Packaging Meaning.

Page 1

หน่วยที่ 2

2. ความหมายของบรรจุัณฑ์

ความหมายของบรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์

ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทรสรศักดิ์

ารบรรจุภัณฑ์เป็น

ส่วนหนึ่งของกระบวนการทาง การตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันที่ การผลิตสินค้า หรือบริการได้เน้น หรือให้ความสําคัญกับผู้บริโภค (Consumer Oriented) และจะได้ เห็นว่าการบรรจุภัณฑ์มีบทบาท มากขึ้นเพราะลําพังตัวสินค้าเอง ไม่มีนวัตกรรม (Innovation) หรือ การพัฒนาอะไรใหม่อีกแล้ว ฉีกแนวไม่ออกเพราะได้มีการวิจัย พัฒนากันมานานจนถึงขั้นสุดยอด แล้ว จึงต้องมาเน้นกันที่บรรจุภัณฑ์ กับการบรรจุหีบห่อ (Packaging) บรรจุภัณฑ์กับหีบห่อ (Package) ถือว่าเป็นคําคําเดียวกัน ทั้งนี้สุด แล้วแต่ผู้ใดประสงค์ หรือชอบที่จะใช้คําใด

วามหมายของการบรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ

(Packaging) ได้มีผู้ให้คําจํากัดความไว้ พอสรุปได้ดังนี้ 1. Packaging หมายถึง งานเทคนิคที่ต้องอาศัยความ ชํานาญ ประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในอันที่จะออกแบบ และผลิตหีบห่อให้มีความเหมาะสมกับสินค้าที่ผลิตขึ้นมา ให้ความ คุ้มครองสินค้า ห่อหุ้มสินค้าตลอดจนประโยชน์ใช้สอย อาทิเช่น ความสะดวกสบายในการหอบหิ้ว พกพาหรือการใช้ เป็นต้น 2. Packaging หมายถึง กลุ่มของกิจกรรมในการวางแผน เกี่ยวกับการออกแบบ การผลิตภาชนะบรรจุหรือสิ่งหุ้มห่อสินค้า บรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับฉลาก (Label) และตรายี่ห้อ (Brand name) 3. Packaging หมายถึง ผลรวมของศาสตร์ (Science) ศิลป์ (Art) และเทคโนโลยีของการออกแบบ การผลิตบรรจุภัณฑ์สําหรับ สินค้า เพื่อการขนส่งและการขายโดยเสียค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม 4. Packaging หมายถึง การใช้เทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์ เพื่อหาวิธีการรักษาสภาพเดิมของสินค้าจนกว่าจะถึงมือผู้บริโภคคน สุดท้าย เพื่อให้ยอดขายมากที่สุดและต้นทุนต่ําสุด


5. Packaging หมายถึง กิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ การออกแบบและผลิตรูปร่าง หน้าตาของภาชนะบรรจุ สิ่งห่อ หุ้มตัวผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ 6. Packaging เป็นทั้ง ศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งถูก มองในหลายแง่โดยบุคคลฝ่าย ต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า กล่าวคือ ฝ่ายเทคนิคจะคิดถึง ปฏิกิริยาระหว่างภาชนะบรรจุกับ ผลิตภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ฝ่าย ผลิตจะพิจารณาต้นทุนและ ประสิทธิภาพของระบบการบรรจุ ฝ่ายจัดซื้อจะคํานึงถึงต้นทุนของ วัสดุทางการบรรจุ และฝ่ายขาย จะเน้นถึงรูปแบบและสีสันที่สะดุด ตา ซึ่งจะช่วยในการโฆษณา ผลิตภัณฑ์ ด้วยเหตุนี้ Packaging ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมจะ เกิดขึ้นได้จากการประนีประนอม ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ ภาชนะบรรจุซึ่งมีน้ําหนักเบาและ ราคาต้นทุนต่ํา แต่ในขณะ เดียวกันมีรูปแบบสวยงาม และให้ ความคุ้มครองอย่างเพียงพอแก่ ผลิตภัณฑ์ภายในได้

PACKAGING DESIGN

7. Packaging หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดใน ขบวนการทางตลาดที่เกี่ยวเนื่อง กับการออกแบบสร้างสรรค์ ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อให้กับ ผลิตภัณฑ์ 8. Packaging หมายถึง การนําเอาวัสดุ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ ไม้ ประกอบ เป็นภาชนะหุ้มห่อสินค้า เพื่อ ประโยชน์ในการใช้สอยมีความ

แข็งแรง สวยงาม ได้สัดส่วนที่ถูก ต้อง สร้างภาพพจน์ที่ดี มีภาษาใน การติดต่อสื่อสาร และทําให้เกิด ผลความพึงพอใจจากผู้ซื้อสินค้า

ความหมายของภาชนะบรรจุ ส่วนความหมายของ “หีบห่อ” “บรรจุภัณฑ์” หรือ “ภาชนะ บรรจุ” (Package) มีผู้ให้คําจํากัดความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งพอสรุปได้ ดังนี้ 1. Package หมายถึง สิ่งห่อหุ้มหรือบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งภาชนะที่ใช้ เพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งผู้บริโภค หรือแหล่ง ใช้ประโยชน์ หรือวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการป้องกันหรือรักษา ผลิตภัณฑ์ ให้คงสภาพตลอดจนคุณภาพใกล้เคียงกันกับเมื่อแรกผลิตให้ มากที่สุด 2. Package หมายถึง สิ่งที่ทําหน้าที่รองรับหรือหุ้มผลิตภัณฑ์ เพื่อ ทําหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์จากความเสียหายต่าง ๆ ช่วยอํานวยความ สะดวกต่าง ๆ ในการขนส่งและการเก็บรักษา ช่วยกระตุ้นการซื้อตลอด จนแจ้งรายละเอียดของผลิตภัณฑ์


ศัพท์ทางด้านการบรรจุภัณฑ์

การบรรจุหีบห่อ (Packaging) มีความ หมายว่าแนวความคิดรวมของระบบในการเตรียม สินค้าเพื่อการขนส่ง จัดจําหน่าย เก็บรักษาและการ ตลาด โดยให้สอดคล้องกับคุณสมบัติของสินค้า รวมทั้งการใช้ต้นทุนที่เหมาะสม ในยุคปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีบทบาทต่อชีวิตประจําวัน ของคนเรามากขึ้น การบรรจุหีบห่อจึงได้ทวีความสําคัญยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากการบรรจุหีบห่อเป็นปัจจัยที่สําคัญใน การนําสินค้าจากแหล่งผลิตสู่มือ ผู้บริโภคใน คุณภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับ การบรรจุหีบห่อจัดได้ว่า เป็นแขนงวิชาหนึ่งที่ผนวกความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปะ เข้าด้วยกัน มีความสัมพันธ์ กับขั้นตอนต่างๆ มากมาย นับตั้งแต่การเตรียม สินค้า การ บรรจุ การลําเลียงและขนส่ง จนถึงการ ตลาด ศัพท์เทคนิคที่ใช้ในวงการนี้บางคําก็ดู คล้ายคลึงกัน ซึ่งอาจก่อความสับสนได้ วิทยาศาสตร์สําหรับเยาวชนฉบับนี้ จึงขอนําศัพท์ที่ สําคัญทางด้านการบรรจุหีบห่อมาบอกเล่าให้ทราบ ถึงความหมายกัน มาเริ่มที่คําว่า วิธีการบรรจุ (packing) หมาย ถึงวิธีการบรรจุสินค้า จะด้วยการห่อหุ้มหรือการใส่ ลงในภาชนะปิดใดๆ ก็ได้ หีบห่อ (a pack) หมายถึง วางผลิตภัณฑ์ในภาชนะบรรจุหรือทําให้เป็นมัดหรือ เป็นห่อ ภาชนะบรรจุ (a package) หมายถึงหนึ่ง หน่วยของผลิตภัณฑ์ซึ่งได้รับการห่อ หรือใส่ลงใน ภาชนะบรรจุแล้ว นอกจากนั้นยังหมายถึงภาชนะ บรรจุที่มีผลิตภัณฑ์บรรจุอยู่ภายในก็ได้ ที่ใส่ของ (container) มี 2 ความหมาย ความหมายแรกคือที่ ใส่ของเพื่อใช้ในการเตรียมสินค้าสําหรับการขนส่ง และจัดจําหน่าย ความหมายที่สองคือ ตู้ขนาดใหญ่ ซึ่งนิยมใช้ขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นทางอากาศหรือ ทางเรือ ตู้นี้สามารถใช้หมุนเวียนได้หลายครั้ง

ภาชนะบรรจุโดยทั่วไปจะแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือภาชนะบรรจุเพื่อการขนส่ง (transport package, distribution package, shipping container และ outer package) หมาย ถึง ภาชนะบรรจุชั้นนอกซึ่งใช้เพื่อการขนส่งและ เก็บรักษา ทําหน้าที่อํานวยความสะดวกในการ ลําเลียงขนส่ง รวมทั้งช่วยป้องกันสินค้ามิให้ เสียหายในระหว่างการขนส่ง อีกประเภทหนึ่ง คือ ภาชนะบรรจุเพื่อการขายปลีก (consumer package, retail package, primary package) หมายถึงภาชนะบรรจุหน่วยย่อยที่มีสินค้าอยู่ ผู้ บริโภคสามารถสัมผัสได้โดยตรง และใช้เป็น หน่วยของการขายปลีก ภาชนะบรรจุประเภทนี้ ควรมี คุณสมบัติในการ รักษาคุณภาพ ของสินค้า ตลอดจนแจ้งข้อมูล ของสินค้าได้ครบถ้วนและช่วยดึงดูดผู้บริโภค ได้ ในการพัฒนาหรือเลือกใช้ภาชนะ บรรจุสําหรับสินค้าชนิดหนึ่งๆ นั้น จําเป็นต้องมี การออกแบบภาชนะบรรจุให้ถูกต้อง กล่าวคือ ต้องมีความ สอดคล้องกับสินค้า สภาพ การขนส่ง และการตลาด การออกแบบดัง กล่าวสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภท แรกได้แก่ การออกแบบด้าน โครงสร้าง (structural design) หมายถึงเทคนิคในการ เลือกใช้ชนิดของวัสดุ การกําหนดขนาด รูป แบบ วิธีการบรรจุ และส่วนประกอบต่างๆ เพื่อ ให้ภาชนะบรรจุนั้นสามารถทําหน้าที่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด ประเภท ที่สองเรียกว่า การ ออกแบบด้านกราฟิก (graphic design หรือ visual design) หมายถึงการออกแบบที่ให้ผล ต่อการส่งเสริมการขาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับ คุณภาพของการพิมพ์ การตบแต่งด้านสีสัน รูปภาพ รูปร่าง เพื่อให้ภาชนะบรรจุนั้นมีความ สวยงาม รวมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้านั้น ได้ด้วย


หน่วยที่ 1

ความหมายของบรรจุภัณฑ์

ประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ 1 หลักสูตรเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์

ประโยชน์ ของบรรจุภัณฑ์ 1. การป้องกัน (Protection) เช่น กันน้ํา กันความชื้น กันแสง กันแก๊ส เมื่ออุณหภูมิสูงหรือต่ํา ด้านทานมิให้ผลิตภัณฑ์แปรสภาพ ไม่แต่ไม่ฉีกขาดง่าย ปกป้องให้ สินค้าอยู่ในสภาพใหม่สดอยู่ใน สภาวะแวดล้อมของตลาดได้ใน วงจรยาว โดยไม่แปรสภาพขนาน แท้และดั้งเดิม 2. การจัดจําหน่ายและ การกระจาย (Distribution) เหมาะ สมต่อพฤติกรรมการซื้อขายเอื้อ อํานวยการแยกขาย ส่งต่อ การตั้ง โชว์ การกระจาย การส่งเสริมจูงใจ ในตัว ทนต่อการขนย้าย ขนส่ง และการคลังสินค้า ด้วยต้นทุนสม เหตุสมผล ไม่เกิดรอยขูดขีด / ชํารุด ตั้งแต่จุดผลิตและบรรจุ จนถึงมือผู้ซื้อ / ผู้ใช้ / ผู้บริโภค ทนทานต่อการเก็บไว้นานได้ 3. การส่งเสริมการจําหน่าย (Promotion) เพื่อยึดพื้นที่แสดงจุด เด่น โชว์ตัวเองได้อย่างสะดุดตา สามารถระบุแจ้งเงื่อนไข แจ้ง ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผล ประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจผู้ บริโภค เมื่อต้องการจัดรายการ เพื่อเสริมพลังการแข่งขัน ก็ สามารถเปลี่ยนแปลงและจัดทําได้ สะดวก ควบคุมได้และประหยัด

4. การบรรจุภัณฑ์ กลมกลืนกับสินค้า และ กรรมวิธีการบรรจุ (Packaging) เหมาะสมทั้งใน แง่การออกแบบ และเพื่อให้ มีโครงสร้างเข้ากับขบวนการ บรรจุ และเอื้ออํานวยความ สะดวกในการหิ้ว – ถือกลับ บ้าน ตลอดจนการใช้ได้กับ เครื่องมือการบรรจุที่มีอยู่ แล้ว หรือจัดหามาได้ ด้วย อัตราความเร็วในการผลิตที่ ต้องการ ต้นทุนการบรรจุ ภัณฑ์ต่ําหรือสมเหตุสมผล ส่งเสริมจรรยาบรรณและรับ ผิดชอบต่อสังคม ไม่ก่อให้ เกิดมลพิษและอยู่ในทํานอง คลองธรรมถูกต้องตาม กฎหมายและพระราชบัญญัติ ต่าง ๆ

5. เพิ่มยอดขาย เนื่องจาก ในตลาดมีสินค้าและคู่ แข่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้า ใดได้รับการออกแบบเป็น อย่างดี จะสามารถดึงดูด ตา ดึงดูดใจผู้บริโภคและ ก่อให้เกิดการซื้อในที่สุด รวมทั้งการลดต้นทุนการ ผลิต


หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ ประเภทอาหารและยา ชื่อการ ค้า (Trade Name) เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) 5. ดึงดูดความสนใจ (Consumer Appeal) และช่วย ชักจูงในการซื้อสินค้า เนื่องจากสินค้าชนิดใหม่มีเพิ่ม ขึ้นอยู่ตลอดเวลา การแข่งขัน ทางด้านตลาดก็เพิ่มมากขึ้นทุก วัน ผู้ซื้อสินค้าย่อมไม่อาจ ติดตามการเคลื่อนไหวทาง ด้านตลาดได้ทัน หีบห่อจึงต้อง ทําหน้าที่แนะนําผลิตภัณฑ์ที่ถูก บรรจุอยู่ให้กับผู้ซื้อด้วย ต้อง ดึงความสนใจของผู้ซื้อที่ไม่ 1. ทําหน้าที่รองรับ 3. ทําหน้าที่รักษา เคยใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ให้สนใจ (Contain) บรรจุภัณฑ์จะทํา (Preserve) คุณภาพสินค้าให้คง ในการใช้ และหลังจากใช้แล้ว หน้าที่รองรับสินค้าให้รวมกัน เดิมตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภค เกิดความพอใจที่จะซื้อใช้อีก อยู่เป็นกลุ่มน้อย หรือตามรูป คนสุดท้าย หีบห่อจะทําหน้าที่ขายและ ร่างของภาชนะนั้น ๆ 4. บ่งชี้ (Identify) หรือ โฆษณาสินค้าควบคู่กันไปในตัว 2. ป้องกัน (Protect) แจ้งข้อมูล (Inform) ราย ด้วย เสมือนหนึ่งเป็นพนักงาน บรรจุภัณฑ์จะทําหน้าที่ป้องกัน ละเอียดต่าง ๆ ของสินค้าเกี่ยว ขายเงียบ (Silent Salesman) คุ้มครองสินค้าที่บรรจุอยู่ กับชนิด คุณ - ภาพและแหล่ง ดังนั้นการที่บรรจุภัณฑ์จะ ภายในไม่ให้ยุบ สลาย เสียรูป ที่มาหรือจุดหมายปลายทาง สามารถดึงดูดความสนใจ และ หรือเสียหายอันเกิดจากสภาพ โดยหีบห่อต้องแสดงข้อมูล ชักจูงใจให้เกิดการซื้อได้จึงเป็น สิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย อย่างชัดเจนให้ผู้บริโภครู้ว่า ผลจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง สภาพดินฟ้าอากาศ ระยะเวลา สินค้าที่อยู่ภายในคืออะไร ผลิต เช่น ขนาด รูปร่าง สี รูปทรง ในการเก็บรักษา สภาพ จาที่ไหน มีปริมาณเท่าใด ส่วน วัสดุ ข้อความรายละเอียด ตัว การขนส่ง กล่าวคือให้คงสภาพ ประกอบ วันเวลาที่ผลิต วัน อักษร ฯลฯ ลักษณะของสินค้าให้เหมือน เวลาที่ หมดอายุ การระบุ เมื่อผลิตออกจากโรงงานให้ ข้อความสําคัญ ๆ ตาม มากที่สุด กฎหมาย โดยเฉพาะสินค้า ในสมัยก่อนนั้น การใช้ บรรจุภัณฑ์ก็เพื่อเก็บ รักษาสินค้าให้คงสภาพ (Protection) ในระยะ เวลาหนึ่งหรือจนกว่าจะ นําไปใช้ แต่เมื่อมีการ แข่งขันทางการค้ามาก ขึ้น บรรจุภัณฑ์จึงมี บทบาทในด้านการส่ง เสริมการตลาด (Promotion) เริ่มเน้น เรื่องความสวยงาม สะดุดตา ตลอดจนความสะดวกใน การนําไปใช้ บรรจุภัณฑ์ในปัจจุบันมีหน้าที่ ดังนี้


6. ช่วยเพิ่มผลกําไร หีบห่อจะทําหน้าที่อย่าง สมบูรณ์ไม่ได้ ถ้าหากหีบห่อไม่ สามารถช่วยเพิ่มผลกําไรให้กับ ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ หีบห่อ สามารถช่วยส่งเสริมยุทธวิธี การตลาด โดยการเปิดตลาด ใหม่หรือการเพิ่มยอดขายให้ กับสินค้าแต่ละชนิด เนื่องจาก ในตลาดมีสินค้าและคู่แข่งเพิ่ม ขึ้นตลอดเวลา หากบรรจุภัณฑ์ ของสินค้าใดได้รับการ ออกแบบเป็นอย่างดี จะ สามารถดึงดูดตา ดึงดูดใจผู้ บริโภคและก่อให้เกิดการซื้อใน ที่สุด รวมทั้งการลดต้นทุนการ ผลิต 7. สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ สร้างความเชื่อถือและเป็นที่ ยอมรับของผู้บริโภค 8. การส่งเสริมการ จําหน่าย (Promotion) เพื่อยึด พื้นที่แสดงจุดเด่น โชว์ตัวเองได้ อย่างสะดุดตา สามารถระบุ แจ้งเงื่อนไข แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับ การเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติม

เพื่อจูงใจผู้บริโภค เมื่อต้องการ จัดรายการเพื่อเสริมพลังการ แข่งขัน ก็สามารถเปลี่ยนแปลง และจัดทําได้สะดวก ควบคุมได้ และประหยัด 9. การแสดงตัว (Presentation) คือ การสื่อ ความหมาย บุคลิก ภาพพจน์ การออกแบบและสีสันแห่ง คุณภาพ ความคุ้มค่าต่อผู้ บริโภค / ผู้ใช้ / ผู้ซื้อ ให้ข้อมูล ผลิตภัณฑ์ชัดแจ้ง สร้างความ มั่นใจ เห็นแล้วอดซื้อไม่ได้ 10. การจัดจําหน่ายและ การกระจาย (Distribution) เหมาะสมต่อพฤติกรรมการซื้อ ขายเอื้ออํานวยการแยกขาย ส่งต่อ การตั้งโชว์ การกระจาย การส่งเสริมจูงใจในตัว ทนต่อ การขนย้าย ขนส่ง และการคลัง สินค้า ด้วยต้นทุนสมเหตุสมผล

ไม่เกิดรอยขูดขีด / ชํารุด ตั้งแต่ จุดผลิตและบรรจุจนถึงมือผู้ ซื้อ / ผู้ใช้ / ผู้บริโภค ทนทานต่อ การเก็บไว้นานได้


ประเภทและบทบาทของบรรจุภัณฑ์

ผู้สอน : อ.เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์

จากการศึกษาถึง วิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ เราจึงอาจแบ่งประเภทของ บรรจุภัณฑ์ออกได้อย่าง กว้าง ๆ เป็น 2 ประเภท คือ 1. บรรจุภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ ธรรมชาติได้สร้าง หีบห่อขึ้นเพื่อป้องกันและรักษา ผลผลิตทางธรรมชาติได้อย่างดี เยี่ยมและชาญฉลาด โดยสร้างให้มี ความเหมาะสมกับผลผลิตแต่ละ ชนิดไป อาทิเช่น เปลือกผลไม้ เปลือกไข่ เป็นต้น 2. บรรจุภัณฑ์ที่มนุษย์สร้าง ขึ้น เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากการที่ มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น โดยได้คิด ประดิษฐ์จากวัสดุต่าง ๆ เพื่อสนอง ประโยชน์นานาประการ เช่น เพื่อ คุ้มครองป้องกันผลิตภัณฑ์เพื่อ ความสะดวกในการขนส่ง เพื่อการ ส่งเสริมการจําหน่าย ฯลฯ

จากการที่มนุษย์ได้คิด

ใช้เป็นเครื่องมือในทางการตลาด

นําวัสดุที่มีตามธรรมชาติมา ประดิษฐ์เป็นบรรจุภัณฑ์ใช้ใน ชีวิตประจําวันดังที่ได้กล่าวมา แล้ว ความพยายามและความคิด

ด้วย เช่น ใช้เป็นเครื่องช่วยใน ด้านการส่งเสริมการจําหน่าย ดัง นั้นจึงได้มีการค้นคว้าคิด ประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์แบบใหม่ ๆ

สร้างสรรค์ของมนุษย์ก็ยังไม่สิ้น สุดเมื่อเกิดความต้องการขยาย ให้กว้างขึ้น เช่น การขยายขนาด และจํานวนของสินค้า การ

ตลอดจนปรับปรุง และค้นหา วัสดุที่ใช้ในการบรรจุให้มี คุณภาพดียิ่งขึ้น จนในที่สุด ปัจจุบันเรามีวัสดุที่ใช้เพื่อการ

เคลื่อนย้ายของใหญ่ ๆ จํานวน มากต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะ สม และแม้เมื่อความเจริญ ก้าวหน้าทางด้านการตลาดมาก

บรรจุภัณฑ์มากมายหลายชนิด อาทิเช่น กระดาษชนิดต่าง ๆ แผ่นโลหะ ใยสังเคราะห์ แก้ว พลาสติก ไม้ ฯลฯ

ขึ้น บรรจุภัณฑ์ก็เข้ามามีบทบาท

ถั่วลันเตา บรรจุภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเองตาม

มนุษย์นําเอาวัสดุธรรมชาติมาสร้าง

ธรรมชาติ

เป็นบรรจุภัณฑ์ในพิธีกรรมทางศาสนา

บรรจุภัณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น


ประเภทของบรรจุภัณฑ์

การแบ่งประเภทของบรรจุภัณฑ์

••• 1. ประเภทบรรจุภัณฑ์แบ่งตามวิธี บรรจุและวิธีการขนถ่าย สามารถ แบ่งได้ 3 ประเภท 1.1 บรรจุภัณฑ์เฉพาะ หน่วย (Individual Package) คือ บรรจุภัณฑ์ที่สัมผัส อยู่กับผลิตภัณฑ์ชั้น แรก เป็นสิ่งที่บรรจุ ผลิตภัณฑ์เอาไว้ เฉพาะหน่วย โดยมี วัตถุประสงค์ขั้นแรก คือ เพิ่มคุณค่าในเชิง พาณิชย์ (To Increase Commercial Value) เช่น การ กําหนดให้มีลักษณะพิเศษเฉพาะ หรือทําให้มีรูปร่างที่เหมาะแก่การ จับถือ และอํานวยความสะดวกต่อ การใช้ผลิตภัณฑ์ภายใน พร้อมทั้ง ทําหน้าที่ให้ความปกป้องแก่ ผลิตภัณฑ์โดยตรงอีกด้วย 1.2. บรรจุภัณฑ์ชั้นใน

1.แบ่งตามวิธีการบรรจุ และการขนถ่าย 2.การแบ่งประเภทบรรจุ ภัณฑ์ตามวัตถุประสงค์ ของการใช้ 3.การแบ่งบรรจุภัณฑ์ ตามความคงรูป 4.แบ่งตามวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้

ประเภทนี้ ได้แก่ กล่องกระดาษ 2. การแบ่งประเภทบรรจุภัณฑ์ แข็งที่บรรจุเครื่องดื่มจํานวน ฝ 1 ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ โหล , สบู่ 1 โหล เป็นต้น 2.1 บรรจุภัณฑ์เพื่อการ 1.3. บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกสุด ขายปลีก (Consumer Package) (Out Package)

เป็น คือ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหน่วยรวม ขนาดใหญ่ที่ใช้ในการขนส่ง โดย ปกติแล้วผู้ซื้อจะไม่ได้เห็นบรรจุ ภัณฑ์ประเภทนี้มากนัก เนื่องจาก (Inner Package) คือ บรรจุภัณฑ์ที่ ทําหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์ใน อยู่ถัดออกมาเป็นชั้นที่สอง มีหน้า ระหว่างการขนส่งเท่านั้น ลักษณะ ที่รวบรวมบรรจุภัณฑ์ขั้นแรกเข้า ของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ ไว้ด้วยกันเป็นชุด ในการจําหน่าย หีบ ไม้ ลัง กล่องกระดาษขนาด รวมตั้งแต่ 2 – 24 ชิ้นขึ้นไป โดยมี ใหญ่ที่บรรจุสินค้าไว้ภายใน วัตถุประสงค์ขั้นแรก คือ การ ภายนอกจะบอกเพียงข้อมูลที่ ป้องกันรักษาผลิตภัณฑ์จากน้ํา จําเป็นต่อการขนส่งเท่านั้น เช่น ความชื้น ความร้อน แสง แรง รหัสสินค้า (Code) เลขที่ กระทบกระเทือน และอํานวย (Number) ตราสินค้า สถานที่ส่ง ความสะดวกแก่การขายปลีกย่อย เป็นต้น เป็นต้น ตัวอย่างของบรรจุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคซื้อไปใช้ไป อาจมีชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็ได้ ซึ่งอาจเป็น Primary Package หรือ Secondary Package ก็ได้ 2.2 บรรจุภัณฑ์เพื่อ การขนส่ง (Shopping หรือ Transportation Package) เป็น บรรจุภัณฑ์ที่ใช้รองรับหรือห่อหุ้ม บรรจุภัณฑ์ขั้นทุติยภูมิ ทําหน้าที่ รวบรวมเอาบรรจุภัณฑ์ขายปลีก เข้าด้วยกัน ให้เป็นหน่วยใหญ่ เพื่อความปลอดภัยและความ สะดวกในการเก็บรักษา และ การขนส่ง เช่น กล่องกระดาษ ลูกฟูกที่ใช้บรรจุยาสีฟัน กล่องละ 3 โหล เป็นต้น


ABOUT PACKAGING

ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ทําจากวัสดุ อ่อนตัว มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ได้ รับความนิยมสูงมากเนื่องจากมี ราคาถูก (หากใช้ในปริมาณมาก และระยะเวลานาน) น้ําหนักน้อย มีรูปแบบและโครงสร้างมากมาย 4. แบ่งตามวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้

การจัดแบ่งและเรียกชื่อ บรรจุภัณฑ์ในทรรศนะของผู้ ออกแบบ ผู้ผลิต หรือนักการ ตลาด จะแตกต่างกันออกไป อํานวยต่อการใช้งาน และป้องกัน บรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทก็ตั้งอยู่ ผลิตภัณฑ์จากสภาพแวดล้อม ภายใต้วัตถุประสงค์หลักใหญ่ 3. การแบ่งบรรจุภัณฑ์ตามความ ภายนอกได้ดี (Objective Of Package) ที่คล้าย คงรูป 3.2. บรรจุภัณฑ์ประเภท กันคือ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ (To 3.1. บรรจุภัณฑ์ประเภท รูปทรงกึ่งแข็งตัว (Semirigid Protect Products) เพื่อจําหน่าย รูปทรงแข็งตัว (Rigid Forms) Forms) ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ทํา ผลิตภัณฑ์ (To Distribute ได้แก่ เครื่องแก้ว (Glass Ware) เซ จากพลาสติกอ่อน กระดาษแข็ง Products) เพื่อโฆษณา รามิคส์ (Ceramic) พลาสติก และอลูมิเนียมบาง คุณสมบัติทั้ง ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ (To จําพวก Thermosetting ขวด ด้านราคา น้ําหนักและการป้องกัน Promote Products) พลาสติก ส่วนมากเป็นพลาสติก ผลิตภัณฑ์จะอยู่ในระดับปานกลาง ฉีด เครื่องปั้นดินเผา ไม้ และโลหะ 3.3. บรรจุภัณฑ์ประเภท มีคุณสมบัติแข็งแกร่งทนทานเอื้อ รูปทรงยืดหยุ่น (Flexible Forms)

การแบ่งบรรจุภัณฑ์ตามความคงรูป

บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรงแข็งตัว (Rigid Form)

บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรงกึ่ง แข็งตัว (Semirigid Forms)

บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรง ยืดหยุ่น (Flexible Forms)


บทบาทและความสําคัญของภาชนะบรรจุ

การบรรจุหีบห่อ กล่าวกัน อย่างง่ายๆ คือ การนําสิ่งของหรือ สินค้าบรรจุลงในภาชนะ ซึ่งอาจจะ เป็นถุง กล่อง หรืออะไรก็ตาม แต่ ถ้ามองกันให้ลึกซึ้งมากไปกว่านั้น การบรรจุหีบห่อกลับไม่ใช่เรื่อง ง่าย เพราะเราจะต้องรวมเอาทั้ง ความเป็นศิลปะผสมผสานกับ หลักการทางวิทยาศาสตร์หรือ เรียกว่าเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกัน แต่ก่อนในสมัยโบราณ มนุษย์เราเริ่มรู้จักที่จะใช้วัสดุ ต่างๆ มาทําเป็นภาชนะบรรจุโดย วิธีการง่ายๆ มีหลักฐานค้นพบว่า ชาวอียิปต์เป็นชาติแรกที่รู้จักใช้ ภาชนะเพื่อบรรจุสินค้า โดยทําขึ้น จากดินเหนียวมาปั้นเป็นภาชนะ หรือใช้เส้นใยนํามาถักทําเป็นถุง และค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาตาม ลําดับจนกระทั่งในช่วงศตวรรษ ที่18 ได้เริ่มมีบริษัททําการผลิต ภาชนะบรรจุจําหน่ายให้กับผู้ผลิต และผู้จําหน่ายสินค้าต่างๆ โดยมี

การนําเครื่องมือเครื่องจักรเข้ามา ใช้ในการผลิต ต่อมาในศตวรรษ ที่19 ภาชนะบรรจุก็เริ่มมีบทบาท สําคัญในตลาดอย่างแท้จริง และ ทวีความสําคัญยิ่งขึ้นตราบจน กระทั่งทุกวันนี้ ทั้งนี้ก็เนื่องจาก ภาชนะบรรจุทําหน้าที่หลาย ประการคือ 1. ป้องกันและรักษา คุณภาพของสินค้าในระหว่าง การขนส่ง ขนถ่าย และการเก็บใน คลังสินค้า โดยช่วยป้องกันสิ่ง สกปรก ไอน้ํา ความชื้น แสง การ กระแทก และการกดทับ เป็นต้น ตลอดจนช่วยรักษารส กลิ่น และ ส่วนผสมต่างๆ ของสินค้าให้อยู่ใน สภาพที่ดีอีกด้วย 2. ให้ความสะดวกในการ จัดส่งสินค้าไปยังตลาดปลายทาง ด้วยความรวดเร็วและประหยัดค่า ใช้จ่าย 3. ให้ความสะดวกในการ ใช้ เช่น มีฝาปิดเปิดง่าย มีหูหิ้ว สําหรับถือ เป็นต้น 4. เป็นตัวกลางในการ บอกรายละเอียดของสินค้าที่บรรจุ อยู่ภายใน เช่น บอกราคา ตรา วิธี การใช้ อายุการใช้งาน หรือส่วน ผสมต่างๆ เป็นต้น 5. ช่วยกระตุ้นและดึงดูด ใจในการซื้อสินค้า ณ จุดขาย ซึ่ง

ถือเป็นกลยุทธ์ในการส่งเสริมการ ขายได้อย่างดี ในปัจจุบันเทคโนโลยีการ บรรจุหีบห่อได้เจริญรุดหน้าเป็น อันมาก และมีการพัฒนาอย่างไม่ หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ ประเทศในทวีปยุโรป แม้ว่าการ บรรจุหีบห่อของประเทศเราจะ ยัง ไม่ทัดเทียมกับประเทศเหล่านี้ แต่ ก็เป็นที่น่ายินดีว่าการพัฒนาใน ด้านนี้กําลังได้รับความสนใจจาก หลายๆ ฝ่าย ดังจะเห็นได้จากการ ตื่นตัวของ ภาคเอกชน เราจึงมี สินค้าบรรจุอยู่ในภาชนะรูปร่าง แปลกๆ และใช้วัสดุใหม่ๆ จําหน่ายอยู่ตามท้องตลาด มากมาย หรือในส่วนของภาค รัฐบาลก็มีหน่วยงานที่ทําหน้าที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง เช่น ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กอง บริการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริม อุตสาหกรรม กรมพาณิชย์ สัมพันธ์ จึงเป็นที่มั่นใจได้ว่าใน อนาคตข้างหน้าการบรรจุหีบห่อ ของบ้านเราจะพัฒนาทัดเทียมกับ ประเทศอื่นๆ ได้อย่างแน่นอน


การบรรจุภัณฑ์คุณภาพ ••• หลายคนอาจจะดูว่าบรรจุ ภัณฑ์นั้นเป็นสิ่ง ที่ง่ายๆ เพียงแต่ นํามาใช้บรรจุรองรับสินค้าเท่านั้น แต่ทําไมถึงได้มีบรรจุภัณฑ์หลาก หลายในท้องตลาด ทั้งนี้ก็ เนื่องจากมีกฎหมายที่มีผลกระทบ ต่อการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ นั่นเอง ปัจจุบันมีผู้จําหน่าย บรรจุ ภัณฑ์กระจายอยู่ทั่วโลก แต่สินค้า ก็ยังมีความเสียหายอยู่เนืองๆ การที่จะตรวจสอบว่าบรรจุ ภัณฑ์ใช้งานได้อย่างดีนั้น มักจะดู ถึงคุณสมบัติในการคุ้มครองสินค้า เช่น สินค้าจําหน่ายในประเทศหรือ เพื่อ การส่งออก หรือทั้งสอง ประการ ใช้บรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิ ร่วมด้วยหรือไม่ ใช้ เครื่องจักรหรือ คนขนย้าย วางตลาดในที่ที่มี ความชื้นและอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง เพียงใด บรรจุขนาดใดจึงจะพอ เหมาะกับผู้บริโภค เหล่านี้เป็น เพียงคําถามตัวอย่างเพื่อใช้จัดทํา บรรจุภัณฑ์ให้เป็นไปตามข้อ กําหนด แต่บางครั้งก็ยังไม่ สามารถให้ความคุ้มครองสินค้า ได้ตามที่คาดหวังไว้ ผลิตภัณฑ์จํานวนมากรวม ทั้งสารเคมี ที่ถูกจัดไว้ในประเภท “สินค้าอันตราย” นั้น ต้องมีบรรจุ ภัณฑ์ที่มีสมบัติตามกฎข้อบังคับ ชื่อว่า “Recommendations on the Transport of Dangerous Goods (ninth revised edition)” ซึ่งจัดทํา โดยองค์การสหประชาชาติ เอกสารนี้มักรู้จักกันในชื่อ ว่า “UN Orange Book” มีสาระว่า ด้วยกฎข้อบังคับในการขนส่ง สินค้าอันตราย ระบบในการ ทดสอบบรรจุภัณฑ์ การจัดทํารหัส และเครื่องหมายบนบรรจุภัณฑ์ ดัง

นั้นผู้ผลิต สินค้า ประเภทนี้ จะต้อง จัดหาบรรจุ ภัณฑ์ให้ เป็นไปตาม กฎข้อบังคับ นี้ แต่ยังมี ผลิตภัณฑ์ อีกหลายชนิดที่ ไม่ได้จัดอยู่ใน ประเภทดังกล่าว และไม่มีข้อ กําหนดเกี่ยวกับสมบัติบรรจุภัณฑ์ ที่ใช้อย่าง ชัดเจน ผู้ที่เคยผลิตและ ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถผ่านกฎข้อ บังคับ ขององค์การสหประชาชาติ มาแล้วจะสามารถนําประสบการณ์ มาใช้กับสินค้าเหล่านี้ได้อย่างดี ในสถานการณ์ที่เน้นสมบัติ ของการใช้งานมาเป็นข้อกําหนด ในการจัดหาบรรจุภัณฑ์ยิ่งกว่า การเลือกใช้โครงการของวัสดุ ซึ่ง มีการพัฒนาวัสดุใหม่ มีกฎหมาย ด้านการนํามาแปรใช้ใหม่และใช้ ซ้ํา และการสร้างความเชื่อมั่นของ ผู้บริโภคในตราสินค้า เหล่านี้เป็น องค์ประกอบที่ทําให้การคัดเลือก ผู้ผลิตเป็นสิ่งสําคัญ อย่างไรก็ตาม มิใช่ว่าจะมีแต่เพียงรายเดียว เท่านั้น ที่จะผลิตบรรจุภัณฑ์ได้ตาม ข้อกําหนด อีกทั้งใช่ว่าจะพิจารณา เพียงบรรจุภัณฑ์ที่ มีราคาต่ําสุด เท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นที่จะ ต้องนํา มาพิจารณาร่วมด้วย เช่น เวลาใน การจัดส่ง ปริมาณการเก็บสํารอง มาตรฐานในการประกันคุณภาพ และการสนับสนุนด้านเทคนิค ซึ่ง ยังต้องการงานวิจัยและการ ทดสอบที่ล้วนแต่ทําให้ค่าใช้จ่าย เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น การจัดทําข้อกําหนด

บรรจุภัณฑ์ปฐมภูมินั้นต้อง พิจารณาถึงการเลือกใช้บรรจุ ภัณฑ์เพื่อการขนส่งแท่นรองรับ สินค้า ฟิล์มยืดที่ห่อหุ้ม และ วัสดุ ต่างๆ ที่นํามาใช้ประกอบในการ ขนส่งด้วย แท่นรองรับสินค้าทํา ด้วยไม้ควรได้รับการตรวจสอบทั้ง ด้านการออกแบบ และความคงทน ในการใช้งาน เพราะจะช่วยให้การ ขนถ่ายและขนส่งเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ การจัดทําข้อกําหนดบรรจุภัณฑ์ จึงเป็นเรื่องทางเทคนิค บรรจุภัณฑ์ จะใช้งานได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่ที่ คุณภาพของบรรจุภัณฑ์ในการ คุ้มครองสินค้าได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งการใช้ปริมาณวัสดุในการ จัดทําให้น้อยที่สุด เพื่อประหยัด พลังงาน มีเศษเหลือทิ้งน้อยที่สุด สามารถนําไปแปรใช้ใหม่ หรือใช้ ซ้ําได้ ยิ่งกว่านั้นบรรจุภัณฑ์จะต้อง มีราคาที่ทั้งผู้ผลิตสินค้าและผู้ บริโภค สามารถซื้อหาได้


References กาญจนา ทุมมานนท์, “การบรรจุภัณฑ์คุณภาพ”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.mew6.com/ composer/package/package_0.php. [19 April 2006] บุษกร ประดิษฐากูร, “บทบาทและความสําคัญของภาชนะบรรจุ”[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http:// www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=85&i2=2&noshow=1. (10 เมษายน 2552) มยุรี ภาคลําเจียก, การบรรจุหีบห่อ (packaging), [online] Available : http://www.mew6.com/composer/ package/index.php. [1/เมษายน/09]


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.