Tfma 150

Page 1



รายนามสมาชิก

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. 21. 22. 23. 24. 25. 26.

บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท แหลมทองสหการ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี. เอ็น. พี. อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ฟีดสเปเชียลตี้ จำกัด บริษัท โกรเบสท์คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท เอเชี่ยน ฟีด จำกัด บริษัท ไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ยูไนเต็ดฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท มิตรภาพอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เหรียญทอง ฟีด (1992) จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด

27. 28. 29. 30. 31. 32. 33. 34. 35. 36. 37. 38. 39. 40. 41. 42. 43. 44. 45. 46. 47. 48. 49. 50. 51. 52.

บริษัท อีสเทิร์น ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท ซันฟีด จำกัด บริษัท ยูนีโกร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท พนัสโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ยู่สูงอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท บางกอกแร้นซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ก้าวหน้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท วี.ซี.เอฟ. กรุ๊ป จำกัด บริษัท ชัยภูมิฟาร์มผลิตภัณฑ์การเกษตร จำกัด บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อินเทคค์ ฟีด จำกัด บริษัท บุญพิศาล จำกัด บริษัท เฮกซ่าแคลไซเนชั่น จำกัด บริษัท บีทีจี ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท หนองบัว ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท ไทย ฟู้ดส์ อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท โกลด์ คอยน์ สเปเชียลิตี้ส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แม่ทา วี.พี.ฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด บริษัท ฟาร์มจงเจริญ จำกัด บริษัท เจบีเอฟ จำกัด

อภินันทนาการ


คณะกรรมการบริหาร

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ ไทย ประจำปี 2556-2557 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์ นางเบญจพร สังหิตกุล นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์ นายประกิต เพียรศิริภิญโญ นายเชฏฐพล ดุษฎีโหนด นายโดม มีกุล นายศักดิ์ชัย ศักดิ์ชัยเจริญกุล นายสถิตย์ บำรุงชีพ นายวีรชัย รัตนบานชื่น นางสาวถนอมวงศ์ แต้ไพสิฐพงษ์ นายหัสดิน ทรงประจักษ์กุล นายวิชัย คณาธนะวนิชย์ นายวิศิษฐ คณาธนะวนิชย์ นายสุจิน ศิริมงคลเกษม นายวราวุฒิ วัฒนธารา นางสาวนลิน เหล่าวรวิทย์

นายกสมาคม อุปนายก คนที่ 1 อุปนายก คนที่ 2 เหรัญญิก เลขาธิการ รองเลขาธิการ รองเลขาธิการ ประชาสัมพันธ์ ปฏิคม นายทะเบียน กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ป.เจริญพันธ์อาหารสัตว์ จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย จำกัด(มหาชน) บริษัท อาหารสัตว์ไทยสระบุรี จำกัด บริษัท ท็อป ฟีด มิลล์ จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกรภาคใต้ จำกัด บริษัท เบทาโกรนอร์ธเทอร์น จำกัด บริษัท แหลมทองเกษตรภัณฑ์ จำกัด บริษัท แหลมทองอะควอเทค จำกัด บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ลีพัฒนาอาหารสัตว์ จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล จำกัด


บรรณาธิการ

แถลง

ความยัง่ ยืน พูดกันบ่อยมาก ต้องทำในหลากหลายมุมมองของแต่ละ สายงานอาชีพ หน้าที่ใครหน้าที่เขา ที่จะต้องรับผิดชอบ เมื่อมารวมเป็น หนึง่ แล้ว ผลลัพธ์ ต้องยัง่ ยืนและทุกหน้าทีข่ องแต่ละห่วงโซ่ตอ้ งได้ประโยชน์ มากน้อยตามแต่ละหน้าที่ อย่าได้หวังว่าต้องได้รับเท่ากันหมดตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียงแห่งตน (ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย แต่เพียงพอ ก็น่าจะพอเพียง) ธุรกิจอาหารสัตว์ เชื่อมโยงไปทุกภาคส่วน ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และ ปลายน้ำ และใครจะช่วยใคร ใครจะดูแลใคร ใครต้องพึ่งใคร ใครจะแบกรับ ภาระของใคร ใครจะเป็นภาระให้แก่ใคร ใครต่อใครอีกมากมาย ที่นับกันไม่ถ้วน สุดท้ายก็อยู่ที่ตัวเอง จะต้องรับผิดชอบตัวเองและทำให้ดีที่สุด แต่เบื้องต้นแล้วรายใหญ่ที่พร้อมแล้วก็อาจจะเป็นพี่เลี้ยงในการ รวบรวมทำเป็นศูนย์รวมและทำเป็นแบบแผนให้เดินตามระเบียบที่ปฏิบัติได้อย่างง่ายและยอมรับได้ ไม่ต้องมาต่อว่ากันได้ว่ารายใหญ่ทำได้ รายเล็กทำไม่ได้ ถ้าทุกหน่วยร่วมมือกัน ทำได้มากได้น้อย ถ้า ได้เริ่มทำตามแบบแผนที่ได้มาตรฐานความยั่งยืนแล้ว ส่วนรวมจะดีขึ้น จุดเริ่มต้นที่สำคัญคือจะต้อง เร่งรีบทำตั้งแต่บัดนี้ เพราะกระแสของโลกเริ่มเดินหน้าไปนานแล้ว ถ้าใครเริ่มต้นช้าจะเสียเปรียบ อย่างมาก เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจะกระตุ้นอย่างไรให้ทุกภาคส่วนเริ่มทำ โดยไม่ต้องมารอว่าใครจะเริ่มก่อน จึงขอให้เริ่มไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าเล็กว่าใหญ่ ทำตามกำลัง ทำไปเรื่อยๆ แล้วจะเห็นผลว่าคนที่เริ่มก่อน ย่อมดีกว่าตามหลังอย่างแน่นอน อย่างน้อยก็ได้แก่องค์กรของตัวเองก่อน วารสารเล่มนี้ ก็ยังคงนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเนื่องที่น่าติดตามและเป็นแง่คิดมุมมองที่มี สาระ ทั้งการผลิตโดยการกระตุ้นผู้ผลิตอาหารสัตว์ ให้ยกระดับคุณภาพ, บทวิเคราะห์สถานการณ์ ราคาพืชและสัตว์, สรุปสถานการณ์สินค้าเกษตร รายเดือน, นำเสนอแนวนโยบายกากถั่วเหลือง ปี 2555-57 แนวทางการจัดทำเขตเกษตรกรรมที่สำคัญ แนวโน้มปัญหาธุรกิจไก่ไข่ ที่ต้องเตรียมพร้อม ปัญหาโรคกุ้ง ที่ทำให้วัตถุดิบกุ้งเพื่อการส่งออกลดน้อยลง จะทำอย่างไรดีสำหรับห้องเย็นที่รับออร์เดอร์ ไว้ ยังมีแนวทางวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันสินค้าเกษตร การออกระเบียบการค้าระหว่างประเทศ ที่ต่างฝ่ายต่างต้องรัดกุมเพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการในประเทศต้องเพลี่ยงพล้ำจากมาตรการที่เปิดตลาด เอาไว้ แล้วยังมีการแถลงข่าวความสำเร็จของนักวิจัยคนไทยภายใต้สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย ที่พัฒนาสารสกัดจากพริกเพื่อต่อยอดไปสู่การเป็นสารเสริมอาหารสัตว์แก้ปัญหาการดื้อยาและการ ตกค้างของยาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ อีกทั้งช่วยเพิ่มมูลค่าของพริกและเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร บก.


วารสารธุรกิจอาหารสัตว์ วัตถุประสงค์

Contents

1. เพื่อส่งเสริมความรู้และเผยแพร่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ 2. เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วไป 3. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และการปศุสัตว์ของประเทศ ให้เจริญรุ่งเรืองในแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของชาติ 4. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

Thailand Focus "ดินดี น้ำดี" การันตีความมั่นคงทางอาหารด้านประมงไทย เกษตรฯ ฝัน นโยบายโซนนิ่งเป็นจริง ปฏิวัติธุรกิจสีเขียวไทย สภาหอฯ จี้ทบทวนยุทธศาสตร์ส่งเสริมลงทุน

Vol.

150 พฤษภาคม มิถุนายน 2556

Market Leader 5 8 10

Food Feed Fuel กระตุ้นผู้ผลิตอาหารสัตว์ ยกระดับคุณภาพ ซีพีลุยขยายลงทุนกัมพูชา-ลาว บทวิเคราะห์สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ สรุปสถานการณ์สินค้าเกษตรเดือนพฤษภาคม และแนวโน้มเดือนมิถุนายน 2556 พยากรณ์สินค้าเกษตร นโยบายและมาตรการนำเข้า กากถั่วเหลือง ปี 2555-57 ราคาเมล็ดถั่วเหลือง ราคากากถั่วเหลือง

ปีที่ 30

12 14 16

พาณิชย์ยังไม่คุมเข้มราคาไข่ไก่ ไข่ไก่ขยับเตือนอย่าเลี้ยงเพิ่ม ประมงเต้น เร่งแก้กุ้งตายด่วน ห้องเย็นขอนำเข้าจากอินเดีย นำเข้ากุ้งต่างชาติต้องรอบคอบ ผลงานวิจัยสารสกัดพริก สกว. โกอินเตอร์ ฝรั่งเศสขอใช้สิทธิ์ทำสารเสริมอาหาร

56 58 60 63 65

Around the World

25 33

ผลการวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของสินค้าเกษตร ที่สำคัญของไทยในอาเซียน ด้วยวิธี TCM อาเซียนซ่อนดาบ ออกกฎกีดกันการค้า เปิดแผนแสนล้าน เบทาโกรลุยไทย ขยายแนวรบอาเซียน

35 54 55

Thank You ขอบคุณ

 ดำเนินการโดย : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย  ประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายประเสริฐ พุ่งกุมาร  รองประธานกรรมการที่ปรึกษา : นายวีรชัย รัตนบานชื่น  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล  กรรมการที่ปรึกษา : นายสมชาย กังสมุทร  นายพงษ์ เหล่าวรวิทย์  นายประสิทธิ์ ศิริมงคลเกษม  นายอดิเรก

68 73 77

80

ศรีประทักษ์  นายนิพนธ์ ลีละศิธร  นางเบญจพร สังหิตกุล นายณรงค์ชัย ศรีสันติแสง  นายบุญธรรม อร่ามศิริวัฒน์  นายประจักษ์ ธีระกุลพิศุทธิ์  บรรณาธิการ : นายปรีชา กันทรากรกิติ  กองบรรณาธิการ : นายไพบูลย์ ขุนทอง  นายณรงค์ศักดิ์ โชวใจมีสุข  นายณัฐพล มีวิเศษณ์  นางสาวปัทมา ศรีเที่ยงตรง  สำนักงาน : สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย 889 ไทย ซีซี ทาวเวอร์ ห้อง 170 ชั้น 17 ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2675-6263-4 โทรสาร 0-2675-6265 www.thaifeedmill.com  พิมพ์ที่ : ธัญวรรณการพิมพ์ 800/138 หมู่บ้านริเวอร์ปาร์ค ถนนพหลโยธิน ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 โทร. 0-2536-5311, 0-2990-1568 โทรสาร 0-2990-1568




Thailand Focus

“ดินดี น้ำดี”

การันตีความมั่นคงทางอาหารด้านประมงไทย  โดย เสกสรร โรจนเมธากุล 

"...ไทยเลีย้ งกุง้ เก่งทีส่ ดุ ดังนัน้ ก็ไม่ตอ้ งกลัว เพราะการเลีย้ งสัตว์นำ้ มันขึน้ อยูก่ บั พืน้ ที่ แม้ความรู้เท่ากัน แต่สภาพพื้นที่ดินไม่เหมือนกัน เลี้ยงยังไงก็สู้กุ้งไทยไม่ได้..." “ประเด็น “ความมั่นคงด้านอาหาร” เป็นที่สนใจกันมาตั้งแต่ปี 2539 ในการประชุม อาหารโลก ประชาคมโลกให้ความสำคัญและเห็นว่าขณะนี้คนที่ยังหิวโหย ยังมีอยู่กว่าพันล้านคน จึงมีเจตนารมณ์รว่ มกันว่า ภายในปี 2558 ประเทศต่างๆ จะร่วมกันลดจำนวนประชากรทีห่ วิ โหย ลงสักครึ่งหนึ่ง การคำนึงถึงความมั่นคงด้านอาหารได้เกิดขึ้นจากกระแสความกังวลว่าในอนาคต อาหารจะไม่เพียงพอสำหรับเลี้ยงพลโลก เพราะประชากรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งขณะนี้มีประมาณ 6-7 พัน ล้านคน คาดการณ์ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้าจะถึง 9 พันล้านคน” ดร.วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง กล่าวถึงที่มาของกระแสความตื่นตัวเรื่องความ มั่นคงด้านอาหาร ในการสัมมนาเรื่อง “ประมงกับความมั่นคงทางอาหาร” ซึ่งจัดโดยคณะ ทำงานกลุม่ ผูร้ บั พระราชทานทุนมูลนิธอิ านันทมหิดล แผนกเกษตรศาสตร์ ร่วมกับกรมประมงและ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา ก่อนจะกล่าวต่อถึงเหตุผลที่ทำให้ การประมงถูกคาดหวังให้เป็นแหล่งประกันความมั่นคงด้านอาหารของโลกและของไทยในอนาคต ว่า ภาคการประมงเป็นอีกหนึง่ ภาคการผลิตอาหารทีส่ ำคัญ ทีจ่ ะต้องเตรียมความพร้อมเพือ่ รองรับ ความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลกในอนาคต ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม ภูมิอากาศ โรคระบาดที่เกิดขึ้น อันจะส่งผลให้ผลผลิตธัญพืชหลักๆ 3 ชนิดของโลก คือข้าวสาลี ข้าวโพด และข้าว ลดปริมาณลงไป จึงมีการหันมามองที่อาหารทางทะเลที่จะมาทดแทนหล่อเลี้ยงพลโลกในอีก 30 ปีข้างหน้า โดยคาดการณ์วา่ โลกมีความต้องการผลผลิตสัตว์นำ้ เพิม่ ขึน้ อีก 75 ล้านตัน จากผลผลิตปัจจุบนั ที่ 144 ล้านตัน เพื่อให้เพียงพอกับประชากรที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลผลิตด้านประมงหากจะ นำซึ่งความมั่นคงด้านอาหาร ไม่เพียงมีแต่ปริมาณ แต่ต้องมีคุณภาพ มีความหลากหลาย มีการ กระจายเข้าถึงทุกคน และมีการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ข้อมูลปัจจุบนั ประเทศไทยมีกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์จากสัตว์นำ้ เพือ่ การส่งออกเฉลีย่ ปีละกว่า ล้านๆ ตัน เป็นทีต่ อ้ งการอย่างมากของตลาดโลก โดยมีความต้องการเพิม่ ขึน้ ทุกปี มีประเทศทีเ่ ป็น คูค่ า้ สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญีป่ นุ่ สหภาพยุโรป แคนาดา และออสเตรเลีย สามารถทำเงินตรา เข้าประเทศเฉลี่ยปีละกว่าสองแสนล้านบาท ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

5


ทั้งนี้การผลิตภาคการประมงในปัจจุบัน ยังได้รับผลกระทบจากหลายปัจจัย อาทิ ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง น้ำท่วม แล้งยาวนาน ทรัพยากรทางทะเลที่เสื่อมโทรมลง เช่น ขยะ ทางทะเล หรือพืน้ ทะเลถูกครูด เป็นการทำลาย ที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล มลภาวะทางน้ำ จาก น้ำเสีย หรือสารเคมีที่ไหลลงสู่ทะเล ทำให้ปลา ตายจำนวนมาก การทำประมงทีไ่ ม่ถกู ต้องของ มนุษย์ เช่น ใช้ไฟฟ้าช็อต หรือใช้เครื่องมือ ประมงที่ไม่เหมาะสม ทีส่ ำคัญ ปัญหาเรือ่ งแรงงาน จะเป็นปัญหา ใหญ่ในอนาคตสำหรับประเทศไทย เพราะหลัง จากเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เมื่อแต่ละ ประเทศมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น แรงงานเพือ่ นบ้านทีเ่ ป็นกำลังสำคัญในการผลิต อาหารจากทะเลก็ต้องกลับประเทศ! เมือ่ เห็นปัญหาในภาพรวมเช่นนีแ้ ล้ว ภาค ราชการได้ดำเนินการแก้ไขอย่างไรบ้าง อธิบดี กรมประมงอธิบายคร่าวๆ ว่า สิ่งที่กรมประมง ทำอยูค่ อื 1. ผลิตปลาปีละประมาณ 1,800 ล้านตัว กระจายปล่อยลงในแหล่งน้ำ คาดว่าแม้เหลือ รอดเพียง 5% ก็ทำให้อุดมสมบูรณ์แล้ว 2. สร้ า งฐานที่ อ ยู่ อ าศั ย ให้ ป ลา และ สัตว์นำ้ ทัง้ ในแหล่งน้ำจืดและในทะเล เช่น สร้าง ปะการังเทียม

6

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

3. ส่งเสริมให้มกี ารทำประมงเฉพาะด้าน และทำประมงอย่างรับผิดชอบ เพิ่มโอกาสให้ ชาวประมงขนาดเล็กสามารถทำมาหากินใน พื้นที่ท้องถิ่นของตนเองได้ 4. ส่ ง เสริ ม การใช้ ป ระโยชน์ สั ต ว์ น้ ำ ให้ เหมาะสม ถูกต้อง เน้นให้คนได้บริโภคก่อนเป็น ลำดับแรก การประมงส่วนหนึง่ จะจับได้ปลาเล็ก ปลาน้อยขึ้นมา ซึ่งจำเป็นต้องเอาปลาพวกนี้มา เป็นอาหารให้คนกินให้ได้ เพราะการขาดโอกาส ด้านอาหารในชนบทยังมีอีกมาก เรื่ อ งใหญ่ ใ นอนาคตอั น ใกล้ ปลายปี 2558 ก็คอื การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่ จ ะส่ ง ผลกระทบไปทุ ก องคาพยพ ดร.วิ ม ล จันทรโรทัย ให้ข้อมูลว่า จากการวิเคราะห์ของ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แล้วพบว่า สาขาประมงและอาหารแช่แข็ง ประเทศไทยจะได้เปรียบ เนือ่ งจากไม่มกี ำแพง ภาษี ทั้งยังได้ขยายตลาดมากขึ้น ส่วนผลกระทบด้านลบทีอ่ าจเกิดขึน้ สินค้า ประมงถูกๆ ทีไ่ ม่มกี ารควบคุมมาตรฐานคุณภาพ ก็อาจทะลักเข้ามายังประเทศไทย แต่กรมประมง ก็เตรียมรับมือ โดยเพิ่มการปรับปรุงระบบการ ตรวจตามด่านชายแดนต่างๆ เพือ่ ควบคุมสินค้า จากประเทศเพื่อนบ้าน ในส่วนเกษตรกรผู้เพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำรายย่อยเอง ก็ต้องปรับตัวเข้าสู่ มาตรฐานบนเพือ่ ไม่ให้ถกู แย่งตลาด ทีต่ อ้ งระวัง คือ ในเมื่ออาเซียนมีฐานการผลิตคล้ายๆ กัน จึงต้องหันมาดูผลกระทบเรื่องสุขอนามัย ซึ่งจะ นำมาสู่การออกกฎระเบียบต่างๆ อันเป็นการ กีดกันทางการค้า ว่าจะมีมากขึ้นหรือไม่ แล้วประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะนำ มาซึ่ ง ความมั่ น คงทางอาหารด้ า นประมงได้ อย่างไร?


คำตอบอาเซียนต้องมีมาตรฐานเดียวกัน และรวมตัวกันเพื่อแข่งขันกับข้างนอก ไม่ใช่ แข่งขันภายในกันเอง โดยสิ่งที่อาเซียนกำลัง ทำอยู่ในขณะนี้ อาทิ มาตรฐานด้านการเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำ มาตรฐานการจัดการควบคุมโรค มาตรฐานกระบวนการผลิตและแปรรูป “ประเด็นสุดท้ายที่เรากำลังทำอยู่ก็คือ เราจะปักธงอย่างไรว่า เราเป็นผู้นำด้านการ ประมงในอาเซี ย น จริ ง ๆ แล้ ว เราเป็ น ผู้ น ำ ประมงในโลกด้วยซ้ำไป แต่ในเมื่ออาเซียนเป็น หนึ่งเดียวแล้ว เราอยากให้โลกมองมาที่ไทยว่า นี่คือศูนย์กลางตลาดสินค้าซีฟู้ดของอาเซียน ทางกระทรวงเกษตรก็ได้เตรียมการขับเคลื่อน ให้เราเป็นศูนย์กลางด้านการประมงและการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” อธิบดีกรมประมงกล่าว ด้าน ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช นายก สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ก็เห็นตรงกัน ว่าต้องปรับให้สินค้าของเซียนเป็นมาตรฐาน เดียวกัน ต้องให้โลกยอมรับว่ามาตรฐานของ อาเซียนคือมาตรฐานโลก ซึ่งจากประสบการณ์ ยืนยันว่า ไทยเลีย้ งกุง้ เก่งทีส่ ดุ ดังนัน้ ก็ไม่ตอ้ งกลัว เพราะการเลี้ยงสัตว์น้ำ มันขึ้นอยู่กับพื้นที่ แม้ ความรู้เท่ากัน แต่สภาพพื้นที่ดินไม่เหมือนกัน เลี้ยงยังไงก็สู้กุ้งไทยไม่ได้ “สำหรับประเทศไทย เราคงไม่หวังจะเป็น อันดับ 1 ของโลกด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะในแง่ปริมาณผลผลิตอย่างไรก็สู้จีนไม่ได้ ขณะนี้ผลผลิตด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของ ไทย 1.4 ล้านตัน เป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชายฝั่ง 9 แสนตัน และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอีก 5 แสนตัน โอกาสในการขยายปริมาณคงมีอีก

ไม่เกิน 20% ของพื้นที่ที่ใช้อยู่ แต่เราหวังเป็น ที่ 1 ในด้านคุณภาพมากกว่า ว่าเราสู้ได้แน่ เช่น เรื่องของกุ้ง ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ พยายามผลักดันให้กุ้งไทยมีคุณภาพอันดับหนึ่ง ของโลกอยูแ่ ล้วในขณะนี้ เพราะได้รบั การยอมรับ ทั้งด้านความหลากหลาย รสชาติ และความ ปลอดภัย เรายังเป็นต้นน้ำด้านการประมง และ การเพาะเลีย้ งสัตว์นำ้ เพือ่ การส่งออก เพราะพืน้ ที่ มีความเหมาะสม ซึ่งเป็นสิ่งการันตีว่าความ มั่นคงด้านนี้ก็จะยังอยู่กับเรา” นายกสมาคม อาหารแช่เยือกแข็งไทยยืนยัน อย่างไรก็ตาม ถ้าจะให้ประเทศไทยยืน ยันความมั่นคงทางอาหารของเราได้มากขึ้น ที่ ส ำคั ญ ที่ สุ ด ต้ อ งควบดุ ล ยภาพของสิ น ค้ า ประมงระหว่างการส่งออกสินค้าดีๆ กับการ เก็บไว้บริโภคภายในประเทศ เน้นเก็บของดีไว้ ให้คนในประเทศได้กนิ ก่อน หลังเป็นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนแล้ว การค้าขายก็เป็นเพียง ส่วนหนึง่ ทีท่ ำรายได้ให้เกษตรกร และอย่าลืม ว่าความมั่นคงที่ยั่งยืนที่สุด ก็คือการพึ่งพา ตนเองตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

7


Thailand Focus

เกษตรฯ ฝัน นโยบายโซนนิ่งเป็นจริง

ปฏิวัติธุรกิจสีเขียวไทย

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งผลักดัน นโยบายบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมของ ประเทศ หวังปฏิวตั ภิ าคเกษตรของประเทศ เพิม่ ผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพด้วย การใช้เทคโนโลยี ยุ ค ล ลิ้ ม แหลมทอง รมว.เกษตรและ สหกรณ์ กล่าวว่า ได้ประสานกับ รมว.มหาดไทย สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมมือในการจัด ทำข้อมูลด้านสินค้าเกษตรที่สำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศ เพื่อใช้ในนโยบายโซนนิ่งพื้นที่พืช เศรษฐกิจเกษตร โดยให้สง่ ข้อมูลมาทีก่ ระทรวง ภายในวันที่ 31 พ.ค. นี้ เพื่อกระทรวงจะได้ เตรี ย มข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วไว้ ส ำหรั บ การหารื อ ร่วมกับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อีก ครั้งหนึ่ง ทั้งนี้คาดว่า หลังเดือน มิ.ย. เป็นต้นไป จะมีความชัดเจนในเรื่องนโยบายโซนนิ่งพื้นที่ เกษตร ซึ่งหากจะขับเคลื่อนได้จริง นโยบายนี้ จะเป็ น การปฏิ วั ติ เ ขี ย วที่ จ ะใช้ เ ทคโนโลยี ก าร เกษตรเข้ามาช่วยในการผลิตสินค้าเกษตร “การโซนนิ่งครั้งนี้จะเป็นเหมือนปฏิวัติ เขียวในยุโรปและสหรัฐฯ ที่ใช้เทคโนโลยีการ เกษตรเข้ามาช่วยในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

8

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

การผลิต นำไปสู่การแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้า และเพิ่มโอกาสทางการแข่งขัน” ยุคลกล่าว ทั้งนี้ ข้อมูลที่กระทรวงเกษตรฯ ขอให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลือ่ นโซนนิง่ จังหวัด และมีเกษตร และสหกรณ์ จั ง หวั ด เป็ น ฝ่ า ยเลขานุ ก าร ส่ ง กลับมาตามกำหนดดังกล่าวคือ  ตรวจสอบพื้นที่ทำการเกษตรที่ได้ ประกาศเป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับพืช ปศุสัตว์ และประมง เพื่อทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต โดยใช้ข้อมูลการตลาดเป็นตัวกำหนด ปริมาณผลผลิตให้สอดคล้องกัน ทั้งการบริโภค ในพืน้ ที่ การแปรรูป การเข้าสูร่ ะบบอุตสาหกรรม และการส่งออก ว่าในแต่ละพื้นที่นั้นต้องการ สนับสนุนจากรัฐในด้านใดบ้าง เช่น พันธุ์ แหล่งน้ำ ปุ๋ย ที่ดินทำกิน เทคโนโลยี การคมนาคม หรือ ทุน เป็นต้น  ตรวจสอบพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมทีอ่ ยู่ ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม หรือเหมาะสมน้อย เพื่อ พิจารณาแนวทางในการส่งเสริมให้เกษตรกร ปรับเปลี่ยนอาชีพ หรือการทำการเกษตรชนิด อื่ น ที่ มี ค วามเหมาะสมกว่ า หรื อ ต้ อ งการให้ ภาครั ฐ ให้ ก ารสนั บ สนุ น อย่ า งไร และ  ตรวจสอบพืน้ ทีท่ ำการเกษตรกรรมทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ที่




ป่าว่ามีอยู่จำนวนเท่าใด และจะจัดการอย่างไร รวมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ทั้งเรื่อง ที่ดินทำกินและการจัดการผลผลิตการเกษตร จากพื้นที่ดังกล่าวด้วย ทัง้ นี้ กระทรวงเกษตรฯ จะรวบรวมข้อมูล เพื่อเสนอรัฐบาลในการกำหนดนโยบาย หรือ โครงการในการสนับสนุนการพัฒนาการผลิต หรือปรับเปลี่ยนการทำการเกษตรของประเทศ ให้เหมาะสมกับศักยภาพพื้นที่ โดยยึดตลาด เป็ น เป้ า หมายสำคั ญ ที่ จ ะแก้ ไ ขปั ญ หาสิ น ค้ า เกษตรล้นตลาดได้ในระยะยาว ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ ได้ประกาศ พื้ น ที่ เ หมาะสมกั บ การผลิ ต สิ น ค้ า ปศุ สั ต ว์ 5 ชนิด ได้แก่ โคเนือ้ โคนม สุกร ไก่เนือ้ และไก่ไข่ ไปแล้วในเดือน มี.ค. และในเดือน พ.ค. จะ ประกาศเขตที่เหมาะสมกับการปลูกพืชอีก 5

ชนิด คือ เงาะ มังคุด ทุเรียน มะพร้าว และกาแฟ ทัง้ นีก้ อ่ นหน้ากระทรวงเกษตรฯ ได้ประกาศเขต เหมาะสมกับการปลูกพืชเกษตรเศรษฐกิจ 6 ชนิด คือ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลัง รมว. เกษตรฯ ยังกล่าวอีกว่า เนื่องจาก ปัญหาระบบโลจิสติกส์เป็นต้นทุนสินค้าเกษตร ถึง 15% ของการเกษตร จึงเสนอนายกรัฐมนตรี ให้ ป ระสานกั บ กระทรวงคมนาคมเชื่ อ มโยง โครงข่ายคมนาคมกับพื้นที่เกษตรในโครงการ เพื่อลดต้นทุนเหลือเพียง 8% ซึ่งนายกฯ ได้ รับปากว่า เมือ่ เรือ่ งพืน้ ทีแ่ ละตัวเลขผลผลิตของ ทุกจังหวัดออกมา จะเชือ่ มโยงกับโครงการเงินกู้ เพื่อพัฒนาประเทศ 2.2 ล้านล้านบาท โดยจะ ให้กระทรวงคมนาคมเข้ามาช่วยเหลือในเรื่อง ดังกล่าวต่อไป

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

9


Thailand Focus

สภาหอฯ จี้ ทบทวนยุทธศาสตร์ส่งเสริมลงทุน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เตรียม ส่งหนังสือถึงบีโอไอ ทบทวนร่างยุทธศาสตร์ ส่ ง เสริ ม การลงทุ น ชี้ ตั ด กิ จ การเกษตรออก กระทบซัพพลายเชน นายพรศิลป์ พัชรรินทร์ตนะกุล ประธาน คณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภา หอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สภา หอการค้ า ฯ เตรี ย มส่ ง หนั ง สื อ ถึ ง สำนั ก งาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้ ทบทวนร่างยุทธศาสตร์สง่ เสริมการลงทุนระยะ 5 ปี (ปี2556-2560) ซึ่งยกเลิกส่งเสริมการ ลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรหลายประเภท อาทิ การผลิตอาหารสัตว์ หรือส่วนผสมอาหารสัตว์ การอบพืชและไซโล และการตัดกิจการส่งเสริม การลงทุนบางประเภทออก ซึ่งจะกระทบซัพพลายเชน โดยผู้ประกอบการจะเลือกลงทุน เฉพาะกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน เนื่อง จากต้นทุนการลงทุนลดลง "ร่างยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่ ให้ ค วามสำคั ญ กั บ อุ ต สาหกรรมสี เ ขี ย ว แต่ กิจการเกษตรหลายชนิดทีเ่ ข้าข่ายกิจการสีเขียว แต่ถูกตัดออก เช่น การปลูกป่า ขณะนี้ยังไม่ ชัดเจนว่าเงื่อนไขการส่งเสริมกิจการสีเขียวเป็น อย่างไร นอกจากนี้กิจการเกษตรบางประเภท ได้รบั ส่งเสริมจากบีโอไอมา 20 ปี ช่วยสร้างงาน มาตลอด แต่ขณะนี้บอกว่าไม่ส่งเสริมแล้ว" ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

10

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

นายพรศิลป์ กล่าวว่า ส่วนรูปแบบคลัสเตอร์ ที่ บี โ อไอต้ อ งการส่ ง เสริ ม ยั ง ไม่ มี ค วาม ชั ด เจน โดยภาคเอกชนเห็ น ว่ า ควรส่ ง เสริ ม คลั ส เตอร์ แ นวลึ ก เพื่ อ ให้ เ กิ ด คลั ส เตอร์ แ บบ ซัพพลายเชน ซึ่งในภาคเกษตรส่งเสริมให้เกิด คลัสเตอร์ได้หลายชนิด โดยอาจส่งเสริมคลัสเตอร์ปาล์มน้ำมัน ที่ส่งเสริมตั้งแต่สวนปาล์ม โรงสกัด โรงกลัน่ และผลิตภัณฑ์จากปาล์ม หรือ คลัสเตอร์มันสำปะหลังที่ส่งเสริมตั้งแต่ไร่มัน ลานมัน โรงงานแป้งมัน การผลิตเอทานอล และ พลาสติกชีวภาพ ซึ่งการส่งเสริมตามแนวทางนี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพของห่วงโซ่การผลิต


รายงานข่าวจากบีโอไอแจ้งว่า บีโอไอกำหนดหมวดเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร ตัดกิจการที่ส่งเสริมการลงทุนออก 12 กิจการ ประกอบด้วย 1. การเพาะปลูกด้วยระบบ Hydroponics 2. การปลูกป่า 3. การผลิตปุย๋ ชีวภาพ ปุย๋ อินทรียห์ รือสารปรับปรุงดิน 4. การผลิต อาหารสัตว์หรือส่วนผสมอาหารสัตว์ 5. การอบพืชและไซโล 6. ประมงน้ำลึก 7. การฆ่าและ ชำแหละสัตว์ 8. การฟอกหนัง แต่งสำเร็จหนังสัตว์ หรือการตกแต่งขนสัตว์ 9. การผลิตลูกอม ช็อกโกแลต และหมากฝรั่ง 10. ผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร 11. ห้องเย็นและขนส่งห้องเย็น 12. การบริหารจัดการฟาร์ม สำหรับหมวดเกษตรกรรม และผลิตผลจากการเกษตรที่ได้สิทธิ ประโยชน์สูงสุดมี 3 กิจการ คือ การผลิตอาหารทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม การผลิต เชื้อเพลิงชีวภาพจากเซลลูโลสและน้ำมันดีเซลชีวภาพสังเคราะห์ โดยได้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี แบบจำกัดวงเงินภาษีที่ยกเว้น

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

11


Food Feed Fuel

กระตุ้นผู้ผลิตอาหารสัตว์

ยกระดับคุณภาพ

อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ไทย หนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความเข้มแข็ง และไทยถือเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก แต่หากผู้ประกอบการรอช้า ไม่เร่งปรับตัวเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียน ก็มีโอกาสที่จะสูญเสีย ขีดความสามารถในการแข่งขันได้เช่นเดียวกัน พรศิ ล ป์ พั ช ริ น ทร์ ต นะกุ ล นายกสมาคมผู้ ผ ลิ ต อาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของไทยมี ความพร้อมที่จะรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เนื่องจากตลาดของเมืองไทยเป็นตลาดเปิดอยู่แล้ว ไทยมีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์มากในอุตสาหกรรมนี้ สามารถสู้ ไ ด้ กั บ ทุ ก ประเทศในอาเซี ย น แต่ เมื่อเกิดการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวเข้ากับอาเซียนแล้ว ผู้ประกอบการไทยยังคงต้องปรับตัว ให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ให้ได้ และรักษาความได้เปรียบให้คงอยู่ การปรับตัวจะต้องกระโดดข้ามออกไปใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งในอุตสาหกรรมนี้เทคโนโลยี มีไม่มาก ไม่ซับซ้อน สามารถร่วมกันปรับตัวได้พร้อมๆ กันทั้งระบบ ตั้งแต่เกษตรกรผู้ทำการ เกษตรผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ จนกระทั่งผู้ผลิตอาหารสัตว์ และผู้ซื้ออาหารสัตว์ไปใช้ ที่ผ่านมา ไทยเน้นการผลิตแบบเอาจำนวนมาก แต่ปัจจุบันต้องเน้นคุณภาพมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการรายเล็ก หรือรายใหญ่ก็ไม่สำคัญ หากมุ่งเน้นการผลิตที่มีคุณภาพ ก็จะสามารถ ต่อสู้ในตลาดเสรีได้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการรายใหญ่จำเป็นต้องช่วยผู้ประกอบการรายเล็ก (เอสเอ็มอี) โดยจัดทำ คลัสเตอร์เข้ามาร่วมกันปรับปรุงคุณภาพทั้งสายการผลิต เช่น ผู้เลี้ยงไก่ ต้องบอกได้ว่าอาหาร สั ต ว์ ที่ ใ ช้ ไ ด้ ม าจากใคร มี คุ ณ ลั ก ษณะ ส่ ว นผสมอะไรที่ ใ ช้ ใ นการผลิ ต แล้ ว อาหารสั ต ว์ ที่ ใ ช้ สามารถแข่งขันในตลาดได้หรือเปล่า ซึ่งการผลิตทั้งระบบจะส่งผลกระทบถึงกันทั้งหมด ดังนั้น ผู้เลี้ยงไก่รายใหญ่อาจจำเป็นต้องคุยกับเกษตรกรให้ความรู้ในการปลูกพืชที่ได้คุณภาพ เพื่อให้ได้ ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

12

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


ซึ่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ และต้องหารือกับผู้ผลิต อาหารสัตว์ให้ผลิตให้ได้มาตรฐานตามทีก่ ำหนด ไว้ ก่อนจะนำมาให้ไก่กินเป็นอาหาร "สถานการณ์ แ ละความต้ อ งการของ ลู ก ค้ า รวมถึ ง การแข่ ง ขั น จะเป็ น ตั ว บี บ ให้ ผูป้ ระกอบการต้องปรับตัวพัฒนาตนเอง เพราะ หากไทยพลาดนิดเดียว ไม่ยอมพัฒนาให้ทัน ก็จะมีโอกาสเสียแชมป์ให้กับเวียดนามที่ขณะนี้ ผลิตอาหารสัตว์ได้ 14 ล้านตัน ขณะที่ไทย ผลิตได้ 15 ล้านตัน" พรศิลป์ กล่าว ขณะเดียวกันในเรื่องวัตถุดิบอาหารสัตว์ ไทยจำเป็นต้องปรับตัวอย่างมาก เนื่องจาก วัตถุดบิ ไม่เพียงพอ โดยอาจจะต้องมีการออกไป ลงทุนในต่างประเทศเพื่อปลูกพืชวัตถุดิบ แล้ว นำเข้ามาใช้ในเมืองไทย ซึง่ เรือ่ งดังกล่าวจำเป็น ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เช่น การ ทำการปลู ก พื ช แบบมี สั ญ ญา (คอนแทรกต์ ฟาร์มมิง) กับประเทศเพื่อนบ้าน แต่รัฐบาล

ต้องผ่อนปรนการนำเข้ามาให้สะดวกกว่านี้ ไม่ใช่ สนับสนุนให้ออกไปลงทุน แต่สุดท้ายติดปัญหา นำเข้าไม่ได้ มีการกำหนดโควตาการนำเข้า หรือกำหนดฤดู ช่วงเวลาการนำเข้า ซึ่งก็จะ ไม่ช่วยแก้ปัญหา อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีเออีซี ไทยก็ ต้องพร้อมรับกับการเข้ามาแข่งขันของต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาลงทุนในสินค้า เกษตรจากประเทศที่ 3 ในประเทศอาเซียน เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งจะเข้ามาอย่างแน่นอน ไทยจึง จำเป็นต้องวางแผนรับมืออย่างดี หากอนุญาต ให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนจะต้องมีแผนรองรับ อย่ า งไร หรื อ หากไม่ อ นุ ญ าตให้ เ ข้ า มาแล้ ว ต่างชาติไปลงทุนในกัมพูชา ไทยจะมีแผนรับมือ อย่างไร ไทยต้องมองตัวเองให้ออกว่า จะยืน อยูใ่ นอาเซียนในฐานะอะไร เพราะในอาเซียน แต่ละประเทศก็มีหน้าที่ของตัวเอง เช่น จะ เป็นผู้ผลิต เป็นผู้ลงทุน หรือเป็นผู้ส่งออก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

13


Food Feed Fuel

ซีพีลุยขยายลงทุนกัมพูชา-ลาว ซีพี สยายปีกธุรกิจครบวงจรรุกตลาดเออีซี ลงทุนเพิ่มในธุรกิจไซโล-โรงอบข้าวโพด สร้าง โรงงานอาหารสัตว์แห่งใหม่ในกัมพูชา พร้อมศึกษาลงทุนธุรกิจสัตว์น้ำ ส่วนในลาวเตรียมเปิด โรงงานอาหารสัตว์แห่งใหม่สนองความต้องการตลาดโต ขณะที่ "เจ้าสัวธนินท์" ให้การบ้าน สัง่ ลุย ธุรกิจเกษตรอินทรีย์ในทั้งสองประเทศ นายสกล ชีวะโกเศรษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี.ลาว จำกัด และบริษัท ซี.พี.กัมพูชา จำกัด เปิดเผยว่า ทางซีพีได้ขยายการลงทุนใน ทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ได้เตรียมขยายการลงทุนคิดเป็น เม็ดเงินประมาณ 250 ล้านบาท เพื่อเสริมสร้างธุรกิจให้ครบวงจร และเพื่อ รองรับการเปิดตลาดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 สำหรับในประเทศกัมพูชาที่บริษัทได้เข้าไปลงทุนตั้งแต่ปี 2538 จนถึง ปัจจุบันมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 3 พันล้านบาท ประกอบด้วย โรงงาน อาหารสัตว์ ฟาร์มปศุสัตว์ไก่ และสุกร และธุรกิจอาหาร คือ โรงงาน ไส้กรอก และโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ ล่าสุดบริษัทฯ ได้ขยายสู่ ธุรกิจต้นน้ำคือ ธุรกิจไซโลและโรงอบข้าวโพด ที่จังหวัดไพลิน โดยซื้อโรงงานเก่ามาปรับปรุงใหม่เพื่อใช้ในการเตรียมและ ผลิ ต วั ต ถุ ดิ บ คุ ณ ภาพดี ส ำหรั บ อาหารสั ต ว์ ทั้ ง ในประเทศ และต่างประเทศ ขณะเดียวกัน ในอนาคตบริษัทฯ มีแผนจะขยายการ ลงทุนในประเทศกัมพูชา โดยสร้างโรงงานอาหารสัตว์แห่ง ใหม่ในจังหวัดไพลิน เพื่อรองรับความต้องการด้านอาหาร สัตว์ในภาคตะวันตกของกัมพูชาที่กำลังขยายตัว ซึ่งจังหวัด ไพลินมีจุดเด่นคือ เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญที่จะนำ มาใช้ในการผลิตอาหารสัตว์ ทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุน การขนส่งได้เป็นอย่างดี เบื้องต้นในระยะแรกคาดจะมีกำลัง การผลิต 1 หมื่นตันต่อเดือน นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างศึกษา ความเป็นไปได้ในการลงทุนทำธุรกิจสัตว์น้ำในกัมพูชาด้วย ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

14

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


"ธุรกิจของบริษัทในกัมพูชากำลังไปได้ดี ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาโตขึ้นมาเกือบ 20 เท่า ตัว โดยมีการขยายตัวเฉลี่ยปีละ 20% ในปี 2556 นี้ ได้ตั้งเป้าหมายรายได้รวมจะเพิ่มขึ้น ประมาณ 30% ซึ่งจะมาจากการขยายธุรกิจ ด้านอาหารสัตว์ ฟาร์มสัตว์ปีก ฟาร์มสุกร และ อาหารสำเร็จรูป เฉพาะธุรกิจอาหาร นับจากนี้ จะให้ความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากยังมีโอกาส อีกมาก และในแผน 5 ปี ได้ตั้งเป้าเพิ่มยอด ขายอาหารอีกหนึ่งเท่าตัวในทุกๆ ปี" ส่วนการลงทุนในลาวที่ได้เริ่มลงทุนมา ตั้งแต่ปี 2549 ปัจจุบันมีมูลค่าการลงทุนรวม กว่า 1 พันล้านบาท เป็นการลงทุนในธุรกิจ อาหารสัตว์และธุรกิจฟาร์ม ปัจจุบนั ซี.พี.ลาว มี โรงงานผลิตอาหารสัตว์ในลาว 1 แห่ง ที่นคร เวียงจันทน์ กำลังการผลิต 1 หมื่นตันต่อเดือน และในปี 2556 นี้ บริษัทจะขยายการลงทุน ด้ า นอาหารสั ต ว์ โ ดยเปิ ด โรงงานอาหารสั ต ว์ ใหม่อีก 1 แห่งที่แขวงจำปาสัก ในเขตลาวใต้ ระยะแรกจะมีกำลังการผลิต 5 พันตันต่อเดือน เพื่ อ ตอบสนองความต้ อ งการอาหารสั ต ว์ ใ น เขตลาวใต้ทั้งหมด และเพื่อลดต้นทุนการผลิต ที่ปัจจุบันต้องขนส่งสินค้าจากเวียงจันทน์ลงไป

นายสกล กล่าวอีกว่า ในการทำธุรกิจ ของซี พี ใ นลาว และกั ม พู ช าในอนาคต นาย ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และ ประธานคณะผู้บริหารเครือซีพี ได้ให้แนวคิด ว่าไม่ควรมุ่งแต่ธุรกิจอาหารสัตว์ และฟาร์ม เลี้ ย งสั ต ว์ เ ท่ า นั้ น แต่ ค วรให้ ค วามสำคั ญ ใน การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งกลุ่มพืชสัตว์ ในทั้งสองประเทศนี้ด้วย ทั้งนี้เพื่อรองรับการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจและจำนวนชาวต่างชาติ ทีเ่ พิม่ ขึน้ และยังเห็นโอกาสในการส่งออกสินค้า เกษตรอินทรีย์ไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และ สหภาพยุโรปด้วย ขณะนี้ได้เริ่มศึกษาแล้ว

ขณะที่ ธุ ร กิ จ ฟาร์ ม ปศุ สั ต ว์ ใ นลาว ที่ ปัจจุบันบริษัทมีการเลี้ยงไก่สองประเภท คือ ไก่เนื้อ และไก่พื้นเมือง ในปีนี้ตั้งเป้าหมายจะ ขยายปริมาณการเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่ได้รับความ นิยมในการบริโภคในลาวเพิม่ ขึน้ 50% การผลิต แม่พันธุ์สุกรจะเพิ่มขึ้น 100% การผลิตไข่ไก่ เพิ่มขึ้นอีก 50% ส่วนธุรกิจอาหารในลาวยัง อยูใ่ นช่วงเริม่ ต้น นำร่องด้วยการทำธุรกิจไก่ยา่ ง ห้าดาว ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิ ฤษภาคม-มิถุนายน 2556

15


Food Feed Fuel

บทวิเคราะห์

สถานการณ์ราคาพืช/สัตว์เศรษฐกิจ  โดย ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. 

1. ข้าว

หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยวิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ที่มา: FAO (Mar 2013)

ราคาข้าวเฉลี่ยเดือนเมษายน 2556 ราคาข้าวทีเ่ กษตรกรขายได้ลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า 5% และข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 9,790 และ15,670 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.4 และ1.8 ตามลำดับ ยกเว้น ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาวนาปีทมี่ รี าคา 12,810 บาท/ตัน เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 1.0 ขณะทีร่ าคาข้าวส่งออก (F.O.B.) ข้าวขาว 5% ราคา 569 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 ตามลำดับ สำหรับราคาข้าวหอมมะลิราคา 1,244 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน และข้าวเหนียวขาว 10% เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 และ 2.2 จากเดือนก่อน แสดงให้เห็นว่าทิศทางราคาข้าว5% ที่เกษตรกร ขายได้ เป็นไปตามทิศทางราคาส่งออกข้าวของไทย อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวหอมมะลิซึ่งเป็น ข้าวคุณภาพสูงในตลาดต่างประเทศยังคงมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น

16

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556




สถานการณ์ข้าว ราคาข้าวที่เกษตรกรขายได้โดยเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า 5% และข้าวหอมมะลิปรับตัวลดลง เนื่องจากผลผลิตข้าวทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น และจากทิศทางที่ราคาข้าวหอมมะลิตลาดโลก ยังมีทศิ ทางสูงขึน้ สะท้อนให้เห็นว่าคุณภาพข้าวไทยทีม่ คี ณ ุ ภาพสูงยังเป็นทีต่ อ้ งการตลาดโลก และ เป็นตลาดข้าวคุณภาพที่ประเทศคู่แข่งยังไม่อาจแข่งขันในตลาดข้าวคุณภาพของไทยได้ ทัง้ นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประมาณการว่า ผลผลิตข้าวนาปรังจะมีประมาณ 9.904 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 4.2 เนื่องจากหลายพื้นที่ประสบภัยแล้ง เกษตรกรชาวนาแถบ ภาคเหนือตอนล่างได้เก็บเกีย่ วข้าวเปลือกนาปรังรุน่ แรก และจำนำข้าวเปลือกกับรัฐบาลในปริมาณ มาก และคาดว่าผลผลิตข้าวเปลือกนาปรังในแถบภาคกลางส่วนใหญ่จะออกสู่ตลาดปริมาณมาก ที่สุดในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2556 คาดการณ์ราคาในเดือนพฤษภาคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% และราคาข้าวเปลือกหอมมะลิจะลดลง ประมาณร้อยละ 1.0 และ 0.4 ตามลำดับ จากเดือนก่อนอยู่ที่ราคา 9,720-9,950 บาท/ตัน และ 15,570-15,600 บาท/ตัน ตามลำดับ เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สำหรับราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อน อยู่ที่ 12,800-12,900 บาท/ตัน เนือ่ งจากผลผลิตน้อยลงจากการทีพ่ นื้ ทีป่ ลูกข้าวเปลือกเหนียวส่วนใหญ่ อยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่มีน้ำในการเพาะปลูกน้อยกว่าปกติ

2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เดือนเมษายน 2556 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เท่ากับ 9.13 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.43 ราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์สง่ ออก (F.O.B.) เท่ากับ 10.53 บาท/กก. เพิม่ ขึน้ จากเดือนก่อนร้อยละ 1.83 สถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ในเดือนเมษายนปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน เนือ่ งจากความต้องการ ใช้ ผ ลผลิ ต ข้ า วโพดเลี้ ย งสั ต ว์ ภ ายในประเทศของเดื อ นนี้ ยั ง คงทรงตั ว ขณะที่ ผ ลผลิ ต ข้ า วโพด เลี้ยงสัตว์รุ่น 2 ยังออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณมากกว่าความ ต้องการใช้ภายในประเทศ กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ของโลก ปี 2555/56 มี 862.51 ล้านตัน ลดลงจาก 878.81 ล้านตันในปี 2554/55 ร้อยละ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

17


หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

1.85 เนือ่ งจากสหรัฐอเมริกามีความต้องการใช้ขา้ วโพดเลีย้ งสัตว์ลดลงจาก 279.02 ล้านตันในปี 2554/55 เหลือ 262.57 ล้านตันในปี 2555/56 หรือลดลงร้อยละ 5.90 นอกจากนี้ อียิปต์ เกาหลีใต้ และยูเครน มีความต้องการใช้ลดลงด้วย สำหรับการค้าของโลกมี 96.42 ล้านตัน ลดลงจาก 103.43 ล้านตันในปี 2554/55 ร้อยละ 6.78 เนื่องจาก สหรัฐอเมริกา ยูเครน อินเดีย และสหภาพยุโรป ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก จีน อิหร่าน แอลจีเรีย อินโดนีเซีย ไต้หวัน เวียดนาม และซีเรีย นำเข้าลดลง (กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ, 24 เมษายน 2556) คาดการณ์ราคาในเดือนพฤษภาคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ที่เกษตรกรขายได้ ลดลงจากเดือนก่อนประมาณร้อยละ 1.0-2.5 อยูท่ รี่ าคา 8.90-9.04 บาท/กก. เนือ่ งจากผูป้ ระกอบการ เลีย้ งไก่ และเกษตรกรรายย่อยหลายรายได้ลดปริมาณการเลีย้ งลงประมาณ 10-20% จากเดือนก่อน ทั้งนี้ เพราะราคาอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับสูงขึ้น ทำให้ ผู้ประกอบการและเกษตรกรรายย่อยต้องแบกรับภาระขาดทุนอย่างหนัก จึงส่งผลให้ราคาลดลง จากเดือนก่อน

3. อ้อยโรงงาน ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดนิวยอร์คเดือนเมษายน 2556 ราคาเฉลี่ยของน้ำตาลทรายดิบในตลาดนิวยอร์ค (ส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2556) เท่ากับ 18.50 เซนต์/ปอนด์ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 4.7 และลดลงในรูปเงินบาทที่ 11.27 บาท/กก. คิดเป็นร้อยละ 7.85

18

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรวิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

สถานการณ์อ้อยและน้ำตาลทราย ราคาน้ำตาลยังคงปรับตัวลดลง เนื่องจากแรงกดดันจากการคาดการณ์ผลผลิตน้ำตาลเป็น จำนวนมากจากบราซิล ไทย อินเดีย เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้มีผลผลิตน้ำตาลโลก ส่วนเกิน (Surplus) เป็นจำนวนมาก ประกอบกับตลาดได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ต่างๆ ที่ปรับตัวลดต่ำลง จึงกดดันให้ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดนิวยอร์คปรับตัวลดลงตาม ไปด้วย นอกจากนี้ ผลจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งในบราซิล เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการตัดอ้อยส่งเข้า โรงงาน และทำให้คาดว่าในปีนี้จะมีอ้อยมากสุดเป็นประวัติการณ์ (บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด, 22 เม.ย. 2556) คาดการณ์ราคาในเดือนพฤษภาคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาเฉลี่ยของน้ำตาลทรายในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ประมาณร้อยละ 1.2–1.5 อยู่ที่ราคา 18.80-18.85 เซนต์/ปอนด์ เนื่องจากระดับราคาน้ำตาล ทรายดิบทีต่ ำ่ ในช่วงนี้ ทำให้บราซิลเข้าซือ้ น้ำตาลคืนจากตลาด (Short-Covering) รวมทัง้ มีรายงานว่า โรงงานบางแห่งในบราซิลได้ทำการซื้อน้ำตาลคืนเพื่อนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลเพิ่มขึ้น

4. มันสำปะหลัง ราคามันสำปะหลัง เดือนเมษายน 2556 ราคาหัวมันสำปะหลังสดที่เกษตรกรขายได้ 2.25 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 3.21 ราคามันเส้นส่งออก (F.O.B.) 6.90 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.56 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

19


หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

สถานการณ์มันสำปะหลัง ปี 2556 คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.91 ล้านไร่ และผลผลิต 27.55 ล้านตัน คาดว่าเดือน เมษายน 2556 ผลผลิตจะออกสู่ตลาด 2.14 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 7.78 ของผลผลิตทั้งหมด ทั้งนี้ ผลผลิตออกสู่ตลาดแล้ว (ต.ค. 2555 -มี.ค. 2556) ประมาณ 21.35 ล้านตัน (ร้อยละ 77.52 ของผลผลิตทัง้ หมด) และออกสูต่ ลาดมากทีส่ ดุ ในเดือนกุมภาพันธ์ ประมาณ 5.19 ล้านตัน (ร้อยละ 18.85 ของผลผลิตทั้งหมด) ในเดือนนี้ ราคามันสำปะหลังปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง ราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมีแนวโน้มสูงขึ้น สาเหตุจากผลผลิตของประเทศคู่แข่งลดลง และประเทศคู่ค้าสำคัญโดยเฉพาะจีนมีความต้องการ อย่างต่อเนือ่ ง ประกอบกับปีนี้ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการรับจำนำมากกว่าปีทผี่ า่ นมาในช่วงเดียวกัน ทำให้การแทรกแซงราคามันสำปะหลังโดยนโยบายรัฐส่งผลในทิศทางที่ดี ทั้งนี้ ยังมีความกังวล เกี่ยวกับสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตร โดยสินค้าที่ ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และสินค้าประมง อย่างไรก็ตาม หากค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลต่อปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรโดย ภาพรวมของประเทศให้ลดลง และส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยได้ คาดการณ์ราคาในเดือนพฤษภาคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้จะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2-3 อยู่ที่ราคา 2.29-2.32 บาท/กก. เนื่องจากผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง และยังคง มีความต้องการมันสำปะหลังอย่างต่อเนื่อง

20

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


5. ปาล์มน้ำมัน ราคาปาล์มน้ำมันเฉลี่ยเดือนเมษายน 2556 ราคาเฉลี่ยของปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ เท่ากับ 3.17 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 10.70 ราคาขายส่งเฉลี่ยของปาล์มน้ำมัน ณ ตลาดกรุงเทพฯ เท่ากับ 3.58 บาท/กก. ลดลงจาก เดือนก่อน ร้อยละ 9.37 สถานการณ์ปาล์มน้ำมัน ราคาเฉลี่ยของปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้ในเดือนเมษายน 2556 ได้ปรับตัวลดลง เนือ่ งมาจากราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัวลดลง โดยราคาซือ้ ขายน้ำมันดิบ Brent ต่ำกว่าบาร์เรลละ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ และน้ำมันดิบ West Texas Intermediate มีราคาซื้อขายใกล้ระดับต่ำสุด ในรอบ 4 เดือน เนื่องจากสหรัฐอเมริกามีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลดลง ทำให้การผลิตไบโอดีเซล ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ความต้องการน้ำมันปาล์มดิบลดลง ประกอบกับปริมาณผลผลิตถั่วเหลือง ออกสู่ตลาดมาก ส่งผลให้ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบตลาดโลกลดลงด้วย คาดการณ์ราคาในเดือนพฤษภาคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรขายได้จะยังคงลดลงอีกเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 1.00-5.50 อยูท่ ี่ราคา 3.00-3.13 บาท ตามความต้องการผลผลิตปาล์มน้ำมัน ของตลาดโลกที่ลดลง อีกทั้งมาเลเซียยังคงไม่เปลี่ยนแปลงการเก็บภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ ร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นระดับขั้นต่ำสำหรับการจัดเก็บภาษีตามที่กรมศุลกากรกำหนด เนื่องจาก ต้องการกระตุ้นการส่งออกและลดปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มดิบ ทำให้แนวโน้มราคา และการ ส่งออกของไทยยังมีปริมาณลดลง

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและกรมการค้าภายใน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

21


6. ไก่เนื้อ

หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

ราคาไก่เนื้อเดือนเมษายน 2556 ราคาไก่เนือ้ ทีเ่ กษตรกรขายได้เฉลีย่ ทัง้ ประเทศ เท่ากับ 43.41 บาท/กก. เพิม่ ขึน้ จากเดือนก่อน ร้อยละ 3.77 ราคาขายส่งไก่เนื้อมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ย เท่ากับ 47.00 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 20.68 สถานการณ์ ไก่เนื้อ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ในเดือนเมษายน 2556 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว เนื่องจากสภาพอากาศยังคงร้อนส่งผลให้ไก่โตช้า ทำให้ปริมาณไก่เนื้อออกสู่ตลาดไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงเพิ่มขึ้นเพราะเข้าสู่ช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ สถานการณ์การส่งออกไก่ ปี 2556 คาดว่ายอดส่งออกไก่เนื้อจะเพิ่มขึ้นเป็น 620,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 70,000 ล้านบาท หรือมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 11-12% เทียบกับปี 2555 ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้นมาจากการเปิดตลาดไก่สดของหลายตลาด โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างสหภาพยุโรป และตลาดญี่ปุ่นที่จะเปิดตามมา นอกจากนี้ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ได้เดินทางมาตรวจประเมินระบบการควบคุมการเลี้ยงสัตว์ปีกของประเทศไทย เพื่อ จะอนุญาตให้นำเข้าเนื้อสัตว์ปีกสดได้อีกครั้ง ประกอบกับอยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาอนุญาต ให้ส่งออกสินค้าเนื้อไก่ดิบไปยังประเทศสิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ คาดว่าจะสามารถส่งออกไก่เนื้อ ไปยังประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ได้ประมาณช่วงกลางปี 2556 ซึ่งจะทำให้ ส่งออกเนื้อสัตว์ปีกดิบได้เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 100,000 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 9,000 ล้านบาท (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, 24 เมษายน 2556)

22

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


คาดการณ์ราคาไก่เนื้อในเดือนพฤษภาคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่าราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้จะลดลงจากเดือนก่อนประมาณ ร้อยละ 1.0-2.0 อยู่ที่ราคา 42.54-42.98 บาท/กก. เนื่องจากสภาพอากาศยังคงร้อน ส่งผลให้ ไก่โตช้า ทำให้ปริมาณไก่เนื้อออกสู่ตลาดไม่มากนักซึ่งใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อไก่ที่ ลดลงเล็กน้อย อันเป็นผลมาจากการบริโภคที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และโรงเรียนในหลายพื้นที่ยังไม่ เปิดภาคเรียน จึงส่งผลให้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย

7. กุ้งขาวแวนนาไม ราคากุ้งขาวแวนนาไมเดือนเมษายน 2556 ราคากุ้งขาวแวนนาไมที่เกษตรกรขายได้ 193.47 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 8.45 ราคาขายส่งกุ้งขาวแวนนาไม ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร 200.28 บาท/กก. เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนร้อยละ 10.76

หมายเหตุ: ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและตลาดกลางกุ้งสมุทรสาคร วิเคราะห์โดยศูนย์วิจัย ธ.ก.ส.

สถานการณ์กุ้งขาวแวนนาไม สำหรับราคากุง้ ขาวแวนนาไมในเดือนนีป้ รับตัวสูงขึน้ เนือ่ งจากสภาพอากาศร้อนทำให้กงุ้ ขาว เจริญเติบโตช้า และปัญหาการระบาดของโรคกุ้งตายด่วน (EMS) ทำให้มีปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ ตลาดน้อย สำหรับปัญหาโรคตายด่วนในกุ้งขาวแวนนาไม เกิดจากการตายอย่างผิดปกติของ กุ้งขาวแวนนาไมที่เลี้ยงในฟาร์ม เนื่องจากอาการตับเสื่อมเฉียบพลัน ซึ่งแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และสร้างความเสียหายแก่เกษตรกร ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งประสบภาวะขาดทุน และยัง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

23


ไม่มนั่ ใจในการลงกุง้ เพราะมีความเสีย่ งทีจ่ ะขาดทุนค่อนข้างสูง ทัง้ นี้ กรมประมงได้จดั ทำโครงการ รวมพลังยับยั้ง EMS มาตั้งแต่ปี 2555 และได้ดำเนินการปรับปรุงสุขอนามัยโรงเพาะฟักกุ้งทะเล ต้นน้ำ โรงผลิตนอเพลียส รวม 27 แห่งทั่วประเทศ มีการปรับปรุงวิธีการผลิตลูกกุ้งขาว แวนนาไมระยะหลังวัยอ่อน และจำหน่ายลูกกุ้งขาวที่ได้มาตรฐานโดยมีโรงอนุบาลกุ้งที่เข้าร่วม โครงการ 56 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งส่งเสริมและให้คำแนะนำแก่เกษตรกรที่เลี้ยงบ่อดินเพื่อ ป้องกันการสูญเสียจากกลุ่มอาการตายด่วนต่อไป คาดการณ์ราคาในเดือนพฤษภาคม 2556 ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดว่า ราคาที่เกษตรกรขายได้จะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนประมาณร้อยละ 1-2 อยูท่ รี่ าคา 195-197 บาท/กก. เนือ่ งจากความต้องการของตลาดมีอย่างต่อเนือ่ ง และผลผลิต กุ้งขาวออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากสภาพอากาศร้อน และปัญหาการระบาดของโรคกุ้งตายด่วน

24

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556




Food Feed Fuel

สรุปสถานการณ์สินค้าเกษตรเดือนพฤษภาคม และแนวโน้มเดือนมิถุนายน 2556 1. ภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบัน ภาวะการค้าโดยรวมมีแนวโน้มชะลอต่อเนื่องจากเดือนเมษายน ภาวะการค้าจะเคลื่อนไหว ไม่มากนักเนื่องจากอยู่ในช่วงเตรียมเปิดภาคเรียน ผู้ปกครองมีความต้องการใช้เงินเพื่อการศึกษา ของบุตรหลาน ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือน ข้าวรอบ 2 ปีการผลิต 2555/56 (นาปรัง ปี 2556) ผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ราคาอยู่ในเกณฑ์ดีตามมาตรการรับจำนำ แต่การส่งออกชะลอตัว เนื่องจากข้าวไทยราคาสูงกว่า ประเทศคู่แข่ง และค่าเงินบาทที่แข็งตัว ยางพารา ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น แต่ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น และตลาดต่างประเทศ ชะลอตัว คาดว่าราคาจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก มันสำปะหลัง ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ราคามีแนวโน้มขยับตัวสูงขึ้น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นช่วงปลายฤดูราคายังเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากขึ้น แต่การแทรกแซงตลาดของภาครัฐจะช่วยพยุง ราคาได้ระดับหนึ่ง ถั่วเหลือง (ฤดูแล้ง) เป็นช่วงปลายฤดูราคาอยู่ในเกณฑ์ดี มะพร้าว ผลผลิตฤดูใหม่เริ่มออกสู่ตลาดแต่ปริมาณไม่มาก แนวโน้มราคาอยู่ในเกณฑ์ดี ปลาป่น แม้ว่าจะสิ้นสุดการปิดอ่าว (16 พ.ค. 56) แต่วัตถุดิบยังมีน้อย ราคายังเคลื่อนไหว อยู่ในเกณฑ์ดี สุกร ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง ตามภาวะการค้าทีช่ ะลอตัว เนือ่ งจากราคาโดยเปรียบเทียบ ยังสูงกว่าอาหารโปรตีนชนิดอื่น ประกอบกับครัวเรือนมีรายจ่ายในช่วงเปิดภาคเรียนมากขึ้น และ คาดว่าปริมาณสุกรจะมีออกสู่ตลาดได้มากขึ้น ไก่เนื้อ การเลี้ยงบางพื้นที่ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ แนวโน้มราคายังเคลื่อนไหวอยู่ใน เกณฑ์สูง

ที่มา: สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร พฤษภาคม 2556 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

25


ไข่ไก่ ปริมาณโดยรวมลดลงจากช่วงที่ผ่านมา แต่ความต้องการในช่วงเปิดภาคเรียนจะมี มากขึ้น ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น กุ้งขาวฯ ผลผลิตออกสู่ตลาดได้มากขึ้นแต่ก็ยังไม่มากเท่าภาวะปกติ แนวโน้มราคายัง เคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง สับปะรด แม้ว่าจะเข้าสู่ช่วงผลผลิตออกมาก แต่ผลจากภัยแล้งทำให้ผลผลิตยังออกสู่ตลาด น้อย ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น มะนาว ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลงตามปริมาณที่จะออกสู่ตลาดมากขึ้น ผลไม้ (ภาคตะวันออก : ทุเรียน เงาะ มังคุด) ออกสู่ตลาดมาก แต่ภาครัฐมีมาตรการเร่ง ระบายผลผลิต รณรงค์การบริโภคทัง้ ในประเทศ และต่างประเทศ คาดว่าจะช่วยพยุงราคาในพืน้ ที่ ไม่ให้อ่อนตัวลงได้ระดับหนึ่ง หอมแดง เป็นช่วงปลายฤดู ผลผลิตมีน้อย แนวโน้มราคาอยู่ในเกณฑ์ดี พริกใหญ่สด ผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง เกลือทะเล ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง 2. ภาวะการณ์ผลผลิตสินค้าเกษตรของโลก กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) ได้ประเมินสถานการณ์และแนวโน้มการผลิตสินค้า เกษตรสำคัญของโลกในฤดูการผลิต ปี 2556/57 ณ เดือนพฤษภาคม 2556 ไว้ ดังนี้ 2.1 พืชน้ำมัน คาดว่าในฤดูการผลิตปี 2556/57 จะมีผลผลิตพืชน้ำมัน (ไม่รวมน้ำมันปาล์ม) ประมาณ 491.34 ล้านตัน มากกว่าปี 2555/56 (469.43 ล้านตัน) ประมาณ 21.90 ล้านตัน (+4.67%) สำหรับพืชน้ำมันที่คาดว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ถั่วเหลือง ผลผลิต 285.51 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 16.40 ล้านตัน (+6.09%) เมล็ดในปาล์ม ผลผลิต 15.21 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.68 ล้านตัน (+4.68%) เนื้อมะพร้าวแห้ง ผลผลิต 5.98 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.02 ล้านตัน (+0.34%) เรปซีด ผลผลิต 63.39 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.26 ล้านตัน (+3.70%) เมล็ดทานตะวัน ผลผลิต 40.04 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 3.68 ล้านตัน (+10.13%) ส่วนพืชน้ำมันที่คาดว่าผลผลิต จะลดลง ได้แก่ เมล็ดฝ้าย ผลผลิต 44.80 ล้านตัน ลดลง 0.50 ล้านตัน (-1.11%) ถัว่ ลิสง ผลผลิต 36.41 ล้านตัน ลดลง 0.63 ล้านตัน (-1.71%) สำหรับ น้ำมันปาล์ม คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 58.07 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2.78 ล้านตัน (+5.03%) 2.2 ธัญพืช ในปี 2556/57 USDA คาดว่าผลผลิตธัญพืชจะมีประมาณ 1,954.403 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 170.488 ล้านตัน (+9.56%) โดยสถานการณ์รายพืชสรุป ได้ ดังนี้

26

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


2.2.1 ข้าวสาลี มีผลผลิตประมาณ 701.099 ล้านตัน มากกว่าปี 2555/56 (655.637 ล้านตัน) 45.462 ล้านตัน (+6.93%) เนื่องจากราคาในปีที่ผ่านมาผลผลิตมีน้อย ราคาค่อนข้างดี จูงใจให้ขยายการเพาะปลูก ประเทศที่คาดว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นมาก เช่น รัสเซีย EU ยูเครน คาซัสสถาน ออสเตรเลีย และแคนาดา เป็นต้น 2.2.2 ธัญพืชเมล็ดหยาบ คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 1,253.304 ล้านตัน มากกว่า ปีที่ผ่านมา (1,128.278 ล้านตัน) ประมาณ 125.026 ล้านตัน (+11.08%) โดยมีผลผลิต รายสินค้า ดังนี้ ข้าวโพดฯ ผลผลิต 965.939 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 108.820 ล้านตัน (+12.70%) ข้าวบาเลย์ ผลผลิต 137.882 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 7.968 ล้านตัน (+6.13%) ข้าวฟ่าง ผลผลิต 62.690 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5.343 ล้านตัน (+9.32%) ข้าวโอ๊ต ผลผลิต 22.489 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.522 ล้านตัน (+7.26%) ข้าวไรน์ ผลผลิต 15.258 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.051 ล้านตัน (+7.40%) 2.3 ข้าวสาร USDA คาดว่าผลผลิตปี 2556/57 มีประมาณ 479.261 ล้านตัน มากกว่า ปีที่ผ่านมา (470.219 ล้านตัน) ประมาณ 9.042 ล้านตัน (+1.92%) ขณะที่ความต้องการ บริโภคข้าวของโลกมีประมาณ 476.844 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา (469.850 ล้านตัน) ประมาณ 6.994 ล้านตัน (+1.49%) ส่วนสต๊อกปลายปี 2556/57 คาดว่าจะเพิม่ ขึน้ มาอยูท่ รี่ ะดับ 107.844 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา 2.417 ล้านตัน (+2.29%) ส่วนการค้าข้าวในตลาดโลก ในปี 2556/57 USDA คาดว่าจะมีประมาณ 38.637 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา (38.602 ล้านตัน) ประมาณ 0.09 ล้านตัน สำหรับปริมาณการส่งออก USDA ยังคาดว่าไทย และอินเดีย จะส่งออกได้เท่ากันที่ระดับ 8.5 ล้านตัน และเวียดนามประมาณ 7.7 ล้านตัน ตามลำดับ สำหรับราคาส่งออกข้าวไทยเมือ่ วันที่ 15 พฤษภาคม 2556 (สมาคมผูส้ ง่ ออกข้าวไทย) ราคาข้าวหอมมะลิ ชัน้ 1 ใหม่ (f.o.b.) ตันละ 1,214 เหรียญสหรัฐฯ ข้าวขาว 100% ชัน้ 2 (f.o.b.) ตันละ 573 เหรียญสหรัฐฯ และข้าวนึ่ง 100% (f.o.b.) ตันละ 556 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนข้าว สหรัฐฯ (เมล็ดยาว #4/5) ตันละ 680 เหรียญสหรัฐฯ ข้าวขาว 5% เวียดนาม ตันละ 370 เหรียญสหรัฐฯ อินเดีย ตันละ 450 เหรียญสหรัฐฯ ปากีสถาน ตันละ 435 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนข้าวนึ่งอินเดีย และปากีสถาน ตันละ 435 และ 450 เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ 3. แนวโน้มสถานการณ์เดือนมิถุนายน 2556 ข้าวรอบ 2 ปีการผลิต 2555/56 (นาปรัง ปี 2556) ผลผลิตยังออกสูต่ ลาดมาก แนวโน้ม ราคายังเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดีตามมาตรการรับจำนำ ยางพารา ผลผลิตออกสูต่ ลาดมากขึน้ ขณะทีต่ ลาดยังชะลอตัว แนวโน้มราคายังเคลือ่ นไหว อยู่ในระดับต่ำ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

27


มันสำปะหลัง เป็นช่วงปลายฤดูผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ราคามีแนวโน้มขยับตัวสูงขึ้น ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ อยูร่ ะหว่างการเพาะปลูกฤดูใหม่ คาดว่าจะมีปริมาณใกล้เคียงกับปีทผี่ า่ นมา (4.98 ล้านตัน) จะเริ่มเก็บเกี่ยวออกสู่ตลาดได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม เป็นต้นไป สำหรับผลผลิต ฤดูก่อนราคายังเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี ปาล์มน้ำมัน คาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากขึ้น แต่การค้ายังชะลอตัวและสต๊อกน้ำมันฯ ยังมีมาก แนวโน้มราคายังเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ ถัว่ เหลือง ถัว่ ฤดูแล้งออกสูต่ ลาดหมดแล้ว ส่วนถัว่ ฤดูฝนจะเริม่ ออกสูต่ ลาดในเดือนสิงหาคม มะพร้าว ผลผลิตออกสูต่ ลาดมากขึน้ ขณะทีค่ วามต้องการมีอย่างต่อเนือ่ ง แนวโน้มราคาอยูใ่ น เกณฑ์ดี ปลาป่น ความต้องการใช้ชะลอตัว คาดว่าราคาจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก สุกร ปริมาณมีเพียงพอกับความต้องการ แนวโน้มราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี ไก่เนื้อ คาดว่าการผลิตจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แนวโน้มราคาจะอ่อนตัวลงได้ระดับหนึ่ง ไข่ไก่ ราคายังมีแนวโน้มเคลือ่ นไหวอยูใ่ นเกณฑ์สงู เนือ่ งจากสภาพอากาศไม่เอือ้ อำนวย และ เป็นช่วงที่แม่ไก่ไข่รุ่นใหม่ให้ผลผลิต ซึ่งเป็นไข่ขนาดเล็ก กุง้ ขาวแวนนาไม ผลผลิตจะออกสูต่ ลาดได้มากขึน้ แนวโน้มราคาอ่อนตัวลงแต่ยงั เคลือ่ นไหว อยู่ในเกณฑ์สูง สับปะรด คาดว่าผลผลิตยังมีไม่มาก แนวโน้มราคาจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก มะนาว เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ผลผลิตจะมีมากขึ้น ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง ผลไม้ (ภาคตะวันออก : ทุเรียน เงาะ มังคุด) ออกสู่ตลาดมาก ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง พริกใหญ่สด ผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลง เกลือทะเล ปริมาณมีเพียงพอกับความต้องการ ราคาจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก

แนวโน้มสถานการณ์รายกลุ่มสินค้า 3.1 กลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออก สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ (1) ข้าว กระทรวงเกษตรฯ ประมาณการผลผลิตข้าวรอบ 2 ปี 2555/56 (ข้าว นาปรัง ปี 2556 ณ มี.ค. 56) มีประมาณ 9.904 ล้านตัน น้อยกว่าปีที่ผ่านมา 2.319 ล้านตัน (-18.98%) เนื่องจากสภาพอากาศมีความแห้งแล้ง ปริมาณน้ำมีไม่เพียงพอที่จะทำนาปรัง ในหลายพืน้ ที่ ปัจจุบนั ยังมีผลผลิตออกสูต่ ลาดมาก โดยคาดว่าในเดือนมิถนุ ายน และกรกฎาคม จะมี ผลผลิตออกสูต่ ลาดประมาณ 1.39 และ 1.12 ล้านตัน ตามลำดับ ราคาข้าวเปลือกทีเ่ กษตรกรขายได้ ยังเคลือ่ นไหวอยูใ่ นเกณฑ์ดตี ามมาตรการรับจำนำของรัฐบาล สำหรับผลผลิตข้าวรอบ 1 ปีการผลิต

28

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


2556/57 กระทรวงเกษตรฯ คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 27.550 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 2.22 โดยผลผลิตจะเริ่มเก็บเกี่ยว และทยอยออกสู่ตลาดได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2556 เป็นต้นไป ภาวะการค้า ราคาซื้อขายข้าวเปลือกในตลาดสำคัญ (ณ 17 พ.ค. 56) เป็นดังนี้ ข้าวเปลือกเจ้า 5% ตันละ 9,800-10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 15,200-16,800 บาท และข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 13,000-14,200 บาท ส่วนการค้าข้าวสาร ราคาซือ้ ขายเป็นดังนี้ ข้าวขาว 100% ชัน้ 2 กระสอบละ 1,570-1,580 บาท ข้าวหอมมะลิ 100% ชัน้ 2 กระสอบละ 3,230-3,250 บาท ข้าวเหนียว 10% เมล็ดยาว กระสอบละ 2,400- 2,410 บาท และข้าวนึ่ง 100% กระสอบละ 1,530-1,550 บาท การส่งออก ในปี 2556 ไทยตัง้ เป้าการส่งออกไว้ที่ 8.5 ล้านตัน ปัจจุบนั (1 ม.ค.14 พ.ค. 56) ไทยส่งออกข้าวไปแล้ว 2.212 ล้านตัน น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีทผี่ า่ นมา (2.546 ล้านตัน) ร้อยละ 13.12 ผลการรับจำนำ ข้าวเปลือก ปี 2555/56 ณ วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 - ข้าวเปลือก รอบที่ 1 รับจำนำได้แล้ว 14,072,706 ตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือก เจ้า 9,567,626 ตัน ข้าวเปลือกหอมมะลิ 3,320,491 ตัน ข้าวเปลือกหอมจังหวัด 494,304 ตัน ข้าวเปลือกปทุมธานี 35,635 ตัน ข้าวเปลือกเหนียว 654,651 ตัน - ข้าวเปลือก รอบที่ 2 รับจำนำได้แล้ว 3,377,158 ตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือก เจ้า 3,257,528 ตัน ข้าวเปลือกปทุมธานี 9,145 ตัน ข้าวเปลือกเหนียว 110,485 ตัน (2) มันสำปะหลัง เป็นช่วงปลายฤดูผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลงตามลำดับ โดยใน เดือนมิถุนายน จะมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 0.561 ล้านตัน และเดือนกรกฎาคม 0.627 ล้านตัน ประกอบกับราคาแอลกอฮอล์ในจีนอ่อนตัวลงทำให้มีการใช้ข้าวโพดฯ เป็นวัตถุดิบในการ ผลิตทดแทนมากขึน้ ส่งผลให้การส่งออกชะลอตัว ปัจจุบนั ราคาหัวมันสดทีเ่ กษตรกรขายได้ เชือ้ แป้ง 25% จ.นครราชสีมา (17 พ.ค. 56) เฉลี่ย กก. ละ 2.45-2.55 บาท สูงกว่าราคาเฉลี่ยในเดือน ที่ผ่านมา (2.47 บาท/กก.) กก. ละ 0.03 บาท ราคามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากสภาพความ แห้งแล้งทีเ่ ป็นอุปสรรคในการขุดหัวมัน และผลจากปริมาณหัวมันสดโดยรวมในปีนที้ คี่ าดว่าจะมีนอ้ ย กว่าที่คาดการณ์ไว้ สำหรับปี 2556/57 กระทรวงเกษตรฯ คาดว่าจะเพาะปลูกมันฯ ได้ผลผลิต ประมาณ 29.034 ล้านตัน มากกว่า ปี 2555/56 (27.547 ล้านตัน) ร้อยละ 5.51 ผลการรับจำนำ (ณ 9 พ.ค. 56) เปิดจุดรับจำนำแล้ว 665 จุด เป็นลานมัน 619 จุด โรงแป้ง 55 จุด ผลผลิตที่รับจำนำได้ 9,957,698 ตัน แยกเป็นลานมัน 6,178,379 ตัน และ โรงแป้ง 3,779,319 ตัน ซึง่ ธกส. ได้จา่ ยเงินให้เกษตรกรไปแล้ว เป็นเงิน 26,766.99 ล้านบาท (3) ไก่เนื้อ กระทรวงเกษตรฯ คาดว่าในปี 2556 จะมีผลผลิตประมาณ 1,104.051 ล้านตัว หรือคิดเป็นซากบริโภคประมาณ 1.513 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.53 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

29


จะใช้บริโภคภายในประเทศประมาณ 0.9-1.0 ล้านตัน และส่งออกประมาณ 0.4-0.5 ล้านตัน ปัจจุบันผลกระทบจากปัญหาในระบบการเลี้ยงไก่เนื้อที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่ ทำให้ปริมาณไก่ที่เข้าสู่ ตลาดมีนอ้ ยลงแต่ยงั เพียงพอกับการบริโภค ราคาไก่มชี วี ติ หน้าโรงฆ่า (17 พ.ค. 56) ราคา กก. ละ 46-48 บาท สูงกว่าราคาเฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมาประมาณ กก. ละ 1.67 บาท แนวโน้มความ ต้องการจะปรับตัวสูงขึน้ ในช่วงเปิดภาคเรียน ทัง้ นี้ หากผูเ้ ลีย้ งยังไม่สามารถควบคุมระบบการผลิต ให้กลับสู่ภาวะปกติได้ ก็อาจมีผลกระทบต่อระดับราคาซื้อขายในตลาดได้ สำหรับการส่งออกในปี 2556 (ม.ค.-มี.ค. 56) ไทยส่งออกเนือ้ ไก่และผลิตภัณฑ์ไปแล้ว 126,777 ตัน มูลค่า 16,162 ล้านบาท แนวโน้มการส่งออกยังอยู่ในเกณฑ์ดี (4) กุ้งขาวแวนนาไม กรมประมงคาดว่าใน ปี 2556 จะมีผลผลิตกุ้งขาวฯ ประมาณ 0.399 ล้านตัน น้อยกว่าปีที่ผ่านมา (0.458 ล้านตัน) ร้อยละ 12.88 เนื่องจากสภาพอากาศ แปรปรวน และเกิดปัญหาในระบบการเลีย้ ง ผลผลิตกุง้ ส่วนใหญ่ของไทยใช้เพือ่ การส่งออก แนวโน้ม การส่งออกใน ปี 2556 ยังต้องประสบกับการกีดกันทางการค้าของประเทศคู่ค้า รวมทั้งปริมาณ ผลผลิตที่น้อยลงในช่วงต้นปี ซึ่งจะมีผลกระทบทำให้การส่งออกในปีนี้อาจน้อยกว่าปีที่ผ่านมามาก ปัจจุบันราคากุ้งขาวฯ ในประเทศเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดีตามปริมาณผลผลิตที่มีน้อย สำหรับ ราคาซื้อขายกุ้งขาวแวนนาไม ณ ตลาดกลางสมุทรสาคร (17 พ.ค. 56) ขนาด 60 ตัว/กก. อยู่ที่ กก. ละ 205 บาท สูงกว่าเดือนที่ผ่านมาเฉลี่ย กก. ละ 3 บาท แนวโน้มราคายังเคลื่อนไหว อยูใ่ นเกณฑ์ดี สำหรับการส่งออก ปี 2556 (ม.ค.-มี.ค. 56) ส่งออกไปแล้ว ปริมาณ 0.06 ล้านตัน มูลค่า 16,442 ล้านบาท 3.2 กลุม่ สินค้าทีผ่ ลิตเพือ่ บริโภคภายในประเทศ สถานการณ์สนิ ค้าเกษตรทีส่ ำคัญ ได้แก่ (1) ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ เป็นช่วงปลายฤดูปกี ารผลิต 2555/56 ต่อต้นฤดูปี 2556/57 ซึ่งเกษตรกรอยู่ระหว่างการเพาะปลูกข้าวโพดฤดูใหม่ สำหรับผลผลิตฤดูก่อนยังมีออกสู่ตลาด ประปราย ในปีการผลิต 2556/57 กระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์ จะมีผลผลิตประมาณ 4.985 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปี 2555/56 (4.965 ล้านตัน) ขณะที่ความต้องการใช้ในเบื้องต้นคาดว่า จะมีประมาณ 4.5-4.7 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ผลจากราคาในฤดูที่ผ่านมาที่เคลื่อนไหวอยู่ใน เกณฑ์สูง จะมีผลให้เกษตรกรขยายการเพาะปลูกเพิ่มขึ้นจากที่ประมาณการณ์ไว้ ปัจจุบัน (17 พ.ค. 56) ราคาซื้อขายในแหล่งผลิต จ.เพชรบูรณ์ กก. ละ 8.83-9.01 บาท สูงกว่าเดือนที่ผ่านมา เฉลีย่ (8.79 บาท) กก. ละ 0.13 บาท คาดว่าราคาข้าวโพดฯ ยังเคลือ่ นไหวอยูใ่ นเกณฑ์ดตี อ่ เนือ่ ง ไปจนถึงผลผลิตฤดูใหม่ออกสู่ตลาด (2) ปาล์มน้ำมัน กระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์ผลผลิต ปี 2556 (ณ มี.ค. 56) ว่ามี ประมาณ 12.024 ล้านตัน มากกว่าปี 2555 (11.327 ล้านตัน) ร้อยละ 6.15 คิดเป็น น้ำมันปาล์มดิบประมาณ 2.044 ล้านตัน สำหรับความต้องการใช้คาดว่าจะอยู่ในระดับ 1.9-2.0 ล้านตัน แบ่งเป็นน้ำมันบริโภค 1.0 ล้านตัน ผลิตไบโอดีเซล 0.6-0.7 ล้านตัน ส่งออกประมาณ 0.3 ล้านตัน และคาดว่าจะมีสต๊อกสำรองในประเทศอีกประมาณ 0.4-0.5 ล้านตัน ปัจจุบัน

30

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


เริ่มเข้าสู่ช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ประกอบกับสต๊อกน้ำมันฯ ในระบบที่ยังมีมาก ส่งผลให้ ราคาผลปาล์มที่เกษตรกรขายได้เคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ สำหรับราคาที่เกษตรกรขายได้ (น้ำมัน 17%) ณ 17 พ.ค. 56 เฉลี่ย กก. ละ 3.30-3.60 บาท ใกล้เคียงกับราคาเฉลี่ยในเดือนที่ ผ่านมา (3.43 บาท) คาดว่าภาครัฐจะเข้าช่วยพยุงราคาโดยการแทรกแซงรับซื้อน้ำมันฯ จาก โรงสกัดฯ ในส่วนของปริมาณที่ ยังไม่ได้ดำเนินการอีก 50,000 ตันน้ำมันฯ เพือ่ ให้ครบตามเป้าหมาย 100,000 ตันต่อไป (3) สุกรมีชีวิต กระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์ปริมาณสุกรขุน ปี 2556 มีประมาณ 13.072 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจาก ปี 2555 (12.828 ล้านตัว) ร้อยละ 1.90 และมากกว่าความ ต้องการภายในประเทศที่คาดว่าจะมีประมาณ 12.42 ล้านตัว ผลผลิตส่วนเกินต้องระบายส่งออก ไปประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงเพื่อรักษาระดับราคาภายในประเทศ ปัจจุบันผลผลิตที่ออกสู่ตลาด มีเพียงพอกับความต้องการ แนวโน้มความต้องการจะปรับตัวดีขึ้นจากการเปิดภาคเรียน คาดว่า ระดับราคาจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ ณ 17 พฤษภาคม 2556 (ภาคกลาง) กก. ละ 63-64 บาท อ่อนตัวลงจากเดือนที่ผ่านมาเฉลี่ย กก. ละ 3.44 บาท แต่ยัง สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (พ.ค. 55) เฉลี่ย กก. ละ 1.71 บาท (4) ไข่ไก่ กระทรวงเกษตรฯ คาดว่าในปี 2556 จะมีผลผลิตไข่ไก่ในระบบประมาณ 11,421 ล้านฟอง สูงกว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 4.41 และมากกว่าความต้องการบริโภคในประเทศ ที่คาดว่าจะมีประมาณ 11,186 ล้านฟอง ผลจากที่ผ่านมามีปริมาณไข่ไก่ในระบบค่อนข้างมาก จนต้องใช้มาตรการปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรงออกบางส่วน รณรงค์เพิ่มการบริโภค รวมทั้งการปรับลด การผลิตแม่ไก่ไข่ลง ทำให้ปัจจุบันปริมาณผลผลิตส่วนเกินมีปริมาณลดลง และผลผลิตที่ออกสู่ ตลาดในช่วงนี้ส่วนใหญ่เป็นไข่ขนาดกลาง และเล็ก ส่วนไข่ขนาดใหญ่มีปริมาณน้อยลง แนวโน้ม ความต้องการจะมีเพิม่ ขึน้ หลังจากเปิดภาคเรียน สำหรับราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม (ณ 17 พ.ค. 56) ฟองละ 3.10 บาท สูงกว่าราคาเฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมาเฉลี่ย ฟองละ 0.37 บาท และคาดว่าราคา จะยังเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์สูงต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง 3.3 กลุ่มสินค้าที่ต้องนำเข้า สถานการณ์สินค้าที่สำคัญมีดังนี้ (1) ถั่วเหลือง USDA คาดการณ์ผลผลิตถั่วเหลืองโลก ปี 2556/57 มีประมาณ 285.504 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา 16.398 ล้านตัน (+6.09%) ขณะที่ความต้องการใช้ คาดว่ามีประมาณ 239.209 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ 9.921 ล้านตัน (+4.33%) สำหรับผลผลิตถัว่ เหลือง ฤดูแล้งของไทยใน ปี 2555/56 มีประมาณ 0.079 ล้านตัน ซึง่ ผลผลิตออกสูต่ ลาดเกือบหมดแล้ว ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี สำหรับราคาเมล็ดถั่วเหลืองขายส่งตลาด กทม. เกรดสกัดน้ำมัน (17 พ.ค. 56) กก. ละ 18.50-18.80 บาท ต่ำกว่าราคาเฉลีย่ ในเดือนทีผ่ า่ นมา (19.03 บาท/กก.) กก. ละ 0.38 บาท แนวโน้มราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

31


(2) กากถั่วเหลือง USDA คาดการณ์ผลผลิตกากถั่วเหลืองโลก ปี 2556/57 คาดว่าจะมีปริมาณ 188.719 ล้านตัน มากกว่าปีที่ผ่านมา (180.994 ล้านตัน) 7.725 ล้านตัน เมือ่ รวมกับสต๊อกปลายปียกมาจำนวน 9.329 ล้านตัน จะมีผลผลิต กากถัว่ เหลืองรวม 198.048 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการใช้มีประมาณ 185.778 ล้านตัน สำหรับกากถั่วฯ ที่ไทยผลิตได้ ในปี 2556 มีประมาณ 1.163 ล้านตัน แบ่งเป็นกากถั่วฯ ที่ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองที่ปลูกใน ประเทศ 0.013 ล้านตัน และผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองนำเข้า 1.150 ล้านตัน ในขณะที่ความ ต้องการใช้คาดว่ามีประมาณ 3.973 ล้านตัน จะต้องนำเข้าให้พอใช้อีกประมาณ 2.5-3.0 ล้านตัน ปัจจุบนั (17 พ.ค. 56) ราคาขายส่งกากถัว่ ฯ ทีผ่ ลิตจากเมล็ดในประเทศ กก. ละ 20.2020.25 บาท กากถั่วฯ ที่ผลิตจากเมล็ดนำเข้า กก. ละ 17.50-17.70 บาท อ่อนตัวลงจากราคา เฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมา กก. ละ 0.38 บาท และ 1.73 บาท ตามลำดับ (3) ปลาป่น ผลผลิตใน ปี 2556 คาดว่าจะมีประมาณ 0.50 ล้านตัน ใกล้เคียง ปี 2555 (0.493 ล้านตัน) แต่มากกว่าปริมาณความต้องการใช้ในประเทศที่คาดว่าจะมีประมาณ 0.466 ล้านตัน ร้อยละ 7.30 อย่างไรก็ตาม ผลจากสภาพอากาศแปรปรวนทำให้ปริมาณ ปลาเป็ดที่เข้าโรงงานปลาป่นมีน้อย ในขณะที่ความต้องการของโรงงานอาหารสัตว์ในช่วงนี้ยังมี ปริมาณไม่มากนัก มีผลทำให้ราคาอ่อนตัว ปัจจุบนั (17 พ.ค. 56) ราคาปลาป่นโปรตีน 60% ลงมา กลิ่นเบอร์ 2 เฉลี่ย กก. ละ 25 บาท ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมา กก. ละ 2 บาท 4. มาตรการแก้ ไขปัญหา/การช่วยเหลือผ่านกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (ณ 5 เม.ย. 56) ในปีงบประมาณ 2556 คชก. ได้อนุมัติเงินกองทุนรวมฯ เพื่อดำเนินการช่วยเหลือสินค้า เกษตรด้านการตลาดไปแล้วเป็นจำนวนเงิน 3,144,122,180 บาท จำแนกเป็น 1. โครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกร วงเงิน 61.80 ล้านบาท (มีเงือ่ นไขว่าจะดำเนินการ เมื่อราคาสุกรมีชีวิตเท่ากับหรือต่ำกว่ากิโลกรัมละ 55 บาท ซึ่งขณะนี้ราคายังสูงกว่าราคาที่ กำหนด) 2. โครงการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ ปี 2555 วงเงิน 132,412,680 บาท ปัจจุบัน ใช้เงินดำเนินงานตามโครงการฯ ไปแล้ว 97.87 ล้านบาท 3. การแก้ ไ ขปั ญ หาน้ ำ มั น ปาล์ ม และราคาผลปาล์ ม ตกต่ ำ ปี 2555-2556 วงเงิ น 2,792.596 ล้านบาท ปัจจุบัน อคส. ได้จ่ายเงินตามโครงการฯ ในรอบที่ 1 ไปแล้ว 1,084.378 ล้านบาท 4. โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาผลไม้ภาคตะวันออก ปี 2556 วงเงิน 137.1365 ล้านบาท (อยู่ระหว่างดำเนินการ) 5. โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาลิ้นจี่ ปี 2556 วงเงิน 20.177 ล้านบาท (อยู่ระหว่าง ดำเนินการ)

32

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556



Explore your opportunities. Evonik opens a world of nutrition services and products – with new possibilities for more efficient, sustainable and profitable feed and animal production. You know what really counts.

Find out more by scanning this code with the QR-reader of your mobile-camera.

www.evonik.com/feed-additives feed-additives@evonik.com

Evonik (Thailand) LTD 25th Fl, Exchange Tower, Unit 2503 388 Sukhumvit Rd, Klongtoey Bangkok 10110

12-01-510 AZ EYO -Explore your opportunities- Reisfelder A4 englisch.indd 1

20.12.12 14:09


Food Feed Fuel

พยากรณ์ ส น ิ ค้ า เกษตร ช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2556 สัญลักษณ์

ปกติ

มีปัญหาราคาสูง

มีปัญหาราคาต่ำ

ช่วงพยากรณ์ การพยากรณ์ในช่วง 3 เดือน มิ.ย. 56 ก.ค. 56 ส.ค. 56 กลุ่มสินค้าผลิตเพื่อส่งออก ข้าวนาปรัง ผลผลิตข้าวนาปรัง ปี 2556 (ข้าวเปลือก ปี 55/56 รอบ 2) ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่ ในปริมาณที่ลดน้อยลง ภาครัฐมีมาตรการรับจำนำ รองรับ ส่งผลให้ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนข้าวนาปี ปี 2556/57 คาดว่าในบางพื้นที่ จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือน ส.ค. เป็นต้นไป มันสำปะหลัง เป็นช่วงปลายฤดู ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยมาก ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี หรืออาจจะปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ยางพารา ปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากมีฝนตก ในแหล่งผลิต ขณะที่ความต้องการใช้ของโรงงาน ภายในประเทศยังมีอยู่ แต่ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยัง ชะลอส่งผลให้ราคาเคลื่อนไหวไม่มากนัก ไก่เนื้อ ภาวะการผลิตปกติ ปริมาณผลผลิตมีมากเพียงพอ กับความต้องการ ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ดี กุ้ง (ขาวปริมาณกุ้งยังออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากมีปัญหา แวนนาไม) ในระบบการเลี้ยง แนวโน้มราคายังเคลื่อนไหว อยู่ในเกณฑ์สูง สับปะรด แม้ว่าจะอยู่ในช่วงผลผลิตออกมาก แต่ผลจาก ภัยแล้งทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยกว่าที่คาดไว้ ระดับราคาอยู่ในเกณฑ์ดี และสูงกว่าช่วงต้นปี กลุ่มสินค้าผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ ข้าวโพด อยู่ในช่วงเพาะปลูกข้าวโพดฤดูใหม่ ปี 56/57 เลี้ยงสัตว์ คาดว่าจะมีประมาณ 4.985 ล้านตัน ใกล้เคียง กับปีที่ผ่านมา ในบางพื้นที่เริ่มเก็บเกี่ยวได้แล้ว แต่ จะออกมากช่วง ส.ค-พ.ย. 56 แนวโน้มราคาจะ อ่อนตัวตามฤดูกาล ประกอบกับ ครม. เห็นชอบ ให้ขยายเวลาการนำเข้าในกรอบ AFTA และ ACMECS จากสิ้นสุด ก.ค. เป็นสิ้นสุด ส.ค. 56 สินค้า

หมายเหตุ ช่วงออกสู่ตลาด ก.พ.-ต.ค.

พ.ย. 55-มี.ค. 56 (ช่วงออกมาก) ม.ค.-ธ.ค.

เม.ย.-พ.ค. มิ.ย.-พ.ย. (ช่วงออกมาก 60%) ม.ค.-ธ.ค.

มิ.ย.-พ.ค.

 ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

33




สินค้า

ช่วงพยากรณ์ มิ.ย. 56 ก.ค. 56 ส.ค. 56

ปาล์มน้ำมัน

มะพร้าวผล

มะนาว ผลไม้

ลิ้นจี่

สุกร ไข่ไก่ เกลือทะเล กลุ่มสินค้าที่ต้องนำเข้า ถั่วเหลือง - ฤดูฝน ปลาป่น

34

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

หมายเหตุ ช่วงออกสู่ตลาด ผลผลิตจะออกสู่ตลาดน้อยกว่าที่ กษ. ประมาณการ ม.ค.-ธ.ค. 56 ไว้ แนวโน้มราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์ที่เกษตรกร (ออกมาก ก.ค.-ธ.ค. ออกน้อย ม.ค.-มิ.ย.) พอใจ เนื่องจากภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือในช่วง เดือน มิ.ย. 56 การส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำกะทิเข้าสู่ภาวะปกติ ม.ค.-ธ.ค. ความต้องการใช้ของโรงงานมีอย่างต่อเนื่อง ราคา อยู่ในเกณฑ์ดี ผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ราคามีแนวโน้ม มิ.ย.-ก.ย. ปรับตัวลง ผลไม้ภาคตะวันออก ออกสู่ตลาดมากในช่วง มิ.ย. พ.ค.-ก.ค. และปริมาณจะลดลงในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. และ จะมีผลผลิตจากภาคใต้ออกมาสมทบอีกจำนวนหนึ่ง ราคามีแนวโน้มปรับตัวลดลง พ.ค.-มิ.ย. ลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยซึ่งเพาะปลูกมากที่สุด จะออกสู่ ตลาดหมดในเดือน มิ.ย. และพันธุ์จักรพรรดิ์ จะออกต่อเนื่องมา แต่ปริมาณไม่มากนัก ราคา เคลื่อนไหวอยู่ ในเกณฑ์ดี ปริมาณผลผลิตเพียงพอ ราคายังเคลื่อนไหวอยู่ใน ม.ค.-ธ.ค. เกณฑ์ค่อนข้างสูงต่อเนื่อง Egg Board คาดการณ์ผลผลิตเพิ่มขึ้นในระดับ ม.ค.-ธ.ค. ภาวะปกติ ราคายังมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี ผลผลิตมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการ ม.ค.-ธ.ค. แนวโน้มราคาจะเคลื่อนไหวไม่มากนัก การพยากรณ์ในช่วง 3 เดือน

คาดว่าถั่วฝนจะออกสู่ตลาดราวปลายเดือน ส.ค. 56 ผลผลิตมีคุณภาพไม่ดีนัก คาดว่าราคา จะอยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณวัตถุดิบออกสู่ตลาดไม่มากนัก เนื่องจาก เป็นช่วงมรสุม ราคาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ส.ค.-ธ.ค. 56

ม.ค.-ธ.ค. 56


Food Feed Fuel นโยบายและมาตรการการนำเข้า

กากถั่วเหลือง ปี 2555-57 ๏ กากถั่วเหลือง ๏ สถานการณ์โลก

กากถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบหมวดโปรตีน ที่มีคุณภาพสูงและมีปริมาณการผลิตมากที่สุด จากวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งหมด โดยมีปริมาณ ผลผลิตเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง (ปี 2551/522555/56) ประมาณ 170.51 ล้านตัน หรือคิด เป็นร้อยละ 67 ของวัตถุดบิ อาหารสัตว์ทงั้ หมด ที่มีปริมาณเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง 252.75 ล้าน ตัน รองลงมาได้แก่ กากเรพซีด กากเมล็ด ฝ้าย กากเมล็ดทานตะวัน กากเนือ้ ในเมล็ดปาล์ม กากถั่วลิสง ปลาป่น และเนื้อมะพร้าวแห้ง

ที่มา: กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา มีนาคม 2556

การผลิต ในปี 2555/56 กระทรวงเกษตรของ สหรัฐอเมริกา คาดว่าปริมาณการผลิตกาก ถัว่ เหลืองจะมีประมาณ 181.94 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จากปีก่อนที่มีการผลิต 179.36 ล้านตัน หรือ เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 1.44 โดยมีจนี เป็นผูผ้ ลิตรายใหญ่ เพือ่ การบริโภคภายในประเทศ มีปริมาณผลผลิต 52 ล้านตัน หรือร้อยละ 28.58 ของปริมาณ การผลิต รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกา ซึ่ง เดิมเคยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับหนึ่งของโลก มีปริมาณผลผลิต 34.88 ล้านตัน หรือร้อยละ 19.17 ของปริมาณการผลิตของโลก บราซิล ผลิตได้ 28.60 ล้านตัน (ร้อยละ 15.72) อาร์เจนตินาผลิตได้ 28.07 ล้านตัน (ร้อยละ 15.43)

ที่มา: กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา มีนาคม 2556 ที่มา: สำนักส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร กรมการค้าภายใน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

35


ปริมาณการผลิต และความต้องการใช้กากถั่วเหลืองโลก1/ (ล้านตันเมตรติกตัน)

ปี 54/55 (ประมาณการ) โลก2/ สหรัฐอเมริกา ประเทศอื่นๆ ประเทศผู้ส่งออก3/ อาร์เจนตินา บราซิล อินเดีย ประเทศผู้นำเข้า4/ สหภาพยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้5/ ปี 55/56 (คาดการณ์) โลก2/ สหรัฐอเมริกา ประเทศอื่นๆ ประเทศผู้ส่งออก3/ อาร์เจนตินา บราซิล อินเดีย ประเทศผู้นำเข้า4/ สหภาพยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้5/

สต๊อก ต้นปี 8.97 0.32 8.65 5.73 2.70 2.89 0.14 1.59 0.49 0.81 สต๊อก ต้นปี 10.14 0.27 9.87 6.76 3.79 2.87 0.11 1.65 0.29 1.15

การผลิต 179.36 37.22 142.14 64.26 27.95 28.63 7.68 13.59 9.57 2.53 การผลิต 181.94 34.88 147.06 64.59 28.07 28.60 7.92 13.45 9.30 2.72

นำเข้า 57.33 0.20 57.14 0.04 0.00 0.03 0.01 34.54 20.81 11.45 นำเข้า 57.76 0.32 57.44 0.06 0.00 0.05 0.01 34.24 20.50 11.37

การใช้ สต๊อก ส่งออก ทั้งหมด ปลายปี 176.86 58.66 10.14 28.62 8.84 0.27 148.23 49.82 9.87 18.15 45.11 6.76 0.82 26.04 3.79 14.00 14.68 2.87 3.33 4.39 0.11 47.14 0.92 1.65 29.71 0.88 0.29 13.60 0.04 1.15 การใช้ สต๊อก ส่งออก ทั้งหมด ปลายปี 181.02 59.61 9.22 27.13 8.07 0.27 153.90 51.53 8.94 18.99 45.93 6.49 0.89 27.00 3.97 14.40 14.68 2.44 3.70 4.25 0.08 47.16 0.67 1.51 29.25 0.63 0.21 14.07 0.04 1.13

ที่มา: กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ พยากรณ์ มี.ค. 56 1/ การผลิตเป็นไปตามปีการผลิตของตลาดท้องถิ่น โดยอาร์เจนตินา และบราซิลจะมีการผลิตช่วงตุลาคม ถึงกันยายน 2/ การนำเข้า และส่งออกทั่วโลกไม่อาจสมดุลได้ เนื่องจากความแตกต่างของปีการผลิตของตลาดท้องถิ่น และความล่าช้าของการ รายงานการนำเข้า และส่งออกดังกล่าว ดังนั้น อุปทานของโลกอาจไม่เท่ากับความต้องการใช้ของโลก 3/ อาร์เจนตินา บราซิล และอินเดีย 4/ กลุ่มสหภาพยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และญี่ปุ่น 5/ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทย

36

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


การใช้

ที่มา: กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา มีนาคม 2556

การค้า การส่งออกกากถัว่ เหลืองในปี 2555/56 กระทรวงเกษตรของสหรัฐอมริกา คาดว่าจะมี ประมาณ 59.61 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งมีการส่งออก 58.66 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.61 โดยมีอาร์เจนตินาเป็นผู้ส่งออก รายใหญ่ มีปริมาณการส่งออก 27 ล้านตัน หรือร้อยละ 45.30 ของปริมาณการส่งออก รองลงมาได้ แ ก่ บราซิ ล 14.68 ล้ า นตั น (ร้อยละ 24.62) สหรัฐอเมริกา 8.07 ล้านตัน (ร้อยละ 13.55) อินเดีย 4.25 ล้านตัน (ร้อยละ 7.13) และปารากวัย 1.65 ล้านตัน (ร้อยละ 2.77)

การใช้ของโลกในปี 2555/56 กระทรวง เกษตรของสหรัฐอมริกา คาดว่าจะมีประมาณ 181.02 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ น ซึง่ มีปริมาณ 176.86 ล้านตัน หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 2.36 โดย มีจีนเป็นผู้ใช้รายใหญ่ที่มีการใช้ภายใประเทศ ถึง 50.85 ล้านตัน หรือร้อยละ 28.09 ของ การใช้ทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มประเทศ ทางแถบยุโรป 29.25 ล้านตัน สหรัฐอเมริกา ใช้ภายในประเทศ 27.13 ล้านตัน บราซิล ใช้ภายในประเทศ 14.40 ล้านตัน

การนำเข้า การนำเข้ากากถัว่ เหลืองในปี 2555/56 กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะมี ประมาณ 57.76 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่งมีการนำเข้า 57.33 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.75 โดยมีผู้นำเข้ารายใหญ่ในกลุ่ม ประเทศทางแถบยุโรป นำเข้า 35.49 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ กลุ่มประเทศทางแถบเอเชีย คือ อินโดนีเซีย นำเข้า 3.18 ล้านตัน ไทย นำเข้าเป็นอันดับ 3 ปริมาณ 2.80 ล้านตัน ญี่ปุ่น 2.37 ล้านตัน เวียดนาม นำเข้า 2.34 ล้านตัน

ราคา ราคากากถัว่ เหลืองซือ้ ขายล่วงหน้าตลาด ชิคาโก ปี 2553 เฉลี่ย กก. ละ 10.54 บาท ลดลงจาก ปี 2552 ที่มีราคาเฉลี่ย กก. ละ 12.37 บาท โดยราคาโน้มลดลงต่ำสุดในเดือน มีนาคม 2553 เหลือ กก. ละ 9.54 บาท เนือ่ ง จากผลผลิตแถบอเมริกาใต้ ได้แก่ อาร์เจนตินา ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

37


บราซิล ทยอยออกสูต่ ลาด และมีปริมาณมากกว่าทีค่ าดการณ์ ประกอบกับความวิตกเกีย่ วกับภาวะ เศรษฐกิจของจีน และสหรัฐฯ ที่ชะลอตัว อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นราคาได้โน้มสูงขึ้นตามลำดับ และสูงสุดทีต่ นั ละ 12.68 บาท ในเดือนมกราคม 2554 ตามความต้องการใช้ของโลกทีม่ ปี ริมาณ มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับภาวะขาดแคลน ธัญพืชอาหารสัตว์ และราคาน้ำมันดิบที่โน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต่อมาราคาในช่วงกลางปี 2554 เคลื่อนไหวไม่มากนัก โดยราคาเฉลี่ยปี 2554 อยู่ที่ กก. ละ 11.49 บาท สูงขึ้นจากปีก่อนที่เฉลี่ย กก. ละ 10.54 บาท หรือสูงขึ้นร้อยละ 9.01 เนื่องจากในช่วงต้นปีมีการประท้วงของคนงาน ในอาร์เจนตินา ทำให้ภาวะการส่งออกของอาร์เจนตินาชะลอตัว ในขณะที่ความต้องการใช้ มีมากขึน้ ผูน้ ำเข้าจึงนำเข้าจากสหรัฐฯ มากขึน้ และโน้มลดลงต่ำสุดในเดือนธันวาคม 2554 เฉลีย่ กก. ละ 10.04 บาท สำหรับราคาเฉลีย่ ปี 2555 อยูท่ ี่ กก. ละ 14.78 บาท ราคาเคลือ่ นไหวสูงขึน้ จากปี 2554 จากภาวะแห้งแล้งในแหล่งปลูกถั่วเหลือง และความต้องการใช้ในภาคปศุสัตว์ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ ปริมาณการส่งออกของสหรัฐฯ มีมากขึ้น โดยราคาสูงสุดอยู่ที่เดือนสิงหาคม 2555 ที่ กก. ละ 18.49 บาท ในช่วงปลายปีที่ผลผลิตแถบอเมริกาใต้ออกสู่ตลาดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาโน้มลดลง ต่อเนื่องถึงปี 2556 ราคาช่วงมกราคม-มีนาคม 2556 อยู่ระหว่าง 13.80-14.06 บาท สถานการณ์ประเทศไทย การผลิต ปัจจุบนั มีโรงงานสกัดน้ำมันถัว่ เหลืองจำนวน 6 ราย ในปี 2555 โรงงานสกัดน้ำมันถัว่ เหลือง ใช้เมล็ดถั่วเหลืองในการผลิต 1.680 ล้านตัน แยกเป็นเมล็ดถั่วเหลืองที่ผลิตในประเทศ 0.020 ล้านตัน เมล็ดถั่วเหลืองนำเข้า 1.660 ล้านตัน ผลิตกากถั่วเหลืองได้ประมาณ 1.147 ล้านตัน จากเมล็ดในประเทศ 0.013 ล้านตัน จากเมล็ดนำเข้า 1.134 ล้านตัน น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ ประมาณ 0.229 ล้านตัน และถั่วเหลืองนึ่ง (Full Fat Soy) ประมาณ 0.129 ล้านตัน ปริมาณการผลิตกากถั่วเหลือง ถั่วนึ่ง และนำเข้ากากถั่วเหลือง ปี 2551 2552 2553 2554 2555 เฉลี่ย อัตราเพิม่ (55/54)

38

ผลผลิตจากการสกัด เมล็ดใน เมล็ดนำเข้า รวม 19,108 924,016 943,124 21,835 928,231 950,066 24,889 1,040,449 1,065,338 15,187 1,219,010 1,234,197 12,612 1,134,320 1,146,932 18,726 1,049,205 1,067,931 -16.96% -6.95% -7.07%

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

หน่วย: ตัน

นำเข้า

รวม

2,193,220 2,076,634 2,615,567 2,398,644 2,814,917 2,419,796 17.35%

3,136,344 3,026,700 3,680,905 3,632,841 3,961,849 3,487,728 9.06%

ผลผลิตถั่วนึ่ง 110,680 125,583 150,978 126,831 129,442 128,703 2.06%


การนำเข้า การผลิตกากในประเทศ (จากเมล็ดในประเทศ และเมล็ดนำเข้า) ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ผลิตได้ประมาณร้อยละ 30 จำเป็นต้องนำเข้าประมาณร้อยละ 70 ของความต้องการใช้รวม หรือเฉลี่ยนำเข้าประมาณปีละ 2 ล้านกว่าตัน โดยในปี 2555 นำเข้าจำนวน 2,814,917 ตัน มูลค่า 42,210 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ซึ่งนำเข้าจำนวน 2,398,644 ตัน มูลค่า 33,472 ล้านบาท แหล่งนำเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ บราซิล ร้อยละ 49 อาร์เจนตินา ร้อยละ 35 และอินเดีย ร้อยละ 15 สำหรับปี 2556 (ม.ค.-ก.พ.) มีการนำเข้าแล้วจำนวน 519,993 ตัน มูลค่า 9,403 ล้านบาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่นำเข้าปริมาณ 415,455 ตัน หรือ สูงขึ้นร้อยละ 25.16 ปริมาณ และมูลค่าการนำเข้ากากถั่วเหลืองรายประเทศ ปี 2553-2556 ปริมาณ: ตัน  มูลค่า: ล้านบาท

HS 23040000000 2553 2554 CIF ประเทศ ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า บ/กก. บราซิล 1,318,211 16,990 12.89 1,386,890 16,990 อาร์882,860 10,705 12.13 732,076 10,705 เจนตินา อินเดีย 214,515 3,068 14.30 274,878 3,068 สหรัฐฯ 193,125 2,891 14.97 3,618 2,891 38 1 30.86 46 1 เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย - ไต้หวัน - 53 มาเลเซีย 1 0 9.08 3 0 เวียดนาม แคนาดา 1 1 461 0 1 ฟิลิปปินส์ 0 0 234 0 0 ญี่ปุ่น - จีน 13 21.59 21.59 - 21.59 เรอูนียง 6,803 15.54 15.54 1,007 15.54 อินโดนีเซีย - 72 1 เกาหลีเหนือ - 0 รวม 2,615,567 33,762 12.91 2,398,644 33,472

HS 23040090000 2555 2556 (ม.ค.-ก.พ.) CIF CIF CIF ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า บ/กก. บ/กก. บ/กก. 12.89 1,385,327 20,914 15.10 142,144 2,597 18.27 12.13 984,329 14,534 14.77 181,578 3,294 18.14

สัดส่วนการนำเข้า 54 55 56 58 49 27 31 35 35

14.30 422,510 6,397 15.14 193,242 3,453 17.87 11 15 37 14.97 15,664 251 16.05 2,929 56 19.01 0 1 1 30.86 5,548 95 17.15 - 0 0 9.08 461 234 21.59 15.54 0 13.95

1,484 53 1,400 0.011 0.004 0.004 2,814,917

19 1 0.009 0.003 0.004 0.001 42,210

12.51 22.83 70 2 6.29 240 974 318 17 1 13 0 15.00 519,993 9,403

22.04 71.35 37.87 18.08

0 0 0 0 0 0 0 100

0 0 0 0 0 0 100

0 0 0 100

ที่มา: กรมศุลกากร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

39


ประชากรสัตว์และความต้องการใช้ ในปี 2556 คาดว่าจะมีปริมาณประชากรสัตว์ (ไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร เป็ดเนื้อ เป็ดไข่ โคนม) รวมประมาณ 1,480.87 ล้านตัว เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่มีประชากรสัตว์กลุ่มเดียวกันที่ประมาณ 1,349.58 ล้านตัว หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.73 1) 2) 3) 4) 5) 6)

ล้านตัว 2552 2553 2554 2555 2556 ไก่เนื้อ (ทุกระดับ) 957.32 998.17 1,100.10 1,223.76 1,348.63 ไก่ไข่ (ทุกระดับ) 63.92 67.24 76.00 77.83 83.36 สุกร (ทุกระดับ) 11.00 11.85 13.78 14.74 15.62 เป็ดเนื้อเป็ดไข่ 32.30 32.30 32.80 32.90 32.90 โคนม 0.33 0.33 0.34 0.35 0.36 รวม 1,064.87 1,109.89 1,223.02 1,349.58 1,480.87 กุ้งและสัตว์น้ำ (ล้านตัน) 0.78 0.79 0.86 0.91 0.90

%∆ +10.20 +7.11 +5.97 0 +2.86 +9.73 -2.05

ที่มา: สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย

ล้านตัน (1) (2) (3) (4) (5) (6)

ไก่เนื้อ (ทุกระดับ) ไก่ไข่ (ทุกระดับ) สุกร (ทุกระดับ) เป็ดเนื้อเป็ดไข่ โคนม กุ้งและสัตว์น้ำ รวม %∆

ปี 2555 ล้านตัน ร้อยละ 5.604 36 2.506 16 4.882 32 0.443 3 0.024 4 1.440 9 15.451 100

ปี 2556 ล้านตัน ร้อยละ 6.176 37 2.662 16 5.192 31 0.443 3 0.591 4 1.410 9 16.475 100 +6.63

ประชากรสัตว์ในปี 2556 ในภาพรวมแล้วเพิ่มขึ้นจากปี 2555 โดยจำนวนสัตว์บกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.73 ส่งผลให้ความต้องการใช้อาหารสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.63 เป็นความต้องการใช้ใน อาหารไก่เนือ้ ร้อยละ 37 ของความต้องการใช้อาหารสัตว์ทงั้ หมด รองลงมาได้แก่ สุกร ไก่ไข่ กุง้ และสัตว์น้ำ โคนม เป็ดเนื้อ และเป็ดไข่ การค้า ภาวะการค้าโดยทั่วไปใน ปี 2555 ราคาในประเทศเคลื่อนไหวสูงขึ้นจากปีก่อน เนื่องจาก ช่วงปี 2554 เกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันปาล์มบริโภค โรงงานสกัดน้ำมันถัว่ เหลืองจึงเร่งสกัดน้ำมัน เพือ่ ทดแทน ความต้องการใช้นำ้ มันเพือ่ บริโภคดังกล่าว ส่งผลให้ปริมาณกากถัว่ เหลืองในปี 2554

40

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556




ออกสูต่ ลาดในปริมาณมาก ราคาจึงอยูใ่ นเกณฑ์ ต่ำ ประกอบกับในปี 2555 ตลาดต่างประเทศ มีราคาโน้มสูงขึ้นจากภาวะความแห้งแล้ง และ ความต้ อ งการใช้ ข องภาคปศุ สั ต ว์ ข องไทยที่ สูงขึ้นตามปริมาณการเลี้ยงที่มีมากขึ้น โดย ราคาขายส่งตลาด กทม. กากที่ผลิตจากเมล็ด ในประเทศ และจากเมล็ดนำเข้าเฉลี่ย กก. ละ 18.66 และ 17.83 บาท โดยราคาสูงสุดช่วง เดือนกันยายน 2555 ที่ กก. ละ 21.98 บาท และ 21.81 บาทตามลำดับ สำหรับปี 2556 ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์สูง ราคาขายส่ง ตลาด กทม. เฉลี่ย ม.ค.-มี.ค. 56 กากผลิต จากเมล็ดในประเทศ และจากเมล็ดนำเข้าที่ กก. ละ 20.33 บาท และ 18.10 บาทตามลำดับ และราคากากนำเข้า เฉลี่ย ม.ค.-มีค. 56 กก. ละ19.18 บาท นโยบายรัฐบาล 1. นโยบายและมาตรการการนำเข้า มาตรการนำเข้าที่ผ่านมา 1.1 ประเทศไทยมีข้อผูกพันในการเปิด ตลาดนำเข้าสินค้ากากถั่วเหลือง ในปี 2539 จำนวน 220,000 ตัน อัตราภาษีในโควตา ร้อยละ 20 นอกโควตาร้อยละ 145 ในกรณี สินค้าเกษตรรายการใดจำเป็นต้องเปิดตลาด

โดยมีปริมาณในโควตา อากรนำเข้าในโควตา และนอกโควตา แตกต่ า งจากที่ ผู ก พั น ไว้ กั บ WTO ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพจิ ารณาให้ความ เห็นชอบทุกรายการสินค้าเป็นแต่ละครั้งไป 1.2 มติ ค ณะรั ฐ มนตรี เมื่ อ วั น ที่ 16 มกราคม 2539 เห็นชอบให้เปิดตลาดสินค้า กากถั่วเหลือง โดยกำหนดปริมาณนำเข้าใน โควตา 830,000 ตัน อากรนำเข้าในโควตา ร้อยละ 15 และนอกโควตาร้อยละ 119 มีผลใช้ บังคับตั้งแต่ มกราคม-ธันวาคม 2539 1.3 มติ ค ณะรั ฐ มนตรี เ มื่ อ วั น ที่ 15 ตุลาคม 2539 เห็นชอบนโยบายและมาตรการ นำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ปี 2540 (กากถั่วเหลือง ข้าวโพดเลีย้ งสัตว์ ปลาป่น) โดยกำหนด อัตราภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองที่ร้อยละ 10 เป็นนโยบายระยะยาว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 เป็นต้นไป 1.4 เพือ่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ทัง้ ภายในประเทศและต่างประเทศ คณะกรรมการ นโยบายอาหารจะพิ จ ารณากำหนดนโยบาย เป็นปีตอ่ ปี เพือ่ ประเมินสถานการณ์และกำหนด นโยบาย และมาตรการการนำเข้าภายใต้ทุก กรอบการค้าระหว่างประเทศ และการนำเข้า ทั่วไปตามกฎหมายศุลกากรให้ครอบคลุมการ นำเข้าทั้งระบบ ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

41


พิจารณาต่อไป หลังจากมีมติคณะรัฐมนตรีแล้ว ฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายอาหาร นำมติให้กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) เพือ่ ออกประกาศลด/ยกเว้นอากร และให้กรมการค้า ต่างประเทศ ออกระเบียบการนำเข้า โดยให้มี ผลบังคับใช้ตงั้ แต่วนั ที่ 1 มกราคม ของปีบงั คับใช้ มาตรการ มาตรการนำเข้า ปี 2555-2557 คณะกรรมการนโยบายอาหารโดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็ น กรรมการและเลขานุ ก าร ได้ พิ จ ารณา กำหนดนโยบายและมาตรการนำเข้ากากถั่วเหลือง ปี 2555-2557 เมือ่ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554 เห็นชอบดังนี้ 1) การนำเข้าภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) 1.1) กำหนดอากรนำเข้าในโควตา ร้อยละ 2 และผู้มีสิทธินำเข้า 9 ราย ประกอบ ด้วย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคม ผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ เพื่อการส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้า และการส่งออก สมาคมปศุสัตว์ไทย สมาคม ส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบ อาหารสัตว์ สมาคมผู้ผลิตสุกรแห่งชาติ และ ชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด (เพิม่ ชุมนุมฯ ในปี 2556) โดยมีเงื่อนไขผู้มีสิทธิ นำเข้าให้ความร่วมมือรับซือ้ กากถัว่ เหลืองทีผ่ ลิต จากเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศของโรงงานสกัด

42

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

น้ำมันพืชทัง้ หมด ในราคา ณ หน้าโรงงานสกัด น้ำมันพืช ตลาด กทม. ไม่ตำ่ กว่า กก. ละ 11.25 บาท ในปี 2555 และ กก. ละ 12.13 บาท ในปี 2556 โดยต้องทำสัญญาการปฏิบตั ติ ามเงือ่ นไข ดังกล่าวไว้กับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ หากมีผู้ยื่นขอมีสิทธิ นำเข้ารายใหม่ให้อยู่ในดุลยพินิจของประธาน กรรมการนโยบายอาหารพิจารณาตามความ จำเป็ น และเหมาะสม 1.2) อากรนำเข้ า นอกโควตาร้อยละ 119 2) การนำเข้ า ภายใต้ เ ขตการค้ า เสรี อาเซียน (AFTA) อากรนำเข้าร้อยละ 0 3) การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรี ไทย-นิวซีแลนด์ (FTA) อากรนำเข้าร้อยละ 0 การนำเข้าตามความตกลงการค้าเสรี ไทย--ออสเตรเลีย (FTA) อากรนำเข้าร้อยละ 0 การนำเข้าตามความตกลงหุ้นส่วน เศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) อากรนำเข้า ร้อยละ 0 4) การนำเข้ า ภายใต้ เ ขตการค้ า เสรี อาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (AKFTA) อากร นำเข้า ปี 55 ร้อยละ 4.44 ปี 56 ร้อยละ 3.33 ปี 57 ร้อยละ 2.22 5) การนำเข้าทัว่ ไป อากรนำเข้าร้อยละ 6 และค่าธรรมเนียมพิเศษ ตันละ 2,519 บาท ทัง้ นี้ การนำเข้าตามข้อ 1)–5) ให้นำเข้า ได้ไม่จำกัดปริมาณ และช่วงเวลานำเข้า


การกำกับดูแลการนำเข้า โดยขอความร่วมมือกลุม่ ผูน้ ำเข้ากากถัว่ เหลืองภายใต้ WTO รายงานปริมาณการรับซือ้ และ จำหน่ายกากถั่วเหลืองนำเข้าจากต่างประเทศ การรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดในประเทศ และให้กลุ่มโรงงานสกัดน้ำมันถั่วเหลืองรายงานปริมาณการผลิตและจำหน่ายกากถั่วเหลืองที่ผลิต จากเมล็ดในประเทศเป็นประจำทุกเดือนตามแบบที่กำหนด 2. นโยบายการส่งออก การส่งออกกากถั่วเหลืองของประเทศไทยต้องขออนุญาตในการส่งออก ไม่เสียอากรส่งออก สรุปมาตรการนำเข้ากากถั่วเหลือง ปี 2550-2557 1. WTO ปริมาณนำเข้า ช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าในโควต้า ผู้มีสิทธินำเข้า ราคารับซื้อกาก (บ./กก.) อากรนำเข้านอกโควตา 2. AFTA อากรนำเข้า 3. ACMECS สิทธิภาษี-AISP 4. FTA ไทย-ออสเตรเลีย อากรนำเข้า 5. FTA ไทย-นิวซีแลนด์ อากรนำเข้า 6. FTA ไทย-ญี่ปุ่น อากรนำเข้า 7. อาเซียน-เกาหลี (AKFTA) อากรนำเข้า

ปี 2550

2551

2552

2553

2554

ไม่จำกัด ไม่จำกัด 4%

ไม่จำกัด ไม่จำกัด 4%

ไม่จำกัด ไม่จำกัด 2%

ไม่จำกัด ไม่จำกัด 2%

ไม่จำกัด ไม่จำกัด 2%

2555-57

ไม่จำกัด ไม่จำกัด 2% ปี 55 8 ราย 7 ราย 7 ราย 7 ราย 8 ราย 8 ราย ปี 56 9 ราย 9.85 9.85 10.90 10.90 11.25 12.13 119% 119% 119% 119% 119% 119% 5% 5% 5% 0% 0% 0% ---------------------------- ยกเลิกค่าธรรมเนียมพิเศษ ---------------------------- ------------------------ ไม่ได้ให้สิทธิกับสมาชิกอาเซียนใหม่ ----------------------- 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% 0% ยังไม่ได้ 0% 0% 0% 0% 0% เปิดตลาด ปี 55 4.44% 5.56% ปี 56 3.33% ------ ยังไม่ได้เปิดตลาด ------ 6.67% ปี 57 2.22%

8. นำเข้าทั่วไป (ม.12) อากรนำเข้า 6% 6% 6% 6% 6% 6% ค่าธรรมเนียมพิเศษ (บาท/ตัน) 2,519 2,519 2,519 2,519 2,519 2,519 ภายใต้เงื่อนไขการรับซื้อราคาขั้นต่ำ กากถั่วเหลืองจากเมล็ดในประเทศและเมล็ดเกรดสกัดน้ำมัน (บาท/กก.) ผู้นำเข้ากากรับซื้อกาก 9.85 9.85 10.90 10.90 11.25 12.13 ผู้นำเข้าเมล็ดรับซื้อเมล็ด 11.50 11.50 13.00 13.00 13.50 14.25

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

43


๏ เมล็ดถั่วเหลือง ๏ สถานการณ์โลก ถั่วเหลืองเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญในกลุ่ม พืชน้ำมันของโลก ที่มีผลผลิตมากเป็นอันดับสอง หรือคิดเป็นร้อยละ 27.37 ของพืชน้ำมันทัง้ หมด โดยผลผลิตมากเป็นอันดับหนึง่ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน คิดเป็นร้อยละ 34.12 รองลงมาได้แก่ เรพซีด ทานตะวัน เมล็ดในปาล์ม ถั่วลิสง ฝ้าย และ มะพร้าว การผลิต ในปี 2555/56 กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา คาดว่าพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองโลกจะมี ประมาณ 679.69 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีพื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้น 643.13 ล้านไร่ หรือ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.68 จะได้ผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองประมาณ 268 ล้านตัน สูงขึ้นจากปีก่อนที่มี ผลผลิตทั้งสิ้น 238.73 ล้านตัน หรือสูงขึ้นร้อยละ 12.26 และมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 394 กก./ไร่ สูงขึน้ จากปีกอ่ น ทีม่ ผี ลผลิตเฉลีย่ ต่อไร่ 371 กก./ไร่ หรือสูงขึน้ ร้อยละ 6.19 โดยมีผผู้ ลิตทีส่ ำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มีพนื้ ทีป่ ลูก 192.50 ล้านไร่ ผลผลิต 82.06 ล้านตัน ผลผลิตเฉลีย่ 426 กก. ต่อไร่ บราซิล พื้นที่ปลูก 171.88 ล้านไร่ ผลผลิต 83.50 ล้านตัน ผลผลิตเฉลี่ย 486 กก. ต่อไร่ อาร์เจนตินา พื้นที่ปลูก 120.94 ล้านไร่ ผลผลิต 51.50 ล้านตัน ผลผลิตเฉลี่ย 426 กก.ต่อไร่ พื้นที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ถั่วเหลืองโลกเฉลี่ย 5 ปี ย้อนหลัง (ปี 2551/522555/56) ปริมาณ 641.49 ล้านไร่ 248.67 ล้านตัน และ 387 กก./ไร่ ตามลำดับ พื้นที่เพาะปลูก ปริมาณผลผลิต ถั่วเหลืองโลก

44

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


ประเทศ

ปี 2554/55 พื้นที่ ผลผลิต

คาดการณ์ ปี 2555/56 เฉลี่ย ปี 2553/54-2555/56 เฉลี่ย ปี 2551/52-2555/56 พื้นที่ ผลผลิต พืน้ ที่ ผลผลิต พื้นที่ ผลผลิต

(ล้านไร่) (กก./ไร่) (ล้านตัน) (ล้านไร่) (กก./ไร่) (ล้านตัน) (ล้านไร่) (กก./ไร่) (ล้านตัน) (ล้านไร่) (กก./ไร่) (ล้านตัน)

โลก 643.13 371 สหรัฐอเมริกา 186.63 451 อเมริกาใต้ บราซิล 156.25 426 อาร์เจนตินา 109.88 365 ปารากวัย 18.50 235 โบลิเวีย 6.81 341 อุรุกวัย 5.63 285 เอเซียตะวันออก จีน 49.31 294 เกาหลีใต้ 0.50 264 เกาหลีเหนือ 0.81 216 ญี่ปุ่น 0.88 261 อินเดีย 64.19 171 แคนาดา 9.69 443 สหภาพโซเวียต (เดิม) อูเครน 6.94 326 รัสเซีย 7.38 237 เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซีย 2.81 221 เวียดนาม 1.25 240 ไทย 0.75 240 พม่า 1.06 194 ยุโรป 2.50 381 อิตาลี 1.50 533 ฝรั่งเศส 0.25 472 อาฟริกาแห่งทะเลทรายซาฮาราใต้ อาฟริกาใต้ 2.94 240 ไนจีเรีย 2.75 163 อูกานดา 0.94 176 เซอร์เบีย 1.06 403 เม็กซิโก 1.00 210 อิหร่าน 0.50 390 อื่นๆ 2.00 306

238.73 679.69 84.19 192.50

394 268.00 655.52 426 82.06 190.96

391 256.77 641.49 448 85.62 190.99

387 248.67 449 85.81

66.50 171.88 40.10 120.94 4.36 19.38 2.32 6.81 1.60 5.94

486 83.50 159.79 426 51.50 115.06 400 7.75 18.60 352 2.40 6.69 320 1.90 5.67

470 75.10 152.38 406 46.87 112.29 344 6.41 17.70 350 2.34 6.25 297 1.68 5.29

461 70.42 402 45.42 345 6.12 327 2.06 303 1.61

14.48 45.00 0.13 0.50 0.18 0.75 0.22 0.88 11.00 67.50 4.30 10.50

280 12.60 49.19 269 0.13 0.48 200 0.15 0.79 261 0.22 0.88 170 11.50 63.27 469 4.93 9.88

286 14.06 52.41 257 0.12 0.48 205 0.16 0.83 260 0.22 0.89 170 10.77 61.96 461 4.56 9.15

278 14.54 274 0.13 194 0.16 265 0.23 164 10.22 447 4.11

8.81 8.44

272 222

2.41 1.88

7.42 7.44

286 216

2.12 1.62

5.91 6.34

272 201

1.64 1.31

0.62 2.81 0.30 1.44 0.18 0.75 0.20 1.06 0.95 17.94 0.80 1.19 0.12 0.25

221 243 240 194 174 426 472

0.62 0.35 0.18 0.20 0.00 0.50 0.11

2.85 1.25 0.75 1.06 7.75 1.25 0.27

221 239 240 194 338 508 459

0.63 0.30 0.18 0.20 0.75 0.63 0.12

3.15 1.18 0.74 1.04 5.34 1.06 0.24

216 235 242 203 376 518 446

0.68 0.28 0.18 0.21 0.74 0.54 0.11

0.71 0.45 0.17 0.42 0.21 0.20 0.61

272 163 176 272 200 390 312

0.85 0.45 0.17 0.28 0.20 0.20 0.64

2.90 2.75 0.94 1.02 0.98 0.50 2.00

261 163 176 354 195 374 309

0.76 0.45 0.17 0.35 0.19 0.19 0.62

2.43 2.75 0.94 0.99 0.79 0.50 2.04

284 163 176 366 229 379 304

0.67 0.45 0.17 0.35 0.17 0.19 0.62

2.26 1.75

3.13 2.75 0.94 1.06 1.00 0.50 2.06

ที่มา: กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา มีนาคม 2556 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

45


การนำเข้า การนำเข้าเมล็ดถัว่ เหลืองโลกในปี 2555/56 คาดว่าจะมีประมาณ 96.89 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จากปีก่อนซึ่งมีการนำเข้า 93.21 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.94 ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ อันดับหนึ่ง ได้แก่ จีน ปริมาณการนำเข้า 63 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 65 ของปริมาณการนำเข้า ทัง้ โลก โดยนำเข้าเพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ นทีป่ ริมาณ 59.23 ล้านตัน หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 6.36 รองลงมา ได้แก่ สหภาพยุโรป เม็กซิโก ญีป่ นุ่ ไต้หวัน อินโดนีเซีย และไทย โดยนำเข้าคิดเป็นร้อยละ 11.97, 3.46, 2.84, 2.48, 2.06 และ 2.01 ของปริมาณการนำเข้าทั้งโลก ตามลำดับ การใช้ การใช้ของโลกในปี 2555/56 กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะมีประมาณ 260.87 ล้านตัน เพิม่ ขึน้ จากปีกอ่ น ซึง่ มีปริมาณ 256.18 ล้านตัน หรือเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 1.83 โดยมี จีนเป็นผูใ้ ช้รายใหญ่ทมี่ คี วามต้องการใช้ถงึ 76.83 ล้านตัน หรือร้อยละ 29.45 ของการใช้ทงั้ หมด โดยแยกเป็นความต้องการ เพื่อใช้สกัดน้ำมัน 65.65 ล้านตัน รองลงมา สหรัฐอเมริกาใช้ 47.21 ล้านตัน บราซิลใช้ 40.10 ล้านตัน อาร์เจนตินา 37.65 ล้านตัน ปริมาณการผลิต และความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองของโลก คาดการณ์ ปี 2555/56

โลก สหรัฐฯ ประเทศอื่น ประเทศส่งออกหลัก อาร์เจนตินา บราซิล ประเทศนำเข้าหลัก จีน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เม็กซิโก

สต๊อก ผลผลิต ยกมา 55.25 268.00 4.61 82.06 50.64 185.94 31.08 142.75 18.10 51.50 12.97 83.50 17.30 15.12 15.92 12.60 0.70 0.95 0.15 0.22 0.07 0.20

นำเข้า 96.89 0.54 96.35 0.21 0.19 86.56 63.00 11.60 2.75 3.35

ต้องการ ต้องการ ส่งออก ใช้สกัด ใช้ทงั้ หมด 230.58 260.87 99.06 43.95 47.21 36.61 186.63 213.66 62.46 75.10 80.08 54.70 36.00 37.65 10.90 36.90 40.10 38.40 86.35 103.15 0.35 65.65 76.83 0.30 11.80 12.70 0.03 1.89 2.92 3.57 3.60 -

หน่วย: ล้านตัน

สต๊อก ยกไป 60.21 3.40 56.82 39.26 21.05 18.16 15.47 14.39 0.52 0.20 0.02

ที่มา: กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา มีนาคม 2256

การค้า ในปี 2555/56 กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะมีการส่งออกเมล็ดถั่วเหลืองโลก ประมาณ 99.06 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งมีการส่งออก 90.42 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.55 โดยมีบราซิลเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่ง คาดว่าจะส่งออก 38.40 ล้านตัน สูงขึ้นจาก ปีก่อนซึ่งมีการส่งออก 36.32 ล้านตัน หรือสูงขึ้นร้อยละ 5.72 อันดับสองได้แก่ สหรัฐฯ ส่งออก

46

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


ที่มา: กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา มีนาคม 2256

36.61 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนที่ 37.06 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 1.21 และอาร์เจนตินา คาดว่าจะส่งออก 10.90 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ปริมาณ 7.37 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.89 รองลงมา ได้แก่ ปารากวัย และแคนาดา ราคา ราคาเมล็ดถัว่ เหลืองซือ้ ขายล่วงหน้าตลาด ชิคาโก ปี 2552 เฉลีย่ กก. ละ 13.05 บาท ราคา โน้มสูงขึ้นสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2552 ที่ กก. ละ 15.26 บาท และราคาอ่อนตัวลงช่วงปลายปี 2552 ต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2553 ที่เฉลี่ยทั้งปี กก. ละ 12.22 บาท เนื่องจากสภาพอากาศใน แหล่งปลูกของสหรัฐฯ บราซิล และอาร์เจนตินา เหมาะสมแก่การเพาะปลูกถั่วเหลือง ทำให้ปริมาณผลผลิตมีมาก และสต๊อกคงเหลือของโลก มีปริมาณมาก ในช่วงปี 2554 ราคาเฉลี่ยทั้งปี กก. ละ 14.69 บาท โน้มสูงขึ้นจากปี 2553 เนื่องจากปริมาณผลผลิตของบราซิล และอาร์เจนตินาลดน้อยลง จากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง และน้ำท่วมในหลายประเทศ ประกอบกับจีนมีการนำเข้าในปริมาณสูง จากความวิตกในภาวะ ขาดแคลนธัญพืชอาหารของโลก โดยราคาสูงสุดช่วงธันวาคม 2553 กก. ละ 14.56 บาท และ โน้มสูงขึน้ อีกในเดือนมกราคม 2554 กก. ละ 15.72 บาท ต่อมาราคาอ่อนตัวลง และต่ำสุดในเดือน ธันวาคม 2554 กก. ละ 13.15 บาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และผลผลิตของประเทศ บราซิล และอาร์เจนตินา จะออกมากในช่วงปลายปี สำหรับปี 2555 ราคาเคลื่อนไหวอยู่ในเกณฑ์สูง ราคาเฉลี่ยทั้งปี กก. ละ 16.79 บาท โดยราคาสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2555 เฉลีย่ กก. ละ 19.67 บาท เนือ่ งจากสหรัฐฯ ประสบภาวะ ภัยแล้ง ทำความเสียหายให้กับปริมาณและคุณภาพของผลผลิต อีกทั้งความต้องการใช้จากจีน ทีม่ ปี ริมาณมาก ทำให้นำเข้าถัว่ เหลืองจากสหรัฐฯ ในปริมาณมาก และในปี 2556 ราคาเคลือ่ นไหว อยู่ระหว่าง 15.90-16.08 บาท จากการคาดการณ์ของกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ ที่คาดว่า ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

47


ปริมาณผลผลิตในแถบอเมริกาใต้จะออกสู่ตลาดมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่ในช่วงเดือนมีนาคม 2556 มีการประท้วงของคนงานในบราซิล ทำให้ปริมาณผลผลิตไม่ออกสู่ตลาดมากอย่างที่ คาดการณ์ไว้ สถานการณ์ประเทศไทย การผลิต ปัจจุบันถั่วเหลืองที่ผลิตในประเทศลดลง ตามลำดับ เนื่องจากเกษตรกรได้หันไปปลูกพืช อื่นที่มีการดูแลที่ง่ายกว่า ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น มันสำปะหลัง ทำให้พนื้ ทีเ่ พาะปลูกถัว่ เหลือง ลดลงโดยลำดับ จากรายงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลผลิตเฉลี่ย 5 ปี (2552/532556/57) มีประมาณ 118,471 ตัน พื้นที่เพาะปลูก ผลผลิต ผลผลิต/ไร่ และต้นทุนการผลิตถั่วเหลือง ปี 2551/52-2556/57 ปี/รุ่น ปี 2551/52 - ถั่วฝน - ถั่วแล้ง ปี 2552/53 - ถั่วฝน - ถั่วแล้ง ปี 2553/54 - ถั่วฝน - ถั่วแล้ง ปี 2554/55 - ถั่วฝน - ถั่วแล้ง ปี 2555/56 - ถั่วฝน - ถั่วแล้ง ปี 2556/57 - ถั่วฝน - ถั่วแล้ง

พื้นที่เพาะปลูก ร้อยละของ (ไร่) พืน ้ ที่ปลูก 752,668 197,045 26.18 555,623 73.82 687,747 186,488 27.12 501,259 72.88 577,191 159,151 27.57 418,040 72.43 422,037 76,700 18.17 345,337 81.83 305,273 68,790 22.53 236,483 77.47 293,931 63,677 21.66 230,254 78.34

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร หมายเหตุ: *ข้อมูลพยากรณ์ (มีนาคม 2556)

48

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

ผลผลิต ร้อยละของ ผลผลิต/ไร่ ต้นทุน (ตัน) ผลผลิตรวม (กก./ไร่) (บาท/กก.) 186,598 248 11.64 51,873 27.80 263 134,725 72.20 242 176,152 256 11.69 52,128 29.59 280 124,024 70.41 247 152,047 263 11.35 45,553 29.96 286 106,494 70.04 255 108,776 258 12.50 20,027 18.41 261 88,749 81.59 257 78,883 258 13.57 18,285 23.18 266 60,598 76.82 256 76,499 260 Na 17,064 22.31 266 59,435 77.69 258



Sunny-Side

Up A golden outlook.

Kemin is ushering in a new dawning in carotenoid advancement with Quantum GLO™. Quantum GLO is a new generation of carotenoids that offers better bioavailability and gives the desired yolk color score that you want at a lower cost. This means using less Quantum GLO while still getting the beautiful sunny-side up yolks you expect. Made from molecules harvested from marigolds and paprika, Quantum GLO is the natural, more efficient way to create golden results.

Quantum GLO™: A sunny forecast for profits. www.kemin.com

© Kemin Industries, Inc and its group of companies 2013. All rights reserved. ® TM Trademarks of Kemin Industries, Inc., U.S.A.

13-QuantumGLO_FP_HP_V07F.indd 1

1/8/13 9:15 AM


ในปี 2556/57 คาดการณ์ในเบื้องต้น (ณ มีนาคม 2556) จะมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 293,931 ไร่ ผลผลิต 76,499 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 260 กก./ไร่ แหล่งผลิตที่สำคัญอยู่ทาง ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูก 38,007 ไร่ ผลผลิต 10,980 ตัน คิดเป็นร้อยละ 14 ของผลผลิตทั้งประเทศ รองลงมา ได้แก่ แม่ฮ่องสอน แพร่ แหล่งปลูกถั่วเหลืองที่สำคัญ ปี 2556/57 จังหวัด 1. เชียงใหม่ 2. แม่ฮ่องสอน 3. แพร่ 4. เลย 5. ชัยภูมิ 6. น่าน 7. ขอนแก่น 8. ตาก 9. ลำปาง 10. สุโขทัย 11. อื่นๆ รวมทั้งประเทศ

พื้นที่ (ไร่) 38,007 32,484 40,021 26,265 27,942 22,275 21,819 18,524 16,992 14,675 34,927 293,931

ผลผลิต (ตัน) 10,980 9,797 9,590 7,170 6,734 5,498 5,488 5,093 4,105 3,956 8,088 76,499

%

14 13 13 9 9 7 7 7 5 5 11 100

ผลผลิต/ไร่ (กก.)

289 302 240 273 241 247 252 275 242 270 255 260

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   หมายเหตุ: *ข้อมูลพยากรณ์ (มีนาคม 2556)

ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยว ผลผลิตถัว่ เหลืองปี 2556/57 กระทรวงเกษตรฯ รายงานว่าเริม่ ออกสูต่ ลาดตัง้ แต่ปลายเดือน กรกฎาคม 2556 ถึงพฤษภาคม 2557 โดยผลผลิตถั่วเหลืองรุ่น 1 (ฤดูฝน) จะออกสู่ตลาด มากในเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2556 และผลผลิตถัว่ เหลืองรุน่ 2 (ฤดูแล้ง) จะออกสูต่ ลาดมาก ในเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2557 ดังนี้ เดือน รวม ก.ค. 56 ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. 57 ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ร้อยละ 0.47 9.68 8.70 4.14 5.07 1.57 0.06 2.01 30.49 37.30 0.51 - 100 ปริมาณ (ตัน) 360 7,405 6,655 3,167 3,878 1,201 046 1,538 23,325 28,534 390 - 76,499 -------------- ถั่วรุ่น 2 (ฤดูแล้ง) ------------- ------------------ ถั่วรุ่น 1 (ฤดูฝน) ------------------ รายการ

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

49


การนำเข้า ผลผลิตเมล็ดถัว่ เหลืองในประเทศไทยมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ทเี่ พิม่ ขึน้ จึงต้องนำเข้า จากต่างประเทศ โดยปริมาณการนำเข้าเมล็ดถัว่ เหลืองของไทยสูงขึน้ ตามลำดับตามความต้องการใช้ เมล็ดถัว่ เหลือง และกากถัว่ เหลืองในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ทมี่ มี ากขึน้ ในปี 2555 นำเข้า จำนวน 2,119,941 ตัน มูลค่า 39,987 ล้านบาท เป็นการนำเข้าจากประเทศ บราซิล ร้อยละ 61 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 30 อาร์เจนตินา ร้อยละ 2 แคนาดา ร้อยละ 2 และกัมพูชา ร้อยละ 1 สำหรับ ปี 2556 (ม.ค.-ก.พ. 55) มีการนำเข้าแล้วจำนวน 151,772 ตัน มูลค่า 3,120 ล้านบาท ลดลงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่นำเข้า 240,430 ตัน หรือลดลงร้อยละ 36.87 ปริ มาณและมู ลค่าถัา่วการนำเข้ าถั่วเหลือง ปริมาณและมู ลคาการนำเข เหลือง

ปริมาณ: ตัน มูลคา: ลานบาท

พิกัด 12010010000 12010090001 และ 12010090090 พิกัด 12011000000 12019000001 และ 12019000090 53 54 CIF 55 56 (ม.ค.-ก.พ.) สัดสวนการนำเขา เดือน CIF CIF CIF (บาท/กก.) (บาท/กก.) (บาท/กก.) ประเทศ ปริมาณ มูลคา (บาท/กก.) ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา ปริมาณ มูลคา ป 54 ป 55 ป 56 บราซิล 1,288,746 18,000 13.97 1,242,016 21,480 17.29 1,294,530 23,985 15.10 711 16 22.31 บราซิล 62.28 61.06 0.47 สหรัฐอเมริกา 239,001 3,726 15.59 478,083 8,178 17.11 627,452 12,248 14.77 141,041 2,877 20.40 สหรัฐอเมริกา 23.97 29.60 92.93 อารเจนตินา 202,666 2,800 13.82 221,063 3,833 17.34 46,863 944 15.14 1,452 26 18.00 อารเจนตินา 11.08 2.21 0.96 แคนาดา 23,393 445 19.01 28,267 578 20.45 36,292 843 16.05 7,417 176 23.77 แคนาดา 1.42 1.71 4.89 กัมพูชา 53,272 634 11.90 14,528 104 7.15 24,450 390 17.15 - กัมพูชา 0.73 1.15 จีน 42 4,014 96.73 301 7,942 26.40 222 11 12.51 179 7 39.30 จีน 0.02 0.01 0.12 พมา 6 0.310 51.65 31 0.324 10.52 72 0.763 22.83 15 0 11.89 พมา 0.00 0.00 0.01 อินเดีย 0.006 0.002 6.29 181 - อินเดีย 0.00 ลาว 215 3,225 15.00 240 - ลาว 0.01 ไตหวัน 0 0.035 117.69 0 0.017 73.91 974 - ไตหวัน 0.00 สิงคโปร 318 - สิงคโปร ญี่ปุน 0 0.003 - ญี่ปุน อื่นๆ 11,579 187 16.13 9,875 170 17.20 90,060 17.38 - 958.53 17.32 18.07 อื่นๆ 0.50 0.50 0.63 รวม 1,818,705 25,795 14.18 1,994,378 34,354 17.23 2,119,941 39,987 18.86 151,772 3,120 20.55 รวม 100 100 100

ที่มา: กรมศุลกากร

การส่งออก เมล็ดถั่วเหลืองของไทยส่งออกได้ประมาณ ปีละ 1,000-2,000 ตัน ในปี 2555 ส่งออก จำนวน 1,996 ตัน มูลค่า 59 ล้านบาท โดยส่งออกไปประเทศลาว ร้อยละ 33 เวียดนาม ร้อยละ 24 มัลดีฟส์ ร้อยละ 12 ไต้หวัน ร้อยละ 9 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 5 สำหรับปี 2556 (ม.ค.-ก.พ. 56) มีการส่งออกแล้วจำนวน 307 ตัน มูลค่า 7 ล้านบาท ลดลงจากปีกอ่ นช่วงเดียวกันทีส่ ง่ ออก 411 ตัน หรือลดลงร้อยละ 25 การใช้ ประกอบด้วย 1. เพือ่ การสกัดน้ำมันพืช ประมาณร้อยละ 70 ของความต้องการใช้รวม ซึง่ ผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้ จากอุตสาหกรรมสกัดน้ำมัน ได้แก่ 1) น้ำมันถัว่ เหลืองเพือ่ ใช้บริโภค และใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนือ่ ง อาทิ สีทาบ้าน ปลาทูนา่ กระป๋อง น้ำพริกเผา น้ำสลัด 2) กากถัว่ เหลืองใช้ในการผลิตอาหารสัตว์

50

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


2. เพื่ออุตสาหกรรมอื่นๆ ประมาณร้อยละ 30 ของความต้องการใช้รวม ได้แก่ การผลิต อาหารสัตว์โดยการแปรรูปเป็นถัว่ เหลืองนึง่ (Full Fat Soy) ใช้ผสมอาหารสัตว์ การแปรรูปอาหาร ซึ่งมีผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ แป้งถั่วเหลือง น้ำนมถั่วเหลือง เต้าหู้ ฟองเต้าหู้ ถั่วเหลืองงอก ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ และถั่วเน่า 3. ใช้ทำพันธุ์ ประมาณร้อยละ 1 4. เพื่อการส่งออก ปีละเล็กน้อย ราคา ราคาเกษตรกรขายได้ ชนิดคละ ปี 2553-2555 อยูร่ ะหว่าง กก. ละ 13.65-19.85 บาท โดยราคาในปี 2555 ถัว่ เหลืองฤดูแล้งทีอ่ อกสูต่ ลาดช่วงมีนาคม-พฤษภาคม 2555 เฉลีย่ กก. ละ 15.66 บาท ถัว่ เหลืองฤดูฝนเริม่ ออกสูต่ ลาดช่วงสัปดาห์สดุ ท้ายของเดือนตุลาคม 2555 ที่ กก. ละ 17.50 บาท โน้มสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2555 ที่ กก. ละ 19.85 บาท และออกสู่ตลาดหมด ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม 2555 ที่ กก. ละ 18.35 บาท ในปี 2556 ถัว่ เหลืองฤดูแล้ง ออกสูต่ ลาดช่วงมีนาคม 2556 ราคาเฉลีย่ มีนาคม 2556 ที่ กก. ละ 18.03 บาท คาดว่าปริมาณ ผลผลิตจะมีออกสู่ตลาดลดน้อยลงจากปีก่อนตามพื้นที่เพาะปลูกที่ลดลง ราคาขายส่งตลาด กทม. แบ่งเป็น 3 เกรดตามคุณภาพจากดีไปรอง คือ เกรดแปรรูปผลิตภัณฑ์ อาหาร เกรดผลิตอาหารสัตว์ เกรดสกัดน้ำมัน โดยราคาในช่วงปี 2553-2554 เคลือ่ นไหวไม่มากนัก ต่อมาในปี 2555 ราคาโน้มสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตในประเทศปลูกได้ลดลง ซึ่งเป็นไปในทิศทาง เดียวกับตลาดต่างประเทศ ราคาเฉลีย่ ปี 2555 กก. ละ 23.83 , 22.61 และ 18.24 บาท ตาม ลำดับ โดยยังคงโน้มสูงขึน้ ตามลำดับ ตามความต้องการใช้ทย่ี งั คงมีอย่างต่อเนือ่ งของภาคปศุสตั ว์

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

51


นโยบายรัฐบาล 1. นโยบายและมาตรการการนำเข้า ปี 2554-2556 คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชโดยมีรองนายกรัฐมนตรีทนี่ ายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน และเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นเลขานุการ ได้พิจารณากำหนด นโยบายและมาตรการเปิดตลาดเมล็ดถั่วเหลือง ปี 2554-2556 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2553 และมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเปิดตลาดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 ดังนี้ 1.1 ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WTO) นำเข้าได้ไม่จำกัดปริมาณและช่วงเวลา นำเข้า อัตราภาษีนำเข้าในโควตาร้อยละ 0 นอกโควตาร้อยละ 80 โดยมีแนวทางและมาตรการ การบริหารการนำเข้า ดังนี้ 1) ผูม้ สี ทิ ธินำเข้า 7 สมาคม 9 บริษทั คือ 1. สมาคมผูผ้ ลิตน้ำมันถัว่ เหลืองและรำข้าว 2. สมาคมผูผ้ ลิตอาหารสัตว์ไทย 3. สมาคมส่งเสริมผูใ้ ช้วตั ถุดบิ อาหารสัตว์ 4. สมาคมปศุสตั ว์ไทย 5. สมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อเพื่อการส่งออก 6. สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย 7. สมาคมผู้ค้าสินค้า เกษตรกับประเทศเพือ่ นบ้าน 8. บริษทั กรีนสปอต จำกัด 9. บริษทั แลคตาซอย จำกัด 10. บริษทั ไทยเทพรสผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) 11. บริษทั แดรี่ พลัส จำกัด 12. บริษทั ไทยชิม จำกัด 13. ห้างหุน้ ส่วนจำกัด คิคโคเคน 14. บริษทั อาหารสากล จำกัด (มหาชน) 15. บริษทั นอร์ธเทอร์น ฟู้ด คอมเพล็กซ์ จำกัด และ 16. บริษัท เอคิววายซอส จำกัด กรณีมีผู้ขอเป็นผู้มีสิทธินำเข้า รายใหม่ให้คณะอนุกรรมการ กำกับ ดูแล เมล็ดถัว่ เหลือง เป็นผูพ้ จิ ารณา และนำเสนอคณะกรรมการ พืชน้ำมันและน้ำมันพืช พิจารณาให้ความเห็นชอบ 2) ผูม้ สี ทิ ธินำเข้าให้การสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตถัว่ เหลืองภายในประเทศ ดังนี้ 2.1) รับซื้อผลผลิตเมล็ดถั่วเหลืองที่ผลิตได้ภายในประเทศในราคาตามกลไก ตลาด แต่ไม่ต่ำกว่าราคาขั้นต่ำตามชั้นคุณภาพ ดังนี้ เกรดถั่วเหลือง สกัดน้ำมัน แปรรูปอาหารสัตว์ แปรรูปอาหาร

ณ ไร่นา (บาท/กก.) ปี 2554 ปี 2555 12.75 14.00 13.00 14.25 15.00 16.25

ณ โรงงานแปรรูป กทม. (บาท/กก.) ปี 2554 ปี 2555 13.50 14.75 13.75 15.00 15.75 17.00

2.2) ผูม้ สี ทิ ธินำเข้าให้ความร่วมมือรับซือ้ เมล็ดถัว่ เหลืองภายในประเทศ และการ ใช้เมล็ดถั่วเหลืองนำเข้าตามนโยบาย เป็นลายลักษณ์อักษรกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กระทรวงพาณิชย์

52

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


2.3) เพื่อมิให้การเปิดตลาดเมล็ดถั่วเหลืองส่งผลกระทบต่อเกษตรกรภายใน ประเทศ เห็นควรให้คณะอนุกรรมการกำกับ ดูแล เมล็ดถั่วเหลือง ทำหน้าที่กำกับดูแลการรับซื้อ เมล็ดถั่วเหลืองที่ผลิตได้ภายในประเทศ การนำเข้า และการใช้เมล็ดถั่วเหลืองนำเข้าให้เป็นไปตาม มาตรการและนโยบาย โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับ ปี 2553 1.2 ภายใต้กรอบเขตการค้า AFTA ไม่จำกัดปริมาณ อัตราภาษีร้อยละ 0 การบริหาร การนำเข้าเช่นเดียวกับกรอบองค์การการค้าโลก (WTO) 1.3 ภายใต้กรอบเขตการค้า FTA 1) ไทย–ออสเตรเลีย และ ไทย–นิวซีแลนด์ อากรนำเข้าร้อยละ 0 ไม่จำกัดปริมาณ นำเข้า การบริหารการนำเข้าเช่นเดียวกับกรอบองค์การการค้าโลก (WTO) 2) ไทย-ญีป่ นุ่ และอาเซียน-เกาหลี โควต้า 10,922 ตัน อากรนำเข้าในโควตา ร้อยละ 0 ไม่ผูกพันนอกโควตา การบริหารการนำเข้าเช่นเดียวกับกรอบองค์การการค้าโลก (WTO) 1.4 การนำเข้าทัว่ ไป อากรนำเข้าร้อยละ 6 หรือ กก. ละ 0.30 บาท และต้องขออนุญาต 2. นโยบายการส่งออก เมล็ดถั่วเหลืองสามารถส่งออกได้เสรี ไม่เสียอากรส่งออก ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

53


Food Feed Fuel ราคาเมล็ดถั่วเหลือง

หน่วย: บาท/กก.

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. เฉลี่ย 1. ราคาที่เกษตรกรขายไดเมล็ดถั่วเหลืองชนิดคละ 2551 16.15 16.82 17.61 17.14 17.76 15.87 16.00 15.83 16.90 2552 14.77 15.01 14.67 14.00 14.10 13.85 12.69 15.02 15.22 14.57 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. เฉลี่ย 15.00 14.90 14.51 13.98 1.2553 ราคาที่เกษตรกรขายได เมล็-ดถั่ว13.65 เหลืองชนิด14.06 คละ 2554 14.35 15.5315.52 15.44 13.76 14.00 14.37 15.96 15.60 16.90 15.30 2551 16.15 16.82 17.61 17.14 17.76 15.87 16.00 15.83 2555 14.8514.21 15.50 17.28 17.50 19.85 18.35 14.57 16.79 2552 14.77 15.01 14.67 14.0014.1013.8512.69 15.02 15.22 2556 18.03 18.03 2553 15.0013.65 14.06 14.90 14.51 13.98 2.2554 ราคาขายส งเมล็ดถั่ว15.53 เหลืองเกรดสกั ดน้ำมัน15.44 ความชื้น 13.0% 14.35 15.52 13.76 ตลาดกทม. 14.00 14.37 15.96 15.60 15.30 2551 17.28 17.7518.71 18.28 19.14 19.6021.6720.7520.3918.99 15.51 13.69 16.79 18.48 2555 14.85 14.21 15.50 17.28 17.50 19.85 18.35 2552 14.5015.4915.66 16.20 17.35 17.78 17.90 17.35 17.02 16.27 16.09 16.41 18.03 16.50 2556 18.03 16.23 15.00 14.85 ตลาดกทม. 14.85 14.85 14.98 15.02 15.26 15.78 16.25 15.31 2.2553 ราคาขายส งเมล็ดถั่ว15.79 เหลืองเกรดสกั ดน้ำมัน14.85 ความชื้น 13.0% 2554 16.25 16.25 16.25 16.25 16.25 16.21 16.10 16.10 16.10 16.10 16.10 16.10 18.48 16.17 2551 17.28 17.75 18.71 18.28 19.14 19.60 21.67 20.75 20.39 18.99 15.51 13.69 2555 16.26 16.35 16.49 16.85 16.85 17.05 17.97 20.08 20.55 20.55 20.25 19.65 16.50 18.24 2552 14.50 15.49 15.66 16.20 17.35 17.78 17.90 17.35 17.02 16.27 16.09 16.41 2556 19.65 19.33 18.96 19.31 2553 16.23 15.79 15.00 14.85 14.85 14.85 14.85 14.98 15.02 15.26 15.78 16.25 15.31 3.2554 ราคาซื้อขายล วงหนา16.25 ตลาดชิคาโก 16.25 16.25 16.25 16.25 16.21 16.10 16.10 16.10 16.10 16.10 16.10 16.17 2551 15.38 16.63 15.66 15.31 15.75 18.41 18.71 16.00 15.07 11.74 11.59 11.18 18.24 15.12 2555 16.26 16.35 16.49 16.85 16.85 17.05 17.97 20.08 20.55 20.55 20.25 19.65 2552 12.80 12.09 11.98 13.32 14.70 15.26 13.69 13.97 11.86 11.91 12.40 12.63 19.31 13.05 2556 19.65 19.33 18.96 11.91 11.40 11.58 11.35 11.37 12.02 12.32 12.03 12.86 13.80 14.56 12.22 3.2553 ราคาซื้อขายล วงหนา11.47 ตลาดชิคาโก 2554 15.72 14.30 15.21 15.16 15.14 15.34 15.17 14.96 14.93 13.86 13.32 13.15 15.12 14.69 2551 15.38 16.63 15.66 15.31 15.75 18.41 18.71 16.00 15.07 11.74 11.59 11.18 2555 14.00 14.23 15.30 16.44 16.36 16.61 19.38 19.67 19.15 17.44 16.44 16.48 13.05 16.79 2552 12.80 12.09 11.98 13.32 14.70 15.26 13.69 13.97 11.86 11.91 12.40 12.63 2556 15.90 16.08 15.90 15.96 2553 11.91 11.47 11.40 11.58 11.35 11.37 12.02 12.32 12.03 12.86 13.80 14.56 12.22 4.2554 ราคาซื้อขายล วงหนา14.30 ตลาดชิคาโก (US$/ตั15.16 น) 15.72 15.21 15.14 15.34 15.17 14.96 14.93 13.86 13.32 13.15 14.69 2551 461.68 2555 14.00 508.19 14.23 495.67 15.30 482.76 16.44 489.05 16.36 552.44 16.61 556.52 19.38 471.04 19.67 437.83 19.15 339.89 17.44 329.12 16.44 317.42 16.48 453.47 16.79 2552 364.70 2556 15.90 341.25 16.08 333.64 15.90 374.44 422.14 445.08 400.40 408.93 349.16 354.97 371.03 378.67 378.70 15.96 357.31 349.02 348.54 370.14 380.17 388.45 427.15 460.09 481.40 384.53 4.2553 ราคาซื้อ358.82 ขายลวงหน344.63 าตลาดชิค348.62 าโก (US$/ตั น) 2554 461.68 511.65 508.19 512.81 495.67 498.70 482.76 501.43 489.05 498.73 552.44 500.68 556.52 501.79 471.04 498.44 437.83 488.20 339.89 447.14 329.12 428.76 317.42 420.01 453.47 484.03 2551 2555 364.70 441.70 341.25 461.16 333.64 496.25 374.44 529.56 422.14 521.09 445.08 522.30 400.40 609.41 408.93 622.88 349.16 615.19 354.97 565.66 371.03 532.99 378.67 535.36 378.70 537.80 2552 2556 358.82 526.00 344.63 536.67 348.62 536.04 357.31 349.02 348.54 370.14 380.17 388.45 427.15 460.09 481.40 384.53 532.90 2553 5.2554 ราคานำเข าเมล็ดถั่ว512.81 เหลือง CIF กทม. 501.43 498.73 500.68 501.79 498.44 488.20 447.14 428.76 420.01 484.03 511.65 498.70 2551 441.70 15.55 461.16 19.64 496.25 17.89 529.56 17.04 521.09 18.52 522.30 18.06 609.41 20.37 622.88 21.67 615.19 21.66 565.66 21.29 532.99 18.15 535.36 17.27 537.80 18.70 2555 2552 526.00 24.85 536.67 14.93 536.04 15.22 14.61 14.37 15.90 16.41 16.82 16.22 15.45 15.13 14.92 532.90 15.52 2556 15.21 14.14 13.97 13.82 14.08 13.90 14.23 13.53 13.92 14.35 14.18 5.2553 ราคานำเข15.77 าเมล็ดถั่วเหลื อง CIF15.50 กทม. 2554 15.81 17.62 17.80 17.84 17.36 17.51 17.54 17.28 17.21 17.47 16.64 16.55 18.70 17.23 2551 15.55 19.64 17.89 17.04 18.52 18.06 20.37 21.67 21.66 21.29 18.15 17.27 2555 16.28 17.23 16.09 17.09 17.68 18.51 18.88 19.93 21.01 20.92 21.06 20.62 15.52 18.86 2552 24.85 14.93 15.22 14.61 14.37 15.90 16.41 16.82 16.22 15.45 15.13 14.92 2556 20.90 19.73 18.85 19.83 2553 15.77 15.21 15.50 14.14 13.97 13.82 14.08 13.90 14.23 13.53 13.92 14.35 14.18 2554 15.81 17.62 17.80 17.84 17.36 17.51 17.54 17.28 17.21 17.47 16.64 16.55 17.23 2555 16.28 17.23 16.09 17.09 17.68 18.51 18.88 19.93 21.01 20.92 21.06 20.62 18.86 2556 ม.ค.20.90 ก.พ.19.73 มี.ค.18.85 เม.ย. 19.83 พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม ปริมาณนำเขา 2551 180,933 73,327 80,990 187,288 202,673 119,132 128,023 191,149 88,298 105,402 223,986 142,072 1,723,273 2552 4,126 71,679 79,632 136,475 158,946 201,633 151,633 146,172 167,803 74,903 105,878 235,670 1,534,551 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม 2553 91,672 109,170 208,321 78,012 156,384 253,577 165,790 242,637 141,275 192,441 166,668 1,818,705 ปริ มาณนำเข12,758 า 2554 180,933 155,753 166,595 143,542 202,673 268,381 119,132 193,807 128,023 128,806 191,149 179,778 121,053 153,217 223,986 173,032 142,072 150,886 1,723,273 1,994,378 2551 73,327 159,527 80,990 187,288 88,298 105,402 2555 206,305 34,126 220,894 230,559 158,946 97,966 201,633 225,911 151,633 174,526 146,172 118,267 167,803 154,393 178,088 315,949 235,670 162,959 1,534,551 2,119,941 2552 4,126 71,679 79,632 136,475 74,903 105,878 2556 107,117 44,655 151,772 2553 12,758 91,672 109,170 208,321 78,012 156,384 253,577 165,790 242,637 141,275 192,441 166,668 1,818,705 ปริ มาณสง155,753 ออก 2554 166,595 159,527 143,542 268,381 193,807 128,806 179,778 121,053 153,217 173,032 150,886 1,994,378 2551 206,305 70 30 230,559 97 111 225,911 348 174,526 128 118,267 223 154,393 49 178,088 10 315,949 27 162,959 103 2,119,941 1,199 2555 34,1263 220,894 97,966 2552 107,117 69 164 7 115 128 91 137 51 13 185 221 117 1,296 2556 44,655 151,772 2553 70 54 24 104 38 48 79 19 90 106 278 954 ปริ มาณสงออก 44 2554 52 2493 272 151 421 587 295 187 135 18 142 121 2,629 2551 70 30 97 111 348 128 223 49 10 27 103 1,199 2555 198 213 1817 118 335 266 127 103 33 120 99 124 1,918 2552 69 164 115 128 91 137 51 13 185 221 117 1,296 2556 93 215 307 2553 44 70 54 24 104 38 48 79 19 90 106 278 954 2554 52 249 272 151 421 587 295 187 135 18 142 121 2,629 2555 198 213 181 118 335 266 127 103 33 120 99 124 1,918 2556 93 215 307

ที่มา: 1. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเฉลี่ยทั้งปีแบบถ่วงน้ำหนักจำนวนผลผลิต, 2. กรมการค้าภายใน, 3-4. ChicagoBoardofTrade 5. กรมศุลกากร

ปริมาณนำเข้า-ส่งออก

หน่วย: ตัน

ที่มา: กรมศุลกากร : ปี2551-54 พิกัด 12010090001 12010010000 และ12010090090 : ปี2555-56 พิกัด12011000000 12019000001 และ 12019000090

54

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


Food Feed Fuel ราคากากถั่วเหลือง

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. 1. ราคาขายสงกากถั่วเหลืองผลิตในประเทศจากเมล็ดในประเทศโปรตีน 44-48% ณ หนาโรงงานสกัดน้ำมันตลาด กทม. 2551 17.57 17.54 17.45 17.75 18.27 19.08 20.18 19.54 18.59 17.06 14.97 2552 14.39 15.97 17.09 18.00 17.80 17.18 17.35 17.35 17.35 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. 17.49 17.55 17.55 17.55 ดในประเทศโปรตี 17.55 16.84 15.10 15.05 15.15กทม.15.35 1.2553 ราคาขายส งกากถั่วเหลื องผลิตในประเทศจากเมล็ น 44-48% ณ หน15.05 าโรงงานสกั ดน้ำมันตลาด 2554 15.40 15.40 15.40 15.40 15.40 14.37 13.43 13.43 13.43 13.43 13.43 2551 17.57 17.54 17.45 17.75 18.27 19.08 20.18 19.54 18.59 17.06 14.97 2555 13.43 15.4716.4316.49 16.70 17.99 19.76 21.90 21.98 21.98 21.43 2552 14.39 15.97 17.09 18.00 17.80 17.18 17.35 17.35 17.35 2556 20.23 20.23 20.53 2553 17.49 17.55 17.55 17.55 17.55 16.84 15.10 15.05 15.05 15.15 15.35 2.2554 ราคาขายส งกากถั่วเหลื องผลิตในประเทศจากเมล็ าโปรตีน14.37 42-45% 13.43 ณ หนาโรงงานสกั ำมันตลาด13.43 กทม. 15.40 15.40 15.40 15.40 ดนำเข 15.40 13.43 ดน้13.43 13.43 2551 16.90 16.94 16.77 16.74 16.97 18.42 19.83 19.15 18.11 16.60 14.51 2555 13.43 15.47 16.43 16.49 16.70 17.99 19.76 21.90 21.98 21.98 21.43 2552 14.20 15.29 15.48 15.73 16.81 17.81 16.83 16.59 16.82 16.14 16.30 2556 20.23 20.23 20.53 15.90 15.08 14.69 14.53 ดนำเข 14.27 13.79 ดน้13.82 14.43 2.2553 ราคาขายส งกากถั่วเหลื องผลิตในประเทศจากเมล็ าโปรตีน13.36 42-45% 12.93 ณ หนาโรงงานสกั ำมันตลาด14.08 กทม. 2554 13.58 13.85 13.32 12.53 12.30 11.91 13.00 14.21 14.31 14.10 14.00 2551 16.90 16.94 16.77 16.74 16.97 18.42 19.83 19.15 18.11 16.60 14.51 2555 13.65 14.73 15.51 15.90 15.94 16.07 18.67 21.50 21.81 21.09 20.25 2552 14.20 15.29 15.48 15.73 16.81 17.81 16.83 16.59 16.82 16.14 16.30 2556 17.87 17.61 18.82 2553 15.90 15.08 14.69 14.53 14.27 13.36 12.93 13.79 13.82 14.08 14.43 3.2554 ราคาขายส งกากถั่วเหลื องนำเขา13.32 จากตางประเทศโปรตี น 46-48% ณ โกดัง13.00 ผูนำเขาตลาด กทม. 14.31 13.58 13.85 12.53 12.30 11.91 14.21 14.10 14.00 2551 15.75 16.85 16.36 16.42 17.54 18.63 19.88 19.20 18.21 16.39 14.22 2555 13.65 14.73 15.51 15.90 15.94 16.07 18.67 21.50 21.81 21.09 20.25 2552 16.75 16.89 16.08 15.90 2556 17.8717.6118.8215.90 15.01 14.60 14.60 13.31 13.86 13.97 14.32 3.2553 ราคาขายส งกากถั่วเหลื องนำเขา14.63 จากตางประเทศโปรตี น 46-48% ณ โกดัง12.52 ผูนำเขาตลาด กทม. 13.51 2554 13.80 14.08 13.62 12.63 11.97 11.50 11.50 11.50 12.14 13.90 13.90 2551 15.75 16.85 16.36 16.42 17.54 18.63 19.88 19.20 18.21 16.39 14.22 2555 12.90 14.15 14.15 14.15 14.15 15.28 17.16 21.30 21.93 21.32 20.66 2552 16.75 16.89 16.08 15.90 2556 19.10 19.10 19.34 2553 15.90 15.01 14.63 14.60 14.60 13.31 12.52 13.86 13.51 13.97 14.32 4.2554 ราคาซื้อขายล วงหนา14.08 ตลาดชิคาโก 13.80 13.62 12.63 11.97 11.50 11.50 11.50 12.14 13.90 13.90 2551 12.52 12.98 11.94 11.90 11.90 14.56 15.27 13.19 12.52 10.04 10.31 2555 12.90 14.15 14.15 14.15 14.15 15.28 17.16 21.30 21.93 21.32 20.66 2552 11.88 11.40 11.29 12.40 14.20 15.14 13.21 13.47 11.61 11.02 11.29 2556 19.10 19.10 19.34 10.83 9.97 9.95 10.24 10.87 10.99 10.34 10.65 11.28 4.2553 ราคาซื้อขายล วงหนา10.11 ตลาดชิคาโก9.54 2554 12.68 11.45 12.01 11.72 11.79 12.03 11.77 11.74 11.62 10.82 10.23 2551 12.52 12.98 11.94 11.90 11.90 14.56 15.27 13.19 12.52 10.04 10.31 2555 11.02 11.25 12.49 13.67 14.43 14.75 17.57 18.49 17.42 16.00 15.14 2552 11.88 11.40 11.29 12.40 14.20 15.14 13.21 13.47 11.61 11.02 11.29 2556 13.80 14.06 13.91 2553 10.83 10.11 9.54 9.97 9.95 10.24 10.87 10.99 10.34 10.65 11.28 5.2554 ราคาซื้อขายล วงหนา11.45 ตลาดชิคาโก (US$/ตั11.72 น) 12.68 12.01 11.79 12.03 11.77 11.74 11.62 10.82 10.23 2551 375.80 2555 11.02 396.71 11.25 377.87 12.49 375.31 13.67 369.37 14.43 436.91 14.75 454.12 17.57 388.39 18.49 363.77 17.42 290.50 16.00 292.75 15.14 2552 338.49 321.87 314.50 348.52 407.96 441.71 386.23 394.44 341.90 328.45 337.67 2556 13.80 14.06 13.91 2553 326.27 303.60 291.71 307.39 305.73 314.09 334.72 339.33 334.05 353.74 376.18 5. ราคาซื้อขายลวงหนาตลาดชิคาโก (US$/ตัน) 2554 375.80 412.60 396.71 410.79 377.87 393.92 375.31 387.87 369.37 388.25 436.91 392.74 454.12 389.28 388.39 391.31 363.77 380.20 290.50 349.05 292.75 329.09 2551 2555 338.49 347.57 321.87 364.49 314.50 405.23 348.52 440.43 407.96 459.58 441.71 463.70 386.23 552.53 394.44 585.75 341.90 559.67 328.45 519.03 337.67 490.83 2552 2556 326.27 456.81 303.60 469.15 291.71 468.97 307.39 305.73 314.09 334.72 339.33 334.05 353.74 376.18 2553 6.2554 ราคานำเข ากากถั่ว410.79 เหลือง CIF393.92 กทม. 387.87 388.25 392.74 389.28 391.31 380.20 349.05 329.09 412.60 15.00 552.53 16.30 585.75 16.65 559.67 17.01 519.03 17.94 490.83 16.04 15.51 440.43 14.67 459.58 14.56 463.70 2551 347.57 13.80 364.49 14.09 405.23 2555 2552 11.78 469.15 13.84 468.97 15.14 13.82 14.15 13.67 14.27 15.55 15.48 14.91 15.91 2556 456.81 2553 14.73 14.90 13.65 12.94 11.91 11.88 12.66 12.06 11.62 12.20 6. ราคานำเข ากากถั่วเหลื อง CIF 14.41 กทม. 2554 13.31 14.05 14.33 13.79 13.59 14.17 13.82 16.30 16.65 17.01 17.94 16.04 15.51 14.86 14.67 13.83 14.56 15.00 2551 13.80 13.80 14.09 15.06 2555 13.15 12.98 12.35 12.65 12.74 13.20 14.53 15.48 15.91 17.97 18.57 2552 11.78 13.84 15.14 13.82 14.15 13.67 14.27 15.55 15.48 14.91 15.91 2556 18.11 17.99 16.67 2553 14.73 14.90 14.41 13.65 12.94 11.91 11.88 12.66 12.06 11.62 12.20

13.31 15.06ChicagoBoardofTrade, 14.86 13.83 14.05 ที่ม2554 า: 1-3. กรมการค้ า13.80 ภายใน, 4-5. 6. กรมศุ14.33 ลกากร 13.79 2555 13.15 12.98 12.35 12.65 12.74 13.20 14.53 15.48 2556 ม.ค.18.11 ก.พ.17.99 มี.ค.16.67 เม.ย. 2551 191,598 138,907 177,871 164,279 2552 56,340 187,615 84,181 205,265 2553 213,825 213,513 149,932 202,585 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. 2554 191,598 146,684 138,907 252,806 177,871 145,642 164,279 178,767 2551 2555 158,047 257,407 279,867 92,488 2552 56,340 187,615 84,181 205,265 2556 213,825 408,982 213,513 111,011 149,932 202,585 2553

ปริมาณนำเข้า

พ.ค. 137,739 154,530 138,459 พ.ค. 109,997 137,739 362,893 154,530

มิ.ย. 228,475 140,552 278,487 มิ.ย. 225,293 228,475 136,408 140,552

ก.ค. 108,363 298,663 318,845 ก.ค. 190,362 108,363 331,083 298,663

ส.ค. 159,630 145,131 191,223 ส.ค. 158,504 159,630 317,342 145,131

หน่วย: บาท/กก. ธ.ค.

เฉลี่ย

13.00 17.35 ธ.ค. 15.40 13.43 13.00 20.31 17.35

17.58 16.98 เฉลี่ย 16.30 14.33 17.58 18.66 16.98 20.33 16.30

15.40 13.43 12.50 20.31 16.72 13.44 13.38 12.50 18.82 16.72

13.44 13.38 12.67 18.82 15.90 13.60 13.22 12.67 19.45 15.90

13.60 13.22 10.25 19.45 11.51 11.67 10.04 10.25 15.10 11.51

11.67 10.04 291.25 15.10 344.84 385.71 320.68 291.25 490.64 344.84

13.37 16.84 17.83 16.30 18.10 14.15 12.81 16.84 17.22 16.30 19.18 14.15

12.81 12.28 17.22 12.37 19.18 10.54 11.49 12.28 14.78 12.37 13.92 10.54

11.49 367.73 14.78 358.88 13.92 331.04 378.82 367.73 473.29 358.88 464.98 385.71 331.04 320.68 378.82 14.05 473.29 15.59 490.64 14.27 464.98 14.57 13.20 12.91 13.07 15.59 13.95 14.05 18.71 14.57 15.00 14.27 13.63 13.20 12.91

13.59 14.17 13.82 13.07 13.95 15.91 17.97 18.57 18.71 15.00 ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม 13.63 162,429 306,695 223,402 193,832 2,193,220 275,287 199,954 200,235 128,879 2,076,634 216,001 292,708 97,417 302,572 2,615,567 ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. รวม 276,311 306,695 282,580 223,402 239,963 193,832 191,734 2,193,220 2,398,644 162,429 81,927 199,954 209,086 200,235 345,827 128,879 242,541 2,076,634 2,814,917 275,287 519,993 216,001 292,708 97,417 302,572 2,615,567

หน่วย: ตัน

138,459 278,487 318,845 191,223 2554 146,684 252,806 145,642 178,767 109,997 225,293 190,362 158,504 276,311 282,580 239,963 191,734 2555 158,047 257,407 279,867 92,488 362,893 136,408 331,083 317,342 81,927 209,086 345,827 242,541 2556 408,982 111,011

ที่มา: กรมศุลกากร : ปี 2551-4 พิกัด 23040000000

14.33 16.95 18.66 16.23 20.33 14.19 13.37 16.95 17.83 16.23 18.10 14.19

2,398,644 2,814,917 519,993

: ปี 2555-6 พิกัด 23040090000 ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

55


Market Leader

พาณิชย์

ยังไม่คมุ เข้มราคาไข่ไก่ ก.พาณิชย์ ยันยังไม่คิดใช้ไม้แข็งคุมราคา ไข่ไก่ ขอความร่วมมือพ่อค้าขายปลีกไข่เบอร์ 3 ไม่เกิน 3.60 บาท/ฟอง ขณะที่ เอ้กบอร์ด ยัน ไข่พอบริโภคภายในยังไม่คิดนำเข้า ล่าสุดสั่งเลิกโครงการปลดแม่ไก่ยืนกรง 2.5 ล้านตัว หลังได้รบั ความร่วมมือจากเอกชน น้อย ระบุยังคงให้ส่งออกไข่ต่ออ้างมีสัญญาถึง เดือน มิ.ย. เผย "ซีพีเอฟ" คว้าโควตาส่งออก สูงสุด นางสาววิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดี กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากที่ขณะนี้กระทรวงได้กำหนดเพดานราคา ขายไข่ไก่คละหน้าฟาร์มสูงสุดไว้ไม่เกิน 3.30 บาทต่อฟอง ราคาทีจ่ ะนำไปขายส่งควรบวกอีก ไม่เกิน 15 สตางค์ ดังนั้นราคาขายปลีกควร บวกอีกไม่เกิน 40-50 สตางค์ตอ่ ฟอง ขึน้ อยูก่ บั ระยะทาง โดยในขณะนี้ทางกรมการค้าภายใน จะพิจารณาราคาไข่เบอร์ 3 เป็นหลัก เพราะ มีจำนวนมากที่สุดในท้องตลาด อีกทั้งร้านค้า ส่วนใหญ่นยิ มนำไปประกอบอาหาร ดังนัน้ ราคา ขายปลีกไข่ไก่เบอร์ 3 ควรจะอยูท่ ฟี่ องละไม่เกิน 3.60 บาท

"ล่าสุดได้ขอความร่วมมือจากเอกชน อาทิ ห้างบิ๊กซี ให้นำไข่ เบอร์ 3 มาขายถาดละ 95 บาท (1 ถาด มี 30 ฟอง) และยังไม่คิดที่จะ ประกาศราคาแนะนำ (ราคาควบคุม) เพราะ สถานการณ์แตกต่างกัน โดยก่อนหน้าที่ได้มี การประกาศราคาแนะนำ เนื่องจากราคาไข่ ตกต่ำ ขณะที่ช่วงนี้ราคาไข่ขยับสูงขึ้น เพราะ อากาศร้อน จึงทำให้ผลผลิตลดลงเหลือ 32 ล้านฟองต่อวัน ทัง้ ทีค่ วามเป็นจริงเมือ่ พิจารณา จากไก่ไข่ยืนกรงปัจจุบัน 46-47 ล้านตัว จะให้ ผลผลิตประมาณ 36 ล้านฟองต่อวัน ใกล้เคียง กับความต้องการของผู้บริโภค" ขณะที่ นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ในสัปดาห์ นี้ จะประสานผู้ประกอบการที่ยังมีสต๊อกไข่ไก่ เบอร์ 4 และ 5 ที่มีประมาณ 100 ล้านฟอง ระบายออกสู่ตลาด เพื่อจะช่วยลดแรงกดดัน ด้านราคาลง ด้าน นายยุคล ลิม้ แหลมทอง รองนายก รัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ยืนยันว่าขณะนี้ไข่ไก่ยังเพียงพอ บริโภคในประเทศและยังไม่มีแนวคิดที่จะนำเข้า

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,849 วันที่ 2-5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

56

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556




ไข่ ไ ก่ จ ากประเทศเพื่ อ นบ้ า นเข้ า มาทดแทน เหมือนช่วงปลายปี 2554 ทีไ่ ทยประสบปัญหา น้ ำ ท่ ว มใหญ่ เชื่ อ ว่ า ในอี ก ไม่ ช้ า สถานการณ์ ราคาไข่แพงจะเข้าสู่ปกติ อย่างไรก็ดี ล่าสุดทีป่ ระชุมคณะกรรมการ พัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ หรือเอ้กบอร์ด (29 พ.ค. 56) ได้พิจารณาโครงการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ปี 2555 ที่ได้รับการสนับสนุน จาก คณะกรรมการนโยบายและมาตรการ ช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในการช่วยเหลือ ราคาไข่ไก่ที่ล้นตลาดในช่วงปลายปีที่ผ่านมา จำนวน 3 กิจกรรม โดยกิจกรรมที่ 1 คือ การ ชดเชยการลดกำลังการผลิตไข่ไก่ มีเป้าหมาย ปลดแม่ ไ ก่ ไ ข่ อ อกจากระบบ 2.58 ล้ า นตั ว แต่ดำเนินการได้เพียง 3.7 หมื่นตัว แสดงให้ เห็นว่าเกษตรกรไม่ได้ให้ความสนใจในโครงการ ดังกล่าว จึงมีมติให้ยุติโครงการ และนำเงิน คืน คชก. คาดไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท ส่ ว นกิ จ กรรมที่ 2 การรวบรวมไข่ ไ ก่ ออกจากระบบ เนื่องจากเอกชนมีพันธะสัญญา กับต่างประเทศที่ต้องส่งออกไข่ไก่ 28 ล้าน ฟอง ภายในเดือนมิถุนายน 2556 โดยจะมี การส่งออกไข่ไก่เฉลี่ย 1 ล้านฟองต่อวัน จึง เห็นควรให้ดำเนินการต่อไป และกิจกรรมที่ 3 การรณรงค์ บ ริ โ ภคไข่ ไ ก่ ข องสหกรณ์ ผู้ เ ลี้ ย ง ไก่ ไ ข่ 4 สหกรณ์ ที่ ป ระชุ ม ได้ มี ม ติ ใ ห้ ยุ ติ ในส่วนการจำหน่ายไข่ไก่ตรงสู่ผู้บริโภค และ จำหน่ายในร้านอาหาร แต่ยังคงจำหน่ายไข่ไก่ ให้โรงเรียนในพื้นที่ต่อไป

แหล่งข่าวจาก คชก. เปิดเผยถึงมาตรการ การรวบรวมไข่ไก่เพื่อส่งออกว่า มีทั้งหมด 24 ราย รวมทั้งสิ้น 195 ล้านฟอง วงเงิน 97.5 ล้านบาท ผู้ที่ได้รับจัดสรร อันดับ 1 ได้แก่ บริษัทซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จำนวน 53 ล้านฟอง 2. บริษทั ฟ้าใสการเกษตร จำกัด 35 ล้านฟอง 3. บจก.แสงทองสหฟาร์ม จำนวน 25 ล้านฟอง 4. บจก.เอสเอฟขอนแก่น 15 ล้านฟอง และ บจก.ยู่สูงอาหารสัตว์ 15 ล้านฟอง โดยตลาดส่งออกหลักคือ ฮ่องกง สัดส่วน 69.41% รองลงมา แองโกลา 28.7% กัมพูชา 1.74% และเมียนมาร์ 0.15% อนึง่ ราคา ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2556 ราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มฟองละ 3.30 บาท ราคา ขายปลีกไข่ไก่เบอร์ 3 ฟองละ 3.70 บาท ราคาลูกไข่ไก่เฉลีย่ ตัวละ 25 บาท ราคาไก่ไข่สาว (18 สัปดาห์) เฉลี่ยตัวละ 160 บาท

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

57


Market Leader

ไข่ไก่ขยับเตือน อย่าเลี้ยงเพิ่ม เกษตรกรวอนผู้บริโภคเห็นใจ ราคาไข่ไก่เพิ่งขยับขึ้นและได้กำไรได้แค่ เดือนเดียว หลังขาดทุนสะสมบักโกรกมาตั้งแต่รัฐบาลเปิดเสรีนำเข้าพ่อแม่ พันธุ์ปี 2553 ทำไข่ล้นตลาด-ราคาตกมาตลอด ด้านกรมปศุสตั ว์ออกโรงเตือนเกษตรกร อย่าตาโตแห่เลีย้ งเพิม่ ระวังพากันเจ๊ง ขออย่า โทษส่งออกเป็นจำเลยสังคมทำไข่ราคาแพง ขณะเกษตรกรแฉโครงการไข่ไก่ธงฟ้า เอื้อ ยี่ปั๊ว-ซาปั๊วพรรคพวกนักการเมือง เกษตรกร ไม่ได้ประโยชน์ นายชัยพร สีถัน แกนนำกลุ่มชมรมผู้เลี้ยงไก่ไข่ รายย่อย พื้นที่ภาคกลาง เปิดเผยถึงกรณีที่ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง พาณิชย์ได้เชิญผูป้ ระกอบการเลีย้ งไก่ไข่มาหารือ และมีมติกำหนดราคาควบคุมไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม สูงสุดเพิ่มขึ้นจาก 3.20 บาทต่อฟอง เป็น 3.30 บาทต่อฟอง หรือเพิ่มขึ้น 10 สตางค์ต่อฟอง โดยให้มผี ลไปจนถึงสิน้ เดือนพฤษภาคมนีน้ นั้ ความจริงแล้วราคาดังกล่าวเป็นราคาทีพ่ อ่ ค้าคนกลาง กำหนด ไม่ใช่เกษตรกร และที่สำคัญไข่ไก่เบอร์ 0 หรือเบอร์ 1 ซึ่งมีขนาดใหญ่ และราคาสูงนั้น มีแค่ 10% ในท้องตลาดเท่านั้น ถือเป็นไปตามกลไกตลาด เพราะซัพพลายมีน้อย ผู้บริโภคมี ความต้องการมากจึงทำให้ราคาไข่ไก่ขยับขึ้น "ที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้มีการปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรง รวมทั้งมาตรการส่งออกไข่ไก่เพิ่มขึ้น เพราะราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์มต้นปีทผี่ า่ นมาเหลือ 1-1.89 บาท เท่านัน้ ซึง่ ราคาไข่คละทีเ่ พิม่ ขึน้ นั้นเพิ่งแค่เดือนเดียวเท่านั้น ยังไม่สามารถชดเชยการขาดทุนสะสมมาตลอดของผู้ประกอบการได้ หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้มีการเปิดเสรีนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ ทำให้ไข่ไก่ล้นตลาด หลายรายได้ปิดกิจการเพราะทนแบก ภาระขาดทุนไม่ไหว จึงวอนทุกฝ่ายเห็นใจ ขณะเดียวกันจากราคาไข่คละทีป่ รับตัวสูงขึน้ พลอยทำให้ ราคาลูกไก่ (เจี๊ยบ) ปรับขึ้นเป็นตัวละ 25 บาท จาก 12 บาท ไก่สาว ปรับขึ้นตัวละ 170 บาท จากเดิม 120 บาท" ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,848 วันที่ 30 พฤษภาคม-1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

58

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


ขณะที่ นายมงคล พิพัฒน์สัตยานุวงศ์ นายกสมาคมผู้ ผ ลิ ต ผู้ ค้ า และส่ ง ออกไข่ ไ ก่ กล่าวถึงเรื่องเดียวกันว่าผู้ค้าปลีก ค้าส่งไม่ได้ ประโยชน์ เพราะไข่ไก่มีระยะเวลา ไม่สามารถ เก็บได้เกิน 7 วัน สูตรคำนวณง่ายๆ หากราคา ไข่ไก่คละหน้าฟาร์มราคา 3.20-3.30 บาทต่อ ฟอง ราคาขายปลี ก จะคิ ด ตามขนาดของไข่ และบวกเพิ่มค่าขนส่งตามระยะทาง เช่น ไข่ไก่ เบอร์ 0 ราคา 3.60 บาท ราคาไข่ไก่เบอร์ 1 ราคา 3.50 บาท เบอร์ 2 ราคา 3.40 บาท ส่วน ภาคใต้ ค่าขนส่งจะแพงขึ้นไปถึง 20 สตางค์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ราคาทีเ่ ห็นในตลาดสดทัว่ ไป มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการรับมาจาก พ่อค้าแม่ค้าส่งที่อาจรับมาหลายทอด ซึ่งหาก รับมาปริมาณมาก จะได้ราคาสินค้าถูก แต่ถ้า รับมาน้อย จะขายแพง เป็นไปตามกลไกปกติ คาดว่าหลังจากนีไ้ ป หากอากาศเย็นลง ปริมาณ ไข่ไก่จะมีปริมาณมาก เพราะจากแผนนำเข้า พ่อแม่พันธุ์ไข่ไก่ (P.S.) ในปี 2556 ของ 22 บริษัทมีแผนจะนำเข้า 6 แสนตัว ขณะที่ปี 2555 นำเข้า 5.3 แสนตัว

ด้านแหล่งข่าวจากกรมปศุสัตว์ กล่าว เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ว่า อย่าเพิ่งด่วนดีใจ ว่าไข่ไก่ปรับราคาขึ้นแล้วเร่งนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ ไก่ไข่ หรือขยายการเลี้ยงเพิ่ม เพราะช่วงนี้ ผลผลิตน้อย เป็นไปตามธรรมชาติ ประกอบกับ อากาศแล้ง ร้อน ทำให้แม่ไก่ให้ผลผลิตน้อย ส่วนมาตรการเร่งส่งออก และการปลดแม่ไก่ไข่ ยืนกรงนั้นมีส่วนเล็กน้อยที่ทำให้ราคาขยับ ซึ่ง ไม่อยากผลักให้ผู้ส่งออกเป็นจำเลยสังคมว่าทำ ให้ไข่ขาดตลาด และราคาสูงขึน้ ทัง้ ทีก่ ารส่งออก ไม่ได้กำไร ขาดทุนด้วยซ้ำไป สำหรั บ การส่ ง ออกไข่ ไ ก่ ร ะหว่ า งเดื อ น มกราคม-เมษายน ปี 2556 มีการส่งออก ประมาณ 90 ล้านฟอง มีส่วนทำให้รักษา ความสมดุลด้านราคา และต้นทุนของเกษตร ไว้ได้ ส่งผลให้ราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มปรับตัวดีขึ้น ถือว่ายุติธรรมดีแล้ว เพราะหลังจากนี้ หาก อากาศเย็นลง บวกกับการนำเข้าพ่อแม่พนั ธุเ์ มือ่ กลางปี 2555 จำนวน 5.35 แสนตัวจะส่งผล ทำให้มีไข่ไก่เพิ่มขึ้น ราคาจะตกต่ำอีกครั้งหนึ่ง เป็นไปตามกลไกสินค้าเกษตร ส่ ว นแหล่ ง ข่ า วจากวงการผู้ เ ลี้ ย งไก่ ไ ข่ กล่าวว่า การกำหนดเพดานราคาขายไข่คละ หน้าฟาร์มของกระทรวงพาณิชย์ทสี่ งู ขึน้ แต่เกิน 3.30 บาทต่อฟองนั้นไม่ติดใจ แต่ที่เกษตรกร ไม่ ค่ อ ยพอใจคื อ โครงการไข่ ไ ก่ ธ งฟ้ า ของ กระทรวงพาณิชย์ ที่ไม่ได้ซื้อไข่จากเกษตรกร เลยแม้แต่ฟองเดียว แต่ถกู แอบอ้างนำไปหาเสียง ว่าเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ขณะที่ในข้อเท็จจริง กระทรวงพาณิชย์ จะมีตัวแทน หรือนายหน้า ไปซื้ อ ไข่ ไ ก่ จ ากยี่ ปั๊ ว -ซาปั๊ ว ที่ เ ป็ น พรรคพวก ตนเอง แล้วนำมาขายขาดทุน เพื่อซื้อคะแนน นิยมจากชาวบ้าน ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

59


Market Leader

ประมงเต้นเร่งแก้กุ้งตายด่วน ห้องเย็นขอนำเข้าจากอินเดีย กรมประมงเรียกประชุมด่วน หาทางยับยั้งโรคกุ้งตายด่วน EMS ก่อน อุตฯ ห้องเย็นแห่ปิดตัว เพราะขาดแคลนกุ้งส่งออก ส.อาหารแช่เยือกแข็งฯ ขอโควตานำเข้ากุง้ จากอินเดีย 250,000 ตัน ทดแทนกุง้ ในประเทศ เผยเริม่ หยุดส่งออกหลังส่งออกไม่ทันกำหนด ส่งผลการขายกุ้งในรอบต่อไปผู้ส่งออก ไทยไม่สามารถเสนอราคาขายให้กับผู้ซื้อได้อีก รายงานการแก้ไขปัญหา โรคกุ้งตายด่วน หรือโรค EMS (Acute Hepatopancreatic Necrosis Syndrome) ก่อให้เกิดภาวะขาดแคลนกุ้ง ส่งออกในอุตสาหกรรมห้องเย็น จากเดิมที่มีกุ้งเข้าสู่ตลาดปกติวันละไม่ต่ำ กว่า 1,000 ตัน ปัจจุบันเหลือแค่ 200-300 ตัน ส่งผลให้ผู้ส่งออก/ ห้องเย็นรวมตัวกันออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ ทั้งเรื่อง ของวัตถุดิบและการป้องกันโรค ล่าสุด กรมประมงได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งผู้ประกอบการ ห้องเย็น, ผู้จำหน่ายพันธุ์ลูกกุ้ง, นักวิชาการด้านกุ้งจากสถาบันชั้นนำต่างๆ และตัวแทนเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง เข้าหารือเพื่อแก้ปัญหาโรคกุ้งตายด่วนเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา ระหว่าง การหารือ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ได้เสนอเอกสารสรุปสถานการณ์ให้กับที่ประชุม ได้ทราบ จากผลผลิตกุ้งปกติปีละกว่า 500,000 ตัน ก่อนเกิดการระบาดของโรค EMS ขึ้นใน ช่วงปี 2555 ขณะนี้โรคได้กระจายตัวออกเป็นวงกว้าง ผลผลิตกุ้งในภาคตะวันออกของประเทศเสียหาย ไปแล้วกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มการระบาดกำลังลงไปสู่พื้นที่ภาคใต้บางส่วนแล้ว โดย ปริมาณผลผลิตกุง้ ขาวจากรายงานของกรมประมง เดือนมกราคมทีผ่ า่ นมาอยูท่ ตี่ วั เลข 23,860.95 ตัน หรือลดลงร้อยละ 29.90 เทียบกับเดือนธันวาคม 2555 และลดลงร้อยละ 22.06 เมื่อ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

60

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


ผลกระทบที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ อุ ต สาหกรรม ห้องเย็นคือ เกิดการขาดแคลนกุ้งส่งออกอย่าง หนัก และกุ้งมีราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ห้องเย็น ต้ อ งปรั บ ตั ว ด้ ว ยการลดกำลั ง การผลิ ต และ เวลาทำงานลง ห้องเย็นบางแห่งเริม่ ส่งสินค้ากุง้ แช่เย็นแช่แข็งให้กับผู้นำเข้าไม่ทันตามกำหนด บางแห่งเริ่มหยุดการส่งออก ภาวะที่เกิดขึ้น แบบนีท้ ำให้ผสู้ ง่ ออก/ห้องเย็น ไม่สามารถเสนอ ราคาขายกุง้ ในรอบต่อไปได้ เนือ่ งจากกุง้ ภายใน ประเทศมีราคาสูง และปริมาณกุ้งออกสู่ตลาด ไม่แน่นอน ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง ได้ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย ได้แจ้ง อย่างชัดเจนว่า หากยังไม่สามารถยุติปัญหา โรคกุ้งตายด่วนได้ในเร็ววันนี้ จะมีความเสี่ยงที่ ห้องเย็นขนาดเล็กและขนาดกลางจะต้องปิดตัว ลง ซึง่ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกในภาพรวม ของประเทศได้ ทางออกในการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าเพื่อให้อุตสาหกรรมห้องเย็นอยู่รอด ในภาวะที่ยังไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดของ โรคกุง้ EMS ได้กค็ อื ขอนำเข้ากุง้ จากต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กุ้งจากอินเดีย ด้วยวิธีการ กำหนดโควตานำเข้าและราคาวัตถุดิบกุ้ง อีก ทั้งต้องมีมาตรการควบคุมการนำเข้ากุ้งอย่าง เข้มงวดเพือ่ ให้ผซู้ อื้ สามารถ ตรวจสอบย้อนหลัง (Traceability) ในการส่งออกกุ้งเพื่อทดแทนกุ้ง ภายในประเทศได้ด้วย ด้าน ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช นายก สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า การ ส่งออกกุ้งในด้านปริมาณปีนี้น่าจะลดลงราว 20% เพราะผู้ผลิตอาหารแช่เยือกแข็งได้รับ ผลกระทบจากปั ญ หาการขาดแคลนวั ต ถุ ดิ บ

เบือ้ งต้นประมาณว่า จะมีกงุ้ ออกสูต่ ลาดระหว่าง 300,000-400,000 ตัน จากความต้องการ ใช้ในการผลิตปกติทอี่ ยูร่ าว 550,000 ตันขึน้ ไป จึงทำให้เกิดปัญหากุ้งขาดแคลน ไม่เพียงพออยู่ ราว 250,000 ตัน ซึ่งห้องเย็นหลายรายต้อง แย่งกันซื้อวัตถุดิบ หรือบางรายก็ใช้วิธีลดเวลา การทำงานในแต่ละสัปดาห์ลง "การแก้ไขปัญหาขณะนี้ ในสมาคมได้ หารือร่วมกับกรมประมง เกีย่ วกับปัญหาส่วนต่าง กุง้ ทีข่ าดอยูป่ ระมาณ 250,000 ตัน โดยสมาชิก ส่วนหนึ่งเสนอให้มีการนำเข้ากุ้งจากประเทศ อินเดีย เพราะขณะนี้ทางอินเดียได้เพิ่มกำลัง การผลิ ต กุ้ ง มากขึ้ น ในช่ ว งที่ ผ่ า นมา และไม่ สามารถแปรรูปได้ เนือ่ งจากไม่มโี รงงานแปรรูป จึ ง มี ค วามเป็ น ไปได้ ที่ จ ะนำเข้ า กุ้ ง อิ น เดี ย มา แปรรูปในไทย แต่กุ้งอินเดียส่วนใหญ่เป็นไซส์ ใหญ่ ซึ่งไม่ใช่ขนาดที่นิยมในตลาดสหรัฐ" ดร. ผณิศวร กล่าว ส่วนในด้านมูลค่าการส่งออก อาจยัง ประมาณการไม่ ไ ด้ เพราะปั ญ หาวั ต ถุ ดิ บ ไม่ เพียงพอ ส่งผลให้ราคากุ้งภายในประเทศปรับ สูงขึน้ ไปถึง 30% ประกอบกับอัตราแลกเปลีย่ น เงินบาทแข็งค่าขึ้นอีก 3-4% จากอัตราแลก เปลีย่ น 30 เป็น 29 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ซึง่ ก่อนหน้านี้ทางสถาบันอาหาร ได้เคยประมาณ การว่า การที่อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นทุก 1 บาท จะทำให้มูลค่าการส่งออกรวมของไทย เสียหายไป 20,000 ล้านบาท โดยสินค้ากุ้ง คิ ด เป็ น สั ด ส่ ว นราว 10% หรื อ 2,000 ล้านบาท "ต้องลอง คำนวณดูว่า ตัวเลขสถาบัน อาหารคิดว่าน้ำหนักส่งออกกุ้งลดลง 6% แต่ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

61


เรามองว่า จริงๆ แล้วน่าจะลดลงถึง 20% ขณะที่ราคาวัตถุดิบขึ้น 30% แต่ ราคาซื้อขาย กุ้งคงไม่สามารถปรับขึ้นได้ถึง 30% เช่นเดียว กับวัตถุดิบ อาจจะอยู่ที่ 7-8 เหรียญสหรัฐฯ จากที่เคยปรับขึ้นไปสูงถึง 9 เหรียญสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้ นั่นเพราะปลายทางคือ ลูกค้าไม่มี กำลังซื้อ หรือคิดเป็นว่า ราคาแพงขึ้น 15% แต่มาเจออัตราแลกเปลี่ยแข็งค่า ก็ลดลง 3% จะเหลือเท่าไหร่" ขณะที่ ดร.พุ ท ธ ส่ อ งแสงจิ น ดา ผู้ อำนวยการสถาบันวิจยั และพัฒนาการเพาะเลีย้ ง กุง้ ทะเล กรมประมง กล่าวถึงโครงการรวมพลัง ยับยั้ง EMS ว่า ผลการดำเนินโครงการขณะนี้ มีโรงเพาะฟักลูกกุ้งที่ได้รับการรับรองแล้ว 8 ฟาร์ม รอประกาศผลการรับรอง 1 ฟาร์ม รอผลตรวจประเมิ น 5 ฟาร์ ม อยู่ ร ะหว่ า ง ดำเนินการ 11 ฟาร์ม โดยฟาร์มที่ได้รับการ รับรองแล้ว ได้แก่ บริษัท ไทยยูเนี่ยนแฮชเชอรี่ จำกัด, บริษัท ชุติกาญจน์ (ไทยแลนด์) แฮทเชอรี,่ แสมสารเพาะพันธุก์ งุ้ (ระยอง), ทรายแก้ว แฮชเชอรี่ ฟาร์ม (ภูเก็ต), ฟาร์มศิริรักษ์, CP ฟาร์มลูกกุง้ สิชล, CP โรงเพาะฟักลูกกุง้ ท่าบอน

62

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

(โซน C), บริษัท โกลบอล เจน (ไทยแลนด์) จำกัด (NC ระยอง) และสมประสงค์ฟาร์ม กรมประมงได้เข้าไปดำเนินการอย่างเข้มข้น ใน 2-3 เดือนที่ผ่านมาถือว่ามีความคืบหน้า น่าพอใจ สถานการณ์การระบาดของโรคดีขึ้น ตามลำดั บ จากข้ อ มู ล ภาคตะวั น ออกที่ เ คย เลี้ยงกุ้งไม่ได้เลย ขณะนี้สามารถเลี้ยงผ่านแล้ว 50%, มีปญ ั หาบ้างแต่สามารถเลีย้ งกุง้ ได้ 20% และมีปญ ั หามากไม่สามารถเลีย้ งกุง้ ได้อกี 30% ส่วนภาพรวมประเมินสถานการณ์ทวั่ ประเทศ กุง้ ที่สามารถเลี้ยงผ่าน 70%, มีปัญหาบ้างแต่ยัง เลีย้ งได้ 11% และมีปญ ั หามากไม่สามารถเลีย้ งได้ 19% "วิธกี ารทีฟ่ าร์มให้เกษตรกรทดสอบลูกกุง้ ก่อนซือ้ ไปเลีย้ งนัน้ ลูกกุง้ ทีซ่ อื้ ไปจากทุกโรงรอด มากขึ้นก็จริง แต่ยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเป็น เพราะลูกกุ้งดีแล้วจะรอดจากโรคขึ้นอยู่กับการ จัดการบ่อของเกษตรกรด้วย ในบางพืน้ ทีม่ คี วาม หมั ก หมม มี ส ารอิ น ทรี ย์ เชื้ อ จุ ลิ น ทรี ย์ ที่ ไ ม่ เหมาะสมอยู่ในน้ำ ต้องดูแลให้เข้าสู่มาตรฐาน" ดร.พุทธ กล่าว


Market Leader

นำเข้ากุ้งต่างชาติ

ต้องรอบคอบ  โดย อนุชา ภควัฒน์ 

ปริมาณผลผลิตกุง้ ในปัจจุบนั เหลือเพียง วันละ 200-300 ตัน จากปกติจะเข้าสูต่ ลาด วันละไม่ต่ำกว่า 1,000 ตัน แสดงถึงความ รุนแรงของอีเอ็มเอส หรือภาวะกุ้งตายด่วนที่ส่งผลกระทบโดย ตรงต่ออุตสาหกรรมกุ้ง วันนี้ อีเอ็มเอส จึง เป็นปัญหาหนักอกของผู้คนในแวดวงนี้ ตั้งแต่ ผูผ้ ลิตลูกกุง้ เกษตรกร โรงงานแปรรูป ห้องเย็น ไปจนถึงผู้ส่งออก เพราะนี่เป็นสาเหตุหลักของ การขาดแคลนผลผลิตกุง้ ของไทย ซึง่ แน่นอนว่า กำลังส่งผลกระทบต่อเนือ่ งถึงมูลค่าการส่งออก สินค้ากุ้งไทยที่สูงนับแสนล้านบาทต่อปี ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่างหันหน้าเข้าหากัน เพื่ อ ร่ ว มมื อ แก้ ปั ญ หานี้ เริ่ ม ที่ ภ าครั ฐ อย่ า ง กรมประมง ที่ออกโรงรณรงค์โครงการรวม พลังยับยัง้ อีเอ็มเอส และดำเนินการอย่างเข้มข้น ฟากโรงเพาะฟักลูกกุ้ง ให้ความร่วมมืออย่าง เข้มแข็งในการเข้าร่วมโครงการ และปิดโรง เพาะฟั ก เพื่ อ ทำความสะอาดตามแนวทางที่ วางไว้

ล่าสุด ข้อมูลของกรมประมง ระบุว่า ภาคตะวันออกซึ่งเคยพบการระบาดของอีเอ็มเอส และมีผลผลิตกุ้งเสียหายกว่า 80% นั้น ในขณะนี้สามารถเลี้ยงกุ้งได้โดยไม่ประสบภาวะ กุ้งตายด่วนแล้ว 50% ขณะที่ฟาร์มที่มีปัญหา แต่ ก็ ยั ง สามารถเลี้ ย งกุ้ ง ได้ มี 20% และที่ มี ปัญหามากจนไม่สามารถเลี้ยงกุ้งได้อีกมี 30% ส่วนภาพรวมประเมินสถานการณ์ทั่วประเทศ กุ้ ง ที่ ส ามารถเลี้ ย งได้ ต ามปกติ มี ป ระมาณ 70% มีปัญหาบ้างแต่ยังเลี้ยงได้ 11% และมี ปัญหามาก ไม่สามารถเลี้ยงได้ 19% จึงกล่าว ได้ว่า สถานการณ์การระบาดกำลังดีขึ้นเป็น ลำดับ ขณะทีก่ ารแก้ปญ ั หาในด้านการเพาะเลีย้ ง กำลังดำเนินไป ภาคโรงงานแปรรูป ห้องเย็น และการส่งออกก็กำลังเผชิญปัญหาไม่สามารถ ส่งสินค้าได้ตามออร์เดอร์ เนื่องจากขาดแคลน กุง้ ซึง่ เป็นวัตถุดบิ สำคัญ โดยคาดว่า ปริมาณการ ส่งออกกุ้งในปีนี้ จะลดลงราว 20% หรือมีกุ้ง ออกสู่ตลาดราว 300,000-400,000 ตัน

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

63


ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ที่ปกติจะมีอยู่ ราว 550,000 ตัน ดังนั้น ผู้ส่งออกจึงเสนอ ต่อภาครัฐ ให้มีการอนุญาตนำเข้ากุ้งจากต่าง ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิง่ จากอินเดีย จำนวน 250,000 ตัน เพื่อทดแทนส่วนต่างที่หายไป ด้วยเหตุผลว่าเพือ่ รักษาตลาดกุง้ ของไทยไว้กอ่ น ที่จะไม่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ ฟังดูก็เป็นเหตุเป็นผล และเหมาะสมกับ สถานการณ์ หากแต่ ก ารนำเข้ า กุ้ ง จากต่ า ง ประเทศ ก็ มี ปั จ จั ย ที่ ค วรพิ จ ารณาอยู่ ห ลาย ประการดังนี้ ประการแรก : ในด้ า นกระบวนการ เพาะเลี้ยงกุ้งคุณภาพปลอดภัยปลอดสาร ตาม แนวทาง FOOD SAFETY นั้น ประเทศไทย ได้รับการยอมรับว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลกมา โดยตลอด การจะใช้กุ้งจากต่างชาติที่มีระบบ การเลี้ยงแตกต่างกัน เข้ามาสวมเป็น PRODUCT OF THAILAND จำเป็นต้องมีมาตรการ ตรวจสอบอย่างเข้มงวด ต้องตรวจสอบย้อนหลัง (TRACEABILITY) ในการส่งออกกุง้ เพือ่ ทดแทน กุ้งภายในประเทศได้ เพราะที่ผ่านมา กุ้งจาก อินเดียถูกญีป่ นุ่ ยกเลิกการนำเข้า เนือ่ งจากตรวจ พบการใช้สารแอนตี้ไบโอติกในการเลี้ยงกุ้ง

64

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

ประการต่อมา : กุ้งจากต่างประเทศ มี ข้อเสียในเรื่องของสายพันธุ์ เชื้อโรคประจำถิ่น นั้นๆ ซึ่งหากมีการนำเข้า ประเทศไทยจะมั่นใจ ได้อย่างไรว่ากุ้งเหล่านั้นจะไม่ก่อผลต่อเนื่องให้ ต้องตามแก้ปัญหาโรคระบาดอย่างไม่รู้จบ ประการสุดท้าย : ที่ผ่านมา มีผู้ต้องการ เรี ย กร้ อ งให้ เ กิ ด การนำเข้ า กุ้ ง อิ น เดี ย มาโดย ตลอด แม้ยงั ไม่เกิดปัญหาอีเอ็มเอส แล้วจะแน่ใจ ได้อย่างไรว่า ภายหลังจากอีเอ็มเอสสิ้นสุดลง จะไม่มกี ารขอนำเข้ากุง้ จากอินเดียอย่างถาวร ซึง่ แน่นอนว่าจะกระทบเกษตรกรและผูป้ ระกอบการ เลี้ยงกุ้งในประเทศ กล่าวโดยสรุป เชื่อว่าการนำเข้ากุ้งจาก อินเดียเป็นการเร่งด่วน จะเป็นทางออกในการ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่สามารถทำได้อย่าง รวดเร็วทันที และสามารถแก้ภาวะวิกฤติขาด แคลนกุง้ ในขณะนีไ้ ด้จริง หากแต่ควรปฏิบตั ดิ ว้ ย ความรอบคอบรัดกุม เพือ่ ประโยชน์ของประเทศ ไทย และผู้คนในแวดวงอุตสาหกรรมกุ้งทุกคน


Market Leader

สารสกัดพริก สกว.โกอินเตอร์ ฝรั่งเศสขอใช้สิทธิ์ทำสารเสริมอาหารสัตว์ ผลงานวิจัย

งานวิจัยสารสกัดพริก สกว.สุดเจ๋ง ฝรั่งเศสขอใช้สิทธิ์ ในการใช้ขอ้ มูลประโยชน์ของพริกเพือ่ ขยายตลาดผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารสัตว์ในยุโรป และอเมริกา นักวิจยั ระบุใช้ “พริกปลอดภัย” เป็นผลิตภัณฑ์สาร เสริมในอาหารสัตว์แก้ปัญหาการดื้อยาและการ ตกค้างของยาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ อีกทั้งช่วยเพิ่มมูลค่า ของพริกและเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรไทย ศ. นพ.สุทธิพนั ธ์ จิตพิมลมาศ ผูอ้ ำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.) และ นายฟรองซัวส์ โกติเยร์ (Mr. Francoise Gautier) ทีป่ รึกษาบริษทั Gautier Agro Consult จากประเทศ ฝรั่งเศส ร่วมกันลงนามในสัญญาการขอใช้สิทธิ์จากผลงานวิจัย “สารสกัดพริก” เพื่ออุตสาหกรรม สารเสริมในอาหารสัตว์ ณ โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์

(จากซ้าย) Mr. Steve Caskey Mr. Gautier Francois ศ.นพ. สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ศ.ดร. นันทวัน บุณยะประภัศร รศ.ดร. จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ

ร่วมให้เกียรติเป็นสักขีพยานในการลงนามขอใช้สิทธิ์ผลงานวิจัยระหว่าง บริษัท Gautier Agro Consult และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย Gautier Agro Consult, France ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่ปรึกษาชุดโครงการ “สมุนไพรครบวงจร” ผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

65


(บน) Mr. Gautier Francois และ ศ.นพ. สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ (ซ้าย-ขวา) ศ.ดร. นันทวัน บุณยะประภัศร ที่ปรึกษา ชุดโครงการ “สมุนไพรครบวงจร” พร้อมชูผลิตภัณฑ์ “สารสกัดพริก” เพื่ออุตสาหกรรมสารเสริมอาหารในสัตว์ (สุกรและสัตว์ปีก)

รศ. ดร.จันทร์จรัส เรีย่ วเดชะ ผูอ้ ำนวยการ ฝ่ายเกษตร สกว. เปิดเผยว่าในปี 2547 ประเทศ ในกลุ่มสหภาพยุโรปได้ประกาศห้ามใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ทุกชนิด เนื่องจากทำให้เกิดการตกค้างในเนื้อสัตว์ รวม ถึงการดือ้ ยาปฏิชวี นะในผูบ้ ริโภค กลุม่ เกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ทั่วโลกจึงมองหาทางเลือกอื่น ซึ่ง วิธีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดก็คือการใช้สาร จากธรรมชาติ ได้แก่ พืชอาหารและเครื่องเทศ ล่าสุดทีมนักวิจยั ไทยได้ทำการวิจยั และค้นพบว่า

66

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

พริกเป็นพืชวัตถุดบิ ทีส่ ามารถนำมาสกัดเป็นสาร ที่ให้ผลดีต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ในกลุ่ม สุกรและสัตว์ปีก ดังนั้น สกว. จึงให้การสนับสนุนนักวิจัย ให้ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การเตรียม การเรื่องวัตถุดิบพริกให้มีคุณภาพสูง มีสาร สำคัญสูง และเป็นพริกปลอดภัย ในส่วนของ อุตสาหกรรมกลางน้ำได้พัฒนาเทคโนโลยีใน การสกัดพริกที่มีประสิทธิภาพสูงและต้นทุนต่ำ ขณะทีอ่ ตุ สาหกรรมปลายน้ำ สกว. ได้ทำหน้าที่ ผลั ก ดั น ผลผลิ ต ที่ ไ ด้ จ ากการวิ จั ย และพั ฒ นา ให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์จริงทางการค้าในรูป ของผลิตภัณฑ์สารเสริมในอาหารสัตว์ ภายใต้ ชื่อ “Biocap®” โดยมีบริษัท เบทเทอร์ฟาร์มา จำกัด ซึ่งเป็นผู้ร่วมทุนวิจัยและได้รับสิทธิ์เป็น ผู้จัดจำหน่ายในประเทศและกลุ่มประเทศเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ด้าน ศ. ดร.นันทวัน บุณยะประภัศร ผู้ประสานงานและที่ปรึกษาโครงการสุมนไพร เพื่อคุณภาพชีวิต จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึง่ รับผิดชอบดูแลโครงการวิจยั ชุดพริก เปิดเผยว่า ทีมนักวิจัยได้ค้นพบสาร สกัดพริกทีม่ ปี ระโยชน์อย่างยิง่ ต่อวงการปศุสตั ว์ ไทย โดยเฉพาะผลต่อไก่เนื้อ ไก่ไข่ และสุกร ในส่วนของไก่เนือ้ พริกจะช่วยเร่งการเจริญเติบโต ด้วยการออกฤทธิก์ ระตุน้ การกินอาหาร กระตุน้ น้ำย่อย กระตุน้ ภูมคิ มุ้ กันโรค และลดผลกระทบ จากความเครียด ด้านผลต่อไก่ไข่ พริกช่วยให้ แม่ ไ ก่ มี ร ะยะการให้ ไ ข่ ย าวนานขึ้ น ไข่ ที่ ไ ด้ มี คุณภาพดี และมีคอเลสเตอรอลต่ำกว่าไข่ปกติ ถึงร้อยละ 30 ขณะทีผ่ ลต่อสุกรขุน พริกจะช่วย เร่งอัตราการเติบโต ทำให้จำหน่ายสุกรได้เร็ว กว่ากำหนด 2 อาทิตย์ สุกรมีสุขภาพดี เนื้อ มีคุณภาพสูง ไขมันน้อย


จึงจำหน่ายได้ในราคาสูงขึ้น ส่วนในสุกรแม่พันธุ์ พริกช่วยลดผลกระทบจากความเครียด ภายหลังคลอด ทำให้สามารถสร้างน้ำนมได้มากขึ้น อีกทั้งเพิ่มภูมิคุ้มกันของแม่สุกรและภูมิคุ้มกัน ที่ถ่ายทอดจากแม่ (passive immune) ในลูกสุกร ตลอดจน half-life ของภูมิคุ้มกันในลูกสุกร ยาวขึ้นจึงลดการสูญเสียลูกสุกรลง “ผลงานวิจยั สารสกัดพริกมีสว่ นช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กบั เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งสัตว์ปกี และสุกร ทัง้ ค่ายาทีใ่ ช้ในการควบคุมโรคสำหรับสัตว์ และค่าอาหารสัตว์ทลี่ ดลงได้ถงึ ร้อยละ 5 ส่งผลให้สามารถ แข่งขันกับต่างประเทศได้ ขณะเดียวกันประโยชน์ที่ได้จากผลงานวิจัยในครั้งนี้ ยังช่วยให้ผู้บริโภค ได้รบั ประทานอาหารจากเนือ้ สัตว์ทปี่ ลอดภัย ไม่มสี ารจากยาปฏิชวี นะปนเปือ้ น และเป็นอาหารทีด่ ี ต่อสุขภาพ คือ มีปริมาณไขมันต่ำ เหมาะกับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคความดันโลหิต หรือมีไขมันในเลือดสูง” ทั้งนี้ ความสำเร็จของโครงการวิจัยดังกล่าว เกิดขึ้นได้จากการสร้างเครือข่ายนักวิจัย ที่เข้มแข็งและรูปแบบ การทำวิจัยแบบสหสาขา ภายใต้ความร่วมมือของนักวิจัยจาก 12 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัย ขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี ร าชมงคลล้ า นนา มหาวิ ท ยาลั ย แม่ โ จ้ มหาวิ ท ยาลั ย แม่ ฟ้ า หลวง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปัจจุบัน สกว. ได้ทำการจดสิทธิบัตรผลงานวิจัยสารสกัดพริกไว้แล้วทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ อีกทัง้ นำมาใช้ประโยชน์จริงในรูปผลิตภัณฑ์สารเสริมในอาหารสัตว์ และเป็นทีย่ อมรับ ของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก โดยมียอดจำหน่ายในประเทศกว่า 7 ล้านบาท ล่าสุดบริษัท Gautier Agro Consult จากประเทศฝรั่งเศสได้แสดงความจำนงขออนุญาตใช้สิทธิ์ในการใช้ ข้อมูลประโยชน์จากพริกในปศุสตั ว์ โดยให้ผลตอบแทนร้อยละ 3 ของยอดจำหน่าย และประกันขัน้ ต่ำ ที่ 10.25 ล้านบาท เป็นเวลา 7 ปี ซึ่งถือเป็นการช่วยขยายตลาดในยุโรปและอเมริกา อีกทั้ง สะท้อนให้เห็นว่าผลงานวิจัยครั้งนี้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

67


Around the World

ผลการวิเคราะห์ศักยภาพการแข่งขันของสินค้า เกษตรที่สำคัญของไทยในอาเซียน ด้วยวิธี TCM

Position 1. Star

ศักยภาพการแข่งขัน - เป็นสินค้าที่ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออก รายใหญ่ที่สุดในอาเซียน ความต้องการสินค้า ในตลาดอาเซียนอยู่ในระดับสูง ซึ่งพิจารณา จากอัตราการขยายตัวในการนำเข้าสินค้าของ ประเทศในอาเซียนจากโลก และพิจารณา ความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับคู่แข่ง

แนวทางพัฒนา

 ที่มา: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

68

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556




Position 1.1 สุกร

ศักยภาพการแข่งขัน - ไทยผลิตได้มากเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากเวียดนาม ส่วนใหญ่บริโภคภายใน ประเทศส่งออกเพียงร้อยละ 5 ที่ยังมีปัญหา คือ ขาดแคลนแรงงานและไม่มีการรวมกลุ่ม ของเกษตรกร

1.2 โคเนื้อ - ผลิตเป็นอันดับ 4 ของอาเซียน แต่บริโภค และผลิตภัณฑ์ ในประเทศยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเนื้อ คุณภาพสูงจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไทย ส่งออกโคมีชีวิตไปมาเลเซีย ส่วนเนื้อโคแช่เย็น แช่แข่งส่งไปลาว สินค้าของไทยได้มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของตลาด และมีการพัฒนา ทางด้านเทคโนโลยี 1.3 โคนม - ไทยผลิตน้ำนมดิบได้เป็นอันดับ 3 ของ และผลิตภัณฑ์ อาเซียน ทั้งหมดบริโภคในประเทศ เนื่องจาก ไทยมีประสิทธิภาพในการแข่งขันสูงกว่า ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนแทบจะทุกด้าน รวมทั้งสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐาน เกษตรกรมีการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง 2. Opportu- - เป็นสินค้าที่มีอนาคต เนื่องจากมีความ nity ต้องการทางการตลาดสูงและมีศักยภาพใน การสร้างรายได้แต่มีขีดความสามารถในการ แข่งขันปานกลาง โดยมีปัญหาที่เกิดจาก ห่วงโซ่มูลค่าในบางส่วน สินค้าที่อยู่ใน ตำแหน่งนี้ 2.1 กุ้ง - ผลผลิตต่อพื้นที่สูงที่สุดในอาเซียน ในขณะที่ ต้นทุนอยู่ในระดับเดียวกัน เนื่องจากไทยมี ระดับเทคโนโลยีการผลิตที่สูงกว่า และมี โครงสร้างพื้นฐานการผลิตที่เหมาะสมต่อ การเพาะเลี้ยงกุ้ง มีการวิจัยและพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง และมีมาตรฐานการผลิตที่ดี แต่ ปัจจัยการผลิต คือ อาหารกุ้งมีราคาแพง ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม

-

แนวทางพัฒนา ศึกษาการผลิต การตลาด ของสินค้าปศุสัตว์ ประเทศใน AEC การทำเขตปลอดโรคปากเท้าเปื่อย (FMD) ของสุกร อำนวยความสะดวกในการค้าชายแดน ทั้งสองประเทศ เพิ่มผลผลิตพันธุ์/การกระจายพันธุ์โดยการ ใช้เทคโนโลยีชีวภาพและพ่อพันธุ์ พัฒนาโคเนื้อทั้งระบบ

- ผลักดันและสร้างโอกาสให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมนม (Hub) ในภูมิภาค อาเซียน - การพัฒนาฟาร์มโคนมให้ได้มาตรฐานการ จัดการฟาร์มที่ดี (GAP)

- โครงการปรับปรุงพันธุ์กุ้ง - โครงการจัดทำ Branding และ Labeling สำหรับสินค้ากุ้งไทย - โครงการลดต้นทุนการผลิต



ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

69




Position 2.2 มันสำปะหลัง

-

2.3 ปลานิล -

3. New Wave

-

3.1 สับปะรด สด

70

3.2 มะม่วง

-

4. Falling Star

-

ศักยภาพการแข่งขัน มีโรงงานแปรรูปที่ทันสมัยและมาตรฐานการ ส่งออกที่ดี ในขณะที่ต้นทุนยังคงสูงอยู่เมื่อ เทียบกับเวียดนาม แต่มีการวิจัยและพัฒนา อย่างสม่ำเสมอทั้งในเรื่องการพัฒนาสายพันธุ์ ที่ดี การป้องกันกำจัดศัตรูพืชและวิทยาการ หลังการเก็บเกี่ยว ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ ร้อยละ 90 ส่งออกในอาเซียนเพียงร้อยละ 5 สินค้ามีคุณภาพดีเป็นที่นิยมในอาเซียน โครงสร้างพื้นฐานการผลิตและมาตรฐานการ ผลิตดี รูปแบบการส่งออกเป็นแช่แข็งทั้งตัว กว่าร้อยละ 80 แต่ต้นทุนการผลิตสูงและ ทรัพยากรการผลิตไม่อุดมสมบูรณ์ เป็นสินค้าที่ตลาดมีความต้องการสูง แต่มี ขีดความสามารถในการแข่งขันอยู่ในระดับต่ำ ในทุกๆ ด้านของห่วงโซ่มูลค่าต้องมีการ พัฒนา หรือปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ดีขึ้น มีเพียงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ธรรมชาติที่ค่อนข้างดี ในขณะที่ต้นทุนสูง การผลิตต่อไร่ต่ำ การวิจัยและพัฒนามีน้อย โครงสร้างการผลิตส่วนใหญ่เพื่อการแปรรูป มีเพียงร้อยละ 3 เพื่อการบริโภคผลสด ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดอาเซียนร้อยละ 80-90 มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการ เพาะปลูก เป็นที่ยอมรับของตลาด การผลิต และการส่งออกได้มาตรฐาน GAP และ GMP ต้นทุนการผลิตสูง แต่ระบบการ ชลประทาน และเทคโนโลยีการผลิตไม่ดี การวิจัยและ พัฒนามีน้อย เป็นสินค้าที่มีความต้องการทางการตลาดต่ำ แต่มีความสมารถในการแข่งขัน อยู่ในเกณฑ์ดี ทุกส่วนของห่วงมูลค่า จึงต้องพัฒนาและเพิ่ม ช่องทางการตลาดเพื่อปรับตัวให้อยู่รอด หรือ ปรับเปลี่ยนการผลิต

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

แนวทางพัฒนา - โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต - โครงการลดต้นทุนการผลิต - เป็น Trading Hub

- ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์สินค้าปลานิล ในต่างประเทศ - พัฒนาระบบควบคุมคุณภาพสินค้าปลานิล ของไทย

- พัฒนาตลาดกับประเทศเพื่อนบ้าน - ประชาสัมพันธ์ถึงคุณประโยชน์ด้านโภชนาการของสับปะรด - R&D พันธุ์และเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว - พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ - ยกระดับความสามารถในการผลิต






Position 4.1 ไข่ไก่

-

4.2 ไก่เนื้อ และผลิตภัณฑ์

4.3 ทุเรียน

-

5. Question Mark

5.1 ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ (Grain)

ศักยภาพการแข่งขัน ผลิตได้มากเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย มีศักยภาพในการแข่งขัน ด้านต่างๆ เช่น Productivity ปัจจัยการผลิต มาตรฐาน ความสามารถด้านเทคโนโลยี และ ผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศร้อย ละ 99 ส่งออกได้น้อยมาก แต่นโยบายภาครัฐ ไม่สนับสนุน ผลิตได้เป็นอันดับ 1 ของอาเซียน และอันดับ 4 ของโลก บริโภคในประเทศร้อยละ 70 ส่งออกร้อยละ 30 มีศักยภาพในการแข่งขัน ด้านต่างๆ เช่น Productivity ปัจจัยการผลิต และมาตรฐานความสามารถด้านเทคโนโลยี ที่ดี แต่อัตราการเติบโตของส่วนแบ่งในตลาด อาเซียนค่อนข้างน้อยเพราส่งออกไปญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ผลผลิตได้มาตรฐานที่ดีมีการวิจัยและพัฒนา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิต แต่ต้นทุน การผลิตสูง และระบบชลประทานที่ไม่ดี ส่งออกได้น้อยเพราะความต้องการในอาเซียน อยู่ในระดับต่ำ เป็นสินค้าที่มีความต้องการทางการตลาดต่ำ แม้จะมีความสามารถในการแข่งขันอยู่ใน เกณฑ์ปานกลาง เพราะมีปัญหาที่เกิดจาก ห่วงโซ่มูลค่าบางส่วน จำเป็นต้องปรับตัวให้ อยู่รอดหรือปรับเปลี่ยนการผลิต มีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึง มีเทคโนโลยีการผลิตและมาตรฐานสินค้าดี สินค้าเป็นที่ยอมรับของตลาด ภาครัฐยังให้ การสนับสนุน แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ต้นทุนสูง ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรยังสู้ เพื่อนบ้าน เช่น ลาว ไม่ได้

แนวทางพัฒนา - สร้างมาตรฐานโรงคัดไข่ - ขยายตลาดในอาเซียน

- ขอใช้แรงงานต่างด้าวในโรงงานที่ได้รับ สิทธิ์ BOI - การทำเขตปลอดโรคระบาด

- ยกระดับ Value Chain - สร้างความเป็น Niche

- โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การผลิต



ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

71




Position ศักยภาพการแข่งขัน 5.2 ข้าวโพด - ภาพลักษณ์และระบบโลจิสติกส์ของสินค้ายัง เลี้ยงสัตว์ ดีอยู่ แต่การวิจัยและพัฒนาและเทคโนโลยี (seed) การผลิตอยู่ระดับปานกลาง ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ต้นทุนสูง โครงสร้างการผลิตยังมีปัญหา 5.3 ข้าว - โครงสร้างการผลิตและมาตรฐานการผลิต สินค้าดี สภาพภูมิประเทศเหมาะสมที่จะ เพาะปลูกข้าว รวมถึงภาพลักษณ์ของสินค้าดี มีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึง ไทยยังเป็นแหล่งส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ซึ่งมีคู่แข่งสำคัญ คือ เวียดนาม แต่ต้นทุน การผลิตสูง ผลผลิตต่อไร่ต่ำ 5.4 ทูน่า - วัตถุดิบดีแต่มาจากการนำเข้าเพื่อแปรรูป ปัจจุบันวัตถุดิบเริ่มขาดแคลน ค่าแรง มีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ยังไม่ขาดแคลนการ ยอมรับของตลาด และภาพลักษณ์ของสินค้า รวมถึงมาตรฐานสินค้าดีแต่โครงสร้างพื้นฐาน ยังไม่เอื้ออำนวย การวิจัยและพัฒนายังมี ไม่มากนัก

72

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

แนวทางพัฒนา - โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การผลิต

- โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมไทย - โครงการชาวนาไทยได้ใช้เมล็ดพันธุ์ดี

- เข้าไปทำประมงร่วมกับประเทศอื่นๆ ใน ลักษณะ Joint venture - สนับสนุนการขยายฐานการผลิตทูน่าแปรรูป ในประเทศที่ได้สิทธิ GSP


Around the World

อาเซียนซ่อนดาบ

ออกกฎกีดกันการค้า

เสรีค้าอาเซียนรับประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนปี 2558 ไส้ในติดดาบกีดกันกันสุดฤทธิ์ อินโดฯ มาเลย์ ฟิลิปปินส์ ไทย หัวขบวนออก มาตรการที่เป็นอุปสรรคการค้าย้อนหลัง ทั้ง ออกกฎระเบียบนำเข้าใหม่ที่เป็นอุปสรรคทาง เทคนิค และมาตรการสุขอนามัย นายเปรมชัย กรรณสูต กรรมการผูจ้ ดั การ ไอทีดี และ นายอู ฮัน เสียน รมช.คมนาคม เมียนมาร์ ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกัน เบื้องต้น โดยมี นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัด กระทรวงการคลัง เป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา สภาหอฯ สั่งจับตาแผนขจัด เอ็นทีบขี องอาเซียนให้หมดไปในปี 2558 ทำได้ จริง หรือราคาคุย ขณะ "ดร.สมชาย" เชื่อที่สุด ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน จากการที่ปี 2558 มี 10 ชาติสมาชิก อาเซียน ประกอบด้วย ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิ ลิ ป ปิ น ส์ สิ ง คโปร์ บรู ไ น กั ม พู ช า ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม จะมีการเปิดเสรีทาง การค้าอย่างเต็มรูปแบบ โดยสัดส่วนสินค้าเกือบ 100% ที่ค้าขายกันจะลดภาษีลงเป็น 0% ซึ่ง ในอีกมุมหนึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ ภายในของแต่ละประเทศทีม่ จี ดุ แข็งและจุดอ่อน

ของสินค้าที่แตกต่างกัน นำมาซึ่งการออกกฎ ระเบียบใหม่ที่เป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่าง กันอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูล ที่จัดทำโดยกรมการค้าระหว่างประเทศ ถึง มาตรการทางการค้าระหว่างประเทศในกลุ่ม อาเซียน พบหลายมาตรการทีเ่ ป็นอุปสรรคและ นำสู่การเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ ภาษี (NTBs) โดยในส่วนของประเทศ อินโดนีเซีย ได้มี มาตรการให้ขออนุญาตนำเข้า เช่น ข้าว, น้ำมัน หล่อลืน่ , เครือ่ งดืม่ ทีม่ แี อลกอฮอล์, เครือ่ งยนต์, แทรกเตอร์, เครื่องมือ (ใช้งานด้วยมือ), สาร ให้ความหวานสังเคราะห์, เครื่องยนต์และปั๊ม, แทรกเตอร์, ท่อส่งน้ำมัน และระเบิด เป็นสินค้า ที่มีเงื่อนไข/จำกัดการนำเข้า ผู้ที่จะสามารถ นำเข้าได้ จะต้องผ่านการรับรอง/จดทะเบียน ผู้นำเข้าที่เป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้าที่เป็นผู้ขาย หรือ รัฐวิสาหกิจ เช่น DAHANA, PERTAMINA และ BULOG ส่วนสินค้าเนือ้ สัตว์ และสิง่ มีชวี ติ ต้อง ขออนุญาตนำเข้าเพือ่ ป้องกันโรค, ยา และผลิตภัณฑ์ ต้องมีการจดทะเบียนและขออนุญาตนำ เข้าจากกระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซีย

ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

73


นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีมาตรการใบ อนุญาตนำเข้าพิเศษออกโดยกระทรวงการค้า ของอินโดนีเซีย ในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและ ส่วนประกอบ/ของเล่นเด็ก-เสื้อผ้าสำเร็จรูป/ ผ้าผืน/สิ่งทอ/เครื่องหนัง/รองเท้า/ถั่วเหลือง/ ข้าวโพด/ข้าว/น้ำตาล, มาตรการกำหนดปริมาณ การนำเข้าในสินค้าน้ำตาลทราย ที่กำหนดให้ ผู้ น ำเข้ า มี 2 ประเภทคื อ ประเภทผู้ ผ ลิ ต หรือผู้นำเข้าจดทะเบียนเท่านั้น อีกทั้งยังได้ กำหนดโควตาการนำเข้าน้ำตาลทรายขาว โดย จะเปลี่ยนแปลงในแต่ละปีขึ้นกับผลผลิต และ ความต้องการใช้ในประเทศ โดยกำหนดช่วงเวลา ส่งมอบระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม ของ ทุกปี ส่วนมาเลเซีย มีมาตรการควบคุมการ นำเข้าข้าว โดยมอบหมายให้องค์การข้าวและ ข้าวเปลือกแห่งชาติ (BERNAS) นำเข้าแต่ เพียงผูเ้ ดียว, มาตรการสุขอนามัยในสินค้าผลไม้ เช่น มะม่วง ทุเรียน ลำไย ในการนำเข้าต้องมี ใบรับ รองศัต รู พื ช ต้ อ งได้ รั บ ใบอนุ ญ าตจาก หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ในสินค้า 19 ชนิด ได้แก่ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม ยาสูบ กะหล่ำปลี กาแฟ แป้งสาลี และน้ำตาล สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์นม ไข่ ผักคะน้า และผลิตภัณฑ์สุกร เป็นสินค้าที่มี โควตาภาษี, มาตรการกีดกันด้านเทคนิค (TBT) ในสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก ต้องให้หน่วยงานของมาเลเซียมาตรวจรับรองโรงงานก่อน และเมื่อมีการส่งออก จะต้องแนบใบรับรอง ผลิตภัณฑ์ไปพร้อมกับการยื่นขอใบรับรองการ ตรวจสอบ ณ ด่านนำเข้า และสินค้าจะถูกสุ่ม ตรวจทุกล็อต

74

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

ด้ า นฟิ ลิ ป ปิ น ส์ มี ม าตรการ TBT ที่ สำคัญคือ สินค้าประมงแช่เย็นและแช่แข็ง ต้อง ปิดฉลากระบุประเทศที่ผลิต สายพันธุ์สัตว์น้ำ น้ำหนัก ส่วนประกอบ ที่อยู่ผู้จำหน่าย และ ประทับเครื่องหมายว่าผ่านการตรวจรับสำนักงานประมง และทรัพยากรทางน้ำ (BFAR) ของ ฟิลปิ ปินส์แล้ว สินค้าไก่สดและไก่แช่แข็ง เนือ้ วัว สดและแช่แข็ง เนือ้ สุกรและผลิตภัณฑ์ ต้องผ่าน การตรวจรับรองจากหน่วยงานของฟิลิปปินส์ และต้องมีใบอนุญาตการนำเข้า และสินค้าผัก และผลไม้สด อนุญาตให้นำเข้าผลไม้สดได้เฉพาะ มะขาม และลองกอง สิงคโปร์ ในสินค้าข้าว ต้องขอใบอนุญาต นำเข้า และต้องดำเนินการในลักษณะการสำรอง ข้าว โดยผู้นำเข้าข้าวต้องสำรองข้าวสารใน ปริมาณ 2 เท่าของปริมาณทีน่ ำเข้าแต่ละเดือน และข้าวที่สำรองต้องเก็บไว้ในโกดังสินค้าของ รัฐบาล, มาตรการ TBT ในสินค้าอาหาร ต้อง ติดฉลากเป็นภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษรสูง ไม่น้อยกว่า 3 มิลลิเมตร


บรูไน มีมาตรการด้านสุขอนามัยและ สุขอนามัยพืชและสัตว์ โดยสินค้าพืชต้องได้รับ การตรวจสอบจากกระทรวงเกษตรของบรูไน ก่ อ นนำเข้ า และต้ อ งได้ รั บ การตรวจสอบที่ ต้นทางก่อนการนำเข้าไม่เกิน 14 วัน ก่อนการ ขนส่งจริง (ยกเว้น ผัก ผลไม้ ชา กาแฟ เครือ่ ง เทศ ธัญพืช และเมล็ดพันธุ)์ นอกจากนี้ ในสินค้า ข้าวและน้ำตาล การนำเข้าสินค้าทั้งสองชนิด ต้องผ่านการเจรจาระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล และ ผู้ ส่ ง ออกของประเทศนั้ น ๆ จะต้ อ งได้ รั บ ใบ อนุญาตจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นกรณี พิเศษด้วย

เมียนมาร์ มีมาตรการตรวจสอบ และ กักกันสินค้าอาหาร ที่ต้องได้รับการตรวจสอบ เพือ่ ให้แน่ใจในเรือ่ งคุณภาพความปลอดภัย และ สุ ข อนามั ย ของอาหาร, สิ น ค้ า จำเป็ น เช่ น เครือ่ งจักร วัตถุดบิ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม วัสดุทใี่ ช้ในการเกษตร (ปุย๋ ยาฆ่าแมลง ยากำจัด ศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์) วัสดุก่อสร้าง ยานยนต์ วัสดุทางการแพทย์ กำหนดสัดส่วนต้องนำเข้า สินค้าจำเป็น 80% ของการนำเข้าทั้งหมด ก่อน จึงจะสามารถนำเข้าสินค้าอื่นๆ ที่กำหนด ไว้อีก 20% ได้ และต้องทำการขนส่งสินค้า ทั้งหมดพร้อมกัน

เวียดนาม สินค้าที่จำหน่ายภายใน และ สินค้านำเข้าประเภทยา เวชภัณฑ์ รวมถึงยา ฆ่าแมลงและสินค้าเคมีภณ ั ฑ์ตา่ งๆ การติดฉลาก จะต้องมีภาษาเวียดนามบอกถึงรายละเอียดของ สินค้าและวิธีการใช้, สินค้าเกษตรและอาหาร ผู้ น ำเข้ า จะต้ อ งยื่ น คำร้ อ งขออนุ ญ าตนำเข้ า พร้อมเอกสารทางไปรษณีย์ และจะแจ้งผลการ พิจารณาทางไปรษณีย์เท่านั้นซึ่งจะทำให้เกิด ความล่าช้า

ขณะที่กัมพูชา การนำเข้าสินค้าเกษตร ทั่ ว ไป และผลิ ต ภั ณ ฑ์ ย าต้ อ งมี ใ บอนุ ญ าตที่ ออกจากกระทรวงสาธารณสุขกัมพูชา สินค้า บรรจุภัณฑ์ ผู้ผลิตสินค้าจะต้องปิดฉลากเป็น ภาษาเขมร และระบุ ร ายละเอี ย ดของสิ น ค้ า และลาว ส่วนใหญ่เป็นมาตรการป้องกันและ ควบคุมสินค้านำเข้าที่ต้องได้รับอนุญาตจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

75


เปิดเสรีการนำเข้าสินค้าระหว่างกัน โดยสัดส่วน สินค้ากว่า 98% ทีค่ า้ ขายระหว่างกันได้ลดภาษี นำเข้าลงเป็น 0%แล้ว เช่นเวลานี้ อินโดนีเซีย มีการกำหนดท่าเรือในการนำเข้าสินค้า ทำให้ ผู้ส่งออกไทยมีต้นทุนที่สูงขึ้น โดยอ้างไม่มีสิ่ง อำนวยความสะดวก ขณะที่มาเลเซีย ในสินค้า แป้งข้าวเจ้า รัฐบาลได้โอนอำนาจในการตัด สินใจในเรื่องโควตานำเข้าให้ภาคเอกชนเป็น ผูบ้ ริหารจัดการ ซึง่ ในข้อเท็จจริงก็เป็นการกีดกัน นำเข้านั่นเอง

"มาตรการต่ า งๆ ที่ ก ล่ า วมา ถื อ เป็ น มาตรการทางการค้า หรือ NTMs (Non-Tariff Measures) ที่ออกมาเพื่อปกป้องตัวเอง ซึ่ง ถือว่าไม่ขัดกับข้อยกเว้นทั่วไปของความตกลง องค์การการค้าโลก หรือ WTO ทีแ่ ต่ละประเทศ สามารถออกกฎระเบียบได้ แต่หากออกมาแล้ว กลายเป็นอุปสรรคทางการค้า ประเทศคู่ค้าไม่ สามารถปฏิบตั ไิ ด้ถอื เป็นมาตรการกีดกันการค้า ที่มิใช่ภาษี หรือ NTBs (Non-Tariff Barriers)" นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ประธาน คณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภา หอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เท่าที่ ติดตามสมาชิกอาเซียน ยังมีการออกกฎระเบียบ ย้อนหลังที่เป็นอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ออกมาอย่างต่อเนื่อง (ไม่เว้นแม้แต่ประเทศ ไทย) หลังจากที่ในปี 2553 สมาชิกเดิมของ อาเซียน 6 ประเทศประกอบด้วยไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน ได้

76

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

"ในทางกลับกันประเทศไทยเราเองก็ใช่ ย่ อ ย มี ก ารออกกฎระเบี ย บใหม่ ๆ ในสิ น ค้ า เกษตรหลายรายการ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง หอมแดง ยางรถยนต์ใหม่ ที่ทำให้สินค้าของ ประเทศเพื่อนบ้านเข้ามายากขึ้น ซึ่งในเรื่อง มาตรการเอ็นทีบีนี้ อาเซียนมีข้อตกลงที่ต้อง ขจัดให้หมดไปภายในปี 2558 โดยให้แต่ละ ประเทศยื่ น รายการสิ น ค้ า ที่ จ ะยกเลิ ก การใช้ มาตรการกีดกันกับคณะมนตรีอาฟต้า (อาฟต้า เคาน์ ซิ ล ) ซึ่ ง แต่ ล ะประเทศจะทำได้ แ ค่ ไ หน จะมีการวัดผลโดยการให้คะแนน (Scorecard) ซึ่งคงต้องติดตาม" ขณะที่ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นั ก วิ ช าการอิ ส ระด้ า นเศรษฐศาสตร์ และ การเมือง ชี้ว่ามาตรการเอ็นทีบีของอาเซียน ซึง่ ทุกประเทศต่างก็มี เช่น ในสินค้าข้าวของไทย หรือเวียดนาม จากนี้ไปคงต้องหารือกันเพื่อ ลดความแตกต่าง และสร้างให้เป็นมาตรฐาน นำเข้าเดียวกัน ซึ่งหลังปี 2558 ที่อาเซียนจะ รวมตั ว กั น เป็ น ประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น (เออีซี) เชื่อว่าภาพนี้คงจะเกิดขึ้น


Around the World

เปิดแผนแสนล้าน

เบทาโกรลุยไทยขยายแนวรบอาเซียน  วันเพ็ญ พุทธานนท์ 

หลังจากทีเ่ ครือเบทาโกร หนึง่ ในยักษ์ใหญ่ ในกลุม่ ธุรกิจอาหาร วางเป้าหมายบรรลุยอดขาย แตะ 1 แสนล้านบาท ในปี2558 แผนการ ขยับขยายธุรกิจของเครือเบทาโกรในระยะ 3 ปี นับจากปีนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองยิ่ง ในโอกาสที่ เ ครื อ เบทาโกร เปิ ด โรงงาน อาหารสัตว์แห่งที่ 9 อย่างเป็นทางการที่ จ.ลพบุรี มูลค่าลงทุน 1,100 ล้านบาท 2 แม่ทัพของ เครือเบทาโกร คือ วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร เครือเบทาโกร และ ณรงค์ชัย ศรีสันติแสง รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่อาวุโส เครือเบทาโกร ได้ร่วมกัน เปิ ด เผยถึ ง แผนขยายธุ ร กิ จ ให้ บ รรลุ เ ป้ า หมาย ดังกล่าว วสิษฐ กล่าวว่า เป้าหมายสำคัญของการ ดำเนินธุรกิจ จะมุ่งธุรกิจหลักในเครือทั้งโรงงาน อาหารสัตว์ที่ประสบความสำเร็จโดยเติบโตอย่าง ต่อเนื่อง ธุรกิจสุกรที่ยังมีโอกาสเติบโตอีกมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ อุตสาหกรรมยาสัตว์ ที่จะรุกตลาดต่างประเทศมากขึ้น มีการพัฒนาสินค้าใหม่เพื่อบุกตลาดอาเซียนและเอเชียรวมทั้ง ธุรกิจไก่เนื้อที่จะมุ่งลงทุนในอุตสาหกรรมปลายน้ำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

77


78

สำหรับปี 2555 ที่ผ่านมา ธุรกิจของ เบทาโกร ปิดรายได้ที่ 6.8 หมื่นล้านบาท แบ่ง เป็นรายได้จากกลุ่มอาหารสัตว์ 1.1 หมื่นล้าน บาท กลุ่มอาหารแปรรูป 2.8 หมื่นล้านบาท ธุรกิจไก่ 2.1 หมื่นล้านบาท สุกร 4,000 ล้านบาท อุตสาหกรรมยา 4,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ โดยปีนี้วาง เป้าหมายเติบโต 12-15% และคาดว่าจะเติบโต ในอัตรานี้อย่างต่อเนื่องจนบรรลุเป้าหมาย 1 แสนล้านบาท ที่ตั้งไว้

ณรงค์ชัย กล่าวเสริมว่า อีกเป้าหมาย สำคัญของการขยายธุรกิจในประเทศคือ การ สร้างฟูด้ คอมเพล็กซ์ในทุกภาคของประเทศ โดย แต่ละแห่งจะประกอบด้วยฟาร์มสุกร ฟาร์มไก่ โรงงานแปรรูปสุกรและไก่ จนถึงโรงงานปรุงสุก โดยจะเริ่ ม จากภาคใต้ ที่ จ.พั ท ลุ ง ที่ ส ร้ า ง โรงงานแปรรูปแล้วด้วยมูลค่าลงทุน 600 ล้าน บาท ซึ่งจะเริ่มผลิตในปีนี้ และปีนี้จะลงทุนเพิ่ม อีก 250 ล้านบาท ที่ จ.กระบี่ โดยรับสัมปทาน จากเทศบาลกระบี่

หากมองแผนขยายธุรกิจของเครือเบทาโกร จะมุ่งขยายควบคู่ทั้งตลาดในประเทศ และ รับโอกาสจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 โดยปีนจี้ ะใช้งบลงทุนประมาณ กว่า 3,000 ล้านบาท สำหรับขยายโรงงาน ผลิ ต ใหม่ ๆ และปรั บ ปรุ ง ประสิ ท ธิ ภ าพของ โรงงาน โดยปีนี้จะเปิดโรงงานแปรรูปสุกรเพิ่ม 2-3 แห่ง เปิดโรงงานอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นใน ภาคตะวันตกและภาคใต้ การขยายฟาร์มพ่อแม่ พันธุ์สุกร เป็นต้น

หลังจากนั้น จะเริ่มโครงการฟู้ดคอมเพล็กซ์ภาคเหนือ คาดว่าจะเป็นที่ จ.ลำปาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วางเป้าหมายที่ จ.ร้อยเอ็ด หรือ ยโสธร ขณะที่ภาคตะวันตก มีแผนสร้างโรงงานแปรรูปขนาดใหญ่แห่งที่ 2 อยู่แล้ว ด้วยเงินลงทุน 1,200 ล้านบาท ส่วน ฟู้ดคอมเพล็กซ์แต่ละแห่งคาดใช้เงินลงทุนไม่ ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาทเช่นกัน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556


จากเป้าหมายขยายธุรกิจโรงงานแปรรูป โดยเฉพาะสุ ก ร เนื่ อ งจากยั ง มี โ อกาสเติ บ โต ขณะที่ ไ ก่ เ นื้ อ เริ่ ม อิ่ ม ตั ว เล็ ก น้ อ ย โดยคาดว่ า ภายใน 3-5 ปีจากนี้ จะสามารถเพิ่มสัดส่วน แปรรูปสุกรเป็น 60-70% จากเดิมทีไ่ ก่มสี ดั ส่วน มากกว่า นอกจากนี้ ยังมีแผนตัง้ โรงงานอาหาร สัตว์เลี้ยง คาดลงทุน1,000 ล้านบาท คาดว่า จะเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้ ฃณะที่ตลาดต่างประเทศก็เป็นอีกยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างการเติบโตของธุรกิจ โดยที่ผ่านมา บริษัทเข้าไปขยายธุรกิจในหลาย ประเทศ เช่น ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา เริ่มจากธุรกิจฟาร์มสุกรและไก่ ซึ่งขั้นตอนนับ จากนี้จะเข้าสู่การขยายธุรกิจโรงงานอาหาร สัตว์ โดยปีนจี้ ะสร้างโรงานอาหารสัตว์ทกี่ มั พูชา ทีน่ คิ มอุตสาหกรรมพนมเปญ มูลค่าลงทุน 700 ล้านบาท มีกำลังการผลิต 1-8 หมื่นตันต่อ เดือน คาดเริ่มดำเนินการได้ปลายปีหน้า "ปัจจุบันเราส่งอาหารสัตว์ไปกัมพูชา มี ยอดขายเดือนละ 5,000 ตัน หากตั้งโรงงาน ผลิ ต ในกั ม พู ช า จะทำให้ มี ก ำลั ง การผลิ ต ใน ไทยเหลือ 5,000 ตัน เพื่อรองรับตลาดจาก ปัจจุบันที่โรงงานในไทยทุกแห่งเต็มกำลังการ ผลิตทั้งหมด"

ขณะที่ตลาดพม่า จะเข้าไปจัดตั้งสำนักงานสาขาแล้วในต้นปีที่ผ่านมา และอยู่ระหว่าง การแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายเพื่อบุกตลาดอย่าง จริ ง จั ง ตั้ ง เป้ า ยอดขายอาหารสั ต ว์ ใ นพม่ า เดือนละ 200 ตัน พร้อมตั้งเป้าหมาย 3 ปี ตั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ได้ ส่วน สปป.ลาว ได้เข้าไปจัดตัง้ บริษทั เบทาโกร (ลาว) แล้ว เริม่ จากทำฟาร์มสุกร จากนัน้ จะขยับขยายโครงการ ปลายน้ำต่อไป ทั้ ง นี้ รู ป แบบของการขยายธุ ร กิ จ ใน ต่างประเทศ เครือเบทาโกรตั้งเป้าขยายธุรกิจ ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำ คือ ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ โรงงานอาหารสัตว์ จนถึงโรงงานแปรรูป และ โรงงานปรุงสุก โดยคาดว่าประเทศกัมพูชาจะ เป็ น ประเทศแรกในอาเซี ย นที่ ส ามารถขยาย ธุรกิจได้ครบวงจรหรือไม่เกิน 3-5 ปี นับจากนี้ ทั้งหมดนี้ เป็นแผนงานที่เบทาโกรตั้งไว้ เพื่อรองรับการก้าวสู่เป้าหมายแสนล้านบาท ใน 3 ปี ซึง่ แน่นอนว่า จากศักยภาพของประเทศ ไทยที่มีความพร้อมรับการเติบโตจากอาเซียน และเออีซี รวมถึงความพร้อมของเครือเบทาโกร เชื่อว่าเป้าหมายนี้ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน

ธุรกิจอาหารสัตว์ ปีที่ 30 เล่มที่ 150 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556

79


ขอขอบคุณบริษัทที่ให้ความสนับสนุน และความร่วมมือในการจัดทำวารสารธุรกิจอาหารสัตว์

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18.

บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยอาหารสัตว์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ(ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อาหารสัตว์ไทยสวนหลวง จำกัด บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี พี เอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อปฟีดมิลล์ จำกัด บริษัท อดิสสิโอ เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โกรเบสท์ คอร์โพเรชั่น จำกัด บริษัท ทีเอที เอ็นเนอร์ยี่แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด บริษัท เคมิน อินดัสตรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท แลบอินเตอร์ จำกัด บริษัท เอวอร์นิค (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท ตงชาง เครื่องชั่ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เวท อะกริเทค จำกัด บริษัท เวอร์แบค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอ็กซ์โปลิงค์ โกลบอล เน็ทเวอร์ค จำกัด

โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร. โทร.

0-2833-8000 0-2680-4580 0-2473-8000 0-2247-7000 0-2814-3480 0-2632-7232 0-2680-4500 0-2194-5678-96 0-2681-1329 0-2279-7534 0-2910-9728-29 0-2938-1406-8 0-3488-6140-46 0-2784-7900 0-2757-4792-5 0-2575-5777-86 0-2193-8288-90 0-2640-8013




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.