THE UNTOLD STORIES OF TYPOGRAPHY

Page 1

Editorial & Visualized Concept by pps.


―The Untold stories of Typography‖ LEO [a.k.a.itemsafety]

ผู้เขียนเนื้อหาหลัก เครดิตภาพ The Base Inspiration.

pps ผู้เรียบเรียงและเนื้อหาเสริม (ไม่มีเลขหน้า) เนื้อหานํามาจากกระจู๋ “กลเม็ดใช้ Typo ให้เป็นผู้ดีมีสกุล” โดย LEO http://www.f0nt.com/forum/index.php/ topic,18202.150.html ออกแบบรูปเล่ม บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา


Text Arundina Sans 18 pt.

HEADLINE Impact 36 pt.

Text : NOTICE Tahoma 9 pt.

คาประกาศ จาก LEO บทความนี้ แต่งขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในวงการ ออกแบบโดยไม่หวังผลตอบแทน เนื้อหาบางส่วนมีการ อ้างอิงแหล่งทีม ่ า หากผู้ใดที่ต้องการนาเอาข้อมูลไปใช้เพือ ่ ประโยชน์ทางการค้า หรือเอาเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งไป ประกอบงานเขียนของตัวเอง กรุณาให้เครดิทแก่ผู้แต่ง อย่างเหมาะสม รวมถึงให้เกียรติแก่เจ้าข้องบทความ อ้างอิงทุกบทความ

ครั้งแรกที่ผมได้อ่านกระจู๋ (อย่าตกใจ นี่เป็นศัพท์เฉพาะเรียกกระทู้ของฟอรั่ม F0nt.com) ก็ตัดสินใจเข้าไปเป็น เหา ในนั้นเลย สืบเนื่องจากบทความ “กลเม็ดใช้ Typo ให้ดู ดีมีสกุล” ที่คุณ LEO [a.k.a.itemsafety] ได้โพสต์เอาไว้ จนกระทั่งได้รับความนิยมเป็นอย่าง มากจน มีผู้เข้าไปอ่านเหยียบๆห้าพันครั้ง! และตัวโพสต์เองก็ยังถูกแชร์บน Facebook อีก หลายครั้ง เนื่องด้วยบทความนี้มีข้อมูลต่างๆ ที่เป็นโนว์ฮาวมากมาย ที่นักออกแบบก็ไม่เคยรู้ มาก่อน และยิ่งกับนักออกแบบมือใหม่อย่างผมด้วยแล้ว ก็ยิ่งกระตุ้นความกระหายใคร่รู้ ขนาดที่ว่าผมเป็นคนที่ไม่ค่อยสุงสิงกับเว็บบอร์ดแบบนี้ ยังต้องคลิกเข้าไปอ่านแล้วอ่านอีก และในที่สุดก็เซฟหน้าเก็บไว้อ่านยามหน้าฝน เอ๊ย ยามความรู้บกพร่อง แถมบทความนี้ทําให้ผมต้องมานั่งทบทวนตัวเองใหม่อีกครั้งหนึ่งว่า ยังมีคนอีกกี่ล้าน คนที่ประกอบอาชีพนี้แล้วก็ไม่รู้เรื่อง Know how พวกนี้แบบเดียวกับผม น่าคิดนะครับ ถ้าว่า กันแบบชั่วๆ ก็คือ ถ้าไม่รู้อะไรเลย ทําตามเซนส์ ด้นตามใจ ก็พอจะได้อยู่ละ แต่เมื่อพอได้รู้ อะไรบ้างแล้ว แน่นอนว่า ไม่มีข้อมูลอะไรหยุดอยู่นิ่งให้คุณนั่งฉกฉวยได้ง่ายๆ แน่นอน ผมเชื่อ ว่า ใครที่ได้อ่านบทความนี้แล้ว ย่อมอยู่เฉยไม่ได้ ต้องหนีญญ่ายพ่ายจแจ้นออกไปหาข้อมูล เพิ่มตรงนี้นิด ตรงนั้นหน่อยแน่นอน สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณ iannnnn รวมไปถึงชาวสาวกฟอนต์ฟอรั่ม และเว็บไซต์ F0nt.com ที่ได้ให้โอกาสผมได้ทําอะไรพิเศษๆ แบบนี้ และที่ไม่ควรจะลืม (และไม่ควรแกล้ง ลืม) นั่นก็คือคุณ itemsafety เจ้าของเนื้อหาที่แท้จริง ในการให้ข้อมูลดีๆ ชิ้นนี้แก่ชาวสาวก และรวมไปถึงการมอบบทความเป็นวิทยาทานให้แก่วงการการออกแบบไทย และที่ได้ให้ โอกาสผมในการเผยแพร่ผลงานนี้ออกสู่ที่กว้าง โดยไม่แสวงหากําไรใดๆ (แต่ใครที่จะ นําไปใช้กรุณาอ่านคําประกาศด้านข้าง) ขอขอบคุณจากใจจริงๆเลยครับ pps บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา,ออกแบบรูปเล่ม


Content Arundina Sans 30 pt.

1-3 2-6 3-8 4-11 5-15 6-17 7-20 8-22 9-24 10-27

11-29 12-31 13-33 14-35 15-38 16-40 17-42 18-45 19-47 20-49

21-52 22-54 23-56 24-58 25-62 26-64 27-66 28-72 29-74 30-76 31-78


3


4

Text Arundina Sans 18 pt.

Adobe Illustrator / Indesign ออพติคัล มาร์จิน คือการลวงตาอย่างหนึ่ง เนื่องจากการจัดคําใน Text box ที่มี เครื่องหมายวรรคตอน จําพวก อัญประกาศ หรือเครื่องหมาย คําพูด ".........." หรืออักขระบางตัว ที่มีช่วงว่างด้านข้างเยอะ เช่น - (Dash / En Dash / Em Dash) , (Comma) : ; (Colon / Semi-colon) เมื่อนํามาประกอบหลายๆ บรรทัด เราจะเห็นช่วงที่มีเครื่องหมาย วรรคตอนนี้ (ที่ไปอยู่ต้นบรรทัด/ท้ายบรรทัด) ดูดโหว่ๆ โบ๋ๆ เว้าแหว่งไป ทําให้ไม่ค่อยสวยงาม ยิ่งถ้าเรา Justify มันก็จะเห็นชัดเจนที่สุด

EXAMPLE: Adobe Illustrator


5 EXAMPLE: Adobe Indesign

WITHOUT

WITH

ผลลัพธ์ที่ได้ แตกต่างมั้ยครับ


6


7

Adobe Illustrator / Indesign, Microsoft Office Word/Excel/Publishers

ความจริงเป็นวิธีการตั้งแท็บที่มีมาแต่โบราณ เวิร์ด เอ๊กเซล มี ฟังก์ชั่นนี้หมด แต่เราไม่เคยสนใจที่จะใช้กันสักเท่าไร เวลาพิมพ์งานที่มี เรื่องของตัวเลขมากๆ เรามักจะไม่ใส่ใจ แท็บๆ มันไปงั้นแหละ ให้เลข มันเรียงเป็นแถวตรงแนวก็พอ แต่วันนี้ลองเปลี่ยนมาใช้สิ งานคุณจะมีสกุลรุณชาติทันที เพราะ การแท็บ จะยึด . เป็นศูนย์กลาง ดังนั้น กี่บรรทัด ก็จะมี . ตรงกันหมด เกิดเป็นระเบียบที่สวยงามเลยทีเดียว ลองดูเครื่องมือ Tab ใน อิลัสเตร เตอร์ หรือ อินดีไซน์ ก็มีครับ คนที่ทําเมนูอาหารให้ฝรั่ง บ่อยๆ หรือคน ที่ทํารายงานงบประจําปี ฯลฯ เอาไปปรับใช้ดูนะครับ


8

“คนเหมือนกัน แต่คนไม่เหมือนกัน” - ‗รงค์ วงษ์สวรรค์ Headline Impact 36 pt. With ASCII art Technique


9

เรื่องเล็ก แต่สําคัญมาก เรามักจะใช้กันแบบตามสบาย สไตล์ไทยๆ แต่วันนี้ลองเปลี่ยนมาศึกษา และใช้ให้ถูกต้องกันเถิด พี่ น้อง งานเราจะมีมูลค่าเพิม่ อย่างแรง เครื่องหมาย ยัติภาค/ยัติภังค์ ทุกวันนี้เราใช้เครื่องหมายแดชกันมั่วมากกกกกก อะไรที่เป็นขีดๆ เรากดเครื่องหมาย - (ลบ/ ยัติภังค์) ไว้ก่อน ทั้งๆ ที่มันใช้งานต่างโอกาสกัน เครื่องหมายตระกูลขีด มีทั้งหมด หลักๆ ดังนี้


10 จากในภาพ ฟอนต์นี้จะแยก ยัติภังค์ กับ ลบ ให้ต่างกัน ซึง่ หลายๆ ฟอนต์ จะมีความยาวเท่ากัน หรือ ใกล้เคียง ครับ จึงอนุโลมใช้ ทดแทนกันได้ ฝรั่งจะเคร่งครัดเรื่องเครื่องหมายวรรคตอนค่อนมากมาก แค่เรื่อง ขีดๆ ก็ทําเป็นเรื่องใหญ่ สําหรับพี่ไทย คงใช้เครื่องหมาย ยัติภังค์ ในการตัดคําเพือ่ ขึ้นบรรทัดใหม่ (ยัติภังค์เผื่อเลือก Soft-hyphenation) เช่น ทุกๆ คน ที่มาร่วมในงานบรรชาสามเณรภาคฤดูร้อนต่าง… คงสังเกตกันในหนังสือพิมพ์นะครับ ด้วยคอลัมน์หน้าที่เยอะเลยต้องตัดไปพิมพ์บรรทัดต่อไป และใช้กบั การแบ่งพยางค์ (เขียนคํา อ่าน) เช่น โส-เพ-นี ใช้กับการผสมคํา เช่น state-of-the-art เป็นต้น EM DASH

EN DASH

ส่วนเครื่องหมายตระกูลยัตภิ าค (Dash) มีดังนี้ ขีดสั้น (En Dash) {ความยาวขีดเท่ากับ N} – ก็ใช้เหมือนกับฝรั่งครับ เช่น เดือนตุลาคม–ธันวาคม ฟุตบอลคู่อิตาลี–เยอรมนี ก่อน และหลังเครื่องหมายเครื่องหมายยัติภาค ตามกฏของราชบัณฑิตฯ ไม่มีการเว้นวรรคครับ ขีดยาว (Em Dash) {ความยาวขีดเท่ากับ M} — บ้านเราไม่ได้มีใช้เหมือนเขา ก็ข้ามไป แต่ในภาษาอังกฤษใช้สําหรับเน้นย้ําประโยค หน้า

ส่วน Hyphen / Minus ส่วนมากใช้ร่วมกันได้ครับ ยกเว้นบางฟอนต์ที่ออกแบบมาต่างกัน อย่างทีผมให้รูปไป จากเดิมในรหัสแอสกี ยัติภังค์และเครื่องหมายลบใช้สัญลักษณ์ตัวเดียวกัน คือ (-) ที่ตําแหน่ง 0x2D แต่สําหรับรหัสยูนิโคด ได้แยกสองเครื่องหมายนี้ออกจากกัน โดย ยัติภังค์อยู่ที่ U+2010 (‐) และเครื่องหมายลบอยู่ที่ U+2212 (−) แต่ก็ยังคงอักขระตัวเดิมไว้ที่ U+002D เพื่อให้ยังสามารถรองรับและเข้ากันได้กับรหัสแอสกี (ข้อมูล:Wiki) ยัติภังค์มันมีเรื่องราวซับซ้อนมากครับ ทั้งยัติภังค์เผื่อเลือก ยัติภังค์แบบไม่ตัดคํา ซึ่งจะพบในโปรแกรมประเภทจัดหน้าหนังสือครับ

วิธีการพิมพ์ en dash / em dash ALT + 0150 / Option + - (เครื่องแมค) en dash ALT + 0151 / Option + _ (เครื่องแมค) em dash


11


12

เดี๋ยวนี้ โอเพ่นไทป์มีแสนยานุภาพมากมาย คนทําฟอนต์ต่างดีใจที่ตัวเองสามารถใส่จินตนาการ และลูกเล่นให้กับฟอนต์ได้เท่าที่ต้องการ ส่วนคนใช้ ต้องรู้จักใช้ให้เป็นครับ อย่าโลภใช้ เพราะแทนที่จะหรูหรา กลับเป็น รุงรัง เส้นระโยงระยาง ห้อยย้อยไปมาอ่านลําบากยิ่ง โดยหลักๆ ให้ ยึด Th fl ffl fi ffi ไว้ก่อน ส่วนอันอื่นๆ ก็พิจารณาใช้ตามสภาพการณ์และความเหมาะสมครับ อย่าง tt ff ft fb fft ffb it sk sh ck ct st fk ฯลฯ คือบาง ฟอนต์ ทํามาแค่ fl fi แต่ ffl ffi ไม่ทํามา ก็ปิดฟังก์ชั่นนี้ไปเถิดครับ เพราะจะกลายเป็นไม่สวย เวลาไปเจอ ffi ffl แล้ว f ตัวหน้า มันจะไม่เข้าพวก คนทําฟอนต์ที่คิดจะใส่ฟังก์ชั่นนี้ คิดใหม่ให้ดี คิดให้รอบคอบ คนใช้อีกหลายคนไม่รู้อิโหน่อิเหน่

สนใจเรื่อง Opentype เพิ่มเติม คลิกไปที่

http:// www.magnetstudio.com/ words/2010/opentype-guide


13

เมื่อเปิดโอเพ็นไทป์ Ligature ต่างๆ ก็จะได้ผลดังรูปด้านล่างนี้ ดูสิ มีอะไรเปลี่ยนไป


14


15


16 ในภาษาอังกฤษ มีตัวพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก ใช้ร่วมกัน บางคําที่ต้องการเน้น มากเขาก็จะใช้พิมพ์ใหญ่ เช่น ชื่อคน สถานที่ แต่เวลาเราเอามาจัดบรรทัดแล้ว จะไม่ค่อยสวยงาม เพราะพวกนี้มันจะโดด ขึ้นมา ทางแก้คือ เราต้องทําให้มันเป็น Small Caps ซะ จะได้กลมกลืนกับ บรรทัด และภาพรวม


17


18

ตามสไตล์พี่ไทย เวลาจะพิมพ์ รายการที่เป็น List มักจะใช้เครื่องหมาย ตลอดเลย วันนี้ลองเปลี่ยนมาใช้เครื่องมือ อํานวยความสะดวกที่เขามีมาให้เราเถิด อย่าไปเมื่อยพิมพ์เองเลย รวมถึงหัวข้อที่ เป็นตัวเลขด้วย ใช้เครื่องมือจะสวยกว่า พิมพ์เอง เพราะมันจะจัดตําแหน่งบรรทัด การ indent ต่างๆ ให้เสร็จสรรพ ไม่ต้อง มานั่งเคาะให้เสียสมอง

ถ้าใช้ฟอนต์ตระกูล TF เปิดฟังก์ชั่น Numerator สามารถเปลี่ยน เลขอารบิก เป็นเลขไทย ได้ทันที


19

แถมเรื่องการเปลี่ยนเลขอารบิก เป็นเลขไทยแบบอัตโนมัตินะ ครับ เฉพาะฟอนต์ TF เท่านั้น ตัวนี้ใช้โปรแกรม Illustrator ครับ

และเปลี่ยนเป็นแบบ Old Style


http:// user.services.openoffice.org /en/forum/viewtopic.php? f=7&t=6251&start=0

ขีดขีด ส่วนใหญ่จะ ได้ออกมาเป็น dash A+วรรค+ขีด+ วรรค+B ได้ผล เหมือนกับ A+วรรค+ ขีดขีด+วรรค+B ก็คือ เป็น A+วรรค+dash+ วรรค+B ถ้า A+ขีดขีด+B จะได้ A+em dash+B


20


21 คนที่ชอบจัดเสมอซ้าย-ขวา พึง ระวังโอกาสการเกิดปัญหาฟันหลอให้ดี เพราะทําให้งานจัดวางไม่สวย เลี่ยงได้ก็ ใช้ ชิดซ้าย เอาดีกว่านะ

(Credit: Erik Spiekermann. Seven Rules for Better Typography, 2010) — (Credit: ขจร พีรกิจ. www.indesignthai.com)

www.indesign thai.com)


22 RSU font : Free Font by Rangsit University www.rsu.ac.th


23

ลด ละ เลิก การทรมานฟอนต์ เห็นใจคนที่เขาสร้างมันมาให้เรา ใช้ตามเจตนารมณ์ที่เขาหวังไว้เถิด อันไหนเขาทํามาดีแล้ว ก็ไม่ต้องไปวุ่นวายกับมัน ฟอนต์ผอม ฟอนต์อ้วน เขาก็ทําออกมาสนองนี้ดเราหมดแล้ว อย่ามักง่ายเลย


/24


25

ระวังเรื่องการตัดบรรทัดใหม่ การทิ้งบรรทัดสุดท้าย


/26

ลูกกําพร้า คือ คํา 1 คํา ที่ตกไปอยู่ในบรรทัดสุดท้าย ของพารากราฟ ควรเลี่ยงอย่าให้เกิด แม่หม้าย คือ บรรทัดเดียวบรรทัดสุดท้าย ของพารา กราฟสุดท้ายไม่สามารถจบในคอลัมน์ของตัวเองได้ ต้องข้าม ไปจบที่อีกคอลัมน์ หรืออีกหน้านึงถัดไป ทําให้ไม่สวยงาม หรือการขึ้นพารากราฟใหม่ที่ปลายสุดคอลัมน์ ซึ่งเหลือ พื้นที่พอสําหรับแค่บรรทัดเดียว แล้วข้ามไปต่อบรรทัดใหม่ที่ อีกคอลัมน์ ทําให้หัวพารากราฟเคว้งคว้างยิ่ง ก็จะกลายเป็น อะไรเอ่ยยยย ไม่เข้าพวก ไปได้ ลองดูงานของท่านให้ดีๆ เคยเข้าข่ายพวกนี้มั๊ย วิธีแก้ไขง่ายๆ คือใช้คําสั่ง คีป ออปชั่น (InDesign)


27 เทน n. 1. สิบ 2. เลขสิบ 3.จํานวนสิบ

เซนดฺ vt. 1.ส่ง 2.ส่งออก 3.นําส่ง 4.ขับ 5.ส่ง สัญญาณ

แอค’เซินทฺ n. 1.เสียงหนัก 2.เสียงเน้น 3.เครือ่ งหมายเสียงหนัก 4.ความ เน้นหนัก

ทู prep. 1.ไปถึง 2.ถึง 3.ไปยัง 4.ไปสู่ 5.ไป ทาง 6.ไปถึง 7.มีความโน้มน้าว 8.จนถึง 9. จนกระทั่งถึง 10.บรรลุถึง

เอ,อะ adj. 1.คนหนึ่ง 2.ตัวหนึ่ง 3.อันหนึ่ง 4.-a ใช้ นําหน้าพยัญชนะ 5.-an ใช้นําหน้าคําที่ออกเสียง สระ 6.อักษรตัวแรกในภาษาอังกฤษ7.รูปตัวA 8. ชั้นหนึ่ง 9.อันดับหนึ่ง

เน’ทิฟว adj. 1.แต่กําเนิด 2.โดยกําเนิด3.ของ พื้นเมือง 4.ของท้องถิ่น 5.โดยสันดาน 6.ไม่ เปลี่ยนแปลง


28

บ่งชู้ร์ ดัดจริตทั้งที ขอให้มีกลิ่นของเขา ให้เต็มที่ อย่ากั๊กๆ ท่านใดพิมพ์ภาษาที่มีเครื่องหมาย แอค เซนท์ ต่างๆ ควรใช้ให้ถูกตามเจ้าของภาษา เลือกใช้ฟอนต์ที่สามารถส่งสําเนียงภาษาของ ชาติเขาให้ได้ อย่าให้ขายหน้า


29

TH Kodchasal : SIPA FONT Free download on www.f0nt.com ฮิ

ฮิๆๆๆ….ดูซิ ช่างขายหน้าเค้ามั้ยเนี่ย หา!...

ทาไมไม่ตรวจทานให้ดีๆ ของแบบนี้ทาให้คนเขียนติด คุกได้เลยนะ คราวหน้าคราวหลังก็ระวังให้ดๆี ก็แล กัน แต่ตอนนี้เอาเศษหน้าไปต่อเล่นๆ แล้วกันนะ... ฮิๆๆๆ….


30

ทํางานออกแบบ การพิสูจน์ อักษรก็จําเป็นมากกกก บางทีจะใส่ Drop Cap ก็ระวังกัน หน่อยยยยยยย ถ้าพลาดก็จะอาย ระดับประเทศ

ตอนนี้หนังสือพิมพ์นี้ก็โดนเบลมไปทั่ว เฟซบุคแล้ว 555555555+กกกกกก


31 Arial Black

Arial Rounded MT Bold speero

Hamburgerheaven

Inception Kimberey

Arual TR2N

Gladifilthefte Gravimetric

Alternity

Vintage

Europe Underground

London Olympics 2012

Script


32

http:// www.smashingmagazine.com/ 2010/11/04/best-practices-ofcombining-typefaces/ ข้อนี้แค่อยากจะบอกว่า งานออกแบบเชิงจัดหน้าที่ดี ไม่ควรใช้ตัวพิมพ์เกิน 3 รูปแบบ อย่าโลภอัดฟอนต์ทุกสิ่งที่มี อยู่ภายใน หน้าเดียว ทั้งนี้ก็ขึ้นกับสถานการณ์เช่นกัน ว่าจะ ใช้ฟอนต์ผสมกันอย่างไรให้กลมกล่อม ง่ายๆ เลือกฟอนต์สัก 2 ตระกูล ตัวโปรย (ธรรมดา/ หนา) และตัวดิสเพลย์เพื่อให้น่าสนใจ ก็พอแล้ว


33 Tag:

Nazalization Rg

นาซ่า,อวกาศ,ทันสมัย,หน่วยงานด้านเทคโนโลยี,ตัว หนอน (โลโก้รุ่นใหม่ของนาซ่ามีชื่อเล่นว่า ‗ตัว หนอน‘หรือ The Worm)

Daft font Tag: Daft Punk,หยาบกระด้าง,ฝีแปรง,ไร้จริต,เลอะ

TR2N Tag: Tron Legacy,ทันสมัย,อนาคต,คอมพิวเตอร์,หลอดนีออน

13:


34

http://www.f0nt.com/ forum/index.php/ topic,18199.0.html

อันไหนสาปเล่นๆ อันไหนสาปจริง แค้นจริงบางทีเรามีฟอนต์ใหม่เยอะมาก อยากจะใช้ ก็ดูหน่อยว่า มันเข้ากับเนื้อหาของงานที่ต้องการจะสื่อหรือเปล่า ไปกันได้กับ ภาพประกอบไหม การเลือกใช้แบบตัวอักษรเป็นรสนิยมส่วนตัว อาศัยประสบการณ์ การสังเกต จงใช้ความจําให้เป็นประโยชน์ ดูงานของคนอื่นก็ลองดูว่าเขาใช้ฟอนต์ได้เหมาะสมไหม อะไรดีก็จํามาประยุกต์ใช้ อะไรไม่เข้าท่าก็จงจําไว้ อย่าเอาเป็นเยี่ยง


ถ้าข้อสอบโอเน็ต เอเน็ต วัดความรู้ความสามารถและความถนัดเฉพาะตัว เอฟเน็ตก็กาํ เนิดมาเพื่อวัดรสนิยมและความเข้าใจในเนื้อหาสําหรับการเลือกใช้ฟอนต์ (โดยเฉพาะ ฟอนต์ดิสเพลย์) ซึ่งนอกจากข้อสอบเหล่านี้จะสามารถทดสอบด้านการเลือกใช้ฟอนต์ได้แล้ว ยังเป็นการวัดความสามารถในการอ่านและจินตนาการที่เกีย่ วข้องกับ เนื้อหาทีเ่ ราจะ เอาฟอนต์ไปใส่ได้ด้วย งานนี้เอาให้รกู้ ันไปเลยว่า เทสต์จะดีแค่ไหน และการอ่านจับใจความจะดีซักเท่าไร! คาสั่ง : ให้นักเรียนอ่านและพิจารณาข้อความต่อไปนี้ และพิจารณาต่อไปว่า ฟอนต์ที่ใช้ในข้อความนั้นๆ เหมาะสมกับเนื้อหาหรือไม่ (มีทั้งหมด 20 ข้อ ข้อละ 38 คะแนน) (หมายเหตุ : ฟอนต์ทั้งหมดสามารถดาวน์โหลดฟรีได้ที่ www.f0nt.com - เลขศูนย์ไมใช่ตัวโอนะจ๊ะ)

1

สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย

5

ชีวิตคือความรัก ชีวิตที่ปราศจากความรัก ไม่ใช่ชีวิต จากหนังสือ สาระแห่งชีวิต คือรักและเมตตา-พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

2

งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์

6

หนูแหวนแขนอ่อน ไปหาตามีทสี่ าเหร่ พ่อหลีเปนพี่หนูหล่อ

3

เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์

7

เธอเป็นเหมือนศัตรู เปรียบเหมือนหนามยอกใจ ใกล้กันคงไม่ได้

ลินลาดเลือ ่ นเตือนตาชม

8

4

จากเนื้อเพลง ศัตรูที่รัก ของ บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์

ศีลข้อไหนที่นกั การเมืองชอบที่สุด


9

สาระของการเดินคือการเดิน

10 พบกับแอปพลิเคชั่นใหม่บนไอแพด 2 เร็วๆ นี้

15

พบกับเวทีรำวงคอมโบ้เต็มรูปแบบ แดนเซอร์แขนอ่อนรำฟ้อนสวยงำม

16

แต่ฉันเป็นเพียง เปรียบฉันดังตะเกียง ส่องทางใกล้ๆ แค่แสงรำไร เปล่งแสง…. จากเนื้อเพลง ตะเกียง ของ สุรสีห์ อิทธิกุล

11 มหา’ลัยกาลังเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ เร็วๆ เน้-!

17

หนังสือเลขที่ 23/2554 สิ่งที่ส่งมาด้วย รายชื่อผู้เข้าร่วมสัมมนา กาหนดการณ์ และบัญชีทดลองจ่ายในการจัดสัมมนา

เคล็ดลับผิวหน้าอ่อนเยาว์แบบสาวเอเชีย ด้วยชุดผลิตภัณฑ์สารสกัดจากเยื่อเมือกปลิงทะเล

12 วิ 18 ธี การทาปุ๋ยหมักอิ นทรี ย์ชี วภาพจากเศษใบไม้

เปลือกหอยแครงป่น ไข่จิ้งจกสองหาง ขนหูหมูตัวผู้ และโปรตีนสกัดจากสะดือแมว

สมุทรสาคร แม่ฮ่องสอน นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ราชบุรี นนทบุรี 13 คอนเสิร์ตกลางสวนสาธารณะ เสาร์-อาทิตย์นี้

19

นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา ยะลา ปัตตานี ชลบุรี ศรีษะเกษ เพชรบุรี ปากีสถาน- -เฮ้ย!

14

พบกับ ลุลา ละอองฟอง ซิงกูล่าร์ เบทเทอร์เวทเทอร์

20

ตูม!!!! พลั่ก!! ฟึ่บ! วูบบบ คว้างง เฉลยที่บอร์ดฟอรั่มนะฮ้าฟววว์


35


36

ทุกคนคงจะรู้จักเจ๊มดแดง แห่งระบําดวงดาวกันดี เพราะชีชอบ ขีดเส้นใต้ ให้ น้องหวาน หวาน อยู่เสมอ แต่ในโลกของการออกแบบแล้ว มันเชยสิ้นดี เทคนิคขีดเส้นใต้เพื่อเน้นย้ําได้ถูกทดแทน ด้วยการใช้ตัวหนา ตัวเอียง มาตั้งแต่เริ่มมีโปรแกรมประมวลผลคําแล้ว ยิ่งปัจจุบัน ฟอนต์บาง ตระกูลมีน้ําหนัก และความเอียง ให้เลือกใช้นับ 10 นับ 100 เพื่อเน้นย้ํากันให้ชัดเจนมากกว่าแค่ Bold ซึ่งได้แก่ Book Black Ultra ฯลฯ ซึ่งโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่องาน Desktop Publishing จะอํานวยความสะดวกมาก เครื่องพิมพ์ดีดต่างๆ ก็ถูกโยนเข้ากรุหมด ดังนั้น ถ้าอยากให้งานของคุณดูเดิร์น อย่าได้ คิดที่จะใช้เทคนิคนี้ นอกจากว่าคุณจะอยากอยู่ในยุค วนิดา เพื่อให้อารมณ์ ย้อนยุค พีเรียด ค่อยว่ากันอีกที


๓๗


38

Rustproof Body


39

แค่อยากจะบอกว่า ถ้าจะพิมพ์ Text ยาวๆ อย่าไปใช้ฟอนต์ประดับ ฟอนต์แนวๆ ฟอนต์รุงรัง หรือฟอนต์จําพวกที่อ่านยาก สงสารคนอ่านบ้าง จะกลายเป็นว่า เขาไม่อ่านข้อความที่เราพิมพ์ เพราะปวดตา และยิ่งหากจะพิมพ์ด้วยขนาดที่เล็กมากๆ 9 pt / 8 pt ต้องเลือก ฟอนต์ที่มีความชัดเจนสูง เลี่ยงฟอนต์ที่มีคู่สับสนเยอะ เช่นพวก ขช คต บย ภถ ฯลฯ ทางที่ดีคือพิมพ์มันออกมาแล้วเอาให้คนข้างๆ คุณลองอ่านดู หาก อ่านได้ก็แสดงว่า รอด


40


41


Kerning (ช่องไฟ) นั้นเป็นศัพท์ที่นักออกแบบต้องรู้จกั โดยเฉพาะในงาน Typography ซึ่งช่องไฟในความหมาย ของนักออกแบบกราฟฟิค นั่นหมายถึงตัวอักษรแต่ละตัว ก็ มีพื้นที่ซ้ายขวาของตัวอักษรที่ต่างกัน (ด้วยตัวแปรคือ ขนาด ฟอนต์ ความกว้างของตัวอักษร และรูปแบบของฟอนต์) โดยถ้าฟอนต์มีการออกแบบมาอย่างดี ก็จะทําให้เกิด ช่องไฟสมบูรณ์ (Auto Kerning) ขึ้นมา แต่ถ้าออกแบบ ช่องไฟมาไม่สมบูรณ์ การเกิดช่องไฟก็จะขาดๆ เกินๆ เหมือนตัวอย่างในหน้าที่แล้ว ด้วยความจริงที่ว่า ฟอนต์หลายฟอนต์ไม่ได้ออกแบบ มาสําหรับช่องไฟที่สมบูรณ์ นักออกแบบกราฟฟิค จึงควร เลือกตัวอักษรที่ดี และใช้ Optical Kerning เพื่อให้ช่องไฟใน ระหว่างทุกๆ ตัวอักษรมีความสมดุลกัน ส่งผลทําให้งานนั้นๆ ดูเรียบร้อยและอ่านได้อย่างไม่ติดขัด

http:// experimentalknowledge.blogspot.com/2009/07/ k-er-n-in-spa-ce.html

http://ideas.veer.com/ features/kerninspace


42


43

ของอะไรที่เขาสร้างมาให้เราใช้งาน ก็เพราะ เขาต้องการให้เราสะดวก และได้งานที่มีคุณภาพ อย่า ไปทําเลย ไอ้ประเภทที่จะย่อหน้าด้วยการโหมเคาะ แป้นยาว เคาะ 7 เคาะ 8 เพราะคุณจะไม่มีทางได้งานที่มีย่อหน้าตรงกัน ทุกกระเบียดนิ้ว แถมยังยึกยือๆ ย่อหน้าเหลื่อมกัน เซ็ต ย่อหน้า/กั้นหน้า ให้มีความกว้างเท่ากัน พร้อมกันหมดทุกย่อหน้าก็ไม่ได้


44

จงใช้ Tab หากต้องการจะพิมพ์โคลง กลอน หรืออะไรก็ตามที่ต้องการให้บรรทัด ตรงกัน กลอนด้านบนใช้วิธีเคาะสเปซบาร์ เพื่อวรรค ด้านล่างใช้การแท็บ


45


46

อันนี้ผมมีข้อสังเกตคือเวลาเราเคาะก่อนใส่เครื่องหมายดังกล่าว เวลาตัด บรรทัดอัตโนมัติแล้ว มันชอบถูกแยกออกจากกัน คือ คําที่มีเครื่องหมาย เวลาไป อยู่ท้ายบรรทัด แล้วเครื่องหมายจะตกไปขึ้นอยู่ที่ต้นบรรทัดใหม่ ซึ่งไม่สวยงาม หรือบางทีที่ จัด Justify แล้วดันอยู่ห่างกันเกินไปอีก ซึ่งไม่สวยงามอีกเช่นกัน คนที่จะทําฟอนต์ คงต้องเพิ่มช่วงห่างด้านหน้าของตัว ( ๆ ) อีกนิด เพื่อที่จะ ได้มีระยะที่สวยงาม และหลังเครื่องหมายให้เว้นวรรคเล็ก 1 ครั้ง


47


48 ใช้ non-breaking space ระหว่างชื่อและนามสกุล ของบุคคล เรื่องนี้อาจจะยากไปสําหรับคนสามัญ แต่ก็ขอฝากไว้สักเรื่องละกันครับ เมื่อพิมพ์ชื่อเสร็จ จะพิมพ์นามสกุล อย่าเพิ่งเคาะสเปซบาร์ Windows ทั่วไป Alt+0160 Mac Option + Space Adobe InDesign ให้เรากดคําสั่ง Alt + Ctrl + x mac : Option+Command+X แทน Ms Word ให้เรากดคําสั่ง Ctrl + Shift + Space ก็จะมีที่ว่าง ซึ่งเรียกว่า non-breaking space ขึ้นมาครับ จากนั้นพิมพ์นามสกุลต่อเลย ทีนี้ เวลาเราจัดข้อความแบบ Justify ชื่อ และ นามสกุล จะอยู่ห่างจากกันเท่าเดิมเสมอ คือ 1 ระยะตัวอักษร ไม่แยกจากกันห่างเกินไป บรรทัดบนเป็นการเคาะสเปซบาร์เฉยๆ บรรทัดล่างใช้ non-breaking space ครับ หลักการนี้สามารถนําไปประยุกต์ใช้กับคําที่จําเป็นต้อง เว้นที่ว่างแต่ไม่ต้องการให้อยู่ห่างจากกันมากกว่า 1 Space ครับ


49


50

ปรับ Leading (เลดดิ้ง) ให้เหมาะสม อย่าเชื่อใจ Auto Leading เลดดิ้งแบบอัตโนมัติ ไม่ได้ถูกตั้งมาเพื่อรองรับกับ ทุกๆ ฟอนต์เสมอไป ควรทําการปรับให้เหมาะสมกับฟอนต์ ที่ใช้งานเสมอ เพื่อความสบายตาในการอ่าน บรรทัดไม่ควรแน่นติดกันจนเกินไป แต่ก็ไม่ห่างจน เหลือพื้นที่ว่างมากจนเกินไป


51

TH Srisakdi ฟอนต์นี้ออกแบบมามีหางตวัดสูงมาก ด้วยบรรทัดปกติ ก็จะทําให้ดูรกรุงรังไปเลย แต่เมื่อปรับ Leading ก็จะอ่านได้สบายตาขึ้น


52

Junicode


53

ไม่ควรใช้คําสั่งทําตัวหนา หรือตัวเอียงปลอมๆ ที่มีมาใน โปรแกรม เช่น MS Word หากฟอนต์ของคุณไม่มีชุดตัวหนา หรือ ตัว เอียง ที่ถูกออกแบบมาอย่างดี ก็พยายามอย่าฝืน เพราะมันจะดูเฟค และไม่ค่อยสวยงาม ขอบคุณเฟซบุ๊ค satit typo (อ.โรจ) ที่ทําให้ผมระลึกถึงกฎข้อนี้


54


55

ความจริงน่าจะเขียนเป็นข้อแรกๆ แต่ด้วยความคิดที่ว่า คนอ่านในนี้ส่วนมากก็เทิร์นโปรแล้ว เป็นพวกทําฟอนต์กัน ทั้งนั้น แถมยังเป็นระบบยูนิโค้ด ซึ่งปัญหานี้มันไม่น่าจะมีแล้ว ถือว่าขอฝากมือใหม่ก็แล้วกัน ใครที่ได้เข้ามาอ่าน บทความนี้ ก็ควรระวังเสมอครับ เผื่อว่าคุณไปได้ฟอนต์ที่ไม่มี มาตรฐาน มาจากแหล่งอื่นใด หรือฟอนต์ในโลกเก่าๆ ที่ แก้ปัญหานี้ยังไม่ได้ บางหน่วยงานที่ทําสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะองค์กรที่มี ชื่อเสียงมากๆ อย่างกลุ่มคอนโดฯ สถานีโทรทัศน์ ฯลฯ ไม่ควร ให้สิ่งพิมพ์ หรือรายการของตน มีข้อความประชาสัมพันธ์ที่มี วรรณยุกต์ลอย เห็นบ่อยมากกก ซึ่งถือว่าไม่มีความละเอียดพอ ปัญหาอาจเกิดเพราะ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ทํางาน ทํางานร่วมกับฟอนต์ยูนิโค้ดไม่สมบูรณ์ หรือเปล่า หรือฟอนต์ที่ใช้ ไม่สมบูรณ์ เพราะส่วนมากเห็นเป็นฟอนต์ ตระกูล P…L


56


57

โปรดระวังสิ่งต่อไปนี้ เพราะจะทําให้ข้อความของคุณไม่ น่าสนใจ 1 การพิมพ์ข้อความเยอะๆ ด้วยสีที่ฉูดฉาดตัดกับฉากหลังที่ ฉูดฉาดไม่แพ้กัน 2 พิมพ์ข้อความด้วยสีที่กลืนกับพื้นหลัง จนแยกลําบาก

ในรูปที่ยกมา คุณอาจจะยังพออ่านได้ เพราะเป็นคําสั้นๆ เป็นแค่ตัวดิสเพลย์ อาจจะยังดูสวยเก๋ แต่ถ้าเป็นข้อความยาวๆ ฟอนต์ไซส์เล็กๆ นี่สิ คงอ่านยากน่าดู และแน่นอน ว่าใครก็คงจะไม่ทนอ่านจนจบแน่ๆ


สถาบันเบาเฮาส์ คือสถาบันที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันที่ ทรงอิทธิพลอย่างมากในวงการกราฟิคดีไซน์ โดยเฉพาะกับวงการดีไซน์ แบบตะวันตก สถาบันเบาเฮาส์ก่อตัง้ ขึ้นครั้งแรกที่เมืองไวมาร์ (Weimar) ประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1919 โดยวอลเตอร์ โกรเปียส จุดเด่นของสถาบันเบาเฮาส์นนั้ ไม่ได้เพียงแต่สอนการออกแบบ กราฟิคในความหมายของศิลปะเท่านั้น แต่สถาบันยังได้รวมความเป็น วิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย เช่น การค้นคว้าเกี่ยวกับศักยภาพของวัสดุประเภท ต่างๆ และที่มีชื่อเสียงอย่างมากคือเรื่องของการศึกษาเกีย่ วกับสีและ รูปทรง ที่นักศึกษาแต่ละคนจะได้ศึกษาพืน้ ฐานเชิงวิทยาศาสตร์ด้วยกัน แต่ แยกพัฒนาไปตามความสนใจของนักศึกษาแต่ละคน โดยสถาบันจะเปิด โอกาสให้นกั ศึกษาได้เลือกในสิ่งทีต่ นเองสนใจก่อน หลังจากนัน้ จึงลงลึก ศึกษาในด้านวิชาชีพต่อไป สถาบันเบาเฮาส์ในยุคสงครามต้องย้ายที่ทาํ การหลายครัง้ เช่น ย้ายลงไปที่เมืองเดสเซา ในปี 1928 และเมื่อเข้าสู่ยุคนาซีเยอรมัน สถาบัน ได้ย้ายไปที่กรุงเบอร์ลิน จนกระทั่งปิดตัวลงในปี ค.ศ. 1933 หลังจากที่ ผู้อํานวยการคนที่สามอย่าง มีส วาน เดอ โรห์ เข้ามาเป็นผู้อํานวยการได้ เพียง 3 ปี

จิรายุ พงส์วรุตม์. กราฟิก ดีไซน์ของโปสเตอร์. สํานักพิมพ์สารคดีภาพ. กรุงเทพฯ : 2551


หลักสูตรเรื่องสี ออกแบบโดย โยฮันเนส อิกเทน ที่เบาเฮาส์ให้ความสนใจผลที่ได้ของสีเมื่อทํางานสัมพันธ์กับ รูปทรง เริ่มด้วยแม่สีปฐมภูมิ คือ แดง เหลือง น้ําเงิน วาดลงในสามเหลี่ยมที่แบ่งไว้เท่าๆ กัน จากนั้นเมื่อเอาสองสีที่ อยู่ติดกันนํามาผสมกัน จะได้สีใหม่ที่อยู่ด้านบนของคู่สีนั้น (ดูที่ภาพประกอบ) จะทําให้เกิดวงจรสีรูปเหลี่ยมขึ้น และ เมื่อสร้างวงจรรูปวงกลมขึ้นและผสมสีก็จะได้สีใหม่อีก 12 สีในวงจรวงกลม กลายเป็นพื้นฐานของการผสมสีต่อไป สภาวะแตกต่าง (Contrast) ของสีตามที่สถาบันเบาเฮาส์ได้ศึกษาทางวิทยาศาสตร์ มีดังนี้ 

ความต่างของเนื้อสี ซึ่งเป็นส่วนที่เรียบง่ายที่สุด เช่น สีเหลือง แดง น้ําเงิน จะเป็นความต่างของเนื้อสีที่ชัดเจนที่สุด

ความสว่าง-มืด เป็นความต่างระหว่าง กลางวัน-กลางคืน ความสว่าง-ความมืด และในระหว่างนั้นก็จะมีสีเทา ปรากฏขึ้นด้วย

ความเย็น-อุ่น ในเชิงจิตวิทยา เมื่อให้คนเข้าไปอยู่ในห้องที่ทาสีห้องในโทนน้ําเงินกับโทนแดง-ส้ม จะมีความรู้สึก ต่ออุณหภูมิในห้องแตกต่างกัน ทั้งๆ ที่อุณหภูมิจริงเท่าๆ กัน

ความต่างที่เอื้อกัน เมื่อสีสองสีถ้าผสมกันแล้วให้ผลเป็นเทากลางจะเป็นสีที่เอื้อกัน หรือแสงของสีนี้ถ้าผสมกันแล้ว จะได้แสงสีขาว ดังนั้น ถ้านํามาจับคู่กันจะได้ความต่างของสีที่เจิดจ้า

ความแตกต่างแบบคู่กัน เมื่อมองสีอีกสีหนึ่ง สายตาของคนเราจะต้องการอีกสีหนึ่งเพื่อช่วยในการมองเห็น ถ้าสี นั้นไม่ได้ปรากฏขึ้นมา

ความต่างจากความอิ่มของสี เป็นเรื่องของคุณภาพของสี หรือดีกรีความบริสุทธิ์ของสีนั่นเอง โดยการเจือจางด้วยสี ขาว เทา ดํา หรือคู่สีที่เอื้อกัน ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นกับความอิ่มของสี

ความต่างจากการขยายตัวของพื้นที่สี เกิดจากการขยายพื้นที่ของสีที่วางคู่กันให้มากกว่าและน้อยกว่าในปริมาณ ที่ต่างกัน ก็จะได้ผลที่แตกต่างกันออกไปตามปริมาณนั้นๆ


อิกเทนพยายามนําผลความต่างทั้งเจ็ดนี้มาออกแบบเป็นไดอะแกรม 3 มิติขึ้น เพื่อเป็นคู่มือทําความเข้าใจ โดยที่สร้างแถบสีไล่โทนขาว-ดํา รูปวงกลมทางตั้งขึ้น และสร้างแถบสีที่เป็นการไล่โทนของ 12 สีขึ้นมาตัดกันทางนอนก็จะได้วงจรตัดกัน ของค่าสีที่สามารถเติมให้เต็ม กลายเป็นรูปวงกลมขึ้นด้วยการไล่ระดับค่าสีและ น้ําหนักขาว-ดําไปตามตําแหน่ง และเมื่อต้องแสดงเป็นภาพในครั้งเดียวไม่สามารถ แสดงให้เห็นทุกด้านพร้อมกันได้ อิกเทนก็จับวงกลมนี้คลี่ออกเป็นรูปดาว 12 แฉกที่มี คู่สีตามที่ได้ผสมกันขึ้นมา จากนั้นจึงนําไปใช้ตามทัศนะของศิลปินและนักออกแบบ แต่ละบุคคล ทั้งนี้ถ้าเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่จะผสมผสานวิทยาศาสตร์ของสีที่เป็น เรื่องตรรกะทางวิทยาศาสตร์ (Objective) เข้ากับการแสดงออกส่วนบุคคลที่เป็น ส่วนตัว (Subjective)


58 TR2N

TR2N

The Grid. A digital frontier. I tried to picture clusters of information as they moved through the computer. What did they look like? Ships, motorcycles? Were the circuits like freeways? I kept dreaming of a world I thought I' d never see. And then, one day. . . i got in ! Tron Legacy [ 2010]


59

ระบบกริดช่วยทําให้การจัดวาง Typography เป็นระเบียบ สะอาดตา และชวนอ่าน กริดเป็นหลักการง่ายๆ ที่สามารถประยุกต์ได้ 108 และทําให้งานของคุณมีมาตรฐาน


60

นําไปประยุกต์กับงานรูปแบบต่างๆ ทั้งเว็บ หรือ สิ่งพิมพ์


61


แม้แต่มือโปรระดับโลก ก็ยังไม่ลืมเหลียวแลกริด! โปสเตอร์นี้เป็นผลงานชนะเลิศการออกแบบโปสเตอร์สําหรับงาน นิทรรศการของสถาบันเบาเฮาส์ใน ค.ศ. 1923 ซึ่งออกแบบโดย จูสต์ ชมิตต์ งานทั้งชิ้น สร้างด้วยการนํารูปทรงเรขาคณิตมาประกอบกันด้วย ระนาบ 2 มิติ ตราสัญลักษณ์ที่ออกแบบเมื่อปี 1922 ถูกนํามากลับด้าน ตัวอักษรตามจุดต่างๆ กันเช่น คําว่า STAALICHES และเบาเฮาส์ถูก ออกแบบให้มีขนาดและสีที่แตกต่างกัน วางอยู่ภายใต้เส้นโค้งวงกลม เดียวกัน ตัวอักษรบอกเดือน JULI SEPT ขยายขนาดตัวอักษรให้พอดีกับเนื้อ ที่ เช่นเดียวกับคําว่า WEIMAR และ AUSSTELLUNG ที่ยดึ แนวเดียวกับเส้น เรขาคณิต แม้รูปทรงทั้งหมดจะวางตัวเฉียงกับหน้ากระดาษแต่องค์ประกอบ ตัวอักษรทีท่ ํางานร่วมกันเป็นมุมฉากทําให้เห็นระบบเหตุผลที่ยังคงเป็น แนวคิดหลัก ความต่อเนื่องกันขององค์ประกอบแต่ละชิ้นตัดขาดออกจาก กันด้วยสีและพืน้ ทีว่ ่าง ทําให้สามารถมองทะลุเห็นพืน้ ทีว่ ่างที่เป็นฉากหลัง และสร้างเส้นกริดที่มองไม่เห็นแต่สัมผัสได้ขึ้นมานําสายตา

จิรายุ พงส์วรุตม์. กราฟิกดีไซน์ของโปสเตอร์. สํานักพิมพ์สารคดีภาพ. กรุงเทพฯ : 2551


62


63

ห้ามมมมมมมม มม!!! ใช้ Tahoma โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาไทย เป็นตัว เนื้อความ หรือเป็น ตัวดิสเพลย์ หาก คุณต้องการให้งาน ของคุณมีคุณค่า มี ราคา มีคุณภาพ จง ลืม System Font ที่ แห้งแล้ง ห่อเหี่ยว ไร้ซึ่ง ความงาม และ ความโดดเด่น เหล่านี้ไปเสียเถิด ฟอนต์ดีๆ ฟรีๆ มี เยอะแยะ หรือใคร อยากจะใช้ฟอนต์นี้ ในเชิงเสียดสี ก็ไม่ว่า กัน

สาหรับ ภาษาอังกฤษ ถ้าคิด ฟอนต์ไม่ออก ลองใช้ฟอนต์เหล่านี้ เพราะเป็นฟอนต์ที่ ผ่านการทดสอบ มา จากหลายที่ว่า อ่าน ได้ง่าย และมี รูปลักษณ์ที่สวยงาม

http://www.f0nt.com/forum/index.php/topic,18197.0.html สาหรับภาษาไทย http://www.f0nt.com/release/13-free-fonts-from-sipa/ และ http://rapidshare.com/files/287155138/TF_Font.rar สมบูรณ์ในฟีเจอร์โอเพ่นไทป์มากกว่า


ทาโฮมาเป็นฟอนต์ที่ออกแบบโดย แมธทิว คาร์เตอร์ แห่งบริษัทไมโครซอฟท์คอร์เปอเรชั่นในปี ค.ศ.1994 เพื่อบรรจุไว้ในระบบของ Windows 95 พร้อมๆ กับ Verdana โดยมีลักษณะที่คล้ายๆ กันคือ มี เส้นตั้งแคบ มีระยะห่างตัวอักษร (ช่องไฟ) มาก และเป็นฟอนต์ในระบบยูนโิ ค้ด โดยในการออกแบบครั้ง แรก ตัวฟอนต์มีทั้งตัวอักษรแบบบิตแมป และอักษรแบบ Truetype เอาท์ไลน์ ฟอนต์นี้มีจุดเด่นคือมี น้าหนักของเส้นสีดามาก ทาให้มีขอ ้ ได้เปรียบกว่าตัวอักษรอื่นๆ เช่น Arial ในการแสดงผลบนหน้าเว็บเพจ ฟอนต์ทาโฮมาเป็นตัวอักษรอย่างเป็นทางการที่มากับระบบวินโดวส์มาโดยตลอด เช่น Office 97 , Office 2000 และ Office XP ,โดยเป็นตัวอักษรแสดงผลพื้นฐานใน Windows 2000 , Windows XP , และ Windows Server 2003 (แทนที่ Sans Serif MS ) และยังใช้ในระบบเกมคอนโซล Dreamcast ของ Sega และ Skype ในปี 2007 แอปเปิ้ล ประกาศว่าฟอนต์ Tahoma จะมาพร้อมกับระบบ Mac OS X v10.5 Leopard ด้วย โดยก่อนหน้านี้ ฟอนต์ทาโฮมาเป็นฟอนต์ทม ี่ ีแต่ในเฉพาะระบบวินโดว์ เช่นเดียวกับ Microsoft Sans Serif , Arial Unicode และ Wingdings ชื่อของฟอนต์ที่เรียกกันว่าทาโฮมานั้น มีที่มาจากชนพื้นเมือง ที่เรียกชือ ่ เล่นของภูเขาสตราโตโวลเค โน (Stratovolcano Mount) ว่า Mount Tahoma ซึ่งอยู่ทางใต้ของเมืองท่าซีแอทเทิล มลรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา

http://en.wikipedia.org/wiki/Tahoma_(typeface) http://typedia.com/explore/typeface/tahoma/


64


65

ข้อก่อนๆ เคยบอกให้เลี่ยงการขีดเส้นใต้ แต่ข้อนี้ขอเพิ่มเติม สําหรับพวกหัวโบราณละกัน หากต้องการขีดเส้นใต้ให้เทคนิคแบบ พิมพ์ดีด ควรใส่สโตรก หรือขอบนอก (ใช้สีเดียวกับสีแบ็คกราวน์) ให้ ตัวอักษรของคุณด้วย เพื่อที่เส้นใต้จะได้ไม่ทับ หางพยัญชนะที่มีช่วงต่ํา เช่น ฤ ฎ หรือ สระ อุ อู รวมถึง j y g p q เป็นต้น

การนําหลักการนี้ไปใช้


66


67


68


69


70

http://www.pixsk.net/pboard/ index.php?topic=628.0


71


72

―Puzzle‖


73

ระวังการใช้ อัญประกาศ หรือ Quotation Mark ทั้งเดี่ยวและคู่ อย่าใช้สับกัน กับเครื่องหมาย นิ้ว (") และ ฟุต (')ส่วนประโยคภาษาอังกฤษ หากมี , คอมม่า หรือ . ฟูลสต็อป ให้วางก่อนปิดเครื่องหมายอัญประกาศ


อัญประกาศ หรือ เครื่องหมายคําพูด เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากล ใช้เขียนสกัดข้างหน้าและข้างหลังของ อักษร คํา วลี หรือ ประโยค ที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ ให้ดูแตกต่างจากข้อความที่อยู่รอบข้าง ลักษณะคล้ายลูกน้ําแต่เขียนไว้ข้างบน (บางภาษาเขียนไว้ ข้างล่างก็มี) มักเขียนเป็นคู่เรียกว่า อัญประกาศคู่ ข้างหน้าเขียนหัวคว่ํา ข้างหลังเขียนหัวหงาย ( “ ” ) หรือปรากฏเป็น อัญประกาศเดี่ยว ( „ ‟ ) บางครั้งอาจพบการใช้ขีดตั้งเล็ก ๆ เพื่อความสะดวก ( " " หรือ ' ' ) การใช้งานใช้เขียนสกัดตัวอักษร หรือ คา เพื่อให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ เช่น :

ตัว "นอ" มี 2 ชนิด คือ ณ และ น

หล่อนได้รับสมญาจากสังคมว่า "ผู้ดีแปดสาแหรก"

"สามก๊ก" กล่าวถึงคนสําคัญ สามก๊ก

ใช้สกัดข้อความที่เป็นความดาริตริคิด เช่น :

ฉันคิดว่า "เอ ! นี่เราก็เป็นลูกผู้ชาย เหตุไฉนจึงไม่พยายามทําสิ่งที่เป็นประโยชน์" คิดดังนี้แล้ว ฉันก็เริ่มเขียนตําราหลักภาษาไทย

เขาดําริว่า "ฉันเป็นคนไทย , ฉันต้องสร้างชาติไทยให้เจริญ"

http://th.wikipedia.org/wiki/อัญประกาศ


ใช้สกัดข้อความที่เป็นคาสนทนาปราศรัย เช่น :

แดงถามว่า "แป๊ว, หนูรักอะไรมากที่สุด ? " "ผมรักชาติไทยมากที่สุด" แป๊วตอบ

"นอกจากชาติไทยแล้ว หนูรักใครอีก" "รักพระพุทธเจ้า, คุณพ่อ, และคุณแม่"

"หนูรักพี่ไหม" แดงถาม "รัก" แป๊วตอบ

ใช้สกัดข้อความที่นามาจากที่อื่น หรือ เป็นคาพูดของผู้อื่น เช่น :

ในบาลีไวยากรณ์ ตอนอักขรวิธี มีข้อความอยู่ตอนหนึ่งว่า "เนื้อความของถ้อยคํา ทั้งปวง ต้องหมายรู้กันด้วยอักขระ ถ้าอักขรวิบัติแล้ว ก็ เข้าใจเนื้อความยาก"

ฉันชอบพระพุทธโอวาทที่ว่า "ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย"

ถ้ามีส่วนที่เน้นซ้อนกันสองชั้น ชัน้ นอกที่สุดให้ใช้อญ ั ประกาศคู่ "..." ส่วนชัน้ ในให้ใช้อัญประกาศเดี่ยว '...' ไม่ควรใช้ซ้อนกันมากกว่าสอง ชั้น เพราะอาจทาให้สับสนได้ ตัวอย่างเช่น :

นักเรียนคนหนึ่งเล่าให้ครูฟังว่า "ผมมีน้องชาย 2 คน เป็นเด็กช่างพูดทั้งคู่ พอเห็นผม กลับไปบ้าน น้องคนเล็ก มักพูดกับคุณแม่ว่า 'คุณ แม่ครับ, พี่แป๊วกลับจากโรงเรียนแล้วครับ' แล้วแกก็วิ่งมารับผม และขอให้ผมเปิดรูปภาพในหนังสือให้แกดู"

การเขียนอัญประกาศ ควรเว้นวรรคก่อนอัญประกาศเปิดหนึ่งเคาะ หลังอัญประกาศปิดหนึ่งเคาะ ส่วนข้อความภายในให้เขียนติดกับ อัญประกาศ เช่น xxx ―yyy‖ xxx


74


75

บางครั้งเมื่อต้องพิมพ์เศษส่วน เช่น ตําราอาหาร การใช้ฟีเจอร์ของ Opentype จะทําให้เศษส่วนสวยงามขึ้น ** เฉพาะฟอนต์ที่ให้ฟีเจอร์นี้มาด้วยเท่านั้น


76


77

บางทีเรามักจะกดแป้น จุด จุด จุด ... เพราะแป้นเราไม่มี จุดไข่ปลา … (Ellipsis) นี่ หว่า ใจเย็นๆ เรามีทางเลือกให้ท่าน อิอิ แค่กด Alt+0133 (วินโดว์ส) หรือ Option+; (แมค) ก็จะได้จุดไข่ปลาแบบออริจินัล สมใจ แต่ฟอนต์ โอเพ่นไทป์ หลายฟอนต์ใส่ฟังก์ชั่นมาเพื่อให้เปลี่ยนได้เอง เราจึงไม่ต้อง กังวล หลายโปรแกรมเราก็สามารถตั้งค่าเปลี่ยนอัตโนมัติได้


จุดไข่ปลา (ellipsis) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปจะเขียนเพียงสามจุด หากเขียนเยอะกว่านั้นจะเรียกว่า เส้นประ, จุดประ, ประจุด มีการใช้ดังนี้ ใช้ละประโยคหรือข้อความที่ยาวมากๆ ไม่สามารถแสดงทั้งหมดได้ในพื้นที่ที่จากัด 

ความงดงาม และสีสันของพันธุ์พืชไม้ ต้นไม้ ดอกไม้ ช่วยให้ผู้ดูสบายตาสบายใจ ปัจจุบันมีผู้ปลูกไม้ดอกไม้ประดับเป็นงานอดิเรก รวม ถึงเพื่อเป็นการประดับตกแต่ง ...

ใช้ละลาดับรายการ เหมือนการใช้ไปยาลใหญ่ 

อักษรในภาษาอังกฤษประกอบด้วย A B C ... Z

จงหาผลรวมของตัวเลข 1 2 4 8 ... 1024

ใช้อ้างถึงส่วนหนึ่งของข้อความที่ยกมาจากที่อื่น โดยใส่จุดไข่ปลาทั้งหน้าและหลัง อาจใช้ตัวเอนประกอบในการพิมพ์ 

... ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น ...

สาหรับเส้นประ ใช้เพื่อเว้นที่ว่างให้เติมตัวอักษร 

ชื่อ .................. นามสกุล ................. http://th.wikipedia.org/wiki/จุดไข่ปลา


[78]


79

ไม่ใช้เครื่องหมายวงเล็บ ( ) [ ] { } เป็นตัวเอียง Today’s Type Tip is from Bringhurst’s The Elements of Typographic Style, where he suggests using the roman or upright version of parentheses and square brackets, even if the text itself is set in italic. อันนี้เห็นในหนังสือฝรั่ง ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าพอมันเอา มาใช้กับภาษาไทยแล้วมันจะเวิร์คมั้ยเนี่ย มาเซ็ตเป็นตัวๆ ก็ตายนะ 555+ เอาเป็นว่า ถ้าข้อความไม่ยาวมาก หรือใช้เป็นพาด หัวก็ลองเอามาปรับใช้กันได้ (จุกจิกเกินไปเนาะ จะเอามา ลงทําไมเนี่ย) ทั้งนี้ หลายๆ ฟอนต์ก็ออกแบบเครื่องหมายกลุ่มนี้ ให้ไม่เอียงมาก ก็พิจารณาตามความเหมาะสมเด้อพี่น้อง

ที่มา


นขลิขิต หรือ วงเล็บ ( ) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง มีลักษณะโค้งเหมือนรอยเล็บ เครื่องหมายด้านซ้ายเรียกว่า วงเล็บเปิด ส่วนด้านขวาเรียกว่า วงเล็บปิด (สําหรับภาษาที่เขียนจากขวาไปซ้ายก็จะเรียกกลับกัน) ปกติใช้สําหรับคลุมข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น การใช้งานใช้ขยายหรืออธิบายความที่อยู่ข้างหน้า ซึ่งการตัดข้อความในวงเล็บออกก็ไม่ได้ทาให้เนื้อความเสียไป 

ตําบลพระยาไกร อําเภอยานนาวา จังหวัดพระนคร (ปัจจุบันคือ แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร)

ใช้ขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อลดความกากวม 

พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)

เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ใช้กากับหัวข้อย่อย ซึ่งอาจเป็นตัวอักษรหรือตัวเลข สามารถใช้วงเล็บปิดเพียงอย่างเดียวก็ได้ 

(ก) (ข) (ค) (ง)

1) 2) 3)

http://th.wikipedia.org/wiki/นขลิขิต


ใช้คลุมตัวระบุเชิงอรรถหรือการอ้างอิง 

เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใดพี่เอย (๑)

ประเพณีเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรม [3]

สาหรับวงเล็บเหลี่ยม ใช้คลุมข้อความที่เติมขึ้นเองในการยกอ้างอิงคากล่าวเพื่อให้อธิบายความหมายได้ดีขึ้น 

"ขายอย่าให้แพง คนเขาจะได้กินลง ฉันขาย [ปลาที่ปู่เย็นหาได้] ถูกๆ เอาไปเถอะ ซื้อไปแกงให้พอหม้อ"

"I appreciate it [the honor], but I must refuse"

"Yf they say the mone is belewe / We must believe that it is true [If they say the moon is blue, we must believe that it is true]"

มีการใช้ […] แทนส่วนที่ถูกตัดทิ้งไประหว่างกลาง และ [sic] สําหรับจุดที่สะกดคําผิดพลาดตามต้นฉบับ ในทางคณิตศาสตร์ และการเขียนโปรแกรม นขลิขิตมักจะหมายถึงส่วนที่มีความสําคัญ ต้องดําเนินการก่อน (2 + 4) × 3 = 6 × 3 = 18 $ch = 0x80 | ($codepoint >> 6) & 0x3f; ทั้งนี้ไม่รวมถึงไวยากรณ์เฉพาะของแต่ละภาษาที่ใช้วงเล็บชนิดต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งของไวยากรณ์ การเขียนวงเล็บ ควรเว้นวรรคก่อนวงเล็บเปิดหนึ่งเคาะ หลังวงเล็บปิดหนึ่งเคาะ ส่วนข้อความภายในให้เขียนติดกับวงเล็บ [1] เช่น xxx (yyy) zzz


French, Nigel (2010). InDesign Type: Professional Typography with Adobe InDesign, 2nd Edition,Berkeley, CA: Adobe Press.

แหล่งอ้างอิงดั้งเดิม

Salz, Ina (2009). Typography Essential: 100 design principle for working with type. Beverly, MA: Rockport. Spiekermann, Erik and E.M. Ginger (2002). Stop Stealing Sheep & Find Out ขอขอบพระคุณแหล่งฟอนต์ที่ใช้ในหนังสือนี้ How Type Works. Berkeley, CA: Adobe www.F0nt.com Press. www.dafont.com



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.