การจัดโต๊ะหมู่บูชา

Page 1

การจัดโต๊ะหมู่บูชา กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


การจัดโต๊ะหมู่บูชา

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม


การจัดโต๊ะหมู่บูชา

ผู้จัดพิมพ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๓ จำนวน ๓๕,๐๐๐ เล่ม ปีที่พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ISBN 978-974-9536-59-9 ที่ปรึกษา นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา นายกฤษศญพงษ์ ศิริ รองอธิบดีกรมการศาสนา นายเอนก ขำทอง รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม นายพิสิทธิ์ นิรัตติวงศกรณ์ ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ นางสาวภัคสุจิ์ภรณ์ จิปิภพ เลขานุการกรมการศาสนา คณะผู้จัดทำ นายสุเทพ เกษมพรมณี นักวิชาการศาสนา ชำนาญการพิเศษ นางพัทธ์ธีรา วรมิศร์ นักจัดการทั่วไป ชำนาญการ นายชวลิต ศิริภิรมย์ นักวิชาการศาสนา ชำนาญการ นางกนกพร สิทธิพงศ์ นักวิชาการศาสนา ชำนาญการ นางสาวรัชนี ปานบุญปลูก เจ้าพนักงานธุรการ ชำนาญงาน รวบรวมเรียบเรียง นายชวลิต ศิริภิรมย์ นักวิชาการศาสนา ชำนาญการ พิสูจน์อักษร นายสุเทพ เกษมพรมณี นักวิชาการศาสนา ชำนาญการพิเศษ


คำนำ การจั ด โต๊ ะ หมู่ บู ช าเป็ น เอกลั ก ษณ์ ข องชาติ อ ย่ า งหนึ่ ง ได้ ป ฏิ บั ติ เป็ น ประเพณี สื บ ต่ อ กั น มาจนซึ ม ซั บ เป็ น วั ฒ นธรรมซึ่ ง เกี่ ย วข้ อ งกั บ พิ ธี ส งฆ์

ทั้ ง ในพระราชพิ ธี รั ฐ พิ ธี และพิ ธี ก ารทั่ ว ไป วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการจั ด

โต๊ะหมู่บูชาเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพร้อมทั้งเครื่องบูชาสักการะ ตามคติของชาวพุทธ ซึ่งมีการจัดในรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันตามความ นิ ย มของแต่ ล ะท้ อ งถิ่ น ถื อ เป็ น มรดกทางวั ฒ นธรรมที่ เ ป็ น ทั้ ง ศาสตร์ และศิลป์ที่ทรงคุณค่ายิ่ง สมควรได้รับการอนุรักษ์และสืบทอดให้ยั่งยืนต่อไป กรมการศาสนาตระหนั ก ถึ ง คุ ณ ค่ า และความสำคั ญ ของการจั ด โต๊ะหมู่บูชา จึงได้จัดพิมพ์หนังสือการจัดโต๊ะหมู่บูชา เผยแพร่แก่เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปมาแล้วจำนวน ๒ ครั้ง ได้รับความสนใจ อย่างมากจนหนังสือได้หมดลง กรมการศาสนาจึ ง ได้ จั ด พิ ม พ์ ห นั ง สื อ การจั ด โต๊ ะ หมู่ บู ช า ขึ้ น อี ก

หวังว่าจะเป็นการอำนวยประโยชน์ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น (นายสด แดงเอียด) อธิบดีกรมการศาสนา


สารบัญ คำนำ การจัดโต๊ะหมู่บูชา ประวัติความเป็นมา วัตถุประสงค์ของการจัดโต๊ะหมู่บูชา ความสำคัญของโต๊ะหมู่บูชา การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีทางพระพุทธศาสนา การตั้งโต๊ะหมู่ในพิธีถวายพระพร การตั้งโต๊ะหมู่ในพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือการรับของพระราชทาน การตั้งโต๊ะหมู่ในการรับเสด็จฯ หรือตามเส้นทางเสด็จฯ การตั้งโต๊ะหมู่ในพิธีถวายสักการะเนื่องในวันสำคัญ ของสถาบันพระมหากษัตริย์ การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีประชุมหรือสัมมนา การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาเพื่อการประกวด ผังการจัดโต๊ะหมู่บูชา การแสดงความเคารพและการบรรเลงเพลงในพิธีการต่าง ๆ บรรณานุกรม

หน้า ๑ ๑ ๑๐ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๘ ๒๐ ๒๖ ๒๗ ๓๐ ๓๒ ๓๘ ๔๒ ๔๔


การจัดโต๊ะหมู่บูชา

โต๊ ะ หมู่ บู ช า คื อ กลุ่ ม หรื อ ชุ ด ของโต๊ ะ ที่ ใ ช้ ตั้ ง พระพุ ท ธรู ป หรื อ สิ่งอันเป็นที่เคารพสักการะ เช่น พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ หรือพระบรมรูปหล่อของพระมหากษัตริย์ พระฉายาลักษณ์ หรือพระสาทิสลักษณ์ ของพระบรมวงศานุวงศ์ หรือรูปของบรรพบุรุษ ประกอบด้วยเครื่องบูชา อั น เป็ น การแสดงออกซึ่ ง ความเคารพอย่ า งสู ง ของผู้ ที่ สั ก การะ และเป็ น

การแสดงถึงความกตัญญูที่พึงมีต่อผู้มีอุปการคุณซึ่งเป็นวัฒนธรรมอันดีงาม ที่มีคุณค่ายิ่งของสังคมไทย ประวัติความเป็นมา ความเป็ น มาเกี่ ย วกั บ โต๊ ะ หมู่ บู ช านั้ น สมเด็ จ พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ ไว้ ในเรื่อง “อธิบายเครื่องบูชา” ได้ทรงกล่าวถึงม้าหมู่ ไว้ดังนี้ “เครื่ อ งบู ช าชนิ ด นี้ เ ป็ น อย่ า งไทยแกมจี น นั้ น เพราะความคิ ด ที่ จั ด เครื่ อ งบู ช าเป็ น ความคิ ด ไทย แต่ ก ระบวนการที่ จั ด เอาอย่ า งมาจากที่ จี น เขาจัดตั้งเครื่องแต่งเรือน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ลายฮ่อ” ซึ่งจีนชอบ เขียนฉาก และเขียนเป็นลายแจกันและเครื่องถ้วยชามอย่างอื่น จีนเรียกว่า “ลายปักโก๊” เป็นของที่ ได้เห็นกันมาในประเทศนี้เห็นจะช้านานแล้ว แต่ตามเรื่อง ตำนานปรากฏว่า เมื่อในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงสร้างสวนชวาที่ ในพระบรมมหาราชวัง (ตรงบริเวณสวนศิวาลัยบัดนี้) ครั้งนั้น ประจวบเวลาราชทูตไทยออกไปเมืองปักกิ่ง ไปได้เครื่องตั้งแต่งเรือน อย่างจีนเข้ามาจัดแต่งพระตำหนักที่ ในสวนชวา เป็นเหตุให้เกิดนิยมกันขึ้น เป็ น ที่ แ รกว่ า เป็ น ของงามน่ า ดู ถึ ง ไปผู ก เป็ น ลายเขี ย นผนั ง โบสถ์ แต่ คิ ด ดั ด แปลงไปให้ เ ป็ น เครื่ อ งพุ ท ธบู ช า ยั ง มี ป รากฏอยู่ ทุ ก วั น นี้ ที่ พ ระอุ โ บสถ การจัดโต๊ะหมู่บูชา


วั ด ราชโอรส ซึ่ ง พระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงสร้ า งตั้ ง แต่ ยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ อยู่ ในรัชกาลที่ ๒ แล้ว เจ้าพระยา นิกรบดินทร์ (โต ต้นสกุล กัลยาณมิตร) เอาอย่างมาเขียนฝาผนังพระอุโบสถ วัดกัลยาณมิตร ซึ่งสร้างเมื่อในรัชกาลที่ ๓ นั้น เป็นต้น สันนิษฐานว่า แม้ ใน ชั้นนั้นก็ยังไม่เกิดเครื่องบูชาอย่างม้าหมู่ มาเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริโดยอนุโลมตามลายฮ่อ ซึ่งเขียนผนังโบสถ์ดังกล่าว มาแล้ว ให้สร้างม้าหมู่ขึ้นสำหรับตั้งเครื่องบูชาหน้าพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระเชตุพน เป็นม้าหมู่ ใหญ่ ๑๑ ตัว และทรงพระราชดำริให้สร้างม้าหมู่ ขนาดน้อย มีม้าสำหรับตั้งเครื่องบูชาหมู่ละ ๔ ตัว ตั้งประจำพระวิหารทิศ สันนิษฐานว่า เครื่องบูชาอย่างม้าหมู่เกิดขึ้นด้วยพระราชดำริของพระบาท สมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว เมื่ อ ครั้ ง ฉลองวั ด พระเชตุ พ นเป็ น เดิ ม แล้ ว

ผู้อื่นนิยมก็เอาแบบอย่างทำกันต่อมาจนทุกวันนี้ เครื่องบูชาอย่างม้าหมู่ที่ ใช้เวลามีการงาน ใช้เป็นที่ตั้งพระพุทธรูป ประกอบเครื่ อ งบู ช า เช่ น ในงานทำบุ ญ เรื อ นเป็ น ต้ น ก็ มี ใ ช้ แ ต่ เ ป็ น อย่ า ง เครื่องประดับ เช่น ตั้งที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่องานระดูหนาวเป็นต้นก็มี ถ้าใช้ตั้งพระพุทธรูปต้องถือว่า ที่ตั้งพระเป็นสำคัญ คือ จะตั้งอย่างไรให้เป็น สง่างาม เหลือที่ตั้งพระเท่าใด จึงจัดเครื่องบูชาเข้าประกอบ คือ เชิงเทียน และเครื่องปักดอกไม้เป็นต้น ถ้าตั้งม้าหมู่เครื่องบูชาเป็นอย่างเครื่องประดับ โดยเฉพาะมีการประกวดกัน มีเครื่องกำหนดสำหรับการตัดสินว่า ดีหรือเลว ด้วยหลักดังอธิบายต่อไปนี้ คือ ๑. ความสะอาดเป็นข้อสำคัญอย่างยิ่ง ถึงตัวม้าหมู่และเครื่องตั้ง เครื่องประดับจะดีปานใด ถ้าปล่อยให้เปื้อนเปรอะสกกะปรก ก็อาจถูกตัดสิน เป็นตกไม่ ได้รางวัล เพราะเป็นความผิดของเจ้าของ ๒. ตัวม้าหมู่นั้นควรใช้ของทำประเทศนี้ ถ้ายิ่งฝีมือทำประณีต และ ความคิดประกอบม้าสูงต่ำให้ ได้ทรวดทรงงามเพียงใด ก็นับว่าดีขึ้นเพียงนั้น

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


ม้าหมู่ที่ทำมาขายแต่เมืองจีนไม่นับเข้าองค์สำหรับตัดสินให้รางวัล เพราะ เป็นของมีขายในท้องตลาดดาษดื่นนับด้วยร้อย หาวิเศษไม่ ๓. เครื่ อ งบู ช าที่ ตั้ ง บนม้ า หมู่ จ ะใช้ เ ครื่ อ งแก้ ว หรื อ เครื่ อ งถ้ ว ย เครื่องโลหะหรือทำด้วยสิ่งอันใดก็ได้กำหนดเลือกว่า ดีนั้น คือ เป็นของหายาก สามารถหาของประเภทเดี ย วกั น ได้ ห มด ยกตั ว อย่ า ง ดั ง เช่ น ว่ า ถ้ า ใช้ เครื่องแก้วเจียระไน หนามขนุน ก็ให้เป็นเครื่องแก้วเจียระไน หนามขนุน

ทั้งสิ้น หรือใช้เครื่องแก้วแดง ก็ให้เป็นเครื่องแก้วแดงทั้งสิ้น ดังนี้เป็นตัวอย่าง สิ่งของที่ตั้งไม่ขัดกับเครื่องบูชา ยกตัวอย่างข้อห้ามดังเอาชามอ่างสำหรับ ล้ า งหน้ า มาตั้ ง หรื อ เอาคณฑี ที่ เ ขาทำสำหรั บ ใส่ สุ ร ามาใช้ ปั ก ดอกไม้ ดั ง นี้ เป็นต้น นับว่าขัดกับเครื่องบูชาอย่างยิ่ง แต่กำหนดเหล่านี้มีการผันผ่อนให้บ้าง เช่ น บางที คุ ม ของที่ ห ายาก ยกตั ว อย่ า ง ดั ง คุ ม เครื่ อ งแก้ ว เจี ย ระไน อย่างกะหลาป๋า หาเชิงเทียนแก้วอย่างนั้นไม่มี จะใช้อย่างอื่นแทนก็ ไม่ติเตียน เพราะพ้นวิสัยซึ่งจะหาได้ ถ้าว่าโดยย่อเครื่องตั้งม้าหมู่นั้น ถ้าเป็นของหายาก และได้ครบทั้งชุดหรือโดยมากนับว่าดี ๔. กระบวนจัดตั้งของบนม้าหมู่เครื่องบูชานั้น ต้องจัดให้เห็นสง่างาม แก่ตา คือ ได้ช่องไฟและแลเห็นของเล็กของใหญ่ ได้ถนัด แม้ ในเวลากลางคืน ก็ให้แสงไฟเทียนที่จัดตั้ง อาจส่องกระจ่างทั่วทั้งหมู่ม้า จึงนับว่า ดี ยังของ ซึ่งจัดในเครื่องบูชามีดอกไม้เป็นต้น ยิ่งจัดให้ประณีตงดงามก็ยิ่งดี ๕. สิ่งของสำหรับจัดตั้งเครื่องบูชาม้าหมู่นั้นของที่เป็นหลักจะขาด ไม่ ได้ก็คือ เทียน ธูป ดอกไม้ ๓ อย่างนี้ นอกนั้นเห็นอันใดเป็นของสมควร ดังเช่นผลไม้เป็นต้นจะใช้ด้วยก็ ได้ แต่มีข้อห้ามตามตำราหลวงมิให้ ใช้ดอก หรือผลไม้ ซึ่งสาธุชนมักรังเกียจกลิ่น ยกตัวอย่างดังเช่น ผลฝรั่ง ผลมะม่วง ผลจันทน์ ที่สุกงอมนั้นเป็นต้น”* *กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ. อธิบายเครื่องบูชา, อนุสรณ์พระราชทาน เพลิงศพพระราชภัทราจาร (เปล่ง กุวโม), พิมพ์ที่ บริษัท จี.เอ. กราฟิค จำกัด, ๒๕๓๕. (๒๓-๒๕) การจัดโต๊ะหมู่บูชา


จากพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ ท รงอธิ บ ายเกี่ ย วกั บ เครื่ อ งบู ช าดั ง กล่ า ว ทำให้ สั น นิ ษ ฐานได้ ว่ า การจั ด

โต๊ ะ หมู่ บู ช า เริ่ ม มี ม าแต่ รั ต นโกสิ น ทร์ ต อนต้ น สื บ เนื่ อ งมาแต่ รั ช สมั ย

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงมีพระราชดำริให้

จั ด สร้ า งม้ า หมู่ ขึ้ น สำหรั บ ตั้ ง เครื่ อ งบู ช าหน้ า พระประธานในพระอุ โ บสถ วัดพระเชตุพน ซึ่งเป็นม้าหมู่ขนาดใหญ่ และม้าหมู่ขนาดน้อย ที่ตั้งประจำ วิหารทิศ แต่ยังไม่มีโต๊ะตัวล่างที่เป็นฐานรองรับม้าหมู่ ซึ่งเป็นการจัดแปลง โต๊ะเครื่องบูชาอย่างจีนมาเป็นอย่างไทย และต่อมามีผู้นิยมจัดโต๊ะเครื่องบูชา ม้าหมู่เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และมีโต๊ะประกอบเป็นที่ตั้งเครื่องบูชา ในการทำบุญโอกาสต่าง ๆ ของพระบรมวงศานุวงศ์ และของเจ้านายผู้ ใหญ่

ในสมั ย นั้ น ในช่ ว งระยะเวลาที่ ถื อ ว่ า ได้ มี ก ารพั ฒ นาเกี่ ย วกั บ โต๊ ะ หมู่ บู ช า มากที่สุดยุคหนึ่ง ก็คือ ในการจัดพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขอแรงพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้าภาษี นายอากร พ่อค้า จัดโต๊ะเครื่องบูชา เข้าไปตั้งเป็นเครื่องประดับ จำนวน ๑๐๐ โต๊ะ ซึ่งเป็นปฐมเหตุที่ให้มีความนิยม ในการประกวดโต๊ะเครื่องบูชา ดังนั้น ในการบำเพ็ญกุศลคล้ายวันประสูต ิ

ของพระบรมวงศานุ ว งศ์ เจ้ า นายผู้ ใ หญ่ หรื อ งานทำบุ ญ วั น คล้ า ยวั น เกิ ด ของผู้มีบรรดาศักดิ์ มักจะมีการประกวดโต๊ะหมู่บูชาและการจัดเครื่องบูชา เมื่ อ ของผู้ ใ ดดี ก็ จ ะมี ร างวั ล พระราชทานหรื อ มอบให้ เมื่ อ มี ผู้ นิ ย มในการ ประกวดม้ า หมู่ ก็ ย่ อ มมี ก ารดู แ ลรั ก ษาเครื่ อ งบู ช าให้ ค งอยู่ ค รบชุ ด มี ก าร จัดแปลงในการสร้างม้าหมู่บูชาให้มีความวิจิตรสวยงาม อันเป็นการแสดงถึง ภูมิปัญญาและฝีมือเชิงช่างของนายช่างไทย อันเป็นการพัฒนาการจัดสร้าง โต๊ะหมู่บูชาของนายช่างไทย ดังที่ ได้พระนิพนธ์ ไว้ตอนหนึ่งเกี่ยวกับข้อกำหนด การพิจารณาม้าหมู่หรือโต๊ะหมู่ของคณะผู้จัดการประกวดในสมัยนั้นข้อหนึ่ง คือ “ตัวม้าหมู่นั้นควรใช้ของทำประเทศนี้ ถ้ายิ่งฝีมือการทำประณีต และ

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


ความคิดประกอบม้าสูงต่ำให้ ได้ทรวดทรงงดงาม ก็ยิ่งถือเป็นการทำด้วยการมี ความคิดริเริ่มจัดแปลงให้สวยงามเหมาะสมได้สัดส่วน ผู้เป็นเจ้าของโต๊ะหมู่ ชุดนั้นก็เป็นผู้สมแก่รางวัล” ที่เป็นดังนี้ก็เพราะต้องการส่งเสริมให้ช่างไม้ ไทย ได้มีความคิดในการจัดแปลงและสร้างม้าหมู่อันเป็นการแสดงออกถึงศิลปะ และฝี มื อ เชิ ง ช่ า งของนายช่ า งไทยที่ มี ลั ก ษณะอั น อ่ อ นช้ อ ยและสวยงาม ซึ่ ง เป็ น การแสดงให้ เ ห็ น วั ฒ นธรรมทางด้ า นศิ ล ปะของสั ง คมไทย ซึ่ ง เป็ น ประเทศที่ มี เ อกลั ก ษณ์ ใ นการคิ ด ลวดลายเป็ น แบบเฉพาะของตนเอง ซึ่งต่อมามีการจัดสร้างโต๊ะตัวล่างเพื่อเป็นฐานสำหรับรองรับม้าหมู่เพื่อให้มี ความสะดวกในการจัดตั้ง เนื่องจากเมื่อนำม้าหมู่ ไปจัดตั้งในสถานที่ทำบุญ บางแห่งซึ่งมีพื้นที่ ไม่เสมอกัน ก็จะต้องจัดหาวัสดุมารองรับที่ฐานของม้าหมู่ แต่ละตัวเพื่อให้มีความเสมอกันและสวยงามซึ่งทำได้ยาก เมื่อมีโต๊ะตัวล่าง สำหรั บ ตั้ ง เป็ น ฐานไว้ ร องรั บ กลุ่ ม โต๊ ะ หมู่ ห รื อ ม้ า หมู่ แ ล้ ว สามารถทำให้ ตั้ ง

โต๊ะหมู่ ได้ง่าย เกิดความเด่นและมีความสวยงามเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นการพัฒนา ด้านความคิดในการจัดสร้างโต๊ะหมู่ของนายช่างไม้ของไทย การจั ด โต๊ ะ หมู่ บู ช า ถื อ เป็ น เอกลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรมอั น สำคั ญ ประการหนึ่งของสังคมไทย ซึ่งได้มีการปฏิบัติสืบทอดและสืบสานกันมาเป็น ระยะเวลาอันยาวนาน ตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น พระราชประเพณี หรือพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือประเพณีต่าง ๆ ของสังคมไทย จึงได้มีการจัดโต๊ะหมู่บูชาในการประกอบพิธีต่าง ๆ อันเป็นการ แสดงออกถึงการบูชาต่อสิ่งอันเป็นที่เคารพสักการะอันสูงยิ่งตามที่บรรพบุรุษ ได้กระทำเป็นแบบอย่างไว้ด้วยความกตัญญูกตเวทีในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


ภาพเขียนลายฮ่อ ผนังพระอุโบสถวัดราชโอรส

โต๊ะเครื่องบูชาแบบจีน

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


โต๊ะเครื่องบูชาอย่างใหญ่ แบบหลวง ในรัชกาลที่ ๕

ภาพโต๊ะกิมตึ๋ง

ภาพโต๊ะโขกลายครามของวัดราชบพิธ ตั้งรับเสด็จฯ เลียบพระนคร ณ วัดบวรนิเวศวิหาร การจัดโต๊ะหมู่บูชา


เครื่องนมัสการทองทิศของหลวง

กระบะถมของหลวง กระบะเครื่องห้า

การตั้งเครื่องบูชา

เครื่องทองน้อย

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


ภาพม้าหมู่ใหญ่ในพระอุโบสถวัดพระเชตุพน

ภาพม้าหมู่ขนาดน้อยในพระอุโบสถวัดพระเชตุพน การจัดโต๊ะหมู่บูชา


ภาพม้าหมู่บูชาในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพน

วัตถุประสงค์ของการจัดโต๊ะหมู่บูชา การจั ด โต๊ ะ หมู่ บู ช า เพื่ อ เป็ น ที่ ป ระดิ ษ ฐานพระพุ ท ธรู ป พร้ อ มทั้ ง ตั้ ง เครื่ อ งบู ช าตามคติ นิ ย มของชาวพุ ท ธตามที่ ป รากฏในพุ ท ธประวั ติ ว่ า เมื่อพุทธบริษัทมีความประสงค์จะบำเพ็ญกุศลอย่างหนึ่งอย่างใด มักจะนิมนต์ พระสงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าเสด็จมาเป็นประธานสงฆ์ในงานกุศลนั้น ๆ ดังนั้น เพื่อให้มีความสมบูรณ์ในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ตามคตินิยมดังกล่าว ในการจัดงานที่เกี่ยวกับศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนา พุ ท ธศาสนิ ก ชนจึ ง นิ ย มอั ญ เชิ ญ พระพุ ท ธรู ป มาประดิ ษ ฐานเป็ น นิ มิ ต แทน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพิธีนั้น ๆ ด้วย เพื่อให้มีพระรัตนตรัย ครบบริบูรณ์ พุทธศาสนิกชนจึงได้มีการตั้งโต๊ะหมู่บูชาและอัญเชิญพระพุทธรูป ประดิ ษ ฐานบนโต๊ ะ หมู่ บู ช าโต๊ ะ สู ง สุ ด แถวกลาง พร้ อ มทั้ ง ตั้ ง เครื่ อ งบู ช า ที่ โ ต๊ ะ ในลำดั บ ที่ ร องลงมาตามความเหมาะสม ซึ่ ง สมเด็ จ พระมหาวี ร วงศ์ 10

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


(วิน ธมฺมสารเถร) วัดราชผาติการาม ได้ ให้ความหมายของ “รัตนะ” ว่า “เพราะพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสิ่งที่ควรกระทำความยำเกรง ให้เกิดขึ้นแก่พุทธศาสนิกชน เพราะมีค่ามาก เพราะชั่งไม่ ได้ เพราะเห็นได้ยาก เพราะสั่งสมได้เฉพาะคนดี ถ้าไม่เคารพนับถือยำเกรงก็ ไม่เป็นรัตนะ ถ้าทำ มั ก ง่ า ยกั บ พระรั ต นตรั ย ก็ ไ ม่ เ ป็ น รั ต นตรั ย ถ้ า คนพาลคนชั่ ว นั บ ถื อ ก็ ไ ม่ เ ป็ น รัตนะ”** ดังนั้น เพื่อให้เกิดความยำเกรงในพระรัตนตรัยดังกล่าว บรรพบุรุษ ของเราที่มีความเคารพในพระรัตนตรัยแต่โบราณ จึงได้ปฏิบัติสืบกันมาเมื่อมี พิธีการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นศาสนพิธีหรือการประกอบพิธีที่ต้องการความเป็น สิริมงคล ได้มีการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีการนั้น ๆ เป็นประเพณีสืบต่อกันมา ไม่ ว่ า จะเป็ น งานพระราชพิ ธี รั ฐ พิ ธี หรื อ ราษฎร์ พิ ธี ทั้ ง งานพิ ธี ท ำบุ ญ ที่ เ ป็ น งานมงคลและงานอวมงคล ล้ ว นนิ ย มตั้ ง โต๊ ะ หมู่ บู ช าทั้ ง สิ้ น ดั ง นั้ น เมื่อมีการอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐาน ควรจัดสถานที่ที่ประดิษฐาน ให้เหมาะสมและมีความสง่างาม บรรพบุรุษไทยจึงได้มีการพัฒนาและจัดแปลง จากม้ า หมู่ ม าเป็ น โต๊ ะ หมู่ บู ช าเพื่ อ ความสะดวกในการเคลื่ อ นย้ า ยและให้ มี ความสวยงาม ซึ่งต่อมาการจัดโต๊ะหมู่บูชาถือเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ของชาติไทย และเป็นมรดกทางภูมิปัญญาและแนวคิดในการแสดงออกถึง ความเคารพสักการะต่อสิ่งอันเป็นที่เคารพนับถือแห่งตนของบรรพบุรุษไทย ซึ่ ง ลั ก ษณะการตั้ ง โต๊ ะ หมู่ นั้ น ได้ พั ฒ นาจากการจั ด ตั้ ง โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เพี ย งเพื่ อ เป็ น ที่ ป ระดิ ษ ฐานพระพุ ท ธรู ป ในงานพิ ธี ท างพระพุ ท ธศาสนา ต่อมามีการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาเพื่อวัตถุประสงค์อื่น แต่ทั้งนี้ก็เป็นไปด้วยความเคารพ สักการะในสิ่งที่นำมาประดิษฐานบนโต๊ะหมู่ทั้งสิ้น **สมเด็ จ พระมหาวี ร วงศ์ (วิ น ธมฺ ม สารเถร). หั ว ใจพระรั ต นตรั ย , สามั ญ สำนึ ก รำลึ ก พระคุ ณ , พิมพ์ที่ ห.จ.ก.รุ่งเรืองสาสน์, กรุงเทพมหานคร, ๒๕๒๘. (๒๘-๒๙) การจัดโต๊ะหมู่บูชา

11


ความสำคัญของโต๊ะหมู่บูชา*** ปัจจุบันในพิธีที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ในพระราชพิธี รัฐพิธี หรือราษฎร์พิธี ไม่ ว่ า จะเป็ น งานมงคลหรื อ งานอวมงคลก็ ต าม นิ ย มตั้ ง โต๊ ะ หมู่ บู ช าทั้ ง สิ้ น

โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป พร้อมเครื่องบูชาตาม คตินิยมของชาวพุทธ ดังนั้น โต๊ะหมู่บูชาจึงมีความสำคัญในแง่ของการเสริม แรงศรัทธาและสร้างความเชื่อมั่นของบุคคล ในหนังสือ “โต๊ะหมู่บูชา” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุทัศนีย์ บุญโญภาส จำแนกความสำคัญของโต๊ะหมู่บูชา ไว้หลายประการ คือ ๑. เป็นสัญลักษณ์เตือนพุทธศาสนิกชน (ทั้งในกลุ่มของพระสงฆ์และ ฆราวาส) ให้มีจิตสำนึกและเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เนื่องจาก การจั ด โต๊ ะ หมู่ บู ช าที่ ใ ช้ ใ นพิ ธี ก รรมทางศาสนาต้ อ งอั ญ เชิ ญ พระพุ ท ธรู ป ประดิษฐานบนโต๊ะหมู่ตรงกลางที่สูงที่สุด เสมือนหนึ่งพระพุทธเจ้าได้ประทับ อยู่ตลอดเวลาและเป็นประธานในพิธีด้วย เป็นการย้ำเตือนให้พุทธศาสนิกชน ซาบซึ้งถึงพระปัญญาของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสรู้ ได้ด้วยพระองค์เอง ๒. เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการถวายความจงรักภักดี ความเคารพ บู ช าในพระมหากษั ต ริ ย์ และพระบรมวงศานุ ว งศ์ โต๊ ะ หมู่ บู ช าที่ จั ด ตั้ ง เครื่องสักการบูชา ดังเช่น การจัดโต๊ะหมู่บูชาในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งบุคคลอันเป็นที่เคารพนับถือแห่งตน ๓. เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงวัฒนธรรมและประเพณีไทยที่มีมายาวนาน ไม่ ว่ า จะเป็ น ลวดลาย การแกะสลั ก ลงรั ก ปิ ด ทอง และการฝั ง มุ ก ของ ชุดโต๊ะหมู่บูชาเป็นลวดลายวิจิตรสวยงาม หรือการจัดตกแต่งพานพุ่มบูชา ***ประภาส แก้ ว สวรรค์ . การจั ด โต๊ ะ หมู่ บู ช า, กรมการศาสนา กระทรวงวั ฒ นธรรม จั ด พิ ม พ์ ,

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพมหานคร, ๒๕๕๑. 12

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


พระรัตนตรัย พานพุ่มเฉลิมพระเกียรติ และการจัดแจกันดอกไม้แบบไทย ที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาไทย ศิลปะการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทย ซึ่งมี ความประณีตงดงาม การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา ในปัจจุบัน นิยมจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาในกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ ๑. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีทางพระพุทธศาสนา ๒. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีถวายพระพร ๓. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือของพระราชทาน ๔. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในการรับเสด็จฯ หรือตามเส้นทางเสด็จฯ ๕. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีถวายสักการะเนื่องในวันสำคัญเกี่ยวกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ ๖. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในการประชุมหรือสัมมนา ๗. การตั้งโต๊ะหมู่บูชาเพื่อการประกวด อนึ่ ง สำหรับการจัดสถานที่บูชาที่บ้าน จะเป็ น การจั ด สถานที่ บู ช า ไม่เป็นพิธีการมากนัก แต่ควรจะมีสถานที่บูชาพระไว้ ในบ้านในฐานะที่เป็น พุ ท ธศาสนิ ก ชน ซึ่ ง บางบ้ า นจะใช้ ส ถานที่ บู ช าพระที่ มี ลั ก ษณะเป็ น หิ้ ง พระ (คื อ การใช้ เ หล็ ก หรื อ ไม้ ที่ มี ลั ก ษณะมุ ม ฉากติ ด กั บ ฝาผนั ง และมี พื้ น ด้ า นบน แล้วนำพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนหิ้ง พร้อมด้วยเครื่องบูชาหลัก ได้แก่ ดอกไม้ ธู ป และเที ย น) แต่ บ้ า นที่ มี ส ถานที่ ก ว้ า งพอก็ ค วรใช้ โ ต๊ ะ หมู่ บู ช า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป พร้อมด้วยเครื่องบูชา ชุดโต๊ะหมู่บูชาที่นิยมใช้ เป็นโต๊ะหมู่สำหรับบูชาพระในบ้าน คือ โต๊ะหมู่ ๕ และหมู่ ๗

การจัดโต๊ะหมู่บูชา

13


การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีทางพระพุทธศาสนา

การตั้ ง โต๊ ะ หมู่ บู ช าในพิ ธี ท างพระพุ ท ธศาสนา การบำเพ็ ญ กุ ศ ล ทางพระพุทธศาสนาต้องมีการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาทั้งงานกุศลพิธีและบุญพิธี งานกุศลพิธี คือ พิธีกรรมต่าง ๆ อันเกี่ยวด้วยการอบรมเพื่อให้เกิดความดีงาม ทางพระพุทธศาสนาเฉพาะตัวบุคคล รวมทั้งการปฏิบัติศาสนพิธีของพระสงฆ์ และงานบุญพิธี คือ พิธีกรรมที่พุทธศาสนิกชนปรารภทำความดีเนื่องด้วย ประเพณีในครอบครัว หรือประเพณีที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนทั่วไป ไม่ว่าจะ เป็นงานมงคล หรืองานอวมงคล ก็จะมีการตั้งโต๊ะหมู่บูชาในลักษณะประยุกต์ โดยไม่ จ ำเป็ น จะต้ อ งจั ด เต็ ม รู ป แบบเหมื อ นกั บ การจั ด โต๊ ะ หมู่ บู ช าเพื่ อ ใช้ ในการประกวด ซึ่งการจัดโต๊ะหมู่บูชาในพิธีทางพระพุทธศาสนาจะมีการจัดตั้ง โต๊ะหมู่บูชาตามแบบอย่างดังต่อไปนี้

การจัดโต๊ะหมู่บูชาในการสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานมอบสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร ในพิธีเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์แก่พระสังฆาธิการ ณ วัดแจ้งแสงอรุณ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร 14

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๒

ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๔ การจัดโต๊ะหมู่บูชา

15


16

ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๕

ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๖

ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๗

ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๙

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


ภาพการจัดโต๊ะหมู่บูชา ในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระพรหมคุณาภรณ์ (ด.เจียม กุลละวณิชย์) อดีตเจ้าอาวาสวัดโสธรวราราม

ภาพการตั้งที่บูชาอัฐิพระพรหมคุณาภรณ์ (ด.เจียม กุลละวณิชย์) อดีตเจ้าอาวาสวัดโสธรวราราม ในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย การจัดโต๊ะหมู่บูชา

17


การตั้งโต๊ะหมู่ ในพิธีถวายพระพร

การตั้งโต๊ะหมู่ในพิธีถวายพระพร เป็นการตั้งโต๊ะหมู่บูชาถวายพระพร เนื่ อ งในโอกาสวั น สำคั ญ ของสถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ หรื อ เมื่ อ มี ก ารจั ด กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์เนื่องในการจัดงานในโอกาส ต่าง ๆ เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันคล้ายวันประสูติพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นต้น ซึ่งจะมีการจัดตั้งโต๊ะหมู่ตามแบบอย่างต่อไปนี้

ภาพการจัดโต๊ะหมู่ในพิธีถวายสักการะ

18

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


ภาพการจัดโต๊ะหมู่ในพิธีถวายสักการะ

การจัดโต๊ะหมู่บูชา

19


การตั้งโต๊ะหมู่ ในพิธีรับพระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือการรับของพระราชทาน

การตั้ ง โต๊ ะ หมู่ ใ นพิ ธี รั บ พระราชทานเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ เครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ ต ระกู ล ช้ า งเผื อ กและตระกู ล มงกุ ฎ ไทย ตั้ ง แต่ ชั้ น

ทวีติยาภรณ์ลงมา มีผู้ ได้รับพระราชทานเป็นจำนวนมาก เหลือวิสัยที่จะจัดให้ เข้ารับพระราชทานต่อพระหัตถ์ ได้ กองประกาศิต สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จึงได้เชิญเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทาน มอบให้กระทรวง ทบวง กรม เจ้าสังกัด เพื่อเจ้ากระทรวง ทบวง กรมจะได้มอบให้แก่ผู้ ได้รับพระราชทาน ในโอกาสอันสมควร เช่น ในวันสถาปนากระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ เป็นต้น การมอบเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ แ ก่ ข้ า ราชการในสั ง กั ด ที่ ได้ รั บ พระราชทาน เป็นการมอบสิ่งอันมีเกียรติเป็นเครื่องตอบแทนคุณงามความดี ของข้ า ราชการที่ มี ค วามชอบในราชการแผ่ น ดิ น ดั ง นั้ น ควรจั ด การมอบ เป็ น พิ ธี ก ารให้ ส มแก่ เ กี ย รติ ย ศ ซึ่ ง มี ก ารจั ด โต๊ ะ หมู่ บู ช าในพิ ธี ม อบเครื่ อ ง ราชอิสริยาภรณ์ดังนี้

การจัดโต๊ะหมู่ในพิธีรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ 20

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


การจัดโต๊ะหมู่ในพิธีรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รับมอบจากประธานในพิธี

การแต่งกายในพิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์**** ผู้ทำหน้าที่มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น ถือได้ว่าเป็นผู้ทำหน้าที ่

แทนพระองค์ ใ นการพระราชทานเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ ดั ง นั้ น ในพิ ธี นี้ จึ ง ต้ อ งแต่ ง เครื่ อ งแบบปรกติ ข าวทั้ ง ผู้ เ ป็ น ประธานและผู้ ที่ จ ะเข้ า รั บ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

****แสงสู ร ย์ ลดาวั ล ย์ , หม่ อ มราชวงศ์ . แนวทางการจั ด กิ จ กรรมที่ เ กี่ ย วกั บ พระมหากษั ต ริ ย ์

“การเข้ า รั บ พระราชทานเครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ ” , สำนั ก งานคณะกรรมการวั ฒ นธรรม แห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร, ๒๕๓๘. ๓๑-๕๑ การจัดโต๊ะหมู่บูชา

21


วิธีปฏิบัติ เมื่อผู้เป็นประธานในพิธีมาถึงและเข้าสู่ห้องประกอบพิธี ให้ทุกคน ในห้องยืนตรงขึ้น (อันเป็นการต้อนรับผู้เป็นประธาน แต่ยังไม่ต้องแสดง ความเคารพ) ประธานในพิธีเดินทางตรงไปยังที่บูชา จุดธูปเทียนบูชาแล้ว กราบนมัสการพระรัตนตรัยถอยออกมาจากแท่นที่กราบนมัสการพระรัตนตรัย ประมาณ ๑ ก้าว คำนับธงชาติและถวายคำนับพระบรมฉายาลักษณ์พระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว แล้ ว เดิ น ไปยื น อยู่ ต รงหน้ า ที่ นั่ ง ซึ่ ง ฝ่ า ยผู้ จั ด พิ ธี ก าร ได้เตรียมไว้ ทุกคนที่อยู่ ในห้องพิธีทำความเคารพด้วยวิธีค้อมศีรษะลงคำนับ ประธานเคารพตอบแล้ว นั่งลงยังที่นั่งที่ ได้จัดเตรียมไว้ การมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ ผู้เป็นประธานยืนมอบ เว้นไว้แต่ ในสถานที่ที่จัดให้ผู้เป็นประธานมอบอยู่บนเวที ผู้รับมอบอยู่เบื้องล่าง ผู้เป็น ประธานจึงนั่งมอบ จากนั้นให้ดำเนินกิจกรรมต่อไปดังนี้ ๑. ผู้รับพระราชทานลุกขึ้นจากที่นั่งก้าวออกไปยืนตรงจุดแล้ว ให้เดิน ไปหยุดอยู่เบื้องหน้าโต๊ะหมู่บูชา (จุดที่ ๑) แล้วทำความเคารพโดยวิธีค้อม ศีรษะไปยังที่บูชา ๑ ครั้ง (อันเป็นการทำความเคารพสิ่งสักการะทั้ง ๓ คือ พระพุทธรูป ธงชาติ และพระบรมฉายาลักษณ์รวมกัน แล้วหันและเดินไปยัง ผู้เป็นประธานพิธียืนอยู่ ในระยะห่างพอสมควร (จุดที่ ๒) ทำความเคารพ ประธานในพิธีด้วยวิธีค้อมศีรษะ ๑ ครั้ง สืบเท้าเข้าไปรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (การรับให้ยื่นมือรับโดยไม่ต้องเอางาน) ๒. เมื่ อ รั บ เครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ จ ากประธานแล้ ว ให้ ถื อ ไว้ ในระดั บ เอว โดยให้ ข้ อ ศอกและมื อ ที่ ถื อ เครื่ อ งราชอิ ส ริ ย าภรณ์ ตั้ ง ฉาก กับลำตัว ค้อมศีรษะลงคำนับทำความเคารพประธาน ๑ ครั้ง แล้วถอยออกมา ประมาณ ๓ ก้าว (จุดที่ ๓) หยุดยืนหันหน้าไปทางที่บูชา ค้อมศีรษะลงคำนับ สิ่งสักการะทั้ง ๓ อีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงเดินกลับไปนั่ง ณ ที่นั่งเดิม โดยให้ถือ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ไว้สูงในระดับเอวตลอดเวลา จนกว่าจะเสร็จพิธี 22

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


ผังการจัดและวิธีเข้ารับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (กรณีรับมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากประธาน)

ธงชาติ

โต๊ะหมู่บูชา

พระบรม ฉายาลักษณ์

ประธานพิธี

๓ ผู้เข้ารับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ผู้ร่วมในพิธี

ผู้เข้ารับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ผู้ร่วมในพิธี

การจัดโต๊ะหมู่บูชา

23


การจั ด โต๊ ะ หมู่ ใ นการรั บ สิ่ ง ของพระราชทาน เป็ น การตั้ ง โต๊ ะ หมู่ เพื่อรับมอบสิ่งของพระราชทานที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ให้ แ ก่ บุ ค คลใดบุ ค คลหนึ่ ง เพื่ อ นำไปดำเนิ น กิ จ กรรมตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ ข อ พระราชทาน ซึ่ ง ในกรณี นี้ จ ะต้ อ งประดิ ษ ฐานพระบรมฉายาลั ก ษณ์ หรื อ พระฉายาลักษณ์ ไว้บนโต๊ะหมู่โต๊ะสูงสุดแถวกลาง โต๊ะหมู่โต๊ะกลางแถวกลาง ประดิษฐานสิ่งของที่ ได้รับพระราชทาน โต๊ะหมู่โต๊ะหน้าแถวกลาง (ต่ำสุด) ตั้ ง เครื่ อ งสั ก การะ (พานดอกไม้ ธู ป เที ย นแพ) ซึ่ ง ก่ อ นจะรั บ สิ่ ง ของ พระราชทาน ให้เปิดกรวยเพื่อถวายเครื่องสักการะก่อน เพื่อเป็นการถวายตัว ในการเข้ารับพระราชทานสิ่งของพระราชทานไปดำเนินการต่อไป ส่วนโต๊ะหมู่ โต๊ ะ อื่ น ๆ จะเป็ น การตั้ ง พานพุ่ ม หรื อ แจกั น ดอกไม้ ก็ ส ามารถจั ด ตั้ ง ได้ ตามความเหมาะสมและสวยงาม เช่น การรับผ้าพระกฐินพระราชทาน เป็นต้น ซึ่งเป็นการรับสิ่งของพระราชทานไปปฏิบัติด้วยความเคารพและสมพระเกียรติ โดยมีวิธีการจัดโต๊ะหมู่เพื่อเข้ารับสิ่งของพระราชทานดังนี้

24

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


การจัดโต๊ะหมู่ในการรับผ้าพระกฐินพระราชทาน

การจัดโต๊ะหมู่ในการรับพระราชทานสิ่งของ (กรณีสิ่งของพระราชทานมีจำนวนมาก) ประธานเปิดกรวยถวายสักการะแล้วอัญเชิญสิ่งของพระราชทานวางไว้บนพานตามลำดับ การจัดโต๊ะหมู่บูชา

25


การตั้งโต๊ะหมู่ ในการรับเสด็จฯ หรือตามเส้นทางเสด็จฯ

การตั้ ง โต๊ ะ หมู่ บู ช าในการรั บ เสด็ จ ฯ หรื อ ตามเส้ น ทางเสด็ จ ฯ ถื อ เป็ น การจั ด โต๊ ะ หมู่ บู ช ารั บ เสด็ จ ฯ อั น เป็ น การแสดงถึ ง ความจงรั ก ภั ก ดี

ของพสกนิ ก รผู้ ซึ่ ง อยู่ ภ ายใต้ พ ระบรมโพธิ ส มภารได้ แ สดงออกในโอกาส ที่ ส ถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ ไ ด้ เ สด็ จ พระราชดำเนิ น มายั ง ท้ อ งถิ่ น ของตน ซึ่งนับว่าเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและชุมชนที่ตนอยู่อาศัย การจัดโต๊ะหมู่บูชา เพื่อการรับเสด็จพระราชดำเนินนั้น บนโต๊ะหมู่บูชาไม่ต้องมีพระพุทธรูป หรือ พระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระฉายาลักษณ์ เพียงแต่จัดพานพุ่ม หรือดอกไม้ ตั้งบนโต๊ะหมู่และกรวยดอกไม้ ธูปเทียนแพ แต่หากท้องถิ่นใดไม่มีธูปเทียนแพ ก็ให้จัดหาธูปเทียนมาตั้งไว้ยังโต๊ะหมู่ตัวกลางด้านหน้า แต่ ไม่ต้องจุด เพียงแต่ ตั้งไว้เป็นเครื่องบูชา ซึ่งมีวิธีการตั้งโต๊ะหมู่บูชาดังนี้

26

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


การตั้งโต๊ะหมู่ ในพิธีถวายสักการะเนื่องในวันสำคัญ ของสถาบันพระมหากษัตริย์

การตั้ ง โต๊ ะ หมู่ บู ช าในพิ ธี ถ วายสั ก การะสถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ ในโอกาสต่ า ง ๆ เป็ น การจั ด กิ จ กรรมที่ ข้ า ราชการ พ่ อ ค้ า ประชาชน มีความรำลึกถึงพระราชกรณียกิจและพระมหากรุณาธิคุณที่พระมหากษัตริย์ แต่ ล ะพระองค์ ได้ ท รงปฏิ บั ติ อั น เป็ น คุ ณ ประโยชน์ แ ก่ ป ระชาชนและ ประเทศชาติ ซึ่งประชาชนชาวไทยได้จัดขึ้นในส่วนภูมิภาค อันเป็นการรำลึกถึง พระองค์อีกโสดหนึ่ง เนื่องในโอกาสวันสำคัญ ๆ เช่น วันจักรี วันปิยมหาราช

การจัดโต๊ะหมู่บูชา

27


ผังการจัดกิจกรรมในวันจักรี (มีพิธีสงฆ์)

โต๊ะหมู่บูชาประดิษฐาน พระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เครื่องถวายสักการะ กรวยดอกไม้ ธูปเทียนแพ

โต๊ะหมู่บูชาประดิษฐาน พระบรมฉายาลักษณ์ บุรพกษัตริย์ราชวงศ์จักรี

เครื่องถวายสักการะ เครื่องทองน้อย

โต๊ะหมู่บูชา ประดิษฐานพระพุทธรูป

ผู้ร่วมพิธี (ผู้ใหญ่)

ประธาน

อาสน์สงฆ์

ผู้ร่วมพิธี ผู้ร่วมพิธี ผู้ร่วมพิธี ผู้ร่วมพิธี

28

การจัดโต๊ะหมู่บูชา

โต๊ะตั้ง เครื่องไทยธรรม


วิธีการปฏิบัติ เมื่อถึงเวลาตามกำหนดการ ประธานในพิธีปฏิบัติดังนี้ ๑. จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วไปนั่งยังเก้าอี้ของผู้เป็นประธาน ๒. เจ้าหน้าที่อาราธนาศีล ประธานสงฆ์ให้ศีล จบ ๓. ประธานพิ ธี ไ ปยั ง โต๊ ะ หมู่ ป ระดิ ษ ฐานพระบรมรู ป ๘ รั ช กาล จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยแล้ว ประธานพิธีอ่านอาศิรวาทปฐมราชสดุดี จบ ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี (พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา) จบ ๔. ประธานไปยั ง โต๊ ะ หมู่ ป ระดิ ษ ฐานพระบรมฉายาลั ก ษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เปิ ด กรวยธู ป เที ย นแพถวายสั ก การะ ณ เบื้ อ งหน้ า พระบรมฉายาลั ก ษณ์

ถวายคำนั บ แล้ ว กล่ า วถวายพระพรชั ย มงคล จบ ดนตรี บ รรเลงเพลง สรรเสริญพระบารมี พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา เสร็จพิธี ๕. ประธานประเคนจตุ ปั จ จั ย ไทยธรรม พระสงฆ์ อ นุ โ มทนา ถวายอดิเรก

การจัดโต๊ะหมู่บูชา

29


การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีประชุมหรือสัมมนา

การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในพิธีประชุมหรือสัมมนา ในพิธีการประชุม อบรม สั ม มนา หรื อ การประสาทปริ ญ ญาบั ต รที่ ไม่ มี ศ าสนพิ ธี ใ นพิ ธี ดั ง นั้ น เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีที่มีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ อันถือเป็นประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทย และเพื่อความเป็นสิริมงคลในการประกอบพิธีที่ ไม่ ใช่พิธีเกี่ยวกับนานาชาติ และการประชุมปกติของคณะกรรมการ นิยมตั้งธงชาติ โต๊ะหมู่บูชา และ พระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ครบทั้ง ๓ สถาบัน คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการ แสดงความเคารพต่อสถาบันทั้ง ๓ ของสังคมไทยอันเป็นสิ่งที่ดีงามซึ่งได้มีการ ปฏิบัติและสืบสานต่อเนื่องกันมาจนเป็นประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามที่สังคมไทย ได้ร่วมกันอนุรักษ์ด้วยความภูมิใจในภูมิปัญญาแนวคิดที่มีต่อสถาบันของบรรพบุรุษ ซึ่งมีหลักการตั้งธงชาติ โต๊ะหมู่ และพระบรมฉายาลักษณ์ ดังนี้ ๑. ตั้งโต๊ะหมู่บูชาไว้ตรงกลาง ๒. ตั้งธงชาติไว้ด้านขวาของโต๊ะหมู่ ๓. ตั้ ง พระบรมฉายาลั ก ษณ์ หรื อ พระบรมสาทิ ส ลั ก ษณ์ ข อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ทางด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชา อนึ่ง การจัดโต๊ะหมู่บูชานั้น ต้องจัดให้มีความสง่างาม มีความเป็น ระเบียบเรียบร้อยสวยงาม ประณีตและสะอาด เนื่องจากการจัดโต๊ะหมู่บูชา เป็นสัญลักษณ์แห่งความศรัทธาและการถวายความจงรักภักดีที่มีต่อสถาบัน ฉะนั้น ผู้จัดหรือเจ้าของสถานที่ ไม่ควรจัดตั้งโต๊ะหมู่และเครื่องบูชาในลักษณะที่ กระทำไปเพราะเสียไม่ ได้ ไม่มีความสง่างาม ซึ่งการกระทำจะเป็นผลกระทบกลับ และการวางเครื่ อ งบู ช าควรวางให้ ถู ก ต้ อ งตามประเพณี นิ ย มซึ่ ง มี ลั ก ษณะ การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาในการประชุม อบรม และสัมมนา ดังนี้ 30

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


การจัดโต๊ะหมู่บูชา

31


การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาเพื่อการประกวด

การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาเพื่อการประกวด เป็นการร่วมกันสืบสานและ อนุรักษ์การจัดโต๊ะหมู่บูชาอันเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงวัฒนธรรมและประเพณี อันดีงามที่มีมายาวนานของสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นลวดลาย การแกะสลัก ลงรั ก ปิ ด ทอง และการฝั ง มุ ก ของชุ ด โต๊ ะ หมู่ บู ช าที่ มี ค วามวิ จิ ต รสวยงาม อันเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ฝีมือช่างไม้ ไทยประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง เป็นการอนุรักษ์ฝีมือการจัดพานพุ่มบูชาพระรัตนตรัย พานพุ่มเฉลิมพระเกียรติ และการจัดแจกันดอกไม้แบบไทยที่ ให้เห็นถึงภูมิปัญญา ศิลปะการประดิษฐ์ ดอกไม้แบบไทย ซึ่งมีความประณีตงดงามของช่างดอกไม้ประดิษฐ์ของไทย การจัดโต๊ะหมู่บูชาเพื่อการประกวดนี้ ต้องมีการจัดในลักษณะเต็มรูปแบบ การตั้งหรือวางเครื่องสักการบูชาต้องมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม และมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน จึงขอนำเกณฑ์การตัดสินการประกวดโต๊ะหมู่บูชา ในงานสั ป ดาห์ ส่ ง เสริ ม พระพุ ท ธศาสนา เนื่ อ งในเทศกาลวิ ส าขบู ช าของ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มาลงไว้เป็นแนวทางเพื่อการศึกษา ดังต่อไปนี้

32

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


เกณฑ์การตัดสินการประกวดโต๊ะหมู่บูชา งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา ของกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ๑. โต๊ะหมู่บูชา (๑๐ คะแนน) ประกวดเฉพาะโต๊ะหมู่ ๗ และหมู่ ๙ เท่านั้น โต๊ะหมู่ที่จัดต้องเป็น

ชุดเดียวกัน มีความประณีตในการจัดตั้ง ๒. แจกัน (๑๕ คะแนน) ๒.๑ ความถูกต้อง จำนวนครบ ตั้งถูกจุดที่กำหนด ๒.๒ ความประณีต จัดด้วยดอกไม้สด มีความสวยงาม เหมาะสม กลมกลืน ๓. พานพุ่ม (๓๐ คะแนน) ๓.๑ ความถู ก ต้ อ ง ต้ อ งเป็ น พานพุ่ ม ทรงข้ า วบิ ณ ฑ์ ประดั บ ด้ ว ย ดอกไม้สด หรือชิ้นส่วนของต้นไม้สด ตั้งถูกต้องตามกำหนด ๓.๒ ความประณีต มีความประณีตสวยงามเหมาะสม ความยากง่าย และความละเอียดในการจัด ๔. เชิงเทียน/เทียนที่ใช้ประดับ (๑๐ คะแนน) มีจำนวนครบตามกำหนด ตั้งถูกต้อง มีความประณีตในการจัดตั้ง อนุ ญ าตให้ ใ ช้ เ ที ย นขี้ ผึ้ ง และเที ย นไขสี ข าวหรื อ สี เ หลื อ งเท่ า นั้ น เที ย นที่ มี ลวดลายหรือเทียนเกลียวจะไม่ตัดสิน การจัดโต๊ะหมู่บูชา

33


๕. กระถางธูป/เชิงเทียนที่จุดบูชา (๑๐ คะแนน) ๕.๑ ห้ามใช้กระถางธูปที่มีรูปหน้าสิงห์หรือสัตว์ใด ๆ ๕.๒ เชิ ง เที ย นและกระถางธู ป ตั้ ง อยู่ ใ นแนวเดี ย วกั น (ในหนั ง สื อ โต๊ะหมู่และระเบียบก่อน ๆ ตั้งคนละแนว แต่ในที่นี้ให้ตั้งในแนวเดียวกัน) ๖. ความเหมาะสมกลมกลืน (๒๕ คะแนน) พิจารณาในภาพรวมทั้งหมดของโต๊ะหมู่ ความสมดุลของพระพุทธรูป เครื่องบูชา และโต๊ะหมู่ โดยเฉพาะเครื่องบูชาทุกชนิดจะต้องไม่สูงกว่พระพุทธรูป รวมทั้งพระพุทธรูปต้องเป็นปางที่เหมาะสม หมายเหตุ สิ่งที่จะไม่นำมาเป็นข้อมูลในการตัดสิน คือ การตั้งธงชาติ และ

พระบรมฉายาลั ก ษณ์ การประดั บ บริ เ วณโดยรอบโต๊ ะ หมู่ บู ช า

ม่านหรือผ้าประดับ รวมทั้งมูลค่าของโต๊ะหมู่และเครื่องบูชา

34

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


ลักษณะหรือรูปแบบการจัดโต๊ะหมู่บูชา

ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๒

ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๔

ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๔

ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๕ การจัดโต๊ะหมู่บูชา

35


ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๖

ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๗

ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๙ 36

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๑๕

การจัดโต๊ะหมู่บูชา

37


ผังการจัดโต๊ะหมู่บูชา

สัญลักษณ์ที่ ใช้ ในแผนผัง

หมายถึง พระพุทธรูป

หมายถึง พานดอกไม้/พานพุ่ม

หมายถึง แจกันดอกไม้

หมายถึง เชิงเทียน

หมายถึง กระถางธูป

38

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


ผังการจัดโต๊ะหมู่ ๕ เครื่องบูชาประกอบด้วย l กระถางธูป l เชิงเทียน l พานดอกไม้/พานพุ่ม l แจกัน

๑ ๓ ๕ ๑

กระถาง คู่ พาน คู่

การจัดโต๊ะหมู่บูชา

39


ผังการจัดโต๊ะหมู่ ๗ เครื่องบูชาประกอบด้วย l กระถางธูป l เชิงเทียน l พานดอกไม้/พานพุ่ม l แจกัน

40

การจัดโต๊ะหมู่บูชา

๑ กระถาง ๔ คู่ ๕ พาน ๑ คู่


ผังการจัดโต๊ะหมู่ ๙ เครื่องบูชาประกอบด้วย l กระถางธูป l เชิงเทียน l พานดอกไม้/พานพุ่ม l แจกัน

๑ ๕ ๗ ๒

กระถาง คู่ พาน คู่

การจัดโต๊ะหมู่บูชา

41


การแสดงความเคารพและการบรรเลงเพลง ในพิธีการต่าง ๆ

ในการจัดงานพิธีการต่าง ๆ ที่เป็นทางการหรือกึ่งทางการ ส่วนมาก นิ ย มให้ มี ก ารบรรเลงเพลง เพื่ อ ถวายความเคารพแด่ อ งค์ ป ระธาน หรื อ

เพื่อเป็นการต้อนรับผู้ทำหน้าที่เป็นประธานในพิธีการนั้น ๆ ซึ่งได้มีระเบียบ หรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบรรเลงเพลงต่าง ๆ ที่ควรทราบดังนี้ ๑. เพลงสรรเสริ ญ พระบารมี บรรเลงเพื่ อ ถวายความเคารพ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว สมเด็ จ พระนางเจ้ า ฯ พระบรมราชิ นี น าถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร หรือผู้ที่ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้แทนพระองค์ และที่ถือปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษเมื่อผู้ขอรับ ผ้ า พระกฐิ น พระราชทาน เปิ ด กรวยดอกไม้ ธู ป เที ย นแพ ถวายสั ก การะ พระบรมฉายาลักษณ์หรือพระบรมสาทิสลักษณ์แล้ว ขณะผู้ขอรับพระราชทาน ผ้าพระกฐินอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน (ผ้าไตร) ประคองผ้าไตรพาดไว้

ที่มือทั้ ง สอง ให้ ดุ ริ ยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญ พระบารมี (เพื่ อ เป็ น การ เฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) และให้ผู้ขอรับผ้าพระกฐิน พระราชทานยืนตรงเพื่อเป็นการถวายความเคารพ เมื่อดุริยางค์บรรเลงเพลง สรรเสริญพระบารมีจบ ให้คำนับ โดยค้อมศีรษะ (ทั้งชายและหญิง สำหรับ ผู้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินเป็นข้าราชการและอยู่ในเครื่องแบบ) สำหรับ ประธานที่ เ ป็ น หญิ ง ที่ ไ ม่ ไ ด้ แ ต่ ง เครื่ อ งแบบให้ ถ วายความเคารพโดยวิ ธ ี

ถอนสายบัว การยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในกรณีที่มิได้อยู่ ณ ที่เฝ้าฯ เช่ น เมื่ อ เพลงสรรเสริ ญ พระบารมี บ รรเลงเป็ น การเปิ ด งานหรื อ ปิ ด งาน หรือเมื่อมหรสพเริ่มหรือเลิกการแสดง ให้ทำความเคารพด้วยการยืนตรง เมื่อเพลงจบ ให้คำนับ โดยค้อมศีรษะ 42

การจัดโต๊ะหมู่บูชา


๒. เพลงมหาชัย บรรเลงเพื่อเป็นการถวายความเคารพพระบรมวงศ์* ผู้ ส ำเร็ จ ราชการแทนพระองค์ นายทหารที่ มี ย ศจอมพล จอมพลเรื อ จอมพลอากาศ หรือเป็นการบรรเลงเพื่อเป็นการต้อนรับประธานของงาน ผู้ ที่ มี เ กี ย รติ สู ง เช่ น พระบรมวงศานุ ว งศ์ นายกรั ฐ มนตรี หรื อ เมื่ อ ผู้ เ ป็ น ประธานของงานกล่าวคำปราศรัยจบ ก็จะบรรเลงเพลงมหาชัยเป็นกรณีพิเศษ ๓. เพลงมหาฤกษ์ เป็นการบรรเลงเพื่อต้อนรับผู้เป็นประธานซึ่งมิได้ กล่าวไว้ ในข้อ ๒ และใช้บรรเลงในการเปิดงานที่เป็นพิธีใหญ่ เช่น พิธีเปิด สถานที่ทำการของรัฐบาล พิธีเปิดทางคมนาคมที่สำคัญ ๆ และงานที่ถือเป็น งานมงคลทั่วไป ดังนั้น เมื่อได้ยินเพลงมหาฤกษ์หรือเพลงมหาชัย วิธีปฏิบัติให้ยืนตรง จนกว่ า จะจบเพลง ในกรณี ที่ เ ป็ น พิ ธี ข องทางราชการ ผู้ ที่ เ ป็ น ทหารหรื อ ข้าราชการพลเรือนที่อยู่ในเครื่องแบบ ให้ปฏิบัติตามระเบียบของราชการทหาร หรือข้าราชการพลเรือน แล้วแต่กรณี *พระบรมวงศ์ ได้แก่ l สมเด็จพระบรมราชินีนาถแห่งพระมหากษัตริย์ l สมเด็จพระเจ้าพี่นาง–น้องนางเธอในพระมหากษัตริย์ l สมเด็จพระเจ้าพี่–น้องยาเธอในพระมหากษัตริย์ l พระราชโอรส พระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล l พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

การจัดโต๊ะหมู่บูชา

43


บรรณานุกรม

กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ. อธิบายเครื่องบูชา, อนุ ส รณ์ พ ระราชทานเพลิ ง ศพพระราชภั ท ราจาร (เปล่ ง กุ ว โม), พิมพ์ที่ บริษัท จี.เอ. กราฟิค จำกัด, กรุงเทพมหานคร, ๒๕๓๕. กรมการศาสนา. ศาสนพิ ธี ฉบั บ กรมการศาสนา, โรงพิ ม พ์ ก ารศาสนา, กรุงเทพมหานคร, ๒๕๔๕. ประภาส แก้วสวรรค์. การจัดโต๊ะหมู่บูชา, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพมหานคร, ๒๕๕๑. กรมยุ ท ธศึ ก ษาทหารบก. คู่ มื อ การปฏิ บั ติ ศ าสนพิ ธี ในพิ ธี ก ารทางทหาร, พิมพ์ที่ ห.จ.ก.อรุณการพิมพ์, กรุงเทพมหานคร, ๒๕๔๙. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสารเถร). หัวใจพระรัตนตรัย, สามัญสำนึก รำลึก พระคุณ, พิมพ์ที่ ห.จ.ก.รุ่งเรืองสาสน์, กรุงเทพมหานคร, ๒๕๒๘. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. แนวทางการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับ พระมหากษัตริย์, โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, กรุงเทพมหานคร, ๒๕๓๙. “-------------------------”. มารยาทไทย, โรงพิ ม พ์ ชุ ม นุ ม สหกรณ์ ก ารเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด, กรุงเทพมหานคร. สำนักพระราชวัง. รวมเรื่องและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับราชสำนัก, ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, กรุงเทพมหานคร, ๒๕๔๗.

พิมพ์ที่

โรงพิมพ์ชุมนุม หกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ๗๙ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทร าร ๐-๒๕๗๙-๕๑๐๑ นายโชคดี ออ ุวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา พ.ศ. ๒๕๕๒



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.