สารสถาบัน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ฉบับที่ 11

Page 1

ฉบับที่ 11 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

สารสถาบันฯกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2556 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Research Institute for Health Sciences, Chiang Mai University

ผอ. อยากคุย ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์

สารสถาบันฯ 01-03 ผอ. อยากคุย (จริงๆ) 04-12 เล่าขานงานวิจัย 13-29 News & Event 30

ตารางกิจกรรม

31-35 ซุปซิบสร้างสรรค์ 36-37 บอกกล่าวรอบบ้าน 38-56 ย่ำ�เท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก 57-61 เรื่ องสัน้ เร้ าพลัง

ที่ปรึกษา

ศ. นพ. สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ รศ. พญ. อัมพิกา มังคละพฤกษ์ ศ. นพ. ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผศ. นพ. อภินันท์ อร่ามรัตน์ ผศ. นพ. เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย

กองบรรณาธิการ นางบุปผา ประภาลักษณ์ นางสาวอริยา สิงหประเสริฐ นางปภาวดี ดำ�รงมณี นางสาวทัศนวรรณ บริบูรณ์ นางสาวอุวรรณา รัตนศรี นายวิโรจน์ แก้วตุ้ย นายพิพัฒน์พงศ์ ตุลาพงษ์พิพัฒน์

(จริงๆ)

ขอต้อนรับชาวสถาบันฯ ทุกท่านเข้าสู่ปีมะเส็งหรือปีงูเล็ก ปี พ.ศ. 2556 ขออ�ำนวยอวยพรให้ชาวสถาบันฯ ทุกท่านจงประสบพบแต่สิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิตในตลอด ปีใหม่นี้เทอญ ขอให้เป็นคนคิดดี ท�ำดี และคิดบวกให้เป็นนิสัย มีสุขภาพร่างกายที่ แข็งแรงและจิตใจที่เข้มแข็ง เป็นที่รักของเพื่อนร่วมงานทั่วทุกท่าน ส�ำหรับในปีงูเล็กนี้ หากสาวโสดสถาบันฯ ท่านใดนอนหลับฝันหวานว่ามีงูมารัดตัว ก็ขอให้โชคดีได้พบปะ ชายผู้เป็นที่รัก และได้แต่งงานสละโสดตามเพื่อน ๆ ไปในปีนี้ ถ้าท่านใดมีข่าวดี ฝันว่ามีงู มารัดเมื่อไหร่ ยังไงก็แจ้งบอกกันมาด้วย จะได้ตามดูว่า ค�ำท�ำนายนี้จะแม่นจริงไหม? แต่ถ้าเกิดเป็นหนุ่มโสดสถาบันฯ นอนหลับฝันว่ามีงูมารัดตัว อันนี้ก็ไม่รู้ว่าเราจะตีความ เหมือนกับการท�ำนายฝันของคุณผู้หญิงหรือไม่ ยังไงชาวหนุ่ม (เหลือ) น้อยหรือหนุ่ม (เหลือ) มากท่านใด หากเกิดฝันว่ามีงมู ารัดตัว ถ้าได้ไปเจอะเจออะไรมาบ้าง ก็มาแจ้งผล ให้รู้ด้วย จะได้บันทึกเก็บเอาไว้เป็นหลักฐาน แต่ที่ยังแอบนึกสงสัยอยู่ในใจก็คือ ไม่รู้ ท่านหนุ่มของเราจะได้พบชายผู้เป็นที่รัก หรือ พบหญิงผู้เป็นที่รักนะสิ ยังไงก็ขอให้พบ แต่คนดี ๆ จะเป็นชายก็ได้ หญิงก็ดี ขอให้เธอรักฉัน และฉันรักเธอ ก็โอเคแล้ว แต่ที่ต้อง ขอเตือนทุกท่านไว้ก่อนทั้งหนุ่มและสาวก็คือ ขออย่าให้กลายเป็นฝันร้าย เป็นโรคงูสวัด ขึ้นตามล�ำตัว ตามมาหาแทนที่จะเป็นคู่รักตัวเป็น ๆ ถ้ามา ก็คงจะตัวใครตัวท่านละกัน ยังไงก็ขอรบกวนให้คุณหมอของเราช่วยสั่งยารักษาโรคงูสวัดให้ละกันนะครับ ผ่านไปแล้วกับงานวันสัมมนาสถาบันฯ ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ในวันที่ 21 ธันวาคม 2555 ที่โรงแรมเมาท์เท่น คลิก เวลเนสส์ รีสอร์ท เชียงใหม่ เท่าที่กะ ด้วยสายตาในช่วงกลางวัน น่าจะมีชาวสถาบันฯ ไปร่วมงานกว่าสองร้อยชีวิต ในปีนี้ ช่วงบรรยายธรรมะคลายเครียดโดยท่านพระครูสมศักดิ์ พระอาจารย์สมศักดิ์ ปิยวณฺโณ ในหัวข้อ “สุขเขา สุขเรา สุของค์กร” ถือว่าได้เนื้อหาสาระ ได้รับธรรมะที่เป็นข้อคิด ค�ำสั่งสอนในการท�ำงาน ในการใช้ชีวิตอย่างมีสติที่ดี พร้อมไปกับความสนุกสนาน เรียกเสียงหัวเราะจากผู้ฟังได้เป็นระยะ ตามด้วยการมอบรางวัลให้แก่บุคลากรดีเด่น ประจ� ำ ปี 2555 ที่ ผ ่ า นการคั ด เลื อ กจากคณะกรรมการพิ จ ารณาบุ ค ลากรดี เ ด่ น ของสถาบันฯ เหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้มีจ�ำนวน 4 ท่านด้วยกัน ได้แก่ คุณเก๋ (ผ่องพรรณ) จากพิมานเซ็นเตอร์ นายวัชรพล พลเยี่ยม (อ๊อด) ผู้ช่วยวิจัย จากหน่วยวิจัย สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ น้องแอ๊ปเปิล (สุภาภรณ์) จากงาน RCU ลูกน้อง ดร.สุกัญญา

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ป้าชิคเกนท์ของน้อง ๆ และคุณสุรเชษฐ์ พนักงานรักษาความ ปลอดภัย จากส�ำนักงานสถาบันฯ ที่เราได้เห็นท�ำงานอย่างขยัน ขันแข็งอยู่หน้าตึกหนึ่งทุกวันตอนเย็น ก็ขอแสดงความยินดีและ กล่าวค�ำขอบคุณจากใจจริงมายังบุคลากรทั้ง 4 ท่าน ที่ได้ ช่วยกันทุ่มเทท�ำงานอย่างเต็มที่ เป็นผู้มีความเสียสละมีความ ขยัน อดทน ถือเป็นบุคคลแบบอย่างที่เราควร เอาเยี่ยงและ เอาอย่ า งเหมื อ นบุ ค ลากรดี เ ด่ น ที่ เ คยได้ รั บ รางวั ล ในปี ที่ ผ่ า น ๆ มาแล้ ว ครั บ ส่ ว นในช่ ว งกิ จ กรรมการจั ด ซุ ้ ม จัดการความรู้ โดยมีซุ้มกิจกรรมอยู่หลายฐานด้วยกัน ภูมิใจ น�ำเสนอโดยเจ้าหน้าที่จากแต่ละกลุ่มงาน เท่าที่ได้เดินส�ำรวจดู ทุกฐานกิจกรรม ถือว่าปีนมี้ เี นือ้ หาสาระและรูปแบบการน�ำเสนอ ที่น่าสนใจหลากหลายแตกต่างกันไป แต่โดยภาพรวมก็ได้ช่วย สร้ า งสรรค์ บ รรยากาศ สร้ า งความสนุ ก สนาน และเรี ย ก เสียงหัวเราะเสียงเฮ จากชาวสถาบันฯ ที่เข้าไปร่วมกิจกรรมได้ ไม่แพ้กัน ก็ต้องขอขอบคุณและชื่นชมทุกท่านที่ได้ช่วยกันคิด กิจกรรมที่สร้างสรรค์ มีสาระ และความบันเทิง ช่วยสร้าง รอยยิ้มบนใบหน้าของชาวสถาบันฯ ทุกคนที่ไปร่วมกิจกรรม ในปี นี้ ขอให้ ทุ ก ท่ า นยั ง มี แ รงร่ ว มด้ ว ยช่ ว ยกั น ท� ำ สิ่ ง ดี ๆ ให้ เ กิ ด แก่ ส ถาบั น ฯ อั น เป็ น ที่ รั ก ของพวกเราตลอดปี นี้ ด้วยเช่นกันครับ ส�ำหรับงานเลี้ยงสังสรรค์กลางคืน ก็เหมือนเช่นทุกปี ที่ผ่านมา มีการจัดชุดแสดงโดยตัวแทนเจ้าหน้าที่จากแต่ละ หน่วยงานมาช่วยกันสร้างสรรค์ความบันเทิงทีม่ คี วามสนุกสนาน ปะปนด้วยสาระที่น่าสนใจ ที่ดูเหมือนว่าน่าจะลงทุนมากที่สุด เท่าที่ได้ดูได้ชม ก็คือ ชุดการเดินแบบโดยใส่ชุดประจ�ำชาติ ของประเทศอาเซียน 10 ประเทศ แสดงโดยส�ำนักงานสถาบันฯ ลูกน้องของป้าอ้อย หรือ อุ๊ยอ้อย ของเด็ก ๆ (แก่ไปไหมเนี่ย) เพราะเป็ น ชุ ด ที่ดู อ ลั ง การงานสร้ า งพอควร แต่ ท� ำ ไมดู แ ล้ ว ชุดทุกชุดที่ใส่ มันดูคับมาก ๆๆๆๆ บางคนแอบมองเห็นข้างหลัง เนื่องจากนั่งติดขอบเวที ดูเหมือนจะรูดซิปกระโปรงขึ้นไปได้ แค่ ค รึ่ ง เดี ย ว (สงสารจั ง ) ยั ง นึ ก อยู ่ ว ่ า ไหงไปเช่ า ชุ ด ที่ มั น เล็กมากไปมาใส่แสดงกัน มารู้เอาความจริงภายหลังว่า ทุกชุด ที่เอามาใส่แสดงเดินโชว์นั้น ไม่ได้ไปเช่าชุดราคาแพงมาจาก ร้ า นเสื้อ ผ้า ที่ไ หนหรอก แต่ เ จ้ า หน้ า ที่ของเรา (ที่เ ส้น น่าจะ ใหญ่ม๊าก) ไปขอหยิบยืมมาจากโรงเรียนดาราฯ ที่น้องนักเรียน เขาใส่แสดงในงานของโรงเรียนกัน มิน่าละ! ทุกท่านถึงได้ดู

สารสถาบันฯ 2

หุ ่ น ดี๊ ดี (แต่ คั บ ติ้ ว ) กันทุกท่าน เห็นบางคน พอแสดงเสร็จเดินออก พ ้ น เ ว ที ต ้ อ ง รี บ วิ่ ง เข้ า ห้ อ งน�้ ำ ไปถอด เสื้ อ ผ้ า ออกเพราะ เกื อ บจะขาดอากาศ หายใจ เอาชีวิตมาทิ้งในงานปีใหม่เสียแล้ว เนื่องจากต้องแขม่ว ขี้ปุ๋มและพยายามหายใจเบา ๆ นานเกินไปนั่นเอง ยังไงปีหน้า ถ้ า ยั ง คิ ด จะแสดงซ�้ ำ อี ก ลองไปขอหยิ บ ยื ม ชุ ด มาจาก สถานสงเคราะห์คนชรา ในเชียงใหม่ แถวรอบคูเมือง น่าจะพอ ใส่ได้หลวม ๆ สบายตัว สบายหน้าท้อง ไม่เสี่ยงต่อการเป็นลม ไม่อยากให้เกิดเหตุโศกนาฏกรรมในงานปีใหม่นะคร๊าบ..อิอิ ล้อเล่น ส�ำหรับเรือ่ งการสมัครเข้าร่วมเป็นหน่วยวิจยั ทางคลินกิ ของทางสถาบันฯ ร่วมกับทีมจากศูนย์วจิ ยั เอดส์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าฯ เพื่ อ รั บ ทุ น วิ จั ย โรคเอดส์ ต่อเนือ่ งจากทางสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ เ สร็ จ สิ้ น เรี ย บร้ อ ยไปแล้ ว เมื่ อ สิ้ น เดื อ นมกราคม 2556 ที่ผ่านมา ผู้ที่มีส่วนร่วมในการเขียนเอกสารโครงการขอทุน ที่ต้องกล่าวแสดงความขอบคุณอย่างสูงแทนพวกเราทุกคนมา ณ ทีน่ ี้ ก็คอื ท่านอาจารย์หมอธีระ อดีตผูอ้ ำ� นวยการ และหัวหน้า หน่ ว ยวิจั ย ทางคลินิก ในปั จ จุ บั น ท่ า นอาจารย์ ห มอขวั ญ ชั ย รองผู้อ�ำนวยการ อาจารย์หมอเกรียงไกร หัวหน้าศูนย์เอดส์ คุ ณ ลุ ง ปี เ ตอร์ และอาจารย์ บ รู ส ผู ้ เ ชี่ ย วชาญต่ า งประเทศ ที่มาช่วยงานสถาบันฯ รวมถึงทีมงานพี่ ๆ น้อง ๆ จากส�ำนักงาน สถาบันฯ และหัวหน้าของหน่วยสนับสนุนการวิจัย ทุกหน่วย ทั้งหน่วยแลป หน่วยจัดสิ่งส่งตรวจ หน่วยเภสัช หน่วย RCU หน่วยประสานงานชุมชน (CAB) และหน่วยข้อมูลและสถิติ หน่วยการเงินและต่างประเทศทุกท่าน ซึ่งทุกท่านที่ได้กล่าวมานี้ ได้มีส่วนทุ่มเท เสียสละ ความสุ ข ส่ ว นตั ว บางท่ า นอย่ า งท่ า นอาจารย์ ห มอธี ร ะ อาจารย์หมอขวัญชัย ที่ได้ทุ่มเทท�ำงานอย่างหามรุ่งหามค�่ำ หามกลางวั น และแถมหามเย็ น อีก ด้ ว ย ในตลอดช่ ว งเวลา หลายเดือนที่ผ่านมา เพื่อให้ได้ตัวเอกสารโครงการขอทุนฯ ที่ส มบู ร ณ์ ที่สุ ด เพื่อ จะสามารถแข่ ง ขั น กั บ ผู ้ ส มั ค รรายอื่น ๆ จากสถาบันวิจยั ฯ ชัน้ น�ำจากทัว่ โลกได้ ตอนนีเ้ ราก็คงต้องรอลุ้น กันว่า กลุ่มสถาบันฯ ของเราจะได้ผ่านการคัดเลือกได้เป็นหน่วย วิจยั ทางคลินกิ ทีไ่ ด้รบั ทุนวิจยั ด้านโรคเอดส์ต่อไปอีก 7 ปีหรือไม่ กว่าจะทราบผลการตัดสิน คงจะเป็นปลายปีนี้ และหวังว่า

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


เราจะได้ร่วมฉลองความส�ำเร็จและแสดงความยินดีกันอีกครั้งในงานวันสัมนาสถาบันฯ ในเดือนธันวาคม 2556 ปลายปีนี้ สมกับ ความทุ่มเทพลังกาย พลังใจที่เราทุกคนได้ร่วมกันท�ำงาน ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่ดีเยี่ยม และสร้างชื่อเสียงให้แก่สถาบันฯ ให้แก่ มช. และให้แก่ประเทศไทยอันเป็นที่รักของเรา ในตลอดเวลา 7 ปีที่ผ่านมา เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า จากผลงานวิจัยที่ดีเยี่ยม ที่เราได้ผลิตออกมา ให้สังคมได้รับรู้ ได้เห็น และน�ำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศ และของโลก นับจากอดีตที่ก่อตั้งสถาบันฯ แห่งนี้ ผ่านผู้อ�ำนวยการ หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงานทุกระดับทุกคน ทั้งที่เกษียณไปแล้ว และผู้ที่ ยังร่วมท�ำงานอยู่กับสถาบันฯ ตลอดช่วงระยะเวลากว่าสี่สิบปีที่ผ่านมา จะท�ำให้เราประสบความส�ำเร็จ และได้รับการคัดเลือก ให้เป็นหน่วยวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ต่อไปและตลอดไป ขอให้เราทุกคนได้มีความภาคภูมิใจในผลส�ำเร็จที่ยิ่งใหญ่นี้ร่วมกัน ตลอดไปครับ.......พบกันใหม่ในฉบับหน้า เจ้า.. #####

ใจส

? ? ? า ่ ล ู้หรือเป

สู้!!!

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 3


“เล่าขานงานวิจัย” ศูนย์วิจัยด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผศ. นพ. เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย

วัสดีปีใหม่ครับ พี่น้องชาวสถาบันวิจัยฯ ทุกท่าน ขณะที่ผมเขียนต้นฉบับบทความนี้ ก�ำลังเข้าสู่ช่วงเวลาโค้งสุดท้าย ของการเตรียมเอกสารใบสมัครเพือ่ ขอรับทุนในการเป็นหน่วยวิจยั ทางคลินกิ ด้านโรคเอดส์จากสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (NIH) รอบ 7 ปี รอบใหม่ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงก�ำลังหน้าด�ำคร�่ำเคร่ง ขะมักเขม้นอยู่กับงานนี้เพื่อให้เอกสารใบสมัครของเรา ซึ่งครั้งนี้ ส่งร่วมกันกับศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย มีความสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยส่วนตัวผมเองซึ่งได้มีโอกาส ช่วยงานและเห็นข้อมูลต่าง ๆ อยู่บ้าง ค่อนข้างมีความมั่นใจว่า สถาบันฯ ของเราน่าจะมีโอกาสมากพอสมควรในการรับเลือก ให้ได้รับทุนวิจัยนี้อีกครั้งหนึ่ง

อีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะแจ้งความคืบหน้า คือเมื่อวันศุกร์ที่ 14 ธ.ค. 2555 ที่ผ่านมา ผมและเจ้าหน้าที่ของศูนย์เอดส์ฯ

รวม 5 คน ได้เดินทางไปประชุมเพื่อสรุปบทเรียนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การน�ำหลักการปฏิบัติที่ดีเพื่อการมีส่วนร่วม (Good Participatory Practice, GPP) ที่ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กรุงเทพมหานคร โดยในครั้งนี้มีเจ้าหน้าที่จาก Global Advocacy for HIV Prevention ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึง่ เป็นหน่วยงานทีส่ นับสนุนให้มกี ารน�ำหลักการนีม้ าใช้ในระดับนานาชาติ เดินทางมารับฟังเสียงสะท้อนจากนักวิจัยของสถาบันวิจัยต่าง ๆ ในประเทศไทย 3 แห่งที่ได้ลองน�ำหลักการนี้ไปใช้ ได้แก่สถาบันฯ ของเรา ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร เพื่อน�ำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป

สารสถาบันฯ 4

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ศูนย์วิจัยชีวโมเลกุล และเซลล์วิทยาของโรคติดเชื้อ ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ

รคติดเชือ้ ทีเ่ ป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ที่สถาบันฯ ได้ท�ำการวิจัยอยู่ได้แก่ โรคเอดส์ (ติดเชื้อ HIV-1) โรคไข้จับสั่น (ติดเชื้อมาลาเรีย) โรคตับอักเสบ (ติดเชื้อ HBV) โรคไข้หวัดนก (ติดเชื้อ influenza H5N1) โรคไข้หวัดใหญ่ (ติ ด เชื้ อ influenza H1N1 หรื อ B) มะเร็ ง ปากมดลู ก (ติดเชื้อ HPV) เป็นต้น ไวรัสไข้หวัดนก (H5N1) เริ่มเป็นปัญหากับปศุสัตว์ และสาธารณสุขเมื่อปี 2548 ดร.ฉายสุรีย์ ศุภวิไล นักวิจัย ของสถาบันฯ ได้รับการสนับสนุนทุนจาก สภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตั้งแต่ปี 2549 และได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณ ของมหาวิทยาลัยอีก 3 ครัง้ ต่อเนือ่ งมา เพือ่ ศึกษาระบาดวิทยา ของเชือ้ ไข้หวัดนกในคน และศึกษาในเชิงลึกของการตอบสนอง ข อ ง ร ะ บ บ ภู มิคุ ้ ม กั น ข อ ง ค น ใ น ก า ร ไ ด ้ รั บ เ ชื้ อ ไ ว รั ส ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีหลายสายพันธุ์ H5N1 เป็นสายพันธุ์ที่ท�ำให้ เกิ ด โรคในสั ต ว์ ป ี ก และสามารถท� ำ ให้ เ กิ ด โรคในคน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ได้ จัดเป็นโรคติดต่อจากสัตว์ สู ่ ค น ไวรั ส ไข้ ห วั ด นก สามารถติ ด ต่ อ ได้ จ ากการหายใจ (ทางระบบหายใจ) และจากการกิน (ระบบทางเดินอาหาร) ดังนั้น ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อก็จะได้แก่ ผู้ที่สัมผัส สั ต ว์ ป ่ ว ย ผู ้ ที่ รั บ ประทานเนื้ อ สั ต ว์ ที่ ป รุ ง ไม่ สุ ก หรื อ ดิ บ และผู้สัมผัสผู้ป่วย ในปี 2549

านวิจัยที่ทำ�จะตอบคำ�ถามว่า ผู้สัมผัสสัตว์ปีกมีโอกาสได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสักเท่าไหร่ เพื่อจะตอบคำ�ถามนี้นักวิจัย ได้เก็บตัวอย่างเลือดจากคนที่อาศัยอยู่ในบ้านที่มีสัตว์ติดเชื้อ H5N1 ยืนยันการตรวจโดยห้องปฏิบัติการของกรมปศุสัตว์ รวมถึง ตัวอย่างเลือดของคนที่อาศัยอยู่รอบบ้านนั้นๆ นำ�ตัวอย่างเลือดมาตรวจหาระดับแอนติบอดีต่อตัวเชื้อไวรัส H5N1 วิธีการตรวจ ที่ใช้เป็นแบบดั้งเดิม (Conventional) คือวิธี Hemagglutination Inhibition (HAI หรือ HI) เป็นวิธีที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อประเมิน ระดับแอนติบอดี ที่ร่างกายสร้างเมื่อมีการได้รับเชื้อ เป็นการตรวจหาร่องรอยการได้รับเชื้อ แอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสจะสามารถ คงอยู่ในร่างกายในระดับที่ตรวจวัดได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับ และระยะเวลาที่ได้รับ จากการทำ�งานวิจัย ครั้งนี้ พอจะสรุปได้ว่า สามารถตรวจวัดระดับแอนติบอดีได้ หลังจากการพบเชื้อแล้วประมาณ 2 ปี และสามารถตรวจพบระดับ แอนติบอดีได้ในกลุ่มคนที่สัมผัสใกล้ชิด ประมาณ เกือบ 12%

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 5


ลังจากนั้นได้ท�ำงานวิจัยในรูปแบบเดียวกันอีก ในปี 2553 พบว่ากลุ่มคนที่ท�ำงานกับสัตว์ปีกมีอัตราการตรวจพบ แอนติบอดีต�่ำมาก เนื่องจากอุบัติการณ์ของการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกได้ลดจ�ำนวนลง มีการบริหารจัดการได้เร็วหากมีการ ตรวจพบเชือ้ ท�ำให้ไม่มกี ารระบาด ผูว้ จิ ยั จึงขอทุนวิจยั เพือ่ น�ำตัวอย่างเลือดทีเ่ ก็บไว้ มาศึกษาในเชิงลึกถึงคุณลักษณะของแอนติบอดี ว่าจับกับส่วนไหนของ Hemagglutinin (HA) ของไวรัส ในส่วนที่เป็นโปรตีน และ peptide โครงการทั้งหมดเป็นการท�ำงานร่วมกัน ของทีมจากสถาบันฯ (ดร.ฉายสุรีย์ ศุภวิไล และ ดร.จิรประภา วิภาษา) ทีมจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มช. (อ.นส.พ.สุวิทย์ โชตินันท์ และ อ.นส.พ.เทิดศักดิ์ ญาโน) และ อ.ดร.รณชัย ปรารถนาผล คณะอุตสาหกรรมเกษตร มช.

ดร.ฉายสุรีย์ ศุภวิไล

อ.นส.พ.สุวิทย์ โชตินันท์

สารสถาบันฯ 6

ดร.จิรประภา วิภาษา

อ.นส.พ.เทิดศักดิ์ ญาโน

อ.ดร.รณชัย ปรารถนาผล

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ศูนย์วิจัยด้านสารเสพติด ผศ.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์

โครงการ Rural MA หรือโครงการ “ฮักชุมชน” ได้ดำ�เนินงานในพื้นที่วิจัยมาครบ 3 ปี และกำ�ลังจะจบการศึกษาวิจัย

1. การสัมมนาสรุปบทเรียนที่ได้จากการท�ำงานร่วมกัน

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 นี้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาทางโครงการได้ดำ�เนินการสำ�คัญ 2 เรื่องคือ

ระหว่างนักวิจัยของโครงการกับคณะท�ำงานประจ�ำอ�ำเภอที่เป็น พืน้ ทีท่ ดลองของโครงการ ผลสรุปโดยรวมคณะท�ำงานมีความเห็น ว่าโครงการฮักชุมชนเป็นโครงการที่ดี ที่สามารถเชื่อมคนจาก ต่ า งหน่ ว ยงานและภาคส่ ว นมาท� ำ งานด้ ว ยกั น แนวคิ ด และ กระบวนการท�ำงานช่วยให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้ สารเสพติดในกลุ่มเยาวชนมีความยั่งยืน ขณะนี้คณะท�ำงานทั้ง 3 อ� ำ เภอ มี ค วามเข้ า ใจแนวคิ ด และกระบวนการท� ำ งาน ตามหลักการเชื่อมประสานเพื่อการปกป้องมากขึ้น แต่ยังไม่มี ความมั่นใจว่าจะด�ำเนินงานต่อไปตามล�ำพัง การสิ้นสุดโครงการ ในเวลาทีด่ งั กล่าว เป็นช่วงเวลาทีไ่ ม่เหมาะสมและเป็นการถอนตัว ของนักวิจยั ทีเ่ ร็วเกินไป จึงยืน่ ข้อเสนอให้นกั วิจยั ยังคงท�ำหน้าทีเ่ ป็น “พี่เลี้ยง” ให้ค�ำปรึกษาและช่วยเหลือไประยะหนึ่ง และขอให้ นักวิจัยที่ท�ำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานประจ�ำอ�ำเภอ ถ่ายทอด ความรูแ้ ละเทคนิควิธที ใี่ ช้ในการท�ำงานในหน้าทีใ่ ห้แก่คณะท�ำงาน แล้ ว จึ ง ค่ อ ยถอนตั ว ออกจากพื้ น ที่ นั ก วิ จั ย ได้ ชี้ แ จงข้ อ จ� ำ กั ด ของแหล่ ง ทุ น ต่ า งประเทศที่ เ กิ ด วิ ก ฤตเศรษฐกิ จ และปั ญ หา การขอรับทุนสนับสนุนในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามคณะผูว้ จิ ยั จะพยายามแสวงหาทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนที่เกี่ยวข้องเท่าที่ จะท�ำได้

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 7


2.

ก่อนจะยุติโครงการทางคณะผู้วิจัยได้ท�ำการประเมินผลการด�ำเนินงานโดยท�ำการส�ำรวจข้อมูลตอนสิ้นสุด โครงการวิจัยในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม 2555 ในพื้นที่วิจัย 4 อ�ำเภอได้แก่ สันทราย ดอยสะเก็ด สันก�ำแพง และสารภี อาสาสมัครอายุระหว่าง 14-24 ปีจำ� นวน 1,232 ราย ในช่วงต่อไปทางโครงการจะต้องท�ำการประเมินผลเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์ เยาวชนอายุ 14-24 ปีจ�ำนวน 30 รายใน 6 อ�ำเภอได้แก่ เชียงดาว แม่แตง สันทราย ดอยสะเก็ด สันก�ำแพง และสารภี ที่เป็นพื้นที่ วิจัย เพื่อถามเกี่ยวกับการรับรู้ของเยาวชนเรื่องสถานการณ์การใช้สารเสพติด และการด�ำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหา สารเสพติดในชุมชน นอกจากนี้จะต้องท�ำการสัมภาษณ์เยาวชนอายุ 14-24 ปีจ�ำนวน 24 รายในพื้นที่ 6 อ�ำเภอข้างต้น เพื่อถาม เกี่ยวกับการรับรู้เรื่องภาวะซึมเศร้า และความสัมพันธ์ของภาวะซึมเศร้ากับการใช้สารเสพติดในเยาวชนและคนหนุ่มสาว เพื่อให้ได้ ข้อมูลเบื้องต้นไปประกอบการเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจาก National Institute of Mental Health ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพราะจากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นตอนเริ่มโครงการนี้ ชี้ให้เห็นว่าอาการซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กับประวัติการใช้ยาบ้า อย่างมีนัยส�ำคัญ

สารสถาบันฯ 8

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ รศ. พญ.อัมพิกา มังคละพฤกษ์

บับนี้ก่อนอื่นต้องขอกล่าวสวัสดีปีใหม่ ปี 2556 แด่เพื่อนผองน้องพี่ชาวสถาบันฯ กันก่อนนะคะ หลังจากที่ได้พักผ่อน ในช่วงวันหยุดปีใหม่กนั หลายวันทีเดียว เดือนแรกของการท�ำงานในปีนี้ ก็ขอให้ทกุ ท่านมีสขุ ภาพทีแ่ ข็งแรง โดยเฉพาะช่วงนีท้ อี่ ากาศ บ้านเราก�ำลังใกล้จะถึงช่วงที่หมอกควันก�ำลังจะมาเยือนเป็นประจ�ำทุกปี ซึ่งปีนี้คาดการณ์ว่าน่าจะรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมานะคะ เพราะปีนี้อากาศเย็นยาวนานพร้อมกับความกดอากาศสูงจากประเทศเพื่อนบ้าน หลายท่านคงทราบดีถึงวิธีการรับมือปัญหา หมอกควันกันมาบ้างแล้ว เช่น ไม่ออกก�ำลังกายในที่โล่ง สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน และอย่าลืมสังเกตอาการ เจ็บป่วยของผู้สูงอายุและเด็กในบ้านด้วยนะคะ ส�ำหรับช่วงเดือนที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ ก็มีข่าวคราวของโครงการวิจัยในแต่ละหน่วยมา ให้ติดตามกันเช่นเคยค่ะ

หน่วยวิจัยระบบสุขภาพ

ธัญภรณ์ เกิดน้อย : หัวหน้าหน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

1.

บุ ค ลากรของหน่ ว ยวิ จั ย ระบบสุ ข ภาพ ได้ เ ข้ า ร่ ว ม งานกีฬาบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 30 ในวันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2555

2.

ดร.ศักดา พรึงล�ำภู และ นางสาวนิศากร หวลจิตร์ ได้ประชุมร่วมกับผู้อ�ำนวยการสถาบันฯ เกี่ยวกับการเขียนโครงร่าง โครงการ การประเมินระบบข้อมูลสารสนเทศการติดตามดูแลรักษา ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ เพื่อการบูรณาการระบบข้อมูลการติดตาม ผลการด�ำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ 3 ระบบหลักประกัน สุ ข ภาพของประเทศไทย ในวั น อั ง คารที่ 25 ธั น วาคม 2555 และวันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556

3.

ดร.ศักดา พรึงล�ำภู และ คณะท�ำงานโครงการพัฒนา ระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัยจากทีมส่วนกลาง พร้อมทั้งทีมภาคร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการวางแผน การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประกวดสื่อนวัตกรรมโภชนาการ สมวัย ในวันเสาร์ที่ 5 มกราคม 2556

4.

ในระหว่างวันจันทร์ที่ 7 มกราคม 2556 – วันศุกร์ที่ 11 มกราคม 2556 หน่วยวิจัยระบบสุขภาพได้ติดต่อประสานงาน กั บ พื้ น ที่ ข องจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ แ ละล� ำ ปาง ซึ่ ง ประกอบไปด้ ว ย กลุ ่ ม โรงพยาบาลชุ ม ชน โรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพต� ำ บล องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น โรงเรี ย น และสถานรั บ เลี้ ย งเด็ ก เพือ่ เชิญร่วมประชุม และส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในเวทีแลกเปลีย่ น เรียนรู้และประกวดสื่อนวัตกรรมโภชนาการสมวัย จัดโดยส่วนกลาง ในวันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2556 – วันเสาร์ที่ 26 มกราคม 2556 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 9


หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

1.

2.

แผนงาน “ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของอาหาร: กรณีศึกษา ในลุ่มน�้ำปิงตอนบน” ได้จัดกิจกรรมการเผยแพร่ผลงานวิจัยให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่-ล�ำพูน โดยมีการ เก็บตัวอย่างดิน น�ำ้ ข้าว และการสัมภาษณ์เชิงลึกถึงการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ จ�ำนวน 5 พื้นที่ คือ อ.สันทราย อ.แม่ริม อ.แม่แตง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ และ พื้นที่ อ.แม่ทา จ.ล�ำพูน ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 เพื่อน�ำเสนอข้อมูลที่ได้รับจากผลการวิจัย ในทุกโครงการย่อย เช่น ผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพดิน คุณภาพน�ำ้ คุณภาพข้าว รวมถึงการรับรู้และการปรับตัวของเกษตรกร ให้เกิดความเข้าใจและตระหนักต่อผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงสภาวะภูมอิ ากาศต่อการผลิตข้าว และ เพือ่ ให้เกิดการแลกเปลีย่ นระหว่าง นักวิจยั และเกษตรกร น�ำไปสู่การวางแผนรองรับปัญหาทีเ่ กิดจากการเปลีย่ นแปลงสภาวะภูมอิ ากาศทีม่ ผี ลกระทบต่อวิถชี วี ติ และการผลิต ของชุมชนเกษตรกรรมในเขตลุ่มน�้ำปิงตอนบน เพื่อให้เกิดความมั่นคงในและความปลอดภัยต่อการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน

หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ร่วมกิจกรรมสัมมนาบุคลากร ประจ�ำปี 2555 ซึ่งทางสถาบันฯ ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2555 ในงานนี้ บุคลากรของหน่วยวิจัยฯ ได้รับรางวัลหลายรางวัลดังนี้

รางวัลบุคลากรดีเด่น ลูกจ้างโครงการ วิจยั ทีม่ อี ายุงาน 3-7 ปีขนึ้ ไป ดีเด่น ได้แก่ นายวัชรพล พลเยี่ยม

รางวั ล เรื่ อ งสั้ น เร้ า พลั ง รางวั ล ที่ 1 เรื่อง “บันทึกจากใจ...แม่ลูกเกษตรกร” ได้แก่ นางสาวนิพรรณ ศรีนวล

การจับสลากรางวัลใหญ่ กล้องถ่ายรูป ดิจิตอล ได้แก่ นายจ�ำเริญ ธีรวิทยากูล

3.

หน่วยวิจัยฯ ขอแสดงความยินดีให้กับ ดร.สุรัตน์ หงษ์สิบสอง ต�ำแหน่ง นักวิจัย ในโอกาสเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และ นางสาวปรีญาวัลย์ ใจปินตา ต�ำแหน่ง ผู้ช่วยนักวิจัย มหาบัณฑิต สาขา การพัฒนาสังคม ในวันที่ 24 มกราคม 2556 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สารสถาบันฯ 10

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


หน่วยวิจัยโภชนาการ 1. งานในโครงการวิจัย

ครงการ “การศึกษาถึงผลการบริโภคอาหารที่มี ปริมาณคาร์โบไฮเดรตต�่ำปานกลางต่อผลของการเกิดความ ผิดปกติของรูปร่างและความผิดปกติของระดับน�้ำตาลและ ไขมันในเลือด” - อยู ่ ร ะหว่ า งยื่ น เอกสารเพื่ อ ขอรั บ การพิ จ ารณา เชิงจริยธรรมจากคณะกรรมการพิทกั ษ์สทิ ธิส์ วัสดิภาพและป้องกัน ภยันตรายในการวิจัยกับมนุษย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ครงการ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน�้ำหนัก เด็กแรกคลอดและกลุ่มอาการอ้วนลงพุงด้านพันธุกรรม - จัดเก็บตัวอย่างเลือดและซีรั่มให้เป็นระบบ รวมทั้ง จัดท�ำผังแสดงต�ำแหน่งการจัดเก็บ เพื่อสะดวกในการคัดเลือก ตัวอย่างในการจัดส่งไปวิเคราะห์ ที่ University of Cambridge ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการน�ำข้อมูลทั่วไปและข้อมูล ด้านสุขภาพของอาสาสมัครเข้าระบบคอมพิวเตอร์

ครงการ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ “การศึ ก ษาผลของอั ต ราการเจริ ญ เติ บ โตอย่ า งรวดเร็ ว ในขวบปีแรกกับการเกิดอาการอ้วนลงพุง” - ได้รับการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิ ส่งเสริมโภชนาการแล้ว -วั น ที่ 8 ม.ค 2556 ได้ จั ด ประชุ ม ชี้ แ จงโครงการฯ แก่ผู้น�ำชุมชนรวมทั้งกลุ่มพี่เลี้ยงของอาสาสมัครเดิมในโครงการ การเลีย้ งลูกด้วยน�ำ้ นมแม่ ซึง่ ด�ำเนินการโดย รศ. พญ. อุษา ธนังกูล ณ หมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม อ. ลี้ จ. ล�ำพูน ซึ่งได้ขอความร่วมมือ กลุ ่ ม พี่ เ ลี้ ย งในการติ ด ตามอาสาสมั ค รในการเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรม ตรวจสุขภาพของโครงการฯ ในวันที่ 21 ก.พ. 2556

ครงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง RBC omega 3 index และ peripheral artery disease - ท�ำการเก็บข้อมูลอาสาสมัคร ได้แล้วจ�ำนวน 300 คน และเก็บตัวอย่างเลือดของอาสาสมัคร จ�ำนวน 200คน ได้ขอความ ร่วมมือจากหน่วย specimen processing unit ในการ process

ครงการศึ ก ษาการศึ ก ษาความชุ ก ของโรค หลอดเลื อ ดด� ำ เรื้ อ รั ง ในผู ้ ป ่ ว ยนอกในโรงพยาบาล ในประเทศไทย - ขณะนี้ผ่านการพิจารณาคณะกรรมการจริยธรรมแล้ว และจะเริ่มเก็บข้อมูล

ครงการศึกษาการศึกษาความคุ้มค่าระหว่างการ รักษาแผลโรคผิวหนังเน่าระหว่างการรักษาโดยมาตรฐาน ปัจจุบันกับ Alginate Silver Dressing -อยูร่ ะหว่างการจัดท�ำเอกสารเพือ่ ขอรับการพิจารณาเชิง จริยธรรมจากคณะกรรมการ

กิ

จ กรรม คุ ณ ค่ า ทางโภชนาการ สถานการณ์ การปนเปื้อน วัตถุเจือปนของไส้อั่วในอ�ำเภอเมืองจังหวัด เชี ย งใหม่ ในโครงการหลั ก การเพิ่ ม มู ล ค่ า ผลผลิ ต ทางการเกษตรอาหารภาคเหนือ: ไส้อั่ว - ได้จัดท�ำรายงานฉบับสมบูรณ์ในความรับผิดชอบของ หน่ ว ยวิ จั ย โภชนาการ ส่ ง ให้ แ ก่ หั ว หน้ า โครงการเมื่ อ วั น ที่ 26 ต.ค. 2555

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 11


ครงการ การประเมินสถานการณ์ภาวะไอโอดีน ในหญิงวัยเจริญพันธุ์และเด็กวัยเรียนในประเทศไทย - ด�ำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่น�ำเข้า ระบบคอมพิวเตอร์แล้ว - จัดส่งเอกสารการเงินฉบับจริงทั้งหมดให้โครงการฯ - การวิ เ คราะห์ ป ริ ม าณไอโอดี น ในตั ว อย่ า งปั ส สาวะ ณ สวิตเซอร์แลนด์ ได้ด�ำเนินการแล้วบางส่วน - จั ด ท� ำ เ อ ก ส า ร ข อ ข ย า ย เ ว ล า โ ค ร ง ก า ร ฯ จาก 25 มี.ค. 2556 เป็น 30 ธ.ค. 2556

กิ

จ กรรม การจั ด ตั้ ง เครื อ ข่ า ยพั ฒ นาศั ก ยภาพ อาหารพื้นเมืองและตรวจสอบปริมาณสารตกค้างปนเปื้อนใน อาหารพื้ น เมื อ งภาคเหนื อ ในโครงการบริ ก ารวิ ช าการ เชิงบูรณาการ “การเพิ่มศักยภาพผู้ผลิตอาหารพื้นเมืองในเขต จั ง หวั ด ภาคเหนื อ ” ปี ที่ 2 กิ จ กรรมจั ด ตั้ ง เครื อ ข่ า ย เตื อ นความปลอดภั ย ด้ า นอาหารและเฝ้ า ระวั ง ความเสี่ ย ง ปนเปื้อนในอาหาร ในโครงการหลัก การฝึกอบรมบูรณาการ แบบครบวงจรแก่สถานประกอบการทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเกษตรในเขตจังหวัดภาคเหนือ ปีที่ 2 - อยูร่ ะหว่างการรวบรวมเอกสารทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ พิจารณา เลือกชนิดอาหาร และชนิดของสารปนเปือ้ นรวมทัง้ วิธกี ารวิเคราะห์ ที่จะท�ำการศึกษา

ครงการ การผลิตไอโซฟลาโวนชนิดอะไกลโคนจาก ถั่วชีวภาพ ระยะที่ 3: การออกแบบระบบถังหมักชีวภาพ เพื่อผลิตไอโซฟลาโวนโดยเทคโนโลยีเชื้อบริสุทธิ์เริ่มต้น - วิเคราะห์ตวั อย่างไอโซฟลาโวนจากการทดลองการหมัก จมู ก ถั่ ว เหลื อ งโดยการแปรผั น ระยะเวลาและปริ ม าณอากาศ ในกระบวนการหมัก จ�ำนวน 24 ตัวอย่าง

ครงการการเปรี ย บเที ย บผลการรั ก ษาด้ ว ย สารกั ม มั น ตภาพรั ง สีไ อโอดีน โดยวิธีคิด ค� ำ นวณขนาดตาม ค่ า เปอร์ เ ซ็ น ต์ ก ารจั บ สารกั ม มั น ตภาพรั ง สี ไ อโอดี น ของ ต่อมไทรอยด์ที่ 24 ชั่วโมง (131I uptake at 24hr.) และการใช้ ค่ า มั ธ ยฐานของการจั บ สารกั ม มั น ตภาพรั ง สี ไ อโอดี น ของ ต่ อ มไทรอยด์ (median 131 I uptake)เพื่ อ ให้ ข นาด สารกัมมันตภาพรังสีไอโอดีน ในผู้ป่วยต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ - อยู ่ ร ะหว่ า งยื่ น เอกสารเพื่ อ ขอรั บ การพิ จ ารณา เชิงจริยธรรมจากคณะกรรมการพิทกั ษ์สทิ ธิส์ วัสดิภาพและป้องกัน ภยันตรายในการวิจัยกับมนุษย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่

2. อื่นๆ

น่ ว ยวิ จั ย โภชนาการและหน่ ว ยวิ จั ย สิ่ ง แวดล้ อ มและสุ ข ภาพ ในนามของสถาบั น ฯ ร่วมกันต้อนรับการเข้าศึกษาดูงานของบุคลากรจาก Korea University และคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ในวั น ที่ 11 ธ.ค. 2555 ณ อาคาร 3

สารสถาบันฯ 12

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


“News & Event” ข่าวกิจกรรม @ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ผ อ . ส ถ า บั น ฯ รั บ โ ล่ ป ร ะ ก า ศ เ กี ย ร ติ คุ ณ “ ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ ” ใ น ปี 2 5 5 5 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุ วั ฒ น์ จริ ย าเลิ ศ ศั ก ดิ์ ผูอ้ ำ�นวยการสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ เข้ารับโล่ประกาศ เกียรติคุณผู้ที่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้ ดำ�รงตำ�แหน่ ง ศาสตราจารย์ ในปี ก ารศึ ก ษา 2555 จาก ศาสตราจารย์ เ กี ย รติ คุ ณ นายแพทย์ เ กษม วั ฒ นชั ย องคมนตรี และนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องในพิธี ทำ�บุญวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำ�ปี 2556 วันที่ 25 มกราคม 2556 ณ ศาลาธรรม นอกจากนี้ ผู้อำ�นวยการสถาบันฯ ยังได้รับดอกไม้ แ ส ด ง ค ว า ม ยิ น ดี จ า ก ศ า ส ต ร า จ า ร ย์ เ กี ย ร ติ คุ ณ ดร.นิ วั ต น์ มณี ก าญจน์ คณะกรรมการอำ�นวยการ ประจำ�สถาบันฯ อีกด้วย

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 13


สั ม ม น า เ พื่ อ พั ฒ น า อ ง ค์ ก ร ส ถ า บั น วิ จั ย วิ ท ย า ศ า ส ต ร์ สุ ข ภ า พ สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ จั ด กิ จ กรรมสั ม มนา เพื่อพัฒนาองค์กร ให้กับบุคลากรสถาบันฯ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา โดยการ สัมมนาดังกล่าวได้นิมนต์พระอาจารย์สมศักดิ์ ปิยวัณฺโณ จากอารามสันติสุข ต.ริมเหนือ อ.แม่ริม จ. เชียงใหม่ บรรยายในหัวข้อเรื่อง “สุขเขา สุขเรา สุของค์กร” และการบรรยาย จาก ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ในเรื่องของทิศทางและการดำ�เนินงานของสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สุขภาพในปี พ.ศ. 2556 กิจกรรมสัมมนาพัฒนาองค์กร จัดขึ้นเพื่อเพื่อให้บุคลากรในทุกระดับของสถาบันฯ ได้พบปะผู้บริหารของสถาบันฯ เพื่อทราบเกี่ยวกับนโยบาย การบริหารจัดการทั้งในส่วนของ มหาวิทยาลัย และสถาบันฯ ตลอดจนได้มีโอกาสซักถามปัญหาข้อสังสัยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ เ พื่ อ สถาบั น ฯ ได้ มี โ อกาสให้ ค วามรู้ ใ นเรื่ อ งต่ า ง ๆ ที่ บุ ค ลากรของสถาบั น ฯ พึงจะได้รับเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและเป็นขวัญ กำ�ลังใจในการทำ�งานต่อไป

สารสถาบันฯ 14

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ผูท้ ไี่ ด้รบั การคัดเลือกเป็นข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยดีเด่น ประจำ�ปี 2555 ได้แก่ คุณผ่องพรรณ เสาร์เขียว คุณผ่องพรรณ เสาร์เขียว บรรจุเข้ารับราชการเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2537 ปัจจุบันดำ�รงตำ�แหน่ง พยาบาล ระดับ ชำ�นาญการ สังกัด โครงการ iPrEx ศูนย์วิจัยโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นผู้ที่มี ความทุ่ ม เทและอุ ทิ ศ ตนในการปฏิ บั ติ ง านอย่ า งไม่ เ คยเกี่ ย งงอน แม้ ข ณะตั้ ง ครรภ์ ใ กล้ ค รบกำ�หนดคลอด หรือขณะลาคลอดบุตร ก็ไม่เคยหยุดทำ�งานเลย เป็นผู้ใฝ่ศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ที่เป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน อยูเ่ สมอ นอกจากนีย้ งั เป็นผูท้ ผี่ อู้ นื่ ทำ�งานด้วยแล้วมีความสุข ยิม้ แย้มแจ่มใสอยูเ่ สมอ เป็นผูท้ คี่ ดิ ดี ปฏิบตั ดิ ี ไม่นนิ ทา ว่าร้ายใคร และปฏิบัติตนให้เห็นเป็นตัวอย่างที่ดีเสมอ ในส่วนของครอบครัว คุณผ่องพรรณเป็นผู้ที่ดำ�เนินชีวิตอย่างสมถะ เรียบง่าย เป็นผู้ที่มีความกตัญญู ดูแลเอาใจใส่บิดา มารดา สามี และดูแลอบรมบุตร ธิดา ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง จึงเห็นสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นข้าราชการดีเด่น ประจำ�ปี 2555 ต่อไป

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 15


ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นลูกจ้างประจำ� และลูกจ้างโครงการวิจัยที่มีอายุงาน ๗ ปีขึ้นไป ดีเด่น ได้แก่ นางสาวสุภาภรณ์ ศิริกุลพันธ์ นางสาวสุภาภรณ์ ศิริกุลพันธ์ ตำ�แหน่ง เลขานุการโครงการ สังกัด Regulatory Compliance Unit เริ่มปฏิบัติงาน ณ สถาบันฯ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2547 มีผลงานที่ปฏิบัติตามภาระงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่าง มีประสิทธิภาพสูงมาก เป็นผู้มีความวิริยะอุตสาหะ มีความตั้งใจและมุ่งมั่นทำ�งานที่รับผิดชอบให้สำ�เร็จลุล่วง ไปด้ ว ยดี ถึ ง แม้ จ ะต้ อ งทำ�งานนอกเวลาก็ ต าม มี ค วามอ่ อ นน้ อ ม มี สั ม มาคารวะต่ อ ผู้ อ าวุ โ ส มี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม ทั้งระดับผู้บริหารและระดับปฏิบัติงาน มีความซื่อสัตย์ต่อตัวเองและต่อหน้าที่ การงาน นอกจากนีแ้ ล้วยังเป็นผูม้ แี นวคิดทีเ่ ป็นระบบ สามารถจัดการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึง่ คุณสมบัติ หลาย ๆ ด้านที่มีอยู่ในตัวของคุณสุภาภรณ์ สามารถทำ�ให้ผลลัพธ์ของงานที่รับผิดชอบประสบความสำ�เร็จ เป็นอย่างสูง นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่มีความละเอียดรอบคอบ มีสติในการทำ�งาน มีมนุษยสัมพันธ์ ที่ดีต่อทุกคน ตั้งแต่ผู้ปฏิบัติงานจนถึงผู้บริหาร จึงเห็นสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นบุคลากรดีเด่น ประจำ�ปี 2555 ต่อไป

สารสถาบันฯ 16

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็น ลูกจ้างโครงการวิจัยที่มีอายุงาน ๓-๗ ปีขึ้นไป ดีเด่น ได้แก่ คุณวัชรพล พลเยี่ยม คุณวัชรพล พลเยี่ยม เริ่มปฏิบัติงาน ณ สถาบันฯ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2550 ปัจจุบันดำ�รงตำ�แหน่ง ผู้ช่วยนักวิจัย สังกัด หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เป็นผู้ที่มีความมานะพยายาม อดทน และมีความตั้งใจ ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งอุทิศเวลาในการปฏิบัติงาน บ่อยครั้งที่คุณวัชรพลมาทำ�วันหยุดโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน สามารถทำ�งานร่วมกับทีมได้ดี ไม่เคยปฏิเสธการทำ�งาน มีจิตบริการ และตั้งใจเรียนรู้สิ่งใหม่ เช่น ศึกษาค้นคว้า การดูแลเครือ่ งมือทางด้านวิทยาศาสตร์ จนสามารถลดค่าใช้จา่ ยในการติดต่อช่างจากบริษทั ภายนอกเข้ามาบริการ นอกจากนี้ สามารถทำ�งานภาคสนาม เก็บข้อมูล คุยกับชาวบ้านได้ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีจิตอาสาในเรื่องของกีฬา การแสดง ในงานส่วนรวมของสถาบันฯ จึงเห็นสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นบุคลากรดีเด่น ประจำ�ปี 2555 ต่อไป

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 17


ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็น ลูกจ้างโครงการวิจัยที่มีอายุงานน้อยกว่า ๓ ปี ดีเด่น ได้แก่ คุณสุรเชษฐ์ นันตา คุ ณ สุ ร เชษฐ์ นั น ตา เริ่ ม ปฏิ บั ติ ง านที่ ส ถาบั น ฯ เมื่ อ วั น ที่ 1 ตุ ล าคม 2553 ปั จ จุ บั น ดำ�รงตำ�แหน่ ง ยามรักษาการณ์ สังกัด งานบริหารงานทั่วไป สำ�นักงานเลขานุการ เป็นผู้ที่มีความพากเพียร วิริยะ อุตสาหะ ตั้ ง ใจทำ�งานในหน้ า ที่ แ ละรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ทรั พ ย์ สิ น ของทางราชการ ประพฤติ ต นตามระเบี ย บกฎเกณฑ์ แ ละ ตรงต่อเวลา มีความกระตือรือร้น และมีการเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีจิตบริการเอื้อเฟื้อ เผือ่ แผ่ โอบอ้อมอารี มีมนุษยสัมพันธ์ทดี่ กี บั ผูร้ ว่ มงาน ผูม้ ารับบริการและผูม้ าติดต่อ นอกจากนี้ ยังเป็นผูม้ คี ณ ุ สมบัติ ของความเป็ น พนั ก งานรั ก ษาความปลอดภั ย ครบถ้ ว น คื อ ฝึ ก ฝนตนเองให้ มี ค วามพร้ อ มที่ จ ะปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ สามารถครองสติ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และมีความตื่นตัว ฝึกฝนและเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่หากเกิด สถานการณ์ฉุกเฉิน โดยจะเห็นได้จากเหตุการณ์เพลิงไหม้ ที่เครื่องปรับอากาศด้านนอกห้องนักวิจัย ใกล้เสาไฟฟ้า แรงสูงของสถาบันฯ เมื่อวันที่ 16 กรกฏาคม 2555 คุณสุรเชษฐ์สามารถครองสติ นำ�ความรู้ที่ได้รับการอบรมมา ระงับเหตุการณ์ร้ายแรงได้อย่างเป็นลำ�ดับ ขั้นตอน มีผลทำ�ให้สามารถระงับความเสียหายได้ในระยะเวลารวดเร็ว และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายในบริเวณอื่นเป็นวงกว้าง จึงเห็นสมควรได้รับการยกย่องให้เป็นบุคลากรดีเด่น ประจำ�ปี 2555 ต่อไป

สารสถาบันฯ 18

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


"Visitor" นักวิจัยจาก Korea University เยี่ยมชมศูนย์วิจัย ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ นักวิจัยจาก Korea University ประเทศเกาหลี เดิน ทางมาเยี่ย มชมศู น ย์ วิจั ย ด้ า นวิท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ ประยุ ก ต์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุข ภาพ อาคาร 3 วันที่ 11 ธันวาคม 2555 โดยมี ดร.ศักดา พรึงล� ำภู นักวิจัยอาวุโส ให้การต้อนรับ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเผยแพร่ ผลงานความรู ้ ท างวิ ช าการและแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ ประสบการณ์วิจัย โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประยุกต์ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ อาหาร และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อต่อยอด งานวิจัยในอนาคตอีกด้วย

... นักวิจยั จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และEmory University, USA ร่วมหารืองานวิจัยกับนักวิจัยของสถาบันฯ ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สุขภาพ พร้อมด้วยนักวิจัยจากหน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อม และสุ ข ภาพ ศู น ย์ วิ จั ย ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพประยุ ก ต์ ให้การต้อนรับ ผศ. ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้าน จิต วิท ย า พั ฒ น า ก า ร จุ ฬ า ล ง ก ร ณ ์ ม ห า วิท ย า ลั ย แ ล ะ Assist. Res. Prof. Dr. Parinya Panuwet Assistant Research Professor จาก Rollins School of Public Health, Emory University, USA ในการหารือ แผนการวิจั ย ระยะยาว ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของเด็กที่มารดาได้รับสารเคมีก�ำจัด ศัตรูพืชขณะตั้งครรภ์ ร่วมกับสถาบันฯโดยหน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อม และสุ ข ภาพ ศู น ย์ วิ จั ย ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพประยุ ก ต์ ณ ห้อง BOARD ROOM อาคาร 1 วันที่ 12 ธันวาคม 2555

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 19


Attendants of Asia RCAB Meeting เยี่ยมสถาบันฯ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ให้การต้อนรับ Attendants of Asia RCAB Meeting ที่เข้ามาเยี่ยมเยือน IMPAACT CAB ของสถาบันฯ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2555 นอกจากนี้ยังได้เยี่ยมชมหน่วยงานย่อยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น หน่วย RCU, CL, Pharmacy Unit, SPU และหน่วยอื่น ๆ ภายในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ซึ่งก็เป็นการ แลกเปลีย่ นเรียนรูเ้ พือ่ น�ำไปสูก่ ารพัฒนางานวิจยั ตลอดจน การเผยแพร่สู่สังคม ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและ ได้รับประโยชน์จากงานวิจัยมากที่สุด

... นักวิจัยจาก Johns Hopkins University บรรยายแลกเปลี่ยนความรู้กับนักวิจัยของสถาบันฯ นั ก วิ จั ย ของสถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ ร่วมให้การต้อนรับ พร้อมรับฟังการบรรยายแลกเปลี่ยน ความรู ้ โ ดย Dr. Craig W. Hendrix, MD Clinical Pharmacology, Infectious Diseases and Pharmacology and Molecular Sciences, and Epidemiology (Bloomberg School of Public Health), Johns Hopkins University ในหัวข้อ Measuring PK & Adherence in PrEP Trials: Explanation & Prediction ณ ห้องประชุม DONALD JEFFREY GIBSON วันที่ 7 มกราคม 2556

สารสถาบันฯ 20

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


สถาบันฯ ต้อนรับนักวิจัยต่างประเทศ พร้อมรับฟังบรรยายหัวข้อเกี่ยวกับชายรักชาย ศ. ดร.สุ วั ฒ น์ จริ ย าเลิ ศ ศั ก ดิ์ ผู ้ อ� ำ นวยการ สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ พร้ อ มด้ ว ยนั ก วิ จั ย ของสถาบันฯ ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Kenneth H. Mayer และ Asst. Prof. Matthew J Mimiaga จาก Harvard Medical School Medical Research, Boston, MA พร้อมด้วย Rose Closson Fenway Community Health, Boston, MA ที่เข้าเยี่ยมเยือนสถาบันฯ ในวันที่ 21 มกราคม 2556 นอกจากนี้ Prof. Kenneth ยังได้บรรยายแลกเปลีย่ น ความรู้ในหัวข้อ “Comprehensive Care for Men who have Sex with Men and other Sexual and Gender Minority Populations" ณ ห้องประชุมชั้น 4 (ห้องเอนกประสงค์) ซึ่งได้รับความสนใจจากทั้งวิจัยของสถาบันฯ และบุคคล ภายนอก เข้าร่วมรับฟังการบรรยายเป็นจ�ำนวนมาก

... นักวิจัยสหรัฐฯ เข้าเยี่ยมนักวิจัยหน่วยวิจัยโภชนาการ รศ. พญ.อัมพิกา มังคละพฤกษ์ รองผู้อ�ำนวยการ พร้อมด้วยนักวิจัยจากหน่วยวิจัยโภชนาการ ศูนย์วิจัย ด้านวิทยาศาสตร์สขุ ภาพประยุกต์ สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์ สุขภาพ ร่วมให้การต้อนรับ Prof. George J. Fuchs, M.D. UAMS College of Medicine, Department of Pediatrics, University of Arkansas for Medical Sciences, USA ซึ่ ง ได้ เ ข้ า เยี่ ย มเยื อ นสถาบั น ฯ พร้ อ มกั บ พบปะและ แลกเปลีย่ นความรูก้ บั นักวิจยั ด้านโภชนาการของสถาบันฯ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 21


นักวิจัยจาก Johns Hopkins University บรรยายพิเศษเรื่องเกี่ยวกับโรคเอดส์ นักวิจัยจากศูนย์วิจัยด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อ ทางเพศสั ม พั น ธ์ สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ พร้อมด้วยบุคลากรทางการแพทย์จากภายนอก เข้ารับฟัง การบรรยายพิเศษทางวิชาการ หัวข้อ “HIV updates and new antiretroviral drugs, HIV resistance and options for treatment” และ “Management of ART side effects: Lipid abnormalities, DM, Lipodystrophy, and renal toxicity” โดย Prof. Joel Gallant, M.D., M.P.H แพทย์ผ้เู ชีย่ วชาญด้าน การรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี จาก Johns Hopkins University, School of Medicine, USA ณ ห้ อ งประชุ ม ชั้ น 4 (ห้องเอนกประสงค์) วันที่ 30 มกราคม 2556

...

สารสถาบันฯ 22

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


"Doing & Training" “แก๊งค์ซ่า” ร่วมจัดกิจกรรมวันเอดส์โลก วิทยาลัยโปลิเทคนิคลานนา ที ม วิ จั ย สารเสพติ ด (แก๊ ง ค์ ซ ่ า ) สถาบั น วิ จั ย วิทยาศาสตร์สุขภาพ ร่วมกับเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมกว่า 16 องค์กร ร่วมกันจัดกิจกรรม วันเอดส์โลก Getting to Zero หรือเอดส์ลดให้เหลือศูนย์ได้ ณ วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี โ ปลิ เ ทคนิ ค ลานนา เชี ย งใหม่ วันที่ 1 ธันวาคม 2555 เพื่อให้กลุ่มวัยรุ่นซึ่งเป็นหนึ่งใน กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเอดส์ได้รู้เท่าทัน และรู้จักป้องกันตัวเอง ก่ อ นจะติ ด โรคร้ า ย ทั้ ง นี้ ส ารเสพติ ด ต่ า ง ๆ ก็ เ ป็ น อี ก หนึ่งปัจจัยที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการ ติ ด โรคเอดส์ ไ ด้ แก๊ ง ค์ ซ ่ า จึ ง ได้ จั ด กิ จ กรรมต่ า ง ๆ เพื่อให้ความรู้แก่เหล่าวัยรุ่น สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ซึ่งก็ท�ำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทั้งความสนุก และความรู้ ไปพร้อม ๆ กัน

ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์ แก่นักเรียนวิทยาลัยศรีธนาฯ

...

สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ จั ด กิ จ กรรม ออกให้ความรูน้ อกสถานที่ โดยครัง้ นีเ้ ป็นการจัดนิทรรศการ วันเอดส์โลก โครงการสายใยเพศศึกษาสู่ชุมชน / วิทยาลัย เทคโนโลยีศรีธนาพาณิชยการ เชียงใหม่ และโครงการ วั ย ใสต้ า นภั ย เอดส์ ณ วิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ศ รี ธ นา พาณิชยการ เชียงใหม่ วันที่ 4 ธันวาคม 2555 ซึ่งมีการ ให้ ค วามรู ้ แ ก่ เ ยาวชนเรื่ อ งสถานการณ์ ด ้ า นโรคเอดส์ ในประเทศไทย และวิธปี อ้ งกันการติดเชือ้ เอชไอวี โดยเฉพาะ วิธีการใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้อง เนื่องจากอาจมีวัยรุ่น บางคนยังมีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับเรื่องเพศ เช่น ไม่ต้อง ใช้ถุงยางอนามัยในระยะปลอดภัย (หน้า 7 หลัง 7) การใช้ สารหล่ อ ลื่ น อื่ น ๆ ที่ ไ ม่ ไ ด้ ม าตรฐานระหว่ า งการมี เพศสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งก็ท�ำให้เยาวชนมีความรู้ที่ถูกต้อง และสามารถน�ำไปปฏิบัติได้จริงอีกด้วย วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 23


หน่วยวิจยั โภชนาการ เริม่ ติดตามผลการวิจยั ณ หมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม ศ. นพ.กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม น�ำทีมหน่วยวิจัยโภชนาการ ศู น ย์ วิ จั ย ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพประยุ ก ต์ สถาบั น วิ จั ย วิทยาศาสตร์สุขภาพ ลงพื้นที่หมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ล�ำพูน เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2556 เพื่อจัดประชุมพบ กลุ่มพี่เลี้ยงที่ดูแลกลุ่มอาสาสมัครที่เคยเข้าร่วมโครงการเลี้ยงลูก ด้วยน�้ำนมแม่ ซึ่งเป็นโครงการของ รศ. พญ.อุษา ธนังกูล ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2523 – 2527 ซึ่งพบว่าประมาณ 5 เดือนหลังคลอดทารก ของอาสาสมัครส่วนหนึ่งเริ่มมีน�้ำหนัก และความยาวต�่ำกว่าเกณฑ์ นอกจากนี้ทีมนักวิจัยยังถือโอกาสขอความร่วมมือจากกลุ่มพี่เลี้ยง เพื่อน�ำไปสู่กิจกรรมติดตามภาวะสุขภาพอาสาสมัครกลุ่มดังกล่าว ต่อไป ภายใต้โครงการ “การศึกษาความเป็นไปได้ของการศึกษา ผลของอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในขวบปีแรกกับการ เกิดอาการอ้วนลงพุง” ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 ต่อไป

... รางวัลเกียรติยศ เครื่องวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก เมื่ อ วั น ที่ 24 มกราคม 2556 ที่ ผ ่ า นมา หน่ ว ยวิ จั ย สิ่ ง แวดล้ อ มและสุ ข ภาพ ศู น ย์ วิ จั ย ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ ประยุ ก ต์ สถาบั น วิ จั ย ยวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ ได้ เ ข้ า ร่ ว มงาน แถลงข่าวรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ: รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจ�ำปี 2556 และการจัดงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจ�ำปี 2556 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ส�ำนักงานคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร น�ำโดย นางสาวธัญภรณ์ เกิดน้อย หัวหน้าหน่วยวิจัย สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และ ผศ. สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ นักวิจัย ในโครงการ "การขยายผลการวิ จั ย มลพิ ษ ทางอากาศและ ผลกระทบสุขภาพสู่ชุมชน เพื่อการเรียนรู้ และลดแหล่งก�ำเนิดฝุ่น ในอากาศในชุมชนภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย" ซึ่งได้ส่ง ผลงานประดิษฐ์คดิ ค้นเรือ่ ง "เครือ่ งวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในอากาศชนิดแสดงผลทันที" โดยได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี พร้อมทั้งเงินรางวัลจ�ำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) โดยจะมีการมอบรางวัลในงาน "วันนักประดิษฐ์" วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 ณ อิมแพ็คอารีนา เมืองทองธานี ซึง่ การจัดงานจะเริม่ ตัง้ แต่วนั ที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2556

สารสถาบันฯ 24

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


สถาบันวิจัย 5 แห่ง มช. ผนึกกำ�ลังวางแผนงานวิจัย

ศ. สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ พร้อมคณะผู้บริหาร นักวิจัย ให้การต้อนรับ และแลกเปลี่ยนทัศนะ ต่อคณะผู้อ�ำนวยการ และรองผู้อ�ำนวยการ จากสถาบันวิจัยภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันประกอบด้วย สถาบันวิจัยสังคม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ สถาบันวิจัยเทคโนโลยี หลังการเก็บเกี่ยว และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทั้งนี้สถาบันวิจัยต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แลกเปลี่ยนแนวคิด ทิศทาง และการขับเคลื่อนงานวิจัยให้เป็นไป ในรูปแบบบูรณาการร่วมกัน วันที่ 30 มกราคม 2556 ณ อาคาร 3 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 25


"Activities" ร ่ ว ม ถ ว า ย พ ร ะ พ ร แ ด ่ อ ง ค ์ พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พ ร ะ เ จ ้ า อ ยู ่ หั ว เ นื่ อ ง ใ น โ อ ก า ส ม ห า ม ง ค ล เ ฉ ลิ ม พ ร ะ ช น ม พ ร ร ษ า 8 5 พ ร ร ษ า

ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2555 สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมพิธีลงนาม และพิธี จุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคลและถวายสัตย์ปฏิญาณ ซึง่ จัดโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รศ. นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมพิธี เพื่อแสดงออก ซึ่งความรู้รักสามัคคี ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่ทรงมีต่อพสกนิกร ชาวไทย ณ ศาลาธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 5 ธันวาคม 2555

สารสถาบันฯ 26

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ร่

ว มการแข่ ง ขั น กี ฬ าบุ ค ลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 30 วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 27


สถาบันฯ คว้าเหรียญ

จากการแข่งขันกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ

ากการที่บุคลากรสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 30 ประจำ�ปี 2555 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมานั้น สถาบันฯ ได้เข้าร่วม การแข่งขันกีฬาทัง้ ประเภทลู่ และประเภทลาน โดยได้รบั เหรียญรางวัลทัง้ สิน้ 27 เหรียญ เป็นเหรียญทองจำ�นวน 8 เหรียญ เหรียญเงิน จำ�นวน 10 เหรียญ และเหรียญทองแดงจำ�นวน 9 เหรียญ โดยผู้ทำ�ผลงานดีเด่นได้แก่

ลำ�ดับที ่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

สารสถาบันฯ 28

รายชื่อนักกีฬา แพทย์หญิง ลินดา เอื้อไพบูลย์ นางสาวพิมผกา ปวงโพธา นางผ่องพรรณ เสาร์เขียว นายสมบุญ บุญปราบ นายปิย ปัญญาราษฎร์ แพทย์หญิง นันทิสา โชติรสนิรมิต นางจรินทร รัตนะ นายรุ่งโรจน์ มาระดา นายเจษฎา เกตุการณ์ นายธวัชชัย คำ�รินทร์ นางสาวกาญจนา ไชยรังศรี นางสาวปิยฉัตร ชาญไววิทย์

เหรียญรางวัล 3 ทอง 2 เงิน 2 ทอง 1 ทอง 2 เงิน 1 ทอง 1 เงิน 1 ทองแดง 1 ทอง 1 ทองแดง 3 เงิน 2 เงิน 2 ทองแดง 2 ทองแดง 1 ทองแดง 1 ทองแดง 1 ทองแดง

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


คณะอุตสาหกรรมเกษตร เนื่องในโอกาสครบรอบ 42 ปี

วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอาหาร และ 20 ปี การสถาปนา คณะอุตสาหกรรมเกษตร วันที่ 18 ธันวาคม 2555

คณะบริหารธุรกิจ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา คณะบริหารธุรกิจ วันที่ 19 ธันวาคม 2555

"ร ่ ว ม แ ส ด ง ค ว า ม ย ิ น ด ี ก ั บ บ ุ ค ค ล ส่วนงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่"

รศ. นพ. วัฒนา

นาวาเจริญ เนื่องในโอกาสได้รับการ แต่ ง ตั้ ง ให้ ดำ�รงตำ�แหน่ ง คณบดี ค ณะแพทยศาสตร์ วันที่ 27 ธันวาคม 2555

คณะเทคนิคการแพทย์ เนื่องในโอกาสทำ�บุญวันคล้าย

สถาบันวิจัยสังคม เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา

วั น สถาปนาคณะเทคนิ ค การแพทย์ ครบรอบ 37 ปี สถาบันวิจัยสังคม วันที่ 28 มกราคม 2556 วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม 2555 วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 29


ตารางกิจกรรม กุมภาพันธ์ 2556 10-13 กุมภาพันธ์ 2556

ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อ�ำนวยการ ร่วมประชุม The 2013 Microbicide Trials Network (MTN) Annual Meeting ณ Bethesda North Marriott Hotel & Conference Center กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา

มีนาคม 2556 7-8

มีนาคม 2556

ศ. นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ รองผู้อ�ำนวยการ ร่วมการประชุม Annual AIDS Clinical Trials Group Scientific Retreat Hyatt Regency Atlanta Hotel, Atlanta GA

เชิญติดตามรับฟัง รายการวิทยุ : เชียงใหม่โฟกัส ตอน เล่าขานงานวิจัย ทุกวันศุกร์แรก และศุกร์ที่สามของเดือน เวลาใหม่ 9.00 - 9.30 น. FM100 ที่เดิม แม้เวลาจะเปลี่ยนไป แต่ความรู้ที่ได้ยังจัดเต็มเหมือนเดิม

สารสถาบันฯ 30

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ซุ

ป ซิ บ สร้างสรรค์

สวัสดีปีใหม่ 2556

ปีงู...snake snake (มะมี fish fish..น๊า)

By...พี่แนนซี่กับน้องซาร่า

ช่วงเวลาเทศกาลแห่งความสุข สนุกสนาน เพิ่งผ่านกันไปหมาดๆ แหม...วันเวลามันช่างผ่านไปอย่างรวดเร็ว

อะไรเยี่ยงนี้ มะทันไรก็ได้กลับมาเริ่มต้นทำ�งานกันต่อแระ หลังจากที่ทุกท่านได้ไปชาร์ตแบตกันมาในช่วงเทศกาลปีใหม่ เพราะชีวิตต้องดำ�เนินต่อไป... ทีมงานซุบซิบเม้าท์มอย ขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง ที่ท่านได้ติดตามคอลัมน์ของ พวกเรามาโดยตลอด และขออภัยมา ณ ที่นี้ หากทีมงาน เล่นไร แซวไร...แรงส์ไป ก็ขอท่านอย่าได้เคือง อย่าได้แคร์ เรามะมีวัตถุประสงค์บ่อนทำ�ลายใคร เพียงแค่ล้อเล่น ๆ เอาฮา ๆ...จร้า คิดบวก ๆ แต่อย่าคิดมากไป... อะน๊า เนื่องในวาระดิถี เปิดศักราชใหม่ ทีมงานขอให้บุคลากรชาวสถาบันฯ ทุกท่าน ประสบแต่ความสุข ความเจริญ คิดสิ่งใดให้สมปรารถนาทุกประการ ไม่เจ็บ ไม่จน รวย ๆ เฮง ๆ กันถ้วนหน้า ตลอดปี 2556 HAPPY NEW YEAR 2013 นะคร๊าบ...บ เอ้า...มาประมวลภาพเก็บตก ส่งท้ายปี 2555 กานหน่อย แต่ละคน...ก็น่ารัก..จุงเบย..ย

สำ�นักงานสถาบันฯร่วมใจก้าวไกล...อาเซียน มาในชุด ประจำ�ชาติ 10 ประเทศ แหม.. ตอนจบ เปิดตัวชุดสุดท้าย เซอร์ไพรส์เจง ๆ ฟินาเล่ เจ้าแม่การเงิน ทำ�เอาทุกคน ถึงกะอึ้ง จนหมุน PARTY POPPER กันมะออกเลยนะนั่น... เล็ง ๆ เอ..หมุนยังไงนะนี่..ไปมะเป็ง..อิ อิ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 31


คณะกรรมการ THE VOICE ก็มากะเค้าด้วย ทั้งโค้ชแสตมป์ โจอี้บอย เจนนิเฟอร์คิ้ม พี่ก้อง(เสียงดัง..ตูมตาม) แต่ไหงโค้ชโจอี้.. มะตี๋แต่หน้าฝาหรั่ง..จ๋าซะงั้น...อุอุ

ว้ายๆ..กริด๊ แอบละม้ายน้องแม๊กซ์ THE VOICE

นักร้องสาวลูกทุ่ง..คนนี้ใครกันหนอ???... ลีลาเธอ สลัด สะบัด พริ้วไหวได้ใจ พ่อยก คิ ต ตี้ ก ะแม่ ย กฉาย จิ ง ๆเชี ย ว...รั บ มาลั ย แบงค์ตรึม หน้าร้อนผ่าวๆ...

ไค่หลับ..เมือ่ ใดจะจับรางวัลเสร็จ รอลุน้ อยู.่ .. อยากปิ๊กบ่กล้าปิ๊ก..เด๋วเสียสิทธิ์....อะน๊า

สารสถาบันฯ 32

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


รางวัลหญ่าย วินาทีสุดท้าย ...บรรยากาศรอลุ้น ระทึก ใครจะได้เป็นเจ้าของกล้องถ่ายรูป SONY มูลค่าหลักหมื่น.. ผอ..ประกาศว่า ฉลาก 1 ใบที่ตกอยู่ด้านล่างเวที คือผู้ที่ตกต�่ำสุด ๆ จะได้รางวัลชิ้นนี้ไป และนี่คือโฉมหน้าของ ผู้โชคดี ....ค๊า...

เปิดคอนเสิร์ตผอ.และคณะ เอ้า ใจ..สู้ หรือเปล่า...?? ไหวไหม?? บอกมา...

ดอกไม้....ให้คุณ

โอกาสไหน ๆ ใคร ๆ ก็ชอบใส่....RAY BAN…..(^_^)

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 33


10 ประเทศ อาเซี่ยน(ภาคเช้า) ส ปิ ริ ต สู ง กั น จุ ง เ บ ย เ อ . . . 123456789 มะรวมคนถือป้าย ประเทศไรเอ่ ย ??...หายไป หรือว่าตื่นมะทัน..อิ อิ

โอ้ว..ว... ลุ้นกานหญ่าย ใครจะเข้าวิน

โอย... จะเป็นลมแต่สู้ตายค่ะ.........

นั ก กี ฬ าสถาบั น ฯ ทั้ ง แพทย์ และพยาบาล...คว้ า เหรี ย ญ กั น มาเพี ย บเยี่ ย มยอดจิ ง ๆ เรย..คร้า

สารสถาบันฯ 34

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


คู่นี้มาสูสี ดู๋ดี๋...

ในที่สุดก็แซงมาได้...

ลุงบุญแจ๋วจิง..ง

พี่ตูมตาม..แขม่วหน่อย..ย สงสัยท่าจะหนักอะนะ

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 35


บ อ ก ก ล่ า ว รอบบ้าน By...พี่แมงเมาท์แห่งไร่เห็ด สาหวัดดีเจ้า วันนีม้ าในภาษาเมืองซักหน้อยล้อ แอ่นแล้ วันศุกร์เจ้าวันนี้ เปิน้ บอกฮือ้ อู้จ๋า ภาษากำ�เมืองกั๋น และก็ฮื้อใส่ชุดท้องถิ่น ชุดเมืองเฮานี่ก่ะ งามจ๊าดนักเจ้า วันนี้ ปี้ แ มงเม้ า ท์ แห่ ง ไร่ เ ห็ ด ก็ ใ ส่ ชุ ด เมื อ งเต็ ม ยศกะเปิ้ น เหมื อ นกั๋ น เน้ อ ..อิ อิ จะใด จะใด ปี้แมงเม้าท์ ขอเจิญหมู่เฮาจาวไร่เห็ดกู้ปู้กู้คนแต่งชุดปื้นเมืองกั๋นในวันศุกร์เน้อเจ้า ...

มาเรือ่ งแรกดีกว่า หลาย ๆ คนทีอ่ ยูใ่ นฝัง่ สวนดอกเมือ่ ออกประตู เมตรเจ็ ด สิ บ ห้ า เลี้ ย วขวาไป ด้ า นซ้ า ยมื อ จะเห็ น ตึ ก เหมื อ นกั บ อพาร์ทเม้นท์ของชาวสิงคโปร์ คือเนื่องจากสิงคโปร์มีเนื้อที่จำ�กัด ดังนั้นบ้านพักก็จะเป็นลักษณะกล่องสูงขึ้นไป และเรียงรายอยู่ติด ๆ กัน แต่สวยงาม และสะอาดตานะคะ ดังนั้นพี่แมงเมาท์เห็นอพาร์ทเม้นท์นี้แล้ว นึกถึงสิงคโปร์ทันทีเลยหล่ะ 555

... นอกเรื่องไปสิงคโปร์

ได้ไงนี่ เอาหล่ะ .... อพาร์ทเม้นท์นี้นะคะ ให้บริการนักศึกษา คณะทันตแพทย์ เภสัชศาสตร์ และเทคนิคการแพทย์ ซึ่งพักได้ห้องละ 2 คน อย่าคิดนะคะ ว่าให้นักศึกษาอยู่ฟรี งานนี้มีค่าใช้จ่ายค่ะ ด้านล่างอาคารยังมีร้านค้าให้บริการ สะดวกสบาย อาทิเช่น ร้านกาแฟ เซเว่ น -อี เ ลฟเว่ น และร้ า นอาหาร พี่ แ มงเมาท์ คิ ด ว่ า พี่แมงเมาท์คงต้องไปใช้บริการร้านสะดวกซื้อ และร้านอาหารบ่อย ๆ เผื่อจะมีนักศึกษาที่อยากกินคนแก่ติดเบ็ดพี่แมงเมาท์ 555

สารสถาบันฯ 36

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ใครพอจะรูบ้ า้ งคะ ว่าขณะนีถ้ นนนิมมานเหมินทร์ เค้าจัดการจราจรแบบ one way บนถนนนิมมานเหมินทร์ ซึ่งเริ่มบังคับใช้ 1 กุมภาพันธ์ 2556 โดยจะมีตำ�รวจจราจรคอยแนะนำ�และบังคับเส้นทางการเดินรถเพื่อให้เป็นไปตามระบบ ที่วางไว้ โดยจะมีเครื่องหมายจราจรกำ�กับทุกหัวมุมถนน ขอให้พี่น้องชาวไร่เห็ดได้โปรดปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร เพื่อให้ ชุมชนนิมมานเหมินทร์เป็นชุมชนน่าอยู่ และเป็นแหล่งเศรษฐกิจอันดับ 1 ของเชียงใหม่ ต่อไปเน้อเจ้า

ช่วงนี้ใครได้ผ่านไปใน มช. หรือคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย คงเห็นว่าสวยงาม ผักชี เอ๊ย! ไม่ใช่ ดอกไม้สวยงาม

แข่งขันกันบานสะพรั่ง

อย่าลืมรีบไปถ่ายภาพนะคะ ก่อนที่จะร่วงโรยกันไป พี่แมงเมาท์ไม่รีรอไปมาเหมือนกันจร้า...

พี่น้อง พบกันใหม่ฉบับหน้านะคะ bye bye วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 37


ย�่ำเท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก

แม่ฮ่องสอน ประเทศไทย ตอนที่ 2

ฉายสุรีย์ ศุภวิไล

"เวลาเข้าไปท�ำงานในพืน้ ที่ สิง่ ทีน่ า่ สนใจอีกอย่างนอกเหนือจากการลุน้ ว่าวันนีเ้ ราจะเจาะเลือด อาสาสมัครได้ครบไหม คือ การได้รับรู้ ได้เห็นว่าชาวบ้านเขาท�ำมาหากินอะไร การท�ำการเกษตร เป็นการท�ำมาหากินหลักค่ะ ค้าขายของป่า (โดยเฉพาะน�้ำผึ้ง แต่ต้องระวังอาจเป็นของแท้แบบ เคี่ยวเองกับมือ) ขายของส�ำหรับนักท่องเที่ยว บริเวณด่าน เพราะที่ไปท�ำงานคือหมู่บ้านไม้เดื่อโง้ม ถัดไปก็เป็นบ้านน�้ำเพียงดิน ติดชายแดนแล้วค่ะ หากล่องน�้ำปายไปสักแป๊บก็ถึงต่างประเทศแล้ว นัน่ คือทีท่ ชี่ าวบ้านไปเอาเชือ้ มาลาเรียมา การไปนอนค้างเป็นปัจจัยเสีย่ งทีจ่ ะได้รบั เชือ้ เมือ่ กลับมา ก็ต้องมีการตรวจกันเป็นระยะ เพื่อไม่ให้มีการระบาด เวลาเราไปท�ำงาน เราไปกลับค่ะ"

สารสถาบันฯ 38

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


เมื่อตอนที่แล้วถามไว้ว่า ต้นอะไร

เมือ่ ตัดแล้วเป็นแบบนีค้ ะ่

เฉลยค่ะ คือการปลูก งาขาว

แล้วก็ทำ�แบบนี้ค่ะ

นอกนั้ น แม่ ฮ ่ อ งสอนยั ง มี ห น่ อ ไม้ น�้ ำ ชาวบ้ า นบอกว่ า ปลูกเหมือนปลูกข้าว ต้องการอากาศเย็น หน้าตาก็เป็นแบบนี้

แล้วก็แบบนี้

กินสด ผัด หรือเอาตากแห้งเก็บไว้ก็ได้ แบบนี้

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 39


ย�่ำเท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก Trip Kota Kinabalu, Malaysia รัชนีกร นัดสาสาร

มื่อ วันที่ 11-14 ตุลาคม 2555 ได้มีโอกาสเดินทาง ไปประชุ ม “12 th TREAT Asia Network Annual Meeting” ณ เมือ งโกตาคิน าบาลู ประเทศมาเลเซีย ซึ่ง การประชุ ม เป็ น การประชุมเกี่ยวกับข้อมูลการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในภูมิภาค เอเชีย ซึ่งจะแบ่งเป็นกลุ่มที่ท�ำงานกับเด็กและผู้ใหญ่ แต่คนที่ ไปประชุมทั้งหมดเป็นผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามการที่ผู้ใหญ่ทิ้งเด็ก เป็นเรื่องปกติ เพราะว่าทีมจากคลินิกเอชไอวีผู้ใหญ่โรงพยาบาล มหาราชฯ เขาพากันแอบออกเดินทางไปก่อนเรา เริ่มประชุมก่อน และหนีไปเทีย่ วก่อน ส่วนกลุม่ เด็กก็มแี พทย์ พยาบาล และบุคลากร ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาเด็กติดเชื้อเอชไอวีจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย เช่น กัมพูชา เวียดนาม บรูไน เป็นต้น ส่วนใหญ่ จะรู้จักกันอยู่แล้ว เพราะร่วมท�ำงานรวบรวมฐานข้อมูลของเด็ก เอชไอวีในภูมิภาคเอเชียกันมากว่า 5 ปีแล้ว ส�ำหรับประเทศไทย ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม มาจากหลายที่ เช่ น ศู น ย์ วิ จั ย โรคเอดส์ สภากาชาดไทย, รพ.ศิริราช กรุงเทพฯ, รพ.ศรีนครินทร์ ขอนแก่น, รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ รวมแล้วประมาณ 30 กว่าชีวิต ซึ่งไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร

สารสถาบันฯ 40

การประชุมครัง้ นีก้ ะเหรีย่ งหลงดอยเดินทางไปกันสองชีวติ โดยสายการบิ น แอร์ เ อเชี ย บิ น ตรงเชี ย งใหม่ - กั ว ลาลั ม เปอร์ และต้องบินต่อไปยังเมืองโกตาคินาบาลู ใช้เวลาในการเดินทาง รวมทั้งหมดประมาณ 6 ชั่วโมง โดยเวลาที่มาเลเซียจะเร็วกว่า ประเทศไทย 1 ชั่วโมง ระหว่างต่อเครื่องเดินๆ หลงๆ ตามประสา กะเหรี่ยงตัว เอ้ย! ตาด�ำๆ ก็ได้อาศัยนักวิจัยอาวุโสชาวต่างชาติ สองท่านจากหน่วยวิจัย PHPT ที่พอคุ้นหน้าคุ้นตากันน�ำทางไป

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


เมื่ อ ถึ ง สนามบิ น โกตาคิ น าบาลู ก็ มี ร ถจากโรงแรม The Magellan Sutera Resort Hotel มารับไปยังทีพ่ กั ซึง่ เป็นโรงแรม ระดับ 5 ดาว ติดทะเลจีนใต้ และเมื่อเราไปถึง เราก็ตื่นตาตื่นใจ กับความกว้างใหญ่ของโรงแรม โดยโรงแรมแบ่งเป็นหลายโซน เช่น โซนกอล์ฟ โซนสปา โซนท่าเทียบเรือ แต่ไม่มชี ายหาดให้เล่นน�ำ้ ทริปนี้จึงอดลิ้มรสน�้ำทะเลว่าจะเค็มสู้หาดบางแสนบ้านเราได้มั้ย เมื่ อ ถื อ วั น ประชุ ม ตารางการประชุ ม แน่ น ยิ่ ง กว่ า ปลากระป๋องสามแม่ครัว สมาชิกชาวไทยทั้งหลายตั้งหน้าตั้งตารอ ว่าจะปลีกเวลาว่างช่วงไหนแอบปลอมตัวเป็นพญาน้อยชมตลาด ไปเที่ยวดูบ้านเมืองบ้างแต่ก็ไม่มี จนมีอาจารย์ท่านหนึ่งจากศิริราช ทนไม่ไหวแอบพาลูกทีมหนีเทีย่ ว เราจึงได้ตดิ สอยห้อยตามอาจารย์

ไปดู บ ้ า นเมื อ งและช้ อ ปปิ ้ ง เรานั่ ง แท็ ก ซี่ จ ากโรงแรมมายั ง Centre Point Sabah ซึ่งจะเหมือนตลาดนัดติดแอร์ ก็มีของขาย มากมายทั้ ง แบรนด์ เ นมและสิ น ค้ า พื้ น เมื อ ง ของที่ ร ะลึ ก ต่ า งๆ จากนั้ น เราก็ เ ดิ น ลั ด เลี ย บตามถนนชมบ้ า นเมื อ งไปยั ง ตลาด ขายของสด ที่ นี่ จ ะมี อ าหารทะเล พื ช ผั ก ผลไม้ ม าจ� ำ หน่ า ย ราคาอาหารก็ไม่ต่างกับทางบ้านเราซักเท่าไหร่ ห่างจากตลาด ขายของสดไม่ ไ กล จะเป็ น ที่ ข ายของที่ ร ะลึ ก สิ น ค้ า จะเป็ น เครื่องประดับจ�ำพวกมุก เครื่องดนตรี ผ้าคลุมตัว หัวและไหล่ และของกระจุกกระจิก ซึง่ ดูๆ แล้วก็จะเหมือนไนท์บาร์ซาร์บ้านเรา ราคาสินค้าก็ไม่ได้แพงมากแต่ตอ้ งใช้ฝปี ากต่อรองราคาลงจากป้าย ประมาณ 30-50% ส่วนมากก็จะได้ตามต้องการ

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 41


โกตาคิ น าบาลู ไม่ ไ ด้ มี ส ถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วแค่ ใ นเมื อ ง จุดมุ่งหมายหลักของนักท่องเที่ยวจ�ำนวนมากที่มาที่นี่คือยอดเขา คินาบาลู ซึ่งสูงจากระดับน�้ำทะเล 4,095 เมตร ถ้าจ�ำไม่ผิดน่าจะ สูงกว่าภูเรือสองเท่า (ถ้าผู้อ่านท่านใดคิดว่าไม่ถูกช่วยแจ้งด้วย จะได้ขอ PI ลางานไปวัดความสูงของภูอีกรอบ) นับว่าเป็นยอดเขา ที่สูงที่สุดในประเทศมาเลเซีย รวมทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าลิง จมูกยาวที่มีชื่อว่า Proboscis ซึ่งมีที่นี่ที่เดียวในโลกอีกด้วย ส�ำหรับ การขึ้นไปพิชิตยอดสูงสุดของคินาบาลูนั้น ต้องจองคิวล่วงหน้า อย่างน้อย 4-5 เดือน และยังเปิดรับนักท่องเที่ยวขึ้นไปยอดเขา เพียงวันละ 200 คนเท่านัน้ ถ้าขึน้ ไปแล้วต้องค้างคืน (ชัว่ คราวไม่ม.ี .) กะเหรี่ยงขาจรอย่างเราจึงได้แต่ยืนท�ำตาปริบๆ ดูรูปในโปสการ์ด ที่วางขายไปก่อน ในใจหวังว่า สักวันหนึ่งก่อนที่สังขารจะร่วงโรย ด้ ว ยภาวะกระดู ก ข้ อ เข่ า เสื่ อ ม คงจะได้ มี โ อกาสกลั บ มาเยื อ น โกตาคินาบาลูอีกครั้งเพื่อพิชิตยอดเขาให้ได้...

สารสถาบันฯ 42

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ย�่ำเท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก เที่ยวภูฏาน รับประสบการณ์สุด Cool

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 43


"

ตามที่ท่านผู้อ�ำนวยการได้เกริ่นไว้ในสารสถาบันฯ ฉบับที่แล้วว่า จะขอให้ ผ มเขี ย นเล่ า ประสบการณ์ เ กี่ ย วกั บ ทริ ป ที่ อ าจารย์ คุณชลลิสาภรรยาของอาจารย์ ซึ่งเป็นหัวหน้างานควบคุมโรค ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวั ดเชียงใหม่ และผม ที่ได้ เ ดิน ทาง ไปประเทศภูฏาน ระหว่างวันที่ 11 ถึง 20 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา ลงในคอลัมน์ย�่ำเท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก ในสารสถาบันฯ ฉบับนี้นั้น ก็มาติดตามเรื่องราวกันต่อได้เลยนะครับ และถ้าอ่าน จนจบก็จะทราบว่าการมาเที่ยว เอ๊ย! มาท�ำงาน+เที่ยว ครั้งนี้ก็ ช่างเป็นประสบการณ์สุด Cool ตามชื่อเรื่องที่บรรณาธิการของ สารสถาบันฯ ตั้งไว้ให้จริง ๆ Cool ในสองความหมาย คือ Cool ในฐานะที่เป็นประสบการณ์ที่ดี สนุก และประทับใจ ส่วนในอีก ความหมายก็คือเป็นทริปที่ Cool มาก คือหนาววววววว มาก จริง ๆ

หมอเกรียง

สารสถาบันฯ 44

"

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ข้อดีอย่างหนึ่งในการมาช่วยงานสถาบันฯ ในความคิด ของผม คือการมีโอกาสได้เดินทางไปประชุม อบรม หรือสัมมนา ยังสถานที่ต่าง ๆ ในต่างประเทศ และบางครั้งก็เป็นประเทศหรือ สถานที่แปลก ๆ ที่ไม่ใช่ที่ท่องเที่ยวทั่วไป ซึ่งหากไม่ได้ทำ�งาน สถาบั น ฯ ก็ ค งไม่ มี โ อกาสได้ ไ ป อย่ า งเช่ น การมี ส่ ว นร่ ว มงาน โครงการวิจยั พาไทยก็ทำ�ให้ผมได้เดินทางไปประเทศต่าง ๆ ในทวีป แอฟริ ก าอย่ า ง แอฟริ ก าใต้ และซิ ม บาบเว ครั้ ง นี้ ก็ เ ป็ น อี ก โอกาสหนึ่ ง ที่ ผ มได้ เ ดิ น ทางไปช่ ว ยช่ ว ยท่ า นผู้ อำ�นวยการ จัดการอบรมเกี่ยวกับการเขียนโครงร่างงานวิจัยให้แก่บุคลากร ทางการแพทย์ ที่ เ มื อ งทิ ม พู เมื อ งหลวงของประเทศภู ฏ าน ประเทศนี้น่าสนใจอย่างไร และประสบการณ์ในการเดินทางครั้งนี้ เป็นอย่างไร มาติดตามดูกันครับ

ก่อนอืน่ มาทำ�ความรูจ้ กั ภูฏานกันก่อนนะครับ ภูฏาน หรือ ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า เป็นประเทศเล็ก ๆ ตั้งอยู่บนภูเขาสูง ในเทือกเขาหิมาลัย กล่าวกันว่าภูฏานเป็นแชงกรีลา (สวรรค์บนดิน) แห่งสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่บนโลก เนื่องจากธรรมชาติที่ยังคงความ บริสุทธิ์ มีศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตั ว แตกต่ า งจากทื่ อื่ น ใด ถ้ า ทุ ก ท่ า นจำ�ได้ ค นไทยเรา มาเริ่มรู้จักประเทศนี้กันมากขึ้น ตอนที่จังหวัดเชียงใหม่จัดงาน พืชสวนโลกครั้งแรก เมื่อปี 2549 และเจ้าชายจิกมี่ มกุฏราชกุมาร ของประเทศภูฏานในขณะนั้นได้เสด็จมาเปิดสวนประจำ�ชาติภฏู าน และด้วยพระสิริโฉมและจริยวัตรที่งดงาม ทำ�ให้คนไทยประทับใจ และจดจำ�พระองค์ได้ ภูฏานยังมีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อพระราชบิดา ของกษัตริย์จิกมี่ทรงใช้ดัชนีความสุขแห่งชาติ หรือ ดัชนีความสุข มวลรวม (Gross National Happiness - GNH) ในการปกครองและ ติดตามผลการพัฒนาประเทศ แทนที่จะใช้เกณฑ์ทางเศรษฐกิจ อย่ า งรายได้ ต่ อ หั ว ประชากรหรื อ การขยายตั ว ทางเศรษฐกิ จ เช่ น ที่ ป ระเทศอื่ น ๆ ใช้ กั น แต่ ถ้ า ทุ ก ท่ า นได้ ติ ด ตามข่ า วสาร ทางด้านเศรษฐกิจในช่วงหลัง ก็จะพบว่าภูฏานเป็นหนึ่งในประเทศ ที่ มี ก ารขยายตั ว ทางเศรษฐกิ จ เร็ ว ที่ สุ ด ในโลกประเทศหนึ่ ง ในปัจจุบัน (เอ๊ะ! ยังไง หรือจะเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว)

ปั จ จุ บั น ภู ฏ านจำ�กั ด จำ�นวนนั ก ท่ อ งเที่ ย วไม่ ใ ห้ เ ข้ า สู่ ประเทศมากจนเกินไป โดยกำ�หนดให้นักท่องเที่ยวต้องใช้จ่าย ไม่น้อยกว่า $2,500 หรือประมาณ 7,500 บาท ต่อวัน จึงเป็นการ ช่วยกรองคุณภาพของนักท่องเที่ยวไปในตัว วิธีการเดินทางเข้าสู่ ประเทศภูฏานที่สะดวกที่สุดคือทางเครื่องบิน และเนื่องชาวภูฏาน เรียกตัวเองว่า ดรุก (Druk) สายการบินแห่งชาติจึงชื่อดรุกแอร์ (Druk Air) และด้วยภูมปิ ระเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนและสูงชัน สนามบินนานาชาติแห่งเดียวของประเทศ คือสนามบินทีเ่ มืองพาโร ซึ่งห่างจากเมืองหลวงทิมพูสถานที่จัดการอบรม ด้วยระยะทาง นั่งรถประมาณ 1 ชั่วโมง จึงมีนักบินเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่มีความ ชำ�นาญเพียงพอ และได้รับอนุญาตให้นำ�เครื่องบินลงที่สนามบิน นี้ได้ ประสบการณ์ตอนเครื่องบินลดระดับลงและบินฉวัดเฉวียน ไปตามหุ บ เขาอย่ า งน่ า หวาดเสี ย ว จึ ง เป็ น ความตื่ น เต้ น และ ความประทับใจแรกในทริปนี้สำ�หรับผม ความรู้สึกแรกหลังออกจากเครื่องบินที่สนามบินเมือง พาโร เป็นความรู้สึกเดียวกับตอนปี 2527 เมื่อครั้งที่ตัวเองลงจาก ขบวนรถไฟรั บ น้ อ งรถไฟของมหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ (อ้ า ว! เลยทราบกั น เลยว่ า แก่ แ ล้ ว ) ซึ่ ง เป็ น การเดิ น ทางมาเชี ย งใหม่ เป็ นครั้ง แรก ก็ คื อ ความรู้สึก ว่าอากาศที่เ ชีย งใหม่ช่างบริสุทธิ์ สดชื่นมากแตกต่างจากอากาศในกรุงเทพฯ ที่ตัวเองเคยใช้ชีวิตอยู่ อย่างสิ้นเชิง ครั้ง นี้ก็ เ ช่นเดีย วกั นอากาศที่ทิม พู ดีเ หลือเกิน จน สัมผัสได้ถึงความบริสุทธิ์ปราศจากมลพิษ เมื่อเทียบกับเชียงใหม่ ของเราในปัจจุบัน (เอ๊ะ! ยังไง) อีกความรู้สึกคืออากาศเย็นมาก ขนาดตอนเที่ ย งวั น นะเนี่ ย ซึ่ ง เรื่ อ งความหนาวเย็ น มี ป ระเด็ น จะเล่าให้ฟังต่อไปครับ

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 45


"คนภูฏานมีรูปร่างหน้าตา และอุปนิสัยคล้ายคนไทยมาก คือเป็นค่อนข้างสบาย ๆ และขี้เกรงใจ เข้าทำ�นองอ่อนหวาน เรียบร้อย พูดน้อย เสียงเบา ซึง่ พนักงานขับรถผูช้ ายของสำ�นักงานองค์การ อนามัยโลกประจำ�ประเทศภูฏานทีม่ ารับเราและขับรถพาเราจากพาโรไปเมืองทิมพู ก็มคี ณ ุ ลักษณะ เข้าได้กับที่ผมเขียนไว้ตอนต้นทุกประการ คือสุภาพ พูดเสียงค่อย ๆ และกล่าวชื่นชมคนไทยที่เขา เคยรู้จัก ทั้งที่มาเป็นครั้งคราว และเคยพำ�นักเป็นเจ้าหน้าที่ประจำ�ที่นั่นอยู่ไม่ขาดปาก" ภูฏานมีความโดดเด่นมากในเรื่องการรักษาและอนุรักษ์ เอกลั ก ษณ์ ท างด้ า นวั ฒ นธรรม ซึ่ ง สั ง เกตได้ อ ย่ า งชั ด เจนที่ สุ ด ใน 2 เรื่องคือ วัฒนธรรมการแต่งกาย และอาคารบ้านเรือน โดยในด้านการแต่งกาย ทั้งผู้ชายและผู้หญิง รวมถึงนักเรียน นั ก ศึ ก ษา จะแต่ ง ชุ ด ประจำ�ชาติ ที่ ข องผู้ ช ายเรี ย กว่ า โฆ (Gho) ส่วนของผู้หญิงเรียกว่าคีระ (Kira) กันเป็นปกติประจำ�วัน ไม่ได้แต่ง เฉพาะเมื่อมีเทศกาลสำ�คัญ หรือเฉพาะตอนในการแสดงเท่านั้น

สารสถาบันฯ 46

ไม่เหมือนในบางประเทศ (เอ๊ะ! แขวะใครนะ) ส่วนอาคารบ้านเรือน ก็มีกฏหมายบังคับรูปทรงของอาคารและลักษณะของหน้าต่าง ทำ�ให้เมืองทุกเมืองในประเทศดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย และมี เ อกลั ก ษณ์ เ ป็ น อย่ า งมาก ซึ่ ง ระหว่ า งที่ นั่ ง รถจากพาโร ไปทิมภู ผมสามารถสังเกตและชื่นชมเอกลักษณ์ทั้งสองอย่าง ของประเทศนี้ไปได้ตลอดทาง

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ธรรมชาติของภูฏานก็มีความโดดเด่นมากไม่น้อยหน้า ศิลปะวัฒนธรรม ด้วยภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง และที่ผมเขียนว่า สูงคือสูงจริง ๆ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยซึ่งเป็น เทือ กเขาที่สู ง ที่สุ ด ในโลก ยกตั ว อย่ า งเมือ งส� ำ คั ญ อย่ า งพาโร และทิ ม พู ซึ่ ง ตั้ ง อยู ่ ใ นหุ บ เขาด้ า นล่ า งยั ง สู ง ถึ ง ประมาณ 2,200 – 2,300 เมตร เหนือระดับน�้ำทะเล หรือประมาณยอดดอย ทีส่ งู ทีส่ ดุ ของประเทศไทยอย่างยอดดอยหลวงเชียงดาวเข้าไปแล้ว และยอดเขาทีส่ งู ทีส่ ดุ ในโลกทีย่ งั ไม่มมี นุษย์เดินทางไปถึงก็ตงั้ อยูใ่ น ภูฏาน ดอยสูงบ้านเราจึงไซส์ S ไปเลยเมื่อเทียบกับดอยไซส์ XL ที่นี่ และด้วยลักษณะภูมิประเทศดังกล่าว เมืองต่าง ๆ จึงมักตั้งอยู่ ริมแม่น�้ำที่มีน�้ำใสไหลเย็น ท่ามกลางหุบเขาหิมะสูงชัน เพียงแค่ แรกสัมผัสระหว่างนั่งรถจากพาโรไปทิมพู ผมก็รู้สึกประทับใจ กับความสวยงามและยิ่งใหญ่ของภูมิประเทศของภูฏานแล้ว

อากาศกลางเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นเพียงระยะที่เริ่ม เข้ า สู ่ ห น้ า หนาวแต่ ถื อ ว่ า หนาวมากแล้ ว ส� ำ หรั บ ผม อุ ณ หภู มิ ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 0 - 15 องศาเซลเซียส ต้องขอบคุณภรรยา ที่คะยั้นคะยอให้น�ำเครื่องกันหนาวติดตัวมาด้วยเยอะ ๆ เพราะถ้า ไม่เชื่อเธอป่านนี้คงแย่ไปแล้ว ตอนกลางวันไม่เท่าไหร่ เพราะอยู่ ในอาคารของโรงแรมเป็นส่วนใหญ่ แต่ตอนกลางคืนในห้องพัก ของโรงแรมนี่หนาวมาก ขนาดที่ฮีทเตอร์อันเล็ก ๆ ที่มีให้เอาไม่อยู่ กันเลยทีเดียว เครื่องกันหนาวต่าง ๆ ที่เตรียมมาจึงได้น�ำมาใช้ ตอนจะนอนเนีย่ หละครับ ยิง่ บางคืนทีไ่ ฟดับ ไม่มฮี ที เตอร์ หนาวจน นอนไม่หลับกันเลยทีเดียว ผมเป็นพวกประสาทชอบวัดอุณหภูมิ ที่บ้านโดยเฉพาะหน้าหนาว ทริปนี้จึงได้เอาเทอร์โมมิเตอร์ไปด้วย ปรากฏว่าวันทีห่ นาวทีส่ ดุ ในทิมพูตอน 6 โมงเช้า วัดได้ ลบ 1.5 องศา เลยครับ คนภูฏานบอกว่านี่แค่น�้ำจิ้ม เพราะถ้าเป็นช่วงเดือน ธันวาคมและมกราคม จะหนาวกว่านี้มาก

ทิวทัศน์เมืองทิมพูมองจาก ระเบียงที่พักของโรงแรม

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 47


เมืองหลวงทิมพู เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นศูนย์กลาง ด้านต่าง ๆ ของประเทศ การบังคับเฉพาะรูปแบบแต่ไม่บงั คับสีของ อาคาร ท�ำให้ตัวเมืองมีความเป็นระเบียบสวยงามขณะเดียวกัน ก็แลดูไม่น่าเบือ่ เนือ่ งจากอาคารทีม่ หี ลายหลากสี เหมือนลูกกวาด คนทิมพูเดินทางด้วยการเดิน รถเมล์ แทกซี่ และรถยนต์ส่วนตัว รถยนต์ ที่ นี่ ส ่ ว นใหญ่ เป็นรถคันเล็ก ๆ ขนาด ไ ม ่ ถึ ง 1 , 0 0 0 ซี ซี เ นื่ อ ง จ า ก ถ น น ใ น ตั ว เ มื อ ง ค ่ อ น ข ้ า ง แคบมาก ส่วนใหญ่จะ เป็นยีห่ ้อฮุนไดและซูซกู ิ ในสวนสาธารณะ ใ จ ก ล า ง เ มื อ ง มี พระพุ ท ธรู ป ปางลี ล า องค์ ใ หญ่ ที่ มี ค นไทย มาสร้างไว้ประดิษสถาน อยู่ด้วย การอบรมที่ พ วกเราไปเป็ น วิ ท ยากรจั ด ขึ้ น ที่ โ รงแรม แห่งหนึง่ ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่เป็นแพทย์ และเนือ่ งจากการ วิจัยทางการแพทย์และการสาธารณสุขในภูฏานยังมีไม่มากนัก และอยู ่ ใ นระยะเริ่ ม แรก เนื้ อ หาที่ ส อนจึ ง เกี่ ย วกั บ พื้ น ฐาน การออกแบบงานวิจัยและการเขียนโครงร่างการวิจัย ด้วยระยะ เวลาเตรี ย มการสอนก่ อ นการเดิ น ทางที่ ค ่ อ นข้ า งน้ อ ย ท� ำ ให้ ก่ อ นการอบรมผมรู ้ สึ ก กั ง วลว่ า จะเตรี ย มเนื้ อ หามาไม่ ดี พ อ แต่ด้วยบุคลิกลักษณะของผู้เข้ารับการอบรมชาวภูฏาน ท�ำให้ การอบรมที่ มี บ รรยากาศเป็ น กั น เอง และด� ำ เนิ น ไปได้ ด ้ ว ยดี ตอนเย็นของวันอบรมวันหนึ่ง ผู้เข้ารับการอบรมท่านหนึ่งขับรถ พาเราขึ้นไปเที่ยวชมพระพุทธรูปที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างบนเขา นอกเมืองทิมพู ระหว่างเดินเข้าไปใกล้องค์พระก็ได้ยนิ เสียงเหมือน คนไทยคุยกัน ตอนแรกนึกว่านักท่องเที่ยว แต่พอได้ทักทายพูดคุย กั น แล้ ว ภายหลั ง จึ ง ทราบว่ า เป็ น คนงานและช่ า ง ที่ บ ริ ษั ท ของสิงคโปร์จ้างมาช่วยสร้างองค์พระ

สารสถาบันฯ 48

ต้องขอบคุณสายการบินดรุกแอร์ไม่มไี ฟล์กลับกรุงเทพฯ ทันทีหลังเราเสร็จภารกิจการจัดการอบรม ท�ำให้พวกเราจ�ำเป็น ต้องอยู่ในภูฏานต่ออีกประมาณ 3 วัน เพื่อรอเวลาเครื่องกลับ (จริง ๆ ก็ไม่อยากรีบกลับหรอกครับ) และมีโอกาสได้เที่ยวชม ประเทศภู ฏ าน โดยได้ เ ดิ น ทางไปเมื อ งพู น าคา และเที่ ย วชม เมืองพาโร ที่ว่าเที่ยวชม หลัก ๆ แล้วก็คือการไปชมสถาปัตยกรรม ของภูฏานที่เรียกว่าซอง (Dzong) นั่นเอง ซองเป็นโบราณสถาน ขนาดใหญ่ เดิ ม สร้ า งเพื่ อ เป็ น ป้ อ มปราการส� ำ หรั บ ป้ อ งกั น เมื อ งต่ า ง ๆ จากผู ้ รุ ก ราน ส่ ว นใหญ่ ส ร้ า งขึ้ น เมื่ อ ประมาณ 300 - 400 ปีที่แล้ว เทียบกับประวัติศาสตร์ไทยก็ประมาณ กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีลักษณะร่วมกัน คือจะมีก�ำแพงสีขาว ทีเ่ ป็นตัวอาคารไปในตัวลักษณะสูงใหญ่ลอ้ มรอบ และมีหอคอยสูง ตรงกลาง ซองมักตัง้ อยูร่ มิ แม่น�้ำ ต้องเดินข้ามสะพานไม้ขนาดใหญ่ ที่ ส ร้ า งทอดผ่ า นแม่ น�้ ำ ก่ อ นจึ ง จะเข้ า ไปด้ า นในได้ ปั จ จุ บั น ซองต่าง ๆ ถูกปรับไปเป็นวัดบ้าง เป็นสถานทีร่ าชการบ้าง พวกเรา ได้มีโอกาสไปเที่ยวชมซองที่ส�ำคัญ 2 แห่ง คือที่เมืองพูนาคา และเมืองพาโร ส�ำหรับซองแห่งเมืองปูนาคานั้นได้รับการยกย่อง ว่ามีความสมบูรณ์สวยงามที่สุด และได้รับเลือกให้เป็นสถานที่ ประกอบพระราชพิ ธี อ ภิ เ สกสมรสระหว่ า งกษั ต ริ ย ์ จิ ก มี่ แ ละ พระมเหสีเจทซันเปมา เมื่อปี 2554

การเดิ น ทางไปชมซองที่ เ มื อ งพู น าคาของพวกเรา ได้ รั บ ความอนุ เ คราะห์ จ ากเจ้ า หน้ า ที่ ห ญิ ง ของกระทรวง สาธารณสุขภูฏานช่วยขับรถซูซูซิกิอัลโต รถเล็ก ๆ ขนาด 800 ซีซี (ลองนึกภาพไดฮัทสุมิราดูนะครับ) พาเราทั้ง 4 คน ลัดเลาะผ่าน เทือกเขาสูงจากทิมภูไปยังพูนาคา เพราะฉะนั้นที่คนไทยชอบถาม ว่ารถอีโคคาร์จะขับขึ้นดอยที่บ้านเราได้ไหมคงได้ค�ำตอบแล้ว นะครับ ระยะทางจะไม่มากแต่ต้องใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง เนื่องจาก ทางไม่ดี โดยระหว่างทางมีจุดชมวิวให้แวะถ่ายรูปมีแบ็คกราวน์ เป็นเทือกเขาหิมาลัย พวกเราแวะกันไม่ได้นานนักเนือ่ งจากอากาศ บนนั้นเย็นจัดมาก ความประหลาดใจของผมที่มีต่อซองของภูฏาน คือ ท�ำไมประเทศเล็ก ๆ จึงสร้างสถาปัตยกรรมโบราณที่ยิ่งใหญ่ และงดงามได้ขนาดนี้ และไม่ใช่เพียงแค่แห่งเดียว แต่เท่าที่ทราบมี ถึงประมาณ 30 แห่งทีเดียวทั่วประเทศเลยทีเดียว

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ขียนมายืดยาวก็เหมือนจะมีแต่ชื่นชอบชื่นชมประเทศนี้เสียทั้งหมด ผู้อ่านหลายท่านอาจจะอยากทราบว่า แล้วมีอะไรบ้างที่ผมไม่เปิงใจหรือเห็นว่า เป็นข้อด้อยของภูฏานบ้าง ก็พอมีบ้างเล็กน้อยนะครับ อย่างแรกอาจารย์สุวัฒน์ ได้กล่าวถึงแล้วในสารสถาบันฯ ฉบับก่อนก็คือเรื่องอาหารการกินที่ออกจะ หาทานยากสักหน่อย ขนาดว่าผมเป็นคนที่กินง่ายแล้วคืออะไรก็กินได้ ก็ยังรู้สึก ล� ำ บาก ถ้ า จะไปท� ำ ธุ ร กิ จ อะไรที่ ภู ฏ านก็ แ นะน� ำ ท� ำ ร้ า นอาหารเลยครั บ แต่ ก็ อี ก แหละอาจจะเป็ น จากเฉพาะมุ ม มองของนั ก ท่ อ งเที่ ย วหรื อ คนนอก อย่างเราเท่านั้น ชาวภูฏานก็คงไม่รู้สึกล�ำบากอะไร อีกเรื่องก็เรื่องกระแสไฟฟ้า ที่ดับบ่อย อย่างที่ไปครั้งนี้ 9 คืน ดับเสีย 3-4 คืน แต่ละครั้งก็กินเวลานาน ซึ่งถ้าหากอากาศไม่หนาวมากก็คงไม่กระไรแต่นี่หนาวมากจนพอไม่มีฮีทเตอร์ ก็แทบจะอยู่ไม่ได้ นอนไม่หลับกันเลยทีเดียว เรื่องสุดท้ายคือถนนหนทางที่แคบ และขรุขระ แต่ข้อจ�ำกัดของภูฏานเหล่านี้ก็ล้วนเป็นสิ่งที่พัฒนาแก้ไขได้ทั้งนั้น อ่านมาถึงตรงนี้ เพื่อน ๆ ผู้อ่านชาวสถาบันฯ คงรู้จักประเทศภูฏาน ดินแดน แห่งมังกรสายฟ้าแห่งนี้กันมากขึ้นแล้วนะครับ หากโอกาสหน้าได้ไปเที่ยว เอ๊ย! ไปประชุมในสถานที่แปลก ๆ น่าสนใจก็จะได้มาเล่าสู่กันฟังอีกนะครับ ...

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 49


ย�่ำเท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก

ตามรอยบาทพระศาสดา ในดินแดน 4 สังเวชนียสถาน ตอนที่ 1

บุญเหลือ พรึงล�ำภู

อิ

น เดี ย – แดนภารตะ – ติ ด อั น ดั บ ประเทศที่ หลาย ๆ ท่านแม้ได้ตั๋วบินฟรีก็ไม่นึกอยากจะไป เพราะได้ข้อมูล ประเทศนี้ว่า สภาพบ้านเมืองยังยากจน ขอทานก็มาก การจราจร ก็เหมือนกับจราจล เพราะมีเสียงแตรดังตลอดเวลา ราวกับว่า คนขับรถทะเลาะกัน บนท้องถนนรึก็มีทั้งรถบัส ที่ผู้คนแออัด ยัดเยียดยิ่งกว่าปลากระป๋อง รถยนต์ จักรยาน เกวียน และวัว ซึ่งเป็นพาหนะของพระศิวะเดินอย่างเฉิดฉายสบายอกสบายใจ อีกทั้งอาหารแขกก็ไม่ถูกปากคนไทย ฉุนกลิ่นเครื่องเทศ พาลให้ ท้ อ งไส้ ป ั ่ น ป่ ว น และเรื่ อ งใหญ่ ที่ ส� ำ คั ญ จนต้ อ งขี ด เส้ น ใต้ กั น ของใครหลาย ๆ คนก็ คือ เรือ่ งห้องสุขา บ้านเมืองเราถึงจะอย่างไร ตามปั๊มน�้ำมันต่าง ๆ ยังมีห้องสุขาสาธารณะที่สะอาดพอควร มี ห ้ อ งหั บ มิ ด ชิ ด ไว้ บ ริ ก ารผู ้ เ ดิ น ทาง ไม่ ต ้ อ งพู ด ถึ ง บริ ก าร ตามห้า งสรรพสิน ค้า ใหญ่ ๆ แต่ ส ่ ว นที่อินเดียนั้นแทบจะไม่มี ห้องสุขาสาธารณะให้บริการ เราต้องใช้บริการห้องน�้ำทีก่ ว้างใหญ่ ที่สุดในโลก มีท้องฟ้าเป็นเพดาน มีต้นไม้เป็นฝากั้น แถมยังต้อง ผจญภัยกับกับระเบิดธรรมชาติ ที่ผู้บุกเบิกคนก่อนได้ท�ำทิ้งเอาไว้

สารสถาบันฯ 50

โอ้โห!!! ข้อมูลเพียงแค่นี้ ก็เกิดค�ำถามว่า พวกที่ไปชอบ อินเดียนี้เพี้ยนไปหรือเปล่า จะเสียเงิน เสียเวลาเที่ยวทั้งทีก็ควรจะ ไปประเทศทีม่ นั ศิวไิ ลซ์ เจริญหูเจริญตาหน่อยซิ อย่างเช่น อเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี ซิจ๊ะ แต่จะบอกให้ค่ะท่านขา ประเทศอินเดีย ทีใ่ ครเคยไปเยีย่ มชม ผู้นนั้ มักจะหลงเสน่ห์ของอินเดียเข้าให้ สมกับ ค� ำ ขวั ญการท่อ งเที่ย วของอินเดีย ที่บ อกว่า Incredible India! เรียกว่าไปแล้วอยากไปอีก ไม่เชื่อลองไปถามผู้ที่เคยไปมาแล้วดู ดังเช่น ท่านพระสุเมธาธิบดี ได้ปรารภไว้ในหนังสือ ‘เรือ่ งแดนก�ำเนิด พระพุทธศาสนา’ ว่า “นักท่องยุโรป - อเมริกา รวมทั้งนักท่อง รอบโลกหลายท่าน ให้ข้อคิดเห็นว่า ที่ไปทุกแห่งแสนสะดวกสบาย ประเทศสนุ ก ก็ ว ่ า แสนสนุ ก เมื่อ กลั บ มาถึง บ้ า นแล้ ว ก็ ห มดกั น แปลกพิเศษก็คือ ท่องอินเดีย สะดวกก็ไม่สะดวก สบายก็ไม่สบาย สนุ ก ก็ ไ ม่ ส นุ ก แต่ เ มื่ อ กลั บ มาถึ ง บ้ า นแล้ ว กลั บ คิ ด ถึ ง อิ น เดี ย แปลกจริง ๆ อินเดียมีอะไรหรือ? ”

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


พระไตรปิ ฎ ก เล่ ม ที่ 10 พระสุ ต ตั น ตปิ ฎ ก เล่ ม ที่ 2 ที ฆ นิ ก าย มหาวรรค บั น ทึ ก ว่ า พระอานนท์ ทู ล ถาม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนเสด็จปรินิพพาน ณ ที่สาลวโนทยาน กรุ ง กุ สิ น ารา ว่ า “เมื่ อ กาลก่ อ น พุ ท ธบริ ษั ท ในทิ ศ ทั้ ง หลาย ต่างพากันมาเพื่อเฝ้าพระตถาคต ย่อมได้เห็นได้เข้าไปนั่งใกล้ ภิกษุผู้ใหญ่เจริญใจเหล่านั้น ก็แต่ว่าเมื่อกาลล่วงไปแห่งพระผู้มี พระภาคเจ้า จักไม่ได้เห็น ไม่ได้เข้าไปนั่งใกล้ภิกษุผู้ใหญ่ผู้เจริญใจ เหล่านัน้ อีก” พระพุทธองค์ตรัสตอบพระอานนท์วา่ “ดูกอ่ นอานนท์ สั ง เวชนีย สถานทั้ง 4 แห่ ง เหล่ า นี้ เป็ น ที่ค วรเห็ น ของกุ ล บุ ต ร ผู้มีศรัทธา ผู้มีศรัทธาจักเดินทางมาโดยระลึกว่า

• พระตถาคตประสูติ ณ ที่นี้ • พระตถาคตตรัสรูอ้ นุตตรสัมมาสัมโพธิ ญาณในที่นี้ • พระตถาคตยังอนุตตรธรรมจักรให้เป็น ไปแล้วในที่นี้ • พระตถาคตเสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุ ปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ ดูกอ่ นอานนท์ ชนเหล่าใด เทีย่ วจาริกไปยังเจดียส์ ถานเหล่านัน้ แล้ว มี จิ ต เลื่ อ มใส ชนเหล่ า นั้ น ทั้ ง หมด เบื้ อ งหน้ า แต่ ต ายมลายไป จักเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์” ส�ำหรับค�ำว่า “สังเวชนียสถาน” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุ ต โต) ได้ เ ขี ย นไว้ ใ น“จาริ ก บุ ญ จารึ ก ธรรม” ว่ า “สังเวชนียสถาน หมายถึง เป็นที่ให้เกิด สังเวช หมายความว่า เป็นเครื่องกระตุ้นเตือนใจให้เกิด ศรัทธาและปัญญา บางท่านก็ อาจจะได้เฉพาะศรัทธา คือความเลือ่ มใสและมัน่ อก มัน่ ใจเข้มแข็ง ยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเกิดปิติ ความปลาบปลื้มใจ.......ปัญญาที่เกิดขึ้นนี้ หมายถึง ปัญญาอย่างที่ 1 ความรู้เข้าใจ มองเห็นคติธรรมดาของ สั ง ขาร อั น ได้ แ ก่ ความไม่ เ ที่ ย ง ความเป็ น ทุ ก ข์ เป็ น อนั ต ตา ตามหลั ก พระไตรลั ก ษณ์ ซึ่ ง จะท� ำ ให้ เ ราเห็ น ความจริ ง แล้วโน้มธรรมมาปฏิบัติในใจ ปัญญานี้จะโยงไปสู่ความสว่างชัด ในธรรมดาของสั ง ขาร พร้ อ มทั้ ง การที่ จ ะเป็ น อยู ่ แ ละท� ำ การ ทั้งหลายด้วยความไม่ประมาท

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 51


ปัญญาอย่างที่ 2 คือ จากเหตุการณ์และสถานที่นั้น ๆ ก็เชือ่ มโยงต่อให้เราระลึกถึงคำ�สัง่ สอนของพระพุทธเจ้า และปฏิบตั ิ ตามคำ�สอนนั้น ที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องกับสถานที่แต่ละแห่ง ตลอดจนพระธรรมเทศนาต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ใน โอกาสนั้น ๆ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของปัญญา ซึ่งจะได้มากได้น้อย ก็อยูท่ กี่ ารรูจ้ กั ใช้โยนิโสมนสิการ คือการรูจ้ กั คิด รูจ้ กั พิจารณา.....” จึงทำ�ให้สำ�หรับชาวพุทธแล้วหลาย ๆ ท่าน ได้ตั้งความหวังว่า ในชีวิตหนึ่ง ขอได้มีโอกาสได้เดินทางไปสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง เพือ่ กระตุน้ เตือนก่อให้เกิดศรัทธาและปัญญาในการใช้ชวี ติ ของตน ปั จ จุ บั น การเดิ น ทางไปแสวงบุ ญ ที่ สั ง เวชนี ย สถานที่ อินเดีย - เนปาลนั้น ชาวไทยสนใจไปกันมากโดยเฉพาะในช่วง ตุลาคม – กุมภาพันธ์ของทุกปี จะเป็นช่วงที่เหมาะสมสำ�หรับ การท่องเทีย่ วอินเดีย - เนปาล หลายสายการบินต้องเพิม่ เทีย่ วบิน การเดินทางไปสังเวชนียสถานมีหลากหลายรูปแบบ บ้างก็ไป กับบริษัททัวร์ บ้างก็ไปกับคณะของวัดต่าง ๆ ที่จะมีพระ แม่ชี นำ�พาไป หรือบางท่านก็ back pack ไปกันเองแล้วไปติดต่อหา พระธรรมฑูตทีว่ ดั ไทยในอินเดียช่วยนำ�พาไปอีกที ผูเ้ ขียนขอแนะนำ� ว่าในการไปเที่ยวในแดน 4 สังเวชนียสถานนั้น ทุกท่านหากไป ครั้ ง แรกจะต้ อ งเตรี ย มตั ว ก่ อ นไป ดั ง ที่ พ ระราชรั ต นรั ง ษี (วีรยุทธ์ วีรยุทโฺ ธ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมฑูต สายอินเดีย - เนปาล กล่าวไว้ในหนังสือ “สู่แดนพุทธองค์” ดังนี้

1. สัทธิโก 2. ปหูตธโน 3. อโรโค 4. ปริวาโร 5. มัคคนายโก 6. มัคคุเทสโก

สารสถาบันฯ 52

มีความศรัทธา เชื่อมั่น มีทรัพย์ภายนอก ภายใน พอแก่การ ใช้สอย โรคภัยไข้เจ็บ ไม่เบียดเบียน มีบริวารสนับสนุน มีผู้นำ�พาที่เชื่อใจได้ มีผู้บรรยายที่ ชำ�นาญและให้ ความรู้

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


สมัยพุทธกาลผ่านยาวนานมาแล้วกว่า 2,600 ปี พระราชวัง บ้านเมือง วัดวาอาราม บ้านเรือนผู้คน ซึ่งอยู่ในยุคพุทธกาลก็ได้ มีการการเปลี่ยนแปลง ถูกท�ำลาย ทับถมทั้งจากภัยธรรมชาติ และภัยจากมนุษย์เป็นอย่างมากจนแทบจะสูญสิ้นไป ดังนั้นประเทศ อินเดีย - เนปาล ต้องด�ำเนินการขุดค้นหลักทางทางประวัติศาสตร์ หรือค้นหาข้อมูลทางโบราณคดีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาในอินเดีย ตลอดจนต้องต่อสู้กับพวกนอกศาสนาถึงขั้นต้องแลกด้วยเลือดเนื้อและชีวิต ซึ่งการด�ำเนินการทั้งหลายเหล่านี้ได้ช่วยในการสืบทอด เผยแผ่พทุ ธศาสนา สร้างศรัทธาอันต่อเนือ่ งแก่ชาวพุทธรุ่นต่อรุ่นเป็นอย่างยิง่ โดยเฉพาะในดินแดนสังเวชนียสถานทัง้ 4 แห่ง เมือ่ ผู้เขียน ได้ไปเยือนแล้วรับรู้เรื่องราวของผู้ที่มีคุณูปการต่อชาวพุทธถึงวิธีการด�ำเนินการท�ำงานและการต่อสู้เหล่านั้นแล้ว ผู้เขียนรู้สึกซาบซึ้ง ระลึกในพระคุณ และขอเชิดชูยกย่อง ผู้ที่มีคุณูปการทั้งหลายเป็นอย่างมาก ท่านเหล่านี้ช่วยกันท� ำให้ผู้คนในยุคปัจจุบัน ได้เห็นว่า บ้านเมือง วัด วัง สมัยพุทธกาลมีสภาพเป็นอย่างไร พิสูจน์ให้ชาวพุทธผู้ที่ยังไม่มีศรัทธา ไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีจริง ได้บังเกิดความ เชื่อมั่นศรัทธาแน่วแน่ยิ่งขึ้น ผู้ที่มีคุณูปการต่อชาวพุทธมี 4 ท่าน ดังนี้คือ

2.

หลวงจีนฟาเหียน พ.ศ. 955 กับหลวงจีนถังซัมจั๋ง (พ.ศ.1145-1214) ผู้บันทึกประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนาในช่วงต้น ขณะที่ท่านเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่อินเดีย

1.

พระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ.218-260) ซึง่ เป็นผู้สร้าง เสาอโศกที่เป็นหลักฐานชิ้นส�ำคัญว่าสถานที่นั้น ๆ เป็นสถานที่ เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า เช่น สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน ฯลฯ นอกจากนั้นแล้วพระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่ง สมณะทูตไปเผยแพร่พุทธศาสนาในดินแดนต่าง ๆ โดยแบ่งเป็น 9 สาย โดยสายที่ 8 มาเผยแพร่ ที่ ดิ น แดนแถบสุ ว รรณภู มิ โดยพระโสณะและพระอุ ต ระเป็ น สมณะทู ต และพระองค์ เ ป็ น ผู ้ จั ด การสั ง คายนาพระไตรปิ ฎ กครั้ ง ที่ 3 ณ วั ด อโศการาม เมืองปาฏลีบุตรอีกด้วย

3.

เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม (พ.ศ.2357-2436) เป็นนักโบราณคดีชาวอังกฤษ ผู้มีส่วนอย่างมากในการฟื้นฟูบูรณะ สังเวชนียสถานในอินเดีย และได้รบั การยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งการ ส�ำรวจโบราณคดีอินเดีย"

4.

อนาคาริ ก ธรรมปาละ (พ.ศ. 2407-2476) ชาวศรีลังกา เป็นบุคคลที่ส�ำคัญที่สุดในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ และเป็นผู้น�ำการ เรียกร้องเอาพุทธสถานในอินเดีย จากพวกมหันต์ ฮินดู กลับคืนมา เป็นของชาวพุทธ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 53


ส�ำหรับตามรอยบาทพระศาสดาใน 4 สังเวชนียสถาน เมื่อผู้เขียนไปกับทัวร์ ไกด์ก็จะพาไปแต่ละแห่งโดยไม่เรียงตามล�ำดับเหตุการณ์ เนื่องจากเหตุผลในเรื่องงบ ค่าใช้จ่าย และเพื่อให้การเดินทางสะดวกไม่ต้องย้อนกลับไปมา แต่การเดินทางเช่นนั้น ท�ำให้ผู้เขียนเกิดความสับสนงุนงง เหตุการณ์ในพุทธกาลสลับไปสลับมา ดังนั้นในการ น�ำเทีย่ วครัง้ นีข้ องผูเ้ ขียนจะขอน�ำท่านทัง้ หลายไปโดยเรียงล�ำดับตามช่วงระยะเวลาตัง้ แต่ ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน เพื่อท่านผู้อ่านไม่เกิดอาการเช่นผู้เขียน

สวนลุมพินีวัน เป็นสังเวชนียสถานที่ส�ำคัญแห่งแรก ของชาวพุ ท ธ เป็ น สถานที่ ป ระสู ติ ข องเจ้ า ชายสิ ท ธั ต ถะ เมื่อแรกประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะได้เปล่งอภิสวาจาต่อโลกว่า “เราเป็นผู้เลิศที่สุด เราเป็นผู้เจริญที่สุด และเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในโลก การเกิดของเรานีเ้ ป็นครัง้ สุดท้าย ภพต่อไปไม่มอี กี ” ปัจจุบนั ตั้ ง อ ยู ่ ที่ อ� ำ เ ภ อ ไ ภ ร า ว า แ ค ว ้ น อู ธ ป ร ะ เ ท ศ เ น ป า ล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ต�ำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศ อินเดีย ลุมพินีวันอยู่ใกล้กับชายแดนประเทศอินเดียตอนเหนือ ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างห่างจากสิทธารถนคร (หรือ นครเทวทหะ เมืองของพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา ในสมัยพุทธกาล) ท า ง ทิ ศ ต ะ วั น ต ก แ ล ะ ห ่ า ง จ า ก เ มื อ ง ติ เ ล า ร า โ ก ต (หรือ นครกบิลพัสดุ์ เมืองของพระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา ในสมัยพุทธกาล) ทางทิศตะวันออก ในสมัยพุทธกาล ลุมพินีวัน

สารสถาบันฯ 54

เป็นพระราชอุทยานลาดลุ่ม ร่มรื่น เป็นที่ส�ำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ของกษัตริย์และประชาชน เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราช ครองราชย์ได้ 20 ปี ได้เสด็จ ธรรมยาตราจาริ ก แสวงบุ ญ สั ก การะพุ ท ธสถาน พร้ อ มด้ ว ย พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ (พระอุปคุต) ทรงมีพระประสงค์ ต้ อ งการสร้ า งอนุ ส รณ์ ส ถานของพุ ท ธศาสนา จึ ง มานมั ส การ ณ ลุ ม พิ นี วั น ส ถ า น แ ห ่ ง นี้ พ ร ะ อ ง ค ์ โ ป ร ด ฯ ให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระน�ำทาง และชี้จุดที่เจ้าชายสิทธัตถะ ประสู ติ แล้ ว ให้ น� ำ เสาศิ ล าจารึ ก หั ว เสาเป็ น รู ป ม้ า มาปั ก ไว้ เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ต รงที่ ป ระสู ติ ข องเจ้ า ชายสิ ท ธั ต ถะราชกุ ม าร แล้วทรงสร้างวัดวาอาราม บริจาคเงิน และลดภาษีที่ดินให้แก่ ประชาชนในหมู ่ บ ้ า นลุ ม พิ นี โดยให้ เ สี ย เพี ย งหนึ่ ง ในแปดส่ ว น ของผลผลิต

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


จนกระทั่ ง พ.ศ. 2438-2439 เซอร์อ เล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮมและคณะ ได้ขุดค้นพบเสาศิลาพระเจ้าอโศก ซึ่งถูก ฝังดินไว้ และพบจารึกเป็นอักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) ระบุว่าที่แห่งนี้คือสถานที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ แล้วจากนั้น จึ ง เริ่ ม มี ก ารขุ ด ค้ น ทางโบราณคดี โดยพบซากปรั ก หั ก พั ง จ�ำนวนมาก ซากสถูปกว่า 50 องค์ และซากวิหารอารามต่าง ๆ อีกจ�ำนวนมาก ปัจจุบนั ลุมพินวี นั ได้รบั การบูรณะและมีถาวรวัตถุสำ� คัญ ที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะ คือ เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ตั้งอยู่ข้างวิหารมายาเทวี สูง 26 ฟุต 6 นิ้ว ที่ระบุว่าสถานที่นี้ เป็ น สถานที่ ป ระสู ติ ข องเจ้ า ชายสิ ท ธั ต ถะ นอกจากนี้ ยั ง มี วิหารมายาเทวี ทางการเนปาลได้สร้างวิหารใหม่ทบั วิหารมายาเทวี หลั ง เก่า ภายในประดิ ษ ฐานภาพหิ น แกะสลั ก พระรู ป พระนางสิริมหามายาทรงยืนเหนี่ยวกิ่งสาละ มีนางสนมรายรอบ และด้านหน้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ก�ำลังก้าวพระบาทไปบนดอกบัว ภายในวิ ห ารมี ส ะพานไม้ เ ป็ น ทางเดิ น โดยรอบ ด้ า นล่ า งเป็ น ซากอิฐ ปูน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสังฆารามที่เจริญรุ่งเรืองมากในอดีต และต่อมาได้ขุดค้นพบศิลาจารึกรูปคล้ายรอยเท้า สันนิษฐานว่า เป็นจารึกรอยเท้าก้าวที่เจ็ด ของเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรงด�ำ เนิน ได้เจ็ดก้าวในวันประสูติ

ลุ ม พิ นี ส ถานได้ รั บ การพั ฒ นาจากชาวพุ ท ธทั่ ว โลก โดยเฉพาะจากโครงการฟื ้ น ฟู พุ ท ธสถานลุ ม พิ นี ส ถานให้ เ ป็ น "พุ ท ธอุ ท ยานทางประวั ติ ศ าสตร์ ข องโลก" ซึ่ ง เป็ น ด� ำ ริ ข อง ฯพณฯ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านด�ำรงต�ำแหน่งเลขาธิการ องค์การสหประชาชาติ ท่านตัง้ ใจเริม่ โครงการฟืน้ ฟูให้ลมุ พินสี ถาน เป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธบนพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้ากว่า 6,000 ไร่ แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนส�ำหรับปลูกป่าและสร้างวัดพุทธนานาชาติ จากทั่ ว โลกกว่ า 41 ประเทศ โดยโบราณสถานลุ ม พิ นี ตั้ ง อยู ่ ทางด้านใต้ ปัจจุบนั มีวดั ไทยคือ วัดไทยลุมพินี และวัดพุทธทัว่ โลก ไปสร้างอยู่ เพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่มาสักการะแสวงบุญ ในปี พ.ศ. 2540 ลุมพินสี ถานได้รบั การขึน้ ทะเบียนให้เป็น มรดกโลกประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2554 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานมูลนิธไิ ทยพึง่ ไทย ได้ชกั ชวน ชาวไทยทั้งหลายได้ร่วมบริจาคเงินเพื่อท�ำการบูรณปฏิสังขรณ์ สถานที่ ป ระสู ติ ข องพระพุ ท ธเจ้ า โดยมี พ ระราชรั ต นรั ง ษี เ ป็ น ที่ปรึกษาโครงการ โครงการนี้ท�ำให้ลุมพินีสถานมีความสวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย งดงามรื่นรมย์ยิ่งขึ้นกว่าเดิม

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 55


เกื อ บทั้ ง หมดของทั ว ร์ ท ่ อ งแดนสั ง เวชนี ย สถานจะน� ำ นักท่องเทีย่ วเดินทางมาจากเมืองกุสนิ าราซึง่ เป็นทีป่ รินพิ พานอยู่ใน พื้นที่ของประเทศอินเดีย มายังลุมพินีสถานซึ่งอยู่ในประเทศเนปาล มักจะมาโดยทางรถยนต์ มีระยะทางประมาณ 135 กม. แต่ต้องใช้ เวลานัง่ รถนานถึงกว่า 6 ชม. ข้างทางส่วนใหญ่กจ็ ะเป็นท้องทุง่ ชนบท มีบา้ นของชาวอินเดียอยูก่ ระจายกันตามริมทาง ช่วงรอยต่อชายแดน ระหว่างประเทศอินเดีย - เนปาล ท่านเจ้าคุณพระราชรัตนรังษี ได้ จั ด สร้า งโครงการพุท ธวิห ารสาลวโนทยาน 960 สร้างจาก เงินบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา เพื่อเป็นสถานที่พักอันสวยงาม ร่มรื่น ให้พระสงฆ์ ผู้แสวงบุญ นักท่องเทีย่ วได้มโี อกาสลงพักผ่อน มีคลินกิ ปฐมพยาบาล ห้ อ งพั ก พระสงฆ์ โรงครั ว พั ก ดื่ ม น�้ ำ ชา กาแฟ แถมยั ง มี บ ริ ก ารโรตี แ ขกจิ้ ม นมเลิ ศ รสให้ รั บ ประทานฟรี หากใครประสงค์อยากจะชอบปิง้ ของฝากก็มหี ลากหลายผลิตภัณฑ์ ที่เป็นของมีคุณภาพไว้ใจได้ ที่ส�ำคัญคือมีห้องอาบน�้ำ ห้องสุขา ที่สะอาดเอี่ยม ยอดเยี่ยม ก็ขอให้ท่านอย่าได้พลาดการแวะเยี่ยม โครงการพุทธวิหารสาลวโนทยาน 960 เป็นเด็ดขาดหากได้ไปเยือน สังเวชนียสถาน ติ ด ตามอ่ า นประสบการณ์ ก ารท่ อ งเที่ ย วที่ อิ น เดี ย กันต่อในสารสถาบันฯ ฉบับหน้านะคะ...

ข้อคิดจากสถานที่ประสูติ บางคนสงสัยว่าคนเรา เกิดมาทำ�ไม การได้มาเยือนสังเวชนียสถานแห่งแรก อันเป็นสถานที่ประสูติ คือการเกิดของพระพุทธองค์ และแห่งสุดท้ายคือสถานที่ปรินิพพานก็คือการตาย ทัง้ สองอย่าง การเกิดกับการตายเกิดขึน้ กับคนทุกคน ทุกคนต้องเริ่มด้วยการเกิดแล้วจบสิ้นด้วยการตาย หากแต่ พ ระพุ ท ธองค์ ท รงมี เ พิ่ ม อี ก 2 อย่ า ง คื อ การตรั ส รู้ ซึ่ ง เป็ น การบำ�เพ็ ญ ประโยชน์ ข องตน ให้ เ สร็ จ สิ้ น สมบู ร ณ์ และปฐมเทศนา คื อ การที่ พระองค์ได้สงั่ สอนการดำ�เนินชีวติ ชีใ้ ห้เห็นความจริง ของชีวิตแก่ชาวโลก เป็นงานที่พระองค์ได้บำ�เพ็ญ ประโยชน์ต่อผู้อื่น ดังนั้นถ้าหากเราสามารถพัฒนา ตนเอง หมั่นสร้างความดีงาม มีความสามารถ มีสติ ปัญ ญา ให้เกิด ประโยชน์แก่ตน ก็จ ะเป็น พื้ น ฐาน ในการที่จะบำ�เพ็ญประโยชน์ ช่วยเหลือผู้อื่นได้ต่อไป

สารสถาบันฯ 56

วิหารมายาเทวี และสระน�ำ้ ทีเ่ ชือ่ ว่าเป็นทีส่ ถานทีส่ รงน�้ำ ของพระนางสิริมหามายา

พระราชรัตนรังษี หัวหน้าพระธรรมฑูต สายอินเดีย-เนปาล

โรงครัวพุทธวิหารสาลวโนทยาน 960 บริเวณชายแดน อินเดีย-เนปาล มีบริการน้ำ�ชา กาแฟ โรตีแก่ผู้แสวงบุญ ฟรี อีกทั้งยังมีห้องสุขาที่สะอาดเอี่ยมอีกด้วย วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


เรื่องสั้นเร้าพลัง : โดย นางสาวนิพรรณ ศรีนวล

ภาพประกอบ อาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง

เรื่องสั้นเร้าพลัง ตอน...บันทึกจากใจ...แม่ ลูก เกษตรกร โ

ครงการวิจัยหญิงตั้งครรภ์ในภาคการเกษตร หรือ R21 เป็นโครงการทีว่ จิ ยั ถึงผลกระทบของสารเคมีทางการเกษตรจากแม่ สูล่ กู มีการเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ จากหญิงตัง้ ครรภ์ทปี่ ระกอบ อาชีพเกษตรกร ที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลฝาง อ�ำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จะมีการติดตามอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์จนถึงหลังคลอด มีการเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะของอาสาสมัคร เมื่อมาตรวจครรภ์ตามนัด เก็บตัวอย่าง เลือดมารดา เลือดจากสายสะดือทารกขณะคลอด เก็บปัสสาวะ และขีเ้ ทาของทารก ประเมินพัฒนาการทางระบบประสาทของทารก ขณะอยู่โรงพยาบาล รวมทั้งติดตามเก็บปัสสาวะทารก น�้ำนม มารดา ประเมินพัฒนาการทางระบบประสาทของทารกหลังคลอด 6 สั ป ดาห์ ซึ่ ง โครงการนี้ ท� ำ ให้ ฉั น มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ในงาน “พยาบาลวิจัย” วันเริ่มต้นโครงการ ฉันแอบลุ้นอยู่ในใจว่าวันแรกจะได้ อาสาสมั ค รกี่ค น เพราะมีห ญิงตั้งครรภ์ ม าฝากครรภ์เ ต็ ม ห้อ ง แต่เนื่องจากโครงการมีเกณฑ์การรับอาสาสมัครหลายอย่างเพื่อ

ให้ได้อาสาสมัครทีต่ รงตามวัตถุประสงค์ ทาให้วนั แรกได้อาสาสมัคร แค่สองคน ฉันคิดว่าวันต่อๆ ไปน่าจะได้อาสาสมัครมากขึ้น แต่แล้ว ทุกๆวันทีม่ กี ารฝากครรภ์จะได้อาสาสมัครมากสุดไม่เกินสามคนต่อ วั น บางวั น ก็ ไ ม่ ไ ด้ ฉั น รู ้ ดี ว ่ า ไม่ ค วรที่ จ ะรี บ ใจร้ อ นจนเกิ น ไป เพราะเราต้ อ งได้ อ าสาสมั ค รที่ ยิ น ยอมอยู ่ กั บ โครงการตั้ ง แต่ เริ่มตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด มีวนั หนึง่ ฉันได้มานัง่ ในห้องฝากครรภ์ของโรงพยาบาลฝาง ตามปกติ อาสาสมัครคนหนึ่งที่มาตรวจตามนัดครั้งที่ 3 ซึ่งเป็น คนไทใหญ่ เดินมาพร้อมกับถุงหิ้วที่มีกล่องกระดาษอยู่ข้างใน แล้วเอาถุงมายื่นให้ฉัน บอกฉันว่า “พอดีไปเก็บลิ้นจี่มา เขาให้ เอามากิ น ได้ ก็ เ ลยเก็ บ มาฝากค่ ะ ” ฉั น อึ้ ง ไปนิ ด หนึ่ ง แล้ ว ก็ กล่าวขอบคุณเขา พอฉันแกะดูข้างใน เป็นลิ้นจี่ที่ถือว่าคัดมาเลย ก็ว่าได้ เรียงมาอย่างสวยงามในกล่อง ความรู้สึกของฉันตอนนั้น บอกไม่ถกู เลยจริงๆ ไม่ใช่วา่ อยากได้ของฝาก แต่รสู้ กึ ว่าเขาอาจรูส้ กึ ดีกับเราจึงเอาของมาฝากเรา

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 57


แล้ ว วั น ที่ฉั น นึก ลุ ้ น อยู ่ ต ลอดเวลาก็ ม าถึง ขณะที่ฉั น นั่ ง ท�ำงานอยูก่ ม็ เี สียงโทรศัพท์ดงั ขึน้ เป็นเสียงอาสาสมัครโทรมาบอกว่า เจ็บครรภ์คลอด ตอนนี้กาลังจะไปโรงพยาบาล ฉันรีบทิ้งทุกสิ่ง ทุกอย่าง รีบตรงไปโรงพยาบาลฝาง ขณะขับรถไปก็นึกลุ้นอยู่ว่า ฉันจะไปเก็บเลือดทันไหม จะเป็นอย่างไร พอฉันไปถึงโรงพยาบาล อาสาสมัครนอนอยู่ในห้องรอคลอด พอเห็นหน้าฉันเขายิ้มอย่างดีใจ (ฉันคิดว่าเขาดีใจนะทีเ่ ห็นฉัน) เพราะฉันบอกอาสาสมัครว่าจะเข้าไป อยู่ในห้องคลอดเป็นเพื่อนขณะคลอด และแล้วเวลาที่ทารกคนแรก คลอดก็ ม าถึ ง พอทารกคลอดออกมาฉั น ก็ รี บ ไปเอาเลื อ ดจาก สายสะดื อ ก่ อ นที่ ร กจะคลอด ฉั น ตื่ น เต้ น มาก กลั ว รกจะคลอด เสี ย ก่ อ น เพราะถ้ า รกคลอดออกมาแล้ ว จะเก็ บ เลื อ ดไม่ ไ ด้ เ ลย แล้ ว ทุ ก อย่ า งก็ ผ ่ า นพ้ น ไปด้ ว ยดี มั น ท� ำ ให้ ฉั น รู ้ สึ ก โล่ ง ใจอย่ า ง บอกไม่ถูก แต่เรื่องไม่ได้จบลงแค่นี้ หลังคลอดวันแรกต้องเก็บ ตัวอย่างขี้เทา และปัสสาวะทารก ตอนแรกฉันก็ไม่คิดว่ามันจะยาก ตรงจุดนี้ ปรากฏว่ามันยากจริงๆ เพราะการที่จะติดถุงไว้ที่ก้นเด็ก ตลอดเวลาเพือ่ เก็บปัสสาวะท�ำให้ก้นเด็กแดง ฉันจึงคิดหนักตรงจุดนี้ แต่สุดท้ายก็หาทางออกได้โดยการใช้ส�ำลีรองก้นเด็กไว้ แล้วให้แม่ ทารกบีบน�ำ้ ปัสสาวะเก็บใส่หลอดให้ ในวันทีส่ องหลังคลอดของทารก คนแรก ฉั น ได้ ป ระเมิ น พั ฒ นาการทางระบบประสาทของทารก ฉันแอบตื่นเต้นอยู่บ้าง กลัวว่าเด็กจะไม่ให้ความร่วมมือ แต่ทุกอย่าง ก็ผ่านไปได้ด้วยดี ก่อนหน้านี้ฉันได้เข้ารับการอบรมการประเมิน พัฒนาการทางระบบประสาทของทารกเพื่อนามาใช้ในการประเมิน ทารกในโครงการ ท�ำให้ฉนั ดีใจมากทีไ่ ด้เข้ารับการอบรมเพราะถือว่า เป็นประสบการณ์ที่หาได้ยาก

"

พอเห็นหน้าฉันเขายิ้มอย่างดีใจ

"

(ฉันคิดว่าเขาดีใจนะที่เห็นฉัน)

ทุกอังคารและพฤหัสบดี ฉันก็จะไปนั่งอยู่ในห้องฝากครรภ์ ของโรงพยาบาลเพื่อรอรับอาสาสมัครคนใหม่ อาสาสมัครเดิมมา ตรวจตามนัด หากมีคลอดก็ไปอยู่ห้องคลอดเพื่อรอเก็บตัวอย่าง นับว่าตลอดเวลาหนึ่งปีฉันไม่สามารถเดินทางไปไหนไกลได้เลย เพราะต้องเตรียมพร้อมเสมอ บางครั้งเพื่อนไปต่างจังหวัดฉันก็นึก อยากไปด้วยแอบเสียดายอยู่ แต่ใจก็คดิ ถ้าฉันไปกับเพือ่ นแล้วถ้าเกิด อาสาสมั ค รคลอดจะท� ำ อย่ า งไร ฉั น จึ ง คิ ด ว่ า รอให้ อ าสาสมั ค ร คลอดหมดก่อนแล้วค่อยไป

สารสถาบันฯ 58

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


หลายครั้งฉันจะได้รับโทรศัพท์จากอาสาสมัครหลังคลอด แล้วหนึ่งเดือน ที่เป็นคนไทใหญ่โทรมาเชิญฉันไปงานวันเกิดครบ หนึ่งเดือนของลูก ซึ่งเป็นธรรมเนียมของไทใหญ่ถ้าลูกมีอายุครบ หนึง่ เดือนจะมีการจัดเลีย้ งวันเกิด โดยเชิญญาติ คนทีร่ จู้ กั มาร่วมงาน การทีอ่ าสาสมัครโทรมาเชิญฉัน ท�ำให้ฉนั รูส้ กึ ดีใจทีเ่ ขายังไม่ลมื รูส้ กึ คุ ้ น เคยกั น แต่ ฉั น ก็ รู ้ สึ ก เสี ย ดายตรงที่ ฉั น ไม่ ไ ด้ ไ ปร่ ว มงาน เพราะบางครั้งมีอาสาสมัครรายอื่นมาคลอด ติดงาน หรือบางครั้ง ติดทีฉ่ นั เข้ามาเครียงานทีส่ ถาบันฯ แต่ฉนั ก็โทรไปแสดงความยินดีกบั อาสาสมัครแทน เขาก็ยังดีใจที่ฉันโทรกลับไป

"เกือบทุกคนพอรู้ว่าฉันจะไปเยี่ยมบ้าน เขาจะเตรียมต้อนรับอย่างดี" ในการติดตามอาสาสมัครหลังคลอด 6 สัปดาห์ สร้างความ รู้สึกหลายอย่างกับฉัน เพราะฉันจะไปเยี่ยมอาสาสมัครที่บ้านทุกคน การเดินทางไปบ้านอาสาสมัครส่วนใหญ่ ถนนไม่ค่อยดี เข้าไปได้ยาก โดยเฉพาะในสวน และบนดอยสูง การเดินทางแต่ละครั้งสร้างความ ตื่นเต้นให้กับฉัน บางครั้งพอถึงระหว่างทางฉันหยุดคิดว่าจะไปต่อ หรือถอยกลับดีเพราะรถที่ใช้เดินทางไม่ได้เป็นรถยกสูง แต่ในใจ ก็คิดว่าถ้าไม่ไปเขาจะรู้สึกอย่างไร เพราะนัดเขาไว้แล้ว และคิดว่า เขายังเดินทางไปหาเราได้ตลอดในช่วงของการฝากครรภ์แล้วท�ำไม เราถึงไปหาเขาไม่ได้ หลายคนบ้านอยู่ไกลมากจนฉันแอบคิดในใจว่า ไกลขนาดนี้ ท้องก็โต เขายังสามารถไปตรวจตามนัดที่โรงพยาบาล ได้ทกุ ครัง้ เพราะทีจ่ ริงเขาสามารถทีจ่ ะฝากครรภ์ทสี่ ถานีอนามัยก็ได้ แต่เขาอยากเข้าร่วมโครงการนี้ เขาจึงมาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล ฉันนับถือเขาจริงๆ ในความตัง้ ใจของเขา เกือบทุกคนพอรูว้ า่ ฉันจะไป เยี่ยมบ้านเขาจะเตรียมต้อนรับอย่างดี มันยิ่งท�ำให้ฉันปลื้มใจมาก ยิง่ ขึน้ ทัง้ ๆ ในใจไม่ได้อยากให้เขาเตรียมต้อนรับอะไรเลย ฉันจึงคิดว่า ถ้าฉันเดินทางมาแล้วมาถึงกลางทางแล้วกลับไป ฉันคงรู้สึกแย่ถ้ารู้ ว่าเขาได้เตรียมต้อนรับเราไว้เป็นอย่างดีขนาดนี้ เพราะอาจท�ำให้เขา รู้สึกเสียใจได้ แต่ก็มีครั้งหนึ่งที่เป็นเหตุจ�ำเป็น ฉันได้นัดเยี่ยมบ้าน อาสาสมัครรายหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในสวนส้ม ถนนเข้าสวนเป็นดินที่ ถมใหม่ แต่บังเอิญวันที่ฉันนัดไว้มีพายุเข้าทางเข้าไปล�ำบากมาก ฉันพยายามจะโทรหาเขาแต่ไม่สามารถติดต่อได้ ฉันจึงได้ย้อนกลับ ออกไป และฝนก็ตกอีกหลายวัน ฉันติดต่อเขาทางโทรศัพท์ไม่ได้เลย ผ่านไปหนึ่งอาทิตย์ฝนหยุดตกแล้ว ฉันได้เดินทางไปเยี่ยมเขาอีกครั้ง แม้ว่าถนนยังเข้าไปได้ยาก แต่ก็ยังดีกว่าตอนแรก เพราะดินเริ่มแห้ง พอไปถึงเขาก็ดีใจ สามี ญาติ มาต้อนรับฉันอย่างดี พร้อมกับเอาส้ม ที่คัดไว้อย่างดีมาให้ฉัน และบอกฉันว่าเก็บไว้รอฉันตั้งแต่อาทิตย์ ที่แล้ว นึกว่าฉันจะไม่มาแล้ว ฉันก็บอกเหตุผลเขาไปว่ารถฉันเข้ามา ไม่ได้ และติดต่อเขาไม่ได้ เขาก็เข้าใจดี แต่กเ็ ป็นเหตุการณ์ทที่ ำ� ให้ฉนั รู้สึกผิดอยู่บ้างในใจ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 59


การเยี่ยมอาสาสมัครยังทาให้ฉันได้พบกับเหตุการณ์ที่ ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น ฉันได้ไปเยี่ยมอาสาสมัครรายหนึ่ง ซึ่งบ้านเขา เข้ า ไปไกลพอสมควร ฉั น ได้ พ บว่ า ตาของลู ก ข้ า งหนึ่ง เป็ น ตาด� ำ เกือบทั้งหมด ฉันเห็นตอนแรกรู้สึกตกใจมาก แต่พอดูแล้วฉันคิดว่า ไม่น่าจะบอด เพราะเด็กยังมองตามฉันอยู่ ฉันถามอาสาสมัครว่า ลูกเป็นมานานหรือยัง แล้วท�ำไมถึงไม่พาลูกไปหาหมอ เขาตอบฉัน ว่าเป็นได้สองอาทิตย์หลังคลอด ตอนแรกเป็นนิดเดียว แล้วเพิม่ ขยาย มากขึน้ เรือ่ ยๆ เขาบอกว่า คิดว่าลูกไม่เป็นอะไรมากเพราะยังมองตาม คิดว่าจะรอให้ลูกครบฉีดวัคซีนก่อนค่อยพาลูกไปหาหมอ ฉันจึง แนะน� ำ ให้ เ ขาพาลู ก ไปหาหมอให้ เ ร็ ว ที่ สุ ด เพื่ อ จะได้ รั ก ษาทั น อีกวันหนึ่งฉันได้โทรไปหาเขาอีกครั้ง ปรากฏว่าเขาได้พาลูกไปตรวจ ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล แล้วได้ก็มีการส่งตัวต่อไปพบ กุมารแพทย์ที่โรงพยาบาลฝาง แพทย์จึงเขียนใบส่งตัวให้ไปรักษา โดยการผ่าตัดที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ทันที โดยแพทย์ วิ นิ จ ฉั ย ว่ า เป็ น ต้ อ หิ น ในเด็ ก หลั ง รั บ การรั ก ษาด้ ว ยการผ่ า ตั ด ที่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ฉันได้โทรติดต่อถามอาการ แพทย์ นั ด ให้ ไ ปตรวจหลั ง ผ่ า ตั ด ตา เขาก็ พ าลู ก ไปตรวจทุ ก ครั้ ง และฉันก็ได้ไปเยี่ยมเขาที่บ้านอีกครั้งโดยที่ไม่ได้นัดไว้ก่อนเพราะฉัน อยากไปดูว่าตาลูกเขาเป็นอย่างไรบ้างหลังผ่าตัด พอเขาเห็นหน้าฉัน เขายิ้มอย่างดีใจทันที ฉันก็นึกแปลกใจเพราะปกติเขาจะไม่ค่อยยิ้ม ไม่คอ่ ยพูด เขาบอกฉันว่าเขาดีใจทีฉ่ นั ไปเยีย่ มเขาอีก บอกว่าดีใจทีล่ กู ตาไม่บอด เพราะเขาไม่มีความรู้คิดว่าลูกไม่ได้เป็นอะไรมากจึงไม่ได้ พาไปหาหมอ หมอบอกเขาว่าถ้าไปรักษาช้าเด็กอาจตาบอดได้ ฉั น รู ้ สึก ดีใ จอย่ า งบอกไม่ ถู ก ถึง แม้ ว ่ า ไม่ ไ ด้ ช ่ ว ยอะไรมากไปกว่ า ค�ำแนะน�ำที่ให้เขา ตอนนี้ลูกมองตามเขามากขึ้น หมอบอกว่าอาจ มองไม่เห็นร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ไม่ได้ตาบอด เขาบอกว่าแค่นี้เขาก็ ดี ใ จแล้ ว ฉั น ก็ ดีใ จไปกั บ เขาด้ ว ย มั น สร้ า งความรู ้ สึ ก ภู มิใ จมาก อย่างบอกไม่ถูก

"หมอบอกเขาว่าถ้าไปรักษาช้า เด็กอาจตาบอดได้" และบางครั้งยังมีโทรศัพท์จากอาสาสมัครที่คลอดมาแล้ว หลายเดื อ นโทรหาฉั น ฉั น ได้ บั น ทึ ก ชื่ อ ของเขาไว้ ใ นโทรศั พ ท์ ก่อนจะรับฉันก็แอบงงเล็กน้อย เขาโทรมาถามฉันว่าเมื่อไหร่จะไป เยีย่ มเขาอีก อยากให้ฉนั ไปเยีย่ มเฉยๆ ไม่ได้มปี ญ ั หาอะไร ฉันบอกเขา ไปว่าถ้ามีเวลาว่างหรือถ้าผ่านไปจะแวะเข้าไปเยีย่ มเขาก็ดใี จ บางคน โทรมาปรึ ก ษาเนื่ อ งจากลู ก ไม่ ส บายไปโรงพยาบาลแล้ ว ไม่ รู ้ จ ะ ด�ำเนินการอย่างไร เพราะไม่มีความรู้ ฉันก็ได้แนะน� ำ พร้อมทั้ง จัดการให้โดยโทรไปหาคนรู้จักที่โรงพยาบาลช่วยดูแล แนะน�ำเขา หลั ง จากลู ก ออกจากโรงพยาบาลเขาก็ โ ทรมาหาฉั น อีก ครั้ง เพื่อ แจ้งอาการของลูก และขอบคุณฉัน

สารสถาบันฯ 60

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


แล้วการติดตามอาสาสมัครก็สิ้นสุดลง เมื่อเดือนกันยายน 2555 ที่ผ่านมา ฉันได้บอกอาสาสมัครทุกคนว่าหากมีปัญหา เรื่องสุขภาพหรือเรื่องที่ต้องการค�ำแนะน�ำ ไม่สามารถจะปรึกษาใครได้ หากต้องการให้ฉันช่วยเหลือในสิ่งที่ฉันช่วยได้ ฉันยินดี ให้ความช่วยเหลือ สามารถโทรหาฉันได้ตลอดเวลา โครงการนี้ท�ำให้ฉันได้รับประสบการณ์หลายอย่าง ฝึกให้ฉันมีความอดทน มีความพยายาม ฝึกให้คิด เปิดโอกาสให้ตัดสินใจ บางครั้งเจอปัญหาก็พยายามแก้ไขจนส�ำเร็จได้ ท�ำให้มีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งทางด้านวิชาการ และวิถีการด�ำเนินชีวิตของคน กลุ ่ ม ต่ า งๆ แม้ ว ่ า บางครั้ง อาจรู ้ สึก เหนื่อ ยกั บ งานในช่ ว งที่มีอ าสาสมั ค รคลอดติด ๆ กั น หลายวั น โดยเฉพาะคลอดตอนกลางคืน เหนื่อยกับการเดินทางระหว่างอ�ำเภอฝางกับเมืองเชียงใหม่ เพราะต้องเดินทางไปมาบ่อยครั้ง บางครั้งรู้สึกท้อ แต่ความรู้สึกปลาบปลื้ม ยินดีในหลายๆ เรื่องก็ท�ำให้ฉันหายเหนื่อย หายท้อได้ เรื่องบางเรื่องไม่คิดว่าจะเกิดก็เกิดขึ้น มีหลายเรื่องที่สร้างความประทับใจกับฉัน รวมทั้งอาสาสมัครทุกคนให้ความร่วมมือดีมาก ตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์จนกระทั่งติดตามหลังคลอด ฉันคิดว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นท�ำให้ฉัน อยากที่จะก้าวต่อไป และเรื่องราวดีๆ เหล่านี้จะไม่มีวันลบออกจากความทรงจ�ำฉันได้แน่นอน แม่ ลูก เกษตรกร.....

...

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 61


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.