สารสถาบันO ฉบับที่ 36

Page 1

สารบัญ

สารสถาบันฯ ฉบับที่ 38 ประจำ�เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2560

P.16

ฉลอง 50 ปี สถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์ สุขภาพ

P.51 P.18

งานแสดง มุทิตาจิต ผู้เกษียณอายุ ประจำ�ปี 2560

3 เดือน มหาวิทยาลัย ในเมืองจีน แสวง กาวิชัย

P.54 DIY IN JAPAN @ KANSAI สุนิสา ทาใจ


สารสถาบันฯ

ฉบับที่ 38 วันที่ 31 ตุลาคม 2560

ตุลาคม - ธันวาคม

สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร ์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Research Institute for Health Sciences, Chiang Mai University

ผอ. อยากคุย

(จริงๆ)

เรียนพี่น้องชาวสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกท่าน

ศ. นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ

สารสถาบันฯ 01-05 ผอ. อยากคุย (จริงๆ) 06-15 เล่าขานงานวิจัย 16-45 News & Event 46-47 ตารางกิจกรรม 48-50 ซุปซิบสร้างสรรค์ 51-62 ย�่ำเท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก

ที่ปรึกษา ศ. นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ รศ. นพ.เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย ศ. นพ.กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม พญ.นันทิสา โชติรสนิรมิต ดร.จิระประภา วิภาษา

กองบรรณาธิการ นางสาวนิลบล ตุ้ยค�ำภีร์ นางสาวอริยา สิงหประเสริฐ นางปภาวดี ด�ำรงมณี นางสาวทัศนวรรณ บริบูรณ์ นางสาวอุวรรณา รัตนศรี นายวิโรจน์ แก้วตุ้ย นางสาวณิชาภา ตุ้ยค�ำภีร์ นายพิพัฒน์พงศ์ ตุลาพงษ์พิพัฒน์

ก่ อ นที่ จ ะเล่ า ถึ ง การด�ำเนิ น งานของสถาบั น ฯ ผมขออนุ ญ าตเอ่ ย ถึ ง งาน หลายงานของสถาบันฯ ทีไ่ ด้จดั ขึน้ ในช่วงเวลาทีผ่ า่ นมา ซึง่ ล้วนแต่เป็นงานทีส่ �ำคัญส�ำหรับ พวกเราทุกคนครับ 1. การส�ำรวจความพึงพอใจในการท�ำงานของบุคลากรของสถาบันฯ ซึ่งจัดท�ำ ขึ้นเพื่อส�ำรวจความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจในหน้าที่รับผิดชอบ สภาพแวดล้อมในการ ปฏิบตั งิ าน และด้านการบริหารงานของสถาบันฯ เพือ่ น�ำไปใช้ในการปรับปรุงการด�ำเนินงาน ของสถาบันฯ ในด้านต่าง ๆ เช่น สิทธิประโยชน์ และการพัฒนาตนเองที่ตรงใจบุคลากร โดยในการตอบแบบสอบถามจะไม่มีการระบุตัวตนและหน่วยงานที่สังกัดของผู้ตอบ ก็ได้รับความร่วมมือจากพวกเราในการเข้าไปตอบแบบส�ำรวจเป็นอย่างดี ขอบคุณครับ 2. ในวันที่ 26 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา สถาบันฯ ร่วมกับชมรมบุคลากรของ สถาบันฯ จัดงานมุทิตาจิตเพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณบุคลากรของสถาบันฯ ซึ่งปีนี้ มีผู้ถึงวาระเกษียณอายุมากถึง 8 ท่าน ได้แก่ คุณบุปผา ประภาลักษณ์, คุณกิตติพงศ์ รุง่ เรืองธนะกิจ, คุณธัญภรณ์ เกิดน้อย, คุณเสรี พรหมวังศรี, คุณกนกพร วิบลู ย์ณฐั กุล, คุณนงลักษณ์ ไชยพิสิทธิ์, คุณณรงค์ สิทธิวงศ์ และคุณสมพิศ พรหมขัตแิ ก้ว โดยทั้ง 8 ท่านได้ทุ่มเททั้งร่างกายและจิตใจท�ำงานให้กับสถาบันฯ อย่างเต็มที่ติดต่อกันมา หลายสิบปี ถือเป็นตัวจักรส�ำคัญอย่างยิ่งที่ท�ำให้สถาบันฯ ของเราพัฒนามาจนถึง ทุกวันนี้ สมควรที่พวกเราจะร่วมกันแสดงความขอบคุณทัง้ 8 ท่าน ซึ่งพวกร่วมก็ได้ร่วม แสดงมุทิตาจิตและเลี้ยงส่งพวกท่านที่โรงแรมดวงตะวัน เป็นบรรยากาศที่อบอุ่นและ น่าประทับใจมากครับ 3. เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 50 ปีแห่งการก่อตัง้ สถาบันฯ ของเรา ซึ่งในปีนี้สถาบันฯ นอกจากจะจัดพิธีท�ำบุญซึ่งจัดเป็นประจ�ำทุกปีแล้ว เนื่องจากเป็ น วาระที่ส�ำคั ญแห่ง การครบรอบครึ่ง ศตวรรษของการก่อ ตั้ง สถาบัน ฯ นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นเป็นศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการ กลายมาเป็นสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์สขุ ภาพทีม่ ชี อื่ เสียงเป็นทีย่ อมรับทัง้ ในระดับ ภูมภิ าค ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ซึง่ ถือเป็นผลงาน ของผู้บริหารสถาบันฯ รุ่นก่อนๆ รวมทั้งบุคลากรของ สถาบันฯ ตั้งแต่ยุคบุกเบิกมาจนถึงปัจจุบัน ปีนี้จึงได้

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


เรียนเชิญท่านอดีตผู้บริหารของสถาบันฯ หลายท่านมาร่วมงาน และร่วมเสวนาถึงการด�ำเนินงานของสถาบันฯ ในระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเราโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากรของสถาบันฯ รุ่นใหม่ๆ ให้เกิดก�ำลังใจและความมุ่งมั่น ที่จะร่วมกับน�ำพาสถาบันฯ อันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราทุกคน ก้ า วเข้ า สู ่ ป ี ที่ 51 มุ ่ ง สู ่ ก ารเป็ น สถาบั น วิ จั ย ระดั บ โลกด้ า น วิทยาศาสตร์สุขภาพ ตามวิสัยทัศน์ที่พวกเราได้ร่วมกันก�ำหนด เอาไว้ นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารจั ด นิ ท รรศการตามชั้ น ต่ า งๆ ใน อาคาร 1 ให้พวกเราได้เข้าร่วมและรับทราบว่าตัง้ แต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน เราได้สร้างและได้ให้อะไรออกสู่สังคมไปบ้าง หวังว่า ทุกคนคงได้รับความรู้ ความสนุก และความภาคภูมใิ จในความ เป็นสถาบันฯ ของพวกเราทุกคนนะครับ

4. ในวั น ที่ 2-3 พฤศจิ ก ายน 2560 นี้ จะมี ก าร ตรวจประเมินสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพตามแนวทาง EdPEx โดยคณะผู้ตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งในปีนี้สถาบันฯ จะพยายามน�ำแนวทางการพัฒนาองค์กร ด้านการศึกษานี้มาเป็นหลักในการด�ำเนินงานของสถาบันฯ อย่ า งจริ ง จั ง มากขึ้ น อยากให้ บุ ค ลากรทุ ก คนของสถาบั น ฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นแกนน�ำในปัจจุบัน รวมทั้งที่จะก้าว ขึ้นมาเป็นแกนน�ำในรุ่นต่อๆ ไป ได้ท�ำความรู้จัก ท�ำความเข้าใจ และน�ำมาใช้เป็นเครือ่ งมือในการพัฒนาตนเองและองค์กรต่อไป

1 2

3 4

สารสถาบันฯ 2

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ส�ำหรับการด�ำเนินงานของสถาบันฯ หลังจากที่ผมได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการสถาบันฯ ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ (กบส.) ซึ่งมีผม อ.เกรียงไกร อ.กิตติพันธุ์ พญ. นันทิสา ดร.จิรประภา คุณบุปผา คุณนิลบล และคุณอริยา ได้มีการประชุมจัดเตรียมวิสัยทัศน์ นโยบาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด และเป้าหมาย ในการบริหารงาน โดยได้รับค�ำแนะน�ำและความเห็นชอบจากคณะกรรมการอ�ำนวยการของสถาบันฯ เพื่อที่จะน�ำเสนอต่อ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 21 ตุลาคม 2560 เพื่อให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการบริหารงานสถาบันฯ ในระยะเวลา 4 ปีข้างหน้านี้ ผมขออนุญาตเล่าให้พวกเราฟังคร่าวๆ ถึงนโยบายที่คณะกรรมการบริหารของสถาบันฯ จะใช้ในการบริหารและ ด�ำเนินงานของสถาบันฯ ในรอบ 4 ปีของวาระการด�ำรงต�ำแหน่งของผม ดังนี้ 1. บริ ห ารงานของสถาบั น ฯ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ แผนพั ฒ นาการศึ ก ษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) โดยให้ทกุ ส่วนงานของสถาบันฯ สร้างงานวิจัยเชิงบูรณาการที่สนับสนุนยุทธศาสตร์หลักทั้ง 2 ด้านของมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์เชิงรุก 3 ด้าน ได้แก่ 1) นวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน 2) นวัตกรรมด้านอาหาร สุขภาพ และผู้สูงอายุ และ 3) นวัตกรรมล้านนา โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งด้านอาหาร สุขภาพ และผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นพันธกิจหลักของสถาบันฯ 2) ยุทธศาสตร์ตามพันธกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสร้างงานวิจัยที่เป็นเลิศ การบริการวิชาการที่เกิดประโยชน์แก่สังคม และการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ 2. บริหารงานของสถาบันฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย 4.0 เช่น เข้าร่วมโครงการ Innovation Hub ด้านสังคมสูงอายุ (Ageing Society Innovation Hubs) โดยเน้นประเด็นหลักที่สถาบันฯมีความเชี่ยวชาญ 3 ด้านได้แก่ 1) Healthcare and Technology 2) Healthy and Happy Ageing 3) Global Silver Market 3. ยึดหลัก Education Criteria for Performance Excellence (EdPEx) ในการด�ำเนินงานและพัฒนาสถาบันฯ

ส�ำหรับรายละเอียดการด�ำเนินงานจะได้มาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไปนะครับ

ขวัญชัย ศุภรัตน์ภญ ิ โญ



คำ�ขวัญ 50 ปี ของสถาบันฯ

"

50 ปี สถาบันฯ ก้าวไกล วิจัยสุขภาพก้าวหน้า พัฒนามาตรฐานสู่สากล

โลโก้ 50 ปี ของสถาบันฯ

"


“เล่าขานงานวิจยั ” ศูนย์วจิ ย ั ด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พญ.นันทิสา โชติรสนิรมิต - หัวหน้าศูนย์ฯ

วัสดีชาวสถาบันฯ ทุกท่านค่ะ ศูนย์วิจัยด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีหน่วยวิจัยขนาดเล็ก (มาก) ภายใต้ศูนย์ของเราอยู่หน่วยหนึ่ง ชื่อหน่วยสารเสพติด มีพี่จุ๋ม กนิษฐา ไทยกล้า เป็นหัวหน้าหน่วย ปัจจุบันเท่าที่ทราบมีลูกน้องเพียง 1 คน แต่ผลงานที่ผ่านมา ยิ่งใหญ่เกินขนาดจริงๆ จึงอยากน�ำความส�ำเร็จในการท�ำให้เกิด องค์ความรู้ที่สามารถน�ำไปใช้ในการก�ำหนดนโยบายด้านการ ควบคุมสารเสพติดของประเทศและสร้างสรรนวัตกรรมและ สื่อการสอนเกี่ยวกับสารเสพติดอีกมากมายมาเล่าสู่กันฟังค่ะ ผลงานวิจัยเรื่อง Recent Trends in Alcohol Outlet Density, Distances from Educational Institutions and Sales Campaigns in Chiang Mai Municipality (Metropolitan), Thailand: Should We Be Worried for Our Youths? ได้รับการตีพิมพ์ ในวารสาร Alcohol and Alcoholism เมื่อกรกฎาคม 2558 โดยผลการวิ จั ย นี้ ท าง ส�ำนั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกระทรวงสาธารณสุข ได้น�ำไปใช้ ในการผลั ก ดั น นโยบายจุ ด จ�ำหน่ า ยเครื่ อ งดื่ ม แอลกอฮอล์ รอบสถานศึกษาที่เคยเป็นข่าวดังเมื่อปลายปี 2558 และล่าสุด มีสว่ นร่วมในเดือนสิงหาคม 2560 งานเสวนาวิชาการและแถลงข่าว "ร้านเหล้ารอบสถานศึกษา...ใครได้ใครเสีย หลัง ม.44"

สารสถาบันฯ 6

ผลงานด้านนวัตกรรมและสื่อส�ำหรับให้ความรู้

1

3

2

1. Pocket Book “ทันสารเสพติด (ฉบับประชาชนทั่วไป)” สนับสนุนงบประมาณจัดพิมพ์จาก ส�ำนักงานคณะกรรมการ ปราบปรามยาเสพติด ได้รบั การพิมพ์ถงึ 4 ครัง้ รวมจ�ำนวนเกือบ 7,000 เล่ม 2. หนังสือ "สารพัดภาษาสารเสพติด" ในปี 2559 ได้ปรับปรุงเพิ่มเติม “สารพัดภาษาสารเสพติด” เพือ่ น�ำมาใช้เป็นฐานข้อมูลภาษา ชือ่ ทีใ่ ช้เรียกสารเสพติดส�ำหรับ การเฝ้ า ระวั ง ติ ด ตามสภานการณ์ ย าเสพติ ด ของส�ำนั ก งาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จัดพิมพ์ 2 ครัง้ รวม 1,200 เล่ม 3. Booklet “นี่แหละใช่ Street Name” เป็นเอกสารทีร่ วบรวมค�ำสแลง ภาษาทีก่ ลุม่ ผูเ้ สพ ผูค้ า้ ยาเสพติด ใช้ ใ นการสื่ อ สาร ทั้ ง ที่ ใ ช้ ภ ายในประเทศไทยและประเทศ เพื่อนบ้านในแถบ AEC เอกสารฉบับนี้เป็นประโยชน์ส�ำหรับ เจ้าหน้าที่ที่ท�ำงานด้านการปราบปรามยาเสพติด เจ้าหน้าที่ สาธารณสุ ข ที่ ต ้ อ งเกี่ ย วข้ อ งกั บ การบ�ำบั ด รั ก ษายาเสพติ ด จัดพิมพ์จ�ำนวน 1,000 เล่ม สนับสนุนงบประมาณจัดพิมพ์จาก ส�ำนักงานคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติด

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ผลงานด้านนวัตกรรมและสื่อส�ำหรับให้ความรู้ 4. Pocket Book เยาวชนบนเส้นด้าย สะท้ อ นให้ เ ห็ น พฤติ ก รรมเสี่ ย งของเยาวชนที่ อ ยู ่ น อกระบบ การศึกษา 5. เกมจิ๊ ก ซอว์ ใ ห้ ค วามรู ้ ผ ลกระทบของยาบ้ า และ เมทแอมแฟตามี 6. เกมแอลด้า (ELDA GAME) มิติใหม่ของสื่อที่ให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายและผลกระทบจาก การใช้สารเสพติด ความรู้ด้านกฎหมาย เพื่อการป้องกันการใช้ สารเสพติด เหมาะส�ำหรับทุกกลุ่มอายุ และเป็นเกมทีพ่ ฒ ั นาเป็น 2 ภาษา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) 7. Thai Drinking Survey Guide & Application "Thai drinks" เครื่ อ งมื อ ส�ำหรั บ ช่ ว ยในการถามปริ ม าณการดื่ ม เครื่ อ งดื่ ม แอลกอฮอล์ท่ไี ด้มีการน�ำไปใช้ในงานส�ำรวจระดับประเทศ ซึ่งได้ พัฒนาปรับปรุงถึง 7 รุ่น เป็นนวัตกรรมส�ำหรับเครื่องมือช่วย ในการถามและค�ำนวณปริมาณการดืม่ เครือ่ งดืม่ ทีม่ แี อลกอฮอล์ ในรูปแบบของ Application บน ANDROID ในชือ่ ทีว่ า่ “Thai drinks” 8. การ์ตูน “ไม่ได้เล่นคนเดียว แม่เสพลูกติดด้วย” ประกอบด้วย หนังสือภาพการ์ตูน และแผ่น CD เพื่อการป้องกัน ยาเสพติดส�ำหรับกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีการใช้หรือเสี่ยงที่จะใช้ ยาเสพติ ด เตื อ นหญิ ง ตั้ ง ครรภ์ เ สพยา อาจท�ำให้ ลู ก พิ ก าร เสียชีวิต และสร้างความตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพที่จะ ตามมาจากการใช้ยาเสพติดและยาในทางที่ผิด สื่อสร้างสรรค์น้ี ผลิตจ�ำนวน 40,000 เล่ม

5 6

4

7

8

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 7


แอนิเมชั่น

สารสถาบันฯ 8

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


... วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 9


ศูนย์วิจัยชีวโมเลกุล และเซลล์วิทยาของโรคติดเชื้อ ดร.จิรประภา วิภาษา - หัวหน้าศูนย์ฯ

การประพฤติผิดจรรยาวิชาชีพวิจัย (Research Misconduct) คุณคิดว่าในอาชีพของนักวิจัยคนหนึ่ง จะถูกถอดถอนผลงานตีพิมพ์ได้มากที่สุดกี่เรื่อง? คุณคิดว่าวารสารวิชาการหนึ่ง จะถูกถอดถอนบทความตีพิมพ์ในคราวเดียวมากที่สุดกี่เรื่อง?

สวัสดีค่ะ สารสถาบันฯ ฉบับนี้ ศูนย์ชีวโมเลกุลฯ ขอพัก ด้ า นงานวิ จั ย ของศู น ย์ ฯ มาคุ ย ถึ ง เรื่ อ งที่ ค วรรู ้ เ กี่ ย วกั บ การ ประพฤติผดิ จรรยาวิชาชีพวิจยั (Research Misconduct) อันหมายถึง การปฏิบัติที่ขัดต่อหลักความประพฤติที่เหมาะสมที่ผู้ประกอบ วิชาชีพวิจัยพึงยึดถือปฏิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่วงการวิชาการนานาชาติ ให้ความส�ำคัญขึ้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ Research Misconduct นี้แบ่งเป็นรูปแบบใหญ่ๆ ได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1. Fabrication คือการสร้างข้อมูลเท็จ 2. Falsification คือ การปรับแต่งข้อมูล เครื่องมือ หรือ กระบวนการวิจัยให้ผิดไปจากความเป็นจริงเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตน ต้องการ เช่น แก้ไขตัวเลข หรือแต่งภาพ การเลือกเสนอเฉพาะ ข้อมูลที่ตนต้องการเท่านัน้ 3. Plagiarism คือการคัดลอกงานผู้อื่น ขโมยความคิด หรือผลงานผู้อ่นื โดยไม่ให้เครดิต

สารสถาบันฯ 10

ตัวอย่างการประพฤติผิดจรรยาวิชาชีพวิจัย คุณคิดว่าในอาชีพของนักวิจยั คนหนึง่ จะถูกถอดถอนผลงาน ตีพิมพ์ได้มากที่สุดกี่เรื่อง? ค�ำตอบคือ 183 เรือ่ ง!! โดย Yoshitaka Fujii วิสญ ั ญีแพทย์ ชาวญี่ปุ่นเป็นผู้ถอื สถิตินี้ ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2554 Yoshitaka Fujii มีผลงานวิจัยประมาณ 250 เรื่องในวารสารวิชาการระดับ นานาชาติ งานวิจัยของเขาคือการป้องกันและการรักษาภาวะ คลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด การใช้ยาที่ท�ำให้เกิดการคลายตัวของ กล้ามเนื้อระหว่างผ่าตัด และการใช้ยาเฉพาะที่ในผู้ป่วยที่ใช้ท่อ ช่วยหายใจเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของการเต้นของหัวใจและ ความดันโลหิต มีอาสาสมัครที่เข้าในการศึกษาทดลองทางคลินิก ของเขาถึง 14,000 คน เฉลี่ยประมาณ 600 คนต่อปี ในปี 2541 เขาตี พิ ม พ์ ผ ลงานวิ จั ย การทดลองทางคลิ นิ ก ถึ ง มากกว่ า 30 การศึกษา เขารายงานการใช้สุนัขในการศึกษาบางส่วนมากถึง 700 ตั ว ในระยะเวลา 6 ปี ซึ่ ง เป็ น จ�ำนวนที่ ม ากอย่ า งไม่ น ่ า เป็นไปได้

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ในปี พ.ศ. 2543 กลุ่มนักวิจัยชาวเยอรมันได้เขียนถึง บรรณาธิการวารสาร Anesthesia and Analgesia แย้งถึง 47 ผลงาน วิจัยของ Yoshitaka Fujii ว่าตัวเลขของรายงานบางอย่างนั้น เมื่อค�ำนวณทางสถิติแล้วโอกาสเกิดขึ้นน้อยกว่าหนึ่งในร้อยล้าน และตัวเลขในหลายๆ รายงานมีความคล้ายคลึงกันอย่างไม่น่า เป็นไปได้ ต่อมานักวิจัยชาวเยอรมันกลุ่มนี้ได้ท�ำการศึกษาแบบ Meta-analysis (การรวบรวมข้อมูลงานวิจัยต่างๆ อย่างเป็นระบบ มาวิเคราะห์) พบว่าผลการวิจัยทางคลินิกในกลุ่มรายงานที่มีชื่อ Yoshitaka Fujii ให้ผลแตกต่างจากอีกกลุ่มรายงานที่ไม่มีชื่อเขา ชัดเจน ถึงกระนั้น บรรณาธิการวารสารก็ยังให้ความเชื่อถือต่อ Yoshitaka Fujii อยู่ ท�ำให้เขายังมีผลงานตีพมิ พ์ออกมาหลังจากนัน้ และได้รับการเลื่อนต�ำแหน่งขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม หลังจากถูกตั้งข้อสังเกตในปี พ.ศ. 2543 เขาเริ่มตีพิมพ์ผลงานที่ไม่ใช่วิสัญญีวิทยา รายงานการทดลอง ทางคลินิคก็ลดลงมาก กระทั่งปี พ.ศ. 2556 บรรณาธิการของ

วารสารฉบั บ หนึ่ ง ซึ่ ง วิ จั ย ในด้ า นเดี ย วกั น ได้ ตั้ ง ข้ อ สั ง เกต ความผิดปกติของรายงานการวิจยั ของ Yoshitaka Fujii ประจวบกับั วิจัยด้านวิสัญญีวิทยาหลายคน กลับมาวิเคราะห์งานของเขา อี ก ครั้ ง เป็ น เหตุ ใ ห้ เ ริ่ ม มี ก ารสอบสวนและพบว่ า ผลงานวิ จั ย 172 เรื่อง (ในจ�ำนวนนี้มีการทดลองทางคลินิก 126 เรื่อง) มีข้อมูล ทีถ่ กู สร้างขึน้ (Fabricated data) จ�ำนวนอาสาสมัครในรายงานวิจยั ไม่ตรงกับในบันทึกเอกสารของโรงพยาบาล ไม่มีหลักฐานชัดเจน ว่าการศึกษาท�ำทีไ่ หน เมือ่ ไหร่ และได้รบั การพิจารณาเชิงจริยธรรม หรือไม่ นอกจากนั้น เขายังได้เพิ่มชื่อผู้นิพนธ์ร่วมเพื่อเพิ่มความ น่าเชือ่ ถือของผลงานวิจยั ซึง่ ผู้นพิ นธ์ร่วมเหล่านีบ้ างคนไม่ได้ตกลง หรือไม่ทราบ ตลอดจนถึงปลอมลายเซ็นเพื่อส่งผลงานวิจัยด้วย ถึงเดือนพฤษภาคม 2556 ผลงานวิจัยของ Yoshitaka Fujii ถู ก ถอดถอน 183 เรื่อ ง ท�ำลายสถิติข องวิสั ญ ญีแ พทย์ ชาวเยอรมัน Joachim Boldt ทีถ่ กู ถอดถอนผลงานวิจยั ถึง 89 เรือ่ ง!! อย่างสิ้นเชิง

คุณคิดว่าวารสารวิชาการหนึง่ จะถูกถอดถอนบทความตีพมิ พ์ ในคราวเดียวมากที่สุดกี่เรื่อง? ค�ำตอบคื อ 107 เรื่ อ ง!! ถู ก ถอดถอนจากวารสาร Tumor Biology (JCR Impact factor 2016 = 3.650!!) โดยส�ำนักพิมพ์ Springer ในคราวเดียว ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ของวารสารนี้ที่มีการ ถอดถอนเป็นจ�ำนวนมาก เนื่องจากพบว่ามีความบกพร่องของ กระบวนการทบทวนงานวิ จั ย มี ก ารปลอมแปลงชื่ อ หรื อ email address ของกรรมการทบทวน ท�ำให้ได้ข้อคิดเห็นเชิงบวก และได้ รั บ การตี พิ ม พ์ ถึ ง แม้ ส ่ ว นใหญ่ แ ล้ ว การเสนอชื่ อ กรรมการทบทวนเบือ้ งต้นจะกระท�ำโดยผูน้ พิ นธ์ทเี่ สนอผลงานวิจยั ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่ผู้นิพนธ์เองจะเป็นผู้เสนอกรรมการทบทวน ปลอม แต่ส�ำนักพิมพ์ยังคงเห็นว่าส่วนหนึ่งก็เป็นความผิดของ คณะบรรณาธิ ก ารที่ อ าจมี ร ายชื่ อ และ email address ของ กรรมการทบทวนปลอมเหล่านีอ้ ยูใ่ นฐานข้อมูล ท�ำให้กระบวนการ ทบทวนงานวิ จั ย ไม่ น ่ า เชื่ อ ถื อ นอกจากนั้ น ยั ง มี ก รรมการ บรรณาธิการบางส่วนระบุว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับวารสารนี้ และไม่ทราบว่าตนมีชอื่ อยูใ่ นคณะบรรณาธิการ และยังพบว่ามีผทู้ ี่ เสียชีวิตไปแล้วอยู่ในรายชื่อของคณะบรรณาธิการด้วย

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 11


การปลอมแปลงตกแต่งข้อมูลการวิจัยนี้มีผลกระทบ ในชี วิ ต จริ ง เกิ น กว่ า ที่ ห ลายคนคาดคิ ด ในปี พ.ศ. 2541 Andrew Wakefield นักวิจัยชาวอังกฤษและคณะ รายงานผล การวิจยั ในวารสารชัน้ น�ำอย่าง Lancet ว่าพบความสัมพันธ์ของการ ให้ วั ค ซี น หั ด หั ด เยอรมั น คางทู ม (MMR) กั บ การเกิ ด ภาวะ ออทิสติกและโรคล�ำไส้ในเด็ก 12 คน ผลการวิจัยถูกเผยแพร่ต่อ สาธารณะสร้างความกังวลให้กับผู้ปกครองจ�ำนวนมาก เป็นผล ให้การฉีดวัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม ลดลง เกิดการต่อต้าน การฉีดวัคซีนดังกล่าว ไม่เฉพาะเพียงในอังกฤษเท่านั้นยังลุกลาม ไปถึงประเทศอื่นๆ ด้วย ในปี พ.ศ. 2547 ผู้ร่วมนิพนธ์ 10 ใน 12 คน ขอถอดถอน ผลงานวิจั ย ที่ตีพิม พ์ใ นวารสาร Lancet ด้ ว ยเหตุผลว่าข้อ มู ล ไม่ เ พี ย งพอที่ จ ะสรุ ป ว่ า พบความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งวั ค ซี น หั ด หัดเยอรมัน คางทูม กับการเกิดภาวะออทิสติก นอกจากนัน้ ยังมี ผลงานวิจยั อีกมากมายทีแ่ สดงให้เห็นว่าไม่มคี วามสัมพันธ์ดงั กล่าว ต่อมา แพทยสภาแห่งประเทศอังกฤษตัง้ คณะกรรมการสอบสวน พบว่า หลังจากตีพิมพ์ในวารสาร Lancet แล้ว Andrew Wakefield

ได้ก่อตัง้ บริษทั ผลิตและจ�ำหน่ายวัคซีนป้องกันหัดยีห่ ้อใหม่ และได้ ขอท�ำการทดลองทางคลินกิ ในเด็ก เขาท�ำการฉีดวัคซีนนีใ้ ห้แก่เด็ก โดยไม่มีการบันทึกในเวชระเบียน และยังเจาะเลือดเด็กๆ ที่มา งานวันเกิดลูกชายของเขาและจ่ายค่าตอบแทนให้คนละ 5 ปอนด์ ในการทดลองทางคลินิคที่ตีพิมพ์ในวารสาร Lancet เขาได้ท�ำ หัตถการที่รุกล�้ำ เช่น เจาะไขสันหลัง ส่องกล้องตรวจล�ำไส้ใหญ่ ซึง่ ไม่จ�ำเป็นต่อการศึกษานี้ เขายังเลือกทีจ่ ะแสดงข้อมูลทีต่ อ้ งการ เท่ า นั้ น และการศึ ก ษาดั ง กล่ า วไม่ ไ ด้ ผ ่ า นการรั บ รองจาก คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ถึงแม้ Andrew Wakefield จะถูกถอนใบอนุญาตจาก แพทยสภาแห่งประเทศอังกฤษ แต่ผลงานตีพมิ พ์ของเขาท�ำให้เกิด การต่อต้านการฉีดวัคซีนไปในวงกว้าง แม้กระทั่งประธานาธิบดี Donald Trump ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ยังสนับสนุนนโยบาย “Anti-Vax หรือการต่อต้านการฉีดวัคซีน” ด้วย ความเชื่อนี้ เป็นผลให้เกิดการระบาดของโรคหัดในประเทศอังกฤษ และใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันนี้ เชื่อว่ามีผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้อหัด หัดเยอรมัน และคางทูม เป็นจ�ำนวนหลายแสนคน

การประพฤติผิดจรรยาวิชาชีพวิจัยที่กล่าวมาและที่เป็นข่าวออกสู่สาธารณชน เชื่อว่าเป็นเพียงปลายยอดของ ภูเขาน�้ำแข็งเท่านั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการตั้ง Office of Research Integrity ขึ้นมาเพื่อดูแลการประกอบวิชาชีพวิจัย และยังเผยแพร่การประพฤติผิดจรรยาวิชาชีพวิจัยของผู้ที่ได้รับทุนจากรัฐอีกด้วย (https://ori.hhs.gov/case_summary) ส่วนประเทศไทยเองยังไม่มหี น่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งนี้ ส�ำหรับพวกเราในฐานะผูป้ ระกอบวิชาชีพวิจยั คงต้องช่วยกันสือ่ สาร ให้มีการตระหนักถึงเรื่องนี้มากขึ้น ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพวิจัย ควรพึงระลึกว่าผลงานวิจัยที่เผยแพร่ออกไปอาจเป็น ส่วนหนึ่งที่จะถูกน�ำไปใช้ในอนาคตไม่ว่าในทางใดทางหนึ่งก็ตาม

ดร.จิรประภา วิภาษา แหล่งอ้างอิง www.retractionwatch.com https://drgeoffnutrition.wordpress.com/2017/04/05/yoshitaka-fujii-japanese-anaesthetist-and-recordbreaking-research-fraud/ http://www.sciencemag.org/ https://www.autism-watch.org/news/lancet.shtml https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3136032/

สารสถาบันฯ 12

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ศูนย์วิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ ศ. นพ.กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม - รักษาการหัวหน้าศูนย์ฯ

ก่

อนอื่นก็ขอกล่าวสวัสดีชาวสถาบันฯ ทุกท่านครับ ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย ทั้งฝนตกอากาศก็เริ่มหนาว ขอให้ทุกท่านดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ โดยในส่วนนี้ขอน�ำเสนอวารสารสถาบันฯ ฉบับที่ 38 ซึ่งเราจะมาดูไปพร้อมๆ กันว่ามีความ เคลื่อนไหวอะไรบ้างภายในศูนย์ของเรา มาดูกันได้เลยครับ

หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

1.

ในเดือนกรกฎาคม มีการเริ่มรับอาสาสมัครเพื่อด�ำเนินกิจกรรมโครงการ ภายใต้โครงการ “ผลกระทบของการรับสัมผัสสารฆ่าแมลงตั้งแต่ในครรภ์ต่อการด�ำเนิน ของการพัฒนาระบบประสาทในกลุ่มเด็กไทยแรกเกิด: การเสริมสร้างศักยภาพการวิจัย ด้านวิทยาการการรับสัมผัสและการพัฒนาระบบประสาทในประเทศไทย” หรือโครงการ SAWASDEE Birth Cohort Study ณ โรงพยาบาลจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ จากความ ร่วมมือระหว่าง Emory University School of Public Health, Rutgers University Environmental and Occupational Health Sciences Institute, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ และคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยโครงการดังกล่าวได้รับทุน สนับสนุนจาก National Institutes of Health (NIH), USA มีระยะเวลาด�ำเนินการ 5 ปี (พ.ศ. 2559 – 2564) ต่อมาเมื่อวันที่ 12-18 กรกฎาคม 2560 ได้เข้าประชุมแผนด�ำเนินงานโครงการฯ ที่ห้องประชุมชั้น 2 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ อาคาร 3 และที่โรงพยาบาลจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เพื่อปรึกษาแผนปฏิบัติการการด�ำเนินงานของโครงการฯ น�ำโดย ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล นักวิจัยอาวุโส หัวหน้าโครงการ SAWASDEE และคณะท�ำงาน ในโครงการฯ และในวันที่ 17 กรกฎาคม 2560 Prof. Dana B. Barr (US PI) และ อ.ดร.ปริญญา ภานุเวศ จาก Emory University School of Public Health, Atlanta และ ผศ.ดร.พรรณระพี สุ ท ธิวรรณ จากคณะจิตวิท ยา จุฬ าลงกรณ์ ม หาวิท ยาลั ย ได้เ ข้าสั ง เกตการณ์ก ารรั บ อาสาสมัครของโครงการครัง้ แรก ณ โรงพยาบาลจอมทอง ซึง่ อาสาสมัครให้การตอบรับและ เข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯ เป็นอย่างดี หลังจากนั้นได้เข้าเยี่ยมชมบ้านสวัสดี ซึ่งเป็นห้อง ปฏิบัติการภาคสนาม (SAWASDEE House- Site lab) ใน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ด้วย อีกทั้งในวันที่ 18 กรกฎาคม 2560 อ.ดร.ปริญญา ภานุเวศ ได้เป็นตัวแทน Prof. Barr เข้าพบ ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภญ ิ โญ ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ เพือ่ รายงานผล การเริ่มรับอาสาสมัครเข้าโครงการ และเข้าเยี่ยม ศ.เกียรติคุณ นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ อดีตผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ และคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 13


2.

คณะนักวิจัย น�ำโดย ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล ได้ลงพื้นที่ อ.เแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เพื่อเก็บตัวอย่างและตรวจวัดประมาณฝุ่นละอองในอากาศแบบพกพาส่วนตัว จากอาสาสมัครในโครงการ “การสร้างเสริมสุขภาวะของผู้ป่วยโรคปอดอุดกัน้ เรื้อรังในพื้นที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ (MC model)” เพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์การรับสัมผัส สารมลพิ ษ ทางอากาศ ต่ อ อาการที่ เ กิ ด ขึ้ น และความล�ำบากในการใช้ ชี วิ ต ของผู ้ ป ่ ว ย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เพื่อวิเคราะห์และประเมินถึงสถานการณ์เสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทั้ ง นี้ ค ณะนั ก วิ จั ย ได้ ล งพื้ น ที่ สั ม ผั ส กั บ อาสาสมั ค รอย่ า งใกล้ ชิ ด และได้ รั บ การตอบรั บ เป็นอย่างดีจากอาสาสมัคร ท�ำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยและอาสาสมัครมีความ เหนียวแน่นใกล้ชดิ กันยิ่งขึ้น

3.

ในวั น ที่ 28-30 สิ ง หาคม พ.ศ. 2560 คณะนั ก วิ จั ย น�ำโดย ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล เข้าชี้แจงรายละเอียดและได้ด�ำเนินกิจกรรมภาย ใต้โครงการ “การศึกษารูปแบบและปัจจัยที่มีผลต่อการรับสัมผัสมลพิษทางอากาศ ของประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ประเทศไทยไร้หมอกควัน Haze Free Thailand (HFT) ณ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ โดยได้วิเคราะห์ถึงระดับการรับสัมผัสสารมลพิษทางอากาศ ระดับสาร บ่ ง ชี้ ป ระสิ ท ธิ ภ าพการท�ำงานของไต และระดั บ สารบ่ ง ชี้ ท างชี ว ภาพที่ ร ่ า งกาย เกิดความเครียด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบและปัจจัยที่มีผล ต่อการรับสัมผัสสารมลพิษทางอากาศของประชาชนใน 4 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ ล�ำพูน เชียงราย และแม่ฮ่องสอน เพื่อน�ำไปสู่การพัฒนากลยุทธ์ ในการลดผลกระทบของปัญหาหมอกควันต่อสุขภาพต่อไป โดยในการด�ำเนินกิจกรรม ดังกล่าว ได้รับความร่วมมือจากคณะครูและนักเรียนเป็นอย่างดี จากนั้นในวันที่ 11-13 กันยายน พ.ศ. 2560 คณะนักวิจัยจากโครงการ เดียวกันนี้ได้เข้าพบคณะผู้บริหาร คณะครู และนักเรียนโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จ.เชียงราย เพื่อชี้แจงรายละเอียดและเริ่มด�ำเนินการกิจกรรมภายใต้โครงการวิจัย ซึ่งได้ความสนใจจากคณะครูและนักเรียนเป็นอย่างดีในการด�ำเนินกิจกรรม

สารสถาบันฯ 14

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


4.

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2560 เจ้าหน้าที่จาก หน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมได้ลงพื้นที่ อ.พร้าว เพื่อวางแผนการ ด�ำเนิ น กิ จ กรรมร่ ว มกั บ เจ้ า หน้ า ที่ จ ากหน่ ว ยงานในพื้ น ที่ และเยี่ยมให้ก�ำลังใจ ติดตามผลการด�ำเนินกิจกรรมการผลิตผัก ปลอดสารเคมี พ ร้ อ มทั้ ง ให้ ค�ำแนะน�ำในการแก้ ไ ขปั ญ หาใน พื้นที่เกษตร และด�ำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างผักในพื้นที่เกษตร และตลาดมาวิเคราะห์สารเคมีตกค้าง เพื่อเฝ้าระวังการตกค้าง ของสารเคมี ในโครงการ “การรับรู้ความเสี่ยงจากสารเคมี ฆ่าแมลงกับการปฏิบัติเพื่อป้องกันการรับสัมผัสของเกษตรกร และผู ้ บ ริ โ ภค ในอ�ำเภอพร้ า ว จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ” โดยมี ดร.ธัญภรณ์ เกิดน้อย เป็นหัวหน้าโครงการ โดยที่ผ่านมา กลุ ่ ม เกษตรกรสามารถส่ ง ผลผลิ ต แก่ โ รงพยาบาลพร้ า ว และวางจ�ำหน่ายในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง

5.

ในวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2560 ตัวแทนจาก หน่ ว ยวิ จั ย สิ่ ง แวดล้ อ มและสุ ข ภาพ ได้ ด�ำเนิ น การชี้ แ จงผล การศึ ก ษาการตกค้ า งของสารปรอทและสารหนู ใ นร่ า งกาย โดยกลุม่ อาสาสมัคร และเจ้าหน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้องได้ให้ความร่วมมือ และสนใจในกิจกรรมดังกล่าว เพื่อหารือแนวทางในการแก้ไข ปั ญ หาผลกระทบจากสารปรอทและสารหนู ใ นพื้ น ที่ ภ ายใต้ โครงการ “การศึกษาการรับสัมผัสสารปรอทและสารหนูใน กลุ่มตัวอย่างทีท่ �ำงานในเหมืองทองค�ำพืน้ บ้านขนาดเล็ก : ศึกษา น�ำร่ อ งในในพื้ น ที่ เ ขาพนมพา ต.เขาเจ็ ด ลู ก อ.วั ง ทรายพู น จ.พิจิตร” โดยมี ดร.สุรัตน์ หงส์สิบสอง เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่ ง เป็ น ความร่ ว มมื อ ระหว่ า งคณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการ ศึกษาและวางแผนกิจกรรมโครงการร่วมกัน

6.

และเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2560 ตัวแทนจากหน่วยวิจัย สิ่ ง แวดล้ อ มและสุ ข ภาพได้ ด�ำเนิ น การรายงานผลการศึ ก ษา และชี้ แ จง รายละเอียดผลการวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในร่างกายแก่นายอ�ำเภอ เจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ และอาสาสมัคร อ.พญาเม็งราย จ.เชียงราย ภายใต้โครงการ “การศึกษาพัฒนาแนวทางการจัดการความเสี่ยงจากสารเคมีก�ำจัดศัตรูพืช กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนด้วยกระบวนการวิจัยแบบ มีส่วนร่วม” โดยมี ดร.สุรัตน์ หงส์สิบสอง เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งได้รับความ สนใจเป็นอย่างดี ทั้งนี้ได้หารือวางแผนการแก้ไขปัญหาผลกระทบสารเคมี ร่วมกันในพื้นที่ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 15


“News & Event” ข่าวกิจกรรม @ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ฉลอง 50 ปี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท�ำบุญวันคล้ายวันสถาปนา 50 ปี จากศูนย์วิจัย โลหิตวิทยาและทุโภชนาการสูส่ ถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ โดยมี ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภญ ิ โญ ผูอ้ �ำนวยการ สถาบันฯ พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากรของสถาบันฯ ร่วมให้การต้อนรับแขกผู้มเี กียรติทเี่ ข้าร่วมแสดงความยินดี พร้อมทั้งร่วมประกอบพิธีทางศาสนา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2560 นอกจากนี้ยังมีการจัดเสวนาหัวข้อ "50 ปีที่ ก้าวย่างจากศูนย์วิจัยโลหิตวิทยาและทุโภชนาการสู่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ" โดยมีอดีตผู้อ�ำนวยการ สถาบันฯ 5 ท่าน ได้แก่ รศ.พญ.อุษา ธนังกูล, ศ.เกียรติคุณ นพ.กอสิน อมาตยกุล, รศ.นพ.จิรศักดิ์ ค�ำบุญเรือง, ศ.นพ.ธีระ ศิริสันธนะ และ ศ.เกียรติคุณ นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ ร่วมแบ่งปันแนวคิดและประสบการณ์ จนหลอมรวมมาเป็นสถาบันฯ ในปัจจุบนั อีกทัง้ ยังมีการจัดนิทรรศการเพือ่ ฉลองในโอกาสทีส่ ถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์ สุขภาพก่อตัง้ มานานกว่า 5 ทศวรรษ ทั้งการแสดงภาพถ่ายพระราชกรณียกิจของราชวงศ์ท่เี กี่ยวข้องกับสถาบันฯ การแสดงผลงานวิจัยในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงการเชิญชาวบ้านที่สถาบันฯ เข้าไปท�ำงานวิจัย อบรมให้ความรู้ และส่งเสริมอาชีพทั้งจากหมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ล�ำพูน อ.แม่แตง และ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ได้น�ำ ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากโครงการวิจัย เช่นผักปลอดภัยจากสารเคมีก�ำจัดศัตรูพืช ผลิตภัณฑ์จากถั่วชีวภาพ และ ผลิตภัณฑ์จากการส่งเสริมอาชีพ เช่นทั้งผ้าทอและเครื่องเงิน มาร่วมแสดงและจ�ำหน่าย การมาร่วมกิจกรรมของ ชุมชนดังกล่าวเป็นสิ่งที่ช่วยยืนยันว่างานวิจัยของสถาบันฯ นอกจากจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพแล้ว ยัง ส่งเสริมอาชีพให้คนในชุมชนในด้านอืน่ ด้วย การอบรมให้ความรู้ อาทิ ด้านการทอผ้าและเครือ่ งเงิน จนเป็นผลิตภัณฑ์ ที่สร้างอาชีพและรายได้ให้กับท้องถิ่น

สารสถาบันฯ 16

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 17


งานแสดงมุทิตาจิต ผู้เกษียณอายุประจำ�ปี 2560 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงาน แสดงมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุประจ�ำปี 2560 "ท่านคือความทรงจ�ำที่ดี และจะอยู่กับเราตลอดไป" ณ ห้องดวงตะวันแกรนด์บอลรูม โรงแรม ดวงตะวัน เชียงใหม่ วันที่ 26 กันยายน 2560 โดยในปี 2560 นี้ สถาบันฯ มีผู้ครบก�ำหนดเกษียณอายุ 8 ท่าน คือ คุณบุปผา ประภาลักษณ์ ต�ำแหน่งพนักงานปฏิบัติงาน, คุณกิตติพงศ์ รุ่งเรืองธนะกิจ ต�ำแหน่ง นักวิจัยช�ำนาญการพิเศษ, คุณธัญภรณ์ เกิดน้อย ต�ำแหน่งนักวิจัย, คุณกนกพร วิบูลย์ณัฐกุล ต�ำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ช�ำนาญการ, คุณเสรี พรหมวังศรี ต�ำแหน่งพนักงานช่าง, คุณนงลักษณ์ ไชยพิสิทธิ์ ต�ำแหน่งพนักงานบริการฝีมอื (ด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์), คุณณรงค์ สิ ท ธิ ว งศ์ ต�ำแหน่ ง ผู ้ ช ่ ว ยเหลื อ แพทย์ แ ละพยาบาล และคุ ณ สมพิ ศ พรหมขั ติ แ ก้ ว ต�ำแหน่ ง พนั ก งานทั่ ว ไป ของส�ำนั ก งานสถาบั น ฯ โดยบรรยากาศภายในงานครั้ ง นี้ เ ป็ น ไปอย่ า งอบอุ ่ น และสร้ า งความ ประทับใจให้แก่ทงั้ ผู้เกษียณและผู้เข้าร่วมงานทุกคน

สารสถาบันฯ 18

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 19


กิตติพงศ์ รุ่งเรืองธนะกิจ ชีวิตที่ให้เวลา เป็นเครื่องพิสูจน์

อุษา ธนังกูร ผู้อ�ำนวยการสถาบันฯ ท่านแรก ผมไม่ได้ สมั ค รรั บ ราชการในต�ำแหน่ ง ทางเทคนิ ค การแพทย์ แต่ ส มั ค รมาเป็ น ลูกจ้างชั่วคราวเพราะว่าได้เรียนวิชา ภูมิคุ้มกันวิทยากับอาจารย์หมอวิชาญแล้วรู้สึกว่าวิชานี้ น่าสนใจ มีอะไรให้เรียนรู้ได้อีกมาก โดยให้เวลาตัวเอง สองปีแล้วจะตัดสินใจว่าจะเอายังไงต่อ ตรงนีจ้ ะเป็นวิธคี ดิ ที่ตอนท้ายบทความนี้จะน�ำมาใช้อีกครั้ง เมื่อมีโอกาส นัง่ ทบทวนการท�ำงานทีส่ ถาบันฯ ก็นบั ว่าแปลกทีพ่ อจะแบ่ง ได้เป็น 3 ช่วง ช่วงละ 12 ปี ซึ่งในแต่ละช่วงก็มคี วามเปลี่ยนแปลง ใหญ่ในวิธีการท�ำงาน และยังมีความเปลี่ยนแปลงขนาดกลาง ดื อ นนี้ เ ป็ น เดื อ นสุ ด ท้ า ยของการท� ำ งานที่ ตรงกลางช่วงด้วย สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพแล้ว ผมก็จะเกษียณตัวเอง ไปตามระบบราชการ ก็ เ ลยอยากจะเล่ า เรื่ อ งราว ประสบการณ์การท�ำงานตลอดระยะเวลา 35 ปีให้น้องๆ ได้รบั รูเ้ ผือ่ ว่าจะเป็นประโยชน์ในการท�ำงานและการด�ำเนิน ชีวิตได้บ้าง

ผมได้มาท�ำงานเป็นข้าราชการของสถาบันฯ นีด้ ว้ ยภาวะ ตกกระไดพลอยโจน คือตอนเรียนจบที่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมือ่ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2524 มีงานลูกจ้าง ชั่ ว คราวในต�ำแหน่ ง เทคนิ ค การแพทย์ ป ระจ�ำโครงการวิ จั ย Chiang Mai – Illinois Leprosy Project ซึ่งเป็นโครงการวิจัย ของคณะแพทยศาสตร์ แต่ ส ่ ว นงานห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารอยู ่ ที่ สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ โดยมีผกู้ �ำกับดูแลคืออาจารย์หมอ วิชาญ วิทยาศัย ที่เป็นผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการในสมัยอาจารย์หมอ

สารสถาบันฯ 20

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ช่วงแรกเป็นงานทางห้องปฏิบัติการที่หนักหนาพอดู ส�ำหรับคนที่เพิ่งจบการศึกษา การท�ำงานไม่มีข้อจ�ำกัดด้านเวลา อาจเลิกตีหนึง่ ตีสองและมีงานในวันหยุด แต่ดว้ ยความทีม่ าเพราะ อยากรู้อยากเห็นในสิ่งใหม่ๆ และเป็นคนหนุ่ม ก็เลยท�ำงาน ด้วยความสนุก มีการใช้สัตว์ทดลองที่ในสมัยนั้นจะอยู่ที่ชั้น 4 ของสถาบันฯ และที่คอกสัตว์ของคณะแพทย์ ผมต้องเจาะเลือด หนู ไก่ แกะ เพื่อน�ำมาใช้ในการศึกษาวิจัย ท�ำแบบนี้อยู่เกือบปี เมื่อมีต�ำแหน่งราชการก็ได้รับโอกาสจากอาจารย์วิชาญให้ได้ เปลี่ ย นจากลู ก จ้ า งโครงการวิ จั ย ของคณะแพทย์ มาเป็ น ข้าราชการของสถาบันฯ ในฝ่ายวิจัยจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกัน วิทยา เวลาต่อมาก็มคี วามเปลีย่ นแปลงคือหัวหน้าห้องย้ายไปเป็น อาจารย์ที่คณะเทคนิคการแพทย์ และรุ่นพี่สองคนก็ไปเรียนต่อ ผมจึ ง ได้ รั ก ษาการหั ว หน้ า แผนก และเป็ น เหตุ ผ ลที่ ท�ำให้ มี ประสบการณ์งานบริหารค่อนข้างมาก ในตอนกลางของช่วงนีก้ ไ็ ด้ ไปเรียนต่อระดับปริญญาโทที่ประเทศอังกฤษด้วยทุนรัฐบาล สหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2531 และกลับมาด�ำเนินงานวิจัย ทางห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารในด้ า นภู มิ คุ ้ ม กั น วิ ท ยาของโรคเรื้ อ นต่ อ ทีส่ ถาบันฯ จนถึงปี พ.ศ. 2535 ทีส่ ถาบันฯ ก็มคี วามเปลีย่ นแปลง และชี วิ ต การท�ำงานของผมก็ เ ข้ า สู ่ ช ่ ว งที่ ส องอี ก ประมาณ สิบสองปี เมือ่ ปัญหาโรคเรือ้ นลดลงแต่ประเทศไทยต้องเผชิญกับ ปัญหาที่รุนแรงคือโรคเอดส์ สถาบันฯ ได้ปรับงานวิจัยเพื่อศึกษา วิจัยในโรคนี้ โดยร่วมมือกับคณะผู้วิจัยระดับโลกคือ US CDC และ Johns Hopkins ในสมัยนัน้ การหา CD ต่างๆ เป็นระดับงาน วิจัยทางห้องปฏิบัติงานเท่านั้น เมื่อต้องมีการหาค่า CD4 และ CD อื่นๆ ในการตรวจผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผมก็ได้ใช้ความรู้ด้าน

ห้องปฏิบัติการภูมิคุ้มกันวิทยาร่วมในการด�ำเนินงานตั้งแต่แรก รวมทั้ ง งานด้ า นระบาดวิ ท ยาที่ จ ะต้ อ งท�ำงานกั บ จ�ำนวน สิ่งส่งตรวจจ�ำนวนมาก มีเกร็ดเล่า 2 เรื่อง คือในระยะแรก สถาบันฯ ไม่มเี ครื่องวัดจ�ำนวน CD4 เอง แต่ได้รับความร่วมมือ จากโรงพยาบาลศูนย์ล�ำปางที่มีเครื่อง ผมจึงต้องเดินทางไปที่ โรงพยาบาลศูนย์ล�ำปางทุกสัปดาห์ อีกเรือ่ งก็คอื งานระบาดวิทยา ที่ ก ล่ อ งใส่ สิ่ ง ส่ ง ตรวจที่ ห าซื้ อ ง่ า ยๆ ในเวลานี้ ไ ม่ มี ข ายใน ประเทศไทย ผมได้ไอเดียจากกล่องใส่กระดุมและด้าย และให้ เจ้าหน้าที่แลปช่วยตัดกระดาษท�ำที่กั้น ก็สามารถมีกล่องใส่ สิ่ ง ส่ ง ตรวจให้ เ ป็ น ระเบี ย บเพื่ อ จั ด ท�ำระบบการจั ด เก็ บ ที่ มี ประสิ ท ธิ ภ าพ ในตอนกลางของช่ ว งนี้ ก็ ไ ด้ เ ป็ น ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบ ประสานงานและก�ำกับงานโครงการขนาดใหญ่ของสถาบันฯ ที่ร่วมกับอีก 7 หน่วยงานใน 4 จังหวัด ซึ่งก็เป็นการเปลี่ยน วิ ธี ท�ำงาน จากด�ำเนิ น งานเองเป็ น การออกแบบระบบงาน เครือข่าย ให้มีมาตรฐานที่เชื่อถือได้จากผู้ให้ทุนระดับสากล ในช่วงเวลาเดียวกันนี้สถาบันฯ ก็เข้าร่วมโครงการวิจัยวัคซีน โรคเอดส์ ซึ่งต้องพัฒนามาตรฐานงานให้เป็นระดับงานวิจัย ทางคลินิก ท�ำให้ผมได้รับความรู้ด้านกฏระเบียบต่างๆ และมีผล ต่อการด�ำเนินงานในช่วงที่สามที่เริ่มประมาณปี พ.ศ. 2548

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 21


ชีวติ การท�ำงานในช่วง 12 ปีสดุ ท้าย น่าจะเป็นสิง่ ทีน่ อ้ งๆ ได้เห็นกัน จากการทีส่ ถาบันฯ ได้เป็นหน่วยงานวิจยั ของเครือข่าย วิจัยโรคเอดส์หลายเครือข่าย ผมได้รับผิดชอบในการจัดตั้ง Specimen Processing Unit เพื่อดูแลสิ่งส่งตรวจให้มีคุณภาพ ที่เชื่อถือได้ ทั้งการแยก จัดเก็บ และจัดส่งไปยังห้องปฏิบัติการ เครื อ ข่ า ยทั่ ว โลก โดยไม่ ใ ห้ มี ค วามผิ ด พลาด จากการวาง ระบบงาน และมี น ้ อ งๆ ในหน่ ว ยร่ ว มมื อ ร่ ว มใจปฏิ บั ติ ง าน ในมาตรฐานที่สูงมากพร้อมๆ ไปกับ Clinical Laboratory ท�ำให้ ห้องปฏิบัติการของสถาบันฯ ได้รับรางวัล Best Performance หลายครัง้ จากเครือข่ายต่างๆ ในครึง่ หลังของช่วงนีก้ ไ็ ด้ใช้ความรู้ และประสบการณ์ทสี่ งั่ สมมาช่วยงานบริหารของสถาบันฯ รวมทัง้ การเตรียมน้องใน Specimen Processing Unit ให้สามารถขึ้นมา บริหารงานแทนได้ และภารกิจสุดท้ายในปีสุดท้ายคือการเป็น ประธานคณะท�ำงานจัดท�ำหนังสือในวาระครบรอบ 50 ปีสถาบันฯ ทีจ่ ะเป็นการบันทึกประวัตศิ าสตร์หา้ สิบปีของสถาบันฯ เนือ่ งจาก เป็ น ผู ้ ที่ รู ้ เ รื่ อ งราวพั ฒ นาการของสถาบั น ฯ มากที่ สุ ด ที่ ยั ง รับราชการอยู่

ตัวเองสักสองปี แต่จะให้ค�ำปรึกษา SPU และช่วยงานสถาบันฯ บางเรื่องไปอีกระยะหนึ่ง สถาบันฯ เริ่มต้นการจัดตั้งองค์กร เมื่ อ ห้ า สิ บ ปี ที่ แ ล้ ว ด้ ว ยนั ก วิ จั ย ชาวตะวั น ตกโดยมี ม าตรฐาน การด�ำเนินงานแบบสากล เมื่อปรับเปลี่ยนเป็นองค์กรของระบบ ราชการไทยก็มีพัฒนาการมาตลอดเพื่อมุ่งสู่ความเป็นสากล จนได้รับการยอมรับในเวทีโลกของหลายๆ วงการวิจัย ผมขอให้ ก�ำลังใจน้องๆ ในการร่วมมือร่วมใจกันน�ำพาสถาบันฯ ที่เป็น ความภูมิใจของพวกเรามาโดยตลอดไปสู่การเป็น World Class Research Institute

...

หลังเกษียณจะท�ำอะไรคงเป็นค�ำถามสามัญ เมือ่ ผมคิด เรื่องนี้และทบทวนชีวิตการท�ำงานก็เลยไปได้แนวคิดเมื่อครั้ง เรียนจบปริญญาตรีและจะหางาน ก็เลยตัดสินใจว่าจะให้เวลา

สารสถาบันฯ 22

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


บุปผา ประภาลักษณ์ ชีวิตที่ขมๆ หวานๆ ในบ้านของเรา

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 23


ว่ า 37 ปี ใ นชี วิ ต การท�ำงาน ณ สถาบั น วิ จั ย วิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นชีวิตที่มีครบทุกรสชาติ ส�ำหรับตัว ป้าอ้อยเอง สถาบันฯ เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองและพวกเรา ทุ ก คนก็ เ ปรี ย บเสมื อ นสมาชิ ก ในครอบครั ว ของป้ า อ้ อ ยที่ อ ยู ่ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมานานมากกว่าครึ่งชีวิต แต่ทุกอย่างต้องมี วันเลิกรา ตัวป้าอ้อยเองก็ตอ้ งจบการท�ำงานทีส่ ถาบันฯ เนือ่ งจาก ครบเกษี ย ณอายุ แต่ ถึ ง แม้ จ ะจบชี วิ ต การท�ำงานแต่ ไ ม่ ไ ด้ หมายความว่ า ความรั ก และความผู ก พั น ที่ มี ต ่ อ สถาบั น ฯ และพวกเราจะหมดวาระไปด้วย เมื่ อ ได้ อ อกไปสั ม ผั ส บรรยากาศขององค์ ก รอื่ น ๆ โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ป้าอ้อยอยากบอกให้พวกเรา รู้ว่า สถาบันฯ เป็นสถานที่ท�ำงานที่มีความสุขที่สุดแห่งหนึ่ง ตลอดเวลาที่ผ่านมา พวกเราอยู่กันเป็นครอบครัว รักกันอย่าง พีน่ อ้ ง เอือ้ อาทรต่อกัน อาจจะมีความขัดแย้ง ไม่พอใจกันและกันบ้าง ก็เป็นธรรมดาของโลกใบนี้ แต่ก็เป็นส่วนน้อยในบ้านของเรา สิ่ง เหล่ า นี้เ ป็ น สิ่ง ที่ป ้ า อ้ อ ยอยากจะฝากพวกเราไว้ ว ่ า ขอให้ พวกเรารั ก ษาความรั ก ความผู ก พั น ความเอื้ อ อาทรต่ อ กันและกันไว้ แล้วทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดี สุดท้ายนี้ ป้าอ้อยขอขอบคุณทุกๆ คนในไมตรีจติ ทีม่ อบ ให้แก่ป้าอ้อย และขอมอบธรรมะของพระอาจารย์ชยสาโรไว้ เตือนใจในการท�ำงาน

...

สารสถาบันฯ 24

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ธั ญ ภรณ์ เกิ ด น้ อ ย ชีวิตมันต้องเดินตามหา "ความฝัน" ห

ลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียน สตรี ศ รี สุ ริ โ ยทั ย กรุ ง เทพฯ และจบปริ ญ ญาตรี ค ณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2523 ได้เริ่มปฏิบัติงาน ณ สถาบันวิจัย โภชนาการ ปัจจุบันเป็นสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ ท�ำงานด้ า นการสื่ อ สารและปรั บ พฤติ ก รรมเพื่ อ การมี โภชนาการทีด่ กี บั ชุมชน ซึง่ ในขณะนัน้ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออีสานมีปญ ั หาเด็กขาดสารอาหารมากเช่นกัน การท�ำงานของ “เด็กจบปริญญาตรี” ก็ตอ้ งเรียนรูแ้ ละพัฒนาตัวเองให้สามารถ ท�ำงานกับผู้ใหญ่ท่เี ก่งๆ มีแนวคิดก้าวไกล มีชื่อเสียงในแถวหน้า ของประเทศ นั บ ว่ า เป็ น ความโชคดี ข องชี วิ ต และเป็ น ต้ น ทุ น การท�ำงานให้ แ ข็ ง แกร่ ง ทั้ ง ด้ า นความคิ ด และความมุ ่ ง มั่ น การท�ำงานเพื่ อ ประโยชน์ แ ก่ ป ระชาชนในชนบทมาตลอด

ด้ ว ยสถาบั น วิ จั ย โภชนาการในขณะนั้ น มี ส�ำนั ก งาน ภาคสนามอยู่ ณ จังหวัดอุบลราชธานี การท�ำงานจึง คลุกคลีกับชาวบ้านในภาคอีสานหลายจังหวัด เพื่อศึกษา วิถีชีวิตความเป็นอยู่ อาหารการกิน เศรษฐกิจสังคม เพื่ อ น�ำมาวางแผนในการสื่ อ สารเพื่ อ การให้ ค วามรู ้ ที่ เหมาะสมกับบริบทของชุมชน และกลุม่ เป้าหมาย ชีวติ การ ท�ำงาน ณ สถาบันวิจัยโภชนาการจึงเป็นบ้านที่บ่มเพาะ ความเป็นตัวตนให้ชัดเจนด้วยการท�ำงานหนัก ใกล้ชดิ กับ ผู้ใหญ่ใจดีมีเมตตามาตลอด การท�ำงานที่ต้องทุ่มเทเวลาให้กับ การท�ำงานมากกว่าส่วนตัวจึงเป็นเรื่องส�ำคัญของชีวิต ด้วยมี แบบอย่างผูน้ �ำทีส่ �ำคัญและขอกล่าวนามด้วยความเคารพศรัทธา ในที่นี้คือศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์อารี วัลยเสวี คุณหมอแมกไซไซ (2530) สาขาผู้น�ำชุมชน, ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ แพทย์หญิงคุณสาคร ธนมิตต์, ดร.สุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ, ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นายแพทย์ไกรสิทธิ์ ตันติสิรินทร์ เป็นต้น

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 25


เมือ่ ถึงเวลาการเปลีย่ นเส้นทางชีวติ อีกครัง้ เพือ่ เดินตาม ฝันที่จะมาอยู่เชียงใหม่ท่ามกลางธรรมชาติอันงดงามและใช้ชีวิต เรียบง่าย (ไม่ต้องห้อยโหนบนรถเมล์วันละ 5-6 ชั่วโมง) ได้รับ ความเมตตาจากท่ า นรองศาสตราจารย์ น ายแพทย์ จิ ร ศั ก ดิ์ ค�ำบุ ญ เรื อ ง ผู ้ อ�ำนวยการสถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ ท่านได้กรุณาโทรศัพท์ด้วยตัวเองว่าได้อนุมัติให้รับโอนมาปฏิบัติ หน้าที่สถาบันฯ จะมาได้เมื่อใด ซึ่งตอนนั้นก็ยังเสียดายงานที่ท�ำ อยู ่ เ พราะเพิ่ ง กลั บ จากการอบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารด้ า น Communication process and development จาก John Hopkins University และต้องเปลี่ยนมารับต�ำแหน่ง นักประชาสัมพันธ์ ระดับ 6 โดยดูแลงานด้านประชาสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ ของสถาบันฯ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2538 ซึ่งนอกจากรับงาน โดยตรงกั บ ผู ้ บ ริ ห ารและเลขานุ ก ารสถาบั น ฯ ต้ อ งขอบคุ ณ คุณบุปผา ประภาลักษณ์ ที่เมตตาให้ค�ำแนะน�ำในการท�ำงาน และให้อิสระในการท�ำงานตลอดช่วงเวลา แล้วได้ท�ำงานร่วมกับ คุณสุวิภา บุญเรือง คุณ Peter Lange และ ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล ซึ่งขณะนั้นด�ำรงต�ำแหน่งผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ ซึ่ ง เป็ น อี ก ประสบการณ์ ก ารท�ำงานที่ เ ต็ ม ร้ อ ยกั บ การท�ำให้ สถาบันฯ เป็นที่รู้จักและประทับใจ โดยดูแลจัดการด้านการ ประชาสั ม พั น ธ์ สร้ า งภาพลั ก ษณ์ และเอกสารส�ำคั ญ ด้ า น วิเทศสัมพันธ์ รวมทั้งให้การต้อนรับแขกส�ำคัญๆ ในโอกาสต่างๆ ของสถาบันฯ มาโดยตลอด

การสื่อ สารเพื่อ การปรั บ เปลี่ย นพฤติก รรมในชุ ม ชนมาตั้ง แต่ ครั้งที่ยังปฏิบัติงาน ณ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้รบั มอบหมายจากสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ ให้ปฏิบตั ิ หน้าที่นักวิจัย โดยรับผิดชอบทั้งในฐานะหัวหน้าโครงการและ ผู ้ ร ่ ว มวิจั ย นอกจากนี้ยั ง รั บ ผิด ชอบในการประสานงานวิจั ย และงานบริการวิชาการสู่ชุมชนในกลุ่มงานด้านสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพ และเปลี่ยนต�ำแหน่งจากนักประชาสัมพันธ์ ระดับ 6 เป็นนักวิจัย ระดับ 6 หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาการจั ด การมนุ ษ ย์ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม จากมหาวิ ท ยาลั ย เชียงใหม่ ในปี 2547 และได้ปฏิบัติงานในโครงการวิจัยต่างๆ โดยเฉพาะด้านการสือ่ สารผลกระทบของสารเคมีตอ่ สุขภาพและ สิ่ ง แวดล้ อ มสู ่ ชุ ม ชนและสั ง คม ซึ่ ง ก็ ต ้ อ งมาเรี ย นรู ้ เ รื่ อ งราว เกีย่ วกับการใช้สารเคมีก�ำจัดศัตรูพชื และการท�ำเกษตรของชุมชน ภาคเหนือตอนบนมากขึน้ เพือ่ เข้าใจทัง้ เนือ้ หาวิชาการและบริบท ของชุมชนสังคมเพื่อการเผยแพร่องค์ความรู้และสื่อสารจนเกิด ความตระหนักมากขึ้นในสังคมและน�ำสู่ความต้องการอาหาร ปลอดภัย และการป้องกันความเสีย่ งจากการท�ำงานทีใ่ ช้สารเคมี ในภาพเกษตรเป็นอย่างดี ท่ามกลางงานวิจัยในความรับผิดชอบ จะมีความยากและอุปสรรคในทุกขั้นตอนของการด�ำเนินงาน ก็ต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้วิธีคิดและวิทยาการมาตอบโจทย์ การท�ำงานได้ ม ากขึ้ น จึ ง ได้ ศึ ก ษาต่ อ ในระดั บ ปริ ญ ญาเอก สาขาวิ ช าการใช้ ที่ ดิ น และการจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ อย่างยัง่ ยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้เวลา แต่ด้วยจิตวิญญาณที่ชอบงานวิชาการและการพัฒนา เรียนในวันเสาร์-อาทิตย์ และได้ส�ำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร ในชุมชนทีส่ งั่ สมมา เนือ่ งจากมีความสนใจและรักทีจ่ ะท�ำงานวิจยั ดุษฎีบัณฑิตในปี 2557 เป็น ดร. ธัญภรณ์ เกิดน้อย อย่างเต็ม ประกอบกับมีพื้นฐานและประสบการณ์การท�ำงานวิจัยทางด้าน ภาคภูมิ

สารสถาบันฯ 26

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ซึ่ ง ต้ อ งขอกราบขอบพระคุ ณ ท่ า นศาสตราจารย์ นายแพทย์ธรี ะ ศิริสันธนะ เป็นอย่างสูงที่กรุณาอนุมัตติ ั้งแต่ให้ เปลีย่ นต�ำแหน่ง และสนับสนุนค่าลงทะเบียนในระดับปริญญาเอก บางส่วน และอีกท่านคือ ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล ที่ให้ แนวคิ ด ด้ า นการศึ ก ษาและโอกาสการท�ำงานอย่ า งเต็ ม ความสามารถ จึงได้พัฒนางานด้านการสื่อสารและสร้างความ ตระหนักเรื่องผลกระทบสารเคมีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จนมาถึงการริเริ่มการสร้างองค์ความรู้ด้านหมอกควันสู่ชุมชน และสังคม โดยท�ำงานร่วมกับ ดร.สุรัตน์ หงษ์สิบสอง มาตลอด ซึ่ ง เป็ น การพั ฒ นางานวิ จั ย ที่ มุ ่ ง เน้ น การสร้ า งกระบวนการ แก้ปัญหาให้แก่ชุมชนได้อย่างยั่งยืนและครบวงจร โดยค�ำนึงถึง การมีอาชีพ รายได้อย่างยัง่ ยืนของชุมชนไปพร้อมกัน เช่น ผลงาน วิจัยเรื่องการส่งเสริมเครือข่ายการผลิตและการบริโภคพืชผัก ปลอดภัยจากสารเคมีก�ำจัดศัตรูพชื โดยการมีสว่ นร่วมของชุมชน ซึ่งท�ำให้เกิดเครือข่ายของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพืชผักปลอด สารเคมีที่อ�ำเภอแม่แตง อ�ำเภอพร้าว อ�ำเภออมก๋อย อ�ำเภอ แม่ แ จ่ ม เป็ น ต้ น โดยมีก ระบวนการแก้ ป ั ญ หาและทางออก แก่เกษตรกรในการผลิตพืชผักโดยไม่ใช้สารเคมี เช่น การสร้าง ตลาดในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแหล่งรับซือ้ ผลผลิต และขยาย ไปโรงพยาบาลอ�ำเภอ เทศบาล โรงเรียน เพื่อจะได้น�ำพืชผัก ปลอดภัยมาปรุงอาหาร ส่วนชาวบ้านเมื่อไม่ได้สัมผัสกับสารเคมี

ก็ส่งผลดีต่อสุขภาพ ท�ำการเกษตรโดยไม่ต้องลงทุนสูง ผู้บริโภค ก็ได้บริโภคอาหารปลอดภัย การท�ำงานที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ นับเป็น บ้านอีกหลังของชีวติ ทีม่ กี ารต่อสูช้ วี ติ ด้วยตัวเองอย่างเต็มศักยภาพ ต่ า งจากตอนอยู ่ ก รุ ง เทพฯ ที่ อ บอุ ่ น ด้ ว ยการอุ ้ ม ชู ดู แ ลของ คุณพ่อคุณแม่และพี่ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้เราแข็งแกร่งเติบโตขึ้น อย่ า งมั่ น คงแข็ ง แรง ตลอดการท�ำงาน ณ สถาบั น ฯ แห่ ง นี้ จึงเป็นบ้าน เป็นอีกครอบครัวที่มีผู้ใหญ่ใจดีที่ให้โอกาสและ สนับสนุนในการท�ำงานตามความฝัน มีพี่ๆ น้องๆ ที่ร่วมทีมงาน และสนับสนุนการด�ำเนินงานในทุกจุดจนบรรลุผลส�ำเร็จอย่าง เต็มภาคภูมิ คิดถึงผลงานที่พวกเราร่วมกันท�ำแล้วเกิดประโยชน์ ต่อชุมชน สังคม มีความปิติยินดีค่ะ นี่คือบุญที่ได้เกิดมาท�ำงาน ดีๆ จนถึงวาระครบอายุการท�ำงาน ขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่ได้ ให้ ก ารสนั บ สนุ น และความร่ ว มมื อ อย่ า งดี ยิ่ ง มาโดยตลอด เพราะการท�ำงานใดๆ ไม่สามารถท�ำได้ส�ำเร็จแต่เพียงคนเดียวค่ะ

...

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 27


เสรี พรหมวังศรี ชีวิตมีอะไรให้ทำ� ตั้งเยอะแยะ

สารสถาบันฯ 28

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


มเข้ า มาท�ำงานที่ส ถาบั น ฯ เมื่อ ปี พ.ศ. 2522 เป็นข้าราชการ ต�ำแหน่งนายช่างไฟฟ้า ระดับ 2 เรื่อยมาจนถึง นายช่ า งไฟฟ้ า ระดั บ 5 จนกระทั่ ง ปรั บ เปลี่ ย นสถานภาพ เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2551 รวมระยะเวลา ปฏิบัติงานในสถาบันฯ เป็นเวลา 38 ปี งานในหน้าที่รับผิดชอบ คือควบคุมดูแลระบบไฟฟ้าในอาคารสถาบันฯ ระบบไฟฟ้าส�ำรอง ระบบปรับอากาศ ลิฟท์ และตรวจสอบเบื้องต้นกรณีเครื่องมือ และอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ช�ำรุดเสียหาย และมีงานอื่นที่ได้รับ มอบหมาย เป็นต้น ความประทับใจในการท�ำงานที่สถาบันฯ คือการมี ผู้บังคับบัญชาที่ดี ตั้งแต่เริ่มเข้าท�ำงานจนถึงปัจจุบัน การมี เพื่อนร่วมงานที่ดี ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลในการปฏิบัติงาน และที่ส�ำคัญที่สุด สถาบันฯ เป็นเหมือนบ้านหลังที่สองที่อยู่แล้ว มี ค วามสุ ข ตลอดชี วิ ต การท�ำงานที่ ผ ่ า นมา อี ก ทั้ ง ในด้ า น การท�ำงาน สถาบันฯ ท�ำให้ผมมีทักษะและความช�ำนาญในการ ปฏิบัติงานนับตัง้ แต่เรียนจบ เกษียณแล้วจะไปท�ำอะไร ระยะแรกคงต้องไปเป็น พขร. ก่อน นอกจากนั้นก็คงเป็นเกษตรกรเล็กๆ น้อยๆ ปลูกพืชผัก สวนครัวรัว้ กินได้ไปก่อนครับ ผมคงไม่มขี ้อคิดอะไรจะฝากมาก นอกจากขอให้น้องๆ รักสถาบันฯ ท�ำงานด้วยความรู้สึกว่าสถาบันฯ คือบ้านของเรา ตั้ ง ใจท�ำงานเพื่ อ ให้ บ ้ า นหลั ง นี้ มี ค วามสุ ข และเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง ยิ่งๆ ขึ้นไปครับ

...

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 29


กนกพร วิบูลย์ณัฐกุล

วันวานที่พากเพียร วันเกษียณที่ภาคภูมิ

สารสถาบันฯ 30

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ดือนกันยายนของทุกๆ ปี เป็นเดือนที่ครบเกษียณ อายุราชการของบุคคลากรหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเรามักจะได้ยิน ค�ำว่า “วันวานที่พากเพียร วันเกษียณที่ภาคภูมิ” หรือค�ำที่ คล้ายกันนี้จนคุ้นหู และแล้วก็มาถึงวาระของตนเองที่จะครบ เกษียณอายุราชการเช่นเดียวกัน 2 ก.พ. 2526 เป็นวันที่ได้ย่างก้าวเข้ามาอาศัยอยู่ใน บ้ า นหลั ง ที่ ส องที่ ชื่ อ “สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ” อย่ า งเป็ น ทางการ คื อ ได้ รั บ การบรรจุ ใ ห้ เ ข้ า รั บ ราชการใน ต�ำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ (ซึ่งก่อนหน้านั้นได้เข้ามาท�ำงาน ก่อนแล้วสองปี ในต�ำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวโครงการวิจัย) นั บ ตั้ ง แต่ เ ข้ า มาอาศั ย อยู ่ ใ นบ้ า นหลั ง ที่ ส องนี้ รู ้ สึ ก มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ในบ้านหลังนี้มีสมาชิกที่ให้ทั้ง ความอบอุ่น ความเป็นกันเอง ผู้บริหารในสมัยแรกๆ ที่เข้ามา ท�ำงาน ท่านเปรียบเหมือนเป็นพ่อ แม่ คนที่สอง ท่านเป็นทั้ง ที่ปรึกษา เป็นพี่ มีพี่ๆ น้องๆ ที่เป็นเพื่อนร่วมงานที่ดี มีความ เป็นกันเอง ใกล้ชิด สนิทสนมและสามัคคีกันอย่างดี ทั้งยัง สนับสนุนและส่งเสริมการท�ำงานซึ่งกันและกันด้วยดีเสมอมา

ด้านการท�ำงาน เมือ่ ได้รบั มอบงานให้ท�ำแล้ว หัวหน้างาน แต่ละท่านให้โอกาสเราได้ใช้ความรู้ ความสามารถ ของเรา ได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งสิ่งนี้เองท�ำให้ตนเองได้มโี อกาสพัฒนา ความรู้และความสามารถของตัวเองได้อย่างเต็มที่ จนท�ำให้ งานแต่ละงานส�ำเร็จลุล่วงลงได้ หรือถ้าติดขัดก็ได้รับค�ำแนะน�ำ เป็นอย่างดีมาโดยตลอด และสิ่งที่ตนเองจะต้องจดจ�ำไปตลอด ก็คอื ประสบการณ์ตา่ งๆ ทีไ่ ด้รบั จากการท�ำงานในบ้านหลังทีส่ อง นี้เอง เป็นสิ่งที่ท�ำให้ตนเองคิดว่าท�ำให้ชีวิตมีความมั่นคงมาก ในระดับหนึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ และมั่นใจว่าต่อไปถึงในอนาคตด้วย ขอยกตัวอย่าง ตัวอย่างหนึ่งคือ การมีโอกาสได้ท�ำงานอยู่กับ คอมพิวเตอร์ ท�ำให้ได้รับโอกาสพัฒนาศักยภาพของตนเอง ในด้านนีไ้ ด้มากพอสมควร กล่าวคือ งานในหน้าที่ ท�ำให้สามารถ วิเ คราะห์ง านด้วยโปรแกรมวิเ คราะห์ข ้อ มู ลวิจัย เบื้อ งต้น ได้ ซึ่งสิ่งนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการท�ำงาน ท�ำให้เราสามารถ วางแผนการท�ำงานได้ทงั้ ในปัจจุบัน และอนาคตทัง้ ใกล้และไกล ได้ด้วยตนเอง อีกทั้งสามารถสรุปผลการท�ำงานในปัจจุบันได้ ในเวลาอันรวดเร็วเมื่อเราต้องการ ท�ำให้สามารถวิเคราะห์ ในหน้าที่รับผิดชอบได้ นอกจากนั้นแล้วยังท�ำให้มีโอกาสได้มี อาชี พ เสริ ม ด้ า นงานปั ก ผ้ า ด้ ว ยระบบคอมพิ ว เตอร์ อี ก ด้ ว ย (งานปักทุกรูปแบบด้วยจักรคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม)

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 31


ดังนี้

ที่กล่าวมาสั้นๆ ข้างต้น ขอสรุปเป็นข้อคิดง่ายๆ ที่ตนเองได้ยดึ ถือมาโดยตลอดชีวิตการท�ำงาน ทั้งงานราชการและส่วนตัว

1. โอกาส คิดว่าทุกคนมีโอกาสเหมือนๆกัน เพียงแต่ว่า เมือ่ มีผหู้ ยิบยืน่ โอกาสให้เรา เราจะขว้ามันไว้หรือไม่ หรือ ถึงแม้วา่ ไม่มีใครหยิบยื่นให้เรา เราจะไขว่ขว้าหามันหรือไม่ 2. เปิดใจ เมือ่ มีโอกาสมาถึงเราแล้ว เราจะเปิดใจ “รับ” หรือ “ไม่รับ” ถ้าหากเราเปิดใจรับ เราก็จะลงมือท�ำ และได้รับ โอกาสนั้น 3. เรียนรู้และปฏิบัติ อย่างจริงจัง เมื่อเราได้ทดลอง ปฏิบัติแล้ว ส�ำเร็จหรือไม่ส�ำเร็จนัน้ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

5. ศั ก ยภาพ ท�ำงานให้ เ ต็ ม ศั ก ยภาพของตนเอง และท�ำงานให้มากกว่างานทีไ่ ด้รบั มอบหมาย (ในขอบเขตของเรา) “คนเราทุกคนสามรถเก่งได้ เมื่อเราต้องการ”

4. พรสวรรค์และพรแสวง ไม่ว่าจะท�ำอะไรก็ตาม ให้พยายามใช้พรสวรรค์ที่มีอยู่ในตัวเราแต่ละคนให้มากที่สุด หรือถ้ามีน้อยก็ให้เพิ่มความพยายามลงไปให้มากที่สุดจนสุด ความสามารถของเรา “ไม่มีสิ่งใด ที่เราจะท�ำไม่ได้” ถ้าเรา เปิดใจรับ และได้ลงมือกระท�ำ “ถ้าเราคิดว่าเราท�ำได้ เราจะ ลงมือท�ำ แต่ถ้าเราคิดว่าเราท�ำไม่ได้ เราจะไม่ลงมือท�ำ” 6. ความแม่นย�ำในงาน การท�ำงานทุกอย่าง จะต้อง ละเอียด รอบคอบ “ภาพรวมของงาน” เป็นสิ่งส�ำคัญ จะต้อง มองให้เ ห็ นภาพรวมของงานทั้ง หมดให้ไ ด้ ไม่ม องแต่เฉพาะ ส่วนงานของตนเองที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น โดยเฉพาะในงาน วิจัย ต้องตอบค�ำถามให้ครบตามทฤษฎี คือ What Where When Why and How

สุดท้าย ขอถือโอกาสนี้ กราบขอบพระคุณท่านผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สขุ ภาพทุกสมัย หัวหน้าฝ่ายทุกท่าน พี่ๆ เพื่อนๆ และน้องๆ ทุกท่านทุกคน ที่เคยได้ร่วมงานกันมา ซึ่งทุกท่านทุกคนล้วนมีส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งที่ท�ำให้ตนเองได้อยู่ท�ำงาน ในสถาบันวิจัยฯแห่งนี้อย่างมีความสุขมาโดยตลอดตราบจนวาระสุดท้ายของการท�ำงานในวันที่ 30 ก.ย. 60

... สารสถาบันฯ 32

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


นงลักษณ์ ไชยพิสิทธิ์

ชีวิตที่ต้องก้าวผ่าน ช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลง ข้

าพเจ้า นางนงลักษณ์ ไชยพิสิทธิ์ เริ่มท�ำงาน ทีส่ ถาบันฯ แห่งนีต้ งั้ แต่ 15 กุมภาพันธ์ 2517 - 30 กันยายน 2560 (บรรจุราชการ 2 มกราคม 2519) ในต�ำแหน่งพนักงานผูช้ ว่ ยเหลือ แพทย์และพยาบาลที่วิจัยคลินิก (WARD) ชั้น 3 อาคาร 1 จะขอ เล่าว่าแต่ก่อนอาคาร 1 ของเรามีการแบ่งสัดส่วนการท�ำงาน อย่ า งไรบ้ า ง เริ่ ม ตั้ ง แต่ ชั้ น 1 เป็ น หน่ ว ยช่ า งซ่ อ มและดู แ ล เครื่องยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ ห้องนอนเวรคนขับรถที่รับผิดชอบ รับ – ส่งพยาบาล ผูช้ ว่ ยเหลือแพทย์ขนึ้ เวรดึก ส่งเวรบ่ายตามบ้าน ของแต่ละท่าน ชั้น 2 ห้องธุรการ ห้องเลขานุการ ห้องที่ปรึกษา ฝ่ายต่างประเทศ ห้อง Lab 1, 2, 3, 4, 5, 6 ห้อง Cool Room ห้องอบแห้ง (อุปกรณ์ท่ใี ช้ในห้อง Lab ต่างๆ) ชั้น 3 มีวิจัยคลินิก ห้องเด็กทีม่ ารักษา ห้องอาสาสมัครผูใ้ หญ่ ห้องโภชนาการส�ำหรับ ท�ำอาหารและน�้ำนมให้เด็กที่ขาดสารอาหาร โดยมีการค�ำนวณ สารอาหารในเด็ ก แต่ ล ะคน ห้ อ งสถิติ ห้ อ งหน่ ว ยจ่ า ยกลาง

ห้อง Lab Hematology ชั้น 4 ห้องเลี้ยง สัตว์ทดลอง เช่น หนู กระต่าย เป็นต้น

โ ด ย ก า ร บ ริ ห า ร ง า น ข อ ง ศู น ย์ วิ จั ย โลหิ ต วิ ท ยาและทุ โ ภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ มีคุณจุไร ช�ำนาญ เป็นหัวหน้างาน คุณประสบสุข ณ บางช้าง เป็ น รองหั ว หน้ า มี ที ม แพทย์ ที่ ดู แ ลและ รั ก ษาเด็ ก ที่ ป ่ ว ยเป็ น โรคขาดสารอาหารหลายท่ า น เช่ น อ.อาวุธ ศรีศุกรี, อ.ปัญจะ กุลพงษ์, อ.ด�ำริ ด�ำรงศักดิ์, อ.อุษา ธนังกูล, อ.จุฑามาศ สุทศั น์ ณ อยุธยา, อ.วิชาญ วิทยาศัย, อ.ทัศนวรรณ วานิชพงศ์ ขณะนั้นศูนย์วิจัยฯ ท�ำวิจัยเกี่ยวกับ โรคขาดสารอาหารในเด็ก จึงได้รับผิดชอบดูแลเด็กที่มาตรวจ ห้องเด็กเบอร์ 28 ฝั่งโรงพยาบาลสวนดอก ที่ขาดสารอาหาร และมานอนรักษาเป็นอาสาสมัครที่ศูนย์วิจัยฯ โดยที่ข้าพเจ้า มีหน้าทีด่ แู ลอาสาสมัครของศูนย์วจิ ยั ฯ ทีม่ าพักรักษา และร่วมใน โครงการวิจยั ทีว่ อร์ดชัน้ 3 ของศูนย์วจิ ยั ฯ อาสาสมัครในขณะนัน้ มีทั้งเด็กซึ่งเป็นโรคขาดสารอาหาร ผู้ใหญ่ที่มาทดลองกินผัม (พื ช น�้ ำ สี เ ขี ย ว) เพื่ อ หาโปรตี น อาสาสมั ค รหญิ ง ในเรื่ อ ง ยาคุ ม ก�ำเนิ ด และหญิ ง อาชี พ บริ ก ารพิ เ ศษในโครงการวิ จั ย ที่เกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัย

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 33


เวลาผ่านไป จากกุมภาพันธ์ 2517 – กันยายน 2560 43 ปี มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง งานวิจัยเปลี่ยนหัวข้อไป ศู น ย์ วิ จั ย ฯ เปลี่ ย นเป็ น สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกนอกระบบเป็นมหาวิทยาลัยในก�ำกับ ต�ำแหน่งก็เปลี่ยนไปเป็นพนักงานบริการฝีมือ (ด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์) ความประทับใจในการท�ำงานตลอด 43 ปี แบ่งได้เป็น ช่ ว งๆ ช่ ว งแรกที่เ ป็ น ศู น ย์ วิ จั ย โลหิ ต วิ ท ยาและทุ โ ภชนาการ มีลักษณะเหมือนหน่วยงานเอกชน จ�ำนวนเจ้าหน้าที่มีไม่มาก มีสวัสดิการทีด่ เี นือ่ งจากไม่เป็นราชการ เช่น อยูเ่ วรกะบ่าย กะดึก มีรถรับ-ส่ง ฤดูหนาวแจกเสื้อกันหนาว ฤดูฝนแจกเสื้อกันฝน มีโบนัสประจ�ำปี รู้สึกภูมิใจ ประทับใจ ที่ได้มีโอกาสมาท�ำงาน ในสถานที่ ที่ มี ค วามทั น สมั ย เป็ น ที่ รู ้ จั ก ของต่ า งประเทศ ช่วงทีส่ อง ศูนย์วจิ ยั โลหิตวิทยาและทุโภชนาการ เข้าสู่ความเป็น ราชการ กลายเป็ น สถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ โดยมี อาจารย์อุษา ธนังกูล เป็นผู้อ�ำนวยการคนแรก ช่วงนี้เป็นช่วง การปรับตัวปรับใจเข้าสู่การท�ำงานที่เป็นระบบราชการ แม้ว่า สวัสดิการต่างๆ ลดลง แต่มคี วามมัน่ คง ได้รบั สิทธิสวัสดิการต่างๆ ครอบคลุมครอบครัวทั้งหมด การท�ำงานเปลี่ยนไปตามงานวิจัย จากเดิ ม ที่ ป ระจ�ำที่ ว อร์ ด ต้ อ งออกไปติ ด ตามอาสาสมั ค ร ตามหมู่บ้าน เช่น อ.ฮอด อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ อ.พระบาท ห้วยต้ม จ.ล�ำพูน ซึ่งขณะนั้นถนนยังเป็นดินแดง หน้าร้อนเป็นฝุ่น

สารสถาบันฯ 34

หน้าฝนเป็นโคลน ได้รับความประทับใจในการท�ำงานช่วงนั้น เป็ น อย่ า งมาก ช่ ว งสุ ด ท้ า ย มหาวิ ท ยาลั ย ออกนอกระบบ สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ มีอาคารในมหาวิทยาลัยเพิม่ ขึน้ จากเดิมที่มีเฉพาะในคณะแพทยศาสตร์อีก 2 อาคาร จ�ำนวน บุคลาการมากขึ้น มีงานเพิ่ม มีการปรับปรุง เพิ่มเติมห้องท�ำงาน ความประทั บ ใจในช่ ว งนี้ คื อ ได้ ท�ำงานกั บ คนหนุ ่ ม คนสาว ต้องปรับตัวให้ทันเทคโนโลยี ท�ำงานเชิงรุก รวดเร็ว (หลายครั้ง ที่ ไ ม่ ทั น เพราะความแก่ ) ได้ อ อกจากความเป็ น ราชการ เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย วนกลับไปสู่จดุ เริม่ ต้นทีม่ าเริม่ ท�ำงาน แต่สงิ่ เดียวทีไ่ ม่เคยเปลีย่ นแปลงเลย คือท�ำหน้าทีเ่ ป็นผู้ช่วยเหลือ แพทย์และพยาบาล ดูแลอาสาสมัครเหมือนเดิม ท้ายที่สุด เกษียณแล้วจะไปท�ำอะไร บอกตามตรงว่า ยั ง ไม่ ไ ด้ คิ ด ในเรื่อ งนี้ แต่ ว างแผนไว้ ว ่ า จะไปลองสมั ค รเรี ย น สารพัดช่าง เพื่อรู้จักสังคมใหม่ และรู้ใหม่ๆ สิ่งที่อยากฝากให้ น้องๆ ได้เก็บไปคิด คือแม้ว่าอะไรจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นเวลา สถานที่ สถานะ หรือลักษณะการท�ำงาน แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคงไว้ คือ ความมุ่งมั่นตั้งใจท�ำงานอย่างจริงจัง ความรักความสามัคคี เพราะมั น จะช่ ว ยให้ ก ารท�ำงานทุ ก อย่ า งส�ำเร็ จ ลุ ล ่ ว ง และมี ความสุขในการท�ำงาน

...

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ณรงค์ สิทธิวงศ์

ชีวิตที่ต้องสู้ ต้องสู้ชีวิต

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 35


มมาท�ำงานตั้งแต่สมัยอาจารย์หมออุษา ธนังกูล เป็นผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยผมได้ เข้ า บรรจุ ต�ำแหน่ ง พนั ก งานผู ้ ช ่ ว ยเหลือ แพทย์ แ ละพยาบาล ได้ ท�ำงานแผนกชี ว เคมี ซึ่ ง มี ท ่ า นรองอดุ ง ศิ ล ป์ ป ระเสริ ฐ เป็นหัวหน้าแผนก การท�ำงานช่วงแรกได้ท�ำงานกับคุณอรศรี ตันตยาภินันท์ ดูแลห้องแลป 1 แต่ก่อนคือห้องปฏิบัติการรังสี ผมต้องน�ำขยะรังสีไปส่งที่ส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (พ.ป.ส.) ที่กรุงเทพฯ เป็นประจ�ำทุกปี ต่อมาผมได้ช่วย ดร.ละเอียด ประพั น ธ์ ด ารา เลี้ ย งลู ก น�้ ำ ยุ ง เตรี ย มคอลั ม น์ ใ นห้ อ งเย็ น เฝ้ า คอลั ม น์ เ พื่ อ แยกโปรตี น จากลู ก น�้ ำ ยุ ง และช่ ว งสุ ด ท้ า ย ผมได้ช่วย ดร.จีรัง และ ดร.นงคราญ ในห้องแลป 3 ดูแล เครื่องมือทุกชิ้นและช่วยเลี้ยงยุง ตัง้ แต่เริม่ ต้นท�ำงานมาจนถึงตอนนี้ ผมรูส้ กึ ว่าสถาบันฯ เปรียบเสมือนบ้านหลังที่สอง ประทับใจแผนกชีวเคมีเพราะ อยู ่ กั น แบบพี่ๆ น้ อ งๆ และที่ ส�ำคั ญ ต้ อ งขอขอบคุ ณ พี่อ ้ อ ย โดยเฉพาะในช่วงทีผ่ มป่วยหนักจนทุกคนคิดว่าผมคงไม่รอดแล้ว พี่อ้อยก็ให้พักยาว พอสามารถกลับมาท�ำงานได้ก็จัดหางาน ให้ตามสภาพร่างกายอย่างเหมาะสม หลั ง จากเกษี ย ณไป ผมก็ ค งพั ก ผ่ อ นอยู ่ กั บ บ้ า น และช่วยเหลือพี่สาวดูแลหอพักใกล้บ้าน เพราะตอนนี้พี่สาวก็ ชรามากแล้ว

...

สารสถาบันฯ 36

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


สมพิศ พรหมขัติแก้ว ชีวิตที่มานะอดทน และรักในสิ่งที่ทำ�

หน่ ว ยงานใหม่ อี ก คื อ หน่ ว ยงาน Laboratory Service and Maintenance Unit ศูนย์วิจัยด้าน วิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ ก็ได้มาท�ำหน้าที่ ช่วยบริการห้องแลปต่างๆ และโครงการวิจยั ต่างๆ ของสถาบันฯ ด้วย

โดยภาระงานที่ รั บ ผิ ด ชอบ 2 ส่ ว นใหญ่ คื อ งานภาคสนาม และงานในสถาบันฯ งานภาคสนาม ได้ แ ก่ เก็ บ ข้ อ มู ล ภาคสนาม สั ม ภาษณ์ ก ารบริ โ ภคอาหาร ริ่ ม มาท�ำงานที่ ส ถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา, ความถี่ในการกินอาหารภายใน 1 สัปดาห์ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2528 ก่อนที่จะมาท�ำงานที่สถาบันวิจัย และ 1 เดือนที่ผ่านมา, เก็บตัวอย่างอาหารมาส่งวิเคราะห์, วิทยาศาสตร์สุขภาพ ท�ำงานเป็นครูพี่เลี้ยงศูนย์โภชนาการเด็ก บ้านแม่ก๊ะ ต.ตลาดใหญ่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ท�ำงานที่ ศูนย์โภชนาการเด็กได้ 9 ปี พอดีสามีท�ำงานที่สถาบันฯ บอกว่ามี ผู้เกษียณอายุราชการ มีต�ำแหน่งว่างอยู่ อยากท�ำไหม เราก็ อยากท�ำงานรับราชการเป็นงานทีม่ นั่ คง มีสวัสดิการให้ครอบครัว (แม่ ) ก็ ม าสมั ค รได้ ท�ำงานตอนนั้ น ได้ เ งิ น เดื อ น 1,125 บาท รู ้ สึก ดีใ จและภู มิใ จอย่ า งมาก ถึง แม้ จ ะได้ เ งิน เดือ นน้ อ ยกว่ า ที่ ท�ำงานเดิ ม ก็ ต าม งานในสถาบั น ฯ ที่ ไ ด้ รั บ ผิ ด ชอบคื อ งานสนับสนุนงานวิจัยภาคสนามและท�ำงานฝ่ายวิจัยโภชนาการ ท�ำอยู่หลายปี มีการรวมฝ่ายเปลี่ยนเป็นฝ่ายวิจัยโภชนศาสตร์ และอนามัยสิ่งแวดล้อม ได้ย้ายมาช่วยงานในห้องแลปเป็นงาน อีกรูปแบบหนึ่ง แต่ก็ได้ท�ำงานภาคสนามอยู่ ต่อมามีการตั้ง

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 37


เก็บตัวอย่างผัก ตัวอย่างดินในนาข้าว ในสวนผัก, น�้ำ โครงการ Water Reuse ตลอดจนเช็คความถูกต้องของข้อมูล ส่วนงาน ในสถาบันฯ ได้แก่ การท�ำข้อมูล ลง Code ลงน�้ำหนักอาหาร เช็คความถูกต้อง ชั่งน�้ำหนักอาหาร ปั่นอาหารส่งวิเคราะห์ (อาหารเปียก) ชั่งน�้ำหนักอาหารแห้งส่งวิเคราะห์ งานรับ-ส่ง หนังสือ งานรับผิดชอบเครื่องดื่มเวลามีประชุม ท�ำอาหารให้ อาสาสมัคร (นอน Ward) และท�ำความสะอาดทั่วไป นอกจากนี้ ยังมีงานดูแลสัตว์ทดลอง (หนูทดลอง) เติมน�ำ้ และอาหารทุกวัน เปลี่ ย นขี้ เ ลื่ อ ยรองกรงและในกรง แยกลู ก หนู อ อกจากแม่ ล้างกรงหนู ท�ำความสะอาดห้อง งาน LSMU ศูนย์วิจัยด้าน วิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ ซึ่งเป็นงานที่รับผิดชอบก่อนที่จะ เกษียณอายุ ได้แก่ ผลิตน�้ำ Type I, II ดูแลท�ำความสะอาด เครื่องชั่ง นึ่งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์/ขยะติดเชื้อ ผลิตและบริการ น�้ำกลั่น น�้ำแข็ง ล้างขวดพลาสติกและอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ รั บ -ส่ ง เอกสาร เบิ ก ของพั ส ดุ ซั ก ผ้ า -อบผ้ า เสื้ อ แลป เสื้ออาสาสมัครโครงการวิจัย การท�ำงานอยู่ท่สี ถาบันฯ ได้จนถึงอายุ 60 ปี เพราะมี ความมานะอดทน มีความพากเพียร ใส่ใจดูแลการท�ำงานที่ รับผิดชอบและรักในงานที่ท�ำ เนื่องจากป้าพิศเข้ามาท�ำงาน ในต�ำแหน่งทีม่ เี งินเดือนน้อย ก็ต้องขยัน อดทน ประหยัด อดออม ต้ อ งการที่ จ ะมี บ ้ า นอาศั ย โดยฐานะอย่ า งเราก็ ล�ำบากที่ จ ะ สามารถมีบ้านของตัวเองได้ แต่เนื่องด้วยได้บรรจุเป็นลูกจ้าง ประจ�ำของสถาบันฯ จึงมีโอกาสที่จะได้ใช้สิทธิ์กู้ยืมเงินสหกรณ์ มช. เพื่อสร้างบ้านของตัวเอง และเพื่อให้มีรายได้เสริมอีกทาง จึงสร้างห้องแถว 5 ห้อง อยู่เอง 2 ห้อง และให้เช่าอีก 3 ห้อง บนทีด่ นิ ทีไ่ ด้จากมรดกพ่อแม่ นอกจากนัน้ แล้ว เมือ่ ต้องส่งลูกสาว ไปโรงเรียนทุกวัน จึงออกรถยนต์ และรับ-ส่ง ลูกคนอื่นๆ ด้วย ก็ได้รายได้เสริมอีกทาง

ระยะการท�ำงานตลอด 32 ปี สมพิศรู้สึกภูมิใจที่ได้ ท�ำงานที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นสถาบันฯ ที่มี ชือ่ เสียงด้านการวิจยั เป็นทีย่ อมรับทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน มีอุปกรณ์ เครื่องมือที่ดีและทันสมัย มีนักวิจัยที่มีความสามารถ บุคลากรเก่ง มีแหล่งเงินทุนทั้งใน และต่างประเทศ ขอกราบขอบคุณสถาบันฯ ผู้บริหาร หัวหน้างานทุกคน พี่ๆ น้องๆ ลูกๆ หลานๆ ทุกคนที่มีความเมตตา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ให้สมพิศและครอบครัว มีกิน มีใช้ ส่งลูกเรียนหนังสือจนจบ โชคดีที่พบเจอกัลยาณมิตรที่ดีมาตลอด ความทรงจ�ำที่ดีๆ นี้จะ อยู่ในใจสมพิศไปตลอด กราบขอบคุณนักๆ เจ้า

สมพิศ จากหัวใจ

...

วันแห่งเก วันผ่านม ยี รติยศปรากฎค่า างดงามเต ็มความห วันอ�ำลาม มาย า ถ ง ึ จ ง ึ เ ส วันที่ตาพ ร่าพรายด ียดาย ้วยอาวรณ ์ เกษียณเพ ยี เกษียณแ งภาระและหน้าท่ี เกษียณไป ต่ไมตรอี ย่าถ่ายถอ น ให้ท เกษียณน ุกท่านสุขสันต์นริ ัน �ำทุกค�ำพ รแด่ท่านเ ดร ทอญ

สารสถาบันฯ 38

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


"Visitors" สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพประชุมร่วมกับ HealthQual International เรื่อง Reducing Stigma in Healthcare Facilities วันที่ 11 กันยายน 2560 ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผู ้ อ�ำนวยการสถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ พร้ อ มด้ ว ย รศ.นพ.เกรียงไกร ศรีธนวิบญ ุ ชัย รองผู้อ�ำนวยการฯ ให้การต้อนรับ Dr.Bruce Agins และ Mr.Danial Ikeda จาก HealthQual International พร้อมกับประชุมเรือ่ ง Reducing Stigma in Healthcare Facilities: A Multi-Country Quality Improvement Collaborative ณ ห้อง BOARD ROOM อาคาร 1 สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์สขุ ภาพ

สถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารบก ศึกษาดูงานด้านคณะกรรมการทีป่ รึกษาชุมชน และงานวิจัยด้านโรคเอดส์โดยเฉพาะกลุ่ม MSM ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ วันที่ 27 กันยายน 2560 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ให้ ก ารต้ อ นรั บ คณะศึ ก ษาดู ง านจากสถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ การแพทย์ทหารบก (AFRIM) ทีเ่ ดินทางมาดูงานเรือ่ งคณะกรรมการ ที่ปรึกษาชุมชน (CAB) ของสถาบันฯ ณ ห้องประชุม DONALD JEFFREY GIBSON อาคาร 1 จากนั้นคณะศึกษาดูงานยังได้เดินทาง เข้าดูศึกษาดูงานวิจัยด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในกลุ ่ ม ชายที่ มี เ พศสั ม พั น ธ์ กั บ ชาย (MSM) ณ พิมานเซ็นเตอร์ เพื่อแบ่งปันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้านงานวิจัยดังกล่าวอีกด้วย

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 39


"Doing & Training"

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ร่วมกับศูนย์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คณะแพทยศาสตร์ มช. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Practical point in diabetic foot care III วันที่ 3-4 กรกฎาคม 2560 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ร่วมกับศูนย์โรคไม่ตดิ ต่อเรื้อรัง (NCD center) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Practical point in diabetic foot care III ณ ห้องประชุมชั้น 15 อาคารสุจิณโณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โดยมี ศ.นพ.กิตติพันธุ์ ฤกษ์เกษม รองผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นประธานในการจัดงาน และมี รศ.นพ.ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท์ รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. กล่าวเปิดงาน ซึ่งการจัดการอบรมในครั้งนี้ ประกอบด้วยหัวข้อที่น่าสนใจ และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมบรรยายให้ความรู้ พร้อมกับแลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง โรคเบาหวาน ท�ำให้ผู้ที่มาร่วมการอบรม ทั้งแพทย์ พยาบาล นักวิชาการ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการรักษา ได้รับ ความรู้และประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติจริงอีกด้วย

สารสถาบันฯ 40

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ศ. นพ.กิตติพนั ธุ์ ฤกษ์เกษม เป็นวิทยากรบรรยายเรือ่ ง "สถานการณ์กลุม่ โรค NCDs" ในการประชุมวิชาการโภชนาการสัญจรภาคเหนือครั้งที่ 1 วั น ที่ 21 กรกฎาคม 2560 ศ.นพ.กิต ติพั น ธุ ์ ฤกษ์ เ กษม รองผู ้ อ�ำนวยการสถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ ได้ รั บ เชิ ญ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ "สถานการณ์กลุ่มโรค NCDs" ในงาน การประชุ ม วิ ช าการโภชนาการสั ญ จรภาคเหนื อ ครั้ ง ที่ 1 อาหาร และโภชนาการ เพื่ อ สุ ข ภาพที่ ดี อ ย่ า งยั่ ง ยื น ของคนไทยภาคเหนื อ โดยสมาคมโภชนาการแห่ ง ประเทศไทย ในพระราชู ป ถั ม ภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ โรงแรมเชียงราย แกรนด์รูม จ.เชียงราย ซึ่ง ศ.นพ.กิตติพันธุ์ ได้สรุปสาเหตุของการ เกิดโรค NCDs สถิติและค่าเฉลี่ยตามภูมิภาคต่างๆ ไปจนถึงผลกระทบ ที่ ต ามมาหลั ง จากการเกิ ด โรค ท�ำให้ ผู ้ ที่ เ ข้ า ร่ ว มงานประชุ ม ซึ่งประกอบไปด้วยแพทย์ พยาบาล นักก�ำหนดอาหาร นักโภชนาการ นั ก วิช าการสาธารณสุ ข นั ก วิจั ย นั ก ศึก ษา ผู ้ น�ำชุ ม ชน ตลอดจน ภาคีเครือข่าย ได้เข้าใจปัญหาและร่วมกันเฝ้าระวังโรคที่อาจจะเกิด มากยิ่งขึ้น

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ จัดการประชุมทีมวิจัย เพื่อสร้างทิศทางก่อนสมัครขอรับทุนจาก วช. วันที่ 22 สิงหาคม 2560 ศ.นพ.กิตติพนั ธุ์ ฤกษ์เกษม รองผูอ้ �ำนวยการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ จัดการประชุมทีมวิจัยเพื่อสร้างทิศทาง ก่ อ นสมั ค รขอรั บ ทุ น จากส�ำนั ก งานคณะกรรมการวิ จั ย แห่ ง ชาติ (วช.) ที่จะประกาศทุนวิจัยบูรณาการ โดยมีด้านหนึ่งที่น่าสนใจคือด้านผู้สูงอายุ ในแง่มุมการสร้างสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการด�ำรงชีวิต ในสังคมสูงวัย และการสร้างความเสมอภาคเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให้ ก ารขอทุ น เป็ น ไปในทิ ศ ทางเดี ย วกั น จึ ง ได้ จั ด การประชุ ม เตรียมแผนท�ำโครงร่างงานวิจัย (Proposal) เรื่องแนวทางการจัดสรร งบประมาณบูรณาการการวิจัยและนวัตกรรม ประจ�ำปีงบประมาณ 2562 ภายใต้การปฏิรปู การวิจยั และนวัตกรรม ซึง่ มีทงั้ นักวิจยั ตลอดจนสหวิชาชีพ ผู้ที่สนใจสมัครทุน เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม DONALD JEFFREY GIBSON อาคาร 1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 41


หน่วยวิจยั ด้านสารเสพติดร่วมให้ความรูแ้ กนนำ�เครือข่ายภาคประชาชนในจังหวัดลำ�พูน เพื่อเป็นวิทยากรด้านการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำ�ผิดด้านยาเสพติด วันที่ 30 สิงหาคม 2560 คุณกนิษฐา ไทยกล้า นักวิจัย พร้อมด้วยคณะท�ำงานด้านสารเสพติด จากหน่วยวิจยั ด้านสารเสพติด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรให้ความรู้ แก่แกนน�ำเครือข่ายภาคประชาชนจ�ำนวน 60 คน จาก 24 ต�ำบล 8 อ�ำเภอ ในจังหวัดล�ำพูน ในโครงการอบรมการเป็นวิทยากรด้านการ แก้ไขฟื้นฟูผู้กระท�ำผิด โดยกระบวนการศูนย์ยุติธรรมชุมชน จัดโดย ส�ำนักงานคุมประพฤติจงั หวัดล�ำพูนร่วมกับศูนย์ยตุ ธิ รรมชุมชนในพืน้ ที่ จังหวัดล�ำพูน ณ ศูนย์ประชุมโชควัฒนา สวนอุตสาหรรมเครือสหพัฒน์ จังหวัดล�ำพูน ซึ่งนอกจากการให้ความรู้เรื่องชนิด ประเภท โทษ และกฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สารเสพติ ด แล้ ว หน่ ว ยวิ จั ย ด้ า น สารเสพติดยังน�ำสื่อในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นพับ โปสเตอร์ เกมปริศนาอักษรไขว้ เกมบิงโก รวมไปถึงเกม ELDA ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนสอดแทรกเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวของกับสารเสพติด มาร่วมเล่น และมอบให้กับผู้ที่มาอบรม เพื่อให้แกนน�ำเครือข่ายภาคประชาชน ได้รับความรู้และสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติดในชุมชน

นั ก วิ จั ย ของสถาบั น วิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ เข้ า ร่ ว มประชุ ม และนำ�เสนอ โปสเตอร์ผลงานวิชาการ ณ กรุงบาเซโลน่า ประเทศสเปน วันที่ 22 สิงหาคม 2560 ดร.ศุภชัย ศักดิ์ขจรภพ นั ก วิ จั ย ของศู น ย์ ชี ว โมเลกุ ล และเซลล์ วิ ท ยาของโรคติ ด เชื้ อ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เข้าร่วมประชุมและน�ำเสนอ ผลงานด้ ว ยโปสเตอร์ เรื่ อ ง “Board-Spectrum Antiviral Activity of Ankyrin Repeat Protein on Viral Assembly Against Chimeric NL4-3 Viruses Chimeric NL4-3 Viruses Carrying Gag-Protease Derived from Circulating Strains Among Northern Thai Pa ในการประชุมวิชาการ 3rd Global Summit on Virology (and) 2nd International conference on Latest Trends in Biotechnology and Biodiversity ณ กรุงบาเซโลน่า ประเทศสเปน

สารสถาบันฯ 42

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


"Activities" กิจกรรมเนื่องในวันแม่แห่งชาติ

ร่วมถวายพระพรเนื่องในวันแม่ 12 สิงหาคม 2560

บวชเนกขัมมจาริณีถวายแม่ 11 สิงหาคม 2560

บริจาคเลือดถวายแม่ 11 สิงหาคม 2560

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 43


ลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 3 สิงหาคม 2560

ถวายพานพุ่มสักการะ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 18 สิงหาคม 2560

วางพวงมาลาถวายบังคม พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เนื่องในวันมหิดล 22 กันยายน 2560 และ ร่วมวิ่งมหากุศลมหิดล 60 24 กันยายน 2560

สารสถาบันฯ 44

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ร่วมแสดงความยินดีกับ

ส่วนงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ วันที่ 3 กรกฎาคม 2560 สถาปนา ITSC วันที่ 5 กรกฎาคม 2560

สถาปนา คณะพยาบาลศาสตร์ วันที่ 15 สิงหาคม 2560

สถาปนา คณะการสื่อสารมวลชน วันที่ 15 สิงหาคม 2560

สถาปนาคณะเศรษฐศาสตร์ วันที่ 28 สิงหาคม 2560 สถาปนาคณะมนุษยศาสตร์ วันที่ 30 สิงหาคม 2560

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 45


ตารางกิจกรรม ตุลาคม 2560 3

ตุลาคม 2560

4

ตุลาคม 2560

9 - 20 ตุลาคม 2560 11 - 12 ตุลาคม 2560

13 - 14 ตุลาคม 2560 14

ตุลาคม 2560

16 - 19 ตุลาคม 2560 18

ตุลาคม 2560

19

ตุลาคม 2560

23 - 26 ตุลาคม 2560

สารสถาบันฯ 46

ดร.สุรัตน์ หงษ์สิบสอง นักวิจัย เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบเครื่องมือการท�ำวิจัยของ นายธนากรณ์ ค�ำคง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นางสาวกนิษฐา ไทยกล้า นักสถิติ เข้าร่วมประชุม วิพากษ์ Story Board แอพพลิเคชั่น ณ ห้องประชุมประณีต สวัสดิรักษา ชั้น 5 อาคาร 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.ทิ พ วรรณ ประภามณฑล นั ก วิ จั ย ร่ ว มประชุ ม ในโครงการวิ จั ย และร่ ว มประชุ ม โครงการวิจัยไทย-จีน (TRF-NSFC) Asian-Pacific Environment and Health Symposium 2017 Yinchuan City, Ningxia, Beijing and Nanjing สาธารณรัฐประชาชนจีน ดร.สุ รั ต น์ หงษ์ สิบ สอง นั ก วิจั ย ร่ ว มประชุ ม ในโครงการวิจั ย การประชุ ม ติด ตามและ ประเมินผลรายงานความก้าวหน้า การพัฒนาชุดตรวจสารฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ โดยเทคนิค ELISA (ต่อยอดจากปี 2556) (รายงานฉบับสมบูรณ์ (ฉบับแก้ไข)) ห้องประชุม ชั้น 3 อาคาร 2 ส�ำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) กรุงเทพมหานคร นางสาวรัชนีกร ค�ำปัน นักสถิติ และนางสาวธวัลชญาน์ โชติเจริญธนันต์ พยาบาลวิจัย ร่วมประชุมในโครงการวิจัย The 17th TREAT Asia Network Annual Meeting Conrad Bali Indonesia นางวารุณี จิตอารี นักเทคนิคการแพทย์ เข้าร่วมน�ำเสนอผลงาน CQI: MT Best Practice Award 2017 ด้วยวาจาในรอบตัดสิน สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ เข้าร่วม การประชุม “40th Semi-Annual TBTC Meeting 2017” ณ เมืองแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ดร.สุรัตน์ หงษ์สิบสอง นักวิจัย ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่คณะครูผู้เข้ารับการอบรม การใช้ชุดทดสอบสารก�ำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ จ�ำนวน 45 คน ณ ห้องประชุม โรงเรียนบ้านกาด(เขมวังส์) ต.บ้านกาด อ.เแม่วาง จ.เชียงใหม่ รศ.นพ.เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย รองผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ร่วมประชุมในโครงการวิจยั พิจารณากรอบการประเมินผลการพัฒนาคุณภาพบริการเพือ่ ส่งเสริม สถานบริ ก ารสุ ข ภาพที่ ป ราศจากการตี ต ราและเลื อ กปฏิ บ ติ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เอชไอวี / เอดส์ ณ ห้ อ งประชุ ม ส�ำนั ก งานโครงการศึ ก ษาวั ค ซี น เอดส์ ระยะทดลอง ชั้ น 4 อาคาร 1 กรมควบคุมโรค จ.นนทบุรี ดร.จี รั ง ว่ อ งตระกู ล นั ก วิ จั ย ช� ำ นาญการพิ เ ศษ เข้ า ฝึ ก อบรมการใช้ เ ครื่อ ง Malditof และฝึกอบรมการใช้ฐานข้อมูลส่วนงานวิจัยของ MALDI TOF โดยผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ณ ห้องปฏิบัติการชั้น 4 อาคารเฉลิมพระบารมี คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ตารางกิจกรรม 30

ตุลาคม 2560

31

ตุลาคม 2560

รศ.นพ.เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย รองผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ, นายจรัญ เชื้อเย็น นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ร่วมเป็นวิทยากรการอบรมพัฒนาศักยภาพ บุคลากร เรื่องมาตรฐานบริการเพื่อการเข้าถึงบริการดูแลรักษา และลดการตีตราผู้ติดเชื้อ เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ณ โรงแรมนารายณ์ สีลม กรุงเทพมหานคร ดร.นงคราญ ล�ำจวน นักวิจัยช�ำนาญการพิเศษ เข้าร่วมสอนนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชา พิษวิทยา ประจ�ำภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2560 กระบวนวิชา พ.นต.(312)704: วิธีการวิจัย และการวิ เ คราะห์ ท างพิ ษ วิ ท ยา ในหั ว ข้ อ เรื่ อ ง Electrophoresis ณ ห้ อ งประชุ ม ศ. นพ.ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ ชั้น 4 อาคาร MD ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พฤศจิกายน 2560 6-7

พฤศจิกายน 2560

7

พฤศจิกายน 2560

7 - 10 พฤศจิกายน 2560 12 - 14 พฤศจิกายน 2560

นางสาวกนิษฐา ไทยกล้า นักสถิติ เข้าฝึกอบรมการเขียนบทความตีพิมพ์วารสารต่างประเทศ ณ โรงแรมบัดดี้โอเรียลทัล จ.นนทบุรี รศ.นพ.เกรียงไกร ศรีธนวิบุญชัย รองผู้อ�ำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ, นายจรัญ เชื้อเย็น นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ร่วมเป็นวิทยากรการอบรมพัฒนาศักยภาพ บุคลากร เรื่องมาตรฐานบริการเพื่อการเข้าถึงบริการดูแลรักษา และลดการตีตราผู้ติดเชื้อ เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ณ โรงแรมนารายณ์ สีลม กรุงเทพมหานคร พญ.ลินดา เอื้อไพบูลย์ นักวิจัย ร่วมประชุมวิชาการ กุมารเวชศาสตร์ Siriraj Pediatric Annual Conference 2017: Moving forward to the Excellent child health ห้องประชุมราชนัดดา สิรินธร อาคารศรีสวรินทรา ชัน้ 1 โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร นางสาวสิริลักษณ์ รินค�ำ นักเทคนิคการแพทย์, นางสาวชไมพร ณะพรหม นักเทคนิค การแพทย์ ร่วมประชุมวิชาการ มหกรรมคุณภาพมาตรฐานห้องปฏิบัติการระดับชาติ ครั้งที่ 6 60 ปี เทคนิคการแพทย์ไทย ด้วยระบบคุณภาพทีย่ งั่ ยืนและพอเพียง อิมแพคฟอรัม่ เมืองทองธานี จ.นนทบุรี

ธันวาคม 2560 22

ธันวาคม 2560

สัมมนาเพื่อพัฒนาองค์กร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 47


ซุ

ป ซิ บ สร้างสรรค์ By...พี่แนนซี่กับน้องซาร่า

หน้ากากผีเสื้อสมุทร ปล่อยล�ำแสงปะทะ หน้ากากแมลง..555

ลูก2 ท้องอีก 1 เป็นห่วงลูกในท้อง.. จิกระทบกระเทือน โดดสูงก่านี้ อาจแท้งได้

สารสถาบันฯ 48

เพราะ...รักเด็ก..(หลอก) จึงหยอกเล่น

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ทุ่มทุนสร้าง...ระวังโหน่ยนะคะ งานนี้ไม่มีค่าตัวนะ..เจ้า ผู้บอ

ศูนย์ชีวโมเลกุลขึ้นปก....สไตล์ใครสไตล์มัน

มาดนักวิ่งตัวพ่อ ถือป้ายให้สถาบันฯ วันมหิดล แอบมโนไปว่าเป็นนักกีฬาวิ่งถือคบเพลิง..

ฮาเร็มของ ด๊อกเตอร์... เดือนล้อมดาว

สาว สาว สาว ฟาร์มาซี มาใน ธีมเดียวกัน น่ารักตะมุตะมิทู้กคน...

สารสถาบันฯ 49

าคะ..ระวั งหัวเข่านนะคะ าซะขนาดนั ถึงจะลู สาม...แต่ก็ยังฟรุ้งฟริ้ง..นะเออ วิสัยทัศคุน์งสป้ถาบั นฯ : สถาบั วิจัยที่มจิุ่งกสูปลายเท้ ่องค์กรแห่ งความเป็้นน..เลิศในการวิจัยด้านวิผบ.เรา ทยาศาสตร์ สุขกภาพ


รวม GEN เก่ากะใหม่ หล่อเรียกพี่ อิเลาะ.. หล่อ ล้อ หล่อ...เข้ม มาดแมน แฟนพันธุ์แท้..

ฉลองครบรอบ 50 ปี เล่นเกมส์ เสี่ยงโชค..แลกคูปอง ส่วนลดแลกซื้อสินค้า ไอทีเรา มิธรรมดา ไฮโซ โชว์แอฟ..

ใครๆ เดินผ่านไปผ่านมา...ก็หลอน..น ไปตามๆ กัน “ฮือๆๆๆ กระซิกๆ อย่ากลัวหนูเรย หนูถูกแม่ทิ้งไป” น้องโจลูกใจเริงกล่าว

สารสถาบันฯ 50

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ย�่ำเท้าทั่วไทย Nanjing University of Information Science and Technology (NUIST)

ไปทั่วโลก แสวง กาวิชัย

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 51


วัสดีครับ ผมนายแสวง กาวิชยั เป็นพนักงานโครงการวิจยั ด้านมลพิษทางอากาศ ของหน่วยวิจัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ศูนย์วิจัย ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึง่ ตอนนีก้ �ำลังศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขาวิทยาศาสตร์สงิ่ แวดล้อม คณะวิ ท ยาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ ซึ่ ง อาจารย์ ที่ ป รึ ก ษา ดร.ทิพวรรณ ประภามาฑล ให้การสนับสนุนต่อเนื่องตัง้ แต่เรียนระดับ ปริญญาโท โดยทางอาจารย์จะมีการส่งเสริมให้บคุ ลากร เพือ่ ให้เกิดการ พั ฒ นาและส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู ้ เพื่ อ มาเติ ม เต็ ม ในส่ ว นงานที่ เ ราได้ รับผิดชอบ เพื่อให้งานที่เราท�ำมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากลักษณะงาน ที่ได้รับมอบหมายนั้น จะมีทั้งออกพื้นที่และท�ำงานในห้องปฏิบัติการ ท�ำให้ผมต้องมีการฝึกฝนตนเอง แม้พื้นฐานของผมจะเป็นทางด้านเคมี ที่วิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกันผมก็มีงาน ที่ต้องออกไปประสานงานกับพื้นที่วิจัย ในหลายๆ ด้าน เช่น ไปตั้ง เครื่องวัดปริมาณฝุ่น เก็บตัวอย่างปัสสาวะ รวมถึงไปเข้าเยี่ยมบ้าน อาสาสมั ค รโครงการเพื่อ ไปท�ำแบบสอบถาม และเก็ บ ข้ อ มู ล ต่ า งๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยการเรียนรู้ และการฝึกฝน เพื่อให้การท�ำงาน เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

สารสถาบันฯ 52

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ในปี 2559 ที่ ผ ่ า นมา ผมได้ รั บ การสนั บ สนุ น จาก อาจารย์ ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล และสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์ สุขภาพ (ด้านทุนสมทบ) ให้มีโอกาส เดินทางไปต่างประเทศ ครั้งแรกในชีวิตผม เพื่อศึกษาเรียนรู้ และเทคนิคใหม่ๆ ที่ใช้ในการ หาองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่น กับ Professor Yanlin Zhang ณ มหาวิทยาลัย Nanjing University of Information Science and Technology (NUIST) สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 29 ธันวาคม 2559 ซึ่งนับเป็น โอกาสดีที่ผมมีโอกาสได้รับ โอกาสเช่นนี้ จะเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน และที่ส�ำคัญเราต้องพร้อมเสมอที่จะรับโอกาสนัน้ ๆ ด้วย ท้ายนี้ ผมตั้งใจว่าเมื่อผมส�ำเร็จการศึกษาปริญญา เอกแล้ ว จะพยายามสานต่ อ ความร่ ว มมื อ ด้ า นงานวิ จั ย ต่อไปอีก ผมขอขอบคุณที่ท�ำให้ผมได้รับโอกาสดีๆ เช่นนี้ ขอบพระคุณครับ

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 53


ย�่ำเท้าทั่วไทย ไปทั่วโลก

DIY IN JAPAN @KANSAI อ�ำพร ยิ้มศรี & สุนิสา ทาใจ

สารสถาบันฯ 54

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


ก ลั บ ม า ต ่ อ เ รื่ อ ง ร า ว หลังจากเทีย่ วใน USJ กันนะคะ

จากความเหนือ่ ยล้า ทีผ่ า่ นมาในวันผจญภัยใน USJ การใช้ชวี ติ ต่างๆ เริ่มปรับตัวได้ แม้ว่าจะใช้การเดินเพื่อไปยังจุดต่างๆ ซึ่งต่างจากการใช้ชีวิต อยู ่ ท่ี เ ชี ย งใหม่ มี ค วามเอื่ อ ยเฉื่ อ ยและเนิ บ นาบ จะไปไหนก็ ขั บ รถไป สะดวกสบายแต่ต้องใช้เวลานานในระยะหนึ่ง แต่ที่ญี่ปุ่นไม่ใช่เลย ยิ่งตอน ออกเดินทางในเวลาที่ผู้คนต่างต้องออกไปท�ำงาน หลายครั้งท�ำให้เห็นถึง ความกระตือรือร้น เพื่อแย่งชิงพื้นที่ในรถไฟ เพื่อให้ตนเองได้ไปท�ำงาน ในเวลาที่จ�ำกัดเลยทีเดียว

ส�ำหรับวันนี้เป็นวันรองสุดท้ายที่จะได้ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานในญี่ปุ่น เราวางแผนกันว่าเราจะไป Aquarium Kaiyukan ซึ่งเป็น สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นจุดแนะน�ำหากมาเที่ยวที่เมืองโอซาก้าเลย ไปกันค่ะ วันนี้เราออกจากที่พักไม่เช้าไม่สายมากนัก เวลาก�ำลังพอดี ส�ำหรับอาหารเช้าวันนี้ก็คงหนีไม่พ้นการเดินเข้า Lawson เช่นเคย อิอิ และแล้วก็ตรงเข้าไปหยิบมาม่า พยายามเลือกรสชาติที่ใกล้เคียง กับมาม่าประเทศไทยมากที่สุด มาม่าที่ให้รสชาติความเผ็ด เปรี้ยว แต่ก็ไม่เจอเลยค่ะ แม้จะเป็นมาม่าของญี่ปุ่นที่มีฉลากติดกล่อง มีรูปพริก ให้ความเผ็ดระดับสิบ แต่พอได้ซ้อื มาลิ้มลองก็รู้สกึ ว่าไม่สะเทือนต่อมความเผ็ดร้อนเลยค่า จึงได้แซนวิชไส้คุณภาพหนาแน่น ชิ้นละ 100 กว่าบาทถ้าคิดตามเรทเงินบ้านเรา ที่นู่นเราจะถือว่าเป็นราคาที่ปกติมากเลย เพราะคุณภาพของแต่ละชิ้นมีคุณภาพพรีเมี่ยม ทุกอย่าง แม้กระทั่งอาหารแช่แข็ง ก็จะถูกคลุมด้วยพลาสติกใส ผู้บริโภคสามารถเห็นว่าอาหารที่จะเลือกซื้อแต่ละชิ้นมีความน่าสนใจ มากน้อยเพียงใด หยิบเลยค่ะ ไม่คิดมาก ชิ้นไหนน่ากินก็เลือกซื้อเลย และแล้วก็ได้น�้ำส้มที่ผสมเกล็ดส้ม มีความเปรี้ยวจี๊ดจ๊าด จากวิตามินซีจากส้ม และเนื้อส้มเต็มๆ เมื่อทุกคนพร้อมแล้ว วันนี้ก็ไม่ต่างจากทุกวัน เราเดินทางจากที่พักเพื่อไปขึ้นรถไฟสถานีนัมบะ (ชินไซบาชิ) ประมาณ 30 นาที จากนั้นต้องเดินต่อไปอีกประมาณราวๆ 5 นาที เพื่อเดินทางไปยัง Aquarium Kaiyukan ในการเดินทางไปครัง้ นี้ ไม่มีความเหน็ดเหนื่อย เลยแม้แต่น้อย ด้วยสภาพอากาศที่เย็นสบาย วันนี้เป็นวันที่ท้องฟ้าดูมืดครึ้มเหมือนว่าฝนจะตก มีละอองน�้ำฝนเพียงเล็กน้อยช่วงที่เดิน ไปยังจุดหมาย ระหว่างทางก็ได้เห็นฝาท่อน�้ำทิ้งตรงทางเดินที่มีความสวยงามประทับอยู่เป็นรูปต่างๆ ที่แสดงถึงความเป็นญี่ปุ่น

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 55


เราเดินทางมาถึงสี่แยกหนึ่ง ที่แหงนมองดูในองศาที่ 45 จะเห็นชิงช้าสวรรค์อย่างใหญ่โต หรือที่เรียกกันว่า Tempozan Ferris Wheel พวกเรารีบเดินไปยังฝั่งชิงช้าสวรรค์ด้านล่าง ตรงฐานชิงช้าสวรรค์จะมีเลโก้รูปยีราฟตั้งตระหง่าน ดึงดูดความสนใจ นักท่องเที่ยวตัวจิ๋วไม่น้อยเลยทีเดียว หนึ่งในกลุ่มเราได้ตัดสินใจว่าอยากจะนั่งชิงช้าสวรรค์ยักษ์นี้ จึงได้ออกเสียงกันระหว่างคนที่ ต้องการขึ้นไปชมวิวบน Tempozan Ferris Wheel หรืออยากจะเข้าไปเล่นจับตุ๊กตา กาชาปอง ก็แยกย้ายกันไป ส่วนดิฉันก็ไปค่ะ แน่นอนอยูแ่ ล้วคนอย่างดิฉนั สูแ้ น่นอน แต่ตดิ ทีว่ า่ เป็นคนกลัวความสูง ขอตัวไปจับกาชาปองในห้างก่อนนะคะ แฮ่ ให้ขน้ึ ชิงช้าสวรรค์ยกั ษ์ ที่แต่ละที่นั่งเป็นสีใสโปร่ง งานนี้คงต้องขอลาก่อนนะคะ ก็มีการนัดแนะกันว่าหากใครที่เสร็จสิ้นภารกิจของตัวเองแล้ว เราจะเจอกัน ที่โซนเครื่องเล่นในห้าง ดิฉันและเพื่อนสนิทอีกคนได้ไปตามล่าหากาชาปองจ�ำพวกตัวการ์ตูน kitty, My melody ซึ่งเป็นตัวการ์ตูน ที่เด็กผู้หญิงส่วนใหญ่จะคลั่งไคล้เพราะความน่ารัก และสวยหวานตามคาแรคเตอร์ที่ถูกตั้งไว้ ก็ตามเคยสุดท้ายต้องตกเป็นเหยื่อ ของตัวการ์ตูนเหล่านี้ นั่งจับกาชาปองแบบไม่เสียดายเงินเลยทีเดียว ได้ตัวการ์ตูนไหนที่ไม่พึงพอใจก็หมุนใหม่ค่ะ ลุ้นว่าจะได้ซำ้� กับ อันเดิมไหม แต่ก็ไม่หวั่นค่ะ เราสู้เพื่อตัวการ์ตูนแสนน่ารักมาครอบครอง เวลาผ่านไปครึ่งชั่วโมง ทุกคนมารวมตัวกันที่จุดนัดพบ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 56


สถานีต่อไป Aquarium Kaiyukan จึงได้เดินไปซื้อตั๋ว แต่เราจะได้พิเศษนิดหน่อยค่ะ เพราะเราได้ซื้อ Osaka amazing pass 2 วัน เราจะได้สว่ นลดไปประมาณ 20 บาท ทุกคนซือ้ ตัว๋ เสร็จ ก็เดินไป ถ่ายรูปกันไปอย่างสนุกสนาน อ่อ ลืมบอกไปว่าด้านข้าง ของ Aquarium Kaiyukan เป็นอ่าวโอซาก้า มีเรือล�ำใหญ่ท่ชี ื่อว่า Santa Maria แต่ก็ต้องอดใจไว้ก่อน เพราะเวลาอาจจะไม่พอ จึ ง ได้ เ ข้ า ไปชม Aquarium Kaiyukan มายั ง จุ ด แรกที่ เ ข้ า มา มีปั้มตรายางในการเข้าชม เจอสิ่งแรกคืออุโมงค์ปลาที่มีสัตว์น�้ำ หลากหลายประเภท เมื่อเดินเข้ามาอาจจะแปลกใจนิดหน่อย เพราะการเข้าชมที่นี่จะต้องชมจากชั้นสูงที่สุดแล้วลงมาทีละชั้นๆ โดยทางลงจะเป็นทางเนินลงเรียบๆ เราขึน้ มาชัน้ บนสุดโดยการขึน้ บั น ไดเลื่อ นที่สู ง มาก ชมบรรยากาศปลาหลากชนิด มีทั้ง เต่า ปลาฉลาม ปลาหลากหลายพันธุ์ในตู้อนั ใหญ่โตมโหฬาร เราก็เดิน ตามทางสโลป เดินลงมาแต่ละชั้นจะมีตรายางที่บอกถึงว่าจุดนี้มี สัตว์ชนิดใดอาศัยอยู่ เช่น พะยูน เพนกวิน ฯลฯ อีกมากมายที่ให้ นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชม

เดินมาจนถึงชั้นล่างสุดจะเจอทางออกไปยังสิ่งที่เป็น หนึ่งในระบบนิเวศในท้องทะเล อย่างแมงกะพรุนหลากหลายชนิด ปะการังที่สวยงาม ดูนักท่องเที่ยวหลายคนได้บันทึกภาพความ สวยงามนี้ ไ ว้ เ ยอะมาก เมื่อ ชมบรรยากาศต่ า งๆ ภายในแล้ ว เดินออกมาจะเห็นเป็นห้องนิทรรศการทีม่ กี ารจัดโซนทีเ่ ราสามารถ สัมผัสปลาได้โดยใช้มือจับได้เลย การจัดนิทรรศการให้ความรู้ เกี่ ย วกั บ ชนิ ด ของปลาแต่ ล ะชนิ ด ว่ า เป็ น อย่ า งไร มี ป ระโยชน์ โทษอย่างไรบ้าง นับได้ว่าการท่องเที่ยวที่แห่งนี้ได้ทั้งความสนุก และความรู้มากเลยทีเดียว หากใครที่มาโอซาก้า ขอแนะน�ำ สถานที่แห่งนี้ไว้เป็นตัวเลือกหนึ่งที่จะใช้หนึ่งวันในโอซาก้านะคะ เมื่อทุกคนเก็บบรรยากาศ เก็บภาพถ่ายอันน่าประทับใจแล้ว ก็ ถึ ง เวลาที่ ต ้ อ งเดิ น ทางกลั บ กั น แล้ ว ค่ ะ เพราะวั น นี้ ต อนเย็ น เรามีนัดกับย่านที่ผู้คนส่วนใหญ่จะมา Shopping กัน นั่นก็คือ dotonbori ซึ่งที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมที่มีสินค้าแบรนด์เนมต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้เลือกสรร ทั้งของใช้ ของกิน และเครื่องส�ำอาง ที่ราคาถูกแต่คุณภาพเยี่ยม จะมัวช้าไม่ได้ วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 57


เราเริ่มเดินทางออกจาก Aquarium Kaiyukan ด้วยวิธีการเดิน เพิ่มเติมคือแวะทาน อาหารก่อนนะค้า เราเดินย้อนไปทางเดิม เพื่อไปขึ้นรถไฟ เดินผ่านร้านขายขนมมีรูปทรง แคปซูล มีไส้ให้เลือกมากมายทั้งครีม ถั่วแดง ชีส และช็อคโกแลต ก็ต้องแน่อยู่แล้วนะคะ ว่ารสชีสเป็นรสชาติยอดฮิต ณ ตอนนี้ ปรากฏว่าสั่งไปก็ต้องผิดหวัง เพราะรสชีสหมดค่ะ จึงต้องจ�ำยอมได้ถวั่ แดงมาครอง เมือ่ ได้ลมิ้ ลองรสชาติขนมอันแสนหอมแล้ว เราเดินกันไปหา ร้านอาหารตามทางผ่านนี้ จึงได้แวะร้านอาหารร้านหนึ่ง ซึ่งมีเจ้าของร้านและสามีเป็นผู้ให้ บริการ ไม่มีพนักงานคนอื่นอีก แรกๆ ก็มีเพียงโต๊ะเราจ�ำนวน 8 ที่นั่ง หลังจากนัน้ ก็เริ่มมีผู้คน เข้ามาอีกหลายโต๊ะ เนื่องจากไปกันหลายคน จึงได้สั่งเมนูคนละ 1 อย่าง อาจท�ำให้เกิดปัญหา การได้อาหารล่าช้า และทีท่ �ำให้ผดิ หวังในการมาเยีย่ มร้านอาหารนีก้ ค็ อื พวกเราได้สงั่ อาหาร ไปจ�ำนวน 10 อย่าง โดยจะเสิร์ฟเป็น 2 ชุด เพราะแบ่งนั่งกันโต๊ะละ 4 คน แต่แล้วอาหารที่ได้ กลับได้ไม่ครบ และมาทีละอย่างแบบช้าๆ เมื่อถึงเวลาคิดเงิน ก็ได้ตรวจสอบบิล ก็พบว่า ทางร้านได้คิดเงินในเมนูที่เราไม่ได้รับ จึงได้มีการอธิบายกับทางเจ้าของร้านไปด้วยน�้ำเสียง ปกติ ไม่ได้มีการโวยวายแต่อย่างใด แต่ทางร้านกลับมีการไม่พอใจ และบอกว่าทางสามี เจ้าของร้านได้น�ำอาหารมาเสิร์ฟแล้ว จึงได้น�ำหลักฐานรูปถ่าย และจานอาหารมายืนยัน จนในทีส่ ดุ เจ้าของร้านก็ตอ้ งจ�ำนนต่อหลักฐานทีป่ รากฏ จึงมีความรูส้ กึ ว่าบางทีบ่ างแห่งก็ยอ่ ม มีผู้คนที่แตกต่างกัน ต้องมีความรอบคอบด้วย หลังจากเจอประสบการณ์การท่องเที่ยว รูปแบบหนึ่งที่ไม่ดีมากนัก เราก็เดินกันต่อไปยังสถานีรถไฟกันเลย เมื่อขึ้นรถไฟย้อนกลับมา ยังสถานี Shinsaibashi แล้ว ต่างคนก็ต่างเร่งฝีเท้า เพื่อไปยังสถานที่ Shopping ขวัญใจ นักท่องเที่ยวอย่างย่าน Dotonbori

สารสถาบันฯ 58

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


และแล้วทุกคนก็แยกย้ายกันไปซื้อ ของตามที่ตัวเองต้องการ ส่วนเรื่องการกลับ ไปยังที่พักเราจะไม่มีการนัดพบกันก่อนกลับ เพราะ Dotonbori เป็นเขตติดต่อโดยสามารถ เดินทะลุ ผ่านไปยังโรงแรมทีพ ่ กั ได้เลย สะดวก สบายอะไรเช่นนี้คะเนี่ย อิอิ หรืออาจจะพูด ได้ว่าการไปญี่ปุ่นครั้งนี้ แทบจะไม่เจอปัญหา อะไรเลยแม้แต่การหลงทาง เพราะเดี๋ยวนี้ การใช้ เ ทคโนโลยี ที่ เ ราสามารถเข้ า ถึ ง ง่ า ย ทั้งการค้นหาแผนที่ การดูแผนการเดินทาง ตารางรถไฟ ที่เป็นแบบ Real time ซึ่งท�ำให้ คุ ณ ไ ม ่ เ สี ย เ ว ล า ใ น ก า ร เ ดิ น ท า ง เ ล ย ความสะอาด ความเป็นระเบียบในประเทศ ญี่ปุ่นมีให้เห็นในทุกๆ ที่ ขยะแม้แต่ชิ้นเดียว ก็ไม่มีที่เรี่ยราดตามถนนเลย นับว่ามาแล้ว หากกลับไปต้องมาอีกแน่ๆ

กลับมาการเดินทาง Shopping ย่าน Dontobori กันต่อดีกว่า ดิฉัน ตั้งมั่นตั้งแต่ก่อนมาแล้วค่ะว่าจะต้องได้รองเท้า 1 คู่ กับนาฬิกา 1 เรือน กลับบ้าน แต่แล้วก็เดินดูของตามร้านต่างๆ ก็ต้องผิดหวัง เพราะเมื่อเทียบ กับราคาที่ขายในไทย ญี่ปุ่นก็ขายในราคาที่แพงกว่า และไม่มีรุ่นที่อยากได้ จึงท�ำให้ได้รองเท้าเพียง 1 คูเ่ ท่านัน้ จึงเหลือเวลาอยูพ ่ กั หนึง่ ดิฉนั ได้เดินเทีย่ ว กับเพือ่ นสนิท และแล้วก็ถงึ จุด Land mark ของสถานทีแ่ ห่งนีก้ ค็ อื .. ป้ายรูป คนวิ่งในแบรนด์ กูลิโกะ นั่นเอง ไม่รอช้าค่ะ รีบคว้ากล้องมาถ่ายกันซักภาพ สองภาพก็ โ อเคแล้ ว เพราะที่ น่ี เ ป็ น จุ ด ที่ ผู ้ ค นมาถ่ า ยรู ป กั น เยอะมาก นักท่องเที่ยวต้องการรูปคู่กับป้ายนี้ ยิ่งตอนกลางคืนต้องปรับแสงกันนาน กว่าจะได้แต่ละภาพ คนที่รอคิวจะได้มุมที่เหมาะก็ต้องรอกัน เราก็ต้องทน ต่อสายตาทีม่ คี วามจิกเบาๆ ในคนทีร่ ออยู่ ไม่คะ่ อย่ากลัวเรามาก่อนเราต้อง ท�ำแคมเปญนี้ให้ส�ำเร็จ อิอิ หลังจากที่ทุกอย่างวันนี้ส�ำเร็จเราก็เดินทางกลับไปยังที่พัก ก็หมด ไปอีกหนึ่งวัน อ้อ ลืมบอกไป กิจวัตรประจ�ำวันในทุกๆ เย็นที่กลับมายัง โรงแรม คือจะเปิดน�้ำอุ่นแช่เท้า แล้วใช้แผ่นประคบสปาเท้ามาแปะไว้ เพื่อคลายความเจ็บปวด เมื่อยล้า ในทุกๆ วัน และก็ได้ผลดีมากเลยทีเดียว เพราะเช้าวันใหม่ก็ไม่ได้มีอาการปวดเท้าเลยแม้แต่น้อย พักผ่อนกันดีกว่า จะได้เก็บแรงไว้ลุยในวันพรุ่งนี้ แง้ วันสุดท้ายแล้วหรอ ยังไม่อยากกลับเลย

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 59


เช้าของวันสุดท้ายยังไม่อยากมีความรู้สึกว่าเราต้องอยู่ที่นี่อีกแค่วันเดียว ยังอยากอยู่ต่อไปเรือ่ ยๆ ตืน่ เช้ามาก็เปิดดูแพลนทีจ่ ะท่องเทีย่ ววันนี้ เช้าวันนีก้ เ็ หมือนกับ ทุกวัน เรานัดกันไว้ที่เวลา 9:00 น. แต่อาจแตกต่างที่ความรู้สึกอยากให้พระอาทิตย์ ขึ้นช้าๆ อยากย้อนไปในความรู้สึกของวันแรกที่ลงสนามบินคันไซ พอคิดไปซักแป๊ป ดูนาฬิกาในโทรศัพท์พบว่า เย้ย ตอนนี้ 8:00 น. แล้วนี่นา รีบเลยทีนี้ รีบอาบน�ำ้ แต่งตัว แล้วเดินไปที่ยัง LAWSON หยิบมาม่ามา 1 กล่อง โดยไม่คดิ ว่ารสชาติของกล่องนี้จะต้อง มีรสแซ่บถึงรสชาติของไทย คิดแต่เพียงว่าอยากซดอะไรร้อนๆ เพราะวันนีม้ สี ภาพอากาศ หนาวเย็น และหยิบนมเมจิมา 1 กล่อง รสสตรอเบอรี่ แล้วเติมพลังก่อนที่จะออก เดินทางไปยังสถานีรถไฟเช่นเคย เสียงท�ำนองเตือนรถไฟเข้ามายังสถานีก็เหมือนเดิม ในทุกๆ วัน ความกระตือรือร้นในทุกเช้าของผู้คนก็ยังเหมือนเดิม วันนี้เป็นวันสุดท้าย ที่จะใช้ชีวิตในต่างแดนแล้ว เราเริ่มเดินทางโดยใช้รถไฟเพื่อไปยัง umeda sky building ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแลนมาร์คของโอซาก้า โดดเด่นใจกลางเมืองด้วยความสูงถึง 173 เมตร Skyscrapper แห่งนี้สร้างเสร็จเมื่อปี 1993 มีความเป็นเอกลักษณ์หาไม่ได้ท่ไี หนในโลก ด้วยการเชือ่ มต่ออาคาร 2 ตึกกลางอากาศ มีบนั ไดเลือ่ นเชือ่ มจากตึกหนึง่ ไปอีกตึกหนึง่ และมีความปลอดภัยสูงสุด เพราะทดสอบมาอย่างดีแล้วว่าสามารถป้องกันแรงกระแทก จากแผ่นดินไหวและภัยพิบัติอื่นๆ ได้ และด้านบนมีสวนลอยฟ้า Floating Garden บนชั้น 40 ที่เป็นอีกหนึ่งจุดน่าชมของที่นี่

ส่วนวิธกี ารเดินทาง สามารถ เดินมาได้จากสถานี JR Osaka (ทางออก Central North) และ Hankyu Umeda (ทางออก Chayamachi) และเดินผ่าน ทางใต้ ดิ น ไปที่ Shin Umeda City อาคาร Umeda Sky Buiding จะตัง้ อยู่ ในบริเวณนี้ (ซึ่งระหว่างทางที่เดินมา จะมองเห็นตึกสูงๆ อยู่แล้ว ให้เดินตรง ขึน้ มาเรือ่ ยๆ ก็จะถึงเอง) ส่วนค่าเข้าชม คนละ 700 เยน ถ้ า ใครใช้ Osaka Unlimited Pass ก็จะมีตั๋วที่รวมค่าเข้า เอาไว้อยู่เเล้วด้วย ไม่ต้องซื้อเพิ่มแล้ว หลังจากนั้นก็กดลิฟท์ขึ้นไปชั้นที่ 40 กันเลย เวลาเข้าชม ตัง้ แต่ 10.00-22.30 น. (เข้ า ได้ ช ้ า สุ ด ไม่ เ กิ น 22.00 น.) เมื่ อ เข้ า ไปอยู ่ ใ นลิ ฟ ท์ แ ล้ ว จะเป็ น ลิ ฟ ท์ แ ก้ ว ใสมองเห็ น พื้ น ดิ น ถ้ า ใคร กลั ว ความสู ง เงยหน้ า มองฟ้ า เอาไว้ อย่าได้มองลงไปข้างล่างเชียวเพราะ มันไวและสูงมาก >_<

สารสถาบันฯ 60

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


เมื่อลิฟท์ขึ้นมายังชัน้ จุดหมาย บนชั้น 39 มีร้านอาหารจีน Sangu และ Sky Lounge ‘Stardust’ เปิดให้บริการด้วย ส่วนถ้าใคร อยากหาที่นั่งพักดื่มอะไรง่ายๆ ให้แวะไปที่ cafe SKY 40 บนชั้น 40 ได้เลย หลังจากผ่านลิฟท์อันน่าตื่นเต้นมายังชัน้ 40 แล้ว เราก็จะมา ขึ้นบันไดเลื่อนลอยฟ้าที่เชื่อมระหว่างตึกทั้งสองเข้าด้วยกัน งานนี้ ไม่นา่ กลัวอย่างทีค่ ดิ เพราะมันใสแค่รอบๆ (ก็เลยมองไม่เห็นข้างล่าง) หลั ง จากนี้ ก็ ก ระจายตั ว กั น ตามอั ธ ยาศั ย เดิ น ชมวิ ว พาโนรามา แบบ 360 องศากันให้อิ่มตาอิ่มใจกันไปเลย แนะน�ำว่าให้ขึ้นไป ช่วงก่อนฟ้าจะมืด จะได้เก็บภาพได้ทั้งตอนสว่างและพระอาทิตย์ ตกดิน ส่วนกลางคืนก็สวย ด้านบนจะเปิดไฟกันสว่างไสว เพียงแต่ จะถ่ายรูปตัวเราไม่ค่อยสวยเท่านั้นเอง แต่รูปเมืองตอนกลางคืน เค้าว่าสวยมาก ชมวิวกันเสร็จแล้วก็ได้เดินชมรอบๆ อาคาร และก็มี ทีจ่ �ำหน่ายของทีร่ ะลึกต่างๆ ทัง้ ตุก๊ ตา พวงกุญแจรูปตึก Umeda Sky Building แห่งนี้มากมาย และเป็นที่แน่นอนก็มีตู้หมุนกาชาปอง อีกแล้วครับท่าน ก็คงไม่รอดค่ะ หมุนค่ะ ลุ้นว่าจะได้ตกึ Umeda Sky Building จ�ำลองเป็ น สี อ ะไร เมื่ อ แต่ ล ะคนได้ สู ด ความสดชื่ น และเก็บภาพไว้อย่างมากมายแล้วก็ได้ลงลิฟท์เพือ่ เดินไปยังทีห่ มาย ที่วางแผนไว้ นั่นก็คอื ไปนั่งชิงช้าสวรรค์ในห้าง Hep five

เมื่ อ ลิ ฟ ท์ พ าทุ ก คนลงมายั ง ส่ ว น ข้ า งล่ า งของตึ ก ก็ ไ ด้ ใ ช้ วิ ธี ก ารเดิ น และใช้ Google map ในการค้นหาเส้นทางเพื่อจะไปนั่ง ชิงช้าสวรรค์ห้าง Hep five และประเด็นคือ การได้เข้าไปชมร้านน่ารักๆ ที่ก�ำลังฮิตกันอยู่ ในตอนนี้ก็คือ Gudetama หรือที่เราเรียกว่า เจ้าไข่ขี้เกียจ โดยทางร้านแห่งนี้จะมีการน�ำ ไข่ ขี้เกีย จมาวางบนจานอาหารในแต่ ล ะเมนู อย่ า งลงตั ว เราใช้ เ วลาประมาณ 30 นาที ในการเดินทางมายังที่แห่งนี้ แต่ 30 นาทีที่ว่านี้ ผู ้ ร ่ ว มทริ ป ได้ แ วะดู ร ้ า นขายเสื้ อ ผ้ า ที่ ใ ช้ ชื่ อ แบรนด์ยูนโิ คล่ เพราะได้มกี ารจัดรายการ sale ซึ่งเป็นสิ่งล่อตาล่อใจยิ่งนัก และแล้วก็ได้เสื้อ กั น มาติ ด ไม้ ติ ด มื อ และได้ ท ดลองการจ่ า ย เงินเอง มันเป็นอะไรทีน่ า่ ตืน่ เต้นมากๆ ในครัง้ แรก ที่ได้ท�ำเช่นนี้

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

สารสถาบันฯ 61


จากนั้นไม่รอช้าเราเดินทางไปยังห้าง Hep five และตรงไปร้าน Gudetama ซึ่งอยู่ในชั้น 2 ก็ได้สั่งอาหาร แต่ละชนิด โดยอาหารนั้นจะต้องสั่งตามที่มีอยู่ในเมนู ซึ่งแต่ละเมนูน่ารักมากๆ เมื่อได้ลิ้มลองกับรสชาติอาหารและ ความน่ารักของร้าน Gudetama ก็ขึ้นไปชมวิวจากชิงช้าสวรรค์ ของห้าง Hep five แห่งนี้ แต่จากการประเมินดู ความสูงแล้วนัน้ ก็ไม่สามารถสู้ชิงช้าสวรรค์ Tempozan Ferris Wheel ได้ ที่นี่ถือเป็นสถานที่สุดท้ายในการเตรียมตัว เพื่อเดินทางกลับประเทศไทย จากนัน้ พวกเราก็ได้นั่งรถไฟ Rapid มายังสนามบินคันไซอีกครัง้ ในการได้ท่องเที่ยวญี่ปุ่นในครั้งนี้ เสมือนได้มาเปิดประสบการณ์ใหม่ ได้พบเห็นวัฒนธรรม การใช้ ชีวิตของผู้คนมากมายที่อยู่ภายใต้วัฒนธรรมอันแสนน่ารัก ทุกอย่างถูกจัดลงในสถานที่ที่มีอยู่อย่างจ�ำกัด ไม่ตอ้ งใหญ่โตมาก แต่ถกู จัดอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย การรักษาความสะอาดจากผูค้ นทีอ่ าศัยอยูใ่ นประเทศ ความมีระเบียบวินัยในการใช้ชีวิต ความสะดวกสบายจากเทคโนโลยีที่ล�้ำสมัยที่เอื้ออ�ำนวยแก่การใช้ชีวิต แต่ก็ยังไม่ได้กลืนกินวัฒนธรรมดั้งเดิมให้เลือนหายไปเลย ฉันจะกลับมาอีกครั้งนะ JAPAN …

สารสถาบันฯ 62

วิสัยทัศน์สถาบันฯ : สถาบันวิจัยที่มุ่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.