพื้นที่ 3 มณฑล มีประชากรฮากกาอยู่หนาแน่นมากถึง 38.5 ล้านคน คิดเป็น 70% ของคนฮากกาในประเทศจีน 3) หนานหยาง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา จีนประสบสงครามจาก แมนจู และชาติตะวันตกยุคล่าอาณานิคม ทำ�ให้คนจีนจำ�นวนมาก ต้องอพยพ ไปสู่โพ้นทะเลต่างประเทศ โดยเฉพาะแถบหนานหยาง ซึ่งหมายถึง เฉพาะกลุ่มประเทศที่อยู่ในแถบอุษาอาคเนย์ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย พม่า และเวียดนาม ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 51

Book Hakka.indd 51

20/6/2554 20:48:16


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น เยียะกวงกวง… บทกล่อมลูก เพลงพืน ้ บ้านของคนฮากกา…ทีอ่ มตะตลอดกาล เยียะกวงกวงเพลงพื้นบ้านโบราณของชาวจีนฮากกา เป็นที่รู้จักแพร่หลายจดจำ� ด้วยปากต่อปาก และร้องสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน ไม่ปรากฏชื่อของผู้ประพันธ์ ถ้อยคำ�ของเพลงมุ่งเน้นคำ�สัมผัสที่คล้องจอง ตามภาษาพูดของจีนฮากกาเป็นสำ�คัญ เนื้อ ร้องที่กระชับด้วยรูปแบบ 3 คำ�ในช่วงแรก และแบบ 7 คำ�ในช่วงหลัง ทำ�ให้ขับร้อง จดจำ�ได้ง่าย จึงเป็นที่นิยมร้องเล่นกันในกลุ่มเด็ก และในเวลากลางคืนที่แม่กล่อมลูกเล็ก ให้เข้านอน เพลงนี้จึงเป็นตำ�นานเพลงพื้นบ้านของจีนฮากกาที่อมตะตลอดกาล

เนื้อเพลง - ภาษาจีน

ถอดความภาษาไทย เป็นร้อยกรอง - กาพย์ยานีสิบเอ็ด จันทร์เอ๋ย…โอ้จันทร์เพ็ญ บัณฑิต ขี่ม้าขาว เห็นบึง ที่ข้างหลัง ประจง เด็ดดอกไว้

จันทร์งามเด่น…นวลสกาว เหยาะก้าว…ผ่านบึงบัวไป เต็มสะพรั่ง ต้นกูไช่ ฝากขวัญใจ…สาวฮากกา

52 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 52

20/6/2554 20:48:16


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น บึงบ้านสาว…เลี้ยงปลาหลี จะคัด เลือกตัวปลา ตัวเล็ก เอาไปขาย เก็บออม เป็นกำ�นัล

ขนาดมี แปดฟุตกว่า ตัวใหญ่มา ต้มกินกัน ได้เงินหลาย เก็บทุกวัน หมั้นแต่ง สาวเจ้า…ฮากกา

บันทึกของผู้เขียน

• 1. ดวงจันทร์ - สัญลักษณ์ที่ผูกพันฝังลึกในใจของชาวจีนฮากกา คำ�ว่า เยียะกวงกวง (แสงจันทร์ส่อง-งามแสงจันทร์) เป็นคำ�ที่พบบ่อยใน ประโยคเริ่มต้นของเพลงพื้นบ้าน เนื้อหาของเพลงจะอาศัยดวงจันทร์ เพื่อเชื่อมโยง ถึงเรื่องราวชีวิต ที่แฝงอยู่ในสังคมจีนฮากกาในอดีต คำ�รำ�พึงถึงความเหงาของชาย หนุ่มที่ต้องจากบ้านไปไกลถึงโพ้นทะเล…ความเศร้าลึกของสาวที่คิดถึงสามีผู้ไปสร้าง ตัวต่างแดนโพ้นทะเลอย่างไม่รู้วันกลับ…อารมณ์ถวิลรักแรกของสาวฮากกา ที่ไม่อาจ แสดงออกให้ใครล่วงรู้ ดวงจันทร์จึงเป็นเสมือนเพื่อนมิตรชิดใกล้ ที่สาวน้อยจะแอบ บอกความหมายที่ซ่อนซบอยู่ในเบื้องลึกของหัวใจ… ในชุมชนจีนฮากกาที่ดำ�เนินชีวิตอยู่บนภูมิประเทศที่รายล้อมด้วยซอกหลืบของ เทือกเขาสูง จันทร์ในคืนเพ็ญที่ลอยอยู่กลางฟ้า จึงดูสุกสว่างกว่าที่อื่น และอยู่ใกล้ชิด จนเหมือนจะสัมผัสคว้ามาแนบประคองได้อย่างอุ่นถนอม ตำ�นานชีวิตมากมายของหนุ่มสาวชนบทฮากกา ที่อยู่ภายใต้ระบบสังคมปิดใน อดีตกาล ถูกเล่าขานลงในบทเพลงพื้นบ้าน โดยไร้การปรุงแต่งของฉันทลักษณ์อักษร จีน เป็นความสุนทรีของอารมณ์ที่แสดงออกอย่างละมุน เป็นการขับขานภาษาพูด ที่ สะท้อนวิถีชีวิตของชาวจีนฮากกา ที่อัศจรรย์เหมือนเทพนิยาย โดยผ่านคลื่นแสงนวล สกาวของดวงจันทร์ ไม่วา่ กาลเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด เสียงกล่อมเบาแผ่วอ่อนโยนของแม่…จะยัง คงสัน่ ไหวลึกในความทรงจำ� ตราบนาน…ไม่คลายมนต์ซง้ึ สำ�หรับลูกหลานสายเลือดฮากกา ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 53

Book Hakka.indd 53

20/6/2554 20:48:16


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น • 2. ซิ่วไฉ -บัณฑิต ซิว่ ไฉ (ตำ�แหน่งบัณฑิตขัน้ แรกของระบบการสอบเพือ่ เป็นขุนนาง) เป็นอีกคำ�หนึง่ ที่กล่าวถึงเสมอในบทเพลงพื้นบ้าน และบทกวี เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความปรารถนาสูงสุด ของชาวจีนฮากกา ทีม่ งุ่ มัน่ ให้ลกู หลานไต่เต้าให้ถงึ สภาพภูมปิ ระเทศของจีนฮากกาอาศัย อยู่บนเทือกเขาที่ทุรกันดาน ไม่มีระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคที่จะเกื้อหนุนการพัฒนา เศรษฐกิจ ไม่มที า่ เรือสำ�หรับการนำ�เข้าและส่งออกขาดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ธรรมชาติ การประกอบอาชีพของชุมชนจึงอยู่ที่ภาคเกษตรกรรม ยุทธศาสตร์ชีวิตของจีนฮากกา ที่จะยกระดับตัวเองและครอบครัวให้สูงขึ้น จึง ทุ่มเททุกวิถีทางให้ลูกหลานเป็นขุนนาง เพื่อยศศักดิ์ทางราชการ และเพื่อชื่อเสียงของ วงศ์ตระกูล การสอบคัดเลือกผู้มีความรู้ในสาขาต่างๆ เพื่อบรรจุเป็นขุนนางในอดีตนั้น ต้องผ่านการสอบตามระบบ “เคอจวี่” ซึ่งจะเริ่มต้นด้วย ซิ่วไฉ ระดับอำ�เภอหรือเมือง แล้วจึงจะไต่เต้าสอบต่อสูงขึ้นจนถึงระดับ จิ้งซื่อ และ จอหงวน ชาวจีนฮากกาให้ความ สำ�คัญกับการเรียนการศึกษาเพื่อยศศักดิ์ขุนนางราชบัณฑิต มากกว่าเรื่องเงินทองจาก การค้าขาย เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายการเป็น บัณฑิต กระบวนการจึงเริ่มต้นด้วยการเรียน พ่อแม่จนี ฮากกาในอดีต จะเคีย่ วเข็นให้ลกู ชายก้มหน้าก้มตากับการเรียนอย่างเอาเป็นเอา ตาย บ้านใดทีล่ กู หลานตัง้ ใจกับการเรียน บ้านใดทีม่ อี ปุ กรณ์การเรียนทีเ่ ป็นตำ�รา กระดาษ พู่กัน แท่งหมึกและจานหมึก ย่อมเชิดหน้าชูตาแก่ครอบครัว มากกว่าเครื่องเรือน และ เครื่องประดับใดๆ การมีห้องหนังสือในบ้าน เป็นสิ่งประกาศให้เพื่อนบ้านรู้ว่า ลูกหลาน ของครอบครัวนี้เป็นผู้มีความรู้ และมีอนาคตสู่ตำ�แหน่งขุนนางที่ใครก็ไม่อาจดูแคลนได้ คำ�ว่า ซิ่วไฉ จึงเป็นเหมือนบันไดขั้นแรกที่จะก้าวไปสู่ดวงดาวแห่งความ สำ�เร็จ แต่กลายเป็นความกดดันสำ�หรับลูกชายทีจ่ ะต้องทุม่ เทเวลาทัง้ หมดของชีวติ ตัง้ แต่ เด็กจนถึงเติบโตเพื่อพิสูจน์ตัวเองในสนามสอบครั้งแล้วครั้งเล่า เหนือสิ่งใด…แนวคิด นี้กลายเป็นสิ่งที่กำ�หนดวิถีชีวิตของสมาชิกทุกคนในครอบครัวที่จะต้องเสียสละทุก อย่าง เพื่อให้ลูกชายของบ้านต้องเรียน-จนเป็นสรณะของชีวิต 54 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 54

20/6/2554 20:48:17


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

“บางหมูบ่ า้ นทีย่ ากจนไม่สามารถ สร้างก้านธงศิลาทีใ่ หญ่โตได้เพียง ทำ�แท่นหินเล็กๆ เพือ่ ประกาศ รายชื่ อ ของบุ ต รหลานที่ ส อบ ตำ�แหน่ง “จิน้ ซือ่ ” ได้”

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 55

Book Hakka.indd 55

20/6/2554 20:48:17


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น • 3. (บึงน้ำา-บึงบัว) การที่จีนฮากกาต้องอยู่ในชัยภูมิที่ห่างไกลความเจริญ เป็นเหตุผลทางประวัติ ศาสตร์การเมืองที่สืบต่อมานานตั้งแต่ปลายราชวงศ์ ซ‹งãต้ (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 13) จีนฮากกาสามารถปรับตัวอยู่ได้ กับธรรมชาติด้วยหลักฮวงจุ้ย ศาสตร์โบราณแห่งการ เลือกทำาเลที่ตั้ง และภูมิปัญญาในการจัดระบบชลประทานที่ดี ทำาให้ฮากกาสามารถดำารง เผ่าพันธุ์อยู่ได้ด้วยเกษตรกรรม ชุมชนต่างๆ ของจีนฮากกา จะพบร่องรอยของระบบน้ำา 2 ประเภท คือ บ่อน้ำา ประจำาบ้าน และบ่อน้ำารวมหน้าชุมชนหมู่บ้าน บ่อน้ำารวมนี้จะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำา และมี คลองถ่ายเทน้ำาต่างระดับที่เชื่อมต่อถึงบ่อน้ำาของหมู่บ้านอื่น ทำาให้หมู่บ้านฮากกาทั้งหมด ของชุมชน มีน้ำาพอเพียงต่อการเพาะปลูก และการบริโภค รอบๆ พื้นที่บึงน้ำา จะปลูกพืชล้มลุกหลายพันธุ์ทั้งผักและผลไม้ ส่วนในบึงนิยม ปลูกผักบุ้งและดอกบัว ส่วนที่ขาดไม่ได้ จะเลี้ยงปลาน้ำาจืดเพื่อเป็นอาหาร และเพื่อขาย เป็นรายได้เสริม

จิตสำานึกของฮากกา เป็นพื้นที่ความคิดเชิงอุดมคติ ที่ฮากกาอยากจะเป็น…สิ่งที่ดีที่สุด อันเป็นผลที่สืบเนื่องมาจากการเรียนอย่างมุ่งมั่น จึงเกิดเป็นพื้นที่ค่านิยมภายในของตนเอง จนกลายเป็นอัตลักษณ์ และวัฒนธรรมของฮากกา 56 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 56

20/6/2554 20:48:17


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น บ่อน้ำ�จะขุดสร้างไว้ที่หน้าหมู่บ้านชุมชน ตามความเชื่อของหลักฮวงจุ้ยที่ถือว่า น้ำ�เป็นสัญลักษณ์ของกระแสความมั่งคั่ง บัวที่ปลูกไว้ในบึง จะต้องเลือกพันธุ์บัวที่มีดอก สีตามธาตุที่เป็นมงคล ที่รอบพื้นที่ริมบึงจะปลูกไม้มงคลที่เกื้อหนุนราศีโชคลาภ เหนือ สิ่งใดบ่อน้ำ�หน้าชุมชนทำ�ให้อากาศถ่ายเทได้ดี และเป็นสถานที่พักผ่อนในยามว่างได้อีก ด้วย ส่วนบ่อน้�ำ ประจำ�บ้าน จะขุดตามร่องน้�ำ ในทิศทางทีส่ อดคล้องกับบ่อน้�ำ รวม บ่อน้�ำ บ้านนี้มีไว้สำ�หรับบริโภคและซักล้างภายในครอบครัว ความผูกพันของสมาชิกบ้านที่มี ต่อบ่อน้ำ�ถือว่าลึกซึ้ง เป็นเสมือนสายธารที่ใช้ดื่มกินตลอดชีวิต เมื่อผู้ชายของครอบครัว จะต้องเดินทางไกลจากบ้าน เพื่อไปสอบขุนนางหรือไปหากินยังต่างแดนโพ้นทะเล จะมี คำ�ที่เห็นบ่อยในบทกวีหรือบทเพลงพื้นบ้าน (หันหลังให้บ่อน้ำ�…แล้วจากไป) เพื่อแสดง ความอาลัยในการพลัดพรากจากบ้านเกิดผู้ชายฮากกาจำ�นวนมากที่จากบ้านในลักษณะ นี้ อาจไม่มีโอกาสกลับมาพบหน้าพ่อแม่ลูกเมียอีกเลยตลอดชีวิต… • 4. (ดอกกูไช่) ต้นกูไช่ เป็นผักชนิดหนึ่งที่ชาวจีนนิยมบริโภค เป็นที่รู้จักกันดีสำ�หรับคนไทย เป็นพืชล้มลุกที่ปลูกง่าย ให้ดอกผลเร็ว ต้นกูไช่มื่อช่วงออกดอก ต้องรีบตัดเก็บเกี่ยว เพราะยิ่งทิ้งไว้จะบาน และจะเหี่ยวเฉาเร็ว คุณภาพของกูไช่เวลาปรุงอาหารจะไม่ อร่อย บ้านใดที่ปลุกต้นกูไช่ เวลาออกดอกพร้อมกันมากๆ จึงต้องระดมช่วยกันตัด เก็บเมื่อเหลือจากการบริโภค จะนำ�ไปแจกจ่ายแบ่งปันให้เพื่อนบ้าน บ้านใดที่มีลูกสาว สวย บรรดาหนุ่มๆจะถือโอกาสไปเยี่ยมเยือนแจกบ่อย เป็นการสร้างโอกาสให้หนุ่ม สาวได้รู้จักกัน และไปสู่การเป็นคู่ครองกันในที่สุด

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 57

Book Hakka.indd 57

20/6/2554 20:48:17


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น • 5. (ปลาหลี) ตัวใหญ่และตัวเล็กในเพลง ภูมิประเทศแถบที่จีนฮากกาอาศัยอยู่ เป็นที่นา 10% เป็นลุ่มน้ำ� 10% ส่วน ที่เหลือ 80% ของพื้นที่เป็นเทือกเขา อาหารประเภทเนื้อที่เป็นอาหารประจำ�วันของ จีนฮากกา ได้แก่ หมู เป็ด และไก่ อาหารทะเลเป็นของหายาก และราคาแพง เพราะ ต้องนำ�เข้าจากเมืองอื่น การเลี้ยงปลาในแหล่งน้ำ�จืด เช่น บึง หนอง สระน้ำ� จึงเป็น หนทางเดียวที่จะทำ�ได้ ปลาหลีที่นิยมเลี้ยงกันในบึงหน้าชุมชนบ้าน จะมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เลี้ยงไว้เพื่อขายเพราะได้ราคาดี และเก็บไว้เป็นเมนูอาหารจานเด็ด สำ�หรับเลี้ยงรับรอง แขกพิเศษ หรือในเทศกาลสำ�คัญตามประเพณี การที่นำ�ปลาตัวใหญ่มาต้มกินตามเนื้อเพลง มิได้หมายถึงปรุงกินกันเองประจำ� ภายในครอบครัว แต่หมายถึงในโอกาสพิเศษ เป็นการให้เกียรติและเป็นการแสดงน้ำ�ใจ กว้างที่นำ�ของดีที่สุดมาเสนอต่อแขกสำ�คัญผู้มาเยือน ส่วนปลาตัวเล็กนัน้ จะเลีย้ งต่อไปให้โต แล้วนำ�ไปขายเพือ่ แลกเป็นเงินและเก็บไว้ เป็นเงินสำ�รองในโอกาสพิเศษ เช่น เป็นค่าสินสอดจ่ายให้บ้านเจ้าสาวที่มาแต่งงานกับ ลูกชาย สำ�หรับสังคมจีนฮากกาซึ่งลูกชายต้องทุ่มเทเวลาให้กับการเรียน เพื่อตอบสนอง ค่านิยมการเป็นขุนนางของพ่อแม่ ลูกหลานชายของฮากกาจึงไม่มคี วามรูท้ จ่ี ะประกอบอาชีพ อื่นใดเลย ค่าสินสอดและค่าใช้จ่ายอื่นสำ�หรับงานแต่งงาน จึงเป็นภาระของพ่อแม่ทั้งสิ้น • 6. มนต์ซึ้งที่คิดถึงแม่ ของเยี่ยะกวงกวง…ไม่เคยคลาย เยี่ยะกวงกวง มีสำ�นวนร้องแตกกิ่งไปอีกหลายสิบเนื้อร้อง ตามจินตนาการของ แต่ละผู้ประพันธ์ ทุกเพลงจะเริ่มต้นด้วยท่อนแรกว่า เยี่ยะกวงกวง เหมือนกันทุกเพลง เพลงเยีย่ ะกวงกวงทีค่ ดั เลือกมาให้ดนู ้ี ถือเป็นเพลงแม่บทต้นแบบของเพลงพืน้ บ้าน ของฮากกามาแต่บรรพกาล ปัจจุบนั มีนกั แต่งเพลงฮากกาของจีน นำ�ไปประยุกต์เป็นทำ�นอง สากลเพือ่ ให้เข้ากับยุคสมัย แต่เพลงต้นแบบ ยังเป็นเพลงหลักทีแ่ ม่ฮากกาใช้กล่อมลูกตลอดมา 58 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 58

20/6/2554 20:48:18


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น สำ�หรับเมืองไทย กลิ่นอายวัฒนธรรมฮากกา อาจจะเจือจางลงด้วยการเปลี่ยน ผ่านของยุคสมัย แต่ทายาทฮากกาวัยกลางคนที่เลขอายุเลขห้าสิบ เชื่อว่าได้ว่า เพียง ได้ยินแค่เสียงเยี่ยะกวงกวง ที่ดังแผ่วแว่วจากเครื่องซีดี จะรู้สึกอุ่นอิ่มในใจ มนต์ซึ้งที่ คิดถึงแม่…ไม่เคยคลาย ภาษาไทย โดย กู่เค่อ กรุงเทพ มกราคม 2006

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 59

Book Hakka.indd 59

20/6/2554 20:48:18


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น เพราะสงคราม เพราะการอพยพย้ายถิ่น จึงเกิดจีนฮั่นเผ่าหนึ่ง ที่ถูกเรียกขานว่า…ฮากกา

“จีน…เป็นชาติใหญ่ชาติหนึ่ง เราจะหลับตาแล้วคิดว่า ไม่มีจีนอยู่ในโลกนี้ เป็นไปไม่ได้”

ความข้างต้นเป็นคำ�กล่าวของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี ของไทย ที่เป็นทั้งนักคิด และนักเขียน ในโอกาสสถาปนาความสัมพันธ์ไทย-จีน เมื่อ ปี ค.ศ. 1975 จีนเป็นชาติที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่ง ที่ดำ�รงชาติพันธุ์ และ อารยธรรมต่อเนื่องตลอดมา ไม่เคยว่างเว้นในกระแสกาลเวลาของมนุษย์ชาติ ขณะ ที่ชาติอื่นซึ่งมีประวัติศาสตร์ร่วมยุคเดียวกัน อาทิ อียิปต์โบราณ บาบีโลน กรีกยุคเก่า อาณาจักรโรมัน ต่างได้ล่มสลายและกลายพันธุ์เปลี่ยนแปลง มีอินเดียเพียงชาติเดียว เท่านั้น ที่ถือว่าได้สืบสานอารยธรรมยาวนานเคียงคู่มากับจีนตราบทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเปิดปูมประวัติศาสตร์ของชาติใดในโลก ล้วนมีเหตุการณ์สิ่งหนึ่งที่อยู่ คู่กับหลักไมล์เวลาของแต่ละชาติ นั้นคือ สงคราม ที่เกิดจากการกระทำ�ด้วยน้ำ�มือของ มนุษย์กับมนุษย์ ประเทศกับประเทศ และเผ่าพันธุ์กับเผ่าพันธุ์ ในอดีตตราบจนปัจจุบัน สงครามถูกใช้เป็นทางออก และเป็นเครื่องมือสำ�หรับ ข้อขัดแย้งของมนุษย์ ในเรื่องของการแย่งชิงอำ�นาจความเป็นใหญ่ ในเรื่องของผล ประโยชน์ ในเรื่องของเกียรติภูมิความเป็นเอกราช ในเรื่องการนับถือผู้ศักดิ์สิทธิ์ คนละองค์ หรือศรัทธาต่อคัมภีร์คนละเล่ม 60 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 60

20/6/2554 20:48:18


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น สงครามเป็นสิ่ง “ไร้สาระ” ที่สุดที่มนุษย์ได้คิดขึ้น และได้กระทำ�ต่อมนุษย์ ด้วยกันเอง การเข่นฆ่า การทำ�ลายล้างด้วยอาวุธทุกรูปแบบที่หฤโหด ไร้มนุษย์ธรรม จนแทบไม่น่าเชื่อว่า นี้คือการแสดงออกของมนุษย์ที่ศิวิไลย์ แล้วมนุษย์อีกเช่นกัน ที่ บรรจงโอ้อวดสงครามที่อำ�มหิต ให้กลายเป็นวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรด้วยอรรถภาษา เชิงกวี อาทิ มหากาพย์รามายนะของอินเดีย ทีเ่ ป็นสงครามวรรณะชนชัน้ ระหว่าง เผ่าพันธ์ อารยันสูงส่งกับทมิฬผูต้ �ำ่ ต้อย หรือมหากาพย์อเี ลียตของโฮเมอร์ใน ยุคกรีกโบราณ ทีก่ ล่าวถึง ความพินาศของอาณาจักรทรอย ที่ประชาชนต้องสังเวยชีวิตให้กับตำ�นานความรักของ เจ้าชายกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ชื่อว่า “เฮเลน” ในประวัติศาสตร์ของจีนได้ชื่อว่า เป็นชาติที่อุดมด้วยแนวคิดปรัชญาที่ล้ำ�ลึกด้วย ระบบ “หยูเจี่ย” ของเล่าจื้อ และขงจื้อ และศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามมีค่า แต่ภายใน สังคมกลับมีระบบการเมือง ราชสำ�นักที่ล้าหลังด้วยประเพณีขันที ระบบการปกครองที่ ไร้ประสิทธิภาพและระบบการทูตที่ล้มเหลว ทำ�ให้จีนเกิดสงครามกับพวกชนเผ่า “อู่หู” เพือ่ นบ้านชายแดนทีจ่ นี เหยียดหยามว่าเป็นคนป่าห้าเผ่า (ได้แก่ ซยงหนู เจีย๋ เซียนเป่ย ตี และเชียง) มาตลอดทุกกาลสมัยไม่มีว่างเว้น หลายยุคที่จีนอ่อนแอตกต่ำ�ที่สุด อาทิ ราชวงศ์ซ่งใต้ และราชวงศ์หมิง ซึ่งถูก กองทัพชนเผ่ามองโกล และชนเผ่าแมนจู บดขยี้แหลกรานยับเยินจนสิ้นราชวงศ์ ผู้คน ล้มตายมากมายมหาศาล ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของศัตรูยาวนานร่วมสามร้อยปี ประชาชน ต้องทนทุกข์ทรมานลำ�บากเหลือเข็ญ อับอายอย่างยิ่งที่ชาติเก่าแก่ยิ่งใหญ่อย่างจีน ต้อง ถูกสยบด้วยน้ำ�มือของชาติเล็กๆ ที่จีนเคยตราหน้าว่าเป็นคนป่าอนารยชน ส่วนคนจีนอีกกลุม่ หนึง่ ทีไ่ ม่ยอมคุกเข่าจำ�นน ต้องกระเสือกกระสนทิง้ บ้านทิง้ เมือง อพยพหนีไปตายดาบหน้าอย่างไม่รู้เป้าหมาย จากจงหยวนภาคเหนือ เส้นทางที่ยาวไกล ทุรกันดารหลายพันกิโลเมตรลงมาสูภ่ าคใต้ของจีน และทีส่ ดุ …ต้องพรากพลัดมาตุภมู ิ ข้าม น้ำ�ฝ่าสมุทรสู่โพ้นทะเล ในสภาพเสื่อผืนหมอนใบ โอโห…ไม่เหลือลายแล้ว ทายาทที่เคย ทรนงแห่งสายพันธุ์มังกร ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 61

Book Hakka.indd 61

20/6/2554 20:48:18


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

สาสมแล้วที่หลู่ซิ่น นักเขียนอมตะของจีนในยุคศตวรรษที่ 20 เขียนไว้ว่า ทุก หน้าของประวัติศาสตร์จีน ถูกจารึกไว้ด้วยอักษรที่ “เปื้อนรอยเลือดและคราบน้ำ�ตา”

เพราะจีนมีสงครามไม่เคยว่างเว้น จึงมีชาวจีนอพยพหนีภัยสงคราม เพราะสงคราม เพราะอพยพย้ายถิ่น

…ราชวงศ์แล้วราชวงศ์เล่า …ยุคแล้วยุคเล่า …ของคนจีนฮั่นหลายเชื้อสาย

ที่สุด…เป็นที่อุบัติของจีนฮั่นกลุ่มหนึ่ง ที่ถูกเรียกขานว่า จีน…ฮากกา นับจากบัดนั้น

ต้นฉบับภาษาไทย โดย กู่เค่อ ถอดความภาษาจีน โดย หลู่หลาน

62 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 62

20/6/2554 20:48:19


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

“กลุ่มสตรีฮากกา นำ�โดยคุณยินดี ลิ่วเฉลิมวงศ์ เคยนำ�คณะวัฒนธรรมฮากกาไทย ไปร่วมงาน มิตรสัมพันธ์ฮากกาที่ปักกิ่ง เมื่อปี 1994” ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 63

Book Hakka.indd 63

20/6/2554 20:48:19


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น เพราะมาช้ากว่า…เพราะมาน้อยกว่า คนฮากกา…สุดท้าย ต้องเลือกอยู่บนภูเขา เพราะจีนมีสงครามเกิดต่อเนื่องตลอดมายาวนานกว่าสองพันปี ไม่เคยว่างเว้น จึงมีคนจีนที่หนีภัยสงครามอพยพย้ายถิ่นกระจายไปอาศัยอยู่ต่างประเทศเป็นระยะๆ สืบต่อมายาวนานเช่นกัน ปรากฏการณ์ของคนจีนเหล่านี้มีให้เห็นอยู่แทบทุกหนทุกแห่ง จนมีคำ�กล่าวเป็นตำ�นานของจีนโพ้นทะเลว่า ที่ไหน...มีแผ่นดิน ที่ไหน…มีแสงอาทิตย์ แต่สำ�หรับคนฮากกาแล้ว ที่ไหน…มีคนจีนอยู่

ที่ไหน…มีน้ำ�ทะเลขึ้นถึง ที่นั่น…มีคนจีนอาศัยอยู่ จะมีอีกประโยคหนึ่งต่อท้าย ที่นั่น…จะมีคนฮากกาอยู่

คำ�กล่าวข้างต้น มุมหนึ่งเหมือนจะเป็นคำ�ประกาศอย่างภูมิใจ ที่มีคนจีนอาศัย อยู่ทุกประเทศทุกเมือง มีเสียงพูดภาษาจีนให้ได้ยินทุกวันเวลา และมีวัฒนธรรมจีน ปรากฏร่องรอยอยู่ทุกหนทุกแห่ง แต่อีกมุมหนึ่งของความคิดแตกต่าง ปรากฏการณ์ ของคนจีนเหล่านี้ ล้วนเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงความล้มเหลวของระบบการปกครองใน สังคมจีน โดยเฉพาะในห้วงเวลาสองร้อยปีเศษของปลายยุคราชวงศ์ชิง หากประชาชน อยู่ดีกินดี มีหรือจะยอมทอดทิ้งบ้านเกิดเมืองนอน ไปเผชิญโชคเสี่ยงตายบนแผ่นดินอื่น อย่างไม่รู้เป้าหมาย ในหนังสืออนุสรณ์สมาคมในโอกาสต่างๆ ของคนจีนทุกเชื้อสายที่อพยพไปอยู่ ในประเทศโพ้นทะเล จะพบข้อความที่บรรยายถึงความรัดทดที่ต้องพลัดพรากแผ่นดิน มาตุภูมิ และเกือบทุกบทรำ�พึง จะปรากฏคำ�เหล่านี้แทรกอยู่เสมอ 64 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 64

20/6/2554 20:48:19


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

หันหลัง…จากบ่อน้ำ� ข้ามน้ำ�ข้ามทะเล

และจากบ้านเกิด ฝ่าคลื่นสมุทร…สู่ดินแดนโพ้นทะเล

ผู้อ่านโดยเฉพาะที่สืบสายเลือดเชื้อสายจีน ย่อมเกิดคลื่นที่ไหวสั่นภายในความ รู้สึก หลับตานึกตามถ้อยคำ� จะเห็นภาพการเดินทางที่บรรพชนอัดแน่นภายในท้องเรือ สำ�เภาจีน คนที่ทิ้งถิ่นฐานบ้านครอบครัวด้วยเหตุอัตคัตขาดแคลน คนที่อพยพมาอยู่แผ่น ดินอื่นโดยไม่มีเป้าหมายในสภาพที่มือเปล่า

ย่อมเป็นคนละความรู้สึกสิ้นเชิง กับคนที่เที่ยวทัวร์ต่างประเทศ ที่เปี่ยมด้วยความสุขสะดวกทุกอย่าง

แต่ส�ำ หรับจีนฮากกาด้วยแล้ว ความยากเข็ญเหล่านีย้ งั ไม่ถงึ ทีส่ ดุ เพราะเส้นทาง อพยพของคนฮากกา จะต้องบวกความวิบากแทรกเพิ่มอีกถ้อยคำ�หนึ่ง “ต้องฝ่าพงไพร ต้องข้ามเทือกเขา” ให้ผ่านก่อนที่จะถึงท่าเรือขึ้นสำ�เภาจีน เป็นการตอกย้ำ�การเดินทาง ที่ยิ่งสาหัสขึ้นอีก สภาพภูมิศาสตร์ของจีนฮากกาที่อาศัยอยู่ตั้งแต่ช่วงหนึ่งพันปีก่อน จนถึงทุกวันนี้ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณพื้นที่เทือกเขาสูง แถบทางใต้ของมณฑลเจียงซี ทางตะวันตกของ มณฑลฮกเกี้ยน และทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลกวางตุ้ง การคมนาคมติดต่อ กับโลกภายนอก เป็นไปด้วยความยากลำ�บาก พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนภูเขาที่ทุรกันดาร สัดส่วนพืน้ ทีด่ นิ เพือ่ อยูอ่ าศัยและเกษตรกรรมเพือ่ ยังชีพมีเพียง 10% เท่านัน้ ไม่มที รัพยากร ธรรมชาติทม่ี คี า่ เพือ่ สร้างความมัง่ คัง่ ทางเศรษฐกิจ ไม่มเี งินทุน จะจัดทำ�โครงสร้างพืน้ ฐาน สาธารณูปโภคที่จำ�เป็นแก่สังคมตนเอง

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 65

Book Hakka.indd 65

20/6/2554 20:48:19


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น วิถีชีวิตของคนฮากกา จึงผูกพันแนบแน่นอยู่กับภูเขา ตั้งแต่เรื่องประวัติศาสตร์ การทำ�มาหากิน บ้านอยู่อาศัยที่เป็นรูปทรงป้อม ทรงมังกรโอบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว การแต่งกาย ค่านิยม และวัฒนธรรมทีส่ บื ทอดต่อถึงทายาท จนมีค�ำ เปรียบเทียบสะท้อน ว่า มีฮากกา ต้องมีภูเขา พบภูเขา จะพบคนฮากกา… เหตุใดคนฮากกาจึงเลือกอยูบ่ นภูเขาทีท่ รุ กันดาร เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยของเผ่าพันธุห์ รือ คนฮากกาไม่มีภูมิปัญญาในศาสตร์ฮวงจุ้ยที่จะสรรหาทำ�เลที่เหมาะที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อ เสริมความมั่งคั่งได้ดีเหมือนชนฮั่นเชื้อสายอื่น คำ�ถามเหล่านี้ไม่อาจหาคำ�ตอบได้ด้วยความคิดและตรรกะแห่งปัจจุบนั จะต้อง ย้อนยุคกลับไปสูป่ ระวัตศิ าสตร์ทโ่ี ยงใยถึงสงคราม และการอพยพย้ายถิน่ ของชนเผ่าฮัน่ อีก จึงจะเห็นคำ�ตอบ สงครามทีจ่ นี ต่อสูก้ บั อูห่ หู า้ เผ่าทีเ่ ป็นต่างชาติเพือ่ นบ้านจีนในอดีตนัน้ ชาวจีนฮัน่ ทุกเชื้อสายต่างร่วมต่อสู้เต็มที่ เพื่อปกป้องเอกราชของชาติ ซึ่งขณะนั้นถือความเป็น ชาติโดยยึดถือชื่อของราชวงศ์เป็นหลัก เช่น ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง เป็นต้น จีนเป็นชาติที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่เหลือคณานับ การทำ�ศึกยุคนั้นมิได้เสร็จสิ้น รู้ผลชนะแพ้ภายในช่วงเวลาสั้นเพียงเดือนสองเดือน เมื่อครั้งกองทัพมงโกล ที่นำ�โดยจักรพรรดิ์เจงกิสข่าน บุกจีนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 นั้น ต้องใช้เวลายืดเยื้อ กว่า 50 ปี จึงจะพิชิตจีนในราชวงศ์ซ่งเหนือ และซ่งใต้ได้เบ็ดเสร็จในปี ค.ศ. 1279 เมือ่ สงครามใกล้ถงึ จุดจบพ่ายแพ้ ประชาชนจีนฮัน่ มากมายทุกเชือ้ สาย (ขณะนัน้ ยังไม่มเี ชือ้ สายฮากกา) จะเริม่ ทยอยอพยพหนีภยั สงครามจากทางเหนือจงหยวน ซึง่ เป็น ที่ตั้งของเมืองหลวง ลงมาตามเส้นทางแถบใต้ ประชาชนกลุ่มต้นๆ ที่อพยพส่วนใหญ่ จะเป็นคนมีฐานะ เป็นพ่อค้า เป็นช่างมีฝีมือ และเกษตรกร เนื่องจากคนกลุ่มนี้เป็นก ลุ่มทำ�มาหากิน ไม่ชอบยุ่งเกี่ยวกับการเมืองและการต่อสู้ เพียงแค่มีข่าวจะเกิดสงคราม ก็เริ่มเตรียมตัวโยกย้ายไปอยู่เมืองอื่นที่คิดว่าจะปลอดภัยกว่า

66 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 66

20/6/2554 20:48:19


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น กลุ่มใดที่เดินทางอพยพไปพบเมืองอื่นที่น่าอยู่ และสมบูรณ์พร้อม จะตั้งหลักปัก ฐานปรับตัวเข้ากับผู้คนเจ้าของที่เดิม พออยู่นานเข้าจะถูกกลืนกลายเป็นชนเชื้อสายตาม ท้องถิ่นนั้นในที่สุด ในยุคสมัยเดียวกัน มีชนฮั่นกล้าตายอีกกลุ่มหนึ่งที่เกิดขึ้นในหลายท้องถิ่นหลาย เมือง ยังไม่ยอมหนี และยังไม่ยอมแพ้ ประกอบด้วย นักวิชาการ ขุนนาง ทหาร (บาง กลุ่มอาจมีพระสงฆ์สายมหายานที่ได้รับการฝึกวิทยายุทธร่วมด้วย) และชาวนาชาวบ้าน ผู้มีจิตใจรักชาติ ต่างรวมตัวกันเป็นกองกำ�ลังด้วยอาวุธเครื่องมือต่างๆ ต่อสู้กับชนเผ่าอู่ หูอย่างอาจหาญเหนียวแน่น ชนฮั่นกลุ่มนี้สร้างความเสียหาย และสามารถตรึงกองทัพ ข้าศึกได้นานถึง 10 - 20 ปี เมื่อสู้กันจนถึงที่สุดต้องพ่ายแพ้ด้วยกำ�ลังพลอาวุธที่เป็นรอง ชนฮั่นกล้าตายเหล่านี้จะเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยที่อพยพหนีเป็นกลุ่มสุดท้าย พร้อมกับการ สิ้นสุดของราชวงศ์แต่ละสมัย

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 67

Book Hakka.indd 67

20/6/2554 20:48:20


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น เมื่อชนฮั่นกลุ่มสุดท้ายแตกทัพอพยพไปถึงเมืองต่างๆ ที่อยู่ในเส้นทาง ภาคใต้ ซึ่งมีชนฮั่นอื่นได้เดินทางล่วงหน้ามาอยู่ก่อนเป็นเวลานาน (จนได้ยกสถานกลาย เป็นเจ้าของท้องถิน่ ) เจ้าหน้าทีเ่ มืองจะแยกชนฮัน่ มาใหม่นอ้ี ยูใ่ นเขตเฉพาะต่างหาก และ ใส่ชอ่ื ผูอ้ พยพมาถึงใหม่นใ้ี นทะเบียนราษฎร์วา่ “เค่อเจีย” มีความหมายว่า เป็นอาคันตุกะ หรือเป็นแขกผู้มาเยือน สังคมจีนในอดีตยังไม่เป็นเอกภาพหนึ่งเดียวเช่นปัจจุบันแม้ชนฮั่นจะ เป็นเผ่าใหญ่ที่สุดที่มีสัดส่วนประชากรมากถึง 92% แต่ความหลากหลายเชื้อสายที่แตก ต่างทั้งแนวคิด วัฒนธรรม และวิถีชีวิต โดยเฉพาะด้านภาษาที่ไม่สามารถสื่อสารกันได้ บาดแผลทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของชนฮั่นกลุ่มใหม่ที่ได้รับจากศัตรูอู่หูยังไม่ทัน หายเจ็บ ปัญหาการขัดแย้งกับชนฮั่นเก่าอีกหลายเชื้อสาย บนแผ่นดินจีนด้วยกันอุบัติขึ้นจนได้ ในเรือ่ งการแก่งแย่งพืน้ ทีท่ �ำ มาหากิน ในเรือ่ งทำ�เลช่องทางสำ�หรับการประกอบอาชีพ และ เหนือสิ่งใด ปัญหาของชนฮั่นกลุ่มใหม่เองมีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากฮั่นทุกกลุ่ม มีแนวคิด ทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ตามแบบฉบับตัวเองอย่างหนักแน่น ยึดมัน่ ดำ�รงในวัฒนธรรมของตนเอง ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงปรัชญาชีวิตตัวเองให้กลมกลืกับกลุ่มอื่นได้ หลายครั้งได้เกิด ศึกสายเลือดระหว่างฮั่นต่างเชื้อสายด้วยกันอย่างรุนแรง ด้วยเหตุทฮ่ี น่ั กลุม่ ใหม่ทถ่ี กู เรียกว่า “เค่อเจีย” มีจ�ำ นวนคนน้อยกว่า มีทรัพยากร ปัจจัยน้อยกว่า ย่อมไม่มีทางเลือกอื่นใดในสถานการณ์นั้น ความหวังจะหวนคืนถิ่นบ้าน เดิมไม่เหลือแล้ว ศัตรูอู่หูยึดไว้จนหมดสิ้น กลับไปรังแต่จะถูกกดหัวให้เป็นทาสจมดิน อย่างไร้เกียรติ พื้นที่ทางราบบนแผ่นดินปัจจุบัน ถูกกีดกันโดยชนฮั่นเชื้อสายอื่นจนไม่ เห็นโอกาส สุดท้าย…เงยหน้าขึน้ มองดูฟา้ เห็นภูเขาเบือ้ งสูงทีย่ งั ไม่มผี จู้ บั จอง แม้จะทุรกันดาร และอัตคัดขาดแคลน แต่เป็นดินแดนเสรี ที่ลงตัวกับจิตที่เสรีของกลุ่มฮั่นใหม่ที่ถูกเรียก ในชื่อใหม่ว่า “เค่อเจีย” แล้วชนฮั่นกลุ่มนี้ได้เคลื่อนคาราวานด้วยมือเปล่าขึ้นสู่เทือกภู โดยใช้คำ�เค่อเจียนเรียกชื่อเผ่าพันธุ์ตนเอง ด้วยสำ�เนียงภาษาของตนเองว่า “ฮากกา” 68 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 68

20/6/2554 20:48:20


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น โอ้…ฮากกา…ผู้มีเม็ดเลือดเข้มข้นทุกอณูสายพันธุ์แท้ของชนเผ่าฮั่น กลายเป็น “อาคันตุกะ” ผู้มาจากแดนไกลที่ไม่ปรากฏต้นรากฐานถิ่น โอ้…ฮากกา…กลายเป็น “คนนอก” ที่ยืนอยู่บนแผ่นดินมาตุภูมิตัวเอง แต่ถูกคนอื่นเรียกว่า “แขกผู้มาเยือน”

ต้นฉบับภาษาไทย โดย กู่เค่อ ถอดความภาษาจี น โดย หลู่ ห ลาน

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 69

Book Hakka.indd 69

20/6/2554 20:48:20


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น เมื่อคนฮากกา…เลือกการเรียน เป็นทางออกของชีวิต เรายอมรับคำ�ศัพท์ “ฮากกา” ตามที่คนอื่นเรียกขานกัน ดอกกุหลาบถึงแม้ จะถูกเรียกเป็นชื่ออื่น คุณค่าของมันไม่เคยเปลี่ยนแปลง ตัวชาติที่แท้จริง มิใช่ชื่อประเทศ มิใช่ตัวผืนดิน มิใช่กำ�แพงเมืองจีน หรือ ราชวังตำ�หนักสี่ฤดูของฮ่องเต้ฮองเฮา ซึ่งเป็นเพียงวัตถุไม่จิรัง แต่แก่นสารัตถะของ ตัวชาติ อยู่ที่ตัวคน ตราบที่คนยังมีชีวิต ยังมีความคิด ยังมีจิตวิญญาณ ตราบนั้น ความเป็นชาติฮั่น ยังคงดำ�รงสถิตยั่งยืน เราพร้อมที่จะทำ�สงครามกับศัตรู ด้วยพันธะเกียรติภูมิของชาติ เราพร้อมที่ จะหลั่งเลือดพลีชีพ เพื่อรักษาเผ่าพันธุ์มิให้สูญสลายด้วยคมดาบศัตรู แต่กับคนฮั่นที่ มีโลหิตร่วมสายเดียวกัน เราไม่มีเหตุผลที่จะต้องเข่นฆ่าจนอาสัญ เพียงเพราะความ คิด และตรรกะชีวิตที่แตกต่าง เลือดยังไม่ทันแห้ง บาดแผลที่เกิดสงครามอู่หูยังไม่หายดี ชนฮั่นที่มีชื่อใหม่ ว่า “ฮากกา” จะต้องลั่นกลองเพื่อเดินทางอีกครั้ง… การเคลื่อนที่อพยพครั้งนี้ของฮากกา แม้จะเป็นความเคยชินชาด้านในความ รู้สึก แต่ในใจแอบหวังลึก ขอให้การเดินทางครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ขอให้ตำ�นานการ อพยพสิ้นสุดลงที่ยุครุ่นของเรา เพื่อเราจะได้มีแผ่นดิน มีบ้านเป็นบ้านในความหมาย ของครอบครัว บ้านที่หมายถึง ถิ่นฐานถาวรของเผ่าพันธุ์ตลอดไป ป้ายบรรพชน และตำ�ราเรียน คือสมบัติสองสิ่งที่อยู่คู่กาย คู่ชีวิตของคน ฮากกา มิเคยตกหล่นขาดหายตลอดตำ�นานการอพยพเดินทางที่ยาวนาน ป้ายบรรพชน เป็นป้ายประวัตปิ ระจำ�ตระกูล ทีบ่ อกถิน่ ฐานกำ�เนิดของเผ่าพันธุ์ รากเหง้าของตระกูล และลำ�ดับรุ่นของครอบครัว ที่สืบเรียงรุ่นมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ยิ่งสำ�หรับคนฮั่นที่กลายชื่อมาเป็นฮากกา ยิ่งต้องเก็บรักษาป้ายบรรพชนนี้ไว้เหนือสิ่งใด เพราะนี้เป็นสิ่งเดียวที่จะยืนยันถึงความมีรากเหง้าของตนเอง และสืบสานเชื้อหน่อฮั่น 70 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 70

20/6/2554 20:48:20


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น จากอารยธรรมมายาวนาน สมบัติอีกอย่างหนึ่งของฮากกา ที่ทุกบ้านทุกครอบครัว จะต้องมีไว้คู่บ้าน คือ หนังสือตำ�รา อุปกรณ์ประกอบการเรียน คือ กระดาษพู่กัน แท่งหมึก และจานหมึก สิ่งเหล่านี้ มิใช่เป็นเครื่องประดับบ้าน แต่เป็นองค์ประกอบเพื่อกิจกรรมอย่างเดียว คือ การเรียน เมื่อฮากกาต้องระหกระเหินขึ้นไปอยู่บนภูเขาที่ห่างไกลจากชุมชนฮั่นเชื้อสาย อืน่ สิง่ แวดล้อมรอบด้านขาดแคลนความอุดมสมบูรณ์ การเกษตรทีท่ �ำ ได้ มีเพียงผลผลิต ธัญญาหาร เพื่อบริโภคยังชีพเท่านั้น เหนือสิ่งใด คนฮากกาไม่มีฐานทุนที่จะพัฒนา โครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นที่ภูเขา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมใหม่ฮากกาให้ ดีขึ้น ในสภาวะทีโ่ อกาสทุกอย่างเหมือนจะตีบตัน แสงสว่างทีแ่ วบขึน้ ในความคิด ด้วย การรือ้ หนังสือตำ�ราเก่ามากมายทีส่ ง่ั สมมาจากบรรพชน หนังสือปรัชญาของระบบ หยูเจีย (แนวคิด และคำ�สอนของ เล่าจื้อ ขงจื้อ จวงจื้อ เม่งจื้อ เป็นต้น) บทกวี วรรณกรรม ดาราศาสตร์ ฮวงจุ้ย ประวัติศาสตร์ แพทย์จีน และตำ�รา พิชัยยุทธของซุนวู …แล้วเชือ้ ไฟแห่งการเรียน การศึกษาของฮากกาได้เริม่ ต้น และเข้มข้นขึน้ อย่าง รวดเร็ว เพียงเวลาไม่กี่ชั่วอายุคน การเรียนได้กลายเป็นวัฒนธรรม ประจำ�เผ่าพันธุ์ของ ฮากกา ทุกหมู่บ้านจะได้ยินเสียงอ่านท่องตำ�ราของเด็กเล็กที่เจื้อยแจ้ว เสียงขับขานบท ซือฉือ (กาพย์กวีชั้นสูงของจีนฮั่น) ที่กังวานจากหนุ่มบัณฑิตฮากกา ล้วนเป็นสิ่งชี้บอก ถึงบุปผาแห่งปัญญา กำ�ลังเบ่งบานสู่ชุมชนของฮากกา บนภูเขาที่สูงเสียดฟ้า ทิวเทือกเขาที่สลับชั้นยาวสุดสายตา และหลืบเขาร่อง ซอกลึก ห่างจากชุมชนฮั่นอื่น ไกลจากความเจริญภายนอก แต่กลับเป็นโอกาสที่ทำ�ให้ ฮากกามีสังคมของตัวเองที่อิสระเอกเทศ อนุรักษ์วัฒนธรรมของฮั่นโบราณไว้อย่าง เหนียวแน่น และสืบสานสิง่ ดีงามให้ตกทอดเป็นประวัตศิ าสตร์ ให้ลกู หลานรุน่ หลังได้รจู้ กั เรียนรู้ และเข้าใจ ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 71

Book Hakka.indd 71

20/6/2554 20:48:21


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น นักวิชาการ นักการทหาร นักคิด นักการเมือง นักปฏิวัติ วีรชน นักเขียน นักกวี และเมธีวรรณกรรมของจีนนับไม่ถ้วน ที่ถือกำ�เนิด เคี่ยวกรำ� และบ่มเพาะจาก ดินแดนภูเขาทุรกันดารนี้ ลงไปสนองคุณแผ่นดิน และรับใช้ปวงประชา ภายใต้ชื่อของ อาคันตุกะ ผู้มาเยือนจากแดนไกล ผู้ไม่ปรากฏที่มาถิ่นฐานว่า “ฮากกา”…

ต้นฉบับภาษาไทย โดย กู่เค่อ

72 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 72

20/6/2554 20:48:21


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น อยากรู้ไหมว่า…ฉันเป็นใคร อยากรู้ไหมว่า…ฉันเป็นใคร อยากรู้ไหมว่า…ฉันอยู่ที่ไหน แท้จริง ฉันคือเธอ ฉันอยู่ “ข้างใน” ของเธอ แท้จริง เธอคือฉัน เธออยู่ “ข้างนอก” ของฉัน

ฉันเห็น…ตัวเธอ ในภาพกระจกเงา เธอมีร่าง…เป็นรูปธรรม แต่เธอไม่เห็น…ตัวฉัน เพราะฉัน ไม่มีรูป…เป็นนามธรรม ฉันเข้ามาอยู่กับเธอ เมื่อลมหายใจแรก…ของเธอเริ่มต้น ฉันจะไปจากเธอ เมื่อลมปราณสุดท้าย…ของเธอสิ้นสุด

เพราะมีเธอ มีฉัน จึงมีตัวตน…ของตัวเรา เพราะเธอเป็น ฉันเป็น จึงเป็นชีวิต…ของตัวเรา ภาวะ “การมี” ของเธอ…ภาวะ “การดำ�รงอยู่” ของฉัน เป็นองค์อัตตา ของความเป็นตัวเรา…ของความมีชีวิต

อย่าถามเลยว่า ตัวเรา…เป็นใคร เรามาจากไหน…แล้วเราจะไปไหน ฉันไม่รู้ว่า ชาติก่อน ชาติหน้า…มีจริงหรือไม่ ฉันรู้เพียงว่า ชาตินี้ คือ ความเป็นจริง (The being is real) ความจริง คือ ชีวิตโลกนี้ ที่ดำ�รงอยู่ (The real of being)

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 73

Book Hakka.indd 73

20/6/2554 20:48:21


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น เธอเป็นตัวเรา ที่คนอื่นเห็น ที่คนอื่นรู้จัก แต่คนอื่น…จะเข้าใจตัวเรา ได้อย่างแท้จริง ด้วยการเข้าถึง…ตัวฉัน คนอื่น รู้จักเธอได้ อย่างผิวเผิน…ในเวลาที่สั้น…เพียงครู่ แต่คนอื่น กว่าจะรู้จัก ตัวจริงของฉัน…ต้องใช้เวลา…ยาวนาน

ความคิดของฉัน…มิได้ มีมาแต่เดิม ฉันมีตัณหา…ที่สืบมาแต่…สัญชาติญาณ อยากมีชื่อเสียง อยากมีอำ�นาจ อยากมีความมั่งคั่ง…อยากมีทุกอย่าง หลายอย่างที่เธอทำ� เป็นแรงผลักดัน ขับเคลื่อน…จากตัวฉัน

วัยเด็ก…เธอกับฉัน แนบแน่นสนิท เป็นเนื้อเดียวกัน ทุกความรู้สึก ทุกความเคลื่อนไหว สัมพันธ์กันทั้ง ภายนอก…ภายใน สิ่งที่เธอแสดงออก สิ่งที่เธอพูด…ตรงกับ สิ่งที่ฉันคิด เป็นความพิสุทธิ์ เป็นความเรียบง่าย แต่งดงาม…แท้จริง

เธอจำ�เริญวัย ตามกาลเวลา…เธอค้นหา เธอเรียนรู้ ล้วนสะสม ซึมซับ หล่อหลอม…ตกผลึก ถึงตัวฉัน ฉันจดจำ� เป็นประสบการณ์ เป็นตรรกะ…จนถึงระดับ ความเป็นปัจเจก ที่สุด…แยกกันไม่ออก เธอกำ�หนดฉัน หรือ ฉันกำ�หนดเธอ

วัยเติบโต…เธอทะนง เธอทะยาน…ฉันยั้งเธอไม่อยู่ เธอต้องการเป็น เธอต้องการพิสูจน์…มากกว่า ที่ฉันคิด ความกล้าของเธอ เป็นเดิมพัน…ที่ฉัน มิอาจประเมิน เธอไม่รับรู้ ว่าโลกนี้ผันแปร…เป็นอนิจจัง เหนือการคาดเดา 74 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 74

20/6/2554 20:48:21


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น สิ่งที่คาดหวัง สิ่งที่เกิดขึ้น…เป็นคนละเรื่องกัน อาจมากไป อาจน้อยไป…อาจเร็วไป อาจช้าไป…ไร้ความพอดี หรือความผิดพลาด หรือความบังเอิญ หรือโชคชะตา…แล้วแต่จะอ้าง สิ่งที่ปรากฏ…คือชัยชนะ คือความพ่ายแพ้…คือความเป็นจริง

ณ ตรงจุดนี้ เธอกับฉัน เริ่มแตกต่าง…ต้องทำ�คนละอย่าง เธอพูดเสแสร้ง…ขณะที่ฉัน กำ�ลังกล้ำ�กลืน…ความจริง ที่บอกไม่ได้ เธอทนฝืนยิ้ม ต่อภายนอก…แต่ฉัน กำ�ลังร่ำ�ไห้…อยู่ภายใน เป็นความจริง ที่มิอาจหลีกเลี่ยง…เป็นความลวง ที่ไม่อาจไม่ทำ� กาลเวลาเปลี่ยนผ่าน วันนี้ของตัวเรา…มาถึงวัยอัสดง ริ้วรอยใบหน้าเธอ ร่วงโรย…ระโหย…ด้วยปัจฉิมวัย ถึงวันนี้ เธอรู้หรือไม่…ความจริงของชีวิต ทุกอย่าง…ต้องมีสิ้นสุด เธอเข้าใจหรือยัง ชื่อเสียง อำ�นาจ ความมั่งคั่ง หรือชีวิต…สิ่งใดสำ�คัญกว่า

ฉันยังคิดได้ ด้วยวุฒิภาวะ…ฉันยังอยากสู้ ด้วยศักยภาพ เสียดาย…พลังเธอถดถอย เสียดาย…เวลาที่เหลือ ไม่มากพอแล้ว ฉันมิอาจหาร่างใหม่ เพราะพันธกิจของฉัน…มีสำ�หรับเธอคนเดียว เท่านั้น เธอกับฉัน เกิดมา…เพื่อการมีชีวิต…เพื่อภพนี้ เพียงภพเดียว พระจันทร์…คืนเพ็ญที่เห็น…ทอแสงนวล สกาวฟ้า พระจันทร์…เคยเป็นอยู่อย่างนี้ ก่อนที่เรา…จะเดินทางเข้ามา พระจันทร์…จะยังคงอยู่อย่างนั้น เมื่อเรา…เดินทางออกไป การมีอยู่ หรือ การจากไปของเรา ไม่มีผลอันใดเลย…ต่อพระจันทร์ ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 75

Book Hakka.indd 75

20/6/2554 20:48:21


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น ทุกสิ่งทุกอย่าง ของชีวิต…มหัศจรรย์ ทุกมิติ เหมือนดั่งว่างเปล่า เหมือนดั่งไม่มี…แต่มีทุกอย่าง เหมือนดั่งมายา เหมือนดั่งไม่เป็น…แต่เป็นทุกอย่าง ชีวิต…ยิ่งใหญ่ ล้ำ�ลึก เหนืออรรถาของภาษา…ที่จะนิยาม

ฉันเรียกชื่อ…ของเราอีกครั้ง อย่างหนักแน่น อย่างศักดิ์สิทธิ์ เพื่อบอกเธอว่า เรายังมีชีวิตอยู่ ชีวิต..ที่ต้องดำ�เนินต่อไป วันที่ ดีที่สุด ในชีวิต…คืนวันนี้ วันที่…เธอยังหายใจอยู่ วันที่…ฉันยังคิดได้

บทเพลง ที่ไพเราะที่สุด…ยังไม่ได้บรรเลง บทกวี ที่ทรงพลังที่สุด…ยังไม่ได้รจนา แท่นชัยชนะ ที่ทรงเกียรติที่สุด…ยังไม่มีคนยืน สิ่งที่ดีที่สุด สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด…รอเธอ รอฉัน…รอเรา

เธอกับฉัน ชาตินี้…คือความเป็นจริง (The being is real) ความจริง…คือชีวิตโลกนี้…ที่ดำ�รงอยู่ (The real of being)

นภดล ชวาลกร พฤษภาคม 2551

76 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 76

20/6/2554 20:48:21


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

หนังสือและเอกสารชาติพันธุ์ฮากกา ในศูนย์ฮากกาศึกษา กรุงเทพ ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 77

Book Hakka.indd 77

20/6/2554 20:48:22


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

เวลาที่ จะลิขิต จะกล้าก่อ จะต่อสาน

เหลือมี ตั้งจิต สรณะ คำ�ฮากกา...

ของชีวิต อธิษฐาน ปณิธาน ให้สืบไป

78 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 78

20/6/2554 20:48:22


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

คุณนภดล ชวาลกร ในโอกาสบรรยายพิเศษ “ย้อนรอยวิถีบรรพชนจีนฮากกา” ที่สระบุรี 27 ต.ค. 2550

ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น 79

Book Hakka.indd 79

20/6/2554 20:48:23


ไ ห ง่ เ ฮ้ . . . ฮ า ก ก า ห งิ่ น

80 ไหง่ เฮ้...ฮากกาหงิ่น Book Hakka.indd 80

20/6/2554 20:48:23


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.