plan-2011-15

Page 1


แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015


สารบัญ หน้า ค�ำประกาศ 4 วิสัยทัศน์ พันธกิจ หลักการ 7 ส่วนที่ 1 บทน�ำ 1. ภูมิหลังการบริหารงานอภิบาล และงานธรรมทูตสังฆมณฑลจันทบุรี 10 2. การด�ำเนินงานตามทิศทางงานอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2000 - 2005 11 3. การด�ำเนินงานตามทิศทางงานอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2006 - 2010 12 4. สรุปผลการด�ำเนินงานตามทิศทางงานอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2006 13 5. สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในโลกปัจจุบัน 18 6. สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน 19 7. สิ่งท้าทายพระศาสนจักรคาทอลิก ในสังฆมณฑลจันทบุรี 21 8. แนวทางการจัดท�ำแผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2011 - 2015 25


ส่วนที่ 2 อภิบาลชุมชนศิษย์พระคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรพระเจ้า บทที่ 1 แผนงานด้านอภิบาล บทที่ 2 แผนงานด้านธรรมทูต บทที่ 3 แผนงานด้านสังคม บทที่ 4 แผนงานด้านศึกษาอบรม บทที่ 5 แผนงานด้านสื่อสารสังคม บทที่ 6 แผนงานด้านบริหารจัดการ

26 29 32 35 38 42

ส่วนที่ 3 แนวทางในการน�ำแผนอภิบาลสังฆมณฑล สู่การปฏิบัติ บทที่ 7 แนวทางด�ำเนินการระดับวัด โรงเรียน หน่วยงาน และระดับแขวง 46 บทที่ 8 แนวทางด�ำเนินการระดับสังฆมณฑล 51 บทที่ 9 แนวทางการติดตาม เยี่ยมเยียน และสนับสนุนแผนอภิบาลสังฆมณฑล 53 ส่วนที่ 4 ภาคผนวก บทส่งท้าย เชิงอรรถ เอกสารอ้างอิง

55 61 79


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ค�ำประกาศ เรื่อง แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015 “เราให้บัญญัติใหม่แก่ท่านทั้งหลาย ให้ท่านรักกันและกัน เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่างนั้นเถิด ถ้าท่านมีความรักต่อกัน ทุกคนจะรู้ว่า ท่านเป็นศิษย์ของเรา” (ยน 13:34-35)

4

สังฆมณฑลจันทบุรี อาศัยพระพร และการน�ำขององค์พระจิตเจ้าใน การท�ำงานตามทิศทางงานอภิบาลสังฆมณฑล ทั้ง 2 ฉบับ คือ ทิศทางงาน อภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2000 และ 2006 ซึ่งเป็นแผนแม่บท ได้ ด�ำเนินไปอย่างดี เป็นเวลาครบ 10 ปี โดยมีความสอดคล้องและตอบรับ กับ “ทิศทางงานอภิบาล ค.ศ. 2000” ของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย จากการเยี่ยมเยียน สนับสนุนการด�ำเนินงานตามทิศทางงาน อภิบาลสังฆมณฑล และติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง ท�ำให้ งานด้านต่าง ๆ ของสังฆมณฑลมีพัฒนาการ และก้าวหน้าขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง สภาอภิบาลทั้งในระดับวัด ระดับแขวง และระดับสังฆมณฑล สืบเนื่องจากสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยได้จัดท�ำและ ประกาศ “แผนอภิบาล คริสตศักราช 2010” เพื่อเป็นแผนแม่บท พันธกิจ 4


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

การอภิบาล และการประกาศข่าวดีในช่วง 5 ปีจากนี้ไป สังฆมณฑลจันทบุรี ตระหนักถึงความส�ำคัญของการจัดท�ำแผนอภิบาลมาอย่างต่อเนื่อง จึงให้มี การจัดสมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฐานันดร ในพระศาสนจักรท้องถิ่น ทั้งพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช และฆราวาส ให้เข้ามาร่วมกันก�ำหนด “แผนอภิบาลคริสตศักราช ค.ศ. 2011-2015” โดยมีกระบวนการในการท�ำแผนอภิบาล เป็นล�ำดับและขั้นตอนอย่างต่อ เนื่องจากระดับวัด ระดับแขวง สู่ระดับสังฆมณฑล อาศัยวิธีการวิถีเชิงบวก1 (Appreciative Inquiry) เพื่อมิใช่เป็นการเริ่มต้นทุกสิ่งใหม่ แต่เป็นการสาน ต่อและเพิ่มพูนคุณค่าที่เกิดจากทิศทางงานอภิบาล ค.ศ. 2006 ทั้งนี้ยังคงยึด วิสัยทัศน์ “คริสตชน สังฆมณฑลจันทบุรี เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและเพื่อน มนุษย์ ประกาศพระเยซูคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า” รวม ทั้งพันธกิจและหลักการที่ก�ำหนดไว้ให้เกิดความต่อเนื่อง เน้นการมีส่วนร่วม ของทุกคนในการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง และด�ำเนินชีวิตแบบองค์รวม2 อาศัยความรักเมตตา และการน�ำขององค์พระจิตเจ้า ท�ำให้การสมัชชา เพื่อจัดท�ำแผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2011 - 2015 ที่มีผู้เข้าร่วม ทั้งสิ้น 296 คน ทั้งพระสงฆ์ นักบวช และฆราวาส ได้ด�ำเนินไป และส�ำเร็จ ลงด้วยดี ที่ประชุมสมัชชาต่างเห็นชอบ และรับรอง “แผนอภิบาลสังฆมณฑล จันทบุรี คริสตศักราช 2011 - 2015” ในฐานะประมุขของสังฆมณฑลจันทบุรี ขอถือโอกาสอันน่าชื่นชมยินดีนี้ ขอบคุณคณะสงฆ์ นักบวช ตลอดจนพี่น้อง ฆราวาสทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการจัดท�ำแผนอภิบาลสังฆมณฑลนี้ และ หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับความร่วมมือต่อไปจากคณะสงฆ์ บรรดานักบวช สภาอภิบาลวัด และพี่น้องคริสตชนทุกคน ในการน�ำแผนอภิบาลสังฆมณฑล ไปก�ำหนดเป็นแผนปฏิบัติงานในทุกวัด ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรอย่างเป็น รูปธรรม จนบรรลุตามเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ รวมทั้งให้ความร่วมมือกับคณะ 5

5


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

กรรมการบริหารสังฆมณฑลจันทบุรี ในการส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน ติดตาม ประเมินผล เป็นระยะ เพื่อผลจากการ “อภิบาลชุมชนศิษย์พระคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า” ที่เกิดขึ้นจะน�ำความชื่นชมยินดี และ ความภาคภูมิใจมาสู่พี่น้องคริสตชนทุกคนในสังฆมณฑลจันทบุรี ในการเป็น ประจักษ์พยานถึงข่าวดีของพระคริสตเจ้าสู่เพื่อนมนุษย์ โอกาสสมโภชพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ข้าพเจ้าพระสังฆราชแห่ง สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี มี ค วามยิ น ดี ป ระกาศใช้ “แผนอภิ บ าลสั ง ฆมณฑล จันทบุรี คริสตศักราช 2011 - 2015” ให้บรรดาพี่น้องคริสตชนทราบโดยทั่ว กัน โดยแผนอภิบาลสังฆมณฑลฉบับนี้มีระยะเวลาเพื่อการด�ำเนินงาน 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศนี้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2016

อ�ำนวยพรมายังพี่น้องทุกคน

(พระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) พระสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี

(คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ เสกสรร สุวิชากร) เลขาธิการสังฆมณฑลจันทบุรี

6

ประกาศ ณ วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ศรีราชา วันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2011 โอกาสสมโภชพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า 6


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

วิสัยทัศน์ พันธกิจ และหลักการ ในแผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี

7 7


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

วิสัยทัศน์

คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ ประกาศพระเยซูคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า

พันธกิจ

8

คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี เป็นหนึ่งเดียวกันในความเชื่อ3 ความรัก และความสัมพันธ์กับพระเจ้า เร่งฟื้นฟูชีวิตและศักดิ์ศรีการเป็นบุตรของพระเจ้า อาศัยการปฏิบัติศาสนกิจ การภาวนา พระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์ เป็นหนึ่งเดียวกัน เคารพคุณค่า ศักดิ์ศรี4 เพื่อนมนุษย์ และวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม พัฒนาชีวิต กระแสเรียก5 และสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง6 เข้าใจกัน ร่วมทุกข์ ร่วมสุขและแบ่งปัน พร้อมทั้งอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม7 ประกาศพระเยซูคริสต์และข่าวดี ด้วยการเจริญชีวิตตามคุณค่าพระวรสาร เป็นประจักษ์พยาน8 พัฒนาระบบ วิธีการอภิบาลและประกาศสอน เผยแผ่ชีวิต ค�ำสอนและจิตตารมณ์ของพระเยซูคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า9 สร้างความยุติธรรม ความรัก สันติสุขและความชื่นชมยินดีในชุมชน แสวงหาคุณค่าในศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาการเสวนากับพี่น้องผู้มีความเชื่ออื่น10 8


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

หลักการ

ด้วยความเชื่อ และตระหนักในแผนการแห่งการสร้างและการไถ่กู้ ที่พระเจ้าได้ประทานศักดิ์ศรี และเกียรติแก่มนุษย์ ตามภาพลักษณ์ของ พระองค์ สังฆมณฑลจันทบุรีจึงยึดหลักการส�ำคัญ 3 ประการ11 ในการ ด�ำเนินงานคือ 1. เสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้มั่นคง บนพื้นฐานของความ เชื่อคริสตชน โดยมุ่งท�ำให้ชุมชนเข้มแข็ง สามารถด�ำเนินชีวิตเป็น ประจักษ์พยานถึงชุมชนศิษย์พระคริสต์ ในสังคมปัจจุบัน 2. พร้อมที่จะร่วมมือร่วมใจกัน ปฏิบัติพันธกิจแบบองค์รวม โดยเน้นการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันให้สอดคล้องกับความเชื่อคริสตชน 3. มุ่งเน้นให้เกิดการมีส่วนร่วมทุกระดับและทุกด้าน กล่าวคือ ทุกคนมีบทบาทในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน และร่วมลงมือ ปฏิบัติพันธกิจอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดผล หลักการส�ำคัญทั้งสามประการข้างต้นนี้ เป็นหัวใจในการด�ำเนิน งาน เพื่อให้แผนอภิบาลของสังฆมณฑลบรรลุผลส�ำเร็จตามวิสัยทัศน์ พันธกิจที่ตั้งใจไว้ และน�ำไปสู่การก�ำหนดแผนอภิบาลทั้ง 6 ด้านคือ ด้าน อภิบาล ด้านธรรมทูต ด้านสังคม ด้านศึกษาอบรม ด้านสื่อสารสังคม และด้านบริหารจัดการ เพื่อน�ำไปสู่การก�ำหนดแผนปฏิบัติการในระดับ ต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

9 9


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ส่วนที่ 1 บทน�ำ

10

1. ภูมิหลังการบริหารงานอภิบาล และงานธรรมทูตสังฆมณฑลจันทบุรี สังฆมณฑลจันทบุรีได้รับการก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ.1944 โดยมีพระสังฆราชและคณะสงฆ์พื้นเมืองบริหาร และอภิบาลสัตบุรุษในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันออก ตลอดระยะเวลา 67 ปี คณะสงฆ์ได้พยายามพัฒนารูปแบบการบริหารและอภิบาลพระ ศาสนจักรท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของพระศาสนจักรสากล โดยในปี ค.ศ.1965 หลังจากสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สังฆมณฑล จั น ทบุ รี ไ ด้ ก� ำ หนดนโยบายส่ ง เสริ ม ให้ ฆ ราวาสมี บ ทบาทในงานพระ ศาสนจักรมากขึ้น ระยะเริ่มต้นเป็นรูปแบบของคณะกรรมการวัด ต่อมา พัฒนาเป็นสภาวัดและสภาอภิบาลวัดตามล�ำดับ โดยมุ่งเน้นให้สัตบุรุษ มีส่วนร่วมในพันธกิจและกิจการของพระศาสนจักร ในการเสริมสร้าง อาณาจักรของพระเจ้าให้ปรากฏเด่นชัดในสังคมภาคตะวันออก ตลอดระยะเวลา 15 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1995 ถึง ค.ศ. 2010 การด�ำเนิน งานสภาอภิบาลวัดได้รับการพัฒนาควบคู่ไปกับการด�ำเนินงานตาม ทิศทางงานอภิบาลของสังฆมณฑลอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ในปี ค.ศ. 1998 สังฆมณฑลได้จัดท�ำคู่มือการด�ำเนินงานสภาอภิบาล วัด เพื่อเป็นแนวทางจัดตั้งและด�ำเนินงานสภาอภิบาลวัดสู่ปี ค.ศ. 2000 ซึ่งถือเป็นการรณรงค์ให้ทุกชุมชนวัดทั้งเล็กและใหญ่ มีการบริหารและ อภิบาลในรูปแบบของสภาอภิบาลวัด พร้อมทั้งขยายประสบการณ์การ 10 บทน�ำ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

มีส่วนร่วมในงานอภิบาลและธรรมทูตไปสู่การด�ำเนินงานสภาอภิบาล ระดับแขวง มีการจัดท�ำคู่มือสภาอภิบาลระดับแขวงในปี ค.ศ. 2004 เพื่อ เป็นฐานรองรับสภาอภิบาลระดับสังฆมณฑล ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหาร และอภิบาลของสังฆมณฑลมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น เป็นการสนองตอบต่อเจตนารมณ์ของพระศาสนจักรอย่างแท้จริง ปั จ จุ บั น นี้ สภาอภิ บ าลถื อ เป็ น รู ป แบบของการบริ ห ารและ อภิบาลของสังฆมณฑลจันทบุรี โดยมีคริสตชนทุกฐานันดร กล่าวคือ พระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช ผู้แทนสัตบุรุษ และกลุ่มองค์กรคาทอลิก มีส่วนร่วมในงานอภิบาลและงานธรรมทูตอย่างเข้มแข็ง 2. การด�ำเนินงานตามทิศทางงานอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2000 - 2005 สั งฆมณฑลจัน ทบุรีไ ด้ประกาศทิศทางงานอภิ บ าลสั ง ฆมณฑล จันทบุรี ค.ศ. 2000 (ค.ศ. 2000-2005) เมือ่ วันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2001 โดยตั้ ง วิ สั ย ทั ศ น์ ไ ว้ ว ่ า “คริ ส ตชนสั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี ร่ ว มเป็ น หนึ่ ง เดียวกัน ประกาศพระเยซูคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า” พร้อมทั้งก�ำหนดนโยบายปฏิบัติไว้ 6 ด้าน12 คือ ด้านอภิบาล ด้าน ธรรมทูต ด้านสังคม ด้านการศึกษาอบรม ด้านสื่อสารสังคม และด้าน บริหารจัดการ โดยเริ่มรณรงค์ทำ� ความเข้าใจวิสัยทัศน์ และให้สัตบุรุษน�ำ นโยบายไปปฏิบัติในชุมชนวัด พร้อมทั้งจัดตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริม การด�ำเนินงานตามทิศทางงานอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2000 ท�ำหน้าที่ส่งเสริม และช่วยเหลือการด�ำเนินงาน โดยการออกเยี่ยมเยียน ทุกวัด เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อน�ำมาพัฒนางานของสังฆมณฑล โดยภาพ รวมพบว่า สภาอภิบาลมีส่วนร่วมในการด�ำเนินงานตามนโยบายปฏิบัติ 11

บทน�ำ

11


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

12

ทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นด้านสังคมอยู่ในระดับดี ส่วนด้าน ธรรมทูตควรได้รับการพัฒนาและท�ำให้เด่นชัดมากขึ้น 3. การดำ�เนินงานตามทิศทางงานอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2006 - 2010 หลั ง จากการด� ำ เนิ น งานตามทิ ศ ทางงานอภิ บ าลสั ง ฆมณฑล จันทบุรี ค.ศ. 2000 (ค.ศ. 2000 - 2005) และได้มีการประเมินผล เรียบร้อยแล้ว สังฆมณฑลจันทบุรีได้จัดประชุมสมัชชา โดยแบ่งออก เป็น 5 ระยะ กล่าวคือ ระยะแรกเป็นการเยี่ยมเยียนสภาอภิบาลทุกวัด ตลอดปี ค.ศ. 2005 ระยะที่ ส องเป็ น การเตรี ย มสมั ช ชาระดั บ แขวง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ระยะที่สามเป็นการประชุมสมัชชา ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 6 - 8 ธันวาคม ค.ศ. 2005 ระยะที่สี่เป็นการท�ำ ประชาพิจารณ์ ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม ค.ศ. 2006 และระยะที่ ห้าเป็นการประชุมสมัชชาครั้งที่ 2 ในวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2006 เพื่อ ก�ำหนดทิศทางงานอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2006 (ค.ศ. 2006 2010) มีการปรับวิสัยทัศน์ เป็น “คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี เป็นหนึ่ง เดียวกับพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ ประกาศพระเยซูคริสต์ เสริมสร้างพระ อาณาจักรของพระเจ้า” เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน และได้ ประกาศใช้ทิศทางงานอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2006 โดยพระ สังฆราชลอเรนซ์เทียนชัย สมานจิต เมื่อวันพุธศักดิ์สิทธิ์ที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2006 ณ วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ศรีราชา เพื่อให้ทุกวัด ทุกหน่วยงานและทุกองค์กรในสังฆมณฑลจันทบุรี น� ำ ทิ ศ ทางงานอภิ บ าลสั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี ค.ศ. 2006 ไปใช้ เ ป็ น 12 บทน�ำ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

แนวทางในการก�ำหนดแผนงาน และปฏิบัติงานในหน่วยงานอย่างเป็น รูปธรรม คณะกรรมการบริหารสังฆมณฑลจันทบุรี จึงได้มอบหมาย ให้คณะอนุกรรมการส่งเสริมการด�ำเนินงานตามทิศทางงานอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2006 ท�ำหน้าที่ส่งเสริมการด�ำเนินงาน ติดตาม และประเมินผล โดยการตรวจเยี่ยมวัดในแขวงต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่แขวง จันทบุรี ในวันเสาร์ที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 2009 และสิ้นสุดที่แขวงหัวไผ่ ใน วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2009 ผลจากการตรวจเยี่ยมการด�ำเนิน งานตามทิศทางงานอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2006 พบว่า สภา อภิบาลมีส่วนร่วมในกิจกรรม การวางแผนโครงการ และการประเมินผล การด�ำเนินงานทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้นแขวงสระแก้ว ที่สภาอภิบาลมีส่วนร่วมในการด�ำเนินงานอยู่ในระดับมาก 4. สรุปผลการดำ�เนินงานตามทิศทางงานอภิบาลสังฆมณฑล จันทบุรี ค.ศ. 2006 หลังจากทิศทางงานอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2006 ได้ ประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2006 คณะ กรรมการบริหารสังฆมณฑลภายใต้การน�ำของอุปสังฆราช ได้รณรงค์ ให้ทุกวัด ทุกองค์กร และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้น�ำทิศทางงาน อภิบาลฯ ไปสู่การท�ำแผนปฏิบัติการ ก�ำหนดงาน โครงการ กิจกรรม ให้สอดคล้องและตอบสนองกับนโยบายที่ก�ำหนดไว้ใน 6 ด้าน โดยได้ จั ด ตั้ ง คณะกรรมการติ ด ตามการด� ำ เนิ น งานตามทิ ศ ทางงานอภิ บ าล สังฆมณฑลขึ้น เพื่อจัดกระบวนการในการติดตาม ในลักษณะของการ เยี่ยมเยียนวัดในแขวงทั้ง 5 แขวงในสังฆมณฑล โดยให้แต่ละวัดในแขวง 13

บทน�ำ

13


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

14

รายงานการด�ำเนินงานตามนโยบายปฏิบัติแต่ละด้าน และดูสภาพจริง อาศัยการพูดคุย สัมภาษณ์ ดูร่องรอยหลักฐานที่ปรากฏ จากการติดตาม เยี่ยมเยียนดังกล่าว ท�ำให้มีข้อมูลที่สามารถสรุปเป็นผลการด�ำเนินงาน ตามทิศทางงานอภิบาลสังฆมณฑล เป็นภาพรวมในแต่ละด้านดังต่อไปนี้ 1) ด้านอภิบาล จุดเด่น การให้ความส�ำคัญและติดตามการจัดกิจกรรมส�ำหรับเยาวชน การจัดกิจกรรมที่หลากหลายท�ำให้คริสตชนมาวัดเพิ่มขึ้น การจัดค่าย ค�ำสอนภาคฤดูร้อน และการจัดตั้งกลุ่มองค์กรคาทอลิก จุดที่ควรพัฒนา การสวดภาวนาในครอบครัว การเยี่ย มเยี ย นสั ต บุ รุ ษตามบ้ า น การติดตามผู้ห่างเหินวัด และการติดตามเด็กคาทอลิกที่ไม่ได้เรียนใน โรงเรียนคาทอลิก ข้อเสนอแนะ 1. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบของสังฆมณฑลติดตามและให้ ความส�ำคัญด้วยการสร้างภูมคิ มุ้ กันให้กบั เด็กและเยาวชนทัง้ ในด้านศาสนาและสังคม 2. ช่วยเหลือนักเรียนคาทอลิกยากจนที่ไม่สามารถเรียนใน โรงเรียนคาทอลิกให้มีโอกาสได้รับการอบรมด้านความเชื่อ คริสตชน 3. จัดกิจกรรมต่าง ๆ ด้านค�ำสอน และพระคัมภีร์ เพื่อส่งเสริม ความเชื่อ ความศรัทธาให้สัตบุ รุ ษมี ค วามรู ้ แ ละสามารถ ด�ำเนินงานด้านอภิบาลได้อย่างแท้จริง 14 บทน�ำ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

4. อบรมฟื้นฟูเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในชีวิตคริสตชนทั้ง ในระดับวัดและระดับแขวง 5. พัฒนาครูค�ำสอน 2) ด้านธรรมทูต จุดเด่น การจั ด กิ จ กรรมศาสนสั ม พั น ธ์ การประชาสั ม พั น ธ์ แ ละรณรงค์ จิตตารมณ์ธรรมทูตแก่พี่น้องต่างความเชื่อในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านกลุ่ม องค์กรคาทอลิก จุดที่ควรพัฒนา การศึกษาและจัดรูปแบบกิจกรรมงานธรรมทูตที่หลากหลายและ เหมาะสมกับสภาพวัด การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจจิตตารมณ์ธรรมทูต ของทุกคนโดยเฉพาะผู้รับผิดชอบ ข้อเสนอแนะ 1. ส่งเสริมความเข้าใจจิตตารมณ์ธรรมทูต 2. จัดกิจกรรมศาสนสัมพันธ์ในโอกาสต่าง ๆ เพื่อเป็นสนาม แห่งการประกาศข่าวดี 3. พัฒนาสัตบุรุษให้ร่วมงานธรรมทูตมากยิ่งขึ้น 3) ด้านสังคม จุดเด่น การรณรงค์จิตตารมณ์มหาพรตเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและผู้ ทุกข์ร้อนต่าง ๆ การประสานงานกับหน่วยงานราชการและชุมชนเพื่อ งานด้านสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาโดยอาศัยหน่วยงานต่าง ๆ ฝ่ายสังคมของสังฆมณฑลเป็นแบบอย่างด้านความเชื่อความศรัทธาแก่ พี่น้องต่างความเชื่อ ซึ่งก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน 15

บทน�ำ

15


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

16

จุดที่ควรพัฒนา การให้ความรู้ค�ำสอนด้านสังคมและน�ำไปปฏิบัติ การอบรมเพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ ข้อเสนอแนะ 1. อบรมและน�ำค�ำสอนด้านสังคมไปประยุกต์ใช้ในการท�ำงาน อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความเชื่อและวางใจในพระเจ้า มากขึ้น 2. จัดตั้งกลุ่มเพื่อพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษาของเยาวชน 4) ด้านการศึกษาอบรม จุดเด่น การส่งเด็ก เยาวชนและสัตบุรุษเข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง การสอนค�ำสอนอย่างสม�่ำเสมอ การมอบทุนการศึกษาให้กับเด็กยากไร้ การพัฒนาครูคำ� สอน การอบรมฟื้นฟูจิตใจกลุ่มองค์กรคาทอลิก และการ จัดท�ำประวัติชุมชนวัดในรูปแบบต่าง ๆ จุดที่ควรพัฒนา การอบรมสภาอภิบาลให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น การสนับสนุนติดตามเด็กที่ไม่ได้เรียนในโรงเรียนคาทอลิกให้มาเรียน ค�ำสอนตามโอกาส การจัดหาบุคลากรที่รับผิดชอบในการรวบรวมและ จัดท�ำประวัติศาสตร์ของชุมชนวัดอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ 1. อบรมให้ ค วามรู ้ เ พื่ อ เพิ่ ม คุ ณ ภาพชี วิ ต แก่ สั ต บุ รุ ษ อย่ า ง สม�่ำเสมอ 2. สนับสนุนให้เด็กคาทอลิกได้เข้าเรียนในโรงเรียนคาทอลิก 16 บทน�ำ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

3. ส่งเด็กและเยาวชนเข้าค่ายค�ำสอนภาคฤดูร้อนให้ทั่วถึง เพื่อ พัฒนาพื้นฐานความเชื่อ 4. จัดหาทุนการศึกษาให้กับเด็กยากจน 5. ส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของ ชุมชนวัด และคุณค่าของความเชื่ออย่างสม�ำ่ เสมอ 5) ด้านสื่อสารสังคม จุดเด่น การประชาสัมพันธ์ที่มีรูปแบบหลากหลาย เช่น การจัดท�ำสารวัด การจัดป้ายพระวาจา การท�ำเว็บไซต์ การใช้กระบวนการสื่อสารสังคม การรวบรวมและจัดท�ำประวัติชุมชนวัดอย่างเป็นระบบ จุดที่ควรพัฒนา การสนับสนุนสัตบุรุษให้เป็นสมาชิกวารสารคาทอลิกเพิ่มมากขึ้น การจัดหาอุปกรณ์ที่ทันสมัย พร้อมใช้งาน การประสานสัมพันธ์กับสื่อ ท้องถิ่นให้กว้างขึ้น เช่น วิทยุชุมชน เคเบิ้ลทีวี และการพัฒนาบุคลากร ด้านสื่อสารสังคมให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการผลิตสื่อมากขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. จัดหาเครือข่าย และน�ำเสนอเว็ปไซต์ในแวดวงคาทอลิก โดยจัด พิมพ์ลงในสารวัดหรือสื่อรูปแบบอื่น เพื่อให้ชุมชนมีแหล่งข้อมูล ในการรับข่าวสารที่กว้างไกลมากขึ้น 2. สนับสนุนให้สตั บุรษุ สมัครเป็นสมาชิกวารสารคาทอลิกเพิม่ มากขึน้ 3. จัดเตรียม หรือสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการ ใช้และผลิตสื่อ โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน 4. ส่ งเสริ ม การสื่อสารสัมพัน ธ์ระหว่างวั ด ในระดั บแขวง ระดั บ สังฆมณฑล และระดับชาติ เพื่อแบ่งปันข่าวสารแก่กัน 17

บทน�ำ

17


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

18

6) ด้านการบริหารจัดการ จุดเด่น การมีความพร้อม มีน�้ำใจ เสียสละ และร่วมมืออันดีในการด�ำเนิน งานของสัตบุรุษและสภาอภิบาล จุดที่ควรพัฒนา การขาดงบประมาณในการบริหารจัดการ และการขาดความเข้าใจ ที่ชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของสภาอภิบาล ข้อเสนอแนะ 1. ปลูกฝังจิตตารมณ์แห่งความรักและรับใช้ชุมชน 2. สนั บ สนุ น ให้ เ ด็ ก และเยาวชนมี ส ่ ว นร่ ว มในการด� ำ เนิ น งาน ของวัดมากยิ่งขึ้น 3. อบรมให้ความรู้แก่สภาอภิบาลในด้านบทบาทหน้าที่ และความ รับผิดชอบ 4. จั ด ท� ำ ท� ำ เนี ย บสภาอภิ บ าลของแต่ ล ะวั ด เพื่ อ สะดวกต่ อ การ ติดต่อประสานงานร่วมกัน 5. สนับสนุนงบประมาณการด�ำเนินงานตามทิศทางงานอภิบาล สังฆมณฑลให้เพียงพอ 5. สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในโลกปัจจุบัน สังคมโลกปัจจุบัน ที่เรียกว่า “ยุคโลกาภิวัตน์”12 ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในวิ ถีชีวิตและความเป็น อยู่ข องมนุ ษย์ ซึ่ งเป็ นยุ ค แห่ ง การครอบง�ำโลกทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรมของประเทศอภิมหาอ�ำนาจ แผ่อิทธิพลผ่านเทคโนโลยีและ 18 บทน�ำ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

การสื่อสาร ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชาติที่อ่อนแอกว่า ท�ำลายความ ส�ำนึกในคุณค่าวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของประชาชาติโดยเฉพาะใน กลุ่มเด็กและเยาวชน เกิดความรุนแรงในหลายส่วนของโลกอันสืบเนื่อง มาจากความขัดแย้งทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ตลอดจนการ แย่งชิงผลประโยชน์ในรูปแบบใหม่ที่หลากหลาย ก่อให้เกิดผู้ยากไร้ จ�ำนวนมากขึ้น ยิ่งกว่านั้น สังคมโลกยังต้องเผชิญกับปัญหาท้าทายใหม่ ๆ เช่ น วิ ก ฤตด้ า นคุ ณ ค่ า ศาสนาและวั ฒ นธรรม การไม่ เ คารพศั ก ดิ์ ศ รี และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ การละเมิดสิทธิมนุษยชน14 การขาด ศีลธรรมพื้นฐาน การเพิ่มประชากร การขาดแคลนอาหาร การแย่งชิง ทรัพยากร การแพร่หลายของยาเสพติด การก่อการร้ายและปัญหา แรงงานข้ามชาติ การท�ำลายสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ ปัญหาเหล่านี้ กลายเป็นปัญหาที่ไร้พรมแดนและส่งผลกระทบไปทั่วโลก 6. สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในสังคมไทยปัจจุบัน สังคมไทยปัจจุบันรับอิทธิพลจากกระแสยุคโลกาภิวัตน์ กลาย เป็นสังคมที่มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและความเจริญด้านวัตถุตาม กระแสของลั ท ธิ ทุ น นิ ย มเสรี ใ หม่ 15 ท� ำ ให้ ส ภาพจิ ต ใจเสื่ อ มถอยลง ครอบครัวที่เคยเข้มแข็งกลับอ่อนแอ เกิดความแตกแยกในชุมชนและ หมู่บ้าน กลายเป็นปัญหาที่เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น จนกล่าวได้ว่า “เศรษฐกิจก้าวหน้า สังคมมีปัญหา การพัฒนาไม่ยั่งยืน” เกิดวิกฤตด้าน คุณค่า คนด�ำเนินชีวิตตามกระแสวัตถุนิยม16 บริโภคนิยม17 และปัจเจก นิยม18 มีการแข่งขันเอารัดเอาเปรียบ ไม่ค�ำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรม เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนมากขึ้น คนอพยพเข้าสู่แหล่ง 19

บทน�ำ

19


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

อุตสาหกรรม ปัญหาแรงงานข้ามชาติ ก่อให้เกิดปัญหาชุมชนแออัดและ ไร้ที่อยู่อาศัย ระบบราชการขาดประสิทธิภาพ และมีการผูกขาดทาง การเมือง การเปิดการค้าเสรีส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกร ผลผลิตมี ราคาตกต�่ำ เนื่องจากการน�ำเข้าผลผลิตจากต่างประเทศที่มีราคาถูก กว่า การแย่งชิงและครอบครองที่ดินท�ำให้เกษตรกรไร้ที่ดินท�ำกินและมี ภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น ความเจริญเติบโตทางอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ขาดความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เกิด มลภาวะ สภาวะโลกร้อนและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบ ต่อมนุษย์และระบบนิเวศน์โดยตรง เกิดภัยธรรมชาติขึ้นบ่อยครั้งและนับ วันจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการสื่อสารมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านคุณค่า ศาสนาและ วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของคนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชน ที่มีวิกฤตการณ์ด้านจิตใจ คุณธรรม จริยธรรมในชีวิต ส่ ว นด้ า นการศึ ก ษา แม้ มี ก ารปฏิ รู ป แต่ ก็ เ ป็ น เพี ย งการปรั บ โครงสร้างการบริหารของราชการ เนื้อหาการเรียนการสอนส่วนใหญ่ ไม่เปลี่ยนแปลง ให้ความส�ำคัญด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ นิยมคน เก่ง สร้างคนฉลาดแต่เอาเปรียบผู้อื่น การจัดการศึกษาตัดขาดจากชีวิต จริงและชุมชน ท�ำให้เกิดวิกฤตการณ์ด้านคุณค่า ซึ่งแสดงออกในรูปของ อัตนัยนิยม19 (Subjectivism) สัมพัทธ์นิยม20 ทางศีลธรรม (Moral Relativism) และสูญนิยม21 (Nihilism) 20 20 บทน�ำ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

7. สิ่งท้าทายพระศาสนจักรคาทอลิกในสังฆมณฑลจันทบุรี สังฆมณฑลจันทบุรี ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ ตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว มีธรรมชาติทางสภาพภูมิศาสตร์ที่ เป็นเทือกเขา ที่ราบ และชายฝั่ง จึงเกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณี เชื้อชาติ และอาชีพ เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์และระบบ ทุนนิยม จึงเกิดความเจริญทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการ ท่องเที่ยวอย่างรวดเร็ว ชีวิตทางสังคมของผู้คนจึงเปลี่ยนแปลงอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัญหาเร่งด่วนที่พบ ได้แก่ การแย่งชิงทรัพยากรซึ่งมีอยู่จ�ำกัด การท� ำ ลายสิ่ ง แวดล้ อ มและระบบนิ เ วศ การสู ญ เสี ย ที่ ดิ น ท� ำ กิ น ของ เกษตรกรรายย่อย การก่อหนี้สิน การหลงใหลในความทันสมัยและ วัฒนธรรมบริโภคนิยม การเมินเฉยต่อวัฒนธรรมดั้งเดิม การเกิดระบบ ธุรกิจการเมืองในท้องถิ่น การแบ่งแยกแบ่งพวกเพราะเห็นแก่ประโยชน์ ส่วนตนในหมู่ประชาชน ปรากฏการณ์ดังกล่าวล้วนส่งผลกระทบต่อการ เปลี่ยนแปลงในมิติศาสนา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง พระศาสนจักรคาทอลิกในสังฆมณฑลจันทบุรีมองเห็นปัญหาดัง กล่าวข้างต้น เป็นดั่งนิมิตหมายแห่งกาลเวลา22 (The signs of the times) ที่ ท้าทายบทบาทของตนในฐานะเป็นผู้น�ำข่าวดีแห่งความรอดพ้น เพื่อน�ำ มวลมนุษย์สู่พระอาณาจักรของพระเจ้า ซึ่งเป็นพระอาณาจักรแห่งความ ยุติธรรม สันติภาพ และความชื่นชมยินดี23 โดยผ่านทางพระคริสตเจ้า ผู้ทรงเป็น “หนทาง ความจริง และชีวิต”24 ภารกิจที่ท้าทายสามารถ จ�ำแนกเป็น 6 ด้าน ดังต่อไปนี้ 21

บทน�ำ

21


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

22

1) ด้านอภิบาล จากผลกระทบของสภาพสั ง คมที่ เ ปลี่ ย นแปลงไปในภาคตะวั น ออก ที่คุกคามต่อความเชื่อ คุณธรรม จริยธรรม และวิถีชีวิตครอบครัว คริสตชน งานอภิบาลของสังฆมณฑลจึงเผชิญกับความท้าทายที่ต้อง ฟื้นฟูและพัฒนาครอบครัวคริสตชน ให้เป็นชุมชนศิษย์พระคริสต์ที่มี ความเชื่อเข้มแข็ง มีความรักความสามัคคี มีสำ� นึกในคุณธรรม จริยธรรม ตามแนวทางพระวรสาร ทั้ ง ต้ อ งยกระดั บ ความเข้ ม ข้ น ของรู ป แบบ และวิธีการสอนค�ำสอนให้กับเด็ก เยาวชน และคริสตชน ต้องรณรงค์ คริสตชน ให้ความส�ำคัญต่อพระวาจา ศีลศักดิ์สิทธิ์ และการอธิษฐาน ภาวนาโดยเฉพาะพิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์ ให้เป็นการเฉลิม ฉลองต่อเนื่องในชีวิตจริง การอภิบาลเยี่ยมเยียนกลุ่มต่าง ๆ ที่หลั่ง ไหลเข้ามาซึ่งเป็นผลจากการเติบโตทางอุตสาหกรรม จากสภาพสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไปต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกมิติ ทั้งด้าน ร่างกาย สติปัญญา จิตใจ และวิญญาณ เป็นคนดี มีคุณธรรม และค้นพบ การตอบสนองกระแสเรียกของตนในการเป็นประจักษ์พยานถึงคุณค่า พระวรสาร 2) ด้านธรรมทูต การเจริญชีวิตท่ามกลางพี่น้องต่างความเชื่อ และวัฒนธรรมที่ หลากหลายในสังคมภาคตะวันออก เรียกร้องให้คริสตชนสังฆมณฑล จันทบุรี ต้องยืนหยัด และด�ำเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยานถึงข่าวดีแห่ง ความรักของพระคริสตเจ้าในทุกโอกาส ประกาศตนว่าเป็น “ศิษย์ของ พระคริสตเจ้า” ด้วยความกล้าหาญ เปิดใจ เรียนรู้ และยอมรับคุณค่าดี งามในทุกศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่าง บนพื้นฐานของการเคารพ 22 บทน�ำ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

อย่างจริงใจ พร้อมที่จะส่งเสริมความดีงามของกันและกันตามความจริง ซึ่งพระเจ้าทรงเปิดเผยในแนวทางต่าง ๆ ที่ท�ำให้มนุษย์ได้รู้จักพระองค์ มากขึ้น 3) ด้านสังคม การเติบโตทางธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจอุตสาหกรรม และการเปิดการ ค้าเสรี ในภาคตะวันออก ที่ส่งผลกระทบต่อคุณค่า และคุณภาพของชีวิต ของคนในสังคม รวมทั้งสิ่งแวดล้อม เรียกร้องให้คริสตชนสังฆมณฑล จันทบุรี ต้องสนใจและใส่ใจต่อการปกป้องคุณค่า ศักดิ์ศรีและสิทธิของ มนุษย์ สานต่อพันธกิจของพระคริสตเจ้าในกิจการแห่งความรักความ เมตตา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อท�ำให้ศักดิ์ศรีแห่งการเป็นบุตร ของพระเจ้า25 ปรากฏเด่นชัดในชีวิตของแต่ละบุคคล ทั้งยังเรียกร้องให้ ต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่พระเจ้าได้ทรงสร้างและมอบให้ดูแลแทนพระองค์ 4) ด้านการศึกษาอบรม โรงเรียนคาทอลิกซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนของสังฆมณฑล คณะ นักบวช และฆราวาส เป็นสถาบันที่มีบทบาทส�ำคัญในการจัดศึกษา ที่ได้ รับความไว้วางใจจากผู้คนจ�ำนวนมากในสังคม จากสภาพสังคมปัจจุบัน ที่เปลี่ยนแปลงไป เรียกร้องให้โรงเรียนคาทอลิก จัดการศึกษาอบรม ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก26 เป็นสนามแห่งการประกาศข่าวดี แห่งความรักเมตตาของพระเจ้า มีบรรยากาศของเคหะสถาน27 (Home school) เพื่อปลูกฝัง และหล่อหลอมคุณธรรม จริยธรรมและความรู้ให้ เติบโตขึ้นอย่างสมดุลในชีวิต โดยเฉพาะการเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อเด็ก และเยาวชนคาทอลิก เด็กด้อยโอกาส และเด็กยากจน 23

บทน�ำ

23


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

5) ด้านสื่อสารสังคม การสื่อสารและสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีอิทธิพลต่อการด�ำรงชีวิต ของมนุษย์ในสังคมปัจจุบันทุกระดับ สามารถเข้าถึง และใช้ได้อย่างไร้ ขอบเขต จนก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านความเชื่อ วัฒนธรรมและ คุณค่าที่ดีงามในสังคม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นความท้าทายที่งานสื่อสารสังคม ของสังฆมณฑลจันทบุรีต้องท�ำให้คริสตชนรู้เท่าทัน พัฒนาการใช้สื่อ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ในงานอภิบาล การสอนความเชื่อ การ ประกาศข่าวดีแก่มนุษย์ โดยเฉพาะการสร้างความตระหนักให้คริสตชน มีชีวิตเป็นสื่อและสารแห่งความรักของพระเจ้าต่อเพื่อนมนุษย์ 6) ด้านบริหารจัดการ สังคมปัจจุบันมีโครงสร้างซับซ้อน และมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์ กันในหลายรูปแบบ ความส�ำเร็จขององค์กรต่าง ๆ ล้วนอาศัยระบบการ บริหารจัดการที่ดี มีคุณภาพ สังฆมณฑลจันทบุรี เป็นสถาบันที่มีส่วน ประกอบหลากหลายดั่งพระวรกายทิพย์ของพระคริสตเจ้ามาประกอบ เข้าด้วยกัน สภาพการณ์เช่นนี้จึงเรียกร้องให้ต้องมีระบบการบริหาร จัดการ และกลไกที่มีประสิทธิภาพ ท�ำงานแบบองค์รวม ส่งเสริมการ มีส่วนร่วม การสร้างเครือข่าย และท�ำงานประสานสัมพันธ์กันอย่างมี เอกภาพ โดยเฉพาะบทบาทของฆราวาสในงานต่าง ๆ ของสังฆมณฑล ในทุกระดับ เพื่อมุ่งสู่การเสริมสร้างอาณาจักรของพระเจ้าอย่างเป็น รูปธรรม

24 24 บทน�ำ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

8. แนวทางการจัดทำ�แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2011 - 2015 สังฆมณฑลจันทบุรี ได้ตระหนักถึงความส�ำคัญของการด�ำเนิน งานตามทิศทางงานอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรีเสมอมา ส�ำหรับแผน อภิ บ าลของสั ง ฆมณฑล ค.ศ. 2011 นั้ น สั ง ฆมณฑลได้ ด� ำ เนิ น การ สอดคล้องกับแผนอภิบาลระดับชาติ ซึ่งเป็นการสานต่อทิศทางงาน อภิ บ าลสั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี ค.ศ. 2006 โดยยึ ด วิ สั ย ทั ศ น์ พั น ธกิ จ และหลักการเดิม ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนในการสร้างชุมชน วั ด ให้ เ ข้ ม แข็ ง เจริ ญ ชี วิ ต แบบองค์ ร วมตามบั ญ ญั ติ รั ก ของพระเยซู คริสตเจ้า เป็นประจักษ์พยาน ประกาศ และแบ่งปันข่าวดี ดังนั้นจึงได้ จัดท�ำแผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2011 - 2015 เริ่มด้วยการ สัมมนาพระสงฆ์ ในวันอังคารที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2010 การประชุม ระดั บ วั ด ระหว่ า งเดื อ นกั น ยายนและเดื อ นตุ ล าคม ค.ศ. 2010 การ สัมมนานักบวช ในวันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2010 การสัมมนาสภา อภิบาลระดับแขวง เริ่มจากแขวงสระแก้ว ในวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 แขวงหัวไผ่และแขวงศรีราชา ในวันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2010 แขวงจันทบุรีในวันเสาร์ที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2011 และแขวง ปราจีนบุรี ในวันเสาร์ที่ 29 มกราคม ค.ศ. 2011 ในที่สุด ได้จัดสมัชชา พร้อมกันระหว่างวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 หัวข้อ “ชุมชนศิษย์ พระคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า” โดยใช้กระบวนการ “วิถีเชิงบวก” (Appreciative Inquiry) ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม อย่างแท้จริงในการน�ำประสบการณ์ที่ดีของแต่ละคนมาร่วมกัน แสวงหา สานฝัน สร้างสรรค์ และสืบสาน เพื่อขับเคลื่อนสู่อนาคตด้วยความเป็น หนึ่งเดียวกัน โดยน�ำไปก�ำหนดแนวทางปฏิบัติในแต่ละด้าน 25

บทน�ำ

25


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ส่วนที่ 2

อภิบาลชุมชนศิษย์พระคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรพระเจ้า บทที่ 1 แผนงานด้านอภิบาล “พัฒนาความเชือ่ อภิบาลครอบครัวคริสตชน และกลุม่ พิเศษต่าง ๆ เสริมสร้างชุมชนวัด”

26

พระเยซูคริสตเจ้า นายชุมพาบาลที่ดี ได้ตรัสถึงพระภารกิจของ พระองค์ว่า พระองค์เสด็จมาบนโลกนี้ เพื่อให้การอภิบาลเลี้ยงดู ปก ปัก เยียวยารักษา และพาลูกแกะไปพบอาหาร “เพื่อให้แกะมีชีวิตและมี ชีวิตอย่างสมบูรณ์”28 อีกทั้งยังมีแกะอื่น ๆ ที่พระองค์ยังต้องน�ำหน้าเพื่อ “จะมีแกะเพียงฝูงเดียว และผู้เลี้ยงเพียงคนเดียว”29 พระภารกิจแห่งการ อภิบาลนี้ พระเยซูเจ้าได้ทรงมอบหมายให้พระศาสนจักรโดยตรงผ่าน ทางนักบุญเปโตร เมื่อพระองค์ตรัสถึง 3 ครั้งว่า จงเลี้ยงและดูแลลูกแกะ ของพระองค์30 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พระศาสนจักรมิเคยละเลยพระ ภารกิจด้านอภิบาลนี้ เป็นเวลา 20 ศตวรรษมาแล้ว พระศาสนจักรตั้งแต่รุ่นแรก เมื่อได้รับพระภารกิจการอภิบาล ก็ได้ ร่วมมือในการท�ำให้ชีวิตของพวกเขาเข้มแข็งและมีพลัง “ประชุมกัน อย่างสม�่ำเสมอ เพื่อฟังค�ำสั่งสอนของบรรดาอัครสาวก ด�ำเนินชีวิตร่วม กันฉันพี่น้อง ร่วมพิธีบิขนมปัง และอธิษฐานภาวนา”31 การด�ำเนินชีวิต ดังกล่าวนี้ ได้ท�ำให้ชุมชนคริสตชนแรกเริ่ม มีชีวิตชีวาและเป็นศิษย์แท้ ที่มีคุณภาพของพระเยซูคริสต์ ทุกคนตระหนักดีถึงพันธกิจในการรับใช้ และบริการ พร้อมที่จะออกจากตนเอง เพื่อรับใช้และบริการผู้อื่น ตามที่ บทที่ 1 26 แผนงานด้านอภิบาล


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

พระอาจารย์ได้ท�ำให้เป็นแบบอย่าง พร้อมกับก�ำชับไว้อย่างหนักแน่นว่า “ในเมื่อเราซึ่งเป็นทั้งองค์พระผู้เป็นเจ้า และอาจารย์ ยังล้างเท้าให้ท่าน ท่านก็ต้องล้างเท้าให้แก่กันและกันด้วย เราวางแบบฉบับให้ท่านแล้ว ท่านจะได้ทำ� เหมือนกับที่เราท�ำกับท่าน”32 ด้วยความส�ำนึกและตระหนักในภารกิจงานอภิบาลดังกล่าวข้าง ต้น สังฆมณฑลจันทบุรีจึงก�ำหนดแผนอภิบาลด้านอภิบาลไว้ดังนี้ 1. ฟื้นฟูชีวิตความเชื่อครอบครัวคริสตชนในชุมชนวัด33 ให้ได้รับ การหล่อเลี้ยงด้วยพระวาจา ศีลศักดิ์สิทธิ์ และชีวิตภาวนา เกิด ความตระหนักถึงคุณค่า และความหมายของการไปร่วมพิธี มิสซา โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ มีส่วนร่วมในพิธีกรรม และ กิจ กรรมของวัด รวมทั้งกระตุ้นให้พ ระสงฆ์ตระหนักถึงการ เตรียมและประกอบพิธีกรรมอย่างศักดิ์สิทธิ์ ให้สัตบุรุษรับรู้ถึง เครื่ อ งหมายแท้ จ ริ ง ของพระธรรมล�้ ำ ลึ ก ที่ พิ ธี ก รรมน� ำ เสนอ เทศน์สอนจากพระคัมภีร์ (Dei Verbum 21) จัดให้มีกิจกรรมที่ ส่งเสริมชีวิตจิตอย่างมีชีวิตชีวาในชุมชนวัด 2. พัฒนารูปแบบ วิธีการปลูกฝังและถ่ายทอดความเชื่อ การสอน ค�ำสอนที่เป็นชีวิต มีชีวิตชีวา และเข้มข้น ในทุกกลุ่มเป้าหมาย พัฒนาครูค�ำสอน และครูคาทอลิกให้มีคุณภาพในด้านความ รู้ความสามารถในการอบรม ถ่ายทอดความเชื่อ มีชีวิตเป็น แบบอย่าง พร้อมทั้งจัดสวัสดิการ34 ตอบแทนที่เหมาะสม 3. พั ฒ นาและส่ ง เสริ ม ให้ สภาอภิ บ าลและองค์ ก รคาทอลิ ก ทุ ก ระดับมีบทบาท และเป็นฐานในการสร้างชุมชนศิษย์พระคริสต์ บทที่ 1 27 แผนงานด้านอภิบาล

27


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ที่มีชีวิตชีวา มีการติดตาม ดูแลให้ก้าวหน้าอย่างเป็นระบบและ ต่อเนื่อง 4. ส่ ง เสริ ม การอภิ บ าลเป็ น พิ เ ศษแก่ ค รอบครั ว คริ ส ตชน โดย เฉพาะครอบครั ว ที่ พ ่ อ แม่ ไ ม่ ไ ด้ เ ข้ า พิ ธี อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง เด็ ก เยาวชน นิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย สตรี ผู้สูงอายุ ผู้เจ็บ ป่วย ทุพลภาพ ผู้อพยพย้ายถิ่น แรงงานต่างชาติและกลุ่ม คริสตชน ให้ได้รับการเยี่ยมเยียน ดูแลเอาใจใส่ รวมทั้งสร้าง เครือข่ายผู้อภิบาลร่วมกับสภาอภิบาลและกลุ่มองค์กรฆราวาส 5. ฟื้นฟู และพัฒนาศักยภาพของกลุ่มองค์กรฆราวาสต่าง ๆ ให้รู้ เข้าใจ และปฏิบัติในบทบาทหน้าที่ตามจิตตารมณ์องค์กรที่ตน สังกัด 6. ฟื้นฟูความเชื่อ พัฒนาศักยภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนให้มีส่วน ร่ ว มในพิ ธี ก รรม กิ จ กรรมของชุ ม ชนวั ด มี บ ทบาทในสภา อภิบาล และได้รับการส่งเสริมให้มีกระแสเรียกสงฆ์ นักบวช เพิ่มขึ้น 7. พัฒนารูปแบบการอบรม และฟื้นฟูชีวิตให้กับพระสงฆ์ นักบวช และผู้เตรียมบวช ให้เป็นผู้น�ำด้านจิตวิญญาณ มีทักษะในการ ถ่ายทอดความเชื่อคาทอลิกและมีจิตตารมณ์แพร่ธรรม เป็น ผู้น�ำข่าวดีแห่งความรักของพระเจ้าสู่วิถีชีวิตชุมชน

28 บทที่ 1 28 แผนงานด้านอภิบาล


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

บทที่ 2 แผนงานด้านธรรมทูต “ประกาศ แบ่งปันข่าวดี และสร้างความเป็นหนึ่งเดียว”

พระคริสตเจ้าทรงเป็นข่าวดีส�ำหรับมนุษยชาติ เพราะ “พระเจ้า ทรงรั ก โลกอย่ า งมากจึ ง ประทานพระบุ ต รเพี ย งพระองค์ เ ดี ย วของ พระองค์ เพื่อทุกคนที่มีความเชื่อในพระบุตรจะไม่พินาศ แต่จะมีชีวิต นิรันดร”36 และพระองค์ทรงมอบหมายหน้าที่ในการประกาศข่าวดีคือตัว ของพระองค์แก่พระศาสนจักร “จงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ ของเรา”37 เพื่อท�ำให้พันธกิจของพระองค์ในการประกาศพระอาณาจักร ของพระเจ้า การท�ำให้มนุษย์ได้พบแสงสว่าง และน�ำความรอดพ้นมาสู่ มวลมนุษย์ส�ำเร็จตามพระประสงค์ของพระเจ้า ดังนั้นสิ่งส�ำคัญในงาน ธรรมทูตคือ การประกาศข่าวดีแห่งความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์ ใน กลุ่มต่าง ๆ ทั้งคริสตชนที่ปฏิบัติความเชื่ออย่างมั่นคง คริสตชนที่ละเลย ความเชื่อ และผู้ที่ยังไม่ได้รับความเชื่อ เพื่อให้เขาได้รับความรอดพ้น จากอ�ำนาจความชั่วทั้งมวล และก้าวไปสู่การพัฒนาชีวิตและสังคมบน พื้นฐานจิตตารมณ์พระคริสตเจ้า คริสตชนทุกคนจึงมีพันธกิจ และมี ธรรมชาติชีวิตของการเป็นผู้ประกาศข่าวดี ที่มีพื้นฐานในการด�ำเนิน ชีวิตความเชื่อที่เข้มแข็ง ด�ำรงชีวิตเป็นประจักษ์พยานในสังคม วิธีการประกาศข่าวดีที่ส�ำคัญคือ การเป็นประจักษ์พยานด้วยการ ด�ำเนินชีวิตตามจิตตารมณ์พระวรสาร การหล่อเลี้ยงความเชื่อด้วยพระ วาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์ที่มีคุณค่าและความหมาย การปฏิบัติกิจเมตตา ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับค�ำสอนของพระคริสตเจ้า เพื่อเป็นดั่ง 29 บทที่ 2 29

แผนงานด้านธรรมทูต


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

30

เกลือดองแผ่นดิน และเป็นแสงสว่างส่องโลก38 ซึ่งถือเป็นพันธกิจส�ำคัญ ในการประกาศและแบ่งปันข่าวดีทั้งแก่ผู้ที่ยังไม่ได้รับความเชื่อ และผู้ ที่ยังไม่อยู่ในฝูงแกะเดียวกัน39 ในบริบทของวัฒนธรรมที่แตกต่าง และ หลากหลายของสังคมไทย อาศัยการเสวนา40 และการเข้าสู่วัฒนธรรม41 ที่ อ ยู ่ บ นพื้ น ฐานของการเคารพในความแตกต่ า งของบุ ค คล การให้ เกียรติต่อกัน การเคารพและชื่นชมธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ อันเป็น ขุมทรัพย์ที่พระเจ้าทรงมอบไว้ให้พวกเขา42 ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีคุณค่า เพื่อให้การเสวนาระหว่างวัฒนธรรมเป็นการสร้างอารยธรรม แห่งความรักและสันติภาพขึ้นใหม่ นอกจากนี้ เพื่อฟื้นฟูเอกภาพของพระศาสนจักรของพระคริสตเจ้า ระหว่างคริสตชนนิกายต่าง ๆ ในการท�ำคริสตศาสนจักรสัมพันธ์43 ที่ แสดงออกถึงความสนใจ และเอาใจใส่ การท�ำกิจกรรมร่วมกับพี่น้อง คริ ส ตชนนิ ก ายอื่ น 44 การอธิ ษ ฐานภาวนา การศึ ก ษาพระวาจาร่ ว ม กัน อาศัยพระคริสตเจ้าเป็นศูนย์รวมในการพยายามหันหน้าเข้าหากัน เพื่อให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน45 รวมถึงการเสวนาระหว่างคริสตชน คาทอลิกกับพี่น้องต่างความเชื่อ ในงานศาสนสัมพันธ์46 เพื่อแบ่งปัน ข่าวดีตามจิตตารมณ์รักและรับใช้ การอยู่ร่วมกับพี่น้องทุกศาสนา ทุก วัฒนธรรมอย่างสันติ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อเสริมสร้างพระ อาณาจักรของพระเจ้า ดังนั้นสังฆมณฑลจันทบุรีได้ตระหนักในพันธกิจแห่งการประกาศ ข่าวดีแห่งความรักของพระเจ้า จึงได้ก�ำหนดแผนอภิบาลด้านธรรมทูต ไว้ดังนี้ บทที่ 2

30 แผนงานด้านธรรมทูต


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

1. พัฒนาความรู้ความเข้าใจและเสริมสร้างจิตตารมณ์ธรรมทูต47 แก่พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล องค์กรคาทอลิก คริสตชน ทุ ก คนให้ เ กิ ด ความตระหนั ก ว่ า งานธรรมทู ต เป็ น หน้ า ที่ ข อง คริสตชนทุกคน ด�ำเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยานข่าวดีแห่งความ รักของพระคริสต์ต่อพี่น้องต่างความเชื่อ 2. ส่ ง เสริ ม ประสานความร่ ว มมื อ ให้ โ รงเรี ย นคาทอลิ ก ใน สังฆมณฑลมียุทธศาสตร์ในการใช้โรงเรียนเป็นสนามแห่งการ ประกาศข่าวดี การถ่ายทอดคุณค่า และอัตลักษณ์โรงเรียน คาทอลิกไปสู่ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน 3. ส่งเสริมและให้ความส�ำคัญในการเสวนากับพี่น้องต่างความ เชื่อ ที่อยู่บนท่าทีและความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในความเป็น มิตร การเคารพ ให้เกียรติและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อาศัย พิธีกรรม กิจกรรมต่าง ๆ ทั้งบริบทของครอบครัว ชุมชนวัด และโรงเรียน 4. พัฒนารูปแบบวิธีการจัดคริสตศาสนจักรสัมพันธ์บนพื้นฐาน การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน 5. จัดท�ำคู่มือการเป็นธรรมทูต และการท�ำศาสนสัมพันธ์ให้กับ คริสตชน และผู้ทำ� งานธรรมทูต

31 บทที่ 2

31 แผนงานด้านธรรมทูต


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

บทที่ 3 แผนงานด้านสังคม “พันธกิจรัก รับใช้ และเป็นมโนธรรมของสังคม”

32

การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคมเป็นการสะท้อนภาพลักษณ์ของ พระเจ้า ในวิถีชีวิตที่อุดมไปด้วยการปฏิบัติตามจิตตารมณ์พระวรสาร รวมถึงการสืบทอดพันธกิจในการสร้างและการดูแลปกครองสิ่งสร้าง และธรรมชาติที่พระเจ้าทรงมอบไว้ในความดูแลของมนุษย์ “พระเจ้า ทรงสร้างมนุษย์ตามภาพลักษณ์ของพระองค์ พระองค์ทรงสร้างเขา ตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า พระองค์ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง...”48 ดังนั้น พระศาสนจักรจึงต้องพยายามปกป้อง ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพ ชีวิต ศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษย์ในฐานะบุตรของพระเจ้า ในเด็ก เยาวชน สตรี ผู ้ สู งอายุ และกลุ่มพิเศษต่าง ๆ ด้ว ยการเสริ มสร้ า งโอกาสและ พัฒนาศักยภาพ ให้มีความภูมิใจในศักดิ์ศรีการเป็นมนุษย์ เป็นบุตรของ พระเจ้า ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่า ของครอบครัวมนุษย์ที่เป็นหน่วยย่อยที่ส�ำคัญในสังคม เพื่อให้บุคคล เหล่านั้นได้มีชีวิตและมีชีวิตอย่างสมบูรณ์49 พระเจ้าทรงเผยให้มนุษย์ได้รู้ว่า “พระเจ้าทรงเป็นความรัก”50 โดย ทางองค์พระเยซูเจ้า และความรักนี้เองเป็นหัวใจ เป็นรากฐานชีวิต และ พันธกิจของพระศาสนจักรในทุกมิติ ซึ่งสามารถเห็นได้เด่นชัดในงาน เมตตาสงเคราะห์ และค�ำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรตลอดเวลา ที่ผ่านมา เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักในคุณค่า และศักดิ์ศรีที่เท่า เทียมกันของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธกิจในการอภิบาลด้านความ รักเมตตา และการรับใช้ผู้รอคอยโอกาส51 ในสังคม ผู้อพยพ ย้ายถิ่น สตรี บทที่ 3

32 แผนงานด้านสังคม


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

เด็ก52 ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เด็กก�ำพร้า ผู้ถูกคุมขัง ผู้เดินทางทะเล ผู้ไร้ที่อยู่ อาศัย ผู้ไร้สัญชาติและกลุ่มชาติพันธุ์ ในสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเป็น มโนธรรมของสังคม53 ในค�ำสอนของพระศาสนจักร และท�ำให้เกิดกระแส วัฒนธรรมแห่งความรักและการแบ่งปัน ความยุติธรรม และสันติสุขใน สังคมอาศัยการประสานความร่วมมือในทุกภาคส่วน รวมทั้งการร่วมมือ กันในการดูแลรักษาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่พระเจ้าทรงสร้างและ ประทานให้อยู่ในการปกครองดูแลของมนุษย์ให้เกิดความสมดุลในสังคม โลกอย่างยั่งยืนต่อไป ดังนั้น สังฆมณฑลจันทบุรีมีความตระหนักในพันธกิจดังกล่าว จึง ได้กำ� หนดแผนอภิบาลด้านสังคมไว้ดังนี้ 1. พัฒนาความรู้ความเข้าใจค�ำสอนพระศาสนจักรด้านสังคม เพื่อให้เกิดการรับรู้ต่อปัญหาจริยธรรมที่เกิดขึ้น และสร้าง ความตระหนักในหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสังคมให้คริสตชน ทุกกลุ่ม ทุกระดับ 2. ส่งเสริมบทบาทฝ่ายสังคมในระดับวัดและระดับแขวงให้มี ความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ทั้งในด้านเมตตาสงเคราะห์ และงาน พัฒนาคุณภาพชีวิต เกิดการรณรงค์การแบ่งปันด้วยรักใน สถาบันครอบครัว วัด โรงเรียน ชุมชน ในโอกาสต่าง ๆ อย่าง ต่อเนื่อง 3. สร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ ระหว่างองค์กร หน่วยงาน สถาบัน ที่ท�ำงานเมตตาสงเคราะห์กับกลุ่มเป้าหมาย ให้มี ความเข้มแข็ง ประสานการท�ำงานในบทบาทหน้าที่อย่าง ชัดเจนในระดับต่าง ๆ บทที่ 3 33 แผนงานด้านสังคม

33


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

4. จั ด สรรงบประมาณให้ เ พี ย งพอเพื่ อ งานพั ฒ นาและงาน เมตตาสงเคราะห์ พร้อมสร้างความร่วมมือ ประสานสัมพันธ์ การสนับสนุนกับองค์กรเอกชนและหน่วยงานของภาครัฐ 5. ส่งเสริมคุณค่าชีวิตทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม และภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น การมี วิ ถี ชี วิ ต ตามหลั ก เศรษฐกิ จ พอเพียง และจิตตารมณ์ความรักและการช่วยเหลือแบ่งปัน การอนุรักษ์ ดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับลด พฤติกรรมการด�ำรงชีวิตที่น�ำไปสู่การท�ำลายความสมดุลของ ธรรมชาติ 6. จั ด ระบบการเตรี ย มบุ ค ลากรและคณะผู ้ ท� ำ งานด้ า นสั ง คม ทั้ ง พระสงฆ์ นั ก บวช และฆราวาสทุ ก ระดั บ ให้ มี ค วามต่ อ เนื่อง และสานต่องานได้ตามพันธกิจและเป้าหมายของพระ ศาสนจักร

34 บทที่ 3 34 แผนงานด้านสังคม


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

บทที่ 4 แผนงานด้านการศึกษาอบรม “ให้การศึกษาอบรม และสร้างอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก”

“ในวันที่สาม โยเซฟพร้อมกับพระนางมารีย์ พบพระองค์ในพระ วิหารประทับนั่งอยู่ในหมู่อาจารย์ ทรงฟังและทรงไต่ถามพวกเขา ทุก คนที่ได้ฟังพระองค์ต่างประหลาดใจในพระปรีชาที่ทรงแสดงในการตอบ ค�ำถาม...พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปที่เมืองนาซาเร็ธกับบิดามารดา และ เชื่อฟังท่านทั้งสอง พระมารดาทรงเก็บเรื่องทั้งหมดเหล่านี้ไว้ในพระทัย พระเยซูเจ้าทรงเจริญขึ้นทั้งในพระปรีชาญาณ พระชนมายุ และพระ หรรษทานเฉพาะพระพักตร์ของพระเจ้า และต่อหน้ามนุษย์”54 การเจริญ เติบโตด้านคุณธรรมและความรู้ในชีวิตของมนุษย์มีจุดเริ่มต้นมาจาก พระปรีชาญาณของพระเจ้าที่ประทานให้ โรงเรียนคาทอลิก จึงเป็นสนาม แห่งการอบรมชีวิตในทุกมิติ โดยเฉพาะการอบรมความเชื่อและเป็นฐาน แห่งการท�ำให้พระพรในตัวของมนุษย์เติบโตขึ้นในท่ามกลางบรรยากาศ แห่งความรัก และการดูแลเอาใจใส่ จึงมีต้องมีความตระหนักว่า “การ พัฒนาจิตส�ำนึกด้านจิตวิทยาและจริยธรรมของมนุษย์ที่เกิดควบคู่กัน ไปนี้ เป็นสิ่งที่พระคริสตเจ้าทรงเรียกร้องให้เป็นเงื่อนไขแรก ก่อนที่จะ สามารถรับพระพรแห่งความจริงและพระหรรษทาน เมื่อพระวรสาร หยั่ ง รากลึ ก ลงไปในสติ ป ั ญ ญา และชี วิ ต ของสั ต บุ รุ ษ เมื่ อ นั้ น แหละ โรงเรียนคาทอลิกจึงจะพบกับค�ำจ�ำกัดความในความหมายของตน ซึ่ง ไปได้ด้วยดีกับสภาพการณ์วัฒนธรรมแห่งกาลเวลาปัจจุบัน”55 โรงเรียนคาทอลิกจึงต้องแสดงเอกลักษณ์ของตนเองให้เด่นชัด ในการท�ำให้เป็นสนามแห่งการประกาศข่าวดี56 โดยสร้างบรรยากาศ บทที่ 4 35 แผนงานด้านการศึกษาอบรม

35


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

36

ความเป็นคาทอลิก การสอนค�ำสอนปลูกฝังความเชื่อที่สอดคล้องกับ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต การศึกษาอบรมแบบคาทอลิกจึงมีจุดมุ่งหมาย ส�ำคัญเพื่อการพัฒนามนุษย์ทุกมิติทั้งด้านร่างกาย จิตวิญญาณ สติ ปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม การท�ำให้คุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์ ในฐานะบุตรของพระเจ้าปรากฏเด่นชัดในชีวิตของบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง โดยเฉพาะการให้การช่วยเหลือเด็กยากจน ด้อยโอกาส และ เด็กพิการให้ได้รับการศึกษาโดยเท่าเทียม ตามแบบอย่างพระคริสตเจ้า ที่ทรงต้อนรับเด็ก ๆ ทุกคนให้เข้ามาหาพระองค์ “ปล่อยให้เด็กเล็ก ๆ มาหาเราเถิด อย่าห้ามเลย เพราะอาณาจักรสวรรค์เป็นของคนที่เหมือน เด็กเหล่านี้ พระองค์ทรงปกพระหัตถ์ให้เด็กเหล่านั้น”57 ดังนั้น สังฆมณฑลจันทบุรีตระหนักถึงพันธกิจในการให้การศึกษา อบรมตามจิตตารมณ์ของพระคริสตเจ้า จึงได้ก�ำหนดแผนอภิบาลด้าน การศึกษาอบรมไว้ดังนี้ 1. รณรงค์ ส ่ ง เสริ ม ให้ โ รงเรี ย นคาทอลิ ก ในสั ง ฆมณฑล จั ด การ ศึกษาอบรม ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักคริสตศาสน ธรรม เป็นสนามแห่งการประกาศข่าวดี สร้างคุณลักษณะและ เอกลักษณ์ตามปรัชญาและอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก 2. รณรงค์ให้โรงเรียนคาทอลิกและวัดในสังฆมณฑลจัดการศึกษา อบรม ปลูกฝัง และถ่ายทอดความเชื่อคาทอลิกให้กับเด็กและ เยาวชนคาทอลิกให้ได้รับการศึกษาในโรงเรียนคาทอลิก ได้รับ การสอนค�ำสอน การรับศีลศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นระบบเหมาะสม กับวัย ให้รู้จักบทบาทหน้าที่ในความเป็นคริสตชน มีส่วนร่วม ในพิ ธี ก รรม กิ จ กรรมทางศาสนาอย่ า งมี ค วามหมายจาก บทที่ 4

36 แผนงานด้านการศึกษาอบรม


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

บุคลากรด้านค�ำสอนที่ได้รับการพัฒนาและการศึกษาอบรม โดยตรง อีกทั้งได้รับสวัสดิการอย่างเหมาะสม 3. ส่งเสริมให้โรงเรียนคาทอลิกในสังฆมณฑล ต้องจัดการศึกษา อบรมให้กับเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส ในรูปแบบต่าง ๆ 4. ส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ชุมชนความเชื่อของทุกวัด และทุกองค์กรในสังฆมณฑล เพื่อ เป็นแหล่งเรียนรู้ สามารถเผยแผ่ และสืบสานความเชื่อเหมาะ สมกับวัฒนธรรม

37 บทที่ 4 37 แผนงานด้านการศึกษาอบรม


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

บทที่ 5 แผนงานด้านสื่อสารสังคม “ชีวิตที่เป็นสื่อและข่าวดี การใช้สื่อสารมวลชนและเทคโนโลยี”

38

“ในปฐมกาล พระวจนาถต์ทรงด�ำรงอยู่...และพระวจนาถต์ทรง เป็นพระเจ้า...”58 พระเจ้าที่เป็นหนึ่งเดียวในสามพระบุคคลทรงเป็น พระตรีเอกภาพที่มีการปฏิสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งและไม่รู้สิ้นสุด ในระหว่าง พระบุคคลของพระองค์เอง พระบิดา “ตรัส” ถึงพระบุตร พระบุตรจึงทรง เป็นพระวาจาที่พระบิดา “ตรัส” ตั้งแต่นิรันดร59 โดยการตรัสนั้น พระองค์ ก็ทรงให้ก�ำเนิดและประทานทุกสิ่งที่ทรงเป็นและทรงมีแด่องค์พระบุตร พระบุตรทรงเรียกพระบิดาและทรงมอบตนเองแด่พระบิดาทั้งครบด้วย การนบนอบที่ครบครัน พระจิตทรงมาจากพระบิดาและพระบุตร ทรง เป็นความสัมพันธ์แห่งชีวิต พระจิตทรงเป็นผลที่ครบครันของการสื่อสาร ส่วนบุคคลระหว่างความรักของพระบิดาและพระบุตร60 การสื่อสารสัมพันธ์ในพระธรรมล�้ำลึกของพระบุคคลของพระเป็น เจ้า แผ่ขยายกว้างขึ้นถึงสิ่งที่ถูกสร้างพิเศษ คือมนุษย์61 พระเจ้าทรง สร้างมนุษย์ให้มีความสามารถที่จะสื่อสารกับพระองค์62 เพราะทรงสร้าง เขาให้เป็นภาพลักษณ์ของพระองค์ พระเจ้าได้ทรงสื่อสารกับประชากร ของพระองค์ ม าทุ ก ยุ ค ทุ ก สมั ย เฉพาะอย่ า งยิ่ ง อาศั ย บรรดาผู ้ ที่ ท รง เลือกสรรและประกาศ การสื่อสารระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์บรรลุจุดสูงสุดในการรับเอา กายเป็นมนุษย์ของพระบุตรพระเยซูคริสตเจ้า เพราะพระองค์คือ “พระ ผู้ทรงเป็นสื่อที่สมบูรณ์ที่สุด”63 เพราะเหตุนี้พระองค์จึงทรงปรับพระองค์ เองให้เข้ากับภาษาและทัศนคติของมนุษย์ ทรงใช้ทุกวิธีในการสื่อสาร บทที่ 5

38 แผนงานด้านสื่อสารสังคม


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ทั้งด้วยวิธีการใช้ค�ำพูดและไม่ใช้ค�ำพูด พระองค์ทรงสื่อสารด้วยจิตและ ชีวิต ทรงสื่อสารองค์พระจิตเจ้าผู้ประทานชีวิตซึ่งเป็นปฐมเหตุของความ เป็นหนึ่งเดียว64 พระศาสนจักรซึ่งเป็นพระกายทิพย์ของพระเยซูคริสตเจ้า “พบ จุดเริ่มต้นจากความเป็นหนึ่งเดียวแห่งความรักในระหว่างพระบุคคล ของพระตรีเอกภาพและการสื่อสารของพระองค์กับเรา” และด้วยความ ส�ำนึกว่าการสื่อสารของพระตรีเอกภาพนั้น “ออกมาถึงมนุษยชาติ” โดย ผ่านทางพระเยซูคริสตเจ้า พระเจ้าทรงเป็นสื่อส�ำแดงพระองค์และความ รอดพ้นของพระองค์ให้แก่บรรดาหญิงและชาย พระเป็นเจ้าทรงสื่อสาร กับมนุษย์โดยผ่านทางพระศาสนจักรซึ่งเป็นผู้ท�ำหน้าที่และผู้รักษาไว้ซึ่ง การเผยแสดงของพระองค์ และพระองค์ทรงมอบหมายหน้าที่การสอน อันทรงชีวิตนี้ให้พระศาสนจักรเป็นผู้มีสิทธิ์ในการอธิบายพระวาจาของ พระองค์ ยิ่งไปกว่านั้น พระศาสนจักรเองก็คือความเป็นหนึ่งเดียวของ บุคคล และหมู่คณะผู้ร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณซึ่งเกิดจากและสะท้อน ให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวของพระตรีเอกภาพ ดังนั้น การสื่อสารจึง เป็นแก่นแท้ของพระศาสนจักร ซึ่งพระศาสนจักรถือว่าเป็น “พระพรของ พระเจ้า”65 เนื่องจากพระคริสตเจ้าทรงตั้งพระศาสนจักรคาทอลิกขึ้น เพื่อ น� ำ ความรอดพ้ น ไปถึ ง มนุ ษ ย์ ทุ ก คน และพระศาสนจั ก รจ� ำ เป็ น ต้ อ ง ประกาศข่าวดีเรื่องพระคริสตเจ้า ดังนั้น พระศาสนจักรจึงถือเป็นหน้าที่ ต้ อ งประกาศข่ า วดี แ ห่ ง ความรอดพ้ น โดยใช้ สื่ อ มวลชน รวมทั้ ง ต้ อ ง สอนมนุษย์ให้รู้จักใช้สื่อมวลชนนั้นอย่างถูกต้องด้วย66 เพื่อการพัฒนา มนุษย์ เพื่อความยุติธรรมและสันติ เพื่อการเสริมสร้างสังคมในพื้นที่ ทั้ง บทที่ 5 39 แผนงานด้านสื่อสารสังคม

39


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ระดับชาติและในระดับชุมชน เพื่อเห็นแก่ความดีของส่วนรวมและด้วย จิตตารมณ์แห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้น สังฆมณฑลจันทบุรีได้ตอบรับพันธกิจนี้ จึงก�ำหนดแผน อภิบาลด้านสื่อสารสังคมเพื่อสัตบุรุษและพี่น้องต่างความเชื่อ ดังต่อไปนี้ 1. ส่งเสริมให้พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล คริสตชนทุกวัยใน สังฆมณฑล ด�ำเนินชีวิตเป็นสื่อ และเป็นข่าวสารแห่งความรัก ของพระเป็นเจ้า จากการด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวันส�ำหรับบุคคลอืน่ 2. พัฒนาและสร้างบุคลากรด้านสื่อสารสังคมของสังฆมณฑลให้ มีคุณภาพ (พระสงฆ์ ฆราวาส เยาวชน) ทั้งในระดับวัด แขวง สังฆมณฑล สร้างเครือข่ายด้านสื่อสารสังคมให้ได้รับการพัฒนา ความรู้ ความสามารถ ทักษะในการผลิต และใช้สื่อเพื่อการ ประกาศพระวาจา ในรูปแบบและช่องทางที่หลากหลาย (สื่อ สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ) 3. พัฒนารูปแบบวิธีการผลิตสื่อใหม่ๆ ที่มีคุณภาพในรูปแบบต่าง ๆ ของฝ่ายสื่อสารสังคมเพื่อตอบสนองต่องานอภิบาล การสอน ค� ำ สอน การเผยแผ่ ห ลั ก ค� ำ สอนและการประกาศข่ า วดี ใ ห้ พระสงฆ์ คริสตชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย 4. ส่งเสริมให้ทุกวัดในสังฆมณฑลมีการจัดท�ำสารวัด ท�ำบอร์ด ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร และมีการบริการสื่อเสริมศรัทธาให้กับ คริสตชนในวัดมากขึ้น 40 บทที่ 5

40 แผนงานด้านสื่อสารสังคม


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

5. ส่งเสริมให้ทุกวัดในสังฆมณฑลมีอุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยีเพื่อ ใช้ในงานอภิบาล การสอนค�ำสอน การประกาศพระวาจา และ ผู้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะรับผิดชอบในการใช้ การดูแล รักษาอุปกรณ์สื่อฯ อย่างเหมาะสม

41 บทที่ 5

41

แผนงานด้านสื่อสารสังคม


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

บทที่ 6 แผนงานด้านบริหารจัดการ “ระบบ กลไก และการประสานสัมพันธ์”

42

“แม้ร่างกายเป็นร่างกายเดียว แต่ก็มีอวัยวะหลายส่วน อวัยวะ ต่ า ง ๆ เหล่ า นี้ แ ม้ จ ะมี ห ลายส่ ว นก็ ร ่ ว มเป็ น ร่ า งกายเดี ย วกั น ฉั น ใด พระคริสตเจ้าก็ฉันนั้น”67 พันธกิจในงานอภิบาลของพระศาสนจักรที่ได้ รับมาจากองค์พระคริสตเจ้า คือให้ทุกคนได้รับความรอดพ้นและเข้ามา รวมอยู่ในพระกายทิพย์ของพระองค์ บนพื้นฐานของการอุทิศตนเพื่อ การรับใช้ เพื่อให้งานประกาศข่าวดีบรรลุผล ซึ่งพระองค์ทรงท้าทาย ศิษย์ของพระองค์ ให้ต้องเสียสละ และละความเห็นแก่ตัว ยอมแบก กางเขนติดตามพระองค์68 เช่นเดียวกับที่พระองค์มอบชีวิตเพื่อการไถ่ กู้เราให้รอด69 ซึ่งถือเป็นการเรียกร้องถึงคุณภาพของบุคลากรในการ ท�ำ งานตามพั นธกิจที่พระองค์ทรงมอบหมาย และมี ก ารท�ำงานร่ ว ม กันเป็นทีม เป็นเครือข่ายที่จะท�ำให้งานบรรลุผล พระศาสนจักรจึงมี แนวทางในการอภิบาลโดยแบ่งการท�ำงานเป็นฝ่ายต่าง ๆ ในโครงสร้าง ของสังฆมณฑล ที่มีพื้นฐานบนความตระหนักถึงการเป็นประจักษ์พยาน ในเอกภาพแห่งพระกายทิพย์ของพระคริสตเจ้า ขณะเดียวกันเพื่อให้เอกภาพนี้ได้ถูกหล่อหลอม และหล่อเลี้ยง เชื่อมประสานกันอย่างเข้มแข็งในการปฏิบัติพันธกิจ จ�ำเป็นต้องได้รับ การหล่อเลี้ยงและได้รับพลังจากองค์พระคริสตเจ้า เช่นเดียวกับที่บรรดา ศิษย์ได้รับจากการเดินทางร่วมกับพระคริสตเจ้าไปยังเอมมาอุส เมื่อ พระองค์ทรงท�ำพิธีบิปัง พวกเขาจ�ำพระองค์ได้ และกลับไปยังเยรูซาเล็ม ด้วยความเร่าร้อนและพร้อมที่จะท�ำงานอย่างเข้มแข็งร่วมกันต่อไป70 บทที่ 6

42 แผนงานด้านบริหารจัดการ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

โดยอาศัยพระพร และพระคุณที่ได้รับมาของแต่ละคน ที่มีความแตกต่าง กัน แต่สามารถน�ำมาใช้เพื่อการสร้างเอกภาพในการท�ำงาน และการใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีในสังคมปัจจุบัน เพื่อท�ำให้วิสัยทัศน์และพันธกิจของ สังฆมณฑลส�ำเร็จตามที่ได้ตั้งใจไว้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีแนวทางร่วมกันในการเดินไปสู่จุดหมาย เดียวกัน ในการประกาศพระเยซูคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของ พระเจ้า สังฆมณฑลจันทบุรีจึงได้ก�ำหนดแผนอภิบาลด้านบริหารจัดการ ไว้ดังนี้ 1. จั ด ท� ำ แผนพั ฒ นาคุ ณ ภาพบุ ค ลากรทุ ก ระดั บ ทั้ ง พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล กลุ่มองค์กรคาทอลิก ครูค�ำสอน และครู คาทอลิกอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง ให้มีความเข้มแข็งในการ ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่บนพื้นฐานความเชื่อ และการปฏิบัติ ตามพระวาจา โดยเฉพาะการเสริมสร้างเยาวชนให้พร้อมต่อ งาน และสืบทอดภารกิจอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม 2. จัดระบบ กลไก สร้างความเข้มแข็งเพื่อให้เกิดการประสาน สั ม พั น ธ์ ใ นการท� ำ งานอย่ า งชั ด เจน มี รู ป แบบการท� ำ งานไป ในทิศทางเดียวกันตามโครงสร้างฝ่ายต่าง ๆ มีระบบติดตาม สนับสนุน และประเมินแผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรีอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งในระดับวัด ระดับแขวง และระดับสังฆมณฑล 3. จัดระบบการจัดหางบประมาณ การจัดสรรงบประมาณที่ชัดเจน เพียงพอ เอื้อต่อการด�ำเนินโครงการของแต่ละฝ่ายทั้งในระดับ วัด แขวง หน่วยงาน องค์กรในสังฆมณฑลตามแผนอภิบาล และสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ บทที่ 6

43 แผนงานด้านบริหารจัดการ

43


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

4. จัดสรรสิ่งอ�ำนวยความสะดวก อุปกรณ์ส�ำนักงานและเทคโนโลยี ที่ เ หมาะสม เพื่ อ การท� ำ งานอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ตลอดจน ดูแลเอาใจใส่ จัดสวัสดิการที่เหมาะสมเพื่อเป็นขวัญก�ำลังใจแก่ บุคลากรทุกระดับ 5. สร้างเครือข่ายการท�ำงานร่วมกันระหว่างพระศาสนจักรท้องถิ่น องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน

44 บทที่ 6 44 แผนงานด้านบริหารจัดการ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ส่วนที่ 3

แนวทางการน�ำแผนอภิบาลสังฆมณฑล สู่การปฏิบัติ “ลูกที่รักทั้งหลาย เราอย่ารักกันแต่ปาก เพียงด้วยค�ำพูดเท่านั้น แต่ เราจงรักกันด้วยการกระท�ำ และด้วยความจริง จากการกระท�ำนี้ เราจะรู้ว่า เราอยู่กับความจริง” 71

แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี เป็นเสมือนเข็มทิศที่กำ� หนดเส้น ทางในการด�ำเนินงานในฝ่ายต่าง ๆ ของสังฆมณฑล เพื่อให้การด�ำเนิน งานของสังฆมณฑล ทั้ง 6 ด้าน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดการ ประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและ นโยบายที่ก�ำหนดไว้ อาศัยความร่วมมือ ร่วมใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง น�ำไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง จริงจัง จนเกิดวงจรแห่งคุณภาพ ที่สะท้อนถึงการปฏิบัติงานร่วมกันด้วยจิตตารมณ์แห่งความรักของพระ คริสตเจ้าด้วยการกระท�ำ ตั้งแต่การร่วมกันวางแผน การร่วมกันปฏิบัติ การร่วมติดตาม ประเมินผล และการร่วมจัดท�ำรายงานสรุปผลการ ด�ำเนินงานและน�ำผลไปพัฒนาการด�ำเนินงานในแต่ละด้านให้เพิ่มพูน ประสิทธิผลมากขึ้น สังฆมณฑลจึงได้เสนอกรอบแนวทางในการน�ำแผน อภิบาลสังฆมณฑล ไปสู่การปฏิบัติดังนี้

45 45 แนวทางการน�ำแผนอภิบาลสังฆมณฑล สู่การปฏิบัติ


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

บทที่ 7 แนวทางด�ำเนินการระดับวัด โรงเรียน หน่วยงาน และระดับแขวง

46

1. แนวทางปฏิบัติในระดับวัด 1. พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล และกลุม่ องค์กรในระดับวัด ศึกษา แผนอภิบาลสังฆมณฑลร่วมกัน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ คริสตชนในชุมชนวัดทราบถึงแผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี 2. พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล และกลุ่มองค์กรในระดับวัด ร่วม น�ำแผนอภิบาลสังฆมณฑลมาจัดท�ำแผนปฏิบัติการในระดับวัด ก�ำหนดแผนงาน โครงการ งาน กิจกรรม ครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน 3. พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล และกลุ่มองค์กรในระดับวัด ก�ำหนดบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบตามแผนปฏิบัติงาน ใน โครงการ งาน และกิจกรรม พร้อมทั้งก�ำหนดเป้าหมายและ ความส� ำ เร็ จ ที่ ค าดหวั ง ของการด� ำ เนิ น การตามแผนอภิ บ าล สังฆมณฑลในแต่ละปีงบประมาณร่วมกัน 4. พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล และกลุ่มองค์กรในระดับวัด จัด ระบบกลไก ในการติดตาม ประเมินผลการด�ำเนินงานตามแผน ปฏิบัติการ เพื่อน�ำมาพัฒนา งาน โครงการ กิจกรรม 5. พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล และกลุ่มองค์กรในระดับวัด ร่วมจัดท�ำรายงานผลการด�ำเนินงาน ประจ�ำปี และน�ำเสนองบ ประมาณประจ�ำปีต่อสังฆมณฑล บทที่ 7 แนวทางการด�ำเนินการระดับ

46

วัด โรงเรียน หน่วยงาน และระดับแขวง


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

กลุ่มเป้าหมาย 1. พระสงฆ์ นักบวช 2. สภาอภิบาล 3. กลุ่มองค์กรคาทอลิกในวัด 4. ครอบครัวคริสตชน 2. แนวทางปฏิบัติของโรงเรียนในสังฆมณฑล 1. คณะกรรมการโรงเรี ย นคาทอลิ ก สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี คณะ ผู้บริหาร คณะครู ศึกษาแผนอภิบาลของสังฆมณฑลร่วมกัน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบถึงแผนอภิบาล สังฆมณฑล 2. คณะกรรมการโรงเรี ย นคาทอลิ ก สั ง ฆมณฑลจั น ทบุ รี คณะ ผู้บริหาร คณะครู ร่วมน�ำแผนอภิบาลสังฆมณฑลมาจัดท�ำแผน ปฏิบัติการ ก�ำหนดแผนงาน โครงการ งาน กิจกรรม รองรับใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้องานในโรงเรียน 3. ก� ำ หนดบทบาทและหน้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบตามแผนปฏิ บั ติ ง าน ในโครงการ งาน และกิ จ กรรม และก� ำ หนดเป้ า หมายและ ความส� ำ เร็ จ ที่ ค าดหวั ง ของการด� ำ เนิ น การตามแผนอภิ บ าล สังฆมณฑล ในแต่ละปีงบประมาณร่วมกัน 4. จัดระบบกลไก ในการติดตาม ประเมินผลการด�ำเนินงานตาม แผนปฏิบัติการ เพื่อน�ำมาพัฒนา งาน โครงการ กิจกรรม 5. จั ด ท� ำ รายงานผลการด� ำ เนิ น งาน ประจ� ำ ปี และน� ำ เสนองบ ประมาณประจ�ำปีต่อสังฆมณฑล บทที่ 7 แนวทางการด�ำเนินการระดับ

47

วัด โรงเรียน หน่วยงาน และระดับแขวง

47


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

กลุ่มเป้าหมาย 1. พระสงฆ์ นักบวช 2. คณะผู้บริหาร คณะครู 3. บุคลากร 4. นักเรียน ผู้ปกครอง 3. แนวทางปฏิบัติของหน่วยงานในสังฆมณฑล 1. พระสงฆ์ นักบวช และฆราวาสในหน่วยงานระดับสังฆมณฑล ศึกษาแผนอภิบาลสังฆมณฑลร่วมกัน และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ทุกคนทราบถึงแผนอภิบาลสังฆมณฑล 2. พระสงฆ์ นักบวช และฆราวาสในหน่วยงานระดับสังฆมณฑล น�ำแผนอภิบาลสังฆมณฑลมาจัดท�ำแผนปฏิบัติการ ก�ำหนด แผนงาน โครงการ งาน กิจกรรม ตามภาระงานของตน 3. ก� ำ หนดบทบาทและหน้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบตามแผนปฏิ บั ติ ง าน ในโครงการ งาน และกิ จ กรรม และก� ำ หนดเป้ า หมายและ ความส� ำ เร็ จ ที่ ค าดหวั ง ของการด� ำ เนิ น การตามแผนอภิ บ าล สังฆมณฑล ในแต่ละปีงบประมาณร่วมกัน 4. จัดระบบกลไก ในการติดตาม ประเมินผลการด�ำเนินงานตาม แผนปฏิบัติการ เพื่อน�ำมาพัฒนางาน โครงการ กิจกรรม 5. จั ด ท� ำ รายงานผลการด� ำ เนิ น งาน ประจ� ำ ปี และน� ำ เสนองบ ประมาณประจ�ำปีต่อสังฆมณฑล

48 บทที่ 7 แนวทางการด�ำเนินการระดับ

48

วัด โรงเรียน หน่วยงาน และระดับแขวง


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

กลุ่มเป้าหมาย 1. พระสงฆ์ นักบวช 2. ฆราวาส 3. กลุ่มองค์กรคาทอลิกในสังฆมณฑล 4. หน่วยงานในสังฆมณฑล 4. แนวทางปฏิบัติในระดับแขวง 1. พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล และกลุม่ องค์กรในระดับแขวง ศึกษา แผนอภิบาลสังฆมณฑลร่วมกันและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ คริสตชนในแขวงทราบถึงแผนอภิบาลสังฆมณฑล 2. พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล และกลุ่มองค์กรในระดับแขวง ร่ ว มน� ำ แผนอภิ บ าลสั ง ฆมณฑลมาจั ด ท� ำ แผนปฏิ บั ติ ก ารใน ระดับแขวง ก�ำหนดแผนงาน โครงการ งาน กิจกรรม ครอบคลุม ทั้ง 6 ฝ่าย 3. พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล และกลุ่มองค์กรในระดับแขวง ก� ำ หนดบทบาทและหน้ า ที่ รั บ ผิ ด ชอบตามแผนปฏิ บั ติ ง าน ในโครงการ งาน และกิ จ กรรม และก� ำ หนดเป้ า หมายและ ความส� ำ เร็ จ ที่ ค าดหวั ง ของการด� ำ เนิ น การตามแผนอภิ บ าล สังฆมณฑลในแต่ละปีงบประมาณร่วมกัน 4. พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล และกลุ่มองค์กรในระดับแขวง จัดระบบกลไก ในการติดตาม ประเมินผลการด�ำเนินงานตาม แผนปฏิบัติการ เพื่อน�ำมาพัฒนางาน โครงการ กิจกรรม 5. พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล และกลุ่มองค์กรในระดับแขวง ร่วมจัดท�ำรายงานผลการด�ำเนินงานประจ�ำปี และน�ำเสนองบ ประมาณประจ�ำปีต่อสังฆมณฑล บทที่ 7 แนวทางการด�ำเนินการระดับ

49

วัด โรงเรียน หน่วยงาน และระดับแขวง

49


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

กลุ่มเป้าหมาย 1. พระสงฆ์ นักบวช 2. สภาอภิบาล 3. กลุ่มองค์กรคาทอลิกในแขวง 4. ครอบครัวคริสตชน

50 บทที่ 7 แนวทางการด�ำเนินการระดับ

50

วัด โรงเรียน หน่วยงาน และระดับแขวง


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

บทที่ 8 แนวทางด�ำเนินการระดับสังฆมณฑล แนวปฏิบัติระดับสังฆมณฑล 1. จัดพิมพ์แผนอภิบาลสังฆมณฑล เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ คริ ส ตชนทุ ก กลุ ่ ม ทุ ก ฐานั น ดร ได้ รู ้ เข้ า ใจ และเกิ ด ความ ตระหนักร่วมกันในการน�ำแผนไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผล 2. คณะกรรมการบริหารสังฆมณฑลวางแผน จัดท�ำแผนปฏิบัติ งาน ก�ำหนดแนวทางด�ำเนินการให้แผนอภิบาลสังฆมณฑลได้ รับการน�ำไปปฏิบัติในระดับต่าง ๆ 3. จัดตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบภายใต้โครงสร้างการด�ำเนิน งานของคณะกรรมการบริ ห ารสั ง ฆมณฑลให้ แ ผนอภิ บ าล สังฆมณฑล ได้รับการปฏิบัติจนบังเกิดผล 4. จัดระบบ กลไก ส่งเสริม ติดตาม เยี่ยมเยียนสนับสนุนการน�ำ แผนอภิ บ าลไปปฏิ บั ติ ร ะดั บ วั ด ระดั บ แขวง โรงเรี ย นใน สังฆมณฑล และหน่วยงานในสังฆมณฑล 5. ประสานงาน ระดมทรัพยากรและจั ด ระบบงบประมาณของ สังฆมณฑล สนับสนุน ส่งเสริมการด�ำเนินงานระดับต่าง ๆ ให้ สอดคล้องกับแผนอภิบาลสังฆมณฑล 6. สังฆมณฑลก�ำหนดสภาพความส�ำเร็จที่คาดหวังในแต่ละปี ตาม โครงสร้างบริหารของการน�ำแผนอภิบาลไปปฏิบตั ใิ นระดับต่าง ๆ 51 บทที่ 8

51 แนวทางด�ำเนินการระดับสังฆมณฑล


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

กลุ่มเป้าหมาย 1. พระสังฆราช พระสงฆ์ ในสังฆมณฑล 2. คณะนักบวชชาย-หญิง 3. สภาอภิบาลระดับสังฆมณฑล 4. สภาฆราวาส 5. กลุ่มองค์กรคาทอลิกระดับสังฆมณฑล

52 บทที่ 8

52 แนวทางด�ำเนินการระดับสังฆมณฑล


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

บทที่ 9 แนวทางในการติดตามเยี่ยมเยียน และสนับสนุนแผนอภิบาลสังฆมณฑล แนวทางปฏิบัติ 1. ก� ำ หนดประเด็ น ส� ำ คั ญ และแนวทางการด� ำ เนิ น การในการ ติดตามผลการด�ำเนินการตามแผนงานอภิบาลสังฆมณฑล 2. ประชาสัมพันธ์ชี้แจงประเด็นส�ำคัญและแนวทางการด�ำเนินการ ติดตามผลการด�ำเนินการ ในระดับพระสงฆ์ 3. ประชาสัมพันธ์ชี้แจงประเด็นส�ำคัญและแนวทางการด�ำเนินการ ติดตามผลการด�ำเนินการ ในระดับแขวง ระดับวัด 4. ติดตามผลการด�ำเนินการโดยการส�ำรวจข้อมูลระดับวัด ระดับ แขวงโดยใช้แบบสอบถาม (การวิจัย) 5. น�ำผลการส�ำรวจมาวางแผนติดตามผลการด�ำเนินงาน ระยะ 2 (ค.ศ. 2013) 6. ประชาสัมพันธ์แนวทางในการปรับปรุง และพัฒนา จากผลการ วิเคราะห์แบบสอบถามการวิจัย และน�ำแนวทางการด�ำเนินงาน (ระยะ 2) ไปสู่การปฏิบัติ 7. เยี่ยมเยียน ยืนยันสภาพจริงเชิงคุณภาพ จากการด�ำเนินงาน ตามแผนอภิบาลสังฆมณฑล ในแต่ละประเด็นส�ำคัญ ระดับวัด ระดับแขวง 8. สรุป รายงานผลการด�ำเนินการเยี่ยมเยียน ยืนยันสภาพจริง 9. จัดเตรียมข้อมูลเพื่อการก�ำหนดแผนอภิบาลสังฆมณฑล ค.ศ. 2016 บทที่ 9 แนวทางในการติดตามเยี่ยมเยียน 53 และสนับสนุนแผนอภิบาลสังฆมณฑล

53


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ผู้รับผิดชอบ 1. คณะกรรมการบริหารฯ 2. คณะกรรมการติดตามฯ 3. คณะกรรมการฝ่ายปกครองวัด 4. คณะสงฆ์ สภาอภิบาลระดับแขวง ระดับวัด 5. โรงเรียนคาทอลิกในสังฆมณฑล 6. หน่วยงานเต็มเวลาสังฆมณฑล

54 บทที่ 9 แนวทางในการติดตามเยี่ยมเยียน 54 และสนับสนุนแผนอภิบาลสังฆมณฑล


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ส่วนที่ 4 ภาคผนวก บทส่งท้าย เนื่องจากสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้ประกาศ แผนอภิบาล ค.ศ. 2010-2015 ให้เป็นแผนแม่บท และเป็นพันธกิจส�ำคัญ ของพระศาสนจักรทุกระดับ ที่ต้องน�ำไปเป็นแนวทางในการวางแผนงาน อภิบาล แนวปฏิบัติ ก�ำหนดงาน โครงการและกิจกรรมของตนเอง เพื่อ “อภิบาลชุมชนศิษย์พระคริสต์ ร่วมพันธกิจแบ่งปันข่าวดี” สังฆมณฑล จันทบุรีได้ด�ำเนินการจัดท�ำแผนอภิบาลขึ้น ภายใต้กระบวนการของ การมีส่วนร่วมจากพระสงฆ์ นักบวช และคริสตชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ วัด ระดับแขวง และระดับสังฆมณฑลอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จากการ สัมมนาระดับวัด และระดับแขวงจนถึงการจัดสมัชชาระดับสังฆมณฑล โดยอาศัยวิถีเชิงบวก เพื่อสานต่อ และพัฒนาการด�ำเนินงานต่าง ๆ จาก แผนอภิบาลทั้ง 2 ฉบับที่ผ่านมา เพื่อ “อภิบาลชุมชนศิษย์พระคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรพระเจ้า” ทั้งนี้เพื่อให้มีการด�ำเนินการอย่างจริงจังและเกิดผล จึงได้มอบ หมายให้คณะกรรมการบริหารสังฆมณฑลเป็นผู้ขับเคลื่อน ส่งเสริม สนับสนุน ติดตาม ประเมินผลอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง อาศัยคณะ อนุกรรมการต่าง ๆ โดยค�ำนึงถึงความสอดคล้อง เหมาะสมกับสภาพ ความเป็นจริงในระดับแขวง และระดับวัด อาศัยการเยี่ยมสนับสนุน ตามแนวปฏิบัติที่กระท�ำมาอย่างต่อเนื่อง อาศัยแรงบันดาลใจจากองค์ พระคริสตเจ้านายชุมพาบาลที่ดี และอาศัยการน�ำขององค์พระจิตเจ้า 55

บทส่งท้าย

55


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ที่สุด ขอพระแม่มารีย์ พระมารดาพระศาสนจักรองค์อุปถัมภ์ของ สังฆมณฑล โปรดเสนอวิงวอนต่อพระคริสตเจ้า ซึ่งมีพระทัยเปี่ยมด้วย ความเมตตาและความรักต่อมนุษย์อย่างเหลือล้น และมีพระประสงค์ ให้มนุษย์ทุกคนได้รอดพ้น ขอทรงช่วยให้คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี ซึ่งเป็นเสมือนส่วนหนึ่งในพระกายทิพย์ของพระองค์ในโลกนี้ ได้เติบโต ในความเชื่อ อาศัยการหล่อเลี้ยงด้วยพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์ของ พระองค์ จนสามารถด�ำเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยานถึงการเป็นชุมชน ศิษย์พระคริสต์ เป็นดั่งเกลือและแสงสว่างให้กับสังคม ทั้งนี้เพื่อเสริม สร้างพระอาณาจักรของพระองค์บนแผ่นดิน.

พระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี พระสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี

56 56 บทส่งท้าย


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ความหมายและขอบเขตของวิสัยทัศน์ ข้อความ คริสตชน สังฆมณฑล จันทบุรี

ความหมาย

ขอบเขต

หมายถึ ง ผู ้ ที่ ไ ด้ รั บ ศี ล ล้ า ง บาปตามพิ ธี ก รรมศาสนา คริ ส ต์ นิ ก ายโรมั น คาทอลิ ก และเป็ น สมาชิ ก ครอบครั ว คริ ส ตชนที่ มี ภู มิ ล� ำ เนาหรื อ มีชื่อในทะเบียนศีลล้างบาป ของวั ด ที่ ตั้ ง อยู ่ ใ นพื้ น ที่ 8 จั ง หวั ด ภาคตะวั น ออกของ ประเทศไทย (ยกเว้ น พื้ น ที่ บ า ง ส ่ ว น ใ น เ ข ต จั ง ห วั ด นครนายกและฉะเชิงเทราที่ อยู่ภายใต้การปกครองของ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ)

• พระสงฆ์ นักบวช • ฆราวาส • ผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ เยาวชน เด็ก • ครอบครัว • ปัจเจกบุคคลทุก เชื้อชาติ

57 57

ความหมายและขอบเขตของวิสัยทัศน์


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ความหมายและขอบเขตของวิสัยทัศน์ ข้อความ การเป็น หนึ่งเดียว กับพระเจ้า และ เพื่อนมนุษย์

58

ความหมาย

ขอบเขต

หมายถึง การแสดงออกด้าน ความเชื่อ ความศรัทธา และ การปฏิ บั ติ ศ าสนกิ จ รั บ ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ อธิ ษ ฐานภาวนา อ่ า นและการปฏิ บั ติ ต าม พระวาจา การเป็นพยานและ การเผยแผ่ ธ รรม ความรั ก การร่ ว มทุ ก ข์ ร ่ ว มสุ ข ช่ ว ย เหลือแบ่งปันกัน และช่วยกัน แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

• ความเป็นหนึ่ง เดียวกันในความ เชื่อต่อพระเยซู คริสต์และศีลล้าง บาป • ความเป็นหนึ่ง เดียวกันในการ ปฏิบัติศาสนกิจ รับ ศีลศักดิ์สิทธิ์และ อธิษฐานภาวนา • ความเป็นหนึ่ง เดียวกันในการเป็น พยาน และเผยแผ่ ธรรม การร่วมทุกข์ ร่วมสุข และช่วย เหลือกัน • ความเป็นหนึ่ง เดียวกันในการ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ

58 ความหมายและขอบเขตของวิสัยทัศน์


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ความหมายและขอบเขตของวิสัยทัศน์ ข้อความ

ความหมาย

ขอบเขต

การ ประกาศ พระเยซูคริสต์

หมายถึง การเผยแผ่ชวี ประวัติ ค� ำ สอนของพระเยซู ค ริ ส ต์ ด้ ว ยการแสดงออกทั้ ง ค� ำ พู ด การปฏิ บั ติ ต นในชี วิ ต ประจ�ำวัน การเป็นประจักษ์ พ ย า น ก า ร ส ะ ท ้ อ น ค� ำ สอนและแบบอย่ า งของ พระองค์ เช่น การด�ำรงชีวติ เรียบง่าย สมถะ ประพฤติดี ประกอบกิจเมตตา ต่อเพื่อน มนุ ษ ย์ ตลอดจนการรู ้ จั ก ยอมรับ การแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ ตนเองให้ดีขึ้น การประกาศ การสอน การอธิ บ าย การ แบ่ ง ปั น พระวาจาแก่ เ พื่ อ น มนุษย์

• การประกาศ การ สอน การอบรม และการแบ่งปัน • การเผยแผ่ ชีวประวัติ และค�ำ สอนพระคริสตเจ้า • การเสวนา และ การท�ำศาสน สัมพันธ์ • การด�ำเนินชีวิต เป็นพยานตาม แบบอย่างและค�ำ สอนของพระเยซู คริสต์ • การอยู่เคียงข้างผู้ ยากไร้ทงั้ ฝ่ายกาย และฝ่ายจิตใจ • การติดตาม อภิบาลผู้ละทิ้ง ศาสนาและ ครอบครัวที่ถือ ศาสนาต่างกัน • การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ตนเอง

59

ความหมายและขอบเขตของวิสัยทัศน์

59


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ความหมายและขอบเขตของวิสัยทัศน์

60

ข้อความ

ความหมาย

ขอบเขต

การ เสริมสร้าง พระอาณาจักร ของพระเจ้า

หมายถึง การปฏิบัติตนที่ส่ง ผลถึงการสร้างและสืบทอด สั ง คมที่ มี ค วามชอบธรรม ความรัก ความเป็นหนึง่ เดียว การอยู่ร่วมกันอย่างมีความ หวั ง ความชื่ น ชมยิ น ดี แ ละ สั น ติ สุ ข ชี วิ ต ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ซึ่ ง ส ะ ท ้ อ น ภ า พ อ า ณ า จั ก ร ของพระเจ้ า บนแผ่ น ดิ น ที่ มี คุ ณ ลั ก ษณะ 7 ประการ คื อ ความจริ ง ชี วิ ต ความ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ พระหรรษทาน ความยุติธรรม ความรักและ สันติ

• การเจริญชีวิต ตามคุณค่าพระ วรสาร ความรัก การให้อภัย และ ความชอบธรรม • การเป็นหนึ่งเดียว การสร้างสันติสุข ในครอบครัว • การประกาศสอน ให้เกิดการกลับใจ รับศีลล้างบาป • การตั้งกลุ่มคริสต ชนแห่งความเชื่อ และท�ำให้กลุ่ม เข้มแข็งพร้อม ประกาศข่าวดี • การอธิษฐาน ภาวนา (บทข้าแต่ พระบิดา)

60 ความหมายและขอบเขตของวิสัยทัศน์


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

เชิงอรรถ

วิถีเชิงบวก เป็นชื่อสามัญใช้เรียกแนวคิดกระบวนการ Appreciative Inquiry หรือ AI (มีบางท่านบัญญัติศัพท์ว่า “สุนทรียะสาธก”) ซึ่งมีหลักการหรือ ขั้นตอนส�ำคัญ 4 ประการ (หรือ 4 ส./4 D.) คือ แสวงหา (Discovery) สานฝัน (Dream) สรรค์สร้าง (Design) และสืบสาน (Destiny) สามารถ น�ำมาใช้ได้กับการด�ำเนินชีวิตส่วนบุคคลและการพัฒนาองค์กรในทุก วงการ โดยแสวงหาสิ่งที่เป็นพลังชีวิต (Life force) ที่ส�ำคัญ ๆ ในการ ขับเคลื่อนชีวิต/องค์กรให้ด�ำเนินไปได้อย่างดีที่สุด น�ำมาใช้ในการสร้าง แนวคิดและนวัตกรรมใหม่ ๆ ในเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์ โดยไม่หลงเสีย เวลากับการขุดคุ้ยปัญหาและหมกมุ่นอยู่กับการพยายามแก้ปัญหาที่มัก จะพบแต่ปัญหาไม่รู้จบสิ้น แต่หากเราน�ำเอาปัจจัยเชิงบวกที่เป็นพลัง ชีวิตหรือจุดเด่นมาขยายผล ก็จะช่วยให้ชีวิตของเรา/องค์กรสามารถ พัฒนาไปในทางสร้างสรรค์อย่างมีความสุขได้ แนวคิดกระบวนการดัง กล่าวก�ำลังเป็นที่นิยมทั่วโลกมากขึ้น เพราะมีอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์ และสังคมที่ชื่นชอบด้านบวกมากกว่าด้านลบเพื่อความอยู่รอด 2 องค์รวม (Holistic) หมายถึง การมองทุกสิ่งทุกอย่างในภาพรวมครบทุกด้าน เช่น การมองมนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์ครบถ้วน คือ มีมิติทางด้านกาย วิญญาณ จิตใจ คุณค่า วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม การมีส่วนร่วมกับ มนุษย์แต่ละคนและทุกคน ชายและหญิง เด็กและผู้ใหญ่ มีความสัมพันธ์ กับเพื่อนมนุษย์ มีความสัมพันธ์กับธรรมชาติอันเป็นสิ่งสร้างของพระเจ้า และมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าด้วย ดังนั้น เมื่อเรามองมนุษย์ พึงมองให้ 1

61

เชิงอรรถ

61


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

62

ครบทุกด้าน โดยเน้นที่ความสัมพันธ์ของทุกมิติอย่างสมดุล ไม่แยกมอง ทีละด้าน เราจึงจะเข้าใจมนุษย์ได้อย่างถูกต้อง ขาดองค์ประกอบใดองค์ ประกอบหนึง่ ถือว่าไม่ใช่มนุษย์ และการไถ่กมู้ นุษย์กไ็ ม่ใช่การไถ่กทู้ แี่ ท้จริง 3 เป็นหนึ่งเดียวกันในความเชื่อ (Unity in Faith) หมายถึง การแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันในความเชื่อ การรับศีลล้างบาปเป็นบุตรพระเจ้าเดียวกัน การปฏิบัติศาสนกิจอัน แสดงถึงความเชื่อ และสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตคริสตชน การเป็นพยานและ เผยแผ่ธรรมอันเป็นข่าวดีของพระเยซูคริสต์ (กจ 2:37-47; 4:32-35; กท 3:26-28) 4 ศักดิ์ศรี (Dignity) มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี เพราะพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์มาตามภาพ ลักษณ์ของพระองค์ (ปฐก 1:27) แต่ละคนมีสติปัญญาและความคิด อ่าน พร้อมทั้งมีน�้ำใจ อิสระที่จะเลือกและตัดสินใจด้วยตนเองในฐานะ เป็นบุคคลคนหนึ่ง มนุษย์ยังได้รับเกียรติให้มีสัมพันธภาพกับพระผู้สร้าง ของตนในฐานะเป็นผู้ร่วมสร้างกับพระองค์ หญิงและชายต่างก็มีศักดิ์ศรี เท่าเทียมกันเพราะทั้งสองมีภาพลักษณ์ของพระเจ้าอยู่ในตน ด้วยเหตุ ดังกล่าวนี้ ทุกคนจึงต้องเคารพและให้เกียรติกันและกัน (จงแล่นเรือฯ หน้า 36) 5 กระแสเรียก (Vocation) คือ การเรียกของพระเจ้า ชีวิตของมนุษย์มิใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็น เรื่องที่มีความสัมพันธ์กับพระเจ้า มนุษย์ทุกคนได้รับการเรียกให้เป็น ประชากรใหม่ของพระเจ้า โดยอาศัยพระเยซูคริสต์ (ศจ 13; ยน 11:52; ฮบ 1:2) คริสตชนได้รับการเรียกจากพระเยซูคริสต์ให้เจริญชีวิตติดตาม 62 เชิงอรรถ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

พระองค์ ร่วมเป็นพยานสืบสานพันธกิจแห่งการเสริมสร้างอาณาจักร ของพระเจ้า ในโลกคริสตชนฆราวาสโดยทั่วไปมีกระแสเรียกที่ต้องอยู่ ท่ามกลางและท�ำงานในโลก เป็นพยานและเผยแผ่คุณค่าพระวรสารใน สังคม บรรดาพระสงฆ์และนักบวชมีกระแสเรียกในการรับใช้เป็นศาสน บริกร ด้านพระวาจา ศีลศักดิ์สิทธิ์ และการอภิบาล แต่ละกระแสเรียกมี ศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน เพื่อช่วยกันเสริมสร้างพระอาณาจักรพระเจ้าในโลก ทุกคนจึงต้องตระหนักถึงการเรียกของพระเจ้า และพัฒนากระแสเรียก ของตนอยู่เสมอ (คริสตชนฆราวาส ข้อ 45) 6 ครอบครัวเข้มแข็ง (Sustainable family) พระเจ้าได้ยกฐานะมนุษย์ผ่านทางครอบครัว ให้เขามีชีวิตอยู่ร่วม กันและให้เติบโตก้าวหน้าในความศักดิ์สิทธิ์และมีความสุขที่เที่ยงแท้ ครอบครัวเข้มแข็ง จึงเป็นครอบครัวที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี อันเป็นรากฐาน ของชุมชนและสังคม กล่าวคือ สมาชิกยึดมั่นในแนวทางแห่งพระวรสาร มีความรัก ความช่วยเหลือเกื้อกูล เป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน ยึดมั่นสิ่งที่ถูก ต้องดีงาม อยู่ร่วมกันในชุมชนและสังคมอย่างสงบสุข ดังนั้น ครอบครัว จึงเป็นกลุ่มคริสตชนย่อยขั้นพื้นฐาน ซึ่งส�ำคัญที่สุดในการส่งเสริมชุมชน ให้เข้มแข็งสืบไป 7 อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Natural resources preservation) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างตามนัยของพระคัมภีร์ที่ว่า พระเจ้าทรง สร้างโลก สรรพสิ่ง ด้วยความรัก และพระทัยดี พระองค์มีพระประสงค์ ให้สิ่งสร้างทั้งหมดด�ำรงอยู่อย่างมีดุลยสัมพันธ์ โดยทรงมอบหมายให้ มนุษย์ที่พระองค์สร้างให้ประเสริฐสุด เป็นผู้ปกครองดูแลแทนพระองค์ 63

เชิงอรรถ

63


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

(เทียบ ปฐก 1:11-26) มนุษย์จึงต้องมีส่วนร่วมท�ำให้ธรรมชาติ สิ่ง แวดล้อม และสิ่งสร้างทั้งหลายด�ำรงอยู่อย่างสมบูรณ์ ไม่ใช้สิ่งต่าง ๆ อย่างเห็นแก่ตน ไม่ท�ำลายธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตรงกันข้าม พึง อนุรักษ์ บ�ำรุง ดูแลรักษาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้เกิดสมดุลและ ยั่งยืน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและเป็นพระพรส�ำหรับมนุษย์ทั้ง มวลสืบไป 8 การเป็นประจักษ์พยาน (Witness) คือ การที่คริสตชนด�ำเนินชีวิตตามค�ำสอนของพระเยซูคริสต์ ด้วย การด�ำรงชีวิตสมถะ เรียบง่าย ช่วยเหลือและอยู่เคียงข้างผู้ทุกข์ยาก ประกอบกิจเมตตา ให้อภัย กลับใจ เปลี่ยนแปลงชีวิต สร้างความเป็น หนึ่งเดียวและสันติในครอบครัวและชุมชน 9 พระอาณาจักรของพระเจ้า (Kingdom of God) คื อ การที่ พ ระเจ้ า ประทั บ อยู ่ ใ นจิ ต ใจของมนุ ษ ย์ ที่ มี ศ รั ท ธาใน พระเจ้าอย่างแท้จริง เป็นอาณาจักรแห่งความดี ความรักแท้ “ผู้ใดด�ำรง อยู่ในความรัก ย่อมด�ำรงอยู่ในพระเจ้า” (ยน 4:16) พระเยซูคริสต์ทรง เรียกร้องให้ทุกคนกลับใจท�ำความดีและเจริญชีวิตตามข่าวดีแห่งความ รักแท้ (มก 1:15) คุณค่าพระอาณาจักรของพระเจ้า เกิดจากการเจริญชีวิตตามคุณ ค่าพระวรสารเรื่องความยุติธรรม ความรัก การให้อภัย การสร้างสันติ เป็นชีวิตที่มีคุณลักษณะ 7 ประการ คือ ความจริง ชีวิต ความศักดิ์สิทธิ์ พระหรรษทาน ความยุติธรรม ความรักและสันติ 64 64 เชิงอรรถ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

พี่น้องผู้มีความเชื่ออื่น (People of other faiths) หมายถึง ผู้นับถือศาสนาอื่น หรือลัทธินิกายอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คริสต์ ศาสนา สังคายนาวาติกันที่ 2 ได้สอนให้เราเคารพและมองถึงความจริง และความศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอื่น ๆ โดยส่งเสริมให้มีการเสวนาสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนา เรียกว่า ศาสนสัมพันธ์ (Interreligious Dialogue) มี ป ฏิ สัมพัน ธ์ระหว่างศาสนาและลั ท ธิ นิก ายต่ า ง ๆ เช่ น สัมพันธ์กับศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู ลัทธิขงจื้อ ฯลฯ 11 หลักการ 3 ประการ หลักการที่ 1 การเสริมสร้างชุมชน เพื่อให้ความมุ่งมั่นของพระศาสนจักรที่จะส่งเสริมศักดิ์ศรีมนุษย์ผู้ มีภาพลักษณ์ของพระเป็นเจ้า และได้รับการไถ่กู้อย่างเป็นจริง เราเห็น ว่าการด�ำเนินชีวิตและภารกิจของเรา จ�ำเป็นต้องเน้นส่งเสริมมนุษย์ให้ สร้างเสริมความเป็นชุมชนขึ้นมา เพื่อมนุษย์จะได้สามารถแสดงออกซึ่ง คุณธรรมความรัก การช่วยเหลือเกื้อกูลกันฉันพี่น้อง และคุณค่าที่ดีงาม ต่าง ๆ ตามคุณค่าพระอาณาจักรของพระเจ้า เราสามารถเสริมสร้าง ชุมชนนี้ได้ในครอบครัว วัด หมู่บ้าน โรงเรียน ที่ท�ำงานของเรา และใน แวดวงสังคมอื่น ๆ ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง รวมทั้งเชื่อมโยงชุมชนของเรา กับชุมชนอื่นให้เกิดเครือข่ายที่กว้างขวางขึ้น เพื่อให้คุณธรรมความรัก และการช่วยเหลือกันด�ำรงอยู่ในสังคมทุกระดับ หลักการที่ 2 การด�ำเนินชีวิตอย่างเป็นองค์รวม ในการเสริมสร้างชุมชนนี้ พระศาสนจักรจะด�ำเนินชีวิตและปฏิบัติ หน้าที่ให้สอดคล้องสัมพันธ์กับการอภิบาลและการแพร่ธรรมอย่างเป็น องค์รวมและมีดุลยภาพ โดยให้ครอบคลุมทุกมิติชีวิตอย่างสอดประสาน 10

65

เชิงอรรถ

65


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

กัน ทั้งฝ่ายชีวิตจิตและฝ่ายโลก ทั้งด้านคุณค่าศาสนา ศีลธรรม สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การเมือง สิทธิมนุษยชน และท�ำงานสัมพันธ์ กับคนทุกกลุ่ม ทุกศาสนาและทุกเพศทุกวัย โดยให้ความส�ำคัญต่อคน ยากไร้เป็นพิเศษ ในชีวิตส่วนตัวและในงานของเรานั้น เราก็จะปฏิบัติ คุณธรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน ทั้งด้วยค�ำพูด และการกระท�ำ อีกทั้งจะ ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเสมอภาคกันฉันพี่น้อง หลักการที่ 3 การมีส่วนร่วมของทุกคน ในการเสริมสร้างชุมชนอย่างเป็นองค์รวมนั้น พระศาสนจักรใน ประเทศไทยจะเร่งส่งเสริมและสนับสนุนทุกคนให้ร่วมมือกันอย่างแท้จริง และด้วยความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวชและฆราวาส อีกทั้งจะร่วมมือกับพี่น้องนิกาย ศาสนาและผู้มี ความเชื่ออื่น รวมทั้งผู้มีน�้ำใจดีทั้งมวล บนพื้นฐานของการให้เกียรติซึ่ง กันและกัน ด้วยความจริงใจ และความเสมอภาค โดยอาศัยการเสวนา ด้วยชีวิตกับทุกฝ่าย ทั้งนี้ พระศาสนจักรถือว่าในการสร้างสรรค์พระ อาณาจักรของพระเจ้าและการส่งเสริมศักดิ์ศรีมนุษย์นั้น ทุกฝ่ายต้องมี ส่วนร่วมอย่างแท้จริง (อ้างจาก “ข้อตกลงร่วม” การประชุมติดตามสมัชชาทิศทางงาน อภิบาล 15-16 สิงหาคม ค.ศ. 2002 ณ ศูนย์ฝึกอบรมงานอภิบาล “บ้าน ผู้หว่าน” สามพราน) นโยบายปฏิบัติ 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริหารจัดการ หมายถึง การจัดระบบ กลไก การบริหาร จัดการ การบริหารบุคลากร การบริหารงบประมาณการเงิน และการ บริหารอุปกรณ์ สิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดยเน้นรูปแบบการมี

12

66

66 เชิงอรรถ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ส่วนร่วมทั้งในระดับวัด ระดับแขวงและระดับสังฆมณฑล เพื่อให้เกิดการ ประสานสัมพันธ์ การสร้างเครือข่ายจนเกิดบรรยากาศของการร่วมมือ เป็นหนึ่งเดียวกันในการท�ำงาน ด้านอภิบาล หมายถึง การปลูกฝัง ฟื้นฟูและหล่อเลี้ยงความเชื่อ คริสตชนให้ก้าวไปสู่ชีวิตที่มีความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าอาศัยพิธีบูชา ขอบพระคุณ พระวาจา ศีลศักดิ์สิทธิ์ ชีวิตภาวนา การศึกษาคริสตศาสน ธรรม จนน�ำไปสู่การด�ำเนินชีวิตครอบครัวที่มีความเชื่อที่เข้มแข็งตาม จิตตารมณ์ พ ระวรสารต่อเพื่อนพี่น ้องในชุมชน และเป็ นบ่ อเกิ ด ของ กระแสเรียกพระสงฆ์ นักบวช ด้านธรรมทูต หมายถึง การสร้างความตระหนัก และกระตุ้นให้ คริ ส ตชนมี จิ ต ตารมณ์ ธ รรมทู ต และประกาศข่ า วดี ใ นวิ ถี ชี วิ ต ที่ เ ป็ น ประจักษ์พยานกับพี่น้องผู้มีความเชื่ออื่น การพัฒนารูปแบบวิธีการ เสวนา การท�ำศาสนสัมพันธ์ที่มุ่งสู่การสร้างโอกาสและความสนใจใน คริสตศาสนา รวมถึงการท�ำคริสตศาสนจักรสัมพันธ์เพื่อสร้างความเป็น หนึ่งเดียว บนพื้นฐานและท่าทีที่ถูกต้อง ด้านสังคม หมายถึง การท�ำงานเพื่อให้การช่วยเหลือและพัฒนา ชีวิตมนุษย์ด้านสังคมตามค�ำสอนของพระศาสนจักร ทั้งในงานเมตตา สงเคราะห์ และงานพัฒนาคุณภาพชีวิตกับกลุ่มเป้าหมายพิเศษต่าง ๆ เพื่อส่งเสริม และปกป้องคุณค่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสังคม เสริม สร้ า งความยุ ติ ธ รรม และสั น ติ ภ าพ ตลอดจนการสื บ สานวั ฒ นธรรม ประเพณีที่ดีงาม อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่สังคม ด้านศึกษาอบรม หมายถึง การให้การศึกษา และการอบรม เพื่อ พัฒนาสู่การเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตสมดุลในทุกมิติของชีวิต ส่งเสริมให้เกิด 67

เชิงอรรถ

67


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

68

การศึกษาหลักค�ำสอนคริสต์ศาสนาในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ การ ให้โอกาสทางการศึกษา และมีความเด่นชัดในอัตลักษณ์ของโรงเรียน คาทอลิกในการจัดการศึกษาอบรม รวมทั้งการศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ในทุกมิติของชีวิต ด้านสื่อสารสังคม หมายถึง การให้การศึกษา สร้างความรู้ ความ เข้าใจที่ถูกต้องในการใช้และบริโภคสื่อต่าง ๆ ในชีวิตประจ�ำวัน การ สร้างและพัฒนาบุคลากรในการผลิตและใช้สื่อเพื่อการประกาศข่าวดี ในรูปแบบ และวิธีการที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และงาน ตลอดจน การปลุกจิตส�ำนึกที่ดีงามตามจิตตารมณ์พระวรสาร และการส่งเสริม สนับสนุนคุณค่า และวัฒนธรรมที่ดีงามในสังคม 13 ยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) หมายถึ ง การแพร่ ก ระจายไปทั่ ว โลก (ของข่ า วสาร) การที่ ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใดสามารถรับรู้ สัมผัส หรือ รับผล กระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวาง สืบเนื่องมาจากการ พัฒนาระบบสารสนเทศ ดังนั้นยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Age) ที่ไร้พรมแดน อันเป็นยุคที่มีพัฒนาการและการ เปลี่ยนแปลงอย่างมากทางด้านเทคโนโลยีสื่อสารและคมนาคม ท�ำให้ ประเทศต่าง ๆ ได้เข้ามาใกล้ชิดกันมากขึ้น กระแสโลกทั้งในรูปของ ทุนและข้อมูล รวมทั้งค่านิยมบางประการ เช่น สิทธิมนุษยชนและสิ่ง แวดล้อม ได้ขยายตัวครอบคลุมไปทั่วโลก 14 สิทธิมนุษยชน หมายความว่ า ศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ สิ ท ธิ เ สรี ภ าพและ ความเสมอภาคของบุคคลที่ได้ที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครองตาม 68 เชิงอรรถ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย ตามกฎหมายไทย ตามสนธิสัญญาที่ ประเทศไทยมีพันกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนเกิดมามีความเท่า เทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีอิสรภาพ เสรีภาพ ทั้งความ คิดและการกระท�ำที่ไม่มีใครสามารถล่วงละเมิดได้ (พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 3) 15 เสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) เป็นแนวคิดที่เปรียบเสมือนการรื้อฟื้นลัทธิเสรีนิยมคลาสสิกขึ้น มา แต่ก็มีรูปแบบที่เฉพาะตัว โดยมีแนวคิดที่ผูกโยงอย่างแนบแน่นกับ นโยบายเศรษฐกิจการค้าแบบเสรี (Laissez-faire) การค้าแบบพาณิชย์ นิยม เสรีนิยมใหม่มีแนวคิดที่เชื่อว่า การขยายตลาดและกลไกตลาดจะ นำ�มาสู่การอยู่ดีกินดีและความมั่นคั่งทางวัตถุของมนุษยชาติ โลกของ ลัทธิเสรีนิยมใหม่มีจุดหมายอยู่ที่การทำ�ให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งที่ซื้อ ขายทำ�ธุรกรรมได้ในระบบของตลาด โดยมีการแข่งขันเป็นแรงกระตุ้น กล่าวคือสำ�หรับเสรีนิยมใหม่แล้ว ไม่มีความแตกต่างกันระหว่างระบบ เศรษฐกิจตลาดกับสังคม ทั้งสองต้องเป็นหนึ่งเดียว ทุกสิ่งทุกอย่างควร ฝังตัวอยู่ในระบบตลาด แม้แต่สังคม วัฒนธรรม คุณค่าชีวิตส่วนบุคคล ในเรื่ อ งวั ฒ นธรรมนั้ น ลั ท ธิ เ สรี นิ ย มใหม่ มี ค วามเชื่ อ มโยงกั บ วัฒนธรรมบางอย่าง นั่นคือ วัฒนธรรมแบบอเมริกา, วัฒนธรรมแบบ อังกฤษ เพราะแม้ลัทธิเสรีนิยมใหม่จะไม่จ�ำกัดกับภาษาหรือชาติใด แต่ ก ารมี วั ฒ นธรรมหรื อ ภาษาเดี ย วก็ ท� ำ ให้ เ กิ ด ความคล่ อ งตั ว และมี ประสิทธิภาพในการท�ำธุรกรรมทางการตลาดมากขึ้น การที่แอฟริกาใต้ 69 เชิงอรรถ

69


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

จะพัฒนาทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้อง ยึดและท�ำตามระเบียบโลกแบบที่ประเทศมหาอ�ำนาจทางเศรษฐกิจและ สังคมการเมืองโลกต้องการ 16 กระแสวัตถุนิยม (Materialism Trend) คือ การมีดำ� เนินชีวิตที่ยึดติดกับวัตถุ สิ่งของ ทรัพย์สมบัติ อ�ำนาจ ชื่อเสียง สิ่งที่จับต้องได้ ตามกระแสที่สังคมให้ความส�ำคัญ แสวงหา และ หลงใหล สะสมเพื่อตอบสนองความต้องการของตนและเห็นว่าเป็นสิ่ง ส�ำคัญในชีวิต 17 บริโภคนิยม ในความหมายบอกว่า พฤติกรรมของบุคคลต่างๆ ที่มีการลอก เลียนแบบ และตามแฟชั่นนิยม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของและเครื่องใช้ในชีวิต ประจ�ำวัน จ�ำพวกที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนสิ่งอ�ำนวยความสะดวก อาทิ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ พฤติ กรรมการลอกเลีย นแบบตามแฟชั่ น ส่ ว นมากมาจากการ โมษณาชวนเชื่อผ่านตามสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ซึ่ ง อาจเกิ ด จาก 4 ลั ก ษณะคื อ เสพสิ่ ง ที่ ต นเองไม่ ไ ด้ ผ ลิ ต หรื อ เกิ ด จากค่ า นิ ย มอยากเสพมากกว่ า อยาก ผลิต อยากได้มากกว่าอยากท�ำ หรือค่านิยมที่ใช้เงินเพื่อให้บรรลุความ ต้องการแทนที่จะลงมือปฏิบัติเอง หรือความคิดที่เชื่อว่าความสุขอยู่ที่ การได้บริโภค 70 70 เชิงอรรถ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ปัจเจกนิยม ( Individualism) คือ ความเชื่อในเรื่องของประโยชน์ส่วนตัวของแต่ละบุคคล การ ด�ำเนินชีวิตที่ไม่สนใจคนรอบข้าง อยู่แบบตัวใครตัวมัน 19 อัตนัยนิยม (Subjectivism) คือ การยึดเอาความคิด และความเชื่อของตนเองเป็นบรรทัดฐาน ของการรับรู้ และการตัดสินคุณค่าต่าง ๆ ว่าถูกต้อง หรือดีที่สุด 20 สัมพัทธ์นิยม (Relativism) เป็นแนวคิดที่ถือว่า ความดี ความชั่ว ความถูก ความคิด ไม่ใช่สิ่งที่ ตายตัว ไม่มีมาตรการหรือเกณฑ์ใด ๆ มาตัดสินได้ อาจเปลี่ยนแปลงไป ตามบุคคลหรือสังคมที่แตกต่าง 21 สูญนิยม (Nihilism) หมายถึงแนวคิดที่เชื่อว่าไม่มีสิ่งใดมีคุณค่า โดยเฉพาะทางศาสนา หรือหลั กศี ล ธรรม เป็น ลัทธิที่พ ยายามยกเลิ ก กฎหมาย และองค์ ก ร บริหารทั้งหลาย มุ่งให้เกิดสภาวะที่ไร้กฎหมาย มีการก่อการร้าย และ การปฏิวัติอื่น ๆ การท�ำลายล้าง 22 นิมิตหมายแห่งกาลเวลา (The Signs of the times) หมายถึง สถานการณ์ หรือสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา ปัจจุบันที่เป็นเครื่องหมาย เพื่อจะสื่อให้เห็นถึงเรื่องราวบางอย่างที่จะ เกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เผยแสดงให้พระศาสนจักรเกิดการเรียนรู้ เตรียม พร้อม และหาวิธีปฏิบัติที่สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระเจ้าในการ ด�ำเนินชีวิต 23 รม 14:17 24 ยน 14:5 18

71

เชิงอรรถ

71


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

ศักดิศ์ รีการเป็นบุตรของพระเจ้า (Dignity of the children of God) ความรักที่พระบิดาประทานให้มนุษย์นั่นยิ่งใหญ่เพียงใด ท�ำให้ มนุษย์นั้นได้ชื่อว่า “เป็นบุตรของพระเจ้า” (1 ยน 3:1; รม 9:26; กท 4:5-6) ในฐานะที่มนุษย์เป็นบุตรของพระเจ้า มนุษย์จึงต้องด�ำเนินชีวิตให้เหมาะ สม และสอดคล้องกับศักดิ์ศรีแห่งการเป็นบุตรของพระองค์ โดยการ เจริญชีวิตตามการน�ำของพระจิตเจ้า (รม 8:14) 26 อัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก เป็นการก�ำหนดเป้าหมาย หน้าที่และบทบาทของการจัดการ ศึกษาตามลักษณะเฉพาะ (Identity) ของตนเอง (Catholic School) โดย จัดการศึกษาอบรมตามเจตนารมณ์แห่งพระวรสาร มุ่งพัฒนาชีวิตให้ เจริญก้าวหน้าครบทุกด้าน ให้บุคคลสามารถบรรลุถึงความดีงามของ มนุษย์ (คุณลักษณะที่พึงประสงค์) ตามหลักคริสตศาสนธรรม โดยใช้ กระบวนการจัดการศึกษาที่พัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคล และการให้ความ กระจ่างของความรู้ ด้วยการบูรณาการ วัฒนธรรม แสงสว่างแห่งความ เชื่อ และชีวิต การสร้างบรรยากาศของการประกาศข่าวดี และอาศัยการ มีส่วนร่วมของชุมชนการศึกษา (ชุมชนศาสนา/พ่อแม่/ผู้บริหาร/ครู) ใน มิติด้านศาสนาและความเชื่อ 27 บรรยากาศของเคหะสถาน (Home School) การท�ำให้โรงเรียนมีบรรยากาศของการด�ำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันแบบ ครอบครัว มีความรัก ความเอาใจใส่ ความเห็นอกเห็นใจ ท�ำกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสวงหาความรู้ร่วมกัน รับฟังความคิดเห็นของกัน และกัน มีความรักความผูกพันต่อกัน 28 ยน 10:10 29 ยน 10:16 25

72

72 เชิงอรรถ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

เทียบ ยน 21:15-17 31 กจ 2:42 32 ยน 13:14-15 33 วิถีชุมชนวัด วิถีทางใหม่แห่งการเป็นพระศาสนจักร (A New Way of being Church) ตามที่สมัชชาพระสังฆราชแห่งเอเชียได้ตกลงกันว่า “พระ ศาสนจักรในเอเชียจะต้องเป็นชุมชนที่มีความเป็นจิตหนึ่งใจเดียวกัน ของชุมชนย่อย ๆ ที่ซึ่งฆราวาส นักบวชและพระสงฆ์รับรู้และยอมรับ กันและกันในฐานะเป็นพี่น้องชายหญิงต่อกัน... และเป็นชุมชนที่ทุกคน มีส่วนร่วม...” (FABC 5:8.1.1-2) ความเป็นประชากรของพระเจ้าตาม ต้นแบบของชุมชนคริสตชนสมัยอัครสาวกที่ “ด�ำเนินชีวิตเป็นน�้ำหนึ่งใจ เดียวกัน... ด�ำเนินชีวิตร่วมกันฉันพี่น้อง...” (กจ 4:32, 2:42) จึงมิใช่สิ่ง ใหม่ แต่เป็น “วิถีชีวิตคริสตชน” ที่เน้นการรื้อฟื้นรูปแบบการเจริญชีวิต คริสตชนที่เน้นความเป็นหมู่คณะ/ชุมชนในทุกระดับของพระศาสนจักร โดยเริ่มตั้งแต่ระดับชุมชนวัดขึ้นไป ชุมชนคริสตชนย่อย ๆ ในบริบท ชุมชนวัด แสดงออกถึงความเป็นพี่น้องกันโดยมีส่วนร่วม “ช่วยกันแบ่ง เบาภาระและจัดด�ำเนินการด้านต่าง ๆ ของชุมชนวัด... การเอาใจใส่ต่อ ผู้ยากไร้ต�่ำต้อยและการอุทิศตนเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม ชุมชนย่อย ๆ เหล่านี้มีรากฐานอยู่ที่พระคริสตเจ้าและด�ำรงชีวิตอยู่ในพระองค์ โดย สดับฟังพระวาจาของพระเจ้า ร่วมกันภาวนาโดยมีจุดศูนย์รวมอยู่ที่ศีล มหาสนิท เจริญชีวิตร่วมเป็นจิตหนึ่งใจเดียวกัน และเป็นความหวังอันยิ่ง ใหญ่ส�ำหรับความเป็นอยู่ของพระศาสนจักร” (RM 51) ที่ประชุมสมัชชา เพื่อก�ำหนดแผนอภิบาล ค.ศ. 2010 ได้เห็นพ้องต้องกันที่จะเน้นให้ “วิถี ชุมชนวัด” เป็นวิธีการหลักและส�ำคัญที่สุด (ข้อ 21) ในการสร้างและ พัฒนาชุมชนวัด (เทียบทิศทางฯ 2000-2010:39-44) 30

73

เชิงอรรถ

73


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

สวัสดิการ (Welfare) หมายถึง สิ่งที่เป็นทั้งเงินและไม่ใช่เงิน ซึ่งจัดให้กับบุคคลเพื่อ สามารถน� ำ ไปใช้ ใ นการด� ำ รงชี วิ ต ให้ เ หมาะสมกั บ ฐานะของการเป็ น มนุษย์ เช่น เงินโบนัส เงินพิเศษ การอบรมพัฒนาความรู้และศักยภาพ สิ่งอ�ำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและการด�ำรงชีวิต เป็นต้น 35 เครือข่าย (Network) หมายถึง ระบบการจัดการที่มีการเชื่อมโยงแบบแม่ข่ายกับลูก ข่าย หรือรูปแบบการท�ำงานที่มีลักษณะของการติดต่อประสานสัมพันธ์ การให้ความร่วมมือที่คอยเอื้ออ�ำนวยและเกื้อกูลกัน เพื่อส่งเสริมและ สนับสนุนการด�ำเนินงานที่มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน ให้บรรลุ โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ความคิดเห็น ประสบการณ์ กระบวนการ และวิธีการด�ำเนินงานต่าง ๆ 36 ยน 3:16 37 มธ 28:19 38 เทียบ มธ 3:13-14 39 เทียบ ยน 10:16 40 การเสวนา (Dialogue) คือ วิธีการที่ใช้สร้างความสัมพันธ์และความเป็นหนึ่งเดียวกัน ระหว่างคนต่างความเชื่อ หรือที่มีความเชื่อเดียวกัน เป็นการยืนยันเพื่อ แบ่งปันความเชื่อต่อกัน และส่งเสริมให้แต่ละฝ่ายมีความเข้าใจในความ เชื่อที่กว้างขึ้น 41 การเข้าสู่วัฒนธรรม (Inculturation) หมายถึ ง การเปลี่ ย นแปลงคุ ณ ค่ า ที่ แ ท้ จ ริ ง ทั้ ง หลายของ วัฒนธรรมจากภายใน โดยทางการบูรณาการด้วยคุณค่าแห่งพระวรสาร และด้วยการท�ำให้คุณค่าพระวรสารเข้าไปมีชีวิตในวัฒนธรรมอันหลาก หลายของมนุษย์ 34

74

74 เชิงอรรถ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

เทียบ AG 11 43 คริสตศาสนจักรสัมพันธ์ (Ecuminism) คือ การน�ำพีน่ อ้ งคริสตชนนิกายต่าง ๆ ให้เป็นหนึง่ เดียวกันมากขึน้ ในด้านความเชือ่ พิธกี รรม พันธกิจและกิจกรรมทีเ่ สริมสร้างอาณาจักรของ พระเจ้า 44 พี่น้องคริสตชนนิกายอื่น (People of other Christian denominations) หมายถึง คริสตชนผู้มีความเชื่อในพระเยซูคริสต์องค์เดียวกัน แต่ แตกต่างกันทางจารีตหรือความคิดบางประการ จึงแยกเป็นนิกายต่าง ๆ เช่น ออร์โธด๊อกซ์ แองกลีกัน ลูเธอร์รัน ฯลฯ โดยสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้ส่งเสริมให้มีการเสวนาสร้างความสัมพันธ์ ความเป็นหนึ่งเดียวกันใน ระหว่างนิกายต่าง ๆ ของคริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตศาสนจักรสัมพันธ์ (Ecuminism) 45 เทียบ ยน 17:21 46 ศาสนสัมพันธ์ (Interreligious Dialogue) คือ การเสวนา รวมทั้งทุกสิ่งที่เป็นไปในทางบวกและก่อให้เกิด ความสัมพันธ์ทางศาสนาระหว่างบุคคลหรือหมู่คณะของผู้นับถือศาสนา ซึ่งท�ำให้มีความเข้าใจ และมีการเสริมสร้างที่ดีต่อกันและกัน โดยการ ปฏิบัติในบรรยากาศของความเคารพต่อความจริงและเสรีภาพ รวมทั้ง การเป็นพยานและการออกค้นหาความเชื่อมั่นในศาสนาของตน 47 จิตตารมณ์ธรรมทูต (Missionary Spirit) เป็นความส�ำนึกของบรรดาคริสตชนว่า พระคริสตเจ้าทรงส่งเรา ให้ไปประกาศข่าวดีให้แก่บุคคลที่ไม่เชื่อในพระองค์ ให้มีความเชื่อเพื่อ จะมีส่วนร่วมในชีวิตพระเจ้า 48 ปฐก 1:27-29 42

75

เชิงอรรถ

75


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

เทียบ ยน 10:10 50 1 ยน 4:8 51 ผู้รอคอยโอกาสในสังคม หมายถึง ผู้ยากไร้ / ผู้ยากจน / ผู้ด้อยโอกาส (The poor / the less-fortunate) คือ ผู้ที่ต้องตกทุกข์ได้ยาก มีความเข็ญใจ เพราะขาดสิ่งจ�ำเป็น ต่อการด�ำรงชีวิตตามศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ของการเป็นบุตร พระเจ้าและของการเป็นภาพลักษณ์พระองค์ ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการ ถูกกีดกันหรือถูกเลือกปฏิบัติ ถูกเอาเปรียบ ถูกปิดโอกาส ถูกกลั่นแกล้ง สืบเนื่องมาจากการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรมและไม่เท่าเทียมกัน รวมทั้งการ ขาดแคลนอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ บุคคลชายขอบ (Marginalized people) คือ ผู้ที่ถูกสังคมรังเกียจ ปฏิเสธและทอดทิ้ง โดยการคุกคามข่มขู่ กีดกัน เลือกปฏิบัติ บุคคล เหล่านีถ้ กู กีดกันออกจากสังคมใหญ่ทงั้ ในด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและศาสนา ไม่วา่ จะเป็นในด้านการรับบริการประโยชน์ การมี ส่วนร่วมในการตัดสินใจ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม เช่น กลุม่ ชาติพนั ธุ์ ชนกลุม่ น้อยทางเชือ้ ชาติและศาสนา เด็กเร่รอ่ น ผูป้ ว่ ยเอดส์ ผูข้ ายบริการ แรงงานต่างชาติ ฯลฯ 52 เทียบ EA 34 53 มีจุดยืนเป็นมโนธรรมของสังคม (Catholic stand for society / Conscience of society) หมายถึ ง การตอบรั บ ของคริ ส ตชนที่ มี ค วามคิ ด ที่ แ น่ ว แน่ ต ่ อ พระประสงค์ของพระเป็นเจ้า หลังจากได้พบแนวทางจากจิตตารมณ์ พระวรสาร หรือค�ำสอนของพระศาสนจักร ด้วยการด�ำเนินชีวิตเป็น ประจักษ์พยาน เป็นแสงสว่างส่องโลก ประพฤติตนอย่างเป็นผู้มีธรรมะ 49

76

76 เชิงอรรถ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

แห่งความจริง โดยการประกาศและยึดมัน่ ในความถูกต้อง ความยุตธิ รรม ความรัก และเสริมสร้างสันติสขุ 54 ลก 2:46-47, 51-521 55 CS 9 56 สนามแห่งการประกาศข่าวดี เป็ น สถานที่ ห รื อ อาณาเขตที่ ค ริ ส ตชนทุ ก คนด� ำ เนิ น ชี วิ ต เป็ น พยานถึงความรัก การับใช้และเมตตาธรรม ประกาศพระคริสตเจ้าแก่ บุคคลที่อยู่รอบข้าง และชุมชน ในบริบทของสถานศึกษาคือ บุคลากร นักเรียน และผู้ปกครอง เพื่อให้พวกเขาได้รู้ถึงข่าวดีของพระคริสตเจ้า รวมถึงการให้ความส�ำคัญเรื่องการเสวนากับบุคคลต่างความเชื่อ 57 มธ 19:14-15 58 ยน 1:1 59 เทียบ พระศาสนจักรและอินเตอร์เนต ข้อ 3 60 เทียบ เอฟฟาธา ข้อ 26 61 เทียบ เอฟฟาธา ข้อ 27 62 ปฐก 1:4 63 เทียบ พระศาสนจักรและอินเตอร์เนต ข้อ 12 64 เทียบ Communio et Progressio ข้อ 11 65 เทียบ ค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ข้อ 753 66 เทียบ Communio et Progressio ข้อ 2 67 เทียบ พระสมณกฤษฎีกาว่าด้วยเรื่องสื่อมวลชน ข้อ 3 68 1 คร 12:12 69 เทียบ มธ 16:24 70 เทียบ ยน 10:11 77

เชิงอรรถ

77


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

เทียบ ลก 24:13-35 1 ยน 3:18 สื่อศึกษา (Media education) หมายถึง กระบวนการการให้การศึกษาอบรม เพื่อให้ผู้ที่บริโภค สื่อเกิดความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ เลือกบริโภคสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไปอย่างถูกต้อง เกิดคุณค่าต่อชีวิต ไม่ตก เป็นทาสหรือถูกครอบง�ำ โดยเป็นฝ่ายรับอย่างเดียว ค�ำว่าสื่อศึกษาเป็น ค�ำศัพท์ที่เริ่มมีการใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้นในแวดวงสื่อคาทอลิกและ ในวงการสื่อสารมวลชนทั่วไป อาจมีการใช้ค�ำอื่นที่แตกต่างแต่มีความ หมายใกล้เคียงกับสื่อศึกษา เช่น สื่อสารมวลชน นิเทศศึกษา ฯลฯ การจัดการศึกษาอย่างมีดุลยภาพ (Integral education) หมายถึง ความร่วมมือกันระหว่างสถาบันโรงเรียน บ้านและวัด ในการจัดการศึกษาให้เด็ก ๆ และชุมชน ได้รับทั้งความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่ เ ป็ น สากล ได้ รั บ การอบรมปลู ก ฝั ง คุ ณ ค่ า ชี วิ ต บทบาทหน้ า ที่ ต ่ อ ครอบครัว และได้รับการปลูกฝังความเชื่อ คุณธรรมและจริยธรรมในการ ด�ำเนินชีวิต อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พระศาสนจักรระดับบ้าน (Domestic Church) ครอบครัวเป็นชุมชนย่อยที่สุดของผู้ที่มีความเชื่อ ที่เจริญชีวิตร่วม กันในฐานะพระศาสนจักรระดับบ้าน ซึ่งมีพระเยซูครสิต์เป็นศูนย์กลาง เป็ น แหล่ ง ที่ ยึ ด มั่ น ความจริ ง แห่ ง พระวรสาร เชิ ด ชู แ ละปกป้ อ งชี วิ ต สมาชิกด�ำเนินชีวิตเป็นสักขีพยาน ตามกระแสเรียกชีวิตคริสตชน เจริญ ชีวิตโดยยึดมั่นในพระวาจา การอธิษฐานภาวนา และศีลศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้ง หล่อเลี้ยงความเชื่อให้แก่กันและกัน 71 72

78

78 เชิงอรรถ


CHANTHABURI DIOC

CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

เอกสารอ้างอิงและอักษรย่อชื่อเอกสาร 1. AG Apostolicam Actuositatem สมณกฤษฎีกาว่าด้ายการแพร่ธรรมของฆราวาส 2. CP Communio et Progressio ค�ำสอนของพระศาสนจักรในเรื่องเกี่ยวกับเครื่องมือ การสื่อสารมวลชน “เอกภาพและความก้าวหน้า” 3. CS The Catholic School เอกสารของสมณกระทรวงศึกษาคาทอลิก “โรงเรียนคาทอลิก” 4. EA Ecclesia in Asia สมณสาส์นหลังการประชุมสมัชชา “พระศาสนจักรในเอเชีย” 5. IM Inter Mirifica สมณกฤษฎีกาว่าด้วยเรื่องสื่อมวลชน 6. คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ ซิสเตอร์ ซาเลเซียน, จงเปิดเถิด, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ,1995), หน้า 42, 43, 44, 45 7. พระคุณเจ้ายอร์ช ยอด พิมพิสาร, C.Ss.R., สมณะกระทรวงว่าด้วย การสื่อสารสังคมพระศาสนจักรและอินเตอร์เน็ต, พิมพ์ครั้งที่ 1, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ, 2545), หน้า 6, 7, 8 8. แผนกค�ำสอนอัครสังฆมณฑลกรุงเทพ, ค�ำสอนพระศาสนจักร คาทอลิก ภาค 1 : การยืนยันความเชื่อ, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ, 1997), หน้า 186, 187 79 79

เอกสารอ้างอิง


DIOCESE THAILAND CHANTHABURI DIOCESE THAILAND แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2011-2015

9. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์, พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม ปัญจบรรพ, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์อัสสัมชัญ, 2008), หน้า 17, 18 10. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์, พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อัสสัมชัญ, 2006), หน้า 281 11. แปลโดยบาทหลวงเอนก นามวงษ์ , “COMMUNIO ET PROGRESSION THE MEANS OF SOCIALCOMMUNICATION”, www.vatican.va/roman_curia/pontifical_councils/pccs/documents/ rc_pc_pccs_doc_23051971_communio_en.html

80 80 เอกสารอ้างอิง



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.