มาเคียแวลลี เจ้าทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่

Page 1


กรุงเทพมหานคร สำ�นักพิมพ์มติชน 2557

Miles J. Unger  เขียน ศิริรัตน์ ณ ระนอง  แปล


สารบัญ

6 8 11 13 14

บทน�ำ บทที่ 1 บทที่ 2 บทที่ 3 บทที่ 4 บทที่ 5 บทที่ 6 บทที่ 7 บทที่ 8 บทที่ 9 บทที่ 10 บทที่ 11 บทที่ 12 บทที่ 13 บทที่ 14

เมื่อโชคชะตาอาฆาตมาดร้าย ทุกข์ทนแต่ก�ำเนิด ดาบเปลือยคม ข้าราชการพลเรือน ผู้ดีตัวเปล่า มังกรออกโรง บุคคลผู้ต�่ำต้อยและยากจน วิถีแห่งดวงดาว โชคชะตากลับตาลปัตร ไล่ ริบ ล้างบางอย่างถอนรากถอนโคน เจ้าผู้ปกครอง ชีวิตที่ครุ่นคิดพินิจนึก ปราชญ์แห่งสวน ฝันร้ายและฝันดี นิ้วมือของซาตาน

17 28 53 85 106 132 154 170 192 216 233 263 290 337 361

เชิงอรรถ

378

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ ค�ำน�ำผู้แปล บุคคลในเรื่อง แผนที่อิตาลี แผนที่ฟลอเรนซ์


ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์

บนกระดานหมากรุก ตัวหมากแต่ละชนิดมีความสามารถและคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัว ของมัน  เมื่อผู้เล่นเดินเกมด้วยแผนการที่ซับซ้อนและแยบคายนั้น ทุกย่างก้าวของหมาก แต่ละตัวจึงทรงพลังและเปี่ยมความหมาย เกมการรุกฆาตก็ด�ำเนินไปอย่างมีชีวิตชีวา  หาก เปรียบกระดานหมากรุกเป็นสมรภูมิทางการเมืองการปกครองแล้วละก็  บทบาท  ท่าที  การ พลิกเกมของแต่ละฝ่ายย่อมมีเดิมพันเป็นความเป็นความตายของประเทศชาติบ้านเมือง เลยทีเดียว หลายคนที่รู้จักมักคุ้นชื่อเสียงเรียงนามของมาเคียแวลลีอาจเข้าใจว่าเขาเป็นผู้ชักใย เบื้องหลังความเคลื่อนไหวทางการเมืองอันร้อนระอุบนคาบสมุทรอิตาลีในยุคนั้น  ทว่า ความคิดเช่นนี้ผิดจากความเป็นจริงในชีวิตของเขา แม้จะเป็นทายาทของตระกูลเก่าแก่แห่ง ฟลอเรนซ์  แต่นิกโกเลาะ  มาเคียแวลลีกลับใช้ชีวิตเป็นเพียงข้าราชการจนๆ ที่อุทิศตนต่อ เมืองเกิดที่เขารักยิ่งอย่างเต็มก�ำลังความสามารถ แม้หลายครั้งวาทะที่ซื่อตรงต่อความรู้สึก ซึ่งบางทีก็คมคายเสียจนกระทบใจผู้คนจะเป็นเสมือนดาบสองคมที่สุ่มเสี่ยงส�ำหรับมาเคียแวลลีเอง   ด้านหนึ่งเขาเป็นนักคิดนักเขียนมากความสามารถ  แต่อีกด้านที่โดดเด่นไม่ยิ่ง หย่อนไปกว่ากัน มาเคียแวลลีเป็นจอมวายร้ายที่มอมเมาผู้อ่านด้วยความคิดเจ้าเล่ห์  ปลิ้น ปล้อน  และไม่แยแสผู้ใดเพื่อให้ได้มาซึ่งอ�ำนาจ 6  ศิริรัตน์ ณ ระนอง แปล


นั่นก็เพราะปรัชญาการเมืองของมาเคียแวลลีมิได้สูงส่งด้วยศีลธรรมและสมบูรณ์ แบบตามอุดมคติ  หากมุ่งแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาจากสภาพที่เป็นจริงของโลกใบนี้ ซึ่งนับเป็นมุมมองที่ฉีกกรอบเดิมๆ  ของนักปรัชญาชั้นครูรุ่นก่อนหน้าอย่างเพลโตและ อริสโตเติล   มาเคียแวลลีไม่ใช่ผู้เล่นยิ่งใหญ่ที่เปิดเกมเสี่ยงโชคในนามของประเทศชาติ แต่เป็นม้าใช้นักสังเกตการณ์ผู้มีสายตาแหลมคม  ฉับไว สามารถอ่านเกม  เดาความคิดของ ฝ่ายต่างๆ  ได้อย่างเฉียบขาด  ด้วยเหตุผลที่ออกตัวเสมอมาว่าเขาเป็นผู้ศึกษาธรรมชาติ ความเป็นมนุษย์อย่างลึกซึ้ง  นั่นคือยอมรับในด้านมืดที่เห็นแก่ตัวและกระหายอ�ำนาจของ มนุษย์นั่นเอง มาเคียแวลลี  เจ้าทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่  ผลงานของไมลส์  เจ. อังเกอร์  นักเขียน ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์อิตาลียุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการเล่มนี้  อาสาไขข้อข้องใจให้ผู้อ่าน ได้ท�ำความรู้จักชีวิตจริงของนักคิดผู้ทรงอิทธิพลต่อโลกมายาวนานหลายศตวรรษ  ด้วย ข้อมูลที่ค้นคว้าเพิ่มเติมอย่างรอบด้านจากต้นฉบับภาษาอิตาเลียนถ่ายทอดสู่ชีวประวัติที่ เข้มข้น  และในการนี้ส�ำนักพิมพ์มติชนขอขอบคุณคุณมิ่ง  ปัญหา  และคุณกฤตบดินทร์ พูลพิพัฒน์  ที่ช่วยตรวจทานการถอดเสียงภาษาอิตาเลียนให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เราทุกคนต่างก็มีบทบาทหลากหลายที่ต้องแสดงออกตามจังหวะเหตุการณ์ของโลก ที่หมุนไป  เกร็ดการด�ำเนินชีวิตของมาเคียแวลลีจึงไม่ได้เหมาะส�ำหรับผู้ชื่นชอบทฤษฎี การเมืองของเขาเท่านัน้  แต่จะเป็นตัวช่วยทีม่ ปี ระโยชน์แก่ผทู้ อี่ ยากเข้าใจความเป็นไปของโลก นิกโกเลาะ มาเคียแวลลีซ่อนแง่มุมที่น่าสนใจด้านต่างๆ ของเขาไว้ภายใต้ท่าทีเย็นชา แต่เมื่อมองผ่านเปลือกนอกของอคติ  เขาก็เป็นเพียงชายธรรมดาคนหนึ่งที่(จงใจ)มีบุคลิก คลุมเครือ ดุจถ้อยค�ำอมตะของเขาจากหนังสือเจ้าผู้ปกครอง ที่ว่า  “คนส่วนใหญ่เห็นสิ่งที่เราแสดงออก หากน้อยคนนักเคยสัมผัสตัวตนที่แท้จริง  ของเรา”

ส�ำนักพิมพ์มติชน

มาเคียแวลลี เจ้าทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่  7


ค�ำน�ำผู้แปล

ในยุคที่บ้านเมืองเราก�ำลังประสบภาวะแตกต่างทางความคิดทางการเมือง หลายๆ คนอาจ  จะก�ำลังท้อแท้  หมดหวัง  หรือตัดสินว่านี่คือจุดต�่ำสุดทางการเมือง  และหวังให้บ้านเมือง คืนสู่ความสงบสุขตามอุดมคติที่เราใฝ่หาโดยเร็ว  แต่หากคุณลองอ่านชีวประวัติของนิกโกเลาะ  มาเคียแวลลี  บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์สมัยใหม่สักหนึ่งรอบ  คุณอาจจะปรับมุมมอง ต่อสิ่งที่เราทุกคนก�ำลังเผชิญอยู่ร่วมกัน ว่านี่ไม่ใช่  “ทางตัน” ของปัญหา  หากแต่เป็นการ เปลี่ยนผ่าน เพื่อน�ำไปสู่สิ่งใหม่  หรือคุณอาจจะมองเห็นความจริงที่ว่าแล้วตั้งค�ำถามเชิงศีล ธรรม  ความระส�่ำระสาย  การแย่งชิงอ�ำนาจ  การต่อสู้โดยประชาชน ความเชื่อเรื่องพระเจ้า การยึดติดกับรูปแบบการปกครอง หาใช่สภาวการณ์ที่แปลกใหม่ไม่  แต่เป็นวัฏที่เกิดขึ้นซ�้ำ แล้วซ�้ำเล่าในประวัติศาสตร์  ดังที่มาเคียแวลลีเองได้เสนอไว้ว่า ความขัดแย้งทางความคิด เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  และอาจจะเป็นสิ่งสร้างสรรค์เสียด้วยซ�้ำ  ขอเพียงแต่ผู้ที่มีอ�ำนาจ อยู่ในมือ  แก้ไขปัญหาด้วยความจริงใจ  และเห็นแก่ประโยชน์ของรัฐมากกว่าประโยชน์ ส่วนตน เราอาจจะเคยได้ยินชื่อเสียงลือกระฉ่อนของ  “นิกโกเลาะ  มาเคียแวลลี”  ในฐานะ นักปรัชญาการเมืองซึ่งน�ำเสนอมุมมองที่ค่อนข้างแปลกและดูจะขัดต่อหลักศีลธรรม ถึง ขนาดที่มีผู้ให้นิยามค�ำว่า  “Machiavellian” เพื่อใช้แทนลักษณะการมีเล่ห์เหลี่ยม  คดโกง 8  ศิริรัตน์ ณ ระนอง แปล


มุมมองที่เรามีต่อเขาจึงกลายเป็นมุมมองในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก  แต่ชีวประวัติเล่มนี้อาจ จะท�ำให้คุณมองเขาด้วยสายตาที่  “เข้าใจ”  ถึงที่มาที่ไปในการมองโลกเช่นนั้นมากขึ้น  ทั้ง ยังเห็นภาพที่แท้จริงอันซับซ้อนของวงการการเมืองชัดเจนยิ่งขึ้น  ต�ำแหน่งนักการทูตแห่ง ฟลอเรนซ์เปิดโอกาสให้มาเคียแวลลีได้สัมผัสและชิงไหวชิงพริบในเกมการเมืองสารพัด รูปแบบกับผู้มีอ�ำนาจสูงสุด  ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือจักรพรรดิ  ขณะเดียวกันปัญหารอบ ด้านที่รุมเร้าฟลอเรนซ์ในสภาวะที่ผู้น�ำไม่ยอมตัดสินใจและลอยตัวเหนือปัญหาก็เป็นเหตุ ให้ข้าราชการผู้ไร้อ�ำนาจในมือเช่นเขาต้องประสบภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก   การผลัด เปลี่ยนผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินก็ดูเหมือนจะพลิกชะตาของเขาให้กลับตาลปัตรไปมาหลาย ต่อหลายครั้งเช่นกัน   ทว่าต�ำแหน่งในวงราชการที่เขาด�ำรงอยู่นี่เองที่เปิดโอกาสให้ชายผู้นี้ สังเกตธรรมชาติของมนุษย์ตามความเป็นจริง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมชาติของผู้มีอ�ำนาจ และบรรจงถ่ายทอดเรื่องราวจนกลายเป็นผลงานอมตะอย่าง เจ้าผู้ปกครอง (The Prince) โดยหวังว่าผู้ที่จะก้าวขึ้นสู่ความเป็นใหญ่ควรจะได้อ่านและใช้งานเขียนชิ้นนี้เป็นคู่มือ  แต่ น่าเสียดายที่ว่าในช่วงชีวิตของเขา  เรื่องดังกล่าวกลับไม่ได้รับความนิยมแต่อย่างใด นอกจากมุมมองเรื่องการเมืองแล้ว หนังสือเล่มนี้จะท�ำให้คุณรู้จักมาเคียแวลลีอย่าง รอบด้านและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในฐานะนักปรัชญาการเมือง นักเขียน กวี  ข้าราชการ พลเรือน หรือแม้แต่ในฐานะหัวหน้าครอบครัว  ชีวิตของเขาก็ไม่ต่างจากรถไฟเหาะตีลังกา ที่เหินทะยานขึ้นสู่จุดที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด หยุดนิ่งเฉยอยู่ตรงจุดกึ่งกลาง  และร่วงหล่นลงสู่ จุดที่ต�่ำที่สุดได้โดยไม่คิดฝัน  ชีวประวัติเล่มนี้คงท�ำให้ท่านผู้อ่านได้ลิ้มรสชาติชีวิตทุกรส ของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์สมัยใหม่  นิกโกเลาะ  มาเคียแวลลี ศิริรัตน์  ณ ระนอง

มาเคียแวลลี เจ้าทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่  9


แด่พ่อและเดบี ด้วยความรักและชื่นชม

10  ศิริรัตน์ ณ ระนอง แปล


บุคคลในเรื่อง

เชซาเร บอร์จา, ดยุกวาเลนติโน (c.1475-1507) โรดริโก บอร์จา,  พระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่  6  (b.1431,  พระสันตะปาปา  14921503) บิยาโจ บูโวนัคคอร์ซี, เพื่อนและผู้โต้ตอบจดหมายกับมาเคียแวลลี จักรพรรดิชาร์ลส์ที่  5, ราชวงศ์ฮัปสเบิร์กแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์  (1500-58) พระเจ้าชาร์ลส์ที่  8, กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (1470-98) ฟรานเชสโก กวิชชาร์ดินี, เพื่อนและผู้โต้ตอบจดหมายกับมาเคียแวลลี  นักประวัติศาสตร์ ผู้ปกครองแคว้นโรมัญญา พระเจ้าหลุยส์ที่  12, กษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (1462-1515) แบร์นาโด มาเคียแวลลี, บิดาของนิกโกเลาะ (c.1425-1500) นิกโกเลาะ ดิ  แบร์นาร์โด มาเคียแวลลี, รองมุขมนตรีแห่งฟลอเรนซ์  นักทฤษฎีการเมือง นักเขียนบทละคร (1469-1527) มาริเยตตา คอร์ซินี, ภรรยาของนิกโกเลาะ มาเคียแวลลี บุตร : พริมาเวรา แบร์นาโด ลูโดวิโก กวิโด บาร์โตโลเมอา ปิแยโร จักรพรรดิมักซิมิลเลียนที่  1,  ราชวงศ์ฮัปสเบิร์กแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ มาเคียแวลลี เจ้าทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่  11


จูลิโอ เด เมดิชี, พระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่  7 (b. 1478, พระสันตะปาปา 1523-34) ลอเรนโซ เด เมดิชี, อิล มัญญิฟิโก (“ผู้เป็นเลิศ”) (1449-92) บุตรของลอเรนโซผู้เป็นเลิศ ปิแยโร เด เมดิชี, (“ผู้โชคร้าย”) (1472-1503) โจวานนี  เด เมดิชี, พระสันตะปาปาเลโอที่  10  จูลิยาโน เด เมดิชี, ดยุกแห่งเนอมูร์ส (1479-1516) ลอเรนโซ เด เมดิชี, ดยุกแห่งอูร์บิโน (1492-1519) จูลิยาโน เดลลา โรเวเร, พระสันตะปาปาจูเลียสที่  2 (b. 1443, พระสันตะปาปา 1503-13) จิโรลาโม ซาโวนาโรลา, เจ้าส�ำนักแห่งอารามซัม มาร์โก ศาสดาพยากรณ์  (1452-98) ลูโดวิโก สฟอร์ทซา, อิล โมโร (“แขกมัวร์”) ดยุกแห่งมิลาน (1452-1508) ปิแยโร โซเดริน,ี  กมฟาโลนิแอเรแห่งฟลอเรนซ์  (1450-1522, ด�ำรงต�ำแหน่งกมฟาโลนิแอเร  1502-12) โจวานนี  แวร์นาชชี, หลานชายของนิกโกเลาะ มาเคียแวลลี ฟรานเชสโก เวตตอรี, ผูโ้ ต้ตอบจดหมายกับมาเคียแวลลี  ทูตแห่งฟลอเรนซ์ประจ�ำพระองค์ พระสันตะปาปาเลโอที่  10 (1474-1539)

12  ศิริรัตน์ ณ ระนอง แปล


อิตาลีตอนปลายศตวรรษที่ 15

ฟลอเรนซ์ มิลาน

เขตปกครองของซ าว อ

มิลาน

เวนิซ

เขตปกครองแฟรารา โบโลญญา เจนัว อิโมลา โรมัญญา ลุกกา ซาร์ทซานา ฟลอเรนซ์ อูร์บิโน ปิซา ทะเลลิกูเรียน รัฐสันตะปาปา เซียนา เกาะ คอร์ซิกา (เจนัว)

ซาร์ดิเนีย (สเปน)

อาณาจักรออตโตมัน

ำน้ ไทเบอ แมน่

ร์

ฝรั่งเศส

เนเปิลส์ ดินแดนในก�ำกับ ของพระสันตะปาปา เวนิซ

ทะเ

ลอา

อิตาลี

เดร

โรม เนเปิลส์

ทะเลเทอเรเนียน

ทะเล เมดิเ ตอ

ียติก

ปาแลร์โม เกาะซิชิลี

รเ์ รเ นียน N

ทวีปแอฟริกา

W

E S

0 0

100 ไมล์ 100 กิโลเมตร


ย่านและกมฟาโลนิแห่งฟลอเรนซ์

1

ซานตา มาเรีย โนแวลลา งูพิษ ยูนิคอร์น สิงโตแดง สิงโตขาว

ปอร์ตา ฟาเอนซา า อัล ปอร์ต

ปราโ

เลออน บิอังโก (สิงโตขาว) อูนิกอร์โน (ยูนิคอร์น)

1

ซานตา มาเรีย โนแวลลา เลออน รอสโซ (สิงโตแดง)

3

ดราโก (มังกร)

ซานโต สปิริโต บันได เปลือกหอย แส้ มังกร

ปราสาทของ ตระกูลพิตตี

นิคคิโอ (เปลือกหอย)

โอลต

3 รา

แฟร์ทซา (แส้) เมตร หลา

ปอร์ตา โรมานา


ปอร์ตา ซัง กัลโล

2

ซาน โจวานนี เลออน ดอโร (สิงโตทอง)

สิงโตทอง ล้อ กุญแจ กระรอก

วายโย (กระรอก)

เอรูอ

ปราสาท ของ ตระกูลเมดิชี

อตเต

(ล้อ)

ซัม มาร์โก

ซานติสซิมา อันนุนซิอาตา

2

ซาน ลอเรนโซ มหาวิหาร

หอศีลจุ่ม

คิยาวี (กุญแจ)

ปราสาทของตระกูลปาซซี ปาลาซโซ เดลลา ซิญญอเรีย

วิเปรา (งูพิษ)

ปอน

เต เว

คคิโอ

บ้านของมาเคียแวลลี

ร์โน

สกาลา (บันได)

4

4 เลออน เนโร (สิงโตด�ำ)

ซานตา โครเช

แม่น�้ำอาร์โน

บูเว (วัว)

ซานตา โครเช เกวียน สิงโตด�ำ วัว ล้อ


บทน�ำ

เมื่อโชคชะตาอาฆาตมาดร้าย “ผมบันทึกสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากบทสนทนาเหล่านี้ และเขียนหนังสือเล่ม  เล็กๆ ที่ชื่อ ว่าด้วยการปกครอง (De principatibus) ซึ่งผมได้ค้นคว้า  ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ เรื่ อ งที่ เ ขี ย นอย่ า งละเอี ย ดมากเท่ า ที่ จ ะมากได้   โดยตั้ ง  ค�ำถามว่า รัฐขนาดเล็กที่มีผู้ปกครองคืออะไร มีกี่ประเภท จะรักษาดิ น แดน  เหล่านี้ ไว้ ได้อย่างไร และเหตุใดดินแดนที่ว่านี้จึงสูญสิ้นไปในที่สุด” นิกโกเลาะ  มาเคียแวลลี จดหมายถึงฟรานเชสโก เวตตอรี, 10 ธันวาคม 1513

ช่างเป็นปีที่ย�่ำแย่ส�ำหรับนิกโกเลาะ มาเคียแวลลี   ไม่เพียงแต่ตกงาน “ถูกไล่ ริบ ล้างบาง อย่างถอนรากถอนโคน”  ชนิดไม่ไยดีตามค�ำพิพากษาที่เต็มไปด้วยความอาฆาตพยาบาท เท่านั้น  แต่สาธารณรัฐฟลอเรนซ์ที่เขารับใช้มาอย่างซื่อสัตย์ตลอดระยะเวลา  14  ปีตกอยู่ ภายใต้เงื้อมมือของทรราชเสียแล้ว  บรรดาเพื่อนๆ ของเขาหนีไปเมื่อกองทัพต่างชาติบุกมา ถึงเมือง แต่บุคคลผู้ไม่หวังดีต่อเขากลับมาเยี่ยมเยือนเขาแทน  ส�ำหรับผู้ที่เฝ้าติดตามเรื่อง ราวหน้าที่การงานของมาเคียแวลลีและยังระลึกถึงอารมณ์โกรธของเขาได้ดีจะเข้าใจว่าการ ที่เขาถูกโดดเดี่ยวไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด  ระหว่างที่เขายังท�ำงานให้รัฐบาลฟลอเรนซ์ อยู่  บ่อยครั้งที่เขามักจะแสดงออกด้วยค�ำพูดทื่อๆ หรือผลักดันเรื่องต่างๆ ให้เป็นจริงด้วย ความกระตือรือร้นมากกว่าการใช้กลยุทธ์ใดๆ และในขณะนี้ที่เขาต้องการพันธมิตรอย่างยิ่ง ปรากฏว่ากลับไม่มีผู้ใดอยู่เคียงข้างเขาเลย  วิกฤตที่เกิดขึ้นกับเขาซ�้ำแล้วซ�้ำเล่าเช่นนี้เป็นอารมณ์ที่มากเกินกว่าจะเรียกว่าความ เจ็บปวด  ด้วยเราไม่สามารถปฏิเสธความจริงที่ว่านโยบายของมาเคียแวลลีเป็นส่วนหนึ่ง ของความหายนะทั้งหลายที่เกิดขึ้น   ยิ่งเขาพยายามที่จะลืมความจริงข้อนี้มากเพียงใด  ผู้ ให้ร้ายต่อเขากลับยิ่งรู้สึกมีความสุขมากขึ้นที่ได้ตอกย�้ำให้เขาร�ำลึกถึงความผิดพลาดครั้ง มาเคียแวลลี เจ้าทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่  17


นี้  กองก�ำลังประชาชนที่เขาสร้างสรรค์ด้วยความภาคภูมิใจเป็นที่สุด  ต้องถอยทัพกลับ ไม่เป็นท่าหลังจากที่ประมือกับข้าศึกครั้งแรก ทหารเหล่านั้นทิ้งเมืองใกล้เคียงอย่างเมือง ปราโตเพื่อที่จะเข้าโจมตี  ปล้นสะดม และท�ำให้สาธารณรัฐฟลอเรนซ์ที่เป็นเอกราชมาช้า นานประสบความหายนะ สิ่งที่เลวร้ายกว่านั้นก�ำลังจะมาเยือน  การที่เพื่อนของเขาประสบกับความอัปยศ  แต่ ศัตรูของเขากลับได้รับชัยชนะท�ำให้ชื่อของมาเคียแวลลีปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ไม่ ประสงค์ดี   บัญชีที่ว่านี้รวบรวมขึ้นโดยบุคคลผู้ถูกจับกุมขณะก�ำลังวางแผนโค่นล้มระบอบ ใหม่   เมื่อวันที่  18 กุมภาพันธ์  1513 มาเคียแวลลีถูกจับกุมและโยนเข้าคุกเล  สติงเค  (Le Stinche)  ซึ่งอยู่ห่างจากที่ท�ำงานเก่าของเขาเพียงไม่กี่ช่วงตึก  เขาถูกลากจากห้องขังชื้นๆ เต็มไปด้วยพยาธิในคุก  ถูกทรมานด้วยการ  “ลงแส้”  ซ�้ำแล้วซ�้ำเล่าเพื่อเค้นให้เขารับ สารภาพว่ากระท�ำผิดจริงๆ   การทารุณกรรมเช่นนี้อาจจะใช้ได้ผลกับบุคคลผู้ไร้ซึ่งความคิด สร้างสรรค์และความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ แต่ส�ำหรับมาเคียแวลลีแล้วนั้น  เขา พยายามหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับสถานการณ์ที่เลวร้าย  โดยเลือกที่จะมองสถานการณ์ เช่นนีว้ า่ ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของเขาให้ดขี นึ้    เพียงไม่กสี่ ปั ดาห์ตอ่ มาขณะทีย่ งั คงพักฟืน้ จากอาการบาดเจ็บ เขาเขียนจดหมายถึงฟรานเชสโก เวตตอรี  เพื่อนของเขาว่า “และเมื่อ ผมหันกลับมาเผชิญหน้ากับโชคชะตา  คุณควรจะยินดีปรีดาจากความทุกข์ยากของผม ผมทนทุกข์ทรมานด้วยความอดทนอย่างมากถึงขนาดที่ท�ำให้ผมรู้สึกภาคภูมิใจและเคารพ ตัวเองมากกว่าที่เคยเป็นมา” อันที่จริงแล้ว  เกียรติที่เขาได้รับเป็นสิ่งเดียวที่เขาสามารถกอบกู้มาได้หลังจากความ หายนะในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา  เราสามารถประเมินสภาพจิตใจของมาเคียแวลลีได้จาก บทกวีแบบซอนเน็ตที่เขาประพันธ์ขึ้นระหว่างที่ถูกจองจ�ำในคุก   ความซื่อสัตย์และอารมณ์ ขันแบบหม่นๆ เป็นแบบฉบับในการประพันธ์ของเขา เช่นเดียวกับความสามารถในการหัวเราะ เยาะตัวเองที่เขามี จูลิยาโน1 ตัวผมมีโซ่ตรวนตรึงอยู่ที่ขา เส้นสายทั้งหกได้รัดรึงบ่า2ทั้งสองข้างของผมไว้ ความล�ำเค็ญอื่นๆ ผมไม่ขอเล่าให้คุณฟัง นี่แหละคือวิถีที่เราปฏิบัติต่อกวี ก�ำแพงที่แตกร้าวเป็นรังของเห็บเหาที่ตัวอวบเกือบจะเท่าแมลงวัน ไม่เคยมีกลิ่นใดจะเหม็นเท่ากลิ่นของที่พักอันแสนเลิศเลอของผมอีกแล้ว แทนที่มาเคียแวลลีจะคร�่ำครวญอย่างน้อยเนื้อต�่ำใจให้ตัวเอง เขากลับยอมรับโชคชะตาที ่ กลับตาลปัตรด้วยความตลกแบบประชดประชันพร้อมกับยักไหล่ครั้งหนึ่ง   การบรรยาย  18  ศิริรัตน์ ณ ระนอง แปล


ภาพ  “ที่พักอันแสนเลิศเลอ”  ของเขาซึ่งมีเหาตัวอวบอ้วนด้วยเลือดเนื้อของนักโทษคลาน อยู่รอบๆ  เปรียบประดุจภาพในละครตลกกึ่งโศกนาฏกรรม  การล้อเล่นระหว่างแสงและ เงาซึ่งสะท้อนให้เห็นในงานด้านการเมืองและวรรณกรรมของเขา “นี่แหละคือวิถีที่เราปฏิบัติ ต่อกวี” เขากล่าวตอบโดยไม่ยหี่ ระต่อสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกนีเ้ ลยแม้แต่นอ้ ย   แทนที่ จะเย้ยหยันโชคชะตาของตน เขากลับจัดให้ตนเองอยู่ในประเภทเดียวกับศิลปินผู้ทนทุกข์ ทรมานเพือ่ สร้างสรรค์งานหัตถศิลป์ขนึ้ มา  สัญญาณชัดเจนทีส่ ดุ ทีแ่ สดงให้เห็นว่าจิตวิญญาณ ของเขายังคงเข้มแข็ง เห็นได้จากการที่เขามีเวลาไปต่อกรกับคู่ต่อสู้คนโปรดของเขา ซึ่งก็คือ พวกคลั่งไคล้ศาสนาที่แก้ปัญหาชีวิตต่างๆ ด้วยการสวดมนต์ สิ่งที่ท�ำให้ผมทรมานที่สุดตอนที่จะเอนกายลงเมื่อใกล้รุ่งสางคือ ผมได้ยินคนพวกนั้นพร�่ำพูดบทสวด “ลูกขอสวดมนต์ถวายแด่พระผู้เป็นเจ้า” เอาค�ำสวดพวกนี้ไปไกลๆ ผมเสียทีเถิด ผมขอร้อง หากจะยังมีความสงสารผมเหลืออยู่บ้าง พระผู้เป็นเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์ ได้โปรดปลดปล่อยพันธนาการอันโหดร้ายนี้ไปเสียที ไม่มีผู้ใดนอกจากมาเคียแวลลีที่ยืนยันว่าการฟังบทสวดตลอดคืนเป็นสิ่งที่เจ็บปวดยิ่งกว่า การถูกทรมานหนึ่งครั้งในคุกเสียอีก  ในยามที่อ่อนแอ เขาน่าจะยอมตายดีกว่าที่จะยอมรับ เอาความเชื่อทางศาสนาที่เขาเย้ยหยันตลอดช่วงเวลาที่เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่มายึดถือ   เขา มิใช่พวกคนช่างสงสัยที่จะปฏิเสธการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าในห้วงเวลาแห่งความสุขและ พร้อมที่จะเชื่อในพระเจ้าในห้วงเวลาที่จ�ำเป็นเท่านั้น  แต่เขาปฏิเสธที่จะรับเอาอาหารสมอง รสชาติจืดชืดที่กลุ่มคนทางศาสนาหยิบยื่นให้  และเลือกที่จะเสี่ยงกับเทพีแห่งโชคชะตา ที่อารมณ์แปรปรวนมากกว่าจะพนันขันต่อกับพระสงฆ์ซึ่งเขามองว่าไม่ได้ดีไปกว่านักต้มตุ๋น หรือหลอกลวง อย่างไรก็ตาม  สิ่งที่ปลดปล่อยมาเคียแวลลีไม่ใช่เสียงสวดมนต์ที่เขาได้ยินตลอด ช่วงสามอาทิตย์ที่เขาพักค้างอ้างแรมใน  “ที่พักอันเลิศเลอ”  หรือแม้แต่เพราะเสน่ห์ของบท กลอนสั้นๆ ที่ตลกขบขันของเขา  แต่เป็นเพราะว่าพวกที่จับกุมเขายอมรับอย่างไม่เต็มใจว่า ตนไม่มีหลักฐานใดๆ ที่แสดงให้เห็นว่ามาเคียแวลลีสมรู้ร่วมคิดในการวางแผนใดๆ3  ทว่า การถูกปล่อยตัวไม่ได้ท�ำให้ความยุ่งยากทั้งหลายหมดไป  แม้แต่ตอนที่เขาได้รับอิสรภาพ แล้ว  ก็ยังคงมีผู้เคลือบแคลงสงสัยว่าเขาเป็นผู้กระท�ำผิด  เขาถูกสั่งห้ามไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับ การงานต่างๆ ของรัฐบาล ซึง่ เป็นเพียงอาชีพเดียวทีเ่ ขาเคยท�ำและเป็นทางเดียวทีเ่ ขาสามารถ ใช้พรสวรรค์อันโดดเด่น  ภาวะที่เขาต้องเสี่ยงต่อการเสียชีวิตท�ำให้เขาแทบจะมองไม่เห็น เลยว่าช่วง  12  เดือนที่ผ่านมาจะน�ำความผิดหวังและความโศกเศร้าให้เขาหนักหนาสาหัส ไปกว่านี้ได้ มาเคียแวลลี เจ้าทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่  19


ช่วงนั้นเขาแทบจะไม่ได้เดินทางไปยังฟลอเรนซ์เลย  แม้ว่าการเดินทางจะใช้เวลา เพียงไม่กี่ชั่วโมงโดยการขี่ล่อ  หรือแม้แต่เดินเท้าไปตามถนนอันคดเคี้ยวที่มุ่งหน้าไปสู่ไร่ มะกอกและไร่องุ่นแถบชนบทของแคว้นทัสคานี   เพื่อนหลายคนที่ยังคงภักดีต่อเขาแม้ ในช่วงทีต่ กระก�ำล�ำบากรูด้ วี า่ เขามีชวี ติ อยูอ่ ย่างลึกลับทีบ่ า้ นไร่ของเขาในหมูบ่ า้ นซานตันเดรอา อิม  เพร์กุซซินา  (Sant’  Andrea  in  Percussina)  พยายามใช้ชีวิตอยู่อย่างกระเบียด กระเสี ย รด้ ว ยมรดกของบิ ด าที่ มี อ ยู ่ น ้ อ ยนิ ด โดยไม่ ป ระสบความส� ำ เร็ จ แต่ อ ย่ า งใด อีกทั้งเขายังขาดความกระตือรือร้น  เมื่อมองจากไร่ของเขาจะเห็นหลังคากระเบื้องสีแดง ของบ้านในเมืองฟลอเรนซ์อันเป็นที่รักของเขา ตัดกับส่วนโค้งอันสูงลิ่วของโดมบรูเนลเลสคี (Brunelleschi)  และสภาผู้ปกครอง  (Palazzo  della  Signoria)  ตึกที่ท�ำการของรัฐบาล ที่เขาท�ำงานมาเป็นเวลาหลายปี4 แต่ทิวทัศน์ที่มองเห็นนี้กลับท�ำให้เขานึกถึงชีวิตที่ยุ่งเหยิง มากกว่าการปลอบประโลมใจ   เรารู้สึกถึงความเจ็บปวดรวดร้าวที่ฝังลึกได้จากข้อความที่ เขาจดไว้ตามมุมกระดาษที่เขาก�ำลังเขียนอยู่  ความว่า  “post  res  perditas” ซึ่งหมาย ความว่า  “หลังจากทุกอย่างสูญสลายไป” สิ่งที่สามารถปลอบประโลมใจเขาประการหนึ่งก็คือ การที่เขาไม่มีงานท�ำเป็นชิ้นเป็น อัน ท�ำให้เขามีเวลามากมายที่จะครุ่นคิดตามหลักปรัชญา วางปัญหาทุกอย่างไว้เบื้องหลัง และพยายามสร้างบทเรียนที่ยิ่งใหญ่กว่าจากประสบการณ์ตรงของเขา   ขณะที่เขาเดินเล่น อยู่ใต้ผืนฟ้าที่สดใสของแคว้นทัสคานี  และมองกลับไปยังเมืองที่ส่องแสงระยิบระยับจาก ระยะไกลๆ เขาจึงได้มุมมองใหม่เรื่องเงื่อนไขของความเป็นมนุษย์   เขาระบายความขมขื่น ออกไปเป็นครั้งคราว  หรือแม้แต่เวลาที่เขามีอารมณ์โศกเศร้า  เขาพยายามที่จะมองภาพ ของสิ่งต่างๆ ให้กว้างกว่าที่เป็นอยู่   ในบทกวีที่ชื่อว่า “ว่าด้วยเรื่องความอกตัญญูหรือความ อิจฉาริษยา” เขาใคร่ครวญถึงโชคชะตาที่โหดร้ายของบุคคลหลายๆ คนที่ท�ำงานเพื่อ ประเทศชาติอย่างดี  และพบว่าสุดท้ายแล้วพวกเขาได้รับการกล่าวโทษให้ร้ายกลับมาแทน บ่อยครั้งที่คุณท�ำงานเพื่อรับใช้ประเทศชาติ แต่รางวัลตอบแทนความตั้งใจท�ำงานของคุณ กลับเป็นชีวิตอันแสนบัดซบและมรณกรรมอันโหดร้าย ความไร้ส�ำนึกในบุญคุณไม่มีวันจางหาย  เราจงหนีไปจากบรรดาราชส�ำนักและรัฐบาลนี้กันเถิด เนื่องจากไม่มีถนนสายใดที่ท�ำให้เราต้องร�่ำไห้เสียน�้ำตา ให้กับความปรารถนาของเราได้เท่ากับการได้ครอบครองมันในที่สุดอีกแล้ว แม้ว่าค�ำแนะน�ำครั้งสุดท้ายของเขาจะฟังดูลุ่มลึกอย่างไร ตัวมาเคียแวลลีเองก็ไม่สามารถ ท�ำตามสิ่งที่ตนกล่าวไว้ได้   เขาไม่ต่างจากบุคคลอื่นๆ  ซึ่งคอยหมิ่นประมาทผู้อื่นอยู่เสมอ 20  ศิริรัตน์ ณ ระนอง แปล


ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเขาน่าจะถือเอาโอกาสนี้แก้แค้นรัฐบาลที่ขับไล่เขาออกมาให้ได้รับสภาพ ความเจ็บปวดเล็กๆ  น้อยๆ ฟรานเชสโก  เวตตอรี   เพื่ อ นของเขาซึ่ ง ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ตั ว แทนของคณะทู ต ฟลอเรนซ์ประจ�ำสันตะส�ำนัก*  เอาแต่พร�่ำบ่นเกี่ยวกับความไม่สะดวกสบายเล็กๆ  น้อยๆ ของชีวิตในกรุงโรม  มาเคียแวลลีจึงตอบเขาด้วยน�้ำเสียงเสียดสีประชดประชันว่า  “ผม ไม่สามารถบอกอะไรคุณได้อีกในจดหมายฉบับนี้  นอกเสียจากว่าชีวิตของผมเป็นอย่าง ไรบ้าง  และหากคุณเชื่อว่าสภาวะของผมกับคุณควรค่าที่จะสับเปลี่ยนกัน ผมเองก็ยิน ดีที่ จะแลกหน้าที่นี้กับคุณ” มาเคียแวลลีเป็นบุคคลหนึ่งซึ่งไม่เหมาะที่จะใช้ชีวิตในชนบท  เขาเป็นคนเมืองที่ฝัก ใฝ่การเข้าสังคม  และได้รับการกระตุ้นจากบทสนทนาที่มีชีวิตชีวา  เขาเป็นนักสังเกตการณ์ ที่กระตือรือร้น  และเป็นผู้บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทุกซอกทุกมุมเกี่ยวกับสัตว์โลก ที่ชื่อว่ามนุษย์  เมื่อเขาอาศัยอยู่ท่ามกลางฝูงสัตว์ในท้องทุ่ง เขารู้สึกได้ว่าแทบไม่มีสิ่งใดเลย ที่กระตุ้นให้จินตนาการของเขาบรรเจิดขึ้นได้  เขาท�ำทุกอย่างที่สามารถท�ำได้เพื่อรักษา ทักษะทางความคิดให้แคล่วคล่องว่องไวเช่นที่เคยเป็นมา  แต่มิตรสหายในช่วงที่เขาอาศัย อยู่ในบ้านพักนอกเมือง  ช่างแตกต่างจากพวกคาร์ดินัล  หรือดยุกที่เขาเคยคบหาสมาคม ด้วย  เขาเล่าว่า “ผมเดินทางไปเรื่อยๆ ตามถนนที่อยู่ข้างโรงแรม และพูดคุยกับคนที่เดิน ผ่านไปผ่านมา ถามถึงข่าวคราวของบ้านเมืองและอืน่ ๆ อีกหลายอย่าง พร้อมกับตัง้ ข้อสังเกต เกี่ยวกับรสนิยมและความปรารถนาที่หลากหลายของบุคคลเหล่านี้”   อีกนัยหนึ่งคือ  เขา พยายามที่จะฝึกฝนให้ตนเองมองภาพชนบทด้วยสายตาอันเฉียบคมว่องไวอย่างที่เคยเป็น มา  เพื่อที่จะรับรู้ถึงความทะเยอทะยานของกษัตริย์  หรือเพื่อที่จะค้นหาแผนการที่ซ่อนอยู่ ในการส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรียังเมืองต่างๆ  เขายังคงมีนิสัยอยากรู้อยากเห็นไม่รู้จัก พอ  ยังต้องการที่จะส�ำรวจตรวจตราเหตุการณ์ที่ไม่มีความส�ำคัญใดๆ หรือลักษณะนิสัย แปลกประหลาดบางประการ  เพื่อจะได้มุมมองซึ่งสามารถน�ำไปใช้มองกฎเกณฑ์ธรรมชาติ ในระดับใหญ่ขึ้นได้  แต่เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าพรสวรรค์อย่างเดียวที่เขามีอยู่สูญเสียไป เมื่อครั้งที่เขาเข้ามาอยู่บ้านหลังเล็กๆ  แห่งนี้  การท�ำงานบ้านที่ไม่สลักส�ำคัญเพียงไม่กี่อย่าง ดูเหมือนจะท�ำให้เขารู้สึกงุนงงเมื่อต้องมาเผชิญความยุ่งยากของสนธิสัญญาระดับนานาชาติ อีกครั้งหนึ่ง เพือ่ คลายความสับสนวุน่ วายหรือบรรเทาความเบือ่ ในช่วงทีพ่ ำ� นักอยูใ่ นซานตันเดรอา มาเคียแวลลีมปี ากเสียงเล็กน้อยกับเพือ่ นบ้าน เขาอธิบายเรือ่ งดังกล่าวไว้ในจดหมายทีเ่ ขียน ถึงเพื่อนๆ  พวกเพื่อนๆ  ของเขาน่าจะเข้าใจมุขตลกของเขาได้ทันที  เมื่อไม่กี่เดือนที่แล้ว * สันตะส�ำนัก  หรือ  Holy  See  คือการปกครองของศาสนจักรโรมันคาทอลิก  ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ กรุงโรม  และมีสมเด็จพระสันตะปาปาเป็นประมุขสูงสุด-บรรณาธิการ มาเคียแวลลี เจ้าทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่  21


เขาร่วมโต๊ะรับประทานอาหารกับบรรดาพระราชา แต่ตอนนี้เขาได้แต่สุมหัวกับพวกชาวนา เขาเขียนในจดหมายที่ส่งถึงเวตตอรีว่า  “หลังจากที่กินเสร็จ...” ผมกลับมายังโรงแรมที่มีคนร้อยพ่อพันแม่มาพักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของ โรงแรม คนขายเนื้อ เจ้าของโรงสี  และคนเผาถ่าน ผมใช้เวลาตอนกลางวัน เล่นไพ่และเกมแบ็คแกมมอนกับพวกเขา*  เกมพวกนี้ท�ำให้ผมเผลอมีปาก เสียงและสบถด้วยความโกรธเป็นพันครั้ง  และแม้ส่วนใหญ่เราจะทะเลาะ กันเรื่องเงินไม่กี่เพนนี  แต่คุณจะได้ยินเราตะโกนกันตลอดทางไปซาง  คาส ชาโน  (San  Casciano)  ดังนั้น  เมื่อผมถูกกักบริเวณให้อยู่ร่วมกับคน จ�ำพวกนี้  ผมจึงต้องเอาเชื้อราออกจากสมองและปลดปล่อยความโกรธ เคืองที่ผมมีให้กับความเลวร้ายแห่งโชคชะตาของตัวเอง  ผมพอใจที่จะถูก เหยียบย�่ำเช่นนี้ หากเพียงแต่เทพีแห่งโชคชะตาจะรู้สึกละอายใจบ้างที่เล่น งานผม แม้ว่ามาเคียแวลลีจะอยู่อาศัยร่วมกับคนท้องถิ่น แต่เขาเริ่มวางแผนการที่จะหวน กลับสู่ชีวิตในเมืองอีกครั้งหนึ่ง  ในขณะที่โชคชะตาเล่นสกปรก  แต่เขาเองไม่เคยเลิกล้ม ความหวังที่จะกลับไปมีต�ำแหน่งในวงราชการอีกครั้ง  เขาอาจจะต้องปลุกปล�้ำกับเทพี จอมกลับกลอกอย่างสุดตัว  และบีบให้เธอท�ำตามที่เขาต้องการให้จงได้  และต่อมาไม่นาน นัก  เขาได้เขียนข้อความอันห้าวระห�่ำมากกว่าจะเขียนด้วยความกล้าหาญว่า “เทพีแห่ง โชคชะตาเป็นสตรี  และวิธีที่จะก�ำราบคือต้องทุบและโบยตีเทพีองค์นี้เสียบ้าง” ดังนั้น ในฤดูหนาวของปี  1513 เขาจึงคิดแผนการที่จะเข้าไปประจบประแจงตระกูล เมดิชีอันเรืองอ�ำนาจพร้อมกับลูกสมุนของพวกเขา   การกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลของตระกูล เมดิชีเปิดศักราชความวุ่นวายทั้งปวงของเขา  เพื่อนเก่าของมาเคียแวลลีบางคนคิดว่าการที่ มาเคียแวลลีมาของานท�ำจากตระกูลเมดิชีด้วยความกระตือรือร้นถือเป็นการกระท�ำที่ไม่ สามารถให้อภัยได้  เพราะตระกูลนี้เคยโค่นล้มรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งมาตามระบอบ ประชาธิปไตย  นอกจากนี้  การแปรพักตร์อย่างกะทันหันของมาเคียแวลลีท�ำให้นักวิจารณ์ รุ่นหลังอีกหลายรุ่นดูถูกเขาในเวลาต่อมา   ค�ำวิจารณ์สถานเบาที่เขาได้รับคือเขาเป็นพวก หน้าไหว้หลังหลอก  ส่วนค�ำวิจารณ์สถานหนักคือเขาตั้งใจบิดเบือนหลักการทุกอย่างที่มี เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงานของตน  อย่างไรก็ตาม ข้อกล่าวหาพวกนี้ไม่ยุติธรรม * Backgammon เป็นเกมกระดานเก่าแก่ชนิดหนึ่งส�ำหรับผู้เล่นสองคน โดยให้แต่ละฝ่ายก�ำจัดเบี้ย ของตนออกไปให้หมดกระดาน  รวมถึงขัดขวางฝ่ายตรงข้ามไม่ให้เบี้ยหมดกระดาน  เดินเกมโดย การนับแต้มเดินจากการทอยลูกเต๋า-บรรณาธิการ 22  ศิริรัตน์ ณ ระนอง แปล


ส�ำหรับมาเคียแวลลีเลย  จริงอยู่ที่ว่ามาเคียแวลลีเป็นผู้ให้การสนับสนุนประชาธิปไตยใน ฟลอเรนซ์อย่างออกนอกหน้า  เขาตรากตร�ำท�ำงานหนักเพื่อรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งมา เป็นเวลา  14  ปี  เสียทั้งสุขภาพและเงินทอง ต้องท�ำงานเคียงข้างกับเพื่อนร่วมงานที่ไร้ ประสิทธิภาพและไม่รู้จักบุญคุณ  เมื่อบุคคลไร้ส�ำนึกละเลยการปฏิบัติหน้าที่  หรือกระท�ำ การใดๆ  โดยไม่ค�ำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม  แทนที่จะสร้างเนื้อสร้างตัวจนร�่ำรวยด้วย สินบนต่างๆ ซึ่งง่ายมากส�ำหรับข้าราชการอย่างเขา แต่เขากลับไม่ท�ำเช่นนั้น  เมื่อครั้งที่เขา ออกจากราชการ  เขาไม่ได้มีเงินมากไปกว่าตอนที่เขาเริ่มเข้ารับราชการใหม่ๆ  เลย  ดังที่เขา เขียนไว้ว่า  “ความจงรักภักดีและความซื่อสัตย์ของผมได้รับการพิสูจน์จากความยากจน ของผมเอง” ความจริงก็คือ ไม่ว่าเขาจะชื่นชมสถาบันต่างๆ  ในสาธารณรัฐฟลอเรนซ์มากเพียง ใด  แต่เลือดรักชาติของเขาเป็นความรักที่ลึกล�้ำยิ่งกว่านั้น   ความรักที่เขามีต่อประเทศชาติ ถือเป็นความหลงใหลคลั่งไคล้อย่างรุนแรงและปราศจากเหตุผล  และเป็นความอ่อนแอ ที่หาได้ยากยิ่งส�ำหรับบุคคลซึ่งปฏิเสธแนวคิดเคร่งศาสนาแต่ดั้งเดิม ทั้งยังสามารถตีแผ่ ความอ่อนแอของมนุษย์ให้ผู้อื่นได้รับรู้   มีบุคคลเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถท�ำให้พวก เชื่อมั่นในศาสนาหน้าหงายได้ด้วยแนวคิดตรงกันข้าม  หรือมีความยินดีที่ได้เยาะเย้ยถาก ถางเพื่อนร่วมงานสูงวัยกว่าและล้อเลียนลีลาทางเพศอันแสนประหลาดพิสดารของพวกเขา ที่มีไว้พิชิตใจหญิงสาว  เพื่อนๆ ของเขาให้อภัยวาจาอันเสียดแทงของบุคคลที่ได้รับสมญา ว่าอิล มัคเคีย (Il Macchia แปลว่า จุดหรือรอย) ไม่เพียงเพราะเขาสามารถใช้ถอ้ ยค�ำแหลม คมนี้ต่างอารมณ์ขันที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยได้เท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะตัวเขาเองมีความสุขที่ จะยอมใช้ข้อด้อยของตัวเองเพื่อเยาะเย้ยผู้อื่น  ทว่าเมื่อถึงนาทีที่ต้องแสดงความจงรักภักดี อย่างสูงสุด เขาจะอุทิศตนให้ดินแดนบ้านเกิดของเขาอย่างแท้จริงโดยไม่ตั้งค�ำถามหรือข้อ สงสัยใดๆ เลย “ผมรักเมืองฟลอเรนซ์มากกว่าจิตวิญญาณของผมเสียอีก” เขาเคยสารภาพ ครั้งหนึ่ง  (เป็นค�ำกล่าวที่แสดงให้เห็นว่าเขาเพิกเฉยต่อเรื่องจิตวิญญาณอมตะพอๆ  กับที่ แสดงให้เห็นความรักชาติอันแรงกล้าของเขา)  และความรักชาติอย่างบ้าคลั่งหลงใหลนี้เอง ที่เป็นเครื่องน�ำทางในการด�ำเนินชีวิตของเขา รวมทั้งชี้น�ำความคิดอ่านและการกระท�ำของ เขาทัง้ หมดให้มงุ่ ไปสูเ่ รือ่ งความรักชาติเพียงประเด็นเดียวเท่านัน้ 5  ความรักชาติเช่นนีส้ ามารถ อธิบายความไม่อยู่กับร่องกับรอยทางการเมือง  และช่วยให้เขาพ้นข้อกล่าวหาหน้าไหว้หลัง หลอกซึ่งติดตัวเขามาเกือบ 500 ปีได้  เมื่อบ้านเกิดเมืองนอนที่เขารักกลายเป็นสมบัติของ ตระกูลเมดิชีซึ่งสามารถฟื้นฟูอ�ำนาจของตนขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง  เขาก็จ�ำต้องกล�้ำกลืน ศักดิ์ศรีทั้งหมดและพยายามสงบศึกกับผู้ที่มีอ�ำนาจครอบครองรัฐ แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่ใช่ หลักการของเขาเลยก็ตาม นี่ไม่ใช่งานง่ายๆ  เลย  จริงอยู่ที่ว่าข้อหาทั้งหมดที่มาเคียแวลลีได้รับนั้นตกไปแล้ว ทว่าผู้มีอ�ำนาจทั้งหลายเริ่มที่จะสอดแนมเพื่อหาหลักฐานกล่าวโทษมาเคียแวลลีให้เขาถูก มาเคียแวลลี เจ้าทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่  23


ก�ำจัดออกจากวงราชการอย่างถาวร  ซึ่งก็เป็นธรรมดาของบรรดาผู้ปกครองชุดใหม่ที่ถูกตั้ง ข้อสงสัยเรือ่ งความชอบธรรม  การทีม่ าเคียแวลลีกลับเข้ามารับราชการอีกครัง้ หนึง่ จะง่ายดาย ยิ่งขึ้นมากหากชื่อเสียงวงศ์ตระกูลและทรัพย์สินในบัญชีของเขามีตัวเลขที่น่าประทับใจ มากกว่านี ้ แต่เนือ่ งจากเขาไม่มหี นทางใดๆ ทีจ่ ะติดสินบนเพือ่ กลับเข้าไปท�ำงานให้ผปู้ กครอง คนใหม่ได้  เขาจึงต้องใช้ความสามารถที่มีอยู่แต่เดิม  แสดงให้ว่าที่เจ้านายเห็นพรสวรรค์ ประการเดียวที่เขามี  นั่นคือการน�ำเสนอวิสัยทัศน์ต่อเรื่องต่างๆ ที่เขาได้ฝึกฝนทักษะนี้มา ตลอดช่วงเวลาสิบห้าปีด้วยความจงรักภักดีต่อบ้านเมือง   เมื่อเขานั่งประพันธ์ผลงานสั้นๆ ซึ่งกลายเป็นงานชิ้นเอกที่ท�ำให้เขามีที่ยืนในประวัติศาสตร์  ตอนนั้นเขามีเพียงจุดมุ่งหมาย ไม่กี่อย่างในใจ   จริงๆ แล้วหากเขามีคุณสมบัติเป็นนักธุรกิจที่ยิ่งใหญ่กว่านี้  เขาคงจะไม่ หันกลับมาเขียนงานต่างๆ และชื่อของเขาคงจะถูกลืมไปอย่างรวดเร็วแล้ว แต่เขาตระหนัก ในความจริงข้อนี้ดี  “เทพีแห่งโชคชะตาได้จัดสรรไว้แล้ว  เพราะว่าผมไม่สามารถค้าขายผ้า ไหม  หรือผลิตผ้าขนสัตว์ได้  จะพูดคุยเรื่องก�ำไรหรือขาดทุนใดๆ  ก็ไม่ได้อีก  สิ่งเดียวที่ ผมสนทนาได้คือเรื่องความเป็นไปเกี่ยวกับรัฐ” เราไม่สามารถประเมินค่าความส�ำเร็จของมาเคียแวลลีต�่ำกว่าความเป็นจริงได้ด้วย เหตุผลเพียงว่าเขามีจุดมุ่งหมายธรรมดามากๆ ในการเขียนงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สถานการณ์ เช่นนี้มีความคล้ายคลึงกับเมื่อใกล้ถึงก�ำหนดเวลาส่งงาน ศิลปินมักจะสร้างสรรค์ผลงาน ทีด่ ที สี่ ดุ   เมือ่ ขาดรายรับจากงานราชการ เขาจึงมีรายได้ไม่เพียงพอทีจ่ ะเลีย้ งครอบครัวและ บุคคลที่ต้องกินต้องใช้  ไม่ว่าจะเป็นภรรยาของเขาและลูกเล็กๆ อีกห้าคน  เขาบ่นว่า  “ผม ใช้เงินที่มีอยู่จนใกล้จะหมดไปและไม่สามารถท�ำตัวแบบนี้ได้อีกต่อไปแล้ว  เพราะรังแต่จะ ยากจนลง  ผมหวังว่าพวกเจ้าชายตระกูลเมดิชีจะให้งานผมท�ำเหมือนที่ผ่านมา แม้ว่างานที่ ได้รับนั้นจะน้อยนิดเพียงใดก็ตาม” สิ่งที่กล่าวมานี้ได้กลั่นกรองจากสิ่งที่เขาเรียนรู้และน�ำมาเขียนไว้ในหนังสือเล่มบางๆ เขาเรียกหนังสือเล่มนี้อย่างไม่ใส่ใจนักว่า “แนวคิดชวนหัวขนาดย่อมของผม”  ซึ่งเขาตั้งใจ จะอุทิศหนังสือนี้ให้กับจูลิยาโน  เด  เมดิชี  พี่ชายของพระสันตะปาปาองค์ปัจจุบัน  และ บุคคลผู้ซึ่งเขาจะต้องผูกสัมพันธไมตรีด้วย หากหวังว่าจะกลับเข้ามาท�ำงานอันมีเกียรติใน อาณาจักรฟลอเรนซ์ภายใต้การปกครองของตระกูลเมดิช6ี   ตัวมาเคียแวลลีเองวาดภาพเขา นั่งลงเขียนงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ภาพทรงเสน่ห์ที่สุดที่เขาจินตนาการได้คือภาพ นักวิชาการนั่งอยู่ที่โต๊ะหนังสือ  สลัดความกังวลทั้งหมดทิ้งไปเพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความ คิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวในยุคโบราณ   ทว่าภาพฝันที่เขาวาดช่างขัดกับชื่อเสียงอันเลวร้าย ของหนังสือและผู้เขียนหนังสือเล่มนี้อย่างยิ่ง ในตอนเย็ น   ผมกลั บ มาที่ บ ้ า นและเข้ า ไปในห้ อ งอ่ า นหนั ง สื อ   พอเดิ น มา ถึงบริเวณธรณีประตู  ผมถอดชุดธรรมดาๆ  เสื้อผ้าซึ่งเปรอะเปื้อนโคลนตม 24  ศิริรัตน์ ณ ระนอง แปล


และสิ่งสกปรกของผมออก  จากนั้นผมจึงน�ำเสื้อคลุมที่จะต้องใส่เมื่อไป ราชส�ำนักหรือราชวังมาสวมแทน  เมื่อผมแต่งกายเหมาะสมแล้ว  ผมจึง ก้าวเข้าไปในราชส�ำนักโบราณซึ่งมีบุคคลในยุคโบราณอยู่ด้วย  ผมได้รับ การต้ อ นรั บ อย่ า งดี   ผมดื่ ม ด�่ ำ กั บ อาหารสมองที่ เ ป็ น ของผมแต่ เ พี ย ง ผู้เดียว  ผมเกิดมาเพื่อสิ่งนี้   ผมไม่รู้สึกกระอักกระอ่วนแต่อย่างใดที่จะ ต้องสนทนาหรือขอให้บุคคลเหล่านั้นอธิบายเรื่องราวต่างๆ  ของพวกเขา เลย   พวกเขาตอบค�ำถามของผมด้วยความยินดี  ตลอดเวลา  4  ชั่วโมง ผมไม่เคยรู้สึกเบื่อเลย  ผมลืมปัญหาทั้งหมด ไม่กลัวความยากจนหรือ แม้ แ ต่ ค วามตาย  ผมเข้ า ไปเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในชี วิ ต ของพวกเขาอย่ า ง สมบูรณ์…ผมจึงบันทึกสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากบทสนทนาเหล่านี้  และเขียน หนังสือเล่มเล็กๆ  ชื่อ ว่าด้วยการปกครอง  (De  principatibus)  ซึ่งผม ได้ค้นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เขียนอย่างละเอียดมากเท่าที่จะมากได้โดยตั้ง ค�ำถามว่า รัฐขนาดเล็กที่มีผู้ปกครองคืออะไร มีกี่ประเภท จะรักษาดินแดน เหล่านี้ไว้ได้อย่างไร  และเหตุใดดินแดนที่ว่านี้จึงสูญสิ้นไปในที่สุด นี่คือต้นก�ำเนิดของหนังสือเรื่องเจ้าผู้ปกครอง (The Prince) หนังสือเล่มเล็กที่อื้อฉาว  และทรงอิทธิพลทางด้านการเมืองมากที่สุดที่เคยเขียนขึ้นมา 7  เราอาจจะคาดไม่ถึงเลยว่า การเปิดตัวของหนังสือเล่มนี้เป็นไปอย่างเงียบเชียบส�ำหรับหนังสืออันมีชื่อเรื่องจากบุคคลผู้ อื้อฉาวที่มีตัวตนจริง  อันที่จริงหนังสือเล่มนี้มีความประหลาดอย่างหนึ่งคือตัวละครทรราช ที่กระหายเลือด  ไร้ความปรานีใดๆ  เมื่อตัวละครหนึ่งท�ำเพื่อให้ได้มาซึ่งอ�ำนาจ  คลั่งศาสนา นิยมความรุนแรง  และจิตใจเหี้ยมโหด  ในขณะที่อีกตัวละครเป็นนักวิชาการที่มีท่าทาง นุ่มนวล สวมเสื้อคลุมเก่าเก็บและรองเท้าแตะ   อาจกล่าวได้ว่าบุคลิกที่ขัดแย้งของตัวละคร ทัง้ สองไม่ได้ชว่ ยให้มาเคียแวลลีมชี อื่ เสียงมากขึน้ เท่าใดนัก  เขาถูกล้อเลียนว่าเป็นดอกเตอร์ แฟรงเกนสไตน์*ในชีวิตจริง  ด้วยบทบาทของนักวิชาการซึ่งค้นหาความจริงในแบบฉบับ ของตนเองโดยไม่ได้ค�ำนึงถึงผลกระทบที่จะได้รับเลย เขาปล่อยให้สัตว์ประหลาดของเขา ออกไปสู่โลกภายนอกโดยที่ตัวเองไม่สามารถจัดการ  หรือไม่คิดจะลุกขึ้นมาจัดการอะไร เลย   เราอาจพร้อมที่จะให้อภัยมาเคียแวลลีได้  หากเขาเป็นนักปฏิบัติที่ท�ำให้ทุกอย่างเป็น จริงได้  แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้น  เขากลับเป็นนักวิชาการที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายโกลาหล * ตัวละครจากนิยายชื่อเรื่องเดียวกันของ  Mary  Shelley    วิคเตอร์  แฟรงเกนสไตน์เป็นตัวละคร นักวิทยาศาสตร์คงแก่เรียนที่ตั้งใจจะคืนชีพให้มนุษย์ซึ่งสร้างจากชิ้นส่วนศพ-บรรณาธิการ มาเคียแวลลี เจ้าทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่  25


ทั้งปวง  เป็นข้าราชการแถวหน้าในบรรดาข้าราชการทั่วๆ  ไปผู้ปลอดภัยอยู่ในวังวนความ คิดของตนที่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงเพื่อเป็นข้ออ้างในการกระท�ำการต่างๆ ที่เรียกว่า เหตุผลแห่งรัฐ (reason of state) ภาพลักษณ์ของเขาฝังรากลึกอยู่ในจินตนาการของบุคคลทั่วไปถึงขนาดที่ชื่อของ เขาถูกเปลี่ยนเป็นค�ำคุณศัพท์เพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมเยาะหยันไม่แยแส หรือการแสวงหา อ�ำนาจโดยปราศจากส�ำนึกใดๆ ภาพแทนทีว่ า่ นีไ้ ม่ใช่ภาพใหม่   เมือ่ เขาเสียชีวติ ได้ไม่นานนัก มีคนของโบสถ์แห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงเรียกเขาว่า  “ศัตรูของชาติพันธุ์มนุษย์” และอีกเพียงไม่ กี่ปีต่อมาสมเด็จพระสันตะปาปาจัดให้หนังสือของเขาอยู่ในดัชนีหนังสือต้องห้าม  ซึ่งช่วง นั้นการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านมาเคียแวลลีได้รับการสนับสนุน  อันที่จริงแล้วชื่อเสียงภาย หลังการเสียชีวิตของเขาส่วนหนึ่งมาจากความเจ็บแค้นของศัตรูของเขา ซึ่งท�ำให้ข้าราชการ ไร้ชื่อเสียงใดๆ  อย่างเขากลายเป็นปีศาจที่อวตารมาใหม่ 8  กลายเป็นบิดาของปรัชญาไร้ จริยธรรม กลายเป็นผู้โน้มน้าวให้เกิดสังคมโลกที่มนุษย์ไม่พึ่งพาศาสนา และไม่เห็นความ ดีงามความกรุณาของพระผู้เป็นเจ้า  ท�ำให้เกิดสงครามซึ่งทุกฝ่ายเป็นศัตรูกัน  และกลาย เป็นการไล่ล่าแสวงหาอ�ำนาจโดยไม่ลืมหูลืมตา ชื่อเสียงในทางชั่วร้ายของมาเคียแวลลีมาจากงานเขียนหนังสือเล่มบางเล่มนี้  ซึ่ง เขียนขึ้นด้วยจุดประสงค์เพื่อสมัครเข้าท�ำงานกับขุนนางตระกูลเมดิชีแห่งเมืองฟลอเรนซ์ สิ่งที่ย้อนแย้งกันก็คือ  ในขณะที่หนังสือเรื่องเจ้าผู้ปกครองไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ที่ผู้ เขียนตั้งไว้  คือท�ำให้เขาสามารถกลับไปมีอ�ำนาจในฐานะขุนนางของฟลอเรนซ์อีกครั้งหนึ่ง หนังสือเล่มนี้กลับท�ำให้เขามีที่ยืนอย่างมั่นคงในประวัติศาสตร์ความคิด  สิ่งนี้อาจท�ำให้ มาเคียแวลลีรสู้ กึ ยินดีทไี่ ด้เห็นการกลับตาลปัตรของโชคชะตาทีท่ ำ� ให้ผมู้ ตี ำ� แหน่งรองเช่นเขา มีชื่อเสียงมากกว่าขุนนางทั้งหลาย  ซึ่งเขาเคยหวังว่าจะก้าวไปถึงต�ำแหน่งนั้นเพื่อรับเงิน เดือนอันน้อยนิดให้จงได้9  แต่ในขณะเดียวกันว่าที่เจ้านายของเขากลับไม่รู้สึกชื่นชมกับ ความส�ำเร็จที่ว่านั้นมากพอๆ  กัน เมื่อเขานั่งลงเขียนหนังสือเรื่องเจ้าผู้ปกครอง  โต๊ะท�ำงานของเขาคงจะเต็มไปด้วย หนังสือประวัติศาสตร์ยุคโบราณกองพะเนินซึ่งเขาเก็บไว้เป็นสมบัติ  และในสมองของเขา คงเต็มไปด้วยบทเรียนต่างๆ  ที่ได้รับจากการท�ำงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐมานานปี  ในขณะที่ มาเคียแวลลีมอี ายุเพียง 44 ปี  ซึง่ ถือว่าอยูใ่ นช่วงปลายของวัยกลางคนแล้วในศตวรรษที ่ 1610 เขาคิดว่าตนเองประสบความล้มเหลว  และคงจะมีเพื่อนของเขาเพียงไม่กี่คนที่จะไม่เห็น ด้วยกับค�ำกล่าวนี้   แม้ว่าเขาจะได้รับบันทึกว่าเป็นข้าราชการแถวหน้า  แต่เขาก็แทบจะ ไม่ได้แตกต่างจากเพื่อนร่วมงานไร้ชื่อเสียงคนอื่นๆ  ที่ท�ำงานอยู่ในปาลาซโซ  เดลลา  ซิญญอเรียเลยแม้แต่น้อย  ส่วนผู้ที่ระลึกถึงเขานั้นมักจดจ�ำเขาในฐานะนักเขียนผู้สร้างความ ล้มเหลวทางการทหารครั้งร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากมาเคียแวลลีชอบตั้งข้อสังเกตวงจรชีวิตของบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ 26  ศิริรัตน์ ณ ระนอง แปล


ในอดีต  เขาพบว่าในการพิสูจน์ความกล้าหาญของชายชาตรีจะไม่มีค�ำว่าประสบเคราะห์ กรรมแม้เพียงน้อยนิด และมาเคียแวลลีเองมีส่วนร่วมในการพิสูจน์สิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง11 การ ที่เขาประสบหายนะทางการเงิน  ถูกปลดออกจากราชการพร้อมกับอนาคตที่มืดมน  และ ไม่รู้ว่าจะท�ำงานการสิ่งใดต่อไปนั้น ท�ำให้เขากลายเป็นคนหมดสภาพจนในที่สุดความตาย จึงคร่าชีวิตของเขาไป   มาเคียแวลลีเลือกที่จะต่อสู้กับความตายอันแสนหดหู่ซึ่งโชคชะตา ได้ตระเตรียมไว้ให้เขาแล้ว  เขาถูกทดสอบเรื่อยมาแต่เขาก็ไม่มีอันเป็นไปเสียที  การถูก ทรมานยิ่งท�ำให้เขากลับมีศรัทธาเพิ่มขึ้นว่าเขาจะต้องค้นพบสิ่งแปลกใหม่ที่จะน�ำเสนอให้ โลกใบนี้   ชีวิตอันโดดเดี่ยวในบ้านไร่บนยอดเขาท�ำให้เขามองเห็นภาพประวัติศาสตร์ในมุม กว้างฉายชัดให้เห็นตรงหน้า  เมื่อขาดสุ้มเสียงแลกเปลี่ยนจากบทสนทนา  เสียงจากบุคคล ที่เสียชีวิตไปแล้วเริ่มหลอกหลอนจิตวิญญาณของเขา มันเป็นเสียงกระซิบที่กล่าวถึงความ จริงอันเป็นสากลซึ่งก่อนหน้านี้เคยพร่าเลือนอยู่ท่ามกลางความวุ่นวายในชีวิตประจ�ำวัน ของเขา   การที่เขาได้สื่อสารกับบุคคลในยุคโบราณท�ำให้เขาสามารถล้วงความลับในจิตใจ มนุษย์ออกมาได้  โดยเจาะลึกเชื่อมโยงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพื่อค้นหากฎเกณฑ์ที่กุม บังเหียนโชคชะตาแห่งรัฐเอาไว้

มาเคียแวลลี เจ้าทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่  27


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.