ทิศทางชายฝั่งทะเลไทย ในทศวรรษใหม่ที่ยั่งยืน

Page 1

สัมมนา “ชายฝั่งทะเลไทย ในทศวรรษใหม่ที่ยั่งยืน” วันที่ 22 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ณ โรงแรมสยามธานี จ.สุราษฎร์ธานี


1. ความเปนมา

สัมมนา ชายฝงทะเลไทย ในทศวรรษใหมที่ยั่งยืน

วันที่ 22 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ณ โรงแรมสยามธานี จ.สุราษฎรธานี

ความเสื่ อ มโทรมของทรั พ ยากรทะเลและ ชายฝั่ ง อย่ า งรวดเร็ ว ทั้ ง ด้ า นกายภาพและระบบ นิ เ วศวิ ท ยา มี นั ย สํ า คั ญ ต่ อ ความหลากหลายทาง ชี ว ภาพ ซึ่ ง มี ว งจรชี วิ ต ที่ พึ่ ง พาอาศั ย ซึ่ ง กั น และกั น ระหว่างมนุษย์และทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง สิ่งที่ เกิดขึ้นตามมาคือการลดลง หรือ การสูญเสียพันธุ์สัตว์ น้ํา พันธุ์พืช ปะการัง หญ้าทะเล และของป่าชายเลน ฯลฯ ไม่เพียงเท่านั้นมีการศึกษาจํานวนมากที่ทําให้ เชื่อได้ว่า ในอนาคตข้างหน้าพื้นที่ชายฝั่งทะเลจะได้รับ ผลกระทบจากภาวะโลกร้ อ น ซึ่ ง ก่ อ ให้ ผ ลกระทบ ต่อเนื่องในอีกหลายด้าน เช่น การเปลี่ยนแปลงของ ระบบนิเวศชายฝั่งทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง ความ เสี่ ย งต่อ การเกิด ภัย พิบั ติที่ มีแนวโน้ มรุ นแรงมากขึ้ น ปรากฏการณ์เหล่านี้ย่อมส่งผลต่อเนื่องต่อความมั่นคง ในงานอาชีพและการดําเนินวิถีชีวิตชุมชนชายฝั่ง และ ท้ า ยที่ สุ ด ก็ ย่ อ มส่ ง ผลกระทบต่ อ ทุ ก ชี วิ ต ที่ มี ชี วิ ต เชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน ผลกระทบที่ เ กิ ด ขึ้ น ดั ง กล่ า วได้ ส ร้ า งความ ตื่นตัวให้กับภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ในระดับประเทศ มีการก่อตั้งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งขึ้นมา ดูแลเรื่องชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะ ในขณะที่ภาคเอกชน นําหลักการ ทฤษฎีในด้านต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อให้เกิดความยั่งยืน เช่น หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรภาคีผู้มี ส่ ว นได้ เ สี ย หลั ก การสิ ท ธิ ชุ ม ชน บทบาทหญิ ง ชาย หลักธรรมาภิบาลและการกระจายอํานาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ เช่นเดียวกับชุมชนท้องถิ่น ได้ลุกขึ้นมาดูแล ปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ ง แวดล้ อ มชายฝั่ ง ทะเลอย่ า งแข็ ง ขั น ชุ ม ชน ท้ อ งถิ่ น หลายแห่ ง มี ก ารรื้ อ ฟื้ น ภู มิ ปั ญ ญาและองค์ ความรู้ของท้องถิ่นมาใช้ในการฟื้นฟูทรัพยากรอย่าง เหมาะสมและสอดคล้องกับชุมชนของตนเองได้อย่าง น่าสนใจ และประสบการณ์ บทเรียนและองค์ความรู้ จากการลงมือ ลงแรงของภาคส่วนต่างๆ ถือเป็นสิ่งมี ค่ า ยิ่ ง สํ า หรั บ การจั ด การทรั พ ยากรทางทะเลและ ชายฝั่งในทศวรรษใหม่ให้เกิดความยั่งยืน


ดังนั้นเพื่อเป็นการเชื่อมโยงภูมิปัญญา ความรู้และนวัตกรรมด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ พิทักษ์และการ จัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง เข้ากับงานด้านวิชาการของหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษา และเป็น การเตรียมความพร้อมของชุมชนชายฝั่งการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรและระบบนิเวศทะเลและ ชายฝั่ง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติในอนาคต นอกจากนั้นเพื่อเป็น การรณรงค์เนื่องในโอกาสทศวรรษแห่งความหลากหลายทางชีวภาพและปีสากลแห่งป่าไม้ เครือข่ายองค์กรภาคี ที่ทํางานด้านการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงได้ร่วมกันจัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง “ชายฝั่งทะเลไทย ในทศวรรษใหม่ที่ยั่งยืน” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเสมือนเวทีวิชาการของชุมชนและนักวิชาการในการ แลกเปลี่ยนบทเรียนประสบการณ์ องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นอันจะเป็นรากฐานความรู้ที่จะนําไปสู่การ จัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งการตั้งรับ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ของชุมชนชายฝั่งในทศวรรษข้างหน้า

2. วัตถุประสงค 1.1 เพื่อนําเสนอนวัตกรรม องค์ความรู้และภูมิ ปัญญาในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 1.2 เพื่อรวบรวมข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูป การจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประเทศไทย 1.3 เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องการปรับตัวและ เตรียมความพร้อมของชุมชนชายฝั่งต่อสถานการณ์การ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในอนาคต 1.4 ร่วมรณรงค์ทศวรรษแห่งความหลากหลายทาง ชีวภาพและปีสากลแห่งป่าไม้

3. รูปแบบการสัมมนา รูปแบบการสัมมนาประกอบด้วย 3 ลักษณะคือ 3.1 เสวนาแลกเปลี่ยนบนเวที 3.2 ส่วนแสดงนิทรรศการ การประกวดภาพถ่าย และการนําเสนอผลงานในรูปแบบโปสเตอร์ 3.3 การลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชมผลการดําเนินงานของ โครงการ/ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

4 ผูเขารวมสัมมนา ผู้เข้าร่วมประชุมจํานวน 250 -300 คน ประกอบด้วย ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรเอกชน องค์กร ชุมชน เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ต่างๆ สถาบันการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป


5 ระยะเวลาในการสัมมนา 3 วัน ระหว่างวันที่ 22-24 สิงหาคม 2554 [มีการดูงานในบ่ายวันที่ 22 สิงหาคม 2554]

6 สถานที่ในการประชุม โรงแรมสยามธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

7 องคกรรวมจัด จังหวัดสุราษฏร์ธานี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เครือข่ายอนุรักษ์อ่าวบ้านดอน องค์การพื้นที่ชุ่มน้ํานานาชาติ สํานักงานประเทศไทย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โครงสร้างเสริมสุขภาวะทางสังคมและปัญญา ดูแลรักษา ดินน้ําป่า จังหวัดตรังและสุราษฎร์ธานี (สจน) โครงการป่าชายเลนเพื่ออนาคต (MFF) โครงการพัฒนาแห่งสหประชาติ (UNDP) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

8 องคกรภาคี มูลนิธิรักษ์ไทย มูลนิธิอันดามัน สมาคมดับบ้านดับเมือง สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ เครือข่ายผู้หญิง ประมงพื้นบ้านภาคใต้ สํานักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ศูนย์ฝึกวนศาสตร์ชุมชนแห่ง ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โครงการความมั่นคงอาหารอ่าวพังงา องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สํานักงานประเทศไทย (WWF) Mangrove Action Project (MAP) องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูชายฝั่งอันดามัน (ARR) สถาบันธรรมรัฐ เพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สํานักงานปฏิรูปองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ


กําหนดการสัมมนา ทิศทางชายฝงทะเลไทย ในทศวรรษใหมที่ยั่งยืน วันที่ 22 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ณ โรงแรมสยามธานี จ.สุราษฎรธานี วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554 13.00 -18.00 7.00 – 21.00 น.

การดูงาน เรื่อง ศูนย์เรียนรู้ชุมชนในการจัดการทรัพยากร หมายเหตุ : รถบัสออกจากโรงแรมสยามธานีเวลา 12.30 น. โดยจะไปลงเรือที่ศูนย์ท่องเที่ยว ชุมชนตําบลลีเล็ด (ผู้จะไปศึกษาดูงานโปรดแจ้งล่วงหน้าในใบลงทะเบียน) จัดเตรียมนิทรรศการ

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554 08.30 น.

ลงทะเบียน

09.00 – 09.10

นําเสนอวีดีทัศน์ “ทิศทางทะเลไทย ในทศวรรษใหม่ที่ยั่งยืน”

09.10 - 09.20 น.

กล่าวรายงานความเป็นของการสัมมนา โดย รศ.ดร.นพรัตน์ บํารุงรักษ์ ผู้อํานวยการองค์การพื้นที่ชุ่มน้ํานานาชาติ-ประจําประเทศไทย กล่าวตอนรับในนามเครือข่ายองค์กรชุมชน โดย กํานันประเสริฐ ชัญจุกรณ์ ประธานเครือข่ายอนุรักษ์อ่าวบ้านดอน กล่าวเปิดการสัมมนา โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี การจัดการนวัตกรรมและองค์ความรู้ ในฟื้นฟูและอนุรักษ์ ระบบนิเวศชายฝั่งและป่าชายเลน ดําเนินรายการโดย นางสาวสมหญิง สุนทรวงษ์ ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก (RECOFTC) วิทยากร • สถานการณ์ป่าชายเลนอ่าวบ้านดอนและบทบาทของส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน ที่ 4 ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน โดย ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4 • บทเรียนและประสบการณ์ดําเนินงานของชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง กรณีอ่าวบ้านดอน โดย นายประมวล รัตนานุพงศ์ รองประธานเครือข่ายอนุรักษ์อ่าวบ้านดอน • การฟื้นฟูป่าชายเลนควบคู่กับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา โดย ตัวแทนชุมชน/ผู้แทนศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (สกว.) • การเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง (กรณีปักไม้ไผ่กันคลื่น) โดยตัวแทนชุมชนอ่าวไทยตอนใน • การฟื้นฟูป่าชายเลนด้วย Ecological Mangrove Restoration (EMR) โดย นายจิม เอนท์ไร้ท์ องค์กร Mangrove Action Project (MAP) • การประยุกต์ใช้กลไกทางการไบโอไรท์ เพื่อการฟื้นฟูป่าชายเลนควบคู่ไปกับการพัฒนา คุณภาพชีวิต โดย นายประทีป มีคติธรรม องค์การพื้นที่ชุ่มน้ํานานาชาติ-ประจําประเทศไทย

09.20 – 09.30 09.30 – 10.00 น. 10.00 – 12.00 น.


12.00 – 13.00 น. 13.00 – 14.30 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทํางานด้านทรัพยากรทางทะเลชายฝั่ง ในส่วนของนิทรรศการและ เวทีเสวนาย่อย

14.30 – 17.00 น.

การจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งแบบบูรณาการบนฐานระบบนิเวศโดยภาคีที่หลากหลาย นําเสนอสถานการณ์การจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งในปัจจุบัน เพื่อจัดทําข้อเสนอใน การจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดําเนินรายการโดย นางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข ผู้อํานวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน • ตัวอย่างการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ต่างๆ > การส่งเสริมภูมิปัญญาการจัดการนิเวศชายฝั่งทะเลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอ่าว พังงา จ.พังงา โดยนายพิเชษฐ์ ปานดํา โครงการความมั่นคงอาหารอ่าวพังงา > การจัดการจากภูสู่เลและการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ําจังหวัดระนอง โดย นายสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ • บทบาทขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรร่วมกับชุมชน โดยนายอภินนั ท์ เชาวลิต นายกองค์การบริหารส่วนตําบลท่าศาลา จังหวัด นครศรีธรรมราช และนายชูศักดิ์ ชุมคง นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเกาะลิบง จังหวัดตรัง • การบูรณาการความร่วมมือในการจัดการทรัพยากร > การจัดการชายฝั่งแบบบูรณาการจังหวัดชลบุรี โดยนายกเทศมนตรีเมืองศรีราชาจังหวัดชลบุรี > การบูรณาการความร่วมมือในระดับจังหวัด การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการ คุ้มครองหญ้าทะเล การอนุรักษ์พะยูนและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่าง ยั่งยืน จังหวัดตรัง โดย นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง และนายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ มูลนิธิอันดามัน รับประทานอาหารค่ํา พร้อมชมการแสดงพื้นบ้าน อาทิเช่น มโนราห์ตลก มวยไทยไชยา ลิเกป่า

18.00 น.

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวทีหลัก ห้องประชุม ทักษิณาลัย 1 08.30 – 11.30 น.

ชุมชนชายฝั่งเข้มแข็ง ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ดําเนินรายการโดย นายเสกสรร ชัญถาวร มูลนิธิรักษ์ไทย วิทยากร • ชุมชนชายฝั่งกับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ สภาพภูมิอากาศ และ ภัย พิบัติต่างๆ โดย ดร. สนใจ หะวานนท์ รองผู้จดั การใหญ่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร • กระบวนการเสริมสร้างชุมชนชายฝั่งเข้มแข็ง เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยและภัยพิบัติ ธรรมชาติ โดย นายประสาร สถานสถิตย์ มูลนิธิรักษ์ไทย


• การใช้ประโยชน์จากต้นจากและไผ่ เพื่อเสริมสร้างรายได้และป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดย นายประดิษฐ์ บุญปลอด สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จังหวัดพังงา • ชุมชนและท้องถิ่นร่วมมือกัน เสริมสร้างความมั่นคงในวิถีชีวิต มีระบบนิเวศสมบูรณ์ และมีความพร้อมรับมือปรับตัวกับภัยอันตรายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดย นายปัญญา หวามาก ผู้ประสานงานคณะทํางานพัฒนาบ้านท่าคลอง หมู่ที่ 9 ต. เกาะกลาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ • เครือข่ายชุมชนชายฝั่ง กับการจัดการทรัพยากรทางทะเล เพื่อความมั่นคงในวิถีชีวิต อยู่อย่างปลอดภัย พร้อมรับมือและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดย คุณสุภาพร พรรณราย ผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชน ปากพะยูน จังหวัดพัทลุง • เครือข่ายชุมชนชายฝั่งกับการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งการ เตรียมความพร้อมรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดย ร.ต. กําพล จิตตะนัง ผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชนชายฝั่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช เวทีคู่ขนาน ข้อบัญญัติท้องถิ่น : การบูรณาการจัดการชายฝั่งทะเลไทย ห้องเทพธานี 9.00 – 11.30 น.

เรียนรู้ กระบวนการจัดทําข้อบัญญัติท้องถิ่น และการขับเคลื่อนการบูรณาการจัดการชายฝั่ง ทะเลไทย ในทางกฎหมายและนโยบายสาธารณะในระดับตําบล จังหวัด และประเทศ ดําเนินรายการและร่วมเสวนา โดย ศยามล ไกยูรวงศ์ วิทยากร • นําเสนอเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและหลักการการจัดทําข้อบัญญัติท้องถิ่น โดย ศยามล ไกยูรวงศ์ และดําเนินรายการเสวนา • กระบวนการจัดทําข้อบัญญัติท้องถิ่นกรณีตําบลท่าศาลา โดย นายอภินันท์ เชาวลิต นายก อบต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช นายทรงวุฒิ พัฒน์แก้ว อดีตเจ้าหน้าที่สมาคมดับบ้านดับเมือง • ความเห็นต่อนโยบายสาธารณะต่อการจัดการชายฝั่งอ่าวบ้านดอน โดย นายก อบต.ตะเคียนทอง อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี เวทีสัมมนารวมที่ ห้องประชุม ทักษิณาลัย 1 11.30 - 11.45 น. 11.45 -12.00 น.

สรุปการสัมมนาและนําเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายจากทุกเวที โดย ดร. กิติชัย รัตนะ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์ ปิดการประชุม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

12.30 เป็นต้นไป

check-out จากห้องพัก รับประทานอาหารกลางวัน และผู้เข้าร่วมประชุมเดินทางกลับ

หมายเหตุ : กําหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


หัวขอเวทียอย วันเวลา ห้องประชุม รูปแบบเวที ดําเนินรายการโดย วิทยากรโดย

นวัตกรรมและองคความรูในการอนุรกั ษและฟนฟูระบบนิเวศปาชายเลน วันที่ 23 สิงหาคม 2554 เวลา 10.00-12.00 น. ทักษิณาลัย 1 เวทีนําเสนอกึ่งเสวนา คุณสมหญิง สุนทรวงศ์ ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชน (RECOFT) • สถานการณ์ป่าชายเลนอ่าวบ้านดอนและบทบาทของส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลน ที่ 4 ในการอนุรกั ษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน โดย ผู้แทนส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4 • บทเรียนและประสบการณ์ดําเนินงานของชุมชนในการอนุรกั ษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง กรณีอ่าวบ้านดอน โดย นายประมวล รัตนานุพงศ์ รองประธานเครือข่ายอนุรักษ์อ่าวบ้านดอน • การฟื้นฟูป่าชายเลนควบคู่กับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา โดย ตัวแทนชุมชน/ผู้แทนศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (สกว.) • การเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง (กรณีปกั ไม้ไผ่กันคลื่น) โดยตัวแทนชุมชนอ่าวไทยตอนใน • การฟื้นฟูปา่ ชายเลนด้วย Ecological Mangrove Restoration (EMR) โดย นายจิม เอนท์ไร้ท์ องค์กร Mangrove Action Project (MAP) • การประยุกต์ใช้กลไกทางการไบโอไรท์ เพื่อการฟื้นฟูป่าชายเลนควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดย นายประทีป มีคติธรรม องค์การพื้นที่ชุ่มน้ํานานาชาติ-ประจําประเทศไทย

ผู้รับผิดชอบเวที กองเลขานุการ

องค์การพื้นที่ชุ่มน้ํานานานาชาติ-ประจําประเทศไทย นางสาวฉวีวรรณ คงอ่อน นางพัชรนันท์ ศัลยประดิษฐ์

เนื้อหา จากสภาพปัญหาป่าชายเลนลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษ นอกจากส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเลและ ชุมชนประมงพื้นบ้านซึ่งจําเป็นต้องพึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชายฝั่งเป็นฐานในการดํารงชีวิต การประกอบอาชีพและ แหล่งรายได้แล้ว ยังส่งผลให้เกิดความตื่นตัวของของชุมชน ประชาชนทั้วไป องค์กรเอกชนและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพยายาม ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนให้กลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง อย่างไรก็ตามแม้เป้าหมายของภาคส่วนต่างๆ จะไม่แตกต่างกัน แต่วิธีการของการฟื้นฟูป่าชายเลนกลับมีความแตกต่างกัน ในบางประการอย่ า งน่า สนใจ ขณะที่ภาครั ฐมุ่ งเน้น การใช้มาตรการทางกฎหมายหยุ ดยั้ งการบุกรุกป่าชายเลนและสนับ สนุ น งบประมาณจํานวนไม่น้อยเพื่อทําการฟื้นฟูป่าชายเลนโดยเฉพาะในพื้นที่สงวนของรัฐจนได้พื้นป่าชายเลนเพิ่มขึ้น โดยวิธีการตาม


หลักวนศาสตร์ แต่ในอีกด้านก็มีชุมชนจํานวนไม่น้อยที่ยังคงตั้งถิ่นฐานและพึ่งพิงพื้นที่ป่าชายเลนโดยไม่สามารถอพยพโยกย้ายไปที่ อื่นได้ด้วยข้อจํากัดในแง่ของความยากจน และบ่อยครั้งที่กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่และชุมชน ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4 ทุ่มเทกําลังและใช้เวลาหลายปีในการฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่อ่าวบ้านดอน จนประสบความสําเร็จ แต่ที่น่าสนใจก็คือสิ่งที่ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4 ใช้เป็นเครื่องมือกลับไม่ใช้กฎหมายที่ มุ่งเน้นการจับกุมเพียงด้านเดียว แต่ให้ความสําคัญกับการประสานความร่วมมือและการเข้าถึงชุมชน ซึ่งกลายเป็นเงื่อนไขชี้ขาด ความสําเร็จในการฟื้นฟูป่าชายเลนแห่งนี้ ชุมชนในพื้นที่ดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานีพยายามปรับเปลี่ยนวิถีการดํารงชีวิตและการประกอบอาชีพเพื่อให้เหมาะสม กับสภาพชุมชนที่อยู่กับป่าชายเลน จากเดิมที่เคยถากถางป่าชายเลนจนเหี้ยนเตียนเพื่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําแบบพัฒนา แต่บทเรียนที่ ผ่านมาทําให้พวกเขาตระหนักว่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ต่างหากคือหลักประกันความมั่นคงของวิถีชีวิตคนในชุมชน หลายชุมชน เริ่มฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่นากุ้งร้าง ขณะเดียวกันก็ใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําในพื้นที่นากุ้งร้างเหล่านั้น เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวควบคู่ไปด้วย ชุมชนพยายามเรียนรู้ พิสูจน์และแสดงให้เห็นว่า ชุมชนในป่าชายเลนจะอยู่คู่กับป่า ชายเลนได้อย่างไร อย่างน้อยก็เพื่อปกป้องชุมชนและแหล่งทํามาหากินไม่ให้ถูกขับไล่ออกจากพื้นที่ เช่นเดียวกับชุมชนอ่าวไทยตอนใน ซึ่งเผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจนสูญเสียที่ดินไปทุกปีได้ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เรียนรู้จากภูมิปัญญาใช้ไม้ไผ่ปักเป็นแนวกันคลื่นทําให้เกิดการตกตะกอน และปลูกป่าชายเลนเสริมเข้าไป องค์ความรู้และบทเรียน การป้องกันการกัด เซาะชายที่อ่าวไทยตอนในแห่งนี้ ไม่เพียงเห็นผลรูปธรรมที่ชัดเจน แต่ในอีกด้านเป็นการท้าทายเทคโนโลยี สมัยใหม่ที่ใช้แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งกันในปัจจุบันนี้ ในขณะเดียวกันปัจจุบันก็มีเทคนิค วิธีการและองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูป่าชายเลนให้ เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ Mangrove Action Project (MAP) พัฒนาการฟื้นฟูป่าชายเลนบนฐานคิดในเรื่องระบบนิเวศ และเห็นว่า การฟื้นฟูป่าชายเลนนั้นไม่ใช่เพียงแค่การเพิ่มพันธุ์ไม้ชนิดใด ชนิดหนึ่งเท่านั้นแต่ควรฟื้นฟูให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด ด้วยวิธีการ 6 ขึ้นตอนของ EMR เช่นเดียวกับองค์การพื้นที่ชุ่มน้ํานานาชาติ-ประจําประเทศไทย ที่ประยุกต์ใช้กลไกทางการเงินที่เรียกว่า “ไบโอ ไรท์” เพื่อเป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ป่าชายเลนควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนประมงชายฝั่งไปพร้อมๆ กัน วัตถุประสงค์ของการนําเสนอ 1.) นําเสนอองค์ความรู้ เทคนิค วิธีการ ในการฟื้นฟูป่าชายเลนของภาคส่วนต่างๆ อันจะสามารถนําไปประยุกต์ใช้ให้ เหมาะสมกับแต่ละสภาพพื้นที่และลดความขัดแย้งในการดําเนินงานด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนในอนาคต 2.) แลกเปลี่ยนเพื่อตอบโจทย์กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนได้อย่างไร? จากบทเรียนของ ชุมชนและหลายองค์กร ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการจัดการและฟื้นฟูป่าชายเลนมีรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ตายตัว และมีตัวอย่าง ความสําเร็จอันเกิดจากองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดจากความร่วมมือและการให้ความสําคัญกับชุมชนท้องถิ่น ดังนั้นใน อนาคตหากต้องการรักษาและเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนอย่างยั่งยืน ภาครัฐควรปรับเปลี่ยนนโยบายการทํางานแนวดิ่งยึดกฎหมายเป็น หลัก ไปสู่การทํางานแนวนอน และมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับชุมชน นอกจากนั้นการมีกฎหมาย การปรับระเบียบกฎเกณฑ์ที่ เป็นอุปสรรคต่อการสร้างความร่วมมือก็เป็นประเด็นสําคัญที่ควรต้องได้รับการผลักดัน


หัวขอเวทียอย

การจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝงแบบบูรณาการบนฐานระบบนิเวศ โดยภาคีที่หลากหลาย

วันเวลา ห้องประชุม รูปแบบเวที ดําเนินรายการโดย วิทยากรโดย

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14.30-17.00 น. ทักษิณาลัย 1 เวทีเสวนา นางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข ผู้อํานวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คุณสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร คุณพิเชษฐ์ ปานดํา คุณชูศักดิ์ ชุมคง คุณอภินันท์ เชาวลิต คุณภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ คุณนิสากร วิเวกวินย์ คุณแขก ศิลปไชย

ผู้รับผิดชอบเวที กองเลขานุการ

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โครงการความมั่นคงทางอาหารอ่าวพังงา นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเกาะลิบง นายกองค์การบริหารส่วนตําบลท่าศาลา มูลนิธิอันดามัน เทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี ตัวแทนชุมชน จังหวัดชลบุรี

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นางสาวเกศินี แกว่นเจริญ นางสาวชโลทร รักษาทรัพย์

เนื้อหา ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทะเลและชายฝั่งอย่างรวดเร็วทั้งด้านกายภาพและระบบนิเวศ มีนัยยะสําคัญต่อความ หลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีวงจรชีวิตที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์และทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือการลดลง หรือ การสูญเสีย พันธุ์สัตว์น้ํา พันธุ์พืช ชนิดประการัง ชนิดหญ้าทะเล และชนิดของป่าชายเลน ผลกระทบที่ตามมาก็ จะเป็นลูกโซ่ จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ได้สะท้อนถึงการบริหารและจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งของประเทศไทยว่า หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย ยังขาดความเข้าใจที่ลึกซึ้งถึงบริบทของการ จัดการอย่างมีส่วนร่วมโดยภาคประชาชน รวมทั้งหลักธรรมาภิบาลของการกําหนดนโยบาย การออกกฏหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ดังนั้น ทิศทางการกระจายอํานาจให้กับท้องถิ่นและชุนชนจึงมีความจําเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุงและทําความเข้าใจกับหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ระบบการบริหารจัดการที่ ตอบสนอง ต่อการแก้ไขปัญหาของชุมชน และเอื้อต่อการพิทักษ์ ฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันเป็นปัจจัยสําคัญต่อ การสร้างความมั่นคงของฐานอาชีพ เศรษฐกิจและสังคมของชุมชน


การเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ พิทักษ์และการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง เข้ากับงานด้านวิทยาศาสตร์ของหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการเตรียมความพร้อม ของชุมชนในการจัดการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เนื้อหาการเสวนา • ให้ภาพรวมของการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่งในปัจจุบัน • ยกตัวอย่างการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ต่างๆ o การส่งเสริมภูมิปัญญาการจัดการนิเวศชายฝั่งทะเลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอ่าวพังงา จ.พังงา o การจัดการจากภูสู่เลและการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ําระนอง • นําเสนอบทบาทขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรร่วมกับชุมชน o องค์การปกครองส่วนตําบลเกาะลิบง จังหวัดตรัง o องค์การปกครองส่วนตําบลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช • ยกตัวอย่างการบูรณาการความร่วมมือในการจัดการทรัพยากร o การจัดการชายฝั่งแบบบูรณาการจังหวัดชลบุรี o การบูรณาการความร่วมมือในระดับจังหวัด การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการคุ้มครองหญ้าทะเล การ อนุรักษ์พะยูนและการบริหารจัดการทรัพยากรรรมชาติอย่างยั่งยืน จ. ตรัง • ข้อเสนอในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


หัวขอเวทียอย

ชุมชนชายฝงเขมแข็ง ปรับตัวตอการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดลอม สภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ

วันเวลา ห้องประชุม รูปแบบเวที ดําเนินรายการโดย

วันที่ 24 สิงหาคม 2554 เวลา 08.30-11.30 น. ทักษิณาลัย 1 เวทีนําเสนอกึ่งเสวนา คุณเสกสรร ชัญถาวร มูลนิธิรักษ์ไทย การนําเสนอเปิดประเด็นในเวทีย่อย มีดังนี้ 1) ดร. สนใจ หะวานนท์ รองผู้จัดการใหญ่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร หัวข้อนําเสนอ : ชุมชนชายฝั่งกับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ สภาพภูมิอากาศ และ ภัย พิบัติต่างๆ 2) คุณประสาร สถานสถิตย์ มูลนิธิรักษ์ไทย หัวข้อนําเสนอ : กระบวนการเสริมสร้างชุมชนชายฝั่งเข้มแข็ง เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยและภัยพิบัติ ธรรมชาติ 3) คุณประดิษฐ์ บุญปลอด สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จังหวัดพังงา หัวข้อนําเสนอ : การใช้ประโยชน์จากต้นจากและไผ่ เพื่อเสริมสร้างรายได้และป้องกันการกัดเซาะ ชายฝั่ง 4) คุณปัญญา หวามาก ผู้ประสานงานคณะทํางานพัฒนาบ้านท่าคลอง หมู่ที่ 9 ต.เกาะกลาง อ. เกาะลันตา จ.กระบี่ หัวข้อนําเสนอ : ชุมชนและท้องถิ่นร่วมมือกัน เสริมสร้างความมั่นคงในวิถีชีวิต มีระบบนิเวศสมบูรณ์ และมีความพร้อมรับมือปรับตัวกับภัยอันตรายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ 4) คุณสุภาพร พรรณราย ผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชน ปากพะยูน จังหวัดพัทลุง หัวข้อนําเสนอ : เครือข่ายชุมชนชายฝั่ง กับการจัดการทรัพยากรทางทะเล เพื่อความมั่นคงในวิถีชีวิต อยู่อย่างปลอดภัย พร้อมรับมือและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 5) ร.ต. กําพล จิตตะนัง ผู้แทนเครือข่ายองค์กรชุมชนชายฝั่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช หัวข้อนําเสนอ : เครือข่ายชุมชนชายฝั่งกับการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งการ เตรียมความพร้อมรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ผู้รับผิดชอบเวที กองเลขานุการ

มูลนิธิรักษ์ไทย -


เนื้อหา ด้วยปัจจุบันชุมชนชายฝั่ง ต้องอยู่ในสภาวะของความไม่มั่นคงในการดํารงชีวิต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในทางความ เสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งระบบนิเวศที่มีความเปราะบางเพิ่มขึ้น ประกอบกับปัญหาที่ทับซ้อนมีอีกใน เรื่องผลกระทบที่ ม าจากความเสี่ ยงภั ยและภั ยพิบัติต่ า งๆ และ การเปลี่ ยนแปลง การแปรปรวนสภาอากาศ ที่ ส่ง ผลให้ มีก าร เปลี่ยนแปลงฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งทางกายภาพและความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในระบบนิเวศ รวมทั้งภัย พิบัติธรรมชาติที่มีความถี่และความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังมีปัญหาในมิติของโอกาสและการเข้าถึงฐานทรัพยากร รวมทั้งนโยบายการพัฒนาชายฝั่งที่ยังไม่สมดุลและเป็นธรรม ส่งผลให้ชุมชนชายฝั่งตกอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคงและปลอดภัยมาจนถึง ปัจจุบัน(รายงานการศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในจังหวัดกระบี่ ดร.อานนท์ และ คณะ ปี 2552 สนับสนุนโดย SEA START RC และ WWF-GMP) นอกจากนั้นแล้วในด้านของภาพรวมความตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ที่ส่งผลให้เกิดต่อการเปลี่ยนแปลงฐานทรัพยากร ระบบนิเวศ รวมทั้งความเสี่ยงภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้องนี้ ยังมีน้อยมาก ทั้งประชาชน หน่วยงานรัฐและภาคประชาสังคม แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นมีให้เห็นแล้วในทุกภาคส่วนของการพัฒนาสังคมและ ประเทศ โดยเฉพาะชุมชนชายฝั่งที่ห่างไกลและพึ่งพิงฐานทรัพยากรธรรมชาติในการดํารงชีวิต จะมีความเสี่ยงและเปราะบางมากใน เรื่องนี้ (อาจารย์ มิ่งสรร ขาวสะอาด และ คณะ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ – ความท้าทายของประเทศไทย ปี 2554 สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) และ มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สําคัญๆ เช่น (ก) การศึกษาวิจัยความ เสี่ยงทั้งเชิงพื้นที่และภาคการผลิตรวมถึงบริการในภาพรวมและเฉพาะจากผลของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพื่อนําไปจัดทํา นโยบายแผนงานการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพ (ข) สนับสนุนงบประมาณในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ ที่จะช่วยให้ระบบการผลิตการเกษตรและประมงปรับตัวอยู่กับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่แปรปรวนมากขึ้น รวมทั้งให้มีการ ศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์น้ําด้วยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นและองค์ความรู้วิชาการวิทยาศาสตร์ให้ได้พันธุ์พืชและ สัตว์ที่ใช้ได้เหมาะสมและปรับตัวได้ดีขึ้น (ค) ระบบนิเวศชายฝั่งและต้นน้ําลําธารที่เกี่ยวข้องต้องได้รับการฟื้นฟู ดูแลรักษา อนุรักษ์ ไว้เพื่อเพิ่มกําลังการกักเก็บคาร์บอนและเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวให้กับพื้นที่ได้มากขึ้นต่อแรงกดดันจากการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ และ (ง) หน่วยงานภาครัฐส่วนกลางต่างๆที่เกี่ยวข้อง จําเป็นที่จะต้องบูรณาการนโยบายและแผนงานกัยอย่างใกล้ชิด กับ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดําเนินการสร้างระบบเฝ้าระวังติดตามการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้น ที่จะช่วยให้ สามารถมีมาตรการรับมือที่ปรับตัวได้ทันต่อเวลาและสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชุมชนชายฝั่ง เครือข่ายชุมชนชายฝั่ง หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมทุกภาคส่วน ได้ประสบกับปัญหาการ เปลี่ยนแปลงต่างๆและผลกระทบที่เกี่ยงเนื้องดังกล่าวข้างต้นตั้งแต่การประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิในปลายปี 2547 คลื่นลม มรสุม รุนแรง น้ําทะเลหนุนสูง รวมทั้งน้ําท่วมฉับพลันสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จึงมีการ ส่งเสริมชุมชนชายฝั่ง ร่วมมือกันกับเครือข่ายองค์กรชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และ ภาคีภาคส่วนต่างๆทั้งในและระหว่าง ประเทศ เช่น โครงการป่าชายเลนเพื่ออนาคต โครงการเสริมสร้างชุมชนลดและหรือจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ โครงการช่วยเหลือผู้ ประสบอุทกภัยและภัยพิบัติต่างๆ โครงการเสริมสร้างชุมชนชายฝั่งเข้มแข็งเพื่อลดผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนโดยโครงการพัฒนาสหประชาชาติ สหภาพยุโรป เป็นต้น ดําเนินงานอยู่ในปัจจุบัน ในพื้นที่จังหวัดชายฝั่งทั้งที่ประสบธรณี พิบัติภัยสึนามิ อุทกภัย เช่น จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดพัทลุง จังหวัดตรัง ในชายฝั่งอันดามัน และ จังหวัดชุมพร จังหวัด สุราษฏร์ธานี จังหวัด นครศรีธรรมราช เป็นต้น ดังนั้นจึงจําเป็นที่จะมีเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสนอแนะสู่การพัฒนา นโยบายและแผนงานของหน่วยงานภาครัฐในระดับต่างๆ รวมทั้งภาคประชาสังคมภาคส่วนต่างๆ ในประเด็น “ชุมชนชายฝั่ง เข้มแข็ง ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ และ ภัยพิบัติ” เพื่อเสริมสร้างความตระหนัก ความสําคัญของ


ปัญหา และ พัฒนานโยบาย แผนงาน และ แนวทางในการสร้างความมั่นคงในวถีชีวิต ระบบนิเวศสมบูรณ์ รวมทั้งเสริมสร้างการ เตรียมความพร้อมรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นมาอย่างซับซ้อนในระยะยาวได้ วัตถุประสงค์ของการนําเสนอ 1) เกิดความตระหนักและให้ความสําคัญกับ สถานการณ์ปัญหาและผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยในการ ดํารงชีวิตของชุมชนชายฝั่ง อันเนื่องมากจากการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบบนิเวศ สภาพภูมิอากาศ รวมทั้ง ภัยและภัยพิบัติต่างๆในปัจจุบัน 2) เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแนวทางความร่วมมือ ของชุมชนชายฝั่งร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในกระบวนการ เสริมสร้างการเตรียมความพร้อมรับมือ ลดความเสี่ยง และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3) ร่วมกันเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง ได้นําไปพัฒนานโยบายแผนงานและการสนับสนุน การเสริมสร้างชุมชนชายฝั่งเข้มแข็ง พร้อมรับมือและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ต่างๆที่จะเกิดขึ้นมาในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น


หัวขอเวทียอย

เรียนรู กระบวนการจัดทําขอบัญญัติทองถิ่น และการขับเคลื่อนการบูรณา

(คูขนาน)

การจัดการชายฝงทะเลไทย ในทางกฎหมายและนโยบายสาธารณะในระดับ ตําบล จังหวัด และประเทศ

วันเวลา ห้องประชุม รูปแบบเวที ดําเนินรายการโดย วิทยากร

วันที่ 24 สิงหาคม 2554 เวลา 09.00-11.30 น. ห้องเทพธานี เวทีนําเสนอกึ่งเสวนา ศยามล ไกยูรวงศ์ โครงการเสริมสร้างจิตสํานึกนิเวศวิทยา (สจน.) • นําเสนอเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและหลักการการจัดทําข้อบัญญัติท้องถิ่น โดย ศยามล ไกยูรวงศ์ และดําเนินรายการเสวนา • กระบวนการจัดทําข้อบัญญัติท้องถิ่นกรณีตําบลท่าศาลา โดย นายอภินันท์ เชาวลิต นายก อบต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช นายทรงวุฒิ พัฒน์แก้ว อดีตเจ้าหน้าที่สมาคมดับบ้านดับเมือง • ความเห็นต่อนโยบายสาธารณะต่อการจัดการชายฝั่งอ่าวบ้านดอน โดย นายก อบต.ตะเคียนทอง อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี

เนื้อหา พระราชบั ญ ญั ติ กํ า หนดแผนและขั้ น ตอนของการกระจายอํ า นาจให้ แ ก่ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น พ.ศ.2542ให้ ความสําคัญกับภารกิจ 3 ประการ ได้แก่ การจัดบริการด้านการศึกษา การสาธารณสุข และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทั้ง 3 ภารกิจต้องอาศัยความรู้ความชํานาญเฉพาะด้าน และการวิเคราะห์เชื่อมโยงภาพรวมของการพัฒนาระดับ จังหวัด ในลักษณะของการบริหารประเทศแบบล่างขึ้นบน ในด้านการถ่ายโอนภารกิจ แผนการกระจายอํานาจฯและแผนปฏิบัติ การฯกําหนดกลุ่มภารกิจที่จะต้องถ่ายโอนให้แก่ อปท. ไว้ 6 ด้านรวม 247 ภารกิจ ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านงานส่งเสริม คุณภาพชีวิต ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิช ยกรรม และการท่องเที่ยว ด้านการบริหารจัดการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น งานศึกษาของ วีระศักดิ์ เครือเทพ (นวัตกรรมสร้างสรรค์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, 2548) ได้นําเสนอนวัตกรรม ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม 10 เรื่อง โดยชี้ให้เห็นว่าการจัดการขยะมูลฝอย การเฝ้าระวังของเสียจากโรงงาน การ แก้ไขปัญหาประมงชายฝั่ง การดูแลรักษาป่าชุมชน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ มาตรการในการดําเนินการของ อปท. คือ การสร้า งกฎระเบียบของชุมชนโดยออกข้อบั ญญัติท้องถิ่น การร่วมกัน สอดส่องกระทําผิด ข้อตกลงประชาคม การจัดตั้ง อาสาสมัครพิทักษ์ป่า และอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งการประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดการกับ ปัญหาได้ทันท่วงที จึงทําให้เห็นว่านวัตกรรมความรู้ในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของ อปท. มีศักยภาพ และเป็น แนวทางในการปรับเปลี่ยนบทบาทของราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้เป็นหน่วยสนับสนุนด้านเทคนิค ความรู้ โดยมี อปท. เป็นหน่วยปฏิบัติ


อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องยังเป็นอุปสรรคไม่มีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของ รัฐธรรมนูญ ในการรับรองสิทธิชุมชน ตามมาตรา 66 และ 67 และรับรองการกระจายอํานาจหน้าที่ให้แก่ อปท. ในมาตรา 290 จึงทําให้การกระจายอํานาจหน้าที่ และการจัดสรรงบประมาณไม่เป็นจริง



Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.