puttawit-201-ARTI3314-Finalproject-KCS-Brand

Page 1

โครงการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน Kanchanaburi sweet corn product package โดยออกแบบตามหลักของ 3ส:3R ในแบรนที่มีชื่อว่า : Kanchanaburi-Corn-Soup

เอกสารนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ARTI 3314 การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์


คำนำ โครงการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวโพดหวาน Kanchanaburi sweet corn product packageเป็น โครงการทีพัฒนากลุ่อุตสาหกรรมข้าวโพดหวานของจังหวัดกาญจนบุรีในการทำโครงการ ในครั้งนนี้เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ผลิตภัณฑ์ของกาญจนบุรีข้าวโพดหวานซึ่งขึ้นกับ โครงการKanchannaburi Sweet Corn Cluster Branding ของผศ.ประชิต ทิณบุตร โดยมีระยะเวลาในการทำโครง การนี้ทั้งหมด 7 สัปดาห์ การทำโครงการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ในครั้งนี้ ทำตามขั้นตอน 3R:3ส จะประกอบ ไปด้วยการ สืบค้น(Research) สมมติฐาน(Resume) สรุปผล(Result) ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการนำมาพัฒนาต่อคือ ผลิตภัณฑ์ ซุปครีมข้าวโพดในกระป๋อง โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้ใช้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอุตสาหกรรมข้าวโพดหวาน กาญจนบุรี ภายใต้โครงการ Kanchanaburi Sweet Corn Cluster Branding ของ ผศ.ประชิต ทิณบุตร เหตุผลที่ทำ การพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้เพราะคาดว่าผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพน่าจะได้รับความนิยมเป็น อย่างมากในอนาคตซึ่งการรับประทานซุปข้าวโพดนั้นมีสารอาหารมากมายที่ได้รับจากข้าว โพดและถือเป็นทางเลือกใหม่ของการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพส่วนบรรจุภัณที่เลือก เป็นกระป๋องนั้นก็เพราะประป๋องสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาตขายบรรจุภัณฑ์ทั่วไปและ ยังสามารถนำมารีไซเคิลได้อีกด้วย


ขบวนการ ส1:R1

บรรจุภัณฑ์ประเภทกระป๋อง

ในปัจจุบันนี้อาหารและเครื่อดื่มบรรจุกระป๋องได้เข้ามา มีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากความสะดวก สบายรวดเร็วในการบริโภคและปรุงอาหาร อย่างไรก็ดียังมีผู้เข้าใจ ว่าว่ากระป๋องเครื่องดื่มผลิต จากสังกะสี และการบริโภคเครื่องดื่ม จากกระป๋องดังกล่าวว่ากระป๋องเครื่องดื่มผลิตจากสังกะสีและการ บริโภคเครื่องดื่มจากกระป๋องดังกล่าว นอกจากจะเสี่ยงอันตราย จากกระป๋องบาดแล้วยังมีโอกาสจะได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายอีก ด้วยเพื่อขจัดความรู้สึกวิตกกังวลจนไม่กล้าบริโภคอาหารกระป๋องต่อ ไปผู้บริโภคจึงควรทราบถึงวัสดุและกระบวนการผลิตกระป๋องอย่าง ย่อๆ ดังต่อไปนี้วัสดุหลัก ที่สำคัญคือ แผ่นโลหะชนิดต่างๆ ได้แก่ 1. แผ่นเหล็ก เคลือบดีบุก(tinplate)เป็นแผ่นเหล็กดำ(black–plate) ที่มีความหนาระหว่าง 0.15–0.5 มิลลิเมตร นำ มาเคลือบผิวหน้า เดียวหรือทั้งสองหน้าด้วยดีบุก เพื่อ ให้ทนทานต่อการผุกร่อน และ ไม่เป็นพิษ 2. แผ่นเหล็กไม่เคลือบดีบุก (tin free steel, TFS)เป็นแผ่นเหล็กดำ ที่นำมาเคลือบด้วยสารอื่น แทนดีบุก เพื่อลดต้นทุนการผลิตใน ปัจจุบันมีการเคลือบอยู่ 3 แบบคือ -เคลือบด้วยสารผสมฟอสเฟตและโครเมต เป็นฟิล์ม บางๆ ใช้ทำกระป๋องบรรจุเบียร์ น้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว และทำถัง โลหะชนิดต่างๆ -เคลือบด้วยอะลูมิเนียม มีความทนทานต่อการกัด กร่อนเนื่องจากความชื้นได้ดี แต่ไม่สามารถใช้กับอาหารที่มีความ เป็นกรดหรือด่างสูง -เคลือบด้วยโครเมียมและโครเมียมออกไซด์ เพื่อให้ สามารถป้องกันการกัดกร่อนได้ดี นิยมใช้ทำกระป๋องบรรจุอาหาร ทะเล นมข้นหวาน เป็นต้น 3. อะลูมิเนียมและโลหะผสมของอะลูมิเนียม มีคุณสมบัติเด่นคือ น้ำหนักเบา ทนทานต่อ การกัดกร่อนสูง นิยมใช้ทำกระป๋อง 2 ชิ้น (2piece can) สำหรับบรรจุน้ำอัดลมและเบียร์ กระป๋องฉีดพ่น (aerosol) สำหรับบรรจุสเปรย์ฉีดผมหรือเครื่องสำอางต่างๆ และ ฝาชนิดที่มีห่วงเพื่อให้เปิดง่าย เช่น ฝากระป๋อง น้ำอัดลมหรือขวด น้ำดื่มนอกจากวัตถุดิบหลักดังกล่าวแล้วในกรณีที่ต้องการบรรจุ อาหารหรือเครื่องดื่ม ที่กัดกร่อนสูง เพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยา ทางเคมีระหว่างโลหะและ อาหารอันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสี และรสชาติของอาหารหรือกระป๋องเกิดกัดกร่อนได้ใช้ชั้นคุณภาพที่

สัมผัสอาหารได้ โดยปลอดภัยและมีคุณภาพได้ มาตรฐานตามมาตร ฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเท่านั้น อนึ่ง สำหรับแผ่นเหล็กเคลือบ สังกะสีหรือแผ่นเหล็กกัลวาไนซ์ (galvanized plate) ที่เรานิยม เรียกกันทั่วไปว่า “แผ่นสังกะสี” นั้นจะไม่ใช้ทำกระป๋อง บรรจุอาหาร อย่างเด็ดขาด เพราะมีโลหะหนัก พวกสังกะสีและตะกั่ว ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย แต่ใช้กระป๋องและถังบรรจุผลิตภัณฑ์ที่มิใช่ อาหารได้ดี เนื่องจากมีราคาถูกกว่าแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก

กระบวนการผลิตกระป๋องแบ่งตามชนิดกระป๋องออก ดังนี้คือ 1. กระป๋อง 3 ชิ้น (3piece can) เป็นกระป๋องที่ประกอบด้วยชิ้น ส่วน 3 ชิ้นคือตัวกระป๋อง ฝาบนและฝาล่าง ได้แก่ กระป๋องที่ส่วน ใหญ่ใช้บรรจุอาหาร มักจะผลิตจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก และ แผ่นเหล็กไม่เคลือบดีบุก ขั้นตอนการผลิตแสดงเป็นลำดับขั้น 2. กระป๋อง 2 ชิ้น (2piece can)เป็นกระป๋องไร้ตะเข็บข้าง มีตัวกระป๋องและฝาล่างเป็นชิ้นเดียวกันและมีฝาบนอีกชิ้นหนึ่ง วิธีการขึ้นรูปกระป๋อง 2 ชิ้น มี 3 วิธีการ คือ 1) กระป๋องขึ้นรูปโดยการปั๊มครั้งเดียว (drawn can) 2) กระป๋องขึ้นรูปโดยการปั๊ม 2 ครั้ง (drawn and redrawn can ; DRD can) โดยปั๊มครั้งแรกจะขึ้น รูปเป็นถ้วยเตี้ยก่อนหลังจากนั้นจะปั๊มอีกครั้งเพื่อให้เส้นผ่าศูนย์ กลางของกระป๋องเล็กลงและความสูงมากขึ้นตามต้องการกระป๋อง 2ชิ้นที่ผลิตโดยวิธีนี้จะมีความหนาเท่ากันตลอดทั้งตัวและก้นกระป๋อง สามารถทนความดันและสุญญากาศในกระป๋องได้ 3) กระป๋องขึ้นรูปโดยการปั๊มและรีดผนัง (drawn and wall ironed can หรือ DI can) โดยปั๊มครั้งแรกจะได้ ถ้วยที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับกระป๋องที่ต้องการหลังจากนั้น ผนังกระป๋องจะถูกรีดให้เบาลงและกระป๋องมีความสูงเพิ่มขึ้น (ขั้นตอนการผลิตแสดงดังรูป)กระป๋องประเภทนี้ตัวกระป๋องมีผนัง บางกว่าก้นกระป๋อง สามารถทนความดันได้ แต่ทนสุญญากาศภาย ในกระป๋องไม่ได้ จึงนิยมใช้บรรจุเบียร์และน้ำอัดลม

ขั้นตอนในการผลิตกระป๋อง 2 ชิ้น โดยวิธี DI


ขบวนการ ส1:R1 ขนาดของบรรจุภัณฑ์ประเภทกระป๋องและขนาดของกระป๋อง วีธีการบรรจุอาหารกระป๋อง มีทั้งผ่านและไม่ผ่านขบวนการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ด้วยความร้อน (sterilization) ซึ่งขึ้นกับจุดประสงค์ที่ต้องการคือถ้าผ่านขบวนการ ทำลายเชื้อจุลินทรีย์ด้วยความร้อนอาหารกระป๋องที่บรรจุจะสามารถ เก็บได้นาน เพราะปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ที่จะทำให้อาหารเสีย แต่ถ้า ไม่ผ่านขบวนการนี้ มักมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไอน้ำ ก๊าซ และแสง สว่างจากภายนอกเท่านั้น ซึ่งมักใช้บรรจุอาหารแห้ง เช่น ใบชา นมผง คุ๊กกี้ ฯลฯ อาหารกระป๋องจะผ่านขบวนการฆ่าเชื้อหลังการปิดผนึกเรียบร้อย แล้วโดยใส่ในหม้อฆ่าเชื้อที่มีความดันสูงและใช้ความร้อนถึง 250 องค์ศาฟาเลนไฮด์ เป็นระยะเวลานาน 30 ถึง 90 นาที ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับชนิดของอาหารวิธีการฆ่าเชื้อนี้จะฆ่าจุลินทรีย์ภายในกระป๋อง ดังนั้นอาหารจึงถูกถนอมไว้ได้นานอาจจะถึงสองปีในอนาคตอันไม่ไกล การเชื่อมตะเข็บข้างกระป๋องจะใช้แสงเลเซอร์แทนไฟฟ้า (lazerwelding)ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีก้าวใหม่ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการ ผลิตโดยสามารถเชื่อมผ่านผิวแลคเกอร์และผ่านเหล็กเคลือบโคร เมี่ยมได้ อุปกรณ์การบรรจุกระป๋อง

รูปที่1หม้ออัดความดัน (ฆ่าเชื้อจุลินทรีย)และอุปกรณ์การปิดผนึกกระป๋องขนาดเล็ก

รูปที่2 เป็นอุปกรณ์การผลึกกระป๋องขนาดใหญ่

สรุปแล้วบรรจุภัณฑ์ประเภทกระป๋องนั้นมีหลายชนิดด้วยเช่นกันไม่ ว่าจะเป็นกระป๋องทีทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุกแผ่นเหล็กไม่เคลือบ ดีบุกหรือจะเป็นอะลูมิเนียมและโหละผสมกันแต่อย่างไรก็ตามในการ ผลิตอาหารแต่ละประเภทนั้นก็ต้องคำนึงถึงบรรจุภัณฑ์กระป๋องที่นำ มานั้นตรงถูกต้องและเหมาะสมทั้งสัดส่วขนาดกระป๋องชนิดของ กระป๋องอีกด้วยส่วนการปิดผลึกกระป๋องก็มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ออกไปไม่ว่าจะเป็นการปิดผลึกด้วยมือหรือเครื่องจักระดับอุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตามผู้ผลิตก็ต้องคำนึงถึงการเลือกใช้กระป๋องที่ไม่เป็น อันตรายต่อผู้บริโภคด้วยเช่นกันและการบรรจุหรือปิดผลึกก็ต้องทำ อย่างถูกหลักสะอาดและปลอดภัย


ขบวนการ ส1:R1 การแสดงฉลากอาหาร ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194)พ.ศ.2543เรื่องฉลาก กำหนดให้อาหารดังต่อไปนี้ต้องมีฉลาก กลุ่ม 1 อาหารควบคุมเฉพาะ กลุ่ม 2 อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน กลุ่ม 3 อาหารที่ต้องมีฉลาก กลุ่ม 4 อาหารทั่วไป (อาหารอื่นนอกจากอาหารกลุ่ม 1-3) และได้กำหนดแนวทางในการแสดงฉลากอาหารดังนี้ 1. การแสดงฉลากอาหารที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคของอาหาร กลุ่ม 1, กลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 ต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทยจะมี ภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ และต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ เว้นแต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะยกเว้นให้ไม่ต้อง ระบุข้อความหนึ่งข้อความใดในฉลากของอาหารแต่ละชนิด 1.1 ชื่ออาหาร ชื่ออาหารภาษาไทยต้องมีข้อความต่อเนื่องกัน ในแนวนอน ขนาดของตัวอักษรใกล้เคียงกัน สีเดียวกัน ถ้าแสดง บรรทัดเดียวได้ไม่หมดก็แยกเป็นหลายบรรทัดก็ได้ และชื่ออาหาร ภาษาไทยจะต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าชื่ออาหารภาษาต่างประเทศ 1.2 เลขสารบบอาหาร ในเครื่องหมาย ด้วยตัวเลขที่มีสีตัดกับ สีพื้นของกรอบ และมีขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร สีของกรอบ ตัดกับสีพื้นของฉลาก 1.3 ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ เพื่อจำหน่าย แล้ว แต่กรณี โดยมีคำว่า "ผลิตโดย" หรือ "ผลิต-แบ่งบรรจุโดย" กำกับ สำหรับอาหารที่ผลิตภายในประเทศอาจแสดงสำนักงานใหญ ่ของผู้ผลิตหรือของผู้แบ่งบรรจุก็ได้ ในกรณีที่เป็นอาหารนำเข้าให้ แสดงชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้าและประเทศผู้ผลิตด้วย 1.4 ปริมาณสุทธิของอาหารเป็นระบบเมตริก ถ้าเป็นอาหารผง หรือแห้งหรือก้อนให้แสดงน้ำหนักสุทธิ ถ้าอาหารเป็นของเหลวให้ แสดงเป็นปริมาตรสุทธิ ในกรณีที่เป็นอาหารในภาชนะบรรจุที่ ปิดสนิทถ้าแยกเนื้ออาหารออกจากน้ำได้ให้แสดงน้ำหนักเนื้อ อาหารด้วย 1.5 ส่วนประกอบที่สำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณ โดยแสดงจากปริมาณมากไปหาน้อย กรณีที่เป็นอาหารที่ต้องเจือจาง หรือทำละลายก่อนบริโภค ให้แสดงส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร เมื่อเจือจางหรือทำละลายตามวิธีปรุงเมื่อรับประทานตามที่แจ้ง ไว้ในฉลาก 1.6 ข้อความว่า "ใช้วัตถุกันเสีย" ถ้ามีการใช้ 1.7 ข้อความว่า "เจือสีธรรมชาติ" หรือ "เจือสีสังเคราะห์" แล้วแต่กรณีที่มีการใช้ 1.8 ข้อความว่า "….. เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร" (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชนิดของวัตถุปรุงแต่งที่ใช้) เช่น กรณีที่เป็น โมโนโซเดียมกลูตาเมทให้แสดงข้อความว่า "ใช้โมโนโซเดียมกลูตา เมทเป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร"

1.9 ข้อความว่า "ใช้ ….. เป็นวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล" (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชนิดของวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้) ด้วยตัวอักษรขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร สีของตัวอักษรตัดกับ สีพื้นของฉลาก เช่น กรณีที่เป็นแอสปาร์แตมให้แสดงข้อความว่า "ใช้แอสปาร์แตมเป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล" 1.10 ข้อความว่า "แต่งกลิ่นธรรมชาติ", "แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ", "แต่งกลิ่นสังเคราะห์","แต่งรสธรรมชาติ" หรือ "แต่งรสเลียนธรรมชาติ" แล้วแต่กรณีถ้ามีการใช้ 1.11 แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ หรือควร บริโภคก่อน โดยมีคำว่า "ผลิต" หรือ "หมดอายุ" หรือ "ควรบริโภคก่อน" กำกับ แล้วแต่กรณีดังต่อไปนี้ ก. อาหารที่เก็บได้ไม่เกิน 90 วัน ให้แสดงวันเดือน ปีที่ผลิต หรือหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน ข. อาหารที่เก็บได้เกิน 90 วัน ให้แสดงเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุ หรือวันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน ค. อาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประกาศกำหนดให้แสดงวันเดือนปีที่หมดอายุ เช่น นมเปรี้ยว นมพาสเจอร์ไรส์ ขนมปัง ผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์ 1.12 คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี) 1.13 วิธีปรุงเพื่อรับประทาน (ถ้ามี) 1.14 วิธีการใช้และข้อความที่จำเป็นสำหรับอาหารที่มุ่งหมาย จะใช้กับทารกหรือเด็กอ่อน หรือบุคคลกลุ่มใดใช้โดยเฉพาะ 1.15 ข้อความที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด (สำหรับอาหารกลุ่ม 4 อย่างน้อยต้องแสดงข้อความ) 1. ชื่ออาหาร 2. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายแล้วแต่กรณี โดยมีคำว่า "ผลิตโดย" หรือ "ผลิต-แบ่งบรรจุโดย" กำกับ สำหรับอาหารที่ผลิตภายในประเทศอาจแสดงสำนักงานใหญ่ของ ผู้ผลิตหรือของผู้แบ่งบรรจุก็ได้ ในกรณีที่เป็นอาหารนำเข้าให้แสดง ประเทศผู้ผลิตด้วย 3. ปริมาณสุทธิของอาหารเป็นระบบเมตริก 4. วันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ หรือควรบริโภคก่อน โดยมีคำว่า "ผลิต" หรือ "หมดอายุ" หรือ "ควรบริโภคก่อน" กำกับ) 2. การแสดงฉลากที่มิได้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค แต่จำหน่าย ให้กับผู้ปรุงหรือผู้จำหน่ายอาหารให้แสดงเหมือนกับฉลากที่จำหน่าย โดยตรงต่อผู้บริโภค เว้นแต่กรณีมีคู่มือหรือเอกสารประกอบที่แสดง รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนประกอบของอาหาร คำแนะนำในการ เก็บรักษา วิธีปรุงเพื่อรับประทาน วิธีการใช้ และข้อความที่จำเป็น สำหรับอาหารที่มุ่งหมายจะใช้กับทารกหรือเด็กอ่อนหรือบุคคล กลุ่มใดใช้เฉพาะ การใช้วัตถุกันเสีย วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล


ขบวนการ ส1:R1 เจือสี แต่งกลิ่น การใช้วัตถุปรุงแต่งรสอาหาร อยู่แล้ว จะแสดง ฉลากเพียงชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณสุทธิ เลขสารบบอาหาร และวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ หรือควรบริโภคก่อนก็ได้ 3. การแสดงฉลากอาหารที่ไม่ได้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค แต่นำมาจำหน่ายเพื่อเป็นวัตถุดิบของโรงงาน ต้องมีข้อความภาษา ไทย เว้นแต่อาหารที่นำเข้าอาจแสดงข้อความเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ อย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ 3.1 ชื่อและประเภทหรือชนิดของอาหาร 3.2 เลขสารบบอาหาร 3.3 ปริมาณสุทธิเป็นระบบเมตริก 3.4 ชื่อผู้ผลิต สำหรับอาหารที่ผลิตในประเทศ ชื่อและที่ตั้งของ ผู้นำเข้าและประเทศผู้ผลิต สำหรับอาหารนำเข้า แล้วแต่กรณี 4. การแสดงฉลากของอาหารที่ผลิตเพื่อส่งออก จะแสดงข้อความ เป็นภาษาใดก็ได้ แต่อย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ 4.1 ประเทศผู้ผลิต 4.2 เลขสารบบอาหาร (ถ้ามี)

ตัวอย่างฉลากอาหาร (กรณีที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค) บูบู เงาะในน้ำเชื่อม ตราสามเหลี่ยม Boo Boo Rambutan in Syrup Triangle Brand น้ำหนักสุทธิ 200 กรัม น้ำหนักเนื้อ 120 กรัม เดือนปีที่ผลิตดูที่ฝากระป๋อง ส่วนประกอบที่สำคัญโดยประมาณ เงาะ ……% น้ำเชื่อม ……% ผลิตโดย บริษัท สามเหลี่ยม จำกัด เลขที่ 1 ถ.จันทอุดม อ.บ้านค่าย จ.ระยอง 1. ฉลากพื้นสี ………. ตัวอักษรสี ………. รูปภาพสี ………. (แจ้งสีตามความเป็นจริง) 2. ขอรับรองว่าชื่ออาหารภาษาไทยใช้อักษรสีเดียวกัน ขนาดใกล้ เคียงกัน ไม่เล็กกว่า 5 มิลลิเมตร และไม่เล็กกว่าชื่ออาหารภาษา ต่างประเทศ 3. ขอรับรองว่าจะแจ้งเดือนปีที่ผลิตจริง โดยมีคำว่า “ผลิต” กำกับ

(หรืออาจแจ้งวันเดือนปีที่หมดอายุจริง โดยมีคำว่า "หมดอายุ" กำกับก็ได้) 4. การแสดงเลขสารบบอาหารให้แสดงเลขทะเบียนที่อนุญาตด้วย ตัวอักษรขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร ในกรอบ 5. ขอรับรองว่า คำว่า “ตรา” มีขนาดไม่เล็กกว่าครึ่งหนึ่งของชื่อตรา ตัวอย่างฉลากอาหาร (กรณีที่ไม่ได้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค แต่จำหน่ายให้กับโรงงานอุตสาหกรรม) Citric Acid (Food Additive)

Net weight : 50 Kgs. A.B.C. Ltd. Milton Keynes United Kingdom นำเข้าโดย บริษัท สตาร์ฟู้ด จำกัด 18/5 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ สรุปแล้วการแสดงฉลากอาหารนั้นต้องมีการทำที่ถูกต้อง อย่างเช่นบอกชื่ออาหาร เลขสารระบบอาหาร ชื่อที่ตั้งของผู้ผลิต และบรรจุ ปริมาณ ส่วนประกอบ ใช้วัตถุกันเสียหรือไม่ การเจือสี เป็นวัตถุปรุงแต่งหรืออาจจะรวมไปถึงบอกการได้รับสารอาหาร จากอาหารชนิดนี้ด้วยและฉลากชินค้าที่จะสมสมบูรณ์ได้นั้นจะต้อง มีเครื่องหมายอ.ย.หรือที่เรียกว่าสำนักงานคณะกรรมการอา


ขบวนการ ส2:R2 ส2:R2เป็นขั้นตอนการสร้างบรรจุภัณฑ์ Packageโลโก้และรวมไปถึงฉลากกับกำสินค้าของตัวผลิตภัณฑ์ด้วยซึ่งทั้งหมดนั้นได้ถูก สร้างขึ้นด้วยโปรแกรม sketch up และโปรแกรม illustrator มีดังต่อไปนี้

1.ภาพของกระป๋องในแบบ 3 มิติ

ภาพที่ 1 กระป๋องขนาด 6 oz

ภาพที่ 2 กระขนาด 6 oz ที่ห่อหุ้มด้วยฉลากสิ้นค้า


ขบวนการ ส2:R2 ส2:R2เป็นขั้นตอนการสร้างบรรจุภัณฑ์ Packageโลโก้และรวมไปถึงฉลากกับกำสินค้าของตัวผลิตภัณฑ์ด้วยซึ่งทั้งหมดนั้นได้ถูก สร้างขึ้นด้วยโปรแกรม sketch up และโปรแกรม illustrator มีดังต่อไปนี้

2.รูปแบบของฉลากกระป๋องและ Pattren Package

71-1-06541-1-0007

ภาพที่ 1 ฉลากบรรจุภัณฑ์ 6.9x22.2 cm

ภาพที่ 2 Pattren Package สำหรับกระป๋องขนาด 6 oz บรรจุได้ 2 กระป๋อง


ขบวนการ ส2:R2 ส2:R2เป็นขั้นตอนการสร้างบรรจุภัณฑ์ Packageโลโก้และรวมไปถึงฉลากกับกำสินค้าของตัวผลิตภัณฑ์ด้วยซึ่งทั้งหมดนั้นได้ถูก สร้างขึ้นด้วยโปรแกรม sketch up และโปรแกรม illustrator มีดังต่อไปนี้

3. แบบของ Brand Logo ที่ได้ทำการออกแบบ

แบบของ Brand Logo ทั้งหมด

แบบที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้


ขบวนการ ส3:R3 ส.3:R3คือขั้นตอนการสรุปของผลงานที่ได้ทำการออกแบบตัวผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้และสิ่งที่ออกแบบในโครงการในครั้งนี้นั้นคือการออก แบบฉลากของตัวผลิตภัณฑ์การออกแบบโลโก้และแบรนของผลิจภัณฑ์นั้น และการออกตัวPackageสำหรับหีบห่อตัวผลิตภัณฑ์ซึ่ง ทั้งหมดทีดังต่อไปนี้

1.ภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำการห่อหุ้มฉลากเรียบร้อยแล้ว

ภาพที่ 1-2 เป็นภาพของกระป๋องที่ได้ทำการออกแบบฉลากและห่อหุ้มแล้ว


ขบวนการ ส3:R3 ส.3:R3คือขั้นตอนการสรุปของผลงานที่ได้ทำการออกแบบตัวผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้และสิ่งที่ออกแบบในโครงการในครั้งนี้นั้นคือการออก แบบฉลากของตัวผลิตภัณฑ์การออกแบบโลโก้และแบรนของผลิจภัณฑ์นั้น และการออกตัวPackageสำหรับหีบห่อตัวผลิตภัณฑ์ซึ่ง ทั้งหมดทีดังต่อไปนี้

2. ภาพของ Packageและตัวประป๋องที่ได้นำมาบรรจุเรียบร้อยแล้ว

ภาพที่ 1 และ 2 เป็นภาพของผลิตภัณฑ์ที่หีบห่อแล้วซึ่งการบรรจุหีบห่อนั้นจะบรรจุได้ 2 กระป๋อง


บรรณานุกรม จากเว็ปไซน์ http://www.ekaset.net/index.php?option=com_content&task=view&id=302&Itemid=39 จากเว็ปไซน์ http://www.mew6.com/composer/package/package_23.php จากเว็ปไซน์ http://standardcan.com/test/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=12&Itemid=45 จากเว็ปไซน์ http://www.doae.go.th/library/html/detail/big/big9.htm จากเว็ปไซน์ http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/food/FLicence/Licence/basinfo/product/label_show.htm

จัดทำโดย นายปัทวิทย์ ฉาไธสง รหัสนักศึกษา 5021300891 กลุ่มเรียน 201 สาขาวิชาศิลปกรรมออกแบบนิเทศศิลป์ E-mail : puttawit.charthaisong@gmail.com Web Blog : http://puttawit-arti3314.blogspot.com/ เอกสารนี้เป็นส่วนหนึ่งในรายวิชาการออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ Arti3314



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.