Raksthai book [mainstreaming climate change adaptation]

Page 1

“การมีกรอบนโยบายถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่การแปลงแผนให้เกิดการปฏิบัติเป็นเรื่องที่ ท้าทายกว่า โดยเฉพาะในเรือ่ งของการตัง้ รับปรับตัวต่อการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ซึง่ เป็นเรือ่ งใหม่ และเป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งมองในระยะยาว ทัง้ ยังมีชอ่ งว่างและระยะห่างอยูม่ ากในการลงมือท�ำ การเตรียมพร้อม และการสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวซึง่ เป็นการลงทุนทีจ่ �ำเป็นส�ำหรับอนาคต กลไกต่างๆ จะต้อง หมุนไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดการผนวกเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้ากับการ ก�ำหนดนโยบายรายสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นกระแสหลักของการพัฒนา หรือว่า mainstreaming ได้อย่าง ต่อเนื่อง” นายวิจารย์ สิมาฉายา รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “หากย้อนไปดูสิ่งที่ผ่านมาและผลการคาดการณ์ที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า ก็เห็นได้ชัดว่า ภยันตรายที่จะส่งผลต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลของประเทศไทยทั้งสองด้านจะเกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้น ฝนตกหนักและนาน เกิดภัยแล้งรุนแรงในบางช่วง ต้องเผชิญกับพายุและคลื่นพายุซัดฝั่ง ซึ่งนอกจาก ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินแล้วยังมีผลต่อแหล่งที่อยู่ทางธรรมชาติของพืชและสัตว์ ส่งผล ต่อความมั่นคงทางอาหาร และยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อการท�ำมาหากินของชุมชนชายฝั่งซึ่งพึ่งพา ทรัพยากรชายฝั่งและอาศัยสภาพธรรมชาติ” พลโทนายแพทย์อ�ำนาจ บาลี ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภาการชาดไทย “เราต้องการเสนอให้ในระดับสถาบันมีกลไกลการบริหารแบบพหุภาคี มีกฎหมาย ระเบียบ และแผนงานที่เอื้อต่อการจัดการเชิงพื้นที่ มีกลไกเสริมสร้างศักยภาพและความตระหนักรู้ในทุกระดับ มีการจัดท�ำฐานข้อมูลและกลไกด้านการสื่อสารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการตั้งรับปรับตัวของชุมชน มีการสร้างแรงจูงใจส�ำหรับภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านกลไกด้านการคลังเพื่อให้เกิดการลงทุนที่ช่วยลดผลกระทบของ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” นายพร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดย มูลนิธิรักษ์ ไทย และภาคีความร่วมมือ


เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย มูลนิธิรักษ์ ไทย และภาคีความร่วมมือ บรรณาธิการ: บุญธิดา เกตุสมบูรณ์ วีณา นำ�เจริญสมบัติ พิมพ์ครั้งที่ 1: เมษายน 2557 จำ�นวน 500 เล่ม จัดพิมพ์ โดย

มูลนิธิรักษ์ ไทย 185-187 ถนนพหลโยธิน ซอย 11 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์: 02 265 6888 โทรสาร: 02 271 4467

ปกและรูปเล่ม: กานต์ ทัศนภักดิ์ พิมพ์ที่ โทรศัพท์:


ที่มา : ผู้แทนจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ภาคประชาชน ชุมชน จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรระหว่าง ประเทศ ได้ร่วมกันผลักดันการด�ำเนินงานการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศของชุมชนชายฝั่ง ได้สรุปบทเรียน และสร้างข้อเสนอทางเลือกเชิงนโยบาย เพือ่ เอือ้ ให้เกิดสภาพแวดล้อมทีเ่ กือ้ กูล และสนับสนุนความคิดริเริม่ และศักยภาพของชุมชน ชายฝั่งในการด�ำเนินงานการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม ข้อเสนอดังกล่าวได้น�ำเสนอต่อที่ประชุมระดับชาติ ซึ่งมีผู้บริหารระดับ นโยบาย นักวิชาการ ผู้แทนองค์กรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชนพิจารณา และจัดท�ำเป็นเอกสารขึ้นภายใต้การด�ำเนินงาน 3 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนชายฝั่งทะเลเพื่อลดผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย การด�ำเนินการในประเทศไทย โดยมูลนิธิรักษ์ ไทย สนับสนุนโดยคณะกรรมาธิการแห่งสหภาพยุโรป www.raksthai.org 2. โครงการเพิม่ ศักยภาพการปรับตัวของชุมชนชายฝัง่ ทีเ่ สีย่ งต่อการเปลีย่ นแปลง สภาพภูมิอากาศ ด�ำเนินการโดยส�ำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย มูลนิธเิ พือ่ การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนโดย กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกและโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ www.incaproject.in.th 3. โครงการป่าชายเลนเพือ่ อนาคต (Mangrove for the Future-MFF) กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง www.mangroveforthefuture.org

3


กระบวนการสร้างทางเลือกเชิงนโยบาย :

โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนชายฝั่งทะเล เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการเพิ่มศักยภาพการปรับตัวของชุมชนชายฝั่ง ที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ .......... ดำ�เนินงาน .......... สรุปบทเรียน

เวทีพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย การตั้งรับปรับตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

คณะทำ�งานสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่ปรึกษา/นักวิชาการให้ข้อคิดเห็น

เวทีสนทนาเชิงนโยบาย สร้างกระแสหลักในนโยบายและปฏิบัติการทุกภาคส่วน: พื้นที่ชายฝั่งกับการตั้งรับปรับตัว กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ .......... โต๊ะกลมการตอบสนองจากระดับนโยบาย รัฐ วิชาการ เอกชน เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย ..... การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อ โต๊ะกลมการตอบสนองภาคประชาชน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

4


สารบัญ 1. บทน�ำ ...............................................................................................................................

7

2. เป้าหมายการตั้งรับปรับตัว ........................................................................................... 10 3. ศักยภาพ โอกาสและความท้าทาย .................................................................................. 12 4. ข้อเสนอการสร้างกระแสหลักการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ....... 15

4.1 ประเด็นร่วม ............................................................................................................ 16 4.2 รากฐานการน�ำประเด็นการปรับตัวสู่กระแสหลักการพัฒนา .................................. 17 ข้อมูล ความรู้ : กลไกการสื่อสาร ................................................................................. 19 การสร้างศักยภาพ : กลไกการเพิ่มขีดความสามารถและความตระหนักรู้ .................. 21 การด�ำเนินงานเชิงสถาบัน : กลไกการบริหารจัดการแบบพหุภาคี ............................. 23 กฎหมาย ระเบียบ แผนงาน : กลไกการเอื้อต่อการจัดการเชิงพื้นที่และระบบนิเวศ .. 25 กองทุน : กลไกการหนุนเสริมทางการเงิน ................................................................... 27 แรงจูงใจ : กลไกการสร้างแนวร่วม .............................................................................. 29 จุดเริ่มต้น ............................................................................................................................. 31

5


เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ข้อมูลพาได้

พึ่ง เข้าถึง

ัศกยภาั่นพใจ เท่าทัน

สถาบัน สาน

ประ ง ย โ ม เชื่อ ผลักดัน

ุน กองท ันที ารท ปฏิบัติก

าย ม ห ฎ ก ค

ปลดล็อ ะกัน ลักปร ห ง า ้ ร ส

6

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ใจ ง ู จ ง ร แ ะโยชน์

ปร ประสาน พลัง เพิ่ม


1. บทน�ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อทุกแง่มุมของการ พัฒนา แม้ปัจจุบัน รัฐบาล หน่วยงานระดับท้องถิ่น ภาคธุรกิจ และองค์กรพัฒนาเอกชน ได้เริ่มมีการด�ำเนินการเพื่อตอบสนองต่อความแปรปรวนของสภาพอากาศ แต่ยังคงเป็น ส่วนน้อยเท่านั้นที่นำ� เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการ ก�ำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนการด�ำเนินงาน จากประสบการณ์และบทเรียนซึง่ ได้จากการด�ำเนินงานโครงการเสริมสร้างศักยภาพ ชุมชนชายฝั่งในการตอบสนองต่อผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ท�ำให้ตระหนัก ว่า การสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชนในการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ควรเป็นการสร้างนโยบายและแผนการพัฒนาในลักษณะ “พหุภาคี” ทีส่ อดคล้องกับบริบท ทางภูมินิเวศ สังคม และเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ ทิศทางการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงควรตั้งอยู่บนฐาน วัฒนธรรมและระบบนิเวศ ซึง่ เชือ่ มโยงกับการจัดการระบบสังคมและระบบนิเวศเข้าไว้ดว้ ย กัน เป็นการใช้ทงั้ ศักยภาพของคนและระบบนิเวศในการตัง้ รับปรับตัวต่อการเปลีย่ นแปลง สภาพภูมอิ ากาศ ในส่วนของคนจะประกอบไปด้วยชุมชนและหน่วยงานตัง้ แต่ระดับท้องถิน่ ถึงระดับชาติ ผ่านกลไกและกระบวนการท�ำงานแบบมีส่วนร่วมระหว่างพหุภาคี ควบคู่ไป กับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติท�ำหน้าที่เป็นฐานอาหาร ฐานชีวิต และเกราะป้องกันภัย ที่ส�ำคัญให้กับมนุษย์ เมื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องจากปัจจุบันถึงอนาคต และการ เปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมจะส่งผลให้ความเสีย่ งต่างๆ เปลีย่ นรูปแบบไปได้โดย สิน้ เชิง การปรับตัวจึงเป็นประเด็นทีค่ วรมองให้กว้างกว่าการแก้ไขปัญหาสิง่ แวดล้อม หรือ ไม่ควรพิจารณาเฉพาะการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศทีแ่ ยกจากบริบทการเปลีย่ นแปลง เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

7


ทางสังคมเศรษฐกิจ โดยการมองแยกส่วนเฉพาะบางประเด็นอาจท�ำให้การตอบสนอง ต่อปัญหาจ�ำกัด และแคบกว่าผลกระทบทีจ่ ะเกิดต่อชุมชน สังคม และประเทศ และทีส่ ำ� คัญ ประเด็นการปรับตัวจ�ำเป็นต้องมองให้ไกลด้วยเช่นกัน เราควรขยายวิสัยทัศน์ (vision) ในการวางแผนต่างๆ ออกไปในอนาคตในกรอบเวลาที่ไม่คนุ้ เคย เพือ่ สร้างให้ชมุ ชนยืดหยุน่ และทนทานต่อการเปลีย่ นแปลง สามารถด�ำเนินการจัดการความเสีย่ ง และหรือมีแผนการ ลดความเสี่ยงจากภัยที่เกิดจากความปรวนแปรของสภาพอากาศได้ ประเด็นการปรับตัว

• การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ไม่ใช่ ประเด็นการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมเท่านั้น • พิจารณาการบริหารจัดการความเสี่ยงจากผลกระทบของสภาพอากาศ ที่มีประสิทธิภาพ • พิจารณาบริบทยุทธศาสตร์การพัฒนา และการดำ�เนินวิถีชีวิตของชุมชน • พิจารณาเป้าหมายยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนาที่มีอยู่ภายใต้เงื่อนไขใหม่ SEA START 2556

ไม่นานนี้ มีการกล่าวถึงและกระตุน้ ให้เกิด “การสร้างกระแสหลัก (Mainstreaming)” ในประเด็ น ผลกระทบจากการเปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อ ากาศ โดยเป็ น การ บูรณาการการตั้งรับปรับตัวของชุมชนต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน เข้าไว้ในการพิจารณา วางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ของหน่วยงานภาครัฐ และภาคส่วนต่างๆ โดยเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ภัยคุกคามจากสภาพอากาศที่แปรแปรวน นั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ การสร้างเกราะคุ้มกันที่เพียงพอเท่านั้น จึงจะท�ำให้เราสามารถด�ำรง วิถีการด�ำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคง การรณรงค์และเน้นย�้ำให้เกิดความตระหนักว่า 8

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


“ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องร่วมกัน หาแนวทางแก้ไข” ไม่ใช่เฉพาะกระทรวงใดกระทรวงหนึง่ หรือบุคคลใดบุคคลหนึง่ จึงเป็น สิ่งส�ำคัญ และจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างให้เกิดเป็นกระแสร่วม โดยประเด็นการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศเป็นเรือ่ งของอนาคตระยะยาว ควบคู่ ไปกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมเศรษฐกิจภายใต้แผนการพัฒนา และการก� ำหนด นโยบายจากภาครัฐ ดังนั้น การพิจารณาถึงกระบวนการตั้งรับปรับตัวของชุมชนต่อการ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ จึงไม่อาจเป็นประเด็นทีแ่ ยกออกมาจากมิตกิ ารพัฒนาอืน่ ๆ ได้ ทั้งนี้ การสร้างกระแสหลักเรื่องการปรับตัว อาจแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ก้าวแรก คือ การสร้างความตระหนัก ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิด การแลกเปลี่ยนอย่างสม�่ำเสมอ ก้าวที่ 2 คือ การสร้างศักยภาพ ให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วน เป็นการสร้างองค์ความรูแ้ ละบุคคลกรให้สอดคล้องและพร้อมต่อการเปลีย่ นแปลง ก้าวที่ 3 คือ การท�ำกิจกรรมน�ำร่อง เป็นการด�ำเนินงานแบบพหุภาคี สร้างการเรียนรู้จากบทเรียน และน�ำสู่ก้าวที่ 4 คือ การรณรงค์ ในระดับนโยบาย ซึ่งการด�ำเนินงานในแต่ละก้าวจะ หมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ขั้นตอนการสร้างกระแสหลัก (Mainstreaming)

ก้าวที่ 4 ก้าวที่ 3 ก้าวที่ 2 ก้าวที่ 1

สร้างกระแสหลัก

กิจกรรมนำ�ร่อง

สร้างศักยภาพ

สร้างความตระหนัก

กระแสหลักจากบทเรียนสู่ระดับนโยบาย ดำ�เนินงานกิจกรรมแบบพหุภาคี

เก็บข้อมูล อบรม สร้างนวัตกรรม เครือข่าย พูดคุย กล่าวถึง แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ดัดแปลงจาก Huq and Ayers, 2551

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

9


เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย ฉบับนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้าง กระแสหลักเรื่องการปรับตัวให้เกิดขึ้นในสังคม โดยตัวแทนจากชุมชนและหน่วยงานที่ เกีย่ วข้อง ได้จดั ให้มกี ารระดมสมอง สรุปบทเรียน เพือ่ สร้างข้อเสนอทางเลือกเชิงนโยบาย เพื่อเอื้อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เกื้อกูลในการสนับสนุนความคิดริเริ่มและศักยภาพของ ชุมชนในการด�ำเนินงานการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่าง ต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

2. เป้าหมายการตั้งรับปรับตัว ในอีกด้านหนึ่ง แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นทั้งวิกฤติ แต่ก็เป็น โอกาสด้วยเช่นกัน เป้าหมายที่ส�ำคัญ คือ เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน การลดความเสี่ยง และผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเพิ่มศักยภาพของชุมชนให้มีความสามารถในการตั้งรับปรับตัว และสร้างโอกาส หรือใช้ประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น แต่การด�ำเนินงานการพัฒนา จะมีเป้าหมายเพื่อให้ชุมชน เข้มแข็งแต่พียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ สังคมไทยต้องการชุมชนที่มีวิสัยทัศน์ ในการ จัดการภายใต้การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งควรมาจากการปรับยุทธศาสตร์การด�ำเนิน วิถีชีวิตของชุมชน (Resilience) ในขณะเดียวกันก็สร้างแผนพัฒนาที่มีอยู่ภายใต้เงื่อนไข ใหม่ๆ (Robustness) เพือ่ สร้างให้ชมุ ชนมีความยืดหยุน่ (Flexibility) หรือชุมชนมีทางเลือก หลายทางทีจ่ ะด�ำเนินการต่อสถานการณ์การเปลีย่ นแปลงที่ไม่อาจจคาดคิด (Uncertainty) ทั้งนี้ ตัวแทนของชุมชนชายฝั่งได้เล็งเห็นร่วมกันถึงเป้าหมายการด� ำเนินการเพื่อ การตั้งรับปรับตัว ดังนี้  ชุมชนมีความมั่นคงในวิถีชีวิต ที่อยู่อาศัย ที่ดินท�ำกินและการประกอบ อาชีพ

10

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


 ลดความเสีย่ ง ความเปราะบางจากการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ภัยพิบตั ิ และโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐหรือธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต และทรัพยากรชายฝั่ง  การฟื ้ น ฟู ท รั พ ยากรฐานทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละระบบนิ เ วศทะเลและ ชายฝั่ง สร้างหลักประกันความหลากหลาย และสงวนพื้นที่ทรัพยากรเพื่อ ความมั่นคงของชุมชนชายฝั่ง  ลดเงื่อนไขเชิงโครงสร้างทางนโยบายทุกระดับ เพิ่มอ�ำนาจประชาชนใน ระดับโครงสร้าง และสร้างความเท่าเทียม สิทธิชมุ ชนในการจัดการทรัพยากร ธรรมชาติ

เป้าหมายของกระบวนการพัฒนาแผนปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (National Adaptation Plan: NAP) มีสองประการคือ

1. เพื่อลดความเปราะบางต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการสร้างศักยภาพในการตั้งรับปรับตัวและภูมิคุ้มกัน 2. เพือ่ สนับสนุนให้เกิดการผนวกประเด็นการตัง้ รับปรับตัวฯ สูน่ โยบาย แผนงาน และแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่มีอยู่เดิมและที่จำ�เป็นต้องพัฒนา ขึน้ มาใหม่ อย่างสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะในกระบวนการ วางแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนารายสาขาในระดับต่างๆ ตามความ เหมาะสม

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

11


3. ศักยภาพ โอกาสและความท้าทาย 3.1 ศักยภาพ ข้อมูลภายใต้การด�ำเนินงานโครงการฯ พบว่า ชุมชนและหน่วยงานบางแห่ง ได้แสดงให้เห็นว่ามีขีดความสามารถในการตั้งรับปรับตัว และเกิดความการร่วมมือกัน ด�ำเนินกิจกรรมการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ซึ่งสามารถสรุปเป็นหัวข้อได้ ดังนี้  การรวมกลุ่มองค์กรระดับชุมชน เช่ น กลุ ่ ม อาชี พ กลุ ่ ม อนุ รั ก ษ์

สิ่งแวดล้อม มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างกลุ่ม และเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับ นิเวศระดับลุ่มน�้ำ  แหล่งเรียนรู้ที่เป็นต้นแบบ มีการเตรียมกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ มีต้นทุน

ความรูเ้ กีย่ วกับธรรมชาติ ได้แก่ เรือ่ งพืช สัตว์ แหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัย การจัดการดิน น�ำ้ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อลดความเสี่ยงและ ผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ บางชุมชนมีระบบวิทยุชมุ ชน ระบบ วิทยุสอื่ สาร เตือนภัย เฝ้าระวัง บางชุมชนเรียนรูก้ ารเก็บข้อมูลการปรับตัว สมาชิก ในชุมชนบางกลุม่ มีความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ทัง้ ในระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน มีการน�ำความรู้เรื่องการเตรียมพร้อมรับ ภัยพิบัติสู่ระบบการศึกษา  กิจกรรมน�ำร่อง ชุมชนชายฝั่งและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการ

ด�ำเนินงานเพื่อเตรียมการตั้งรับปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลายด้าน ที่มีฐานมาจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของการ ท�ำมาหากิน ผสานกับการทดลองแสวงหาทางออกใหม่ๆ เช่น ฟื้นฟูระบบนิเวศ เพือ่ ปกป้องชุมชนจากลมพายุ และวางแผนด้านการตัง้ รับปรับตัวไว้ในแผนชุมชน 12

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


และแผนต�ำบล จัดท�ำ สร้างคูคลองระบายน�ำ้ พนังกัน้ น�ำ้ หรือแนวไม้ไผ่กนั คลืน่ ลม เพือ่ ป้องกันการกัดเซาะพังทลายชายฝัง่ ยกบ้านให้สงู พ้นระดับน�ำ้ ท่วม หรือคาดว่า น�ำ้ จะท่วมถึง การท�ำแผนทีภ่ ยั พิบตั ิ เส้นทางอพยพ ศูนย์อพยพ การประเมินแหล่งน�ำ้ อุปโภค บริโภคเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติ การทดลองปรับวิธีการ ท�ำเกษตร การกลับไปหาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ มากกว่าพันธุ์ข้าวลูกผสม  ศัยภาพของบุคลากร และหน่วยงาน องค์กรปกครองท้องถิ่นบางแห่ง

มีความตระหนัก และพัฒนาบุคลากรเรือ่ งการจัดการภัยพิบตั ิ มีภาคีระหว่างท้องถิน่ มีศักยภาพในการก�ำหนดระเบียบ และข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อการสนับสนุนชุมชน ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดท�ำข้อบัญญัตเิ พือ่ รับมือกับภัยพิบตั ิ และ มีระบบวิทยุสื่อสาร และเครือข่ายกู้ภัย  ข้อมูล หน่วยงานรัฐในบางจังหวัด และสถาบันการศึกษาท้องถิ่น

ในบางแห่ง มีองค์ความรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวกับภัยพิบัติ การเตือนภัย รวมทั้ง พบว่า มีการสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากหน่วยงานภายนอก เพื่อสร้างเครือข่ายการท�ำงานแบบพหุภาคีในพื้นที่ 3.2 โอกาสและความท้าทาย ในภาพรวม ถึงแม้ว่าจะมีการประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศอยู่บ้าง แต่กระบวนการปรึกษาหารือ หรือเชื่อมโยงทางเลือก รูปแบบ หรือวิธี ด�ำเนินการในการตัง้ รับและปรับตัวของชุมชนทีเ่ หมาะสมตามบริบทพืน้ ที่ จากระดับท้องถิน่ สู่ระดับนโยบาย และจากผู้ก�ำหนดนโยบายสู่ผู้ปฏิบัติ ยังขาดช่องทางการด�ำเนินงาน ที่ชัดเจน เกิดเป็นช่องว่างที่มีระยะห่างระหว่างกันอย่างมาก ส่งผลให้การรับรู้หรือ ความตระหนักถึงความส�ำคัญของปัญหาและผลกระทบทีเ่ กิด ณ ช่วงเวลาปัจจุบนั และอาจจะ เกิดในอนาคตยังจ�ำกัดอยู่เฉพาะบางประเด็น บางพื้นที่ บางคน บางกลุ่ม บางหน่วยงาน เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

13


เท่านั้น ท�ำให้ขาดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ขาดการหนุนเสริมอย่างเหมาะสม ขาดการ พัฒนาศักยภาพอย่างเพียงพอ ขาดข้อมูลและความเข้าใจที่ถูกต้อง สุดท้ายคือ ขาดพลัง การเชื่อมประสานความร่วมมือ ขาดแรงจูงใจเพื่อผลักดันการด� ำเนินงานในลักษณะ องค์รวม ต่างคนต่างท�ำ ต่างเรียนรู้ และขาดการแลกเปลี่ยน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ร่วมกัน จากประสบการณ์ ในพื้นที่ สะท้อนให้เห็นว่าความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้นยังไม่เพียงพอ แต่ต้องตระหนักถึงนัยยะของ ผลกระทบที่ จ ะมี ต ่ อ ชุ ม ชนด้ ว ย โดยเฉพาะในเรื่ อ งของความเสี่ ย งและการจั ด การ ความเสีย่ ง เช่น ความเสีย่ งจะเปลีย่ นรูปไปหรือไม่ การจัดการความเสีย่ งทีเ่ คยท�ำมายังจะ ใช้ได้หรือไม่ แค่ไหนในอนาคต ความท้าทายที่สำ� คัญจึงอยู่ที่ กลไกที่จะสร้างความรู้ที่มี ความหมายและปรับใช้ได้ในประเด็นเฉพาะ และเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ที่มีศักยภาพ และสถานะความเปราะบางที่แตกต่างกันไป ประเด็นท้าทายทีเ่ กิดขึน้ นี้ ในอีกด้านหนึง่ เปิดโอกาสส�ำหรับการด�ำเนินการปรับตัว กับสภาพการเปลีย่ นแปลงภูมอิ ากาศในกระแสการพัฒนาประเทศ กระบวนการพัฒนาระดับ ประเทศควรมีความสอดคล้องกันมากขึ้น การท�ำให้เป็นกระแสหลักในนโยบายรายสาขา แต่ในขณะเดียวกันก็ผนวกรวมอยู่ในทิศทางการพัฒนาประเทศโดยรวมด้วยการพัฒนาที่ ยั่งยืนและการเปลี่ยนมุมมองใหม่เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย เพื่อการมองหาเทคโนโลยีใหม่ในการผลิต การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การศึกษา สุขภาพ และอื่นๆ เรายังคงสามารถคิดถึงการสร้างเกราะป้องกันเพื่ออนาคต ที่พูดถึงการวาง ยุทธศาสตร์ใหม่ๆ มาตรการใหม่ๆ รวมถึงระบบบริหารจัดการที่เสมอภาคและเป็นธรรม ในอนาคต การสนับสนุนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของกลุ่มต่างๆ อย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะกลุม่ ผูห้ ญิงและผูถ้ กู ละเลยในกระบวนการวางแผนพัฒนา การปกป้องคุม้ ครอง

14

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


กลุม่ เปราะบาง ซึง่ จ�ำเป็นต้องมีการพัฒนากลไกและระบบในระดับประเทศ ภูมภิ าค ท้องถิน่ ที่มีประสิทธิภาพและสนองต่อความต้องการของชุมชน โดยค�ำนึงถึงความสามารถในการ ปรับตัวที่มีความแตกต่างออกไปในแต่ละช่วงเวลา เงื่อนไขพื้นที่ และประเภทภัยพิบัติ ซึ่งเป็นไปได้โดยการรักษาสมดุลระหว่างก�ำหนดนโยบายและ/หรือตามความต้องการของ แหล่งทุนสนับสนุน กับความต้องการจากพื้นที่และการมีส่วนร่วมของชุมชน

4. ข้อเสนอการสร้างกระแสหลัก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ภายใต้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบโดยตรงในการจัดท� ำร่าง แผนแม่บทรองรับการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ พ.ศ. 2556-2593 เป็นแผนระยะยาว มีระยะเวลาประมาณ 37 ปี และมีการจัดท�ำแผนปฏิบัติการในทุกๆ 5 ปีเพื่อให้เกิด การปรั บ เปลี่ ย นแผนที่ ส อดคล้ อ งกั บ สถานการณ์ โดยมี การจั ด ท�ำ ยุ ท ธศาสตร์ การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3 ด้านหลัก คือ 1) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2) การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 3) การเสริมสร้างสมรรถนะของ ส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนและชุมชนในการบริหารจัดการหรือการเตรียมรับ ปรับตัวการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ ได้ก� ำหนดวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยมี ภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน มีเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการปรับตัว เช่น การสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมอิ ากาศ ทีเ่ น้นการบูรณาการแนวทางและมาตรการในการปรับตัวจากทุกภาคส่วน ทุกระดับเพื่อให้เกิดการปรับตัวในเชิงนโยบายที่มีความส�ำคัญมากยิ่งขึ้น ความจ�ำเป็น ในการจัดท�ำแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ ครอบคลุมเพือ่ เกิดการเชือ่ มโยงกับฐานข้อมูล รวมทัง้ มิตทิ างเศรษฐกิจ สังคม สิง่ แวดล้อม ต่างๆ ที่ส�ำคัญ และมีแผนปฏิบัติการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

15


รวมทั้งการรวบรวมประเด็นปัญหาต่างๆ ในระดับโลก เชื่อมโยงระดับภูมิภาคและระดับ ประเทศ และในระดับชุมชนก็ต้องท�ำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ และเพื่อให้การจัดท�ำแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเป็น แผนระยะยาว เกิดแผนปฏิบัติการที่สอดคล้อง และตอบสนองต่อความต้องการของ ผูเ้ กีย่ วข้อง โดยเฉพาะชุมชนผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ การ สร้างข้อเสนอทางเลือกเชิงนโยบายทีม่ กี ระบวนการจากล่างสูบ่ น (Bottom- up Approach) จึงเป็นสิง่ ส�ำคัญ โดยมีประเด็นร่วม และข้อเสนอทีเ่ ป็นรากฐานการน�ำประเด็นการปรับตัว สู่กระแสหลักของการพัฒนาประเทศ ดังต่อไปนี้ 4.1 ประเด็นร่วม จากกระบวนการด�ำเนินงานสร้างข้อเสนอทางเลือกเชิงนโยบาย มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน และทุกระดับ เกิดข้อค้นพบที่ส� ำคัญ ซึ่งเป็นประเด็นร่วมว่า การสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต้องอยู่ บนฐานการพัฒนาทีย่ งั่ ยืน ความเสมอภาคและความเท่าเทียม ในขณะทีเ่ น้นการปฏิบตั กิ าร ระดับพื้นที่เป็นส�ำคัญ ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นการแก้ไข จึงต้องแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ ควรมีการวางแผนท�ำกิจกรรมให้สอดคล้องกับ ระบบนิเวศและความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ และต้องตระหนักว่าการด�ำเนินงานต้อง ใช้เวลา มีการเรียนรู้ และพัฒนา โดยเริ่มการประสานระหว่างจังหวัดกับกระทรวงที่ เกี่ยวข้องเพื่อคัดเลือกปัญหาของชุมชนที่ชัดเจนเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน และ จัดท�ำเป็นโครงการน�ำร่อง ชุมชนน�ำร่อง หรือต�ำบลน�ำร่องในการตั้งรับปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ควรให้ความส�ำคัญกับกระบวนการพูดคุยปรึกษาหารือ ควบคู่กับการด�ำเนินงาน เพราะมิใช่การพูดคุยเพียงครั้งเดียวที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือได้ ควรมีการประสาน ความร่วมมือและความรับผิดชอบในระดับประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่น ประชุมร่วมกับ

16

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้เข้ามามีส่วนร่วมและให้เกิดการแลกเปลี่ยนพูดคุยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตอบโจทย์ที่มากกว่าการตอบสนองเหตุการณ์ และควรท�ำความเข้าใจกับแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อสร้างแผนงานรองรับ ผลกระทบที่เหมาะสม นอกจากนี้ นอกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว ยังมี ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อชุมชนให้ต้องมีการตั้งรับปรับตัวด้วยเช่นกัน ไม่ว่าโครงการขนาด ใหญ่ นโยบายของรัฐ การเปิดเสรีการค้า โครงการภาคอุตสาหกรรม โครงการท่องเที่ยว และอื่นๆ ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงและต้องเชื่อมโยงกับปัจจัยเหล่านี้ด้วยว่าจะ สร้างแผนตั้งรับปรับตัวอย่างไร รวมถึงการตั้งรับปรับตัวที่ปฏิบัติกันอยู่ ในปัจจุบันจะ ส่งผลอย่างไรในอนาคต 4.2 รากฐานการน�ำประเด็นการปรับตัวสู่กระแสหลักการพัฒนา การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศไม่สามารถท�ำนายได้แน่นอน ทัง้ ยังมีเงือ่ นไขด้าน การพัฒนา การเมือง เศรษฐกิจ สังคมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชุมชนและพื้นที่ชายฝั่ง ดังนั้น ผู้ก�ำหนดนโยบายจึงจ�ำเป็นต้องผนวกเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเข้าไป ในนโยบาย แผนงาน ระเบียบ และแผนปฏิบตั กิ ารของทุกภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ ให้มนั่ ใจ ว่ากลไกเหล่านั้นจะมีประสิทธิภาพในอนาคต ในการขับเคลื่อนเพื่อน�ำประเด็นการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศสู่กระแสหลัก ของการก�ำหนดนโยบายและการวางแผนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง ยังมีค่อนข้างน้อย รวมถึง ขาดงานศึกษาวิจัย การเสริมสร้างศักยภาพ และการจัดสรร งบประมาณ โดยประเด็นที่ควรได้รับความสนใจด�ำเนินงานมากขึ้น คือ ด้านข้อมูลความรู้ การสร้างศักยภาพ การด�ำเนินงานเชิงสถาบัน กฎหมาย การสร้างแรงจูงใจ และการ สนับสนุนด้านการเงิน ซึง่ ควรสร้างให้เป็นรากฐานในการขับเคลือ่ น และหนุนเสริม เพิม่ พลัง ในการด�ำเนินงานการสร้างกระแสหลักเรื่องการตั้งรับปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมอิ ากาศของชุมชนชายฝัง่ เพือ่ สร้างเกราะป้องกันผลกระทบที่ไม่อาจหลีกเลีย่ ง ให้เกิดขึน้ ได้จริงไม่เป็นเพียงนโยบายและแผนที่มีไว้เฉพาะอ่านและกล่าวถึง หรือเป็นความ เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

17


รับผิดชอบเพียงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น เสมือนการท� ำงานในหลายด้าน หลายมิติคล้ายลูกเต๋า เมื่อทอดออกไป ต้องเคลื่อนออกไปทั้ง 6 ด้าน ทุกหน้าคือประเด็น การท�ำงาน ในขณะเดียวกันภายในแกนกลางก็มีการเชื่อมประสานการด�ำเนินงานไว้ ด้วยกัน นอกจากนี้ การสร้างกระแสหลักควรเกิดการสร้างหน้ามิตกิ ารท�ำงานทีห่ ลากหลาย เกิดเป็นบล็อกโครงสร้างการด�ำเนินงานที่เชื่อมต่อกันอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การสรุป บทเรียนจากการด�ำเนินงานโครงการน�ำร่องฯ จากทุกภาคส่วน จึงได้มีข้อเสนอทางเลือก เชิงนโยบาย ดังนี้ ศักยภาพ

เข้าถึง พึ่ง

ทัน

เท่า

ใจ มั่น

เท่าทัน

าพ

มั่นใจ

ข้อม พ ศักยภา ใจเพปิ่มระพสานแประรโยงชจูงใจเข้าถึง ถึ่งูล เท

ั่น ่าทัน ม

แรงจูง

ลัง

ประสาน ใจ ประ เพิ่มพล โยชน์ ัง

18

น์

พาได้

ใจ แรงจูง ชน์

ปฏิบัติการกองทุน ทันที

เชื่อมโยง สถาบัน ผลักดัน ประสาน

ข้อมูล

าได้

ึ่งพ เข้าถึง พ

สถาบ

เชื่อมโย ัน ง ปร ผลักดัน ะสาน

สถาบสัน

ร้า าน ปลดล็อ ง ประสงหลักประกันค เชื่อมโย ดัน ผลัก

ประโย ประสาน พลัง เพิ่ม

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กองท

ปฏิบัติก ุน ารทันที

กฎหม

าย หม กฎ

ศักยภ

ข้อมูล

พาได้

าย

ปลดล สร้างหล ็อค ักประกัน

กฎหมา

ค ปลดล็อ กัน ักประ สร้างหล

กองทุน ี

ารทันท ปฏิบัติก


ข้อมูล ความรู้ : กลไกการสื่อสาร • ฐานข้อมูลกลางทีเ่ ป็นปัจจุบนั ด้านการเปลีย่ นแปลง สภาพภูมอิ ากาศและการปรับตัวของชุมชน ทีท่ กุ คน และทุกหน่วยงานสามารถเข้าถึง เรียนรู้ และน�ำไป ใช้ได้ มีกลไกการสือ่ สารทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ด้วยภาษา ที่เข้าใจได้ง่าย • การเชือ่ มโครงข่ายข้อมูลในทุกระดับ ทัง้ ระดับชุมชน ระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ระหว่างชุมชนกับ ชุมชน ระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงาน และชุมชน กับหน่วยงานเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงการท�ำงาน ได้โดยไม่ซ�้ำซ้อน

สร้างฐานข้อมูลกลางด้านการปรับตัวต่อการเปลีย่ นแปลงสภาพอากาศ และข้อมูล ที่เกี่ยวข้อง และสร้างกลไกการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่ทุกคน ทุกหน่วยงาน ทุกระดับ เข้าถึงได้ ควรได้รับความส�ำคัญในล�ำดับต้นๆ ของนโยบายและแผนการพัฒนาทั้ง ในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ โดยการจัดท�ำฐานข้อมูลในเรื่องการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ ข้อมูลความเสี่ยงทั้งในปัจจุบันและอนาคต มีมาตรฐานเป็นข้อเท็จจริง และ ต้องเป็นข้อมูลทีท่ นั สมัยสอดคล้องทันต่อสถานการณ์ มีการพัฒนาฐานข้อมูลโดยใช้ระบบ แยกเพศ และแยกกลุ่มเฉพาะที่เผชิญกับความเสี่ยง และมีความเปราะบางสูง ลดความ ซ�้ำซ้อนของข้อมูล มีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบคอบ และตระหนักถึงข้อจ�ำกัดของ ข้อมูลในแต่ละประเด็น เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

19


การพัฒนากลไกการจัดการความรู้ และฐานข้อมูลการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ เพื่อตอบสนองต่อการปรับตัวของชุมชนอย่างเป็นระบบ ชุมชนหลายแห่งมีความรู้ พร้อมชุดความคิดที่ส�ำคัญ จึงควรจัดให้ความรู้ที่ชุมชนมีอยู่เกิดการแลกเปลี่ยนไหลเวียน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เดิมผนวกกับวิธีการและกระบวนการใหม่ๆ ที่ค้นพบจากเครือข่าย อย่างสม�่ำเสมอ ส่งเสริมการต่อยอด ผสมผสานกันระหว่างความรู้จากท้องถิ่นกับความรู้ จากภายนอก พร้อมทัง้ ยกระดับองค์ความรูท้ มี่ อี ยู่ในท้องถิน่ ให้สามารถเชือ่ มโยงกับข้อมูล ทางวิชาการ และข้อตกลงระหว่างประเทศ ทัง้ นี้ ข้อมูลทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับผูเ้ กีย่ วข้องแต่ละกลุม่ แต่ละระดับมีความแตกต่างกัน จึงควรจัดท�ำให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม การพัฒนาเครื่องมือส�ำหรับการเก็บข้อมูล ผนวกกับการพัฒนาทักษะและเทคนิค การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ขอ้ มูลเพือ่ น�ำไปใช้ให้ได้จริง และควรมีการวิจยั และพัฒนา การน�ำเรื่องภูมิสารสนเทศน�ำสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้น อาจด้วยการตั้งศูนย์ข้อมูล ในระดับพื้นที่ การพัฒนาระบบการติดตามประเมินผล การสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ให้ชุมชนได้วิเคราะห์ การประเมินความเสี่ยง การประเมินศักยภาพตนเอง สร้างกลไกการสื่อสาร และประสานงานระหว่างกันต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ ยุง่ ยากและมากขัน้ ตอนเพือ่ ตอบสนองกับสถานการณ์อย่างทันท่วงที โดยหน่วยงานเฉพาะ ในการส่งต่อข้อมูลข่าวสารให้ชุมชน ควรกระจายข้อมูลด้านภูมิอากาศ และภัยพิบัติใน ระบบเวลาปัจจุบัน (Real Time) มีกลไกคู่ขนานหรือช่องทางการส่งต่อเชื่อมโยงข้อมูล จากพืน้ ทีแ่ ละระดับนโยบาย กระบวนการส่งต่อข้อมูลและการสือ่ สารข้อมูลจากภายนอกสู่ ชุมชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จริงจัง และจริงใจในการหนุนเสริมข้อมูลจากหน่วยงานที่ เกีย่ วข้อง ทีส่ ามารถแลกเปลีย่ นเรียนรู้ และใช้รว่ มกัน การให้ขอ้ มูลต่อผูเ้ กีย่ วข้อง ใช้วธิ กี าร มีส่วนร่วมของชุมชน ข้อมูลไม่กระจุกตัวและทั่วถึงทุกคนในชุมชน เครือข่ายการสื่อสาร แจ้งเตือนภัยจากต้นน�ำ้ สูป่ ลายน�ำ้ ส่งเสริมการแลกเปลีย่ นข้อมูลเกีย่ วกับการป้องกันและ การลดภัยพิบัติระหว่างภาครัฐ เอกชน ชุมชน และท้องถิ่น จัดกิจกรรมรณรงค์ สื่อสารให้ ทั่วถึงและควรจะมีการจัดการโดยท้องถิ่นเป็นหลัก 20

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


การสร้างศักยภาw : กลไกการเพิ่มขีดความสามารถและความตระหนักรู้ • การบูรณาการเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภู มิ อากาศเข้ า สู่ แ ผนงานการพั ฒ นาของ หน่วยงานทุกระดับ ทุกภาคส่วน • ทุ ก หน่ ว ยงานรั ฐ ผนวกการพั ฒ นาบุ ค ลากรให้ มี ความรู้ ความเข้าใจในการตั้งรับปรับตัวกับการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมการประสาน งานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง • สร้ า งศั ก ยภาพให้ ทุ ก คนมี ความตระหนั ก ถึ ง การ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ มีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถวิ เ คราะห์ ความเสี่ ย ง ตอบสนอง ความต้องการและปัญหาได้เหมาะสม การเข้าถึง ความช่วยเหลือต่างๆ เพื่อตั้งรับปรับตัวกับการ เปลี่ยนแปลง

การสร้างศักยภาพให้ทุกภาคส่วนในสังคม เป็นการสร้างเกราะป้องกัน และความ ทนทานต่อผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ เพือ่ ลดความเสีย่ งทางภัยพิบตั ิ และเป็นการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว หน่วยงานรัฐ ปรับรูปแบบการด�ำเนินการจากการชีน้ �ำ ตัดสินใจมาเป็นการหนุนเสริมและสร้างศักยภาพ ให้กบั ชุมชน โดยจัดให้มพี ฒ ั นาศักยภาพเชิงสถาบัน และผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องทุกระดับภายใน เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

21


พื้นที่ให้มีความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักในเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมอิ ากาศ เพือ่ ให้เกิดการบูรณาการแผนงานพัฒนาในพืน้ ที่ หมูบ่ า้ น ต�ำบล จังหวัด ลุม่ น�ำ้ และประเทศ พัฒนา Change Agent ซึ่งมีบทบาทในการขยายผล และสร้างศักยภาพให้แก่ ภาคประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างเครื่องมือการวิเคราะห์ความเปราะบางและ ศักยภาพ ทีช่ มุ ชนท้องถิน่ สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ได้งา่ ย และมีความต่อเนือ่ ง สร้างโอกาส ในการแลกเรียนรู้ระหว่างชุมชนที่มีประสบการณ์ รวมทั้ง เผยแพร่ประสบการณ์เหล่านี้ ออกไปให้กว้างขวาง จัดสร้างชุดเรียนรูท้ เี่ กิดจากสภาพพืน้ ทีแ่ ละปัญหาทีแ่ ตกต่างกันตาม ระบบนิเวศต่างๆ ภาคการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ มีการพัฒนาหลักสูตรแกนกลางเรื่อง การตั้งรับปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กลุ่มเยาวชน เพื่อให้เข้าใจ และสามารถรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใด การอบรมให้ความรู้ สร้างความตระหนักในกลุ่มคนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ สถานศึกษาในชุมชนด�ำเนินการพัฒนา หลักสูตรท้องถิ่น เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับชุมชน และมีส่วนร่วม ในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดท�ำหลักสูตรท้องถิน่ ในเรือ่ งการจัดการภัยพิบตั ิ จากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ในระดับท้องถิน่ ก�ำหนดวิสยั ทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองและชุมชนท้องถิน่ โดยให้มีแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับปัจจัยทางภูมิอากาศ สามารถพัฒนาแผนการ จัดการฉุกเฉินท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง แม่นย�ำ การระบุความเสี่ยง ของชุมชนที่เหมาะสม และการประเมินศักยภาพ ความเสี่ยง รวมทั้งความรุนแรงที่จะ เกิดขึน้ จากภัยธรรมชาติ เพือ่ การเรียนรูท้ จี่ ะอยูก่ บั การเปลีย่ นแปลงต่างๆ ด้วยกระบวนการ สร้างความรู้ ความเข้าใจ การถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นระบบ รวมทั้ง สามารถจัดท�ำแผน การปรับตัวและรับมือกับผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ประมวลรวบรวม ปัญหาในระดับชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 22

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


การด�ำเนินงานเชิงสถาบัน : กลไกการบริหารจัดการแบบพหุภาคี • องค์ ก รอิ ส ระว่ า ด้ ว ยการเปลี่ ย นแปลงสภาพ ภูมิอากาศเป็นกลไกการประสานงานในระดับชาติ สถานะไม่ตำ�่ กว่ากระทรวง มีอำ� นาจ หน้าที่ ก�ำลังคน และงบประมาณ ในการประสานนโยบาย แผนงาน โครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระหว่างหน่วยงานรัฐ การจัดการร่วมกับภาคเอกชน ประชาสั ง คม และประสานความร่ ว มมื อ จาก องค์กรระหว่างประเทศ อย่างเป็นระบบ และมี ความต่อเนื่อง

องค์ประกอบขององค์กรอิสระมาจากชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ องค์กร พั ฒ นาเอกชน สถาบั น การศึ ก ษา นั กวิ ช าการ มี ห น้ า ที่ ห ลั ก ในการน� ำ ประเด็ น การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสู่การพิจารณาการวางแผนพัฒนาร่วมกับมิติทางเศรษฐกิจ และสังคม มีการประสานการท�ำงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งทางด้านนโยบาย แผน ปฏิบัติการและงบประมาณ เพื่อให้การก�ำหนดนโยบายจากบนสู่ล่างมีความสอดคล้อง เปิดช่องให้มีการสื่อสารข้อมูลเชิงประจักษ์จากล่างสู่บน และข้ามพ้นจากกรอบที่ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นปัญหาเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อมและ การจัดการทรัพยากร หากแต่เชื่อมร้อยอยู่ในทุกมิติของการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการเกษตร การค้า การคมนาคมขนส่ง การเงินการคลัง เทคโนโลยี และอื่นๆ จ�ำเป็นที่จะต้องพัฒนากลไกเชิงสถาบันให้สอดรับกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

23


การจัดตัง้ หน่วยงานต้องมีสถานะไม่ตำ�่ กว่ากระทรวง มีอำ� นาจหน้าที่ ก�ำลังคน และ งบประมาณที่เพียงพอ ในการประสานการท�ำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงการท�ำงานเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นได้จริง เป็นระบบ และมีการ ด�ำเนินการอย่างต่อเนื่อง ภารกิจขององค์กร ครอบคลุมการประสานเชื่อมโยงการ ท�ำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งแผนและ งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในระดับประเทศ และมี เครือข่ายการปฏิบัติการที่เชื่อมโยงไปสู่ระดับภูมิภาค และท้องถิ่น การประสานการ ด�ำเนินการกับภาคเอกชน ภาคประชาสังคม อย่างเป็นระบบและต่อเนือ่ ง เพือ่ การร่วมคิด ร่วมก�ำหนด ร่วมผลักดัน นโยบาย การปฏิบัติการ และการติดตามประเมินผลในรูปแบบ “พหุภาคี” ที่เกิดขึ้นได้จริง รวมถึงเป็นหน่วยประสานกลางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศเพื่อการอนุวัตรตามอนุสัญญาที่เกี่ยวข้องระดับสากล การประสานความ ร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน การประสานความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงาน ระหว่างประเทศ ส�ำหรับหน่วยงานที่มีอยู่และด�ำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบันควรร่วมกันทบทวน ประเมินศักยภาพขององค์กร และร่วมเป็นภาคีด� ำเนินงานอย่างมีเอกภาพ องค์กร ปกครองท้องถิน่ ร่วมประสานความร่วมมือ และต้องมีภารกิจโดยตรงต่อการตัง้ รับปรับตัว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชุมชน เช่น มีต�ำแหน่งเฉพาะ และมีงบประมาณ ในการสนับสนุนชุมชนกิจกรรมต่างๆ ส่วนในระดับชุมชน สถาบันของชุมชนควรมี บทบาทในการพัฒนากองทุน พัฒนาศักยภาพและกฎหมายในระดับชุมชน

24

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


กฎหมาย ระเบียบ แผนงาน: กลไกการเอื้อต่อการจัดการเชิงพื้นที่และระบบนิเวศ • สร้างกลไกการด�ำเนินงานร่วมกับชุมชน โดยเฉพาะกลุม่ เปราะบาง ได้เข้าไปมีสว่ นร่วมในกระบวนการการตัดสิน ใจก�ำหนดนโยบายและแผนการพัฒนาซึง่ เล็งเห็นว่าอาจ ส่งผลเชิงลบต่อกระบวนการปรับตัวของชุมชน • ใช้ขอ้ มูลการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศในการก�ำหนด แผน และผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในทุกระดับ • ก� ำ หนดกลไกด้ า นกฎหมาย ระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ ให้อ�ำนวยความสะดวกและสนับสนุนการบริหารจัดการ ทรัพยากรร่วมกันระหว่างชุมชนและรัฐ โดยเฉพาะ ประเด็นกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการแย่งชิงทรัพยากร • เอือ้ อ�ำนวยให้กลไกระดับท้องถิน่ สร้างกติการะดับชุมชน เพือ่ เอือ้ ให้การด�ำเนินการปรับตัวทัง้ ในระดับชุมชน ระดับ ท้องถิ่น ครอบคลุมด้านการกระจายอ�ำนาจ สิทธิชุมชน ในการจัดการทรัพยากรตามรัฐธรรมนูญ กระบวนการในการปรับตัวของชุมชนขึ้นอยู่กับบริบทภูมิทัศน์วัฒนธรรมและ ฐานทรัพยากรของแต่ละระบบนิเวศที่ชุมชนได้พึ่งพิงและใช้ประโยชน์เพื่อการด�ำรงชีวิต การรักษาพืน้ ทีผ่ ลิตอาหารและความหลากหลายของระบบนิเวศ จึงเป็นเกราะก�ำบังส�ำคัญ เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

25


ในการเพิม่ ขีดความสามารถในการปรับตัวของชุมชนต่อการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ชุมชนจึงควรมีสิทธิ หน้าที่ และอ�ำนาจในการตัดสินใจก�ำหนดทิศทางการดูแลรักษาและ ใช้ประโยชน์ทรัพยากร ภายในขอบเขตพื้นที่ของตนเอง โดยนโยบาย กฎหมาย และ ข้อบังคับที่มีอยู่จำ� เป็นต้องเอื้อและสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การตั้งรับปรับตัวของชุมชน เพื่อปลดล็อคและสร้างหลักประกันในการด�ำเนินงานของชุมชนให้มีความคงทนและ ยัง่ ยืน รวมทัง้ ควรสนับสนุนการสร้างข้อตกลงการท�ำงานระดับพืน้ ทีร่ ะหว่างรัฐและชุมชน เช่น การบริหารจัดการป่าชายเลน การก�ำหนดพืน้ ทีท่ เี่ ป็นแหล่งอาหารของชุมชน เป็นต้น และที่ส�ำคัญควรจัดให้มีกระบวนการเรียนรู้ให้แกนน�ำ ผู้น�ำชุมชนรวมทั้งสมาชิกอื่นๆ เพื่ อ เรี ย นรู ้ ท� ำ ความเข้ า ใจเรื่ อ งกฎหมายและการตั้ ง รั บ ปรั บ ตั ว ต่ อ การเปลี่ ย นแปลง สภาพภูมิอากาศ ผู้เกี่ยวข้องทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ ต้องท�ำให้มั่นใจได้ว่ามีการปฏิบัติ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในการสนับสนุนสิทธิการจัดการทรัพยากรของชุมชน การปรับ กรอบกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการบริหารจัดการร่วมระหว่างชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานราชการในพื้นที่ โดยเฉพาะประเด็นการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน และ การจัดการภัยพิบัติที่มีพื้นที่เป็นฐาน และควรสนับสนุนให้มกี ารใช้ขอ้ มูลการเปลีย่ นแปลง สภาพภูมิอากาศในการก� ำหนดแผน และผังการใช้ประโยชน์ที่ดินในทุกระดับ และ ควรควบคุมโครงการพัฒนาทีส่ ง่ ผลกระทบเชิงลบ หรือท�ำลายความสามารถและศักยภาพ ในการตั้งรับปรับตัวของชุมชน กลไกในระดับท้องถิน่ ร่วมกันพัฒนาเทศบัญญัติ ข้อบัญญัตทิ อ้ งถิน่ เพือ่ เป็นกลไก ในการสร้างข้อตกลงร่วมการดูแลฐานทรัพยากรของต�ำบล บนฐานคิดเรื่องสิทธิชุมชน มีแผนงาน กลไกการท�ำงาน การติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ เป็นการสร้างกติกา ของชุมชนเพื่อเอื้อให้การด�ำเนินการปรับตัว ครอบคลุมด้านการกระจายอ�ำนาจ และสิทธิ ชุมชนในการจัดการทรัพยากร

26

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


กลไกระดับชุมชน สร้างธรรมนูญท้องถิ่นในการตั้งรับปรับตัว การลดความเสี่ยง จากภัยพิบัติ และมีการก�ำหนดระยะเวลาปฏิบัติงาน โดยเป็นกระบวนการออกธรรมนูญ ร่วมกับชุมชน มีแนวทางปฏิบัติ และการด�ำเนินงานติดตามร่วมกัน

กองทุน: กลไกการหนุนเสริมทางการเงิน • ก�ำหนดให้ไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 20 ของกองทุนสิง่ แวดล้อม เป็นสัดส่วนทีจ่ ะจัดสรรไปเพือ่ สนับสนุนการตัง้ รับปรับตัว ของชุมชน โดยลดทอนกระบวนการที่ซับซ้อนยุ่งยาก แต่มีการก�ำหนดหลักเกณฑ์ ตัวชี้วัดที่ชัดเจน และมี ความสม�่ำเสมอในการให้ทุน • ปรับให้กองทุนเยียวยาภัยพิบตั มิ เี ป้าประสงค์และสัดส่วน ที่ ส นั บ สนุ น การเตรี ย มพร้ อ มรั บ มื อ ภั ย พิ บั ติ โดยใช้ เป็ น แหล่ ง เงิ น ทุ น ในการสนั บ สนุ น การเตรี ย มพร้ อ ม และเยียวยาภัยพิบัติในระดับพื้นที่ • ก�ำหนดแนวทางการวางกรอบนโยบายเพื่อให้เอื้อต่อ การผสมผสานการใช้เครือ่ งมือเชิงนโยบายและแหล่งทุน เช่น กลไกการผสมผสานเงินทุนจากหลายแหล่ง เพื่อ สร้างช่องทางสนับสนุนเงินทุนลงไปยังระดับปฏิบัติการ และให้ชมุ ชนสามารถเข้าถึงงบประมาณ ด้วยมาตราการ ที่โปร่งใส และเป็นธรรม

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

27


กลไกกองทุน เป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะท�ำให้เกิดการปฏิบัติการทันที เพื่อสนับสนุน ชุมชนที่มีการลงมือด�ำเนินงานการตั้งรับปรับตัวอยู่แล้ว เพื่อลดความเปราะบางต่อการ เปลี่ ย นแปลงสภาพภู มิ อากาศ โดยการสร้ า งศั ก ยภาพ และภู มิ คุ ้ ม กั น ให้ กั บ ชุ ม ชน การจั ด สรรงบประมาณตามระบบปกติเป็นหัวใจของการท�ำให้ มิ ติ การเปลี่ ย นแปลง สภาพภูมิอากาศและการตั้งรับปรับตัวเป็นกระแสหลักในนโยบายการพัฒนาประเทศ โดยผนวกแผนงานโครงการการตั้งรับปรับตัวเข้าสู่นโยบายรายสาขา และเปิดช่องทาง เข้าถึงงบประมาณในด้านต่างๆ ได้มากขึ้น โดยการปรับใช้โครงสร้างกลไกกองทุนที่มีอยู่เดิม ซึ่งก�ำหนดให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของกองทุนสิ่งแวดล้อม เป็นสัดส่วนที่จะจัดสรรไปเพื่อสนับสนุนการตั้งรับปรับตัว ของชุมชน และควรลดทอนกระบวนการขอรับทุนให้ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน สามารถเข้า ถึงโดยตรง แต่มีการก�ำหนดหลักเกณฑ์ และตัวชี้วัดที่ชัดเจน รวมทั้ง ควรปรับกองทุน เยียวยาภัยพิบัติให้มีเป้าประสงค์และสัดส่วนที่สนับสนุนการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ โดยใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการสนับสนุนการเตรียมพร้อมรับภัยพิบตั ิในระดับพืน้ ที่ เพือ่ ให้ เกิดความคล่องตัวในการด�ำเนินงานสร้างหลักประกันความมัน่ คงทางด้านอาชีพ ด้านการ ฟืน้ ฟูฐานทรัพยากร และด้านการส่งเสริมสวัสดิการต่างๆในชุมชน โดยมีระบบการติดตาม ประเมินผล การรายงาน การตรวจสอบการใช้งบประมาณ และประสิทธิผลที่เกิดขึ้น หรือ การวางระบบตัวชีว้ ดั ในการท�ำงานจากประสิทธิภาพและคุณภาพการใช้เงินทุนงบประมาณ องค์กรปกครองท้องถิน่ อาจใช้ชอ่ งทางการจัดสรรงบประมาณจากระบบภาษีรายได้ ของท้องถิน่ ร้อยละ10 หรือ เก็บภาษีจากภาคธุรกิจทีม่ กี จิ กรรมส่งผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม ในชุมชน และสร้างกลไกการด�ำเนินการของกองทุนระดับชุมชน นอกจากนี้ ควรมองหาเครื่องมือและกลไกใหม่ๆ ทางด้านการเงินการคลังเพื่อ สนับสนุนปฏิบัติการ กลไกและสถาบันที่มีอยู่ในประเทศเพื่อผสมผสานการสนับสนุนที่ มาจากองค์กรระหว่างประเทศ โดยเป็นกองทุนและระบบการบริหารจัดการที่สามารถ

28

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


ด�ำเนินการได้อย่างคล่องตัว เชื่อมโยงเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐ และภาคส่วนอื่นๆ การผสมผสานเงินทุนจากหลายแหล่งลงไปถึงพืน้ ทีท่ มี่ คี วามเสีย่ งและเปราะบาง และเพือ่ สนับสนุนชุมชนที่มีการลงมือตั้งรับปรับตัวอยู่แล้วให้มีศักยภาพมากขึ้น ในการเตรียม ความพร้อม และในการฟื้นฟูเยียวยาได้อย่างทันท่วงที

แรงจูงใจ: กลไกการสร้างแนวร่วม • ให้มีการพัฒนากลไกในระบบงบประมาณ เช่น ตัวชี้วัด การด�ำเนินงาน และ/หรือ มาตรการการเงินการคลัง เช่น การลดหย่อนภาษี เพือ่ สร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการลงทุนและสนับสนุน ชุมชนเพื่อการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ • ขยายแนวร่ ว มกลุ ่ ม ผู ้ ที่ จ ะเกี่ ย วข้ อ งกั บ การส่ ง เสริ ม การด� ำ เนิ น งานโครงการเพื่ อ การปรั บ ตั ว ของชุ ม ชน เพื่อสร้างเครือข่ายการท�ำงาน ด้วยกระบวนการการมี ส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

การสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการลงทุนและ สนับสนุนชุมชนเพือ่ การตัง้ รับปรับตัวต่อการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ผ่านการก�ำหนด มาตรการการเงินการคลัง เช่น การลดหย่อนภาษี รวมทั้ง การสื่อสารสู่สาธารณะ จูงใจ เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

29


ให้ภาคเอกชนสนับสนุนงบประมาณ CSR (Corporate Social Responsibility) ในการ ศึกษาวิจยั และการด�ำเนินงานเพือ่ ส่งเสริม และสนับสนุนแผนการตัง้ รับปรับตัวของชุมชน ในการลดความเปราะบาง และสร้างภูมิคุ้มกันจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ เพื่อให้เกิดการสนับสนุนอย่างตรงเป้าหมาย และมีความต่อเนื่อง นอกจากนี้ ควรมีแนวทางสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนพัฒนาระบบประกันภัยต่างๆ เพือ่ เป็นกลไกการ บริหารจัดการความเสี่ยงให้กับชุมชน และควรมีการสร้างแรงจูงใจผ่านกลไกงบประมาณ ของหน่วยงานระดับภูมิภาคในการพัฒนาแผน และด�ำเนินงานด้านการปรับตัว โดยมี ความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการความเสี่ยงเป็นตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ การขยายขอบเขตเครือข่ายความร่วมมือในการด�ำเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับ แผนการด�ำเนินงานการตั้งรับปรับตัวของชุมชน เช่น เครือข่ายการเรียนรู้ ภาคเอกชน ร่วมกับชุมชนเพื่อจัดเวทีประสานความร่วมมือหรือวางแผนการท�ำกิจกรรมด้วยกัน เช่น การออกกฎกติกาการเสริมสร้างอาชีพให้ชุมชนโดยไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความ เกื้อกูลและหนุนเสริมร่วมกัน

30

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


จุดเริ่มต้น... “เป็ น ข้ อ เสนอที่ ดี แ ละถู ก ต้ อ ง ทั้ ง ยั ง มี ความสอดคล้ อ งกั บ ทิ ศ ทาง และกรอบแนวทางตามแผนแม่บทฯ ในเรื่ อ งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ประเด็ น การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ..... กระทรวงมีแนวคิดที่ตรงกับภาคประชาชน ในการที่จะให้ประเด็น “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” เป็นวาระแห่งชาติ ดังนั้นเราจึงควรที่จะผลักดันเรื่องนี้ไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อน ของทั้ ง ทางภาครั ฐ และของชุ ม ชน และทางส�ำ นั ก งานได้ ด� ำ เนิ น การไป ในทิศทางเดียวกันอยู่แล้ว” ประเสริฐ ศิรินภาพร ผู้อ�ำนวยการส�ำนักประสานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ส�ำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ซึง่ เป็นหน่วยงานหลัก ได้ให้ความเห็นว่าแนวทางหนึ่งที่สามารถด�ำเนินการได้ในพื้นที่ คือ 1) การผลักดันให้ท้องถิ่นจัดท�ำแผนการปรับตัวและรับมือกับผลกระทบจากการ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ซึง่ จะต้องร่วมกันก�ำหนดวิสยั ทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนา เมืองและชุมชนท้องถิ่นที่มีแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับปัจจัยทางภูมิอากาศ 2) การด�ำเนินการในแนวระนาบ บูรณาการการท�ำงานพื้นที่เชื่อมโยงหน่วยงาน ราชการต่างๆ ชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งภาคเอกชน กรณีชุมชนชายฝั่งจะท�ำให้เราสามารถ เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

31


ทราบโจทย์ ปัญหาและน�ำไปสู่การก�ำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน เพื่อให้เกิดการ ด�ำเนินงานของทุกภาคส่วนในระดับจังหวัด 3) ส�ำนักนโยบายและแผนฯ ได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการน�ำร่อง การบริหารจัดการทรัพยากรและสิง่ แวดล้อม เพือ่ รองรับการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ระดับจังหวัด ประชาชนสามารถประสานงานและขอข้อมูล ร่วมมือเพือ่ ด�ำเนินกิจกรรมได้ ผู ้ แ ทนส� ำ นั ก นโยบายและแผนฯ ได้ ใ ห้ ความเห็ นว่ า ข้ อ เสนอ 6 ข้ อ ของ ภาคประชาชน มีความสอดคล้องกับแนวคิด สาระส�ำคัญ และกรอบแนวทางตามแผน แม่บทฯในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมีแนวคิดที่ ตรงกับภาคประชาชนในการทีจ่ ะให้ประเด็น “การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ” เป็นวาระ แห่งชาติ เป็นหน้าทีค่ วามรับผิดชอบของทุกคน โดยกระทรวงจะใช้แผนแม่บทฯ เป็นกลไก ในการที่ จ ะได้ ห ารื อ กั บส� ำ นักงบประมาณ ทุกภาคส่ว นต้ อ งมี ส ่ ว นร่ ว มในการแปลง แผนแม่บทฯ ของกระทรวง และข้อเสนอเชิงนโยบายของภาคประชาชนไปสู่การปฏิบัติ ร่วมกัน ควรผลักดันเรื่องนี้ไปพร้อมๆกัน เพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนของทั้งทางภาครัฐ และของชุมชน

32

เอกสารทางเลือกเชิงนโยบาย การสนับสนุนชุมชนชายฝั่งตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.