วารสารหลักเมือง ฉบับที่ 295

Page 1

ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

พระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน วันจันทร์ ที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๙ ณ พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน

ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๗ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

การยึดมั่นในผลประโยชน์ของแผ่นดิน และความถูกต้องเป็นธรรม เป็นสิ่งส�ำคัญยิ่ง ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ เพราะการยึดมั่นดังกล่าว จะท�ำให้มีจิตใจมั่นคง เด็ดเดี่ยว ในอันที่จะพากเพียรปฏิบัติหน้าที่ให้จนบรรลุผลส�ำเร็จ และสามารถป้องกัน ความผิดพลาดเสียหายอันจะเกิดแก่ตนแก่งานได้อย่างแท้จริง

ISSN 0858 - 3803

9 770858 380005

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๗ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

www.lakmuangonline.com


ภาพกิจกรรม การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการ “สถานีวิทยุสีขาว เทิดไท้องค์ราชัน”

อาเศียรวาท

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘

ดุจร่มฉัตร อ�ำนวยสุข ทุกแห่งหน

ทั่วสกล ชนปรีดิ์เปรม เกษมสานติ์

แปดสิบแปด พระชันษา เดชาก้อง ชนแซ่ซ้อง กาลดิถี ศรีสมัย

หลักแห่งรัฐ พระมิ่งขวัญ นิรันดร์กาล

แผ่ไพศาล บารมี ทวีไกล

กลาโหม อัญเชิญผล มงคลชัย

น้อมเทิดไท้ ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานราชการ สังกัดกระทรวงกลาโหม (พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ ผู้ประพันธ์)


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ พล.อ.วันชัย เรืองตระกูล พล.อ.อ.สุวิช จันทประดิษฐ์ พล.อ.ไพบูลย์ เอมพันธุ์ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา พล.อ.ธีรเดช มีเพียร พล.อ.ธวัช เกษร์อังกูร พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์ พล.อ.อู้ด เบื้องบน พล.อ.สิริชัย ธัญญสิริ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล

ที่ปรึกษา

พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา พล.ร.อ.อนุทัย รัตตะรังสี ร.น. พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล พล.อ.อ.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ พล.อ.พอพล มณีรินทร์ พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ พล.อ.วิสุทธิ์ นาเงิน พล.อ.ชาตอุดม ติตถะสิริ พล.อ.สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง พล.ร.อ.กฤษฎา เจริญพานิช ร.น. พล.ท.ชุติกรณ์ สีตบุตร พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล พล.ท.นเรศรักษ์ ฐิตะฐาน พล.ท.ศิริพงษ์ วงศ์ขันตี พล.ท.ภาณุพล บรรณกิจโศภน พล.ท.นภนต์ สร้างสมวงษ์ พล.ท.ถเกิงกานต์ ศรีอ�ำไพ พล.ท.สัมพันธ์ ธัญญพืช พล.ท.อภิชาติ อุ่นอ่อน พล.ท.รักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์ พล.ต.ภราดร จินดาลัทธ พล.ร.ต.สหพงษ์ เครือเพ็ชร ร.น. พล.ต.สราวุธ รัชตะนาวิน พล.ต.อนุมนตรี วัฒนศิริ พล.ต.พิสิทธิ์ สิงหราไชย พล.ต.สมชาติ ศิลป์เจริญ พล.ต.ต่างแดน พิศาลพงศ์

ผู้อ�ำนวยการ

พล.ต.ยุทธนินทร์ บุนนาค

รองผู้อ�ำนวยการ พ.อ.ภัทร์นรินท์ วิจิตรพฤกษ์ พ.อ.ชูเลิศ จิระรัตนเมธากร

ผู้ช่วยอ�ำนวยการ พ.อ.ดุจเพ็ชร์ สว่างวรรณ

กองจัดการ ผู้จัดการ

น.อ.ธวัชชัย รักประยูร

ประจ�ำกองจัดการ น.อ.กฤษณ์ ไชยสมบัติ พ.ท.ธนะศักดิ์ ประดิษฐ์ธรรม พ.ต.ไพบูลย์ รุ่งโรจน์

เหรัญญิก

พ.ท.พลพัฒน์ อาขวานนท์

ผู้ช่วยเหรัญญิก ร.ท.เวช บุญหล้า

ฝ่ายกฎหมาย น.ท.สุรชัย สลามเต๊ะ

พิสูจน์อักษร

พ.อ.หญิง วิวรรณ วรวิศิษฏ์ธ�ำรง

กองบรรณาธิการ บรรณาธิการ น.อ.พรหมเมธ อติแพทย์ ร.น.

รองบรรณาธิการ

พ.อ.ทวี สุดจิตร์ พ.อ.สุวเทพ ศิริสรณ์

ผู้ช่วยบรรณาธิการ พ.อ.หญิง ใจทิพย์ อุไพพานิช

ประจ�ำกองบรรณาธิการ น.ท.ณัทวรรษ พรเลิศ น.ท.หญิง รสสุคนธ์ ทองใบ ร.น. น.ท.วัฒนสิน ปัตพี ร.น. พ.ท.ชุมศักดิ์ สมไร่ขิง พ.ท.ชาตบุตร ศรธรรม น.ต.ฐิตพร น้อยรักษ์ ร.น. พ.ต.หญิง สิริณี จงอาสาชาติ พ.ต.หญิง สมจิตร พวงโต พ.ต.จิโรตม์ ชินวัตร ร.อ.หญิง กัญญารัตน์ ชูชาติ ร.น. ร.อ.หญิง ลลิดา กล้าหาญ จ.ส.อ.สมหมาย ภมรนาค จ.อ.หญิง สุพรรัตน์ โรจน์พรหมทอง


บทบรรณาธิการ เดือนธันวาคม เดือนมหามงคลของปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะเดือนธันวาคม ๒๕๕๘ กิจกรรมมหามงคล ที่พวกเราชาวไทยจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี ถวายเป็นราชสดุดี กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ ๘๘ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ “ปั่นเพื่อพ่อ BIKE FOR DAD” เป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ชาวไทยจะได้แสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดี รวมถึงความรัก ความสามัคคี การเริม่ เข้าสูป่ ี ๒๕๕๙ การเริม่ ต้นอย่างเป็นทางการในการเข้าสูป่ ระชาคมอาเซียน เป็นอีกบริบทส�ำคัญของ ภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องตระหนักและเตรียมปรับและพัฒนาบทบาทในมิติต่างๆ ในการร่วมเป็นประชาคม อาเซียนกับประเทศและประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านอีก ๙ ประเทศ หลายเรื่องหลายประเด็นมีผลกระทบ โดยตรงกับการใช้ชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของกฎ ระเบียบต่างๆ ซึ่งผู้มีธุรกรรมติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ตามแนวชายแดนจะสัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ที่น�ำมากล่าวในโอกาสนี้ก็เพื่อกระตุ้น เตือนให้เตรียมรับกับความท้าทาย โอกาสและการเข่งขันที่จะเป็นภาพใหญ่ขึ้น มิติด้านความมั่นคง เป็นเรื่องที่จะต้องตระหนักในการให้ความส�ำคัญเป็นพิเศษ จากความเชื่อมโยงการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวเป็นประชาคม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่กรุงปารีสและประเทศยุโรปตะวันตกที่มี พรมแดนและความเชือ่ มโยงในมิตติ า่ งๆ ของสหภาพยุโรปหรือ EU เป็นอีกสัญญาณเตือนเพือ่ การเตรียมพร้อมในการ รับมือกับภัยการก่อการร้ายทีม่ คี วามเชือ่ มโยง และท�ำงานเป็นเครือข่าย เพือ่ ให้เกิดผลกระทบทัง้ ในจุดหรือประเทศ ที่ต้องการและความเสียหายในภาพใหญ่เพื่อสร้างและแสดงศักยภาพ สงครามการก่อการร้ายได้แทรกซึมเข้ามาใกล้ตัวและท�ำให้เราสัมผัสได้อย่างใกล้ชิดด้วยสังคมข่าวสาร และสารสนเทศทุกที่ทุกเวลา ในเรื่องของแนวคิด ความเชื่อ และความศรัทธา ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องตระหนักให้ ผู้รับข่าวสาร โดยเฉพาะเยาวชนมีพื้นฐานแนวคิดที่ดี นึกถึงผลประโยชน์และความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและ สังคมเป็นส�ำคัญ เพื่อป้องกันการโฆษณาชวนเชื่อที่จะสร้างให้เกิดความโกรธแค้นชิงชัง อันจะน�ำไปสู่การเพาะบ่ม เชื้อก่อการร้ายของสังคมภายในประเทศ ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นของผู้ก่อการร้ายที่ก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายคนหนึ่ง ที่เกิดและเติบโตอยู่ในกรุงปารีส


ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม

๓๒

เปิดมาตรการส่งเสริมความเป็นอยูร่ ะดับ ต�ำบลภายใต้การขับเคลือ่ นของกระทรวง มหาดไทย

๑๐

The Pacific Abhors a Vacuum “ไม่มสี ญ ุ ญากาศของอ�ำนาจในแปซิฟคิ ”

พระราชประสงค์... สร้างความมั่นคงธ�ำรงไทย

๓๔

๔๖๐ ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

๓๖

๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ วันคล้ายวันสถาปนา ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และพลังงานทหาร ครบ ๒๕ ปี

แนะน�ำอาวุธเพื่อนบ้านจรวดน�ำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ เอไอเอ็ม-๑๒๐ซี๗

๑๒

๙ แผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (ตอนจบ)

๑๖

๑๒

๑๖

๑๘

“โฮมโกรว์น–โลนวูลฟ์ ” จิง้ จอกเดียวดาย กับลัทธิก่อการร้าย...อันตรายทุกพื้นที่ ในโลก

๒๒

๒๕

๒๒

เปิดประตูสู่ เทคโนโลยี ป้องกันประเทศ ๓๖

๔๔

รายการเดินหน้าประเทศไทย...เปลี่ยน ความสิ้นหวังของแรงงานเป็นพลังสู้ชีวิต

๑๘

๔๐

ร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ไม่ให้ซ�้ำรอยเดิม

๔๘ ปลายราชวงศ์ตองอู ๒๒๑๖ ๕๐ การท�ำบุญวันเกิด ๕๒

Biggest Thai Defence Trade Fair Opens for Business.

การปฏิบัติงานทางการบริหาร ของผู้น�ำทางการทหาร (ตอนสุดท้าย)

๒๕

การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ

๒๘

๒๘

๕๔ “วัคซีนในผู้สูงอายุ” ๕๖ ภาพกิจกรรม

การรบระหว่างกลุ่มไอเอสกับรัสเซีย

๓๒

๓๔

๓๖

๔๐

ข้อคิดเห็นและบทความที่น�ำลงในวารสารหลักเมืองเป็นของผู้เขียน มิใช่ข้อคิดเห็นหรือนโยบายของหน่วยงานของรัฐ และมิได้ผูกพันต่อราชการแต่อย่างใด ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ โทร./โทรสาร ๐-๒๒๒๕-๘๒๖๒ http://61.19.220.3/opsd/sopsdweb/index_1.htm พิมพ์ที่ : แผนกโรงพิมพ์ กองบริการ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ออกแบบ : ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด อรุณการพิมพ์


พระราชประสงค์... สร้างความมั่นคงธำ�รงไทย พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

“...ชาติบ้านเมือง คือ ชีวิต เลือดเนื้อ และสมบัติของเราทุกคน และการด�ำรงรักษาชาติประเทศนั้น มิใช่หน้าที่ของบุคคล ผู้ใดหมู่ใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นหน้าที่ของทุกๆ ฝ่าย ทุกๆ คน ที่จะต้องร่วมมือกระท�ำ พร้อมกันไปโดยสอดคล้องเกื้อกูลกัน…”

สพ

ระบรมราโชวาทพระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว พ ร ะ ร า ช ท า น ใ น พิ ธี ตรวจพลสวนสนามเนื่ อ งในโอกาส พระราชพิ ธี รั ช ดาภิ เ ษก เมื่ อ วั น ที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๑๔ หากพิจารณาสาระส�ำคัญของ ความตามพระบรมราโชวาทที่ผู้เขียนได้ อัญเชิญขึ้นประดิษฐานในเบื้องต้นของ บทความนี้ จะเห็นได้ว่าสิ่งที่พระบาท

4

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงถ่ายทอดให้ ประชาชนชาวไทยได้ รั บ ทราบใน ๓ ประการด้วยกัน กล่าวคือ ป ระการแรก : ความเป็นชาติ พระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงพระกรุ ณ ามี พระราชอรรถาธิบายให้ประชาชนชาวไทย เห็นความส�ำคัญและเห็นประโยชน์ของ ประเทศชาติบา้ นเมืองทีไ่ ม่ใช่เพียงสิง่ ทีเ่ ห็น เป็นเชิงรูปธรรม อันประกอบด้วย พื้นที่ อาณาเขต หรือทรัพยากรที่เป็นอยู่เท่านั้น

หากแต่ยังหมายรวมถึงสิ่งที่สัมผัสได้เป็น เชิงนามธรรม ที่หมายถึง ความภาคภูมิใจ ในความเป็ น ชาติ ความภาคภู มิ ใ จใน เอกราชและองคาพยพทั้งปวงที่เป็นของ ประชาชนชาวไทยทั้งหมด ซึ่งทรงใช้วลี ที่ว่า ชาติบ้านเมือง คือ ชีวิต เลือดเนื้อ และสมบัติของเราทุกคน หากทุกท่าน ลองพินิจพิเคราะห์ลงไปให้ถึงแก่นของ พระบรมราโชวาทแล้ว วลีนหี้ มายถึงทุกสิง่ ทุกอย่างที่ใช้ค�ำเรียกว่าชาติไทยนั่นเอง

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ป ระการทีส่ อง : ความมัน่ คง พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแสดงพระราช ประสงค์ให้ประชาชนชาวไทยทุกคนให้มี ความตระหนักว่า การที่ประเทศไทยจะ ธ�ำรงรักษาประเทศชาติไว้ให้มคี วามวัฒนา ถาวรสื บ ต่ อ ไปยั ง อนุ ช นรุ ่ น หลั ง ได้ นั้ น เป็นเรื่องที่ประชาชนทุกคน ทุกหมู่เหล่า ทุ ก ภาค และทุ ก พื้ น ที่ ข องประเทศ และยั ง รวมถึ ง ประชาชนชาวไทยที่ มี ที่พ�ำนัก ณ ต่างประเทศ จะต้องมีความ ส�ำนึกในหน้าที่การรักษาประเทศชาติให้ คงมั่นไว้ โดยไม่มีการแบ่งสันว่าเป็นหน้าที่ ของบุคคลใด หรือของหมู่ใดหรือกลุ่มใด เป็นการเฉพาะ หรือกล่าวได้ว่า การรักษา ความเป็นชาติ เอกราช อธิปไตย ความ มัน่ คง ผลประโยชน์ของชาติ ไม่ใช่เป็นเพียง หน้ า ที่ ข องทหาร หรื อ หน่ ว ยงานความ มั่นคงเท่านั้น แต่เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของ ประชาชนชาวไทยทุกคนที่จะต้องร่วมมือ ร่วมแรงกายและแรงใจกันกระท�ำการให้ ส�ำเร็จ โดยไม่มีการขีดคั่นว่าเป็นหน้าที่ ของคนใดคนหนึ่ ง หรื อ กลุ ่ ม ใดกลุ ่ ม หนึ่ ง ดังที่ทรงใช้วลีที่ว่า การด�ำรงรักษาชาติ ประเทศนั้น มิใช่หน้าที่ของบุคคลผู้ใด หมู่ใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นหน้าที่ของ ทุกๆ ฝ่าย ทุกๆ คน ทีจ่ ะต้องร่วมมือกระท�ำ ทั้งนี้ความหมายของการด�ำรงรักษาชาติ ประเทศก็ คื อ การรั ก ษาความมั่ น คง ของชาติ นั่นเอง ป ระการสุ ด ท้ า ย : ความสามั ค คี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระ ราชปณิ ธ านที่ จ ะให้ ป ระชาชนชาวไทย ร่วมมือร่วมใจกันขับเคลื่อนงานต่างๆ ที่เป็น ของประเทศชาติ ด ้ ว ยความพร้ อ มเพรี ย ง ให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุ ความส�ำเร็จร่วมกันของคนในชาติ ดังวลีที่ พระราชทานว่า จะต้องร่วมมือกระท�ำ พร้ อ มกั น ไปโดยสอดคล้ อ งเกื้ อ กู ล กั น หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

จึงสามารถสรุปความได้ว่าเรื่องนี้คือการ รักษาความสามัคคีของประชาชนในชาติ นั่นเอง ผู้เขียนใคร่ขอเรียนต่อทุกท่านว่า ภายหลังจากทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั พระราชทานพระบรมราโชวาทในปี พุทธศักราช ๒๕๑๔ แล้ว พระองค์ท่านยัง มีพระราชปณิธานที่จะแก้ไขปัญหาความ มัน่ คงของมนุษย์เป็นอย่างมาก ทัง้ นีเ้ พราะ ปัญหาความมัน่ คงของมนุษย์ทปี่ ระเทศไทย ก�ำลังเผชิญอยู่คือเรื่องของปัญหาความ ยากจน ปั ญ หาสิ่ ง แวดล้ อ มที่ ก ระทบ กระเทือนต่อระบบนิเวศของไทย ปัญหา การไหลบ่ า ของกระแสโลกาภิ วั ต น์ จ าก ภายนอก ปัญหาพลังงาน และปัญหาทาง เศรษฐกิจในยุคของการค้าเสรี เมื่อเป็น เช่นนี้ สิ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้คือ การ พั ฒ น า ป ร ะ เ ท ศ เ พื่ อ ใ ห ้ ป ร ะ ช า ช น ชาวไทยสามารถด�ำรงอยู่ได้ในสภาวะทาง เศรษฐกิ จ และสภาวะทางสั ง คมที่ เปลี่ยนแปลงไป จึงได้พระราชทานแนว พระราชด�ำริ “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อให้ พสกนิกรของพระองค์สามารถก้าวเดิน

ฝ่ า กระแสความผั น ผวนต่ า งๆ ของโลก ยุคโลกาภิวตั น์โดยให้ซวนเซน้อยทีส่ ดุ และ เป็นการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของ คนในสั ง คมไทยให้ ส ามารถเที ย บเคี ย ง ได้กับมาตรฐานสากล ในส่ ว นของปั ญ หาเรื่ อ งระบบ นิ เ วศที่ มี ค วามผั น ผวนอย่ า งมากจน ไม่สามารถคาดเดาได้ ทั้งยังสร้างปัญหา ต่อการด�ำเนินการด้านเกษตรกรรมของ ประเทศ จึงทรงศึกษาสภาพภูมอิ ากาศและ หนทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาต่างๆ จนน�ำมาสู่โครงการฝนหลวง โครงการ รักษาป่าต้นน�้ำ โครงการชลประทาน และ โครงการพระราชด� ำ ริ นั บ ร้ อ ยโครงการ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างเสถียรภาพทางสังคมของ ประเทศให้สามารถเผชิญสิ่งท้าทายจาก ภัยคุกคามทางธรรมชาติ หากท่านสังเกต ให้ดี จะพบว่า หลายต่อหลายเหตุการณ์ เรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ประมาณสถานการณ์ล้วนแล้วแต่เป็นไป อย่ า งถู ก ต้ อ งและแม่ น ย� ำ ทั้ ง ในเรื่ อ ง ของพายุและปัญหาอุทกภัยที่เกิดตามมา หลายครั้ง 5


นอกจากนี้ ในเรื่องของปัญหา พลังงาน ทรงให้ความสนใจอย่างมากกับ ปัญหาพลังงานทางเลือก ดังจะเห็นได้จาก เอธานอล หรื อ ไบโอดี เซล นอกจากนี้ พระองค์ ท ่ า นยั ง ทรงริ เ ริ่ ม การผลิ ต เอธานอลจากกากน�ำ้ ตาล และสามารถช่วย บรรเทาความรุนแรงของปัญหาราคาน�ำ้ มัน ให้แก่ประเทศไทยได้ในวิกฤตการณ์น�้ำมัน ที่ผ่านมา ในเรือ่ งปัญหาความมัน่ คงทีห่ ลาย ต่อหลายคนอาจหลงลืมไปแล้วคือปัญหา เรื่องความมั่นคงทางอัตลักษณ์ เชื้อชาติ และศาสนา จนเกิดเป็นความเหลื่อมล�้ำ ทางความคิ ด ดั ง เช่ น ปั ญ หาในจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ท่านทราบหรือไม่ว่าใน เรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ทรงพระราชทานแนวคิดในเรื่องของ “การ สนทนาระหว่างอารยธรรม” (Dialogue Among Civilizations) เพื่อให้เป็นรูป แบบและตัวอย่างอันดีแก่ผู้บริหารภาครัฐ และข้ า ราชการผู ้ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ นพื้ น ที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อยู่ท่ามกลาง ความแตกต่างของประชาชนอันเกิดจาก ศาสนาและความเชื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถได้เสด็จพระราชด�ำเนิน

6

เยี่ ย มราษฎรในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ชายแดน ภาคใต้ ซึ่งเรามักจะพบเห็นในพระบรม ฉายาลักษณ์และภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ที่ มี ภ าพของพี่ น ้ อ งประชาชนชาวไทย เชื้อสายมุสลิมตั้งแถวรับเสด็จด้วยความ เคารพอย่ า งจริ ง ใจที่ ป รากฏในแววตา และอากั ป กิ ริ ย า จึ ง เป็ น บทพิ สู จ น์ ใ ห้ สังคมไทยได้ตระหนักถึงแนวพระราชด�ำริ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ที่พระองค์ทรง ด� ำ เนิ น พระราชกรณี ย กิ จ เป็ น ต้ น แบบ กล่าวคือ เข้าใจ หมายถึง การสร้างความเข้าใจ กับประชาชนในพื้นที่ซึ่งอาจมีความแตกต่าง กัน โดยท�ำความเข้าใจกับเขา และทีส่ ำ� คัญ คือให้เขาเข้าใจเจตนารมณ์ของเราด้วย

เข้ า ถึ ง หมายถึ ง การเข้ า ไปมี ส่วนร่วมในกิจกรรมและวิถีชีวิตของเรา ซึ่ ง จะต้ อ งน� ำ เขาเข้ า มาร่ ว มกิ จ กรรม ของเราเพื่อลดความเหลื่อมล�้ำทางความ คิดและการด�ำเนินชีวิต พั ฒ นา หมายถึ ง การด� ำ เนิ น กิจกรรมในการปรับเปลีย่ นการด�ำเนินชีวติ เพื่ อ ให้ ส ามารถก้ า วทั น กระแสการ เปลี่ ย นแปลงของสั ง คมโลกได้ อ ย่ า ง เหมาะสมในลักษณะการท�ำงานร่วมกัน โดยให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ทัง้ นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มิได้ทรงถือเอาศาสนาเป็นข้อก�ำหนดใน การเสด็จพระราชด�ำเนินเยี่ยมราษฎรหรือ พระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชน ที่มีความแตกต่างทางความเชื่อหรือความ แตกต่างทางศาสนาแต่อย่างใด จึงท�ำให้ ความจงรักภักดีของพี่น้องประชาชนชาวไทย เชื้อสายมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มิ ไ ด้ เ สื่ อ มคลายลงไปแม้ แ ต่ น ้ อ ย ซึ่ ง พี่ น ้ อ งประชาชนในพื้ น ที่ ดั ง กล่ า วยั ง คง แสดงความจงรักภักดีให้สังคมไทยดังที่ เห็นได้หลายต่อหลายครั้งในรัฐพิธีหรือ ในพระราชพิธีต่างๆ ที่ผ่านมา ผู้เขียนจึงขอเรียนต่อทุกท่านว่า พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรงมี พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


พระราชประสงค์ทจี่ ะธ�ำรงความมัน่ คงของ ชาติดว้ ยน�ำ้ พระราชหฤทัยทีม่ งุ่ มัน่ มีพระวิรยิ ะ ทีจ่ ะขับเคลือ่ นวิถที างแห่งความมัน่ คงของ ชาติเพื่ออ�ำนวยประโยชน์ต่อประเทศและ ประชาชน จึงไม่เพียงแต่พระบรมราโชวาท ที่พระราชทานเท่านั้น พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ยังทรงปฏิบตั พิ ระราชกรณียกิจ เป็ น ต้ น แบบให้ สั ง คมไทยได้ เรี ย นรู ้ จ าก วิธกี ารทรงงานได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงเป็น เสมื อ นการย�้ ำ เตื อ นว่ า การรั ก ษาความ มั่นคงของชาติมิใช่เพียงหน้าที่ของทหาร หรือหน่วยงานความมั่นคง หรือบุคคลใด หรือกลุ่มบุคคลใดที่รับผิดชอบด�ำเนินการ เป็นการเฉพาะเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของ ประชาชนทุกคน ทุกฝ่ายที่จะต้องร่วมมือ กันกระท�ำให้สัมฤทธิผล แม้พระองค์เอง ยังร่วมทรงงานเพื่อความมั่นคงของชาติ มาตลอดเวลา เนือ่ งในวันมหามงคล ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบรอบ ๘๘ พรรษา ผู้เขียนใคร่ขอเชิญ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

ชวนพสกนิกรชาวไทยร่วมส�ำนึกในพระ มหากรุณาธิคณ ุ ทีท่ รงมีพระวิรยิ ะอย่างแรง กล้า ในพระราชกรณียกิจที่ทรงตรากตร�ำ บ�ำเพ็ญ เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาว ไทย และเพือ่ ความมัน่ คงของชาติ ด้วยการ บ�ำเพ็ญกิจที่เปี่ยมไปด้วยคุณงามความดี เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็น พระราชกุ ศ ล และร่ ว มใจถวายพระพร ชัยมงคลด้วยความจงรักภักดี พร้อมกราบ

อาราธนาคุ ณ พระศรี รั ต นตรั ย และ อานุภาพแห่งสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากล ได้โปรดอภิบาลประทานพรชัยมงคลให้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระ พลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ทรงเจริญด้วย จตุรพิธพรชัย มีพระราชประสงค์จ�ำนง หมายในสิ่งใด ขอจงสัมฤทธิ์ดังพระราช หฤทัยปรารถนา สถิตเป็นองค์มิ่งขวัญของ มหาชนชาวไทยตราบชัว่ นิรนั ดรกาลเทอญ.

7


๔๖๐ปี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชสมภพ

มเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ไ ท ย ที่ มี คุ ณู ป ก า ร ต ่ อ ประเทศชาติ เ ป็ น อย่ า งยิ่ ง พระองค์ ห นึ่ ง ของประวัตศิ าสตร์ไทย ซึง่ ประชาชนชาวไทย ต่างรับรู้และรับทราบถึงพระราชกรณียกิจ อันส�ำคัญคือทรงกู้อิสรภาพจากการที่ต้อง ตกเป็ น ประเทศราชหรื อ เป็ น เมื อ งขึ้ น ของประเทศคู ่ ส งครามที่ แข็ ง แกร่ ง มาก ในยุคสมัยนั้น หลายท่านอาจสงสัยว่าการทีป่ ระเทศ ของเราเป็นประเทศราชของประเทศอื่น แล้วมันจะเสียหายอะไรมากนัก เรื่องนี้ ผูเ้ ขียนใคร่ขอเรียนว่า จริงอยูแ่ ม้วา่ การเป็น ประเทศราชหรื อ เป็ น เมื อ งขึ้ น หรื อ เป็ น ประเทศผู ้ แ พ้ ส งครามต่ อ ประเทศใหญ่ กว่านั้น ประเทศของเรายังสามารถด�ำเนิน กิจกรรมต่างๆ ได้อย่างปกติก็ตาม แต่สิ่งที่ ประเทศของเราต้องสูญเสียไปคือเอกราช และอ�ำนาจปกครองสูงสุดอย่างเป็นอิสระ เพราะการด�ำเนินการทางการเมืองในเรื่อง ส�ำคัญจะต้องขออนุญาตหรือได้รับความ เห็ น ชอบจากประเทศผู ้ ช นะสงคราม เสียก่อน ซึ่งที่ส�ำคัญไปกว่านั้น ประเทศ ผู้ชนะสงครามต้องการสิ่งใด หรือต้องการ คน ต้องการก�ำลังทหารเพื่อใช้ในการศึกก็ สามารถเรียกเกณฑ์จากประเทศของเราได้ กรณีศกึ ษาทีส่ ำ� คัญคือการยุทธ์เข้าตีเมืองคัง ดูเหมือนว่าประวัตศิ าสตร์จะบันทึกชัยชนะ ของกองทัพกรุงศรีอยุธยาและพระบรม เดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งด�ำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราช ของสยามก็ตาม ท่านทราบหรือไม่ว่าใน การศึกครัง้ นัน้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ต้ อ งทรงงานตามค� ำ สั่ ง ของประเทศผู ้ ชนะสงครามและต้องทรงมีพระโทมนัส 8

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์

เพียงใดที่ต้องสูญเสียก�ำลังพลไปในการศึก ทั้ ง ๆ ที่ ไ ม่ ไ ด้ เ กี่ ย วอะไรกั บ การป้ อ งกั น ประเทศของสยามเลยแม้แต่น้อย กองทัพ ของสยามต้องรอนแรมกลางป่า กลางเขา เพื่อช่วยประเทศอื่นรบเพื่อประโยชน์ของ ประเทศอืน่ ด้วยทรัพยากรของสยาม จึงนับ ว่าเป็นเรือ่ งทีน่ า่ เจ็บปวดเป็นอย่างยิง่ (หาก ท่ า นได้ เ คยชมเรื่ อ งต� ำ นานสมเด็ จ พระ นเรศวรมหาราชจะเห็นว่าเมือ่ เสร็จศึกและ ยึดเมืองคังได้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงระนาดเอกราวกับว่าทรงมีพระเกษม ส� ำ ราญจากการชนะศึ ก แต่ ผู ้ แ สดงได้ ถ่ายทอดอารมณ์ในขณะที่ทรงระนาดว่า พระพักตร์ค่อนข้างเครียด เพราะต้องมา ทรงงานตามค� ำ สั่ ง ผู ้ อื่ น และต้ อ งสู ญ เสี ย ก�ำลังพลและทรัพยากรเป็นจ�ำนวนไม่น้อย อีกทัง้ ยังต้องมีงานเช่นนีอ้ กี มากน้อยหรือไม่ ในอนาคต) นอกจากนี้ หากประเทศผู้ชนะ สงครามต้องการสิ่งใดก็จะสั่งการให้สยาม ต้องจัดส่งให้ตามที่ปรารถนา ยิ่งไปกว่านั้น ทุ ก สิ้ น ปี จ ะต้ อ งส่ ง ต้ น ไม้ เ งิ น ต้ น ไม้ ท อง

ไปบรรณาการให้ แ ก่ ผู ้ น� ำ ของประเทศ ผู้ชนะสงคราม สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ คือความเจ็บปวดที่ฝังลึกในจิตใจของชาว สยามในยุคนั้นเป็นอย่างยิ่ง การที่ สมเด็ จ พระนเรศวรมหาราช ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงเมื่อปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๑๒๗ จึ ง เป็ น พระราช กรณียกิจที่ส�ำคัญต่อประเทศเป็นอย่างยิ่ง คือการปกครองหรือการบริหารราชการ แผ่นดินของสยาม (กรุงศรีอยุธยา) จะไม่ขนึ้ ตรงต่อประเทศใดและไม่ตอ้ งรับอาณัตหิ รือ ค�ำสัง่ จากผูใ้ ดอีกต่อไป สิง่ นีค้ อื การสะท้อน

พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์


ให้ เ ห็ น ถึ ง พระอั จ ฉริ ย ภาพและพระราช ปรีชาชาญในเรื่องของความกล้าหาญของ พระองค์ นอกจากนี้ หากท่านศึกษาพระ ราชประวัติขององค์สมเด็จพระนเรศวร มหาราช จะพบว่าระหว่างปีพุทธศักราช ๒๑๑๗ จนถึงปีพทุ ธศักราช ๒๑๔๘ ทรงอยู่ ในราชการศึกสงครามตลอดและทรงแสดง พระกฤดานุ ภ าพให้ ป ระเทศต่ า งๆ ได้รับรู้และรับทราบอย่างชัดเจน ซึ่งกล่าว โดยสรุป ดังนี้ o ปีพุทธศักราช ๒๑๑๗ เสด็จไปใน การศึกที่เวียงจันทน์ o ปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๑๒๑ ทรงท� ำ สงครามขับไล่พระยาจีนจันตุออกไปจาก กรุงศรีอยุธยา o ปีพทุ ธศักราช ๒๑๒๗ ทรงประกาศ อิ ส รภาพที่ เ มื อ งแครง และกวาดต้ อ น ครอบครัวชาวไทยกลับสู่พระนคร o ระหว่ า งปี พุ ท ธศั ก ราช ๒๑๒๗ จนถึงปีพุทธศักราช ๒๑๓๐ ทัพกรุงหงสาวดี ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาถึง ๔ ครั้ง แต่ถูกทัพกรุงศรีอยุธยาตีแตกพ่ายกลับไป o ปีพทุ ธศักราช ๒๑๓๕ ทรงกระท�ำ ยุทธหัตถี และทรงมีชัยเหนือมังกะยอชวา อุปราชกรุงหงสาวดี o ปีพุทธศักราช ๒๑๓๖ ทรงกรีธา ทัพไปราชการศึกกับเขมรและจับพระยา ละแวกท�ำพิธีปฐมกรรม o ปีพุทธศักราช ๒๑๓๘ ทรงกรีธา ทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ ๑ o ปีพุทธศักราช ๒๑๔๒ ทรงกรีธา ทัพไปตีกรุงหงสาวดี ครั้งที่ ๒ o ปีพุทธศักราช ๒๑๔๘ ทรงกรีธา ทัพไปตีกรุงหงสาวดี และเสด็จสวรรคตที่ เมืองหางเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๘ ค�่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๘ จึงกล่าวได้วา่ ตลอดระยะเวลา ๓๑ ปี ที่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมี พระราชกรณียกิจอยูใ่ นราชการศึกสงคราม เพื่อประเทศชาติบ้านเมืองมาโดยตลอด ต้องเสด็จพระราชด�ำเนินรอนแรมในกลาง หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

ป่าเขา และเสี่ยงพระวรกายอยู่ตลอดเวลา เพื่ อ รั ก ษาเอกราชและสร้ า งความเป็ น ปึ ก แผ่ น ให้ แ ก่ ส ยามประเทศ โดยมิ ไ ด้ ทรงท้ อ แท้ ห รื อ มิ ไ ด้ ท รงเห็ น แก่ ค วาม เหน็ดเหนื่อยพระวรกายจากการทรงงาน แต่อย่างใด พระมหากรุณาธิคณุ อเนกอนันต์ ประการต่อประเทศชาตินนั้ ได้นำ� มาสูค่ วาม เจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งของประเทศชาติ ต ราบจน ปัจจุบัน และได้ยังความภาคภูมิใจให้แก่ พสกนิกรชาวไทยทุกคนเป็นอย่างยิ่งที่มี ผืนแผ่นดินผืนนี้ให้เติบโต ได้สร้างความ รุ่งเรืองแก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และยัง เป็นผืนแผ่นดินที่จะฝังกลบกายยามสิ้นลม จากการศึ ก ษาพระราชประวั ติ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทราบว่า พระองค์ทรงพระราชสมภพเมื่อจุลศักราช ๙๑๗ – ๙๑๘ หรือประมาณปีพุทธศักราช ๒๐๙๘ เมื่อ ๔๖๐ ปีก่อน (ปีปัจจุบันคือปี พุทธศักราช ๒๕๕๘) และเสด็จสวรรคตเมือ่ วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๑๔๘ หรือเมื่อ ๔๑๐

ปีก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ คือ ๔๖๐ ปี แห่งกาลพระราช สมภพขององค์ ส มเด็ จ พระนเรศวร มหาราช ที่ประชาชนชาวไทยควรร�ำลึกถึง พระมหากรุณาธิคณ ุ ทีท่ รงมีตอ่ ประเทศไทย อย่างหาทีส่ ดุ มิได้ ผูเ้ ขียนจึงใคร่ขอเรียนเชิญ ทุ ก ท่ า นได้ ก รุ ณ าตั้ ง ใจกระท� ำ ความดี ตระหนักในความปรองดองสมานฉันท์ เพือ่ ร่วมกันสร้างความสมัครสมานกลมเกลียว และร่วมกันพัฒนาความมั่นคงให้เกิดขึ้น ในประเทศชาติของเรา เพือ่ เป็นการร่วมกัน ฉลองพระราชปณิ ธ านขององค์ ส มเด็ จ พระนเรศวรมหาราชที่ทรงด�ำเนินพระราช ก ร ณี ย กิ จ น า นั ป ก า ร เ พื่ อ เ อ ก ร า ช ความมั่นคงของชาติ ประเทศชาติ และ ความสงบสุขของประชาชนชาวไทยตราบ นานเท่ า นาน พร้ อ มกั บ ขอถวายบท ร้อยกรอง อาศิรวาทเทิดพระเกียรติ ๔๖๐ ปี พระราชสมภพองค์สมเด็จพระนเรศวร มหาราช กล่าวคือ

๔๖๐ ปี ศรีราชสมภพ เวียนบรรจบ คำ�รบกาล ให้ขานไข องค์นเรศวร ล้นเกล้าฯ ชนชาวไทย ปรากฏเกียรติ ยิ่งใหญ่ ไผทงาม กลาโหม น้อมรำ�ลึก ตรึกพระคุณ ร่มใบบุญ ทรงตรากตรำ� นำ�สยาม พ้นลำ�เค็ญ เข่นไพรี ที่ลุกลาม เทิดพระนาม มหาราช แห่งชาติไทย

9


๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘

วันคล้ายวันสถาปนาศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศและพลังงานทหาร ครบ ๒๕ ปี

พลเอก สรศักดิ์ ขาวกระจ่าง ผู้อ�ำนวยการ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกัน ประเทศและพลังงานทหาร

ศู

นย์ ก ารอุ ต สาหกรรม ป ้ อ ง กั น ป ร ะ เ ท ศ และพลั ง งานทหาร ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ก่อตั้ง เมือ่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๓ ปัจจุบนั มีหน่วย

10

ภายใต้การบังคับบัญชา ๔ หน่วย คือ กรม การพลังงานทหาร กรมการอุตสาหกรรม ทหาร ศูนย์อ�ำนวยการสร้างอาวุธ และ โรงงานเภสัชกรรมทหาร และปีนี้ก่อตั้งมา ครบรอบปีที่ ๒๕ งานที่ ศอพท. ด�ำเนินการ ส่ ว นหนึ่ ง เป็ น งานด้ า นยุ ท ธศาสตร์ ก าร บริหารจัดการซึ่งด�ำเนินการตามภารกิจ และหน้าที่ของ ศอพท. และนโยบาย กห. รวมถึงการสั่งการของผู้บังคับบัญชาโดยมี งานส�ำคัญๆ ในด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านปิโตรเลียม ก�ำกับดูแลโดย กรม การพลังงานทหาร มีการด�ำเนินงานด้าน ปิ โ ตรเลี ย มอย่ า งครบวงจร ตั้ ง แต่ ก าร ส�ำรวจ การขุดเจาะ การกลั่น และการ จ�ำหน่าย ซึ่งศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาค น�้ำมันได้ประมาณวันละ ๑,๐๐๐ บาร์เรล เหนือ กรมการพลังงานทหาร ยังเป็นศูนย์ เพื่อรักษาประสิทธิภาพการท�ำงานและ ฝึกบุคลากรด้านปิโตรเลียมและพลังงาน บ�ำรุงรักษาเครือ่ งจักร เมือ่ น�ำ้ มันดิบทีผ่ ลิต ทหารอีกด้วย โดยปัจจุบันสามารถผลิต ได้ผ่านกระบวนการกลั่นจนได้ผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมชนิดต่างๆ จ�ำหน่ายเป็นรายได้ หลายร้อยล้านบาทในแต่ละปี อีกทั้งยัง เป็ น แหล่ ง น�้ ำ มั น ส� ำ รองให้ แ ก่ เ หล่ า ทั พ ในภาวะฉุกเฉิน นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารด� ำ เนิ น งาน ในเรื่องพลังงานทดแทนอีกด้วย เช่น การ ติ ด ตั้ ง ระบบผลิ ต ไบโอดี เซล การติ ด ตั้ ง ระบบไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ การ ติดตั้งถังหมักก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ โดยทุกระบบได้ตดิ ตัง้ ให้กบั หน่วยงานของ กระทรวงกลาโหมในพื้นที่ต่างๆ น�ำไป ทดลองใช้แล้ว ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร


ด้านการควบคุมยุทธภัณฑ์ ก�ำกับดูแลโดย กรมการอุตสาหกรรมทหาร มีการด�ำเนินงานในด้านการควบคุม ก�ำกับ ดูแล เอกชนที่ด�ำเนินงานในด้านการ ผลิตชิ้นส่วนอาวุธยุทโธปกรณ์ การน�ำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งอาวุธยุทธภัณฑ์ และสิ่งที่ใช้ในการสงคราม การซื้อ-ขาย และการขนย้ายยุทธภัณฑ์ของเอกชน ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องก�ำหนด

ด้ า นอาวุ ธ ยุ ท โธปกรณ์ ก�ำกับดูแลโดย ศูนย์อ�ำนวยการ สร้างอาวุธ โรงงานแบตเตอรีท่ หาร และโรงงานวัตถุระเบิดทหาร มีการ ด� ำ เนิ น งานในด้ า นการผลิ ต และ ดัดแปลงแก้ไขอาวุธยุทโธปกรณ์ ชนิดต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนเหล่าทัพ และเพื่อการส่งออกด้วย อาทิ ปืนใหญ่ กระสุนปืนใหญ่ เครื่องยิงลูกระเบิด ลูกระเบิดยิงชนิดต่าง ๆ แบตเตอรี่ส�ำหรับรถยนต์ทหารและรถยนต์ทั่วไป ดินส่ง กระสุนปืนและกระสุนปืนเล็กครบนัดชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังได้มีการวิจัยและ พัฒนายุทโธปกรณ์ชนิดต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพอย่าง ต่อเนื่องให้กับกองทัพ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

ด้านยาและเวชภัณฑ์ ก�ำกับดูแลโดย โรงงาน เภสั ช กรรมทหาร มี ก ารด� ำ เนิ น งานเกี่ ย วกั บ เภสัชกรรมทหาร ผลิต จัดหายาและเวชภัณฑ์ ชนิดต่างๆ สนับสนุนเหล่าทัพ หน่วยราชการอื่น และประชาชนทั่วไป และยังมีขีดความสามารถใน การรับจ้างผลิตยาให้แก่องค์การเภสัชกรรมอีกด้วย ปั จ จุ บั น โรงงานเภสั ช กรรมทหารได้ มี ก ารวิ จั ย พัฒนาสูตรต�ำรับยาเม็ด และยาสมุนไพรชนิดต่างๆ เพื่อให้ได้ยาที่มีราคาถูกกว่า แต่มีประสิทธิภาพ ในการรักษาเท่าเทียมกับยาจากต่างประเทศ โดย ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต GMP จาก กระทรวงสาธารณสุข ท�ำให้สามารถพึ่งพาตนเอง ได้และเป็นการลดการน�ำเข้ายาที่มีราคาแพงจาก ต่างประเทศ นั บ ได้ ว ่ า การด� ำ เนิ น งานของศู น ย์ ก าร อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ดังกล่าวข้างต้นนั้น จะด�ำรงความมุ่งหมายไปสู่ ปรัชญาของการพึง่ พาตนเองในอนาคต ดังวิสยั ทัศน์ ที่ ว ่ า “บริ ห ารจั ด การงานด้ า นอุ ต สาหกรรม ป้องกันประเทศและพลังงานทหาร อย่างทันสมัย มีประสิทธิภาพ และมุ่งสู่การพึ่งพาตนเองอย่าง ยั่งยืน” 11


๙พระบาทสมเด็ แผ่นดิน จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก (ตอนจบ)

ส�ำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม

ารใช้ ก ฎหมายในการ บริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น อย่ า งจริ ง จั ง พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ กฎหมายที่ ท รงตราขึ้ น เองในการ บริหารราชการแผ่นดินอย่างจริงจัง โดยมี จุ ด มุ ่ ง หมายให้ เ ป็ น หลั ก ในการปฏิ บั ติ หน้าที่ของข้าราชการ เพื่อประโยชน์สุข ของอาณาประชาราษฎร์ กฎหมายของ พระองค์ ที่ อ อกมาในรู ป ของประกาศ มีจ�ำนวนเกือบ ๕๐๐ ฉบับ เป็นกฎหมาย ลายลักษณ์อักษรที่มั่นคง เพราะได้ทรง ริ เริ่ ม ตี พิ ม พ์ ป ระกาศให้ ร าษฎรทั้ ง ปวง ทราบ ในหนั ง สื อ ข่ า วราชการหรื อ ราช กิจจานุเบกษา ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๐๑ ซึง่ เป็นวิธกี ารทีท่ รงดัดแปลงจากแบบแผน ของตะวันตก ดังมีพระบรมราชาธิบาย ตอนหนึ่งว่า

“...แต่ ก ่ อ นเป็ น แต่ บั ต รหมายและค� ำ ประกาศเขี ย นเส้ น ดิ น สอด� ำ ลงกระดาษส่ ง กั น ไปส่ ง กั น มา และให้ ล อกต่ อ กั น ไปผิ ด ๆ ถู ก ๆ และเพราะฉบั บ หนั ง สื อ นั้ น ผู ้ ที่ จ ะได้ อ ่ า นก็ น ้ อ ยไม่ รู ้ ทั่ ว ถึ ง กั น ... เพราะฉะนั้ น จึ ง มี ค นโกงๆ คดๆ แต่ ง หนั ง สื อ เป็ น ดั ง ท้ อ งตราบั ต รหมาย... ว่ า การบั ง คั บ ไปต่ า งๆ ตามใจตัวปรารถนา ด้วยการทีม่ ไิ ด้เป็นธรรม แลท�ำให้ราษฎรเดือดร้อน... เพราะฉะนัน้ บัดนี้ จึงทรงพระราชด�ำริ จะบ�ำบัดโทษต่างๆ ... จึงโปรดให้ตั้งการตีพิมพ์หนังสืออย่างหนึ่ง มีชื่อโดยภาษาสันสกฤตว่า หนังสือราชกิจจา นุเบกษา... ...อนึ่ง ถ้าเหตุแลการในราชการแผ่นดินประการใดๆ เกิดขึ้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แ ลเสนาบดี พ ร้ อ มกั น บั ง คั บ ไปอย่ า งไร บางที ก็ จ ะเล่ า ความนั้ น ใส่ ม าในราชกิ จ จานุ เ บกษานี้ บ ้ า ง เพื่อจะให้รู้ทั่วกัน มิให้เล่าลือผิดๆ ไปต่างๆ ขาดๆ เกินๆ เป็นเหตุให้เสียราชการและเสียพระเกียรติยศ แผ่นดินได้...” 12

สำ�นักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


กฎหมายของพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสะท้อนภาพชีวิต และความเป็นอยูใ่ นสมัยนัน้ ตามความเป็น จริงอย่างชัดเจน กับทั้งสะท้อนให้เห็น แนวความคิดมนุษยนิยม และเสรีนิยมใน รูปแบบ “ประชาธิปไตย” ความอ่อนน้อม ถ่อมตน และการรับฟังความคิดเห็นของ ผู้อื่นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทั้งๆ ที่พระองค์เป็นพระมหา กษัตริย์ เช่น ประกาศให้เสรีภาพในการ นับถือศาสนาและการประกอบพิธีกรรม ทางศาสนา ประกาศเปลี่ยนการเรียกชื่อ สิ่ ง ของกลั บ ไปดั ง เดิ ม ตามมติ ม หาชน ดั ง ปรากฏในประกาศเปลี่ ย นชื่ อ กะปิ น�ำ้ ปลา เป็นเยือ่ เคย น�ำ้ เคย แต่เมือ่ มหาชน ไม่เห็นด้วยก็มีประกาศฉบับที่ ๒ ออกมา ให้กลับไปเรียกเยื่อเคย น�้ำเคย ว่ากะปิ น�้ำปลา ตามเดิม การใช้กฎหมายที่ทรงตราขึ้นเอง ในการบริหารราชการแผ่นดินเช่นนี้ เป็น หลักการหรือแนวทางแก่ขา้ ราชการทีด่ ใี น การปฏิบัติราชการอย่างเหมาะสม และ เป็ น “คู ่ มื อ ” ในการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ของ คนทั่วไป ยิ่งกว่านั้น ยังเปรียบประดุจ “ธรรมนู ญ การปกครองแผ่ น ดิ น ” ใน รัชกาลนี้ด้วย การปรึกษาพระบรมวงศานุวงศ์ และเสนาบดีในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ทรงถืออภิสทิ ธิใ์ นการบริหารราชการ แผ่นดินตามพระราชหฤทัย แต่ได้ทรง ปรึกษาหารือกับพระบรมวงศานุวงศ์และ เสนาบดีอยู่เสมอ ดังพระราชด�ำรัสในการ แจกพระราชทรั พ ย์ ส ่ ว นพระองค์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๗ ว่า

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

“...แลขอบใจผีสางเทวดาเคราะห์กรรมอีกอย่างหนึง่ ซึง่ ไม่บนั ดาลให้ขา้ พเจ้า ให้ท�ำให้พูด ให้ประพฤติการที่ท่านผู้หลักผู้ใหญ่จะส�ำคัญและติเตียนได้ว่าผิดๆ ไปเชือนๆ ไป แต่อันนี้ เป็นเพราะข้าพเจ้าตั้งใจเป็นหนึ่งและประพฤติอยู่เสมอ ในที่เมื่อจะท�ำอะไร จะประพฤติอะไร จะไม่ท�ำแต่ตามใจตัวขัดขืนค�ำท่านผู้หลักผู้ใหญ่เลย...” การจัดการเกี่ยวกับข้าราชการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงด�ำเนินการดังต่อไปนี้ การเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีถือ น�ำ้ พระพิพฒ ั น์สตั ยา ตามประเพณีในสมัย อยุธยานัน้ ข้าราชการทุกคนจะต้องมาเข้า พิธีดื่มน�้ำพระพิพัฒน์สัตยาสาบานว่าตน จะจงรักภักดีตอ่ พระมหากษัตริยถ์ า้ คิดการ ร้ายต่อพระมหากษัตริย์เมื่อใด ก็จะถูก ลงโทษจากอาวุธต่าง ๆ จนตัวตาย ส่วน พระมหากษั ต ริ ย ์ นั้ น มิ ไ ด้ ท รงร่ ว มใน การดื่มน�้ำสาบาน ครั้นพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัตแิ ล้ว ได้ทรงเปลีย่ นแปลงวิธกี าร ใหม่คือพระองค์ทรงเป็นผู้น�ำในการดื่มน�้ำ พระพิ พั ฒ น์ สั ต ยา นั บ เป็ น ครั้ ง แรกที่ เป็ น การให้ ค� ำ มั่ น สั ญ ญาระหว่ า งพระ

มหากษัตริย์กับข้าราชการว่าต่างฝ่ายต่าง ก็จะซือ่ สัตย์ตอ่ กัน แสดงให้เห็นว่าพระองค์ มิ ไ ด้ ท รงคิ ด ว่ า พระองค์ ท รงอยู ่ เ หนื อ ข้าราชการ และข้าราชการต้องมีหน้าที่ ต่อพระองค์เท่านั้น แต่ทรงถือว่าพระองค์ ก็ทรงมีหน้าที่ต่อข้าราชการด้วย การเปลี่ ย นแปลงวิ ธี เ ลื อ กตั้ ง ผูพ้ พิ ากษา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้ า อยู ่ หั ว ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้เปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งผู้พิพากษา ชัน้ สูงในต�ำแหน่งมหาราชครูปโุ รหิตาจารย์ แบบเดิม ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามค�ำแนะน�ำของเสนาบดี ทั้งนี้ ทรง พระราชด�ำริวา่ ประเทศต่างๆ ในยุโรปนัน้ ประชาชนเป็ น ผู ้ เ ลื อ กผู ้ ด� ำ รงต� ำ แหน่ ง ผูพ้ พิ ากษาซึง่ มีหน้าทีเ่ กีย่ วข้องกับทุกข์สขุ ของประชาชนเป็นอย่างมาก จึงมีพระราช 13


ประสงค์จะให้ราษฎรเลือกผูพ้ พิ ากษาของ ตนเองบ้าง เพื่อจะได้ผู้พิพากษาที่มีความ สามารถ รักความยุตธิ รรม และเป็นทีพ่ อใจ ของคนทัง้ ปวง จึงโปรดให้ยกเลิกการเลือกตัง้ ผู้พิพากษาตามแบบเดิม โปรดเกล้าฯ ให้ เจ้านายและข้าราชการตั้งแต่ยศชั้นหลวง ขึ้นไปเป็นผู้เลือกแทน แต่ยังไม่ให้ราษฎร ทั่ ว ไปเลื อ ก เพราะการเลื อ กตั้ ง เช่ น นี้ เป็นของใหม่ ซึ่งราษฎรยังไม่คุ้นเคยอาจ ท�ำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมาจึงทรงเริ่ม จากบุคคลในวงจ�ำกัดก่อน โดยให้เจ้านาย และข้าราชการที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เขี ย นชื่ อ ของตนเองและชื่ อ ของผู ้ ที่ ต น ต้องการเลือก ลงในบัตรและส่งรวมมาให้ แก่พระองค์ ผู้ที่ได้รับเสียงข้างมากก็จะได้ เป็นผู้พิพากษาซึ่งน่าจะมีความเหมาะสม ตรงกับความต้องการของปวงชนมากกว่า การใช้วิธีแบบเดิม การโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วิธีใหม่นี้ ปรากฏใน “ประกาศให้เลือกพระครูลกู ขุน พระมหาราชครูปโุ รหิตพระมหาครูมหิธร” ความตอนหนึ่งว่า 14

การด� ำ เนิ น การด้ า นสั ง คม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงด�ำเนินการดังต่อไปนี้ ๑. การศึกษา พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความ ส�ำคัญของการศึกษาแบบตะวันตกต่อการ พั ฒ นาประเทศ จึ ง ได้ ท รงส่ ง เสริ ม การ ศึกษาให้แพร่หลายโดยเริม่ จากในพระบรม มหาราชวังก่อน ทรงจ้างชาวตะวันตก เช่น นางบรัดเลย์ (Bradley) ชาวอเมริกัน นาง แอนนา เลียวโนเวนส์ (Anna Leonowens) ชาวอังกฤษ เข้ามาสอนภาษาอังกฤษและ

วิ ช าการอื่ น ๆ ตามแบบตะวั น ตกใน พระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้ ได้ทรง สนับสนุนให้บาทหลวงอเมริกนั ตัง้ โรงเรียนขึน้ ทั้งในพระนครและต่างจังหวัด เพื่อขยาย การศึ ก ษาแบบตะวั น ตกไปสู ่ ร าษฎร โดยทั่ ว ไป พร้ อ มกั น นี้ ได้ มี ก ารส่ ง ข้ า ราชการไทยไปศึ ก ษาและดู ง านยั ง ต่างประเทศเป็นครั้งแรกด้วย เช่น โปรด เกล้าฯ ให้ขุนมหาสิทธิโวหาร เดินทางไป ศึกษาดูงานเรื่องการพิมพ์ ณ ประเทศ ฝรั่ ง เศส ซึ่ ง ต่ อ มาพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯ ให้ตงั้ โรงพิมพ์ของทางราชการขึ้นในพระบรม มหาราชวัง ชื่อว่าโรงอักษรพิมพ์การ เพื่อ ใช้พิมพ์ประกาศของราชการ ซึ่งเรียกว่า “ราชกิจจานุเบกษา” ดังกล่าวมาแล้ว ๒. การปฏิบตั ติ อ่ ราษฎร รัชกาลนี้ นับว่าพระมหากษัตริยท์ รงมีความสัมพันธ์ ใกล้ ชิ ด กั บ ราษฎรหรื อ พลเมื อ งของ พระองค์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่ง ส่ ว นหนึ่ ง ก็ ม าจากประสบการณ์ เรี ย นรู ้ ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎร เมื่อครั้งที่ พระองค์ยังทรงอยู่ในสมณเพศและเสด็จ ธุดงค์ไปในชนบทต่างๆ เป็นเวลายาวนาน ถึ ง ๒๗ ปี ประกอบกั บ มี พ ระราชด� ำ ริ ใ น ท า ง ม นุ ษ ย นิ ย ม แ ล ะ เ ส รี นิ ย ม ตามแนวความคิ ด ทางพุ ท ธศาสนาและ ประชาธิ ป ไตย จึ ง ทรงด� ำ เนิ น การ

สำ�นักพัฒนาระบบราชการกลาโหม


เพือ่ ยกฐานะของราษฎรให้มชี วี ติ ความเป็น อยู่ที่ดีขึ้นในลักษณะของการให้ “สิทธิ พลเมือง” แก่ราษฎรนั้นๆ ซึ่งจากการ ศึกษาของผูว้ จิ ยั พบว่าในแผ่นดินพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีการ ปรั บ ปรุ ง ประเทศเป็ น แบบสมั ย ใหม่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงค�ำนึงถึงไพร่ซงึ่ เป็นพลเมืองส่วนใหญ่ และเป็นฐานของสังคมไทยด้วย ดังจะเห็น ได้จากการที่พระองค์พระราชทานสิ่งที่ อาจเรียกว่า “สิทธิพลเมือง” แก่ไพร่ นับได้ ว่าเป็นวิถีทางหนึ่งของการปรับปรุงสังคม ไทยให้ เ ป็ น แบบสมั ย ใหม่ ต ามแนวทาง ตะวั น ตก การพระราชทาน “สิ ท ธิ พลเมือง” นั้น ด�ำเนินการผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ต่างๆ ซึง่ แม้จะเริม่ เข้ามาตัง้ แต่สมัยรัชกาล ที่ ๓ แต่กไ็ ด้รบั การสนับสนุนให้แพร่หลาย ในสมัยรัชกาลที่ ๔ นี้ สื่อสิ่งพิมพ์เหล่านั้น เป็ น การเผยแพร่ พ ระบรมราชาธิ บ าย ให้ เ กิ ด ความรู ้ ค วามเข้ า ใจแก่ ไ พร่ ก ่ อ น แล้วจึงบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

บทสรุป ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ไทยต้องเผชิญกับ การคุกคามโดยการแผ่ขยายอ�ำนาจและ อิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตกรอบ ด้าน โดยเฉพาะอังกฤษกับฝรั่งเศส ดังนั้น เพื่ อ ความอยู ่ ร อดของประเทศไทย ใน ฐานะประเทศเอกราชประเทศเล็กซึง่ ด้อย กว่าอังกฤษและฝรั่งเศส โดยเฉพาะด้าน ก�ำลังทัพและอาวุธยุทโธปกรณ์ ไทยจึงต้อง ด� ำ เนิ น นโยบายการเจรจาผ่ อ นปรน ทางการทูต การท�ำสนธิสัญญาไมตรีและ พาณิชย์กบั ประเทศต่าง ๆ และการจ�ำยอม เสี ย ดิ น แดนบางส่ ว นให้ แ ก่ ม หาอ� ำ นาจ ตะวันตก เพือ่ รักษาเอกราชของประเทศไว้ อันเป็นลักษณะของการยอมเสียประโยชน์ ส่วนน้อยเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนใหญ่คือ เอกราช ซึ่งเปรียบเสมือน หัวใจ เอาไว้ ขณะเดียวกับที่ต้องปรับปรุงประเทศให้ ทั น สมั ย ตามแนวทางตะวั น ตก เพื่ อ ที่ มหาอ�ำนาจตะวันตกจะไม่สามารถใช้เป็น ข้ อ อ้ า งในการยึ ด ไทยเป็ น เมื อ งขึ้ น ได้

พระบรมราโชบายดังกล่าวข้างต้นนี้ได้รับ การปฏิบตั สิ บื ต่อมาในสมัยปฏิรปู ประเทศ ทั้ ง นี้ การด� ำ เนิ น นโยบายดั ง กล่ า วของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้ น บรรลุ เ ป้ า หมายนโยบายด้ า น ต่างประเทศ คือ “...การรักษาบูรณภาพแห่งดินแดน ส่ ง เสริ ม ผลประโยชน์ ท างเศรษฐกิ จ รักษาความมั่นคงภายในชาติ ป้องกัน รักษาเกียรติภูมิของชาติ และการสร้าง อ�ำนาจต่อรอง...” พระราชกรณียกิจทัง้ ปวงดังกล่าว แล้ ว แสดงให้ เ ห็ น ว่ า พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหา กษัตริยผ์ ทู้ รงพระปรีชาสามารถและมีพระ อัจฉริยภาพในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิง่ การเป็ น นั ก ปกครองผู ้ ว างรากฐานการ ด� ำ เนิ น นโยบายต่ า งประเทศและการ ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการบริหารราชการแผ่นดิน 15


รายการเดิ น หน้ า ประเทศไทย...

เปลี่ ย นความสิ้ น หวั ง ของแรงงานเป็ น พลั ง สู ้ ชี วิ ต

มเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมี พระราชปรารภแสดงความ ห่ ว งใยเกี่ ย วกั บ ความปลอดภั ย ในการ ท�ำงาน เมื่อครั้งการเสด็จพระราชด�ำเนิน ทรงเปิดศูนย์ฟน้ื ฟูสมรรถภาพคนงานประจ�ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ความว่า “การสร้างความปลอดภัยในสถาน ประกอบการเพื่อผู้ใช้แรงงานจะไม่ต้อง บาดเจ็บ ทุพพลภาพ” เพื่อสนองในพระ มหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีที่ทรงเป็น ห่วงความปลอดภัยในการท�ำงานของผู้ใช้ แรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ด�ำเนินการ รองรับ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและโรคจาก การท�ำงาน โดยการส่งเสริม ดูแล ให้ความ รู้เรื่องความปลอดภัยในการท�ำงาน เพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวติ “แรงงานไทย” ให้ดขี นึ้ 16

ส�ำนักงานโฆษกกระทรวงกลาโหม

กระทรวงแรงงาน เร่งรัดการท�ำงาน เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานมีความปลอดภัยในการ ท�ำงานไปแล้ว มีรายได้ตอบแทน แต่ต้อง บาดเจ็บพิการ มันไม่คุ้มค่ากันเลย เรื่อง ความปลอดภัยในการท�ำงานเป็นหัวใจซึง่ เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก จึงต้องย�้ำเน้นให้ หัวหน้าส่วนราชการให้ไปก�ำกับดูแล และ ให้ผใู้ ช้แรงงานท�ำงานอย่างมีความปลอดภัย ด้วยแนวทาง ๔ ประการ ประการแรก คือสร้างจิตส�ำนึกของ ผู้ประกอบการด้านความปลอดภัย เมื่อ นายจ้างมีจติ ส�ำนึกด้านความปลอดภัยก็จะ บริ ห ารจั ด การในสถานประกอบกิ จ การ ให้มีความปลอดภัย ประการที่ ๒ คือเรื่องจิตส�ำนึกของ “คนท�ำงาน” ต้องเข้าใจว่าท�ำอย่างไรจึงจะ ปลอดภัย ท�ำอย่างไรถึงจะมีความปลอดภัย ในการท�ำงาน ประเด็นคือต้องย�้ำเตือนมี การฝึกปฏิบัติ

ประการที่ ๓ คือองค์ความรู้ด้าน ความปลอดภัยเป็นองค์ความรู้ที่มีทั่วโลก เป็นศาสตร์วชิ าด้านความปลอดภัย ซึง่ เป็น ภารกิ จ หน้ า ที่ ข องกรมสวั ส ดิ ก ารและ คุม้ ครองแรงงาน ต้องมีสว่ นร่วมในการสร้าง ความรู้และสร้างมาตรฐานความปลอดภัย ในการท�ำงาน และสร้างกลไกไว้ในสถาน ประกอบการเพื่อด�ำเนินการในประเด็นนี้ เป็นอย่างดี ประการสุ ด ท้ า ยคื อ การบั ง คั บ ใช้ กฎหมายกั บ ผู ้ ที่ ล ะเลย ไม่ ป ฏิ บั ติ ต ามที่ ก�ำหนด หากสามารถก�ำกับดูแลทัง้ ๔ ขัน้ ตอน ครบถ้ ว น จนท� ำ ให้ เ กิ ด วั ฒ นธรรม ความปลอดภัย จะท�ำให้ผู้ใช้แรงงาน “คน ท�ำงาน” เกิดความปลอดภัย ท�ำงานมีความ สุข มีรายได้ตอบแทน ชีวิตอยู่อย่างมีความ สุขตลอดไป

สำ�นักงานโฆษกกระทรวงกลาโหม


จากผลการด�ำเนินงานที่ต่อเนื่องมา เป็นเวลานาน ปรากฏผลชัดเจนว่าอัตรา การประสบอันตรายจากการท�ำงานในหรือ เจ็บป่วยทุกกรณี มีตัวเลขลดลง กล่าวคือ จากปี ๒๕๕๓ ถึงปี ๒๕๕๗ มีอัตราความ เจ็บป่วยลดลง เหลือราว ๑๐๐,๐๐๐ ราย จากเดิม ๑๔๖,๕๑๑ ราย ทั้งนี้กองทุนเงิน ทดแทนมีเสถียรภาพ โดยมีเงินในกองทุน มากถึง ๔๕,๖๗๗ ล้านบาท และตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ กองทุนทดแทน มี ก ารเพิ่ ม ค่ า รั ก ษาพยาบาล โดยขยาย เพดานค่ารักษาพยาบาล จาก ๓๐๐,๐๐๐ บาท เป็น ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท เรื่ อ งของความปลอดภั ย ในการ ท�ำงาน เป็นเรื่องที่ต้องเน้นย�้ำ สร้างคุณค่า ให้เห็นว่า ความปลอดภัย คือ “ลมหายใจ” ของการท�ำงานซึ่งทุกคนต้องใส่ใจ เรียนรู้ เห็ น ความส� ำ คั ญ ท� ำ ทุ ก วั น ท� ำ จนเป็ น วัฒนธรรม ใส่ใจ-เรียนรู้-ส�ำคัญ-ท�ำทุกวัน และท�ำจนเป็นวัฒนธรรม กรมสวั ส ดิ ก ารและคุ ้ ม ครอง แรงงาน มีบทบาทส�ำคัญในการคุ้มครอง แรงงาน เพื่อให้ “คนท�ำงาน” ท�ำงานอย่าง ปลอดภัย ก�ำกับให้เกิดการท�ำงานให้เป็นไป ตามกฎหมาย อาทิ นายจ้างต้องจัดอุปกรณ์ ความปลอดภัย โดยฝ่ายนายจ้างก็ต้องให้ ความร่วมมือในการสวมใส่ ใช้อปุ กรณ์ความ ปลอดภัย ก�ำหนดให้มเี จ้าหน้าทีร่ กั ษาความ ปลอดภัยในการท�ำงาน ในสถานประกอบ กิจการที่มีความเสี่ยง เพื่อบริหารจัดการ ให้ แรงงานให้ ท� ำ งานอย่ า งถู ก ต้ อ งตาม มาตรฐานที่กรมฯ ก�ำหนดไว้ตามพระราช บัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการท�ำงาน พ.ศ.๒๕๕๔ ทั้งการจัดการสภาพการท�ำงาน และการ จั ด การให้ แ รงงานปฏิ บั ติ ต ามขั้ น ตอน ของงานที่ ถู ก ต้ อ งและก� ำ หนดให้ มี ค ณะ กรรมการความปลอดภั ย อาชี ว อนามั ย และสภาพแวดล้อมในการท�ำงาน เพื่อให้มี หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

การพูดคุยกันระหว่างนายจ้างและแรงงาน ในเรื่องความปลอดภัยในการท�ำงาน แม้จะท�ำงานด้วยความระมัดระวัง... ก็อาจมีการเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บ พิการ ทุพพลภาพ กระทรวงแรงงานโดยส� ำ นั ก งาน ประกันสังคม มีศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคน งานให้บริการช่วยเหลือพี่น้องคนท�ำงานที่ ต้องประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ จากการท�ำงาน วันนี้มี ๔ ศูนย์ฯ กระจาย อยู่ในทุกภูมิภาคซึ่งพร้อมจะท�ำงานด้วย ความจริงจัง เอาใจใส่ มุ่งมั่น ฟื้นฟู โดยมี จุ ด มุ ่ ง หมาย คื อ การฟื ้ น ฟู จิ ต ใจให้ เ กิ ด พลังใจ–ก�ำลังใจ และไม่ส้ินหวังต่อชีวิต สามารถด�ำรงชีวิตอยู่ต่อไป รวมทั้งสร้าง ก�ำลังใจ ส่งเสริมให้ผู้รับการฟื้นฟูมีก�ำลังใจ ต่อการฝึก เพื่อมีอาชีพอีกครั้งหนึ่ง และ ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด คื อ การ สร้างพลังใจ ให้เขากลับ ไปท�ำงานอยูก่ บั สังคมได้ อี ก ครั้ ง หนึ่ ง “เปลี่ ย น ภาระเป็นพลัง ไม่ให้มี ผูส้ ญู เสีย ต้องพิการนอน รอความหวั ง อยู ่ อ ย่ า ง เดียวดาย ใช้ศักยภาพ ที่มีอยู่ เข้าไปท�ำงานได้

อย่างมีคุณภาพ” วันนี้ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ของส�ำนักงานประกันสังคมเปิดให้บริการ ผูใ้ ช้แรงงานใน ๔ ภาค คือศูนย์ฯ ภาคกลาง ที่จังหวัดปทุมธานี ศูนย์ฯ ภาคตะวันออก ที่จังหวัดระยอง ศูนย์ฯ ภาคเหนือที่จังหวัด เชียงใหม่ ศูนย์ฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น และราวปลายปีก็จะมี ศูนย์ฯ ทีจ่ งั หวัดสงขลาให้บริการพีน่ อ้ งชาวใต้ แม้ ตั ว เลขเชิ ง สถิ ติ ข องผู ้ ป ระสบ อันตรายจะน้อยลงตามล�ำดับ แต่ตัวเลขที่ กระทรวงแรงงาน และทุกภาคส่วนมุ่งหวัง คื อ ตั ว เลขที่ เ ป็ น “ศู น ย์ ” และการเกิ ด วัฒนธรรมความปลอดภัยในการท�ำงาน ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะเป็นการ แก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนที่สุดตามที่ทุกคน มุ่งหวัง

17


“โฮมโกรว์ น –โลนวู ล ์ ฟ ”

จิ้ ง จอกเดี ย วดายกั บ ลั ท ธิ ก ่ อ การร้ า ย... อั น ตรายทุ ก พื้ น ที่ ใ นโลก

ารทีม่ บี คุ คลสัญชาติฝรัง่ เศส เกี่ ย วข้ อ งกั บ เหตุ ก ารณ์ ก่อการร้ายโจมตีกรุงปารีส จนมีผเู้ สียชีวติ ถึง ๑๒๙ ราย บาดเจ็บหลาย ร้อยคน เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ท�ำให้ประเด็น โฮมโกรว์น เทอร์เรอริสต์ (Homegrown Terrorist) ถูก พูดถึงอย่างกว้างขวาง homegrown ค�ำๆ นี้มักจะ เกี่ยวข้องกับอีกค�ำหนึ่ง คือ โลนวูล์ฟ เทอร์เรอริสต์ (Lone Wolf Terrorist) ซึ่งถูก หยิบยกมาอธิบายเหตุก่อการร้ายหลายๆ ครั้งในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นระเบิดในงานบอสตัน มาราธอน ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ๒๕๕๖ ซึ่งสองพี่น้องมือวางระเบิดเป็นคนสัญชาติ อเมริกนั หรือเหตุการณ์ใช้อาวุธบุกยึดคาเฟ่ จับตัวประกันในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย 18

ผู้ที่ก่อเหตุเพียงคนเดียวก็เป็นคนที่อาศัย และท� ำ งานอยู ่ ใ นออสเตรเลี ย มาเป็ น เวลานาน ในเมืองไทยยังมีองค์ความรูใ้ นทาง เปิดเกีย่ วกับ โฮมโกรว์น และ โลนวูลฟ์ ค่อน ข้างน้อย เรือ่ งเหล่านีม้ กี ารเรียนการสอนกัน บ้างในห้องเรียนของหน่วยงานความมั่นคง

เช่น โรงเรียนเสนาธิการทหารบก แต่ไม่ ค่ อ ยมี ข ้ อ มู ล สาธารณะเป็ น ภาษาไทย ให้ค้นหา อาจเป็นเพราะปรากฏการณ์ โฮมโกรว์น หรือ โลนวูล์ฟ ถูกมองว่าเป็น เรื่องไกลตัวของสังคมไทย แต่ในยุคที่การก่อการร้ายเกิดขึ้น ได้ไม่วา่ ประเทศใดในโลก และไทยเองก็เพิง่

แผนกเผยแพร่ กองประชาสัมพันธ์


เผชิญกับวิกฤตการณ์ระเบิดครั้งรุนแรงที่ สี่ แ ยกราชประสงค์ เมื่ อ ๑๗ สิ ง หาคม ที่ผ่านมา การท�ำความเข้าใจกับแนวคิด ก่อการร้ายสมัยใหม่จึงไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะภัยก่อการร้ายไม่ใช่เรือ่ งไกลตัวอีกต่อไป แหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่ระดับสูง หน่วยงานความมั่นคง ให้ข้อมูลว่า ค�ำว่า โฮมโกรว์น ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่ออธิบาย ปรากฏการณ์ใหม่ของการก่อการร้ายที่ เปลี่ยนไปจากเดิม คือจากการกระท�ำโดย กลุ่มก่อการร้ายระหว่างประเทศที่ส่งทีม ปฏิ บั ติ ก ารเข้ า ไปก่ อ เหตุ ใ นประเทศใด ประเทศหนึ่ง เช่น เหตุการณ์ ๙/๑๑ (เหตุ ยึดเครื่องบินชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ใน สหรัฐฯ เมื่อ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๔) และ London Bombing (เหตุระเบิดรถไฟใต้ดนิ กลางกรุงลอนดอน เมื่อเดือนกรกฎาคม หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

๒๕๔๘) โดยฝีมือกลุ่มอัลกออิดะห์ แต่ต่อ มาได้มพี ฒั นาการจากคนในชาติของตนเอง ที่ซึมซับค�ำสอนและอุดมการณ์ของกลุ่ม ก่อการร้าย หรือบางคนมีความเกลียดชัง สภาพสังคมที่ตนด�ำรงอยู่ เป็นผู้ก่อเหตุ รุนแรงขึ้นในประเทศของตนเอง สาเหตุ ส� ำ คั ญ เกิ ด จากประเทศ ตะวันตกมีความแปลกแยกระหว่างผู้คน ในสังคมสูงมาก โดยเฉพาะคนต่างเชื้อชาติ หรือศาสนาที่เข้าไปอยู่ในสังคมยุโรปและ อเมริกา เมื่อความเกลียดชังทวีถึงขีดสุด คนเหล่านีส้ ามารถลุกขึน้ มาก่อการร้ายโดย ตนเอง ไม่ตอ้ งให้ใครสัง่ วิธกี ารก็เรียนรูท้ าง อินเทอร์เน็ตทั้งหมด

ลักษณะร่วมของคนกลุ่มนี้ มักจะ อยู่คนเดียว แปลกแยกจากสังคม และ ซึมซับอุดมการณ์ก่อการร้ายหรือใช้ความ รุนแรง บางคนจึงปฏิบัติการคนเดียว หรือ แม้ปฏิบัติการเป็นกลุ่ม แต่ก็เป็นกลุ่มเล็ก มาก เรียกว่า โลนวูลฟ์ ทีแ่ ปลตรงๆ แปลว่า “หมาป่าโดดเดี่ยว” หรือ “จิ้งจอกเดียว ดาย” ในรายงานของสภาความมั่นคงแห่ง ชาติ หรือ สมช. ใช้ค�ำว่า “การก่อการร้าย ตามล�ำพัง” ปัจจุบัน โฮมโกรว์น ยังหมายรวม ถึ ง คนในชาติ นั้ น ๆ ที่ ไ ปร่ ว มรบกั บ กลุ ่ ม รัฐอิสลาม หรือ ไอเอส ในตะวันออกกลาง เพราะเลือ่ มใสแนวทางหรืออุดมการณ์ของ

19


ไอเอส เมื่อคนเหล่านี้เดินทางกลับประเทศ ก็สามารถก่อเหตุรุนแรงได้ไม่ยาก เพราะ เรียนรู้ของจริงในสนามรบมาแล้ว ความน่ากลัวของ โฮมโกรว์น และ โลนวูล์ฟ ก็คือ คนพวกนี้ยอมตายไปพร้อม กับเหยื่อด้วย การป้องกันจึงยากมาก โดย เฉพาะหากปฏิบัติการคนเดียว (โลนวูล์ฟ) การป้องกันจะยากขึ้นไปอีก เพราะคิดเอง ท�ำเอง แทบไม่ได้สื่อสารกับใคร แหล่งข่าวจากหน่วยข่าวกรองของ ทหาร ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า พวกโฮมโกรว์น ไม่จ�ำเป็นว่าต้องเป็นคนเชื้อชาติเดียวกับ คนในประเทศที่ตนเองโจมตี อาจจะต่าง เชื้อชาติกันก็ได้ แต่ไปอาศัยอยู่ในประเทศ นั้ น นานๆ ในฐานะผู ้ อ พยพ หรื อ เป็ น พลเมืองของชาติอาณานิคมที่ไปอาศัยอยู่ ในประเทศเจ้าอาณานิคม ดร.ศราวุฒิ อารีย์ รองผู้อ�ำนวยการ ศู น ย์ มุ ส ลิ ม ศึ ก ษา สถาบั น เอเชี ย ศึ ก ษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉายภาพโยงกับ 20

สถานการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในปัจจุบนั ท�ำให้เข้าใจ ได้ชดั เจนขึน้ ว่า กรณี โฮมโกรว์น ในฝรัง่ เศส ส่วนหนึ่งเกิดจากฝรั่งเศสมีผู้อพยพมุสลิม จ�ำนวนมากตั้งแต่ในอดีต เพราะฝรั่งเศส เป็นเจ้าอาณานิคมในตะวันออกกลางและ แอฟริกา มีการน�ำคนมุสลิมไปเป็นแรงงาน มานานแล้ว เมื่อคนในเจนเนอเรชั่นหลังๆ ที่เป็นมุสลิมเชื้อสายตะวันออกกลางหรือ แอฟริกนั เติบโตขึน้ มา และพวกเขาถูกเลือก ปฏิบัติ ไม่ได้เสรีภาพอย่างเต็มที่ สภาพ เศรษฐกิจสังคมก็ไม่ดี ก็เป็นแรงจูงใจให้ ก่อเหตุรุนแรงขึ้นมาได้ ส่วนปรากฏการณ์ไอเอส ก็เหมือน กับสงครามในอัฟกานิสถานก่อนเข้าสู่ยุค สงครามเย็น โดยคนทีร่ ว่ มรบในอัฟกานิสถาน เดินทางมาจากประเทศต่างๆ เมื่อพวกเขา กลับไป ก็ไปต่อต้านรัฐบาลหรือก่อเหตุ รุนแรงในประเทศของตัวเอง ซึ่งลักษณะ เช่นนี้ก็เกิดขึ้นกับซีเรียในปัจจุบัน มีคน ต่างชาติไปร่วมรบกับไอเอส คนกลุ่มนี้เมื่อ กลับบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง ก็ถือว่า

มีอันตราย และมีแนวโน้มก่อเหตุใช้ความ รุ น แรงในประเทศของตน เพื่ อ ต่ อ ต้ า น รัฐบาลหรือนโยบายรัฐบาลของตน

ภัยร้ายที่ยากจะป้องกัน

ในภาพรวม ฝ่ายความมั่นคงเรียก ภัยคุกคามจากการก่อการร้ายประเภทนีว้ า่ Unknown Threat เพราะระบบข่าวกรอง ตรวจไม่พบการวางแผน ไม่รู้ว่าใครคือ ผู ้ ที่ เ ตรี ย มลงมื อ ท� ำ และไม่ รู ้ เ ป้ า หมาย สาธารณะว่าจะท�ำทีใ่ ด การป้องกันจึงท�ำได้ ยากมาก “วิวัฒนาการของการก่อการร้าย รู ป แบบใหม่ ท� ำ ให้ แ นวคิ ด โฮมแลนด์ ซิคิวริตี้ (กระทรวงความมั่นคง หรือ โมเดล กระทรวงความมั่ น คงแห่ ง มาตุ ภู มิ ข อง สหรัฐฯ) ที่เน้นการสกัดกั้นภัยไม่ให้เข้ามา ในประเทศ เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่ประสบผล เพราะ จริงๆ แล้วป้องกันไม่ได้ เนือ่ งจากภัยได้แอบ เข้ามาอยู่ในประเทศเรียบร้อยแล้ว” แหล่ง ข่ าวระดั บสู งจากหน่ วยงานความมั่ นคง ระบุ แผนกเผยแพร่ กองประชาสัมพันธ์


ส� ำ หรั บ ประเทศไทย แหล่ ง ข่ า ว กล่าวว่า แม้จะไม่มปี ญั หา โฮมโกรว์น อย่าง เด่นชัด แต่การก่อการร้ายลักษณะนี้ ไม่ว่า พื้ น ที่ ไ หนหรื อ ประเทศใดในโลกก็ เ สี่ ย ง อันตราย เพราะบางคนทีอ่ ยูใ่ นประเทศไทย แต่เกลียดยุโรป เกลียดจีน หรือเกลียด รัสเซีย อาจก่อเหตุต่อเป้าหมายสาธารณะ ที่คนชาติท่ีตนเองเกลียดเข้ามาปะปนอยู่ จนท�ำให้คนไทยตายไปด้วยก็ได้ คล้ายๆ กับ กรณีระเบิดที่ราชประสงค์ ซึ่งมีโอกาสเกิด ขึ้นได้อีก โดยความเสี่ยงเกิดขึ้นได้จาก ๒ ลักษณะ คือ ๑. รัฐบาลท�ำเอง จากนโยบาย รัฐบาลที่ผิดพลาด เช่น การส่งอุยกูร์กลับ ประเทศจีน หรือส่งก�ำลังทหารไปร่วมท�ำ สงครามต่อต้านการก่อการร้าย หรือช่วย จับผู้ก่อการร้ายส่งให้ชาติอื่น กับ ๒. เกิดจากผู้ก่อการร้ายเข้ามา กระท�ำต่อผลประโยชน์ของชาติเป้าหมาย ในประเทศไทย เช่ น ไอเอสอาจโจมตี สถานทูต แหล่งธุรกิจ หรือนักท่องเที่ยว ตะวันตกในประเทศไทย

“สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ แม้ปัจจัยของ ไทยเองทีม่ ตี อ่ กลุม่ ก่อการร้ายยังไม่ถงึ ขนาด ตกเป็ น เป้ า หมายโดยตรง แต่ โ อกาสที่ ผลประโยชน์ของชาติตะวันตก จีน รัสเซีย ในบ้านเราจะตกเป็นเป้าโจมตีกม็ คี วามเสีย่ ง เช่นกัน ขึ้นอยู่กับความเข้มงวดหรือความ หละหลวมของมาตรการรั ก ษาความ ปลอดภัย และจ�ำนวนผลประโยชน์ รวมทัง้ ปริ ม าณนั ก ท่ อ งเที่ ย วของชาติ เ หล่ า นั้ น ในประเทศไทย” แหล่งข่าวระบุ

ขอขอบคุณ : องค์ความรู้เกี่ยวกับ โฮมโกรว์น เทอร์เรอริสต์ ในต่างประเทศ อาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เอื้อเฟื้อภาพ ส�ำนักข่าวอิศรา หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

21


การปฏิบัติงานทางการบริหาร ของผู้น�ำทางการทหาร (ตอนสุดท้าย)

พันเอก ชรัติ อุ่มสัมฤทธิ์

การพัฒนาตนเองของผู้น�ำ นับว่าเป็นความจ�ำเป็นทีผ่ นู้ ำ� ต้อง พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา จะด้วยการ ศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อน�ำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะการอ่านหนังสือทีเ่ ป็นประโยชน์ ข้อคิด ข้อเตือนใจจากอดีตผูน้ ำ� ทีไ่ ด้ให้แง่คดิ สิ่งเหล่านี้สามารถท�ำได้ตลอดเวลา อยู่ที่ว่า 22

จะให้โอกาสแก่ตนเองหรือไม่เท่านั้น ใน ขณะที่มีผู้น�ำจ�ำนวนไม่น้อยที่ปิดโอกาส ตนเองที่ จ ะรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น จาก ผู้เกี่ยวข้องอย่างชาญฉลาด ในการพัฒนา ตนเองของผู้น�ำถือเป็นหน้าที่ที่ส�ำคัญยิ่ง ของผูน้ ำ� ทีโ่ ดดเด่นและมีชอื่ เสียงหลายท่าน อย่างไรก็ตามจากคู่มือการพัฒนาตนเอง ของกองทัพบกสหรัฐฯ (Self-Develop-

ment Handbook) ได้ก�ำหนดแนวทาง ในการพัฒนาตนเองไว้ ๔ แนวทางดังนี้ ๑. ระบุจุดอ่อนและจุดแข็งของท่าน โดยการรวบรวมผลลัพธ์จากการประเมิน อย่างเป็นทางการ เช่น ผลการประเมินค่า และแบบทดสอบ เป็นต้น ๒. ที่ไหนที่ท่านจะไป? โดยรวบรวม ข่าวสารที่ท่านต้องการเพื่อตกลงใจว่าที่ใด พันเอก ชรัติ อุ่มสัมฤทธิ์


ที่ ท ่ า นควรจะไปกั บ การพั ฒ นาตนเอง ก�ำหนดทิศทางการพัฒนาตัวท่านเอง วาง หลักไมล์ (Milestones) ที่จะควบคุมท่าน ให้อยู่ในแนวทางที่ก�ำหนด ๓. ท่านจะเรียนรู้อย่างไร? ด้วยการ สร้างแรงจูงใจในตนเอง และแน่วแน่ สร้าง โอกาสในการเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างให้มาก ที่สุด ปฏิบัติตามกระบวนการอย่างมั่นคง เรียนรู้อย่างได้ผลจากหนังสือ

๑ ๒

๔. ท่านจะก้าวไปข้างหน้าอย่างไร? ด้วยการก�ำหนดหลักไมล์น�ำทางของท่าน เดินตามเส้นทางการพัฒนาตนเองตามที่ ก�ำหนดนั้น ท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด�ำรงการไปข้างหน้า ตรวจสอบ/ประเมิน ความก้าวหน้าของท่าน เก็บรวบรวมสิ่งที่ ท่านท�ำไปแล้ว ก�ำหนดหลักไมล์๑หลักต่อไป ส�ำหรับในเรือ่ งสมรรถนะหลักของ ผูน้ ำ� (Core Leader Competencies) นัน้

ในคูม่ อื ผูบ้ งั คับบัญชาในการพัฒนาผูน้ ำ� หน่วย (Commander’s Handbook for Unit Leader Development) ของกองทัพบก สหรัฐฯ ได้ระบุถึงสมรรถนะหลักที่บรรดา ผูน้ ำ� ระดับต่างๆ ของกองทัพบกควรมีอยู่ ๓ ประการ คือ ๑. น�ำ เป็นการน�ำผู้อื่น การ ขยายอ� ำ นาจในการชั ก จู ง ทางสายการ บังคับบัญชา การน�ำโดยเป็นแบบอย่างและ การสือ่ สาร ๒. พัฒนา โดยการสร้างสภาวะ แวดล้ อ มที่ เ อื้ อ ต่ อ การปฏิ บั ติ ง าน การ เตรียมตนเอง การพัฒนาผู้น�ำระดับรองๆ ลงไปในหน่วยของตนเอง ๓. บรรลุผล เป็นการได้รับซึ่งผลลัพธ์ที่พึงประสงค์๒ จะ เห็นว่าสมรรถนะหลักทัง้ ๓ ประการรวมถึง ข้อปลีกย่อยได้บง่ บอกถึงเนือ้ งานในเชิงการ ท�ำงานไว้ค่อนข้างกะทัดรัดและชัดเจน ใน การน�ำผู้อื่น การพัฒนาทั้งตนเองและผู้ใต้ บังคับบัญชา และการบรรลุซงึ่ วัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่พึงประสงค์นั่นเอง ทั้งนี้ เป้าหมายดังกล่าวอาจก�ำหนดเป็นหลักไมล์ ส� ำ คั ญ หรื อ อาจเป็ น เป้ า หมายสุ ด ท้ า ย (Ends) ก็แล้วแต่

Combined Arms Center, Self-Development Handbook, http://usacac.army.mil/CAL2/CAL/repository/SDev_Handbook20.pdf accessed 11 July 2012, pp. 2-40. Center for Army Leadership, Commander’s Handbook for Unit Leader Development, http://usacac.army.mil/CAL2/CAL/repository/CommandersHandbook[l].pdf accessed 11 July 2012, p. 9.

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

23


บทสรุป การท� ำ ให้ เ กิ ด ความเชี่ ย วชาญ/ ช�ำนาญการทางผู้น�ำนั้น สามารถท�ำได้ทั้ง ในเรื่องของ ๑. การพัฒนาตนเอง (Selfdevelopment) ที่อยู่บนความรับผิดชอบ ต่อความก้าวหน้าอย่างเป็นมืออาชีพของ ตนเองหรือเชิงปัจเจกบุคคล และรวมถึง การอ่านเพือ่ สูค่ วามเป็นมืออาชีพ (Professional reading) การค้นคว้าวิจัยและการ ประเมินตนเอง ๒. การบรรจุลงในต�ำแหน่ง งานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการท�ำงาน จริ ง (On-the-training) รวมทั้ ง ประสบการณ์ทไี่ ด้รบั ผ่านการท�ำหน้าทีแ่ ละ ต�ำแหน่ง ๓. การอบรมโดยสถาบัน ทีร่ วม ถึงโปรแกรมการให้การศึกษาทางวิชาชีพ ทหารของกองทัพและสถาบันอืน่ ๆ๓ พลเอก โคลิ น โพเวล (GEN Colin Powell)

กล่าวว่า “ไม่มเี คล็ดลับแห่งความส�ำเร็จ มัน เป็นผลทีเ่ กิดจากการเตรียมตัว ท�ำงานหนัก และเรียนรู้จากข้อผิดพลาด”๔ จึงเห็นว่า ไม่น่าแปลกใจที่กองทัพบกสหรัฐฯ มีการ ศึ ก ษาค้ น คว้ า วิ จั ย และจั ด ท� ำ คู ่ มื อ ต่ า งๆ เพือ่ การเป็นผูน้ ำ� ออกมาอย่างมากมายและ ให้ความส�ำคัญยิ่ง (ตามเอกสารบางส่วนที่ น�ำมาใช้อ้างอิงในงานเขียนนี้ก็เป็นเพียง ส่วนหนึ่งเท่านั้น) การที่ถือเป็นกิจส�ำคัญ ของผู้น�ำคือการให้สัมภาษณ์ซึ่งการตรวจ สอบโดยใช้รายการดังกล่าวข้างต้นน่าจะ เป็นเครื่องช่วยบ้างไม่มากก็น้อย ส�ำหรับ ความส�ำคัญของผูน้ ำ� และความเป็นผูน้ ำ� นัน้ มีให้เห็น อย่างกรณีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๐๑๑ Admiral M. G. Mullen ประธาน คณะเสนาธิการร่วม (ขณะนั้นซึ่งเทียบเท่า

ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย) ได้ออก เอกสารยุทธศาสตร์ทหาร เรื่อง “The National Military Strategy of the United States of America: 2011 Redefining America’s military Leadership” ดังนั้นการเป็นผู้น�ำแล้ว สิ่งที่ต้องตระหนักยิ่งก็คือ จะต้องสร้างผู้น�ำ ในรุ ่ น ต่ อ ไปอย่ า งไร ก� ำ ลั ง พลที่ จ ะเป็ น ผู ้ น� ำ รุ ่ น ต่ อ ไปควรมี คุ ณ ลั ก ษณะอย่ า งไร สมรรถนะหลั ก ที่ พึ ง ประสงค์ ค วรเป็ น อย่างไร และที่ส�ำคัญคือ แล้วจะสร้างและ พัฒนาเขาเหล่านั้นอย่างไร เพื่อให้มีสิ่งพึง ประสงค์เหล่านัน้ ดูจะเป็นภารกิจทีท่ า้ ทาย อันหนักอึ้งต่อผู้น�ำในทุกระดับของกองทัพ อย่างแท้จริง ว่าแต่ว่าเรามีหลักไมล์ (Milestone) เช่นว่าแล้วหรือยัง ?

Todd Hertling, The Officership Model Exporting Leader Development to the Force, in Military Review, March – April 2013, p.34. Ibid., Combined Arms Center, Self-Development Handbook, p.40.

๓ ๔

24

พันเอก ชรัติ อุ่มสัมฤทธิ์


การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ

ลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรั ฐ มนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหม พร้อมคณะ ได้เดินทางเข้าร่วม ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่าง ไม่เป็นทางการ หรือ ADMM Retreat และ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับ รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนประเทศคู่เจรจา ครั้ ง ที่ ๓ (3 rd ADMM-Plus) ที่ ก รุ ง กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่าง วันที่ ๒ - ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ที่ผ่านมา ทั้ ง นี้ เวที ก ารประชุ ม รั ฐ มนตรี กลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ หรือ ADMM Retreat นับเป็นเวทีส�ำคัญที่ผู้น�ำ ระดับสูงทางทหาร กลุ่มประเทศสมาชิก อาเซียนร่วมหารือกันเพือ่ รับมือภัยคุกคาม รูปแบบต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพและ ยัง่ ยืน โดยมี นาย เล เลือง มินห์ เลขาธิการ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

กองประชาสัมพันธ์ ส�ำนักงานเลขานุการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

อาเซียน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหม ๑๐ ชาติสมาชิกอาเซียน และ ประเทศคู่เจรจาอีก ๘ ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ ปุ ่ น เกาหลี ใ ต้ อิ น เดี ย ออสเตรเลี ย นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ และรัสเซีย เข้าร่วม ประชุม ดาโต๊ะ เซอรี ปังลีมา ฮีซามุดดิน บินตันฮุสเซน รัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหมมาเลเซีย กล่าวเปิดการประชุม โดยย�ำ้ ถึงเจตจ�ำนงร่วมกันในการแก้ปญั หา ภัยพิบัติธรรมชาติ ไฟป่าและหมอกควัน ที่ส่งผลกระทบในหลายประเทศ โดยมุ่งที่ จะจับมือกันแก้ปญ ั หานีอ้ ย่างเป็นรูปธรรม สร้างความปลอดภัยให้ประชาคมอาเซียน ทั้งยังคงเดินหน้าแก้ปัญหาเกี่ยวกับความ มั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางทะเล การปฏิ บั ติ ก ารต่ อ ต้ า นการก่ อ การร้ า ย ทุกรูปแบบรวมถึงการรับมือกับโรคระบาด ใหม่จากภูมภิ าคอืน่ พร้อมกล่าวชืน่ ชมไทย

ในความส�ำ เร็ จ ในการจัด ตั้ง ศูน ย์ แ พทย์ ทหารอาเซียนด้วย โดยการประชุ มครั้งนี้ รัฐ มนตรี กลาโหมของสมาชิกอาเซียนได้แลกเปลีย่ น ทั ศ นะประเด็ น ความมั่ น คงของภู มิ ภ าค ร่วมกันโดยมองว่าภัยคุกคามที่ส�ำคัญของ ภูมิภาคที่จ�ำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ประกอบด้ ว ย ภั ย พิ บั ติ ท างธรรมชาติ ภัยจากการก่อการร้ายและกลุ่มหัวรุนแรง อาชญากรข้ามชาติ ยาเสพติด การค้า มนุษย์และภัยคุกคามจากไซเบอร์ ทั้งนี้ พัฒนาการของการประชุม รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหมอาเซียน เป็นกลไกทีส่ ำ� คัญในการสร้างความไว้เนือ้ เชื่อใจระหว่างกันและขับเคลื่อนผลักดัน ความร่วมมือด้านความมั่นคงของภูมิภาค ทีเ่ ป็นรูปธรรมอย่างเด่นชัด ทัง้ ความร่วมมือ ทางทะเล การแพทย์ทหาร การรักษา 25


สันติภาพ การต่อต้านการก่อการร้าย การ ปฏิบตั กิ ารเก็บกูท้ นุ่ ระเบิดเพือ่ มนุษยธรรม การช่วยเหลือมนุษยธรรมและการบรรเทา ภัยพิบตั ิ การบูรณาการท�ำงานร่วมกันทีจ่ ะ ตอบสนองภัยคุกคามในอนาคต มีความ จ�ำเป็นต้องยืดหยุน่ ต่อสถานการณ์ และให้ ความส�ำคัญกับปัญหาการค้ามนุษย์ การ แก้ปัญหายาเสพติด รวมทั้งการแก้ปัญหา การก่อการร้ายและกลุ่มนิยมความรุนแรง มากขึ้น เน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาสังคมมากขึ้น โดยจ�ำเป็นต้อง ให้ความรูแ้ ละพัฒนาคนรุน่ ใหม่เพือ่ ท�ำงาน ร่วมกันในอนาคต ส่วนปัญหาทะเลจีนใต้นั้น มีความ ส�ำคัญต่อความมั่นคงของภูมิภาคอาเซียน ที่ต้องคงไว้ซึ่งเสรีในการเดินเรือและการ เดินอากาศของทุกประเทศ โดยจ�ำเป็น ต้องส่งเสริมบรรยากาศของความไว้เนื้อ เชื่ อ ใจเพื่ อ พั ฒ นาปฏิ ญ ญาว่ า ด้ ว ยแนว ปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration on the Conduct) ที่ลงนามร่วมกัน ไว้ แ ล้ ว เมื่ อ ปี ๒๕๔๕ สู ่ ก ารจั ด ท� ำ แนว ปฏิบตั ใิ นทะเลจีนใต้ (Code of Conduct) ด้วยกรอบเวลาที่ก�ำหนดร่วมกันต่อไป นอกจากนี้ รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ยังมีความเห็นร่วมกันว่า สหรัฐฯ และจีน เป็นประเทศที่มีบทบาทที่ส�ำคัญในการ 26

พั ฒ นาและเสริ ม สร้ า งศั ก ยภาพของ อาเซี ย น การประชุ ม รั ฐ มนตรี ว ่ า การ กระทรวงกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่ เจรจาทัง้ สองประเทศอย่างไม่เป็นทางการ จึงมีความส�ำคัญ เพื่อรักษาดุลยภาพ ผล ประโยชน์ แ ละความมั่ น คงของภู มิ ภ าค นอกจากนัน้ ยังเห็นร่วมกันทีจ่ ะร่วมมือกัน จัดตั้งกองก�ำลังของอาเซียน ในการตอบ สนองต่ อ การบรรเทาภั ย พิ บั ติ ร ่ ว มกั น พร้อมทั้งขอบคุณและชื่นชมไทยในความ ริเริ่มจัดตั้งศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน และ ก�ำหนดให้มีการฝึกร่วมด้านการแพทย์ ทหารและด้านการให้ความช่วยเหลือด้าน มนุ ษ ยธรรมและบรรเทาภั ย พิ บั ติ ใ นปี ๒๕๕๙ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาค อาเซียนในภาพรวม

ผิดจนกระทบต่อผลประโยชน์ของภูมภิ าค ในภาพรวม ในโอกาสเดียวกันนี้ พลเอก ประวิตรฯ ได้หารือทวิภาคีร่วมกับรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหมอิ น เดี ย เพื่ อ กระชั บ ความร่วมมือทางทหารและความมั่นคง ของทัง้ สองประเทศร่วมกัน รวมทัง้ ประชุม ความร่วมมือด้านความมัน่ คงของช่องแคบ มะละการ่วมกับมาเลเซีย สิงคโปร์ และ อิ น โดนี เซี ย ด้ ว ย ทั้ ง นี้ เวที ก ารประชุ ม รัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน เป็นกลไกในการ พัฒนาและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ความ ร่วมมือทางทหารระหว่างกันที่ส�ำคัญยิ่ง ของเสาหลักประชาคมด้านการเมืองและ ความมั่นคงอาเซียน ที่จะช่วยเสริมสร้าง เสถี ย รภาพการขั บ เคลื่ อ นเสาหลั ก

หลั ง จากนั้ น ที่ ป ระชุ ม ได้ ล งนาม Direct Communication Links ร่วมกัน เพื่อจัดตั้งกลไกการติดต่อสื่อสารสายตรง ของรั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงกลาโหม ทุกประเทศสมาชิกร่วมกัน ส�ำหรับการ ประสานงานติดต่อตรงระหว่างกัน ในการ ลดปัญหาที่อาจขยายตัวจากความเข้าใจ

ประชาคมด้ า นเศรษฐกิ จ และเสาหลั ก ประชาคมด้านสังคมและวัฒนธรรม อันจะ น�ำมาซึง่ ความสงบและสันติสขุ ของภูมภิ าค อาเซียนอย่างยั่งยืนสืบไป หลั ง จากนั้ น ที่ ป ระชุ ม ได้ ร ่ ว มพิ ธี ส่งมอบการเป็นประธานรัฐมนตรีกลาโหม อาเซียน ปี ๒๕๕๙ ให้กบั กระทรวงกลาโหม

กองประชาสัมพันธ์ สำ�นักงานเลขานุการสำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พร้อมกัน นี้ พลเอก ประวิตร วงษ์สวุ รรณ รองนายกรัฐมนตรี และรั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงกลาโหม ได้ ใช้ โอกาสนีก้ ล่าวขอบคุณทีป่ ระชุม ทีส่ นับสนุนและให้ ความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์แพทย์ทหารและ การฝึกร่วมกันในปี ๒๕๕๙ ที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้ง กล่ า วว่ า ความมี เ สถี ย รภาพ สั น ติ ภ าพและ ความมัน่ คงของภูมภิ าค เกิดจากรูปแบบและกลไก ความร่ ว มมื อ ด้ า นความมั่ น คงที่ แ น่ น แฟ้ น ทั้ ง การประชุ ม รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงกลาโหม อาเซียน การประชุมผู้บัญชาการทหารสูงสุดอย่าง ไม่เป็นทางการ และการประชุมผูบ้ ญั ชาการเหล่าทัพ ที่ผ่านมา ประเทศไทยสนับสนุนการเสริมสร้าง ความร่วมมือของฝ่ายทหารควบคู่กับการสร้าง ความมั่นคงกับภาคส่วนอื่นๆ ของภูมิภาค ขณะ เดียวกันรัฐบาลไทยให้ความส�ำคัญต่อการรักษา ความมั่นคงและความมีเสถียรภาพของประเทศ การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถร่วมกัน ของสมาชิกอาเซียนจะเป็นกลไกส�ำคัญทีต่ อบสนอง ต่ อ ความท้ า ทายด้ า นความมั่ น คงของภู มิ ภ าค ร่วมกันอย่างมีเสถียรภาพ

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

27


การรบระหว่างกลุ่มไอเอสกับรัสเซีย

นที่ สุ ด เมื่ อ ปลายเดื อ น กั น ย า ย น ที่ ผ ่ า น ม า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปู ติ น แห่ ง รั ส เซี ย ก็ ส่ั ง การให้ ก องทั พ รั ส เซี ย ท� ำ การโจมตี เ ป้ า หมายต่ า งๆ ใน ประเทศซีเรียอย่างดุเดือดและรุนแรง โดย แถลงการณ์ของฝ่ายรัสเซียระบุว่าต้องการ โจมตี ที่ มั่ น และยุ ท โธปกรณ์ ข องกลุ ่ ม ไอเอส (IS : Islamic States) หรือ “ไอซิส” (ISIS) เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของรัสเซีย ในภู มิ ภ าค รวมทั้ ง เพื่ อ คุ ้ ม ครองรั ฐ บาล ซีเรียของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัส ซาด (Bashar al-Assad) แม้ว่าการโจมตี ดังกล่าวจะถูกมองว่ามุ่งพิทักษ์บัลลังก์ของ ผู้น�ำรัฐบาลซีเรีย มากกว่าโจมตีท�ำลายล้าง กลุ ่ ม ไอเอสก็ ต าม เพราะมี ห ลายครั้ ง ที่ รัสเซียโจมตีพื้นที่ที่เป็นที่มั่นของกลุ่มกบฏ ซีเรีย หรือกองทัพปลดปล่อยซีเรีย (FSA : Free Syria Army) ที่ ส หรั ฐ ฯ ให้ ก าร สนับสนุน แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การโจมตี ของรั ส เซี ย ได้ ส ร้ า งความเสี ย หายให้ แ ก่ กลุ่มไอเอสเป็นอย่างมาก ท�ำให้หลายฝ่าย จับตามองว่ากลุม่ ไอเอสจะรอดพ้นจากการ โจมตีของรัสเซียได้มากน้อยเพียงใด เพราะ ในช่วงเวลาเพียง ๑๕ วันที่ผ่านมา ฝูงบิน ของรัสเซียประสบความส�ำเร็จในการโจมตี 28

พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ

ที่มั่นของกลุ่มไอเอส มากกว่าความส�ำเร็จ ที่สหรัฐฯ พยายามโจมตีกลุ่มไอเอสตลอด ๑ ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะบริเวณเมืองรามาดี (Ramadi) และเมืองโมซุล (Mozul) ที่ถูก กลุม่ ไอเอสยึดครอง ตลอดจนความล้มเหลว ของสหรัฐฯ ในการสนับสนุนฝ่ายกบฏหรือ “กองทัพปลดปล่อยซีเรีย” จนต้องมีการ ปรับยุทธวิธีกันอย่างขนานใหญ่ ด้วยการ ส่งหน่วยรบพิเศษจ�ำนวนประมาณ ๕๐ นาย เข้าไปในซีเรียให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏ ซีเรีย นับเป็นการส่งทหารสหรัฐฯ เข้าไป ในซีเรียอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรก แม้ว่า ในช่วงทีผ่ า่ นมาทหารสหรัฐฯ จะเคยเข้าไป ปฏิบัติการในซีเรียมาแล้ว แต่ก็เป็นเพียง ระยะเวลาสั้นๆ ในปัจจุบัน “กลุ่มไอเอส” ได้รับการ ยอมรับว่ามิได้เป็นเพียงกลุ่มก่อการร้าย เท่านั้น หากแต่ยังเป็นกองก�ำลังทางทหาร ที่มีความแข็งแกร่ง มีระเบียบวินัย มีระบบ การบังคับบัญชาแบบรวมศูนย์ แม้ดเู หมือน ว่ า แต่ ล ะหน่ ว ยย่ อ ยของกลุ ่ ม ไอเอสจะ ปฏิบตั กิ ารเป็นเอกเทศต่อกัน แต่ทจ่ี ริงแล้ว ทุกหน่วยล้วนขึ้นตรงและรับค�ำสั่งจากกอง บัญชาการและผู้น�ำของตน ส�ำหรับจ�ำนวน สมาชิกของกลุ่มนั้น มีตัวเลขประมาณการ ที่หลากหลาย เช่น องค์กรข่าวกรองกลาง ของสหรัฐฯ หรือ “ซีไอเอ” ประเมินว่า

มี นั ก รบไอเอสประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ในขณะที่พวกเคิร์ดประมาณว่าพวกไอเอส มีจ�ำนวนถึง ๒๐๐,๐๐๐ คน โดยนักรบ เหล่ า นี้ ป ระกอบด้ ว ยชาวอิ รั ก ซี เ รี ย ซาอุ ดี อ าระเบี ย จอร์ แ ดน และนั ก รบ ต่ า งชาติ อื่ น ๆ ปั จ จุ บั น คาดว่ า มี นั ก รบ ต่างชาติกว่า ๒๐,๐๐๐ คน สังกัดอยู่กับ กลุ่มไอเอส ในจ�ำนวนนี้ประมาณ ๓,๔๐๐ คน เป็นชาวตะวันตก และอีกอย่างน้อย ๑๕๐ คน เดินทางมาจากสหรัฐฯ ล่าสุดดินแดนที่กลุ่มไอเอสสามารถ ครอบครองได้ในซีเรียและอิรกั มีขนาดใหญ่ เทียบเท่ากับพื้นที่ของสหราชอาณาจักร หรือมีขนาดใหญ่กว่าประเทศเลบานอน ทั้งประเทศเลยทีเดียว สิ่งที่ยืนยันถึงความ แข็งแกร่งของกองทัพกลุ่มไอเอส คือการสู้รบ ต่อกรกับกองทัพซีเรีย ซึ่งไม่อาจปฏิเสธ ได้ว่าเป็นกองทัพที่มีความแข็งแกร่งกว่า กองทัพอิรักมาก เพราะมีประสบการณ์ ในการรบมายาวนาน อี ก ทั้ ง มี อ าวุ ธ ยุทโธปกรณ์ที่ดีเยี่ยม แต่ในที่สุดกองทัพ ซีเรียก็ต้องประสบกับความสูญเสียอย่าง หนักเมื่อต้องเผชิญกับนักรบกลุ่มไอเอส จนรั ส เซี ย ต้ อ งส่ ง ก� ำ ลั ง ทหารและอาวุ ธ เข้าสนับสนุนดังที่เป็นข่าว อาวุธยุทโธปกรณ์ส�ำคัญที่รัสเซียใช้ ในการโจมตีกลุม่ ไอเอส ประกอบด้วยเครือ่ งบิน พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


นานาชนิด โดยมีฐานทัพอากาศอยู่ที่สนาม บินนานาชาติ “อัล-อัสซาด” เมือง “ลา ทาเกีย” (Latakia) ของซีเรีย ประกอบ ด้วยเครื่องบินขับไล่โจมตี (Strike fighter) และขับไล่ทิ้งระเบิด (Fighter-bomber) ๒ ที่นั่งแบบ ซุคอย ซู-๓๔ (Sukhoi Su34) หรื อ ที่ น าโต้ เ รี ย กว่ า “ฟุ ล ล์ แ บค” (Fullback) เป็นเครือ่ งบินทีถ่ กู ออกแบบมา เพื่อการโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินและ เป้าหมายในทะเล ติดอาวุธปล่อยน�ำวิถดี ว้ ย เลเซอร์แบบ “เคเอช-๓๘” (Kh-38) ซึ่ง มีระยะท�ำการถึง ๔๐ กิโลเมตร เครื่องบิน รุ่นนี้มีความเร็ว ๑.๘ มัค ระยะปฏิบัติการ รบ ๑,๑๐๐ กิโลเมตร แต่สามารถเดินทาง ปกติได้เป็นระยะทางถึง ๔,๐๐๐ กิโลเมตร โลกตะวันตกคาดว่ารัสเซียส่งเครื่องบิน รุน่ นีเ้ ข้าไปปฏิบตั ภิ ารกิจในภูมภิ าค “ฮอมส์” (Homs) ของซีเรียอย่างน้อย ๖ ล�ำ โดย ในวันที่ ๑ ตุลาคมทีผ่ า่ นมา ซู-๓๔ ได้ทำ� การ โจมตีกองบัญชาการและค่ายฝึกของกลุ่ม ไอเอสทีเ่ มือง “รัคค่า” (Raqqa) จนราบเป็น หน้ากลอง เป็นการโจมตีจากระดับความ สูงกว่า ๕,๐๐๐ เมตร ด้วยระเบิดน�ำวิถี (guided bombs) ก่อนที่จะท�ำการโจมตี ที่มั่นของกลุ่มไอเอสในจังหวัด “ฮามา” (Hama) และเมือง “มาร์รัต อัล-นูมาน” (Maarrat al-Numan) ซึ่งอยู่ทางตอน เหนือของจังหวัด “ฮามา” เป็นระยะทาง ๕๗ กิโลเมตร ด้วยระเบิดน�ำวิถีและระเบิด ท�ำลายบังเกอร์แบบ “เบ็ทตาป-๕๐๐” (BetAB-500) ซึ่งเป็นระเบิดที่เมื่อปล่อย ลงจากเครื่องบินในช่วงแรก จะร่อนลงสู่ เป้าหมายด้วยร่มชูชีพ ครั้นเมื่อเข้าใกล้ ที่ ห มาย ตั ว ระเบิ ด จะจุ ด ไอพ่ น บริ เ วณ ตอนท้าย แล้วพุ่งเจาะทะลุบังเกอร์ด้วย ความเร็วสูง เมื่อทะลุเข้าไปภายในบังเกอร์ แล้ว หัวระเบิดที่มีน�้ำหนัก ๗๖ กิโลกรัม ก็จะระเบิดขึ้น กองบัญชาการของกลุ่ม ไอเอสหลายแห่งที่ซ่อนตัวอยู่ในบังเกอร์ คอนกรีตเสริมเหล็ก ได้ถูกท�ำลายลงอย่าง ราบคาบด้วยระเบิดชนิดนี้ การโจมตีใน วันที่ ๒ ตุลาคม รัสเซียสามารถท�ำลาย หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

บังเกอร์ คลังอาวุธ และยุทโธปกรณ์อนื่ ๆ ได้ เป็นจ�ำนวนไม่น้อยกว่า ๗ เป้าหมาย นอกจากเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ ซู-๓๔ แล้ว รัสเซียยังส่งเครื่องบินขับไล่ อเนกประสงค์ ๒ ที่นั่งแบบ ซู-๓๐ (Su30) จ�ำนวนไม่น้อยกว่า ๔ ล�ำ (บางกระแส ข่าวระบุว่ามีจ�ำนวนถึง ๒๐ ล�ำ) มีภารกิจ ในการสนับสนุนภาคพืน้ ดิน โดยในจ�ำนวนนี้ มีจ�ำนวน ๔ ล�ำที่เป็นแบบ ซู-๓๐ เอส (Su-30S) ซึ่งถือเป็นเครื่องบินรบที่ทันสมัย ที่สุดแบบหนึ่งของกองทัพอากาศรัสเซีย เครื่องบินแบบ ซู-๓๐ มีความเร็วที่ ๒ มัค ระยะท�ำการ ๓,๐๐๐ กิโลเมตร ติดปืนใหญ่ อากาศขนาด ๓๐ มิลลิเมตร และอาวุธ ปล่อยน�ำวิถดี ว้ ยเลเซอร์แบบ เคเอช-๒๙ ที/ แอล จ�ำนวน ๖ ลูก ระเบิดน�ำวิถีแบบ KAB 500KR ได้ ๖ ลูก ส�ำหรับเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดิน นั้น รัสเซียได้ส่งเครื่องบินโจมตีที่นั่งเดียว แบบ ซู-๒๕ (Su-25) ซึ่งนาโต้ขนานนามว่า “ฟรอคฟุต” (Frogfoot) จ�ำนวนไม่น้อย กว่า ๑๒ ล�ำ เข้าไปปฏิบัติการโจมตีเป้า หมายภาคพื้นดินในซีเรีย เครื่องบินรุ่นนี้ เปรียบได้กับเครื่องบินโจมตีแบบ เอ-๑๐ ทันเดอร์โบลด์ ๒ (A-10 Thunderbolt II)

ของสหรัฐฯ โดยเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคมที่ผ่านมา เครื่องบิน ซู-๒๕ และเครื่องบิน ซู-๒๔ ได้ เข้าโจมตีกองบัญชาการของกลุ่มไอเอส ทีเ่ มือง “อิดลิป” (Idlib) ซึง่ เป็นทีม่ นั่ ส�ำคัญ ของกลุ่มไอเอส จนได้รับความเสียหาย อย่างหนัก ในขณะเดียวกันเครื่องบินแบบ ซู-๒๕ ยังได้ร่วมกับเครื่องบินแบบ ซู-๓๔ ท� ำ การโจมตี ป ้ อ มค่ า ยของกลุ ่ ม ไอเอส ในจังหวัด “ฮามา” อีกด้วย เครื่องบินแบบ ซู-๒๕ เป็นเครื่องบิน ไอพ่นโจมตีภาคพื้นดินที่มีความเร็วต�่ำกว่า เสียง โดยมีความเร็วอยู่ที่ ๙๗๕ กิโลเมตร ต่อชั่วโมง (๐.๘ มัค) มีระยะท�ำการ ๗๕๐ กิ โ ลเมตร สามารถบรรทุ ก จรวดระเบิ ด ได้เป็นจ�ำนวนมากถึง ๔,๐๐๐ กิโลกรัม (๘,๘๐๐ ปอนด์) โดยเฉพาะระเบิดน�ำวิถี ด้ ว ยเลเซอร์ แ บบ KAB-500 อั น ทรง ประสิ ท ธิ ภ าพ รวมทั้ ง ยั ง ติ ด ตั้ ง ปื น ใหญ่ อากาศขนาด ๓๐ มิลลิเมตร พร้อมกระสุน ๒๕๐ นัดอีกด้วย เครื่องบินชนิดนี้เมื่ออยู่ ในมือของกองทัพรัสเซีย ซึ่งมีนักบินที่มี ประสบการณ์ มีขีดความสามารถสูง และ มีระบบควบคุมที่ก้าวหน้าทันสมัย มีการ ปรนนิบัติบ�ำรุงอากาศยานที่ดีกว่า ก็ส่ง ผลให้เครื่องบินแบบ ซู-๒๕ มีขีดความ สามารถเหนือกว่าเครื่องบินรุ่นเดียวกับ ที่ ป ระจ� ำ การอยู ่ ใ นกองทั พ อากาศอิ รั ก และอิหร่าน ในช่วงความขัดแย้งในยูเครน เครื่องบินแบบ ซู-๒๕ ที่ประจ�ำการอยู่ใน กองทัพยูเครน ได้ถูกกลุ่มกบฏและกองทัพ รัสเซียยิงตกเป็นจ�ำนวนหลายล�ำ อันเป็น การแสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนของอากาศยาน

29


รุ่นนี้ แต่อย่างไรก็ตามการปฏิบัติการรบ ในซีเรีย มีสงิ่ บอกเหตุทแี่ น่ชดั ว่า กลุม่ ไอเอส ไม่มขี ดี ความสามารถในการโจมตีเครือ่ งบิน แบบ ซู-๒๕, ซู-๒๒ และ ซู-๒๔ ของรัสเซีย ได้แต่อย่างใด นอกจากนี้ รัสเซียยังมีเครือ่ งบินแบบ ซู-๒๔ (Su-24) อีกอย่างน้อยจ�ำนวน ๑๒ ล�ำ, เฮลิ ค อปเตอร์ โ จมตี แ บบ เอ็ ม ไอ-๒๔ (Mi-24) จ�ำนวนอย่างน้อย ๑๔ ล�ำ ซึ่ง ท�ำการโจมตีกองก�ำลังไอเอสในระดับต�่ำ ชนิดที่เรียกว่า “ต�่ำเรี่ยหลังคา” และยังมี อากาศยานไร้นักบิน หรือ “โดรน” แบบ “Yakovlev Pchela-1T” โดยจะประสาน งานกั บ เครื่ อ งบิ น ลาดตระเวนหาข่ า ว อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Intelligence) หรือ “เครื่องบินจารกรรม” (Spy plane) แบบ “อิล-๒๐” (IL-20) ซึ่งเป็นเครื่องบิน ที่มีขีดความสามารถในการสอดแนมเยี่ยม ยอดที่ สุ ด แบบหนึ่ ง ของรั ส เซี ย ทั้ ง จาก การใช้เสาอากาศ ระบบเลเซอร์ เรดาห์ และดาวเทียม ท�ำให้การชี้เป้าหมายในการ โจมตีกลุ่มไอเอสของรัสเซียมีความแม่นย�ำ อย่างมาก ส�ำหรับก�ำลังภาคพื้นดินนั้น รัสเซีย ส่งรถถังแบบ ที-๙๐ (T-90) จ�ำนวนไม่ต�่ำ กว่า ๙ คัน เข้าไปท�ำหน้าที่คุ้มกันสนาม บินนานาชาติอัล-อัสซาด และส่งยานยนต์ หุม้ เกราะล้อยางแบบ บีทอี าร์-๘๒ เอ (BTR82A) เข้าไปท�ำการโจมตีกลุ่มไอเอสและ กลุ่มกบฏเป็นครั้งแรกทางตะวันออกเฉียง เหนือของเมืองลาทาเกีย เพื่อสนับสนุน กองก�ำลังฝ่ายรัฐบาลซีเรียในการรุกเพื่อ แย่งชิงพื้นที่จากกลุ่มกบฏ และสื่อตะวันตก สามารถจับเสียงการสนทนาสั่งการเป็น ภาษารั ส เซี ย ของพลประจ� ำ รถบี ที อ าร์ ๘๒ เอ คันหนึ่ง ซึ่งใช้นามเรียกขานว่า “นกยูง” (Peacock) ระหว่างการรบ ซึ่ง เป็นการยืนยันว่ารัสเซียได้สง่ ก�ำลังทหารราบ เข้าไปในซีเรียอย่างแน่นอนแล้ว ส�ำหรับอาวุธปล่อยน�ำวิถีจากอากาศ สู่พื้น ซึ่งรัสเซียน�ำมาใช้ติดตั้งกับเครื่องบินรบ ของตน มี ห ลากหลายชนิ ด เช่ น อาวุ ธ 30

ปล่อยน�ำวิถีด้วยเลเซอร์แบบ เคเอช-๒๕ (Kh-25) ที่มีระยะท�ำการ ๑๑ กิโลเมตร ตัวระเบิดมีนำ�้ หนักขนาด ๙๐ กิโลกรัมและ ๑๔๐ กิโลกรัม ในรุ่นเคเอช-๒๕ เอ็มอาร์ (Kh-25MR) เป็นต้น ส่ ว นการโจมตี ก ลุ ่ ม ไอเอสด้ ว ย กองก�ำลังทางเรือของรัสเซียนั้น เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคมที่ผ่านมา เรือรบรัสเซีย ๔ ล�ำ ทีล่ อยล�ำอยูใ่ นทะเลแคสเปียน ประกอบด้วย เรือฟริเกตชั้นเกพาร์ด ชื่อ “Dagestan”, เรือคอร์เวต ชั้นบูยาน-เอ็ม ชื่อ “Grad Sviyazhsk”, “Uglich” และ “Veliky Ustyug” ได้ยิงอาวุธปล่อยน�ำวิถีจ�ำนวน ๒๖ ลูก เข้าโจมตีที่หมายของกลุ่มไอเอส จ�ำนวน ๑๑ แห่งในซีเรีย โดยอาวุธปล่อย ดังกล่าวเดินทางผ่านดินแดนของอิหร่าน อิรัก เข้าสู่ประเทศซีเรีย เป็นระยะทาง กว่า ๑,๕๐๐ กิโลเมตร รวมทัง้ โลกตะวันตก ยังตรวจพบเรือลาดตระเวนติดอาวุธปล่อย น�ำวิถี “มอสควา” (Moskva Cruiser) บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนใกล้กับเมือง “ลาทาเกีย” ซึ่งเป็นฐานทัพทางอากาศ ของรัสเซียในซีเรียอีกด้วย เรือลาดตระเวน “มอสควา” นีเ้ ป็นเรือชัน้ “สลาวา” (Slava) และเป็นเรือธงของกองเรือทะเลด�ำ (Black Sea Fleet) ของรัสเซีย จะเห็นได้ว่า การรบระหว่างรัสเซีย และกลุ่มไอเอสนั้น เป็นการรบในลักษณะ “อสมมาตร” (Asymmetric warfare) คือ มีก�ำลังรบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โรเบิร์ต ฟาลีย์ (Robert Faley) จาก มหาวิทยาลัยเคนตักกี้ (Kentucky University) ได้ วิ เ คราะห์ ส ถานการณ์ ข อง ทางรั ส เซี ย และไอเอสไว้ อ ย่ า งน่ า สนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบโต้ของกลุ่ม ไอเอส ซึ่งมีศักยภาพและขีดความสามารถ ด้อยกว่ากองทัพรัสเซียอย่างมาก การสู้รบ ที่ ด� ำ เนิ น อยู ่ ใ นขณะนี้ กลุ ่ ม ไอเอสเป็ น ฝ่ายเสียเปรียบอย่างเห็นได้ชัด เพราะมี อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ด้อยกว่า มีจ�ำนวนน้อย กว่า และที่ส�ำคัญคือ รัสเซียเป็นฝ่ายครอง ความได้เปรียบเหนือน่านฟ้าของสมรภูมิ

ส่งผลให้กลุ่มไอเอสตกอยู่ในสภาวะ “เป็ด นั่งยาง” (sitting duck) คือ ถูกโจมตี อยู ่ ฝ ่ า ยเดี ย ว แม้ ก ลุ ่ ม ไอเอสจะมี อ าวุ ธ ยุทโธปกรณ์บางส่วนที่สามารถน�ำมาใช้ ตอบโต้การโจมตีทางอากาศของรัสเซียได้ เช่น จรวดต่อสู้อากาศยานแบบประทับบ่า ชนิด “สเตรล่า-๓” (Strela-3) ซึ่งมีระยะ ยิงไกล ๔ กิโลเมตร, จรวด “อิกล่า” (Igla), “สติงเกอร์” (Stinger) และ “คอบร้า” (Cobra) อีกจ�ำนวนหนึ่ง ด้วยจรวดต่อสู้ อากาศยานอั น ทรงอานุ ภ าพเหล่ า นี้ เ อง ท�ำให้กลุ่มไอเอส สามารถเด็ดปีกเครื่องบินรบ ของกองทัพอิรัก ซีเรียและชาติพันธมิตร ได้ส�ำเร็จเป็นจ�ำนวนหลายครั้ง ซึ่งรวมถึง การยิงเครื่องบินรบของจอร์แดนตก และ สังหารนักบินด้วยการเผาทัง้ เป็น จนกลายเป็น ข่าวสยองขวัญไปทั้งโลกเมื่อไม่นานมานี้ แต่ดูเหมือนการโจมตีที่รุนแรงและ หนักหน่วงของรัสเซีย ได้สง่ ผลให้อาวุธต่อสู้ อากาศยานของกลุ่มไอเอส และกลุ่มกบฏ ซีเรียกลายเป็นอาวุธที่ไร้ประสิทธิภาพลง อย่างมาก อีกทั้งยังกลายเป็นฝ่ายถูกไล่ล่า จนเอาตัวไม่รอดครั้งแล้วครั้งเล่า ดังเช่น การโจมตีระบบอาวุธปล่อยต่อสูอ้ ากาศยาน แบบ 9K33 Osa (นาโต้เรียกอาวุธชนิดนีว้ า่ “เกคโค่” (Gecko)) ซึ่งติดตั้งอยู่บนแท่น ปล่อยยานยนต์ที่กลุ่มไอเอส (แต่กระแส ข่าวบางกระแสระบุว่าเป็นของกลุ่มกบฏ ซีเรีย) ยึดมาจากกองทัพซีเรียในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ค.ศ. ๒๐๑๕ โดยเครื่องบินแบบ ซู-๓๔ ของรัสเซีย ท�ำการทิ้งระเบิดแบบ KAB-500 น�้ำหนัก ๕๐๐ กิโลกรัม (น�้ำหนัก ระเบิด ๓๘๐ กิโลกรัม) น�ำวิถีด้วยระบบ ดาวเทียม ๒๔ - ๒๙ ดวง (ระบบ GLONASS : Global Navigation Satellite System) ท�ำให้มีความแม่นย�ำสูงมาก แม้จะโจมตี จากความสูงถึง ๕,๐๐๐ เมตร ในบริเวณ พื้นที่ “ดูมา” (Douma) ใกล้กรุงดามัสกัส (Damascus) เมืองหลวงของซีเรีย ส่งผลให้ ทัง้ ระบบอาวุธปล่อยและตัวอาคารทีใ่ ช้เป็น ที่หลบซ่อนของอาวุธ ถูกท�ำลายลงอย่าง สิ้นเชิง พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ


โรเบิร์ต ฟาลีย์ ได้วิเคราะห์ว่าสิ่งที่ กองทัพรัสเซียจะต้องเตรียมพร้อมรับการ ตอบโต้จากกลุ่มไอเอสนับจากนี้ต่อไปคือ การแทรกซึมและก่อวินาศกรรมท�ำลาย ฐานที่มั่นต่างๆ ของรัสเซีย โดยใช้ยุทธวิธี แบบกองโจร ซึ่งการแทรกซึมเข้ามาก่อ วิ น าศกรรมในลั ก ษณะนี้ ไ ม่ ใ ช่ เ รื่ อ งใหม่ พวกเวี ย ดกงเคยเข้ า ไปก่ อ วิ น าศกรรม ในฐานทั พ อากาศของสหรั ฐ ฯ เมื่ อ สมั ย สงครามเวียดนามอยูเ่ นืองๆ และเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นล่าสุดในอัฟกานิสถานเมื่อเดือน กันยายน ค.ศ.๒๐๑๒ กลุ่มตาลีบันก็ได้ แทรกซึมเข้าไปสนามบิน “บาสชั่น” (Bastion) ของกองทัพสหรัฐฯ และสามารถท�ำลาย เครื่องบินขึ้นลงทางดิ่งแบบ “เอวี-๘ บี แฮริเออร์” (AV-8B Harrier) ของกองก�ำลัง นาวิกโยธินสหรัฐฯ ได้เป็นจ�ำนวนถึง ๘ ล�ำ นับเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของ อากาศยานสหรั ฐ ฯ นั บ ตั้ ง แต่ ส งคราม เวียดนามสิ้นสุดลง และถ้าหากเครื่องบิน เหล่านั้นเป็นเครื่องบินแบบ เอฟ-๓๕ บี (F-35B) ซึง่ เป็นเครือ่ งบินรบรุน่ ล่าสุด ความ สู ญ เสี ย ของสหรั ฐ ฯ จะมี ค ่ า นั บ พั น ล้ า น เหรียญเลยทีเดียว ปัจจุบันฐานทัพอากาศของรัสเซีย ในซีเรียที่เมืองลาทาเกีย มีการรักษาความ ปลอดภัยอย่างแน่นหนาเพราะรัสเซียเอง ก็คาดว่ากลุ่มไอเอสจะต้องพยายามเข้า ก่อวินาศกรรมเพื่อโจมตีฐานทัพอากาศ แห่งนี้อย่างแน่นอน ปัญหาจึงมีอยู่ว่าการ ก่อวินาศกรรมทีม่ คี วามเป็นไปได้นนั้ น่าจะ มาจากกลุ ่ ม ไอเอสที่ “รู ้ ท าง” กองทั พ รัสเซียเป็นอย่างดี นัน่ ก็คอื กลุม่ ไอเอสทีเ่ ป็น “นั ก รบเชเชน” จากสาธารณรั ฐ เชเชน (Chechen Republic) หรื อ เชชเนี ย (Chechnya) ซึ่ ง กระแสข่ า วคาดว่ า มี นักรบเหล่านี้เป็นจ�ำนวนกว่า ๑,๐๐๐ คน เลยทีเดียว นักรบเชเชนที่มีบทบาทอย่างมาก ในกลุ่มไอเอส เช่น นายอาบู โอมาร์ อัลชิชานี (Abu Omar al-Shishani) หรือ ที่ รู ้ จั ก กั น ในนาม “อาบู โอมาร์ แ ห่ ง หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

เชเชน” (Abu Omar the Chechen) อดีต นายทหารประทวนอายุ เ พี ย ง ๒๙ ปี จากกองทั พ จอร์ เ จี ย ผู ้ มี ป ระสบการณ์ ในการรบกั บ กองทั พ รั ส เซี ย มายาวนาน ในสงครามจอร์เจีย และเป็นผู้บัญชาการ กลุ ่ ม ไอเอสในพื้ น ที่ ต อนเหนื อ ของซี เ รี ย ประสบความส�ำเร็จอย่างมากในการรบ และสามารถแย่งยึดพื้นที่ต่างๆ ของฝ่าย รัฐบาลซีเรียได้ โดยเฉพาะการยึดฐานทัพ อากาศ “เมนาจฮ์” (Menagh Airbase) และค่ า ยทหารของรั ฐ บาลซี เ รี ย ในเมื อ ง “อเลปโป” (Aleppo) ได้เมือ่ เดือนสิงหาคม ค.ศ.๒๐๑๓ ความน่าเกรงขามของเขาท�ำให้

ทีย่ อดเยีย่ มทีส่ ดุ ของพวกไอเอส และนักรบ เหล่ า นี้ จ ะกลายเป็ น อาวุ ธ ส� ำ คั ญ ที่ ก ลุ ่ ม ไอเอสใช้เป็นเครือ่ งมือในการก่อวินาศกรรม หรือแม้แต่เป็นเครื่องมือในการสู้รบกับ กองทัพรัสเซียในสมรภูมติ า่ งๆ อย่างแน่นอน นอกจากนี้กลุ่มไอเอสยังมีเขี้ยวเล็บ ที่น่าเกรงขามคือ จรวดต่อสู้อากาศยาน แบบประทั บ บ่ า และติ ด ตั้ ง บนยานยนต์ ชนิดต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งหาก สั ง เกตการโจมตี ด ้ ว ยเฮลิ ค อปเตอร์ ข อง รัสเซียแล้ว จะพบว่าบินในระดับที่ต�่ำมาก เมื่อกลุ่มไอเอสเริ่มตั้งหลักได้เฮลิคอปเตอร์ เหล่านี้จะกลายเป็นเป้าหมายแรกๆ ของ

สหรัฐฯ ขึ้นบัญชีของ “อาบู โอมาร์แห่ง เชเชน” ผู้นี้เป็นผู้ก่อการร้ายระดับโลก เมื่อปีที่ผ่านมา พร้อมตั้งค่าหัวไว้ถึง ๕ ล้านเหรียญสหรัฐ แม้จะมีข่าวว่าเขาเสีย ชีวิตหลายครั้ง โดยเฉพาะในปีนี้มีข่าวถึง ๓ ครั้งคือในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และล่าสุดคือเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่ก็ ยังไม่เป็นที่ยืนยันว่าข่าวนั้นเป็นจริงมาก น้อยเพียงใด อเล็กซี มาลาเชนโก (Alexi Malashenko) ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์จาก สถาบั น คาร์ เ นกี้ สาขามอสโกกล่ า วว่ า นักรบเชเชนล้วนมีความคุ้นเคยกับยุทธวิธี ของกองทัพรัสเซียมากกว่านักรบไอเอส อื่นๆ และมากกว่าแม้แต่ทหารในกองทัพ ซีเรียเอง เพราะมีบทเรียนและประสบการณ์ ในการรบทีป่ ระสบความส�ำเร็จจากสงคราม ในคอเคซั ส รวมทั้ ง บางคนมี ขี ด ความ สามารถสูง เนื่องจากเคยประจ�ำการอยู่ใน กองทัพรัสเซียและกองทัพประเทศบริวาร ด้วย ท�ำให้พวกเขาเป็นหนึ่งในกลุ่มนักรบ

จรวดต่ อ สู ้ อ ากาศยานแบบประทั บ บ่ า เหมื อ นเช่ น ที่ เ ฮลิ ค อปเตอร์ ข องสหรั ฐ ฯ เคยประสบมาในการรบที่ อิ รั ก และ อัฟกานิสถาน นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่ไม่ควร มองข้ามคือ กลุ่มไอเอสนั้นมีทุนจ�ำนวน มหาศาล สามารถน�ำมาใช้ในการจัดซื้อ อาวุ ธ ยุ ท โธปกรณ์ อั น ทรงประสิ ท ธิ ภ าพ จากตลาดมืด เพื่อน�ำมาใช้ในการตอบโต้ กองทัพรัสเซียได้อีกด้วย จึ ง อาจกล่ า วได้ ว ่ า การรบในซี เ รี ย ของรัสเซียนั้นเพิ่งเปิดฉากขึ้น ความส�ำเร็จ อันเกิดจากยุทธวิธีแบบ “สายฟ้าแลบ” จะปรากฏให้ เ ห็ น อย่ า งเด่ น ชั ด แต่ สิ่ ง ที่ จะติดตามมานับต่อจากนี้ไปคือ “การรบ ที่ยืดเยื้อ” และ “การตอบโต้ที่แข็งแกร่ง” ของกลุ่มไอเอส ซึ่งกองทัพรัสเซียไม่อาจ จะประมาทได้เลย โลกจึงต้องจับตามอง สมรภูมิแห่งนี้อย่างใกล้ชิดต่อไปว่า ใครจะ สามารถยืนหยัดใน “การรบระยะยาว” ได้นานกว่ากัน

31


เปิดมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับต�ำบล ภายใต้การขับเคลื่อนของกระทรวงมหาดไทย

รั

ฐบาลได้ ม อบหมายให้ กระทรวงมหาดไทยเป็ น หน่ ว ยงานหลั ก ในการ ด�ำเนินมาตรการส่งเสริมความเป็นอยูร่ ะดับ ต� ำ บล โดยจั ด สรรงบประมาณจ� ำ นวน ๓๗,๙๑๓ ล้านบาท ให้แก่ต�ำบล ๗,๒๕๕ ต�ำบล ต�ำบลละ ๕ ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือ ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบ จากภาวะเศรษฐกิ จ และราคาสิ น ค้ า การเกษตรตกต�่ำ ทั้งนี้ วงเงินงบประมาณ ดั ง กล่ า วจะนั บ รวมกั บ งบประมาณตาม มาตรการส� ำ คั ญ เร่ ง ด่ ว นเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ เกษตรกรและคนยากจน ในการสร้างความ เข้มแข็งอย่างยั่งยืนของกระทรวงมหาดไทย จ�ำนวน ๖,๕๔๑ ล้านบาท และโครงการ ช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจน โดยการ สนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลให้แก่กลุ่ม สหกรณ์ ว งเงิ น จ� ำนวน ๔๙๐ ล้ า นบาท ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ด�ำเนินการไปแล้ว ก่อนหน้านี้รวมอยู่ด้วย มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับ ต�ำบล ต�ำบลละ ๕ ล้านบาท กระทรวงมหาดไทย ท�ำหน้าที่เป็นผู้เข้าไปดูแลด�ำเนินการเพื่อ ท� ำ ให้ เ งิ น ต� ำ บลละ ๕ ล้ า นบาท ถึ ง มื อ ประชาชน โดยมีหลักการสัน้ ๆ ในการด�ำเนิน โครงการดังนี้ ประการแรก ได้ก�ำหนดกรอบการ ด� ำ เนิ น การไว้ ว ่ า โครงการส่ ง เสริ ม ความ เป็นอยูร่ ะดับต�ำบลทุกโครงการจะต้องได้รบั ความเห็ น ชอบ หรื อ ถู ก เสนอโดยคณะ กรรมการหมู่บ้าน ซึ่งต้องเป็นความต้องการ ของพี่น้องประชาชนโดยตรง โดยขั้นตอน แรกทางคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งเป็นคนที่ ชาวบ้านเลือกเข้ามาและมีผู้ใหญ่บ้านเป็น ประธานคณะกรรมการจะมีการจัดประชุม 32

ส�ำนักงานโฆษกกระทรวงกลาโหม

ราษฎร เรียกว่า “ลูกบ้านในหมู่บ้าน” เพื่อ ก� ำ หนดว่ า ในต� ำ บลหมู ่ บ ้ า นของตนเองมี ปัญหาที่ชาวบ้านคิดว่าเป็นปัญหาเร่งด่วน หรือเดือดร้อนเรือ่ งอะไร แล้วจัดล�ำดับความ ส�ำคัญและความเร่งด่วนของปัญหาให้ชดั เจน แน่นอน แล้วเสนอโครงการผ่านอ�ำเภอ มาที่ จังหวัด ซึง่ การทีจ่ ะอนุมตั หิ รือไม่อนุมตั ใิ ห้นนั้ จะพิจารณาแค่ในระดับจังหวัดเพื่อความ รวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็มีการตรวจสอบ ทุ ก โครงการอย่ า งรอบคอบ รั ด กุ ม โดย คณะกรรมการระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการ จังหวัดเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง และผู้แทนจากส�ำนักงบประมาณ เขตทั้ง ๑๘ เขต ร่วมเป็นกรรมการด้วย เพื่อให้ทุกโครงการที่จะอนุมัติให้ด�ำเนินการ มีความคุม้ ค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ทกุ ขัน้ ตอน

ประการทีส่ อง เป็นโครงการทีเ่ ป็นการ สร้างอาชีพหรือว่าเสริมสร้างรายได้ให้แก่ ประชาชนในท้องถิ่นนั้น ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ ก�ำหนดกรอบกว้างๆ ว่าโครงการที่คณะ กรรมการหมูบ่ า้ นจะเสนอขึน้ มาควรทีจ่ ะเป็น โครงการประเภทจ้างแรงงาน หรือโครงการ ทีท่ ำ� แล้วพีน่ อ้ งประชาชนมีรายได้เพิม่ มากขึน้ ยกตัวอย่างเช่น บางต�ำบล บางหมู่บ้าน มี ผลิตภัณฑ์ทจี่ ะออกขายอยูแ่ ล้ว แต่วา่ ต้องน�ำ ไปขายตามริมถนนท�ำให้รถติดไม่สะดวก พี่ น้องประชาชนก็อาจจะมารวมตัวกันและลง ความเห็นว่าควรที่จะสร้างร้านค้าประจ�ำ หมู่บ้านขึ้นมา เพื่อที่จะเอาของไปขาย อย่างนี้ ก็เป็นการท�ำให้รายได้ของพี่น้องประชาชน เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ประการที่ ส าม เป็ น โครงการที่ ไ ป แก้ไขปัญหาหรือเพิ่มศักยภาพของต�ำบล หมูบ่ า้ น หมายความว่า หมูบ่ า้ น หรือต�ำบลนัน้ มีปัญหาเรื่องอะไร เช่น ปัญหาแหล่งน�้ำมี ฝายเก่าๆ แต่ไม่มลี ำ� ลางน�ำ้ เพือ่ จะน�ำน�ำ้ จาก ฝายหรือจากเหมืองเข้าไปในไร่นาก็สามารถ ที่จะเอาเงินล้านบาท มาขุดท�ำคูคลองส่งน�้ำ

สำ�นักงานโฆษกกระทรวงกลาโหม


ได้โดยจ้างแรงงานประชาชนในหมู่บ้านมา ร่ ว มกั น ท� ำ ก็ เ ป็ น อี ก โครงการหนึ่ ง หรื อ โครงการอีกประเภทหนึ่งเรียกว่าโครงการ ประเภทที่ ๓ เพื่อแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน ชุมชน อีกหนึ่งตัวอย่างเช่น เราคาดการณ์ว่า อีกประมาณ ๓ - ๔ เดือนข้างหน้าอาจจะเกิด ภาวะแห้งแล้ง แม้ว่าขณะนี้จะมีฝนตกลงมา เราก็นำ� โครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ที่ พระองค์เคยพระราชทานพระราชด�ำริว่าให้ ไปท�ำหลุมแหล่งน�้ำขนาดเล็กไปขุดบ่อ ขุด สระ เหมือนหลุมขนมครก เพราะฉะนัน้ ขณะ นี้ทฤษฎีขนมครก ถ้าชาวบ้านเห็นด้วยว่า บ้านเรามีทลี่ าดต�ำ่ พอดี ก็สามารถขุดเจาะน�ำ้ เหมือนหลุมขนมครกเพื่อเก็บน�้ำไว้ใช้ในฤดู แล้ ง ถ้ า ฝนตกลงมาอี ก หรื อ ยั ง มี ฝ นอยู ่ ก็ สามารถท�ำได้ทันที อีกหนึ่งมาตรการส�ำคัญที่กระทรวง มหาดไทยได้ด�ำเนินการตามนโยบายของ รัฐบาล เพื่อช่วยเหลือหรือกระตุ้นรายได้กับ ประชาชนก็คือ มาตรการกระตุ้นการลงทุน ภาครัฐขนาดเล็ก เป้าหมายคือให้สว่ นราชการ ต่ า งๆ ไปพิ จ ารณาด� ำ เนิ น โครงการที่ มี งบประมาณลงทุ น ไม่ เ กิ น ๑ ล้ า นบาท ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ หรือปีที่ผ่านมากับ งบประมาณปี ๒๕๕๙ ที่ไม่เกิน ๑ ล้านบาท ว่ามีอยู่กี่โครงการโดยค�ำนึงถึงการกระจาย ตัวของโครงการให้ทวั่ ถึงทุกพืน้ ที่ และรัฐบาล ก็ อ นุ มั ติ เ งิ น นั้ น ขึ้ น มาให้ ด� ำ เนิ น การก่ อ น เพือ่ ให้เกิดการจ้างงานในพืน้ ทีแ่ ละเกิดรายได้ ที่หมุนเวียน ในส่วนนี้ส่วนราชการจะเป็น ผู้ด�ำเนินการ ระบบการตรวจสอบ ติดตามและ รายงานผลความส� ำ เร็ จ ของโครงการ ในหลั ก การที่ รั ฐ บาลก� ำ หนดคื อ ส� ำ นั ก งบประมาณเป็นผู้จัดหางบประมาณ พร้อม ทัง้ ติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผน งานการปฏิบตั งิ านเพือ่ เสนอรายงานให้คณะ รัฐมนตรีทราบความคืบหน้าทุกเดือน ใน ขณะเดียวกันกระทรวงมหาดไทยได้สั่งการ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

ให้ผวู้ า่ ราชการจังหวัด นายอ�ำเภอ ก�ำกับดูแล การด�ำเนินโครงการทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด ตัง้ แต่การจัดท�ำโครงการ การพิจารณาอนุมตั ิ โครงการ เพื่ อ ป้ อ งกั น มิ ใ ห้ มี ก ารทุ จ ริ ต คอร์รัปชันโดยเด็ดขาด อย่างไรก็ดีเพื่อแสดงถึงความโปร่งใส ในการจั ด ท� ำ โครงการอี ก ช่ อ งทางหนึ่ ง กระทรวงมหาดไทยโดยกรมการปกครองจึง ได้จัดท�ำโครงการ Webpage ประจ�ำต�ำบล ทั่วประเทศเพื่อให้ต�ำบลต่างๆ ที่ได้จัดท�ำ โครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับต�ำบล ต�ำบลละ ๕ ล้านบาท ได้ Upload ข้อมูลที่ เกี่ยวกับการจัดท�ำโครงการเพื่อแสดงข้อมูล ต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับโครงการ เช่น รายละเอียด ของโครงการต่างๆ ที่ได้อนุมัติให้ด�ำเนินการ จ�ำนวนงบประมาณที่ใช้ในแต่ละโครงการ และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยอาจแสดง ข้อมูลพืน้ ทีก่ อ่ นด�ำเนินการ/ระหว่างด�ำเนินการ และหลั ง ด� ำ เนิ น การเพื่ อ ประชาสั ม พั น ธ์ โครงการให้สาธารณชนได้เห็นถึงผลลัพธ์ (Outcome) โดยประชาชนสามารถเข้ามา ตรวจสอบข้อมูลการด�ำเนินงานทั้งหมดได้ที่ www.dopa.go.th หัวข้อ “การด�ำเนิน มาตรการส่งเสริมความเป็นอยูร่ ะดับต�ำบล” สถานะโครงการ ปัจจุบันมีผลความคืบหน้าการด�ำเนิน มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับต�ำบล

ต�ำบลละ ๕ ล้านบาท ดังนี้ - มี ก ารอนุ มั ติ ง บประมาณตาม มาตรการส� ำ คั ญ เร่ ง ด่ ว น เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ เกษตรกรและคนยากจน ในการสร้างความ เข้มแข็งอย่างยั่งยืนของกระทรวงมหาดไทย ไปแล้วจ�ำนวน ๓,๒๐๐ ล้านบาท (จากวงเงิน ๖,๕๐๐ ล้านบาท) - โครงการช่วยเหลือเกษตรกรและ คนยากจน โดยการสนั บ สนุ น การจั ด หา เครื่ อ งจั ก รกลให้ แ ก่ ก ลุ ่ ม สหกรณ์ ว งเงิ น จ�ำนวน ๔๙๐ ล้านบาทอยู่ระหว่างอนุมัติ งบประมาณของส�ำนักงบประมาณ - งบประมาณต�ำบลละ ๕ ล้านบาท พิจารณาอนุมตั ทิ จี่ งั หวัด ๓๔,๒๒๒ ล้านบาท (จากวงเงิน ๓๖,๒๗๕ ล้านบาท) จากนั้นจะ เร่งรัดใช้จ่ายเงินตามโครงการให้เสร็จสิ้น ภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘

33


The Pacific Abhors a Vacuum “ไม่มีสุญญากาศของอ�ำนาจในแปซิฟิค”

นปี ๒๐๑๒ สหรัฐอเมริกา ได้ เ ปลี่ ย นแปลงแนวคิ ด ยุทธศาสตร์ทางทหาร โดย เริม่ ถอนก�ำลังออกจากศึกต่อต้านการก่อการ ร้ า ยในอั ฟ กานิ ส ถานที่ พั ว พั น มาอย่ า ง ยาวนาน เป็นสนิมกินใจและกินเงินสหรัฐฯ ซึง่ ไม่มแี นวโน้มจะจบอย่างสวยงาม โดยการ เปลี่ยนแปลงครั้งนี้ สหรัฐฯ มุ่งความส�ำคัญ มายั ง ภู มิ ภ าคเอเชี ย -แปซิ ฟ ิ ค ซึ่ ง สหรั ฐ ฯ มีพันธมิตรที่มั่นคงอย่างเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวันและออสเตรเลีย อีกทั้งผลประโยชน์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากแถบเศรษฐกิ จ ด้ า นการ คมนาคมทางทะเลทีย่ งิ่ ใหญ่อย่างทะเลจีนใต้ หรือแม้กระทั่งทรัพยากรต่างๆ ที่แฝงตัวรอ การส�ำรวจใต้พื้นมหาสมุทรอีกมหาศาล ในขณะเดียวกันการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจและการทหารของมหาอ�ำนาจแห่ง เอเชียคือจีนนัน้ ก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว ในทาง ยุทธศาสตร์ทหารแล้ว นั่นคือการพยายาม สร้างอิทธิพลเหนือเอเชีย-แปซิฟคิ ของจีน ซึง่ จะท�ำให้สมดุลพลังอ�ำนาจทางทหารเปลี่ยน ไปและย่อมส่งผลทันทีต่อสมดุลทางด้าน เศรษฐกิจ เหตุการณ์ล่าสุดที่สร้างความกังวลใจ และหงุดหงิดต่อประเทศต่างๆ ในภูมภิ าคคือ การที่จีนได้ประกาศเขตการป้องกันภัยทาง อากาศใหม่ (ADIZ: Air Defense Identification Zone) ซึ่งแผ่ขยายไปกินเขตของ เพื่อนบ้านและเหนือทะเลจีนใต้ อันสืบเนื่อง มาจากกรณี พิ พ าทเรื่ อ งกรรมสิ ท ธิ์ เ หนื อ หมู่เกาะต่างๆ เช่น Spratly และ Senkaku หรือ Diaoyu ดังนั้น สหรัฐฯ จึงเพิ่มการรักษาสมดุล ส�ำคัญในภูมิภาคนี้ไว้ ภายใต้นโยบาย “The Rebalance Asia-Pacific” ของโอบามา 34

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม

เมื่ อ มองเพี ย งแค่ ด ้ า นศั ก ย์ ส งครามใน ภาพรวมแล้ว สหรัฐฯ ยังน�ำหน้าจีนอยู่มาก ด้านเทคโนโลยีในห้วงอากาศ, อวกาศ และ Cyberspace ซึ่งจีนต้องวิ่งแบบเหนื่อยๆ แต่ ต ้ อ งวิ่ ง เพื่ อ ยกระดั บ ขี ด ความสามารถ ด้านการทหารสมัยใหม่ให้ทัดเทียมสหรัฐฯ เพื่อรักษาสมดุลด้วยเช่นเดียวกัน แม้ว่าจีนจะเป็นรองในเรื่อง Domain หลักของศักย์สงครามดังกล่าวแล้ว แต่จีนก็ มีทางแก้ไขคือพัฒนาเทคโนโลยีดา้ นการต่อต้าน และท�ำลาย เช่น Missiles, Jammers, Anti-Satellites Program และ Hackers ถึงขนาดที่นักการทหารสหรัฐฯ กล่าวว่า ภูมิภาคที่มีความหนาแน่นมากที่สุดในเรื่อง การต่อสูท้ าง Cyberspace คือ Asia-Pacific

ด้วยเหตุผลที่ชัดเจนประการเดียวเท่านั้น ในโลกของ Cyber Warfare คือ การปฏิบัติ การทางทหารที่มีต้นทุนต�่ำ แต่ให้ผลคุ้มค่า เกินราคา ส�ำหรับสหรัฐฯ เอง ก็ติดขัดกับปัญหา ด้านงบประมาณ ไม่สามารถด�ำรงหรือสร้าง กองก�ำลังขนาดใหญ่ขึ้นมาใหม่ได้ สิ่งที่ท�ำได้ ดีที่สุดคือการรักษาและแสวงหาพันธมิตร ให้กระชับแน่นแฟ้นและมีมากขึ้นในภูมิภาค โดยที่ พั น ธมิ ต รดั้ ง เดิ ม ที่ เ หนี ย วแน่ น และ ไว้ใจได้คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวันและ ออสเตรเลีย ส�ำหรับออสเตรเลียนั้น สหรัฐฯ ก�ำลังจะย้ายสถานีควบคุมและเฝ้าติดตาม ดาวเทียมบางส่วนจากสหรัฐฯ มาไว้ที่นี่เลย

นาวาอากาศเอก ปิยะพันธ์ ขันถม


อนึ่งในด้านการฝึกร่วมและบรรเทา ภัยพิบัตินั้น ในปัจจุบันนี้ สหรัฐฯ ก็ได้เชื่อม ความสัมพันธ์กับประเทศในย่านนี้ในรูปของ การฝึกร่วมทางทหารและความร่วมมือด้าน การบรรเทาภัยพิบัติหรือการร่วมมือช่วย เหลื อ ด้ า นมนุ ษ ยธรรมการฝึ ก ร่ ว มระดั บ พหุภาคีที่โด่งดัง ติดหูติดตาเป็นที่คุ้นเคย กั น ดี คื อ Cobra Gold, Cope North, Cope South, Cope Tiger และ Red Flag นอกจากนั้นยังมีระดับที่เล็กลงมาคือ ทวิ ภ าคี อี ก พอประมาณ เช่ น Exercise Balikatan กับ Philippines ซึ่งการฝึก ทั้งหมดนี้ สหรัฐฯ มองว่าเป็นเครื่องมือที่ ปู ห นทางสู ่ ค วามส� ำ เร็ จ ที่ ดี ที่ สุ ด ในขณะนี้ ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ยังจะพยายาม ทิ้งระยะให้ไกลมากขึ้นในเทคโนโลยีด้าน Space และ Cyberspace ซึง่ กินความหมาย ไปถึงงานด้าน IFR (Intelligence, Surveillance and Reconnaissance : RC-135s, RQ-4 Global Hawks, U-2s, E-8s JSTARs) ด้วย เพราะทั้งหมดนี้เป็น Domain หลักที่จะท�ำให้เกิดความสมดุล ทางทหาร ในมุมมองของสหรัฐฯ ตั ว อย่ า งที่ ดี ข องผลการปฏิ บั ติ ที่ น ่ า พึงพอใจ จากการบูรณาการของงานดังกล่าว หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

ใน Asia-Pacific คือ การบรรเทาภัยพิบัติ จากไต้ฝุ่น Haiyan ที่เข้าถล่มฟิลิปปินส์ในปี ๒๐๑๓ โดยที่ ส หรั ฐ ฯ เปิ ด ปฏิ บั ติ ก าร “Damayan Operation” เพื่อช่วยเหลือ เป็นการเฉพาะและประสบความส�ำเร็จเป็น อย่างดี ได้ใจชาวตากาล็อกอย่างล้นเหลือ ส่วนในด้านการแสดงก�ำลังทางอากาศเพื่อ ป้ อ งปรามความก้ า วร้ า วทางทหารของ เกาหลีเหนือ ในต้นปี ๒๐๑๓ นั้น สหรัฐฯ ได้ ส ่ ง เครื่ อ งบิ น ทิ้ ง ระเบิ ด ทาง ยุทธศาสตร์ B-2 ขึ้นบินเหนือ คาบสมุทรเกาหลี ซึ่งก็ท�ำให้ เกาหลี เ หนื อ สงบลงมา พอสมควร สหรัฐฯ ประเมิน สถานการณ์ ว ่ า การ รักษาสมดุลทางทหาร ใน Asia-Pacific นั้ น

ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก มีเรื่องราวที่ซับซ้อนและ ประเทศที่ เ กี่ ย วข้ อ งมากมาย รวมถึ ง มหาอ� ำ นาจที่ เ คยมี อิ ท ธิ พ ลในย่ า นนี้ คื อ รัสเซีย ซึ่งต้องน�ำมาเป็นข้อวินิจฉัยที่ส�ำคัญ ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งส�ำคัญที่สุดใน แนวคิดทางด้านยุทธศาสตร์ Rebalance Asia-Pacific ของสหรัฐฯ ในการไปสู่ความ ส�ำเร็จคือการรักษาและแสวงหาพันธมิตร “Real-life coalition exercises of everything from high-intensity air combat to humanitarian relief operations pave the way for future success” ที่มา : Air Force Magazine, Jan 2014

35


แนะน�ำอาวุธเพื่อนบ้านจรวดน�ำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ เอไอเอ็ม-๑๒๐ซี๗

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

องทั พ อากาศมาเลเซี ย (RMAF) จัดซื้อจรวดน�ำวิถี อากาศ-สู ่ - อากาศ พิ สั ย กลางก้าวหน้ารุ่นใหม่ แบบ เอไอเอ็ม๑๒๐ซี ๗ (AIM-120C7, AMRAAM : Advanced Medium-Range-Air-to-Air Missile) รวม ๑๐ นัด เป็นเงิน ๒๑ ล้าน เหรียญสหรัฐ จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่อ จะน�ำมาติดตัง้ กับเครือ่ งบินขับไล่โจมตีชนิด สองทีน่ งั่ แบบเอฟ/เอ-๑๘ ดีฮอร์เน็ต (F/A18D Hornet) รวม ๘ เครื่อง สังกัดฝูงบิน ขับไล่ที่ ๑๘ ฐานทัพอากาศบัตเตอร์เวิร์ด

รัฐปีนัง เป็นการเพิ่มขีดความสามารถใน การรบทางอากาศที่ระยะไกลเกินขอบฟ้า จรวดน�ำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัย กลางก้าวหน้าแบบ เอไอเอ็ม-๑๒๐ (AIM120AMRAAM) วิจัยพัฒนาและผลิตโดย ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก าเพื่ อ ประจ� ำ การ ทดแทนจรวดน�ำวิถรี นุ่ เก่าแบบ เอไอเอ็ม-๗ สแปร์โร (AIM-7 Sparrow) โด่งดังมาจาก สงครามทางอากาศในเวียดนาม (แม้จะมี ความแม่นย�ำอย่างจ�ำกัด) ท�ำการยิงจาก เครื่องบินขับไล่ชนิดสองที่นั่งแบบ เอฟ-๔ แฟทนท่อม-II (F-4 Phantom-II) ของ ฝูงบินขับไล่กองทัพอากาศ (USAF) และ

ฝูงบินขับไล่นาวี กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา (USN) จรวดน� ำ วิ ถี เอไอเอ็ ม -๑๒๐ (AIM-120) กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (USAF) ประจ�ำการในปี พ.ศ.๒๕๓๔ ข้อมูล ส�ำคัญคือ น�้ำหนัก ๑๕๒ กิโลกรัม ขนาด ยาว ๓.๗ เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๘๐ มิลลิเมตร ช่วงปีก ๕๓๐ มิลลิเมตร หัวรบหนัก ๒๒.๗ กิโลกรัม (รุ่น AIM-120A/B) น�ำวิถี ด้วยเรดาร์ ความเร็วสูงสุด ๔ มัค และระยะ ยิงไกล ๗๕ กิโลเมตร (รุ่น AIM-120A/B) ประจ� ำ การฝู ง บิ น ขั บ ไล่ ก องทั พ อากาศ (USAF) เครือ่ งบินขับไล่แบบ เอฟ-๑๖ซี/ดี, เอฟ-๑๕ซี/ดี/อี/เอฟ สไตรค์อีเกิ้ล และ

จรวดน�ำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัยกลางแบบเอไอเอ็ม-๑๒๐ซี๗ (AIM-120C7) ติดตั้งอยู่ที่ปลายปีกของเครื่องบินขับไล่ 36

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


เอฟ-๒๒ แร็ฟเตอร์ (F-22 Raptor) ฝูงบิน ขับไล่นาวี กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา (USN) เครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ/เอ-๑๘อี/เอฟ ซูเปอร์ ฮอร์เน็ต และฝูงบินขับไล่ หน่วย นาวิกโยธิน (USMC) เครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ/เอ-๑๘ซี/ดี ฮอร์เน็ต และเครื่องบิน โจมตีแบบเอวี-๘บี แฮร์ริเออร์-II (AV-8B Harrier-II) ภารกิ จ ต่ อ สู ้ ท างอากาศกั บ เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ ที่ ทั น สมั ย ของกองทั พ อากาศรัสเซีย เครือ่ งบินขับไล่ทนี่ งั่ เดีย่ วแบบ มิก-๒๙ ฟัลครั่ม (MiG-29 Fulcrum), เครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดี่ยวแบบซู-๒๗ (Su27 Flanker) และเครื่องบินขับไล่โจมตี ชนิดสองทีน่ งั่ แบบซู-๓๐ (Su-30 Flanker-C) เป็นเครื่องบินขับไล่ในยุคที่ ๔ ได้ประจ�ำ การแพร่ ห ลายอย่ า งรวดเร็ ว ในกองทั พ อากาศพันธมิตรทั่วโลกรวม ๓๖ ประเทศ กองทัพอากาศพันธมิตรน�ำเข้าประจ�ำการ เป็นจ�ำนวนมากคือ เกาหลีใต้ ๖๕๙ นัด (รุน่ C7 รวม ๓๘๕ นัด), ปากีสถาน ๕๐๐ นัด (รุ่น C5 ราคา ๒๖๙.๖ ล้านเหรียญสหรัฐ, ซาอุดีอาระเบีย ๕๐๐ นัด (รุ่น C7) และ

จรวดน�ำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัยกลางก้าวหน้า เอไอเอ็ม-๑๒๐ซี๗ (AIM-120C7) ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ เอฟ/เอ-๑๘ซี ฮอร์เน็ต (F/A-18C Hornet)

อิสราเอล ๔๕๐ นัด (รุน่ C7 รวม ๒๐๐ นัด) จรวดน�ำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัย กลางแบบเอไอเอ็ม-๑๒๐ (AIM-120 AMRAAM) ผลิตออกมาหลายรุ่นที่ส�ำคัญคือ รุ่นเอ (AIM-120A) หัวรบหนัก ๒๒.๗ กิโลกรัม ระยะยิงไกล ๗๕ กิโลเมตร, รุ่นบี (AIM-120B), รุ่นซี (AIM-120C) เป็นการ ปรับปรุงใหม่ให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น หัวรบหนัก ๑๘.๑ กิโลกรัม ระยะยิงไกล ๑๐๕ กิโลเมตร ประจ�ำการปี พ.ศ.๒๕๓๙ มีรุ่นย่อยผลิตออกมาอีกหลายรุ่นที่ส�ำคัญ

คือรุ่นซี ๔, รุ่นซี ๕, รุ่นซี ๖ และรุ่นซี ๗ ระหว่างห้วงปี พ.ศ.๒๕๔๒ - ๒๕๔๓ และ รุ่นดี (AIM-120D/AIM - 120C8) เป็นการ ปรับปรุงใหม่ทงั้ หมดให้มขี ดี ความสามารถ เพิ่มมากขึ้น ประกอบด้วย ระบบน�ำวิถี และระยะยิงเพิ่มขึ้นมากจากรุ่นเก่า (AIM120C7) ท�ำทดสอบการยิงครั้งแรกโดย เครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ/เอ-๑๘ เอฟ ซู เ ปอร์ ฮอร์ เ น็ ต (F/A-18F Super Hornet) โดยใช้เป้าทดสอบแบบคิวเอฟ-๔ (QF-4) ที่สนามทดสอบจรวดไวท์แซนด์

จรวดน�ำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัยกลางก้าวหน้าแบบ เอไอเอ็ม-๑๒๐ซี๗ (AIM-120C7) ติดตั้งที่ปลายปีกเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๑๖ซี (F-16C) ใช้แท่นยิงลูกจรวดแบบได้หลายชนิด (LAU-127/A, LAU-128/A และ LAU-129/A) หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

37


จรวดน�ำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัยกลางก้าวหน้าแบบ เอไอเอ็ม-๑๒๐ซี-๕ (AIM-120C-5) ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่แบบกริเพ่น (JAS 39 Gripen)

(White Sands) ประสบความส�ำเร็จในการ ยิงทดสอบ เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ มีระยะยิงไกลสุด ๑๘๐ กิโลเมตร จรวดน�ำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัยกลาง ก้าวหน้าแบบ เอไอเอ็ม-๑๒๐ดี (AIM120D) ส�ำหรับใช้ภารกิจต่อสู้ทางอากาศ กั บ เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ รุ ่ น ใหม่ ข องกองทั พ

อากาศรั ส เซี ย แบบ มิ ก -๓๕ (MiG-35 Fulcrum-F) ที่น�ำเข้าประจ�ำการปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นเครื่องบินขับไล่ในยุคที่ ๔ (+) และเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่แบบ ซู-๓๔ (Su-34 Fullback) ประจ�ำการปี พ.ศ. ๒๕๕๗ รวม ๗๑ เครื่ อ ง ปั จ จุ บั น นี้ สหรัฐอเมริกาท�ำการผลิตลูกจรวดน�ำวิถี

จรวดน�ำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัยกลางก้าวหน้า เอไอเอ็ม-๑๒๐ (AIM-120) ติดตั้งที่แนวล�ำตัวของเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๑๕เอสจี (F-15SG) กองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) 38

ทุกรุน่ ของตระกูล เอไอเอ็ม-๑๒๐ (AIM-120 AMRAAM) กว่า ๒๐,๐๐๐ นัด ประจ�ำการ ในกองทัพสหรัฐอเมริกา (กองทัพอากาศ, กองทัพเรือ และหน่วยนาวิกโยธิน) และ กองทัพอากาศมิตรประเทศ จรวดน�ำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัย กลางก้ า วหน้ า แบบเอไอเอ็ ม -๑๒๐ มี ประวัติปฏิบัติการทางอากาศที่ดีเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๕ เครื่องบินขับไล่ แบบเอฟ-๑๖ดี (F-16D ได้ตดิ ตัง้ จรวดน�ำวิถี AIM-120A) กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ยิงเครื่องบินขับไล่แบบมิก-๒๕ ฟ็อกแบท (MiG-25 Foxbat) กองทัพอากาศอิรักตก เหนือเขตห้ามบินทางตอนใต้ของประเทศ และเมือ่ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๓๖ เครือ่ งบิน ขับไล่ที่นั่งเดี่ยวแบบเอฟ-๑๖ซี (F-16C) กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ยิงเครื่องบิน ขับไล่ที่นั่งเดี่ยวแบบ มิก-๒๓ ฟลอกเกอร์ (MiG-23 Flogger) กองทัพอากาศอิรักตก ปี พ.ศ.๒๕๔๒ เครื่องบินขับไล่พันธมิตร ปฏิบตั กิ ารเหนือน่านฟ้าบอลข่าน สามารถ ท� ำ การยิ ง เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ แ บบมิ ก -๒๙ (MiG-29) ของกองทัพอากาศเซอร์เบียตก รวม ๖ เครื่ อ ง (เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ แ บบ

เครื่องบินขับไล่โจมตีชนิดสองที่นั่งแบบเอฟ/เอ-๑๘ดี (F/A-18D Hornet) กองทัพอากาศมาเลเซีย ฝูงบินขับไล่ที่ ๑๘ ฐานทัพอากาศ รัฐปีนัง ขณะอยู่บนทางวิ่ง พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ เอฟ/เอ-๑๘ดี (F/A-18D Hornet) เตรียมติดตั้งจรวดน�ำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ แบบ เอไอเอ็ม-๑๒๐ซี๗ (AIM-120C7) ที่ได้จัดซื้อจากสหรัฐอเมริกา รวม ๑๐ นัด (ขณะจอดอยู่ในโรงเก็บ)

เอฟ-๑๕ซี กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ยิงตก ๔ เครื่อง, เครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๑๖ซี กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกายิงตก ๑ เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ เอฟ-๑๖ เอ เอ็มแอลยู กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ ยิงตก ๑ เครื่อง) กองทัพอากาศสิงคโปร์ (RSAF) ได้ จัดซื้อจรวดน�ำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัย กลางก้ า วหน้ า รุ ่ น ใหม่ แ บบ เอไอเอ็ ม ๑๒๐ซี๗ (AIM-120C7) รวม ๑๐๐ นัด เป็นเงิน ๒๑๐ ล้านเหรียญสหรัฐ จาก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมือ่ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๖ ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-๑๖ซี/ดี บล็อก๕๒ (F-16C/D Block 52) รวมสามฝูงบินขับไล่ และเครื่องบิน ขับไล่แบบเอฟ-๑๕เอสจี (F-15SG Strike Eagle) รวมหนึง่ ฝูงบินขับไล่ มีจรวดน�ำวิถี แบบ เอไอเอ็ม-๑๒๐ (AIM-120) รวมทัง้ สิน้ ๔๐๐ นัด (รุ่น C7 รวม ๓๐๐ นัด) นักบิน ขับไล่เอฟ-๑๖ กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ รั บ การฝึ ก ดี ที่ สุ ด ของกองทั พ อากาศ อาเซี ย น (จั ด ซื้ อ หลั ก สู ต รการฝึ ก และ ท�ำการฝึกทีฐ่ านทัพอากาศ Luke ประเทศ สหรัฐอเมริกา ท�ำการฝึกนาน ๕ ปี ระหว่าง หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

ปี พ.ศ.๒๕๕๘ - ๒๕๖๒ เป็นเงิน ๒๕๑ ล้าน เหรียญสหรัฐ) กองทัพอากาศอินโดนีเซีย (TNI-AU) ประจ�ำการด้วยเครื่องบินขับไล่ที่ ๑๖ซี/ดี (F-16C/D Block 52ID) อยูร่ ะหว่างการรับ มอบให้ครบตามโครงการ ๒๔ เครือ่ ง ห้วง ปลายปี พ.ศ.๒๕๕๙ สังกัดฝูงบิน ๑๖ เกาะ สุ ม าตรา และเครื่ อ งบิ น ฝึ ก ไอพ่ น ขั้ น ก้าวหน้าแบบที-๕๐ (KAI, T-50 Golden Eagle) อยูร่ ะหว่างการรับมอบให้ครบตาม โครงการ ๑๖ เครื่อง ห้วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๙ สังกัดฝูงบินที่ ๑๕ จังหวัดชะวา

ตะวันออก กองทัพอากาศไทย (RTAF) ประจ�ำ การด้ ว ยเครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ ร วมสองฝู ง บิ น ประกอบด้วย เอฟ-๑๖เอดีเอฟ (F-16ADF) ฝูงบินที่ ๑๐๒ ฐานทัพอากาศโคราช และ เอฟ-๑๖เอ็มแอลยู (F-16MLU) ฝูงบิน ขับไล่ที่ ๔๐๓ ฐานทัพอากาศตาคลี และ เครื่ อ งบิ น ขั บ ไล่ แ บบกริ เ พ่ น (JAS-39 Gripen) ฝูงบินขับไล่ที่ ๗๐๑ (ฐานทัพ อากาศสุราษฎร์ธานี ติดตัง้ ด้วยจรวดน�ำวิถี อากาศ-สู่-อากาศ พิสัยกลางก้าวหน้าแบบ เอไอเอ็ม-๑๒๐ (AIM-120 AMRAAM) .

เครือ่ งบินขับไล่แบบ เอฟ-๑๖ดี บล็อก ๕๒ ไอดี (F-16D Block 52ID) กองทัพอากาศอินโดนีเซีย ประจ�ำการ ๒๔ เครื่อง ฝูงบินขับไล่ที่ ๑๖ 39


เปิดประตูสู่ เทคโนโลยี ป้องกันประเทศ ๓๖ ระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ

มื่ อ ตั ว เลขจ� ำ นวนอากาศยาน ไ ร ้ ค น ขั บ เ ชิ ง พ า ณิ ช ย ์ เ พิ่ ม สูงขึ้น จ�ำนวนเหตุการณ์ที่บุคคล ทั่วไปใช้อากาศยานไร้คนขับบินเข้าสู่พื้นที่ หวงห้ามก็สงู ขึน้ เป็นเงาตามตัว จากเหตุการณ์ ที่มีผู้น�ำอากาศยานไร้คนขับเชิงลงจอดบน หลังคาอาคารส�ำนักงานของนายกรัฐมนตรี ญีป่ นุ่ หรือเหตุการณ์ทอี่ ากาศยานไร้คนขับ บินเข้าใกล้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในระหว่าง ที่เล่นกีฬาในรัฐฟลอริดา หรือเหตุการณ์ ที่มีผู้พยายามบินอากาศยานไร้คนขับเข้า ใกล้ท�ำเนียบขาว หรือแม้แต่เหตุการณ์ที่ ข้าราชการของสหรัฐฯ ทีอ่ ยูใ่ นสภาพมึนเมา บินอากาศยานไร้คนขับฝ่าแนวป้องกันแล้ว ลงจอดที่ลานในท�ำเนียบขาว ซึ่งทั้งหมด เป็ น อากาศยานไร้ ค นขั บ เชิ ง พาณิ ช ย์ ขนาดเล็กทั้งสิ้น เหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลให้ 40

อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กตกภายในรั้วท�ำเนียบขาว เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๑๕

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กบรรทุกสารปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีระดับต�่ำลอบลงจอดบนหลังคา ส�ำนักงานของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๑๕

หน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบด้านความมัน่ คงเริม่ ตระหนักถึงภัยคุกคามที่มากับเทคโนโลยี ซึ่งก�ำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทุกวันนี้ เพือ่ ตอบสนองต่อภัยคุกคามดังกล่าว ฝ่ายความมั่นคงจึงมองหาระบบต่อต้าน อากาศยานไร้คนขับที่สามารถใช้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อชีวิตและ ทรัพย์สิน ส�ำหรับพื้นที่ปฏิบัติการที่เป็น ย่านชุมชนรายล้อมด้วยอาคารสิง่ ปลูกสร้าง และแน่นอนว่ามีบริษัทชั้นน�ำจากทั่วทุก มุมโลกเริ่มวิจัยและพัฒนาระบบต่อต้าน อากาศยานไร้คนขับ ซึ่งหลักการท�ำงาน จะคล้ายกับระบบป้องกันภัยทางอากาศ ทั่วๆ ไป โดยแนวคิดในการออกแบบระบบ จะเป็นการผนวกรวมระบบการค้นหาและ ติดตามเป้าหมาย เข้ากันกับระบบท�ำลาย หรื อ เอาชนะอากาศยานไร้ ค นขั บ หาก จะกล่าวโดยรวมแล้วขั้นตอนการท�ำงาน หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

ของระบบนี้จะประกอบด้วย การค้นหา การล็อกเป้าหมาย การติดตาม การระบุฝา่ ย และการท�ำลาย ในที่นี้จะขออธิบายการท�ำงานของ ระบบโดยยกตั ว อย่ า งระบบต่ อ ต้ า น อากาศยานไร้คนขับที่พัฒนาขึ้นโดยความ

ร่วมมือของบริษัทสัญชาติอังกฤษจ�ำนวน สามบริษัทคือ Blighter Surveillance Systems (ระบบเรดาร์) Chess Dynamics (ระบบกล้อง) และ Enterprise Control Systems Ltd (ระบบรบกวนสัญญาณ [Jamming]) ล� ำ ดั บ แรกระบบเรดาร์

ระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ Anti-UAV Defence System ของบริษัท Blighter Surveillance Systems 41


จะค้ น หาและตรวจจั บ เป้ า หมายที่ เ ป็ น อากาศยานไร้ ค นขั บ ภายในพื้ น ที่ แ ล้ ว ท� ำ การระบุ ฝ ่ า ยและติ ด ตามเป้ า หมาย พร้ อ มรายงานผู ้ ค วบคุ ม แบบเรี ย ลไทม์ เมื่ออากาศยานไร้คนขับเข้าระยะกล้อง

กล้องจะจับภาพและโฟกัสติดตามตลอด สุดท้ายหากผูค้ วบคุมระบบตัดสินใจรบกวน สัญญาณ ระบบจะส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ ไปยังอากาศยานไร้คนขับที่เป็นเป้าหมาย เพื่ อ ตั ด การติ ด ต่ อ ระหว่ า งอากาศยาน

ไร้คนขับและผู้ควบคุมอากาศยานไร้คนขับ และภายในไม่กี่วินาทีอากาศยานไร้คนขับ จะหยุ ด ท� ำ งานขณะที่ อ ยู ่ ใ นอากาศและ ตกลงสู่พื้นในที่สุด (ดูรูปภาพประกอบ)

ตัวอย่างภาพจากกล้องของระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ Anti-UAV Defence System เริ่มต้นตั้งแต่การตรวจจับ ติดตาม ล็อกเป้าหมาย ส่งสัญญาณรบกวน และเป้าหมายตกในพื้นที่ปลอดภัย

ตัวอย่างจอแสดงผลของระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ Anti-UAV Defence System เริ่มต้นตั้งแต่การค้นหาเป้าหมาย ตรวจพบอากาศยานเข้าใกล้พื้นที่ควบคุม เรดาร์เริ่มติดตาม ระบบแจ้งเตือนอากาศยานไร้คนขับเข้าพื้นที่ควบคุม ระบบจับภาพและติดตามด้วยกล้องโดยอัตโนมัติ

๒๐๑๖ ระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ ของบริษัท Airbus Defence & Space ที่ใช้ระบบ Sensor Data Fusion ในการประเมินภัยคุกคาม 42

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ


ระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ Falcon Shield ของบริษัท Selex EX ซึ่งมีจุดเด่นที่การ “เอาชนะ” โดยใช้คลื่นสัญญาณรบกวน ในหลายระดับ ตั้งแต่การบีบบังคับให้ผู้ควบคุมอากาศยานไร้คนขับที่เป็นเป้าหมายต้องบังคับเครื่องลงถึงระดับการท�ำให้เครื่องตก

เพื่อให้ได้ระบบที่สามารถตอบสนอง ต่อภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที ในขณะ เดียวกันต้องมีอตั ราการแจ้งเตือนผิดพลาด (False Alarm) ต�่ำ ระบบต้องอาศัยการ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเป้าหมายจาก เรดาร์ ประกอบกับการระบุทมี่ าของสัญญาณ (direction finder) ในการประเมิ น

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

อากาศยานไร้คนขับภายในขอบเขตพื้นที่ รับผิดชอบ ตลอดจนระบบรบกวนสัญญาณ ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสู ง พอที่ จ ะเอาชนะ (defeat) เป้าหมาย แต่ไม่ส่งผลกระทบ ต่อสิ่งอื่นที่ไม่ใช่เป้าหมาย ซึ่งทั้งหมดนี้ ต้ อ งใช้ เ ทคโนโลยี ร ะดั บ สู ง จนถึ ง บั ด นี้ ยังไม่มีระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ

เข้าประจ�ำการและผ่านการใช้งานนานพอ ที่จะกล่าวได้ว่าสามารถป้องกันการใช้งาน อากาศยานไร้คนขับในทางที่ผิดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การวิจัยและพัฒนาระบบ ต่อต้านอากาศยานไร้คนขับจึงเป็นอีกสาขา หนึ่งของเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ ที่ต้องเร่งพัฒนาให้ทันควบคู่กันไป

43


ร่างรัฐธรรมนูญอย่างไร ไม่ให้ซ�้ำรอยเดิม

วั

จุฬาพิช มณีวงศ์

นที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ฉบับถาวรฉบับแรกแก่ปวงชน ชาวไทย จนถึงปัจจุบันก�ำลังจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นฉบับที่ ๒๐ เพื่อน�ำไปสู่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยแบบไทยตามที่ มุ่งหวังไว้ ภายในกลางปี พ.ศ.๒๕๖๐ ก ระบวนการร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ใหม่ นี้ เ ริ่ ม ต้ น ขึ้ น อี ก ครั้ ง ภายหลังสภาปฏิรปู แห่งชาติหรือ สปช. มีมติโหวตคว�ำ่ ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับของกรรมาธิการยกร่างฯ ๓๖ คน ที่มี ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน โดยความคาดหวังของสังคมไปอยู่ที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. และคณะ รวม ๒๑ คน ว่าจะร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นที่พอใจของคนในสังคมหรือไม่ นอกเหนือ การต้องตอบโจทย์ทคี่ ณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ตีกรอบ ไว้รวม ๕ ประการ คือ ๑. ให้รัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับนับถือของสากลและสอดคล้อง กับสภาพปัญหา ประเพณีและวัฒนธรรมของประเทศไทยและคนไทย ๒. ให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการปฏิรูปและสร้างความ ปรองดอง

44

จุฬาพิช มณีวงศ์


๓. ให้ มี ม าตรการป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ การเมืองใช้อ�ำนาจแสวงหาประโยชน์เพื่อ ตัวเองและพวกพ้อง ๔. ให้มีแนวทางขจัดการทุจริตและ ประพฤติมิชอบอย่างได้ผล ๕. สร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อ ให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในอัน ที่จะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ขณะเดียวกัน กรธ. ยังเจอกับกระแส กดดันของหลายภาคส่วนที่ผ่านกาลเวลา การเข้ามาบริหารบ้านเมืองเป็นปีที่ ๒ ที่ มักท�ำให้คะแนนนิยมลดลงตามธรรมชาติ รวมทั้งร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะต้องผ่าน การท� ำ ประชามติ แ ทนการผ่ า นความ เห็นชอบของ สปท. แม้ว่า กรธ. จะมีเพียง ๒๑ คน น้อย กว่า กมธ. ซึ่งมีถึง ๓๖ คน แต่การออกตัว ของปรมาจารย์ด้านกฎหมายระดับที่ระบุ เข้ามาเพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน รวมทั้งยัง ยืนยันว่าไม่ใช่ผู้สูงวัยที่ล้าสมัยพร้อมรับฟัง เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ท�ำให้กระบวนการ ร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้มีรสชาติ และเต็ม ไปด้วยการจับตาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ เมื่อ กรธ. กล้าฟันธงถึงขั้นประกาศว่าร่าง รัฐธรรมนูญฉบับแรกจะแล้วเสร็จภายใน เดือนมกราคม ๒๕๕๙ เพื่อเป็นของขวัญ ปีใหม่ส�ำหรับประชาชนคนไทย

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

ก รรมการร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ ได้ ว าง ปฏิ ทิ น การท� ำ งานในด้ า นรั บ ฟั ง ความ คิดเห็นจากประชาชนไว้อย่างชัดเจนว่า เบื้ อ งต้ น จะลงพื้ น ที่ ๔ ภาค ระหว่ า ง เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๘ โดย เริ่มปักธงที่ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงราย เป็นจุดแรกระหว่าง ๑๙ - ๒๐ พฤศจิกายน ศกนี้ จากนั้นลงพื้นที่ภาคใต้ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วันที่ ๒๗ - ๒๘ พฤศจิกายน ทีภ่ าคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี วั น ที่ ๑๙ - ๒๐ ธั น วาคม ส่ ว นที่ กรุงเทพมหานคร ก�ำหนดให้ ๒๗ - ๒๘ ธันวาคม ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ คาดว่า ร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ จะเสร็ จ สิ้ น ในเบื้ อ งต้ น ภายในเดื อ นธั น วาคม เพื่ อ แจกจ่ า ยให้ พรรคการเมืองและภาคส่วนต่างๆ แสดง ความเห็ น หลั ง จากนั้ น เดื อ นมกราคม มีนาคม ๒๕๕๙ กรธ. จะลงพื้นที่รับฟัง ความคิ ด เห็ น ประชาชนบ่ อ ยขึ้ น โดย จะรับฟังความคิดเห็นประชาชนบ่อยขึ้น โดยจะรั บ ฟั ง การพู ด คุ ย กั บ นั ก วิ ช าการ ในมหาวิทยาลัย นักศึกษา กลุ่มเอ็นจีโอ และสภาองค์กรชุมชนต่างๆ ด้วย ขณะที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรั ฐ มนตรี แ ละหั ว หน้ า คณะรั ก ษา ความสงบแห่งชาติ ได้ส่งสัญญาณชัดเจน จากการพบปะแม่น�้ำทั้ง ๕ สาย และการ

ส่งผ่านสารถึงประชาชน ความตอนหนึ่งว่า สิ่งที่ คสช. และรัฐบาลท�ำอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อ ไม่ให้ประเทศชาติและประชาชนกลับไป อยูใ่ นสถานการณ์เช่นเดิมอีก ไม่ได้ตอ้ งการ เป็นศัตรูกับใคร แต่ขอยืนยันว่าจะไม่ยอม ให้ใครก็ตามที่มุ่งร้ายต่อสถาบัน ทุจริต ท� ำ ร้ า ยประชาชน มากดดั น การท� ำ งาน ของ คสช. รัฐบาล และ กรธ. ในการท�ำ หน้าที่เปลี่ยนแปลงประเทศให้มีในอนาคต เข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน คสช. และรัฐบาลหวังว่าการเข้ามาแก้ไขปัญหา ประเทศของทหาร เมือ่ วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ จะเป็ น การแก้ ไ ขปั ญ หา โดยทหารเป็นครั้งสุดท้ายโดยไม่ได้มุ่งหวัง ที่จะสืบทอดอ�ำนาจต่อไป ใ นส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ รั ฐ ธรรมนู ญ นายกรั ฐ มนตรี ไ ด้ ว างแนวทางเพื่ อ เป็ น ทิศทางเอาไว้ รวม ๓ ประเด็น คือ ๑. ให้ ห าวิ ธี ก ารแก้ ไ ขปั ญ หาด้ ว ย กระบวนการประชาธิ ป ไตยที่ เ หมาะสม ไม่ให้เกิดปัญหาขึน้ มาอีก ไม่เอาประชาธิปไตย หรื อ เอาแนวคิ ด เสรี ภ าพไร้ ขี ด จ� ำ กั ด มาเป็นตัวตั้ง ๒. รัฐบาลขอความร่วมมือประชาชน ทุกภาคส่วน ทัง้ นักการเมือง กลุม่ การเมือง นั ก วิ ช าการ ได้ แ สดงความคิ ด เห็ น ต่ อ ร่างรัฐธรรมนูญและการท�ำงานของ คสช.

45


ผ่านช่องทางที่ กรธ. จัดไว้เพื่อป้องกัน ความสับสน ๓. ต้องมีกลไกเพื่อป้องกันการเกิด เผด็จการรัฐสภา การทุจริตประพฤติมชิ อบ บรรจุอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะวลีเด็ดที่เผ็ดร้อนซึ่งยังเป็น ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์ ที่ว่า “หาก บ้านเมืองยังไม่สงบก็ต้องอยู่ต่อ แม้จะต้อง ปิดประเทศก็ตาม” แถมเริ่มมีบางส่วนคิดไปถึงการข้าม ช็อตว่าหากรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ โดย กรธ. ฉบับคุณมีชัยฯ ไม่ผ่านความเห็น ชอบจากการท�ำประชามติ จะต้องแก้ไข รั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ชั่ ว คราว ๒๕๕๗ และ อาจจะมี ก ารพิ จ ารณาน� ำ รั ฐ ธรรมนู ญ ปี ๒๕๔๐ และปี ๒๕๕๐ มาปรับแก้ไข หากทบทวนการคว�่ำร่างรัฐธรรมนูญ ของ กมธ. โดย สปช. คนกันเองนั้นจะเห็น ความชั ด เจนปมเงื่ อ นที่ มี ค วามเห็ น ต่ า ง อยู่ ๒ - ๓ ประเด็น ได้แก่ เรื่องนายกฯ คนกลาง การก�ำหนดให้มีคณะกรรมการ ปรองดองแห่งชาติหรือ คปป. ซึ่งหลาย ฝ่ายเห็นว่าเป็นอ�ำนาจซ่อนอ�ำนาจ และถูก วิพากษ์วจิ ารณ์กอ่ นการโหวตจากภาคส่วน 46

ต่างๆ อย่างมาก และ กมธ. ยังไม่ยอมแก้ไข ท�ำให้รายละเอียดเพียงเล็กน้อยที่สังคม เพ่งความสนใจ กลับท�ำให้การร่างรัฐธรรมนูญ ของ กมธ. ชุด ดร.บวรศักดิ์ฯ ซึ่งท�ำงาน มาอย่างหนักตลอด ๑ ปี ต้องจบลงด้วย การถูกคว�่ำในที่สุด ส� ำ หรั บ กรธ. ก็ เ ช่ น กั น เริ่ ม จะมี แรงต้ า นจากร่ า งรั ฐ ธรรมนู ญ ในเรื่ อ งที่ ก� ำ หนดให้ น� ำ คะแนนของผู ้ ที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ การเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตมาค�ำนวณ เพื่ อ หา ส.ส.แบบบั ญ ชี ร ายชื่ อ ซึ่ ง เป็ น แนวทางที่ กรธ. ระบุว่าไม่ทิ้งคะแนนของ ผู ้ ที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ เลื อ กตั้ ง ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น ธรรม กับทุกพรรค ท�ำให้ไม่เกิดเผด็จการรัฐสภา รวมทัง้ ยังอ้างว่า ระบบนีจ้ ะท�ำให้ประชาชน ออกมาใช้ สิ ท ธิ์ ม ากขึ้ น พรรคการเมื อ ง ต้ อ งหาผู ้ ส มั ค รที่ มี ค วามรู ้ ความสามารถมาลงสมั ค ร นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอของ อาจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ในเรื่องการตัด สิ ท ธิ ผู ้ ทุ จ ริ ต ในการสมั ค ร ผู้แทนตลอดชีวิตอีก

แม้ว่านายประพันธ์ นัยโกวิท กรธ. ที่ ไ ด้ รั บ ความเชื่ อ ถื อ ศรั ท ธาจากสั ง คม จะออกมายืนยันว่า สุดท้ายร่างรัฐธรรมนูญ จะถู ก ตั ด สิ น โดยประชาชนทั้ ง ประเทศ ด้ ว ยการท� ำ ประชามติ ว ่ า เป็ น การท� ำ ประชาธิปไตยทางตรง ถ้าร่างรัฐธรรมนูญ หลั ก การดี ประชาชนเห็ น ว่ า พอไปได้ ลงมติรบั ร่างรัฐธรรมนูญ แต่ถา้ พิจารณาแล้ว เห็นว่าหลักการในร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ดี พอหรือไม่ชอบ ประชาชนลงมติไม่รับร่าง รัฐธรรมนูญ ดังนั้นผู้ร่างก็ต้องพยายามร่าง เพือ่ ให้ประชาชนยอมรับหน้าทีข่ องสมาชิก กรธ. ทุกคนคือ การร่างรัฐธรรมนูญออก มาให้ดีที่สุด เป็นที่ยอมรับของประชาชน โดยเฉพาะเมือ่ ถึงขัน้ ตอนการท�ำประชามติ ขณะนี้เชื่อว่าทุกคนใจจดใจจ่ออยาก ให้ กรธ. ร่างรัฐธรรมนูญออกมาเป็นทีพ่ อใจ ของประชาชน เมือ่ ถึงขัน้ ท�ำประชามติกจ็ ะ ผ่านความเห็นชอบตามทีห่ ลายฝ่ายวาดหวัง แต่ยังไม่มีใครบอกได้ว่ารูปการณ์จะเป็น เช่นไร มี ข ้ อ คิ ด ที่ น ่ า สนใจจากธรรมกถา ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ในหนังสือกรรมของคนไทย ท�ำกันไว้เอง ข้อความตอนหนึ่งว่า “การเมืองเป็นเรื่อง ส�ำคัญ ถ้าว่ากันตามหลักแท้ๆ ก็เป็นงาน สร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่เพราะเป็นเรื่องของ การเข้ามาช่วยกันจัดการบ้านเมืองให้สงบ สง่างามเรียบร้อย มีจุดหมายเพื่อจะให้คน ทั้งประเทศอยู่ดีมีสุข คือท�ำเพื่อประโยชน์ สุขของประชาชนทั้งชาติ และแม้กระทั่ง ทั่วทั้งโลก”

จุฬาพิช มณีวงศ์


ก ารที่ จ ะถกเถี ย งเรื่ อ งการเมื อ งจึ ง ต้องเป็นการเถียงกันด้วยปัญญา ควรพูดกัน ให้ เ ป็ น เรื่ อ งเป็ น ราว มาตรวจตราว่ า ประเทศชาติเจริญงอกงามดีหรือไม่ จะแก้ ปัญหาอย่างไร เป็นเรื่องส�ำคัญที่ต้องใช้ ปัญญา คนไทยมักเอาความรู้สึกเป็นใหญ่ อยู่กับความรู้สึกมาก เพราะฉะนั้นจะต้อง แก้ไขเอาปัญญามาเป็นใหญ่ใช้ปญั ญาให้มาก ต้ อ งพั ฒ นาให้ เ ป็ น สั ง คมที่ มี วั ฒ นธรรม ทางปัญญาสูง คนที่เอาความรู้สึกเป็นใหญ่นั้น เวลา มองอะไร พิจารณาคิดวินิจฉัย ตัดสินเรื่อง หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

อะไรไม่ว่าเรื่องการเมืองหรือเรื่องไหนๆ ความรู้สึกหรืออารมณ์จะเข้ามาก่อนแล้ว ความรู้สึกนั้นก็มักจะครอบง�ำน�ำเข้าไป เช่น จะมอง จะชี้ว่าคนนี้ กลุ่มนี้ พรรคนี้ดี หรือไม่ดี จิตก็มักจะแว่บไปที่ความรู้สึก ว่าชอบใจหรือไม่ชอบใจก่อนและติดอยู่ แค่นี้ แล้วก็ตัดสินไปตามความรู้สึกที่ชอบ หรือไม่ชอบ จบแค่นั้น ถ้าอยู่กันแบบนี้ ทั้งคนและสังคมก็ไม่ไปไหนตัวคนก็ป่วย แล้วก็พาสังคมให้ป่วย ป่วยไปด้วยกัน หมดทั้งสังคม ความชอบใจ-ไม่ชอบใจ เป็นความรู้สึก เป็นภาวะทางจิตใจที่เรา

นิยมเรียกว่า อารมณ์ ที่จริงเป็นสีสันที่เรา ใส่ให้แก่อารมณ์ เมื่อเอาความรู้สึกมาเป็น ตัวตัดสินก็กลายเป็นว่าไปอยู่กับสีสันในใจ ของตั ว เอง คนไหน พวกไหนที่ ตั ว ชอบ ไม่วา่ จะท�ำอะไรก็ดกี ถ็ กู ต้องไปหมด แต่พอ นายคนโน้นที่ตัวไม่ชอบ ไม่ว่าจะท�ำอะไร จะพูดอะไรก็ไม่ดีไม่ถูกไปหมด มันกลาย เป็นอย่างนี้ไป ขอให้ส�ำรวจดูเองว่าเป็น เช่นนั้นหรือเปล่า บางทีเราอาจได้ค�ำตอบ ในตัวของมันว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะ ผ่านประชามติได้หรือไม่ แค่เพียงส�ำรวจ อารมณ์ของคนไทย 47


ปลายราชวงศ์ตองอู ๒๒๑๖

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์

เมื่อสิ้นแผ่นดินยุคพระเจ้าบุเรงนอง (King Bayinnaung) กษัตริย์ล�ำดับที่ ๓ แห่งราชวงศ์ตองอู ปี พ.ศ.๒๑๒๔ อาณาจักร พม่าในยุคที่สอง ศูนย์กลางอ�ำนาจกรุงหงสาวดีเริ่มอ่อนก�ำลังลง น�ำมาสู่ความวุ่นวายของอาณาจักรโดยเจ้าเมืองต่างก็ แย่งชิงความเป็นใหญ่เหนือเมืองต่างๆ แห่งลุ่มแม่น�้ำอิรวดี พระเจ้าอโนเพตลุน (พระราชนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง) ทรงครองราชย์ ระหว่างปี พ.ศ.๒๑๔๘ - ๒๑๗๑ เป็นเวลานาน ๒๓ ปี แต่พระองค์ทรงกระท�ำได้เพียงรักษาอ�ำนาจการปกครองในส่วนของพม่า ที่แท้จริงไว้ได้เท่านั้น ซึ่งเป็นเพียงชะลอการเสื่อมของอาณาจักรพม่าออกไประยะหนึ่งเท่านั้น...บทความนี้ กล่าวถึงอาณาจักรพม่า สมัยพระเจ้านราวาระ (King Narawara) ปี พ.ศ.๒๒๑๖

๑. กล่าวทั่วไป ห้วงรุ่งโรจน์ของราชวงศ์ตองอู ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดในรัชสมัยของพระเจ้า บุ เรงนอง เมื่ อ เสด็ จ สวรรคตในปี พ.ศ. ๒๑๒๔ อาณาจั ก รที่ ก ว้ า งใหญ่ เริ่ ม แยก ตัวโดยเมืองขึ้นต่างก็ต้องการเป็นอิสระ น�ำมาสูส่ งครามกลางเมือง ศูนย์กลางอ�ำนาจ

การปกครองกรุงหงสาวดีตอ้ งรักษาอ�ำนาจ การปกครองไว้ เป็ นผลให้ ก รุง หงสาวดี ถู ก ท� ำ ลายโดยกองทั พ ยะไข่ พ ร้ อ มทั้ ง ก่อให้เกิดไฟไหม้ตดิ ต่อกันหลายวันเหลือแต่ ซากของความยิ่งใหญ่ ศูนย์กลางอ�ำนาจ ของอาณาจักรพม่าในยุคทีส่ องก็ถกู ท�ำลาย เป็นผลให้อาณาจักรก้าวเข้าสู่ยุคเสื่อมจาก ซากก�ำแพงเมืองอังวะที่ยังคงเหลืออยู่มาจนถึง

ปัจจุบัน แสดงถึงความรุ่งโรจน์ของเมืองในอดีต ที่ส�ำคัญ (ก�ำแพงเมืองมีความหนามาก เพื่อให้ สามารถต้านทานการยิงของปืนใหญ่ฝ่ายข้าศึก เป็นแนวป้องกันที่มั่นคงของเมืองอังวะ)

การสู ญ เสี ย ก� ำ ลั ง ทหารเป็ น จ� ำ นวนมาก และตลอดจนการเกษตรล้มเหลว พระเจ้าทาลุน (Thalun) ทรงครอง ราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๑ ทรงพยายามฟื้นฟู อาณาจักรขึ้นใหม่ พระองค์ทรงเน้นด้าน การศาสนา และพระองค์ทรงครองราชย์ นาน ๒๐ ปี เวลาผ่านมาเป็นห้วงที่ราชวงศ์ ตองอูกา้ วสูย่ คุ สมัยพระเจ้านราวาระ (King Narawara) เป็นกษัตริย์ล�ำดับที่ ๑๑ แห่ง ราชวงศ์ตองอู เมื่อปี พ.ศ.๒๒๑๖ หรือ ได้ผ่านห้วงเวลาของความรุ่งโรจน์มานาน ถึง ๖๗ ปี แม่น�้ำอิรวดีเป็นแม่น�้ำสายหลักของอาณาจักร เส้นทางการไหลผ่านตามแนวเหนือ-ใต้ เมือง สิเรียม (Syriam) ตั้งอยู่ปากแม่น�้ำอิรวดี เป็น เมืองท่าส�ำคัญในการค้าขายกับต่างอาณาจักร 48

พลเอก ทรงพล ไพนุพงศ์


ภาพวาดเรือรบโปรตุเกสโจมตีมะละกาปี พ.ศ. ๒๐๕๔ เป็นเรือใบที่มีความทันสมัยในขณะนั้น เป็นห้วงที่ชาวยุโรปเดินทางมาสู่เอเชียเป็นจ�ำนวนหลายอาณาจักร

๒. ปลายราชวงศ์ตองอู ราชวงศ์ ต องอู แ ห่ ง พม่ า เมื่ อ สิ้ น ยุคของความรุ่งโรจน์ของพระเจ้าบุเรงนอง อาณาจักรพม่าก็ได้ท�ำการเริ่มต้นรุกราน อาณาจักรอยุธยาแห่งสยามครั้งใหม่ตรง กับสมัยราชวงศ์สุโขทัย (ปี พ.ศ.๒๑๑๒ ๒๑๗๓ รวม ๗ พระองค์) กองทัพของ อยุ ธ ยาจากราชวงศ์ สุ โ ขทั ย ที่ มี ค วาม เข้มแข็งก็สามารถรบชนะกองทัพพม่า ซึ่ง จะกลายเป็นห้วงสงครามกลางเมืองของ ราชวงศ์ตองอู (ต่างก็มเี ชือ้ สายจากพระเจ้า บุเรงนอง) เมื่ออยุธยาเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่ เป็นราชวงศ์ปราสาททอง (ปี พ.ศ.๒๑๗๓ ๒๒๓๑ รวม ๔ พระองค์) การรบกันของ สองอาณาจักรก็ยุติลง เนื่องจากทั้งสอง อาณาจักรมีปัญหาภายใน และไม่มีก�ำลังพอ ที่จะท�ำการรุกเพื่อเปิดสงคราม (อาณา จั ก รหงสาวดี ท� ำ ศึ ก มาเป็ น เวลานาน อาณาจักรยังไม่ได้รับการฟื้นฟูหรืออยู่ใน ความสงบจึงไม่สามารถที่จะทดแทนก�ำลังพล จากการสู ญ เสี ย ที่ ผ ่ า นมาได้ พร้ อ มทั้ ง ในท้องพระคลังมีทองอย่างจ�ำกัดเนื่องจาก เก็บภาษีได้น้อย)

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

ปี พ.ศ.๒๒๐๐ การค้ า ขายกั บ อาณาจักรต่างแดนก็ได้หยุดชะงัก ฝ่าย อังกฤษได้ปิดสถานีการค้าที่เมืองสิเรียม (Syriam) เมื อ งท่ า ที่ ส� ำ คั ญ ริ ม ชายฝั ่ ง ปากแม่น�้ำอิรวดี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๐๔ ฝ่ายฮอลันดาก็ปิดสถานีการค้า อาณาจักร พม่ า ที่ ไ ด้ รั บ ความเสี ย หายจากการรบ มาเป็นเวลานาน ประกอบกับเงินในท้องพระคลัง มีอย่างจ�ำกัด การค้าขายสินค้าเพื่อการ ส่งออกก็ไม่มี การค้าขายและการซื้อสินค้า ประเภทปืนยาวและปืนใหญ่ก็ไม่มี ความ เสียหายของอาณาจักรจึงยากที่จะฟื้นฟู และค่อยเสื่อมลงเป็นล�ำดับ (ในอดีตการ ค้าขายกับอาณาจักรยุโรปโดยใช้เมืองท่า ด้านตอนใต้บริเวณชายฝั่งทะเล โดยเรือใบ ที่ ข นส่ ง สิ น ค้ า จ� ำ นวนมากเข้ า มาเที ย บ ท่าเพื่อค้าขาย น�ำมาซึ่งความมั่งคั่งของ อาณาจักร รายได้มาจากภาษีจ�ำนวนมาก พร้อมทัง้ อาวุธสมัยใหม่ทผี่ ลิตจากโปรตุเกส และฮอลันดา ได้จัดซื้อน�ำเข้าประจ�ำการ ในกองทัพ) พระเจ้านราวาระ (King Narawara) ประสูติเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๑๙๓ ต่อจากพระเจ้าปเย (Pye Min) พระราชบิดา

ที่ทรงสวรรคต (ขณะมีพระชนมายุได้ ๕๒ พรรษา อยู่ในราชสมบัตินาน ๑๑ ปี เป็น ห้วงทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลง ราชวงศ์ ข องอาณาจั ก รจี น จากราชวงศ์ หมิง (Ming Dynasty) เป็นราชวงศ์ใหม่ คือราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty/Manchu Dynasty) ผู้น�ำจากราชวงศ์หมิงได้ร่นถอย พร้อมด้วยกองทัพลงมาทางใต้สู่ชายแดน ที่น�ำความขัดแย้งสู่แนวชายแดนของสอง อาณาจักร และมีการต่อสู้มาสู่ชายแดน ทางตอนเหนือของอาณาจักรพม่าเป็นป่า และแนวภูเขาสูงพร้อมทั้งความสูญเสีย) ขณะทีพ่ ระองค์มพี ระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา ซึ่ ง ในขณะนั้ น อาณาจั ก รพม่ า มี ค วาม ทรุดโทรมและอ่อนแอลง พระองค์ทรง ครองราชสมบัติห้วงระยะเวลาสั้น (เพียง ไม่กี่เดือน) ก็ได้สวรรคต กษัตริย์ของพม่า พระองค์ ต ่ อ มา คื อ พระเจ้ า มั ง กะยอดิ น (Minyekyawdin) ทรงขึ้นครองราชสมบัติ เมื่ อ วั น ที่ ๒๗ กุ ม ภาพั น ธ์ พ.ศ.๒๒๑๖ (ประสูติเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.๒๑๙๔) ขณะที่มีพระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา (นับว่า กษัตริยพ์ ระองค์ใหม่ทรงขาดประสบการณ์ ในการปกครองอาณาจั ก รที่ ก� ำ ลั ง เสื่ อ ม และมีความยุ่งยากมีปัญหาต่างๆ รอคอย การแก้ไขอยู่ นับเป็นภาระหนัก) ๓. บทสรุป ราชวงศ์ ต องอู ท่ี ก� ำ ลั ง เข้ า สู ่ ยุ ค เสื่อมจากความวุ่นวายเป็นระยะเวลานาน ผ่านมาถึงพระเจ้านราวาระ (King Narawara) อาณาจักรมีความวุ่นวายอีกครั้ง หนึ่งจากวิกฤติทางด้านชายแดนติดต่อกับ อาณาจักรจีนที่ยิ่งใหญ่ (ติดต่อกับมณฑล ยูนนาน) ทางตอนเหนืออันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่ จึงเป็นภัยคุกคาม ต่ออาณาจักรพม่าอีกครั้งหนึ่ง พร้อมเป็น ตัวเร่งให้ทั้งอาณาจักรอ่อนแอลง

49


การทำ�บุญวันเกิด

วามเป็นมา ประเพณีการ ท� ำ บุ ญ วั น เกิ ด เริ่ ม มี ใ น สมัยของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงท�ำเป็น ตัวอย่างตั้งแต่ยังทรงผนวช ไม่ใช่ท�ำอย่าง จี น หรื อ ฝรั่ ง ด้ ว ยทรงพระราชด� ำ ริ เ ห็ น ว่าการมีอายุยนื มาบรรจบรอบปีครัง้ หนึง่ ๆ ไม่ตายไปเสียก่อนเป็นลาภอันประเสริฐ ควรยินดี เมื่อรู้สึกยินดีก็ควรจะบ�ำเพ็ญ กุศล ที่เป็นประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่น ให้ ส มกั บ ที่ มี น�้ ำ ใจยิ น ดี แ ละไม่ ป ระมาท เพราะไม่สามารถจะรูไ้ ด้วา่ จะอยูไ่ ปบรรจบ รอบปีเช่นนีอ้ กี หรือไม่ ถึงวันเกิดปีหนึง่ เป็น ทีเ่ ตือนใจครัง้ หนึง่ ให้รสู้ กึ ว่าอายุลว่ งไปต่อ ความตายอีกก้าวหนึง่ ชัน้ หนึง่ เมือ่ รูส้ กึ เช่นนัน้ จะได้บรรเทาความมัวเมาประมาทในชีวติ เสียได้ นี้เป็นพระราชด�ำริของพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็น สาเหตุให้มีการท�ำบุญวันเกิดขึ้น เรียกว่า เฉลิมพระชนมพรรษา การที่ทรงท�ำในครั้งนั้นปรากฏว่ามี การสวดมนต์เลี้ยงพระ ๑๐ รูป เป็นการ น้ อ ยๆ เงี ย บๆ ครั้ น ต่ อ มาก็ มี เจ้ า นาย ขุนนางท�ำบุญวันเกิดกันเพิ่มมากขึ้น แต่ การท� ำ บุ ญ เกี่ ย วกั บ พระลดลง เป็ น แค่

50

แผนกเผยแพร่ กองประชาสัมพันธ์

ประชุมคนแสดงเกียรติยศให้ปรากฏว่ามี ผูน้ บั ถือมาก ตัง้ โรงครัวเลีย้ งกันไปวันยังค�ำ่ การมหรสพก็ มี ล ะครเป็ น พื้ น และน� ำ ของขวัญไปให้กัน มีการเลี้ยงดูกันอย่าง สนุกสนานให้ศีลให้พรกัน ถ้าเป็นวันเกิด เจ้านายขุนนางชั้นผู้ใหญ่ พระเจ้าแผ่นดิน ก็พระราชทานพระราชหัตถเลขาให้พร ด้วย พระราชทานของขวัญด้วย สมัยนั้น

เรียกว่า “หล่อพระชนมพรรษา” ทัง้ มีการ ตกแต่งตามชาลาพระบรมมหาราชวัง ให้ เป็นการครึกครื้นสนุกสนาน ตามริมน�้ำ และตามถนนก็สว่างไสวไปด้วยแสงประทีป โคมชวาลา จึ ง ได้ เ กิ ด มี ก ารแต่ ง ซุ ้ ม ไฟ ประกวดประขั น กั น ขึ้ น และมี เ หรี ย ญ พระราชทานแก่ผแู้ ต่งซุม้ ไฟเป็นรางวัล อนึง่ ในวั น นั้ น ได้ มี ผู ้ ไ ปลงนามถวายพระพร

การท�ำบุญถือเป็นเกียรติใหญ่ เมื่อถึงวัน เกิดของใครก็อึงคะนึงเป็นการใหญ่ตั้งแต่ เริม่ งานจนงานแล้ว และถือว่าถ้าไม่ไปช่วย งานวันเกิดกันแล้ว เป็นไม่ดูผีกันทีเดียว สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั เมือ่ ทรงผนวชเป็นสามเณรก็ทรง ท� ำ บุ ญ วั น พระราชสมภพ ตามอย่ า ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วิธีท�ำก็มีสวดมนต์ เลี้ยงพระ และแจก สลากสิ่งของต่างๆ แด่พระสงฆ์ ทรงท�ำ ตลอดมาจนกระทั่ ง เสวยราชย์ แ ละท� ำ เป็นการใหญ่ เช่น หล่อพระพุทธรูปอายุ

พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการอ่านค�ำ ถวายพระพรอันเป็นเครื่องหมายแสดง ความจงรักภักดี จึงถือเป็นประเพณีเนื่อง ด้วยท�ำบุญวันเกิดมาจนปัจจุบันนี้ วิธีปฏิบัติ ในการท�ำบุญวันเกิดอาจ เลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลาย อย่างก็ได้ ดังนี้ ๑. ตักบาตรพระสงฆ์เท่าอายุหรือ เกินอายุหรือกี่รูปก็ได้ตามสะดวก ๒. บ�ำเพ็ญกุศลอุทิศแก่บรรพบุรุษ ที่เรียกว่า ทักษิณานุประทานก่อนแล้วจึง บ�ำเพ็ญกุศลเนื่องในวันเกิด

แผนกเผยแพร่ กองประชาสัมพันธ์


๓. ท�ำบุญ สวดมนต์ เลี้ยงพระ หรือ มีพระธรรมเทศนาด้วย ๔. ถวายสังฆทาน ๕. ท�ำทานช่วยชีวิตสัตว์ เช่น ปล่อย นก ปล่อยปลา ฯลฯ หรือส่งเงินไปบ�ำรุง โรงพยาบาลหรื อ กิ จ กรรมด้ า นสั ง คม สงเคราะห์อื่นๆ ๖. รักษาศีลหรือบ�ำเพ็ญภาวนา ๗. กราบขอรับพรจากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือ ๘. บ�ำเพ็ญคุณประโยชน์อื่นๆ โดย มุ่งที่การให้มากกว่าเป็นการรับ อานิสงส์หรือผลดีของการท�ำบุญ วันเกิด การท�ำบุญวันเกิด คือการปรารภ วันเกิดและท�ำความดีในวันนั้นเป็นเหตุให้ ได้รบั ผลดีหรืออานิสงส์ตอบแทน ดังมีพทุ ธ ภาษิตความว่า “ผู้ให้อาหาร ชื่อว่า ให้ก�ำลัง ผู ้ ใ ห้ ผ ้ า ชื่ อ ว่ า ให้ ผิ ว พรรณ ผู ้ ใ ห้ ย าน พาหนะ ชื่อว่า ให้ความสุขทั้งกายและใจ ผู ้ ใ ห้ ป ระที ป ชื่ อ ว่ า ให้ ด วงตา” (พระ ไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ ข้อ ๑๓๘ หน้า ๔๔) และพระพุทธภาษิต ความว่า “ผูใ้ ห้สงิ่ ทีน่ า่ พอใจ ย่อมได้สิ่งที่น่าพอใจ ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศ ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมได้ สิง่ ทีป่ ระเสริฐ ผูใ้ ห้สงิ่ ทีป่ ระเสริฐสุด ย่อมได้ สิง่ ทีป่ ระเสริฐสุด” (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ ข้อ ๔๔ หน้า ๖๖) ข้อเสนอแนะในการท�ำบุญวันเกิด ๑. กจิ กรรมในการท�ำบุญวันเกิดควร เน้นคุณค่าทางจิตใจมากกว่าวัตถุ เช่นท�ำ จิตใจให้สงบแจ่มใสและท�ำบุญตามศรัทธา ๒. ควรเป็ น กิ จ กรรมที่ มุ ่ ง บ� ำ เพ็ ญ ประโยชน์แก่ผู้อื่นหรือส่วนรวม เช่นการ บริจาคทาน สมทบทุนเพือ่ สาธารณประโยชน์ ใช้แรงงานของตนเองเพื่อส่วนรวม ๓. ควรมุ่งเน้นให้เป็นการประหยัด จัดงานวันเกิดในวงครอบครัวไม่ควรจัด หรูหราฟุ่มเฟือย ๔. ควรอนุ รั ก ษ์ วั ฒ นธรรมไทย หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

ไม่จ�ำเป็นต้องจัดแบบต่างประเทศ เช่น ตั ด เค้ ก วั น เกิ ด จุ ด เที ย นหรื อ เป่ า เที ย น ร้องเพลงภาษาต่างประเทศอวยพรวันเกิด ฯลฯ ๕. ในกรณีที่ผู้น้อยไปรดน�้ำอวยพร วันเกิดผูใ้ หญ่ นิยมอ้างคุณพระศรีรตั นตรัย ก่อนแล้วจึงมีคำ� อวยพร ส่วนของขวัญทีจ่ ะ ให้นั้น ควรท�ำด้วยน�้ำพักน�้ำแรงหรือของที่ ประดิษฐ์ด้วยฝีมือตนเอง ถ้าเป็นดอกไม้ ควรเป็ น ดอกไม้ ที่ ป ลู ก ในประเทศไทย กรณีที่ผู้ใหญ่อวยพรวันเกิดผู้น้อย ผู้ใหญ่ ควรกล่าวถ้อยค�ำอันเป็นมงคลแก่ผู้รับพร การท�ำบุญอายุ การท�ำบุญอายุ มักนิยมท�ำกันเมื่อ อายุ ๒๕ ปี ซึ่งเรียกว่าเบญจเพส แผลง มาจาก ปัญจวีสะ ค�ำว่า เบญจเพส ก็แปลว่า ๒๕ นัน่ เอง ถือกันว่าตอนนีเ้ ป็นตอนส�ำคัญ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะย่างขึ้นสู่สภาวะ ผู้ใหญ่ ตั้งตนให้เป็นหลักเป็นฐาน ถ้าดีก็ดี กันในตอนนี้ ถ้าเอาดีไม่ได้ก็อาจจะเสียคน ด้วยเหตุนี้จึงมีการท�ำบุญเมื่ออายุ ๒๕ ปี

เพื่อส่งผลให้เกิดความเจริญงอกงามต่อไป ต่อจากนั้นก็ท�ำเมื่ออายุ ๕๐ หรือ ๖๐ ปี อีกครัง้ หนึง่ เพราะถือกันว่าตอนนีอ้ ายุยา่ ง เข้ากึ่งหนึ่งของศตวรรษแล้ว และเจริญ มากถึงที่สุดแล้ว ต่อไปร่างกายก็มีแต่จะ ทรุดโทรมลงทุกวัน การท�ำบุญที่อายุปูนนี้ จึงเป็นการท�ำโดยไม่ประมาท ร่างกาย เสื่อมลงไปๆ จึงควรท�ำบุญไว้ เพื่อเป็น ประกันในเมื่อจวนจะหมดลมจะได้นึกว่า ท�ำดีไว้มากแล้ว ถึงตายก็ตายอย่างสงบ อนึ่ ง การท� ำ บุ ญ อายุ นี้ บางที ท� ำ กันเมื่อ มีอายุครบ ๒ รอบ ๓ รอบ ๔ รอบ ไปจนถึง ๕ - ๖ รอบฯลฯ รอบหนึ่งมี ๑๒ ปี ถ้า บรรจบปีเกิดในรอบไหน ก็ท�ำในรอบนั้น ขอขอบคุณข้อมูลจาก ส�ำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

51


B i g ge s t

Thai Defence Trade Fair Opens for Business.

อ่

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ

านจากหัวข้อข้างบนนี้ ผู้อ่านพอเดาได้ ไหมว่า “The Biggest Thai Defence Trade Fair” หมายถึง งานอะไร ซึ่งใน ภาษานักข่าวอาจจะแปลได้ว่า “งาน แสดงสินค้าของกระทรวงกลาโหมไทยทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ” ก็ได้ เฉลยนะคะ ก็คือ งานดีเฟนส์และซิคิวริตี้ ๒๐๑๕ (Defense & Security 2015) ซึ่งจัดโดยกระทรวง กลาโหม ระหว่างวันที่ ๒ - ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน เปิ ด งานนิ ท รรศการป้ อ งกั น ประเทศดั ง กล่ า ว เพื่ อ แสดงเทคโนโลยีทางด้านความปลอดภัย การสัมมนา ระดับนานาชาติ ในหัวข้อทางด้านความร่วมมือทาง อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและความมั่นคงทางด้าน ไซเบอร์ และการรักษาความปลอดภัยแห่งภูมิภาค นั่นเอง จากการที่ผู้เขียนได้หยิบยกหัวข้อดังกล่าวมา น�ำเสนอนัน้ สืบเนือ่ งมาจากการอ่านวารสารรายวันของ Defense & Security 2015: Asian Defence Journal Today ที่แจกจ่ายในงานดีเฟนส์ ซิคิวรีตี้

52

พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ

๒๕๕๘ ที่ผ่านมา จึงมีความคิดที่จะน�ำเสนอพาดหัวข่าว (Headlines) มาให้ผู้อ่านลองฝึกแปลด้วยกัน ก่อนที่จะอ่านรายละเอียดของเนื้อหา ทัง้ หมด ผูเ้ ขียนจึงน�ำเสนอเกร็ดความรูเ้ กีย่ วกับโครงสร้างการพาดหัวข่าว ที่นักข่าวหรือนักหนังสือพิมพ์นิยมเขียน ดังนี้ ๑. พาดหัวข่าวประเภทและค�ำน�ำหน้า ค�ำกริยา หรือตัวย่อ โดยจะ มีเนื้อหาที่มีความหมายส�ำคัญ ๒. มักจะใช้ค�ำว่า as เพื่อขยายว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นเนื่องจากเป็น ค�ำสั้น ได้ใจความ ๓. ใช้รูป infinitive with to เพื่อความหมายในอนาคต ๔. ใช้กริยาปัจจุบนั หรือ Present simple เพือ่ บอกผูอ้ า่ นให้ทราบ ว่าเกิดขึ้นไม่นาน ๕. ใช้กริยาอดีตกาล หรือ Past simple ในการรายงานข่าวที่มี ความหมายว่าถูกกระท�ำ โดยมีค�ำกริยา verb to be ๖. มีค�ำนามซ้อนกันหลายตัว มักจะมี ๔ ตัวขึ้นไป ๗. ใช้ ing เป็น gerund แปลเป็นค�ำนาม เช่น Killing การฆ่า ไม่ได้แปลว่า ก�ำลังฆ่า เราลองมาแปลพาดหัวข่าวจากวารสาร ADJ Today กันค่ะ 1. UK Looks for Regional Partners in Thailand. The United Kingdom looked for regional partners in Thailand. แปลว่า สหราชอาณาจักรเล็งหาความร่วมมือในส่วนภูมิภาคของ ประเทศไทย 2. Thailand Get First Four EC 725. Thailand got the first four Eurocopter Tactical Transport helicopters. (EC 725.) แปลว่า ประเทศไทยจัดหาเฮลิคอปเตอร์คน้ หาและช่วยชีวติ แบบ EC 725 จ�ำนวนสี่ล�ำแรก (จาก Eurocopter (Airbus Helicopter) ของประเทศ ฝรั่งเศส) พันเอกหญิง วันดี โตสุวรรณ


แปลว่า รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหมกล่าวว่า ประเทศไทยจะปฏิรูปกองทัพให้ทันสมัย 6. New Aircraft for RTAF. The Royal Thai Air Force purchased new aircraft. แปลว่า กองทัพอากาศไทยจัดหาเครื่องบินใหม่ 7. T-50 TH Trainer Jets to RTAF. The Royal Thai Air Force purchased advanced and tactical T-50 TH Traine Jets. แปลว่า กองทัพอากาศไทยได้จัดหาเป็นเครื่องบิน ฝึกนักบินขับไล่ขั้นต้นแบบ T-50 TH

3. Royal Thai Army Places Additional Order for STARStreak. The Royal Thai Army placed an additional order for the ภาพ http://targi.brno.pl STARStreak air defence missile systems. แปลว่า กองทัพบกไทยได้จัดหา

จรวดต่อสู้อากาศยานพิสัยใกล้ของสตาร์สตรีค STARStreak จากบริษัทเทเลส (Thales) เพิ่มเติม. 4. First Time in D&S 2015- NIMR Automotive. This is the first time of NIMR automotive in the Defense & Security 2015. แปลว่า นี้คือการเข้าร่วมแสดงยานยนต์ของบริษัท NIMR เป็นครั้งแรกในงาน ดีเฟนส์ ซิคิวริตี้ ๒๕๕๘ 5. Thailand to Modernise and Transform Armed Forces, says Defence Minister. The Minister of Defence said that Thailand will modernise and transform the Royal Thai Armed Forces.

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

ลองหัดแปลข่าวที่เหลือค่ะ - Thales revealed configuration of the RTN's new OPV and proposed Pattaniclass upgraded plan. (Thales เปิดเผยระบบการ รบเรือ OPV ล�ำใหม่ของกองทัพเรือไทย และ แผนการปรับปรุงเรือชุดเรือหลวงปัตตานี) - Rafael in talk with DTI over the possible turret integration on DTI 8x8. (Rafael พูดคุยกับ DTI ในการติดตั้งป้อมปืนบน DTI 8x8) - PLAAF August 1st and RTAF air show in Wing1. (หมู่บินผาดแผลง August 1st และกองทัพอากาศไทย จัดการแสดงการบิน ณ กองบิน ๑ โคราช) - Mitsubishi introduces the helicopter-based SATCOM (Mitsubishi แนะน�ำระบบ SATCOM ซึ่งติดตั้งบนเฮลิคอปเตอร์) - Kawasaki introduce its aircrafts to Thailand. (Kawasaki แนะน�ำอากาศยานให้กับ กองทัพไทย) - Marsun is expanding its dock, offer UAV, and work on USV. (Marsun เล็งขยายอู่ผลิต UAV และท�ำวิจัย USV) งานนิ ท รรศการป้ อ งกั น ประเทศและ ความมั่นคง (Defense & Security) จะจัดทุก สองปี ดังนัน้ ใครพลาดไม่ได้ไปชมงานปีนี้ ก็ลองหา ข่าวตามที่พาดหัวข่าวไปก่อนค่ะ แล้วพบกันใหม่ในปี ๒๐๑๗ ก่อนถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ฝึกภาษาอังกฤษกับ อาจารย์วันดี นะคะ wandeedrdo@yahoo. com ID Line: goodday1d

53


สาระน่ารู้ทางการแพทย์

“วัคซีนในผู้สูงอายุ”

สำ�นักงานแพทย์ สำ�นักงานสนับสนุนสำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ารได้ รั บ วั ค ซี น ในวั ย เด็ ก เป็ น สิ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ ที่ จ ะช่ ว ย ป้องกันการเกิดโรคได้ แต่ เมื่ออายุมากขึ้นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค ก็ เ พิ่ ม มากขึ้ น หลายท่ า นคงคิ ด ว่ า การ ได้รับวัคซีนในวัยเด็กสามารถป้องกันโรค ได้ตลอดชีวิต แต่ก็มีหลายกรณีที่ความคิด ดั ง กล่ า วไม่ เ ป็ น ความจริ ง เหตุ ผ ลก็ คื อ ท่านอาจไม่เคยได้รบั วัคซีนมาก่อนเมือ่ ตอน ท่านยังเด็กยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคใหม่ ที่เกิดขึ้น ภูมิต้านทานจากการฉีดวัคซีน อาจลดลงเมือ่ เวลาผ่านไป จึงจ�ำเป็นต้องฉีด กระตุ้นใหม่ หรือเมื่ออายุมากขึ้น ความไว ของเชื้อในการก่อโรคมากขึ้น เช่น ไข้หวัด 54

ใหญ่และโรคปอดบวม ดังนั้นในผู้สูงอายุ ก็มีความจ�ำเป็นที่ต้องฉีดวัคซีนเพื่อสร้าง ภูมิคุ้มกันและป้องกันโรค เช่นเดียวกับ ปัจจุบันการให้วัคซีนป้องกันโรคส�ำหรับ ผู้สูงอายุได้รับความสนใจและสนับสนุน ให้ฉีดมากขึ้นตามค�ำแนะน�ำการให้วัคซีน ป้ อ งกั น โรคส� ำ หรั บ ผู ้ ใ หญ่ แ ละผู ้ สู ง อายุ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ.๒๕๕๗ ได้แนะน�ำวัคซีนที่ควรฉีด (Recommended vaccine) ในผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ ๖๕ ปีขึ้นไป ไว้ คื อ ๑. วั ค ซี น ป้ อ งกั น โรคบาดทะยั ก และคอตีบ ๒. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ชนิ ด เชื้ อ ตาย ๓. วั ค ซี น ป้ อ งกั น โรคตั บ

อั ก เสบบี ๔. วั ค ซี น ป้ อ งกั น โรคติ ด เชื้ อ นิวโมคอคคัสชนิดโพลีแซคคาไรด์และชนิด คอลจูเกต วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก (Tetanus vaccine) และโรคคอตีบ (Diphtheria vaccine) โรคบาดทะยั ก เป็ น โรคที่ ส ามารถ พบได้ ใ นผู ้ สู ง อายุ พบว่ า อั ต ราการตาย จากโรคนี้จะเพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยที่สูงอายุ ซึ่ ง ผู ้ ป ่ ว ยที่ เ ป็ น โรคบาดทะยั ก ส่ ว นใหญ่ มักไม่มีประวัติการรับวัคซีนป้องกันโรค มาก่อน และแม้ว่าผู้ป่วยบางคนมีประวัติ ได้รับวัคซีนครบ ๓ ครั้ง แต่มักพบว่าผู้ป่วย มีประวัตไิ ด้รบั วัคซีนครัง้ สุดท้ายมานานกว่า ๑๐ ปี โดยพบว่าภูมิคุ้มกันโรคบาดทะยัก มีแนวโน้มลดลงในช่วงอายุ ๑๕ - ๓๐ ปี การให้วัคซีนทุก ๑๐ ปี ช่วยในการสร้าง ภูมิคุ้มกันดีขึ้นในผู้สูงอายุ ขณะเดียวกัน ก็พบว่าสามารถลดความรุนแรงในกรณี ที่เกิดโรคบาดทะยักได้ ปัจจุบันยังพบการ ระบาดของโรคคอตี บ ในบางพื้ น ที่ ข อง ประเทศไทย โดยโรคคอตีบมักเกิดในพื้นที่ ที่ มี ค นอพยพ ชาวเขาหรื อ ชาวต่ า งชาติ ที่มีประวัติได้รับวัคซีนไม่เพียงพอ ดังนั้น

สำ�นักงานแพทย์ สำ�นักงานสนับสนุนสำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม


ในทางเวชปฏิบัติจึงมีการให้วัคซีนป้องกัน โรคบาดทะยักและโรคคอตีบ (tetanus diphtheria toxoid: Td) ทุก ๑๐ ปี แทนการให้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก (tetanus toxoids: TT) เพียงชนิดเดียว

วั ค ซี น ป ้ อ ง กั น โ ร ค ตั บ อั ก เ ส บ บี (Hepatitis B vaccine) ตั บ อั ก เสบบี เป็ น โรคร้ า ยที่ ส ่ ง ผล กระทบต่อตับ ซึ่งเกิดจากไวรัสตับอักเสบบี ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ๒๐๐๙ มีผู้ติด

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตาย (Inactivated influenza vaccine) การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่พบได้ทุกอายุ โดยทั่วไปการติดเชื้อไม่ท�ำให้เกิดอาการ รุนแรง ผู้ป่วยจะหายเองได้ภายใน ๓ - ๕ วัน ภายหลั ง จากมี อ าการของโรค อย่ า งไร ก็ตามการเกิดโรคนี้ในผู้สูงอายุพบว่าจะมี อัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่สูงรวมทั้งอัตราการเสียชีวิต จากไข้หวัดใหญ่ก็สูงที่สุด ในผู้สูงอายุการ ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ต้ อ งเปลี่ ย นแปลงไปตามชนิ ด ของไวรั ส ไข้ ห วั ด ใหญ่ ที่ ค าดว่ า จะระบาดในปี นั้ น (seasonal influenza) อุบัติการณ์ไข้หวัดใหญ่ ในประเทศไทยจะเกิ ด ทั้ ง ปี แ ต่ เ พิ่ ม มาก ในช่ ว งฤดู ฝ น การให้ วั ค ซี น ควรให้ ใ น ช่ ว งก่ อ นมี ก ารระบาดในแต่ ล ะปี ซึ่ ง ใน ประเทศไทยควรเริ่ ม ให้ วั ค ซี น ก่ อ นช่ ว ง ฤดูฝนและแม้ว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่จะเป็น สายพันธุเ์ ดิมของวัคซีนทีเ่ คยฉีดก่อนหน้านี้ ก็จ�ำเป็นต้องฉีดทุกปี ปีละ ๑ ครั้ง

เชื้อตับอักเสบบีประมาณ ๓๙,๐๐๐ คน มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับ ซึ่งเกิดจากตับอักเสบบีประมาณ ๒,๐๐๐ ถึง ๔,๐๐๐ คน วัคซีนให้ความคุ้มครอง จากการติ ด เชื้ อ ตั บ อั ก เสบบี เ ป็ น ระยะยาว อาจถึ ง ตลอดชี วิ ต ได้ ดั ง นั้ น ผู ้ สู ง อายุ ที่ ยั ง ไม่ เ คยได้ รั บ การฉี ด วั ค ซี น ป้ อ งกั น โรคตั บ อั ก เสบบี ค วรได้ รั บ การฉี ด วั ค ซี น นี้ ในกรณีบุคคลที่เกิดภายหลังปี พ.ศ.๒๕๓๕ มีความประสงค์จะฉีดวัคซีน โดยที่ไม่แน่ใจ หรือไม่ทราบประวัติการรับวัคซีนที่ชัดเจน ให้ฉีดวัคซีน ๑ เข็ม แล้วตรวจ AntiHBs antibody ภายหลังการฉีดวัคซีน ๒ - ๔ สัปดาห์ หากพบว่าระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่า ๑๐ IU/ml แสดงว่าร่างกายมีภูมิคุ้มกันอยู่ แล้ว ไม่จ�ำเป็นต้องฉีดวัคซีนอีก วั ค ซี น ป้ อ งกั น โรคติ ด เชื้ อ นิ ว โมคอคคั ส ชนิ ด โพลี แ ซคคาไรด์ (23-valent pneumococcal polysaccharide vaccine 12; PCV 23) และชนิ ด คอนจูเกต (13-valent pneumococcal conjugate vaccine; PCV-13)

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

ก า ร ติ ด เ ชื้ อ นิ ว โ ม ค อ ค คั ส (S.pneumoniae) เป็นสาเหตุส�ำคัญของ การติดเชื้อที่รุนแรงในผู้สูงอายุ เช่น การ ติดเชื้อในกระแสเลือดและการติดเชื้อที่ เยื่อหุ้มสมอง โดยพบว่าร้อยละ ๙๐ ของ เชือ้ นิวโมคอคคัสทีก่ อ่ โรคติดเชือ้ รุนแรงเป็น เชื้อที่เป็นซีโรทัยพ์ชนิดที่มีอยู่ใน PCV-23 ประเทศสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศ ในทวีปยุโรป ได้มีการศึกษาถึงความคุ้มทุน (cost-effectiveness) ของวัคซีนในการ ป้องกันโรคติดเชือ้ นิวโมคอคคัสชนิดรุนแรง พบว่ า การใช้ วั ค ซี น จะสามารถลดการ ติ ด เชื้ อ รุ น แรงและมี ค วามคุ ้ ม ทุ น ในการ ใช้วัคซีนป้องกันโรคในผู้สูงอายุมากกว่า ๖๕ ปี โดยแนะน�ำให้ฉีด ๑ ครั้ง ในช่วง วัยอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป ส่วนวัคซีน PCV-13 ซึ่ ง เป็ น วั ค ซี น ที่ ต อบสนองต่ อ การสร้ า ง ภูมคิ มุ้ กันได้ดใี นผูส้ งู อายุแต่ระดับภูมคิ มุ้ กัน จะลดลงภายหลังการฉีดวัคซีนประมาณ ๕ - ๑๐ ปี ปั จ จุ บั น แนะน� ำ ให้ ฉี ด เข้ า กล้ า มเนื้ อ ๑ เข็ ม ในผู ้ สู ง อายุ ที่ มี อ ายุ มากกว่า ๕๐ ปีขึ้นไป จะเห็ น ว่ า การฉี ด วั ค ซี น ในผู ้ ใ หญ่ มี ค วามจ� ำ เป็ น อย่ า งมาก ดั ง นั้ น การมี ความรู้ที่ดีเกี่ยวกับวัคซีนจะท�ำให้ผู้สูงอายุ เข้าใจถึงความส�ำคัญในการฉีดวัคซีนและ ได้รับการฉีดวัคซีนที่เหมาะสม ซึ่งการฉีด วั ค ซี น ถื อ เป็ น การป้ อ งกั น และลดความ รุนแรงของการเกิดโรคที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยั ง เป็ น การลดค่ า ใช้ จ ่ า ยที่ ต้องสูญเสียจากการเกิดโรคที่อาจเกิดขึ้น ดั ง นั้ น ผู ้ สู ง อายุ ค วรไปรั บ การฉี ด วั ค ซี น ซึ่งส�ำนักงานแพทย์ ส�ำนักงานสนับสนุน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มีบริการ ฉี ด วั ค ซี น เพื่ อ ป้ อ งกั น โรคต่ า งๆ ทั้ ง ใน ศาลาว่าการกลาโหม และอาคารส�ำนักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ศรีสมาน

55


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมคณะ กรรมการอ�ำนวยการจัดงานพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ครัง้ ที่ ๒/๒๕๕๘ โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุม ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ท�ำเนียบรัฐบาล เมื่อ ๒๘ ต.ค.๕๘

พลเอก ประวิตร วงษ์สวุ รรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธถี วายผ้าพระกฐินพระราชทาน ของกระทรวงกลาโหมประจ�ำปี ๒๕๕๘ ณ วัดศรีสุดารามวรวิหาร แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เมื่อ ๒๐ พ.ย.๕๘ 56


พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นาย ng eng hen (เอิง เอ็ง เฮ็น) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์ พร้อมภริยาและคณะ เข้าเยี่ยมค�ำนับในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย อย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงกลาโหม ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๗ พ.ย.๕๘ ณ ห้องรับรอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๖ พ.ย.๕๘

พลเอก อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ พล.อ. Rashad Mahmood ประธานคณะเสนาธิการร่วม กองทัพ สาธารณรัฐอิสลาม ปากีสถาน และคณะ ในโอกาส เข้ า เยี่ ย มค� ำ นั บ ณ ห้องรับรองรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม เมื่อ ๖ พ.ย.๕๘

หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

57


พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมงานดีเฟนส์และซีคิวรีตี้ ๒๐๑๕ (Defense & Security 2015) ณ อาคาร ๖ – ๘ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ ๒ - ๕ พ.ย.๕๘ 58


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ ในการพระราชพิธีทรงบ�ำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยมี พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม เฝ้าฯ รับ-ส่งเสด็จ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เมื่อ ๕ พ.ย.๕๘

พลเอก ปรี ช า จั น ทร์ โ อชา ปลั ด กระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงส�ำนักงานปลัด กระทรวงกลาโหม ณ ห้องยุทธนาธิการ เมื่อ ๑๑ พ.ย.๕๘ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

59


พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีสงฆ์ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาส�ำนักนโยบายและแผน กลาโหม ครบรอบ ๓๒ ปี ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรี เมื่อ ๓๐ ต.ค.๕๘

พลเรือเอก อนุทยั รัตตะรังสี รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธลี งนามบันทึก ความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหม กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จ�ำกัด (มหาชน) ว่าด้วยการใช้งานสนับสนุนช่องทางการสือ่ สารผ่านเคเบิล้ ใต้นำ�้ ภารกิจด้านความมัน่ คงในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ณ ห้องสุรศักดิ์มนตรี ในศาลาว่าการกลาโหม เมื่อ ๑๐ พ.ย.๕๘ 60


พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม ตรวจเยี่ยมหน่วยขึ้นตรงส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

กรมการพลังงานทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เมื่อ ๑๗ ต.ค.๕๘

โรงงานวัตถุระเบิดทหาร กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร เมื่อ ๑๗ ต.ค.๕๘ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

61


กิจกรรมสมาคมภริยาข้าราชการ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

“๒๕ ปี สตรีศรีกลาโหม” นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร ประธานกรรมการมูลนิธิ สงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก อดีตนายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม นายกสมาคมแม่บ้านเหล่าทัพ และแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานเลี้ยงรับรอง เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ครบรอบ ๒๕ ปี เมื่อ ๙ พ.ย.๕๘

62


หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

63


นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม น�ำคณะกรรมการสมาคมฯ บันทึกเทป โทรทัศน์ถวายพระพร เนือ่ งในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘ ณ สถานีวทิ ยุโทรทัศน์ แห่งประเทศไทย (ช่อง ๑๑) ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อ ๑๙ พ.ย.๕๘

นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นเจ้าภาพบรรพชาสามเณร พงศกร ทุมมานาม ซึ่งมีความตั้งใจที่จะบวช แต่หาเจ้าภาพไม่ได้ ณ วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เมื่อ ๖ พ.ย.๕๘

นางผ่องพรรณ จันทร์โอชา นายกสมาคมภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวง กลาโหมได้น�ำคณะกรรมการสมาคมฯ ถวายสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เนื่องในโอกาส ครบรอบวันคล้ายวันสถาปนาสมาคมฯ (๙ พฤศจิกายน ของทุกปี) ณ ทีท่ ำ� การสมาคม ภริยาข้าราชการส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (บ้านอ่องแสงคุณ) เมื่อ ๒ พ.ย.๕๘ 64


ภาพกิจกรรม การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการ “สถานีวิทยุสีขาว เทิดไท้องค์ราชัน”

อาเศียรวาท

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘

ดุจร่มฉัตร อ�ำนวยสุข ทุกแห่งหน

ทั่วสกล ชนปรีดิ์เปรม เกษมสานติ์

แปดสิบแปด พระชันษา เดชาก้อง ชนแซ่ซ้อง กาลดิถี ศรีสมัย

หลักแห่งรัฐ พระมิ่งขวัญ นิรันดร์กาล

แผ่ไพศาล บารมี ทวีไกล

กลาโหม อัญเชิญผล มงคลชัย

น้อมเทิดไท้ ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานราชการ สังกัดกระทรวงกลาโหม (พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ ผู้ประพันธ์)


ส�ำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม หน่วยงานนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง

พระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน วันจันทร์ ที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๙ ณ พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน

ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๗ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

การยึดมั่นในผลประโยชน์ของแผ่นดิน และความถูกต้องเป็นธรรม เป็นสิ่งส�ำคัญยิ่ง ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ เพราะการยึดมั่นดังกล่าว จะท�ำให้มีจิตใจมั่นคง เด็ดเดี่ยว ในอันที่จะพากเพียรปฏิบัติหน้าที่ให้จนบรรลุผลส�ำเร็จ และสามารถป้องกัน ความผิดพลาดเสียหายอันจะเกิดแก่ตนแก่งานได้อย่างแท้จริง

ISSN 0858 - 3803

9 770858 380005

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ส� ำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก ล า โ ห ม ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๙๗ หลักเมือง ธันวาคม ๒๕๕๘

www.lakmuangonline.com


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.