2016factsaboutkorea th

Page 1

เรื่องราวในวันวานและปัจจุบันของเกาหลี 한국의 어제와 오늘

www.korea.net

เรื่องราวในวันวานและปัจจุบัน ของเกาหลี 한국의 어제와 오늘


เรื่องราวในวันวานและปัจจุบันของเกาหลี ปีที่พิมพ์ | 2016 ลิขสิทธิ์ © 1973 หน่วยงานบริการข้อมูลและวัฒนธรรมเกาหลี ผู้จัดพิมพ์ | หน่วยงานบริการข้อมูลและวัฒนธรรมเกาหลี กระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว ที่อยู่ | 408, Galmae-ro, Sejong-si, Government ComplexSejong, Republic of Korea Zip Code: 30119 โทรศัพท์ | 82-44-203-3339~47 แฟกซ์ | 82-44-203-3595 เว็บไซต์ | www.korea.net ISBN์ | 9788973756094 03910


เรื่องราวในวันวานและปัจจุบัน ของเกาหลี 한국의 어제와 오늘


สารบัญ

วิถีชีวิตเกาหลี

4

การท่องเที่ยว

ชุดฮันบก

ตามรอยประวัติศาสตร์ของกรุงโซล

อาหาร

สถานที่ท่องเที่ยวอันดึงดูดใจและศูนย์การค้า

บ้านฮันอก (บ้านเกาหลีโบราณ)

ถนนของคนหนุ่มสาว

วันหยุดเทศกาลและการเฉลิมฉลองต่างๆ

แหล่งพักผ่อนทางธรรมชาติ

ศาสนา

สถานที่ท่องเที่ยวนอกกรุงโซล

122

หมู่บ้านฮันอก (บ้านเกาหลีโบราณ)

สังคม

34

เกาหลีใต้ - บทนำ�

เทศกาลพื้นเมืองที่สำ�คัญในเกาหลี

การศึกษาวิจัยอุตสาหกรรมแรงงานและ

การกีฬา

ระบบสวัสดิการสังคม

เคล็ดลับและรากฐานที่ทำ�ให้เกาหลีใต้กลาย เป็นมหาอำ�นาจ านการกีฬา

การเปลี่ยนผ่านเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม

วัฒนธรรม องค์การยูเนสโกกับมรดกทางวัฒนธรรม เกาหลี ศิลปะดั้งเดิม ฮันรยู (กระแสความนิยมเกาหลี)

ปี 1988 โอลิมปิกกรุงโซล

60

ปี 2002 การแข่งขันฟุตบอลโลกเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ปี 2011 การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก ปี 2012 โอลิมปิกกรุงลอนดอน ปี 2018 โอลิมปิกฤดูหนาว เมืองพยองชาง เทควันโด

166


ประวัติศาสตร์

184

ยุคเริ่มต้นประวัติศาสตร์ประเทศ (ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อาณาจักรโคโชซอน)

เศรษฐกิจ

236

เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในโลก "ปาฏิหาริยแ ์ ห่งแม่น�ำ้ ฮันกัง"

อาณาจักรทั้งสามและการเกิดขึ้นของรัฐต่างๆ

การเปิดตลาดเศรษฐกิจทุนนิยมของเกาหลี ผู้นำ�ด้านตราสินค้าและมาตรฐานของเกาหลี

ยุคอาณาจักรเหนือใต้: อาณาจักรร่วมชิลลาและพัลแฮ

ความพยายามในการเติบโตเป็นผู้นำ�ระดับ โลก

ยุคอาณาจักรโครยอ ยุคอาณาจักรโชซอน

ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลืเหนือ และเกาหลีใต้

การล่มสลายของราชวงศ์โชซอน การผนวกดินแดนเกาหลีของจักรวรรดิญี่ปุ่น การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช

ภูมห ิ ลังทางประวัตศ ิ าสตร์ของการแบ่งแยกดิน แดน

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตยและการพัฒนาเป็นมหา อำ�านาจทางเศรษฐกิจ

รัฐธรรมนูญและรัฐบาล รัฐธรรมนูญ นิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และตุลาการ องค์กรอิสระ เขตปกครองส่วนท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

การเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ พร้อมกันของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้

222

การแลกเปลีย ่ นและความร่วมมือระหว่าง เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ความพยายามในการสร้างสันติภาพอย่าง ถาวร

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง ที่มาของภาพ

258


วิถีชีวิตเกาหลี 생활


1

ชุดฮันบก อาหาร บ้านฮันอก (บ้านเกาหลีโบราณ) วันหยุดเทศกาลและการเฉลิมฉลองต่างๆ ศาสนา


6


1

วิถีชีวิตเกาหลี 생활

การใช้ชีวิตของคนเกาหลีในดินแดนที่ล้อมรอบด้วยทะเลสามด้าน ซึ่งปกคลุมไปด้วยขุนเขา ผันแปรไปตามฤดูกาลทั้งสี่ที่แตกต่างกัน

เหล่าสมาชิกในครอบครัว สวมชุดฮันบก (ซ้าย)

ทำ�ให้ชาวเกาหลีพัฒนาขนบธรรมเนียมประเพณีอันมีเอกลักษณ์ ซึ่งเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตทั้งการแต่งกาย การดื่มกินและความเป็นอยู่ ภายในบ้านเรือน

ชุดฮันบก ชาวเกาหลีมพ ี ฒ ั นาการใช้ผา้ หลากหลายชนิด เช่น ซัมเบ (ปอ) โมซี (ป่าน) ฝ้ายและไหม ในการทำ�เสือ ้ ผ้าเครือ ่ งนุง่ ห่มแบบต่างๆ ทีเ่ ป็น เอกลักษณ์ ซึง่ ไม่เพียงสวยงาม แต่ยงั ปกป้องร่างกายได้เป็นอย่างดี ทัง้ ในฤดูหนาวทีแ ่ สนทารุณและฤดูรอ ้ นทีแ ่ สงแดดแผดกล้า เครือ ่ งนุง่ ห่มกันหนาว ใช้วธ ิ บ ี ใ ุ ยฝ้ายระหว่างชัน ้ ผ้า เช่น ผ้าไหมหรือผ้าฝ้าย แล้วเย็บติดกันโดยใช้เข็มเย็บถีๆ่ อย่างประณีต ส่วนเสือ ้ ในหน้าร้อน ก็ใช้ผา้ ปอและป่านทำ� เสือ ้ ผ้าเหล่านีเ้ น้นในเรือ ่ งแนวเส้นและรูปโครง ทีส ่ วยงามอ่อนช้อย สร้างลักษณะเสือ ้ ผ้าทีด ่ งู ามสง่าให้กบ ั ชุดประจำ� ชาติเกาหลีหรือทีเ่ รียกกันว่าฮันบก วิธก ี ารตัดเย็บนีส ้ บ ื ทอดต่อกันมา หลายพันปี ตามบันทึกประวัติศาสตร์ ชาวเกาหลีโดยทั่วไปในอดีตชอบสวมใส่ เสื้อผ้าสีขาวแบบเรียบง่ายมากกว่าเสื้อผ้าหลากสีสันหลายลวดลาย และด้วยความเคารพในสีขาวของชาวเกาหลีจึงทำ�ให้เป็นที่รู้จัก ในหมู่แคว้นเพื่อนบ้านว่าเป็น “ชาวเสื้อขาว” หรือผู้รักในความสงบ แต่วัฒนธรรมการแต่งกายของเกาหลีไม่ได้มีแต่สีขาวเท่านั้น ชาว 7


เกาหลียังสวมใส่เสื้อผ้าหลากสีสัน ด้วยฝีมือการตัดเย็บอันประณีต ซึ่งแตกต่างกันไปตามแต่ละยุคสมัยและฐานะของผู้สวมใส่ ในปัจจุบันเกาหลีมีนักออกแบบเสื้อผ้าฝีมือดีมากมาย ผลิตผลงาน สร้างสรรค์ที่ผสมผสานทักษะทางด้านศิลปะสมัยใหม่เข้ากับดีไซน์ และแพตเทิร์นสไตล์เกาหลีแบบดั้งเดิมจนสร้างชื่อเสียงในระดับ นานาชาติ และเป็นเพราะความสำ�เร็จอย่างมากในหลายปีที่ผ่าน มาของภาพยนตร์และละครทีวีเกาหลี เช่น “จอมนางแห่งวังหลวง” (Dae Jang Geum) ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระแสเกาหลี (ฮันรยู) ทำ�ให้ชาวต่างชาติในหลายประเทศทั่วโลกได้ประจักษ์และชื่นชม ในความงดงามของชุดประจำ�ชาติเกาหลี ซึ่งทำ�ให้ชาวต่างชาติหัน มานิยมใส่ชุดฮันบกกันมากขึ้น แม้ในปัจจุบันชาวเกาหลีจะใส่ชุดฮันบกและชุดแกรันฮันบก (ฮันบก ที่ใส่ในชีวิตประจำ�วัน) ในโอกาสสำ�คัญ เช่น เทศกาลเฉลิมฉลอง หรือวันรื่นเริงต่างๆ แต่คนเกาหลีส่วนมากก็ใส่เสื้อผ้าแนวตะวันตก ร่วมสมัยด้วย ดังนั้นเราจะสามารถเห็นได้ว่า สัญชาตญาณความคิด สร้างสรรค์ในความมีเซนส์ด้านแฟชั่นที่ยอดเยี่ยมของชาวเกาหลี สามารถผสมผสานชุดฮันบกให้เข้ากับยุคสมัยได้อย่างเหมาะสม ตอนนี้ชื่อคังนัม (กังนัม) กลายเป็นชื่อที่ใครๆ ก็รู้จัก ด้วยความ โด่งดังเป็นพลุแตกของเพลงเคป๊อบ “กังนัมสไตล์” ซึ่งคังนัมคือเขต เมืองขนาดใหญ่ในกรุงโซล เป็นย่านที่อยู่อาศัยของคนรวยที่เป็น ศูนย์กลางทางวัฒนธรรมชั้นสูง อย่างเช่น ศิลปะและแฟชั่นต่าง ๆ คังนัมได้กลายเป็นแหล่งแฟชั่นพิเศษที่ีจะมีการจัดงานเทศกาล แฟชั่นต่างๆ ทุกปี เช่น การแข่งขันนักออกแบบรุ่นใหม่ หรืองาน แสดงแฟชั่นโชว์จากนักออกแบบนานาชาติ เป็นต้น หากเขตคังนัม ของกรุงโซลเป็นศูนย์กลางด้านแฟชั่นชั้นสูงแล้ว ย่านแฟชั่นอีก แห่งที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติคือเขตทงแดมุน ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นศูนย์กลางด้านแฟชั่นที่ทันสมัยของวัยรุ่นและบุคคลทั่วไป มี สินค้าแฟชั่นไอเดียดีๆ ราคาสบายกระเป๋าสำ�หรับวัยรุ่นและคน หัวใจวัยใส เนื่องจากทงแดมุนมีเครือข่ายการขายและการจัด จำ�หน่ายที่ครบวงจร พร้อมสรรพด้วยสิ่งอำ�นวยความสะดวกในการ 8


ผลิตและเต็มไปด้วยนักออกแบบมากฝีมือที่มีใจมุ่งมั่น ทงแดมุนจึง เป็นที่จับตามองในความเป็นศูนย์กลางการค้าด้านแฟชั่นที่ทันสมัย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งช็อปปิ้งที่พลาดไม่ได้ส�ำ หรับชาว ต่างชาติ

อาหาร ตั้งแต่สมัยโบราณกาลคนเกาหลีเชื่อว่าการกินและการบำ�บัดรักษา ร่างกายนั้นมีพื้นฐานเดียวกัน ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความหมายของ “อึยชิกดงวอน” คือการกินเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงป็นแนวคิดที่มา จากการกินเพื่อบำ�รุงและรักษาโรคจากนั้นจึงใช้ยารักษาต่อ วัฒนธรรมการหมักดอง ลักษณะที่ส�ำ คัญที่สุดของการทำ�อาหารเกาหลีคือการบ่มและการ หมักดองเพื่อให้เก็บได้เป็นระยะเวลานาน ทั้งยังมีสรรพคุณช่วย เพิ่มรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ อาหารหมักดองขึ้นชื่อของ เกาหลี ได้แก่ เทวนจัง (เต้าเจี้ยว), คันจัง (ซอสถั่วเหลือง), โคชูจัง (ซอสพริก) และ ชอทกัล (น้�ำ ปลาหมัก) ซึ่งชอทกัลนั้นมีระยะเวลา การหมักแตกต่างกันไปตั้งแต่หลายเดือนไปจนถึงหลายปี ระดับ ของการหมักดองเป็นกุญแจสำ�คัญในการสร้างรสชาติและกลิ่น

เทวนจัง จิแก (ซุปเต้าเจี้ยว) เป็นการนำ�เทวนจัง (เต้าเจี้ยว) ลงไปละลายในน้�ำ ซุปต้มเดือดและเพิ่มวัตถุดิบ ต่างๆ ลงไป เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผัก เห็ด พริก เต้าหู้ และเต้าเจี้ยว เป็นต้น ผสมเข้าด้วยกันและต้มจน เดือด ซึ่งเป็นหนึ่งในอาหารที่ เป็นตัวแทนของเกาหลี

ของอาหารทั้งที่ปรุงที่บ้านและตามร้านอาหาร เทวนจังและคันจัง ทำ�มาจากวัตถุดิบที่เรียกว่า ‘เมจู’ ซึ่งเมจูมีวิธีการทำ� ลำ�ดับแรก คือ แช่ถั่วเหลือง ในน้ำ�และต้มจนกว่าจะสุก หลังจากนั้นนำ� ไปโขลกและปั้นเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วทิ้งไว้ให้แห้งเพื่อให้เกิดเชื้อหมัก จากนั้นนำ�ไปใส่ในไหขนาดใหญ่ที่มี น้ำ�เกลือบรรจุอยู่ โดยวางพริกแห้งและถ่านร้อนด้านบน ซึ่ง จะช่วยกำ�จัดสิ่งเจือปนและกลิ่นเหม็นที่เกิด ขึ้นในกระบวนการหมัก ทิ้งไว้ประมาณสอง 9


ถึงสามเดือนจนกว่าถั่วจะหมักได้ที่ จากนั้นแยกส่วนเนื้อ (เทวนจัง) และส่วนน้�ำ (คันจัง) ออกจากกัน โดยจะต้องหมักส่วนเนื้อต่อ(เทวน จัง) อีกอย่างน้อยห้าเดือน และส่วนน้�ำ (คันจัง) อีกอย่างน้อยสาม เดือน เพื่อให้ได้กลิ่นและรสชาติที่เข้มข้น เช่นเดียวกับไวน์ ซอสถั่ว เหลืองจะมีกลิ่นและรสเข้มขึ้นหากหมักเป็นเวลานาน โคชูจัง (ซอสพริก) โคชูจังคือการผสมนกมัล (แป้งญวน แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวบาร์เลย์ แป้งสาลี มอลต์) ซึ่งเป็นการทำ�เมจูสำ�หรับโคชูจังชนิดหนึ่ง นำ�มา ชังดกแด (พื้นที่เก็บไหดิน) พื้นที่นอกครัวใช้เก็บไห ดินเคลือบสีน้ำ�ตาลขนาด ใหญ่ที่บรรจุ คันจัง (ซอสถั่ว เหลือง) เทวนจัง (เต้าเจี้ยว) โคชูจัง (ซอสพริก) และ ชอทกัล (อาหารทะเลหมัก เหลือ) ต่างๆ ที่เป็นวัตถุดิบ สำ�หรับการทำ�อาหารเอาไว้

10

ผสมเกลือและผงพริก จากนั้นนำ�ใส่ในไหและหมักจนได้ที่ โคชูจัง จึงเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ส�ำ หรับชาวเกาหลีที่ชื่นชอบอาหารรส เผ็ดและมีรสชาติดี นับตั้งแต่พริกได้เข้ามาในวัฒนธรรมการกิน ของชาติเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา ปัจจุบันพริกและโคชูจังเปรียบ เสมือนสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอุปนิสัยของคนเกาหลีที่มีชีวิตชีวาและ กระตือรือร้น


ชอทกัล (อาหารทะเลหมักเกลือ) ชอทกัล (อาหารทะเลหมักเกลือ) คือส่วนประกอบสำ�คัญที่แทบจะ ขาดไม่ได้ในการทำ�กิมจิและนิยมใช้เพื่อเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร ทำ�โดยผสมอาหารทะเล เช่น ปลาแอนโชวี่ กุ้ง หอยนางรม หรือ หอยกาบ กับเกลือหรือเครื่องปรุงรสอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเกลือ แล้วหมักเก็บไว้ในที่เย็น กล่าวกันว่ายิ่งหมักนานรสชาติยิ่งอร่อย มี การคิดค้นสร้างสรรค์อาหารที่ทำ�จากชอทกัลหลายอย่าง เช่น ซิก แฮ ที่ท�ำ โดยคลุกเคล้าปลาหมักกับข้าวและเครื่องปรุงต่างๆ ซึ่งมี รสชาติดีและได้รับความนิยมสูง กิมจิ ปัจจุบันกิมจิเริ่มเป็นที่รู้จักทั่วโลกในฐานะอาหารประจำ�ชาติเกาหลี กิมจิได้รับการยกย่องว่าเป็นอาหารที่มีคุณสมบัติต่อต้านมะเร็ง อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งยังมีให้เลือกรับประทานได้ มากมายหลากหลายชนิด กิมจิที่หารับประทานได้โดยทั่วไปเป็น กิมจิที่ท�ำ จากผักกาดขาวหมักกับเกลือ ผสมกับเครื่องปรุงกิมจิที่ทำ� จากพริกป่น กระเทียม หัวหอม ขิง หัวไชเท้าเกาหลี น้ำ�ปลา และ ส่วนผสมอื่นๆ เช่น อาหารทะเลตามแต่ละภูมิภาคต่างๆ ปกติแล้วกิมจิจะรับประทานกันหลังจากที่หมักไปแล้วไม่กี่วัน ซึ่งแม้ จะมีการรับประทานกิมจิที่เพิ่งหมักสดๆ แต่บางคนชอบทานมูกึนจี (กิมจิสุก) ที่ใช้เวลาหมักมากกว่า 1 หรือ 2 ปีด้วยเช่นกัน ส่วนผสมของกิมจิแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค ขนบธรรมเนียม และผลิตผลขึ้นชื่อที่หาได้ในท้องถิ่นนั้น เช่น กรุงโซลขึ้นชื่อเรื่อง

แซอูจอท (กุ้งดองเค็ม) นอกจากน้�ำ ปลาแอนโชวี่ แล้ว น้�ำ ปลากุ้งคือน้�ำ ปลา อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความ นิยมในเกาหลี ใช้กุ้งดอง เกลือเป็นส่วนประกอบ ในการหมัก ซึ่งมักจะใช้ ควบคู่ไปกับปลาแอนโชวี่ ใช้ในอาหารเกาหลีต่างๆ โดยเฉพาะเวลาทำ�กิมจิจะ ช่วยให้มีกลิ่นหอมและรส ชาติที่เข้มข้น

คุงจุงกิมจิ (กิมจิชาววัง), โพซัมกิมจิ (กิมจิห่อ), ชงกักกิมจิ (กิมจิไช เท้าทั้งหัว) และกักดูกี (กิมจิไชเท้าหั่นลูกเต๋า) ส่วนกิมจิที่มีชื่อเสียง ของจังหวัดชอลลาโด คือ โคดึลแปกีกิมจิ (กิมจิผักโกดึลแปกี) และ คัดกิมจิ (กิมจิผักคัท) ในปี 2001 คณะกรรมาธิการโคเด็กซ์ (Codex Alimentarius Commission) ได้ตัดสินให้กิมจิเป็นอาหารมาตรฐานสากลและ รับรองการใช้คำ�ศัพท์ “ผักกาดขาวกิมจิ” (kimchi cabbage) 11


การทำ�แพชูคิมจิ (กิมจิผักกาดขาว) 1

2

3

4

5

1

เตรียมส่วนผสมสำ�หรับทำ�กิมจิ

2 หั่น ล้างผักกาดขาวและแช่ในน้ำ�เกลือ 3 ล้างผักกาดขาวที่แช่น� ้ำ เกลือในน้ำ�เย็นแล้วเทน้ำ�ทิ้ง 4 ผสมเครื่องปรุงกับน้� ำ ปลาหมักและปลาเค็ม 5 ละเลงเครื่องกิมจิลงบนผักกาดขาวให้ทั่วทุกใบ 6 ห่อผักกาดขาวทั้งหัวและเก็บไว้ในที่เย็น

12

6


ไม่ใช้กิมจิญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ในปี 2012 คณะ กรรมาธิการโคเด็กซ์ (Codex Alimentarius Commission) ยัง ได้เปลี่ยนชื่อกะหล่ำ�ปลีเกาหลีที่ได้ถูกขึ้นทะเบียนในชื่อ “กะหล่ำ� ปลีจีน” (Chinese Cabbage) เป็น “กะหล่�ำ ปลีกิมจิ” (Kimchi Cabbage) แทน ในปี 2003 ในระหว่างที่เกิดการแพร่ระบาดของโรค SARS (โรค ทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง) ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก มีการ รายงานว่าไม่พบการระบาดของโรค SARS ในเกาหลีเนื่องจาก การรับประทานกิมจิ ทำ�ให้สรรพคุณของกิมจิเป็นที่สนใจไปทั่วโลก ในปี 2006 Health Magazine นิตยสารเกี่ยวสุขภาพของ สหรัฐอเมริกาจัดให้กิมจิเป็นหนึ่งในห้าอาหารด้านสุขภาพที่ดีที่สุด ของโลก บีบิมบับ บีบิมบับ (ข้าวยำ�) เป็นเมนูข้าว เสิร์ฟหลังจากที่นำ�ส่วนผสมต่างๆ เช่น ผักสดและผักตามฤดูกาล ไข่ เนื้อวัวบด และเครื่องปรุงอื่นๆ มาคลุกเคล้ากับข้าวสวยสุกจนเข้ากันดี มักจะเสิร์ฟเมนูนี้ในหม้อหิน ร้อน อาหารจานนี้มีความเกี่ยวพันกับเมืองชอนจูเป็นอย่างมาก องค์ การยูเนสโกประกาศให้ชอนจูเป็น “เมืองแห่งความสร้างสรรค์ด้าน อาหาร” (City of Gastronomy) ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ มี การจัดงานเทศกาลขึ้นที่เมืองแห่งนี้ทุกปีในฤดูใบไม้ร่วง และเทศ กาลบีบิมบับก็เป็นหนึ่งในงานเทศกาลอาหารที่ดึงดูดเหล่านักชิม จากทั่วสารทิศทั้งในเกาหลีและต่างประเทศกันอย่างคึกคัก บีบิมบับเริ่มเป็นที่สนใจของคนทั่วโลกเนื่องจากมีคุณค่าทาง โภชนาการที่สมดุล ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยป้องกันการเกิดโรคสำ�หรับ ผู้ใหญ่และกำ�ลังจะกลายเป็นอาหารยอดนิยมไปทั่วโลก ซึ่งได้รับ การยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสามของอาหารที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น สัญลักษณ์ตัวแทนของประเทศเกาหลีร่วมกับกิมจิและพุลโกกี บีบิมบับเป็นเมนูยอดนิยมที่มีให้บริการบนเครื่องบินและมีการ พัฒนาวิธีการรับประทานให้ทานง่ายมากขึ้น 13


พุลโกกี พุลโกกีคือเนื้อวัวที่หมักกับคันจัง (ซอสถั่วเหลือง) น้ำ�ตาล น้ำ�สาลี่ และอื่นๆ ผสมกับเครื่องปรุงและนำ�มาย่างบนตะแกรง เสิร์ฟพร้อม กับผักต่างๆ ทั้งยังมีเนื้อสัตว์หลากหลายชนิด เช่น โซพุลโกกี (เนื้อ วัวย่าง) ดแวจีพุลโกกี (เนื้อหมูย่าง) และอีกมากมาย เมนูนี้เป็นหนึ่ง ในเมนูเนื้อไม่กี่อย่างของเกาหลีเพราะโดยปกติคนเกาหลีมักจะ คุ้นเคยกับการกินอาหารจานผักมากกว่าและมีรสชาติถูกปากจน เป็นที่นิยมในหมู่ชาวต่างชาติ เมื่อเร็วๆ นี้พุลโกกีได้ถูกนำ�มาใส่ใน แฮมเบอร์เกอร์และพิซซ่าซึ่งเป็นการผสมผสานรูปแบบใหม่ ต๊อก (เค้กข้าว) แป้งข้าวเหนียวหรือแป้งข้าวเจ้าที่นำ�มานวดผสมกับถั่วแดงหรือถั่ว ต่างๆ จากนั้นนำ�ไปนึ่งจนสุกและนำ�มารับประทาน เป็นอาหารที่ เรียกว่าต๊อก แม้ว่าในปกติจะนำ�ข้าวมาหุงเป็นข้าวสวยรับประทาน แต่ในบางกรณีก็มีการนำ�มาทำ�เป็นต็อกรับประทาน ต็อกจัดเป็น อาหารพิเศษที่มักรับประทานในโอกาสสำ�คัญของครอบครัวหรือ ชุมชน เช่น งานเลี้ยงวันเกิด งานฉลอง พิธีท�ำ บุญรำ�ลึก และวัน หยุดตามประเพณีต่างๆ ซึ่งต็อกเป็นอาหารที่จะขาดไปไม่ได้แต่บาง ครั้งก็รับประทานกันในมื้ออาหารทั่วไป ข้าวเป็นส่วนประกอบสำ�คัญของอาหารชนิดนี้ ส่วนใหญ่จะมี วัตถุดิบต่างๆ ผสมลงไปในแป้งข้าวเจ้า เช่น โกฐจุฬาลัมพา ถั่วแดง พุทรา ถั่วเหลือง เกาลัด ฯลฯ คนเกาหลีในอดีตโยงความหมายเชิง สัญลักษณ์รูปแบบต่างๆ เข้ากับต๊อก และมีวิธีการทำ�และรับประทาน แตกต่างกันไปตามความหมายเหล่านั้น เช่น ทำ�แพคซอลกี (เค้ก ข้าวขาวนึ่ง) ในวันเกิดปีแรกของทารกเพื่ออวยพรให้มีอายุยืน (ซึ่ง ปัจจุบันยังมีการทำ�ต๊อกแบบนี้อยู่) ทำ�พัลชีรูต๊อก (เค้กข้าวผสม ถั่วแดง) เมื่อเริ่มต้นทำ�ธุรกิจ เนื่องจากเชื่อกันว่าสีแดงสามารถไล่ ความเป็นอัปมงคลออกได้ พวกเขาจะฉลองวันปีใหม่ด้วยต๊อกกุก (ซุปเค้กข้าว) ซึ่งทำ�จากน้ำ�ซุปผสมฮวิน กาแรต๊อก (เค้กข้าวยาวสี ขาว) หั่นบางๆ ส่วนวันชูซอก (วันที่ 15 ของเดือนแปดตามปฏิทิน 14


บีบิมบับ - เป็นอาหารที่ท�ำ จากข้าวสวย ผักสด ผักตามฤดูกาล เนื้อวัวดิบบด และซอสพริก มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน (ด้านบน) พุลโกกี – อาหารที่เป็นตัวแทนของเกาหลี เนื้อวัวฉีกหรือหั่น หมักกับเครื่องปรุงรสผสมซอสถั่วเหลืองย่างไฟ (ด้านล่าง)

15


จันทรคติ) จะฉลองด้วยซงพยอน เค้กข้าวรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ขนาดพอดีคำ� แล้วยัดไส ้(โซ) (น้�ำ ผึ้ง เกาลัด ถั่ว หรืองาต่างๆ) ลง ไป มีร้านขายต๊อกชื่อดังหลายแห่งในย่านนักวนดงใจกลางกรุง โซล ชุก (โจ๊ก) ชุกเป็นโจ๊กสไตล์เกาหลี เป็นอาหารเหลวชนิดหนึ่งที่นำ�ธัญพืช ต่างๆ มาต้มในน้�ำ ให้เดือดเป็นเวลานาน แต่เดิมชุกนั้นเป็นอาหาร ที่ช่วยรักษา ี่มักทำ�ให้เด็กที่อาหารไม่ย่อยหรือคนชรา เป็นต้น แต่ ในปัจจุบันมีร้านขายชุกผุดขึ้นตามที่ต่างๆ มากมาย ส่วนประกอบที่ ใช้ในการทำ�มีหลายอย่าง มีการพัฒนาชุกที่ทำ�จากธัญพืชและผัก ให้มีความหลากหลายมากขึ้นจนนำ�ไปเสิร์ฟในร้านอาหารหรู ซึ่งมี บริษัทหลายแห่งเกิดขึ้นและนำ�ชุกผลิตเป็นรูปแบบกึ่งสำ�เร็จรูปออก จำ�หน่ายมากมาย

อินจอลมี (ขนมโมจิเกาหลี) อินจอลมีเป็นขนมโมจิเกาหลีรูปทรง สี่เหลี่ยมทำ�จากข้าวเหนียวนึ่ง แล้วนำ�ใส่ ครกตำ�ให้เหนียว คลุกด้วยผงถั่ว ซึ่งจะได้ ออกมาเป็นต็อกอีกหนึ่งชนิด ซึ่งเป็นที่นิยม อย่างมาก เนื้อสัมผัสนุ่มลิ้นเหนียวหนึบ ทั้งยังย่อยง่ายและอุดมไปด้วยคุณค่าทาง โภชนาการ

16

ชังกุกจุก (โจ๊กปรุงรสซอสถั่วเหลือง) ชังกุกจุกทำ�โดยการนำ�ข้าวเจ้าไปต้มให้ เละและเหนียว ใส่เนื้อวัวและเห็ดหอมลง ไปแล้วต้มจนเดือดจึงใส่คันจัง(ซอสถั่ว เหลือง) ลงไปเป็นอันเสร็จ เป็นอาหารที่ ดีอุดมไปด้วยโปรตีนซึ่งเหมาะกับผู้ที่มี ปัญหาระบบทางเดินอาหารหรือผู้สูงอายุ

คงกุกซู (ก๋วยเตีย ๋ วเย็นในน้�ำ ซุปถัว ่ เหลือง) อาหารเส้นเกาหลีจานนี้ทานโดยผสมเส้น ก๋วยเตี๋ยวที่ลวกแล้วกับน้�ำ ซุปที่ท�ำ จากถั่ว แช่น�้ำ แกะเปลือกและบดละเอียด ถั่วเป็น อุดมไปด้วยโปรตีนซึ่งในประเทศเกาหลี ยกย่องให้เป็น ‘เนื้อสัตว์จากสวน’ เลยที เดียว


กุกซู (ก๋วยเตี๋ยว) และแนงมยอน (บะหมี่เย็น) ก๋วยเตี๋ยวมีการพัฒนาไปอย่างมากมายในเกาหลี โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในงานแต่งงานจะเรียกว่าเป็น ‘ก๋วยเตี๋ยวงานฉลอง’ ซึ่งมี ประเพณีว่าจะนำ�เส้นก๋วยเตี๋ยวใส่ลงไปในน้�ำ ซุปร้อนๆ เสิร์ฟเป็น อาหารเลี้ยงต้อนรับให้แก่แขกที่มาร่วมงาน อาหารจานนี้มีความ เกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่องชีวิตการแต่งงานที่มีความสุข เพราะ อย่างนี้หากได้ยินคำ�ถามว่า “เมื่อไหร่เราจะได้กินก๋วยเตี๋ยว” ผู้ ฟังก็จะเข้าใจทันทีว่าผู้พูดหมายถึง “คุณวางแผนจะแต่งงานเมื่อ ไหร่” นอกจากนี้ยังนิยมกินกันในงานวันเกิด เนื่องจากสื่อถึงชีวิตที่ ยืนยาวมีสุขภาพดี แนงมยอน อาหารขึ้นชื่อที่เสิร์ฟพร้อมกับซุปเนื้อวัวเย็นและเส้น โซบะ ซึ่งแนงมยอนจะแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค เช่น ฮัม ฮึงแนงมยอนจะเป็นการคลุกแห้งกับซอสเผ็ดและพยองยางแนง มยอนจะเป็นการใส่ลงไปในน้�ำ ซุปเย็น ฮันจองซิก (อาหารชุดเกาหลี) ฮันจองซิกหรืออาหารชุดเกาหลี โดยทั่วไปมีเพียงข้าว ซุป และ กับข้าวอีกสามถึงห้าอย่าง (เป็นผักเสียส่วนใหญ่) เมื่อคนเริ่มมีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศเจริญเฟื่องฟู อาหารชุดในปัจจุบันจึงหรูหรามากขึ้นมีกับข้าวเพิ่มหลายสิบชนิด มีทั้งเมนูเนื้อและเมนูปลา แต่อาหารจานหลักสามอย่าง คือ ข้าว ซุป และกิมจิก็ยังเป็นอาหารยืนพื้นอยู่เช่นเดิม เมืองที่มีวัตถุดิบอุดม สมบูรณ์และมีความเป็นมิตรที่ดีอย่างเมืองชอนจูและเมืองควางจูใน ฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศมีชื่อในเรื่องอาหารชุดเกาหลีแบบ ดั้งเดิม อาหารในวัดเกาหลี อาหารในวัดเกาหลีคืออาหารที่ท�ำ ขึ้นและรับประทานในวัด ยัง คงรักษาขนบธรรมเนียมการปรุงอาหารในแบบของตนไว้ โดย ใช้ส่วนผสมนานาชนิดรังสรรค์เมนูอาหารที่หลากหลายรสชาติ 17


ฮันจองซิก (อาหารชุด เกาหลี) เป็นอาหารว่างทานเล่น เบาๆ เน้นธัญพืช กับข้าว และของหวาน มักจะแบ่ง เป็นชุดย่อยตามจำ�นวน กับข้าวที่เสิร์ฟ เช่น 3, 5, 7, 9 และ 12

เนื่องจากพระภิกษุสงฆ์ไม่ฉันเนื้อสัตว์จึงได้มีการพัฒนาสูตรอาหาร อย่างหลากหลายและมีถั่วและผักที่ช่วยเสริมโปรตีน ปัจจุบันผู้ที่รับ ประทานอาหารมังสวิรัติและผู้ที่ต้องควบคุมอาหารเนื่องด้วยเหตุผล ทางด้านสุขภาพให้ความสนใจในอาหารวัดสไตล์เกาหลีเป็นอย่าง มาก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เกาหลีมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หลากหลายประเภทแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องถิ่น ซึ่งผลิตขึ้นตามความต้องการของชุมชน ใช้ใน งานเทศกาล วันหยุด พิธีทำ�บุญรำ�ลึก และโอกาสมงคลต่างๆ เหล้าเกาหลีชั้นสูงแบบดั้งเดิม อาทิ เหล้ามุนแบจูที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่น มุนแบจู (เหล้าลูกแพรป่า) และซงจอลจู(เหล้าปุ่มไม้สน) ใน โซล ซันซองโซจู (เหล้ากลั่น) ในควางจู จังหวัดคยองกีโด ฮงจู (เหล้าแดง) และลีกังจู (เหล้ากลั่น) ในจังหวัดชอลลาโด โซกกจู (ไวน์ข้าว) ในฮันซัน จังหวัดชุงชองโด อินซัมจู (เหล้าโสม) ใน คึม ซัน คโยดงบอบจู (เหล้าข้าว) และอันดงโซจู (เหล้ากลั่น) ใน

18


คยองจู จังหวัดคยองซังบุกโด และอกซอนจู (เหล้ากลั่น) ในฮง ชอน จังหวัดคังวอนโด และอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีเหล้าดั้งเดิมตาม ท้องถิ่นและของครอบครัวต่างๆ อีกมากกว่า 300 ชนิด ปัจจุบันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบดั้งเดิมที่ได้รับความนิยมไปทั่ว เกาหลีก็คือ มักกอลลี (ไวน์ข้าว) อย่างเช่น นงจู (ไวน์ชาวนา) เป็นไวน์ข้าวที่เกษตรกรนิยมดื่มกันอย่างมาก ทักจู (ไวน์ขุ่น) เป็น ไวน์ข้าวที่มีลักษณะสีขาวขุ่น และทงดงจู เป็นไวน์ข้าวที่มีเมล็ด ข้าวลอยอยู่ ทำ�โดยการนำ�ข้าว ข้าวบาร์เลย์หรือข้าวสาลีไปนึ่ง จากนั้นนำ�ไปหมักกับยีสต์ แล้วปล่อยทิ้งไว้จนเกิดการหมักและ มีปริมาณแอลกอฮอล์ค่อนข้างต่�ำ กว่า 6-7% จัดเป็นเครื่องดื่มที่ มีดีกรีไม่แรงนัก มักกอลลีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าดีต่อสุขภาพ จึงเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ทั้งยังได้รับความสนใจจากทางผู้ผลิต ในด้านรสชาติท่เป็นเอกลักษณ์เช่นเดียวกันกับไวน์ มีการเปิด วิทยาลัยพิเศษและมีผู้เชี่ยวชาญด้านไวน์เกิดขึ้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกชนิดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากของ ชาวเกาหลีคือโซจู ซึ่งผลิตโดยผสมน้�ำ และสารปรุงกลิ่นรสลงใน แอลกอฮอล์ที่สกัดมาจากธัญพืชและมันเทศ โซจูนั้นมีปริมาณ แอลกอฮอล์สูงในขณะที่มีราคาไม่แพง จึงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่ หลาย ทั้งยังมีการส่งออกต่างประเทศเป็นจำ�นวนมาก มักกอลลี เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เกาหลีที่มีความเป็น เอกลักษณ์ ทำ�โดย การนำ�ข้าวเหนียว ข้าว เจ้า ข้าวบาร์เลย์ แป้ง สาลี ต่างๆ มานึ่ง แล้ว หมักกับน้�ำ และยีสต์

19


บ้านฮันอก (บ้านเกาหลีโบราณ) ชาวเกาหลีได้พัฒนาเทคนิคทางสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ เพื่อสร้างบ้านเรือนที่เหมาะสมกับธรรมชาติแวดล้อม ปกป้องคุ้ม ภัยให้กับผู้อยู่อาศัย ลักษณะพิเศษของบ้านฮันอก (บ้านเกาหลี โบราณ) คือระบบทำ�ความร้อนใต้พื้นเรือนที่เรียกว่า “อนดล” ที่ พัฒนาขึ้นเพื่อเอาชนะความหนาวเย็นในฤดูหนาว ซึ่งมีความหมาย ว่า “หินร้อน” อนดลนั้นได้มีการประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ก่อนที่จะมีการ พัฒนาบ้านฮันอก ซึ่งเป็นระบบทำ�ความร้อนที่เป็นเอกลักษณ์อย่าง มาก มีการสร้าง “กูดึล” (ท่อ) ที่พื้นใต้ดินบ้านเป็นทางยาว เมื่อมี บ้านฮันอก (บ้านเกาหลี โบราณ) บ้านซอแบ็กดังตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านยังดง แขวงยังดงลี เขตคังดง เมืองคยองจู จังหวัดคยองซังบุกโด

20

การจุดไฟที่อากุงอี (เตาไฟ) ในห้องครัวความร้อนและควันไฟ จะถูกส่งผ่านท่อกูดึลออกมาที่ทางกุลดุก (ปล่องไฟ) ซึ่งเป็นระบบ ถ่ายเทความร้อนที่ออกแบบได้สอดคล้องกับทางวิทยาศาสตร์อย่าง ยิ่ง


อีกหนึ่งรูปแบบของการสถาปัตยกรรมที่พัฒนาขึ้นสำ�หรับฤดูร้อน ที่มีทั้งความร้อนและความชื้น เพื่อความรื่นรมย์ในการอยู่อาศัย โดยการใช้ “มารู” ซึ่งมารูจะมีช่องว่างจากพื้นเพื่อวางไม้กระดาน ให้อากาศทั้งความร้อนและความเย็นไหลเวียนได้ดี ซึ่งเป็นระบบ ทำ�ความเย็นธรรมชาติที่สร้างสรรค์มาอย่างดี ระบบอัจฉริยะนี้รวม เอาทั้งระบบร้อนอนดลและระบบเย็นมารูเข้าด้วยกันซึ่งทำ�ให้บ้าน ฮันอกเป็นบ้านตามหลักวิทยาศาสตร์ที่ออกแบบได้อย่างมีระบบ ทำ�ให้บ้านเกาหลีแบบดั้งเดิมนี้เหมาะแก่การอยู่อาศัย ทั้งอบอุ่น สบายในฤดูหนาวที่เย็นยะเยือกและเย็นสดชื่นในฤดูร้อนที่แดด แผดเผา หลังคาของบ้านฮันอกมักใช้ “กีฮวา”(กระเบื้องดิน) ที่ท�ำ จากดินอบ และทำ�ได้หลายสีสันหรือฟางที่นำ�มาถักเป็นหลังคา ยกตัวอย่างเช่น ทำ�เนียบของประธานาธิบดีเกาหลี ช็องวาแด ซึ่งมีความหมายว่า “บ้านกระเบื้องสีฟ้า” ก็เพราะใช้กระเบื้องสีน�้ำ เงินมุงหลังคาเหมือน ดังชื่อ บ้านฮันอกที่สร้างจากไม้หากให้การดูแลรักษาอย่างเหมาะสมจะ สามารถอยู่ได้อย่างยาวนาน บ้านฮันอกที่ชี้ให้เห็นว่าดีที่สุดคือ บ้านที่มีภูเขาอยู่ด้านหลังเพื่อป้องกันลมเย็นและมีแม่น�้ำ อยู่ด้าน หน้าเพื่อความสะดวกต่อการใช้สอย เช่น หอคึงนักจอน แห่งวัด พงจองซา ในป่าชอนดึงซาน เมืองอันดง จังหวัดคยองซังบุกโด ซึ่ง สร้างขึ้นก่อนปี 1363 เป็นสิ่งก่อสร้างเก่าแก่ที่สุดของเกาหลีที่ท�ำ จากไม้และยังคงอยู่ โครงสร้างอาคารยังคงสภาพเดิมแม้ว่าเวลา ได้ล่วงเลยมาแล้วกว่า 650 ปี บ้านฮันอกที่งดงามถูกพัฒนาขึ้นเพื่อ ให้ผู้คนได้ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยได้อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ นอกจากนี้ชาวต่างชาติต่างหลงใหลในระบบและความสวยงามขอ งบ้านฮันอกอีกด้วย ในปัจจุบันชาวเกาหลีชอบที่จะอยู่บ้านสมัยใหม่ ประชากรในกรุง โซลกว่า 60% อาศัยอยู่ในอพาร์ตเมนต์สมัยใหม่ แต่สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือ อาคารสูงหลายชั้นเหล่านี้ใช้ระบบความร้อนที่ได้แนวคิดมา จากระบบอนดลอันเก่าแก่เกือบทุกแห่ง บ้านเดี่ยวที่สร้างขึ้นใหม่ 21


ศาสตราจารย์โรเบิรต ์ ฟูเซอร์ (Robert Fouser, Robert J. Fouser) ผูร้ ก ั ในฮันอก ศาสตราจารย์โรเบิรต ์ ฟูเซอร์ เป็นชาวต่างชาติคนแรกทีม ่ หาวิทยาลัยแห่งชาติ โซลว่าจ้างให้สอนนักศึกษาในภาควิชาการศึกษาภาษาเกาหลี รับตำ�แหน่ง สอนชาวต่างชาติและปัจจุบน ั ดำ�รงตำ�แหน่งสอนนักศึกษาระดับปริญญาโท ซึง่ มีความสนใจในบ้านเกาหลีแบบดัง้ เดิมหรือฮันอกเป็นอย่างมาก ศาสตราจาร ย์โรเบิรต ์ มีความรักในภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีมาช้านาน โดยก่อนหน้านี้ ได้จด ั ตัง้ วิชาเลือกภาษาเกาหลีและสอนภาษาเกาหลีทม ่ี หาวิทยาลัยคาโกชิมา่ ประเทศญีป ่ น ุ่ ด้วยความรักในภาษาเกาหลีและหลงใหลในบ้านฮันอก บ้านฮันอกหลังเก่า ของเขาตัง้ อยูท ่ บ ่ี ก ุ ชน ย่านใจกลางเมืองโซล ยังคงความสวยงามผ่านร้อนผ่าน หนาวมาหลายปี จนกระทัง่ ได้ยา้ ยไปอาศัยอยูท ่ ซ ่ี อชน เขตเก่าแก่แห่งหนึง่ ของกรุงโซลและพักอาศัยอยูใ ่ น บ้านฮันอกทีป ่ รับปรุงใหม่ จนกระทัง่ ถึงปัจจุบน ั โรเบิรต ์ ไม่ได้รก ั เพียงแค่บา้ นทีพ ่ �ำ นักอาศัยอยูเ่ ท่านัน ้ แต่ยงั รักในภูมท ิ ศ ั น์แวดล้อมทีม ่ ต ี รอกซอกซอยคดเคีย ้ วเลีย ้ วลดไปตามบ้านฮันอกหลังอืน ่ ๆ ทีอ ่ ยูใ ่ นละแวกและ โอบล้อมด้วยธรรมชาติงดงาม จึงได้จด ั กิจกรรมรณรงค์อนุรก ั ษ์ทเ่ี รียกว่า “ฮันอกแจซองรน” ขึน ้ ไม่วา่ จะ เป็นบ้านฮันอกทีบ ่ ก ุ ชนและซอชนหรือแม้กระทัง่ พืน ้ ทีอ ่ น ่ื ๆ ด้วยความทีส ่ นใจในบ้านฮันอกอย่างมากในเรือ ่ ง ของระบบของบ้านฮันอกในฐานะทีเ่ ป็นพืน ้ ทีอ ่ ยูอ ่ าศัย และเพือ ่ ทีจ ่ ะสามารถให้ทก ุ คนได้ตระหนักถึงคุณค่า ของบ้านฮันอกทีอ ่ ยูม ่ าจนทุกวันนี้

22


ก็น�ำ ภูมิปัญญาอันเก่าแก่นี้มาใช้เช่นเดียวกัน แต่เปลี่ยนมาใช้ท่อ โลหะฝังใต้พื้นเรือนแทนท่อนำ�ความร้อนแบบดั้งเดิมโดยใช้แก๊ส หรือไฟฟ้าเป็นตัวสร้างความร้อนให้กับน้ำ�ในท่อ ปัจจุบันระบบ “อนดล” ไม่ได้มีแค่ในเกาหลีแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นที่นิยมใน ประเทศต่างๆ เป็นอย่างมาก

บ้านฮันอก (บ้านเกาหลี โบราณ) บ้านโบราณของยูนจึง นักปราชญ์ที่มีชีวิตอยู่ใน ยุคปลายรัชสมัยโชซอน (1392-1910) ตั้งอยู่ที่ แขวงโคชนรี เขตโนซอง เมียน เมืองนนซัน จังหวัด ชุงชองนัมโด หรือที่เรียก กันว่า “มยองแจโคแทก” ตามนามปากกา

23


วันหยุดเทศกาลและการเฉลิมฉลองต่างๆ เทศกาล เกาหลีเป็นสังคมเกษตรกรรมจวบจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 สังคมใน อดีตจึงมีวิถีชีวิตตามฤดูกาลขึ้นอยู่กับปฏิทินจันทรคติ เนื่องจากการ ดำ�รงชีวิตที่พึ่งพาการเกษตรเป็นหลักจึงมีการประกอบพิธีกรรมกึ่ง ศาสนาขึ้นเพื่ออธิษฐานมากมายต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขอให้การเก็บเกี่ยว ได้ผลดีและมีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาก็ค่อยๆ พัฒนา กลายมาเป็นงานเทศกาลเฉลิมฉลองประจำ�ชุมชม ซึ่งกิจกรรมต่างๆ จะขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละภูมิภาคและจันทรคติ การเริ่มต้นปีใหม่ในวันที่ 1 เดือนมกราคม ตามปฏิทินจันทรคติ คือการกินต็อกกุก (ซุปเค้กข้าว) ซึ่งหมายถึงอายุที่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่ง ปี ในวันเทศกาลนี้จะมีการเซแบ (โค้งคำ�นับ) แสดงความอวยพร ต่อผู้ใหญ่ให้มีอายุยืนนาน เมื่อผู้ใหญ่ได้รับการโค้งคำ�นับจะมี ประเพณีว่าจะมอบเงินปีใหม่ที่เรียกกันว่าเซแบดนให้กับผู้ที่คำ�นับ วันที่ 15 เดือนมกราคม ตามปฏิทินจันทรคติจะเป็นวันแทโบรึม (วันพระจันทร์เต็มดวง) ในวันนั้นผู้คนจะกินอาหารพิเศษที่เรียกว่า 1

โอกกบับ ซึ่งทำ�มาจากธัญพืชห้าชนิดและทานพร้อมกับอาหารที่

2

ปรุงด้วยพืชผักนานาชนิด มีการละเล่นที่เน้นให้เกิดความสามัคคี

1. เซแบ (โค้งคำ�นับวัน ปีใหม่) เซแบคือวันซอลนัล(วัน ที่ 1 เดือนมกราคม ตาม ปฏิทินจันทรคติ) เป็น ประเพณีโค้งคำ�นับ ทักทายในวันปีใหม่โดย คนที่อายุน้อยกว่าจะ ทำ�การโค้งคำ�นับให้แก่ผู้ ที่มีอายุมากกว่า

เป็นน้�ำ หนึ่งใจเดียวของคนในชุมชนและทำ�พิธีกรรมเพื่อขอให้เก็บ

2. ชูซอกและการทำ�ซง พยอน วันชูซอก(วันที่ 15 เดือน สิงหาคม ตามปฏิทินตาม จัทรคติ) ที่เป็นตัวแทน แห่งเทศกาลของประเทศ เกาหลี ครอบครัวจะ ทำ�ซงพยอนเป็นอาหาร หลักในวันชูซอก

ความสำ�คัญไม่แพ้งานฉลองปีใหม่ตามจันทรคติ

24

เกี่ยวได้ผลดี ชูซอกเป็นงานที่จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ�เดือน 8 ตาม ปฏิทินจันทรคติ มีการจัดพิธีแสดงความขอบคุณโดยนำ�พืชผักผล ไม้ที่เพิ่งเก็บเกี่ยวได้มาใหม่มอบให้กับดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ และธรรมชาติ งานชูซอกเป็นหนึ่งในสองงานเทศกาลประจำ�ปีที่ สมาชิกทุกคนในครอบครัวจะมารวมตัวกัน นับเป็นงานเทศกาลที่มี วันเฉลิมฉลอง พ่อแม่ชาวเกาหลีจะจัดงานวันครบรอบหนึ่งร้อยวันให้กับเด็กที่เกิด ใหม่ เรียกว่าวันแพกิลจันชี ในวันเกิดปีแรกจะจัดงานฉลองที่เรียก ว่าโทลจันชีให้กับลูก มีการจัดงานฉลองใหญ่และเชิญญาติสนิท


25


มิตรสหายมาร่วมงาน โดยปกติมักจะจัดงานเลี้ยงฉลองขนาดใหญ่ มีการทำ�พิธีขอพรให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง ประสบความสำ�เร็จใน ชีวิตและอายุยืนยาว มีวัฒนธรรมว่าผู้ร่วมงานจะมอบแหวนทองให้ กับเด็กเป็นของขวัญพิเศษ งานแต่งงานแบบดั้งเดิม พิธีแต่งงานของเกาหลีแบบ ดั้งเดิมมีสามขั้นตอน เริ่ม จากช็อนอัลเล เจ้าบ่าวจะ ไปเยี่ยมครอบครัวของเจ้า สาวพร้อมห่านแกะสลักที่ ทำ�จากไม้ ขั้นที่สองคือ คยอแบเร ในขั้นตอนนี้คู่ บ่าวสาวจะโค้งคำ�นับซึ่ง กันและกันต่อหน้าโชรเย ซัง(โต๊ะทำ�พิธี) และขั้น สุดท้าย ฮับกึลเล ที่คู่บ่าว สาวจะสลับกันดื่มเหล้า แต่งงาน ภาพนี้แสดงขั้น ตอนคยอแบเร ที่คู่บ่าว สาวกำ�ลังโค้งคำ�นับซึ่งกัน และกัน

26

งานแต่งงานถือเป็นอีกหนึ่งงานเฉลิมฉลองที่ส�ำ คัญมากของคน เกาหลี ก่อนศตวรรษที่ 20 แม้เป็นช่วงที่สังคมเกาหลีมีการแยก เพศของชายหญิงอย่างเข้มงวด โดยส่วนมากพ่อแม่ของพวกเขา ใช้แม่สื่อจัดการเรื่องการแต่งงานให้กับลูก แต่ในปัจจุบันถือเป็น เรื่องธรรมดาอย่างมากที่จะรักและคบกันได้อย่างอิสระ จนกระทั่ง แต่งงาน ชาวเกาหลีเรียกปี เดือน วัน และเวลาเกิด ว่าซาจู (สี่เสาแห่งโชค ชะตา) ซึ่งเชื่อกันว่ามีอิทธิพลต่อชะตากรรมของผู้คน ในปัจจุบันมี ธรรมเนียมการหาหมอดูทำ�นายทายทักโชคลาภในวันปีใหม่และ ก่อนแต่งงานจะแลกเปลี่ยนซาจู (เวลาตกฟาก) เพื่อนำ�ไปดูดวง


เพราะความเชื่อที่ว่าซาจูจะมีผลต่อโชคชะตาของผู้คนนั้นเอง งานแต่งงานดั้งเดิมจะเป็นเหมือนกับงานเทศกาลของหมู่บ้าน ทุก คนในชุมชนจะมารวมตัวกันเพื่อร่วมเฉลิมฉลองกับเจ้าบ่าวเจ้าสาว ซึ่งเจ้าสาวจะใส่ชุดฮวัลโรชที่หรูหราและสวมฮวากันที่ศีรษะ เจ้า บ่าวจะใส่ชุดควันบกที่เรียกว่าซาโมกวันแด ซึ่งครอบครัว ญาติๆ และผู้คนในหมู่บ้านจะมาร่วมอวยพรให้แก่บ่าวสาว และจัดงาน อย่างยิ่งใหญ่ ในเกาหลีจะถือว่าเด็กมีอายุหนึ่งขวบทันทีที่เกิดและในวันเกิดปีที่ 59 จะเรียกว่าฮวันกับชี (แซยิด) และอายุ 60 มีความหมายที่ลึกซึ้ง ตามคติความเชื่อของคนเกาหลีเนื่องจากสื่อถึงการผ่านรอบนักษัตร ครบห้ารอบ เมื่ออายุครบ 60 ปีตามอายุเกาหลีจะถือเป็นผู้สมควรได้ รับการเคารพยกย่อง เนื่องจากเป็นผู้ที่มีวัยวุฒิ ผ่านประสบการณ์ ร้อนหนาวมาอย่างครบถ้วน ซึ่งจะมีการจัดงานอวยพรให้อย่างยิ่ง ใหญ่ แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยมีการจัดงานฮวันกับชีมากนัก เนื่องจาก คนเกาหลีมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึง 80 ปี จึงมีประเพณีใหม่คือการ ฉลองเมื่ออายุครบ 70 ปีขึ้นมาแทน วันหยุดประจำ�ชาติ รัฐบาลเกาหลีก�ำ หนดให้มีวันหยุดประจำ�ชาติ 5 วัน ดังนี้ วัน อนุสรณ์แห่งการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช (ซัมอิลจอล) วันที่ 1 เดือน มีนาคม ปี 1919) เป็นวันเพื่อรำ�ลึกถึงการเคลื่อนไหวครั้งแรกซึ่ง เป็นหนึ่งในเหตุการณ์เริ่มแรกที่สาธารณชนเกาหลีออกมาต่อต้าน การยึดครองประเทศของญี่ปุ่น วันรัฐธรรมนูญ (เชฮอนจอล) วันที่ 17 กรกฎาคมเป็นวันอนุสรณ์การประกาศใช้รัฐธรรมนูญในเกาหลี เมื่อปี 1948 วันประกาศอิสรภาพ (ควางบกจอล) วันที่ 15 สิงหาคม ปี 1945 เป็นวันอนุสรณ์การประกาศอิสรภาพจากจักรวรรดิญี่ปุ่น และวัน สถาปนาประเทศ (แกชอนจอน) เป็นวันอนุสรณ์การก่อตั้งอาณา จักรโคโชซอน ซึ่งเป็นรัฐแห่งแรกของชาติเกาหลี เมื่อวันที่ 3 เดือน 10 ตามปฏิทินจันทรคติในปี 2333 ก่อนคริสต์ศักราช และ 27


วันฮันกึล (ฮันกึลนัล) วันที่ 9 ตุลาคม ปี 1446 เป็นวันอนุสรณ์ เพื่อรำ�ลึกถึงการประดิษฐ์และประกาศใช้ระบบเขียนภาษาเกาหลี วันหยุดประจำ�ชาติทั้ง 5 วันนี้ถือเป็นวันหยุดราชการ ยกเว้นวัน รัฐธรรมนูญ (เชฮอนจอล) วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันขึ้นปีใหม่ 1 มกราคมเป็นวันหยุดราชการ วันซอลนัล (วันที่ 1 มกราคม ตามจันทรคติ) และวันชูซอก (วันที่ 15 สิงหาคม ตาม จันทรคติ) แต่ละวันจะนับวันก่อนหน้าและหลังวันนั้นๆ เป็นวัน หยุด ซึ่งรวมเป็น 3 วัน นอกจากนี้ วันประสูติของพระพุทธเจ้า วัน ที่ 8 เมษายน ตามจันทรคติ, วันเด็ก (วันที่ 5 พฤษภาคม), วันรำ�ลึก ถึงวีรชนแห่งชาติ (วันที่ 6 มิถุนายน) และวันคริสต์มาส (วันที่ 25 ธันวาคม) ได้ถูกกำ�หนดให้เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ด้วย วันหยุด นักขัตฤกษ์ของเกาหลีใต้จะรวมหยุดประจำ�ชาติไว้ด้วยและยกเว้น เพียงวันรัฐธรรมนูญ (เชฮอนจอล) ซึ่งรวมแล้วจะมีวันหยุดนักขัต ฤกษ์ทั้งหมด 15 วัน

ศาสนา เกาหลีนั้นมีตั้งแต่ลัทธิชาแมน ศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธ ลัทธิขงจื๊อ ไปจนถึงศาสนาอิสลาม ซึ่งศาสนาต่างๆ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่าง สงบสุข จากข้อมูลสถิติประจำ�ปี 2005 ประชากรเกาหลีร้อยละ 53 นับถือศาสนา ในขณะที่ข้อมูลสถิติในปี 2008 แสดงให้เห็นว่ามี นิกายทางศาสนา ต่างๆ มากว่า 510 แห่งที่เกิดขึ้นมาเอง แนวคิดของศาสนาพุทธและลัทธิจงจื๊อฝังรากลึกต่อชาวเกาหลี และ มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศกว่าครึ่งหนึ่งที่ขึ้นทะเบียนไว้มี ความเกี่ยวข้องกับศาสนาทั้งสองนี้ ตั้งแต่ศาสนาพุทธเข้ามาในเกาหลีเมื่อปีคริสต์ศักราช 372 มีการ สร้างวัดวาอารามขึ้นหลายหมื่นแห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีจำ�นวนคนที่ นับถือศาสนาพุทธมากกว่าผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ลัทธิขงจือ ๊ ถือเป็นอุดมการณ์แห่งรัฐในยุคสมัยโชซอน (139228


วันหยุดนักขัตฤกษ์ของเกาหลี

1 มกราคม

วันแรกของปี วันแรกของปีตามปฏิทินจันทรคติ วันปีใหม่ รับประทานต็อกกุก (ซุปเค้กข้าว) เป็นการเติบโตขึ้นอีก ซอลนัล (ปฏิทินจันทรคติ) หนึ่งปี และทำ�การแซเบ (การโค้งคำ�นับ) ผู้หลักผู้ใหญ่ อย่างนอบน้อม

ฉลองเพื่อรำ�ลึกถึงอย่างยิ่งในการเคลื่อนไหวครั้งแรก

1 มีนาคม

วันอนุสรณ์แห่ง ในเดือนมีนาคม เป็นการเคลื่อนไหวของสาธารณชน การเคลื่อนไหวเพื่อ อย่างยิง่ ใหญ่ เพื่อต่อต้านการยึดครองเกาหลีจากการ เอกราช เป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นเมื่อปี 1919

เฉลิมฉลองวันประสูติของพระศากยมุนีพุทธเจ้า

8 เมษายน

วันประสูตข ิ อง มีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองขึ้นตามวัดต่างๆ ทั่วเกาหลี พระพุทธเจ้า ในวันอาทิตย์ก่อนวันประสูติของพระพุทธเจ้า จะมี (ปฏิทน ิ จันทรคติ) ขบวนแห่โคมลอยรูปดอกบัวเรียงรายตามถนนชงโน

5 พฤษภาคม 6 มิถุนายน

วันเด็ก

มีการจัดกิจกรรมสนุกสนานมากมายเพื่อเด็กๆ ทั่ว ประเทศ มีการจัดพิธีฮยอนจุงชิก (พิธีอนุสรณ์) ณ สุสาน

วันรำ�ลึกถึงวีรชน แห่งชาติเพื่อเป็นเกียรติและรำ�ลึกถึงเหล่าวีรชนและ แห่งชาติ ทหารผ่านศึกผู้สละชีพเพื่อชาติ

ฉลองการประกาศอิสรภาพในปี 1945 สิ้นสุดการยึด ครองที่ยาวนาน 35 ปีของญี่ปุ่น และในวันเดียวกัน 15 สิงหาคม วันประกาศอิสรภาพ นี้ในปี 1948 ก็ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ เกาหลีขึ้น

15 กันยายน

3 ตุลาคม 9 ตุลาคม 25 ธันวาคม

ชูซอก (ปฏิทินจันทรคติ)

วันโบรึมนัลในเดือนสิงหาคมตามจันทรคติ หรือที่รู้จัก กันในชื่ออื่นๆ เช่น ชูซอกและฮันกาวี คืองานเทศกาล ที่จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ�เดือน 8 ตามจันทรคติ เป็น วันที่ครอบครัวมารวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองและทำ� พิธีไหว้บรรพบุรุษ ในตอนกลางคืนผู้คนจะออกมาชม พระจันทร์เต็มดวงและอธิษฐานขอพร ฉลองการก่อตั้งอาณาจักรโคโชซอน รัฐแห่งแรก

วันสถาปนาประเทศ ของเกาหลี โดยพระเจ้าทันกุนในปี 2333 ก่อนคริสต์ ศักราช

รำ�ลึกถึงการประดิษฐ์และประกาศใช้ระบบเขียนภาษา วันฮันกึล (วันภาษาเกาหลี) เกาหลีหรือฮุนมินจอนกึม (ฮันกึล)

คริสต์มาส

ฉลองวันประสูติของพระเยซูคริสต์ มีกิจกรรมทาง ศาสนาและงานรื่นเริงต่างๆ มากมาย รวมทั้งชาวคริสต์ และผู้ที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ทุกคนที่มาฉลองกัน

1910) จัดเป็นระบบศีลธรรมหน้าที่พลเมืองมากกว่าศาสนา เน้น ถึงความสำ�คัญของความกตัญญูกตเวที ซื่อสัตย์ภักดี และการ ไหว้บรรพบุรุษ ผู้นับถือลัทธิขงจื๊อให้ความสำ�คัญกับการไหว้ บรรพบุรุษ โดยเชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษมีอิทธิผลต่อชีวิต ของลูกหลาน จึงพยายามหาสถานที่อันเป็นมงคลที่เหมาะแก่การ 29


วัฒนธรรมทางศาสนาต่างๆ ปัจจุบันในเกาหลีมีความ หลากหลายของกลุ่มชาติ พันธุ์ หลากหลายทาง วัฒนธรรม หลากหลายทาง สังคม และศาสนา ซึ่งความ เชื่อความศรัทธาที่หลาก หลายนี้ รัฐบาลจึงได้ออก กฎหมายเพื่อคุ้มครองความ แตกต่างทางด้านศาสนา คนเกาหลีมีอิสระในการ เลือกนับถือศาสนาได้ตาม ความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น ศาสนาหลัก ได้แก่ ศาสนา คริสต์ พุทธ ขงจื๊อ ศาสนา พุทธนิกายวอน ลัทธิชอน โดกโย ลัทธิมินจกจงกโย และศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ความเชื่อที่เป็นอิสระ ของแต่ละบุคคล

สร้างสุสานฝังบรรพบุรุษ แต่ในปัจจุบันผู้คนได้หันไปใช้พิธีการเผา ศพแทนการฝังมากขึ้นเรื่อยๆ ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกได้เข้ามาในเกาหลีผ่าน นักการทูต เกาหลีที่เดินทางไปปักกิ่งและบาทหลวงชาวตะวันตกที่ลักลอบเข้า เมืองในช่วงปลายรัชสมัยโชซอนผู้นับถือศาสนาโรมันคาทอลิกใน ช่วงแรกต้องเผชิญหน้ากับการข่มเหงรังแกอย่างรุนแรง แต่กระนั้น ศาสนาก็ยังคงเผยแผ่ต่อไปทั่วประเทศ การห้�ำ หั่นเข่นฆ่าผู้นับถือ ศาสนาโรมันคาทอลิกของกษัตริย์ในสมัยโชซอนทำ�ให้เกาหลี กลายเป็นประเทศที่มีนักบุญชาวคริสต์มากที่สุดเป็นอันดับสี่ของ โลก ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์เข้ามาในเกาหลีในช่วงปลายยุค สมัยโชซอน ศตวรรษที่ 19 โดยมิชชันนารีจากทวีปอเมริกาเหนือ และได้รับการยอมรับจากประชาชนอย่างรวดเร็วผ่านการให้ บริการทางการแพทย์และการศึกษา ทุกวันนี้ชาวโปรเตสแตนต์ ในเกาหลีได้ก่อตั้งสถาบันการศึกษามากมาย ทั้งโรงเรียนมัธยม วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และศูนย์การแพทย์

ผู้นับถือแต่ละศาสนา (%) 1 2

1. โบสถ์ชุงดงโบสถ์ คริสตจักรนิกาย เมธอดิสท์แห่งแรกในกรุง โซล (Chungdong First Methodist Church) โบสถ์คริสตจักรนิกาย โปรเตสแตนต์แห่งแรกตั้ง อยู่ที่ชองดงในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ 2. เทศกาลขบวนแห่โคม ไฟดอกบัว งานเทศกาลเพื่อเป็นการ รำ�ลึกวันประสูติของพระ ศากยมุนีพุทธเจ้า วันขึ้น 8 ค่ำ�เดือน 4 ตามจันทรคติ

30

ศาสนาพุทธ 43 % 10.726

อื่นๆ 1.9 % 483

ปี 2005

โปรเตสแตนต์ 34.5 % 8.616

โรมันคาทอลิก 20.6 % 5.146

※ ศาสนาอื่นๆ ได้แก่ ลัทธิขงจื๊อ ศาสนาพุทธนิกายวอน ลัทธิซึงซานกโย ลัทธิชอนโดกโย ลัทธิแทจงกโย รวมถึงศาสนาอิสลาม (หน่วย: พันคน ที่มา: สำ�นักงานสถิติเกาหลี)


31


สถาปัตยกรรมภายในของ โบสถ์มยองดง กรุงโซล

นอกจากนี้ ศาสนาพื้นเมืองหรือความเชื่อดั้งเดิมยังคงฝังรากอยู่ ในสังคมเกาหลี อาทิ ลัทธิชอนโดกโย ศาสนาพุทธนิกายวอน และ ลัทธิแทจองกโย ซึ่งถึงแม้จะโดนมรสุมแห่งการเปลี่ยนแปลงเข้า สู่เกาหลีสมัยใหม่โหมกระหน่ำ�ซ้ำ�หลายครั้งหลายครา แต่ก็ยังมีผู้ นับถือเพิ่มมากขึ้น ลัทธิชอนโดกโยมีรากฐานมาจากศาสตร์ตะวัน ออก (ดงฮัก) ในศตวรรษที่ 19 ที่ยึดมั่นในหลักปรัชญา “มนุษย์คือ สวรรค์ (อินแนชอน)” อันเป็นความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการ สร้างความทันสมัยในเกาหลีเป็นอย่างมาก ลัทธิแทจองกโย ก่อตั้งขึ้นเพื่อบูชาพระเจ้าทันกุน กษัตริย์ผู้สร้าง รัฐเกาหลีแห่งแรกขึ้น เป็นลัทธิความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของ ประชาชนชาวเกาหลีทั่วไปเสริมสร้างให้เกิดความรักชาติ ในปี 1955 เกาหลีได้มี “อิหม่าม” (ผู้น�ำ ในศาสนาอิสลาม) ชาวเกาหลี คนแรกและสมาคมสังคมมุสลิมเกาหลีเกิดขึ้น ตามมาด้วยการจัด ตั้งศูนย์กลางมุสลิมเกาหลีในปี 1967 ปัจจุบันมีสถานที่ละหมาด

32


มัสยิดกลางแห่งกรุงโซล อยู่ในเขตอีแทวอน ใน กรุงโซล

ประมาณ 60 แห่งทั่วเกาหลี และมีมุสลิมชาวเกาหลีราว 100,000 คน นอกจากศาสนาเหล่านี้แล้ว ยังมีผู้ที่นับถือลัทธิทรงเจ้าเข้าผีที่มี บทบาทสำ�คัญในการทำ�นายโชคชะตาและดูแลวิญญาณ เมื่อจะทำ� ธุรกิจหรือแต่งงานผู้คนมักจะไปดูดวงก่อน

33


สังคม 사회


2

เกาหลีใต้ - บทนำ� การศึกษา การวิจัยและแรงงานอุตสาหกรรม และระบบสวัสดิการสังคม การเปลี่ยนผ่านเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม


รัสเซีย

จีน ภูเขาแพ็กดูซาน

ภูเขามโยฮยังซาน

เปียงยาง ภูเขาคึมกังซาน

ทะเลตะวันออก

ภูเขาซอลรักซาน

เกาะแพกรยองโด

แคซอง เกาะคังฮวาโด

โซล

อินชอน

เกาะอุลลึงโด ภูเขาแทแบ็กซาน

ทะเลสีเหลือง (ทะเลตะวันตก)

แดจอน

ควางจู

เก

เกาะคอเจโด

มาตราส่วน

คำ�อธิบายสัญลักษณ์

ปูซาน

ช่อ งแ คบ

อุลซัน ภูเขาจีรีซาน

าห

ลี

แดกู

เกาะชินโด

เส้นเขตแดน

เมืองหลวง เมือง ภูเขา

ช่องแคบเจจู ภูเขาฮัลลาซาน

ญี่ปุ่น 36

เกาะทกโด


2 สังคม 사회

เกาหลีใต้ - บทนำ� ลักษณะทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศ คาบสมุทรเกาหลี (ละติจูด 33˚ - 43˚, ลองติจูด 124˚ - 132˚) ตั้งอยู่ กลางเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ มีประเทศจีนขนาบอยู่ทางตะวัน ตกและญี่ปุ่นทางตะวันออก มีความยาวตามแนวลองติจูด 950 กิโลเมตร ความกว้างตามแนวละติจูด 540 กิโลเมตร และมีเนื้อที่ ทั้งหมด 223,405 ตร.กม. โดย 100,283.9 ตร.กม. เป็นพื้นที่ของ เกาหลีใต้ (ปี 2014) ทิศเหนือติดกับทวีปเอเชีย และล้อมรอบด้วย ทะเลทั้ง 3 ด้าน มีพื้นที่ราบ 30% และพื้นที่ที่เป็นภูเขา 70% แม้ว่า พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขา แต่มีภูเขาที่สูงกว่าระดับน้�ำ ทะเล 1,000 เมตร เพียง 15% และสูงต่�ำ ว่า 500 เมตร คิดเป็น 65% ของพื้นที่ ภูเขา

ภาพรวมเกาหลีใต้ ชื่อประเทศ: สาธารณรัฐเกาหลี

เวลามาตรฐาน: 9 ชั่วโมงก่อนเวลามาตรฐานกรีนิช

เมืองหลวง: โซล (ตั้งแต่ปี 1394)

ประชากร: 51.33 ล้านคน (ปี 2014)

เพลงชาติ: เอกุกกา

ระบบการเมือง: เสรีประชาธิปไตย, ระบบประธานาธิบดี

ธงชาติ: แทกึกกี

ประธานาธิบดี: ปัก กึน เฮ (ตั้งแต่ปี 2013)

ดอกไม้ประจำ�ชาติ: มูกุงฮวา (ชบา)

ตัวบ่งชี้ด้านเศรษฐกิจ (2014)

ภาษา: เกาหลี, ฮันกึล

- GDP: 1,449.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขนาดพื้นที่: 223,405 ตร.กม. (รวมเกาหลีเหนือ)

- รายได้ประชาชาติต่อหัว: 28,180 ดอลลาร์สหรัฐ

ขนาดพื้นที่เกาหลีใต้: 100,283.9 ตร.กม. (ปี 2014)

- อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ: 3.3%

สถานที่ทางภูมิศาสตร์: คาบสมุทรเกาหลีใต้

- สกุลเงิน: วอน (1 ดอลลาร์สหรัฐ = 1,099.3 วอน

(ละติจูด 33˚ - 43˚, ลองติจูด 124˚ - 132˚)

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว)

37


เทือกเขาแทแบ็กซานแม็กพาดยาวผ่านคาบสมุทร โดยเทือกเขา ฝั่งตะวันออกจะมีความสูงชันกว่าทางฝั่งตะวันตก แม่น้ำ�สายเล็ก และใหญ่มีต้นน้�ำ มาจากพื้นที่ภูเขาสูงในเขตตะวันออกและไหลมา บรรจบลงทะเลตะวันตกและทะเลใต้ ก่อให้เกิดพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ� ที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกธัญพืช สภาพอากาศอันเกิดจากพื้นที่ ภูเขาทางฝั่งตะวันออกมีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คน ลมตะวันออกที่ พัดผ่านเทือกเขาสูงก่อให้เกิดปรากฏการณ์เฟิห์น (Foehn effect) ตามเทือกเขาด้านทิศตะวันออกข้ามไปยังทิศตะวันตก ก่อให้เกิดลม ที่แห้งแล้ง แม้จะทำ�ให้เส้นทางการเดินทางมีความยากลำ�บากและ การพัฒนาล้าหลัง แต่ด้วยทิวทัศน์ตามธรรมชาติที่สวยงาม ปัจจุบัน นี้จึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงดูดผู้คนมากมายให้มาสัมผัส แนวชายฝั่งทะเลตะวันออกค่อนข้างเรียบตรง ไม่มีลักษณะพิเศษ และมีระดับน้�ำ ขึ้นน้�ำ ลงต่างกันเพียง 30 เซนติเมตร เท่านั้น แต่ ทะเลรอบชายฝั่งมีความลึกมากกว่า 1,000 เมตร จากข้อมูลการวัด ด้วยคลื่นเสียงโซนาร์ที่จัดทำ�ขึ้นโดยทบวงกิจการทางมหาสมุทร และอุทกศาสตร์แห่งเกาหลี แสดงให้เห็นว่าส่วนที่ลึกที่สุดของทะเล ตะวันออกอยู่ที่บริเวณตอนเหนือของเกาะอุลลึงโด (ลึก 2,985 เมตร) ในทางกลับกันทะเลทางฝั่งตะวันตกมีลักษณะตื้นเขินซึ่งก่อ ให้เกิดลักษณะทางธรณีเป็นที่ราบที่น้ำ�ขึ้นถึง ส่วนที่ลึกที่สุดของทะเลตะวันตกอยู่บริเวณรอบเกาะคากอโด อำ�เภอชินอันกุน จังหวัดชอลลานัมโด (ลึก 124 เมตร) ระดับของกระแสน้ำ�ขึ้นน้ำ�ลงมีความแตกต่างกัน มากถึง 7-8 เมตร แนวฝั่งทะเลทางใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็น ชายฝั่งเว้าแหว่ง (Rias coast) มีเกาะแก่งเล็กๆ ราว 3,000 เกาะ รายเรียงอยู่ตามแนวฝั่งตะวันตกและใต้ของเกาหลี ชายหาดรอบ คาบสมุทรมีทัศนียภาพที่สวยงามและเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำ�นวย ความสะดวกมาตรฐานระดับโลก การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศตลอดปี คาบสมุทรเกาหลีอยู่ในเขตอบอุ่น มีฤดูกาลที่แตกต่างกันสี่ฤดู 38


เนื่องจากอยู่ภายใต้อิทธิพลของภูมิอากาศจากทางภาคพื้นทวีป อุณหภูมิในฤดูร้อนและฤดูหนาวจึงมีความแตกต่างเป็นอย่างมาก อากาศจะร้อนชื้นในหน้าร้อน และจะหนาวเย็นในหน้าหนาว ใน ช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา อุณหภูมิในฤดูร้อนเฉลี่ยอยู่ที่ 20.5 - 26.1 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูหนาวมีอุณหภูมิประมาณ -2.5 - 5.7 องศาเซลเซียส ลมมรสุมจะพัดผ่านเข้ามาในช่วงปลายเดือน มิถุนายนเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือน ปริมาณน้�ำ ฝนในช่วงเวลา นี้ของปีคิดเป็น ร้อยละ 60-70 ของปริมาณน้�ำ ฝนเฉลี่ยตลอดปี ซึ่ง เท่ากับ 1,300 มิลลิเมตร เมื่อฤดูมรสุมสิ้นสุด คลื่นความร้อนแผ่ ปกคลุมประเทศ เดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุด เป็น ช่วงที่เกิดปรากฏการณ์อากาศเขตร้อนยามค่�ำ คืน โดยอุณหภูมิใน ตอนกลางคืนจะพุ่งขึ้นสูงมากกว่า 25 องศาเซลเซียส ชาวเกาหลี หลายคนจะหยุดพักผ่อนกันในช่วงเวลานี้ ในช่วงฤดูท่องเที่ยวมีนัก ท่องเที่ยวจำ�นวนมากไปหลบร้อนตามชายหาดแฮอุนแดในปูซาน มากกว่า 1 ล้านคน และยังมีชายหาดชื่อดังอื่นๆ เช่น คยองโพแด ในคังรึง และแดจอนในทะเลตะวันตก ในฤดูหนาวผู้คนทั่วประเทศสนุกสนานกับการเล่นสกีและสเก็ตน้�ำ แข็ง มีลานสกีหลายแห่งในจังหวัดคังวอนโด บางครั้งภายในเวลา เพียงวันหรือสองวัน หิมะในแถบภูเขาของจังหวัดคังวอนโดอาจตก สูงถึง 50 - 60 เซนติเมตร ในฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วง อุณหภูมิ เฉลี่ยตอนกลางวันจะอยู่ที่ ประมาณ 15 - 18 องศาเซลเซียส ท้องฟ้าแจ่มใส อากาศปลอดโปร่ง เย็นสบาย เชื้อเชิญให้ผู้คนออก มาทำ�กิจกรรมกลางแจ้งหรือเดินทางท่องเที่ยว ไม่นานมานี้ได้เกิดสัญญาณการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศเป็น แบบกึ่งโซนร้อนขึ้น เป็นสัญญาณหนึ่งที่แสดงถึงภาวะโลกร้อน อุณหภูมิในฤดูร้อนพุ่งสูงขึ้นเกินกว่า 35 องศาเซลเซียส ในฤดู ใบไม้ผลิ ดอกอาซาเลียและดอกฟอร์ซิเทียบานเร็วขึ้นกว่าในอดีต ตลอดช่วงเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมาได้มีเหตุการณ์สภาพภูมิอากาศ ผันผวนที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนเกิดขึ้นมากมาย ในเดือนธันวาคม 2010 มีคลื่นความเย็นพัดโหมเข้าใส่คาบสมุทร 39


40


นาน 39 วัน คงความหนาวเย็นข้ามปีไปจนถึงเดือนมกราคม เกิด พายุพัดกระหน่�ำ ทงแฮและโพฮัง ซึ่งรุนแรงที่สุดในรอบ 79 ปี ใน เดือนกรกฎาคม 2011 เกิดฝนตกอย่างหนักในกรุงโซลและเขต ใกล้เคียง เป็นฝนที่ตกหนักที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกมา จากบันทึกการสังเกตการณ์สภาพอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ยใน คาบสมุทรเกาหลีได้เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ในช่วงศตวรรษที่ ผ่านมา เพียงแค่สิบปีที่ผ่าน เป็นเรื่องปกติที่อากาศร้อนและเย็นจะ สลับกันในทุกๆ สามหรือสี่วัน แต่รูปแบบของสภาพอากาศเช่นนี้ได้ หายไปแล้ว

1 2 3 4

ฤดูกาลทั้งสี่ของเกาหลี 1. ฤดูใบไม้ผลิที่ยอดเขา พาแรบง ภูเขาจีรีซาน 2. ฤดูร้อนที่หุบเขาคารีบง ภูเขาซอรักซาน 3. ฤดูใบไม้ร่วงที่ภูเขาคา ยาซาน 4. ฤดูหนาวที่ยอดเขาเชซ็ อกบง ภูเขาจีรีซาน (ที่มา: อุทยานแห่งชาติ เกาหลี)

เส้นกำ�หนดเขต (northern limit line) ในการปลูกต้นไม้และพันธุ์ พืช เช่น ต้นแอปเปิ้ลและต้นชาเขียวได้กำ�ลังขยับสูงขึ้นไปทาง เหนือเรื่อยๆ การปรากฏตัวของปลาในเขตกึ่งโซนร้อนตามชายฝั่ง ทะเลของคาบสมุทรเกาหลีเป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่พิสูจน์ให้เห็นถึง ภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น นักวิจัยเริ่มสังเกตเห็นแนวปะการังในทะเล ใกล้เมืองปูซานและพบพืชทะเลเขตกึ่งโซนร้อนใกล้กับเกาะเจจูที่มี จำ�นวนเพิ่มมากขึ้น ประชากร นักโบราณคดีเชื่อว่ามีมนุษย์เข้ามาตั้งรกรากยังคาบสมุทรเกาหลี ราว 700,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชในช่วงยุคหินเก่า เกาหลีใต้มี จำ�นวนประชากรอยู่ที่ 51.33 ล้านคน (ปี 2014) โดยร้อยละ 49.4 ของประชากรอาศัยอยู่ในกรุงโซลและพื้นที่ใกล้เคียง ปัจจุบันเกาหลีใต้ก�ำ ลังประสบปัญหาอัตราการเกิดต่�ำ ซึ่งรัฐบาล มองว่าเป็นปัญหาที่ร้ายแรงของประเทศ อัตราการเกิดลดลง เป็น 1.08 ต่อคู่แต่งงาน (ปี 2005) นับเป็นอัตราที่ต�่ำ ที่สุดเป็น ประวัติการณ์ ตัวเลขสูงขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.19 ในปี 2013 อันเป็น ผลมาจากความพยายามของรัฐบาลในการกระตุ้นการเพิ่มจำ�นวน ประชากร แต่กระนั้น ตัวเลขก็ยังคงต่�ำ กว่าอัตราเฉลี่ยของโลก (1.71 ในปี 2012) ชาวเกาหลีใต้มีอายุขัยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 81.3 ปี (ปี 2010) เมื่อเทียบกับอายุเฉลี่ย 80.2 ปีของประชากรในประเทศ 41


กลุ่มความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) นับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ตลอดจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 มี ประชากรชาวเกาหลีจำ�นวนมากที่อพยพออกนอกประเทศ ในระยะ แรกประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางหลักคือ ประเทศจีน รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา แต่ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 20 จุดหมาย ปลายทางเริ่มมีความหลากหลายมากขึ้น ชาวเกาหลีใต้ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศมีจำ�นวน 7.01 ล้านคน (ปี 2013) โดย 2.57 ล้านคนอยู่ในประเทศจีน 2.09 ล้านคนใน สหรัฐอเมริกา 0.89 ล้านคนในญี่ปุ่น และ 0.61 ล้านคนในประเทศ ต่างๆ ในยุโรป ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา จำ�นวนประชากรที่เข้ามาในประเทศมี มากกว่าจำ�นวนที่ออกนอกประเทศ จำ�นวนชาวต่างชาติที่อาศัย หรือทำ�งานในเกาหลีเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตั้งแต่ปี 2000 จากข้อมูลสำ�นักสถิติเกาหลี มีชาวต่างชาติเดินทาง เข้าประเทศเกาหลี 407,000 คนในปี 2014 โดยจุดประสงค์ของการเดินทางเข้าประเทศ คือ ทำ�งาน (41.4%) ตามมาด้วย พักอาศัยระยะสั้น (19.8%), พักอาศัยระยะยาวหรือ ถาวร (6.4%), ท่องเที่ยว (6.0%) และศึกษาเล่าเรียน (5.2%) โดย เมื่อไม่นานมานี้ ชาวต่างชาติจ�ำ นวนมากที่เดินทางเข้ามาที่เกาหลี ด้วยเหตุผลแตกต่างกันไป เช่น แต่งงานกับคนเกาหลี ทำ�งาน และ เรียนหนังสือ เป็นต้น ภาษาและตัวอักษร นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่จัดภาษาเกาหลีไว้ในตระกูลภาษาอัล ไต แต่ก็มีบางคนที่คิดว่าภาษาเกาหลีเป็นภาษาเอกเทศ เนื่องจากมี ลักษณะบางอย่างในภาษาที่ไม่สอดคล้องกับภาษาใด ภาษาเขียน ของเกาหลีใช้ระบบฮันกึล ซึ่งเป็นระบบเขียนที่พระเจ้าเซจงทรง คิดประดิษฐ์ขึ้นในรัชสมัยโชซอน (1397-1450) ชาวเกาหลีภาค ภูมิใจเป็นอย่างมากกับผลงานอันยอดเยี่ยมนี้ ด้วยพยัญชนะและ สระที่มีจำ�นวนไม่มาก จึงทำ�ให้เรียนรู้และอ่านเขียนได้ง่าย 42


ฮันกึลประกอบด้วยพยัญชนะ 14 ตัว (ㄱ ㄴ ㄷ ㄹ ㅁ ㅂ ㅅ ㅇ ㅈ ㅊ ㅋ ㅌ ㅍ ㅎ) และสระ 10 ตัว (ㅏ ㅑ ㅓ ㅕ ㅗ ㅛ ㅜ ㅠ ㅡ ㅣ) เป็นระบบการเขียนตามหลักภาษาศาสตร์ที่สามารถถ่ายทอด เสียงต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน ทั้งเสียงมนุษย์และเสียงที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติ ทุกๆ ปี องค์การยูเนสโกจะมอบรางวัลพระเจ้าเซจง (King Sejong Literacy Prize) ให้กับบุคคลที่มีผลงานโดดเด่น ด้านการส่งเสริมให้คนอ่านออกเขียนได้ การนำ�ชื่อ “พระเจ้าเซจง” ไปตั้งเป็นชื่อรางวัลนั้นแสดงถึงการยอมรับโดยปริยายถึงผลงาน อันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ที่ได้สร้างอักษรฮันกึล ระบบเขียนที่เรียนรู้ ได้เร็วและใช้ได้ง่าย ธงชาติ (แทกึกกี) ธงชาติของเกาหลีมีลักษณะเป็นธงพื้นสีขาว กลางธงมีรูปวงกลม “แทกึก” สีแดงและน้ำ�เงิน มีขีดสีดำ�สามเส้นอยู่ที่มุมทั้งสี่ พื้นสีขาวสื่อถึงความสว่าง บริสุทธิ์ และจิตใจที่รักสงบ รูปวงกลม ตรงกลางหรือ “แทกึก” เป็นสัญลักษณ์ของหยินหยาง (ทุกสรรพสิ่ง ในจักรวาลถือกำ�เนิดและวิวัฒนาการมาจากหยินกับหยาง) ขีดสามเส้นที่มุมทั้งสี่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ของหยินและหยางที่เคียงคู่กันเสมอ “ หยิน ส่วน “

” แสดงถึง

” สื่อถึงหยาง [คอน-กแว

สวรรค์, [คน-กแว น้ำ� และ [อี-กแว

] โลก, [คัม-กแว

]

พระเจ้าเซจงมหาราช พระเจ้าเซจงเป็นกษัตริย์ องค์ที่สี่แห่งราชวงศ์โช ซอน พระองค์ได้ทรง สร้างผลงานไว้มากมาย ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ กลาโหม ศิลปะและวัฒนธรรม ผล งานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การคิดประดิษฐ์อักษร ฮันกึลขึ้นในปี 1444 ซึ่ง เป็นระบบเขียนที่ง่ายต่อ การเรียนรู้ ตัวอักษรที่มี ระบบและเป็นไปตามหลัก วิทยาศาสตร์ พระองค์ได้ รับการยกย่องให้เป็นหนึ่ง ในพระมหากษัตริย์ที่ยิ่ง ใหญ่ที่สุดของเกาหลี

]

] ไฟ การล้อมรอบแทกึก

ทั้งสี่มุมสื่อถึงการผสมสผสานที่เป็น หนึ่งเดียว ธงชาติ อันรวมถึงสัญลักษณ์แทกึก ซึ่ง ผูกพันอยู่ในวิถีชีวิตของบรรพบุรุษ เกาหลี สะท้อนให้เห็นถึงอุดมคติของ ประชาชนเกาหลีในการพัฒนาอย่าง ไม่หยุดยั้งเพื่อความเจริญรุ่งเรืองและ สร้างสรรค์ 43


มหกรรมการแสดงสินค้าโลก เซี่ยงไฮ้ 2010 ศาลาแสดงสินค้าเกาหลีใต้ที่ประดับตกแต่งด้วยพยัญชนะและสระฮันกึล

44


45


สัญลักษณ์ประจำ�ชาติ

ค็อน (ท้องฟ้า)

คัม (น้ำ�) แดง: หยาง (yang)

น้ำ�เงิน: หยิน (yin)

รี (ไฟ)

ดอกไม้ประจำ�ชาติ: มูกุงฮวา (ชบา)

คน (โลก)

ธงชาติ: แทกึกกี

เอกุกกา: "เพลงรักแผ่นดิน" (เพลงชาติเกาหลี) ประพันธ์: อัน อิก-แท

โมเดอราโต้ (Moderato)

จนกว่าจะถึงวันนั้น วันที่สายนทีในทะเลตะวันออกแห้งเหือดและภูเขาแพ็กดูซานกร่อนสลาย

พระเจ้าทรงปกป้องดูแลชาติของเรา ไชโยแด่เกาหลี

(ท่อนสร้อย) แม่น้ำ�ลำ�ธารและขุนเขางามพิลาศยาวสามพันลี้ปกคลุมไปด้วยดอกมูกุงฮวาที่ชูช่อบานสะพรั่ง

ชาวเกาหลีผู้ยิ่งใหญ่ ยึดมั่นในวิถีแห่งเกาหลีอันใหญ่ยิ่ง!

46


เพลงชาติเกาหลี (แอกุกกา) เพลงชาติของเกาหลีประพันธ์ขึ้นในปี 1935 โดยนายอัน อิก-แท ผู้ประพันธ์ทำ�นองเพลงใส่ลงในเนื้อร้องที่แต่งขึ้นมาในช่วงต้น ทศวรรษ 1900 แต่เดิม เพลงชาติเกาหลีใช้ท�ำ นองเพลง Auld Lang Syne (สามัคคีชุมนุม) กับเนื้อร้องเดียวกันนี้ ดอกไม้ประจำ�ชาติ (มูกุงฮวา) มูกุงฮวาหรือดอกชบาเป็นดอกไม้ที่สื่อถึงลักษณะนิสัยของคน เกาหลีที่มีความจริงใจ มุ่งมั่นและอดทน คนจีนในช่วงปี 880 กล่าว ถึงเกาหลีว่าเป็น “ประเทศแห่งมูกุงฮวา” คำ�ว่ามูกุงฮวามีความ หมายว่า “ดอกไม้ที่ไม่เคยเหี่ยวเฉา” เพลงชาติของเกาหลีมีท่อน ที่ว่า “แม่น้ำ�ลำ�ธารและขุนเขางามพิลาศยาวสามพันลี้ ปกคลุมไป ด้วยดอกมูกุงฮวาที่ชูช่อบานสะพรั่ง” ตราสัญลักษณ์ของรัฐบาลและ สมัชชาแห่งชาติมีรูปทรงเป็นดอกมูกุงฮวา ระบบการเมือง ประเทศเกาหลีใช้ระบอบประธานาธิบดี ซึ่งได้รับการเลือก ตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระการดำ�รงตำ�แหน่ง 5 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือปัก กึน เฮ ได้รับการเลือกตั้งในเดือน ธันวาคม 2012 โดยเริ่มปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2013 รัฐบาลเกาหลีแบ่งแยกอำ�นาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่าย นิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ โดยฝ่ายนิติบัญญัติประกอบไปด้วย สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ 300 คน มีวาระการทำ�งาน 4 ปี ส่วนฝ่าย ตุลาการมีผู้พิพากษาศาลสูงสุด 14 คน มีวาระการทำ�งาน 6 ปี มี หน่วยการปกครองส่วนภูมิภาค 17 หน่วยและหน่วยการปกครอง ท้องถิ่น 227 หน่วย หัวหน้าหน่วยการปกครองท้องถิ่นและสมาชิก สภาท้องถิ่นมีวาระการทำ�งาน 4 ปีและมาจากการเลือกตั้ง การแบ่งแยกดินแดน ในปี 1948 เกาหลีทั้งสองได้จัดตั้งรัฐบาลของตนขึ้น ซึ่งถือว่าได้ 47


แยกอิสระเป็นสองประเทศตามกฎบัญญัติของกฎหมายระหว่าง ประเทศ โดยทั้งสองประเทศได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหภาพ พร้อมกันในเดือนกันยายน 1991 อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญของ เกาหลีใต้ถือว่าเกาหลีเหนือเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเกาหลี

การศึกษา การวิจัยและอุตสาหกรรม ระบบการศึกษา คนเกาหลีให้ความสำ�คัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก ใน กระบวนการเปลี่ยนไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรม ทรัพยากรมนุษย์ ถือเป็นปัจจัยที่ส�ำ คัญที่เกี่ยวข้องกับความจำ�เป็นในการจัดการเงิน ทุนและทรัพยากรที่ขาดแคลนอย่างมีประสิทธิภาพ ความต้องการของผู้ปกครองที่อยากให้บุตรหลานมีการศึกษาที่ดี ส่งผลให้ประเทศมีประชากรที่มีการศึกษาเป็นจำ�นวนมากซึ่งได้ ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างรวดเร็ว ระบบการ ศึกษาพื้นฐานประกอบด้วย ระดับอนุบาล (1-3 ปี) ประถมศึกษา (6 ปี) มัธยมศึกษาตอนต้น (3 ปี) มัธยมศึกษาตอนปลาย (3 ปี) และ มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในระดับวิทยาลัย (2 หรือ 3 ปี) และบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทและเอก) ตั้งแต่ปี 2004 คน เกาหลีทุกคนจะต้องเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นภายใต้การ ศึกษาภาคบังคับ ในปี 2013 รัฐบาลได้เริ่มให้เงินสงเคราะห์บุตรแก่ เด็กทุกคนจนอายุถึง 5 ขวบ ความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาที่สูง เนื่องจากเกาหลีมีระบบการศึกษาที่ดีและประชาชนให้ความสำ�คัญ ต่อการศึกษา ประเทศจึงมีประชากรที่มีทักษะความสามารถใน ทุกสาขาอาชีพ มหาวิทยาลัยเกาหลีได้ผลิตคนหนุ่มสาวที่มีความ รู้ความชำ�นาญทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น ฟิสิกส์ และ สาขาสำ�คัญอื่นๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมเครื่องกล การ บริหารธุรกิจ เศรษฐกิจและการบัญชี ผู้ที่มีการศึกษามากมายสามารถสื่อสารได้ด้วยภาษาอังกฤษ และ 48


บางคนก็สามารถสื่อสารภาษาอื่นได้ด้วย ในปัจจุบันโรงเรียนมัธยม ปลายหลายแห่งมีการเปิดสอนการศึกษาทางวิชาชีพ ช่วยฝึกสอน ให้นักเรียนมีความรู้ความชำ�นาญในสาขาวิชาเฉพาะทาง จากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) ของกลุ่ม ประเทศความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) พบว่า นักเรียนชาวเกาหลีใต้มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการอยู่ในระดับสูงทั้ง ทางด้านการอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ การลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา เกาหลีใต้มีบุคลากรที่มีความสามารถเป็นจำ�นวนมากทำ�งานอยู่ใน แวดวงการวิจัยชั้นแนวหน้า ทั้งสถาบันวิจัยของรัฐ มหาวิทยาลัย และองค์กรชั้นนำ�ระดับโลกของเกาหลี ซึ่งต่างก็จัดทำ�โครงการวิจัย ขึ้น มีตั้งแต่งานวิจัยระดับพื้นฐานไปจนถึงการพัฒนาเทคโนโลยี ขั้นสูงและผลิตภัณฑ์ล้ำ�สมัยใหม่ๆ รัฐบาลมีงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาสนับสนุนโครงการ ต่างๆ หลากหลายสาขาวิจัย เช่น เทคโนโลยีที่ครอบคลุมในระดับ สูง ทรัพยากรเพื่อสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ชีวภาพ สวัสดิภาพและ

จำ�นวนโรงเรียนในเกาหลี (2014)

8.826

5.934

3.186 2.326 1.209

โรงเรียน อนุบาล

โรงเรียน ประถม

โรงเรียน มัธยมต้น

โรงเรียน มัธยมปลาย

166

139

โรงเรียน พิเศษ

วิทยาลัย

201 มหาวิทยาลัย

บัณฑิต วิทยาลัย

หน่วย: แห่ง ที่มา: กระทรวงศึกษาธิการ

49


"การศึกษาแบบเกาหลีจะสร้างกระแสความนิยมไปทั่วเช่นเดียวกับกระแสฮันรยู" ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัก โอบามา มักจะกล่าวถึงความรักและความ เอาใจใส่ของผูป ้ กครองชาวเกาหลีทต ่ี อ ้ งการให้บต ุ รหลานมีการศึกษาทีด ่ ี และกระตุน ้ ให้พอ ่ แม่ชาวอเมริกน ั พยายามมากขึน ้ มีรายงานว่าการรณรงค์ท่ี ประธานาธิบดีโอบามาริเริม ่ ขึน ้ ในปี 2009 เกีย ่ วกับการส่งเสริมการศึกษาในด้าน วิทยาศาสตร์ ทักษะ วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ให้กบ ั นักเรียนมัธยมชาวอเมริกน ั นัน ้ มีตน ้ แบบมาจากการศึกษาของเกาหลีใต้ โรงเรียน Democracy Prep Charter School ในนิวยอร์ก เป็นโรงเรียนทีป ่ ระสบ ความสำ�เร็จในการนำ�เอาการศึกษาแบบเกาหลีมาใช้มากทีส ่ ด ุ โรงเรียนแห่งนีต ้ ง้ั อยูใ่ นย่านฮาร์เล็ม นิวยอร์ก ซึง่ เป็นย่านทีม ่ ส ี ถิตอ ิ าชญากรรมและยาเสพติดสูง รวมถึงนักเรียนราว 80% มาจากครอบครัวทีม ่ ฐ ี านะยากจน เซธ แอนดรูว์ วัย 34 ปี อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนนีเ้ คยสอนภาษาอังกฤษทีเ่ กาหลีใต้อยูห ่ นึง่ ปีและเห็นว่าคน เกาหลีใต้เชือ ่ มัน ่ ว่าการศึกษาคือหนทางเดียวทีจ ่ ะช่วยให้หลุดพ้นจากความยากจน เขาจึงตัดสินใจทีจ ่ ะทำ�ให้ นักเรียนของเขายึดมัน ่ ในความเชือ ่ เช่นนี้ และให้ความเคารพต่อครูผส ู้ อนและเห็นถึงความสำ�คัญของการ ศึกษา ดังเช่นทีค ่ นเกาหลีเป็น ความพยายามนีส ้ ง่ ผลให้เกิดความเปลีย ่ นแปลงอันเป็นทีป ่ ระจักษ์ชด ั แจ้งใน 6 ปี ในปี 2010 โรงเรียนของเขา ได้รบ ั เลือกให้เป็นโรงเรียนดีเด่นจาก 125 โรงเรียนในกำ�กับของรัฐบาลทีอ ่ ยูใ่ นนิวยอร์กจากการประเมินผล การปฎิบต ั งิ านระหว่างปี 2010-2011 เซธ แอนดรูวก ์ ล่าวว่า “ผมมัน ่ ใจว่าการศึกษาแบบเกาหลีจะสร้างกระแส ความนิยมไปทัว ่ เช่นเดียวกับกระแสเคป๊อป”

ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ในปี 2012 มีสัดส่วนประชากรที่ท�ำ งานเป็นนักวิจัยสูงถึง 12.4 ต่อ 1,000 คน รวมแล้วมีมากกว่า 401,724 คน ที่ได้สร้างผลงานการ วิจัยทั้งในและต่างประเทศอันนำ�ไปสู่การยื่นขอเอกสารสิทธิบัตร โอลิมปิกวิชาการ (International Science Olympiad) นักเรียนเกาหลีใต้ในระดับ มัธยมศึกษาทั้งตอนต้น และตอนปลายสามารถทำ� คะแนนได้ดีทุกปีในการ แข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับ นานาชาติในสาขาต่างๆ ได้แก่ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ และข้อมูล

จำ�นวนมากมาย สังคมแห่งเทคโนโลยีข้อมูลล้�ำ สมัย เกาหลีใต้เป็นผู้น�ำ ในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ทั้งยังเป็นประเทศที่เปี่ยมไปด้วยการเปลี่ยนแปลง ใน ปี 2011 ประเทศเกาหลีเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถนำ� เทคโนโลยี CDMA และ WiBro มาใช้เชิงพาณิชย์ อันเป็นรากฐาน ในการสร้างเครือข่ายการสื่อสารไร้สายไปทั่วประเทศ นอกจาก นี้เกาหลียังให้บริการดิจิตอลกระจายเสียงมัลติมีเดีย (Digital multimedia broadcasting) แก่ประชาชนและสร้างเครือข่ายการ สื่อสารไร้สาย 4G LTE ไปทั่วประเทศ

50


เทคโนโลโยีสารสนเทศและข้อมูลอันล้ำ�สมัยนี้น�ำ ไปสู่การ เปลี่ยนแปลงในภาคส่วนที่หลากหลายทางสังคม อันรวมไปถึง การนำ�นวัตกรรมไปใช้ในการบริหารงานในภาครัฐ ด้วยความ ก้าวหน้าของเทคโนโลยีเหล่านี้ทำ�ให้การแจ้งเกิด ย้ายสำ�มะโนครัว หรือจดทะเบียนการเสียชีวิตทำ�ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายใต้การบริการเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ (Social Networking Service หรือ SNS) ประชาชนสามารถใช้ระบบการสื่อสาร แบบอินเทอร์แอคทีฟที่รัฐบาลได้จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ให้กับประชาชน ในขณะที่ประชาชนสามารถแจ้งปัญหาความไม่ สะดวกต่างๆ ให้กับทางรัฐบาลทราบ เกาหลีได้ส่งออกเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงปี 2002 - 2012 ซึ่งคิด เป็นมูลค่าถึง 873.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากผลการประเมินในรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่องค์การ สหประชาชาติจัดทำ�ขึ้นทุกสองปี เกาหลีใต้ได้คะแนนรวมเป็น อันดับหนึ่งในปี 2010, 2012 และ 2014 จาก 193 ประเทศที่เข้ารับ การสำ�รวจ เกาหลีใต้ได้อันดับหนึ่งจากดัชนีการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง กับทรัพยากรมนุษย์และโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลการสื่อสาร และจากการเข้าร่วมทางออนไลน์ของประชาชน

ห้องอ่านหนังสือดิจิตอลที่ หอสมุดแห่งชาติเกาหลี เป็นสถานที่ที่ประชาชน สามารถใช้งานสื่อทาง ดิจิตอลต่างๆ ที่มีอยู่ มากมาย ทั้งยังสามารถ ทำ�การแก้ไข จัดเก็บข้อมูล และค้นคว้าวิจัยได้

51


ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารที่ล้ำ�สมัยประกอบ กับจำ�นวนการใช้อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่แพร่หลายมากขึ้น ผู้คน สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้คนทั่วโลกได้ในทันที การบริการเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เช่น Twitter และ Facebook ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดในสังคม โดย การบริการเครือข่ายทาง สังคม การบริการนี้ออกแบบมา เพื่อช่วยให้ประชาชน สามารถสร้างเครือข่าย ความร่วมมือที่แข็งแกร่ง ระหว่างเพื่อน เพื่อนร่วม งานและคนรู้จักได้ โดย การใช้ประโยชน์จาก Twitter, Cyworld และ Facebook ต่างๆ

เฉพาะอย่างยิ่ง Kakao Talk ซึ่งเป็นระบบส่งข้อความทั่วโลกี (Global Mobile Instant Messenger) ที่พัฒนาขึ้นในเกาหลีใต้ ในปี 2010 ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีจำ�นวนผู้สมัครใช้งาน Kakao Talk อยู่ที่ 100 ล้านคนทั่วโลก และเป็นที่นิยมในหมู่คนเกาหลีผู้ใช้สมาร์ทโฟน รวมถึงคนเกาหลี ในต่างประเทศและชาวต่างชาติด้วย Pop Cast เป็นบริการเครือ ข่ายทางสังคมออนไลน์อีกรูปแบบหนึ่งที่กำ�ลังกลายเป็นพื้นที่ใน การสื่อสารแห่งใหม่ในโลกการสื่อสารออนไลน์ นอกเหนือจาก การส่งข้อมูลหรือสร้างความบันเทิงแล้ว บริการเครือข่ายทางสังคม ออนไลน์ยังมีอิทธิพลต่อการเมืองผ่านทางประชามติอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงและวิสัยทัศน์ เกาหลีกำ�ลังเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมฐานความรู้อย่างรวดเร็ว ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นองค์ประกอบที่สำ�คัญที่สุดของสังคมและ

ระบบข้อมูลของหน่วยงาน บริหาร เทคโนโลยีด้านการ สื่อสารข้อมูลช่วยให้หน่วย งานบริหารสามารถปฏิบัติ งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการให้บริการข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับภาคบุคคล เช่น พิธีการศุลกากร สิทธิบัตร การทำ�บัญชีงบ ประมาณ การจัดการภัย พิบัติ การตรวจคนเข้า เมือง การบริหารภาษี การ จัดหมวดหมู่จดหมาย การ ตอบเรื่องร้องเรียนจาก ประชาชน การจ้างงาน การขนส่ง งานทะเบียน ราษฎร์ เป็นต้น

52

การสำ�รวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ขององค์การสหประชาชาติ 2005

2008

2010

2012

2014

อันดับ 5

อันดับ 6

อันดับ 1

อันดับ 1

อันดับ 1

0,97 อันดับ 4)

0,82 (อันดับ 6)

1,00 (อันดับ 1)

1,00 (อันดับ 1)

0,97 (อันดับ 3)

โครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูลการ สื่อสาร

0,67 (อันดับ 9)

0,69 (อันดับ 10)

0,64 (อันดับ 13)

0,83 (อันดับ 7)

0,93 (อันดับ 2)

ทรัพยากรมนุษย์

0,98 (อันดับ 10)

0,98 (อันดับ 7)

0,99 (อันดับ 7)

0,94 (อันดับ 6)

0,92 (อันดับ 6)

อันดับ 4

อันดับ 2

อันดับ 1

อันดับ 1

อันดับ 1

หมวดหมู่ ดัชนีการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ การบริการออนไลน์

ดัชนีการมีส่วนร่วมทาง ออนไลน์

(

[ที่มา: UN DESA]


เป็นแหล่งปฐมภูมิที่จ�ำ เป็นต่อความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศ ในประเทศเกาหลีใต้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่มีคุณภาพดี​ี่ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ได้ผนวกรวมเข้ากับทรัพยากร ทางวัฒนธรรมที่จะมีบทบาทสำ�คัญเป็นอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 21 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่มีอนาคตไกล ได้แก่ เคป๊อป ละครทีวี เช่น แดจังกึม และการ์ตูนทีวีส�ำ หรับเด็กเล็ก เช่น โพโร โระ เป็นต้น จากข้อมูลโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme UNDP) ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI)ของประเทศเกาหลีมีตัวเลข ที่พุ่งสูงขึ้น อันเป็นผลพวงมาจากการเน้นไปที่การลงทุนและการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งถือเป็นกุญแจที่ส�ำ คัญในอุตสาหกรรม การสร้างสรรค์ ดัชนีการพัฒนามนุษย์เป็นข้อมูลทางสถิติรวมของ ดัชนีต่างๆ ได้แก่ อายุขัย การศึกษา จำ�นวนผู้ไม่รู้หนังสือ และ รายได้ที่ใช้ในการจัดอันดับประเทศที่แบ่งออกเป็นสี่ระดับตามการ พัฒนามนุษย์

แรงงานและระบบสวัสดิการสังคม ระบบประกันสังคม เกาหลีใต้ใช้ระบบแรงงานและสวัสดิการสังคมที่เป็นไปตาม บรรทัดฐานในระดับนานาชาติ แรงงานได้รับการคุ้มครองให้มีสิทธิ ขั้นพื้นฐาน 3 ประการ แม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลก็ได้รับสิทธิพื้น ฐานนี้ แม้จะมีข้อจำ�กัดบางอย่างในสิทธิของการกระทำ�ร่วม ในยุค 1980 ประเทศได้น�ำ ระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่�ำ มาใช้เพื่อเพิ่ม สิทธิประโยชน์ให้กับแรงงาน เกาหลียังได้ออกกฎหมายว่าด้วย ความเท่าเทียมในการจ้างงานและระบบที่เอื้อต่อผู้พิการ ประเทศเกาหลีใช้ระบบประกันสังคมเพื่อบรรเทาปัญหาภาระ ผูกพันอื่นที่อาจเกิดขึ้นอันเกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ โรคภัยไข้เจ็บ การว่างงานและการเสียชีวิต แรงงานมีประกันอุบัติเหตุในภาค อุตสาหกรรม ครอบคลุมอุบัติเหตุจากการทำ�งาน โรคภัยไข้เจ็บ 53


นกเพนกวินโพโรโระ ตัว การ์ตูนยอดนิยมของเด็ก มีบทบาทสำ�คัญในการ พัฒนาอุตสาหกรรมด้าน วัฒนธรรมในอนาคตของ ประเทศ โดยการแนะนำ� ผลิตภัณฑ์หลากหลายแบบ ด้วยการใช้ตัวละครและ ตัวการ์ตูนต่างๆ เป็นสื่อใน การศึกษา

หรือการเสียชีวิต ประชาชนเกาหลีทุกคนจะต้องมีประกันสุขภาพ จากข้อมูล ณ เดือนมิถุนายนปี 2014 มีประชาชน 50.14 ล้านคน (รวมชาวต่างชาติ) ได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสุขภาพของ รัฐ คิดเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมด ระบบประกันสุขภาพ ของเกาหลีเป็นตัวอย่างที่ดีของการให้บริการทางการแพทย์ที่มี คุณภาพในราคายุติธรรม ลูกจ้างสมัครประกันการจ้างงาน เมื่อลูกจ้างที่ประกันตนถูกให้ออก จากงาน ลูกจ้างมีสิทธิ์รับเงินเดือนครึ่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และมีสิทธิ์ได้รับการฝึกอบรมในการโอนย้ายงาน นอกจากนี้ยังมี แผนบำ�นาญหลังเกษียณและแผนบำ�นาญแห่งชาติสำ�หรับลูกจ้าง อีกด้วย ประชาชนทุกคนจะต้องสมัครประกันสังคมทั้ง 4 ประเภท (ประกัน ประกันสังคม 4 ประเภท ผู้ประกันตน ธุรกิจและ รัฐบาลมีส่วนร่วมในการ ชำ�ระค่าเบี้ยประกันสังคม ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ประกันอุบัติเหตุ สุขภาพ บำ�นาญและการจ้างงาน

54

อุบัติเหตุจากการทำ�งาน สุขภาพ การจ้างงานและบำ�นาญ) ในการ จ่ายเบี้ยประกัน นายจ้างและรัฐบาลจะออกเงินสมทบค่าประกันให้ บางส่วน ผู้ประกันตนจะจ่ายค่าประกันตามรายได้ที่มี ซึ่งนำ�ไปสู่ การกระจายรายได้


จุดมุ่งหมายของระบบสวัสดิการทางสังคมของเกาหลีคือการให้ ความมั่นคง ‘จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน’ (from the cradle to the grave) ลูกจ้างที่ตั้งครรภ์มีสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วัน และได้รับ เงินสำ�หรับการลาคลอดเป็นเวลา 60 วัน นอกจากนี้ยังมีสิทธิ์ในการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้หนึ่งปี โดยจะได้รับ เงินเดือนส่วนหนึ่ง ในปี 2013 รัฐบาลได้เริ่มให้เงินสงเคราะห์บุตร แก่ผู้ปกครองผู้ที่มีบุตรอายุต�่ำ กว่า 5 ขวบ และเนื่องจากประชากรสูงอายุมีจ�ำ นวนเพิ่มขึ้น สวัสดิการสำ�หรับ ผู้สูงอายุจึงกลายเป็นปัญหาทางสังคมที่ส�ำ คัญ ประเทศเกาหลีใช้ ระบบประกันการดูแลระยะยาวและระบบบำ�นาญพื้นฐานเพื่อวัย เกษียณในการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ บทบาทของสตรีของเกาหลี ซัมกุก ยูซา (หนังสือประวัติศาสตร์แห่งสามราชอาณาจักร) เป็น ตำ�นานที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเกิดของสตรีเกาหลีคนแรก ซึ่ง รวบรวมโดยพระเถระอีเรียนในปี 1281 โดยในตำ�นานได้กล่าว ไว้ว่า มีหมีตัวหนึ่งหลังจากที่บ�ำ เพ็ญเพียรจนสำ�เร็จ อดข้าวอดน้ำ� ประทังชีวิตอยู่เพียงแค่การกินจิงจูฉ่าย (ซุก) และกระเทียมโดยไม่ เห็นเดือนเห็นตะวันเป็นเวลายี่สิบเอ็ดวัน และในที่สุดก็ได้กลายร่าง เป็นผู้หญิงและแต่งงานกับฮวานุง โอรสของเทพเจ้า จากนั้นก็ให้ก�ำ เนิดบุตรชายชื่อว่าทันกุน ผู้เป็นบรรพบุรษของชาว เกาหลี ตำ�นานต้นกำ�เนิดนี้บรรยายถึงคุณลักษณะของสตรีเกาหลีที่ มีความมุ่งมั่นและอดทน ในศตวรรษที่หนึ่งก่อนคริสตกาล มีวีรสตรีคนหนึ่งนามว่าโซซอโน ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำ�คัญในการก่อตั้งอาณาจักรโคกูรยอและแพ็ก เจ ในต้นศตวรรษที่ 7 ราชินีซ็อนด็อกแห่งอาณาจักรชิลลาได้ทรง ทำ�คุณานุประโยชน์ให้แก่แผ่นดินมากมาย ทั้งสร้างเสถียรภาพให้ กับราษฎร บรรเทาทุกข์บ�ำ รุงสุขให้กับคนยากจนและสร้างหอดู ดาวชอมซองแดและเจดีย์เก้าชั้นที่วัดฮวังเนียงซา ในต้นศตวรรษที่ 10 ราชินีซินเฮ พระมเหสีของพระเจ้าแทโจแห่งราชวงศ์โครยอได้ 55


รับการยกย่องในพระปรีชาสามารถที่ทรงช่วยพระเจ้าแทโจในการ วางรากฐานนโยบายที่ส�ำ คัญของชาติ ซิน ซาอิมดังแห่งโชซอน ผู้มีชีวิตอยู่ในต้นศตวรรษที่ 16 ได้รับ ความเคารพนับถือในฐานะบุคคลตัวอย่างผู้เป็นทั้งภรรยาที่ดีและ มารดาที่เฉลียวฉลาด ภาพของซิน ซาอิมดังปรากฏอยู่บนธนบัตร 50,000 วอน ยู ควัน-ซุนเสียชีวิตเมื่ออายุ 18 ปีหลังจากที่ถูก ตำ�รวจญี่ปุ่นทรมานในคุก เธอถูกจับกุมเนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องกับ การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 1919 นับเป็นหนึ่ง ในวีรชนแนวหน้าผู้เป็นสัญลักษณ์ของความรักชาติของเกาหลี ชาวต่างชาติที่เดินทางมายังเกาหลีในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 เขียนบันทึกไว้ว่าผู้หญิงเกาหลีมีสถานภาพ ทางสังคมที่ดีกว่าผู้หญิงในประเทศใกล้เคียงเป็นอย่างมาก ยิ่งกว่า ประเทศ จีน ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปเอเชียอื่นๆ ในปี 2001 เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศแรกที่จัดตั้งให้มีกระทรวง ความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงความ เสมอภาคทางเพศและครอบครัว โดยเพิ่มบทบาทหน้าที่ในการทำ� นโยบายต่างๆ สำ�หรับครอบครัว คนหนุ่มสาวและครอบครัวพหุ วัฒนธรรม ในปี 2013 ปัก กึน เฮได้เป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรก ในประวัติศาสตร์ 65 ปีของเกาหลีใต้

การเปลี่ยนผ่านเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม การเปลี่ยนผ่านเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เกาหลีใต้เป็นสังคมวัฒนธรรมเดียวมาช้านาน แต่นับตั้งแต่ปลาย ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา มีแรงงานข้ามชาติและนักศึกษาชาวต่าง ชาติหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำ�นวนมาก จากข้อมูล ณ ปี 2014 มีชาว ต่างชาติในเกาหลี 1.57 ล้านคน และชาวต่างชาติที่แต่งงานกับ คนเกาหลีใต้ 240,000 คน มีจ�ำ นวนแรงงานข้ามชาติในประเทศ 850,000 คน ประเทศกำ�ลังเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแบบ พหุวัฒนธรรม ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเกาหลีมากที่สุดคือกลุ่มชนเชื้อชาติ 56


เกาหลีสัญชาติจีน (โจซอนจก) เมื่อไม่นานมานี้จ�ำ นวนครอบครัว พหุวัฒนธรรมในเกาหลีเพิ่มสูงเป็น 230,000 ครอบครัว เนื่องจาก ชาวเกาหลีได้แต่งงานกับชาวต่างชาติเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลได้จัดตั้งสำ�นักงานที่มุ่งให้ความช่วยเหลือพลเมืองชาว ต่างชาติในด้านการทำ�กิจกรรมทางสังคมต่างๆ ภายในประเทศ และออกกฎหมายว่าด้วยการสนับสนุนครอบครัวพหุวัฒนธรรม รัฐบาลได้ด�ำ เนินการภายใต้กฎหมายดังกล่าวและเปิดศูนย์ให้การ สนับสนุนครอบครัวพหุวัฒนธรรมขึ้น 200 แห่งทั่วประเทศ (www. liveinkorea.kr) โดยให้บริการดังต่อไปนี้ บริการสอนภาษา เกาหลีเพื่อช่วยให้ชาวต่างชาติสามารถปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิต ในเกาหลี ให้ค�ำ ปรึกษาด้านจิตวิทยา จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองงาน เทศกาลของประเทศต่างๆ และสร้างโอกาสในการหางาน รัฐบาลใช้มาตรการหลายอย่างเพื่อทำ�ให้เกิดการตระหนักรู้ถึง วัฒนธรรมต่างชาติและพยายามป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทางสังคม ที่อาจมาจากการไหลบ่าของวัฒนธรรมข้ามชาติ หนึ่งในมาตรการ ดังกล่าวคือการให้ความช่วยเหลือในการเปลี่ยนหมู่บ้านพหุ วัฒนธรรมให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ไชน่าทาวน์ในเมืองอินชอน แขวงซอนรินดง เป็นตัวอย่างของ วัฒนธรรมต่างชาติอันมีเอกลักษณ์ที่ได้หยั่งรากลงในเกาหลี ย้อน กลับไปเมื่อราวปลายศตวรรษที่ 19 เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ที่มี อาณาเขตติดกับประเทศจีน ฮวากโย (ชาวจีนกลุ่มหนึ่ง) จึงได้เดิน ทางมาตั้งรกราก ณ เมืองแห่งนี้ ในปัจจุบันสถานที่แห่งนี้กลายเป็น ฐานในการแลกเปลี่ยนกับประเทศจีน ทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยว แห่งใหม่สำ�หรับผู้สนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีย่านพหุวัฒนธรรมพิเศษ (Special Multicultural Zone) ในวอน กกดง เขตดันวอน เมืองอันซานซี จังหวัดคยองกีโด ที่ชาวต่างชาติ จากจีน อินเดียและปากีสถานอพยพมาอาศัยอยู่ที่นี่และสามารถซื้อ สินค้าต่างๆ จากประเทศบ้านเกิดของตนได้จากย่านนี้ มีหมู่บ้านญี่ปุ่นในอีชนดง เขตยงซันกู กรุงโซล, หมู่บ้านมุสลิมใกล้ กับมิสยิดในอีแทวอน กรุงโซล, หมู่บ้านฝรั่งเศส (หมู่บ้านซอแร) 57


ชาวต่างชาติที่มีถิ่นฐานอยู่ในเกาหลีใต้

อื่นๆ (21.1 %) ฟิลิปปินส์ (4.1 %)

ปี 2014 อเมริกัน (4.5 %)

จีน (รวมทั้งกลุ่มคนเชื้อ ชาติเกาหลี) (53.7 %)

เอเชียใต้ (4.8 %) เวียดนาม (11.8 %) [ที่มา: กระทรวงการปกครองและมหาดไทย]

ในพันโพดง เขตคังนัมกู กรุงโซล, หมู่บ้านเวียดนามในวังซิมนี กรุงโซล และหมู่บ้านเนปาลในชังซินดง กรุงโซล จัสมิน ลี เป็นชาวเกาหลีเชื้อสายฟิลิปปินส์ ปัจจุบันเป็นกรรมาธิการ ความเสมอภาคทางเพศและครอบครัวของสมัชชาแห่งชาติที่สิบ เก้า (พฤษภาคม 2012 - พฤษภาคม 2016) เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ที่มี ส่วนช่วยในการปกป้องสวัสดิการและมอบสิทธิที่พึงได้ให้แก่ผู้คนที่ อยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรม จากข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2013 มีชาวเกาหลีเชื้อสายต่าง ชาติทั้งหมด 56 คนจาก 13 ประเทศที่ด�ำ รงตำ�แหน่งเจ้าหน้าที่ ของรัฐ โดยทำ�งานให้กับรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น หนึ่ง ในนั้นคือคิม มี-ฮวา ชาวเกาหลีเชื้อสายจีน เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในเมืองชังวน คนดังชาวต่างชาติที่ออกรายการโทรทัศน์ท้องถิ่น บ่อยๆ ได้แก่ โรเบิร์ต ฮอลเลย์ (พลเมืองอเมริกันโดยการแปลง สัญชาติ) และแซม แฮมมิงตัน (ชาวออสเตรเลีย) การเข้ามาของ ชาวต่างชาติก�ำ ลังผสานรวมเข้ากับสังคมเกาหลีใต้ ก่อให้เกิดสังคม พหุวัฒนธรรมขึ้น ซึ่งนำ�พาประโยชน์ต่างๆ เข้าสู่ประเทศ มีข้อบ่ง ชี้ชัดเจนว่าการดำ�รงอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวของวัฒนธรรมที่ หลากหลายนี้จะเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป 58


59


วัฒนธรรม 문화


3

องค์การยูเนสโกกับมรดกทางวัฒนธรรมเกาหลี ศิลปะดั้งเดิม ฮันรยู (กระแสความนิยมเกาหลี)


3

วัฒนธรรม 문화

ชาวเกาหลีได้พัฒนาวัฒนธรรมอันมีเอกลักษณ์ขึ้นจากทักษะ ความสามารถทางศิลป์ที่โดดเด่น นับตั้งแต่ครั้งลงหลักปักฐานใน คาบสมุทรเกาหลีและแคว้นแมนจูเรียทางตะวันออกเฉียงใต้ในยุค ก่อนประวัติศาสตร์ สภาพทางภูมิศาสตร์ของคาบสมุทรเปิดโอกาส ให้ชาวเกาหลีได้รับวัฒนธรรมทั้งจากทางบกและทางทะเล อันรวม ไปถึงทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งช่วยก่อร่างวัฒนธรรมที่เปี่ยม ไปด้วยคุณค่าและมีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติทั้งในอดีตและ ปัจจุบัน มรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของเกาหลีหลากหลายแขนงทั้ง

62


ทางด้านดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม การเต้นรำ� สถาปัตยกรรม การ แต่งกายและอาหารการกิน ได้ผสานรวมเข้ากับความทันสมัยแห่ง ยุคปัจจุบันได้อย่างงดงามและเป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติใน หลายประเทศ ปัจจุบันศิลปวัฒนธรรมของเกาหลีได้ดึงดูดผู้สนใจจากทั่วโลกให้ เข้ามาสัมผัส ความสำ�เร็จทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกัน มาได้นำ�พาให้หนุ่มสาวมากความสามารถหลายต่อหลายคนเข้า ร่วมประกวดดนตรีและการเต้นรำ�ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ส่วนงาน วรรณกรรมก็ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศมากมายหลาย ภาษา และเมื่อไม่นานมานี้ เหล่าศิลปินเคป๊อปก็สามารถดึงดูดแฟนเพลง จากทั่วทุกมุมโลก เช่น ญี่ปุ่น จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ อเมริกาใต้ ซึ่งความสำ�เร็จที่น่าประทับใจที่สุดมาจากนักร้องนำ�ที่ ชื่อ ไซ กับเพลงกังนัมสไตล์ ที่สร้างปรากฏการณ์ความฮิตไปทั่ว โลก ความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมอันเป็นที่ประจักษ์ในทุกวันนี้จะเกิดขึ้น

เขตประวัติศาสตร์คยองจู คยองจูเคยเป็นเมือง ราชธานีของอาณาจักรชิล ลาประมาณหนึ่งสหัสวรรษ ร่องรอยทางโบราณคดี สมัยอาณาจักรชิลลายังคง มีให้เห็นมากมายในเมือง ประวัติศาสตร์แห่งนี้ ด้วย เหตุนี้จึงได้สมญานามว่า "พิพิธภัณฑ์ไร้ก�ำ แพงและ หลังคา" รูปภาพแสดงเนิน สุสานในสมัยชิลลา

63


ไม่ได้หากปราศจากซึ่งมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมที่สร้างขึ้น จากความวิริยะอุตสาหะและทักษะความสามารถทางศิลปะของชาว เกาหลีที่ผ่านการสั่งสมมาตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน ทักษะทางด้านศิลปะอันมีเอกลักษณ์นี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความลุ่ม ลึกและวิจิตรบรรจงตามยุคสมัยต่างๆ โดยเห็นได้จากโบราณวัตถุ และจิตรกรรมฝาผนังในสุสานของยุคสามราชอาณาจักร ไล่เลียง จากยุคอาณาจักรรวมชิ​ิลลา (676-935) โครยอ (918-1392) และ โชซอน (1392-1910) ทักษะความสามารถทางด้านศิลปะได้รับการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จนมาถึงศิลปินเกาหลีในยุคปัจจุบัน ทั้งยังตกทอดมาถึงคนธรรมดา ทั่วไปในสังคมอีกด้วย เกาหลีได้อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอันประเมินค่ามิได้นี้ไว้เป็น อย่างดี มรดกบางชิ้นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อยู่ภาย ใต้การคุ้มครองขององค์การยูเนสโก ปัจจุบัน มีมรดกของเกาหลี ทั้งหมด 40 รายการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก (World Heritage Sites) หรือมรดกทางวัฒนธรรมผ่านการบอก เล่าและมรดกทางวัฒนธรรมที่ไร้รูปสัมผัสของมนุษยชาติ (Masterpieces of Oral and Intangible Cultural Heritage of Humanity) หรือขึ้นทะเบียนอยู่ในความทรงจำ�แห่งโลก (Memory of the World Register)

องค์การยูเนสโกกับมรดกทางวัฒนธรรมในเกาหลี แหล่งมรดกโลก พระราชวังชางด็อกกุง พระราชวังชางด็อกกุง ตั้งอยู่ที่วอร์ยองดง เขตชงโนกู กรุงโซล เป็นหนึ่งในห้าพระราชวังที่สร้างขึ้นในรัชสมัยโชซอน (13921910) เป็นตัวแทนของพระราชวังที่เก่าแก่ โครงสร้างพระราชวัง และส่วนประกอบอื่นๆ ยังคงอยู่ในสภาพดังเดิม พระราชวังชาง ;ด็อกกุงสร้างขึ้นในปี 1405 เพื่อใช้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐาน แต่กลายเป็นพระตำ�หนักอย่างเป็นทางการของราชวงศ์โชซอน 64


เนื่องจากพระราชวังคยองบกกุง ซึ่งเป็นพระราชวังหลักถูกไฟไหม้ ในปี 1592 เมื่อครั้งที่กองทัพญี่ปุ่นเข้ามารุกรานเกาหลี จนกระทั่ง ในปี 1867 เมื่อพระราชวังคยองบกกุงได้รับการบูรณะซ่อมแซม จนแล้วเสร็จ ก็ได้กลับมาเป็นพระตำ�หนักของราชวงศ์อีกครั้งหนึ่ง พระราชวังชางด็อกกุงได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ขององค์การยูเนสโกเมื่อปี 1997 ถึงแม้จะสร้างขึ้นในสมัยโชซอน แต่พระราชวังชางด็อกกุงมี ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากโครยอ ซึ่งตั้งอยู่ ตามเชิงเขาเพื่อให้เข้ากับธรรมชาติ โดยปกติพระราชวังจะสร้าง ขึ้นเพื่อขับเน้นบารมีและอำ�นาจของผู้อยู่อาศัย แต่พระราชวัง ชางด็อกกุงมีลักษณะการออกแบบที่ใช้ประโยชน์จากสภาพทาง ภูมิศาสตร์ของภูเขาพูกักซาน สิ่งก่อสร้างต่างๆ ในพระราชวังได้รับการอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพ ดี เช่น ประตูคนฮวามุน (ประตูทางเข้าหลัก) ท้องพระโรงอินชอง จอน ท้องพระโรงซอนชองจอง และสวนสวยแบบดั้งเดิมที่อยู่ทาง

ท้องพระโรงอินชองจอน ในพระราชวังชางด็อกกุง ท้องพระโรงแห่งนี้เป็นที่ จัดรัฐพิธีสำ�คัญในอดีต เช่น พิธีราชาภิเษก การ เข้าเฝ้า และการรับรอง คณะทูตจากต่างประเทศ

65


ด้านหลังของอาคารหลัก (พีวอน) นอกจากนี้ยังมีนักซอนแจ ซึ่ง เป็นตำ�หนักที่พักของเชื้อพระวงศ์ สร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงามตาม แบบดั้งเดิม ศาลชงมโย ชงมโยตั้งอยู่ที่ฮุนจองดง เขตชงโนกู กรุงโซล เป็นอาราม หลวงของราชวงศ์ในสมัยโชซอน สร้างขึ้นเพื่อเก็บรักษาป้าย บรรพบุรุษ 83 ป้ายของกษัตริย์โชซอน พระราชินีคู่ศรีพระบารมี และบรรพบุรุษสายตรงของผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่ได้รับฐานันดรศักดิ์ หลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว เนื่องจากราชวงศ์โชซอนก่อตั้งขึ้น ตามแนวคิดของขงจื๊อ กษัตริย์ผู้ครองนครจึงเห็นชอบให้นำ�หลัก คำ�สอนของขงจื๊อมาปฏิบัติและชำ�ระล้างสถานที่ประดิษฐานป้าย บรรพบุรุษให้บริสุทธิ์ ศาลชงมโย ศาลเจ้าขงจื๊อในสมัยโช ซอนเป็นที่เก็บรักษาป้าย บรรพบุรุษกษัตริย์โชซอน และพระราชินีคู่ศรีพระ บารมี

66

หอชองจอนและหอยองนยองจอนเป็นอาคารหลักในศาลเจ้า มี ลักษณะเป็นสมมาตรและระดับความสูงที่ต่างกันของพื้นยก ชายคา และยอดหลังคา รวมทั้งความหนาของเสาที่แตกต่างกันไปตาม


สถานะ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ยังคงลักษณะทางสถาปัตยกรรม แบบดั้งเดิมมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 รวมไปถึงหอของศาลเจ้าทั้งสอง ซึ่งมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของโลก พิธีกรรม รำ�ลึกถึงชีวิตและความสำ�เร็จของบรรพบุรุษสมัยโชซอนยังคงจัด ขึ้นที่ศาลเจ้าแห่งนี้อยู่เป็นระยะ ป้อมฮวาซอง เมืองซูวอน ฮวาซองคือป้อมปราการขนาดใหญ่ (มีกำ�แพงยาว 5.7 กิโลเมตร) สร้างขึ้นในปี 1796 ในรัชสมัยพระเจ้าชองโจ (1776-1800) แห่ง ราชวงศ์โชซอน ปัจจุบันอยู่ในเขตชังอัน เมืองซูวอน จังหวัด คยองกีโด การก่อสร้างเริ่มขึ้นหลังจากที่พระเจ้าชองโจทรงย้าย พระราชสุสานของพระบิดา มกุฎราชกุมารซาโด จากยังจูในจัง หวัดคยองกีโดไปยังที่ตั้งในปัจจุบันซึ่งอยู่ใกล้กับป้อมปราการ นี้ การออกแบบป้อมปราการทำ�ขึ้นอย่างละเอียดและพิถีพิถันเพื่อ ให้สามารถยืนหยัดปกป้องเมืองที่อยู่ด้านในและเพื่อประโยชน์ เชิงพาณิชย์ มีการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการก่อสร้าง ป้อมปราการและสิ่งอำ�นวยความสะดวกอื่นๆ เช่น คอจุงกี (ปั้นจั่น ประเภทหนึ่ง) และนกโร (ลูกรอก) เป็นต้น เพื่อช่วยยกวัสดุก่อสร้าง ที่หนักจำ�พวกหิน ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดยช็อง ยัก-ยงนักคิดและนัก เขียนตามแนวคิดของขงจื๊อผู้มีชื่อเสียง (1762-1836) ถ้�ำ ซ็อกกูรม ั และวัดพุลกุกซา ถ้ำ�ซ็อกกูรัมตั้งอยู่ตรงกลางเนินลาดของภูเขาโทฮัมซาน เมือง คยองจู จังหวัดคยองซังบุกโด เป็นตัวแทนของอาศรมในถ้ำ�หินที่ มนุษย์สร้างขึ้นปี 774 ในยุคทงอิลชินรา เพื่อใช้เป็นหอปฏิบัติธรรม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ ล้อมรอบไปด้วยเทพพิทักษ์ และพระสาวก ประติมากรรมแบบสลักนูนถือเป็นงานประติมากรรม ชิ้นเอกที่ได้รับการยกย่องของโลก ถ้ำ�หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เพื่อให้แสงแรกอรุณจากทะเลตะวันออกสาดกระทบเศียรพระพุทธ รูป 67


68


วัดพุลกุกซาสร้างเสร็จในยุคสมัยเดียวกันกับถ้ำ�ซ็อกกูรัม ภายใน วัดมีหอสวดมนต์ซึ่งสร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงามและยังมีปูชนียสถาน แบบต่างๆ อาทิ ทาโบทับและซ็อกกาทับ เจดีย์หินคู่ซึ่งตั้งอยู่ใน ลานด้านหน้าของแดอุงจอนหรือหอสวดมนต์หลักของวัด เจดีย์หิน คู่นี้ถือเป็นเจดีย์สมัยชิ​ิลลาที่สวยงามที่สุดที่หลงเหลือมาถึงในยุค ปัจจุบัน โดยเจดีย์ทาโบทับขึ้นชื่อในเรื่องงานแกะสลักที่ละเอียด ประณีต ส่วนซ็อกกาทับมีความงามในแบบเรียบง่าย เจดีย์ทาโบทับหรือเจดีย์อุดมทรัพย์มีความโดดเด่นที่โครงสร้างซึ่ง สร้างมาจากหินแกรนิตที่แกะสลักอย่างวิจิตรบรรจง ภาพที่ปรากฏ บนเหรียญ 10 วอนคือภาพของเจดีย์ทาโบทับองค์นี้ ในทางตรง ข้ามเจดีย์ซ็อกกาทับหรือเจดีย์แห่งพระศากยมุนีที่สร้างขึ้นอย่าง เรียบง่าย แสดงถึงความงามที่ได้สัดส่วนมีดุลยภาพแบบสมมาตร เจดีย์นี้ได้กลายมาเป็นต้นแบบของเจดีย์หินทรงสามชั้นที่สร้างขึ้น ในเกาหลีนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา นอกจากนี้ยังมีช็องอุน-กโย (สะพานเมฆคราม) และ แพ็กอุน-กโย (สะพานเมฆขาว) ซึ่งเป็นสะพานหินที่มีความสง่างาม ทอดยาวไป

1 2 3 4

1. ป้อมปราการฮวาซอง ฮวาซอง เมืองซูวน ป้อมปราการในศตวรรษ ที่ 18 สร้างขึ้นโดยใช้ ความรู้และเทคนิควิธี ของทั้งตะวันออกและ ตะวันตกที่ล�้ำ สมัยที่สุด ในห้วงเวลานั้น 2. วัดพุลกุกซา วัดชิลลาก่อตั้งขึ้นเมื่อ ศตวรรษที่ 6 เป็นหนึ่ง ในงานสถาปัตยกรรม ทางพุทธศาสนาที่งดงาม ที่สุดของโลก (รูปภาพ: สะพานช็องอุน-กโย และ แพ็กอุน-กโยในวัดพุล กุกซา) 3, 4 ถ้�ำ ซ็อกกูรัม พระพุทธรูปปางสมาธิบน ฐานกลีบบัว ประดิษฐาน อยู่ตรงกลางถ้�ำ ซ็อกกูรัม และรูปร่างด้านข้าง

ทางแดอุงจอน หอสวดมนต์หลักของวัด สะพานทั้งสองนี้มีความ หมายเชิงสัญลักษณ์ทางศาสนาแฝงอยู่ว่า “เพื่อเดินเข้าสู่ดินแดน สวรรค์บริสุทธิ์จะต้องผ่านเมฆข้ามน้�ำ ไป” สุสานหลวงแห่งราชวงศ์โชซอน ราชวงศ์โชซอน (1392-1910) ได้ทง้ิ สุสานหลวงไว้ให้แก่ชนรุน ่ หลัง มีหลุมฝังพระศพของกษัตริยแ ์ ละราชินท ี ง้ั หมดสีส ่ บ ิ สีห ่ ลุม ส่วนใหญ่ ตัง้ อยูใ ่ นและรอบบริเวณราชธานี ซึง่ ได้แก่ เมืองคูรี โคยัง และนัมยัง จูในจังหวัดคยองกีโด หลุมพระศพบางแห่งจัดเรียงเป็น กลุม ่ เล็กๆ อยูใ ่ นทงกูรงึ ซอโอรึง ซอซัมรึง และฮงยูรงึ ซึง่ มีสส ่ี บ ิ สุสานทีไ ่ ด้ขน ้ึ ทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก สุสานหลวงแห่งโชซอนถือเป็นมรดกแบบจับต้องได้ทส ่ี ะท้อนค่านิยม ของชาวเกาหลีในอดีตทีย ่ ด ึ ถือในแนวคิดขงจือ ๊ และศาสตร์ดา้ นฮวง จุย ้ ต่างๆ แม้เวลาได้ลว ่ งเลยผ่านมาแล้วหกร้อยปี แต่กย ็ งั สามารถ อนุรก ั ษ์สภาพไว้ได้อย่างสมบูรณ์ 69


หอพระไตรปิฎกชางเกียนพันชอนแห่งวัดแฮอินซา

1 2 3

แม่พิมพ์ไม้พระไตรปิฎกเกาหลีประดิษฐ์ขึ้นในสมัยโครยอ (918-

1. ทงกูรึง กลุ่มพระราชสุสานที่สร้าง ขึ้นให้กับกษัตริย์โชซอน เก้าพระองค์ และพระ มเหสีและพระสนมอีกสิบ เจ็ดพระองค์ 2. ยองนึง สุสานของพระเจ้าเซจง และพระราชินีโซฮอน 3. มงนึง สุสานของพระเจ้าซอนโจ พระราชินีอึยอิน และพระ ราชินีอินมก

1392) ถูกเก็บรักษาไว้ในหอพระไตรปิฎก วัดแฮอินซา ที่สร้าง ขึ้นในปี 1488 เพื่อวัตถุประสงค์นี้โดยเฉพาะ หอพระไตรปิฎกเป็น อาคารที่เก่าแก่ที่สุดในวัด สร้างขึ้นโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่สามารถควบคุมความชื้นและการถ่ายเทอากาศได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เพื่อเก็บรักษาแม่พิมพ์ไม้อันเก่าแก่ได้อย่างปลอดภัย ตัวอาคารถูกสร้างขึ้นเคียงข้างกัน ณ จุดสูงสุด (ประมาณ 700 ม. เหนือระดับน้�ำ ทะเล) ในอาณาเขตของวัดแฮอินซา ซึ่งตั้งอยู่ตรง กลางเนินเขาคายาซาน สิ่งที่ท�ำ ให้หอพระไตรปิฎกแห่งนี้มีความ พิเศษก็คือการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ ใช้หลักการถ่ายเทอากาศ แบบธรรมชาติ โดยใช้ประโยชน์จากลมที่พัดมาจากหุบเขาคายา ซาน หน้าต่างฉลุต่างขนาดจัดเรียงอยู่ทางด้านบนและล่างของผนัง ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของหอพระไตรปิฎก เปิดโล่งให้ลมจาก หุบเขาพัดผ่านได้อย่างเต็มที่หน้าต่างฉลุออกแบบมาให้สามารถ

นักรบหิน ผู้พิทักษ์แห่งสุสานหลวง สุสานหลวงโชซอนแต่ละแห่งประกอบด้วยเนินทรงกลมอย่าง น้อยหนึ่งเนิน มีขอบคันหินกั้นอยู่รอบฐานและราวหินที่แกะ สลักอย่างวิจิตรบรรจง รวมทั้งตุ๊กตาหินรูปสัตว์ต่างๆ โดย เฉพาะแกะและเสือที่แสดงถึงความนอบน้อมและดุร้าย ด้าน หน้ามีโต๊ะหินรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งแต่เดิมใช้สำ�หรับตั้ง เครื่องเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของเหล่าเชื้อพระวงศ์ที่ถูกฝังอยู่ ณ ที่นี้ มีเสาหินสูงรูปทรงแปดเหลี่ยมตั้งตระหง่าน มองเห็น ทิวทัศน์ได้ไกลลิบจากทั้งสองด้าน โคมไฟหินตั้งวางอยู่ที่ด้านหน้ารูปปั้นสัตว์และสุสานทั้งสาม ด้าน (ตะวันออก ตะวันตก และเหนือ) โอบล้อมด้วยกำ�แพงหิน มีรูปปั้นหินผู้พิทักษ์อย่างน้อยหนึ่งคู่หรือสองคู่หันหน้าเข้าหา กัน และด้านล่างจะมีขุนนางฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน พร้อมอาชาไนยด้านหลังข้างกาย ก่อสร้างโดยหันหน้าไปใน ทิศทางเดียวกัน

70


71


ควบคุมการถ่ายเทของอากาศได้ เพื่อรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในระดับ ที่เหมาะสม แสดงถึงเทคนิคด้านสถาปัตยกรรมที่เลิศล้ำ�และเป็นไป ตามหลักวิทยาศาสตร์ พื้นอาคารก็เช่นกันสร้างขึ้นโดยการอัดถ่าน ดินเหนียว ทราย เกลือ และผงหินปูนให้แน่นเป็นชั้นๆ เพื่อช่วย ควบคุมความชื้นในห้อง ป้อมนัมฮันซันซ็อง ป้อมนัมฮันซันซ็องตั้งอยู่ห่างจากกรุงโซลไปทางทิศตะวันตกเฉียง ใต้ราว 25 กิโลเมตร ได้รับการปรับโครงสร้างขนานใหญ่ในปี 1626 ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าอินโจแห่งราชวงศ์โชซอน เพื่อสร้าง เป็นที่หลบภัยให้กับพระองค์และข้าราชบริพารในยามเกิดเหตุ ฉุกเฉิน ฐานของป้อมชูจางซองสร้างขึ้นเมื่อราวหนึ่งพันปีก่อนในปี 672 ช่วงรัชสมัยของพระเจ้ามุนมูแห่งอาณาจักรรวมชิลลา ใช้เป็น ป้อมนัมฮันซันซ็อง ป้อมปราการภูเขามีสถานะ เป็นเมืองหลวงชั่วคราว ในยุคราชวงศ์โชซอน ใช้ เทคนิคการสร้างป้อมที่ พัฒนาขึ้นในช่วงศตวรรษ ที่ 7 -19

72

ฐานของโครงสร้างป้อมที่บูรณะขึ้นใหม่ สภาพภูมิประเทศที่มีภูเขา สูงชัน (ความสูงเฉลี่ยอย่างน้อย 480 เมตร) ช่วยเสริมให้การตั้งรับ ของป้อมปราการแกร่งขึ้น แนวกำ�แพงมีความยาวประมาณ 12.3 กิโลเมตร


จากข้อมูลที่บันทึกไว้ในสมัยโชซอน มีประชาชนราว 4,000 คน อาศัยอยู่ในเมืองที่อยู่ภายในป้อมแห่งนี้ พระราชวังชั่วคราว ศาลชงมโย และแท่นบูชาซาจิกดันก็สร้างขึ้น ในป้อมนี้เมื่อปี 1711 ในรัชสมัยพระเจ้าซุกจงแห่งโชซอน ป้อมแห่งนี้ถือเป็นผลพวงของการแลกเปลี่ยนหลากหลายรูปแบบ และสงครามที่โรมรันระหว่างเกาหลี (ยุคโชซอน) ญี่ปุ่น (ยุคอะซูชิโมโมยาม่า) และจีน (ยุคหมิงและชิง) ในช่วงศตวรรษที่ 16 -18 การนำ�ปืนใหญ่จากชาติตะวันตกเข้ามาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หลายอย่าง ทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้ภายในป้อมและวิธีการสร้าง ป้อมปราการ ป้อมแห่งนี้เปรียบดั่ง “บันทึกที่มีชีวิต” ซึ่งบอกเล่า เรื่องราวการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับวิธีการสร้างป้อมปราการในช่วง ศตวรรษที่ 7-19 เขตประวัตศ ิ าสตร์แพ็กเจ แพ็กเจเป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ใน คาบสมุทรเกาหลีเมื่อ 18 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศักราชที่ 660 เขตประวัติศาสตร์แพ็กเจตั้งอยู่ในแถบภูเขาทางตะวันตกตอน กลางของคาบ สมุทรเกาหลี มีโบราณสถานเรียงรายอยู่ 8 แห่ง ได้แก่ ป้อมคงซันซ็อง (แหล่งประวัติศาสตร์ล�ำ ดับที่ 12) และสุสาน โบราณในซงซัน-รี (แหล่งประวัติศาสตร์ล�ำ ดับที่ 13) ซึ่งตั้งอยู่ที่ เมืองคงจู ในอำ�เภอพูยอ มีป้อมพูโซซันซ็อง (แหล่งประวัติศาสตร์ ลำ�ดับที่ 5) โบราณสถานในควันบุก-รี (แหล่งประวัติศาสตร์ล�ำ ดับ ที่ 428) ร่องรอยวัดช็องนิมซา (แหล่งประวัติศาสตร์ล�ำ ดับที่ 301) สุสานหลวงในนึงซัน-รี (แหล่งประวัติศาสตร์ล�ำ ดับที่ 14) และ กำ�แพงเมืองรอบนอก (แหล่งประวัติศาสตร์ล�ำ ดับที่ 68) ส่วนใน เมืองอิกซันมีโบราณสถานในวังกุง-รี และร่องรอยวัดมีรึกซา แหล่ง โบราณคดีเหล่านี้แสดงเส้นทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างอาณาจักรเอเชียตะวันออกโบราณในเกาหลี จีน และญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 5-7 ทั้งยังเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเผยแพร่ ศาสนาพุทธและการพัฒนา สถาปัตยกรรมในสมัยนั้น 73


1 2 3

1. ป้อมคงซันซ็อง เมือง คงจู 2. สุสานโบราณในซง ซัน-รี เมืองคงจู 3. ร่องรอยวัดช็องนิม ซา พูยอ

วัดวาอาราม สุสานโบราณ งานสถาปัตยกรรม เจดีย์หิน และชื่อ เสียงของเมืองราชธานีแห่งนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงวัฒนธรรม ศาสนา และสุนทรียภาพที่รุ่งเรืองของอาณาจักรแพ็กเจโบราณในอดีต ป้อมปราการ ร่องรอยราชวัง กำ�แพงเมือง สุสานหลวง และวัดวา อารามเป็นองค์ประกอบสำ�คัญของเมืองโบราณที่บ่งบอกถึงคุณค่า ที่มีความโดดเด่นเป็นสากลของเขตประวัติศาสตร์แพ็กเจ สิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานชิ้นสำ�คัญที่แสดงถึงมูลเหตุปัจจัยด้าน สถาปัตยกรรมโบราณและความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการการ สร้าง ป้อมปราการ กำ�แพงเมือง รวมทั้งสุสานหลวงและเส้นทาง สัญจรในเขตภูเขาถูกจัดให้เป็นพื้นที่กันชนและแหล่งมรดก ประยุกต์ ซึ่งทุกจุดในแหล่งมรดกประยุกต์ได้รับการขึ้นทะเบียน ให้เป็นสมบัติของชาติเกาหลี โดยมีบางจุดอยู่ภายใต้การดูแลของ โครงการอนุรักษ์เมืองโบราณ องค์ประกอบต่างๆ ของโบราณสถาน ป้อมปราการ สุสานหลวง โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์หินในเขตประวัติศาสตร์ แพ็กเจแห่งนี้ได้รับการอนุรักษ์ให้คงสภาพตามผังเมืองโบราณ ทั้งหมด มีความพยายามอย่างมากที่จะดำ�รงรักษาหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ของแหล่งมรดกประยุกต์ทุกรูปแบบให้ถูกต้องดังเดิม อย่างแท้จริง ความทรงจำ�ของโลก ฮุนมินจองอึม (เสียงทีเ่ หมาะแก่การสอนประชาชน) ฮันกึลคือระบบการเขียนและตัวอักษรภาษาเกาหลี ซึ่งประกอบ ไปด้วยตัวอักษรที่ได้แรงบันดาลใจมาจากรูปร่างของอวัยวะที่ใช้ ออกเสียง จึงทำ�ให้เรียนรู้ได้เร็วและใช้ได้ง่าย พระเจ้าเซจงทรง เป็นผู้ประดิษฐ์ระบบเขียนฮันกึลขึ้นมา ทรงประกาศใช้ฮันกึลใน ปี 1446 และตั้งชื่อว่าฮุนมินจองอึมหรือ “เสียงที่เหมาะแก่การสอน ประชาชน” และในปีเดียวกัน พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการ ให้เหล่าราชบัณฑิตตีพิมพ์หนังสือฮุนมินจองอึม แฮเรบน (ฉบับ อธิบาย) เพื่ออธิบายวัตถุประสงค์และหลักการใช้ระบบเขียนใหม่นี้

74


75


ปัจจุบัน ต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้เก็บรักษา ไว้ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะคันซง (Kansong Art Museum) และขึ้นทะเบียนอยู่ในความ ทรงจำ�ของโลก (Memory of the World Register) โดยองค์การยูเนสโกในปี 1997 การประดิษฐ์ฮุนมินจองอึมนับเป็นการเปิด ประตูแห่งโอกาสให้กับชาวเกาหลีทุกชั้น วรรณะและเพศวัย แม้แต่ผู้หญิงและชนชั้น ต่ำ�สุดก็สามารถฝึกเรียนเขียนอ่านและ ถ่ายทอดความคิดความรู้สึกผ่านตัวเขียนได้ อย่างเต็มที่ แต่เดิมตัวอักษรฮุนมินจอง หนังสือฮุนมินจองอึม หน้าที่เห็นอยู่นี้แสดงคำ� อธิบายเกี่ยวกับเสียงสาม เสียง ได้แก่ เสียงแรก เสียง กลาง และเสียงท้าย ซึ่ง ประกอบขึ้นเป็นเสียงของ อักษรเกาหลี โดยแสดง ไว้ 94 คำ�

อึมมีทั้งหมด 28 ตัวอักษร แต่ปัจจุบันใช้เพียง 24 ตัวอักษรเท่านั้น ในปี 1989 องค์การยูเนสโกร่วมมือกับรัฐบาลเกาหลีจัดตั้งรางวัล การรู้หนังสือในพระเจ้าเซจง (King Sejong Literacy Prize) ขึ้น เพื่อมอบให้กับองค์การหรือบุคคลที่ทำ�คุณประโยชน์และมีส่วนช่วย ในการสนับสนุนให้คนอ่านออกเขียนได้ โชซอน วังโจ ซิลลก: พงศาวดารราชวงศ์โชซอน ราชวงศ์โชซอนได้ทิ้งพงศาวดารเกี่ยวกับผลงานและนโยบายของ กษัตริย์ผู้ครองนครและข้าราชบริพารไว้ให้กับคนรุ่นหลังมากมาย หลายฉบับ ซึ่งครอบคลุมระยะเวลา 472 ปี ตั้งแต่ปี 1392 ถึง 1863 บันทึกโชซอน วังโจ ซิลลก (พงศาวดารราชวงศ์โชซอน) มีทั้งหมด 2,077 ฉบับ จัดเก็บไว้ที่ห้องสมุกคยูจังกัก สถาบันเกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล โดยปกติพงศาวดารเกี่ยวกับกษัตริย์ แต่ละพระองค์จะถูกเขียนขึ้นหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตโดย จัดทำ�ในช่วงแรกที่ผู้สืบสันตติวงศ์ขึ้นครองราชย์ ซึ่งอาลักษณ์จะ เป็นผู้เขียนบันทึกประจำ�วันที่เรียกว่า “ร่างประวัติศาสตร์” (ซาโช) พงศาวดารถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่า เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และแง่มุมต่างๆ ของสังคมโชซอน หลังจาก

76


ที่เขียนรวบรวมพงศาวดารแล้ว ก็จะนำ�ไปจัดเก็บไว้ใน “หอสมุด ประวัติศาสตร์” (ซาโก) และจะไม่อนุญาตให้เปิดอ่าน ยกเว้นในกรณีพิเศษ ซึ่งมีความจำ�เป็นที่จะต้องอ้างถึงตัวอย่างใน อดีตอันเกี่ยวพันกับการจัดรัฐพิธีที่สำ�คัญ เช่น พิธีร�ำ ลึกถึงราช บรรพบุรุษหรือพิธีต้อนรับคณะทูตจากต่างประเทศ และงานสำ�คัญ ต่างๆ เดิมทีมีหอสมุดประวัติศาสตร์อยู่สี่หอ หอหนึ่งอยู่ที่ชุนชุกวัน (สำ�นักทะเบียนรัฐ) ณ ราชสำ�นัก ส่วนอีกสามหออยู่ที่องค์การ บริหารส่วนภูมิภาคทางตอนใต้ของประเทศ ได้แก่ ชุงจู ชอนจู และซองจู แต่ถูกทำ�ลายไปในปี 1592 เมื่อครั้งที่ญี่ปุ่นเข้ารุกราน ประเทศเกาหลี เป็นเหตุให้ราชวงศ์โชซอนต้องสร้างหอหนังสือขึ้น ใหม่ในภูเขาอันห่างไกล ได้แก่ ภูเขามโยฮวังซาน ภูเขาแทแบ็ก ซาน ภูเขาโอแดซาน และภูเขามานีซานที่คังฮวาโด ซึงชองวอน อิลกี: บันทึกของราชเลขาธิการ บันทึกเหล่านี้รวบรวมชีวิตทางสังคมของกษัตริย์โชซอนและการ ปฏิสัมพันธ์ของพระองค์กับเหล่าขุนนาง ซึ่งจดบันทึกทุกวันโดยซึง ชองวอนหรือราชเลขาธิการ ตั้งแต่เดือนสามของปี 1623 จนถึง

อิลซองนก บันทึกกิจวัตรประจำ�วัน ของกษัตริย์ผู้ปกครอง ในสมัยปลายรัชสมัยโช ซอนเกี่ยวกับกิจกรรมและ ผลงานที่ทรงทำ�ตั้งแต่ปี 1760~1910

เดือนแปดของปี 1910 เก็บรวบรวมไว้ทั้งสิ้น 3,243 ฉบับ ทั้งยังบรรยายรายละเอียด ต่างๆ เกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกา รายงาน และอุทธรณ์จากกระทรวง กรม กองต่างๆ ไว้อีกด้วย ปัจจุบันจัดเก็บไว้ที่สถาบันคูจัง กัก สถาบันเกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยแห่ง ชาติโซล อิลซองนก: บันทึกประจำ�วันเกี่ยวกับราช สำ�นักและขุนนางที่มีบทบาทสำ�คัญ เขียนขึ้นโดยเหล่ากษัตริย์ในช่วงปลายรัช สมัยโชซอน ถึงแม้จะเป็นบันทึกที่เขียนจาก 77


มุมมองของกษัตริย์ แต่อิลซองนกถือเป็นบันทึกทางราชการอย่าง เป็นทางการ บันทึกตั้งแต่ปี 1760 (ยองโจ ปี 36 ) ถึง 1910 (ยุง ฮแว ปี 4) บันทึกทั้งหมด 151 ปี รวบรวมได้ทั้งสิ้น 2,329 ฉบับ แสดงรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองทั้งใน และรอบเกาหลีได้อย่างชัดแจ้ง รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนทาง วัฒนธรรมระหว่างตะวันตกกับตะวันออกตั้งแต่ศตวรรษที่ 18-20 ธรรมเนียมพระราชพิธี อภิเษกสมรสของพระเจ้า ยองโจกับพระราชินีชอง ซุน (โชซอน ศตวรรษ ที่ 18) คาเร คือ พระราชพิธี สำ�คัญ โดยเฉพาะคาเร โดกัมอึยเกว ซึ่งหมาย ถึง บันทึกที่เกี่ยวกับพระ ราชพิธีอภิเษกสมรสของ กษัตริย์และมกุฏราชกุมาร รูปภาพนี้เป็นรูปภาพการ อภิเษกสมรสของกษัตริย์ ยองโจองค์ที่ 21 ของ ราชวงศ์โชซอนกับพระ ราชินีชองซุนเมื่อปี 1759

อึยเกว: ธรรมเนียมพิธก ี ารของราชวงศ์โชซอน ชุดหนังสือภาพแสนสวยนี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับพระราชพิธีตลอด จนพิธีรีตองในราชสำ�นักหรือเหตุการณ์สำ�คัญของประเทศเพื่อ ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในอนาคต เมื่อเทียบกับโชซอน วังโจ ซิลลก หนังสือเหล่านี้มีข้อมูลและภาพเหตุการณ์ต่างๆ มากล่าวอ้าง อย่างสมจริงมากกว่า เช่น การเสด็จประพาส หนังสือเหล่านี้เก็บไว้ ในหอสมุดประวัติศาสตร์ แต่น่าเสียดายที่ถูกไฟไหม้ไปบางส่วนใน ช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ามารุกรานเกาหลีเมื่อปี 1592 ภายหลังสงครามได้มี การจัดพิมพ์หนังสืออึยเกวส่วนที่เหลือจำ�นวน 3,895 ฉบับ ในปี 1866 หนังสือบางส่วนถูกกองทัพ ฝรั่งเศสขโมยไปและเก็บไว้ใน หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส (Bibliotheque Nationale de France) จน กระทั่งปี 2011 จึงได้คืนกลับมายัง เกาหลีตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาล เกาหลีและฝรั่งเศสโดยการให้เช่าแบบ ถาวร แม่พม ิ พ์ไม้พระไตรปิฎกเกาหลี แม่พิมพ์ไม้พระไตรปิฎกเก็บรักษาอยู่ที่วัดแฮอินซา (สร้างขึ้นเมื่อปี 802) อำ�เภอฮับชอนกุน จังหวัดคยองซังนัมโด ทำ�ขึ้นในสมัยโคร ยอ (918-1392) ตั้งแต่ปี 1236 ใช้เวลาสิบห้าปีจึงแล้วเสร็จ คัมภีร์ นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อพัลมัน แดจังคยอง แปลตรงตัวได้ว่า “พระ

78


ไตรปิฎกแม่พิมพ์ไม้แปดหมื่นชิ้น” เนื่องจากมีแม่พิมพ์ทั้งสิ้น 81, 258 ชิ้น แม่พิมพ์ไม้พระไตรปิฎกเกาหลีนี้ท�ำ ขึ้นโดยชาวโครยอ ซึ่งต้องการ แสวงหาพลังศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธเจ้าเพื่อช่วยขับไล่กองทัพ มองโกลที่เข้ามารุกรานและทำ�ลายล้างประเทศในช่วงศตวรรษที่ 13 มักมีการเปรียบเทียบพระไตรปิฎกเกาหลีกับพระไตรปิฏกฉบับ อื่นๆ ที่จัดทำ�ขึ้นโดยราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิงใน ประเทศจีน และได้รับการยกย่องว่ามีเนื้อหาสมบูรณ์ครบถ้วนกว่า ซึ่งมีคุณค่าระดับโลกและเก็บรักษาอย่างดี กระบวนการผลิตแม่ พิมพ์ไม้มีส่วนสำ�คัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเทคนิคการพิมพ์ขึ้นใน เกาหลี มรดกเอกสารว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Human Rights Documentary Heritage) ปี 1980: บันทึกเหตุการณ์การลุกขึ้นสู้เพื่อประ ชาธิปไตยในควางจู เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม เหตุการณ์นี้เป็นการลุกขึ้นสู้ของมวลมหาชนที่ผนึกกำ�ลังกันที่เมือง ควางจูตั้งแต่วันที่ 18-27 พฤษภาคม 1980 ชาวควางจูพากันออก มาต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านระบอบเผด็จการทหาร

แม่พิมพ์ไม้พระไตรปิฎก เกาหลี แม่พิมพ์ไม้กว่า 80,000 ชิ้นสลักเรื่องราวเกี่ยวกับ คัมภีร์พระพุทธศาสนาที่ เผยแผ่ในสมัยโครยอ ซึ่ง เป็นบันทึกทางการเมือง วัฒนธรรม และความคิด ในช่วงศตวรรษที่ 13

79


ในสมัยนั้น แม้เส้นทางสู่ประชาธิปไตยในควางจูจะจบลงอย่างน่า สลดใจ แต่เป็นจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่กระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหว เพื่อประชาธิปไตยไปทั่วเอเชียตะวันออกในช่วงทศวรรษ 1980 มูลนิธิรำ�ลึก 18 พฤษภาคม (May 18 Memorial Foundation) องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ (National Archives and Records Service) หอสมุดรัฐสภาแห่งชาติ (National Assembly Library) และองค์การต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ได้รวบรวมเอกสาร วิดีโอ รูปภาพ และบันทึกรูปแบบต่างๆ เกี่ยว กับกิจกรรมต่างๆ ที่ชาวควางจูท�ำ ระหว่างการเคลื่อนไหว รวมถึง ชงมโย เชเรอัก (พิธีบูชา บรรพบุรุษราชวงศ์และ ดนตรีขับร้องประกอบ พิธีกรรม ณ ศาลชงมโย) พิธีรำ�ลึกถึงราชบรรพบุรุษ จัดขึ้นตามฤดูกาล ณ ศาล ชงมโย มีการแสดงมุนมู (เต้นรำ�พลเรือน) และมูมู (เต้นรำ�ทหาร) การแสดง มุนมูคือการร่ายรำ�ด้วย ท่วงท่าที่แช่มช้าและอ่อน ช้อย ส่วนมูมูเป็นการเต้น ด้วยท่วงท่าที่แข็งแรงและ กระฉับกระเฉง

80

ขั้นตอนการชดใช้เยียวยาเหยื่อผู้เสียหายหลังเกิดเหตุการณ์ โดย บันทึกเหล่านี้ได้รับการจารึกไว้โดยองค์กรยูเนสโก รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมไร้รป ู สัมผัสของมนุษย์ชาติ​ิ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) ชงมโย เชเร คือ พิธีบูชาบูรพกษัตราธิราชเจ้าและพระบรมวงศานุ วงศ์ และชงมโยเชเรอัก คือ ดนตรีประกอบพิธี ในปัจจุบันพิธีบูชาบูรพกษัตราธิราชเจ้า (ชงมโย เชเร) จัดขึ้นใน วันอาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคมเพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์และ


ราชินีแห่งโชซอนผู้ล่วงลับ ณ ศาลชงมโยในกรุงโซล ถือเป็นหนึ่ง ในพิธีการสำ�คัญที่สุดของชาตินับตั้งแต่ก่อตั้งอาณาจักรโชซอน ขึ้นตามแนวคิดของขงจื๊อในปี 1392 ดนตรีประกอบพิธีนี้ออกแบบ ขึ้นเพื่อคงไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยทางสังคมและสร้างเสริมความ สมานฉันท์ พิธีกรรมประกอบด้วยการแสดงดนตรีขับร้องและร่าย รำ� เพื่อยกย่องเชิดชูความสำ�เร็จทั้งทางด้านการปกครองและการ ทหารของบรรพบุรุษแห่งราชวงศ์โชซอน ดนตรีในพิธีบูชาบูร พกษัตราธิราชเจ้าใช้เครื่องดนตรีหลากหลาย เช่น เครื่องตี และ เครื่องสี เป็นต้น พิธีกรรมชงมโยเชเรและพิธีชงมโยเชเรอักผสมผสานรวมเข้ากับ ลำ�นำ�ดนตรีและเริงระบำ�พิธีนี้เป็นการแสดงที่คงไว้เหมือนเมื่อ 500 ปีที่ผ่านมา แต่ยังเป็นเพราะรูปแบบองค์ประกอบทางศิลป์ที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ พันโซรี พันโซรีเป็นการเล่าเรื่องราวผ่านเสียงดนตรี โดยนักร้องจะขับขาน (โซรี) ประกอบท่าทาง บัลริม และผูกเรื่องราว (อานีรี) มีการมหา กาพย์ที่มาจากนิทานพื้นบ้านและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่ส�ำ คัญ โกซูนั้นจะให้เสียงเขาจังหวะซึ่งเป็นโดยนักตีกลองที่ร่วมแสดงด้วย อีกหนึ่งคน พันโซรีถือกำ�เนิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18 และได้ก่อ ให้เกิดนักแสดงและผู้ชมที่หลงรักในศิลปะการแสดงนี้นับแต่นั้น เป็นต้นมา เทศกาลคังนึงทาโนเจ เทศกาลฤดูร้อนนี้จัดขึ้นทั้งในและรอบคังนึง จังหวัดคังวอนโด เป็นเวลาประมาณ 30 วัน โดยเริ่มก่อนวันที่ห้าของเดือนห้าตาม จันทรคติ เป็นหนึ่งในเทศกาลพื้นบ้านที่เก่าแก่ที่สุดของเกาหลี และได้รับการอนุรักษ์คล้ายคลึงกับงานเทศกาลดั้งเดิมที่ถือกำ�เนิด ขึ้นเมื่อหลายศตวรรษก่อน เทศกาลเริ่มต้นด้วยการทำ�พิธีบูชา เทพเจ้าภูเขาแห่งแดกวันยอง และต่อด้วยการละเล่นพื้นบ้าน 81


พันโซรี เป็นการแสดงเดี่ยว โดย ผู้แสดงจะขับร้องพร้อม ทำ�ท่าทางและเล่าเรื่องราว มหากาพย์อันยืดยาว มีผู้ตี กลองคอยช่วยตีกลองเคาะ จังหวะ

กิจกรรมและพิธีกรรมต่างๆ โดยจะสวดอ้อนวอนขอให้ผลผลิตดี

(ที่มา: ศูนย์ศิลปะการแสดงพื้น เมืองแห่งชาติ (National Center for Korean Traditional Performing Arts)

ดื่มศักดิ์สิทธิ์” (ซินจู) ในวันที่ห้าเมษายนตามจันทรคติ เพื่อถวายแด่

หมู่บ้านมีแต่ความสงบสุข เจริญรุ่งเรือง ชุมชนรักใคร่ปรองดองมี น้ำ�หนึ่งใจเดียวกัน กิจกรรมแรกของเทศกาลทาโนเจเกี่ยวข้องกับการเตรียม “เครื่อง เทพพระเจ้า ซึ่งถือเป็นการเชื่อมโยงโลกมนุษย์กับภพสวรรค์ ต่อด้วยกิจกรรมเทศกาลต่างๆ เช่น การเต้นหน้ากากควันโน ซึ่ง เป็นศิลปะการแสดงแบบอวัจนภาษาโดยผู้แสดงจะสวมหน้ากาก, การเล่นแกว่งชิงช้า, ซีรึม (มวยปล้�ำ เกาหลี), การแสดงข้างถนน โดยชาวนา, การประกวดการเต้น และเล่นดนตรีโดยชาวนา, สระ ผมด้วยดอกชังโพ (ดอกไอริส) และการกินเค้กข้าวซูรีชวี การสระผมด้วยดอกชังโพนี้เป็นกิจกรรมที่ผู้หญิงนิยมทำ�กัน โดย เชื่อว่าสารสกัดที่ได้จากดอกชังโพจะทำ�ให้เส้นผมเงางามและขับ ไล่วิญญาณร้ายที่จะทำ�ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ

82


คังกังซุลแล กิจกรรมนี้เป็นการรวบรวมเอาการล้อมวงเต้นรำ�เข้ากับการร้อง เพลงและการละเล่นแบบพื้นบ้าน ซึ่งผู้หญิงรอบๆ บริเวณเกาะชอล ลา นัมโดจะมาร่วมกิจกรรมนี้ในช่วงวันหยุดตามประเพณี เช่น ชูซอก

เทศกาลคังนึงทาโนเจ การเต้นรำ�คู่สวมหน้ากาก ควันโนในงานเทศกาล ทาโนเจ จัดขึ้นเพื่อเฉลิม ฉลองแก่เทพารักษ์ จาก เดือนเมษายนเป็นต้นเดือน พฤษภาคมตามปฏิบัติ จันทรคติในภูมิภาคยองดง

(เทศกาลเก็บเกี่ยว) และแทโบรึม (พระจันทร์เต็มดวงวันแรกของปี ตามปฏิทินจันทรคติ) ทุกวันนี้มีเพียงการเต้นเท่านั้นที่ให้นักเต้น มืออาชีพเป็นผู้แสดง การแสดงแบบดั้งเดิมมีการละเล่นพื้นบ้านหลายอย่างรวมอยู่ด้วย อาทิ นัมแซงอี โนรี (แสดงตลกเร่ นัมซาดัง) ทอกซอก โมรี (ม้วน เสื่อฟาง) และโคซารี กอกกี (เก็บผักกูด) ผู้แสดงจะร้องเพลงคัง กังซุลแล ขณะที่เต้นรำ� นักร้องนำ�จะร้องสลับกับนักแสดงคนอื่นๆ และเพิ่มจังหวะเพลงและการเต้นรำ�ให้เร็วขึ้นเรื่อยๆ จนจบ

83


นัมซาดัง โนรี นัมซาดัง โนรี โดยปกติจะแสดงโดยนัมซาดังแพ (คณะละครเร่ ผู้ชาย) ซึ่งเดินทางไปตามตลาดในหมู่บ้านต่าง ๆ ประกอบด้วยการ แสดงหลายรูปแบบ อาทิ พุงมุล โนริ (ร้องเพลงและเต้นรำ�) ชุลทากี (เดินไต่เชือก) แดจอบ โทลลีกี (หมุนจาน) คัมยอนกึก (ละครสวม หน้ากาก) และกกดู กักซี โนรึม (ละครหุ่น) เป็นการละเล่นพื้น บ้านของเกาหลีที่มักจะเล่นกันในกลุ่มชาวนา นอกจากนี้ ยังมีการเล่นเครื่องดนตรีในขณะเต้น เช่น บุก (กลอง) ชังกู (กลองทรงนาฬิกาทราย) กแวงกวารี (ฆ้องโลหะขนาดเล็ก) ชิง (ฆ้องโลหะขนาดใหญ่) และเครื่องเป่าอีกสองชนิด คือ นาบัล และแดเพียงโซ การเล่นดนตรีเป็นการผ่อนคลาย เพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามัคคี ยองซันแจ ยองซันแจแปลตรงตัวได้ว่า “พิธีแห่งยอดเขาอีแร้ง” เป็นพิธีกรรม

1 2

3

1. นัมซาดัง โนรี การแสดงโดยกลุ่มคณะ ละครเร่กว่า 40 ชีวิต นำ�แสดงโดยกกดูเซ คณะ ละครเร่ประกอบด้วยผู้ชาย และเป็นการแสดงเพื่อ สามัญชนในยุคปลายแห่ง ราชวงศ์โชซอน 2. การฝึกเหยี่ยวเพื่อ การล่า ในอดีตถือเป็นกิจกรรม ที่ทำ�กันอย่างจริงจังเพื่อ ล่าหาอาหาร แต่ปัจจุบัน เป็นกีฬากลางแจ้งที่ผู้เล่น ต้องการผูกพันเข้ากับ ธรรมชาติ 3. ยองซันแจ พิธีกรรมทางพุทธศาสนา โดยจะประกอบพิธีขึ้น ในวันที่ 49 หลังจากผู้ ตายเสียชีวิตเพื่อนำ�ทาง วิญญาณไปสู่ดินแดน สุขาวดี

84

ทางพุทธศาสนาซึ่งจะทำ�ในวันที่ 49 หลังจากผู้ตายเสียชีวิตเพื่อ ปลอบประโลมดวงวิญญาณและนำ�ทางไปสู่ดินแดนสุขาวดี พิธีนี้ ทำ�สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโครยอ เป็นพิธีที่ผนวกทั้งการขับขาน และร่ายรำ� เทศนาพระธรรมคำ�สอนและท่องบทสวดมนต์ ถือเป็นประเพณีทางพุทธศาสนาที่ส�ำ คัญของเกาหลีที่ประกอบขึ้น เพื่อช่วยนำ�ทางสรรพสัตว์ให้เข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา และพ้นจากความทุกข์และความเสื่อมทั้งมวล ในบางครั้งก็เพื่อ ความสงบสุขและความรุ่งเรืองของรัฐและปวงประชาราษฎร์ เจจู ชิลมอรีดงั ยองดึงกุด ในอดีตมีการทำ�พิธท ี รงเจ้าอันเก่าแก่นเ้ี กือบทุกหนแห่งในเกาะ เจจู โดยผูบ ้ วงสรวงจะสวดอ้อนวอนขอให้จบ ั ปลาได้จ�ำ นวนมากและ ชาวประมงกลับมาอย่างปลอดภัย ตามความเชือ ่ ดัง้ เดิมของชาวเกาะ เจจู​ู เดือนทีส ่ องตามจันทรคติคอ ื เดือนของยองดึง ซึง่ ผูเ้ ฒ่ายองดึง หรือเทพวายุจะไปเยีย ่ มเยือนตามหมูบ ่ า้ น เรือกสวนไร่นาและบ้าน


85


1

เรือนทัว ่ เกาะเจจู ส่งข่าวคราวเกีย ่ วกับการเก็บเกีย ่ วในฤดูใบไม้รว ่ งที่

2

กำ�ลังมาเยือน และเทพวายุจะเดินทางกลับในวันเพ็ญสิบห้าค่�ำ

1. แทกคยอน ศิลปะการต่อสู้แบบโบราณ ของเกาหลี เป็นการต่อสู้ที่ มีท่วงท่าสง่างามและอ่อน ช้อยแต่แข็งแกร่ง สามารถ ป้องกันตนเองและโค่นคู่ ต่อสู้ได้ 2. ชุลทากี การแสดงเดินไต่เชือก พร้อมกับร้องเพลง แสดงตลกและเล่น กายกรรม

แทกคยอน แทกคยอนคือศิลปะการต่อสูโ้ บราณของเกาหลีทย ่ี งั หลงเหลืออยูใ ่ น ปัจจุบน ั ซึง่ แตกต่างจากเทควันโด แต่เดิมมีหลายชือ ่ เรียก เช่น คักฮี (กีฬาทีใ ่ ช้ขา) ซึง่ มีความมีความหมายว่า “ชากี (เตะ)” ใน เอกสารเก่าเรียกเป็น “ทักกยอน” และพีกก ั ซุล (ศิลปะแห่งขาบิน) ซึง่ ชือ ่ ดังกล่าวมีนย ั ยะว่าเป็นการต่อสูท ้ ใ ่ี ช้การเตะ เช่นเดียวกับศิลปะการต่อสูอ ้ น ่ื ทีไ ่ ม่ใช้อาวุธ แทกคยอนเป็นการต่อสูท ้ ่ี มีทว ่ งท่าการเคลือ ่ นไหวยืดหยุน ่ เพือ ่ ให้สอดคล้องกับการเคลือ ่ นไหว ของกล้ามเนือ ้ และสามารถตอบโต้กบ ั ศิลปะการต่อสูอ ้ ย่างอืน ่ ได้อย่าง เป็นธรรมชาติ มุง่ เน้นการฝึกฝนเทคนิคเพือ ่ ตัง้ รับและเสริมสร้าง สุขภาพกายและใจให้แข็งแรง โดยใช้ขาและเท้าเป็นหลัก ผูแ ้ ข่งขันมุง่ เป้าทีก ่ ารตัง้ รับมากกว่าการรุก วิธก ี ารแข่งขันจะใช้มอ ื และเท้าทำ�ให้คต ู่ อ ่ สูล ้ ม ้ ลงหรือเท้าเตะโดนหน้าจะถือว่าชนะ ซึง่ คูต ่ อ ่ สู้ จะอยูใ ่ นลักษณะหันหน้าเข้าหากัน ชุลทากี ชุลทากีคอ ื ศิลปะโบราณของเกาหลี (การเดินไต่เชือก) นักไต่เชือก จะแสดงกายกรรม ร้องเพลงและเล่าเรือ ่ งตลกขณะเดินไต่เชือก โดย ปกตินก ั ไต่เชือกจะมีผช ู้ ว ่ ยหรือออริด กวังแด (ตัวตลก) คอยช่วย เสริมมุกอยูด ่ า้ นล่าง โดยจะต่อมุกและทำ�ท่าทางขบขันเพือ ่ ให้ผช ู้ ม ร่วมสนุกสนานไปด้วย ในอดีตการเดินไต่เชือกจะแสดงทีร่ าชสำ�นัก เพือ ่ การอธิษฐานต่อศาลเจ้าเพือ ่ ความสงบสุขในวันปีใหม่ หรือเพือ ่ สร้างความบันเทิงให้กบ ั คณะทูตจากต่างประเทศ แต่กษัตริยใ ์ นสมัย โชซอนเน้นการดำ�เนินชีวต ิ แบบเรียบง่ายไม่หวือหวา ทำ�ให้การ แสดงไต่เชือกค่อยๆ ซึมซาบเข้าไปในหมูบ ่ า้ นและท้องตลาดและ กลายเป็นการแสดงเพือ ่ ความบันเทิงของคนทัว ่ ไปในทีส ่ ด ุ ซึง่ จะจัด ในงานวันเกิดหรือวันครบรอบแซยิดของครอบครัวทีร่ �ำ่ รวย การเดินไต่เชือกในประเทศอืน ่ จะเน้นทีเ่ ทคนิคการเดินแต่เพียงอย่าง

86


87


เดียว แต่ในเกาหลีนก ั ไต่เชือกจะผสมผสานการร้องเพลง การแสดง ตลกและกายกรรมผาดโผนเข้าไปและให้ผช ู้ มมีสว ่ นร่วมกับการ แสดงมากขึน ้ การฝึกเหยีย ่ ว เกาหลีมป ี ระเพณีเกีย ่ วกับการเลีย ้ งและฝึกเหยีย ่ ว รวมทัง้ นกล่าสัตว์ อืน ่ ๆ เพือ ่ ล่าสัตว์จ�ำ พวกไก่ฟา้ หรือกระต่ายป่า ซึง่ ถือว่าเป็นกีฬาล่า สัตวประเภทหนึง่ มีหลักฐานทางโบราณคดีและประวัตศ ิ าสตร์แสดง ให้เห็นว่าการฝึกเหยีย ่ วในคาบสมุทรเกาหลีเริม ่ ขึน ้ เมือ ่ หลายพันปี ก่อนและมีการฝึกอย่างแพร่หลายในสมัยโครยอ (918-1392) กีฬา ประเภทนีไ ้ ด้รบ ั ความนิยมมากในทางเหนือและมักจะเล่นกันตัง้ แต่ เดือนตุลาคมตามจันทรคติผา่ นฤดูหนาวไปจนถึงช่วงก่อนการทำ� เกษตรกรรมในฤดูใบไม้ผลิ เมือ ่ ชาวนาว่างเว้นจากการทำ�นา นัก ฝึกเหยีย ่ วจะผูกเชือกหนังรอบข้อเท้านกและติดป้ายชือ ่ เจ้า่ ของ พร้อมกระดิง่ ไว้ทห ่ี าง ประเพณีการฝึกเหยีย ่ วนีไ ้ ด้รบ ั การจารึกอยู่ ในรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมไร้รป ู สัมผัสของมนุษย์ชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) เมือ ่ ปี 2010 พร้อมกับประเพณีอน ่ื ๆ จากสิบเอ็ดประเทศ ทัว ่ โลก เช่น สาธารณรัฐเช็ก ฝรัง่ เศส มองโกเลีย สเปนและซีเรีย อารีรงั อารีรังคือชื่อเพลงพื้นบ้านที่ขับร้องกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ มีหลาย หลากคำ�ร้อง แต่ในท่อนร้องซ้�ำ จะมีคำ�ว่า “อารีรัง” หรือ “อารารี” เหมือนกัน จุดประสงค์ในการขับร้องมีหลายอย่าง เช่น แก้เบื่อเวลาทำ�งาน อารีรัง (ข้างซ้าย) อารีรังเป็นเพลงพื้นบ้าน เกาหลีที่เป็นที่ชื่นชอบ มากที่สุด ท่อนเด่นของ เพลงคือ "อารีรัง อารี รัง อารารีโย" โน้ตเพลง ภาษาอังกฤษแสดงอยู่ใน หน้าขวา

88

สารภาพรัก ขอพรจากสิง่ ศักดิส ์ ท ิ ธิเ์ พือ ่ ให้ชว ี ต ิ มีความสุขสงบและ สร้างความบันเทิงเวลามีงานเลีย ้ งสังสรรค์ องค์ประกอบหนึง่ ทีท ่ �ำ ให้เพลงอารีรงั ตราตรึงอยูใ ่ นใจของชาว เกาหลีมาเนิน ่ นานก็คอ ื รูปแบบของเพลง ทีค ่ นร้องสามารถใส่ถอ ้ ยคำ� ของตนเองลงไปเพือ ่ แสดงความรูส ้ ก ึ ผ่านทางเสียงเพลง


89


โฮเมอร์ บี ฮัลเบิรต ์ (1863-1949) มิชชันนารีชาวอเมริกน ั ทีใ ่ ห้การ สนับสนุนการกูอ ้ ส ิ รภาพของเกาหลี เป็นคนแรกทีเ่ ขียนถึงความ สำ�คัญของเพลงอารีรงั ในชีวต ิ ประจำ�วันของคนเกาหลี เขาพูดถึงบทเพลงอารีรงั ไว้อย่างกระชับได้ใจความในบทความชือ ่ ว่า Korean Vocal Music ซึง่ ตีพม ิ พ์ในนิตยสารรายเดือน Korean Repository ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 1896 ดังนี้ “สิง่ แรกทีเ่ ด่นชัดทีส ่ ด ุ ก็คอ ื อารีรงั เป็นเพลงยอดนิยมทีม ่ รี าวๆ เจ็ดร้อย แปดสิบสองท่อน ภายใต้ชอ ่ื ทีไ่ พเราะเสนาะหูวา่ “อารีรงั ” สำ�หรับคน เกาหลีแล้วเพลงนีม ้ ค ี วามสำ�คัญเปรียบเสมือนข้าวในจานอาหาร อย่าง อืน ่ เป็นแค่เครือ ่ งเคียงเท่านัน ้ คุณจะได้ยน ิ เพลงนีท ้ ก ุ ทีแ ่ ละตลอดเวลา เนือ ้ ร้องทีข ่ บ ั ขานไปกับท่อนประสานนีแ ้ ปรเปลีย ่ นไปตามตำ�นาน คติชาวบ้าน เพลงกล่อมเด็ก เพลงสังสรรค์ในวงเหล้า ชีวต ิ ครอบครัว การเดินทางและความรัก สำ�หรับคนเกาหลี สิง่ เหล่านีค ้ อ ื เนือ ้ เพลง คำ�สัง่ สอนและมหากาพย์ท่ี หลอมรวมเข้าเป็นหนึง่ ทีเ่ ป็นทัง้ นักเล่านิทานเยีย ่ งมาเธอร์ กูส และไบรอน ลุงรีมส ั และนักกวีเฉกเช่นวิลเลียม เวิรด ์ สเวิรธ ์ ไปพร้อมๆ กัน เนือ ้ หาของเพลงอารีรงั เป็นการรวบรวมเรือ ่ งเล่าและเพลงของลุง รีมส ั ของโจเอล แฮรีสชาวอเมริกาและบทกลอนของเวิรด ์ สเวิรธ ์ และ ไบรอน ซึง่ เป็นบทประพันธ์ของประเทศอังกฤษเข้าด้วยกัน วัฒนธรรมคิมจัง: การทำ�และแบ่งปันกิมจิในเกาหลี คิมจังเป็นชือ ่ เรียกกิจกรรมการทำ�กิมจิทช ่ี าวเกาหลีจะพร้อมใจกัน ทำ�กิมจิทว ่ั ประเทศในช่วงปลายฤดูใบไม้รว ่ ง ซึง่ ถือเป็นส่วนหนึง่ ของ การเตรียมอาหารเพือ ่ คงความสดใหม่และมีคณ ุ ค่าทางโภชนาการ สำ�หรับในช่วงฤดูหนาว กิมจิเป็นอาหารสำ�คัญชาวเกาหลีทต ่ี อ ้ ง มีในสำ�รับอาหารตัง้ แต่ครัง้ โบราณ ปัจจุบน ั กิมจิโด่งดังไปทัว ่ โลก ในฐานะอาหารประจำ�ชาติเกาหลี ด้วยเหตุนค ้ี ม ิ จังจึงเป็นกิจกรรม ประจำ�ปีทม ่ี ค ี วามสำ�คัญมากสำ�หรับสมาชิกในครอบครัวและผูค ้ นใน ชุมชนทัว ่ ทัง้ ประเทศ กิจกรรมคิมจังเตรียมไว้ส�ำ หรับหน้าหนาวซึง่ มีขน ้ั ตอนการ 90


เตรียมตลอดทัง้ ปี โดยในฤดูใบไม้ผลิแต่ละบ้านจะจัดเตรียมอาหาร ทะเลไว้ โดยเฉพาะกุง้ กับปลาแอนโชวี่ แล้วนำ�ไปหมักเกลือจนได้ท่ี เพือ ่ ใช้ในฤดูการทำ�กิมจิ ปลายฤดูรอ ้ นจะมีการเตรียมพริก โดยจะทำ�พริกแห้งและเอาไปทำ�พริกป่นและปลายฤดูใบไม้รว ่ ง และต้นฤดูหนาวก็จะเป็นช่วงเตรียมพริกป่นและส่วนผสมทีส ่ �ำ คัญ ต่างๆ เช่น ผักกาดขาวสำ�หรับทำ�กิมจิและหัวไชเท้าเกาหลี จากนัน ้ เมือ ่ ใกล้เข้าฤดูหนาวสมาชิกในครอบครัวและผูค ้ นในชุมชนจะมา รวมตัวกันในวันทีน ่ ด ั หมายเพือ ่ ทำ�กิมจิในปริมาณทีม ่ ากพอเลีย ้ งคน ทัง้ ครอบครัวตลอดหน้าหนาวทีย ่ าวนานและทารุณ วัฒนธรรมคิมจังเป็นการรวมตัวกันขนาดใหญ่เพือ ่ ร่วมกันทำ�กิมจิ ซึง่ ในสังคมสมัยใหม่มบ ี รรยากาศทีเ่ ป็นปัจเจกแยกกันไปและ กิจกรรมนีเ้ ป็นโอกาสสำ�คัญทีจ ่ ะเสริมสร้างความสามัคคีของสมาชิก ในสังคมและไม่สญ ู เสียตัวตนในฐานะคนเกาหลี นอกจากนีย ้ งั แสดง ให้เห็นถึงวัฒนธรรมการแบ่งปันทีไ ่ ด้รบ ั การสืบทอดต่อกันมาจากรุน ่ สูร่ น ุ่ ของชาวเกาหลี ประเพณีคม ิ จังนีไ ้ ด้รบ ั การขึน ้ ทะเบียนอยูใ ่ นรายการตัวแทนมรดก ทางวัฒนธรรมไร้รป ู สัมผัสของมนุษย์ชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) โดยองค์การยู เนสโกเมือ ่ วันที่ 5 ธันวาคม 2013

91


แหล่งมรดกโลก 1 ถ้ำ�ซ็อกกูรัมและวัดพุลกุกซา ต้นแบบของพุทธสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นใน สมัยชิลลา สถานที่ เมืองคยองจู จังหวัดคยองซังบุกโด เว็บไซต์ www.sukgulam.org 2 หอพระไตรปิฎกชางเกียนพันชอนแห่งวัดแฮอิน ซา อำ�เภอฮับชอน อาคารเก่าแก่ที่สุดของวัดแฮอินซา เก็บรักษาแม่ พิมพ์ไม้พระไตรปิฎกเกาหลีไว้กว่า 80,000 ชิ้น สถานที่ อำ�เภอฮับชอน จังหวัดคยองซังนัมโด เว็บไซต์ www.haeinsa.or.kr

(กษัตริย์และราชินิ) 40 กี​ี (สุสาน) และวอน (มกุฎ ราชกุมาร พระชายาและกษัตริย์) 13 กี (สุสาน) ซึ่งจำ�นวนทั้งหมด 53 กี (สุสาน) ได้รับการ อนุรักษ์ไว้ดังเดิม สถานที ่ เขตซอโชกู กรุงโซล, เมืองคูรีซีและ เมืองยอจูซี จังหวัดคยองกีโด 10 หมู่บ้านประวัติศาสตร์แห่งเกาหลี ฮาฮเวและ ยางดง หมู่บ้านของเหล่าขุนนางแห่งโชซอน สร้างขึ้น ตามลัทธิขงจื๊อและตามหลักฮวงจุ้ยซึ่งด้านหน้ามี แม่น้ำ�และด้านหลังมีภูเขา สถานที่ เมืองอันดงซีและเมืองคยองจูซี จังหวัด คยองซังบุกโด

11 ป้อมปราการนัมฮันซันซ็อง 3 ศาลชงมโย ศาลเจ้าขงจื๊อในสมัยโชซอนเป็นที่เก็บรักษาป้าย ป้อมปราการภูเขามีสถานะเป็นเมืองหลวงชั่วคราว ในยุคราชวงศ์โชซอน ใช้เทคนิคการสร้างป้อมที่ บรรพบุรุษราชวงศ์โชซอนและพระราชินีคู่ศรี พัฒนาขึน ้ ในช่วงศตวรรษที่ 7-19 พระบารมี สถานที่ เมืองควางจูซี จังหวัดคยองกีโด สถานที่ เขตชงโนกู กรุงโซล เว็บไซต์ jm.cha.go.kr 12 เขตประวัติศาสตร์แพ็กเจ สถานที่ เมืองคงจูซี อำ�เภอพูยอกุน จังหวัดชุง 4 พระราชวังชางด็อกกุง ชองนัมโด, เมืองอิกซันซี จังหวัดชอล พระราชวังอย่างเป็นทางการของราชวงศ์โชซอน ลาบุกโด ตั้งแต่ปี 1610 ถึง 1868 เป็นระยะเวลา 258 ปี สถานที่ เขตชงโนกู กรุงโซล มรดกบันทึกของโลก เว็บไซต์ www.cdg.go.kr 13 ฮุนมินจองอึม (เสียงที่เหมาะแก่การสอน 5 ป้อมฮวาซอง ประชาชน) สถาปัตยกรรมชิ้นเอกของการสร้างป้อมปราการ หนังสือที่พิมพ์ขึ้นจากการแกะสลักไม้แบบเล่ม ในสมัยโชซอน ผสานรวมความสง่างามและ เดียวจบ พิมพ์เมื่อปี 1446 อธิบายถึงระบบการ อรรถประโยชน์เข้าไว้ด้วยกัน เขียนภาษาเกาหลี สถานที่ เมืองซูวอนซี จังหวัดคยองกีโด เว็บไซต์ www.swcf.or.kr 14 โชซอน วังโจ ซิลลก: พงศาวดารราชวงศ์โช ซอน 6 เขตประวัติศาสตร์คยองจู พงศาวดารของราชวงศ์โชซอนตั้งแต่ปี 1392 ร่องรอยอารยธรรมที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็น อย่างดี อดีตราชธานีของอาณาจักรชิลลานานนับ ถึง 1863 รวมแล้ว 472 ปี มีทั้งสิ้น 1,893 ฉบับ 888 เล่ม หนึ่งสหัสวรรษ เว็บไซต์ sillok.history.go.kr สถานที่ เมืองคยองจูซี จังหวัดคยองซังบุกโด เว็บไซต์ guide.gyeongju.go.kr 15 ชิกจีชิมเชโยจอล หนังสือนี้ทำ�ขึ้นโดยการพิมพ์ด้วยตะกั่วและทอง 7 อุทยานเพิงหินโคก ชาง ชัง ฮวาซุน และ แดงซึ่งถีอเป็นหนังสือเก่าแก่ที่สุดในโลกที่พิมพ์ คังฮวา ด้วยตะกั่วและทองแดง หินใหญ่เหล่านี้เป็นหินระลึกในงานศพและ หนังสือนี้รวบรวมหลักธรรมคำ�สอนศาสนาพุทธ หลุมศพที่สร้างขึ้น หินใหญ่นี้แสดงให้เห็นถึง ของพระมหาเถระและเป็นหนังสือธรรมะชั้นสูง วัฒนธรรม ศิลปะและสถานะทางสังคมยุคก่อน สำ�หรับพระภิกษุในเกาหลี ประวัติศาสตร์เกาหลี เว็บไซต์ www.jikjiworld.ne สถานที่ อำ�เภอโคชังกุน จังหวัดชอลลาบุก โด, อำ�เภอฮวาซุนกุน จังหวัดชอล ลานัมโด และอำ�เภอคังฮวากุน เมือง 16 ซึงชองวอน อิลกี: บันทึกของราชเลขาธิการ บันทึกประจำ�วันของกษัตริย์ผู้ปกครองสมัยโช อินชอน ซอน ที่เป็นความลับและมีข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ ทรงคุณค่ามากมาย 8 เกาะภูเขาไฟเจจูและถ้�ำ ลาวา เว็บไซต์ kyu.snu.ac.kr ยอดภูเขาไฟและปล่องลาวาเกิดขึ้นจากการ ระเบิดตัวของภูเขาฮัลลาซาน ภูเขาที่สูงที่สุดของ 17 อึยกเว ธรรมเนียมพิธีการของราชวงศ์โชซอน เกาหลีใต้ บันทึกภาพหายากและงดงามเกี่ยวกับพระราชพิธี สถานที่ ภูเขาฮัลลาซาน คอมูโนรึม และยอด และรัฐพิธีส�ำ คัญต่างๆ ของราชวงศ์โชซอน เขาซองซัน อิลชุลบง เกาะเจจู เว็บไซต์ kyujanggak.snu.ac.kr เว็บไซต์ jejuwnh.jeju.go.kr 9 สุสานหลวงแห่งราชวงศ์โชซอน สุสานหลวงของราชวงศ์โชซอนมีของ วังรึง

92

18 แม่พิมพ์ไม้พระไตรปิฎกเกาหลีและคัมภีร์พุทธ ศาสนาเบ็ดเตล็ด

2

7

8

10

14

15

16


20

27

31

32

34

คัมภีร์พุทธศาสนาแกะสลักบนไม้พิมพ์ 80,000 ชิ้น จารึกข้อมูลล้ำ�ค่าเกี่ยวกับการเมือง วัฒนธรรม และปรัญชาของอาณาจักรโครยอในศตวรรษ ที่ 13 เว็บไซต์ www.haeinsa.or.kr

29 ยองซันแจ 19 ทนอึย โพกัม: ปรัชญาทางการแพทย์แผนตะวัน พิธีกรรมทางพุทธศาสนาเพื่อปลอบประโลมดวง ออก วิญญาณและนำ�ทางไปสู่ดินแดนสุขาวดี ทงอึยโพกัม คือ หนังสือทางการแพทย์แผนตะวัน ออก เขียนโดยหมอฮอจุน ตั้งแต่ ปี 1610 และ 30 เจจู​ู ชิลมอรีดัง ยองดึงกุด เสร็จสิ้นในปี 1613 พิธีทรงเจ้าไล่ผีแบบโบราณ ณ ศาลชิลมอรีดัง ศาลเจ้าที่ปกปักษ์คุ้มครองหมู่บ้านแห่งคอนิบดง 20 อิลซองนก: บันทึกประจำ�วันเกี่ยวกับราชสำ�นัก เมืองเจจู​ูซี และพระมหากษัตริย์ที่มีบทบาทสำ�คัญ อิลซองนก คือ บันทึกเกี่ยวกับกิจวัตรประจำ� 31 ชอยองมู วันและงานราชการของกษัตริย์โชซอนสมัย การเต้นระบำ�ในราชสำ�นักที่มีผู้เต้น 5 คน สวม 1752-1910 หน้ากากชอยองและชุดแต่งกายแถบ 5 สี 21 มรดกเอกสารว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Human 32 คากก Rights Documentary Heritage) ปี 1980 การร้องเพลงประกอบวงมโหรี เอกสารที่ถูกเก็บบันทึกรวบรวมจำ�นวนมาก ทั้ง ลำ�นำ�เพลงแบบดั้งเดิม ร้อยเรียงบทกลอนใส่ วิดีโอ รูปภาพ และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์การ ท่วงทำ�นองที่บรรเลงโดยวงมโหรี ลุกขึ้นต่อต้านระบอบทหารเพื่อประชาธิปไตยใน ควางจูเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 33 แดมกจัง (ช่างใหญ่สถาปัตยกรรมไม้แบบ โบราณ) 22 นันจุง อิลกี: บันทึกสงครามของพลเรือเอกยี แดมกจัง คือคนก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมแบบ ซุน-ซิน ดั้งเดิม ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดยนาย บันทึกส่วนตัวที่พลเรือเอกยี ซุน-ซิน เขียนไว้ ช่างใหญ่ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำ�วันและสถานการณ์การ ต่อสู้ในช่วงสงครามอิมจิน แวรัน (ญี่ปุ่นบุกรุกราน 34 การฝึกเหยี่ยว เกาหลีในปี 1592-1598) ศิลปะการเลี้ยงและฝึกเหยี่ยวให้ล่าสัตว์ 23 จดหมายเหตุแซมาอึล อุนดง 35 ชุลทากี บันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับแซมาอึลอุนดง การแสดงพื้นบ้านแบบดั้งเดิม นักไต่เชือกจะแสดง (การเคลื่อนไหวของชุมชนใหม่) ซึ่งเป็นการ กายกรรม ร้องเพลงและเล่าเรื่องตลกขณะเดิน เคลื่อนไหวต้นแบบที่ผลักดันให้เกิดการพัฒนา ไต่เชือก ชุมชนเกษตรกรรมและการขจัดความยากจนได้ เป็นผลสำ�เร็จในช่วงทศวรรษ 70 36 แทกคยอน ศิลปะการต่อสู้แบบโบราณที่อ่อนช้อยเพื่อป้องกัน มรดกทางวัฒนธรรมไร้รูปสัมผัสของ ตน ทั้งยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ

มนุษยชาติ

24 พิธีกรรมชงมโยเชเรและพิธีชงมโยเชเรอัก พิธีกรรมชงมโยเชเรและพิธีชงมโยเชเรอัก คือ พิธีบูชาบูรพกษัตราธิราชเจ้าและพระบรมวงศานุ วงศ์และดนตรีประกอบพิธีที่ศาลชงมโย 37

39

การแสดงพื้นบ้านโดยกลุ่มละครเร่ที่จะมาแสดง ตามชุมชนต่างๆ ในชนบท มีกลุ่มนักแสดงราว 40 คน (นัมซาดังแพ) นำ�แสดงโดยนักดนตรี หลัก (กกดูเซ)

25 พันโซรี ศิลปะการแสดงโบราณที่มีผู้ขับร้องคนเดียว แสดงร่วมกับผู้ตีกลองอีกหนึ่งคน โดยผู้แสดง จะขับร้องเรื่องราวหรือเรื่องเล่าในสมัยโบราณ ประกอบท่วงทำ�นองและการเคลื่อนไหวของมือ และร่างกาย

37 การทอผ้าป่านเนื้อละเอียดหรือโมซีในภูมิภาค ฮันซัน ประเพณีการทอผ้าป่านคุณภาพสูงเพื่อตัดเย็บเป็น เสื้อผ้าสำ�หรับสวมใส่ในฤดูร้อน ซึ่งสืบทอดต่อกัน มาในภูมิภาคฮันซัน 38 อารีรัง เพลงพื้นบ้านที่มีท่วงทำ�นองและคำ�ร้องที่หลาก หลาย เป็นเพลงในดวงใจของชาวเกาหลีมา หลายยุคหลายสมัย

39 วัฒนธรรมคิมจัง การทำ�และแบ่งปันกิมจิใน เกาหลี 26 เทศกาลคังนึงทาโนเจ ประเพณีการเตรียมและทำ�กิมจิไว้สำ�หรับ เป็นเทศกาลอันเก่าแก่ที่มีหมายเลข 5 ซ้อนกันเป็น รับประทานในช่วงฤดูหนาว โดยสมาชิกทั้ง คซึ่งจัดขึ้นในวันที่ห้าของเดือนห้าตามจันทรคติ ครอบครัวหรือผู้คนทั้งชุมชนจะมาร่วมด้วยช่วย การ 27 คังกังซุลแล งานการละเล่นพื้นบ้านแบบโบราณ ผู้หญิงจะมา 40 นงอัก ร่วมร้องเพลงเต้นรำ�ฉลองเทศกาลพระจันทร์ การบรรเลงดนตรีวง เต้นรำ�และทำ�พิธีกรรมของ ชุมชนในสาธารณรัฐเกาหลี 28 นัมซาดัง โนรี ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมของ เกาหลีได้ที่ ‘www.cha.go.kr’

93


การแสดงของยอมิลลัก (ความสุขของพระมหา กษัตริย์กับปวงประชา) ดนตรีในราชสำ�นักที่ ประพันธ์ขึ้นในรัชสมัย พระเจ้าเซจง ในช่วง ศตวรรษที่ 15

ศิลปะดั้งเดิม คูกัก คำ�ว่าคูกักแปลตรงตัวว่า “เพลงชาติ” ซึ่งหมายถึงเพลงเกาหลีแบบ โบราณและศิลปะรูปแบบอื่นๆ เช่น เพลง การเต้นรำ�และท่วงท่า ประกอบพิธีกรรม ดนตรีในเกาหลีน่าจะมีประวัติความเป็นมา ยาวนานนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศ แต่เพิ่งมีการศึกษาอย่างจริงจัง ในรัชสมัยพระเจ้าเซจองแห่งราชวงศ์โชซอน (1392-1910) ใน ตอนต้นศตวรรษที่ 15 นี้เอง ดนตรีเกาหลีได้รับการพัฒนาให้เป็น ระบบ อันนำ�ไปสู่การสร้างระบบตัวโน้ตดนตรีหรือที่เรียกกันว่าชอง กันโบที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย พระเจ้าเซจองทรงพยายามปฏิรูปดนตรีในราชสำ�นักซึ่งไม่เพียงแต่ นำ�ไปสู่การสร้างระบบโน้ตดนตรีของเกาหลี แต่ยังมีการประพันธ์ดนตรีประกอบพิธีกรรมพิเศษ (ชองกันโบ) และ

94


ยังสร้างเครื่องดนตรีประกอบพิธีกรรมพิเศษและยังมีการสร้างชงม โยเชเรอักเมื่อปี 2001 ซึ่งองค์การยูเนสโกได้จารึกไว้ในรายการ ตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมไร้รูปสัมผัสของมนุษย์ชาติ และยอมิล ลักที่แสดงในระหว่างพิธีบูชาบรรพบุรุษของราชวงศ์ ที่ศาลชงม โย (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) นอกจากนี้ยังมีเพลงยอมิลลัก หรือ “ความสุขของ ปวงประชา” คำ�ว่าคูกักเป็นคำ�ที่ใช้ครั้งแรกในช่วงปลายรัชสมัยโช ซอนโดยชังอักวอน ซึ่งเป็นกรมดนตรีที่มีหน้าที่จัดหมวดหมู่ดนตรี เกาหลีดั้งเดิมแยกออกจากดนตรีต่างชาติ ดนตรีเกาหลีโบราณแบ่งได้หลายประเภท ได้แก่ “ดนตรีแท้จริง” (ชองอัก หรือ ชองกา) ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของเชื้อพระวงศ์และ ขุนนางในสมัยโชซอน ดนตรีพื้นบ้าน เช่น พันโซรีและซันโจ (ดนตรีและการเต้นรำ�ในราชสำ�นัก) ซึ่งเป็นการแสดงถวายกษัตริย์ ในงานรัฐพิธีเฉลิมฉลองต่างๆ นอกจากนี้ยังมีดนตรีและการเต้นรำ� 95


ที่เกี่ยวพันกับประเพณีทางพุทธศาสนาและการทรงเจ้าไหว้ผี เช่น ซัลพูรี ซึงมู และอื่นๆ ดนตรีและการเต้นรำ�ที่กล่าวมาข้างต้นเรียก ได้ว่าเป็นดนตรีเกาหลีโบราณ ชองอักหมายถึงดนตรีซึ่งรวมถึงดนตรีในราชสำ�นัก บทเพลงและ ซีโจ (กลอนสามท่อนแบบโบราณของเกาหลี) ที่ชนชั้นสูงชื่นชอบ ส่วนดนตรีรูปแบบอื่นๆ เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงพุทธธรรม ทรงเจ้า ไหว้ผี พันโซรี ชับกา และซันโจ เป็นดนตรีที่ชนชั้นทั่วไปชื่นชอบ เรียกกันว่ามินโซคัก ในบรรดาเพลงพื้นบ้านมากมายที่มีอยู่ เพลงอารีรังเป็นบทเพลงที่ ตรึงอยู่ในใจของชาวเกาหลีซึ่งแตกต่างไปตามท้องถิ่น เช่น ชิน โด ชองซอน และมิลยัง เนื่องจากมีหลายท่วงทำ�นองและคำ�ร้อง ดัดแปลงขับขานให้สัมผัสเข้าถึงใจของผู้ฟัง องค์การยูเนสโกได้ พูแชชุม (ระบำ�พัด) รูปแบบการเต้นรำ�แบบ ดั้งเดิม เป็นการระบำ�ถือพัด ลวดลายดอกไม้ ผู้หญิงจะ เป็นผู้แสดงและมักแสดง เป็นกลุ่ม

96

จารึกบทเพลงนี้ไว้ในรายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมไร้รูป สัมผัสของมนุษย์ชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity) เมื่อปี 2012 นอกจากนี้ชาวเกาหลียังได้พัฒนาเครื่องดนตรีหลากหลายประเภท


แบ่งออกได้เป็น3หมวด ประมาณ 60 ประเภทที่ใช้ในการบรรเลงเพลงดนตรีโบราณเกาหลี ในเครื่องสายได้แก่ คายากึม คอมุนโก แฮกึม อาแจ็ง และบีพา เครื่องเป่าได้แก่ พีรี แดกึม ทันโซ และแทพยองโซ และ เครื่องตีได้แก่ พุก ชังกู กแวงกวารี และชิง การเต้นพื้นบ้าน ชาวเกาหลีมีการเต้นพื้นบ้านที่หลากหลายสืบทอดมาแต่ครั้ง โบราณกาล เช่น ซัลพูรีชุม (การเต้นรำ�ชำ�ระล้างจิตวิญญาณ) คุด ชุม (การเต้นในพิธีทรงเจ้า) แทพยองมู (ระบำ�แห่งสันติสุข) ฮัลยัง ชุม (ระบำ�แช่มช้า) พูแชชุม (ระบำ�พัด) คอมมู (ระบำ�ดาบ) และซึง มู (ระบำ�พระ) ในบรรดาการเต้นเหล่านี้ ทัลชุม (ระบำ�หน้ากาก) และพุงมุล โนรี (เล่นเครื่องดนตรีประกอบ) เป็นการเต้นรำ�ที่มุ่งเพื่อเสียดสีการฉ้อ

"มยอง-ซอน (ทำ�สมาธิ ด้วยชา)" โดยคิม ชอง-ฮี (นามปากกา: ชูซา 17861856) (โชซอน ศตวรรษ ที่ 19)

ราษฎร์บังหลวงของเหล่าขุนนางสมัยโชซอน อีกทั้งยังมีการเต้น ชาวนาซึ่งเป็นการเต้นเพื่อขอพรให้การทำ�นาอุดม สมบูรณ์โดยในการแสดงทัลชุมและการเต้นชาวนา นั้นจะใช้กลองและฉิ่งเพื่อสร้างบรรยากาศให้ สนุกสนาน จิตรกรรมและอักษรวิจิตร จิตรกรรมเป็นศิลปะสำ�คัญแขนงหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ ครั้งโบราณ ภาพจิตรกรรมโบราณที่พบคือ จิตรกรรมฝาผนังในสมัยโคกูรยอ (37 ก่อนคริสต์ กาล – 668) ซึ่งมีร่องรอยอันทรงคุณค่าที่สะท้อน ให้เห็นถึงความเชื่อของชาวเกาหลีในอดีตเกี่ยวกับ มนุษย์และจักรวาล รวมไปถึงทักษะและเทคนิคทาง ด้านศิลปะของผู้คนในสมัยนั้น ตามประวัติศาสตร์ ศิลปะที่พบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนและได้ ถ่ายทอดไปยังญี่ปุ่น 97


ซีรึม (มวยปล้ำ�เกาหลี) โดยคิม ฮง-โด (1745-1806) ภาพวาดของคิม ฮง-โด หนึ่งในจิตรกรชั้นเยี่ยมในช่วงปลายรัชสมัยโชซอน ภาพนี้ถ่ายทอดฉากการแข่งขันมวยปล้�ำ เกาหลีแบบ โบราณได้อย่างมีชีวิตชีวา เป็นภาพนักมวยปล้ำ�สองคนล้อมรอบไปด้วยผู้ชมที่กำ�ลังใจจดใจจ่อกับการแข่งขัน

98


ศิลปินสมัยโครยอ (918-1392) ให้ความสนใจในการถ่ายทอด สัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาและสร้างผลงานชิ้นเอกเป็นมรดกมอบ ไว้ให้แก่ลูกหลานในสมัยโชซอนมีชื่อเสียงด้านรูป ภาพที่วาดขึ้นโดยกลุ่มชนชั้นสูงที่เรียกว่า มุนอินฮวา รูปแม่น�้ำ ลำ�ธารและภูเขาถือเป็นรูปภาพที่เป็นที่นิยมทุกยุคทุกสมัย ในขณะที่กลุ่มปัญญาชนจะสนใจในด้านสัญลักษณ์นิยมเกี่ยวกับ สัตว์และพรรณพืช เช่น เทพอริยะทั้งสี่ (ซากุนจา ได้แก่ กล้วยไม้ เบญจมาศ ไผ่ และต้นพลัม) เสือ กวาง และนกกระเรียน ซึ่งเป็น สัตว์ที่สำ�คัญในภาพวาด คิม ฮง-โด และซิน ยุน-บก คือสองศิลปินเลื่องชื่อแห่งศตวรรษที่ 18 ผู้ซึ่งหลงใหลในการวาดภาพกิจวัตรประจำ�วันของผู้คนในขณะ ทำ�งาน รูปภาพของศิลปินทั้งสองนี้ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้หญิง กำ�ลังคลายความร้อนที่ลำ�ธารและแสดงให้เห็นขาอ่อนของผู้หญิง ซึ่งถือเป็นเรื่องราวที่น่าตกใจในสมัยนั้น อักษรวิจิตรเป็นศิลปะการเขียนตัวอักษรด้วยมือที่ได้รับอิทธิพลมา จากประเทศจีน ศิลปินถ่ายทอดความงามของตัวอักษรที่มีลายเส้น และรูปร่างแตกต่างกันไปด้วยการควบคุมน้�ำ หมึกให้มีความเข้ม หนาบางต่างกัน แม้อักษรวิจิตรจะเป็นศิลปะเอกเทศ แต่ก็มีความ เกี่ยวพันกับจิตรกรรมภาพหมึก เนื่องจากศิลปะทั้งสองแขนงนี้ใช้ เทคนิคและเครื่องมือที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งเรียกกันว่า “สี่สหายแห่ง การศึกษา” (ได้แก่ กระดาษ แปรง แท่งหมึกและแท่นหินฝนหมึก) เกาหลมีนักอักษรวิจิตรออกมามากมาย (1786-1856) หนึ่งใน นั้นคือคิม จอง ฮี ผู้พัฒนาการเขียนตัวอักษรในแบบฉบับของตน จนเป็นที่โด่งดัง ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ ชูซาเชหรือชูซาสไตล์ (ชูซา คือลายมือ) แม้แต่ศิลปินชาวจีนขั้นบรมครูแห่งยุคนั้นก็ยังประทับ ใจและจวบจนปัจจุบันผลงานของเขาก็ยังได้รับการกล่าวขานถึง ความงามที่ไร้ซึ่งเงื่อนไขแห่งกาลเวลา ศิลปะเครื่องปั้นดินเผา ในปัจจุบันเครื่องปั้นดินเผาของเกาหลีได้รับการชื่นชมเป็นอย่าง 99


เตาเผาในคังจิน จังหวัด ชอลลานัมโด เตาเผาโบราณที่ยังหลง เหลืออยู่พบได้ที่คังจินซึ่ง เป็นแหล่งผลิตเครื่องสังค โลกที่สำ�คัญในยุคโครยอ

มากจากเหล่านักสะสมชาวต่างชาติ งานเครื่องปั้นของเกาหลีแบ่ง ออกได้เป็น3กลุ่ม ได้แก่ ชองจา (เครื่องสังคโลกสีฟ้าเขียว) บุนชอง (เครื่องถ้วยหินเคลือบ) และแพ็กจา (เครื่องสังคโลกสีขาว) เครื่อง สังคโลกหมายถึงเครื่องถ้วยของเกาหลีที่ช่างปั้นหม้อยุค โครยอรังสรรค์ขึ้นเมื่อราว 700-1,000 ปีที่ผ่านมา ที่เกาหลีมีซังกัม ชองจาคือเครื่องปั้นดินเผาที่ขูดพื้นผิวและทำ�ลวดลายด้วยดินสีขาว และสีดำ�ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เด่นของเกาหลี คังจินแห่งจังหวัดชอล ลานัมโดและพุอันแห่งชอลลาบุกโดคือสถานที่ปั้นในยุคสมัยโครยอ (918-1392) เครื่องสังคโลกขาวเป็นงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผาที่โดดเด่นในสมัย โชซอน (1392-1910) แม้เครื่องปั้นบางชิ้นจะมีพื้นผิวที่เป็นสีขาว นวล แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีการประดับตกแต่งลวดลายหลายแบบ ทาสีที่ได้มาจากเหล็กและทองแดงออกไซต์หรือสีฟ้าโคบอลต์ราคา แพงที่น�ำ เข้ามาจากเปอร์เซียผ่านทางประเทศจีน ราชสำ�นักโชซอนสร้างเตาเผาของตนเองในควางจู จังหวัดคยองกี โดเพื่อเอาไว้ผลิตเครื่องปั้นคุณภาพสูง เทคนิคขั้นสูงที่ใช้ในการ ผลิตเครื่องสังคโลกสีขาวถ่ายทอดไปยังญี่ปุ่นโดยช่างปั้นหม้อโช ซอนที่ถูกลักพาตัวไปช่วงสงครามอิมจิน แวรัน (การบุกรุกรานของ ญี่ปุ่น ปี 1592-1598) 100


1 3

2 4

1. ขวดเครือ ่ งสังคโลกทรงกลม (โครยอ ศตวรรษที่ 12) 2. เครือ ่ งสังคโลกลายดอกโบตัน ๋ (โครยอ ศตวรรษที่ 12) 3. ขวดพุนชองลายดอกบัวและไม้เลือ ้ ย (โชซอน ศตวรรษที่ 15) 4. ขวดกระเบือ ้ งสีขาวลายเส้นลงสีเหล็กเคลือบ (โชซอน ศตวรรษที่ 16) (ทีม ่ า: พิพธ ิ ภัณฑ์แห่งชาติเกาหลี)

101


ช่วง 500-600 ปีก่อน นอกจากศิลาดลและเครื่องปั้นลายคราม แล้ว ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาของเกาหลีกลุ่มที่สามคือบุนชองก็ได้รับ ความนิยมเช่นกัน รังสรรค์ขึ้นโดยช่างปั้นโครยอ หลังจากที่อาณา จักรโครยอล่มสลายในปี 1392 เครื่องปั้นดินเผาชนิดนี้มีลักษณะเฉพาะที่พื้นผิวเคลือบเรียบลื่นและ มีการตกแต่งลวดลายที่เรียบง่ายโดยใช้เทคนิคต่างๆ งานศิลปะ แบบดั้งเดิมทั้งงานจิตรกรรม อักษรวิจิตรและเครื่องปั้นดินเผาเหล่า นี้ได้รับความนิยมในหมู่นักสะสม มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน อย่างกว้างขวางตามหอศิลป์และร้านขายของโบราณอินซา-ดง และผ่านการประมูลอีกด้วย ศิลปหัตถกรรม ช่างฝีมือและผู้หญิงชาวเกาหลีในอดีตได้พัฒนาเทคนิคต่างๆ เพื่อ ทำ�ข้าวของเครื่องใช้ที่จ�ำ เป็นภายในบ้าน พวกเขาทำ�เครื่องเรือน ตู้สองลิ้นชัก ตู้ไม้งามวิจิตรหลังนี้ใช้ สำ�หรับเก็บเสื้อผ้า ตกแต่ง อย่างหรูหราด้วยลวดลาย ประดับมุกซึ่งมีความ ทนทาน มีประโยชน์และมี คุณค่าทางศิลปะ (ที่มา: พิพิธภัณฑ์แห่ง ชาติเกาหลี)

หลากหลายอย่างจากไม้ เช่น ตู้เสื้อผ้า ตู้เก็บของและโต๊ะที่มีรูป ทรงที่โดดเด่นได้สมดุลและมีสมมาตร นอกจากนี้ยังมีตะกร้าสาน กล่องและเสื่อที่ท�ำ จากไม้ไผ่ ต้นหวาย หญ้าพงและต้นไม้กวาดวิส ทีเรียและเลสเพเดซ่า ใช้กระดาษสาเกาหลีทำ�หน้ากาก ตุ๊กตาและ เครื่องตกแต่งในงานพิธี แล้วตกแต่งลงรักข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ด้วยสีดำ�และแดงที่ได้มาจากธรรมชาติ ต่อมาได้มีการพัฒนาใน การตกแต่งเครื่องเรือนให้วิจิตรงดงามมากขึ้น โดย การนำ�เอาเปลือกหอย น้ำ�เต้าและเขาวัวที่ย้อมสีสัน สวยงามมาประดับตกแต่ง การเย็บปักถักร้อย การถักปม (แมดึบ) และการย้อม สีธรรมชาติก็เป็นองค์ประกอบที่ส�ำ คัญของงานศิลปะ และงานฝีมือแบบดั้งเดิมของเกาหลี ซึ่งการเย็บปักถัก ร้อยได้น�ำ มาใช้ในการตกแต่งเสื้อผ้า เครื่องประดับติด หน้าอกเสื้อฮันบกสตรี ฉากกั้นและเบาะนั่ง รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้และเครื่องประดับให้มี ความสวยงาม

102


1 2

3 4

1. กระเป๋าหวี เครื่องใช้ของสุภาพสตรี 2. ผ้าย้อมสีธรรมชาติ 3. เครื่องประดับถักทอที่มีลวดลายและสีต่างๆ 4. ตุ๊กตากระดาษสาเกาหลี ที่ใช้วัตถุดิบจากเปลือกของ ต้นไม้ชื่อดักนามู โดยการทำ�เป็นฮันจี (กระดาษดักจงอี) มา ติดซ้อนๆ กัน ขึ้นเป็นตุ๊กตา

103


ฮันรยู (กระแสความนิยมเกาหลี) คำ�ศัพท์ทใ ่ี ช้กน ั อย่างแพร่หลายในปัจจุบน ั แสดงถึงความโด่งดัง ของวัฒนธรรมและธุรกิจบันเทิงของเกาหลีทข ่ี จรขจายไปทัว ่ เอเชีย และส่วนอืน ่ ๆ ของโลก คำ�ว่าฮันรยู หรือ “กระแสความนิยมเกาหลี” ปรากฏขึน ้ เป็นครัง้ แรกในช่วงกลางทศวรรษ 1990 หลังจากที่ เกาหลีเริม ่ กระชับความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศจีนในปี 1992 ละครโทรทัศน์และเพลงป๊อปเกาหลีได้รบ ั ความนิยมเป็นอย่างมากใน หมูช ่ าวจีน ละครโทรทัศน์ “รักคืออะไร” (What Is Love?) หนึง่ ในละครเรือ ่ ง แรกๆ ทีป ่ ระสบความสำ�เร็จ ออกอากาศทางช่อง CCTV ในปี 1997 และสามารถคว้าเรตติง้ มาได้ถงึ 4.2% ซึง่ หมายความว่ามีผช ู้ มชาว จีนชมละครเรือ ่ งนีม ้ ากกว่า 150 ล้านคน เพลงป๊อปเกาหลี โดยเฉพาะเพลงแดนซ์เริม ่ ได้รบ ั ความนิยมในหมู่ วัยรุน ่ ชาวจีน หลังจากทีม ่ ก ี ารโปรโมทอย่างจริงจังในปี 1997 โดย รายการวิทยุโซลมิวซิครูม (Seoul Music Room) ซึง่ ถ่ายทอด รายการในกรุงปักกิง่ เหตุการณ์ส�ำ คัญทีจ ่ ด ุ ปะทุความคลัง่ ไคล้วฒ ั น ธรรมป๊อปเกาหลีกค ็ อ ื งานคอนเสิรต ์ ของวงบอยแบนด์ H.O.T ทีจ ่ ด ั ขึน ้ ทีส ่ นามกีฬาคนงานในปักกิง่ (Beijing Workers’ Gymnasium) เมือ ่ เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2000 การรายงานข่าวเกาหลีใช้ค�ำ ว่าฮันรยูหรือกระแสความนิยมเกาหลี เพลง “กังนัมสไตล์” ร้อง โดยไซ เพลง “กังนัมสไตล์” ของ ไซประสบความสำ�เร็จ อย่างรวดเร็วด้วยท่าเต้นขี่ ม้า เพลงนี้เป็นเพลง เคป๊อปเพลงแรกที่ไต่ขึ้นถึง อันดับ 1 ในซิงเกิ้ลชาร์ต ของอังกฤษและอยู่ใน อันดับ 2 ของชาร์ตบิล บอร์ดฮ็อต 100 ของ อเมริกาเป็นเวลา 7 สัปดาห์ ติดต่อกัน ภาพนี้เป็น ภาพที่ไซได้เปิดการแสดง ให้แฟนเพลงของเขาได้ ชม ณ Seoul City Hall Plaza

104

ในการอธิบายงานคอนเสิรต ์ นี้ อันทีจ ่ ริงมีการเขียนถึงปรากฏการณ์ กระแสความนิยมเกาหลีในหนังสือพิมพ์ปก ั กิง่ ยูธเดลี (Beijing Youth Daily) ตัง้ แต่เดือนพฤศจิกายน ปี 1999 แต่จากเหตุการณ์ คอนเสิรต ์ นีเ้ องทีท ่ �ำ ให้ชาวเกาหลีเริม ่ รับรูถ ้ งึ กระแสความนิยมของ พวกเขา กระแสความนิยมเกาหลีได้เริม ่ เข้าสูญ ่ ป ่ี น ุ่ ในปี 2003 เมือ ่ ละคร โทรทัศน์เรือ ่ ง “เพลงรักในสายลมหนาว” (Winter Sonata) ของ ช่อง KBS ได้ออกอากาศทางช่อง NHK ละครเรือ ่ งนีป ้ ระสบความ สำ�เร็จอย่างถล่มทลาย ส่งผลให้พระเอก โยน ซามา โด่งดังกลาย เป็นซุปเปอร์สตาร์ มีแฟนคลับชาวญีป ่ น ุ่ เดินทางตามรอยละครไปที่


105


106


ต่างๆ ซึง่ รวมถึงเกาะนามิในเกาหลีดว ้ ย “กระแสความนิยมเกาหลี” ทำ�ให้เกาหลีได้รบ ั ความสนใจรวมไป ถึงวัฒนธรรมเกาหลีแบบดัง้ เดิม อาหาร วรรณกรรมและภาษา เพิม ่ จำ�นวนสาวกเกาหลีมากขึน ้ เรือ ่ ยๆ จากข้อมูลตัวเลขล่าสุด ณ ปี 2013 มีองค์กรทีเ่ กีย ่ วข้องกับฮันรยู อยู่ 987 แห่ง จาก 78 ประเทศ ทัว ่ โลก รวมจำ�นวนสมาชิกได้ถงึ ราว 9 ล้านคน แบ่งออกเป็น 234 แห่งในเอเชีย (ประมาณ 6.8 ล้านคน) 464 แห่งในอเมริกา (ประมาณ 1.25 ล้านคน) 213 แห่งในยุโรป (ประเทศ 1.17 ล้านคน) และ 76 แห่งในแอฟริกาและตะวันออกกลาง (ประมาณ 6 แสนคน) สมาชิกส่วนใหญ่คอ ื เหล่าแฟนคลับเคป๊อป แต่ในระยะหลังมีกลุม ่ ผู้ คนใหม่ๆ ทีส ่ นใจวัฒนธรรมเกาหลีดา้ นอืน ่ เพิม ่ มากขึน ้ เช่น ละคร เกาหลี อาหารเกาหลี และการท่องเทีย ่ วเกาหลี เคป๊อป เคป๊อปเป็นเพลงเกาหลีทไ ่ี ด้รบ ั ความนิยมซึง่ เรียกว่า คาโย หรือ ยู แฮงกา ในประเทศอเมริกาและประเทศอังกฤษเรียกเพลงมวลชนนี้ ว่า ป๊อป และมีอท ิ ธิพลแพร่หลายไปทัว ่ เช่น ถ้ามาจากประเทศไทย เรียกว่า ทีปอ ๊ ป ประเทศญีป ่ น ุ่ เรียกว่า เจป๊อป จีนเรียกว่า ซีปอ ๊ ป และ ประเทศเกาหลีเรียกว่า เคป๊อป ในช่วงกลางทศวรรษ 2000 เคป๊อปได้ดงึ ดูดแฟนเพลงมากมายใน เอเชียตะวันออก และแพร่หลายไปยังหลายภูมภ ิ าคในยุโรป อเมริกา และอเมริกาใต้ การทีเ่ พลงกังนัมสไตล์ของไซได้รบ ั ความนิยมไป ทัว ่ โลกในทันทีทป ่ี ล่อยเพลงออกมาเมือ ่ ปลายปี 2012 อาจเป็นสิง่ ทีแ ่ สดงให้เห็นได้ดท ี ส ่ี ด ุ ว่าเคป๊อปกำ�ลังได้รบ ั ความนิยมไปทัว ่ โลก เพลงนีเ้ ป็นเพลงแนวเคป๊อปเพลงแรกทีไ ่ ต่ขน ้ึ ถึงอันดับ 1 ในซิงเกิล ้ ชาร์ตของอังกฤษและอยูใ ่ นอันดับ 2 ของชาร์ตบิลบอร์ดฮ็อต 100 ของอเมริกาเป็นเวลา 7 สัปดาห์ตด ิ ต่อกัน และยังมียอดเข้าชมถึง 2 พันล้านวิวบน Youtube (สถิติ ณ เดือนพฤศจิกายน 2014) นับ

1

ตัง้ แต่ทอ ่ี พ ั โหลดไปเมือ ่ วันที่ 15 กรกฎาคม 2012

2

ความสำ�เร็จในระดับโลกของ “กังนัมสไตล์” นัน ้ เกิดขึน ้ หลังจาก ความรุง่ โรจน์ของเหล่าวงไอดอลแนวเคป๊อป เช่น TVXQ Super

วงไอดอลเคป๊อประดับแนว หน้า: Big Bang (ภาพบน) และ 2NE1 (ภาพล่าง)

107


แฟนเพลงเคป๊อปในสเปน

Junior Big Bang 2NE1 Beast Girls’ Generation 2PM และ Wonder Girls กว่า 80 วงไอดอลทีค ่ รองตลาดเพลงป๊อปไปทัว ่ เอเชีย TVXQ มียอดทัวร์คอนเสิรต ์ ทัง้ หมด 65 รอบในญีป ่ น ุ่ ตัง้ แต่ ปี 2006 ถึงปี 2012 มีแฟนเพลงเข้าชมถึง 700,000 คน และขาย อัลบัม ้ ได้มากกว่า 6.3 ล้านแผ่น ในช่วงปลายปี 2009 Wonder Girls เป็นวงดนตรีเกาหลีวงแรกทีน ่ �ำ เพลง “Nobody” ขึน ้ ชาร์ตบิลบอร์ดฮ็อต 100 ได้ ความโด่งดังของนักร้องเคป๊อปส่วนใหญ่มาจากความสามารถ ในการร้องเพลงทีย ่ อดเยีย ่ ม การแสดงบนเวทีทต ่ี ระการตา การ ออกแบบท่าเต้นทีด ่ แ ี ละการเต้นได้อย่างสมบูรณ์แบบ ในขณะที่ พวกเขาอาจดูมค ี วามสุขและมีเสน่หบ ์ นเวที แต่การแสดงนัน ้ เป็น ผลมาจากการฝึกซ้อมอย่างหนักมานานหลายปีมากกว่าจะมาจาก พรสวรรค์ทไ ่ี ด้มาแต่ก�ำ เนิด วงไอดอลของเกาหลีได้แผ่กระจายความร้อนแรงของเคป๊อปออก ไปทัว ่ โลกตัง้ แต่เอเชียไปจนถึงออสเตรเลีย ยุโรป อเมริกาเหนือและ อเมริกาใต้ ในช่วงนีว ้ งไอดอลเคป๊อปมีแนวโน้มทีจ ่ ะร่วมแสดงกับ ศิลปินอืน ่ ๆ ทีอ ่ ยูใ ่ นค่ายเดียวกันมากขึน ้ 108


หนึง่ ในความสำ�เร็จของการร่วมงานกันเกิดขึน ้ เมือ ่ เดือนมิถน ุ ายน 2011 เมือ ่ ศิลปินของค่าย SM Entertainment ได้แสดงร่วมกันที่ Le Zenith de Paris ในเมืองหลวงของฝรัง่ เศส มีแฟนเพลงเข้าชม กว่า 7,000 คน ถือว่างานนีเ้ ป็นแรงกระตุน ้ อันสำ�คัญทีท ่ �ำ ให้ศล ิ ปิน เคป๊อปได้รบ ั ความสนใจอย่างจริงจังมากขึน ้ จากตลาดเพลงในยุโรป ในปี 2011 งานในแบบเดียวกันนีจ ้ ด ั ขึน ้ อีกในหลายเมืองทัว ่ โลก เริม ่ จากงานเทศกาลดนตรีเคป๊อปทีม ่ แ ี ฟนเพลงเข้าร่วมถึง 45,000 คน ณ Tokyo Dome ในเดือนกรกฎาคม วง JYJ จัดคอนเสิรต ์ ขึน ้ ในสเปนและเยอรมนี และศิลปินของค่าย CUBE Entertainment ได้เปิดการแสดงในอังกฤษและบราซิล ในเดือนตุลาคม Girls’ Generation ได้จด ั คอนเสิรต ์ รอบพิเศษที่ Madison Square Garden ในนิวยอร์ก และประสบความสำ�เร็จ อย่างล้นหลามจนได้ลงข่าวหน้าหนึง่ ของหนังสือพิมพ์ New York Daily ฉบับวันที่ 23 ตุลาคม พร้อมกับภาพขนาดใหญ่ของงาน คอนเสิรต ์ และพาดหัวข่าวอย่างครึกโครมว่า “ศิลปินเคป๊อปบุก” ในเดือนกุมภาพันธ์ปต ี อ ่ มา งานเทศกาลดนตรีเคป๊อปอีกงานได้จด ั ขึน ้ ทีส ่ นามกีฬา Palais Omnisports Bercy Stadium ในกรุงปารีส ซึง่ มีแฟนเพลงจากทัว ่ ยุโรปกว่า 10,000 คนเข้าร่วมจนเต็มพืน ้ ที่ สนามกีฬา ในบรรดาแฟนเพลงทีม ่ าเข้าร่วมนี้ มีแฟนเพลงทีค ่ ลัง่ ไคล้ ดัน ้ ด้นเดินทางมาจากเยอรมนี สเปนและโปรตุเกส ละครโทรทัศน์ ความสำ�เร็จอย่างยิง่ ใหญ่ในต่างประเทศของละคร “รักคืออะไร” What Is Love? (ช่อง MBC) และ “เพลงรักในสายลมหนาว” Winter Sonata (ช่อง KBS) ในประเทศจีนและญีป ่ น ุ่ มีสว ่ นสำ�คัญทีช ่ ว ่ ย กระตุน ้ ความนิยมของละครโทรทัศน์เกาหลีไปทัว ่ เอเชียและภูมภ ิ า คอืน ่ ๆ ของโลก นอกจากสองเรือ ่ งนีแ ้ ล้ว ยังตามมาด้วยเรือ ่ ง “จอมนางแห่งวังหลวง” Dae Jang Geum (ช่อง MBC) ซึง่ เป็นละครทีเ่ กีย ่ วกับเรือ ่ งราว ของนางในห้องเครือ ่ งทีเ่ ป็นเด็กกำ�พร้าและต่อมาได้กลายเป็นหมอ หลวงหญิงคนแรกของกษัตริยเ์ กาหลี เดิมละครเรือ ่ งนีอ ้ อกอากาศ 109


ละครโทรทัศน์เกาหลี ที่ทำ�ให้ผู้ชมต่างชาติ หลงใหล: “ประธานาธิบดี คุณนายกับคุณชายบอดี้ การ์ด” Big Thing (ภาพ ซ้าย) และ “รักเธอไม่รู้ลืม” Love Rain (ภาพขวา)

ในช่วงปี 2003 และ 2004 และได้รบ ั เรตติง้ สูงสุดในเกาหลีใต้ ก่อน ทีจ ่ ะส่งออกไปฉายยัง 87 ประเทศทัว ่ โลก รวมทัง้ ประเทศมุสลิมอย่าง อิหร่านซึง่ มีผช ู้ มถึง 80% ละครเรือ ่ งนีท ้ �ำ ให้ผช ู้ มหลงใหลด้วยการ ถ่ายทอดภาพวัฒนธรรมดัง้ เดิมของเกาหลี เช่น อาหารชาววัง เครือ ่ ง แต่งกายและความรูเ้ รือ ่ งยาโบราณ เรือ ่ งราวความสำ�เร็จของละครโทรทัศน์เกาหลียงั ดำ�เนินต่อเนือ ่ งมา ถึงทศวรรษที่ 2010 กับเรือ ่ ง “ประธานาธิบดีคณ ุ นายกับคุณชายบอดี้ การ์ด” Big Thing (ช่อง SBS, 2010) “ศึกแค้น ศึกสงครามชีวต ิ ” Giant (ช่อง SBS, 2010) “เสกฉันให้เป็นเธอ” Secret Garden (ช่อง SBS, 2011) “รักเธอไม่รล ู้ ม ื ” Love Rain (ช่อง KBS, 2012) และ “สายลมรักในฤดูหนาว” That Winter, The Wind Blows (ช่อง SBS, 2013) ในบรรดาเรือ ่ งเหล่านี้ “รักเธอไม่รล ู้ ม ื ” Love Rain ได้สง่ ไปฉายทีป ่ ระเทศญีป ่ น ุ โดยได้รบ ั ค่าลิขสิทธิถ ์ งึ 9 พันล้านวอน ในปี 2013 ละครเรือ ่ ง “สายลมรักในฤดูหนาว” That Winter, the Wind Blows ส่งออกไปยังอีก10ประเทศในเอเชียรวมทัง้ จีน ญีป ่ น ุ่ ่ เมริกาได้มก ี ารทำ�สัญญาถ่ายทอดที่ ฮ่องกง และไต้หวัน ส่วนทีอ สถานีโทรทัศน์ของอเมริกาด้วย 110


เทศกาลภาพยนตร์ในเกาหลี

เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ปูซาน (2-11 ตุลาคม 2014)

เทศกาลภาพยนตร์แฟนตาสติ คนานาชาติบูชอน (17-27 กรกฎาคม 2014)

เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ ชอนจู (1-10 พฤษภาคม 2014)

ได้กลายเป็นงานเทศกาล ภาพยนตร์ชั้นนำ�ของเอเชีย หลังจากที่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1996 งานเทศกาล BIFF เปิด โอกาสให้วงการภาพยนตร์ เอเชียได้เสนอผลงาน รับชม พูดคุยและแลกเปลี่ยนซื้อขาย ภาพยนตร์ ภาพยนตร์สารคดี ภาพยนตร์โฆษณา ภาพยนตร์ อิสระใหม่ๆ ทั้งแบบดิจิทัล และแอนาล็อกท่ามกลางการ รายงานข่าวของสื่อมวลชน ทั่วโลก <www.biff.kr>

จัดขึ้นทุกเดือนกรกฎาคมที่ เมือง บูชอน จังหวัดคยองกีโด มาตั้งแต่ปี 1997 งานเทศกาล BiFan นำ�เสนอภาพยนตร์ แนวเขย่าขวัญสั่นประสาท ภาพยนตร์แนวลึกลับและแนว แฟนตาซีที่ผลิตในประเทศ เกาหลีและประเทศต่างๆ ใน เอเชียให้ชาวเกาหลีผู้ที่ชื่น ชอบภาพยนตร์ได้รับชม <www.bifan.kr>

เปิดตัวครั้งแรกในปี 2000 และ จัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ� ทุกปีในเดือนเมษายนหรือ พฤษภาคมที่เมืองชอนจู ซึ่ง ถือเป็นแหล่งกำ�เนิดวัฒนธรรม ดั้งเดิมของเกาหลี งานเทศกาล JIFF เน้นภาพยนตร์ที่มีความ สร้างสรรค์ทางศิลปะซึ่งท้าทาย ธรรมเนียมนิยมที่มีอยู่เดิม <www.jiff.or.kr>

ภาพยนตร์ ความนิยมชมชอบในวัฒนธรรมป๊อปเกาหลีทแ ่ี ผ่ขยายไปทัว ่ โลกส่ง ผลให้เกิดระลอกคลืน ่ ฮันรยู (กระแสความนิยมเกาหลี) ในวงการ ภาพยนตร์ นำ�ชือ ่ เสียงมาให้กบ ั นักแสดงจอเงิน อาทิ แบ ยอง-จุน (ในประเทศญีป ่ น ุ่ รูจ ้ ก ั กันในชือ ่ ยอน ซามะ) จาง ดง-กอน, ลี ซอ-จิน, ควอน ซัง-วู, วอนบิน, จาง กึน-ซอก, ลี พยอง -ฮอน, เรน, จอน จี-ฮ ยอน, และแบ ดู-นา ในบรรดานักแสดงเหล่านี้ สีค ่ นสุดท้ายได้แสดง เป็นตัวละครหลักในภาพยนตร์ฮอลลีวด ู ความมีชอ ่ื เสียงโด่งดังไปทัว ่ 111


คิม คี-ด็อก ผู้ก�ำ กับ ภาพยนตร์ ยืนขนาบข้างกับลี จุง-จิน และโจ มิน-ซู คิมเป็น ผู้กำ�กับภาพยนตร์ชาว เกาหลีคนแรกที่ได้รับ รางวัลสิงโตทองคำ� ณ งาน เทศกาลภาพยนตร์นานา ชาติเวนิซครั้งที่ 69 จาก เรื่อง Pietà

โลกของเหล่าผูก ้ �ำ กับและนักแสดงภาพยนตร์ในทุกวันนี้ ส่วนหนึง่ เป็นผลมาจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติทจ ่ี ด ั ขึน ้ ในเกาหลี รวม ถึงเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปซ ู าน (BIFF) เทศกาลภาพยนตร์ นานาชาติชอนจู (JIFF) และเทศกาลภาพยนตร์แฟนแทสติกนานา ชาติบช ู อน (BiFan) เมือ ่ ไม่นานมานีว ้ งการภาพยนตร์นานาชาติเริม ่ ให้ความสนใจ ภาพยนตร์เกาหลีและผูก ้ �ำ กับภาพยนตร์ชาวเกาหลีอย่างจริงจัง ผู้ กำ�กับภาพยนตร์ชาวเกาหลีทไ ่ี ด้รบ ั ความสนใจจากนักวิจารณ์ชาติ ตะวันตก ได้แก่ อิมควอนแท็ก ปักชานวูก ฮงซางซู คิมคีดอ ็ ก คิมจีฮน ุ และพงจุนโฮ ทุกคนล้วนสร้างผลงานชิน ้ เอกราวกับเพือ ่ จะให้เป็น รางวัลแก่ผค ู้ นรอบกายทีค ่ อยให้ความช่วยเหลือและให้ก�ำ ลังใจอยู่ ไม่หา่ ง ผลงานชิน ้ เอกได้แก่ เรือ ่ ง Strokes of Fire (2002) กำ�กับ โดยอิมควอนแท็ก เรือ ่ ง Secret Sunshine กำ�กับโดยลี ชางดง (2007) เรือ ่ ง Thirst (2009) กำ�กับโดยปัก ชานวูก และเรือ ่ ง The Taste of Money (2012) กำ�กับโดยอิมซาง ซู สำ�หรับคิมคีดอ ็ กนัน ้ ช่วงเวลาทีน ่ า่ จดจำ�คือในเดือนกันยายน 2012 ทีเ่ ขาได้เป็นผูก ้ �ำ กับภาพยนตร์ชาวเกาหลีคนแรกทีไ ่ ด้รบ ั รางวัลสิงโตทองคำ� ณ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิซครัง้ ที่ 69 112


จากเรือ ่ ง Pietà เขาเริม ่ กำ�กับภาพยนตร์เรือ ่ งแรกในปี 1996 เพียง 3 ปีหลังจากทีพ ่ ก ั การเรียนด้านศิลปะซึง่ เป็นช่วงเวลาทีเ่ ขาอาศัยอยูท ่ ่ี ปารีสตัง้ แต่ปี 1990 ถึง 1993 และเริม ่ ทำ�งานภาพยนตร์หลายเรือ ่ ง อาทิ Birdcage Inn (1998), The Isle (2000) และ 3 Iron (2004) ซึง่ สร้างเสียงวิพากษ์วจ ิ ารณ์ในหมูน ่ ก ั วิจารณ์และผูช ้ ม ส่วนในปี 2012 เรือ ่ ง The Thieves กำ�กับโดยเชวทงฮุนได้รบ ั การเชือ ้ เชิญ ให้เข้าประกวดทีง่ านแสดงภาพยนตร์โลกร่วมสมัยในงานเทศกาล ภาพยนตร์นานาชาติโตรอนโต นอกจากเขาแล้วก็ยงั มีปก ั ชานวูก คิม จีอน ุ และพงจุนโฮ ซึง่ ประสบความสำ�เร็จทัง้ ในด้านธุรกิจภาพยนตร์ และด้านกระแสคำ�วิจารณ์ ทัง้ ยังได้รบ ั เชิญไปฮอลลีวด ู เพือ ่ สร้าง ภาพยนตร์และขยายฐานภาพยนตร์ให้เข้าถึงสาธารณชนมากยิง่ ขึน ้ ในปี 2012 เรือ ่ ง The Thieves กำ�กับโดยเชว ทง-ฮุนได้รบ ั การ เชือ ้ เชิญให้เข้าประกวดทีง่ านแสดงภาพยนตร์โลกร่วมสมัยในงาน เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตรอนโตประจำ�ปี 2013 ความสนใจ ในภาพยนตร์เกาหลีทเ่ี พิม ่ ขึน ้ ในหมูผ ่ ช ู้ น ่ื ชมภาพยนตร์เกาหลีได้ ทำ�ให้เกิดกระแสความนิยมในบ๊อกซ์ออฟฟิศครัง้ ใหญ่ ตัวอย่างเช่น เรือ ่ ง The Thieves มีผเู้ ข้าชมถึง 12.98 ล้านคนเฉพาะในประเทศ เกาหลีเท่านัน ้ และยังส่งออกขายเพือ ่ เปิดฉายในอีก 8 ประเทศ ในเอเชีย อาทิสงิ คโปร์ มาเลเซีย บรูไน และอินโดนีเซีย และยังมี ภาพยนตร์อก ี หลายเรือ ่ งทีม ่ ผ ี ช ู้ มกว่า 10 ล้านคน อาทิ Masquerade (2012), Silmido (2003), Taegukgi (2004), The King and the Clown (2005), The Host (2006) และ Haeundae (2009) งาน เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกว ั นาฮัวโตทีจ ่ ด ั ขึน ้ เมือ ่ เดือนกรกฎาคม ปี 2011 ได้เชิญให้ประเทศเกาหลีเป็นแขกกิตติมศักดิแ ์ ละฉาย ภาพยนตร์เกาหลีทง้ั หมด 76 เรือ ่ ง ซึง่ รวมถึงเรือ ่ ง Whispering Corridors และเรือ ่ ง Bedeviled ภายใต้โปรแกรมทีเ่ น้นฉายภาพยนตร์ เขย่าขวัญกำ�กับโดยพงจุนโฮและคิมดงวอน ดนตรี วงการดนตรีคลาสสิกเกาหลีได้สร้างศิลปินทีม ่ ม ี าตรฐานระดับ 113


นานาชาติมากมายทัง้ ด้านการขับร้องและการเล่นเครือ ่ งดนตรีอย่าง ต่อเนือ ่ ง ตัวอย่างเช่น ศิลปินเกาหลีรน ุ่ ใหม่ 5 คนได้คว้ารางวัล 5 รางวัลในสาขาเปียโน การขับร้องเดีย ่ ว และไวโอลิน ในการแข่งขัน ไชคอฟสกีร้ ะดับนานาชาติ (International Tchaikovsky Competition) ครัง้ ที่ 14 ทีจ ่ ด ั ขึน ้ เมือ ่ ปี 2011 ซึง่ เป็นการแข่งขันทีต ่ ด ิ อันดับ หนึง่ ในสามของการแข่งขันดนตรีระดับนานาชาติ เกาหลียงั คงสร้างนักร้องฝีมอ ื เยีย ่ มอย่างต่อเนือ ่ ง เช่น โชซูมี (โซปราโน), ฮงฮเย-กยอง (โซปราโน), ชินยอง-อก (โซปราโน), ยอ นกวังชอล (เบส), และซาเมียล ยูน (เบส บาริโทน) ซึง่ ล้วนแล้วแต่ ได้รบ ั ความสนใจจากแฟนเพลงดนตรีคลาสิกในหลายประเทศทัว ่ โลก ในส่วนของเพลงบรรเลงมีนก ั ดนตรีทม ่ี ช ี อ ่ื เสียงมากมาย อาทิ ซนยอลอึม (เปียโน) อิมทงฮยอก (เปียโน) ชางยองจู (ไวโอลิน) และ ซินฮยอนซู (ไวโอลิน) ซึง่ เปิดการแสดงให้แฟนๆ ได้เข้าชมเป็น ประจำ� ส่วนใหญ่จะจัดการแสดงในเกาหลี สหรัฐอเมริกาและหลาย ประเทศในยุโรป ลี ฮี-อา นักเล่นเปียโนสีน ่ ว ้ิ เป็นนักดนตรีอก ี คนหนึง่ ทีไ ่ ด้รบ ั การ ยอมรับอย่างท่วมท้น ไม่ใช่เพียงเพราะการแสดงดนตรีทย ่ี อดเยีย ่ ม เท่านัน ้ แต่ยงั เป็นเพราะจิตใจนักสูข ้ องเธอทีพ ่ ยายามเอาชนะข้อ

มาเอสโตรชอง มยองฮุน เป็นผู้ควบคุมวงดนตรี และวาทยากรประจำ�โรง อุปรากรปาแลการ์นีเย (Opéra de la Bastille) ในกรุงปารีส เขาได้รับ รางวัลดนตรีอูนาวิต้าเนล ลา (Una Vita Nella Musica) จากโรงละคร เฟนิซ (Teatro La Fenice) ในกรุงเวนิซ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2013

114


จำ�กัดของร่างกาย ก่อนหน้าความสำ�เร็จเหล่านี้ มีนก ั ดนตรีเพลง คลาสสิกของเกาหลีรน ุ่ แรกทีไ ่ ด้น�ำ ล่องมาแล้ว อาทิ ฮัน ทง-อิล และ แพก กอน อู นักเปียโนผูเ้ ป็นทีช ่ น ่ื ชอบของผูฟ ้ งั ชาวต่างชาติในช่วง ทศวรรษที่ 1950 ถึง 1970 และยังคงเปิดแสดงให้แฟนๆ ทีส ่ นใจได้ ชมอยู่ ชองมยองฮุนเป็นมาเอสโตรคนปัจจุบน ั ของวงดุรย ิ างค์ ฟีลฮาร์โมนิกแห่งกรุงโซล (Seoul Philharmonic Orchestra) เขา เริม ่ ต้นอาชีพในวงการดนตรีคลาสสิกด้วยการเป็นนักเปียโน โดย เล่นเป็นประจำ�กับน้องสาวทัง้ สองคนในฐานะทีเ่ ป็นสมาชิกของวง ชองทรีโอ (Chung Trio) น้องสาวของเขาคือ ชองคยองฮวาซึง่ ได้ รับการยอมรับไปทัว ่ โลกในฐานะนักไวโอลิน และชองมยองฮวา นัก เชลโล่ หลังจากนัน ้ เขาได้กลับมาทำ�หน้าทีว ่ าทยากรและได้เป็นวาท ยากรของวงออเครสตร้าทีม ่ ช ี อ ่ื เสียงทีส ่ ด ุ ในโลกหลายวง รวมถึงวง ฟีลฮาร์โมนิกแห่งกรุงเบอร์ลน ิ (Berlin Philharmonic) วงฟีลฮาร์โม นิกแห่งกรุงลอนดอน (London Philharmonic) และวงออร์เคสตร้า แห่งกรุงปารีส (Paris Orchestra) ก่อนทีจ ่ ะทำ�หน้าทีเ่ ป็นผูค ้ วบคุม วงดนตรีและวาทยากรประจำ�ของโรงอุปรากรปาแลการ์นเี ย (Opera de la Bastille) ในกรุงปารีส ละครเพลง ผูท ้ ช ่ี น ่ื ชอบละครเพลงเกาหลีเริม ่ ให้ความสนใจสุขนาฏกรรมเพลง หรือละครร้องทีเ่ ปิดแสดงในโรงละครมากขึน ้ ความต้องการรับ ่ ค ี ณ ุ ภาพทำ�ให้เกิดการแสดงละครเพลงชือ ่ ก้อง ชมละครเพลงทีม ระดับโลกอย่างเช่น Jekyll & Hyde, Chicago และ Cats ไม่วา่ จะ เป็นการแสดงโดยคณะดัง้ เดิมหรือคณะของชาวเกาหลี และยังก่อ ให้เกิดการผลิตละครร้องใหม่ๆ ทีป ่ ระพันธ์และกำ�กับโดยชาวเกาหลี ทีม ่ พ ี รสวรรค์ ทีมผูผ ้ ลิตชาวเกาหลีบางทีมได้รบ ั เชิญให้ไปเปิดการ แสดงในญีป ่ น ุ่ และประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความ รุง่ เรืองของละครเพลงเกาหลียงั ผลให้ดาราหลายคนจรัสแสง เช่น ช เวจองวอน นัมกยองจู และโชซึงอู ซึง่ ล้วนมีชอ ่ื เสียงมาจากการแสดง ละครเพลง และยุนพก-ฮี อินซูนี และอกจู 115


ฮยอน ซึง่ กลายเป็นนักแสดงละครเพลงฝีมอ ื ดีจากความสำ�เร็จใน ฐานะศิลปินเคป๊อป การเต้นรำ�สมัยใหม่และบัลเล่ต์ การเปิดโรงเรียนสอนเต้นรำ�แห่งชาติเกาหลี (National Dance Company of Korea) ในปี 1962 เป็นแรงผลักดันให้ความสนใจ เรือ ่ งการเต้นรำ�สมัยใหม่ในเกาหลีพงุ่ สูงขึน ้ ทำ�ให้เกิดนักเต้นรำ�ฝีมอ ื ดีอย่าง ฮงชินจา (เกิดในปี 1943) ผูซ ้ ง่ึ ได้รบ ั การยอมรับให้เป็นนัก เต้นรำ�ระดับแนวหน้าคนแรกของเกาหลีและเป็นศิลปินคนแรกทีไ ่ ด้ เปิดการแสดง เธอเรียนเต้นรำ�กับอัลวิน นิโคไลส์ในสหรัฐอเมริกา และทำ�งานทีน ่ น ่ั จนถึงปี 1990 จึงได้กลับมายังเกาหลีเพือ ่ อุทศ ิ ตนให้ กับการทำ�กิจกรรมต่างๆ ทีเ่ กีย ่ วข้องกับการเต้นรำ�สมัยใหม่ เกาหลีได้กอ ่ ตัง้ คณะบัลเล่ตข ์ น ้ึ สามคณะ คือคณะบัลเลต์ยน ู เิ วอร์ซล ั (Universal Ballet) คณะบัลเล่ตก ์ รุงโซล (Seoul Ballet) และคณะ บัลเล่ตแ ์ ห่งชาติซง่ึ ยังคงเปิดแสดงบัลเล่ตแ ์ บบดัง้ เดิมทัง้ ในเกาหลีและ ต่างประเทศ ความนิยมในการชมบัลเล่ตท ์ เ่ี พิม ่ ขึน ้ ทำ�ให้เกิดนักเต้น บัลเล่ตฝ ์ ม ี อ ื เยีย ่ มอย่าง คังซูจน ิ ซึง่ เป็นชาวเอเชียคนแรกทีไ ่ ด้เป็น สมาชิกของคณะบัลเล่ตส ์ ตูตการ์ต (Stuttgart Ballet) ในปี 1986 และก้าวขึน ้ เป็นนักเต้นหลักของคณะในปัจจุบน ั ซอฮีเข้าร่วมคณะ คิมคีมินและโอเลสย่า โน วีโกวาได้แสดงในเรื่อง Swan Lake กับคณะบัล เล่ต์และออร์เคสตร้ามาริ อินสกี้ (Mariinsky Ballet and Orchestra) คิมเป็น นักเต้นรำ�เอเชียคนแรกที่ ได้ร่วมแสดงกับคณะบัล เล่ต์มาริอินสกี้ (Mariinsky Ballet)

116


ABT Studio Company ในปี 2004 และได้เป็นนักเต้นหลักของ ABT ในเดือนกรกฏาคม ปี 2012 นักเต้นบัลเล่ตอ ์ ก ี ท่าน ทีม ่ ช ี อ ่ื เสียง คือ คิมคีมน ิ นักเต้นบัลเล่ตช ์ าย ชาวเอเชียคนแรกทีไ ่ ด้เข้าร่วมคณะ บัลเล่ตม ์ าริอน ิ สกี้ (Mariinsky Ballet) และยังได้เป็นนักเต้นเดีย ่ วคน แรกในปี 2012 อีกด้วย ศิลปะสมัยใหม่ จิตรกรฝึมอ ื เยีย ่ มทีม ่ ผ ี ลงาน ได้แก่ คือ ชอนควางยอง ปักซอโบ ลีจง ซาง ซงซูนม ั ลีดช ู ก ิ ลีวาลจง ยูนมยองโร ลีอล ิ คังอิกจุง ลิมอกซาง และอืน ่ ๆ จิตรกรผูอ ้ าวุโส ได้แก่ ชางรีซอก ชางทูคน ุ แพ็กยองซู ชอน กยองจา คิมชางยอล และซอเซอก ยังมีศล ิ ปินแกะสลัก คือ คิมยอง วอนซึง่ เป็นผูแ ้ กะสลักรูปปัน ้ กษัตริยเ์ ซจงและชเวจงแท ศิลปินทีม ่ ช ี อ ่ื เสียง แพ็กนัมจุน (1932-2006) ซึง่ ถือเป็นผูร้ เิ ริม ่ วีดท ิ ศ ั น์ศล ิ ป์แ ์ ละเป็น

นิทรรศการศิลปะกวางจู เบียนเนล มีขึ้นเพื่อจัดแสดงงาน ศิลปะที่สำ�คัญของเอเชีย นิทรรศการศิลปะกวางจู เบียนเนล มีบทบาทสำ�คัญ ในการใช้ศิลปะร่วมสมัย เป็นตัวเชื่อมเมืองควางจู เข้ากับเมืองอื่นๆ ในเกาหลี และต่างประเทศนับตั้งแต่ ที่เริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี 1995 ทั้งยังจัดแสดง งานศิลปะร่วมสมัยแห่งแรก ของเอเชีย

ศิลปินทีม ่ ช ี อ ่ื เสียงระดับโลก การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่าง รวดเร็วของเกาหลีในทศวรรษที่ 1970 ทำ�ให้มก ี ารก่อตัง้ สถาบันศิลปะทัง้ ของภาค รัฐบาลและเอกชนขึน ้ มาหลายแห่ง โดย มีประมาณ 60 แห่งทีต ่ ง้ั อยูใ ่ นใจกลาง กรุงโซล โดยเฉพาะในย่านอินซาดงและ ซัมชองดง เช่น Gana Art Space หอ ศิลป์คงพยองศูนย์ศล ิ ปะแห่งกรุงโซลและ พิพธ ิ ภัณฑ์วจ ิ ต ิ รศิลป์คยอง อิน เมือ ่ ไม่นาน มานีย ้ า่ นชองดัมดง เขตคังนัม ทางตอน ใต้ของแม่น�ำ้ ฮันได้กา้ วขึน ้ เป็นแหล่งรวม งานวิจต ิ รศิลป์ของเกาหลี ในส่วนของงาน ศิลปะนานาชาติ นิทรรศการศิลปะกวางจู เบียนเนล จัดขึน ้ ในปี 1995 บัดนีไ ้ ด้ขยาย กลายเป็นงานนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยที่ สำ�คัญของเอเชีย 117


วรรณกรรมสมัยใหม่ การตีพม ิ พ์นวนิยายเรือ ่ ง Please Look After Mom ของชิน คยอง-ซุกเป็นภาษาอังกฤษ โดยคนอปฟ์ ดับเบิล ้ เดย์ พับลิชชิง่ กรุป ๊ ในสหรัฐอเมริกาเมือ ่ เดือนเมษายน 2011 ถือเป็นสัญญาณของการแผ่ ขยายกระแสความนิยมของเกาหลีไปยังวงการวรรณกรรมนานาชาติ หนังสือเล่มนีไ้ ด้รบ ั การจัดอันดับให้เป็นหนังสือขายดี 10 อันดับแรก ่ี างจำ�หน่ายในตลาด ของเว็บไซต์แอมะซอน(Amazon) ทันทีทว อเมริกาและได้รบ ั การตีพม ิ พ์ทน ั ทีใน 30 ประเทศทัง้ ในเอเชีย (รวมถึง ญีป ่ น ุ่ ) ยุโรปและออสเตรเลีย ในเดือนมิถน ุ ายน 2012 ผูป ้ ระพันธ์ได้ จัดงานพบปะแฟนหนังสือในเมืองลูบลิยานา เมืองหลวงของสโลวีเนีย เพือ ่ เปิดตัวผลงานของเธอทีไ่ ด้รบ ั การตีพม ิ พ์เป็นภาษาสโลวีเนียด้วย นอกจากนัน ้ ผลงานอีกเรือ ่ งของเธอคือ Li Chin ก็ได้รบ ั การแปลเป็น ภาษาฝรัง่ เศส ตีพม ิ พ์โดยสำ�นักพิมพ์ฝรัง่ เศสชือ ่ Philippe Picquier คง จี-ยอง เป็นนักเขียนนวนิยายชาวเกาหลีอก ี คนหนึง่ ทีป ่ ระสบ ความสำ�เร็จมากในยุคนี้ ผลงานของเธอได้แก่เรือ ่ ง Our Happy Hours (2005), My Joyful Home (2007) และ The Crucible (2009) ทุกเรือ ่ งได้รบ ั ความนิยมอย่างมากจนสามารถไต่ขน ้ึ ชาร์ต เรื่อง Please Look After Mom แต่งโดยชิน คยอง ซุก ฉบับแปลภาษา อังกฤษ (ภาพซ้าย) และ โคอึน (ภาพขวา) หนึ่งใน กวีชาวเกาหลีที่ได้รับการ ยกย่องมากที่สุดคนหนึ่งใน ปัจจุบัน

118


บ๊อกซ์ออฟฟิศและได้รบ ั การแปลเป็นภาษาญีป ่ น ุ่ ด้วย ผูท ้ ถ ่ี อ ื ว่าเป็น ตัวแทนกวีนพ ิ นธ์รว ่ มสมัยของเกาหลีคอ ื โคอึน ซึง่ ได้รบ ั การกล่าว ถึงอยูเ่ ป็นประจำ�ในฐานะทีเ่ คยเป็นตัวเต็งทีจ ่ ะได้รบ ั รางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมในอดีต เขายังคงแต่งคำ�กลอนทีซ ่ ง้ึ กินใจผูอ ้ า่ น เรือ ่ ยมานับตัง้ แต่ทไ ่ี ด้เปิดตัวงานประพันธ์เรือ ่ ง Tuberculosis เมือ ่ ปี 1958 เขาได้แต่งบทกวีไว้มากมาย เช่น Ten Thousand Lives ในปี 2010 และยังได้ตพ ี ม ิ พ์ผลงานรวบรวมคำ�ประพันธ์ในเยอรมนี และตุรกีในปีถด ั มา สำ�หรับแวดวงนวนิยายเกาหลีรว ่ มสมัยในช่วง สองทศวรรษทีผ ่ า่ นมานี้ นักเขียนนวนิยายได้มโี อกาสเผยแพร่ผล งานออกสูส ่ ายตาผูอ ้ า่ นชาวต่างชาติ ตัวอย่างนวนิยายเกาหลีทไ ่ี ด้ รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศในช่วงเวลานี้ ได้แก่ Secrets and Lies (ภาษารัสเซีย, 2009) โดยอึน ฮี-คยอง The Rainy Spell, Firewood และ Sailing Without a Mast โดย ยุน ฮึง-กิลตีพม ิ พ์โดยสำ�นักพิมพ์ทรานัน ประเทศ สวีเดน ในปี 2009 และเรือ ่ ง A Distant and Beautiful Place ได้แปลเป็นภาษาจีนและ ภาษาตุรกี ในปี 2010 และเรือ ่ ง Contradictions ได้แปลเป็นภาษา บัลแกเรียน ปี 2010 แต่งโดยยัง กุย-จา การเปิดสาขาวิชาเกาหลีศก ึ ษาในมหาวิทยาลัยโซเฟียประเทศ บัลแกเรีย เมือ ่ ปี 1995 นำ�ไปสูก ่ ารแปลนวนิยายร่วมสมัยและเรือ ่ ง สัน ้ เกาหลีหลายเรือ ่ งให้ผอ ู้ า่ นในท้องถิน ่ ได้อา่ น เช่น เรือ ่ ง A Dwarf Launches a Little Ball แต่งโดยโชเซฮี และเรือ ่ ง Our Twisted Hero แต่งโดยลีมน ุ ยอล ความคลัง่ ไคล้เคป๊อปทัว ่ โลกนำ�ไปสูก ่ ารให้ความสนใจในงาน วรรณกรรมและภาษาเกาหลี โดยเฉพาะในหมูว ่ ย ั รุน ่ สถาบันเซจง เป็นสถาบันทีก ่ อ ่ ตัง้ ขึน ้ ในปี 2008 เพือ ่ ให้การสนับสนุนการเรียน การสอนภาษาเกาหลีทว ่ั โลกและได้เพิม ่ จำ�นวนสาขาจาก 17 แห่งใน ปี 2008 เป็น 113 แห่งในปี 2013 ในขณะเดียวกันได้มก ี ารจัดการประชุม International PEN Congress ครัง้ ที่ 78 ขึน ้ ในเดือนกันยายน 2012 ณ เมืองคยองจูซง่ึ เคย เป็นราชธานีของอาณาจักรชิลลามานานกว่า 1,000 ปี การรวมตัว 119


ครัง้ นีเ้ ป็นครัง้ ที่ 3 หลังจากทีเ่ คยจัดขึน ้ เมือ ่ ปี 1970 และ 1988 ในปี 2012 นีม ้ ผ ี เู้ ข้าร่วมงานทัง้ ชายและหญิงจำ�นวน 700 คนทีส ่ นใจใน ด้านวรรณกรรมจาก 114 ประเทศทัว ่ โลก ซึง่ รวมถึงผูไ ้ ด้รบ ั รางวัล โนเบลอย่างฌ็อง-มารี กุสตาฟ เลอ เกลซีโย จากฝรัง่ เศส วอล โซยิน กา จากไนจีเรีย และ เฟอริต ออร์ฮน ั ปามุก จากตุรกี อาหารเกาหลีและประเพณีเกีย ่ วกับการทำ�อาหาร ดูเหมือนว่าตอนนีก ้ ระแสความนิยมเกาหลีได้แพร่กระจายไปยัง วัฒนธรรมด้านอืน ่ ๆ ด้วย เช่น อาหารและประเพณีเกีย ่ วกับการทำ� อาหาร มีรา้ นอาหารเกาหลีแบบดัง้ เดิมเปิดให้บริการมากขึน ้ ตาม เมืองใหญ่ๆ ของโลก เช่น นิวยอร์ก ลอนดอนและปารีส ทัง้ ยังได้ รับคำ�ชมจากนักชิมอาหารช่างเลือก บัดนีท ้ ง้ั กิมจิ พุลโกกี บีบม ิ บับ และอาหารอืน ่ ๆ ทีเ่ ป็นทีช ่ น ่ื ชอบของชาวเกาหลีมาหลายยุคหลาย สมัยเริม ่ ปรากฏให้เห็นบนโต๊ะอาหารตามบ้านของผูค ้ นทัว ่ โลก เชฟร้านอาหารบางแห่งในสหรัฐอเมริกาเริม ่ ผสมผสานอาหารเกาหลี ดัง้ เดิมเข้ากับอาหารแบบตะวันตกและรังสรรค์เมนูใหม่ เช่น เบอร์ เกอร์บบ ี ม ิ บับ เนือ ้ ติดซีโ่ ครงหมักซอสโคชูจงั ฮ็อตด็อกกิมจิ และ สเต็กโคชูจงั สำ�หรับชาวนิวยอร์กทีพ ่ ร้อมลิม ้ ลองรสชาติแปลก ใหม่ เฉพาะในปารีสมีรา้ นอาหารเกาหลีเพิม ่ ขึน ้ แล้วถึง 100 แห่ง ซึง่ ลูกค้าโดยมากเป็นชาวฝรัง่ เศส ประมาณ 30~80% แม้วา่ ในอดีต ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นชาวเกาหลีทอ ่ี าศัยอยูใ ่ นต่างแดนกับเพือ ่ นชาว เอเชียของพวกเขา จากการสำ�รวจล่าสุด อาหารเกาหลียอดนิยมที่ ขายในกรุงปารีสคือ บีบม ิ บับ และพุลโกกี โดยเฉพาะบีบม ิ บับนัน ้ ถือเป็นอาหารทีข ่ น ้ึ ชือ ่ เรือ ่ งความสมดุลด้านโภชนาการทัง้ ยังมีรสชาติทอ ่ี ร่อย ในเดือน กรกฎาคม 2012 ได้มก ี ารจัดงานรับประทานอาหารค่�ำ สไตล์เกาหลี ขึน ้ ทีพ ่ พ ิ ธ ิ ภัณฑ์วก ิ ตอเรียและอัลเบิรต ์ ในกรุงลอนดอน เพือ ่ เฉลิม ฉลองการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกกรุงลอนดอน แขกผูเ้ ข้าร่วมงานกว่า 300 คนซึง่ หนึง่ ในนัน ้ คือเซบาสเตียน โคผูป ้ ระสานงานโอลิมปิกกรุง ลอนดอน ล้วนแต่ประทับใจอาหารเกาหลีทใ ่ี ห้บริการในมือค่�ำ วันนัน ้ 120


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในเกาหลี

14

13 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินาจู ที่ตั้ง: เมืองนาจู จังหวัดชอลลานัมโด ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์และวันขึ้นปีใหม่ naju.museum.go.kr

18 12

7

5 19 2

6 4

3

11

8

20 13

9

1 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเกาหลี ที่ตั้ง: เขตยงซัน กรุงโซล ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์และวันขึ้นปีใหม่ www.museum.go.kr

2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติคยองจู ที่ตั้ง: เมืองคยองจู จังหวัดคยองซังบุกโด ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์และวันขึ้นปีใหม่ gyeongju.museum.go.kr

6 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแดกู

ที่ตั้ง: เขตซูซอง เมืองแดกู ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์และวันขึ้นปีใหม่ daegu.museum.go.kr

7 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชองจู ทีต ่ ง้ั : เมืองชองจู จังหวัดชุงชองบุกโด ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์และวันขึน ้ ปีใหม่ cheongju.museum.go.kr

3 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกวางจู

8 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติคิมแฮ

4 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชอนจู

9 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจจู

ที่ตั้ง: เขตพุก จังหวัดกวางจู ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์และวันขึ้นปีใหม่ gwangju.museum.go.kr

ที่ตั้ง: เมืองชินจู จังหวัดคยองซังนัมโด ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์และวันขึ้นปีใหม่ jinju.museum.go.kr

12 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติคงจู ที่ตั้ง: เมืองคงจู จังหวัดชุงชองนัมโด ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์และวันขึ้นปีใหม่ gongju.museum.go.kr

10

16 1 15 17

11 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชินจู

ที่ตั้ง: เมืองคิมแฮ จังหวัดคยองซังนัมโด ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์และวันขึ้นปีใหม่ gimhae.museum.go.kr

14 สวนรุกขชาติแห่งชาติเกาหลี ที่ตั้ง: เมืองโพชอน จังหวัดคยองกีโด ปิดทำ�การ: ทุกวันอาทิตย์ วันจันทร์ วันขึ้นปีใหม่ วันปีใหม่ตามจันทรคติ และวันชูซอก www.kna.go.kr 15 พิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติเกาหลี ที่ตั้ง: เขตชงโน กรุงโซล ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์ www.gogung.go.kr 16 พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งชาติเกาหลี ที่ตั้ง: เขตชงโน กรุงโซล ปิดทำ�การ: ทุกวันอังคารและวันขึ้นปีใหม่ www.nfm.go.kr 17 mพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เกาหลีร่วมสมัย

แห่งชาติ

ที่ตั้ง: เขตชงโน กรุงโซล ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์และวันขึ้นปีใหม่ www.much.go.kr

18 พิพิธภัณฑ์ไปรษณีย์ ที่ตั้ง: เมืองชอนัน จังหวัดชุงชองนัมโด ปิดทำ�การ: วันจันทร์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันขึน ้ ปีใหม่ วันขึน ้ ปีใหม่ตามจันทรคติ และวันชูซอก www.postmuseum.go.kr

ที่ตั้ง: เมืองชอนจู จังหวัดชอลลาบุกโด ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์และวันขึ้นปีใหม่ jeonju.museum.go.kr

ที่ตั้ง: เมืองเจจู​ู จังหวัดเจจู ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์และวันขึ้นปีใหม่ jeju.museum.go.kr

19 พิพิธภัณฑ์ประภาคารแห่งชาติ ที่ตั้ง: เมืองโพฮัง จังหวัดคยองซังบุกโด ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์ วันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติและวันชูซอก www.lighthouse-museum.or.kr

5 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพูยอ

10 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชุนชอน

20 Iสถาบันวิจัยมรดกวัฒนธรรมทางทะเล

ทีต ่ ง้ั : อำ�เภอพูยอ จังหวัดชุงชองนัมโด ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์และวันขึน ้ ปีใหม่ buyeo.museum.go.kr

ที่ตั้ง: เมืองชุนชอน จังหวัดคังวอนโด ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์และวันขึ้นปีใหม่ chuncheon.museum.go.kr

แห่งชาติ

ที่ตั้ง: เมืองมกโพ จังหวัดชอลลานัมโด ปิดทำ�การ: ทุกวันจันทร์ www.seamuse.go.kr

121


การท่องเที่ยว 관광


4

มรดกทางประวัติศาสตร์ของกรุงโซล สถานที่ท่องเที่ยวและศูนย์การค้า ถนนของคนหนุ่มสาว แหล่งพักผ่อนทางธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวท้องถิ่น หมู่บ้านฮันอก เทศกาลพื้นเมืองที่สำ�คัญในเกาหลี


4

การท่องเทีย ่ ว 관광

โซล เมืองหลวงของสาธารณรัฐเกาหลี เป็นแหล่งมรดกทาง ทันชอง ทันชอง คือวิธีการประดับ ตกแต่งอาคารพระราชวัง และวัดต่างๆ โดยการ ลงสีหลัก 5 สี ได้แก่ สีน้ำ�เงิน (เป็นสัญลักษณ์ ของทิศตะวันออก) สี ขาว (เป็นสัญลักษณ์ของ ทิศตะวันตก) สีแดง (เป็น สัญลักษณ์ของทิศใต้) สี ดำ� (เป็นสัญลักษณ์ของ ทิศเหนือ) และสีเหลือง (เป็นสัญลักษณ์ของ จุดศูนย์กลาง) บนลวดลาย ที่ปราณีต เทคนิคการ ลงสีนี้ยังใช้เพื่อป้องกัน โครงสร้างไม้ผุกร่อน จากสภาพแวดล้อมใน ธรรมชาติ

วัฒนธรรมที่สำ�คัญของเกาหลีและยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อ เสียงในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเยือนเกาหลี แม้ว่าใน ขณะนี้กรุงโซลจะเป็นหนึ่งในมหานครที่มีความทันสมัยที่ใหญ่ที่สุด ของโลก แต่ใจกลางเมืองนั้นก็แวดล้อมไปด้วยกำ�แพงเมืองโบราณ ที่สร้างขึ้นเมื่อ 600 ปีที่แล้ว และยังมีมรดกทางประวัติศาสตร์อัน ล้ำ�ค่ามากมายรวมถึงพระราชวัง ป้อมประตูเมืองและย่านที่อยู่อาศัย โบราณ

มรดกทางประวัติศาสตร์ของโซล พระราชวังคยองบกกุง คยองบกกุงตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพูกักซานซึ่งเป็นภูเขาสำ�คัญที่ มองลงไปเห็นใจกลางกรุงโซล คยองบกกุงเป็นพระราชวังหลักที่ มีอายุกว่า 200 ปีนับตั้งแต่เริ่มก่อสร้างในปี 1395 เพียง 3 ปีหลัง จากการก่อตั้งราชวงศ์โชซอน (1392-1910) จนกระทั่งถูกเผา

1 2

1. พระราชวังคยองบกกุง พระราชวังหลักของราช วงศ์โชซอนตั้งอยู่ใจกลาง กรุงโซล 2. สวนในพระราชวังชาง ด็อกกุง ทิวทัศน์ของสวน ด้านหลังพระราชวังชาง ด็อกกุง มีสระพูยงจีคั่นกลาง ระหว่างศาลาพูยงจองและ ศาลาชูฮัมนู

124

ทำ�ลายหลังจากที่ญี่ปุ่นเข้ามารุกรานเกาหลีเมื่อปี 1592 หลังจาก นั้นพระราชวังก็ถูกปล่อยทิ้งให้เหลือเพียงแต่ซากอยู่ถึง 275 ปี จน ปี 1867 จึงได้รับการบูรณะขึ้นใหม่อีกครั้ง แต่ยังไม่ถึง 50 ปี ก็ ตกอยู่ในการครอบครองของญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาล่าอาณานิคมและได้ ทำ�ลายพระราชวังส่วนหน้าลงเพื่อก่อสร้างอาคารรัฐบาลทหาร ญี่ปุ่นขึ้นแทน ในปี 1910 เมื่อญี่ปุ่นล่าอาณานิคมเกาหลี ญี่ปุ่นได้ รื้อถอนด้านหน้าของพระราชวังคยองบกกุงส่วนหนึ่ง และสร้างอา คารญ ปุ่น ี่เพื่อปกครองเกาหลีขึ้นแทน อาคารแห่งนี้ยังคงใช้เป็น


125


126


สำ�นักงานของรัฐบาลในกาลต่อมา แม้ว่าเกาหลีจะได้รับอิสรภาพ เมื่อปี 1945 จนกระทั่งถูกรื้อถอนลงในปี 1996 ด้วยความต้องการ ที่จะลบล้างร่องรอยู่ของยุคอาณานิคม เศษซากของอาคารบาง

ประตูคึมมามุนด้านหลัง พระราชวังชางด็อกกุง สวนในชงโน กรุงโซล (ภาพซ้าย)

ส่วนถูกย้ายไปไว้ที่หออิสรภาพแห่งเกาหลีในชอนอันเพื่อแสดงให้ สาธารณชนได้ชม ภายใต้แผนงานเพื่อการบูรณะพระราชวังครั้งใหญ่นี้ อาคารหลาย แห่งได้รับการก่อสร้างขึ้นใหม่ รวมทั้งประตูวังหลัก ควางฮวามุน ก็ได้ถูกย้ายกลับมาตั้งอยู่ที่จุดเดิมเมื่อปี 2010 ทุกวันนี้พระราชวัง กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งของประเทศที่ดึงดูด นักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอก เช่น สถาน ที่ว่างานราชการคึนชองจอนและศาลาคยองเฮรู สวนในพระราชวังชางด็อกกุง สวนด้านหลังพระราชวังชางด็อกกุง หนึ่งในพระราชวังของรา ชวงศ์โชซอน (1392-1910) ซึ่งยังคงตั้งตระหง่านอยู่ในกรุง โซล ได้รับการชื่นชมอย่างกว้างขวางในเรื่องของความกลมกลืน ระหว่างโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมอันยอดเยี่ยมและธรรมชาติ แวดล้อม ปัจจุบันเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่ง ของกรุงโซล สวนแห่งนี้มีชื่อว่า “สวนแห่งความลับ” (พีวน) หรือ “สวนต้องห้าม” (คึมวอน) ซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดงานสำ�หรับราชวงศ์ เช่น งานเลี้ยงและงานสังสรรค์ต่างๆ ภายในสวนมีสระน้ำ�และศาลา อันวิจิตรตระการตาหลายหลังซึ่งถูกสร้างขึ้นรายรอบสระโดยใช้ เวลาในการสร้างนานหลายปี แต่ไม่ได้ตกแต่งสวนดอกไม้ ซึ่งถือ เป็นลักษณะพิเศษของสวนแห่งนี้ สวนแห่งนี้เปิดให้สาธารณชน ได้เข้าชมจนกระทั่งกลางทศวรรษที่ 1970 ซึ่งเป็นสาเหตุที่ท�ำ ให้ สวนเกิดความเสียหาย จนต้องปิดเพื่อซ่อมแซมเป็นเวลาหลายปี เพื่อให้ฟื้นคืนความสวยงามเหมือนดังเดิม สวนบางส่วนได้เปิดให้ เข้าชมอีกครั้งแต่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2004 สวนถูกเปิดให้ชม อย่างกว้างขวางขึ้น ปัจจุบันนี้นักท่องเที่ยวต้องจองตั๋วล่วงหน้าทาง อินเตอร์เน็ตจึงจะสามารถเข้าชมสวนได้ 127


พระราชวังด็อก ซูกุงต่างจากพระราชวัง อื่นๆ ของราชวงศ์โชซอน ตรงที่พระราชวังแห่งนี้มีทั้ง อาคารหินสไตล์ตะวันตก และอาคารไม้แบบดั้งเดิม รวมอยู่ด้วยกัน

พระราชวังด็อกซูกุง ในช่วงเปลี่ยนผ่านของคริสต์ศตวรรษที่ 19 พระเจ้าโคจงทรง ประกาศให้เกาหลีเป็นจักรวรรดิและสถาปนาให้พระราชวังด็อกซู กุงเป็นพระราชวังจักรพรรดิ หลังจากที่ออกจากสถานทูตรัสเซียที่ ก่อนหน้านี้ได้ทรงลี้ภัยอยู่เป็นเวลานาน 1 ปี พระองค์ทรงพยายาม อย่างสุดกำ�ลังที่จะรักษาอำ�นาจการปกครองให้เป็นอิสระจากการ แทรกแซงของจักรวรรดิญี่ปุ่น หลังจากการประกาศเป็นจักรวรรดิ 1 2

1. ประตูซุงเนมุน 2. ประตูฮึงอินจีมุน โซล เมืองหลวงของรา ชวงศ์โชซอน โอบล้อม ด้วยกำ�แพงหินขนาดยาว ปกป้องคุ้มกันจากศัตรูโดย มีประตูกำ�แพง 8 ประตู ปัจจุบันมีเพียง 2 ประตู คือ ประตูซุงเนมุน (นัมแด มุน หรือประตูทิศใต้) และ ประตูฮึงอินจีมุน (ทงแดมุน หรือประตูทิศตะวันออก) ที่ ยังคงเห็นได้อยู่

128

เกาหลี พระราชวังแห่งนี้เริ่มเป็นที่สนใจของนักการทูตต่างชาติ ที่เข้ามาทำ�งานในสถานทูตของสหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหราช อาณาจักรและฝรั่งเศสที่ตั้งอยู่รอบๆ พระราชวัง ปัจจุบันนี้สิ่งที่ช่วยเตือนความจำ�ที่ชัดเจนที่สุดเกี่ยวกับความ รุ่งโรจน์อันแสนสั้นของพระราชวังถ็อกซูกุงในฐานะราชวัง จักรพรรดิเพียงแห่งเดียวในประวัติศาสตร์เกาหลีก็คือพิธีการ เปลี่ยนทหารหลวงรักษาพระองค์ซึ่งมีขึ้น 3 ครั้ง ตอน 11 โมงเช้า บ่าย 2 และบ่าย 3 โมงครึ่ง ต่อวันยกเว้นวันจันทร์ การเดินเล่นไป ตามกำ�แพงวังทางด้านทิศใต้เป็นที่นิยมกันในหมู่วัยรุ่นที่ต้องการ สัมผัสกับบรรยากาศโรแมนติก


129


ประตูซุงเนมุน (นัมแดมุน - ประตูทิศใต้) ซุงเนมุน หรือ “ประตูแห่งความมีมารยาท” เป็นประตูทางทิศใต้ของ กำ�แพงเมืองที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันเมืองหลวงของราชวงศ์โชซอน (ปัจจุบันคือใจกลางกรุงโซล) ผลผลิตและผู้คนที่มาจากทางทิศใต้ จะต้องผ่านประตูนี้เพื่อเข้าสู่กรุงโซล นับเป็นประตูเมืองเก่าที่ใหญ่ ที่สุดที่ยังคงตั้งตระหง่านอยู่ในปัจจุบัน ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ เป็นสมบัติแห่งชาติเกาหลีหมายเลข 1 เมื่อปี 1962 อาคารไม้ทรง ศาลาด้านบนของประตูถูกทำ�ลายเสียหายอย่างหนักจากการลอบ วางเพลิงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2008 แต่ก็ได้รับการบูรณะอย่าง เต็มที่เพื่อให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมโดยใช้เวลาถึง 5 ปีจึงแล้ว เสร็จ รอบๆ ประตูนัมแดมุนมีตลาดที่เรียกว่า ตลาดประตูนัมแดมุน นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมได้ พื้นที่บริเวณนี้มักจะพลุกพล่าน ไปด้วยนักช้อปชาวเกาหลีและชาวต่างชาติที่ต้องการซื้อเสื้อผ้า อุปกรณ์ทำ�ครัว ของใช้ในบ้านและโภคภัณฑ์ต่างๆ ที่มีราคาถูกแต่ คุณภาพดี ร้านค้าหลายร้านในบริเวณนี้เปิดโรงงานของตัวเองเพื่อ รักษาราคาของสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ ปัจจุบันนี้ตลาดนัมแดมุ นมีร้านค้ากว่า 9,300 ร้าน ดึงดูดนักช้อปถึง 500,000 คนต่อวัน จึง ทำ�ให้ที่นี่เป็นเครือข่ายการค้าพ่อค้าชาวเกาหลีระหว่างประเทศจีน เอเชียอาคเนย์ อเมริกัน และยุโรป เชื่อมโยงตลาดเสื้อผ้าเข้าด้วย กัน และยังนำ�เข้าส่งออกสินค้าอย่างครึกครื้น ประตูฮึงอินจีมุน (ทงแดมุน หรือประตูทิศตะวันออก) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกำ�แพงเมืองโบราณของโซล ประตู ฮึงอินจีมุน (ประตูแห่งความกรุณาปรานี) ดึงดูดผู้คนนับหมื่น จากทั่วเกาหลีและประเทศเพื่อนบ้านเนื่องจากมีความสำ�คัญทาง ประวัติศาสตร์ ทั้งยังอยู่ใกล้กับตลาดขนาดใหญ่หลายแห่ง อาทิ ตลาดควางจัง ตลาดเพียงฮวา ตลาดซินเพียงฮวา และตลาดทง แดมุน ตลาดทั้งหมดนี้มีชื่อเสียงเป็นพิเศษในเรื่องการขายสินค้า แฟชั่นที่หลากหลาย โดยเฉพาะเสื้อผ้าและเครื่องประดับ ที่ตลาดทง แดมุนมีชื่อเสียงด้านเสื้อผ้าจนเรียกได้ว่าแฟชั่นทงแดมุน 130


เมื่อเทียบกับห้างสรรพสินค้าที่มักขายสินค้า หรูหราราคาแพงแล้ว ตลาดเหล่านี้มีผู้ขายส่ง หลายรายที่จะคอยจัดหาสินค้าคุณภาพดีราคาถูก ให้แก่ผู้ขายปลีกทั่วเกาหลี

สถานทีท ่ อ ่ งเทีย ่ วและศูนย์การค้า อินซาดง อินซาดงเป็นย่านใจกลางกรุงโซลที่เต็มไปด้วย ร้านขายของเก่า ร้านหนังสือโบราณ หอศิลป์ ร้านขายภาพจิตรกรรมแบบม้วน ร้านขายสินค้า หัตถกรรม ร้านพู่กัน โรงน้ำ�ชาโบราณ ร้าน อาหารและบาร์ พร้อมเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยว ได้สัมผัสกับประสบการณ์ทางวัฒนธรรมที่น่าตื่นเต้น ย่านนี้มีสถาน

ตลาดทงแดมุน

ที่มากมายที่เหล่าศิลปิน นักเขียน นักข่าวเกาหลีมักไปเป็นประจำ� ซึ่งตอนนี้ได้เริ่มดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศให้ไป เยือน เมื่อปี 1988 สำ�นักงานว่าการกรุงโซลได้กำ�หนดให้อินซา ดงเป็นย่านแห่งวัฒนธรรมดั้งเดิมและเปลี่ยนให้บริเวณนี้เป็นถนน คนเดินในวันสุดสัปดาห์เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับนักท่อง เที่ยวมากขึ้น มยองดง มยองดงเป็นแหล่งจับจ่ายซื้อของที่คึกคักและเฟื่องฟูที่สุดในเกาหลี มานานแล้ว ที่นี่เต็มไปด้วยร้านขายสินค้าหรูหราและมีคุณภาพ สูงที่ดึงดูดนักช้อปทั้งในเกาหลีและนอกประเทศในแถบเอเชียด้วย สินค้าที่หรูหรา เสื้อผ้าแบรนด์เนม เครื่องสำ�อาง รองเท้า เครื่อง ประดับแฟชั่นและของที่ระลึก ย่านนี้ยังเป็นจุดเชื่อมต่อทางด้านการ เงิน วัฒนธรรมและธุรกิจการค้าตั้งแต่สมัยสงครามเกาหลี (19501953) ในช่วงทศวรรษที่ 1970 และ 1980 ดารา นักร้องสมัคร เล่น และหนุ่มสาวผู้นำ�เทรนด์แฟชั่นมักจะมาเดินที่นี่จนกลายเป็น

131


132


สถานที่สร้างเทรนด์แฟชั่น

1

แม้ว่าช่วงนี้บทบาทของมยองดงในอุตสาหกรรมแฟชั่นเกาหลีจะ

2

ค่อนข้างลดลงไป แต่ก็ยังคงมีอิทธิพลต่อตลาดแฟชั่นเกาหลีอยู่มาก แบรนด์แฟชั่นชั้นนำ�ของโลกหลายแบรนด์ยังคงเปิดร้านใหม่ๆ หรือ เก็บร้านเดิมไว้ในย่านนี้ และสามารถเอาชนะใจนักช้อปที่คลั่งไคล้ แฟชั่นจากย่านแฟชั่นที่เกิดใหม่อย่างเช่นในเขตคังนัมรวมไปถึง นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้ ย่านนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานทูตจีนใน อดีตและมหาวิหารมยองดงซึ่งสร้างขึ้นในปี 1898 ถือเป็นจุดศูนย์ รวมของชาวเกาหลีนิกายคาทอลิก ถนนโรเดโอ ย่านอับกูจอง

1. อินซาดง ที่นี่เป็นหนึ่งในสถานที่ท่อง เที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่ง ของโซลในหมู่นักท่อง เที่ยวต่างชาติ เต็มไปด้วย ร้านขายของเก่า หอศิลป์ ร้านสินค้าหัตถกรรม โรง น้�ำ ชา ร้านอาหารและบาร์ 2. มยองดง เป็นย่านแฟชั่นที่คึกคัก ที่สุดและเป็นสถานที่ท่อง เที่ยวอันดับหนึ่งในหมู่ นักช้อปชาวต่างชาติที่มา เยือนกรุงโซล

ที่นี่ตั้งชื่อตามถนนโรเดโอ ไดรฟ ในเบเวอร์รี่ ฮิลส์ เป็นแหล่งที่ตั้ง ของร้านเสื้อผ้าแฟชั่นชั้นดีของภูมิภาค ถนนโรเดโอในย่านอับ กูจอง ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็น “นครเมกกะแห่ง แฟชั่นเกาหลี” ทั้งยังเป็นผู้ก�ำ หนดเทรนด์ในประเทศเกาหลีอีกด้วย ถนนโรเดโอเต็มไปด้วยร้านค้าหรูหรา ไม่ว่าจะเป็นร้านสินค้า แบรนด์แฟชั่นชั้นนำ�ระดับโลก ภัตตาคารรสเลิศ ร้านกาแฟหรือ บาร์ ร้านสตูดิโอ ถนนสายนี้ยังมีร้านค้าที่จ�ำ หน่ายสินค้าแฟชั่น พิเศษอันเป็นที่ต้องการของแฟชั่นนิสต้าวัยรุ่นและตอบสนองต่อ ความต้องการที่หลากหลายของเหล่านักช้อปได้อย่างครบถ้วน ตั้งแต่ร้านหรูหรามีระดับไปจนถึงร้านขายสินค้าปลอดภาษีที่มี ลักษณะเฉพาะตัวล้วนแต่เป็นตัวนำ�เทรนด์แฟชั่นล่าสุด ถนนสายนี้ จึงเหมาะสำ�หรับนักช้อปที่มีรสนิยมหลากหลาย ในเดือนตุลาคม ถนนสายนี้จะกลายเป็นสถานที่หลักสำ�หรับจัด งานเทศกาลวัฒนธรรมอับกูจอง ซึ่งนำ�เสนอภาพยนตร์ โชว์ การออกแบบทรงผม การเดินแฟชั่นโชว์ การแข่งขันเต้นรำ�และ กิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจมากมาย

133


ถนนของคนหนุม ่ สาว ชงโนและชองเกชอน ชงโนเป็นอีกย่านหนึ่งนอกจากมยองดงที่เป็นตัวอย่างของความ มีชีวิตชีวาทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในช่วงแรกของเกาหลีใน ทศวรรษที่ 1970 และ 1980 ทุกวันนี้ช่วงระหว่างย่านชงโน 2(อี)กา และ 3(ซัม)-กา ยังมีโรงภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงโซล ร้าน หนังสือขนาดใหญ่ของประเทศและสถาบันทางการศึกษาเอกชนที่ มีชื่อเสียง รวมถึงโรงเรียนสอนภาษาที่ทำ�ให้ย่านนี้คราคร่ำ�ไปด้วย นักเรียนนักศึกษา ชองเกชอน คลองสายประวัติศาสตร์ที่ตัดผ่านใจกลางกรุงโซลได้ รับการฟื้นฟูและปรับรูปแบบใหม่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ และได้กลายเป็น หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ�ของกรุงโซลอย่างรวดเร็ว ในอดีต คลองสายนี้เป็นแหล่งน้�ำ สำ�หรับครัวเรือนที่อาศัยอยู่โดยรอบ แต่ เริ่มถูกปิดกั้นในช่วงทศวรรษที่ 1950 และมีการสร้างทางด่วนเหนือ คลอง ทางด่วนนี้ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญเติบโตทาง ด้านอุตสาหกรรมของเกาหลีในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตามทางด่วนได้ถูกรื้อถอนออกไปในปี 2003 ซึ่งเป็น แผนการฟื้นฟูคลองสายนี้ และแผนการนี้ก็ประสบความสำ�เร็จใน อีก 2 ปีต่อมา ปัจจุบันมีการสร้างลำ�ธารให้ไหลผ่านเส้นทางเดิมที่ ฟื้นคืนสภาพเป็นแหล่งนิเวศธรรมชาติให้พืชน้ำ�ได้เจริญเติบโต ถนนฮงแด (ถนนมหาวิทยาลัยฮงอิก) เป็นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ที่ฮงแดหรือพื้นที่ด้านรอบมหา วิทยาลัยฮงอิกได้มีร้านกาแฟและคลับแสดงดนตรีสดเกิดขึ้น มากมายซึ่งดึงดูดคนหนุ่มสาวที่รักเสียงเพลงจากทั่วกรุงโซล และ ค่อยๆ ทำ�ให้บริเวณนี้กลายเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่มีชีวิตชีวา และเต็มไปด้วยคนหนุ่มสาวที่แสวงหาความบันเทิง สิ่งที่ทำ�ให้ถนนสายต่างๆ ในฮงแดแตกต่างจากย่านอื่นๆ ที่มี ลักษณะเดียวกันก็คือการแสดงดนตรีสดของวงดนตรีอินดี้ในคลับ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วในย่านนี้ วงดนตรีเหล่านี้แสดงดนตรีแนวต่างๆ 134


ที่ได้รับความนิยม เช่น ดนตรีแนวร็อก ฟังกี้และเทคโน ให้กับผู้ฟัง วัยหนุ่มสาวที่มารวมตัวกันทุกค่ำ�คืน ย่านฮงแดยังมีหอศิลป์มากมายหลายแห่งที่จัดแสดงผลงานต้นฉบับ ของศิลปินหน้าใหม่ ศิลปินบางคนร่วมมือกับศิลปินในแขนงอื่น เช่น นักดนตรีและนักเต้นรำ� เพื่อทำ�การแสดงร่วมกันบนท้องถนน ถนนคาโรซูกิลแห่งย่านชิ​ินซาดง ถนนคาโรซูกิลแห่งย่านชินซาดงแปลตรงตัวได้ว่า “ถนนที่เรียงราย

1

2

1. คลองชองเกชอน สถานที่อันสวยงามสำ�หรับ การพักผ่อนและเติมพลัง ให้สดชื่นในใจกลางกรุง โซล 2 ย่านฮงแด ถนนที่เต็มไปด้วยคนหนุ่ม สาวและศิลปินที่มีความมุ่ง มั่นและผู้ชมการแสดง

ด้วยต้นไม้แห่งชินซาดง” เป็นถนนในย่านชินซาดงในเขตคังนัม ที่มีต้นแปะก๊วยขึ้นเรียงรายเต็มสองฝั่งถนน ถนนสายนี้และตรอก โดยรอบบริเวณใกล้เคียงได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ส�ำ คัญแห่ง หนึ่ง ซึ่งในแต่ละวันจะดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบแฟชั่นหลายพัน คนให้เข้ามาเยือนสถานที่แห่งนี้ ที่นี่มีทั้งร้านกาแฟหรู แกลอรี่งาน ศิลปะ ร้านเสื้อผ้าหรูหราและร้านสินค้าแฟชั่นต่างๆ ในช่วงทศวรรษ 1990 คาโรซูกิลเริ่มดึงดูดนักออกแบบแฟชั่นรุ่น 135


1

ใหม่ให้มาเปิดร้านค้าตามแนวถนน จนทำ�ให้ถนนสายนี้กลายเป็น

2

“ถนนแฟชั่น” เมื่อร้านสินค้าแฟชั่นเหล่านี้ประสบความสำ�เร็จอย่าง

1. คาโรซูกิลแห่งย่านชิน ซาดง ถนนที่คลาคล่ำ�ไปด้วยนัก ช้อปปิ้งวัยหนุ่มสาวที่ชื่นชอบ แฟชั่น

มาก ก็ทำ�ให้ร้านค้าที่ขายสินค้าประดับตกแต่งภายในที่หรูหราสวย

2. อีแทวอน ศูนย์กลางวัฒนธรรม นานาชาติในเกาหลี

อีแทวอน

งานเฟอร์นิเจอร์และสินค้าแฟชั่น มาเปิดตั้งร้านตามแนวถนนนี้ด้วย

อีแทวอนเป็นหนึง่ ในแหล่งท่องเทีย ่ วยอดนิยมทีส ่ ด ุ ของเมือง โดย เฉพาะในหมูน ่ ก ั ท่องเทีย ่ วชาวต่างชาติทต ่ี อ ้ งการช้อปปิง้ และสัมผัส กับความสนุกสนานและน่าตืน ่ ตาตืน ่ ใจในบรรยากาศทีส ่ บายๆ การ เติบโตของย่านนีแ ้ ละความมีชอ ่ื เสียงในหมูน ่ ก ั ท่องเทีย ่ วหลากเชือ ้ ชาติทม ่ี าเยือนเกาหลีนน ้ั เกิดจากการเป็นทีต ่ ง้ั ของฐานทัพทหาร สหรัฐอเมริกาแห่งที่ 8 ทีอ ่ ยูใ ่ กล้กบ ั เขตยงซันมาตัง้ แต่สมัยสงคราม เกาหลี (1950-1953) ในปัจจุบน ั เขตนีท ้ ค ่ี รอบคลุมอีแทวอนและ ย่านฮันนัมดงทีอ ่ ยูใ ่ กล้เคียงเป็นทีต ่ ง้ั ของสถานทูตหลายประเทศ อาทิ เยอรมันนี เดนมาร์ก อาร์เจนตินา โรมาเนีย อุรก ุ วัย เลบานอน ฮังการี บรูไนและกาตาร์ อีแทวอนยังเป็นทีต ่ ง้ั ของมัสยิด และชุมชน ของชาวต่างชาติหลากหลายเชือ ้ ชาติ ย่านฮันนัมดงทีอ ่ ยูใ ่ กล้อแ ี ท วอนก็มส ี ถานทูตต่างชาติไม่นอ ้ ย รอบๆ อีแทวอนและย่านฮันนัมดง จึงเป็นสถานทีท ่ อ ่ งเทีย ่ วยอดนิยมและแหล่งทีพ ่ ก ั ของชาวต่างชาติ หลากหลายเชือ ้ ชาติ ถนนในอีแทวอนเต็มไปด้วยร้านขายเสือ ้ ผ้าและ สินค้าแฟชัน ่ ไนต์คลับ บาร์และร้านอาหารมากมาย ซึง่ หลายร้านให้ บริการกับนักท่องเทีย ่ วชาวต่างชาติและชาวเกาหลีทช ่ี อบบรรยากาศ แบบนานาชาติ ถ้าต้องการรืน ่ รมย์อาหารเม็กซิกน ั อินเดีย เวียดนาม ตุรกีและอืน ่ ๆ อีกมากมาย ถนนอีแทวอนถือเป็นตัวเลือกทีด ่ ี และยัง ให้บรรยากาศแบบนานาชาติทเ่ี ป็นเอกลักษณ์อก ี ด้วย ในปี 1997 รัฐบาลเกาหลีได้ก�ำ หนดให้เขตนีเ้ ป็นเขตท่องเทีย ่ วพิเศษ นับตัง้ แต่ นัน ้ มาเขตนีไ ้ ด้จด ั เทศกาลหมูบ ่ า้ นโลก (Global Village Festival) ในเดือนตุลาคมของทุกปี นอกจากนีย ้ งั มีการจัดการแสดงตามท้อง ถนนให้นก ั ท่องเทีย ่ วชาวต่างชาติได้ชมทุกวันอีกด้วย

136


137


สถานทีพ ่ ก ั ผ่อนทางธรรมชาติ ภูเขาจีรีซาน จีรีซานเป็นภูเขาที่สูงและมีขนาดใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ บนยอด เขามีทิวทัศน์ที่งดงามมากมาย รวมทั้งยอดเขาชอนวังบง (1,915 เมตร) โนโกดันและยอดเขาพันยาบง (ปัญญา) และยังมีแนวสันเขา และหุบเขายาวกว่า 40 กิโลเมตร ทอดยาวจากด้านตะวันออกไปยัง ตะวันตกภูเขานี้อยู่ติดกับ 3 จังหวัด คือ ชอลลานัมโด ชอลลาบุกโด และคยองซังนัมโด ผืนป่าแห่งนี้คิดเป็น 20% ของผืนป่าทั้งหมดใน เกาหลี ภูเขาจีรีซานได้รับการแต่งตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติที่แรก ของเกาหลีในปี 1967 ภูเขาจีรีซานตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของแพ็กดูแดกันซึ่งเป็นแนวเขา ภูมิทัศน์อันงดงามของ ภูเขาจีรีซานในฤดูใบไม้ ผลิที่เกาะคยองซังนัมโด (ที่มา: หน่วยบริการ อุทยานแห่งชาติเกาหลี)

138

ขนาดมหึมาที่เป็นแกนกลางของคาบสมุทรเกาหลี โดยทอดตัว ยาวออกจากภูเขาแพ็กดูซานที่อยู่ทางตอนเหนือเกือบทั้งหมดของ คาบสมุทรซึ่งแสดงถึงลักษณะเด่นทางด้านภูมิศาสตร์ของทางตอน


ใต้ ภูเขาแห่งนี้มีชื่อเสียงมากในด้านความงดงามทางทัศนียภาพ และพื้นที่ป่าหนาแน่น เป็นถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของสัตว์และพืช พันธ์ไม้ที่หายากนานาชนิด อาทิ กวางไร้เขาไซบีเรียน กวางผา เกาหลี ต้นเบิร์ชเอเชียและดอกโรยัลอาซาเลีย แนวเทือกเขาหลักของภูเขาซึ่งทอดตัวจากยอดเขาชอนวังบงซึ่ง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดทางด้านตะวันออกทอดไปยังยอดเขาโนโก ดันทางตะวันตก ทำ�ให้เกิดหุบเขาที่อุดมด้วยต้นน้�ำ ของแม่น้ำ�สาย หลักหลายสายในเกาหลี ได้แก่ นักดงกัง ซอมจินกัง และนัมกัง หุบเขาบางแห่งเป็นที่ตั้งของผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์อย่างพีอากอลและ แพ็มซากอล ทำ�ให้เกิดทัศนียภาพที่งดงามตระการตา โดยเฉพาะ พีอากอลมีชื่อเสียงด้านป่าดงดิบ ดึงดูดนักเดินเขากว่า 2 ล้านคนให้ มาเยี่ยมเยือนทุกปี ภูเขาจีรีซานเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์และพืชพันธ์ นานาชนิดอันแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์และความสมดุลทาง

139


น้ำ�ตกโซซึงที่ภูเขาซอ รักซาน (เมืองซกโชชี, จังหวัด คังวอน)

ระบบนิเวศของภูเขาแห่งนี้ รวมทั้งยังมีสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เช่น กวางไร้เขาไซบีเรียนและกวางผาเกาหลี และแหล่งท่องเที่ยวทาง ธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเกาหลีอย่างเช่น อาณาจักรของ ต้นดอกโรยัลอาซาเลียอันกว้างใหญ่ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ราบสูงเซ ซอก เพียงชอน ผืนป่าพีอากอล เป็นความโนโกมกคืออันเก่าแก่ และหนาทึบ และแมกไม้ที่ยืนต้านลมมาอย่างยาวนานตลอดแนว ยอดเขาสูง ทำ�ให้เกิดเป็นโกซามกคือภูมิทัศน์ที่ดูลึกลับและสวยงาม เหนือคำ�บรรยาย มรดกทางธรรมชาติอันสูงค่านี้โอบล้อมมรดกทาง วัฒนธรรมอันล้ำ�ค่า อย่างเช่น วัดทางพุทธศาสนาอันเก่าแก่หลาย แห่งซึ่งเป็นที่เก็บรวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไว้ มากมาย ภูเขาซอรักซาน ภูเขาซอรักซานเป็นภูเขาทีส ่ งู ทีส ่ ด ุ เป็นอันดับ 3 ในเกาหลีใต้ รอง จากภูเขาฮัลลาซานและภูเขาจีรซ ี าน ตัง้ อยูท ่ างตอนกลางของแพ็ก

140


ดูแด กันแนวเทือกเขาแทแบ็กซานแม็กขนาดใหญ่ทเ่ี ป็นแกนกลาง ของคาบสมุทรเกาหลี โดยมียอดเขาแดชองบงทีส ่ งู ทีส ่ ด ุ (1,708 เมตร) ตัง้ ตระหง่านเหนือชายฝัง่ ตะวันออกของเกาหลี ภูเขาแห่ง

ทัศนียภาพของภูเขาซอรัก ซาน (เมืองซกโชชี, จังหวัดคังวอน) (ที่มา: หน่วยบริการ อุทยานแห่งชาติเกาหลี)

นีเ้ ต็มไปด้วยยอดเขาหินและหน้าผามากมายทำ�ให้เห็นเป็นรูปร่าง แปลกประหลาดและยังมีหบ ุ เขาลึกทีม ่ บ ี อ ่ น้�ำ ใสสะอาดจนถูกนำ�ไป เปรียบเทียบกับภูเขาคึมกังซานทางตอนเหนือซึง่ ได้รบ ั การขนาน นามว่าเป็นภูเขาทีส ่ วยงามทีส ่ ด ุ ในเกาหลี ภูเขาแห่งนีค ้ รอบคลุมพืน ้ ทีข ่ นาดใหญ่ทางด้านตะวันออกตอนกลาง ของคาบสมุทรเกาหลีซง่ึ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ เวซอรัก (ภูเขา หิมะตอนนอก) ซึง่ อยูท ่ างตะวันออกของยอดเขาแดชองบง แนซอ รัก (ภูเขาหิมะตอนใน) ซึง่ อยูท ่ างตะวันตก และนัมซอรัก (ภูเขาหิมะ ตอนใต้) อยูแ ่ ถวบ่อน้�ำ แร่หา้ สีทม ่ี ช ี อ ่ื เสียง เรียกว่า บ่อน้�ำ แร่โอแซก ยักซูทอซึง่ อยูท ่ างใต้ นอกจากนีย ้ งั เป็นต้นกำ�เนิดของสายน้�ำ นัมแด ชอนซึง่ ไหลผ่านพืน ้ ทีใ ่ นเขตยังยังลงสูท ่ ะเลฝัง่ ตะวันออก แม่น�ำ้ บุก ฮันกังและโซยังกังซึง่ ไหลไปทางตะวันตกรวมกันกลายเป็นแม่น�ำ้ 141


ทิวทัศน์ยามค่ำ�คืนของ ตึกเอ็นโซลเทาเวอร์ (N Seoul Tower) และศาลา แปดเหลี่ยมที่ภูเขานัมซาน (ขวา)

ฮันกังทีไ ่ หลผ่านโซล ภูเขาซอรักซานเป็นถิน ่ ทีอ ่ ยูอ ่ าศัยทีป ่ ลอดภัย ของสัตว์สายพันธุพ ์ น ้ื เมืองและทีใ ่ กล้จะสูญพันธุน ์ านาชนิด เช่น ปลาเทราต์แมนจูเรียน ปลาสร้อยเกาหลี ดอกระฆังสีน�ำ้ เงินเพชร (คึมกัง โชรง) และดอกเอเดลไวส์ ภูเขาแห่งนีไ ้ ด้รบ ั การแต่งตัง้ เป็น อุทยานแห่งชาติเมือ ่ ปี 1970 และขึน ้ ทะเบียนเป็นพืน ้ ทีส ่ งวนชีว มณฑลแห่งเครือข่ายโลกโดยองค์การยูเนสโกเมือ ่ ปี 1982 และยังเป็นที่ตั้งของมรดกทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและ ธรรมชาติมากมายรวมถึงวัดทางพุทธศาสนา เช่น วัดแพ็กดัมซา วัดชินฮึงซา และวัดพงจองอัมซึ่งเป็นหนึ่งในวัดห้าแห่งที่เป็นสถาน ที่ประดิษฐานอัฐิของพระศากยมุนี พระพุทธรูปเก่าแก่ หินฮึนดึลบา วีและหินอุลซันบาวีซึ่งเป็นยอดเขาหินที่ยิ่งใหญ่อลังการที่สูงถึง 873 เมตร ภูเขาซอรักซานมีชื่อเสียงในด้านทัศนียภาพที่สวยงามอันเกิดจาก การผสมผสานกันของยอดเขา หุบเขาลึก แนวหินที่สวยงามแปลก ตาและวัดทางพุทธศาสนาอันเก่าแก่ ซึ่งดึงดูดให้นักเดินเขาหลาย ล้านคนทั่วประเทศมาเยี่ยมเยือนทุกปี นอกจากนี้ย่านซอรักดงซึ่ง เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่บนเชิงเขายังมีที่พักและสถานที่พักผ่อน หย่อนใจมากมายที่ช่วยให้นักท่องเที่ยวและนักเดินเขามีความ สะดวกสบายมากขึ้น การท่องเที่ยวในภูเขาซอรักซานยังรวมถึง หอสังเกตการณ์โกซอง (Goseong Unification Observatory) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเขตปลอดทหาร (DMZ) บนชายฝั่งตะวันออก ภูเขานัมซานและภูเขาพุกฮันซาน ภูเขานัมซานซึ่งมีความสูง 262 เมตรและตั้งอยู่ใจกลางกรุงโซล เป็นแหล่งของเส้นทางเดินเขาที่มีเสน่ห์และเป็นที่นิยมในหมู่ชาว เมืองโซลมาหลายร้อยปี ภูเขาแห่งนี้มีต้นไม้หนาแน่นทำ�ให้อากาศ บริสุทธิ์ ให้ความสนุกและช่วยผ่อนคลายแ่ก่คนกรุงโซลและมีดอก ไม้บานตลอดทั้งปี ต้นไม้ที่ปลูกมากที่สุดคือต้นสน การเดินไต่ขึ้นไปยังยอดเขาใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง หรือจะ นั่งรถกระเช้าไฟฟ้าขึ้นไปก็ได้ บนยอดเขามีจุดชมวิวหลายจุด

142


143


จากจุดชมวิวจะมองเห็นตัวเมืองโซล รวมทั้งตึกเอ็นโซลเทาเวอร์ (N Seoul Tower) ภูเขานี้ปักแท่นจุดเริ่มต้นเส้นศูนย์สูตรที่แสดง ตำ�แหน่งทางภูมิศาสตร์ของประเทศเกาหลี ตึกเอ็นโซลเทาเวอร์ (N Seoul Tower) เป็นสถานที่ส่งสัญญาณทางอากาศและเป็นสถาน ที่ท่องเที่ยวยอดนิยมแห่งหนึ่งในกรุงโซล ซึ่งสูง 236.7เมตร ที่ตึก นี้นักท่องเที่ยวจะได้เพลิดเพลินกับทิวทัศน์ในมุมกว้างที่งดงามของ กรุงโซล และถ้าวันไหนอากาศดีจะมองเห็นอินชอนชายฝั่งทะเล ตะวันตกและสถานีส่งสัญญาณไฟในอดีตที่ใช้ส�ำ หรับติดต่อสื่อสาร ในสมัยโชซอนได้ด้วย บริเวณเชิงเขามีสถาบันทางวัฒนธรรม หลายแห่งตั้งอยู่ เช่น โรงภาพยนตร์แห่งชาติของเกาหลี ห้องสมุด เทศบาลโซล และหมู่บ้านนัมซันกอล ฮันอก อุทยานแห่งชาติพุกฮันซานที่อยู่ทางตอนเหนือของกรุงโซลเป็น สถานที่ยอดนิยมสำ�หรับการทำ�กิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะ สำ�หรับการเดินไต่เขาและปีนผา การเดินทางมาที่นี่จากใจกลาง การปีนผาที่ภูเขาพุกฮัน ซาน (ที่มา: หน่วยบริการ อุทยานแห่งชาติเกาหลี)

144

โซลโดยใช้บริการขนส่งมวลชนอย่างรถบัสหรือรถไฟใต้ดินใช้ เวลาเพียงแค่ 30 นาที แพกุนแดเป็นจุดสูงสุดของภูเขาแห่งนี้โดย มีความสูงจากระดับน้�ำ ทะเล 836.5 เมตร


แม่น�้ำ ในเกาหลี แม่น�้ำ พุกฮันกังและแม่น�้ำ นัมฮันกังไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำ�ฮัน กังที่ไหลผ่านกรุงโซลก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเลตะวันตก แม่น้ำ�เหล่า นี้เป็นแหล่งน้ำ�สำ�หรับภาคการเกษตรและโรงงานต่างๆ ทั้งในและ นอกเมืองหลวง และยังเป็นแหล่งน้�ำ สำ�หรับการบริโภคให้กับเมือง ต่างๆ รวมทั้งโซล นอกจากนี้ยังมีการบริหารจัดการน้ำ�ด้วยการ สร้างเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังน้�ำ หลายแห่งเพื่อป้องกันน้ำ�ท่วมและ ผลิตพลังงานไฟฟ้า แม่น�้ำ ที่ยาวที่สุดในคาบสมุทรเกาหลีคือ แม่น�้ำ นักดงกังซึ่งมี ความยาว 520 กิโลเมตร ตัดผ่านจังหวัดคยองซังบุกโดและคยอง ซังนัมโดก่อนจะไหลลงสู่ทะเลใต้ บริเวณปากแม่น�้ำ มีสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำ�ขนาดใหญ่ชื่ออึลซุกโดทีม ่ ีต้นอ้อขึ้นอย่างหนาแน่นกลาย เป็นแหล่งพักพิงของนกที่ย้ายถิ่นตามฤดูกาลที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย แม่น�้ำ สายหลักอื่นๆ เช่น แม่น�้ำ คึมกังและยองซันกังเป็นแหล่งน้ำ� สำ�หรับการเพาะปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของ เกาหลี และยังมีแม่น้ำ�อิมจินกัง มันคยองกังและซอมจินกังเป็น แหล่งน้ำ�ที่สำ�คัญสำ�หรับพื้นที่อื่นในเกาหลี

ทิวทัศน์ของพระอาทิตย์ ตกดินเหนือแม่น้ำ�ยอง ซันกัง ซึ่งเป็นแหล่งน้�ำ ที่ สำ�คัญของเกาหลีทางด้าน ตะวันตกเฉียงใต้

145


เกาะเจจู เกาะเจจูเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลี (ระยะทางจากฝั่งตะวันออก ไปยังฝั่งตะวันตกประมาณ 73 กิโลเมตร และจากทางใต้ไปเหนือ ประมาณ 31 กิโลเมตร) ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบเกาหลี ทางตะวันตก เฉียงใต้ของเกาหลีแผ่นดินใหญ่ เกาะรูปไข่นี้อุดมไปด้วยมรดก ทางวัฒนธรรม ซึ่งมีลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างจากที่พบบนแผ่น ดินใหญ่ตั้งแต่สมัยทัมราในอดีต และยังเป็นจังหวัดเดียวในเกาหลี ที่มีส้มแมนดารินขึ้นตามธรรมชาติ ช่วยสร้างรายได้ให้ชาวเมืองมา ตั้งแต่ในทศวรรษ 1960 เกาะเจจูเป็นสถานที่ฮันนีมูนที่ได้รับความ นิยมเป็นอย่างมากในหมู่ชาวเกาหลีแผ่นดินใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 และได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของ เกาหลี ดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายแสนคนจากประเทศเพื่อนบ้าน อย่างญี่ปุ่นและจีน ในปี 2006 รัฐบาลเกาหลีได้กำ�หนดให้เกาะ แห่งนี้เป็นจังหวัดปกครองตนเองพิเศษเจจู โดยมีจุดประสงค์เพื่อ 146


พัฒนาให้เป็นเขตการค้าเสรี ปัจจุบันเกาะเจจูเป็นสถานที่ยอดนิยม สำ�หรับการจัดการประชุมนานาชาติรวมทั้งการประชุมผู้น�ำ สุดยอด เกาะเจจูถือกำ�เนิดจากการปะทุของภูเขาไฟหลายครั้ง และเต็มไป ด้วยลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหินภูเขาไฟ รวมถึงมี โอรึม 368 แห่ง (เนินกาฝาก) และถ้ำ�ลาวาประมาณ 160 ถ้ำ� มรดก ทางธรรมชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของเกาะเจจูทำ�ให้เกาะแห่งนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยองค์การยูเนสโกให้เป็นพื้นที่สงวนชีว มณฑลแห่งเครือข่ายโลกในปี 2002 แหล่งมรดกโลกในปี 2007

1

2

1. ทะเลสาบแอ่งแพงนก ดัมบนภูเขาฮัลลาซาน แอ่ง ภูเขาไฟรูปหม้อ (ลึก 111 เมตร และเส้นรอบวงยาวถึง 1,720 เมตร) บนภูเขาฮัลลา 2. ปล่องภูเขาไฟซองซัน อิลชุลบง หนึ่งในเนินกาฝากที่ กระจายอยู่บนเจจู

และเครือข่ายอุทยานธรณีระดับโลกในปี 2010 มีการคาดการณ์ ว่าการที่เกาะเจจูได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกใน ฐานะมรดกทางธรรมชาติระดับโลกจะยิ่งช่วยเพิ่มคุณค่าของเกาะ แห่งนี้ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวและสมบัติทางธรรมชาติที่ส�ำ คัญของ เกาหลี ภูเขาฮัลลาซานซึ่งเป็นภูเขาไฟที่หลับไหลยืนตระหง่านบนใจกลาง 147


ของเกาะเจจูโดยมีความสูงถึง 1,950 เมตร จัดเป็นภูเขาที่สูงที่สุด ในเกาหลีใต้ ภูเขาแห่งนี้เป็นถิ่นที่อยู่ของพืชพันธุ์บนเทือกเขา กว่า 1,800 สายพันธุ์ ที่สามารถเจริญเติบโตได้ตามระดับความสูง ที่ต่างกันและแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของพืชพันธ์ ภูเขา ประกอบด้วยหินบะซอลต์เป็นหลัก ภูเขาทางตอนใต้มีความสูง ชันมากกว่าภูเขาทางตอนเหนือที่ไม่สูงชันมากนัก บนยอดเขามี ทะเลสาบแอ่งแพงนกดัมที่รายล้อมไปด้วยเนินกาฝากมากกว่า 50 เนิน ปล่องภูเขาไฟซองซัน อิลชุลบงที่ตั้งอยู่บนปลายฝั่งตะวันออกของ เกาะเจจูเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่สุดในเกาะ ยอดภูเขาไฟ มีความสูง 182 เมตรคล้ายคลึงกับโรงละครขนาดใหญ่ที่ตรงกลาง เป็นแอ่งลึกรูปถ้วยซึ่งเต็มไปด้วยต้นอ้อและบริเวณขอบเป็นผาหิน นักท่องเที่ยวหลายคนเปรียบสถานที่ชมพระอาทิตย์ขึ้นยอดนิยม แห่งนี้เป็นเหมือนปราสาทที่แข็งแกร่งและยากจะถูกทำ�ลายหรือ มงกุฎทรงสูง ในปัจจุบันได้รับแต่งตั้งให้เป็นมรดกทางธรรมชาติ แห่งชาติ สถานที่ท่องเที่ยวสำ�คัญอื่นๆ ที่แสดงถึงความงดงามตาม ธรรมชาติของเจจู เช่น ถ้ำ�ยงชอนซึ่งอยู่ที่วอลจอง-รีในตำ�บลคูจ วาเผยให้เห็นการผสมผสานอันเป็นเอกลักษณ์ของถ้�ำ หินปูนและ ปล่องลาวา ถ้ำ�หินปูนในเฮียบแจและพโยซอน และป่าคดจาวัลที่ เติบโตบนพื้นที่ซึ่งเต็มไปด้วยหินที่เกิดจากภูเขาไฟระเบิด Jeju Gotjawal เกิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟ เมื่อลาวาแตกตัว ทำ�ให้มีสภาพทางภูมิศาสตร์ขรุขระซึ่งรียกว่า คดจา วัล พื้นป่า เหล่านี้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพันธุ์ที่หายาก สถาน ที่แห่งนี้มีพืชพันธุ์หายากที่เจริญเติบโตในเขตพื้นที่เขตหนาวด้าน ใต้และพื้นที่เขตร้อนด้านเหนือ ผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์และมีต้นไม้ขึ้น แน่นขนัดได้รับการขนานนามว่าเป็น “ปอดแห่งเจจู” ศูนย์การท่องเที่ยวชุงมุนที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางด้านใต้ในซอกวีโพ เต็มไปด้วยสถานที่ที่น่าสนใจและสิ่งอำ�นวยความสะดวกมากมาย สำ�หรับกิจกรรมกลางแจ้ง ได้แก่ ว่ายน้ำ� อาบแดด ตีกอล์ฟ ขี่ม้า และล่าสัตว์ และยังมีโรงแรมมาตรฐานระดับโลกและแหล่งท่อง เที่ยวทางธรรมชาติ เช่น น้�ำ ตก 3 ชั้นชอนเจยอน และแนวแตกเสา 148


เหลี่ยมตามชายฝั่ง และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวใหม่เพิ่มเข้ามา คือ อะควาพลาเน็ต (Aqua Planet) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ�ที่ใหญ่ ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย เปิดทำ�การเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2012 ที่ ชายหาดซอบจีโกจีในตำ�บลซองซันอึบ แหล่งท่องเที่ยวสำ�คัญอีกแห่งหนึ่งที่เพิ่งสร้างขึ้นเร็วๆ นี้คือ เส้น ทางเดินเจจู อลเล ประกอบด้วยทางเดินเขาตามธรรมชาติเลียบ ชายฝั่งทะเลซึ่งจะพานักเดินเขาให้ได้ชมทิวทัศน์ที่งดงามของเจจู หมู่บ้านเก่าแก่ ทุ่งนาที่มีกำ�แพงหินบะซอลต์ล้อมรอบหรือคั่นกลาง ทะเลตามแนวชายฝั่ง และสายลมที่พัดผ่านทุ่งหญ้า เจจูเป็นที่รู้จัก ในนามซัมดาโด แปลตรงตัวว่า “เกาะแห่งความอุดมสมบูรณ์สาม อย่าง” ได้แก่ หิน ผู้หญิง และสายลม ความอุดมสมบูรณ์ของหินเกิดจากการการปะทุของภูเขาไฟ บ้าน และทุ่งนารายล้อมไปด้วยกำ�แพงหินเพื่อป้องกันไม่ให้ลมพัดทำ�ลาย ความอุดมสมบูรณ์ของผู้หญิงหมายถึง การเข้ามามีบทบาทในการ ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของผู้หญิง เช่น แฮนยอหรือนักประดา น้ำ�หญิงที่มีชื่อเสียงมากในแถบนี้ เกาะเจจูมีชื่อเสียงทางด้าน ผลิตภัณฑ์ทางทะเลและการเกษตรที่มีความพิเศษมากมาย รวมถึง “กระบองเพชรปาล์มมีหนาม” (Opuntia ficusindica) หรือที่รู้จัก กันในชื่อแพงนยอนโช ซึ่งเพิ่งสร้างความประหลาดใจให้กับหมู่ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกด้วยคุณประโยชน์สุดพิเศษที่มีต่อสุขภาพ มนุษย์ สำ�หรับนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีจำ�นวนหนึ่ง เจจูมีความสำ�คัญ มากเนื่องจากเกาะแห่งนี้มีเขตอำ�นาจเหนือดินแดนทางใต้สุดของ เกาหลี เกาะขนาดเล็กที่ชื่อว่ามาราโด อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวัน ตกเฉียงใต้ 10 กิโลเมตร จากเกาะเจจูโดซึ่งเป็นเกาะที่อยู่ทางใต้ สุดของประเทศเกาหลี และอีออโดซึ่งอยู่ห่างจากมาราโดไปทาง ตะวันตกเฉียงใต้ 149 กิโลเมตร อันเป็นสถานที่ตั้งของสถานีวิจัย มหาสมุทรอีออโด อุลลึงโดและทกโด อุลลึงโดซึ่งอยู่ห่างจากด้านตะวันออกของคาบสมุทรเกาหลี 149


1

ประมาณ 130 กิโลเมตร เป็นเกาะภูเขาไฟขนาดประมาณ 72

2

ตร.กม.

1. ท่าเรือโทดงใน อำ�เภอ อุลลึงโด เกาะภูเขาไฟในทะเล ตะวันออก 2. ทกโด (อำ�เภอ อุลลึง จังหวัดคยองซังบุกโด ) ทกโดประกอบด้วยเกาะ หิน 2 เกาะ คือ ทงโด และซอโด ซึ่งตั้งอยู่ห่าง กัน 150 เมตรและล้อม รอบไปด้วยหินที่โผล่ขึ้น มา 85 จุด

บริเวณขอบโดยรอบของเกาะเป็นหน้าผาหินชัน น้ำ�ทะเลรอบชาย ฝั่งอุลลึงโดลึกมากเนื่องจากทะเลตะวันออกมีพื้นมหาสมุทรที่อยู่ลึก ลงไปมาก ใจกลางเกาะมีพื้นที่ราบที่เรียกกันว่า ที่ราบลุ่มนารี เกาะนี้มีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์กับหมู่เกาะหินขนาดเล็ก ที่มีชื่อว่าทกโด ซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งทะเลด้านตะวันออกเฉียงใต้ของ เกาะเป็นระยะทาง 87.4 กิโลเมตร อันเป็นบริเวณสุดอาณาเขตทาง ด้านตะวันออกของเกาหลี ปัจจุบันทกโดอยู่ภายใต้การดูแลของ ยามฝั่งทกโด ประกอบด้วยเกาะหินเล็กขนาดใหญ่ 2 เกาะ และ หินเล็ก 89 จุด และเป็นถิ่นที่อยู่ของพืชพันธุ์ประมาณ 70 สายพันธุ์ แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะจะแห้งแล้งกันดารและมีลมทะเลที่ แรงและมีดินน้อยแต่บนเกาะก็ยังมีพืชประมาณ 70 สายพันธุ์ขึ้น แทรกอยู่ตามแนวซอกหิน และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมายังมีการปลูก ต้นสนและคะเมลเลียด้วย เกาะแห่งนี้ได้รับการแต่งตั้งเป็นเขตสืบพันธุ์นกทะเลทกโดและ อนุสรณ์สถานแห่งชาติล�ำ ดับที่ 336 ในปี 1982 และเขตป้องกัน ทรัพย์สินทางธรรมชาติ ปี 1999 ฮัลลยอซูโด (อุทยานแห่งชาติทางทะเลฮัลลยอซูโด) ชื่อของทะเลที่มีชายฝั่งเป็นระยะทางยาว 120 กิโลเมตร จากยอ ซูในจังหวัดชอลลานัมโดถึงฮันซันโดในจังหวัดคยองซังนัมโดมา จากอักษรตัวแรกในคำ�ว่าฮันซันโดและยอซู บริเวณนี้ขึ้นชื่อใน ด้านทิวทัศน์ทางท้องทะเลที่งดงาม มีทั้งน้ำ�ทะเลสีฟ้าเป็นประกาย เกาะมากมายหลายขนาด หน้าผาหินรูปร่างสวยแปลกตาและแนว ชายฝั่งอันสวยงามและยังมีชื่อเสียงในฐานะถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต

ดอกคะเมลเลีย ที่โอดงโด โอดงโด เกาะขนาดเล็ก ภายนอกยอซู มีต้นคะเมล เลียขึ้นอยู่ประมาณ 3,000 ต้น โดยดอกจะบานตั้งแต่ ช่วงเดือนตุลาคมไปจนถึง ช่วงกลางของฤดูหนาว

150

ทางทะเล ที่หลากหลาย และได้รับการแต่งตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเล แห่งแรกของเกาหลีเมื่อปี 1968 ยอซูเป็นต้นทางและปลายทางของฮัลลยอซูโด และเป็นเมือง อุตสาหกรรมแห่งหนึ่งของเกาหลีและเป็นสถานที่จัดงาน World


151


ฮัลลยอซูโด อุทยานแห่งชาติทางทะเล แห่งแรกของเกาหลี มีชื่อ เสียงในด้านทิวทัศน์ทาง ท้องทะเลที่สวยงามน่าทึ่ง ซึ่งเกิดจากหมู่เกาะหลาก หลายขนาดที่ตั้งอยู่เหนือ ทะเลสีฟ้า

Expo เมื่อปี 2012 มีสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในอุทยานแห่งชาติ ทางทะเลหลายแห่ง เช่น โอดงโด เกาะเล็กๆ ที่ปกคลุมด้วยต้นคะ เมลเลีย และมีชายหาดที่สวยงาม ฮัลลยอซูโด ยังเป็นสถานที่ที่ส�ำ คัญทางประวัติศาสตร์เมื่อครั้งพล เรือเอกยี ซุน-ซินนำ�กองทัพเรือโชซอนกำ�ชัยชนะเหนือกองกำ�ลัง ญี่ปุ่นที่บุกเข้ารุกรานเกาหลีเมื่อปี 1592 ฮัลลยอซูโดซึ่งมีพื้นที่ติดทะเลมากถึง 76% เป็นแหล่งท่องเที่ยวตาม ธรรมชาติที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในเกาหลีและภูมิประเทศมีทัศนียภาพ ที่สวยงามน่าประทับใจ โดยมีทั้งมหาสมุทร เกาะแก่งและผืนดิน สะพานยี ซุน-ซินที่เปิดทำ�การเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ในปี 2013 ได้ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามา สะพานแห่งนี้ ยาวเป็นอันดับ 4 ของโลก สะพานนัมแฮแทกโยยังเชื่มต่อระหว่าง แผ่นดินใหญ่กับนัมแฮโด อีกทั้งยังงดงามตระการตา เกาะนามีซอม

152


เกาะนามีซอม อยู่ห่างไปทางใต้ของอำ�เภอคาเพียง จังหวัด คยองกีโด 3.8 กิโลเมตร และตั้งอยู่เหนือแม่น�้ำ พุกฮันกัง เกาะนามิ

เส้นทางเดินในป่าสนแดงบน เกาะนามีซอม

ซอนเกิดเมื่อครั้งสร้างเขื่อนชองเพียงในปี 1943 เกาะแห่งนี้กลาย เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในหมู่ผู้ชื่นชอบฮันรยูทั่วเอเชีย (กระแสความนิยมเกาหลี) ซึ่งเป็นผลจากความสำ�เร็จอย่างท่วมท้น ของละครโทรทัศน์เรื่องเพลงรักในสายลมหนาว (Winter Sonata) ที่มีการถ่ายทำ�บางส่วนที่นี่ บนเกาะมีต้นไม้ขึ้นหนาทึบ โดยมีทั้งต้นสนถั่วเกาหลี สนแดง เบิร์ช ขาวและแปะก๊วย ทำ�ให้เกิดเส้นทาง เดินเขา ตามธรรมชาติสุดแสน โรแมนติกมากมาย นอกจากกิจกรรมเดินเขา เกาะโอดงโดยังมีสถานที่ท่องเที่ยว และสิ่งอำ�นวยความสะดวกมากมายสำ�หรับกิจกรรมในร่มและ กลางแจ้ง เช่น ทางปั่นจักรยาน นอกจากนี้ยังมี แกลอรี่งานศิลปะ พิพิธภัณฑ์ การฝึกอบรมงานฝีมือ บังกะโลและสถานที่ตั้งแคมป์เขต 153


มีริบบิ้นอธิษฐานผูกบนรั้ว ลวดหนามที่กั้นระหว่าง เขตปลอดทหารเกาหลีและ สะพานแห่งเสรีภาพ

ปลอดทหารเกาหลี หลังจากสงครามเกาหลียุติลงในปี 1953 ภายหลังการลงนาม ข้อตกลงการสงบศึกเกาหลี มีการก่อตั้งเส้นแบ่งเขตแดนทาง ทหาร (Military Demarcation Line: MDL) และเขตปลอดทหาร เกาหลี (Korean Demilitarized Zone: DMZ) ซึ่งมีความยาว 250 กิโลเมตร กว้างประมาณ 4 กิโลเมตร นั่นคือ 2 กิโลเมตร ในเขต ของเกาหลีใต้และอีก 2 กิโลเมตรอยู่ในเขตของเกาหลีเหนือ เขตปลอดทหารเกาหลีทางตะวันตกมีหมู่บ้านเกษตรชื่อ แทซอง ดง ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวเกาหลีใต้ในชื่อ “หมู่บ้านแห่งเสรีภาพ” เขตปลอดทหารเกาหลีทางตะวันตกยังเป็นที่ตั้งของพันมุนจอม ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการลงนามข้อตกลงการสงบศึกเกาหลีในปี 1953 ปัจจุบันเป็นที่รู้จักในชื่อเขตรักษาความปลอดภัยร่วม (Joint Security Area: JSA) ผู้ที่จะเข้าไปในเขตนี้จะต้องมีใบอนุญาต เข้าจากคณะกรรมการสนธิสัญญาหยุดยิงทางทหาร (Military

154


Armistice Commission: MAC) การห้ามบุคคลทั่วไปเข้าไปใน เขตปลอดทหารเกาหลีในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาทำ�ให้สภาพแวดล้อม ยังคงความงามดั้งเดิมอยู่ ซึ่งล่าสุดได้ดึงดูดความสนใจจากนัก วิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์ทั่วโลก

สถานที่ท่องเที่ยวนอกกรุงโซล คยองจู เมืองหลวงหนึ่งพันปี คยองจู ในจังหวัดคยองซังบุกโดเคยเป็นเมืองราชธานีของอาณา จักรชิลลา (57 ก่อนคริสตกาล – 935) เป็นเวลาประมาณ 1,000 ปี และมีแหล่งมรดกและสิ่งตกทอดต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความ สำ�เร็จทางวัฒนธรรมอันน่าทึ่งมากมาย มรดกทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่หลงเหลือทำ�ให้เมืองนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น แหล่งมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี 2000 โดยใช้ชื่อว่าเขต ประวัติศาสตร์คยองจู​ู หลักฐานของความรุ่งเรืองของชิลลามีทั้งวัดพุลกุกซาซึ่งสร้างขึ้น เพื่อแสดงถึงโลกในอุดมคติของพระพุทธศาสนาอันเป็นที่ปรารถนา ของชาวชิลลา ซ็อกกูรัมเป็นถ้�ำ ที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งมีโครงสร้าง สถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีงานประติมากรรมที่งดงาม โดดเด่นมากมาย ชอมซองแดเป็นหอดูดาวที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย และวัดฮวังลยองซาและวัดพุนฮวังซาซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม ของพระพุทธศาสนาในชิลลา มีสุสานขนาดใหญ่ของเหล่าเชื้อพระวงศ์และชนชั้นสูงของชิลลา อยู่ภายในและโดยรอบคยองจูปัจจุบัน นักโบราณคดีค้นพบสมบัติ ทรงคุณค่าในสุสานบางแห่ง เช่น ภาพวาดอาชาสวรรค์บนเปลือก ไม้เบิร์ชขาว (สุสานชอนมาชง) และมงกฎทองที่ตกแต่งอย่าง วิจิตรงดงามด้วยทักษะฝีมือขั้นสูง (สุสานคึมควานชง) นอกเหนือ จากการค้นพบทางโบราณคดีอันน่าทึ่งแล้ว สุสานโบราณซึ่งอยู่ รวมเป็นกลุ่มในตัวเมืองคยองจู ยังก่อให้เกิดภูมิทัศน์ที่สวยงามน่า หลงใหล พระสงฆ์ชิลลาในศตวรรษที่ 8 สร้างระฆังวัดขนาดใหญ่ซึ่งปัจจุบัน เป็นที่รู้จักในชื่อ “ระฆังศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าชองดอกมหาราช” 155


นอกจากจะมีชื่อเสียงเรื่องความโอ่อ่าแล้ว ระฆังนี้ยังมีชื่อเสียงใน ด้านองค์ประกอบที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยให้เกิด เสียงดังยาวนานและใสกังวานเมื่อตีระฆังดังเช่น “เสียงของเครื่อง เป่า” และลวดลายอันประณีตที่สลักอยู่บนผิวระฆังด้านนอก สมบัติล�้ำ ค่าของพระพุทธศาสนาในสมัยชิลลาหลายชิ้น โดยเฉพาะ หินสลักและเจดีย์หินตั้งอยู่ที่ภูเขานัมซาน ทำ�ให้ภูเขาที่ปกป้องเมือง คยองจูแห่งนี้เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแห่งหนึ่งของพระพุทธ ศาสนาในเกาหลี คงจูและพูยอ ราชธานีแห่งแพ็กเจ เมืองคงจูและพูยออยู่ในจังหวัดชุงชองนัมโด ทั้ง 2 เมืองนี้เคยเป็น เมืองหลวงของอาณาจักรแพ็กเจในช่วงปลายศตวรรษที่ 5 ถึง ศตวรรษที่ 7 ความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของแพ็กเจเห็นได้จาก สุสานของพระเจ้ามูรยองและสุสานโบราณอื่นในคงจู ผาหินนักฮ วาอัม และสระน้�ำ คุงนัมจีในพูยอ เหล่าสุสานโบราณในซงซัน-รี เมืองคงจูประกอบด้วยสุสานเชื้อ พระวงศ์เจ็ดแห่ง รวมถึงสุสานของพระเจ้ามูรยองและพระชายา จากสุสานมูรยองวังนึง นักโบราณคดีค้นพบวัตถุล้ำ�ค่าที่ยังคงอยู่ ในสภาพดีจำ�นวนมากมายและเป็นกุญแจสำ�คัญในการศึกษาวิถี ชีวิตของชาวแพ็กเจ พูยอซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายของแพ็ก เจตลอดช่วงเวลา 123 ปี จนถึงในปี 660 ยังคงมีมรดกอันทรง คุณค่าจากสมัยที่อาณาจักรมีวัฒนธรรมรุ่งเรืองที่สุดซึ่งมีอิทธิพลต่อ 1 2

1. ภูเขานัมซานในคยองจู ภาพพระพุทธเจ้าปางสมาธิ สลักบนผาหินบนภูเขานัม 2. สุสานของพระเจ้ามูรยอง (คงจู จังหวัดชุงชองนัมโด) ห้องฝังพระศพในสุสาน ของพระเจ้ามูรยอง กษัตริย์ องค์ที่ 25 ของราชวงศ์ แพ็กเจและพระชายาแสดง ให้เห็นถึงอิทธิพลของ ราชวงศ์จีนทางตอนใต้

156

ประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างมาก แหล่งมรดกแพ็กเจอื่นๆ ที่ยังมีการรักษาไว้ในเมือง ได้แก่ ผาหินนัก ฮวาอัมซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับช่วงปลายรัชสมัยแพ็กเจที่ล่มสลาย และสระน้�ำ คุงนัมจีได้สะท้อนลักษณะต่างๆ ของสวนในพระราชวัง แพ็กเจ ที่ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำ�คัญในปัจจุบัน หมู่บ้านฮาฮเวในอันดงและยางดงในคยองจู ในปี 2010 หมู่บ้านเก่าแก่ 2 แห่ง คือ ฮาฮเวในอันดงและยางดง


157


1

ในคยองจูได้รับการลงทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ภายใต้ชื่อ

2

“หมู่บ้านประวัติศาสตร์แห่งเกาหลี” หมู่บ้านทั้ง 2 แห่งนี้ได้รับการ

1. ฮาฮเว พยอล ซินกุด ทัลโนรี ระบำ�หน้ากากแบบดั้งเดิม ที่ยังคงมีการรักษาสืบทอด ไว้ที่หมู่บ้านฮาฮเวใน อันดง ที่เสียดสีชนชั้น ปกครองที่ทุจริตในสังคม โชซอน 2. หมู่บ้านยางดงในค ยองจู หมู่บ้านที่ยังคงรักษาวิถี ชีวิตแบบดั้งเดิมมานาน กว่า 500 ปี

ก่อตั้งและพัฒนาโดยครอบครัวในตระกูลชั้นสูงที่ทรงอิทธิพลของ โชซอน และยังคงรักษาสภาพการอยู่อาศัยแบบดั้งเดิม โดยบ้าน เรือนและสภาพแวดล้อมยังคงเดิมเหมือนเมื่อหลายร้อยปีที่แล้ว แต่ละหมู่บ้านสร้างขึ้นในพื้นที่ซึ่งเลือกตามหลักฮวงจุ้ย นั่นคือ “ภูเขาอยู่หลังและน้�ำ อยู่หน้า” และประกอบด้วยบ้านเรือนพร้อม แท่นบูชาบรรพบุรุษ สถานศึกษาของชุมชนและศาลา นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ทำ�การเกษตรล้อมรอบหมู่บ้าน ทำ�ให้ชาวบ้านมีสิ่งจำ�เป็น ขั้นพื้นฐานตามที่ต้องการ หมู่บ้านฮาฮเวในอันดงก่อตั้งขึ้นใน ศตวรรษที่ 17 หลังจากบางครอบครัวในตระกูลพุงซันริวได้ลงหลัก ปักฐานในบริเวณนี้ หมู่บ้านซึ่งในปัจจุบันมีบ้านเรือนแบบดั้งเดิมที่ มีหลังคามุงจากหรือกระเบื้องประมาณ 450 หลังโอบล้อมด้วยแม่น้ำ� นักดงกังที่มีต้นสนขึ้นเต็มริมฝั่งแม่น�้ำ ทำ�ให้เกิดทิวทัศน์ชนบทที่ สวยงาม หมู่บ้านนี้ยังมีการแสดงดั้งเดิมพยอลซินกุด ทัลโนรี ซึ่งจัด

ซอนยู ชุลบุลโนรี ในเทศกาลดอกไม้ไฟแบบ ดั้งเดิมจะมีการแขวนถุง แป้งถ่านรากมัลเบอร์รี่บน เชือกยาว 4 เส้น (ประมาณ 230 เมตร) ซึ่งแขวนอยู่ ระหว่างศาลามันซงจองบน ริมแม่น้ำ�นักดงกังและยอด เนินพูยงแดที่อยู่อีกฟาก ของฝั่งแม่น้ำ�

แสดงขึ้นเพื่ออ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ปกปักษ์คุ้มครองหมู่บ้าน และดลบันดาลให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง และซอนยู ชุลบุลโนรี เทศกาลดอกไม้ไฟประจำ�หมู่บ้านที่จัดขึ้นบนชายหาดริมแม่น้ำ� ยาง ดงเป็นหมู่บ้านประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งอยู่ห่างไปทางด้านตะวัน ออกเฉียงเหนือของคยองจู 16 กิโลเมตร ตามฝั่งแม่น้ำ�ฮยองซันกัง และมีประวัติศาสตร์ยาวนานประมาณ 500 ปี หมู่บ้านนี้มีบ้านเรือน แบบดั้งเดิมทั้งแบบหลังคามุงจาก และกระเบื้องประมาณ 160 หลัง รายล้อมไปด้วยธรรมชาติที่งดงาม หุบเขาตื้นๆ และเนินเขาที่ไม่สูง มากนัก นอกจากจะมีชื่อเสียง ด้านบ้านเรือนที่เก่าแก่มีเสน่ห์แล้ว หมู่บ้านนี้ยังขึ้นชื่อในเรื่องมรดก อื่นที่รักษาอิทธิพลของแนวคิด ขงจื๊อและประเพณีดั้งเดิมไว้

158


159


หมูบ ่ า้ นฮันอก

1 2 3

4

ฮันอกแบบเกาหลีดั้งเดิมและฮันอกแบบที่ได้รับการปรับรูปโฉมให้

1. หมู่บ้านพุกชน ฮันอก 2. หมู่บ้านชอนจู ฮันอก 3. บ้านซอนกโยจัง ใน คังนึง 4. เกสต์เฮ้าส์พุกชน

ทันสมัย ทำ�ให้นักท่องเที่ยวจำ�นวนมากต่างหลั่งไหลมาเที่ยวชม หมู่บ้านและอำ�เภอเก่าแก่ของเกาหลี เพื่อสัมผัสถึงวิถีชีวิตดั้งเดิม ของเกาหลีในบรรยากาศเดิมๆ จุดหมายปลายทางอันเป็นที่นิยม 2 แห่งสำ�หรับผู้ที่ต้องการสัมผัสกับบรรยากาศแบบดั้งเดิมคือ หมู่บ้าน พุกชน ฮันอกในกรุงโซล และหมู่บ้านชอนจู ฮันอกในชอนจู หมู่บ้านพุกชน ฮันอกในกรุงโซลเป็นเขตที่อยู่อาศัยที่อยู่ทางตอน เหนือของชงโนและเขตธารน้�ำ ชองเกชอนในตัวเมืองโซลอันเป็น ที่มาของชื่อ ในรัชสมัยโชซอนหมู่บ้านนี้เต็มไปด้วยครอบครัวที่มา จากตระกูลชั้นสูงฐานะดี หมู่บ้านนี้ได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ยอดนิยมแห่งหนึ่งของกรุงโซลเพราะมีบรรยากาศเก่าแก่ดั้งเดิม บ้านเรือนดั้งเดิมที่ยังคงอยู่ในสภาพดีและตรอกซอกซอยที่แคบคด เคี้ยวที่เชื่อมบ้านเหล่านี้ ตั้งอยู่ระหว่างพระราชวังโชซอนที่สำ�คัญ 2 แห่งคือ พระราชวังคยองบกกุงและชางด็อกกุง โดยมีภูเขาอิน วังซานและพุกฮันซานตั้งอยู่ด้านหลังและมีตึกระฟ้าทันสมัยอยู่ ทางด้านใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานเข้ากันได้อย่างมี เอกลักษณ์ของโซลในอดีตและปัจจุบัน

การท่องเที่ยวเกาหลี จำ�นวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มา เยือนเกาหลีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มจาก 5 ล้านคนในปี 2001 เป็นกว่า 12 ล้าน คนในปี 2013 นักสังเกตการณ์คาดว่าการเพิ่มขึ้นของ นักท่องเที่ยวนี้เป็นผลจากจำ�นวนผู้ชื่น ชอบฮันรยู ทั่วเอเชีย (กระแสความนิยมเกาหลี) และผู้ที่ต้องการมาใช้บริการทางการ แพทย์ชั้นสูงและผู้ที่ต้องการมาช้อปปิ้ง ในเกาหลี

160

จำ�นวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในเกาหลี หน่วย: 1,000 ที่มา: องค์กรการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศเกาหลี 11,140

14,200 12,170

9,790

5,140

2001

2011

2012

2013

2014


161


หมู่บ้านฮันอกที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลี คือ หมู่บ้านชอนจูฮันอก และ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่สุดแห่งหนึ่งในหมู่นักท่องเที่ยว ที่อยู่ในชอนจู หมู่บ้านชอนจู ฮันอกมีบ้านดั้งเดิมแบบหลังคามุง กระเบื้องประมาณ 700 หลัง บ้านบางหลังได้เปลี่ยนเป็นเกสต์เฮ้าส์ ร้านอาหาร ร้านน้�ำ ชาและสถานที่จัดกิจกรรม ซึ่งเปิดโอกาสให้นัก ท่องเที่ยวได้มาสัมผัสกับมรดกทางวัฒนธรรมพื้นเมือง อำ�เภอนี้ยังมีแหล่งมรดกสำ�คัญของเมืองมากมาย เช่น ศาลคยองกี จอนซึ่งเป็นที่เก็บรักษาภาพเหมือนอย่างเป็นทางการของพระเจ้า แทโจ ผู้สถาปนาราชวงศ์โชซอน โรงเรียนขงจื๊อในท้องถิ่น ฮยัง กโย และเนินโอมกแดซึ่งเหมาะแก่การชมทิวทัศน์ของหมู่บ้านมาก หมู่บ้านนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม โดยมีกิจกรรมต่างๆ สำ�หรับ นักท่องเที่ยว เช่น การเรียนรู้พิธีการชงชาหรือการทำ�กระดาษฮันจี มีเคหสถานจำ�นวนหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นในสมัยโชซอนอยู่ทั่วเกาหลี โดยเคหสถานที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ซอนกโยจังในคังนึง ซึ่งมีชื่อ เสียงจากตึกเก่าแก่ที่มีอายุ 300 ปีที่ยังอยู่ในสภาพดีและมีความ สวยงามมากและสวนดั้งเดิมที่ได้รับการดูแลอย่างดี ซอนกโยจังเป็นเคหสถานของสมาชิกตระกูลชั้นสูง ถูกสร้างขึ้น มาสามร้อยปีและเก็บรักษาในสภาพดี ปัจจุบันยังคงเป็นที่อยู่อาศัย ของเหล่าทายาท ถือเป็นตัวอย่างอันยอดเยี่ยมของที่พักอาศัยของ ชนชั้นปกครองในสมัยโชซอน เคหสถานแห่งนี้แบ่งเป็นส่วนต่างๆ อาทิเช่น ส่วนชั้นใน (อันแช) สำ�หรับสตรี ส่วนชั้นนอกที่แยกออก มา (ซารังแช) สำ�หรับต้อนรับแขก ส่วนของคนรับใช้ (แฮงนังแช) สำ�หรับคนรับใช้ และห้องแยก (พยอลตัง) และยังมีสระน้ำ�เทียม บริเวณทางเข้าและศาลาฮวัลแลจอง

เทศกาลพืน ้ เมือง เช่นเดียวกับตามที่ต่างๆ ทั่วโลก ชุมชนพื้นเมืองในเกาหลีได้ สร้างสรรค์กิจกรรมและงานวัฒนธรรมที่หลากลายเพื่อรำ�ลึกถึง ความสำ�เร็จหรือเพื่อเฉลิมฉลองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ที่ได้รับสืบทอดมา ตัวอย่างเช่น โพรยองในจังหวัดชุงชองนัม โดมีเทศกาลโคลนพื้นเมืองที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวช่วงฤดูร้อนจาก 162


ในเกาหลีและต่างประเทศ ส่วนอันดงในจังหวัดคยองซังบุกโด มีเทศกาลระบำ�หน้ากากนานาชาติประจำ�ปีที่คอยสร้างความ เพลิดเพลินให้กับนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมเมือง มีเทศกาลยอดนิยมอื่นๆ เช่น เทศกาลเส้นขอบฟ้า คิมเจซึ่งเน้นเรื่อง มรดกทางการเกษตรในท้องถิ่นที่ยังคงมีอยู่ในคิมเจ จังหวัดชอล ลาบุกโด เทศกาลวัฒนธรรมกระดาษฮันจีแห่งชอนจู และเทศกาล บิบิมบับแห่งชอนจูซึ่งจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองมรดกที่ทำ�ให้เมืองชอน จูมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ชินจูในจังหวัดคยองซังนัมโดมีเทศ กาลนัมกังยูดึงแห่งชินจู ที่ได้เริ่มทำ�ให้เมืองแห่งนี้มีชื่อเสียงเช่นกัน เทศกาลนี้จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงชาวบ้านในชินจูที่ได้ต่อสู้อย่างกล้า หาญเพื่อปกป้องบ้านเกิดจากการรุกรานของกองกำ�ลังญี่ปุ่นในอิม จิน แวรัน (การรุกรานของญี่ปุ่นเมื่อปี 1592) เมื่อปลายศตวรรษที่ 16 ในเทศกาลนี้ นักท่องเที่ยวจะได้เพลิดเพลินกับทิวทัศน์สวยงาม ของโคมไฟซึ่งไหลลอยไปตามแม่น�้ำ นัมกังในยามค่�ำ คืน ชุนช็อนในจังหวัดคังวอนโด มีเทศกาลละครใบ้นานาชาติแห่งชุน ชอน (CIMF) ซึ่งมีการแสดงที่น่าตื่นเต้นมากมายจากกลุ่ม ‘ละคร ใบ้’ ที่เดินทางมาจากทั่วโลก

1 2

1. เทศกาลระบำ�หน้ากาก นานาชาติแห่งอันดง เทศกาลนี้เป็นส่วนหนึ่ง ในความพยายามรักษา และฟื้นฟูฮาฮเว พยอลซิ นกุด ทัลโนรี และส่งเสริม กิจกรรมทางวัฒนธรรม ที่เกี่ยวข้องกับหน้ากาก ทั่วโลก 2. เทศกาลโคลนแห่ง โพรยอง เทศกาลโคลนแห่งโพร ยองเป็นเทศกาลฤดูร้อน ที่มีชื่อเสียงที่สุดเทศกาล หนึ่ง ดึงดูดนักท่องเที่ยว นานาชาติหลายหมื่นคน ให้มาเยี่ยมเยือนทุกปี

163


เทศกาลพื้นเมืองที่สำ�คัญในเกาหลี

1

6 3 4

5

2

7 1

2

3

8

7

8

6 9 10

4

9

5

10 ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทศกาลต่างๆ ในเกาหลีได้ที่ ‘www.visitkorea.or.kr’

164


จังหวัดชุงชองนัมโด

จังหวัดคยองซังนัมโด

1 เทศกาลเต้นระบำ�โลกแห่งชอนัน ในเทศกาลนี้นักท่องเที่ยวจะได้เพลิดเพลินกับงาน รื่นเริงอันน่าตื่นเต้นที่เกี่ยวข้องกับการเต้นระบำ�พื้น บ้าน ช่วงเวลา: 7-11 ตุลาคม 2015 สถานที่: สวนซัมกอรีแห่งชอนันและสวนอา รารีโอในเมืองชอนัน เว็บไซต์: cheonanfestival.com

6 เทศกาลวัฒนธรรมชาป่าแห่งฮาดง เทศกาลนี้มีงานรื่นเริงและกิจกรรมหลากหลาย โดย เน้นประเพณีดื่มชาเกาหลี ช่วงเวลา: 22-25 พฤษภาคม 2015 สถานที่: ตำ�บลฮวากเยและตำ�บลอากยัง ในอำ�เภอ ฮาดง (ศูนย์วัฒนธรรมชา) เว็บไซต์: festival.hadong.go.kr

2 เทศกาลอินซัมแห่งคึมซัน เทศกาลฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเน้นเรื่องสุขภาพนี้มี กิจกรรมต่างๆ ที่ให้ผู้เข้างานมีส่วนร่วมและการ แข่งขันที่เกี่ยวข้องกับอินซัม โสมเกาหลีที่ปลูก ในคึมซัน ช่วงเวลา: 2-11 ตุลาคม 2015 สถานที่: ถนนโสมและสมุนไพร และจัตุรัสเพื่อการ ส่งออกโสมในอำ�เภอคึมซัน เว็บไซต์: www.insamfestival.co.kr

จังหวัดชุงชองนัมโด 3 เทศกาลน้ำ�แข็งซันชอนอแห่งฮวาชอน เทศกาลฤดูหนาวซึ่งจัดขึ้นบนธารน้�ำ ฮวาชอนชอน ที่แข็งตัว มีกิจกรรมสนุกสนานให้นักท่องเที่ยวทำ� มากมาย เช่น การแข่งขันตกปลาน้ำ�แข็งและการ แข่งขันจับปลาเทราต์ภูเขาด้วยมือเปล่าข้างเดียว ช่วงเวลา: 10 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2015 สถานที่: ธารน้�ำ ฮวาชอนชอนและเขตการปกครอง ท้องถิ่นห้าแห่งในฮวาชอน เว็บไซต์: www.narafestival.com 4 เทศกาลละครใบ้นานาชาติแห่งชุนชอน เทศกาลนี้มีการแสดงศิลปะและงานรื่นเริงที่หลาก หลาย โดยเน้นให้เห็นถึงความสำ�คัญของร่างกาย มนุษย์ในฐานะสื่อกลางของศิลปะที่ทรงพลัง ช่วงเวลา: 24-30 พฤษภาคม 2015 สถานที่: เมืองชุนชอน เว็บไซต์: www.mimefestival.com 5 เทศกาลเห็ดสนแห่งยังยัง เทศกาลนี้เฉลิมฉลองฤดูเห็ดสนด้วยกิจกรรมน่าตื่น เต้นมากมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสุด พิเศษของยังยัง ช่วงเวลา: 1-4 ตุลาคม 2015 สถานที่: บริเวณใกล้เคียงของสายน้ำ�นัมแดชอนใน อำ�เภอยังยัง เว็บไซต์: song-i.yangyang.go.kr

7 เทศกาลนัมกังยูดึงแห่งชินจู เทศกาลซึ่งจัดขึ้นเพื่อรำ�ลึกถึงการลอยโคมไฟบน แม่น้ำ�นัมกังในสมัยการรุกรานของญี่ปุ่นในปี 1592 งานอันน่าตื่นเต้นที่มีเนื้อหาอ้างอิงประวัติศาสตร์ มากมาย รวมถึงนิทรรศการโคมไฟดั้งเดิมจากทั่ว โลก โคมไฟที่ลอยบนแม่น�้ำ และการแสดงดอกไม้ไฟ ช่วงเวลา: 1-11 ตุลาคม 2015 สถานที่: บริเวณใกล้เคียงของแม่น้ำ�นัมกังในชินจู เว็บไซต์: www.yudeung.com

จังหวัดชอลลาบุกโด 8 เทศกาลเส้นขอบฟ้าแห่งคิมเจ เทศกาลนี้มีกิจกรรมต่างๆ ให้ผู้เข้างานได้มีส่วนร่วม และกิจกรรมที่เน้นเรื่องประเพณีทางการเกษตรพื้น เมือง ช่วงเวลา: 7-11 ตุลาคม 2015 สถานที่: เพียกโกลเจพลาซ่าในคิมเจ เว็บไซต์: festival.gimje.go.kr

จังหวัดชอลลานัมโด 9 เทศกาลผีเสื้อแห่งฮัมพยอง เทศกาลนี้มีนิทรรศการหลากหลายและกิจกรรมอัน สนุกสนานที่เกี่ยวข้องกับดอกไม้และผีเสื้อ ช่วงเวลา: 1-10 พฤษภาคม 2015 สถานที่: สวนเอกซ์โป ฮัมพยองในอำ�เภอฮัมพยอง เว็บไซต์: www.hampyeong.go.kr 10 เทศกาลเครื่องสังคโลกแห่งคังจิน เทศกาลนี้มีกิจกรรมและโปรแกรมหลากหลาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาและพัฒนามรดกทาง วัฒนธรรมของเครื่องสังคโลกโครยอ ช่วงเวลา: 1-9 สิงหาคม 2015 สถานที่: แหล่งเตาเผาเครื่องสังคโลกแห่งโครยอ ในคังจิน เว็บไซต์: www.gangjinfes.or.kr

165


กีฬา 스포츠


5

เกาหลีใต้กลายเป็นมหาอำ�นาจด้านกีฬาได้อย่างไร 1988 โอลิมปิกกรุงโซล 2002 ฟุตบอลโลก เกาหลีญี่ปุ่น 2011 การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก 2012 โอลิมปิกกรุงลอนดอน 2018 โอลิมปิกฤดูหนาว เมืองพยองชาง เทควันโด


5 กีฬา

스포츠

ทีมชาติเกาหลีใต้สร้างความประหลาดใจให้กับผู้คนทั่วโลกเมื่อ สามารถคว้าอันดับที่ 5 (จากจำ�นวนเหรียญทอง เหรียญเงินและ เหรียญทองแดง) ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2012 ที่ลอนดอนมาได้ และที่ลืมไม่ได้ก็คือทีมฟุตบอลเกาหลีใต้ได้พิชิตเหรียญทองแดง มาครอบครอง ศักยภาพทางด้านฟุตบอลของเกาหลีใต้เห็นได้จาก การที่มีนักเตะของเกาหลีใต้หลายคนเข้าไปค้าแข้งในลีกฟุตบอล ยุโรป ในกีฬาโอลิมปิกปี 2008 ที่ปักกิ่ง เกาหลีใต้ได้เหรียญทอง จากกีฬาเบสบอล โดยนักเบสบอลของเกาหลีใต้หลายคนที่ได้รับ ความนิยมจากแฟนกีฬาในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นในฐานะผู้เล่น ของทีม ที่ผ่านมาชาวเอเชียเล่นสเก็ตลีลาได้ไม่ดีนัก แต่ยูนา คิม ชาว เกาหลีใต้ผู้ที่สามารถสร้างประวัติการณ์ท�ำ ลายสถิติโลกได้ กีฬา 2

1 3

1. ชูซินซู เป็นผู้เล่นใน ตำ�แหน่งเอาท์ฟิลด์ของ ทีม Texas Rangers ซึ่งอยู่ในเมเจอร์ลีกของ สหรัฐอเมริกา 2. ยูนา คิม ชนะการแข่ง สเก็ตลีลาระดับโลกใน ปี 2013 3. อิน-บี ปัก ได้รับเลือกให้ เป็นสุดยอดนักกอล์ฟใน การแข่งขันกอล์ฟรายการ LPGA ในปี 2013

168

ฟันดาบซึ่งมักถือกันว่าเป็นกีฬาของชาวตะวันตกและเป็นกีฬาของ ชนชั้นสูง นักกีฬาฟันดาบของเกาหลีใต้ก็ได้มาหลายเหรียญ นัก กอล์ฟเกาหลีใต้หลายคนชนะทั้งในการแข่ง PGA และ LPGA ที่ สำ�คัญคือมีนักกอล์ฟเกาหลีใต้ 3 หรือ 4 คนสามารถรั้งตำ�แหน่ง อยู่ใน 10 อันดับแรกของการแข่งขัน LPGA ได้ การแข่งรถสูตร 1 หรือฟอร์มูลาวันได้เข้ามาในเกาหลีในช่วงปี 2010-2013 โดย มีการจัดแข่ง Korean Grand Prix ที่ยองอัม จังหวัดชอลลานัมโด เกาหลีใต้ กีฬานานาชาติอีกรายการหนึ่งที่จัดขึ้นในเกาหลีใต้คือ Tour de Korea ซึ่งเป็นการแข่งจักรยานทางเรียบประจำ�ปีสำ�หรับ มืออาชีพ


169


เกาหลีใต้กลายเป็นมหาอำ�นาจด้านกีฬาได้อย่างไร ปัจจัยสำ�คัญที่สุดที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนเกาหลีใต้ให้กลายเป็น มหาอำ�นาจด้านกีฬาก็คือ การมีแฟนกีฬาจำ�นวนมากและการ ลงทุนที่มีประสิทธิภาพ เกาหลีใต้พยายามเฟ้นหานักกีฬารุ่นเยาว์ ที่มีศักยภาพ ฝึกฝนนักกีฬาเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพและช่วย เสริมสร้างทักษะให้กับบรรดานักกีฬาโดยจัดการแข่งขันในระดับ ประเทศขึ้นเพื่อให้นักกีฬาได้สะสมประสบการณ์ในการแข่งขัน นอกจากนี้ยังมีศูนย์กีฬาระดับมืออาชีพที่สร้างขึ้นเพื่อฝึกฝน นักกีฬาที่ได้รับคัดเลือกให้ไปแข่งในระดับนานาชาติโดยเฉพาะ อย่างเช่น กีฬาโอลิมปิกหรือเอเชียนเกมส์ โครงสร้างพื้นฐานของการกีฬาระดับชาติ แฟนบอลเกาหลีใต้จ�ำ นวนมากจะมารวมตัวกันแต่เช้าในวันหยุด เพื่อมาเตะฟุตบอล ทีมฟุตบอลจากหมู่บ้านใกล้เคียงจะมาแข่งกันใน รายการต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันมีจ�ำ นวนผู้เล่นอยู่ประมาณ 500,000 คน โครงสร้างพื้นฐานด้านการกีฬาของเกาหลีใต้นั้นแข็งแกร่งและ

การแข่งขันชุนชอน มาราธอน จัดขึ้นที่ชุนชอน จังหวัด คังวอน ในเดือนตุลาคม ของทุกปี

170


การเปลี่ยนแปลงจำ�นวนสโมสรกีฬาในชุมชนและจำ�นวนสมาชิก

93

95

98

101

98 90

83

82 75

4.554 4.132

3.646 2.702

2.914

2.985

3.081

3.086

3.081

2006

2007

2008

2009

2010

2011

สโมสร

สมาชิก

2012

2013

2014

(หน่วย: สโมสรพันแห่งและสมาชิกพันคน ที่มา: กระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว)

หลากหลาย จากข้อมูลในปี 2013 มีสโมสรสำ�หรับแฟนกีฬาทั่วไป มีสมาชิกจำ�นวน 4.13 ล้านคน เท่ากับ 8.1% ของจำ�นวนประชากร ทั้งประเทศ แฟนบอลที่เข้าร่วมสโมสร (590,000 คน) มีจ�ำ นวนมาก ที่สุด รองลงมาเป็นแฟนเทนนิส แบดมินตัน ปิงปอง เกตบอลและ กายบริหาร (calisthenic) ทุกวัน

เส้นทางอลเลในเจจู เส้นทางเดินป่าในเกาะเจจู "อลเล" เป็นภาษาพื้นเมือง ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของเกาะ เจจู หมายถึงเส้นทางแคบๆ ระหว่างทางสัญจรหลักกับ ทางเข้าบ้าน นักข่าวซอ มยอง-ซุก เป็นผู้เริ่มใช้ คำ�นี้เวลาพูดถึงเส้นทาง เดินป่าบนภูเขาในเกาะเจ จู โดยได้รับแรงบันดาลใจ จากเส้นทางไปซานเตียโก เด กอมโปสเตลาทางตอน เหนือของสเปน (ที่มา: มูลนิธเิ จจูอลเล)

171


KISS สถาบันวิทยาศาสตร์การ กีฬาแห่งเกาหลี สถาบันวิทยาศาสตร์การ กีฬาแห่งเกาหลี (Korea Institute of Sport Science: KISS) ในเขตโน วอนกู กรุงโซล มีส่วนใน การพัฒนาและเผยแพร่ วิธีออกกำ�ลังกาย การวิจัย เพื่อช่วยให้นักกีฬาได้ เพิ่มพูนทักษะ การฝึกผู้น�ำ ด้านกีฬาในอนาคตและ การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ การกีฬาอย่างครอบคลุม

รัฐบาลได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการกระตุ้นให้ประชาชน ออกกำ�ลังกายมากขึ้น จึงได้ให้การสนับสนุนสโมสรกีฬาเหล่านี้ สโมสรกีฬาหลายแห่งจัดงานเป็นประจำ� ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีสโมสรการวิ่งมาราธอนผุดขึ้นเป็นจำ�นวน มาก ในฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงจะมีการแข่งวิ่งมาราธอน ทั่วประเทศทุกสุดสัปดาห์ การแข่งวิ่งมาราธอนสมัครเล่นสามารถ ดึงดูดนักวิ่งนับพันคนหรือบางงานก็มีผู้เข้าร่วมเป็นหมื่นๆ คนเลยที เดียว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประมาณว่าผู้เข้าร่วมในการแข่งขันวิ่ง จ็อกกิ้ง วิ่งแบบธรรมดาและวิ่งมาราธอนน่าจะมีประมาณ 800,000 - 4,000,000 คน ในการแข่งวิ่งมาราธอนงานหนึ่งที่ได้จัดขึ้นเมื่อ ไม่นานมานี้ มีนักวิ่งทั้งมืออาชีพและสมัครเล่นกว่า 20,000 คนเข้า ร่วมในการแข่งขัน ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขา เกาหลีใต้จึงเป็นสวรรค์ สำ�หรับนักปีนเขาและนักเดินป่า เกาหลีมีภูเขาและหน้าผาจำ�นวน มากตั้งอยู่ใกล้เมืองใหญ่ ชาวเมืองจึงสามารถไปปีนเขาและไต่เขา ได้อย่างสะดวก เกาหลีใต้มีจุดปีนเขาที่เป็นที่นิยมมากมาย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เส้นทางเดินป่าบนเขาในเกาะเจจูได้กลาย

จำ�นวนเฉลี่ยของผู้ชมกีฬาอาชีพที่สำ�คัญในแต่ละเกมส์

10.983

11.374

10.709 7.157

5.358

1.471

5.400

4,575 1,472

2009 วอลเลย์บอล

172

11.429

13.747

13.055

12.873 11.402

11.562

7.656

5.687 4.092

1.744

2010 บาสเก็ตบอล

2011 ฟุตบอล

8.115

1.744 2012 เบสบอล

1.525 2013

4.458 1.967 2014

(หน่วย: คน ที่มา: MCST)


เป็นจุดหมายยอดนิยมสำ�หรับนักเดินป่า และในช่วงที่การเดินป่า กำ�ลังเป็นที่นิยมนี้เอง รัฐบาลท้องถิ่นหลายแห่งก็ได้แข่งกันสร้าง เส้นทางเดินป่าให้ดีมากยิ่งขึ้น การขี่จักรยานก็เป็นอีกหนึ่งกีฬา ที่กลายเป็นที่นิยมในฐานะกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำ�ให้มี สโมสรปั่นจักรยานผุดขึ้นตามมาเป็นจำ�นวนมาก เส้นทางจักรยาน เริ่มมีมากขึ้นทั่วประเทศ ในช่วงสุดสัปดาห์ประชาชนจำ�นวนมาก พากันออกมาปั่นจักรยานไปตามแม่น�้ำ สายสำ�คัญของประเทศ ประชาชนจำ�นวนมากชื่นชอบกีฬาอาชีพ อย่างเช่น เบสบอล

ศูนย์ฝึกกีฬาชินชอน ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งนี้สามารถ รองรับนักกีฬาได้ 350 คน ในกีฬา 12 ประเภท ได้แก่ กรีฑา ยิงปืน ว่าย น้�ำ เทนนิส ซอฟต์เทนนิส วอลเลย์บอล บาสเก็ตบอล เบสบอล ซอฟต์บอล พาย เรือ แคนูและรักบี้ สถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆ ออกแบบ มาเพื่อช่วยให้นักกีฬาได้ ปรับสภาพร่างกายและ อำ�นวยความสะดวก

ฟุตบอลและวอลเลย์บอล การเชียร์ทีมโปรดถือเป็นงานอดิเรกที่ สนุกสนาน ในแต่ละปีการแข่งเบสบอลอาชีพมีผู้ชม 8 ล้านคน ส่วน การแข่งฟุตบอลอาชีพมีผู้ชม 3 ล้านคน ความร่วมมือด้านกีฬาและวิทยาศาสตร์ เกาหลีใต้ได้เหรียญทองในรอบชิงชนะเลิศอุปกรณ์ม้าขวางใน การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2012 ที่ลอนดอน ความสำ�เร็จนี้เป็นผล จากความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และกีฬา นักวิทยาศาสตร์การ กีฬาได้ศึกษาเกี่ยวกับสภาพเงื่อนไขที่เหมาะสมที่สุดในการดึงเอา ความสามารถของนักกีฬาผ่านทักษะที่ยากที่สุด และได้ข้อสรุปว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำ�หรับนักกีฬาในการแตะม้าขวางคือที่ 0.15 วินาที และการทำ�มุมของแขนและลำ�ตัวที่เหมาะสมที่สุดคือ 22 องศา ซึ่งจะทำ�ให้อยู่ในอากาศได้นานขึ้นและหมุนตัวได้เร็วขึ้น ด้วย นักกีฬาเกาหลีใต้ได้เหรียญทองด้วยการฝึกฝนตามเงื่อนไขที่ เหมาะสมที่สุดซึ่งเหมาะกับโครงสร้างร่างกายของตัวเอง สถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งเกาหลี (KISS) มีผู้เชี่ยวชาญ ด้านการเคลื่อนไหวด้านกีฬา จิตวิทยา สรีรวิทยา และอื่นๆ อีก มากมาย ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะช่วยให้นักกีฬาทำ�ผลงานได้ดีที่สุด ในการแข่งขัน ผู้เชี่ยวชาญ 5 คนที่ติดตามนักกีฬาทีมชาติไป ในการแข่งโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2012 ที่กรุงลอนดอน เกาหลีใต้มี สมาคมที่เกี่ยวกับกีฬาทั้งหมด 16 สมาคม โดยทุกสมาคมจะแลก เปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ 173


เกาหลีใต้มีศูนย์กีฬาสำ�หรับการฝึกซ้อมและฝึกหัดมากมาย รวม ถึงศูนย์ฝึกแดนึงในกรุงโซล ศูนย์ฝึกแห่งนี้มีอุปกรณ์ฝึกซ้อม ลู่วิ่ง สนามกีฬาในร่มและกลางแจ้ง สระว่ายน้ำ�ในร่มขนาดมาตรฐาน สากลและหอพักสำ�หรับนักกีฬา 300 คน ในปี 2011 เกาหลีใต้ได้สร้างศูนย์ฝึกกีฬาแห่งใหม่ขึ้นที่ชินชอน จังหวัดชุงชองบุกโดสำ�หรับนักกีฬาที่ได้รับคัดเลือกให้ไปแข่งขัน ในระดับนานาชาติ นักกีฬาที่มาฝึกซ้อมที่นี่ได้รับเหรียญทองและ เหรียญเงินทั้งกีฬาประเภทลู่และลาน ว่ายน้ำ�และยิงปืนยาว ในกีฬา โอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงลอนดอนปี 2012 ศูนย์ฝึกกีฬาชินชอนได้ ขยายตัวเพื่อให้สามารถรองรับนักกีฬาได้ถึง 800 คน จากกีฬา 25 ประเภท ศูนย์ฝึกซ้อมอีกแห่งที่เชี่ยวชาญในด้านการปรับปรุงการ ทำ�งานของหัวใจและปอดของนักกีฬาตั้งอยู่ในภูเขาฮัมแบ็กซาน ใกล้แดแบ็ก

โอลิมปิกฤดูรอ ้ นปี 1988 ทีก ่ รุงโซล กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 24 จัดขึ้นที่กรุงโซลเมื่อปี 1988 โดย มีนักกีฬาเข้าร่วมมากที่สุด 13,304 คน จาก 159 ประเทศ การ แข่งขันในครั้งนี้ได้ใช้แนวความคิด “ความปรองดองและก้าวหน้า” คณะกรรมการจัดงานได้กำ�หนดวัตถุประสงค์ของงานไว้ดังต่อ สัญลักษณ์ประจำ�กีฬา โอลิมปิก 1988 สัญลักษณ์ออกแบบตามแท กึกซึ่งเป็นลวดลายพื้นเมือง ของชาวเกาหลีที่สืบทอด กันมาหลายรุ่น ลวดลายนี้ ใช้กันทั่วไปตามทางเข้า บ้านและในงานหัตถกรรม ต่างๆ สัญลักษณ์นี้ใช้แสดง ถึงความหวังที่จะส่งเสริม สันติภาพผ่านกีฬาโอลิมปิก

ไปนี้ มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันมากที่สุด นานาประเทศสมัคร สมานสามัคคี ทำ�ผลงานยอดเยี่ยม ปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่าย เกาหลีใต้เป็นประเทศที่ 16 (และเป็นประเทศที่ 2 ในเอเชีย) ที่ได้ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน กีฬาโอลิมปิกในครั้ง นี้ประกอบไปด้วยการแข่งขันกีฬา 23 ประเภท และกีฬาสาธิต 2 รายการ เกาหลีใต้ได้เหรียญรวมเป็นอันดับที่ 4 โดยได้ 12 เหรียญ ทอง 10 เหรียญเงิน และ 11 เหรียญทองแดง กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1988 ที่กรุงโซลมีความสำ�คัญตรงที่ให้ ความสำ�คัญกับความปรองดองของกลุ่มชาติตะวันตกและชาติ ตะวันออกหลังจากที่กลุ่มชาติตะวันตกคว่ำ�บาตรกีฬาโอลิมปิกที่ กรุงมอสโกเมื่อปี 1980 และการคว่�ำ บาตรคืนของกลุ่มชาติตะวัน

174


ออกในกีฬาโอลิมปิกที่กรุงลอสแอนเจลิสเมื่อปี 1984 กีฬาโอลิมปิก ที่กรุงโซลครั้งนี้อยู่เหนือความขัดแย้งด้านอุดมการณ์และการเลือก ปฏิบัติทางเชื้อชาติตามกฎบัตรโอลิมปิกและเป็นโอกาสเผยแพร่ให้ ชาวโลกได้รับรู้ถึงสถานะของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและ วัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศเกาหลีใต้ รวมไปถึงศักยภาพของ ชาวเกาหลีอีกด้วย

ฟุตบอลโลกปี 2002 ทีเ่ กาหลีใต้และญีป ่ น ุ่

ปิศาจแดงบุก ด้วยการสนับสนุนทีมชาติ อย่างกระตือรือร้นของ แฟนบอลชาวเกาหลีใต้ที่ พากันใส่เสื้อยืดสีแดงใน การแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2002 ที่เกาหลีใต้และญี่ปุ่น เป็นเจ้าภาพร่วมกัน แฟน บอลเกาหลีใต้จึงได้สมญา นามว่าปิศาจแดง ประมาณ การกันว่าชาวเกาหลีใต้ ครึ่งหนึ่งได้ออกมาร่วม แสดงพลังเชียร์ในการ แข่งขันปี 2002 นี้

การแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2002 ที่เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ ร่วมกันนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 31 วัน (31 พฤษภาคม - 30 มิถุนายน) นับเป็นครั้งแรกที่การแข่งขันฟุตบอลโลกมีเจ้าภาพร่วมกัน 2 ประเทศ และเป็นครั้งแรกของการแข่งฟุตบอลโลกนอกทวีปยุโรป และอเมริกา การแข่งขันในครั้งนี้เกิดสิ่งที่ไม่คาดคิดขึ้นมากมาย โดยสิ่งที่น่าประหลาดใจที่สุดก็คือความสำ�เร็จครั้งยิ่งใหญ่ของ เกาหลีใต้ที่ได้เข้าถึงรอบรองชนะเลิศ ฟุตบอลโลกในครั้งนี้เป็น โอกาสในการเผยแพร่ให้ทั่วโลกได้เห็นในอีกแง่มุมหนึ่งของชาว

ชาวเกาหลีใต้สนับสนุนทีม ชาติหน้าศาลาว่าการกรุง โซลในการแข่งขันฟุตบอล โลกปี 2002 ที่เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วม กัน ชาวต่างชาติมากมาย กล่าวว่าพวกเขาประทับ ใจในความกระตือรือร้น และความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันของแฟนบอลชาว เกาหลีใต้

175


1 2

เกาหลีใต้ นั่นคือแฟนบอลที่ใส่เสื้อยืดสีแดงเชียร์ทีมชาติเกาหลี อย่างครึกครื้น แฟนบอลนับหมื่นร่วมแรงเชียร์กันสุดหัวใจอย่าง

1.ผู้เข้าร่วมการแข่งวิ่ง ข้ามเครื่องกีดขวางในการ แข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก ปี 2011 ที่เมืองแดกู

เห็นได้ชัด ในนัดที่ทีมชาติเกาหลีใต้พบกับเยอรมนีเพื่อชิงอันดับ 4

2. ทีมชาติเกาหลีใต้เข้าสู่ สนามในพิธีเปิดโอลิมปิก 2012 ที่กรุงลอนดอน

การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกปี 2011

โดยมีผู้ชมรวมตัวกันเชียร์รวม 6.5 ล้านคน

การแข่งขันนี้จัดขึ้นที่เมืองแดกูซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของเกาหลีใต้ เป็นเมืองระดับโลกที่ผสมผสานประวัติศาสตร์ดั้งเดิม และความทันสมัย ซึ่งการแข่งขันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม ถึง 4 กันยายน 2011 โดยมีผู้ชมทั่วโลกกว่า 100 ล้านคน สนามกีฬาแดกูจัดการแข่งขันในระดับนานาชาติมาแล้วหลายครั้ง เช่น ฟุตบอลโลกปี 2002 ที่เกาหลีใต้กับญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วมกัน และการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยฤดูร้อนปี 2003 ในการแข่งขัน กรีฑาชิงแชมป์โลกปี 2011 ที่เมืองแดกู ป้ายแสดงที่มีความละเอียด สูงที่สนามกีฬาแสดงความแตกต่างของเวลาละเอียดถึงระดับมิลลิ วินาที และแสดงภาพการแข่งขันอย่างชัดเจนให้ผู้ชมทั่วโลกได้ เห็น

โอลิมปิกปี 2012 ทีก ่ รุงลอนดอน ในการแข่งขันโอลิมปิกปี 2012 ที่กรุงลอนดอน เกาหลีใต้ได้ที่ 5 และเป็นที่ 2 ของเอเชียรองจากประเทศจีน นักกีฬาเกาหลีใต้ได้ 13 เหรียญทอง 8 เหรียญเงินและ 7 เหรียญทองแดง จากการแข่งขัน ยิงธนู ปืนยาว ฟันดาบ ยิมนาสติก ยูโดและว่ายน้ำ� โดยได้เหรียญทองจากการแข่งขันชายเดี่ยว หญิงเดี่ยว และทีม หญิงหลายรายการ รวมถึงเหรียญทองแดงจากทีมชายด้วย ใน การแข่งขันปืนยาว เกาหลีใต้ได้ 3 เหรียญทองและ 2 เหรียญเงิน ทำ�ให้โลกได้รับรู้ถึงความสามารถในการยิงปืนยาวของเกาหลีใต้ นักยิงธนู 1 คน และนักยิงปืนยาว 1 คน ได้คนละ 2 เหรียญทอง เกาหลีใต้ยังได้ 2 เหรียญทองจากยูโด และได้ 1 เหรียญทองจาก มวยปล้�ำ 176


177


นักกีฬาเกาหลีที่ได้เหรียญรางวัล จากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ลอนดอนปี 2012 คี โพ-แบ (ยิงธนู) คี โพ-แบได้ 2 เหรียญ ทองจากการแข่งขัน ยิงธนูหญิงเดี่ยวและ แบบทีม

ปัก แท-ฮวัน (ว่ายน้ำ�) ปัก แท-ฮวันได้ 2 เหรียญเงินจากการ แข่งขันว่ายน้ำ�ฟรี สไตล์ชาย 200 เมตร และ 400 เมตร

คิม จัง-มี (ยิงปืน) คิม จัง-มีได้เหรียญ ทองในการแข่งขัน ปืนสั้นหญิงระยะ 25 เมตร

178


ชเว อิน-จอง (ฟันดาบ) นักฟันดาบทีมชาติที่ สร้างความประทับใจ ในกีฬาโอลิมปิกฤดู ร้อนที่กรุงลอนดอน ปี 2012 ชเว อิน-จอง ได้ 1 เหรียญเงินใน การแข่งขันฟันดาบ ประเภททีมหญิง

คิม แจ-บอม (ยูโด) คิม แจ-บอมได้เหรียญ ทองประเภทชาย 7381 กิโลกรัม จากการ แข่งขันชิงแชมป์โลก และโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2012 ที่กรุงลอนดอน

ยัง ฮัก-ซอน (ยิมนาสติก) ยัง ฮัก-ซอนได้ เหรียญทองจากการ แข่งขันยิมนาสติก โดยได้คะแนนสูงสุด 7.4 จากท่ากระโดด หมุนเกลียว 3 รอบ 1,080 องศา

179


ทีมเกาหลีใต้ยังได้สร้างความประหลาดใจในกีฬาโอลิมปิกที่กรุง ลอนดอนโดยเป็นรองเพียง 3 ชาติที่แข็งแกร่งด้านการกีฬาและเจ้า ภาพเท่านั้น และการได้ 6 เหรียญจากกีฬาฟันดาบซึ่งมักมองว่า เป็นกีฬาของชาวตะวันตกถือเป็นความสำ�เร็จที่น่าประทับใจ แต่สิ่ง ที่อาจถือว่าเป็นความสำ�เร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของทีมชาติเกาหลีใต้ก็ คือเหรียญทองจากการแข่งยิมนาสติกประเภทม้าหู ยัง ฮัก-ซอนแสดงความสามารถที่ยอดเยี่ยมและได้เหรียญทองจาก ม้าหูในกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้ สำ�หรับเทควันโดซึ่งเกาหลีใต้เคยได้เหรียญทองมาแล้วหลายครั้ง คราวนี้ได้เพียง 1 เหรียญทองเท่านั้นเนื่องจากชาติอื่นๆ เริ่มทุ่มเท ให้กีฬาชนิดนี้อย่างจริงจังมากขึ้น สำ�หรับการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2012 ที่กรุงลอนดอน ทีมชาติเกาหลีใต้มีค�ำ ขวัญว่า “จากลอนดอนถึงลอนดอน” ซึ่งหมาย ถึงการกลับมาที่ลอนดอนอีกครั้งหลังจากการแข่งขันโอลิมปิกที่ กรุงลอนดอนเมื่อปี 1948 และยังแสดงถึงการเลื่อนสถานะของ ประเทศจากผู้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศกลายมาเป็นผู้ให้ ความช่วยเหลือในเวลาเพียง 64 ปี และยินดีแบ่งปันความมั่งคั่งและ โอลิมปิกฤดูหนาวปี 2018 ที่เมืองพยองชาง ฌาคส์ โรกก์ ประธาน คณะกรรมการโอลิมปิก สากล (IOC) ประกาศให้ พยองชางเป็นเมืองเจ้า ภาพจัดการแข่งขันกีฬา โอลิมปิกฤดูหนาวปี 2018

ประสบการณ์ที่สั่งสมมาให้แก่ประเทศอื่นๆ

โอลิมปิกฤดูหนาวปี 2018 ที่พยองชาง กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2018 จะจัดขึ้นที่เมืองพยองชาง ระหว่าง วันที่ 9-25 กุมภาพันธ์ 2018 พยองชางเคยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2010 และ 2014 แต่เพิ่ง ประสบความสำ�เร็จในครั้งที่ 3 สำ�หรับการแข่งขันที่จะจัดในปี 2018 เกาหลีใต้ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอีกครั้งหลัง จากกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุงโซลปี 1988 เป็นระยะเวลาห่างกัน 30 ปีกับ โอลิมปิกฤดูหนาวที่พยองชางในปี 2018 จะเป็นการจัด กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 2 ในเอเชีย ซึ่งครั้งแรกญี่ปุ่นเป็นเจ้า ภาพในปี 1998 ที่เมืองนากาโนะ

180


อาจกล่าวได้ว่าเกาหลีจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่กรุง โซลในปี 1988 และฤดูหนาวในปี 2018 การแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2002 และการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกนับเป็นการจัดการแข่ง กีฬาที่ส�ำ คัญที่สุด 4 รายการในระดับนานาชาติ

เทควันโด เทควันโดเป็นกีฬาศิลปะการป้องกันตัวของเกาหลีประเภทแรกที่ได้ รับการยอมรับในระดับสากลโดยที่นักกีฬาสามารถใช้ได้ทั้งมือและ เท้าป้องกันตัวและโจมตีคู่ต่อสู้ ในสมัยก่อนชาวเกาหลีฝึกเทควันโดเพื่อเตรียมตัวสำ�หรับสงคราม ซึ่งในอดีตเป็นรูปแบบในการต่อสู้ทางสงครามและเมื่อเวลาผ่านไป ภาพลักษณ์เทควันโดได้เปลี่ยนแปลงกลายเป็นกีฬาพื้นเมือง ซึ่ง องค์ประกอบของเกมส์การเล่นค่อยๆ พัฒนามากขึ้น ในปี 1961 ได้มีการยกระดับให้เป็นกีฬาเต็มตัว และในปี 1971 ก็ได้กำ�หนดให้เป็นกีฬาประจำ�ชาติเกาหลี การแข่งขันเทควันโดชิงแชมป์โลกครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่กรุงโซลในปี 1973 และในปี 1980 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้รับเทควันโด ให้เป็นกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ เท ควันโดกลายเป็นกีฬาระดับนานาชาติที่มีผู้เล่นกว่า 100 ล้านคนทั่ว โลก เทควันโดเน้นความสำ�คัญของวินัยในด้านจิตวิญญาณ จึงได้รับ ความนิยมจากทุกเพศ ทุกวัย รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ให้ความช่วย เหลือโดยการส่งผู้ฝึกสอนเทควันโดไปทั่วโลก กองกำ�ลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติสอนเทควันโดให้กับ ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตแดนที่มีข้อพิพาทที่กองกำ�ลังได้ประจำ�การอยู่ หลายประเทศมองว่าเทควันโดเป็นสัญลักษณ์ของเกาหลีใต้ ด้วยผลจากการสอนที่เกี่ยวกับวินัยและการยืนหยัดทางด้านจิต วิญญาณ เทควันโดจึงเป็นทางเลือกในการบำ�บัดคนหนุ่มสาวที่มี ปัญหาการติดอินเตอร์เนต เกมส์ และการก่อความรุนแรง

181


การสาธิตเทควันโดที่ไทม์ สแควร์ นิวยอร์ก

182


183


ประวัติศาสตร์ 역사


6

ยุคเริ่มต้นประวัติศาสตร์ประเทศ (ยุคก่อนประวัติศาสตร์ - โคโชซอน) อาณาจักรทั้งสามและรัฐอื่นๆ อาณาจักรร่วมชิลลาและพัลแฮ ราชวงศ์โครยอ ราชวงศ์โชซอน การล่มสลายของอาณาจักรโชซอน การผนวกดินแดนเกาหลีของจักรวรรดิญี่ปุ่น การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย และการกลายเป็นมหาอำ�นาจทางเศรษฐกิจ


ขวานมือ เครื่องมืออเนกประสงค์ชนิดนี้ย้อนกลับไปถึงยุคหินเก่า มีการพบขวานมือในชอนกก-รี อำ�เภอยอนชอน จังหวัดคยองกีโด

186


6 ประวัติศาสตร์ 역사

ยุคเริ่มต้นประวัติศาสตร์ประเทศ (ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โคโชซอน) ประวัติศาสตร์ของชาวเกาหลีเริ่มต้นขึ้นในแมนจูเรียและคาบสมุทร เกาหลีซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้นเมื่อ 700,000 ปีมาแล้ว สถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับมนุษย์ยุคหินเก่า ซึ่งใช้ เครื่องมือที่ทำ�จากเขาสัตว์และเครื่องมือที่ท�ำ จากหินสกัด ได้แก่ ถ้ำ� คอมึนโมรูในซังวอน จังหวัดพยองอันนัมโด ชอนกก-รีในยอนชอน จังหวัดคยองกีโด ซอกจัง-รีในคงจู จังหวัดชุงชองนัมโด และถ้�ำ ทู รูบงในชองวอน จังหวัดชุงชองบุกโด มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณ คาบสมุทรในช่วงแรกนั้นดำ�รงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และหาพืชกิน

เครื่องปั้นดินเผาลายเส้น วัตถุที่มีก้นแหลมชิ้นนี้พบ ในอัมซา-ดง กรุงโซล ซึ่ง เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ ที่ส�ำ คัญของยุคหินใหม่ (ที่มา: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เกาหลี)

ได้โดยร่วมมือกันเป็นกลุ่ม ในเกาหลียุคหินใหม่เริ่มต้นราวๆ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล มนุษย์ ในสมัยนั้นเริ่มเพาะปลูกธัญพืช เช่น ข้าวฟ่าง และใช้เครื่องมือที่ ทำ�จากหินขัด นอกจากนี้ยังเริ่มตั้งถิ่นฐานถาวรและรวมกลุ่มเป็น สังคมเผ่า ทำ�หินบดหลายชนิดโดยการบดหิน สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ ที่สำ�คัญของยุคหินใหม่คือเครื่องปั้นดินเผาลายเส้นที่พบทั่วไป ในคาบสมุทรเกาหลี รวมถึงอัมซา-ดง ในกรุงโซล นัมคยอง ใน เปียงยางและซูกา-รี ในคิมแฮ ยุคสัมฤทธิ์เริ่มประมาณศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาลในคาบสมุทร เกาหลี และเริ่มในศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสตกาลในแมนจูเรีย สถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับยุคสัมฤทธิ์พบในมณฑล 187


เหลียวหนิงและมณฑลจี๋หลิน ประเทศจีน และพบทั่วไปใน คาบสมุทรเกาหลี การพัฒนาวัฒนธรรมของยุคสัมฤทธิ์ทำ�ให้เริ่ม มีสังคมที่หัวหน้าเผ่าแผ่อิทธิพล ผู้นำ�เผ่าที่แข็งแกร่งที่สุดจะรวม เผ่าต่างๆ เข้าด้วยกัน กลุ่มเหล่านี้ค่อยๆ พัฒนาอย่างช้าๆ เข้าสู่ อาณาจักร ชนเผ่าที่มีบทบาทสำ�คัญในการก่อตั้งอาณาจักรโคโชซอนซึ่งถือ เป็นยุคแรกของชาวเกาหลีนั้น นับถือเทพบนสวรรค์และหมี 2 ชน เผ่าได้ยกย่องทันกุน วังกอม ในฐานะหัวหน้าผู้นำ�ทางศาสนาและ เป็นผู้น�ำ ทางการเมืองด้วย อาณาจักรโชซอนโบราณมีวัฒนธรรม ที่ต่างจากมณฑลเหลียวหนิงของประเทศจีน และมีวัฒนธรรม โดดเด่นในแถบบริเวณแม่น�้ำ แทดงกัง เมื่อถึงศตวรรษที่ 3 ก่อน คริสตกาล กษัตริย์พูและกษัตริย์จุนมีอำ�นาจมากและลูกชายของ กษัตริย์เหล่านี้ก็ได้สืบทอดราชบัลลังก์พร้อมกับตั้งกฎที่เป็นระบบที่ ชัดเจน โดยได้รับการสนับสนุนจากข้าราชบริวารชั้นสูงและเหล่า ทหาร ปลายศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราชในประเทศจีน ราชวงศ์ฉินสูญ เสียอำ�นาจให้กับราชวงศ์ฮั่น และเป็นช่วงเวลาระส่ำ�ระสายทางการ เมือง ประชากรจำ�นวนมากอพยพลงใต้เข้าสู่อาณาจักรโคโชซอน พระเจ้าวีมันซึ่งเป็นผู้น�ำ ของคนกลุ่มนี้ขึ้นครองราชย์ในปี 194 ก่อนคริสตกาล และอาณาจักรโคโชซอนก็ขยายเขตแดนภายใต้

188


อำ�นาจของพระเจ้าวีมัน โดยในยุคนี้อาณาจักรโคโชซอนเริ่มรับ เอาวัฒนธรรมของยุคเหล็กมาใช้ การเกษตรกรรมและหัตถกรรม ที่หลากหลายได้รับการพัฒนา รวมถึงเพิ่มกำ�ลังทางการทหาร และพยายามเข้ายึดครองตลาดโดยเป็นตัวกลางการค้าระหว่าง คาบสมุทรเกาหลีกับจีนเนื่องจากอาณาบริเวณอยู่ใกล้จีน ซึ่งนำ�ไป สู่การเผชิญหน้ากันระหว่างอาณาจักรโคโชซอนกับราชวงศ์ฮั่นใน จีน โดยกองทัพของราชวงศ์ฮั่นเข้าโจมตีอาณาจักร โคโชซอน อย่างหนักหน่วงทั้งทางบกและทางน้�ำ อาณาจักรโคโชซอนต่อสู้ ต้านทานการโจมตีนี้และได้รับชัยชนะในช่วงแรกของสงคราม แต่ หลังจากที่สงครามผ่านไป 1 ปี ป้อมปราการวังกอมซองในเมือง หลวงก็พังทลายลง อาณาจักรโคโชซอนจึงล่มสลายในที่สุดในปี 108 ก่อนคริสตกาล เพิงหิน (ดอลเมน) เพิงหินเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ได้แก่พีระมิดแห่งกีซา กำ�แพงเมืองจีน สโตนเฮนจ์ในอังกฤษและอื่นๆ เพิงหินหลายแห่ง กระจัดกระจายอยู่ทั่วคาบสมุทรเกาหลีเทียบได้กับสิ่งอัศจรรย์ของ โลกด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ ประการแรก คาบสมุทรเกาหลีมีเพิงหินมากกว่า 36,000 ชิ้น หรือ ประมาณครึ่งหนึ่งของเพิงหินทั้งหมดที่พบในโลก

อุทยานเพิงหินในซุนชอน จังหวัดชอลลานัมโด

189


ประการที่สอง มีการขุดพบโบราณวัตถุ หลากหลายประเภทใต้เพิงหิน อาทิเช่น กระดูกมนุษย์ โบราณวัตถุที่ทำ�จากหิน หยกและสัมฤทธิ์ ถึงแม้ว่าหลายแห่งจะ ไม่พบวัตถุโบราณใดๆ เลยก็ตาม การ ค้นพบนี้ทำ�ให้เกิดคำ�ถามตามมาหลาย ข้อ เช่น ใครเป็นคนสร้างกองหินเหล่า นี้ สร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ ด้วยเหตุผล เพิงหินที่มีลักษณะคล้าย โต๊ะในหมู่บ้านพูกึน-รี เกาะคังฮวา

อะไรและผู้ที่สร้างใช้สิ่งมีชีวิตชนิด ใดเคลื่อนย้าย ประการที่สาม เป็นที่น่าสงสัยว่าพวกเขาสามารถ เคลื่อนย้ายหินขนาดยักษ์เหล่านี้ได้อย่างไร เคลื่อนย้ายมาจากที่ใด และใช้ทักษะอะไรในการสร้างเพิงหินขึ้นมา แต่เดิมเพิงหินในเกาหลีแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ แบบทางตอน เหนือ (รูปร่างเหมือนโต๊ะ) ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือของแม่น้ำ�ฮัน และ แบบทางตอนใต้ (รูปร่างเหมือนกระดานหมากล้อม) อย่างไรก็ตาม หลังจากที่พบเพิงหินศิลาแบบกระดานหมากล้อมทางตอนเหนือ ของแม่น�้ำ ฮัน และเพิงหินแบบโต๊ะทางตอนใต้ของแม่น้ำ�แล้ว การ แบ่งประเภทตามทิศเหนือใต้จึงจำ�ต้องยกเลิกใช้ไป แต่ในขณะ เดียวกันก็มีนักวิชาการบางกลุ่มได้เพิ่มเพิงหินประเภทใหม่เข้าไป ในระบบการจัดประเภทนี้ เพิงหินมักถูกจัดให้เป็นสุสาน แต่ไม่มห ี ลักฐานทีม ่ น ี �ำ้ หนักพอสำ�หรับ

กริชสัมฤทธิ์ทรงพิณและ กริชสัมฤทธิ์แบนเรียว (โคโชซอน) โบราณวัตถุทั้งสองชิ้นนี้ เป็นโบราณวัตถุยุคสัมฤทธิ์ ใช้เป็นอาวุธหรือสิ่งของ ประกอบพิธีกรรม ชิ้นทาง ด้านซ้ายมีรูปร่างคล้ายกับ บีพา (พิณเกาหลี) ส่วนชิ้น ขวามีลักษณะเป็นเส้นตรง และเรียวบางกว่า (ที่มา: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เกาหลี)

การกล่าวอ้างเช่นนี้ อีคยูโบ นักปราชญ์แห่งโครยอในสมัยศตวรรษ ที่ 12 เขียนถึงเพิงหินเหล่านีว ้ า่ “มีคนกล่าวว่าเทพเจ้าได้ตง้ั เพิงหิน ไว้ ณ ทีแ ่ ห่งนัน ้ ตัง้ แต่ครัง้ โบราณ มันช่างเป็นกลวิธท ี อ ่ี ศ ั จรรย์ยง่ิ (ที่ มนุษย์จะสามารถจัดเรียงหินขนาดใหญ่ยก ั ษ์แบบนัน ้ ได้)” ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ฮอเรซ แกรนท์ อันเดอร์วูด(Horace Grant Underwood) มิชชันนารีชาวอเมริกันอ้างว่าเพิงหินไม่ใช่ สุสานแต่จัดวางไว้เพื่อใช้ท�ำ พิธีเซ่นไหว้เหล่าทวยเทพของโลก ซนจินแท นักคติชนวิทยาชาวเกาหลียกตัวอย่างนิทานพื้นบ้าน เรื่องหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าเพิงหินคือบ้านของแม่มด (มากวี ฮัลมอนี ตามตำ�นานพื้นบ้าน)

190


นอกจากในแคว้นแมนจูเรียแล้ว ประเทศจีนและญี่ปุ่นแทบจะ ไม่มีเพิงหินให้พบเห็นเลย แต่กลับพบมากมายหลายหมื่นชิ้นทั่ว คาบสมุทรเกาหลี แม้จะมีพายุพัดผ่านเพิงหินได้ถูกตั้งเรียงมาเป็น ระยะเวลาหลายพันปีแต่กลับหยุดลงก่อนยุคคริสตกาล เพิงหินเหล่านี้ซุกซ่อนปริศนาคาใจไว้มากมาย เช่น เหตุใดจึงมีเพิง หินจำ�นวนมากกระจุกตัวอยู่บนคาบสมุทรเกาหลีในเอเชียตะวัน ออกเฉียงเหนือ และมีความเกี่ยวโยงอย่างไรกับเพิงหินที่พบใน ยุโรปหรืออินเดีย องค์การยูเนสโกได้ตอบรับการยื่นขอขึ้นทะเบียนอุทยานเพิงหินใน คังฮวา ฮวาซุนและโคชังให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกเมื่อปี 2000 สิ่งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าโลกได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของ เพิงหินในด้านมานุษยวิทยาวัฒนธรรมมากขึ้น

อาณาจักรทั้งสามและรัฐอื่นๆ ในช่วงปลายยุคโคโชซอน มีรัฐชนเผ่าผุดขึ้นมาเรื่อยๆ ในแถบ แมนจูเรียและบนคาบสมุทรเกาหลี รัฐพูยอก่อตั้งขึ้นบนที่ราบลุ่ม แม่น�้ำ ซงฮัวเจียงในแคว้นแมนจูเรียและจี๋หลิน ชาวพูยอดำ�รงชีพ ด้วยการปลูกพืชไร่และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งรวมทั้งม้า ทั้งยังทำ�เครื่องนุ่ง ห่มจากขนสัตว์ โดยในราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 พวกเขาเริ่ม เรียกหัวหน้าเผ่าว่ากษัตริย์ และมีการเชื่อมสัมพันธไมตรีกับต่างรัฐ ถึงขนาดสร้างสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ประมาณปลายศตวรรษ ที่ 3 อาณาจักรพูยอก็ถูกผนวกเข้ากับโคกูรยอ ชาวพูยอจัดงาน เทศกาลประจำ�ปีที่เรียกว่ายองโกในเดือนธันวาคม มีการทำ�พิธี

แผ่นศิลาจารึกของพระเจ้า ควางแกโทมหาราช (โค กูรยอ ศตวรรษที่ 5) พระเจ้าควางแกโท มหาราช กษัตริย์องค์ที่ 19 ของอาณาจักรโคกูรยอ ทรงแผ่ขยายอาณาจักร เข้าไปในแคว้นแมนจูเรีย และเขตมารีไทม์ของ ไซบีเรีย ในปี 414 โอรส ของพระเจ้าชังซูทรงสร้าง แผ่นศิลาจารึกขึ้น (สูง 6.39 เมตร หนัก 37 ตัน) เพื่อระลึกถึงคุณูปการอัน ใหญ่หลวงของพระเจ้า ควางแกโท ปัจจุบันตั้งอยู่ ที่เมืองเจียน มณฑลจี๋หลิน ประเทศจีน ศิลาจารึกแผ่นนี้ประกอบ ด้วยตัวอักษร 1,775 ตัว พรรณนาถึงประวัติการ ก่อตั้งและการแผ่ขยาย อาณาจักรโคกูรยอ

เซ่นไหว้บูชาสวรรค์ ร้องเพลง เต้นรำ�และปล่อยนักโทษ แม้การ รวมอาณาจักรจะเป็นการสิ้นสุดของอาณาจักรพูยอ แต่ฝ่ายที่ร่วม ก่อตั้งโคกูรยอและแพ็กเจล้วนภาคภูมิใจที่พวกตนเป็นผู้สืบทอด มาจากพูยอ หนังสือซัมกุก ซากี (ประวัติศาสตร์แห่งอาณาจักรทั้ง สาม) บันทึกไว้ว่าโคจูมง ผู้ก่อตั้งโคกูรยอเมื่อ 37 ปีก่อนคริสตกาลมี พื้นเพมาจากพูยอ อาณาจักรโคกูรยอเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในแถบพื้นที่ใกล้ภูเขา แพ็กดูซานและตามริมฝั่งแม่น�้ำ อัมนกกัง (ยาลู) หลังจากที่ก่อ 191


ตั้งอาณาจักรขึ้น โคกูรยอก็พิชิตรัฐเล็กๆ จำ�นวนมากมายที่อยู่ใน บริเวณนั้นและย้ายเมืองราชธานีไปยังกุกแนซอง (ทงกู) ใกล้กับ แม่น้ำ�อัมนกกัง โคกูรยอก่อศึกสงครามหลายครั้งหลายคราเพื่อขับ ไล่ฝ่ายที่สวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ฮั่นออกไปและขยายอาณาเขตฝั่ง ตะวันตกไปไกลถึงเหลียวตง ส่วนฝั่งตะวันออกก็รุกคืบไปจนถึง ดินแดนตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลีกลายเป็นรัฐเรืองอำ�นาจ แผ่การปกครองไปทั่วแมนจูเรียและทางตอนเหนือของคาบสมุทร เกาหลี นอกจากนี้ยังมีรัฐเล็กๆ หลายรัฐ เช่น อกจอและทงเย ซึ่งในปัจจุบัน คือ จังหวัดฮัมคยองโดและทางตอนเหนือของจังหวัดคังวอนโด ตามแนวชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทรเกาหลี เนื่องจากตั้งอยู่ ในเขตรอบนอกจึงทำ�ให้เจริญพัฒนาได้ไม่เร็วนัก อกจอได้ส่ง เครื่องบรรณาการ เช่น เกลือและปลา ให้กับโคกูรยอ ชาวทงเยจัด พิธีบวงสรวงบูชาสวรรค์หรือมูชอนในเดือนตุลาคมเพื่อสร้างความ สมัครสมานสามัคคีโดยการร้องรำ�ขับขานร่วมกัน ผู้คนมีความ เชี่ยวชาญในการผลิตเครื่องไม้เครื่องมือ เช่น ธนูหรือทันกุง และ ควาฮามา (ม้าขนาดเล็ก สามารถเดินลอดผ่านต้นผลไม้ได้) รัฐทั้ง สองได้ถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรโคกูรยอด้วยเช่นกัน พื้นที่ทางด้านใต้ของโคโชซอนถูกยึดครองโดยชนกลุ่มใหญ่ในรัฐ เล็กๆ ได้แก่ มาฮัน ชินฮัน และพยอนฮัน มาฮันเป็นสหพันธ์รัฐ มีรัฐ เล็กๆ รวมตัวกัน 54 รัฐ (100,000 ครัวเรือน) ปัจจุบันตั้งอยู่ในจัง หวัดคยองกี ชุงชองโดและชอลลาโด พื้นที่ของรัฐ พยอนฮันในปัจจุบันตั้งอยู่ในคิมแฮและมาซัน พื้นที่ของรัฐชิน ฮันในปัจจุบันตั้งอยู่ในแดกูและคยองจู แต่ละรัฐมีประชาชนอาศัย อยู่ 40,000 – 50,000 ครัวเรือน รัฐเล็กทั้งสามนี้เรียกรวมกันว่า ซัมฮัน (สามรัฐฮัน) ชาวซัมฮันจัดพิธีบวงสรวงบูชาสวรรค์ใน เดือนพฤษภาคมและตุลาคม ชาวเมืองจะมารวมตัวกันเพื่อกินเลี้ยง สังสรรค์ ร่ำ�สุรายาเมาและร้องรำ�ทำ�เพลงกัน เมื่อวัฒนธรรมยุคเหล็กแผ่ขยาย ประกอบกับทักษะการทำ�ไร่ทำ� นาที่พัฒนาขึ้น รัฐเรืองอำ�นาจอย่างโคกูรยอ แพ็กเจ และชิลลาก็ 192


อาณาจักรทัง้ สามและคายา (คริสตศตวรรษที่ 5)

โคกูรยอ

ทะเลตะวันออก

เปียงยาง

อูซันกุก

ทะเลเหลือง (ทะเลตะวันตก)

ทกโด อุงจิน (คงจู) ซาบี (พูยอ)

ชิลลา

แพ็กเจ คายา

คึมซอง (คยองจู)

ทัมนา

ค่อยๆ ก่อร่างสร้างอาณาจักรขึ้นในแคว้นแมนจูเรียและคาบสมุทร เกาหลี โคกูรยอเป็นอาณาจักรแรกที่ยืนหยัดมั่นคงจนกลายเป็น รัฐเอกราช โดยเริ่มแผ่ขยายอาณาเขตเมื่อราวปลายศตวรรษที่ 1 และใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปลายศตวรรษที่ 2 จนถึง ช่วงต้นศตวรรษที่ 4 พระเจ้ามีชอนแห่งโคกูรยอได้ทรงขับไล่ฝ่ายที่ สวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ฮั่นออกจากคาบสมุทรเกาหลี ในปี 372 (ปีที่ 2 ในรัชสมัยพระเจ้าโซซูริม) โคกูรยอได้รับเอา ศาสนาพุทธเข้ามาและประกาศใช้ประมวลกฎหมายเพื่อสร้างระบบ การปกครองที่เหมาะสม ทั้งยังก่อตั้งมหาวิทยาลัยแห่งชาติแทฮัก 193


รูปภาพการล่าสัตว์ใน สุสานแห่งนักระบำ� (โคกูร ยอ ศตวรรษที่ 5) กิจกรรมการล่าสัตว์ของ ชาวโคกูรยอ (37 ปีก่อน คริสตกาล - ค.ศ. 668) ดู ปราดเปรียวและเปี่ยมไป ด้วยพลัง

โถตุ๊กตาดินเผา (ชิลลา ศตวรรษที่ 5) ตัวตุ๊กตา (โทอู) จะทำ�จาก ดินเหนียวแกะสลักเป็นรูป ต่างๆ และขึ้นรูปโดยใช้ น้ำ� ส่วนใหญ่ผู้คนในสมัย โบราณจะปั้นไว้เป็นของ เล่นหรือปั้นเป็นรูปสัตว์ เลี้ยงที่แสดงถึงความมีมนต์ ขลังเพื่อตั้งประดับสุสาน โถนี้แสดงถึงความเชื่อ ทางศาสนาของชาวชิลลา เป็นโบราณวัตถุชิ้นสำ�คัญ สำ�หรับนักวิชาการและผู้ สนใจประวัติศาสตร์และ งานศิลปะ (ที่มา: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เกาหลี)

หรือสำ�นักวิชาขงจื๊อขึ้น พระเจ้าควางแกโทมหาราช โอรสของ พระเจ้าโซซูริม ทรงขับไล่ชาวเผ่าคีตัน ซูเฉิน และทงบูยอออกจาก อาณาจักร และขยายดินแดนเข้าไปในแคว้นแมนจูเรีย พระองค์ ยังทรงยึดป้อมหลายแห่งของอาณาจักรแพ็กเจทางตอนใต้และ ช่วยอาณาจักรชิลลาขับไล่ชาวโจรญี่ปุ่น (เวกู) ที่เข้ามารุกราน อาณาจักรแพ็กเจก่อตั้งขึ้นเมื่อ 18 ปี ก่อนคริสตกาล โดยการผนึก กำ�ลังของกลุ่มคนหลายหมู่เหล่า ทั้งผู้ที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ�ฮัน ผู้ที่ มีพื้นเพมาจากพูยอและโคกูรยอ รวมทั้งผู้อพยพมาจากที่อื่น เมื่อ ถึงกลางศตวรรษที่ 3 ระหว่างรัชสมัยของพระเจ้าโคอี อาณาจักร แพ็กเจก็สามารถกุมอำ�นาจเหนือพื้นที่ตามแนวแม่น้ำ�ฮันได้ทั้งหมด และวางรากฐานระบบการเมืองการปกครองที่แข็งแกร่งโดยปรับ มาจากวัฒนธรรมที่ก้าวหน้าของจีน เมื่อถึงกลางศตวรรษที่ 4 พระ เจ้าคึนโชโกทรงเข้ายึดครองแคว้นมาฮันและขยายดินแดนไปไกล ถึงชายฝั่งทะเลตอนใต้ ซึ่งปัจจุบันคือจังหวัดชอลลานัมโด ทาง ด้านทิศเหนือแพ็กเจได้ก่อศึกแย่งชิงแนวชายแดนกับโคกูรยอ ซึ่ง ปัจจุบันคือจังหวัดฮวังแฮโด ส่วนทางตอนใต้เข้ายึดครองแคว้น คายา ณ เวลานั้นอาณาเขตของอาณาจักรแพ็กเจแผ่ขยาย ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันคือ จังหวัดชุงชองโด จังหวัดชอล ลาโด บริเวณตอนกลางของแม่น�้ำ นักดงกัง จังหวัดคังวอนโด และ

194


มงกุฎทองแห่งคายา มงกุฎนี้ขุดพบในโครยอง จังหวัดคยองซังบุกโด มี ลักษณะทรงสูงประดับด้วย หยกล้อมรอบ

จังหวัดฮวังแฮโด อาณาจักรชิลลามีต้นกำ�เนิดมาจากรัฐซาโรกุก หนึ่งในรัฐย่อยของ ชินฮัน ก่อตั้งขึ้นเป็นราชอาณาจักรเมื่อ 57 ปีก่อนคริสตกาลโดย ชนพื้นเมืองของคยองจูในปัจจุบัน และกลุ่มคนจากแคว้นอื่นๆ ซึ่ง ตระกูลปัก ซอก และคิมเป็นตระกูลที่ได้ขึ้นครองราชย์ตามลำ�ดับ ราวศตวรรษที่ 4 อาณาจักรชิลลาก็สามารถยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำ�นักดงกังได้ ในช่วงรัชสมัยพระเจ้า แนมุล อาณาจักรชิลลาอนุญาตให้กองทัพโคกูรยอตั้งทัพอยู่ใน ราชอาณาจักรได้ เพื่อขับไล่ชาวญี่ปุ่น ที่เข้ามารุกราน นอกจากนี้ ยังได้รับเอาวัฒนธรรมและอารยธรรมจีนเข้ามาผ่านทางโคกูรยอ สมาพันธรัฐคายาก่อตั้งขึ้นในพยอนฮัน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ แม่น�้ำ นักดงกัง มีคึมกวาน คายาเป็นรัฐผู้น�ำ สมาพันธรัฐแห่งนี้ได้ พัฒนาวัฒนธรรมยุคเหล็กขึ้นและแผ่อิทธิพลไปทั่วบริเวณแม่น้ำ�นัก ดง รัฐเล็กๆของคายาเริ่มรู้จักปลูกข้าวไถนาและทำ�การค้าขายกับ ชาวญี่ปุ่น และชาวเลลัง ทั้งยังใช้ประโยชน์จากเหล็กที่ผลิตได้ใน ท้องถิ่นและเส้นทางทะเลที่เดินทางสะดวก การรวมสามอาณาจักรภายใต้ชิลลา เมื่อถึงศตวรรษที่ 5 อาณาจักรทั้งสาม (โคกูรยอ แพ็กเจและชิลลา) ยึดมั่นในนโยบายการขยายอาณาเขตภายใต้ระบอบการปกครอง 195


อันมีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลาง พระเจ้าชังซูแห่งโคกูรยอ ผู้ เป็นโอรสพระเจ้าควางแกโท ได้ย้ายราชธานีไปยังเปียงยางเมื่อปี 427 พระองค์ทรงยึดครองฮันซอง (กรุงโซลในปัจจุบัน) ราชธานี ของแพ็กเจ และพื้นที่ตามแนวแม่น�้ำ ฮันกัง ขยายอาณาเขตไปทาง ตอนใต้ซึ่งปัจจุบันคือทางผ่านเนินชุกนยอง (ทันยังและยองจู) และ นัมยังมยอน จังหวัดคยองกีโด และเพราะการขยายดินแดนนี้เอง อาณาจักรโคกูรยอจึงก้าวขึ้นเป็นรัฐเรืองอำ�นาจในเอเชียตะวัน ออกเฉียงเหนือ กระถางธูปโลหะเคลือบ ทอง สมัยราชวงศ์แพ็กเจ (ศตวรรษที่ 6) วัตถุโบราณอันล้�ำ ค่าชิ้น นี้ช่วยให้นักวิจัยเข้าใจ ทักษะการผลิต งาน หัตถกรรม ศิลปวัฒนธรรม ศาสนาและแนวคิดในสมัย แพ็กเจได้ดียิ่งขึ้น (ที่มา: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เกาหลี)

ส่วนอาณาจักรแพ็กเจได้ย้ายราชธานีไปยังอุงจิน (คงจูในปัจจุบัน) เมื่อปี 475 หลังจากที่ยอมจำ�นนมอบดินแดนบริเวณแม่น้ำ�ฮันให้กับ โคกูรยอ แพ็กเจพยายามเสริมสร้างกำ�ลังพลขึ้นใหม่เพื่อช่วงชิง ดินแดนที่สูญเสียไปกลับคืน พระเจ้าทงซองทรงเข้าเป็นพันธมิตร กับชิลลาเพื่อต่อกรกับโคกูรยอ พระเจ้ามูรยองได้เสริมกำ�ลังภายใน เพื่อวางรากฐานให้อาณาจักรเฟื่องฟู พระเจ้าซอง โอรสของพระ เจ้ามูรยอง ทรงย้ายราชธานีแพ็กเจไปยังซาบี (พูยอในปัจจุบัน) พระองค์ทรงพยายามปฏิรูประบอบการปกครองและยึดครองดิน แดนตามแนวแม่น�้ำ ฮันกังกลับมาอีกครั้ง โดยร่วมเป็นพันธมิตรกับ อาณาจักรชิลลา สำ�หรับอาณาจักรชิลลา แต่เดิมมีชื่อว่าซาโรกุก เปลี่ยนชื่อเป็นชิลลาเมื่อต้นศตวรรษที่ 6 และได้ปฏิรูประบบการเมือง จัดระเบียบเขต ปกครองใหม่ รวมถึงเขตราชธานี ในรัชสมัยพระเจ้าชีจึง พระเจ้า ชีจึงได้ผนวกรัฐอูซันกุก (ปัจจุบันคืออุลลึงโดและทกโด) เข้ามา อยู่ในอำ�นาจของอาณาจักรชิลลาเมื่อปี 512 รัฐอูซันกุกขณะนี้ อยู่ในหมู่เกาะที่ติดกันของ เกาะอุลลึ​ึงโดและเกาะทกโด พระเจ้า พอบฮึงทรงสร้างเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง โดยการ ประกาศใช้กฎหมาย ออกกฎเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย และบัญญัติ ให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำ�ชาติ พระองค์ยังได้ผนวก รวมเข้ากับรัฐคึมกวาน คายาเพื่อแผ่ขยายราชอาณาจักร พระเจ้าชินฮึงทรงก่อตั้งสำ�นักศิลปะการต่อสู้ฮวารังโดขึ้นและแผ่ ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล พระองค์ทรงช่วง

196


ชิงดินแดนของแพ็กเจตามแนวแม่น�้ำ ฮัน พิชิตแทคายาในโครยอง ยึดครองพื้นที่ตามแนวแม่น�้ำ นักดงกัง และขยายอาณาเขตกว้าง ไกลจนที่ราบฮัมฮึงตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันออก ในปี 612 ราชวงศ์สุยซึ่งรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นได้ กรีธาทัพเคลื่อนกองกำ�ลังหนึ่งล้านคนบุกเข้าโจมตีโคกูรยอ แต่แพ้ อย่างใหญ่หลวง อึลจีมุนดอก แม่ทัพแห่งโคกูรยอสามารถสังหาร ทหารกองทัพสุยส่วนใหญ่ได้ที่ซัลซู (แม่น�้ำ ชองชอนกังในปัจจุบัน) ผลของการพ่ายศึกทำ�ให้ราชวงศ์สุยได้รับความเสียหายอย่างใหญ่ หลวงจนแพ้พ่ายต่อราชวงศ์ถังในปี 618 ราชวงศ์ถังยังคงบุกโจมตี โคกูรยออีกหลายครา แต่ก็ปราชัยไปทุกครั้ง ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น อาณาจักรแพ็กเจก็บุกโจมตีชิลลาหลาย ต่อหลายครั้ง ชิลลาขอความช่วยเหลือจากโคกูรยอไม่สำ�เร็จ จึง เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับราชวงศ์ถังของจีน คิม ยู-ซิน ผู้น�ำ กอง กำ�ลังทหารชิลลาเข้าปราบกองทัพแพ็กเจในฮวังซันบอลซึ่งมีเค แพ็กเป็นผู้บัญชาการ แล้วเดินทัพบุกซาบี เมืองหลวงของแพ็กเจ กองทัพราชวงศ์ถังแห่งจีนบุกแพ็กเจผ่านทางปากแม่น�้ำ คึมกัง ใน ที่สุดอาณาจักรแพ็กเจก็พ่ายต่อกองทัพชิลลาและกองทัพถังในปี 660 จากนั้นกองทัพทั้งสองก็ได้บุกโจมตีโคกูรยอ อาณาจักรที่เคยเรือง อำ�นาจที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากโคกูรยอเสีย ไพร่พลไปมากจากการทำ�ศึกครั้งใหญ่กับราชวงศ์สุยและราชวงศ์ ถัง จึงพ่ายแพ้ให้กับศึกนี้ในปี 668 หลังจากที่ร่วมมือกับชิลลาเอาชนะแพ็กเจและโคกูรยอมาได้ อาณาจักรถังก็พยายามยึดครองคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมดรวมทั้ง ชิลลาและยังตั้งกองบัญชาการหลายแห่ง ได้แก่ กองบัญชาการอุง จินที่แพ็กเจ กองบัญชาการอันดงที่โคกูรยอ และกองบัญชาการ คเยริมที่คยองจู ชิลลาห้ำ�หั่นทำ�ศึกกับถัง เอาชนะกองทัพเรือในคี บอลโพใกล้กับปากแม่น�้ำ คึมกังและขับไล่กองกำ�ลังทั้งหมดของถัง ออกจากคาบสมุทรเกาหลี จนสามารถรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้ ในปี 676 197


ระฆังศักดิ์สิทธิ์ของ พระเจ้าซองดอกมหาราช (อาณาจักรรวมชิลลา ศตวรรษที่ 8) มีน้ำ�หนัก 18.9 ตัน ถือเป็น ระฆังที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลี มีชื่อเรียกอีกอย่างว่าระฆัง เอมิลเล ภาพนางอัปสรลอย อยู่ทางด้านขวาแสดงให้ เห็นถึงทักษะฝืมือในการ ตกแต่งได้อย่างวิจิตรบรรจง ของช่างศิลป์ชิลลา

ยุคอาณาจักรเหนือใต้: อาณาจักรรวมชิลลาและพัลแฮ หลังจากที่สามอาณาจักรได้รวมเป็นปึกแผ่นเดียวกันเมื่อปี 668 ทั้ง อาณาเขตและประชากรก็แผ่ขยายมากขึ้น อาณาจักรรวมชิลลา ได้ก้าวเข้าสู่ยุคทองแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ และได้กระชับ ความสัมพันธ์กับราชวงศ์ถังของจีนอีกครั้ง ทั้งพ่อค้า พระสงฆ์และ บัณฑิตขงจื๊อต่างก็ได้เดินทางแลกเปลี่ยนไปมาหาสู่กัน ชิลลาส่ง ออกงานหัตถกรรมจำ�พวกเงินทองและโสมไปยังอาณาจักรถัง และ นำ�เข้าหนังสือ เครื่องลายคราม ผ้าไหมซาติน เสื้อผ้าและงานฝีมือ ต่างๆ มีการติดต่อนำ�สินค้ามาจากเอเชียกลาง โดยเหล่าพ่อค้าจะ ขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางสายไหมและเส้นทางเดินเรือทางทะเล ท่าเรือหลักที่สำ�คัญ คือ อุลซันและทังฮังซอง (ปัจจุบันคือฮวาซอง) จังหวัดคยองกีโด นำ�เข้าสินค้านานาชนิดมาจากเอเชียกลางและ เอเชียอาคเนย์ ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 9 แม่ทัพชังโบโก แห่ง ชิล-ลาได้สร้างฐานทัพขึ้นในชองแฮจิน (ปัจจุบันคือวันโด จังหวัด ชอลลานัมโด) เพื่อต่อกรกับโจรสลัดและกระตุ้นการค้าขายกับ ประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งจีนและญี่ปุ่น ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง ผู้เหลือรอดจากการล่มสลายของ อาณาจักรโคกูรยอก็ลก ุ ขึน ้ ต่อต้านการปกครองของราชวงศ์ถงั ใน 198


ปี 698 กลุม ่ กบฏนำ�โดยแทโจยองได้ผนึกกำ�ลังกับชาวโมเฮก่อตัง้ อาณาจักรพัลแฮ ซึง่ ปัจจุบน ั อยูใ ่ กล้กบ ั ตงเหมียวชาน มณฑลจีห ๋ ลิน ประเทศจีน อาณาจักรใหม่เข้าต่อกรกับอาณาจักรชิลลาทางตอนใต้ พัลแฮเริ่มแผ่ขยายอาณาเขตและเข้ายึดครองดินแดนส่วนใหญ่ ที่เคยเป็นของโคกูรยอ ในช่วงรัชสมัยพระเจ้ามู แคว้นแมนจูเรีย ทางตอนเหนือได้ตกอยู่ใต้การปกครองของพัลแฮ พระเจ้ามูทรง ปฏิรูประบบการเมืองการปกครองและย้ายราชธานีไปยังซังคยอง (ปัจจุบันคือหนิงอาน-เซียน มณฑลเฮยหลงเจียง) เมื่อราวปี 755 อาณาจักรรวมชิลลาและพัลแฮ (ศตวรรษที่ 8)

พัลแฮ

ซังคยอง

เปียงยาง

ทะเลตะวันออก

อูซันกุก

ทะเลเหลือง (ทะเลตะวันตก)

ชิลลา

ทกโด

คึมซอง (คยองจู)

ทัมนา

199


ชาวพัลแฮมีความภาคภูมิเป็นอย่างยิ่งที่ได้สืบทอดสันติรัฐมาจากโค กูรยอ จดหมายที่เก็บไว้ในญี่ปุ่นแสดงให้เห็นว่ากษัตริย์พัลแฮต่าง เรียกตนเองว่า ‘โครยอวัง’ ซึ่งหมายความว่ากษัตริย์โคกูรยอ อาณา จักรพัลแฮเจริญรุ่งเรือง แผ่ขยายทั้งอาณาเขตและอำ�นาจจนชาว ถังให้สมญานามว่า แฮดง ซองกุก (ประเทศแห่งความรุ่งเรืองทาง ทิศตะวันออก) แต่กลับล่มสลายลงในปี 926 เนื่องจากภูเขาแพ็ก ดูซานเกิดปะทุขึ้นล้างผลาญบ้านเมืองจนวายวอดประกอบกับการ รุกรานของชาวคีตัน

ราชวงศ์โครยอ แจกันสังคโลกลายนก กระเรียนท่ามกลางเมฆ (โครยอ ศตวรรษที่ 12) เครื่องสังคโลกสีเขียว หยกชิ้นนี้เป็นงาน เครื่องปั้นดินเผาในสมัย โครยอ ลักษณะลวดลาย ที่วิจิตรงดงามนี้รังสรรค์ ขึ้นด้วยการฝังประดับดินสี ขาวดำ�ลงตามร่องของพื้น ผิว นับเป็นงานฝังประดับ ชั้นครูที่ใช้ทักษะฝีมืออัน เป็นเลิศ

เมือ ่ ถึงปลายศตวรรษที่ 8 ชิลลาเริม ่ สัน ่ คลอนเพราะการแก่งแย่งชิง อำ�นาจกันภายในราชวงศ์ และเมือ ่ ถึงศตวรรษที่ 10 ผูน ้ �ำ ของฝ่าย อืน ่ ทีม ่ อ ี �ำ นาจ เช่น คยอน ฮวอน และคุงเย ก็ได้กอ ่ ตัง้ แว่นแคว้นของ ตนเองขึน ้ มา ในปี 892 คยอน ฮวอนได้กอ ่ ตัง้ ราชอาณาจักรขึน ้ โดย ตัง้ ชือ ่ ว่า “แพ็กเจใหม่” มีวน ั ซันจูเป็นกรุงราชธานี และปกครองดิน แดนซึง่ ปัจจุบน ั คือจังหวัดชอลลาโดและชุงชองโดในปี 901 คุงเย สมาชิกแห่งราชวงศ์ชล ิ ลาได้กอ ่ ตัง้ โคกูรยอใหม่ขน ้ึ ปกครองดินแดน ซึง่ ปัจจุบน ั คือจังหวัดคังวอนและคยองกีโด พระองค์ทรงแผ่ขยาย อาณาเขต ปฏิรป ู ระบอบการปกครองและย้ายเมืองราชธานีไปยัง ชอลวอน นอกจากนีย ้ งั ได้เปลีย ่ นชือ ่ แคว้นเป็นแทบง ผลจากการต่อสู้เพื่อกุมอำ�นาจเหนือผู้นำ�เผ่าต่างๆ และการสร้าง ฐานกำ�ลังพลเพื่อปกป้องบัลลังก์ท�ำ ให้ประชาชนเริ่มเสื่อมความนิยม ในตัวคุงเย ในปี 918 พระองค์ถูกวัง คอน ผู้นำ�ชนเผ่าจาก ซงอักขับไล่ วัง คอนได้เปลี่ยนชื่อแคว้นเป็นโครยอ ทั้งยังประกาศ ว่าโครยอนั้นสืบต่อมาจากโคกูรยอ และย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ ซงอัก โครยอยังคงเป็นปฏิปักษ์กับแพ็กเจใหม่ และใช้นโยบาย เชื่อมสัมพันธไมตรีกับชิลลา ในปี 935 อาณาจักรรวมชิลลา ผลึกรวมเข้ากับโครยอได้อย่างสันติ หลังจากที่มีการต่อสู้แย่ง ชิงอำ�นาจในแพ็กเจใหม่ คยอน ฮวอนยอมแพ้ให้กับวัง คอน ใน ปี 936 แคว้นแพ็กเจใหม่ก็ยอมศิโรราบให้กับโครยอ วัง คอน

200


จึงกลายเป็นกษัตริยผ ์ ู้ผนึกรวมอาณาจักรทั้งสามบนคาบส มุทรเกาหลีให้เป็นหนึ่งเดียว โครยอยึดเอาลัทธิขงจื๊อมาเป็น อุดมการณ์ทางการเมือง และสร้างระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ขึ้นมา โดยก่อตั้งคุกจา-กัม (สถาบันการศึกษาขั้นสูงแห่งชาติ) และ ฮยังกโย ขึ้นหลายแห่ง (โรงเรียนเอกชนในท้องถิ่น) ศาสนาพุทธ มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อสังคมโครยอ อาณาจักรโครยอได้ยอมรับการ เข้ามาของ ศาสนาต่างๆ ดังเช่นที่ปรากฏให้เห็นในการประกอบพิธีกรรมยอน ดึงฮเว (เทศกาลโคมไฟดอกบัว) และพัลกวันฮเว (เทศกาลแห่งคำ� ปฏิญาณทั้งแปด) ซึ่งผสมผสานทั้งพิธีทางศาสนาพุทธและศาสนา พื้นบ้านเข้าด้วยกัน

โครยอ (ศตวรรษที่ 11)

ซอกยอง (เปียงยาง)

แคคยอง (แคซอง) นัมคยอง (โซล)

ทะเลตะวันออก

อูซันกุก ทกโด

แม่น�้ำ เหลือง ทะเลตะวันตก ทงคยอง (คยองจู)

ทัมนา

201


โครยอร่วมทำ�การค้าขายกับนานาประเทศ รวมทั้งอาณาจักรซ่งแห่งจีน พ่อค้าวาณิช มากหน้าหลายตาทั้งจากจีน เอเชียกลาง อาราเบีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ ญี่ปุ่นพากันเดินทางมายังพยอกลันโดซึ่ง เป็นเมืองหน้าด่านก่อนเข้าสู่เมืองหลวง แคซอง เหล่าพ่อค้าจากซ่งนำ�ผ้าซาติน ผ้าไหมและยาสมุนไพรเข้ามาขาย ส่วน ชิกกี (ปี 1377) หนังสือเก่า แก่ที่สุดเท่าที่ปรากฏ พิมพ์ ด้วยตัวพิมพ์โลหะแบบ เรียงพิมพ์

พ่อค้าชาวโครยอก็ขายเสื้อผ้าใยปอและโสมเป็นการแลกเปลี่ยน มีการนำ�เข้าเครื่องประดับจำ�พวกงาช้าง เพชรพลอย อำ�พันที่มา จากอาหรับ และชื่อโครยอนี้เองที่เป็นรากศัพท์ของชื่อประเทศ “เกาหลี” ในกาลต่อมา อาณาจักรโครยอเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมอันรุ่งโรจน์ งานฝัง ประดับเครื่องปั้นสีเขียวหยกในสมัยโครยอชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึง ศิลปะชั้นเลิศที่ไม่มีผู้ใดทัดเทียมได้ในยุคนั้น พระไตรปิฎกเกาหลี (หนังสือพระไตรปิฎกฉบับภาษาเกาหลี หรือคัมภีร์พุทธศาสนา แกะสลักบนแม่พิมพ์ไม้ 81,258 ชิ้น) ที่ทำ�ขึ้นในสมัยโครยอถือ เป็นหัวใจของวัฒนธรรมชาวพุทธและความสำ�เร็จสูงสุดในการ แกะสลักแม่พิมพ์ไม้ ตัวพิมพ์โลหะชิ้นแรกของโลกก็ประดิษฐ์ขึ้น ในยุคอาณาจักรโครยอ จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ชาวโครยอ ประดิษฐ์ตัวพิมพ์โลหะได้ก่อนโยฮันเนส กูเตนเบิร์กในยุโรปราว 200 ปี หนังสือชื่อ ชิกจี (รวบรวมหลักคำ�สอนศาสนาเซนของพระ มหาเถระ) พิมพ์ขึ้นโดยใช้ตัวพิมพ์โลหะเมื่อปี 1377 ในขณะที่ การพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์โลหะในยุโรปเกิดขึ้นในอีก 78 ปีต่อมาเมื่อปี 1455 หนังสือชิกจีจัดเก็บไว้ที่ห้องสมุดแห่งชาติฝรั่งเศสและได้รับ การขึ้นทะเบียนอยู่ในความทรงจำ�ของโลกเมื่อปี 2001 สงครามกับมองโกล ในตอนต้นศตวรรษที่ 13 สถานการณ์ในประเทศจีนเกิดการพลิก ผันอย่างปัจจุบันทันด่วน ชาวมองโกลบุกพิชิตราชวงศ์จินและแผ่

202


ขยายอิทธิพลเข้ามาในคาบสมุทรเกาหลี เกิดศึกสงครามห้ำ�หั่น กับโครยออยู่ถึงเจ็ดครั้งระหว่างปี 1231 ถึง 1259 โครยอได้ย้าย เมืองหลวงไปยังเกาะคังฮวาโดเพื่อขัดขวางการรุกรานนี้ แม้แต่ ชาวบ้านและทาสรับใช้ก็ร่วมกันสู้กับชาวมองโกลผู้เข้ามารุกราน ด้วย ในปี 1259 สองอาณาจักรได้ลงนามทำ�สัญญาเพื่อสันติภาพ ชาวมองโกลได้ก่อตั้งราชวงศ์หยวนแห่งจักรวรรดิจีนขึ้น และ ยอมรับเงื่อนไขการสงบศึกหกข้อของโครยอ ซึ่งรวมถึงการถอน ทัพมองโกลออกจากคาบสมุทรเกาหลีโดยทันทีและรับประกันการ คงอยู่ของอาณาจักรโครยอต่อไป ข้อตกลงนี้เป็นผลมาจากการที่ โครยอขัดขืนไม่ยอมโอนอ่อนตามแผนการของมองโกลที่ต้องการ มีอำ�นาจเหนือโครยอโดยตรง ถึงแม้จะมีข้อตกลงเพื่อสันติภาพกับมองโกล แต่กองกำ�ลังทหารโคร ยอที่เรียกว่า ซัมบยอลโช ก็ยังคงต่อสู้อย่างไม่หยุดยั้ง มีการย้าย ฐานทัพไปยังชินโดและเจจูในกาลต่อมา ทหารโครยอยังคงต่อสู้ ต่อไปจนถึงปี 1273 กินเวลานานถึง 42 ปี การลุกขึ้นต่อต้านชาวมองโกลที่ถือเป็นชนชาติที่แข็งแกร่งที่สุดใน เวลานั้น เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงเลือดนักสู้ของชาวโครยอผู้ที่ มีหัวใจมุ่งมั่นและไม่ยอมแพ้ แต่สงครามที่ยืดเยื้อนี้ก็ได้ล้างผลาญ ทำ�ลายแผ่นดินและชีวิตผู้คนไปนักต่อนัก ชาวมองโกลได้ท�ำ ลาย มรดกทางวัฒนธรรมอันล้�ำ ค่าไปหลายแห่ง เช่น เจดีย์เก้าชั้นแห่ง วัดฮวังรโยงซา

ราชวงศ์โชซอน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 13 โครยอเกิดปัญหารุมเร้าขึ้นทั้งศึกใน และศึกนอก มีการแก่งแย่งชิงอำ�นาจในราชวงศ์ ในขณะเดียวกัน ก็มีโจรโพกผ้าแดงและโจรสลัดแวกูเข้ามารุกราน ในเวลานั้น แม่ทัพอี ซอง กเยได้รับความนิยมจากประชาชนเนื่องจากสามารถ ขับไล่ผู้รุกรานได้ หลังจากโค่นล้มราชวงศ์โครยอลงก็สถาปนา ราชวงศ์ใหม่คือ “โชซอน” และก้าวขึ้นเป็นกษัตริย์ ในฐานะกษัตริย์ พระองค์แรก พระเจ้าแทโจได้เลือกฮันยัง (ปัจจุบันคือโซล) ให้เป็น 203


ราชวงศ์โชซอน (ศตวรรษที่ 15)

จังหวัดฮัมกิลโด (ฮัมคยองโด) จังหวัดพยองอันโด

ฮัมฮึง

เปียงยาง

ทะเลตะวันออก

ทะเลเหลือง (ทะเลตะวันตก)

จังหวัดฮวังแฮโด แฮจู จังหวัดคังวอนโด จังหวัดคยองกีโด อุลลึงโด ฮันซอง (โซล) วอนจู จังหวัดชุงชองโด

คงจู ชอนจู

ทกโด

จังหวัดคยองซังโด แดกู

จังหวัดชอลลาโด

เจจูโด

เมืองหลวงของราชวงศ์ใหม่ ซึ่งมีทำ�เลที่ตั้งที่เป็นสิริมงคลตามหลัก ฮวงจุ้ย พระองค์ยังทรงรับสั่งให้สร้างพระราชวังคยองบกกุงและ ศาลชงมโยขึ้น รวมทั้งถนนหนทางและตลาดค้าขาย เมืองหลวง ใหม่ตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทรเกาหลี มีแม่น้ำ�ฮันกังไหลผ่าน ทำ�ให้ การเดินทางไปมาสะดวก พระเจ้าแทจง กษัตริย์องค์ที่สามและพระโอรสแห่งกษัตริย์ผู้ก่อตั้ง ราชวงศ์ ทรงมีส่วนสำ�คัญอย่างยิ่งในการปฏิรูประบอบการเมือง การปกครองให้มีเสถียรภาพ พระองค์ทรงนำ�ระบบการระบุตัวตน มาใช้ โดยประชาชนทุกคนจะต้องลงทะเบียนราษฎร์และพกป้าย 204


โฮแพไว้กับตัว นอกจากนี้พระองค์ยังทรงจัดตั้งกระทรวงขึ้นหก กระทรวงเพื่อปกครองประเทศ ได้แก่ กระทรวงบริหารงานบุคคล การคลัง พิธีการทูต กลาโหม ยุติธรรมและงานแผ่นดิน พระเจ้า เซจง กษัตริย์องค์ที่สี่และพระโอรสของพระเจ้าแทจง ทรงนำ� ประชาราษฎร์เข้าสู่ยุคแห่งความรุ่งเรืองทั้งทางวัฒนธรรม สังคม และการเมือง เหล่านักปราชญ์แห่งชิบฮยอนจอน (สถาบันวิจัย) ได้ พัฒนานโยบายที่ชัดเจนและเปี่ยมประสิทธิภาพ ในระหว่างรัชสมัย ของพระเจ้าเซโจ พระเจ้าเยจงและพระเจ้าซองจง มีการบัญญัติ คยองกุก แดจอน (ประมวลกฎหมาย) ขึ้นเพื่อเป็นรากฐานให้เกิด ระบอบการปกครองที่ยั่งยืนนาน การประดิษฐ์อักษรฮันกึล ภาษาเกาหลีใช้ตัวอักษรจีนในการอ่านเขียนมาเป็นเวลานานหลาย ศตวรรษ มีการคิดค้นระบบอีดูและฮยังชัลขึ้น ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ ตัวอักษรจีนแสดงเสียงภาษาเกาหลี แต่ก็ยังมีจุดที่ต้องปรับปรุงอยู่ มาก ในปี 1443 พระเจ้าเซจงได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรฮันกึล (ตัว อักษรเกาหลี) ขึ้น และประกาศใช้ในอีกสามปีต่อมาในปี 1446 รูป ทรงของตัวอักษรฮันกึลเลียนแบบรูปทรงของช่องปากที่แปรเปลี่ยน ไปตามการออกเสียง นักวิชาการหลายคนกล่าวว่าฮันกึลคือระบบ การเขียนที่เป็นไปตามหลักภาษาศาสตร์และเรียนง่ายที่สุดในโลก ระบบฮันกึลประสบความสำ�เร็จในการสื่อสารระหว่างรัฐบาลและ ประชาชน ทั้งยังมีบทบาทสำ�คัญอย่างยิ่งต่อการวางรากฐานของ ประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรม การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรัชสมัยโชซอน มีการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง ยิ่งยวด ชากยอกลู (นาฬิกาน้�ำ ), อังบูอิลกู (นาฬิกาแดด) และฮน ชอนอึย (ลูกโลกดารา) ล้วนประดิษฐ์ขึ้นในช่วงต้นรัชสมัยโชซอน รวมทั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำ�ฝน ที่เรียกว่า ชึกอูกี ชิ้นแรกของโลก ด้วย นอกจากนี้ยังมีการสำ�รวจพื้นที่และทำ�แผนที่ขึ้นโดยเครื่อง 205


206


อินจีอึยและเครื่องคยูฮยอง ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าแทโจ มีการวาด แผนที่ท้องฟ้าหรือชอนซังยอลชาพุนยา ชีโดขึ้นตามแผนที่เดิมที่ วาดไว้ในสมัยโคกูรยอ ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าเซจง มีการคำ�นวณ การเคลื่อนที่ของดวงดาวหลักเจ็ดดวง หรือชิลจองซัน ตามปฏิทิน โสวฉือลีของจีนและปฏิทินอิสลามของอาหรับ องค์ความรู้ทางด้าน

ชอนซังยอลชาพุนยาชีโด (โชซอน ศตวรรษที่ 17) แผนภาพดาราศาสตร์สมัย โชซอนแสดงถึงกลุ่มดาว ต่างๆ (ซ้าย) (ที่มา: พิพิธภัณฑ์ พระราชวังแห่งชาติ เกาหลี)

การแพทย์ได้รุดหน้าเป็นอย่างมาก ทั้งฮยังยัก ชิบซองบัง (ใบสั่งยา การแพทย์แผนเกาหลี) อึยบัง ยูชี (ใบสั่งยาตามหมวดหมู่) ล้วนแล้ว แต่ถูกนำ�มาใช้ มีการประดิษฐ์ตัวพิมพ์โลหะ เช่น คเยมีจาและคา บินจา ในรัชสมัยพระเจ้าแทจงและพระเจ้าเซจง ทำ�ให้พิมพ์หนังสือ ได้เป็นจำ�นวนมาก ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของราชวงศ์โชซอน ราชวงศ์โชซอนคงความสัมพันธ์อันดีกับราชวงศ์หมิงของจีน ทั้ง สองราชวงศ์ต่างส่งราชทูตไปมาหาสู่กันทุกปี ทั้งมียังแลกเปลี่ยน ทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง โชซอนยังได้ ยอมรับคำ�ร้องขอของญี่ปุ่นที่ต้องการให้เปิดท่าเรือขึ้นที่ปูซาน ชิน แฮและอุลซัน เพื่อทำ�การค้าแบบทวิภาคี ในปี 1443 โชซอนได้ลง นามทำ�ข้อตกลงการค้าแบบทวิภาคีกับผู้น�ำ ตระกูลสึชิมะของญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังได้ทำ�การค้ากับประเทศในเอเชีย เช่น ริวกิว สยาม และชวา

อังบูอิลกู (โชซอน ศตวรรษ ที่ 17-18) นาฬิกาแดด สามารถแสดง ได้ทั้งการเปลี่ยนแปลงเวลา และฤดูกาล (ซ้าย) (ที่มา: พิพิธภัณฑ์ พระราชวังแห่งชาติเกาหลี) เครื่องวัดปริมาณน้�ำ ฝน (โช ซอน ศตวรรษที่ 18) เครื่องวัดปริมาณน้�ำ ฝนนี้ เคยติดตั้งอยู่ในอาคารซอน ฮวาดัง เมืองแดกู (ด้านขวา)

207


การพัฒนาทักษะงานฝีมือ เครื่องลายครามถือเป็นตัวแทนงานหัตถกรรมที่โดดเด่นที่สุดในรัช สมัยโชซอน มีการใช้เครื่องสังคโลกสีฟ้าเทาหรือเครื่องกระเบื้อง สีขาวกันอย่างกว้างขวางทั้งในราชสำ�นักและกรมกองต่างๆ ฝีมือ การปั้นเครื่องลายครามได้พัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุดในช่วงประมาณ ศตวรรษที่ 16 เครื่องกระเบื้องสีขาวเน้นการปั้นแต่งแบบเรียบง่าย ขาวสะอาดตามธรรมเนียมนิยมตั้งแต่สมัยโครยอ ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบ ของเหล่านักปราชญ์ขงจื๊อผู้ที่มีรสนิยมชั้นสูง อิมจิน แวรัน (การรุกรานของญี่ปุ่นปี 1592) โชซอนมีความสัมพันธ์อันดีกับญี่ปุ่นตลอดช่วงศตวรรษที่ 14 และ 15 อย่างไรก็ตาม เมื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 16 ญี่ปุ่นได้เรียกร้อง โถเครื่องกระเบื้องสีขาว ลายลูกพลัม ไผ่และนก (โชซอน ศตวรรษที่ 15) โถนี้ทำ�ขึ้นในช่วงต้นรัช สมัยโชซอน ลวดลายใบ ไผ่และนกน้อยบนกิ่งต้น พลัมแสดงถึงทิวทัศน์อัน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ เกาหลี (ที่มา: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ เกาหลี)

ส่วนแบ่งในการค้าแบบทวิภาคีมากขึ้น แต่โชซอนปฏิเสธที่จะ ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องนั้น ญี่ปุ่นสร้างความปั่นป่วนให้กับโชซอน โดยก่อความวุ่นวายขึ้นโดยการก่อกบฎใน 3 เมืองท่าเรียกว่า ซัม โพแวรัน (ปี 1510) การบุกโจรกรรมอึลมโยที่เรียกว่า อึล มโยแวบยอน (ปี 1555) โทโยโตมิ ฮิเดโยชิได้รวบรวมอาณาจักร ญี่ปุ่นให้เป็นหนึ่งเดียว เป็นการสิ้นสุดช่วงยุคสงครามระหว่างรัฐ ที่ยาวนานมาถึง 120 ปี หลังจากนั้นในปี 1592 เขายกกองกำ�ลัง ราว 200,000 คนเข้าบุกโชซอน โดยหวังที่จะลดทอนอำ�นาจจาก เหล่าโชกุน (นายพลทหารญีุ่ปุ่น) และสร้างฐานอำ�นาจในญี่ปุ่น ให้มั่นคงตั้งแต่ ปี 1592-1598 เป็นเวลากว่า 7 ปี มีสงคราม เกิดขึ้น 2 ครั้ง สงครามนี้เรียกว่า อิมจินแวรัน (การ รุกรานของญี่ปุ่นปี 1592) พระเจ้าซอนโจทรงลี้ภัยไปยังอึยจู ซึ่งอยู่ใกล้กับรา ชวงศ์หมิงของจีนและขอให้หมิงช่วยต่อสู้กับกองทัพ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นกรีธาทัพบุกเข้าไปในแคว้นทางตอนเหนือ ของโชซอน ชาวเกาหลีทั่วเขตแคว้นดินแดนต่างพากัน จับอาวุธขึ้นสู้เพื่อปกป้องแผ่นดิน และที่จะลืมไปไม่ได้ก็คือ มหายุทธนาวีที่พลเรือเอกลี ซุน-ซินได้นำ�กองทัพเรือโช

208


ซอนบุกเข้าพิชิตญี่ปุ่นผู้บุกเข้ารุกรานครั้งแล้วครั้งเล่าและยืนหยัด ป้องกันอู่ข้าวอู่น้ำ�ของชาติในจังหวัดชอลลาโดเอาไว้ได้ กองทัพ ญี่ปุ่นถอนกำ�ลังออกจากเกาหลี แต่ก็เข้าบุกโจมตีโชซอนอีกครั้ง ในปี 1597 แม้ว่าจะเหลือเรือรบเพียง 13 ลำ� แต่จอมทัพเรือลี ซุน-ซินก็สามารถพิชิตกองทัพญี่ปุ่นที่มีเรือรบถึง 133 ลำ�ได้ ศึก มหานทีในช่องแคบมยองรยังนับเป็นสงครามประจัญบานครั้งยิ่ง ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่เคยมีมา ควรค่าแก่การจารึกไว้ในหน้า ประวัติศาสตร์ยุทธนาวีของโลก หลังจากที่โทโยโตมิ ฮิเดโยชิสิ้นชีพ กองทัพญี่ปุ่นก็ล่าถอยกลับ มาตุภูมิ สงครามยาวนานเจ็ดปีนี้ได้ทำ�ลายแหล่งมรดกทางวัฒน ธรรมในโชซอนไปมากมาย ซึ่งรวมถึงวัดพุลกุกซาด้วย ทหาร ญี่ปุ่นช่วงชิงหนังสือ ตัวพิมพ์และงานศิลปะไปจากโชซอน ญี่ปุ่นใช้ ของที่ปล้นชิงมาได้นี้เพิ่มพูนความรู้ความเชี่ยวชาญและศิลปกรรม ในประเทศของตน ส่วนช่างปั้นที่กองทัพญี่ปุ่นได้ลักพาตัวไปจาก โชซอนก็ช่วยญี่ปุ่นพัฒนาวัฒนธรรมทางด้านเครื่องลายครามของ ตนเองขึ้นมา การพัฒนาวัฒนธรรมในระดับรากหญ้า ในช่วงปลายรัชสมัยโชซอน ประเทศก้าวเข้าสู่การพัฒนาทาง ด้านอุตสาหกรรมและการค้า เด็กหลายคนสามารถเลือกศึกษาใน โรงเรียนเอกชนใกล้บ้านได้ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและ เริ่มสนใจแสวงหาความบันเทิงรูปแบบต่างๆ มีการตีพิมพ์งานเขียน มากมายโดยใช้ระบบฮันกึลซึ่งอ่านและเข้าใจได้ง่าย เมื่อเทียบกับ วรรณกรรมที่เขียนด้วยตัวอักษรจีน มีการพัฒนาการแสดงต่างๆ เช่น พันโซรี (การร้องเพลงเล่าเรื่อง) และระบำ�หน้ากาก พันโซรี เป็นการแสดงที่สร้างความครื้นเครงเป็นอย่างมาก ด้วยวิธีการเล่า เรื่องผ่านการพรรณนาขับขาน ทำ�ให้ได้รับความนิยมเป็นวงกว้าง พัฒนาจนกลายเป็นวัฒนธรรมความบันเทิงหลักในหมู่ชนชั้นอาชีพ ตัวตลกจะคอยเพิ่มหรือตัดทอนเรื่องราวในขณะเล่าเรื่อง ส่วนผู้ชม ก็สามารถร่วมสนุกไปกับการแสดงได้ด้วยการตะโกนคำ�พูดหรือ ชู 209


ซันแดโนรี การแสดงบนเวทีแบบ ดั้งเดิม นักแสดงชายหญิง จะสวมหน้ากากเล่าเรื่อง ขำ�ขัน ร่ายรำ�และขับขาน เป็นต้น

อิมแซเข้ากับจังหวะเพลง ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ซิน แจฮโย ได้เรียบเรียงพันโซรีซาซอล (เพลงเล่าเรื่อง) ขึ้นใหม่ บทเพลง พันโซรีชั้นนำ�ห้าเรื่อง ได้แก่ ชุนฮยังกา (เพลงแห่งชุนฮยัง) ซิม ซองกา (เพลงแห่งซิม ซอง) ฮึงโบกา (เพลงแห่งฮึงโบ) ชอกพยอก กา (เพลงแห่งชอกพยอก) และ ซูกุงกา (เพลงแห่งซูกุง) ละครสวม หน้ากาก เช่น ทัลโนรีและซันแดโนรี ก็เป็นการแสดงที่ได้รับความ นิยมอีกประเภท

การล่มสลายของราชวงศ์โชซอน: การผนวกดินแดนเกาหลีของจักรวรรดิญป ่ี น ุ่ หลังจากที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเปิดฉากขึ้นในศตวรรษที่ 18 ระบบทุนนิยมได้แผ่ขยายความเจริญเข้าไปในยุโรป เกิดธุรกิจการ สนธิสัญญาคังฮวาโด สนธิสัญญาคังฮวาโด เป็น สนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เป็นอย่างยิ่ง เป็นสนธิ สัญญาฝ่ายเดียวที่เกิดจาก การข่มขู่ทางการทหาร โดยโชซอนและญี่ปุ่นได้ลง นามสนธิสัญญานี้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ปี 1876

210

ค้าขนาดใหญ่มากมาย ประเทศในยุโรปขยายอาณานิคมเข้าไปยัง เอเชียและแอฟริกา ประมาณกลางศตวรรษที่ 19 มหาอำ�นาจตะวัน ตกบีบบังคับให้ราชวงศ์ชิงและญี่ปุ่นเปิดประเทศ แล้วเรียกร้อง ให้อาณาจักรโชซอนเปิดประตูการค้าด้วยเช่นกัน แต่โชซอนไม่ ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องนั้น โชซอนไม่ยอมอ่อนข้อให้กับชาติตะวัน


ตกที่ใช้ก�ำ ลังทหารกดดันให้โชซอนเปิดประเทศ โดยฝรั่งเศสและ อเมริกาได้ส่งกองทัพเรือเข้าโจมตีในปี 1866 และ 1871 ตามลำ�ดับ หลังจากเหตุการณ์นี้ มหาอำ�นาจตะวันตกก็ยังไม่หยุดสร้างแรง กดดัน ในปี 1875 ญี่ปุ่นส่งเรือรบอุนโยโฮ เข้าจู่โจมเกาะคังฮวา โดและเกาะยองจงโด เรียกร้องให้โชซอนเปิดประตูการค้ากับญี่ปุ่น ในที่สุดโชซอนก็ถูกบีบบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาคังฮวาโด กับญี่ปุ่นในปี 1876 ซึ่งเป็นสนธิสัญญาฝ่ายเดียวที่มีความไม่เป็น ธรรมเป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้นเหล่ามหาอำ�นาจจักรวรรดินิยมซึ่งรวมทั้งญี่ปุ่น ก็เข้า มาตักตวงนำ�เอาทรัพยากรของโชซอนไป ในปี 1897 โชซอน

ผู้น�ำ รัฐบาลชั่วคราว ผู้น�ำ รัฐบาลชั่วคราวมี บทบาทสำ�คัญยิ่งในการ เคลื่อนไหวเพื่อเอกราช นับตั้งแต่ก่อตั้งรัฐบาล ชั่วคราวที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศ จีนในเดือนเมษายน 1919 จนถึงการประกาศ อิสรภาพในเดือนสิงหาคม 1945

211


เปลี่ยนชื่อเป็นจักรวรรดิเกาหลีและเร่งรัดปฏิรูปประเทศทั้งยังใช้ นโยบายเปิดประตูการค้า หากแต่ว่าหมากตานี้เดินช้าเกินไป ญี่ปุ่น ชนะสงครามครั้งใหญ่กับจักรวรรดิจีนในสมัยราชวงศ์ชิงและ รัสเซีย กลายเป็นมหาอำ�นาจในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และ บุกเข้ายึดครองโชซอน อัน จุง-กึนและเหล่าวีรชนผู้รักชาติพา กันต่อต้านแผนการผนวกดินแดนของญี่ปุ่น แต่ก็ไม่เป็นผลสำ�เร็จ ในที่สุดจักรวรรดิเกาหลีก็ตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นในเดือน สิงหาคม 1910

การเคลือ ่ นไหวเพือ ่ เอกราช ในช่วงที่ตกเป็นเมืองขึ้น (1910-1945) ญี่ปุ่นปล้นสะดมแย่งชิงเอา ทรัพยากรของโชซอน สั่งห้ามไม่ให้ใช้ภาษาเกาหลี ถึงขนาด ออกคำ�สั่งให้เปลี่ยนชื่อในปี 1939 บังคับให้คนเกาหลีเปลี่ยนมาใช้ ชื่อนามสกุลญี่ปุ่นแทน และเกณฑ์คนเกาหลีมาใช้แรงงานหรือเข้า ร่วมกองทัพเพื่อทำ�สงครามแปซิฟิก ชาวเกาหลีต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ ได้มาซึ่งเอกราช พวกเขาก่อตั้งองค์กรลับขึ้น เช่น ทงนิบอึย กุนบู โชซอนกุกกวอนฮเวบกดัน แทฮันควังบกฮเว ต่างๆ เพื่อ ต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นที่อยู่ในเกาหลี นอกจากนี้ยังตั้งฐานปฏิบัติ การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชในจีน รัสเซียและอเมริกา ในเดือน มีนาคม 1919 ผู้น�ำ เกาหลีได้ประกาศเรียกร้องเอกราชจากญี่ปุ่น ทั้งนักเรียนและประชาชนต่างออกมาเดินขบวนเรียกร้องอิสรภาพ กันทั่วประเทศ การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชนี้แผ่ขยายไปทั่ว ชาว เกาหลีทั้งในแมนจูเรีย เขตปรีโมร์สกีไกร (ทางชายฝั่งตะวันออก ประเทศรัสเซีย) สหรัฐอเมริกา ยุโรปและแม้แต่ในญี่ปุ่นเองต่าง ก็ออกมาเรียกร้องเอกราช หลังจากเหตุการณ์การเคลื่อนไหว นี้ ได้มีการจัดตั้งองค์กรของเกาหลีขึ้นในโซลที่เรียกว่า ฮันซอง จองบู ในเขตปรีโมร์สกีไกร เรียกว่า แทฮันกุกมินอึยฮเว รวมทั้ง รัฐบาลชั่วคราวในเซี่ยงไฮ้ รัฐบาลชั่วคราวแห่งเกาหลีที่จัดตั้งขึ้น ในเซี่ยงไฮ้ ถือเป็นรัฐบาลแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยชุดแรก ของประเทศ มีการนำ�เอารัฐธรรมนูญสมัยใหม่มาใช้ รวมถึงระบบ 212


การเมืองที่แบ่งแยกอำ�นาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่าย นิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งขบวนการต่อสู้ติดอาวุธต่อต้านญี่ปุ่น ในช่วง ทศวรรษ 1920 มีกองทัพอิสรภาพเกาหลีกว่า 30 กองได้เข้ามีส่วน ร่วมในการต่อต้านญี่ปุ่นในแมนจูเรียและเขตปรีโมร์สกีไกร ใน เดือนมิถุนายน 1920 กองทัพอิสรภาพเกาหลีนำ�โดยฮง บอม-โด ได้ ทำ�ลายล้างกองทัพทหารญี่ปุ่นในเฟิงวูทุง มณฑลจี๋หลิน ประเทศจีน อย่างย่อยยับ ในเดือนตุลาคม 1920 อาสาสมัครนักรบเกาหลีนำ� โดยคิม ชวา-ชินเอาชนะกองกำ�ลังญี่ปุ่นในเหอหลงเซียน แมนจูเรีย ได้อย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งคนเกาหลีเรียกศึกนี้ว่า “สงครามแห่งชองซัลลี” ในปี 1940 รัฐบาลชั่วคราวแห่งเกาหลีได้จัดตั้งกองกําลังปลด ปล่อยเอกราชแห่งเกาหลี (Korean Liberation Army) ขึ้นที่ ฉงชิ่ง รวบรวมอาสาสมัครนักสู้เพื่อเสรีภาพที่กระจายตัวอยู่ใน แมนจูเรีย รัฐบาลชั่วคราวแห่งเกาหลีประกาศสงครามกับญี่ปุ่นและ ส่งกองกำ�ลังเข้ารบในแนวหน้าที่อินเดียและเมียนม่าเพื่อต่อสู้เคียง ข้างกองทัพพันธมิตร มีคนเกาหลีบางคนได้รับการฝึกฝนพิเศษ จากหน่วยรบพิเศษของสหรัฐอเมริกาเพื่อให้พร้อมต่อกรกับกอง กำ�ลังญี่ปุ่นในเกาหลี และแล้วเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1945 ในที่สุด ชาวเกาหลีก็ได้รับอิสรภาพกลับคืนหลังจากที่เฝ้ารอมาอย่างเนิ่น นาน เนื่องมาจากการพ่ายสงครามแปซิฟิกของญี่ปุ่น กองกำ�ลัง สหรัฐอเมริกาและโซเวียตถูกส่งไปทางตอนใต้และเหนือของเส้น ขนานที่ 38 เพื่อปลดกำ�ลังญี่ปุ่นที่ยังหลงเหลืออยู่ในคาบสมุทร เกาหลี

การเปลีย ่ นแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตยและการกลายเป็นมหาอำ�นาจทางเศรษฐกิจ ในเดือนพฤษภาคม 1948 ได้มีการจัดการเลือกตั้งในระบอบ ประชาธิปไตยขึ้นครั้งแรกในเกาหลีใต้ ภายใต้การควบคุมของ องค์การสหประชาติ เพื่อเลือกสมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำ�นวน 198 คน และในวันที่ 17 เดือนกรกฎาคมของปีเดียวกัน ได้มี 213


การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ลีซึงมานและลีซียอง นักสู้เพื่อ เอกราชที่ชาวเกาหลีต่างให้ความเคารพยิ่งได้รับการแต่งตั้งให้ เป็นประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ สาธารณรัฐเกาหลีได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1948 ใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยสืบทอดนิติธรรม แห่งจักรวรรดิเกาหลี องค์การสหประชาชาติถือว่ารัฐบาลของ สาธารณรัฐเกาหลีเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงรัฐบาลเดียว ในคาบสมุทรเกาหลี การเลือกตั้งทางตอนเหนือของเส้นขนานที่ 38 ภายใต้การควบคุม ขององค์การสหประชาชาติไม่สามารถกระทำ�ได้ เนื่องจากการ ต่อต้านของสหภาพโซเวียต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ทางด่วนคยองบู ทางด่วนเส้นแรกของ ประเทศ เชื่อมระหว่างกรุง โซลกับเมืองปูซาน เปิดให้ บริการเมื่อปี 1970

214

เกาหลีได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 1945 ในฐานะ ประเทศคอมมิวนิสต์ โดยคิม อิล-ซ็องผู้เคยเป็นนายทหารใน กองทัพโซเวียตเข้าพิธีสาบานตนรับตำ�แหน่งประธานาธิบดี รัฐบาล


สาธารณรัฐเกาหลีนำ�โดยประธานาธิบดีลีซึงมันได้เผชิญหน้ากับ สารพันปัญหาที่ถาโถมเข้ามา เช่น การจัดระเบียบประเทศ การ ถอนรากถอนโคนการปกครองแบบอาณานิคมที่หลงเหลืออยู่และ ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายซ้ายกับฝ่ายขวา เป็นต้น อันเป็นช่วงเวลา วิฤกตที่ประเทศแบ่งฝ่ายการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตยทาง ตอนใต้และเผด็จการคอมมิวนิสต์ทางตอนเหนือ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 กองทัพเกาหลีเหนือพร้อมด้วยรถถัง โซเวียตนำ�กำ�ลังทหารเข้าบุกโจมตีเกาหลีใต้ เป็นการเปิดสงคราม อย่างเต็มตัว คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติอย่าง เป็นเอกฉันท์ประณามการกระทำ�ของเกาหลีเหนือและประกาศ แนวทางแก้ไขเสนอให้กับประเทศสมาชิกเพื่อให้ความช่วยเหลือ ด้านการทหารแก่เกาหลีใต้ เนื่องจากการแทรกแซงของกองกำ�ลัง ของสหประชาชาติ ทำ�ให้เกาหลีเหนือตกอยู่ในสถานการณ์ที่เป็น รอง กองทัพจีนแดงจึงส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือเกาหลีเหนือ ทั้งสอง ฝ่ายต่างต่อสู้ห้ำ�หั่นกันอย่างไม่ลดละ จนกระทั่งวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 จึงได้ลงนามข้อตกลงสงบศึกเกาหลี (Korean Armistice Agreement) แต่ประธานาธิบดีลีซึงมันไม่ยอมลงนามในข้อตกลง นี้ เขาเชื่อว่าสาธารณรัฐเกาหลีควรทำ�สงครามต่อไปเพื่อรวมชาติ ให้เป็นหนึ่งเดียวซึ่งจะนำ�ประโยชน์ให้กับเกาหลีใต้ สงครามภายในประเทศที่ยาวนานถึงสามปีนี้ได้ท�ำ ลายล้าง คาบสมุทรเกาหลีจนย่อยยับ ทหารและประชาชนล้มตายเป็น จำ�นวนนับล้านคน โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ถูกทำ�ลายเสีย หายย่อยยับ เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก แต่ กระนั้นสงครามนี้ได้สอนชาวเกาหลีให้รู้ซึ้งถึงคุณค่าของอิสรภาพ ประสบการณ์นี้ก่อให้เกิดความรักชาติขึ้นในหัวใจของเด็กนักเรียน และความสามัคคีในหมู่ทหารกล้า และกลายเป็นแรงผลักดันอัน สำ�คัญต่อกระบวนการสร้างความทันสมัยของประเทศ ประธานาธิบดี ลีซึงมันได้รวบรวมอำ�นาจไว้อย่างเด็ดขาด ใน ปี 1960 พรรคเสรีนิยมซึ่งเป็นพรรครัฐบาลได้โกงการเลือกตั้ง ประธานาธิบดี นักเรียนนักศึกษาต่างพากันออกมาเดินขบวน 215


ประท้วง สถานการณ์เลวร้ายลงเมื่อผู้ชุมนุมหลายคนถูกตำ�รวจยิง ทำ�ร้าย ประธานาธิบดี ลีซึงมันประกาศลงจากตำ�แหน่งและลี้ภัยไป ยังฮาวาย หลังจากนั้นไม่นานก็มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและนำ�การ ปกครองระบบรัฐสภาและสมัชชาแห่งชาติแบบสองสภามาใช้ภาย ใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นายกรัฐมนตรีจัง เมียนก้าวขึ้นเป็นผู้นำ� แต่สถานการณ์ทางการเมืองเปราะบางเป็นอย่างมาก ท่ามกลาง ปัญหาทางการเมืองที่รายล้อมและการเดินขบวนประท้วงของกลุ่ม นักศึกษาซึ่งยังคงออกมาเรียกร้องอย่างต่อเนื่อง ในเดือนพฤษภาคม 1961 ปัก ชอง-ฮีนำ�กำ�ลังทหารก่อรัฐประหาร ยึดอำ�นาจ หลังจากปกครองภายใต้ระบอบทหารอยู่สองปี ก็ได้ จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีขึ้นในเดือนตุลาคม 1963 ปัก ชองฮีซึ่งเวลานั้นได้เกษียณอายุจากราชการทหารแล้วได้รับเลือก ให้เป็นประธานาธิบดีและเข้ารับตำ�แหน่งในเดือนธันวาคมปี เดียวกัน รัฐบาลของประธานาธิบดีปัก ชอง-ฮีจัดทำ�แผนพัฒนา เศรษฐกิจ 5 ปี ภายใต้แนวคิด “นำ�พาแผ่นดินปิตุภูมิก้าวล้ำ�นำ�สมัย” (modernization of the fatherland) และเน้นนโยบายการส่ง ออก ทำ�ให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เหล่านัก สังเกตการณ์พากันเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำ� ฮันกัง” เกาหลีได้พยายามอย่างหนักในการพัฒนาพื้นที่ภายใน ประเทศ มีโครงการพัฒนาเกิดขึ้นมากมาย รวมทั้งการก่อสร้างทา งด่วนคยองบูและเส้นทางรถไฟใต้ดินในเมืองใหญ่ นอกจากนี้ยัง มีการเคลื่อนไหวของชุมชนใหม่หรือแซมาอึล อุนดงเกิดขึ้น เพื่อ เปลี่ยนแปลงสังคมการเกษตรที่ยากจนให้กลายเป็นประเทศที่เน้น อุตสาหกรรมเป็นหลัก หลังจากที่รัฐบาลประกาศแผนปฏิรูปฟื้นฟูประเทศหรือยูซิน เมื่อ เดือนตุลาคม 1972 โดยขยายวาระการดำ�รงตำ�แหน่งหลังจาก ปกครองประเทศแบบเผด็จการมากว่า 18 ปี เหล่านักศึกษาและ ประชาชนต่างรวมพลังออกมาเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย หลัง จากที่ประธานาธิบดีปักถูกลอบสังหารในเดือนตุลาคม 1979 เจ้า หน้าที่ทหารกลุ่มใหม่นำ�โดยนายพลชอนดูฮวัน (ซินกุนบู) ก็ทำ� 216


รัฐประหารเข้ายึดอำ�นาจ กำ�ลังพลซินกุนบูน�ำ โดยชอนดูฮวันใช้ อำ�นาจทางการทหารปิดกั้นเสียงเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งรวม ถึงการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในวันที่ 18 พฤษภาคม ชอน ดูฮวันได้เข้าพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีและปกครองประเทศ แบบอำ�นาจนิยม รัฐบาลของชอน ดู ฮวันเน้นการสร้างเสถียรภาพ ทางเศรษฐกิจ สามารถควบคุมราคาสินค้าที่ขึ้นเฟ้อได้ส�ำ เร็จ นำ�พา เศรษฐกิจของประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง ในเดือนมิถุนายน 1987 โนแทอู ผู้ชิงตำ�แหน่งประธานาธิบดีของ พรรคฝ่ายรัฐบาล ได้ประกาศว่าเขาจะยอมรับข้อเรียกร้องของ ประชาชนที่ต้องการให้ประเทศมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง ในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน เขาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี โดยมีวาระ 5 ปี และ เข้าพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีในเดือนกุมภาพันธ์ 1988 รัฐบาลของโรห์ แท-วูได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศ คอมมิวนิสต์ ได้แก่ สหภาพโซเวียต จีนและประเทศในยุโรปตะวัน ออก และในยุครัฐบาลนี้เองที่เกาหลีทั้งสองได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก องค์การสหประชาชาติพร้อมกันในเดือนกันยายน 1991 คิม ยอง-ซัมได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีในปี 1993 รัฐบาลคิม ยอง-ซัมพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะขจัดการทุจริต โดยออกกฎให้ ข้าราชการชั้นสูงลงทะเบียนทรัพย์สินและห้ามไม่ให้ใช้ชื่อปลอม ในการทำ�ธุรกรรมทางการเงินทุกรูปแบบ มาตรการนี้ช่วยให้การ ทำ�ธุรกรรมมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลยังนำ�ระบบ การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นมาใช้อย่างเต็มที่ คิม แดจุงได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีในปี 1998 รัฐบาลคิม แดจุงประสบความสำ�เร็จในการฝ่าวิฤกตเงินตราต่างประเทศที่ ซัดกระหน่ำ�ประเทศเมื่อหนึ่งปีก่อน เขาพยายามอย่างหนักที่จะ พัฒนาระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจแบบตลาด ในด้าน ความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ รัฐบาลได้น�ำ “นโยบายตะวันฉาย” (sunshine policy) มาใช้ ในเดือนมิถุนายน 2000 ผู้น�ำ ของเกาหลี ทั้งสองได้มาพบกับที่งานประชุมผู้น�ำ สุดยอดซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเปียง217


ปัก กึน เฮ ประธานาธิบดี คนที่ 18 เข้าดำ�รงตำ�แหน่งเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ 2013 ในฐานะ ประธานาธิบดีหญิงคนแรก ของประเทศ

ยางในเกาหลีเหนือและประกาศแถลงการณ์ร่วม จากนั้นเกาหลีทั้ง สองประเทศก็สร้างระบบความปรองดองและความร่วมมือกันขึ้น ทั้งยังยินยอมให้สมาชิกในครอบครัวที่พลัดพลากจากกันได้กลับ มาพบกันอีกครั้ง เชื่อมต่อสายรถไฟคยองอึยและทงแฮ ปลุกการ เคลื่อนไหวเพื่อความปรองดองโดยมีภาคเอกชนเป็นแกนนำ�และ ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมถึงการท่องเที่ยวที่ภูเขาคึมกัง ซาน รัฐบาลโรห์ มูเฮียนเข้ารับตำ�แหน่งในปี 2003 มุ่งเน้นการทำ�งาน สามประการ คือ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมและตระหนักถึง ระบอบประชาธิปไตย การพัฒนาสังคมแบบสมดุลและการสร้าง เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมุ่งเน้นที่สันติภาพและความเจริญ รุ่งเรืองเป็นหลัก นอกจากนี้รัฐบาลยังได้จัดการประชุมผู้นำ�สุดยอด ครั้งที่สองระหว่างผู้น�ำ เกาหลีขึ้นที่กรุงเปียงยางเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2007 และลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกา รัฐบาลลีมยองบักเข้ารับตำ�แหน่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2008

218


ประกาศใช้ห้าตัวบ่งชี้นำ� เพื่อสร้างระบบการพัฒนาขึ้นใหม่โดย เน้นที่การเปลี่ยนแปลงและความสะดวกในการนําไปใช้เป็นหลัก รัฐบาลเน้นย้ำ�อย่างหนักแน่นว่าจะทำ�งานเพื่อรับใช้ประชาชน นอกจากนี้ยังพยายามลดหน่วยงานรัฐบาล แปรรูปรัฐวิสาหกิจ (รวมทั้งทำ�ให้องค์กรบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น) และปฏิรูประเบียบการบริหารนโยบาย มีการใช้นโยบายอื่นๆ โดย การร่วมเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาในแนวทางที่สอดคล้องกับ สถานการณ์ในศตวรรษที่ 21 และการนำ�พาเกาหลีให้เป็นสากล ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ นางปัก กึน เฮ คือสตรีคนแรกของประเทศที่ได้รับการเลือกตั้งให้ เป็นประธานาธิบดีเมื่อเดือนธันวาคม 2012 และเข้ารับตำ�แหน่งเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ 2013 รัฐบาลปัก กึน เฮ นำ�เสนอวิสัยทัศน์แบบ ใหม่ คือ การพัฒนาประเทศและความสุขของประชาชน กว่า 65 ปีที่ผ่านมา (1948-2013) เกาหลีได้เปลี่ยนจากหนึ่งใน ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกมาเป็นขุมพลังทางเศรษฐกิจและ ต้นแบบของการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรี นับเป็น ตัวอย่างการพัฒนาที่สมควรจารึกไว้ในประวัติศาสตร์โลก

219


ประวัติศาสตร์โดยสังเขป เกาหลีมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานซึ่งดึงดูดความสนใจของผู้คนให้มาสัมผัส ซัมกุก ซากี (บันทึกประวัติศาสตร์อาณาจักรทั้งสาม) และซัมกุก ยูซา (ตำ�นาน แห่งอาณาจักรทั้งสาม) แบ่งประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ชิลลาออกเป็น3สมัย ได้แก่ ราชวงศ์ชิลลาตอนต้น ตอนกลางและตอนปลาย ยุคสามราชอาณาจักร ชิลลา(57 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 935) แพ็กเจ (18 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 660) โคกูรยอ (37 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 668)

เครื่องปั้นดินเผา ลายเส้น เครื่องปั้นยุคหิน ใหม่มีลวดลาย เรขาคณิต เช่น จุด เส้น วงกลม บนพื้นผิว

มงกุฎทอง (ชิลลา ศตวรรษที่ 6) มงกุฎทองยอดทรงกิ่งไม้สามแฉกและทรง เขากวางสองแฉก ตัวเรือนประดับประดาด้วย แผ่นทองคำ�ทรงกลมและหยกรูปลูกน้ำ� ที่มีรูป ทรงใบไม้ห้อยระย้าประดับอยู่สองข้าง

ยุคสัมฤทธิ์ โคโชซอน ยุคซัมฮัน

กริชสัมฤทธิ์ศิลปะเหลียวหนิงและ กริดสัมฤทธิ์แบนบาง ดาบสองเล่มนี้เป็นดาบสัญลักษณ์ ในสมัยยุคสัมฤทธิ์จนถึงยุคเหล็ก ตอนต้น

คายา (42~562) ชุดและหมวกเกราะ ทำ�ขึ้นในยุคคายา (ศตวรรษที่ 5) แผ่นโลหะ ตีโค้งให้เหมาะกับสรีระร่างกายมนุษย์และ ตรึงเข้ากันด้วยตะปู

ยุคเหล็ก พูยอ

ยุคหินเก่า ยุคหินใหม่

เกาหลี ปีก่อนคริสตกาล 5000

2000

1000

500

200

100

ค.ศ.

200

300

400

500

จีน สุย (581~618)

ยุคสัมฤทธิ์ ยุครณรัฐหรือยุคเลียดก๊ก (475~221) ฉิน (221~206) ฮั่นตะวันตก (206 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 25)

ซาง (1600~1046) โจว (1046~256)

ยุคอาณาจักรเหนือใต้ (420~589)

ยุคชุนชิว (770~476) ฮั่นตะวันออก (25~220)

ตะวันตก

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ราชวงศ์อียิปต์โบราณ

อารยธรรมกรีก การก่อตั้งจักรวรรดิโรมัน (735) โสเครตีส (470~399) อเล็กซานเดอร์มหาราช (356~323)

220

ยุคอาณาจักรทั้งสาม (220~280) ชิน (265~420)

การประสูติของพระเยซูคริสต์ จักรวรรดิโรมันประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็น ศาสนาประจำ�รัฐ (392) การแบ่งกรุงโรมเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตก (395) จูเลียส ซีซาร์ (101~44) สงครามพิวนิกครั้งที่ 1 (264~241) สงครามพิวนิกครั้งที่ 2 (219~201) สงครามพิวนิกครั้งที่ 3 (149~146)

แองโกล-แซก ซอนสร้าง อาณาจักรใน อังกฤษ (449) มาโฮเมด (570~632)


หลักการแบ่งยุคสมัยตามราชวงศ์เช่นนี้ใช้มาถึงต้นศตวรรษที่ 20 อย่างไรก็ตามในการศึกษาประวัติศาสตร์ยุคใหม่ตอนต้น มีการนำ�ระบบใหม่มาใช้อย่างแพร่หลายตามระเบียบวิธีแบบตะวันตก

โชซอน (1392-1910)

อาณาจักรรวมชิลลา (676~935) พระพุทธรูป ณ คูหาซ็อกกูรัม ผลงานนี้แสดงถึงความ งามแห่งสุนทรียะในสมัย อาณาจักรรวมชิลลา พระพุทธรูปพระศากยมุนี ปางสมาธิ

ฟุตบอลโลกฟีฟ่าปี 2002 ณ ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น ฮุนมินจองอึม หนังสือเล่มนี้อธิบายระบบ การเขียนฮันกึล ฮึนกึลเป็น ระบบเขียนของเกาหลีที่ สร้างขึ้นโดยพระเจ้าเซจง (1418~1450)

โครยอ (918~1392)

สงครามเกาหลี (1950~1953)

หอพระไตรปิฎกชางเกียนพันชอนแห่งวัดแฮอินซา พระไตรปิฎกเกาหลี (หนังสือพระไตรปิฎกฉบับ ภาษาเกาหลีหรือคัมภีร์พุทธศาสนา) แกะสลักบนแม่ พิมพ์ไม้ 81,258 ชิ้น เป็นการทำ�คัมภีร์พุทธศาสนาที่ ละเอียดและเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยปรากฏมา

การจัดตั้งรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (1948) จักรวรรดิเกาหลี (1897-1910)

พัลแฮ (698~926)

600

700

ถัง (618~907)

900

โอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 24 ณ กรุงโซล (1988)

1000

1100

1200

1300

ซ่ง (960~1279)

1400

1500

หมิง (1368~1644)

ยุคห้าราชวงศ์และสิบ อาณาจักร (907~960)

1800

1900

ชิง (1616~1911)

2000

การสถาปนา สาธารณรัฐประชาชน จีน (1949)

หยวน (1271~1368)

การสถาปนาสาธารณรัฐจีน (1912)

สงครามครูเสดครัง้ ที่ หนึ่ง (1096~1099) มาร์โค โปโล (1254~1324) การจัดตั้งรัฐธรรมนูญ (1215) ชาร์ลมหาราชเป็น จักรพรรดิโรมันตะวัน ตก (800) ฮิจร่า (622) ปีแรกของปฏิทินอิสลาม

สงครามร้อยปี(1344~1434) โยฮันน์ กูเทนเบิร์กพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์ (1455) โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา (1492) มาร์ติน ลูเธอร์ปฏิรูปนิกายโปรเตสแตนต์ (1517)

สงครามโลกครั้งที่ 1 (1914~1918) สงครามโลกครั้งที่ 2 (1939~1945) สงครามกลางเมืองอเมริกา (1861~1865) สหรัฐอเมริกาประกาศอิสรภาพ (1776) การปฏิวต ั ฝ ิ รัง่ เศส (1789~1793) สงครามสามสิบปี (1618~1648)

221


รัฐธรรมนูญและรัฐบาล 정부


7

รัฐธรรมนูญ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการ องค์กรอิสระ เขตปกครองท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


7 รัฐธรรมนูญและรัฐบาล 정부

สาธารณรัฐเกาหลีได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1948 สามเดือนต่อมาได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ชุดแรกขึ้นจำ�นวน 198 คน ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรก ของประเทศภายใต้การควบคุมขององค์การสหประชาติ และวัน ที่ 17 กรกฎาคมของปีเดียวกัน สมัชชาแห่งชาติชุดแรกก็ประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญ เหล่าสมาชิกได้เลือกให้ ลีซึงมัน ประธานาธิบดี คนแรกเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ลีซึงมันเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ทั้งในและนอกประเทศในฐานะผู้น�ำ การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราช ของเกาหลี สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจัดการประชุมครั้งที่ 3 (UN General Assembly) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปารีสในเดือนธันวาคม ปีเดียวกัน มีมติว่ารัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นในตอนใต้ของเส้นขนานที่ 38 เท่านั้นที่เป็นรัฐบาลโดยชอบธรรมของคาบสมุทรเกาหลี

รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญของประเทศเริ่มการดำ�เนินงานในเดือนมิถุนายนปี 1948 และประกาศเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคมในปีเดียวกัน หลังจากที่ ใช้เวลาในการตรารัฐธรรมนูญราว 45 วัน รัฐบาลได้กำ�หนดให้วัน นี้เป็นวันหยุดประจำ�ชาติ การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งแรกทำ�ขึ้นในเดือนกรกฎาคม 1952 ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 9 ซึ่งเป็นครั้งล่าสุดผ่านการลง ประชามติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 1987 รัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ยึดเอาประชาธิปไตยเสรีนิยมเป็นหลักการ 224


พื้นฐานในการปกครองประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับนี้รับรองสิทธิและ เสรีภาพของประชาชนภายใต้ข้อบัญญัติของกฎหมายที่ตราไว้ นอกจากนี้ยังรับรองโอกาสแห่งความเสมอภาคในทุกส่วนภาค ไม่ ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม และตระหนัก ถึงความจำ�เป็นในการจัดตั้งรัฐสวัสดิการ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยัง บัญญัติให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ช�ำ ระภาษี มีส่วนร่วมในการ ป้องกันประเทศ ให้การศึกษาแก่บุตรและประกอบสัมมาชีพ รัฐธรรมนูญระบุไว้ว่าประเทศเกาหลีจะพยายามดำ�รงไว้ซึ่ง สันติภาพระหว่างประเทศ สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกาหลี ได้ลงนามไว้และกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับ ทั่วไปมีผลบังคับใช้เช่นเดียวกับกฎหมายภายในประเทศ ภายใต้ รัฐธรรมนูญนี้สถานภาพของคนต่างด้าวจะได้รับความคุ้มครองตาม ที่กฎหมายและสนธิสัญญาระหว่างประเทศได้บัญญัติไว้

ฝ่ายบริหาร นิตบ ิ ญ ั ญัตแ ิ ละตุลาการ สมัชชาแห่งชาติทำ�หน้าที่เป็นกระบอกเสียงของประชาชน กฎหมายทั้งหมดของประเทศถูกตราขึ้นโดยสมัชชาแห่งชาติ

จำ�นวนที่นั่งของพรรคการเมืองในสมัชชาแห่งชาติชุดที่ 19 พรรค Independent 3 คน พรรค The Unified Progressive (UPP) 13 คน

พรรค แซนูรี 152 คน

สมัชชาแห่ง ชาติชด ุ ที่ 19 พรรค Democratic United 127 คน

(มิ.ย. 2015)

225


ปัจจุบันสมัชชาแห่งชาติมีสมาชิกถาวรทั้งหมด 300 คน โดยแต่ละ คนจะได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำ รงตำ�แหน่ง 4 ปี สมาชิก 246 คนมา จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง อีก 54 คนได้รับเลือกมาจาก พรรคการเมือง เพื่อให้ทุกพรรคมีโอกาสตามสัดส่วน โดยสมาชิก กลุ่มหลังนี้คือผู้แทนวิชาชีพ ในปัจจุบันพรรครัฐบาลคือพรรคแซนู รี (Saenuri) ซึ่งมีจ�ำ นวนที่นั่งมากที่สุดในสมัชชาแห่งชาติ พรรค

โครงสร้างรัฐบาล ประธานาธิบดี • คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (Board of Audit and Inspection) • สำ�นักงานข่าวกรองแห่งชาติ (National Intelligence Service)

• คณะกรรมการกำ�กับดูแลกิจการสื่อสารแห่ง ประเทศเกาหลี (Korea Communications Commission)

นายกรัฐมนตรี • กระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงสาธารณะ (Ministry of Public Safety and Security) • กระทรวงการบริหารงานบุคคล (Ministry of Personnel Management) • กระทรวงการบัญญัติกฎหมายแห่งรัฐ (Ministry of Government Legislation) • กระทรวงรักชาติและกิจการทหารผ่านศึก (Ministry of Patriots and Veterans Affairs) • กระทรวงความปลอดภัยทางอาหารและยา (Ministry of Food and Drug safety)

กระทรวงยุทธศาสตร์และ การคลัง (Ministry of Strategy and Finance)

กระทรวงศึกษาธิการ (Ministry of Education)

กระทรวงยุติธรรม (Ministry of Justice)

กระทรวงกลาโหม (Ministry of Defence)

กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน (Ministry of Trade, Industry and Energy) กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้น ฐานและการคมนาคม (Ministry of Land, Infrastructure and Transport)

226

กระทรวงสาธารณสุขและ สวัสดิการ (Ministry of Health and Welfare)

กระทรวงมหาสมุทรและ ประมง (Ministry of Oceans and Fisheries)

• คณะกรรมการการค้ายุติธรรมแห่งเกาหลี (Korea Fair Trade Commission) • คณะกรรมการบริการทางการเงิน (Financial Services Commission) • คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตและสิทธิพลเมืองแห่ง เกาหลี (Anti-corruption and Civil Rights Commission of Korea) • คณะกรรมการด้านความมั่นคงและปลอดภัยทาง นิวเคลียร์ (Nuclear Safety and Security Commission) กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการ วางแผนในอนาคต (Ministry of Science, ICT and Future Planning) กระทรวงการปกครองและ มหาดไทย (Ministry of Government Administration and Home Affairs)

กระทรวงสิ่งแวดล้อม (Ministry of Environment)

กระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs)

กระทรวงการรวมชาติ (Ministry of Unification)

กระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว (Ministry of Culture, Sports and Tourism)

กระทรวงเกษตร อาหารและ

กระทรวงการจ้างงาน และแรงงาน (Ministry of Employment and Labor)

กระทรวงความเสมอภาค ทางเพศและครอบครัว (Ministry of Gender Equality and Family)

กิจการชนบท (Ministry of Agriculture, Food and Rural Affairs)


ฝ่ายค้านคือพรรคพันธมิตรทางการเมืองใหม่เพือ ่ ประชาธิปไตย (New Politics Alliance for Democracy) สมัชชาแห่งชาติชด ุ แรก จัดตัง้ ขึน ้ ในเดือนพฤษภาคม 1948 สมาชิกของสมัชชาแห่งชาติชด ุ ที่ 19 ซึง่ เป็นชุดปัจจุบน ั (พฤษภาคม 2012 - พฤษภาคม 2016) ได้ รับการเลือกตัง้ เมือ ่ เดือนเมษายน 2012 อาคารสมัชชาแห่งชาติตง้ั อยูท ่ ย ่ี ออึยโดซึง่ อยูต ่ ด ิ กับแม่น�ำ้ ฮันกังทีไ ่ หลผ่านกรุงโซล ฝ่ายบริหารมีประธานาธิบดีเป็นหัวหน้า ทำ�หน้าที่ในการบริหาร ประเทศ ในปัจจุบันการเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นการเลือกตั้ง โดยตรงโดยมีวาระห้าปี ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญนี้ประธานาธิบดี ไม่สามารถดำ�รงตำ�แหน่งต่อในสมัยที่สองได้ ประธานาธิบดีคน ปัจจุบันปัก กึน เฮได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีหญิงคน แรกของประเทศเมื่อวันที่ 19 เดือนธันวาคม 2012 และเข้าดำ�รง ตำ�แหน่งในวันที่ 25 เดือนกุมภาพันธ์ 2013 การประชุมรัฐมนตรีจะมีประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีทำ�หน้าที่ เป็นประธานและรองประธานตามลำ�ดับ พิจารณาหารือเกี่ยวกับ นโยบายที่สำ�คัญตามสิทธิของฝ่ายบริหาร ในกรณีที่ประธานาธิบดี ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ควบคุมดูแล กระทรวงในนามของประธานาธิบดี ในปัจจุบันฝ่ายบริหารแบ่งการ ทำ�งานออกเป็น 2 คณะ 5 สำ�นักงาน 22 กระทรวง (แบ่งเป็น17 และ 5 กระทรวง) 16 หน่วยงานและ 6 ณะกรรมการ ฝ่ายตุลาการประกอบด้วยศาลสูงสุด ศาลอุทธรณ์ ศาลแขวง ศาล ครอบครัว ศาลปกครองและศาลทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น หัวหน้าผู้พิพากษาศาลสูงสุดได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ตามความเห็นชอบของสมัชชาแห่งชาติ ส่วนผู้พิพากษาศาลสูง สุดคนอื่นจะได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาบดีตามคำ�แนะนำ�ของ หัวหน้าผู้พิพากษา มีวาระการดำ�รงตำ�แหน่ง 6 ปี

องค์กรอิสระ นอกจากฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการแล้ว ยังมีหน่วยงาน อื่นที่มีหน้าที่ในการทำ�งานโดยอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญมีสิทธิ์ใน 227


ประธานาธิบดี

ปัก กึนเฮ ประธานาธิบดีสมัยที่ 18 (2013 - )

228

ลี มยองบัก

โน มูฮยอน

ประธานาธิบดีสมัยที่ 17 (2008-2013)

ประธานาธิบดีสมัยที่ 16 (2003-2008)

คิม แดจุง

คิม ยองซัม

โน แทอู

ชอน ดูฮวัน

ประธานาธิบดีสมัยที่ 15 (1998-2003)

ประธานาธิบดีสมัยที่ 14 (1993-1998)

ประธานาธิบดีสมัยที่ 13 (1988-1993)

ประธานาธิบดีสมัยที่ 11 และ 12 (1980-1988)

ชเว กยูฮา

ปัก ชองฮี

ยุน โบซอน

ลี ซึงมัน

ประธานาธิบดีสมัยที่ 10 (1979-1980)

ประธานาธิบดีสมัยที่ 5, 6, 7, 8 และ 9 (1963-1979)

ประธานาธิบดีสมัยที่ 4 (1960-1962)

ประธานาธิบดีสมัยที่ 1, 2 และ 3 (1948-1960)


การตรวจสอบกฎหมายว่าเป็นไปตามหลักรัฐธรรมนูญ พิจารณา ยื่นฟ้องขับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงออกจากตำ�แหน่งและตัดสินใจยุบ พรรคการเมืองภายใต้กรอบตามรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 9 คน แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย โดยแต่ละ ฝ่ายจะได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี สมัชชาแห่งชาติและ หัวหน้าผู้พิพากษาสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญได้รับการแต่งตั้ง โดยประธานาธิบดีตามความเห็นชอบของสมัชชาแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติมีหน้าที่จัดการกับเรื่องที่ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง การลงประชามติ พรรคการเมืองและเงิน ทุนทางการเมือง สมาชิกที่เป็นคณะกรรมการไม่มีสิทธิ์เข้าร่วม พรรคการเมืองหรือทำ�กิจกรรมทางการเมือง มีวาระดำ�รงตำ�แหน่ง 6 ปี ประธานคณะกรรมการมาจากการคัดเลือกในกลุ่มสมาชิก คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่ในการปกป้องและส่ง เสริมสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์โดยการแสดงออกซึ่งความเคารพ และตระหนักถึงศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษย์ ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2001 ด้วยความปรารถนาอย่างแรง กล้าที่จะพัฒนาสิทธิมนุษยชนของประเทศให้ดีขึ้นในระหว่างขั้น ตอนของกระบวนการทางประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังดูแลในเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยว กับชาวต่างชาติที่พำ�นักอาศัยหรือทำ�งานอยู่ในเกาหลี

เขตปกครองส่วนท้องถิน ่ ประเทศเกาหลีนำ�ระบบการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นมาใช้เมื่อ เดือนมิถุนายน 1995 เกาหลีใต้ออกกฎหมายว่าด้วยการปกครอง ส่วนท้องถิ่นมาตั้งแต่ปี 1949 แต่ไม่ได้น�ำ มาใช้ในช่วงที่เกิด เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง เช่น สงครามเกาหลี การ ก่อปฏิวัติในเดือนเมษายน 1960 และการก่อรัฐประหารในเดือน พฤษภาคม 1961 เขตปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งออกเป็นสองระดับ คือ ระดับบนและ ระดับล่าง เมื่อมีการตั้งนครปกครองตนเองพิเศษเซจงขึ้นในเดือน 229


นครปกครองตนเองพิเศษ เซจง เป็นเขตปกครองส่วน ท้องถิ่นระดับบนเขตที่ 17 ของประเทศ ก่อตั้ง ขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2012 เพื่อต้องการแก้ไข ปัญหาจำ�นวนประชากรใน กรุงโซลที่มีมากเกินโดย กระจายเขตปกครองไปทั่ว ประเทศ และส่งเสริมการ พัฒนาพื้นที่และการกระ จายความเจริญแบบสมดุล กระทรวงต่างๆ ของรัฐบาล กลาง 17 กระทรวงจะย้าย จากโซลไปยังเมืองดัง กล่าวภายในปลายปี 2014

กรกฎาคม 2012 จำ�นวนเขตปกครองส่วนท้องถิ่นระดับบนได้ เพิ่มเป็น 17 แห่ง (ได้แก่ กรุงโซล 6 มหานคร 8 จังหวัด และนคร ปกครองตนเองพิเศษเจจู) จำ�นวนเขตปกครองส่วนท้องถิ่นระดับ ล่างอยู่ที่ 227 แห่ง (ได้แก่ ซี กันและกู หรือ เมือง อำ�เภอและเขต ตามลำ�ดับ) หัวหน้าเขตปกครองส่วนท้องถิ่นและเทศมนตรีได้รับการคัดเลือก ผ่านการเลือกตั้งโดยตรง หัวหน้าเขตปกครองส่วนท้องถิ่นมีวาระ ดำ�รงตำ�แหน่ง 4 ปี สูงสุด 3 สมัย ส่วนเทศมนตรีสามารถดำ�รง ตำ�แหน่งได้ไม่จ�ำ กัดวาระ ระบบการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นระบบที่ส�ำ คัญมากเนื่องจากเป็นระบบที่เน้นการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในพื้นที่อันนำ�ไปสู่ประชาธิปไตยของชนชั้นรากหญ้า

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกาหลีใต้พยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งเสริมความร่วมมือและความ สัมพันธ์อันดีกับนานาประเทศ นับจนถึงเดือนกรกฏาคม 2012 ประเทศเกาหลีได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่างๆ มาแล้วถึง 189 ประเทศ มีสถานทูตถาวรอยู่ใน 112 ประเทศ กรม การกงสุล 42 แห่ง และสำ�นักงานผู้แทน 4 แห่ง ในอดีตประเทศ เกาหลีเน้นในการเชื่อมสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศตะวันตกรวม ถึงประเทศสหรัฐอเมริกา แต่หลังจากปลายทศวรรษ 1980 ก็เริ่ม เปิดความสัมพันธ์กับนานาประเทศมากขึ้นแม้แต่ประเทศสังคมนิยม เกาหลีมุ่งมั่นที่จะดำ�เนินในกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ ในฐานะเป็นสมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การยู เนสโก, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), เอเปค(APEC), ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA), องค์การ แรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และองค์การอนามัยโลก(WHO) เกาหลีใต้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติในปี 1991 และเข้าร่วม ในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในปี 1996 นอกจากนี้ยังร่วมทำ�กิจกรรมต่างๆ ในฐานะสมาชิกของคณะ กรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ตั้งแต่ปี 1947 230


ประชากร เนื้อที่ และที่ตั้งของแต่ละภูมิภาค

เขตการปกครองระดับจังหวัด 9

จังหวัดคยองกีโด

สถานที่ตั้ง: ซูวอน ประชากร: 1.22 ล้าน ขนาดพื้นที่: 10,171 ตร.กม. www.gg.go.kr 10

10

1

2

9 12 11

8

11

15 3

5 13 6 16 7

4 14

17

12

กรุงโซล

2

อินชอน

สถานที่ตั้ง: ชองกัก-โร เขตนัมดง-กู ประชากร: 2.88 ล้าน ขนาดพื้นที่: 1,041 ตร.กม. www.incheon.go.kr

5

6

อุลซัน

สถานทีต ่ ง้ั : ชุงกัง-โร เขตนัม-กู ประชากร: 1.16 ล้าน ขนาดพื้นที่: 1,060 ตร.กม. www.ulsan.go.kr

ปูซาน

แดชอน

สถานทีต ่ ง้ั : ชุงอัง-แดโร เขตย็อนเจ-กู ประชากร: 3.53 ล้าน ขนาดพื้นที่: 770 ตร.กม. www.busan.go.kr

ควางจู

สถานที่ตั้ง: คุนชอง-โร เขตโชชีวอน-อึบ ประชากร: 120,000 ขนาดพื้นที่: 465 ตร.กม. www.sejong.go.kr

สถานที่ตั้ง: ดุนซัน-โร เขตซอ-กู ประชากร: 1.53 ล้าน ขนาดพื้นที่: 540 ตร.กม. www.daejeon.go.kr 4

แดกู

สถานทีต ่ ง้ั : คงเพียง-โร เขตชุง-กู ประชากร: 2.50 ล้าน ขนาดพื้นที่: 884 ตร.กม. www.daegu.go.kr

7 3

สถานที่ตั้ง: แนบัง-โร เขตซอ-กู ประชากร: 1.47 ล้าน ขนาดพื้นที่: 501 ตร.กม. www.gwangju.go.kr

จังหวัดชุงชองบุกโด

สถานที่ตั้ง: ชองจู ประชากร: 1.57 ล้าน ขนาดพื้นที่: 7,406 ตร.กม. www.cb21.net

จังหวัดชอลลาบุกโด

สถานที่ตั้ง: ชอนจู ประชากร: 1.87 ล้าน ขนาดพื้นที่: 8,067 ตร.กม. www.jeonbuk.go.kr

เขตปกครองพิเศษและมหานคร 1

จังหวัดชุงชองนัมโด

สถานทีต ่ ง้ั : ฮงซอง ประชากร: 2.05 ล้าน ขนาดพืน ้ ที:่ 8,204 ตร.กม. www.chungnam.net

13

สถานทีต ่ ง้ั : เซจง-แดโร เขตจุง-กู ประชากร: 10.14 ล้าน ขนาดพื้นที่: 650 ตร.กม. www.seoul.go.kr

จังหวัดคังวอน

สถานทีต ่ ง้ั : ชุนชอน ประชากร: 1.54 ล้าน ขนาดพืน ้ ที:่ 16,874 ตร.กม. www.provin.gangwon.kr

8

นครปกครองตนเองเซจง

14

จังหวัดชอลลานัมโด

สถานที่ตั้ง: มูอัน ประชากร: 1.91 ล้าน ขนาดพื้นที่: 12,267 ตร.กม. www.jeonnam.go.kr 15

จังหวัดคยองซังบุกโด

สถานที่ตั้ง: แดกู ประชากร: 2.7 ล้าน ขนาดพื้นที: 19,029 ตร.กม. www.gyeongbuk.go.kr 16

จังหวัดคยองซังนัมโด

สถานทีต ่ ง้ั : ชังวอน ประชากร: 3.33 ล้าน ขนาดพืน ้ ที:่ 10,535 ตร.กม. www.gsnd.net 17

จังหวัดปกครองตนเอง พิเศษเจจู

สถานที่ตั้ง: เจจู ประชากร: 590,000 ขนาดพื้นที่: 1,849 ตร.กม. www. jeju.go.kr

231


ประชาชนชาวเกาหลี มีส่วนช่วยเหลือสังคม โลกผ่านองค์กรระหว่าง ประเทศที่รัฐบาลเป็นผู้ดูแล และผ่านการทำ�กิจกรรม อาสาสมัครขององค์กร เอกชน (รูปภาพ: อาสา สมัคร COPION ชาว เกาหลีใต้กับชาวบ้าน ในกาฐมาณฑุ ประเทศ เนปาล)

ความร่วมมือระหว่างประเทศ เกาหลีใต้ได้พัฒนาเศรษฐกิจจนเป็นที่เข้มแข็งและพร้อมที่จะ ให้ความร่วมมือระหว่างประเทศอย่างเต็มที่ ประเทศเกาหลีเข้า ร่วมในโครงการต่างๆ ที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือประเทศยากจน ผ่านทางธนาคารโลก (World Bank) กองทุนการเงินระหว่าง ประเทศ (IMF) และกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา

(OECD) และเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้ผนึกกำ�ลังกับนานาประเทศเพื่อ รักษาสันติภาพ สร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโลกและอนุรักษ์สิ่ง แวดล้อม เป็นต้น เกาหลีใต้ได้เป็นประธานในการประชุมสุดยอดผู้น�ำ ทางเศรษฐกิจ G20 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโซลเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2010 ซึ่งเป็นเครื่อง ยืนยันสถานะของเกาหลีใต้ในฐานะประเทศผู้นำ� ภายใต้คำ�ขวัญ “เติบโตไปด้วยกันหลังผ่านพ้นวิกฤต (Shared Growth Beyond Crisis)” ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่าเกาหลีใต้สามารถจัดการกับปัญหา

232


เงินตราต่างประเทศได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่เกี่ยวข้อง กับวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนั้น การประชุมที่กรุง โซลนี้เป็นการประชุมสุดยอดผู้นำ�ทางเศรษฐกิจ G20 ครั้งที่ 5 และ เป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นในทวีปเอเชีย การประชุมสุดยอดผู้นำ�ว่าด้วยความมั่นคงทางนิวเคลียร์ (2012 Seoul Nuclear Security Summit) ในเดือนมีนาคมปี 2012 เป็น อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงจุดยืนของเกาหลีใต้ที่มุ่งมั่น ต่อสู้เพื่อสันติภาพของโลก การประชุมที่กรุงโซลนี้จัดขึ้นเพื่อหารือ เรื่องการป้องกันโรงงานนิวเคลียร์ รวมถึงโรงงานไฟฟ้าและความ ร่วมมือจากนานาประเทศเพื่อป้องกันการก่อการร้ายทางนิวเคลียร์ การประชุมนี้เป็นการประชุมสุดยอดผู้น�ำ ครั้งที่ 2 ที่เกี่ยวข้อง กับความมั่นคงทางนิวเคลียร์ หลังจากที่จัดขึ้นในครั้งแรกที่กรุง วอชิงตันดีซี เมื่อเดือนเมษายน 2010 ประเทศที่เข้าร่วมในการ ประชุมที่โซลพากันลงมติยอมรับในแถลงการณ์ 11 ข้อเกี่ยวกับ แผนปฏิบัติเพื่อสร้างความมั่นคงทางนิวเคลียร์ เกาหลีใต้ก�ำ ลังเลื่อนสถานะของตนเองในประชาคมโลกด้วยการ ให้ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างที่สำ�คัญ ได้แก่ การก่อตั้งสำ�นักงานกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (UN green climate fund: GCF) ในกรุงโซล และการเปลี่ยนสถาบันเพื่อการ พัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโลก (Global Green Growth Institute: GGGI) ให้เป็นองค์กรระหว่างประเทศ สถาบันเพื่อการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโลก (Global Green Growth Institute – GGGI) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2010 โดยมีรัฐบาลเกาหลีใต้เป็นแกนนำ� ได้รับการยกระดับให้เป็น องค์การระหว่างประเทศจากมติการประชุมของสหประชาชาติว่า ด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (United Nations Conference on Sustainable Development) หรือ RIO+20 ณ นครรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล มีการคาดการณ์ว่าสถาบันเพื่อการพัฒนาที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อมโลก (GGGI) ในฐานะองค์กรระหว่างประเทศจะ มีส่วนช่วยในการพัฒนาประชาคมโลกได้เป็นอย่างมาก 233


การให้ความช่วยเหลือประเทศกำ�ลังพัฒนา เพียงแค่ครึ่งศตวรรษ เกาหลีใต้สามารถเปลี่ยนจากประเทศหนึ่ง ที่ยากจนที่สุดในโลกให้กลายเป็นประเทศพัฒนาที่สามารถยื่นมือ กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund หรือ GCF) ได้รับสมญา นามว่าธนาคารโลกแห่ง ภาคสิ่งแวดล้อม เป็น สถาบันการเงินระหว่าง ประเทศแห่งแรกที่ เกาหลีใต้สามารถเชื้อเชิญ ให้มาตั้งสำ�นักงานที่ซง โด ในเมืองอินชอนเมื่อ เดือนตุลาคม 2010 ใน การประชุม UNFCCC ที่ จัดขึ้น ณ เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ผู้เข้าร่วม ประชุมมีมติเห็นชอบให้ก่อ ตั้งกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (GCF) ขึ้น (รูปภาพ: สวนสาธารณะ Central Park ในเมือง นานาชาติซงโด อินชอน)

234

ให้ช่วยเหลือประเทศอื่นได้ เนื่องจากปรากฏการณ์ความสำ�เร็จนี้ เกาหลีใต้จึงเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับการทำ�หน้าที่เป็นเจ้าภาพใน การจัดการประชุมระดับสูงเรื่องประสิทธิภาพในการให้ความช่วย เหลือ (High Level Forum on Aid Effectiveness) ซึ่งเป็นงาน ประชุมนานาประเทศระดับยักษ์ในส่วนภาคการพัฒนาและความ ร่วมมือ โดยจัดขึ้น ณ เมืองปูซาน เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2011 โครงการให้ความช่วยเหลือต่างประเทศของเกาหลีใต้ได้รับความ ร่วมมือจากหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งเกาหลี (Korea International Cooperation Agency: KOICA) หน่วยงานนี้ ก่อตั้งขึ้นในปี 1991 และจัดทำ�โครงการมากมายเพื่อให้ความช่วย เหลือและแบ่งปันประสบการณ์ในการพัฒนาประเทศให้กับประเทศ กำ�ลังพัฒนา


องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของเกาหลี (Korea International Cooperation Agency หรือ KOICA)

ให้ความช่วย

เหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance หรือ ODA) เป็นมูลค่า 400-500 ดอลลาร์สหรัฐทุก ปีแก่ประเทศกำ�ลังพัฒนาในเอเชียและแอฟริกาในหลากหลาย ด้านทั้งในด้านการศึกษา สุขภาพ กสิกรรม ป่าไม้ การประมง รัฐประศาสนศาสตร์และพลังงานอุตสาหกรรม เป็นต้น นอกจาก นี้เกาหลีใต้ยังได้พยายามให้ความช่วยเหลือเพื่อพัฒนาวิธีการ ปกครองให้กับประเทศกำ�ลังพัฒนาด้วยการฝึกอบรมให้ความรู้กับ เจ้าหน้าที่ของรัฐ สถาบันการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง (Central Officials Training Institute) เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาในสาขาต่างๆ อาทิ เช่น การเป็นผู้นำ� การบริหารงานบุคคล การวางแผนทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมและการพัฒนาชนบท (มีต้นแบบมาจากการ เคลื่อนไหวเพื่อชุมชนใหม่ของเกาหลีใต้ในยุค 1970) นับตั้งแต่ปี 1984 มีเจ้าหน้าที่ชาวต่างชาติเข้ารับการอบรม หลักสูตรแล้วทั้งสิ้น 1,500 คน เกาหลีใต้มีความยินดีที่ได้มีส่วนช่วยเพื่อดำ�รงไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงของโลก ด้วยการสนับสนุนเงินทุนและเข้าร่วมใน ปฏิบัติการรักษาสันติภาพขององค์การสหประชาชาติ ในปัจจุบัน กองกำ�ลังแห่งชาติเกาหลีใต้มีฐานทัพอยู่ใน 8 ประเทศ ได้แก่ เลบานอน ซูดานใต้ อินเดีย ปากีสถาน และซาฮาราตะวันตก ทำ� หน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ฟื้นฟูดูแล ให้บริการทางการ แพทย์และกิจกรรมอื่นๆ

235


เศรษฐกิจ 경제


8

เศรษฐกิจของเกาหลี – ปาฏิหาริย์แห่งแม่น้ำ�ฮัน เศรษฐกิจทุนนิยมตลาดเปิดของเกาหลี ผู้นำ�ด้านตราสินค้าอุตสาหกรรมและมาตรฐาน อุตสาหกรรมของเกาหลี ความพยายามในการเติบโตเป็นผู้นำ�ระดับโลก


8 เศรษฐกิจ 경제

เศรษฐกิจโลกของเกาหลีใต้ – ปาฏิหาริยแ ์ ห่งแม่น�ำ้ ฮันกัง รัฐธรรมนูญของเกาหลีใต้ได้บัญญัติไว้ว่า “ประชาชนทุกคนย่อม ได้รับการรับรองในสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน” นั่นคือ เกาหลีได้นำ�ระบบ เศรษฐกิจแบบตลาดมาใช้และให้ความเคารพในสิทธิส่วนบุคคล และธุรกิจองค์กรในการดำ�เนินการทางเศรษฐกิจแบบเสรี และรับ รถยนต์ส่งออกจากฮุนได มอเตอร์ เป็นท่าเทียบเรือ และเก็บสินค้าที่โรงงานใน อุลซัน รถยนต์เป็นสินค้า ส่งออกที่ส�ำ คัญอย่างหนึ่ง ของประเทศ

ประกันผลกำ�ไรและสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นและที่มีสะสมไว้ อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญไม่รับรองการไล่ตามเศรษฐกิจทุนนิยม ที่มีเสรีภาพไร้ขีดจำ�กัด รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าสถานการณ์ที่ไม่ เป็นธรรมย่อมได้รับการแก้ไข หากพบว่ามีการใช้เงินทุนในทางที่ ผิด อันส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน ทั้งนี้เพื่อปรับปรุง สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีให้ดีขึ้น

238


สินค้าและมูลค่าการส่งออก 5 อันดับแรกของเกาหลีใต้ อุปกรณ์ผลึกเหลว (Liquid Crystal Divice) 25,971

อุปกรณ์ผลึกเหลว 28,160

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 52,787

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 56,098

เรือ 39,753

ปี 2012

เรือ 37,168

ปี 2013 สารกึ่งตัวนำ� (Semiconductor) 57,143

สารกึ่งตัวนำ� 50,430 รถยนต์ 47,201

รถยนต์ 48,635

[หน่วย: ล้านดอลลาร์ ที่มา: กระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงาน]

เศรษฐกิจของเกาหลีใต้เติบโตอย่างรวดเร็วอย่างไม่คาดคิด นัก สังเกตการณ์เรียกความสำ�เร็จของประเทศแห่งนี้ว่า “ปาฏิหาริย์ แห่งแม่น้ำ�ฮัน” เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศได้ถูก ทำ�ลายลงเกือบหมดในสมัยสงครามเกาหลีที่ยืดเยื้อตั้งแต่ปี 1950 ถึง 1953 เป็นเวลานาน 3 ปี ทำ�ให้ประเทศขาดแคลนเงินทุนและ ทรัพยากรทางธรรมชาติ ในต้นทศวรรษ 1960 เกาหลีใต้ได้ด�ำ เนินแผนการพัฒนาทาง เศรษฐกิจโดยพึ่งพาการส่งออก ในช่วงแรกสินค้าส่งออกสำ�คัญ ของประเทศเป็นสินค้าอุตสาหกรรมเบาซึ่งผลิตในโรงงานขนาด เล็กหรือสินค้าวัตถุดิบ ในทศวรรษที่ 1970 เกาหลีใต้ได้ลงทุน ในโรงงานเคมีขนาดใหญ่และสร้างรากฐานในการส่งออกสินค้า อุตสาหกรรมหนัก ในปัจจุบันเกาหลีใต้มีอุตสาหกรรมมากมาย ที่มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อาทิเช่น อันดับที่ 1 ของอุตสาหกรรมการต่อเรือ อุตสาหกรรมเหล็กเหล็กกล้า และ อุตสาหกรรมเคมี รากฐานของความสามารถในการแข่งขันที่เข้ม แข็งเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น 239


เกาหลีใต้ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1988 ที่ กรุงโซล ซึ่งได้ช่วยผลักดันให้เกาหลีใต้ได้กลายเป็นประเทศกึ่ง ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สื่อมวลชนนานาชาติขนานนาม เกาหลีใต้ว่าเป็นหนึ่งในมังกรสี่ตัวแห่งเอเชีย โดยอีก 3 ประเทศ ที่ว่าคือ ไต้หวัน สิงคโปร์และฮ่องกง เมื่อเดือนธันวาคมปี 1996 เกาหลีใต้ได้กลายเป็นประเทศอันดับที่ 29 ที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โดย สมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เพื่อที่มังกร แห่งเอเชียจะได้เปิดใหม่เป็น “มังกรของโลก” ในปี 1960 มูลค่าการส่งออกของเกาหลีใต้อยู่ที่ 32.8 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ แต่ในปี 2013 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 559.6 พัน ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 1948 ผลิตภัณฑ์มวลประชาชาติต่อหัวมี มูลค่าเพียง 60 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ในปี 2013 ผลิตภัณฑ์มวล ประชาชาติต่อหัวมีมูลค่าสูงถึง 26,205 ดอลลาร์สหรัฐ เกาหลีใต้ได้ค่อยๆ จัดทำ�โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่สนับสนุนการ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (หน่วย: ร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ )

รายได้ต่อคน (หน่วย: ดอลลาร์สหรัฐ)

2014

14.495

2013

13.043

2012 2011 2010

2011

5.335

1990

2.703 643 81

26.205 22.489 22.489

2010

20.759

2009

10.493

2000

1970

11.164

9.309

2007

1980

2012

8.344

2008

28.180

2013

11.292

10.147

2009

2014

17.193

2008

19.296

2007

21.695

2000

11.292

1990 1980 1970

6.303 1.660 225

(ที่มา: ธนาคารชาติแห่งสาธารณรัฐเกาหลี)

240


ส่งออกอย่างต่อเนื่องโดยเน้นไปที่ธุรกิจขนาดใหญ่ที่กำ�ลังเติบโต แต่เนื่องจากประเทศขาดแคลนเงินทุนและทรัพยากร บริษัทร่วม ลงทุนจึงได้เข้ามามีอิทธิพลในวงการอุตสาหกรรม ในขณะที่ โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศพึ่งพาการส่งออกและนำ� เข้าเป็นอย่างมาก ทำ�ให้มีแนวโน้มที่จะได้รับอิทธิพลจากปัจจัย ภายนอกได้ง่าย ในเดือนพฤศจิกายนปี 1997 วิกฤตเงินตราต่างประเทศส่งผลกระ ทบอย่างหนักต่อประเทศ ทำ�ให้เกาหลีใต้ต้องหันไปพึ่งเงินกู้จาก IMF เหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นอุปสรรคอย่างแรกที่ประเทศต้องเผชิญ หลังจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาหลายปี เกาหลีใต้จึงใช้ โอกาสนี้ในการกำ�จัดธุรกิจที่อยู่ในสภาพย่ำ�แย่ออกจากตลาด แล้ว สนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างทางอุตสาหกรรม ภายในเวลา เพียง 2 ปี เกาหลีใต้ก็ได้ฟื้นคืนสู่สภาพเดิมด้วยอัตราการเติบโต และระดับราคา เช่นเดียวกับยอดดุลบัญชีเดินสะพัด ในช่วงนั้นชาว เกาหลีใต้ประมาณ 3.5 ล้านคนเข้าร่วมโครงการสะสมทองคำ�เพื่อ

ปริมาณการค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐเกาหลี (2013) 4.157 3.848

2.541

1.547 1.246

จีน สหรัฐอเมริกา เยอรมนี

1.233

ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส

1.118

1.075

สหราช สาธารณรัฐ อาณาจักร เกาหลี

983

966

ฮ่องกง

แคนาดา

(หน่วย: พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่มา: IMF)

241


ทุนสำ�รองระหว่างประเทศ 2014

363,6

2013

346,5

2012

327,0

2011

306,4

2010

291,6

2009

270,0

2008

201,2

2007 2000

262,2 96,2

(หน่วย: พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่มา: ธนาคารชาติแห่งสาธารณรัฐเกาหลี)

ช่วยรัฐบาลใช้หนี้ IMF และมียอดสะสมทองคำ�รวมมากถึง 227 ตัน ทั่วโลกต่างประหลาดใจกับการที่ชาวเกาหลีต่างสมัครใจเข้าร่วม โครงการเพื่อช่วยชดใช้หนี้สินของชาติ ท่ามกลางความพยายามร่วมกันในการต่อสู้ให้หลุดพ้นจากวิกฤต เงินตราต่างประเทศ เกาหลีใต้ได้ประโยชน์จากผลกระทบของการ เกื้อกูลกัน เช่น การปรับใช้ระบบทางเศรษฐกิจและการคลังระดับ โลก แต่กระบวนการปรับโครงสร้างก็มีข้อเสียเช่นกัน ค่าใช้จ่ายของ รัฐบาลที่เพิ่มสูงขึ้นและความไม่สมดุลของรายได้มีเพิ่มมากขึ้น หลังจากผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ เศรษฐกิจของเกาหลีใต้ได้ เติบโตขึ้นอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศที่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จาก 504.6 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐในปี 2001 เป็น 1,049.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน ปี 2007 โดยมีอัตราการเติบโตสูงถึง 4-5% ต่อปี ยกเว้นในช่วง วิกฤตเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ ในช่วงปี 2008-2010 ที่ประเทศ ส่วนใหญ่ทั่วโลกต่างเผชิญหน้ากับวิกฤตทางการเงินซึ่งก่อให้เกิด ความเสียหายอย่างมากมาย เกาหลีใต้กลับมีอัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิจสูงถึง 6.3% สื่อมวลชนที่ส�ำ คัญของโลกต่างกล่าวถึง 242


การลงนามในข้อตกลง เขตการค้าเสรีระหว่าง เกาหลีและสหรัฐอเมริกา นายคิม ฮยอน จง ผู้แทน เกาหลีใต้และนายการัน ภาเตีย ผู้แทนการค้า สหรัฐอเมริกาจับมือหลัง จากบรรลุข้อตกลงในการ เจรจาเขตการค้าเสรีระดับ ทวิภาคี

ความสำ�เร็จของเกาหลีใต้ว่าเป็น “การฟื้นตัวตามตำ�รา” ในปี 2010 เกาหลีใต้ได้ผงาดขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกมากที่สุด เป็นอันดับที่ 7 ของโลก จากปี 2011 - 2013 ปริมาณรวมการ ส่งออกและนำ�เข้าของประเทศมีมูลค่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เกาหลีใต้จึงกลายเป็นประเทศอันดับที่ 9 ของโลกที่สามารถบรรลุ เป้าทางการค้าระหว่างประเทศรายปีจ�ำ นวน 1 ล้านล้านดอลลาร์ สหรัฐ ทุนสำ�รองระหว่างประเทศของเกาหลีใต้อยู่ที่ 363.6 พัน ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อสิ้นเดือนธันวาคมปี 2014 และประเทศมี เสถียรภาพที่มั่นคงเพียงพอที่จะรับมือกับวิกฤตเงินตราต่างประเทศ ได้ โดยมีอัตราร้อยละของหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเท่ากับ 31.7% ในปี 2014

เศรษฐกิจทุนนิยมตลาดเปิดของเกาหลี เกาหลีใต้ได้เลือกใช้ระบบเศรษฐกิจตลาดเปิด จึงมีการเจรจาต่อ รองกับประเทศอื่นๆ เพื่อทำ�ข้อตกลงเขตการค้าเสรี และยังได้ อนุญาตให้ชาวต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศได้อย่างเสรี ใน ขณะเดียวกันก็ได้สนับสนุนธุรกิจภายในประเทศให้ไปลงทุนใน ต่างประเทศได้อย่างเสรีอีกด้วย 243


เกาหลีใต้ได้เสนอข้อได้เปรียบให้กับนักลงทุนต่างชาติมากมาย โดยมีวัตถุประสงค์ระยะยาวในการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลาง ทางการเงินและศูนย์กระจายสินค้าที่ส�ำ คัญของเอเชียตะวันออก เฉียงเหนือ ตลาดเปิดและเขตการค้าเสรี เกาหลีใต้ได้เปิดตลาดในหลายส่วนภาค ซึ่งรวมถึงในด้าน เกษตรกรรม ชาวเกาหลีให้ความสำ�คัญกับด้านเกษตรกรรมเป็น อย่างมากมาช้านานโดยมองว่าเป็นพื้นฐานจักรวาล ถึงกระนั้นเกาหลีใต้ก็ได้วางแผนที่จะเปิดตลาดข้าว ซึ่งเป็นสินค้า รายการสุดท้ายที่จะเปิดค้าอย่างเสรีในภาคเกษตรกรรมภายในปี 2015 เกาหลีใต้ด�ำ เนินการเปิดตลาดเสรีทั้งหมดอย่างต่อเนื่องผ่าน เขตการค้าเสรี และวางแผนจะลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรี กับประเทศอื่นๆ โดยมุ่งหวังที่จะขยายพื้นที่ทางเศรษฐกิจไปทั่วโลก ภายใต้แนวคิดว่า ผืนดินแคบแต่แผ่นดินเศรษฐกิจใหญ่กว้างขวาง ในเดือนมิถุนายนปี 2015 เกาหลีใต้ได้ลงนามในข้อตกลงเขตการ ค้าเสรีกับ 50 ประเทศ ได้แก่ ชิลี สิงคโปร์ สมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) สหภาพยุโรป (EU) เปรู สหรัฐอเมริกาและตุรกี ข้อตกลงเขต การค้าเสรีที่ได้ลงนามกับโคลัมเบียและเวียดนามอยู่ในระหว่าง รอการบังคับใช้ เกาหลีใต้ก�ำ ลังเจรจาเรื่องเขตการค้าเสรีโดยทำ� ข้อตกลงเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) กับ อินโดนีเซีย สนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI ) นอกจากจะสนับสนุ​ุนระบบตลาดเสรี เกาหลีใต้ยังส่งเสริมการ ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ภายใต้นโยบายส่งเสริมการ ลงทุนจากต่างประเทศด้วย ในเกาหลีใต้การลงทุนโดยตรงจาก ต่างประเทศ (FDI) หมายความว่า “ชาวต่างชาติสามารถถือครอง หุ้นของบริษัทจำ�กัดของธุรกิจภายในประเทศได้อย่างน้อย 10% 244


ผ่านการลงทุนที่ไม่ต่ำ�กว่า 100 ล้านวอน หรือบริษัทที่มีฐานในต่าง ประเทศสามารถกู้ยืมเงินระยะยาว (ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป) จากบริษัทแม่

ทิวทัศน์ของท่าเรือปูซาน ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของ เกาหลีใต้

ในต่างประเทศได้” ภายใต้นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ รัฐบาลรับ ประกันผลกำ�ไรให้กับชาวต่างชาติ และเสนอผลประโยชน์ที่หลาก หลายรูปแบบ อาทิเช่น มาตรการทางภาษีอากร การช่วยเหลือ ทางการเงินและการผ่อนปรนในระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับ ที่ดิน เกาหลีใต้ยังคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและการทําธุรกรรม เงินตราต่างประเทศของชาวต่างชาติด้วย นักลงทุนต่างชาติสามารถนำ�ผลกำ�ไรที่ได้ในเกาหลีใต้ออก นอกประเทศได้ โดยต้องมีการดำ�เนินการอย่างถูกต้องและมี ประสิทธิภาพ นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือจาก รัฐบาลเกาหลีใต้ในเรื่องที่ดินสำ�หรับการสร้างโรงงานและศูนย์วิจัย การซื้อ ให้เช่าหรือสร้างอาคาร รวมทั้งการติดตั้งสิ่งอำ�นวยความ สะดวกทางการสื่อสารและไฟฟ้า นักลงทุนต่างชาติสามารถขอ ชำ�ระเงินเป็นงวดได้เป็นระยะเวลานานถึง 20 ปีหากซื้อที่ดินของ 245


รัฐบาลกลางหรือท้องถิ่น รัฐบาลยังให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามจำ�นวนการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และจำ�นวนลูกจ้างภายในท้องถิ่น รัฐบาลพร้อมและเต็มใจให้ความช่วยเหลือทางด้านที่ดินและเงิน ทุนหากธุรกิจต่างชาติสามารถแสดงให้เห็นถึงความยอดเยี่ยมทาง เทคโนโลยีและสามารถรักษาจำ�นวนลูกจ้างภายในท้องถิ่นตาม ที่กำ�หนดได้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศถือเป็นสัญญาณ ว่าประเทศมีการค้าขายกับนานาชาติ นอกจากนั้นรายได้จากการ ลงทุนของต่างชาติในเกาหลีเป็นตัวบ่งชี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ในอนาคต การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในประเทศเพิ่มขึ้นทันที หลังจากวิกฤตเงินตราต่างประเทศในปี 1998 และมีแนวโน้มที่จะ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จำ�นวนสะสมของการลงทุนโดยตรงจากต่าง ประเทศ (FDI) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2014 มีมูลค่า 14.82 พัน ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงที่สุดในบรรดาตัวเลขสะสมในไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมา จำ�นวนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) แสดง ให้เห็นแนวโน้มการเติบโตที่สมดุลทางด้านประเภทธุรกิจ ภูมิภาค และประเภทการลงทุน รัฐบาลดำ�เนินการปรับปรุงระบบการให้ความช่วยเหลือนักลงทุน ต่างชาติอย่างต่อเนื่อง ในเดือนตุลาคมปี 2010 รัฐบาลได้ผ่อน ปรนเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือทางการเงินสำ�หรับนักลงทุน ต่างชาติ และขยายขอบเขตของที่ดินของรัฐเทศบาลให้มีสิทธิ์ใน สัญญาเอกชนเพื่อช่วยผ่อนปรน และปรับปรุงเงื่อนไขของการ ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในปี 2014 มีการแก้ไข กฎหมายว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายและนโยบายส่งเสริมการ ลงทุนจากต่างประเทศเพื่อให้การการรับรองสำ�นักงานใหญ่และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาของธุรกิจระดับโลก เกาหลีใต้วางแผนดึงดูด การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) โดยให้ความช่วยเหลือ ทางการเงินกับสำ�นักงานใหญ่และศูนย์วิจัยและพัฒนา และออก มาตรการกระตุ้น เช่น การลดยกเว้นภาษี และจัดการประชุมนัก ลงทุนสัมพันธ์ เป็นต้น เกาหลีใต้ยังดึงดูดประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ 246


ด้วยเงินทุนส่วนเกิน รวมถึงจีนและประเทศในตะวันออกกลางเพื่อ ให้เข้ามาลงทุนในภาคการบริการของประเทศที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ “โต๊ะจีน” จึงเริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤษภาคมปี 2010 และ มี “บริการพรมแดง” สำ�หรับนักลงทุนต่างชาติ เกาหลีใต้ยังแต่งตั้ง พลเมืองที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีนและ ญี่ปุ่นให้เป็นทูตประชาสัมพันธ์ส�ำ หรับการลงทุนโดยตรงจากต่าง ประเทศ (FDI) องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นก็พยายามดึงดูด บริษัทต่างชาติให้มาลงทุนในประเทศเกาหลี การลงทุนเพื่อเป็นศูนย์กระจายสินค้าในระดับภูมิภาค เกาหลีใต้ได้เตรียมการที่จะรองรับกับช่วงเวลาที่คาดว่าจะมีปริมาณ การส่งออกนำ�เข้ารวมกันสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจาก นี้ยังพยายามก้าวขึ้นเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่ส�ำ คัญของเอเชีย ตะวันออกเฉียงเหนือ เกาหลีใต้ทุ่มทุนกับการวางระบบอัตโนมัติ และศูนย์ขนส่งสินค้าส่งออกนำ�เข้าที่ทันสมัย โดยมุ่งเน้นไปที่การ เพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางด้านโลจิสติกส์ เกาหลีใต้พยายามเสริมกำ�ลังเครือข่ายการขนส่งสินค้าทางอากาศ และขยายอาคารอุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้กับสนามบิน เกาหลีใต้

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) 19.003 16.286

15.454

14.548

13.673 11.563

11.712

2005

2008

9.093

3.204

1996

1999

2002

2011

2012

2013

2014

(หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่มา: กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน)

247


สนามบินอินชอนในฐานะ ศูนย์กลางการบิน เงื่อนไขที่สำ�คัญประการหนึ่ง สำ�หรับศูนย์กลางการบินในระดับ ภูมิภาคคือ การดำ�เนินการตลอด เวลาในทุกสภาพภูมิอากาศ สนาม บินอินชอนเป็นศูนย์กลางการบิน แห่งหนึ่งที่มีเที่ยวบินจากทั่วโลกมา ใช้บริการ ในเอเชียตะวันออกเฉียง เหนือ ศูนย์กลางการบินในภูมิภาค มีสนามบินคันไซในโอซาก้า, สนามบินเช็ก แล็บ ก๊อกในฮ่องกง, สนามบินผู่ตง ในเซี่ยงไฮ้ และ สนามบินอินชอนในเกาหลีใต้ (ภาพ: ทิวทัศน์สนามบินนานาชาติ อินชอน)

รั้งอันดับ 3 ของโลกในด้านการขนส่งสินค้าหนักตามเกณฑ์ของ องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ และสนามบินนานาชาติ อินชอนรั้งอันดับ 2 ของโลกในด้านความสามารถในการจัดการ สินค้านานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าทางอากาศมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยมี สัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 25 (1 ใน 4) ของค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ทั้งหมด แต่ในด้านน้�ำ หนัก สินค้าทางอากาศมีสัดส่วนคิดเป็น 0.20.3% ของสินค้าขนส่งทุกประเภท ด้วยเหตุนี้รัฐบาลเกาหลีใต้จึง ได้ขยายสถานีขนส่งสินค้าของสนามบินอินชอน และฝึกอบรมคน หนุ่มสาวที่มีความสามารถในการควบคุมดูแลโลจิสติกส์การขนส่ง ทางอากาศในสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ เกาหลีใต้ยังมุ่งมั่นพัฒนาระบบโลจิสติกส์การขนส่ง 248


ทางอากาศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพสูง สนามบิน นานาชาติอินชอนมีระบบสำ�หรับการจัดการกับโลจิสติกส์การ ขนส่งทางอากาศแบบอิงสารสนเทศที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถจัดการ ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น การจองและติดตามการขนส่ง ทางอากาศ มีการคาดการณ์ว่าปริมาณสินค้านานาชาติที่ผ่านการ จัดการที่สนามบินนานาชาติอินชอนจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 2.72 ล้านตันในปี 2010 เป็น 3.5 ล้านตันภายในปี 2015 เป็นที่น่าสังเกตว่าสนามบินนานาชาติอินชอนติดอันดับ 1 ของโลก เป็นเวลา 9 ปีติดต่อกัน ในการประเมินการบริการของสนามบิน ประจำ�ปีของบริษัทที่ปรึกษาทางการบิน (Aviation Consultants, Inc หรือ ACI) สภาที่ปรึกษาของสนามบินกว่า 1,700 แห่งทั่วโลก ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงการจัดการที่มีคุณภาพของสนามบิน นานาชาติอินชอน ยิ่งไปกว่านั้นสนามบินแห่งนี้ยังเป็นสนามบิน แห่งแรกของโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอยู่ในหอเกียรติยศของ สภาสมาคมท่าอากาศยานระหว่างประเทศ (Airports Council International Hall of Fame)

แนวโน้มของปริมาณสินค้าทางอากาศและปริมาณการเปลี่ยนถ่ายสินค้าที่สนามบินนานาชาติอินชอน 50,1 46,7

46,2

46,4

48,1

46,2

49,2 47,8

44,2

1,70

1,84

2002

2003

2,13

2,15

2004

2005

43,8

2,34

2,56

2,42

2,31

2008

2009

45,6

44,6

42,9

40,6

2,68

2,54

2,46

2,46

2,56

2010

2011

2012

2013

2014

1,18

2001

2006

2007

ปริมาณสินค้า (หน่วยเป็นล้าน TEU)

(ที่มา: กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการคมนาคม)

ปริมาณการเปลี่ยนถ่ายสินค้า (% ของปริมาณสินค้า)

249


ปริมาณสินค้า (รวมการเปลี่ยนถ่ายสินค้า) ที่ผ่านการจัดการที่ท่าอากาศยานของเกาหลีใต้ 39,7 37,7

36,4 35,4

34,9

35,5

35,5

35,1

35,7 34,5

35

34,3 21,61

31,1

9,99

2001

11,89

2002

13,19

2003

40,3

14,52

15,22

15,97

2004

2005

2006

17,54

17,93

2007

2008

ปริมาณตู้สินค้า (หน่วยเป็นล้าน TEU)

22,55

23,47

2012

2013

24.73

19,37 16,34

2009

2010

2011

2014

(ที่มา: กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม)

ปริมาณการเปลี่ยนถ่ายสินค้า (% ของปริมาณตู้สินค้า)

เกาหลีใต้ซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรมีท่าอากาศยานเพื่อการค้า นานาชาติหลายแห่ง เช่น ปูซาน อินชอน เพียงแท็ก ควางยัง อุล ซัน โพฮังและทงแฮ ในปี 2013 ปริมาณสินค้าที่ผ่านการจัดการที่ ท่าอากาศยานในประเทศอยู่ที่ 1,358.96 ล้านตัน เพิ่มขึ้นโดยรวม ถึง 1.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยในจำ�นวนนี้มีปริมาณ ตู้สินค้าผ่านมีจ�ำ นวนถึง 23.47 ล้าน TEU (ตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต) และจำ�นวนที่การเปลี่ยนถ่ายสินค้าเท่ากับ 9.32 ล้าน TEU (ตู้ สินค้าขนาด 20 ฟุต) เพิ่มขึ้น 4.1% และ 9.7% ตามลำ�ดับเมื่อเทียบ กับปีก่อนหน้า การเติบโตดังกล่าวช่วยทำ�ให้บทบาทของประเทศ ในฐานะศูนย์กระจายสินค้าที่ส�ำ คัญของเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ แข็งแกร่งขึ้น

ผู้นำ�ด้านตราสินค้าอุตสาหกรรมและมาตรฐาน อุตสาหกรรมของเกาหลี รัฐบาลมุ่งสร้างความหลากหลายให้กับสินค้าส่งออกและเพิ่ม 250


คุณภาพสินค้าด้วยการคัดเลือกสินค้าคุณภาพอันดับ 1 ประจำ� ปี ในบรรดาสินค้าคุณภาพอันดับ 1 ที่ได้รับการคัดเลือกใน ปี 2012 สินค้าจำ�นวนมากมายที่มีส่วนแบ่งในตลาดโลกสูงสุดมี 143 รายการ ได้แก่ หน่วยความจำ�แบบสารกึ่งตัวนำ� TFT-LCD อุปกรณ์ขจัดเกลือจากน้�ำ ทะเล เรือขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และหน่วยความจำ�แฟลช โดยในแต่ละปีจ�ำ นวนสินค้าได้มี

ความสามารถในการ แข่งขันด้านการต่อเรือ อุตสาหกรรมการต่อเรือ ของเกาหลีใต้มีความ สามารถในการแข่งขัน ทางด้านเรือที่มีมูลค่า เพิ่มสูงซึ่งสัมพันธ์กับการ พัฒนาทรัพยากรและการ คมนาคม

เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อุตสาหกรรม IT หรือเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นองค์ประกอบ ที่สำ�คัญที่สุดของเศรษฐกิจในประเทศและเป็นส่วนที่รวบรวม ทักษะที่จ�ำ เป็นต่อนวัตกรรมการจัดการและการปฏิวัติการบริหาร และทักษะที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต มัลติมีเดียและอุปกรณ์สื่อสาร เกาหลีใต้เป็นผู้นำ�โลกทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายด้วย โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารที่ดีเยี่ยม ในปัจจุบันมีเครือข่าย 4G ทั่วประเทศ 2 เครือข่ายคือ เครือข่าย WiBro ซึ่งให้บริการทั่ว 251


โรงไฟฟ้าพลังงาน นิวเคลียร์ฮันบิด อยู่ที่ อำ�เภอยองกวัง จังหวัด ชอลลาโด เกาหลีใต้ได้ ลงทุนในด้านการผลิต พลังงานนิวเคลียร์อย่างต่อ เนื่อง พลังงานนิวเคลียร์ มีความสำ�คัญต่อการผลิต พลังงานไฟฟ้าของประเทศ เกาหลีใต้แสดงให้ทั่วโลก เห็นถึงความสามารถทาง ด้านเทคโนโลยีด้วยการ ส่งออกโรงไฟฟ้าพลังงาน นิวเคลียร์แบบเกาหลีให้กับ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ใน ปี 2011

ประเทศในปี 2011 และ Long-Term Evolution (LTE) ซึ่งมีเครือ ข่ายอยู่ทั่วประเทศเช่นกัน เบื้องหลังโครงสร้างพื้นฐานนี้ การค้า ระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับ IT ของเกาหลีใต้มีเงินส่วนเกินมากกว่า 70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2011 และ 2012 (สองปีติดต่อกัน) เกาหลีใต้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ทางด้านโทรศัพท์มือถือ สารกึ่งตัวนำ� คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อ พ่วง และยังสามารถรักษาตำ�แหน่งผู้นำ�ในภาคการตลาดเหล่านี้ไว้ ได้ท่ามกลางสภาวะทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว นอกจากนี้การต่อเรือถือเป็นความสำ�เร็จอีกอย่างหนึ่งอย่างของ เกาหลีใต้ ในปี 2011 เกาหลีใต้ได้รับการสั่งซื้อสินค้ามูลค่า 13.55 ล้านของภาษีกำ�ไรส่วนทุน (capital gains tax หรือ CGT) ซึ่งคิด เป็น 48.2% ของการสั่งซื้อในการต่อเรือทั่วโลก เกาหลีใต้มีความ สามารถในการแข่งขันสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการต่อเรือ และโครงสร้างที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น โรงงานนอกชายฝั่ง เรือขนส่ง

252


สินค้าขนาดใหญ่และเรือขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในปี 2012 เกาหลีใต้ได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่ 5 ของโลกใน ด้านจำ�นวนการผลิตรถยนต์ (4.56 ล้าน) ซึ่งเป็นผลจากความ พยายามในการพัฒนาคุณภาพและการลงนามในข้อตกลงเขตการ ค้าเสรีระหว่างประเทศ น่าสังเกตว่าจำ�นวนการผลิตรถยนต์ในปี 2012 เป็นยอดที่บันทึกไว้ในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวและ น้ำ�มันทั่วโลกมีราคาแพง

วิดีโอเกมส์ เนื้อหาทาง วัฒนธรรมชั้นนำ� เกาหลีใต้กลายเป็นผู้ส่ง ออกเนื้อหาทางวัฒนธรรม ชั้นแนวหน้า เช่น เคป๊อบ รายการโทรทัศน์ วิดีโอ เกมส์ รถยนต์และสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ (ภาพ: หนุ่มสาวกำ�ลังเล่น วิดีโอเกมส์ในงาน G-Star 2013 ที่ปูซาน)

หลายต่อหลายประเทศใช้พลังงานนิวเคลียร์ แต่ในบรรดาประเทศ เหล่านี้ส่วนใหญ่ได้พึ่งพาประเทศอื่นในการออกแบบและก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ปัจจุบันมีเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย ฝรั่งเศสและเกาหลีใต้ที่ใช้เทคโนโลยี โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศผู้ส่ง ออกโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อันดับ 6 ของโลก โดยการส่ง ออกโรงไฟฟ้าที่พัฒนาโดยเกาหลีใต้ให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ยังมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกในส่วน 253


การประชุมสุดยอดผู้นำ� ทางเศรษฐกิจ G20 ที่จัด ขึ้น ณ กรุงโซลปี 2010

ของภาคเหล็กเหล็กกล้าและเคมี ในปี 2008-2012 มูลค่าในส่วนนี้เพิ่มจาก 23.38 เป็น 46.12 พัน ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจาก “ฮันรยู” (กระแสเกาหลี) ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมีทั้งสิ่งพิมพ์ ดนตรี วิดีโอเกมส์ รายการ โทรทัศน์และภาพยนตร์ เกาหลีใต้ทุ่มเทความพยายามเป็นอย่าง มากกับเนื้อหาในวิดีโอเกมส์ จึงได้รับการกล่าวขานถึงศักยภาพ ที่ได้รวมเทคโนโลยีด้านภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์และความคิด สร้างสรรค์เข้าไว้ด้วยกันอย่างชาญฉลาด เกาหลีใต้อาจเป็นเพียง ประเทศเดียวในโลกที่มีคาเฟ่คอมพิวเตอร์อยู่ทั่วประเทศ โดยมีหนุ่ม สาวมาเล่นวิดีโอเกมส์เป็นจำ�นวนมาก ในปี 2012 อุตสาหกรรมวิดีโอเกมส์ของประเทศสร้างรายได้ ภายในประเทศ 10 ล้านล้านวอน (10,000,000,995,200 วอน) และมีมูลค่าส่งออกรวมรวม 2.853 พันล้านวอน (2,853,400,000,000 วอน) อุตสาหกรรมที่มีเนื้อหาทาง

254


วัฒนธรรมมีความสำ�คัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจในด้านการส่งออก และการสร้างงาน และมีศักยภาพเติบโตสูงในฐานะอุตสาหกรรมที่ มีแนวโน้มที่ดีในอนาคต เกาหลีใต้ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการเพิ่มความสามารถด้าน การแข่งขันในตลาดโลก ในส่วนของด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เกาหลีใต้ได้ด�ำ เนินการผสมผสานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับ เทคโนโลยีอื่นๆ ภายใต้วิสัยทัศน์ปี 2020 - ประเทศที่มีความคิด สร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับ IT (Vision 2020 - A Country with IT-related Creative Ideas) ความคิดดังกล่าวได้นำ�ไปใช้กับ อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ หรือแม้กระทั่งอุตสาหกรรมต่อเรือ มีการ คาดการณ์ว่าความพยายามดังกล่าวจะช่วยพัฒนาคุณภาพและส่ง เสริมการพัฒนาในส่วนที่มีมูลค่าเพิ่ม ให้สูงขึ้นได้

ความพยายามในการเติบโตเป็นผูน ้ �ำ ระดับโลก ในปัจจุบันเกาหลีใต้พยายามเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก แม้ว่าเกาหลีใต้ได้เติบโตอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่ง ทำ�ให้เกิดปัญหาด้านความไม่สมดุลในการพัฒนาของธุรกิจขนาด ใหญ่และธุรกิจขนาดย่อม (SME) ซึ่งเป็นผลมาจากการดำ�เนินการ ตามนโยบายทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกของบริษัทขนาด ใหญ่มาก ดังนั้นความจำ�เป็นของการเติบโตร่วมกันจึงถือเป็นทางออกที่เป็น ไปได้ในการแก้ปัญหา ประเด็นนี้กลายเป็นปัญหาที่จ�ำ เป็นต้องแก้ ไขในระดับนานาชาติ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2008 รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการด้านการเจริญเติบโตร่วมกัน (Korea Commission for Corporate Partnership)ขึ้นในเดือนธันวา คม 2010 เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างธุรกิจขนาด ใหญ่และธุรกิจขนาดย่อม คณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่สร้าง บรรยากาศที่เอื้อต่อการเติบโตร่วมกันในอุตสาหกรรม การตรวจ สอบประกาศดัชนีการเติบโตร่วมกันของธุรกิจขนาดใหญ่ การวาง หลักเกณฑ์สินค้าที่เหมาะกับธุรกิจขนาดย่อม อีกทั้งยังทำ�หน้าที่ 255


แก้ไขข้อขัดแย้งในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่ กับธุรกิจขนาดย่อมโดยอยู่บนพื้นฐานความเห็นชอบจากสังคม การประชุมสุดยอดผู้น�ำ ทางเศรษฐกิจ G20 ที่กรุงโซลในปี 2010 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งการประชุมสุดยอดผู้นำ�ทาง เศรษฐกิจ G20 ถือกำ�เนิดขึ้นหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2008 และเนื่องจากการประชุมสุดยอดผู้น�ำ ทางเศรษฐกิจ G7 มีข้อ จำ�กัดบางประการจึงได้มีการตระหนักถึงประเทศที่กำ�ลังพัฒนาที่มี ส่วนสำ�คัญ รวมถึงต้องการให้มีระบบการปรึกษาระหว่างประเทศจึง ได้เกิดเป็นการประชุมนี้ขึ้น ในช่วง 30 ปีที่ผ่านได้มีการเพิ่มขึ้นทางน้ำ�หนักของเศรษฐกิจโลก และบทบาทที่ใหญ่โตขึ้นของประเทศกำ�ลังพัฒนาต่างๆ แต่ระบบ การเงินระหว่างประเทศก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ด้วยเหตุนี้ การประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงปรับระดับขึ้น เป็นการประชุมสุดยอดผู้น�ำ ทางเศรษฐกิจ G20 การประชุม G20 เป็นการรวมประเทศชั้นนำ�รวมทั้งผู้แทนและ องค์กรระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลเกี่ยวข้องต่างๆ ซึ่งในการ ประชุมสุดยอดผู้น�ำ ทางเศรษฐกิจ G20 ที่กรุงโซลในเดือน พฤศจิกายน ปี 2010 เกาหลีใต้รับหน้าที่นั่งเก้าอี้เป็นประเทศเจ้า ภาพการจัดงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศเกาหลีใต้มีบทบาท สำ�คัญในด้านเศรษฐกิจการสั่งซื้อระหว่างประเทศ การประชุมสุดยอดผู้น�ำ ทางเศรษฐกิจ G20 ที่กรุงโซลในปี 2010 ได้น�ำ “โซลซอนออน” (Seoul Declaration) มาใช้ ซึ่งเป็น ปฏิญญาว่าด้วยการประชุมสุดยอดผู้นำ�ที่กรุงโซล 20 ประการ และ ได้เพิ่มเป็นข้อตกลง 74 ประการ ซึ่งได้ผลลัพธ์อันทรงประสิทธิภาพ 3 อย่าง ได้แก่ การประกาศมติในการพัฒนาสำ�หรับการเติบโต ร่วมกันของโซล (Seoul Development Consensus for Shared Growth) แผนปฏิบัติการหลายปี (Multi-year Action Plan) และ แผนปฏิบัติเพื่อการต่อต้านการทุจริต (Anti-Corruption Action Plan) “โซลซอนออน” (Seoul Declaration) เป็นปฏิญญาว่าด้วยการ 256


ประชุมสุดยอดผู้นำ�ที่กรุงโซลได้เน้นบทบาทของประเทศกำ�ลัง พัฒนาและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในการยุติสงครามเงินตรา ต่างประเทศระหว่างประเทศที่ส�ำ คัญ และการปฏิรูป IMF ซึ่งเดิม เน้นแต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ เนื้อหาของปฏิญญาเน้น เรื่องความจำ�เป็นเร่งด่วนในการสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดการ เงินทั่วโลก และให้ความช่วยเหลือกลุ่มประเทศยากจนที่กำ�ลังต่อสู้ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศให้เป็นรูปร่างมากขึ้น ปฏิญญานี้ ช่วยเพิ่มสถานภาพของเกาหลีใต้ในตลาดเศรษฐกิจและการเงิน ระดับโลก

257


ความสัมพันธ์ระหว่าง เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ 남북관계


9

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์แห่งการแบ่งแยกเกาหลีเหนือและ เกาหลีใต้ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติพร้อมกันของ เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างเกาหลีเหนือและใต้ ความพยายามเพื่อข้อตกลงสันติภาพอย่างถาวร


9 ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ 남북관계

คาบสมุทรเกาหลีปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ มีเส้นแบ่ง เขตแดนทหารและมีการเผชิญหน้ากันอย่างต่อเนื่องคงความดุ เดือดมานานกว่า 65 ปี แต่ถึงอย่างนั้น หลังจากการประชุมสุดยอด ผู้น�ำ ในปี 2000 และ 2007 การเจรจาทวิภาคี การแลกเปลี่ยน และความร่วมมือของระหว่างเกาหลีทั้ง 2 ประเทศได้ดำ�เนินการ อยู่เพียงชั่วคราว อย่างไรก็ตาม ยังคงเกิดความตึงเครียดใน คาบสมุทรเกาหลีซึ่งมาจากการยั่วยุซ้ำ�แล้วซ้ำ�เล่าจากเกาหลีเหนือ

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์แห่งการแบ่งแยกเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ หลังจากที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวัน ที่ 15 เดือนสิงหาคมปี 1945 การปกครองภายใต้อาณานิคมของ

25 มิถุนายน 1950

การปะทุของสงครามเกาหลี

260

27 กรกฎาคม 1953

การลงนามในข้อตกลงสงบศึก

4 กรกฎาคม 1972

การประกาศแถลงการณ์ร่วมกันระหว่างเกาหลี ใต้และเกาหลีเหนือในวันที่ 4 กรกฎาคม


ญี่ปุ่นที่ยาวนานถึง 40 ปีก็ได้ยุติลง และกองทัพของสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียตได้เข้ามาตั้งฐานทัพอยู่บนคาบสมุทรเกาหลี โดยสหรัฐอเมริกาอยู่ทางใต้และสหภาพโซเวียตอยู่ทางเหนือของ เส้นขนานที่ 38 จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำ�ให้คาบสมุทรเกาหลี ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ในวันที่ 25 มิถุนายน 1950 เกาหลีเหนือได้เริ่มต้นสงครามโดยการ ส่งกองกำ�ลังติดอาวุธเข้ามาเปลี่ยนคาบสมุทรเกาหลีให้กลายเป็น สนามรบที่แสนน่ากลัวแห่งการเผชิญหน้าทางอุดมการณ์ระหว่าง ประเทศที่ยาวนานถึง 3 ปี จนกระทั่งมีการลงนามข้อตกลงสงบศึก หยุดยิงในวันที่ 27 กรกฎาคม ปี 1953 ชาวเกาหลีที่ต้องพบเจอกับ โศกนาฏกรรมที่แสนเจ็บปวดแห่งสงครามการฆ่ากันระหว่างพี่น้อง คาบสมุทรเกาหลียังคงถูกแบ่งอย่างถาวรเป็นเวลากว่า 60 ปี จนถึง ทุกวันนี้ ซึ่งสถานะการสงบศึกก็ยังคงดำ�เนินอยู่ต่อไป

การเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติพร้อมกัน ของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ก่อนการประชุมสุดยอดผู้น�ำ ของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ที่จัดขึ้น ในปี 2000 และ 2007 บรรยากาศแห่งการปรองดองได้ก่อตัวขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการทูตทางเหนือของรัฐบาลเกาหลีใต้ ซึ่งผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นคือประเทศเกาหลีทั้งสองประเทศได้ตกลงเข้าร่วมเป็น

30 พฤศจิกายน 1972

การจัดประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการ ประสานงานเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือ (The South-North Coordinating Committee)

20-23 กันยายน 1985

การพบกันอีกครั้งของสมาชิกครอบครัวที่ พลัดพรากจากกัน

18 พฤศจิกายน 1998

การเริ่มต้นการเยี่ยมเยือนภูเขาคึมกังซาน ของนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้

261


สมาชิกองค์การสหประชาติพร้อมกันในการประชุมสมัชชาใหญ่ แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 46 ในเดือนกันยายนปี 1991 การเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาติพร้อมกันมีความสำ�คัญ ทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากนำ�มาซึ่งการยุติความขัดแย้งตาม ความชอบด้วยกฎหมายระหว่างทั้งสองประเทศและเป็นการเริ่มต้น ยุคแห่งความปรองดองและการดำ�รงอยู่ร่วมกันซึ่งมีความสำ�คัญ ทางประวัติศาสตร์

การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างเกาหลีเหนือและ เกาหลีใต้ กันยายน 1990 ได้มีการประชุมระดับสูงครั้งแรก ณ กรุงโซลนำ� โดยนายกรัฐมนตรีเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ จนถึงตุลาคม 1992 มีการประชุมรวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง ซึ่งระหว่างการดำ�เนินการดังกล่าว ได้ข้อตกลงที่เรียกว่า “ข้อตกลงว่าด้วยความปรองดอง ไม่รุกราน และความร่วมมือระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้” และนำ�มาใช้ ในเดือนธันวาคม 1991 ข้อตกลงดังกล่าวเน้นในเรื่องการเคารพซึ่งกันและกันระหว่าง ทั้งสองประเทศ การเลิกรุกรานด้วยอาวุธ การแลกเปลี่ยนและ ความร่วมมือในหลายส่วนภาค และการรับประกันการแลกเปลี่ยน ประชาชนอย่างอิสระระหว่างสองประเทศ

13-15 มิถุนายน 2000

การประชุมสุดยอดผู้น�ำ ของเกาหลีเหนือและ เกาหลีใต้ครั้งแรก

262

15 กันยายน 2000

นักกีฬาของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้เดิน เข้าพิธีเปิดพร้อมกันในการแข่งขันกีฬาโอ ลิมปิกปี 2000 ณ เมืองซิดนีย์

30 มิถน ุ ายน 2003

การเปิดใช้งานเขตอุตสาหกรรมแคซอง


ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา รัฐบาลเกาหลีใต้ให้ความ ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องกับเกาหลีเหนือที่เผชิญหน้ากับความยาก ลำ�บากทางเศรษฐกิจที่รุนแรง ในช่วงปี 1999-2007 เกาหลีใต้ได้มอบปุ๋ยปริมาณ 2.55 ล้านตัน ให้แก่เกาหลีเหนือ โดยได้เริ่มมอบปุ๋ยปริมาณ 155,000 ตันใน ปี 1999 และได้ส่งมอบให้อีกประมาณ 200,000 ถึง 300,000 ตัน ในแต่ละปีนับจากช่วงเวลานั้น การขาดแคลนอาหารของประเทศ เกาหลีเหนือนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราวแต่เกิดจากการ เกษตรกรรมที่ไร้ประสิทธิภาพ รวมทั้งการขาดแคลนปุ๋ยและสาร เคมีกำ�จัดศัตรูพืช เกาหลีใต้จึงได้ส่งปุ๋ยให้แก่เกาหลีเหนือเพื่อ เป็นการสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือผู้คนที่ อดอยากในเกาหลีเหนือ การประชุมสุดยอดผูน ้ �ำ ของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ทจ ่ี ด ั ใน ปี 2000 และ 2007 เป็นโอกาสอันดีทท ่ี �ำ ให้เกิดการเจรจาทวิภาคี การแลกเปลีย ่ นและความร่วมมือจากทัง้ สองฝ่าย แต่หลังจากที่ เกาหลีเหนือเปิดตัวขีปนาวุธระยะไกลและนิวเคลียร์ตา่ งๆ ซึง่ ถือ ได้วา่ เป็นสิง่ ยัว ่ ยุอย่างรุนแรงทีจ ่ ะทำ�ให้ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศบนคาบสมุทรเกาหลีนน ้ั มีสถานการณ์แย่ลง ส่งผลให้เกาหลี ใต้ร้ ะงับการช่วยเหลือด้านอาหารและปุย ๋ ชัว ่ คราวแก่เกาหลีเหนือ แต่ยงั คงให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยชนกับเด็กทีม ่ ค ี วามเสีย ่ ง

19 กันยายน 2005

มีการประกาศแถลงการณ์ร่วมกันเรื่องการปลอดนิวเคลียร์ของคาบ สมุทรเกาหลีในการเจรจาหกฝ่ายครั้งที่ 4

19 กันยายน 2005

การประชุมสุดยอดผู้น�ำ ของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ครั้งที่ 2

263


และความช่วยเหลือเพือ ่ บรรเทาเหตุฉก ุ เฉินอย่างต่อเนือ ่ ง การพบกันอีกครั้งของสมาชิกครอบครัวที่พลัดพรากจากกัน จากการแบ่งแยกของคาบสมุทรเกาหลีคาดว่ามีประมาณกว่า 10 ล้านครอบครัวที่ต้องพลัดพรากจากกัน การประชุมชอกซับจาซา (Red Cross Society) ระหว่าง เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ครั้งแรกจัดขึ้นในเดือนสิงหาคมปี 1971 เพื่อปรึกษาหารือเรื่องความเป็นไปได้ในการกลับมาพบกันอีกครั้ง ของสมาชิกครอบครัวที่พลัดพรากจากกัน แต่ในที่สุดก็ต้องถูกระงับ ลงไปเนื่องจากเกิดการโต้เถียงกันอย่างหนัก ทั้ง 2 ฝ่ายกลับมา ประชุมกันอีกครั้งในทศวรรษที่ 1980 และในที่สุดการพบปะเยี่ยม เยืยนของทั้ง 2 ฝ่ายก็กลายเป็นจริง ซึ่งตั้งแต่ 20 กันยายน ปี 1985 เป็นต้นไป ถือได้ว่าเป็น 4 วันแห่งประวัติศาสตร์ที่มีการเยี่ยมเยือน กันอย่างใกล้ชิด มีผู้คนเดินทางไปเยี่ยมเยือนเป็นชาวเกาหลีใต้ 35 คนและชาวเกาหลีเหนือ 30 คนเพียงเท่านั้น ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น มีความสำ�คัญอย่างมากหลังจากการประเทศออกจากกันเป็นเวลา 40 ปี ทั้ง 2 ฝ่ายยังอนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนศิลปะการแสดงเมื่อ มีการจัดงานต่างๆ การพบกันอีกครั้งของสมาชิกในครอบครัวได้กลายเป็นงานอย่าง เต็มรูปแบบ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการประชุมสุดยอดผู้น�ำ ในปี 2000 ไม่นานนักและหลังจากนั้นก็ได้มีการจัดให้มีการพบปะกันอีก 18

5 ธันวาคม 2007

การเริ่มต้นการท่องเที่ยวแคซองของนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้

264

11 ธันวาคม 2007

การเปิดทางรถไฟสายคยองเอ - สายดงแฮ (เป็นการเริ่มต้นการส่ง สินค้าระหว่างมุนซานในเกาหลีใต้และพุงดงในเกาหลีเหนือ)


ปริมาณการผลิตและคนงานในนิคมอุตสาหกรรมแคซอง

46.997

46.950 40.185 32.332

22.378

25.142 25.648 18.478

53.448

7.373

53.947 52.329

49.866 46.284 42.561 38.931

1.491

22.538 11.160

6.013 2005

2006

2007

2008

2009

2010

จำ�นวนคนงานเกาหลีเหนือ

2011

2012

2013

2014

(ที่มา: กระทรวงการรวมชาติ)

ปริมาณการผลิต (หน่วย: ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ครั้งในช่วงเดือนสิงหาคม 2000 ถึงตุลาคม 2010 เกาหลีใต้ได้จัด สถานที่พิเศษบนภูเขาคึมกังซานสำ�หรับการพบปะกันของญาติพี่ น้อง นอกจากนี้ยังมีการจัดการพบปะกันผ่านทางวิดีโอ 7 ครั้งใน ช่วงเดือนสิงหาคม 2005 ถึงพฤศจิกายน 2007 นิคมอุตสาหกรรมแคซอง โครงการนิคมอุตสาหกรรมแคซองซึ่งดำ�เนินการโดยเกาหลีเหนือ อนุญาตให้ธุรกิจภาคเอกชนจากเกาหลีใต้ตั้งโรงงานบนพื้นที่ ให้เช่าในแคซอง ซึ่งมีระยะเวลาการเช่า 50 ปี เพื่อการก่อสร้าง โรงงานและพัฒนาการจัดการสินค้าที่จ�ำ หน่ายล่วงหน้า (presale)ให้กับบริษัททั้งในและต่างประเทศ แคซองเป็นเมืองที่ใหญ่ ติดหนึ่งใน 3 ร่วมกับเมืองพยองยังและนัมโพ เมืองแห่งนี้มีข้อได้ เปรียบสำ�หรับธุรกิจจากเกาหลีใต้มากมาย เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับ 265


เกาหลีใต้ แคซองอยู่ห่างจากพันมุนจอม(ชายแดนเกาหลีเหนือและ เกาหลีใต้) เพียงแค่ 8 กิโลเมตร หลังจากข้อเสนอเบื้องต้นในปี 2000 โครงการดังกล่าวได้เริ่มต้น ขึ้นอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2002 พร้อมกับการ ประกาศใช้กฎหมายเขตอุตสาหกรรมแคซอง พิธีเปิดจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน 2003 โดยผู้มีชื่อเสียงในแวดวง การเมืองและเศรษฐกิจจากทั้ง สอง ประเทศเข้าร่วม ซึ่งการผลิต สินค้าได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคมี 2004 ในปัจจุบันมีโรงงานผู้ ผลิตจากเกาหลีใต้และผู้รับเหมากว่า 120 รายที่ดำ�เนินงานอยู่ใน นิคมอุตสาหกรรมแคซอง ในขณะเดียวกันก็มีชาวเกาหลีเหนือกว่า 50,000 คนทำ�งานในนิคมดังกล่าว ซึ่งใช้เงินทุนและเทคโนโลยี จากเกาหลีใต้ร่วมกับการใช้แรงงานชาวเกาหลีเหนือและได้เริ่มต้น การผลิตสินค้าในปี 2004 ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมแคซอง ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามใน ข้อตกลงระหว่างกัน 4 ข้อเกี่ยวกับการทำ�ให้นิคมอุตสาหกรรมแค ซองมีมาตรฐาน ซึ่งมีข้อตกลงเกี่ยวกับการสื่อสารทางอุตสาหกรรม พิธีการศุลกากร การกักกันและการเข้าถึง นอกจากนี้ยังมีข้อตกลง การเข้าพักอาศัยต่างๆ ด้วย

ความพยายามในการสร้างสันติภาพอย่างถาวร รัฐบาลเกาหลีใต้ได้พยายามสร้างสันติภาพอย่างถาวรบน คาบสมุทรเกาหลีและพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับเกาหลีเหนือผ่าน การเจรจาทวิภาคี การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือในยามที่ความ สัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเกิดความไม่แน่นอนอย่างเช่น ใน ตอนที่นิคมอุตสาหกรรมแคซองถูกปิดชั่วคราวหรือความตึงเครียด ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รัฐบาลเกาหลีใต้ก็ยังคงอยู่บนพื้น ฐานนโยบายที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ด้วยการพูดคุยและความร่วม มือกับเกาหลีเหนืออย่างไม่เปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปรัฐบาลและชาว เกาหลีใต้ประสบความสำ�เร็จในการรักษาบรรยากาศในสังคมให้ สงบและมีเสถียรภาพ 266


เกาหลีใต้รับมือกับความตึงเครียดที่ปะทุขึ้นบนคาบสมุทรเกาหลี อย่างประนีประนอม โดยมีการเจรจาทวิภาคีและความร่วมมือเพื่อ รักษาสันติภาพกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้จึง อาจถือได้ว่าเกาหลีใต้เป็นประเทศที่ปลอดภัยแห่งหนึ่งในโลก นับตั้งแต่พิธีสาบานตนเข้ารับตำ�แหน่งประธานาธิบดีปัก กึนเฮใน เดือนกุมภาพันธ์ปี 2013 รัฐบาลเกาหลีใต้ภายใต้การนำ�ของปัก กึนเฮ ซึ่งได้ผลักดันกระบวนการสร้างความเชื่อมั่นบนคาบสมุทร เกาหลีเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือให้ดีขึ้น โดยการ สร้างความเชื่อมั่นระหว่าง สอง ประเทศบนพื้นฐานของการรักษา ความปลอดภัยของชาติอันแข็งแกร่ง ซึ่งพัฒนาความสัมพันธ์นั้น ได้เกิดเป็นกระบวนการที่เรียกว่า 「ฮันบันโด ชินลเวพึโรเซซือ」 (Trust-building process) ซึ่งกำ�ลังดำ�เนินการอยู่เพื่อรักษา สันติภาพบนคาบสมุทรเกาหลีและวางรากฐานสำ�หรับการรวมชาติ ต่อไป รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ใช้กระบวนการ「ฮันบันโด ชินลเวพึโรเซซือ」 (Trust-building process) ในการรักษาความปลอดภัยและการ ปราบปราม โดยการส่งเสริมให้มีการเจรจาทวิภาคีและความร่วม มืออย่างสมดุล และชักจูงให้เกาหลีเหนือตัดสินใจทำ�สิ่งที่ถูกต้อง รวมถึงการยกเลิกโครงการนิวเคลียร์ นอกจากนี้เกาหลีใต้ได้เร่ง การพัฒนาร่วมกันกับเกาหลีเหนือเพื่อวางรากฐานสำ�หรับการรวม ชาติอย่างสันติ และจะพยายามมีบทบาทในการสร้างสันติภาพและ ความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและโลก ผ่านการเป็นหนึ่งเดียวกันของเกาหลี

267


เว็บไซต์ทเ่ี กีย ่ วข้อง

ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในบราซิล brazil.korean-culture.org

ประตูสู่ประเทศเกาหลี

ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในสหราชอาณาจักร london.korean-culture.org

หน่วยงานบริการข้อมูลและวัฒนธรรมเกาหลี www.korea.net

ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในเยอรมันนี germany.korean-culture.org

การท่องเที่ยวแห่งประเทศเกาหลี www.visitkorea.or.kr

ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในฝรั่งเศส www.coree-culture.org

หน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนแห่งประเทศเกาหลี www.kotra.or.kr

ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในรัสเซีย russia.korean-culture.org

ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี

ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในคาซัคสถาน kaz.korean-culture.org

ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในจีน china.korean-culture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในเซี่ยงไฮ้ shanghai.korean-culture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในโตเกียว www.koreanculture.jp ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในโอซาก้า osaka.korean-culture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในเวียดนาม vietnam.korean-culture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในซิดนีย์ koreanculture.org.au ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในฟิลิปปินส์ phil.korean-culture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในอินโดนีเซีย id.korean-culture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในไทย thailand.korean-culture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในอินเดีย india.korean-culture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในวอชิงตัน ดี ซี www.koreaculturedc.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในนิวยอร์ก www.koreanculture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในลอสแอนเจลิส www.kccla.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในอาร์เจนตินา argentina.korean-culture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในเม็กซิโก mexico.korean-culture.org

268

ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในตุรกี tr.korean-culture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในโปแลนด์ pl.korean-culture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในฮังการี hu.korean-culture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในสเปน www.spain.korean-culture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในเบลเยียม brussels.korean-culture.org ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีในไนจีเรีย ngr.korean-culture.org กระทรวงบริหาร กระทรวงยุทธศาสตร์และการคลัง www.mosf.go.kr กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการวางแผนในอนาคต www.msip.go.kr กระทรวงศึกษาธิการ www.moe.go.kr กระทรวงการต่างประเทศ www.mofa.go.kr กระทรวงการรวมชาติ www.unikorea.go.kr กระทรวงยุติธรรม www.moj.go.kr กระทรวงกลาโหม www.mnd.go.kr กระทรวงการบริหารราชการและบ้านเรือน www.mogaha.go.kr


กระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว www.mcst.go.kr กระทรวงเกษตร อาหารและกิจการชนบท www.mafra.go.kr กระทรวงการค้า อุตสาหกรรมและพลังงาน www.motie.go.kr กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ www.mw.go.kr กระทรวงสิ่งแวดล้อม www.me.go.kr กระทรวงการจ้างงานและแรงงาน www.moel.go.kr กระทรวงความเสมอภาคทางเพศและครอบครัว www.mogef.go.kr กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม www.molit.go.kr กระทรวงมหาสมุทรและการประมง www.mof.go.kr สำ�นักงานการกฏหมายแห่งรัฐ www.moleg.go.kr กระทรวงรักชาติและกิจการทหารผ่านศึก www.mpva.go.kr กระทรวงความปลอดภัยอาหารและยา www.mfds.go.kr สำ�นักงานภาษีแห่งชาติ www.nts.go.kr สำ�นักงานศุลกากรแห่งประเทศเกาหลี www.customs.go.kr สำ�นักงานบริการการจัดซื้อสาธารณะ www.pps.go.kr สำ�นักงานสถิติแห่งประเทศเกาหลี www.kostat.go.kr สำ�นักงานอัยการสูงสุด www.spo.go.kr สำ�นักงานกำ�ลังพลของกองทัพ www.mma.go.kr สำ�นักงานการจัดหายุทโธปกรณ์แห่งเกาหลีใต้ www.dapa.go.kr สำ�นักงานตำ�รวจแห่งชาติเกาหลี www.police.go.kr กระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงสาธารณะ www.mpss.go.kr

สำ�นักงานมรดกวัฒนธรรม www.cha.go.kr สำ�นักงานพัฒนาชนบท www.rda.go.kr สำ�นักงานป่าไม้แห่งประเทศเกาหลี www.forest.go.kr สำ�นักงานธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก www.smba.go.kr สำ�นักงานทรัพย์สินทางปัญญา www.kipo.go.kr สำ�นักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งประเทศเกาหลี www.kma.go.kr สำ�นักงานบริหารการก่อสร้างเมือง www.macc.go.kr คณะกรรมมาธิการกำ�กับดูแลกิจการสื่อสารแห่งประ เทศเกาหลี www.kcc.go.kr คณะกรรมมาธิการการค้ายุติธรรมแห่งเกาหลี www.ftc.go.kr คณะกรรมมาธิการบริการทางการเงิน www.fsc.go.kr คณะกรรมมาธิการต่อต้านการทุจริตและสิทธิพลเมือง ของเกาหลี www.acrc.go.kr คณะกรรมมาธิการด้านความมั่นคงและปลอดภัยทาง นิวเคลียร์ www.nssc.go.kr กระทรวงนิติบัญญัติ สมัชชาแห่งชาติเกาหลี www.assembly.go.kr ฝ่ายตุลาการ ศาลฎีกา www.scourt.go.kr องค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ www.ccourt.go.kr คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติ www.nec.go.kr คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ www.humanrights.go.kr

269


ทีม ่ าของภาพ สถาบันการท่องเทีย ่ วเทศกาลแห่งอันดง

การท่องเทีย ่ วแห่งประเทศเกาหลี

เทศกาลพาอูดอกี พุงมุลดัน (เครือ ่ งเคาะจังหวะ) เมืองอันซอง

สมาคมช่างฝีมอ ื ทรัพย์สน ิ ทางวัฒนธรรมเกาหลี

คณะกรรมการผูจ ้ ด ั งานเทศกาลโคลนแห่งโพรยอง

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศเกาหลี

คณะกรรมการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปซ ู าน

สถานีแห่งชาติ เคทีวี

สถาบันชอนันเพือ ่ ศิลปะและวัฒนธรรม

สถาบันเกาหลีศก ึ ษาคยูจงั กัก

พิพธ ิ ภัณฑ์สง่ิ พิมพ์ยค ุ แรกแห่งซองจู

ลีอม ุ พิพธ ิ ภัณฑ์ศล ิ ปะของซัมซุง

หนังสือพิมพ์โชซอนอิลโบ

นิวส์แบงค์ (Newsbank)

โบสถ์ชองดงคริสตจักรเมธอดิสท์แห่งแรก

มูลนิธน ิ ารา

สำ�นักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งประเทศเกาหลี

พิพธ ิ ภัณฑ์พน ้ื บ้านแห่งชาติเกาหลี

แดกู

ศูนย์คก ู ก ั แห่งชาติ

ดิสคอฟเวอรี่ มีเดีย (Discovery media)

พิพธ ิ ภัณฑ์แห่งชาติเกาหลี

อีฮวามีเดีย (Ewhamedia)

พิพธ ิ ภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติเกาหลี

ศูนย์มรดกคากก

นิวเดลี (Newdaily)

พิพธ ิ ภัณฑ์อนุเสาวรียย ์ ค ุ ก่อนประวัตศ ิ าสตร์ยา่ นอัมซาดง

นิวซีส (NEWSIS)

พิพธ ิ ภัณฑ์เครือ ่ งปัน ้ ดินเผาแห่งคังจิน

โอมายนิวส์ (OhmyNews)

คณะกรรมการเทศกาลทาโนเจแห่งคังรึง

ช่างภาพคิมบยองฮุน

นิทรรศการศิลปะเบียนนาเล่แห่งควางจู (Gwangju Biennale)

คณะกรรมการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติพช ู อน

พิพธ ิ ภัณฑ์แห่งชาติแห่งคยองจู

นักเขียนซอฮอนกัง

สมาคมอนุรก ั ษ์พระไตรปิฏกภาษาเกาหลี

ศูนย์การศึกษา การทอผ้าป่านฮันซาน ชัตเตอร์สต็อก (Shuttrestock)

สำ�นักงานใหญ่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฮน ั บิด

นักเขียนซอแจชิก

ฮาซีซี พัค

สมาคมแท็กก็อนเกาหลี

เขตเศรษฐกิจเสรีแห่งอินชอน

ห้องสมุดแห่งชาติเกาหลี

บริษท ั ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งอินชอน

สมาคมช่างฝีมอ ื กระดาษดัง้ เดิมของเกาหลี

สถาบันอาหารเกาหลีดง้ั เดิม

คณะกรรมการอนุรก ั ษ์ประเพณียองซันแจ

มูลนิธเิ จจูอลเล

ศาลากลางจังหวัดเมืองทงยอง

ศูนย์มรดกทางธรรมชาติระดับโลกแห่งเจจู

Topic Images

พิพธ ิ ภัณฑ์กอ ่ นประวัตศ ิ าสตร์แห่งชอนกก

นักเขียนและนักเดินทางลีทงมี

คณะกรรมการจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติชอนจู

อีคม ิ โปรดักชัน ่ (Lee Kim Production & Compan)

สมาคมอนุรก ั ษ์ชงมโย เชเร(พิธรี ะลึกบรรพบุรษ ุ กษัตริย์

คณะกรรมการหมูบ ่ า้ นยางดง

หนังสือพิมพ์จงุ อังอิลโบ

สำ�นักงานเขตยังยัง

มูลนิธศ ิ ล ิ ปะและวัฒนธรรมแห่งคันซง

ยอนดึงฮเว (Lotus Lantern Festival)

นักเขียน คิมชอลฮวัน

บริษท ั วายจี เอ็นเทอร์เทนเมนต์ (YG ENTERTAINMENT)

หน่วยงานบริการข้อมูลและวัฒนธรรมเกาหลี (KOCIS)

ยอนมิซล ุ (Yon Art Printing)

สำ�นักงานอุตน ุ ย ิ มวิทยาแห่งประเทศเกาหลี

สำ�นักข่าวยอนฮับ

หน่วยบริการอุทยานแห่งชาติเกาหลี

หอจัดแสดงยูนคัลเลอร์ (Yoon's Color)

270



เรื่องราวในวันวานและปัจจุบันของเกาหลี 한국의 어제와 오늘

www.korea.net

เรื่องราวในวันวานและปัจจุบัน ของเกาหลี 한국의 어제와 오늘


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.