Issue 25

Page 1


สารบัญ

สารสถาบันฯ ฉบับที่ 25 ประจำ�เดือนมิถนุ ายน - กรกฎาคม 2558

10 03

30

26 36 28 36


ฉบับที่ 25 วันที่ 8 มิถุนายน 2558

สารสถาบันฯมิถุนายน - กรกฎาคม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Research Institute for Health Sciences, Chiang Mai University

ผอ. อยากคุย ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์

สารสถาบันฯ 01-03 ผอ. อยากคุย (จริงๆ) 04-12 เล่าขานงานวิจัย 13-17 News & Event 18-21 ตารางกิจกรรม 22-25 ซุปซิบสร้างสรรค์ 26-27 บอกกล่าวรอบบ้าน 28-29 I Love English 30-45 ย่ำ�เท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก

ที่ปรึกษา

ศ. นพ. สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ ศ. นพ. ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ นายกิตติพงศ์ รุ่งเรืองธนะกิจ ผศ. นพ. เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย ศ. นพ. กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม

(จริงๆ)

สารสถาบันฯ ฉบับนี้ ครบรอบ 4 ปี ออกทุก 2 เดือน ตกปีละ 6 ฉบับ ตอนนี้ น่าจะออกมาได้ 24 ฉบับแล้ว หวังว่าแฟนๆ ชาวสถาบันฯ ที่ได้ติดตามอ่านกันมา จะได้รับรู้ความก้าวหน้าในกิจการงานด้านต่างๆ ของสถาบันฯ ได้รับความรู้ใหม่ๆ รวมทั้งความสนุกสนานบันเทิงจากเรื่องราวที่มีสาระ (จริงๆ) ที่คณะผู้จัดท�ำได้พยายาม น�ำเสนอตลอดเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ก็ต้องขอกล่าวค�ำชื่นชมและขอบคุณทีมงานจัดท�ำ สารสถาบันฯ ทุกท่านมา ณ ทีน่ ดี้ ้วย อย่าลืมว่าสารสถาบันฯ ฉบับนีเ้ ป็นของชาวสถาบันฯ ทุกท่าน ถ้าท่านมีอะไรที่ดีๆ ที่อยากจะแนะน�ำ มีข้อติ ข้อชม ก็แจ้งเข้ามาได้ที่คุณต่าย อุวรรณา และทีมงานได้เลย อยากจะแนะน�ำคอลัมน์ใหม่ หรืออยากจะมาช่วยท�ำ ด้วยตนเอง ก็เสนอตัวมาได้ เช่น คอลัมน์ ภาษาเมืองวันละค�ำ อังกฤษวันละหน่อย จีนวันละนิด (ชีวิตเริ่มสับสน) ... มาร่วมด้วยช่วยกันลุย เพื่อน�ำเสนอข่าวสารที่มีสาระ ความบันเทิง ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมครับ ตอนนี้ “ค่านิยม” ของสถาบันฯ จากค�ำว่า “R I H E S” ที่พวกเราได้ช่วยกัน เสนอตอนงานสัมมนาสถาบันฯ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ก็ได้คลอดออกมาแล้ว ตอนนี้ได้ เอาขึ้นไว้ทั้งบนเว็บไซต์ของสถาบันฯ และติดอยู่บนบอร์ดประชาสัมพันธ์ภายในอาคาร 1 เข้าใจว่า ทางส�ำนักงานเลขา คงได้เอาไปติดไว้ที่อาคาร 2 และ อาคาร 3 ด้วยแล้ว เช่นกัน (ถ้ายังไม่ได้ติด อย่าลืมรีบเอาไปติดก่อนที่สารสถาบันฯ ฉบับนี้จะออกด้วยเน้อ เดี๋ยวจะหาว่า มโนไปเอง อิอิ) อ่าน “ค่านิยม” ของสถาบันฯ แล้ว เชื่อมั่นว่า จะเป็นสิ่งที่ พวกเรา อยากเห็น อยากเป็น และต้องช่วยกันท�ำให้ได้ มาร่วมกันสร้างให้เป็น “ค่านิยม และวั ฒ นธรรม” ของคนในองค์ ก รแห่ ง นี้ ที่ เ ป็ น ที่ รั ก ของพวกเราร่ ว มกั น นะครั บ เดี๋ยวตอนงานสัมมนาสถาบันฯ ช่วงปลายปี จะได้เอาไปท�ำเป็นข้อสอบเล่นเกมส์ตาม ซุ้มต่างๆ ใครตอบผิด ตอบไม่ได้ คอยดู...จะแจกไม้เรียวนาบก้นสัก 3 ที และให้ไปยืน ขาเดียว คาบไม้บรรทัดที่ปาก สัก 1 ชั่วโมง คอยดู....... (โหดแต้ ผอ. เรา เหอเหอ)

กองบรรณาธิการ นางบุปผา ประภาลักษณ์ นางสาวอริยา สิงหประเสริฐ นางปภาวดี ดำ�รงมณี นางสาวทัศนวรรณ บริบูรณ์ นางสาวอุวรรณา รัตนศรี นายวิโรจน์ แก้วตุ้ย นายพิพัฒน์พงศ์ ตุลาพงษ์พิพัฒน์

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ในสารสถาบั น ฯ ฉบั บ ที่ แ ล้ ว ได้ เ กริ่ น เรื่ อ งปั ญ หา หมอกควันในภาคเหนือ ที่มาเยือนเราเกือบจะทุกปี หนักบ้าง เบาบ้าง แต่ปีนี้ ถือว่าหนักหนาสาหัสเอาการ เพราะมีจ�ำนวน วั น ที่มีคุ ณ ภาพอากาศแย่ ๆ (PM10 เกินค่ า มาตรฐาน 120) อยู่มากกว่าปีก่อนๆ โดยเฉพาะในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ต่อมาจนถึงต้นเดือนเมษายน ที่ผ่านมา แต่ก็ถือเป็นปีที่มองเห็น ความตื่นตัวของภาคประชาชน มีกระแสสังคมออกมาเรียกร้อง ให้หน่วยงานของรัฐ และกลุ่มบริษัทธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ๆ ที่ ส ่ ง เสริ ม การปลู ก ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ ใ นพื้ น ที่ ภ าคเหนื อ ทั้งในลักษณะของเกษตรพันธะสัญญา หรือ การรับซื้อผลผลิต ข้ า วโพดจากเกษตรกร ที่รับ เอาไปแต่ เ มล็ด ข้ า วโพดเพื่อ ไป ผลิตเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ แต่ทิ้งพวกซากวัสดุจากต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด จ�ำนวนมากมายมหาศาลไว้ในพื้นที่ที่มีการปลูก ข้าวโพดในเขตภาคเหนือ ซึ่งรวมถึงพื้นที่หลายอ�ำเภอในจังหวัด เชียงใหม่ เช่น แม่แจ่ม ฮอด เชียงดาว เป็นต้น เมื่อไม่มีวิธีการ จัดการกับซากวัสดุจากพืชที่ใช้ต้นทุนต�่ำได้ หรือสามารถเอาไป ใช้ท�ำประโยชน์อย่างอืน่ ได้ในพืน้ ทีเ่ พาะปลูกซึง่ มักจะอยูต่ ามดอย ภูเขาสูง การเดินทางเข้าออกล�ำบาก การขนส่งเศษซากวัสดุ ออกมาจากพื้ น ที่ เ พาะปลู ก ก็ ต ้ อ งใช้ ต ้ น ทุ น ค่ า ขนส่ ง สู ง มาก ก็เลยไปลงท้ายด้วยการจุดไฟเผา ที่มีต้นทุนในการท�ำลายต�่ำ แต่ ก ลั บ ไปมี ต ้ น ทุ น ที่ ก ระทบต่ อ สั ง คม สุ ข ภาพของคน และเศรษฐกิจการท่องเทีย่ วในภาคเหนืออย่างมากมายมหาศาล เป็นเงินนับหลายพันล้านบาท แต่อย่าลืมว่าปัญหาหมอกควันที่เราประสบอยู่นั้น ไม่ ไ ด้ เ ป็ น ผลมาจากการเผาวั ส ดุ จ ากการปลู ก ไร่ ข ้ า วโพด เพี ย งอย่ า งเดี ย ว ตั ว การหลั ก อื่น ๆ ก็ มี ผ สมเข้ า ด้ ว ยเช่ น กั น โดยเฉพาะการเกิดไฟไหม้ป่าทีเ่ ป็นป่าไม้ผลัดใบ ซึง่ จะมีเศษซาก ใบไม้ ม ากมายมหาศาลที่ ร ่ ว งหล่ น ลงมากองทั บ ถมในช่ ว ง หน้ า แล้ ง บวกกั บ การบุ ก รุ ก ที่ ป ่ า เพื่ อ การปลู ก ข้ า วไร่ ของเกษตรกรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เพื่อเป็นอาหารและสร้าง รายได้มาเลี้ยงชีพของตนและครอบครัว ฉะนั้นปัญหาเรื่อง หมอกควันในภาคเหนือจึงเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานกว่าสิบปี ขาดการวางแผนและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ หากคิดจะ แก้ไขปัญหาหมอกควันให้ได้อย่างถาวร คงต้องถือเป็นวาระ แห่งชาติ ต้องการความเอาจริงเอาจัง (ภาษาชาวบ้าน คือ กัดไม่ปล่อย) ของหน่วยงานภาครัฐและผู้เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนได้ ส่ ว นเสี ย เข้ า มาจั ด ท�ำแผนเพื่ อ แก้ ไ ขปั ญ หา ทั้ ง ระยะสั้ น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่ อ ให้ ส ามารถแก้ ไ ขปั ญ หาได้ อย่างยั่งยืนถาวร ไม่ใช่แก้ไปเป็นปี ๆ เหมือนที่ท�ำอยู่ในปัจจุบัน

อย่างที่ภาษาโบราณเขาว่า เราชอบแก้ปัญหาแบบ ไฟไหม้ฟาง พอฟางไหม้หมด ก็หยุดแก้ พอปีหน้าก็มาเผาฟาง กันใหม่ และค่อยมาคิดแก้ไขปัญหากันใหม่อีกที แทนที่จะหา มาตรการจัดการอย่างไรให้มีวัสดุจากการปลูกพืชเกษตรที่เป็น เชือ้ เพลิงให้เกิดไฟไหม้อย่างเป็นระบบ ซึง่ ต้องแก้ไขให้สอดคล้อง กับสาเหตุหลักๆ ของการเกิดควันไฟ จะมีวิธีจัดการไฟไหม้ป่า อย่างไร จัดการเรื่องการบุกรุกป่าอนุรักษ์เพื่อท�ำไร่หมุนเวียน ของชาวบ้านอย่างไร จัดระบบการปลูกพืชทางเลือกที่ไม่พึ่งไฟ พวกไม้ยืนต้น ผลไม้ กาแฟ ฯลฯ เพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพด บนที่สูงให้แก่เกษตรกรได้ไหม ต้องเน้นให้ชาวบ้านมีรายได้ เพื่อเลี้ยงครอบครัวของเขาให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ได้ เพื่อจะได้ ช่วยกันปลูกป่า ดูแลป่า และรักษาต้นนำ�้ ในเขตป่าเอาไว้ ในกรณี ของวั ส ดุ เ หลื อ จากการเกษตร เฉพาะหน้ า มี วิ ธี ก ารจั ด การ เอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นชีวะมวลเอาไปผลิตไฟฟ้า เอาไป ท�ำปุ๋ย ได้อย่างไรให้มีความคุ้มค่าและคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงแค่แนวทางส่วนหนึ่ง ยั ง ต้ อ งอาศั ย การระดมสมอง ระดมความคิ ด ของผู ้ รู ้ ปราชญ์ ช าวบ้ า น นั ก วิ ช าการ สร้ า งความร่ ว มมื อ ร่ ว มไม้ และที่ส�ำคัญคือ การร่วมใจของทุกภาคส่วน ทั้งรัฐบาลกลาง อ ง ค ์ ก ร ป ก ป ค ร อ ง ส ่ ว น ท ้ อ ง ถิ่ น ภ า ค ธุ ร กิ จ เ อ ก ช น ภาคประชาสังคม และที่ส�ำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ บทบาทของ นั ก วิ ช าการ จากสถาบั น การศึ ก ษาต่ า งๆ ที่ ตั้ ง อยู ่ ใ นพื้ น ที่ ภาคเหนือ รวมถึง มช. ของเรา จะน�ำเอาวิชาการ ความรู้ งานวิจยั ทัง้ วิจยั พืน้ ฐาน วิจยั ประยุกต์ วิจยั ปฏิบตั กิ าร เข้าไปร่วม เรียนรู้ และท�ำงานกับหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ และท�ำงาน กับท้องถิ่นอย่างไร จึงจะน�ำไปสู่การแก้ไขปัญหาหมอกควันได้ อย่างถาวรและยั่งยืนในที่สุด..... เขี ย นระบายความอึ ด อั ด เรื่ อ งปั ญ หาหมอกควั น เอาไว้เ ท่านี้ก ่อ น ขอเป็ นก�ำลั ง ใจให้นัก วิจัย ทีม แก้ไ ขปัญหา หมอกควันของสถาบันฯ ที่น�ำโดย ดร.ทิพวรรณ ดร.ธัญญ่า และทีมน้องๆ ซึ่งได้ทุ่มเทท�ำงานด้านนี้ ติดต่อกันมานับสิบปี ยังมีพลังและเรี่ยวแรงที่จะท�ำงานวิจัยเพื่อรับใช้สังคมต่อไป จนกว่าปัญหาหมอกควันในภาคเหนือจะหมดไปนะครับ สู้ สู้.. ฉบับนี้ ก็ขอยุติไว้แค่นี้ พบกันใหม่ฉบับหน้า ขอให้ ทุกท่านมีอากาศทีบ่ ริสทุ ธิก์ ลับมาให้หายใจอย่างทัว่ ท้องอีกครัง้ เอาไว้หน้าแล้งปีหน้า ค่อยมาบ่น และมาสู้กันใหม่ เพราะมันคง ต้องใช้เวลาแก้ไขปัญหาใหญ่ระดับภูมิภาคนี้ไปอีกนานหลายปี .... ขอกล่าวค�ำ สวัสดี มีความสุขทุกท่านครับ

... สารสถาบันฯ 2

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ



“เล่าขานงานวิจัย” ศูนย์วิจัยด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผศ. นพ.เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย

วั ส ดี ค รั บ ช ่ ว ง เ ดื อ น นี้ แ ล ะ เ ดื อ น ห น ้ า (พ.ค. - มิ.ย. 2558) ผมจะต้องชีพจรลงเท้า เดินทางไปเป็น วิทยากรให้กบั จังหวัดต่างๆ ทัว่ ประเทศ งานนีเ้ กิดขึน้ สืบเนือ่ งจาก โครงการที่สถาบันฯ ได้ร่วมกับ International Health Policy Program พัฒนาเครื่องมือในลักษณะของแบบสอบถามที่ใช้ ในการเฝ้าระวั ง และติ ด ตามสถานการณ์การตี ต รา และเลื อ กปฏิ บั ติ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เอชไอวี ใ นสถานพยาบาล ที่ ผ มเคยเล่ า ให้ ฟ ั ง เมื่ อ ปี ที่ แ ล้ ว โดยทางศู น ย์ อ�ำนวยการ บริ ห ารจั ด การปั ญ หาเอดส์ แ ห่ ง ชาติ มี ด�ำริ ใ นการน�ำ แบบสอบถามดั ง กล่ า วมาเก็ บ ข้ อ มู ล จริ ง ในจั ง หวั ด ต่ า งๆ ที่ ถู ก ก�ำหนดให้ เ ป็ น พื้ น ที่ เ ฝ้ า ระวั ง พิ เ ศษในเรื่ อ งนี้ ได้ แ ก่ จั ง หวั ด เชี ย งราย อุ ด รธานี นครราชสี ม า ชลบุ รี ราชบุ รี และสงขลา ข้อมูลที่ได้จะถูกน�ำไปใช้ในการออกแบบกิจกรรม เพือ่ แก้ไขปัญหาดังกล่าวในระดับแต่ละจังหวัดและระดับประเทศ ต่อไป การตีตรา (stigma) เป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา สั ง คมรู ป แบบหนึ่ ง เกิ ด จากอคติ แ ละความเชื่ อ ดั้ ง เดิ ม ของ คนจ�ำนวนหนึ่ง ที่มีทัศนคติเชิงลบร่วมกันต่อกลุ่มบุคคลที่มี ลักษณะเฉพาะแตกต่างออกไปจากตนเอง การตีตรามีหลาย รูปแบบ เช่นการรับรู้ว่ามีการตีตรานัน้ ๆ หรือความคาดหมายว่า จะถูกตีตรา ส่วนการที่ผู้ถูกตีตรายอมรับและเห็นด้วยกับการ ถูกกระท�ำเรียกว่าการตีตราตนเอง หรือความรู้สึกตีตราจาก ภายใน การตีต ราอาจน�ำไปสู ่ ก ารปฏิบั ติอ ย่ า งไม่ เ ป็ น ธรรม ต่ อ ผู ้ ที่ ถู ก ตี ต รา เรี ย กว่ า การเลือ กปฏิ บั ติ (discrimination) ซึ่งหมายถึงการกระท�ำหรืองดเว้นกระท�ำการใดๆ ที่มีลักษณะ ของการกีดกัน แบ่งแยก หน่วงเหนี่ยว หรือการจ�ำกัดซึ่งสิทธิ แก่บุคคล การตีตราและการเลือกปฏิบัติถือเป็นการละเมิด หลักสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค และศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์

สารสถาบันฯ 4

จากอดีตจนถึงปัจจุบนั ได้มกี ารตีตราและเลือกปฏิบตั ิ ต่อผู้ป่วยด้วยโรคบางอย่างมาอย่างต่อเนื่อง เช่นการรังเกียจ และกลั ว ผู ้ ป ่ ว ยโรคเรื้ อ นหรื อ ผู ้ ป ่ ว ยวั ณ โรคปอด ปั จ จุ บั น การตีตราและเลือกปฏิบตั เิ กีย่ วกับสุขภาพทีส่ �ำคัญ คือการตีตรา และเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวเนื่องกับเอชไอวี (HIV-related stigma and discrimination) เนื่องจากท�ำให้ผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เอชไอวี ไ ม่ อ ยากเข้ า รั บ การตรวจหาการติ ด เชื้ อ เนื่ อ งจาก คาดการณ์ไปล่วงหน้าว่าหากทราบว่าตนเองติดเชื้ออาจจะ ถูกรังเกียจและถูกกีดกันจากสังคม ผู้ติดเชื้อเมื่อไม่ทราบว่า ตนเองติดเชื้อจะไม่ได้รับการดูแลรักษาและไม่ได้รับองค์ความรู้ เพือ่ ปรับเปลีย่ นพฤติกรรม จึงยังคงมีโอกาสถ่ายทอดเชือ้ ให้ผอู้ นื่ ต่อไป ส�ำหรับผู้ที่ทราบว่าตนเองติดเชื้อแล้ว การรับรู้ว่ามีการ ตีตราต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเหล่านี้ไม่เข้ารับ การดู แ ลรั ก ษาที่ส ถานพยาบาล เนื่อ งจากเกรงว่ า ผลเลือ ด ของตนเองจะถู ก เปิ ด เผยให้ ผู ้ อื่ น ทราบ นอกจากนั้ น การ เลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อในสถานพยาบาล ยังท�ำให้เกิดความ ไม่พึงพอใจบริการ ความทุกข์ใจ คุณภาพชีวิตที่ลดลง และการ ไม่ ม ารั บ การรั ก ษาต่ อ เนื่อ ง ซึ่ง อาจส่ ง ผลให้ มีก ารเจ็ บ ป่ ว ย หรือเสียชีวิตได้อีกด้วย

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ศูนย์วิจัยชีวโมเลกุล และเซลล์วิทยาของโรคติดเชื้อ ศ. นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ

มาตรฐานการวิจัย

ทุ

กแหล่งทุน จะให้ทุนวิจัยกับหน่วยวิจัยหรือกลุ่มวิจัยที่มีมาตรฐานการวิจัยเท่านั้น การท�ำวิจัยที่มีมาตรฐานท�ำให้ เกิดความเชื่อมั่นทั้งส�ำหรับผู้ให้ทุน ส�ำหรับการตีพิมพ์ และส�ำหรับผู้น�ำผลงานวิจัยไปใช้ ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ก�ำหนดมาตรฐานการวิจัยไว้ 5 ด้าน คือ 1) มาตรฐานการวิจัยในคน 2) มาตรฐานการวิจยั ในสัตว์ทดลอง 3) มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ 4) มาตรฐานห้องปฏิบตั กิ ารวิจยั 5) จรรยาวิชาชีพ วิจัยและแนวปฏิบัติ ซึ่งจะเห็นว่า วช. ได้ให้ความส�ำคัญเรื่องจรรยาบรรณของนักวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานด้วย จะขอให้ รายละเอียดในแต่ละด้านไว้เพื่อเป็นข้อมูลส�ำหรับนักวิจัยที่ต้องรู้ จะได้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกขั้นตอน จะท�ำให้การขอทุนเป็นไปอย่าง ราบรื่นทันเวลา ซึ่ง วช จะเข้มงวดเรื่องการรับรองโครงการวิจัย ให้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการฯ ทุกด้านตามความจ�ำเป็น ก่อนท�ำสัญญารับทุน และจะท�ำการติดตามตรวจสอบด้วย มาตรฐานแต่ละด้านมีรายละเอียด การถือปฏิบัติ ดังนี้ 1) มาตรฐานการวิจัยในคน มีส�ำนักงานมาตรฐานการวิจัยในคน (มค.) (Office for Human Subject Research Standard) เป็นผู้ดูแล หากโครงการวิจัยใด มีความเกีย่ วข้องกับคน ต้องได้รบั การพิจารณารับรองจากคณะกรรมการจริยธรรม การวิจัยในคน ในประเทศไทยได้มีการรวมตัวกันเป็นชมรม FERCIT/FERCAP ขึ้น วช. ก็ได้พัฒนาระบบประกันคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย (National Ethics Committee Accreditation System in Thailand: NECAST) โดยในปัจจุบัน ได้ มี ก ารยอมรั บ การรั บ รองของคณะกรรมการของหน่ ว ยงานที่ ไ ด้ ม าตรฐาน ซึ่งจะท�ำให้นักวิจัยสามารถยื่นขอการรับรองที่เดียวได้ สถาบันฯ มีคณะกรรมการ พิ ทั ก ษ์ สิ ท ธิ์ ส วั ส ดิ ภ าพและป้ อ งกั น ภยั น ตรายในการวิ จั ย กั บ มนุ ษ ย์ (Human Experimentation Committee : HEC) และเป็นที่ยอมรับว่าได้มาตรฐาน 2) มาตรฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง มีส�ำนักงานมาตรฐานการเลี้ยง และใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สลช.) (Office of National Standard for Research Animals) เป็นผู้ดูแล งานวิจัยที่ใช้สัตว์ทดลองมีการก�ำหนดมาตรฐาน ระดั บ ชาติ ขึ้ น ซึ่ ง จะเป็ น กฏหมายลู ก ของพระราชบั ญ ญั ติ สั ต ว์ เ พื่ อ งานทาง วิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 13 มีนาคม 2558 มีผลบังคับใช้ 180 วันหลังวันประกาศ ทาง วช. ก�ำหนดให้ การได้รับการรับรอง โดยการพิ จ ารณาของคณะกรรมการก�ำกั บ ดู แ ลการเลี้ ย งและใช้ สั ต ว์ (คกส.) ในส่วนนีน้ กั วิจยั สามารถยืน่ โครงการขอรับการรับรองทีค่ ณะกรรมการดูแลการเลีย้ ง และใช้สัตว์ทดลอง ของมหาวิทยาลัย และใช้บริการการเลี้ยงและใช้สัตว์ได้ที่ ศูนย์สัตว์ทดลอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่แม่เหียะได้ โดยศูนย์สัตว์ทดลอง ได้ยื่น ขอรับการรับรองมาตรฐานจาก Association for Assessment and Accreditation of Laboratory Animal Care (AAALAC) international ซึ่งจะทราบผลในเร็วๆ นี้ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้งานสัตว์ทดลองมีมาตรฐานเดียวโดยศูนย์สัตว์ทดลอง เป็นผู้รับผิดชอบดูแลงานส่วนนี้ทั้งหมด วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 5


3) มาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ มีศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ศช.) (National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC)) ส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นผู้ดูแล งานวิจัยที่มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อตัดต่อสารพันธุกรรม ต้องได้รบั การพิจารณารับรองความปลอดภัยจากคณะกรรมการความปลอดภัยทาง ชีวภาพระดับสถาบัน (Institutional Biosafety Committee, IBC) สถาบันฯ มี IBC ของสถาบันฯ ซึ่งเป็นเงื่อนไขในการรับทุนของ NIH

4) มาตรฐานห้องปฏิบัติการวิจัย ก�ำลังอยู่ในระหว่างการก�ำหนด มาตรฐาน โดยในช่ ว งแรกนี้ จ ะเป็ น การก�ำหนดมาตรฐานความปลอดภั ย ของ ห้องปฏิบัติการเคมี โดย วช. ได้ให้ ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการ สิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ด�ำเนินการ ซึ่ง วช. มีนโยบายจะให้มาตรฐานนี้เป็นข้อก�ำหนดของการรับทุน โดยโครงการวิจัย จะต้องมาจากห้องปฏิบัติการที่ผ่านการประเมินความปลอดภัยแล้ว ในส่วนนี้ การก�ำหนดมาตรฐานยังอยู่ในระหว่างการจัดท�ำ ขณะนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมโครงการยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบตั กิ ารวิจยั เป็นมหาวิทยาลัย น�ำร่อง

5) จรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวปฏิบัติ ในส่วนนี้จะมีความคล้ายกัน กับจรรยาบรรณผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ประกาศใช้อยู่ นักวิจัย สามารถ download เอกสารนี้ได้ที่หน้า website ของ วช. www.nrct.go.th

ทั้งนี้ การตรวจสอบการรับรองข้อเสนอโครงการวิจัยว่าต้องผ่านการรับรองอะไรบ้าง เป็นหน้าที่รับผิดชอบของ หัวหน้าโครงการวิจัย และมหาวิทยาลัยที่ต้องบริหารจัดการให้ครบถ้วน ทาง วช. เองก็จะมีกองมาตรฐานการวิจัยเป็นผู้ ตรวจสอบว่าครบถ้วนหรือไม่ ในช่วงเวลานี้ วช. จะเริ่มเข้มงวดในมาตรฐานเหล่านี้ นักวิจัยต้องเตรียมการให้พร้อม หากนักวิจัยของสถาบันฯ ต้องการยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาจากคณะกรรมการฯ สามารถติดต่อที่ ส�ำนักงานจริยธรรมการวิจัย ได้

ฉายสุรีย์ ศุภวิไล

นักวิจัย ประธานคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพฯ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีของสถาบันฯ เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2558

สารสถาบันฯ 6

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ ศ. นพ.กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม

ศู

นย์ฯ ของเรายังด�ำเนินงานโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะในที่วันอากาศร้อน ฝนตก เพื่อความก้าวหน้าของ การด�ำเนินงาน และเพื่อประโยชน์ที่จะเกิดจากงานวิจัยนั้น ในฉบับนี้มีความเคลื่อนไหวดังนี้ครับ

หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

1.

หน่ ว ยฯ จั ด การประชุ ม วางแผนการด�ำเนิ น งาน ในโครงการ “ส่ ง เสริม เครือ ข่ า ยการผลิต และการบริโ ภคพืช ผั ก ปลอดภัยจากสารเคมีก�ำจัดศัตรูพืชด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม” ในวันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2558 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากงบพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2558 ในพืน้ ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

2.

หน่วยฯ ได้ออกปฏิบตั งิ านภาคสนามตามโครงการ การพัฒนาชุมชน สุขภาวะจากการลดมลพิษหมอกควัน: โครงการ น�ำร่ อ งในอ�ำเภอแม่ แ จ่ ม จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ (SMOG) น�ำโดย ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล หัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมคณะ ลงเก็บข้อมูลของผูป้ ว่ ยโรคปอดอุดกัน้ เรือ้ รัง ทีม่ ารักษาเป็นประจ�ำ ที่โรงพยาบาลเทพรัตนฯ เวชชานุกูล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา (โรงพยาบาลแม่ แ จ่ ม เดิ ม ) อ.แม่ แ จ่ ม จ.เชี ย งใหม่ ในช่ ว ง เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน 2558 เพื่อเป็นการประเมิน ผู้ป่วยเบือ้ งต้นในช่วงสถานการณ์หมอกควัน และน�ำข้อมูลทีไ่ ด้มา วางแผนการด�ำเนินงานต่อไป

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 7


3.

หน่วยฯ น�ำทีมโดย ดร.ธัญภรณ์ เกิดน้อย โครงการ “ส่งเสริมเครือข่ายการผลิตและการบริโภคพืชผักปลอดภัย จากสารเคมีก�ำจัดศัตรูพืชด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม” ได้ลงพื้นที่เพื่อประสานงานกับทางเกษตรกรที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ ในครั้งนี้ ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา จ�ำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านช่อแล ต.ช่อแล อ.แม่แตง และ หมู่บ้านสันมหาพน ต.สันมหาพน อ.แม่แตง

ภาพกิจกรรม หมู่บ้านช่อแล

ภาพกิจกรรม หมู่บ้านสันมหาพน

หน่วยวิจัยโภชนาการ

1.

งานวิจยั ในหน่วยวิจยั โภชนาการทีร่ บั อาสาสมัคร ผู้ป่วยจากโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คือ โครงการ “การศึกษาหาค่าไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตัง้ ครรภ์กอ่ นและ หลั ง จากได้ รั บ ยาเม็ ด เสริ ม สารไอโอดี น ที่ ม าฝากครรภ์ ในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่” โครงการนีม้ วี ตั ถุประสงค์ เพื่ อ ศึ ก ษาถึ ง ผลของการได้ รั บ ยาเม็ ด เสริ ม สารไอโอดี น ในหญิงมีครรภ์ ปัจจุบันได้อาสาสมัครแล้วทั้งสิ้น 50 ราย จากเป้าหมาย 424 ราย

สารสถาบันฯ 8

2.

โครงการวิจยั ของสถาบันฯ ได้แก่ “โครงการส�ำรวจ สุขภาพประชากรไทย พ.ศ. 2556-2557” มีวัตถุประสงค์เพื่อ การติดตามภาวะไอโอดีนในประชากร โดยได้ด�ำเนินการวิเคราะห์ ปริมาณไอโอดีนจากตัวอย่างเกลือในครัวเรือน 5 จังหวัดภาคเหนือ จ�ำนวนทั้งสิ้น 6,199 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ปริมาณไอโอดีน และโซเดียมในตัวอย่างปัสสาวะจากครัวเรือนในจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้ ง สิ้ น 1,967 ตั ว อย่ า ง ปั จ จุ บั น ได้ ด�ำเนิ น การวิ เ คราะห์ เสร็ จ สิ้ น แล้ ว อยู ่ ร ะหว่ า งการวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล เพื่ อ รายงาน ผลการศึกษา

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


3.

โครงการ “การจั ด ตั้ ง เครื อ ข่ า ยเตื อ น ความปลอดภัยด้านอาหารและเฝ้าระวังความเสี่ยงปนเปื้อน ในอาหาร” ได้เริ่มด�ำเนินการแล้ว โดยมีระยะเวลาด�ำเนินการ ระหว่าง ตุลาคม 2558 - กันยายน 2559 ปัจจุบันอยู่ระหว่าง การสุม่ เก็บตัวอย่างอาหารจากกลุม่ เป้าหมายคือผูป้ ระกอบการ ในเขตพื้น ที่ภ าคเหนือ ที่ผ ่ า นการอบรมพั ฒ นาจากโครงการ บริการวิชาการอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารปนเปื้อน/ สารเจือปนในอาหาร รวมถึงวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ ของอาหาร

5.

โครงการ “โภชนาการสมวัยส�ำหรับศูนย์พัฒนา เด็ ก เล็ ก ขององค์ ก ารปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น (อบต.) จังหวัดเชียงใหม่ กรณี เทศบาลต�ำบลบ้านแม อ.สันป่าตอง จ.เชี ย งใหม่ ” มี ก�ำหนดเวลา 6 เดื อ น ตั้ ง แต่ ตุ ล าคม 2557 - มีนาคม 2558 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการด�ำเนินงาน และประเมินผลโครงการ

4.

โครงการ “โภชนาการและความมัน่ คงด้านอาหาร ในพื้ น ที่ สู ง ของประเทศไทย” ระยะที่ 2 ปั จ จุ บั น ได้ เ ริ่ ม ด�ำ เ นิ น ก า ร แ ล ้ ว โ ด ย มี ร ะ ย ะ เ ว ล า ด�ำ เ นิ น ก า ร ร ะ ห ว ่ า ง พฤษภาคม 2557 - กุมภาพันธ์ 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา วิธีการที่สามารถใช้ในการปรับปรุงภาวะโภชนาการ และท�ำให้มี ความมั่นคงด้านอาหาร ส�ำหรับกลุ่มเด็กอายุต�่ำกว่า 5 ปี ในพื้นที่ ต�ำบลบ้ า นทั บ และต�ำบลปางหิ น ฝน อ.แม่ แ จ่ ม จ.เชี ย งใหม่ ปั จ จุ บั น ได้ ท�ำการเก็ บ ข้ อ มู ล ภาคสนามเรี ย บร้ อ ยแล้ ว และอยู ่ ร ะหว่ า งกระบวนการแก้ ไ ขปั ญ หาโภชนาการ และความมั่ น คงทางอาหารให้ แ ก่ ก ลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง โดยมี ก าร ติดตามผลในทุกระยะเวลา 1 เดือน

6.

ผลงานดีวีดี เรื่อง “การผลิตแคบหมูอนามัย และแคบหมูเลียนแบบ” ได้ยื่นขอจดลิขสิทธิ์ต่อ หน่วยจัดการ ทรัพย์สินทางปัญญา และถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย เชียงใหม่แล้ว อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณา

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 9


หน่วยวิจัยโรคไม่ติดต่อ หน่วยฯ ได้ด�ำเนินการโครงการ “ภาระและระบบการดูแลโรคหลอดเลือดส่วนปลาย” ซึ่งการด�ำเนินงานในปีที่ 1 มีการเก็บ ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเรียบร้อยแล้วอยู่ระหว่างการส่งรายงานฉบับสมบูรณ์รายงานแก่ผู้ให้ทุน เพื่อเตรียมด�ำเนินงานในปีที่ 2 ต่อไป โดยได้รับการตอบรับจากผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี

ท่านอยากทราบไหมว่า ท่านมีโอกาสเกิดโรคหัวใจในอีก 10 ปี

เป็นเท่าไหร่?

หน่วยวิจัยโรคไม่ติดต่อ ได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้วิธีการท�ำนายการเกิดโรคหัวใจแบบง่ายจากศูนย์หัวใจ หลอดเลือด และเมแทบอลิซึม โรงพยาบาลรามาธิบดีซึ่งได้ประดิษฐ์คิดค้น วิธีการท�ำนายโอกาสการเกิดโรคหัวใจของคนไทย โดยใช้ข้อมูล ของคนไทยและได้พิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ดี นอกจากนั้นอันที่จริงระบบการให้คะแนนแบบนี้ มีตั้งแต่องค์การอนามัยโลก (WHO) อเมริกา ยุโรป เอเชีย แต่เท่าที่ผ่านมาพบว่า ระบบการให้คะแนนของข้อมูลจากคนไทยที่มาจากโรงพยาบาลรามาธิบดี สามารถท�ำนาย การเกิดโรคหัวใจได้แม่นย�ำกว่าของ WHO ที่ใช้ในคนไทยและใช้ในคนเอเชียด้วยซ�้ำ ฉะนั้นเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจว่าเราได้มีระบบการ ให้คะแนนนี้ ซึง่ ระบบการให้คะแนนนีเ้ พิง่ มีเผยแพร่เมือ่ เดือนทีผ่ า่ นมานีเ่ อง เพียงท่านสามารถกรอกข้อมูลง่ายๆ และเข้าดูรายละเอียด ได้ที่ http://cvmc.host-ed.me/tcvrs/tcvrs/ramaegat.html

ตัวอย่างที่ 1 หน้าที่ 1

สารสถาบันฯ 10

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


หน้าที่ 2

จะเห็นว่าจะมีอยู่ 2 หน้า หน้าแรกคือ การกรอกข้อมูล หน้าสองคือ การบอกผล หน้าแรกของการกรอกข้อมูล ข้อมูลจะมี ให้กรอกสองส่วน ส่วนบนจะเป็นข้อมูลธรรมดา ซึ่งทุกคนก็น่าจะทราบกันอยู่แล้ว ข้อมูลส่วนล่างให้ใส่ข้อมูลเท่าที่มี จะเห็นว่า จะมีแลป ซึ่งมีค่าคอเลสเตอรอลอะไรต่างๆ นานา อาจจะยุ่งยาก บางคนอาจไม่มี ไม่ต้องห่วง ขอให้มีแค่ความสูงกับเส้นรอบเอว เท่านั้นก็ถือว่าพอ โดยรอบเอวตามมาตรฐานควรจะวัดระดับกึ่งกลางกระดูกสะโพกส่วนบนสุด และขอบล่างของกระดูกซี่โครง ให้ขนานกับพื้น ผู้วัดต้องนั่งข้างๆ และต้องวัดขณะหายใจออกเท่านั้น และหลังจากที่ผ่านการกรอกข้อมูลส่วนบนเต็ม และส่วนล่าง ใส่แค่ความสูงกับเส้นรอบเอว ท่านคลิ๊กปุ่มแสดงผลต่อไป ท่านก็จะได้ทราบว่าความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจของท่านใน 10 ปี ข้างหน้าเป็นเท่าไหร่ และจะมีข้อแนะน�ำอยู่ด้านล่าง ในตัวอย่างที่ 1 จะเห็นได้ว่ามีความเสี่ยงต�่ำ แต่ตรงกันข้ามถ้าในคนอายุ 60 ปี เพศชาย เป็นเบาหวาน สูบบุหรี่ ส่วนสูง 172 เซนติเมตร รอบเอว 45 นิ้ว จะพบว่ามี ความเสี่ยงสูง ดังตัวอย่างที่ 2

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 11


ตัวอย่างที่ 2

ด้วยความปรารถนาดีจาก หน่วยวิจัยโรคไม่ติดต่อ ศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์

สารสถาบันฯ 12

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


“News & Event” ข่าวกิจกรรม @ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ จัดพิธี ดำ�หัวผู้อาวุโสและผู้อำ�นวยการ ประจำ�ปี 2558

ผูบ้ ริหาร พร้อมด้วยบุคลากรสถาบันฯ จัดพิธดี �ำหัวผูอ้ าวุโสและผูอ้ �ำนวยการ ประจ�ำปี 2558 ณ อาคาร 1 สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์ สุขภาพ วันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2558เพือ่ เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที รวมทัง้ ถือโอกาสขอขมาลาโทษในสิง่ ทีเ่ คยกระท�ำให้ข่นุ หมอง ด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ และใช้โอกาสนี้ขอพรปีใหม่ไทยอีกด้วย ซึ่งผู้อาวุโสพร้อมกับผู้บริหารสถาบันฯ ก็ได้อวยพรให้บุคลากร ทุกท่านมีความสุขตลอดปี 2558 มีสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมทั้งมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานอีกด้วย

ร่วมพิธีดำ�หัว อดีตอธิการบดี อธิการบดี และผู้อาวุโส มช.

ศ. นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากร สถาบันฯ เข้าร่วมพิธดี �ำหัวอดีตอธิการบดี อธิการบดี และผูอ้ าวุโสมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจ�ำปี 2558ในวันศุกร์ที่ 24 เมษายน 2558 เพือ่ เป็นการ ส่งเสริมกิจกรรมทางด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณีภาคเหนือ และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาปัจจุบัน และนักศึกษาเก่าของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ บริเวณลานสัก หน้าศาลาธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 13


คุณหมอวาที นำ�เสนอโปสเตอร์วิชาการ ณ ประเทศญี่ปุ่น คุณหมอวาที สิทธิ นักวิจัย เข้าร่วมแสดง โปสเตอร์วิชาการ ในเรื่องของ Awareness and acceptability of HIV Pre – Exposure Prophylaxis (PrEP) among men who have sex with men and transgender women (TG) in Chiang Mai, Northern Thailand. ในการประชุม World Health Summit Regional Meeting Asia, Kyoto 2015 ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 13-14 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา

การประชุมสนับสนุนวิชาการแก่โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานูกุล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา อำ�เภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ รศ. นพ.อ�ำนาจ อยู่สุข รองอธิการบดีฝ่ายบริการ พัฒนาสังคม ศิลปวัฒนธรรม และกิจการพิเศษ เป็นประธานในการประชุมหารือสนับสนุน ทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แก่โรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานูกุล เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา (โรงพยาบาลแม่แจ่มเดิม) อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ให้ เ ป็ น โรงพยาบาลสี เ ขี ย ว ตามแนวพระราชด�ำริ ข องสมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี โดยมี น ายแพทย์ ส มมิ ต ร สิ ง ห์ ใ จ ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลเทพรัตนเวชชานูกุลฯ พร้อมคณะ และตัวแทนจาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน นครพิงค์ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องฮานอย ส�ำนักบริการวิชาการ วันที่ 30 เมษายน 2558 ในการนี้ ได้ก�ำหนดให้แต่ละคณะและสถาบันสนับสนุนทางวิชาการ ด้านต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะวางแผนเพื่อด�ำเนินการเข้าดูพื้นที่ต่อไป

สารสถาบันฯ 14

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


จังหวัดเชียงใหม่สนับสนุนขยายผลโครงการวิจยั พืชอาหารปลอดภัยลดใช้สารเคมีฯ ในโครงการ “ส่งเสริมเครือข่ายการผลิตและการบริโภคพืชผักปลอดภัยจากสารเคมี กำ�จัดศัตรูพืชด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม” นายนาวิน สินธุสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติ เป็นประธานในการประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ และปรึกษาหารือ แผนการด�ำเนินกิจกรรมโครงการส่งเสริมเครือข่ายการผลิตและการบริโภค พื ช ผั ก ปลอดภั ย จากสารเคมี ก�ำจั ด ศั ต รู พื ช ด้ ว ยกระบวนการมี ส ่ ว นร่ ว ม โดย ดร.ธัญภรณ์ เกิดน้อย หัวหน้าหน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หัวหน้า โครงการ พร้อมคณะ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารอ�ำนวยการ ส�ำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2558 ซึ่งโครงการนี้ได้รับ การสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้ด�ำเนินการต่อยอดจาก โครงการวิจัยเรื่อง“การศึกษาพัฒนาแนวทางการลดใช้สารเคมีในการเกษตร ด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาอ�ำเภอแม่แตง จังหวัด เชียงใหม่” ที่ทางหน่วยวิจัยได้รับการสนับสนุนและด�ำเนินงานร่วมกับศูนย์วิจัย และฝึกอบรมด้านสิง่ แวดล้อมกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อมเมือ่ ปี 2557 ทัง้ นี้ เพือ่ ให้เกิดการขยายผลจากงานวิจยั ลดใช้สารเคมีสกู่ ารมีแหล่งอาหารปลอดภัย อย่างยั่งยืน น�ำร่องในพื้นที่อ�ำเภอแม่แตง ซึ่งจะมีกิจกรรมหลากหลาย อาทิ การตรวจสารเคมีในกลุม่ ผูบ้ ริหารส�ำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ เพือ่ เป็นการสร้าง ความตระหนักสู่สังคม การเปิดตัวโครงการ การอบรมเกษตรกร การสัมมนา แลกเปลี่ย นเรีย นรู ้ เ พื่อ การผลิต การจั ด การการเก็ บ เกี่ย วจนถึง การตลาด เพือ่ ให้เกษตรกรสามารถผลิตพืชอาหารปลอดภัยและมีตลาดรองรับอย่างยัง่ ยืน

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ จัดอบรมเพิ่มความรู้พยาบาลวิจัย เตรียมพร้อมสำ�หรับงานวิจัยด้านโรคเอดส์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ จัดการอบรมทางการพยาบาล เรื่อง การทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ การให้การปรึกษาก่อนและหลังการตรวจเลือดเอชไอวี (HIV Pre-Post test counseling - Refresher course) และการ ส่งต่ออาสาสมัครเพื่อรับการดูแลต่อส�ำหรับพยาบาลวิจัย ณ ห้องประชุมชั้น 4 (ห้องอเนกประสงค์) อาคาร 1 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 โดยได้เชิญ คุณรัตนา ไชยฟองศรี พยาบาลวิชาชีพช�ำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และคุณอ�ำพร ธินะ พยาบาลวิชาชีพช�ำนาญการ โรงพยาบาลสันทราย มาเป็น วิทยากรในการอบรมครั้งนี้ ซึ่งระหว่างการอบรมได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี ตลอดจน การฝึกปฏิบัติในการให้ค�ำปรึกษาก่อน - หลัง การตรวจเลือด ท�ำให้พยาบาลของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีความรู้และความพร้อมมากขึ้นส�ำหรับการท�ำงานวิจัยด้านโรคเอดส์ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 15


นักศึกษาจาก Hampshire College ศึกษาดูงานวิจัยด้านโรคเอดส์ ของสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ ผศ. นพ.เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย หัวหน้า ศูนย์วจิ ยั ด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พร้อมด้วย ดร.อรุณรัตน์ ตั้งมั่นคงวรกูล นักวิจัย ร่วมให้การต้อนรับนักศึกษาจากวิทยาลัยแฮมเชียร์ ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า (Hampshire College in Massachusetts, USA) ทีม่ าเยีย่ มเยือนและศึกษาดูงาน วิจัยด้านเอชไอวี/เอดส์ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2558

สารสถาบันฯ 16

แก๊งซ่าสร้างเครือข่ายป้องกัน ยาเสพติดในกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มเยาวชนแก๊งซ่า Gang SAA สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้จัดกิจกรรมให้เยาวชนแกนน�ำ เยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายถึงอุดมศึกษา จากประเทศสมาชิกอาเซียน อันได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลปิ ปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ภูฏาน ไทย และเจ้าหน้าทีจ่ ากหน่วยงานกลาง ด้ า นยาเสพติ ด ที่ ท�ำงานเกี่ ย วข้ อ งกั บ เยาวชนของ แต่ละประเทศ จ�ำนวน 60 คน ในหัวข้อ “Drugs and Youths/Youth Network Development” ซึ่งจัดโดย ส�ำนั ก งานคณะกรรมการป้ อ งกั น และปราบปราม ยาเสพติ ด (ป.ป.ส.) ภายใต้ ชื่ อ งาน“The Training Workshop for Youth leaders on Social Development and Drug Abuse Prevention 2015” เมื่ อ วั น ที่ 25 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมเกรทเธอร์แม่โขงลอด์จ จังหวัดเชียงราย

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ซ้อมมาตรการป้องกันและระงับอุบัติภัย

สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ จั ด การอบรม "มาตรการป้ อ งกั น และวิ ธี ก ารปฏิ บั ติ ร ะงั บ อุ บั ติ ภั ย " ซึ่งการอบรมนี้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติส�ำหรับเหตุฉุกเฉิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ส�ำหรับบุคลากรทุกคน เพือ่ เป็นการเพิม่ ความรู้ และฝึกทักษะให้สามารถป้องกันและบรรเทาอุบตั ภิ ยั ทัง้ แผ่นดินไหว ไฟไหม้ และการช่วยเหลือ ผู้บาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญจากงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลนครเชียงใหม่ มาให้ความรู้ พร้อมกับฝึกปฏิบัติจริง ให้แก่บุคลากรของสถาบันฯ ณ อาคาร 1 อาคาร 2 และอาคาร 3 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2558

...

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 17


ตารางกิจกรรม มิถุนายน 2558 2 - 19 มิถุนายน 2558 7-9

มิถุนายน 2558

8 มิถุนายน 2558 8 - 9 มิถุนายน 2558

10 มิถุนายน 2558 10 - 12 มิถนุ ายน 2558 11

มิถุนายน 2558

11 - 13 มิถุนายน 2558 12 - 19 มิถุนายน 2558

14 - 19 มิถุนายน 2558

สารสถาบันฯ 18

นางสาวทิพวรรณ ประภามณฑล นักวิจัย ร่วมประชุมวิชาการ ณ เมือง Lyon ประเทศฝรั่งเศส ปรึ ก ษางานวิ จั ย ณ กรุ ง Vienna ประเทศออสเตรี ย และเสนอผลงานวิ จั ย BIOMAP7 ณ กรุง Lisbon ประเทศโปรตุเกส นางอรุณรัตน์ ตั้งมั่นคงวรกูล นักวิจัย ร่วมเป็นวิทยากร การเชื่อมข้อมูลองค์ความรู้สู่นโยบาย (Bridging evidence to policy) ศูนย์การประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี นนทบุรี ประชุมคณะกรรมการอ�ำนวยการสถาบันฯ เวลา 9.30 น. นางฉายสุ รี ย ์ ศุ ภ วิ ไ ล นั ก วิ จั ย ช� ำ นาญการ ร่ ว มเป็ น วิ ท ยากร IBC แนวทางปฏิ บั ติ เพื่ อ ความปลอดภั ย ทางชี ว ภาพส�ำหรั บ การด�ำเนิ น งานด้ า นเทคโนโลยี ชี ว ภาพสมั ย ใหม่ หรือพันธุวศิ วกรรม หลักสูตรเร่งรัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กรุงเทพมหานคร นางสาวสะแกวัลย์ อุ่นใจจีน นักวิจัย เข้าร่วมฝึกอบรมในประเทศ จริยธรรมการวิจัยในคน โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "จริยธรรมการวิจัยในคน" ห้องประชุมวิจิตร ศรีสุพรรณ ชั้น 2 อาคาร 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้บริหารประชุมคณบดีและผู้อ�ำนวยการสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ณ คณะพยาบาล นางอรุณรัตน์ ตั้งมั่นคงวรกูล นักวิจัย เข้าร่วมประชุม ประชุมวิชาการ 9 ปี สช. อิมแพ็ค คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เมืองทองธานี นนทบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยโรคเอดส์และโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ และนายจรัญ เชื้อเย็น นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ร่วมเป็นวิทยากร การประชุมหารือคณะท�ำงานส�ำรวจสถานการณ์การตีตราและการเลือกปฏิบัติในพื้นที่ที่สนใจ ด�ำเนินการ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี นางสาววรางคณา นาคเสน นักวิทยาศาสตร์ ร่วมประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการ โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ครัง้ ที่ 16 โรงแรมจอมเทียน ปาล์ม บีช รีสอร์ท พัทยา พัทยา ศาสตราจารย์สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยโรคเอดส์และโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ เข้าร่วมประชุม HPTN Annual Meeting Crystal Gateway Marrirott Hotel Arington USA นางกัลยา ว่องวรภัทร นักเทคนิคการแพทย์, นางสาววีนัส แก้วอยู่ พนักงานปฏิบัติงาน, นางสาวศิริขวัญ ดอกอุทา นักเทคนิคการแพทย์, นางจิราพร แก้วเกาะสะบ้า นักเทคนิค การแพทย์ เข้าร่วมประชุม 2015 HPTN & IMPAACT Network Annual Meetings Crystal Gateway Marriott Hotel Arlington USA

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


15 - 17 มิถุนายน 2558 15 - 19 มิถุนายน 2558

16

มิถุนายน 2558

19

มิถุนายน 2558

22 - 23 มิถุนายน 2558 22 - 26 มิถุนายน 2558

23

มิถุนายน 2558

26

มิถุนายน 2558

ศาสตราจารย์ขวัญชัย ศุภรัตน์ภญ ิ โญ รองผูอ้ ำ� นวยการสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ, นางสาวพัชณี สมุทรอาลัย พยาบาล เข้าร่วมประชุม MK 1439A Protocol 021 Investigator Meeting เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี แพทย์ ห ญิ ง ลิ น ดา เอื้ อ ไพบู ล ย์ นั ก วิ จั ย , นางสาวรั ต ติ ก า ธรรมลั ง กา พยาบาล, นางสาวประภาพร จันทร์จริง พยาบาลวิจัย, นางสาวศหัทยา กองสถาน พยาบาล, นางรัชดาวรรณ พรหมวังศรี พนักงานปฏิบัติงาน, นางสาวศุกดิ์มณี สายะสิต นักการเงิน และบัญชี เข้าร่วมประชุม 2015 HPTN & IMPAACT Annual Meetings 2015 HPTN & IMPAACT Annual Meetings Crystal Gateway Marriott in Arlington, VA, USA. นายแพทย์ทวีวัฒน์ สุปินธรรม นักวิจัย, นางผ่องพรรณ เสาร์เขียว พยาบาลช�ำนาญการ ร่วมประชุมวิชาการ HIV-HPV Research in Asia and the Pacific Meeting Thai Red Cross AIDS Research Centre, Bangkok, Thailand กรุงเทพมหานคร นางสาวกนิษฐา ไทยกล้า นักสถิติ เข้าร่วมประชุม พิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการย่อย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กรุงเทพมหานคร นางฉายสุรีย์ ศุภวิไล นักวิจัยช�ำนาญการ ร่วมเป็นวิทยากร การเสริมสร้างศักยภาพ การประเมิ น ความปลอดภั ย ของอาหารจากเทคโนโลยี ชี ว ภาพสมั ย ใหม่ ณ โรงแรม เซนทาราดวงตะวัน เชียงใหม่ ศาสตราจารย์ขวัญชัย ศุภรัตน์ภญ ิ โญ รองผูอ้ ำ� นวยการสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ, นายแพทย์ณฐั พล โฆษชุณหนันท์ นักวิจยั , นางสาวดาราลักษณ์ ถาวรประสิทธิ์ พยาบาล, นายกิตติพงศ์ รุ่งเรืองธนะกิจ รองผู้อ� ำ นวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ, นางสาวศหัทยา กองสถาน พยาบาล, นางบุญเหลือ พรึงล�ำภู นักวิจัยช�ำนาญการ ร่วมประชุมในโครงการวิจัย ACTG Annual Meeting 2015 วอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา ประชุม 5 สถาบันวิจยั ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ อาคาร 3 สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์ สุขภาพ ผูอ้ ำ� นวยการสถาบันฯ เป็นตัวแทนสถาบันฯ รับโล่จาก พณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี ประเภทองค์กร ที่มีผลงานดีเด่น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และคุณกนิษฐา ไทยกล้า นักวิจัย รับโล่ ประเภทบุคคลที่มีผลงานดีเด่น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จากส�ำนักงาน คณะกรรมการป้ อ งกั น และปราบปรามยาเสพติ ด ณ หอประชุ ม ใหญ่ ก รมประชาสั ม พั น ธ์ ซ.อารีย์สัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 19


27 - 28 มิถุนายน 2558

29

มิถุนายน 2558

30

มิถุนายน 2558

สารสถาบันฯ 20

ศาสตราจารย์สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยโรคเอดส์และโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์, ศาสตราจารย์กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม หัวหน้าศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์ สุขภาพประยุกต์, นางบุปผา ประภาลักษณ์ เลขานุการ เข้าร่วมสัมมนาผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ประจ�ำปี 2558 ณ ส�ำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นางฉายสุ รี ย ์ ศุ ภ วิ ไ ล นั ก วิ จั ย ช� ำ นาญการ เข้ า ร่ ว มประชุ ม IBC ประชุ ม คณะท�ำงาน ก�ำกับโครงการสร้างความสามารถคณะกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพประจ�ำสถาบัน ครั้งที่ 2/2558 สวทช ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพมหานคร นางสาวกนิษฐา ไทยกล้า นักสถิติ เข้าร่วมประชุมหารือการพัฒนารูปแบบและเครื่องมือ การประเมินสถานการณ์พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ครั้งที่ 2 อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กรุงเทพมหานคร ผู้อ�ำนวยการ พร้อมผู้บริหารสถาบันฯ พบแกนน�ำสถาบันฯ ชี้แจงเรื่องการบริหารจัดการ สถาบันฯ ในรอบ 2 ปีของวาระที่ 2 ของทีมบริหาร

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


กรกฎาคม 2558 2-3

กรกฎาคม 2558

3

กรกฎาคม 2558

6-8

กรกฎาคม 2558

8 10 20 - 21

กรกฎาคม 2558 กรกฎาคม 2558 กรกฎาคม 2558

นางสาวอรณิชชา แก้วทิพย์ พยาบาลวิจัย, นางศุภิสรา นุ่มทองค�ำ Clinic Coordinator, นางรัชนก ทรงสุภา Clinic Coordinator, นางสาวรัตนาภรณ์ อินทราวิวารัตน์ พยาบาล ร่วมประชุมวิชาการ การป้องกันและดูแลผูต้ ดิ เชือ้ เอชไอวี : จากทฤษฎีสกู่ ารปฏิบตั ใิ นประเทศไทย (HIV Prevention and care : from theory to practice in Thailand) ห้องประชุมคริสตัลบอลรูม โรงแรมวันนา ถ.สุรวงศ์ กรุงเทพมหานคร นางฉายสุรีย์ ศุภวิไล นักวิจัยช�ำนาญการ ร่วมเป็นวิทยากร การเสริมสร้างศักยภาพ การประเมินความลอดภั ยของอาหารจากเทคโนโลยีชีวภาพสมั ยใหม่ ณ โรงแรมพูล แมน ขอนแก่น ราชาออคิด จังหวัดขอนแก่น ศาสตราจารย์สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ร่วมเป็นวิทยากร PrEP:How should we go to Thailand? ณ ห้องคริสตัลบอลรูม โรงแรมตวันนา ถนนสุรวงศ์ กรุงเทพมหานคร นางปิยะธิดา สร้อยสุวรรณ เภสัชกร, นางสาวเวฬุรี มโนยศ เภสัชกร ร่วมประชุมวิชาการ การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ ห้องสุโขทัย-รัตนโกสินทร์ โรงแรมนารายณ์ ถนนสีลม กรุงเทพมหานคร ประชุมการเงิน CTU ประชุมกรรมการประจ�ำสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ครั้งที่ 5 นางฉายสุรีย์ ศุภวิไล นักวิจัยช�ำนาญการ ร่วมเป็นวิทยากร การเสริมสร้างศักยภาพ การประเมินความลอดภัยของอาหารจากเทคโนโลยีชวี ภาพสมัยใหม่ ณ โรงแรมเจ้าพระยา ปาร์ค รัชดา กรุงเทพมหานคร

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 21


ซุ

ป ซิ บ สร้างสรรค์

By...พี่แนนซี่กับน้องซาร่า

งานพิธีรดน�้ำด�ำหัวผู้อาวุโส อธิการบดี มช. ณ ลานสัก หน้ามอ

ท่าน ผอ. กะเลขาฯ ฮาเฮ... เค้าอยากลองวางบนศีรษะ ดูบ้าง ว่างั้น....พม่าเค้าท�ำกันไงไม่ตก...เอิ่ม..คือว่าถ้าหลุดมือ ละก็ ได้ทรงใหม่กลับสถาบันฯ เรยค่ะ..นั่น !^-^

ท่านั่งรับพรจากท่านผู้อาวุโส มช...รับรอง ไม่เป็นเหน็บชา ..คริคริ

นั่งรอเมินง่ะ มามะๆ...เซลฟี่!!! แก้ก้ายกั๋นป๊ะ ^-^

สารสถาบันฯ 22

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


งานพิธีรดน�้ำด�ำหัวผู้อาวุโส ผู้อ�ำนวยการ สถาบันฯ ณ อาคาร 1

สองคนตีฆ้องดังโหม่งๆๆๆๆ คนนั่งข้างๆเล่น เครื่องเล่นดนตรี รุ่นใหม่อยู่ก๊ะ...เขี่ยๆๆ ดัง ไลน์ๆๆๆๆนิ ...555

นานๆที..อาจารย์ป้อของเฮาจะมาแวะ ขอแชะเอาฤกษ์เอาชัย สักกำ�..ก่อนเดินขบวน..ค๊า

รถสถาบันฯ มีเยอะเกิน จึงมอบให้ส่วนงานอื่นบ้าง

ปากกา สีหวานแหวว น่ารัก...มุ้งมิ้งฟรุ้งฟริ้ง ซะนี่กระไร ^_^

พิธีมอบกุญแจพร้อมทะเบียนรถ ผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ ให้กับสถาบันภาษา ป้ายขาว...แต่แอบมีโบว์แดง^_^ เอาเคล็ดซะหน่อยน่ะ

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 23


เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น ....

ผอ. บอกว่าขอดูก่อน ว่าคนรอบข้างเขาทำ�อย่างไร ... ส่วนท่านรองด้วง ...

รองด้วงบอกว่า ... ผมมาหลบอยู่ข้างเสาเรียบร้อยแล้วครับ ครูฝึกบอกว่าอยู่ตรงนี้ปลอดภัยชัวร์

ลุงแหลงรู้ดี ... แผ่นดินไหวครั้งนี้มันจิ๊บ ๆ ไม่ต้องย้ายไปไหน ... นิ่งเข้าไว้ ... นิ่งจนหลับไปเลย

พี่นายเองก็เช่นกัน ช่างอ่านเกมขาด รู้ว่าตากล้องต้องมาถ่ายรูปอยู่แล้ว ยิ้มให้ซะเลย

หนุ่มตี๋นี่สิตัวจริง หลบใต้โต๊ะ ยิ้มให้กล้อง จึงได้ภาพ ที่สวยงาม ... แต่เดี๋ยวนะ หน้าจอคอมของหนุ่มตี๋ คืออัลไล????

สารสถาบันฯ 24

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้น ....

พี่เก๋และพี่จิ๋ม ถือเป็นตัวอย่างที่ทุกคนพึงยึดถือปฏิบัติตาม เพราะเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ จะต้องรีบเก็บกระเป๋า พร้อมที่จะหนีกลับบ้านโดยทันใด อย่าไปกลัวว่ายังไม่ถึงเวลาเลิกงาน ... เราแค่หนีเอาชีวิตรอด ...ชิมิ

การยิ้มรับชะตากรรม ของหนุ่มสาวกลุ่มนี้ ถือเป็นเรื่องที่ น่ายกย่องมาก เพราะเมื่อใดที่เกิดเหตุการณ์คับขัน หากเรายังมีสติที่จะยิ้มรับชะตากรรม พร้อมกับให้ตากล้องได้ถ่ายภาพไว้ เป็นที่ระทึก นั่นถือได้ว่าเรามีสติที่จะหนี เอาชีวิตรอดแล้ว ...

...

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 25


บ อ ก ก ล่ า ว รอบบ้าน By...พี่แมงเม้าท์แห่งไร่เห็ด เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สถาบันฯ ได้ท�ำการอบรม มาตรการป้องกันและวิธีการปฏิบัติ ระงับอุบัติภัย พวกเราสนุกสนาน จากมุขของวิทยากรที่ปล่อยออกมาให้เราได้หัวเราะอยู่ตลอดเวลา และพร้อมได้สาระความรู้ความบันเทิงจากการอบรมในครั้งนี้ และเพื่อเป็นการป้องกันเหตุอุบัติภัยต่างๆ ที่เราคาดไม่ถึง และคิดว่าไม่น่าจะเกิด เราจะต้องมี ความรู้ และเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นจริงเราจะท�ำอย่างไร งานนี้ก็ต้องขอขอบคุณผู้บริหารแห่งไร่เห็ดมากๆ นะคะ ที่เห็นความส�ำคัญและจัดอบรมขึ้นมา

วันนี้พี่แมงเมาท์อยากจะสรุปแผนการป้องกัน และระงับอัคคีภัยให้พวกเราสักหน่อย เพราะว่ามีบางคน ไม่ได้เข้ารับการอบรมในวันนั้นด้วย แผนก่อนเกิดเหตุ ไฟไหม้ บางคนว่าไม่จ�ำเป็นต้องมีแผน เมื่อมีไฟไหม้ก็หนี อย่างเดียวสิคะ มันคงไม่งา่ ยอย่างนัน้ นะคะ ถ้าเรามีวธิ กี าร ป้องกัน การรณรงค์ทดี่ ี และการตรวจตราอย่างสมำ�่ เสมอ ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น

สารสถาบันฯ 26

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


แต่ถ้ามันเกิดขึ้นเราก็จะต้องมีการรู้เท่าทัน และแก้ไขเหตุได้ โดยวิทยากรบอกว่ามีแผนด้วยน๊า แผนขณะ เกิดไฟไหม้ แผนการดับเพลิง แผนอพยพหนีไฟ และแผนบรรเทาทุกข์ โดยเราจะต้องก�ำหนดตัวบุคคล พร้อมทั้งหน้าที่เพื่อระงับเหตุ โดยมีทีมเป็น ฝ่ายหัวหน้าชุดดับเพลิง ทีมดับเพลิง ทีมสื่อสาร และทีมอพยพ เคลื่อนย้าย พี่แมงเม้าท์คิดว่าสถาบันฯ จะออกค�ำสั่งมาอีกครั้งในการก�ำหนดหน้าที่แต่ละท่าน และหลายๆ คน บอกว่าถ้าไฟไหม้ ต้องอาศัยศาสตร์ในการดับไฟด้วย วันนั้นวิทยากรมอบคาถาให้พวกเราชาวไร่เห็ดด้วยนะคะ

ป้อง

ไม่ให้เกิด

ถ้าเกิด

ต้องรีบแจ้ง

แจ้งแล้ว ให้รีบดับ ถ้าไม่ดับ ก็อย่าให้ลาม ถ้าลาม

ต้องหนีให้รอด

โดยหลักง่ายๆ ในการป้องกันอัคคีภยั ก็คอื “อัคคีภยั ป้องกันได้ แค่ใส่ใจไม่ประมาท” หลักการง่ายๆ เท่านี้เองนะคะ หวังว่าพวกเราคงไม่อยากให้เกิดขึ้น และถ้าเกิดขึ้นก็ต้องรู้วิธีป้องกันแก้ไข วันนี้พี่แมงเม้าท์ ไปแล้วนะคะ บ๊าย...บาย

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 27


I English By Kittipong & Arunrat

some time, sometime, sometimes

ฉบับนี้จะทำ�ความเข้าใจการใช้และเทคนิคการจำ�ตัวสะกดของ some time, sometime และ sometimes

เคยงงและสับสนไหมครับว่าเมื่อไรจะเขียนแยกกันและเมื่อไรจะมีตัว s ต่อท้าย แล้วจะใช้ต่างกันอย่างไร เทคนิคการท�ำความเข้าใจเรื่องนี้ให้แบ่งเป็น 2 ส่วน

ส่วนแรกเป็นค�ำที่เขียนแยกกันและเขียนติดกัน ส่วนที่สองเป็นการเขียนติดกันมี S ต่อท้าย

ส่วนแรก คือ some time, sometime แน่นอนว่าค�ำเหล่านี้เป็นเรื่องของเวลา ดังนั้นเทคนิคการจ�ำก็ต้อง จับจุดว่าเป็นเวลาของอะไร โดยต้องจ�ำว่าไม่ใช่เวลาปัจจุบันแต่มีความหมายเรียงกันเป็นอดีต (นานแล้วและ ไม่นานมานี้) และอนาคต some time ที่เขียนแยกกัน (หรือจ�ำว่าเขียนห่างกัน) หมายถึงเวลาในอดีตที่นานพอสมควร เช่น “He was away for some time.” sometime ที่เขียนติดกัน (หรือจ�ำว่าเขียนชิดกัน) สามารถใช้ได้สองหน้าที่ sometime เมื่อเป็น adjective ใช้ในความหมายที่แสดงเวลาในอดีตเมื่อไม่นานมานี้ เช่น a sometime actress หมายถึงคนที่เคยเป็นนักแสดงหญิงเมื่อไม่นานมานี้ ค�ำนี้มีความหมายในมิติเวลามากกว่าค�ำว่า former ที่แปลได้แค่ว่าเคยเป็น sometime ถ้าเป็น adverb กลับใช้ในความหมายที่แสดงเวลาในอนาคต ณ จุดใดจุดหนึ่ง ไม่แน่นอน เป็นความหมายลอยๆ เช่น “Write me sometime.” เขียน(จดหมาย)ถึงกันบ้างนะ หรือ “We should get together sometime.” เราน่าจะมาเจอกันบ้างนะ

สารสถาบันฯ 28

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


คงพอได้หลักการใช้และหลักการจ�ำในส่วนแรกแล้วนะครับ ในส่วนที่สองก็คือ sometimes ที่มี s ให้จับคู่จ�ำกับค�ำว่า always ที่แปลว่า สม�่ำเสมอ เพราะมี s ทั้งคู่ โดยที่ทั้งสองค�ำเป็น adverb มีความหมายเชิงเวลาจากอดีตมาจนถึงปัจจุบนั และมีแนวโน้ม จะเป็นต่อไปในอนาคต แต่แตกต่างกันที่ความถี่ เมื่อเราทราบกันดีว่า always มีความหมายที่แสดงความสม�่ำเสมอ ก็ลดระดับความถี่ ของ sometimes ลงเป็นบางครั้งบางคราว คือไม่ถึงกับตลอดเวลา นั่นเอง เช่น “He always writes to me.” เขาเขียน(อีเมล)ถึงฉัน อย่างสม�่ำเสมอ “He sometimes writes to me.” เขาเขียน(อีเมล์) ถึงฉันบ้าง บางครั้งบางคราว อย่าลืมนะครับว่าค�ำคู่นี้ลงท้ายด้วย s

เชิญติดตามรับฟัง รายการวิทยุ : เชียงใหม่โฟกัส ตอน เล่าขานงานวิจัย โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทุกวันศุกร์แรก และศุกร์ที่สามของเดือน เวลาใหม่ 9.00 - 9.30 น. FM100 ที่เดิม แม้เวลาจะเปลี่ยนไป แต่ความรู้ที่ได้ยังจัดเต็มเหมือนเดิม

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 29


ย�่ำเท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก ทริปสั้นๆ “ภูเก็ต ตาชัย ใครไปก็หลงรัก” อ�ำพร ยิ้มศรี จ

ากมหากาพย์การจองตัว๋ โปรหางแดงข้ามปี ในราคาทีโ่ ดน ส�ำหรับมนุษย์เงิน เดือน ไปกลับ 1,400.- บาท แต่ ก็อย่างว่าแหละค่ะ ราคาถูก เทีย่ วบินก็ตอ้ งดึกเป็นธรรมดา สมกับราคา 555 ทริปนี้ มีสมาชิกเดินทางไปด้วยกัน 6 คน 2 ครอบครัว ออกเดินทางจากเชียงใหม่ วันที่ 31 มี.ค. 58 เวลา 22.45 น. ถึงสนามบินภูเก็ต วันที่ 1 เม.ย. 58 เวลา 24.50 น. เห่อๆ ประมาณว่า ฉันจะโดนผีหลอกหรือเปล่า ดึกซะขนาดนี้ แต่ผิดคาด มาถึงสนามบิน ภูเก็ต ก่อนเวลา ผู้คนยังหนาแน่น มากมาย ทั้ง ไทย จีน ฝรั่ง วุ่นวายไปหมด

สารสถาบันฯ 30

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


เนื่องจาก มาถึงก่อนเวลานัดรถเช่ามารับ ก็เลยต้องรอกันหน่อย กว่ารถเช่าจะน�ำรถมาส่งที่สนามบิน แต่ก็ใช้เวลารอไม่นาน เจ้าหน้าที่ก็ เอารถมาส่งให้เราทีส่ นามบิน ..ส�ำหรับใครทีเ่ ดินทางไปภูเก็ต มองหารถเช่า แนะน�ำเจ้านีเ้ ลยค่ะ BlueBeetleCarRent หาง่ายใน google หรือ fb ได้เลย ไม่เรื่องมาก ไม่ต้องวางบัตรเครดิต แค่แจ้ง flight ของเราพร้อมกับมัดจ�ำ 500 บาท วันรับรถ ก็ท�ำสัญญา จ่ายเงินส่วนที่เหลือ ก็เรียบร้อยแล้ว ส�ำหรับครั้งนี้ เลือกจองรถแบบ ไม่ระบุรถ ราคาวันละ 900.- บาท บวกประกันทุกกรณี วันละ 200.- บาท (รวมค่าเช่ารถ 1,100. บาท/วัน) ส�ำหรับรถที่ทางร้านจัดมาให้เป็น New Vios ป้ายแดงค่ะ เกียร์ AUTO เทียบกับราคา OK เลยทีเดียว รับรถ ท�ำสัญญาเสร็จ ก็ขับไปที่พักได้เลย ส�ำหรับที่พักครั้งนี้ ใช้บริการของโรงแรมชิโนอินท์ อยู่ในเมืองใกล้เขารัง เนื่ อ งจากน้ อ งที่ ไ ปด้ ว ยไม่ ย อมพั ก แถวติ ด หาด (กลั ว ผี นั่ น เอง) 555 โรงแรมนี้ก็โอเคค่ะ มีเซเว่นติดโรงแรม ราคา 800 บาท/คืน ไม่มีอาหารเช้า แต่มีมาม่าและกาแฟให้ที่ห้อง แค่มีเซเว่นติดโรงแรมก็รอดตายแล้ว 555

วันแรก ซื้อ Day Trip เกาะตาชัย กับ Seastar รถตู้มารับ หน้าโรงแรม เวลา 06.30 น. เพื่อเดินทางไปยังท่าเรือบ้านน�้ำเค็มมารีน่า กระบี่ เวลา 08.30 น. เช็คอินพร้อมรับอุปกรณ์ด�ำน�้ำ และรับประทาน ของว่างและเครื่องดื่มและออกเดินทางไปยังเกาะตาชัย ส่วนใหญ่เป็น ต่ า งชาติ คนไทยไม่ ค ่ อ ยเยอะเท่ า ไหร่ แต่ โ ชคดี ที่ บ ริ ษั ท นี้ แ ยกเรื อ นักท่องเที่ยวคนไทยกับต่างชาติ บนเรือที่นั่งไปเกาะมีแต่คนไทย ไม่วุ่นวาย ถึงเกาะเวลา 11.00 น. ไกด์จะให้เลือกส�ำหรับคนที่จะไปด�ำน�ำ้ และคนที่จะ ลงที่เกาะ ส�ำหรับเราเลือกอยู่เกาะทั้งวัน ไม่ไปด�ำน�ำ้ เกาะตาชัย ขึ้นชื่อว่า หาดทรายขาวละเอี ย ด น�้ ำ ทะเลสี ฟ ้ า ใส จริ ง ตามที่ ห ลายๆ คนพู ด เหยียบเกาะแต่ละคนก็แยกย้ายเก็บภาพความสวยงามของหาดทราย และน�้ำทะเลคนละมุม อาหารกลางวันเป็นแบบบุฟเฟต์ที่อุทยานจัดเตรียม ไว้ให้ แต่จะมีจุดบริการน�้ำดื่มของแต่ละบริษัทแยกกันไป ช่วงบ่ายจะมี โปรแกรมเดินป่า ดูหอยมรกต และปูแม่ไก่ และขึน้ ดูจดุ ชมวิวทีส่ วยทีส่ ดุ บน เกาะตาชัย (ส�ำหรับคนทีจ่ ะเดินขึน้ จุดชมวิวแนะน�ำให้เตรียมรองเท้าไปด้วย เนื่องจากทางเดินร้อนมาก) แต่สวยมากๆ ค่ะ

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 31


สารสถาบันฯ 32

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ได้เวลาออกจากเกาะ 16.30 น. ล�ำสุดท้ายของเกาะ ระหว่างทางกลับเจอทั้งฝน ทั้งแดด ถึงท่าเรือมีบริการอาหาร น�้ำดื่มให้รับประทาน ต่อจนถึง 18.00 น. ก็นั่งรถตู้กลับโรงแรม (ครั้ ง นี้ รู ้ สึ ก ว่ า จะเสี ย เวลาในการนั่ ง รถจาก ภู เ ก็ ต ไปกระบี่ ซึ่งนานมาก ครั้งหน้าวางแผนกันใหม่ โดยคิดว่าจะหาที่พัก ในกระบี่เลย 555 ลดเวลาในการเดินทาง) กลับมาถึงที่พัก คิดว่าจะหมดพลัง 555 แต่ไม่เลย คุณสาก็ชวนออกไปดูบ้านเมืองเขาในยามราตรี มาทั้งทีจะได้ ไม่เสียเที่ยว โดยขึ้นไปดูวิว เขารังตอนกลางคืน แวะชมเมืองเก่า เสน่ห์แห่งชิโนโปรตุกีส และหาอะไรทานมื้อค�่ำง่ายๆ จบลงที่ “โกเบนซ์ข้าวต้มแห้ง” แปลก อร่อยดีเหมือนกันค่ะ

ZZZZzzzzz... เช้าวันที่ 2 ตื่นแต่เช้า ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่เขาโต๊ะแซะ บริเวณทางขึน้ จุดให้คนมาท�ำบุญใส่บาตรตอนเช้าและมีคนภูเก็ต มาปั่นจักรยานออกก�ำลังกายกัน บนเขามีฝูงลิงจ�ำนวนมาก บริเวณ 2 ข้างทาง อากาศช่วงเช้าสดชื่น ผู้คนในเมืองเป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส หลังจากดูพระอาทิตย์ขึ้นแล้วแผนในการเที่ยวในวันนี้ ไม่มีเลย คุยไว้กับคุณสาว่าขับไปเรื่อยๆ อยากแวะที่ไหนก็แวะ ไม่มีโปรแกรม 555 แบบว่าทัวร์ตามใจ... คุณสาเลยจัดให้ แบบสบายๆ ตามแผนที่ที่เราได้มาจากโรงแรม เริ่มแรกที่แหลมพันวา มีพิพิธภัณฑ์สัตว์น�้ำ แต่ไม่ได้ เข้าไปดู เนื่องจากไปเช้าเกินไป เขายังไม่เปิด 555 ใกล้ๆ มี จุดชมวิวเขาขาด จุดชมวิวแห่งใหม่ของภูเก็ต ที่ไม่ค่อยจะมี คนรูจ้ กั ซักเท่าไหร่ จัดสร้างโดยเทศบาลต�ำบลวิชติ เป็นจุดชมวิว บนหอชมวิวที่สามารถมองได้โดยรอบ 360 องศา ซึ่งมีไม่กี่ที่ ในภูเก็ตที่สามารถชมวิวได้แบบ 360 องศา

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 33


เมือ่ ขึน้ ไปยังหอชมวิวเขาขาดจะมองเห็นเกาะ ภูเขา บ้านเรือน หมูบ่ า้ น ทะเลได้อย่างชัดเจน โดยทางเทศบาล ได้ทำ�แผ่นป้ายบอกวิวที่เห็นคือเกาะและหาดอะไร จุดชมวิวเขาขาดแห่งนี้สามารถขึ้นชมได้ฟรีๆ ไม่เสียค่าเข้า แต่อย่างใด โดยสามารถเข้าชมได้ตั้งแต่ 6.00 - 18.00 น. ที่นี่บรรยากาศดีมากตอนเช้า บวกกับไปเที่ยววันธรรมดา ไม่ค่อยมีคนเยอะ ช่วงเวลาที่ขึ้นไป มีกันแค่ 2 คนกะคุณสา เลยเก็บภาพได้เยอะและนานเลยทีเดียว ใช้เวลาอยู่ที่นี่ได้สักพักก็ออกเดินทางต่อ ขับจากจุดชมวิวเขาขาดไปตามเส้นทางในเมืองภูเก็ต ซึ่งเป็นทาง ขึ้นเขาผสมกับทางเรียบ สำ�หรับคนที่ขับรถไม่ค่อยชำ�นาญ จะต้องระมัดระวังสักหน่อยค่ะ สถานที่ต่อไป คิดว่าจะไป แหลมพรหมเทพกัน เนื่องจากมาถึงภูเก็ตแล้วต้องไม่พลาด แต่ระหว่างทาง เห็นร้านอาหารเช้าบริเวณข้างทาง คนเยอะเหมือนกันแต่เป็นร้านที่ไม่โด่งดังตามลายแทง ประกอบกับเวลาอาหารเช้า ก็ตัดสินใจทานร้านนี้เลย สั่งไม่กี่อย่าง ติ่มซำ� และไข่กะทะ ขนมปังชุปไข่ เสร็จจากการรับประทานอาหารเช้า ก็ออกเดินทางต่อเพื่อไปยัง แหลมพรหมเทพ พอดีเห็นป้ายศาลเจ้ากวนอู บ้านนาบอน ก็เลยตัดสินใจเลี้ยวรถเข้าไปกราบไหว้ หลังจากใช้เวลากับสถานที่แห่งนี้ได้ไม่นาน ก็ถึงเวลาที่ต้องออกเดินทางต่อเพราะสายมากแล้ว ลุยกันต่อ หลังจากทีแ่ วะมาหลายทีก่ ว่าจะถึงแหลมพรหมเทพ แต่กใ็ ช้เวลาจากศาลเจ้าขับไปอีกไม่กนี่ านที ก็ถงึ จุดหมายแล้วค่ะ “แหลมพรหมเทพ” ขอบอกว่าแดดร้อนมาก คนจีนเยอะเหมือนกัน จากจุดที่จอดรถ เดินขึ้นไป เราสองคนมองหา จุดยอดฮิต จุดถ่ายรูปที่ใครต่อใครหลายๆ คนมาถึง จะต้องถ่ายรูป 555 ต้องเดินผ่านแดดอันร้อนแรงมาก เพื่อที่จะ ไปตามหาให้ได้ สุดท้ายก็เจอค่ะ มีแค่คนไทยประมาณ 4 คนเท่านั้น คนไม่เยอะอย่างที่คิด เพราะเป็นเวลา 11.00 น. คนเลยไม่เยอะเท่าไหร่

สารสถาบันฯ 34

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


หลังจากที่ถ่ายรูปกันพักใหญ่ ใกล้เวลา 12.00 น. คือแบบว่า ออกเดินทางตะลอนตั้งแต่เช้า ยังไม่ได้เช็คเอ้าท์จากโรงแรม เพราะเขาให้เช็คเอ้าท์ได้ในเวลา 12.00 น. เราก็ใช้สิทธิเต็มที่ กลับจากแหลมพรหมเทพไปเช็คเอ้าท์ที่โรงแรมก่อนเที่ยงให้ทัน และก็ทันค่ะ อิอิ ใช้เวลาไปครึ่งวันแล้วค่ะ หลังจากออกจากโรงแรมก็แวะซื้อหาของฝากในเมือง โดยเจ้าหน้าที่ที่โรงแรมแนะนำ�ให้ไป ซื้อที่ร้านเมธีภูเก็ต ตั้งอยู่ที่ตัวเมืองภูเก็ตกันค่ะ ร้านนี้มีความโดดเด่นในเรื่องของผลิตภัณฑ์จากมะม่วงหิมพานต์ และอีกหลายๆ อย่าง เสร็จการแวะซือ้ ของฝากแล้ว ก็วางแผนกันต่ออีกครึง่ วัน เพราะเย็นนีก้ ต็ อ้ งอำ�ลาจากภูเก็ตแล้ว เลยวางแผนกันว่าเราขับรถไปแวะตาม หาดต่างๆ ในภูเก็ต แล้วก็เอารถไปคืนและขึน้ เครือ่ ง พร้อมกับนัดกลุม่ ทีม่ าด้วยกันว่า เราเจอกันทีห่ าดในยาง หาดสุดท้ายก่อนขึน้ เครือ่ ง เวลา 17.00 น. สถานที่แรกในรอบบ่าย ขอขึ้นไปไหว้ "พระพุทธมิ่งมลคล เอกนาคคีร”ี เพราะอยู่ทไี่ หนของภูเก็ต ก็สามารถมองเห็นได้ จึงท�ำให้เรา ไม่พลาดที่จะเดินทางไปสถานที่แห่งนี้ เมื่อมาถึงลานจอดรถ เราก็ต้อง เดินขึ้นบันไดเพื่อขึ้นไปสักการะ และวิวข้างบนก็สวยไม่แพ้กัน ไม่เสียแรง ที่เราตัดสินใจเดินทางจากในเมืองมาเริ่มต้นที่สถานที่แห่งนี้ ในช่วงบ่าย จากจุดนี้ ก็ขบั รถเป็นทัวร์ฉงิ่ ฉาบ แวะหาดกะตะ หาดป่าตอง หาดกะหลิม หาดกมลา แหลมสิงห์ หาดในทอน และสุดท้ายใกล้เวลานัดหมาย ก็มาถึงหาดในยาง หาดที่ใกล้สนามบินมากที่สุด เป็นที่ตั้งที่ท�ำการ อุ ท ยานฯ ชายหาดมี บ ริ เ วณกว้ า งและยาวมาก มี ส วนสนร่ ม รื่ น เหมาะแก่การพักผ่อนและเล่นน�้ำ หาดแห่งนี้มีบรรยากาศเงียบสงบ เป็นที่นิยมในการผักผ่อนย่อนใจของชาวภูเก็ตเป็นส่วนใหญ่ มีบ้านพัก ของอุทยานฯ และเต็นท์สนาม ไว้คอ่ ยบริการนักท่องเทีย่ วในราคาย่อมเยา บรรยากาศช่วงเย็น อากาศดี ลมแรง ก่อนกลับจึงตัดสินใจ เล่นน�้ำทะเลอีกครั้งที่หาดนี้ ถึงแม้หาดทรายจะไม่สวยใสเท่าเกาะตาชัย แต่ยังไงก็ขอเล่นก่อนกลับแล้วกัน หาดนี้บรรยากาศตอนเย็นดีมาก ส�ำหรับผู้ที่ไม่ลงเล่นน�ำ้ ก็นั่งชมบรรยากาศทะเล พร้อมกับนั่งดูเครื่องบิน บินลงจอดที่สนามบินภูเก็ต ใช้เวลาในการเล่นน�ำ้ ไม่นาน ก็ถึงเวลาที่ต้อง เอารถเช่าไปคืนแล้ว หาดนี้มีห้องน�้ำของอุทยานที่สามารถอาบน�้ำจึด เปลีย่ นเสือ้ ผ้าได้ฟรี ไม่มคี า่ ใช้จา่ ยค่ะ จากหาดในยางเดินทางไปสนามบิน ใช้เวลาไม่นาน แวะเติมน�้ำมันเพื่อคืนรถ พร้อมรับพนักงานที่เช่ารถ ให้ขับไปส่งเราที่สนามบิน ทันเวลาเครื่องออกพอดี ขากลับ หลับสบาย รู้สึกตัวอีกครั้งก็ ถึงเจียงใหม่บ้านเราโดยสวัสดิภาพ ทริปสั้นๆ แค่ 2 วัน กับสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายที่ ถือว่าไม่เหนื่อยเกินไปส�ำหรับอายุ ณ ตอนนี้ แต่หากผ่านไปอีก 2-3 ปี ทริปแบบนี้ อาจจะใช้ไม่ได้ แล้วค่ะ.... เจอกันใหม่ทริปหน้า นะคะ.....

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 35


ย�่ำเท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก เชียงคาน - เขาค้อ - แม่สอด ภัทรนิษฐ์ วิโรจน์กิจ

สารสถาบันฯ 36

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ช่

วงปิดเทอมปีนี้ได้มีโอกาสไปเที่ยวกับครอบครัวอีกครั้ง เนื่องจากน้องชายตัวแสบซึ่งปกติจะเป็นพนักงานขับรถ เวลาไปเที่ยว บอกข่าวดีว่า “ได้ลาพักร้อนไว้ 20 วัน อยากไปเที่ยวไหนก็จัดโปรแกรมมา” พี่สาวแสนดีเลยรีบจัดตารางทัวร์ให้ เราจะเริ่มเดินทางตั้งแต่วันที่ 1 – 6 พฤษภาคม 2558 โดยโปรแกรมที่จะไป เชียงคาน – เขาค้อ – แม่สอด รวมระยะทางได้มากกว่า 1,000 กิโลเมตร “เชียงคาน” เป็นสถานที่ที่หนิงอยากไปเที่ยวมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ชอบในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มีอากาศที่ ค่อนข้างเย็นสบาย เพราะอยู่ติดริมแม่น�้ำโขง บ้านไม้เก่าที่ยังเก็บรักษาเอกลักษณ์ไว้ พร้อมทั้งน�้ำใจ และรอยยิ้มของคนในพื้นฐาน คือเสน่ห์ที่อยากจะไปเที่ยวเชียงคาน “เขาค้ อ ” เป็นสถานที่ที่คุณ พ่ ออยากไป ซึ่ง น้อ งชายได้สัญ ญากั บ พ่อ ไว้หลายปี ว่าจะพาไปเที่ย ว เนื่อ งจากคุณพ่อ เป็นทหารอากาศเก่า ท่านอยากไปเห็นเขาค้อในปัจจุบนั ว่าจะแตกต่างจากสมัยทีท่ า่ นไปเมือ่ ยามหนุม่ มากน้อยเพียงใด ถึงแม้จะเกษียณ ราชการ เลือดทหารของคุณพ่อ “ลูกทัพฟ้า” ยังอยากไปสัมผัสบรรยากาศที่นั่น

“แม่สอด” เป็นสถานที่ที่น้องชายอยากแวะไปเยี่ยมน้องสาวที่สนิทกัน เพื่อต้อนรับหลานสาวคนใหม่

วันที่ 1 เราเริ่มออกเดินทางจากเชียงใหม่ประมาณ 10 โมงเช้า ไม่ได้รีบเร่งไปไหน จึงขับรถ ไปแวะซื้อ ของข้ า งทางไปเรื่อ ยๆ เราไปถึง เชีย งคานประมาณ 5 โมงเย็ น สถานที่ที่เ ราพั ก คือ “เชียงคานบุรี” อยู่ซอย 11 ซึ่งเข้าไปในซอยไม่ถึง 200 เมตร เนื่องจากที่พักที่ติดริมน �้ำโขงเต็ม ใกล้ช่วงหยุดยาว แต่พอได้มาพักที่ “เชียงคานบุรี” ประทับใจมาก เป็นบ้านไม้ที่ไปซื้อไม้เก่า มาสร้างใหม่ และในเวลายามค�่ำคืนที่มีถนนคนเดิน คนไม่พลุกพล่าน สามารถเดินออกไปยัง ถนนคนเดินไม่ไกลมาก เจ้าของ “เชียงคานบุรี” เป็นคนน่ารักและต้อนรับเป็นอย่างดี ได้จัดห้องพัก ให้ติดกัน หนิงได้แจ้งกับทาง "เชียงคานบุรี" ว่าจะมีผู้สูงอายุและเด็ก เดินทางไปด้วย ขอที่พักที่ไม่ต้อง ขึ้นลงบันไดมาก

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 37


เมื่อเปิดประตูเข้าห้องพัก ห้องพักสะอาด เราได้เก็บกระเป๋าและเตรียมตัวหาอะไรทานเนื่องจากใกล้มือเย็น เดินไปเดินมา เพื่อหาร้านอาหาร ได้ร้านอาหาร “ระเบียงริมโขง” บรรยากาศดี แต่มีลูกค้าเยอะมาก แต่อาหารรสชาติอร่อย บริเวณถนนในเชียงคาน เวลานี้เริ่มมีการเปิดร้านบริเวณถนนคนเดินแล้ว เมื่อทานอาหารอิ่ม ได้พลังงานแล้ว เตรียมตัวเดินถนนคนเดิน บรรยาการถนนคนเดิน ไม่ได้ยาวมาก ถ้าเทียบกับเชียงใหม่คงเหมือนถนนคนเดินวัวลาย แต่ที่เชียงคานจะมีบรรยากาศดีที่ติดริมน�้ำโขง ลมพัดโชยมา ตลอดเวลา บรรยากาศยามเย็นก�ำลังสบายไม่ร้อนมากเหมือนตอนกลางวัน ร้านอาหารที่นี่ไม่แพงมาก และมีอาหารในถนนคนเดิน อร่อยๆ เช่น ปาท่องโก๋ยัดไส้ กุ้งเสียบ (ตัวเล็กมาก คนเสียบใจเย็นจริงๆ ) ร้านค้าที่นี่ยังคงอนุรักษ์ของท้องถิ่น เนื่องจากเดินทาง มาทั้งวัน พ่อกับแม่อายุมาก ถึงแม้จะเหนื่อย แต่ทุกคนก็มีความสุขกับการเดินเที่ยวบริเวณถนนคนเดิน

ก่ อ นกลั บ เข้ า ที่ พั ก คุ ณ หลานเดิ น ผ่ า นร้ า นกาแฟ เรี ย กให้ คุ ณ ตากั บ คุ ณ ยายมาถ่ า ยรู ป คู่ กั น หั น ไปดู ชื่ อ ร้ า น “สองผัวเมีย” ช่างคิดจริงๆๆ

ส�ำหรับวันนี้ขอเข้าที่พักนอนหลับก่อนนะคะ พรุ่งนี้เช้าเตรียมตัวใส่บาตรข้าวเหนียวแต่เช้าค่ะ พระจะมาบิณฑบาตรไม่เกิน 7.30 น. จะมีแม่ค้าเตรียมข้าวเหนียวไว้ให้ กระติบละ 50 บาท แต่ถ้าอยากจะซื้อของมาใส่บาตรเองก็ได้ค่ะ มีทั้งเซเว่นและโลตัส ราตรีสวัสดิ์คร้า พรุ่งนี้เช้าเจอกันค่ะ

สารสถาบันฯ 38

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


เช้าวันที่ 2 รีบตื่นแต่เช้าเพื่อเตรียมตัวมาใส่บาตร วันนี้ มีแค่สองสาวที่ตื่นมาใส่บาตร หนิงและแม่ รีบออกจากที่พักมา เดินมาปากซอยที่พัก มีคุณป้า เตรียมเสื่อ พร้อมข้าวเหนียวรอรับ ผู้ที่มาเที่ยวเชียงคานที่อยากจะใส่บาตรเรียบร้อยร้อย แค่เอาตัว และพกเงินติดตัวมาด้วยแค่นั้น ร่วมอนุโมทนาบุญด้วยกันนะคะ

ได้ท�ำบุญเรียบร้อย มาถึงเชียงคานถ้าจะไม่ไปเดินเทีย่ วริมแม่นำ�้ โขงก็คงไม่ถงึ เชียงคาน คอยสมาชิกหนุม่ ๆ สักแป๊บ ก็สามารถ รวมพลกันได้ เหลือแต่ลูกสาวที่ขอนอนต่อเนื่องจากเหนื่อยกับการเดินทาง ทางครอบครัวเดินเล่นบริเวณริมฝั่งโขง ทางเชียงคานได้ จัดท�ำทางเดินเลาะริมฝั่งโขงไว้ให้นักท่องเที่ยวเดินเล่นชมบรรยากาศได้สะดวก บรรยากาศยามเช้าที่นี่สวยมาก มีหมอกลอยขึ้นจาก บริเวณผิวน�้ำ แสงพระอาทิตย์ขึ้นกระทบผิวน�้ำ มองไปอีกฝั่งก็เป็นฝั่งลาว พระอาทิตย์ค่อยๆ ขึ้น สวยมากจริงๆๆ ค่ะ อยากแนะน�ำให้ ไปเที่ยวที่เชียงคานกันค่ะ

วันนี้เตรียม check out ออกเพื่อเดินทางต่อไปเขาค้อ น้องชายติดใจ อยากพักต่อสักคืน แต่ห้องพักเต็มแล้ว ก่อนจะมาน้องชายได้ถามว่าเชียงคาน ไม่เห็นมีอะไรเลย พักแค่คืนเดียวก็พอ หนิงได้บอกน้องไปว่า “เชียงคาน มีเสน่ห์ ตรงทีไ่ ม่มอี ะไรนัน่ ล่ะ ความเงียบ ความสงบ คือ จุดขายของทีน่ ”ี่ เมือ่ ได้มาสัมผัส ก็เป็นดังนั้น น้องชายติดใจในเสน่ห์ของเมืองเชียงคาน บอกว่าจะมาอีกสักครั้ง แต่จะขอพักติดแม่น�้ำโขง อยากดูพระอาทิตย์ขึ้นคงจะสวยมาก ..... มีโอกาส คงได้กลับมาอีกที่เชียงคาน

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 39


แต่ตอนนี้ต้องรีบเตรียมตัวเพื่อออกเดินทางไปเขาค้อต่อ กว่าจะได้ออกจากเชียงคานก็เกือบ 11 โมง ระหว่างทางไปเชียงคาน มีแผนเปลี่ยนตลอดเส้นทาง อยากเก็บสถานที่ท่องเที่ยวให้ได้ มากที่สุด แผน คือไม่มีแผน ระหว่างการเดินทางได้เจอฝนตก เป็ น ระยะ ตอนแรกที่ ว างแผนกั น ไว้ ว ่ า จะขึ้ น ไปภู ทั บ เบิ ก ก่ อ น ค่อยมาเขาค้อ แต่มีการท�ำถนนระหว่างไปเขาค้อ กว่าจะถึงเขาค้อ จะค�่ำเกินไป เปลี่ยนแผนขับตรงไปที่พักก่อนเพราะยังไม่รู้ว่าที่พัก อยู่บริเวณไหน เราถึงที่พักเกือบ 5 โมงเย็น จึงรีบเข้าที่พัก วันนี้คง ไม่ ส ามารถเที่ ย วไหนได้ เดิ น เล่ น บริ เ วณรอบๆ ที่ พั ก ซึ่ ง บรรยากาศดี มี ล มพั ด ตลอดเวลา ที่ พั ก ที่ เ ขาค้ อ คื อ “บ้านไม้กา-ตูน” เป็นรีสอร์ทเล็กๆ มีที่พักอยู่ประมาณ 10 หลัง เป็ น บ้ า นไม้ แ ยกเป็ น หลั ง ๆ บริ เ วณร่ ม รื่ น ช่ ว งที่ ไ ปเที่ ย วแขก ไม่เยอะมาก คืนนี้แวะกินข้าวเย็นที่เซเว่นกันค่ะ อร่อยไปอีกแบบ พรุ่งนี้วางแผนเที่ยวกันต่อไป เช้าวันที่ 3 มีโปรแกรมไปเทีย่ ววัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว ทีไ่ ด้รบั การยกย่องเป็นสถานทีท่ ่องเทีย่ วแนะน�ำ วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว เดิมชื่อพุทธธรรมสถานพระธาตุผาซ่อนแก้ว เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมซึ่งมีทิวทัศน์สวยงามรอบด้านมองเห็นผาซ่อนแก้วและทิวเขา สลับซับซ้อน มีศาลาปฎิบตั ธิ รรมประดิษฐานพระพุทธรูปหยกงดงามภายในตกแต่งด้วยภาพวาดศิลปะสวยงามแปลกตา ตัง้ อยู่ ณ บริเวณ เนินเขาในหมู่บ้านทางแดง ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างในราวปลายปี 2547 โดย คุณภาวิณี และ คุณอุไร โชติกูล ได้มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินถวายเริ่มแรกจ�ำนวน 25 ไร่ เพื่อก่อสร้างเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมแก่พระสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ปั จ จุ บั น มีผู ้ ร ่ ว มถวายปั จ จั ย ซื้อ ที่ดิน เพิ่ม รวมทั้ง สิ้น มีที่ดิน รวม 91 ไร่ สร้ า งขึ้น ท่ า มกลางธรรมชาติแ ละบรรยากาศที่เ งีย บสงบ เทือกเขาสลับซับซ้อน โดยรอบมีพระเจดีย์ที่งดงามโดดเด่นเป็นสง่าอยู่บนยอดเขา คือ เจดีย์พระธาตุผาซ่อนแก้ว สิริราชย์ธรรมนฤมิต เจดีย์ที่ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยกระเบื้องหลากหลายสี เครื่องประดับ พลอย สร้อย ก�ำไล ถ้วยชามเครื่องเบญจรงค์ เป็นต้น น�ำมาตกแต่งทีละชิ้นๆ จนทั่วองค์พระเจดีย์ รอบๆ องค์พระเจดีย์ แบ่ ง เป็ น สถานที่ พั ก ของนั ก ปฏิ บั ติ ธ รรม และเขตสั ง ฆาวาส แยกเป็นสัดส่วน ที่สะดุดตากว่าสถานที่ปฏิบัติธรรมแห่งอื่นๆ อยู่ที่การสร้างกุฎิ อาคารที่พักของนักปฏิบัติธรรมอย่างสวยงาม กลมกลืนกับธรรมชาติ ด้วยยึดหลักทีว่ ่า หากได้อยู่ในสถานทีส่ งบ สวยงาม จิดใจก็จะสงบได้โดยง่าย

สารสถาบันฯ 40

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


หากใครอยากมาเที่ยววัดผาซ่อนแก้ว แนะน�ำ ให้มาในช่วงก่อนเทีย่ ง ทีจ่ อดรถจะอยูห่ า่ งจากบริเวณวัด ซึง่ อากาศไม่รอ้ นมาก และเมือ่ เข้ามาบริวเณวัด สามารถ เดิ น ได้ อ ย่ า งสบายเท้ า จะมี เ วลาเก็ บ ภาพสวยๆ ได้มากหลายมุมด้วยค่ะ แต่ถ้ามากับผู้สูงอายุ ก็มีเก้าอี้ ไว้ให้นั่งพักเพียงพอค่ะ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 41


ถ่ายรูปเป็บที่ระลึก ก็หลังเที่ยงแล้ว ต้องรีบเดินทางต่อเพื่อเดินทางขึ้นเขาค้อแล้วค่ะ ทางขึ้นค่อนข้างสูงชัน ใช้ความระมัดระวัง ในการเดินทางด้วยนะคะ ต่อไปก็เป็นสถานที่ของคุณพ่อ ที่อยากร�ำลึกถึงสมัยเป็นทหารที่ผ่านการออกศึกในการรักษาแผ่นดินไทยมา ขับรถประมาณ 40 นาที ระหว่างข้างทางสวยงาม เพราะมีทิวเขาซ้อนกัน และสีเขียวสดชื่น ไม่นานถึงแล้วค่ะ “ฐานยิงสนับสนุน พิพิธภัณฑ์อาวุธเขาค้อ” ก่อนเข้ามีค่าบ�ำรุงสถานที่ 10 บาทค่ะ เต็มใจให้เลย แต่ด้วยบุคลิกน้องชาย ทหารที่เฝ้าที่ประตูทางเข้าถาม “พี่เป็นทหาร หรือเปล่าครับ ถ้าเป็นทหารเข้าฟรีครับ” แต่หนิงก็ขอจ่ายค่าเข้าค่ะ ขอช่วยสักหน่อยละกัน เข้าไปคุณพ่อจะรู้สึกมีความสุขที่สุด อธิบายเรื่องราวต่างๆ ให้หลานสาวฟังอย่างภาคภูมิใจ แต่มาถึงเกือบบ่ายโมง อากาศร้อนมาก สักพักโชคดีมีเมฆก้อนใหญ่มาช่วยบัง พระอาทิตย์ เหมือนบอกให้รู้ว่า อีกสักพักฝนจะตกแล้ว เราจึงรีบเดินทางกลับลงมาก่อนที่ฝนจะตก

โชคดีที่รีบตัดสินใจลงมาจากเขาค้อ ไม่นานเกิดฝนตกหนักพร้อมลูกเห็บ น้องชายรีบเข้าไปหลบในวัดเพื่อคอยให้ฝนหยุดตก ลูกสาวคนเก่ง “คุณมิ้นท์” ตื่นเต้นที่ได้เห็นลูกเห็บครั้งแรก เป็นเม็ดไม่ใหญ่มาก แต่ก็เกิดเสียงดังเวลากระทบกับรถ เกือบประมาณ ครึ่งชั่วโมงฝนได้บางเบา เราจึงเดินทางกลับที่พัก พรุ่งนี้ออกเดินทางไปยังแม่สอดต่อ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 42


วันที่ 4 ทริปนี้เป็นทริปหวานเย็นค่ะ กว่าจะเดินทาง ออกจากเขาค้อเกือบเที่ยง ต้องคอยคนขับรถพร้อม ระหว่างทาง ที่ไปก็มีการหลงทางกันบ้างพอเป็นพิธี จากฝั่งตะวันออกของไทย ไปยังฝั่งตะวันตก กว่าจะถึงแม่สอดก็เวลาใกล้เคียงกับ 3 วัน ที่ผ่านมา คือประมาณ 5 โมงเย็น เดิมวางแผนจะนอนคืนเดียว แต่น้องสาวที่แม่สอดจัดโปรแกรมไว้ให้ต่อ สรุปได้นอนพักที่นี่ 2 คืน ส�ำหรับวันนีเ้ ราได้ไปทานอาหารติดริมเขา บรรยากาศดีมาก พรุ่งนี้เตรียมเที่ยวในตัวเมืองแม่สอด พร้อมกับข้ามแดนไปเมียวดี พม่าค่ะ วันนี้มาทานอาหาร “ปลาสด เมืองฉอด” อาหารอร่อย และบรรยากาศดีมากค่ะ

วั น ที่ 5 อรุ ณ สวั ส ดิ์ ค ่ ะ วั น นี้ มีโปรแกรม ไปนัง่ ชิมกาแฟ บนดอยร้าน ROCHA CAFE กาแฟอร่อย ขนมเค้ก มี ก ารจั ด แต่ ง สวยงามค่ ะ ใครได้ ไ ป แม่สอดแนะน�ำเลยค่ะ

กิ น กาแฟเรี ย บร้ อ ย เตรี ย มเดิ น ทางไปท�ำบุ ญ ที่ “วั ด ไทยสามั ค คี ” กั น ต่ อ เลยค่ ะ ที่ วั ด มี โ รงทานไว้ บ ริ ก ารผู ้ ที่ เข้ามาท�ำบุญด้วยค่ะ ใครอยากจะร่วมท�ำบุญเท่าไหร่ก็แล้วแต่ จิตศรัทธาค่ะ บริเวรวัดไม่กว้างมาก แต่มีพระพุทธรูปที่สวยงาม มาร่วมท�ำบุญด้วยกันค่ะ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 43


เสร็จจากการท�ำบุญก็ประมาณ 5 โมงเย็น เราเดินทางกันต่อเพือ่ ข้ามฝากไปยังเมียวดี เป็นบ่อนคาสิโนเล็กๆ ไม่ใหญ่มาก แต่ทุกคนสามารถเข้าไปเล่นได้ การข้ามไปฝั่งโน้น ยืนไปบนเรือหางยาว ประมาณหมุนหัวเรือ สัก 500 เมตรก็ถึงแล้วค่ะ เป็นครั้งแรกที่ได้เข้าบ่อนคาสิโน ข้างในมีอาหารพร้อม เครื่องเล่นการพนันมีมากมาย เข้าไปเพื่ออยากรู้ว่าเป็นอย่างไร เสร็จแล้ว ออกมาเดินเล่นบริเวณรอบนอก แต่สังเกตเห็นได้ว่ามีคนไทยหลายคน ข้ามมาเพื่อมาหาความบันเทิงที่นี่ บางคนก็มาพร้อม ครอบครัวมีลูกเล็กๆ มาด้วย ภายในบ่อน มีสถานที่ทานอาหารที่จะให้เด็กๆ นั่งรอได้ นั่งดูพระอาทิตย์ตกดิน พร้อมมอง พื้นแผ่นดินไทย ใกล้กันแค่นี้จริงๆๆ

สารสถาบันฯ 44

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


วันที่ 6 เตรียมเดินทางกลับเชียงใหม่ แต่ก่อนกลับขอแวะช้อปปิ้งที่ด่านชายแดนแม่สอดสักเล็กน้อย ของที่นี่พอๆ กับ แม่สาย แต่ราคาบางอย่างน่าจะถูกกว่านิดหน่อย แต่พลอยหรือหยกที่นี่ยังมีให้เลือกมากมาย แต่สภาพการจับจ่ายไม่คล่องตัว หรือมากมายเหมือนเมื่อก่อน ออกจากแม่สอดก็บ่ายแก่ๆ ระหว่างทางกลับมาถึงเชียงใหม่เจอฝนเป็นช่วงๆ เนื่องจากมีพายุเข้า พอดี แต่ก็สามารถเดินทางถึงเชียงใหม่ได้อย่างปลอดภัยค่ะ

สิ่งที่ประทับใจที่สุด คือ การที่หลานได้ดูแลคุณตา คุณยาย ตลอดการเดินทาง เป็นภาพที่ หันไปมองเมื่อไหร่ก็มีความสุข

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 45


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.