สารสถาบัน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ฉบับที่ 12

Page 1

สารสถาบันฯ

ฉบับที่ 12 วันที่ 2 เมษายน 2556

เมษายน - พฤษภาคม 2556

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Research Institute for Health Sciences, Chiang Mai University

ผอ. อยากคุย ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์

สารสถาบันฯ 01-03 ผอ. อยากคุย (จริงๆ) 04-16 เล่าขานงานวิจัย 17-27 News & Event 28

ตารางกิจกรรม

29-30 ซุปซิบสร้างสรรค์ 31-35 บอกกล่าวรอบบ้าน 36-37 เรื่องสั้นเร้าพลัง 38-63 ย่ำ�เท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก

ที่ปรึกษา

ศ. นพ. สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ รศ. พญ. อัมพิกา มังคละพฤกษ์ ศ. นพ. ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผศ. นพ. อภินันท์ อร่ามรัตน์ ผศ. นพ. เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย

กองบรรณาธิการ นางบุปผา ประภาลักษณ์ นางสาวอริยา สิงหประเสริฐ นางปภาวดี ดำ�รงมณี นางสาวทัศนวรรณ บริบูรณ์ นางสาวอุวรรณา รัตนศรี นายวิโรจน์ แก้วตุ้ย นายพิพัฒน์พงศ์ ตุลาพงษ์พิพัฒน์

(จริงๆ)

เป็นอย่างไรกันบ้าง สบายดีไหมครับชาวสถาบันฯ ที่รักทุกท่าน นี่ก็เข้าสู่ ช่วงฤดูที่มีปัญหาหมอกควันของเชียงใหม่และภาคเหนือกันอีกแล้ว ยังดีที่พอจะมีลมพัด และฝนตกสลับเป็นช่วง ๆ อยู่บ้างในช่วงนี้ ท�ำให้พอจะช่วยบรรเทาเบาบางปัญหา หมอกควันได้เป็นบางวัน แต่บางวันก็หนักหนาสาหัสพอควร วิธีประเมินคุณภาพ ของอากาศแบบชาวบ้ า นที่ อ าจารย์ ช อบใช้ ก็ คื อ แหงนหน้ า มองไปทางดอยสุ เ ทพ จากชั้นสี่ของตึกหนึ่งตอนเที่ยงวัน ถ้าวันไหนมองเห็นตัวพระธาตุชัดเจน แสดงว่า อากาศดีมาก วันไหนเห็นแบบเบลอ ๆ พอมองเห็นยอดดอยและพระธาตุเป็นเงา ๆ ก็ยังพอจะหายใจได้ไหวอยู่ แต่ถ้าวันไหนมองไม่เห็นตัวดอยสุเทพเลย แสดงว่า วันนั้น ความรุนแรงของปัญหาหมอกควันในตัวเมืองเชียงใหม่น่าจะหนักหนาสาหัส อยู่ในขั้น อันตราย แต่ถ้าอยากให้เป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ คงต้องอาศัยเครื่องมือตรวจวัด คุณภาพอากาศของกลุ่มวิจัยมลภาวะ ที่มี ดร.ทิพวรรณ เจ้ใหญ่ของเรา เป็นแกนน�ำ เอาเครื่องฯ มาตั้งตรวจที่หน้าสถาบันฯ ของเรา ท่านใดที่เป็นโรคภูมิแพ้ เป็นโรคหอบหืด ก็ ค งจะหายใจล� ำ บากมากกว่ า คนอื่ น บางท่ า นอาจต้ อ งถู ก น� ำ ส่ ง เข้ า โรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาโรคหอบหืด หรือไม่ก็หอบผ้าหนีไปอาศัยอยู่ที่ภาคอื่นเป็นการชั่วคราว ยังไงก็ขอช่วยกันดูแล ช่วยกันแก้ไขปัญหาหมอกควันกันต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัย ของ ดร.ทิพวรรณ คุณธัญญ่า (แขก) และทีมงานมลภาวะที่กล่าวไปแล้ว คงต้อง ช่วยกันรณรงค์และหาทางแก้ไขปัญหาเหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา เพราะดูท่าทางแล้ว คงจะเป็นปัญหาของภาคเหนือต่อไปอีกนานในช่วงหน้าร้อนของทุกปีครับ ในเดือนเมษายน ถือเป็นเดือนทีพ่ วกเราจะมีงานรดน�ำ้ ด�ำหัว ขอพรจากผูอ้ าวุโส ของสถาบันฯ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์เหมือนเช่นที่ผ่านมาทุกปี ปีนี้ก� ำหนดจัดงาน ในวันที่ 19 เมษายน ในช่วงเช้าทีส่ ถาบันฯ ตึกหนึง่ ส่วนในตอนบ่าย จะเป็นงานรดน�้ำด�ำหัว ที่ เ ราจะจั ด ขบวนแห่ ไ ปร่ ว มกั บ หน่ ว ยงานอื่ น ๆ ใน มช. เพื่ อ รดน�้ ำ ด� ำ หั ว ผู ้ อ าวุ โ ส และผู้บริหารของ มช. เหมือนเช่นทุกปี หวังว่าชาวสถาบันฯ ทุกท่านจะได้มาร่วมงาน เพื่อแสดงความกตัญญูต่อผู้อาวุโสของสถาบันฯ ด้วยกันนะครับ ส่ ว นอี ก เรื่ อ งที่ ห ลายท่ า นดู จ ะชอบเดื อ นเมษายนกั น มากกว่ า เดื อ นอื่ น ๆ ในรอบปี เพราะเป็นเดือนที่มีวันหยุดพิเศษที่หยุดติดต่อกันนานมาก และยังเป็นช่วง ปิดเทอมส�ำหรับท่านที่มีครอบครัวและมีลูกอยู่ในวัยเรียนอยู่ จึงถือเป็นโอกาสทอง

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ของบางท่านที่จะขออนุญาตลาพักร้อน (เพราะร้อนจริง ๆ) พาครอบครัวไปเที่ยวทะเลบ้าง ที่พอมีตังค์เหลือใช้มากหน่อย ก็ ไ ปเที่ย วไกลถึง ต่ า งประเทศ ปลายเดือ นมีน าคมที่ผ ่ า นมา จึงเห็นมีใบลาพักผ่อนของชาวสถาบันฯ เสนอขออนุมัติล่วงหน้า มากกว่าช่วงอื่นในรอบปี ก็ขอให้ท่านที่ใช้โอกาสหยุดยาวนี้ ได้ ไ ปเที่ ย วและพั ก ผ่ อ นกั บ ครอบครั ว หรื อ เพื่ อ น ๆ อย่ า งมี ความสุ ข สนุ ก สนาน สมใจอยากกันถ้ ว นหน้ า ถือ เป็ นการ ชาร์จแบตเตอรี่ให้แก่ชีวิตหลังจากเหนื่อยล้ามานาน หวังว่า กลั บ มาจะได้ ตั้ ง หน้ า ตั้ ง ตาท� ำ งานอย่ า งคึ ก คั ก ทุ ก ท่ า น เพราะได้พักผ่อนกันเต็มที่ (หวังว่าจะไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาท�ำงาน ใช้หนี้ เพราะกู้เงินไปเที่ยวล่วงหน้าจนเกินตัว) อี ก เรื่ อ งที่ อ ยากจะเล่ า ให้ พ วกเราได้ ท ราบ ก็ คื อ การจัดสัมมนาและประชุมร่วมกันระหว่าง 5 สถาบันวิจยั ใน มช. ได้แก่ สถาบันวิจยั สังคม สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันวิจยั พลังงาน และสถาบันวิจยั หลังการเก็บเกีย่ ว บวกกับ สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพของเรา เรี ย กย่ อ ๆ ว่ า เครื อ ข่ า ย 5 ส. ซึ่ ง จะมี ป ระชุ ม สั ม มนาของที ม ผู ้ บ ริ ห าร และนักวิจยั แกนน�ำของแต่ละสถาบันฯ ในวันที่ 3 เมษายน 2556 ณ ห้ อ งประชุ ม สถาบั น วิ จั ย สั ง คม โดยมี ค วามคาดหวั ง ว่ า จะสร้างความร่วมมือในการพัฒนางานวิจยั ทีบ่ รู ณาการร่วมกัน ได้ในเครือข่ายวิจัยของสถาบันฯ รวมถึงการท�ำงานวิจัยร่วมกับ คณะต่าง ๆ ใน มช. และการหารือเกีย่ วกับแนวทางในการพัฒนา บุ ค ลากรของสถาบั น ฯ ร่ ว มกั น ส่ ว นผลการปรึ ก ษาหารื อ เป็นอย่างไร มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจที่เราจะท�ำงานร่วมกัน ในเครือข่าย 5 ส. ได้บ้าง จะขอรวบรวมน�ำมาเล่าให้พวกเรา ได้ทราบในสารสถาบันฯ ฉบับหน้า หากพวกเราพอจ�ำกันได้ เมื่อสองปีก่อนทางสถาบันฯ เคยท� ำ แบบสอบถามเรื่ อ งความพึ ง พอใจและความผู ก พั น ของบุคลากรที่มีต่อการท�ำงานในสถาบันฯ โดยเป็นการตอบ ผ่ า นทางเว็ บ ไซต์ ภ ายในของสถาบั น ฯ ซึ่ ง ในคราวที่ แ ล้ ว ต้องขอชมเชยพวกเราอย่างมาก เพราะได้รับความร่วมมือ จากพวกเราเข้าไปช่วยกันตอบแบบสอบถามและเสนอข้อคิดเห็น

ที่ดี ๆ เพื่อการพัฒนาสถาบันฯ เป็นอย่างดียิ่ง ถ้าจ� ำไม่ผิด น่ า จะมี พ วกเราเข้ า ไปช่ ว ยกั น ตอบมากกว่ า 80% ขณะนี้ ทางสถาบันฯ คิดว่าจะขอความร่วมมือจากพวกเราเพื่อท�ำการ ส�ำรวจเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง เพราะเป็นกิจกรรมการส�ำรวจ ตนเองที่พยายามจะท�ำทุก 2 ปี คาดว่าน่าจะปรับแบบสอบถาม ใหม่ได้เสร็จ และเอาขึน้ เว็บไซต์ของสถาบัน เพือ่ ขอความร่วมมือ ให้ พ วกเราช่ ว ยกั น เข้ า ไปตอบได้ ใ นเดือ นเมษายน 2556 นี้ ยังไงจะได้มีการประกาศแจ้งเวียนผ่านไปทางหัวหน้าส่วนงาน ที่ท่านสังกัด เมื่อได้จัดท�ำแบบสอบถามเสร็จและน�ำขึ้นเว็บไซต์ เพื่ อ ให้ พ วกเราเข้ า ไปช่ ว ยกั น ตอบได้ แ ล้ ว นอกจากนี้ ผลการส�ำรวจดังกล่าว ยังถือเป็นเกณฑ์ตัวหนึ่งที่เราจะต้องท�ำ เพื่อเป็นการส�ำรวจตนเองของสถาบันฯ และต้องน�ำเสนอให้แก่ คณะกรรมการประกันคุณภาพที่จะมาตรวจเยี่ยมและประเมิน สถาบันฯ ประมาณกลางปีนี้ครับ ส่วนเรื่องสุดท้าย ที่จะขออนุญาตเรียนแจ้งให้พวกเรา ทราบก็ คือ เรื่องการด� ำ รงต� ำ แหน่งผู ้อ� ำ นวยการ สถาบัน ฯ ของอาจารย์จะครบรอบ 4 ปีที่อาจารย์ด�ำรงต�ำแหน่งในเดือน มิถนุ ายน 2556 นี้ มีความรูส้ กึ ว่าเวลาผ่านไปเร็วจัง และขอกล่าว ค� ำ ขอบคุ ณ พวกเราทุ ก คนที่ ไ ด้ ร ่ ว มกั น ท� ำ งานอย่ า งทุ ่ ม เท ด้วยความเสียสละ และได้ช่วยสร้างชื่อเสียงในด้านการวิจัย อย่างมากมายให้แก่สถาบันฯ และ มช. รวมถึงชื่อเสียงให้แก่ ประเทศในการวิจัยทางคลินิกที่เราได้ท�ำร่วมกับสถาบันวิจัย ชั้ น น� ำ ในต่ า งประเทศ ตอนนี้ ท างมหาวิ ท ยาลั ย ได้ แ ต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการสรรหา และอยู่ในระหว่างกระบวนสรรหาบุคคล ที่ เ หมาะสมเพื่ อ มาด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ผู ้ อ� ำ นวยการคนต่ อ ไป ส่วนจะเป็นใคร ใครจะสมัครกันบ้าง และคณะกรรมการสรรหา จะเลื อ กใครให้ เ ป็ น ผอ. คนต่ อ ไป ก็ ค งต้ อ งรอติ ด ตามกั น เราน่าจะรู้ผลการพิจาณาในเดือนพฤษภาคม - มิถนุ ายน 2556 ก่อนอาจารย์ครบวาระในวันที่ 26 มิถุนายน หากทราบผล การตัดสินแล้ว จะได้น�ำมาเรียนให้พวกเราได้ทราบโดยทั่วกัน ต่อไป....พบกันใหม่ฉบับหน้าครับ

#####

สารสถาบันฯ 2

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 3


“เล่าขานงานวิจัย” ศูนย์วิจัยด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผศ. นพ. เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย

สวัสดีครับ วันนี้ผมขอแนะน�ำโครงการวิจัยใหม่เกี่ยวกับโรคเอดส์ของสถาบันฯ ที่จะเริ่มด�ำเนินการในปีนี้ชื่อโครงการ

RV 306 ครับ อันที่จริงจะว่าไปแล้ว โครงการนี้ก็ไม่ใช่โครงการวิจัยใหม่หมดเสียทีเดียว แต่เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากโครงการ RV 144 ซึ่งเป็นโครงการทดลองวัคซีนป้องกันเอดส์ที่ด�ำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วที่จังหวัดชลบุรีและระยอง ที่พบว่าวัคซีน ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีได้ 60% ในปีแรกหลังได้รับวัคซีน อย่างไรก็ตามระดับประสิทธิผลค่อย ๆ ลดลง จนเหลือประมาณ 31% เมื่อครบสามปีครึ่ง และปัจจุบันวัคซีนตัวนี้ก็ยังเป็นวัคซีนป้องกันเอดส์ตัวเดียวที่ได้ผล โครงการ RV 306 จึงจะน�ำวัคซีนของโครงการ RV 144 มาศึกษาต่อยอด โดยทดลองฉีดวัคซีนอัลแวค-เอชไอวี และเอดส์แวกซ์บี/อี ซึ่งเคยใช้ในโครงการ RV 144 ให้กับอาสาสมัครตามโปรแกรมของ RV 144 แต่จะฉีดเพิ่มที่ระยะเวลา 1 ปี ในหลาย ๆ รูปแบบด้วย เพื่อดูการกระตุ้นภูมิคุ้มกันผ่านทางลักษณะการตอบสนองของภูมิคุ้มกันในร่างกายและในเยื่อเมือก ฉะนั้นนอกจากจะมีน�ำเลือดของอาสาสมัครไปตรวจแล้ว โครงการจะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากบริเวณล�ำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และไขกระดูกไปตรวจดูด้วย หน่วยงานที่ร่วมในการวิจัยนี้ประกอบด้วย ศูนย์ทดสอบวัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร กรมการแพทย์ทหารบก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และที่สถาบันฯ ของเรา โดยศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย รับเป็นสถานทีเ่ ก็บและตรวจตัวอย่างเนือ้ เยือ่ ส�ำหรับทีส่ ถาบันฯ มีอาจารย์หมอสุวฒ ั น์ ท่านผูอ้ ำ� นวยการเป็นหัวหน้า โครงการ ได้มีการอบรมเจ้าหน้าที่โครงการไปแล้วเมื่อวันที่ 25-26 มี.ค. 2556 และคาดว่าจะเริ่มรับอาสาสมัครได้ภายใน กลางปีนี้

สารสถาบันฯ 4

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ศูนย์วิจัยชีวโมเลกุล และเซลล์วิทยาของโรคติดเชื้อ ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ

นฉบั บ นี้ ศู น ย์ วิ จั ย ชี ว โมเลกุ ล และเซลล์ วิ ท ยา ของโรคติ ด เชื้ อ จะขอเล่ า ถึ ง งานวิ จั ย ด้ า นภู มิ คุ ้ ม กั น ต่อโรคมาลาเรีย ซึ่งท�ำการศึกษาในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันสุขภาพ แห่งชาติ (The National Institute of Health: NIH) ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยมี ดร.จิรประภา วิภาษา เป็นหัวหน้า โครงการ ก่อนจะเล่าถึงโครงการวิจัย ขอเท้าความถึงความรู้ ด้านภูมิคุ้มกันกันก่อน โดยปกติแล้วเมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรค ระบบภู มิ คุ ้ ม กั น ของเราจะก� ำ จั ด เชื้ อ เหล่ า นั้ น โดยเกิ ด การ กระตุ ้ น เซลล์ เ ม็ ด เลื อ ดขาวให้ มี ก ารท� ำ งานที่ แ ตกต่ า งกั น ออกไป เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า B cells จะแบ่งตัว โดยส่ ว นหนึ่ ง เปลี่ ย นแปลงคุ ณ สมบั ติ เ ป็ น เซลล์ ที่ เ รี ย กว่ า Plasma cells สามารถสร้ า งและหลั่ ง โปรตี น ที่ เ รี ย กว่ า แอนติบอดี ซึ่งสามารถจับกับเชื้อโรคท�ำให้เกิดการยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อโรคและเมื่อเกิดร่วมกับการท�ำงาน ของเซลล์ชนิดอื่น ๆ ร่างกายจะก�ำจัดเชื้อโรคได้ Plasma cells เหล่านี้บางส่วนจะตายลงและบางส่วนจะเข้าไปอาศัยอยู่ใน ไขกระดูก ท�ำหน้าที่สร้างแอนติบอดีออกสู่กระแสเลือดได้ เป็นเวลานานท�ำให้ร่างกาย สามารถป้องกันเชื้อโรคได้ทันที หากได้รับเชื้ออีกครั้ง นอกจากนี้ B cells บางส่วนจะพัฒนา ไปเป็ น memory B cells ท� ำ หน้ า ที่ จ ดจ� ำ โปรตี น นั้ น ๆ หากถูกกระตุน้ จากเชือ้ โรคเดิมอีกครัง้ จะสามารถเปลีย่ นแปลง ตัวเอง เพื่อสร้างแอนติบอดีได้อย่างรวดเร็ว ระบบภูมิคุ้มกัน จาก B cells จึงมีความส�ำคัญมากในการต่อสู้กับโรคติดเชื้อ จากการศึกษาในโครงการทีผ่ ่านมาในพื้นทีอ่ ำ�เภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เราพบว่าผู้ทีเ่ คยป่วยด้วยโรคมาลาเรียนั้น มีแบบแผนของแอนติบอดีและ Memory B cells ทีจ่ ดจำ�โปรตีนต่าง ๆ ของเชือ้ มาลาเรียแตกต่างกันมาก บางคนมีเฉพาะแอนติบอดี ต่อโปรตีนบางชนิด บางคนมีเฉพาะ memory B cells ต่อโปรตีนที่ต่างชนิดออกไป ที่สำ�คัญและน่าสนใจคือมีบางคนไม่มีทั้ง แอนติบอดีและ memory B cells ทั้ง ๆ ที่เคยป่วยด้วยโรคมาลาเรียมาหลายครั้งหรือเคยป่วยเมื่อไม่นานมานี้ สาเหตุที่ภูมิคุ้มกัน ระบบนี้ไม่ตอบสนองหรืออาจจะตอบสนองแต่มีอายุเพียงสั้น ๆ นั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างแน่ชัด

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 5


ในโครงการวิจัยนี้เราจะประยุกต์ใช้เทคนิคที่ถูกพัฒนา เมื่ อ ไม่ น านมานี้ โดยการติ ด สารเรื อ งแสงเข้ า กั บ โปรตี น ชนิดต่าง ๆ ของเชื้อมาลาเรียเพื่อน�ำไปจับกับผิวของ B cells และเมื่ อ ตรวจหาเครื่ อ งหมายหรื อ โปรตี น อื่ น ๆ บนเซลล์ เดี ย วกั น นี้จ ะท� ำ ให้ ท ราบถึ ง ลั ก ษณะของ B cells ที่จ� ำ เพาะ ต่อโปรตีนชนิดนั้น ๆ และหากท�ำการศึกษาที่เวลาต่าง ๆ กัน หลังติดเชื้อ จะท�ำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลง การรักษาระดับ หรือการลดลงของเซลล์แต่ละชนิดเมือ่ เวลาผ่านไป และสามารถ หาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของเซลล์กับระยะเวลาการคงอยู่ ของระบบภูมิคุ้มกันด้วย โ ค ร ง ก า ร นี้ ด� ำ เ นิ น ก า ร ใ น เ ข ต อ� ำ เ ภ อ เ มื อ ง จั ง หวั ด แม่ ฮ ่ อ งสอน โดยได้ รั บ ความร่ ว มมื อ เป็ น อย่ า งดี จากบุ ค ลากรของศู น ย์ ค วบคุ ม โรคติ ด ต่ อ น� ำ โดยแมลง ในการติดต่อและติดตามผู้เข้าร่วมโครงการจ�ำนวน 142 ราย ในพื้นที่นี้ แต่ละรายจะอยู่ในโครงการนาน 12 เดือน แบ่งเป็น กลุ่มผู้ที่เพิ่งหายป่วยจากมาลาเรีย กลุ่มผู้เคยป่วย และผู้ไม่เคย ได้รับเชื้อมาลาเรีย มีการเจาะเลือด 5 ครั้ง โครงการนี้ได้รับ

สารสถาบันฯ 6

ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผูเ้ ข้าร่วมโครงการซึง่ ในบางหมูบ่ า้ น มีอัตราการคงอยู่ในโครงการของผู้เข้าร่วมโครงการถึง 100 % การศึกษานีจ้ ะท�ำให้ทราบถึงปัจจัยทีส่ ำ� คัญต่อการเกิดภูมคิ มุ้ กัน ทีป่ อ้ งกันการติดเชือ้ ได้ ซึง่ อาจท�ำให้การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค เป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ศูนย์วิจัยด้านสารเสพติด ผศ.นพ.อภินันท์ อร่ามรัตน์

ดื่มปลอดภัย by Gang SAA

ช่

างประจวบเหมาะเสียเหลือเกินที่สารสถาบันฯ ฉบับนี้ วางแผงในเดือนเมษายน เดือนที่ใครหลาย ๆ คนตั้งหน้าตั้งตา รอคอย เพราะนอกจากจะมีวันหยุดเยอะเป็นพิเศษ จะได้อยู่บ้านหรือกลับบ้านไปพบกับสมาชิกในครอบครัวอย่างพร้อมหน้า และอีกเหตุผลหนึ่งก็อาจถือโอกาสเลี้ยงฉลองสังสรรค์กับเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้อง ซึ่งประเด็นหลังนี้ช่างเข้าทางงานวิจัยของ หน่วยวิจัยสารเสพติด เกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างไรให้ปลอดภัย วันนี้จึงอยากน�ำผลการวิจัยดังกล่าวมาย�้ำเตือน ให้ชาวสถาบันฯ กันอีกสักรอบ จะได้ไม่เป็นภาระของลูกหลาน

1. เตรียมตัวก่อนเข้าป่า และระหว่างออกล่าช้าง ม้า เสือ สิงโต ฯลฯ

ควรหาอะไรรองท้องก่อนหากรู้ว่าค�่ำคืนนี้ (หรือเริ่ม ตั้งแต่บ่ายไปเลย) ยังอีกยาวไกล กินข้าว นม ไข่ หรือผัก รองท้องไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนดื่ม เพราะหากปล่อยให้ ท้องว่าง ร่างกายจะดูดซับแอลกอฮอล์ได้ไวและมากกว่าปกติ ต่อมาควรเลือกเครื่องดื่มที่มีดีกรีต�่ำ ค่อย ๆ จิบแต่พองาม อย่าไปเล่นชนแล้วหมดแก้วเป็นอันขาด รู้จักพูดคุยถามไถ่ สารทุ ก ข์ สุ ก ดิ บ เพื่ อ นร่ ว มวงสนทนามากกว่ า เน้ น กระดก เพียงอย่างเดียว และประเด็นทีส่ ำ� คัญคือ อย่าหาญกล้า “ไฝว้” (ขออภัยภาษาวัยรุ่น) กับสัตว์หลายชนิด เช่น เสือฟัดสิงโต โดนช้ า งกระทื บ ซ�้ ำ เป็ น ต้ น รวมถึ ง การสู บ บุ ห รี่ ร ะหว่ า ง การดื่มด้วย เพราะนอกจากจะท�ำให้ท่านเมาเร็วแล้ว ยังท�ำให้ ปวดหัวเวลาตืน่ อีกด้วย มีเคล็ดวิชามาบอกเพิม่ อีกเล็กน้อย คือ ควรพกวิ ต ามิ น หรื อ อาหารเสริ ม ติ ด ตั ว ไว้ กิ น ระหว่ า งดื่ ม สักครั้งหนึ่ง จะช่วยให้คุณไม่เกิดอาการเมาค้างได้

2. การดื่มแบบเสี่ยงต�่ำ: การค�ำนวณปริมาณการดื่ม ที่เป็นมาตรฐานและการดื่มแบบยั้งใจได้

สูตรในการค�ำนวนปริมาณการดื่มคือ ดีกรี x ปริมาณการดื่ม x ค่าคงที่ของปริมาณ เอทานอล 1 มล. (0.79) ทั้งหมดหารด้วย 10 หรือคิดง่าย ๆ ว่า ในหนึ่งวัน ชายและหญิงไม่ควร ดื่มเบียร์เกิน 3 กระป๋อง หากดื่มมากกว่านี้ ชีวิตท่านจะเริ่ม เข้าสู่ความเสี่ยงสูงแล้ว วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 7


3. จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเหล้าเข้าปาก ขม !!!! (แน่นอนอยูแ่ ล้ว) ล�ำ !!!! (อันนีส้ �ำหรับขีเ้ หล้า) หลังจากนั้นคือเมา !!!! แล้วเราเคยสังเกตหรือไม่ว่า ดื่มไป กี่ แ ก้ ว กว่ า เราจะเมา หรื อ ก่ อ นเมามี อ าการอย่ า งไรบ้ า ง หากลองเทียบปริมาณเหล้าทีด่ มื่ เท่ากับแก้วขนาดใส่เหล้าขาว เหล้ า ตอง(ส� ำ หรั บ ผู ้ ช� ำ นาญการพิ เ ศษ) หรื อ แก้ ว ไหว้ เ จ้ า (ส�ำหรับระดับปฏิบัติการ) จะพบว่าเมื่อดื่มไป 3 แก้ว จะเริ่ม รู้สึกตัวช้า ดื่มไป 5 แก้ว จะเริ่มเดินเซ ความจ�ำสั้น ดื่มไป 7 แก้ว ภาษาท้องถิ่นเรียก “เพอะ” คือเริ่มควบคุมตัวเองไม่ได้ ดื่มไป 9 แก้ว จะเริ่มคลื่นไส้อาเจียน และหากดื่มมากกว่า 10 แก้ว จะมีอาการหายใจติดขัด อึดอัด หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ อุณหภูมใิ นร่างกายต�่ำลง(ตัวเย็นมาก) หรือบางรายทีม่ ปี ญ ั หา เรือ่ งสุขภาพอยูแ่ ล้ว อาจถึงขัน้ โคม่า หยุดหายใจ เสียชีวติ ทัง้ นี้ ปริ ม าณมาณแอลกอฮอล์ ที่ ร ่ า งกายแต่ ล ะคนรั บ ได้ นั้ น มี ไม่เท่ากัน ดังนั้นหากคิดจะดื่มก็ควรค�ำนึงถึงตัวเองให้มากขึ้น

4. รู้กฏหมาย เป็นทีท่ ราบกันอยู่แล้วว่าขณะนีเ้ รามี พ.ร.บ. ควบคุม เครื่ อ งดื่ ม แอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 บั ง คั บ ใช้ อ ยู ่ ซึ่ ง การ รู้กฎหมายแล้วปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดก็จะช่วยลดปัญหา หรื อ อั น ตรายจากการดื่ ม เครื่ อ งดื่ ม แอลกอฮอล์ ล งได้ โดยกฎหมายปัจจุบันระบุให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะต้องมีระดับ แอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 50 มิลลิกรัม เพราะหากสูงกว่านี้ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นอันตราย ต่ อ ชี วิ ต และทรั พ ย์ สิ น ของตนเองและผู ้ อื่ น หากถู ก จั บ ได้ จะระวางโทษจ� ำ คุ ก ไม่ เ กิ น 1 ปี หรื อ ปรั บ ตั้ ง แต่ 5,000 - 20,000 บาท หรือ ทั้งจ�ำทั้งปรับ และให้สั่งพัก ใบอนุ ณ าตขั บ ขี่ ไ ม่ น ้ อ ยกว่ า 6 เดื อ น หรื อ ยกเลิ ก ใบขั บ ขี่ เห็นได้ชัดเลยว่าไม่คุ้ม ! ดังนั้นก่อนสตาร์ทรถ ควรตรวจสอบ ตัวเองก่อนว่าได้ดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ ถ้าดื่ม ต้องใช้สูตร ค�ำนวนตามข้อ 2. มาคิดว่าหากถูกจับ จะถูกด�ำเนินคดีหรือไม่ หากคิดตามสูตรไม่ทัน เรามีตัวช่วยดังนี้ - เบียร์กระป๋อง หรือ ขวดเล็ก ต้องไม่เกิน 4 กระป๋อง/ขวด - เหล้า 35 – 40 ดีกรี ไม่เกิน 3 ก๊ง (1 ก๊ง = 50 มิลลิลิตร) - ไวน์แดง/ขาว 10% ไม่เกิน 4 แก้ว(1 แก้วไวน์ = 100 มิลลิลติ ร) - สปายไวน์คูลเลอร์ 5% ไม่เกิน 4 ขวด ที่บอกไว้ ไม่ใช่ชี้โพรงให้กระรอก เพียงแต่ค�ำนึงถึง ผลที่ตามมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ หากไม่ถูกจับได้แต่ดัน ไปเกิ ด อุ บั ติ เ หตุ เกิ ด ความสู ญ เสี ย สู ้ ใ ห้ ถู ก จั บ ได้ ค าด่ า น แล้ ว ไม่ ต ้ อ งไปสร้ า งความเดื อ ดร้ อ นให้ ใ ครจะดี ก ว่ า หรือทางที่ดีที่สุด “ดื่มไม่ขับ” วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 8


5. แก้อาการเมาค้าง การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอออล์ส่งผลให้ร่างกาย สูญเสียน�้ำอย่างมาก ซึ่งเกลือแร่และวิตามินต่าง ๆ ได้ถูก ขั บ ถ่ า ยออกจากร่ า งกาย ส่ ง ผลให้ เ กิ ด อาการเมาค้ า งได้ ดังนั้นจึงต้องดื่มเครื่องดื่มที่มีเกลือแร่ และวิตามิน โดยเฉพาะ วิตามิน บี 1,6,12 เข้าไปทดแทน จะช่วยท�ำให้ร่างกายฟื้นตัว ได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับการกินอาหารอ่อน ๆ หลีกเลี่ยง ของมันด้วยจะดีมาก ส่วนมืออาชีพที่บอกว่า เมาค้าง จั่งซี่ มั น ต้ อ งถอน เป็ น ความเชื่ อ ที่ ผิ ด เพราะหากยิ่ ง ไปเติ ม แอลกอฮอล์เ พิ่ม ขึ้นอีก ร่ า งกายจะยิ่งสูญเสียวิตามิน และ เกลือแร่ ท�ำให้เมาค้างเพิม่ ขึน้ หากเป็นหนักเข้า อาจถูกเจ้านาย ถอนชื่อออกจากงานการที่ท�ำอยู่ก็เป็นได้ !

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 9


ศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ รศ. พญ.อัมพิกา มังคละพฤกษ์ หัวหน้าศูนย์วิจัย ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์

ณะนีเ้ ข้าสูฤ่ ดูรอ้ นแล้วนะครับ สภาพอากาศทีร่ อ้ นและแห้งแล้งเช่นนี้ เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชือ้ โรคหลายชนิด โรคที่พบได้บ่อยในฤดูร้อน คือ โรคติดต่อทางอาหารและน�ำ้ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ บิด อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ และโรคตับอักเสบจากไวรัสทางเดินอาหารชนิดเอ หลักปฏิบัติง่าย ๆ ในการป้องกันโรคเหล่านี้ คือ ผู้ปรุงอาหารต้องปรุงอาหารให้ “สุก ร้อน สะอาด” ส่วนผู้บริโภคต้อง “กินร้อนโดยรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและปรุงเสร็จ ใหม่ ๆ หากเป็นอาหารข้ามมื้อ ให้อุ่นให้ร้อนหรือเดือดก่อน ตรงนี้การนึ่งจากไอน�้ำเดือดจะฆ่าเชื้อโรคดีกว่าใช้ microwave ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ให้นึ่ง หากที่ท�ำงานมีแต่ microwave ก็พอใช้ได้ แต่ขอเตือนว่า ถุงพลาสติกที่ใส่อุ่นอาหารต้องทนความร้อนได้ ถ้าไปในที่ที่ไม่แน่ใจเรื่องความสะอาดแต่หิวเหลือเกิน ถ้าจะซื้ออาหารก็แนะน�ำให้ทานก๋วยเตี๋ยว เพราะมักจะผ่านน�้ำเดือดก็ใช้ได้ ใช้ช้อนกลางตักอาหารขณะกินอาหารร่วมกับผู้อื่น และหมั่นฟอกสบู่ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร” ส�ำหรับน�้ำดื่ม หรือน�ำ้ แข็งก่อนซื้อต้องสังเกตเครื่องหมายรับรองคุณภาพจาก อย. ด้วยนะครับ ส�ำหรับข่าวความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของศูนย์ฯ ขอน�ำเสนอดังนี้

ศ. นพ.กิตติพนั ธุ์ ฤกษ์เกษม : หัวหน้าหน่วยวิจยั โภชนาการ

หน่วยวิจัยระบบสุขภาพ 1.

ดร.ศักดา พรึงล�ำภู เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการ จั ด ระบบเฝ้ า ระวั ง และติ ด ตามการขาดสารไอโอดี น ในกลุ ่ ม เสี่ ย ง ครั้งที่ 1/2556 ในวันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ส�ำนักโภชนาการ อาคาร 4 ชั้น 5 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

2.

ดร.ศักดา พรึงล�ำภู และ นางสาวนิศากร หวลจิตร์ ประชุ ม ร่ ว มกั บ ผู ้ อ� ำ นวยการสถาบั น ฯ และ ผศ. นพ.เกรี ย งไกร ศรีธนวิบุญชัย เกี่ยวกับ การวางแผนในการด�ำเนินงาน โครงการ การประเมินระบบข้อมูลสารสนเทศการติดตามดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ และผู ้ ป ่ ว ยเอดส์ เพื่ อ การบู ร ณาการระบบข้ อ มู ล การติ ด ตาม ผลการด�ำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ 3 ระบบหลักประกัน สุขภาพของประเทศไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 โดยได้ออกพื้นที่เพื่อไปสัมภาษณ์ที่โรงพยาบาลต่าง ๆ ดังนี้ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และโรงพยาบาลนครพิงค์ วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2556 โรงพยาบาลช้างเผือก วันพุธที่ 13 มีนาคม 2556 ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 1 เชียงใหม่ วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2556 และในระหว่ า งการเก็ บ ข้ อ มู ล มี ก ารประชุ ม สรุ ป ผล การสั ม ภาษณ์ และการวางแผนในการด� ำ เนิน งานในระยะต่ อ ไป ของโครงการ ในวันจันทร์ที่ 11 มีนาคม 2556

สารสถาบันฯ 10

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 1.

โครงการ วิจยั เรือ่ ง “การขยายผลการวิจยั มลพิษทางอากาศและผลกระทบสุขภาพ สูช่ มุ ชนเพือ่ การเรียนรูแ้ ละลดแหล่งก�ำเนิด ฝุ่นในอากาศในชุมชนภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย”( GW3) โดยมี ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล เป็นหัวหน้าโครงการ ได้เสนอผลงาน ประดิ ษ ฐ์ คิ ด ค้ น เรื่ อ ง “เครื่ อ งวั ด ปริ ม าณฝุ ่ น ละอองขนาดเล็ ก ในอากาศชนิ ด แสดงผลทั น ที ” ร่ ว มกั บ คณะเทคนิ ค การแพทย์ และคณะแพทยศาสตร์ เพื่อขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจ�ำปี 2556 จากส�ำนักงานคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ และได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และได้รับเงินรางวัล จ�ำนวน 100.000 บาท จากส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เนื่องในวันนักประดิษฐ์ ประจ�ำปี 2556 วันที่ 2-5 กุมภาพันธ์ 2556 ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี กรุงเทพมหานคร โดยมี นางสาวธัญภรณ์ เกิดน้อย หัวหน้าหน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พร้อมด้วย ผศ.สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ นักวิจัยร่วมในโครงการ ดร.สุรัตน์ หงษ์สิบสอง และ นายแสวง กาวิชัย ผู้ช่วยนักวิจัยฯ ได้เดินทางไปร่วมงาน พร้อมจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้เรื่องมลพิษทางอากาศในครั้งนี้ด้วย

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 11


2.

ดร.สุรัตน์ หงษ์สิบสอง พร้อมด้วยคณะนักวิจัยจากหน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ลงพื้นที่แจ้งผลการวิจัยแก่ชุมชนในโครงการ "การประเมินการรับสัมผัสสารมลพิษทางอากาศในเด็กนักเรียนอนุบาลจากจุดพื้นที่มี จุดความร้อนสูงในจังหวัดเชียงใหม่" (TUHPP) โดยมี ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล เป็นหัวหน้าโครงการฯ ในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม และ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2556 งานวิจัยดังกล่าวได้ท�ำการประเมินการรับสัมผัสสารมลพิษทางอากาศโดยการตรวจวัด ระดับฝุ่นพีเอ็ม10 สารพีเอเอชในฝุ่น และสาร 1-โอเอชพี ในปัสสาวะเด็กนักเรียนอนุบาลจ�ำนวน 555 ตัวอย่าง จากพื้นที่ที่มีการเกิดมลพิษ ทางอากาศสู ง ซึ่ ง ได้ ท� ำ การเก็ บ ข้ อ มู ล ในช่ ว งฤดู แ ล้ ง เดื อ นมี น าคม 2555 ได้ แ ก่ อ.เชี ย งดาว อ.อมก๋ อ ย อ.แม่ แ จ่ ม อ.พร้ า ว และ อ.เมืองเชียงใหม่ ผลจากการตรวจวัดปริมาณฝุ่นพีเอ็ม10 เฉลี่ย และจุดความร้อนในพื้นที่วิจัย พบว่าปริมาณฝุ่นพีเอ็ม10 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม – 11 เมษายน 2555 ของทุกพื้นที่ มีปริมาณฝุ่นพีเอ็ม10 เฉลี่ยมากกว่าพื้นที่ อ.เมืองเชียงใหม่ ยกเว้นที่ อ.แม่แจ่ม โดยพื้นที่ ที่ปริมาณฝุ่นเฉลี่ยสูงสุดคือ อ.พร้าว อยู่ที่ 135.28 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส�ำหรับข้อมูลจุดความร้อนสูงพบว่า อ.แม่แจ่ม มีจุด ความร้อนมากที่สุดคือ 556 จุด ตัวอย่างฝุ่นพีเอ็ม10 ที่เก็บจากพื้นที่ อ.พร้าว มีปริมาณสารพีเอเอชสูงที่สุด ส่วน อ.เชียงดาว มีระดับสาร 1-โอเอชพี ที่บ่งชี้การรับสารพีเอเอชสู่ร่างกายมากที่สุด รองลงมาคือ อ.อมก๋อย อ.แม่แจ่ม อ.พร้าว และ อ.เมืองตามล�ำดับ นอกจากนี้ตัวอย่างปัสสาวะที่เก็บจากเด็กอนุบาลต่างเวลาและสถานที่ พบว่า อ.แม่แจ่ม มีปริมาณที่สูงกว่า อ.เมือง 4.5 เท่า และจากการวิจัยยังพบอีกว่า พื้นที่ อ.แม่แจ่มเป็นพื้นที่ที่มีจุดความร้อนสูงที่สุด แต่พื้นที่ที่มีค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นพีเอ็ม10 และสารพีเอเอช สูงที่สุดได้แก่ อ.พร้าว ส่วนพื้นที่ที่พบสาร 1-โอเอชพีในปัสสาวะ มีความสัมพันธ์กันกับความเสี่ยงจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มาจากเผา ในที่โล่ง ได้แก่ ไฟป่าและการเผาพื้นที่ทางการเกษตร และความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารมลพิษทางอากาศอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ ระดับของ สาร 1-โอเอชพีในปัสสาวะของกลุ่มตัวอย่างนอกเมืองสูงกว่าในเมือง 6-14 เท่า ซึ่งจากการสังเกตของนักวิจัย พบว่าพฤติกรรม ได้แก่ สุขอนามัยของคนแต่ละพื้นที่ (การดูแลความสะอาด พฤติกรรมการบริโภคและการปรุงอาหาร หรือการสูบบุหรี่) และสิ่งแวดล้อม (ที่อยู่อาศัยใกล้กับพื้นที่ที่เกิดการเผา) เป็นปัจจจัยร่วมที่ท�ำให้เกิดความแตกต่างของการรับสัมผัสสารมลพิษทางอากาศ ทั้งนี้หน่วยวิจัยของสถาบันฯ ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารส่วนต�ำบลแม่นาจร องค์การบริหารส่วนต�ำบล อมก๋อย ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านนาฮ่อง อ.แม่แจ่ม และผู้อ�ำนวยการโรงเรียนบ้านยางเปา อ.อมก๋อย รวมทัง้ คณะครู ผูป้ กครอง นักเรียน ต่างให้ความสนใจและสอบถามถึงผลการวิจยั รวมทัง้ วิธกี ารป้องกันตนเองจากการรับสัมผัส สารมลพิษทางอากาศจากคณะนักวิจัยอีกด้วย

สารสถาบันฯ 12

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


3.

ดร.ทิพวรรณ ประภามลฑล นักวิจัยอาวุโสของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ พร้อมด้วย ผศ.สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ นักวิจัยร่วมในโครงการ “การขยายผลการวิจัยมลพิษทางอากาศและผลกระทบสุขภาพสู่ชุมชน เพื่อการเรียนรู้ และลดแหล่งก�ำเนิดฝุ่น ในอากาศในชุมชนภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย” ร่วมกันน�ำเสนอผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “เครื่องวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในอากาศชนิดแสดงผลทันที” ในรายการมองเมืองเหนือ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดเชียงใหม่ กรมประชาสัมพันธ์ หรือ ช่อง NBT เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งผลงานดังกล่าวเพิ่งได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จากสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจ�ำปี 2556 จากส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ นอกจากนีน้ กั วิจยั ของสถาบันฯ ยังได้ถอื โอกาสให้ความรู้เรือ่ งปัญหาหมอกควัน ซึง่ ในภาคเหนือของประเทศมักประสบปัญหา ดังกล่าวทุกปี และในปี 2556 นี้ ก็มีปัญหาหมอกควันเกิดขึ้นแล้ว เนื่องจากปริมาณค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 ในช่วงนี้เพิ่มสูงขึ้น ท�ำให้ต้องมีการเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบและตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากการเผา เพื่อให้วิกฤตหมอกควันทุเลาลง

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 13


หน่วยวิจัยโภชนาการ ในเดื อ นมี น าคมนี้ หน่ ว ยวิ จั ย โภชนาการมี ข ่ า วดี เ กี่ ย วกั บ โครงการวิ จั ย ที่ ไ ด้ รั บ ทุ น ใหม่ คื อ โครงการ Field to Fork: A multi-site research initiative to reduce malnutrition through nutrition-sensitive agriculture solutions (FARM-NSAS) นอกจากนี้มีความคืบหน้าด้านงานในโครงการวิจัยต่าง ๆ ที่ได้ด�ำเนินการ รวมทั้งกิจกรรมในหน่วย ดังนี้

1. งานในโครงการวิจัย

ครงการ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ “การศึกษาผลของอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในขวบ ปีแรกกับการเกิดอาการอ้วนลงพุง” - วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 รศ.พญ.อัมพิกา มังคละพฤกษ์ และ ศ.นพ.กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม น�ำทีมวิจัยประกอบด้วย บุคลากร หน่วยวิจยั โภชนาการ สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ คณะแพทย์ พยาบาล นักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้แทนบริษัทอุปกรณ์ทางการแพทย์ จัดกิจกรรมสุขภาพให้แก่ กลุ ่ ม อาสาสมั ค รเดิ ม ของโครงการ การเลี้ ย งลู ก ด้ ว ยน�้ำ นมแม่ (ซึ่งด�ำเนินการโดย รศ. พญ. อุษา ธนังกูล) ที่มีชีวิตอยู่และสามารถ ติดตามได้ ประกอบด้วย อาสาสมัครบุตร 97 ราย และอาสาสมัคร ผู้ปกครอง 89 ราย ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรม หมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ล�ำพูน กิจกรรมประกอบด้วยการตรวจระดับ น�้ ำ ตาลในเลื อ ด ชั่ ง น�้ ำ หนั ก วั ด ส่ ว นสู ง วั ด เส้ น รอบเอว วัดเส้นรอบสะโพก วัดความดันโลหิต พบและปรึกษาแพทย์ รวมทั้ง การให้ ค วามรู ้ ด ้ า นสุ ข ภาพแก่ อ าสาสมั ค ร โดยกิ จ กรรมครั้ ง นี้ ได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน ในชุมชนเป็นอย่างดี

ครงการ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน�ำ้ หนักเด็ก แรกคลอดและกลุ่มอาการอ้วนลงพุงด้านพันธุกรรม - ได้จัดเรียงตัวอย่างอย่างเป็นระเบียบทั้งตัวอย่างเลือด เอกสารและข้อมูล electronic และอยู่ระหว่างการน�ำเลือดไปท�ำ DNA extraction เพื่ อ ส่ ง ตรวจ epigenetic (methylation) ที่ ค ณ ะ แ พ ท ย ศ า ส ต ร ์ จุ ฬ า ล ง ก ร ณ ์ ม ห า วิ ท ย า ลั ย และ university of Cambridge ประเทศอังกฤษต่อไป

กิ

จ กรรม การจั ด ตั้ ง เครื อ ข่ า ยพั ฒ นาศั ก ยภาพ อาหารพื้นเมืองและตรวจสอบปริมาณสารตกค้างปนเปื้อน ในอาหารพื้ น เมื อ งภาคเหนื อ ในโครงการบริ ก ารวิ ช าการ เชิงบูรณาการ “การเพิม่ ศักยภาพผูผ้ ลิตอาหารพืน้ เมืองในเขต จั ง หวั ด ภาคเหนื อ ” ปี ที่ 2 และกิ จ กรรมจั ด ตั้ ง เครื อ ข่ า ย เตื อ นความปลอดภั ย ด้ า นอาหารและเฝ้ า ระวั ง ความเสี่ ย ง ปนเปื้อนในอาหาร ในโครงการหลัก การฝึกอบรมบูรณาการ แบบครบวงจรแก่สถานประกอบการทางด้าน อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรในเขตจังหวัด ภาคเหนือ ปีที่ 2 - ได้ ด� ำ เนิ น การเลื อ กชนิ ด อาหารพื้ น เมื อ งภาคเหนื อ 10 ชนิ ด และอาหารทั่ ว ไป 2 ชนิ ด เพื่ อ ตรวจคุ ณ ภาพอาหาร และได้ส�ำรวจจ�ำนวนแผงที่จ�ำหน่ายอาหารดังกล่าว เพื่อใช้เป็น ข้อมูลในการสุ่มเก็บตัวอย่าง จากตลาดสดในอ�ำเภอเมืองเชียงใหม่ ต่อไป

สารสถาบันฯ 14

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ครงการ การประเมินสถานการณ์ภาวะไอโอดีน ในหญิงวัยเจริญพันธุ์และเด็กวัยเรียนในประเทศไทย - ได้ รั บ การอนุ มั ติ จ ากคณะกรรมการจริ ย ธรรมฯ ให้ขยายเวลาโครงการฯ เป็น 30 ธันวาคม 2556 ขณะนี้อยู่ระหว่าง การวิเคราะห์ตัวอย่างและข้อมูลที่เก็บจากภาคสนาม

ค ร ง ก า ร ก า ร เ ป รี ย บ เ ที ย บ ผ ล ก า ร รั ก ษ า ด้ ว ยสารกั ม มั น ตภาพรั ง สีไ อโอดีน โดยวิธีคิด ค� ำ นวณขนาด ตามค่ า เปอร์ เ ซ็ น ต์ ก ารจั บ สารกั ม มั น ตภาพรั ง สี ไ อโอดี น ของต่ อ มไทรอยด์ ที่ 24 ชั่ ว โมง ( 131I uptake at 24 hr.) และการใช้คา่ มัธยฐานของการจับสารกัมมันตภาพรังสีไอโอดีน ของต่ อ มไทรอยด์ (median 131I uptake) เพื่ อ ให้ ข นาด สารกัมมันตภาพรังสีไอโอดีน ในผู้ป่วยต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ - ได้รับการพิจารณาให้ด�ำเนินการจากคณะกรรมการ พิ ทั ก ษ์ สิ ท ธิ์ ฯ คณะแพทยศาสตร์ แ ล้ ว และได้ เ ริ่ ม ด� ำ เนิ น การ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการบริโภคอาหารและเก็บตัวอย่าง ปัสสาวะ ในอาสาสมัครผูป้ ว่ ยของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลน่าน และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ครงการ Field to Fork: A multi-site research initiative to reduce malnutrition through nutrition-sensitive agriculture solutions (FARM-NSAS) ผศ. ดร.ประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ นางณัฏฐ์จรรษ์ ไชยราษฏร์ ศูนย์สนับสนุนความรู้ อนุภาคลุ่มน�้ำโขง (KSC-GMS) คณะสังคมศาสตร์ และ ดร.ศักดา พรึงล�ำภู จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มช. ได้เข้าร่วม workshop ที่เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 16-18 มกราคม 2556 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมเขียนข้อเสนอโครงการ กับหน่วยงานต่างประเทศ 3 แห่ง ได้แก่ 1. Health Bridge Foundation of Canada 2. Centre for Agricultural Researches and Ecological Studies (CARES) of Hanoi University of Agriculture (HUA) ประเทศเวียดนาม 3. Center for Agriculture Forestry Research and Development (CARD) of the Hue University of Agriculture and Forestry (HUAF) ประเทศเวียดนาม ในหัวข้อเรื่อง“A multi site research initiative to improve nutrition and food security in Southeast Asia through integrated agro-ecological and nutrition interventions” ทั้งนี้ Workshop ดังกล่าวสนับสนุนโดย International Development Research Centre (IDRC) ประเทศแคนาดา เมื่อประมาณต้นเดือนมีนาคม 2556 ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ผศ. ดร.ประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์ หัวหน้าโครงการฯ ในส่วนของประเทศไทยได้รับแจ้งว่าโครงการได้รับทุนสนับสนุนให้ด�ำเนินการวิจัยจาก IDRC ประเทศแคนาดา เป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2556 ในหัวข้อเรื่อง “Field to Fork : A multi-site research initiative to reduce malnutrition through nutrition-sensitive agriculture solutions (FARM-NSAS)” โดยมี ดร.ศักดา พรึงล�ำภู นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงการด้านโภชนาการ และกลุ่มวิจัยโภชนาการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นผู้ร่วมวิจัย ทั้งนี้ ในส่วนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการฯ ได้ประชุมชี้แจงโครงการฯ แก่ผู้ร่วมโครงการฯ ณ สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สุขภาพ อาคาร 3 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2556

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 15


2. อื่นๆ

- หน่วยวิจยั โภชนาการ ได้รบั Certificate

ระดับดีมากในปี 2012 จากการท�ำ Proficiency test ในโครงการ Ensuring the Quality of Urinary Iodine Procedures ของ CDC สหรัฐอเมริกา

-M

iss Amanda M. Lee นักศึกษา Fulbright เข้ า ดู ง านในหน่ ว ยวิ จั ย ระบบสุ ข ภาพ และหน่วยวิจัยโภชนาการ ระหว่าง 4-29 มีนาคม 2556

เชิญติดตามรับฟัง รายการวิทยุ : เชียงใหม่โฟกัส ตอน เล่าขานงานวิจัย ทุกวันศุกร์แรก และศุกร์ที่สามของเดือน เวลาใหม่ 9.00 - 9.30 น. FM100 ที่เดิม แม้เวลาจะเปลี่ยนไป แต่ความรู้ที่ได้ยังจัดเต็มเหมือนเดิม

สารสถาบันฯ 16

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


“News & Event” ข่าวกิจกรรม @ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ประกาศผลโครงการพาไทย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2556 ดร.ทอมัส โคทส์ หัวหน้าใหญ่ ของโครงการวิจัย NIMH Project Accept/HPTN 043 ได้เปิดเผย ผลสำ�เร็จของโครงการวิจัยฯ พบว่าการจัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อน ชุมชนโดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจและความตระหนักเกี่ยวกับ โรคเอดส์ ร่วมกับการจัดบริการให้การปรึกษาและตรวจเลือด หาการติดเชื้อเอชไอวีแบบทราบผลเร็ว ในรูปแบบหน่วยบริการ เคลื่อนที่เชิงรุก และการจัดกิจกรรมรองรับหลังการตรวจเลือด ลงไปในระดั บ ชุ ม ชนอย่ า งบู ร ณาการร่ ว มกั น ได้ ช่ ว ยเพิ่ ม อั ต รา การเข้ า ถึ ง บริ ก ารการปรึ ก ษาและการตรวจเลื อ ดได้ ก ว่ า 45% ในผู้ชาย และ 15% ในผู้หญิง และยังพบว่าผู้ติดเชื้อเพศชายมีการ ลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศลง โดยมีจำ�นวนคู่เพศสัมพันธ์ลดลง กว่า 18% และลดการมีจำ�นวนคู่นอนหลายคนลงได้ประมาณ 29% ที่สำ�คัญคือ เพิ่มการตรวจพบผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ไม่เคยรู้ตัวมาก่อน ได้กว่า 4 เท่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างชุมชนที่ลงชุดกิจกรรมเชิงรุก ดั ง กล่ า ว กั บ ชุ ม ชนที่ ดำ�เนิ น กิ จ กรรมตามปกติ นอกจากนั้ น โครงการนี้ ยั ง ส่ ง ผลให้ เ กิ ด ทั ศ นคติ เ ชิ ง บวกต่ อ การรั บ บริ ก าร การปรึกษาและการตรวจเลือดในระดับชุมชน และไม่พบผลกระทบ เชิ ง ลบทางสั ง คมจากการรู้ ส ถานะการติ ด เชื้ อ ของตนเอง และผลจากโครงการวิ จั ย ครั้ ง นี้ สามารถลดอั ต ราการติ ด เชื้ อ เอชไอวีรายใหม่ในระดับชุมชนโดยรวม 14 % และลดลงกว่า 30 % ในผู้หญิงอายุมากกว่า 24 ปี วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 17


ผ อ . ส ถ า บั น ฯ น� ำ เ ส น อ ผลโครงการพาไทย ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อำ�นวยการสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำ�เสนอผลงานวิจัย ของโครงการพาไทย ในการประชุมนำ�เสนอผลงานวิจัย โครงการ ให้การปรึกษาและตรวจเลือดหาการติดเชื้อ HIV เชิงรุกในชุมชน (โครงการพาไทย) และการขับเคลือ่ นยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไข ปัญหาเอดส์จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2555 - 2559 วันพุธที่ 13 มีนาคม 2556 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรมเชี ย งใหม่ แ กรนด์ วิ ว นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารถ่ า ยทอดประสบการณ์ โ ครงการพาไทย โดยผู้มีส่วนร่วมจากอำ�เภอไชยปราการ ทำ�ให้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค ตลอดจนวิ ธี ก ารที่ จ ะทำ�ให้ โ ครงการวิ จั ย ที่ ร่ ว มทำ�กั บ ชาวบ้ า น ประสบความสำ�เร็ จ ซึ่ ง โครงการพาไทยจะเป็ น แบบอย่ า ง หรื อ กรณี ศึ ก ษาที่ สำ�คั ญ ให้ ห น่ ว ยงานด้ า นการแพทย์ ข องทั้ ง จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ และในประเทศไทย ได้ ศึ ก ษาเพื่ อ ต่ อ ยอดไปสู่ การทำ�งานร่วมกับชุมชนในโอกาสต่อไปได้เป็นอย่างดี

สารสถาบันฯ 18

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


"Visitor" อธิการบดี มช. เยี่ยมเยือนสถาบันฯ รศ. นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ เข้าเยี่ยมเยือนสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อเน้นย�ำ้ นโยบาย ของมหาวิทยาลัยและรับฟังปัญหาหรือข้อเสนอแนะจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อน�ำไปสู่การ ปรับปรุงและพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการนี้ ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อ�ำนวยการ สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ พร้อมด้วยคณะผูบ้ ริหารและหัวหน้าหน่วยงานภายในสถาบันฯ ได้รว่ มให้การ ต้อนรับอธิการบดีอย่างอบอุ่น และได้น�ำเสนอผลงานวิจัยที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ทั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ประเทศไทย นอกจากนี้ ผู้อ�ำนวยการสถาบันฯ ยังได้แจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารองค์กร โดยเฉพาะเรื่อง การบรรจุลกู จ้างชัว่ คราว ให้เข้าเป็นพนักงานประจ�ำ ปัญหาเรือ่ งนักวิจยั ของสถาบันฯ ต้องการให้พฒ ั นาความ ก้าวหน้าของต�ำแหน่งนักวิจัย รวมถึงให้นักวิจัยสามารถเป็นอาจารย์พิเศษ และสามารถเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา หลักส�ำหรับงานวิจัยของนักศึกษาได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องรูปแบบการประเมินองค์กรที่ทั้งมหาวิทยาลัยใช้รูป แบบการประเมินเดียวกัน ท�ำให้ไม่เอื้อต่อสถาบันวิจัยที่มีโครงสร้างองค์กรและภาระหน้าที่แตกต่างจากคณะ รศ. นพ.นิเวศน์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับทราบปัญหาและรับไว้พิจารณา ต่อไป

...

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 19


ต้อนรับอดีตหัวหน้าหอผู้ป่วยวิจัยคลินิค รศ. พญ.อัมพิกา มังคละพฤกษ์ รองผู้อ�ำนวยการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ รศ. พญ. อุษา ธนังกูล อดี ต ผู ้ อ� ำ นวยการสถาบั น ฯ พร้ อ มด้ ว ย บุ ค ลากร ของสถาบันฯ ให้การต้อนรับ Prof. Dr. David Morehead อดีตหัวหน้าหอผู้ป่วยวิจัยคลินิก ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยา และทุโภชนาการ หรือสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ด�ำเนินการวิจัยในเรื่องของภาวะทุโภชนาการในเด็ก ในโอกาสที่ Prof. Dr. David Morehead กลับมา เยี่ ย มเยื อ นสถาบั น ฯ ในครั้ ง นี้ ได้ แ ลกเปลี่ ย นความรู ้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องงานวิจัยต่าง ๆ ในด้านภาวะ โภชนาการในปัจจุบัน ที่เป็นปัญหาทั้งในระดับประเทศ และระดับโลกร่วมกับคณะนักวิจยั สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์ สุขภาพ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ห้องประชุม DONALD JEFFERY GIBSON

... ต้อนรับนักวิจัยจากเวียดนามเข้าเยี่ยมชมสถาบันฯ ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ พร้ อ มด้ ว ยหั ว หน้ า หน่ ว ยวิ จั ย ต่ า ง ๆ ของสถาบั น ฯ ร่ ว มให้ ก ารต้ อ นรั บ Tran Viet Ha, MD, MSc In-Country Project Director, ACCEPT Project และ Tran Thi Mo โดยทั้งคู่เป็นนักวิจัยจากประเทศเวียดนาม ในการเข้าเยี่ยมชม และศึ ก ษาการท� ำ งานของหน่ ว ยงานต่ า ง ๆ ภายในสถาบั น ฯ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อน�ำไปประยุกต์ใช้กับงานวิจัยภายใน ประเทศเวี ย ดนาม นอกจากนี้ ยั ง ถื อ เป็ น การสร้ า งเครื อ ข่ า ย ความร่วมมือด้านงานวิจัยของสถาบันฯ กับต่างประเทศอีกด้วย

สารสถาบันฯ 20

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


เจ้าหน้าที่จาก Johns Hopkins University ตรวจการใช้เงินของสถาบันฯ ศ. นพ.สุ วั ฒ น์ จริ ย าเลิ ศ ศั ก ดิ์ ผู ้ อ� ำ นวยการ สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ พร้อมด้วยฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง ด้านการเงินของสถาบันฯ ร่วมให้การต้อนรับ Kellien Klein, International Finance & Operations Manager Divisional Business Office, The Johns Hopkins University, Bloomberg School of Public Health ซึ่งได้เข้าเยี่ยมชม และตรวจสอบการท�ำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในสถาบันฯ โดยเฉพาะด้านการเงิน ณ สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ อาคาร 1 ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2556

...

นักวิจัยจากญี่ปุ่นร่วมประชุมสรุปงานโครงการวิจัย ศ. ดร.สุ วั ฒ น์ จริ ย าเลิ ศ ศั ก ดิ์ ผู ้ อ� ำ นวยการ สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ พร้ อ มด้ ว ยนั ก วิ จั ย ของสถาบันฯ ร่วมให้การต้อนรับ Dr.Toshiyuki Miura จาก Medical Affairs Department บริษัท ViiV Healthcare K . K . เ พื่ อ ก า ร ป ร ะ ชุ ม บ ร ร ย า ย ส รุ ป ก า ร ท� ำ ง า น ของโครงการวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง HPV MSM และ HIV วันที่ 19 เมษายน 2556

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 21


AFRIMS Team จัดให้ RV306 Protocol Training สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ร่วมให้การต้อนรับ AFRIMS Team ในการมาเป็น วิทยากรส�ำหรับ RV306 Protocol Training ระหว่างวันที่ 25 – 26 มี น าคม 2556 ณ ห้ อ งประชุ ม ชั้ น 4 (ห้องเอนกประสงค์) อาคาร 1 เพื่อเตรียมความพร้อม ส� ำ หรั บ งานวิ จั ย ด้ า นโรคเอดส์ ใ นอนาคต นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความร่วมมือด้านงานวิจยั กับหน่วยงานอืน่ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติอีกด้วย

...

สถาบันฯ จัดทำ�ระบบ LED TV เพื่อการประชาสัมพันธ์ข่าวสารสถาบันฯ ในระยะเริ่มแรก ทดลองติดตั้งไว้ที่ ชั้น 1 อาคาร 1 และคาดว่าจะขยายไปยัง อาคาร 2 และอาคาร 3 ต่อไป ในภายหลัง หน่วยงาน โครงการวิจัยใด ที่ต้องการประชาสัมพันธ์ตนเอง สามารถส่ง presentation มาได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ VDO, Powerpoint ที่หน่วยประชาสัมพันธ์ และบริการวิชาการ อีเมล์ uwanna@rihes.org หรือโทร 5055-8 ต่อ 118

สารสถาบันฯ 22

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


"Doing & Training"

อธิการ มช. แสดงความยินดีกับนักวิจัย คว้ารางวัล วช. ในงานวันนักประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 ส�ำนักงานมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ น�ำโดย รศ. นพ.นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัย เชี ย งใหม่ ได้ ม อบช่ อ ดอกไม้ แ สดงความยิ น ให้ กั บ ผศ.สุ ช าติ เกียรติวัฒนเจริญ นักวิจัยร่วมในโครงการ “การขยายผลการวิจัย มลพิษทางอากาศและผลกระทบสุขภาพสู่ชุมชน เพื่อการเรียนรู้ และลดแหล่งก�ำเนิดฝุ่นในอากาศในชุมชนภาคเหนือตอนบนของ ประเทศไทย” โดยมี ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล นักวิจัยอาวุโสฯ ของสถาบันฯ เป็นหัวหน้าโครงการ จากผลงานประดิษฐ์คิดค้น เรื่ อ ง “เครื่ อ งวั ด ปริ ม าณฝุ ่ น ละอองขนาดเล็ ก ในอากาศชนิ ด แสดงผลทั น ที ” โดยความร่ ว มมื อ ของ 3 หน่ ว ยงาน คื อ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โดย ผศ.ศุภชัย ชัยสวัสดิ์ และสถาบั น ฯ ในโอกาสที่ เ ข้ า รั บ รางวั ล ประกาศเกี ย รติ คุ ณ ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จากสภาวิจยั แห่งชาติ : รางวัลผล งานประดิษฐ์คิดค้น ประจ�ำปี 2556

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 23


นำ�เครื่องวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก แสดงในรายการมองเมืองเหนือ ดร.ทิพวรรณ ประภามลฑล นักวิจยั อาวุโสของสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สุขภาพ พร้อมด้วย ผศ.สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ นักวิจัยร่วมในโครงการ “การขยายผลการวิจัยมลพิษทางอากาศ และผลกระทบสุขภาพสู่ชุมชน เพื่อการเรียนรู้ และลดแหล่งก�ำเนิด ฝุ่นในอากาศในชุมชนภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย” ร่วมกัน น�ำเสนอผลงานประดิษฐ์คิดค้นเรื่อง “เครื่องวัดปริมาณฝุ่นละออง ขนาดเล็กในอากาศชนิดแสดงผลทันที” ในรายการมองเมืองเหนือ ทางสถานี วิ ท ยุ โ ทรทั ศ น์ แ ห่ ง ประเทศไทยจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ กรมประชาสัมพันธ์ หรือช่อง NBT เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 นอกจากนี้นักวิจัยของสถาบันฯ ยังได้ถือโอกาสให้ความรู้เรื่อง ปัญหาหมอกควัน ซึง่ ขณะนีป้ ญ ั หาหมอกควันก็ได้กลับมาสร้างความ เดือดร้อนให้แก่คนภาคเหนืออีกครัง้ จึงต้องมีการเร่งประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนรับทราบและตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากการเผา จะช่วยให้ปัญหาดังกล่าวลดลงได้

... หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ นำ�ทีมลงพื้นที่ แจ้งผลการวิจัยเรื่องปัญหาหมอกควันไฟป่าแก่ชุมชน ดร.สุ รั ต น์ หงษ์ สิ บ สอง พร้ อ มด้ ว ยคณะนั ก วิ จั ย จาก หน่วยวิจยั สิง่ แวดล้อมและสุขภาพ สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ ลงพื้ น ที่ แ จ้ ง ผลการวิ จั ย แก่ ชุ ม ชนในโครงการ "การประเมิ น การรั บ สั ม ผั ส สารมลพิ ษ ทางอากาศในเด็ ก นั ก เรี ย นอนุ บ าล จากจุ ด พื้ น ที่ มี จุ ด ความร้ อ นสู ง ในจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ " (TUHPP) โดยมี ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล เป็นหัวหน้าโครงการฯ ในพื้นที่ อ.แม่ แ จ่ ม และ อ.อมก๋ อ ย จ.เชี ย งใหม่ ระหว่ า งวั น ที่ 19-21 กุมภาพันธ์ 2556

สารสถาบันฯ 24

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


สถาบันฯ ได้รับโล่เกียรติคุณ โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ดร.ศักดา พรึงล�ำภู นักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ เป็ น ตั ว แทนสถาบั น ฯ ในการรั บ โล่ เ กี ย รติ คุ ณ ในเวที แ ลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ และประกวด สื่ อ นวั ต กรรมโภชนาการสมวั ย โครงการพั ฒ นาระบบ และกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ณ โรงแรมเอเชีย แอร์ พ อร์ ต อ.ล� ำ ลู ก กา จ.ปทุ ม ธานี เมื่ อ วั น ที่ 25-26 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา โดยสถาบันฯ ได้ร่วมขับเคลื่อน โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการ สมวัย ระหว่างปี พ.ศ. 2552 – 2556 และมีส่วนผลักดันให้ โครงการดังกล่าวประสบผลส�ำเร็จ เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับ พื้นที่อื่นๆ ได้ร่วมเรียนรู้ พัฒนาต่อยอดและขยายผล เพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัยต่อไป

... “แก๊งค์ซ่า” จัดกิจกรรมให้สามเณรวัดโลกโมฬี ที ม วิ จั ย สารเสพติ ด (แก๊ ง ค์ ซ ่ า ) สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ จั ด กิ จ กรรมรู ้ เ ท่ า ทั น สารเสพติ ด ให้ แ ก่ ส ามเณรจากโครงการบวชสามเณรภาคฤดู ร ้ อ น ประจ�ำปี 2556 จ�ำนวน 52 รูป ณ วัดโลกโมฬี อ.เมือง จ.เชี ย งใหม่ เมื่อ วั น ที่ 28 มี น าคม 2556 ซึ่ ง กิ จ กรรม รู้เท่าทันสารเสพติด ตั้งแต่การบรรยายให้ความรู้ เกี่ยวกับ ชนิ ด และภั ย ร้ า ยจากสารเสพติ ด รวมถึ ง การเล่ น เกม ตามฐานต่าง ๆ เป็นการสร้างความรู้ใหม่ให้แก่สามเณร ที่ส่วนใหญ่ยังมีอายุน้อย และยังไม่รู้เท่าทันอันตรายจาก สารเสพติ ด ดั ง นั้ น การจั ด กิ จ กรรมที่ เ หมาะสมส� ำ หรั บ กลุ่มนี้จึงมีความส�ำคัญ อีกทั้งยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน ให้สามเณร หลังจากจบโครงการบวชภาคฤดูร้อนไปแล้ว อีกด้วย วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 25


"Activities" พิธีมอบเสื้อสามารถ ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ ท�ำพิธมี อบเสือ้ สามารถแก่นกั กีฬาของสถาบันฯ ทีท่ �ำผลงานดีจนสามารถคว้าเหรียญรางวัลได้ถงึ 27 เหรียญ ในการ แข่งขันกีฬสาบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 30 ประจ�ำปี 2555 เพื่ อ เป็ น ขวั ญ และก� ำ ลั ง ใจให้ นั ก กี ฬ า ณ ห้ อ งประชุ ม DONALD JEFFREY GIBSON อาคาร 1 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2556

สารสถาบันฯ 26

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ศู น ย์ วิ จั ย ด้ า นโรคเอดส์ แ ละโรคติ ด ต่ อ ทาง

เ พ ศ สั ม พั น ธ ์ จั ด กิ จ ก ร ร ม เ พื่ อ สั ง ค ม ณ ส ถ า น ส ง เ ค ร า ะ ห ์ เ ด็ ก บ ้ า น เ วี ย ง พิ ง ค ์ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556

... ร่ ว มแสดงความยิ น ดี

คณะเกษตรศาสตร์ เนือ่ งในโอกาสครบรอบ 46 ปี วันคล้ายวันสถปานา คณะเกษตรศาสตร์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 27


ตารางกิจกรรม เมษายน 2556 1 3

เมษายน 2556 เมษายน 2556

10-11 เมษายน 2556 13

เมษายน 2556

19

เมษายน 2556

23-25 เมษายน 2556

การประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบัน ครั้งที่ 2 การสั ม มนา กลุ ่ ม สถาบั น วิ จั ย ของมหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารรวมวิจัย (ตรงข้ามคณะเกษตรศาสตร์) ฝั่งสวนสัก ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ร่วมประชุม Smakll Group meeting-Building and Strengthening Health Research Capacity of Small Countries in South-East Asia Region ณ กรุงดิลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต สถาบันฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมขบวนแห่พระพุทธสิหิงส์ เนื่องในประเพณี วันสงกรานต์ พิธีรดน�้ำด�ำหัวผู้อาวุโสสถาบันฯ และผู้อ�ำนวยการ พิธีรดน�้ำด�ำหัวผู้อาวุโสมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอธิการบดี DMC Introductory Workshop (Optional) and Intermediate Level Data Manager Training ผู้เข้าร่วมจากหน่วยวิจัยในประเทศไทย จีน บอสซาวานา และอูกานดา

พฤษภาคม 2556 3-5

พฤษภาคม 2556

8-10

พฤษภาคม 2556

ระหว่างเดือน เมษายน - พฤษภาคม

สารสถาบันฯ 28

การประชุม HPTN Annual Meeting ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ ศ.สุ วั ฒ น์ จริ ย าเลิ ศ ศั ก ดิ์ , ผศ.เกรี ย งไกร ศรี ธ นวิ บุ ญ ชั ย , คุ ณ บุ ญ เหลื อ พรึ ง ล� ำ ภู , ดร.อรุณรัตน์ ตั้งมั่นคงวรกูล และตัวแทน CAB พญ.ลินดา เอื้อไพบูรณ์ เข้าร่วมประชุม 2013 IMPAACT Leadership Retreat ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา

กระบวนการสรรหาผู้อำ�นวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพคนใหม่

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ซุ

ป ซิ บ สร้างสรรค์

วันนี้เสี่ยสั่งเลี้ยง... เอ้า! เรียงแถวกันเข้ามา เสี่ยนิวแจกขนม ให้เด็กๆ... หงี..ช่างรักเด็กน้อย จุงเบย...(^_^)

By...พี่แนนซี่กับน้องซาร่า

Presenter ข้าวหมูกรอบ... ลำ�แต้ ๆ เจ้า

ทายสิคะพี่ไก่บุญเหลือ กะหมอแม้ว อยู่ไหนเอ่ย ?... แอบเนียนเลยนะนั่น ..อิอิ

พิธีมอบเสื้อสามารถ ให้กับคณะนักกีฬาของสถาบันฯ ^_^ RIHES ไว้ลายสู้ตาย..สู้ ๆ แหม.. อาจารย์ผอ. ชูสองนิ้วทั้ง มือซ้ายและมือขวา เยอะกว่าคณะนักกีฬา..อีกแน่ะ..คร้า อิอิ

อ้าวใส่เสื้อสามารถกันแล้น..น.. ขอมือขวาหน่อยคร๊าบ ๆ แว้ก.. แต่ไหงคุงพี่ด้วงบ่เหมือนเปิ้ล ชูมือซ้าย..ล่ะนี่

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 29


ป้าชิคเก้น พูดเสริมลูกน้อง ได้ฟิลลิง่ ก์ออกมือออกไม้ทีเดียวเชียว...

ตรงนี้ต้องเน้นๆ...สำ�คัญมว๊าก...ก

อาจารย์ ผอ. เพ่งโพยไกลเจง ๆ..เหอ ๆ ๆ ขอแว่นขยาย ด๊วน ! Oops

เห็นความทุม่ เทในการถ่ายภาพขนาดนี้ ประชาสัมพันธ์ของสถาบันฯ ถึงกับต้องขอคารวะพี่จุ๋ม แห่ง Gang SAA เลยทีเดียว

อะไรเอ่ย ? ....รักก็ใช้ไม่รักก็ใช้ ใช้แล้วสบายใจ .... ติ๊กต๊อก ๆๆ ...

สารสถาบันฯ 30

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


บ อ ก ก ล่ า ว รอบบ้าน By...พี่แมงเมาท์แห่งไร่เห็ด ช่ ว งนี้ ใ ครได้ อ อกกลางแจ้ ง บ่ อ ย ๆ ขอให้ ใ ส่ ห น้ า กากปิ ด จมู ก ปากนิ ด นึ ง นะจ๊ ะ อากาศไม่ดีเลยจริง ๆ พี่แมงเมาท์แห่งไร่เห็ดตื่นมาตอนเช้าทีไรพยายามมองไปดอยสุเทพ ไม่เห็นดอยจริง ๆ เห็นแต่หมอก หนา ๆ และควัน รักษาสุขภาพกันนะจ๊ะอย่าให้ได้ปว่ ย แต่ ถ้ า ป่ ว ยขึ้ น มา ใครที่ ยั ง ไม่ มี ค นใกล้ ชิ ด คอยดู แ ล เรี ย กพี่ แ มงเมาท์ ไ ปซ�้ ำ เติ ม ได้ . .. โอ้ย !!!!!! ไม่ใช่ไปดูแลจร้า.

เมือ่ สองเดือนก่อนพีแ่ มงเมาท์ได้มโี อกาสไปดูทณ ั ฑสถานหญิงเชียงใหม่มา แต่ไม่มโี อกาสได้ถ่ายภาพมา เผอิญไปเห็น ใน facebook/ สงคราม ประวัติศาสตร์ เลยเอาภาพประวัติศาสตร์มาให้พวกเราดูสักหน่อย ก่อนที่เค้าจะรื้อแล้วท�ำเป็น “ข่วงหลวงเวียงแก้ว” ในเร็ววันนี้

ประตูทางเข้า นี่เป็นประตูใหญ่สำ�หรับเข้าและออก ประตูเป็นเหล็กหนา และหนักมาก

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 31


หลังจากห้องสำ�นักงานแล้ว ก็เป้นประตูใหญ่อีกชั้นหนึ่ง

เมื่อผ่านประตูที่ 4 มาแล้วก็พบกับ ลานโล่งมีอาคารต่าง ๆ มากมาย

อันนี้คือแดนแรกรับ เมื่อนักโทษถูกส่งตัวมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ตัดสินคดีก็ขังอยู่แดนนี้

รูปที่ถ่ายจากอาคารสำ�นักงาน มีการกั้นด้วยลวดหนาม จากรูป มีรั้วลวดหนามชั้นล่าง ลวดหนามชั้นกลาง แล้วก็ลวดไฟฟ้า อยู่ชั้นบน และมีป้อมรักษาการบนกำ�แพงสูง คอยจับตาดูอีกชั้นหนึ่ง กันนักโทษหลบหนีอีกด้วย ความสูงของกำ�แพงประมาณ 5-6เมตร

อันนี้เป็นห้องนอนรวม ติดลูกกรงและประตูเหล็กแน่นหนา

สารสถาบันฯ 32

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


นี่คือส่วนที่อาบน�ำ้ อาบกลางแจ้ง ไม่มีส่้วนปิดบัง

ส่วนห้องเล็กขวามือ เป็นห้องที่ขังนักโทษที่รอการประหาร นักโทษ จะไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่นหรือไปร่วมท�ำกิจกรรม มีการกินและนอน ในห้องนี้เลย และ มีห้องน�ำ้ ภายในตัว

ส่วนนี้เรียกว่า "ห้องเย็น" เป็นห้องขังเมื่อนักโทษ ก่อเรื่องที่ผิดระเบียบ เช่น วิวาท ลักขโมย จะโดนขัง อยู ่ ใ นห้ อ งนี้ ไม่ มี ห ้ อ งน�้ ำ ให้ ขั บ ถ่ า ยและอาบน�้ ำ กินอยู่ในนี้เลย ภายในมีแสงน้อย และอยู่ชั้นล่าง ท�ำให้มอี ากาศเย็น จึงได้ชอื่ ว่าห้องเย็น ห้องนีใ้ ช้ลงโทษ ขังนักโทษ 15 วัน

บริเวณภายในคุก ติดขอบและอาคาร จะมีรวั้ ลวดหนามและลวดไฟฟ้า อยูต่ ลอด

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 33


ส่วนนี้คือ ล็อคเกอร์ เก็บของส่วนบุคคล สูงและกว้างประมาณ 1 ฟุต

โรงอาหาร

เรือนนอน

นี่คือสภาพห้องน�ำ้ ห้องน�้ำรวม ไม่มีฝากั้นมองเห็นว่าท�ำอะไรได้

เรือนนอนห้องนี้จุคนประมาณร้อยกว่าคน ฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สารสถาบันฯ 34อันนี้ควิือสห้ัยอทังน�ศน์ำ้ สในเรืถาบัอนนนอนรวม


นี่เป็นห้องญาติต้องตรวจร่างกายก่อนจะเข้าไปเยี่ยมนักโทษ เพื่อป้องกันการน�ำสิ่งของต้องห้ามเข้าไปให้นักโทษ

เมือ่ นักโทษกับญาติพดู คุยกันจะคุยผ่านกันทางโทรศัพย์ และห้องนัน้ แต่เดิมไม่มีโทรศัพย์ก็ใช้เสียงลอดผ่านช่องไป นอกจากนี้ในห้องจะมี ตะแกรงกันการลักลอบน�ำสิ่งของให้กัน

และรูปสุดท้าย เป็นรูปของศาล แต่เดิมเป็นแท่นประหารส�ำหรับการยิงเป้า และเคยมีการยิงเป้าที่นี่ด้วย ห้องขวาเป็น ห้องที่พักส�ำหรับนักโทษก่อนประหาร เป็นห้องกินอาหารมื้อสุดท้าย และเขียนข้อความถึงญาติ ส่วนห้องกลาง เป็นห้องที่ยิงเสร็จแล้วจะน�ำศพนักโทษไปพักไว้เพื่อพิสูจน์ว่าตายแล้วจริงหรือเปล่า ส่วนห้องทางด้านซ้าย เป็นห้องพยาน นั่งดูพิธีการประหาร สุดท้ายผู้น�ำชมเขาได้ฝากไว้ส�ำหรับผู้ที่เข้าไปอยู่ในคุกว่า คนที่เข้ามาอยู่ในคุกแล้ว การออกจากคุก มีแค่ 2 อย่างคือ พ้นโทษออกไป และ การตายเป็นศพออกไป เอาแค่นี้พอก่อนนะจ๊ะ แล้วถ้าเป็น “ข่วงหลวงเวียงแก้ว” เมื่อไร พี่แมงเมาท์ แห่งไร่เห็ดจะเอาภาพสวย ๆ มาฝากนะจ๊ะ ไปละเน้อ bye…bye วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 35


เรื่องสั้นเร้าพลัง : โดย กำ�ลังเดินทาง

ภาพประกอบ อาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง

เรื่องของป้าแดง

“ไชโย ๆๆๆๆๆ”

ป้ า แดง (นามสมมติ ) แสดงความดี ใ จออกนอกหน้ า ขณะที่ ต ะโกนสุ ด เสี ย งด้ ว ยความดี ใ จพลางสวมกอดพยาบาล ผู้ให้ค�ำปรึกษา หลังจากรับทราบผลการตรวจเลือดหาเชื้อ HIV พาให้ชาวบ้านที่มาร่วมกิจกรรม รวมถึงเจ้าหน้าที่พากันสะดุ้ง และแอบยิ้มแอบหัวเราะไปกับท่าทีของแก ป้ า แดง เป็ น หญิ ง ชาวบ้ า นที่ ม ารั บ บริ ก ารตรวจหา เชื้อ HIV ฟรี หากจะนับอายุอานามที่อยู่มาบนโลกใบนี้ ป้าแดงก็ อยู่มาได้ 50 กว่าปีแล้ว สามีของป้าแดงเสียชีวิตด้วยโรคร้าย ที่ทุกคนมั่นใจว่ามันคือโรคเอดส์ ถึงแม้ว่าแพทย์ผู้ให้การรักษา จะแจ้งกับญาติ ๆ ของป้าแดงว่าลุงเสียด้วยโรคตับก็ตาม ซึ่งก็ รวมไปถึ ง ตั ว ป้ า แดงเองด้ ว ยที่ คิ ด ว่ า คุ ณ หมอปิ ด บั ง ความจริ ง เรื่องสาเหตุการเสียชีวิตของสามี และเข้าใจมาโดยตลอด 20 ปี มานี้ว่าในเมื่อสามีเป็นเอดส์ตาย ตัวแกเองก็ต้องเป็นเอดส์ด้วย แต่ โ ชคดี อ ยู ่ ห น่ อ ยที่ ตั ว แกเองมี ชี วิ ต อยู ่ ม าได้ ย าวนานขนาดนี้ และมีก�ำลังใจเหลือเฟือที่จะยอมรับเสมอมาว่าตัวเองเป็นผู้ติดเชื้อ ท่ามกลางเสียงลือเสียงเล่าอ้างของชาวบ้าน

สารสถาบันฯ 36

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ป้าแดงมีโอกาสดีๆ ที่บังเอิญได้ยิน เสียงประกาศจากรถประชาสัมพันธ์โครงการพาไทย ทีอ่ อกเดินทาง ประกาศไปทั่ ว หมู ่ บ ้ า นแม้ ใ กล้ ไ กลแว่ ว เข้ า หู อี ก ทั้ ง มี ก ระแส ชักชวนกันของเพื่อนบ้าน จุดประสงค์หลักๆ ของแกก็คงเหมือนกับ ชาวบ้านคนอื่นๆ ก็คือแค่อยากให้ความร่วมมือในการท�ำกิจกรรม ของเจ้ า หน้ า ที่ เ พี ย งเท่ า นั้ น อ้ อ อี ก อย่ า งก็ ค งเป็ น ของที่ ร ะลึ ก หลากหลายจากโครงการนัน่ เอง แต่พอมาถึงป้าแดงได้รบั ค�ำแนะน�ำ จากเพื่อน และการเชิญชวนจากประกาศของเจ้าหน้าที่ให้เข้ารับ การตรวจภาวะติดเชือ้ เอดส์กบั หน่วยบริการเคลือ่ นทีข่ องโครงการ ป้าแดงก็เป็นอันต้องคิดทบทวนอย่างหนัก ก่อนตัดสินใจแน่วแน่ ในเวลาต่อมาที่จะร่วมตรวจหาเชื้อ HIV ด้วยเหตุผลว่า อย่างน้อย ที่สุ ด ก็ จ ะได้ มีผ ลตรวจยืน ยั น ว่ า ติด เชื้อ เผื่อ จะได้ รั บ ค่ า ชดเชย เป็ น รายเดื อ นจากหน่ ว ยงานราชการ โดยหารู ้ ไ ม่ ว ่ า ผลการ ตรวจเลื อ ดในครั้ ง นี้ จ ะสร้ า งความประหลาดใจและยิ น ดี ใ ห้ แ ก มากมายแค่ไหน

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


"เพราะไม่ง่ายนักที่อยู่ดี ๆ ชาวบ้านจะเดิน เข้ามาตรวจหาโรคเอดส์เนื่องจากต้อง ท�ำมาหากิน ยิ่งถ้าต้องเดินทางมาตรวจถึง

"

โรงพยาบาลด้วยแล้ว ยิ่งเป็นไปได้ยาก ท่านผู้อ่านคงพอทราบนะคะว่าผลการตรวจเป็นอย่างไร ใช่ แ ล้ ว ค่ ะ ผลจากการตรวจ Rapid Test จากการรอคอย อย่ า งทรมานนั บ ครึ่ ง ชั่ ว โมงหลั ง เจาะเลือ ด ออกมาเป็ น ผลลบ (Negative) อย่ า งเป็ น เอกฉั น ท์ ถึ ง ตอนนี้ ผู ้ อ ่ า นทุ ก ท่ า น คงไม่แปลกใจแล้ว กับการทีป่ า้ แดงแสดงความดีใจออกมามากมาย ขนาดนั้น เมื่อเทียบกับสิ่งที่แกต้องเผชิญอันเนื่องมาจากความ เข้าใจผิด กว่า 20 ปีที่ต้องแบกรับความคิดว่าตนเองเป็นโรคเอดส์ รวมถึงความรู้สึกด้านลบจากผู้คนรอบข้างเมื่อรู้ว่าแกเป็นโรคร้าย ทีร่ กั ษาไม่หายด้วยแล้ว การเข้ารับบริการจากหน่วยบริการเคลือ่ นที่ ของโครงการ ส่งผลให้แกก้าวหลุดพ้นจากความทุกข์นั้น ท�ำให้แก พูดได้อย่างเต็มปากว่าตัวแกเองและสามีของแกไม่ได้เป็นโรคเอดส์ อย่างที่ชาวบ้านร�่ำลือกันมานาน ทั้งยังท�ำให้ตัวป้าแดงเองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุการติดเชื้อเอดส์ดีขึ้น ก่อนจากกันป้าแดงเฝ้าแต่ขอบคุณเจ้าหน้าที่โครงการ ที่เข้ามาให้บริการดี ๆ ถึงหมู่บ้าน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ซึง่ แน่นอนว่านอกเหนือจากประโยชน์ทางด้านการวิจยั แล้ว เราเอง

ผูเ้ ป็นเจ้าหน้าทีโ่ ครงการก็ตอ้ งขอบคุณป้าแดงและชาวบ้านทุกท่าน เช่นกัน ที่ท�ำให้เราได้มีโอกาสสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนบ้าง ไม่มากไม่น้อย ทั้งนี้อาจเพราะเราได้ออกไปยังพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ เป็นระยะ ท�ำให้เราเห็นการเปลี่ยนแปลงดี ๆ ที่เกิดขึ้นกับชุมชนได้ ชัดเจนพอสมควร เราจึงอดรู้สึกภูมิใจไม่น้อยที่ได้เป็นแรงผลักดัน เล็ก ๆ ซึ่งก่อให้เกิดสิ่งดีงามและเป็นประโยชน์ให้กับสังคมของเรา การที่มีหน่วยบริการสุขภาพเคลื่อนที่เข้าไปถึงหมู่บ้าน ช่วยให้ชาวบ้านส่วนหนึ่งได้เข้าถึงบริการตรวจหาการติดเชื้อ HIV ท�ำให้ผู้ติดเชื้อสามารถทราบผลการตรวจและเข้ารับการรักษา โดยเร็ว เพราะไม่ง่ายนักที่อยู่ดี ๆ ชาวบ้านจะเดินเข้ามาตรวจหา โรคเอดส์เนื่องจากต้องท�ำมาหากิน ยิ่งถ้าต้องเดินทางมาตรวจถึง โรงพยาบาลด้ ว ยแล้ ว ยิ่ ง เป็ น ไปได้ ย าก นอกจากนี้ ก ารเข้ า ไป ให้ ค วามรู ้ แ ละการให้ ค� ำ ปรึ ก ษาก่ อ นและหลั ง การตรวจเลื อ ด ก็มีส่วนท�ำให้ชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตลอดจน สามารถป้องกันตนเองจากการติดเชือ้ HIV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกด้วย ...

...

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 37


ย�่ำเท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก

ตามรอยบาทพระศาสดา ในดินแดน 4 สังเวชนียสถาน ตอนที่ 2 พุทธคยา

บุญเหลือ พรึงล�ำภู

นตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้เล่าถึงการเตรียมตัวเตรียมใจ ส� ำ หรั บ เดิ น ทางไปอิ น เดี ย เพื่ อ ท่ อ งถิ่ น แดนพุ ท ธภู มิ อ ย่ า งไร โดยเริ่มต้นที่สังเวชนียสถานที่ส�ำคัญแห่งแรกของพุทธศาสนิกชน นั่นคือ สวนลุมพินีวันซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ เมือ่ เรายังละอ่อนน้อยช่วงเรียนพุทธประวัติ คงจะจ�ำได้วา่ หลังจาก ทีเ่ จ้าชายสิทธัตถะประสูตไิ ด้ 7 วัน พระนางสิรมิ หามายาพระมารดา ก็สิ้นพระชนม์ พระเจ้าสุทโธทนะก็ได้ให้พระนางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระน้านาง ช่วยเลี้ยงดูแลเจ้าชายสิทธัตถะ โดยเจ้าชาย ได้ถูกทะนุถนอมเลี้ยงดูเป็นอย่างดี มีความสุขสบายอย่างบริบูรณ์ พูนสุข พบเห็นแต่สิ่งที่สวยๆงามๆ พระราชบิดาก็มีทรัพย์ศฤงคาร มากมายที่จะบ�ำรุงบ�ำเรอเจ้าชายให้มีความสุขทางโลกอย่างยิ่ง เพราะพระราชบิดาปรารถนาที่จะให้เจ้าชายสิทธัตถะครองราชย์ สื บ ต่ อ เพื่ อ เป็ น พระมหาจั ก รพรรดิ อั น ยิ่ ง ใหญ่ ต ามค� ำ ท� ำ นาย ของปุโรหิตส่วนใหญ่ทงั้ หลาย และไม่ปรารถนาให้เจ้าชายออกบวช เพื่ อ เป็ น ศาสดาเอกดั ง เช่ น ค� ำ ท� ำ นายของโกณฑั ญ ญะ พราหมณ์หนุ่มที่ได้ท�ำนายไว้เป็นแนวทางเดียว ครั้ น เมื่ อ เจ้ า ชายสิ ท ธั ต ถะมี พ ระชั น ษา 16 พรรษา พระราชบิดาได้ทรงจัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสเจ้าชายสิทธัตถะ กับพระนางยโสธราพิมพา จากตระกูลโกลิยะวงศ์ ซึง่ เป็นพระญาติ

สารสถาบันฯ 38

ฝ่ายพระมารดา จวบจนเมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางยโสธราพิ ม พาก็ ไ ด้ ป ระสู ติ พ ระราหุ ล ในวั น นั้ น เจ้าชายสิทธัตถะได้ออกประพาสอุทยานได้ทอดพระเนตรเห็น "เทวทูตทั้ง 4” คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ จึงทรงคิดว่า ชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ จึงเกิดความคิดว่า ธรรมดาในโลกนีม้ ขี องคูก่ นั อยู่ เช่น มีรอ้ นก็ตอ้ ง มีเย็น มีทุกข์คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีที่สุดแห่งทุกข์หรือมีสิ่ง ที่ตรงข้ามกัน คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย และทรงเห็น ความสุขทางโลกเป็นเพียงมายา ความสุขในกามคุณเป็นความสุข จอมปลอม เจ้าชายสิทธัตถะปรารถนาที่จะพ้นจากความทุกข์ ของชี วิ ต ที่ ว นเวี ย นเป็ น วั ฏ สงสารเช่ น นี้ จึ ง ตั ด สิ น พระทั ย ทรงออกผนวช ในวันที่พระราหุลประสูตินั่นเอง การออกบวช ครั้งนี้เรียกว่า การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออก เพื่อคุณอันยิ่งใหญ่) หลังจากทรงผนวชแล้ว จึงทรงศึกษาเล่าเรียน ในส�ำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร ซึ่งถ้าเปรียบก็เป็นแหล่งสถาบันการศึกษาที่ยอดเยี่ยมมีชื่อเสียง ที่ สุ ด ในชมพู ท วี ป ยุ ค นั้ น แล้ ว เมื่ อ พระองค์ ท รงร�่ ำ เรี ย นจบ ทั้งสองส�ำนัก ก็ทรงเห็นว่ายังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่ทรงมุ่งหวังไว้

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


พระองค์ จึ ง มี พ ระราชด� ำ ริ ว ่ า คงจะต้ อ งมี ห นทางอื่ น อีกแน่นอนที่จะเป็นการปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์ จึงทรงเสด็จไปยัง เขาดงคสิริ ซึ่งห่างจากเจดีย์พุทธคยาประมาณ 7 กม. เพื่อไป บ� ำ เพ็ ญ ทุ ก รกิ ริ ย า คื อ การทรมานพระองค์ อ ย่ า งแสนสาหั ส ตามความเชื่ อ ของคนสมั ย นั้ น ว่ า จะสามารถหลุ ด พ้ น ได้ จ ริ ง ทรงบ�ำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยวิธีต่างๆ อย่างแสนสาหัส ยิ่งกว่าจะมี ฤาษีหรือดาบสผู้ใดได้เคยกระท�ำมา ยาวนานถึง 6 ปี แต่แล้ว ก็ทรงรู้ว่าวิธีการบ�ำเพ็ญทุกรกิริยายังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ครั้งนั้น พระอินทร์ได้เสด็จลงมากระท�ำนิมติ หมาย ด้วยการทรงพิณ 3 สาย ถวาย พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน อีกสายหนึง่ หย่อนไปเมือ่ ดีดก็ไม่มเี สียง ส่วนอีกสายทีไ่ ม่ตงึ ไม่หย่อน เมื่อดีดก็มีเสียงไพเราะ พระมหาบุรุษทรงพิจารณาเห็นแจ้งว่า ทางสายกลางเท่านั้นที่จะเป็นหนทางที่จะช่วยให้มนุษย์หลุดพ้น ได้ จ ริง จึง ทรงเลิก บ� ำ เพ็ ญ ทุ ก รกิริย า หั น มาบ� ำ รุ ง พระวรกาย โดยปกติ เป็นเหตุให้ปัญจวัคคีย์ (โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ) มาคอยปรนนิบตั พิ ระองค์ระหว่างทีท่ รงบ�ำเพ็ญ ทุกรกิริยา โดยหวังว่าจะทรงบรรลุธรรมวิเศษแล้วเผยแพร่ให้ตน ทราบบ้ า ง เมื่ อ พระองค์ เ ลิ ก บ� ำ เพ็ ญ ทุ ก รกิ ริ ย า ปั ญ จวั ค คี ย ์ จึ ง หมดสิ้ น ศรั ท ธา พากั น หนี ไ ปอยู ่ ที่ ป ่ า อิ สิ ป ตนมฤคทายวั น เมืองพาราณสี เมื่อปัญจวัคคีย์หลีกหนีไปเช่นนี้ ท�ำให้พระองค์ ทรงบ�ำเพ็ญเพียรเป็นเอกเทศ

ในเช้ า วั น ขึ้ น 15 ค�่ ำ เดื อ น 6 ขณะมี พ ระชนมายุ ไ ด้ 35 พรรษา พระมหาบุรุษได้เสด็จมานั่งใต้ต้นนิโครธ (ต้นไทร) ริมฝั่งแม่น�้ำเนรัญชรา นางสุชาดา ธิดาเศรษฐีแห่งต�ำบลอุรุเวลา เสนานิคม แคว้นมคธ ได้ถวายข้าวมธุปายาสแด่พระมหาบุรุษ เมื่ อ เสวยเสร็ จ แล้ ว ทรงลอยถาดทองในแม่ น�้ ำ เนรั ญ ชรา ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า ถ้าจะได้ตรัสรู้แก่พระปรมาภิเษก สั ม โพธิ ญ าณแล้ ว ขอให้ ถ าดนี้ จ งลอยทวนกระแสน�้ ำ ขึ้ น ไป แล้วลอยถาดทองนั้นลงในแม่นำ�้ เนรัญชรา ถาดนั้นได้ลอยทวนน�้ำ แล้วก็จมลงตรงนาคภพวิมานแห่งพญากาฬนาคราช พระองค์ทรง โสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้ เป็นพระสัพพัญญูสมั พุทธเจ้า ในเวลาเย็นได้เสด็จไปยังต้นโพธิ์ มีคนหาหญ้าชือ่ โสตถิยะ ได้ถวายหญ้าคา 8 ก�ำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนใต้ต้นโพธิ์ ต�ำบลอุรุเวลาเสนานิคม ริมฝั่งแม่นำ�้ เนรัญชรา เมื่อพระมหาบุรุษ เสด็ จ ประทั บ บั ล ลั ง ก์ แ ล้ ว ขั ด สมาธิ หั น พระพั ก ตร์ ไ ปทางทิ ศ ตะวันออก หันหลังไปทางต้นโพธิ์ ก่อนที่ทรงเริ่มบ�ำเพ็ญเพียร ด้ ว ยสมาธิ จิ ต ได้ ท รงตั้ ง สั ต ยาธิ ษ ฐานว่ า หากยั ง มิ ไ ด้ ต รั ส รู ้ อนุ ต ตรสั ม มาสั ม โพธิ ญ าณ แม้ เ ลื อ ดเนื้ อ จะเหื อ ดแห้ ง ไป เหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็จะไม่เลิกละความเพียรลุกไปจาก ที่ประทับเด็ดขาด ปณิธานนี้แสดงถึงพระทัยที่แน่วแน่ หนักแน่น และมั่ น คงของพระพุ ท ธองค์ แล้ ว ในคื น วั น เพ็ ญ เดื อ นวิ ส าขะ เมื่อ 2600 ปีล่วงมาแล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงบรรลุถึงเป้าหมาย คือ ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 39


เมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็ได้ประทับอยู่ ณ พุ ท ธคยา เพื่ อ เสวยวิ มุ ต ติ สุ ข (ความสุ ข อั น เกิ ด จากความ หลุ ด พ้ น ) อยู ่ 7 สั ป ดาห์ และเกิ ด เรื่ อ งราวต่ า ง ๆ มากมาย ณ โพธิมณฑลแห่งนี้ภายในเวลา 7 สัปดาห์ ดังกล่าว ซึ่งรวมถึง เรื่ อ งราวของตปุ ส สะและภั ล ลิ ก ะ 2 พ่ อ ค้ า ที่ เ ดิ น ทางผ่ า นมา เห็นพระพุทธองค์มีพระวรกายผ่องใส จึงเข้ามาถวายข้าวสัตตุผง และสัตตุกอ้ น แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกผูถ้ งึ พระพุทธและพระธรรม เป็ น สรณะคู ่ แ รกของโลก แล้ ว พระพุ ท ธองค์ ไ ด้ ท รงมอบ พระเกศาธาตุ ใ ห้ แ ก่ ส องพ่ อ ค้ า นั้ น 8 เส้ น ซึ่ ง ชาวพม่ า ประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงเราเชื่อว่าสองพ่อค้านี้เป็นบรรพบุรุษ ของชาวพม่า ได้นำ� พระเกศาธาตุกลับมายังบ้านเมืองแล้วน�ำบรรจุ บูชาในพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ที่กรุงย่างกุ้งในปัจจุบัน การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น คือ การค้นพบสัจธรรม ความจริงที่เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมดา ตามพุทธพจน์ที่กล่าวไว้ว่า “ตถาคตทั้ ง หลาย จะเกิ ด หรื อ ไม่ เ กิ ด ก็ ต าม หลั ก ความจริ ง ก็ ด� ำ รงอยู ่ ต ามธรรมดาของมั น อยู ่ แ ล้ ว ว่ า ดั ง นี้ ๆ ตถาคต (คือ พระพุทธเจ้า) ทั้งหลายได้ค้นพบความจริงนั้นแล้ว จึงน�ำมา เปิดเผย แสดง ชี้แจงให้เข้าใจง่าย และวางหลักลงว่า ดังนี้ ๆ” ความจริ ง ที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ทรงค้ น พบนี้ คื อ อะไร คื อ ความจริ ง ของกฎธรรมชาติแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย คือ การที่ผล เกิ ด จากเหตุ และเหตุ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ผล ที่ เ รี ย กกั น ง่ า ย ๆ ว่ า

สารสถาบันฯ 40

“กฎปฏิ จ จสมุ ป บาท” หรื อ เรี ย กเต็ ม ว่ า “อิ ทั ป ปั จ จยตา ปฏิจจสมุปบาท” นั่นเอง พร้อมทั้งทรงตรัสรู้ถึงธรรมพ้นจาก ปัจจัยปรุงแต่ง คือ นิพพาน พระพุ ท ธเจ้ า ทรงค้ น พบธรรม ตรั ส รู ้ ค วามจริ ง แห่งกฎธรรมชาติ ที่ครอบคลุมทั้งเรื่องนามธรรมและรูปธรรม โดยมองเห็นระบบความสัมพันธ์แห่งเหตุปจั จัยทีค่ รอบคลุม ฉะนัน้ สิ่ ง ที่ พ ระพุ ท ธองค์ ท รงตรั ส รู ้ จึ ง เป็ น ความจริ ง แท้ ไม่ มี ก าร คลาดเคลื่อนเปลี่ยนแปลง แม้เวลาจะล่วงเลยมากกว่า 2,600 ปี หลังการตรัสรู้ ยังไม่มีทฤษฎีการค้นพบใด ๆ ของนักวิทยาศาสตร์ ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ค นไหนในโลกจะมี ค วามคงทนยื น ยาวเที ย บเท่ า กั บ สิง่ ทีพ่ ระพุทธองค์ได้คน้ พบเลย ยิง่ เวลาผ่านไปเราก็ยงิ่ เห็นถึงคุณค่า แห่งพระธรรมที่พระองค์ประกาศไว้มากขึ้นทุกที

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


พุ ท ธคยานั บ เป็ น พุ ท ธสั ง เวชนี ย สถานที่ แ ห่ ง ที่ ส อง ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ของนั ก แสวงบุ ญ ชาวพุ ท ธทั่ ว โลก โดยแต่ ล ะปี จะมีผู้แสวงบุญนับล้านคน เดินทางมานมัสการมหาพุทธสถาน แห่ ง นี้ ในฐานะที่ เ ป็ น สั ง เวชนี ย สถานศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ละส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ของชาวพุ ท ธ สถานที่ อั น เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น แห่ ง พระพุ ท ธศาสนา และสถานที่ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแห่งองค์สมเด็จ พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมมหาศาสดาของชาวพุทธ ทั้งมวล พุทธคยามีชื่อเรียกอีกชื่อว่า วัดมหาโพธิ์ (Mahabodhi Temple) ตั้ ง อยู ่ ที่ จั ง หวั ด คยา รั ฐ พิ ห าร ห่ า งจากริ ม ฝั ่ ง แม่ น�้ ำ เนรั ญ ชรา 350 เมตร ปั จจุ บั น พุท ธคยาอยู ่ ใ นความดู แ ลของ คณะกรรมการร่ ว มพุ ท ธ-ฮิ น ดู และยั ง ได้ รั บ การยกย่ อ งจาก องค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 พระมหาเจดียม์ หาโพธิ์ สันนิษฐานกันว่าเริม่ สร้างขึน้ ตัง้ แต่ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ต่อมาในราวปี พ.ศ. 674 พระเจ้าหุวชิ กะ (Huvishka) กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ มีพระราชศรัทธาสร้างมหาเจดีย์ เป็ น สถู ป รู ป ทรงสี่ เ หลี่ ย ม สู ง ทรงกรวยประมาณ 170 ฟุ ต วัดรอบฐานได้ประมาณ 85 เมตรเศษ ตั้งอยู่บนอาคารสองชั้น มีเจดีย์บริวารทั้ง 4 ด้าน โดยฐานอยู่ลึกกว่าพื้นดินในปัจจุบัน ประมาณ 5 เมตร ลักษณะของพระมหาโพธิเจดียม์ เี อกลักษณ์เฉพาะ และตัง้ ตระหง่านเป็นสัญลักษณ์ของมหาโพธิมณฑลเกือบสองพันปี ในบางช่วงพระราชาแห่งแคว้นต่าง ๆ ได้เข้ามาท�ำนุบ�ำรุงอยู่เสมอ และได้รับการบูชารักษาจากชาวพุทธมาตลอด แต่มาขาดตอนไป เมือ่ ช่วงพันกว่าปีทผี่ า่ นมา เนือ่ งจากแผ่นดินอินเดียแถบนีถ้ กู คุกคาม จากสงครามและการเสือ่ มถอยของพระพุทธศาสนา พุทธคยาจึงถูก ปล่ อ ยทิ้ ง ร้ า งและถู ก ชาวฮิ น ดู เ ข้ า ครอบครอง รวมทั้ ง แปลง มหาโพธิ เ จดี ย ์ เ ป็ น เทวสถาน ซึ่ ง ท� ำ ให้ ช าวพุ ท ธที่ น� ำ โดย ท่านอนาคาริกธรรมปาละ ชาวศรีลังกา เป็นผู้น� ำการเรียกร้อง เอาพุทธคยา จากพวกมหันต์ ฮินดู กลับคืนมาเป็นของชาวพุทธ ให้พวกเราได้มีโอกาสเข้าไปกราบไหว้บูชาสถานที่ส�ำคัญแห่งนี้ อย่างใกล้ชิด

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 41


ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตั้งอยู่ติดกับพระมหาเจดีย์พุทธคยา ด้านทิศตะวันตก มีโพธิบัลลังก์หรือพระแท่นวัชรอาสน์ (แปลว่า พระแท่ น มหาบุ รุ ษ ใจเพชร) เป็ น พระแท่ น จ� ำ ลองขึ้ น ใหม่ ที่ พ ระเจ้ า อโศกทรงสร้ า งไว้ ณ รั ต นบั ล ลั ง ก์ มี ลั ก ษณะ เป็นแท่นสี่เหลี่ยมสลักด้วยหินทราย บนพื้นผิวแกะสลักเป็นรูป ดอกบัว และพญาหงส์แบบโบราณ ปัจจุบันประชาชนและรัฐบาล ประเทศศรีลังกาได้อุทิศสร้างรั้วก� ำแพงแก้ว ท�ำด้วยทองค�ำแท้ ประดิ ษ ฐานรอบต้ น พระศรี ม หาโพธิ์ แ ละพระแท่ น วั ช รอาสน์ ชาวพุ ท ธที่ ศ รั ท ธาก็ ส ามารถกราบไว้ บู ช าพวงมาลั ย ดอกไม้ โดยแขวนไว้ตามรั้วรอบก�ำแพง หรือปิดทองได้ที่รั้วเช่นกัน ส�ำหรับ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ปัจจุบันป็นต้นที่ 4 ที่ปลูกโดยนายพลเซอร์ อเล็ ก ซานเดอร์ คั น นิ่ ง แฮม เมื่ อ พ.ศ. 2423 ที่ ยั ง คงยื น ต้ น มาจนปั จ จุ บั น มี อ ายุ ไ ด้ 133 ปี ล� ำ ต้ น ใหญ่ ข นาด 3 คนโอบ สูงประมาณ 80 ฟุต แผ่กิ่งก้านสาขาเป็นร่มเงาบริเวณกว้างใหญ่ ส่ ว นต้ น แรกที่ เ ป็ น ต้ น พระศรี ม หาโพธิ์ ที่ พ ระพุ ท ธองค์ นั่งประทับเมื่อตอนตรัสรู้นั้น ต้นแรกเป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า (เกิดในวันเดียวกับวันทีเ่ จ้าชายสิทธัตถะประสูต)ิ มีอายุมาได้ 352 ปี จนถึ ง สมั ย พระเจ้ า อโศกมหาราช จึ ง ถู ก ท� ำ ลายโดยพระชายา ของพระเจ้าอโศกมหาราช เพราะความอิจฉาที่พระเจ้าอโศกรัก และหวงแหนต้ น พระศรี ม หาโพธิ์ ต ้ น นี้ จ นไม่ ส นใจพระนาง จึงลอบให้คนไปท�ำลายต้นโพธิ์เสีย ต ้ น พ ร ะ ศ รี ม ห า โ พ ธิ์ ต ้ น ที่ ส อ ง นั้ น ป ลู ก โ ด ย พระเจ้ า อโศกมหาราชจากหน่ อ พระศรี ม หาโพธิ์ ต ้ น เดิ ม และมี อ ายุ ยื น มาประมาณ 871 ปี จนถู ก ท� ำ ลายในประมาณ ปี พ.ศ. 1143 ด้วยน�ำ้ มือของพระราชาศศางกา กษัตริย์ชาวฮินดู แห่งเบงกอล ซึง่ พระองค์อจิ ฉาพระพุทธศาสนาทีม่ คี วามรุง่ เรืองมาก จึงทรงน�ำกองทัพเข้ามาท�ำลายต้นโพธิ์ต้นนี้ ต้นพระศรีมหาโพธิต์ น้ ทีส่ ามนัน้ ปลูกโดยพระเจ้าปูรณวรมา กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เมารยะ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ล้มลงตายเองเนื่องจากหมดอายุขัยตามธรรมชาติ ต้นที่สามนี้ มีอายุยืนถึง 1,258 ปี

สารสถาบันฯ 42

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ภายในชั้นล่างของมหาโพธิเจดีย์พุทธคยาประดิษฐาน "พระพุทธเมตตา” พระพักตร์ของพระพุทธรูป เมื่อพิศแล้วท�ำให้ นึ ก ถึ ง พระเมตตาธิ คุ ณ พระกรุ ณ าธิ คุ ณ ของพระพุ ท ธองค์ ทีท่ รงมีตอ่ สรรพสัตว์ทงั้ หลาย พระพุทธรูปองค์นเี้ ป็นพระพุทธรูป ปางมารวิ ชั ย ศิ ล ปะแบบปาละ สร้ า งด้ ว ยหิ น แกรนิ ต สี ด� ำ ปิดทองเหลืองอร่าม มีอายุกว่า 1,400 ปี เป็นที่เคารพศรัทธา ของชาวพุทธทั่วโลก พระพุทธเมตตารอดพ้นจากการถูกท�ำลาย ของพระเจ้ า ศศางกา กษั ต ริ ย ์ ช าวฮิ น ดู อ ย่ า งน่ า อั ศ จรรย์ นอกจากนี้ บริเวณพุทธคยาและโดยรอบยังมีสถานที่ส�ำคัญ มากมาย ดังนี้ สัตตมหาสถาน (คือ สถานทีพ่ ระพุทธองค์อยูเ่ สวย วิมุตติสุขหลังตรัสรู้ 7 สัปดาห์ คือ โพธิบัลลังก์ อนิมิสเจดีย์ รัตนจงกรมเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ ต้นอชปาลนิโครธ สระมุจลินทร์ ต้นราชายตนะ) เสาหินอโศกที่แสดงเครื่องหมายว่าสถานที่

แห่ ง นี้ เ ป็ น สถานที่ ต รั ส รู ้ บ้ า นนางสุ ช าดา ถ�้ ำ ดงคสิ ริ วัดพุทธนานาชาติ ส�ำหรับการเข้าพุทธคยานัน้ ไม่ตอ้ งเสียค่าเข้า แต่จะต้อง เสี ย ค่ า กล้ อ งถ่ า ยรู ป หรื อ วิ ดี โ อหากน� ำ เข้ า ไปบั น ทึ ก ภาพ และต้องเสียค่าฝากรองเท้า ติดกับสถานที่รับฝากมีร้านหนังสือ ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาทั้งฝ่ายมหายานและหินยาน เมื่อเข้าไป ภายในวั ด แล้ ว พระมั ค คุ เ ทศน์ ก็ จ ะน� ำ พวกเรานั่ ง สวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนา แผ่เมตตา ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ นักแสวงบุญ ทุ ก ชาติ ก็ ร ่ ว มสวดมนต์ ต ามบทสวดมนต์ ข องชาติ ต นเอง เนื่ อ งด้ ว ยพลั ง พุ ท ธานุ ภ าพ ความศรั ท ธา และบรรยากาศ ท�ำให้การปฏิบัติบูชาที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ครั้งนี้ก่อให้ผู้เขียน เกิดความรู้สึกสุขสงบ ปลาบปลื้มปิติใจอย่างยิ่ง

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 43


รัตนจงกรมเจดีย์ สัตตมหาสถาน

สระมุจลินทร์ สัตตมหาสถาน

พระไดบุตสึจ�ำลอง วัดญี่ปุ่น วัดพุทธนานาชาติ

วัดภูฏาน วัดพุทธนานาชาติ

แม่ชีพม่านั่งสมาธิใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์

สารสถาบันฯ 44

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


หลังเวลา 20.30 น. เจ้าหน้าที่จะปิดประตูวัด หากผู้ใด มีจิตศรัทธาอยากอยู่ปฏิบัติต่อในตอนกลางคืน ก็ต้องเตรียมกลด (หาเช่ายืมได้จากวัดไทยพุทธคยา หรือซือ้ จากร้านค้าด้านหน้าวัด) เสื่ อ ยาทากั น ยุ ง และเครื่ อ งกั น หนาวเข้ า ไปให้ พ ร้ อ มเลย เราก็ จ ะพบเห็ น ชาวพุ ท ธนานาชาติ อ ยู ่ ป ฏิ บั ติ ร วมกั น อย่ า งน่ า เลือ่ มใสศรัทธา เต็มแน่นรอบบริเวณพระเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ ส�ำหรับ พระลามะชาวทิ เ บต เราก็ จ ะได้ เ ห็ น การปฏิ บั ติ บู ช ากราบ แบบอัษฎางคประดิษฐ์ (การแสดงความเคารพด้วยวิธนี อนพังพาบ เหยียดมือเหยียดเท้าออกไปเต็มเหยียด ให้อวัยวะแปดแห่ง คือ หน้าผาก 1 ฝ่ามือทั้ง 2 หน้าอก 1 เข่าทั้ง 2 และปลายเท้าทั้ง 2 จรดพื้น) อยู่ทั่วไปรอบบริเวณวัด

ปัจจุบันชาวไทยนิยมเดินทางมาเที่ยวสังเวชนียสถาน กั น มากขึ้ น ดั ง นั้ น จึ ง มี ส ายการบิ น หลายบริ ษั ท ที่ บิ น ตรงจาก กรุงเทพฯ ถึงเมืองคยา รัฐพิหาร แล้วบริเวณใกล้ ๆ พุทธคยา ก็มโี รงแรมทีส่ ร้างผุดขึน้ มาใหม่หลากหลายแห่งไว้รองรับชาวพุทธ นานาชาติ ที่ ม าพุ ท ธคยา ท่ า นสามารถเลื อ กสรรพั ก ได้ ต าม ความต้องการ โรงแรมบางแห่งห่างจากพุทธคยาก็จะต้องนั่ง สามล้อที่อินเดียเรียกว่า “ริกชอร์“ (Rickshaw) มาพุทธคยา หรือบางแห่งก็สามารถเดินมาถึงพุทธคยาได้ ระหว่างถนนที่จะ เข้าสูพ่ ทุ ธคยาท่านก็จะผ่านร้านรวงทีข่ ายของทัง้ เสือ้ ผ้า แพรภัณฑ์ ใบโพธิ์ พระปางต่าง ๆ ลูกประค�ำ ของกิน ของใช้ต่าง ๆ สมุนไพร เครื่องส�ำอาง ฯลฯ ให้ได้ช้อปปิ้งไปตลอดทาง โดยพ่อค้าชาวแขก ทั้งหลายเหล่านี้พูดภาษาไทยได้ชัดแจ๋วววว...มาก แถมบางคน

อู ้ ค� ำ เมื อ ง เว้ า อี ส าน ได้ เ ลยเชี ย ว แล้ ว แขกก็ เ ป็ น ชาติ ที่ ค้าขายเก่งมาก มีกลเม็ดเด็ดพรายมากมาย ขาช้อปทั้งหลาย ต้องต่อรองตามให้ทันพ่อค้าเหล่านี้ แล้วเมื่อจะซื้อของที่อินเดีย ก็ เ อาตามความพอใจของตนเป็ น เกณฑ์ เมื่ อ พอใจในสิ น ค้ า และราคาจึงซือ้ เมือ่ ซือ้ แล้วอย่าคิดมาก ไม่งนั้ เสียเงินไม่พอแถมยัง ได้ความทุกข์มาอีกเพราะไปเปรียบเทียบกับเพื่อนที่ซื้อมาแล้ว ได้ถูกกว่า ให้รู้จักปล่อย รู้จักวางลงเสียบ้าง ส�ำหรับการซื้อของ ที่อินเดียคิดอัตราเทียบง่าย ๆ 1 รูปี ประมาณ 1 บาทไทย

เนื่ อ งจากรั ฐ พิ ห ารเป็ น รั ฐ ที่ ย ากจนที่ สุ ด ในอิ น เดี ย ในเมืองนี้ประชาชนยังยากจนอยู่มาก เมื่อเราเดินไปในท้องถนน ก็ จ ะพบเด็ ก ๆ ผู ้ ห ญิ ง คนแก่ ที่ ผ อมโซ ให้ เ กี ย รติ ร ้ อ งเรี ย ก พวกนักท่องเที่ยวชาวไทยว่า มหารานี มหาราชา หรือ บ้างก็เรียก อาจารย์ ๆ จ�ำได้ ๆ (ทั้งที่บางคนเพิ่งมาครั้งแรก !!!!) เดินดักหน้า ดักหลังเพื่อมาบริการตื๊อขอทานแก่ท่านทั้งหลาย ท่านเจ้าคุณ รัตนราชรังษี เทศน์ไว้ว่า นี่คือสิ่งที่ผู้มาก่อนท�ำไว้ เราผู้มาทีหลัง ก็ ไ ด้ ถู ก ต้ อ นรั บ เช่ น กั น พึ ง คิ ด ไว้ เ ถิ ด ว่ า แขกเหล่ า นี้ ต าถึ ง ดู โ หงวเฮ้ ง เป็ น ว่ า เรามี ลั ก ษณะของผู ้ มี อั น จะกิ น แขกจึ ง กล้ า ลงทุนขอ หรืออาจยึดคติว่า เป็นเศรษฐีเมื่อให้ เป็นไพร่เมื่อขอ ก็ได้ และขอให้ คิ ด เถอะว่ า ใครมาอิ น เดี ย แล้ ว ไม่ ถู ก แขกแบมื อ ขอสักครั้งเดียว เมื่อกลับเมืองไทยแล้ว ควรเสาะหาวัดขลัง ๆ อาบน�ำ้ มนต์ได้แล้ว แสดงว่าไม่มีแววจริง !!!

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 45


ข้อคิดจากพุทธคยา การที่เรามาถึงพุทธคยาซึ่งเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ได้ทราบถึงพระปัญญาธิคุณ ที่ พ ระพุ ท ธองค์ ต รั ส รู้ ว่ า สิ่ ง ทั้ ง หลายเป็ น ไปตามเหตุ ต ามปั จ จั ย ของมั น หรื อ ตาม “กฎปฏิจจสมุปบาท” พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) อธิบายไว้ว่า มนุษย์ต้องการผล หรือต้องการประโยชน์บางอย่างให้แก่ตนเอง ผลที่ต้องการนั้นต้องเกิดจากเหตุ เหตุนั้นคืออะไร ก็คอื การกระทำ�ของมนุษย์เอง การกระทำ�ของมนุษย์นนั้ เรียกว่า กรรม บางคนจึงบอกว่าพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่สอนเรื่อง กฎแห่งกรรม พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สอนให้มนุษย์ต้องพากเพียร กระทำ�กรรมที่ดีด้วยตนเอง มิใช่รอคอยอำ�นาจดลบันดาลจากอำ�นาจเทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้น ชาวพุทธจะต้องมีความพากเพียรฝึกฝนพัฒนาตน (สิกขา) ให้เกิด (ปัญญา) รู้เหตุปัจจัยได้ตรงชัด ถูกต้อง ก็จะกระทำ� (กรรม) ได้สอดคล้องถูกต้องก็ทำ�ให้เกิดผลดีงามตามที่ต้องการ และต้อง หลีกเลี่ยงกรรมที่เป็นเหตุปัจจัยที่จะทำ�ให้เกิดผลไม่ดี และที่สำ�คัญคือพระพุทธองค์ทรงเป็น แบบอย่างหรือยุคนี้เรียก Role model หรือ Idol สำ�หรับมนุษย์ทุกคน ให้เห็นว่า มนุษย์เรานี้สามารถ พัฒนาตัวเองได้สูงสุดจนเป็นพุทธะ หลุดพ้นจากวัฏสงสารได้

สารสถาบันฯ 46

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ย�่ำเท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก

ใหม่สูค่า เชียงตุง (สวัสดีเชียงตุง) เมืองแห่ง 3 จอม 7 เชียง 9 หนอง 12 ประตู พิสษิ ฏ์ นาสี

ขมรัฐเชียงตุงหรือนครเชียงตุง เป็นชื่อที่คนไทยคุ้นหู มานาน ไม่ว่าจะด้วยการรับรู้ทางประวัติศาสตร์ จากบทประพันธ์ หรือละครโทรทัศน์ต่าง ๆ ที่คอยเน้นย�้ำความรู้สึกของความเป็น พี่ น ้ อ งกั น แม้ ว ่ า ด้ ว ยทางกายภาพแล้ ว เราจะอยู ่ ห ่ า งไกล คนละประเทศก็ตาม ภาพจ�ำของคนไทยต่อเชียงตุงคือเมืองที่มี สายสัมพันธ์กับราชวงศ์มังรายผู้ก่อตั้งและปกครองอาณาจักร ล้านนาในอดีต ในประวัติศาสตร์มีการแต่งงานของตระกูลเจ้า ผู้ครองนครเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กันเรื่อยมา เช่น เจ้าทิพวรรณ ณ ล�ำปาง กับ เจ้าฟ้าพรหมลือ ราชโอรสของเจ้าฟ้านครเชียงตุง หรือ เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ กับเจ้าสุคันธา ธิดาเจ้าฟ้า นครเชียงตุง ไปจนถึงการเคยตกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย ในชื่อ “สหรัฐไทยเดิม” ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้ คื อ ภาพจ� ำ ของสภาพบ้ า นเรื อ น วิ ถี ชี วิ ต ผู ้ ค นที่ ดู จ ะย้ อ นภาพ ของล้านนาในอดีต ยิ่งท�ำให้คนไทยหลายต่อหลายคนต้องการมา เยี่ยมเยือนเมืองเชียงตุงให้ได้สักครั้ง ผมเองก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มี ความคิดเช่นนัน้ ด้วยความเป็นอดีตนักเรียนประวัตศิ าสตร์ดว้ ยแล้ว

เชียงตุงคือสถานที่ในระดับ A list ที่ต้องไปเยือนให้ได้เลยทีเดียว ว่าแต่ก็ล่วงเลยมาเป็นเวลาสิบปีกว่าแล้ว ความฝันเพิ่งมาเป็นจริง เอาเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว (2555) นี่เองครับ เมืองเชียงตุง ตั้งอยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่า เป็นเมือง ของชาวไทเขิน (ขึน) และ ชาวไทใหญ่ โดยชาวไทใหญ่เรียกชื่อ เมืองนี้ว่า เก็งตุ๋ง (Keng Tung) ลูกหลานชาวเชียงตุงที่เราพอคุ้น ๆ หูก็เช่น ตระกูล ณ เชียงตุง ขุนศึกเม็งราย ตุงคนาคร เป็นต้น

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 47


การเดิ น ทางไปเชี ย งตุ ง ครั้ ง นี้ ไ ด้ รั บ โอกาสจากรุ ่ น พี่ ที่ ค ณะมนุ ษ ยศาสตร์ ค นหนึ่ ง ซึ่ ง ขอให้ ผ มไปช่ ว ยเก็ บ ข้ อ มู ล และท�ำกิจกรรมจิตอาสาให้กับสถานรับเลี้ยงเด็กก�ำพร้าที่เชียงตุง ผมเองไม่รีรอรีบตอบรับทันที และผมเองก็ได้รับเงินบริจาคจาก ผู้ใจบุญสมทบไปอีกหมื่นกว่าบาท โดยเราวางแผนกันว่าจะน�ำ สิ่งของที่ได้รับบริจาคไปให้ พร้อมกับบริจาคเงินและเลี้ยงอาหาร กลางวัน โดยจะใช้เวลา 3 วัน 2 คืน การเตรียมตัวก่อนเดินทางนั้นไม่ยาก หากเป็นมือใหม่ ก็อาศัยอ่านรีวีวจากอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่มากโข หรือไม่ก็หาหนังสือ น� ำ เที่ ย วอ่ า นซึ่ ง ก็ มี อ ยู ่ เ ป็ น ตั้ ง ครั บ ส่ ว นใหญ่ ที่ ต ้ อ งเตรี ย มคื อ

เอกสารการเดินทาง อย่างรูปและบัตรประชาชน ผูน้ ำ� ทางทีจ่ ะต้อง มาพร้อมกับรถเดินทาง ที่พัก และที่ส�ำคัญ คือ เงิน ครับ 555+ ปัจจุบันผู้น�ำทางไปเชียงตุงที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย ของพม่านั้นมีอยู่มากมาย หาได้ไม่ยาก จากนั้นผู้น�ำทางจะเป็น ผู้บอกรายละเอียดเรื่องเอกสารการเดินทางอีกครั้ง รวมถึงจัดหา รถและที่ พั ก ให้ ต ามงบประมาณที่ เ รามี ส่ ว นเงิ น นั้ น สามารถ แลกได้ทดี่ า่ นท่าขีเ้ หล็กก่อนออกเดินทาง โดยในทริปนีเ้ ราใช้บริการ จากอ้ า ยจายโหลง (ผู ้ โ ด่ ง ดั ง ในบอร์ ด บลู แ พลนเน็ ต ) และอ้ายจายเท โชเฟอร์ครับ สมาชิกในทริปนี้มี 3 คน คือรุ่นพี่ คุณหมอจากโรงพยาบาลนครพิงค์ และผม

" อย่างไรก็ตามในการเขียนครัง้ นีอ้ าจจะเป็นการหยิบมาเล่าเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ พอเป็น เชื้อฟืนเชื้อไฟเผื่อว่าใครติดใจนึกอยากไปเที่ยวเชียงตุงด้วยตัวเองบ้างในวันข้างหน้า.. เล่าไปไม่เห็นภาพก็ไม่สนุก ต่อจากนี้ไปผมจะให้ภาพเล่าเรื่องแล้วกันนะครับ..."

รถโตโยต้า ระบุปีผลิตไม่ได้คันนี้แหละครับที่จะนำ�เราจากด่านท่าขี้เหล็กสู่เชียงตุง รถคันนี้ ไม่มีแอร์ ถ้าร้อนก็เปิดกระจกเอา ขาไปยังไม่มีอาการแต่ขากลับดันงอแงต้องเข็นถึง 3 รอบเลย การเดินทางไปเชียงตุงจากท่าขี้เหล็ก จ. เชียงราย ใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง

สารสถาบันฯ 48

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ตลอดระยะทางจะมี ด่ า นตรวจของรั ฐ บาลและด่ า นเก็ บ เงิ น ค่ า ผ่านทางเป็นระยะ ๆ เนือ่ งจากเส้นทางเหล่านีเ้ อกชนเป็นผูส้ มั ปทาน ดังนัน้ การไปเทีย่ วเชียงตุงต้องมีผนู้ ำ�ทางและคนขับรถทีม่ ใี บอนุญาต เท่านั้น ผู้นำ�ทางจะเข้าไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ให้เอง นอกจากนี้ เงินค่าผ่านจะถูกคิดรวมไว้แล้ว เราไม่ต้องจ่ายเพิ่มแต่อย่างใดครับ หลังจากลัดเลาะหุบเขามาหลายลูกแล้ว ก่อนถึงเชียงตุง เป็นธรรมเนียม ของชาวพม่ า ที่ จ ะต้ อ งแวะจอดรถที่ ป างควายเพื่ อ ฉี ด น�้ ำ ระบาย ความร้อนให้กับเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะรถชนิดใดก็ตาม ปล. ทั้ ง หมดคื อ ความเชื่ อ นะครั บ เรื่ อ งจะช่ ว ยได้ จ ริ ง หรื อ ไม่ นั้ น ไม่สามารถทราบได้

แสงแรกของเชี ย งตุ ง จากดาดฟ้ า โรงแรมเจ็ ด ยอด ช่ ว งฤดู ห นาวที่ เ ชี ย งตุ ง จะหนาวกว่ า เชี ย งใหม่ ป ระมาณ 3-5 องศา

กลางเวียงเชียงตุง ในภาพคือวัดมหาเมียะมุนี

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 49


การเดิ น ตลาดยามเช้ า ในเชี ย งตุ ง ถื อ เป็ น ความสุ ข อย่ า งหนึ่ ง เพราะนอกเหนือจากสินค้าพื้นเมืองต่าง ๆ ที่ทั้งคุ้นเคยและแปลกตาแล้ว เรายั ง ได้ พ บปะ พู ด คุ ย กั บ พ่ อ ค้ า แม่ ค้ า ที่ ส ามารถสื่ อ กั น รู้ เ รื่ อ งโดย ภาษาไทยเหนื อ กาดหลวงเชี ย งตุ ง นี้ ยิ่ ง ใหญ่ แ ละถื อ เป็ น หั ว ใจของ เมืองเชียงตุงแห่งหนึ่ง เพราะมีทุกสิ่งให้เลือกสรรค์จริง ๆ ครับ

การชั่งตวงแบบโบราณยัง มีให้เห็นในกาดหลวงเวียงเชียงตุง

สารสถาบันฯ 50

จะเรียกว่าเป็นของว่างยอดฮิตของคนเชียงตุง หรื อ เปล่ า ไม่ ท ราบได้ แต่ ผ มสั ง เกตได้ ว่ า มี ร้ า นขายผั ก ปิ้ ง เสี ย บไม้ แ บบนี้ เ ยอะมาก และลู ก ค้ า ก็ ม าอุ ด หนุ น กั น เยอะด้ ว ยนะครั บ โดยแม่คา้ จะเริม่ ตัง้ ร้านขายตามข้างทางในตอน เ ย็ น ๆ ส่ ว น ตั ว ผ ม ไ ม่ ไ ด้ ล อ ง น ะ ค รั บ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเพราะไม่ เลิศในการวิ ัยด้งาฮ่นวิา ทๆยาศาสตร์สุขภาพ กล้าจจริ


หนองตุงกลางเวียงคือหนึ่งใน 9 หนองตามค�ำขวัญของเชียงตุง แต่ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 9 หนองแล้ว เพราะเกิดการตื้นเขิน ไปเกือบหมด ตามค�ำบอกเล่าของผู้น�ำทางว่าตอนนี้เหลืออยู่เพียง 3 หนองเท่านั้น หนองตุงจึงถือเป็นหนองน�้ำใหญ่ที่ส�ำคัญ ของเวียงเชียงตุง เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ออกก� ำลังกายและสถานที่นัดพบปะสังสรรค์ของวัยรุ่นเชียงตุงตาม ร้านน�้ำชาซึ่งตั้งเรียงรายรอบหนองตุง...เจดีย์สีเหลืองทองที่เห็นในภาพคือพระธาตุจอมค�ำ หรือจอมทอง พระธาตุคู่เมืองเชียงตุง และเนินเขาทั้งหมดคือที่ตั้งของเวียงเชียงตุง

สุสานหลวงเจ้าฟ้าเชียงตุงยังมีลูกหลานชาวเชียงตุงมากราบไว้อยู่เสมอ และผมก็มีโอกาสได้ถ่ายรูปกับเจ้าอู่เมือง หรืออู่เมิง ผู้มีเชื้อสายเจ้าฟ้าเชียงตุงคนเดียวที่ยังอาศัยอยู่ในเชียงตุง ชนชั้นน�ำทางจารีตของเชียงตุงนอกเหนือจากนี้ได้ “ละ” เชียงตุงไปหมดแล้วปัจจุบันเจ้าอู่เมืองยังท�ำหน้าที่ดูแลสุสานหลวงกลางเวียง...อย่างที่เคยท�ำมาตลอดหลายสิบปี วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 51


ภาพหอหลวงเจ้าฟ้าเชียงตุงในอดีต ซึ่งถูกรัฐบาลพม่าทุบทิ้ง และสร้างโรงแรม นิวเชียงตุงทับพืน้ ทีห่ อหลวงเดิมเมือ่ ปี พ.ศ. 2534 เป็นโรงแรมทีด่ ำ� เนินการโดยรัฐบาล

อดีตบ้านพักของพลโทผิน ชุนหะหวัณ (ยศในขณะนั้น) เมื่อครั้งเป็น คุ ้ ม เก่ า ที่ เ คยเป็ น ที่ ตั้ ง ของส� ำ นั ก งานจั ง หวั ด สหรั ฐ ไทยเดิ ม ข้ า หลวงใหญ่ ฝ ่ า ยทหารผู ้ ค วบคุ ม และรั ก ษาความสงบในแคว้ น ของประเทศไทย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เชียงตุง ปัจจุบันบ้านพักนี้ได้ให้เช่าอาศัย ไม่ได้มีการอนุรักษ์ไว้ แต่อย่างใด

ทริปของเรายังโชคดีมากที่ได้พบกับเจ้าวรจักร ณ เชียงตุง (คนกลาง) โอรสของเจ้าฟ้าพรหรมลือ (เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ยสสรพรหมลือ เจ้าฟ้าผู้ครองเชียงตุง องค์ที่ 40) กับเจ้าแม่ทิพวรรณ ณ เชียงตุง ซึ่งพาคณะเดินทางไปเที่ยวเชียงตุงช่วงนั้นพอดี วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 52


ประตูป่าแดงคือประตูเมืองแห่งสุดท้ายใน 12 แห่งที่ยังหลงเหลืออยู่

อ่านป้ายวัดนี้แล้วให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้านเราเลยนะครับ

พระพุทธรูปยืนชี้นิ้ว ศิลปะแบบพม่าตั้งตระหง่านอยู่บนดอยจอมสัก

เชียงตุงได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธศาสนา แต่อย่างไรก็ตามในเมือง เชียงตุงก็มีโบสถ์คริสต์ที่ยิ่งใหญ่อยู่เหมือนกัน

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 53


ในเวียงเชียงตุงปัจจุบันมีการก่อสร้างตึกสูงทรงสมัยใหม่ อย่ า งมากมาย โดยบางส่ ว นได้ รื้ อ บ้ า นเรื อ นสมั ย เก่ า ออกไป นอกจากนี้คนเชียงตุงปัจจุบันยังนิยมสร้างบ้านรูปทรงสมัยใหม่ อย่ า งมาก ท� ำ ให้ บ ้ า นเก่ า ทรงไทเขิ น และสถาปั ต ยกรรม สมัยอาณานิคมถูกรื้อถอนไปด้วย เชียงตุงวันนี้ก�ำลังอยู่ในกระแสการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญ เนื่องจากการเปิดประเทศของรัฐบาลพม่า โดยค�ำบอกเล่าของ ผู้น�ำทาง ว่ารัฐบาลพม่านั้นมีนโยบายกลืนชาติ เนื่องจากเชียงตุง และรั ฐ ฉานมีป ระชากรส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ชาวไทใหญ่ ในส่ ว นของ

สารสถาบันฯ 54

เชี ย งตุ ง คุ ้ ม เก่ า ของชนชั้ น น� ำ ทางจารี ต และอาคารเก่ า สมั ย อาณานิ ค มไม่ ไ ด้ รั บ การอนุ รั ก ษ์ เพี ย งแต่ ป ล่ อ ยให้ เ ช่ า และรอเวลาให้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา หากต้องการดูวิถีชีวิต ของชาวไทเขินจริง ๆ อาจต้องเดินทางออกมาจากตัวเวียงเชียงตุง อีกนิดหน่อย เราแวะเยี่ยมบ้านท�ำเครื่องเขินที่เหลือเพียงแห่งเดียว ของเชียงตุง เครื่องเขินมีต้นก�ำเนิดในบริเวณแถบนี้ ซึ่งเครื่องเขิน ของเชียงตุงมีความสวยงามและคงทนกว่าที่ท�ำขึ้นในเชียงใหม่ หลายเท่า

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


มขอปิดท้ายการเล่าเรื่องด้วยภาพกิจกรรมที่เป็นที่มาของทริปนี้ นั่ น คื อ การน� ำ ของบริ จ าคไปมอบให้ พร้ อ มกั บ มอบเงิ น บริ จ าคและเลี้ ย ง อาหารกลางวันให้กับเด็ก ๆ ในสถานรับเลี้ยงเด็กก�ำพร้าเชียงตุงครับ อันที่จริง ศูนย์เลี้ยงเด็กก�ำพร้ามีอยู่สองที่คือศูนย์เด็กเล็กและเด็กโต ซึ่งทริปของเรา ได้ไปเยี่ยมและท�ำกิจกรรมในทั้งสองที่ แต่ด้วยข้อห้ามต่าง ๆ จึงสามารถ เก็บภาพมาได้เพียงเท่านี้ครับ

ด้

ว ยข้ อ จ� ำ กั ด ของเวลา ทริ ป ของเราจึ ง ยั ง ไม่ ไ ด้ ไ ปเยี่ ย มเยื อ น อี ก หลายสถานที่ ที่ น ่ า สนใจ ไม่ ว ่ า จะเป็ น ต้ น ยางยั ก ษ์ คู ่ เ มื อ ง ดอยเหมย ล� ำ น�้ ำ เขิ น (ขึ น ) หรื อ ชุ ม ชนโบราณและวั ด บ้ า นแสน ถื อ ว่ า ทริ ป นี้ เ ป็ น การ ท�ำความรู้จักกับเชียงตุงอย่างคร่าว ๆ จากนี้คงต้องหาเวลาไปเยือนเชียงตุง อีกสักครั้งให้ได้

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 55


ย�่ำเท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก Autumn in Japan

ปริญญา จองไพจิตรสกุล

" ฉันจะบอกความลับของรถไฟให้ฟังเอามั้ย? มันไม่สำ�คัญหรอกนะว่ารถไฟจะพาเธอไปไหน สิง่ สำ�คัญอยูท่ กี่ ารตัดสินใจของเธอต่างหากล่ะ ว่าจะกระโดดขึ้นรถไฟขบวนนั้นหรือเปล่า

"

ประโยคที่คัดมาจากหนังสือ “โตเกียวไม่มีขา” โดยนิ้ ว กลม ที่ ห นั ง สื อ อ้ า งถึ ง คนตี ตั๋ ว รถไฟ ไปขั้วโลกเหนือพูดกับเด็กน้อยเป็นครั้งสุดท้าย ในหนังเรื่อง The Polar Express

สารสถาบันฯ 56

ย้ อนเวลาไปราวสองปีก่อนออกเดินทาง “เรา”

#ผมกั บ ภรรยา เริ่ม คุ ย กั น ถึง เรื่อ งการไปเที่ย วญี่ปุ ่ น จ� ำ ได้ เลือ นรางว่ า ตอนนั้น เราคิด ว่ า การไปเที่ย วญี่ปุ ่ น เป็ น อะไรที่ ไกลตัวมาก แต่ใครจะรู้ การคุยกันครัง้ นัน้ มันกลับเป็นจุดเริม่ ต้น เล็ ก ๆ ที่พาให้ค วามฝั นของเราเป็ น จริง ในอีก สองปีถัด มา หลังจากวันนั้นเราก็เริ่มสะสมข้อมูลต่าง ๆ ทีละเล็กละน้อย ทัง้ จากการอ่าน การพูดคุยกับคนทีม่ ปี ระสบการณ์เคยไปเทีย่ ว เชื่อหรือไม่ว่าการได้ท�ำแบบนี้บ่อย ๆ นอกจากจะท�ำให้เรารู้สึก อยากไปมากขึน้ แล้วยังท�ำให้เรามัน่ ใจว่าเราจะเดินทางไปกันเอง ได้อีกด้วย อย่างที่ทราบกันดีว่าญี่ปุ่นเป็นเมืองน่าเที่ยวอันดับ ต้น ๆ ที่ใครก็อยากไป แม้คนที่ไปมาบ่อย ๆ ก็ยังยืนยันว่า อยากกลั บ ไปเที่ ย วอี ก ดั ง นั้ น ก็ อ ย่ า ได้ ร อช้ า เรามาเริ่ ม ถามค�ำถามส�ำคัญข้อหนึ่งกันดีกว่า “เราจะไปช่วงไหนดี?”

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ประเทศญีป่ นุ่ มีฤดูแห่งการท่องเทีย่ วหลายฤดูไม่วา่ จะเป็น ฤดูใบไม้ผลิ #Spring ฤดูร้อน #Summer ฤดูใบไม้ร่วง #Autumn หรือฤดูหนาว #Winter ซึ่งจริง ๆ แล้วญี่ปุ่นเป็นประเทศที่สามารถ เดินทางไปเที่ยวได้ทุกฤดูกาล ขึ้นอยู่กับว่าใครชอบบรรยากาศ แบบไหน ซึ่ ง ในขณะนั้ น เราต้ อ งเลื อ ก การต้ อ งเลื อ กมั น ท� ำ ให้ ต้องตัดสินใจ และเมื่อต้องตัดสินใจก็มักจะเกิดอาการเสียดาย ตัวเลือกที่ไม่ได้ถูกเลือก ผมจึงบอกภรรยาว่ามันมีวิธีหนึ่งที่เรา ไม่ ต ้ อ งเลื อ ก นั่ น ก็ คื อ การสะสมตั ว เลื อ กไปเรื่ อ ย ๆ จนครบ จริง ๆ จะไปได้ครบทุกฤดูหรือเปล่าก็ยังไม่รู้ รู้แต่ว่าคิดแบบนี้ ท�ำให้ตัดสินใจง่ายขึ้นเยอะเลยครับ ดังนั้นเราจึงเริ่มสะสมตัวเลือก ด้วยการเห็นพ้องต้องกันว่าเราจะเริม่ จากไปดูใบไม้เปลีย่ นสี ซึง่ ก็คอื ฤดูใบไม้ร่วงนั่นเอง โดยฤดูใบไม้ร่วงจะเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน ไปจนถึงพฤศจิกายน เป็นฤดูที่อากาศเย็นสบายไม่หนาวจนเกินไป เราเลื อ กไปช่ ว งกลางเดื อ นพฤศจิ ก ายน โดยเมื อ งที่ เ ราเลื อ ก ที่จะไปเยือนก็คือ โตเกียว เกียวโต และโอซาก้า ซึ่งการเดินทาง ของเราครั้ง นี้เ ป็ น การวางแผนการเที่ย วด้ ว ยตั ว เองและมีเ พีย ง เป้คนละใบเท่านั้น เราออกเดินทางออกจากเชียงใหม่ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2555 เพื่อไปต่อเครื่องที่กัวลาลัมเปอร์โดยแวะเที่ยวที่นั่น 1 วัน หลังจากเครื่องลงที่สนามบิน LCCT เราก็เดินทางเข้าเมือง เช็คอิน เอาสั ม ภาระเข้ า เก็ บ ในโรงแรมที่ เ ราได้ จ องล่ ว งหน้ า มาแล้ ว เราใช้เวลาที่กัวลาลัมเปอร์ไปกับการเดินเล่นที่จตุรัสเมอร์เดก้า #Merdeka Square และตึกแฝด #Twin Towers ซึง่ นัน้ ก็เพียงพอแล้ว ส�ำหรับการได้มาแวะเพื่อต่อเครื่องไปยังจุดหมายที่แท้จริง เราออกเดินทางอีกครั้งในช่วงบ่ายของวันถัดมา ใช้เวลา 5 - 6 ชั่วโมงเราก็มาถึงสนามบิน Haneda และที่นเี่ องก็ได้กลายร่าง เป็นโรงแรมหรู ระดับกี่ดาวไม่รู้ ไม่อาจมองเห็นเพราะเค้าเปิดไฟ กันทั้งคืน เนื่องจากเรามาถึงค่อนข้างดึกเราจึงนอนกันที่นี่ซะเลย หั น ไปมองรอบ ๆ ก็ เ ห็ น มี ค นมาเปิ ด โรงแรมนี้ น อนกั น เพี ย บ เรียกได้ว่าใครมาถึงก่อนก็มีโอกาสได้จับจองก่อน ส่วนที่ของเรา ก็ ไ ม่ เ ลว อยู ่ ไ ม่ ไ กลจากห้ อ งน�้ ำ และร้ า นสะดวกซื้ อ นอกจาก เสียงเตือนเวลามีคนเดินขึ้นบันไดเลื่อนแล้วทุกอย่างก็ราบรื่น

และแล้วการเดินทางผจญภัยท่องเที่ยวของเช้าวันใหม่ ในดินแดนที่ถูกขนานนามว่า “พระอาทิตย์อุทัย” ก็ได้เริ่มต้นขึ้น โดยสิ่งแรกที่เราต้องท�ำก็คือหาซื้อบัตรโดยสารรถไฟฟ้า ตู้ขายบัตร อยู ่ที่ไ หน? จริง อยู ่ที่เ ราศึก ษามาบ้างแล้ว แต่เ อาเข้า จริง มัน ดู เยอะไปหมด ทันใดทีเ่ ราเอ่ยถามเจ้าหน้าทีส่ นามบิน เขาก็พาเราเดิน ไปจนถึงตู้ขายบัตรเลย นอกจากจะอ�ำนวยความสะดวกให้แล้ว ยั ง รู ้ สึ ก ได้ ถึ ง การแสดงออกที่ ม าจากใจจริ ง ๆ ส่ ว นบั ต รที่ เ รา เลื อ กซื้ อ คื อ บั ต ร Suica เป็ น บั ต รเติ ม เงิ น ของ JRE #JR East เรานั่งรถไฟฟ้าอีก 3 ต่อก็มาถึง Tokyo และขึ้นรถไฟความเร็วสูง Shinkansan ซึ่งเป็นประสบการณ์ครั้งแรกของเราที่ได้นั่งบนรถไฟ ความเร็วใกล้ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เจ้าหัวกระสุนที่ว่านี้ใช้เวลา เพียง 2 ชัว่ โมงก็พาเรามาถึงเมือง Kyoto เมืองทีเ่ ราสองคนให้คะแนน ความประทับใจมากที่สุดหลังจากกลับมา ขนาดนั้นเลยเหรอ? บ่องตง #บอกตรง ใช่ครับ

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 57


Kyoto เป็นเมืองหลวงเก่าของญีป่ นุ่ ทีม่ กี ารพัฒนาทางด้าน เทคโนโลยี ค วบคู ่ ไ ปกั บ การรั ก ษาขนบประเพณี วั ฒ นธรรม และมีเอกลักษณ์ของตัวเองในการด�ำเนินชีวิต รวมถึงเรื่องระเบียบ วินัยของคนที่นี่เป็นอะไรที่คนไทยอย่างเราเห็นแล้วทึ่ง เคยแต่ได้ยิน แต่ไม่เคยเห็นกับตา พอเห็นนอกจากแปลกใจแล้วเราต่างก็คิดว่า ก็ไม่เห็นยากที่จะท�ำตาม แล้วท�ำไมบ้านเราไม่ท�ำบ้าง อย่างเช่น เวลาเดินขึ้นบันไดเลื่อนคนก็จะยืนชิดด้านใดด้านหนึ่ง #ที่ Kyoto เดินขึ้นบันไดเลื่อนยืนชิดขวา ที่ Tokyo ยืนชิดซ้าย เพื่อให้มีพื้นที่ ให้ ค นที่ รี บ กว่ า ได้ เ ดิ น ขึ้ น อี ก เรื่ อ งคื อ การรอไฟเขี ย วไฟแดง แม้ถนนจะโล่งเขาก็จะปฏิบัติตามกฎ รวมถึงการเข้าแถวรอขึ้น รถโดยสารก็เช่นเดียวกัน เราสองคนรู ้ สึ ก ได้ เ หมื อ นกั น ว่ า การเคลื่ อ นไหว ของคนในเมืองนี้ดูจะค่อยเป็นค่อยไปกว่าเมืองหลวงที่ชื่อ Tokyo นอกจากจะมีความเป็นเมืองที่น่าอยู่แล้ว Kyoto ยังมีโบราณสถาน วัดวาอาราม และสถานที่ท่องเที่ยวที่ต่างมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นวัด Tofukuji ที่ได้ชื่อว่าเป็น Autumn spot หรือศาลเจ้า Fushimi Inari ที่มีทางเดินแดงพรึบหลายกิโลเมตร แต่ที่ประทับใจเรามากที่สุดใน Kyoto ก็คือหมู่บ้านในหุบเขาที่ Arashiyama จริ ง ๆ แล้ ว ที่ ห มู ่ บ ้ า นแห่ ง นี้ ไ ม่ ไ ด้ อ ยู ่ ใ นแผนเลย แต่เราได้มโี อกาสเข้าไปเป็นเพราะความอยากรูว้ า่ กลุม่ นักท่องเทีย่ ว สูงวัยชาวญี่ปุ่นประมาณ 7 – 8 คน เขาขึ้นรถบัสไปที่ไหนกัน ก็ เ ลยเป็ น โชคดี ข องเรา ในภาพถ่ า ยอาจสวยระดั บ หนึ่ ง แต่ความสวยงามที่ตาเราเห็นบวกกับอากาศที่เย็นสดชื่นท�ำให้เรา ใช้เวลาอยู่ที่นั้นเกือบครึ่งวัน นี่เป็นข้อดีอย่างหนึ่งของการไม่ใช้ บริการของทัวร์ เหนื่อยก็ได้พัก ประทับใจก็อยู่ต่อ เมื่อออกมา จากหมู่บ้าน เราก็มาเดินเล่นต่อที่วัด Tenryuji ใกล้ ๆ กันนี้ก็จะมี ทางออกที่เชื่อมต่อไปยังสวนป่าไผ่ซากะโนะ #Bamboo Groves จากที่นี่เราก็พากันไปที่วัด Kinkakuji หรือวัดทองหรือวัดอิคคิวซัง ชมความสวยงามของวัดและบรรยากาศโดยรอบ

สารสถาบันฯ 58

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ในวันเดียวกันนั้นเราสองคนก็พากันบุกตะลุยเมือง Osaka โดยนั่งรถไฟที่เราซื้อบัตรเหมาจ่ายไว้แล้ว #บัตร Kansai thru pass โดยบัตรนีส้ ามารถขึน้ ลงรถไฟได้ไม่จำ� กัดจ�ำนวนครัง้ เราใช้เวลาอยูบ่ นรถไฟประมาณ 1 ชั่วโมงก็มาถึงสถานี Umeda เป็นสถานีที่ใหญ่มากประมาณห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ เรามาถึง ก็เย็นมากแล้วจึงได้เดินเที่ยวและกินมื้อเย็นที่ Osaka ประมาณ 4 ทุ่มก็นั่งรถไฟกลับ Kyoto

วันต่อมาเรายังอยู่ที่ Kyoto วันนั้นทั้งวันเราอยู่เที่ยวรอบ ๆ เมือง โดยมีสถานที่ส�ำคัญที่เราไปกันอาทิเช่น ศาลเจ้า Heian-jingu วัด Kinkakuji หรือวัดเงิน เดินสบาย ๆ ที่ทางเดินสายปรัชญา #Path of Philosophy ฟังชื่อดูเป็นปรัชญาจัง จริง ๆ มันคือทางเดินเล็ก ๆ มีเลาะทางน�้ำ สงบ เงียบ เหมาะแก่การมาเดินคิดว่า ชีวิตที่เราต้องการจริง ๆ เป็นอย่างไร #ผมคิดเอง และสถานที่สุดท้ายที่เราไปเยือนใน Kyoto ก็คือย่าน Gion ย่านนี้มีร้านค้ามากมาย และมีชื่อเสียงเรื่องเกอิชา #Geisha อีกด้วย และในคืนนั้นเราก็นั่งรถบัสกลับ Tokyo ถูกแล้วครับ เรามาด้วย Shinkansen แต่กลับด้วยบัส ซึ่งก็ได้ประสบการณ์ในอีกรูปแบบ รถบัสที่ญี่ปุ่นขณะวิ่ง เขาจะปิดผ้าม่านทั้งคันเพื่อไม่ให้รบกวนผู้โดยสาร เราจึงเหมือนอยู่ในกล่องที่เคลื่อนที่ได้ตลอดการเดินทาง วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 59


นิกโก้ #Nikko หลายคนคงเคยได้ยินชื่อเมือง ๆ นี้ เพราะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว สุดฮิตของญี่ปุ่นและเป็นเมืองที่ถูกยก ให้เป็นมรดกโลก “Nikko is Nippon” คือสโลแกน ของเมืองนี้ นิกโก้เป็นชื่อที่อยู่ในแผนการเที่ยวของเราแบบติดแน่น ยากที่จะดึงออก อาจเป็นเพราะชื่อเสียงหรืออะไรก็แล้วแต่ และก็ไม่ท�ำให้เราผิดหวังเลย #เรารักนิกโก้ ภาพที่เราเห็นมันยังคงตราตรึงใจเราตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ ความสวยงามของเมืองนิกโก้ มาพร้อมกับอากาศอันหนาวเหน็บและที่นี่ก็เป็นที่ที่เราได้มาสัมผัสกับหิมะขาวโพลน โดยไม่ได้คาดคิดมาก่อน นิกโก้ห่างจากกรุง Tokyo ราวสองชั่วโมง ระหว่างการนั่งรถไฟ วิวสองข้างทางก็ท�ำคนที่อยู่ในตู้แทบจะเอาหน้าทะลุกระจกออกไปข้างนอกตลอดเวลา ยอมรับว่าสองชั่วโมงบนรถไฟส�ำหรับผมผ่านไปอย่างรวดเร็วกับความสวยงามของวิว ข้างทาง

สารสถาบันฯ 60

เมื่อมาถึงสถานีนิกโก้ คุณลุงเจ้าของที่พักก็ได้ มารอรั บ เราเพื่ อ ไปยั ง ที่ พั ก ซึ่ ง เป็ น บ้ า น แบบญี่ ปุ ่ น คื น นั้ น เราใช้ ชี วิ ต แบบคนญี่ ปุ ่ น หรือเรียกกันว่าเรียวกัง #Ryokan ทั้งการกิน การอาบน�้ำ และการนอน ครอบครัวคุณลุง น่ารักมาก ยิ้มแย้มให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น และรั ก ษาช่ อ งว่ า งของความเป็ น ส่ ว นตั ว อย่างพอเหมาะพอเจาะ #เราประทับใจมาก ทั้งอาหารเย็นและอาหารเช้าที่คุณลุงจัดไว้ให้ ก็อร่อยและได้อารมณ์ของการกินอาหารญีป่ นุ่ ุด วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็เป็นนเลิทีศ่สในการวิ จัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ที่ นิ ก โก้ น อกจากความประทั บ ใจเรื่ อ งที่ พั ก แล้ ว สถานที่ เ ที่ ย วแต่ ล ะแห่ ง ก็ ส ร้ า งความประทั บ ใจให้ ไ ม่ แ พ้ กั น ไม่ว่าจะเป็นการเดินชมวัดและศาลเจ้า เดินสบาย ๆ ที่ทะเลสาบ Chuzenji และเดินรอบทะเลสาบ Yunoko ที่เขต Yumoto พร้อมกับ ชมน�้ำตก Yutaki เรียกได้ว่าเรารู้สึกอิ่มกับบรรยากาศมาก ๆ จนได้เวลา กลับเข้าเมือง #Tokyo เพราะที่ผ่านมาเราแค่เฉียดไปเฉียดมา เรายังไม่ได้สัมผัส Tokyo อย่างแท้จริงเลย ไปกันครับ เราจะพา ไปชม Tokyo หรือชือ่ เต็มคือ Tokyo Metropolis #มหานครโตเกียว เมื อ งที่ มี ค ่ า ครองชี พ สู ง อั น ดั บ ต้ น ๆ ของโลก มี ป ระชากร 30 กว่าล้านคน และเป็นเมืองทีข่ นึ้ ชือ่ ว่ามีเครือข่ายทางรถไฟในเมือง ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เขาพูดกันเล่น ๆ ว่าใครเห็นแผนที่ทางเดิน รถไฟฟ้าใน Tokyo แล้วไม่งงก็ไม่ใช่คนแล้ว ก็น่าจะจริงนะครับ เพราะขนาดคนญี่ปุ่นเองยังมีหลงกันเลย เอาเฉพาะแค่รถไฟฟ้า ใต้ดิน #Subway ก็มึนแล้วครับ เราต้องมีแผนที่คนละใบช่วยกันดู ถามเจ้าหน้าที่บ้าง เพราะเราเดินทางโดยรถไฟฟ้าเป็นหลัก เราพักที่ข้าวสารเกสต์เฮ้าส์ย่าน Asakusa ฟังไม่ผิดครับ เพราะเป็ น ชื่อ ที่ เ จ้ า ของเขาเคยมาเที่ย วที่ ถ นนข้ า วสารบ้ า นเรา แล้วประทับใจก็เลยกลับไปตั้งชื่อให้เหมือนกันซะเลย ใกล้ ๆ ที่พัก ก็ จ ะมี วั ด ชื่ อ ดั ง ที่ ใ ครมาญี่ ปุ ่ น ก็ ต ้ อ งมาเที่ ย วชื่ อ วั ด Asakusa หรือวัดโคมแดงนั่นเอง ขอกลับมาพูดถึงเรื่องที่พักหน่อย “ที่พัก ใน Tokyo แคบอย่างกับรูหนู” ประโยคดังกล่าวเคยแต่ได้ยินมา เพิ่งจะมาประสบด้วยตัวเองก็วันนั้น มันเป็นห้องเล็ก ๆ พอแค่เอา เตียงสองชั้นยัดเข้าไปแล้วมีพื้นที่หย่อนขาลงเท่านั้น เท่านั้นจริง ๆ แค่ เ ป้ ส องใบของเราก็ กิ น พื้ น ที่ ว างขาไปครึ่ ง หนึ่ ง แล้ ว พื้ น ที่ ที่เหลือเหรอก็เอาไว้ยืนเวลาขึ้นลงจากเตียง แต่นั่นไม่เป็นอุปสรรค ของเราเพราะเราใช้มันส�ำหรับนอนเท่านั้นจริง ๆ ห้องอาบน�้ำ ห้องพักผ่อน ห้องอาหาร ห้องครัว ที่นี่ใช้ร่วมกัน ใครซื้ออะไรมา เข้าตู้เย็นก็ต้องเขียนชื่อติดไว้ #ที่พักที่ Kyoto เหมือนที่นี่แต่ห้อง ใหญ่กว่า #ที่พักที่ Kyoto ชื่อ K’s house ลมหนาวที่มาพร้อมกับสายฝนไม่ได้ท�ำให้เราหวั่นไหว เรายังคงตะลุยเที่ยวตามแผนที่วางไว้ แม้บางครั้งเราต้องแอบหลบ ความหนาวเข้าไปในร้านรวงที่มีฮีทเตอร์ให้ความอบอุ่น Ueno Park เป็นที่แรกที่เราได้ชม อันที่จริงมันเป็นทางผ่าน ที่เราจะไปเที่ยวชม Tokyo University มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีต้น แปะก๊ ว ยใบสี เ หลื อ งสวยงามขึ้ น ชื่ อ มี ตึ ก สวยแบบขรึ ม ๆ เป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ที่ เ น้ น เรื่ อ งการวิ จั ย เป็ น หลั ก ไม่ ห ่ า งจาก มหาวิทยาลัยก็มตี ลาด Ueno ทีค่ นไทยทีน่ นี่ ยิ มมาหาซือ้ กะปิ น�ำ้ ปลา และผั ก ต่ า ง ๆ ของบ้ า นเรา เดิ น ไปเดิ น มาก็ ค ล้ า ยกาดหลวง บ้านเราเลย แตกต่างกันที่ความเรียบร้อยและความสะอาด

เมื่อพูดถึง Tokyo มีสถานที่หนึ่งที่เมื่อใครได้มาเที่ยวแล้ว ต้ อ งไม่ พ ลาดที่ จ ะมา เราก� ำ ลั ง พู ด ถึ ง พระราชวั ง อิ ม พี เ รี ย ล ระหว่ า งทางเดิ น ไปพระราชวั ง เราจะผ่ า นสถานี ร ถไฟเกี ย วโต และสวนสาธารณะที่เต็มไปด้วยใบไม้สีเหลืองของต้นแปะก๊วย นอกจากพระราชวั ง แล้ ว เรายั ง ได้ ไ ปนมั ส การศาลเจ้ า Meiji ที่คน Tokyo เคารพนับถือและเป็นสถานประกอบพิธีมงคลต่าง ๆ นอกจากนี้เราก็ไม่พลาดที่จะไปเดินเล่นที่ Harajuku, Shibuya, Akihabara และสถานทีท่ เี่ ราใช้เวลามากเป็นพิเศษอีกทีก่ ค็ อื Odaiba ต้ อ งขอบอกว่ า Odaiba ยามเย็ น เมื่ อ มองไปทางฝั ่ ง Tokyo เป็นบรรยากาศที่สุดแสนจะโรแมนติก

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 61


#ความเป็นระเบียบของคนญีป่ นุ่

#ทะเลสาบ Chuzenju #นิกโก้

#ทะเลสาบ Yunoko #นิกโก้

#เด็กหญิง Meiji #เด็กชาย Meiji

#Harajuku

#Tokyo Tower

สารสถาบันฯ 62

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


“ไปเที่ยวญี่ปุ่นตั้งสิบวันนานเกินไปรึเปล่านะ?” คือค�ำถามที่ผมตั้งขึ้นถามตัวเองไม่กี่วันก่อนออกเดินทาง ตอนนี้ผมได้ค�ำตอบแล้วครับ และหวังว่าการเดินทางของเราครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของใครก็ตาม ที่มีความฝันอยากท่องเที่ยว ขอบคุณครับส�ำหรับการกระโดดขึ้นมาบนรถไฟของเราขบวนนี้ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 63


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.