socialbook2

Page 1

ฉบับที่. 02 ปีที่ 01 กรกฎาคม 2015/2558

จุลสารราย 4 เดือน ของ ฝ่ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

“ที่ใดที่ไม่ให้เกียรติผู้สูงอายุ ที่นั่นก็ไม่มีอนาคตให้กับเยาวชนลูกหลานของตน”

“บุตรที่ ให้เกียรติบิดา จะมีอายุยืน บุตรที่เชื่อฟังพระเจ้า จะทำให้มารดาชื่นใจ” (บสร 3: 3-7, 14-17ก)

โป๊ปฟรังซิส : “ทรงชี้พวกลูกหลานที่ ไม่ดูแลพ่อแม่ ไม่ดูแลปู่ย่า สังคมผู้สูงอายุ ตายาย การทอดทิ้งผู้สูงอายุแบบนี้ถือเป็นบาปหนัก ทรงเตือนหาก เมื่อประเทศใดมีประชากร เราไม่เคารพและไม่ดูแลผู้สูงอายุ แก่ตัวไปเราก็จะถูกปฏิบัติแบบนั้น เช่นกัน ทรงย้ำที่ ใดที่ ไม่ ให้เกียรติผู้สูงอายุ ที่นั่นก็ ไม่มีอนาคตให้กับ อายุ 60 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 10 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ เยาวชนลูกหลานของตน” 7 ของประชากรทั้งหมด ถือว่า ช่วงสายวันพุธที่ 4 มีนาคม สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงออก มาเทศน์สอนและพบสัตบุรุษกว่า 50,000 คน ในการเข้าเฝ้าทั่วไป ณ ลานหน้ามหา วิหารนักบุญเปโตร วาติกัน พระสันตะปาปายังคงเทศน์เรื่องเกี่ยวกับครอบครัว เหมือนเช่นเดิม เพราะเดือนตุลาคมนี้จะมีการประชุมสมัชชาพระสังฆราชคาทอลิก อ่านต่อ, หน้า. 4

สารบัญ

• ชีวิตกับการทำงานเพื่อผู้สูงอายุ โดย คุณพ่อธนันชัย กิจสมัคร

2

• ชีวิตที่ขอทำงานเพื่อพระ ของคุณรัชนี เยาวสังข์

8-9

• บทเทศน์พระสันตะปาปา

4

• ชีวิตเพื่อรับใช้ัพระในบ้าน ของคุณอมร สามิภักดิ์

10-11

• สังคมผู้สูงอายุ

จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

5-7

• สรุปรายงานกิจกรรมแผนกต่างๆ 12-16 ในฝ่ายสังคมฯ (ม.ค.-มี.ค.58) ฉบับที่ 2

ประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูง อายุ (Aging Society) และจะเป็น สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เมื่อสัดส่วนดังกล่าว เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 และร้อยละ 14 ตามลำดับ ประชากรโลกจะเพิ่มจาก 6,705 ล้านคน ในปี 2551 เป็น 8,000 ล้านคนในปี 2568 และ 9,352 ล้านคนในปี 2593 โลก โดยรวมก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ ปี 2548 และจะเป็นสังคมผู้ สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี 2583 อ่านต่อ, หน้า. 5 1


ชีวิตกับการทำงานเพื่อผู้สูงอายุ คุณพ่อธนันชัย กิจสมัคร

ผู้จัดการแผนกอภิบาลผู้สูงอายุ อัครสงฆมณฑลกรุงเทพฯ

“พ่อถือว่าเป็นน้ำพระทัย ของพระที่มอบหมายงานชิ้นนี้ ให้พ่อทำ” งานแรกที่ทำคือกำหนดพันธกิจของแผนกอภิบาล ผู้สูงอายุว่ามีอะไรบ้าง ได้กำหนดออกมาได้ 5 ประการดังนี้ 1. จั ด ตั ้ ง คณะกรรมการผู ้ ส ู ง อายุ ร ะดั บ อั ค รสั ง ฆมณฑล, ระดับเขต และระดับวัด 2. สนับสนุนให้มีการประชุมคณะกรรมการระดับสังฆมณฑล และระดับเขต 2 เดือน/ครั้ง 3. สนับสนุนให้ทุกวัดมีกลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุ และมีกิจกรรม อย่างต่อเนื่อง 4. จัดให้มีงานชุมนุมผู้สูงอายุในระดับสังฆมณฑลปีละ 1 ครั้ง ก่อนอื่นขอเท้าความเป็นมาเป็น ไปเกี่ยวกับ โดยหมุนเวียนไปตามเขต ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ ตัวพ่อสักเล็กน้อย ว่าเข้ามาทำงานผู้สูงอายุ ได้อย่างไร 5. จัดหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานกับผู้สูงอายุให้ ในปี ค.ศ. 2004 ได้รับแต่งตั้งจากพระ กับคณะกรรมการทุกระดับ คาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ให้ ไปรับตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดนักบุญอันเดร บางภาษี และวัดนักบุญมัทธิว กำแพงแสน จ.นครปฐม ในเวลาเดียวกันก็ ได้รับแต่งตั้ง จากคณะกรรมการบริ ห ารอั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ ซึ่งในขณะนั้น คุณพ่อยอแซฟ จำเนียร กิจเจริญ เป็น ประธานคณะกรรมการบริหาร ได้มอบหมายให้พ่อเป็น หั ว หน้ า แผนกงานอภิ บ าลผู ้ ส ู ง อายุ ข องอั ค รสั ง ฆ มณฑลกรุงเทพฯ ด้วย โดยที่ ไม่มีการถามไถ่เลยว่า พ่อรับงานนี้ ได้ ไหม อยู่ๆ ก็แต่งตั้งให้ทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งสังกัดอยู่ ในฝ่ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ พ่อ ถือว่าเป็นน้ำพระทัยของพระที่มอบหมายงานชิ้นนี้ ให้พ่อ ทำ พ่อรับงานแผนกอภิบาลผู้สูงอายุมาทำโดยที่ ไม่มี จากนั้นได้เรียกประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุระดับ ความรู้เกี่ยวกับงานด้านผู้สูงอายุเลยทำเรื่อยมาถึงปัจจุบัน สังฆมณฑลมาร่วมประชุมเพื่อวางโครงการจัดทำงบประมาณ รวมทั้งงานที่ต้องดำเนินการในแต่ละปี ซึ่งในปีหน้านี้อัคร สังฆมณฑลกรุงเทพฯ จะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานชุมนุม ผู้สูงอายุระดับชาติ ยังไม่ ได้กำหนดว่าจะใช้สถานที่แห่งไหน จัดงานเพียงแต่มองๆ กันอยู่

จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ฉบับที่ 2

2


งานอภิบาลผู้สูงอายุจะไปอยู่ ในสนามงานเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือ ตามวัดและเขต บางวัดได้จัดกิจกรรมให้กับผู้ สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ อาทิเช่น ฝึกให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลัง กายด้วยการใช้ ไม้ตะบอง รำมวยจีน เชิญผู้ที่ทำงานเกี่ยว กับผู้สูงอายุมาให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพ

เชิญพระสงฆ์มาพูดให้กำลังใจทางด้านจิตใจ มี โอกาสรับศีล อภัยบาปร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ ที่สุด รับประทานอาหาร เที่ยงร่วมกัน กิจกรรมส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมง่ายๆ ในระดับเขต มีการประชุมกรรมการผู้สูงอายุในเขตอย่างสม่ำ เสมอ มีการจัดงานชุมนุมผู้สูงอายุในระดับเขตอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง มีการจัดฟื้นฟูจิตใจแสวงบุญแก่คณะกรรมการ ผู้สูงอายุในระดับเขต มีการมอบเกียรติบัตรแก่ผู้สูงอายุที่มี อายุตั้งแต่ 96 ปีขึ้นไป โดยพ่อจะเป็นผู้ ไปมอบเอง

ก่อนจบขอฝาก “ชรากถา น่าคิด” โดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ (ขณะอายุ 74 ปี)

กฏของการใช้ชีวิตในวัยทองอย่างมีความสุข 1. อาศัยอยู่ ในบ้านของตัวเองอย่างเป็นส่วนตัว และเป็นอิสระ 2. ถือครองเงินฝากธนาคารและทรัพย์ ไว้กับ ตัวเอง 3. อย่าไปคาดหวังว่าลูกเต้าจะดูแลตอนแก่ 4. หาเพื่อนเพิ่ม คบทุกวัย 5. อย่าเปรียบตัวเองกับคนอื่น 6. อย่าไปยุ่งวุ่นวายกับชีวิตลูก 7. อย่าเอาความชรามาเป็นข้ออ้าง เพื่อเรียกร้อง ความเคารพนับถือและความสนใจ 8. ให้ฟังเสียงผู้อื่น แต่ ให้วิเคราะห์และปฏิบัติ ตามที่คิดอย่างอิสระ 9. ให้สวดมนต์แต่อย่าร้องขอจากพระ 10. ข้อสุดท้าย “อย่าเพิ่งตาย”

หลังจากที่ ได้ทำงานกับผู้สูงอายุมายาวนานพอสมควร สิ่งที่พ่อได้รับคือ ความสุขใจที่ ได้ทำงานเพื่อผู้สูงอายุ ได้เห็นภาพของผู้สูงอายุที่ ในมือมีสายประคำ ปากสวด ภาวนาโดยไม่หยุดหย่อน ผู้สูงอายุสวดภาวนาให้พ่อ เป็น กำลังใจให้พ่อในการทำงาน เพียงแค่นี้พ่อก็สุขใจแล้ว.

จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ฉบับที่ 2

3


(ต่อจากหน้า 1 บทเทศน์พระสันตะปาปา)

“พ่อขอเล่าประสบการณ์ ตอนที่พ่อเป็นพระอัครสังฆ ราชอยู่ที่บัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ทุกครั้งที่พ่อ พ่อมักจะหยุดพูดคุยกับผู้สูงอายุที่ เรื่องครอบครัว พระองค์จึงอยากเน้นเรื่องบทบาทของ ไปเยี่ยมบ้านคนชรา สมาชิกครอบครัวให้ทุกคนได้ตระหนัก โดยวันนี้พระองค์ทรง นั่น และสอบถามว่า ลูกๆ ของพวกท่านทำอะไรกันอยู่ ลูกๆ มาเยี่ยมบ้างหรือเปล่า คำตอบที่พ่อได้รับคือ เน้นเรื่องของ “ปู่ย่าตายาย และผู้สูงอายุในครอบครัว ‘ลูกของฉันสบายดี เขามาเยี่ยมเป็นประจำ’ พ่อจึงถามต่อไปว่า ครั้งสุดท้ายที่ลูกของท่านมาเยี่ยมนั้นเมื่อไหร่กัน ผู้สูงอายุท่านนั้น ตอบพ่อว่า ‘ช่วงคริสต์มาส’ แต่ตอนที่พ่อคุยกับผู้สูงอายุท่านนี้ มันเดือนสิงหาคมแล้วนะ เท่ากับว่า 8 เดือนที่ผ่านมา ลูกของ ท่านไม่มาเยี่ยมเลย! การทำแบบนี้ถือเป็นบาปหนักเลยนะ”

พระสันตะปาปา ตรัสว่า “โลกเราทุกวันนี้ มนุษย์มีชีวิตและมีอายุที่ยืนยาวขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่พ่อ อยากกล่าวถึงก็คือ หลายคนขาดความเคารพและตระหนัก ถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ และศักดิ์ศรีในตัวพวกท่านเหล่านั้น พ่อขอนำพระดำรัสที่สมเด็จพระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 เคยกล่าวไว้ มาเตือนใจทุกคน พระองค์ตรัสว่า ‘คุณภาพของ สังคมซึ่งหมายถึงอารยธรรมต่างๆ จะถูกตัดสินด้วยวิธีการ ที่สังคมนั้นดูแลผู้สูงอายุและด้วยสถานที่ที่พวกเขาจัดหาให้ “นี่คือบาปหนัก (Mortal Sin) ที่ไม่สนใจผู้สูงอายุ พวก ผู้สูงอายุได้อาศัยในสังคม’ พ่อไตร่ตรองแล้ว พระดำรัสนี้คือ ความจริงทุกประการ การให้ความสำคัญเอาใจใส่ต่อ ท่านเหล่านั้นไม่ใช่มนุษย์ต่างดาว สักวันหนึ่งไม่ช้าก็เร็ว พวก ผู้สูงอายุ คือสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้ภายในอารยธรรม เราก็จะเป็นเหมือนพวกเขา พวกเราจะเป็นแบบพวกเขาแบบ เลี่ยงไม่ได้แน่นอน แม้ในตอนนี้เรายังไม่อยากจะคิด ก็ตาม นั้นๆ” ถ้าเราไม่เรียนรู้ที่ดูแลและเคารพศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ พวกเรา ก็จะถูกปฏิบัติแบบที่พวกท่านเหล่านั้นถูกกระทำเช่นกัน” “ด้วยเหตุนี้ พ่ออยากเรียกร้องไปยังทุกคน ช่วยกันเอา ใจใส่ผู้สูงอายุที่กำลังเจ็บป่วยหรือถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว พวกเขาต้องการการเอาใจใส่และการดูแลจากเรา อย่ามอง พวกท่านเป็นภาระเด็ดขาด พระคัมภีร์ก็กล่าวไว้ว่า ผู้สูงอายุ คือคลังปัญญาของสังคม” “พระศาสนจักรจะเดินเคียงข้างผู้สูงอายุด้วยความ สำนึกในพระคุณและความรักที่ท่านเหล่านั้นมีให้ พระศาสน จักรจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่า ตนเองได้รับการยอมรับและ เป็นส่วนหนึ่งของสังคม พระศาสนจักรไม่สามารถยอมรับ ความเสื่อมทรามทางศีลธรรม อาทิ การทอดทิ้งผู้สูงอายุ และปล่อยให้พวกเขา กลายเป็นส่วนเกินของสังคม ที่ใดที่ไม่ ให้เกียรติผู้สูงอายุ ที่นั่นก็ไม่มีอนาคตให้กับเยาวชนลูกหลาน ของตน” พระสันตะปาปา ตรัสปิดท้าย จาก www.popereport.com

จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ฉบับที่ 2

4


เราจะเตรียมรับมือกันอย่างไร? .....สังคมผู้สูงอาย (...ต่อจากหน้า 1) ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ก็ให้คำนิยามไว้ว่าผู้สูงอายุคือผู้ที่มีอายุ . ประชากรของประเทศไทยจะเพิม่ จาก 66.48 ล้านคนใน 60 ปีขึ้นไป ปี 2551 เป็น 70.65 ล้านคนในปี 2568 แล้วจะเริม่ ลดลงเป็น การเปลีย่ นแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุ 70.63 ล้านคนในปี 2573 ประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 เป็นประเด็นทีไ่ ด้รบั ความสนใจมาก ทัง้ ในระดับชาติและในระดับ ปี) จะลดลงจาก 15.95 ล้านคนในปี 2533 เป็น 9.54 โลก เพราะมีผลกระทบอย่างกว้างขวางทัง้ ในระดับมหภาค ได้แก่ ล้านคนในปี 2573 ขณะที่ประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 ผลต่อผลผลิตรวมของประเทศ (GDP) รายได้ตอ่ หัวของประชากร ปีขึ้นไป) จะเพิ่มขึ้นจาก 4.02 ล้านคน เป็น 17.74 ล้านคน การออมและการลงทุน งบประมาณของรัฐบาล การจ้างงาน ในช่วงเดียวกัน และผลิตภาพของแรงงาน และในระดับจุลภาค ได้แก่ ผลต่อตลาด ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2547 ผลิตภัณฑ์และบริการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการเงินและ และจะเป็นสังคมผูส้ งู อายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567 หรืออีก 15 ด้านสุขภาพ การเตรียมพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ปีข้างหน้า ต้องเริ่มตั้งแต่บัดนี้ เพราะมาตรการเกือบทุกอย่างล้วนต้องใช้ การเปลีย่ นแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู เวลาในการดำเนินการทั้งสิ้น อายุมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับมหภาค ได้แก่ ผลต่อ GDP รายได้ต่อหัวประชากร การออม การลงทุน งบ ประมาณของรัฐบาลและการคลัง ผลิตภาพแรงงานและการ จ้างงาน และในระดับจุลภาคได้แก่ ผลต่อตลาดผลิตภัณฑ์และ บริการด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพ ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อม ทั้งด้านบุคลากรและระบบ โดยจะต้องเร่งดำเนินการดังนี้ - ปรับปรุงฐานข้อมูลเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้ทันสมัย - สร้างหลักประกันด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล - สนับสนุนการดูแลระยะยาว และแก้ปัญหาการขาด แคลนผู้ดูแล - สร้างหลักประกันด้านรายได้และส่งเสริมการออมเพือ่ วัยหลังเกษียณ - ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุและขยายกำหนด การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทย การเกษียณอายุ สำนั ก งานคณะกรรมการพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ - สร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบครอบครัวและชุมชน และสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าประชากรของไทยจะเพิ่ม ขึ้นจาก 66.48 ล้านคนในปี 2551 เป็น 70.65 ล้านคนในปี การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเป็นผลจาก 2568 และจะค่อย ๆ ลดลง (DePoPulAtion) เป็น 70.63 ความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ และความเจริญก้าว ล้านคนในปี 2573 จำนวนประชากรวัยเด็ก (อายุ 0-14 ปี) หน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะสาขา จะลดลงอย่างสม่ำเสมอจาก 15.95 ล้านคนในปี 2533 เหลือเพียง การแพทย์และสาธารณสุข ทำให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น 9.54 ล้านคนในปี 2573 ขณะที่อัตราการเกิดลดลง สัดส่วนของผู้สูงอายุจึงมากขึ้น เมื่อคิดเป็นสัดส่วนจะลดลงจากร้อยละ 29.23 เป็นลำดับ เหลือเพียงร้อยละ 13.50 ประชากรวัยทำงาน (อายุ 15-59 ปี) ตามนิยามของสหประชาชาติ เมื่อประเทศใดมี จะเพิ่มจาก 34.59 ล้านคนในปี 2533 เป็น 46.34 ล้านคนในปี ประชากรอายุ 60 ปีขน้ึ ไป เป็นสัดส่วนเกินร้อยละ 10 หรืออายุ 2560 จากนั้นจะลดลงเป็นลำดับ เหลือ 43.35 ล้านคนในปี 65 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้า 2573 เมื่อคิดเป็นสัดส่วนจะเพิ่มจากร้อยละ 63.40 เป็นร้อยละ สู่สังคมผู้สูงอายุ (AGinG Society) และจะเป็นสังคม 67.67 แล้วลดลงเป็นร้อยละ 61.38 ผูส้ งู อายุโดยสมบูรณ์ (AGeD Society) เมือ่ สัดส่วนดังกล่าว ส่วนประชากรวัยสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 และ 14 ตามลำดับ สำหรับประเทศ จะเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าจาก 4.02 ล้านคนในปี 2533 เป็น 17.74 ไทยเกณฑ์การเกษียณอายุโดยทั่วไปคือ 60 ปี และใน พรบ. ล้านคนในปี 2573 เมื่อคิดเป็นสัดส่วนจะเพิ่มจากร้อยละ 7.36 เป็นร้อยละ 25.12 และตามนิยามของสังคมผูส้ งู อายุ ประเทศไทย จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ฉบับที่ 2

5


เริ่มก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในปี 2547 เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 และจะเป็นสังคม ผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567 หรืออีก 15 ปีข้างหน้า เมื่อประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 20 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิงหรือภาระโดยรวมที่ประชากร วัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมี จำนวนเพิ่มขึ้น โดยที่ยังมิได้คำนึงถึงเรื่องค่าใช้จ่ายใน การเลี้ยงดูซึ่งสูงขึ้นตามอายุ อัตราส่วนภาระพึ่งพิงของ ประชากรวัยเด็ก ลดลงจากร้อยละ 46.11 ในปี 2533 เหลือร้อยละ 21.99 ในปี 2573 ขณะที่อัตราส่วนภาระ พึ่งพิงของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.61 เป็นร้อยละ 40.93 ในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้อัตราส่วน ภาระพึ่งพิงรวมลดลงจากร้อยละ 57.72 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 47.78 ในปี 2554 จากนั้นจะเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว เป็นร้อยละ 62.92 ในปี 2573

เป็นร้อยละ 15.3 ในปี 2550 โดยความพิการที่พบมาก คือ สายตาเลือนรางทั้งสองข้าง หูตึงสองข้าง และอัมพฤกษ์ ด้านสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ผู้สูงอายุได้รับ สวัสดิการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สูงถึงร้อยละ 97 ผู้สูงอายุส่วน ใหญ่มีสวัสดิการค่ารักษาประเภทบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง รองลงมาเป็นสวัสดิการข้าราชการและพนักงาน รัฐวิสาหกิจ ส่วนสวัสดิการที่จัดโดยนายจ้างมีน้อย ด้านการทำงาน ผูส้ งู อายุมแี นวโน้มเข้ามามีสว่ นร่วม ในกำลังแรงงานมากขึน้ โดยร้อยละ 51.0 ให้เหตุผลว่าต้องทำงาน เพือ่ เลีย้ งตนเองและครอบครัว ร้อยละ 36.5 เห็นว่าตนยังแข็งแรง ทำงานได้ อีกร้อยละ 12.5 ต้องส่งเสียบุตร เป็นอาชีพประจำไม่มี ผู้ทำแทน และมีหนี้สิน แหล่งรายได้หลักในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ คือ บุตร ร้อยละ 52.3 รายได้จากการทำงานของผู้สูงอายุเอง ร้อยละ 28.9 คู่สมรส ร้อยละ 6.1 เงินบำเหน็จบำนาญ ร้อยละ 4.4 ส่วนในด้านการออมพบว่า ผู้สูงอายุมีการออมหรือสะสม เงินทองและทรัพย์สิน ร้อยละ 68.7 และไม่มีการออม ร้อยละ 31.3

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร

การที่ประชากรวัยทำงานจะลดลงตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป จะส่งผลให้ผลผลิตรวมของประเทศลดลง หากจะรักษา ปริมาณผลผลิตไว้ให้ได้ต้องเพิ่มผลิตภาพของแรงงานให้สูงขึ้น เพิ่มปัจจัยการผลิตอื่น ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น นำเข้าแรงงานมีฝีมือ จากต่างประเทศหรือขยายเกณฑ์การเกษียณอายุเป็น 65 ปี หรือ จากการสำรวจประชากรสูงอายุ โดยสำนัก 70 ปี การที่มีแรงงานใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานน้อยลง งานสถิติแห่งชาติ พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ถึงร้อย ละ 71.4 อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล อีกร้อยละ 28.6 ขณะที่แรงงานต้องรับภาระเลี้ยงดูผู้สูงอายุมากขึ้น อยู่ในเขตเทศบาล ร้อยละ 62.5 เป็นผู้ที่สมรส ร้อยละ จะส่งผลกระทบต่อการออม ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับ 34.8 เป็นม่าย หย่าหรือแยกกันอยู่ และอีกร้อยละ 2.7 ประเทศ ผู้เกษียณอายุเองไม่มีรายได้ต้องนำเงินออมออกมาใช้ เป็นโสด ด้านการศึกษา ผูส้ งู อายุสว่ นใหญ่คอื ร้อยละ 68.9 อีกประการหนึ่ง พ่อแม่รุ่นใหม่นิยมมีลูกน้อยลงหรือไม่มีเลย จึง เรียนจบชั้นประถมศึกษา มีเพียงร้อยละ 9.5 ที่เรียนจบสูง ไม่เห็นความจำเป็นต้องออมมาก ส่วนความต้องการลงทุนของ กว่าระดับประถมศึกษา อีกร้อยละ 21.6 ไม่เคยเรียนหนังสือ ประชาชนจะลดลงไปพร้อมกับการออมด้วย หรือจบต่ำกว่าชัน้ ประถมศึกษา อย่างไรก็ตาม ผูส้ งู อายุ 3 ใน 4 คน หรือร้อยละ 76.1 สามารถอ่านออกเขียนได้ ด้านผลกระทบต่องบประมาณของรัฐบาล เกิดจากค่า ใช้จา่ ยด้านสุขภาพทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็วจาก 25,315 ล้านบาทในปี ด้านสุขภาพ พบว่า กลุ่มโรคที่ผู้สูงอายุป่วย 2523 เป็น 434,974 ล้านบาทในปี 2548 หรือเพิ่มขึ้น 17.2 มาก 3 อันดับแรก คือ กลุ่มโรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เท่าในช่วง 25 ปี เฉพาะค่าใช้จ่ายของภาครัฐ เพิ่มจาก 7,576 กระดูกและข้อ กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ และกลุ่มโรค ล้านบาทเป็น 143,775 ล้านบาทในช่วงดังกล่าว หัวใจและหลอดเลือด ส่วนสาเหตุการตายของผู้สูงอายุที่ สำคัญ คือ โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และผลการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ นอกจากนี้ผู้สูงอายุ พบว่าในช่วง 10 ปีข้างหน้า (2553-2562) ภาระทางการคลัง ยังมีแนวโน้มพิการมากขึ้น จากร้อยละ 5.8 ในปี 2544 เฉพาะที่จะเกิดจากโครงการประกันสังคมและโครงการหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ มีจำนวนถึงปีละ 142,071-251,607 จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ฉบับที่ 2

6


ล้านบาท หรือร้อยละ 7.4-7.8 ของงบประมาณรายจ่าย • การดูแลระยะยาวและการแก้ปญ ั หาการขาดแคลนผูด้ แู ล ผล ประจำปี กระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทำให้รูปแบบและ ขนาดของครัวเรือนเปลีย่ นแปลงไป ขณะเดียวกันภาวะการเจ็บ ผลกระทบด้านแรงงานเกิดจากสมรรถนะทาง ป่วยและพิการของผู้สูงอายุก็มีมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาด้าน การดูแลระยะยาว และการขาดแคลนผู้ดูแล จึงมีการเสนอ กายภาพที่ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพใน การทำงานลดลง ผลิตภาพแรงงานสามารถเพิม่ ให้สงู ขึน้ ได้ ให้คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผูส้ งู อายุแห่งชาติ โดยการพัฒนาคุณภาพแรงงาน ทั้งโดยตรงผ่านการศึกษา เร่งจัดทำนโยบาย แผนการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านการ การฝึกอบรม การสร้างแรงจูงใจ และโดยผ่านการบริหาร ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นทางการ จัดการที่ดี รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพและความก้าว หน้าของเทคโนโลยี การขยายเวลาการเกษียณอายุออกไปก็ • การสร้างหลักประกันด้านรายได้ โดยส่งเสริมการออม เพื่อวัยหลังเกษียณ ผ่านเครื่องมือหรือระบบการออม ช่วยบรรเทาผลกระทบได้ ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาห กิจ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว การประกันชีวิต และกองทุน บำเหน็จบำนาญแห่งชาติ

เราจะเตรียมรับมือกันอย่างไร?

ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในอีกประมาณ 15 ปีข้างหน้า จึงมีเวลาค่อนข้างน้อยใน การเตรียมความพร้อม ทั้งด้านบุคลากรและระบบต่าง ๆ เพือ่ เสริมสร้างหลักประกันทางสังคมขัน้ พืน้ ฐานสำหรับผูส้ งู อายุโดยเฉพาะ มาตรการที่ต้องรีบดำเนินการมีดังต่อไปนี้

• การส่งเสริมการมีงานทำของผู้สูงอายุ รวมถึงการขยาย • การปรับปรุงฐานข้อมูลเกีย่ วกับผูส้ งู อายุให้ทนั สมัยเพือ่ ที่ เกณฑ์กำหนดเกษียณอายุจาก 60 ปี เป็น 65 ปี เพื่อให้ผู้สูง จะได้ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด และให้ความช่วยเหลือได้ อายุมรี ายได้และได้ใช้ประสบการณ์และศักยภาพอย่างเต็มที่ อย่างทั่วถึงและตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง รวมถึงเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้วย • การสร้างหลักประกันด้านสุขภาพ และการรักษา • การสร้างเสริมความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน เพือ่ ให้ พยาบาล ซึ่งยังมีปัญหาเรื่องโรงพยาบาลที่ให้เลือกใช้ สามารถดูแลปัญหาผู้สูงอายุได้ด้วยตัวเองให้มากที่สุด บริการมีจำกัด และไม่ค่อยได้รับความเชื่อถือด้านคุณ ภาพการบริการ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการส่งต่อ ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก ในกรณีฉุกเฉิน จึงเป็นหน้าที่ของรัฐในการปรับปรุงและ - มติชนออนไลน์ ควบคุมคุณภาพของโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทุก - ไพโรจน์ วงศ์วุฒิวัฒน์ แห่งให้ได้มาตรฐาน - โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ - อินเตอร์เน็ต

จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ฉบับที่ 2

7


ชีวิต...ที่ขอทำงานเพื่อพระ วันนีเ้ รามีนดั พูดคุยกับผูส้ งู อายุทา่ นหนึง่ ที่ ไม่ปล่อย เวลาหลังเกษียณทิ้งไปอย่างไร้ความหมาย หากแต่ยังคงใช้ ชีวิตอย่างสนุก มีความสุข กระตือรือร้นกับกิจกรรมและงาน จิตอาสาต่างๆ ที่ทำ ดูได้จากดวงตาที่เปล่งประกายระยิบ ระยับและท่าทางที่กระฉับกระเฉง จนเราแทบไม่เชื่อว่าท่าน ผูม้ อี ายุยา่ งเข้า 70 ปีแล้ว คุณรัชนี เยาวสังข์ หรือ ครูเอีย้ ง คือบุคคลที่เรากำลังพูดถึง...

ชีวิตวัยเด็ก

ครูเอี้ยงเล่าว่า ท่านเป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำเนิด และล้างบาปที่วัดเซนต์ฟรังซิสเซเวียร์ สามเสน บ้านที่อยู่ ปัจจุบันเป็นบ้านที่สร้างขึ้นใหม่ เนื่องจากบ้านหลังเก่าถูกไฟ ไหม้ มีพน่ี อ้ ง 6 คน พีส่ าวคนโตเสียชีวติ ไปในช่วงทีค่ รอบครัว ย้ายตามป๋า(คุณพ่อของครูเอีย้ ง) ซึง่ ทำงานตรวจคนเข้าเมือง ไปประจำอยูท่ ่ี อ.สะเดา จ.สงขลา เนือ่ งจากโรงพยาบาล ที่นั่นไม่มียารักษาคอตีบ หลังจากนั้นครอบครัวก็ย้ายกลับมา อยู่กรุงเทพฯ จึงได้นำกระดูกของพี่สาวกลับมาฝังที่นี่ด้วย

ชีวิตที่ ใกล้ชิดสนิทกับพระ

“ชีวิตเกี่ยวข้องกับพระมาตลอด ตั้งแต่จำความได้ ป๋ากับแม่เป็นคนศรัทธามาก สมัยเด็กๆ ป๋าเป็นตำรวจตรวจ คนเข้าเมืองที่ อ.สะเดา จ.สงขลา ก็จะมีคุณพ่อฝรั่ง ถ้าจำ ไม่ผิดชื่อคุณพ่อออตตอรีน่าไปทำมิสซาที่บ้าน แล้วก็จะมีเณร ไปพักอยู่ด้วยเป็นประจำ มีเณรรุ่นที่ต่อมาบวชเป็นพระสงฆ์ คือ คุณพ่อลออ สังขรัตน์ ด้วย จำได้ว่าคุณพ่อยังพาครู ขี่คอเดินเล่นเลย อยู่ที่สงขลาได้ 4 ปี ป๋าก็ย้ายไป จ.หนองคาย บ้านพักนี้เป็นทั้งบ้านและสำนักงาน อยู่ตรงข้ามกับท่าเรือที่นี่ ได้พบกับคุณพ่อดูฮาร์ต(ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราช คลาเรนซ์ เจมส์ ดูฮาร์ต ประมุของค์แรกของสังฆมณฑล อุดรธานี) ซึ่งเป็นพระสงฆ์คณะพระมหาไถ่ จำได้ว่านั่งเล่น จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

อยู่ที่ริมแม่น้ำโขง เห็นมีฝรั่งมา ซึ่งคือคุณพ่อดูฮาร์ตและ คุณพ่อไดน่าไปตามหาบ้านคาทอลิกและได้ขอใช้ที่บ้านเป็นวัด ทุกเดือนคุณพ่อดูฮาร์ตและคุณพ่อไดน่าจะมาทำ มิสซาที่บ้าน คุณแม่ของครูก็เอาผ้าห่มสักหลาดของครูปูโต๊ะ ทำเป็นพระแท่น หน้าทีข่ องครูซง่ึ ตอนนัน้ อยูช่ น้ั ป.2 คือเวลา ประมาณตีห้าก็จะวิ่งไปตามริมโขง เพื่อชวนชาวบ้านมาร่วม มิสซาทีบ่ า้ น รูส้ กึ มีความสุขที่ ได้ทำ คุณแม่ ได้เห็นของในย่าม ของคุณพ่อไดน่า มีพวกข้าวเหนียว พริกแห้งและเกลือ ก็ถาม คุณพ่อไดน่าว่าคุณพ่อทานได้หรือ คุณพ่อบอกว่าก็มันไม่มี ก็ต้องกิน คุณแม่เลยจัดเตรียมอาหาร พวกขนมปัง สตู และอื่นๆ อีกหลายอย่าง ทุกครั้งที่คุณพ่อมาทำมิสซาก็จะ ได้อาหารเต็มย่ามกลับไป เวลาคุณพ่อทำมิสซาเสร็จก็ จะมารับประทานอาหาร ครูจะชอบไปแอบดู คุณแม่ก็จะดุ แต่กอ็ ยากรูว้ า่ คุณพ่อเค้ากินอย่างเรามัย้ คุณพ่อเห็นก็จะเรียก ไปนั่งตักและป้อนอาหารให้ แล้วห้ามไม่ ให้คุณแม่ดุ ก็รู้สึก ว่าตนเองรู้สึกผูกพันกับศาสนากับพระสงฆ์มาตลอด พอป๋าย้ายกลับมากรุงเทพฯ มีพี่สาวเข้า ร.ร.เซนต์ฟรังได้คนเดียว นอกนั้นอยู่ โยนออฟอาร์คกันหมด คุณพ่อตาปี(เจ้าวัดฟรังซิสเซเวียร์สามเสนในขณะนัน้ ) ถามว่า ใครอยากช่วยทำอะไรในวัดบ้าง ครูกอ็ าสาขอเป็นคนเช็ดพระ แท่น คุณพ่อก็อนุญาต เวลาเช็ดแท่นก็จะไปจ้องอยู่ตรงตู้ศีล รอว่าเมื่อไหร่พระเยซูจะออกมา จนคุณพ่อสงสัยเรียกไปถาม ก็บอกว่าอยากเห็นพระเยซู คุณพ่อก็บอกว่าพระเยซูออกมาแล้ว แต่หนูไม่เห็น คุณพ่อตาปีจะชอบเรียกเด็กที่เรียนคำสอนมาแล้ว แจกรูปพระ ครูมีเป็นปึกๆ เลย จะไปวัดทุกเช้า พอตีห้าครึ่ง วัดตีระฆัง ก็จะรีบยืนอยู่ที่ประตูทุกเช้า แข่งกันกับเพื่อน ว่าใครจะไปถึงก่อน สมัยนัน้ ในวันคริสต์มาสจะมีการแสดงในวัด มีการ ร้องเพลงเป็นภาษาญวน พวกผู้ ใหญ่ที่เป็นผู้ชายก็จะเล่นเป็น นายชุมพาบาล แล้วก็จะมีดาววิ่งในวัด มีฝรั่งมาเต็มวัดเลย พี่ ได้เป็นเทวดากลาง ป๋าก็จะทำปีกเทวดาให้ แล้วก็ ได้ร้อง เพลงภาษาญวน ทั้งๆ ที่แปลก็ ไม่ออกสักคำ แต่ก็ชอบร้อง”

ชีวิตทำงาน

เป็นครูสอนที่ ร.ร.เซนต์ฟรังฯ มา 35 ปีจนเกษียณ พอเกษียณแล้วอธิการดอมินิกขอให้ ไปสอนพระคัมภีร์เด็ก ระดับประถม ป.1-ป.6 เพราะถ้าให้ครูอื่นสอนต้องส่งไปอบรม แต่ครูเอี้ยงไม่ต้อง ครูสอนโดยการสร้างบทเรียนเป็น การ์ตูน เป็นใบงานมีนิทาน เด็กๆ ได้ระบายสี ซึ่งเด็กจะชอบ และอยากเรียนมาก เวลาครูเดินผ่านเด็กก็จะเรียกครูเอี้ยงๆ กันตลอด จนกระทรวงศึกษาเข้ามาตรวจ เพื่อนก็เอาใบงาน ของครูไปให้ตรวจ กระทรวงก็ชอบใจ รู้สึกเหนื่อย แต่ก็มีความสุขที่ ได้สอนพระ คัมภีร์ ในบั้นปลายชีวิต

ฉบับที่ 2

8


ตอนทำงานในโรงเรียนก็ถูกเลือก ให้เป็นประธานพลมารี ซึง่ หนักมาก ต้องหางานให้เขาทำ ต้องก่อสวด ต้องทำทุกเรือ่ ง รู้สึกภูมิใจ งานยิ่งหนัก เรายิ่งทำ พระก็ช่วยเราเอง พระก็ตอบแทนโดยอธิการ ให้ครูไปแสวงบุญที่ยุโรป 2 ครั้งกับทางโรงเรียน ไปโรม ไปฟาติมา ไปลูร์ด ไปหลายที่ เป็นรางวัลที่มีคุณค่าทางใจมาก

พอทำเสร็ จ ก็ ม านั ่ ง พั ก คุ ณ สุ พ รรณี ก ็ เ ข้ า มาบอกว่ า มาแอบดูครูเอี้ยงทำงาน ท่านก็ชมบอกว่าทำหน้าที่พลมารี ได้ดี มาก และเอาไปเล่าให้กับกลุ่มพลมารีฟัง ครูก็ทำไปจนกระทั่ง คุ ณ พ่ อ ท่ า นไม่ ไ หวแล้ ว ช่ ว งที ่ ใกล้ จ ะสิ ้ น ใจซึ ่ ง ตอนนั ้ น บราเดอร์กลับมาแล้ว คุณพ่อได้ขอให้ครูเอี้ยงร้องเพลงสักวัน ณ เมืองสวรรค์ ให้ฟัง ครูก็ร้องอยู่ข้างหูร้องเพลงไปร้องไห้ ไป จนกระทั่งท่านสิ้นใจ นี่คืองานพลมารีที่ครูรู้สึกภูมิใจ ผู ้ ส ู ง อายุ ท ี ่ ส ามเสนส่ ว นใหญ่ อ ายุ ค ่ อ นข้ า ง มาก ไม่ค่อยกล้าแสดงออก บอกให้เขาอ่านพระวาจา เขาก็จะไม่ยอมอ่าน เราต้องคอยกระตุ้น จะมีกิจกรรมทุกๆ เสาร์ทส่ี ามของเดือน แต่ชว่ งนีห้ ยุดไปบ้าง เนือ่ งจากมีงานซ้อนกัน คุณพ่อปรีชา รุจพิ งษ์ เป็นจิตตาธิการ ตอนนีง้ านผูส้ งู อายุของ วัดก็ ไปขึน้ อยูก่ บั ผูส้ งู อายุเขตแล้ว ผูส้ งู อายุเขตเคยมาประชุมที่ วัดสามเสน ก็ติดใจอยากมาอีก เพราะเราบริการเค้าเต็มที่ อีกเรือ่ งทีป่ ระทับใจคือเคยเป็นนักขับร้องของทางวัด คุณพ่อจำเนียร กิจเจริญ เป็นคนสอน ได้ ไปร้องเพลงออกทีวชี อ่ ง 4 บางขุนพรหม และได้เข้าร้องเพลงให้ ในหลวงฟังในวัง สวนจิตร ช่วงเทศกาลคริสตมาส จำได้ว่าใส่ชุดขาวเข้าไปเข้า ชีวิตหลังเกษียณทุ่มเททำงานเพื่อพระ แถว เป็นคนถือพานถวายเนื้อเพลงให้ท่านด้วย ตื่นเต้นมาก “หลั ง จากที ่ เ กษี ย ณออกมาก็ ย ั ง งงๆ อยู ่ จนกรมวังต้องมาบอกว่า หนูไม่ต้องตื่นเต้น พอเห็นท่านออกมา รู้สึกแปลกๆ เพราะเราเคยทำงาน แต่ก็ ไม่นาน เพราะงาน ใจก็เต้นแรงมาก ดี ใจและภูมิใจมาก” สภาภิบาลวัดนีเ้ ยอะมาก ก็ทำจนบางที ไม่ ได้นอน ก็เลยลืม ไม่รสู้ กึ เหงาอีก ครูเป็นคนไม่ทอ้ สูง้ าน ทำอะไรต้องให้สำเร็จ คิดจะทำงานแบบนี้ต่อไปอีกนานเท่าไร เป็นคนตรงๆ มีปัญหาอะไรก็จะพูดกับคุณพ่อพระสงฆ์ตรงๆ “ก็ทำไปเรื่อยๆ คงทำจนไปอยู่ศาลาสันติสุข ไม่ชอบก็บอกไม่ชอบ ไม่ดีก็บอกไม่ดี ”(หัวเราะ) คุณหมอก็จะดุบ้าง เพราะครูเป็นเบาหวาน ปัจจุบันงานที่ทำก็มีงานสภาภิบาล เป็นมา 12 แต่เป็นคนทำอะไรเร็ว เดินเร็ว ใจอยากทำ แต่สงั ขารไม่คอ่ ยอำนวย ปีแล้ว ตั้งแต่สมัยคุณพยุง, คุณชนะ, คุณพัชรีปาน แล้วก็ พีจ่ ะ 70 แล้ว เกิด 26 มี.ค.2488 ก็จะคิดว่านีเ่ ราขึน้ เลขเจ็ดแล้ว คุณประไพ(เป็นคุณอาของคุณรัชนี)ก็เป็นเลขาฯ มาตลอด เหรอ แต่ก็จะเฉยๆ คนจะทายอายุไม่ค่อยถูก บางคนก็บอก จนปัจจุบันมาเป็นผู้อำนวยการ, งานเครดิตยูเนี่ยน, 50 บ้าง 60 บ้าง” เป็นเลขาฯ และรองประธานผู้สูงอายุซึ่งคุณอาเป็นประธาน อยู่ ,แล้วก็งานพลมารี ไม่ ได้รับงานอื่นอีกเนื่องจากเกรงว่า ข้อคิดสำหรับผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ใส่หมวกหลายใบเกินไป กว่าจะรับแต่ละงานก็จะคิดหนักมาก “อย่าอยู่เฉยๆ ถ้าเป็นคาทอลิกพยายามหางาน กลัวจะทำไม่ ได้ดี” เกี่ยวกับพระ เสียสละ ช่วยเหลือผู้อื่น งานบุญกุศล เวลา งานมันเกิดผลแล้วทำให้คนอื่นมีความสุข เราก็จะมีความสุข ความประทับใจจากงานที่ทำ อย่ า งตอนเป็ น พลมารี ไปเยี ่ ย มป้ า คนหนึ ่ ง “ช่วงที่ภราดา ( บราเดอร์ ) ศิริชัย ฟอนซีกา ซึ่งพักอยู่คนเดียว ตัวร้อนเป็นไฟ ข้าวที่วินเซนเดอปอล ย้ายไปเป็นเจ้าคณะอยู่ที่ โรม พ่อแม่ของบราเดอร์อยู่ที่ เอามาให้ก็มดขึ้น ไปถึงก็บอกเพื่อนๆ ว่าอย่าเพิ่งสวดเลย ซอยประจักษ์สิน เซนต์หลุยส์ คุณพ่อของบราเดอร์ป่วย ก็ดูแล เช็ดตัว เก็บข้าวที่มดขึ้นไปทิ้ง ทำความสะอาด หนัก บราเดอร์ก็ยังกลับมาไม่ ได้ บราเดอร์ก็ โทรถาม แกก็มองเราแล้วน้ำตาไหล เวลาไปเยี่ยมจะไม่แค่ ไปสวดเฉยๆ คุณพ่อว่าอยากจะให้ ใครมาดูแล คุณพ่อของบราเดอร์ จะทำอย่างนี้ ทำในวัดเราก่อน ถ้ามีเวลาเหลือค่อยไปข้างนอก บอกว่าขอครูเอี้ยง เลิกเรียนครูก็ต้องเรียกแท็กซี่จาก คนแก่น่าสงสารมาก หน้าเซนต์คาเบรียลเพื่อไปดูแลคุณพ่อที่เซนต์หลุยส์ทุกวัน อีกเรื่องก็เป็นห่วงเด็กๆ เห็นนักเรียนพูดมึงกู ซึ่งไปยากมาก ต้องนั่งรถเป็นชั่วโมงๆ ก็ ไปดูแลท่านตลอด เราก็เดินไปบอกเขาว่า หนูอย่าพูดมึงกูสิ เสียสถาบันโรงเรียนหมด จนมาตอนหลัง ท่านอาการโคม่าต้องเข้าโรงพยาบาลเซนต์ เขาก็หันมามอง งงๆ คือไม่รู้จักเรา(หัวเราะ) แล้วเขาก็สะกิดๆ หลุยส์ บราเดอร์กย็ งั ไม่กลับมา ครูกค็ อยดูแล ก็เช็ดตัว ทำ กัน หันมาบอกขอโทษค่ะ เราเองเห็นแล้วก็อดไม่ ได้...” ครู ความสะอาดเวลาท่านขับถ่าย ทำทุกอย่างหมด คุณสุพรรณี เอี้ยงกล่าวปิดท้ายพร้อมกับรอยยิ้ม. น้องของมาแมร์ ไปแอบดู พี่ก็ ไม่รู้ ก็ทำทุกอย่างปรกติ จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ฉบับที่ 2

9


ชีวิต...เพื่อรับใช้พระในบ้าน บ้านหลังเล็กๆ ในซอยแม่พระ 7 หมูบ่ า้ นวัดแม่พระประจักษ์ บางสะแก แม้จะไม่ใหญ่โตหรูหรา แต่กลับเต็มไปด้วย ความรักความปรารถนาดีจากลูกคนหนึง่ ทีม่ ตี อ่ มารดาทีล่ ม้ ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ บางคนอาจจะคิดว่าช่างเป็นภาระหนักหนา แต่สำหรับ คุณอมร สามิภกั ดิ์ กลับเต็มใจทีจ่ ะรับภาระหนักนีแ้ ละตัง้ ใจทำอย่างดีทส่ี ดุ

ความเป็นมาของครอบครัว

“ผมเป็นคนบางสะแก อยูท่ ว่ี ดั แม่พระประจักษ์ บางสะแกกับครอบครัว มาตลอด มีพี่น้อง 5 คน พ่อทำงานไฟฟ้า แม่ขายส้มตำไก่ย่าง ซึ่งขายดีมากเพราะแม่ทำ อร่อย พอไปเข้าเรียนต่อบ้านเณรยอแซฟ พระคุณเจ้าพิบลู ย์(พระสังฆราช พิบลู ย์ วิสิฐนนทชัย พระสังฆราชสังฆมณฑลนครสวรรค์ อธิการบ้านเณรในสมัยนั้น) ให้แม่ย้ายไปเป็นแม่ครัวที่บ้านเณรฯ ด้วย ภายหลังพ่อเสียชีวิตและไม่นานพี่ ชายคนโตก็เสียตามไป ครอบครัวที่เหลือก็ย้ายกลับมาอยู่ที่บางสะแกเหมือนเดิม มีผมกับแม่ แล้วก็น้องชาย“ “แม่เป็นคนใจดี แล้วก็รักลูกมาก เคยมีคนแกล้งหลอกแม่ว่าน้องตกลง ไปในท่อ แม่ตกใจรีบกระโดดตามลงไปทันที”

วันที่แม่ล้ม...

“ก่อนหน้านั้นแม่เคยล้มหลายครั้ง แต่ไม่ค่อยยอมบอก ล้มจนกระดูกร้าว เดินขากระเผลก เป็นกระดูกทับเส้น หมอจะให้ผ่า แม่ไม่ยอมผ่า ต้องกินยาแก้ปวดตลอด มีครั้งหนึ่งที่แม่หกล้ม แล้วผมเป็นคนพาไปโรงพยาบาล แม่หันมา พูดกับผมว่าอย่าทิ้งแม่นะ ผมก็ถามว่าทำไมล่ะ แม่ก็บอกแม่ฉี่เยอะ คือเขากลัวเราจะรำคาญ ไม่อยากดูแล มาช่วงหลังแม่ เป็นความดันสูงด้วย แต่ก็ไม่ได้กินยา วันที่แม่ป่วยหนักคือเมื่อประมาณ 2 ปีก่อน(ปี 2556) ตอนกลางคืนแม่กินมะม่วงสุกไปลูกใหญ่ พอเช้าเป็นไข้ พยายามลุกก็ลกุ ไม่ได้ ตาเหลือก กินข้าวไม่ลง ผมหายาแก้ไข้ให้กนิ ก็ไม่ดขี น้ึ ก็เลยโทรเรียกพีส่ าวพีช่ าย เอารถพาไปส่งโรงพยาบาล รอจนเย็นกว่าจะได้ตรวจ หมอบอกเป็นเส้นเลือดตีบ เลือดไม่ไปเลี้ยงสมองเกิน 4 ชั่วโมงแล้ว ทำอะไรมากไม่ได้แล้ว ทำดี ที่สุดก็ได้แค่นี้ ช่วงที่อยู่โรงพยาบาลประมาณ 2 เดือน พระคุณเจ้าพิบูลย์สั่งว่าทุกเย็นให้รีบกลับไปดูแม่ ไปเฝ้าแม่ สองทุ่มค่อยกลับบ้าน ผมก็ไปเฝ้าทุกวัน ก็เลยได้เห็นว่าพยาบาลมีวิธีการดูแล เช็ดตัว ทำความสะอาด ฟีดอาหาร(ให้ อาหารทางสายยาง)ยังไง พยาบาลก็บอกว่ากลับบ้านแล้วต้องทำเองนะ ผมก็พยายามจำไว้ ช่วงแรกๆ แม่จะหลับตาอย่างเดียว เราก็ไม่รวู้ า่ ต้องทำยังไง ต้องพูดต้องเรียกเขาหรือเปล่า พอหมอให้ยาละลายลิม่ เลือดเขาก็คอ่ ยดีขน้ึ อาการของคนเป็นโรคนีค้ อื ร่างกายเคลือ่ นไหวไม่ได้ แต่วา่ มีการรับรูท้ กุ อย่าง ก็รสู้ กึ สงสาร ถ้าแม่รอ้ งอ อื อาๆ ก็จะต้องรีบมาดูวา่ เป็นอะไร ถ่ายหนักหรือเปล่า ถ้าถ่ายก็จะเปลี่ยนแพมเพิร์สให้ ปกติถ้าร้องก็คือจะถ่ายหนัก พอหมอบอกให้พาแม่กลับบ้านได้ ก็ปรึกษาพระคุณเจ้าพิบูลย์ พระคุณเจ้าบอกให้พาแม่กลับบ้านและดูแลให้ดีที่สุด ความกตัญญูจะทำให้ชีวิตเราเจริญ ผมก็ทำตามที่พระคุณเจ้าบอก”

“ไม่ต้องรวย ขอให้มีใจที่จะอยากช่วยให้พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ป่วยมีอาการดีขึ้นก็พอ” เริ่มต้นรับใช้พระในบ้าน

“ตอนกลับมาบ้านใหม่ๆ ก็เครียดบ้าง คือไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง แต่พอเริ่มทำไปสักพักก็รู้สึกว่าไม่ได้ยาก หลายๆ คนก็ให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือ มีพยาบาลจากศูนย์สาธารณสุข 29 มาเยี่ยมที่บ้าน มาสอนวิธีการดูแลต่างๆ เวลาสงสัยอะไรก็จะโทรถามเขา เวลาแม่จะมีเสมหะติดคอ สายฟีดอาหารตัน พยาบาลก็จะสอนวิธีแก้ไขให้ เขาจะ เน้นให้ลูกหลานคนใกล้ชิดเป็นคนดูแลคนป่วยเอง ให้ใช้ใจดูแล และจะให้กำลังใจเราตลอด เขาสอนว่า ไม่ต้องรวย ขอ ให้มีใจที่จะอยากช่วยให้พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ป่วยมีอาการดีขึ้นก็พอ จำได้ว่าตอนเด็กๆ พอเราป่วยไม่สบาย แม่จะคอยเช็ดตัวให้ ตอนนี้เราก็ทำเหมือนทีแ่ ม่เคยทำให้เรา ซึ่งมันไม่ได้ยากเย็นอะไร พอฟีดอาหาร เปลีย่ นแพมเพิร์สเสร็จ ก็จะปล่อยให้เขานอน จับให้เขานอนตะแคง แล้วเราก็ไปทำอย่างอื่น อีก 4 ชั่วโมงค่อยมาฟีดอาหาร ดูแพมเพิร์สใหม่ พระคุณเจ้าพิบูลย์ได้ให้ คุณพ่ออนุชา ชาวแพรกน้อย ทำโครงการอาสาสมัครช่วยเหลือผูส้ งู อายุตดิ เตียงทีป่ ว่ ยอยูก่ บั บ้าน ก็ได้คนมาช่วยดูแลแม่ชว่ ง จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ฉบับที่ 2

10


กลางวันที่ผมต้องไปทำงาน และหน่วยงานโคเออร์รีไซเคิล มาช่วยซ่อมแซมบ้าน ทำให้แม่อยู่ได้สบายขึ้น เพราะพื้นบ้านเดิม จะชื้นทำให้แม่ไม่สบายบ่อยมาก พอโคเออร์รีไซเคิลมาทำพื้นให้ ใหม่แม่ก็ดีขึ้น ไม่ป่วยบ่อยๆ อีก”

ไม่มีอะไรยาก...ขอแค่มีใจ

“ตัวผมเองก็ต้องหาหมอบ่อย เป็นโรคเครียดโรค เบาหวาน แต่ตอนนี้ห้ามป่วย(หัวเราะ) ป่วยไม่ได้ ปวดหัว ตัวร้อนก็ต้องลุกขึ้นมา เดี๋ยวแม่ จะไม่ได้กินข้าว เวลาไม่สบาย น้องชายก็จะคอยดูแล คอยซือ้ อาหารให้ เวลาเขาไม่สบาย(น้องชาย ป่วยเป็นโรคประสาท) เราก็ต้องคอยดูแลเขา ต้องเข้าใจเขา ความเข้าใจสำคัญมาก บางที ก ็ ม ี บ ้ า งที ่ ท ้ อ ที ่ เ หนื ่ อ ย คุ ณ พ่ อ อนุ ช าก็ จ ะ ให้กำลังใจ สอนให้มองโลกแง่ดี ตัวผมต้องกินยาคลาย เครียด พอกินแล้วจะหลับลึกมาก ตั้งนาฬิกาปลุกก็ไม่ได้ยิน น้องก็จะมาปลุกบ้าง แต่เขาเองก็กนิ ยาตัวนีเ้ หมือนกัน (หัวเราะ) เพราะฉะนั น้ จะไปหวังให้เขามาปลุกทุกครั้งไม่ได้ ต้องพยายาม บังคับตัวเองให้ตื่นเอง”

“เรามีเป้าหมายของเรา ทำให้แม่มีความสุข แข็งแรง สบายขึ้น ไม่ร้อง ไม่เจ็บ ไม่ปวด มีชีวิตยืนยาว มีความสุขเท่าที่เขาจะสามารถมีได้” “คนที่เคยมาเห็นมาเยี่ยมก็จะรู้ จะเข้าใจ อาจมีคนพูดนั่นพูดนี่บ้าง ก็ไม่เป็นไร เขาจะเข้าใจเราหรือไม่ก็ไม่เป็นไร ขอให้เราทำหน้าที่ของเราให้ดี ไม่ต้องให้คนอื่นมาเห็นมาดู เรามีเป้าหมายของเรา ทำให้แม่มีความสุข แข็งแรง สบายขึ้น ไม่ร้อง ไม่เจ็บ ไม่ปวด มีชีวิตยืนยาว มีความสุขเท่าที่เขาจะสามารถมีได้” “พระไม่เคยทอดทิ้งเรา ช่วยเหลือเราตลอดเวลา แบบอย่างที่แม่ได้ให้แก่เรา เราก็ทำให้มากกว่าที่แม่ให้ ใครจะพูดจะว่าก็ไม่เป็นไร เรามีความสุขที่ได้ดูแลผู้ให้กำเนิด คนเลี้ยงดูเราจนเติบใหญ่ พยายามทำดีที่สุด ทำไปเถอะ พระเห็นสิ่งทีเ่ ราทำตลอดเวลา แม้คนอื่นจะมองไม่เห็นก็ตาม ไม่ต้องไปขอร้องหรืออ้อนวอนให้ใครมาเข้าใจ” “ไม่มีประโยชน์ที่เราจะไปช่วยคนอื่นไปทั่ว แต่ในบ้านไม่สนใจดูแล เหมือนไปปลูกต้นไม้หลายที่ เต็มไปหมด แต่ตน้ ไม้ในบ้านไม่เคยรดน้ ำพรวนดิน ก็เท่ากับเราไม่ได้มคี วามรักอย่างแท้จริง ให้ดแู ลคนในบ้านให้ดี ดูแลพระในบ้านของเรา ให้เขามีความสุขก่อน แล้วค่อยออกไปมองข้างนอก “การเป็นคนดี ต้องเป็นทั้งต่อหน้าและลับหลัง” “พระวาจาทรงชีวิตของกลุ่มโฟโคราเรบอกว่า วิธีให้ความรักในภาคปฏิบัติคือ เวลาที่คนมาขอความช่วยเหลือ เราก็ให้ชว่ ยเหลือเขาทันที นัน่ คือเรากำลังฝึกการให้ความรักในภาคปฏิบตั ิ เวลาเราดูแลแม่กเ็ หมือนกัน เช่น เวลาเราหนาว แม่ก็คงหนาวด้วย เราก็ต้องมาห่มผ้าให้แม่ พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา”

ฝากข้อคิดสำหรับคนที่รู้สึกท้อเวลาประสบปัญหา

“พยายามมองโลกในแง่ดี เราก็จะไม่ทุกข์มาก เวลาเกิดปัญหาก็ต้องแก้ไขเอง ไม่ต้องหวังให้คนอื่นมาช่วย เพราะคนอื่นคงไม่อยากฟังปัญหาของเราตลอดเวลาหรอก...” “ได้อ่านบทเทศน์ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2015 ที่บอกให้เราช่วยกันภาวนา ให้คริสตชนผู้ถูกเบียดเบียนผู้ป่วย รวมไปถึงผู้ดูแลผู้ป่วยด้วย ก ข็ อให้ทุกคนช่วยภาวนาให้คนป่วย และคนที่อยู่เบื้องหลัง ทั้งคนดูแล, หมอ พยาบาลด้วย การภาวนาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก.”

จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ฉบับที่ 2

11


สรุปรายงานกิจกรรมแผนกต่างๆของฝ่ายสังคม เดือนมกราคม - มีนาคม 2558 แผนกอำนวยการ

• จัดประชุมเจ้าหน้าที่ประจำเดือนทุกวันจันทร์สัปดาห์ที่สองของเดือน เริ่มด้วยการอ่านพระวาจาของพระเจ้าและเชิญ ชวนให้เจ้าหน้าที่แต่ละคนแบ่งปันพระวาจาของตอนที่และคนประทับใจหรือสะกิดใจ เพื่อการไตร่ตรองพระวาจา และ เริ่มการประชุมด้วยการให้เจ้าหน้าที่แต่ละคนได้รายงานความก้าวหน้าพร้อมทั้งปัญหาอุปสรรคของงานและแนวทาง การแก้ ไขงานที่แต่ละคนรับผิดชอบ • จัดทำแบบฟอร์มการรายงานผลของการดำเนินงานให้กับแผนกต่างๆของฝ่ายฯ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แผนกต่างๆ ได้จัดทำรายงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงไตรมาสแรกนี้ทางแผนกอำนวยการได้รับความร่วมมือจากแผนกต่างๆในฝ่ายฯ อย่างน่าพอใจ • จัดประชุมคณะกรรมการบริหารของฝ่ายสังคมในไตรมาสแรก เมื่อเดือนมีนาคม 2558 ที่วัดธรรมาสน์นักบุญเปโตร บางเชือกหนัง เพื่อติดตามงานของแผนกต่างๆในช่วงไตรมาสแรก • ติดตามการทำรายงานสรุปค่าใช้จ่าย ประจำปี 2014 ของแผนกต่างๆ เพื่อส่งให้แผนกการเงินของอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ

แผนกสังคมพัฒนา

• จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการคนสู้ชีวิตและโครงการ Micro creDit ให้ cAritAS thAilAnD ที่ ให้ การสนับสนุนทางงบประมาณดำเนินงานของโครงการ • ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวบ้าน หนองงูเหลือม นครปฐม จัดทำโครงการตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์พืชผัก เพื่อใช้สำหรับ การเพาะปลูกภายในกลุ่ม • จัดให้ชาวบ้านหนองงูเหลือม และ เครือข่ายหนองแขม ไปศึกษาดูงานที่สหกรณ์ออมทรัพย์ อ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี และโครงการชั่งหัวมัน เพื่อให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ประสบการณ์ ใหม่ๆ และนำกลับมาใช้กับงานของตนเองและกลุ่ม • ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวบ้าน ต. บางเลน นครปฐม จัดทำแปลงสาธิตหารทำเกษตรปลอดสารเคมี เพื่อเป็นรายได้ เสริมจากการทำอาชีพหัตถกรรมจากผักตบชวา • ส่งเสริมและสนับหนุนชาวบ้านอยุธยา เพื่อจะจัดทำแปลงสาธิตเกษตรปลอดสารเคมี และจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ • ส่งเสริมและสนับสนุนการตั้งออมทรัพย์เครือข่ายหนองแขม เพื่อให้เป็นแหล่งการเงินในยามที่สมาชิกในเครือข่ายมีความ จำเป็น เพื่อจะไม่ต้องพึ่งการเงินนอกระบบ • เข้าไปสำรวจพืน้ ที่ ใหม่ ในเขตบางขุนเทียน และบางบอน กรุงเทพฯเพือ่ ส่งเสริมและสนับสนุน ให้ผนู้ ำชุมชนได้ทำกิจกรรม ร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ ในชุมชน

จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ฉบับที่ 2

12


สรุปรายงานกิจกรรมแผนกต่างๆของฝ่ายสังคม(ต่อ) เดือนมกราคม - มีนาคม 2558 แผนกอภิบาลผู้สูงอายุ

• จัดประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุระดับอัครสังฆมณฑลทุก 2 เดือน ต่อครั้ง เพื่อติดตามการทำงานของคณะกรรมการ ผู้สูงอายุในระดับเขต เพื่อวางแผนงานในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป • จัดให้มีการฟื้นฟูจิตใจคณะกรรมการผู้สูงอายุ • คณะกรรมการของอัครสังฆมณฑลออกเยี่ยมคณะกรรมการเครือข่ายระดับเขต เพื่อสนับสนุนและให้กำลังใจในการ ทำงานของคณะกรรมการ

แผนกงานผู้ยากไร้และด้อยโอกาส

งานผู้ยากไร้และด้อยโอกาส • เยี่ยมเยียน/ให้ โอวาท/ทำมิสซาให้เด็กๆ บ้านหทัยการุณย์ • เยี่ยมเยียน/ให้ โอวาท/ทำมิสซาให้เด็กๆ ศูนย์คอมมูนิต้า • อบรมปลุกจิตสำนึกจิตอาสาให้กับเยาวชนวัดนักบุญอันนาและนักเรียนโรงเรียนอันนาลัย

งานบ้านหทัยการุณย์ • จัดพาเด็กของบ้านไปเยี่ยมคารวะพระคาร์ดินัลไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู , พระสังฆราชยอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์ ที่บ้านอับบราฮัม สามพราน ในโอกาสวันขึ้นปี ใหม่ • นำของไปมอบให้กับน้องๆ มูลนิธิคุณพุ่ม หนองแขม กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการประสานงานร่วมกับฝ่ายสังคมของคณะพระ หฤทัยฯ • จัดพาเด็กๆและเจ้าหน้าที่ของบ้านไปพักผ่อนร่วมกันที่หาดบางแสน จ.ชลบุรี • จัดงานครบรอบ 20 ปี บ้านหทัยการุณย์ เมื่อเดือนมีนาคม

จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ฉบับที่ 2

13


สรุปรายงานกิจกรรมแผนกต่างๆของฝ่ายสังคม(ต่อ) เดือนมกราคม - มีนาคม 2558 แผนกผู้ถูกคุมและผู้ย้ายถิ่น

งานเยี่ยมผู้ต้องขัง • เข้าเยี่ยมเยียน/อบรม/ทำมิสซาให้กับผู้ต้องขังหญิงที่นับถือศาสนาคริสต์ ณ ทัณฑสถานหญิงกลางงามวงศ์วาน เป็นประจำ ทุกพุธที่สามเดือน

ศูนย์คาทอลิกนักบุญอันนาเพื่อผู้อพยพย้ายถิ่น,ศูนย์ฯ ยออากิมและศูนย์ฯ มาริสต์ • จัดกิจกรรมงานวันเด็กโดยได้ความช่วยเหลือจากวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ • จัดกีฬาสี ให้กับเด็กนักเรียนก่อนปิดภาคเรียนโดยความช่วยเหลือจากวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ • จัดให้คณะครูไปพักผ่อนร่วมกันที่จังหวัดกาญจนบุรี • จัดประชุมครูทุกเดือนเพื่อติดตามผลการเรียนการสอนของเด็กอย่างสม่ำเสมอ • จัดให้ครูลงพื้นที ในชุมชนต่างด้าวเพื่อฝึกสอนทำอาชีพเสริม และถือเป็นการเยี่ยมครอบครัวเด็กเป็นประจำทุกสัปดาห์

แผนกสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและผู้ลี้ภัย

• ประสานงานกับตามวัดต่างๆในกรุงเทพฯ เพื่อช่วยเหลือชาวปากีสถาน ที่เข้ามาอยู่ ในประเทศไทยในฐานะ “ผู้แสวงหา ที่พักพิงชั่วคราว“ สิ่งที่ ให้ความช่วยเหลือส่วนใหญ่เป็นเรื่องอาหาร และ ช่วยให้ทำงานชั่วคราวเพื่อเลี้ยงครอบครัว • ประสานงานให้มีกลุ่มอาสาสมัครช่วยเหลือผู้แสวงหาที่พักพิงชั่วคราวชาวปากีสถาน และมีการจัดประชุมร่วมกันอย่าง สม่ำเสมอ • จัดทำบัญชีรายชื่อ “ผู้แสวงหาที่พักพิงชั่วคราว “ ชาวปากีสถาน เพื่อทราบจำนวนที่แน่นอน และเพื่อจัดระเบียบการช่วย เหลือด้านอาหารและสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพอย่างเหมาะสม

จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ฉบับที่ 2

14


สรุปรายงานกิจกรรมแผนกต่างๆของฝ่ายสังคม(ต่อ) เดือนมกราคม - มีนาคม 2558 ศูนย์อภิบาลผู้สูงอายุมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ (บ้านผู้สูงอายุยอแซฟ หนองรี)

• บ้านผู้สูงอายุนักบุญยอแซฟ หนองรี ได้รับเจ้าหน้าที่ ในตำแหน่งผู้จัดการบ้าน 1 คน คือ นายธรรม์ปภพ บุญบางยาง เพื่อทำหน้าที่จัดการบริหารงานของบ้านผู้สูงอายุฯให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของบ้าน ซึ่งที่ผ่านมาในระเวลา 3 เดือน ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ

• ด้านการเลี้ยงดู ในเรื่องอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ทางครัวของโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ หนองรี เป็นฝ่ายดูแลในเรื่องนี้ศูนย์ อภิบาลฯ ยังคงให้การดูแล และช่วยเหลือด้านอาหารแก่ผู้สูงอายุ 2 ท่านที่อยู่ทางด้านหลังของศูนย์ฯ โดยคุณประดิษฐ์ หรือคุณน้อย โยธารักษ์ เจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ จะส่งปิ่นโตอาหารให้เป็นประจำในเวลาเช้า และเย็น ผู้สูงอายุทั้ง 2 ท่าน คือ นางเข็ม ห่อทอง เป็นคนพิการและสติไม่ค่อยดี ส่งเสียงดังเป็นประจำ และนางเซซิน บำรุงจิตร์ • ด้านการรักษาพยาบาล ผู้สูงอายุที่พักในศูนย์ฯ ทุกท่านจะมี โรคเรื้อรังประจำตัว เช่น ความดัน เบาหวาน ซึ่งต้องได้รับการ ดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าหากขาดการดูแลเอาใจใส่ โรคเหล่านี้สามารถพัฒนากลายเป็นโรคร้ายแรงได้ ผู้สูงอายุ 3 ท่าน คือ คุณวาสนา (เล็ก) คุณสุพัตรา และคุณประสิทธิ์ ได้ย้ายเข้ามาในทะเบียนบ้านของศูนย์ฯ (เลขที่ 162 หมู่ 8 ต. ศรีกะอาง อ. บ้านนา จ. นครนายก ในปี 2552 2554 และ 2556 ตามลำดับ) จึงสามารถใช้สวัสดิการเรื่องสุขภาพได้ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านละว้า โรงพยาบาลบ้านนา และโรงพยาบาลนครนายก ได้ตามลำดับ • ด้านกายภาพบำบัด กิจกรรมในด้านนี้ยังไม่ค่อยได้รับความสนใจจากผู้สูงอายุนัก แต่ก็ ได้ ให้คำแนะนำในการออกกำลังกาย การยืดคลายกล้ามเนื้อแก่ผู้สูงอายุบางท่านบ้างตามความเหมาะสม • ด้านนันทนาการ ยังไม่ ได้จัดกิจกรรมในด้านนี้แก่ผู้สูงอายุ เนื่องจากจำนวนและสภาพร่างกายของผู้สูงอายุหลายท่าน • ชีวบำบัดและงานอดิเรก ผู้สูงอายุหลายๆ ท่านในศูนย์ฯ มักใช้เวลาว่างทำงานอดิเรก คือ ทำสวน ปลูกไม้ดอก ไม้ผล พืชผักสวนครัว ในพื้นที่ด้านหลังของอาคารที่พัก

แผนกสุขภาพอนามัย

• เวชบุคคลคาทอลิกอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ลงพื้นที่ติดตามเครือข่ายเวชบุคคลฯ ณ วัดแม่พระกุหลาบทิพย์ • ประชุมคณะกรรมการเวชบุคคล คาทอลิก อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ฉบับที่ 2

15


สรุปรายงานกิจกรรมแผนกต่างๆของฝ่ายสังคม(ต่อ) เดือนมกราคม - มีนาคม 2558 แผนกสตรีคาทอลิก

คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสตรี • ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการของแผนกฯเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2015 ที่ห้องประชุมตึกสภาพระสังฆ ราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย มีคณะกรรมการเข้าร่วมประชุมจำนวน 6 คน เพื่อแจ้งให้คณะกรรมการได้ทราบถึง การทำงานของฝ่ายสังคมฯ • จัดให้มีการประชุมกรรมการของแผนกสตรี ที่มาจากตัวแทนเขตต่างๆของอัครสังฆมณฑล เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2015 ที่ห้องประชุมสำนักพระสังฆราช กรุงเทพฯ เพื่อนำเสนอเผนงานและโครงการต่างๆ • ได้ส่งผู้แทนของแผนกสตรีฯ จำนวน 3 คน เข้าร่วมประชุมสัมมนากับ “คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสตรี “ ซึ่งเป็น หน่วยงานที่สังกัดอยู่ภายใต้การดูแลของกรรมาธิการฝ่ายสังคม สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ “บทบาทสตรี ในพระศาสนจักรในช่วง 350 ปี มุ่งสู่อนาคต “

สมาคมสตรี ไทยคาทอลิก • ตัวแทนสมาคมเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการคาลิกเพื่อการพัฒนาสังคมแผนกสตรี • อบรมฝึกอาชีพให้ผู้ต้องขังและทำ Mou กับเรือนจำ จ.นครปฐม • ตัวแทนสมาคมร่วมกับประธานฝ่ายพัฒนาสตรี สมาคม สปอท. จัดกิจกรรมเนื่องในวันสตรีสากล เชิญวิทยากรบรรยายหัวข้อ ”การดำเนินการเพื่อส่งเสริมสิทธิผู้ต้องขังหญิง“ พร้อมจัดกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้สึก ผ่านกระดาษและดินสอสี ให้กับผู้ต้องหญิงจำนวน 100 คน ที่เรือนจำสมุทรสาคร • ร่วมมิสซาวันสตรีสากล ณ วัดแม่พระฟาติมา ดินแดง • ร่วมจัดงานกาชาดกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์

จุลสารฝ่ ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ฉบับที่ 2

16


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.