หนังสือข่าวทหารอากาศ ฉบับเดือน กรกฎาคม 2563

Page 1

ขาวทหารอากาศ ISSN 0125 6173 ปที่ ๘๐ ฉบับที่ ๗ เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๓

ขาวทหารอากาศ

ปที่ ๘๐ ฉบับที่ ๗ เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๓

http://www.airforcemagazine.rtaf.mi.th

ISSN 0125 6173


บทอาเศียรวาท พระบาทสมเด็จพระวชิรเกลาเจาอยูหัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ยี่สิบแปดกรกฎาคมอุดมศรี เจิดจรัสแจมใสไมหมองมัว ปโยรสพระภูมพิ ลมหาราช สมเด็จพระทศมินทรปนอุดม ทรงสืบสานการเปนคุณบุญของชาติ ทรงตอยอดทางบุญหนุนประชา ทศพิธราชธรรมงามประจักษ ประดุจรมโพธิ์ทองของชาติไทย ทุกโครงการในพระคุณบุญลํ้าเลิศ กอประโยชนโสตถิผลลนแผนดิน ทรงศรัทธาลํ้าเลิศประเสริฐศักดิ์ ทรงอุปถัมภคาํ้ ชูผูบวร ยี่สิบแปดกรกฎาเวียนมาถึง ตางตั้งจิตเชิดชูและบูชา ขออัญเชิญคุณไตรรัตนจรัสฟา โปรดคุมครองพระวชิรเกลาเจาแผนดิน

เทิดบารมีพระวชิรเกลาเจาอยูหัว พสกทั่วพสุธาพาชื่นชม ทรงเปรื่องปราดพระเกียรติคุณบุญเหมาะสม นําสุขสมสูไทยสมใจประชา งามพิลาสทรงสืบคุณบุญวาสนา ภัยนานาจืดจางหางคนไทย ทรงเปนหลักแหงสยามงามสดใส เลิศวิไลพระบารมีศรีแผนดิน แสนประเสริฐพระปรีชาพาถวิล เปนอาจิณสงสุขทุกขั้นตอน ตามหลักแหงศีลธรรมคําพุทธสอน อยางถาวรสมประสิทธิ์วิทยา ชาวไทยซึ้งภักดีมีวาสนา เทิดบุญญาบารมีศรีแผนดิน ปวงเทวาทัง้ อินทรพรหมสมถวิล เปนอาจิณขอพระองคทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกองประจ�าการ และครอบครัวกองทัพอากาศ น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์


บทอาเศียรวาท สมเด็จพระเจานองนางเธอ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓ สี่กรกฎาคมสมราศรี กรมพระศรีสวางควัฒนมหัศจรรย พระนองนางในพระองคพระทรงเดช พระเมตตาเลิศคุณบุญชาติไทย พระปรีชาเลิศลนผลประสิทธิ์ สถาบันงานวิจัยในดวงจิต พระบารมีรมเย็นเปนสุขศานต ทั้งศิลปศาสตรชาติงามความวิไล สนองงานในองคพระทรงยศ ทั้งงานชาติศาสนาพาจํารูญ ดาน พอ.สว.กอประโยชน พสกนิกรทั่วหนาพาซึ้งใจ สี่กรกฎาคมสมราศี ใหปวงชนลนหลักรักศรัทธา ขอคุณพระไตรรัตนจรัสศรี ตางอํานวยอวยชัยไดช่นื ชม

พระบารมีในพระองคสงสุขสันต คุณอนันตสูประชาพาสุขใจ คุณปกเกศไทยทุกคนลวนสดใส เลิศวิไลพระบารมีศรีแผนดิน งามวิจิตรพระกรุณาพาถวิล ผลทั่วถิ่นแผนดินธรรมงามวิไล ทั้งศีลทานภาวนาพาสดใส นํ้าพระทัยแผมงคลสงผลคุณ เกียรติปรากฏขจรไกลไมส้นิ สูญ ยิ่งเพิ่มพูนบารมีทวีชัย เกิดผลโภชแดสยามงามสดใส ตางนอมใจเทิดทูนพูนบูชา เวียนมามีมงคลดลวาสนา เทิดบุญญาบารมีที่ชื่นชม เทพทั่วฟาธาตรีที่เหมาะสม อยางเหมาะสมขอพระองคทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ทหารกองประจ�าการ และครอบครัวกองทัพอากาศ น.อ.เกษม พงษ์พันธ์ ประพันธ์


4

บทบรรณาธิการ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่เคารพทุกท่าน ในเดื อ นกรกฎาคมนี้ นั บ เป็ น เดื อ นที่ มี ค วาม ส� า คั ญ อย่ า งยิ่ ง ต่ อ ปวงชนชาวไทยนั่ น ก็ คื อ ในวั น ที่ ๒๘ กรกฎาคม เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์ จักรี ที่ทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตา ทรงมีพระจริยวัตร งดงาม และทรงพระปรีชาสามารถด้านการทหาร ทรงเป็นกษัตริย์นักบินพระองค์แรก พระองค์ทรง ประกอบพระราชกรณียกิจซึง่ ล้วนก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อปวงชนชาวไทย ดัง่ ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการ ว่า “จะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดิน โดยธรรม เพื่ อ ประโยชน์ สุ ข แห่ ง อาณาราษฎร ตลอดไป” นอกจากนี้ ยั ง นั บ เป็ น ก้ า วส� า คั ญ ที่ ต ้ อ งจารึ ก ไว้ ใ นประวั ติ ศ าสตร์ ก องทั พ อากาศอี ก วาระหนึ่ ง นั่นคือ กองทัพอากาศมีแผนส่งดาวเทียม NAPA-1 ขึ้ น สู ่ อ วกาศ โดยขี ด ความสามารถของดาวเที ย ม

“NAPA-1” นัน้ เมือ่ น�ามาบูรณาการข้อมูลทางอวกาศ ร่ ว มกั บ ระบบตรวจจั บ อื่ น ๆ ของกองทั พ อากาศ จะสร้างความตระหนักรูใ้ นสถานการณ์และตอบสนอง การปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ท�าให้ ตัดสินตกลงใจ สั่งการปฏิบัติภารกิจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว นอกจากนีย้ งั สามารถน�าข้อมูลอืน่ ๆ สนับสนุน การบรรเทาสาธารณภัย อาทิ การสนับสนุนข้อมูล จุดความร้อนในพืน้ ทีเ่ พือ่ การควบคุมไฟป่า การวางแผน แก้ปญ ั หาภัยแล้งและน�า้ ท่วม ซึง่ กองทัพอากาศได้จดั ท�า ยุ ท ธศาสตร์ เ พื่ อ เพิ่ ม ศั ก ยภาพในการปฏิ บั ติ ก าร ทางอวกาศ ให้สามารถปกป้องภัยคุกคามทางอวกาศ ต่อผลประโยชน์แห่งชาติไทย การสร้างความมั่นคง การพัฒนาประเทศ และการบรรเทาภัยพิบตั ทิ จี่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต ตลอดจนจะเป็นรากฐานอันส�าคัญในการ พัฒนาสร้างอุตสาหกรรมทางอวกาศภายในประเทศ ได้อีกด้วย รวมทั้งการส�ารวจทรัพยากร การรักษา ความมั่ น คง ป้ อ งกั น ภั ย พิ บั ติ แ ละช่ ว ยเหลื อ เมื่ อ เกิ ด อุ ท กภั ย ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ประโยชน์ ข องประเทศชาติ และประชาชนเป็นหลัก ปกฉบั บ นี้ เ ป็ น พระบรมฉายาลั ก ษณ์ ข อง พระบาทสมเด็ จ พระวชิ ร เกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ส� า หรั บ เรื่องเด่นในฉบับได้แก่ นภา-1 (NAPA-1) จุดเริ่มต้น ของกิจการอวกาศกองทัพอากาศ, IRST Infrared Search and Track เทคโนโลยี พิ ชิ ต เครื่ อ งบิ น Stealth, เคล็ดลับการสร้างทีมรักษาความปลอดภัย ทางไซเบอร์, ข้อมูลเชิงลึกทางด้านการบินที่ส�าคัญ และควรรู้ ๕ ประการ ส�าหรับทศวรรษ 2020 รวมทั้ง คอลัมน์ประจ�าที่น่าสนใจอีกมากมาย เชิญพลิกอ่าน ได้ตามอัธยาศัยครับ 


ข าวทหารอากาศ

สารบัญ

ป ที่ ๘๐ ฉบั บ ที่ ๗ เดื อ นกรกฎาคม ๒๕๖๓

๒ บทอาเศียรวาท พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล าเจ าอยู หัว - น.อ.เกษม พงษ พันธ ๓ บทอาเศียรวาท สมเด็จพระเจ าน องนางเธอ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติย ราชนารี - น.อ.เกษม พงษ พันธ ๗ นภา-1 (NAPA-1) จุดเริ่มต นของกิจการอวกาศกองทัพอากาศ - น.อ.พนม อินทรัศมี ๑๓ เป ดปูม ๑๐๐ ป การบินของบุพการี กองทัพอากาศ - พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร ๑๘ ประวัติศาสตร การสงครามกับการศึกษาทางทหาร - น.อ.ธันยวัต ชูส งแสง ๒๓ เคล็ดลับการสร างทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร - น.อ. สรรสิริ สิรสิ นั ตคุปต ๒๗ IRST Infrared Search and Track เทคโนโลยีพิชิตเครื่องบิน Stealth - น.อ.วัชรพงษ กลีบม วง ๓๒ เวลาการ ตูน - มีสกรีน ๓๔ มุมกฏหมาย : การปล อยสุนัขแมวทิ้งไว ที่วัด เป นการทารุณกรรมสัตว และมีความผิดตามกฎหมายหรือไม - ร.อ.ชานุวัฒน แสงสุวรรณ ๓๗ ครูภาษาพาที : เรียนคําศัพท ภาษาอังกฤษจาก Facebook - Kasa ๔๑ ธรรมประทีป : สุจริตธรรม/นางวิสาขากับการถวายผ าอาบนํา้ ฝน - กอศ.ยศ.ทอ. ๔๓ ปฐมวัยใน…New Normal - น.อ.หญิง สุพรรณรัศม ราชวงศ ๔๗ ยุทธการยับยั้งพายุลูกเห็บ - ร.อ.นรพงษ เอกหาญกมล ๕๑ มุมท องเที่ยว : ท องเที่ยวไปกับขุนพันโค ง - ผาแต ม ๕๗ RED EAGLE อินทรีแดง แผลงฤทธิ์ : ซุง…อุปกรณ เครื่องช วยฝ กสําหรับ คนพันธุ อึด - น.ต.ภฤศพงศ ช อนแก ว ๖๒ จับจิต จับใจ กับ อ.หนู : สุขภาพจิตนัน้ สําคัญไฉน - อ.หนู ๖๘ เกร็ดเล็กเกร็ดน อย ประชาคมอาเซียน : สัตว ประจําชาติของมาเลเซีย - @Zilch ๖๙ ข อมูลเชิงลึกทางด านการบินทีส่ าํ คัญและควรรู ๕ ประการ สําหรับทศวรรษ 2020 - น.อ.ดร.ปกรณ เนือ่ งฤทธิ์ ๗๕ อากาศยานไร คนขับลาดตระเวนทางทะเล - สทป. ๘๐ Social media intelligence การข าวกรองจากสือ่ สังคมออนไลน - ร.ต.พอภัทร สดสร อย ๘๔ ภาษาไทยด วยใจรัก : เพลงพระราชนิพนธ และบทเพลงต าง ๆ - นวีร ๘๗ ขอบฟ าคุณธรรม : …เป นคนพึ่งพาตนเองได … - 1261 ๙๑ ในรั้วสีเทา ๙๗ โครงการ ทัพฟ าช วยไทย ต านภัย COVID-19 "ขนข าวชาวนา เปลีย่ นปลาชาวเล" - ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปล งวิทยา

๒๓

๒๗

๖๙

5


6

ข าวทหารอากาศ คณะผูจ้ ดั ท�าหนังสือข่าวทหารอากาศ เจาของ กองทัพอากาศ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ ทองใหญ พล.อ.อ.ธนนิตย เนียมทันต พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจง พล.อ.อ.ชัยพฤกษ ดิษยะศริน

พล.อ.อ.อมร แนวมาลี พล.อ.อ.ปอง มณีศิลป พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง พล.อ.อ.จอม รุงสวาง พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย

ที่ปรึกษา พล.อ.อ.ธงชัย แฉลมเขตร พล.อ.อ.ศักดิ์พินิต พรอมเทพ พล.อ.ต.สหัสชัย มาระเนตร

พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร พล.อ.ต.หญิง สุมาลี ฤทธิบุตร

ผูอํานวยการ/บรรณาธิการ

พล.อ.ท.ตรีพล อองไพฑูรย เจากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

รองผูอํานวยการ

พล.อ.ต.ฐานัตถ จันทรอําไพ พล.อ.ต.สมพร แตพานิช

พล.อ.ต.ธรรมรงคเดช เจริญสุข

ผูชวยผูอํานวยการ

น.อ.นิโรจน จําปาแดง น.อ.ขจรฤทธิ์ แกวอําไพ ผูชวยบรรณาธิการ ผูจัดการ

น.อ.นินาท มูลจนะบาตร น.อ.สมพร รมพยอม

น.อ.นิโรจน จําปาแดง น.อ.อภิรัตน รังสิมาการ น.อ.ปยะ พลนาวี

ประจําบรรณาธิการ

น.ท.หญิง สุภาวดี โคตรเวียง น.ท.หญิง รัชนก เกิดสุข พ.อ.อ.พันธกานต พูลผล พ.อ.อ.หญิง วาสนา รับสมบัติ น.ส.อุไรวรรณ บุญณรงค น.ส.รสสุคนธ บุญประเทือง น.ส.ภัณฑิรา พันธุเสี้ยม

น.ท.หญิง มุตสิตา มาหะศักดิ์ พ.อ.อ.ธรรมวัฒน รัตนวิจารณ พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห จ.อ.หญิง ศุภวัลย กระจางนฤมลกุล นางจันทรสม คํามา น.ส.ณัฐวดี ธํารงวงศถาวร

กองวารสารและสื่อสิ่งพิมพ (เพื่อพลาง) สํานักกิจการพลเรือนและประชาสัมพันธ กรมกิจการพลเรืิอนทหารอากาศ ถนน พหลโยธิน แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทรศัพท ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑, ๐ ๒๕๓๔ ๔๒๔๑ โทรสาร ๐ ๒๕๓๔ ๔๔๗๑ สงบทความและภาพกิจกรรมไดที่ rtafmag@gmail.com

หนังสือข่าวทหารอากาศ ความเปนมา หนังสือขาวทหารอากาศ เปนนิตยสารรายเดือนของกองทัพอากาศ เริม่ ดําเนินการเมือ่ ป พ.ศ.๒๔๘๓ ขึน้ กับกรมขาวทหารอากาศ โดย นาวาอากาศเอก สกล รสานนท เปนบรรณาธิการคนแรก ดําเนินการโดยทุนของขาราชการทหารอากาศ พ.ศ.๒๔๙๘ ไดโอนกิจการมาอยูใ นความอํานวยการของกรมยุทธศึกษาทหาร อากาศ ตามคําสั่ง ทอ.(เฉพาะ) ที่ ๕๘๐/๙๘ ลง ๒๓ ธ.ค.๒๔๙๘ ๑ ม.ค.๒๕๕๓ ไดเขาอยูในกิจการสวัสดิการกองทัพอากาศ กํากับดูแล โดยคณะอนุ ก รรมการบริ ห ารวารสารและสื่ อ สิ่ ง พิ ม พ ก องทั พ อากาศ ตามอนุมัติ ผบ.ทอ./ประธานกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ เมื่อ ๒๘ ธ.ค. ๒๕๕๒ กําหนดใหใชระเบียบคณะกรรมการสวัสดิการกองทัพอากาศ วาดวยการ บริหารวารสารและสื่อสิ่งพิมพกองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๒ ๑ ม.ค.๒๕๖๑ ไดเขามาอยูในการกํากับดูแลของกรมกิจการพลเรือนทหาร อากาศ ตามคําสั่ง ทอ. (เฉพาะ) ที่ ๑๓๖/๖๐ ลง ๒๖ ก.ย.๒๕๖๐

ภารกิจ ดําเนินกิจการหนังสือขาวทหารอากาศ ใหเปนไปตามนโยบายของผูบ ญั ชาการ ทหารอากาศ โดยมีผูอํานวยการหนังสือขาวทหารอากาศ (จก.กร.ทอ.) เปนผูบังคับบัญชารับผิดชอบ

วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อเพิ่มพูนความรูในกิจการทั่วไป ๒. เพือ่ แสดงความคิดเห็นดานการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา วิทยาศาสตร เทคโนโลยีและสิง่ แวดลอม อันจะเปนประโยชนตอ สวนรวม ๓. เพื่อเผยแพรกิจการของกองทัพอากาศ

การด�าเนินงาน ๑. เปนสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นที่เปนประโยชนใน การพัฒนากองทัพอากาศและสวนรวม ๒. เนื้อหาที่นํามาลงในหนังสือขาวทหารอากาศ - ตองไมขดั ตอวัตถุประสงค/นโยบายของผูบ ญ ั ชาการทหารอากาศ - ตองไมกระทบตอความมั่นคงของชาติ บุคคล หรือ สวนรวม - ตองไดรับการพิจารณาและเห็นชอบจากคณะผูจัดทําหนังสือขาว ทหารอากาศ

ก�าหนดการเผยแพร่ นิตยสารรายเดือน

พิมพที่ บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จํากัด (มหาชน) ๓๐/๘๘ หมู ๑ ถ.เจษฎาวิถี ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ๗๔๐๐๐ โทรศัพท ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๘๘ โทรสาร ๐ ๒๗๘๔ ๕๘๕๘

อานบทความเอกสารอิเล็กทรอนิกสไดที่ www.airforcemagazine.rtaf.mi.th และ www.rtaf.mi.th บทความและความคิดเห็นของผูเขียนในหนังสือฉบับนี้ ไมมีสวนผูกพันกับทางราชการแตประการใด ออกแบบปก : พระบรมฉายาลักษณ จากกรมประชาสัมพันธ, น.อ.ปยะ พลนาวี, พ.อ.อ.ชัยชนะ โสระสิงห ภาพประกอบบทความและภาพกราฟกสเวกเตอรบางสวนนํามาจาก : www.google.com, www.freepik.com


นภา-1

ข าวทหารอากาศ

7

NAPA-1

จุดเริ่มต นของกิจการอวกาศกองทัพอากาศ

ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ก�าหนดให้มีมิติด้านอวกาศ หรือกิจการ อวกาศ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการมิติทางอากาศ และมิติไซเบอร์ อีกทั้งสอดคล้องกับความก้าวหน้า ด้านอวกาศในแต่ละประเทศ ด้วยเหตุนกี้ องทัพอากาศ ได้จัดหาดาวเทียมมาประจ�าการส�าหรับการปฏิบัติ ภารกิจโดยเฉพาะอย่างยิง่ การสนับสนุนการช่วยเหลือ ประชาชน ดังนั้นรายละเอียดของดาวเทียมนภา-1 จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ การปฏิบตั งิ านด้านอวกาศ ประกอบด้วย ๓ ส่วน คื อ ส่ ว นอวกาศ (Space Segment) หมายถึ ง การด�าเนินการภาคอวกาศทีม่ อี วกาศยาน (Spacecraft) ได้แก่ จรวด (Rocket) ดาวเทียม (Satellite) หรือ สถานีอวกาศ (Space Station) อยูใ่ นอวกาศ โดยอาจ จะอยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ ส่วนที่ ๒ คือ ส่วนภาคพื้น (Ground Segment) ประกอบด้วยส่วนย่อย ได้แก่ สถานีภาคพื้น (Ground Station) ที่มีส่วนรับส่ง สัญญาณหรือสายอากาศ (Antenna) ศูนย์ควบคุม (Control Center) ตลอดจนส่วนส�าคัญอีกส่วนคือ ส่วนน�าส่ง (Launch Facility) ด�าเนินการเกี่ยวกับ จรวดน�าส่ง (Launcher หรือ Rocket) ส�าหรับส่ง ดาวเทียมหรือวัตถุขนึ้ สูอ่ วกาศ รวมทัง้ ส่วนการประกอบ

น.อ.พนม อินทรัศมี

และทดสอบ (Integration and Testing (I&T) Facility) ท� า หน้ า ที่ ป ระกอบติ ด ตั้ ง จรวดน� า ส่ ง และควบคุ ม การด�าเนินการก่อนและหลังการน�าส่งจรวดน�าส่ง สู่อวกาศ ส�าหรับส่วนสุดท้ายคือส่วนผู้ใช้งาน (User Segment) เป็นส่วนการใช้ประโยชน์จากการด�าเนินการ ท�างานของส่วนประกอบด้านอวกาศ


8

ส่วนประกอบการปฏิบัติงานด้านอวกาศ ดาวเที ย ม (Satellite) จั ด เป็ น อวกาศยาน ประเภทหนึ่ ง โคจรรอบโลกหรื อ ดาวเคราะห์ ต าม ภารกิจที่ก�ำหนดไว้ ซึ่งอยู่ในส่วนอวกาศประเภทของ ดาวเที ย มก� ำ หนดตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องดาวเที ย ม ได้แก่ ดาวเทียมสือ่ สาร (Communication Satellite) ดาวเทียมดาราศาสตร์ (Astronomy Satellite) ดาวเทียมตรวจสภาพบรรยากาศ (Atmospheric Satellite) ดาวเทียมน�ำร่อง (Navigation Satellite) ดาวเทียมลาดตระเวน (Reconnaissance Satellite) หรือบางครัง้ เรียกว่า ดาวเทียมจารกรรม (Spy Satellite) ดาวเทียมส�ำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing Satellite) ดาวเทียมค้นหาและช่วยชีวิต (Search and Rescue Satellite) ดาวเทียมส�ำรวจอวกาศ (Space Exploration Satellite) ดาวเทียมติดตาม สภาพอากาศ (Weather Satellite) และดาวเทียม ส�ำรวจโลก (Earth Observation Satellite) กองทัพอากาศได้จัดหาดาวเทียมพร้อมระบบ ส่วนภาคพื้นเพื่อมาปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือประชาชน มีชื่อ เรียกว่า นภา-1 (NAPA-1) โดยเป็นดาวเทียมส�ำรวจโลก อยู่ในคลาส Nano Satellite มีขนาด 6 U น�้ำหนัก ๕.๓๗ กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ๗.๖ กิโลเมตร ต่อวินาที ตามวงโคจรลักษณะวงโคจรวงกลม (Circular Orbit) แนวเหนือใต้ เรียกว่า Polar Orbit มีความสูง เหนือพืน้ โลกประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร ซึง่ เป็นวงโคจร รอบโลกระดับต�่ำ (Low Earth Orbit) เคลื่อนที ่ รอบโลกหนึง่ รอบ ใช้เวลาประมาณ ๑ ชัว่ โมง ๓๔ นาที ซึ่ ง เมื่ อ ค� ำ นวณแล้ ว จากการหมุ น ของโลกในแนว ทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกขณะที่ดาวเทียมโคจร แนวเหนื อ ใต้ ท� ำ ให้ ด าวเที ย มนภา-1 โคจรผ่ า น ประเทศไทย ๔ ครัง้ ต่อวัน หรือมากกว่า ท�ำให้สามารถ ปฏิบตั ภิ ารกิจการถ่ายภาพจากอวกาศได้เมือ่ ดาวเทียม

โคจรผ่านพื้นที่ที่ต้องการถ่ายภาพในเวลากลางวัน ส�ำหรับการโคจรผ่านในช่วงเวลากลางคืน ส่วนควบคุม ด�ำเนินการสื่อสารกับดาวเทียม โดยส่งค�ำสั่งขึ้นไป ดาวเทียม (Telecommand) ใช้คลื่นวิทยุย่าน VHF และรับข้อมูลจากดาวเทียม (Telemetry) ใช้คลืน่ วิทยุ ย่าน UHF ส�ำหรับการดาวน์โหลดรูปภาพจากดาวเทียม ใช้ ค ลื่ น วิ ท ยุ ที่ แ ตกต่ า งกั น คื อ ย่ า น S-Band ที่ มี ความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลในปริมาณมากกว่า สิ่ ง ส� ำ คั ญ ส� ำ หรั บ การติ ด ต่ อ กั บ ดาวเที ย ม อี ก ประการหนึ่ ง เมื่ อ ดาวเที ย มโคจรผ่ า นในเวลา กลางคื น คื อ การตรวจสอบสภาพของดาวเที ย ม ซึ่งเรียกว่า Health Check เพื่อเป็นการตรวจสอบ สถานภาพของดาวเทียมส�ำหรับการปฏิบตั งิ าน ซึง่ ต้อง ด�ำเนินการเป็นประจ�ำทุกวัน รวมถึงการส่งค�ำสั่ง ที่ต้องการให้ดาวเทียมท�ำงานในที่นี้คือการถ่ายรูป บนพื้นที่ตามพิกัดเป้าหมายตามก�ำหนด อีกทั้งเป็น เวลาที่ดีส�ำหรับการดาวน์โหลดรูปที่ได้ท�ำการถ่าย ไว้ ก ่ อ นหน้ า นี้ ล งมายั ง ภาคพื้ น เพื่ อ น� ำ ไปปรั บ แต่ ง ส�ำหรับการใช้ประโยชน์ต่อไป การด�ำเนินการเตรียม ค�ำสั่งเหล่านี้ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า เพื่อส่งค�ำสั่ง ได้ทันทีที่ส่วนภาคพื้นตรวจจับสัญญาณดาวเทียม เมื่อโคจรผ่าน

ดาวเทียมนภา-1(NAPA-1)


ข่าวทหารอากาศ

9

จรวดน�ำส่งเวกา (Vega)

ส่ ว นภาคพื้ น ของการจั ด หาดาวเที ย มนภา-1 ประกอบด้วยส่วนการควบคุมดาวเทียมและส่วนสถานี ภาคพืน้ ซึง่ มีอปุ กรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทไี่ ด้รบั มา พร้อมกับการจัดหา การท�ำงานของส่วนการควบคุม ดาวเทียม ด�ำเนินการโดยการส่งค�ำสั่งส�ำหรับการให้ ดาวเทียมท�ำงานตามทีต่ อ้ งการ ส�ำหรับการรับส่งสัญญาณ มีจานรับสัญญาณที่เป็นระบบอัตโนมัติส�ำหรับการ ติ ด ตามดาวเที ย มทั น ที ที่ ส ามารถจั บ สั ญ ญาณจาก ดาวเทียมเมื่อโคจรผ่านเข้ามาและผ่านออกไป ท�ำให้ ผู้ปฏิบัติต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าส�ำหรับการ เตรี ย มค� ำ สั่ ง ที่ ต ้ อ งใช้ ป ฏิ บั ติ ง านกั บ ดาวเที ย ม โดยอาศัยการค�ำนวณวงโคจรและเวลาที่ดาวเทียม โคจรมาแต่ละรอบ การขึ้ น ไปสู ่ อ วกาศส� ำ หรั บ เข้ า สู ่ ว งโคจรของ ดาวเทียมต้องอาศัยจรวดน�ำส่ง (Launcher หรือ

Rocket) ส�ำหรับน�ำดาวเทียมขึ้นไปอยู่ในวงโคจร ตามความสูงที่ก�ำหนด ดาวเทียมนภา-1 ได้รับการ น�ำส่งโดยจรวดน�ำส่งเวกา (Vega) ของบริษทั Arianespace สาธารณรัฐฝรั่งเศส จรวดล�ำนี้ประกอบด้วย ๔ ส่วน (Stage) คือ ส่วนแรกหรือส่วน P-80 เป็นส่วน สร้างแรงขับท�ำให้จรวดน�ำส่งเคลื่อนที่ขึ้นไปในช่วง เริ่มต้นการเดินทางขึ้นสู่อวกาศ โดยท�ำการเผาไหม้ เชือ้ เพลิงประมาณ ๑๐๙ วินาที เมือ่ เผาไหม้เชือ้ เพลิงหมด ส่วนนีจ้ ะแยกตัวออกมาจากจรวดน�ำส่งท�ำให้สว่ นที่ ๒ หรือ ส่วน Zefiro-23 จุดระเบิดเพื่อเผาไหม้เชื้อเพลิง ส�ำหรับการเดินทางประมาณ ๗๗ วินาที และเมื่อ เชื้อเพลิงของส่วนที่ ๒ หมด ส่วนที่ ๒ จะแยกออกมา จากจรวดน�ำส่งหลัก และส่วนที่ ๓ หรือส่วน Zefiro-9 ท�ำงานในลักษณะเดียวกันใช้เวลาประมาณ ๑๑๙ วินาที เพื่อสร้างแรงขับอย่างต่อไปท�ำให้จรวดน�ำส่งเข้าใกล้


10

วงโคจรที่ต้องการปล่อยดาวเทียม โดยเชื้อเพลิงที่ใช้ ของส่วนประกอบสามส่วนแรกเป็นแบบเชือ้ เพลิงแข็ง (Solid Propellant) เผาไหม้ โ ดยการจุ ด ระเบิ ด เพียงครัง้ เดียว ซึง่ เป็นเชือ้ เพลิงทีเ่ หมาะกับการเผาไหม้ อย่ า งต่ อ เนื่ อ งจนหมดไปอั น เป็ น การสร้ า งแรงขั บ ที่ต้องการพลังงานสูงโดยเฉพาะในช่วงแรกที่ทะยาน ขึ้นสู่ห้วงอวกาศเพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก ที่คอยดึงดูดวัตถุต่าง ๆ ลงสู่พื้นโลก ส�ำหรับส่วนสุดท้ายคือ AVUM (Attitude Vernier Upper Module) เป็นการจุดระเบิดส�ำหรับการเดินทาง เข้ า สู ่ ว งโคจรของดาวเที ย มที่ จ ะปล่ อ ย ซึ่ ง ส่ ว นนี ้ เป็นส่วนที่แตกต่างจากส่วนอื่นเกี่ยวกับรูปร่างและ การใช้เชือ้ เพลิงเหลว (Liquid Propellant) เนือ่ งจาก การใช้เชื้อเพลิงเหลว สามารถจุดระเบิดและดับได้ หลายครั้ง เพราะการเดินทางในอวกาศไม่จ�ำเป็นต้อง ใช้ เ ชื้ อ เพลิ ง ต่ อ เนื่ อ ง ในบางครั้ ง เมื่ อ จรวดน� ำ ส่ ง มี ค วามเร็ ว ตามที่ต้องการสามารถดับการเผาไหม้ และจรวดน� ำ ส่งสามารถเดินทางได้อย่างต่อ เนื่ อ ง

ตามกฎการเคลื่อนที่ข้อ ๑ ของนิวตัน อีกทั้งสามารถ ปรับแรงขับได้ตามที่ต้องการ โดยเฉพาะช่วงสุดท้าย ของจรวดน�ำส่งเป็นการเคลื่อนที่และปรับทิศทาง ให้ เ หมาะสมเพื่ อ ท� ำ การปล่ อ ยดาวเที ย มออกจาก จรวดน�ำส่ง เทีย่ วบินส�ำหรับน�ำส่งดาวเทียมนภา-1 คือ VV-16 (V ตัวแรกคือ Vol เป็นภาษาฝรัง่ เศสหมายถึงเทีย่ วบิน และ V ตัวที่สองคือชื่อจรวดน�ำส่ง Vega) ภารกิจของ เที่ ย วบิ น นี้ คื อ SSMS POC (Small Satellites Mission Service, Proof of Concept) เป็นการน�ำส่ง ดาวเทียมขนาดเล็กหลายดวงในเที่ยวบินเดียวกัน เรียกว่า Rideshare ซึง่ บริษทั Arianespace ต้องการ เพิ่มแนวทางการน�ำส่งดาวเทียมส�ำหรับดาวเทียม ขนาดเล็กในลักษณะแบ่งค่าใช้จา่ ยด้วยกันในการน�ำส่ง เที่ ย วบิ น VV-16 มี ด าวเที ย มทั้ ง หมด ๕๓ ดวง เป็นดาวเทียมขนาด Micro Satellite จ�ำนวน ๗ ดวง อยู่ในชุด (Batch) แรกส�ำหรับการท�ำการปล่อยที่ ความสูง ๕๑๕ กิโลเมตร และดาวเทียมขนาด Nano

Vega VV-16 - Arianespace


ข่าวทหารอากาศ

11

ท่าอวกาศยาน (Spaceport) หรือฐานปล่อยอวกาศยานจรวดน�ำส่งเวกา

Satellite จ�ำนวน ๔๖ ดวง อยูใ่ นชุดสองท�ำการปล่อย ทีค่ วามสูง ๕๓๐ กิโลเมตร ซึง่ ในชุดนีม้ ดี าวเทียมนภา-1 รวมอยูด่ ว้ ย จรวดน�ำส่งเวกามีทา่ อวกาศยาน (Spaceport) หรือฐานปล่อยอวกาศยานเป็นของจรวดเวกา เองที่ Vega Launch Site (SLV) หรือเรียกว่า Ariane Launch Site1 (ELA1) อยูใ่ นบริเวณ Guiana Space Center (CSG) ซึ่ ง เป็ น ท่ า อวกาศยานของยุ โ รป (European Spaceport) ตั้งอยู่ใน French Guiana ทวีปอเมริกาใต้ตอนเหนือ ด้วยเหตุผลที่โลกหมุนรอบตนเองมีความเร็ว ขณะท� ำ การหมุ น บริ เ วณต� ำ แหน่ ง เส้ น ศู น ย์ สู ต ร (Equator) เป็นต�ำแหน่งซึง่ มีความเร็วการหมุนของโลก มากที่สุดและลดลงไปตามแนวละติจูด (Latitude) ดั ง นั้ น เมื่ อ ปล่ อ ยจรวดน� ำ ส่ ง ออกไปจากพื้ น โลก ย่อมได้รับอิทธิพลจากความเร็วของการหมุนของโลก จึงเป็นผลดีต่อการปล่อยจรวดน�ำส่ง ท�ำให้ต�ำแหน่ง ท่าอวกาศยานตัง้ อยูใ่ กล้กบั เส้นศูนย์สตู รเพือ่ ต้องการ ความเร็วจากการหมุนของโลกให้ได้มากที่สุด ดังนั้น การที่ French Guiana Space Center ตั้งอยู่ที่ ละติจดู ๕ องศาเหนือ มีระยะทางห่างจากเส้นศูนย์สตู ร

ต�ำแหน่ง French Guiana Space Center เมื่อเทียบกับเส้นศูนย์สูตร

ประมาณ ๕๐๐ กิโลเมตร ท�ำให้จรวดน�ำส่งได้ความเร็ว จากการหมุ น ของโลกเมื่ อ หลุ ด ออกจากพื้ น โลก อั น เป็ น การประหยั ด เชื้ อ เพลิ ง ส� ำ หรั บ การสร้ า ง ความเร็วของจรวดน�ำส่งอีกด้วย ดาวเทียมนภา-1 เป็นดาวเทียมส�ำหรับถ่ายภาพ ทางอากาศ ติดตั้งกล้อง Gecko Imager ส�ำหรับ ถ่ายภาพซึ่งมีความละเอียด (Resolution) ๔๐ เมตร


12

ที่ความสูง ๕๐๐ กิโลเมตร ท�ำให้สามารถบันทึกภาพ ในลักษณะภาพกว้างครอบคลุมพืน้ ทีไ่ ด้มาก เมือ่ น�ำมา บู ร ณาการใช้ ง านร่ ว มกั บ แพลตฟอร์ ม อื่ น ของ กองทั พ อากาศคื อ อากาศยาน ได้ แ ก่ เครื่ อ งบิ น เฮลิ ค อปเตอร์ อากาศยานไร้ ค นขั บ และโดรน รวมทั้งหน่วยงานภาคพื้น ย่อมท�ำให้การปฏิบัติงาน เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิบตั งิ านในลักษณะการสนับสนุนการช่วยเหลือ ประชาชนและการบรรเทาสาธารณภั ย อั น เป็ น แนวทางหลักในการปฏิบัติงานของกองทัพอากาศ ด้ า นการพั ฒ นาดาวเที ย ม กองทั พ อากาศ มี น โยบายส� ำ หรั บ การจั ด หาและพั ฒ นาดาวเที ย ม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถกิจการอวกาศ โดยมุ่งเน้น แนวทางการจัดหาแบบ Purchase and Development อันเป็นการเพิ่มศักยภาพกองทัพอากาศให้สามารถ

สร้างแพลตฟอร์มด้านอวกาศ เช่น ดาวเทียม ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ส่วนภาคพื้น อีกทั้งมีแนวทางส�ำหรับการ พั ฒ นาความสามารถของบุ ค ลากรกองทั พ อากาศ ในรู ป แบบการเรี ย นรู ้ แ ละการปฏิ บั ติ ทั้ ง ภายใน และภายนอกกองทัพอากาศ เพือ่ รองรับการปฏิบตั งิ าน ด้านอวกาศซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูง การปฏิบตั งิ านด้านมิตอิ วกาศหรือกิจการอวกาศ ของกองทัพอากาศเป็นสิ่งที่ท้าทายในโลกยุคปัจจุบัน ดาวเทียมนภา-1 จึงเป็นแพลตฟอร์มที่ได้มีการจัดหา เพื่อปฏิบัติภารกิจในด้านนี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ส�ำคัญ ส�ำหรับการพัฒนากิจการอวกาศให้ทันต่อเทคโนโลยี ด้านอวกาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อันจะเป็น แนวทางการด�ำเนินการและพัฒนากิจการอวกาศ ของกองทัพอากาศต่อไป

อ้างอิง - www.arianespace.com - www.avio.com - www.isispace.nl - https://www.universetoday.com/ - https://www.wikiwand.com/en/Ground_segment


ข าวทหารอากาศ

13

เปดปูม ๑๐๐ ป การบิน ของบุพการี กองทัพอากาศ พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร

(ตอจากฉบับที่แลว)

นั บ ตั้ ง แต่ ป ี พ.ศ.๒๕๐๐ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ มีพระราชประสงค์เสด็จพระราชด�าเนิน เยือนต่างประเทศเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี กับมิตรประเทศ ในวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๒ กองทัพอากาศได้จดั เครือ่ งบินล�าเลียงแบบที ่ ๒ (C-47) ถวายเป็นเครื่องบินพระที่นั่ง เพื่อเสด็จฯ ไปเยือน สาธารณรัฐเวียดนาม นับเป็นครัง้ แรกในการใช้เครือ่ งบิน ของกองทัพอากาศในการเสด็จพระราชด�าเนินไป ต่างประเทศ ในขณะนั้ น การเสด็ จ พระราชด� า เนิ น ไปยั ง ต่ า งประเทศที่ อ ยู ่ ไ กลจะใช้ เ ครื่ อ งบิ น ของบริ ษั ท การบินไทย จ�ากัด เนือ่ งจากบรรทุกได้มากและมีพสิ ยั บินไกล ในบางครัง้ ก็ตอ้ งขอใช้เครือ่ งบินของต่างประเทศ เพราะกองทัพอากาศไม่มเี ครือ่ งทีม่ ขี นาดและสมรรถนะ ที่เหมาะสมต่อการเดินทางไกล เกรงว่าจะไม่เป็นการ สมพระเกียรติ ซึ่งพลอากาศเอก หะริน หงสกุล อดีต

ผูช้ ว่ ยผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ ได้เคยบันทึกเกีย่ วกับ เรื่องเครื่องบินพระที่นั่งไว้ว่า “เมื่ อ ได้ ก ราบบั ง คมทู ล พระกรุ ณ าถึ ง เรื่ อ ง เครื่องบินพระราชพาหนะตามที่ท่านผู้บัญชาการ ทหารอากาศมอบหมายไป ก็ได้มีกระแสพระราช ด�ารัสที่ปลาบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่งว่า ในการกระท�า ใด ๆ เพื่อเป็นเกียรติของชาติไทยและคนไทยแล้ว มิได้ทรงค�านึงถึงความสะดวกสบายส่วนพระองค์เลย ถึงกับได้เคยมีพระราชด�ารัสกับอดีตผู้บัญชาการ ทหารอากาศว่า การเสด็จพระราชด�าเนินเยือนนานา ประเทศครั้งนี้ แม้จะต้องเสด็จโดยเครื่องบินแบบ DC–4 ของกองทัพอากาศที่จัดถวาย ก็ทรงยินดี จะท�าเพื่อเป็นเกียรติแก่กองทัพอากาศไทย”


14

ภายหลังปี พ.ศ.๒๕๐๓ กองทัพอากาศจึงได้ ด� า เนิ น การจั ด หาเครื่ อ งบิ น ล� า เลี ย งพิ สั ย ไกล และมี ค วามสามารถในการบรรทุ ก ได้ ม ากขึ้ น และมีความทันสมัยตามอายุ รวมถึงเฮลิคอปเตอร์ เพื่อจัดถวายเป็นเครื่องบินพระราชพาหนะ ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา

พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงให้ ค วาม สนพระทัยในความก้าวหน้าของกิจการด้านต่าง ๆ ของกองทั พ อากาศ โดยได้ ท รงเสด็ จ เยี่ ย มและ ทอดพระเนตรการฝึกต่าง ๆ ตลอดจนหน่วยงาน ของกองทัพอากาศ อาทิ


ข าวทหารอากาศ

พ.ศ.๒๕๐๑ ทรงตรวจเยี่ยมหน่วยการฝึกร่วม “วายุบตุ ร” ซึง่ เป็นการฝึกร่วมอากาศพืน้ ดิน ทีก่ องบังคับการ กองบินยุทธการ ดอนเมือง โดยมี พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ ผู้อ�านวยการฝึก ถวายการต้อนรับ วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๐๕ เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก ยาเธอ เจ้ า ฟ้ า วชิ ร าลงกรณ์ ทอดพระเนตรอากาศยานในพิพธิ ภัณฑ์กองทัพอากาศ โดยมี พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา ผูบ้ ญ ั ชาการ ทหารอากาศ ถวายการต้อนรับ

15

วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๐๗ เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก ยาเธอ เจ้ า ฟ้ า วชิ ร าลงกรณ์ ตรวจเยี่ยมการฝึก “แอร์บุญชู” ที่กองอ�านวยการฝึก โรงเรียนนายเรืออากาศ โดยมี พลอากาศตรี พะเนียง กานตรัตน์ ผู้อ�านวยการฝึก ถวายการต้อนรับ วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๑๐ เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็ จ พระเจ้ า ลู ก ยาเธอ เจ้ า ฟ้ า วชิ ร าลงกรณ์ ทอดพระเนตรกิ จ การกรมช่ า งอากาศที่ บ างซื่ อ และที่ดอนเมือง


16

จากนัน้ เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรกิจการกองบิน ๑ ซี่ ง ตั้ ง อยู ่ ป ลายทางวิ่ ง ฝั ่ ง ตะวั น ตกของสนามบิ น ดอนเมือง ในการนี้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า วชิราลงกรณ์ ได้เสด็จประทับบนเครื่องบินขับไล่ แบบที่ ๑๘ ก (F-5B) ด้วย วันที ่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๒ เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ทอดพระเนตร การแข่ ง ขั น การใช้ อ าวุ ธ ทางอากาศ ณ สนามฝึ ก ใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ในการนี้ กองทัพอากาศจัดเครือ่ งบิน ๒๔ เครือ่ ง บินแปรอักษร พระปรมาภิไธยย่อ ภปร ด้วย

วันที ่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๓ เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ทอดพระเนตร กิจการกองบิน ๔ อ�าเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ วั น ที่ ๒๙ มิ ถุ น ายน พ.ศ.๒๕๑๓ เสด็ จ ฯ ทอดพระเนตรกิ จ การกรมสรรพาวุ ธ ทหารอากาศ และกรมสื่อสารทหารอากาศ โดยมี พลอากาศเอก บุญชู จันทรุเบกษา ผูบ้ ญ ั ชาการทหารอากาศ ถวายการ ต้อนรับ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๓ เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ไปทรง ตรวจเยีย่ มการฝึกร่วมระหว่างกองทัพเรือกับกองทัพอากาศ


ข าวทหารอากาศ

ในชือ่ รหัส “ทักษิณ ๑๓” ทีส่ นามบินบ่อยาง จังหวัดสงขลา วั น ที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๔ เสด็ จ ฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรการสาธิ ต การใช้ อ าวุ ธ ทางอากาศ ต่อเป้าหมาย ณ กองบิน ๕ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๔ เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ ทอดพระเนตรการแข่งขันใช้อาวุธทางอากาศ ณ สนามฝึก ใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี วันที ่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๗ เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา

17

ทอดพระเนตรการทดลองยิ ง จรวด “เห่ า ฟ้ า ” ที่กองทัพอากาศประดิษฐ์ขึ้น ณ กองบิน ๕ จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ วันที ่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๗ เสด็จฯ พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ สมเด็จพระเจ้า ลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรนิ ธรเทพรัตนสุดา และ สมเด็จพระเจ้า ลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ทอดพระเนตร การทดลองลูกระเบิดคอนกรีตขนาด ๒๕๐ ปอนด์ ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศสร้าง กับปืนกลมือ ๐๗ (จันทรุเบกษา) ที่กรมสรรพาวุธทหารอากาศผลิต ณ กองบิน ๕ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อฉบั บหน (อา(อนตานต อฉบั บหน า) า)

อ้างอิง - หนังสือ ๔ แผ่นดินราชวงศ์จักรี ๑๐๐ ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ


18

ประวัติศาสตร์การสงคราม กับการศึกษาทางทหาร ก่ อ นที่ ม นุ ษ ย์ ก ลุ ่ ม แรกจะอ่ า นออกเขี ย นได้ สงครามได้ถือก�ำเนิดขึ้นมาก่อนนานแล้ว และยังคง เกิดขึ้นต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน และแม้ว่าในปัจจุบัน จะมี ก ารพั ฒ นาเทคโนโลยี ที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด เครื่ อ งมื อ และเปลี่ ย นแปลงรู ป แบบการท� ำ สงครามไปมาก แต่สิ่งที่ท�ำให้เกิดสงครามก็ยังคงเป็นมนุษยชาติไม่ได้ เปลีย่ นแปลงไปจากอดีต และเชือ่ ได้วา่ ตราบใดทีม่ นุษย์ ยังมีสัญชาตญาณการเอาตัวรอดและทรัพยากรโลก ยังมีอยูอ่ ย่างจ�ำกัด สงครามเป็นเรือ่ งทีไ่ ม่อาจหลีกเลีย่ ง เทคโนโลยีเปลี่ยน รูปแบบการรบเปลี่ยน ในการ เปลี่ ย นแปลงที่ ดู เ หมื อ นรวดเร็ ว นั้ น แท้ จ ริ ง มั น มีวิวัฒนาการไปตามล�ำดับ การศึกษาร่องรอยทาง ประวัติศาสตร์ของสงคราม จะท�ำให้เราเห็นรูปแบบ และพั ฒ นาการของมัน รวมทั้งจะช่วยคาดการณ์ ได้ว่าสงครามในอนาคตหน้าตาจะเป็นอย่างไร สงครามหรือการสู้รบมีความเกี่ยวข้องกับความ ยากล�ำบากและความอยู่รอดของมนุษย์จ�ำนวนมาก ไม่ว่าในยามปกติ ใครจะเป็นชาวนาชาวไร่ เป็นครู เป็นพ่อค้าแม่ค้า จะชอบหรือจะชังสงคราม แต่เมื่อ สงครามมาถึง ทุกคนทุกอาชีพจะกลายสภาพไปเป็น นักรบ เพราะสงคราม ไม่เคยปรานีและยกเว้นให้ใคร สงคราม หมายถึง การรบใหญ่ทมี่ คี นจ�ำนวนมาก ต่อสู้ฆ่าฟันกัน เป็นสถานการณ์ความขัดแย้งซึ่งมีการ ใช้ก�ำลังเข้าบีบบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามยอมกระท�ำตาม เงื่อนไขหรือความต้องการ สงครามถือเป็นเครื่องมือ

น.อ.ธันยวัต ชูส่งแสง

ทางการเมื อ งของรั ฐ ที่ มั ก น� ำ มาใช้ เ มื่ อ นโยบาย ทางการเมืองอืน่ ๆ เช่นการทูต ไม่สามารถใช้ให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามทีต่ อ้ งการได้ สงครามเมือ่ เกิดขึน้ แล้ว คู่สงครามไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือฝ่ายชนะ ต่างก็ ได้รับความเสียหาย ชีวิตของผู้คน ทรัพย์สินของ บ้านเมืองต้องสูญเสียสิ้นเปลืองอย่างน่าอเนจอนาถ สงครามเป็ น เหตุ แ ห่ ง ความเดื อ ดร้ อ นใหญ่ ห ลวง ของประชาชน และผู้ต้องเผชิญกับภัยพิบัติมากที่สุด จากสงคราม ก็คือประชาชน สงครามเป็นการกระท�ำที่อยู่บนพื้นฐานของ จิตมนุษย์ ซึง่ มีความซับซ้อนและสามารถเปลีย่ นแปลง ได้ตลอดเวลา ไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าอีกฝ่ายจะยอม ปฏิ บัติ ต ามความต้ อ งการหรื อ ตามเงื่ อ นไขหรื อ ไม่

เครื่องบินอังกฤษทิ้งระเบิดเรือรบ เยอรมันในฝรั่งเศส (WW II)


ข่าวทหารอากาศ

และทุกครั้งที่เกิดสงคราม ล้วนแต่สร้างความเสียหาย อย่างย่อยยับแก่สังคม นอกจากนี้ สงครามเพียง หนึ่ ง ครั้ ง อาจมี อ� ำ นาจตั ด สิ น การด� ำ รงอยู ่ แ ละการ สูญสลายของชาติพันธุ์และสังคมนั้น ๆ ได้ สงคราม จึ ง อยู ่ ใ นฐานะเหตุ ก ารณ์ ที่ สั ง คมใช้ เ ป็ น บทเรี ย น ซึ่งประวัติศาสตร์จะเป็นศาสตร์ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการศึกษา เพือ่ คลีค่ ลายให้เกิดความเข้าใจต่อสงคราม ที่เกิดขึ้น B.H.Liddle Hart นายทหารและนักประวัตศิ าสตร์ การทหารที่ ส� ำ คั ญ ของอั ง กฤษในช่ ว งสงครามโลก ครั้งที่ ๑ เขียนไว้ในหนังสือ Thoughts on War ว่า “When a Chief of the Imperial General Staff wrote that he had “never had time to study the details of military” … it was as if the President of the Royal College of Surgeons said he never had time to study anatomy, or do any dissection ...” “เมื่ อ หั ว หน้ า ฝ่ า ยเสนาธิ ก ารทหารบอกว่ า ตั ว ท่ า นไม่ มี เ วลาที่ จ ะศึ ก ษารายละเอี ย ดของ ประวั ติ ศ าสตร์ ก ารทหารก็ ห มายความท� ำ นอง เดียวกันว่าท่านประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ กล่าวว่า ตัวท่านไม่มีเวลาที่จะศึกษารายละเอียด เกี่ยวกับกายวิภาคหรือการผ่าตัดใด ๆ…”

ในสงคราม...ชีวิตไม่มีวันเหมือนเดิม

19

B.H. Liddle Hart

การศึกษาประวัตศิ าสตร์สงคราม เป็นวิธกี ารทีจ่ ะ ท�ำให้นกั การทหารได้เรียนรูส้ งครามต่าง ๆ โดยไม่ตอ้ ง เข้ า ไปมี ป ระสบการณ์ ร ่ ว ม เพราะประสบการณ์ บางอย่าง ก็ให้ผลเลวร้ายเกินกว่าจะเข้าไปพบเจอ ด้ วยตั วเอง ซึ่ ง นอกจากจะสามารถเรี ย นรู ้ มู ล เหตุ รูปแบบ วิธีการ และผลของสงครามได้โดยง่ายแล้ว นักการทหารยังสามารถเลือกศึกษาได้อย่างอิสระ แต่หากเป็นผู้ร่วมในเหตุการณ์สงครามนั้นโดยตรง ภาวะหน้าที่และความสับสนอลหม่านในการสงคราม ก็อาจท�ำให้ไม่มเี วลาได้ศกึ ษาถึงวิธกี ารรบของฝ่ายตน หรือฝ่ายตรงข้ามได้สะดวกขณะที่ผลของสงคราม ที่อาจยืดเยื้อยาวนานก็เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา โดยใช้ประสบการณ์ตรงเช่นกัน ในอี ก ด้ า นหนึ่ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ก ารสงคราม นอกจากจะช่วยให้ฝ่ายทหารเตรียมพร้อมอยู่เสมอ แล้ว ยังช่วยให้คณะผู้บริหารประเทศไม่ด่วนตัดสินใจ ที่ จ ะมี ส ่ ว นร่ ว มในการท� ำ สงครามโดยประมาท อีกประการหนึ่งด้วย


20

ด้วยธรรมชาติของสงครามเป็นเรื่องการกระท�ำ ทีร่ นุ แรงและอันตราย เป็นสิง่ โหดร้ายทารุณมากทีส่ ดุ ของมนุษยชาติ การใช้ก�ำลังบีบบังคับท�ำให้เกิดการ สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพยากร โดยเฉพาะต่อฝ่ายที่ พ่ายแพ้ สงครามเกิดขึน้ และสิน้ สุดลงเป็นวัฏจักรตัง้ แต่ บรรพกาล ซ�ำ้ แล้วซ�ำ้ เล่ามาจนถึงปัจจุบนั และไม่อาจ ยืนยันได้ว่าในอนาคตจะเกิดสงครามขึ้นอีกหรือไม่ ความไม่แน่นอนเหล่านีเ้ องเป็นสิง่ ทีท่ หารจะต้องเรียนรู ้ จากปรากฏการณ์ทเี่ คยเกิดขึน้ ในอดีต เพือ่ คาดการณ์ ถึงมูลเหตุรปู แบบวิธกี ารของสงครามในอนาคต อันจะ น�ำไปสูก่ ารวางแผนเตรียมก�ำลังความพร้อม ซึง่ นอกจาก เป็ น การช่ ว ยให้ ก องทั พ สามารถเผชิ ญ ภั ย คุ ก คาม ในรูปแบบต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีแล้วยังสร้างความมัน่ ใจ ให้ประชาชนผูฝ้ ากความหวังของชาติได้อกี ทางหนึง่ ด้วย การที่ ป ระเทศไทยหรื อ ราชอาณาจั ก รสยาม อยูร่ อดเป็นเอกราชไม่ตกเป็นเมืองขึน้ ของมหาอ�ำนาจ ใด ๆ นัน้ ไม่ใช่เพราะโลกในยุคทีผ่ า่ นมารอบตัวเรามีแต่ สันติภาพและความสงบสุข ร้อยกว่าปีมานีแ้ นวความคิด เรื่องจักรวรรดินิยมแผ่ปกคลุมไปทั่วโลก สมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากทีอ่ งั กฤษเข้ายึดครองอินเดีย พม่า และผนวกเอาเป็นส่วนหนึง่ ของจักรวรรดิองั กฤษ โปรตุ เ กสยึ ด ครองฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ฮอลแลนด์ ยึ ด ครอง อิ น โดนี เ ซี ย ในขณะที่ ฝ รั่ ง เศสบุ ก ยึ ด เวี ย ดนาม และผนวกรวมกัมพูชาและดินแดนของลาวบางส่วน ไม่ใช่ว่าประเทศเหล่านั้นไม่ต้องการยึดครองไทย หรือต้องการสงวนไทยไว้เป็นรัฐกันชนอย่างเต็มใจ แต่ เ พราะพระมหากษั ต ริ ย ์ ข องไทยในยุ ค สมั ย นั้ น ได้วางรากฐานและด�ำเนินวิเทโศบายทางการทูตได้อย่าง แยบยล อย่างไรก็ตามสัญชาติของประเทศมหาอ�ำนาจ ย่อมต้องหาทางเพื่อขย�้ำลูกแกะ รัตนโกสินทร์ศกที่ ๑๒ (ร.ศ.๑๑๒) ไทยและฝรั่งเศสก็มีเหตุพิพาทกัน เรื่องดินแดน (พื้นที่ประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นเมืองขึ้น ของไทยในเวลานั้นและดินแดนฝั่งซ้ายแม่น�้ำโขง) เป็นเหตุให้ฝรั่งเศสที่ก�ำลังแผ่ขยายอ�ำนาจอิทธิพล แข่งกับชาติมหาอ�ำนาจตะวันตกอื่น ยกเรือรบมาปิด

น่านน�้ำไทยเกิดเหตุการณ์วิกฤตแผ่นดิน ร.ศ.๑๑๒ ที่เกือบท�ำให้ไทยสิ้นชาติ และแม้ฝ่ายไทยซึ่งได้จมเรือขึงโซ่เหล็กและวาง ทุน่ ระเบิดเป็นแนวป้องกันไว้อย่างแข็งแรง กองเรือรบ และปื น ใหญ่ ป ้ อ มพระจุ ล ฯ และป้ อ มผี เ สื้ อ สมุ ท ร แม้จะเข้าต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ ก็ไม่อาจหยุด เรือรบของฝรั่งเศสไว้ได้ เรือรบฝรั่งเศสได้มาฉลอง วันชาติฝรั่งเศสถึงหน้าพระราชวังสยาม เหตุการณ์คราวนั้น บันทึกฝ่ายอังกฤษระบุว่า ช่วงเวลานั้นกองทัพของไทยยังไม่ได้รับการฝึกฝน และพัฒนาอย่างดีพอ ผูบ้ ญ ั ชาการรบเป็นชาวเดนมาร์ก เชื้อสายฝรั่งเศสซึ่งแม้จะเป็นผู้มีความคิดความเห็น ที่เยี่ยมยอดแต่ก็มักไม่ได้รับการสนับสนุนจากคณะ เสนาบดี ป้อมปืนก็เพิง่ สร้างเสร็จ นายทหารชาวยุโรป ที่ประจ�ำป้อมก็สื่อสารกับคนไทยได้เพียงเล็กน้อย ทหารประจ�ำเรือรบของไทยส่วนใหญ่ก็เพิ่งเกณฑ์มา ใช้ปนื ใช้ระเบิดยังไม่เป็นดินระเบิดเองก็เพิง่ ได้มาบรรจุ ทุ่นระเบิดเสร็จได้ไม่กี่ทุ่น ปืนกลประจ�ำเรือสั่งซื้อ ไปแล้ ว แต่ ก็ ยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ ปื น ใหญ่ เ รื อ และปื น ใหญ่ บนป้อมบกก็ยังไม่ได้ทดลองยิง สยามเวลานั้น คิดว่า สงครามคงจะมาไม่ถึง ผลลัพธ์ของเหตุการณ์คราวนัน้ สยามเป็นฝ่ายแพ้ อย่างย่อยยับ และแม้ฝา่ ยสยามจะต่อสูด้ ว้ ยวิถกี ารทูต เป็นอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ก็ยังน�ำมาซึ่งการถูกบังคับ ให้สละกรรมสิทธิ์ทั้งปวงเหนือดินแดนฝั่งซ้ายของ แม่นำ�้ โขงและเกาะทัง้ หลายในแม่นำ �้ ห้ามตัง้ กองทหาร และสร้างค่ายแม้บนฝัง่ ขวาแม่นำ�้ โขงในรัศมี ๒๕ กิโลเมตร และในพืน้ ทีน่ จี้ ะไม่มกี ารเก็บภาษีใด ๆ ต่อการค้าขาย ของฝรั่งเศส หากพื้นที่ฝั่งขวาแม่น�้ำโขงนี้เจริญขึ้น และฝรัง่ เศสปรารถนาจะสร้างท่าเรืออูเ่ รือ รัฐบาลสยาม จะต้องให้ความสะดวก พื้นที่ราชอาณาจักรสยาม ไม่ว่าจะเป็นที่ใดก็ตาม ฝรั่งเศสขอสงวนสิทธิ์ที่จะตั้ง กงสุล ณ ที่ใดก็ได้ท่ีเห็นสมควร และหากเกิดกรณี ยุ่งยากในการตีความหมายของสัญญานี้ให้ใช้ฉบับ ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลักเท่านั้น


ข าวทหารอากาศ

21

นอกเหนือจากข้อเรียกร้องดังกล่าว ยังมีอนุสญั ญา ปลีกย่อยอีกหลายประการ รวมไปถึงการชดใช้เงิน ที่แทบจะเรียกว่าเป็นการปล้นชาติซึ่งฝรั่งเศสคาดว่า ราชอาณาจักรเล็ก ๆ อย่างสยามคงชดใช้ไม่ไหว ต้องยอมอยู่ในอาณัติโดยดุษฎีแต่ด้วยการมองการณ์ ไกลของพระมหากษั ต ริ ย ์ ไ ทยในอดี ต ที่ เ ตรี ย มเงิ น ถุงแดงไว้เต็มท้องพระคลัง และการเสียสละทรัพย์ ของคนไทยในเวลานั้น ไม่เพียงแต่ท�าให้ไทยมีเงินพอ ชดใช้ แต่ยังท�าให้ลูกแกะอย่างสยามกลายเป็นที่รู้จัก ในหมู่ประเทศมหาอ�านาจตะวันตกว่าลูกแกะก็ท�าให้ จิ้งจอกเสียหน้าได้ บทเรียนที่เราได้รับจากเหตุการณ์นั้น คือการที่ ไทยไม่ได้ศึกษาการรุกคืบของฝรั่งเศสต่อประเทศ รอบบ้านของไทยให้ถ่องแท้ ไม่ได้เตรียมการรับมือ ให้พร้อมเสียตัง้ แต่ในยามปกติ น�ามาซึง่ การเกือบสูญสิน้ เอกราช ส่วนฝรั่งเศสเองก็ไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ การใช้เครือ่ งมือทางการทูตในการท�าสงครามของไทย ให้ดพี อ จนท�าให้ไม่สามารถบรรลุวตั ปุ ระสงค์ทตี่ อ้ งการ ในการท�าสงครามได้ทั้งหมด

แต่ ห ากพู ด ถึ ง การสู ้ ร บครั้ ง ใหญ่ ค รั้ ง สุ ด ท้ า ย ของไทย กรณีพิพาทบ้านร่มเกล้า เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ คนไทยกลับแทบไม่รู้จักและส่วนใหญ่จดจ�าเรื่องราว ได้ น้ อ ยกว่ า สงครามยุ ท ธหั ตถี เ มื่ อ ครั้ ง สมั ย อยุ ธยา เสียอีก ในสงครามบ้านร่มเกล้า กองทัพอากาศสูญเสีย เครื่องบินรบ OV-10 และ เครื่องบินรบ F-5 รวม ๓ เครือ่ ง และได้บทเรียนส�าคัญจากการโจมตีทางอากาศ ผิดพลาด ด้วยอ�านาจการท�าลายของระเบิดน�าวิถี ขนาด ๒,๐๐๐ ปอนด์ GBU-12 ท�าให้ก�าลังทางบก ที่เข้าตีเนิน ๑๔๒๘ ของฝ่ายเราเองสูญเสียเกือบ ทั้งกองพัน บทเรียนจากสงครามครั้งนั้น ได้น�ามาสู่ การฝึกร่วมกองทัพไทยอย่างจริงจัง และการให้ความ ส�าคัญของผู้บังคับบัญชาของทุกเหล่าทัพในการด�ารง ขีดความสามารถในการสือ่ สารระหว่างกันในทุกระดับ ของการปฏิบัติการ หากพิ จ ารณาข้ อ เท็ จ จริ ง ของการศึ ก ษา ประวั ติ ศ าสตร์ ก ารสงครามในหลั ก สู ต รทางทหาร ของกองทัพอากาศในหมวดวิชาการทหารทุกหลักสูตร

ภาพเรื อ รบฝรั่ ง เศสหน้ า พระเจดี ย ์ ก ลางน�้ า ในเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ Le Petit Parisienของฝรั่งเศส

นักเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับหมวดฝกภาคสนาม


22

หลักของทั้งโรงเรียนหลักขั้นต้นและขั้นปลาย เนื้อหา วิชาทีเ่ กีย่ วข้องกับประวัตศิ าสตร์การสงครามมีจดุ เน้น และจ�ำนวนชั่วโมงศึกษา มากน้อยแตกต่างกันไป โดยทุกหลักสูตรมีความ ชัดเจนที่จะศึกษาในเรื่องการรบมากกว่าการศึกษา ในเชิ ง ภู มิป ั ญ ญาและประวัติศาสตร์ อันเป็นปกติ ของสายวิทยาการทางทหารทีต่ า่ งไปจากสายรัฐศาสตร์ ทหารนัน้ มุง่ เน้นศึกษาในรายละเอียดต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง กับการด�ำเนินการสงคราม ได้แก่ ยุทธศาสตร์การรบ แผนการสงคราม ยุ ท ธวิ ธี แ ละการจั ด รู ป ขบวน และจ�ำนวนตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับการสงคราม เช่น ยุทโธปกรณ์ ทหาร ผู้เสียชีวิต รวมไปถึงการเกิดขึ้น และสิ้นสุดของสงคราม ไม่ได้เน้นการวิเคราะห์ในแง่ ของปรัชญา อันเป็นรากฐานทีส่ ง่ ผลต่อแนวคิด วิธกี าร และรู ป แบบวิ วั ฒ นาการของสงคราม ที่ สั ม พั น ธ์ กับบริบททางประวัติศาสตร์เช่นนักรัฐศาสตร์ หากตั้งค�ำถามว่ากองทัพให้ความส�ำคัญกับการ ศึกษาประวัติศาสตร์การสงครามแค่ไหน อาจต้องใช้ การคิดพิจารณาด้วยใจเป็นกลางว่า ก�ำลังพลของ กองทัพอากาศมีความรูใ้ นเรือ่ งประวัตศิ าสตร์การสงคราม ทั้งของสากล ของไทยและของกองทัพอากาศแค่ไหน กองทัพได้จัดสรรทรัพยากรสร้างแหล่งข้อมูลในการ ศึกษาประวัติศาสตร์การสงครามที่เอื้อต่อการเรียนรู ้ มากพอหรือไม่ ไม่วา่ จะเป็น เอกสารต�ำราคูม่ อื วารสาร สิ่งพิมพ์และงานวิจัยที่มีคุณภาพหรือร่วมเป็นก�ำลัง ความคิดและให้ขอ้ มูลกับภาคเอกชนผูส้ ร้างสือ่ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสารคดี รวมไปถึงการจัดพิพิธภัณฑ์ การสร้างเว็บไซต์ข้อมูลและการสนับสนุนการดูงาน การปรั บ ปรุ ง ภู มิ ทั ศ น์ ส ถานที่ ท างประวั ติ ศ าสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการรบของชาติ การยกระดับการศึกษาประวัตศิ าสตร์การสงคราม ในหลักสูตรทางทหารของกองทัพอากาศนัน้ นอกจาก

ภาพยนตร์ไทยรักสยามเท่าฟ้า เข้าฉายปี พ.ศ.๒๕๕๑

จะก�ำหนดวิชาประวัตศิ าสตร์การสงครามเป็นวิชาบังคับ ในหลั ก สู ต รหลั ก แล้ ว จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี นั ก การทหาร ที่ เ ชี่ ย วชาญมาท� ำ หน้ า ที่ ส อนวิ ช าดั ง กล่ า วมี ต� ำ รา ที่มีมาตรฐานทางวิชาการมีกิจกรรมการฝึก และการ ศึกษาดูงานสถานทีห่ รือหน่วยทหารทีม่ ปี ระวัตกิ ารรบ โดดเด่นในอดีตอีกทัง้ สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งต้องมี ผลงานหรือเอกสารวิชาการ น�ำเสนอให้กบั กองทัพอากาศ ตามระดับของหลักสูตรอย่างสม�่ำเสมอ สงครามคือเรื่องใหญ่ของประเทศ เกี่ยวพันถึง ความเป็นความตายของประชาชน และความอยูร่ อด ของชาติ การไม่ใส่ใจศึกษาให้ถี่ถ้วนย่อมขัดกับหลัก พิชยั สงคราม ในเมือ่ ประวัตศิ าสตร์การสงครามได้เกิด ขึน้ มาแล้วอย่างยาวนาน และมีเหตุการณ์มากเพียงพอ ให้วเิ คราะห์ได้อย่างเข้มข้น วันนีท้ หารผูเ้ ป็นนักรบของชาติ ก็อย่าได้ละเลยศึกษา การขาดความใส่ใจเท่ากับเป็นการ ละทิง้ มรดกของบรรพบุรษุ อย่าให้เกิดภาพเหตุการณ์ ที่ประชาชนพลเรือน หรือเด็ก ๆ ลูกหลาน ถามถึง ประวัติศาสตร์การสงครามแล้วทหารอย่างพวกเรา ตอบไม่ได้ เพราะนั่นสะท้อนว่านอกจากเราไม่ใช่ “มื อ อาชี พ ” ผู้มีประสบการณ์ตรงในการรบแล้ว เรายังขาดคุณสมบัตสิ ำ� คัญของ “ทหารอาชีพ” อีกด้วย

อ้างอิง - Hart, B. H. (1944). Thoughts on War. London: Faber & Faber. - คัมภีร์สงครามซุนวู. พีรพล สงนุ้ย เรียบเรียง. กรุงเทพฯ :Higher Press, ๒๕๔๘


ข าวทหารอากาศ

23

เคล็ดลับการสรางทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร (Tips for building your cybersecurity team)

น.อ. สรรสิริ สิริสันตคุปต์

ผู ้ บ ริ ห ารความมั่ น คงปลอดภั ย สารสนเทศ (Chief Information Security Officer : CISO) เป็นต�าแหน่งผูบ้ ริหารระดับสูงด้านการรักษาความปลอดภัย ให้กับโครงสร้างเครือข่ายและความปลอดภัยของ ข้อมูลสารสนเทศ (Cyberspace) ถือเป็นผู้มีความ เข้าใจในระบบขององค์กรและการจัดการกับความเสีย่ ง ที่มีโอกาสเกิดขึ้น เพื่อไม่ให้ปัญหาด้านความไม่มั่นคง ปลอดภัยส่งผลกระทบต่อองค์กร เป็นไปได้ในวันหนึง่ จะเกิดความกังวลอย่างมาก ซึง่ ค้างอยูใ่ นใจของ CISO อย่างในเรื่องอาชญากรด้านไซเบอร์ การจัดการกับ การปิดรอยรั่ว (Patch management) หรือเรื่อง

การน� า เสนอของคณะกรรมการในที่ ป ระชุ ม เช่ น การป้ อ งกั น การสู ญ หายของข้ อ มู ล ความกั ง วล ที่ เ กิ ด ขึ้ น ดู เ หมื อ นจะมี อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง หนึ่ ง ในนั้ น เป็นความกังวลที่เกี่ยวกับงานซึง่ CISO ส่วนใหญ่นนั้ ต้องมีแบบแผนในการด�าเนินการกล่าวคือ การบริหาร จัดการบุคลากรที่รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให้ อ งค์ ก รได้ ม าซึ่ ง ความส� า เร็ จ ระยะยาว ในการต่อสู้กับปัญหาทางด้านไซเบอร์ในแต่ละวัน โดยบทความในฉบั บ มี มุ ม มองและรายละเอี ย ด ที่น่าสนใจดังนี้


24

ความกังวลของ CISO ความกั ง วลดั ง กล่ า ว ถื อ เป็ น แนวโน้ ม ใหญ่ ที่ ขั บ เคลื่ อ นอยู ่ ใ นตลาดงานด้ า นความปลอดภั ย ทางไซเบอร์ สิ่งแรกคือ การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ มืออาชีพด้านความปลอดภัย (Skilled security professional) อาจลืมไปว่า CISO หลายคนยัง ไม่สามารถหาผูเ้ ชีย่ วชาญมืออาชีพ ฯ มาลงในต�ำแหน่ง ที่ว่างซึ่งมีความต้องการ ข้อมูลจากสมาคมรับรอง ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ (The International Information System Security Certification Consortium : ISC2) นั้น มีต�ำแหน่ง ที่ว่างให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยมากกว่า ๔ ล้านต�ำแหน่งทั่วโลก และมีมากกว่า ๔๐๐,๐๐๐ ต�ำแหน่งในอเมริกาเหนือ แต่ปญ ั หาทีใ่ หญ่กว่าส�ำหรับ เหล่า CISO คือ ความกังวลมีผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ ด้ า นความปลอดภั ย จ� ำ นวนน้ อ ยในที ม รวมทั้ ง ความกังวลที่จะสูญเสียพวกเขาไป เพื่อหลีกเลี่ยง

ในการสูญเสียพนักงานทีม่ คี วามสามารถ (Key player) ถื อ เป็ น หน้ า ที่ CISO ที่ จ ะต้ อ งรั ก ษาพนั ก งานที่ ม ี ความสามารถขององค์กรไว้ สิง่ ทีเ่ หล่า CISO ต้องเผชิญ ก็คอื เรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับองค์กรอันมีผลต่อ CISO และทีมงาน ด้านไซเบอร์ จากข้อมูลที่เชื่อถือได้ระยะเวลาเฉลี่ย ของ CISO จะใช้เวลาอยู่ในต�ำแหน่งระหว่าง ๑๘ ถึง ๓๖ เดือน ซึ่ง CISO หลายคนลาออกไปเร็วกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการได้รับข้อเสนอที่ดีกว่าจากองค์กรอื่น ความไม่พอใจในการจัดสรรงบประมาณหรือความเสีย่ ง ในการท�ำงานน�ำมาซึง่ การตกเป็นแพะรับบาปขององค์กร ผลน�ำมาสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเร็วในต�ำแหน่งของ CISO ถือเป็นการโยกย้ายจากด้านบนที่มักจะสร้าง ความไม่แน่นอน และมีผลกระทบต่อความก้าวหน้า ของพนักงานที่อยู่ด้านล่าง (ในทีมงาน) ดังนั้นโอกาส ที่ดีกว่าน�ำเสนอในองค์กรหนึ่ง จึงกลายเป็นปัญหา การสูญเสียพนักงานของอีกองค์กรหนึ่ง อันน�ำมา ซึง่ สมองไหล (Brain drain) ถือเป็นเรือ่ งทีค่ วรพิจารณา


ข่าวทหารอากาศ

สิ่งที่ CISO ควรท�ำ เมื่อพิจารณาจากลมมรสุมเหล่านี้ CISO จะต้อง ให้ความสนใจในทีมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ อย่างจริงจัง เพือ่ รักษาพนักงานทีม่ คี วามสามารถ (Key player) และท�ำให้พนักงานคนอืน่ มีความสามารถสูง ตามมา ในมุมมองต้องวางโครงสร้างการบริหารจัดการ ด้านบุคลากรที่มีแบบแผน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทีมงาน ของเรา จะประสบความส�ำเร็จระยะยาวในการต่อสูก้ บั ปัญหาทางด้านไซเบอร์ในแต่ละวัน และนีค่ อื ค�ำแนะน�ำ ในการรักษาพนักงานทีม่ คี วามสามารถ รวมทัง้ ค�ำแนะน�ำ ในการช่วยให้พวกเขาประสบความส�ำเร็จ ๑. ฝึกฝนให้พวกเขาแต่ละคน สิ่งส�ำคัญอันดับ ที่หนึ่ง ซึ่ง CISO นั้นสามารถท�ำได้เพื่อที่จะแสดง ให้เห็นถึงความมุง่ มัน่ ทีม่ ตี อ่ ทีมงาน กล่าวได้คอื การลงทุน เพือ่ การเติบโตในสายอาชีพของแต่ละคนในทีม รวมทัง้ การเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้เรียนรูท้ กั ษะ และเทคโนโลยี ใหม่ ๆ ซงึ่ คงไม่จำ� เป็นต้องเป็นการฝึกอบรมทีม่ รี าคาแพง ในสถานที่ที่สวยหรู แต่เน้นมีความมุ่งมั่นที่จะลงทุน

25

ให้กบั การฝึกอบรมทีม่ แี บบแผน (Structured training) และนัน่ ก็คอื ผลทีจ่ ะได้รบั ซึง่ มีคณ ุ ค่ามากกว่าทีค่ าดไว้ ๒. เข้าไปมีส่วนร่วมกับพวกเขา CISO ที่ดีนั้น ต้องใช้เวลาร่วมกับทีมงาน อย่าเป็นเพียงแค่สั่งงาน ด้วยตัวหนังสือถึงทีมงานของคุณ ต้องพูดคุยกับพวกเขา แบบตัวต่อตัวรู้ว่านั่นมันยากเพราะ CISO ทุกคน มีงานที่ยุ่ง แต่ขอให้นึกไว้เสมอว่า “ไม่มีการลงทุนใด ส�ำคัญไปกว่าการลงทุนให้กับทีมงานของคุณ” ๓. รวมพวกเขาไว้ด้วย ด้วย CISO หลายคน เชื่อมั่นในความสามารถของตนอง แต่ความปลอดภัย ทางด้านไซเบอร์นนั้ ซับซ้อนเกินกว่าทีจ่ ะคิดว่า เหล่า CISO มีค�ำตอบแล้วทั้งหมด บางครั้งในทีมมีความสามารถ ที่มากกว่า (ถ้าคุณได้ถามพวกเขา) ข้อมูลจาก Gen. Stanley Mc Chrystal ที่เขียนไว้ในหนังสือ “Team of Teams” ว่า “ความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์ เป็นหนึง่ ในหลายเรือ่ งทีม่ คี วามซับซ้อน และแซงหน้า ความสามารถของ CISO ในการท�ำนาย ตรวจสอบ และควบคุม” ซงึ่ การกระจายความรับผิดชอบ แต่ยงั คง


26

มีความรับผิดชอบในภาพรวมนั้น จะท�ำให้คนอื่น ๆ ให้ความเคารพในตัวของ CISO ๔. ขอบคุณพวกเขา ควรเข้าใจอย่างชัดเจนว่า คนส่วนใหญ่นั้นไม่ลาออกเพราะองค์กรหรือบริษัท พวกเขาลาออกเพราะหัวหน้าของเขา คุณนั้นอยู่ใน ต�ำแหน่ง CISO ซึ่งต้องใช้เวลาร่วมกันในการเติบโต ต้องชืน่ ชม และต้องขอบคุณพนักงานทีม่ คี วามสามารถ (Key player) ที่อยู่ในทีมของคุณ ในทางกลับกันคุณ คาดหวังได้เลยว่า พวกเขาก็จะท�ำเช่นเดียวกันในทีม ของพวกเขา ทีส่ ำ� คัญนัน้ คุณควรชืน่ ชมในงานทีพ่ วกเขา ได้ท�ำให้ และพวกเขาก็จะถวายชีวิตท�ำงานให้กับคุณ ด้วยความเต็มใจ

ข้อคิดที่ฝากไว้ โปรดทราบไว้ว่า คุณในฐานะ CISO สามารถ ควบคุมตัวแปรได้ในจ�ำนวนจ�ำกัดและคงไม่สามารถ ห้ามพนักงานไม่ให้ลาออกได้ บางคนอาจลาออกไป เพราะคุณได้ฝึกและให้ค�ำแนะน�ำพวกเขาเป็นอย่างดี จนท�ำให้พวกเขาได้งานใหม่จากที่อื่น บางคนอาจจะ ลาออกไปเพราะคู ่ ส มรสได้ ง านท� ำ ในสถานที่ ใ หม่ ส่วนคนอื่น ๆ ที่ลาออกไปอาจเป็นเพราะไม่พอใจ ในนโยบายใหม่ขององค์กร สิ่งส�ำคัญคือคุณนั้นควร ควบคุมสิ่งต่าง ๆ ที่คุณสามารถควบคุมได้และจง ให้เวลาในการท�ำสิ่งเหล่านั้นให้ดีที่สุด

อ้างอิง - http://www.cioworldmagazine.com/topics/columist/sansiri-sirisantakupt/


ข าวทหารอากาศ

27

IRST Infrared Search and Track

เทคโนโลยีพิชิตเครื่องบิน Stealth น.อ.วัชรพงษ์ กลีบม่วง

เครือ่ งบินรบแบบ Stealth ซึง่ ถือว่าเป็นเครือ่ งบินรบ ยุคที่ ๕ ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือการล่องหนหรือถูก ตรวจจั บ ด้ ว ยเรดาร์ ไ ด้ ย ากนั้ น ได้ ถู ก พั ฒ นาโดย หลายค่ายผูผ้ ลิต เริม่ ต้นจาก ค่ายอเมริกาซึง่ ถือว่าเป็น ผู ้ เ ริ่ ม ต้ น ในการสร้ า งเครื่ อ งบิ น รบแบบ Stealth และน�าเข้าประจ�าการในกองทัพ เช่น F-22, F-35 และเครื่องบินทิ้งระเบิด B-2 ในส่วนของค่ายรัสเซีย ได้ผลิต Su-57 ทีย่ งั คงรักษาเอกลักษณ์ของเครือ่ งบินรบ สไตล์รัสเซียไว้ เช่น ท่อท้ายทรงกระบอกคู่ ส�าหรับ ผู้ผลิตสัญชาติจีนซึ่งถือว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา จีนเป็นชาติที่มีความก้าวหน้าในด้านการผลิตอาวุธ ยุทโธปกรณ์ด้วยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนไม่แพ้ผู้ผลิต ค่ายอืน่ ๆ ในโลก โดยจีนผลิตและพัฒนาเครือ่ งบินรบ แบบ Stealth มา ๒ รุ่นคือ J-20 และ J-31 ที่อยู่ ระหว่างการพัฒนา นอกจากนั้นแล้วหลายประเทศ ในฝั่งยุโรปก็เริ่มมีโครงการที่จะพัฒนาเครื่องบินรบ แบบ Stealth ของตนขึ้นเช่นกัน คุณสมบัต ิ Stealth เป็นสิง่ ส�าคัญส�าหรับเครือ่ งบินรบ ในยุคที ่ ๕ รวมทัง้ อากาศยานไร้คนขับติดอาวุธรุน่ ใหม่ ๆ หลายรุน่ ทีอ่ ยูร่ ะหว่างการพัฒนา จากการพัฒนาอาวุธ ยุทโธปกรณ์ทางทหารตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม ตั้งแต่ หอก ดาบ ก็จะเกิดการคิดค้นพัฒนาวิธใี นการป้องกันอาวุธ เหล่านี้ซึ่งท�าให้เกิดการคิดค้นโล่และเสื้อเกราะขึ้นมา ดังนั้นยุทโธปกรณ์ที่มีความทันสมัยสามารถเอาชนะ ยุทโธปกรณ์รุ่นเก่า ๆ ได้ในห้วงเวลาหนึ่ง ไม่นานนัก

F-22

F-35

J-20

Su-57


28

ก็จะมีเทคโนโลยีหรือยุทโธปกรณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อ เอาชนะได้ และเครื่องบินรบ Stealth นั้นก็เป็น เช่นเดียวกันกับที่กล่าวมา คุณสมบัติ Stealth ของ เครื่องบินรบนั้นหรือการล่องหนทางสัญญาณเรดาร์ หรือเรดาร์ตรวจจับไม่ได้ โดยเรดาร์เปรียบเสมือนตา ของเครื่องบินรบที่สามารถมองเห็นฝ่ายตรงข้ามจาก ระยะไกล และยิง่ ถ้าใครเห็นก่อนก็มโี อกาสชนะมากขึน้ แต่เมือ่ เจอกับเครือ่ งบิน Stealth แล้วเรดาร์แม้วา่ จะ ตรวจจับได้ไกลแค่ไหนก็ไม่สามารถจะรู้ไ ด้ เ ลยว่ า ข้างหน้ามีเครื่องบิน Stealth อยู่หรือไม่ คุณสมบัตินี้ สร้างความได้เปรียบในการปฏิบตั ภิ ารกิจให้กบั เครือ่ งบิน Stealth และเป็นภัยคุกคามอย่างยิง่ ส�าหรับฝ่ายตรงข้าม เมื่อเรดาร์ที่เปรียบเสมือนตาของเครื่องบินรบ ไม่สามารถมองเห็นเครื่องบิน Stealth ได้ หลายค่าย ผู้ผลิตจึงคิดค้นเทคโนโลยีต่าง ๆ ขึ้นเพื่อมาทดแทน การตรวจจับเรดาร์ และเทคโนโลยีทกี่ ลายเป็นดวงตา คู่ใหม่ให้กับเครื่องบินรบคือ IRST (Infrared Search and Track) หรือการติดตามและค้นหาด้วยรังสี อินฟราเรดซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้การตรวจจับรังสี ความร้อนที่แผ่ออกมาจากวัตถุ ซึ่งแม้ว่าเครื่องบิน Stealth จะสามารถหลบเลีย่ งการตรวจจับจากเรดาร์ได้ แต่ยงั คงปล่อยความร้อนออกมาเหมือนกับเครือ่ งบินรบ

ภาพถ่ายรังสีอนิ ฟราเรดทีป่ ล่อยออกมาจาก บ.F-35

ทั่วไป ทั้งจากท่อไอพ่นและความร้อนที่เกิดจากการ เสี ย ดสี ร ะหว่ า งตั ว เครื่ อ งบิ น กั บ อากาศ ซึ่ ง ท� า ให้ เครื่ อ งบิ น Stealth นั้ น ถู ก ตรวจจั บ ได้ ส� า หรั บ เทคโนโลยี IRST ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งเกิดขึ้น หลังจากมีเครื่องบิน Stealth แต่มีการใช้งานมา ในเครือ่ งบินรบบางรุน่ เช่น F-101, F-102, F-106, F-4 ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.๑๙๖๐ โดยจะติดระบบ IRST ไว้ที่ ส่วนหัวของเครื่อง เพื่อใช้ในการค้นหาเป้าหมายด้วย รังสีอนิ ฟราเรดแทนการใช้เรดาร์ซงึ่ จะท�าให้เครือ่ งบิน ไม่ ถู ก ตรวจจั บ ได้ จ ากสั ญ ญาณเรดาร์ ที่ ส ่ ง ออกไป แต่ในช่วงแรก ๆ IRST ยังคงมีข้อจ�ากัดหลายประการ ทั้งการใช้งานในสภาพอากาศต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรค ระยะในการตรวจจับน้อยกว่าการใช้เรดาร์ ท�าให้ เรดาร์ยังคงเป็นระบบหลักและได้รับการพัฒนามา

ระบบ IRST ติดตั้งบริเวณด้านล่างส่วนหัวของ บ.F-4


ข าวทหารอากาศ

29

PIRATE ระบบ IRST ติดตั้งบริเวณด้านหน้าของ บ.Eurofighter Typhoon

อย่างต่อเนือ่ งเพือ่ เป็นตาให้กบั เครือ่ งบินรบ และเมือ่ เทคโนโลยี Stealth เกิดขึ้น ระบบ IRST จึงถูกน�ามา พัฒนาต่อยอดให้มีขีดความสามารถในการตรวจจับ มากขึ้น ให้ทัดเทียมกับการใช้เรดาร์ เช่น สามารถ ตรวจจับได้ไกลกว่ารุ่นเดิม ตรวจจับเป้าหมายได้ พร้อมกันหลายเป้าหมาย ค้นหาเป้าหมายขนาดเล็ก ได้ดีกว่าเรดาร์ สามารถใช้งานได้ทุกสภาพอากาศ ปัจจุบันเครื่องบินรบสมัยใหม่หลายรุ่นจะมีการ ติดตั้งระบบ IRST ไว้ที่ส่วนหน้าของห้องนักบินหรือ Cockpit โดยรูปร่างจะเป็นโดมแก้วสีดา� ซึง่ ระบบ IRST ไม่ได้น�ารังสีอินฟราเรดมาสร้างเป็นภาพเหมือนกับ กล้องรังสีอินฟราเรดทั่วไป แต่จะน�าข้อมูลที่ตรวจจับ ได้ ม าแสดงต� า แหน่ ง ของเป้ า หมายที่ ต รวจจั บ ได้ บนหน้าจอในห้องนักบินเพื่อแจ้งเตือนและติดตาม เป้าหมายดังกล่าว ส�าหรับระบบ IRST ที่มีการใช้งาน ในปัจจุบนั เช่น PIRATE (Passive Infrared Airborne Track Equipment) ของบริษทั Leonardo Airborne & Space Systems ติ ด ตั้ ง กั บ เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ Eurofighter Typhoon สามารถใช้งานในโหมดต่าง ๆ เช่น การติดตามหลายเป้าหมายพร้อมกันส�าหรับ การใช้ อ าวุ ธ น� า วิ ถี อ ากาศสู ่ อ ากาศ การติ ด ตาม เป้าหมายเดีย่ ว ซึง่ สามารถเลือกเป้าหมายทีจ่ ะติดตาม และติดตามเป้าหมายเดิมซ�า้ แบบอัตโนมัตไิ ด้ และโหมด

การติดตามเป้าหมายแบบต่อเนื่อง นอกจากนั้นแล้ว PIRATE ยังสามารถสร้างภาพจากรังสีอินฟราเรด และแสดงผลบนหน้าจอในห้องนักบินและหมวกนักบิน แบบติดเป้าเล็งได้ โดย PIRATE มีน�้าหนักเพียง ๘ กิโลกรัม ขนาด ยาว ๖๘๐ มิลลิเมตร กว้าง ๕๙๑ มิลลิเมตร สูง ๓๐๐ มิลลิเตมร ติดตั้งที่ด้านหน้า ของ เครือ่ งบินขับไล่ Eurofighter Typhoon สามารถ จับเป้าหมายได้ที่ระยะ ๕๐ - ๙๐ กิโลเมตรลงมา ส�าหรับในค่ายผูผ้ ลิตฝัง่ อเมริกา เช่น Lockheed Martin ได้พัฒนาระบบ IRST แบบกระเปาะซึ่งใช้ ติดตั้งใต้ล�าตัวของเครื่องบิน โดยติดตั้งกับ เครื่องบิน ขับไล่ F/A-18, F-15, F-16 โดยระบบ IRST ของ Lockheed Martin เป็นระบบค้นหาและติดตาม เป้าหมายด้วยรังสีอินฟราเรดระยะไกล ออกแบบมา เพื่อใช้ค้นหาเป้าหมายขนาดเล็ก เช่น อากาศยาน ไร้ ค นขั บ และเครื่ อ งบิ น Stealth นอกจากนั้ น ยังสามารถช่วยในการใช้อาวุธน�าวิถใี นระยะพ้นสายตา ลดการถูกตรวจจับจากการใช้เรดาร์ในการค้นหา เป้าหมาย ด้วยการออกแบบเป็นกระเปาะจึงสามารถ น� า ไปติ ด ตั้ ง กั บ เครื่ อ งบิ น ได้ โ ดยไม่ ต ้ อ งปรั บ แก้ โครงสร้างของเครื่องบิน และล่าสุด เครื่องบินขับไล่ F/A-18 ของ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ได้ทดสอบ ติดตั้งระบบ IRST Block2 ซึ่งที่ได้รับการพัฒนา


30

ระบบ IRST ติดตั้งบริเวณด้านหน้าของ บ.Dassault Rafale

ประสิ ท ธิ ภ าพให้ สู ง ขึ้ น โดยจะพร้ อ มประจ� า การ ในปี พ.ศ.๒๕๖๔ ซึง่ ปัจจัยส�าคัญทีท่ า� ให้กองทัพสหรัฐฯ หันมามุง่ เน้นพัฒนาระบบ IRST มากขึน้ นัน้ เนือ่ งจาก การเกิดขึ้นของเครื่องบิน Stealth ของฝ่ายคู่ขัดแย้ง เช่น จีนและรัสเซีย ส�าหรับจีนและรัสเซียซึง่ ถือว่ามีความใกล้ชดิ กัน ในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีของยุทโธปกรณ์ตา่ ง ๆ รวมทั้งอากาศยาน และที่ส�าคัญคือ ระบบ IRST ที่ทั้ง รัสเซียและจีนได้พัฒนาขึ้นและติดตั้งกับเครื่องบินรบ ที่ผลิตขึ้นในหลายรุ่น เช่น Su-27, Su-30, Su-35, MiG-31, MiG-29, MiG-35 และเครื่องบิน Stealth Su-57 ของรัสเซีย J-10B, J-11, J-15, J-16 และเครือ่ งบิน Stealth J-20 ของจีน โดยเฉพาะระบบ IRST มีการ วิเคราะห์ผา่ นสือ่ ต่าง ๆ ว่าสามารถตรวจจับเครือ่ งบิน Stealth ค่ายอเมริกา ได้ตงั้ แต่ในระยะ ๑๐๐ กิโลเมตร ลงมา นอกจากระบบ IRST จะใช้ในการค้นหาเครือ่ งบิน Stealth แล้ว ยังใช้เป็นระบบด้วยการปิดเรดาร์คน้ หา เป้าหมาย และใช้ IRST ในการค้นหาเป้าหมายแทน ซึง่ คุณสมบัตนิ ที้ า� ให้มกี ารติดตัง้ ระบบ IRST ในเครือ่ งบิน Stealth เช่น F-35, Su-57 และ J-20 ยิง่ ท�าให้เครือ่ งบิน Stealth เหล่านีถ้ กู ตรวจจับได้ยากกว่าเดิม จากระบบ

จุดความร้อนในพื้นที่กลุ่มประเทศอาเซียนที่ตรวจ จับด้วยระบบ VIIRS ติดตั้งบนดาวเทียม

ตรวจจับด้วยเรดาร์ ปัจจุบนั มีเครือ่ งบินรบหลายแบบ ที่ติดตั้งระบบ IRST ที่ไม่ได้กล่าวถึง เช่น Dassault Rafale, JAS 39 Gripen E/F ระบบ IRST ถูกพัฒนาขึน้ มาเพือ่ ใช้ในการค้นหา เป้าหมายขนาดเล็ก หรือตรวจจับด้วยเรดาร์ได้ยาก และเป็นคู่ปรับส�าคัญของเครื่องบิน Stealth ซึ่งจาก ข้อมูลในหลายค่ายผู้ผลิตพบว่าระยะการตรวจจับ เครือ่ งบิน Stealth ได้นนั้ จะอยูท่ รี่ ะยะ ๑๐๐ กิโลเมตร ลงมา ซึ่งจะสามารถป้องปรามเครื่องบิน Stealth ฝ่ายตรงข้ามได้หรือไม่นั้นคงต้องรอการพิสูจน์ต่อไป


ข าวทหารอากาศ

31

ระบบ IRST แบบกระเปาะติดตัง้ กับ F/A-18 ทร.สหรัฐฯ

ส�าหรับเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจจับรังสีอินฟราเรด ระยะไกลที่ใช้ในดาวเทียม เช่น ระบบ VIIRS ที่ติดตั้ง ในดาวเทียม NOAA-20 ดาวเทียม SUOMI ใช้ในการ ตรวจจับจุดความร้อนบนพื้นโลก และใช้ประโยชน์ ในการติดตามไฟป่า แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถ ของระบบตรวจจับว่าสามารถตรวจจับรังสีอนิ ฟราเรด ได้จากระยะไกลมากจากชัน้ อวกาศ จึงมีความเป็นไปได้ ที่เทคโนโลยี IRST จะยังคงสามารถพัฒนาต่อไป ให้สามารถตรวจจับได้จากระยะไกลมากขึ้น มีความ แม่นย�าสูงขึน้ ซึง่ จะท�าให้เครือ่ งบิน Stealth ทีต่ รวจจับ ด้วยเรดาร์ได้ยาก ไม่เป็นภัยคุกคามอีกต่อไป แต่ถ้ามี ดาบเกิ ด ขึ้ น ก็ จ ะมี โ ล่ ต ามมาเป็ น คู ่ ป รั บ กั น IRST สามารถตรวจจับรังสีอินฟราเรดหรือคลื่นความร้อน จากเครื่องบิน Stealth ได้ ดังนั้นหากสามารถพัฒนา ให้เครือ่ งบิน Stealth ปล่อยความร้อนออกมาน้อยมาก

หรือไม่มีเลยก็จะสามารถเอาชนะ IRST ได้ และสิ่งที่ ตามมาต่อไปคือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทีจ่ ะตรวจจับเครือ่ งบิน Stealth ทีอ่ าจมีการพัฒนาระบบตรวจจับบนดาวเทียม ในการมองลงมาเพื่อค้นหาและติดตามสิ่งที่บินอยู่ ในอากาศ และส่งต่อข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายไปยัง เครือ่ งบินรบหรือระบบอาวุธก็เป็นได้ การพัฒนาเทคโนโลยี ทางทหารเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยากที่จะ หาจุดยุตลิ งได้เนือ่ งจากยุทโธปกรณ์ตา่ ง ๆ เป็นเครือ่ งมือ ส�าคัญในการรักษาผลประโยชน์ของชาติและป้องปราม ฝ่ายตรงข้ามจากความพยายามในการละเมิดอธิปไตยได้ จึงท�าให้เทคโนโลยีของเครื่องบินรบและยุทโธปกรณ์ ต่าง ๆ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคตเป็นสิง่ ทีห่ ลายชาติให้ความ สนใจและติดตามต่อเนื่องเพื่อรักษาความได้เปรียบ ให้เหนือฝ่ายตรงข้ามอยู่ตลอดเวลา

อ้างอิง - Infrared search and track technology gives fighter aircraft stealth vision, https://www.air force-technology.com/ - Pirate IRST, https://www.leonardocompany.com/ - IRST21 Sensor System, https://www.lockheedmartin.com/


32

มีสกรีน

BEETLE BAILEY

ภาพที่ ๑ - เอี๊ยด ภาพที่ ๒ - กรอบ - เมื่อคุณอายุมากขึ้น ร่างกายคุณจะมีเสียงดังหนวกหูขึ้น creak (n.) crunch (n.) as (conj.) noisier (adj.)

- เสียงดังเวลาเปิด - ปิดประตู (the sound a door makes when opened or shut) - เสียงดังเมื่อบางอย่างถูกบดอัด (the sound of sth. firm is being crushed) ในภาพที่ ๑ และ ๒ แสดงว่าท่านนายพลมีปัญหาปวดกระดูกส่วนหลัง ซึ่งความ เจ็บปวดจะใช้ศัพท์ ache (เอ้ค) Ex. The general has a backache. (ท่าน นายพลปวดหลัง) backache ออกเสียงว่า ‘แบ็คเอ็ค’ ศัพท์อนื่ ๆ ได้แก่ headache (ปวดหัว), ปวดท้อง (stomachache - สตั๊มเมิ่คเอ้ค) และ toothache (ปวดฟัน) เป็นต้น - ในที่นี้แปลว่า “เมื่อ, ขณะที่” ใช้เชื่อมประโยคที่มีอีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น (while something else is happening) Ex. He sat watching her as she got ready. (เขาเฝ้ามองเธอขณะที่เธอเตรียมตัวให้พร้อม) - คุณศัพท์ แสดงการเปรียบเทียบขั้นกว่าของ noisy (เสี noisy (เสียงดัง) noisy


ข าวทหารอากาศ

33

THE BORN LOSER

ภาพที่ ๑ - มีอะไรผิดปกติเกี่ยวกับซุปผักหรือครับ ? ภาพที่ ๒ - ดูเหมือนว่าจะมีผักอย่างเดียวในซุปนะ ต้นขึ้นฉ่ายน่ะ! ภาพที่ ๓ - ถ้าคุณต้องการผักเพิ่ม คราวหน้าก็สั่งซุปผักหลาย ๆ อย่างสิครับ!

Somethin’ wrong seem to (be)

celery (n.) stalk (n.) vegetable (n.)

- something is wrong with sb./sth. (บางสิ่งผิดปกติ/ มีปัญหา - causing problems) Ex. What’s wrong? (มีปัญหาอะไรหรือ) I have something wrong with my foot. (ฉันมีปัญหาที่เท้า) - ดูเหมือนว่า (appear) Ex. The traffic seems to be more congested. (การจราจรดูเหมือนจะหนาแน่นกว่าเดิม) และ He seems to know what he’s doing. (เขาดูเหมือนจะรู้ว่าก�าลังท�าอะไรอยู่) - ผักขึ้นฉ่าย ออกเสียงว่า ‘เซ้ลเลอหรี่’ - ต้นหรือก้านของพืช (trunk or stem of a plant) - ออกเสียงว่า ‘เว็จเถ่อะเบิ่ล’


34

การปล อยสุนัขแมวทิ้งไว ที่วัด เป นการทารุณกรรมสัตว และมีความผิดตามกฎหมายหรือไม ร.อ.ชานุวัฒน์ แสงสุวรรณ รรก.นายทหารพระธรรมนูญ บน.๑

สั ต ว์ เ ป็ น สิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ มี ค วามรู ้ สึ ก มี จิ ต ใจ มี ค วามสามารถในการรั บ รู ้ ค วามสุ ข ความทุ ก ข์ ความเจ็ บ ปวด และความต้ อ งการตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับมนุษย์ การที่สัตว์ถูกกระท�าทารุณกรรม ตลอดจนการน� า สั ต ว์ ต ่ า ง ๆ ไปทิ้ ง ไว้ ต ามวั ด หรื อ สถานทีต่ า่ ง ๆ โดยมนุษย์ผเู้ ป็นสัตว์ประเสริฐ จึงอาจท�าให้ สัตว์ได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน หรือเกิดความ ไม่มีสวัสดิภาพในชีวิต โดยสัตว์เหล่านั้นไม่สามารถ เรียกร้องสิทธิใด ๆ ได้ และจากปรากฏการณ์ในสังคม ปั จ จุ บั น จะพบเห็ น ภาพปรากฏตามข่ า วกรณี ที่ มี เจ้าของสัตว์น�าสัตว์ที่อยู่ในความดูแล เช่น สุนัข แมว ไปปล่อยทิ้งไว้ตามวัด หรือสถานที่ต่าง ๆ ท�าให้เกิด

การวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เพียงใด อย่างไรนั้น บทความนี้จะสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจในหลักกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตลอดจนจะน�าเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการให้ความ คุ ้ ม ครองสั ต ว์ มิ ใ ห้ ถู ก ทารุ ณ กรรม หรื อ การจั ด สวั ส ดิ ภ าพสั ต ว์ พ อสั ง เขป ตามกฎหมายว่ า ด้ ว ย การป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ อันเป็นกฎหมายที่ก�าหนดมาตรการในการป้องกัน การทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพของสัตว์ ในสังคมไทย พระราชบั ญ ญั ติ ป ้ อ งกั น การทารุ ณ กรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๗ เป็นกฎหมาย


ข่าวทหารอากาศ

ที่มีขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการทารุณกรรมและการจัด สวัสดิภาพสัตว์ ให้สตั ว์ได้รบั การคุม้ ครองตามธรรมชาติ ของสัตว์อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ดี เรื่องการป้องกัน การทารุ ณ กรรมและการจั ด สวั ส ดิ ภ าพของสั ต ว์ ให้ เ หมาะสมกั บ ประเภทและชนิ ด ของสั ต ว์ ต าม กฎหมายฉบั บ นี้ ยั ง ถื อ เป็ น เรื่ อ งใหม่ ข องสั ง คมไทย ดังนั้น จึงขอสรุปสาระส�ำคัญของกฎหมายดังกล่าว พอสังเขป ดังนี้ ๑. สัตว์ทไี่ ด้รบั ความคุม้ ครอง ประเภทของสัตว์ ทีไ่ ด้รบั ความคุม้ ครองตามกฎหมายฉบับนีค้ อื “สัตว์” ตามบทนิยามในมาตรา ๓ ได้แก่ สัตว์เลี้ยงไว้เพื่อเป็น สัตว์บ้าน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้งาน สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็น พาหนะ สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเพื่อน สัตว์เลี้ยงเพื่อ ใช้เป็นอาหาร สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดง หรือสัตว์ เลี้ยงเพื่อใช้ในการอื่นใด ไม่ว่าจะมีเจ้าของหรือไม่ ก็ ต าม และให้ ห มายความรวมถึ ง สั ต ว์ ที่ อ าศั ย อยู ่ ในธรรมชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศก�ำหนด ซึ่งก็คือ กระรอกหลากสี นกเขาชวา ลูกผสมสัตว์ตระกูลเสือ หมูป่า และอีเห็นข้างลายหรืออีเห็นธรรมดา ๒. การทารุณกรรมสัตว์ กฎหมายฉบับนีไ้ ด้กำ� หนด บทนิยามของค�ำว่า “ทารุณกรรม” ไว้ในมาตรา ๓ โดยหมายถึง การกระท�ำหรืองดเว้นการกระท�ำทีท่ ำ� ให้ สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน ไม่ว่าทางร่างกายหรือ จิตใจ ได้รับความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรืออาจมีผลท�ำให้สัตว์นั้นตาย และให้หมายความ รวมถึงการใช้สตั ว์พกิ าร สัตว์เจ็บป่วย สัตว์ชรา หรือสัตว์ ทีก่ ำ� ลังตัง้ ท้องเพือ่ แสวงหาประโยชน์ ใช้สตั ว์ประกอบ กามกิจ ใช้สัตว์ท�ำงานเกินสมควรหรือใช้ให้ท�ำงาน อันไม่สมควรเพราะเหตุที่สัตว์นั้นเจ็บป่วย ชราหรือ อ่อนอายุ ซึ่งมีความหมายที่ค่อนข้างกว้าง นอกจากนี้ ในมาตรา ๒๐ ยังก�ำหนดห้ามมิให้ ผู้ใดกระท�ำการอันเป็นการทารุณกรรมสัตว์โดยไม่มี เหตุอันสมควร แต่ได้ก�ำหนดยกเว้นให้การกระท�ำ ตามมาตรา ๒๑ (๑) - (๑๑) ไม่ถอื ว่าเป็นการทารุณกรรม สัตว์โดยไม่มีเหตุอันสมควร ได้แก่

35

(๑) การฆ่าสัตว์เพือ่ ใช้เป็นอาหาร ทัง้ นี้ เฉพาะ สัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นอาหารเท่านั้น (๒) การฆ่าสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม การฆ่าสัตว์และจ�ำหน่ายเนื้อสัตว์ (๓) การฆ่าสัตว์เพื่อควบคุมโรคระบาด (๔) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่สัตวแพทย์เห็นว่า สัตว์ป่วย พิการ หรือบาดเจ็บและไม่สามารถเยียวยา หรือรักษาให้มชี วี ติ อยูร่ อดได้โดยปราศจากความทุกข์ ทรมาน (๕) การฆ่าสัตว์ตามพิธีกรรมหรือความเชื่อ ทางศาสนา เช่น วัฒนธรรมประเพณีของชาวล่าหู หรื อ มู เ ซอ ที่ จ ะมี ก ารฆ่ า หมู ด� ำ เพื่ อ บู ช าเทพเจ้ า ในวันปีใหม่ หรือฆ่าหมูเพือ่ สังเวยแก่ผที กี่ ลางลานใหญ่ ของหมู่บ้านกรณีมีการหย่าร้าง (๖) การฆ่าสัตว์ในกรณีที่มีความจ�ำเป็นเพื่อ ป้องกันอันตรายแก่ชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์หรือ สัตว์อนื่ หรือป้องกันความเสียหายทีจ่ ะเกิดแก่ทรัพย์สนิ ทัง้ นี้ เพือ่ เป็นการป้องกันอันตรายแก่ชวี ติ หรือร่างกาย ของมนุษย์ ป้องกันอันตรายแก่ชวี ติ หรือร่างกายของสัตว์ และป้ อ งกั น ความเสี ย หายที่ จ ะเกิ ด จากทรั พ ย์ สิ น จากสัญชาตญาณของสัตว์ (๗) การกระท�ำใด ๆ ต่อร่างกายสัตว์ซงึ่ เข้าลักษณะ ของการประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ (๘) การตัด หู หาง ขน เขา หรืองา โดยมีเหตุ อันสมควรและไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ หรือการด�ำรง ชีวติ ของสัตว์ ทัง้ นี้ การตัดอวัยวะบางส่วนของสัตว์นนั้ ย่อมเป็นไปเพือ่ ประโยชน์หลายประการ เช่น เพือ่ การ ดูแลความสะอาด เพื่อป้องกันโรค เพื่อความสวยงาม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อความสะดวก ในการเลี้ยงดู (๙) การจัดให้มกี ารต่อสูข้ องสัตว์ตามประเพณี ท้องถิน่ เช่น การชนไก่ การชนวัว การกัดปลา ซึง่ ถือเป็น ประเพณีของไทยที่มีมาอย่างยาวนาน (๑๐) การกระท�ำอื่นใดที่มีกฎหมายก�ำหนด ให้สามารถกระท�ำได้เป็นการเฉพาะ


36

(๑๑) การกระท� ำ อื่ น ใดที่ รั ฐ มนตรี ว ่ า การ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ป ระกาศก� ำ หนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ๓. บทก�ำหนดโทษ โทษของการทารุณกรรมสัตว์ โดยไม่มีเหตุอันสมควรนั้นถูกก�ำหนดไว้ในมาตรา ๓๑ ของกฎหมายฉบับนี้ คือ ต้องรับโทษจ�ำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ ซึ่งประเด็นเรื่องอัตราโทษนี้เป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์ วิจารณ์อย่างสูงในสังคมไทย เนือ่ งจากมีการน�ำอัตราโทษ ของการทารุณกรรมสัตว์ไปเปรียบเทียบกับอัตราโทษฐาน ท�ำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญาความผิด ฐานท�ำร้ายร่างกาย โทษจ�ำคุกไม่เกิน ๒ ปี หรือปรับ ไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ หรือตาม มาตรา ๓๙๑ ความผิดฐานท�ำร้ายร่างกายไม่ถึงกับ เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ โทษจ�ำคุก ไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือ ทั้งจ�ำทั้งปรับ ซึ่งมีอัตราโทษที่ต�่ำกว่า โดยปัญหานี ้ เป็นเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายที่อาจเกิดขึ้นจาก การขาดการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน เข้าใจในสาระส�ำคัญและเจตนารมณ์ของกฎหมาย และอาจเกิดขึ้นจากปัญหาความเชื่อของสังคมไทย ที่ยังคงมองเห็นว่าสัตว์เป็นทรัพย์สิน เป็นเครื่องเล่น หรือกีฬา เป็นอาหาร เช่น การบริโภคเนื้อสุนัข หรือ ความเชื่อเรื่องการปล่อยสัตว์เป็นทานซึ่งมีผลท�ำให้ สัตว์ถกู น�ำมากักขังด้วยความทุกข์ทรมานเป็นจ�ำนวนมาก จะเห็นได้ว่าเมื่อความรู้ความเข้าใจหลักกฎหมาย และเจตนารมณ์ของกฎหมายยังคงเป็นปัญหา จึงน�ำไปสู่ การปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายอย่ า งไม่ ถู ก ต้ อ ง คื อ เมื่ อ ไม่เข้าใจก็ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

จากสาระส� ำ คั ญ ของกฎหมายดั ง ได้ ก ล่ า วไว้ ข้างต้น จะเห็นว่า กรณีที่เจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้ง หรือกระท�ำการใด ๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตน โดยไม่มเี หตุอนั สมควร เช่น การปล่อยสุนขั แมว ไปทิง้ ไว้ ที่วัด หรือสถานที่ต่าง ๆ จึงไม่ใช่การทารุณกรรมสัตว์ ตามความหมายของกฎหมายฉบับนี้ เพราะไม่ได้ทำ� ให้ เกิดความเจ็บปวด หรือทุกข์ทรมาน แต่การปล่อยสุนขั แมว หรือสัตว์ใด ๆ ไปทิ้งไว้ที่วัด หรือสถานที่ต่าง ๆ ย่อมเป็นการทีเ่ จ้าของปล่อย ละทิง้ หรือกระท�ำการใด ๆ ให้สตั ว์พน้ ไปจากการดูแลของตนโดยไม่มเี หตุอนั สมควร กรณีจึงเป็นความผิดต่อการจัดสวัสดิภาพของสัตว์ เจ้ า ของสั ต ว์ ย ่ อ มมี ค วามผิ ด ตามกฎหมายฉบั บ นี้ และต้องรับโทษปรับไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ บาท บทสรุป ส�ำหรับพระราชบัญญัติป้องกันการ ทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๗ นี้ มี ขึ้ น เพื่ อ แก้ ไ ขปั ญ หาการทารุ ณ กรรมและการจั ด สวั ส ดิ ภ าพสั ต ว์ ให้ สั ต ว์ ไ ด้ รั บ การคุ ้ ม ครองตาม ธรรมชาติของสัตว์อย่างเหมาะสม ซึ่งถือเป็นการ ปฏิรูปการคุ้มครองสัตว์ในประเทศไทยครั้งส�ำคัญ อย่ า งไรก็ ดี การป้ อ งกั น การทารุ ณ กรรมสั ต ว์ นั้ น นอกจากจะต้องเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน มีความรูค้ วามเข้าใจในกฎหมายเพือ่ ให้มกี ารบังคับใช้ กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว สมควรที่จะน�ำ มาตรการอื่นมาใช้ควบคู่กันไป เช่น มาตรการทาง สังคม ไม่ว่าจะเป็นการปลูกจิตส�ำนึกของคนในสังคม ให้ตระหนักถึงความส�ำคัญของสัตว์ในฐานะสิ่งมีชีวิต หรื อ การชี้ แ จงให้ ป ระชาชนเข้ า ใจถึ ง ผลเสี ย ของ การทารุณกรรมสัตว์ประกอบด้วย จึงจะเป็นหนทาง การป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ทคี่ รบถ้วนและยัง่ ยืน

อ้างอิง - พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๗ - ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ก�ำหนดสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ - ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕ - ๒๓ และมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.๒๕๕๗


ข าวทหารอากาศ

37

ครูภาษาพาที Kasa

àÃÕ¹¤íÒÈѾ· ÀÒÉÒÍѧ¡Äɨҡ Facebook

ปัจจุบันนี้ สื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจ�าวันของผู้คน สิ่งแรกที่หลาย ๆ ท่านท�า ตั้งแต่ตื่นนอนคือ เข้าเช็ค Facebook หรือ Line วันนี้ผู้เขียนจึงอยากแนะน�าค�าศัพท์ หรือวลีภาษาอังกฤษ ที่ผู้อ่านน่าจะเคยเห็นผ่านตากันบ้างตาม Facebook โดยผู้เขียนจะกล่าวถึงความหมายของค�าศัพท์หรือวลี นั้น ๆ ที่ใช้ตามบริบทใน Facebook และเพิ่มเติมความหมายในบริบทอื่น ๆ เสริมด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ แก่ผู้อ่านทุกท่านมากยิ่งขึ้น ทุกครั้งที่เข้าหน้าหลัก Facebook จะขึ้นค�าถามว่า What’s on your mind? ซึ่งแปลว่า คุณก�าลัง คิดอะไรอยู่ ค�าว่า mind /ไมนดฺ/ ในบริบทนี้เป็นค�านาม หมายถึง ความคิด หรือ จิตใจ นอกจากท�าหน้าที่เป็น ค�านามแล้ว ค�าว่า mind ยังสามารถเป็นค�ากริยาได้ดว้ ย ค�าว่า mind ถ้าเป็นค�ากริยาจะมีความหมายว่า รังเกียจ มักจะใช้ในการขออนุญาต หรือขอร้องให้ใครท�าอะไรอย่างสุภาพ ตัวอย่าง - Would you mind turning your radio down a little? คุณช่วยหรี่เสียงวิทยุลงหน่อยได้ไหม (จะรังเกียจไหม ถ้าจะให้หรี่เสียงลง) - Do you mind me smoking? ฉันขอสูบบุหรี่ได้ไหม (จะรังเกียจไหม ถ้าฉันจะสูบบุหรี่) จากทั้ง ๒ ประโยค จะเห็นว่า mind ต้องตามด้วย ค�ากริยาเติม ing (gerund)


38

คงไม่มผี ใู้ ช้งาน Facebook คนไหนไม่เคยสร้างโพสต์ของตัวเอง ซึง่ ค�ำว่า “สร้างโพสต์” ในภาษาอังกฤษ ใช้คำ� ว่า create post ค�ำว่า create /ครี เอท/ ท�ำหน้าทีเ่ ป็นค�ำกริยา แปลว่า สร้าง ประดิษฐ์ หรือ สร้างสรรค์ ส่วนค�ำว่า post /โพสทฺ/ เป็นค�ำนาม ในบริบทนี้หมายถึง ข้อความ รูปภาพ หรือวิดีโอที่เผยแพร่ผ่าน สื่อสังคมออนไลน์ นอกจากความหมายนี้ ค�ำว่า post ยังมีอีกหลายความหมาย ตัวอย่าง - There are several vacant posts. มีต�ำแหน่งงานว่างหลายต�ำแหน่ง - The ball hit the post and bounced in. ลูกบอลชนเสาและกระเด้งเข้าประตู - My mother opens my post. แม่เปิดจดหมายของฉัน

เมื่อโพสต์ข้อความไปแล้ว มีเพื่อนมากดชอบ กดรัก กดว้าว กดโกรธ หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ Facebook จะแจ้งเตือนให้ทราบ การแจ้งเตือนในภาษาอังกฤษคือค�ำว่า notification /โน ทิ ฟิ เค เชิน/ ท�ำหน้าทีเ่ ป็นค�ำนาม ซึง่ นอกจากจะแปลว่า การแจ้งเตือนแล้ว ยังหมายถึง การประกาศ หรือการแจ้งเรือ่ งราว ต่าง ๆ อีกด้วย ส่วนค�ำกริยาของค�ำว่า notification คือค�ำว่า notify /โน ทิ ไฟ/ มีความหมายว่า แจ้ง ประกาศ หรือ บอกให้ทราบ ตัวอย่าง - We notified the police that the bicycle had been stolen. พวกเราแจ้งต�ำรวจว่าจักรยานถูกขโมย

เมื่อ Facebook เป็นที่นิยมมาก ๆ มีเพื่อน ๆ เข้ามาแสดงความเห็น หรือกดชอบกันอย่างท่วมท้น ในเพจ การแจ้งเตือน หรือ notification จะมีมากตามมาด้วย เมือ่ อยูใ่ นเวลางาน หากผูอ้ า่ นต้องการจะมีสมาธิ กับการท�ำงานอย่างเต็มที่ ไม่ต้องการให้มีการแจ้งเตือนใด ๆ มารบกวน ผู้อ่านสามารถกดปิดการแจ้งเตือน ซึ่งตรงกับค�ำว่า mute ในภาษาอังกฤษ ค�ำว่า mute /มิวทฺ/ ในที่นี้เป็นค�ำกริยาหมายถึง ท�ำให้เงียบ ใน Facebook จึงมีความหมายตรงกับ ปิดการแจ้งเตือน หากเป็นโทรทัศน์ หรือเครื่องเสียง ตัวรีโมทจะมีปุ่ม mute ซึ่งเมื่อกดไปแล้ว จะเป็นการ ตัดเสียงไป


ข่าวทหารอากาศ

39

ต่อมาคือค�ำว่า mark ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผู้ก่อตั้ง Facebook หรือ Mr. Mark Zuckerberg และ mark all as read ก็ไม่ได้หมายความว่า มาร์คอ่านข้อความทั้งหมดแต่อย่างใด แต่ mark /มารฺค/ หมายถึง ท�ำเครื่องหมาย บางครั้งคนไทยจะพูดทับศัพท์ว่า มาร์คจุดตรงนี้ ซึ่งหมายถึง ให้ท�ำสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายไว้ตรงนี้ mark all as read จึงหมายถึง ท�ำเครื่องหมายว่าอ่านแล้วทั้งหมด หากค�ำว่า mark ท�ำหน้าที่เป็นค�ำนาม จะหมายถึง สัญลักษณ์ เครื่องหมาย หรือคะแนน ตัวอย่าง - What do those marks on the road mean? สัญลักษณ์บนถนนหมายความว่าอย่างไร - You scored full marks in the test - ten out of ten! คุณได้คะแนนสอบ ๑๐ เต็ม ๑๐

ช่วงหนึ่ง มีกระแสการไลฟ์สดผ่าน Facebook ที่ไม่ว่าใครท�ำอะไร หรือมีอะไรเกิดขึ้น จะต้องมีการ ถ่ายทอดสดให้ผู้อื่นได้รับชมด้วย การไลฟ์สดนั้นจะต้องกดตรง live video /ไลฟวฺ ฝวิด ดี โอ/ หมายถึง วิดีโอ ถ่ายทอดสด ค�ำว่า live เป็นค�ำสั้น ๆ ง่าย ๆ แต่เป็นอีกหนึ่งค�ำที่ผู้เรียนมักจะออกเสียงผิด ค�ำว่า live สามารถ อ่านออกเสียงได้ทั้ง /ลิฟวฺ/ และ /ไลฟวฺ/ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ประโยคไหนต้องออกเสียงว่าอย่างไร หากค�ำว่า live ท�ำหน้าที่เป็นค�ำกริยา จะอ่านออกเสียงว่า /ลิฟวฺ/ และมีความหมายว่า อาศัยอยู ่ ด�ำเนินชีวิต หรือใช้ชีวิต ตัวอย่าง - I live in the city. ฉันอาศัยอยู่ในเมือง ในประโยคนี้ ค�ำว่า live ท�ำหน้าที่เป็นค�ำกริยา จึงต้องอ่านออกเสียงว่า /ลิฟวฺ/ แต่ถ้า live ท�ำหน้าที่ เป็นค�ำวิเศษณ์ หรือกริยาวิเศษณ์ จะอ่านออกเสียงว่า /ไลฟวฺ/ มีความหมายว่า ถ่ายทอดสด หรือ มีชีวิต


40

ตัวอย่าง - This evening, there will be a live broadcast of the concert. จะมีการถ่ายทอดสดคอนเสิร์ตเย็นนี้ ในประโยคนี้ ค�าว่า live ท�าหน้าที่เป็นค�าวิเศษณ์ขยายค�าว่า broadcast จึงต้องอ่านออกเสียงว่า / ไลฟวฺ/ ต่อมาคือ ค�าว่า life event ค�าว่า life /ไลฟ/ มีความหมายว่า ชีวิต ส่วนค�าว่า event /อิ เว็นทฺ/ เป็นค�านาม แปลว่า เหตุการณ์ หรือ การแข่งขัน เมื่อน�ามารวมกันจึงหมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต ซึ่งใน Facebook แปลว่า เหตุการณ์ในชีวิต

ส�าหรับค�าสุดท้าย เป็นค�าที่น่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี นั่นคือค�าว่า search /เสิรฺช/ ค�านี้เป็นค�ากริยา แปลว่า ค้นหา ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกับค�าว่า find /ไฟนดฺ/ สองค�านี้อาจจะท�าให้หลายคนสับสนได้ มาดูกันว่า search แตกต่างจาก find อย่างไร ค�าว่า search จะหมายถึง ค้นหาสิ่งของ หรือค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ในพื้นที่หนึ่ง ส่วนค�าว่า find จะหมายถึง พบ เจอ ประสบ หรือ ค้นพบ ตัวอย่าง - I searched for my key under the table. ฉันค้นหากุญแจใต้โต๊ะ - I found my key under the table. ฉันเจอกุญแจอยู่ใต้โต๊ะ จะเห็นว่า ภาษาอังกฤษอยู่ใกล้ตัวผู้อ่าน ทุกท่านสามารถเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้จากสิ่งต่าง ๆ รอบตัว หรือเรียนรู้จากสิ่งที่ใช้อยู่ในชีวิตประจ�าวัน ครั้งหน้าเมื่อเปิด Facebook ลองดูว่ามีค�าศัพท์อะไรแปลก ๆ ใหม่ ๆ ให้ได้เรียนรู้บ้าง แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า อ้างอิง - https://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/ - https://www.oxfordlearnersdictionaries.com/definition/english - https://dict.longdo.com/search/ - http://elbolivianoenvivo.com/facebook-prueba-funcion-publicar-videos-pregrabados-fuer an-live/ - https://stackoverflow.com/questions/42059733/how-to-finding-webelement-on-facebook using-selenium-using-java/42062414


ข าวทหารอากาศ

ธรรมประทีป

นผูม้ คี วามรับผิดชอบต่อหน้าที่ เขาจึงไม่ละทิง้ สุจริตธรรม เพราะเป็ หน้าที่ หรือผลักภาระหน้าที่ของตนไปให้คนอื่น เช่น “บุ ค คลควรประพฤติ ธ รรมให้ สุ จ ริ ต ไม่ ค วร ประพฤติธรรมนั้นให้ทุจริต ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่ เป็นสุข ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า” พระพุทธเจ้าทรง แสดงพุทธภาษิตนี้แก่พระเจ้าสุทโธทนะ ในโอกาสที่ เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุค์ รัง้ แรกภายหลังจากการตรัสรู้ ใน พุทธพจน์นี้ ค�าว่า “ธรรม” หมายถึง หน้าที่ กล่าวคือ พระเจ้าสุทโธทนะทรงมีหน้าทีใ่ นการปกครองซึง่ จัดเป็น วรรณธรรมคื อ หน้ า ที่ ป ระจ� า วรรณะกษั ต ริ ย ์ พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธธรรมคือ หน้าที่ประจ�าของ พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะต้องออกบิณฑบาตโปรด เวไนยสัตว์ ใครมีธรรม คือ หน้าทีอ่ ะไร ควรท�าหน้าทีน่ นั้ ให้สจุ ริตด้วยลักษณะ ๓ ประการ ได้แก่ ๑) ไม่บกพร่อง ต่อหน้าที่ ๒) ไม่ละเว้นหน้าที่ และ ๓) ไม่ทุจริตต่อ หน้าที่ • ประการแรก บุคคลชื่อว่า ไม่บกพร่องต่อหน้าที่ เพราะการทุ่มเทอุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็ม ก�าลังความสามารถ เมือ่ ได้รบั มอบหมายให้ทา� หน้าทีใ่ ด ท�าหน้าที่นั้นอย่างดีที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดความบกพร่อง เสียหายแก่งานในหน้าที่ เข้าท�านองทีว่ า่ “ร้องให้สดุ ค�า ร�าให้สดุ แขน แพนให้สดุ ปีก” ดังทีน่ กั ปราชญ์จนี ชือ่ ว่า ขงจื้อกล่าวไว้ว่า “เมื่อได้รับมอบหมายให้ท�าหน้าที่ใด จงท�าหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด ถ้าเขาให้เลี้ยงม้า ม้าจะต้อง อ้วน ถ้าเขาให้เป็นเสนาบดีกระทรวงการคลัง เงินจะ ต้องเต็มคลัง” • ประการที่สอง บุคคลชื่อว่า ไม่ละเว้นหน้าที่

41

ผู้เป็นทหารย่อมไม่หนีทัพ ผู้เป็นบิดามารดาย่อมไม่ ละทิง้ หน้าทีใ่ นการอบรมสัง่ สอนบุตรธิดา ในนิทานอีสป มีเรือ่ งเล่าเกีย่ วกับมารดาทีไ่ ม่ทา� หน้าทีว่ า่ กล่าวตักเตือน บุ ต รของตน เมื่ อ พบว่ า เขาชอบลั ก ขโมยในวั ย เด็ ก พอบุตรเติบใหญ่ก็กลายเป็นโจร • ประการสุดท้าย บุคคลชื่อว่า ไม่ทุจริตต่อหน้าที่ เพราะการไม่ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ไ ปในทางที่ มิ ช อบด้ ว ย กฎหมายและหลักศีลธรรม หมายถึง เขาไม่ใช้อ�านาจ หน้าที่ไปในการแสวงหาประโยชน์ให้กับตนเองหรือ คนอื่นในทางที่ผิดกฎหมายและผิดท�านองคลองธรรม ประโยชน์ในทีน่ หี้ มายรวมทัง้ ทรัพย์สนิ เงินทอง ต�าแหน่ง หน้าที่ ชื่อเสียงเกียรติยศหรือสิทธิอื่นใดที่ไม่สมควร ได้มาแต่ก็ใช้อ�านาจหน้าที่ในทางมิชอบจนกระทั่งได้มา ตามที่ต้องการ นี่เรียกว่าการทุจริตต่อหน้าที่ สภาพของสังคมไทยในปัจจุบันมีการทุจริตและ ประพฤติมิชอบทั้งในและนอกวงราชการอยู่ทั่วไปจน เป็นที่ห่วงใยกันว่า การทุจริตต่อหน้าที่ก�าลังกลายเป็น สนิมร้ายที่บ่อนท�าลายประเทศชาติอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ เพราะการทุจ ริตต่อหน้า ที่เ มื่อผนวกเข้า กับคติที่ว่า “มือใครยาว สาวได้สาวเอา” ย่อมน�าสังคมไปสู่การ แก่งแย่งแข่งขันในลักษณะที่ว่า “แย่งอาหารกันกิน แย่งถิ่นกันอยู่ แย่งคู่กันพิศวาส แย่งอ�านาจกันเป็น ใหญ่” การแตกความสามัคคีกลายเป็นสนิมที่กัดกร่อน โครงสร้ า งสั ง คมจากภายในที่ ร อวั น ล่ ม สลายถ้ า ถู ก กระทบด้วยภัยจากภายนอกในอนาคต.

อ้างอิง : บทความส่วนหนึง่ ในเรือ่ ง สุจริตธรรมกถา โดย พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตโฺ ต) กรรมการมหาเถรสมาคม,


42

นางวิสาขากับการถวายผ้าอาบน�้าฝน สมัยพุทธกาล นางวิสาขามหาอุบาสิกาให้สาวใช้ ไปกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ให้เสด็จ ไปบ้ า นของนาง เพื่ อ รั บ ภั ต ตาหารอยู ่ เ สมอวั น หนึ่ ง สาวใช้ได้ไปที่วัดตามปกติเหมือนทุกวัน แต่วันนั้นมีฝน ตกลงมาพระสงฆ์ทั้งหลาย จึงพากันเปลือยกายอาบน�้า ฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจเพราะความที่ตนมี ปัญญาน้อยคิดว่านักบวชเป็นชีเปลือย จึงรีบกลับไปแจ้ง แก่นางวิสาขาว่า “ข้าแต่แม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นมีแต่ ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน�้ากันอยู่”นางวิสาขาได้ฟังค�าบอก เล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคล ชั้นโสดาบันเป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธา เลื่ อ มใส มี ค วามใกล้ ชิ ด กั บ พระภิ ก ษุ ส งฆ์ จึ ง ทราบ เหตุการณ์โดยตลอดว่า พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้ พระภิกษุมีผ้าส�าหรับใช้สอยเพียง ๓ ผืน คือ ผ้าจีวร ส� า หรั บ ห่ ม ผ้ า สั ง ฆาฎิ ส� า หรั บ ห่ ม ซ้ อ น และผ้ า สบง ส�าหรับนุ่ง ดังนั้นเมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน�้า จึงไม่มี ผ้าส�าหรับผลัดอาบน�้า ก็จ�าเป็นต้องเปลือยกายอาบน�้า ด้วยเหตุนี้เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับที่บ้าน และเสร็จภัตกิจแล้ว นางวิสาขา จึงได้เข้าไปกราบทูล ขอพร เพื่อถวายผ้าอาบน�้าฝนแก่พระภิกษุสงฆ์พระพุทธ องค์ทรงประทานอนุญาตตามที่ขอนั้น และนางวิสาขา ก็เป็นบุคคลแรกทีไ่ ด้ถวายผ้าอาบน�า้ ฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ ผูถ้ วายผ้าอาบน�า้ ฝนจะได้รบั อานิสงส์เหมือนการถวายผ้า ชนิดอื่น ๆ ตามนัยทีพ่ ระพุทธเจ้าตรัสไว้ คือ เป็นผู้มีผิว พรรณผ่องใส สวยงาม ไม่มโี รคภัยไข้เจ็บ มีความสะอาด ผ่องใสทั้งกายและใจ ความแตกต่างกันระหว่างผ้าอาบน�า้ ฝนกับผ้าจ�าน�า อ้างอิง

พรรษาในช่วงเข้าพรรษาทีผ่ า่ นมา มีหลายท่านไปถวาย ผ้าอาบน�้าฝนแก่พระภิกษุสามเณร แต่มีบางวัดขึ้นป้าย เชิญชวนญาติโยมถวายผ้าจ�าน�าพรรษา จึงมีคนสงสัย สอบถามเข้ามายังกองอนุศาสนาจารย์วา่ ผ้าอาบน�า้ ฝน กับผ้าจ�าน�าพรรษาคือ ผ้าอันเดียวกันหรือผ้าคนละอย่าง กัน ในเรื่องนี้นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย ได้อธิบาย ผ้าทั้ง ๒ ชนิดนี้ไว้ดังนี้ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ บอกไว้วา่ “ผ้าจ�าน�าพรรษา” : คือผ้าทีถ่ วายแก่พระสงฆ์ ทีอ่ ยูจ่ า� พรรษาในวัดนัน้ ๆ“ผ้าจ�าน�าพรรษา” ภาษาบาลีวา่ “วสฺสาวาสิกสาฎก” หรือ “วสฺสาวาสิกสาฏิกา” หมายถึง ผ้ า ที่ ถ วายแก่ พ ระสงฆ์ ผู ้ อ ยู ่ จ� า พรรษาครบแล้ ว โปรดสังเกตว่า “อยู่จ�าพรรษาครบแล้ว” คือหลังจาก ออกพรรษาแล้วไม่ใช่ก่อนเข้าพรรษา หรือระหว่าง ๓ เดือนในพรรษา เพราะฉะนั้น “ผ้าจ�าน�าพรรษา” ก็คอื ผ้าทีถ่ วายหลังจากออกพรรษาแล้ว ด้วยวัตถุประสงค์ ทีจ่ ะให้พระท่านผลัดเปลีย่ นจีวรชุดเก่าทีใ่ ช้มาตลอดพรรษา คือตลอดปีที่ผ่านมานั่นเอง ผ้าที่เกี่ยวกับ “พรรษา” อีกชนิดหนึ่งคือ “วสฺสิก สาฎก” หรือ “วสฺสิกสาฏิกา” ก็คือ “ผ้าอาบน�้าฝน” เรี ย กสั้ น ๆ ว่ า “ผ้ า อาบ” คนสมั ย ก่ อ น เรี ย ก “ผ้าชุบอาบ” หรือ “ผ้าชุบสรง” “ผ้าอาบน�้าฝน” นี้ ต้องถวายก่อนเข้าพรรษา ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะให้ พระภิกษุสามเณรใช้ผลัดอาบน�้าในระหว่างจ�าพรรษา “ผ้าอาบน�า้ ฝน” จึงไม่ใช่ “ผ้าจ�าน�าพรรษา” อย่างทีม่ กั เรียกกันผิด ๆ (แล้วยังลามไปเรียก “เทียนพรรษา” ว่า “เทียนจ�าน�าพรรษา” ผิดซ�้าเข้าไปอีกด้วย)

- มหาเถรสมาคม. พระไตรปิฎกภาษาไทย พุทธศักราช ๒๕๔๙ (ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี) เล่มที่ ๕ ข้อ ๓๔๙-๓๕๒ หน้า ๒๓๘-๒๔๖ - นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย, ป.ธ.๙. บาลีวันละค้า จาก Facebook. โรงพิมพ์สหธรรมิก.๒๕๕๖.


ข าวทหารอากาศ

43

ปฐมวัยใน…

New Normal น.อ.หญิง สุพรรณรัศม์ ราชวงศ์

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัส COVID-19 ในหลายประเทศทัว่ โลกรวมถึงประเทศไทย โรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย ซึง่ อยูใ่ นความอุปการะ ของกองทั พ อากาศแห่ ง เดี ย ว โดยพลอากาศโท หลวงเทวฤทธิ์พันลึก (กาพย์ ทัตตานนท์) จัดตั้งขึ้น เมื่อ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๐ มีเจ้ากรมยุทธศึกษา ทหารอากาศเป็นผูล้ งนามแทนผูร้ บั ใบอนุญาตเปิดสอน ในระดับอนุบาล ๑-๓ มุง่ ให้เด็กมีพฒ ั นาการทัง้ ๔ ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ส�าหรับการเตรียมความพร้อม ในวิ ถี ป กติ ใ หม่ (New Normal) ในเด็ ก ปฐมวั ย

โดย พลอากาศเอก มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการ ทหารอากาศ ได้มอบหมายให้กรมสรรพวุธทหารอากาศ จั ด สร้ า งนวั ต กรรมที่ ก ดเจลอนามั ย โมเดล 908 ซึ่งสามารถปรับความสูงของที่กดเจลแอลกอฮอล์ แบบเท้าเหยียบได้ตามความสูงของเด็ก ๆ โดยผูบ้ ญั ชาการ ทหารอากาศ เป็นประธานส่งมอบทีก่ ดเจลแอลกอฮอล์ แบบเท้าเหยียบ หรือ อินทรีอนามัยจิ๋ว ให้แก่โรงเรียน อนุบาลฤทธิยะวรรณาลัยแล้ว เมื่อ ๑๘ มิถุนายน ทีผ่ า่ นมานี ้ เพือ่ เตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัย จากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ก่อนที่จะเปิดเรียน ภาคการศึกษาที่ ๑ ในวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๓


44

ซึ่งอินทรีอนามัยจิ๋วท�ารูปแบบของเป็ดที่น่ารักซึ่งจะ ช่วยดึงดูดความสนใจของเด็กนักเรียนให้เข้าไปล้างมือ บ่อยๆ แม้ ช ่ ว งวิ ก ฤตเกิ ด โรคอุ บั ติ ใ หม่ ใ นภู มิ ภ าค COVID-19 จะท� า ให้ เ ศรษฐกิ จ เสี ย หายมากมาย แต่ นั บ เป็ น โอกาสทองที่ ส ถานพั ฒ นาเด็ ก ปฐมวั ย หรือโรงเรียนอนุบาลและสถานรับเลี้ยงเด็กปฐมวัย ได้หนั กลับมาเหลียวมองตนไม่ให้ตกยุค New Normal ให้มีการปฏิบัติชีวิตประจ�าวันแตกต่างจากในอดีต ตามมาตรฐานกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ ๑. มาตรการตรวจคัดกรองวัดไข้ (Screening) เด็ก ๆ ทุกคน ทุกครั้ง ก่อนที่นักเรียนเข้าสถานศึกษา เช่ น สอบถามอาการเสี่ ย ง ว่ า ไปในสถานที่ เ สี่ ย ง ก่อนเข้าห้องเรียนมาก่อนหรือไม่ ๑.๑ มี ก ารเดิ น ทางมาจากพื้ น ที่ ซึ่ ง มี ก าร ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส COVID -19 ภายใน ๑ เดือน หรือไม่ ๑.๒ ภายใน ๑ เดือนที่ผ่านมา มีคนใกล้ชิด หรือคนในครอบครัวที่ร่วมอาศัยอยู่กับท่านติดเชื้อ ไวรัส COVID-19 หรือไม่

๑.๓ เคยมีประวัติเป็นไข้ ร่วมกับอาการ ระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ น�า้ มูก เจ็บคอ หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หอบ หายใจล�าบาก ภายใน ๑๔ วัน ทีผ่ า่ นมา โดยยังไม่ได้รบั การวินจิ ฉัยหรือไม่ ครูและพีเ่ ลีย้ ง หมัน่ สังเกตอาการ หากเด็กนักเรียนไม่รรู้ สหรือรับกลิน่ ไม่ได้ ต้องแยกเด็กและรีบแจ้งผู้ปกครองให้พาไป พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและรักษาต่อไป ส�าหรับ เด็กนักเรียนทีม่ ไี ข้ ไอ จาม ควรพักจนหายจึงจะมาเรียน ๒. เคร่งครัดให้เด็ก ๆ ต้องสวมหน้ากากอนามัย (mask) หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาเมื่ออยู่ในสถาน ศึกษา


ข าวทหารอากาศ

๓. โรงเรียนอนุบาลและสถานรับเลีย้ งเด็กปฐมวัย ต้ อ งจั ด ให้ มี จุ ด ล้ า งมื อ ด้ ว ยเจลแอลกอฮอล์ ห รื อ สบู่ล้างมือให้เพียงพอกับจ�านวนนักเรียน เพื่อการ รักษาความสะอาดให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ๔. ให้เข้าแถวรอคิว เว้นระยะห่าง ๑ เมตร จั ด ให้ มี ก ารเว้ น ระยะห่ า ง (Social Distancing) เช่น การจัดวางถาดอาหารการรับประทานอาหาร นั่งเว้นระยะห่าง หรือมีพลาสติกใสกั้น ห้ามพูดคุย ระหว่ า งทานอาหารเพื่ อ ป้ อ งกั น การฟุ ้ ง กระจาย ของสารคัดหลั่ง น�้ามูก น�้าลาย จัดให้มีช้อนส้อม ที่ เ ป็ น ส่ ว นตั ว ของนั ก เรี ย น ไม่ ใ ช้ แ ก้ ว น�้ า ร่ ว มกั น จัดพื้นที่ให้เรียนโดยมีระยะห่างกัน และจัดดินสอ ยางลบ ดินสอสี ให้นักเรียนทุกคนเพื่อลดการสัมผัส หากเครื่ อ งเขี ย นไม่ เ พี ย งพอควรใช้ แ อลกอฮอล์ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เช็ดท�าความสะอาดก่อนใช้งานทุกครัง้ ๕. หมั่นท�าความสะอาด (Cleaning) เพื่อความ ปลอดภั ย โดยต้ อ งท� า ความสะอาดพื้ น ผิ ว สั ม ผั ส ที่มีการใช้ร่วมกันบ่อย ๆ ได้แก่ ห้องนอน ห้องอาหาร ห้องน�้า ห้องกิจกรรม เป็นต้น

45

๖. ลดความแออัด หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรม ที่มีการสัมผัสร่วมกัน เช่น เล่นบ่อบอลล์ เพื่อความ ปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น หากครูไม่เพียงพอ กับชัน้ เรียน ให้ใช้สอื่ เทคโนโลยีสารสนเทศและสือ่ การ เรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ช่วยสอน เพือ่ ลดจ�านวนนักเรียนในแต่ละห้องไม่แออัดจนเกินไป สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและสถานรับเลี้ยงเด็ก ปฐมวัยต้องงดการรับเลี้ยงเด็ก หากต้องรับเลี้ยงเด็ก ก็ต้องด�าเนินงานอย่างมีมาตรฐานตามตัวชี้วัดของ กรมอนามั ย กระทรวงสาธารณสุ ข และกระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มาตรฐาน สถานพั ฒ นาเด็ ก ปฐมวั ย แห่ ง ชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ (National Standard for Early Childhood Care, Development and Education Thailand ๒๐๑๘) ซึ่ ง คณะรั ฐ มนตรี มี ม ติ เ ห็ น ชอบ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ โดยเฉพาะการดู แ ลสุ ข ภาพอนามั ย โดยจั ด ให้ มี ก ารตรวจสุ ข ภาพของเด็ ก นั ก เรี ย น เป็นรายบุคคล รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอก วัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้และของเล่น


46

ที่ ส ะอาดหลากหลาย ปลอดภั ย และเหมาะสม กับเด็ก ๆ ส�าหรับเด็กอายุมากกว่า ๓ ปี จัดตาม หลั ก สู ต รการศึ ก ษาปฐมวั ย พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๖๐ ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ๑๒ มาตรฐาน ได้แก่ - ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี - กล้ามเนือ้ ใหญ่และกล้ามเนือ้ เล็กแข็งแรง ใช้ได้ อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน - มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข - ชืน่ ชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการ เคลื่อนไหว - มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม - มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง - รักธรรมชาติ สิง่ แวดล้อม วัฒนธรรม และความ เป็นไทย

- อยูร่ ว่ มกับผูอ้ นื่ ได้อย่างมีความสุขและปฏิบตั ติ น เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมระบอบประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข - ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย มีความ สามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ - มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ - มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ - มี ค วามสามารถในการแสวงหาความรู ้ ไ ด้ เหมาะสมกับวัย อย่ า งไรก็ ต ามการจั ด ประสบการณ์ เ ด็ ก อายุ ต�่ า กว่ า ๓ ปี ต้ อ งปฏิ บั ติ ต ่ อ เด็ ก ด้ ว ยความรั ก ความเข้าใจ ใช้เหตุผล โรงเรียนอนุบาล สถานพัฒนา เด็กปฐมวัยและสถานรับเลี้ยงเด็กปฐมวัยต้องมุ่งเน้น จั ด สภาพแวดล้ อ มที่ มี ค วามปลอดภั ย ในยุ ค New Normal ให้เด็กนักเรียนเป็นหลักการที่ส�าคัญที่สุด

อ้างอิง - มติ ครม. ๒ ม.ค.๖๒ เรื่องมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๑ - (National Standard for Early Childhood Care, Development and Education Thailand 2018) - ประกาศกรมการแพทย์๑๘ มิ.ย.๖๓ เรือ่ งแนวทางปฏิบตั ติ ามมาตรการผ่อนปรนฯ ในสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19


ข าวทหารอากาศ

ยุทธการยับยั้งพายุลูกเห็บ

ร.อ.นรพงษ์ เอกหาญกมล

ภู มิ ศ าสตร์ ข องประเทศไทยตั้ ง อยู ่ บ ริ เ วณ คาบสมุทรอินโดจีน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นต�าแหน่งที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมที่เกิดขึ้น จากภาคพืน้ ทวีปและภาคพืน้ สมุทรอย่างต่อเนือ่ ง ตลอด ระยะเวลา ๑ ปี เมื่อลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออ่อน ก�าลังเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าแทนที่ ประเทศไทยจะเข้ า สู ่ ก ารเปลี่ ย นฤดู ร ้ อ นเป็ น ฤดู ฝ น โดยจะเริม่ ต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือน พฤษภาคม และมีอุณหภูมิสูงสุดพร้อมกับอากาศร้อน อบอ้าวในช่วงเดือนเมษายน หากมวลอากาศเย็นจาก สาธารณรั ฐ ประชาชนจี น แผ่ ป กคลุ ม ถึ ง บริ เ วณ ประเทศไทย ท� า ให้ เ กิ ด การปะทะของมวลอากาศ ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันบังเกิดเป็นพายุฤดูร้อน ซึ่งมัก

เกิดขึ้นบ่อยครั้งในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออก เฉี ย งเหนื อ พฤติ ก รรมของพายุ ฤ ดู ร ้ อ นมั ก มี ล ม กรรโชกแรง ความชื้นภายในบรรยากาศจะก่อตัวเป็น เมฆเย็นแนวตั้งขนาดใหญ่เรียกว่า เมฆคิวมูโลนิมบัส ภายในก้ อ นเมฆจะพบกระแสอากาศไหลเวี ย น ขึน้ ลงอย่างรวดเร็วรุนแรงสลับไปมาหลายครัง้ ละอองน�า้ ภายในก้ อ นเมฆจะเย็ น ตั ว อย่ า งยิ่ ง ยวดเกิ ด เป็ น ผลึกน�้าแข็งขนาดเล็กบริเวณยอดเมฆ และพัฒนาตัว กลายเป็ น เม็ ด น�้ า แข็ ง ขนาดใหญ่ มี น�้ า หนั ก มาก ในระดับที่กระแสลมไม่สามารถพยุงไว้ได้ จึงตกลงมาสู่ พื้ น ดิ น กลายเป็ น ลู ก เห็ บ ซึ่ ง เป็ น ภั ย ทางธรรมชาติ ที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยเป็นประจ�า ต่อเนื่องทุกปี

ข. ก. ภาพ ก. แสดงต�าแหน่งร่องความกดอากาศต�่า ทิศทางลมมรสุมและทางเดินพายุหมุนเขตร้อน (ที่มา https://www. tmd.go.th/info/info.php?FileID=23) ภาพ ข. แสดงปัจจัยที่ท�าให้เกิดลูกเห็บ (ที่มา https://www.wpc.ncep.noaa.gov)

47


48

การท�าฝนหลวงจากเมฆเย็นโดยการใช้สารซิลเวอร์ ไอโอไดด์เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ภายใต้ โ ครงการวิ จั ย ทรั พ ยากรบรรยากาศ ประยุกต์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงประดิษฐ์ตา� ราฝนหลวงพระราชทาน รวม ๖ ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ ๕ และ ๖ เป็นขั้นตอน ปฏิ บั ติ ก ารท� า ฝนเมฆเย็ น ด้ ว ยการใช้ สารซิ ล เวอร์ ไอโอไดด์ เรียกชื่อว่า การโจมตีเมฆเย็นด้วยพลุซิลเวอร์ ไอโอไดด์ และการโจมตีแบบซูเปอร์แซนด์วิชตามล�าดับ กองทั พ อากาศโดยศู น ย์ วิ จั ย พั ฒ นาวิ ท ยาศาสตร์ เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ ได้ด�าเนิน การวิจัยและพัฒนาพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ ซึ่งใช้กลไก ของไพโรเทคนิ ค ในการสร้ า ง และกระจายอนุ ภ าค สารซิ ล เวอร์ ไ อโอไดด์ โดยจะท� า การยิ ง พลุ ซิ ล เวอร์ ไอโอไดด์ ล งสู ่ ย อดเมฆที่ ร ะดั บ ความสู ง ประมาณ ๒๐,๐๐๐ ฟุต พลุซลิ เวอร์ไอโอไดด์ทถี่ กู ยิงลงมาสูย่ อดเมฆ จะปลดปล่อยควันทีไ่ ด้จากการเผาไหม้ซงึ่ ประกอบด้วย อนุภาคของสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ทา� หน้าทีเ่ ป็นแกนกลัน่ ตัวให้นา�้ จับตัวกลายเป็นน�า้ แข็ง กระตุน้ ให้ละอองน�า้ เย็น ยิง่ ยวดในเมฆรวมตัวกันกลายเป็นผลึกน�า้ แข็งแล้วตกลง สู่เบื้องล่างละลายกลายเป็นเม็ดฝนตกลงมาสู่พื้นดิน ก่อนที่เมฆจะพัฒนากลายเป็นพายุลูกเห็บ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ กองทัพอากาศได้น�าเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๖ A-37B (บ.จ.๖) มาสนับสนุนภารกิจปฏิบัติการเมฆเย็น ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนกระทั่ง บ.จ.๖ ปลดประจ�าการ กองทัพอากาศจึงได้สบื ค้นข้อมูลพบว่า ราชอาณาจักรโมร็อกโกได้ใช้เครื่องบิน Alpha Jet ส� า หรั บ ท� า ฝนเมฆเย็ น ประกอบกั บ เครื่ อ งบิ น โจมตี แบบที่ ๗ (บ.จ.๗) ของกองทัพอากาศมีสมรรถนะ ใกล้เคียงกับ บ.จ.๖ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนา อากาศยานของกองทั พ อากาศในการปฏิ บั ติ ก าร ท�าฝนเมฆเย็น จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๔๑ – ๒๕๔๖ กองทัพอากาศได้ด�าเนินการผลิตพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ ใช้ ง านกั บ เครื่ อ งบิ น โจมตี แ บบที่ ๗ (Alpha Jet) ติ ด ตั้ ง แผงเครื่ อ งยิ ง บริ เ วณใต้ ป ี ก ต� า แหน่ ง ติ ด ตั้ ง อาวุธด้านใน โดยบรรจุพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ จ�านวน ๒๐๐ นัด/แผงเครื่องยิง และในปี พ.ศ.๒๕๔๙ ได้ ด�าเนินการโครงการพัฒนาชุดอุปกรณ์ตดิ ตัง้ พลุซลิ เวอร์ ไอโอไดด์โดยใช้อุปกรณ์ยิงกระสุนเป้าลวงคลื่นเรดาร์

ค (ก) แสดงเครื่ อ งบิ น โจมตี แ บบที่ ๖ (A-37B) (ข) เครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗ (Alpha Jet) และ (ค) แผงเครื่องยิงฯ ใต้ปีกที่ต�าแหน่งติดตั้งอาวุธด้านใน (Inboard) ของ บ.จ.๗

(Chaff Dispenser) ซึ่ ง ติ ด ตั้ ง อยู ่ ที่ ส ่ ว นหางของ เครื่องบิน (Tail Cone) ของ บ.จ.๗ สามารถบรรจุ พลุ ซิ ล เวอร์ ไ อโอไดด์ จ� า นวน ๖๐ นั ด /ชุ ด ยิ ง เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นเครื่องบินปฏิบัติการภารกิจ ฝนหลวง เนื่องในวโรกาสฉลอง สิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลที่ ๙ ในปี พ.ศ.๒๕๕๑


ข าวทหารอากาศ

ค (ก) Chaff Dispenser ติดตั้งที่ Tail Cone เครื่องบิน โจมตีแบบที่ ๗ (Alpha Jet) (ข) Chaff Magazine บรรจุ Adapter ส� า หรั บ พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ (ค) การติ ด ตั้ ง Chaff Magazine เข้ า กั บ Chaff Dispenser บริเวณ Tail Cone บ.จ.๗

ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ กองทัพอากาศได้ให้การ สนับสนุนกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ในการด� า เนิ น โครงการ ปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งมีวัตถุประสงค์ท�าฝนจาก เมฆเย็ น บรรเทาภั ย แล้ ง ควบคู ่ กั บ การยั บ ยั้ ง และบรรเทาความรุนแรงของพายุลูกเห็บในพื้นที่ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจัดตั้ง หน่วยบินแยกฝูง ๒๓๑ จ�านวน ๒ ฐานปฏิบัติการ ได้แก่ ฐานปฏิบัติการ กองบิน ๔๑ จังหวัดเชียงใหม่ (ระหว่างวันที่ ๑ มีนาคม - ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓) และฐานปฏิบัติการ กองบิน ๒๓ จังหวัดอุดรธานี (ระหว่างวันที่ ๓๑ มีนาคม - ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓) โดยมีขั้นตอน แนวทางในการปฏิบัติหลัก จ�านวน ๖ ขั้นตอน ได้แก่ ๑. เจ้าหน้าทีก่ องทัพอากาศเตรียมความพร้อม อากาศยานและส่วนเกี่ยวข้อง ๒. ประชุมร่วมกับนักวิชาการของ กรมฝนหลวง และการบิ น เกษตร (กฝษ.กษ.) เพื่ อ รั บ ทราบ สถานการณ์และข้อมูลประจ�าวัน ๓. นักวิชาการ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เฝ้าตรวจสภาพอากาศ การพัฒนาตัวของกลุ่มเมฆ เมื่อพบเมฆที่อยู่ในเกณฑ์พัฒนาตัวเป็นพายุลูกเห็บ จะท� า การร้ อ งขอให้ มี ก ารปฏิ บั ติ ก ารพร้ อ มแจ้ ง ต�าแหน่งของกลุ่มเมฆให้กับหน่วยบินเพื่อทราบ ๔. เจ้ า หน้ า ที่ ก องทั พ อากาศท� า การติ ด ตั้ ง พลุ ซิ ล เวอร์ ไ อโอไดด์ กั บ บ.จ.๗ นั ก บิ น ท� า การ วิ่งขึ้นบินภายใน ๓๐ นาที และบินไปยังกลุ่มเมฆ เป้าหมาย นักบินปฏิบัติหน้าที่ Supervisor Of Flying (SOF) ประจ�าภาคพื้นประสานข้อมูลจาก นักวิชาการไปยังนักบินทีป่ ฏิบตั กิ ารบินเพือ่ แจ้งพิกดั เป้ า หมายส� า รองและสภาพอากาศหากมี ก าร เปลี่ยนแปลงระหว่างปฏิบัติการ ๕. เมื่อถึงกลุ่มเมฆเป้าหมายนักบินจะเป็น ผู้พิจารณากลุ่มเมฆในการปฏิบัติภารกิจ พร้อมถ่าย ภาพการเปลีย่ นแปลงของเมฆ บันทึกข้อมูลต�าแหน่ง ความสูง เวลาและจ�านวนพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ที่ใช้ ในปฏิบัติการ ๖. หลังปฏิบัติภารกิจการบิน นักบินท�าการ สรุปผลการปฏิบัติร่วมกับนักวิชาการ กรมฝนหลวง และการบินเกษตร

49


50

โดยมี พื้ น ที่ ที่ ไ ด้ รั บ ประโยชน์ ในเขตภาคเหนื อ ได้ แ ก่ จั ง หวั ด เชียงใหม่ (อ�าเภอสะเมิง อ�าเภอ แม่ริม อ�าเภอแม่แตง อ�าเภอฮอด อ� า เภออมก๋ อ ย อ� า เภอแม่ อ อน อ�าเภอแม่แจ่ม อ�าเภอพร้าว อ�าเภอ ดอยเต่า) จังหวัดล�าปาง (อ�าเภอห้างฉัตร อ�าเภอแจ้ห่ม อ�าเภอแม่ทะ) จั ง หวั ด เชี ย งราย (อ� า เภอ แสดงการเฝ้าตรวจสภาพอากาศ การพัฒนาตัวของกลุม่ เมฆและนักบินสรุป เวียงป่าเป้า) ผลการปฏิบัติร่วมกับนักวิชาการ กฝษ.กษ. เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดสกลนคร (อ�าเภอเมือง อ� า เภอส่ อ งดาว อ� า เภอเต่ า งอย อ�าเภอวานรนิวาส อ�าเภอเจริญศิลป์ อ�าเภอพรรณานิคม) จั ง หวั ด อุ ด รธานี (อ� า เภอ โนนสะอาด อ�าเภอกุมภวาปี อ�าเภอ การปฏิบัติการยับยั้งการเกิดพายุ ลูกเห็บในพื้นที่ อ.สะเมิง และ อ.แม่วาง ไชยวาน อ�าเภอหนองหาน) จั ง หวั ด กาฬสิ น ธุ ์ (อ� า เภอ จว.เชียงใหม่ พบว่าหลังจากปฏิบตั กิ ารกลุม่ เมฆลดระดับความหนาแน่นและสลายตัว สมเด็จ อ�าเภอค�าม่วง อ�าเภอสามชัย) การสนั บ สนุ น โครงการปฏิ บั ติ ก ารฝนหลวง จังหวัดนครพนม (อ�าเภอโพนสวรรค์) เมฆเย็ น เพื่ อ บรรเทาความรุ น แรงของพายุ ลู ก เห็ บ จังหวัดชัยภูมิ (อ�าเภอแก้งคร้อ อ�าเภอภูเขียว) โดยเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗ (Alpha Jet) ของ กองทัพ จังหวัดหนองบัวล�าภู (อ�าเภอสุวรรณคูหา) อากาศ ประจ�าปี ๒๕๖๓ ใช้พลุซลิ เวอร์ไอโอไดด์ จ�านวน จังหวัดบึงกาฬ (อ�าเภอเซกา) รวม ๑,๕๑๘ นัด รวม ๓๖ เที่ยวบิน สามารถลดความ จังหวัดเลย (อ�าเภอเมือง อ�าเภอวังสะพุง รุนแรงของพายุลกู เห็บและบรรเทาภัยแล้งเกิดเป็นฝนตก อ�าเภอเอราวัณ) แหล่งอ้างอิง ศูนย์ข้อมูลข่าวสารกรมฝนหลวงและการบินเกษตร. กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์. [ออนไลน์]. สืบค้นได้จาก: https://www.royalrain.go.th/web/info/ShowDetail. aspx?DetailId=9124 [สืบค้นเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๓]. ศูนย์ภูมิอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา. ความผันแปรและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและ ประเทศไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นได้จาก: http://climate.tmd.go.th/content/category/11 [สืบค้นเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๓]. Dwight Samuel. WPC Training Tropical Desk Presentation. “TUTT-Induced Hail Event in Suriname”. [ออนไลน์]. สืบค้นได้จาก:https://www.wpc.ncep.noaa.gov/international /internal/PRESENTATIONS/ID_201507_Dwight_Samuel_Suriname.pdf [สืบค้นเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๓].


ข าวทหารอากาศ

51

มุมท องเที่ยว

ผาแต้ม

ารผจญภัยเป็นเสมือนการปลุกเร้าความตื่นตัว ของเซลล์ในร่างกายให้มพี ลัง เซลล์มนั กระตุน้ และออกค�าสัง่ ให้ผเู้ ขียนออกไปท่องป่าซะบ้าง หลังถูก กักตัวมาหลายเดือน ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ผู้เขียนนั่งรถไปเชียงใหม่ด้วยใจกระหาย แต่แล้ว แผนที่ ว างมานานก็ มี อั น สะดุ ด ลงเมื่ อ ถึ ง เชี ย งใหม่ รถรอบเช้าไปแม่ฮ่องสอนเต็มซะแล้ว จะมีอีกทีก็รอบ เที่ยงวันและต้องใช้เวลาเดินทางนานถึง ๖ ชั่วโมง ผู้เขียนจะท�าอย่างไรดีกับทริปเที่ยวเมืองสามหมอก ที่มีเวลาเพียง ๕ วัน ความกังวลห่วงว่าห้องพักทีจ่ องไว้ทปี่ างอุง๋ ก�าลัง จะหลุ ดมื อ ไปท� า ให้ ต ้ อ งตั ดสิ นใจท� า อะไรสั ก อย่ า ง ในฤดูกาลท่องเทีย่ วยุคออนไลน์เช่นนีด้ จู ะไม่ใช่ทางเลือก ที่ดีนัก จึงเสี่ยงไปผจญภัยเอาข้างหน้า ขณะที่ก�าลัง สับสน เดินไปเดินมา ก็เหลือบไปเห็นร้านรถเช่าเข้า จึ ง ตั ด สิ น ใจเช่ า รถมอเตอร์ ไ ซด์ อ อกเดิ น ทางทั น ที ภูมิประเทศแถบนีช้ ่างแปลกตากว่าที่เคยทัศนามานัก เส้นทางเลีย้ วลด คดโค้ง ท�าเอาใจหายใจคว�า่ มันไม่ตา่ ง อะไรกับการขับรถมอเตอร์ไซด์ไต่ไปบนเส้นด้ายบาง ๆ ตามภูเขาลูกแล้วลูกเล่าเลย


52

ความสนุกและคึกคะนองเป็นภาพมายาในช่วงแรก แต่สักพักก็ต้องยอมรับความจริงว่าก�ำลังฝากชีวิต ไว้กับรถเช่าที่อาจจะล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ แม่ฮ่องสอนคือ ดินแดนพันโค้ง ถนนคดเคี้ยวเลี้ยวลด ขึน้ เขาสูงชันแล้วลาดเทลงอย่างน่าหวาดเสียว บางแห่ง เป็นโค้งหักศอกที่ท�ำเอาต้องเหยียบเบรกจนสุดเท้า แล้วปล่อยให้รถไถลลงตามแรงโน้มถ่วง ความตื่นเต้น ท�ำให้ฮอร์โมนพลุ่งพล่าน ขนลุกซู่ไปทั้งตัว ต้องตั้งสติ เบิกเนตรกว้างอย่างตื่นรู้ จุดพักชมวิวดอยกิว่ ลม มีรา้ นค้าต้อนรับนักเดินทาง ด้วยกาแฟร้อน ๆ ข้าวโพดปิ้ง เผือกย่าง ท่ามกลาง อากาศหนาวบนยอดดอย ผู้เขียนแวะจิบกาแฟแลดู ทะเลภูเขา พบปะพูดคุยผู้คนใหม่ ๆ ฟังเรื่องราว การเดินทางจากโต๊ะข้าง ๆ แค่นี้ก็รู้สึกผ่อนคลายแล้ว ข้อดีของการขับรถมอเตอร์ไซด์เที่ยวก็คือ เราได้เห็น ทัศนียภาพกว้างขึ้น เดินทางสะดวกขึ้น มีความเป็น ส่วนตัวสูง หรือจะขับไปเป็นขบวนก็เท่ห์ไปอีกแบบ แต่ต้องแวะพักเครื่องเป็นครั้งคราวตามจุดแวะพัก อย่างเช่น สถานีอ้วก เป็นต้น สะพานประวัตศิ าสตร์ เมืองปาย สถานทีแ่ ห่งนี้ คล้ายประตูย้อนเวลาสู่โลกธรรมชาติของแม่ฮ่องสอน สร้างโดยทหารญีป่ นุ่ มาตัง้ แต่สมัยสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ ความไม่ธรรมดาของสะพานเหล็กธรรมดาแห่งนี้คือ Story หรือเรื่องราวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้แวะชม อย่างพลาดไปไม่ได้ ผูเ้ ขียนใฝ่ฝนั อยากขับรถมอเตอร์ไซด์เทีย่ วไปทัว่ เอเชียมานานแล้วแม่ฮ่องสอนดินแดน ๑,๘๖๔ โค้ง จึงกลายเป็นด่านทดสอบแรกโดยบังเอิญ ความไม่ชำ� นาญ ในเส้นทางสอนให้เติมน�้ำมันรถที่บรรจุขายเป็นขวด อยู่เรื่อย ๆ เพราะมั่นใจว่าบนภูเขาคงไม่มีปั้มน�้ำมัน ผูเ้ ขียนท่องคาถาเดินทางเตือนสติอยูเ่ สมอว่า “ห้ามล้ม ห้ามน�้ำมันหมด” การเดิ น ทางคนเดี ย วกั บ รถมอเตอร์ ไ ซด์ ดู จ ะ เข้ากันดี ผมหลงรักการเดินทางเพียงล�ำพังมานานแล้ว มันสอนให้ผมรูจ้ กั ตัวเอง รูจ้ กั วิธแี ก้ปญ ั หาเฉพาะหน้า ข้อคิดดี ๆ และค�ำตอบของค�ำถามที่ค้างคามานาน


ข่าวทหารอากาศ

มักผุดขึน้ ระหว่างการเดินทาง กระนัน้ ผูเ้ ขียนก็ภาวนา ตลอดว่า “ขออย่าให้รถมีปญ ั หา เพราะผมซ่อมไม่เป็น” ปางอุง๋ หงส์งามกลางขุนเขา แสงตะวันริบหรีล่ ง ยิ่งใจหาย ต้องรีบไปให้ถึงปางอุ๋งก่อนตะวันตกดิน และในทีส่ ดุ ก็มาถึงหมูบ่ า้ นรวมไทย ทีต่ งั้ ของอ่างเก็บน�ำ้ ปางอุง๋ ก่อนพลบค�ำ ่ ได้ชมพระอาทิตย์ตกดินเป็นรางวัล ของการเดินทางไกลกว่า ๓๐๐ กิโลเมตร เมือ่ แสงสุดท้าย จากลา ดาวเหนือก็ลอยมาส่องแสงสุกสกาวลอยเด่น เหนือหมู่บ้านกลางหุบเขาที่เงียบสงบ แสงนีออน จากร้านรวงดึงดูดนักท่องเที่ยวออกมาหาอะไรทาน แก้หนาว ผู้เขียนดื่มน�้ำขิงและสนทนากับเพื่อนใหม่ ห้องข้าง ๆ หญิงชาวเหนือวัยกลางคนตกใจเมื่อรู้ว่า ผู้เขียนขับรถมอเตอร์ไซด์มาคนเดียว เธอบอกว่า อยากลองท�ำบ้างแต่ไม่กล้าพอ รุ ่ ง อรุ ณ ผู ้ เ ขี ย นลุ ก ขึ้ น ใส่ บ าตรแต่ เ ช้ า มองดู หมู่ดาวค้างฟ้าที่มองที่ใดก็คงไม่สวยงามเท่ามองที่นี่ จิบชาร้อนแก้หนาว แล้วไปรอชมพระอาทิตย์ขึ้น ที่อ่างเก็บน�้ำ ไม่นานนักเวลาที่ทุกคนรอคอยก็มาถึง ไอหมอกพวยพุ่งขึ้นเหนือผิวน�้ำสะท้อนแสงแวววับ รับแสงตะวันวันใหม่ หงส์ขาว หงส์ด�ำแหวกว่าย อยู่กลางสายธารผู้เขียนและนักท่องเที่ยวล่องเรือแพ เลือนหายไปในสายหมอก มองเห็นเต็นท์ของเหล่า นักนิยมไพรกางอยู่ใต้ป่าสนริมฝั่งไม่น่าเชื่อว่าพื้นที่ แถบนีค้ รัง้ หนึง่ เคยเป็นแหล่งปลูกพืชจ�ำพวกยาเสพติด ของชาวไทใหญ่มาก่อน ด้วยผลส�ำเร็จจากการเจรจา และท�ำสนธิสญ ั ญากับธรรมชาติ สระอโนดาดท่ามกลาง

53

ขุนเขาของเหล่าหงส์งาม จึงปรากฏขึน้ มาแทน เมือ่ กลับไป เติ ม พลั ง ด้ ว ยกาแฟปางอุ ๋ ง ก่ อ นออกเดิ น ทางต่ อ เพี ย งจิ บ แรกก็ รู ้ สึ ก กระชุ ่ ม กระชวยแอบยิ้ ม อย่ า ง ภาคภูมิใจว่า “ข้าคือผู้พิชิต ๑,๘๖๔ โค้ง” “ดีนะที่คุณมาช่วงนี้ ถ้าเป็นฤดูฝนจะขับรถ ล�ำบากมาก เพราะฝนตกทั้งวันทั้งคืน” แม่ค้ากาแฟ พูดขึ้นเมื่อรู้ว่าผู้เขียนขับรถมอเตอร์ไซด์มาคนเดียว ปางอุ ๋ ง เปรี ย บเสมื อ นหงส์ ง ามที่ ซ ่ อ นตั ว อยู ่ กลางไพรรอให้ใคร ๆ มาพานพบ เมื่อสมใจแล้ว ก็ถงึ เวลาทีต่ อ้ งจากลา แบกเป้ขนึ้ บ่าแล้วขับรถทีต่ งั้ ชือ่ ให้มันว่า “ขุนพันโค้ง” ไปยังบ้านใกล้เรือนเคียง ที่คนในหมู่บ้านรวมไทยกล่าวเหน็บอย่างน่ารักว่า “บ้านเขามันไฮโซ ส่วนบ้านฉันมันโลโซ”


54

บ้านรักไทย ชาหอมหมื่นลี้ ไร่นาสวนผสมแบบ ขั้นบันไดตามสันเขาเป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ ที่ชวนให้ภิรมย์ระหว่างเดินทาง ไม่นานนักก็มาถึง หมู่บ้านรักไทยที่คล้ายดังฉากหนังจีนก�าลังภายใน มีโรงเตีย้ มสีแดงสดโดดเด่นชือ่ ลีไวน์ รอรับนักเดินทาง ผูเ้ ขียนเดินเข้าไปสัง่ ข้าวผัดยูนนานเป็นมือ้ เทีย่ ง จิบชา หอมหมื่นลี้ ทอดสายตาชมทะเลสาบและเรือแจว ล�าน้อยน�านักท่องเที่ยวล่องชมบ้านเรือนบนริมฝั่ง ที่ มี ภู เ ขาโอบล้ อ มเป็ น ฉากหลั ง ดั ง ต� า ราฮวงจุ ้ ย ว่ า “หน้าแม่น�้า หลังภูเขา” ช่างเป็นท�าเลที่หาดูได้ยาก ยิ่งนัก นักท่องเที่ยวต่างปล่อยเวลาให้ไหลผ่านไปช้า ๆ แต่ผเู้ ขียนออกเดินขึน้ ไปชมสวนชาขัน้ บันไดทีต่ บแต่ง ด้วยบ้านพักทรงจีนโบราณกลางดงชาอย่างลงตัว ทางเดินประดับประดาด้วยโคมไฟญี่ปุ่นสีแดง และมี ไหสุราจีนขนาดใหญ่วางเรียงรายเป็นก�าแพงแบ่งเขต ช่างเป็นศิลปะผสมผสานทีส่ อื่ ถึงเอกลักษณ์ความเป็นจีน ได้ อ ย่ า งดี เ กิ น หั ก ห้ า มใจ ไม่ ซื้ อ ของฝากมากนั ก เพราะไม่สะดวกต่อการขับรถ และถึงแม้ที่นี่จะขึ้นชื่อ ในความงดงามของสายหมอกยามเช้า แต่ด้วยเวลา จ�ากัดท�าให้ต้องออกเดินทางต่อ ถ�้าปลา วังมัจฉาต้องห้าม ผู้เขียนย้อนกลับ ทางเดิมสู่เชียงใหม่ขากลับซึ่งสามารถปล่อยใจไปกับ การชืน่ ชมธรรมชาติมากกว่าตอนแรก จนมาถึงถ�า้ ปลา ซึง่ ตัง้ อยูใ่ นเขตอุทยานแห่งชาติถา�้ ปลา – น�า้ ตกผาเสือ่

ฝูงปลาใหญ่นอ้ ย บางตัวตัวเท่าเสาหลักกิโลเมตร ก�าลัง แหวกว่ายอยู่ในธารน�้าใส ซึ่งมีต้นธารมาจากถ�้าหิน ที่ มี น�้ า ไหลออกมาตลอดเวลา ปลาเหล่ า นี้ ช่ื อ ว่ า ปลาพลวงหิน ชาวบ้านเชือ่ กันว่าเป็นปลาเจ้าที ่ หากใคร น�าไปกินก็จักมีอันเป็นไป อันที่จริงแล้วเกิดจากปลา กินผลไม้ป่าที่มีพิษหล่นลงน�้าเนื้อปลาจึงเต็มไปด้วย สารพิ ษ แต่ ที่ น ่ า พิ ศ วงก็ คื อ ไม่ มี ใ ครรู ้ แ หล่ ง วางไข่ ของปลา ตะวันบ่ายคล้อย ผู้เขียนเร่งเดินทางไปให้ถึง ที่ไหนสักแห่งก่อนมืดค�่าแก๊งค์รถมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์


ข่าวทหารอากาศ

ขับสวนไปมา จังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงน่าจะเป็นสนาม ทดสอบของสิงห์มอเตอร์ไซค์ ขับรถไปจนเจอป้าย บนต้นไม้เขียนด้วยลายมือว่า “อันตราย ถนนโคตรชัน” และก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ ผู้เขียนขับลงทางดิ่งขณะที่ รถขนเหล็กเส้นก็จอ่ หลังมาท�ำเอาเสียวทัง้ หน้าและหลัง และในที่สุดก็มาถึงบ้านจ่าโบ่ บ้ า นจ่ า โบ่ แ ห่ ง ภู ผ าหมอก หมู ่ บ ้ า นเล็ ก ๆ บนเทื อ กเขาที่ มี ร ้ า นก๋ ว ยเตี๋ ย วห้ อ ยขาเป็ น จุ ด เด่ น รสชาติกว๋ ยเตีย๋ วก็อร่อยเหาะ นักท่องเทีย่ วจะนัง่ ห้อยขา ลงหน้าผาทานก๋วยเตี๋ยวพร้อมชมพระอาทิตย์ตกดิน ยามค�ำ่ คืนก็นงั่ ชมหมูด่ าว คืนนีผ้ เู้ ขียนโชคดีได้หอ้ งพัก ทีแ่ ขวนอยูบ่ นขอบหน้าผาในราคาประหยัดเป็นอีกมิตหิ นึง่ ของการพักผ่อนทีน่ า่ ลองสักครัง้ ทีไ่ ด้มโี อกาสนอนชมดาว ยามเช้าก็ตนื่ มาดืม่ กาแฟ ชมทะเลหมอกและได้สมั ผัส หมอกอย่างใกล้ชดิ จุดเด่นอีกแห่งทีข่ าลุยจะพลาดไม่ได้ ก็คอื ภูผาหมอก ทีต่ อ้ งปีนภูผาหินขึน้ ไปชมพระอาทิตย์ ขึ้ น ยามเช้ า ตามมาด้ ว ยทะเลหมอกที่ ผุ ด พรายขึ้ น รับแสงตะวัน สว่ นนักท่องเทีย่ วสายชิลล์กน็ ง่ั ทานก๋วยเตีย๋ ว ชมทะเลหมอกที่ก�ำลังแผ่คลื่นขาวนวลมาจนถึงร้าน “สนใจไปชมถ�ำ้ ผีแมนไหมครับ อยูถ่ ดั ไปไม่ไกล” คนน�ำทางขึ้นภูผาหมอกถาม ผู้เขียนตอบตกลงทันที ถ�ำ้ ผีแมนทีว่ า่ นีเ้ ป็นคนละแห่งกับถ�ำ้ ผีแมนทีอ่ ยูอ่ ำ� เภอ ปางมะผ้า ภายในถ�้ำมีโลงศพไม้หลายโลงวางอยู่บน ซอกหินตามผนังถ�ำ้ ภายในโลงไม่มศี พ แต่ละโลงมีขนาด เท่าล�ำตัวคนและยาวมากจนไม่นา่ เชือ่ ว่าจะเป็นความสูง ของมนุษย์ ชาวบ้านต่างก็เชื่อกันว่าโลงศพเหล่านี ้ น่าจะมีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี ชนเผ่าทีน่ ใี้ ช้คำ� ว่า “จ่า” แทนค�ำว่า นาย ส่วนผูห้ ญิง ใช้ “นา” แทนค�ำว่า นาง เจ้าของห้องพักบอก บ่ อ น�้ ำ พุ ร ้ อ นไทรงาม ออนเซ็ น เมื อ งไทย ชาวต่างชาติพยายามปั่นจักรยานเสือมอบขึ้นภูเขา เป็ น อี ก เหตุ ผ ลว่ า การหาความสุ ข ของแต่ ล ะคน ไม่ เ หมื อ นกั น เช่ น เดี ย วกั บ ผมที่ แ วะแช่ น�้ ำ ร้ อ นที่ บ่อน�้ำพุร้อนไทรงาม น�้ำใสเขียวครามใต้แมกไม้ ผู้คน ทั้งไทยเทศต่างนอนนั่งแช่น�้ำร้อนอย่างผ่อนคลาย หญิ ง ชาวต่ า งชาติ ห น้ า ตาสะสวยหุ ่ น ดี ค นหนึ่ ง

55

ในชุดบิกินี ก�ำลังโพสต์ท่าให้เพื่อนถ่ายรูปให้ รูปร่าง ของเธอช่างนูนเว้าราวกับถนนแม่ฮ่องสอน ปาย ผ่านมาแล้วก็ผา่ นไป ผูเ้ ขียนขับรถลัดเลาะ ไปตามตรอกซอกซอยเมื อ งปายอากาศเย็ น สบาย ภูเขารายล้อม จนมาสะดุดตาที่เมืองจีนยูนานจ�ำลอง หรือหมู่บ้านสันติชลแวะกราบพระเจดีย์เก่าที่วัดฮู และขึ้นไปชมวิวที่หยุนไหลซึ่งเป็นจุดชมทะเลหมอก ยามเช้าและชมเมืองปายได้ทงั้ เมืองน่าเสียดายทีจ่ ดุ ชมวิว หลายแห่งถูกนักลงทุนกว้านซือ้ ไปแล้วล้อมรัว้ เก็บตัว๋ เข้าชม


56

อาหาร ถือเป็นอีกหนึง่ มนต์เสน่หใ์ นทริปนี ้ ถึงผูเ้ ขียน จะไม่ใช่นักแสวงหาอาหารแต่ก็มักอภิรมย์กับอาหาร พื้นถิ่นที่เสมือนกับการมอบของขวัญให้ตนเองทริปนี้ มีอาหารเลิศรส มาน�าเสนอ หลายเมนูครับ นอกจาก การลิ้มรสชาติอาหารแล้ว ผู้เขียนยังได้พูดคุยซักถาม ถึ ง การใช้ ชี วิ ต ของชาวบ้ า นเพื่ อ ตั ก ตวงความรู ้ วัฒนธรรมรวมทั้งได้ประโยชน์จากสอบถามเส้นทาง ระหว่างแม่ฮ่องสอนกับปาย จากแม่ค้าเพราะการ ขับรถมอเตอร์ไซด์คงดู GPS ไม่ได้ขณะขับ ใกล้ค�่าเข้าไปทุกทีผู้เขียนรีบจรลีไปถนนคนเดิน แหล่งช้อบปิ้งยามราตรีที่เต็มไปด้วยสีสัน ของฝาก อาหาร และเครือ่ งดืม่ ผูเ้ ขียนทิง้ ปายให้เป็นแค่ทางผ่าน แล้วขับรถฝ่าความมืดไปนอนชมดาวทีอ่ ทุ ยานแห่งชาติ ห้วยน�้าดัง แต่ด้วยความเร่งรีบจึงลืมเติมน�้ามันรถ จะเกิดอะไรขึน้ ถ้าน�า้ มันหมดกลางทาง แต่โชคยังเข้าข้าง ทีม่ รี า้ นขายน�า้ มันข้างด่านตรวจทหารในนาทีทเี่ กย์นา�้ มัน เหลือขีดเดียว อุทยานแห่งชาติห้วยน�้าดัง สายลมแห่งขุนเขา ลมหนาวปะทะร่างจนสัน่ สะท้าน ราวสองทุม่ กว่าก็มาถึง อุทยานแห่งชาติห้วยน�้าดังที่ขึ้นชื่อว่ามีลมรัตติกาล พัดรุนแรง หลังจัดการเรือ่ งเอกสารเช่าเต็นท์เสร็จเรียบร้อย ผูเ้ ขียนก็ทงิ้ ตัวลงนอนในเต็นท์อย่างอ่อนล้า ได้ยนิ เสียง แว่ว ๆ ของผูค้ นก�าลังสนทนาภาษาครอบครัว ชมหมูด่ าว สัมผัสลมหนาวเสียงลมป่าพัดหวีดหวิวท�าเอารู้สึก เหมือนหลงมาอยูอ่ กี โลกใบหนึง่ ทีก่ งั สดาลไปด้วยเสียง เพลงไพรก่อนหลับใหลไปในที่สุด รูปภาพจาก - https://www.google.com/search - https://travel.mthai.com/blog/143078

ก่อนฟ้าสาง ผู้เขียนลุกออกมาเดินชมป่าสน ปล่ อ ยร่ า งกายจิ ต ใจซึ ม ซั บ รั บ พลั ง งานธรรมชาติ จนเต็มเปีย่ มรับรูถ้ งึ อิออนความกังวลใจในอดีตถูกขับ ออกไปมาก คลืน่ ทะเลหมอกยามเช้าไหลปกคลุมยอดเขา จนดูราวกับเกาะแก่ง แสงแรกสวยงามเกินค�าบรรยาย ฉายดอกฮอลลี่ฮ็อคที่ก�าลังบานสะพรั่งในสวนบุบผา ขัน้ บันไดเป็นทีถ่ กู ใจของสาววัยกลางคนขณะทีห่ นุม่ สาว ก็เพลิดเพลินกับการนั่งขอนไม้เคียงคู่ดูทะเลหมอก เส้นทาง ๑,๘๖๔ โค้ง เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน เต็มเปี่ยมไปด้วยความตื่นเต้นเร้าใจบนมอเตอร์ไซด์ ธรรมดา ๆ เดิมทีตงั้ ใจไปเทีย่ วแค่ปางอุง๋ แต่โชคชะตา ก็ พ าผู ้ เ ขี ย นไปตามจิ ต วิ ญ ญาณรั ก การผจญภั ย ขณะทบทวนถึงความประทับในการเดินทางครั้งนี้ ผูเ้ ขียนยืนอยูบ่ นจุดชมวิวม่อนแจ่มแหล่งท่องเทีย่ วขึน้ ชือ่ ของเมืองเชียงใหม่ รูส้ กึ เหมือนตัวเองเพิง่ หลุดออกมา จากเมืองลับแลกลับคืนสู่โลกเดิมอีกครั้ง ๕ วัน ๔ คืนในเมืองสามหมอกเหมือนเพิง่ ผ่านมา เมือ่ วาน ทริปเทีย่ วจบลงแล้วแต่เรือ่ งของผูเ้ ขียนยังไม่จบ ผู้เขียนไม่ได้จองตั๋วรถขากลับเพราะไม่มั่นใจว่าจะได้ กลับวันไหน แต่ในช่วงเทศกาลเช่นนี ้ รถทัวร์ทกุ บริษทั ในเมืองเชียงใหม่จึงเต็มหมดและเต็มไปอีกหลายวัน ผูเ้ ขียนนัง่ นิง่ ท�าอะไรไม่ถกู ภาพวันทีต่ วั๋ รถไปแม่ฮอ่ งสอน เต็มก็ลอยมาอีกครัง้ โลกใบเก่าของผูเ้ ขียนกลับคืนมาแล้ว


ข่าวทหารอากาศ

ซุง

น.ต.ภฤศพงศ์ ช้อนแก้ว

...อุปกรณ์เครื่องช่วยฝึกส�ำหรับคนพันธุ์อึด RED Eagle

วัตถุประสงค์ของการฝึก (Objectives of Training) ทางทหารทุ ก รู ป แบบนั้ น ถู ก ออกแบบมา เพื่ อ ให้ ทหารทุกนายสามารถปฏิบัติงาน (Task) ตอบสนองต่อ ภารกิจ (Missions) ที่ได้รับและส่งผลกระทบ (Effects) ไปยังวัตถุประสงค์ (Objectives) อันเป็นเป้าหมายที่ ต้องการ จนสามารถบรรลุความมุ่งหมาย (End state) ตามเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาที่มอบให้ได้ส�าเร็จ แนวทางการฝึก (Way) จึงเปรียบเสมือนเป็นเส้นทาง การฝึกส�าหรับผูท้ า� การฝึกทีจ่ ะต้องปฏิบตั ติ ามจนบรรลุ เป้ า ประสงค์ (End) ในขอบเขตการฝึ ก นั้ น ๆ ให้ได้ ซึ่งการฝึกไปให้ถึงเป้าประสงค์นั้นสิ่งส�าคัญคือ ผู ้ ท� า การฝึ ก จะต้ อ งมี เ ครื่ อ งมื อ หรื อ อุ ป กรณ์ ต ่ า ง ๆ (Mean) ที่ใช้ในการฝึกที่ดีมีประสิทธิภาพและตอบรับ

กับแนวทางการฝึกนั้น ๆ ได้อย่างลงตัว ทั้งนี้แม้ใน ปัจจุบนั การน�าเทคโนโลยีตา่ ง ๆ เข้ามามีบทบาทในการ ฝึกทางทหาร อาทิ การใช้ระบบจ�าลองภาพสถานการณ์ แบบกราฟิกที่ช่วยสร้างความสมจริงในการฝึกยิงปืน ด้วยกระสุนจริง หรือการใช้เทคโนโลยีสร้างเป้าหุน่ ยนต์ เคลื่อนที่มาทดแทนเป้ากระดาษเพื่อเพิ่มความช�านาญ ในการใช้ อ าวุ ธ ของทหาร หรื อ ระบบจ� า ลองยุ ท ธ Joint Theater Level Simulation : JTLS อันเป็นการ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จ�าลองสถานการณ์ส�าหรับ การฝึกยุทธร่วมผสมของเหล่าเสนาธิการทหาร ฯลฯ ถือว่ามีสว่ นช่วยพัฒนากิจการทางทหารให้มคี วามเจริญ รุดหน้าและเพิม่ ศักยภาพให้กบั ก�าลังพลได้เป็นอย่างดีแล้ว แต่ ห ากทหารไม่ รู ้ จั ก พั ฒ นาร่ า งกายและจิ ต ใจให้

57


58

อาจกล่าวได้ว่า “เทคโนโลยีเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะ ช่วยส่งเสริมความได้เปรียบในการรบ” ยิ่งประเทศใด มีเทคโนโลยีทกี่ า้ วหน้าล�า้ สมัยมากกว่าแล้ว ประเทศนัน้ ย่อมมีโอกาสที่จะได้รับชัยชนะเหนือกว่าประเทศคู่อริ เป็นอย่างมาก แต่ถึงกระนั้นแม้เทคโนโลยีในโลกจะมี ความก้าวหน้าไปมากเพียงใดก็ตาม สุดท้ายทุกภารกิจ ก็ตอ้ งมีทหารผูเ้ ป็นปัจจัยหลักส�าคัญในการท�างานควบคู่ ไปด้วยอยูด่ ี ยิง่ เป็นภารกิจทีม่ คี วามยากล�าบากและต้อง ใช้ความมีมนุษยธรรมในการตัดสินใจเข้าท�าภารกิจแล้ว การใช้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว คงมิอาจตอบโจทย์ตรงนีไ้ ด้ ฉะนัน้ การฝึกทีห่ นักและโหด จึงถูกก�าหนดขึ้นมาเพื่อสรรสร้างก�าลังพลให้มีความ สามารถในการปฏิบัติงานแม้ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ ทีย่ ากล�าบาก ทัง้ ยังสร้างเสริมประสบการณ์ทไี่ ด้จากการ ฝึกจนสามารถน�าไปใช้งานได้จริง Red Eagle อินทรีแดง แผลงฤทธิ์ ประจ�าเดือนนี้ การจ�าลองที่ใช้สภาพแวดล้อมในการฝึกยิงปืนด้วยกระสุน จริง โดยใช้การสร้างภาพจ�าลองจากระบบคอมพิวเตอร์ จึงขอแนะน�าอุปกรณ์เครือ่ งช่วยฝึกทีม่ คี วามส�าคัญและ เป็นทีน่ ยิ มชืน่ ชอบอย่างท่วมท้นของทุก ๆ หลักสูตรทาง ทหารที่ต้องหนักและโหดในปัจจุบันที่ต้องมี เพื่อใช้ใน การฝึกและน�ามาซึง่ ความรักความสามัคคีกนั ในหมูค่ ณะ เป็นอย่างมาก เครื่องช่วยฝึกดังกล่าวนั้นเรียกว่า “ซุง” ซุ ง อุ ป กรณ์ เ ครื่ อ งช่ ว ยฝึ ก ชนิ ด หนึ่ ง ที่ ห ลาย ต่อหลายหลักสูตรการรบทัง้ ทัว่ โลกและในประเทศไทย มีใช้ในการฝึก จนบางหลักสูตรถือเป็นไฮไลท์ (Highlight) ของการฝึกไปเลยก็ว่าได้ เราลองมาดูกันนะครับ การฝึ ก ยิ ง ปื น ด้ ว ยกระสุ น จริ ง ในสถานการณ์ จ� า ลอง ว่า อุปกรณ์ฝกึ ทีเ่ รียกว่า “ซุง” นี้ มีทมี่ าทีไ่ ปอย่างไรบ้าง โดยใช้เป้าหุ่นยนต์เคลื่อนที่ และมันสามารถช่วยสร้างคุณประโยชน์อย่างไรได้บ้าง แก่ผู้รับการฝึก ย้ อ นกลั บ ไปในเดื อ นธั น วาคม ปี ค.ศ.1941 สหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองทัพ เรือสหรัฐฯ ได้เสนอให้จดั ตัง้ กองพันทหารช่าง กองทัพเรือ (Naval Construction Battalions) หรือเรียกอีก อย่างหนึ่งว่าหน่วย “SEABEES” (อ่านว่า ซีบี) ขึ้น แปลว่า “ผึ้งทะเล” อันหมายถึง ผึ้งที่ช่วยกันสร้างรัง หรือการสร้างฐานทัพส�าหรับกองทัพเรือ มีประวัติการ ปฏิบัติภารกิจที่ส�าคัญมากมาย เริ่มตั้งแต่การฟื้นฟู ท่าเรือ Pearl Harbor ฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกา หลั ง ถู ก กองก� า ลั ง พิ เ ศษทางอากาศแห่ ง กองทั พ เรื อ การฝึกจ�าลองสถานการณ์ในระบบจ�าลองยุทธ (JTLS) จักรวรรดิญี่ปุ่นบุกโจมตีโดยไม่คาดคิด ณ เกาะฮาวาย ไปจนถึ ง การปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ในสงครามเกาหลี เพื่อการฝึกยุทธร่วมผสมของเหล่าเสนาธิการทหาร พร้อมรับภารกิจที่มีทั้งความกดดันและต้องใช้ความ แข็งแรงของร่างกายเข้าแลก การปฏิบตั ภิ ารกิจดังกล่าว ก็ยากยิ่งที่จะท�าให้บรรลุผลส�าเร็จลงได้ ดังนั้นทหาร จึงต้องพัฒนาควบคู่กันไปทั้งความรู้ ร่างกาย และ เทคโนโลยี จึงจะท�าให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความ เรียบร้อยเกิดความส�าเร็จสมบูรณ์ได้ในที่สุด


ข่าวทหารอากาศ

การฝึกเดินลาดตระเวนระยะไกลของหลักสูตรรบพิเศษ แขนงลาดตระเวนสะเทินน�้าสะเทินบกและจู่โจม นย.

หน่วย “SEABEES” มีหน้าที่ในการสร้างและซ่อมแซม สัญลักษณ์หน่วยผึ้งทะเล สหรัฐอเมริกา “U.S. Navy SEABEES” สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ตามที่กองทัพเรือสั่งการ ก�าลังพล ในหน่วย “SEABEES” จะต้องช่วยเหลือกันท�างานอย่าง แท่งเหล็กหรือท่อนเสาไปได้ ดังนั้นหากคนในหน่วยไม่ ต่อเนือ่ ง เพือ่ ก่อสร้างสิง่ ปลูกสร้างต่าง ๆ ทัง้ แบกทัง้ หาม ช่วยเหลือ กันแล้ว การสร้างสิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่ง ๆ ให้ทันเวลาในการรบแต่ละครั้ง บางครั้งอาจต้องมีการ คงไม่ส�าเร็จ จากแนวทางการท�างานดังกล่าวจึงท�าให้ ปะทะและรบไปเหมือนกันกับหลายหน่วยของกองทัพ บรรดาครูฝึกเกิดแนวความคิดในการสร้างอุปกรณ์เครื่อง ซึ่งในอีกแง่หนึ่งเมื่อเสร็จสิ้นการรบในแต่ละพื้นที่แล้ว ช่วยฝึกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ซุง” หรือ “Log” เพื่อน�ามา หน่วยอื่นจะได้พักผ่อนหลังจากการรบทันที คงเว้นแต่ ใช้กับการฝึกของผู้รับการฝึกของตน ทั้งนี้ซุงเหล่านี้ถือ หน่ ว ย “SEABEES” เท่ า นั้ น ที่ ยั ง ต้ อ งก่ อ สร้ า งสิ่ ง เป็นวัสดุอุปกรณ์หลักเพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารที่พัก ปลู ก สร้ า งอ� า นวยความสะดวกต่ อ ไป ราวกั บ ว่ า และเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติ จึงท�าให้เกิด ความนิยมแก่หน่วยทหารต่าง ๆ หลายแห่ง ทั้งกองทัพ “รบไป ก่อสร้างไป” ต่อมาในปี ค.ศ.1943 ได้มีอาสาสมัครชุดแรกจาก บก กองทัพอากาศ และเหล่าทัพนาวิกโยธิน ต่างมี หน่วย “ผึ้งทะเล” เข้ารับการฝึก เพื่อเป็นหน่วยรบ การน�าแนวความคิดที่จะน�าซุงมาใช้ในการฝึกเพื่อสร้าง ท� า ลายล้ า งกองทั พ เรื อ สหรั ฐ ฯ Navy Combat พละก�าลังทางร่างกายและสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น Demolition Units : NCDU ซึ่งต่อมา ได้รวมกับ Underwater Demolition Teams (UDTs) จนกลายเป็นต้นก�าเนิด ของ “Frogmen” หน่วย SEAL ในภาย หลังจนถึงปัจจุบัน สื บ เนื่ อ งจากการปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ของหน่วย “SEABEES” ในอดีตที่ต้อง ก่อสร้างสิง่ ปลูกสร้างให้ทนั ท่วงที ทุกคน จะต้องช่วยเหลือกัน ไม่ว่าจะเป็นการ สร้างสะพาน ที่พัก โรงเก็บอาวุธ หรือ อาคารต่าง ๆ การแบกหามต้องใช้คน กองพันทหารช่างเคลือ่ นทีก่ องทัพเรือสหรัฐฯ U.S. Navy Mobile Construcเป็นจ�านวนมากเพื่อให้สามารถแบก tion Battalion หรือที่รู้จักกันในชื่อ หน่วยผึ้งทะเล (The SEABEES)

59


60

ในหมู่คณะ ซึ่งต่อมาจึงได้มีการพัฒนาให้มีรูปร่างและ รูปแบบ การฝึกให้มมี าตรฐานมากยิง่ ขึน้ จนกลายเป็น ที่ยอมรับและนิยมใช้ฝึกอย่างมากมายในหน่วยทหาร ทั่วโลกรวมถึงกองทัพไทยด้วย

แล้ ว ก็ น� า มากลึ ง ขึ้ น รู ป เป็ น ทรงกระบอกสวยงาม ตามต้องการ เพือ่ ให้เกิดเป็นมาตรฐานในการฝึก ส�าหรับ การฝึกประกอบอุปกรณ์ชนิดนีน้ นั้ จะต้องใช้กา� ลังพลทีม่ ี ลักษณะความสูงใกล้เคียงกัน เพือ่ ให้หวั ไหล่ของทุกคนที่ อยู่ในซุงต้นเดียวกันเสมอกันและสามารถรับน�้าหนักได้ อย่างทั่วถึงโดยไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบแตกต่างกัน มากนัก ซึง่ สามารถฝึกได้ ๒ ลักษณะคือ การฝึกออกก�าลัง กายประกอบซุง และการฝึกเข้าปัญหาสถานการณ์การ ฝึกประกอบซุง การฝึกออกก�าลังกายประกอบซุง เรียกอีกอย่างว่า “Log Physical Training” เป็นการน�าซุงมาใช้ในการ ออกก�าลังกายโดยเอาคุณลักษณะที่มีความกลม ยาว และน�า้ หนักของอุปกรณ์มาช่วยในการฝึกเพิม่ ความแข็งแรง ของกล้ามเนือ้ ส่วนต่าง ๆ ซึง่ จะประกอบด้วยท่าทางการ ฝึกมากมายหลายท่าและมีชื่อท่าเรียกแบ่งแยกแตกต่าง กันออกไป เช่น ท่าแบกซุงเอนตัวทางข้าง ท่านอนดันซุง ท่ายกซุงข้ามศีรษะ ท่าโยนซุง ท่ากอดซุงลุก – นั่ง ท่าตั้ง ซุงและปีนซุง ท่าแบกซุงงอเข่า เป็นต้น ซึ่งในแต่ละ สัญลักษณ์หน่วยซีล สหรัฐอเมริกา “U.S.NAVY SEAL” RED Eagle ท่าทางการฝึกล้วนต้องใช้กล้ามเนื้อในแต่ละส่วนของ ลักษณะทั่วไปของซุงจะเป็นท่อนไม้กลมเกลี้ยง ร่างกายมารับน�้าหนักซุง ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อแขน ยาวขนาดใหญ่หน้าตัดประมาณ ๖ - ๘ นิ้ว ความยาว กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อหัวไหล่ กล้ามเนื้อ ๑๔ ฟุต น�้าหนักราว ๆ ๓๐๐ ปอนด์ ส�าหรับ ๖ คน หน้าอก เรียกได้ว่า “แค่ซุงท่อนเดียวก็สามารถท�าให้ และแบบความยาว ๑๘ ฟุต น�า้ หนักราว ๆ ๔๐๐ ปอนด์ ก�าลังพลแข็งแรงพอ ๆ กับการเล่นเวทในห้องฟิตเนสได้ ส�าหรับ ๘ คน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับลักษณะร่างกายของ เลยเช่นกัน” นอกจากการออกก� า ลั ง กายประกอบซุ ง นั้ น จะ ผูร้ บั การฝึกด้วยเช่นกันแต่จะต้องไม่ใหญ่ไปหรือเล็กไป ส่วนสีนั้นแล้วแต่ความชอบใจของหน่วยท�าการฝึก สามารถกระท�าได้โดยอยู่กับที่แล้วในลักษณะการออก โดยอาจจะทาแบ่งเป็นช่อง ๆ เพื่อให้ง่ายไม่หลงช่อง ก�าลังแบบเคลื่อนที่ ซุงนั้นสามารถช่วยในการฝึกได้ไม่ หรือสับสนต่อการเข้าจับซุงของผู้รับการฝึก ส�าหรับ น้อยเช่นกันเพือ่ ทดสอบความสามัคคี ไม่วา่ จะเป็นการวิง่ การฝึกออกก�าลังกายนัน้ ผูร้ บั การฝึกควรจะต้องมีพละ หรือการเดิน ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาส�าคัญส�าหรับผู้รับการ ก�าลังร่างกายที่แข็งแรง อยู่ในระดับหนึ่งก่อนจึงจะ ฝึกทีต่ อ้ งหาเทคนิคและวิธกี ารแบกน�าพาไป โดยส่วนใหญ่ สามารถท�าการฝึกการออกก�าลังกายกับท่อนซุงได้ จะอยู่ในลักษณะของ การฝึกเข้าปัญหาสถานการณ์การ ก็เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้รับการฝึกเอง และโดย ฝึกประกอบซุง อาจมีลักษณะเป็นการวิ่งแบกซุง หรือ ปกติของการฝึกออกก�าลังกายกับท่อนซุงนัน้ จะท�าการ การน� า พาซุ ง ผ่ า นพื้ น ที่ ที่ มี ค วามยากล� า บากโดยมี ฝึกสัปดาห์ละ ๒ - ๓ ครั้ง ๆ ละ ๑๕ - ๒๐ นาที นอกจากนี้ มาตรการหรือกฎกติกาต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง หรือการ แหล่ ง ที่ ม าของซุ ง หาได้ ไ ม่ ย ากสามารถหาได้ ต าม ฝึกเดินลาดตระเวนไปในระยะทางไกล ๆ เพื่อไปปฏิบัติ ธรรมชาติ ซึ่ ง ต้ อ งไม่ เ ป็ น ไม้ ที่ ผิ ด กฎหมายตาม ภารกิจต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายโดยน�าอุปกรณ์ที่มี พ.ร.บ.เกี่ยวกับป่าไม้ เมื่อได้มาแล้วจะน�าไปกลึงให้ ขนาดหนักทีเ่ รียกว่า“อิเล็กโทรหนัก” ไปด้วย (ซึง่ ก็คอื ซุง เกลี้ยงเกลาเข้ารูปให้สวยงาม โดยจะใช้ไม้จ�าพวก เหมือนเดิมแหละครับ) เหมือนเป็นการทดสอบสภาพ ไม้สน ต้นยูคา ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง หรือบางทีเสาไม้ ร่างกายและจิตใจของผู้รับการฝึก การฝึกเหล่านี้ผู้รับ เหล่านั้น ก็อาจเคยเป็นเสาบ้านมาก่อนเมื่อรื้อถอน การฝึ ก ต้ อ งมี ค วามระมั ด ระวั ง เพิ่ ม มากขึ้ น ต้ อ งไม่


ข่าวทหารอากาศ

เอาเปรียบกัน ในบางท่วงท่าจังหวะจะ ต้องปฏิบัติให้เหมือนกันด้วย เช่น จังหวะ การวางซุง จังหวะการยก หรือจังหวะลด ซุงลงเอาอุ้มไว้ข้างเอว ทั้งหมดต้องฝึก ปฏิบัติให้พร้อมกัน ในบางครั้งหากมีเพื่อนคนใดแกล้ง ท� า เป็ น เอาไหล่ ห ลบไม่ ย อมเอาเข้ า รั บ น�้าหนักซุง ก็จะท�าให้เพื่อนคนอื่นต้องรับ น�้าหนักที่มากกว่าเดิมหลายเท่าและอาจ เกิดอันตรายต่อร่างกายได้แทน ที่ผ่านมา ในหลักสูตรการปฏิบัติการพิเศษ เคยมี ผู ้ รั บ การฝึ ก ต้ อ งออกจากการฝึ ก ด้ ว ย การฝึกออกก�าลังกายประกอบซุงแต่ละท่า ตามคู่มือการฝึก ปัญหาอุบัติเหตุจากการฝึกอยู่หลายราย โดยมี ลั ก ษณะการเกิ ด อุ บั ติ เ หตุ เช่ น ซุงหล่นทับเท้านิ้วเท้าแตก หรือขณะวางซุงแต่วางไม่ ปฏิบัติงานแล้ว สุดท้ายก็จะท�าให้การปฏิบัติภารกิจไม่ พร้อมกันท�าให้ผู้ที่วางทีหลังต้องรับน�้าหนักซุงไว้มาก บรรลุผลส�าเร็จเกิดความล้มเหลวลงได้ ซึ่งจะเห็นได้จาก เกินไปจนเกิดอาการเกร็งกระตุกเฉียบพลันของกล้าม บางภารกิจอาจต้องใช้พละก�าลังร่างกายเป็นหลักในการ เนือ้ และเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลังอันเป็นศูนย์ แบกหามเคลือ่ นย้ายอุปกรณ์สง่ิ ของหรือผูไ้ ด้รบั บาดเจ็บ รวมระบบประสาทมากมายท�าให้เกิดการบาดเจ็บของ หรือคนป่วยออกจากพืน้ ทีก่ ารรบภายใต้สภาวะการขาด กล้ามเนือ้ บริเวณด้านหลังซึง่ ต้องได้รบั การผ่าตัดจนเป็น ก�าลังสนับสนุนในการเคลื่อนย้ายทางอากาศ จึงต้องใช้ เหตุให้ต้องออกจากการฝึกในเวลาต่อมา ทั้งนี้ครูฝึก พละก�าลังทีม่ เี ฉพาะบุคคลในการเคลือ่ นย้ายไป ในทางกลับ ทุ ก คนต่ า งตระหนั ก และให้ ค วามส� า คั ญ ต่ อ โอกาส กันหากเราไม่เคยได้รับการฝึกหนักอย่างเช่นนี้มาก่อน ที่จะเกิดอุบัติเหตุเป็นอย่างมากเพื่อป้องกันอันตรายที่ ก็อาจเป็นไปได้ยากที่จะสามารถปฏิบัติภารกิจดังกล่าว ให้ส�าเร็จลงได้ อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการฝึกในภายภาคหน้า ทัง้ นีใ้ นปัจจุบนั หากแม้ความก้าวหน้าในเทคโนโลยี และนีจ่ งึ เป็นทีม่ าของการฝึกทางทหารของกองทัพไทย และกองทัพทั่วโลกในปัจจุบันที่จะต้องด�ารงการฝึกกับ จะเจริญไปมากหรือมีส่วนช่วยในการรบเพียงใดก็ตาม อุปกรณ์เครือ่ งช่วยฝึกทีเ่ รียกว่า “ซุง” หรือ “Log” ผูร้ บั ถ้าทหารทัง้ หลายมิได้เคยล�าบากตรากตร�าผ่านร้อนผ่าน การฝึกจะต้องมีความสามัคคีที่ดีไม่เอารัดเอาเปรียบกัน หนาวมาแล้วไซร้ ครัน้ เมือ่ ตกอยูใ่ นทีน่ งั่ ล�าบากจนต้องใช้ เพือ่ ให้ตวั เองสบายกว่าและเพือ่ นล�าบากกว่า อีกทัง้ ต้อง พละก�าลังกายและจิตใจทีแ่ ข็งแกร่งเข้าห�า้ หัน คงยากยิง่ มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์จึงจะสามารถท�าการฝึก ที่จะสามารถเอาชนะชาติศัตรูน้ันได้ ดังนั้นแล้วทั้งสอง เครือ่ งช่วยฝึกชนิดนีไ้ ด้อย่างปลอดภัย เปรียบได้กบั การ สิง่ คือเทคโนโลยีและมนุษย์จะต้องเจริญควบคูไ่ ปด้วยกัน ท�างานหากทหารไม่มคี วามรักความสามัคคีความเอือ้ เฟือ้ จึงจะเป็นผลดีที่สุดต่อการปฏิบัติภารกิจเพื่อรักษาผล ช่วยเหลือกันผนวกกับร่างกายไม่แข็งแรงหรือไม่พร้อม ประโยชน์แห่งชาติไว้ให้จงได้. ที่มาข้อมูล

คู่มือการฝึกหลักสูตรการปฏิบัติการพิเศษ https://www.seabeesmuseum.com/seabee-history คู่มือท่าออกก�าลังกายประกอบซุง ประจ�าหลักสูตรการปฏิบัติการพิเศษ https://interset.co.th/ http://jsc.rtarf.mi.th/warsim/HIS_PAGE.HTM

61


62

จับจิต จับใจ ¡Ñº Í.˹Ù

ÊØ¢ÀÒ¾¨Ôµ¹Ñé¹ÊíÒ¤ÑÞ䩹

โลกปจจุบันมีการพัฒนาทางดานเทคโนโลยี ตาง ๆ อยางรวดเร็วมีผลทําใหสภาพสังคม สิง่ แวดลอม และวิถีการดําเนินชีวิตของมนุษยมีการเปลี่ยนแปลง ไปอยางตอเนือ่ งทําใหบคุ คลตองปรับตัวอยูต ลอดเวลา หากมี ก ารปรั บ ตั ว ไม ดี ห รื อ ไม ส ามารถปรั บ ตั ว ได ก็จะกอใหเกิดปญหาทางสุขภาพจิตตามมา ซึง่ มีขอ มูล จากการสํารวจของสถานการณปญหาสุขภาพจิต ป พ.ศ.๒๕๖๒ ของกระทรวงสาธารณสุข พบวา ปญหา สุขภาพจิตในคนไทยอายุ ๑๘ ปขึ้นไปพบวาสวนใหญ มีคนปวยดวยปญหาสุขภาพจิต โดยมีสาเหตุมาจาก ๕ กลุมหลัก ไดแก โรคซึมเศรา โรคจิตเภท วิตกกังวล ความบกพร อ งทางสติ ป  ญ ญา และผลแทรกซ อ น มาจากยาเสพติด โดยคาดวาในอนาคตปญหาจะมี การเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการศึกษาเรื่องสุขภาพจิตจึงมี ความจําเปน โดยเฉพาะอยางยิ่งในดานการปองกัน ปญหาและเสริมสรางสุขภาพจิตทีด่ ี โดยเฉพาะในชวง สถานการณ ที่ มี ผ ลกระทบจากการระบาดของ

โรคติดตอเชื้อไวรัส COVID-19 ในระยะนี้ ๑. ความหมายของสุขภาพจิต ๑.๑ ความหมายของสุขภาพจิต อันดับ แรก เราควรทําความเขาใจเกี่ยวกับความหมายของ คําวา “สุขภาพจิต” กอน โดยมีผใู หคาํ จํากัดความของ สุขภาพจิตไวหลากหลาย ดังนี้ ฝน แสงสิงแกว อธิบายไววา “สุขภาพจิต” คื อ จิ ต ที่ เ ป นสุ ข มี อ ารมณ มั่ นคง สามารถปรั บตั ว ใหเขากับสิ่งแวดลอมที่เปลี่ยนแปลงได มีสมรรถภาพ ในการทํางานและอยูรวมกับผูอื่นดวยความพอใจ กรมสุ ข ภาพจิ ต ให ค วามหมายของ สุขภาพจิต (mental health) วาหมายถึง ภาวะจิตใจ ที่ เ ป นสุ ข สามารถปรั บตั ว แก ป ญ หา สร า งสรรค มี ค วามรู  สึ ก ที่ ดี ต  อ ตนเองและผู  อื่ น มี ค วามมั่ น คง ทางจิตใจ มีวุฒิภาวะทางอารมณ อยูในสังคมและ สิ่งแวดลอมที่เปลี่ยนแปลงได


ข่าวทหารอากาศ

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, 2010) ให้ความหมายของสุขภาพจิต ว่าคือ “สภาวะความเป็นอยู่ที่มีความสมบูรณ์ทั้งทาง กาย จิต และสังคม และปราศจากอาการป่วยของโรค ต่าง ๆ” กล่าวได้วา่ สุขภาพจิตเป็นความสามารถ ของจิตใจที่จะพยายามรักษาสมดุลระหว่างร่างกาย จิตใจและสังคมได้อย่างเหมาะสม มีความเข้มแข็ง ของจิตใจในการยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และ สามารถปรับตัวได้อย่างมีพัฒนาการตามศักยภาพ ของตน ๑.๒ องค์ประกอบของสุขภาพจิต จาก ค� า จ� า กั ด ความของสุ ข ภาพจิ ต แสดงให้ เ ห็ น ว่ า สุขภาพจิตมีองค์ประกอบดังนี้ • ปัจจัยทางร่างกาย หมายถึง การมี สุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรค • ปัจจัยทางจิตใจ อันประกอบด้วย - ความคิด คิดดี คิดเป็น คิดสร้างสรรค์ - อารมณ์หรือความรูส้ กึ สดชืน่ ร่าเริง สนุกสนาน มีความสุขสงบ - จิ ต วิ ญ ญาณ พอใจและยอมรั บ ในตนเอง เมตตาผู้อื่น • ปั จ จั ย ทางสั ง คม หมายถึ ง การมี สัมพันธภาพที่ดีและยั่งยืนกับผู้อื่น วางตัวเหมาะสม มีอาชีพและการด�าเนินชีวิตที่ดี เป็นประโยชน์ต่อ ผู้อื่น

63

๒. ความส�าคัญของสุขภาพจิต ดังค�ากล่าวที่ว่า “A sound mind in a sound body” ทีแ่ ปลว่า “จิตใจทีด่ ยี อ่ มอยูใ่ นร่างกาย ทีส่ มบูรณ์” นัน้ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง สุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยถ้าบุคคลมีร่างกาย ที่แข็งแรงดี จิตใจก็ย่อมจะเป็นสุข สดชื่น และถ้า ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อย จิตใจก็ย่อมจะหดหู ่ ไม่ ส ดชื่ น แจ่ ม ใส ในทางกลั บ กั น ถ้ า บุ ค คลเกิ ด ความเครียด ไม่สบายใจ มีความวิตกกังวล ก็ย่อม จะส่ ง ผลต่ อ ร่ า งกายให้ เ กิ ดอาการ เช่ น กิ นไม่ ไ ด้ นอนไม่หลับ อาหารไม่ยอ่ ย หน้าตาเศร้าหมอง อันเป็น สิ่งแสดงให้เห็นว่าร่างกายและจิตใจมีอิทธิพลต่อกัน ดั ง นั้ น ความส� าคั ญ ของสุ ข ภาพจิ ต จึ ง แบ่ ง ได้ เ ป็ น ๓ ด้าน ดังนี้ ๒.๑ ด้านร่างกาย (Physical) โดยมี ผลต่อการท�างานของร่างกายท�าให้มีความแข็งแรง มี ค วามสมดุ ล มี พั ฒ นาการและการเจริ ญ เติ บ โต ที่เหมาะสมกับวัย ๒.๒ ด้านการท�างาน (Functional) โดยมีผลต่อการความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้ อ มได้ เ ป็ น อย่ า งดี ในด้ า นต่ า ง ๆ เช่ น ความสามารถในการเรียน ประสิทธิภาพในการท�างาน ๒.๓ ด้านปฏิสมั พันธ์ (Relationship) โดยมีผลต่อความความสามารถในการสร้างและรักษา สัมพันธภาพกับบุคคลรอบตัว เช่น ครอบครัว คู่ครอง เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น


64

๓. สาเหตุของความผิดปกติทางจิต การมองว่า ความผิดปกติเป็นโรคอย่างหนึง่ หรือเป็นเพียงพฤติกรรมที่แปลกแตกต่างออกไปจาก บรรทั ด ฐานของสังคมในแง่ของความถี่และความ รุนแรงของพฤติกรรม ซึ่งอาการบางอย่างก็มีลักษณะ เป็นความเจ็บป่วย เช่น อาการหวาดระแวงท�าร้ายตัวเอง หรื อ ผู ้ อื่ น ประสาทหลอน กั บ อาการที่ เ ป็ น เพี ย ง พฤติกรรมที่แปลกแตกต่างไป เช่น อาการวิตกกังวล (คนปกติก็มีความวิตกกังวลแต่คนที่มีความผิดปกติ ทางจิตนัน้ จะมีในระดับทีม่ ากกว่าปกติ หรือวิตกกังวล ในเรือ่ งทีไ่ ม่สมเหตุผล) แต่ไม่วา่ จะเป็นลักษณะอาการ ใดเมือ่ บุคคลเกิดอาการเหล่านีข้ นึ้ ย่อมท�าให้ไม่สามารถ ด�าเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขทั้งสิ้น ดังนั้น ในการที่จะ ช่วยเหลือผูท้ ผี่ ดิ ปกติทางจิตได้นนั้ ต้องรูแ้ ละเข้าใจถึง สาเหตุของความผิดปกติทางจิตหรือปัญหาสุขภาพจิตนัน้ โดยสาเหตุพนื้ ฐานของความผิดปกติทางจิต มีดว้ ยกัน ๓ ปัจจัยใหญ่ คือ ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factors), ปัจจัยทางจิตใจ (psychological factors) และปัจจัยทางสังคม (social and environment factors) ๓.๑ ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factors) ปัจจัยทางชีวภาพ ให้ความส�าคัญ ว่า ความผิดปกติทางจิตเป็นผลมาจากการบกพร่อง ทางร่างกาย เช่น ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง การท�างานของต่อมไร้ทอ่ ในร่างกายทีผ่ ดิ ปกติ การขาด สารอาหาร การได้รับสารพิษ การเจ็บป่วยจากโรค และความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ โดยความผิดปกติ ทางจิตทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั กรรมพันธุ ์ ได้แก่ โรคจิตเภท โรคความผิดปกติทางอารมณ์ โรควิตกกังวลบางชนิด

เป็นต้น โดยการรักษาส่วนใหญ่จงึ มุง่ ไปทีร่ า่ งกาย เช่น การใช้ยา หรือการผ่าตัด ซึ่งผู้ที่ท�าการรักษาต้องเป็น แพทย์ ๓.๒ ปัจจัยทางจิตใจ (Psychological factors) ปัจจัยทางจิตใจ หมายถึง สภาพ พื้นฐานทางจิตใจ อันได้แก่ การรับรู้ เชาวน์ปัญญา ลักษณะนิสัย พื้นฐานทางอารมณ์ ความต้องการ ความสามารถในการปรับตัว ความอดทนต่อความ ตึงเครียด ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวผลักดันให้บุคคล กระท�าสิ่งต่าง ๆ แต่ถ้าในบุคคลที่มีการรับรู้ที่ผิดปกติ เช่ น คนทั่ ว ไปกลั ว งู ก็ จ ะวิ่ ง หนี แ ต่ ผู ้ ที่ มี ก ารรั บ รู ้ ทีผ่ ดิ ปกติจะกลัวมากจนกระทัง่ มีอาการหายใจไม่ออก และแผ่ขยายการกลัวไปแบบไม่สมเหตุผล เช่น กลัว รูปงู กลัวกระเป๋าลายหนังงูได้ รวมทั้ ง การได้ รั บ ประสบการณ์ ในอดีตและลักษณะทางจิตใจทีเ่ สีย่ งต่อความผิดปกติ ทางจิตก็ถอื เป็นปัจจัยส�าคัญ เช่น ความผิดหวัง การขาด ความรักความอบอุ่น การถูกปฏิเสธจากคนรอบข้าง การมองโลกในแง่รา้ ย การชอบแข่งขัน การชอบแยกตัว ฯลฯ รวมทั้งการท�างานของกระบวนการทางจิตใจ บางอย่าง เช่น ในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เชื่อว่าความ ผิดปกติทางจิต เกิดจากการท�างานที่ขัดแย้งกันของ โครงสร้างบุคลิกภาพ ทั้ง ๓ ซึ่งคือ อิด (id) อีโก้ (ego) และซูเปอร์อีโก้ (superego) จนท�าให้อีโก้ ซึ่งท�างาน ตามหลักของเหตุและผลตามสภาพความเป็นจริง (reality principle) ไม่สามารถจัดการได้อย่างเหมาะสม หรื อ ที่ เ รี ย กว่ า “อี โ ก้ อ ่ อ นแอ” (ego weakness) ก็จะท�าให้เกิดผลเสียต่อบุคลิกภาพอย่างมากและน�า ไปสู่อาการผิดปกติทางจิต เป็นต้น


ข่าวทหารอากาศ

๓.๓ ปัจจัยทางสังคมและสิง่ แวดล้อม (Social and environment factors) ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิต เนื่องจาก พฤติกรรม ความคิด ความรู้สึกของเรานั้นส่วนใหญ่ สั่งสมจากประสบการณ์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากสังคม และสิง่ แวดล้อมซึง่ จะมีทงั้ สิง่ ทีเ่ ป็นด้านบวกทีส่ ง่ เสริม สุ ข ภาพจิ ต เช่ น การมี ค รอบครั ว ที่ อ บอุ ่ น สั ง คม ที่ปลอดภัยเอื้ออาทรกัน บรรยากาศรอบตัวสะอาด และเป็นธรรมชาติ เป็นต้น หรือสิ่งที่เป็นด้านลบ บั่นทอนสุขภาพจิต หรือกระตุ้นให้เกิดความเครียด โดยเฉพาะความเครียดที่เป็นระยะเวลาติดต่อกัน ยาวนาน เช่น การมีครอบครัวที่ขัดแย้งกันรุนแรง การอยู่ในสังคมที่มีการแข่งขันสูง บรรยากาศรอบตัว เป็นแหล่งเสื่อมโทรมมีความเสี่ยงจากอันตราย จะเห็นได้วา่ ความผิดปกติทางจิตนัน้ สามารถเกิดขึน้ ได้จากหลายสาเหตุ และบ่อยครัง้ พบว่า ความผิดปกตินั้นมักจะเกิดจากอิทธิพลของหลาย ๆ ปัจจัยร่วมกัน เช่น บางคนเกิดในครอบครัวที่มีฐานะ แต่รสู้ กึ ตนเองขาดความรักความอบอุน่ เนือ่ งจากบิดา มารดาไม่ มี เ วลาดู แ ลเอาใจใส่ ยิ่ ง มาอยู ่ ใ นสภาพ แวดล้อมที่มีความกดดันแข่งขันสูง เมื่อมีอาการป่วย ทางกายก็ จ ะมี ผ ลท� า ให้ ส ภาพจิ ต ใจอ่ อ นแอและ ตึงเครียดได้มากกว่าปกติ เช่น มีอาการรุนแรงหรือ ใช้เวลาในการรักษานานกว่าปกติ เป็นต้น ๔. ประเภทของความผิดปกติทางจิตทีพ่ บ ได้บ่อย บุคคลทีม่ คี วามผิดปกติทางจิต มักแสดง พฤติ ก รรมออกมาจนสามารถสั ง เกตเห็ น ถึ ง ความ ผิดปกตินั้นได้ในลักษณะต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติ สุ ข ภาพจิ ต พ.ศ.๒๕๕๑ “ความผิ ด ปกติ ท างจิ ต ” หมายความว่า อาการผิดปกติของจิตใจทีแ่ สดงออกมา ทางพฤติกรรม อารมณ์ ความคิด ความจ�า สติปัญญา ประสาทการรับรู้ หรือการรู้เวลา สถานที่หรือบุคคล รวมทั้งอาการผิดปกติของจิตใจที่เกิดจากสุรา หรือ สารอื่นที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หลักในการสังเกตพฤติกรรมผูท้ มี่ คี วาม ผิดปกติในเบื้องต้น โดยส่วนใหญ่การจะระบุว่าผู้ใดมีความ ผิดปกติทางจิตหรือไม่นนั้ ในประเทศไทยจะเป็นหน้าที่

65

ของแพทย์ผู้ท�าการตรวจรักษาและวินิจฉัยเท่านั้น ซึง่ ความเชือ่ และค่านิยมส่วนใหญ่ของคนไทยจะมองว่า การเจ็บป่วยทางจิตเป็นเรื่องที่น่ากลัว เป็นเรื่องของ คนบ้า แต่แท้จริงแล้วความผิดปกติทางจิตนัน้ มีลกั ษณะ หลายประการเหมือนโรคทางกายนั่นคือ ถ้าตรวจ พบก่อน หรือเริม่ รักษาในระยะเริม่ ต้นจะหายขาดได้เร็ว เป็นต้น ดังนั้น เมื่อไหร่ที่จะถือว่าบุคคลเริ่มมี ปัญหาสุขภาพจิตหรือความผิดปกติทางจิต ในเบือ้ งต้น สังเกตได้ดังนี้ การมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ (abnormal behavior) หมายถึง การมีพฤติกรรมทีแ่ ตกต่างไปจาก บุคคลทั่วไปในสังคมของตน ซึ่งมักจะแสดงให้เห็น ได้ ชั ด เจนเมื่ อ บุ ค คลได้ รั บ ความกดดั น ทางจิ ต ใจ ซึ่งท�าให้บุคคลต้องมีการปรับตัวแต่บุคคลดังกล่าว ไม่ ส ามารถปรั บ ตั ว ได้ หรื อ ปรั บ ตั ว ไม่ เ หมาะสม จึงแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น การแสดง ความก้าวร้าวเกินขอบเขต การฝ่าฝืนกฎระเบียบ รังแกผู้ที่อ่อนแอกว่า หรือรังแกสัตว์ เป็นต้น รวมทั้ง พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับวัยมาก เช่น การแสดง อาการเหมือนเด็ก ๆ เมื่อดีใจหรือเสียใจทั้งที่บุคคล อยู่ในวัยผู้ใหญ่ หรือในเด็กมัธยมศึกษาที่สามารถ ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้แต่เมื่อมีภาวะกดดัน กลับมีพฤติกรรมถดถอยกลายเป็นเด็กที่ยังปัสสาวะ ราดอยู่ เป็นต้น การเกิ ด มี ค วามผิ ด ปกติ ท างร่ า งกาย (somatic symptom) โดยหาสาเหตุทางกายไม่ได้ หรือการใช้ระยะเวลายาวนานกว่าปกติในการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าจะเกิดจากปัญหาทางอารมณ์และ จิตใจร่วมด้วย เช่น กินไม่ได้จนน�้าหนักลดลง นอน ไม่หลับ ฝันร้าย ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดท้อง เป็นลม หรือมีอาการชักโดยไม่ทราบสาเหตุหรือไม่มีความ ผิดปกติทางสมอง การมีความรูส้ กึ ไม่มคี วามสุข (distress) โดยสามารถรับรูไ้ ด้ดว้ ยตัวของผูม้ ปี ญ ั หาสุขภาพจิตเอง หรือส่วนหนึ่งอาจได้จากการสังเกตของคนรอบข้าง โดยดูจากสีหน้า ท่าทาง ตั้งแต่ลักษณะหมองเศร้า หงุดหงิดง่ายกว่าเดิม หรือแสดงสีหน้าไร้ความรู้สึก รวมทัง้ อาจสังเกตได้จากการท�ากิจกรรมทีช่ นื่ ชอบลดลง รู้สึกเบื่อ ๆ ที่ต่างออกไปจากภาวะปกติ


66

การมีปญั หาการปรับตัว (dysfunctional) หมายถึงการปรับตัวไม่เหมาะสม ในการด�าเนินชีวิต ประจ�าวันจนท�าให้มีผลต่อสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น หรือมีผลต่อบทบาทหน้าที่ของตนเอง เช่น ในเด็ก ก็จะท�าให้มปี ญ ั หาด้านการเรียนหรือมีปญ ั หากับเพือ่ น หรือในผู้ใหญ่ก็จะท�าให้มีปัญหาด้านการท�างานหรือ มีปญ ั หากับเพือ่ นร่วมงาน ผูบ้ งั คับบัญชา หรือลูกน้อง จนไม่สามารถท�างานได้ เป็นต้น ส่ ว นใหญ่ ผู ้ ที่ มี ค วามผิ ด ปกติ ท างจิ ต อาจจะมีพฤติกรรมตรงกับหลักเกณฑ์มากกว่า ๑ ข้อ แต่อย่างไรก็ตาม หากพบว่าบุคคลใกล้ชิดเริ่มมีความ ผิดปกติเพียงข้อใดข้อหนึ่งและรู้สึกกังวล ก็สามารถ แนะน�าให้บคุ คลนัน้ ไปพบผูท้ ม่ี คี วามเชีย่ วชาญ แพทย์ จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อท�าการตรวจประเมิน ว่าลักษณะหรืออาการดังกล่าวถือเป็นความผิดปกติ หรือโรคหรือไม่ โดยถ้าเป็นภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้น ตามปกติ เช่น มีอารมณ์เศร้าเนื่องจากญาติเสียชีวิต กระทันหัน ซึ่งเกิดขึ้นได้ในคนปกติทั่วไป บุคคลก็จะ ได้รสู้ กึ กังวลลดลง เป็นต้น แต่หากเป็นอาการของโรค เช่น อาการเศร้านี้ไม่หายไปทั้งที่ญาติเสียชีวิตแล้ว หลายเดือน บุคคลก็จะได้ให้การดูแลรักษาอย่าง เหมาะสมต่อไป ๕. แนวทางการปฏิบตั ติ นเพือ่ ป้องกันปัญหา และส่งเสริมสุขภาพจิต เนื่ อ งจากการบ� า บั ด รั ก ษาผู ้ ที่ มี ค วาม ผิดปกติทางจิตนั้นต้องใช้เวลานานและการรักษา ให้หายขาดเป็นไปได้ยากกว่าโรคทางกาย ดังนั้น การศึกษาเรื่องของสุขภาพจิตจึงควรให้ความส�าคัญ กับการป้องกันปัญหาและการเสริมสร้างสุขภาพจิต ทีแ่ ข็งแรงมากกว่าการรักษา (ซึง่ เป็นหน้าทีข่ องแพทย์ และผูเ้ ชีย่ วชาญ) ซึง่ แต่ละบุคคลควรปฏิบตั ติ นในเรือ่ ง ดังกล่าว ดังต่อไปนี้

๕.๑ การรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง อยู่เสมอ ซึ่งท�าได้ตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน คือ - อาหาร โดยรับประทานให้ครบ ทั้ง ๕ หมู่ ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสจัด น�้าตาล และไขมันสูง - ออกก�าลังกายเป็นประจ�าสม�า่ เสมอ ซึ่งนอกจากจะท�าให้ร่างกายแข็งแรงแล้วยังช่วยลด ความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ด้วย - อารมณ์ดี ซึ่งท�าได้โดยการฝึก มองโลกในแง่ดี ในหลายแง่มุม รู้จักปล่อยวางและ ให้อภัย ท�าจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ ๕.๒ การมีกจิ กรรมทีส่ ร้างความสุขให้กบั ตนแองหลากหลายวิธี เช่น การมีกิจกรรมทางสังคม เช่น การเข้าชมรมต่าง ๆ การเข้าค่ายกิจกรรม การมี งานอดิเรกทีช่ อบเพือ่ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เช่น ท่องเที่ยว เล่นกีฬา ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ ๕.๓ การมี สั ม พั น ธภาพที่ ดี กั บ บุ ค คล รอบข้าง ๕.๔ การรู้จักเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ส�ารวจ ตนเองและปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่เป็นข้อบกพร่อง ของตนเองเพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ๕.๕ การรู้จักขอค�าแนะน�าหรือความ ช่วยเหลือจากผู้อื่นด้วยวิธีการที่เหมาะสม เมื่อเกิด ปัญหาที่เกินความสามารถที่ตนเองจะจัดการได้ สุ ข ภาพจิ ต ที่ ดี ก็ เ หมื อ นสุ ข ภาพกาย ที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างสม�่าเสมอ ต่างกัน ที่ผลของการดูแลสุขภาพจิตนั้นไม่ได้เป็นรูปธรรม เหมือนการดูแลสุขภาพกายที่สามารถวัดได้จากดัชนี มวลกายที่ เ หมาะสม หรื อ ผลเลื อ ดที่ ป กติ ดั ง นั้ น คนส่วนใหญ่จึงละเลยการดูแลสุขภาพจิตจนกระทั่ง เกิดแนวโน้มของปัญหาทางสุขภาพจิตเพิม่ ขึน้ อย่างที่ เห็นในปัจจุบัน ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดย่อมไม่ใช่การมุ่งเน้น ไปทีก่ ารรักษา แต่ควรมุง่ ให้ความส�าคัญกับการส่งเสริม สุขภาพจิตที่ดีควบคู่ไปด้วยเช่นกัน

อ้างอิง - ฝน แสงสิงแก้ว, ๒๕๒๒ อ้างใน เติมศักดิ์ คทวณิช, ๒๕๔๖: ๒๗๒ - เติมศักดิ์ คทวณิช. จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น, ๒๕๔๖. - มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ ๔. - กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๕๘. ภาพประกอบบทความ - www.freepik.com


ข่าวทหารอากาศ

67


68

ASEAN Community Little Tidbits เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยประชาคมอาเซียน @Zilch

National Animal of Malaysia สัตว์ประจ�าชาติของมาเลเซีย

Malayan tiger

Malayan tiger is the official national animal of Malaysia. The Malayan tiger lives in dense humid forests of Malayan peninsula. Malayan tigers are obligate carnivores, with their diet consisting of cattle, sambar deer, barking deer, sun bear, wild boar and Bornean bearded pigs. Intermittently, they also prey on young elephants, livestock and rhino calves. The Malayan tiger symbolizes bravery and strength to the Malaysians. The tiger often emerges in the different heraldry of Malaysian institutions, such as Maybank, Royal Malaysia Police, Proton, and Football Association of Malaysia.

เสือโคร่งมลายู

สัตว์ประจ�ำชำติอย่ำงเป็นทำงกำรของมำเลเซียคือ เสือโคร่งมลำยู พวกมันอำศัยอยู่ในป่ำดิบชื้นซึ่งมีต้นไม้ ปกคลุมหนำแน่นบนคำบสมุทรมลำยู เสือโคร่งมลำยู เป็นสัตว์กนิ เนือ้ อำหำรของมันได้แก่ วัว ควำย กวำงป่ำ เก้ง หมีหมำ หมูป่ำ และหมูมีเครำจำกเกำะบอร์เนียว ในบำงช่วง เสือโคร่งมลำยูกล็ ำ่ ลูกช้ำง สัตว์ในฝูงปศุสตั ว์ และลูกแรดเป็นอำหำร ส� ำ หรั บ ชำวมำเลเซี ย แล้ ว เสื อ โคร่ ง มลำยู เ ป็ น สัญลักษณ์ของควำมกล้ำหำญและพละก�ำลัง มักจะ ปรำกฏอยู ่ บ นตรำสั ญ ลั ก ษณ์ ห รื อ เครื่ อ งหมำยของ สถำบันต่ำง ๆ ในมำเลเซีย เช่น ธนำคำรเมย์แบงก์ ส�ำนักงำนต�ำรวจแห่งชำติมำเลเซีย บริษัทโปรตอน ซึ่ง เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์สัญชำติมำเลเซีย และสมำคม ฟุตบอลมำเลเซีย

ข้อมูลจาก : ttps://whatsanswer.com/what-is-the-national-animal-of-malaysia/ รูปจาก : https://images.app.goo.gl/fF4ianA7eHPkpUK1A https://images.app.goo.gl/DUcgW7burwgLt7JBA https://images.app.goo.gl/LT9eEHYG7psBFwxo8


ข่าวทหารอากาศ

69

¢ŒÍÁÙÅàªÔ§ÅÖ¡·Ò§´ŒÒ¹¡ÒúԹ ·Õ่ÊํÒ¤ÑÞáÅФÇÃÃÙŒ õ »ÃСÒÃ

ÊํÒËÃѺ·ÈÇÃÃÉ 2020

ทศวรรษทีผ่ า นมาในสวนของดานการบินนัน้ เริม่ เขาสูก ารกาวไปสูก ารเปลีย่ นผาน อันเนือ่ งมาจาก การสร า งนวั ต กรรมในภาคอุ ต สาหกรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น อย า งมากมายและรวดเร็ ว โดยเฉพาะนวั ต กรรม ในรูปแบบระบบดิจิทัลที่มุงเนนการพัฒนาการเก็บ รวบรวมขอมูลและไปจนถึงการเขาถึงขอมูลในรูปแบบ Blockchain การซอมบํารุงเชิงพยากรณ (Predictive Maintenance) การฝกอบรมทีส่ อดคลองกับบุคลากร รุน ใหม ตลอดจนการหาแนวทางนโยบายทีจ่ ะนําไปสู การเปลี่ ย นแปลงวิ ธี ก ารบริ ห ารจั ด การที่ คํ า นึ ง ถึ ง สภาพแวดลอมและการสิ้นเปลืองดวยวิธีการที่ย่ังยืน ดังนั้นแนวโนมที่เกิดขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมเหลานี้ กําลังจะสงผลใหอตุ สาหกรรมทางดานการบินจําตองมี การเปลีย่ นแปลงตามไปดวย ซึง่ ในบทความนีจ้ ะกลาวถึง ขอมูลเชิงลึกทีส่ าํ คัญและควรรู ๕ ประการ ทีจ่ ะสงผล ตอการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดานการบิน ในอนาคตสําหรับทศวรรษ 2020

น.อ.ดร.ปกรณ เนื่องฤทธิ์ วศ.กรง.ชอ.

ประการที่ ๑ : The Blockchain Market is maturing ป ค.ศ.2020 ในด า นการบิ น นั้ น นั บ เป น การเริ่มสูทศวรรษแหง Blockchain และการจัดการ หวงโซอุปทาน (Supply Chains) สําหรับ MRO (Maintenance Repair and Overhaul) ในรูปแบบ การบริหารจัดการและใหบริการทางดานขอมูลใหกบั ลูกคาในรูปแบบบริการหลังการขายที่เริ่มตนมาจาก แนวคิดการกระจายอํานาจ (Decentralization) ที่มากขึ้นดวยการใชโปรแกรมการบริหารการเก็บ การจัดการฐานขอมูล ทีม่ กี ารใชงานกันอยางแพรหลาย มากขึ้ น ในภาคธุ ร กิ จ จากที่ ป  ญ หาอุ ป สรรคหรื อ ขอจํากัดเดิมของบริษัทหรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ ระดับโลกที่มีฐานขอมูลขนาดใหญ มีความกังวลใน การจัดการและแลกเปลีย่ นขอมูลแบบกระจายอํานาจ (Decentralization) อั น เนื่ อ งมาจากความ มีประสิทธิภาพดานเทคโนโลยีที่สูงขึ้นและขอจํากัด


70

ดานความปลอดภัยเริ่มนอยลง สิ่งเหลานี้จะทําให อุตสาหกรรม MRO จะมุงไปสูความโปรงใสและเปน Real Time มากขึ้นในระบบนิเวศของขอมูลดิจิทัล สิง่ ทีน่ า สนใจของ Blockchain ที่ MRO นําไป ใชในภาคอุตสาหกรรมดานการบิน คือ เนนการแสดง การติดตามและแสดงสถานภาพการผลิต การจัดซื้อ การจัดสง การบริการหลังการขาย รวมทัง้ ดานเทคนิค สําหรับชิน้ สวนอะไหลอากาศยาน โดยผานการใชงาน โปรแกรม Supply Chains และการเชือ่ มตอแลกเปลีย่ น ฐานขอมูลระหวางกัน ดังเชน เมือ่ ไมนานมานีท้ างกลุม ธุรกิจที่เกี่ยวของดานอะไหลเครื่องบินและไอที อาทิ Safran, SITA, Sky Republic และ FlyDocs ไดประกาศการกอตั้ง MRO Blockchain Alliance ซึ่ ง เป น โครงการที่ อุ ทิ ศ ให กั บ แนวคิ ด ในการสร า ง ทัศนวิสยั ทีช่ ดั เจนขึน้ เกีย่ วกับการบูรณาการฐานขอมูล รวมกันในการบริหารขอมูลชิ้นสวนอะไหลเครื่องบิน ในรูปแบบตลอดอายุการใชงาน (Life Cycle) ตาม MRO Europe 2019 ซึง่ ไดมกี ารทําบันทึกความเขาใจ (MOU: Memorandum of Understanding) รวมกัน และเปดตัวอยางเปนทางการไปแลวในปลายป ค.ศ.2019 ทัง้ นีก้ ารกระจายขอมูล MRO แบบ Decentralization ดวยโปรแกรม Supply Chains ในรูปแบบ ความรวมมือกันในลักษณะ Blockchain ยังมีขอ คํานึง ทางดานความปลอดภัยของขอมูล ฮารดแวร ตลอดจน

การบริหารจัดการขอมูลเครื่องบิน รวมไปถึงอะไหล ชิน้ สวน ทีม่ ขี นาดใหญและความซับซอนไดไมเพียงพอ ซึง่ ยังตองอาศัยความรวมมือและมติทเี่ ห็นพองรวมกัน ในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งจะขยับขยายและเติบโต เปนไปในรูปแบบ Hybrid Model ที่ยังคงผสมผสาน การจัดการฐานขอมูลแบบดั้งเดิม กับ Blockchain สิ่ ง นี้ จ ะช ว ยให อ งค ก รสามารถควบคุ ม ฐานข อ มู ล สวนกลางของตนเองสําหรับขอมูลภายใน โดยแชร ขอมูลสําคัญหรือบันทึกทีจ่ าํ เปนกับองคกรอืน่ ๆ จนไปสู Pure Blockchain ไดในที่สุด ดังนั้นอาจเปนไปไดวา ในอนาคตขอมูลการบินที่จําเปนจะกลายเปนดิจิทัล แบบเต็มรูปแบบที่ทุกภาคสวนจะมีความสามารถ ในการเขาถึงขอมูลไดพรอมกันอยาง เทาเทียม และอยู ภายใตรูปแบบเดียวกันทั้งหมด ประการที่ ๒ : A Rise in Predictive Maintenance การซอมบํารุงเชิงพยากรณ (Predictive Maintenance) ในด า นการบิ น จะมี แ นวโน ม ที่ มี การนํามาประยุกตใชมากขึ้น ซึ่งสําหรับสายการบิน ตาง ๆ เปนที่ทราบกันดีวาการบํารุงรักษาอากาศยาน ที่ ไ ม ค าดคิ ด นั้ น จะก อ ให เ กิ ด ค า ใช จ  า ยที่ สู ง และ ความลาชาในการใหบริการทางดานการบิน ซึ่งการ ซอมบํารุงเชิงพยากรณ (Predictive Maintenance) เปนการบรรเทาปญหาเหลานี้และเปนการปฏิบัติ ในเชิงรุก


ข่าวทหารอากาศ

ทั้งนี้สายการบินและ MRO จ�านวนมากขึ้น เริ่มที่จะใช้ประโยชน์จากการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพือ่ ท�าการพยากรณ์ และก� า หนดแนวทางการซ่ อ มบ� า รุ ง เชิ ง พยากรณ์ (Predictive Maintenance) ให้กับอากาศยานและ ชิ้นส่วนอะไหล่ นอกจากนีจ้ ากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ดิจิทัลด้าน Internet of Things (IoT) ยังน�าไปสู่ การประมวลและบั น ทึ ก ข้ อ มู ล เพื่ อ ประกอบการ พยากรณ์ให้เป็นแบบ Real Time ด้วยการประยุกต์ใช้ อุ ป กรณ์ ใ นการเก็ บ ข้ อ มู ล และประสิ ท ธิ ภ าพของ ชิน้ ส่วนอากาศยาน ซึง่ มีบทบาทส�าคัญในการเชือ่ มต่อ แบ่งปันและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งใช้งานต่าง ๆ น� า ไปสู ่ ก ารวินิจ ฉัยที่แม่นย�า จากรายงานระบุ ว่ า ปัจจุบันมีการใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อทั่วโลกกว่า ๑๔.๒ พันล้านเครื่องทั่วโลก และตัวเลขดังกล่าวคาดว่า จะพุ ่ ง สู ง ขึ้ น ถึ ง กว่ า ๒๕ พั น ล้ า นในปี ค.ศ.2021 เนื่องจากการความก้าวหน้าในการประมวลผลแบบ คลาวด์และเครือข่าย 5G ซึ่งแนวโน้มนี้จะส่งผลให้ การพัฒนาทางด้านการประยุกต์ใช้อปุ กรณ์ Sensors เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนอะไหล่อากาศยานและเครื่องยนต์ เกิดขึ้นจ�านวนมากขึ้น เพื่อบันทึกและส่งต่อข้อมูล แบบ Real Time อันน� าไปสู่ก ารประมวลผลการ

71

ซ่อมบ�ารุงเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) ที่ แ ม่ น ย� า มากขึ้ น ซึ่ ง เป็ น ความท้ า ทายในอนาคต ส� า หรั บ MRO ที่ ต ้ อ งแข่ ง ขั น กั น ในการจั ด การ เก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่เปลี่ยนรูปแบบเป็น IoT ตลอดจนประสิ ท ธิ ภ าพสู ง สุ ด และความเชื่ อ ถื อ ได้ ของข้อมูลในการบ�ารุงรักษาเชิงพยากรณ์ ตามรายงาน ของ บริษทั Exsyn Aviation Solutions ซึง่ เป็นบริษทั ที่ มี ค วามเชี่ ย วชาญเกี่ ย วกั บ การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล การบริ ห ารจั ด การการบริ ก ารพั ส ดุ อ ะไหล่ แ ละ ความสมควรเดินอากาศ (Airworthiness) ระบุว่า “ภายในปี ค.ศ.2026 ปริ ม าณข้ อ มู ล ที่ ส ร้ า งโดย Flight Data Recorder และการตรวจสอบ Aircraft Health Monitoring จะเพิม่ ขึน้ จาก ๒ ล้านเทราไบต์ ต่อปี เป็น ๙๘ ล้านเทราไบต์ต่อปี” ซึ่งคลังข้อมูล อันกว้างใหญ่นี้ไม่ใช่ว่าข้อมูลทั้งหมดจะเป็นข้อมูล ที่มีค่าอย่างแท้จริง ความท้าทายจึงอยู่ที่การประมวล และความน่าเชือ่ ถือการวิเคราะห์ขอ้ มูลในระบบบ�ารุง รักษาเชิงพยากรณ์ ด้วยข้อมูลจ�านวนมากได้อย่างไร เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดของความสามารถในการ ให้บริการอะไหล่ชิ้นส่วน รวมถึงปัญหาการเก็บสินค้า คงคลังทีผ่ ดิ พลาด ซึง่ อาจน�าไปสูก่ ารหมดความเชือ่ ถือ และประสิทธิภาพในการแข่งขันของ MRO ได้ในทีส่ ดุ


72

การพัฒนาและผลิตเชื้อเพลิงการบินที่น�าไปสู่การค�านึงถึงสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน

ประการที่ ๓ : An Increased Focus on Sustainability ปี ค.ศ.2020 กิจการทางด้านการบินก�าลังเริม่ ทศวรรษใหม่ในการเผชิญความท้าทายใหม่ ด้านความ รั บ ผิ ด ชอบทั้ ง ต่ อ ผู ้ บ ริ โ ภคและสั ง คมมากขึ้ น เช่ น ผลกระทบด้านสิง่ แวดล้อมและสภาพอากาศอันเนือ่ ง มาจากกิจการด้านการบิน จึงมีแนวโน้มหรือโอกาส ทีจ่ ะได้เห็นผูค้ นจ�านวนมากขึน้ ในการพิจารณาการใช้ บริการหรือลดการเดินทางด้วยเครื่องบินอันเนื่อง มาจากกระแสการค�านึงถึงสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะ หากอุตสาหกรรมการบินยังไม่มีการตระหนักหรือ มีนโยบายที่ค�านึงถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่เพียงพอ Alexandre de Juniac หัวหน้าผู้บริหาร ของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA: International Aviation Transport Association) ยอมรั บ ว่ า “ภาคอุ ต สาหกรรมการบิ น อยู ่ ภ ายใต้ ความกดดันอย่างมาก อันเนื่องมาจากการรับรู้ถึง สภาพภูมิอากาศทั่วโลกกับปริมาณ CO2 ที่เกิดจาก การบิน” รวมทั้งจากประเด็นในการประชุม MRO Europe 2019 ได้มีการระบุว่าการเดินทางด้วย เครื่องบินปล่อยปริมาณ CO2 อยู่ที่ ๒๘๕ กรัมต่อ กิโลเมตร ในขณะที่ การขนส่งทางถนนอยู่ที่ ๑๕๘ กรัมต่อกิโลเมตร ในขณะที่การเดินทางโดยรถไฟ อยู่ที่ ๑๔ กรัมต่อกิโลเมตร (ข้อมูลของส�านักงาน สิ่งแวดล้อมยุโรป) อันน�าไปสู่ที่มาในต้นปี ค.ศ.2019 ICAO จึงได้ริเริ่มประกาศใช้โครงการเพื่อน�าไปสู่ การลด CO2 อันเนื่องมาจากการบิน ซึ่งมีสายการบิน

จ�านวนมากขานรับในโครงการดังกล่าว ทัง้ นีร้ วมไปถึง การพัฒนาและผลิตเชือ้ เพลิงการบินทีน่ า� ไปสูก่ ารค�านึง ถึงสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยเชื้อเพลิงการบิน ที่ ยั่ ง ยื น (Sustainable Aviation Fuel) อั น มี องค์ประกอบทางกายภาพและทางเคมีเหมือนกับ น�้ามันเครื่องบินแบบดั้งเดิมเป็นหลัก ท�าให้สามารถ ผสมผสานและผสมกับน�้ามันเชื้อเพลิงอากาศยาน มาตรฐานได้ในระดับหนึ่ง สิ่งที่ท�าให้การใช้เชื้อเพลิง การบินอย่างยั่งยืน เป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจและเป็น แนวโน้มในอนาคตทีจ่ ะน�ามาใช้ในกิจการด้านการบิน ก็ คื อ ผลการใช้ ง านที่ ส ามารถลดการปล่ อ ย CO2 อั น เนื่ อ งจากการบิ น และเป็ น ไปตามข้ อ ก� า หนด มาตรฐานของ Biomaterial and ASTM (American Society for Testing and Material) International ประการที่ ๔ : Training for the Future บุคลากรทางด้านการบินสมัยใหม่ จ�าเป็นต้องมีช่าง เทคนิ ค ที่ มี ค วามเชี่ ย วชาญด้ า นเทคโนโลยี แ ละ ซอฟต์แวร์มากขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องและเป็นไปตาม นวั ต กรรมในโลกอุ ต สาหกรรมยุ ค ใหม่ จากการ คาดการณ์โดย Oliver Wyman ซึ่งเป็นบริษัทที่มี ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการให้ค�าปรึกษาด้านธุรกิจ ระบุวา่ ระหว่างนีถ้ งึ ต้นปี ค.ศ.2024 การบริการทางด้าน การบินทั่วโลกจะเติบโตเป็นประจ�าทุก ๆ ปี ที่ ๓.๙% จะท�าให้ฝูงบินทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก ๒๕,๐๐๐ ล�า เป็น ๓๕,๐๐๐ ล�าภายในปี ค.ศ.2027 โดยประมาณว่า ๕๘% ของช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติการจะเป็นคน รุ่นใหม่ที่รับผิดชอบในการปรนนิบัติดูแลเครื่องบิน


ข่าวทหารอากาศ

ในปริมาณดังกล่าว ดังนั้นการผ่องถ่ายจากบุคลากร รุ ่ น เก่ า ซึ่ ง เริ่ ม เข้ า สู ่ วั ย เกษี ย ณอายุ รวมไปถึ ง การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี จะส่งผลต่อ ความต้องการการฝึกอบรมบุคลากรรุ่นใหม่ที่เข้าใจ ความต้ อ งการและความท้ า ทายของการเติ บ โต ทางเทคโนโลยี ข องอุ ต สาหกรรม การตอบสนอง ความต้ อ งการนี้ จ ะต้ อ งใช้ ค วามพยายามร่ ว มกั น จากอุตสาหกรรมการบินทัว่ โลก ด้วยการเพิม่ รูปแบบ ทีข่ บั เคลือ่ นด้วยข้อมูลและชุดทักษะใหม่ ๆ ทีเ่ กิดจาก การฝึกปฏิบัติที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีและเท่าทัน กับอากาศยานรุ่นใหม่ อันเต็มไปด้วยทักษะในการ วิเคราะห์ซอฟต์แวร์ที่เต็มไปด้วยข้อมูลและเทคนิค จึงต้องการความสามารถของช่างเทคนิคที่มีความ เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลและกลไกชิ้นส่วนอากาศยาน เพือ่ ให้ทนั กับความต้องการทีเ่ พิม่ ขึน้ นีใ้ นทศวรรษหน้า สายการบินและ MRO จ�าต้องน�านวัตกรรมการฝึก อบรมมาใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และ Know How ที่ เหมาะสมที่สุด ด้วยการเพิ่ม Solution ในการ ส่ ง เสริ ม ความสามารถในการเพิ่ ม ความสามารถ ทางกลไกและดิ จิ ทั ล อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และ ตอบสนองความต้องการที่ก�าลังจะมาด้วยเทคโนโลยี ที่ล�้ายุค นอกจากนี้ยังจะต้องมีวิธีการข้ามวัฒนธรรม ข้ามรุน่ ทีก่ ว้างขึน้ และสามารถถ่ายทอดได้หลายภาษา ด้วยเทคโนโลยีแบบเสมือนจริง ผ่านวิธีการสอนแบบ AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality)

73

ซึง่ MRO จะสามารถน�ามาใช้ในการประยุกต์ และปรับเปลี่ยนวิธีการฝึกอบรมแบบดั้งเดิมที่น�าโดย ผู้สอน ในห้องเรียนจากการน�าเสนอ Powerpoint ไปเป็นการอบรมแบบเสมือนจริง ด้วยการจ�าลอง การฝึ ก อบรมผ่ า นการเห็ น ปฏิ บั ติ ตลอดจนการ ทดสอบ กั บ ภาพส่ ว นประกอบของเครื่ อ งบิ น เครื่องยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ ที่ผู้รับการฝึกและ ผู ้ ฝ ึ ก สอนใช้ ร ่ ว มกั น ดั ง ตั ว อย่ า งเช่ น ที่ Royal Netherlands Aerospace Center และ KLM Airlines ได้เริ่มหลักสูตรการฝึกอบรม MRO ที่ใช้ แว่ น ตา Microsoft HoloLens AR หลายตั ว เพื่ออ�านวยความสะดวกในการท�างานร่วมกันและ การเรียนการสอนในขณะที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เดินรอบเครื่องบินจ�าลอง หรือ ที่สายการบิน Air France ได้ใช้ประโยชน์จากการฝึกอบรม AR ส�าหรับ เครื่ อ งบิ น Airbus Model 787 เพื่ อ ให้ แ น่ ใ จว่ า มี วิ ศ วกร มี ทั ก ษะเพี ย งพอที่ จ ะตรวจสอบและ ซ่ อ มแซมเครื อ ข่ า ยทั้ ง หมดของอุ ป กรณ์ ที่ มี ค วาม ซั บ ซ้ อ นได้ เ ป็ น อย่ า งดี ซึ่ ง อาจปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว ่ า อุตสาหกรรมการบินและ MRO ในอนาคต จ�าเป็น ต้ อ งเปลี่ ย นความคิ ด การใช้ รู ป แบบการศึ ก ษา แบบดั้งเดิมในทศวรรษหน้าไปสู่การใช้ด้วยเทคนิค เสมือนจริงเพื่อให้สอดรับกับการสร้างบุคลากรด้าน อากาศยานรุ ่ น ใหม่ แ ละก้ า วทั น กั บ เทคโนโลยี อากาศยานในอนาคต

AR (Augmented Reality) และ VR (Virtual Reality)


74

ประการที่ ๕ : A Big Boost in Digitization ปัจจัยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในหลาย ๆ ด้านของ อุตสาหกรรม รวมทัง้ ด้านการบิน คือ การปรับเปลีย่ น รูปแบบแบบอนาลอกไปสู่แบบดิจิทัล รวมทั้งการ ประมวลผลข้ อ มู ล ผ่ า น Algorithm และ ปั ญ ญา ประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) ในกรณี ทางด้านการบิน คือ การเติบโตแบบทวีคณ ู อันเกีย่ วเนือ่ ง ทั้ ง เทคโนโลยี Blockchain และ การวิ เ คราะห์ เชิ ง พยากรณ์ ในช่ ว งสองสามปี ที่ ผ ่ า นมา MRO ได้พฒ ั นารูปแบบทีร่ องรับพืน้ ฐานข้อมูลเหล่านีเ้ พิม่ ขึน้ ในรูปแบบระบบดิจิทัล การบู ร ณาการร่ ว มกั น ของข้ อ มู ล อะไหล่ เครื่องบินจะออกมาในรูปแบบที่ผสมผสานระหว่าง แบบอนาลอก ทีเ่ ป็นชิน้ ส่วนทีม่ อี ายุมากกว่าทศวรรษ เข้ า กั บ ข้ อ มู ล ชิ้ น ส่ ว นอะไหล่ แ บบใหม่ ที่ ผ ลิ ต โดย Sensors นับพันและ IoT ซึง่ เป็นการเริม่ ทศวรรษใหม่ ของอุ ต สาหกรรมการบิ น แบบ 4.0 การใช้ IoT จะค่อย ๆ สร้างความก้าวหน้าที่เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ ในความแม่ น ย� า ในการบริ ก ารหลั ง การขายของ อุตสาหกรรม MRO ด้วยการเก็บข้อมูลบนคลาวด์ และประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ ซึ่งเทคโนโลยี ดิ จิ ทั ล แบบ IoT จะช่ ว ยจั ด การกั บ ความซั บ ซ้ อ น ที่เกิดขึ้นในการผลิตการด�าเนินงานการบ�ารุงรักษา

เครือ่ งบิน เครือ่ งยนต์ รวมไปถึงยังช่วยให้ผผู้ ลิตเข้าใจ และเก็บข้อมูลรายละเอียดการใช้งานของชิ้นส่วน อะไหล่อย่างละเอียด การพัฒนานีค้ าดว่าจะมีผลกระทบ อย่างมีนัยส�าคัญต่อตลาดเครื่องบินพาณิชย์ MRO ทัว่ โลกในอนาคต ซึง่ ก�าลังจะมีบทบาทพืน้ ฐานมากขึน้ ในการจัดการกับความซับซ้อนที่เกิดขึ้นในการผลิต การจัดซื้อ การด�าเนินงานและการบ�ารุงรักษา แต่จะ ยังคงต้องอยูภ่ ายใต้ความปลอดภัยและความยืดหยุน่ ที่ผ่านการบูรณาการของ Blockchain และ AI ทศวรรษที่ผ่านมาทางด้านการบินจะเน้น การพั ฒ นา “กระบวนการปฏิ บั ติ ง านมาตรฐาน” ไปพร้อมกับการสร้าง “นวัตกรรมการบินเหนือเสียง” แต่ส�าหรับ ปี ค.ศ.2020 เป็นต้นไป จะเป็นการเริ่ม ทศวรรษใหม่ในอนาคต โดยความก้าวหน้าทางด้าน การบินและอุตสาหกรรมทีเ่ กีย่ วข้องจะเป็นในรูปแบบ ของการพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยานควบคู่ไปกับ การขับเคลื่อนด้วยการพัฒนาบนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการวิเคราะห์ การจัดการฐานข้อมูล การพัฒนา โปรแกรมประยุกต์แบบดิจิทัล การฝึกอบรมบุคลากร ด้วยเทคโนโลยีทที่ นั สมัย รวมไปถึงการพัฒนาทีค่ า� นึง ถึงภาพรวมทางสภาพแวดล้อมและความรับผิดชอบ ต่อสังคมเป็นส�าคัญ

ภาพประกอบบทความ - www.carlisleit.com/markets/commercial-aerospace/mro/ - www.verticalmag.com/features/predictive-maintenance-future-proof/ - www.altoros.com/blog/boeing-improves-operations-with-blockchain-and-the-internet-of-things/ - www.iata.org/en/programs/environment/sustainable-aviation-fuels/ - www.grabcad.com/groups/design-review-in-vr-ar-mr - www.hginsights.com/blog/ai-growth-driver-aerospace-defense/


ข่าวทหารอากาศ

75

ʶҺѹ෤â¹âÅÂÕ»‡Í§¡Ñ¹»ÃÐà·È (ͧ¤ ¡ÒÃÁËÒª¹) ¡ÃзÃǧ¡ÅÒâËÁ

Defence Technology Institute (Public Organisation) Ministry of Defence, The Kingdom of Thailand

รอบรูเทคโนโลยีปองกันประเทศ

อากาศยานไรคนขับลาดตระเวนทางทะเล ในปจจุบนั นี้ ทัว่ โลกมีความตองการอากาศยานไรคนขับลาดตระเวนทางทะเลเพิม่ สูงขึน้ อยางตอเนือ่ ง เพือ่ ทดแทนวิธกี ารลาดตระเวนแบบเกาทีต่ อ งมีนกั บินในการขับเครือ่ งบินและมีคา ใชจา ยสูง ทําใหอากาศยาน ไรคนขับที่พบเห็นในปจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งรูปแบบโครงสรางอากาศยานที่เปนแบบปกนิ่ง เพื่อเพิ่มพิสัยการปฏิบัติการไดไกลมากขึ้น ความสามารถในการบรรทุก Payload ที่เพิ่มขึ้น วัสดุที่ใชสราง เครื่องบินที่มีนํ้าหนักเบาและทนทานมากขึ้น และเทคโนโลยีที่สูงขึ้นของอุปกรณตาง ๆ ที่นํามาติดตั้ง ในอากาศยานไรคนขับลาดตระเวนทางทะเล เพื่อใหมีศักยภาพในการปฏิบัติภารกิจการรวบรวมขาวกรอง ตรวจการณ และลาดตระเวน (Intelligence Surveillance and Reconnaissance: ISR) ได อ ย าง มีประสิทธิภาพสามารถปฏิบัติภารกิจครอบคลุมพื้นที่ลาดตระเวนไดทั้งทางบกและทางทะเล ตรวจสอบ เสนทางการเดินเรือและเสนทางหลักสําหรับการสัญจรทางทะเล (Sea Lines of Communication: SLOC) รวมทัง้ การลาดตระเวนในเขตเศรษฐกิจจําเพาะ (Exclusive Economic Zone: EEZ) เพือ่ รักษาความปลอดภัย และเพิ่มความตระหนักรูในสถานการณตาง ๆ ของหนวยรักษาความปลอดภัยทางทะเล ในบทวิเคราะหฉบับนี้ จะกลาวถึงอากาศยานไรคนขับประเภทตาง ๆ ที่ใชลาดตระเวนทางทะเล ในปจจุบันไดแก ๑. อากาศยานไรคนขับแบบเพดานบินปานกลางและบินไดนาน (Medium-altitude, Long Endurance Unmanned Aerial Vehicles: MALE UAV) ๒. อากาศยานไรคนขับแบบเพดานบินสูงและบินไดนาน (High-altitude, Long Endurance Unmanned Aerial Vehicles: HALE UAV) และ ๓. อากาศยานไรคนขับที่ปฏิบัติการบนเรือ (Shipboard UAS) ดังนี้


76

๑. อากาศยานไร้คนขับแบบเพดานบินปานกลางและบินได้นาน (Medium-altitude, long Endurance Unmanned Aerial Vehicles (MALE UAV) ระบบนีม้ คี วามสามารถทีจ่ ะบินลาดตระเวนได้ไกล มีเพดานบินสูงประมาณ ๑๘,๐๐๐ - ๖๐,๐๐๐ ฟุต สามารถบินได้นานประมาณ ๑๐ - ๔๘ ชม. บรรทุก Payload ได้ระหว่าง ๑,๐๐๐ - ๓๐,๐๐๐ ปอนด์ มีพื้นที่ปฏิบัติการในประเทศ โดย MALE UAV ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมีดังนี้

อากาศยานไร้คนขับ HERMES 900 MALE UAV

HERMES 900 MALE UAV ผลิตโดยบริษัท Elbit Systems ของอิสราเอล มีน�้าหนักบินขึ้นสูงสุด ๑,๑๘๐ กิโลกรัม ความยาวปีก ๑๕ เมตร บรรทุก Payload ๓๕๐ กิโลกรัม (๒) ติดตั้งเรดาร์ตรวจการณ์ ทางทะเล ระบบระบุตัวตนอัตโนมัติ (Automatic Identification System: AIS) กล้องกลางวัน/กลางคืน Electro-optical/Infrared (EO/IR) และระบบสนับสนุนการข่าวกรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (SM/ELINT) สถานีควบคุมภาคพื้น (UGCS) สามารถบังคับอากาศยานไร้คนขับได้ ๒ ล�าพร้อมกัน ใช้ระบบสื่อสาร ผ่านดาวเทียมร่วมกับการบูรณาการระบบ C4I ท�าให้สามารถปฏิบตั กิ ารได้ไกลในระยะนอกสายตา (Beyond Line-of-Sight: BLOS) และสามารถบูรณาการระบบเข้ากับระบบอ�านวยการรบของเรือได้ ซึ่งเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพของเรือในการปฏิบัติภารกิจลาดตระเวนทางทะเล

อากาศยานไร้คนขับ Heron 1 MALE UAV


ข่าวทหารอากาศ

77

Heron 1 MALE UAV ผลิตโดยบริษัท Israel Aerospace Industries (IAI) ของอิสราเอล มี น�้า หนั ก บินขึ้นสูงสุด ๑,๑๐๐ กิโลกรัม บรรทุ ก Payload ๒๕๐ กิ โ ลกรั ม ติ ด ตั้ ง กล้ อ งอิ นฟราเรดที่ มี ความละเอียดสูง และเลเซอร์ติดตามและค้นหาเป้าหมาย ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ Rotax 914 แบบ ๔ สูบ ขนาด ๑,๒๑๑ ซีซี เพดานบิน ๑๕,๐๐๐ ฟุต ความเร็วสูงสุด ๑๔๐ นอต บินได้นาน ๔๕ ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับ น�้าหนักของ Payload) ใช้ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมท�าให้มีพิสัยท�าการ ๑,๐๐๐ กิโลเมตร มีพื้นที่บรรทุก สัมภาระปริมาตร ๘๐๐ ลิตร ล�าตัวเครือ่ งมีความสูงจากพืน้ ๖๐ ชัว่ โมง ท�าให้สามารถติดตัง้ Payload ภายนอก เพิ่มเติมได้สะดวก และมีความสามารถในการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง ๑๐ กิโลวัตต์ รองรับการติดตั้งเรดาร์ ตรวจการณ์ EL/M-2022U ที่สามารถติดตามได้ครั้งละหลายเป้าหมาย และมีพิสัยท�าการไกลถึง ๒๐๐ ไมล์ ทะเลเมื่อใช้โหมด ISAR สามารถล็อคเป้าและจ�าแนกชนิดของเป้าหมายได้ หรือติดตั้งเรดาร์ EL/M-2055 แบบ SAR/GMTI นอกจากนี้ ยังสามารถติดตั้งระบบข่าวกรองทางสัญญาณ Signal Intelligence (SIGINT) ได้แก่ ELK-7071 หรือ ELK-7065 และกล้อง EO/IR แบบมาตรฐาน ๒. อากาศยานไร้คนขับแบบเพดานบินสูงและบินได้นาน (High-altitude, long Endurance Unmanned Aerial Vehicles (HALE UAV) ระบบนี้มีความสามารถที่จะบินลาดตระเวนได้ไกล มีเพดานบินสูงมากกว่า ๖๐,๐๐๐ ฟุต สามารถ บินได้นานประมาณ ๑๐ – ๔๘ ชั่วโมง บรรทุก Payload ได้ระหว่าง ๑,๐๐๐ – ๓๐,๐๐๐ ปอนด์ มีพื้นที่ ปฏิบัติการในประเทศและระหว่างประเทศ โดย HALE UAV ที่เป็นที่รู้จักคือ MQ-4C Triton มีรายละเอียด ดังนี้

อากาศยานไร้คนขับ MQ-4C Triton HALE UAV

MQ-4C Triton HALE UAV พัฒนาโดยบริษัท Northrop Grumman มีความยาว ๑๔.๕ ม. ปีกกาง ๓๙.๙ ม. พิสัยท�าการ ๒,๐๐๐ ไมล์ทะเล ปฏิบัติภารกิจได้นานกว่า ๒๔ ชั่วโมง ท�าความเร็วได้ถึง ๓๒๐ นอต โดยกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาใช้ปฏิบัติภารกิจงานข่าวกรองการเฝ้าตรวจและการลาดตระเวน (ISR) ติ ด ตั้งเรดาร์ X-band AN/ZPY-3 Multi-Function Active Sensor (MFAS) แบบ Active Electronically Scanned Array (AESA) เป็นกล้องแบบ ๓๖๐ องศา สามารถเก็บข้อมูลครอบคลุมพื้นที่ ๒.๗ ล้านตารางไมล์ต่อการบินในแต่ละเที่ยว ติดตั้งกล้อง AN/DAS-3 MTS-B EO/IR ความละเอียดสูง ใช้งาน ได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ๓. อากาศยานไร้คนขับที่ปฏิบัติการบนเรือ(Shipboard UAS) อากาศยานไร้คนขับที่ปฏิบัติการบนเรือ หรือ Shipboard UAS เป็นอากาศยานไร้คนขับที่มี ขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถบินขึ้นและลงจอดบนเรือได้ มีทั้งแบบปีกหมุนและปีกนิ่ง แต่อากาศยานแบบ ปีกหมุนจะเป็นที่นิยมใช้มากกว่า เนื่องจากไม่ต้องใช้พื้นที่ในการบินขึ้นเหมือนกับอากาศยานไร้คนขับแบบ ปีกนิง่ อีกทัง้ ไม่ตอ้ งใช้รม่ ในการลงจอด ท�าให้สามารถบินขึน้ และลงจอดทางดิง่ บนเรือได้สะดวก โดยอากาศยาน ไร้คนขับที่ปฏิบัติการบนเรือ หรือ Shipboard UAS ที่เป็นที่รู้จักมีดังนี้


78

อากาศยานไร้คนขับแบบปีกหมุน V-200 UAS

V-200Block 20 UAS ปัจจุบนั เข้าประจ�าการในกองทัพเรือของแคนาดาและเยอรมนี เป็นอากาศยาน ไร้คนขับแบบปีกหมุน มีความยาว ๔ เมตร สร้างจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ไทเทเนียมและอลูมิเนียม ติดตั้ง ใบพัดหลัก ๒ ใบ ซึ่งมีความยาวเส้นผ่านศูนย์กลาง ๔.๖ ม. สามารถบรรทุก Payload หนัก ๔๕ กิโลกรัม น�้าหนักบินขึ้นสูงสุด ๒๓๕ กิโลกรัม ท�าความเร็วสูงสุด ๑๕๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง และมีเพดานบิน ๙,๘๔๒ ฟุต ติดตัง้ กล้องแบบ Visual Detection and Ranging (ViDAR)ทีส่ ามารถส�ารวจพืน้ ทีใ่ นมหาสมุทร และส่งข้อมูล ไปยังสถานีควบคุมภาคพื้นดินตามเวลาที่เกิดขึ้นจริง สามารถตรวจจับเป้าหมายได้ไกลถึง ๒๐ ไมล์ทะเล ถูกออกแบบมาให้สามารถบูรณาการเข้ากับระบบการจัดการการรบพร้อมระบบ C4I ซึ่งสามารถใช้งาน ร่วมกับเรือรบ เรือตรวจการณ์ จนถึงเรือฟริเกต

อากาศยานไร้คนขับแบบปีกหมุน Camcopter S-100 VTOL UAS

Camcopter S-100 VTOL UAS พัฒนาโดยบริษัท Schiebel ของออสเตรีย มีใบพัดหลัก ๒ ใบ ทีม่ เี ส้นผ่านศูนย์กลาง ๓.๔ เมตร ท�าจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ มีความยาว ๓.๑๑ เมตร ความกว้าง ๑.๒๔ เมตร และสูง ๑.๑๒ เมตร น�้าหนักบินขึ้นสูงสุด ๒๐๐ กิโลกรัม บรรทุกน�้ามันได้ ๕๐ กิโลกรัม เครื่องยนต์แบบ ปีกหมุนให้ก�าลัง ๕๐ แรงม้า ท�าความเร็วได้ ๑๐๒ กิโลเมตร/ชั่วโมง เพดานบิน ๑๗,๙๙๕ ฟุต บินได้นาน ๖ ชั่วโมง ในขณะบรรทุก Payload ๓๔ กิโลกรัม โดยสามารถบินได้นานถึง ๑๐ ชั่วโมง หากติดตั้งถังน�้ามัน ภายนอกเพิม่ เติม นอกจากนี้ ได้ตดิ ตัง้ กล้องตรวจจับแบบ L3Harris Wescam EO/IR และระบบ Overwatch Imaging PT-8 Oceanwatch


ข่าวทหารอากาศ

79

สรุป ในปัจจุบัน อากาศยานไร้คนขับส�าหรับลาดตระเวนทางทะเลถูกพัฒนาขึ้นให้มีศักยภาพสูงขึ้น เพื่อรองรับการปฏิบัติการลาดตระเวนตรวจการณ์ในทะเล แต่ก็ยังมีข้อจ�ากัดในเรื่องของการบรรทุกและการ ติดอาวุธที่ยังเป็นข้อจ�ากัดที่ส�าคัญ ท�าให้อากาศยานไร้คนขับส�าหรับลาดตระเวนทางทะเลจะเป็นส่วนเสริม ส�าหรับเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล มากกว่าจะทดแทนกันได้ทั้งหมดในระยะเวลาอันใกล้นี้ อากาศยานไร้คนขับส�าหรับลาดตระเวนทางทะเลส่วนใหญ่จะใช้ปฏิบตั ภิ ารกิจหลักในการลาดตระเวน และตรวจการณ์เพือ่ ปราบปรามการรุกล�า้ น่านน�า้ ตรวจจับการประมงผิดกฎหมาย หรือการค้นหาผูป้ ระสบภัย ทางทะเล ซึง่ เป็นภารกิจทีไ่ ม่ตอ้ งใช้หรือมีความต้องการใช้อาวุธโจมตีตา�่ การใช้งานอากาศยานไร้คนขับส�าหรับ ลาดตระเวนทางทะเลจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้วยการแบ่งชั่วโมงการบินมาจากเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล ท� า ให้ เ ครื่ อ งบิ น ลาดตระเวนทางทะเลสามารถน� า ไปใช้ ส� า หรั บ ภารกิ จ ทางทหารโดยเฉพาะ และลด ความต้องการ=ชั่วโมงบินลงได้ ในประเทศไทย กองทัพอากาศประสบความส�าเร็จในการวิจยั ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ พัฒนาอากาศยานไร้คนขับแบบ RTAF U1 ซึ่งได้รับการออกแบบและผลิตตามมาตรฐาน รวมถึงข้อก�าหนด ความสมควรเดินอากาศสากล สามารถปฏิบัติภารกิจได้ต่อเนื่อง ๘ ชั่วโมง มีพิสัยท�าการ ๑๐๐ กิโลเมตร และมีแผนที่จะพัฒนาโดยติดตั้งอาวุธเพิ่มเติม และมีโครงการพัฒนาต่อยอดให้เป็นอากาศยานไร้คนขับแบบ MALE โดยพัฒนาระบบสื่อสารและตัวอากาศยานให้มีความเหมาะสมกับการท�าการบินเป็นระยะเวลานาน โดย MALE UAV ของกองทัพ อากาศที่ก�า ลั ง พั ฒ นานั้ นยั ง มี ขี ดความสามารถในการประยุ ก ต์ ใช้ ในการ ลาดตระเวนทางทะเลได้ดว้ ย ซึง่ ถือเป็นตัวเลือกหนึง่ ในอนาคตให้กบั กองทัพเรือเพือ่ ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรม ป้องกันประเทศของไทย ในปัจจุบันกองทัพเรือได้จัดหาอากาศยานไร้คนขับแบบปีกหมุนรุ่น Schiebel Camcopter S-100 จากออสเตรียเข้าประจ�าการแล้ว และในประเทศไทยยังไม่มโี ครงการพัฒนา UAV แบบปีกหมุน ดังนัน้ จึงเป็น โอกาสส�าหรับ สทป. ในการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับแบบปีกหมุนส�าหรับตรวจการณ์ทางทะเล เพื่อเป็น อีกหนึ่งตัวเลือกส�าหรับเข้าประจ�าการในกองทัพเรือได้ในอนาคต นอกจากนี้ ปัจจุบัน สทป. ได้ลงนามบันทึก ข้อตกลงความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาร่วมกับหน่วยงานของมิตรประเทศ เพื่อพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ ขนาดกลางที่มีระยะปฏิบัติการ ๒๐๐ กิโลเมตร บินได้นาน ๑๒ - ๒๐ ชั่วโมง และมีเพดานบิน ๒๔,๐๐๐ ฟุต โดยมีแผนการด�าเนินงานที่ชัดเจน จึงเป็นอากาศยานไร้คนขับแบบ MALE อีกตัวเลือกหนึ่งส�าหรับปฏิบัติ ภารกิจลาดตระเวนตรวจการณ์ที่จะเข้าประจ�าการในกองทัพไทยได้ในอนาคต อ้างอิง - R. E. Weibel, “Safety Considerations for Operation of Different Classes of Unmanned Aerial Vehicles in the National Airspace System,” MASSACHUSETTS INSTITUTE OF TECHNOLOGY,pp. 40, 43, 2002. - E. Systems, “Hermes TM 900,” https://dspace.mit.edu/bitstream/handle/1721.1/30364/61751476-MIT. pdf?sequence=2, Accessed: January 24, 2020. - K. Wong, “Top down perspective: Maritime UASs take on greater domain presence,” Jane’s International Defence Review, 2019. - Navy.mil, “MQ-4C Triton,” https://www.navy.mil/navydata/fact_display.asp?cid=4350&tid=500&ct=4, Accessed: January 27, 2020. - Schiebel, “Camcopter S-100 Unmanned Air System,” https://schiebel.net/products/camcopter-s-100/, Accessed: January 27, 2020.


80

Social media intelligence

การข่าวกรองจากสื่อสังคมออนไลน์

ร.ต.พอภัทร สดสร้อย

เซอร์เดวิด โอมานด์ ได้อธิบายความหมายของ ข่าวกรองจากสื่อสังคมออนไลน์ไว้สั้น ๆ ว่าเป็น “ข่าวกรองที่ได้มาจากสื่อสังคมออนไลน์” นับตั้งแต่การถือก�าเนิดขึ้นมาของสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เมื่อปี ค.ศ.2000 สื่อสังคม ออนไลน์กลายเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารและแหล่งความรู้ทางการค้นคว้าวิจัยในหลากหลายสาขา ประชาชน จ� า นวนมากใช้เ วลากับโซเชียลมีเ ดีย เช่น Facebook, Twitter, Instagram และอื่ น ๆ เพิ่ ม มากขึ้ น แพล็ตฟอร์มต่าง ๆ ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ออนไลน์กลายเป็นพื้นที่ให้บุคคลทั่วไปใช้ส�าหรับการแสดง ตัวตน ใช้ปฏิสัมพันธ์ติดต่อสื่อสารกันในลักษณะต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ก่อให้เกิดมิติใหม่ทางสังคม ที่ได้รับ การเรียกขานว่า สังคมเสมือน หรือ Virtual Society ที่มีประชาชนเป็นส่วนประกอบอยู่ภายในสังคมเสมือน โดยที่ประชาชนแต่ละคนจะสามารถก�าหนดลักษณะหรืออัตลักษณ์ของตนเองได้อย่างอิสระ โดยถือเป็น ตัวตนเสมือน หรือ Virtual Identify การข่าวกรองจากสื่อสังคมออนไลน์ เป็นสาขาหนึ่งของกิจกรรมด้านการข่าวกรอง ที่มีพ้ืนฐาน บนเครือ่ งมือทีเ่ กิดจากการติดตามรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากสือ่ สังคมออนไลน์แล้วน�ามาประมวลผลเพือ่ ผลิต เป็นรายงานด้านข่าวกรองที่จะใช้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ โดยในปัจจุบันการข่าวกรองจากสื่อสังคม ออนไลน์ไม่ใช่เพียงแค่น�ามาใช้ในกิจกรรมด้านการข่าวกรองและด้านความมั่นคง แต่ยังถูกน�าไปใช้ในการ วิเคราะห์แผนงานด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ และด้านการตลาดอีกด้วย โดยทีก่ ารข่าวกรองจากสือ่ สังคม ออนไลน์ถือเป็นแขนงย่อยของกระบวนการรวบรวมข่าวสารจากแหล่งข่าวเปิด หรือ OSINT (Open-source intelligence) สื่อสังคมออนไลน์ กลายเป็นสื่อกลางอันโดดเด่นของการใช้เวลาในโลกออนไลน์ ผู้ใช้สามารถติดต่อ สื่อสารแลกเปลี่ยน-แบ่งปันข่าวสารระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันสื่อสังคมออนไลน์ ยังสามารถถูกใช้เป็นเครือ่ งมือส�าหรับการก่ออาชญากรรม หรือแพร่กระจายข่าวสารข้อมูลอันเป็นเท็จได้อกี ด้วย


ข่าวทหารอากาศ

81

ในทางวิชาการ มีการตัง้ ค�าถามว่า สือ่ สังคมออนไลน์จะสามารถใช้เป็นเครือ่ งมือส�าหรับการรวบรวม ข่าวสารด้านภัยคุกคามได้หรือไม่ ? หน่วยงานด้านความมั่นคง จะสามารถน�าสื่อสังคมออนไลน์มาใช้เป็น เครื่องมือช่วยการปฏิบัติงานได้มากน้อยเพียงใด ? หรือ จะสามารถจัดให้การข่าวกรองจากสื่อสังคมออนไลน์ เป็นรูปแบบหนึ่งของการข่าวกรองจากแหล่งข่าวเปิดได้หรือไม่ ? การข่าวกรองจากแหล่งข่าวเปิดคือการรวบรวมข่าวสารจากแหล่งข่าวเปิดที่ทุกคนสามารถเข้าถึง ได้อย่างเสรี ไม่จ�าเป็นจะต้องผ่านการพิสูจน์ตัวตน ไม่จ�าเป็นต้องเป็นสมาชิก ตัวอย่างเช่น บล็อก นิวส์ฟี๊ด (News Feed) ต่าง ๆ หรือฐานข้อมูลสาธารณะ ข่าวกรองภัยคุกคาม/threat intelligence บริบทคือหัวใจส�าคัญ เราสามารถใช้วธิ กี ารทีห่ ลากหลาย ในการรวบรวมหรือสังเคราะห์ข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์ การให้ค่าข่าวสารก็เป็นอีกปัจจัยที่มีความส�าคัญ การรวบรวมข้อมูลภัยคุกคามจากสื่อสังคมออนไลน์จะต้องมีหนทางที่เราจะสามารถประเมินค่าข่าวสารแล้ว ข้อมูลเหล่านั้นจึงถูกน�าไปสู่กระบวนการวิเคราะห์และขยายผลตามบริบทที่ก�าหนดในขั้นต้น จากแผนภาพการท�างานด้านล่าง ข่าวสารที่ได้รับการสรุปย่อ/RSS NEWS feed ที่เผยแพร่สู่ สาธารณะและช่องทวิตเตอร์ที่เฝ้าติดตาม ถูกรับเข้าสู่ชุดโปรแกรมสาธารณะ ที่เรียกว่า “ถ้านี่จึงนั่น” If This, Then That หรือ IFTTT ชุดโปรแกรมสาธารณะนี้อนุญาตให้ผู้ใช้ก�าหนดหรือสร้างเงื่อนไขส�าหรับ ใช้เปรียบเทียบเพื่อการคัดเลือกข้อมูลหรือข่าวสารมาสรุปเป็นผลลัพท์แล้วสร้างเป็นรายงานตามโครงสร้าง ที่ถูกก�าหนดไว้เพื่อสนับสนุนระบบการควบคุมด้านความปลอดภัยภายในองค์ในลักษณะ TRAP/Tricker, Action, Response, Plan

ชุดโปรแกรมสาธารณะ If This, Then That หรือ IFTTT

หลังจากที่เราได้ด�าเนินการรวบรวมข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือการสังเคราะห์ให้เป็นรายงานข่าวกรองที่ใช้งานได้ หลักเกณฑ์ส�าคัญ ๔ ประการของรายงานข่าวกรองที่ดี ประกอบด้วย ๑. Complete ความสมบูรณ์เพียงพอของสาระและบริบทที่จะใช้ในการตัดสินใจ ๒. Accurate ข่าวสารมีความถูกต้องเที่ยงตรงแม่นย�าเพียงพอที่จะใช้ในการตัดสินใจ ๓. Relevant มีสาระส�าคัญเกี่ยวข้องกับองค์กรหรือกับภารกิจขององค์กร ๔. Timely ทันเวลา รายงานข่าวกรองต้องผลิตขึ้นเสร็จทันเวลาที่จะต้องตัดสินใจ ในมุมมองด้านการข่าวกรอง สือ่ สังคมออนไลน์มโี อกาสสูงมากทีจ่ ะก้าวขึน้ ไปมีความส�าคัญต่อกิจกรรม ด้านการข่าวกรอง หากว่าเราเชื่อมต่อตนเองกับเว็บไซต์มากเท่าไร ก็มีโอกาสสูงมากที่อัตลักษณ์แท้และ อัตลักษณ์เสมือนจากผสานเข้าด้วยกัน เมือ่ ข่าวสารทีเ่ กีย่ วข้องถูกส่งต่อไปมาก โอกาสทีจ่ ะถูกติดตามแกะรอย หรือถูกน�าไปใช้ในการวิเคราะห์แยกแยะก็จะเพิ่มมากขึ้น ข่าวกรองจากสือ่ สังคมออนไลน์เป็นองค์ประกอบใหม่ลา่ สุดของวงรอบข่าวกรองทีม่ งุ่ เน้นไปในส่วนของ การรวบรวม การวิเคราะห์ การผลิตข่าวกรอง และการแลกเปลี่ยนโดยมีสื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือ แม้นว่าข่าวกรองจากสื่อสังคมออนไลน์จะเริ่มได้รับการยอมรับ แต่นักวิเคราะห์ก็ยังมีข้อวิจารณ์ว่าข่าวกรอง จากสื่อสังคมออนไลน์ยังขาดยุทธศาสตร์ ขาดหลักนิยม และขาดแนวทางการปฏิบัติท่ีดี เพื่อน�าเครื่องมือนี้ มาใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้างอิง : fondazionedegasperi.org/wp-content/uploads/2016/10/Paper-From-SOCMINT-to-Digital.pdf


82


ข่าวทหารอากาศ

83


84

ภาษาไทย ด้วยใจรัก

นวีร

“ภาษาไทยเปนเครื่องมืออยางหนึ่งของชาติ

ภาษาทั้งหลายเปนเครื่องมืออยางหนึ่งของมนุษยชนิดหนึ่ง คือเปนทางสาหรับแสดงความคิดเห็นอยางหนึ่ง เปนสงสวยงามอยางหนึ่ง เชนในทางวรรณคดี เปนตน” พระราชดํารัสในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

เพลงพระราชนิพนธ และบทเพลงตางๆ ภาษาไทยดวยใจรัก ฉบับนี้จะกลาวถึง บทพระราชนิพนธ และบทเพลงตาง ๆ เพลงไกลกังวล ในป พ.ศ.๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมพิ ลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชนิพนธทาํ นอง เพลงไกลกังวล เปนเพลงพระราชนิพนธลาํ ดับที่ ๒๖ ขณะประทับอยูท ี่ วังไกลกังวล เพื่อพระราชทานใหเปนเพลงประจํา วงดนตรี อ.ส.วันศุกร ใชบรรเลงเปนเพลงลาสงทายกอนดนตรีเลิก และ ไดพระราชทานใหนําออกบรรเลงในงาน สมาคมนักเรียนเกาอังกฤษในพระบรมราชูปถัมภ ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๐ ครูธาตรี ไดรับพระบรมราชานุญาต ใหเปนผูประพันธคํารอง ตอมาใน พ.ศ.๒๕๐๖ ไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหนาย Rual Maglapus อดีตสมาชิกวุฒสิ ภาของประเทศ ฟลิปปนส ประพันธคํารองภาษาอังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๕๐๔ ชวงที่บานเมืองอยูในสถานการณที่ไมนาไววางใจ สมเด็จพระนางเจาฯ พระบรม ราชินีนาถ ไดกราบบังคมทูลขอพระราชทานให ทานผูหญิงมณีรัตน บุนนาค แตงคํารองภาษาไทย เพลง เกิดเปนไทยตายเพื่อไทย เพิ่มขึ้นอีกเพลงหนึ่ง เพื่อปลุกจิตสํานึกใหคนไทยรักและหวงแหนแผนดินไทย ครูธาตรี หรือ วิชยั โกกิลกนิษฐ เขาสูว งการเพลงครัง้ แรก เมือ่ ป พ.ศ.๒๔๙๒ โดยแตง เพลงนํา้ ผึง้ รวง เปนเพลงแรกโดยครูอราม ขาวสะอาด เปนผูแตงทํานอง การแตงเพลงของครูธาตรี ในชวงแรก ๆ มักจะ แตงเปน กลอนแปด เพราะยังไมทราบวิธีการแตงเพลง แตก็มีความสนใจและพื้นฐานดานกาพยกลอน มากอน ในป พ.ศ.๒๔๙๓ ไดรวมงานกับ ชอุม ปญจพรรค และ ศิริ เต็มบุญเกียรติ ในกองบรรณาธิการ หนังสือโฆษณาสาร กรมโฆษณาการ และตั้งละครวิทยุคณะโฆษณาสาร แสดงนิยายประกอบเพลงไทยสากล เพื่อประชาสัมพันธนิตยสารโฆษณาสาร ดังกลาว จึงตองเขียนบทละครวิทยุ สลับกับ ชอุม ปญจพรรค คนละเดือน เปนเหตุใหเขาสูวงการเพลงอยางแทจริง โดยมี ครูสมพงษ ทิพยกะลิน เปนผูฝกสอน ถายทอด วิธีแตงเพลงใหเปนคนแรก


ข่าวทหารอากาศ

85

พ.ศ.๒๔๙๖ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้จัดการประกวดเพลงมาร์ชขึ้น คณะ โฆษณาสาร จึงส่งเพลงมาร์ชชาวไทย ที่ครูธาตรี แต่งค�าร้อง และ ครูสมพงษ์ ทิพยะกลิน แต่งท�านอง เข้าประกวด และได้รางวัลชนะเลิศ เป็นถ้วยทองค�าหนัก ๕ บาทและรางวัลเงินสด อีก ๔,๐๐๐ บาท ครูธาตรี แต่งเพลงละครวิทยุ ร่วมกันกับครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ และครูสมพงษ์ ทิพยะกลิน ให้ คณะโฆษณาสารอยู่นานหลายปี ครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งวงดนตรีกรมโฆษณาการ จึงรับ ครูธาตรี หรือ วิชัย โกกิลกนิษฐ เข้าร่วมแต่งเพลงให้ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ หรือ วงดนตรีสนุ ทราภรณ์ ซึง่ มี ครูแก้ว อัจฉริยะกุล และ สุรัฐ พุกกะเวส ประจ�าอยู่ก่อนแล้ว จากนั้นชื่อเสียงของ ครูธาตรี ก็เริ่มเป็นที่รู้จักในวงการ และ มีผลงานการแต่งค�าร้อง เพลงกว่า ๖๐๐ เพลง ซึ่งรวมทั้งเพลงที่แต่งให้ครูเพลงอื่น ๆ นอกจาก วงดนตรี สุ น ทราภรณ์ ด้วย ครูธาตรี เขียนเรื่องสั้ น บทละคร บทความ และเพลงประกอบละคร อยู ่ ในช่ วงปี พ.ศ.๒๔๘๕ - ๒๔๘๖ จึงได้มีโอกาสรู้จักกับ มานิจ ศรีสาคร เจ้าของนามปากกา สีน�้า คอลัมนิสต์ ข่าวสังคม ซึง่ โด่งดังมากในยุคนัน้ ทัง้ ยังเป็นเจ้าของนิตยสาร เดลิเมล์วนั จันทร์ ทีม่ แี ฟนคนอ่านแพร่หลายกว้างขวางมาก ได้ว่าจ้างให้ ครูธาตรีพิมพ์ต้นฉบับเรื่อง ธาตรี ของ ดวงดาว ซึ่งมี พระเอกชื่อ ธาตรี ครูจึงน�าเอา ชื่อ ธาตรี มาตัง้ เป็นนามปากกา เพราะถูกใจในบทของพระเอก ในนวนิยายเรือ่ งดังกล่าว ค�าว่า ธาตรี ซึง่ เป็นนามปากกา ของ วิชัย โกกิลกนิษฐ นั้น ไม่ใช่ ธม ธาตรี ซึ่งเป็นนามปากกาของ เชิด ทรงศรี ผู้สร้าง ผู้ก�ากับภาพยนตร์ ชื่ อ ดั ง ซึ่ ง เป็นผู้จัดท�า บทละครโทรทัศน์ เรื่ อ ง บนลานลั่ นทม และเรื่ อ ง เสี ย งกระซิ บจากเกลี ย วคลื่ น โดย ครูธาตรี เป็นผู้ประพันธ์ค�าร้องเพลงในบทละครโทรทัศน์ทั้งสองเรื่องดังกล่าว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า บทเพลงที่ ครูธาตรี แต่งค�าร้อง นั้น มีความไพเราะต่างไปจาก ครูแก้ว อัจฉริยะกุล / ครูสุรัฐ พุกกะเวส / ครูชอุ่ม ปัญจพรรค์ และ ครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ ด้วยการเลือกใช้ ค�าธรรมดาสามัญ ในการเล่าเรื่อง ถ่ายทอด ความรู้สึก และความหมายของเพลง ได้อย่างงดงามลงตัว เพราะมีพนื้ ฐานด้านการอ่านหนังสือ วรรณคดีโบราณของไทย และสืบสายโลหิตมาจากกวีเอก พระมหามนตรี (ทรัพย์) ที่กล่าวถึงมาแล้วในตอนต้นนั่นเอง โดยเฉพาะ บทเพลงหวาน ที่เกี่ยวกับ ความรัก ความผิดหวัง ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่นักร้อง วงดนตรีสุนทราภรณ์หลายต่อหลายคน เช่น เพลงจ�าได้ไหม (ยังจ�าได้ไหม... รวงทอง ทองลั่นธม) / เพลงกุญแจใจ (ขอขังใจเธอเอาไว้ด้วยใจของฉัน...อ้อย อัจฉรา) / เพลงน�้าตาดาว (เหม่อมองหมู่ดาว ที่พราวพร่างฟ้า...บุษยา รังสี) / เพลงสมมุติว่าเขารัก (ถูกตาต้องใจ...โฉมฉาย อรุณฉาน) เพลงสาวอัมพวา (โอ้ อัมพวา นี่หนางามจริง...นพดล ชาวไร่เงิน) ฯลฯ

เพลงไกลกังวล ท�ำนอง ร.๙ ค�ำร้อง ธำตรี อยู่ไกลกังวล หาดทรายและน�้า ไม่มีหาดไหน คลื่นครวญคลอเคล้า ค�่าคืนไม่เหงา ไม่มีความทุกข์ ได้ยินแต่เสียง สนุกกันทั้ง รุ่งอรุณแล้ว แต่ใจยังเหลือ สนุกจริงหนอ โต้ลมฉ�่าชื้น โน่นเดือนยังค้าง

ชนม์ชื่นฉ�่า น�าไกลเศร้า งามเทียมเท่า วอนรักฝั่ง เราเริงสุข ใดมาบัง ดนตรียัง ยามค�่าคืน ฟ้าเรืองเรื่อ ความเริงรื่น คลอเสียงคลื่น ยามพลิ้วผ่าน ฟ้าลอยเด่น


86

แตเราไมเวน แขงกันคอยรับ สนุกสนาน

ความสําราญ ทิวาวาร กันเถิดเอย

เพลง When คํารอง นาย Rual Maglapus When twilight falls, stars appear; When winter ends, spring is here; When storm clouds pass, skies are clear, When I’m alone you are near. When breezes blow, birds fly high; Where flowers bloom, bees are night; Whenever rainbows fill the sky. In my lone heart you pass by. Oh won’t you please tell me when, We two would meet once again. I miss your sweet lovely face, The thrill of your warm embrace. You left me feeling so blue, Now that I’ve cried over you. I’ve got the blues now and then, So won’t you please tell me when. เพลงเกิดเปนไทย ตายเพื่อไทย คํารอง ทานผูหญิงมณีรัตน บุนนาค เกิดเปนไทยแลวใจตองสู ศัตรูหนาไหนไมเกรงกริ่ง เผาไทยเดิมลวนคนใจเด็ด ตางรักษาไวแดนกําเนิด ปกครองรักษาทําหนาที่ สิ้นเมืองไทยแลวใครอยูได เผาไทยเราพรอมอาสาสมัคร เสี่ยงภัยทั้งผองปองความดี

ถิ่นไทยเรารูเรารักยิ่ง หากมาชวงชิงตายเสียเถิด แกรงดังเหล็กเพชรชูชาติเชิด เกิดเปนไทยแลวจําใสใจ หวงเมืองไทยนี้ใหยิ่งใหญ ชาติไทยคงไรความเสรี เด็ดเดี่ยวยิ่งนักยอมชีพพลี ปกปองปฐพีตายเพื่อไทย


ขอบฟ้าคุณธรรม

ข่าวทหารอากาศ

รู้จักพอ ซื่ อตรง รับผิดชอบ คิดบวก .. มองไปข้างหน้า .. แก้ไขที่ตัวเรา

โดย 1261

... อยา่ ท�าคนดี ใหน อยา่ ปลอ่ ยคนชัว่ ...ให้ลอยนวล ... ... เป็ คนพึว่งพาตนเองได้ ้หมองมั

ผู้เขียนได้ไปพักผ่อนที่ ป่าสักไซต์ฮิลล์รีสอร์ทที่ อ�าเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ตอนเหนือของเขือ่ นป่าสัก ชลสิทธิ์ เป็นที่พักในเครือของบริษัท เบทาโกร ที่ผลิต อาหารหลายชนิด และในบริเวณที่พักมีพื้นที่สาธิตการ ด�ารงชีวติ แบบเศรษฐกิจพอเพียง มีการแบ่งพืน้ ที่ ท�านา ท�าสวน เลีย้ งสัตว์ และปลูกผัก กิจกรรมชุมชน และการ จัดท�าบัญชีครัวเรือน ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่เคย ได้ทราบกันมา เปิดให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชมได้ทุกวัน พอได้เห็นในพื้นที่จริง ๆ ท�าจริง ๆ ก็ท�าให้เข้าใจเรื่องนี้ ได้ดีขึ้น เนื่องจากผู้เขียนเป็นคนบ้านนอก เป็นชาวนา ชาวสวน มาก่อน จึงเข้าใจการท�านา ท�าสวน แต่ผู้เขียน ก็ไม่เข้าใจขบวนการจัดการ ทีเ่ ป็นหัวใจของเรือ่ งนีด้ พี อ

87

เดินดูไปเพลิน ๆ จึงเข้าใจว่า ทีจ่ ริงเรือ่ งนีค้ วามส�าคัญไม่ใช่ อยู่ที่การจะท�าอะไร ท�าอย่างไร เพราะชาวบ้านเขารู้ อยู่แล้ว ท�าเป็นอยู่แล้ว แต่สิ่งส�าคัญคือการจัดการพื้นที่ ทีม่ ใี ห้สามารถมีกนิ มีใช้ได้ทง้ั ปีและตลอดชีวติ ในหลากหลาย รู ป แบบ ใครมี ม ากมี น ้ อ ยก็ จั ด การไปตามสภาพ ของตน ให้พึ่งพาตนเองได้อย่างพอเพียง แบ่งปันเพื่อน บ้านในชุมชน พึง่ พาอาศัยกันได้แบบไทย ๆ ซึง่ เป็นหัวใจ ของเรื่อง เมือ่ ผูเ้ ขียนกลับจากพักผ่อน จึงมาค้นพระราชด�ารัส ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เกี่ยวกับเรื่องนี้ และได้ฟัง พระราชด�ารัสเมือ่ วันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑ อีกครัง้ หนึง่ ใครอยากฟังก็หาฟังได้จาก YouTube นอกจากนี้ยังได้


88

อ่านข้อสรุปที่ส�าคัญในเรื่องนี้ ซึ่งผู้เขียน คงไม่กล้าสรุปเอง แต่มีเว็ปไซต์ที่สรุปไว้ ใช้ชื่อว่า Krapook unpan ซึ่งผู้เขียน ขออนุญาตคัดลอกมาย่อ ๆ ดังนี้ แนวทางที่ชุมชนน�าหลักการปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ไปปฏิบัติอย่างแพร่หลายคือ แนวทางการพึ่งตนเอง ๕ ด้าน ประกอบ ด้วย ๑. การพึ่ ง ตนเองด้ า นเศรษฐกิ จ มีข้าว ปลา ผัก ผลไม้ เพียงพอเพื่อการ ยั งชี พ และน� า ส่ ว นเกิ น เข้ า ร่ ว มกั บ การ พัฒนาเศรษฐกิจของชาติ โดยมีแนวทาง หลักที่เรียกว่า เกษตรอินทรีย์วิถีชุมชน ๒. การพึ่งตนเองทางสังคม เป็นการ ด�ารงชีวิตอยู่ในชุมชน ด้วยการช่วยเหลือ เกือ้ กูลกันในครอบครัวและ ในชุมชน เช่น มีโรงน�า้ ปลาขนาดเล็ก มีเขียงหมูทพี่ อเพียง ในหมู ่ บ ้ า น มี ก ารขายผั ก ปลา ผลไม้ มีแหล่งทุนที่ไม่ได้เน้นผลก�าไรเป็นหลัก มี ค ลิ นิ ก รั ก ษาพยาบาลเบื้ อ งต้ น มี ก าร แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ใ นการผลิ ต และการ ด�ารงชีวิตที่ดีภายในชุมชน ๓. การพึง่ ตนเองด้านทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการ ด�ารงชีวิตด้วยการพัฒนาศักยภาพของคน การส่งเสริม ภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ และการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การปลูกไม้ในลักษณะวนเกษตร ที่เหมาะสมกับ สภาพดินน�้าและอากาศของท้องถิ่น ๔. การพึ่งตนเองด้านเทคโนโลยี ด�าเนินชีวิตด้วย เทคโนโลยีทคี่ ดิ ค้นได้เองในท้องถิน่ เช่น วิธกี ารเลีย้ งสัตว์ การเลี้ ย งปลา การทดน�้ า การใช้ ส มุ น ไพรทดแทน สารเคมี และทดแทนยารักษาโรคทีต่ อ้ งซือ้ ในราคาแพง ๕. การพึ่ ง ตนเองด้ า นจิ ต ใจ ยึ ด หลั ก ธรรมของ ศาสนาในการด�าเนินชีวิต ไม่โน้มเอียงไปตามกระแส บริโภคนิยม เหล่านี้คือหลักการที่ส�าคัญของการพึ่งพาตนเองที่

ใครเข้าใจและลงมือท�าคงจะมีชีวิตที่มีความสุขได้ตาม อัตภาพ ผู้เขียนอ่านเรื่องนี้แล้วก็ท�าให้นึกได้ว่าครั้งหนึ่ง เคยฟั ง เทศน์ ข องพระราชธรรมนิ เ ทศ (พระพยอม กัลยาโณ) เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว เรื่องการพึ่งพาตนเอง ในอีกมุมหนึ่ง ซึ่งมีหลักคิดที่น่าสนใจที่ผู้เขียนพอจ�าได้ จึงจะน�ามาเล่าให้ฟงั เพือ่ เสริมเพิม่ เติมจากเรือ่ งนีใ้ ห้ครบถ้วน ทั้งการด�ารงชีวิตที่เป็นสุขอย่างพอเพียง และหลักคิด ทีน่ า� พาจิตใจให้พงึ่ พาตนเองได้ในข้อที่ ๕ เรือ่ งส�าคัญ ๆ ที่ ผู ้ เ ขี ย นถื อ ว่ า เป็ น ประโยคทองของหลวงพ่ อ พระพยอมฯ ทีผ่ เู้ ขียนจ�าได้แม่นย�า เช่น ... เวลาเอาเหล้า ให้ ห มากิ น หมามั น ยั ง ไม่ กิ น เลย แต่ ค นกิ น เหล้ า กันทัง้ บ้านทัง้ เมือง แสดงว่าคนทีก่ นิ เหล้านัน้ แย่กว่าหมา หรือคุณจะเดินทางไปวัดด้วยตัวเองหรือจะให้คนเขา


ข่าวทหารอากาศ

หามไป หรือคุณจะพนมมือไหว้พระเองหรือจะรอให้ สั ป เหร่ อ จั บ พนมมื อ หรื อ คุ ณ จะสวดมนต์ เ องหรื อ จะให้คนมาเคาะโลงเรียกให้ฟงั พระสวดมนต์ การนึกถึง ค�าสอนของหลวงพ่อพระพยอมฯ นัน้ ไม่ใช่เรือ่ งบังเอิญ ส�าหรับผูเ้ ขียน ผูเ้ ขียนนึกถึงท่านบ่อย ๆ เพราะค�าเทศน์ ของท่านนี่แหละท�าให้ผู้เขียนเตรียมรูปที่ต้องใช้ในงาน ที่วัดไว้เรียบร้อย และเอาแขวนไว้ที่ใกล้ ๆ โต๊ะทานข้าว ทุกครั้งที่นั่งทานข้าวก็จะเห็นรูปนี้ อารมณ์ดี ๆ ผู้เขียน ก็จะนึกในใจว่า "หลวงพ่อว่าผมไม่ได้แน่ ๆ ผมรู้นะว่า รูปผมที่อยู่นอกโลงนั้นหล่อแค่ไหน" ท�าให้ผู้เขียนได้ นึกถึง มรณานุสติ ทุก ๆ วัน ส�าหรับ เรื่ อ งนี้ ก็ จ ะอาศั ย แนวทางของท่ า น กล่าวถึงการช่วยเหลือตนเองทางจิตใจ ดังต่อไปนี้ ๑. ท่ า นต้ อ งนึ ก ไว้ เ สมอ ๆ ว่ า ท่านจะไปโรงพยาบาลเองหรือท่านจะ รอให้รถพยาบาลมารับท่านไป เราทุก คนอาจจะเผลอลืมไปว่า เรามีโอกาส เจ็ บ ป่ ว ยต้ อ งไปโรงพยาบาลได้ เ ท่ า

เทียมกัน ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ชรา หรือผู้ป่วยเรื้อรังที่ อยูบ่ า้ น โรงพยาบาลนัน้ ทุกคนต้องได้ไปแน่ ๆ เพราะต้อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่นี่แน่นอน และบางกรณีก็ต้องไป เพราะเจ็บป่วยฉุกเฉิน เพราะอุบัติเหตุ หรือไปเยี่ยมคน อื่น ๆ เมื่อต้องไปแน่ ๆ ก็ควรมีการเตรียมข้อมูลเกี่ยว กับโรงพยาบาลให้พร้อม การขึ้นบัตร การรอเข้าตรวจ การรอรับยา รวมทัง้ ศึกษาเรือ่ งราวเกีย่ วกับการเจ็บป่วย ไว้บ้างเพื่อช่วยเหลือปฐมพยาบาลตนเองหรือคนใน ครอบครัว และที่ส�าคัญที่สุดท่านต้องเตรียมใจไว้ให้ พร้อมที่จะไปโรงพยาบาลและพร้อมที่จะ ต้องอยู่ที่

89


90

โรงพยาบาล เรื่องการเตรียมใจนี่แหละส�าคัญ แม้ว่า โรงพยาบาลจะไม่ใช่โรงแรมทีพ่ กั ทีน่ า่ ไป แต่เมือ่ ต้องไป ก็ ค วรไปอย่ า งมี ค วามสุ ข และสนุ ก ที่ ไ ด้ ไ ป ไม่ ใ ช่ ไ ป โรงพยาบาลอย่างมีความทุกข์ใจ สิ่งที่ควรฝึกงานอยู่ เสมอ ๆ คือการไปตรวจสุขภาพทีโ่ รงพยาบาล เป็นเรือ่ ง แปลกแต่จริงที่คนเราเสียเงินมากมายไปกับ การเที่ยว การกิน แต่ถ้าจะเสียเงินเพื่อตรวจสุขภาพตัวเองในช่วง เวลาที่เหมาะสมจะเสียดายเงินและไม่ยอมท�า การไป ตรวจสุขภาพตนเองนัน้ มีประโยชน์หลายด้าน นอกจาก ผลด้านสุขภาพแล้ว ยังเป็นการท�าความคุ้นเคยกับ ขบวนการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลนั้น ๆ รู้จัก อดทนรอคอย รูจ้ กั แบ่งปันให้กบั ผูส้ งู อายุหรือผูเ้ จ็บป่วย หนัก ที่ส�าคัญท่านจะได้เห็นว่า แพทย์และพยาบาลนั้น มีงานมากแค่ไหน เหน็ดเหนื่อยแค่ไหน ได้เห็นคนไข้ มากมายอันเป็นสัจธรรมของชีวิต ได้ดู ได้รู้ ได้เห็น เป็นการเตรียมใจทีด่ ที สี่ ดุ ก่อนถึงวันทีร่ ถพยาบาลจะมา รับท่านไป ๒. ท่านต้องนึกอยู่เสมอว่าท่านจะหายใจเองหรือ จะรออาศัยเครือ่ งช่วยหายใจ แน่นอนว่า ทีโ่ รงพยาบาล นั้นมีเครื่องช่วยหายใจ ส�าหรับผู้ที่หายใจด้วยตนเอง ไม่สะดวก ซึง่ สาเหตุการเจ็บป่วยนัน้ อาจมีมากมาย และ หากจ�าเป็นก็ต้องเป็นไปตามขั้นตอนการรักษา แต่ก็มี สาเหตุอีกมากมายที่เกิดจากการไม่รักษาสุขภาพของ ผู้ป่วย ในโลกนี้ไม่มีการบังคับให้ใครสูบบุหรี่ แต่เพราะ บุหรี่เป็นสาเหตุส�าคัญเรื่องหนึ่งที่ท�าให้ต้องใช้เครื่อง ช่วยหายใจ รวมทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่มีปัญหาจากการกินแบบไม่เอาใจใส่และการขาดการ ออกก�าลังกาย ซึ่งสุดท้ายก็ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ถ้าเราเอาใจใส่เรื่องนี้ดี ๆ เราก็จะหายใจได้เองอีกนาน โดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อ้างอิง - www.Ku.ac.th/kunews/ku72 - www.krapook unpan - www.prachachat.net - www.10-pr.org/sara-naru-04-12-61

๓. ท่านต้องนึกไว้เสมอ ๆ ว่าท่านจะไปวัดไหว้พระ เอง ฟังเทศน์เองหรือจะให้สัปเหร่อท�าให้ทุกอย่าง ค�า พูดเหล่านี้คงมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นเตือนให้ผู้ฟังได้ ระลึกถึงเรื่องที่ควรแบ่งเวลามาปฏิบัติในสิ่งเหล่านี้บ้าง เพื่อให้การด�ารงชีวิตอยู่ในสังคมที่วุ่นวายนี้ มีจุดยึด เหนี่ยว การไปวัด ไหว้พระ ฟังธรรม เป็นสิ่งที่ท�าให้ใจ คนเราสงบ มีสติ เป็นประโยชน์ตอ่ การด�ารงชีวติ แต่ตอ้ ง ท�าด้วยตนเองเท่านั้น ฝากกันไม่ได้ ที่ผู้เขียนยกตัวอย่างการคิดแบบพึ่งตนเองมาเพียง ๓ หัวข้อที่เกี่ยวกับ โรงพยาบาล กับ วัด เพราะต้องการ เตือนสติว่าสถานที่ ๒ แห่งนี้เราทุกคนต้องไปแน่นอน แต่ก่อนที่จะไปเราควรจะต้องพึ่งตนเองให้ถึงที่สุดก่อน จะเป็นการดี ดังสุภาษิตที่เราท่องมาตลอดว่า ... อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ... ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๑ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย ผบ.ทอ.พรอมดวย พญ.วิไลภรณ วงษวาทย นายกสมาคมแมบาน ทอ. เปนประธานฝายฆราวาส ในการประกอบพิธีบวงสรวงและยกเสาเอก หอพระพุทธศาสดาประชานาถ ณ สถานีรายงานดอยอินทนนท จว.เชียงใหม เมื่อวันที่ ๑๙ มิ.ย.๖๓

พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย ผบ.ทอ.ตรวจเยี่ยม และใหกําลังใจ จนท.ควบคุมการสอบ และผูเขารับ การทดสอบภาควิชาการ นตท.(ในสวนของ ทอ.) ประจําป ๒๕๖๓ ณ รร.ยุพราชวิทยาลัย จว.เชียงใหม วิทยาลัยนครราชสีมา จว.นครราชสีมา และ มธ.ศูนยรังสิต จว.ปทุมธานี เมื่อวันที่ ๒๐ มิ.ย.๖๓

พล.อ.อ.มานัต วงษวาทย ผบ.ทอ.ใหการตอนรับ คุณฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการ และประธาน เจาหนาที่บริหาร บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต กรุป จํากัด (มหาชน) เพื่อรวมหารือเรื่องโครงการจิตอาสา ภาคประชาชน ณ หองรับรองพิเศษ ๑ บก.ทอ. เมื่อวันที่ ๒๓ มิ.ย.๖๓


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๒

พล.อ.อ.วีรพงษ นิลจินดา รอง ผบ.ทอ.พรอมคณะ ตรวจเยี่ยมอาคารฝกทดสอบสมรรถภาพ ๑, ๒ และ ศูนยบริการกําลังพลแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อจัดระเบียบใหเปนไปดวยความเรียบรอย โดยมี พล.อ.ต.อาณัติ เดชพร จก.สก.ทอ.ใหการตอนรับ เมื่อวันที่ ๑๘ มิ.ย.๖๓

พล.อ.อ.สิทธิชยั แกวบัวดี ผช.ผบ.ทอ.เปนผูแ ทน ทอ.ตรวจเยีย่ มการปฏิบตั งิ านของ จนท.จากหนวยงาน ทุกภาคสวนที่ใหการสนับสนุนการควบคุมโรค ในพื้นที่กักกันโรคแหงรัฐ เพื่อรองรับกลุมผูเฝาระวังที่จะ เดินทางกลับจากตางประเทศ ณ Divalux Resort and Spa Hotel จว.สมุทรปราการ เมือ่ วันที่ ๑๖ มิ.ย.๖๓

พล.อ.อ.สุทธิพันธุ ตายทอง เสธ.ทอ.เปนประธานในพิธีมอบรางวัลนิรภัยภาคพื้น กองทัพอากาศ (RTAF Safety Award) ประเภทหนวยและบุคคล ประจําป ๒๕๖๒ ณ หองประชุมเวหาสยานศิลปสิทธิ์ เมื่อวันที่ ๑๖ มิ.ย.๖๓


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๓ ขาวทหารอากาศ

พล.อ.ท.ตรีพล อองไพฑูรย จก.กร.ทอ.เปนผูแ ทน ผบ.ทอ.ในกิจกรรม “กองทัพอากาศ รวมใจปลูกตนไม เนื่องในวันสิ่งแวดลอมโลก” ตามโครงการ “รวมใจไทยปลูกตนไมเพื่อแผนดิน” สืบสานสู ๑๐๐ ลานตน ณ ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม ๒๐๖ (วัฒนานคร) จว.สระแกว เมื่อวันที่ ๕ มิ.ย.๖๓

พล.อ.ท.เกรี ย งไกร โสธรชั ย จก.พอ.เป น ประธานในพิ ธี เ นื่ อ งในวั น คล า ยวั น สถาปนา วพอ.พอ. ซึ่งประกอบดวย พิธีบวงสรวงอนุสาวรีย จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ผูกอตั้ง วพอ.พอ. พิธีสงฆ และพิธีทอดผาปาการศึกษา ณ วพอ.ทอ. เมื่อวันที่ ๑๖ มิ.ย.๖๓

พล.อ.ท.เดชอุดม คงศรี ผบ.รร.นนก.เปนประธานในการอบรมการประเมินผลการปฏิบตั งิ านกําลังพล ทอ. ดวย QR Program โดยมี น.อ.หญิง สุวมิ ล สมัตถะ หก.กปศ.บก.รร.นนก.บรรยายใหความรู ณ หองประชุม อาคารวิศวกรรมศาสตร กกศ.รร.นนก. เมื่อวันที่ ๑๕ มิ.ย.๖๓


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๔

พล.อ.ต.เรืองวิทย ศรีนวลนัด จก.ชย.ทอ.พรอมดวยผูออกแบบและทีมกอสราง ชย.ทอ.เขาพื้นที่เตรียม ความพรอม พิธียกเสาเอก งานสรางหอพระ พระพุทธศาสดาประชานาถ ณ สถานีรายงานดอยอินทนนท อ.จอมทอง จว.เชียงใหม เมื่อวันที่ ๑๘ มิ.ย.๖๓

พล.อ.ต.อาณัติ เดชพร จก.สก.ทอ.เปนประธานในพิธมี อบทุนการศึกษาของ ทอ. ทุนการศึกษาของ สก.ทอ. และทุนการศึกษาของ สอ.สก.ทอ.ประจําป ๒๕๖๓ ใหแก บุตรขาราชการ ลูกจางประจํา และพนักงาน ราชการ สก.ทอ. ณ อาคารอเนกประสงค สมส.ทอ.ชั้นสัญญาบัตร (หองเบญจมาศ) เมื่อวันที่ ๒๒ มิ.ย.๖๓

พล.อ.ต.ธรรมนาย สุขแสง ผบ.ดม.เปนประธานในพิธีมอบทุนการศึกษา สน.ผบ.ดม.ประจําป ๒๕๖๓ ใหแก บุตรขาราชการ ลูกจางประจํา และพนักงานราชการ สน.ผบ.ดม. ณ หองอเนกประสงค กวก. สน.ผบ.ดม. เมื่อวันที่ ๒๒ มิ.ย.๖๓


INSIDE THE AIR FORCE

ในรั้วสีเทา

๙๕ ขาวทหารอากาศ

น.อ.เจริญ วัฒนศรีมงคล ผบ.บน.๑ เปนประธานในพิธมี อบทุนการศึกษาใหแกบตุ รขาราชการ ลูกจางประจํา และพนักงานราชการ บน.๑ ประจําป ๒๕๖๓ ณ อาคารธูปะเตมีย บน.๑ จว.นครราชสีมา เมื่อวันที่ ๒๓ มิ.ย.๖๓

น.อ.จุมพล จันทขัมมา ผบ.บน.๒ เปนประธานในพิธีมอบเครื่องบริโภคที่จําเปนใหแกกําลังพล บน.๒ ประกอบดวย ขาวสารหอมมะลิ และไขไก เพื่อเปนการชวยลดภาระคาใชจายในชวงการแพรระบาด ของเชื้อไวรัส COVID-19 ณ หอประชุมกานตรัตน บน.๒ จว.ลพบุรี เมื่อวันที่ ๑๙ มิ.ย.๖๓

น.อ.วัชรพล นวลเปนใย ผบ.บน.๒๑ ตรวจเยี่ยม และใหกําลังใจ จนท.ควบคุมการสอบ และผูเขารับ การทดสอบภาควิชาการ นตท.(ในสวนของ ทอ.) ประจําป ๒๕๖๓ ณ รร.อัสสัมชัญ จว.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๐ มิ.ย.๖๓


ในรั้วสีเทา

INSIDE THE AIR FORCE ขาวทหารอากาศ ๙๖

น.อ.ชนาวีร กลิ่นมาลี ผบ.บน.๒๓ ตรวจเยี่ยม และใหกําลังใจ จนท.ควบคุมการสอบ และผูเขารับ การทดสอบภาควิชาการ นตท.(ในสวนของ ทอ.) ประจํ า ป ๒๕๖๓ ณ วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี บ า นจั่ น ต.บานจั่น อ.เมือง จว.อุดรธานี เมื่อวันที่ ๒๐ มิ.ย.๖๓

น.อ.นรุธ กําเนิดนักตะ ผบ.บน.๔๑ นําทหารกองประจําการ พัน.อย.บน.๔๑ จํานวน ๕๐ นาย รวมกิจกรรม จิตอาสาพัฒนาคลองแมขา จว.เชียงใหม ตั้งแตบริเวณถนนมหิดล จนถึงบริเวณสะพานเวียงพิงค โดยการ กําจัดขยะ วัชพืช การปรับปรุงภูมิทัศน และการบําบัดนํ้าเสีย เมื่อวันที่ ๒๑ มิ.ย.๖๓

น.อ.พานิช โพธิ์นอก ผบ.กกล.ทอ.ฉก.๙ เปนผูแทน ทอ.มอบมุงกันยุงทหาร ใหัแก นายจรัญ จันทรปาน นายอําเภอหนองจิก จว.ปตตานี เพื่อใชอํานวยความสะดวกสําหรับผูที่ตองกั กตัวเปนเวลา ๑๔ วัน ณ ศูนยปอ งกันและควบคุมเชือ้ ไวรัส COVID-19 อ.หนองจิก ณ กกล.ทอ.ฉก.๙ จว.ปตตานี เมือ่ วันที่ ๑๙ มิ.ย.๖๓


ข่าวทหารอากาศ

97

โครงการ ทัพฟาชวยไทย ตานภัย COVID-19

“ขนขาวชาวนา เปลีย่ นปลาชาวเล”

ร.อ.หญิง วิวัสวัน เปลงวิทยา

เนื่องจากในชวงที่ผานมา เราเห็ นป ญ หา ปากทองที่มีอยูมากมายในทุกภูมิภาคของประเทศ กองทัพอากาศของพวกเราโดยทานผูบ ญ ั ชาการทหาร อากาศ ไดริเริ่มโครงการนํารองที่ทุกคนนาจะไดเห็น กันตามหนาสื่อกันมาแลวบาง นั่นก็คือ “โครงการ ขนขาวชาวนา เปลี่ยนปลาชาวเล” แคชื่อโครงการ ก็เห็นภาพกันแลวนะคะ ที่มาของโครงการนี้ เกิดจาก การที่ ช าวเล ในจั ง หวั ด ภู เ ก็ ต และจั ง หวั ด พั ง งา หาปลาและอาหารทะเลได แต ไ ม มี ที่ จํ า หน า ย เนื่ อ งจากมาตรการล็ อ กดาวน ที่ ไ ด มี ก ารสั่ ง ป ด รานอาหาร และหางรานตาง ๆ สวนที่มาของขาวสาร

จั ง หวั ด ยโสธรก็ เ นื่ อ งจากเมื่ อ ป พ.ศ.๒๕๕๙ ทาง กองทัพอากาศ ไดจัดโครงการทัพฟาชวยชาวนา โดยการช ว ยเหลื อ ประชาชน จั ง หวั ด ยโสธร ที่ มี ปญหาในเรื่องการจําหนายขาว ใหมาจําหนายขาว ที่สนามกีฬากองทัพอากาศ (ธูปะเตมีย) ในเวลานั้น ซึ่งทําใหเรารูจักขาวหอมมะลิยโสธร ทางกองทัพ อากาศ จึงไดนาํ ทัง้ สองโครงการนีม้ าพบกันโดยไมตอ ง ผานพอคาคนกลาง โดยกองทัพอากาศจะทําหนาที่ ในการขนสงสินคาใหเพือ่ ชวยบรรเทาความเดือดรอน ของพี่นองประชาชนในกิจที่เราพึ่งจะกระทําได


98

เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ที่ผานมาผูเขียน ไดโดยสารเครื่องบิน C-130 ของพวกเรา ติดสอย ห อ ยตามคณะของ รองเสนาธิ ก ารทหารอากาศ พล.อ.ท.ธนศักดิ์ เมตะนันท ซึง่ เปนผูแ ทนผูบ ญ ั ชาการ ทหารอากาศ เดินทางไปที่ทาอากาศยานนานาชาติ ภูเก็ต เพื่อพบปะและสงมอบสินคาในโครงการฯ ใหกับผูวาราชการจังหวัดพังงา และผูแทนหนวยงาน ที่เกี่ยวของในพื้นที่ดวย และไดทราบวาโครงการฯ นี้ มีแผนการดําเนินงานเพื่อเปนแบบอยางใหอีกหลาย หนวยงานไดเขามาชวยเหลือพีน่ อ งประชาชนรวมกัน โดยกองทัพอากาศไดปฏิบตั ภิ ารกิจสนับสนุน การขนสงแลกเปลี่ยนสินคาระหวาง จังหวัดพังงา จังหวัดพะเยา และจังหวัดศรีสะเกษ รวมถึงบางสวน ในพื้นที่ทุงกุลารองไหดวย โดยในเฟสแรกเมื่อ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๓ และเฟสที่ ๒ ระหวางวันที่ ๒๐ - ๒๙ พฤษภาคมทีผ่ า นมา โดยกองทัพอากาศไดจดั เทีย่ วบิน ขึ้นบินในภารกิจลําเลียงแลกเปลี่ยนสินคานี้ ตั้งแต ทาอากาศยานนานาชาติแมฟาหลวง, ทาอากาศยาน ทหาร กองบิน ๒๑ จังหวัดอุบลราชธานี, ทาอากาศยาน ทหาร กองบิน ๖ ดอนเมือง และนําสงลงไปยังพื้นที่ ภาคใตกันที่ทาอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต โดยมีสินคาทางการเกษตรที่แลกเปลี่ยนกันทั้งหมด ไดแก ขาวสารหอมมะลิ ปลาฉิ้งฉาง กะป มะมวง สัปปะรด ปลาตากแหง รวมถึง มังคุด จากโครงการ ชวยเหลือเกษตรกรภาคตะวันออก ที่กองทัพอากาศ รับซื้อจากเกษตรกร จังหวัดระยอง จันทบุรี และ ตราดดวย เพื่อเปนสวนหนึ่งของการชวยกระจาย รายได


ข่าวทหารอากาศ

99

การแลกเปลี่ยนสินคาในครั้งนี้ เปนการนํา กลไกสหกรณ เ ข า มาช ว ยบริ ห ารจั ด การ มุ  ง เน น การช ว ยเหลื อ ตนเองและช ว ยเหลื อ ซึ่ ง กั น และกั น และนําการเชื่อมโยงเครือขายธุรกิจระหวางสหกรณ เขามาดําเนินการ โดยผานสหกรณการเกษตรแตละ จังหวัด และหนวยงานของรัฐอื่น ๆ ซึ่งรองเสนาธิการ ทหารอากาศ ยั ง ได ยํ้ า ในการให สั ม ภาษณ ไ ว ว  า “โครงการทั พ ฟ า ช ว ยไทย ต า นภั ย COVID-19” เปนโครงการตอเนื่องและตอยอดจากการที่กองทัพ อากาศไดเขาไปชวยเหลือและบรรเทาความเดือดรอน ใหกับเครือขายเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนผาน โครงการตาง ๆ ที่กอนหนานี้เราไดปฏิบัติมา อาทิ โครงการทัพฟาชวยชาวนา และโครงการขนขาว ชาวนาเปลีย่ นปลาชาวเล เปนตน โดยในครัง้ นีเ้ ปนการ ร ว มกั บ กลุ  ม เครื อ ข า ยที่ ส ามารถช ว ยเหลื อ ตั ว เอง ไดแลว แตมีขอจํากัดในการหาตลาด ระบายสินคา และมีความตองการแบงปนความชวยเหลือไปสูกลุม เครือขายใหม จึงกอเกิดเปนความรวมมือภายใต แนวคิด “ทัพฟามาประชิด ชวยธุรกิจเพื่อสังคม” โดยใชชั่วโมงบิน การฝกบินเครื่องบินลําเลียง C-130 มาสนับสนุนการขนสงทางอากาศ” ทั้ ง นี้ ผู  บั ญ ชาการทหารอากาศยั ง คงหวั ง เปนอยางยิ่งวา ในยามวิกฤติเชนนี้พวกเราอยากที่จะ เห็นหนวยงานภาครัฐหนวยอื่น ๆ นําโครงการนี้ไปใช เปนตัวอยางเพือ่ ผลประโยชนของพีน่ อ งประชาชนตอไป ในการนี้ผูเขียนตองขอชื่นชม ปรบมือ และ เป น อี ก หนึ่งกําลังใจใหกับทีมงานรวมถึง กํ า ลั ง พล ทุกนาย ทุกหนวยงานของกองทัพอากาศที่ไดตั้งใจ ปฏิบัติหนาที่ไมวาจะสวนใด เพื่อใหภารกิจนี้สําเร็จ ไปไดดวยดี ทําใหเห็นวาในยามลําบาก พวกเราก็จะ ไมทิ้งกัน

เครดิตภาพถาย กองการภาพฯ


ทอ. “รวมใจไทย ปลูกต นไม เพื่อแผ นดิน” สืบสานสู ๑๐๐ ล านต น


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.