โครงการธรรมศึกษาวิจัย หลักธรรมในมิลินทปัญหา

Page 1

2

โครงการธรรมศึกษาวิจัย หลักธรรมในมิลินทปัญหา ศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกาตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี ผู้อานวยการหลักสูตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการ ทางพระพุทธศาสนา ตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช ๒๕๕๐ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ๕๐๐ เล่ม เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์


3

คานา ในหนังสือเล่มนี้รวบรวมและสกัดขึ้น เพื่อให้เข้าถึงสภาวธรรมเรื่อง หลักธรรมใน มิลินทปัญหา อันแป็นเกี่ยวกับคาสอนที่เป็นพุทธพจน์หรือเถระ เถรีที่มีความสาคัญยิ่ง โดยอ้างอิงจากพระไตรปิฏกและตาราอรรถกถา เจตนาหนังเสือเล่มนี้ เพื่อเข้าถึงแก่นแห่งสภาวธรรมเรื่อง หลักธรรมในมิลินท ปัญหา ทางพระพุทธศาสนานี้ถือว่าเป็นคัมภีร์สาคัญที่หลายประเทศให้ความสาคัญ และ เป็นที่ศึกษาของวงการพระพุทธศาสนาในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อให้ศาสนาพุทธได้ธารง ยิ่งยืนนาน จึงศึกษาค้นคว้าหาแห่งที่มาสรุปเป็นบทโดยย่อง่ายต่อความเข้าใจ และจดจา ผลของงานเขียนครั้งนี้บางจุดได้นามาจากข้อมูลเดิมที่ยังไม่ทราบว่าผู้ใดเขียนไว้ก็ ขอให้เกิดผลบุญแก่ท่านผู้นั้นด้วย รวมถึงบุพการีครูอาจารย์ตลอดผู้มีคุณทุกท่านขออานาจ แห่งเจตนานี้เป็นปัจจัยให้ทุกท่านถึงที่สุดแห่งทุกข์และสิ้นสุดแห่งกองกิเลส เข้าสู่พระ นิพพานโดยทั่วหน้ากัน ธีรเมธี ธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี มหาบัณฑิตพุทธศาสน์ แห่งมหามกุฏราชวิทยาลัย


4

สารบัญ บทที่ ๑ บทนา บทที่ ๒ หลักธรรมในมิลินทปัญหา ๒.๑ หมวดธรรมของคฤหัสถ์ ๒.๑.๑ หลักธรรมเกี่ยวกับบุญและบาป ๒.๑.๒ หลักธรรมเกี่ยวกับสังสารวัฏ ๒.๑.๓ หลักธรรมเกี่ยวกับพุทธจริยาและพุทธคุณ ๒.๒ หมวดธรรมของบรรพชิต ๒.๒.๑ หลักธรรมที่เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ ๒.๒.๒ หลักปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอริยบุคคล ๒.๒.๓ วิสัชนาข้อสงสัยในพระธรรมวินัย ๒.๓ หมวดธรรมเกี่ยวกับพระนิพพาน ๒.๓.๑ แนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน ๒.๓.๒ สภาวะของพระนิพพาน ๒.๔ หมวดปกิณณกธรรม บทที่ ๓ บุคลิกภาพของพระนาคเสน ๓.๑ บุคลิกภาพด้านการศึกษา ๓.๒ บุคลิกภาพด้านสติปัญญา (๑) ปฏิภาณโวหารในอัตตนิปาตนปัญหา (๒) ปฏิภาณโวหารในเมตตาภาวนานิสังสปัญหา บรรณานุกรม ภาคผนวก ก. - ประวัติพระนาคเสนเถระและพระเจ้ามิลินท์ ๒๐๔ ภาคผนวก ข. - คัมภีร์มิลินทปัญหา ; ประวัติความเป็นมา ๒๑๒


5

บทที๑่ บทนา ๑.๑ ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา พระพุทธศาสนา คือ คา สั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่ง ประกอบด้วยพระธรรมและพระวินัย เป็นหลักให้พุทธบริษัทได้ศึกษาเล่าเรียน และนาไป ประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา และเพื่อ นามาประกาศเผยแผ่ให้แก่คนทุกหมู่เหล่าเข้าถึงหลักคาสอนของพระองค์ ภารกิจที่สาคัญ อีกอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชน ก็คือการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธเจ้า และสามารถ โต้ตอบกับปรัปวาทภายนอกพระพุทธศาสนา ดังที่พระพุทธองค์ตรัสกับมารผู้มากราบทูล ให้พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานว่า พระองค์จะยังไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ตราบ เท่าที่ภิกษุทั้งหลายยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนา ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ ทรงธรรมไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับ อาจารย์ของตนแล้ว แต่ยังบอก แสดง บัญญัติ กาหนด เปิดเผย จาแนก ทาให้ง่ายไม่ได้ ยัง แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ปราบปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้ ๑ พระ พุทธดารัสนี้เป็นเครื่องยืนยันว่า บุคคลที่เป็นศาสนทายาทจะต้องมีความพร้อมทั้งวิชชา และจรณะมีศักยภาพในการเผยแผ่ สามารถปราบปรัปวาทของลัทธิภายนอก พระพุทธศาสนาเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ได้ทรงแสดง พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรซึ่งเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกโปรดปัญจวัคคีย์นับว่าเป็น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปพร้อมกันอีกด้วย และในคราวที่พระองค์ทรงส่งพระสาวกไป ประกาศพระศาสนาในครั้งแรกด้วยพระดารัสว่า ให้ภิกษุทั้งหลายจาริกไป เพื่อประโยชน์ สุขแก่ชนจานวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวย เทพและมนุษย์ แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความ งามในที่สุดประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ครบถ้วนแม้พระองค์ก็เสด็จไปยังตาบลอุรุเวลาเสนานิคมเพื่อแสดงธรรม ๒ พระพุทธพจน์ นี้ เป็นการประกาศหลักการที่ชัดเจนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้พุทธบริษัทได้ถือเป็นแนว ปฏิบัติกันสืบต่อมา เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและมั่นคงของพระธรรมวินัยการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น กระทากันหลายรูปแบบ เช่น การปฏิบัติตนให้มีปฏิปทาน่า เลื่อมใส การสนทนา การแนะนา การตอบปัญหาข้อข้องใจ และการแสดงธรรม เป็นต้น โดยที่พระพุทธเจ้าประทานหลักในการเผยแผ่ให้พระสาวกยึดถือเป็น หลักปฏิบัติในการแสดงธรรม คือ ให้มีเนื้อหาต่อเนื่องกันไปตามลาดับ ชี้แจง แสดงเหตุผลให้เข้าใจชัดเจนในแต่ละประเด็น แสดงธรรมเพราะอาศัยความเอ็นดูต่อสรรพ


6

สัตว์ มุ่งจะให้ประโยชน์แก่ผู้ฟัง แสดงธรรมเพราะไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง และไม่แสดง ธรรมกระทบตนและผู้อื่น ๓พระนาคเสนเป็นพระสาวกยุคหลังพุทธกาล ท่านเป็นกาลัง สาคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคหลังพุทธปรินิพพาน เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติโดด เด่น เฉลียวฉลาดแตกฉานในพระธรรมวินัย มีปฏิภาณโวหารสามารถชี้แจงให้ผู้ที่มีความ สงสัยเรื่องราวในพระพุทธศาสนาเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน เนื่องจากท่านมีวิธีการ อธิบายหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่เหมาะสมแก่ยุคสมัย โดยอาศัยหลักที่ พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่าง มีเทคนิคและวิธีการสอนที่หลากหลาย คือ สอนจาก ง่ายไปหายาก อธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม เพราะธรรมะเป็นเรื่องที่มีเนื้อหา ลึกซึ้ง ยากที่จะเข้าใจโดยเฉพาะธรรมะชั้นสูง จาเป็นต้องใช้กลวิธีอันแยบยลในการเผยแผ่ อัจฉริยภาพของพระนาคเสนที่ชาวพุทธทราบกันดี คือการโต้ตอบปัญหากับพระเจ้ามิลินท์ จนสามารถชี้แจงให้พระเจ้ามิลินท์หมดสิ้นความสงสัย หันมานับถือพระพุทธศาสนาการใช้ ปฏิภาณโวหารโต้ตอบปัญหา ถือว่าเป็นเทคนิคสาคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพราะการสนทนาโต้ตอบกันจะต้องมีไหวพริบรู้เท่าทันคู่สนทนา เช่นในคราวที่ พระพุทธเจ้าทรงสนทนากับสัจจกนิครนถ์ เรื่องขันธ์๕ เป็นอัตตา หรือเป็นอนัตตาด้วยหลัก ตรรกวิทยา คือ การหาเหตุผลที่มองเห็นได้ พระองค์ทรงซักถามจนสัจจกนิครนถ์ตอบไม่ได้ และยังทรงสาทับว่าคาของสัจจกนิครนถ์หาสาระไม่ได้ ๔ การใช้ปฏิภาณโวหารต้องมีความ ละเอียดรอบคอบ มีวิจารณญาณที่ดี เช่น การสนทนากันระหว่างพระนาคเสนกับพระเจ้า มิลินท์ เกี่ยวกับเรื่องรูปนามว่า อะไรชื่อนาคเสน อาการ ๓๒ หรือว่าขันธ์ ๕ซึ่งพระนาคเสน ก็ตอบปฏิเสธทั้งหมด และอธิบายว่าอาศัยการประกอบกันเข้าทั้งนามและรูปจึงมีการ บัญญัติชื่อเรียกบุคคล หรือวัตถุสิ่งของ เปรียบเหมือนพระองค์เสด็จมาด้วยรถ จะกล่าวว่า เรือน งอน เพลา หรือล้อ ชื่อว่ารถ ก็ไม่ได้เหมือนกัน แต่เมื่อรวมอุปกรณ์ทุกอย่างเข้า ด้วยกัน จึงเรียกว่ารถ พระนาคเสนจึงสรุปว่า ในลักษณะเดียวกัน เมื่อรวมนามและรูปเข้า ด้วยกันแล้ว จึงสมมติเรียกว่า นาคเสนบ้าง อย่างอื่นบ้าง แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้ว ไม่มีตัว บุคคลที่จะค้นหาได้ในชื่อนั้น ๕ พระนาคเสนใช้ปฏิภาณโวหารโต้ตอบกับพระเจ้ามิลินท์ แสดงให้เห็นถึงความเป็นพหูสูต ความเชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนา การใช้วาทะโต้ตอบ กับฝ่ายลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนา ปฏิปทาของท่านจึงเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ดังนั้นเรื่องนี้เพื่อต้องการทราบว่า พระนาคเสนมีบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อย่างไร ปฏิภาณโวหารการสนทนาโต้ตอบของท่านควรถือเป็นแบบอย่างของนักเผยแผ่ ทั่วไปแม้ท่านจะเป็นพระสาวกยุคภายหลังพุทธปรินิพพาน แต่ก็มีอิทธิพลในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และวิธีการของพระนาคเสนก็สามารถนามาประยุกต์เป็น แนวทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดียิ่ง ๑.๔ คาจากัดความของศัพท์


7

ปฏิภาณ หมายถึงการโต้ตอบได้ทันทีทันควัน ปัญญาแก้การณ์เฉพาะหน้า ความคิด ที่ทันการ หรือเชาว์ในการกล่าวแก้หรือโต้ตอบเป็นต้นได้ฉับพลันทันทีและแยบคาย โวหาร หมายถึง ชั้นเชิงหรือสานวนแต่งหนังสือหรือพูด ปฏิภาณโวหาร หมายถึง การกล่าวเหมาะด้วยเหตุผลในทันที มิลินทปัญหา หมายถึง คัมภีร์สาคัญ บันทึกคาสนทนาตอบปัญหาธรรมระหว่าง พระนาคเสนกับพระยามิลินท์ นาคเสน หมายถึง พระอรหันตเถระผู้โต้วาทะชนะพระยามิลินท์ กษัตริย์แห่งสาคล ประเทศ ท่านเกิดหลังพุทธกาลประมาณ ๔๐๐ ปี ที่หมู่บ้านกชังคละในหิมวันตประเทศ เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อโสณุตตระ ท่านเป็นผู้ชานาญในพระเวทและต่อมาได้อุปสมบท โดยมีพระโรหณะเป็นพระอุปัชฌาย์ มิลินท์ หมายถึง มหากษัตริย์เชื้อชาติกรีก แห่งสาคลประเทศในชมพูทวีป ผู้เป็น ปราชญ์ยิ่งใหญ่ โต้วาทะชนะนักปราชญ์ทั้งหลายในสมัยนั้น จนในที่สุดได้โต้กับพระนาค เสนยอมเลื่อมใสหันมานับถือพระพุทธศาสนา และเป็นองค์อุปถัมภกสาคัญ พระนาม ภาษากรีกว่าพระเจ้าเมนานเดอร์ ครองราชย์ พ.ศ. ๔๒๓ สวรรคต พ.ศ. ๔๕๓ เผยแผ่ หมายถึง ขยายออกไป หรือทาให้ขยายออกไปมากกว่าเดิม ๑.๕ เอกสารศึกษา ๑.๕.๑ ปุ้ย แสงฉาย กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “พุทธปฏิภาณ” สรุปได้ว่า ปฏิภาณเป็น คุณธรรมสาคัญอย่างหนึ่งต่อคนทั้งหลาย ทุกชั้น ทุกเพศ ทุกวัย ยิ่งผู้เป็นใหญ่ผู้เป็นหัวหน้า ผู้สอนศาสนา ผู้เป็นทูต ผู้เป็นนักการเมือง หรือผู้เป็นนักเทศน์ด้วยแล้ว ก็ยิ่งมีปฏิภาณเป็น คุณสมบัติสาคัญยิ่ง พระพุทธเจ้าของเราได้ทรงล้างวาทะ อุปวาทะของเทพยดามนุษย์ ทั้งหลายที่เป็นเสี้ยนหนาม หลักตอต่อพระพุทธศาสนามาโดยชอบธรรมแล้วเป็นอันมาก และทาให้เห็นว่าผู้ที่เลื่อมใสนับถือพระพุทธศาสนา ด้วยยอมจานนต่อปฏิภาณของ พระพุทธเจ้านั้นมีมากพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาของเรา และพระสาวกของ พระพุทธเจ้านั้นล้วนแต่เป็นผู้มีปฏิภาณดีทั้งนั้น ไม่มีศาสดาใด หรือสาวกของศาสดาใดใน โลกจะเสมอเหมือนหรือไล่เลี่ยกันเลย จะเห็นได้ว่าพระพุทธศาสนาถูกซักฟอกมาจน บริสุทธิ์สิ้นเชิงแล้ว เป็นพระศาสนาที่เปิดโอกาสให้มีผู้รู้ซักไซ้ไล่เลียงมาแล้ว ไม่ใช่เป็น ศาสนาที่ไม่มีผู้รู้ได้ซักไซ้ไล่เลียงเลย ส่วนผลอันเกิดจากความคิด ความเห็น ความเลื่อมใส ก็จักมีเป็นอเนกอนันต์สุดที่จะพรรณนา ๖ ๑.๕.๒ พระกิตติศักดิ์ ยโสธโร (แก้วเหลา) กล่าวไว้ในงานวิจัยเรื่อง “การศึกษา บทบาทของพระสารีบุตรเถระในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ” สรุปได้ว่า พระสารีบุตรเป็น พระสาวกองค์หนึ่งที่ยึดมั่นอยู่ในหลักการเผยแผ่ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทานให้พระ


8

สาวกยึดถือปฏิบัติ จึงทาให้ท่านมีบทบาทสาคัญยิ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และการ รักษาพระสัทธรรมให้คงอยู่ จนได้รับตาแหน่งเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีปัญญาเลิศ บทบาทของพระสารีบุตรที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์ชั้น รอง ๆในประเด็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เป็นกลไกสาคัญที่ทาให้พระพุทธศาสนามี ความเจริญรุ่งเรือง และมั่นคงสืบต่อมาได้จนถึงปัจจุบันนี้ ๗ ๑.๕.๓ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “พุทธวิธีในการสอน ” สรุปได้ว่า วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า มีหลายแบบหลายอย่าง วิธีการตอบปัญหาก็เป็น อีกแบบหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะผู้ที่มาถามปัญหานั้น นอกจากผู้ที่มีความสงสัยข้องใจใน ธรรมต่าง ๆ แล้ว โดยมากเป็นผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่น บ้างก็มาถามเพื่อต้องการรู้คาสอน ทางฝ่ายพระพุทธศาสนา หรือเทียบเคียงกับคาสอนในลัทธิของตน บ้างก็มาถามเพื่อลอง ภูมิบ้างก็เตรียมมาถามเพื่อข่มปราบให้อับจน หรือให้ได้รับความอับอาย ในการตอบพระ พุทธองค์ทรงสอนให้พิจารณาดูลักษณะของปัญหาและใช้วิธีตอบให้เหมาะกัน ๘ ๑.๕.๔ พระมหาวิสิษฐ์ ปญฺญาวฑฺฒโน (กฤษวี ) กล่าวไว้ในงานวิจัยเรื่อง “การศึกษา เชิงวิเคราะห์เรื่องอุปมากถาในมิลินทปัญหา ” สรุปได้ว่า คัมภีร์มิลินทปัญหาเป็นเรื่องราว การโต้ตอบปัญหาระหว่าง พระเจ้ามิลินท์ผู้ถามกับพระนาคเสนผู้ตอบ เป็นคัมภีร์ที่สาคัญ ยิ่งคัมภีร์หนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท พระอรรถกถาจารย์ในลังกาโดยเฉพาะพระ พุทธโฆษาจารย์มักอ้างอิงข้อคิดเห็นในคัมภีร์นี้เป็นหลักฐาน ยืนยันการตีความหมายพุทธ ธรรมในงานของท่านคัมภีร์มิลินทปัญหา มีคุณค่าทั้งในด้านเนื้อหาสาระที่สอดคล้องตาม บาลีพระไตรปิฎก และในด้านอรรถรสแห่งวรรณคดีบาลีเป็นคัมภีร์พุทธปรัชญาที่มีลีลา การดาเนินเรื่องที่ชวนติดตาม เช่นเดียวกับบทสนทนาของพลาโต้ (Dialogues of Plato) ลักษณะเด่นของคัมภีร์ คือการใช้อุปมาอุปไมย ปัญหาที่ไม่ชัดเจนก็ทาให้ชัดเจน สิ่งที่เป็น นามธรรมก็สามารถนามาเปรียบเทียบให้เป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจน ๙ ๑.๕.๕ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “ตายแล้วเกิดใหม่ตามนัย พระพุทธศาสนา” สรุปได้ว่า พระนาคเสนเมื่อสมัยอยู่ครองฆราวาสวิสัยมีสติปัญญาเฉียบ แหลม เจรจาคมคาย มีปฏิภาณโวหารเป็นเลิศ ศึกษาไตรเพทจนแตกฉานสามารถเป็นครู บาอาจารย์ได้อย่างสบาย นอกจากนี้แล้วยังมีความรอบรู้ในศาสตร์ร่วมสมัยอีกมากมาย หลายสาขา ต่อมาเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจนได้เข้ามาบวชเป็นภิกษุโดยการ ชักชวนของพระโรหณเถระ บวชแล้วได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ในสานักของพระอัสสคุต เถระ เมื่อมีความแตกฉานในพระไตรปิฎกจนเป็นที่พอใจของตัวท่านเองและครูบาอาจารย์ แล้วก็ได้ย้ายมาพานักที่วัดสังเขยยะในเมืองสาคละ ซึ่ง ณ อารามแห่งนี้เองที่ท่านได้พบกับ พระยามิลินท์หรือกษัตริย์เมนันเดอร์ผู้ลือนามเป็นที่เกรงขามไปทั้งชมพูทวีป ตานานแห่ง


9

การสัประยุทธ์ทางปัญญาที่พระปิฏกจุฬาภัยนามาร้อยเรียงเป็นมิลินทปัญหาเริ่มต้นขึ้นที่ อารามอันเป็นที่พานักของท่านแห่งนี้เอง ๑๐ ๑.๕.๖ พระมหาสนธ์ สนฺติกโร (เกษมญาติ ) กล่าวไว้ในงานวิจัยเรื่อง “การศึกษา บทบาทของพระมหากัจจายนเถระในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ” สรุปได้ว่า พระมหากัจ จายนเถระ เป็นผู้มีบทบาทสาคัญยิ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านมีปฏิภาณไหวพริบ ชี้แจงเหตุผลให้หายข้องใจได้ เช่น การตอบปัญหาแก่พราหมณ์อารามทัณฑะ โดย พราหมณ์ได้ถามถึงเหตุปัจจัยความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล ท่านตอบว่า เหตุปัจจัย ที่ทาให้บุคคลมีความขัดแย้งกัน เพราะยึดมั่นในกามราคะ ตกอยู่ในอานาจกามราคะ และ มีความกาหนัดยินดีในกามราคะ เป็นต้น พราหมณ์อารามทัณฑะหายข้อข้องใจเกิดความ เลื่อมใส จึงหันมานับถือพระพุทธศาสนา ได้ประกาศตนเป็นอุบาสกตลอดชีวิตในการเผย แผ่พระพุทธศาสนาของพระมหากัจจายนเถระนั้น มีลักษณะเด่นกว่าสาวกรูปอื่น ๆ คือ ได้รับมอบหมายจากพระพุทธเจ้าให้ไปประกาศพระพุทธศาสนาแทนพระองค์เพราะเห็น ว่าท่านมีความรู้ ความสามารถในการใช้โวหาร สามารถพูดและแสดงธรรมให้ประชาชน เกิดความเลื่อมใสและเข้าใจเนื้อความได้ง่าย จึงทาให้แคว้นอวันตีเป็นศูนย์กลาง พระพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่งในสมัยนั้น ๑๑ ๑.๕.๗ วศิน อินทสระ กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “อธิบายมิลินทปัญหา” สรุปได้ว่าพระ นาคเสนเป็นพระอรหันต์ ที่ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา คือ ความแตกฉานในอรรถความ แตกฉานในธรรม ความแตกฉานในภาษา และความแตกฉานในปฏิภาณ ได้โต้ตอบปัญหา พระยามิลินท์ด้วยความฉลาดรอบรู้และแหลมคม มีอุปมาอุปไมยอันเหมาะเจาะหาที่ เปรียบได้ยาก ทา ให้พระยามิลินท์ได้ทรงทราบถึงสิ่งที่เป็นสาระแก่นสารใน พระพุทธศาสนา หมดความสงสัยในพระรัตนตรัยอย่างสิ้นเชิง ๑๒ .............................


10

เชิงอรรถ บทที๑่ ๑ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๖๘___________/๑๑๓-๑๑๔, ที.ม. (บาลี) ๑๐/๑๖๘/๙๓. ๒ วิ.ม. (ไทย) ๔/๓๒/๔๐, วิ.ม. (บาลี) ๔/๓๒/๒๗. ๓ องฺ.ปญฺจก. (ไทย) ๒๒/๑๕๙/๒๖๓, องฺ.ปญฺจก. (บาลี) ๒๒ /๑๕๙/๑๗๔-๑๗๕. ๔ ม.มู. (ไทย) ๑๒/๓๕๓/๓๘๘, ม.มู. (บาลี) ๑๒/๓๕๓/๓๑๖. ๕ วศิน อินทสระ, อธิบายมิลินทปัญหา, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย,๒๕๒๘), หน้า ๑. ๖ ปุ้ย แสงฉาย, พุทธปฏิภาณ, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ลูก ส. ธรรมภักดี, ๒๕๓๐) ๗ พระกิตติศักดิ์ ยโสธโร (แก้วเหลา ), “การศึกษาบทบาทของพระสารีบุตรเถระในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย),๒๕๓๙. ๘ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธวิธีในการสอน , พิมพ์ครั้งที่๖ , (กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิมพ์สวย จากัด , ๒๕๔๖) ๙ พระมหาวิสิษฐ์ ปญฺญาวฑฺฒโน (กฤษวี ), “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องอุปมากถาในมิลินทปัญหา ”,วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), ๒๕๔๕. ๑๐ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี, ตายแล้วเกิดใหม่ตามนัยพระพุทธศาสนา , (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เม็ดทราย , ๒๕๔๖) ๑๑ พระมหาสนธ์ สนฺติกโร (เกษมญาติ ), “การศึกษาบทบาทของพระมหากัจจายนเถระในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต , (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย), ๒๕๔๔. ๑๒ วศิน อินทสระ, อธิบายมิลินทปัญหา, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย,๒๕๒๘)


11

บทที๒ ่ หลักธรรมในมิลินทปัญหา การอธิบายธรรมและการโต้ตอบปัญหาของพระนาคเสนในมิลินทปัญหา เป็นการ วิสัชนาไปตามลาดับขั้นตอนของปัญหาที่พระเจ้ามิลินท์ตรัสถาม หลักธรรมที่มีเนื้อหา สาระเป็นอันเดียวกัน จึงไม่ได้ปรากฏอยู่ตามลาดับขั้นตอนในวรรคเดียวกัน แต่กระจัด กระจายอยู่ในวรรคต่าง ๆ ดังนั้น การจัดหมวดธรรมในมิลินทปัญหาให้เป็นไปตามลาดับ การศึกษาและปฏิบัติ จากข้อปฏิบัติเบื้องต้นไปจนถึงข้อปฏิบัติขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ก็เพื่อน้อมนาจิตใจของผู้ใคร่ต่อการศึกษา ให้เกิดความอุตสาหะพยายามที่จะศึกษาค้นคว้า ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป การได้ศึกษาหมวดธรรมที่มีเนื้อหาสาระแตกต่างกัน ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ ในแต่ละวรรคจัดรวมไว้เป็นหมวดเดียวกัน รวบรวมเอาหลักธรรมที่มีเนื้อหาสอดคล้องกัน มาให้เข้ามาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งจะทาให้ง่ายต่อการศึกษาค้นคว้า และเป็นประโยชน์แก่ การปฏิบัติ ๒.๑ หมวดธรรมของคฤหัสถ์ ๒.๑.๑ หลักธรรมเกี่ยวกับบุญและบาป วัสสสตปัญหา ๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลผู้ทาอกุศลกรรมถึง ๑๐๐ ปี เมื่อใกล้จะตาย กลับได้สติระลึกถึงพระพุทธคุณ จักเกิดในสวรรค์ได้หรือไม่ อธิบายว่า บุคคลกระทาอกุศลกรรมจนถึงอายุ๑๐๐ ปีเมื่อใกล้จะตาย ระลึกถึงพระ พุทธคุณเพียงครั้งเดียว หลังจากตายก็ไปเกิดในสวรรค์ได้ และผู้ที่ทาปาณาติบาตแม้เพียง ครั้งเดียว ก็ย่อมไปเกิดในนรกได้เหมือนกัน ดุจก้อนหินก้อนเล็ก ๆ ที่เขาวางไว้บนน้าย่อม จมลงไปเป็น พุทธคุณสติปฏิลาภปัญหาในน้าทันที แต่ถ้านามาวางไว้บนเรือลาใหญ่แม้ ก้อนหินจะมีหลายก้อนก็ไม่จม ก้อนหินเปรียบเหมือนอกุศลกรรม ส่วนเรือเปรียบเหมือน กุศลกรรม ปาปปุญญพหุตรปัญหา ๒ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุญกับบาป อะไรมีกาลัง มากกว่ากัน อธิบายว่า บุญมีกาลังมากกว่าบาป เพราะคนทาบาปย่อมได้รับความเดือดร้อนใจ และบาปก็ไม่เป็นที่เจริญใจ มีแต่จะทาให้เกิดความหดหู่ใจ ส่วนคนทาบุญย่อมไม่ได้รับ ความเดือดร้อนใจ มีแต่ความเบิกบานใจ และเกิดปีติซึ่งเป็นเหตุทาให้จิตใจสงบ เมื่อจิต สงบก็จะพบความสุข จิตที่เป็นสุขก็จะตั้งมั่นเป็นสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิก็ย่อมรู้ชัด ตามความเป็นจริงบุญจึงมีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว


12

ชานอชานปัญหา ๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลรู้อยู่แล้วจึงกระทา บาปกรรม กับบุคคลไม่รู้อยู่แล้วจึงกระทาบาปกรรม ใครจะมีบาปมากกว่ากัน อธิบายว่า บุคคลที่รู้อยู่ว่าบาปแล้วจึงทาลงไปย่อมเป็นบาปน้อยกว่า ส่วนผู้ไม่รู้อยู่ ว่าบาปแล้วจึงทาลงไปย่อมเป็นบาปมากกว่า เปรียบเหมือนบุคคลรู้ว่าก้อนเหล็กที่ถูกไฟ เผาเป็นของร้อน เมื่อจะเอามือจับก้อนเหล็ก ก็หาวิธีจับที่จะทาให้ความร้อนเผาฝ่ามือน้อย ที่สุดส่วนผู้ที่ไม่รู้ว่าก้อนเหล็กนั้นร้อนแล้วจับเต็มฝ่ามือ ก็จะทาให้ความร้อนแผดเผาฝ่ามือ อย่างเต็มที่ อชานโตปาปกรณอปุญญปัญหา ๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลผู้ไม่รู้อยู่ แล้วจึงกระทาปาณาติบาต ย่อมยังอกุศลที่มีกาลังกล้าให้เกิดขึ้น เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า อาบัติย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้ไม่รู้ ๕ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าตรัสพุทธพจน์นี้ว่า บุคคลผู้ไม่รู้แล้วจึงกระทาปาณาติบาต ย่อมยังอกุศลมีกาลังแก่กล้าให้เกิด ก็เพื่อให้พุทธบริษัทได้สารวมตนไม่หลงกระทา อกุศลกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น ส่วนในพระวินัยบัญญัติ พระองค์ตรัสว่า อาบัติย่อมไม่มี แก่ภิกษุผู้ไม่รู้ก็เพราะในพระพุทธพจน์นี้มีเนื้อความพิเศษอยู่ คือ อาบัติมีทั้งที่เป็นสัญญา วิโมกข์(พ้นด้วยสัญญา) ทั้งที่เป็นโนสัญญาวิโมกข์ (ไม่พ้นด้วยสัญญา ) พระองค์ทรงปรารภ อาบัติที่เป็นสัญญาวิโมกข์(พ้นด้วยสัญญา) จึงตรัสไว้อย่างนั้น มุสาวาทครุลหุภาวปัญหา ๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ภิกษุต้องอาบัติ ปาราชิกเพราะสัมปชานมุสาวาท คือ การกล่าวเท็จในขณะที่รู้ตัว เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าจึงตรัสภายหลังอีกว่า ภิกษุต้องอาบัติเบาเพราะสัมปชานมุสาวาท อาจแสดง อาบัติต่อหน้าภิกษุรูปเดียวได้เพื่อให้พ้นจากอาบัตินั้น อธิบายว่า พระพุทธพจน์ทั้งสอง เป็นคาแสดงโทษหนักและเบาตามอานาจของวัตถุ เพราะภิกษุกล่าวเท็จ หลอกลวงทาให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ หรือถึงแก่ความตาย ต้องอาบัติ ปาราชิกแต่ถ้าภิกษุกล่าวเท็จแล้ว ไม่ทาให้ผู้อื่นเสียหายเป็นอาบัติเบา สามารถกระทาคืน ได้ด้วยการแสดงอาบัติต่อหน้าภิกษุอีกรูปหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษทาร้ายผู้อื่นด้วยฝ่ามือ พึงได้รับโทษโดยการถูกปรับกหาปณะหนึ่ง เพราะมิได้ขอขมาคืน ส่วนบุรุษผู้ลอบทาร้าย พระมหากษัตริย์ด้วยฝ่ามือ พึงได้รับโทษโดยการถูกตัดมือ ตัดเท้า ตัดศีรษะ หรือถูก ประหารถึง ๗ ชั่วตระกูล อัตตนิปาตนปัญหา ๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ภิกษุไม่พึงกระทาการปลง ชีวิตตัวเอง เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรม เพื่อความขาดสิ้นไปแห่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โดยปริยายเป็นอันมาก และทรงสรรเสริญภิกษุผู้ก้าวล่วง ชาติชรา พยาธิ มรณะ


13

อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อความขาดสิ้นไปแห่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โดยปริยายเป็นอันมาก ในการแสดงธรรมนั้น พระองค์ทั้งทรงห้ามทั้งทรงชักชวน เพราะเหตุในการแสดงธรรมของพระองค์มีอยู่และเพราะภิกษุผู้มีศีลบริบูรณ์มีคุณเป็นอัน มากสามารถทาลายกิเลสของตนได้ และสามารถสั่งสอนคนอื่นให้เกิดความเข้าใจในธรรม ได้พระองค์จึงทรงห้ามไม่ให้ภิกษุปลงชีวิตตนเอง สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยทุกข์อยู่ใน วัฏสงสารเพราะอาศัยขันธปัญจก ๘ ถ้าบุคคลปราศจากขันธปัญจกก็ย่อมเป็นสุข เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดงคุณแห่งความไม่มีขันธปัญจก และภัยในขันธ ปัญจก จึงทรงชักชวนสาวกเพื่อกระทาให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เพื่อความก้าวล่วงชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ด้วยประการทั้งปวง ทวินนังปิณฑปาตานังมหัปผลภาวปัญหา ๙ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บิณฑบาตทั้งสองคราว มีอานิสงส์มากเสมอกัน เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าเมื่อเสวยพระยา หารที่นายจุนทกัมมารบุตรถวาย จึงประชวรหนักจวนเจียนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ๑๐ อธิบายว่า บิณฑบาตที่มีผลเสมอกัน วิบากเสมอกัน มีผลมากกว่าและมีอานิสงส์ มากกว่าบิณฑบาตอื่นอย่างมาก มีอยู่๒ ครั้ง ๑๑ คือ (๑) บิณฑบาตของนางสุชาดาที่พระองค์เสวยแล้ว ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ (๒) บิณฑบาตของนายจุนทกัมมารบุตรที่พระองค์เสวยแล้ว เสด็จดับขันธปริ นิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุบิณฑบาตครั้งสุดท้าย นอกจากจะมีอานิสงส์มากแล้ว เทวดายังชื่นชม ต่างมีจิตเลื่อมใสว่า เป็นบิณฑบาตครั้งสุดท้ายของพระองค์ จึงแทรกโอชา ทิพย์ลงในสุกรมัททวะโอชาทิพย์เป็นของแปรโดยชอบ แปรเร็ว เป็นที่ยังใจให้ยินดี มีรส มาก เกื้อกูลแก่เตโชธาตุในพระอุทร โรคอะไร ๆ ที่ยังไม่เกิดแก่พระองค์ ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะโอชาทิพย์นั้น แต่เพราะพระสรีระของพระองค์ทุพพลภาพอยู่แล้ว พระชนมายุสังขาร ก็เสื่อม เมื่อโรคเกิดขึ้นก็ยิ่งทาให้กาเริบหนักขึ้นอีก เพราะฉะนั้น การเสด็จดับขันธปริ นิพพานของพระพุทธเจ้า จึงไม่ได้เกิดขึ้นเพราะบิณฑบาตครั้งสุดท้าย อนึ่ง บิณฑบาตทั้ง สองมีผลเสมอกัน มีอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตอื่น ก็ด้วยอานาจความถึงพร้อมแห่งธรรม คือ ด้วยอานาจแห่งการเข้าอนุบุพพวิหาร สมาบัติ๙ ประการ ๑๒ ทั้งโดยอนุโลมและ ปฏิโลม พุทธปูชานุญญาตปัญหา ๑๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าตรัสสอน ให้เป็นผู้ไม่มีความขวนขวาย เพื่อจะบูชาพระสรีระของพระองค์เพราะเหตุไร พระองค์จึง ตรัสสอนให้พุทธบริษัทบูชาธาตุของบุคคลผู้ควรแก่การบูชา ซึ่งเป็นเหตุให้ไปสู่สวรรค์ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า การบูชาธาตุของบุคคลผู้ควรแก่การบูชา ไม่ได้ตรัส ไว้สาหรับคนทั่วไป พระองค์ทรงปรารภเฉพาะภิกษุจึงตรัสสอนให้เป็นผู้ไม่มีความ


14

ขวนขวายเพื่อจะบูชาพระสรีระของพระองค์ เพราะการบูชาเช่นนั้นไม่ใช่หน้าที่ของภิกษุ การพิจารณาสังขารทั้งหลาย การกระทาไว้ในใจโดยแยบคาย โดยอุบายที่ชอบ การ พิจารณาสติปัฏฐานเนือง ๆ เพื่อให้บรรลุธรรมขั้นสูงสุด เป็นหน้าที่ของภิกษุส่วนการบูชา ธาตุของบุคคลผู้ควรแก่การบูชานั้น เป็นหน้าที่ของเทวดาและมนุษย์ถ้าพระองค์ไม่ตรัส พระพุทธพจน์นี้ไว้ ภิกษุก็จะพึงรวบรวมแม้บาตรและจีวรของตนกระทาพุทธบูชาอย่าง เดียวเท่านั้น โคตมิวัตถทานปัญหา ๑๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้ารับสั่งให้ พระนางมหาปชาบดีโคตมีถวายผ้าอาบน้าฝนแก่สงฆ์ แทนการถวายให้แด่พระองค์ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าตรัสบอกให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีถวายผ้าแก่สงฆ์เมื่อ ถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันบูชาพระองค์และพระสงฆ์ ๑๕ การที่พระองค์ตรัสอย่างนั้น ไม่ใช่ เพราะความที่ทานของผู้น้อมถวายเฉพาะพระองค์เป็นของมีอานิสงส์น้อย หรือเพราะความ ที่พระองค์มิใช่ทักขิไณยบุคคลยิ่งกว่าพระสังฆรัตนะ แต่พระองค์ทรงดาริว่า ในอนาคตเมื่อ พระองค์ทรงล่วงลับไป สงฆ์จักเป็นผู้ที่บริษัทควรกระทาความยาเกรง จึงทรงมีพระ ประสงค์จะยกย่องคุณของสงฆ์ที่มีอยู่ตามความเป็นจริง เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และเพื่อ ความอนุเคราะห์ เปรียบเหมือนพระราชากล่าวยกย่องคุณของพระราชโอรสที่มีอยู่จริง ใน ราชสานักท่ามกลางอามาตย์ราชบริพารด้วยทรงดาริว่า เมื่อพระราชโอรสได้รับการแต่งตั้ง ในที่นี้แล้วจักเป็นผู้ที่คนทั้งหลายบูชาในอนาคตต่อไป อหิงสานิคคหปัญหา ๑๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลผู้นับถือพระ รัตนตรัยว่าเป็นของเรา เที่ยวไปในโลกโดยไม่เบียดเบียน จักเป็นที่รักของชาวโลก ๑๗ เพราะเหตุไรพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า พึงข่มคนที่ควรข่ม ยกย่องคนที่ควรยกย่อง ๑๘ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลผู้นับถือพระรัตนตรัยว่าเป็นของเรา เที่ยวไป ในโลกโดยไม่เบียดเบียน จักเป็นที่รักของชาวโลก เป็นการอนุมัติของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระวาจานั้นเป็นเครื่องพร่าสอน เป็นเครื่องแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เพราะว่าธรรมมีความไม่เบียดเบียนเป็นลักษณะ แต่พระองค์ตรัสว่า พึงข่มคนที่ควรข่ม ยก ย่องคนที่ควรยกย่อง เป็นเครื่องกล่าวตามสภาพความเป็นเองของบุคคลหรือสิ่งที่พึงข่ม และยกย่อง เช่นจิตที่ฟุ้งซ่านควรข่ม จิตที่หดหู่ควรประคอง บุคคลผู้ปฏิบัติผิดควรข่ม ผู้ ปฏิบัติชอบควรยกย่องบุคคลผู้ไม่ใช่อริยะควรข่ม ผู้ที่เป็นอริยะควรยกย่อง เปรียบเหมือน โจรเมื่อถูกจับได้พึงถูกลงโทษหลายสถาน มีการปรับสินไหม การเนรเทศ หรือการประหาร ชีวิต เป็นต้น ก็การประหารชีวิต ไม่ได้เป็นการอนุมัติของพระพุทธเจ้า แต่เป็นโทษของ ความผิดที่ตนกระทาไว้


15

อิทธิยากัมมวิปากพลวตรปัญหา ๑๙ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระมหาโมค คัลลานเถระได้รับยกย่องว่า เป็นผู้มีเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านมีฤทธิ์มาก ๒๐ เพราะ เหตุไร ท่านจึงถูกพวกโจรทุบตีจนทาให้ท่านต้องปรินิพพาน อธิบายว่า การปรินิพพานของพระมหาโมคคัลลานเถระ ด้วยการถูกพวกโจรทุบตี ด้วยตะบอง เพราะถูกกรรมเก่าเข้าครอบงาและให้ผล อนึ่ง วิสัยแห่งฤทธิ์ของบุคคลผู้มีฤทธิ์ และวิบากแห่งกรรมย่อมเป็นอจินไตย คือ เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด แม้ทั้งสองอย่างนั้นเป็น อจินไตยเหมือนกัน แต่ก็ไม่สามารถลบล้างกันได้ เพราะวิบากแห่งกรรมมีมาตรายิ่งกว่า มี กาลังมากกว่าเหมือนพระราชาในแผ่นดินมีชาติเสมอกัน บรรดาพระราชาที่มีชาติเสมอกัน เหล่านั้นพระราชาองค์หนึ่งสามารถแผ่ขยายพระราชอานาจออกไปข่มพระราชาทั้งหลาย ไว้ได้บรรดา อจินไตยทั้ง ๔ ประการ ๒๑ กรรมวิบากอย่างเดียวเท่านั้น มีมาตรายิ่งกว่า มี กาลังมากกว่า เพราะสามารถยังอาชญาให้เป็นไปข่มอจินไตยทั้งหลายไว้ได้ทาให้อจินไตย นอกนั้นไม่ได้โอกาสที่จะให้ผลแก่บุคคลผู้ที่ถูกกรรมครอบงาแล้ว เมตตานิสังสปัญหา ๒๒ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง เมตตาที่เป็นเจโตวิมุติที่ บุคคลให้เจริญ กระทาให้มาก ย่อมมีอานิสงส์๑๑ ประการ ๒๓ เพราะเหตุไร พระสุวรรณ สาม ๒๔ ผู้เจริญเมตตาอยู่เป็นประจาจึงถูกพระยาปิลยักษ์ยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ อธิบายว่า อานิสงส์ทั้งหลาย เป็นคุณของเมตตาภาวนา คือ การทาให้เมตตาเจริญขึ้นใน ตนเอง พระสุวรรณสามแบกหม้อน้าไปในขณะนั้น เป็นผู้ประมาทในเมตตาภาวนาไม่ได้ เจริญเมตตาให้เกิดขึ้น จึงถูกพระยาปิลยักษ์ยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ ก็บุคคลผู้เจริญเมตตา ในขณะใด เพลิง ยาพิษ หรือศัสตราวุธ ย่อมไม่สามารถที่จะตกลงไปในกายของเขาได้ใน ขณะนั้น บุคคลผู้ประสงค์จะทาลาย หรือก่อความเสียหายแก่บุคคลผู้เจริญเมตตาภาวนา เมื่อเข้าไปใกล้แล้ว ย่อมมองไม่เห็น หรือไม่ได้โอกาส เพราะฉะนั้น อานิสงส์ทั้งหลายจึงมิใช่ เป็นคุณของบุคคล แต่เป็นคุณของเมตตาภาวนา ก็เมตตาภาวนานี้เป็นเครื่องห้ามบาปทั้ง ปวงสามารถนากุศลและคุณทั้งปวงมาให้แก่บุคคลผู้เกื้อกูลบ้าง ผู้ไม่เกื้อกูลบ้าง เมตตา ภาวนามีอานิสงส์มากแก่สัตว์ทั้งหลาย จึงควรส้องเสพไว้ในใจเนืองนิตย์ เมตตาภาวนานิสังสปัญหา.๒๓ อานิสงส์ของเมตตา ๑๑ ประการ คือ (๑) หลับเป็นสุข (๒) ตื่นเป็นสุข (๓) ไม่ฝันร้าย (๔) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย (๕) เป็นที่ รักของอมนุษย์ทั้งหลาย (๖) เทวดาทั้งหลายรักษา (๗) ไฟ ยาพิษหรือศัสตรากล้ากราย ไม่ได้ (๘) จิตตั้งมั่นได้เร็ว (๙) สีหน้าสดใส (๑๐) ไม่หลงลืมสติตาย (๑๑) เมื่อยังไม่แทง ตลอดคุณวิเศษอันยอดยิ่ง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก. ๒๓ ๒๔ พระสุวรรณสาม คือ พระโพธิสัตว์ผู้ทรงบาเพ็ญเมตตาบารมีเลี้ยงดูบิดามารดาผู้เป็น ดาบสตาบอดอยู่ในป่า ถูกพระเจ้าปิลยักษ์ยิงด้วยลูกศรก่อนจะสลบล้มลงไปได้ทูลขอร้อง


16

ให้พระองค์ช่วยเลี้ยงดูบิดามารดาแทนตน พระเจ้าปิลยักษ์เข้าพระทัยว่าสุวรรณสามตาย แล้ว จึงเสด็จไปนาบิดามารดาของสุวรรณสามมาดูศพ เมื่อท่านทั้ง ๒ จาได้ว่าเป็นบุตรของ ตนจริง จึงร้องไห้คร่าครวญ จากนั้นก็ได้ทาสัจกิริยาขอให้พิษร้ายออกจากร่างกายของ สุวรรณสาม เมื่อสุวรรณสามฟื้นจากสลบแล้วจาความต่าง ๆ ได้ จึงแสดงธรรมแก่พระ เจ้าปิลยักษ์และให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ ส่วนพระโพธิสัตว์ปรนนิบัติบิดามารดาจนท่านทั้ง ๒ สิ้นชีวิต จึงได้ดับขันธ์ไปสู่พรหมโลก. ฆฏิการปัญหา ๒๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง เรือนของช่างหม้อชื่อฆฏิการมี อากาศเป็นหลังคาตลอด ๓ เดือน แต่ฝนก็ไม่รั่ว ๒๖ เพราะเหตุไร กุฎีของพระกัสสปพุทธ เจ้าฝนจึงรั่ว อธิบายว่า นายช่างหม้อชื่อฆฏิการเป็นคนมีศีลมีธรรมอันงาม เลี้ยงดูมารดาและ บิดาผู้แก่เฒ่าและตาบอด คนทั้งหลายนาหญ้าในเรือนของนายช่างไปมุงกุฎีของพระกัสสป พุทธเจ้าโดยมิได้บอกกล่าวเขาก่อน แทนที่เขาจะโกรธหรือเสียใจ กลับได้ปีติอันไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นด้วยดีแล้ว สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้ามากมายหลายประการ จึงทาให้ฝนไม่รั่ว หลังคาของเขา เพราะวิบากอันเป็นไปในทิฏฐธรรมนั่นเอง ส่วนกุฎีของพระกัสสปพุทธเจ้า ฝนรั่วได้ ก็ด้วยความอนุเคราะห์ชนหมู่มาก ธรรมดาพระพุทธเจ้าเมื่อพิจารณาเห็นอานาจ ประโยชน์๒ ประการ คือ (๑) พระศาสดาทรงเป็นทักขิไณยบุคคลอันเลิศ เทวดาและมนุษย์ถวายปัจจัยแด่ พระองค์จะพ้นจากทุคติทั้งปวง (๒) บุคคลอย่าพึงติเตียนว่า พระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์เพื่อแสวงหาเครื่องเลี้ยง ชีพเพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่ทรงส้องเสพปัจจัยที่ทรงนิรมิตด้วยพระองค์เองหากท้าว สักกะ หรือพรหม หรือแม้แต่พระองค์เอง พึงใช้ปาฏิหาริย์เพื่อกระทากุฎีไม่ให้ฝนรั่วการ กระทาเช่นนั้นก็จะเป็นสาวัชชะ มีโทษอันบุคคลพึงข่มขี่ว่า พระพุทธเจ้ากระทากรรมอัน หยาบ ยังชาวโลกให้หลงใหล กระทากรรมที่บุคคลทั่วไปกระทากันอยู่แล้ว เพราะเหตุนั้น กรรมนั้นจึงควรเว้น พระพุทธเจ้าย่อมไม่ขอสิ่งของ จึงไม่ควรถูกบริภาษในเพราะการไม่ขอ สิ่งของ กุสลากุสลานังพลวาพลวปัญหา ๒๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง วิบากของ กุศลกรรมต่างจากอกุศลกรรม คือ กุศลกรรมมีวิบากเป็นสุข ส่วนอกุศลกรรมมีวิบากเป็น ทุกข์เพราะเหตุไร พระเทวทัตผู้กระทาแต่อกุศลกรรมโดยส่วนเดียว กลับเป็นผู้เสมอกันกับ พระโพธิสัตว์และในบางภพกลับเป็นผู้ยิ่งกว่าพระโพธิสัตว์เสียอีกเป็น กุสลากุสลสมวิสม ปัญหา.


17

อธิบายว่า อกุศลกรรมบางอย่างย่อมให้ผลในปัจจุบัน ส่วนบุคคลผู้ทากุศลกรรม บางคนก็ได้รับผลในปัจจุบัน บางคนก็ได้รับผลในภพต่อ ๆ ไป คือ ยังไม่ได้รับผลทันตาเห็น ความดีให้ผลช้าเพราะมีสภาพใหญ่ส่วนความชั่วให้ผลเร็วเพราะมีสภาพเล็กน้อย เปรียบ เหมือนการปลูกข้าวเบาหว่านลงในนา ใช้เวลาประมาณ ๒ - ๓ เดือน ก็ได้รับผล ส่วนการ ปลูกข้าวชั้นดีจะต้องใช้เวลาถึง ๑๐ เดือน หรือ ๑ ปี จึงจะได้รับผล เปตอุททิสสผลปัญหา ๒๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ทายกทาทานอุทิศให้แก่ ญาติผู้วายชนม์ ญาติจะได้รับผลของทานอุทิศหรือไม่ อธิบายว่า เมื่อทายกทาทานอุทิศให้แก่ญาติผู้วายชนม์บางพวกก็ได้รับ แต่บางพวก ก็ไม่ได้รับ สัตว์ผู้เกิดในนรก ผู้ไปสู่สวรรค์ ผู้ไปในกาเนิดสัตว์เดรัจฉาน ย่อมไม่ได้รับผล ทาน ๒๙ บรรดาเปรตทั้ง ๔ จาพวก เปรต ๓ จาพวก คือ วันตาสิกเปรต ๓๐ ขุปปิปาสิกเปรต ๓๑ นิชฌามตัณหิกเปรต ๓๒ ก็ไม่ได้รับผลทานเหมือนกัน ส่วนปรทัตตูปชีวีเปรต ๓๓ จาพวกเดียวเท่านั้น เมื่อระลึกถึงอยู่ย่อมได้รับผลทาน อนึ่ง ทานที่ทายกอุทิศไปให้แก่ญาติ ผู้วายชนม์แม้พวกเขาจะไม่ได้รับ แต่ทานนั้นก็จะไม่ถือว่าเป็นของไม่มีผลไม่มีวิบาก เพราะ ทายกย่อมเป็นผู้เสวยผลทานโดยแท้เปรียบเหมือนบุคคลจัดสารับข้าวปลาอาหารและของ ควรเคี้ยวนาไปสู่ตระกูลญาติแม้ญาติจะไม่รับของฝากที่นาไปให้ ของฝากก็ไม่ไร้ผลและไม่ เสียหายยังคงเป็นของเจ้าของนั่นเอง กุสลากุสลานังมหันตามหันตภาวปัญหา ๓๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ทายกให้ทานและอุทิศผลทานไปให้ญาติผู้วายชนม์ พวกญาติย่อมได้เสวยผลทานที่อุทิศไป ให้ถ้าบุคคลผู้กระทาปาณาติบาต มีความโลภ มีใจโหดร้าย มีความดาริในใจอันโทษ ประทุษร้ายแล้ว ฆ่ามนุษย์กระทากรรมชั่วร้ายแล้ว อุทิศผลกรรมที่ตนทาไปให้ญาติผู้วาย ชนม์พวกญาติจะได้รับผลกรรมชั่วหรือไม่ อธิบายว่า ญาติผู้วายชนม์ย่อมไม่ได้รับผลกรรมชั่วร้าย ที่บุคคลกระทาแล้วอุทิศไป ให้ก็บาปกรรมไม่อาจแบ่งปันให้แก่คนผู้ไม่ได้กระทาด้วยตัวเอง ส่วนบุคคลผู้ไม่มีบาปกรรม มีอณูเป็นประมาณ เปรียบเหมือนบุคคลนาน้าไปด้วยอุปกรณ์เครื่องนาน้า ก็ทาให้น้า สามารถไปสู่ที่ไกล ส่วนภูเขาศิลาแท่งทึบใคร ๆ ไม่สามารถจะนาไปตามความต้องการด้วย อุปกรณ์เครื่องนาไป เพราะฉะนั้น กุศลจึงอาจแบ่งปันให้แก่กันได้ ส่วนอกุศลไม่อาจแบ่งปัน ได้อีกอย่างหนึ่ง อกุศลเป็นของเล็กน้อย ส่วนกุศลเป็นของมาก เพราะความที่อกุศลเป็น ของน้อยจึงครอบงาแต่ผู้กระทาเพียงผู้เดียว และเพราะความที่กุศลเป็นของมาก จึง ครอบคลุมโลกพร้อมทั้งเทวโลกไว้ได้ จากการศึกษาพบว่า พระนาคเสนตอบปัญหาเรื่อง บุญและบาปในมิลินทปัญหา เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่า ชีวิตของแต่ละบุคคลที่เกิดมา ดารงอยู่ได้เพราะอานาจแห่งบุญกุศลและบาปกรรมที่ตนสั่งสมไว้ซึ่งทาให้ชีวิต จิตใจ ร่างกายของแต่ละบุคคลแตกต่างกันเพราะฉะนั้น บุคคลจะเกิดความเชื่อมั่นในคาสอนของ


18

พระพุทธเจ้า จึงต้องมีความเข้าใจในเรื่องของกรรม กฎแห่งกรรม และกรรมวิบาก เป็น เบื้องต้น ถ้ามีความเข้าใจในเรื่องของความดีและความชั่วอย่างถูกต้อง ก็สามารถที่จะ จาแนกถึงสิ่งที่ควรทาและไม่ควรทา เพราะบุญกับบาปที่ตนกระทาลงไปย่อมให้ผลต่างกัน แม้กาลังของบุญและบาปก็ยังมีกาลังต่างกัน คือบุญย่อมมีกาลังมากกว่าบาป เพราะทาให้ บุคคลมีความเอิบอาบในจิตใจแม้พระพุทธเจ้าจะทรงสรรเสริญการปฏิบัติบูชามากกว่า อามิสบูชา แต่การบูชาทั้งสองอย่าง หาเป็นสิ่งไร้ค่าแก่ผู้ปฏิบัติไม่ ปฏิบัติบูชาย่อมควรแก่ บรรพชิตผู้ปรารถนาความหลุดพ้นเพื่อบรรลุพระอรหันต์ ส่วนอามิสบูชาย่อมควรแก่ คฤหัสถ์ผู้หวังความสุขกายสบายใจในดารงชีวิตอยู่ และการบาเพ็ญบุญกุศลของคฤหัสถ์ก็ เพื่อเป็นการอนุเคราะห์บรรพชิต ๒.๑.๒ หลักธรรมเกี่ยวกับสังสารวัฏ ปฏิสนธิคหณปัญหา ๓๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง คนที่ตายไปแล้วไม่เกิดอีก มีอยู่หรือไม่ อธิบายว่า สัตว์โลกเกิดขึ้นมาเพราะนามรูปให้ปฏิสนธินามรูปที่ว่านั้นไม่ใช่นามรูป ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้แต่เป็นนามรูปอีกอันหนึ่งต่างหาก ซึ่งเกิดขึ้นเพราะบุญและบาป เป็น นามรูปเอกัตตนานัตตปัญหา.ที่ได้กระทาไว้ก่อนแล้ว ถ้าบุคคลไม่เกิดอีกต่อไปก็แสดง ว่าหนีพ้นจากบาปกรรม แต่ถ้ายังต้องมาเกิดอีกก็แสดงว่าหนีไม่พ้น ก็บุคคลไม่สามารถที่ จะเอานามรูปอื่นข้างหน้ามาเป็นเหตุอ้างว่า เป็นคนละนามรูปกัน เพื่อให้พ้นจากบาปกรรมที่ได้กระทาไว้ในชาตินี้ เหมือนคนขโมย มะม่วงถูกเจ้าของจับได้ เมื่อคดีถึงศาลจาเลยจะแก้ตัวว่า มะม่วงนั้นโจทก์มิได้ปลูกไว้ แต่ เป็นคนอื่นปลูก เพราะฉะนั้น มะม่วงที่จาเลยขโมยไปจึงเป็นของคนอื่นไม่ใช่เป็นของโจทก์ เมื่อแก้ตัวอย่างนี้ จาเลยก็ยังมีความผิดฐานลักขโมยอยู่ดี แม้จะปฏิเสธข้อกล่าวหาของ โจทก์แต่ก็ยังชื่อว่ารับสารภาพในความผิดที่ตนได้กระทาไว้ฐานขโมยอยู่นั่นเอง นามรูปปฏิสนธิคหณปัญหา พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง การเกิดของนามรูป อันเนื่องมาจากผลกรรม อธิบายว่า นามธรรม คือ จิตและเจตสิกเป็นตัวส่งให้บุคคลมาเกิด โดยนามธรรม และรูปธรรมอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น ไม่ใช่นามธรรมอย่างเดียวเท่านั้นที่ส่งให้มาเกิด เปรียบเหมือนไก่ก่อนจะเกิดเป็นตัว ก็ต้องอาศัยเชื้อตัวผู้ผสมแล้วเกิดมาเป็นฟองไข่อาศัย ความอบอุ่นที่แม่ไก่ฟัก จึงจะทาให้เกิดมาเป็นตัวไก่ ปุนปฏิสนธิคหณปัญหา ๓๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ถ้าบุคคลยังมีอุปาทาน อยู่ก็จักปฏิสนธิแต่ถ้าไม่มีอุปาทานก็จักไม่ปฏิสนธิ


19

อธิบายว่า คนที่ยังมีกิเลสอยู่ก็จะกลับมาเกิดอีก ส่วนคนที่หมดกิเลสก็ไม่กลับมาเกิดอีก เพราะบุคคลย่อมรู้ตัวเองว่า เหตุปัจจัยแห่งการเกิดยังมีอยู่ หรือว่าหมดไปแล้วเปรียบ เหมือนบุรุษคนหนึ่งทาความดีความชอบถวายพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงยินดีและ พระราชทานบาเหน็จแก่บุรุษนั้น เขาบาเรอตนให้เอิบอิ่มบริบูรณ์ด้วยกามคุณทั้ง ๕ ประการ ๓๗ เพราะบาเหน็จที่ได้รับพระราชทาน หากเขานั้นจะบอกแก่คนทั่วไปว่า พระ เจ้าแผ่นดินไม่ทรงตอบแทนเขาแม้สักนิดเดียว การกระทาของเขา ก็จะชื่อว่าเป็นการ กระทาไม่ถูกต้อง จะมีประโยชน์อะไรกับคาถามที่ถามแล้ว ซึ่งบุคคลก็กล่าวเจาะจงทีเดียว แล้วว่า ถ้าเขายังมีอุปาทานก็จักปฏิสนธิอีก แต่ถ้าไม่มีอุปาทานก็จักไม่ปฏิสนธิอีกนามรูป ปัญหา ๓๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง อะไรเป็นนาม อะไรเป็นรูป เป็น นามรูป ปฏิสันทหนปัญหา. อธิบายว่า สิ่งที่ไม่ปรากฏแก่ตา หู จมูก ลิ้น กาย เพราะเป็นของละเอียด หรือเป็น ของไม่มีตัวไม่มีตน เช่น จิตและเจตสิก จัดเป็นนาม ส่วนสิ่งที่สามารถรู้ได้ด้วยตาเป็นต้น เพราะเป็นของหยาบ จัดเป็นรูป นามอย่างเดียวหรือรูปอย่างเดียวไม่สามารถที่จะเกิดขึ้น ได้เพราะทั้งสองอย่างต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกันจึงจะเกิดขึ้นได้ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ เกิดขึ้นไม่ได้ เปรียบเหมือนไก่ก่อนจะเกิดเป็นตัวไก่ก็ต้องเป็นฟองไข่มาก่อน และอาศัย ความอบอุ่นที่แม่ไก่ฟัก จึงเกิดเป็นตัวไก่ได้ ธัมมสันตติปัญหา ๓๙ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ความสืบต่อแห่งธรรม คือ มนุษย์และสัตว์แรกเกิดมีลักษณะเป็นอย่างหนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะมีลักษณะเป็นอย่าง อื่นหรือไม่ อธิบายว่า บุคคลผู้ที่ตายไปแล้วและกลับไปเกิดอีก จะว่าเป็นบุคคลเดิมก็ไม่ใช่จะว่า เป็นบุคคลใหม่ก็ไม่เชิง เปรียบเหมือนบุคคลเมื่อครั้งเป็นเด็กเยาว์วัยนอนอยู่ในอู่และ เจริญเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในบัดนี้คือ บุคคลคนเดียวกันนั่นเอง คนเดิมนี้เองที่เป็นทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เพราะอาศัยร่างกายเดียวกันจึงนับว่าเป็นคน ๆ เดียวกัน เหมือนการจุดโคมไฟ ไว้ตลอดคืนยันรุ่ง จะกล่าวว่าเปลวไฟในยามที่๑ กับในยามที่๒ เป็นเปลวไฟอันเดียวกันก็ ไม่ได้หรือเปลวไฟในยามที่๒ กับในยามที่๓ เป็นเปลวไฟอันเดียวกันก็ไม่ได้แต่เมื่อจะบอก ว่าเป็นเปลวไฟคนละอย่างต่างชนิดกัน ก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน ความสืบเนื่องแห่งนามรูปเป็น ฉันนั้น นัปปฏิสนธิคหณปัญหา ๔๐ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลผู้จักไม่มาเกิด อีกจะรู้ตัวหรือไม่ว่าจักไม่มาเกิดอีก อธิบายว่า บุคคลผู้ไม่กลับมาเกิดอีกย่อมรู้ตัวเอง เพราะเหตุปัจจัยที่จะทาให้เกิด ต่อไปดับไปหมดแล้ว เขาจึงรู้ตัวเองว่าจะไม่เกิดอีก เหมือนชาวนาทานาได้ผลอย่างเต็มที่


20

ในปีแรก และในปีต่อไปก็เริ่มทานาหว่านข้าวเหมือนเดิม ถ้าน้าดีข้าวกล้าไม่เสียหาย เขา ย่อมรู้ว่าจะต้องได้ผลอย่างเต็มที่แน่นอน กัมมนานากรณปัญหา ๔๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง เหตุที่ทาให้คนเกิดมาไม่ เหมือนกัน อธิบายว่า บุคคลผู้เกิดมาย่อมแตกต่างกัน คือ รูปร่างหน้าตา สติปัญญาไม่ เหมือนกัน บางคนมีอายุยืน บางคนมีอายุสั้น บางคนมีผิวพรรณงดงาม บางคนมีผิวพรรณ หยาบ บางคนมีปัญญาน้อย บางคนมีปัญญามาก เป็นต้น เพราะกรรมดีและกรรมชั่วที่แต่ ละบุคคลได้กระทาไว้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็น ทายาทมีกรรมเป็นกาเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจาแนก สัตว์ทั้งหลายให้เลวและดีต่างกัน ๔๒ เหมือนต้นไม้ยังมีรสไม่เสมอกัน คือ บางพวกมีรส เปรี้ยว บางพวกมีรสเค็ม บางพวกมีรสเผ็ด บางพวกมีรสขม บางพวกมีรสฝาด และบางพวก มีรสหวาน ปกติอัคคิโตนิรยัคคีนังอุณหาการปัญหา ๔๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ไฟใน นรกร้อนกว่าไฟตามปกติธรรมดา อธิบายว่า ไฟในนรกร้อนแรงกว่าไฟธรรมดาในมนุษย์ เพราะไฟปกติธรรมดาใน โลกมนุษย์แม้บุคคลจะทิ้งก้อนหินขนาดย่อม ๆ ลงไป ถูกไฟเผาอยู่ก็ไม่ละลาย ส่วนไฟใน นรก แม้บุคคลจะทิ้งก้อนหินขนาดใหญ่เท่าปราสาทเรือนยอดใส่ลงไป ก็ย่อมย่อยยับไป เพียงครู่เดียวเท่านั้น การที่สัตว์นรกไม่ย่อยยับไปกับไฟในนรก เพราะมีกรรมเป็นเครื่อง รักษาไว้สัตว์นรกจะยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นไป ๔๔ เหมือนอาหาร ก้อน กรวด ก้อนหิน ที่สัตว์ทั้งหลายมีเป็ด ไก่เป็นต้น กลืนกินเข้าไปก็ย่อยสลายหมดไป ส่วนไข่ ไก่เป็นต้นซึ่งอยู่ในท้องไก่เหมือนกัน กลับไม่ย่อยสลายไปเหมือนกับสิ่งที่กลืนกินเข้าไปใน ท้อง นจสังกมติปฏิสันธหนปัญหา ๔๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สัตว์จะไปเกิด ใหม่โดยที่ไม่ได้ย่างก้าวเดินไป ได้หรือไม่ อธิบายว่า เมื่อวิญญาณจะไปเกิดใหม่ไม่ต้องก้าวย่าง ไม่ต้องเดินไป สามารถที่จะไป เกิดได้ทันทีเหมือนการจุดไฟโดยต่อมาจากไฟอีกดวงหนึ่ง จะกล่าวว่าไฟดวงที่ถูกต่อก้าว มายังไฟดวงที่ต่อใหม่ก็ไม่ได้หรือเหมือนศิษย์เรียนวิชาจากอาจารย์ วิชาก็ไม่ได้หายหมด ไปจากตัวอาจารย์แล้วเข้ามาอยู่ในตัวศิษย์แทน แต่วิชาที่ศิษย์เรียนมาจากตัวอาจารย์ นั่นเอง อิมัมหากายาอัญญังกายังสังกมนปัญหา ๔๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สัตว์ผู้ ที่เคลื่อนออกจากกายนี้แล้วไปสู่กายอื่นมีอยู่หรือไม่


21

อธิบายว่า ไม่มีสัตว์ผู้เคลื่อนจากกายนี้แล้วไปสู่กายอื่น ส่วนการจะพ้นหรือไม่พ้น จากบาปกรรมต้องพิจารณาว่า ถ้าสัตว์ไม่ถือปฏิสนธิอีกก็จักพ้นจากบาปกรรม แต่ถ้าสัตว์ ยังถือปฏิสนธิอีกก็จักไม่พ้น บุคคลทากรรมดีบ้าง ชั่วบ้าง ด้วยนามรูปนี้ นามรูปอื่นจึง ปฏิสนธิขึ้นเพราะกรรมที่ได้กระทาไว้เปรียบเหมือนบุรุษคนหนึ่งขโมยผลมะม่วงของบุรุษ อีกคนหนึ่งเขาต้องถูกลงโทษอย่างแน่นอน แม้จะอ้างว่าไม่ได้ขโมยมะม่วงที่บุรุษคนนั้น เพาะปลูกเพราะเหตุไร จึงต้องถูกลงโทษด้วย แต่การอ้างก็ไม่เป็นเหตุให้พ้นโทษ เพราะ มะม่วงที่เขาขโมยไปอาศัยมะม่วงที่บุรุษคนนั้นเพาะปลูก จึงทาให้เกิดผลขึ้นมาได้ เพราะ เหตุนั้น เขาจึงต้องถูกลงโทษ กัมมผลอัตถิภาวปัญหา ๔๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง กุศลกรรมและ อกุศลกรรมที่บุคคลกระทาไว้จะปรากฏอยู่ที่ไหน อธิบายว่า กรรมดีและกรรมชั่วที่บุคคลกระทาไว้จะติดตามตัวเขาไปทุกที่เหมือน เงาที่ติดตามตัวไปอยู่ตลอดเวลา และไม่สามารถชี้ได้ว่ากรรมปรากฏอยู่ที่ไหน เหมือน ต้นไม้ที่ยังไม่ผลิดอกออกผล ก็ไม่สามารถชี้ได้ว่าผลของต้นไม้อยู่ที่ตรงนี้หรืออยู่ที่ตรงนั้น อุปปัชชนชานนปัญหา ๔๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลผู้ที่จะไปเกิดรู้ตัว หรือไม่ อธิบายว่า บุคคลที่จะไปเกิดอีกย่อมรู้ตัวเอง เปรียบเหมือนชาวนาหว่านข้าวลงไป ในนาแล้ว ถ้าฝนตกสม่าเสมอ และมีน้าพอดี เขาย่อมรู้ได้ว่า ธัญชาติที่หว่านลงไปจักออก รวงอย่างแน่นอน ปรโลกคตนีลปีตาทิวัณณคตปัญหา พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลผู้จะไป เกิดในโลกอื่น ไปด้วยสีและเพศอะไร อธิบายว่า พระพุทธเจ้ามิได้ทรงแสดงไว้ว่า สัตว์ผู้ที่จะไปเกิดยังโลกหน้า ไปเกิดด้วย สีสันวรรณะอย่างไร แต่ไม่ได้ทรงประสงค์จะให้เข้าใจว่าโลกหน้าไม่มีปรากฏ สัตว์ผู้ไปเกิด ในโลกหน้ามีอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ไม่ปรากฏสีสันวรรณะเท่านั้น เหมือนกับเสียงที่ เปล่งออกไปก็ไม่มีสีสันวรรณะปรากฏ แต่สามารถเข้าไปยังโสตประสาทของผู้ฟังได้คติของ สัตว์ก็เหมือนกัน เมื่อจะไปเกิดในโลกหน้าก็มิได้ปรากฏว่ามีสีเขียว เหลือง ขาว หรือมี รูปทรงสัณฐานเหมือนช้าง ม้า เป็นต้น ร่างกายที่มีปรากฏอยู่ในโลกนี้ไม่มีส่วนใดตามไป เกิดในโลกหน้า และไม่มีร่างกายที่เกิดขึ้นเองอีกร่างหนึ่งต่างหาก เหมือนรวงข้าวในนา จะ เกิดขึ้นมาเองโดยลาพังไม่ได้ ต้องอาศัยพืชพันธุ์ที่ชาวนาหว่านลงไป จึงจะเกิดรวงใหม่ ขึ้นมา มาตุกุจฉิปฏิสนธิปัญหา พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สัตว์เมื่อจะปฏิสนธิใน ครรภ์ของมารดา ปฏิสนธิโดยทวารไหน


22

อธิบายว่า สัตว์ผู้จะไปถือปฏิสนธิในครรภ์มารดา ไม่ปรากฏว่าเข้าไปถือปฏิสนธิ ทางทวารใดทวารหนึ่ง เหมือนจิตที่เข้าไปในหีบแก้ว ไม่ปรากฏว่าจิตดวงนั้นเข้าไปทางใด เพราะไม่มีช่องทางสาหรับส่งจิตเข้าไป การที่จิตเข้าไปรู้เห็นสิ่งที่อยู่ในหีบแก้วก็เนื่องด้วย จิตหมายรู้ตามที่ได้รู้แจ้งประจักษ์มาก่อน สัตตานังมัจจุโนภายนปัญหา ๔๙ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สัตว์ทุกประเภท ย่อมสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์ย่อมหวาดกลัวความตาย ๕๐ เพราะเหตุไร พระอรหันต์จึงก้าวล่วง ภัยทั้งปวง อธิบายว่า สัตว์ทุกประเภทยังมีกิเลส มีทิฏฐิไปตามตนเอง คือ เห็นว่าเป็นตัวเป็น ตนมีประมาณยิ่ง และย่อมฟูขึ้นและยุบลงเพราะสุขและทุกข์จึงสะดุ้งกลัวโทษทัณฑ์ หวาดกลัวความตาย ส่วนพระอรหันต์เลิกถอนกิเลสได้หมดสิ้น จึงไม่หวาดกลัวความตาย แม้สัตว์นรกผู้เสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส จะเบื่อหน่ายต่อการถูกทรมานก็จริง แต่ก็ยัง กลัวตายอยู่นั่นเอง เพราะเหตุปัจจัยแห่งความกลัวยังคงมีอยู่ มัจจุปาสมุตติปัญหา ๕๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลจะดารงอยู่ในที่ใด ๆก็ไม่พ้นจากบ่วงแห่งมัจจุราช เพราะเหตุไร พระปริตร ๕๒ จึงเป็นเครื่องป้องกันบ่วงแห่ง มัจจุราช อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระปริตรเป็นเครื่องป้องกัน สาหรับคนผู้มีอายุยัง เหลืออยู่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวัย มีกรรมเครื่องห้ามกั้นไปปราศจากแล้ว สาหรับคนสิ้นอายุ แล้วกิจที่ต้องทา หรือความพยายามเพื่อความดารงอยู่แห่งชีวิตย่อมไม่มีเพราะถ้าบุคคล หมดอายุขัย๕๒ พระปริตร คือ พระพุทธมนต์สาหรับเป็นเครื่องป้องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง.แล้ว ก็ ไม่สามารถที่จะป้องกันได้เหมือนต้นไม้ที่ตายแล้ว บุคคลจะเอาน้าไปรดตั้งร้อยหม้อหรือ พันหม้อ ก็ไม่สามารถที่จะชุ่มชื้นกลับคืนมามีใบผลิตดอกออกผลได้พระปริตรไม่อาจ คุ้มครองรักษาได้ เพราะเหตุ๓ ประการ คือ (๑) กัมมาวรณะ เครื่องขวางกั้นคือกรรม (๒) กิเลสาวรณะ เครื่องขวางกั้นคือกิเลส (๓) อสัททหนตา ความไม่เชื่อถือในพระปริตร เพราะฉะนั้น การที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระปริตร ไม่ได้ทรงมุ่งหมายว่าเป็นอุบายให้หนี พ้นจากความตาย บุคคลผู้ถึงคราวตายย่อมไม่มีอะไรเป็นเครื่องป้องกันได้แม้จะเหาะไปใน อากาศ ดาลงไปสู่ใจกลางทะเล หรือเข้าไปหลบตัวในซอกเขา ก็ไม่พ้นจากความตาย เพราะ ไม่มีแผ่นดินสักผืนหนึ่งที่บุคคลดารงอยู่แล้ว จะไม่ถูกความตายครอบงาได้ ๕๓


23

กาลากาลมรณปัญหา ๕๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สัตว์ผู้ที่จะต้องตายย่อม ตายในเวลาที่สมควร หรือตายในเวลาที่ไม่สมควร อธิบายว่า สัตว์บางพวกย่อมตายในเวลาที่สมควร ส่วนบางพวกย่อมตายในเวลาที่ไม่ สมควร สัตว์ที่ถูกกาลังความชรากาจัดแล้วตาย ชื่อว่าย่อมตายในเวลาที่สมควร และที่ตาย ด้วยกรรมชักนา คติชักนา หรือกิริยาชักนาชื่อว่าย่อมตายในเวลาที่สมควรเหมือนกัน ก็ บุคคล๗ จาพวก คือ (๑) บุคคลผู้หิวจัด ไม่ได้อาหาร (๒) บุคคลผู้กระหายจัด ไม่ได้น้าดื่ม (๓) บุคคลผู้ถูกงูกัด ไม่ได้รับการบาบัดรักษา (๔) บุคคลผู้ดื่มยาพิษ ไม่ได้กินยาแก้พิษ (๕) บุคคลผู้ถูกไฟเผาอยู่ ไม่ได้น้าดับไฟ (๖) บุคคลผู้ตกน้าไม่ได้ที่ยึดเกาะ (๗) บุคคลผู้ถูกประหารด้วยหอก ไม่ได้หมอผ่าตัดรักษา บุคคลเหล่านี้แม้มีอายุยืน ก็ชื่อว่าตายในเวลาที่ไม่สมควร ถ้าสัตว์บางพวกตายด้วยวิบาก แห่งอกุศลกรรมที่เคยกระทาไว้ในกาลก่อน เช่น ในชาติก่อนเคยให้เขาอดอาหาร อดน้า จนถึงแก่ความตาย เมื่อเกิดมาในชาตินี้หิวอาหาร กระหายน้าไม่ได้ในสิ่งที่ตนต้องการจน เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ก็นับว่าเป็นการตายในเวลาที่สมควร อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ ทั้งหลายย่อมตายด้วยเหตุ๘ ประการ คือ (๑) โรคมีลมเป็นสมุฏฐาน (๒) โรคมีดีเป็นสมุฏฐาน (๓) โรคมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน (๔) โรคมีสันนิบาตเป็นสมุฏฐาน (๕) ความแปรปรวนแห่งฤดู (๖) การบริหารอิริยาบถที่ไม่สม่าเสมอ (๗) ความเพียรพยายามของบุคคลอื่น (๘) วิบากกรรม การตายด้วยวิบากกรรมเท่านั้น เป็นการตายในเวลาที่สมควร ส่วนการตายที่เหลือนอกนั้น เป็นการตายในเวลาที่ไม่สมควร เหมือนผลไม้ที่สุกงอม หลุดร่วงหล่นลงมาจากต้นเป็นการ หล่นในเวลาที่สมควร ส่วนผลไม้ที่เหลือ บางผลก็ถูกหนอนไชร่วงหล่นไป บางผลถูกพวก


24

นกกาตีตกหล่นไป บางผลก็ถูกลมพัดหล่นลงไป บางผลก็เน่าในเป็นเหตุให้หล่นไปนับว่า เป็นการหล่นในเวลาที่ไม่สมควร ทีฆมัทธานปัญหา ๕๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง กาลไกลอันยืดยาว อธิบายว่า กาลไกลทั้งหมดมีทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน บรรดากาลไกล เหล่านั้นบางอย่างก็มี แต่บางอย่างก็ไม่มี สังขารทั้งหลายที่เป็นอดีต ล่วงลับ ดับไป แปรปรวนไป กาลไกลอย่างนี้ไม่มี ธรรมที่เป็นวิบาก ธรรมที่มีวิบากเป็นธรรมดา และ ธรรมที่ให้ปฏิสนธิในภพอื่น กาลไกลอย่างนี้จึงมีอยู่ สัตว์ที่ตายไปเกิดในภพอื่น เป็นเหตุทา ให้กาลไกลยังคงมีอยู่แต่สัตว์ที่ปรินิพพานแล้ว ก็เป็นเหตุทาให้กาลไกลไม่มี เพราะกาลไกล นั้นดับไปแล้ว อัทธานปัญหา ๕๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง อะไรเป็นมูลเหตุของกาลไกลที่ เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อธิบายว่า อวิชชาเป็นมูลเหตุของกาลไกลที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน สังขาร เกิดมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดมีเพราะ วิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะเกิดมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดมีเพราะสฬายตนะ เป็นปัจจัย เวทนาเกิดมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดมีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดมีเพราะเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดมีอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดมีเพราะ ภพเป็นปัจจัยชรามรณะโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาสะเกิดมีเพราะชาติเป็นปัจจัย ๕๗ ส่วนปลายสุดข้างต้นแห่งกาลไกลแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมไม่ปรากฏ ด้วยอาการอย่างนี้ ปุริมโกฏิปัญหา ๕๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง เหตุที่ปลายสุดข้างต้นไม่ ปรากฏ อธิบายว่า ปลายสุดข้างต้นของกาลไกลไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนบุรุษคนหนึ่ง เพาะปลูกพืชลงในแผ่นดิน หน่อก็จะแตกออกจากพืชแล้วเจริญงอกงามไพบูลย์โดยลาดับ จนเผล็ดผล เขานาเอาเมล็ดพืชจากต้นนั้นไปเพาะปลูกอีก หน่อก็แทงขึ้นมาถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์จนเผล็ดผล ที่สุดของความสืบต่อย่อมไม่มี ด้วยอาการอย่างนี้ เหมือนฟอง ไข่เกิดจากแม่ไก่ แม่ไก่ก็เกิดจากฟองไข่ และฟองไข่ก็เกิดจากแม่ไก่อีกเหมือนเดิม เมื่อเป็น อย่างนั้น ที่สุดของความสืบต่อย่อมไม่มี หรือเหมือนจักรซึ่งมีรูปเป็นวงกลม ที่สุดของจักรก็ ไม่มีปรากฏจักรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ก็เหมือนกัน คือ จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะ อาศัยตากับรูปโสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยหูกับเสียง ฆานวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัย จมูกกับกลิ่นชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นกับรส กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัย กายกับโผฏฐัพพะมโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจกับธรรม ความพร้อมเพรียงกันแห่ง ธรรม ๓ ประการ ๕๙เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยเวทนาจึงเกิด เพราะเวทนาเป็น ปัจจัยตัณหาจึงเกิด ๖๐ ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน และอุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิด


25

กรรม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจย่อมเกิดขึ้นแต่กรรมนั้นอีก เมื่อเป็นเช่นนั้น ที่สุดของความสืบ ต่อจึงไม่ปรากฏ ด้วยอาการอย่างนี้ ปลายสุดข้างต้นแห่งกาลไกลก็ไม่ปรากฏเหมือนกัน โกฏิปัญญายนปัญหา ๖๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง อะไร คือ ปลายสุดข้างต้น ที่ไม่ปรากฏ๕๙ ความพร้อมเพรียงกันแห่งธรรม ๓ ประการ คือ (๑) จักขุ คือ ประสาทตา (๒) รูป คือ ภาพที่จะเห็น (๓) จักขุวิญญาณ คือ การเห็นภาพ. (มิลินฺท.อฏฺ. ๒/๑๔๑) อธิบายว่า ปลายสุดข้างต้นที่ไม่ปรากฏ คือ กาลไกลที่เป็นอดีต ก็ปลายสุดข้างต้น นั้นบางอย่างปรากฏ แต่บางอย่างก็ไม่ปรากฏ ก่อนหน้านี้ อวิชชาไม่ได้มีโดยสิ้นเชิงโดย ประการทั้งปวง ชื่อว่า ปลายสุดเบื้องต้นไม่ปรากฏ ส่วนสิ่งใดที่ยังไม่มีย่อมเกิดมี ที่มีแล้ว กลับไปปราศ ชื่อว่า ปลายสุดข้างต้นย่อมปรากฏ แม้สิ่งใดที่ยังไม่มีย่อมเกิดมี ที่มีแล้ว กลับไปปราศ สิ่งนั้นถือว่าขาดทั้งสองข้าง คือ ข้างเกิด และข้างดับ ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แต่สิ่ง ที่ขาดแล้วทั้งสองข้างก็ยังสามารถเชื่อมต่อได้เพราะปลายสุดสามารถเชื่อมต่อได้ด้วยปลาย สุดเหมือนกัน เหมือนต้นไม้แรกปลูกยังไม่มีใบไม่มีดอก เมื่อเกิดมีลาต้นก็ทาให้มีใบมีดอก ด้วยอานาจของลาต้น ใบและดอกจึงเกิดติดต่อกันขึ้นมา และในที่สุดก็ร่วงหล่นไปตาม กาลเวลาจะเหลืออยู่ก็เพียงลาต้นเท่านั้น เมื่อถึงฤดูกาลใหม่ใบและดอกก็จะเกิดขึ้นมาอีก ครั้งเพราะฉะนั้น ขันธ์ทั้งหลายจึงเป็นพืชแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น สังสารปัญหา ๖๒ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สังสารวัฏ อธิบายว่า สังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด บุคคลเกิดมาในที่นี้และก็ตายในที่นี้ เมื่อตายจากที่นี้ก็ไปเกิดในที่อื่น เมื่อเกิดในที่นั้นก็ตายในที่นั้นนั่นเอง เมื่อตายจากที่นั้นก็ ไปเกิดขึ้นในที่อื่นต่อไป การเกิดเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้แหละ ชื่อว่า สังสารวัฏ เปรียบ เหมือนบุคคลบริโภคมะม่วงสุกแล้ว นาเอาเมล็ดไปเพาะพันธุ์จนกลายเป็นมะม่วงต้นใหญ่ เจริญเติบโตผลิดอกออกผล เขาเก็บมาบริโภคอีก และนาไปเพาะพันธุ์ใหม่ จนถึงเผล็ดผล เป็นลาดับมาปลายสุดของต้นมะม่วงมิได้ปรากฏ ด้วยอาการที่สืบเนื่องต่อกันมา สังขารชายนปัญหา ๖๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สังขารบางอย่างที่เกิดอยู่มี หรือไม่ อธิบายว่า สังขารบางอย่างที่เกิดอยู่ก็ย่อมมีอยู่ คือ เมื่อตาและรูปมี จักขุวิญญาณก็ ย่อมเกิดมี เมื่อจักขุวิญญาณมีจักขุสัมผัสก็ย่อมเกิดมี เมื่อจักขุสัมผัสมีเวทนาก็ย่อมเกิดมี เมื่อเวทนามีตัณหาก็ย่อมเกิดมี เมื่อตัณหามีอุปาทานก็ย่อมเกิดมี เมื่ออุปาทานมีภพก็ย่อม เกิดมีเมื่อภพมีชาติก็ย่อมเกิดมี เมื่อชาติมีชรามรณะโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาสะก็ ย่อมเกิดมีกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมเกิดมีด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อตาและรูปไม่มีจักขุวิญญาณก็ ไม่มี เมื่อจักขุวิญญาณไม่มีจักขุสัมผัสก็ไม่มี เมื่อจักขุสัมผัสไม่มีเวทนาก็ไม่มี เมื่อเวทนาไม่มี


26

ตัณหาก็ไม่มีเมื่อตัณหาไม่มีอุปาทานก็ไม่มี เมื่ออุปาทานไม่มีภพก็ไม่มี เมื่อภพไม่มีชาติก็ ไม่มี เมื่อชาติไม่มีชรามรณะโสกะปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาสะก็ไม่มี กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมดับไปด้วยอาการ อย่างนี้ ภวันตสังขารปัญหา ๖๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สังขารบางอย่างที่ไม่เคย เกิดมีมาก่อน จะเกิดมีขึ้นหรือไม่ อธิบายว่า สังขารบางอย่างที่ไม่เคยเกิดย่อมไม่เกิดขึ้น สังขารที่เคยเกิดขึ้นแล้ว เท่านั้นจึงจะเกิดขึ้นได้ เหมือนพืชคามและภูตคามบางอย่างที่ปลูกบนผืนดิน ถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์โดยลาดับ เผล็ดดอกออกผล ต้นไม้เหล่านั้นไม่ใช่จะไม่เคยเกิดมาก่อนแล้ว ถึงมาเกิดทีหลัง แต่ล้วนเคยเกิดมาก่อนแล้วทั้งสิ้น จึงทาให้เกิดขึ้นมา เวทคูปัญหา ๖๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง เวทคู อธิบายว่า สภาวะที่เรียกว่า เวทคู คือ อาศัยตาเห็นรูปเกิดจักขุวิญญาณ อาศัยหูกับ เสียงเกิดโสตวิญญาณ อาศัยจมูกกับกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ อาศัยลิ้นกับรสเกิดชิวหา วิญญาณอาศัยกายกับโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ อาศัยใจกับธรรมเกิดมโนวิญญาณ ธรรมเหล่านี้ คือผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคตา ชีวิตินทรีย์ และมนสิการ ซึ่งเกิด พร้อมกับวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะปัจจัยอย่างนี้อนึ่ง เจตภูต (เวทคู ) ไม่มีอยู่ในธรรม เหล่านี้ เวทคูปัญหา ๖๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง เจตภูตมีอยู่หรือไม่ อธิบายว่า เจตภูตไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ ปัญจายตนกัมมนิพพัตตปัญหา ๖๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง อายตนะทั้ง ๕ อย่าง เกิดขึ้นจากกรรมต่างกัน หรือกรรมอย่างเดียวกัน อธิบายว่า อายตนะทั้ง ๕ อย่าง เกิดขึ้นจากกรรมที่ต่างกัน ไม่ได้เกิดขึ้นจากกรรม อย่างเดียวกัน เปรียบเหมือนบุคคลหว่านพืชต่างชนิดกันลงในไร่เดียวกัน ผลของพืชที่ ต่างกันก็จะยังคงเกิดขึ้นต่างกันอยู่นั่นเองจากการศึกษาพบว่า สังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสงสารถ้าบุคคลยังมีกิเลสเป็นเหตุให้ต้อง ทากรรม ก็ต้องเสวยวิบากกรรมอย่างไม่สิ้นสุด แม้บุคคลผู้ตามไปอยู่ก็ไม่สามารถที่จะเห็น ที่สุดและเบื้องต้นสังสารวัฏได้ เพราะเป็นสภาพที่ยาวนานจนไม่สามารถกาหนดได้ว่า เริ่มต้นมาจากไหน และจะไปสิ้นสุดลงที่ไหน กรรมที่แต่ละบุคคลกระทาไว้จะติดตามตัวไป ในทุกภพทุกชาติเหมือนเงาที่คอยติดตามตัวอยู่ตลอดเวลา ทุกคนที่เกิดขึ้นมาล้วนมีกรรม เป็นของตัวเองทั้งนั้น ต่างกันก็แต่เพียงว่ามากหรือน้อย เลวหรือดีเพราะกรรมย่อมจาแนก สัตว์ทั้งหลายให้เลวและดี ๖๘ บุคคลผู้ทากรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทากรรมชั่วย่อมได้รับผล


27

ชัว่ อนึ่ง สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม หมู่สัตว์เป็นไปตามกรรมเพราะสัตว์ ทั้งหลายมีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน เปรียบเหมือนรถมีหมุดเป็นเครื่องตรึงไว้แล่นไปอยู่ ๖๙ เพราะฉะนั้น กรรมจึงเป็นเรื่องสาคัญในพระพุทธศาสนา บุคคลควรศึกษาให้เข้าใจอย่าง ชัดเจน เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติอย่างถูกต้องความหมายของคาว่า กรรม โดยนัย หมายถึง กระบวนการสืบเนื่องแห่งพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งเป็นพลังทา ให้โลกส่วนตนและ โลกส่วนรวม สามารถดา เนินไปได้ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ๗๐ กรรมเป็นพฤติกรรมสากลที่เป็นตัวหมุนโลก ไม่ใช่เพียงแค่การกระทาทางกาย วาจา หรือใจ ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโลกจาเป็นต้องอาศัยสัตว์ที่สามารถแสดงพฤติกรรมเพื่อ เป็นตัวหมุนโลก เหมือนรถยนต์วิ่งได้เพราะอาศัยเครื่องยนต์ซึ่งมีอะไหล่แต่ละตัวคอยทา หน้าที่ของตน นอกจากนั้น กรรมยังหมายถึง แหล่งรวมพฤติกรรมของสัตว์โลกที่เคย กระทาไว้ในอดีต กรรมที่สั่งสมไว้ในอดีตจะกลายมาเป็นตัวกาหนดชีวิตตั้งแต่เริ่มต้นไปจน จบ แก้ไขก็ไม่ได้หรือทากลับคืนก็ไม่ได้เพราะชีวิตถูกลิขิตด้วยกรรม กรรมนิยามในพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ (๑) กฎศีลธรรม คือ กฎแห่งกรรม หมายถึง บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผล เช่นนั้น คนทาดีย่อมได้ดี ทาชั่วย่อมได้ชั่ว ๗๑ แสดงถึงการกระทากรรมและผลของกรรม ว่ามีสภาพเหมือนกัน ไม่แตกต่างไปจากกัน บุคคลกระทากรรมเช่นไรก็ย่อมได้รับผล เช่นนั้นเป็นการตอบแทน กรรมดีให้ผลเป็นสุข กรรมชั่วให้ผลเป็นทุกข์ ซึ่งเป็นการอธิบาย ตามหลักศีลธรรมในพระพุทธศาสนา (๒) กฎธรรมชาติ คือ กฎแห่งเหตุผล หมายถึง เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป ๗๒ แสดง ถึงกฎทั่วไปของธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยทั้งสิ้น ไม่มีผู้กระทา กรรมไม่มีผู้รับผลของกรรม และไม่มีผู้ที่จะมาดลบันดาลให้คนเราดีหรือชั่ว เพราะขึ้นอยู่ กับกฎแห่งเหตุผล ซึ่งเป็นการอธิบายกระบวนการแห่งเหตุและผลตามหลักสากลกรรมใน พระพุทธศาสนา จึงเป็นเรื่องในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ พระพุทธศาสนามีทัศนะเกี่ยวกับเรื่องกรรมว่า กรรมที่กระทาไว้ในอดีตทั้งหมด ไม่ สามารถจะกาหนดวิถีชีวิตของคนเราได้หมด แต่กาหนดได้เพียงบางส่วนแม้บุคคลจะไม่ สามารถแก้ไขกรรมที่เคยกระทาไว้ในอดีต แต่สามารถกระทากรรมดีให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้กรรมดีปรากฏผลออกมามาก ก็ทาให้กรรมในอดีตที่ไม่ดีรอคอยเวลาที่จะให้ผล เมื่อ เวลาล่วงเลยไป ผลของกรรมที่ไม่ดีก็จะเจือจางเบาบางลงกลายเป็นอโหสิกรรม ๒.๑.๓ หลักธรรมเกี่ยวกับพุทธจริยาและพุทธคุณ


28

พุทธอัตถินัตถิภาวปัญหา ๗๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้ามีอยู่ จริงหรือไม่ อธิบายว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่จริง แม้ตัวเราและบุคคลอื่นจะไม่เคยเห็น แต่มีเหตุที่ สามารถเป็นเครื่องพิสูจน์คือ โลกุตรธรรม ๙ ประการ ๗๔ ซึ่งเป็นธรรมขั้นสูงสุดพ้นวิสัยที่ คนธรรมดาสามัญจะพึงคิดเห็นได้เอง บุคคลผู้ที่มีบารมีอันเต็มเปี่ยม และมีสติปัญญาแก่ กล้าเท่านั้น จึงจะสามารถตรัสรู้ธรรมเหล่านั้นได้ เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว นาเอาธรรม เหล่านั้นมาประกาศเผยแผ่ให้พุทธบริษัทได้รู้แจ้งเห็นจริงตาม จึงเป็นเครื่องยืนยันว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่จริง๗๔ โลกุตรธรรม ๙ ประการ คือ (๑) โสดาปัตติมรรค (๒) โสดาปัตติผล (๓) สกทาคามิมรรค (๔)สกทาคามิผล (๕) อนาคามิมรรค (๖) อนาคามิผล (๗) อรหันตมรรค (๘) อรหันตผล (๙) พระนิพพาน. เปรียบเหมือนแม่น้าอูหานที ๗๕ ที่ป่าหิมพานต์แม้ตัวบุคคลและบรรพบุรุษของเขาจะไม่ เคยเห็นแต่แม่น้าก็มีอยู่จริง พุทธานุตตรภาวปัญหา ๗๖ พระนาคเสนตอบปัญหาเรื่อง พระพุทธเจ้าไม่มีใครจะ ยิ่งเกินกว่าพระองค์ อธิบายว่า แม้บุคคลผู้ไม่เคยพบเห็นพระพุทธเจ้า แต่เมื่อฟังคาสั่งสอนของพระองค์ หรือพบเห็นพระพุทธสาวกผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และที่ปรินิพพานแล้ว ก็ทาให้ได้รับ ความสุขกายสุขใจ จึงสามารถรู้ได้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐอย่างแท้จริง เหมือนคนที่ ยังไม่เคยเห็นทะเล เมื่อมีคนพูดถึงทะเลก็จะรู้สึกตรงกันว่า ทะเลมีความกว้างใหญ่ไพศาล สุดที่จะพรรณนา ยากที่จะหยั่งถึง เพราะแม่น้าใหญ่ทั้ง ๕ สาย คือ (๑) คงคา (๒) ยมุนา (๓) อจิรวดี(๔) สรภู(๕) มหี ย่อมไหลไปสู่มหาสมุทรอย่างไม่ขาดสาย ทาให้มหาสมุทรไม่พร่อง หรือเต็มขึ้นกว่าเก่า พุทธานุตตรภาวชานนปัญหา ๗๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลอื่นจะรู้ หรือไม่ว่า ไม่มีใครยิ่งเกินกว่าพระพุทธเจ้า อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงเปิดเผยธรรม ที่กระทาให้พระองค์เป็นผู้เลิศเป็นผู้ ประเสริฐที่สุด ให้เป็นแนวทางสาหรับผู้ปฏิบัติตาม และผู้ที่ได้พบเห็นพระพุทธองค์ผู้ทรง พุทธคุณ สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ยอดเยี่ยมจริง เรื่องเคยมี มาแล้วว่าพระติสสเถระเป็นอาจารย์สอนหนังสือ ท่านเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปในครั้งนั้น แม้ท่านมรณภาพไปนานแล้ว แต่กิตติศัพท์ของท่านยังคงปรากฏอยู่ เพราะลายมือที่ ปรากฏอยู่ในหนังสือนั่นเอง ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นชื่อว่าเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะว่า พระธรรมเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงแสดงไว้ดีแล้ว


29

พุทธนิทัสสนปัญหา ๗๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง เมื่อพระพุทธเจ้ามีอยู่จริง พระองค์ประทับอยู่ที่ไหน ๗๕ แม่น้าอูหานที คือ แม่น้าที่ไหลแยกออกจากสระอโนดาต บนภูเขาหิมพานต์ ซึ่งเป็นต้นกาเนิดแม่น้าคงคา อธิบายว่า พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่สามารถที่จะชี้ได้ว่า พระองค์ประทับอยู่ที่นี้หรือที่นั้น เหมือนเปลวแห่งกองไฟใหญ่ซึ่งลุกโพลงอยู่แล้วดับไปไม่ สามารถชี้ได้ว่าเปลวไฟนั้นอยู่ที่นี้หรือที่นั้น เพราะเปลวไฟดับไปแล้ว ถึงความไม่มีบัญญัติ พระพุทธองค์ทรงมีอยู่จริง แต่เพราะพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ จึงไม่สามารถชี้ได้ว่าประทับอยู่ที่ไหน ถึงอย่างนั้น ก็สามารถชี้ได้ด้วย ธรรมกาย ๗๙ ซึ่งเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ทวัตติงสมหาปุริสลักขณปัญหา ๘๐ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้า ทรงประกอบด้วยมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ ๘๑ และรุ่งเรืองด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ๘๒จริงหรือไม่ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ รุ่งเรือง ด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ มีพระฉวีวรรณผุดผ่องดุจทองคา มีพระรัศมีแผ่ออกจากพระ วรกายประมาณวาหนึ่ง พระองค์ทรงมีพระลักษณะไม่เหมือนพระพระราชบิดาและพระราช มารดา เพราะเกิดจากบุญบารมีที่พระองค์ทรงอบรมสั่งสมมาตั้งแต่ในอดีตแม้ธรรมดา บุตรจะต้องมีรูปร่างหน้าตาคล้ายบิดามารดาคนใดคนหนึ่ง หรือคล้ายทั้งสองคนแต่ พระพุทธเจ้าเป็นมหาบุรุษ เป็นบุคคลประเสริฐที่สุดในโลก จึงไม่จาเป็นต้องมีพระลักษณะ คล้ายพระราชบิดาหรือพระราชมารดา เหมือนบัวที่เกิดจากเปือกตมแช่อยู่ในน้า ก็ไม่ จาเป็นต้องมีสีมีกลิ่น และมีรส เหมือนกับเปือกตมและน้าที่บัวได้อาศัยเกิดขึ้นมา พรหมจารีปัญหา ๘๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงเป็นพรหมจารีแสดง ว่าพระองค์ทรงเป็นศิษย์ของพระพรหมหรือไม่อธิบายว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงประพฤติ อย่างพรหม ไม่ได้แสดงว่าพระองค์ทรงเป็นศิษย์ของพรหม แต่ทรงมีฌาน หรือ ประกอบด้วยพรหมวิหารธรรมเหมือนอย่างพรหมเท่านั้น เหมือนช้างที่บางคราวร้อง เหมือนนกกระเรียน ก็ไม่ได้แสดงว่าช้างเป็นศิษย์ของนกกระเรียน เพราะอาศัยเหตุที่มี เสียงร้องคล้ายคลึงกัน อีกอย่างหนึ่ง การที่พรหมเป็นผู้มีความรู้ ก็แสดงว่าพรหมเป็นศิษย์ ของพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้า หมายถึง ผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อุปสัมปันนปัญหา ๘๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง อุปสัมปทาของพระพุทธเจ้ามี หรือไม่ อธิบายว่า การอุปสมบทเป็นเรื่องที่ดีเพราะยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อุปสมบทแม้ พระพุทธเจ้าก็ทรงผนวชเหมือนกัน แต่พระองค์ทรงผนวชที่โคนแห่งต้นโพธิ์พร้อมกับเวลา


30

ที่ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ การผนวชของพระองค์ไม่มีใครเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ เหมือนพระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบท ให้เป็นพระบัญญัติที่สาวกไม่ควรล่วงละเมิดตลอดชีพ อรูปววัตถภาวทุกกรปัญหา ๘๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าทรง กระทากิจที่บุคคลอื่นกระทาได้ยากยิ่งนัก อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงกระทากิจที่บุคคลอื่นกระทาได้โดยยากอย่างยิ่งเพราะ พระองค์ตรัสจาแนกอรูปธรรม คือ จิตและเจตสิกทั้งหลายที่เป็นไปในอารมณ์อันเดียวกัน ว่า นี้ผัสสะ นี้เวทนา นี้สัญญา นี้เจตนา นี้จิต เปรียบเหมือนบุรุษตักน้ามาจากมหาสมุทร แล้วชิมรสดูย่อมเป็นการยากที่จะรู้ว่า น้านี้มาจากแม่น้าคงคา น้านี้มาจากแม่น้ายมุนา น้า นี้มาจากแม่น้าอจิรวดี น้านี้มาจากแม่น้าสรภู น้านี้มาจากแม่น้ามหี พุทธอาจริยานาจริยปัญหา ๘๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าไม่มี อาจารย์ไม่มีผู้เสมอเหมือน ไม่มีผู้ทัดเทียมในโลกกับทั้งเทวโลก ๘๗ เพราะเหตุไร พระองค์ จึงตรัสว่า อาฬารดาบสกาลามโคตรเป็นอาจารย์ของพระองค์ ตั้งพระองค์ผู้เป็นอันเตวาสิก ให้เสมอกับตน และบูชาพระองค์ด้วยการบูชาอย่างดี ๘๘ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงหมายเอาความที่อาฬารดาบสกาลามโคตร เป็น อาจารย์ของพระองค์เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระอนุตรสัมมา สัมโพธิญาณในกาลก่อนแต่การตรัสรู้อาจารย์ของพระพุทธเจ้าในสมัยที่ยังเป็นพระ โพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้มีอยู่๕ คน คือ (๑) พราหมณ์๘ คน ๘๙ ที่ทานายพระลักษณะ (๒) สรรพมิตรพราหมณ์ (๓) เทวดาที่ยังพระโพธิสัตว์ให้เกิดความสังเวช (๔) อาฬารดาบสกาลามโคตร (๕) อุททกดาบสรามบุตร อาจารย์เหล่านี้เป็นธรรมาจารย์ชั้นโลกิยะ ส่วนพระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมา สัมโพธิญาณโดยชอบด้วยพระองค์เอง ไม่มีอาจารย์ผู้สั่งสอนเพื่อให้แทงตลอดใน โลกุตรธรรม และไม่มีใครยิ่งเกินกว่าพระองค์ สัพพัญญุตปัตตปัญหา ๙๐ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงละ อกุศลธรรมได้ทั้งหมด หรือทรงละอกุศลธรรมได้เพียงบางส่วนเท่านั้น โดยที่ยังมีบางส่วน เหลืออยู่แล้วจึงบรรลุความเป็นพระสัพพัญญู อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงละอกุศลธรรมได้ทั้งหมด ไม่ใช่ละได้เพียงบางส่วน เท่านั้น พระองค์ทรงเคยเสวยทุกขเวทนาที่ถูกสะเก็ดศิลากระเด็นจากก้อนศิลาไปกระทบ พระบาทจนทาให้พระโลหิตห้อในเมืองราชคฤห์ ๙๑ การเสวยทุกขเวทนาย่อมเกิดจาก


31

กรรม มีกรรมเป็นมูลที่ตั้ง บุคคลเสวยเวทนาเพราะกรรมทีเดียว อนึ่ง บุคคลย่อมเสวย เวทนาด้วยเหตุ๘ประการ คือ ๙๒ (๑) มีลมเป็นสมุฏฐาน (๒) มีดีเป็นสมุฏฐาน (๓) มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน (๔) ลม ดี เสมหะ ประชุมกันเข้า (๕) ความแปรเปลี่ยนฤดู (๖) การบริหารอิริยาบถไม่สม่าเสมอเกิดขึ้น (๗) ความเพียรพยายามของผู้อื่นเป็นสมุฏฐาน (๘) กรรมวิบาก เวทนาที่เกิดจากกรรมวิบาก และการบริหารอิริยาบถไม่สม่าเสมอ ย่อมไม่มีแด่ พระพุทธเจ้า เวทนาที่เกิดจากเหตุอย่างอื่นมีลมเป็นต้นเป็นสมุฏฐานย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ อาจที่จะปลงพระชนม์ชีพได้ เหมือนแผ่นดินใหญ่ที่ถูกขุด ก็ไม่ได้เกิดจากกรรมที่แผ่นดิน กระทาไว้ในกาลก่อน ตถาคตอุตตริกรณียาภาวปัญหา ๙๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง กิจที่ พระพุทธเจ้าจะพึงกระทาทั้งหมด พระองค์ทรงกระทาให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยหรือไม่ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงกระทากิจทุกอย่างเสร็จสิ้นเรียบร้อย ตั้งแต่คราวที่ พระองค์ตรัสรู้ที่ควงแห่งต้นโพธิ์ จึงไม่มีกิจที่จะต้องกระทาให้ยิ่งขึ้นไปอีก แต่การที่พระองค์ เสด็จออกหลีกเร้นอยู่ลาพังเพียงพระองค์เดียวตลอด ๓ เดือน ๙๔ เพราะการหลีกออกเร้น อยู่แต่ผู้เดียวเป็นกิจที่มีคุณมาก แม้พระพุทธเจ้าทั้งปวงก็ทรงปฏิบัติเช่นนี้ จึงบรรลุความ เป็นพระสัพพัญญู และทรงหวนระลึกถึงการหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียวว่า เป็นเหตุให้บรรลุ คุณความดีหลายอย่าง เพราะฉะนั้น การที่พระพุทธเจ้าเสด็จหลีกออกเร้นอยู่แต่ผู้เดียว จึง ไม่ใช่กิจที่จะต้องกระทา หรือไม่ใช่การสร้างเพิ่มเติมกิจที่พระองค์ทรงเคยกระทา แต่เพราะ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นคุณพิเศษโดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนบุรุษได้รับพรจาก พระมหากษัตริย์แล้วร่ารวยโภคทรัพย์ก็หวนระลึกถึงพระคุณของพระองค์ว่าเป็นผู้ได้ กระทาคุณแก่ตน จึงหมั่นไปสู่ที่บารุงของพระองค์เนืองนิตย์ ภควโตปาทปัปปฏิกปติตปัญหา ๙๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้า เสด็จไปที่ใด ๆ ก็ตาม จะมีแผ่นดินใหญ่ซึ่งไม่มีเจตนาปรับพื้นที่ให้ราบเรียบเสมอกัน คือ พื้นที่ลุ่มย่อมฟูขึ้น พื้นที่ดอนย่อมยุบลง เพราะเหตุไร สะเก็ดศิลาที่ตกลงมาจึงกระทบพระ บาทของพระองค์ แทนที่จะหลบหลีกออกจากพระบาท


32

อธิบายว่า พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จไปที่ใด ๆ ก็ตาม จะมีแผ่นดินใหญ่ปรับพื้นที่ให้ ราบเรียบเสมอกัน ส่วนสะเก็ดศิลาที่ตกลงมากระทบพระบาทของพระองค์ไม่ได้ตกลงมา ตามธรรมดาของตน แต่ตกลงมาด้วยความเพียรพยายามของพระเทวทัตผู้ผูกอาฆาตใน พระองค์พระเทวทัตคิดจะกลิ้งศิลาใหญ่มีขนาดเท่าเรือนยอดให้ตกลงเบื้องบนพระองค์ จึง กลิ้งศิลาลงไป แต่มีภูเขาสองลูกผุดขึ้นจากแผ่นดินรองรับไว้ ทาให้กะเทาะแตกจากศิลา เพราะถูกภูเขาทั้งสองลูกกระทบกันเข้า เมื่อสะเก็ดศิลาจะตกลงไปก็ไม่มีการกาหนด สถานที่ ๆ จะตก จึงตกลงที่พระบาทขององค์ เหมือนน้าที่บุคคลเอาฝ่ามือรองไว้ ย่อม รั่วไหลออกตามระหว่างนิ้วมือ อนึ่งการที่สะเก็ดศิลาตกลงที่พระบาท ก็เพราะความที่พระ เทวทัตเป็นผู้อกตัญญู เป็นคนกระด้างจะต้องได้รับผลของการกระทาคือ การเสวยทุกข์ ต่อไป คาถาภิคีติโภชนทานกถากถนปัญหา ๙๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าไม่บริโภคโภชนะที่ได้มาด้วยการกล่าวคาถา เพราะเหตุไร เมื่อพระองค์จะทรง แสดงอนุบุพพีกถาแก่บริษัท จึงทรงแสดงทานกถาก่อนแล้วแสดงสีลกถาภายหลัง ซึ่งจะทา ให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสตกแต่งทานถวายพระองค์ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยอาชีวปาริสุทธิธรรม หรือสุจริตธรรมจึงไม่ ทรงแสวงหาโภชนะที่ได้มาด้วยการกล่าวคาถา นามาเป็นเครื่องเลี้ยงพระชนม์ชีพการเสวย โภชนะที่เกิดจากการขับพระคาถาย่อมไม่เป็นธรรม คือ ไม่เป็นจารีตประเพณีของ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้พิจารณาเห็นรอบคอบอยู่ พระพุทธเจ้าย่อมบรรเทา คือ ห้ามเสียไม่ เสวยโภชนะที่พระองค์ขับแล้วด้วยพระคาถา ๙๗ ส่วนการดารงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยอาชีว ปาริสุทธิธรรม เป็นจารีตประเพณีของพระพุทธเจ้า อนึ่ง การแสดงทานกถาก่อน นับเป็น กิริยาของพระพุทธเจ้าที่จะยังจิตของทายกให้ยินดียิ่งในทาน และตั้งตนอยู่ในศีลเป็นลาดับ ต่อไป เมื่อจิตของทายกอ่อนสนิท ก็จักตามถึงฝั่งแห่งสาคร คือ สังสารวัฏด้วยสะพานคือ ทานด้วยเรือคือทาน เปรียบเหมือนบุคคลเมื่อให้สิ่งของแก่เด็กทารก ย่อมให้สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆเสียก่อน เช่น กังหันน้อย ๆ รถน้อย ๆ ธนูน้อย ๆ เป็นต้น พวกเด็กทารกก็จะ ประกอบการงานของตน ๆ ในภายหลัง พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนภูมิแห่งกรรมแก่ทายก ด้วยอาการอย่างนี้ ทาให้พระองค์ไม่ทรงต้องวิญญัติเพราะเป็นการสั่งสอนธรรม เพราะฉะนั้น การสั่งสอนธรรมด้วยทานกถา จึงไม่เป็นการกระทาวิญญัติคือ การออก ปากขอวัตถุสิ่งของกับบุคคลผู้มิใช่ญาติและบุคคลผู้มิได้ปวารณาไว้ ภควโตธัมมเทสนาอัปโปสุกตภาวปัญหา๙๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงบาเพ็ญบารมีมาตั้ง ๔ อสงไขย กับอีกแสนกัลป์เพื่อจะช่วยสัตว์โลกให้พ้น จากทุกข์ในสังสารวัฏ เพราะเหตุไรเมื่อพระองค์ทรงบรรลุเป็นพระสัพพัญญูแล้วจึงทรง น้อมพระทัยไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยไม่น้อมไปเพื่อที่จะทรงแสดงธรรม ๙๙


33

อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่า ธรรมเป็นสภาวะลึกซึ้ง ละเอียด สุขุม และเป็นการยากที่บุคคลจะสามารถเห็นตามได้ตรัสรู้ตามได้จึงทรงมีพระทัยน้อมไปเพื่อ ความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายยัง ยินดีอยู่ในความอาลัย มีสักกายทิฏฐิตั้งมั่น แม้พระองค์จะทรงมีพระทัยน้อมไปเพื่อความ เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อจะทรงแสดงธรรม แต่ก็ทรงคิดถึงการบรรลุ ธรรมของสัตว์อยู่ตลอดเวลา เมื่อท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลวิงวอน พระองค์จึงทรงแสดง ธรรม เพราะพรหมเป็นที่นับถือของเทวดาและมนุษย์ในสมัยนั้น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการ แสดงธรรมอย่างมาก เพราะเทวดาและมนุษย์จักนอบน้อม เชื่อถือ และน้อมใจไปตามพระ ธรรมเทศนา ภควโตอัปปาพาธปัญหา ๑๐๐ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าเป็นผู้ ประเสริฐที่สุดกว่าสัตว์ทั้งปวง เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงยกย่องพระพากุละว่าเป็นผู้เลิศ กว่าภิกษุทั้งหลาย ในด้านมีอาพาธน้อย ๑๐๑ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ควรที่ยาจกจะพึงขอ มีฝ่าพระหัตถ์อันทรงชาระแล้ว ทรงไว้ซึ่งพระสรีระอันมีในที่สุด ไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นหมอผู้รักษา และเป็นแพทย์ผู้เชือด ลูกศร ๑๐๒ พระองค์เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งเกินกว่าโดยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณ ทัสสนะ ทศพลญาณ ๑๐๓ จตุเวสารัชญาณ ๑๐๔ อัฏฐารสพุทธธรรม ๑๐๕ และฉฬาสา ธารณญาณ ๑๐๖ พระองค์ทรงอาศัยพระญาณเหล่านั้น ซึ่งมีอยู่ในพุทธวิสัยโดยสิ้นเชิง จึง ตรัสอย่างนั้นส่วนพระพากุละเป็นผู้มีอาพาธน้อยด้วยอานาจแห่งอภินิหาร ในคราวที่ท่าน เป็นดาบสบาบัดรักษาพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า และพระวิปัสสีพุทธเจ้า พร้อมทั้งภิกษุอีก ประมาณ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป ๑๐๗ จึงทาให้ท่านเป็นผู้มีอาพาธน้อย และได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านมีอาพาธน้อย พระพุทธเจ้าแม้จะทรงประชวร หรือไม่ ทรงประชวร แม้จะทรงถือธุดงค์ หรือไม่ทรงถือธุดงค์ ก็ไม่มีใครที่จะเสมอเหมือนพระองค์ สมดังที่พระองค์ทรงภาษิตไว้ในสังยุตตนิกาย ซึ่งเป็นดุจพระราชลัญจกรอันประเสริฐว่า “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเท้า มีสองเท้า มีสี่เท้า หรือมีเท้ามากก็ตาม มีรูปหรือไม่มี รูปก็ตาม มีสัญญา ไม่มีสัญญา หรือมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ตามมีประมาณ เท่าใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าสัตว์มีประมาณ เท่านั้น” ๑๐๘ อนุปปันนมัคคอุปปาทปัญหา ๑๐๙ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้า ทรงยังมรรคที่ยังไม่อุบัติให้อุบัติ ๑๑๐ เพราะเหตุไรพระองค์จึงตรัสว่าพระตถาคตพบมรรค เก่า ทางเก่าที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายองค์ก่อนๆ เคยเสด็จพระราชดาเนินแล้วเนืองๆ ๑๑๑


34

อธิบายว่า พระพุทธพจน์แม้ทั้งสอง เป็นการตรัสโดยสภาพทีเดียว คือ พระพุทธเจ้า องค์ก่อน ๆ พออันตรธานไป ก็ไม่มีใครจะสั่งสอนสืบต่อมา มรรคจึงชื่อว่าอันตรธานแล้ว เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาด้วยพระปัญญาจักษุทรงเห็นมรรคที่ชารุด ทรุดโทรม ถูก ความมืดปิดบังไว้ไม่เป็นที่สัญจร ที่พระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ เคยเสด็จพระราชดาเนิน เนืองนิตย์เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า พระตถาคตพุทธเจ้าทรงยังมรรคที่ยังไม่อุบัติ ให้อุบัติเหมือนมณีรัตนะที่ซ่อนอยู่ในระหว่างยอดเขา พอพระเจ้าจักรพรรดิองค์เก่าเสด็จ สวรรคตก็เป็นอันสูญหายไป เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิองค์ใหม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มณีรัตนะ ดวงนั้นก็ตกเป็นของพระองค์ มณีรัตนะที่พระเจ้าจักรพรรดิองค์ใหม่ทรงครอบครองไม่ใช่ ดวงใหม่ที่สร้างขึ้นมา แต่เป็นดวงเดิมที่ตั้งอยู่โดยปกติพอพระเจ้าจักรพรรดิองค์ใหม่เป็นผู้ ถือครอบครองก็ชื่อว่าเป็นผู้ยังมณีรัตนะดวงนั้นให้เกิดขึ้น วัชฌาวัชฌปัญหา ๑๑๒ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง การบูชาที่ทายกกระทาแด่ พระพุทธเจ้าย่อมเป็นหมัน คือ ไม่มีผล จริงหรือไม่ อธิบายว่า พวกเดียรถีย์พูดกันว่า ถ้าพระพุทธเจ้ายังทรงยินดีการบูชาอยู่ ก็ชื่อว่ายัง ไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ยังเกี่ยวข้องอยู่ในโลกและยังเป็นผู้เวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏการ บูชาพระพุทธเจ้าเช่นนั้นย่อมเป็นหมัน คือ ไม่มีผล แต่ถ้าพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน แล้วไม่เกี่ยวข้องด้วยโลก ออกไปจากภพทั้งปวงแล้ว การบูชาอย่างนั้น ก็ไม่สมควรย่อมเป็น หมัน คือ ไม่มีผลเหมือนกัน เพราะพระองค์ไม่ทรงยินดีจริงอยู่พระพุทธเจ้าทรงดับกิเลส แล้วไม่ทรงยินดีการบูชา ทรงละความยินดีและความยินร้าย ตั้งแต่คราวที่พระองค์ประทับ อยู่ที่ควงต้นโพธิ์ไม่จาเป็นต้องกล่าวถึงพระองค์ผู้เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิ พพานธาตุ เทวดาและมนุษย์ผู้ทาสักการะด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาโดยมุ่งถึงพุทธคุณ ย่อมได้สมบัติ ๓ ประการ ๑๑๓ การบูชาจึงชื่อว่าไม่เป็นหมัน ผลของการบูชามีอยู่ เหมือนเดิมเหมือนกองไฟใหญ่แม้กาลังลุกโพลงอยู่ ก็ไม่ยินดีเชื้อเพลิงที่ใส่เข้าไป เมื่อกอง ไฟดับสงบลงก็ยิ่งไม่มีความยินดีแม้กองไฟดับลงสงบแล้ว แต่ไฟยังไม่สูญไปจากโลกนี้ บุคคลผู้ต้องการไฟนาเอาไม้มาสีกันเพื่อให้เกิดไฟ ย่อมทากิจของตนได้ด้วยไฟนั้น พุทธสัพพัญญุภาวปัญหา ๑๑๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าทรง เป็นพระสัพพัญญูจริงหรือ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นสัพพัญญูผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง แม้พระองค์จะทรงเป็น พระสัพพัญญูแต่พระญาณที่เป็นเหตุให้รู้เห็น ย่อมไม่ปรากฏแก่พระองค์อย่างฉับพลันทันที เพราะพระสัพพัญญุตญาณเนื่องด้วยการนึก เมื่อทรงนึกแล้วย่อมรู้ได้ตามพุทธประสงค์ เหมือนต้นไม้แม้มีพวงผลห้อยย้อยอยู่เต็มต้น แต่ก็ไม่มีผลร่วงหล่นแม้เพียงผลเดียวในที่นั้น เมื่อเป็นอย่างนั้น บุคคลไม่อาจกล่าวว่าต้นไม้ไม่มีผล ด้วยความบกพร่องที่ผลยังไม่ร่วง หล่นเมื่อผลร่วงหล่นแล้ว บุคคลก็ย่อมได้ตามความปรารถนา


35

เทวทัตตปัพพาชิตปัญหา ๑๑๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระเทวทัตใครเป็น ผู้ให้บวช และเมื่อบวชเข้ามาแล้วจะทาลายสงฆ์พระพุทธเจ้าทรงรู้หรือไม่ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาคุณต่อสรรพสัตว์ และทรงเป็นพระ สัพพัญญูพระองค์ทรงโปรดให้พระเทวทัตบวช โดยที่ทรงทราบว่าพระเทวทัตบวชเข้า มาแล้วจะทาลายสงฆ์พระองค์ทรงพิจารณาดูคติของพระเทวทัตด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ทอดพระเนตรเห็นพระเทวทัต ผู้จะสั่งสมกรรมซึ่งจะให้ผลในภพต่อ ๆ ไปอย่างไม่มีสิ้นสุด หลุดจากนรกไปสู่นรก หลุดจากวินิบาตไปสู่วินิบาต สิ้นแสนโกฏิแห่งกัลป์เป็นอันมาก จึง ทรงดาริว่า กรรมของพระเทวทัตจักไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าเธอบวชแล้วก็จักทากรรมนั้นให้มีที่ สิ้นสุดได้เมื่อเทียบกับกรรมก่อน ทุกข์ยังจักมีที่สิ้นสุดลง ทาให้เธอตกนรกสิ้นกัลป์หนึ่ง เท่านั้น พระองค์จึงโปรดให้พระเทวทัตบวช ด้วยพระมหากรุณาคุณ พระองค์จึงทรงชื่อว่า ทรงตีแล้วทรงทาให้ด้วยน้ามัน ทรงทาให้ตกเหวแล้วยื่นพระหัตถ์ประทาน ทรงฆ่าให้ตาย แล้วแสวงหาชีวิตใหม่ให้เพราะทรงก่อทุกข์ให้ก่อนแล้วจึงจัดสุขให้ในภายหลัง ภิกขุปณามปัญหา ๑๑๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าไม่ทรงมีความ โกรธ เป็นผู้ ปราศจากกิเลสดุจตะปูตรึงใจ ๑๑๗ เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงประณามพระ สารีบุตรเถระและพระมหาโมคคัลลานเถระกับทั้งบริษัท ๑๑๘ อธิบายว่า แม้พระพุทธเจ้าจะทรงประณามพระสารีบุตรเถระและพระมหาโมคคัล ลานเถระกับทั้งบริษัท แต่ไม่ได้ทรงประณามด้วยความโกรธ เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ทรงมีความโกรธหรือความเลื่อมใส พ้นจากความเอ็นดูและความโกรธเคืองพระเถระ เหล่านั้นถูกพระองค์ทรงประณามขับไล่เพราะความผิดของตนที่กระทาแล้วทีเดียวเปรียบ เหมือนบุรุษบางคนก้าวพลาดสะดุดล้มลงที่รากไม้หรือก้อนหิน จะตาหนิว่าแผ่นดินโกรธ ตัวเองจึงทาให้ตนล้มลงไป ย่อมไม่สมควรที่จะกล่าวอย่างนั้น เพราะแผ่นดินไม่มีความ โกรธหรือความเลื่อมใส พ้นจากความเอ็นดูและความโกรธเคือง ก็บุรุษนั้นพลาดล้มลงเอง ไม่มีใครทาให้ล้ม เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงประณามขับไล่เพื่อให้พระเถระได้รับ ประโยชน์เกื้อกูล ความสุข และความหมดจด ด้วยทรงประสงค์ว่า ภิกษุเหล่านี้จักพ้นจาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ด้วยอุบายอย่างนี้ สัพพัญญูสยปณามปัญหา ๑๑๙ พระนาคเสนตอบคา ถามเรื่อง ภิกษุสงฆ์มีพระสา รีบุตรเถระและพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นประธาน ถูกพระพุทธเจ้าทรงประณามเมื่อ เจ้าศากยะชาวบ้านจาตุมากับท้าวสหัมบดีพรหม แสดงพีชูปมาคือ เปรียบด้วยพืชอ่อน และวัจฉตรณูปมาคือ เปรียบด้วยลูกโครุ่น ทาให้พระองค์ทรงเลื่อมใสยกโทษให้ ๑๒๐ พระองค์ทรงทราบอุปมาเหล่านั้นหรือไม่ หรือพระองค์ทรงข่มเหง ทรงประณามเพราะไม่ ทรงมีความกรุณา


36

อธิบายว่า พระตถาคตพุทธเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู พระองค์ทรงเลื่อมใส อนุโมทนาสาธุการแก่เจ้าศากยะชาวบ้านจาตุมาและท้าวสหัมบดีพรหม ทรงยกโทษให้ พระเถระด้วยอุปมาเหล่านี้ เพราะพระองค์ทรงเป็นธรรมสามีคือ เจ้าของแห่งธรรม ไม่ใช่ เพราะทรงรู้ไม่เท่าทันถึงคติของคนเหล่านั้น เทวดาและมนุษย์ต่างก็น้อมนาเอาธรรมที่ พระองค์ที่ทรงแสดงไว้ มาเปรียบถวายให้ทรงยินดี เหมือนสตรีนาทรัพย์ของสามีมาตั้ง เรียงรายไว้เพื่อให้สามีเกิดยินดีเลื่อมใสในทรัพย์อันเป็นของตน อุทรสังยมปัญหา ๑๒๑ พระนาคเสนตอบคา ถามเรื่อง ภิกษุไม่พึงประมาทใน บิณฑบาตที่ตนลุกขึ้นยืนรับอยู่ที่ประตูเรือน ๑๒๒ พึงเป็นผู้สารวมท้อง เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า บางครั้งพระองค์เสวยพระกระยาหารเสมอขอบปากบาตรนี้บ้างยิ่ง กว่านี้บ้าง ๑๒๓ อธิบายว่า พระพุทธพจน์ที่ว่าภิกษุพึงสารวมท้อง เป็นเครื่องกล่าวโดยสภาวะคือ กล่าวเหตุไม่มีส่วนเหลือ กล่าวโดยนิปริยาย กล่าวเหตุตามความเป็นจริง ไม่ผิดแปลกเป็น คาของฤาษีและมุนีทั้งหลาย เป็นพระพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระปัจเจก พุทธเจ้า บุคคลผู้ไม่สารวมท้องย่อมเป็นเหตุให้กระทากรรมต่าง ๆ มีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม กล่าวเท็จ ดื่มน้าเมา หรือกระทาอนันตริยกรรม ๑๒๔ แต่บุคคลผู้ สารวมท้องย่อมบรรลุเหตุแห่งคุณธรรม มีการตรัสรู้จตุราริยสัจ ชานาญในจตุปฏิสัมภิทา อัฏฐสมาบัติและฉฬภิญญา บาเพ็ญสมณธรรมอย่างสิ้นเชิง การที่พระพุทธเจ้าเสวยพระ กระยาหารเสมอขอบบาตรบ้าง หรือยิ่งกว่านั้นบ้าง เพราะพระองค์มีกิจที่ทรงกระทาแล้ว มี กิริยาสาเร็จแล้วมีประโยชน์สาเร็จแล้ว มีกาลเป็นที่สุดแล้ว ห้ามกิเลสได้แล้ว เป็นพระ สัพพัญญูผู้เป็นเองเป็นการตรัสหมายเอาเฉพาะพระองค์เพียงผู้เดียวเท่านั้น อิทธิปาทพลทัสสนปัญหา ๑๒๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง อิทธิบาท ๔ ประการ ๑๒๖ สามารถทาให้บุคคลผู้เจริญ กระทาให้มาก มีอายุดารงอยู่ตลอดกัลป์หนึ่ง บ้าง เกินกัลป์หนึ่งบ้าง เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสว่า จากนี้ไปอีก ๓ เดือน ตถาคตจัก ปรินิพพาน ๑๒๗ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า อิทธิบาท ๔ ประการ อันตถาคตเจริญ กระทาให้ มากกระทาให้เป็นดุจยาน กระทาให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสมไว้แล้ว ปรารภดีแล้ว หาก ตถาคตยังทรงมุ่งหวัง พึงดารงพระชนม์อยู่ได้กัลป์หนึ่งบ้าง เกินกว่ากัลป์หนึ่งบ้าง ๑๒๘ พระองค์ตรัสอย่างนั้น เพราะจะทรงสรรเสริญกาลังแห่งอิทธิบาท ไม่ใช่จะทรงสรรเสริญ กาลังของพระองค์เหมือนพระราชามีม้าอาชาไนยที่มีฝีเท้าเร็ว เชาว์ไวดุจลม เมื่อพระองค์ จะทรงอวดกาลังของม้าอาชาไนย จึงตรัสในท่ามกลางมหาชนว่า ม้าประเสริฐตัวนี้เมื่อ ต้องการจะเที่ยวไป พึงเที่ยวไปตลอดแผ่นดินที่มีน้าในสาครเป็นที่สุด กลับมาในที่นี้เพียง ชั่วพริบตาเดียวเท่านั้น เพื่อแสดงความว่องไวของม้าที่มีปรากฏอยู่ ไม่ใช่แสดงถึงความ


37

ว่องไวของพระองค์ในท่ามกลางมหาชน อนึ่ง พระพุทธเจ้าไม่มีความต้องการด้วยภพทั้ง ปวง เพราะทรงพิจารณาเห็นภพ คติ และกาเนิดทั้งปวงเสมอด้วยคูถ จึงไม่ทรงอาศัยกาลัง แห่งฤทธิ์เพื่อทรงกระทาความยินดี หรือความพอใจในภพทั้งหลายต่อไป ฐปนียพยากรณปัญหา ๑๒๙ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าไม่ทรงมี อาจริยมุฏฐิ ๑๓๐ ในธรรมทั้งหลาย ๑๓๑ เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาที่ พระมาลุงกยบุตรทูลถาม อธิบายว่า พระพุทธเจ้าไม่มีความลับและไม่ปิดบังความรู้เหตุที่พระองค์ไม่ทรง พยากรณ์ปัญหาของพระมาลุงกยบุตร ไม่ใช่จะทรงกระทาด้วยความไม่รู้ หรือโดยการ ปิดบังซ่อนเร้นไว้แต่เพราะปัญหานั้นไม่มีประโยชน์ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น และเป็นไป เพื่อการถกเถียงกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้มีอยู่๔ ประการ คือ ๑๓๒ (๑) เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาควรตอบโดยนัยเดียว (๒) วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรแยกตอบ (๓) ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่ควรตอบโดยย้อนถาม (๔) ฐปนียปัญหา ปัญหาที่ควรงดตอบ พระพุทธเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาที่ควรงดนั้น (ฐปนียปัญหา ) แก่พระมาลุงกย บุตร และปัญหานั้นควรงดเพราะเหตุหรือการณ์เพื่อจะแสดงปัญหาไม่มีเพราะฉะนั้น ปัญหานี้จึงควรงดไว้อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะไม่เปล่งวาจาที่ไม่มีเหตุไม่มีการณ์ ภควโตลาภันตรายปัญหา ๑๓๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พุทธเจ้าทรงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัช ๑๓๔ เพราะเหตุไร พระองค์เมื่อเสด็จไปบิณฑบาตที่ บ้านพราหมณ์ชื่อปัญจสาละจึงไม่ได้วัตถุอะไร ๆ อาจริยมุฏฐิ แปลว่า กามือของอาจารย์ หมายถึง มือที่กาไว้ ใช้เรียกอาการของ อาจารย์ภายนอกพระพุทธศาสนาที่หวงวิชา ไม่ยอมบอกแก่ศิษย์ขณะที่ตนเองยังหนุ่ม แต่ จะบอกแก่ศิษย์ที่ตนรัก ขณะที่ตนใกล้จะตายเท่านั้น แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงถือตามคติ เช่นนี้. อธิบายว่า พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่บ้านพราหมณ์ปัญจสาละ แต่ไม่ได้ วัตถุอะไร ๆ ทรงแต่บาตรเปล่าเสด็จออกจากบ้านนั้น ๑๓๕ เพราะเหตุแห่งมารผู้มีบาปเข้า สิงพราหมณ์และคฤหบดีจึงทาให้พระองค์ไม่ได้อาหารบิณฑบาต อย่างไรก็ตาม แม้มารจะ มีฤทธิ์ดลใจชาวบ้านไม่ให้ถวายบิณฑบาตแด่พระพุทธเจ้า แต่ก็ยังมีกาลังวิเศษน้อยกว่า กาลังของพระองค์ เพราะอกุศลจะมีกาลังมากกว่ากุศลด้วยเหตุเพียงเท่านั้นก็หาไม่เปรียบ เหมือนบุรุษจะนาเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้าจักรพรรดิแต่ถูกทหารผู้รักษาประตู ห้ามไม่ให้เข้าไปโดยการบังคับและขู่เข็ญ ทาให้เขาเกิดความกลัวต่ออาชญา จึงนาเครื่อง


38

บรรณาการกลับไปพระเจ้าจักรพรรดิจะชื่อว่าเป็นผู้มีกาลังน้อยกว่าทหารผู้รักษาประตูก็ หาไม่ ก็อันตรายมีอยู่ ๔ประการ คือ (๑) อทิฏฐันตราย อันตรายด้วยความไม่เห็น (๒) อุททิสสกตันตราย อันตรายกับโภชนะที่บุคคลกระทาไว้แล้วเฉพาะ (๓) อุปักขตันตราย อันตรายกับวัตถุที่บุคคลเตรียมไว้แล้ว (๔) ปริโภคันตราย อันตรายในวัตถุเครื่องใช้สอย มารกระทาอันตรายด้วยความไม่เห็น และไม่ได้กระทาเฉพาะพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว เท่านั้น แม้ชนที่มาในวันนั้นก็ไม่ได้โภชนะเหมือนกัน เพราะถ้าบุคคลจะพึงกระทาอันตราย กับเครื่องบริโภคที่บุคคลเตรียมไว้ถวายพระพุทธเจ้าด้วยความริษยา ศีรษะของเขาพึง แตกออกเป็นร้อยส่วน หรือพันส่วน สัพพสัตตานังหิตจรณปัญหา ๑๓๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้านา สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลออก เข้าไปตั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์เพราะ เหตุไรพระองค์จึงทรงแสดงอัคคิขันโธปมสูตร ๑๓๗ ซึ่งเป็นเหตุทาให้โลหิตอุ่นพุ่งออกจาก ปากของภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ผู้กาลังฟังพระสูตรอยู่ อธิบายว่า ความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นในกาย จนทาให้โลหิตอุ่นพุ่งออกจากปากของ ภิกษุเหล่านั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการกระทาของพระพุทธเจ้า แต่เกิดขึ้นเพราะการกระทา ของภิกษุนั่นเอง ความผิดที่ภิกษุกระทา คือ การปฏิบัติผิดพระธรรมวินัย เมื่อพระองค์จะ ทรงแสดงธรรมไม่ทรงกระทาความเอ็นดูและความโกรธเคือง เพราะทรงพ้นจากความ เอ็นดูและความโกรธเคือง บุคคลผู้ปฏิบัติชอบในธรรมย่อมตรัสรู้ได้ส่วนผู้ปฏิบัติผิดย่อ มตกไป ไม่สามารถที่จะบรรลุมรรคผล เปรียบเหมือนบุรุษสั่นต้นมะม่วง หรือต้นชมพู่ผลไม้ ที่มีขั้วมั่นคงย่อมไม่หลุดจากต้น ส่วนผลไม้ที่มีโคนก้านเน่า มีขั้วเปราะบางก็จะร่วงหล่น จากต้นไป หากพระองค์ทรงคานึงถึงความสูญเสียบริษัท ย่อมไม่อาจที่จะยังสัตว์ให้ตรัสรู้ได้ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้สมควรจะตรัสรู้ย่อมตรัสรู้ด้วยอมตธรรม ส่วนบุคคลผู้ไม่สมควรก็ ย่อมตกไปจากอมตธรรม เสฏฐธัมมปัญหา ๑๓๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด เพราะเหตุไร คฤหัสถ์ที่เป็นพระโสดาบันจึงกราบไหว้ภิกษุสามเณรที่ยังเป็นปุถุชนอธิบาย ว่า โลกุตรธรรมเป็นสิ่งประเสริฐสุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ๑๓๙ คฤหัสถ์แม้เป็นพระโสดาบันก็ต้องกราบไหว้ ลุกขึ้นยืนรับภิกษุสามเณรผู้เป็นปุถุชนเพราะ ภิกษุสามเณรประกอบด้วยสมณกรณธรรม ๒๐ ประการ ๑๔๐ และเพศอันอุดม ๒ ประการ ๑๔๑ อีกอย่างหนึ่ง ภูมิของภิกษุเป็นภูมิใหญ่ไพบูลย์ ไม่มีภูมิอื่นเสมอโดยปริยายคฤหัสถ์ผู้ เป็นโสดาบันเมื่อบรรลุพระอรหัตย่อมมีคติ๒ อย่าง คือ


39

(๑) จะต้องปรินิพพาน (๒)จะต้องบวชเป็นภิกษุในวันนั้น ตถาคตัสสอเภชชปริสปัญหา ๑๔๒ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้ามี บริษัทที่ไม่แตกแยกกัน ๑๔๓ เพราะเหตุไร ภิกษุ๕๐๐ รูป จึงถูกพระเทวทัตทาลายคราว เดียวกัน อธิบายว่า พระพุทธเจ้ามีบริษัทที่พร้อมเพรียงกัน ใคร ๆ ไม่สามารถที่จะทาลายได้ ก็ภิกษุ๕๐๐ รูป ถูกพระเทวทัตทาลาย ๑๔๔ โดยการแยกหมู่แยกคณะออกไปต่างหาก เหตุ นั้นเกิดขึ้นด้วยกาลังแห่งเหตุเป็นเครื่องทาลาย เพราะเมื่อเหตุเป็นเครื่องทาลายมีอยู่ ใคร ๆ ก็อาจที่จะถูกทาลายได้ทั้งนั้น แม้มารดาบิดาย่อมแตกกันกับบุตรธิดา หรือบุตรธิดาย่อม แตกกันกับมารดาบิดาได้ แม้พี่ชายน้องชายย่อมแตกกันกับพี่สาวน้องสาว หรือพี่สาว น้องสาวย่อมแตกกันกับพี่ชายน้องชายได้แม้แต่เรือที่ต่อขึ้นด้วยไม้ต่าง ๆ ก็ย่อมแตกกัน ด้วยกาลังแห่งคลื่นทะเลที่ซัดเข้าใส่เพราะฉะนั้น การจะให้บริษัทของพระพุทธเจ้าถูกบุคคล อื่นทาลายนั้น ไม่ใช่ความประสงค์ของวิญญูชน ไม่ใช่การนึกน้อมพระทัยของพระพุทธเจ้า และไม่ใช่ความพอใจของบัณฑิตที่ต้องการจะให้เป็นเช่นนั้น ภิกขุคณอเปกขปัญหา ๑๔๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าไม่ทรงมี พระประสงค์จะเป็นผู้บริหารภิกษุสงฆ์ต่อไป หรือให้ภิกษุสงฆ์ยึดพระองค์เท่านั้นเป็นหลัก ๑๔๖เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสว่า พระศรีอาริยเมตไตรยจักตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าใน อนาคตและจะทรงบริหารสงฆ์หลายพันรูป เหมือนตถาคตทรงบริหารสงฆ์หลายร้อยรูปใน บัดนี้ ๑๔๗ อธิบายว่า พระพุทธเจ้ามิได้ทรงดาเนินแบบอย่างตามบริษัท มีแต่บริษัทที่ดาเนิน รอยตามพระองค์ แม้พระวาจาของพระองค์ที่ตรัสว่าเรา ว่าของเรา ก็เป็นแต่เพียงการ สมมติเท่านั้น เพราะวาจานี้มิใช่เป็นพระวาจาโดยปรมัตถ์พระพุทธองค์ทรงปราศจาก ความรัก ความเยื่อใยโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม แม้พระองค์จะไม่ทรงมีความยึดถือว่าเรา ว่าของเรา แต่ก็ยังทรงมีความยึดเหนี่ยวในสรรพสัตว์ เหมือนแผ่นดินเป็นที่อาศัยอยู่ของ สัตว์ แต่ก็ไม่ได้เพ่งพิจารณาว่าสัตว์เหล่านี้เป็นของเรา เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทรงเป็นที่ พึ่งของสัตว์ทั้งปวงโดยแท้แต่พระองค์ก็ไม่ได้ทรงคานึงว่าสัตว์เหล่านี้เป็นของเรา วัตถุคุยหนิทัสสนปัญหา ๑๔๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง การสารวมกาย วาจาและใจ เป็นการดีการสารวมในที่ทั้งปวงก็เป็นการดี ๑๔๙ เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้า จึงทรงแสดงพระคุยหฐาน คือ อวัยวะอันเร้นอยู่ในฝักแก่เสลพราหมณ์ ๑๕๐ ในท่ามกลาง บริษัท ๔


40

อธิบายว่า บุคคลผู้เกิดความสงสัยในพระพุทธเจ้า พระองค์ก็จะทรงแสดงพระ วรกายที่มีส่วนเปรียบด้วยอวัยวะนั้นด้วยฤทธิ์เพื่อจะให้เขาได้รับรู้และหายสงสัย บุคคลที่ อยู่ในที่นั้น จะไม่มีใครเห็นอวัยวะอันเร้นอยู่ในฝักของพระองค์เสลพราหมณ์เท่านั้นที่ สามารถมองเห็นได้ด้วยพุทธปาฏิหาริย์ที่ทรงแสดงพระฉายด้วยฤทธิ์เปรียบเหมือนบุรุษผู้ เจ็บป่วยบางคนมีญาติมิตรมาแวดล้อมเฝ้าดูอาการ แม้เขาจะได้รับทุกขเวทนาสักเพียงใด แต่ญาติมิตรก็มองไม่เห็นเวทนาของเขา เขาเสวยทุกขเวทนาอยู่แต่เพียงผู้เดียว พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงแสดงอวัยวะที่จะพึงซ่อนเร้นด้วยอวัยวะจริง แต่ทรงแสดงพระฉาย ด้วยฤทธิ์เพื่อเป็นการโปรดเสลพราหมณ์ให้ได้บรรลุธรรม เพราะสัตว์ที่ควรตรัสรู้ จะตรัสรู้ ได้ด้วยอุบายที่พระองค์ทรงประกอบขึ้น ตถาคตผรุสวาจานัตถีติปัญหา ๑๕๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้า เป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ไม่ทรงมีวจีทุจริตที่พระองค์จะต้องรักษาโดยตั้งพระทัยว่า คนอื่น อย่ารู้วจีทุจริตของเรา ๑๕๒ เพราะเหตุไร เมื่อพระองค์ทรงบัญญัติปาราชิก เพราะความผิด ของพระสุทิน จึงทรงร้องเรียกด้วยวาทะว่าโมฆบุรุษ ซึ่งเป็นวาจาหยาบ ๑๕๓ อธิบายว่า การที่พระพุทธเจ้าทรงร้องเรียกพระสุทินด้วยวาทะโมฆบุรุษ พระองค์ ไม่ได้ทรงร้องเรียกด้วยจิตอันโทษประทุษร้าย และไม่ได้ทรงร้องเรียกด้วยเหตุคิดจะข่มหรือ กระทาการอวดอ้างอานาจ แต่ทรงร้องเรียกด้วยลักษณะตามที่ปรากฏเป็นจริง คือ บุคคลผู้ ไม่อาจตรัสรู้อริยสัจ ๔ ในอัตภาพนี้ ความเป็นบุรุษของเขาก็ชื่อว่าเป็นสภาพว่างเปล่า หรือ เขาสนใจที่จะกระทาแต่กิจอย่างอื่นให้สาเร็จ โดยไม่สนใจที่จะนาตนเองให้พ้นจากความ ทุกข์เพราะฉะนั้น กิริยาที่พระพุทธเจ้าทรงกระทาย่อมไม่เป็นกิริยาเสียหาย และเมื่อจะทรง กระทาก็ทรงกระทาด้วยอาการที่เหมาะสม มนุษย์และเทวดาย่อมละอายต่อพระองค์อย่าง ยิ่ง ด้วยการฟังด้วยการเห็น ด้วยการเข้าไปหา และด้วยการนั่งใกล้ที่ยิ่งขึ้นไปกว่าการได้ เห็น วาจาของพระองค์แม้จะหยาบ แต่ก็มีประโยชน์ประกอบด้วยพระกรุณา และยังเป็น เครื่องละกิเลสเหมือนยาที่มีรสเฝื่อนขมบุคคลรับประทานแล้ว ย่อมกาจัดความเจ็บป่วย ของสัตว์ได้ วัณณภณนปัญหา ๑๕๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง เมื่อบุคคลพวกอื่นกล่าวยก ย่องพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ สาวกไม่ควรปลาบปลื้มใจ หรือกระหยิ่มใจ ๑๕๕ เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสว่า เมื่อเสลพราหมณ์สรรเสริญพระองค์ตามความเป็นจริง พระองค์ทรงดีพระทัย และยังตรัสระบุพระคุณของพระองค์ยิ่งขึ้นไปอีก อธิบายว่า เมื่อพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงสภาวะที่มีลักษณะพร้อมทั้งรส ตามความ เป็นจริงที่ไม่คลาดเคลื่อน ที่มีความเป็นของจริงแท้แห่งพระธรรม จึงตรัสก่อนว่า เมื่อ บุคคลอื่นกล่าวยกย่องพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ภิกษุไม่ควรปลาบปลื้มใจ หรือ กระหยิ่มใจและตรัสอีกว่า เมื่อเสลพราหมณ์กล่าวสรรเสริญพระคุณตามความเป็นจริง


41

พระองค์ยังตรัสย้าระบุพุทธคุณแก่เสลพราหมณ์ยิ่งขึ้นไปอีกว่า พระองค์เป็นพระราชาอยู่ แล้ว คือ เป็นพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม ยังจักรที่ไม่มีใคร ๆ หมุนไปได้ ให้หมุนไปได้ ๑๕๖ การที่พระองค์ตรัสอย่างนี้ไม่ได้ตรัสเพราะเหตุแห่งลาภ เพราะเหตุแห่งยศ เพราะเหตุแห่ง ฝักฝ่าย หรือเพราะความเป็นผู้ต้องการอันเตวาสิก แต่ตรัสด้วยความอนุเคราะห์ ด้วยความ กรุณา และด้วยอานาจแห่งประโยชน์เกื้อกูลว่า เสลพราหมณ์และมาณพ ๓๐๐ คน จักตรัสรู้ ธรรมโดยอุบายอย่างนี้ โพธิสัตตัสสธัมมตาปัญหา ๑๕๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระราชมารดา พระราชบิดาของพระโพธิสัตว์แน่นอนแล้ว การตรัสรู้ก็แน่นอน อัครสาวกก็แน่นอน พระ ราชโอรสก็แน่นอนอุปัฏฐากก็แน่นอนเพราะเหตุไรพระโพธิสัตว์จึงทรงเลือกมหาวิโลกนะ ๘ ประการ ๑๕๘ ก่อนที่จะประสูติอธิบายว่า การที่พระโพธิสัตว์ทรงเลือกมหาวิโลกนะ ๘ ประการ ถือว่าเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลจะไปยังสถานที่ ๆ ไม่ เคยไปไม่เคยมา ก็ต้องตรวจดูก่อนแล้วจึงไป หรือบุคคลจะกระทาการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่ง ไม่เคยกระทามาก่อน ก็ต้องพิจารณาก่อนแล้วจึงทา เมื่อพระโพธิสัตว์จะหยั่งลงสู่ตระกูล ก็ ต้องพิจารณาดูก่อนว่า ตระกูลนี้เป็นตระกูลกษัตริย์ หรือเป็นตระกูลพราหมณ์ โลมกัสสปปัญหา ๑๕๙ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง เมื่อครั้งพระพุทธเจ้า เสวยพระชาติเป็นมนุษย์เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ๑๖๐ เพราะเหตุไร เมื่อคราวที่ พระองค์เสวยพระชาติเป็นโลมกัสสปฤาษี ๑๖๑ เห็นนางจันทวดีกัญญา จึงฆ่าสัตว์เป็น จานวนมากเพื่อบูชามหายัญ อธิบายว่า โลมกัสสปฤาษีเป็นผู้มีสัญญาวิปลาส ฆ่าสัตว์เพื่อบูชามหายัญด้วย อานาจแห่งราคะ ไม่ได้มีเจตนาฆ่าสัตว์บูชายัญเป็นปกติก็คนที่ฆ่าสัตว์เป็นปกติมีอยู่๘ จาพวก คือ (๑) คนกาหนัดย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอานาจแห่งราคะ (๒) คนโกรธเคืองย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอานาจแห่งโทสะ (๓) คนหลงย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอานาจแห่งโมหะ (๔) คนถือตัวย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอานาจแห่งมานะ (๕) คนโลภย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอานาจแห่งความโลภะ (๖) คนขาดแคลนทรัพย์ย่อมฆ่าสัตว์เพื่อเลี้ยงชีพ (๗) คนพาลย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอานาจแห่งความไม่รู้ (๘) พระราชาย่อมฆ่าสัตว์ด้วยอานาจแห่งกฎหมาย บาปที่บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่านกระทาแล้ว ย่อมไม่มีโทษมากทั้งในปัจจุบันและในสัมปรายภพ คนบ้าที่กระทาความผิดจะต้องโทษประหารชีวิต โทษนั้นก็จะเหลือเพียงแค่ถูกโบยและถูก


42

เนรเทศเท่านั้น การถูกโบยและถูกเนรเทศ ถือว่าเป็นโทษของคนบ้า เพราะเหตุนั้นคนบ้าที่ กระทาความผิดจึงไม่มีโทษ เป็นผู้ที่ยังพอแก้ไขได้ต่อไป โลมกัสสปฤาษีมีความสาคัญผิด มี จิตฟุ้งซ่านกาหนัดแล้ว พร้อมทั้งได้เห็นนางราชกัญญาชื่อจันทวดีจึงทาให้สามารถฆ่าสัตว์ บูชามหายัญด้วยจิตฟุ้งซ่านและมัวเมา ต่อมาภายหลังโลมกัสสปฤาษีกลับได้สติมีจิตเป็น ปกติตามเดิม จึงออกบวชยังอภิญญาให้เกิด เป็นผู้เข้าสู่พรหมโลกในกาลนั้น ฉัททันตโชติปาลอารัพภปัญหา ๑๖๒ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นพญาช้างชื่อฉัททันต์จับนายพรานช้างด้วยหมายใจว่า เราจักฆ่ามัน พอ เห็นผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นธงชัยแห่งฤาษีทั้งหลาย ทั้ง ๆ ที่ได้รับทุกขเวทนา แต่ก็ยังเกิด สัญญาขึ้นว่าบุคคลผู้ทรงธงชัยแห่งพระอรหันต์ สัตบุรุษไม่ควรฆ่า ๑๖๓ เพราะเหตุไร พระ โพธิสัตว์เมื่อเสวยพระชาติเป็นโชติปาลมาณพ จึงด่าบริภาษพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยวาจาหยาบคาย ๑๖๔ อธิบายว่า การด่าและการบริภาษของโชติปาลมาณพ เกิดขึ้นด้วยอานาจแห่งชาติ และตระกูล เพราะเขาเกิดในตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มารดาบิดาญาติพี่น้องเป็นผู้นับถือพระพรหม พราหมณ์เท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐสูงสุด จึง เกลียดชังบรรพชิต ต่อมาโชติปาลมาณพเข้าไปนับถือพระพุทธเจ้า รู้ทั่วถึงคุณของพระองค์ เป็นราวกะเด็กผู้บวชในพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้า ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้น แล้วเข้าสู่พรหมโลก ภควโตราชปัญหา ๑๖๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าเป็นพราหมณ์ ผู้ควรแก่การขอ ๑๖๖ เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสกะเสลพราหมณ์ว่า พระองค์เป็น พระราชา ๑๖๗ อธิบายว่า ธรรมที่เป็นบาปเป็นอกุศลทั้งปวงพระพุทธเจ้าทรงลอย ทรงละ ทรงเลิก ถอนแล้ว ธรรมเหล่านั้นถึงความฉิบหาย สิ้นไป ดับไป เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้รับ การขนานพระนามว่าพราหมณ์ ก็พราหมณ์ออกจากภพและคติทั้งปวง พ้นจากมลทินและ ละออง เป็นผู้เลิศประเสริฐสุด แม้พระพุทธเจ้าก็ออกจากภพและคติทั้งปวง พ้นจากมลทิน คือกิเลส เป็นผู้ประเสริฐสูงสุด คาว่า พราหมณ์ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พระนามที่พระราช บิดา พระราชมารดา หรือบุคคลอื่นตั้งให้ แต่เป็นพระนามที่มีในที่สุดแห่งวิโมกข์ เพราะ พระนามนั้น ปรากฏเกิดขึ้นพร้อมกับการขจัดมารและเสนาแห่งมาร การบรรลุสัพพัญญุต ญาณที่โคนแห่งไม้โพธิ์ ส่วนบุคคลผู้ให้กระทาความเป็นพระราชาสั่งสอนคนทั้งโลกชื่อว่า พระราชา พระพุทธเจ้าทรงให้กระทาความเป็นพระราชาโดยธรรมในหมื่นโลกธาตุ สั่งสอน โลกกับทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น บัณฑิต จึงขนานพระพระพุทธจ้าว่า พระราชา


43

ทวินนังพุทธานังโลเกอุปปัชชนปัญหา ๑๖๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง เป็นไปไม่ได้ที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงเสด็จอุบัติพร้อมกันในโลกธาตุ เดียวกัน ๑๖๙ อธิบายว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ก็ทรงแสดงธรรมมีในฝักฝ่ายแห่ง ปัญญาเครื่องตรัสรู้๓๗ ประการ ๑๗๐ เมื่อตรัสก็ตรัสอริยสัจ ๔ เมื่อให้ศึกษาก็ให้ศึกษาใน ไตรสิกขา เมื่อพร่าสอนก็พร่าสอนเพื่อการปฏิบัติในความไม่ประมาท หมื่นโลกธาตุนี้ย่อม ทรงพระคุณของพระพุทธเจ้าไว้ได้เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ถ้าพระพุทธเจ้าพระองค์ที่สอง จะพึงเสด็จอุบัติ หมื่นโลกธาตุนี้ก็ไม่อาจจะทรงไว้ได้ พึงขยับเขยื้อน หวั่นไหว เอนไป ทรุด ลงจนไม่สามารถจะทรงอยู่ได้ อนึ่ง ถ้าพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงเสด็จอุบัติใน ขณะเดียวกันความวิวาทจะพึงเกิดขึ้นแก่บริษัทว่า พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระพุทธเจ้า ของพวกเรา จะทาให้บริษัทแตกออกเป็น ๒ ฝ่าย และถ้าพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงเสด็จ อุบัติในคราวเดียวกันก็จะเป็นการขัดแย้งกันกับคาที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้เลิศ เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุด วิเศษที่สุดสูงสุด ไม่มีผู้เสมอเหมือน ไม่มีผู้เปรียบได้ ไม่มีผู้ทัดเทียม เพราะฉะนั้น การที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในโลกพระองค์เดียว จึงเป็นปกติของพระผู้มีพระ ภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะความที่พระคุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นสัพพัญญูเป็นคุณอัน ยิ่งใหญ่ เวสสันตรปัญหา ๑๗๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ พระราชทานพระโอรสและพระเทวีเหมือนกันหมด หรือว่าพระเวสสันดรพระองค์เดียว เท่านั้นที่พระราชทาน และเมื่อจะพระราชทาน ได้พระราชทานโดยความเห็นชอบของ พระโอรสและพระเทวีหรือไม่ อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์พระราชทานพระโอรสและพระเทวีเหมือนกัน หมดทุกพระองค์ ไม่ใช่แต่พระเวสสันดรเท่านั้น และเมื่อพระเวสสันดรพระราชทาน พระ เทวีก็ทรงยินยอมตามพระเวสสันดร ส่วนพระโอรสและพระธิดาทั้งสองคร่าครวญอยู่ เพราะความที่ยังเล็กไม่รู้เดียงสา ถ้าทั้งสองพระองค์จะพึงรู้ว่าเป็นประโยชน์ก็จะอนุโมทนา และจะไม่ทรงคร่าครวญ พระโพธิสัตว์ทรงกระทากิจที่ทาได้ยากอย่างยิ่งอย่างนี้ จึงทาให้ กิตติศัพท์ของพระองค์ฟุ้งขจรไปในหมื่นโลกธาตุ เหล่าเทวดาและมนุษย์ ครุฑ นาค ยักษ์ ต่างสรรเสริญในภพของตนโดยสืบทอดกันมา แต่เมื่อกิตติศัพท์ของพระโพธิสัตว์สืบทอด มาถึงในยุคสมัยของพวกเราในปัจจุบัน พวกเราก็สรรเสริญพระองค์เชิงค่อนขอดว่า การ บริจาคพระโอรสและพระเทวีเป็นสิ่งที่พระโพธิสัตว์ได้พระราชทานโดยชอบ หรือ พระราชทานโดยมิชอบพระโพธิสัตว์เป็นผู้มีปัญญาละเอียด สามารถรู้ได้อย่างแจ่มแจ้ง แสดงให้เห็นถึงคุณธรรม ๑๐ ประการ คือ (๑) ความเป็นผู้ไม่โลภ


44

(๒) ความเป็นผู้ไม่มีอาลัย (๓) การบริจาค (๔) การละกิเลส (๕) ความเป็นผู้ไม่เวียนมาอีก (๖) ความเป็นผู้สุขุม (๗) ความเป็นผู้ใหญ่ (๘) ความเป็นผู้อันบุคคลรู้ตามได้โดยยาก (๙) ความเป็นผู้อันบุคคลได้โดยยาก (๑๐) ความเป็นผู้มีธรรมรู้แล้วหาบุคคลอื่นผู้เช่นกับด้วยพระองค์ไม่ได้บัณฑิตยกย่อง สรรเสริญพระเวสสันดร ที่ทรงบริจาคทานอันยิ่งในหมื่นโลกธาตุซึ่งทาให้พระองค์ตรัสรู้ และเป็นผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลกในกาลบัดนี้ ก็เมื่อบุคคลจะให้ทานควรพิจารณาก่อน แล้วจึงค่อยให้แก่พระทักขิไณยบุคคล แต่ยังมีทานบางอย่างที่จัดว่าไม่เป็นทานในโลกนี้ ๑๗๒ และบุคคลผู้ให้ทานเหล่านี้จักไปสู่อบายภูมิ อีกอย่างหนึ่งพระเวสสันดรทรงสละ พระโอรสและพระธิดาทั้งสองแก่พราหมณ์ ด้วยอาศัยอานาจประโยชน์๒ ประการ คือ (๑) หนทางแห่งทานของเราจักไม่เสื่อมสูญ เมื่อลูกน้อยทั้งสองถึงความลาบากด้วย รากไม้ผลไม้ในป่า พระอัยกาจักทรงเปลื้องเหตุแห่งความลาบากนี้ (๒) พระองค์ทรงทราบดีว่า ไม่มีใครที่จะใช้งานทารกทั้งสองเยี่ยงทาสได้และพระ อัยกาจักทรงไถ่ทารกทั้งสองนี้ไว้ เมื่อเป็นอย่างนั้น พระเวสสันดรก็จักกลับเข้าสู่เมือง ตามเดิม ทุกกรการิกปัญหา ๑๗๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ ทรงกระทากิจที่ทาได้ยากเหมือนกันหมด หรือว่าพระโคดมโพธิสัตว์พระองค์เดียวเท่านั้น ที่ทรงกระทากิจที่ทาได้ยาก อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ไม่มีกิจที่ทรงกระทาได้ยาก พระโคดมโพธิสัตว์ พระองค์เดียวเท่านั้นที่ทรงกระทากิจที่ทาได้ยาก เพราะความมีประมาณต่างกันระหว่าง พระโพธิสัตว์กับพระโพธิสัตว์ย่อมมีโดยเหตุ๔ ประการ คือ (๑) กุลเวมตฺตตา ความมีประมาณต่างกันแห่งตระกูล (๒) ปธานเวมตฺตตา ความมีประมาณต่างกันแห่งการบาเพ็ญเพียร (๓) อายุเวมตฺตตา ความมีประมาณต่างกันแห่งอายุ (๔) ปมาณเวมตฺตตา ความมีประมาณต่างกันแห่งความประมาณ


45

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่มีความมีประมาณต่างกันในเพราะรูป ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ จตุเวสารัชชญาณ ๑๗๔ ทศพลญาณ ๑๗๕ อสาธารณญาณ ๖ ๑๗๖ พุทธญาณ ๑๔ ๑๗๗ และพุทธคุณทั้งสิ้น เพราะทุกพระองค์เป็นผู้เสมอเหมือนกัน โดยพุทธธรรมเหตุที่พระโคดมโพธิสัตว์ต้องบาเพ็ญทุกกรกิริยา ตั้งแต่การเสด็จออก มหาภิเนษกรมณ์จนถึงการอบรมพระญาณให้มีความแก่กล้า โดยที่ไม่ต้องรอให้พระญาณ แก่กล้าก่อนแล้วจึงเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ เพราะทรงพิจารณาเห็นเรือน คือ สตรีเป็น ของวิปริตจึงทาให้เกิดความเดือดร้อนพระทัย อีกทั้งเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารคิดจะมา บรรเทาความไม่สบายพระทัยของพระองค์ว่า ท่านอย่ากระสันขึ้นเลย ในวันที่เจ็ดแต่วันนี้ จักรรัตนะอันเป็นทิพย์จักปรากฏแก่ท่าน คาของเทวดาแทนที่จะบรรเทาความกระสัน วุ่นวายพระทัย กลับทาให้พระองค์สลดพระทัยยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนกองไฟใหญ่ที่กาลังลุก โชนอยู่ ถูกเติมเข้าไปด้วยเชื้อเพลิง คือไม้แห้ง ยิ่งลุกโพลงมากขึ้น เพราะเหตุนั้น พระโคดม โพธิสัตว์จึงทรงกระทากิจที่ทาได้ยาก อนุมานปัญหา ๑๗๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้ามีอยู่จริงหรือ อธิบายว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่จริง แม้คนในปัจจุบันจะไม่เคยเห็นพระองค์หรือ อาจารย์ของคนเหล่านั้นจะไม่เคยเห็น แต่ก็ไม่เป็นเหตุทาให้เชื่อว่าพระพุทธเจ้าไม่มีอยู่จริง เหตุที่ทาให้บุคคลเชื่อแน่ว่าพระองค์มีอยู่จริง เพราะเครื่องพุทธบริโภคทั้งหลายที่พระองค์ผู้ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเคยใช้สอยมีอยู่ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์๕ พละ ๕ โพชฌงค์๗ อริยมรรค ๘ เพราะฉะนั้น โลกพร้อมทั้งเทวโลก จึงเชื่อแน่ว่าพระองค์มีอยู่จริง บุคคลพึงทราบโดยเหตุโดยปัจจัย โดยนัย โดยอนุมานนี้ เปรียบเหมือนปฐมบรมมหากษัตริย์ของราชวงศ์มีอยู่จริง แม้พระมหากษัตริย์ในปัจจุบันจะ ไม่เคยทอดพระเนตร หรือปุโรหิต เสนาบดี อามาตย์ผู้วินิจฉัยจะไม่เคยเห็น แต่ก็ไม่ทาให้ เชื่อว่าปฐมบรมมหากษัตริย์นั้นไม่มีอยู่จริง เพราะเครื่องราชูปโภคของปฐมบรมกษัตริย์ ที่ ทรงเคยใช้สอยยังปรากฏอยู่ คือ เศวตฉัตร มงกุฎ ฉลองพระบาท วาลวีชนี พระขรรค์แก้ว จึงเชื่อแน่ว่าปฐมบรมกษัตริย์นั้นมีอยู่จริง โดยการอนุมานอย่างนี้จากการศึกษาได้พบว่า พระพุทธเจ้ามีอยู่จริง ซึ่งปรากฏตามหลักฐานเป็นเครื่องพิสูจน์หลายอย่าง ตามเหตุการณ์ สถานที่ และบุคคล พระองค์ทรงเป็นบุคคลที่มีลักษณะพิเศษเหนือกว่าบุคคลธรรมดา อัน เกิดจากการบาเพ็ญพระบารมีเป็นเวลาตั้ง ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัลป์จึงทาให้พระองค์มี พระลักษณะไม่เหมือนทั้งพระราชบิดาและพระราชมารดาพระพุทธเจ้าทรงประกาศเผยแผ่ พระพุทธศาสนา เพื่อต้องการยังประโยชน์เกื้อกูลให้เกิดขึ้นแก่ชาวโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์แม้จะถูกบุคคลภายนอกพระพุทธศาสนามุ่งทาลายและทาร้าย ก็ ไม่ทรงท้อพระทัยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนากลับทาให้พระคุณของพระองค์ปรากฏเป็น ที่ประจักษ์แก่มหาชน และเป็นการเพิ่มศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น เมื่อ


46

มหาชนหมดความสงสัยในพุทธจริยา ย่อมเชื่อมั่นในพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และ มหากรุณาคุณ ปุถุชนคนมีปัญญาเบาบางอาจคิดว่าพุทธจริยาบางอย่างไม่สอดคล้องกับสิ่ง ที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้ แต่เมื่อพิจารณาใคร่ครวญด้วยเหตุผลอย่างดีแล้ว ย่อมรู้ว่าเป็น การยังประโยชน์สุขให้เกิดขึ้นกับมหาชนโดยแท้หลักธรรมคาสั่งสอนที่พระองค์ทรงแสดงไว้ เป็นเครื่องยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่จริง ไม่ใช่เป็นเพียงการสมมติเพื่อให้ คนเชื่อเท่านั้น พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ทนต่อการพิสูจน์มาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ปัจจุบันก็ยังมีการพิสูจน์กันอยู่ตลอดเวลา เป็นการพิสูจน์ด้วยการศึกษาเล่าเรียนและการ ปฏิบัติธรรม ผลของการศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติเป็นอย่างไร บุคคลผู้ที่ผ่านวิธีการ ดังกล่าว ก็คงจะได้รับรู้ถึงผลเป็นอย่างดีพระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงแสดงและบัญญัติไว้ ถือว่าเป็นศาสดาของพระพุทธศาสนาแทนพระองค์ ดังที่พระองค์ตรัสกะพระอานนท์ว่า พวกเธออย่าพึงเห็นอย่างนี้ว่า ปาพจน์ ๑๗๙ มีพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว พวกเราไม่มีพระ ศาสดา ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย หลังจากเราล่วงลับไป แล้ว ก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ๑๘๐ นี้เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าพระศาสดายังคง ปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้ ๒.๒ หมวดธรรมของบรรพชิต ๒.๒.๑ หลักธรรมที่เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ สีลปติฏฐานลักขณปัญหา ๑๘๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของศีลอัน เป็นพื้นฐานพระนิพพาน อธิบายว่า ศีลมีลักษณะเป็นที่ตั้งอาศัยแห่งกุศลธรรมทั้งปวง เป็นที่อาศัยแห่ง อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ มรรค สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติพระโยคาวจรดารงอยู่ในศีลแล้ว เจริญอินทรีย์๕ ประการ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาให้เกิดขึ้น จะทาให้กุศลธรรมทั้งปวงไม่เสื่อมสูญ เหมือนพีชคามและภูตคาม ต้องอาศัยแผ่นดินเป็นที่เพาะปลูก จึงจะเจริญงอกงามไพบูลย์ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้น บุคคล ผู้ที่จะเจริญคุณความดีอย่างอื่นให้เกิดขึ้น ก็ต้องรักษาศีลให้เป็นพื้นฐานก่อน แม้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า นรชนผู้มีปัญญาเห็นภัยในสังสารวัฏ ดารงอยู่ในศีลแล้วเจริญจิตและ ปัญญา มีความเพียร มีปัญญาเครื่องบริหารนั้นพึงแก้ความยุ่งนี้ได้ ๑๘๒ สัทธาลักขณปัญหา ๑๘๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของศรัทธา อธิบายว่า ศรัทธามีลักษณะ ๒ ประการคือ (๑) มีลักษณะทาจิตใจให้ผ่องใส (๒) มีลักษณะจูงใจ


47

ศรัทธาที่มีลักษณะทาจิตใจให้ผ่องใส คือ เมื่อเกิดขึ้นย่อมขับไล่นิวรณ์ให้ออกไปทา ให้จิตที่ปราศจากนิวรณ์มีความผ่องใส เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จข้ามลาน้า ทาให้ลา น้าขุ่นมัวมีโคลนตม เมื่อพระองค์ต้องการจะเสวยน้าจึงรับสั่งให้ราชบุรุษนาดวงแก้วมณี สาหรับแช่น้าให้ใสแช่ลงในน้า เมื่อแช่ลงไปสาหร่ายจอกแหน ก็หลีกลอยไป โคลนตมก็จม ลงไปใต้น้า ทาให้น้าผ่องใสไม่ขุ่นมัว บุคคลผู้มีปัญญาควรเห็นว่าจิตเหมือนน้า พระ โยคาวจรเหมือนราชบุรุษ กิเลสเหมือนสาหร่ายจอกแหนและโคลนตม ศรัทธาเหมือนดวง แก้วมณีส่วนศรัทธาที่มีลักษณะจูงใจ เหมือนพระโยคาวจรเห็นจิตของผู้อื่นที่พ้นจากกิเลส ย่อมชักจูงไปในโสดาปัตติผลบ้าง สกทาคามิผลบ้าง อนาคามิผลบ้าง อรหัตผลบ้าง กระทา ความเพียรเพื่อบรรลุธรรมที่ตนยังไม่บรรลุเหมือนมหาเมฆยังฝนให้ตกลงมาบนยอดเขา น้าย่อมไหลลงมารวมกันทาให้แม่น้าเต็มเปี่ยม เมื่อคนมาถึงแม่น้าสายนั้นแล้ว ไม่อาจ ทราบว่าแม่น้าตื้นหรือลึกจึงไม่กล้าที่จะข้าม เมื่อเป็นอย่างนั้น บุรุษคนหนึ่งมาถึงที่นั้น กาหนดเรี่ยวแรงและกาลังของตนว่าสามารถจะข้ามได้ จึงเดินข้ามแม่น้าไป เมื่อคน เหล่านั้นเห็นเขาข้ามไปได้ก็เดินข้ามแม่น้าตามไปด้วย พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในสังยุตตนิกาย ว่า บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยปัญญา ข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท ล่วงทุกข์ได้ด้วย ความเพียร บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ๑๘๔ วิริยลักขณปัญหา ๑๘๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของวิริยะ อธิบายว่า วิริยะมีลักษณะค้าจุนไว้คือ กุศลธรรมที่วิริยะค้าจุนไว้ย่อมไม่เสื่อม หายไป เหมือนเรือนที่จวนจะล้ม บุรุษก็เอาไม้ไปค้าไว้ทาให้เรือนไม่ล้ม หรือเปรียบเหมือน กองทัพใหญ่ยกทัพเข้าตีกองทัพน้อยให้แตกพ่ายไป ต่อมาพระราชาทรงจัดกองทัพอื่น ๆส่ง เป็นกองหนุนเพิ่มเติม เมื่อกองทัพน้อยสมทบเข้ากับกองทัพที่ยกหนุนไป อาจกาชัยตี กองทัพใหญ่ให้แตกพ่ายได้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า อริยสาวกผู้มีความเพียรย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษเจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ๑๘๖ สติลักขณปัญหา ๑๘๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของสติ อธิบายว่า สติมีลักษณะให้นึกได้และมีลักษณะถือไว้ สติที่มีลักษณะให้นึกได้คือ เมื่อสติเกิดขึ้นทาให้นึกถึงธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวทรามและ ประณีต มีส่วนเปรียบด้วยของดาและของขาว และทาให้นึกได้ว่า นี้สติปัฏฐาน ๔นี้ สัมมัปปธาน ๔ นี้อิทธิบาท ๔ นี้อินทรีย์๕ นี้พละ ๕ นี้โพชฌงค์๗ นี้อริยมรรคมีองค์นี้สมถะ นี้วิปัสสนา นี้วิชชา นี้วิมุตติพระโยคาวจรก็จะเลือกเสพธรรมที่ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ไม่ ควรเสพ เลือกคบแต่ธรรมที่ควรคบ ไม่คบธรรมที่ไม่ควรคบ ส่วนสติที่มีลักษณะถือไว้คือ สติเมื่อเกิดขึ้นก็จะค้นหาที่ไปแห่งธรรมที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ทาให้รู้ว่า ธรรมเหล่านี้เป็นประโยชน์ไม่เป็นประโยชน์ หรือเป็นอุปการะ ไม่เป็นอุปการะ พระ โยคาวจรจะกีดกันธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือไว้แต่ธรรมที่เป็นประโยชน์ กีดกันธรรมที่ไม่


48

เป็นอุปการะ ถือไว้แต่ธรรมที่เป็นอุปการะ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เรากล่าวสติว่าจาต้อง ประสงค์ในที่ทุกสถาน ๑๘๘ จิรกตสรณปัญหา ๑๘๙ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลระลึกถึงสิ่งที่ล่วงไป แล้วและสิ่งที่ทาไว้นาน ๆ ด้วยอะไร อธิบายว่า บุคคลระลึกถึงกิจที่ทา หรือคาที่พูดไว้นาน ๆ ได้ และนึกถึงเหตุการณ์ที่ ล่วงแล้วมาปรากฏขึ้นได้ด้วยสติไม่ใช่ด้วยจิต เพราะสติเป็นตัวระลึกนึกถึง ส่วนจิตเป็นแต่ เพียงตัวคิดเท่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลพยายามนึกถึงสิ่งที่เคยกระทาไว้ซึ่งผ่านมานาน แล้วแต่ไม่อาจระลึกได้เพราะในขณะที่กระทาเขาไม่มีสติ แต่ว่าจิตของเขายังคงมีอยู่พร้อม สติอภิชานนปัญหา ๑๙๐ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สติเกิดขึ้นแต่ความรู้เอง หรือมีบุคคลอื่นเตือนสติจึงจะเกิดขึ้น อธิบายว่า สติเกิดขึ้นจากความรู้เองบ้าง เกิดขึ้นเมื่อมีผู้อื่นเตือนบ้าง เพราะถ้าสติ เกิดขึ้นจากความรู้เองเพียงอย่างเดียว ก็จะไม่มีกิจที่ควรกระทาด้วยการงานหรือศิลปวิทยา และอาจารย์ก็จะไม่มีประโยชน์แต่เพราะสติเกิดขึ้นเมื่อมีผู้อื่นเตือน จึงทาให้มีกิจที่ควร กระทาด้วยการงานหรือศิลปวิทยา และทาให้คนยังต้องมีอาจารย์คอยสั่งสอนศิลปวิทยา สติอาการปัญหา ๑๙๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สติเกิดขึ้นด้วยอาการเท่าไร อธิบายว่า สติเกิดขึ้นด้วยอาการ ๑๗ อย่าง คือ (๑) เพราะความรู้ยิ่ง (๒) เพราะมีผู้อื่นกระตุ้นเตือนให้รู้สิ่งที่ทาไปแล้ว (๓) เพราะวิญญาณหยาบ (๔) เพราะวิญญาณที่เกื้อกูล (๕) เพราะวิญญาณที่ไม่เกื้อกูล (๖) เพราะนิมิตที่มีส่วนเหมือนกัน (๗) เพราะนิมิตที่มีส่วนผิดกัน (๘) เพราะการเข้าใจคาพูด (๙) เพราะลักษณะ (๑๐) เพราะการถูกผู้อื่นบอกให้ระลึก (๑๑) เพราะมีวิธีบันทึก (๑๒) เพราะมีวิธีนับ (๑๓) เพราะมีวิธีทรงจา (๑๔) เพราะภาวนา


49

(๑๕) เพราะคานิพนธ์ในคัมภีร์ (๑๖) เพราะการเก็บไว้ (๑๗) เพราะเป็นอารมณ์ที่เคยเสวย สมาธิลักขณปัญหา ๑๙๒ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของสมาธิ อธิบายว่า สมาธิมีลักษณะเป็นประธาน กุศลธรรมทั้งหลายล้วนมีสมาธิเป็น ประธาน น้อมไปในสมาธิเหมือนกลอนของเรือนที่มียอด กลอนเหล่านั้นก็จะน้อมไปหา ยอด มียอดเป็นที่ชุมนุม คนทั้งหลายจึงกล่าวว่ายอดเป็นประธานของกลอน หรือเปรียบ เหมือนพระราชาเสด็จเข้าสู่สงครามพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถและ พลราบ เหล่ากองทัพทั้งหมดย่อมตามเสด็จห้อมล้อมพระราชา มีพระราชาเป็นประธาน พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย จงทาสมาธิให้เกิด เพราะว่าภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิ ย่อมรู้แจ้งตามความเป็นจริง ๑๙๓ ปัญญาลักขณปัญหา ๑๙๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของปัญญา อธิบายว่า ปัญญามีลักษณะตัดให้ขาด และมีลักษณะส่องให้สว่าง ปัญญาที่มี ลักษณะส่องให้สว่าง คือ เมื่อปัญญาเกิดขึ้นย่อมกาจัดความมืด คือ อวิชชา และทาความ สว่างคือ วิชชาให้เกิด ส่องแสง คือ ญาณ ทาอริยสัจให้ปรากฏ พระโยคาวจรก็จะเห็นด้วย ปัญญาอันชอบว่า สิ่งนี้ไม่เที่ยง สิ่งนี้เป็นทุกข์ สิ่งนี้ไม่ใช่ตัวตน เปรียบเหมือนบุรุษถือโคมไฟ เข้าไปในเรือนมืด ไฟก็จะกาจัดความมืด และทาให้เกิดความสว่าง ส่องแสงเข้าไปทาให้รูป ปรากฏ ปัญญานิรุชฌนปัญหา ๑๙๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ความเหมือนกัน ระหว่างญาณกับปัญญา และการดับของปัญญา อธิบายว่า ญาณเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ปัญญาก็เกิดขึ้นแก่ผู้นั้น เพราะญาณกับปัญญาเป็น อันเดียวกัน บุคคลผู้มีญาณหรือปัญญาย่อมหลงในที่บางแห่ง เช่น ในศิลปะที่ตนยังไม่เคย เรียนในทิศที่ตนยังไม่เคยไป ในภาษาที่ตนยังไม่เคยฟัง แต่จะไม่หลงในสิ่งที่ปัญญาได้ กระทาไว้เช่น สิ่งนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพราะเมื่อญาณเกิดขึ้นแล้วโมหะก็จะดับ ไปทันทีเปรียบเหมือนบุรุษส่องไฟเข้าไปในที่มืด ทาให้ความมืดหายไปแสงสว่างปรากฏ ขึ้นมาแทนที่ส่วนปัญญาเมื่อทากิจของตนเสร็จแล้ว ก็จะดับไปในที่นั้นนั่นเอง จะเหลืออยู่ แต่สิ่งที่ปัญญาได้กระทาไว้ซึ่งมิได้ดับไปด้วย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะส่งจดหมายใน กลางคืน จึงจุดไฟแล้วเขียนจดหมาย เมื่อเขียนเสร็จเรียบร้อยก็ดับไฟ แม้ไฟจะดับไปแต่ ข้อความในจดหมายก็มิได้หายไปด้วย


50

ปัญญายปติฏฐานปัญหา ๑๙๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ปัญญาอยู่ที่ไหน อธิบายว่า ปัญญาไม่ปรากฏว่าอยู่ที่ไหน หรือมีรูปร่างอย่างไร แม้ปัญญาจะไม่ ปรากฏที่อยู่ให้เห็น แต่ก็ยังคงมีอยู่เหมือนเดิมไม่ใช่ว่าไม่มี เหมือนลมซึ่งไม่ปรากฏที่อยู่ สุขุมัจเฉทนปัญหา ๑๙๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลอาจตัดสิ่งของที่ ละเอียดทั้งหมดได้หรือไม่ อธิบายว่า แม้สิ่งของที่ละเอียดจะมีอยู่มากมาย แต่ธรรมชื่อว่ามีความละเอียดกว่า สิ่งของทั้งปวง ธรรมมีสภาวะละเอียดและหยาบแตกต่างกันไป บุคคลอาจตัดสิ่งของที่จะพึง ตัดได้ด้วยปัญญา เพราะไม่มีเครื่องตัดที่รองลงมาจากปัญญา มนสิการปัญหา ๑๙๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลจักไม่เกิดอีกเพราะ โยนิโสมนสิการใช่หรือไม่ อธิบายว่า บุคคลจักไม่กลับมาเกิดอีกเพราะโยนิโสมนสิการ ปัญญา และกุศลกรรม เหล่าอื่น โยนิโสมนสิการกับปัญญาเป็นคนละอย่างกันไม่ใช่เป็นอย่างเดียวกัน สัตว์ ทั้งหลายเช่น แพะ แกะ โค กระบือ อูฐ ลา เป็นต้น ย่อมมีมนสิการ แต่ไม่มีปัญญา มนสิการลักขณปัญหา ๑๙๙ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของมนสิการ และลักษณะของปัญญา อธิบายว่า มนสิการมีลักษณะยกขึ้น ปัญญามีลักษณะตัด พระโยคาวจรคุมใจไว้ด้วย มนสิการแล้วตัดกิเลสด้วยปัญญา เปรียบเหมือนชาวนาเมื่อจะเกี่ยวข้าว ก็เอามือขวาจับ เคียวไว้เอามือซ้ายจับกาข้าวแล้วก็ตัดกาข้าวด้วยเคียว มนสิการลักขณปัญหา พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของมนสิการ อธิบายว่า มนสิการมีลักษณะนึก วิญญาณาทินานัตถภาวปัญหา ๒๐๐ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ธรรม ทั้งหลายเหล่านี้ คือ วิญญาณ ปัญญา เจตภูต มีอรรถและพยัญชนะต่างกันหรือเหมือนกัน อธิบายว่า วิญญาณมีอันรู้แจ้งเป็นลักษณะ ปัญญามีอันรู้ทั่วถึงเป็นลักษณะส่วน เจตภูตบัณฑิตค้นหาไม่ได้โดยปรมัตถ์ เพราะฉะนั้น เจตภูตจึงไม่ใช่สิ่งที่เห็นรูปด้วยตาฟัง เสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจ ถ้าเจตภูตเห็นรูปด้วยตา ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ เมื่อทวารทั้งหลายถูกเพิก ถอนหมด ก็จะพึงหันหน้าออกภายนอกอากาศอันกว้างใหญ่เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ ชัดเจนดีขึ้น แต่เจตภูตไม่ได้เป็นอย่างนั้น จึงเข้าไปค้นหาไม่ได้โดย ปรมัตถ์


51

สัตตโพชฌงคปัญหา ๒๐๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่องโพชฌงค์ ๗ ประการ ๒๐๒ อธิบายว่า โพชฌงค์ที่เป็นองค์ตรัสรู้อริยมรรคอริยผล มีอยู่๗ ประการ พระพุทธเจ้า ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อย่างเดียว ส่วนเหตุที่เรียกว่า โพชฌงค์๗ ประการ ก็เพราะเว้นจากธัมมวิจยสัมโพชฌงค์พระองค์จะตรัสรู้ไม่ได้โดยลาพัง โพชฌงค์๖ ประการ เหมือนดาบที่สอดอยู่ในฝัก ถ้าไม่เอามือจับไว้ก็จักไม่อาจตัดสิ่งของให้ ขาด ด้วยเหตุนี้ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์จึงเป็นเหมือนตัวดาบ ส่วนโพชฌงค์๖ ประการ นอกนั้นก็เป็นเหมือนฝักดาบ นานาเอกกิจจกรณปัญหา ๒๐๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ธรรมที่มีลักษณะ ต่างกัน จะยังผลให้สาเร็จเป็นอย่างเดียวกันหรือไม่ อธิบายว่า แม้ธรรมจะมีลักษณะต่างกัน แต่ก็ทาประโยชน์ให้สาเร็จเป็นอันเดียวกัน คือ กาจัดกิเลส เหมือนกองทัพแม้จะประกอบด้วยพลรบที่ต่างกัน มีพลช้าง พลม้า พลรถ พลราบ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน แต่ก็ทาประโยชน์ให้สาเร็จเป็นอย่างเดียวกัน คือ เอาชนะ กองทัพข้าศึกในสงครามสุขเวทนาปัญหา ๒๐๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สุขเวทนา เป็นกุศล อกุศล หรืออัพยากฤต อธิบายว่า สุขเวทนา คือ ความสุขทางกายและความสุขทางใจ เป็นได้ทั้ง ๓ อย่างคือ (๑) เป็นกุศล (๒) เป็นอกุศล (๓) เป็นอัพยากฤต แม้ตามธรรมดากุศลจะเป็นสุข อกุศลจะ เป็นทุกข์ แต่การที่สุขเวทนาเป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง ก็เปรียบเหมือนบุคคลเอาก้อนเหล็กที่ร้อน วางลงในมือข้างขวา แล้วเอาก้อนน้าแข็งที่เย็นวางลงในมือข้างซ้าย จะทาให้บุคคลนั้นรู้สึก ทั้งร้อนทั้งเย็น อย่างไรก็ตาม แม้บุคคลจะมีความรู้สึกทั้งร้อนทั้งเย็น แต่ก็ไม่ทาให้ร้อนทั้ง สองมือหรือเย็นทั้งสองมือพร้อมกัน คือ มือข้างขวาร้อน ส่วนมือข้างซ้ายเย็น สุขเวทนาก็มี ลักษณะอย่างนั้น คือ จะมีความรู้สึกเป็นกุศลอย่างเดียวก็ไม่ใช่ย่อมมีทั้งกุศล อกุศล และอัพ ยากฤต ผัสสลักขณปัญหา ๒๐๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของผัสสะ อธิบายว่า มโนวิญญาณเกิดขึ้นในที่ใด ธรรมเหล่านี้ คือ ผัสสะ เวทนา สัญญาเจตนา วิตก วิจาร ก็เกิดขึ้นในที่นั้น อนึ่ง ธรรมทั้งหมดที่มีผัสสะเป็นประธาน ก็เกิดขึ้นในที่นั้น เหมือนกัน ผัสสะมีลักษณะถูกต้องสัมผัส เหมือนแกะ ๒ ตัว จะชนกัน แกะตัวหนึ่งเป็น เหมือนตา อีกตัวหนึ่งเป็นเหมือนรูป การถูกต้องกันของแกะทั้ง ๒ ตัว คือ ผัสสะ เวทนาลักขณปัญหา ๒๐๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของเวทนา อธิบายว่า เวทนามีลักษณะรู้สึก และมีลักษณะเสวยอารมณ์เปรียบเหมือนบุรุษ กระทาความดีความชอบถวายพระราชา ทาให้พระองค์ทรงพอพระทัยยิ่งนัก จึงได้รับ พระราชทานบาเหน็จ เขาบาเรอตนให้เอิบอิ่มบริบูรณ์ด้วยกามคุณทั้ง ๕ เพราะบาเหน็จนั้น


52

จึงมาใคร่ครวญรู้ว่า เรากระทาความดีความชอบถวายพระราชาในกาลก่อน จนทาให้ พระองค์ทรงยินดีแล้ว พระราชทานบาเหน็จแก่เรา ทาให้เราได้เสวยสุขถึงเพียงนี้ ซึ่งเกิด จากการทาความดีความชอบเป็นเหตุ สัญญาลักขณปัญหา ๒๐๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของสัญญา อธิบายว่า สัญญามีลักษณะกาหนดรู้คือ กาหนดรู้สีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นต้นว่า มีลักษณะสีเป็นอย่างนั้น ๆ เปรียบเหมือนเจ้าพนักงานพระคลังหลวงเข้าไปในพระคลัง หลวง เห็นเครื่องราชูปโภคทั้งหลายที่มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง เป็นต้น ก็กาหนดรู้ได้ เจตนาลักขณปัญหา ๒๐๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของเจตนา อธิบายว่า เจตนามีลักษณะดาริ และมีลักษณะปรุงแต่ง ความจงใจเป็นลักษณะของ เจตนา ที่เป็นเครื่องส่อแสดงว่ามีเจตนาเกิดขึ้น ก็เจตนาเรียกว่า กรรม ดังที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า เรากล่าวเจตนาว่าเป็นตัวกรรม บุคคลคิดแล้ว จึงกระทากรรมด้วยกาย วาจา ใจ ๒๐๙ บุคคลบางคนดาริอกุศลกรรมด้วยเจตนา เมื่อสิ้นชีพแล้วจึงเกิดในอบาย ทุคติวินิบาต นรก แม้บุคคลผู้ศึกษาตามเขา เมื่อสิ้นชีพแล้วก็เกิดในอบายภูมิเหมือนกัน เปรียบเหมือน บุรุษคนหนึ่งปรุงยาพิษแล้วดื่มเองบ้าง ให้คนอื่นดื่มบ้าง เขาก็จะพึงเสวยทุกข์ด้วยตัวเอง แม้ บุคคลอื่นก็เสวยทุกข์เหมือนกัน ส่วนบุคคลบางคนดาริกุศลกรรมด้วยเจตนา เมื่อสิ้นชีพ แล้วจึงเกิดในสุคติโลกสวรรค์ แม้บุคคลผู้ศึกษาตามเขา เมื่อสิ้นชีพแล้วก็เกิดในสุคติโลก สวรรค์เหมือนกันเปรียบเหมือนบุรุษคนหนึ่งปรุงเนยใส เนยข้น น้ามัน น้าผึ้ง น้าอ้อย ให้มี รสกลมกล่อมแล้วดื่มเองบ้าง ให้คนอื่นดื่มบ้าง เขาก็จะพึงเสวยสุขด้วยตัวเอง แม้บุคคลอื่น ก็เสวยสุขเหมือนกัน วิญญาณลักขณปัญหา ๒๑๐ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของวิญญาณ อธิบายว่า วิญญาณมีลักษณะรู้แจ้ง บุคคลผู้เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู สูดดม กลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ย่อมรู้แจ้ง อารมณ์เหล่านั้นได้ด้วยวิญญาณ เปรียบเหมือนคนผู้นั่งอยู่ที่ถนนสี่แพร่ง สามารถที่จะเห็น คนที่มาจากทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศเหนือได้จักขุวิญญาณ มโนวิญญาณปัญหา ๒๑๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ความเกิดขึ้น แห่งจักขุวิญญาณกับมโนวิญญาณ อธิบายว่า จักขุวิญญาณเกิดขึ้นในที่ใด มโนวิญญาณก็เกิดขึ้นในที่นั้น จักขุวิญญาณ จะเกิดขึ้นก่อน มโนวิญญาณเกิดขึ้นในภายหลัง เหตุที่เป็นเช่นนั้นไม่ได้เกิดจากการเจรจา ตกลงกันแห่งวิญญาณทั้งหลาย คือ จักขุวิญญาณไม่ได้สั่งมโนวิญญาณว่า เราเกิดขึ้นในที่ใด ท่านก็จงเกิดขึ้นในที่นั้น และมโนวิญญาณก็ไม่ได้สั่งจักขุวิญญาณว่า ท่านเกิดขึ้นในที่ใด เรา ก็จักเกิดขึ้นในที่นั้นเหมือนกัน แต่เพราะมโนวิญญาณเป็นดุจที่ลุ่ม ดุจประตู เป็นที่เคยชิน และเป็นที่ชานาญ เหมือนฝนเมื่อตกลงมา น้าก็จะไหลไปสู่ที่ลุ่ม เมื่อฝนตกลงมาอีกก็จะ


53

ไหลไปสู่ที่เดิมเพราะน้าคราวก่อนไหลไปทางใด น้าคราวหลังก็จะไหลไปทางนั้น โดยมิได้มี การเจรจาหรือสั่งบังคับกัน วิตักกลักขณปัญหา ๒๑๒ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของวิตก อธิบายว่า วิตกมีลักษณะแนบติดกับจิต เหมือนช่างไม้เข้าหน้าไม้ที่ขัดเกลาเป็น อย่างดี ทาให้หน้าไม้เข้ากันได้แนบสนิท วิจารลักขณปัญหา ๒๑๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลักษณะของวิจาร อธิบายว่า วิจารมีลักษณะตามคลุกเคล้าอารมณ์เหมือนกังสดาลที่ถูกเคาะแล้ว ก็ยัง ครวญครางอยู่วิตกเหมือนการเคาะ ส่วนวิจารเหมือนการครวญคราง เอกภาวคตปัญหา ๒๑๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ธรรมที่อยู่รวมกัน อาจแยก ออกแล้วบัญญัติให้ต่างกันได้หรือไม่ อธิบายว่า ธรรมที่อยู่รวมกัน ไม่อาจแยกออกแล้วบัญญัติให้ต่างกันว่า นี้ผัสสะนี้ เวทนา นี้สัญญา นี้เจตนา นี้วิญญาณ นี้วิตก นี้เป็นวิจาร แต่ธรรมเหล่านั้นก็ปรากฏชัดตาม ลักษณะของตัวเอง เปรียบเหมือนพ่อครัวปรุงอาหารใส่เครื่องปรุง มีเกลือ ขิง ผักชี พริกและ เครื่องปรุงอื่น ๆ เมื่อปรุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ไม่อาจแยกรสที่ปรุงเข้าด้วยกันออกมาได้ เช่น รสเปรี้ยว รสเค็ม รสขม รสเผ็ด รสหวาน และรสอื่น ๆ แต่รสของเครื่องปรุงก็ยังปรากฏ ชัดตามลักษณะของตัวเองเหมือนเดิม นาคเสนปัญหา ๒๑๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง เกลือเป็นสิ่งที่พึงรู้ได้ด้วยจักขุ วิญญาณหรือไม่ อธิบายว่า เกลือไม่อาจรู้ได้ด้วยจักขุวิญญาณ แต่รู้ได้ด้วยลิ้นเพียงอย่างเดียว การที่ โคต้องบรรทุกน้าหนักเกลือมาด้วยเกวียน โดยที่ไม่นาเอาแต่เกลือเพียงอย่างเดียวมา เพราะเกลือกับน้าหนักรวมเป็นอันเดียวกัน ต่างกันโดยความเป็นอารมณ์ และคนก็ไม่อาจ ชั่งเกลือด้วยตาชั่งได้ ชั่งได้แต่น้าหนักเท่านั้นเอง การศึกษาพบว่า ในมิลินทปัญหามีหลักธรรมที่สาคัญปรากฏอยู่เป็นจานวนมาก จึง รวบรวมหลักธรรมที่เป็นพื้นฐานของการปฏิบัติมารวมไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน ธรรมที่เป็น พื้นฐานของของการปฏิบัติ ได้แก่ศีลความสารวมกายวาจาให้เรียบร้อย เพราะศีลจะเป็น บันไดให้ก้าวขึ้นไปสู่คุณธรรมขั้นสูง ๆ ขึ้นไปตามลาดับ ถ้าปราศจากศีลก็ไม่สามารถยกตน ขึ้นสู่คุณธรรมเบื้องสูงได้ หรือถ้าก้าวขึ้นได้ก็จะกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิเปรียบเหมือนโจรที่ทา การปล้นฆ่าชาวบ้าน แสดงถึงความเป็นผู้ไม่มีศีล แต่โจรมีสมาธิมีใจจดจ่อในการปล้นและ ปัญญาคิดหาวิธีการในการปล้นให้สาเร็จ ซึ่งล้วนแต่เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้นพระนาคเสน อธิบายหมวดธรรมในมิลินทปัญหา คือ พละ ๕ ๒๑๖ หรืออินทรีย์๕ซึ่งประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สติ สมาธิปัญญา เป็นธรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกันการปฏิบัติธรรม


54

เป็นเหตุนามาซึ่งความสุขแก่ผู้ปฏิบัติโดยตรง แต่ถ้าปฏิบัติโดยขาดการพิจารณาให้ รอบคอบ จะเป็นการปฏิบัติธรรมที่ไม่สมควรแก่ธรรม แทนที่จะเป็นคุณก็กลายเป็นโทษได้ เพราะฉะนั้น ศรัทธากับปัญญาต้องปรับให้เสมอกัน ผู้มีศรัทธามากแต่มีปัญญาน้อยก็จะมี ความเลื่อมใสอย่างงมงาย ไม่เลื่อมใสอย่างแน่วแน่ และเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องส่วนผู้มี ปัญญามากแต่มีศรัทธาน้อย ก็จะโน้มไปทางฝ่ายเกเรโอ้อวด ไม่สามารถจะแก้ไขได้เหมือน โรคที่เกิดขึ้นจากยายากที่จะรักษาให้หาย แต่เพราะศรัทธากับปัญญาสม่าเสมอกันจึงทาให้ เลื่อมใสในสิ่งที่ถูกต้องเสมอ สมาธิกับวิริยะก็ต้องปรับให้เสมอกัน ผู้มีสมาธิมากแต่มีวิริยะ น้อยจะถูกความเกียจคร้านครอบงาเพราะสมาธิเป็นฝักฝ่ายของความเกียจคร้าน ส่วนผู้มี วิริยะมากแต่มีสมาธิน้อยจะถูกความฟุ้งซ่านครอบงา เพราะวิริยะเป็นฝักฝ่ายของอุทธัจจะ แต่ถ้าสมาธิที่ประกอบเข้ากับวิริยะแล้วจะไม่ตกไปในความเกียจคร้าน วิริยะที่ประกอบเข้า กับเข้ากับสมาธิแล้วก็จะไม่ตกไปในอุทธัจจะ ส่วนสติฝึกให้มีมีกาลังมากเท่าไรยิ่งเป็นการดี เพราะสติรักษากุศลจิตไม่ให้ตกไปในนิวรณ์ ๒๑๗ จึงเป็นสิ่งจาปรารถนาในกิจทุกอย่าง เหมือนเกลือป่นจาต้องปรารถนาในกับข้าวทุกชนิด จิตมีสติเป็นเครื่องเตือนให้ระลึก และ สติมีการอารักขาเป็นอาการปรากฏ การยกจิตและการข่มจิตถ้าเว้นจากสติแล้วย่อมทา ไม่ได้ ๒.๒.๒ หลักปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอริยบุคคล ปัพพัชชาปัญหา ๒๑๘ พระนาคเสน ตอบคาถามเรื่อง ประโยชน์ของการบวช อธิบายว่า การบวชมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะเป็นวิธีการดับความทุกข์ที่มีอยู่และ ความทุกข์อย่างอื่นก็จะไม่เกิดขึ้น คุณของการบวชที่พึงประสงค์คือ การบรรลุอนุปาทาน นิพพาน (การดับหมดเชื้อ ) ลักษณะของคนบวชก็มีหลายประเภท บางพวกบวชเพื่อจะหนี พระเจ้าแผ่นดิน หรือหนีโจร บางพวกบวชตามพระราชานุมัติบางพวกบวชเพื่อหลบหนี้สิน บางพวกบวชเพื่อจะอาศัยเลี้ยงชีพ บางพวกบวชเพราะกลัวภัย แต่บางพวกบวชเพื่อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบด้วยมุ่งหวังประโยชน์ดังกล่าว ปฏิกัจเจววายามกรณปัญหา ๒๑๙ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สาเหตุที่คน พยายามทาความทุกข์ให้หมดสิ้นไป และไม่ให้ทุกข์อื่นเกิดขึ้น โดยไม่ยอมให้ความทุกข์ เกิดขึ้นก่อนจึงจะพยายามทีหลัง อธิบายว่า เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นแล้ว บุคคลพยายามหาหนทางดับทุกข์ แม้จะ พยายามก็ไม่สามารถทากิจของตนให้สาเร็จได้ส่วนผู้ที่พยายามไว้ล่วงหน้า ก่อนความทุกข์ จะเกิดขึ้น จะสามารถทากิจของตนให้สาเร็จได้ตามความปรารถนา เปรียบเหมือน พระราชาทรงกระหายน้าจึงตรัสสั่งให้ขุดบ่อน้าในเวลานั้น จะไม่ทาให้สามารถเสวยน้าได้


55

ตามพระราชประสงค์ พระองค์ควรตรัสสั่งให้ขุดบ่อน้าไว้ล่วงหน้า ก่อนที่จะทรงหิวกระหาย จึงจะทาให้ได้เสวยน้าตามพระราชประสงค์ ธัมมทิฏฐปัญหา ๒๒๐ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง การได้เห็นธรรม อธิบายว่า พุทธสาวกต้องประพฤติตามแบบแผน และพระบัญญัติของพระพุทธเจ้า จนกว่าจะสิ้นชีวิต กายอัปปิยปัญหา ๒๒๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ร่างกายเป็นที่รักของ บรรพชิตหรือไม่ อธิบายว่า ร่างกายย่อมไม่เป็นที่รักของบรรพชิต แต่เหตุที่บรรพชิตต้องบารุงรักษา ร่างกาย ก็เพื่อสะดวกต่อการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกระทากิจที่เป็นประโยชน์สุขต่อ ส่วนรวม เปรียบเหมือนทหารถูกอาวุธของข้าศึกในสงคราม จาเป็นต้องใส่ยา ทาแผล หรือ พันแผลไว้ การที่ต้องรักษาแผลให้หาย มิใช่เพราะแผลเป็นที่รักของทหาร แต่เพื่อให้เนื้อ งอกขึ้นมาดังเดิม แผลจะได้หายจากอาการบาดเจ็บ จะได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อไป พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ว่า กายนี้มีทวารเก้า มีแผลใหญ่ มีหนังสดปกปิดไว้ ไม่สะอาดมีกลิ่น เหม็น คายของโสโครกออกมาโดยรอบ ๒๒๒ รสปฏิสังเวทีปัญหา ๒๒๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง คนที่ยังมีราคะกับคนที่ ไม่มีราคะ ต่างกันอย่างไร อธิบายว่า คนที่มีราคะอยู่ยังมีความต้องการ ส่วนคนที่ไม่มีราคะจะไม่มีความ ต้องการ บุคคลทั้งสองชอบบริโภคอาหารที่ดีมีรสอร่อยเหมือนกัน แต่ก็ยังมีข้อแตกต่างกัน คือ คนที่มีราคะย่อมรู้สึกในรส และรู้สึกติดใจในรส ส่วนคนที่ไม่มีราคะจะรู้สึกในรสเท่านั้น แต่ไม่รู้สึกติดใจในรส อัคคานัคคสมณปัญหา ๒๒๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลชื่อว่าเป็น สมณะเพราะความที่อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ๒๒๕ เพราะเหตุไร บัณฑิตจึงกล่าวว่า บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ๒๒๖ เป็นสมณะแท้ในโลก อธิบายว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า บัณฑิตกล่าวคนผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นสมณะแท้ในโลก เป็นการตรัสด้วยอานาจแห่งคุณของบุคคลเหล่านั้น ส่วนคาที่ว่า บุคคลชื่อว่าเป็นสมณะเพราะความที่อาสวะทั้งหลายสิ้นไป เป็นคากล่าวโดยไม่มีส่วนเหลือ คือ กล่าวโดยส่วนสุด พระองค์ทรงคัดสรรบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อความเข้าไประงับกิเลส และ ตรัสเรียกสมณะผู้สิ้นอาสวะแล้วว่าเป็นยอดแห่งสมณะ เหมือนบรรดาดอกไม้ที่เกิดในน้า และเกิดบนบก มหาชนย่อมกล่าวดอกมะลิว่าเป็นยอดแห่งดอกไม้ สันถวปัญหา ๒๒๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ภัยเกิดจากความเชยชิด ธุลีคือ ราคะ โทสะ โมหะ เกิดจากอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลส ความไม่มีกิเลส ไม่มีความเชยชิด


56

นั้นแล เป็นลักษณะของมุนี ๒๒๘ เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ผู้ฉลาดเมื่อเห็น ประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ถวายภิกษุผู้พหูสูตให้อยู่ในที่นี้เถิด ๒๒๙ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงภัยที่เกิดจากความเชยชิด และความเศร้าหมองใจ ที่เกิดจากธุลี คือ ราคะ โทสะ โมหะ พระพุทธพจน์นี้เหมาะสมแก่สมณะโดยนิปริยาย เป็น คากล่าวโดยไม่มีส่วนเหลือ เป็นปฏิปทาของสมณะโดยแท้ แต่ที่พระองค์ทรงอนุญาตให้ สร้างวิหารอันรื่นรมย์ถวายภิกษุได้เพราะทรงพิจารณาเห็นประโยชน์๒ ประการ คือ (๑) พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญวิหารทาน ทายกถวายวิหารแล้วย่อมพ้นจากความ เกิด ความแก่ และความตาย (๒) ภิกษุณีจักอยู่ในที่ ๆ กาหนดไว้ให้ทาให้ง่ายสาหรับบุคคลผู้มาพบ อนิเกตานาลยกรณปัญหา พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ความไม่ติดที่อยู่ และ ความไม่มีอาลัย เป็นลักษณะของมุนี เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสว่า ผู้ฉลาดเมื่อเห็น ประโยชน์ของตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ถวายภิกษุผู้พหูสูตให้อยู่ในที่นี้เถิด อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงความไม่ติดในที่อยู่ และความไม่มีอาลัยเป็น ลักษณะของมุนีซึ่งเป็นคาแสดงโดยสภาวะของภิกษุ เป็นคากล่าวเหตุโดยไม่มีส่วนเหลือ เป็นคาสมควรแก่สมณะ เหมือนเนื้อที่อยู่ในป่าไม่มีความอาลัยที่อยู่ ไม่ติดที่อยู่ ย่อมเที่ยว ไปได้ตามความปรารถนา แต่ที่พระองค์ทรงอนุญาตให้สร้างวิหารอันรื่นรมย์ถวายภิกษุได้ เพราะทรงพิจารณาเห็นประโยชน์๒ ประการ คือ (๑) พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญวิหารทาน ทายกถวายวิหารแล้วย่อมพ้นจากความ เกิด ความแก่ และความตาย (๒) ภิกษุจักเป็นผู้ปรากฏอยู่ เมื่อคนต้องการมาพบก็จะพบได้ง่าย ขีณาสวอภายนปัญหา ๒๓๐ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระอรหันต์เป็นผู้ปราศจาก ความกลัวและความสะดุ้งหวาดหวั่น เพราะเหตุไร พระขีณาสพ ๕๐๐ องค์ เมื่อเห็นช้างธน ปาลกะวิ่งเข้ามาใกล้พระพุทธเจ้าจึงละทิ้งพระองค์เว้นไว้แต่พระอานนท์องค์เดียวเท่านั้น ๒๓๑ อธิบายว่า การที่พระอรหันต์๕๐๐ องค์หลีกไปจากพระพุทธเจ้า ไม่ได้เป็นเพราะ ความกลัว หรือเพราะต้องการที่จะให้พระพุทธเจ้าทรงล้มลง แต่พระอรหันต์มีความปริวิตก ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐเสด็จเข้าไปสู่เมือง ช้างชื่อธนปาลกะจัก ประทุษร้ายพระองค์ที่ถนน พระอานนท์เถระผู้เป็นพุทธุปัฏฐากจักไม่ละทิ้งพระองค์อย่าง แน่นอนถ้าพระอรหันต์ไม่หลีกไปจากพระองค์ คุณของพระอานนท์ก็จักไม่ปรากฏ อีกทั้ง ช้างก็จักไม่วิ่งเข้าไปใกล้พระองค์แน่นอน พระอรหันต์เป็นผู้เลิกถอนเหตุแห่งความกลัว


57

หรือความสะดุ้งหวาดหวั่นได้เด็ดขาด จึงไม่มีความหวาดกลัวอะไร ๆ เหมือนแผ่นดินใหญ่ เมื่อถูกขุดทาลายอยู่ก็ไม่มีความกลัว หรือความสะดุ้งหวาดหวั่น ปฏิปทาโทสปัญหา ๒๓๒ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระโพธิสัตว์ทรงบาเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างมาก แต่กลับไม่ได้ ความยินดีแม้เพียงเล็กน้อย ทาให้ทรงเบื่อหน่าย ต่อมาพระองค์ทรงบรรลุพระสัพพัญญุต ญาณด้วยมรรคอย่างอื่น เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงพร่าสอนพระสาวกด้วยปฏิปทานั้น อีกว่า ท่านทั้งหลายจงพากเพียร บากบั่น ขวนขวายในคาสอนของพระพุทธเจ้า กาจัดเสนา ของพญามัจจุราชเสีย เหมือนกุญชรทาลายเรือนไม้อ้อ ๒๓๓ อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทรงดาเนินตามปฏิปทา ที่มีอยู่ในอดีตและปัจจุบันจนบรรลุ พระสัพพัญญุตญาณ ในคราวแรกพระองค์ทรงบาเพ็ญเพียรมากเกินไป ไม่เสวยพระกระยา หาร ทาให้จิตมีกาลังอ่อนกระสับกระส่ายไม่เป็นเอกัคตารมณ์จึงไม่ทรงบรรลุพระ สัพพัญญุตญาณ การไม่บรรลุสัพพัญญุตญาณในคราวนั้น ไม่ใช่โทษของความเพียรเป็น เหตุริเริ่ม หรือความเพียรเป็นเหตุก้าวหน้า อีกทั้งไม่ใช่โทษของการผจญกิเลส แต่เป็นโทษ ของการอดพระกระยาหารเท่านั้น เมื่อพระองค์เสวยพระกระยาหารแต่พอประมาณ จึงทรง บรรลุพระสัพพัญญุตญาณด้วยปฏิปทานั้น เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกลด้วยความเร็ว เกินไป จึงทาให้เขาชาไปครึ่งตัว หรือกลายเป็นคนปลกเปลี้ย เดินทางต่อไปไม่ได้เหตุที่เขา ต้องเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่โทษของมหาปฐวี แต่เป็นโทษของความพยายามที่มากจนเกินไป นิปปปัญจปัญหา ๒๓๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าตรัสสอนภิกษุ ให้เป็นผู้มีความยินดีใน นิปปปัญจธรรม ๒๓๕ เพราะเหตุไร ภิกษุจึงแสดงและไต่ถาม นวังคสัตถุศาสน์ ๒๓๖ และกังวลอยู่ด้วยนวกรรมมีการให้และการบูชา เป็นต้น อธิบายว่า ภิกษุผู้แสดงและไต่ถามนวังคสัตถุศาสน์ และผู้ที่กังวลอยู่ด้วยนวกรรม คือ การ ให้และการบูชา ชื่อว่าเป็นผู้กระทาความเพียรเพื่อถึงนิปปปัญจธรรมท่านเหล่านั้นเป็นผู้ บริสุทธิ์แล้วโดยสภาพ มีวาสนาอบรมมาแล้ว สามารถทา ให้นิปปปัญจธรรมเกิดขึ้นได้โดย ขณะแห่งจิตดวงเดียว ส่วนภิกษุผู้มีธุลีคือกิเลสในนัยน์ตาย่อมเป็นผู้มีนิปปปัญจธรรมด้วย ความเพียรพยายาม เพราะเหตุนั้น อุทเทส ปริปุจฉา และนวกรรม เป็นสิ่งมีอุปการะมากใน กิจที่ตนควรกระทา เปรียบเหมือนบุรุษผู้จะเข้ารับราชการปฏิบัติราชกิจอยู่กับพวกราช บุรุษ คือ อามาตย์ราชภัฏ เมื่อกิจที่ตนควรกระทายังไม่เกิดขึ้นราชบุรุษย่อมชื่อว่าเป็นผู้มี อุปการะมากแก่เขา คิหีอรหัตตปัญหา ๒๓๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง คฤหัสถ์เมื่อบรรลุพระ อรหันต์แล้ว เพราะเหตุไร ท่านจึงต้องบวชในวันนั้น อธิบายว่า คฤหัสถ์ผู้บรรลุพระอรหันต์ มีคติ๒ อย่าง คือ


58

(๑) จะต้องบวชในวันนั้น (๒) ถ้าไม่สามารถบวชได้ก็จะต้องปรินิพพานในวันนั้น คฤหัสถ์ผู้บรรลุพระอรหันต์จาเป็นจะต้องบวชในวันนั้น เพราะเพศแห่งคฤหัสถ์ไม่ เสมอกับคุณธรรม คือ บรรลุพระอรหันต์ในเพศที่ไม่เสมอกับคุณธรรมที่ตนบรรลุการที่ คฤหัสถ์ผู้บรรลุพระอรหันต์จะต้องปรินิพพาน ไม่ใช่โทษของความเป็นพระอรหันต์ แต่เป็น โทษที่มีเพศเป็นคฤหัสถ์เพราะเพศคฤหัสถ์มีสภาพทุรพล ไม่สามารถจะทรงคุณธรรมชั้นสูง ไว้ได้ จึงต้องปรินิพพานในวันนั้น เหมือนโภชนะที่เป็นสิ่งหล่อเลี้ยงอายุและรักษาชีวิตของ สัตว์ย่อมเผาผลาญชีวิตของบุคคลผู้มีกระเพาะอาหารไม่ปกติมีกาลังน้อยและอ่อนกาลังซึ่ง ไม่สามารถย่อยอาหารได้ คิหิปัพพชิตปฏิปันนวัณณปัญหา ๒๓๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญสัมมาปฏิบัติของคฤหัสถ์และบรรพชิตว่า สามารถบรรลุมรรค ผลได้เหมือนกัน ๒๓๙ เพราะเหตุไร บุคคลจึงไม่อยู่ครองเรือนปฏิบัติธรรม แทนการออก บวชเป็นบรรพชิตแล้วปฏิบัติธรรม อธิบายว่า คฤหัสถ์บริโภคกามอยู่ มีบุตรและภริยา ทัดทรงของหอมและเครื่องลูบไล้ ประดับเครื่องอาภรณ์ด้วยแก้วมณีและทองคา มีความยินดีเงินและทอง หากปฏิบัติชอบก็ ยังญายกุศลธรรม ๒๔๐ ให้บริบูรณ์ได้ ส่วนบรรพชิตปลงผมและหนวด นุ่งผ้าที่ย้อมด้วยน้า ฝาดอาศัยบิณฑบาตเลี้ยงชีพ สมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบท ประพฤติอยู่ในธุดงค์คุณ ปฏิบัติชอบแล้วย่อมยังญายกุศลธรรมให้บริบูรณ์ได้บรรพชิตมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ความ เป็นอิสระความเป็นใหญ่กว่าธรรมดาสามัญ บรรพชาก็มีคุณมากหาประมาณมิได้เมื่อ บรรพชิตต้องการกระทากิจก็สาเร็จโดยฉับพลัน เพราะท่านมีความปรารถนาน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลีกับหมู่คณะ ปรารภความเพียร ไม่มีความอาลัย ไม่มีเรือนเป็นที่กาหนด มีศีล บริบูรณ์ มีอาจาระเป็นไปเพื่อสัลเลขธรรม เป็นผู้ฉลาดในการปฏิบัติกาจัดกิเลส ดุจลูกศรที่ ไม่มีปม เรียบตรงขัดดีแล้ว ปราศจากมลทิน ที่บุคคลยิงอย่างถนัด ย่อมพุ่งไปได้ไกล อรหโตกายิกเจตสิกเวทนาปัญหา ๒๔๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระ อรหันต์เสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ หรือว่าพระอรหันต์ไม่เป็น ใหญ่ไม่เป็นเจ้าของจิตที่อาศัยอยู่ในกาย และไม่สามารถยังอานาจให้เป็นไปในกาย อธิบายว่า ข้อที่พระอรหันต์ไม่เป็นใหญ่ไม่เป็นเจ้าของ และไม่เป็นผู้ยังอานาจให้ เป็นไปในกายซึ่งคล้อยตามจิต ย่อมไม่ถูกต้อง แม้นกที่อาศัยอยู่ในรังย่อมเป็นใหญ่เป็น เจ้าของ และเป็นผู้ยังอานาจให้เป็นไปในรังนั้น ก็ธรรม ๑๐ ประการ ๒๔๒ ย่อมครอบงา กายไปทุกภพทุกชาติพระอรหันต์ไม่สามารถเป็นใหญ่เหนือธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้ แม้ จิตของพระอรหันต์จะอาศัยกาย แต่อานาจหรือความเป็นใหญ่ก็ไม่ได้เป็นไปในกาย


59

เหมือนสัตว์ที่อาศัยอยู่บนแผ่นดิน แต่อานาจหรือความเป็นใหญ่ของสัตว์ก็ไม่ได้แผ่ไปใน แผ่นดินพระอรหันต์จึงเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ เพราะท่านได้ อบรมจิตมาเป็นอย่างดี เมื่อถูกทุกขเวทนาถูกต้อง ก็พิจารณาว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง นาจิตไปผูก ไว้ที่เสาคือสมาธิ ทาให้จิตไม่หวั่นไหว ไม่กระสับกระส่าย เป็นจิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน แต่กาย ของท่านย่อมคู้เข้า เหยียดออก เพราะความแผ่ซ่านแห่งเวทนาวิการ ขีณาสวกายิกเวทนานานากรณปัญหา ๒๔๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง เมื่อ กายของบุคคลเคลื่อนไหว แต่จิตกลับไม่หวั่นไหวตาม เป็นสิ่งอัศจรรย์ในโลก อธิบายว่า พระอรหันต์ถูกทุกขเวทนาถูกต้องย่อมกาหนดว่า เป็นสิ่งไม่แน่นอนนา จิตไปผูกไว้ที่เสาคือสมาธิทาให้จิตไม่หวั่นไหว เป็นจิตตั้งมั่น ไม่ซัดส่ายไปในที่อื่น แม้กาย ของพระอรหันต์จะคู้เข้า เหยียดออก หรือเกลือกกลิ้งไปมา เพราะความแผ่ซ่านแห่งเวทนา วิการ แต่จิตก็มั่นคงไม่กระสับกระส่าย เหมือนต้นไม้ใหญ่ที่มีลาต้น กิ่ง และใบ เมื่อถูกลม พัดกิ่งและใบย่อมปลิวไหวไปตามลม แต่ลาต้นกลับไม่เอนไหวไปตามลม ธุตังคปัญหา ๒๔๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ประโยชน์ของการถือธุดงค์ อธิบายว่า ถ้าคฤหัสถ์สามารถตรัสรู้ธรรมได้เหมือนกัน ธุดงค์คุณก็จะไม่มีผลใหญ่ ไพศาล หรือไม่ทาประโยชน์ให้สาเร็จ เพราะธุดงค์เหล่านี้ไม่ได้กระทาหน้าที่ของตน ธุดงค คุณเหล่านี้ มีคุณปรากฏตามความเป็นจริง ประกอบด้วยคุณหลายประการ พระพุทธเจ้า ทั้งหลายจึงทรงรักใคร่และปรารถนา บุคคลผู้ส้องเสพธุดงค์คุณโดยชอบ ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ด้วยคุณหลายอย่าง ธุดงค์คุณจึงเป็นสิ่งเสมอด้วยแผ่นดิน เพราะเป็นที่ตั้งอาศัยแห่งบุคคล ผู้ปรารถนาความหมดจดพิเศษ เสมอเหมือนบิดามารดา เพราะเป็นผู้ให้สรรพสามัญคุณ ทั้งหลายเกิดและเป็นผู้อนุเคราะห์แห่งบุคคลผู้มีความทุกข์ คือ กิเลสเบียดเบียน บุคคล ผู้ทาตนให้บริสุทธิ์ด้วยธุดงค์๑๓ ประการ เข้าไปสู่มหาสมุทร คือ พระนิพพานแล้วย่อมเล่น ธรรมมีอย่างมาก ย่อมใช้สมาบัติทั้ง ๘ ประการ คือ รูปสมาบัติ๔ อรูปสมาบัติ ๔ ประกอบด้วยฤทธิ์มีอย่างต่างๆ มีทิพยโสตธาตุ ปรจิตตวิชชา บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทิพยจักษุความสิ้นไปแห่งอาสวะนวังคสัตถุศาสน์โลกุตรกิริยา และสมาบัติอันไพบูลย์ ประเสริฐที่ได้บรรลุ คุณเหล่านั้นทั้งหมด ประชุมรวมลงในธุดงค์คุณ ๑๓ ประการ ๒๔๕ การศึกษาได้พบว่า การปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอริยบุคคล เป็นวิธีการที่จะเข้าถึง เป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นการพัฒนาตัวเองให้หลุดพ้นจากกิเลส บรรพชิต และคฤหัสถ์เมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สามารถเป็นพระอริยบุคคล บรรลุมรรคผลได้ เหมือนกันพระอริยบุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา มีอยู่๒ ประเภท ๒๔๖ คือ (๑) พระเสขบุคคลพระผู้ยังต้องศึกษาเพื่อบรรลุคุณธรรมชั้นสูงขึ้นไป (๒) พระอเสขบุคคล พระผู้ไม่ต้องศึกษาเพราะเสร็จกิจเรียบร้อยแล้ว


60

การบวชเป็นวิธีการอย่างหนึ่ง ที่จะพัฒนาตนให้เป็นพระอริยบุคคลได้รวดเร็วและมั่นคง เพราะต้องอาศัยจิตใจที่แน่วแน่จึงจะสามารถนาตนให้พ้นความทุกข์ และบาเพ็ญประโยชน์ แก่คนหมู่มากได้อย่างดีบรรพชิตเป็นผู้ไม่มีความกังวลด้วยปัจจัยเครื่องอาศัยในการดารง ชีพ จึงสามารถทากิจของตนให้สาเร็จได้รวดเร็ว ส่วนคฤหัสถ์ต้องกังวลกับการแสวงหา ปัจจัยเครื่องเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นข้อจากัดในการบรรลุคุณธรรมชั้นสูง ๆ ขึ้นไป แม้เมื่อบรรลุ เป็นพระอรหันต์ก็ต้องบวชในวันนั้น เพราะเพศคฤหัสถ์ไม่สามารถที่จะรองรับคุณธรรมขั้น สูงสุดได้ ซึ่งต่างจากเพศบรรพชิตที่เป็นอุดมเพศอย่างไรก็ตาม แม้บุคคลจะบรรลุเป็นพระ อรหันต์แล้ว แต่ก็ไม่สามารถดับทุกขเวทนาทางกายได้ ดับได้เฉพาะทุกขเวทนาทางใจ เท่านั้น เพราะพระอรหันต์ไม่มีอานาจบังคับบัญชาร่างกายให้อยู่ในอานาจของตน แม้ กรรมที่เคยกระทาไว้ในอดีตก็ยังติดตามให้ผลอยู่ตลอดเวลา ๒.๒.๓ วิสัชนาข้อสงสัยในพระธรรมวินัย สัพพัญญูภาวปัญหา ๒๔๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าเป็น สัพพัญญูคือ ผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทให้เสร็จ พร้อมกันทีเดียว อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นสัพพัญญูผู้รู้แจ้งเห็นจริงในทุกสิ่งทุกอย่าง พระองค์ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกไปตามลาดับขั้นตอน ต่อเมื่อมีผู้กระทาความผิดเกิดขึ้น และ จะไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทเมื่อยังไม่ถึงเวลา เปรียบเหมือนแพทย์ย่อมรู้สรรพคุณของยาทุก ชนิดจะประกอบยาให้คนไข้รับประทานเมื่อถึงเวลาเท่านั้น แต่ถ้ายังไม่ถึงเวลาก็จะไม่ให้ คนไข้รับประทาน เพราะอาจทาให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย สิกขาปทอปัญญาปนปัญหา ๒๔๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง แม้อาจารย์ใน ปางก่อนจะไม่ได้เป็นสัพพัญญู แต่ก็รู้การเกิดขึ้น และการรักษาโรคเพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นสัพพัญญูจึงไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ให้เสร็จพร้อมกัน ทีเดียว อธิบายว่า อาจารย์ในปางก่อน ๗ ท่าน คือ (๑) นารทะ (๒) ธัมมันตรี(๓) อังคีรส (๔) กปิละ (๕) กัณฑรัคคิกามะ (๖) อตุละ (๗) ปุพพกัจจายนะ บุคคลเหล่านี้เป็นหมอรักษาโรค รู้สาเหตุแห่งโรคและการรักษาว่า โรคนี้จักหายหรือไม่หาย จึงรักษาพร้อมกันเสียทีเดียว ด้วยคิดว่า โรคมีประมาณเท่านี้จักเกิดขึ้นในกาย ทั้งที่อาจารย์เหล่านั้นไม่ใช่สัพพัญญูส่วน พระพุทธเจ้าเป็นสัพพัญญูทรงทราบกิริยาในอนาคตด้วยพุทธญาณว่า สิกขาบทมีประมาณ เท่านี้พระองค์จักทรงบัญญัติเพราะเรื่องชื่อนี้ พระองค์ทรงกาหนดเหตุการณ์แล้วจึงไม่ทรง บัญญัติสิกขาบทพร้อมกันทีเดียว เพราะทรงมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าจักบัญญัติทั้ง


61

๑๕๐ สิกขาบทพร้อมกันในคราวเดียว มหาชนจักสะดุ้งกลัวว่า ในศาสนานี้มีสิกขาบทที่ต้อง รักษามาก การบวชย่อมกระทาได้ยาก เมื่อชนผู้ต้องการจะบวชก็ไม่บวช และจักไม่เชื่อคา สอนของพระพุทธเจ้า อันจะเป็นเหตุนาไปสู่อบายภูมิ เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดเรื่องขึ้นทีละ เรื่อง พระองค์จึงขอโอกาสเพื่อแสดงธรรม เมื่อโทษปรากฏชัดจึงทรงบัญญัติสิกขาบท ขุททานุขุททกปัญหา ๒๔๙ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธเจ้าทรงรู้ยิ่ง แล้วจึงแสดงธรรม ไม่ทรงรู้ยิ่งแล้วจะไม่ทรงแสดงธรรม ๒๕๐ เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรง อนุญาตให้ยกเลิกสิกขาบทเล็กน้อยได้ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทรงรู้ยิ่งแล้วจึงแสดงธรรม ไม่ทรงรู้ยิ่งแล้วจะไม่ทรงแสดง ธรรม ภายหลังพระองค์ตรัสกะพระอานนท์ว่า เมื่อพระองค์ทรงล่วงลับไป สงฆ์หวังอยู่ก็จง ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้ ๒๕๑ การตรัสอย่างนั้น ไม่ใช่เพราะสิกขาบทเล็กน้อยทรงบัญญัติ ไว้ไม่ดี หรือเพราะเมื่อยังไม่มีเรื่องเกิดขึ้น ทรงบัญญัติไว้เพราะไม่ทรงรู้ แต่เพราะพระองค์ ทรงประสงค์จะทดสอบภิกษุว่า เมื่อพระองค์ทรงล่วงลับไป พระสาวกจักเลิกล้มสิกขาบท เล็กน้อย หรือจักเอื้อเฟื้อกันอยู่ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พุทธบุตรมีแต่จะคุ้มครองสิกขาบท ๑๕๐ให้ยิ่งขึ้นไป เพราะมีความต้องการในธรรมเพื่อความพ้นทุกข์เปรียบเหมือนพระเจ้า จักรพรรดิตรัสกะพระราชโอรสว่า มหาชนบทซึ่งเป็นอาณาจักร มีแม่น้าเป็นที่สุดรอบทั้ง ๔ ทิศถ้าพระราชโอรสต้องลาบากที่จะต้องคุ้มครองดูแลทั้งหมดด้วยกาลังเพียงเท่านี้ เมื่อ พระองค์สวรรคตแล้ว ก็ยอมให้สละดินแดนที่ตั้งอยู่ในที่สุดเขตแดน เมื่อเป็นอย่างนั้น นอกจากพระราชโอรสจะไม่ยอมสละดินแดนที่ปกครองอยู่ ยังจะรวบรวมดินแดนให้มาก ขึ้นเป็นสองเท่า หรือสามเท่า เพราะความต้องการในราชสมบัติ ธัมมวินยปฏิจฉันนปัญหา ๒๕๒ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศแล้ว เปิดเผยไม่ปิดบังจึงรุ่งเรือง ๒๕๓ เพราะเหตุไร ปาฏิโมกขุทเทส และ พระวินัยปิฎกทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าจึงทรงปิดบังไว้ อธิบายว่า ปาฏิโมกขุทเทส และพระวินัยปิฎกที่พระพุทธเจ้าทรงปิดบังไว้ ๒๕๔ก็ ไม่ได้ปิดบังแก่คนทั้งหมด แต่พระองค์ทรงกระทาให้เป็นเขตแดนแล้วปิดบังไว้ เหตุแห่งการ ปิดบัง มีอยู่๓ ประการ คือ (๑) ด้วยอานาจแห่งวงศ์ของพระพุทธเจ้าในปางก่อน (๒) เพราะความที่ธรรมเป็นสิ่งที่มีความสาคัญมาก (๓) เพราะความที่ภูมิของภิกษุเป็นสิ่งที่ควรเคารพ สติสัมโมสปัญหา ๒๕๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระอรหันต์ไม่มีความ หลงลืมสติ แต่มีโอกาสต้องอาบัติได้


62

อธิบายว่า พระอรหันต์ไม่มีความหลงลืมสติ แต่อาจต้องอาบัติในเรื่องการสร้างกุฎีบ้าง ใน เรื่องการสื่อข่าวบ้าง ในเรื่องสาคัญเวลาวิกาลว่าเป็นกาลบ้าง ในเรื่องสาคัญภิกษุผู้ปวารณา แล้วว่ายังมิได้ปวารณา ในเรื่องสาคัญภัตรที่ไม่ได้เป็นเดนภิกษุไข้ว่าเป็นเดนภิกษุไข้ ก็ภิกษุย่อมต้องอาบัติด้วยเหตุ๒ ประการ คือ (๑) เพราะไม่มีความเอื้อเฟื้อ (๒) เพราะความไม่รู้ ส่วนการกระทาที่เศร้าหมองมีอยู่๒ อย่าง คือ (๑) โลกวัชชะ โทษทางโลก (๒) ปัณณัตติวัชชะ โทษทางพระวินัย อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ๒๕๖ หรือประชุมแห่งกรรมบถที่เป็นอกุศล จัดเป็นโลกวัชชะ ส่วนกรรมที่ไม่เหมาะไม่ควรแก่สมณะ แต่ไม่มีโทษสาหรับคฤหัสถ์จัดเป็นปัณณัตติวัชชะ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวก กระทาให้เป็นเขตแดนที่พระสาวกไม่พึง ประพฤติล่วงตราบจนสิ้นชีวิต พระขีณาสพไม่อาจประพฤติก้าวล่วงอาบัติที่เป็นโลกวัชชะได้ แต่ท่านอาจล่วงอาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะเพราะความไม่รู้ด้วยว่าการรู้กิเลสทั้งปวงมิใช่ วิสัยของพระอรหันต์ เพราะท่านไม่มีกาลังพอที่จะรู้กิเลสทั้งหมด แม้แต่ชื่อและโคตรของ บุคคล แม้ทางเดินบนแผ่นดิน ท่านก็ไม่อาจรู้ทั้งหมด พระอรหันต์บางองค์จึงรู้เฉพาะวิมุตติ เพียงอย่างเดียว บางองค์ที่ได้อภิญญา ๖ ก็รู้เฉพาะวิสัยของตน ส่วนพระพุทธเจ้าผู้เป็น สัพพัญญูทรงรู้กิเลสได้ทั้งหมด หีนายาวัตตนปัญหา ๒๕๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระพุทธศาสนามีคุณ มากมีสาระน่าเลือกสรร ประเสริฐสุด บริสุทธิ์ปราศจากมลทิน เป็นของขาวไม่มีโทษ เพราะ เหตุไรคฤหัสถ์ผู้บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเวียนกลับมาสู่ความเป็นคฤหัสถ์อีก ซึ่งจะ ทาให้คนอื่นเข้าใจผิดว่า พระพุทธศาสนาจักเป็นของเปล่าประโยชน์ อธิบายว่า บุคคลผู้บวชในพระพุทธศาสนาแล้ว กลับเวียนมาสู่ความเป็นคฤหัสถ์อีก มหาชนพึงติเตียนเขาผู้ไม่ปฏิบัติตนให้ดารงอยู่ในพระศาสนาได้ เพราะพระพุทธเจ้าไม่อาจ ทาให้บุคคลที่บวชเข้ามาแล้วบริสุทธิ์หมดจดได้ พระพุทธศาสนาจึงไม่มีโทษ เหมือนสระ เต็มเปี่ยมด้วยน้าปราศจากมลทิน เย็นสบาย ถ้าบุคคลมีตัวเปื้อนด้วยมลทินและเปือกตม ไปสระน้าแล้วไม่อาบ กลับมาทั้งที่ยังมีตัวเศร้าหมองอยู่ มหาชนพึงติเตียนบุคคลผู้มีตน เศร้าหมองเพราะไปถึงสระน้าแล้วไม่ยอมอาบ จึงเป็นผู้มีตนเศร้าหมองกลับมาเหมือนเดิม ไม่ใช่เพราะสระไม่ให้เขาผู้ต้องการอาบน้าลงอาบ เพราะฉะนั้น สระจึงไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าทรงสร้าง


63

สระ คือพระสัทธรรมอันประเสริฐเต็มเปี่ยม ด้วยน้าคือวิมุติอันประเสริฐ เพื่อให้ผู้มี ตนเศร้าหมอง ด้วยมลทินคือกิเลสได้ชาระล้างในสระอีกอย่างหนึ่ง บุคคลที่บวชใน พระพุทธศาสนาแล้ว กลับเวียนมาสู่ความเป็นคฤหัสถ์อีก ย่อมชื่อว่าแสดงคุณที่ไม่อาจชั่ง ได้ของศาสนาพระชินพุทธเจ้า ๕ อย่าง คือ (๑) พระศาสนาเป็นภูมิอันยิ่งใหญ่ (๒) พระศาสนาเป็นของบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน (๓) พระศาสนาอันบาปชนไม่อาจอยู่ร่วมได้ (๔) พระศาสนาเป็นของรู้แจ้งได้ยาก (๕) พระศาสนาเป็นของที่พึงรักษาไว้ด้วยความสารวมเป็นอันมาก อภิสมยันตรายกรปัญหา ๒๕๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง คฤหัสถ์ผู้เคยต้อง อาบัติปาราชิกแล้ว กลับไปบวชใหม่อีก แม้เขาจะไม่รู้ว่าตนเองเคยต้องอาบัติปาราชิก อีก ทั้งบุคคลอื่นก็ไม่รู้ว่าเขาเคยต้องปาราชิกมาแล้ว ถึงจะปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลก็ไม่ สามารถบรรลุได้ อธิบายว่า สิ่งที่เป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรม ของบุคคลผู้เคยต้องอาบัติปาราชิกถูก เลิกถอนแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงไม่มีการบรรลุธรรม จริงอยู่ เมื่อบุคคลทาความผิดทั้ง ๆที่ รู้อยู่ จะทาให้เกิดความราคาญในใจ ซึ่งทาให้ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ส่วนผู้ไม่รู้อยู่ใน ความผิดของตน คิดว่าตนเองมีความบริสุทธิ์อยู่ ทาให้จิตสงบระงับ ก็ไม่เป็นเหตุให้บรรลุ ธรรมได้เพราะเหตุปัจจัยแห่งการบรรลุธรรมถูกเลิกถอนแล้ว เหมือนพืชที่มีผลเป็น ประโยชน์ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ย่อมงอกขึ้นในนาที่โล่งเตียน มีการไถพรวนดี มี พื้นที่เหมาะสม แต่จะไม่งอกขึ้นที่พื้นศิลาบนภูเขา ซึ่งเป็นหินแท่งทึบ เพราะไม่มีเหตุปัจจัย แห่งการงอกขึ้น การศึกษาพบว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมวินัยไว้เป็นอย่างดี บุคคลผู้ไม่เข้าใจในพระพุทธศาสนาอย่างทั่วถึง อาจจะเกิดความสงสัยว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงมีปฏิปทาที่ตรงข้ามกับความเป็นสัพพัญญูอย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงมีพระ ประสงค์ที่ชัดเจนที่ทาให้ต้องทรงกระทาอย่างนั้น เช่น การไม่บัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้า เพราะไม่ประสงค์จะให้ผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เกิดความรู้สึกอึดอัดจนไม่ สามารถปฏิบัติธรรมได้ เพราะต้องคอยระวังสิกขาบท เกรงว่าจะมีการล่วงละเมิด การไม่ บัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้า จึงเป็นวิธีการชักนาคนให้เข้ามาสู่พระพุทธศาสนา ทาให้เผย แผ่พระพุทธศาสนาได้รวดเร็ว และแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางแต่ถ้าพระพุทธเจ้าจะ ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ล่วงหน้า เพื่อหวังจะป้องกันไม่ให้เกิดการล่วงละเมิด ก็อาจถูกมอง ว่าเป็นการกีดกันคนให้ออกห่างจากพระพุทธศาสนา การบัญญัตพระวินัยให้เสร็จพร้อม กันทีเดียว แม้จะเป็นวิธีการป้องกันการกระทาความผิดซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ก็เป็น


64

การป้องกันตัวบุคคลผู้จะกระทาความผิดด้วย เพราะการกระทาเกิดขึ้นจากตัวบุคคล เมื่อ ยังไม่มีความผิด ก็ชื่อว่าไม่มีคนผู้กระทาผิดเหมือนกัน เพราะฉะนั้น การที่พระองค์ไม่ทรง บัญญัติพระวินัยให้เสร็จพร้อมกันทีเดียว จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง ๒.๓ หมวดธรรมเกี่ยวกับพระนิพพาน ๒.๓.๑ แนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน นิพพานลภนปัญหา ๒๕๙ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลย่อมบรรลุ นิพพานด้วยกันทุกคนหรือไม่ อธิบายว่า บุคคลไม่บรรลุนิพพานทั้งหมด ผู้ปฏิบัติชอบรู้เฉพาะธรรมที่ควรรู้ยิ่ง คือ กาหนดรู้ธรรมที่ควรกาหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทาให้แจ้งซึ่งธรรม ที่ควรทาให้แจ้ง ย่อมบรรลุพระนิพพาน นิพพานอัตถิภาวปัญหา ๒๖๐ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สัตว์ที่เกิดแต่กรรม เกิดแต่เหตุ และเกิดแต่ฤดูย่อมมีปรากฏอยู่ในโลก ส่วนสิ่งที่ไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ และไม่เกิดแต่ฤดูก็มีปรากฏอยู่ในโลกเหมือนกัน อธิบายว่า สิ่งที่ไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ และไม่เกิดแต่ฤดูในโลกนี้มีอยู่ ๒ อย่าง คือ (๑) อากาศ (๒) พระนิพพาน พระพุทธเจ้าทรงแสดงมรรค คือ หนทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์แก่พระสาวกเพื่อ กระทาให้แจ้งซึ่งพระนิพพานด้วยเหตุตั้งหลายร้อยอย่างก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น พระองค์ก็ ไม่ได้ทรงแสดงเหตุเพื่อความยึดมั่นถือมั่นพระนิพพานไว้ เพราะพระนิพพานเป็นอสังขต ธรรม อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้แล้ว เป็นธรรมชาติที่ไม่พึงกล่าวว่า พระนิพพานเกิดขึ้นแล้ว ไม่เกิดขึ้นแล้ว เป็นของควรให้เกิดขึ้น หรือพระนิพพานเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันหรือพระ นิพพานอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา และกาย แม้เมื่อเป็นอย่างนั้นพระ นิพพานก็ยังคงมีอยู่บัณฑิตพึงรู้แจ้งได้ด้วยใจเท่านั้น พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบย่อมเห็น พระนิพพานอันหมดจดวิเศษ ประณีต ตรง ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น ไม่มีอามิส ด้วยใจของ ตนเพราะฉะนั้น พระนิพพานจึงมีอยู่ เหมือนลมมีอยู่แต่ไม่สามารถแสดงได้โดยวรรณะหรือ สัณฐาน ว่าเป็นของละเอียดหรือหยาบ เป็นสิ่งที่ยาวหรือสั้น กัมมชากัมมชปัญหา ๒๖๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สัตว์ที่เกิดแต่กรรมเกิด แต่เหตุ เกิดแต่ฤดู และสัตว์ที่ไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ ไม่เกิดแต่ฤดู อธิบายว่า สัตว์ที่มีเจตนาเกิดแต่กรรม ไฟและพืชทั้งหมดเกิดแต่เหตุ แผ่นดิน ภูเขา น้า และลม เกิดแต่ฤดู ส่วนอากาศและพระนิพพานไม่เกิดแต่กรรม ไม่เกิดแต่เหตุ ไม่เกิด


65

แต่ฤดูพระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบย่อมเห็นพระนิพพานด้วยญาณอันหมดจดพิเศษ บัณฑิต พึงรู้แจ้งพระนิพพานได้ด้วยใจเพียงอย่างเดียว นิพพานสัจฉิกรณปัญหา ๒๖๒ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมกระทาให้แจ้งซึ่งพระนิพพานที่เกิดขึ้น หรือยังพระนิพพานให้เกิดขึ้นแล้วกระทาให้แจ้ง ภายหลัง อธิบายว่า บุคคลผู้ปฏิบัติชอบไม่ได้กระทาให้แจ้งซึ่งพระนิพพานที่เกิดขึ้นหรือไม่ได้ ทาพระนิพพานให้เกิดขึ้นแล้วกระทาให้แจ้งภายหลัง แต่พระนิพพานธาตุที่บุคคลผู้ปฏิบัติ ชอบกระทาให้แจ้งนั้นมีอยู่ พระนิพพานธาตุเป็นธรรมชาติระงับ เป็นสุข ประณีต ผู้ปฏิบัติชอบพิจารณาความเป็นไปแห่งสังขาร ย่อมเห็นความเกิด ความแก่ ความเจ็บและ ความตาย และจะไม่เห็นความสุขสาราญแม้เพียงเล็กน้อยในสังขาร เมื่อไม่เห็นสิ่งที่ควรจะ ถือเอาเป็นสาระในสังขาร ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง หรือที่สุด ย่อมกระทาให้แจ้งซึ่งพระ นิพพานด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น บุคคลกระทาให้มากซึ่งหนทางเพื่อความไม่เป็นไปแห่ง สังขาร สติ วิริยะ และปีติของเขาย่อมตั้งมั่น เมื่อเขามนสิการจิตนั้นเนืองนิตย์จิตก็ก้าวล่วง ความเป็นไปแห่งสังขารหยั่งลงสู่ความไม่เป็นไป บุคคลผู้ปฏิบัติได้อย่างนี้เรียกว่า กระทา ให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน นิพพานปัฏฐานปัญหา ๒๖๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สถานที่เป็นที่ตั้งของ พระนิพพาน อธิบายว่า พระนิพพานไม่ได้ที่ตั้งอยู่ในทิศบูรพา ทิศทักษิณ ทิศประจิม ทิศอุดรหรือ ทิศด้านบน ด้านล่าง ด้านขวาง แม้โอกาสเป็นที่ตั้งของพระนิพพานก็ไม่มีเหมือนกันแต่พระ นิพพานมีอยู่แน่นอน บุคคลผู้ปฏิบัติชอบย่อมกระทาให้แจ้งซึ่งพระนิพพานโดยโยนิโส มนสิการ เหมือนไฟย่อมมีอยู่ เพียงแต่โอกาสที่ตั้งของไฟไม่มี เมื่อบุคคลนาไม้สองอันมาสี เข้าด้วยกันไฟจึงจะเกิด ฐานะที่บุคคลดารงอยู่ ปฏิบัติชอบแล้วย่อมกระทาให้แจ้งซึ่งพระ นิพพานก็มีอยู่ ฐานะนั้น คือ ศีล บุคคลดารงมั่นอยู่ในศีล เมื่อกระทาไว้ในใจโดยอุบายที่ ชอบ แม้จะอยู่ในสกนครและยวนนครก็ดี ในจีนนครและวิลาตนครก็ดี ในอลสันทนครก็ดี ในนิกุมพนครก็ดี ในกาสีนครและโกสลนครก็ดี ในกัสมีรนครก็ดี ในคันธารนครก็ดี บน ยอดภูเขาก็ดี บนพรหมโลกก็ดีปฏิบัติชอบแล้วก็กระทาให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ จากการศึกษาได้พบว่า จุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพานซึ่งเป็นการ ดับกิเลสอย่างสิ้นเชิง ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารอีก บุคคลผู้สนใจใน พระนิพพานควรศึกษาในธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ดีแล้ว เพื่อเป็นแนวทางใน การปฏิบัติโดยเฉพาะการดาเนินตามอริยมรรค อันเป็นหนทางนาไปสู่การดับทุกข์คือ พระ นิพพาน ซึ่งมีอยู่๒ อย่าง ๒๖๔ คือ


66

(๑) สอุปาทิเสสนิพพาน เป็นสภาวะที่มีให้เห็นในอัตภาพนี้ และเป็นที่สิ้นไปแห่ง ตัณหาที่นาไปสู่ภพ (๒) อนุปาทิเสสนิพพาน เป็นสภาวะที่มีในภายภาคหน้า และเป็นที่ดับสนิทแห่งภพ ทั้งหลายได้สิ้นเชิงบุคคลผู้บรรลุพระนิพพานแล้ว แต่อินทรีย์๕ ยังคงเป็นไปอยู่ ไม่ได้ดับไป ตามย่อมทาให้ประสบกับอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เสวยเวทนาอยู่ตลอดเวลา ส่วนผู้ บรรลุพระนิพพานแล้ว แต่เวทนาของท่านไม่ถูกกิเลสมีตัณหาเป็นต้นครอบงา ก็จักดับสนิท อย่างสิ้นเชิง ๒.๓.๒ สภาวะของพระนิพพาน ปรินิพพานปัญหา ๒๖๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลผู้ที่ไม่ปฏิสนธิอีกจะ เสวยทุกขเวทนาหรือไม่ อธิบายว่า บุคคลผู้ที่ไม่ปฏิสนธิอีก บางคนก็เสวย บางคนก็ไม่เสวย คนที่เสวยย่อม เสวยเวทนาทางกาย ไม่เสวยเวทนาทางใจ เพราะสิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดทุกขเวทนา ทางกายยังไม่สิ้นไป ทาให้ต้องเสวยทุกขเวทนาทางกาย ส่วนสิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด ทุกขเวทนาทางใจสิ้นไปแล้ว ทาให้ไม่ต้องเสวยทุกขเวทนาทางใจ พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระ อรหันต์ย่อมเสวยเวทนาทางกายประการเดียว ไม่เสวยเวทนาทางใจ ๒๖๖ อย่างไรก็ตาม แม้พระอรหันต์จะเสวยทุกขเวทนาทางกาย แต่ท่านก็ไม่รีบปรินิพพาน เพราะไม่มีความ ยินดีหรือความยินร้าย อนึ่ง ท่านไม่ทาขันธ์ที่ยังไม่ถึงเวลาให้ตกล่วงไป แต่รอคอยให้ กาลเวลามาถึงพระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคานี้ไว้ว่า เราไม่อยากตาย ไม่อยากเป็นอยู่ แต่เรา มีสติสัมปชัญญะอยู่เฉพาะหน้า จักละกายนี้ เราไม่อยากตายไม่อยากเป็นอยู่ แต่เราคอย เวลาอันควรเหมือนลูกจ้างทาการงานคอยค่าจ้าง ๒๖๗ นิโรธนิพพานปัญหา ๒๖๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระนิพพาน คือ นิโรธ อธิบายว่า พระนิพพาน คือ การดับกิเลสอย่างสิ้นเชิง ปุถุชนคนพาลยินดี เพลิดเพลินหมกมุ่นอยู่ในอายตนะภายในและภายนอก ถูกกระแสตัณหาพัดพาให้ลอยไป ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ชื่อว่าไม่พ้นจากทุกข์ ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้วย่อมไม่ยินดีเพลิดเพลิน ไม่หมกมุ่นอยู่ในอายตนะภายในและ ภายนอก เมื่อไม่ยินดีเพลิดเพลิน ตัณหาก็ดับไป เพราะตัณหาดับไป อุปาทานจึงดับ เพราะ อุปาทานดับไป ภพจึงดับ เพราะภพดับไป ชาติจึงดับ เพราะชาติดับไป ชราและมรณะ โส กะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาสจึงดับไปด้วย ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นย่อมมีได้ด้วย อุบายอย่างนี้เพราะฉะนั้น นิพพาน คือ นิโรธ นิพพานสุขภาวชานนปัญหา ๒๖๙ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลที่ยังไม่ได้ บรรลุพระนิพพาน จะรู้ว่าพระนิพพานเป็นสุขหรือไม่


67

อธิบายว่า บุคคลผู้ที่ยังไม่ได้บรรลุพระนิพพาน ย่อมรู้ว่าพระนิพพานเป็นสุขเปรียบ เหมือนคนมีร่างกายสมบูรณ์ไม่ได้พิกลพิการ ย่อมรู้ว่าการถูกตัดมือตัดเท้าเป็นความทุกข์ ทรมานอย่างแสนสาหัส เหตุที่รู้เพราะฟังเสียงครวญคราง หรือเห็นอาการดิ้นรนของคนที่ ถูกตัดมือตัดเท้า เพราะฉะนั้น แม้บุคคลผู้ที่ยังไม่ได้บรรลุพระนิพพาน แต่ก็รู้ว่าพระ นิพพานเป็นสุข เพราะฟังเสียงของคนที่บรรลุพระนิพพานปรินิพพุตานังเจติเยปาฏิหาริย ปัญหา ๒๗๐ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ปาฏิหาริย์มีที่จิตกาธานของพระอรหันต์ผู้ ปรินิพพานทุกจาพวก หรือมีเฉพาะบางจาพวกเท่านั้น อธิบายว่า ปาฏิหาริย์ที่จิตกาธานของพระอรหันต์ผู้ปรินิพพาน ย่อมมีเป็นบางพวกเท่านั้น และปาฏิหาริย์ย่อมเกิดขึ้นเพราะการอธิษฐานของบุคคล ๓ จาพวก คือ (๑) พระอรหันต์อธิษฐานเอง เพื่อความเอ็นดูเทวดาและมนุษย์ว่า ขอปาฏิหาริย์ที่ จิตกาธาน จงเกิดมีอย่างนี้ (๒) เทวดาแสดงปาฏิหาริย์ที่จิตกาธานของพระอรหันต์ เพื่อความเอ็นดูแก่มนุษย์ ว่า พระสัทธรรมจักเป็นธรรมอันสัตว์ประคับประคองไว้เป็นนิตย์ ด้วยปาฏิหาริย์นี้ (๓) สตรีหรือบุรุษผู้มีศรัทธาเลื่อมใส มีปัญญา คิดโดยแยบคายแล้วบูชาด้วยของ หอม ดอกไม้ ผ้า หรือวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง อธิษฐานว่า ขอปาฏิหาริย์จงมีเถิดถ้าคนไม่ได้ ตั้งจิตอธิษฐาน ปาฏิหาริย์ที่จิตกาธานของพระขีณาสพผู้ได้อภิญญา ๖ประการ ๒๗๑ บรรลุ ความชานาญแห่งจิต ก็จะไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ปาฏิหาริย์จะไม่ปรากฏขึ้น เทวดา และมนุษย์เมื่อเพ่งพิจารณาถึงความประพฤติที่บริสุทธิ์ดีแล้วย่อมเชื่อว่าพระพุทธบุตร ปรินิพพานดีแล้ว นิพพานัสสอทุกขมิสสภาวปัญหา ๒๗๒ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระ นิพพานเป็นสุขส่วนเดียว หรือยังเจือปนด้วยทุกข์ อธิบายว่า พระนิพพานเป็นสุขโดยส่วนเดียว ไม่ได้เจือปนด้วยทุกข์ บุคคลผู้แสวงหา พระนิพพานทากายและจิตให้ได้รับความลาบาก ด้วยการสารวมรักษาอิริยาบถทั้ง ๔คือ ยืน เดิน นั่ง นอน และสารวมในอาหาร ขจัดความง่วงเหงาหาวนอน ทาอายตนะให้ลาบาก สละทรัพย์สินและญาติมิตรผู้เป็นที่รัก เมื่อเขากาจัด ปิดกั้นความเจริญแห่งอายตนะ เหล่านั้นทาให้กายและจิตเกิดความเร่าร้อน ซึ่งเป็นเหตุให้เสวยทุกขเวทนาทางกายและ ทางใจส่วนบุคคลผู้มีความสุข ทาอายตนะให้เพลิดเพลินยินดีด้วยกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และยังใจให้เจริญยินดีด้วยการตรึกและการกระทาไว้ในใจถึงอารมณ์ที่ ดีและไม่ดี ที่งามและไม่งาม อันน่าชอบใจ บุคคลพึงทราบว่าความทุกข์ทางกายและทางใจ ของผู้บาเพ็ญเพียร เป็นเบื้องต้นแห่งการกระทาให้แจ้งซึ่งพระนิพพานเท่านั้น ไม่ใช่ความ ทุกข์ที่มีอยู่ในพระนิพพาน เหมือนความสุขในราชสมบัติ ซึ่งมีแต่สุขโดยส่วนเดียว ไม่ได้เจือ


68

ปนด้วยทุกข์ถึงแม้พระราชาจะยกทัพไปปราบข้าศึกตามชายแดน ต้องเสด็จไปประทับแรม ตามป่าเขาถูกสัตว์ร้ายเบียดเบียน ทาให้ได้รับความลาบากพระวรกายเป็นอย่างมาก เมื่อ กระทาการรบกับข้าศึก ก็ยังไม่แน่พระทัยว่าจะมีพระชนม์ชีพรอดหรือไม่การรบกับข้าศึก เป็นเบื้องต้นแห่งการแสวงหาความสุขในราชสมบัติเท่านั้น ไม่ใช่ความสุขในราชสมบัติ นิพพานปัญหา ๒๗๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลสามารถที่จะแสดงรูป สัณฐาน วัย หรือประมาณ แห่งพระนิพพาน โดยอุปมา โดยเหตุโดยปัจจัย โดยนัย ได้ หรือไม่ อธิบายว่า พระนิพพานเป็นธรรมชาติไม่มีส่วนเปรียบ บุคคลไม่สามารถที่จะแสดง รูป สัณฐาน วัย หรือประมาณของพระนิพพานโดยอุปมา โดยเหตุ โดยปัจจัย โดยนัยได้ ปัญหาอย่างนี้ถือว่าเป็นปัญหาไม่สมควรยกขึ้นมาถาม เพราะเป็นข้อยกเว้น เหมือน มหาสมุทรซึ่งเป็นสิ่งที่มีปรากฏอยู่ ถ้าจะมีคนถามว่าน้าในมหาสมุทรมีเท่าไร และสัตว์ที่ อาศัยอยู่มหาสมุทรมีเท่าไร ปัญหาอย่างนี้ไม่ใช่วิสัยที่จะพึงตอบ แม้บุคคลผู้มีฤทธิ์บรรลุ ความชานาญแห่งจิต จะพึงคานวณนับน้าในมหาสมุทร และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในนั้นได้ แต่ก็ ไม่อาจแสดงรูปเป็นต้นแห่งพระนิพพานโดยอุปมาเป็นต้นได้พระนิพพานเป็นสภาวะที่มีอยู่ จริง ไม่ได้มีอยู่เพียงในอุดมคติของคนทั่วไปเท่านั้นบุคคลผู้ปฏิบัติชอบย่อมรู้ว่าพระ นิพพานมีอยู่จริง แม้บุคคลธรรมดาที่ยังไม่บรรลุพระนิพพานก็เชื่อว่าพระนิพพานมีอยู่จริง เหมือนไฟที่ดับไปแล้วย่อมไม่รู้ว่าไฟอยู่ที่ไหน เมื่อบุคคลนาไม้สองอันมาสีกันเข้าไฟก็ ปรากฏขึ้นมา และพระนิพพานไม่สามารถที่จะกาหนดได้ด้วยรูปพรรณ สัณฐาน อีกทั้งไม่ สามารถที่จะอธิบายให้คนอื่นรู้ได้นอกจากจะปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจึงจะรู้ได้ด้วยตัวเอง พระนิพพานเป็นอสังขตธรรม คือ เป็นสภาวะที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้นและเป็น สภาวะที่อยู่เหนือสังขตธรรม บุคคลสามารถบรรลุได้ด้วยการปฏิบัติตามอริยมรรคซึ่งเป็น หนทางอันประเสริฐที่จะนาไปสู่พระนิพพาน ๒.๔ หมวดปกิณณกธรรม นามปัญหา ๒๗๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ชื่อของแต่ละบุคคล ถูกบัญญัติขึ้น เพื่อใช้เรียกกันเท่านั้น ไม่มีตัวตนบุคคลที่จะค้นหาได้ในชื่อ อธิบายว่า ชื่อของแต่ละบุคคลที่มารดาบิดาตั้งให้ หรือที่ใช้เรียกกัน เช่น นาคเสน บ้าง สูรเสนบ้าง วีรเสนบ้าง สีหเสนบ้าง เป็นเพียงชื่อที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้เรียกกัน จะ ค้นหาตัวบุคคลในชื่อนั้นไม่ได้บุคคลบางพวกอาจเข้าใจว่า ถ้าไม่มีตัวบุคคลที่จะค้นหาได้ ใครเป็นผู้ถวายจตุปัจจัย ใครเป็นผู้บริโภคจตุปัจจัย ใครรักษาศีลเจริญภาวนาและกระทา มรรคผลพระนิพพานให้แจ้ง ใครเป็นผู้ล่วงละเมิดเบญจศีล ใครทาอนันตริยกรรม ถ้าอย่าง นั้น กุศลก็ไม่มี อกุศลก็ไม่มี ไม่มีผู้ทาเอง ไม่มีผู้ใช้ให้ทากรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ไม่มีผล วิบากของกรรมที่ทาดีและทาชั่ว บรรดาอาการ ๓๒ ประการ ๒๗๕ ชื่อของบุคคลที่ใช้เรียก


69

กันไม่ใช่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่ขันธ์๕ ๒๗๖ และไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่นอกเหนือขันธ์๕ แต่เป็นการ อาศัยอาการ ๓๒ประการ อาศัยขันธ์๕ ประกอบกันเข้า จึงทาให้มีชื่อของบุคคลไว้ใช้เรียก กัน ว่าโดยปรมัตถแล้วไม่มีตัวบุคคลที่จะค้นได้ในชื่อ เหมือนรถที่มีส่วนประกอบหลาย อย่าง แต่ละอย่างก็ไม่ใช่ตัวรถทั้งนั้น แต่เพราะอาศัยการประกอบกันเข้าของเพลา ล้อ เรือน คัน แอก สายขับ แส้ เป็นต้น จึงทาให้เรียกชื่อว่ารถสมดังคาที่วชิราภิกษุณีกล่าวไว้ว่า เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่การสมมติว่าสัตว์ก็มีได้เหมือนคาว่ารถมีได้เพราะประกอบส่วนต่าง เข้าด้วยกัน๒๗๗พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พรรษาเกี่ยวเนื่องมาจากตัวบุคคล อธิบายว่า คาว่า พรรษา เป็นการนับที่เนื่องด้วยตัวบุคคล ไม่ได้นับแยกต่างหาก จากตัวบุคคล เหมือนเงาที่ปรากฏบนพื้นดินและในหม้อน้า อย่างไรก็ตาม แม้เงาไม่ใช่ตัว บุคคลแต่เงาก็อาศัยตัวบุคคลจึงปรากฏขึ้นมาได้ เพราะเป็นสิ่งที่เนื่องมาจากตัวบุคคลเถร ติกขปฏิภาณปัญหา ๒๗๙ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง การเจรจากันอย่างบัณฑิตและ การเจรจากันอย่างพระราชา อธิบายว่า เมื่อบัณฑิตเจรจากัน เขาย่อมผูกปัญหาขึ้น และแก้ปัญหากัน พูดข่มกัน พูดสรรเสริญกัน โต้ตอบปัญหากัน บัณฑิตจะไม่โกรธเพราะการเจรจากันอย่างนี้ส่วน พระราชาเมื่อตรัสเรื่องหนึ่งอยู่ ถ้ามีคนคัดค้านขึ้นมาก็จะถูกลงอาชญา พระราชาตรัสกัน อย่างนี้ พระนาคเสนทูลว่า ถ้าพระองค์จักตรัสอย่างบัณฑิตจึงจะเจรจาด้วย ถ้าพระองค์จัก ตรัสอย่างพระราชาก็จะไม่เจรจาด้วย พระเจ้ามิลินท์ทรงมีพระประสงค์จะทดสอบปฏิภาณ จึงตรัสว่า ข้าพเจ้าจะถามปัญหาได้หรือไม่ พระนาคเสนทูลว่า พระองค์ตรัสถามเถิด เมื่อ พระองค์ตรัสว่า ข้าพเจ้าถามแล้ว ท่านก็ทูลตอบกลับทันทีว่า อาตมภาพก็วิสัชนาเรียบร้อย แล้ว พระองค์จึงย้อนถามว่า ท่านวิสัชนาว่าอย่างไร พระนาคเสนทูลว่า ก็พระองค์ตรัสถาม ว่าอย่างไร การตอบปัญหาอย่างนี้ แสดงให้เห็นถึงปฏิภาณเฉียบแหลมของพระนาคเสน อันตกายปัญหา ๒๘๐ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ลมหายใจที่เข้าออกเป็นเพียง กายสังขาร ไม่ใช่ชีวิต อธิบายว่า ลมหายใจที่เข้าออกเป็นเพียงกายสังขาร คือ เป็นสภาพบารุงร่างกายให้ ดารงอยู่แต่ไม่ใช่ชีวิต เพราะบุคคลที่มีลมออกมาแล้วไม่กลับเข้าไปอีก หรือเข้าไปแล้วไม่ กลับออกมาอีก ก็ยังสามารถดารงชีวิตอยู่ได้ เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์เป่าขลุ่ย เป่าลม ออกไปแล้วแม้ไม่กลับเข้ามาอีก ก็ไม่ทาให้เขาเสียชีวิต อัสสุปัญหา ๒๘๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง คนที่ร้องไห้เพราะมารดาเสียชีวิตกับคนที่ ร้องไห้เพราะซาบซึ้งในธรรม น้าตาของใครเป็นเภสัชอธิบายว่า คนที่ร้องไห้เพราะราคะ โทสะ โมหะ น้าตาอย่างนี้จัดเป็นน้าตาร้อนขุ่นมัว ส่วนคนที่ร้องไห้เพราะเกิดปีติโสมนัส น้าตาอย่างนี้จัดเป็นน้าตาเย็น ไม่ขุ่นมัว น้าตาของคนที่ร้องไห้เพราะเกิดปีติโสมนัสใน ธรรม จัดเป็นเภสัช คือ เป็นยารักษาโรค


70

อนาคตปัญหา ๒๘๒ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลพยายามเพื่อละทุกข์ที่ ล่วงไปแล้ว ที่ยังมาไม่ถึง หรือที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า อธิบายว่า บุคคลเพียรพยายามเพื่อละทุกข์ ซึ่งไม่ใช่ทุกข์ในอดีต อนาคต หรือ ปัจจุบัน แต่เพียรพยายามละทุกข์เพื่อประโยชน์ว่า อย่างไรหนอ ทุกข์นี้พึงดับไป และทุกข์ ใหม่จะไม่พึงเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ทุกข์ที่ยังมาไม่ถึงจะไม่มีเพื่อให้ได้ละ แต่ก็ต้องเพียร พยามเพื่อจะละทุกข์นั้นให้ได้เป็นการเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นก็สามารถ ดับทุกข์ได้ทันทีเปรียบเหมือนพระราชาทรงรับสั่งให้ขุดคูก่อกาแพง สร้างป้อมปราการ และพระองค์ก็ทรงฝึกหัดการทรงม้า ทรงช้าง ทรงธนู เพื่อตระเตรียมความพร้อมไว้ ล่วงหน้า เมื่อเกิดมีข้าศึกก็สามารถทาสงครามปราบพวกข้าศึกได้ทันทีเป็น ทุกขัปปหาน วายมกรณปัญหา]มหาภูมิจาลนปาตุภาวปัญหา ๒๘๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง เหตุที่ ทาให้แผ่นดินไหวมี ๘ ประการ ๒๘๔ เพราะเหตุไร เมื่อพระเวสสันดร ๒๘๕ ทรงกระทา มหาทานแผ่นดินใหญ่จึงไหว อธิบายว่า เหตุปัจจัยที่ทาให้แผ่นดินไหวมีอยู่ แม้เมื่อพระเวสสันดรทรงบริจมหา ทานอยู่แผ่นดินก็ไหวถึง ๗ ครั้ง การที่แผ่นดินใหญ่ไหวไม่ได้เป็นไปในตลอดกาล เกิในกาล บางคราวเท่านั้น ซึ่งพ้นจากเหตุ๘ ประการ ดังกล่าวมาแล้ว จึงไม่นับเข้าในเหตุ๘ประการ เหมือนเมฆที่ทาให้ฝนตกลงมา มี๓ อย่าง คือ (๑) เมฆวัสสิกะ (๒) เมฆเหมันติกะ (๓) เมฆปาวุสกะ ถ้ามีเมฆอื่นที่พ้นจากเมฆ ๓ อย่างนี้ ทาให้ฝนตกลงมา ก็ไม่นับเข้ากับเมฆที่รู้กันโดยทั่วไป จัดเป็นอกาลเมฆ คือ เมฆ นอกฤดูกาล อมราเทวีปัญหา ๒๘๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ถ้าหญิงพึงได้โอกาสหรือที่ ลับหรือว่าพึงได้สถานที่ปิดบัง พึงกระทาความชั่วแน่นอน แม้ไม่ได้ชายอื่นที่สมบูรณ์ ก็พึง กระทากับชายง่อยเปลี้ย ๒๘๗ เพราะเหตุไร นางอมราเทวีภรรยาของมโหสถบัณฑิต อยู่ บ้านคนเดียวปราศจากสามี นั่งอยู่ในที่ลับ นับถือสามีเสมอกับพระราชา ถูกชายอื่น ประโลมด้วยทรัพย์๑,๐๐๐ กหาปณะ ก็ไม่ยอมกระทาความชั่ว ๒๘๘ อธิบายว่า พระมโหสถบัณฑิต ๒๘๙ นานางอมราเทวีไปฝากไว้ในบ้านคนอื่น แม้ นางจะอยู่ปราศจากสามีนั่งอยู่ในที่ลับกับชายอื่น ก็ยังปฏิบัติต่อสามีให้เสมอด้วยพระราชา ถูกบุรุษอื่นประเล้าประโลมด้วยทรัพย์๑ ,๐๐๐ กหาปณะ ก็ไม่ยอมกระทากรรมอันลามก นางอมราเทวีมองไม่เห็นโอกาสที่จะกระทาความชั่ว เพราะกลัวการติเตียนในโลกนี้ เพราะ กลัวนรกในโลกหน้า เพราะคิดว่ากรรมชั่วมีผลเผ็ดร้อน เพราะไม่ต้องการละทิ้งมโหสถ บัณฑิตผู้เป็นที่รักและเพราะมีความเคารพต่อมโหสถบัณฑิตผู้เป็นสามี นางเป็นผู้ประพฤติ นอบน้อมต่อพระธรรม เป็นผู้ติเตียนความประพฤติเลวทราม ไม่ต้องการทาลายกรรมที่


71

ควรทา จึงมองไม่เห็นโอกาสที่จะกระทาความชั่ว นางอมราเทวีใคร่ครวญแล้ว มองไม่เห็น แม้ที่ลับในโลก จึงไม่ยอมกระทาความชั่ว เพราะแม้นางจะได้ที่ลับจากมนุษย์ ก็ไม่ทาให้ได้ ที่ลับจากอมนุษย์ แม้ได้ที่ลับจากอมนุษย์ก็ไม่ทาให้ได้ที่ลับจากนักบวชผู้รู้จิตของคนอื่น แม้ ได้ที่ลับจากนักบวชผู้รู้จิตของคนอื่นก็ไม่ทาให้ได้ที่ลับจากเทวดาผู้รู้จิตของคนอื่น แม้ได้ที่ ลับจากเทวดาผู้รู้จิตของคนอื่นก็ไม่ทาให้ได้ที่ลับพอที่ตนจะทาบาป แม้ได้ที่ลับพอที่ตนจะ ทาบาปก็ไม่ทาให้ได้ที่ลับพอที่จะเสพอสัทธรรม อีกทั้งนางใคร่ครวญถึงชายที่มาเกี้ยว ไม่มี ชายใดที่เสมอเหมือนกับสามีตน จึงไม่ยอมกระทาความชั่ว เพราะมโหสถบัณฑิตมี คุณธรรมหลายอย่างที่ชายอื่นไม่มี รุกขเจตนาเจตนปัญหา ๒๙๐ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ต้นไม้ไม่มีจิตใจ พูด ไม่ได้เพราเหตุไร พระพุทธเจ้าจึงให้ภารทวาชพราหมณ์เจรจากับไม้สะคร้อ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ ท่านรู้อยู่ว่า ไม้ใบต้นนี้ไม่มีจิตใจ ไม่ได้ยิน เสียง และไม่มีความรู้สึก เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ลืม เพียรพยายามถามอยู่เป็นนิตย์ถึงการ นอนเป็นสุข ๒๙๑ และพระองค์ก็ตรัสอีกว่า ทันใดนั้น รุกขเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นสะคร้อ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ถึงข้าพเจ้าก็มีคาที่จะพูด ภารทวาชะ โปรดฟังคาของข้าพเจ้า ๒๙๒ คาว่า ต้นสะคร้อเจรจากับภารทวาชพราหมณ์ท่านกล่าวโดยสมมติของโลก คือ กล่าวโดยโวหาร ของชาวโลก เพราะต้นไม้ซึ่งไม่มีจิตใจย่อมเจรจากันไม่ได้และคาว่า ต้นไม้ก็เป็นชื่อของ เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในต้นไม้ ส่วนคาว่า ต้นไม้เจรจา เป็นโลกบัญญัติ เหมือนเกวียนบรรทุก ข้าวเปลือก คนย่อมเรียกว่าเกวียนข้าวเปลือก ซึ่งเกวียนไม่ได้ทามาจากข้าวเปลือก แต่เขา กล่าวโดยสมมติของโลก แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงธรรมแก่สัตว์ตามสมมติของโลก เหมือนกัน สมณทุสสีลคิหิทุสสีลปัญหา ๒๙๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง คฤหัสถ์ทุศีล และสมณะทุศีล ใครมีคุณวิเศษอยู่ อะไรเป็นเครื่องกระทาให้ต่างกัน คติและวิบากของ บุคคลทั้งสองมีผลเสมอกัน หรือมีอะไรเป็นเครื่องกระทาให้ต่างกัน อธิบายว่า สมณทุศีลย่อมมีคุณวิเศษกว่าคฤหัสถ์ทุศีล ๑๐ ประการ คือ (๑) มีความเคารพในพระพุทธเจ้า (๒) มีความเคารพในพระธรรม (๓) มีความเคารพในพระสงฆ์ (๔) มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี (๕) มีความพยายามในอุทเทส และปริปุจฉา (๖) มีการฟังมาก (๗) แม้มีศีลขาด เป็นผู้ทุศีล เมื่อเข้าไปในบริษัท ก็ย่อมรักษาอากัปกิริยาไว้ได้


72

(๘) ย่อมรักษากายกรรมและวจีกรรม เพราะกลัวแต่การติเตียน (๙) มีจิตมุ่งตรงต่อความเพียร เป็น ทุสสีลปัญหาย่อมเข้าถึงสมัญญาว่าเป็นภิกษุสมณะทุศีลเมื่อจะกระทาความชั่วย่อม ประพฤติอย่างปิดบัง เปรียบเหมือนสตรีที่มีสามีย่อมประพฤติชั่วช้าเฉพาะแต่ในที่ลับ เท่านั้น สมณะทุศีลย่อมยังทักษิณาให้หมดจดได้ด้วย เหตุ๑๐ ประการ คือ (๑) เพราะความเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งเกราะอันหาโทษมิได้ (๒) เพราะการทรงเพศคนศีรษะโล้น ผู้มีสมัญญาว่าฤาษี(ภิกษุ) (๓) เพราะความที่เข้าถึงความเป็นตัวแทนสงฆ์ที่เขานิมนต์ (๔) เพราะความเป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ (๕) เพราะความเป็นผู้อาศัยอยู่ในบ้านพักอาศัย คือ ความเพียร (๖) เพราะความเป็นผู้แสวงหาทรัพย์ในพระชินศาสนา (๗) เพราะการแสดงธรรมอันประเสริฐ (๘) เพราะความเป็นผู้มีธรรม คือประทีป ส่องคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า (๙) เพราะความเป็นผู้มีทิฏฐิตรงโดยส่วนเดียวว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศ (๑๐) เพราะการสมาทานอุโบสถ อย่างไรก็ตามแม้สมณะทุศีลจะเป็นผู้มีศีลวิบัติแต่ก็ทาทักษิณาของทายกให้หมดจดวิเศษ ได้ผู้มีศีลได้ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแห่งกรรมอันโอฬาร ให้ทาน ในชนผู้ทุศีล ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ๒๙๔เหมือนน้าแม้จะขุ่นก็ชาระล้าง โคลนตม ละออง และเหงื่อไคลได้ แม้จะร้อนจนเดือดก็ดับไฟกองใหญ่ที่กาลังลุกโพลงได้ เอกัจจาเนกัจจานังธัมมาภิสมยปัญหา ๒๙๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลผู้ปฏิบัติชอบย่อมตรัสรู้ธรรมทุกคน หรือบางคนก็ตรัสรู้บางคนก็ตรัสรู้ไม่ได้ อธิบายว่า บุคคลผู้ปฏิบัติชอบ บางคนก็ตรัสรู้ธรรมได้ แต่บางคนก็ตรัสรู้ธรรมไม่ได้ บุคคลผู้ตรัสรู้ธรรมไม่ได้ มีอยู่๑๖ จาพวก คือ (๑) สัตว์เดรัจฉาน (๒) บุคคลผู้เข้าถึงเปรตวิสัย (๓) พวกมิจฉาทิฏฐิ (๔) คนหลอกลวง (๕) คนฆ่ามารดา


73

(๖) คนฆ่าบิดา (๗) คนฆ่าพระอรหันต์ (๘) คนผู้ทาสงฆ์ให้แตกกัน (๙) คนทาโลหิตพระพุทธเจ้าให้ห้อ (๑๐) คนผู้เป็นไถยสังวาส (ปลอมบวช) (๑๑) คนผู้เข้ารีตเดียรถีย์ (๑๒) คนผู้ประทุษร้ายภิกษุณี (๑๓) ภิกษุผู้ต้องครุกาบัติ ๒๙๖ ๑๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ยังไม่ออกจากอาบัติ (๑๔) บัณเฑาะก์ (๑๕) อุภโตพยัญชนก (คนสองเพศ) (๑๖) เด็กอ่อนอายุต่ากว่า ๗ ขวบ เหตุที่เด็กอ่อนอายุต่ากว่า ๗ ขวบ แม้เป็นผู้ปฏิบัติชอบ อีกทั้งไม่มีราคะ โทสะ โมหะ มานะ มิจฉาทิฏฐิ ความยินร้าย กามวิตกและไม่คลุกคลีด้วยกิเลสเขาควรบรรลุสัจจะ ๔ โดยการ บรรลุคราวเดียว แต่ที่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เพราะจิตของเด็กไม่มีกาลัง มีกาลังไม่ เพียงพอ อ่อนแอ เบาบาง จึงไม่สามารถบรรลุอสังขตนิพพานธาตุซึ่งเป็นของหนัก ยิ่งใหญ่ ไพบูลย์ได้เหมือนพญาเขาสิเนรุซึ่งเป็นของหนัก ยิ่งใหญ่ไพบูลย์บุรุษคนเดียวไม่อาจใช้ เรี่ยวแรงกาลังและความเพียรที่มีตามปกติของตน ยกพญาเขาสิเนรุนั้นได้เพราะบุรุษไม่มี กาลังเพียงพอ และพญาเขาสิเนรุก็มีขนาดใหญ่ ปฐวีสันธารกปัญหา ๒๙๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สิ่งที่รองรับแผ่นดินไว้ อธิบายว่า แผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนน้า น้าตั้งอยู่บนลม ลมก็ตั้งอยู่บนอากาศ เหมือน บุคคลนาธัมกรกจุ่มลงในน้าแล้วยกขึ้น น้านี้ถูกลมรองรับไว้ฉันใด แม้น้าที่รองรับแผ่นดินก็ เป็นน้าที่ลมรองรับไว้ ฉันนั้น ทีฆอัฏฐิกปัญหา ๒๙๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง โครงกระดูกที่ยาวถึง ๑๐๐ โยชน์มีอยู่หรือไม่ อธิบายว่า สัตว์ที่กระดูกยาว ๑๐๐ โยชน์มีอยู่ เพราะในมหาสมุทรมีปลาที่ยาวถึง ๕๐๐ โยชน์ อุทกสัตตชีวปัญหา เสียงดังมากมายหลายอย่าง เพราะกาลังแห่งความร้อนของไฟ มีมาก แม้พวกเดียรถีย์บางพวกคิดว่า น้ามีชีวิตจึงปฏิเสธน้าเย็น ต้มน้าให้ร้อนแล้วบริโภค น้าที่กระทาให้วิปริตผิดแปลกไป แม้พวกเขาจะติเตียนพุทธสาวกว่า พวกสมณศากยบุตร เบียดเบียนอินทรีย์ชีวะอยู่อย่างหนึ่ง น้าไม่มีชีวิต ชีวะก็ดี สัตว์ก็ดี ไม่มีอยู่ในน้า เหมือนน้าที่


74

ขังอยู่ในสระ ลาธาร ทะเล บ่อน้า สระโบกขรณี ถูกขจัดให้หมดสิ้นไปเพราะกาลังแห่งลม และแดดที่รุนแรง แต่น้าก็ไม่ได้ส่งเสียงดัง โลกนัตถิภาวปัญหา ๓๐๐ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลและสิ่งของหลาย อย่างล้วนมีปรากฏอยู่ในโลก สิ่งที่ไม่มีอยู่ในโลกมีหรือไม่ อธิบายว่า สิ่งที่ไม่มีในโลก มีอยู่๓ ประการ คือ (๑) สิ่งที่มีเจตนาก็ดี ไม่มีเจตนาก็ดี ซึ่งไม่แก่และไม่ตาย (๒) ความที่สังขารเป็นของเที่ยง (๓) สิ่งที่บุคคลเข้าไปถือเอาว่าเป็นสัตว์โดยปรมัตถ์ ยักขมรณภาวปัญหา ๓๐๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ยักษ์มีอยู่ในโลกหรือไม่ อธิบายว่า ยักษ์ ๓๐๒ มีอยู่ในโลก เมื่อยักษ์ตายแล้ว ซากของยักษ์ก็ปรากฏอยู่ แม้ กลิ่นศพก็ฟุ้งขจรไป ซากของยักษ์ย่อมปรากฏเป็นซากแมลงบ้าง หนอนบ้าง มดแดงบ้าง บุ้ง บ้างงูบ้าง แมงป่องบ้าง ตะขาบบ้าง นกบ้าง เนื้อบ้าง สุริยตัปปภาวปัญหา ๓๐๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระอาทิตย์ส่องแสง ร้อนแรงตลอดเวลา หรือบางเวลาก็ส่องแสงอ่อน ไม่ร้อนแรง อธิบายว่า พระอาทิตย์ส่องแสงร้อนแรงตลอดเวลา ไม่มีเวลาไหนที่พระอาทิตย์จะ ส่องแสงอ่อน ไม่ร้อนแรง เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะพระอาทิตย์มีโรค ๔ อย่าง คือ (๑) หมอก (๒) น้าค้าง (๓) เมฆ (๔) ราหูถ้าพระอาทิตย์ถูกโรคอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าครอบงา จะทาให้ พระอาทิตย์ส่องแสงอ่อน ไม่ร้อนแรง สุริยโรคภาวปัญหา ๓๐๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ในเหมันตฤดูพระอาทิตย์ ส่องแสงแรงกล้า เพราะเหตุไร ในคิมหันตฤดูพระอาทิตย์จึงส่องแสงไม่แรงกล้าอย่างนั้น อธิบายว่า ในคิมหันตฤดูธุลีขี้ฝุ่นไม่เข้าไปกระทบ ละอองถูกลมตีให้ฟุ้งขึ้นไปอยู่บนท้องฟ้า อีกทั้งก้อนเมฆก็ปกคลุมหนาแน่นในอากาศ ลมก็พัดแรงเหลือประมาณ ทาให้สิ่งปฏิกูล รวมกันเข้าก็ปิดบังรัศมีพระอาทิตย์ไว้จึงทาให้พระอาทิตย์ส่องแสงไม่แรงกล้าในคิมหันต ฤดูส่วนในเหมันตฤดูแผ่นดินเบื้องล่างเย็น มหาเมฆตั้งขึ้นในเบื้องบน ธุลีขี้ฝุ่นนิ่งสงบอยู่ อีกทั้งละอองที่ละเอียดก็เคลื่อนไปบนท้องฟ้า อากาศก็ปราศจากเมฆฝน ลมก็พัดไปอ่อน ๆ รัศมีพระอาทิตย์ก็หมดจด เพราะสิ่งเหล่านี้สงบระงับ เมื่อพระอาทิตย์พ้นจากสิ่งขัดข้อง แสงแดดย่อมแผดกล้ายิ่งนัก จึงทาให้พระอาทิตย์ส่องแสงแรงกล้าในเหมันตฤดู สุปินปัญหา ๓๐๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง สิ่งที่เรียกว่าความฝัน และบุคคล เช่นไรจึงจะฝันได้ อธิบายว่า นิมิตที่เข้าถึงคลองแห่งจิต ชื่อว่าความฝัน บุคคลที่สามารถจะนิมิตที่เป็น ความฝัน มีอยู่๖ จาพวก คือ


75

(๑) คนที่มีธาตุลมกาเริบ (๒) คนที่มีดีกาเริบ (๓) คนที่มีเสมหะกาเริบ (๔) คนผู้ที่เทวดาเข้าไปสังหรณ์ (๕) คนผู้เคยประพฤติสิ่งนั้นมาก่อน (๖) คนผู้มีบุรพนิมิตมาปรากฏ บุคคลผู้ที่จะฝันต้องไม่หลับอยู่และไม่ตื่นอยู่ เพราะจิตของคนที่ตื่นอยู่ย่อมโลเลแจ้ง ชัด ไม่เป็นจิตประจา นิมิตย่อมเข้าไม่ถึงคลองแห่งจิต แต่ความฝันจะอยู่ในช่วงระหว่างที่ ความโงกง่วงยังไม่ตกถึงภวังค์เพราะเมื่อบุคคลมีความโงกง่วงเพิ่มขึ้นจิตก็ย่อมตกภวังค์จิต ที่ตกภวังค์ย่อมไม่เป็นไปแม้ในร่างกายที่ดารงอยู่ จิตที่ไม่เป็นไปก็ย่อมไม่รู้สุขและทุกข์เมื่อ บุคคลไม่รู้สุขและทุกข์ก็จะไม่ฝัน ต่อเมื่อจิตเป็นไปเท่านั้นจึงจะฝันได้เหมือนในที่มืดมิดไม่ สว่าง เงาย่อมไม่ปรากฏในกระจกเงาที่ใสสะอาด ร่างกายเป็นดุจกระจกเงา ความโงกง่วง เป็นดุจความมืด จิตเป็นดุจความสว่าง บุคคลที่มีจิตไม่เป็นไปในขณะที่ร่างกายยังเป็นอยู่ มี อยู่ ๒ จาพวก คือ (๑) คนที่มีความโงกง่วงเพิ่มพูน จนจิตตกถึงภวังค์ (๒) คนผู้เข้านิโรธสมาบัติ ความที่กายสยบซบเซา มีกาลังอ่อนแอ ไม่ควรแก่การงาน จัดเป็นเบื้องต้นแห่ง ความโงกง่วง ภาวะที่หลับ ๆ ตื่น ๆ ปะปนกัน เหมือนการนอนหลับของลิง จัดเป็น ท่ามกลางแห่งความโงกง่วง การที่จิตตกถึงภวังค์ จัดเป็นที่สุดแห่งความโงกง่วง บุคคลผู้ตื่น อยู่แต่ยังมีความโงกง่วง และอยู่ในท่ามกลางแห่งความโงกง่วง เหมือนลิงนอนหลับเท่านั้น จึงจะฝันได้ สมุททปัญหา ๓๐๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ทะเล อธิบายว่า น้ามีประมาณเท่าใด รสเค็มก็มีประมาณเท่านั้น หรือรสเค็มมีประมาณ เท่าใด น้าก็มีประมาณเท่านั้น เพราะเหตุนี้ จึงเรียกว่าทะเล ถ้ามีแต่น้าไม่มีรสเค็มด้วย หรือมีแต่รสเค็มไม่มีน้าด้วย ก็ไม่เรียกว่า ทะเล สมุททเอกรสปัญหา ๓๐๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ทะเลมีรสเดียว อธิบายว่า ทะเลมีรสเดียวคือ รสเค็ม เพราะมีน้าขังอยู่นาน จึงกลายสภาพเป็น น้าเค็ม สีวิราชจักขุทานปัญหา ๓๐๘ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง ธรรมดาบุคคลผู้เสีย จักษุประสาทแล้วย่อมไม่ได้ทิพยจักษุเพราะเหตุไร เมื่อพระเจ้าสีวิราชพระราชทานจักษุแก่ ยาจกแล้ว ทิพยจักษุจึงเกิดขึ้นมาใหม่ได้


76

อธิบายว่า ธรรมดาคนตาบอดมีจักษุประสาทพิการ ย่อมไม่มีโอกาสที่จะกลับมา มองเห็นได้เหมือนเดิม เหมือนคาที่กล่าวว่า เมื่อได้ถอนเหตุแล้ว เมื่อไม่มีเหตุ คือเมื่อไม่มี วัตถุทิพยจักษุก็จะไม่เกิดขึ้น ๓๐๙ เพราะทิพยจักษุจะไม่มีในสิ่งที่ไม่ใช่เหตุ คือในสิ่งที่ไม่ใช่ วัตถุส่วนพระเจ้าสีวิราช ๓๑๐ ทรงควักพระเนตรทั้ง ๒ ให้เป็นทานแก่ยาจก ทาให้จักษุ ประสาทพิการต่อมาพระองค์ทรงได้ทิพยจักษุด้วยการทาสัจกิริยา สัจจะนั่นเองเป็นวัตถุ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทิพยจักษุก็บุคคลผู้ทาสัจกิริยาสามารถที่จะบันดาลให้ฝนตกได้ ให้ ไฟดับไป กาจัดยาพิษ หรือย่อมกระทากิจต่าง ๆ แม้อย่างอื่นได้เหมือนนางคณิกาชื่อว่า พินทุมดีกระทาสัจกิริยาเพื่อให้แม่น้าคงคาไหลกลับทวนกระแส แม้นางจะเป็นหญิงคณิกา ผู้เป็นนางโจร เป็นหญิงนักเลงไม่มีสติ มีศีลขาด ไม่มียางอาย เที่ยวประเล้าประโลมคนมืด บอด แต่ก็กระทาสัจกิริยาว่าจะบารุงบาเรอบุรุษทุกคนผู้เป็นเจ้าของแห่งทรัพย์ให้เท่าเทียม กันเป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร โดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ คัพภาวักกันติปัญหา ๓๑๑ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระสุวรรณสาม กับมัณฑยมาณพ ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ได้อย่างไร อธิบายว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะการประชุมกันแห่งเหตุ ๓ อย่าง ๓๑๒ คือ (๑) มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน (๒) มารดามีระดู (๓) มีคันธัพพะมาปรากฏ พระสุวรรณสามถือปฏิสนธิเพราะทุกุลดาบสใช้นิ้วหัวแม่มือข้างขวาลูบสะดือของ นางปาริกาตาปสินีซึ่งกาลังมีระดู ส่วนมัณฑยมาณพถือปฏิสนธิ เพราะมาตังคฤาษีใช้ นิ้วหัวแม่มือข้างขวาลูบสะดือนางกัญญาพราหมณีในคราวมีระดูเหมือนกัน พระสุวรรณ สามถือปฏิสนธิโดยที่บิดามารดาไม่ได้อยู่ร่วมกัน เพราะท่านทั้งสองเป็นผู้น้อมไปในวิเวก แสวงหาประโยชน์สูงสุด ไม่ปรารถนาที่จะล่วงสัทธรรมที่ได้บาเพ็ญมา ท้าวสักกะจึงวิงวอน ให้ดาบสลูบสะดือของตาปสินีในเวลาที่นางมีระดู การลูบสะดือจัดเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งของ การหยั่งลงสู่ครรภ์ คือ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน การอยู่ร่วมกันของมารดาและบิดา ไม่ใช่ เฉพาะแต่การประพฤติละเมิดเท่านั้น แม้การหัวเราะ การพูดกัน การเพ่งจ้องกัน ก็ย่อมทา ให้เกิดการร่วมกันด้วยอาศัยราคะเป็นเบื้องต้นแล้วลูบไล้เนื้อตัว เพราะการอยู่ร่วมกัน จึงมี การก้าวลงสู่ครรภ์เหมือนไฟที่ลุกโพลงย่อมกาจัดความเย็นแห่งวัตถุที่เพียงแต่เข้าใกล้ทั้งที่ ยังไม่เข้าถึงตัว ก็สัตว์ย่อมก้าวลงสู่ครรภ์ด้วยอานาจแห่งเหตุ๔ อย่าง คือ (๑) ด้วยอานาจแห่งกรรม (๒) ด้วยอานาจแห่งกาเนิด


77

(๓) ด้วยอานาจแห่งตระกูล (๔) ด้วยอานาจแห่งการร้องขอ ทูเรพรหมโลกปัญหา ๓๑๓ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พรหมโลกอยู่ไกลจาก มนุษยโลกประมาณเท่าไร อธิบายว่า พรหมโลกอยู่ไกลจากที่นี้ ประมาณก้อนหินขนาดเท่าเรือนยอด ตกจาก พรหมโลก ลอยเคว้งคว้างตลอดทั้งวันทั้งคืน สิ้นระยะทางประมาณ ๔๘,๐๐๐ โยชน์ จึงตก ถึงพื้นดิน โดยใช้เวลาประมาณ ๔ เดือน ส่วนผู้มีฤทธิ์ที่บรรลุความชานาญทางจิต อันตรธานจากที่นี่ก็ปรากฏตัวที่พรหมโลกทันทีชั่วระยะเวลาดุจบุรุษผู้มีกาลัง เหยียดแขนที่ คู้อยู่ออกไป หรือคู้แขนที่เหยียดออกอยู่เข้ามา เปรียบเหมือนบุคคลที่เกิดอยู่ไกลจากที่นี้ ประมาณ ๒๐๐ โยชน์แต่พอนึกถึงกิจบางอย่างที่ตนเองกระทาไว้ ณ ที่นั้น ก็นึกได้ทันที เหมือนเดินทางไปตลอดระยะทาง ๒๐๐ โยชน์ อย่างรวดเร็วพรหมโลกกัสมิรปัญหา ๓๑๔ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลที่ตายในเมืองนี้แล้วไปเกิดในพรหมโลก กับบุคคลที่ ตายในเมืองนี้แล้วไปเกิดในแคว้นกัสมีระ ใครจะใช้เวลาไปเกิดนานกว่ากัน หรือเร็วกว่ากัน อธิบายว่า บุคคลทั้งสองย่อมไปเกิดพร้อมกัน ใช้เวลาเท่ากัน ไม่ช้าไม่เร็ว ก่อนที่จิตจะดับ จากโลกนี้ย่อมเกี่ยวเกาะอารมณ์ที่ใดที่หนึ่ง เมื่อดับจากที่หนึ่งก็มุ่งตรงไปยังที่หมายทันที เหมือนนกสองตัวบินไปในอากาศ ตัวหนึ่งบินมาจับที่ต้นไม้สูง ตัวหนึ่งบินมาจับที่ต้นไม้ต่า เงาของนกทั้งสองตัว ย่อมปรากฏที่พื้นดินพร้อมกัน สิ้นเวลาเท่ากัน อุตตรกุรุปัญหา ๓๑๕ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลสามารถที่จะไปอุตตรกุรุทวีป พรหมโลก หรือทวีปอื่น ด้วยร่างกายนี้ได้หรือไม่ อธิบายว่า บุคคลสามารถที่จะไปสู่อุตตรกุรุทวีป พรหมโลก หรือทวีปอื่น ด้วยกาย อันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ เปรียบเหมือนบุคคลกระโดดจากพื้นดินสูงขึ้นไปประมาณ ๑ คืบ หรือ ๑ ศอก ด้วยตั้งใจว่า เราจักกระโดด ณ ที่นี้ ร่างกายก็จะเบาไปทันทีพร้อมกับ ความคิดที่เกิดขึ้น ภิกษุผู้มีฤทธิ์บรรลุความชานาญในสมาธิจิต ย่อมยกกายเข้าไปไว้ในจิต แล้วไปสู่เวหาสด้วยอานาจแห่งจิต อัสสาสปัสสาสปัญหา ๓๑๖ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง บุคคลสามารถดับลม อัสสาสะและปัสสาสะได้หรือไม่ อธิบายว่า บุคคลสามารถดับอัสสาสะและปัสสาสะได้เปรียบเหมือนคนที่นอนกรน เมื่อถูกจับพลิกร่างกาย เสียงกรนก็ระงับไป คนที่ยังมิได้อบรมกาย มิได้อบรมศีล มิได้ อบรมจิต มิได้อบรมปัญญา เพียงแต่พลิกร่างกาย เสียงกรนก็ยังระงับได้เมื่อเป็นอย่างนั้น คนผู้ได้อบรมกาย ศีล จิต ปัญญา เข้าจตุตถฌานแล้ว ลมอัสสาสะและปัสสาสะย่อมดับได้ อย่างแน่นอน


78

สัทธัมมอันตรธานปัญหา ๓๑๗ พระนาคเสนตอบคาถามเรื่อง พระสัทธรรมจัก ตั้งอยู่นานเพียงไร อธิบายว่า พระพุทธเจ้าตรัสกะพระอานนท์ว่า พระสัทธรรมจะตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ปี เท่านั้น ๓๑๘ แต่พระองค์ตรัสกับสุภัททปริพาชกในคราวจะปรินิพพานว่า ก็ภิกษุพึงเป็นอยู่ โดยชอบ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ ๓๑๙ พุทธพจน์ทั้งสองมีอรรถและพยัญชนะ ต่างกันพุทธพจน์หนึ่งเป็นการกาหนดอายุพระศาสนา อันหนึ่งเป็นการแสดงยกย่องการ ปฏิบัติคาทั้งสองแยกห่างกันและกัน เหมือนฟ้าแยกห่างจากแผ่นดิน นรกแยกห่างจาก สวรรค์ กุศลแยกห่างจากอกุศล สุขแยกห่างจากทุกข์พระดารัสที่ว่า พระสัทธรรมจะตั้งอยู่ ได้เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น เป็นคาที่พระองค์เมื่อจะทรงแสดงความสิ้นไปแห่งอายุพระศาสนา ก็ทรงกาหนดถึงส่วนที่เหลืออยู่อย่างนี้ว่า ถ้าผู้หญิงไม่บวชเป็นภิกษุณี พระสัทธรรมจะ ตั้งอยู่ได้ถึง ๑,๐๐๐ ปีแต่บัดนี้พระสัทธรรมจะตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี เท่านั้น การที่พระองค์ ตรัสอย่างนี้ไม่ได้แสดงถึงการอันตรธานแห่งพระสัทธรรม หรือคัดค้านการตรัสรู้ธรรม แต่ ทรงประกาศอายุพระศาสนาส่วนที่เสื่อมหายไป และทรงกาหนดอายุพระศาสนาส่วนที่ยัง เหลืออยู่ เปรียบเหมือนบุรุษทาสิ่งของหาย จึงถือเอาสิ่งของที่ยังเหลืออยู่ไปแสดงแก่คนอื่น ว่า สิ่งของของข้าพเจ้าหายไปเท่านี้ นี้คือส่วนที่เหลืออยู่ ส่วนพระดารัสที่ว่า ภิกษุพึงเป็นอยู่ โดยชอบ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ เป็นคาแสดงถึงความประเสริฐของ พระพุทธศาสนา ที่รุ่งเรืองด้วยอาจารคุณ ศีลคุณ ข้อวัตรปฏิบัติทั้งหลาย ส่องสว่างไปใน หมื่นโลกธาตุถ้าภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรพึงประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ ๓๒๐ ไม่ประมาท พากเพียรเป็นประจาเกิดฉันทะศึกษาในไตรสิกขา ทาจาริตตศีล ให้เต็มเปี่ยมเสมอ ก็จะเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาพึงตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน และโลกก็จะ ไม่ว่างจากพระอรหันต์ผู้วิจัยได้ศึกษาและจัดหลักธรรม ที่เป็นการถามและการตอบกันโดย ใช้ปฏิภาณไหวพริบ ซึ่งพระนาคเสนอธิบายไว้อย่างเหมาะสม โดยอาศัยหลักธรรมในทาง พระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการตอบ เช่น เรื่องชื่อ ๓๒๑ ของบุคคลเป็นสิ่งที่สมมติ กันขึ้นมาเพื่อใช้สื่อสารกันให้เข้าใจตรงกัน หรือเรื่องพรรษาก็เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยตัวบุคคล ไม่สามารถแยกออกจากกันได้พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องที่เกี่ยวกับธรรมชาติย่อม ชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นสัพพัญญูผู้รู้แจ้งในสิ่งทั้งปวงอย่างแท้จริง หรือผู้รู้แจ้งโลก ซึ่ง เกิดจากการที่พระองค์ได้ทรงศึกษาในศิลปศาสตร์๑๘ แขนง ๓๒๒ พระองค์ตรัสรู้และเข้าใจ ในสรรพสิ่งตลอดทั้งสรรพสัตว์ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ก็เกิดจากบาเพ็ญพระบารมี ตลอดเวลาสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัลป์พระนาคเสนโต้ตอบปัญหากับพระเจ้ามิลินท์ทาให้ พระองค์เกิดความเข้าใจในทุกปัญหาที่พระองค์ตรัสถาม ทั้งที่เกี่ยวกับหลักธรรมและไม่ เกี่ยวกับหลักธรรม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพของพระนาคเสน และประกาศความเป็น พุทธสาวกผู้ปราดเปรื่องในด้านการใช้ปฏิภาณไหวพริบตอบปัญหาโต้วาทะ เพื่อ


79

ปราบปรัปวาทลัทธิภายนอกพระพุทธศาสนานับว่าเป็นแบบอย่างที่ดีในการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาให้มั่นคง

เชิงอรรถ ๑ มิลินฺท. ๒/๙๐. ๒ มิลินฺท. ๗/๙๔. เป็น ปาปปุญญานังอัปปานัปปภาวปัญหา. ๓ มิลินฺท. ๘/๙๕. เป็น อชานันตาชานันตปาปกรณปัญหา. ๔ มิลินฺท. ๖/๑๗๐. เป็น อปุญญปัญหา. ๕ วิ.มหา. (ไทย) ๑/๗๕/๖๔, วิ.มหา. (บาลี) ๑/๗๕/๕๑. ๖ มิลินฺท. ๓/๒๐๔. ๗ มิลินฺท. ๕/๒๐๖. ๘ ๑๗/๙๔/๑๗๘, ส.ข. (บาลี) ๑๗/๙๔/๑๑๐) ๙ มิลินฺท. ๖/๑๘๖. เป็น ปิณฑปาตมหัปผลปัญหา. ๑๐ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๙๐/๑๓๙, ที.ม. (บาลี) ๑๐/๑๙๐/๑๑๓. ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๗๕/๓๒๗, ขุ.อุ. (บาลี)๒๕/๗๕/๒๑๖. ๑๑ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๙๗/๑๔๖-๑๔๗, ที.ม. (บาลี) ๑๐/ ๑๒. ๑๙๗/๑๒๐. ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๗๕/๓๓๐, ขุ.อุ.(บาลี) ๒๕/๗๕/๒๑๙. อนุปุพพวิหารสมาบัติ๙ ประการ คือ (๑) ปฐมฌาน (๒) ทุติยฌาน (๓) ตติยฌาน (๔) จตุตถฌาน(๕) อา กาสานัญจายตนะ (๖) วิญญาณัญจายตนะ (๗) อากิญจัญญายตนะ (๘) เนวสัญญานาสัญญายตนะ (๙) สัญญาเวทยิต นิโรธ. ๑๒ ๑๓ มิลินฺท. ๗/๑๘๙. เป็น พุทธปูชนปัญหา. ๑๔ มิลินฺท. ๓/๒๕๑. ๑๕ ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๓๗๖/๔๒๕, ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๓๗๖/๓๒๑. ๑๖ มิลินฺท. ๑๑/๑๙๗. ๑๗ ขุ.ชา. (ไทย) ๒๗/๑๔๓/๓๔๖, ขุ.ชา. (บาลี) ๒๗/๑๔๓/๒๓๑. ๑๘ ขุ.ชา. (ไทย) ๒๗/๑๙/๕๙๗, ขุ.ชา. (บาลี) ๒๗/๑๙/๔๒๘. ๑๙ มิลินฺท. ๑/๒๐๐. ๒๐ องฺ.เอกก. (ไทย) ๒๐/๑๙๐/๒๓, องฺ.เอกก. (บาลี) ๒๐/๑๙๐/๒๓. ๒๑ (องฺ,จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๗๗/๑๒๒,องฺ.จตุกฺก. (บาลี) ๒๑/๗๗/๙๑) อจินไตย ๔ ประการ คือ (๑) พุทธวิสัย วิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย (๒) ฌานวิสัย วิสัยของผู้ได้ฌาน ผู้มีฤทธิ์ (๓) กรรมวิบาก ผลแห่งกรรม (๔) โลกจินตา ความคิดเรื่องโลก. ๒๒ มิลินฺท. ๖/๒๐๙.


80

๒๓ (องฺ.เอกาทสก. (ไทย) ๒๔/๑๕/๔๒๕, องฺ.เอกาทสก. (บาลี) ๒๔/๑๕/๒๘๔) ๒๔ (ขุ.ชา. (ไทย) ๒๘/๒๙๖-๔๒๐/๒๒๙-๒๔๕, ขุ.ชา. (บาลี) ๒๘/๒๙๖-๔๒๐/๑๕๔-๑๖๕) ๒๕ มิลินฺท. ๗/๒๓๓. ๒๖ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๒๙๑/๓๔๘, ม.ม. (บาลี) ๑๓/๒๙๑/๒๖๖. ๒๗ มิลินฺท. ๗/๒๑๑. ๒๘ มิลินฺท. ๔/๓๐๔. เป็น ปุพพเปตาทิสปัญหา. ๒๙ องฺ.ทสก. (ไทย) ๒๔/๑๗๗/๓๒๕, องฺ.ทสก. (บาลี) ๒๔/๑๗๗/๒๒๒. ๓๕ มิลินฺท. ๖/๔๘. ๓๖ มิลินฺท. ๗/๕๑. เป็น เถรปฏิสันทหนาปฏิสันทหนปัญหา. ๓๗ กามคุณ ๕ ประการ คือ (๑) รูป (๒) เสียง (๓) กลิ่น (๔) รส (๕) โผฏฐัพพะ. (ม.มู. (ไทย) ๑๒/ ๑๖๖/๑๖๗-๑๖๘, ม.มู. (บาลี) ๑๒/๑๖๖/๑๒๘) ๓๘ มิลินฺท. ๘/๕๒. ๓๙ มิลินฺท. ๑/๔๒. ๔๐ มิลินฺท. ๒/๔๓. เป็น ปฏิสันทหนปัญหา. ๔๑ มิลินฺท. ๔/๗๑ ๔๒ ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๒๘๙,๒๙๗/๓๕๐,๓๕๖, ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๒๘๙,๒๙๗/๒๖๒,๒๖๘. ๔๓ มิลินฺท. ๖/๗๓. เป็น เนรยิกัคคิอุณหภาวปัญหา. ๔๔ ม.อุ. ๑๔/๒๖๗/๓๑๔, ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๒๖๗/๒๓๖. องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๓๖/๑๙๔, องฺ.ติก. (บาลี) ๒๐/๓๖/๑๓๖. ๔๕ มิลินฺท. ๕/๗๘. เป็น อสังกมนปฏิสันทหนปัญหา. ๔๖ มิลินฺท. ๗/๗๙. เป็น อัญญกายสังกมนปัญหา. ๔๗ มิลินฺท. ๘/๘๐. ๔๘ มิลินฺท. ๙/๘๐. เป็น อุปปัชชติชานนปัญหา. ๔๙ มิลินฺท. ๓/๑๕๘. เป็น มัจจุภายนาภายนปัญหา. ๕๐ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๑๒๙/๗๒, ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๑๒๙/๔๐. ๕๑ มิลินฺท. ๔/๑๖๓. ๕๓ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๑๒๘/๗๑, ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๑๒๘/๓๙. ๕๔ มิลินฺท. ๖/๓๑๑. ๕๕ มิลินฺท. ๙/๕๒ เป็น อัทธานปัญหา. ๕๖ มิลินฺท. ๑/๕๓ เป็น อัทธานมูลปัญหา. ๕๗ วิ.ม. (ไทย) ๔/๑/๒, วิ.ม. (บาลี) ๔/๑/๑. ๕๘ มิลินฺท. ๒/๕๓. ๖๐ ส.นิ. (ไทย) ๑๖/๔๓/๘๘-๘๙, ส.นิ. (บาลี) ๑๖/๔๓/๖๙. ส.สฬา. (ไทย) ๑๘/๑๐๖/๑๑๙-๑๒๐, ส.สฬา. (บาลี) ๑๘/๑๐๖/๘๑. ๖๑ มิลินฺท. ๓/๕๔. ๖๒ มิลินฺท. ๙/๘๖.


81

๖๓ มิลินฺท. ๔/๕๕. ๖๔ มิลินฺท. ๕/๕๖. เป็น ภวันตสังขารชายมานปัญหา. ๖๕ มิลินฺท. ๖/๕๘. ๖๖ มิลินฺท. ๖/๗๙. ๖๗ มิลินฺท. ๓/๗๐. ๖๘ ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๒๘๙,๒๙๗/๓๕๐,๓๕๖, ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๒๘๙,๒๙๗/๒๖๒,๒๖๘. ๖๙ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๔๖๐/๕๘๒, ม.ม. (บาลี) ๑๓/๔๖๐/๔๕๒. ๗๐ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๔๖๐/๕๘๒, ม.ม. (บาลี) ๑๓/๔๖๐/๔๕๒. “กมฺมุนา วตฺตตี โลโก”. ๗๑ ส.ส. (ไทย) ๑๕/๒๕๖/๓๗๔, ส.ส. (บาลี) ๑๕/๒๕๖/๒๗๓. ๗๒ ส.นิ. (ไทย) ๑๖/๒๑/๓๘, ส.นิ. (บาลี) ๑๖/๒๑/๒๘. ๗๓ มิลินฺท. ๑/๗๖. ๗๔(อภิ.สงฺ.(ไทย) ๓๔/๑๑๐๐/๓๗๙, อภิ.สงฺ. (บาลี) ๓๔/๑๑๐๐/๒๕๖) ๗๕(Bhikkhu Pesala, (ed.). The Debate Of King Milinda. (Delhi : Motilal Banarsidass Private Limited. 1998), p. 22) ๗๖ มิลินฺท. ๒/๗๗. ๗๗ มิลินฺท. ๓/๗๗. ๗๘ มิลินฺท. ๑๐/๘๑. ๗๙ (มิลินฺท.อฏฺ. ๑๐/๑๗๑) ๘๐ มิลินฺท. ๓/๘๓. เป็น มหาปุริสลักขณปัญหา. ๘๑ ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก ค. หน้า ๒๒๑. ๘๒ ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก ค. หน้า ๒๒๓. ๘๓ มิลินฺท. ๔/๘๔. เป็น ภควโตพรัหมจาริปัญหา. ๘๔ มิลินฺท. ๕/๘๔. เป็น ภควโตอุปสัมปทาปัญหา. ๘๕ มิลินฺท. ๑๖/๙๙. เป็น อรูปธัมมววัตถานทุกกรปัญหา. ๘๖ มิลินฺท. ๑/๒๔๕. เป็น อาจริยานาจริยปัญหา. ๘๗ วิ.ม. (ไทย) ๔/๑๑/๑๗, วิ.ม. (บาลี) ๔/๑๑/๑. ม.มู. (ไทย) ๑๒/๒๘๕/๓๑๐, ม.มู. (บาลี) ๑๒/๒๘๕/๒๔๖. ๘๘ ม.มู. (ไทย) ๑๒/๓๗๑/๔๐๗, ม.มู. (บาลี) ๑๒/๓๗๑/๓๓๓. ม.ม. (ไทย) ๑๓/๔๗๕/๖๐๒, ๘๙(บาลี) ๑๓/๔๗๕/๔๖๙.๘๙ พราหมณ์๘ คน คือ (๑) รามพราหมณ์(๒) ธชพราหมณ์ (๓) ลักษณพราหมณ์ (๔) มันตี พราหมณ์(๕) ยัญญพราหมณ์(๖) สุยามพราหมณ์(๗) สโภชพราหมณ์(๘) สุทัตตพราหมณ์. ๙๐ มิลินฺท. ๘/๑๔๖. เป็น อกุสลัจเฉทปัญหา. ๙๑ วิ.จู. (ไทย) ๗/๓๔๑/๑๙๑, วิ.จู. (บาลี) ๗/๓๔๑/๑๓๑. ๙๒ ส.สฬา. (ไทย) ๑๘/๒๖๙/๓๐๑, ส.สฬา. (บาลี) ๑๘/๒๖๙/๒๑๑. ๙๓ มิลินฺท. ๙/๑๕๐. เป็น อุตตริกรณียปัญหา. ๙๔ วิ.มหา. (ไทย) ๒/๕๖๕/๘๙, วิ.มหา. (บาลี) ๒/๕๖๕/๕๐. ๙๕ มิลินฺท. ๘/๑๙๑. เป็น ปาทสกลิกาหตปัญหา. ๙๖ มิลินฺท. ๙/๒๓๘. เป็น คาถาภิคีติโภชนกถาปัญหา.


82

๙๗ ส.ส. (ไทย) ๑๕/๑๙๔/๒๗๔, ส.ส. (บาลี ) ๑๕/๑๙๔/๒๐๐. ขุ.สุ. (ไทย) ๒๕/๘๑,๔๘๕/๕๑๙,๖๐๙,ขุ.สุ. (บาลี ) ๒๕/ ๘๑,๔๘๕/๓๕๑,๔๒๕. ๙๘ มิลินฺท. ๑๐/๒๔๒. เป็น ธัมมเทสนาอัปโปสสุกกปัญหา. ๙๙ วิ.ม. (ไทย) ๔/๗/๗, วิ.ม. (บาลี) ๔/๗/๑๒. ที.ม. (ไทย) ๑๐/๖๕-๖๗/๓๖-๓๘, ที.ม. (บาลี) ๑๐/๖๕-๖๗/๓๒-๓๓. ๑๐๐ มิลินฺท. ๓/๒๒๕. เป็น พุทธอัปปาพาธปัญหา. ๑๐๑ องฺ.เอกก. (ไทย) ๒๐/๒๒๖/๒๙, องฺ.เอกก. (บาลี) ๒๐/๒๒๖/๒๕. ๑๐๒ ขุ.อิต.ิ (ไทย) ๒๕/๑๐๐/๔๗๗, ขุ.อิต.ิ (บาลี) ๒๕/๑๐๐/๓๑๙. ๑๐๓ ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก ค. หน้า ๒๓๔. ๑๐๔ ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก ค. หน้า ๒๓๓. ๑๐๕ ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก ค. หน้า ๒๓๖. ๑๐๖ ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก ค. หน้า ๒๓๓. ๑๐๗ ขุ.อป. (ไทย) ๓๒/๓๘๖-๔๑๘/๖๓๕-๖๓๙, ขุ.อป. (บาลี) ๓๒/๓๘๖-๔๑๘/๔๖๑-๔๖๔. ๑๐๘ ส.ม. (ไทย) ๑๙/๑๓๙/๗๒, ส.ม. (บาลี) ๑๙/๑๓๙/๓๙. ๑๐๙ มิลินฺท. ๔/๒๒๗. เป็น มัคคุปปาทนปัญหา. ๑๑๐ ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๗๙/๘๕, ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๗๙/๕๙. ๑๑๑ ส.นิ. (ไทย) ๑๖/๖๕/๑๒๘, ส.นิ. (บาลี) ๑๖/๖๕/๑๐๓. ๑๑๒ มิลินฺท. ๑/๑๐๙. เป็น กตาธิการสผลปัญหา. ๑๑๓ สมบัติ๓ ประการ คือ (๑) มนุษย์สมบัติ สมบัติในมนุษย์ (๒) เทวสมบัติ สมบัติในเทวโลก (๓) นิพพานสมบัติ สมบัติ คือ พระนิพพาน. (ขุ.ขุ. (ไทย) ๒๕/๑๓/๑๙, ขุ.ขุ. (บาลี) ๒๕/๑๓/๑๓) ๑๑๔ มิลินฺท. ๒/๑๑๕. ๑๑๕ มิลินฺท. ๓/๑๒๑. ๑๑๖ มิลินฺท. ๑๒/๑๙๘. ภิกขุปณามิตปัญหา. ๑๑๗ ขุ.สุ. (ไทย) ๒๕/๑๙/๕๐๒, ขุ.สุ. (บาลี) ๒๕/๑๙/๓๓๙. ๑๑๘ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๑๕๗/๑๗๗-๑๗๘, ม.ม. (บาลี) ๑๓/๑๕๗/๑๓๐. ๑๑๙ มิลินฺท. ๑๐/๒๒๐. เป็น พุทธสัพพัญญุภาวปัญหา. ๑๒๐ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๑๕๗-๑๖๐/๑๗๗-๑๘๒, ม.ม. (บาลี) ๑๓/๑๕๗-๑๖๐/๑๓๑-๑๓๓. ๑๒๑ มิลินฺท. ๒/๒๒๓. ๑๒๒ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๑๖๘/๘๕, ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๑๖๘/๔๗. ๑๒๓ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๒๔๒/๒๘๖, ม.ม. (บาลี) ๑๓/๒๔๒/๒๑๗. ๑๒๓ (องฺ.ปญฺจก. (ไทย) ๒๒/๑๒๙/๒๐๙, องฺ.ปญฺจก. (บาลี) ๒๒/๑๒๙/๑๓๗) ๑๒๔ อนันตริยกรรม คือ อกุศลกรรมที่หนักที่สุดซึ่งให้ผลทันที มี๕ ประการ คือ (๑) มาตุฆาต ฆ่ามารดา (๒) ปิตุฆาต ฆ่าบิดา (๓) อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ (๔) โลหิตุปบาท ทาโลหิตของพระพุทธเจ้าให้ห้อขึ้น (๕) สังฆเภท ทาลายสงฆ์ให้แตกกัน. ๑๒๕ มิลินฺท. ๑๐/๑๕๒. เป็น อิทธิพลทัสสนปัญหา. ๑๒๖ ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก ค. หน้า ๒๓๑. ๑๒๗ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๖๘/๑๑๖, ที.ม. (บาลี) ๑๐/๑๖๘/๙๕.


83

๑๒๘ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๖๗/๑๑๒, ที.ม. (บาลี) ๑๐/๑๖๗/๙๒. ๑๒๙ มิลินฺท. ๒/๑๕๖. เป็น อัพยากรณียปัญหา. ๑๓๐ (ที.ม.อ. ๑๖๔/๑๕๐, ส.ม.อ. ๓/๓๗๕/๒๗๖) ๑๓๑ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๖๕/๑๑๐, ที.ม. (บาลี) ๑๐/๑๖๕/๙๐. ส.ม. (ไทย) ๑๙/๓๗๕/๒๒๓, ส.ม. (บาลี)๑๙/๓๗๕/๑๓๓. ๑๓๒ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๑๒/๒๙๑, ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๑๒/๒๐๔. องฺ .จตุกฺก . (ไทย) ๒๑/๔๒/๗๐,องฺ .จตุกฺก . (บาลี ) ๒๑/ ๔๒/๕๑. ๑๓๓ มิลินฺท. ๕/๑๖๖. เป็น พุทธลาภันตรายปัญหา. ๑๓๔ ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๑๔/๑๙๓, ขุ.อุ. (บาลี) ๒๕/๑๔/๑๐๗. ๑๓๕ ส.ส. (ไทย) ๑๕/๑๕๔/๑๙๓-๑๙๔, ส.ส. (บาลี) ๑๕/๑๕๔/๑๓๘. ๑๓๖ มิลินฺท. ๒/๑๗๗. ๑๓๗ อง.สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๗๒/๑๕๘, อง.สตฺตก. (บาลี) ๒๓/๗๒/๑๐๕. ๑๓๘ มิลินฺท. ๑/๑๗๔. ๑๓๙ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๑๑๖/๘๗, ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๑๑๖/๗๑. ๑๔๐ สมณกรณธรรม ๒๐ ประการ คือ (๑) เสฏฺโฐ ธมฺมาราโม มีธรรมเป็นที่ยินดีประเสริฐที่สุด (๒)อคฺโค นิยโม มีความนิยมในกิจอันเลิศ (๓) จาโร มีความประพฤติดีงาม (๔) วิหาโร มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ (๕) สญฺญโม มีความสารวมอินทรีย์ (๖) สวโร มีความระวังในศีล (๗) ขนฺติ มีความอดทน (๘) โสรจฺจ มีความสงบเสงี่ยม (๙) เอกนฺตาภิรติ มีความยินดียิ่งในธรรม (๑๐) เอกนฺตจริยา มีการประพฤติธรรม (๑๑) ปฏิสลฺลี มีการอยู่ในที่หลีกเร้น (๑๒) หิริ มีความละอายต่อบาป (๑๓) โอตฺตปฺปํ มีความเกรงกลัวต่อบาป (๑๔) วีริย มีความเพียร (๑๕)อปฺปมาโท มีความไม่ประมาท (๑๖) สิกฺขาปทาน อุทฺเทโส มีการศึกษาเล่าเรียนสิกขาบท (๑๗) ปริปุจฺฉา มีการสอบถามข้อสงสัย (๑๘) สีลาทิอภิรติ มีความยินดียิ่งในศีล เป็นต้น (๑๙) นิราลยตา ไม่มีความอาลัย (๒๐) สิกฺขาปทปาริปูรี มีสิกขาบทบริบูรณ์. ๑๔๑ เพศอันอุดม ๒ ประการ คือ (๑) ภณฺฑกภาโว นุ่งห้มผ้ากาสาวพัตร์ (๒) มุณฺฑกภาโว ความเป็นผู้มีศีรษะโล้น.


84

๑๕๘ มหาวิโลกนะ ๘ ประการ คือ (๑) กาล วิโลเกติ เลือกกาล (๒) ทีปํ วิโลเกติ เลือกทวีป (๓) เทส วิโลเกติ เลือกประเทศ (๔) กุล วิโลเกติ เลือกตระกูล (๕) ชเนตฺตึ วิโลเกติ เลือกพระชนนี (๖) อายุวิโลเกติ เลือกอายุ (๗) มาส วิโลเกติ เลือกเดือน (๘) เนกฺขมฺม วิโลเกติ เลือกมหาภิเนษกรมณ์. ๑๔๒ มิลินฺท. ๘/๑๗๓. เป็น อเภชชปริสปัญหา. ๑๔๓ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๒๓๔/๑๙๑, ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๒๓๔/๑๔๙. ๑๔๔ วิ.จู. (ไทย) ๗/๓๔๔/๒๐๖, วิ.จู. (บาลี) ๗/๓๔๔/๑๔๐. ๑๔๕ มิลินฺท. ๗/๑๗๑. เป็น ภิกขุสังฆปริหรณปัญหา. ๑๔๖ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๖๕/๑๑๐, ที.ม. (บาลี) ๑๐/๑๖๕/๙๑. ๑๔๗ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๑๐๗/๗๙, ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๑๐๗/๖๕. ๑๔๘ มิลินฺท. ๓/๑๘๐. ๑๔๙ ส.ส. (ไทย) ๑๕/๑๑๖/๑๓๕, ส.ส. (บาลี) ๑๕/๑๑๖/๘๘. ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๓๖๑/๑๔๖, ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๓๖๑/๘๐. ๑๕๐ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๓๙๘/๔๙๔, ม.ม. (บาลี) ๑๓/๓๙๘/๓๘๓. ขุ.สุ. (ไทย) ๒๕/๕๕๓/๖๓๔, ขุ.สุ.(บาลี) ๒๕/๕๕๓/๔๔๖. ๑๕๑ มิลินฺท. ๔/๑๘๓. เป็น ผรุสวาจาภาวปัญหา. ๑๕๒ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๕/๒๖๗, ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๐๕/๑๙๕. องฺ.สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๕๘/ ๑๑๒,องฺ.สตฺตก. (บาลี) ๒๓/๕๘/๖๘. ๑๕๓ วิ.มหา. (ไทย) ๑/๓๙/๒๗, วิ.มหา. (บาลี) ๑/๓๙/๒๕. ๑๕๔ มิลินฺท. ๑๐/๑๙๕. ๑๕๕ ที.สี. (ไทย) ๙/๖/๓, ที.สี. (บาลี) ๙/๖/๓. ๑๕๖ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๓๙๙/๔๙๖, ม.ม. (บาลี) ๑๓/๓๙๙/๓๘๔. ขุ.สุ. (ไทย) ๒๕/๕๖๐/๖๓๖, ขุ.สุ.(บาลี) ๑๓/๕๖๐/๔๔๗. ๑๕๗ มิลินฺท. ๔/๒๐๕. ๑๕๙ มิลินฺท. ๕/๒๒๙. เป็น พุทธอวิเหฐกปัญหา. ๑๖๐ ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๒๒๖/๑๘๔, ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๒๒๖/๑๔๓. ๑๖๑ ขุ.ชา. (ไทย) ๒๗/๖๐-๖๘/๓๑๐-๓๑๑, ขุ.ชา. (บาลี) ๒๗/๖๐-๖๘/๒๐๒-๒๐๓. ๑๖๒ มิลินฺท. ๖/๒๓๑. ๑๖๓ ขุ.ชา. (ไทย) ๒๗/๑๒๑/๕๕๘, ขุ.ชา. (บาลี) ๒๗/๑๒๑/๓๙๘. ๑๖๔ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๒๘๓/๓๓๘, ม.ม. (บาลี) ๑๓/๒๘๓/๒๕๙. ขุ.อป. (ไทย) ๓๒/๙๒/๕๗๗, ขุ.อป.(บาลี) ๓๒/๙๒/๔๒๐. ๑๖๕ มิลินฺท. ๘/๒๓๔. เป็น พราหมณราชวาทปัญหา. ๑๖๖ ขุ.อิต.ิ (ไทย) ๒๕/๑๐๐/๔๗๗, ขุ.อิต.ิ (บาลี) ๒๕/๑๐๐/๓๑๙. ๑๖๗ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๓๙๙/๔๙๖, ม.ม. (บาลี) ๑๓/๓๙๙/๓๘๔. ขุ.สุ. (ไทย) ๒๕/๕๖๐/๖๓๖,


85

ขุ.สุ.(บาลี) ๑๓/๕๖๐/๔๔๗. ๑๖๘ มิลินฺท. ๒/๒๔๘. เป็น ทวินนังพุทธานังอนุปปัชชมานปัญหา. ๑๖๙ ที.ปา. ๑๑/๑๖๑/๑๒๓, ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๑๖๑/๙๙. ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๑๒๙/๑๖๗, ม.อุ. (บาลี) ๑๔/ ๑๒๙/๑๑๕. องฺ.เอกก. (ไทย) ๒๐/๒๗๗/๓๔, องฺ.เอกก. (บาลี) ๒๐/๒๗๗/๒๙. ๑๗๐ ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก ค. หน้า ๒๓๑. ๑๗๒ อทานสมฺมตานิ(ทานที่ไม่จัดว่าเป็นทาน) มี๑๐ประการ คือ (๑) มัชชทาน การให้น้าเมา (๒)สมัชชทาน การให้มหรสพ (๓) อิตถิทาน การให้สตรี (๔) อุสภทาน การให้โค (๕) จิตตกัมมทาน การให้จิตรกรรม (๖) สัตถทาน การให้ศัสตรา (๗) วิสทาน การให้ยาพิษ (๘) สังขลิกทาน การให้เครื่องจองจา (๙) กุกกุฏสูกรทานการให้ไก่และสุกร (๑๐) ตุลากูฏมานกูฏทาน การให้โกงด้วยการชั่งและโกงด้วยการนับ ๑๗๓ มิลินฺท. ๒/๒๙๕. ๑๗๔ ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก ค. หน้า ๒๓๓. ๑๗๕ ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก ค. หน้า ๒๓๔. ๑๗๖ ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก ค. หน้า ๒๓๓. ๑๗๗ ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก ค. หน้า ๒๓๕. ๑๗๘ มิลินฺท. ๑/๓๓๘. ๑๗๙ ปาพจน์ หมายถึง พระธรรมและพระวินัย. ๑๘๐ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๑๖/๑๖๔, ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๑๖/๑๓๔. ๑๘๑ มิลินฺท. ๙/๓๔. เป็น สีลลักขณปัญหา. ๑๘๒ ส.ส. (ไทย) ๑๕/๒๓,๑๙๒/๒๗,๒๗๑, ส.ส. (บาลี) ๑๕/๒๓,๑๙๒/๑๖,๑๙๘. ๑๘๓ มิลินฺท. ๑๐-๑๑/๓๕-๓๖. เป็น สัมปสาทนลักขณสัทธาปัญหา และ สัมปักขันทนลักขณ สัทธาปัญหา. ๑๘๔ ส.ส. (ไทย) ๑๕/๒๔๖/๓๕๓, ส.ส. (บาลี) ๑๕/๒๔๖/๒๕๘. ๑๘๕ มิลินฺท. ๑๒/๓๗. ๑๘๖ องฺ.สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๖๗/๑๔๐, องฺ.สตฺตก. (บาลี) ๒๓/๖๗/๙๐. ๑๘๗ มิลินฺท. ๑๓/๓๘. ๑๘๘ ส.ม. (ไทย) ๑๙/๒๓๔/๑๗๔, ส.ม. (บาลี) ๑๙/๒๓๔/๑๐๒. ๑๘๙ มิลินฺท. ๑๐/๘๗. ๑๙๐ มิลินฺท. ๑๑/๘๗. เป็น อภิชานันตสติปัญหา. ๑๙๑ มิลินฺท. ๑/๘๘. เป็น สติอุปปัชชนปัญหา. ๑๙๒ มิลินฺท. ๑๔/๔๐. ๑๙๓ ส.ข. (ไทย) ๑๗/๕/๑๗, ส.ข. (บาลี) ๑๗/๕/๑๒. ส.สฬา. (ไทย) ๑๘/๙๙/๑๑๐, ส.สฬา.


86

(บาลี) ๑๙/๙๙/๗๖. ส.ม. (ไทย) ๑๙/๑๐๗๑/๕๘๓, ส.ม. (บาลี) ๑๙/๑๐๗๑/๓๖๑. ๑๙๔ มิลินฺท. ๑๕/๔๐. ๑๙๕ มิลินฺท. ๓/๔๔. เป็น ญาณปัญญาปัญหา. ๑๙๖ มิลินฺท. ๘/๘๖. ๑๙๗ มิลินฺท. ๑๔/๙๘. เป็น สุขุมปัญหา. ๑๙๘ มิลินฺท. ๗/๓๓. เป็น โยนิโสมนสิการปัญหา. ๑๙๙ มิลินฺท. ๘/๓๓. ๒๐๐ มิลินฺท. ๑๕/๙๘. ๒๐๑ มิลินฺท. ๖/๙๔. ๒๐๒ โพชฌงค์๗ ประการ คือ (๑) สติ ความระลึกได้(๒) ธัมมวิจยะ ความเฟ้นธรรม (๓) วิริยะ ความเพียร (๔) ปีติ ความอิ่มใจ (๕) ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ (๖) สมาธิ ความตั้งจิตมั่น (๗) อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง. (องฺ.สตฺตก. (ไทย) ๒๓/๒๖/๔๐, องฺ.สตฺตก. (บาลี) ๒๓/๒๖/๒๑) ๒๐๓ มิลินฺท. ๑๖/๔๑. เป็น นานาธัมมานังเอกกิจจอภินิปผาทนปัญหา. ๒๐๔ มิลินฺท. ๕/๔๗. เป็น เวทนาปัญหา. ๒๐๕ มิลินฺท. ๘/๖๔. ๒๐๖ มิลินฺท. ๙/๖๕. ๒๐๗ มิลินฺท. ๑๐/๖๖. ๒๐๘ มิลินฺท. ๑๑/๖๖. ๒๐๙ องฺ.ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๖๓/๕๗๗, องฺ.ฉกฺก. (บาลี) ๒๒/๖๓/๓๙๕. “เจตนาห ภิกฺขเว กมฺม วทามิ, เจตยิตฺวา กมฺม กโรติ กาเยน วาจาย เจตสา”. ๒๑๐ มิลินฺท. ๑๒/๖๗. ๒๑๑ มิลินฺท. ๗/๖๑. เป็น จักขุวิญญาณาทิปัญหา. ๒๑๒ มิลินฺท. ๑๓/๖๗. ๒๑๓ มิลินฺท. ๑๔/๖๘. ๒๑๔ มิลินฺท. ๒/๗๐. เป็น ผัสสาทิวินิพภุชนปัญหา. ๒๑๕ มิลินฺท. ๒/๗๐. ๒๑๖ องฺ.ปญฺจก. (ไทย) ๒๒/๑๓/๑๗, องฺ.ปญฺจก. (บาลี) ๒๒/๑๓/๙. ๒๑๗ วิสุทฺธิ. ๑/๑๔๐-๑๔๑. ๒๑๘ มิลินฺท. ๕/๓๑. ๒๑๙ มิลินฺท. ๕/๗๑. เป็น วายามกรณปัญหา. ๒๒๐ มิลินฺท. ๔/๗๘. ๒๒๑ มิลินฺท. ๑/๘๑. เป็น กายปิยายนปัญหา. ๒๒๒ วิสุทฺธิ. ๑/๒๕๑. ๒๒๓ มิลินฺท. ๗/๘๕. เป็น สราควีตราคนานากรณปัญหา. ๒๒๔ มิลินฺท. ๙/๑๙๔. เป็น อัคคัคคสมณปัญหา.


87

๒๒๕ ม.มู. (ไทย) ๑๒/๔๓๙/๔๖๙, ม.มู. (บาลี) ๑๒/๔๓๙/๓๘๗. ๒๒๖ ธรรม ๔ ประการ คือ (๑) ขนฺติ ความอดทน (๒) อปฺปาหารตา ความเป็นผู้มีอาหารน้อย (๓) รติ วิปฺปหาน การ ละความยินดีเสีย (๔) อากิญฺจญฺญ ความเป็นผู้ไม่มีความกังวล. (ขุ.ชา. (ไทย) ๒๗/๓๒/๓๒๖, ขุ.ชา.(บาลี) ๒๗/๓๒/๒๑๕) ๒๒๗ มิลินฺท. ๑/๒๒๒. ๒๒๘ ขุ.สุ. (ไทย) ๒๕/๒๐๙/๕๔๘, ขุ.สุ. (บาลี) ๒๕/๒๐๙/๓๗๓. ๒๒๙ วิ.จู. (ไทย) ๗/๓๑๕/๑๓๑, วิ.จู. (บาลี) ๗/๓๑๕/๘๖. ๒๓๐ มิลินฺท. ๙/๒๑๘. เป็น อรหันตอภายนปัญหา. ๒๓๑ ขุ.ธ.อ. ๑/๑๓๑. ๒๓๒ มิลินฺท. ๕/๒๕๖. ๒๓๓ ส.ส. (ไทย) ๑๕/๑๘๕/๒๕๘, ส.ส. (บาลี) ๑๕/๑๘๕/๑๘๘. ขุ.เถร. (ไทย) ๒๖/๒๕๖/๓๘๐, ขุ.เถร. (บาลี) ๒๖/๒๕๖/๓๑๑. ๒๓๔ มิลินฺท. ๑/๒๗๓. ๒๓๕ นิปปปัญจธรรม หมายถึง ธรรมไม่มีเครื่องเนิ่นช้า มีอยู่๔ ประการ คือ (๑) โสดาปัตติผล (๒) สกทาคามิผล (๓) อนาคามิผล (๔) อรหัตตผล. (ส.สฬา. (ไทย) ๑๘/๓๘๘/๔๖๑, ส.สฬา. (บาลี) ๑๘/๓๘๘/๓๒๖) ๒๓๖ นวังคสัตถุศาสน์ หมายถึง คาสั่งสอนของพระศาสดามีองค์๙ ประการ คือ (๑) สุตตะ (๒) เคยยะ(๓) เวยยา กรณะ (๔) คาถา (๕) อุทาน (๖) อิติวุตตกะ (๗) ชาตกะ (๘) อัพภูตธรรม (๙) เวทัลละ. (วิ.มหา. (ไทย) ๑/๑๙/๑๑, วิ. มหา. (บาลี) ๑/๑๙/๑๐) ๒๓๗ มิลินฺท. ๒/๒๗๕. เป็น ขีณาสวภาวปัญหา. ๒๓๘ มิลินฺท. ๔/๒๕๔. เป็น คิหิปัพพชิตสัมมาปฏิปัตติปัญหา. ๒๓๙ องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๔๑/๘๗, องฺ.ทุก. (บาลี) ๒๐/๔๑/๖๗. ๒๔๐ ญายกุศลธรรม หมายถึง กุศลธรรมพร้อมทั้งวิปัสสนาและมรรค (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๑/๕๑) ๒๔๑ มิลินฺท. ๗/๒๖๔. เป็น อรหันตเวทนาเวทิยนปัญหา. ๒๔๒ ธรรม ๑๐ ประการ คือ (๑) ความเย็น (๒) ความร้อน (๓) ความหิว (๔) ความกระหาย (๕)อุจจาระ (๖) ปัสสาวะ (๗) ความง่วงเหงาหาวนอน (๘) ความแก่(๙) ความเจ็บ (๑๐) ความตาย. ๒๔๓ มิลินฺท. ๘/๒๖๕. ๒๔๔ มิลินฺท. ๒/๓๕๕. ๒๔๕ ธุดงค์๑๓ ประการ คือ (๑) ปํสุกูลิกงฺค องค์ของภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล (๒) เตจีวริกงฺค องค์ของภิกษุผู้ถือทรงผ้า ๓ ผืน (๓) ปิณฺฑปาติกงฺค องค์ของภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต (๔) สปทานจาริกงฺค องค์ของภิกษุผู้ถือเที่ยวตามแถว (๕) เอกาสนิกงฺค องค์ของภิกษุผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียว (๖) ปตฺตปิณฺฑิกงฺค องค์ของภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร (๗) ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺค องค์ของภิกษุผู้ถือการห้ามภัตรที่เขานามาถวายเมื่อภายหลัง (๘)อารญฺญกิงฺค องค์ของภิกษุผู้ถืออยู่ป่า (๙) รุกฺขมูลิกงฺคองค์ของภิกษุผู้ถืออยู่โคนไม้


88

(๑๐) อพฺโภกาสิกงฺค องค์ของภิกษุผู้ถืออยู่ในที่กลางแจ้ง (๑๑)โสสานิกงฺคองค์ของภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้า (๑๒) ยถาสนฺถติกงฺค องค์ของภิกษุผู้ถืออยู่ในอาสนะตามที่จัดไว้ (๑๓) เนสชฺชิกงฺค องค์ของภิกษุผู้ถือการนั่ง . (วิ.ป. (ไทย) ๘/๔๔๓/๖๒๘, วิ.ป. (บาลี) ๘/๔๔๓/๑๙๖) ๒๔๖ องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๓๖/๗๙, องฺ.ทุก. (บาลี) ๒๐/๓๖/๖๒. ๒๔๗ มิลินฺท. ๒/๘๒. เป็น สัพพัญญูภาวปัญหา. ๒๔๘ มิลินฺท. ๘/๒๘๓. เป็น อนวเสสสิกขาปทปัญหา. ๒๔๙ มิลินฺท. ๑/๑๕๔. ๒๕๐ องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๑๒๖/๓๗๓, องฺ.ติก. (บาลี) ๒๐/๑๒๖/๒๖๙. ๒๕๑ วิ.จู. (ไทย) ๗/๔๔๑/๓๘๒, วิ.จู. (บาลี) ๗/๔๔๑/๒๗๘. ๒๕๒ มิลินฺท. ๒/๒๐๑. ๒๕๓ วิ.ป. (ไทย) ๘/๓๒๓/๔๔๐, วิ.ป. (บาลี) ๘/๒๓๒/๒๖๖. องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๑๓๒/๓๘๑, องฺ.ติก.(บาลี) ๒๐/๑๓๒/๒๗๖. ๒๕๔ วิ.ม. (ไทย) ๔/๑๕๔/๒๓๔-๒๓๖, วิ.ม. (บาลี) ๔/๑๕๔/๑๖๒-๑๖๓. ๒๕๕ มิลินฺท. ๓/๒๗๗. เป็น ขีณาสวสติสัมโมสปัญหา. ๒๕๖ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือ (๑) ปาณาติบาต การฆ่าสัตว์(๒)อทินนาทาน การลักทรัพย์(๓)กาเมสุมิจฉาจาร การประพฤติผิดในกาม (๔) มุสาวาท การพูดเท็จ (๕) ปิสุณาวาจา การพูดส่อเสียด (๖) ผรุสวาจาการพูดคาหยาบ (๗) สัมผัปปลาปะ การพูดเพ้อเจ้อ (๘) อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้วัตถุของคนอื่น (๙) พยาบาทความคิดร้าย (๑๐) มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด. (ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๖๐/๔๓๑, ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๖๐/๒๗๘. อง.ทสก.(ไทย) ๒๔/๑๗๑/๓๐๗, อง.ทสก. (บาลี) ๒๔/๑๗๑/๒๐๘) ๒๕๗ มิลินฺท. ๖/๒๕๗. ๒๕๘ มิลินฺท. ๙/๒๖๖. ๒๕๙ มิลินฺท. ๙/๗๕. ๒๖๐ มิลินฺท. ๕/๒๗๙. เป็น นิพพานปัญหา. ๒๖๑ มิลินฺท. ๖/๒๘๒. ๒๖๒ มิลินฺท. ๑๑/๓๓๒. ๒๖๓ มิลินฺท. ๑๒/๓๓๕. เป็น นิพพานสันนิหิตปัญหา. ๒๖๔ ขุ.อิต.ิ (ไทย) ๒๕/๔๔/๓๙๒, ขุ.อิต.ิ (บาลี) ๒๕/๔๔/๒๖๕. ๒๖๕ มิลินฺท. ๔/๔๖. เป็น ปฏิสันทหนปุคคลเวทิยนปัญหา. ๒๖๖ ส.สฬา. (ไทย) ๑๘/๒๕๔/๒๗๕, ส.สฬา. (บาลี) ๑๘/๒๕๔/๑๙๒. ๒๖๗ ขุ.เถร. (ไทย) ๒๖/๑๐๐๑-๑๐๐๒/๕๐๔, ขุ.เถร. (บาลี) ๒๖/๑๐๐๑-๑๐๐๒/๓๙๗. ๒๖๘ มิลินฺท. ๘/๗๕. ๒๖๙ มิลินฺท. ๑๐/๗๖. เป็น นิพพานสุขชานนปัญหา. ๒๗๐ มิลินฺท. ๗/๓๑๘. ๒๗๑ อภิญญา ๖ ประการ คือ (๑) อิทธิวิธิ ความรู้ที่ทาให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ (๒) ทิพพโสต ญาณที่ทาให้มีหูทิพย์


89

(๓) เจโตปริยญาณ ญาณที่ทาให้กาหนดใจคนอื่นได้ (๔) ปุพเพนิวาสานุสสติ ญาณที่ทาให้ระลึกชาติ (๕) ทิพพจักขุ ญาณที่ทาให้มีตาทิพย์ (๖) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทาให้อาสวะสิ้นไป. (ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๕๖/๓๙๔-๓๙๖, ที.ปา. (บาลี) ๑๑/๓๕๖/๒๕๖-๒๕๗ ) ๒๗๒ มิลินฺท. ๙/๓๒๒. เป็น เอกันตสุขนิพพานปัญหา. ๒๗๓ มิลินฺท. ๑๐/๓๒๕. เป็น นิพพานรูปสัณฐานปัญหา. ๒๗๔ มิลินฺท. ๑/๒๕. เป็น ปัญญัตติปัญหา. ๒๗๕ อาการ ๓๒ ประการ คือ (๑) เกสา ผม (๒) โลมา ขน (๓) นขา เล็บ (๔) ทนฺตาฟัน (๕) ตโจ หนัง (๖) มส เนื้อ (๗) นหารู เอ็น (๘) อฏฺฐีกระดูก (๙) อฏฺฐิมิญฺชเยื่อในกระดูก (๑๐) วกฺก ไต (๑๑) หทย หัวใจ (๑๒)ยกน ตับ (๑๓) กิโลมก พังผืด (๑๔) ปิหก ม้าม (๑๕) ปปฺผาส ปอด (๑๖) อนฺต ไส้ใหญ่(๑๗) อนฺตคุณ ไส้น้อย (๑๘)อุทริย อาหารใหม่(๑๙) กรีส อาหารเก่า (๒๐) ปิตฺต ดี(๒๑) เสมฺห เสลด (๒๒) ปุพฺโพ หนอง (๒๓) โลหิต เลือด (๒๔) เสโท เหงื่อ (๒๕) เมโท มันข้น (๒๖) อสฺสุ น้าตา (๒๗) วสา เปลวมัน (๒๘) เขโฬ น้าลาย (๒๙) สิงฺฆาณิกาน้ามูก (๓๐) ลสิกา ไขข้อ (๓๑) มุตฺต มูตร (๓๒) มตฺถลุงฺค มันสมอง. (ขุ.ขุ. (ไทย) ๒๕/๓/๔, ขุ.ขุ. (บาลี) ๒๕/๓/๒) ๒๘๘ ขุ.ชา.อ. ๙/๒๗๐. ๒๘๙ มโหสถบัณฑิต คือ พระโพธิสัตว์ที่เสวยพระชาติเป็นมโหสถบัณฑิต เมื่อพระองค์ได้นางอมราเป็นภริยาแล้ว ก็ กลับมายังพระนครเพื่อไปเรือนของตน แต่พอถึงพระนครก็กลับนานางไปพานักอยู่ที่เรือนของคนเฝ้าประตูก่อน ส่วน พระองค์ก็กลับไปสู่เรือน ทรงมีพระประสงค์จะทดสอบความจงรักภักดีของนาง จึงจ้างวานชายอื่นให้ถือเงิน ๑,๐๐๐ กหาปณะ เพื่อไปประเล้าประโลมให้นางเกิดความยินดีคนเหล่านั้นพยายามอยู่ถึง ๓ ครั้งก็ไม่สาเร็จ พระโพธิสัตว์จึง ให้คนนานางมายังเรือน นางอมราเห็นพระโพธิสัตว์ผู้ปลอมตัวเป็นชายอื่นประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับมีค่ายืน อยู่บนกองสมบัติ ก็จาไม่ได้ นางก็ไม่ได้มีใจหวั่นไหวในความสง่างามและทรัพย์ สมบัติ แต่กลับตาหนิพระโพธิสัตว์ผู้ปลอมตัวว่า ชาติก่อนท่านก็รู้จักทากุศล ชาตินี้จึงทาให้ร่ารวยมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก แต่ชาตินี้กลับคิดจะทาอกุศล ประพฤติผิดในภริยาของคนอื่น ซึ่งจะเป็นเหตุให้ไปเกิดในนรก เมื่อพระโพธิสัตว์เห็น ประจักษ์ในความเป็นหญิงมั่นคง ไม่โลเล จึงเลิกทดสอบและยอมรับนางอมราโดยดี. (ขุ.ชา. (ไทย) ๒๘/๕๙๐-๗๘๓/๒๗๔-๓๐๔, ขุ.ชา. (บาลี) ๒๘/๕๙๐-๗๘๓/๑๘๗-๒๐๖) ๒๙๐ มิลินฺท. ๕/๑๘๕. เป็น รุกขอเจตนาภาวปัญหา. ๒๙๑ ขุ.ชา. (ไทย) ๒๗/๒๕/๑๖๑, ขุ.ชา. (บาลี) ๒๗/๒๕/๙๙. ๒๙๒ ขุ.ชา. (ไทย) ๒๗/๒๐/๓๙๙, ขุ.ชา. (บาลี) ๒๗/๒๐/๒๗๓. ๒๙๓ มิลินฺท. ๑๐/๒๖๗. ๒๙๔ ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๓๘๒/๔๓๑, ม.อุ. (บาลี) ๑๔/๓๘๒/๓๒๖. ๒๙๕ มิลินฺท. ๘/๓๑๙. เป็น ธัมมาภิสมยปัญหา. ๒๙๖ ครุกาบัติ หมายถึง อาบัติสังฆาทิเสส. ๒๙๗ มิลินฺท. ๗/๗๔. ๒๙๘ มิลินฺท. ๑๐/๙๖. ๒๙๙ มิลินฺท. ๑๑/๒๖๙. ๓๐๐ มิลินฺท. ๔/๒๗๘. ๓๐๑ มิลินฺท. ๗/๒๘๒.


90

๓๐๒ คาว่า ยักษ์ หมายถึง พวกภุมเทวดาซึ่งนับเนื่องในเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นบริวารของท้าวจตุโลกบาล . (ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์(ผู้แปล), มิลินทปัญหา เล่ม ๓, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,๒๕๔๕), หน้า ๑๐๓. ๓๐๓ มิลินฺท. ๑๐/๒๘๕. เป็น สูริยตปนปัญหา. ๓๐๔ มิลินฺท. ๙/๒๘๔. เป็น กฐินตปนปัญหา. ๓๐๕ มิลินฺท. ๕/๓๐๘. ๓๐๖ มิลินฺท. ๑๒/๙๗. ๓๐๗ มิลินฺท. ๑๓/๙๗. ๓๐๘ มิลินฺท. ๕/๑๓๑. ๓๐๙ ขุ.อิต.ิ (ไทย) ๒๕/๖๑/๔๑๗, ขุ.อิต.ิ (บาลี) ๒๕/๖๑/๒๗๘. อภิ.ก. (ไทย) ๓๗/๓๗๔/๓๗๖, อภิ.ก.(บาลี) ๓๗/๓๗๔/๒๑๔. ๓๑๐ พระเจ้าสีวิราช คือ พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวีทรงบริจาคพระเนตรเป็นทานต่อมากลับได้พระ เนตรทิพย์ด้วยอานาจสัจจะ และทรงแนะนาให้ประชาชนยินดีในการบริจาคทาน . (ขุ.ชา. (ไทย)๒๗/๕๒-๘๒/๔๗๘๔๘๓, ขุ.ชา. (บาลี) ๒๗/๕๒-๘๒/๓๓๓-๓๓๖) ๓๑๑ มิลินฺท. ๖/๑๓๕. ๓๑๒ ม.มู. (ไทย) ๑๒/๔๐๘/๔๔๔, ม.มู. (บาลี) ๑๒/๔๐๘/๓๖๔. ๓๑๓ มิลินฺท. ๔/๙๒. ๓๑๔ มิลินฺท. ๕/๙๓. เป็น ทวินนังโลกุปปันนานังสมกภาวปัญหา. ๓๑๕ มิลินฺท. ๙/๙๖. เป็น อุตตรกุรุกาทิคมนปัญหา. ๓๑๖ มิลินฺท. ๑๑/๙๗. เป็น อัสสาสปัสสาสนิโรธปัญหา. ๓๑๗ มิลินฺท. ๗/๑๔๒. ๓๑๘ วิ.จู. (ไทย) ๗/๔๐๓/๓๑๙, วิ.จู. (บาลี ) ๗/๔๐๓/๒๓๖. องฺ .อฏฺฐก. (ไทย) ๒๓/๕๑/๓๓๖, องฺ .อฏฺฐก. (บาลี ) ๒๓/๕๑/ ๒๓๑. สัทธรรมจะตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี หมายความว่า ถ้าให้สตรีบวชโดยไม่ได้บัญญัติครุธรรมไว้ก่อน เวลาผ่านไป ๕๐๐ ปี ก็จะไม่มีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา แต่เมื่อบัญญัติครุธรรมไว้ก่อนที่สตรีจะบวช ในเวลาระยะ ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระอรหันต์สุกขวิปัสสกอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระอนาคามีอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระสกทาคามีอยู่ ผ่านไปอีก ๑,๐๐๐ ปี ก็ยังมีพระโสดาบันอยู่ สรุปว่าปฏิเวธสัทธรรมจะดารงอยู่ได้๕ ,๐๐๐ ปี แม้ปริยัติก็ดารงอยู่ได้๕ ,๐๐๐ปี เพราะปริยัติกับปฏิเวธเกื้อกูลกัน . (วิ.อ. ๓/๔๐๓/๔๐๖-๔๐๗. องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๕๑/๒๖๕) ๓๑๙ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๑๔/๑๖๒, ที.ม. (บาลี) ๑๐/๒๑๔/๑๓๓. ๓๒๐ องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ คือ (๑) เป็นผู้มีศรัทธา (๒) เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง (๓) เป็นผู้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา (๔) เป็นผู้ปรารภความเพียร (๕) เป็นผู้มีปัญญา. (องฺ.ปญฺจก. (ไทย) ๒๒/๕๓/ ๙๒, องฺ.ปญฺจก. (บาลี) ๒๒/๕๓/๖๐) ๓๒๑ นาม ๔ ชนิด คือ (๑) อาวัตถิกนาม ชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการแยกประเภทกัน หรือที่เรียกตามรุ่นคราว สมัย (๒) ลิงคิกนาม ชื่อที่ตั้งตามเพศของบุคคล หรือตามเครื่องหมาย (๓) เนมิตติกนาม ชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นเครื่องหมาย แห่งคุณที่ตนได้บรรลุ เช่น ผู้ได้วิชชา ๓ ผู้ได้อภิญญา ๖ เป็นต้น ซึ่งบิดามารดาไม่ได้เป็นคนตั้งให้ มาแต่กาเนิด (๔) อธิจจสมุปปันนนาม ชื่อที่ตั้งขึ้นโดยมิได้มุ่งถึงความหมายแห่งคา แต่ตั้งขึ้นลอย ๆ ตามโวหาร ชาวโลก เช่น ผู้เจริญ ผู้เจริญด้วยทรัพย์ หรือชื่ออื่น ๆ ที่ตั้งตามโวหารชาวโลกทั่วไป. (วิสุทฺธิ. ๑/๒๖๘) ๓๒๒ ดูรายละเอียดใน ภาคผนวก ค. หน้า ๒๓๐.


91

บทที่ ๓ การศึกษาบทบาทและวิธีการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาของพระนาคเสนเถระ วิธีการอธิบายหลักธรรมที่ปรากฏในมิลินทปัญหา วิธีการใช้ปฏิภาณโวหาร และ บทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระนาคเสนเถระ ซึ่งทาให้พระพุทธศาสนาแผ่ ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง โดยการศึกษาจากหลักธรรม และวิธีการโต้ตอบปัญหา ซึ่ง ปรากฏอยู่ในคัมภีร์มิลินทปัญหา เพื่อนามาประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ เหมาะสมกับสังคมยุคปัจจุบันผลของการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ได้พบว่า พระนาคเสนผู้เป็นพระ เถระที่เชี่ยวชาญในปริยัติและเป็นพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ได้อธิบายหลักธรรมที่ ปรากฏอยู่ในคัมภีร์มิลินทปัญหาอย่างละเอียดและลึกซึ้ง พร้อมทั้งยกอุปมาอุปไมย ประกอบการอธิบาย และยังใช้ปฏิภาณโวหารในการโต้ตอบปัญหากับพระเจ้ามิลินท์ จนทา ให้พระองค์หมดสิ้นความสงสัยเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้นการเผย แผ่พระพุทธศาสนาของพระนาคเสนเถระ ทาให้ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของนักเผยแผ่ที่ดี ที่ ต้องมีทั้งปัญญาความรอบรู้ในสิ่งที่ควรรู้ สามารถนามาใช้ในการเผยแผ่เพื่อให้เกิด ประโยชน์มากที่สุด และผู้เผยแผ่ต้องมีวัตรปฏิบัติเป็นที่น่าเลื่อมใส จึงจะทาให้ผู้ฟังมี ศรัทธา และนาไปปฏิบัติตามความเข้าใจได้เป็นอย่างดี พระนาคเสนมีรูปแบบและวิธีการ ในการเผยแผ่ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ การใช้ปฏิภาณไหวพริบในการโต้ตอบปัญหา ที่หลากหลายกับพระเจ้ามิลินท์ ทั้งที่เกี่ยวกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่เป็นพระ จริยาวัตรของพระพุทธเจ้า และปัญหาอื่น ๆ โดยทั่วไปผลสืบเนื่องที่ได้ทราบจากการ ศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ อิทธิพลของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระนาคเสน ทาให้เกิด การพัฒนารูปแบบการเผยแผ่ให้มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น ทั้งในด้านเนื้อหาสาระ และวิธีการ นาเสนอ ในการเผยแผ่แต่ละครั้งควรจะให้ผู้ฟังได้รับความแจ่มแจ้ง เกิดแรงจูงใจ อยาก นาไปปฏิบัติ และได้รับความเพลิดเพลินด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเผยแผ่แบบอธิบายรูปเดียว หรือแบบสนทนาโต้ตอบกัน ล้วนแต่ทาให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์มาก จึงนับว่าเป็นคุณูปการ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนานอกจากนั้น การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระนาคเสน โดยการโต้ตอบปัญหากับพระเจ้ามิลินท์ทาให้เกิดการรวบรวมประมวลหลักธรรมที่มีการ อธิบาย มีการสนทนาโต้ตอบกันไว้ในคัมภีร์ที่ชื่อว่า มิลินทปัญหา และคัมภีร์นี้ก็ยังเป็น ต้นแบบของการนาไปอธิบายอ้างอิงในคัมภีร์รุ่นหลังอีกหลายคัมภีร์ การที่จะชื่อได้ว่าเป็นผู้เผยแผ่ธรรมได้เยี่ยมยอดนั้นต้องอาศัยบุคลิกภาพ เมื่อ พิจารณาบุคลิกลักษณะของพระนาคเสนพอจะประมวลได้ดังนี้


92

๓.๓ บุคลิกภาพของพระนาคเสน พระนาคเสนถือกาเนิดในตระกูลพราหมณ์ ซึ่งมีวิถีชีวิตและขั้นตอนการดาเนินชีวิต ตามแบบของผู้นับถือศาสนาพราหมณ์จึงมีบุคลิกภาพของบุคคลผู้ใคร่ต่อการศึกษา ซึ่งจะ ช่วยทาให้การสืบต่อวงศ์ตระกูลไม่ขาดสาย เพราะอาศัยการศึกษาเล่าเรียน การท่องจา และการสาธยายมนต์เป็นหลัก ๓.๓.๑ บุคลิกภาพด้านการศึกษา พระนาคเสนเป็นผู้สนใจใคร่ต่อการศึกษามาตั้งแต่เยาว์วัย บิดาจึงได้เชิญพราหมณ์ ผู้เป็นครูมาสอนศิลปวิทยาให้พวกพราหมณ์มีข้อปฏิบัติตามขั้นตอนในการดาเนินชีวิต ตามที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พราหมณะและคัมภีร์อรัณยกะ หลักการนี้ถูกกาหนดขึ้นโดยตั้ง เกณฑ์อายุเฉลี่ยของคนไว้๑๐๐ ปี แบ่งช่วงของการใช้ชีวิตออกเป็น ๔ ช่วง ช่วงละ ๒๕ ปี ชีวิตในแต่ละช่วงนั้นเรียกว่า อาศรม มีอยู่๔ ประการ ๑๐๘ คือ (๑) พรหมจารี ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ หมายถึง ผู้ที่ยังเป็นนักเรียน (๒) คฤหัสถ์ ผู้อยู่ครองเรือน (๓) วนปรัสถ์ ผู้อยู่ป่า (๔) สันยาสี ผู้แสวงหาธรรม พระนาคเสน ในสมัยที่ยังเป็นเด็กก็ดารงตนอยู่ในช่วงแรกของการดาเนินชีวิต เป็น ช่วงของการศึกษาเล่าเรียน เพราะคนที่อยู่ในวัยนี้เป็นวัยของนักเรียน หรือวัยแห่งการ เรียนรู้ซึ่งจาเป็นต้องศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ และแหล่งความรู้อื่น ๆ เพื่อ เตรียมตัวไปสู่การสร้างหลักฐานที่มั่นคงสมบูรณ์ ด้วยความที่พระนาคเสนเป็นผู้มีบุคลิก ด้านการศึกษามาแต่เยาว์วัย จึงทาให้เรียนรู้ศิลปศาสตร์ได้อย่างรวดเร็วและคล่องแคล่ว จนไม่มีวิชาที่จะให้ศึกษาต่อไปได้อีก เมื่อนาความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาก็ไม่เห็นแก่นสาร แม้เพียงเล็กน้อย จึงเกิดความเสียใจว่า ไตรเพท ๑๐๙ เหล่านี้ว่างเปล่าจากประโยชน์ เป็นแต่เพียงตาราที่ต้องท่องบ่นเพ้อเปล่า ๆจึงทาให้ท่านปรารถนาที่จะศึกษาให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกเมื่อพระนาคเสนได้บวชในพระพุทธศาสนา อาจารย์ก็แนะนา ให้ศึกษาพระ อภิธรรมปิฎกก่อนพระสุตตันตปิฎก ภายหลังจึงศึกษาพระไตรปิฎกจนเกิดความแม่นยา ชานาญในพุทธพจน์ การที่พระนาคเสนเป็นผู้มีบุคลิกโดดเด่นทางด้านการศึกษา มี สัมมาทิฏฐิเพราะอาศัยปัจจัย ๒ ประการ ๑๑๐ คือ (๑) ปรโตโฆสะ เสียงจากผู้อื่น เป็นการกระตุ้นชักจูงจากภายนอก ได้แก่การ อบรมสั่งสอน แนะนา การถ่ายทอด การโฆษณา คาบอกเล่า ข่าวสาร คาชี้แจงอธิบาย จากผู้อื่น ตลอดจนการเรียนรู้เลียนแบบจากแหล่งต่าง ๆ ภายนอก หรืออิทธิพลจาก


93

ภายนอกแหล่งสาคัญของการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ บิดามารดา ครูอาจารย์ มิตรสหาย คนใกล้ชิดผู้ร่วมงาน ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา บุคคลมีชื่อเสียง คนโด่งดัง คนผู้ ได้รับความนิยมด้านต่าง ๆ หนังสือ สื่อมวลชน สถาบันทางศาสนาและวัฒนธรรม เป็น ต้น ในที่นี้หมายถึงเฉพาะที่แนะนาในทางที่ถูกต้องดีงาม ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะที่สามารถช่วยนาไปสู่ปัจจัยที่๒ ได้ ปัจจัยข้อนี้ จัดเป็นองค์ประกอบฝ่าย ภายนอก หรืออาจเรียกว่า ปัจจัยทางสังคม พระนาคเสนได้รับการอบรมจากบิดามารดา เป็นอย่างดี คอยแนะนาให้ศึกษาศิลปวิทยา เมื่อบิดาจัดหาครูอาจารย์มาถ่ายทอดวิชา ความรู้ให้ ก็ตั้งอยู่ในโอวาท เชื่อฟังคาสั่งสอนของท่าน จนสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อพระเถระชักชวนท่านให้บวชเพื่อจะสอนพุทธมนต์ให้ก็ยิ่งทาให้เกิดแรงจูงใจที่จะ บวชมากยิ่งขึ้น เมื่อพระนาคเสนบวชแล้วก็ ศึกษาพระอภิธรรมและพระไตรปิฎกจนจบสิ้น ทั้งสาธยายสิ่งที่ได้เรียนมาอย่าง คล่องแคล่วเพราะอาศัยแรงหนุนจากปัจจัยภายนอกบุคคลผู้มีคุณสมบัติที่เหมาะสม สามารถทาหน้าที่เป็นปรโตโฆสะที่ดี มีคุณภาพสูงมีคาเรียกเฉพาะว่า กัลยาณมิตร เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายนอก พระพุทธเจ้าไม่เห็นองค์ประกอบอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนความมีกัลยาณมิตรนี้ความมีกัลยาณมิตรย่อมเป็นไปเพื่อ ประโยชน์มาก ๑๑๑ ตามปกติกัลยาณมิตรจะทาหน้าที่เป็นผลดีประสบความสาเร็จ แห่งปรโตโฆสะได้ ต้องสามารถสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ผู้ศึกษาเล่าเรียน หรือรับการ ฝึกสอนอบรม จึงเรียกวิธีเรียนรู้ในข้อนี้ได้ว่า วิธีการแห่งศรัทธา ๑๑๒ (๒) โยนิโสมนสิการ การกระทาในใจโดยแยบคาย หรือคิดถูกวิธีรู้จักคิด คิดเป็น คิดอย่างมีระเบียบตามแนวทางของปัญญา รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลายตามสภาวะ เช่น ตามที่สิ่งนั้น ๆ มันเป็นของมัน โดยวิธีคิดหาเหตุปัจจัย สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้ตลอด สาย แยกแยะสิ่งนั้น ๆ เรื่องนั้น ๆ ออกให้เห็นตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์สืบ ทอดแห่งเหตุปัจจัยโดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ หรือเคลือบ คลุม ทาให้เกิดความดีงามและแก้ปัญหาได้ ข้อนี้เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน หรือปัจจัย ภายในตัวบุคคล เพราะพูดถึงองค์ประกอบภายใน พระพุทธเจ้าไม่เห็นองค์ประกอบอื่น แม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนโยนิโสมนสิการนี้ โยนิโสมนสิการย่อม เป็นไปเพื่อประโยชน์มาก ๑๑๓ และอาจเรียกตามองค์ธรรมที่ใช้งานว่า วิธีการแห่ง ปัญญา ๑๑๔ความเป็นผู้รู้จักคิดหาเหตุผล ประกอบกับความเป็นผู้คิดเป็น จึงทาให้พระ นาคเสนมองเห็นสิ่งที่ตนศึกษาเล่าเรียนมาจากพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ ว่าเป็นสิ่งที่ไร้แก่น สาร เป็นแต่เพียงสิ่งที่ต้องท่องบ่นกันเท่านั้น และเมื่อพระนาคเสนบวชเข้ามาใน พระพุทธศาสนาพระเถระก็แนะนาให้ศึกษาพระอภิธรรมก่อน เพราะเป็นวิชาที่เกี่ยวกับ เรื่องของจิต เจตสิก รูปและนิพพาน อีกทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการคิด และกระบวนการ


94

คิด ทาให้มองเห็นถึงสภาวะของจิต และการทางานของจิต ผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนก็จะคิด อย่างถูกวิธี ถูกต้องตามทานองคลองธรรม เมื่อจะไปศึกษาในพระพุทธพจน์ หรือ พระไตรปิฎกก็จะทาให้ง่ายขึ้น ถือว่าการกระทาไว้ในใจโดยแยบคาย เป็นอุปการะใน การศึกษาเล่าเรียน และการดารงชีวิตเป็นอย่างมาก พระนาคเสนเป็นผู้มีบุคลิกภาพด้านการศึกษาอย่างนี้ จึงทาให้ท่านเผยแผ่ พระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี เพราะผู้มีการศึกษาดี มีความรู้ดี และมีการปฏิบัติดีเมื่อ บุคคลอื่นได้พบเห็น หรือสนทนาด้วย ก็จะเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ยิ่งขึ้น ๓.๓.๒ บุคลิกภาพด้านสติปัญญา พระนาคเสนใช้สติปัญญา พร้อมทั้งปฏิภาณโวหารในการตอบปัญหา และโต้วาทะ กับพระเจ้ามิลินท์เพื่อให้เกิดความเข้าใจในปัญหา โดยการอธิบายเหตุผลที่มาของแต่ละ ปัญหาพร้อมทั้งยกอุปมาอุปไมยให้เห็นจนเกิดความชัดเจน การใช้ปฏิภาณโวหารของพระ นาคเสนมีหลายรูปแบบทั้งการอธิบายธรรมและการปุจฉาวิสัชนากับพระเจ้ามิลินท์ทาให้ พระเจ้ามิลินท์ทรงมีพระทัยบันเทิงเบิกบาน ทรงทราบสิ่งที่เป็นแก่นสาร ไม่มีความสงสัย ในพระรัตนตรัย และทรงเลื่อมใสในคุณสมบัติของพระนาคเสน พระองค์ทรงกาจัดความ เย่อหยิ่งและความถือพระองค์เสียได้ ดุจพญานาคถูกจับถอนเขี้ยวออกปฏิภาณโวหารของ พระนาคเสนที่ปรากฏในมิลินทปัญหา อธิบายหลักธรรมะรวมถึงข้อสงสัยใน พระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับธรรมและวินัย ส่วนรูปแบบการอธิบายธรรมและการโต้ตอบ ปัญหาของท่านเป็นวิธีการของปรัชญา คือ การสืบค้นหาความจริงที่ปรากฏด้วยเหตุและ ผล หรือการอนุมานจากสิ่งที่เกิดขึ้นการศึกษาได้พบว่า วิธีการที่จะทาให้ง่ายต่อการศึกษา และทาความเข้าใจในแต่ละประเภทของปัญหา ควรที่จะยกตัวอย่างการใช้ปฏิภาณโวหาร ของพระนาคเสนมาอธิบายประกอบกัน ในบทนี้ จึงนาวิธีการใช้สติปัญญาและปฏิภาณ โวหารของพระนาคเสน แสดงให้เห็นเป็นแนวทางแห่งการศึกษามิลินทปัญหาต่อไป ๓.๓.๑ ปฏิภาณโวหารในอัตตนิปาตนปัญหา ๑๑๕ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า พระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้ภิกษุทาชีวิตของ ตนให้ตกไป ถ้าภิกษุรูปใดทาชีวิตตนให้ตกไป ภิกษุรูปนั้นต้องถูกปรับอาบัติตามสมควร แก่ธรรม ต่อมาภายหลัง พระผู้เป็นเจ้ากล่าวอยู่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ สาวก ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความขาดสิ้นไปแห่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โดยปริยาย เป็นอเนก ก็บุคคลผู้ก้าวล่วงชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ด้วยประการทั้งปวง พระองค์ทรง สรรเสริญบุคคลนั้นด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง แต่พระองค์ทรงบัญญัติห้ามว่า ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุอย่าพึงกระทาชีวิตตนให้ตกลงไป ถ้าภิกษุรูปใดกระทาชีวิตตนให้ตกลงไป


95

ภิกษุรูปนั้นต้องถูกปรับอาบัติตามสมควรแก่ธรรมเมื่อเป็นอย่างนั้นคาที่ว่า พระพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมเพื่อความขาดสิ้นไปแห่งชาติชรา พยาธิ มรณะ ก็ผิด แต่ถ้าพระองค์ทรง แสดงธรรมเพื่อความขาดสิ้นไปแห่งชาติ ชรา พยาธิมรณะ ถ้าอย่างนั้นแม้คาที่ว่า ภิกษุ อย่าพึงกระทาชีวิตตนให้ตกลงไป ถ้าภิกษุรูปใดกระทาชีวิตตนให้ตกลงไป ภิกษุรูปนั้นต้อง ถูกปรับอาบัติตามสมควรแก่ธรรม ก็ผิดเหมือนกันพระนาคเสนถวายพระพรว่า พระพุทธเจ้าแม้ตรัสห้ามภิกษุไม่ให้กระทาชีวิตตนให้ตกไป ถ้าภิกษุรูปใดทาชีวิตตนให้ตก ไป ต้องถูกปรับอาบัติตามสมควรแก่ธรรม และพระองค์เมื่อทรงแสดงธรรมแก่พระสาวก ก็ทรงแสดงเพื่อความขาดสิ้นไปแห่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะโดยปริยายเป็นอเนก การที่ พระพุทธเจ้าทรงห้าม และทรงชักชวน ก็เพราะทรงมีเหตุในการที่ทรงห้ามและในการที่ ทรงชักชวนภิกษุผู้มีศีลบริบูรณ์ย่อมเป็นผู้เสมอด้วยยาในการที่จะกระทาพิษ คือ กิเลสให้ พินาศไป เป็นผู้เสมอด้วยโอสถในการเข้าไประงับพยาธิ คือ กิเลส เป็นผู้เสมอด้วยน้าใน การล้างละอองธุลี คือ กิเลส เป็นผู้เสมอด้วยแก้วมณีในการให้สมบัติที่น่าใคร่ทั้งปวงแก่ สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้เสมอด้วยเรือในการไปสู่ฝั่ง คือ พระนิพพาน อันพ้นจากห้วงทั้ง ๔ เป็นผู้เสมอด้วยหมู่ชนที่ขนสินค้าในการที่ข้ามทางกันดาร คือ ชาติ เป็นผู้เสมอด้วยลมใน การที่จะยังความเร่าร้อนด้วยไฟ ๓ กอง ให้ดับไป เป็นผู้เสมอด้วยมหาเมฆในการที่จะทา ใจของสัตว์ให้บริบูรณ์ เป็นผู้เสมอด้วยอาจารย์ในการที่จะให้สัตว์ได้ศึกษาสิ่งที่เป็นกุศล เป็นผู้เสมอด้วยบุคคลผู้ชี้ทางในการบอกทางอันเกษม เพราะความที่จะอนุเคราะห์สัตว์ ทั้งหลายว่า ภิกษุผู้มีศีลเช่นนี้ มีคุณมากมีคุณเป็นอเนก มีคุณหาประมาณมิได้ เป็นกอง แห่งคุณ เป็นผู้กระทาความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลาย อย่าได้พินาศไป พระพุทธเจ้าจึงทรง บัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอย่ากระทาชีวิตของตนให้ตกไป ถ้าภิกษุรูปใด กระทาชีวิตของตนให้ตกไป ภิกษุรูปนั้นต้องถูกปรับอาบัติตามสมควรแก่ธรรม เหตุนี้เป็น เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามแม้คานี้ว่า พระกุมารกัสสปเถระผู้กล่าวธรรมอันวิจิตรเมื่อจะ แสดงปรโลกแก่เจ้าปายาสิกล่าวว่า สมณะพราหมณ์ผู้มีศีล มีธรรมอันงาม เป็นชีวิตที่มี ประโยชน์เมื่อดารงชีวิตอยู่ตลอดกาลยืดยาวนานย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อม ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มากเพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๑๑๖พระพุทธเจ้าทรงชักชวน พระสาวกว่า แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความเจ็บก็เป็นทุกข์ แม้ ความตายก็เป็นทุกข์ แม้ความโศกก็เป็นทุกข์ แม้ความร่าไรก็เป็นทุกข์ แม้ความลาบาก กายก็เป็นทุกข์ แม้ความลาบากใจก็เป็นทุกข์แม้ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ แม้ความ ประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์เป็น ต้น สัตว์ผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏย่อมเสวยทุกข์เป็นอันมาก เหมือนน้าเชี่ยวที่ไหลมา จากภูเขาชื่อหิมวันต์ ย่อมท่วมทับหิน กรวด ทราย แร่ และรากไม้กิ่งไม้ ที่อยู่ในแม่น้าคง


96

คา ขันธปัญจกที่ยังดาเนินไปย่อมเป็นทุกข์ความไม่มีขันธปัญจกที่ดาเนินไปย่อมเป็นสุข เมื่อพระองค์จะทรงแสดงคุณแห่งความไม่มีขันธปัญจก และภัยในขันธปัญจก จึงทรง ชักชวนสาวก เพื่อกระทาให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เพื่อความก้าวล่วงชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ด้วยประการทั้งปวง เหตุนี้เป็นเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงชักชวนจากการศึกษาได้พบว่า การ ทาอัตตวินิบาต หรือการฆ่าตัวตาย ไม่ว่าจะเป็นแบบสมัครใจหรือไม่สมัครใจ พระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นการผิดศีลธรรม เพราะเป็นการทาลายชีวิตของตนโดยแท้หรือ ชีวิตของตนที่เกี่ยวเนื่องกันบุคคลอื่น ชีวิตของแต่ละบุคคลย่อมมีค่าและความสาคัญอยู่ใน ตัวแล้ว หากบุคคลมีการพัฒนาชีวิตไปในทางที่ดีงาม ก็ทาให้ชีวิตมีแต่ความสุข ไม่ต้องมา วนเวียนอยู่กับความทุกข์อีกต่อไป แม้บุคคลจะอ้างสิทธิอันชอบธรรมในความเป็นเจ้าของ ชีวิต เพื่อฆ่าตัวตาย ก็คงไม่ถูกต้อง เพราะการกระทาเช่นนั้น ย่อมทาให้ตนเองและบุคคล อื่นเดือดร้อน และเมื่อฆ่าตัวตายแล้ว ก็ไม่ทาให้ทุกข์ที่มีอยู่หมดสิ้นไปได้เพราะ กระบวนการของสังสารวัฏยังดาเนินไปอยู่ แต่ถ้าบุคคลหันมาปฏิบัติตามคาสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าให้ถึงที่สุด เพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์ จะเป็นหนทางที่ทาให้ไม่ต้องกลับมาสู่ การเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ๓.๓.๒ ปฏิภาณโวหารในเมตตาภาวนานิสังสปัญหา ๑๑๗ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า พระพุทธเจ้าตรัสเมตตาที่เป็นเจโตวิมุตติ บรรลุได้ถึงฌาน อันบุคคลส้องเสพ เจริญ กระทาให้มาก กระทาให้เป็นดังยาน กระทา ให้เป็นวัตถุ ตั้งขึ้นเนือง ๆ สั่งสมไว้ปรารภพร้อมดีแล้ว บุคคลนั้นพึงหวังอานิสงส์๑๑ ประการอานิสงส์๑๑ ประการ คือ ๑๑๘ (๑) ย่อมหลับเป็นสุข (๒) ย่อมตื่นเป็นสุข (๓) ย่อมไม่เห็นสุบินอันชั่วร้าย (๔) ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย (๕) ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย (๖) เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา (๗) เพลิง ยาพิษ หรือศัสตรา ย่อมกล้ากรายไม่ได้ (๘) จิตย่อมตั้งมั่นได้เร็ว (๙) สีหน้าย่อมผ่องใส (๑๐) ย่อมไม่หลงลืมสติก่อนตาย


97

(๑๑) เมื่อยังไม่แทงตลอดคุณวิเศษอันยอดเยี่ยม ย่อมเข้าถึงพรหมโลกต่อมาภายหลัง พระนาคเสนกล่าวว่า สามะกุมารเป็นผู้มีเมตตาเป็นธรรมเครื่องอยู่มีหมู่เนื้อแวดล้อมเป็น บริวารเที่ยวไปในป่า ถูกพระราชาพระนามว่าปิลยักษ์ยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษสลบล้มลง ในป่านั้นถ้าพระดารัสของพระพุทธเจ้าที่ตรัสว่า เมตตาที่เป็นเจโตวิมุตติบรรลุได้ถึงฌาน อันบุคคลส้องเสพ ให้เจริญ กระทาให้มาก กระทาให้เป็นดังยาน กระทาให้เป็นวัตถุ ตั้งขึ้นเนือง ๆ สั่งสมไว้ปรารภพร้อมดีแล้ว บุคคลนั้นพึงหวังอานิสงส์๑๑ ประการ ถ้า อย่างนั้นคาที่ว่า สามะกุมารเป็นผู้มีเมตตาเป็นธรรมเครื่องอยู่ มีหมู่เนื้อแวดล้อมเป็น บริวารเที่ยวไปอยู่ในป่า ถูกพระราชาพระนามว่าปิลยักษ์ยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษสลบล้ม ลงในป่านั้น ก็ผิดจากพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในเบื้องต้นถ้าสามะกุมารมีปกติอยู่ด้วยเมตตา ธรรม อันหมู่เนื้อเป็นบริวารแวดล้อมเที่ยวไปอยู่ในป่า ถูกพระเจ้าปิลยักษ์ยิงด้วยลูกศร อาบยาพิษ สลบล้มลงในที่นั้นนั่นเอง ถ้าอย่างนั้นคาที่ว่าเมตตาที่เป็นเจโตวิมุตติอัน บุคคลส้องเสพ ให้เจริญ กระทาให้มาก กระทาให้เป็นดังยานกระทาให้เป็นวัตถุ ตั้งขึ้น เนือง ๆ สั่งสมไว้ปรารภพร้อมดีแล้วบุคคลพึงหวังอานิสงส์๑๑ประการ ก็จะผิดจากคาที่ พระนาคเสนกล่าวไว้พระนาคเสนถวายพระพรว่า พระพุทธเจ้าทรงภาษิตเมตตาที่เป็นเจ โตวิมุตติและอานิสงส์ของเมตตา สามะกุมารเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาธรรม ถูกพระ เจ้าปิลยักษ์ยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษสลบล้มลงในที่นั้น ในเรื่องทั้งสองนั้นมีเหตุอยู่ คือ คุณ ทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ไม่ใช่คุณของบุคคล แต่เป็นคุณของเมตตาภาวนา คือ การ เจริญเมตตาให้เกิดขึ้นในตนเองและในบุคคลอื่น สามะกุมารแบกหม้อน้าไป เป็นผู้ ประมาทแล้วในเมตตาภาวนา ก็บุคคลผู้เจริญเมตตาในขณะใด เพลิง ยาพิษ หรือศัสตรา ย่อมไม่สามารถที่จะตกลงไปในกายของเขาได้ในขณะนั้น บุคคลผู้ต้องการจะให้เกิดความ วอดวาย หรือก่อความเสียหายให้เกิดแก่บุคคลผู้เจริญเมตตาภาวนา ย่อมมองไม่เห็น หรือไม่ได้โอกาสที่จะทาร้ายเขาเพราะฉะนั้น คุณทั้งหลายจึงไม่ใช่คุณของบุคคล แต่เป็น คุณของเมตตาภาวนาเปรียบเหมือนบุรุษผู้กล้าหาญในสงคราม สวมเกราะและตาข่ายที่ ข้าศึกไม่สามารถทาลายได้ก้าวลงสู่สงคราม ลูกศรที่ข้าศึกยิงเข้าใส่บุรุษนั้น ย่อมตก เรี่ยรายไป ไม่ได้โอกาสที่จะแทงทะลุเขาได้คุณเหล่านั้นไม่ใช่คุณของบุรุษผู้กล้าหาญใน สงคราม แต่เป็นคุณของเกราะและตาข่าย ที่ลูกศรไม่สามารถจะทะลวงเข้าไปได้เปรียบ เหมือนบุรุษถือรากไม้ที่ทาให้หายตัวได้ดังทิพย์ไว้ในมือ ตราบใดที่รากไม้นั้นยังอยู่ในมือ ของเขา ตราบนั้นคนธรรมดาจะไม่สามารถมองเห็นเขาได้ การที่คนทั้งหลายมองไม่เห็น ไม่ใช่คุณของบุรุษ แต่เป็นคุณของรากไม้สาหรับหายตัวได้ บุรุษที่มีรากไม้ในมือย่อมไม่ ปรากฏในสายตาคนธรรมดาอีกอย่างหนึ่ง เหมือนมหาเมฆใหญ่ตั้งขึ้นแล้วยังฝนให้ตก ย่อมไม่อาจจะทาให้บุรุษผู้เข้าไปสู่ที่เป็นที่หลบฝนหลังใหญ่ที่บุคคลทาไว้ดีแล้วให้เปียกชุ่ม ได้การไม่เปียกชุ่มไม่ใช่คุณของบุรุษ แต่เป็นคุณของสถานที่หลบฝนเมตตาภาวนาเป็น


98

เครื่องห้ามบาปทั้งปวง สามารถนากุศลและคุณมาให้แก่บุคคลผู้เกื้อกูลบ้าง ผู้ไม่เกื้อกูล บ้าง เมตตาภาวนามีอานิสงส์มากแก่สัตว์ที่เนื่องด้วยวิญญาณ จึงควรส้องเสพ เจริญ และ กระทาไว้ในใจอยู่เป็นนิตย์จากการได้ศึกษาพบว่า การปฏิบัติตามคาสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ทาให้ได้รับความสงบสุขที่แท้จริง และความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมก็มี ความมั่นคงถาวร ไม่เปลี่ยนแปรไปเป็นอย่างอื่น การปฏิบัติตามธรรมต้องเข้าถึงสภาพ ความเป็นจริงของสิ่งนั้น ๆ จึงจะรู้ว่าประโยชน์ที่แท้จริงเป็นอย่างไร เพราะถ้าไม่เข้าใจ ตามความเป็นจริงแล้ว เมื่อเกิดสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการปฏิบัติก็จะทาให้นึกว่าเป็นผลที่เกิด จากการปฏิบัติธรรม เช่น ในขณะที่กาลังทาความดี ก็มีสิ่งที่ไม่ดีเกิดแทรกขึ้นมา จะทาให้ คนเข้าใจว่าผลของการทาดีไม่มีอยู่จริง ซึ่งต้องพิจารณาถึงประโยชน์ที่แท้จริงของการ ปฏิบัติและผลของธรรม โดยไม่นาไปยึดติดกับตัวบุคคล เพราะบุคคลอาจไม่ได้ปฏิบัติ ธรรมอยู่ตลอดเวลา แต่ว่าธรรมและผลของธรรมยังมีปรากฏอยู่ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ จากัดตัวบุคคลการใช้ปฏิภาณโวหารดังกล่าวมานี้ แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของพระ นาคเสน ในการอธิบายหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งการยกอุปมาอุปไมย ขึ้นแสดง เพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้งในแต่ละปัญหา วิธีการของพระนาคเสนเป็นรูปแบบของ ปรัชญาสาหรับค้นหาหลักความจริง แต่เนื้อหาสาระที่นามาอธิบาย ล้วนเป็นหลักธรรม ในทางพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น จึงควรทาความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาและ พระพุทธศาสนา หรือหลักปรัชญาที่มีปรากฏอยู่ในพระพุทธศาสนาปรัชญา เป็นวิชาที่ว่า ด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง ๑๑๙ ปรัชญาจึงเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยหลักการ (Science of Principles) ถ้าหากศาสตร์ใดขาดหลักการ หรือปรัชญาแล้วก็ย่อมเป็น ศาสตร์ไม่ได้ ดังคากล่าวที่ว่า ไม่มีศาสตร์ใดจะสมบูรณ์ ถ้าขาดหลักปรัชญา (No science is complete without philosophy) ปรัชญาจึงเป็นความรู้สากล และเป็นสิ่งจาเป็น สามารถนาไปใช้ได้กับทุกวิชา ด้วยเหตุนี้ ทุกวิชาจึงต้องมีหลักปรัชญา จะขาดเสียไม่ได้ ๑๒๐ปรัชญาเป็นเรื่องของปัญญา ที่เสาะแสวงหาความรู้หรือความจริงของสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ความจริงธรรมดาสามัญชั้นต้น จนถึงความจริงสูงสุด หรืออันติมสัจจะ (Ultimate reality) ปรัชญาจึงเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้ในการค้นหาความจริงของสิ่งต่าง ๆ เพื่อ ตอบสนองความอยากรู้ของมนุษย์ พระพุทธศาสนา คือ คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเรื่องของความจริงที่มีอยู่ ตามธรรมชาติพระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนามาเปิดเผยชี้แจง เพราะสภาวธรรม หรือ ทานองคลองธรรมเป็นของมีอยู่แล้ว ตั้งอยู่ตามธรรมดา ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จอุบัติ หรือไม่ก็ตามพระองค์เป็นผู้ตรัสรู้สภาวธรรม จึงนามาบอกเล่าแสดงให้เข้าใจทาให้ง่ายขึ้น ๑๒๑ ส่วนความเพียรภิกษุต้องบาเพ็ญเอง พระตถาคตเป็นเพียงผู้ชี้บอกเท่านั้น ๑๒๒ ความจริงหรือสัจธรรมที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาตินี้เป็นของกลางสาหรับคนทุกคน และมิใช่


99

สิ่งที่ประดิษฐ์หรือคิดขึ้นเองตามอารมณ์หากแต่เป็นไปตามกระบวนของเหตุและปัจจัย พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตราบใดที่พระองค์ยังไม่ตรัสรู้ความจริงในลักษณะ ๓ อย่าง ๑๒๓ คือ รู้ตัวความจริง (สัจญาณ) รู้หน้าที่อันควรกระทาเกี่ยวกับความจริง (กิจญาณ) และ รู้ว่าได้กระทาหน้าที่สาเร็จบริบูรณ์ (กตญาณ)ตราบนั้นพระองค์ก็จะไม่อาจตรัสว่า ตรัสรู้ แล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจริงที่พระองค์ทรงเริ่มปฏิบัติจนค้นพบประจักษ์แล้ว จึงนา มาสั่งสอน เพราะฉะนั้น หลักคา สอนในพระพุทธศาสนา จึงไม่มีคาสอนที่เรียกว่า สันนิษฐาน หรือข้อสงสัยว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ต้องเป็นความจริงที่ได้ค้นคว้า ประจักษ์แจ้งแล้วเท่านั้นจึงใช้ได้ ๑๒๔พระพุทธศาสนา มีหลักคาสอนทั้งในด้านของ ความคิด และด้านการปฏิบัติที่เกี่ยวกับสัจธรรม ทั้งหมดล้วนเป็นทางสายกลาง เป็น มัชฌิมาปฏิปทา และเป็นมัชเฌนธรรมหลักการนี้เทียบได้กับการยิงลูกศร ลูกศรที่ยิงไป ไม่ถูกเป้าก็จะอยู่ข้าง ๆ ข้างนี้บ้าง ข้างโน้นบ้าง คือ ไม่มีความพอดีไม่อยู่ในหลักตรง กลาง แต่ลูกศรที่ยิงตรงกับจุดเป้าพอดีก็เป็นอันกลางจึงเรียกว่า ทางสายกลาง คือ ความ พอดีนั่นเอง ซึ่งตรงความจริงที่จะให้เข้าถึงจุดหมาย พอดีกับความจริงที่เป็นสัจธรรม ๑๒๕ด้วยเหตุนี้ พระพุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่มีความพิเศษ มีหลักธรรมอัน พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ซึ่งประกอบไปด้วยความงามในเบื้องต้น ความงามในท่ามกลาง และความงามในที่สุด สามารถทรงผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ให้ได้รับแต่ประโยชน์ สุขโดยส่วนเดียว


100

เชิงอรรถบทที่ ๓ ๑๐๘ เสฐียร พันธรังษี , ศาสนาเปรียบเทียบ , พิมพ์ครั้งที่๘ , (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์สุขภาพใจ ,๒๕๔๒), หน้า ๖๕. ๑๐๙ ไตรเพท หมายถึง คัมภีร์พระเวท ๓ เล่ม คือ (๑) ฤคเวท เป็นบทสรรเสริญคุณและฤทธิ์ของเทวะ หรือธรรมชาติ กล่าวถึงประวัติการสร้างโลกทั้งปวง และหน้าที่ของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่ง (๒) ยชุรเวท แสดงพิธีบวงสรวงต่าง ๆ และบทสวดในเวลาทาพิธีกรรมที่เรียกว่า ยัชญกรรม หรือ ยัญญกรรม (๓) สามเวท แสดงนาฏศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ รวมทั้งสังคีต เป็นบทสวดสรรเสริญคุณและฤทธิ์ของเทวะ ซึ่งเกิดขึ้นใหม่ นับถือกันใหม่ในสมัยต่อมา. ๑๑๐ องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๑๒๗/๑๑๕, องฺ.ทุก. (บาลี) ๒๐/๑๒๗/๘๓. ๑๑๑ องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๑๑๑/๑๗, องฺ.ทุก. (บาลี) ๒๐/๑๑๑/๑๗. ๑๑๒ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม, พิมพ์ครั้งที่๙, (กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธรรมสาร จากัด, ๒๕๔๖), หน้า ๑๗. ๑๑๓ องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๑๐๗/๑๗, องฺ.ทุก. (บาลี) ๒๐/๑๐๗/๑๗. ๑๑๔ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม, หน้า ๑๘. ๑๑๕ มิลินฺท. ๕/๒๐๖. ๑๑๖ ที.ม. (ไทย) ๑๐/๔๒๐/๓๕๔, ที.ม. (บาลี) ๑๐/๔๒๐/๒๘๑. ๑๑๗ มิลินฺท. ๖/๒๐๙. เป็น เมตตาภาวนานิสังสปัญหา. ๑๑๘ องฺ.เอกาทสก. (ไทย) ๒๔/๑๕/๔๒๕, องฺ.เอกาทสก. (บาลี) ๒๔/๑๕/๒๘๔. ๑๑๙ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า ๖๖๘. ๑๒๐ รองศาสตราจารย์สถิต วงศ์สวรรค์, ปรัชญาเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่๒, (กรุงเทพมหานคร : บริษัทรวมสาส์น (๑๙๗๗) จากัด, ๒๕๔๓), หน้า ๑. ๑๒๑ องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๑๓๗/๓๘๕, องฺ.ติก. (บาลี) ๒๐/๑๓๗/๒๗๘. ๑๒๒ ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๒๗๖/๑๑๗, ขุ.ธ. (บาลี) ๒๕/๒๗๖/๖๔. ๑๒๓ วิ.ม. (ไทย) ๔/๑๖/๒๓, วิ.ม. (บาลี) ๔/๑๖/๑๕. ๑๒๔ สุชีพ ปุญญานุภาพ และ วศิน อินทสระ, บทวิเคราะห์พระพุทธศาสนา, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๓๐), หน้า ๓-๔. ๑๒๕ พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ปยุตฺโต ), ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา , พิมพ์ครั้งที่๔ ,(กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหธรรมิก จากัด, ๒๕๓๙), หน้า ๘.


101

บรรณานุกรม ๑. ภาษาไทย : ข้อมูลปฐมภูมิ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ, ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕. _________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒-๒๕๓๙. _________. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา ๒๕๓๒-๒๕๓๙. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙-๒๕๔๓. _________. ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา ๒๕๓๙-๒๕๔๓. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย, โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙-๒๕๔๓. _________. ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส ๒๕๓๙-๒๕๔๓.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ , ๒๕๓๙-๒๕๔๓. _________. มิลินทฺปญฺหอฏฺฐกถา-ฏีกา ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๔๑. ข้อมูลทุติยภูมิ (๑) หนังสือ : กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. มิลินทปัญหา เล่ม ๑-๒. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๓. เกิด ธนชาต. คู่มือคลังปริยัติธรรม เล่ม ๑-๒. มูลนิธิอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัย จัดพิมพ์,๒๕๔๕. จันทบุรีนฤนาถ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต. พิมพ์ครั้งที่๓, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๘. ไชยวัฒน์ กปิลกาญจน์. มิลินทปัญหา เล่ม ๑-๓. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,๒๕๓๘. นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต, ผศ. หลักการพูด. งานส่งเสริมการผลิตตํารา มหาวิทยาลัยทักษิณ,๒๕๔๒. บรรจบ บรรณรุจิ. อสีติมหาสาวก. พิมพ์ครั้งที๒ ่ , กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา,๒๕๓๗. ปุ้ย แสงฉาย (ผู้แปล), พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ผู้ชําระ). มิลินทปัญหาฉบับพร้อมด้วย อรรถกถา ฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ลูก ส.ธรรมภักดี, ๒๕๒๘. _________. พุทธปฏิภาณ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ลูก ส. ธรรมภักดี, ๒๔๙๔. _________. ธรรมปฏิภาณ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ลูก ส. ธรรมภักดี, ๒๔๙๔. _________. สาวกปฏิภาณ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ ลูก ส. ธรรมภักดี, ๒๔๙๔. พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ (สมาน พรหมอยู่ , กลฺยาณธมฺโม ). เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา .พิมพ์ครั้งที่๖ , (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สหธรรมิก, ๒๕๔๖ พระญาณวโรดม. มิลินทปัญหา ฉบับสรุปความ. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.ท, ๒๕๔๒. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต ). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุด คําวัด . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, ๒๕๔๘. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.


102

_________. พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์ . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๓๘. _________. พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที๖่ , กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์สวย จํากัด,๒๕๔๑. _________. ลักษณะแห่งพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่๔, กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหธรรมิก จํากัด, ๒๕๓๙. _________. วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที๙่ , กรุงเทพมหานคร : บริษัทธรรมสารจํากัด, ๒๕๔๖. พระธรรมมหาวีรานุวัตร. มิลินทปัญหา. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์ลูกส.ธรรมภักดี, ๒๕๑๙. พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. ตายแล้วเกิดใหม่ตามนัยพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เม็ดทราย, ๒๕๔๖. พระมหาสมปอง มุทิโต (ผู้แปล). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา, ๒๕๔๒. พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคํา ) และ รศ.ดร. จําลอง สารพัดนึก . พจนานุกรม บาลี - ไทยสําหรับนักศึกษา ฉบับ ปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่๓, กรุงเทพมหานคร : บริษัทประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง, ๒๕๓๘. พิเนตร น้อยพุทธา. นักพูด นักเทศน์. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ศรีอนันต์การพิมพ์ จํากัด,๒๕๓๘. พิสิฐ เจริญสุข. คู่มือการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา,๒๕๓๙. มหามกุฏราชวิทยาลัย . พระคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา . พิมพ์ครั้งที่ ๔, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย , ๒๕๓๖. _________.มิลินทปัญหา ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัย . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย , ๒๕๔๓. ยิม้ ปัณฑยางกูร (ผู้แปล). ปัญหาพระเจ้ามิลินท์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว. ๒๕๓๓. ราชบัณฑิตยสถาน . พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์ . ๒๕๔๖. _________. พจนานุกรมศัพท์พระไตรปิฎก บาลี -โรมัน -ไทย เล่ม ๑ อักษร อ,กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนอรุณการ พิมพ์, ๒๕๔๕. วศิน อินทสระ. พุทธปฏิภาณ. พิมพ์ครั้งที่๒, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิมพ์ดี, ๒๕๔๓. _________. อธิบายมิลินทปัญหา . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บรรณาคาร , ๒๕๒๘.สถิต วงศ์สวรรค์ , รอง ศาสตราจารย์. ปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่๒, กรุงเทพมหานคร: บริษัทรวมสาส์น (๑๙๗๗) จํากัด, ๒๕๔๓. สนิท ศรีสําแดง. ปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๔๔. สมเด็จพระธีรญาณมุนี(สนิธ เขมจารี ป.ธ.๙). วิถีนักเทศน์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง, ๒๕๔๒. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส . บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาค ภาคที่๒อาขยาต และ กิตก์ . พิมพ์ครั้งที่ ๓๓, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราช วิทยาลัย, ๒๕๒๗. สุชีพ ปุญญานุภาพ และ วศิน อินทสระ. บทวิเคราะห์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๓๐. สุภาพรรณ ณ บางช้าง. ประวัติวรรณคดีบาลีอินเดียและลังกา . กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , ๒๕๒๖. เสฐียร พันธรังษี. ศาสนาเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที๘ ่ , กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์สุขภาพใจ, ๒๕๔๒. เสฐียรพงษ์ วรรณปก. พุทธวิธีจากพระไตรปิฎก. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพมหานคร : หจก. อรุณการพิมพ์, ๒๕๔๒.


103

เสถียร โพธินันทะ . ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ เล่ม ๑. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหามกุฏราช วิทยาลัย, ๒๕๒๐. เสนาะ ผดุงฉัตร. วาทศาสตร์ ศิลปะเพื่อการพูด. พิมพ์ครั้งที่๒, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๔๐. หอสมุดแห่งชาติ. มิลินทปัญหา ฉบับพิสดารของหอสมุดแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาคาร, ๒๕๑๑. องค์การเผยแผ่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร. วิชาการเทศนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓. (๒) วิทยานิพนธ์: พระกิตติศักดิ์ ยโสธโร (แก้วเหลา ). “การศึกษาบทบาทของพระสารีบุตรเถระในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙. พระมหาวิสิษฐ์ ปญฺญาวฑฺฒโน (กฤษวี ). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องอุปมากถาในมิลินทปัญหา ”. วิทยานิพนธ์พุทธ ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕. พระมหาสนธ์ สนฺติกโร (เกษมญาติ ). “การศึกษาบทบาทของพระมหากัจจายนเถระในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๔. ๒. ภาษาอังกฤษ : Bhikkhu Pesala, (ed.). The Debate Of King Milinda. Delhi : Motilal Banarsidass Private Limited. 1998. Honer, I.B. Milinda’s Questions. 2 vols. London : PTS, 1969. Malalasekara, G.P. dictionary of pali proper Names. Vol. II. Delhi : Mushiram Manohrlol Publisher P.T., Ltd, 1995. Max Muller, F. (ed.). Sacred Book of the East. Vol. xxxvi. Delhi : Motilal Banarsidass Private Limited. 1997. Thich Minh Chau Bhikkhu. Milindapanha and Nagasenabhikshusautra. Calcutta. 1964. Trenckner, V. (ed.). The Milindapanho. London : PTS, reprinted, 1962.


104

ภาคผนวก ก. ประวัติพระนาคเสนเถระและพระเจ้ามิลินท์ ๑ ในอดีตกาล สมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่อาศัยอยู่ใน อาวาสใกล้แม่น้าคงคา บรรดาภิกษุสงฆ์เหล่านั้นภิกษุที่มีศีลาจารวัตรดีงามลุกขึ้นแต่ เช้าตรู่ถือไม้กราดไปกวาดวิหารลานวัดพลางระลึกถึงพระพุทธคุณ เมื่อกวาดหยากเยื่อ รวมไว้เป็นกองเรียบร้อยแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงใช้ให้สามเณรนาหยากเยื่อไปทิ้ง สามเณร แกล้งทาเป็นไม่ได้ยินเดินหนีไปเฉย แม้ภิกษุจะร้องเรียกถึง ๒-๓ ครั้ง ก็ยังแกล้งทาเป็น ไม่ได้ยินอยู่เหมือนเดิมจึงขัดเคืองใจว่าสามเณรรูปนี้ว่ายาก ก็เอาคันกราดตีสามเณร เธอ เกิดอาการกลัวจึงร้องไห้พลางขนหยากเยื่อไปทิ้ง แต่ก่อนจะทิ้งได้ตั้งความปรารถนาว่า ด้วยบุญกรรมที่ข้าพเจ้าทิ้งหยากเยื่อนี้ ขอให้มีศักดาเดชานุภาพยิ่งใหญ่ เหมือนดวง อาทิตย์ในเวลาเที่ยงวัน ในสถานที่ข้าพเจ้าไปบังเกิด จนกว่าจะบรรลุพระนิพพานเถิด เมื่อทิ้งเสร็จก็ไปอาบน้าที่ท่าน้า เห็นกระแสคลื่นในแม่น้าคงคาไหลเชี่ยวเสียงดังดุจสูบ จึง ตั้งความปรารถนาเป็นครั้งที่สองว่า ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาว่องไว ไม่สิ้นสุดดุจกระแสคลื่น แห่งแม่น้าคงคานี้ ในสถานที่ข้าพเจ้าไปบังเกิดจนกว่าจะบรรลุพระนิพพานเถิดฝ่ายภิกษุ เก็บกราดไว้ในศาลาเรียบร้อยแล้ว เมื่อจะไปอาบน้าที่ท่าน้า เห็นสามเณรตั้งความ ปรารถนาเข้าจึงคิดว่า สามเณรถูกเราใช้ให้กวาดลานวัดยังตั้งปรารถนาได้ถึงเพียงนี้ถ้าเรา จะตั้งความปรารถนาบ้าง เหตุไฉน ความปรารถนาของเราจักไม่สาเร็จ จึงตั้งความ ปรารถนาว่า ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาไม่สิ้นสุดดุจกระแสคลื่นแห่งแม่น้าคงคานี้ ขอให้ สามารถแก้ไขปัญหาที่สามเณรรูปนี้ถามแล้วได้ทั้งหมด ในสถานที่ข้าพเจ้าไปบังเกิด จนกว่าจะบรรลุพระนิพพานเถิดภิกษุและสามเณรทั้งสองรูป ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและ มนุษย์สิ้นพุทธันดรหนึ่งแม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทอดพระเนตรเห็นเหตุนั้นด้วยพระญาณ จึงทรงพยากรณ์ไว้ว่า เมื่อเราปรินิพพานล่วงไป ๕๐๐ ปี ภิกษุสามเณรทั้งสองรูปจัก เกิดขึ้นจาแนกธรรมวินัย ที่เราได้แสดงไว้ให้สุขุมละเอียด กระทาให้เป็นศาสนธรรมอันตน สะสางไม่ให้ฟั่นเฝือด้วยอานาจถามปัญหาและประกอบอุปมาสามเณรมาเกิดเป็นพระเจ้า มิลินท์ในสาคลราชธานี ในชมพูทวีป เป็นปราชญ์เฉียบแหลมมีพระปัญญาสามารถ ทราบเหตุผลทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน พระองค์ทรงศึกษา ตาราวิทยาเป็นอันมาก ทรงพอพระหฤทัยในการตรัสไล่เลียงในลัทธิต่าง ๆ ยากที่จะหา ใครโต้เถียง หรือข่มพระองค์ให้ทรงแพ้ทรงปรากฏเป็นยอดของเหล่าเดียรถีย์เป็นอันมาก ในชมพูทวีปไม่มีใครเสมอด้วยพระเจ้ามิลินท์ทั้งด้านเรี่ยวแรงกาย ด้านกาลังความคิด ด้านความกล้าหาญ และด้านปัญญา เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงมั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยราช


105

สมบูรณ์มีพระราชทรัพย์และเครื่องราชูปโภคเป็นอันมากสุดที่จะนับคณนามีพลพาหนะหา ที่สุดมิได้พระเจ้ามิลินท์ทรงพอพระพระทัยในการตรัสสนทนาด้วยลัทธินั้น ๆ ทรงนิยมใน ถ้อยคาของมหาชนที่เจรจากัน ซึ่งอ้างคัมภีร์โลกายตศาสตร์และวิตัณฑศาสตร์ จึงทรงเข้า ไปหาครูทั้ง ๖ คน คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคศาล นิครนถนาฏบุตร สัญชัยเวลัฏฐบุตร อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ เพื่อตรัสถามปัญหาบรรเทาความสงสัยของพระองค์ พระองค์พอทรงสดับคาตอบของครูทั้ง ๖ แล้วไม่เป็นที่พระทัยยิ่งนัก จึงทรงพระราชดาริ ว่า ชมพูทวีปนี้ว่างเปล่าหนอ ไม่มีสมณพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งสามารถจะเจรจากับเรา เพื่อบรรเทาความสงสัยสมัยนั้น สาคลราชธานีว่างเปล่าจากสมณพราหมณ์ และคฤหบดี ที่เป็นปราชญ์ถึง๑๒ ปี เพราะพระเจ้ามิลินท์เมื่อทรงสดับว่าในที่ใดมีสมณพราหมณ์ หรือคฤบดีที่เป็นปราชญ์ก็เสด็จพระราชดาเนินไปตรัสถามปัญหากับหมู่ปราชญ์ในที่นั้น หมู่ปราชญ์ไม่สามารถจะวิสัชนาปัญหาถวายให้พระองค์ทรงยินดีได้ ต่างคนต่างก็หลีกหนี ไปในที่ต่าง ๆ ผู้ที่ไม่หลีกไปสู่ทิศอื่น ต่างคนต่างก็อยู่นิ่งเฉย ส่วนภิกษุก็หลีกไปสู่ประเทศ หิมพานต์เป็นจานวนมากสมัยนั้น พระอรหันต์๑๐๐ โกฏิอาศัยอยู่ ณ เขาหิมพานต์ พระอัสสคุตตเถระสดับพระวาจาของพระเจ้ามิลินท์ด้วยทิพยโสต จึงนัดให้ภิกษุสงฆ์ ประชุมกัน ณ ยอดเขายุคันธรถามภิกษุถึงผู้ที่จะสามารถสนทนากับพระเจ้ามิลินท์เพื่อ บรรเทาความสงสัยของพระองค์ เมื่อพระเถระถามอย่างนี้แล้ว พระอรหันต์ก็นั่งนิ่งอยู่ แม้ จะถูกถามถึง ๒-๓ ครั้ง ก็ยังนั่งนิ่งเฉยเหมือนเดิมในดาวดึงสพิภพ มีวิมานชื่อเกตุมดีอยู่ ข้างทิศตะวันออกของไพชยันตปราสาทมีเทพบุตรชื่อมหาเสนอาศัยอยู่ในทิพยพิมานนั้น ซึ่งสามารถจะสนทนากับพระเจ้ามิลินท์พระอรหันต์จึงหายตัวจากเขายุคันธร ไปปรากฏ ในดาวดึงสพิภพ ท้าวสักกเทวราชทอดพระเนตรภิกษุมาแต่ไกลก็เสด็จเข้าไปถวายอภิวาท ตรัสถามถึงเหตุแห่งการมาในครั้งนี้พระเถระถวายพระพรว่าในชมพูทวีป มีพระเจ้า แผ่นดินในสาคลราชธานีพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระเจ้ามิลินท์ เป็นผู้ชอบตรัส ซักถามด้วยข้อความในลัทธิต่าง ๆ จนใครๆ ไม่อาจโต้ตอบให้ชนะ ได้รับการยกย่องว่า เป็นยอดของเดียรถีย์เจ้าลัทธิเป็นอันมาก พระองค์เสด็จเข้าไปหาภิกษุสงฆ์ตรัสถามปัญหา ด้วยวาทะปรารภทิฏฐินั้น ๆ เบียดเบียนภิกษุสงฆ์ให้ได้รับความลาบาก ท้าวสักกเทวราช ตรัสบอกพระเถระว่า พระเจ้ามิลินท์เคยประทับอยู่ดาวดึงสพิภพเมื่อจุติจากที่นี้ก็ไปเกิดใน มนุษยโลก เทพบุตรชื่อมหาเสนอยู่ในพิมานชื่อเกตุมดี สามารถจะสนทนากับพระเจ้ามิ ลินท์ พระอรหันต์จึงไปอ้อนวอนมหาเสนเทพบุตรเพื่อให้ไปเกิในมนุษยโลก แต่ก็ถูกมหา เสนเทพบุตรปฏิเสธ พระอัสสคุตตเถระกล่าวว่า พวกเราตรวจดูทั่วมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกแล้ว นอกจากท่าน ก็ยังไม่เห็นใครที่สามารถจะทาลายล้างทิฏฐิของพระเจ้ามิลินท์และยกย่อง พระศาสนาไว้ได้ เมื่อมหาเสนเทพบุตรทราบว่า ตนผู้เดียวเท่านั้นสามารถทาลาย


106

ล้างทิฏฐิของพระเจ้ามิลินท์และสามารถยกย่องพระศาสนาไว้ได้ จึงมีใจยินดีชื่นบานถวาย ปฏิญาณรับว่าจะไปเกิดในมนุษยโลกพวกภิกษุจัดเตรียมกิจที่จะต้องทาเสร็จเรียบร้อย ก็ อันตรธานจากดาวดึงสพิภพมาปรากฏ ณ พื้นถ้ารักขิตคูหาที่เขาหิมพานต์ พระอัสสคุต ตเถระถามถึงภิกษุผู้ไม่ได้มาประชุมในครั้งนี้ว่ามีใครบ้าง ภิกษุรูปหนึ่งจึงเรียนว่า ภิกษุที่ ไม่ได้มาประชุมในครั้งนี้ คือ พระโรหณะซึ่งเข้านิโรธสมาบัติที่เขาหิมพานต์ จึงส่งทูตไป อาราธนาท่านมาขณะนั้น พระโรหณะออกจากนิโรธสมาบัติทราบว่า พระสงฆ์ส่งทูต มาตามหาท่านก็อันตรธานจากเขาหิมพานต์มาปรากฏข้างหน้าพระอรหันต์๑๐๐ โกฏิ ณ พื้นถ้ารักขิตคูหาพระอัสสคุตตเถระจึงถามท่านว่า เหตุไฉน เมื่อพระพุทธศาสนาทรุด โทรมลงถึงเพียงนี้ จึงไม่ช่วยดูแลกิจที่สงฆ์จะต้องทา ท่านเรียนตอบว่า เป็นเพราะข้าพเจ้า ไม่ได้ใส่ใจ จึงถูกปรับโทษทัณฑกรรมโดยให้ทากิจอย่างหนึ่ง พระเถระสั่งบังคับว่า มี พราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อโสณุตตระอาศัยอยู่ในบ้านพราหมณ์ชื่อ กชังคลคาม ซึ่งตั้งอยู่ข้างเขา หิมพานต์เขาจักได้บุตรคนหนึ่งชื่อนาคเสน ท่านจงไปบิณฑบาตที่ตระกูลนั้นให้ครบ ๗ ปี กับ ๑๐ เดือน และนาเอาเด็กมาบวชเมื่อนาคเสนบวชแล้ว ท่านจึงจะพ้นจากทัณฑกรรม ฝ่ายมหาเสนเทพบุตรจุติจากเทวโลก ถือปฏิสนธิในครรภ์ภริยาของโสณุตตรพราหมณ์ ขณะถือปฏิสนธิมีเหตุอัศจรรย์ปรากฏ ๓ ประการ คือ (๑) เครื่องอาวุธทั้งหลายส่องแสงลุกโพลงขึ้น (๒) ข้าวกล้าที่ยังไม่ออกรวงก็ออกรวงสุก (๓) มหาเมฆบันดาลให้ฝนห่าใหญ่ตกลงมา พระโรหณะเข้าไปบิณฑบาตที่ตระกูลนั้นมิได้ขาด ตั้งแต่มหาเสนเทพบุตรถือปฏิสนธิเป็น เวลาถึง ๗ ปีกับ ๑๐ เดือน ก็ไม่เคยได้ข้าวสวยแม้สักทัพพีหนึ่ง ข้าวต้มแม้สักกระบวย หนึ่ง การไหว้การประณมมือจากใคร ๆ หรือ ความเคารพอย่างอื่นแม้สักวันเดียวกลับได้ แต่คาด่าว่าเสียดสีไม่มีใครที่จะพูดดีด้วย แม้เพียงคาว่า นิมนต์โปรดสัตว์ข้างหน้าเถิดวัน หนึ่ง โสณุตตรพราหมณ์กลับจากทางานนอกบ้าน พบพระเถระเดินสวนทางมาจึงถามว่า วันนี้ท่านไปเรือนของเราหรือไม่ และได้อะไรบ้างหรือไม่ท่านก็ตอบว่า วันนี้เราได้ พราหมณ์พอทราบว่าได้ก็สาคัญว่าคงจะได้อะไรไปจากเรือนของตนเป็นแน่ก็เกิดความ เสียใจกลับไปถามภริยาว่าได้ให้อะไรแก่บรรพชิตหรือไม่พอทราบว่าไม่ได้ให้อะไร วันรุ่งขึ้น พราหมณ์นั่งคอยพระเถระอยู่ที่ประตูเรือน ด้วยหวังจะกล่าวโทษที่ท่านกล่าวเท็จ พอเห็น พระเถระจึงกล่าวท้วงว่า เมื่อวานนี้ท่านไม่ได้อะไรในเรือนของเรา แต่กลับบอกว่าได้การ พูดเท็จควรแก่ท่านหรือพระเถระตอบว่า เราไม่ได้แม้คาว่าโปรดสัตว์ข้างหน้าเถิด ในเรือน ของท่านถึง ๗ ปีกับ ๑๐ เดือน เพิ่งจะได้คาเช่นนั้นเมื่อวานนี้ เพราะเหตุนั้น จึงบอกท่าน ว่าเราได้ซึ่งหมายเอา


107

การกล่าวปราศรัยด้วยวาจานั้นพราหมณ์คิดในใจว่า บรรพชิตพวกนี้ได้รับแค่เพียงการ กล่าวปราศรัยด้วยวาจายังพูดสรรเสริญในท่ามกลางประชาชนถึงเพียงนี้ ถ้าได้ของเคี้ยว ของฉันอะไร ๆ อย่างอื่นเหตุไฉน จะไม่กล่าวสรรเสริญมากกว่านี้ จึงเกิดความเลื่อมใสสั่ง คนให้แบ่งข้าวที่จัดไว้เพื่อตัวเองถวายพระเถระทัพพีหนึ่ง ทั้งกับข้าวจนพอสมควร และพูด ว่าท่านจักได้อาหารนี้เป็นนิตย์จาเดิมแต่วันรุ่งขึ้น พราหมณ์เห็นอาการสงบเสงี่ยม เรียบร้อยของท่าน ทาให้เลื่อมใสมากยิ่งขึ้น จึงอาราธนาท่านให้ทาภัตกิจในเรือนของตน เป็นนิตย์ครั้นล่วงไป ๑๐ เดือน นางพราหมณี คลอดบุตรคนหนึ่งชื่อนาคเสน บุตรนั้น เจริญเติบโตขึ้นโดยลาดับกาลจนมีอายุ๗ ขวบ บิดาส่งไปเรียนศิลปวิทยากับพราหมณ์ผู้ เป็นครูสอนมนต์ นาคเสนสามารถกาหนดจดจาได้อย่างแม่นยา ทาในใจตรึกตรองอย่าง คล่องแคล่ว เกิดปัญญาดุจดวงตาเห็นในไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุศาสตร์และคัมภีร์ เกฏุภศาสตร์ อักษรประเภท คัมภีร์อิติหาสศาสตร์ เมื่อกล่าวบทหนึ่งขึ้นก็เข้าใจความแห่ง พากย์นั้น ๆ พร้อมทั้งไวยากรณ์ เขามีความชา นาญในคัมภีร์โลกายตศาสตร์ และมหา บุรุษลักษณพยากรณศาสตร์ครบทุกอย่าง ถามถึงข้อที่จะต้องศึกษาให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ แต่เมื่อทราบว่าไม่มีข้อที่จะต้องศึกษายิ่งกว่านี้ จึงสอบความรู้กับอาจารย์เขาพิจารณาดู เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดแห่งศิลปศาสตร์ของตน มองไม่เห็นแก่นสารแม้สักหน่อยหนึ่งก็ มีความเดือดร้อนเสียใจว่าไตรเพทเหล่านี้เปล่าประโยชน์ไตรเพทเหล่านี้เป็นเพียงของที่ ต้องท่องเพ้อเปล่า ๆ ไม่มีแก่นสาร หาแก่นสารมิได้เลย สมัยนั้น พระโรหณะอยู่ที่วัตตนิยเสนาสน์ทราบความปริวิตกของนาคเสนด้วยวา รจิต จึงมาปรากฏที่หน้าบ้านกชังคลคาม นาคเสนยืนอยู่ที่ซุ้มประตูเห็นพระเถระมาแต่ ไกลมีใจยินดีร่าเริงบันเทิงปีติโสมนัสคิดว่า บางทีบรรพชิตรูปนี้จะรู้วิทยาที่เป็นแก่นสาร บ้าง จึงเข้าไปถามว่า ท่านเป็นอะไร ทาไม จึงโกนศีรษะและนุ่งห่มผ้าย้อมด้วยน้าฝาด เช่นนี้ พระเถระตอบว่าเราเป็นบรรพชิต เราเว้นจากกิจการบ้านเรือนเพื่อจะละมลทิน นาคเสนเมื่อทราบว่าพระเถระรู้มนต์ที่สูงสุดในโลก จึงขอเรียนมนต์พระเถระกล่าวว่าถ้า เธอยอมให้มารดาบิดาอนุญาตแล้วถือเพศบรรพชิต เป็นคนไม่มีกังวลได้เมื่อใด เราจึงจะ ให้มนต์แก่เธอนาคเสนเข้าไปหามารดาบิดาบอกความประสงค์ของตน มารดาบิดาสาคัญ ว่าลูกของตนบวชเรียนมนต์แล้วก็จักกลับมา จึงอนุญาตให้บวชเรียน พระโรหณะพานาค เสนไปสู่พื้นถ้ารักขิตคูหา ให้เขาบวชในท่ามกลางพระอรหันต์๑๐๐ โกฏิพอสามเณรนาค เสนบวชแล้ว ก็ถามถึงข้อตกลงกับพระเถระที่ว่าจะสอนมนต์ให้พระเถระรู้ว่าเธอมีปัญญา สามารถจะเรียนพระอภิธรรมปิฎกได้ง่าย จึงแนะนาให้เรียนพระอภิธรรมปิฎกก่อน เพียง สาธยายหนเดียวก็จาพระอภิธรรมปิฎกได้คล่องแคล่วทั้งหมด และได้สวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โดยพิสดารให้พระอรหันต์ฟังเป็นเวลาถึง ๗ เดือน จึงจบมหาปฐพีบันลือเสียงลั่น เทวดาถวายสาธุการ มหาพรหมตบพระหัตถ์ เทพเจ้าทั้งหลายบันดาลจุรณจันทน์และ


108

ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ให้ตกลงมาดุจห่าฝนเมื่อสามเณรนาคเสนมีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุในวันรุ่งขึ้น ท่านเข้าไปบิณฑบาตกับพระอุปัชฌาย์ดาริ ในใจว่า พระอุปัชฌาย์ของเราเป็นคนไม่รู้จักอะไรเลยเป็นคนเขลาแท้ เพราะสอนให้เรา ศึกษาพระอภิธรรมปิฎกก่อนพระพุทธวจนะอื่น ๆ พระโรหณะผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ทราบ ความดาริในใจของพระนาคเสนจึงกล่าวว่าเธอดาริไม่สมควรเลย ความดาริเช่นนี้ไม่ สมควรแก่ท่านพระนาคเสนนึกอัศจรรย์ใจ ที่พระอุปัชฌาย์ทราบความดาริในใจของตน ด้วยวารจิตจึงคิดว่าพระอุปัชฌาย์ของเรามีปัญญาแท้ ๆ ถ้าอย่างไร เราจะขอขมาให้ท่าน อดโทษพระอุปัชฌาย์ไม่ยอมอดโทษให้ด้วยเหตุเพียงการขอขมา แต่กลับบอกว่ามีราชธานี หนึ่งชื่อว่าสาคลนคร พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองราชสมบัติในราชธานีนั้น ทรงพระนามว่า พระเจ้ามิลินท์พระองค์โปรดการตรัสถามปัญหาปรารภทิฏฐิลัทธิต่าง ๆ ทาให้พระภิกษุ สงฆ์ได้รับความลาบากในการที่จะกล่าวแก้ปัญหา ถ้าเธอจะไปทรมานพระองค์ให้เลื่อมใส เราจึงจะยอมอดโทษให้พระนาคเสนรับคาพระอุปัชฌาย์ เดินทางไปยังวัตตนิยเสนาสน์เข้า ไปหาพระอัสสคุตตเถระ กราบเรียนท่านตามคาที่พระอุปัชฌาย์ของตนสั่งมา พระอัสสคุต ตเถระให้พระนาคเสนไปเรียนพระพุทธวจนะในสานักแห่งพระธรรมรักขิตเถระซึ่งอยู่ที่อ โสการามณ เมืองปาฏลีบุตรพระนาคเสนเดินทางไปยังอโสการาม เข้าไปหาพระธรรม รักขิตเถระกราบเรียนเหตุที่ตนมา และขอเล่าเรียนพระพุทธวจนะไตรปิฎก เพียงแค่ สาธยายพยัญชนะคราวละหนเท่านั้นใช้เวลาเพียงแค่๓ เดือน ก็จบ และยังพิจารณาอรรถ แห่งพระพุทธวจนะที่เรียนแล้วซ้าอีก ๓ เดือน พระธรรมรักขิตเถระเห็นว่าพระนาคเสน แม่นยาชานาญในพระพุทธวจนะไตรปิฎก จึงกล่าวเตือนให้สติทานองว่า แม้ท่านจะทรง พระพุทธวจนะไตรปิฎก แต่ก็ยังไม่ได้รับผลแห่งสมณปฏิบัติ เหมือนนายโคบาลถึงเลี้ยงโค แต่ก็มิได้บริโภคโครส พระนาคเสนเรียนจึงตอบว่า การที่ท่านกล่าวเตือนด้วยวาจาเพียง เท่านี้ ก็นับว่าเพียงพอแล้ว ในวันนั้น พระนาคเสนบาเพ็ญเพียรจนบรรลุพระอรหัตพร้อม ด้วยจตุปฏิสัมภิทาญาณ เหล่าเทวดาถวายสาธุการมหาปฐพีบันลือเสียงลั่น มหาพรหม ตบพระหัตถ์ เทพเจ้าทั้งหลายบันดาลจุรณจันทน์และดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ให้ตก ลงมาดุจห่าฝน นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์พระอรหันต์๑๐๐ โกฏิประชุมกันที่พื้นถ้ารักขิตคูหา ณ เขาหิมพานต์ให้ทูตนาสาส์นไปบอกพระนาคเสนให้กลับมา จึงอันตรธานจากอโสกา รามมาปรากฏที่เฉพาะหน้าของพระอรหันต์พร้อมทั้งได้รับคาสั่งให้ไปทรมานพระเจ้ามิลิ นท์พระนาคเสนกราบเรียนว่า ไม่เฉพาะแต่เจ้ามิลินท์พระองค์เดียวเท่านั้น แม้พระเจ้า แผ่นดินในชมพูทวีปทั้งหมดมาถามปัญหาข้าพเจ้า ๆ ก็จะวิสัชนาแก้ทาลายล้างเสียให้ หมดขอท่านอย่าวิตกกังวล เมื่อพระเถระไปสู่สาคลราชธานีก็ทาพระนครให้เหลืองอร่าม ด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ มีสมณบริษัทสัญจรไปมาไม่ขาดคราวนั้น พระอายุปาลเถระอาศัยอยู่ ที่สังไขยยบริเวณเมืองสาคลนคร พระเจ้ามิลินท์ตรัสปรึกษาราชอามาตย์ทั้งหลายว่า คืน


109

วันนี้เดือนหงายน่าสบายนัก เราจะไปสนทนาถามปัญหากะสมณะหรือพราหมณ์คนไหน ใครจะสามารถเจรจากับเราบรรเทาความสงสัยได้พวกอามาตย์กราบทูลว่า มีพระเถระรูป หนึ่งชื่ออายุปาละเล่าเรียนพระคัมภีร์แตกฉานเป็นพหูสูตทรงพระไตรปิฎก ท่านอยู่ที่สัง ไขยบริเวณ ขอพระองค์เสด็จไปถามปัญหากะท่านเถิดพระเจ้ามิลินท์เสด็จไปยังสานักพระ อายุปาลเถระ ทรงพระราชปฏิสันถารปราศรัยกับพระเถระพอสมควร จึงเสด็จประทับ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ตรัสถามปัญหากะพระเถระพระองค์ตรัสถามปัญหาจนพระเถระนั่งนิ่ง ไม่ ทูลถวายวิสัชนาแต่อย่างไร พวกอามาตย์จึงกราบทูลว่า พระเถระเป็นคนมีปัญญา แต่ไม่มี ความกล้าเท่านั้น จึงมิได้ทูลถวายวิสัชนาโต้ตอบพระเจ้ามิลินท์ทอดพระเนตรพระเถระซึ่ง กาลังนั่งนิ่ง ก็ทรงตบพระหัตถ์ทรงพระสรวลตรัสกะอามาตย์ว่า ชมพูทวีปนี้ว่างเปล่า ทีเดียวหนอ ไม่มีสมณพราหมณ์คนไหนสามารถจะเจรจากับเราได้พระองค์เหลียว ทอดพระเนตรหมู่อมาตย์ซึ่งมิได้หวาดหวั่นครั่นคร้าม มิได้เก้อเขิน จึงทรงพระราชดาริว่า ชะรอยจะมีภิกษุรูปอื่นที่ฉลาดสามารถจะเจรจากับเราอีกอย่างแน่นอน ชาวโยนกจึงไม่เก้อ เขิน พระองค์ตรัสถามอามาตย์ว่า ภิกษุรูปอื่นที่ฉลาดสามารถจะเจรจากับเรายังมีอีกหรือ ขณะนั้น พระนาคเสนอยู่ที่สังไขยบริเวณกับภิกษุสงฆ์๘๐ ,๐๐๐รูป เทวมันติยอามาตย์จึง กราบทูลว่า ขอพระองค์ทรงรอก่อน ยังมีพระเถระอีกรูปหนึ่งชื่อว่านาคเสนเป็นบัณฑิตมี ปัญญาเฉียบแหลมว่องไวกล้าหาญ เป็นพหูสูต พูดไพเราะมีความคิดดี บรรลุบารมีธรรม แตกฉานในจตุปฏิสัมภิทา สามารถทราบเหตุผล ฉลาดในโวหารมีปฏิภาณคล่องแคล่ว บัดนี้ ท่านอยู่ในสังไขยบริเวณแล้ว ขอพระองค์เสด็จไปถามปัญหากะท่านเถิดท่าน สามารถจะเจรจากับพระองค์ได้พระเจ้ามิลินท์พอทรงสดับชื่อว่า นาคเสน เท่านั้น ทาให้ พระองค์ทรงกลัวครั่นคร้ามสยดสยอง ตรัสถามเทวมันติยอามาตย์ว่า พระนาคเสน สามารถจะเจรจากับเราได้หรือไม่เทวมันติยอมาตย์กราบทูลว่า พระองค์ทรงสามารถจะ เจรจากับเทพเจ้าซึ่งมีฤทธิ์อานาจมีท้าวโกสีย์เป็นต้น หรือกับท้าวมหาพรหม เหตุไฉน พระองค์จักไม่กล้าเจรจากับมนุษย์ด้วยกันพระเจ้ามิลินท์เสด็จไปยังสังไขยบริเวณ ทอดพระเนตรบริษัทของพระนาคเสนซึ่งมีเป็นจานวนมาก ก็ยิ่งทรงหวาดหวั่นครั่นคร้าม แต่เกรงข้าราชบริพารจะดูหมิ่น จึงสะกดพระทัยไว้มั่น ตรัสกับเทวมันติยอามาตย์ว่าอย่า เพิ่งบอกว่าภิกษุรูปใดคือพระนาคเสนเพราะพระองค์ต้องการจะรู้จักด้วยพระองค์เองเทว มันติยอามาตย์กราบทูลว่า เป็นการสมควรแล้วที่พระองค์ทรงทาเช่นนั้นบรรดาพระภิกษุ สงฆ์เหล่านั้น พระนาคเสนอ่อนกว่าภิกษุ๔๐ ,๐๐๐ รูป ซึ่งนั่งอยู่ข้างหน้าและท่านแก่กว่า ภิกษุ๔๐,๐๐๐ รูป ซึ่งนั่งอยู่ข้างหลัง พระเจ้ามิลินท์ทอดพระเนตรภิกษุสงฆ์ทั้งข้างหน้า ข้างหลัง และท่ามกลาง ก็ทอดพระเนตรเห็นพระนาคเสนนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ปราศจากความกลัวและครั่นคร้าม ก็ทรงทราบโดยคาดอาการว่า ภิกษุรูปนั้นแหละคือ


110

พระนาคเสน จึงตรัสถามเทวมันติยอามาตย์เพื่อความแน่พระทัยว่า ภิกษุรูปนั้นหรือคือ พระนาคเสน เทวมันติยอามาตย์กราบทูลรับว่าภิกษุรูปนั้นแหละคือพระนาคเสนพระองค์ ทรงรู้จักท่านถูกต้องแล้วทาให้พระเจ้ามิลินท์ทรงยินดีว่าพระองค์ทรงรู้จักท่านถูกต้องพอ ทรงรู้จักพระนาคเสนเท่านั้นก็ทรงกลัวครั่นคร้ามสยดสยองมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีก

ภาคผนวก ข. คัมภีร์มิลินทปัญหา ; ประวัติความเป็นมา คัมภีร์มิลินทปัญหา เป็นคัมภีร์ที่มีชื่อเสียงมาก เป็นที่รู้จักและได้รับการยกย่องว่า เป็นคัมภีร์ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในด้านเนื้อหาสาระที่สอดคล้องตามบาลีพระไตรปิฎก และใน ด้านอรรถรสแห่งวรรณคดีบาลี สมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ว่า คัมภีร์มิลินทปัญหานี้แต่งขึ้นเมื่อพุทธศาสนกาลประมาณ ๕๐๐ ปี พระคันถรจนาจารย์ ประสงค์จะชี้แจงข้อพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนาให้แจ่มแจ้งพ้นวิมติกังขา จึงเอาอดีต นิทานเรื่องพระนาคเสนแก้ปัญหาพระยามิลินท์โยนกราช อันเป็นเรื่องมีความจริงเป็นเค้า มูล มาตั้งเป็นเค้าแล้วแต่งอธิบายพระธรรมวินัยตามอนุมัติของท่าน พระคันถรจนาจารย์ ผู้แต่งคัมภีร์มิลินทปัญหานี้ มีนามปรากฏในคานมัสการข้างต้นว่า พระปิฎกจุฬาภัย ๒ มิลินทปัญหาเป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นทางอินเดียภาคเหนือ ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเกิด แตกแยกกันเป็นนิกายเถรวาทฝ่ายใต้ และนิกายอาจริยวาทฝ่ายเหนือ เหตุที่เกิดแตกแยก กัน เพราะมีความเห็นต่างกันในด้านการอธิบายหลักคาสอนและถือปฏิบัติต่างกันมิลินท ปัญหาเป็นคัมภีร์อธิบายหลักคาสอน ที่แต่งขึ้นก่อนเกิดการแตกแยกนิกายอย่างไรก็ตาม แม้คัมภีร์มิลินทปัญหาจะเป็นคัมภีร์อธิบายหลักคาสอน ที่เป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกก็ ตาม แต่ทั้ง ๒ นิกายก็ยอมรับนับถือใช้ในการอธิบายหลักคาสอน เพราะเหตุที่คัมภีร์นี้ เกิดก่อนการแตกแยกเป็นนิกาย นิกายเถรวาทฝ่ายใต้ (ลังกา พม่า ไทย เขมร ลาว) เรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า “มิลินท ปัญหา” โดยนาชื่อพระเจ้ามิลินท์ผู้ถามปัญหามาตั้งเป็นชื่อ มิลินทปัญหา แปลว่า “ปัญหาของพระเจ้ามิลินท์” (หรือ ปัญหาที่พระเจ้ามิลินท์ตรัสถาม) นิกายอาจริยวาทฝ่ายเหนือ (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม) เรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า นาเซียนปีคิวคิน : นาเซียนภิกษุสูตร หรือ นาคเสนภิกษุสูตร ทางจีนจัดคัมภีร์นี้เป็น สูตรหนึ่งในบรรดาพระสูตรทั้งหลาย ดังนั้น จีนจึงใช้ชื่อของพระนาคเสนผู้แสดงธรรม หรือวิสัชนาปัญหาของพระเจ้ามิลินท์มาตั้งเป็นชื่อสูตร นาคเสนภิกษุสูตร แปลว่า “พระ


111

สูตรที่พระนาคเสนแสดง ”จีนเรียกพระนาคเสนว่า “นาเซียน” เรียกพระเจ้ามิลินท์ว่า “มิ ลัน”เชื่อกันว่า ท่านคุณภัทร ชาวอินเดียได้นามิลินทปัญหาเข้าไปในประเทศจีน โดยได้ ต้นฉบับไปจากสิงหล มิลินทปัญหา แม้มิใช่พุทธพจน์โดยตรง แต่ถึงกระนั้นในบาง ประเทศเช่น พม่า ก็ให้เกียรติยกย่องเสมือนเป็นพุทธพจน์ พม่าได้จัดคัมภีร์นี้เข้าใน พระไตรปิฎกขุททกนิกาย เล่มที่๑๑ คัมภีร์นี้มีความสาคัญ ได้รับการยกย่องมาก ทั้งยัง เป็นหนึ่งในคัมภีร์ชั้นแนวหน้า เช่น เนตติปกรณ์ เปฏโกปเทสปกรณ์ ที่เกิดขึ้นก่อนคัมภีร์ อรรถกถาของพระพุทธโฆษาจารย์พระพุทธโฆษาจารย์ยกย่องคัมภีร์มิลินทปัญหานี้ ดุจว่า เป็นพุทธพจน์ ดังจะเห็นว่าในอรรถกถาพระสุตตันตปิฎก และอรรถกถาพระอภิธรรม ปิฎก ได้อ้างมิลินทปัญหาไว้หลายที่สาหรับคุณค่าของคัมภีร์นี้ ไม่ว่าจะมองในแง่ของ วรรณกรรม หรือในแง่ของปรัชญา ก็ย่อมเป็นคัมภีร์ที่นามาซึ่งความภาคภูมิใจต่อ พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะชาวพุทธนิกายเถรวาทเป็นอย่างยิ่ง นักปราชญ์ตะวันตกได้ให้ ความสาคัญกับมิลินทปัญหานี้มากและยกย่องว่ามิลินทปัญหาเป็นคัมภีร์อธิบายพุทธ ปรัชญา ที่มีลีลาการดาเนินเรื่องที่ชวนติดตาม เช่นเดียวกับบทสนทนาของเพลโต (Dialogues of Plato) นักปรัชญาชาวกรีกผู้โด่งดังในยุคโบราณ ๓ ท่านราหุลสังกิจจะ ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับมิลินทปัญหานี้ไว้ว่า “มิลินทปัญหาเป็น คัมภีร์ที่นาเอาความรู้ของฮินดูและกรีกผสมผสานเข้าด้วยกัน เป็นบันทึกเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นใน ยุคประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นยุคที่กาลังมีการปฏิวัติลัทธิความเชื่อในประเทศอินเดีย” ศาสตราจารย์ริส เดวิดส์(Prof. Rhys Davids) นักวิชาการชาวอังกฤษผู้แปล มิลินทปัญหาเป็นภาษาอังกฤษเป็นคนแรก (เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓) ไม่ได้ระบุนามของผู้ รจนาคัมภีร์ กล่าวแต่เพียงว่ามิลินทปัญหาเป็นหนังสือที่แต่งขึ้นทางอินเดียภาคเหนือ เมื่อ เริ่มตั้งคริสต์ศักราช ในตอนนั้นพุทธศาสนายังไม่ได้แตกออกเป็นนิกายมหายานฝ่าย เหนือ และนิกายเถรวาทฝ่ายใต้ มิลินทปัญหาเดิมคงแต่งเป็นภาษาสันสกฤต หรือ ปรากฤตเช่นเดียวกับคัมภีร์อื่น ๆ ที่รจนาขึ้นทางอินเดียภาคเหนือ แต่ฉบับเดิมหาย สาบสูญไปแล้วศาสตราจารย์ริส เดวิดส์ ยกย่องว่าคัมภีร์มิลินทปัญหานี้ เป็นคัมภีร์ที่แต่ง ดี นับว่าเป็นยอดคัมภีร์อีกเล่มหนึ่ง ในบรรดาหนังสือที่แต่งภายหลังพระไตรปิฎกด้วยกัน คัมภีร์ที่แต่งดีใกล้เคียงคัมภีร์มิลินทปัญหานี้ มีแต่คัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษา จารย์คัมภีร์เดียวแต่คัมภีร์มิลินทปัญหาเป็นคัมภีร์เก่าก่อนวิสุทธิมรรคช้านาน ถึงแม้พระ พุทธโฆษาจารย์ผู้ไปทาสังคายนาในลังกาทวีป เมื่อพุทธศาสนกาล ๙๔๙ ปี และแต่ง คัมภีร์วิสุทธิมรรคขึ้น ก็ยังอ้างคัมภีร์มิลินทปัญหา เป็นหลักความวินิจฉัยในคัมภีร์อรรถ


112

กถาที่พระพุทธโฆษาจารย์แต่งหลายแห่ง จึงเห็นได้ว่าคัมภีร์มิลินทปัญหานั้น นักปราชญ์ นับถือกันว่าเป็นหลักฐานในข้อวินิจฉัยพระธรรมวินัยมาแต่ดึกดาบรรพ์แล้ว ๔ ศาสตราจารย์ริส เดวิดส์ ยังให้ข้อสรุปเกี่ยวกับผู้รจนามิลินทปัญหาว่า เมื่อ ประมวลหลักฐานจากชื่อสถานที่และแม่น้าสาคัญ ที่กล่าวถึงในคัมภีร์ สรุปได้ว่า ผู้รจนา คัมภีร์จะต้องอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย (แคว้นปัญจาบของ อินเดียในปัจจุบัน )เหตุผลที่สนับสนุนความเห็นดังกล่าว คือในที่อื่น ๆ โดยเฉพาะใน ประเทศศรีลังกา ซึ่งอาจคิดว่าเป็นที่อยู่ของผู้แต่งคัมภีร์นี้ ซึ่งท่านอาจจะไม่ได้อยู่ในที่ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็ได้ จึงไม่ปรากฏว่ามีอนุสรณ์อะไรเกี่ยวกับพระเจ้าเมนันเดอร์ อยู่เลย ๕ วี. เทรงก์เนอร์ (V. Trenckner) ผู้ถ่ายทอดมิลินทปัญหาออกเป็นอักษรโรมันเป็น คนแรก (เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓) กล่าวว่า มิลินทปัญหานี้รจนาขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่๑ และลงความเห็นว่า ต้นฉบับเดิมเป็นภาษาสันสกฤต เพราะใช้คาเริ่มต้นว่า “ตมฺ ยถา นุ สูยต” แทนที่จะใช้คาเริ่มต้นที่นิยมใช้กันในคัมภีร์บาลีทั่ว ๆ ไปว่า “เอวมฺเม สุต” และยัง กล่าวว่าเป็นปกรณ์ที่รจนาขึ้นทางอินเดียเหนือ อันเป็นดินแดนที่อยู่ในความปกครองของ พระเจ้าเมนันเดอร์(มิลินท์) ซึ่งก็ไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวข้องกับลังกาทวีป ๖ ส่วนอานันท์ เกาศัลยายนะเถระ (Anand Kausalyayana) ชาวอินเดีย กล่าวไว้ว่ามิลินท ปัญหารวบรวมขึ้นโดยพระนาคเสนมหาเถระ และเป็นคัมภีร์ที่มีหลักฐานดีเล่มหนึ่งคงจะ รจนาขึ้นในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์ (มิลินท์ ) หรือหลังจากนั้น แต่จะต้องรจนาขึ้นก่อน สมัยพระพุทธโฆษาจารย์ เพราะพระพุทธโฆษาจารย์มักจะอ้างถึงมิลินทปัญหาเสมอ เมื่อประมาณดูแล้ว มิลินทปัญหาคงจะรจนาขึ้นประมาณ ๑๕๐ ปี ก่อนคริสต์ศักราช ถึงคริสต์ศักราช ๔๐๐ ปี ๗ ไอ.บี. ฮอนเนอร์ (I.B. Horner) ได้ให้ข้อสังเกตว่า ในอรรถกถาอัฏฐสาลินี อ้างข้อความบางตอนจากมิลินทปัญหา ตอนที่๑ -๓ และธัมมปทัฏฐกถา ก็อ้างข้อความ จากมิลินทปัญหา ตอนที่๔-๖ ด้วย หลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า พระพุทธโฆษาจารย์ มีความชานิชานาญในมิลินทปัญหาเป็นอย่างดี ดังนั้น มิลินทปัญหาอาจจะได้รจนาขึ้นใน อินเดียหรือแคชเมียร์ เมื่อประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ ปี ก่อนที่จะตกเข้ามาอยู่ในประเทศศรี ลังกาเมื่อเปรียบเทียบข้อแตกต่างกันแล้ว จะเห็นว่า วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์ นั้นให้ความรู้ในทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการทาตนให้บริสุทธิ์อย่างละเอียดลออ ส่วน พื้นฐานการอธิบาย และการแนะนาต่าง ๆ ในมิลินทปัญหานั้นเป็นไปในทางพัฒนา ปัญญามากกว่ามิใช่เป็นแบบแผนในการเจริญสมาธิภาวนา จุดมุ่งหมายตามที่แสดงไว้


113

คือ ต้องการจะขจัดสาเหตุแห่งความเคลือบแคลงสงสัยต่าง ๆ อันอาจจะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการมีความเห็นขัดแย้งกันเกี่ยวกับคัมภีร์ หรืออรรถแห่งคาสอนให้หมดสิ้นไป และเพื่อจะขจัดปัญหายุ่งยากต่าง ๆเพื่ออนุชนในอนาคตจะได้รับคาตอบที่ถูกต้องเกี่ยวกับ ปัญหาสองแง่ อันอาจทาให้เกิด ความฉงนสนเท่ห์ และเพื่อจะทาให้การโต้เถียงกันที่จะมีได้ในอนาคตเกี่ยวกับปัญหา เหล่านี้หมดสิ้นไป ฮอนเนอร์ ได้อ้างทรรศนะของนักวิชาการหลายท่านกล่าวว่า มิลินทปัญหาอาจจะ ไม่ได้แต่งขึ้นในสมัยของพระเจ้ามิลินท์ นอกจากนั้น เอส. บุตต์ (S. butt) ประมาณไว้ว่า อาจจะร้อยกรองขึ้นในยุคต่อ ๆ มาอีกช้านาน และ เอ. แอล บาชัม (A. L. Basham) ยัง กล่าวว่าบางทีก็อาจจะรจนาขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๑ หรือมิฉะนั้นก็ราวแรกตั้งคริศต์ ศักราชแต่อย่างน้อยก็ต้องก่อนพระพุทธโฆษาจารย์ไปลังกา แม้จะไม่ทั้งหมดก็ต้อง บางส่วน หรือไม่ก็ภายหลังที่พระไตรปิฎกได้จัดเป็นชาดก เป็นทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย อัง คุตตรนิกายและขุททกนิกายแล้ว ส่วนภาณกาจารย์ผู้ทาหน้าที่ในการรวบรวมนั้น ก็คงจะ รวมอยู่ในจานวนผู้ที่พระนาคเสนกล่าวว่าเป็นผู้ที่อยู่ในธรรมนครของพระพุทธเจ้า เอ.ดี แอดิการัม (A.D. Adikaram) ได้ให้ข้อสังเกตไว้ตามที่เขาสวบสวนได้ว่า น่าประหลาดที่ชื่อ บุคคลต่าง ๆที่ปรากฏอยู่ในขุททกภาณกะนั้นไม่มีกล่าวถึงในอรรถกถาอื่นเลย ข้าพเจ้า เอง (หมายถึงฮอนเนอร์) ก็ไม่พบเหมือนกัน แต่เกี่ยวกับพื้นฐานของข้อความต่าง ๆ ใน มิลินทปัญหานี้เขา (หมายถึง แอดิการัม ) ได้สรุปไว้ว่า เกิดขึ้นในอินเดีย มิใช่เกิดขึ้นใน ลังกา ๘ มาลาลาเสการา (Malalasekara) นักวิชาการชาวศรีลังกากล่าวว่า มิลินทปัญหาเป็นบท สนทนาของพระเจ้ามิลินท์กับพระนาคเสน เชื่อว่าคัมภีร์นี้เกิดขึ้นในยุคหลัง ข้อความในมิ ลินทปัญหาไม่ใช่ของเดิมทั้งหมด ส่วนใหญ่มีผู้เขียนเพิ่มเติม มิลินทปัญหาฉบับสิงหล คือ สัทธัมมาทัศยะ (Saddharmardasaya) พระสุมังคละเขียนขึ้นในศตวรรษที่๘ ๙ เสถียร โพธินันทะ ได้สันนิษฐานว่า มิลินทปัญหาจะเป็นรจนาของคันถรจนาจารย์ในสมัย เดียวกับพระนาคเสนแน่นอน แต่ฉบับที่เก่าที่สุดเห็นจะได้แก่ฉบับสันสกฤตฉบับภาษา บาลีเข้าใจว่าจะเป็นของใหม่กว่า แต่อย่างไรก็ดี สารัตถะเนื้อธรรมะและวิธีดาเนินเรื่องทั้ง ๒ ฉบับ ไม่สู้จะแตกต่างกันเท่าไรนัก ฉบับบาลีดูมีเรื่องราวปัญหาวิจิตรพิสดารกว่าฉบับ สันสกฤต เข้าใจว่าจะเป็นของเพิ่มเติมต่อมาภายหลัง ๑๐คัมภีร์มิลินทปัญหามีลักษณะ แตกต่างจากพระไตรปิฎก คือแทนที่จะเป็นการ


114

รวบรวมพระวจนะของพระพุทธเจ้า หรือคาสอนของพระสาวก กลับเป็นงานเขียนซึ่งมี ลักษณะการจัดรูปเล่มและเนื้อหาที่มีรูปแบบของหนังสือที่สมบูรณ์ ทั้งนี้อาจจัดแบ่งเนื้อหา ได้เป็น ๓ ตอน ใหญ่ ๆ คือ (๑) บทปณามคาถา เริ่มต้นด้วยบทประพันธ์ นมัสการพระรัตนตรัยอย่างไพเราะ ๕ บท ตอนท้ายของบทได้กล่าวเชิญชวนคนทั้งหลายให้ฟังปัญหาที่จะได้วินิจฉัยอย่าง ละเอียดในคัมภีร์เพื่อความผาสุก (๒) พาหิรกถา หมายถึง ส่วนที่เล่าเรื่องที่นอกเรื่องไปจากเนื้อหาจริง มีลักษณะ เป็นบทนา หรืออย่างที่เรียกว่า นิทาน ในสมัยพุทธกาล ในที่นั้นเริ่มเรื่องแต่ครั้งที่ พระพุทธเจ้าใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา พระองค์ทรงทานายว่า ภายหลังพุทธปรินิพพานได้๕๐๐ ปี จะมีกษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้ามิ ลินท์เป็นผู้มีความฉลาดอย่างมาก มีความเข้าใจเรื่องธรรมะอย่างลึกซึ้ง พระองค์จักได้ สนทนาโต้ตอบปัญหาธรรมกับพระนาคเสนเถระผู้เป็นพระอรหันต์ เรื่องที่สนทนาโต้ตอบ กันนั้นจะช่วยผดุงพระพุทธศาสนาให้ดารงสืบต่อไปอีกถึง ๕,๐๐๐ ปี ต่อจากนั้นเป็นเรื่อง เล่าแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ามิลินท์กับพระนาคเสนเถระในอดีตจนถึงปัจจุบัน (๓) บทสนทนาโต้ตอบปัญหาระหว่างพระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสน เนื้อความ ในส่วนนี้แบ่งออกเป็น ๒ ตอน แต่ละตอนแบ่งเป็น ๙ วรรค ตอนแรกเป็นบทสนทนา โต้ตอบเรื่องปัญหาธรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ลักษณะของศีล สมาธิ ปัญญา นิพพาน เป็นต้น ตอนที่สองเน้นที่ปัญหาการวิเคราะห์ความหมายหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏใน พระไตรปิฎก เช่น ปัญหาการให้ทานของพระเวสสันดร ปัญหาที่พระองค์ตรัสสอนให้มี สัมมาวาจา เป็นต้นในทางวรรณคดี มิลินทปัญหาเป็นคัมภีร์ที่แสดงถึงความรู้ ความสามารถทางด้านการใช้สานวนภาษาของผู้แต่งอย่างมาก เพราะคาอธิบายแต่ละ ตอนคมคาย ลักษณะการแต่งที่เด่นที่สุดในคัมภีร์นี้ คือ การใช้อุปมาอุปไมยกล่าว เปรียบเทียบลักษณะธรรมกับสิ่งต่าง ๆที่เห็นได้ง่าย เช่น การเปรียบเทียบลักษณะ ร่างกายกับส่วนต่าง ๆ ของรถ ที่นามาประกอบกัน เข้าเป็นรถ โดยเมื่อแยกส่วนต่าง ๆ ออกจากกันแล้วก็ไม่มีส่วนใดเรียกว่ารถ ร่างกายของ คนก็เช่นกัน ถ้าพิจารณาทีละส่วนแล้วก็ไม่มีส่วนใดที่เรียกว่าตัวตนได้ เนื่องจากมิลินทปัญหาเป็นคัมภีร์ที่มีคุณค่ามาก ทั้งในด้านธรรมะและในด้าน วรรณคดี ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว จึงได้มีผู้จัดพิมพ์และแปลคัมภีร์เล่มนี้ออกเป็นภาษาต่าง ๆ จานวนมาก ที่พอรวบรวมได้มีดังนี้ ๑๑ (๑) มิลินทปัญหา ฉบับพิมพ์เป็นตัวโรมัน ชาระโดย V. Trenkner จัดพิมพ์เป็นครั้งแรก โดย Williams and Norgate ในปี ค.ศ. ๑๘๘๐


115

(๒) บริษัท James G. Forlang Fund ได้จัดพิมพ์ต้นฉบับที่ชําระโดย V. Trenknerอีกครั้งใน Journal Royal Asiatic Society เมื่อ ค.ศ. ๑๙๒๘ โดยเพิ่มเติมรายชื่อคํา และรายชื่อคาถาที่ รวบรวมโดย C.J. Rylands และ Mrs. Rhys Davids (๓) มิลินทปัญหา ฉบับชําระโดย Hsaya Hbe ที่เมืองร่างกุ้ง ค.ศ. ๑๙๑๕ (๔) อทิจจวงศ์ แห่งเมืองร่างกุ้งประเทศพม่า ได้เขียนอธิบายความหมายของคํา ในมิลินทปัญหาทุกคํา T.W. Rhys Davids ได้แปลออกเป็นภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ใน Sacred Book of the East, เล่มที่๓๕ และ ๓๖ (๕) มิลินทปัญหา ฉบับแปลเป็นภาษาสิงหล ชื่อ Milinda Prashnaya โดย Hinati Kumbure พิมพ์ที่กรุงโคลัมโบ ค.ศ. ๑๙๐๐ (๖) มิลินทปัญหา ฉบับแปลเป็นภาษาจีนมีทั้งหมด ๑๑ สํานวน (๗) มิลินทปัญหา ฉบับแปลเป็นภาษาเยอรมันโดย F. Otto Schrader (๘) มิลินทปัญหา ฉบับแปลเป็นภาษาเยอรมันโดย พระญาณติโลกะ (๙) มิลินทปัญหา ฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสโดย Louis Finot (๑๐) มิลินทปัญหา ฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสจากต้นฉบับภาษาจีนโดย Paul de Miwill (๑๑) มิลินทปัญหา ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย T.W. Rhys Davids (๑๒) มิลินทปัญหา ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย I.B. Horner (๑๓) มิลินทปัญหา ฉบับแปลเป็นภาษารัสเซียจากต้นฉบับภาษาจีนโดย Evanofski (๑๔) มิลินทปัญหา ฉบับแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นจากต้นฉบับภาษาจีนโดย โซเงน ยามากามิ (๑๕) มิลินทปัญหา ฉบับแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นจากต้นฉบับภาษาจีนโดย เซอิสยา กานาโมลิ (๑๖) มิลินทปัญหา ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Takakusu พิมพ์อยู่ใน Journal Royal Asiatic Society ฉบับพิมพ์ ค.ศ. ๑๘๙๖ (๑๗) มิลินทปัญหา ฉบับเบงกาลีชําระโดย Bangiya Sahitya Parishat (๑๘) มิลินทปัญหา ฉบับแปลเป็นภาษาอิตาเลียนโดย G. Cagnola (๑๙) Le Bonheur de Niravana extrait du Milindapaprashnaya, ou Miroir des doctrines sacréss จากต้นฉบับภาษาบาลีโดย Lewis de Sylva Pandit พิมพ์ใน Révue de I’ historre des religions, Paris, ปี ค.ศ. ๑๘๘๕


116

(๒๐) Deux Traductions chinoises du Milinda panha โดย E. Specht พร้อมทั้งคํานําโดย S. Levi (๒๑) Historical bas for the questions of King Menander จากต้นฉบับของธิเบตโดย L.A. Waddel พิมพ์อยู่ใน J.R.A.S. ปี ค.ศ. ๑๘๙๗ (๒๒)Nagasena โดย T.W. Rhys Davids, ใน J.R.A.S. ปี ค.ศ. ๑๘๙๑ (๒๓) Critical and philological notes to the first chapter of the Milinda Parha โดย V. Trenkner พิมพ์ใน J.P.T.S. ปี ค.ศ. ๑๙๘๐ (๒๔) Les noms propres dans les traditions chinoises du Milinda Panha โดย Paul Pelliot พิมพ์อยู่ใน Journal Asiatique Paris, ปี ค.ศ. ๑๙๑๔ (๒๕) Die Fragen des König Menandras โดย F. Otto Schrader ปี ค.ศ. ๑๙๐๓ (๒๖) Geschichte der Indishen Litteratur โดย M. Winternitz ปี ค.ศ. ๑๙๒๐ คนไทยรู้จักคัมภีร์มิลินทปัญหาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ด้วยมีการอ้างถึงชื่อคัมภีร์ใน บานแพนกหนังสือไตรภูมิพระร่วง ของพระมหาธรรมราชาลิไท มิลินทปัญหาฉบับ แปลภาษา ไทยที่มีต้นฉบับในปัจจุบันมี๕ สานวน คือ (๑) ฉบับแปลสมัยกรุงศรีอยุธยา มีต้นฉบับอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติแต่ไม่ครบถ้วน (๒) ฉบับแปลสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์เผยแพร่ ถือว่าเป็น ฉบับหอสมุดแห่งชาติ เข้าใจว่าเป็นผลงานในสมัยรัชกาลที่๓ เพราะในสมัยรัตนโกสินทร์มี การแปลคัมภีร์ภาษาบาลีออกเป็นภาษาไทยที่สาคัญ ๒ ครั้ง คือ ในสมัยรัชกาลที่๑ ครั้ง หนึ่งและในสมัยรัชกาลที่๓ อีกครั้งหนึ่ง ในรัชกาลที่๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกได้โปรดให้แปลคัมภีร์ที่แต่งไว้เป็นภาษามคธออกเป็นภาษาไทยหลายเรื่อง ที่เป็น เรื่องใหญ่ปรากฏอยู่ คือ คัมภีร์มหาวงศ์พงศาวดารลังกา ว่าด้วยพุทธศาสนประวัติใน ลังกาทวีป ๑ ชินกาลมาลี ว่าด้วยพุทธศาสนประวัติ ตั้งแต่พุทธกาลถึงนครเชียงใหม่ในสยามประเทศนี้ ๑ไตรโลกวินิจฉัย ๑ เป็นต้น โดยปกติหนังสือที่แปลในสมัยรัชกาลที่๑ จะระบุชื่อผู้แปล อย่างชัดเจน เนื่องจากคัมภีร์มิลินทปัญหาไม่ปรากฏรายละเอียดเรื่องการแปลและชื่อผู้ แปลในคานาของหนังสือ จึงควรจะเป็นผลงานในรัชกาลที่๓ เพราะในรัชกาลที่๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสดับพระธรรมเทศนาทุกวันเป็นนิตย์ ตามราช ประเพณี โปรด ฯให้อาราธนาพระผู้ถวายเทศน์แปลพระไตรปิฎกทั้งพระวินัย พระสูตร


117

และพระอภิธรรมและปกรณ์ต่าง ๆ ถวาย เมื่อเทศน์แล้วก็โปรด ฯ ให้เขียนเก็บรักษาไว้ ในหอหลวงมิลินทปัญหาก็เห็นจะแปลถวายเทศน์ในครั้งนั้น ๑๒ (๓) ฉบับแปลของมหามกุฏราชวิทยาลัย สมัยรัชกาลที่ ๕ ครั้งนั้นสมเด็จพระมหาสมณ เจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น เมื่อพ.ศ. ๒๔๓๖ ทรงออกหนังสือธรรมจักษุเป็นรายเดือน สมนาคุณแก่ผู้บริจาคบารุงมหามกุฏราช วิทยาลัย ได้ทรงแปลคัมภีร์มิลินทปัญหาลงพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุนี้เป็นตอน ๆ แต่ ไม่ได้ทรงแปลโดยตลอด เมื่อไม่มีเวลาได้ให้พระกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัยบ้าง พระภิกษุสามเณรบ้างช่วยกันแปลเป็นตอน ๆ แล้วทยอยพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุ สานวนแปลนี้เรียกว่า สานวนสนาม คือ มีลักษณะการแปลเหมือนอย่างในการแปลพระ ปริยัติธรรมสนามหลวง มุ่งแสดงความรู้ทางไวยากรณ์บาลีเป็นสาคัญ โดยไม่คานึงถึง ความไพเราะและความถูกต้องของภาษาไทย เหตุนั้น เมื่อสมเด็จกรมพระยาดารงราชานุ ภาพจะทรงเลือกต้นฉบับแปลมิลินทปัญหา สาหรับจัดพิมพ์เป็นฉบับหอสมุดแห่งชาติ จึง ไม่ทรงเลือกฉบับนี้ด้วยเห็นว่าสานวนไม่สม่าเสมอ เนื่องด้วยแปลกันหลายคนและลีลา ภาษาไทยไม่กลมกลืน ได้ทรงเลือกฉบับแปลสมัยรัชกาลที่๓ (๔) ฉบับแปลของสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) วัดมกุฏกษัตริยาราม พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพของพระองค์ท่านเอง (๕) ฉบับเรียบเรียงใหม่ เรียกว่า “ปัญหาพระยามิลินท์” ของ ยิ้ม ปัณฑยางกูร เมื่อพ.ศ. ๒๔๘๓ เป็นการเรียบเรียงเอาเฉพาะใจความของแต่ละปัญหา ตัดสานวน ข้อความที่ซ้าออก เพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายและอ่านได้เร็ว กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์ฉบับนี้ ออกเผยแพร่ถือเป็นฉบับแปลของหอสมุดแห่งชาติอีกฉบับหนึ่ง ๑๒ หอสมุดแห่งชาติ, มิลินทปัญหา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ, คานา หน้า ฆ-ง. -พระมหาสายเพชร วชิรเวที(หงษ์แพงจิตร)วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพระพุทธศาสนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


118

เชิงอรรถ ๑ มหามกุฏราชวิทยาลัย , มิลินทปัญหา ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัย , (กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓), หน้า ๓-๒๒. ๒ หอสมุดแห่งชาติ , มิลินทปัญหา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ , (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์บรรณศิลป์,๒๔๙๖) คานา หน้า ก. ๓ มิลินฺท. บทนา หน้า ๒๑-๒๒. ๔ หอสมุดแห่งชาติ, มิลินทปัญหา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ, คานา หน้า ข-ค. ๕ Max Muller, F. (ed.), Sacred Book of the East, Vol. xxxv, p. xliv. อ้างในมิลินทปัญหา ฉบับ แปลในมหามกุฎราชวิทยาลัย, หน้า ๕๒๗. ๖ Thich Minh Chau Bhikkhu, Milindapanha and Nagasenbhikshusautra, Foreword by Prof. Nalinaksha Dutt, Calcutta, 1964. อ้างใน มิลินทปัญหา ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัย , หน้า ๕๒๔. ๗ 2500 Year of Buddhism, p. 206-207. อ้างใน มิลินทปัญหา ฉบับแปลในมหามกุฏราช วิทยาลัย, หน้า ๕๒๔-๕๒๕. ๘ Milinda’s Question Vol. 1, by I.B. Horner, p. xxi-xxii. อ้างใน มิลินทปัญหา ฉบับแปล ในมหา มกุฎราชวิทยาลัย, หน้า ๕๒๖. ๙ G.P. Malalasekara, dictionary of pali Proper Names, Vol. II (Delhi : Mushiram Manohrlol Publisher P.T., Ltd, 1995, p. 637. ๑๐ เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ เล่ม ๑, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๐), หน้า ๒๑๕. ๑๑ สุภาพรรณ ณ บางช้าง , ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา , (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๖), หน้า ๒๔๐-๒๔๒. ๑๒ หอสมุดแห่งชาติ, มิลินทปัญหา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ, คานา หน้า ฆ-ง.


119

ประวัติผู้เขียนและรวบรวม นายธีรวัส บาเพ็ญบุญบารมี วันพฤหัสที่ ๓ กันยายน พศ ๒๕๐๒ ๔๓/๑๒ ถนนพุทธมณฑลสาย ๓ เขตบางแค กรุงเทพมหานคร

ชื่อสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ปัจจุบัน วุฒิการศึกษา มัธยมศึกษาสายสามัญโรงเรียนวัดราชาธิวาส แผนกวิทย์ นิติศาสตร์บัณฑิต สมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา พุทธศาสนศึกษามหาบัณฑิต มหามกุฎราชวิทยาลัย ประสบการณ์การทางาน รับราชการที่มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสาธารณะสุขศาสตร์ เป็นผู้ช่วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุทัยธานี เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท พีไทย อาคิเต็คฯ จากัด เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท เอสเอสโกลเด้นท์แลนด์ จากัด เป็นเลขาธิการสมาพันธ์ชมรมวิทยุสมัครเล่นกรุงเทพมหานคร ประธานชมรมนักกฎหมายวิทยุสมัครเล่น กิจการทางพระพุทธศาสนา เป็นกรรมการบริหารพุทธธรรมรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร สังกัดคณะกรรมาธิการศาสนาวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฎร เป็นกรรมการชมรมพิทักษ์พระพุทธศาสนา ประธานชมรมวิทยากรพิทักษ์พระพุทธศาสนา รุ่น ๔ เป็นนักจัดรายการวิทยุใน รายการไขปัญหาชาวพุทธ รายการรู้ธรรมนาปฎิบัติ, รายการบาเพ็ญบุญบารมี สถานีวิทยุเพื่อพระพุทธศาสนาธรรมะพล ๑ AM ๑๔๒๒ MKz เป็นอาจารย์ผู้บรรยายธรรมที่ธรรมสถานจุฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ตอบปัญหาธรรมในเวทีลานธรรม มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ พศ ๒๕๔๕ – ปัจจุบัน เป็นเวบมาสเตอร์จัดทาโฮมเพจให้องค์กรพุทธฯหลายแห่ง


120

พศ ๒๕๓๖ – ปัจจุบัน เป็นกรรมการบริหารมูลนิธิเบญจนิกาย พศ ๒๕๕๐ – ปัจจุบัน เป็นกรรมการบริหารมูลนิธิพุทธางกูร พศ ๒๕๕๐ – ปัจจุบัน เป็นกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าร.ร.วัดราชาธิวาส ตาแหน่ง/สถานที่ทางาน ปัจจุบัน ทางานบริษัทในเครือ บริษัท สหวิริยา กรุ๊ป ตาแหน่งผู้จัดการสานักกฎหมาย ฝ่ายบริหารบริษัท


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.