Political Philosophy VSI preview

Page 1


ปรัชญาการเมือง: ความรู้ฉบับพกพา • เกษียร เตชะพีระ แปล จากเรื่อง Po l i t i c a l P hi l os o phy : A V e r y S hor t I n t roduct ion โดย D a v i d M i l l e r พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ op e n wo r l d s, สิงหาคม 2560 ราคา 265 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ อภิรดา มีเดช ศิลปกรรม กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ ยุทธภูมิ ปันฟอง ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภาคย์ มหิธิธรรมธร • บรรณาธิการเล่ม วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ บรรณาธิการต้นฉบับ อภิรดา มีเดช ออกแบบปก ยุทธภูมิ ปันฟอง • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 - 2 6 1 8 - 4 7 3 0 e- ma i l : o p e n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c o m fa c e b ook : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w o r lds tw i t t e r : w w w . t w i t t e r . c o m / o p e n w o r l d s B KK website: www.openworlds.in.th จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6 - 9 w e bs i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 0-2618-4730 และ 09-7174-9124 หรือ e - ma il: o p e n w o rld st h a ila n d @ g m ail.c om

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ มิลเลอร์, เดวิด. ปรัชญาการเมือง: ความรู้ฉบับพกพา.-- กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส, 2560. 240 หน้า. 1. การเมือง--ปรัชญา. I. เกษียร เตชะพีระ, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 320.01 ISBN 978-616-7885-55-1 • Thai language translation copyright 2017 by openworlds publishing house /Copyright © 2003 by David Miller All Rights Reserved. Political Philosophy: A Very Short Introduction, by David Miller was originally published in English in 2003. This translation is published by arrangement with Oxford University Press th ro u g h T u ttle- M o r i A g e n c y C o . , L t d . The Thai edition is translated by Kasian Tejapira and published by o p e n wo rld s p ub l i s h i n g h o u s e , 2 0 1 7 . ปรัชญาการเมือง: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 2003 แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด ตามข้อตกลงกับสำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ภาพปก: The School of Athens/Wikimedia Commons



สารบัญ

. ค�ำน�ำ : 11 1. ท�ำไมเราถึงต้องมีปรัชญาการเมือง? : 14 2. อ�ำนาจหน้าที่ทางการเมือง : 42 3. ประชาธิปไตย : 72 4. เสรีภาพกับขอบเขตจ�ำกัดของการปกครอง : 100 5. ความยุติธรรม : 130 6. สตรีนิยมและพหุวัฒนธรรมนิยม : 160 7. ชาติ รัฐ และความยุติธรรมระดับโลก : 194 บทอ่านต่อ : 228 ประวัติผู้เขียน : 238 ประวัติผู้แปล : 239


สารบัญภาพประกอบ

.

1 ผู ้ ป กครองที่ ท รงธรรมจาก อุ ป มานิ ทั ศ น์ แ ห่ ง การปกครองที่ ดี กั บ เลว โดยอัมโบรโจ โลเรนเซ็ตติ Palazzo Pubblico, Siena. Photo © Archivio Iconografico S.A./Corbis 20 2 เพลโตกับโสกราตีส ภาพด้านในปกโดยแมทธิว ปารีส (มรณะ ปี 1259) ส�ำหรับหนังสือ ค�ำพยากรณ์โรคของกษัตริยโ์ สกราตีส The Bodleian Library, University of Oxford, shelfmark MS. Ashm, 304, fol. 31v 33 3 โธมัส ฮอบส์ ผู้ปกป้องอ�ำนาจหน้าที่ทางการเมือง © Michael Nicholson/ Corbis 51 4 พวกอนาธิปไตยมองอ�ำนาจหน้าที่ทางการเมืองเช่นใด การ์ตูนรัสเซีย ปี 1900 60 5 เทพีแห่งประชาธิปไตยเผชิญหน้าภาพถ่ายของเหมาเจ๋อตง ณ จัตุรัส เทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง © Jacques Langevin/Corbis Sygma 76 6 วิธีหนึ่งในการเสริมพลังประชาธิปไตย นักการเมืองทั้งหลาย ระวังตัว ให้ด!ี ภาพการ์ตูนโดยเดวิด โลว์, 5 กันยายน 1933 © Evening Standard/ Centre for the Study of Cartoons & Caricature, University of Kent, Canterbury 84


7 ฌอง-ฌากส์ รูสโซ นักปรัชญาแห่งระบอบประชาธิปไตย Musée Antoine Lecuyer, Saint-Quentin, France. Photo © Bettmann/Corbis 92 8 ทรรศนะเรื่องเสรีภาพอันเป็นที่โต้แย้งกัน ปี 1950 © Daily Herald/Centre for the Study of Cartoons & Caricature, University of Kent, Canterbury 109 9 ไอซายาห์ เบอร์ลิน นักปรัชญาว่าด้วยเสรีภาพที่มีผู้อ่านงานของเขา กว้างขวางทีส่ ดุ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาพถ่ายโดยดักลาส กลาส © J. C. C. Glass 112 10 จอห์น สจ๊วต มิลล์ นักประโยชน์นิยม นักสตรีนิยม ผู้ปกป้องเสรีภาพ © Corbis 122 11 เทพีแห่งความยุติธรรมในภาพ อุปมานิทัศน์แห่งการปกครองที่ดีกับเลว โดยอัมโบรโจ โลเรนเซ็ตติ Palazzo Pubblico, Siena. Photo © Archivio Iconografico S.A./Corbis 133 12 จอห์น รอลส์ ผู้ประพันธ์หนังสือ ทฤษฎีความยุติธรรม อันทรงอิทธิพลยิ่ง ภาพวาดสะสมส่วนตัว 155 13 ราคาของการปลดปล่อยสตรี เอมเมอลีน แพงก์เฮิร์สต์ นักเรียกร้อง สิทธิเลือกตั้งของสตรี ถูกจับกุมนอกพระราชวังบักกิงแฮม ปี 1914 © 2003 TopFoto.co.uk/Museum of London/HIP 169 14 ชาวมุสลิมเผาหนังสือ The Satanic Verses ที่เมืองแบรดฟอร์ด สหราชอาณาจักร ปี 1989 © Corbis Sygma 178


สารบัญภาพประกอบ

.

15 ความบรรสานกลมกลืนกันทางพหุวฒ ั นธรรมในงานคาร์นวิ าลน็อตติงฮิลล์ ปี 1980 © Hulton Archive 190 16 ชาวแคนาดารณรงค์เพือ่ เอกภาพแห่งชาติตอ่ ต้านลัทธิแยกดินแดนควิเบก ณ นครมอนทรีออล ปี 1995 © Kraft Brooks/Corbis Sygma 200 17 การต่อต้านโลกาภิวตั น์แบบอเมริกนั ณ ประเทศลัตเวีย ปี 1996 © Steve Raymer/Corbis 211 18 สิทธิมนุษยชนสากล ดารานักแสดง จูลี คริสตี กับไซ กรานต์ ระลึกวัน สิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ © Hulton Archive 223 ผู้พิมพ์และผู้เขียนใคร่ขออภัยหากมีข้อผิดพลาดหรือตกหล่นอันใด ในรายการภาพประกอบข้างต้น หากได้รับการติดต่อแจ้งไป พวกเขายินดี จะแก้ไขให้ถูกต้องในโอกาสด่วนที่สุด




A Very Short

Introduction

11

ค�ำน�ำผู้เขียน

.

ผมอยากให้หนังสือเล่มนี้ทำ�ให้ปรัชญาการเมืองเป็นเรื่อง ดึงดูดความคิดจิตใจและเข้าถึงได้สำ�หรับผู้คนที่ไม่เคยประสบ พบพานมันมาก่อนเลย และดังนั้นผมจึงเพียรพยายามเขียน ให้เรียบง่ายที่สุดเท่าที่เขียนได้โดยไม่ให้เนื้อหาคลาดเคลื่อนไป การอธิบายความคิดที่ค่อนข้างนามธรรมบางอย่างโดยไม่เผลอ หลุดศัพท์แสงเทคนิคเฉพาะวงการออกมาอันเป็นตัวการทำ�ให้ งานเขียนวิชาการมากหลายทุกวันนีท้ มึ่ มะลือ่ ทือ่ น่าเบือ่ นัน้ กลาย เป็นงานท้าทายที่น่าสนใจจริงๆ ผมสำ�นึกตื้นตันใจยิ่งที่เพื่อนฝูง วงการต่างๆ ยอมช่วยอ่านต้นฉบับร่างแรก ให้กำ�ลังใจผมโดย ทั่วไปพร้อมทั้งมอบข้อเสนอแนะที่เป็นคุณหลายประการ ไม่ว่า เกรแฮม แอนเดอร์สัน, จอร์จ บราวน์, ซู มิลเลอร์, เอแลน พูล และอาดัม สวิฟต์ รวมทั้งผู้อ่านตรวจสองท่านจากสำ�นักพิมพ์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ผมใคร่ขอขอบคุณโซเฟีย สเต็มโพลว์สกา ที่ให้ความช่วยเหลืออย่างประมาณค่ามิได้ในการเตรียมต้นฉบับ ร่างสุดท้ายด้วย



ปรัชญาการเมือง •

ความรู้ฉบับพกพา

POLITICAL PHILOSOPHY • A Very Short Introduction by

David Miller

แปลโดย

เกษียร เตชะพีระ


บทที่ 1

/ ทำ�ไมเราถึงต้องมีปรัชญาการเมือง?


A Very Short

Introduction

15

นี่ เ ป็ น หนั ง สื อ เล่ ม เล็ ก ว่ า ด้ ว ยเรื่ อ งใหญ่ และเนื่ อ งจาก ค�ำพังเพยว่าไว้วา่ ภาพหนึง่ ภาพแทนค�ำพูดนับพันค�ำ ผมจึงอยาก เริม่ ต้นหนังสือเล่มนีโ้ ดยพูดถึงภาพขนาดใหญ่มากภาพหนึง่ ทีจ่ ะ ช่วยให้เราเห็นได้วา่ ปรัชญาการเมืองนัน้ เกีย่ วกับเรือ่ งอันใด ภาพ ทีว่ า่ นีถ้ กู วาดขึน้ ระหว่างปี 1337-1339 โดยอัมโบรโจ โลเรนเซ็ตติ (Ambrogio Lorenzetti) และกินเนื้อที่ครอบคลุมผนังสามด้าน ของนวกศาลาในวังมหาชน (Sala dei Nove, Palazzo Pubblico) ของเมืองซีเอนา ประเทศอิตาลี ปกติแล้วมักเรียกภาพนีว้ า่ อุปมา นิทัศน์แห่งการปกครองที่ดีกับเลว และสิ่งที่ภาพปูนเปียกของ โลเรนเซ็ตติท�ำก่อนอื่นก็คือจ�ำลองภาพธาตุแท้ของการปกครอง ที่ ดี กั บ เลวตามล� ำ ดั บ โดยผ่ า นบุ ค ลาธิ ษ ฐานที่ เ ป็ น ตั ว แทน คุณสมบัติซึ่งผู้ปกครองสมควรหรือไม่ควรจะมี แล้วจากนั้นก็ แสดงผลของการปกครองสองประเภทนั้นที่มีต่อชีวิตของปุถุชน ฉะนั้นในกรณีของการปกครองที่ดี เราจึงเห็นผู้ปกครองอันทรง เกียรติแต่งกายด้วยเสือ้ ผ้าอาภรณ์วจิ ติ รอลังการนัง่ อยูบ่ นบัลลังก์ ของตน ห้อมล้อมด้วยบุคลาธิษฐานซึ่งแทนคุณธรรมประการ


16

Political

Philosophy

ต่างๆ ได้แก่ ความกล้าหาญ ความยุตธิ รรม ความใจกว้างเอือ้ เฟือ้ เผื่อแผ่ สันติภาพ ความสุขุมรอบคอบ และการมีสติเหนี่ยวรั้ง ประมาณตน เบื้องล่างเขามีพลเมืองยืนเรียงเป็นแถวล้อมวง ด้วยเชือกยาวซึ่งปลายเชือกผูกเข้ากับข้อมือของผู้ปกครอง เป็น สัญลักษณ์แสดงสายใยผูกพันเชือ่ มโยงอันสอดบรรสานกลมกลืน กันระหว่างผู้ปกครองกับประชาชน เมื่อเราหันไปมองทางขวาก็ จะเห็นภาพที่โลเรนเซ็ตติจ�ำลองผลของการปกครองที่ดีซึ่งมีต่อ เมืองในล�ำดับแรกและต่อชนบทในล�ำดับถัดไป เมืองเป็นระเบียบ เรียบร้อยและมั่งคั่งไพบูลย์ เราเห็นช่างฝีมือก�ำลังขะมักเขม้น ท�ำงาน พ่อค้าซื้อขายสินค้า ขุนนางขี่ม้าที่ตกแต่งประดับประดา อย่างวิลิศมาหรา และยังมีคณะระบ�ำจับมือร่ายร�ำเป็นวงอยู่อีก ทางหนึ่ง พ้นประตูเมืองออกไป มีสตรีแต่งกายประณีตนางหนึ่ง ขี่ม้าไปล่าสัตว์ผ่านสุกรตัวอวบอ้วนที่ก�ำลังถูกบรรทุกบนหลังม้า ไปขายที่ตลาด ส่วนในชนบทเองนั้น ชาวนาชาวไร่ก�ำลังพลิกฟื้น ผืนดินและเก็บเกีย่ วผลผลิต เผือ่ ว่าจะมีผชู้ มคนใดไม่เข้าใจสาส์น ที่ภาพปูนเปียกนี้มุ่งจะสื่อ สาส์นดังกล่าวได้ถูกระบุบอกออกมา บนผืนผ้าที่ถูกยกชูขึ้นโดยบุคลาธิษฐานติดปีกอันเป็นตัวแทน ความมั่นคงว่า ใครใคร่ เ ดิ น ทางก็ อ าจเดิ น ทางได้ อ ย่ า งเสรี โ ดยไม่ ต ้ อ ง หวาดกลัว และแต่ละคนก็อาจไถดินหว่านพืชได้ตราบเท่าที่ ชุ ม ชนนี้ ยั ง คงธ� ำ รงรั ก ษาพระนางเจ้ า องค์ นี้ เนื่ อ งจาก พระนางได้ พ รากเอาอ� ำ นาจทั้ ง ปวงไปจากคนชั่ ว ร้ า ย โดยสิ้นเชิง


A Very Short

Introduction

17

ภาพปู น เปี ย กอี ก ด้ า นที่ แ ทนตนการปกครองที่ เ ลว รักษาไว้ได้ในสภาพไม่ดีเท่า แต่กระนั้น สาส์นของมันก็แจ้งชัด พอๆ กัน กล่าวคือ ผู้ปกครองที่เลวร้ายห้อมล้อมด้วยความ โลภโมโทสั น ความโหดร้ า ย และความหยิ่ ง ผยองล� ำ พองใจ เมืองใต้การยึดครองของทหาร และชนบทที่แล้งร้างถูกกองทัพ ผี ป ี ศ าจผลาญท� ำ ลายย่ อ ยยั บ ค� ำ จารึ ก ซึ่ ง บุ ค ลาธิ ษ ฐานแห่ ง ความกลัวถืออยู่อ่านได้ความว่า เนื่ อ งจากใครต่ อ ใครก็ ห าแต่ ป ระโยชน์ ใ ส่ ตั ว ในเมื อ งนี้ ความยุ ติ ธ รรมจึ ง ตกอยู ่ ใ ต้ อ� ำ นาจทรราชย์ ยั ง ผลให้ บนถนนสายนี้ ไ ม่ มี ใ ครจะผ่ า นทางไปโดยไม่ ก ลั ว ตาย เพราะมีโจรกรรมปล้นชิงทั้งนอกและในประตูเมือง

ไม่มีทางใดจะท�ำความเข้าใจว่าปรัชญาการเมืองคืออะไร และท�ำไมเราจึงต้องมีมันได้ดีไปกว่าการมองดูภาพจิตรกรรม ฝาผนังอันวิจิตรพิสดารของโลเรนเซ็ตตินี้ เราอาจนิยามปรัชญา การเมื อ งได้ ว ่ า คื อ การสื บ ค้ น เกี่ ย วกั บ ธาตุ แ ท้ มู ล เหตุ และ ผลลัพธ์ของการปกครองที่ดีกับเลว และภาพวาดของเรามิเพียง ประมวลนัยแห่งการเสาะค้นทีว่ า่ นีเ้ ท่านัน้ หากยังสือ่ แสดงออกมา เป็ น ทั ศ นาการที่ น ่ า ตื่ น ตาตื่ น ใจซึ่ ง แนวคิ ด สามประการที่ อ ยู ่ ตรงใจกลางของเรื่องนี้อีกด้วย แนวคิดประการแรกก็คือการ ปกครองที่ดีกับเลวนั้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนเรา อย่างลึกซึ้ง โลเรนเซ็ตติแสดงให้เราเห็นว่าการปกครองที่เปี่ยม ด้วยความยุติธรรมและคุณธรรมอื่นๆ อนุญาตให้ปุถุชนท�ำงาน


18

Political

Philosophy

ค้าขาย ล่าสัตว์ เริงระบ�ำ และท�ำสิ่งทั้งหลายทั้งปวงโดยทั่วไปที่ ท�ำให้การด�ำรงอยู่ของมนุษย์งอกงามสมบูรณ์ขึ้นอย่างไร ขณะที่ ในอีกด้านของภาพ ระบอบทรราชย์กลับก่อให้เกิดความยากไร้ และความตาย นั่นแหละเป็นแนวคิดประการแรก กล่าวคือการ ที่เราถูกปกครองอย่างดีหรืออย่างเลวนั้นมันท�ำให้ชีวิตของเรา แตกต่างไปจริงๆ เรามิอาจหันหลังให้การเมือง ถอยเข้าไปสู่ชีวิต ส่วนตัว และนึกคิดเอาเองว่าลักษณาการที่เราถูกปกครองจะไม่ ส่งผลอันลึกซึ้งต่อความสุขส่วนบุคคลของเราได้ แนวคิดประการที่สองก็คือรูปแบบการปกครองของเรา หาได้ถูกก�ำหนดแน่มาล่วงหน้าแต่อย่างใดไม่ พูดอีกอย่างก็คือ เรามีทางเลือก มิฉะนัน้ แล้วท�ำไมจะต้องวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง พวกนั้นขึ้นมาแต่แรกด้วยเล่า? มันถูกวาดขึ้นในนวกศาลาซึ่ง หมายถึงห้องของบุคคลทั้งเก้า และบุคคลทั้งเก้าเหล่านี้ก็คือ สภาพ่อค้ามหาเศรษฐีทั้งเก้าคนผู้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา ปกครองเมืองซีเอนาในช่วงครึง่ แรกของคริสต์ศตวรรษที่ 14 ดังนัน้ จะเห็นได้ว่าภาพดังกล่าวไม่เพียงวาดขึ้นเพื่อเตือนใจคนเหล่านี้ ให้ระลึกถึงความรับผิดชอบของพวกเขาต่อประชาชนชาวเมือง ซีเอนาเท่านั้น หากยังเพื่อเฉลิมฉลองการปกครองในรูปแบบ สาธารณรั ฐ ที่ ไ ด้ ถู ก สถาปนาขึ้ นที่ นั่นในช่ ว งเวลาที่ เ กิ ด ความ ปัน่ ป่วนวุน่ วายทางการเมืองหนักพอควรในนครอิตาลีหลายแห่ง ด้วย การจ�ำลองภาพการปกครองทีเ่ ลวหาได้เป็นแค่กจิ กรรมทาง วิชาการไม่ หากเป็นการเตือนใจว่าอาจเกิดอะไรขึ้นถ้าบรรดา ผู้ปกครองเมืองแห่งนี้ล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อ ประชาชน หรือถ้าประชาชนล้มเหลวในการปฏิบตั หิ น้าที่ ของตน ในการจับตาสอดส่องผู้แทนของตัวเอง


A Very Short

Introduction

19

แนวคิดประการที่สามคือเราสามารถหยั่งรู้ได้ว่าสิ่งใด จ� ำ แนกแยกแยะการปกครองที่ ดี อ อกจากการปกครองที่ เ ลว เราสามารถสืบสาวตามรอยผลลัพธ์อันเกิดจากการปกครอง รูปแบบต่างๆ กัน และเราสามารถเรียนรู้ได้ว่าคุณสมบัติอันใด บ้างประกอบกันเข้าเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด กล่าวอีก นัยหนึ่งก็คือ มันมีสิ่งที่เรียกว่าความรู้ทางการเมืองอยู่ ภาพ ปูนเปียกของโลเรนเซ็ตติปรากฏร่องรอยของแนวคิดนีอ้ ยูท่ วั่ ดังที่ เราได้เห็นมาแล้วว่า ผู้ปกครองที่ทรงธรรมถูกวาดแสดงออกมา ให้ห้อมล้อมด้วยบุคลาธิษฐานซึ่งแทนตนคุณสมบัติทั้งหลายอัน เป็นบุคลิกลักษณะของการปกครองทีด่ ตี ามหลักปรัชญาการเมือง สมัยนั้น ภาพปูนเปียกเหล่านี้มุ่งหมายสอนใจคน มันมุ่งสอนทั้ง ผู้ปกครองและพลเมืองว่าจะบรรลุชีวิตชนิดที่พวกเขาต้องการ ได้อย่างไร และนี่ย่อมตั้งอยู่บนข้อสันนิษฐานซึ่งโลเรนเซ็ตติ น่าจะเชื่อแน่เช่นนั้นว่า เราสามารถหยั่งรู้ว่าจะท�ำสิ่งนี้ได้อย่างไร กระนัน้ ก็ตาม เราควรเชือ่ สาส์นทีภ่ าพปูนเปียกเหล่านีส้ อื่ หรือ? ค�ำกล่าวอ้างทีม่ นั บอกเป็นนัยนัน้ เอาเข้าจริงเป็น ความจริง หรือ? การทีเ่ รามีการปกครองแบบไหนมันท�ำให้ชวี ติ เราแตกต่าง ออกไปอย่างนั้นจริงๆ หรือ? เรามีทางเลือกในเรื่องนี้หรือเปล่า รึว่ารูปแบบการปกครองเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้? แล้วเราจะ สามารถรู้ได้ไหมว่าอะไรท�ำให้การปกครองรูปแบบหนึ่งดีกว่า แบบอื่ น ? ที่ ก ล่ า วมาเหล่ า นี้ คื อ ค� ำ ถามใหญ่ บ างประการซึ่ ง นักปรัชญาการเมืองถาม รวมทัง้ ยังมีคำ� ถามย่อยกว่านีอ้ กี มากด้วย ทว่าก่อนจะพยายามตอบมัน ผมควรต้องขออธิบายอะไรเพิ่มอีก สักเล็กน้อย


20

Political

Philosophy

ภาพประกอบ 1 ผู้ปกครองที่ทรงธรรมจาก อุปมานิทัศน์แห่งการปกครองที่ดี กับเลว โดยอัมโบรโจ โลเรนเซ็ตติ

เมื่ อ ผมพู ด ถึ ง การปกครองในที่ นี้ ผมหมายถึ ง อะไร บางอย่างทีก่ ว้างกว่า “รัฐบาลชุดปัจจุบนั ” ซึง่ ได้แก่กลุม่ คนผูก้ ำ� ลัง ครองอ�ำนาจหน้าทีใ่ นสังคมใดๆ ก็ตาม ณ จังหวะเวลาหนึง่ อันทีจ่ ริง แล้วผมหมายถึงอะไรบางอย่างที่กว้างกว่ารัฐด้วยซ�้ำไป ได้แก่ พวกสถาบันการเมืองทีเ่ ป็นกลไกส�ำหรับใช้อำ� นาจหน้าที่ อาทิเช่น คณะรัฐมนตรี รัฐสภา ศาลสถิตยุตธิ รรม ต�ำรวจ กองทัพ อะไร เทือกนัน้ เมือ่ ผมพูดถึงการปกครองในทีน่ นี้ นั้ ผมหมายถึงองค์รวม ของบรรดากฎระเบียบ การปฏิบัติ และสถาบันทั้งมวลซึ่งเรา อาศั ย อยู ่ ด ้ ว ยกั น ในสั ง คมภายใต้ ก ารชี้ น� ำ ของมั น เรื่ อ งที่ ว ่ า มนุษย์เราจ�ำต้องร่วมมือกันและกัน อีกทัง้ จ�ำต้องรูว้ า่ ใครสามารถ


A Very Short

Introduction

21

ท�ำอะไรร่วมกับใครบ้าง ใครถือครองส่วนไหนของโลกวัตถุบ้าง จะเกิดอะไรขึน้ ถ้าใครบางคนละเมิดกฎระเบียบ ฯลฯ นัน้ เราน่าจะ ทึกทักว่าเข้าใจตรงกันเช่นนัน้ ได้ ณ ทีน่ ี้ แต่กระนัน้ เราก็ยงั ไม่อาจ ทึกทักว่ามนุษย์เราต้องมีรฐั มาช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ดังจะเห็นได้ ในบทถัดไปว่าประเด็นใจกลางประการหนึ่งในปรัชญาการเมือง ก่อนอื่นใดก็คือท�ำไมเราจึงจ�ำต้องมีรัฐ หรือกล่าวเป็นการทั่วไป กว่านั้นก็คือท�ำไมเราจึงจ�ำต้องมีอ�ำนาจหน้าที่ทางการเมือง และ เราจ�ำต้องเอาธุระกับข้อถกเถียงของพวกอนาธิปไตยที่ว่าสังคม สามารถปกครองตัวเองได้ดีอย่างสมบูรณ์แบบโดยปราศจากรัฐ ฉะนั้ น ตอนนี้ ผ มจึ ง อยากทิ้ ง เป็ น ค� ำ ถามเปิ ด ปลายไว้ ก ่ อ นว่ า “การปกครองทีด่ ”ี จ�ำต้องมีรฐั หรือมีรฐั บาลในความหมายปกติทวั่ ไป ด้วยหรือไม่ อีกค�ำถามหนึ่งที่จะยังคงเปิดปลายไว้จนกว่าจะถึง บทสุดท้ายของหนังสือก็คือ ควรจะมีรัฐบาลเดียวหรือหลาย รัฐบาลดี กล่าวอีกนัยหนึง่ คือ ควรจะมีระบบเดียวส�ำหรับมนุษยชาติ ทัง้ มวล หรือหลายๆ ระบบส�ำหรับผูค้ นหลากหลายกลุ่มออกไป เมื่อโลเรนเซ็ตติวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังของเขานั้น ด้านหลักแล้วเขาน�ำเสนอการปกครองทีด่ กี บั เลวในเชิงคุณสมบัติ แห่งมนุษย์ของผูป้ กครองสองประเภท รวมทัง้ ผลลัพธ์ทคี่ ณ ุ สมบัติ เหล่านั้นมีต่อชีวิตของคนในบังคับของผู้ปกครองดังกล่าว เมื่อ พินิจดูสื่อที่ใช้ส่งสาส์นแล้ว บางทีการน�ำเสนอเช่นนี้อาจเป็นสิ่งที่ หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การณ์จะเป็นเช่นใดก็ตาม การน�ำเสนอที่ว่า ก็สอดคล้องมากกับวิธีคิดแห่งยุคสมัยของเขา การปกครองที่ดี สมัยนั้นเป็นเรื่องบุคลิกลักษณะของผู้ปกครอง อาทิ ความสุขุม รอบคอบ ความกล้าหาญ ความใจกว้างเผือ่ แผ่ ฯลฯ ของพวกเขา


22

Political

Philosophy

พอๆ กับที่เป็นเรื่องของระบบการปกครองเอง แน่ล่ะว่ามีการ ถกเถียงเกี่ยวกับระบบด้วย เช่น ระบอบราชาธิปไตยน่านิยม ชมชอบกว่าการปกครองในระบอบสาธารณรัฐหรือไม่ หรือในทาง กลับกัน เป็นต้น ทว่าทุกวันนี้จุดเน้นได้เปลี่ยนไปแล้ว เราคิดถึง สถาบันการปกครองที่ดีมากกว่าก่อนเป็นอันมาก และค�ำนึงถึง คุณสมบัติส่วนบุคคลของผู้ด�ำเนินงานสถาบันเหล่านั้นน้อยกว่า แต่ก่อน ก็อาจเถียงได้ว่าเราโน้มเอียงเน้นสถาบันมากเกินไป แต่ผมใคร่จะเดินตามแฟชัน่ สมัยใหม่ทวี่ า่ นีแ้ ละพูดถึงการปกครอง ที่ดีในแง่ระบบในบทหลังๆ เป็นด้านหลัก หากจะไม่พูดในแง่ที่ว่า จะท�ำให้ผู้ปกครองของเราทรงธรรมได้อย่างไร ทีนขี้ อให้เราหวนกลับไปเรือ่ งแนวคิดเบือ้ งหลังภาพวาด ภาพใหญ่นี้อีก แนวคิดที่ปกป้องได้ง่ายที่สุดในบรรดาแนวคิด ทั้ ง สามได้ แ ก่ ป ระการที่ ว ่ า การปกครองนั้ น ส่ ง ผลกระทบต่ อ คุณภาพชีวติ ของเราอย่างลึกซึง้ ถ้าหากผูอ้ า่ นท่านใดไม่ตระหนัก ความข้อนี้ในทันทีทันใดแล้ว ก็น่าจะเป็นไปได้ว่าเขาหรือเธอ ยังชีพอยู่ภายใต้รูปแบบการปกครองที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ ซึ่งไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนักในแต่ละปีที่ผ่านไป พรรคหนึ่ง อาจเข้าแทนที่อีกพรรคหนึ่งตอนเลือกตั้ง แต่การผลัดอ�ำนาจก็ ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนส่วนใหญ่แบบประปรายเท่านั้น (แม้ว่า นักการเมืองชอบแสร้งเป็นอย่างอื่นก็ตาม) แต่ลองคิดถึงระบอบ การปกครองบางระบอบที่รุ่งเรืองขึ้นและล่มจมไปในศตวรรษ ที่แล้วแทนดูซีครับ เช่น ลองคิดถึงระบอบนาซีในเยอรมนีและ ชาวยิว 6 ล้านคนที่ถูกมันสังหาร หรือคิดถึงประเทศจีนของ เหมาเจ๋อตงและผูค้ น 20 ล้านคนหรือกว่านัน้ ทีล่ ม้ ตายลงเนือ่ งจาก


A Very Short

Introduction

23

ทุพภิกขภัยอันนโยบายที่เรียกกันว่า “ก้าวกระโดดใหญ่” ก่อให้ เกิดขึน้ ขณะเดียวกันในประเทศอืน่ ๆ ประชากรโดยรวมทัง้ หลาย แหล่ก็ได้เห็นมาตรฐานการครองชีพของตนถีบตัวสูงขึ้นในอัตรา เร็วอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ดูเหมือนว่าคริสต์ศตวรรษที่ 20 จะผลิ ต ซ�้ ำ การเปรี ย บต่ า งในภาพจิ ต รกรรมฝาผนั ง ของ โลเรนเซ็ตติออกมาแทบตรงเผงเลยทีเดียว แต่ พ อมาถึ ง จุ ด นี้ เ ราคงต้ อ งพิ จ ารณาแนวคิ ด ที่ ส อง ในสามประการของเรา ต่อให้รปู แบบการปกครองต่างๆ เคยเป็น และยังคงเป็นสาเหตุโดยตรงของความเจริญรุ่งเรืองและยากไร้ หรื อ ชี วิ ต และความตาย กระนั้ น แล้ ว ตั ว เราเองมี ป ั ญ ญา ความสามารถจะส่งอิทธิพลต่อระบอบที่ปกครองเราได้แค่ไหน เพียงใดกันเล่า? รึว่ารูปแบบการปกครองเหล่านี้เองเป็นแค่ ห่วงโซ่ต่างๆ ในสายโซ่ทั้งสาย ซึ่งตัวมันเองก็ยังคงถูกก�ำกับโดย มูลเหตุที่ลึกซึ้งยิ่งกว่าอันเราไม่อาจควบคุมอะไรได้? และถ้าเป็น เช่นนัน้ แล้วละก็ จะมีปรัชญาการเมืองไว้ทำ� ไมในเมือ่ เป้าประสงค์ ที่ แ ถลงชี้ แ จงต่ อ หน้ า ธารก� ำ นั ล ของมั น คื อ เพื่ อ ช่ ว ยเราเลื อ ก รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด? ทรรศนะชะตานิยม (fatalism) ทีว่ า่ เอาเข้าจริงเราไม่ได้มี ทางเลือกทางการเมืองอันใดนั้นปรากฏให้เห็นในรูปแบบต่างๆ ในจังหวะเวลาแตกต่างกันไปในประวัติศาสตร์ ในช่วงเวลาที่ โลเรนเซ็ตติก�ำลังวาดภาพปูนเปียกเหล่านี้ คนมากหลายเชื่อว่า ประวัติศาสตร์หมุนเวียนเป็นวัฏจักร กล่าวคือ การปกครองที่ดี ย่ อ มไม่ ยั่ ง ยื น หากจะเสื่ อ มถอยลงอย่ า งมิ อ าจหลี ก เลี่ ย งได้ พร้อมกับเวลาทีล่ ว่ งเลยไป จนพังทลายกลายเป็นระบอบทรราชย์


24

Political

Philosophy

และมีแต่ผ่านขั้นตอนต่างๆ อย่างเชื่องช้าเท่านั้นจึงจะกอบกู้ กลับมาสูร่ ปู แบบทีด่ ที สี่ ดุ ของมันได้อกี ในช่วงเวลาอืน่ ๆ โดยเฉพาะ ทีเ่ ด่นทีส่ ดุ ก็คอื ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นัน้ ความเชือ่ ทีเ่ ป็นเจ้าเรือน คื อ แนวคิ ด เรื่ อ งความก้ า วหน้ า ทางประวั ติ ศ าสตร์ กล่ า วคื อ ประวั ติ ศ าสตร์ เ ดิ นหน้ า เป็ นเส้ นตรงจากยุ ค ป่ า เถื่ อ นบุ พ กาล สู่อารยธรรมขั้นต่างๆ ที่สูงส่งขึ้นตามล�ำดับ แต่ก็อีกนั่นแหละ ความเชื่อนี้มีนัยว่าลักษณาการที่สังคมถูกปกครองนั้นขึ้นอยู่กับ มูลเหตุทางสังคมซึ่งหาได้โอนอ่อนตามการควบคุมของมนุษย์ ไม่ ความเชื่อแบบนี้ฉบับที่ทรงอิทธิพลที่สุดได้แก่ลัทธิมาร์กซ ซึ่งถือว่าในท้ายที่สุดแล้ว พัฒนาการของสังคมขึ้นกับวิถีที่ผู้คน ผลิ ต สิ น ค้ า วั ต ถุ อั น ได้ แ ก่ เ ทคโนโลยี ที่ พ วกเขาใช้ แ ละระบบ เศรษฐกิจที่พวกเขารับเอามา การเมืองกลายเป็นส่วนหนึ่งของ “โครงสร้างส่วนบน” มันถูกปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการของ รูปแบบการผลิตที่ครอบง�ำอยู่ ฉะนั้น กล่าวตามที่มาร์กซว่าแล้ว ในสังคมทุนนิยม รัฐต้องรับใช้ผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน ในสังคมสังคมนิยม มันจะรับใช้ผลประโยชน์ของชนชั้นคนงาน และในทีส่ ดุ ภายใต้ระบบคอมมิวนิสต์ มันจะสาบสูญไปโดยสิน้ เชิง มองในแง่นแี้ ล้ว การมานัง่ คาดคะเนเกีย่ วกับรูปแบบการปกครอง ทีด่ ที สี่ ดุ จึงกลายเป็นเรือ่ งเหลวไหลทัง้ เพ ประวัตศิ าสตร์นนั่ แหละ จะไขปัญหาให้เราเอง น่าสนใจพอสมควรว่าวิถีด�ำเนินของลัทธิมาร์กซเอง แสดงให้เราเห็นว่ามีอะไรที่ผิดพลาดเกี่ยวกับแนวคิดนิยัตินิยม (determinism) ชนิดนี้ ภายใต้อิทธิพลของแนวคิดมาร์กซิสต์ การปฏิวัติสังคมนิยมได้ปะทุขึ้นในที่ต่างๆ ซึ่งหากยึดถือตามที่


A Very Short

Introduction

25

มาร์กซว่าไว้แล้วมันก็ไม่ควรจะเกิดขึ้น กล่าวคือมันปะทุขึ้น ในสังคมต่างๆ อาทิเช่นรัสเซียและจีนซึ่งค่อนข้างไม่พัฒนาทาง เศรษฐกิจและฉะนั้นจึงไม่พร้อมจะรับเอารูปแบบการผลิตแบบ สังคมนิยมไปใช้ ขณะเดียวกันในบรรดาสังคมทุนนิยมทีก่ า้ วหน้า กว่านัน้ การปกครองระบอบประชาธิปไตยทีค่ อ่ นข้างมีเสถียรภาพ ได้ถกู สถาปนาขึน้ ในบางแห่ง อันเป็นสิง่ ทีม่ าร์กซคิดว่าเป็นไปไม่ได้ ในสภาพทีธ่ าตุแท้ของสังคมเหล่านีแ้ บ่งแยกกันทางชนชัน้ ขณะที่ ประเทศอืน่ ก็ตกเป็นเหยือ่ ระบอบฟาสซิสต์ การณ์กลับกลายเป็น ว่าเอาเข้าจริงการเมืองเป็นอิสระจากเศรษฐกิจ หรือหากกล่าว โดยทัว่ ไปยิง่ ขึน้ ก็คอื เป็นอิสระจากพัฒนาการทางสังคมพอสมควร และนีย่ อ่ มหมายความว่าผูค้ นต้องตัดสินใจเลือกในเรือ่ งใหญ่โตอีก นั่นแหละ กล่าวคือ ไม่เพียงแต่เลือกรูปแบบการปกครองของตน ในความหมายแคบเท่านั้น หากยังต้องเลือกวิถีทางอันกว้างกว่า ในการประกอบสร้างสังคมของตนขึน้ ด้วย กล่าวคือ พวกเขาควร จะเอารัฐพรรคเดียวหรือระบอบเสรีประชาธิปไตยทีม่ กี ารเลือกตัง้ เสรีดี? เศรษฐกิจควรเป็นแบบวางแผนส่วนกลางหรืออยู่บนฐาน ตลาดเสรีกันแน่? เหล่านี้ก็คือค�ำถามประเภทที่พวกนักปรัชญา การเมืองพยายามตอบ และมันก็กลับมาอยู่ในระเบียบวาระ อีกครั้งตามเคย แต่ถ้าหากประสบการณ์แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้ ลบล้ า งนิ ยั ติ นิ ย มทางประวั ติ ศ าสตร์ ช นิ ด ที่ แ พร่ ห ลายยิ่ ง ใน คริสต์ศตวรรษที่ 19 ไปแล้ว พอมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ก็ กลับปรากฏชะตานิยมรูปแบบใหม่ขนึ้ มา ชะตานิยมทีว่ า่ นีไ้ ด้แรง ดลใจจากการเติบใหญ่ของเศรษฐกิจโลกแบบใหม่และความเชื่อ


26

Political

Philosophy

ที่ว่ารัฐทั้งหลายนับวันมีช่องทางให้ขยับเคลื่อนไหวน้อยลงทุกที หากมันต้องการให้ประชาชนของตนได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจโลก ดังกล่าว รัฐใดพยายามขัดขืนฝืนต้านตลาดจะพบว่าเศรษฐกิจของ ตนทรุดต�่ำ และรัฐที่น่าจะประสบความส�ำเร็จในการแข่งขันใหม่ ในระดั บ โลกได้ แ ก่ รั ฐ เสรี ป ระชาธิ ป ไตยเท่ า นั้ น ดั ง นั้ น แม้ จ ะ เป็นไปได้ทสี่ งั คมหนึง่ อาจถูกปกครองแตกต่างออกไป ตัวอย่างเช่น ปกครองด้วยระบอบอิสลาม ทว่าราคาที่ต้องจ่ายแก่การนี้คือ เศรษฐกิจจะเสือ่ มถอยลงอย่างสัมพัทธ์ อันเป็นราคาทีส่ นั นิษฐาน ได้ว่าไม่มีสังคมไหนอยากจะจ่ายออกไป นี่คือบททดลองเสนอที่ เรียกกันว่า “อวสานแห่งประวัตศิ าสตร์” ซึง่ โดยแก่นแท้แล้วก็คอื ข้อกล่าวอ้างว่าสังคมทัง้ ปวงจะถูกขับดันโดยพลังทางเศรษฐกิจให้ ต้องปกครองตัวเองในท�ำนองละม้ายคล้ายกัน แทบไม่ ต ้ อ งสงสั ย เลยว่ า ชะตานิ ย มรู ป แบบนี้ ก็ จ ะ ถูกบ่อนเซาะด้วยเหตุการณ์ต่างๆ ดังที่ชะตานิยมรูปแบบอื่น ก่อนหน้านีโ้ ดนมาเช่นกัน ถึงตอนนีเ้ ราก็ได้เห็นแล้วว่ามีปฏิกริ ยิ า โต้กลับต่อโลกาภิวัตน์ในรูปการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ซึ่งห่วงกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมเอย ผลกระทบของตลาดโลกต่อ ชาติก�ำลังพัฒนาทั้งหลายเอย หรือคุณภาพของวัฒนธรรมโลกที่ ตกต�ำ่ ลงเสมอหน้ากันเอย เป็นต้น การเคลือ่ นไหวเหล่านีท้ า้ ทาย ความคิดที่ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสูงสุด และ ในกระบวนการท้าทายที่ว่านั้น มันก็ตั้งค�ำถามว่าอะไรกันแน่ ที่กล่าวให้ถึงที่สุดแล้วเราถือว่ามีค่าในชีวิตของเรา แล้วเราจะ บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้อย่างไร ซึ่งล้วนเป็นค�ำถามใจกลาง ของปรัชญาการเมือง และต่อให้เราจ�ำกัดตัวเองไว้เฉพาะการ


A Very Short

Introduction

27

ถกเถียงทางการเมืองที่ใกล้เคียงกับเรื่องพื้นเพใจกลางตามแบบ ธรรมเนียมปกติ ก็ยงั มีขอบเขตประเด็นให้โต้แย้งมากมายเกีย่ วกับ ว่าเราควรจะเสียสละเสรีภาพทางเศรษฐกิจไปมากน้อยเท่าใดดี ในนามของความเสมอภาคกันยิง่ ขึน้ หรือจะจ�ำกัดเสรีภาพส่วนตัว กันขนาดไหนเพื่อเสริมความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนที่เราอาศัยอยู่ ระหว่างที่ผมเขียนอยู่นี้ ก็มีการโต้เถียงกันอย่างดุเดือดเกี่ยวกับ การก่อการร้าย สิทธิของปัจเจกบุคคล และหลักการทีว่ า่ เราไม่ควร แทรกแซงกิจการภายในของรัฐอืน่ ไม่วา่ รัฐเหล่านัน้ จะปกครองกัน อย่างไร ประเด็นดังกล่าวเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจเลือก อย่ า งรวมหมู ่ กั น อี ก นั่ น แหละ และมั น เป็ น ประเด็ น ปรั ช ญา การเมืองอย่างสมบูรณ์แบบแท้ๆ ทีเดียว ที่ผ่านมา ผมได้ถกเถียงเรื่องที่ว่าปรัชญาการเมือง เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาที่ส�ำคัญยิ่งต่อพวกเราทั้งหลาย และ ยิ่งไปกว่านั้นมันยังเป็นประเด็นปัญหาที่เราตัดสินใจเลือกทาง การเมืองได้จริงๆ ด้วย ตอนนี้ผมอยากจะลองประจันหน้ากับ เหตุผลอีกประการหนึง่ ทีถ่ กู ใช้มาปัดปรัชญาการเมืองทัง้ วิชาทิง้ ไป อย่างไม่แยแส กล่าวคือเหตุผลที่ว่าการเมืองเป็นเรื่องของการใช้ อ�ำนาจ และผูค้ นทีท่ รงอ�ำนาจโดยเฉพาะอย่างยิง่ นักการเมืองนัน้ ไม่สนใจงานปรัชญาการเมืองดอก ว่ากันตามแนวคิดนีแ้ ล้ว ถ้าคุณ อยากเปลีย่ นแปลงสิง่ ต่างๆ ละก็ คุณควรออกไปสูท่ อ้ งถนน ชุมนุม แสดงพลัง ก่อเรือ่ งวุน่ วายขึน้ มา หรือไม่บางทีคณ ุ ก็อาจลองดูสวิ า่ พอจะหาทางติดสินบนหรือแบล็กเมล์นักการเมืองสักคนได้ไหม แต่คุณไม่ควรมามัวเสียเวลากับบรรดาศาสตร์นิพนธ์อันลึกซึ้ง พิสดารว่าด้วยสังคมที่ดีซึ่งไม่มีใครเขาอ่านกันหรอก


28

Political

Philosophy

เป็นความจริงว่าเมื่อนักปรัชญาการเมืองพยายามเข้า แทรกแซงชีวิตทางการเมืองโดยตรงนั้น พวกเขามักล้มเหลว ไม่ได้เรื่อง พวกเขาเคยให้ค�ำปรึกษาแก่ผู้ปกครองที่ทรงอ�ำนาจ อย่างเช่นอริสโตเติลเป็นราชครูอบรมบ่มสอนอเล็กซานเดอร์ มหาราช มาเคี ย เวลลี พ ยายามแนะน� ำ ตระกู ล เมดิ ชี ใ นนคร ฟลอเรนซ์ และดิเดโรต์ได้รบั เชิญจากแคเธอรีนมหาราชินใี ห้ไปยัง กรุงเซนต์ปเี ตอร์สเบิรก์ เพือ่ อภิปรายว่าจะท�ำให้รสั เซียทันสมัยได้ อย่างไร ทว่าการแทรกแซงดังกล่าวเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดผลดีบ้าง หรือไม่นนั้ เป็นอีกเรือ่ งหนึง่ บรรดาศาสตร์นพิ นธ์ทเี่ ขียนขึน้ ในช่วง ความขัดแย้งทางการเมืองเข้มข้นมักประสบความส�ำเร็จในแง่ที่ ท�ำให้คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายต่างแปลกแยกขัดเคืองกับมันเท่านั้น เอง ตัวอย่างทีข่ นึ้ ชือ่ ลือชาได้แก่งานเรือ่ ง เลอไวอะธัน (Leviathan) ของโธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) อันเป็นผลงานชิ้นเอกทาง ด้านปรัชญาการเมืองซึง่ เขียนขึน้ ขณะสงครามกลางเมืองอังกฤษ ยังก�ำลังรบกันดุเดือดเลือดพล่านอยู่ ปรากฏว่าข้อถกเถียงของ ฮอบส์ที่เข้าข้างการปกครองแบบสัมบูรณาญาสิทธิ์ซึ่งผมจะ อภิปรายถึงให้เต็มทีย่ งิ่ ขึน้ ในบทถัดไปนัน้ ไม่ได้การต้อนรับไม่วา่ จากฝ่ายนิยมกษัตริย์หรือฝ่ายนิยมรัฐสภา ฝ่ายนิยมกษัตริย์ เชื่อว่ากษัตริย์ได้รับมอบหมายจากพระผู้เป็นเจ้าให้มาปกครอง ส่วนฝ่ายนิยมรัฐสภากลับเชื่อว่าการปกครองที่ชอบธรรมต้องได้ ความยินยอมพร้อมใจจากคนในบังคับของตน ภาพอันมืดมน หม่นหมองของสภาวะมนุษย์ทฮี่ อบส์วาดขึน้ นัน้ น�ำเขาไปสูข่ อ้ สรุป ว่าเราต้องสยบยอมต่อการปกครองแบบใดก็ตามที่ถูกสถาปนา ขึ้นมาและทรงประสิทธิผลไม่ว่าคุณสมบัติของมันจะเป็นเช่นไร


A Very Short

Introduction

29

นัยสืบเนือ่ งของมันก็คอื กษัตริยช์ าร์ลสทีห่ นึง่ มีสทิ ธิทจี่ ะปกครอง เมื่อพระองค์กุมอ�ำนาจได้ ทว่าครอมเวลล์ก็มีสิทธินั้นเช่นกันเมื่อ เขาโค่นชาร์ลสส�ำเร็จ นี่ไม่ใช่สิ่งที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในทั้งสองฝ่าย อยากได้ยิน ตัวอย่างของฮอบส์อาจช่วยอธิบายได้ว่าท�ำไมไม่ค่อยมี นักปรัชญาการเมืองคนใดจะส่งผลกระทบ โดยตรง ต่อเหตุการณ์ ทางการเมือง เนื่องจากนักปรัชญาการเมืองมองดูการเมืองจาก มุมทางปรัชญา ย่อมเป็นของแน่วา่ พวกเขาจะท้าทายธรรมเนียม ความเชื่อมากมายหลายประการที่ทั้งนักการเมืองและมหาชน ทั่วไปยึดถืออยู่ ประหนึ่งว่านักปรัชญาการเมืองเอาความเชื่อ เหล่านี้ไปส่องตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ แล้วถามว่าเวลาผู้คน พูดว่าอย่างนีอ้ ย่างนี้ พวกเขาหมายความว่าอะไรกันแน่ ทีพ่ วกเขา ปักใจเชื่อเช่นนั้นน่ะมีหลักฐานอะไรมายืนยัน พวกเขาจะให้ เหตุ ผ ลความชอบธรรมแก่ ค วามเชื่ อ ของตนอย่ า งไรถ้ า หาก ถูกท้าทายให้ท�ำเช่นนั้น ผลลัพธ์ประการหนึ่งของการช�ำแหละ ความเชื่อมาตรวจสอบแบบนิติเวชดังกล่าวก็คือเวลานักปรัชญา การเมืองน�ำเสนอความคิดและข้อเสนอของตนเอง มันมักจะดู แปลกพิ ลึ ก และกวนประสาทแทบจะเสมอไปส� ำ หรั บ บรรดา ผูค้ นุ้ ชินกับการถกเถียงตามแบบธรรมเนียมดัง้ เดิม ดังทีค่ วามคิด ของฮอบส์ดแู ปลกพิลกึ และกวนประสาทส�ำหรับบรรดาผูท้ รี่ บพุง่ กันในสงครามกลางเมืองทั้งสองฝ่าย ทว่ า นี่ ก็ มิ ไ ด้ ห ยุ ด ยั้ ง ปรั ช ญาการเมื อ งไว้ ไ ม่ ใ ห้ มั น ส่งอิทธิพลซึ่งบางครั้งก็ถึงกับส่งอิทธิพลมากพอควรพร้อมกับ กาลเวลาที่ล่วงเลยไป เวลาเราคิดถึงการเมืองนั้น เราตั้งข้อ


30

Political

Philosophy

สมมติฐานขึ้นมาจ�ำนวนหนึ่งโดยที่เรามักจะไม่ตระหนักรู้ตัว เอาเลย มันเป็นสมมติฐานที่รองรับอยู่ซึ่งถึงแม้เราแทบจะไม่ ตระหนักรู้ตัวเลยก็ตาม แต่กระนั้นมันก็เปลี่ยนไปอย่างขุดราก ถอนโคนทีเดียวในช่วงวิถปี ระวัตศิ าสตร์ทค่ี ลีค่ ลายไป ตัวอย่างเช่น ในสมั ย ที่ ฮ อบส์ เ ขี ย นงานอยู ่ นั้ น เป็ น เรื่ อ งปกติ ธ รรมดาที่ จ ะ ถกเถียงกันทางการเมืองโดยอ้างอิงหลักศาสนา และโดยเฉพาะ อย่างยิ่งคืออ้างอิงอ�ำนาจของพระคัมภีร์ไบเบิล ปรากฏว่ามรดก ที่ยืนนานอย่างหนึ่งของฮอบส์คือการที่เขาท�ำให้มันเป็นไปได้ ที่จะคิดถึงการเมืองในแบบโลกวิสัยล้วนๆ ถึงแม้ตัวฮอบส์เองจะ หมกมุ่นกับค�ำถามทางศาสนาอย่างลึกซึ้ง แต่กระนั้นแนวทาง การศึกษาอ�ำนาจหน้าที่ทางการเมืองอันแปลกใหม่ชนิดขุดราก ถอนโคนของเขาก็เปิดช่องให้แยกการเมืองกับศาสนาออกจากกัน และอภิปรายถึงมันในเชิงที่แตกต่างกันได้ หรือลองพิจารณา ดู ป ระเด็ น นี้ ว ่ า ในสมั ย ของฮอบส์ นั้ น มี แ ต่ พ วกเรี ย กร้ อ งการ เปลีย่ นแปลงอย่างขุดรากถอนโคนสุดโต่งไม่กคี่ นเท่านัน้ ทีเ่ ชือ่ ถือ รูปแบบการปกครองประชาธิปไตย (ท่าทีของตัวฮอบส์เองเรือ่ งนี้ เป็นไปตามแบบฉบับของเขา กล่าวคือไม่ปดั ปฏิเสธประชาธิปไตย อย่างสิ้นเชิง แต่เห็นว่าโดยทั่วไปแล้วมันด้อยกว่าระบอบราชาธิปไตย) แน่ล่ะว่าทุกวันนี้เราคุ้นชินกับประชาธิปไตยเสียจน กระทั่งเราแทบจินตนาการไม่ออกว่ารูปแบบการปกครองอื่นใด จะถูกมองว่าชอบธรรมไปได้อย่างไร การเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ บังเกิดขึ้นได้อย่างไรกัน? เรื่องราวการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้สลับ ซับซ้อน แต่บทบาทที่ขาดไม่ได้ส่วนหนึ่งในเรื่องนี้แสดงโดย บรรดานักปรัชญาการเมืองทีโ่ ต้แย้งถกเถียงเข้าข้างประชาธิปไตย


A Very Short

Introduction

31

แล้วความคิดของนักปรัชญาเหล่านี้ก็ถูกหยิบยกเอาไปเผยแพร่ สู ่ ม หาชนจนกลายเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการเมื อ งกระแสหลั ก นักปรัชญาการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยผูเ้ ป็นทีร่ จู้ กั กันดีทสี่ ดุ น่าจะ ได้แก่ ฌอง-ฌากส์ รูสโซ (Jean-Jacques Rousseau) ซึง่ ผลกระทบ จากหนังสือของเขาเรือ่ ง สัญญาประชาคม (The Social Contract) ต่อการปฏิวตั ฝิ รัง่ เศสยากทีจ่ ะโต้แย้งได้ (อย่างน้อยโธมัส คาร์ไลล์ ก็ไม่สงสัยความข้อนี้เลย เมื่อถูกท้าทายให้แสดงความส�ำคัญเชิง ปฏิบตั ขิ องความคิดนามธรรมออกมาให้เห็น ว่ากันว่าเขาตอบว่า “กาลครั้ ง หนึ่ ง มี ช ายคนหนึ่ ง ชื่ อ รู ส โซผู ้ เ ขี ย นหนั ง สื อ เล่ ม หนึ่ ง ที่ไม่มีอะไรในนั้นเลยนอกจากความคิด ฉบับพิมพ์ครั้งที่สองของ หนังสือเล่มนีห้ อ่ ปกเข้าเล่มด้วยผิวหนังของพวกทีเ่ คยหัวเราะเยาะ ฉบับพิมพ์ครั้งแรก”) ไม่ มี ใ ครบอกได้ ล ่ ว งหน้ า หรอกว่ า งานความคิ ด ทาง การเมืองชิน้ ใดชิน้ หนึง่ จะส่งผลอย่างเดียวกับ เลอไวอะธัน ของฮอบส์ หรือ สัญญาประชาคม ของรูสโซ หรือถ้ายกตัวอย่างงานยุคหลังมา ก็เช่น ค�ำประกาศแห่งพรรคคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) ของมาร์กซกับเองเกลส์ ได้หรือไม่ ทัง้ หมดมันขึน้ อยูก่ บั ว่าการเปลีย่ นย้ายวิธคี ดิ รองรับเบือ้ งลึกซึง่ นักปรัชญาน�ำเสนอนัน้ สอดคล้องกับการเปลีย่ นแปลงทางการเมืองและสังคมในลักษณะ ทีค่ วามคิดใหม่ๆ สามารถกลายมาเป็นความคิดพืน้ เพสามัญของ คนรุน่ ถัดๆ ไปหรือไม่ ดังปรากฏว่างานปรัชญาการเมืองชิน้ อืน่ ๆ ประสบผลส�ำเร็จอย่างจ�ำกัดแล้วแทบจะหายสาบสูญไปอย่าง ไร้ร่องรอยก็มี กระนั้นก็ตาม ความต้องการปรัชญาการเมือง ก็มีอยู่เสมอมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามเผชิญกับการท้าทาย


32

Political

Philosophy

ทางการเมืองใหม่ๆ ซึง่ เรารับมือโดยใช้ภมู ปิ ญ ั ญาตามธรรมเนียม ปกติของยุคสมัยไม่ได้ ในจังหวะเวลาเหล่านี้ เราจ�ำต้องขุดลึกลง ไปกว่าเก่า ส�ำรวจตรวจสอบพื้นฐานแห่งความเชื่อทางการเมือง ของเรา และตรงนี้เองที่เราอาจหันไปหาปรัชญาการเมือง ลางที อาจจะไม่ใช่ไปทีต่ น้ ตอบ่อเกิดของมันเสียทีเดียว หากแต่หยิบเอา ปรัชญาการเมืองแบบที่ถูกกลั่นกรองผ่านจุลสารเอย นิตยสาร เอย หนังสือพิมพ์เอย และสิ่งพิมพ์อื่นๆ ในท�ำนองเดียวกัน ซึ่ง นักปรัชญาการเมืองผู้ประสบความส�ำเร็จทุกคนได้พึ่งพาอาศัย สานุศษิ ย์ผเู้ ป็นมิตรกับสือ่ ให้ชว่ ยเผยแพร่ความคิดของเขาหรือเธอ ให้แผ่กว้างออกไป แต่ต่อให้ปรัชญาการเมืองตอบสนองความต้องการที่ แท้จริงบางอย่าง ค�ำถามก็คอื แล้วคุณสมบัตขิ องปรัชญาการเมือง เองนั้นน่ะจริงแท้แน่แล้วหรือ? (อย่าลืมว่าการดูดวงชะตาราศีก็ สนองตอบความต้องการที่แรงกล้าด้วยเหมือนกัน กล่าวคือผู้คน อยากรูจ้ ริงๆ ว่าจะเกิดอะไรขึน้ กับตัวในอนาคต แต่กระนัน้ พวกเรา ส่วนใหญ่ก็คิดว่าการดูดวงชะตาราศีนั้นโดยตัวมันเองเป็นเรื่อง ลวงโลกทั้ ง เพ) ทั้ ง นี้ ทั้ ง นั้ น ก็ เ พราะปรั ช ญาการเมื อ งอ้ า งว่ า มันสามารถน�ำ สัจธรรม บางอย่างเกี่ยวกับการเมืองมาให้แก่เรา อันต่างจาก ความเห็น ซึ่งชี้น�ำเราทุกเมื่อเชื่อวัน ค�ำกล่าวอ้างนี้ ถูกน�ำเสนออย่างน่าประทับตราตรึงใจที่สุดโดยเพลโตผู้มักถูก ถือว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาผ่านอุปมานิทัศน์แห่งถ�้ำในงานเรื่อง มหาชนรัฐ (Republic) เพลโตเปรียบปุถุชนทั่วไปเหมือนนักโทษ ผูถ้ กู โซ่ลา่ มตรึงไว้ในถ�ำ้ ในลักษณาการทีพ่ วกเขาจะเห็นได้แต่เงา ของสิ่งต่างๆ บนผนังถ�้ำตรงหน้าเท่านั้น เพลโตกล่าวว่าฉะนั้น


A Very Short

Introduction

33

ภาพประกอบ 2 เพลโตกับโสกราตีส ภาพด้านในปกโดยแมทธิว ปารีส (มรณะปี 1259) ส�ำหรับหนังสือ ค�ำพยากรณ์โรคของกษัตริย์โสกราตีส

คนเหล่านีก้ จ็ ะทึกทักว่าเงาพวกนีเ้ ท่านัน้ แหละทีเ่ ป็นของจริง ทีนี้ ลองสมมติว่านักโทษคนหนึ่งถูกปล่อยตัวเป็นอิสระแล้วโผล่ไป เจอแสงแดดแวบแรกจนต้องกะพริบตา เมื่อปรับสายตาได้ในไม่ ช้าเขาก็จะเริ่มมองเห็นวัตถุสิ่งของจริงในโลกและเข้าใจว่าสิ่งที่ เขาเห็นมาก่อนหน้านั้นไม่ได้ เป็น อะไรมากไปกว่าเงาแค่นั้นเอง แต่ถ้าเขาลองกลับเข้าไปในถ�้ำและพยายามโน้มน้าวชักจูงเพื่อน


34

Political

Philosophy

ร่วมถ�้ำให้ตระหนักรู้ความเข้าใจผิดของตน คนเหล่านั้นคงไม่ น่าจะเชื่อเขา เพลโตคิดว่านี่แหละคือสถานภาพของนักปรัชญา กล่าวคือเขามีความรู้ที่แท้จริงขณะคนรอบข้างมีแต่ความเห็นที่ บิดเบือน ทว่าเนือ่ งจากหนทางไปสูค่ วามรูท้ างปรัชญาทัง้ ยาวไกล และเหนื่อยยาก จึงมีน้อยคนนักจะยินดีเดินหนทางนี้ แต่ชอบแล้วหรือที่เพลโตจะเปรียบตัดความแตกต่าง ระหว่างความรู้ทางปรัชญากับความเห็นธรรมดาสามัญอย่าง แหลมคมถึงปานนี้? นี่คงไม่ใช่ที่ที่จะมาอภิปรายฐานคิดทาง อภิปรัชญาที่รองรับการจ�ำแนกดังกล่าวของเขา ฉะนั้นผมขอพูด เพียงว่าแนวทรรศนะเรื่องปรัชญาการเมืองของผมนั้นหาได้มี นัยของการประสิทธิป์ ระสาทความรูช้ นิดพิเศษทีม่ นุษย์ผอู้ นื่ ไม่มี ให้แก่บรรดานักปรัชญาไม่ ผมกลับคิดว่าพวกนักปรัชญาก็คิด และใช้เหตุผลคล้ายๆ กับคนอืน่ ทุกคนนัน่ แหละ ชัว่ แต่วา่ พวกเขา ใช้มันอย่างเป็นระบบและใช้ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์กว่า พวกเขา รับเชื่ออะไรน้อยกว่า กล่าวคือ พวกเขามักถามว่าความเชื่อ ทั้งหลายแหล่ของเราคงเส้นคงวาต่อกันไหม มีหลักฐานรองรับ สนับสนุนหรือเปล่า และจะปะติดปะต่อมันเข้าด้วยกันเป็นภาพ ใหญ่โดยรวมได้หรือไม่และอย่างไร วิธงี า่ ยทีส่ ดุ ทีจ่ ะอธิบายเรือ่ งนี้ ก็คือลองยกตัวอย่างบางอันดู สมมติเราลองถามนักการเมืองคนหนึง่ ดูวา่ เป้าหมายของ เขาคืออะไร ว่าจุดมุง่ หมายหรือคุณค่าอะไรซึง่ ชุมชนทางการเมือง ที่เขาสังกัดควรพยายามบรรลุ ถ้าหากเขาสังกัดสังคมตะวันตก ร่วมสมัย เขาน่าจะตอบด้วยบัญชีรายการเป้าหมายหรือคุณค่า ที่ค่อนข้างคาดเดาได้ กล่าวคือกฎหมายและความเป็นระเบียบ


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.