Mindfulness (Dhamma & Fine Art)

Page 1



Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)


มีสติ รู้สึกตัว

ธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ เรียบเรียงโดย จิด.ตระ.ธานี พิมพ์ครั้งที่ ๑ : ธันวาคม ๒๕๕๖ จ�ำนวน ๐,๐๐๐ เล่ม ชุด “ธรรมะ How to.?” เล่มที่ ๑ : ฉบับธรรมทาน ออกแบบ/จัดรูปเล่ม : จิด.ตระ.ธานี ภาพปก : พระพุทธอัษฎางกูรธร โดย ชัชวาล รอดคลองตัน พิสูจน์อักษร : กมลพร ศิริโสภณ (บิว) จัดพิมพ์โดย :

ธานี ชินชูศักดิ์ ในนาม “กองบุญสื่อธรรมะดี จิด.ตระ.ธานี”

www.jitdrathanee.com/dhamma โทร. ๐๘ ๙๗๘๓ ๖๓๑๓ (พ่อไก่อู ; ผู้ดูแลกองบุญสื่อฯ) สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ พิมพ์ที่ : บริษัท ไอดี.ปริ้นท์ จ�ำกัด โทร. ๐ ๒๙๔๓ ๖๙๗๖ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ

National Library of Thailand Cataloging in Publication Data

พระประสงค์ ปริปุณฺโณ, จิด-ตระ-ธานี . มีสติ รู้สึกตัว. -.- กรุงเทพฯ : กองบุญสื่อธรรมะดี จิด-ตระ-ธานี, ๒๕๕๖. ๑๙๒ หน้า. -.- (ธรรมะ How to.?).

จ�ด .

เ ี ต ร ะ. ธ า น

หนังสือเล่มนี้พิมพ์ด้วยกระดาษที่น�ำกลับมาใช้ใหม่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 100%

2

มีสติ รู้สึกตัว

ก ิด

๑. ธรรมเทศนา. I. ชื่อเรื่อง. 294.304 ISBN 978-616-348-076-7


จุติ ๑

Mind ful n ess

ด จุต

ิ๑

ก ิด

มีสติจ�ด .ตรรูะ.้สธานึกี เ ตัว

ธรรมเทศนา ก่อนพิธีเปิดนิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ

“จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

โดย พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ เรี ย บเรี ย งโดย จิ ด . ตระ . ธานี



อนุโมทนาพจน์ “มีสติ รู้สึกตัว” เป็นความเรียงจากธรรมบรรยายที่อาตมารับนิมนต์ จากอาจารย์ธานี เพื่อแสดงธรรมก่อนพิธีเปิด นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น” ในวันเสาร์ที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๕ โดย ผู้เรียบเรียงได้น�ำเนื้อหาการบรรยายธรรมของอาตมา ณ บ้านจิตสบาย มา เรียบเรียงประกอบเพิม่ เติม เพือ่ ให้ผอู้ า่ นได้รบั ความเข้าใจทีก่ ระจ่างชัดยิง่ ขึน้ พวกเรามีบุญอย่างยิ่งที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ ด้วยเป็นภูมิที่เหมาะสมที่สุด กับการภาวนา จนถึงทีส่ ดุ แห่งการพ้นทุกข์ได้ ต่างจากเหล่าเทวดา ซึง่ เป็นภูมิ ที่อุดมไปด้วยความสุขถ่ายเดียว จนอาจหลงเพลินติดสุขได้ง่าย การภาวนานั้นเริ่มต้นได้ไม่ยาก เพียงฝึกรู้สึกกายที่เคลื่อนไหว รู้ใจที่ นึกคิด ในทุกๆ ขณะ โดยมี “สติ” เป็นผู้อารักขาจิต รู้ทันสภาวะแปลกปลอม ที่เข้ามากระทบใจอย่างซื่อๆ โดยไม่เข้าไปแทรกแซง ไม่เพ่ง ไม่จ้อง สติทฝี่ กึ ดีแล้ว เมือ่ เจริญให้บริบรู ณ์ยงิ่ ขึน้ จะสามารถพัฒนาเป็นปัญญา มีพลังท�ำลายอวิชชาลงได้ และเข้าใจสรรพสิ่งทั้งมวลตามความเป็นจริง “การมีสติ รู้สึกตัว” จึงไม่ได้อยู่ห่างไกล หรือต้องแสวงหาจากที่ไหน เพียงหมั่นเจริญสติ ระลึกรู้สึกตัวลงในกายในใจ อย่างสม�่ำเสมอต่อเนื่อง ดัง พุทธพจน์ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ (จิตที่ฝึกดีแล้ว น�ำสุขมาให้) ท้ายนีอ้ าตมาขออนุโมทนาในการริเริม่ จัดท�ำหนังสือเล่มนี้ รวมถึงผูม้ จี ติ ศรัทธาร่วมจัดพิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน และหวังว่าผู้อ่านจักได้ประโยชน์ จากหนังสือเล่มนี้ตามสมควร

พระประสงค์ ปริปุณฺโณ

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

5


ค�ำปรารภ หนังสือเล่มนี้คือการรวบรวมเนื้อหาจาก นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น” จัดแสดงระหว่างวันที่ ๕ - ๑๔ กันยายน ๒๕๕๕ ณ ห้องศิลาทราย ชั้น ๔ ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ สี่พระยา กรุงเทพฯ ส่วนแรกของหนังสือ เป็นธรรมบรรยายในหัวข้อ “มีสติ รู้สึกตัว” โดย พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ ที่ท่านได้เมตตาแสดงธรรม ก่อนพิธีเปิด นิทรรศการ ในวันเสาร์ที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๕ ส่วนที่สองเป็นผลงานศิลปกรรมของศิลปินรับเชิญ ที่มีผลงานเป็นที่ ประจักษ์ในระดับมืออาชีพ ผลงานของ จิด.ตระ.ธานี และผลงานของสมาชิก กลุ่ม “วาดเล่นๆ กับ จิด.ตระ.ธานี” www.jitdrathanee.com/Learning ชุมชนของคนรักศิลปะลายไทยบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่ผมได้มอบความ รู้เป็นวิทยาทานมานานกว่า ๕ ปี การจัดนิทรรศการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อน�ำรายได้ส่วนหนึ่ง จาก การจ�ำหน่ายผลงานศิลปะ และของที่ระลึกภายในนิทรรศการ สมทบทุน ร่วมสร้าง “ธรรมสถาน อาศรมน้อมสูใ่ จ” โดย พระอาจารย์ประสงค์ ปริปณ ุ โฺ ณ ณ ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี แต่เนือ่ งจากติดขัดปัญหาส�ำคัญหลายประการ ท�ำให้หนังสือเล่มนี้ เว้น ช่วงห่างในการจัดพิมพ์ หลังเสร็จสิน้ การจัดแสดงนิทรรศการแล้วออกไปมาก จึงต้องกล่าวขออภัยทุกๆ ท่าน มา ณ ที่นี้ด้วย เพื่อความบริบูรณ์ของเนื้อหา เหมาะแก่ผู้ใฝ่ธรรมยิ่งขึ้น ผมได้กราบ เรียนปรึกษาพระอาจารย์ โดยขออนุญาตน�ำเนือ้ หาธรรมบรรยายส่วนหนึง่ ที่ พระอาจารย์แสดงธรรม ณ บ้านจิตสบาย เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๖ เรื่อง “รู้สึกตัว หรือเคยชิน” (เราอยู่กับความรู้สึกตัว หรืออยู่กับความเคยชิน) มา เรียบเรียงประกอบเพิ่มเติม โดยได้ร้อยเรียงเนื้อหาธรรมบรรยายทั้งหมด ให้ ต่อเนื่องกลมกลืนกันตั้งแต่ต้นจนจบ

6

มีสติ รู้สึกตัว


ด้วยผมเป็นเพียงฆราวาสผูใ้ ฝ่ใจศึกษาธรรมะ หากมีขอ้ ผิดพลาดประการใด ไม่ว่าจะในส่วนของเนื้อหาเพิ่มเติม หรือส่วนอื่นใดของหนังสือเล่มนี้ ผมขอ น้อมรับค�ำติติง และขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว อนึ่งการจัดแสดงผลงานศิลปกรรม พร้อมการบรรยายธรรมในครั้งนี้ คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากขาดซึ่งเหตุปัจจัยที่เป็นกุศลในหลายๆ ด้าน ทั้ง ผู้สนับสนุนใจดี ที่กรุณามอบทุนให้ด�ำเนินการจัดนิทรรศการ ความร่วมมือ ร่วมใจของเหล่าพี่น้องศิลปิน รวมถึงความเอื้อเฟื้อจากสมาชิกหลายๆ ท่าน ในชุมชนคนรักศิลปะลายไทย “วาดเล่นๆ กับ จิด.ตระ.ธานี” ผมขอกล่าวขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ และขออาราธนาคุณ พระศรีรัตนตรัย ช่วยส่งให้วิบากฝ่ายกุศลน�ำพาทุกๆ ท่าน ให้เจริญงอกงาม ในธรรม และสามารถก้าวข้ามสังสารวัฏ จนถึงที่สุดแห่งทุกข์โดยพลัน

ขอขอบพระคุณในธรรม

จิด​ ~ตระ~ธานี ๚๛

(จิตรกร และผู้เรียบเรียง)

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

7


สารบัญ ๕ อนุโมทนาพจน์ ๖ ค�ำปรารภ ธรรมบรรยาย

๑๑ มีสติ รู้สึกตัว

เริ่มต้นธรรมบรรยาย

๒๑ รู้สึกตัว หรือเคยชิน

เราอยู่กับความรู้สึกตัว หรืออยู่กับความเคยชิน

๒๙ รู้สึก นึก แล้วก็คิด

การรู้สึกตัว การนึก การคิด คืออะไร ?

๕๕ ปล่อยวาง

การปล่อยวางขันธ์

ผลงานศิลปะ

๖๖ ศิลปินรับเชิญ

๘ ศิลปินรับเชิญ : ๒๐ ผลงาน

๑๐๐ จิด.ตระ.ธานี : ๑๗ ผลงาน (บางส่วน) ๑๒๐ จิด.ตระ.ธานี “วาดน�้ำท่วม ๒๕๕๔”

๘ ผลงาน

๑๓๐ กลุ่ม “วาดเล่นๆ กับ จิด.ตระ.ธานี”

ีน า ธ .8ะ ต. ด�จ ร มีสติ รู้สึกตัว

๒๗ สมาชิก : ๓๐ ผลงาน


Song of nature 3 : Fine art photography พรรษา สุนาวี (ศิลปินรับเชิญ)



จุติ ๑

ก ิด

ธรรมเทศนา ก่อนพิธีเปิดนิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ เ จ ี น “จิด . ตระ . ธานี�ด .ตเกิด จุติ ๑ วาดเส้น” า . ธ ระ ณ ห้องศิลาทราย ชั้น ๔ ริเวอร์ซิตี้ สี่พระยา กรุงเทพฯ เสาร์ที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๕

เพื่อให้เป็นบุญเป็นกุศลแก่พวกเรา เดี๋ยวมาสมาทาน๑ ศีล ๕ ร่วมกัน บนริเวอร์ซิตี้ นี่แหละ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง๒ รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ, (ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล ๕ พร้อมกับสรณะ ๓) ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลา นิยาจามะ, (ท่านผู้เจริญ แม้นในวาระที่ ๒ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล ๕ พร้อมกับ สรณะ ๓) ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลา นิยาจามะ.๓ (ท่านผู้เจริญ แม้นในวาระที่ ๓ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล ๕ พร้อมกับ สรณะ ๓) ๑ สมาทาน แปลว่า การถือเอา รับเอา การถือปฏิบัติ ๒ วิสุง แปลว่า “ส่วน” หรือขอรับแยกเป็นส่วนๆ เป็นการขอละเว้นในการรักษาศีล บางข้อ หากต้องการสมาทานศีลบริสุทธิ์ ให้ตัดค�ำว่า “วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ” ออก ๓ กรณีสวดคนเดียวเปลี่ยนค�ำว่า “มะยัง” เป็น “อะหัง” และ “ยาจามะ” เป็น “ยาจามิ” พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

11


ต่อไปตั้ง นะโม๑ ๓ จบ พร้อมกัน นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ. (๓ ครัง้ ) (ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง) (๓ ครั้ง) เข้าถึงไตรสรณคมน์ ๒ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ขอเชิญ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ, (ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง) ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ, (แม้นในวาระที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง แม้นในวาระ ที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง แม้นในวาระที่ ๒ ข้าพเจ้าขอถึงพระ สงฆ์เป็นที่พึ่ง) ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ, ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ, (แม้นในวาระที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง แม้นในวาระ ที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง แม้นในวาระที่ ๓ ข้าพเจ้าขอถึงพระ สงฆ์เป็นที่พึ่ง) ต่อไปศีล ๕ เชือ่ ว่าทุกคนว่ากันได้ โดยไม่ตอ้ งให้พระน�ำ ตัง้ แต่ ปาณาฯ จนถึง สุราฯ ดังๆ ขอเชิญ ๑ ตั้งนะโม คือ การสวดบทนมัสการบูชาพระพุทธเจ้า ๒ ไตรสรณคมน์ คือ การเปล่งวาจา น้อมกาย น้อมใจ ขอพระรัตนตรัยเป็นสรณะ เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก เป็นการกล่าวเพื่อแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

12

มีสติ รู้สึกตัว


ปาณาติปาตา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ, (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า) อะทินนาทานา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ, (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการลัก ฉ้อ ของผู้อื่นด้วย ตนเอง และไม่ใช้ให้ผู้อื่นลัก ฉ้อ) กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ, (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม) มุสาวาทา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ, (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ ค�ำไม่เป็นจริง และค�ำล่อลวง อ�ำพรางผู้อื่น) สุราเมระยะ มัชชะปะมา ทัฏฐานา เวระมะณี, สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ. (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุรา เมรัย เครื่อง ดองของเมา ที่ท�ำใจให้คลั่งไคล้ต่างๆ) ตั้งแต่ส่วนนี้พระอาจารย์เป็นผู้กล่าว อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (๓ ครั้ง) (ข้าพเจ้าขอทรงไว้ ซึ่งศีลทั้งห้าประการด้วยจิตตั้งมั่น) (๓ ครั้ง) สีเลนะ สุคะติง ยันติ, (ศีล นัน้ จักเป็นเหตุให้ถงึ ความสุข) ผูฟ้ งั รับ “สาธุ” สีเลนะ โภคะสัมปะทา, (ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งโภคทรัพย์) ผู้ฟังรับ “สาธุ” สีเลนะ นิพพุติง ยันติ, (ศีลนั้นยังเป็นเหตุให้ได้ไปถึง นิพพาน คือ ความดับเย็น สงบจากกิเลส แลเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง) ผู้ฟังรับ “สาธุ” พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

13


ตัสม๎ า๑ สีลงั วิโสทะเย. (ศีล จึงเป็นสิง่ ทีว่ เิ ศษ ทีท่ า่ นทัง้ หลายพึงยึดถือ เป็นหลักประจ�ำชีวิต ประจ�ำจิตใจ ปฏิบัติให้ได้ ดังนี้) ผู้ฟังกล่าวรับพร้อมกัน “สาธุ” ๒ ขอนอบน้อมแด่คุณพระรัตนตรัย ขอถวายความเคารพแด่ครูบา อาจารย์ ทั้งที่มีชีวิตอยู่ และละโลกนี้ไปแล้ว และขอความเจริญในธรรมจงมี แด่ อ. จิด.ตระ.ธานี และคณะ รวมทั้งพวกเราทุกๆ คนที่ร่วมชมนิทรรศการ และฟังธรรมในครั้งนี้ ขอเจริญพร เรื่องสมาทานศีลนี่ อาตมาอยากจะฝากพวกเรา “มีศีลให้ขาด ดีกว่า ไม่มีศีลจะขาด” เพราะฉะนั้นตอนนี้รับไปก่อน ๕ ข้อ เดี๋ยวเดินลงไปข้าง ล่าง ๑ ชั้น อาจจะเหลือ ๔ ข้อ แล้วก็ค่อยๆ หลุดไปทีละข้อๆ (หัวเราะ) แต่ถ้าเป็นไปได้ ควรปฏิบัติให้ครบทุกๆ ข้อ เพราะพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า “สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา” ศีลเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ ศีลจะน�ำความสุขมาให้ และศีลจะพาไปสู่พระนิพพาน๓ คือความสงบเย็น ก่อนอืน่ ขอท�ำความเข้าใจนิดหนึง่ ก่อน วันนีอ้ าตมาไม่ได้มาแสดงธรรม แต่ชว่ งเวลาต่อจากนี้ อยากจะให้เป็นช่วงเวลา ทีเ่ ราจะมาปฏิบตั ธิ รรมร่วมกัน ๑ ยามักการ (_๎) คือเครื่องหมายให้อ่านพยัญชนะควบ เช่น ตัส๎มา = ตัด-สะหมา ๒ สาธุ แปลว่า ดีแล้ว ชอบแล้ว ๓ นิพพาน ประกอบด้วย ๒ ค�ำ คือ นิ + วานะ โดยแต่ละค�ำมีความหมายดังนี้ (๑) “นิ” แปลว่า ออกไป, หมดไป, ไม่มี (๒) “วานะ” แปลว่า พัดไป, สิ่งร้อยรัด วานะ ยังเป็นชื่อเรียกของ “ตัณหา” หรือความอยาก เมื่อน�ำทั้ง ๒ ค�ำมารวมกัน “นิพพาน” จึงแปลว่า “ไม่มีการพัดไป ไม่มีสิ่งร้อยรัด” กล่าวโดยสรุป นิพพานคือสภาวะที่ปราศจากตัณหา (เครื่องผูกพันร้อยรัด) เป็น อิสรภาพโดยสมบูรณ์ จากทั้งทุกข์และสุข ที่คอยกระพือใจ ให้ดิ้นรน กระวนกระวาย อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

14

มีสติ รู้สึกตัว


โดยอาตมภาพ พระประสงค์ จะปฏิบตั ธิ รรมในฐานะผูพ้ ดู ส่วนพวกเราก็ชว่ ย กันปฏิบัติธรรมในฐานะผู้ฟัง ตกลงวันนีเ้ ราจะมาคุยกัน ในภาษาบาลีเขาเรียก “ปุจฉา” กับ “วิสชั นา” ปุจฉา แปลว่า “ถาม” วิสัชนา แปลว่า “ตอบ” ถ้าอาตมาพูดค�ำว่า “ปุจฉา” แสดงว่าพระต้องการทีจ่ ะถาม พวกเราก็จะ พูดดังๆ ว่า “วิสชั นา” แปลว่าพวกเราจะช่วยกันตอบ ถ้าตอบไม่ได้กช็ ว่ ยตอบ ว่า “ไม่ทราบ” อาตมาก็จะให้เลือกว่า จะเอาตัวช่วย หรือจะเปลี่ยนค�ำถาม พร้อมหรือยัง ? ถ้าพร้อมแล้วเริ่มเลย ปุจฉา (วิสัชนา) พวกเราชอบคนใจเดียว หรือคนหลายใจ โยมตอบ : ใจเดียว แล้วปกติเราเป็นคนใจเดียว หรือเป็นคนหลายใจ โยมตอบ : หลายใจ (หัวเราะ) เห็นมั้ย ? เราเริ่มจะเห็นแล้ว บางคนตัวมานั่งอยู่ที่นี่ แต่ปล่อยใจไปที่ อื่นมีมั้ย ? โยมตอบ : มี นี่เขาเรียกว่าคนหลายใจ ไม่จริงใจ ขนาดบางคนนั่งอยู่ต่อหน้าพระรูป พระพุทธเจ้า ปากก็สวดมนต์ ตาก็ดูหนังสือ แต่ปล่อยใจไปที่อื่น มีมั้ย ? โยมตอบ : มี อันนี้เขาเรียกว่านั่งหลอกกันซึ่งๆ หน้าเลย ถ้าเราเข้าใจกระบวนการตรงนี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นผู้น�ำ มีใจถึงก่อน ส�ำเร็จได้ด้วยใจ” ตกลงเรื่องของ จิตใจตรงนี้ส�ำคัญไหม ? ส�ำคัญนะ

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

15


คนที่แขนพิการเขาเรียกว่า แขนเสีย หรือแขนใช้ไม่ได้ คนที่ขาพิการ เขาเรียกว่า เสียขา หรือขาใช้ไม่ได้ คนที่ตาพิการ ก็คือตาเสีย หรือตาใช้ไม่ ได้ ส่วนคนที่ใจพิการล่ะ เขาเรียกว่า “เสียคน” เลยนะ เพราะเมื่อใจพิการจะเสียทั้งตัว มันท�ำอะไรไม่ได้ ไปอยู่ในที่ต่างๆ พอ คนเขาเห็นว่าเราใจพิการปับ๊ มันหมดสภาพ คล้ายๆ กับสวะทีล่ อยตามน�ำ้ ไป เรื่อยๆ แต่ว่าสวะที่ลอยตามน�้ำนี่ บางทีอย่างผักตบชวา มันก็ยังออกดอกให้ คนได้ชื่นชม แต่คนที​ี่ใจพิการนี่มันเสียคน ไปอยู่ที่ไหนคนเขาก็เอือมระอากัน คนทีไ่ ม่มปี ญ ั หา อยูใ่ นทีร่ อ้ นก็อบอุน่ อยูใ่ นทีว่ นุ่ ก็สบาย ใครจะมีปญ ั หา เราไม่มีปัญหากับใคร คนในโลกถ้าหากแบ่ง จะแบ่งได้เป็น ๓ กลุ่ม เดี๋ยวเช็คดูหน่อยว่า พวกเราอยู่กลุ่มไหน ? คนกลุ่มที่ ๑ อยู่ในที่ยุ่ง เขาก็ไม่ยุ่ง ยิ่งอยู่ในที่ไม่ยุ่ง ยิ่งสบายใหญ่ คนกลุ่มที่ ๒ อยู่ในที่ไม่ยุ่ง (ผู้ฟังในห้องเริ่มเงียบ) ฮัลโหล ยังอยู่มั้ย ? ประกาศโปรดทราบ ใครทิ้งร่างไว้ตรงนี้ โปรดเข้า สิงร่างด่วน เวลาจะท�ำอะไร กายกับใจ ต้องไปด้วยกัน คนกลุ่มที่ ๒ อยู่ในที่ไม่ยุ่ง เขาไม่ยุ่ง แต่พอเข้าไปอยู่ในที่ยุ่ง อดยุ่งไม่ได้ มาถึงคนกลุ่มที่ ๓ อยู่ในที่ไม่ยุ่ง เขาก็หาเรื่องยุ่ง ยิ่งเข้าไปอยู่ในที่ยุ่ง ยิ่งยุ่งใหญ่ พวกเราคิดว่ากลุ่มไหนดีที่สุด ถ้าให้เลือกจะเลือกอยู่กลุ่มไหน ? โยมตอบ : กลุ่มที่ ๑ แล้วปัจจุบันพวกเราอยู่กลุ่มไหน ? โยมตอบ : กลุ่มที่ ๒ (โยมบางคนตอบ กลุ่มที่ ๓) ใครบังคับให้ไปอยู่กลุ่มนั้น ? โยมตอบ : ไม่มีใครบังคับ อย่างพวกเรามานั่งกันอยู่ตรงนี้ ยุ่งหรือไม่ยุ่ง

16

มีสติ รู้สึกตัว


ที่มันไม่ยุ่ง หาเรื่องยุ่งได้มั้ย ? เพราะอะไร ? เพราะเราขาดสติ ฉะนั้นขอให้พวกเราทั้งหลายจงมีสติ กลับมารู้สึกตัวกัน เอาล่ะ! หัวข้อที่อาตมาจะพูดในวันนี้ ชื่อเรื่องอะไร ? ใครตอบได้รับ รางวัลจากอาจารย์ธานี ฮัลโหล ? ชื่อเรื่อง “มีสติ รู้สึกตัว” พวกเรารู้จักเทวดามั้ย ? ทีนี้ถ้าถามพวกเราว่า พวกเทวดาเขายังเป็นทุกข์อยู่หรือเปล่า ? โยมตอบ : ยังทุกข์กันอยู่ แล้วพวกเราทราบมั้ย ? ว่าเวลาเทวดาใกล้จะหมดบุญ เพื่อนๆ จะ อวยพรกันว่าอย่างไร ? เขาจะอวยพรกันว่า “ขอให้ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์” ๑ แล้วมนุษย์เราเวลาก�ำลังจะตาย เราให้พรกันว่าอย่างไร ? โยมตอบ : ขอให้ไปเป็นเทวดา (โยมหัวเราะ) ตรงนี้น่าสนใจนะ กลุ่มเทวดาเองก็ยังมีความทุกข์ ยังรบกัน ยังตีกัน มีความรัก มีความอิจฉาริษยากัน ที่เป็นอย่างนี้เพราะอะไร ? เพราะเหล่า เทวดาก็ยังไม่พ้นทุกข์ อาตมาขอถามว่า “เทวดาบรรลุมรรคผลได้มั้ย ?” โยมตอบ : ได้ ๑ เฉพาะเทวดาทีม่ สี ติ มีปญ ั ญา จะอวยพรเพือ่ นเทวดาด้วยกันอย่างนี้ แต่เทวดาส่วนใหญ่ จะถูกครอบง�ำด้วยกิเลสชื่อว่า “นันทิราคะ” คือ การเผลอเพลิน หลงระเริง ติดอยู่ใน กามสุขถ่ายเดียว เพราะเทวดาเมื่อผุดเกิด ก็เป็นหนุ่มเป็นสาวทันที ไม่มีความแก่ ไม่มี ความเจ็บ มองไปทางใดก็มีแต่สิ่งสวยงาม อุดมไปด้วยกามคุณ ๕ โอกาสที่จะตกอยู่ใน ความประมาทจึงมีมาก กว่าจะรูส้ กึ ตัวอีกที ก็ถงึ เวลาใกล้จะสิน้ บุญ หรือใกล้จะตายแล้ว พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

17


ได้ แต่ไม่สะดวกนะ ต่างจากพวกเราทีเ่ ป็นมนุษย์ ยังมีชวี ติ อยูบ่ นโลกนี้ ทั้งนี้เพราะอะไร ? เพราะ “เหล่าเทวดา ขาดอุปกรณ์ส�ำคัญ ที่เอื้อ ต่อการปฏิบัติภาวนา” นั่นก็คือ “ร่างกายมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความกระสับ กระส่าย” อย่างตอนนีพ้ วกเราก�ำลังนัง่ ฟังกันอยู่ ลองสังเกตดูนะ ถ้าไม่ลมื ตัว (ถ้า ใครลืมตัวบ่อยๆ ก็จะไม่รวู้ ่าก�ำลังขยับ เพราะขยับจนชิน) อีกประเดีย๋ วก็ต้อง ขยับแล้ว เวลานั่งไปนานๆ มันเมื่อยนะ เห็นมั้ย ? ไหนใครในที่นี้ สามารถ นั่งได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องขยับบ้าง ยกมือขึ้น พรึ่บ! ไม่มีนะ ที่ร่างกายคนเราจ�ำเป็นต้องเปลี่ยนอิริยาบถอยู่ตลอด เพราะถูก เวทนา๑ บีบคั้น พอนั่งไปนานๆ ก็เมื่อย เห็นมั้ย ? เมื่อยแล้วก็ต้องขยับ ขยับแล้วก็ยัง เมือ่ ย ก็ตอ้ งลุกขึน้ ยืนบ้าง ยืนนานๆ ไปก็เมือ่ ยอีก ก็ตอ้ งนัง่ อีกแล้ว นัง่ นานๆ ไปก็เมือ่ ยอีก คราวนีล้ งนอนเลย นอนนานๆ ไปก็ไม่ได้ ต้องลุกขึน้ อีก ร่างกาย มนุษย์นี้ เต็มไปด้วยความกระสับกระส่าย คงอยู่อย่างเดิมนานๆ ไม่ได้ เดี๋ยว ก็หนาว เดี๋ยวก็ร้อน เดี๋ยวก็ปวดท้องอึ ปวดท้องฉี่ พอถ่ายเสร็จ ก็ต้องกินอีก กินเสร็จแล้ว สักพักก็ต้องถ่ายอีก ที่เป็นอย่างงี้ เพราะร่างกายมันทุกข์ เจ้าอิริยาบถนี่แหละที่เป็นตัวปิดบังเอาไว้ ปิดบังอะไร ? ปิดบังไม่ ให้เห็นความจริงของร่างกาย ที่เป็นตัวทุกข์ ๑ เวทนา ตามรากศัพท์เดิมในบาลี แปลว่า ความรู้สึกสุข ความรู้สึกทุกข์, เวทนา มี ด้วยกัน ๕ ชนิด แบ่งเป็นเวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ ทางกาย มี ๒ อย่าง (๑) “สุขเวทนา” หรือ สุขกาย (๒) “ทุกขเวทนา” หรือ ทุกข์กาย ทางใจ มี ๓ อย่าง (๑) “โสมนัสเวทนา” หรือ สุขใจ, สบายใจ (๒) โทมนัสเวทนา หรือ ทุกข์ใจ, ไม่สบายใจ และ (๓) อทุกขมสุขเวทนา คือ ความไม่รู้สึกสุขไม่รู้สึกทุกข์ หรือเฉยๆ เรียกอีกอย่างว่า “อุเบกขาเวทนา” แต่ในภาษาไทย รับค�ำนี้มาใช้แล้ว แปลความหมายผิดไปจากเดิม กลายเป็นแปล ว่า น่าสงสารอย่างมาก หรือ น่าสมเพชเวทนา

18

มีสติ รู้สึกตัว


แต่โยมรูม้ ยั้ ว่า ภูมมิ นุษย์นี่ เป็นภูมทิ เี่ หมาะสมทีส่ ดุ ส�ำหรับการภาวนา๑ เพราะมนุษย์มีร่างกายที่แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา จะดูง่ายกว่า จิตใจเองก็ กลับกลอกแปรปรวน ต่างจากพวกเทวดา๒ ที่มีแต่ความสุขนาน ส่วนพวก พรหมก็มแี ต่ความสงบนาน แต่มนุษย์นี่ สุขก็สขุ ไม่นาน สงบก็อยูไ่ ด้ประเดีย๋ ว เดียว เดี๋ยวก็ฟุ้งซ่านอีกแล้ว มีแต่ของเกิดๆ ดับๆ ต้องภูมิใจที่ได้เกิดเป็นมนุษย์นะ เพราะเราอยู่ในภพที่เทวดาดีๆ เขา อยากจะมาเป็นอย่างพวกเรา ร่างกายมนุษย์นี่ไม่คงทน จิตใจก็กลับกลอก ฟังดูเหมือนไม่ค่อยดีนะ แต่ความจริงดี “ไม่ดีส�ำหรับคนเขลา แต่ดีส�ำหรับผู้มีสติปัญญา”

๑ ภาวนา ตามรากศัพท์เดิมในบาลี แปลว่า “การท�ำให้เจริญขึน้ ” แต่ในภาษาไทยเมือ่ เอามาใช้แล้ว ความหมายเปลีย่ นไป กลายเป็น การตัง้ ความปรารถนา อ้อนวอน ร้องขอ ๒ เทวดา เป็นหนึ่งใน “ก�ำเนิด ๔” มีชื่อเรียกว่า “โอปปาติกะ” คือผุดเกิดขึ้นเต็มตัว ทันที โดยไม่ต้องผ่านวัยเด็ก และไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดา ก�ำเนิด ๔ ประกอบด้วย (๑) อัณฑชะ เกิดจากฟองไข่ (๒) ชลาพุชะ เกิดจากโพรงมดลูก (๓) สังเสทชะ เกิดจากเถ้าไคล ของสกปรกต่างๆ และ (๔) โอปปาติกะ คนในปัจจุบันไม่ใคร่เชื่อว่า เทวดา เพียงมีอยู่ ด้วยยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยหลัก การทางวิทยาศาสตร์ แต่เทวดาหรือพรหม ตามนัยในพระพุทธศาสนาแล้ว เป็นเพียงรูป แบบชีวติ ชนิดหนึง่ ทีผ่ ดุ เกิดขึน้ มา เพือ่ เสวยวิบากกรรมฝ่ายกุศลถ่ายเดียว แต่กย็ งั ตกอยู่ ภายใต้ “กฎไตรลักษณ์” หรือ ลักษณะธรรมดาสามัญประจ�ำโลกทั้ง ๓ ประการ คือ (๑) อนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน (๒) ทุกขัง คือสภาพที่ทนอยู่ได้ยาก เพราะถูกบีบคั้นให้สลายตัวอยู่ตลอดเวลา (๓) อนัตตา ไม่ใช่ตวั ใช่ตน บังคับไม่ได้ ไม่เป็นไปตามใจเราสัง่ ไม่มใี ครเป็นเจ้าของ เทวดา หรือแม้แต่พรหม มีวนั ตาย ยังต้องเวียนว่ายอยูใ่ นห้วงทุกข์ของสังสารวัฏ จนกว่าจะพบหนทางสว่าง เพื่อออกจากกองทุกข์ ในพระไตรปิฎกปรากฏพระสูตรที่ เทวดาลงมาถามปัญหากับพระพุทธเจ้า เพือ่ ไขความกระจ่างเรือ่ งเหตุแห่งทุกข์อยูห่ ลาย ครั้ง อาทิ สักกปัญหสูตร จูฬตัณหาสังขยสูตร และ โอฆตรณสูตร เป็นต้น พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

19


Way of Nature 3 : Fine art photography พรรษา สุนาวี (ศิลปินรับเชิญ)


จุติ ๑

ก ิด

รู้สึกตัว หรือเคยชิน เ

นี ่กับความเคยชิน เราอยู่กับความรู�ด้สึก.ตตัวร ะหรื . ธอาอยู พวกเราเคยนั่งศึกษาตัวเองมานาน วันนี้ลองลุกขึ้นยืน มายืนศึกษาตัว เองกัน คนส่วนมากจะนั่งภาวนาเป็น แต่ตอนยืนภาวนานี่ ยืนไม่เป็น ปุจฉา (วิสชั นา) ทีล่ กุ ขึน้ ยืนนี่ ลุกด้วยความรูส้ กึ ตัว หรือด้วยความเคยชิน โยมตอบ : เคยชิน ใครลุกด้วยความเคยชิน ยกมือสูงๆ (โยมส่วนใหญ่ยกมือ) เอามือลงได้ ปุจฉา (วิสชั นา) แล้วทีย่ กมือเมือ่ กี้ ยกมือด้วยความรูส้ กึ ตัว หรือพระบอก โยมตอบ : พระบอก เห็นมั้ยว่าวันๆ หนึ่ง เราจะไปอยู่กับความเคยชิน ท�ำสิ่งต่างๆ ด้วย ความเคยชินตลอด ลองกลับมารู้สึกตัวดูนะ ลองยืนด้วยความรู้สึกตัวเต็มๆ ทิ้งน�้ำหนักลงไปที่ขาทั้ง ๒ ข้าง ลองแยกเท้าออกจากกันดู ลองย�่ำอยู่กับที่ ลองรู้สึกตัว รู้สึกตัว รู้สึกตัว รู้สึกตัว ย�่ำเท้าอยู่กับที่นะ เห็นการเคลื่อนไหวมั้ย ? ตอนนี้อะไรเกิดขึ้น เห็นร่างกายที่โยกไปมา เอ้า..หยุด! ยืนตรง วันนี้อยากให้พวกเราแยกให้ชัดเจนระหว่างความรู้สึก กับความคิด พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

21


ใครเข้าใจเรื่องความรู้สึก กับความคิดแล้วบ้าง ไหนยกมือขึ้นซิ! ใครยังไม่เข้าใจ ยังแยกไม่ค่อยออก ไหนยกมือซิ! ใครยังไม่รู้ว่า ตัวเองเข้าใจ หรือไม่เข้าใจ (หัวเราะ) โยมสังเกตนะ ความรู้สึกตัว กับตัวความคิด ลองยกมือทั้ง ๒ ข้างขึ้นสูงๆ ท�ำตัวเหมือนกับต้นไม้ มือที่ยืดขึ้นไปตรง นี้ สมมุติว่าเป็นกิ่งไม้เป็นใบไม้อยู่ ตอนนี้ลมพัดมาแล้ว ลองสะบัดมือทั้งสอง ข้าง สะบัดมือสัก ๑ นาที ลมพัดแรงขึ้น ลมพัดแรงขึ้น ลมแรงขึ้น พายุมา สะบัดนะ สะบัดแรงๆ จะได้จบั ความรูส้ กึ ได้ชดั เจนขึน้ พายุแรงขึน้ ทอร์นาโด มา อย่าเพิ่งหยุดๆ อดทนนิดนึง แรงขึ้น แรงขึ้น เร็วขึ้น เร็วขึ้น เร็วขึ้น เมื่อยหรือยัง ? เมื่อยแล้ว หยุด! หลับตา ปล่อยมือลงมาข้างหน้า วางข้างๆ ล�ำตัว จับความรู้สึกที่ปลายนิ้วมือ ปุจฉา (วิสัชนา) รู้สึกอย่างไรที่ปลายนิ้ว โยมตอบ : ชา ที่มันชานี่ รู้สึกว่ามันชา หรือคิดว่ามันชา โยมตอบ : รู้สึก เอ้า..ลืมตา (พระอาจารย์สะบัดมือให้ดู) ตัวนี้คือตัวรู้สึกจริงๆ เพราะ ฉะนัน้ กลับมาอยูก่ บั ความรูส้ กึ อย่าไปอยูก่ บั ความคิด ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ เพราะ ใจเราหลงไปในความคิด เขาเรียกว่า “หลงเพลินในเวทนา” เมื่อพอใจก็ เพลินกับเวทนา (สุขเวทนา) เมื่อไม่พอใจก็เพลินกับเวทนา (ทุกขเวทนา) ตรงนี้คือหลักปฏิบัติ ไม่หลงเพลินกับเวทนา นี้คือตัวความรู้สึก พอเห็น อะไรอยากได้ปั๊บ มันจะหลงเพลินเข้าไปในเวทนาทันที รีบสลัดมือแรงๆ เด็กๆ พอเห็นเฟอร์บี้ (furby) ปั๊บ สลัดมือแรงๆ รู้สึกตัว รู้สึกตัว ผู้ใหญ่พอเห็นโทรศัพท์ iPhone ออกใหม่ อยากได้ๆ สลัดมือแรงๆ

22

มีสติ รู้สึกตัว


เห็น iPad ออกใหม่ อยากได้ๆ สลัดมือแรงๆ กลับมารู้สึกตัว เพราะว่ามัน จะไปเพลินกับเวทนา พอใครด่าเราปับ๊ สลัดมือแรงๆ กลับมารูส้ กึ ตัว ตกลงเข้าใจเรือ่ งความ รู้สึกแล้วใช่มั้ย ? ทีนี้มาดูใหม่ ยื่นมือขวาออกมา มองไปที่ท้องแขน แล้วบอกว่า เจ็บ เจ็บ เจ็บ มันเจ็บมั้ย ? โยมตอบ : ไม่เจ็บ ตัวความเจ็บนั้น เป็นความรู้สึกหรือความคิด โยมตอบ : ความคิด ตอนนี้ให้โยมยื่นมือซ้ายไป แล้วบิดตรงที่ท้องแขน เจ็บมั้ย ? โยมตอบ : เจ็บ ตัวเจ็บนี้เป็นความรู้สึกหรือความคิด โยมตอบ : ความรู้สึก ตัวนีค้ อื ตัวความรูส้ กึ เอามือลงได้ ความรูส้ กึ กับความคิด จะเป็นคนละ ตัวกัน ที่เราทุกข์กันทุกวันนี้ ส่วนมากทุกข์กับอะไร ? “ทุกข์กบั ความคิด” แต่วา่ เป็นความคิดทีผ่ ดิ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สัมมา ทิฏฐิ สะมาทานัง สัพพัง ทุกขัง อุปปัจจะคุง” แปลว่า คนจะพ้นจากทุกข์ ทั้งปวงได้ เพราะมีสัมมาทิฏฐิ คือ ความคิดเห็นที่ถูกต้อง ถูกตรง หลวงพ่อชา สุภทั โท ท่านใช้คำ� ง่ายๆ ว่า “คนทุกข์เพราะคิดผิด” เพราะ ฉะนั้นทุกครั้งที่เกิดทุกข์ ให้บอกตัวเองทันทีว่า “คิดผิดแล้ว” วิธีแก้ก็คือ เปลี่ยนความคิด ถ้าไม่เปลี่ยนความคิด ชีวิตไม่เปลี่ยน หรือ แก้ง่ายๆ ก็คือ ไม่คิดซะ แต่..มีบ้างมั้ยที่ “กูไม่คิด กูจะคิด กูไม่คิด กูจะคิด” มีมั้ย ? “มี” พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

23


เพราะฉะนั้นตรงนี้ ต้องมาฝึกกันอีกนิดนึง เอ้า...เชิญนั่งได้ ปุจฉา (วิสัชนา) ที่นั่งนี่ นั่งด้วยความรู้สึกตัว หรือเคยชิน โยมตอบ : รู้สึกตัว (โยมบางคนตอบ เคยชิน) สังเกตนะ วันๆ หนึง่ ส่วนมากเราจะไหลไปอยูก่ บั ความเคยชิน กระทัง่ ลืมความรู้สึกตัว ลองกลับมารู้สึกเรื่อยๆ ท�ำอะไรก็ รู้สึก รู้สึก รู้สึก หลักปฏิบตั คิ อื ให้เอาความรูส้ กึ ตัว ใส่เข้าไปในความเคยชิน ทีนปี้ ระโยชน์ ของความรูส้ กึ ตัว พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย เมือ่ บุคคลรูส้ กึ ตัวอยู่ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ก็จะเกิดขึ้น อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็จะดับ ไป ดูกอ่ นภิกษุทงั้ หลาย บุคคลเมือ่ รูส้ กึ ตัวอยู่ ความเป็นผูร้ สู้ กึ ตัว ย่อมเป็น ไปเพือ่ ประโยชน์อนั ยิง่ ใหญ่ เพือ่ ความด�ำรงมัน่ เพือ่ ความไม่เสือ่ มสูญ เพือ่ ความไม่อันตรธานแห่งพระสัทธรรม” ตกลงหลักปฏิบตั ไิ ม่ตอ้ งท�ำอะไรมาก ก็คอื กลับมารูส้ กึ ตัว ไม่หลงเพลิน ในเวทนา วันนี้อยากจะฝากตัวนี้ การไม่หลงเพลินในเวทนา ส่วนการหลง เพลินในเวทนา มีชื่อภาษาบาลีว่า “นันทิราคะ” “นันทิ” คือ ความเพลิดเพลิน เวลาทานอะไรอร่อยๆ ก็เพลิน ทานลุยๆ จนกัดลิ้นตัวเองมีมั้ย ? กัดกระพุ้งแก้มมีมั้ย ? มันอร่อยจนกระทั่งลืมไปเลย เพราะฉะนั้นวันนี้ฝากอีกค�ำหนึ่ง ในโลกตอนนี้ มีคนอยู่ประมาณเท่า ไหร่ ? ประมาณ ๗ พันกว่าล้านคนใช่มั้ย ? คนส่วนมากในโลก เวลาทาน อาหาร เขาแทบจะไม่ได้ทานอาหารเลย เขานั่งทานความคิด ฮัลโหล! ใครเห็นด้วยยกมือขึ้น (โยมส่วนใหญ่ยกมือ) ใครไม่เห็นด้วย ยกมือขึน้ (ไม่มใี ครยก) ไหน ? แล้วใครยังไม่เห็นอะไรเลย ยกมือขึน้ (หัวเราะ) เขาไม่ได้นั่งทานข้าวกัน เขานั่งทานความคิด นั่งทานเรื่องราวในอดีต ตักใส่ปากไปเรื่อยๆ เผลอแว้บ ไปทานโครงการในอนาคต มือก็ตักอาหารใส่ ปากไปเรื่อยๆ ตามความเคยชิน (แบบหุ่นยนต์) เขาไม่ได้กินอาหาร

24

มีสติ รู้สึกตัว


ใครเคยเป็นแบบนี้บ้าง ? (โยมส่วนใหญ่ยกมือ) ใครไม่เคยเป็นเลย (ไม่มีใครยก) ๗ พันกว่าล้านคนบนโลกนี้ ทานข้าวไม่เป็น เดีย๋ วอีกสักพักนึง พวกเรา จะไปทานข้าว หรือวันนี้สมาทาน อดอาหารกัน (โยมหัวเราะ) เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทราบมั้ยว่า เป็นวันส�ำคัญอะไร ? เป็นวันคล้ายวันเกิดของหลวงพ่อพุทธทาส อาตมาไปทีส่ วนโมกข์ ไชยา เมือ่ ก่อนไปแทบทุกปี สมัยทีท่ า่ นยังมีชวี ติ อยู่ ไปถวายของขวัญ ของขวัญทีไ่ ป มอบถวายแด่ทา่ นอาจารย์พทุ ธทาส ท่านจะไม่รบั ของขวัญทีเ่ ป็นก้อน เป็นชิน้ เป็นอัน ของขวัญที่คนเอาไปมอบให้ คืออะไรทราบมั้ย ? งดอาหาร ๑ วัน อาตมาไปเจอท่านอาจารย์ หลวงพี่จ้อย (พระครู ใบฎีกามณเฑียร มัณฑิโร, อดีตผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาสวัดธารน�ำ้ ไหล สวนโมกขพลา ราม) ที่เคยดูแลท่านอาจารย์พุทธทาส ตั้งแต่วันที่ ๒๕ - ๒๖ อาตมาก็ถาม ท่านว่า “เดี๋ยวอาจารย์จะไปฉันอาหารที่ไหนครับ ?” ท่านตอบว่า ท่านอด อาหาร ๓ วัน ถวายท่านอาจารย์พุทธทาส เอ้า...กดไลค์ ให้ท่านด้วย (สาธุ) สุดยอดเลย คือ ท่านไม่รู้จะตอบแทนบุญคุณครูบาอาจารย์อย่างไร อาจารย์พุทธทาสท่านเคยบอกว่า วันเกิดของเรา เปรียบเสมือนวันตายของ คุณแม่ วันนั้นแม่กินอะไรไม่ได้ แล้วเราก็กินอะไรไม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นพอวันเกิดปั๊บ จะระลึกถึงคุณของท่าน แต่ในปัจจุบันวัน เกิดคนส่วนมาก ระลึกถึงใคร ? ระลึกถึง “กู” วันนี้วันเกิดกู เพราะฉะนั้น ฉลองกันให้เต็มที่ ฉลองธรรมดาไม่ว่า ท�ำร้ายสุขภาพตัวเองอีก มีมั้ย ? “มี” แทนที่จะเอาของดีๆ ใส่เข้าไปในร่างกายนี้ กลับเอาของบางอย่าง ที่ ท�ำร้าย ท�ำลายสุขภาพตัวเอง ใส่เข้าไปแทน วันธรรมดาเป็นคน พอวันเกิด ขออภัยใช้ค�ำหยาบ เขาบอกว่า “เสีย หมาไปเลย” วันเกิดปั๊บไม่รู้เรื่องเลย กลับบ้านเองไม่ได้ ต้องให้เพื่อนหิ้วปีก กลับก็มี นี่ตรงนี้เป็นความไม่เข้าใจของเรา ถ้ามีโอกาสถึงวันคล้ายวันเกิด พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

25


วันนั้นเราควรจะท�ำอย่างไร ถ้าเป็นไปได้ควรไปกราบเท้าคุณพ่อคุณแม่ ชีวิต นี้ได้มาเพราะท่าน เพราะฉะนั้นวันเกิดตัวเอง พาคุณพ่อคุณแม่ ไปสร้างบุญ สร้างกุศล ไปปฏิบัติภาวนา แล้วก็จะเลี้ยงอาหาร หรืออะไรก็แล้วแต่ ถ้าเป็น ไปได้ก็ไปล้างเท้าท่าน กราบเท้าท่าน ฮัลโหล! ยังอยู่มั้ย ? ยังอยู่นะ เอ้า กลับมาสู่กระบวนการกัน เมื่อวันที่ ๒๕, ๒๖, ๒๗ พฤษภาคม อาตมาได้มโี อกาสไปร่วมงาน “วันล้ออายุทา่ นอาจารย์พทุ ธทาส” ทีส่ วนโมกข์ ไชยา ญาติโยมจากกรุงเทพฯ ไปกันเยอะ บางคนก็ไปนั่งภาวนากันยันสว่าง ก็มี มีทั้งไปนั่งสู้ และไปนอนสู้กัน ก็ว่ากันไป (หัวเราะ) ตรงนั้นก็คือ “ไปเพื่อให้อาหารใจ” ชีวิตของคนเราไม่ได้มีแต่ร่างกาย อย่างเดียว แต่ชวี ติ คนเราประกอบด้วยกายกับใจ เพราะฉะนัน้ เวลาให้อาหาร ก็ตอ้ งให้ทงั้ กายและใจ ศึกษาเรียนรู้ ก็ตอ้ งศึกษาเรียนรูท้ งั้ กายและใจ ปกป้อง คุ้มครอง ก็ต้องปกป้องคุ้มครองทั้งกายและใจ ธรรมดาเรื่องร่างกายเราดูแล ตัวเองมั้ย ? “ดูแล” แต่พอเรื่องจิตใจ บางทีเราลืมไปเลย ปุจฉา (วิสัชนา) ทางด้านร่างกายเวลาเราหิวเราท�ำอย่างไร (กิน) เวลา ง่วง (นอน) เวลาเหนื่อย (พัก) เวลาไม่สบาย (ทานยา) เวลาหนาว (ห่มผ้า) เวลาร้อน (แก้ผ้า) แก้ผ้าเลยเหรอ ? ว่ากันไป (โยมหัวเราะ) อันนั้นเรื่องของร่างกาย แล้วเรื่องของจิตใจล่ะ ? เวลาใจมันหิว ใจมัน เหนื่อย ใจมันเพลีย ใจมันร้อน ใจไม่สบาย เราท�ำอย่างไรกับใจ (โยมเงียบ) ฮัลโหล! สายหลุด (โยมหัวเราะ) เห็นมัย้ เรือ่ งกายเราตอบได้หมด แต่พอ เรือ่ งใจเราเงียบ แสดงว่าความส�ำคัญของกายกับใจ เราให้สงิ่ ไหนมากกว่ากัน โยมตอบ : กาย เราเป็นคนดีหรือคนล�ำเอียง โยมตอบ : ล�ำเอียง

26

มีสติ รู้สึกตัว


เอียงมากมั้ย ? โยมตอบ : มาก เอียงกระเท่เร่เลยนะตรงนี้ กลับมา กลับมา ถ้าเปรียบเรามีลูก ๒ คน ลูกคนนึงชื่อเจ้า “กายะ” ลูกคนนึงชื่อเจ้า “จิตตะ” เราให้ความส�ำคัญกับใคร มากกว่ากัน โยมตอบ : กายะ เจ้ากายะลุยกับมันเต็มที่เลย อาหารอยากกินอะไรจัดให้ เสื้อผ้าอยาก ได้แบบไหนจัดให้ ที่อยู่อาศัยอยากได้แบบไหนจัดให้ ยารักษาโรคอยากได้ แบบไหนจัดให้ ทุกอย่างทางด้านร่างกายเราให้เขาหมด แต่พอทางด้านจิตใจ เราลืมเลย เรากินข้าววันละ ๓ มื้อ แล้วปฏิบัติ ธรรมวันละกี่มื้อ ? เมื่อกี้นี้อาตมาถาม โยมตอบอาทิตย์ละครั้งก็มี บางคน เดือนละครั้ง บางคนปีหนึ่งยังไม่รู้เลย ได้ปฏิบัติหรือเปล่า ? ก็อยากจะฝาก ให้กลับมาให้ความส�ำคัญกับเรือ่ งใจ เพราะโลกทุกวันนี้ ทีว่ นุ่ วาย เพราะว่า เขาไม่เข้าใจ เรื่องของใจ เวลาทานอาหาร อาตมาเคยฝากไว้ว่าอย่างไร เวลาเราทานอาหารให้ ท�ำอย่างไรนะ ลองใช้มอื ไม่ถนัด ปกติเวลาเราทานอาหารเราใช้มอื ไหนทาน ส่วนใหญ่ ใช้มือขวา พอมือขวาจับช้อนปั๊บ บอกตัวเองทันทีว่า เคยชินอีกแล้ว ขาดสติ อีกแล้ว ก็เปลี่ยนมาเป็นมือซ้าย แล้วก็ค่อยๆ ตักอาหารใส่ปาก รู้สึกตัวเต็มๆ แต่ไม่ถนัด รู้สึกตัวเต็มๆ แต่ไม่ถนัด ค่อยๆ ทานไปเรื่อย จนกระทั่งความรู้สึกตัวทั่วพร้อมมันคลุมลงมา แล้วถ้าจะเปลี่ยนก็ (โยมบางคนมักจะว่า) “อาจารย์เดี๋ยวไม่ทันเพื่อน” พอ เราเปลี่ยนมือปั๊บ เราก็รู้สึกตัวเต็มๆ ด้วย ถนัดด้วย ถนัดด้วย ได้มั้ย ? “ก็ได้” มีคุณโยมโทรมาบอก “พระอาจารย์คะ แม่หนูรู้สึกตัวเป็นแล้วค่ะ” พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

27


(เขาเคยมาฟังอาตมาบรรยาย) อาตมาถามว่า “รูไ้ ด้อย่างไรว่า แม่รสู้ กึ ตัวเป็น” โยมตอบ : “ก็แม่นั่งทานอาหาร ปกติแม่ใช้มือขวามาตลอด วันนี้แม่ก็ ใช้มือขวานั่งทานข้าวด้วยกันกับหนู พอทานๆ ไป อยู่ดีๆ แม่หยุด กึ้ก! แล้ว ก็เปลี่ยนมาใช้มือซ้าย แล้วก็นั่งยิ้มไปเรื่อย ทานไปเรื่อย ตั้งแต่เด็กจนหนูอายุ ๓๐ กว่าปี เพิ่งจะเห็นแม่ท�ำวันนี้” แม่ก็เริ่มจะรู้สึกตัวเป็นแล้วว่า อ้อ! เมื่อก่อนหน้านี้ ที่ทานนั้น แม่นั่ง กินความคิดมาตลอด เพราะฉะนั้นตั้งแต่วันนี้ ทุกครั้งที่กินอาหาร เราจะไม่นั่งกินความคิด แต่เราจะกินความรู้สึกตัวเต็มๆ รู้สึกตัวเต็มๆ ขณะที่ตักอาหารใส่ปากนั้น ก็คือการดูแลร่างกาย ขณะที่ตักอาหารใส่ปาก เรามีสติตามรู้ไปด้วย นั่นก็คือ การดูแลจิตใจ แบบ ทู อิน วัน (2 in 1) กายใจไปด้วยกัน เวลาทานอาหารอันนีเ้ พือ่ ดูแลร่างกาย แต่ขณะทีท่ านอาหาร ให้มคี วาม รู้สึกอิ่มๆ ยิ้มๆ ในใจไปด้วย นั่นก็คือ “การดูแลจิตใจ” ทีนปี้ ระโยชน์ทไี่ ด้จากการเปลีย่ นมือ ทราบมัย้ ว่า ประโยชน์ได้อะไรบ้าง ? เป็นการบริหารสมอง exercise สมอง เข้าใจมั้ย ? ทางด้านร่างกาย เรา ลิฟท์เวจ (lift weights แปลว่า การออกก�ำลังด้วยการยกน�้ำหนัก) ท�ำให้ มีกล้ามขึ้น แต่ทางด้านจิตใจ ตัวนี้พอเปลี่ยนไปเป็นมือที่ไม่ถนัด สมองมัน จะเริ่มท�ำงาน บางสิ่งบางอย่างที่เราท�ำจนเป็นความเคยชิน แบบงานรูทีน (routine แปลว่า กิจวัตรประจ�ำวัน, หน้าที่ประจ�ำ) ท�ำอะไรต่างๆ อย่างนั้น สมองไม่ได้ใช้งานแล้ว สมองมันจะค่อยๆ ซือ่ บือ้ ซือ่ บือ้ ไปเรือ่ ยๆ เข้าใจมัย้ ? เช่น เรือ่ งความเคยชิน กับเรือ่ งทีเ่ ราขับรถไปอย่างนี้ มีอยูค่ รัง้ หนึง่ โยม อาสาจะขับรถพาพระไปส่งที่วัด พระก็นั่งกันไป ๓ - ๔ รูป พอถึงทางแยกปั๊บ โยมแกเลี้ยวไปบ้านแกเฉยเลย (โยมหัวเราะ) เราก็งง ถามแกว่า “โยมจะไปไหน ?” แกก็ปื๊บขึ้นมา “อ่อ..ลืมค่ะ”

28

มีสติ รู้สึกตัว


คือแกขับๆ ไป แล้วแกคิดอะไรอยู่ไม่รู้ ใจลอยไปตอนนั้น ตกลงขนาด อยู่กับพระนี่ แต่แกไม่ได้อยู่กับเราเลย แกไปไหนของแกก็ไม่รู้ เรื่อยเปื่อยไป พอรู้สึกตัวได้ ถึงเลี้ยวกลับมาส่งอีกทาง ของเราล่ะมีมั้ย ? อย่างคราวก่อนที่เคยเล่าให้ฟัง เรื่องโยมปอกเปลือก ส้มถวายพระ ปอกๆ ไป พอปอกเสร็จปั๊บ แกโยนเนื้อส้มทิ้งถังขยะปุ๊บ อีก มือก็ยังถือเปลือกส้มไว้ อาตมาก็ถาม “โยมท�ำอะไร ?” แกตอบ “ปอกส้มค่ะ” แกมองเปลือกส้มที่มอื แล้วแกก็มองไปที่ถังขยะ อาตมาเลยว่า “โยมไม่ต้องมองนะ ปล่อยมันไปที่ชอบๆ ให้มันนอนอยู่ ในถังนั่นแหละ” (โยมหัวเราะ) คือขณะทีแ่ กปอกเปลือกส้ม แกไม่ได้ปอกส้ม แต่แกท�ำอะไร ? แกปอก ความคิด แกก�ำลังเคี้ยวความคิดของแกอยู่

รู้สึก นึก แล้วก็คิด “การรู้สึก” คือ (พระอาจารย์สูดลมหายใจ) ปัจจุบันขณะ ก็คือ here and now “การนึก” คือการไปดึงเรื่องราวในอดีตมาขบคิด แล้ว “การคิด” คือการเอาเรือ่ งในอนาคตมากังวล แล้ววันๆ หนึง่ เราอยูก่ บั ตัวไหนมากกว่ากัน โยมตอบ : ความคิด ใช่ เรานึกคิด นึกคิด นึกคิด แล้วก็นึกคิด ของมันอยู่อย่างนั้น พวกเรา แยกออกมั้ยระหว่าง รู้สึก นึก กับคิด ใครยังงงๆ ไหนยกมือซิ! ใครไม่งงแล้ว ไหนยกมือซิ! (โยมส่วนใหญ่ ยกมือ) แล้วใครยังไม่แน่ใจว่า ตัวเองงง หรือไม่งง (หัวเราะ) เพราะมีกลุ่ม ที่ยังไม่ได้ยกมือมากเลย พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

29


Mysterious Old Town 1 : Fine art photography พรรษา สุนาวี (ศิลปินรับเชิญ)


อย่างพวกเราที่นั่งฟังอยู่ตรงนี้ เคยมั้ย ? เอ๊ะ! เมื่อเช้านี้ก่อนออกจาก บ้าน เราปิดประตูหน้าต่างหรือยัง ? พัดลมที่อยู่ในห้องเราปิดหรือยัง ? ตอน นี้เราอยู่กับอะไร ? นี่ก็คือ “การนึก” ไง “นึก” คือดึงเรื่องราวในอดีตมาคิด เอ๊ะ! เดี๋ยวพอเสร็จที่นี่แล้ว เขาจะไปท�ำกรรมฐานกันต่อ “ตกลงกูจะ อยู่ หรือจะไม่อยู่ดี” อันนี้อยู่กับอะไร ? “คิด” ละ เห็นมั้ย ? รู้สึก นึก แล้วก็คิด แต่ส่วนมากเราจะไปอยู่กับความคิดนี่แหละ เด็กๆ ส่วนมากเขาอยู่กับอะไร ทราบมั้ย ? ส่วนมากเขาจะไปคิด เด็กๆ จะคิดถึงเรื่องราวในอนาคต ตรงข้ามกับ ผู้ใหญ่ ที่จะไปนึกถึงเรื่องราวในอดีต ท�ำไมผู้ใหญ่ถึงไม่ชอบอยู่กับอนาคต เพราะอะไร ? เวลาคุยกันส่วนมาก พอผูใ้ หญ่เจอกัน “จ�ำได้มยั้ ? สมัยตอนที่ เราเรียนด้วยกัน” อู้หู ! ๖๐ กว่าแล้วนะ ยังไปพูดถึงเรื่องเรียนด้วยกัน ย้อน เวลาไปตั้ง ๔๐ - ๕๐ ปี แน่ะ ผู้ใหญ่ส่วนมากเวลาเจอกัน จะชอบพูดถึงเรื่องในอดีต ไม่ชอบพูด ถึงอนาคต เพราะพูดถึงอนาคตทีไร เป็นไง สนุกมั้ย ? พอพูดถึงอนาคต “เออ...ตกลงแกจะเผาวัดไหนล่ะ ?” (โยมหัวเราะ) เห็นมั้ย ? อนาคตมันก็มี แต่เมรุเผาศพแล้ว ทีนี้พอเด็กๆ นู่นเลย อนาคตลิ่วๆ แต่ผู้ใหญ่ก็ชอบว่า ท�ำให้เด็กๆ คิด “ค�ำก็เด็ก สองค�ำก็ว่าเราเด็ก ไอ้นู่น จะท�ำก็ไม่ได้ ไอ้นี่ จะท�ำก็ไม่ได้ เดี๋ยวกู โตขึ้นก่อนนะ กูจะไม่อยู่บ้านอีกเลย” หลายคนที่เป็นแบบนั้น เด็กเขาจะยอมเป็นเด็ก ก็ตอนที่ขอตังค์คุณพ่อคุณแม่นั่นแหละ แค่นั้น พอหลังจากนั้น ได้ตังค์แล้ว ก็จะเป็นผู้ใหญ่ทันทีเลย เขาจะคิดว่าเงินตรงนี้ เขาจะบริหารชีวิตของเขาอย่างไร จะเอาไปท�ำอะไรบ้าง อาตมาขอฝากนะ เวลาเราทานอาหาร ลองทานด้วยความรูส้ กึ ตัวเต็มๆ ด้วยการใช้มือข้างที่ไม่ถนัด เวลาใช้มือไม่ถนัด เป็นการบริหารสมองไปในตัว พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

31


ซึ่งอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเราท�ำด้วยความเคยชิน ตรงนั้นสมองไม่ได้ใช้งาน อย่างเวลาเราจะติดกระดุมเสื้อเชิ้ต ส่วนมากเราติดตรงไหนก่อน ? กระดุมเม็ดบนก่อนใช่มั้ย ? ลองเปลี่ยนใหม่นะ วันไหนพอใส่เสื้อปั๊บ พอจับ กระดุมเม็ดบนปั๊บ บอกตัวเองเลยว่า เคยชินอีกแล้ว หยุด! แกะมันออกเลย แล้วกลับไปจับกระดุมเม็ดล่างก่อน จับชายเสือ้ ให้เท่ากัน เพราะพอจับกระดุม เม็ดล่างปั๊บ ถ้าติดเม็ดแรกผิด เม็ดอื่นๆ มันจะผิดไปหมด (หัวเราะ) ตรงนี้ ก็คือ พอเริ่มติดปั๊บ บอกตัวเองว่า เคยชินอีกแล้ว ให้กลับไปจับกระตุกชาย เสื้อให้เท่ากัน เสร็จแล้ว ดึงลมหายใจลึกๆ ท�ำใจยิ้มๆ แล้วค่อยๆ ติดทีละ เม็ดๆ รู้สึกตัวเต็มๆ รู้สึกตัวเต็มๆ รู้สึกตัวเต็มๆ พอติดเม็ดสุดท้าย ผิดเม็ด อีกแล้ว (โยมหัวเราะ) ถ้าติดผิด ก็ค่อยๆ แกะออก ด้วยความรู้สึกตัวเต็มๆ แล้วติดใหม่ ตรงนี้สมองจะได้ใช้งาน เวลาถอดเสื้อ เราแกะกระดุมเม็ดไหนก่อน เม็ดบนใช่มั้ย ? พอแกะปั๊บ บอกตัวเองว่า เคยชินอีกแล้ว ติดคืนไว้ใหม่ แล้วเริ่มไปแกะเม็ดข้างล่าง ตรง นี้สมองจะได้ใช้งาน เป็นการบริหารสมองไปด้วย ได้ประโยชน์ เซลล์สมอง ของเราตายทุกๆ วัน แต่เราไม่เคยบริหารเขา อย่างเวลาขับรถกลับบ้าน เรามักจะขับกลับไปด้วยความเคยชินใช่มยั้ ? พอถึงทางแยกปับ๊ เราก็จะเลีย้ วทางนี้ ไปทางนี้ เวลานีเ้ อาใหม่นะ ลองเปลีย่ น เส้นทางดู แล้ววันนั้นมันจะงง แล้วสมองมันจะตื่นอยู่ตลอดเวลา “ตกลง กู ต้องเลีย้ วตรงไหน เดีย๋ วตรงไหนต้องเลีย้ ว ตรอกนีใ้ ช่มยั้ ตรงนีใ้ ช่มยั้ ” นีส่ มอง จะได้เริม่ พัฒนา แต่ไม่รเู้ ทีย่ งคืนมันจะถึงบ้านหรือเปล่านะ (โยมหัวเราะ) ตรง นี้ก็ต้องแล้วแต่ ให้ดูจังหวะเอา ว่าควรจะฝึกช่วงไหน เพราะเซลล์สมองมันตายทุกวัน ตรงนีจ้ ะท�ำให้มนั ตืน่ ขึน้ มา แข็งแรงขึน้ สมองด้านซ้ายกับด้านขวา ปกติมันจะท�ำงานแค่ดา้ นเดียว ตรงนี้เราจะฝึกให้ มันท�ำงานทั้ง ๒ ด้าน แล้วมันจะช่วยกัน บางคนพอไม่ฝึกเลย บางครั้งพอ สมองช�ำรุดขึน้ มา มันจะมีปญ ั หา บางคนฝึกใช้ได้แต่ดา้ นเดียว อย่างอาตมานี่ ก็ใช้อยู่ด้านเดียว คือที่เรียนจบมาได้ เพราะชอบดนตรี ชอบกีฬา ชอบศิลปะ

32

มีสติ รู้สึกตัว


อย่างอืน่ ๆ นี่ แทบจะได้ศนู ย์คะแนนเลย ตกลงทีร่ อดมาได้ เพราะคะแนนช่วย ตรงนี้ใช้สมองด้านขวาอย่างเดียวเลย ด้านซ้ายแทบจะไม่ได้ใช้ ที่เมืองนอกมันมีโรคๆ หนึ่ง เขาเรียกว่า alien hand syndrome ฮัลโหล! เคยได้ยินมั้ย ? โรคนี้ เขาบอกว่า ช่วงต่อระหว่างสมองด้าน ซ้ายกับด้านขวา มันช�ำรุด มันเสื่อม พอตรงช่วงต่อนี้มีปัญหา สมอง ๒ ด้าน มันไม่ท�ำงานประสานกัน มือซ้ายกับมือขวา มันก็เลยแยกออกจากกัน เขา เลยเรียก “เอเลี่ยน แฮนด์ ซินโดรม” แปลว่า มือนี้เป็นมือของมนุษย์ต่างดาว ท�ำอะไรไปโดยพลการ โดยที่เราไม่ได้สั่งให้มันท�ำ แต่มันจะท�ำ อย่างเอาเสื้อใส่ไม้แขวนเสื้อ พอมือขวาใส่ปั๊บ พอก้าวออกไป มือซ้าย มันกระตุกขว้างทิ้งเฉย ต้องกลับมาใหม่ หยิบเอามาใส่ต่อ แต่พอเดินออก ปั๊บ มือซ้ายกระตุกขว้างทิ้งอีก หรือพอเดินออกจากห้อง มือขวาปิดไฟปั๊บ มือซ้ายกดเปิดพั่บ แล้วพอเดินผ่านคนอื่น ตัวเราเดินผ่านปกติ แต่มือกลับ ยื่นไปเขกหัวคนอื่น มือมันคุมตัวเองไม่ได้ บางทีต้องเอามือขวา มาตีมือซ้าย คุมมันนะๆ บางครั้งต้องพยายามยึดมันไว้ อย่าไปท�ำๆ อันนี้เป็นโรคชนิด หนึ่ง ซึ่งคนไทยก็เคยมี แต่ไม่มาก ต่างประเทศมีเยอะอยู่ แต่ตอนนี้ที่เมืองไทยเป็นกันมาก อาตมาเรียกว่า “เอเลี่ยน มายด์ ซินโดรม” (alien mind syndrome) คือใจมันไม่อยู่กับเนื้อกับตัว มือขวามัน จะกินข้าว มือซ้ายมันจะเล่น Line บนมือถือ (โยมหัวเราะ) โยมเคยเจอพวกนี้มั้ย ? โชคดีที่พวกนิสัยแบบนี้ ไม่มีอยู่ในกลุ่มพวก เราเลย สาธุดังๆ (โยมสาธุ) มันคุมตัวเองไม่ได้ มันไม่รู้ว่า เวลานี้ควรจะท�ำอะไร แล้วขณะนี้ เรา ก�ำลังท�ำอะไร ท�ำไปท�ำไม แล้วท�ำเพื่ออะไร ? เขาไม่เข้าใจตัวเอง เขาคุม ตัวเองไม่ได้ แล้วถ้าเราไม่ฝึกควบคุมตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ เดี๋ยวพออายุมาก ขึ้นๆ จะมีปัญหามั้ย ? ปัญหาเกิดแน่นอน เด็กๆ ปัจจุบันเป็น “เอเลี่ยน มายด์ ซินโดรม” กันเยอะ กลับมาถึงบ้านจะอ่านหนังสือ จะเปิดทีวีด้วย พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

33


แล้วเอา Sound about ใส่หูฟังเพลงไปด้วย ตกลงมันจะท�ำอะไรกันแน่ หูก็ จะฟัง ตาก็จะดูโทรทัศน์ตรงนัน้ แล้วหนังสือก็จะอ่านอีก หลายอย่างพร้อมๆ กันไป จนกระทั่งเสียงานเสียการหมด ไม่ได้อะไรสักอย่าง กลับมาถึงเรือ่ งความรูส้ กึ ตัวอีกที ตอนนีผ้ คู้ นทีไ่ ด้ประโยชน์จากการฝึก เจริญสติ เขาท�ำกันได้เยอะ มีคุณโยมโทรมาหาอาตมา เขาบอกว่า “อาจารย์ โยมก�ำลังจะผ่าตัด กลัวๆ ขอพรๆ” อาตมาถามว่ากลัวอะไร ? โยมว่า “กลัว ตายค่ะอาจารย์” โยมรูอ้ ะไรมัย้ ? นักปฏิบตั ธิ รรมเขาจะไม่กลัวตาย แต่ตรง กันข้าม นักปฏิบตั ธิ รรมจะกลัวเกิด คือไม่อยากจะกลับมาเวียนว่ายตายเกิด ในสังสารวัฏอีก แต่การตายมันเป็นธรรมดา ทุกคนเกิดมาก็ตอ้ งตายใช่มยั้ ? แต่บางคนเขาก็มองอีกว่า มีชีวิตอยู่นานๆ ดีนะอาจารย์ เงินยังใช้ไม่หมดเลย อยากใช้ก่อน ยังไม่อยากตายตอนนี้ แต่ที่คุณโยมกลัว แล้วโทรมาขอก�ำลังใจ อาตมาเลยบอกว่า “โยม ทีพ่ งึ่ อืน่ ของข้าพเจ้าไม่มี มีแต่พระพุทธเจ้าเป็นทีพ่ งึ่ อันประเสริฐของข้าพเจ้า เท่านั้น เพราะฉะนั้นอยู่กับพระพุทธเจ้าอย่างเดียว ก็คือ พุทโธ” ทีนี้พุทโธมันแปลว่า “ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” โยมหายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ” บริกรรม พุทโธ พุทโธ ไปเรื่อยๆ อยู่กับความรู้ตื่นเบิกบาน ไม่ต้องสนใจกับสิ่งอื่น ไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับใคร เวลาไปผ่าตัดทางด้านร่างกายให้ใครรักษา หมอใช่มั้ย ? เพราะฉะนั้น ร่างกายยกให้หมอดูแลไป ส่วนทางด้านจิตใจใครต้องดูแล ใครต้องรักษา ตัว เราเองใช่มั้ย ? เราต้องรักษาใจของเราเอง เพราะฉะนั้นกายยกให้หมอดูแล แต่ใจเราต้องดูแลตัวเอง แกก็นา่ รักนะ พอเข้าไปในห้องผ่าตัด แกท่องพุทโธๆ อย่างเดียวเลย ไม่ ว่าอะไรทั้งสิ้น ว่าแต่ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จนกระทั่งหมอวางยาสลบ แล้วก็ เกิดเหตุอศั จรรย์ขนึ้ หลังจากทีแ่ กฟืน้ แล้ว แกมาเล่าว่า “อาจารย์ ขอบคุณพระ อาจารย์มากเลย โยมเชือ่ แล้ว ว่าปฏิบตั ธิ รรมมันมีผลจริงๆ” ระหว่างทีแ่ กท่อง

34

มีสติ รู้สึกตัว


พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ.... จนอยู่ดีๆ กายกับใจมันแยกฟื้บออกมา ขณะที่ แกอยู่ในห้องผ่าตัด มันวื้บออกมาอย่างไร แกไม่รู้เรื่อง พอวื้บออกมายืนปั๊บ แกงงๆ เอ้าเมือ่ กีเ้ รายังนอนอยู่ ท�ำไมมายืนอยูต่ รงนีไ้ ด้ แล้วแกก็หนั ไปดู หมอ ก�ำลังท�ำอะไร ? หมอกับพยาบาลก�ำลังรักษาแกอยู่ แกก็วูบ เอ้า..ตกลงเรา ตายแล้วเหรอนี่ ? พอหันไปดูอีกที เฮ้ย! ยังไม่ตาย ตัวนั้นยังหายใจอยู่ แล้ว คุณหมอกับพยาบาลก็คุยกันดีๆ หมอไม่ได้มีความตื่นเต้นอะไร แกก็ดูหน้า หมอดูหน้าพยาบาลทุกๆ คน แล้วหมอพูดอะไร พยาบาลพูดอะไร แกได้ยิน หมดทุกค�ำ แกดูคณ ุ หมอรักษา ตัวกายเนือ้ ตัวนี้ ซึง่ เป็นกายหยาบ แต่สว่ นตัว นี้ซึ่งเป็นกายละเอียด ที่แยกออกมายืนดูอยู่ แกนึกเลยว่า อู้หู...นี่หรือที่ครูบาอาจารย์ปฏิบัติธรรมกัน เป็นเพราะไอ้สิ่งนี้นี่เอง ที่ ท่านพูด ท่านพูด แล้วแกไม่เข้าใจ เราก็พยายามบอกแกตั้งหลายครั้งแล้วว่า ตัวกายก็ส่วนตัวกาย ตัวใจก็ส่วนตัวใจ ลองดูนะ กายก็วา่ กันไปเรือ่ งของกาย ใจก็ตอ้ งเข้าใจเรือ่ งของใจด้วย แล้วหลังจาก นั้นมันก็ฟู้บ กลับมารวมกันเมื่อไหร่ แกไม่รู้ พอฟื้นขึ้นมา เดี๋ยวนี้แกภาวนา ทุกวันเลย ตื่นเช้าสวดมนต์นั่งภาวนา ก่อนนอนสวดมนต์นั่งภาวนา ของพวกเราใครที่นั่งสวดมนต์ภาวนาตลอดเลย ทุกเช้าทุกค�่ำ ไหนยก มือสูงๆ พรึ่บ! ๙ คน นอกนั้นต้องรอให้ผ่าตัดก่อนใช่มั้ย ? (โยมหัวเราะ) ฮัลโหล! ต้องรอมั้ย ? ไม่ต้องนะ here and now ฝึกที่นี่และเดี๋ยวนี้ แล้วประโยชน์ที่ได้จะคุ้มค่ามหาศาล ใครคิดว่าตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จะภาวนาทุกๆ วัน ไหนยกมือสูงๆ เอ้า..กดไลค์ให้เพื่อนเราด้วย (สาธุ) ใครคิดแล้วแต่ยังไม่กล้ายก ไหนยกมือซิ! โอเค วันละ ๑๐ นาที นี่ท�ำ ได้มั้ย ? ได้หรือไม่ได้ ตอบอย่างอาจหาญ โอเค ยอดเยี่ยม กดไลค์ให้เพื่อน พวกเราด้วย (สาธุ)

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

35


วันนีอ้ าตมาขอฝาก อย่างน้อยวันละ ๑๐ นาที ถ้ากลัวว่ากลางคืนจะนัง่ ๑๐ นาทีไม่ได้ เก็บคะแนนตัง้ แต่ตอนเช้าเลย พอตืน่ ปุบ๊ ดึงลมหายใจยาวๆ ท�ำ ใจยิ้มๆ หายใจเข้าอิ่มๆ ยิ้มๆ หายใจออก อิ่มๆ ยิ้มๆ อย่างน้อยสัก ๕ นาที แล้วถ้าเป็นไปได้ ลองภาวนาทุกชั่วโมง นี่ถ้าเป็นไปได้ ภาวนาทุกครึ่ง ชั่วโมง (อาจารย์เดี๋ยวที่ท�ำงานเขาก็ไล่ออกหรอก) ก็ไม่ได้ให้ภาวนานาน ภาวนาสักนาทีนี่ ครึ่งชั่วโมงนั่งภาวนา ๑ นาที ได้มั้ย ? หรือว่าชั่วโมงหนึ่ง ภาวนาสัก ๒ นาที ได้มั้ย ? ได้นะ ใครทีม่ ีนาฬิกา ใครทีม่ ีคอมพิวเตอร์ โน้ตบุก๊ หรือว่ามีสมาร์ทโฟน ลอง ตั้งปลุกไว้ ๑ ชั่วโมง หรือครึ่งชั่วโมงก็ได้ ให้มันดัง “ติ๊ง” ทีนึง พอดัง “ติ๊ง” ปั๊บ ดูว่าเราก�ำลังอยู่กับความรู้สึกตัว หรืออยู่กับความคิด ส่วนมากวันๆ เรา จะอยู่กับอะไร ? อยู่กับความคิดตลอด คนปัจจุบันฝันทั้งกลางวัน ฝันทั้งกลางคืน กลางคืนเขาหลับตาฝัน แต่กลางวันลืมตาแล้วก็ฝัน ฝันก็คือ ใจลอยไปอยู่กับความคิดตลอดเวลา คิดจนกระทัง่ ไม่มเี วลาอยูก่ บั ปัจจุบนั ขณะ ชีวติ ทัง้ ชีวติ มอบให้กบั ความฝัน ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นกลับมาตื่นกันสักทีนึง กลับมารู้สึกตัวเต็มๆ กันสักที ปุจฉา (วิสัชนา) ตอนนี้เราอยู่กับความรู้สึกตัว หรืออยู่กับความคิด โยมตอบ : รู้สึกตัว หายใจเข้ารูส้ กึ ตัว หายใจออกรูส้ กึ ตัว เวลาทานอาหาร ลองฝึกดู ใช้มอื ไหนทาน ถ้าใครถนัดขวา พอมือขวาจับช้อนปับ๊ บอกตัวเองเลยว่า เคยชินอีก แล้ว แล้วก็เปลี่ยนมาใช้มือซ้าย มีอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาตมาเคยเล่าหลายครั้ง และก็อยากจะเล่าต่อ ตอน นี้เด็กอายุแค่ ๗ - ๘ ขวบ เขาสามารถที่จะรู้สึกตัวเป็นแล้ว วันนั้นอาตมา นั่งคุยกับเด็ก แล้วเด็กเขาก็น่ารักมาก พอจะกลับ อาตมาก็เลยบอกว่า “คน น่ารักแบบนี้ หลวงตามีของขวัญให้” อาตมาก็หยิบลูกประค�ำออกมาให้แก

36

มีสติ รู้สึกตัว


แกนั่งอยู่ใกล้ๆ แค่นี้ พออาตมาดึงลูกประค�ำขึ้นมาปั๊บ แกเห็นแกร้อง อู้หู! เราก็ถามว่า “หนู อู้หู! เห็นอะไรเหรอ ?” แกบอกว่า “เห็นค่ะ หนูเห็น ข้างในมันก�ำลังดีใจค่ะ” โยมฟังแล้ว อูห้ !ู หรือเปล่า ? เด็กแค่ ๗ - ๘ ขวบ เขา บอกว่า เขาเห็นข้างในก�ำลังดีใจ อาตมาฟังแล้วขนแขนสแตนอัพ (stand up) “เฮ้ย! มันเห็นได้ยังไง ?” ก็เลยถามต่อว่า แล้วหนูท�ำอย่างไรกับมัน เด็กตอบ “หนูไม่ได้ท�ำอะไรค่ะ หนูดูมันเฉยๆ ตอนนี้มันเบาลงแล้วค่ะ ความรูส้ กึ ดีใจมันเบาลง” ตอนนัน้ อาตมาอยากให้ลกู ประค�ำเด็กสองเส้นเลย น่ารักมั้ย ? แล้วของพวกเราล่ะ เห็นแบบนี้กันบ้างมั้ย ? เวลากินก๋วยเตี๋ยว ถามแกว่า เห็นอะไรบ้าง เด็กตอบ “เห็น ๓ อย่าง” พวกเราเวลากินก๋วยเตีย๋ วเราเห็นอะไรบ้าง เห็นเส้นก๋วยเตีย๋ ว เห็นอะไร อีก เห็นลูกชิ้น เห็นน�้ำซุป เห็นชาม เห็นช้อน เห็นตะเกียบ เราเห็นมากกว่า เด็ก แสดงว่า เราฉลาดกว่าเด็กใช่มั้ย ? ยังไม่ใช่นะ เด็กบอกว่า เขาเห็น ๓ อย่าง อาตมาถามว่า เห็นอะไรบ้าง เขาบอกว่า ๑. เห็นกายที่ก�ำลังเคลื่อนไหว ขณะที่มือตักก๋วยเตี๋ยวใส่ปาก ๒. เห็นปากที่ขยับขึ้นขยับลง (ขากรรไกรมันก�ำลังขยับขึ้นขยับลง) ๓. เห็นถึงความพอใจในรสชาติของก๋วยเตี๋ยว ตกลงเด็กแค่ ๗ - ๘ ขวบ เขาเห็นทั้งกาย แล้วก็เห็นทั้งจิต เห็นกายที่ เคลื่อนไหว เห็นใจที่นึกคิด แล้วของพวกเราเห็นอะไรบ้าง เด็ก ๘ ขวบ เขา เห็นเรือ่ งกายเรือ่ งจิต บางคน ๘๐ ขวบ แล้ว ยังเห็นแต่ลกู ชิน้ กับเส้นก๋วยเตีย๋ ว อยูเ่ ลย เดีย๋ วถ้าพวกเราออกไปทานอาหาร ลองกลับมาอยูก่ บั ความรูส้ กึ ตัวนะ

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

37


ตอนนี้อาตมาท�ำโครงการ “ธรรมะกลับตาลปัตร”.๑ เป็นโครงการวาด ภาพบนตาลปัตรทีไ่ ม่ได้ใช้แล้ว มีจติ อาสาร่วมวาดภาพไว้กว่า ๒๐๐ ตาลปัตร เราต้องการทีจ่ ะน�ำเสนอเรือ่ งราวทีเ่ ป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา มาให้ผคู้ น ได้ดู ได้อ่าน เวลามีปัญหาขึ้นมา จะได้ช่วยแก้ปัญหาได้ โดยไม่ทุกข์ ปุจฉา (วิสชั นา) ค�ำถามแรกอยากถามว่า “ปรกติเวลาฟัง เราใช้อะไรฟัง ?” โยมตอบ : ใช้หู คุณครูเคยบอกพวกเรามั้ยว่า “ตั้งหูฟังให้ดี ครูจะสอนแล้ว” (โยม หัวเราะ) คุณครูบอกว่าอะไร ? โยมตอบ : ตั้งใจฟัง ตกลงเวลาฟังใช้อะไรฟัง ? โยมตอบ : ใช้ใจฟัง ๑ ท่านใดสนใจโครงการ “ธรรมะกลับตาลปัตร” โดย พระอาจารย์ประสงค์ ปริปณ ุ โฺ ณ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.phraprasong.org

38

มีสติ รู้สึกตัว


ถ้าอย่างนั้นลองใช้ใจฟัง ไม่ต้องยุ่งกับหู อาตมาก็ไม่ต้องใช้เสียง เอา แค่ลิปซิงค์ (lip-sync) พอ ดูว่าพระพูดอะไร ? (พระอาจารย์ขยับปากพูด โดยไม่มีเสียงออกมา ประมาณครึ่งนาที) ปุจฉา (วิสชั นา) ตกลงเวลาฟัง ใครคิดว่า อย่างไร อย่างไร ก็ตอ้ งใช้หฟู งั ยกมือสูงๆ พรึ่บ! ปุจฉา (วิสชั นา) ใครคิดว่าเวลาฟัง อย่างไร อย่างไร ก็ตอ้ งใช้ใจฟังอยูด่ ี ยกมือสูงๆ พรึ่บ! ปุจฉา (วิสชั นา) ใครยังไม่ได้คดิ อะไรเลย ยกมือสูงๆ (โยมหัวเราะ) ใคร คิดว่าต้องใช้ทงั้ หูและใจฟัง ยกมือสูงๆ พรึบ่ ! ใครไม่ได้ยกมือ ไหนช่วยยกมือสูงๆ นีใ่ ห้หลายตัวเลือกมากเลยนะ หูกไ็ ม่ยก ใจก็ไม่ยก ทัง้ หูทงั้ ใจก็ไม่ยก ถามว่าใคร ไม่ยก ก็ไม่ยกอีก พวกไม่ยกมือเลยนี่ คือพวกไหนทราบมัย้ ? พวกสังเกตการณ์ คอยดูความล่มสลายของเพื่อนเป็นพักๆ “กูบอกแล้ว มึงนั่งเฉยๆ ยกเดี๋ยว ตอบผิด อายเค้า” สรุปเวลาฟังต้องใช้ทั้งหูและใจ ๒ สิ่งต้องไปด้วยกัน ชีวติ ของคนเราประกอบด้วย กายกับใจ เหมือนน�ำ้ แก้วนี้ (พระอาจารย์ ยกแก้วน�ำ้ ขึน้ มา) น�ำ้ แก้วนีป้ ระกอบด้วย เอช ทู โอ (H2O) ใช่มยั้ ? ไฮโดรเจน ๒ อะตอม กับ ออกซิเจน ๑ อะตอม ท�ำงานประสานกันจนกลายเป็นน�้ำ ถ้าแยกไฮโดรเจน กับ ออกซิเจน ออกจากกัน มีน�้ำมั้ย ? (ไม่มี) แต่ พอมารวมกัน มีน�้ำมั้ย ? (มี) ชีวิตก็เหมือนกัน พอกายกับใจมารวมกันเรียก ว่า “ชีวิต” แต่ถ้ามันแยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง ยังเรียกชีวิตอยู่ ใช่หรือไม่ ? ปุจฉา (วิสชั นา) ชีวติ นีถ้ า้ มีแต่ใจเพียงอย่างเดียวไม่มกี าย มีแต่ใจอย่าง เดียวลอยแว้บ แว้บ ไปเรื่อยๆ เขาเรียกอะไร ? โยมตอบ : กระสือ (หัวเราะ) ประกาศโปรดทราบเขาเรียก “วิญญาณ” แต่ค�ำว่าวิญญาณ เขายังแบ่ง เป็นวิญญาณ soul วิญญาณ spiritual และวิญญาณ consciousness ซึ่ง พวกเราก็คงทราบหมดแล้ว พระคงไม่ต้องอธิบายใช่มั้ย ? (เงียบ) ถ้ามีแต่ กายอย่างเดียวเขาเรียกว่า “ศพ” พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

39


ศพนี่ เราไปเตะมัน มันจะโกรธมั้ย ? จับมันไปเผา มันจะโกรธเรามั้ย ? นัง่ จีบแฟนมันต่อหน้ามันเลย มันจะลุกขึน้ มาตบเราได้มยั้ ? แล้วถ้ามันลุกล่ะ (วิง่ ) แล้วมันลุกได้มั้ย ? “ไม่ได้” เพราะว่ามันเป็นศพ ปุจฉา (วิสชั นา) และทีน่ งั่ อยูต่ รงนีเ้ ขาเรียกศพใช่มยั้ ? ถ้าไม่ใช่เขาเรียก อะไร ? ตรงนีเ้ ป็นชีวติ เพราะว่ามีทงั้ กายและใจ ยกเว้นบางคนทีเ่ ริม่ จะท�ำตัว เองเป็นศพ เริ่มถอดวิญญาณ (โยมหัวเราะ) เวลาฟังนี่ สิ่งส�ำคัญก็คือ กายกับใจต้องไปด้วยกัน วันนี้อยากจะฝาก ค�ำๆ หนึ่ง “เต็มร้อย” เวลาท�ำอะไรท�ำให้เต็มร้อย นั่งตรงนี้ก็นั่งให้เต็มร้อย อย่านั่งแบบ ๕๐ สตางค์ ฮัลโหล! เข้าใจมั้ย ? นั่ง ๕๐ สตางค์ เวลาท�ำอะไร ต้องเต็มบาท คนปัจจุบันบางทีเราไม่เต็มบาท ใจจะท�ำแต่กายมันไม่เอาด้วย เพราะฉะนั้น สิ่งที่ออกมามันก็ไม่สมบูรณ์ เวลาจะท�ำให้ท�ำแบบเต็ม ร้อย กายใจต้องไปด้วยกัน กลับมาดูที่กระบวนการกันต่อ เมื่อกี้อาตมาพูด ถึงชีวิต ถ้ามีแต่ใจอย่างเดียว เขาเรียกว่า โยมตอบ : วิญญาณ วิญญาณแบ่งออกเป็น ๓ ประการ วิญญาณแรก คือวิญญาณ soul เป็น วิญญาณล่องลอย วิญญาณที่ ๒ คือวิญญาณ spiritual คนนีม้ วี ญ ิ ญาณแม่ คน นี้มีวิญญาณครู คนนี้มีวิญญาณนักสู้ เข้าใจมั้ย ? เช่น “แก้ว” ๑ มีวิญญาณ นักสู้ ชกจนได้เหรียญเงินมาใช่หรือเปล่า ? วิญญาณนักสู้ วิญญาณหมอ เข้าใจค�ำว่าวิญญาณหมอมัย้ ? สมัยอาตมา เด็กๆ ฮัลโหล! เคยเป็นเด็กมาก่อนนะ ไม่ได้เกิดมาแล้วแก่เลย เคยผ่านวัยมา สมัยเด็กๆ มีเพลงที่ตัวเองชอบมาก และทั้งหมู่บ้านร้องกันได้หมด พวกเราลองดูนะ ใครร้องเพลงนี้ได้ ช่วยร้อง ขึ้นต้นด้วย I’m sorry จั๊กกะจี้ หัวใจ ดังๆ เลย ช่วยกันหน่อย ๑ แก้ว พงษ์ประยูร ฮีโร่เหรียญเงินโอลิมปิก ทีมชาติไทย “ลอนดอนเกมส์ 2012” รุ่นไลท์ฟลายเวท ๔๙ กิโลกรัม

40

มีสติ รู้สึกตัว


I’m sorry จั๊กกะจี้ หัวใจ โยมร้องต่อ : I’m ตกกระได หัวใจจิ้มขี้ (หัวเราะ) รู้สึกจะคนละเพลงกันนะ เพลงที่อาตมาร้องก็คือ I’m sorry จั๊กกะจี้ หัวใจ I’m รอดตายเพราะ หมอเบน เคซี่ย์ ๑ คุ้นๆ มั้ย ใครพยักหน้านี่ แก่ทั้งนั้นเลย หมอเบน เคซี่ย์ ไม่สนใจเรื่อง เงินทอง สนใจแต่จะช่วยชีวิตคน คุณหมอเมืองไทยก็มี มีคณ ุ หมอท่านหนึง่ พอเรียนจบปับ๊ ตาบอดสี มอง แบงก์พันเป็นเศษกระดาษ ไม่มีคุณค่าเลยแบงก์พันในสายตาของแก สนใจ แต่ชีวิตคน ออกไปช่วยรักษาชาวบ้าน ไม่มีสตางค์ให้ไม่เป็นไร ขออาหารสัก มือ้ หนึง่ เดินรักษาจนรองเท้าขาด ชือ่ เสียงขจรขจาย ต่างชาติบนิ มาดูงานเกิด ความประทับใจ ก็เลยมอบรางวัลแมกไซไซ ๒ ให้กบั คุณหมอท่านนัน้ คุณหมอ คนนั้นมีชื่อว่า ตอบดังๆ พร้อมกัน หนึ่ง สอง สาม พรึ่บ! ฮัลโหล ดังมากในเมืองไทย (โยมคนหนึ่งตอบ “หมอประเวศ”) หมอประเวศ วะสี ได้รับรางวัลแมกไซไซ แต่ไม่ใช่หมอเท้าเปล่า คุณ หมอ ๕ ท่าน ที่ได้รับรางวัลแมกไซไซ ในประเทศไทยมีใครบ้าง ? ตกลงพวก เราอยู่ต่างประเทศกันใช่มั้ย ? (โยมหัวเราะ) หรืออยู่ประเทศไทย ? คุณหมอ ท่านนั้นมีชื่อว่า ? หมอกระแส ชนะวงศ์ มีทนายความท่านหนึ่ง เรียนจบแล้วตาบอดสี เห็นแบงก์พันเป็น ๑ หมอเบน เคซี่ย์ (Ben Casey) เป็นภาพยนตร์ชุดขาว-ด�ำ ทางทีวี ของสหรัฐอเมริกา เริ่มออกอากาศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1961-1966 ๒ รางวัลแมกไซไซ หรือ รางวัลรามอน แมกไซไซ (Ramon Magsaysay Award) เป็นรางวัลที่ก่อตั้งขึ้น เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1957 โดยคณะกรรมการของกองทุน ร็อกกี้เฟลเลอร์ บราเธอร์ส (Rockefeller Brothers Fund) ซึ่งมีส�ำนักงานอยู่ในนคร นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยการสนับสนุนของรัฐบาลฟิลิปปินส์ รางวัลแมกไซไซนั้น ถือเสมือนหนึ่งรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพของเอเชียเลยทีเดียว พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

41


เศษกระดาษ ไม่สนใจเรื่องเงินทอง สนใจแต่ความยุติธรรม ออกว่าความจน กระทั่งต่างชาติบินมาดูงาน เกิดความประทับใจก็เลยมอบรางวัลแมกไซไซ ให้กับทนายความท่านนั้น ทนายความท่านนั้นมีชื่อว่า ทองใบ ทองเปาด์ มีนกั วาดภาพอยูก่ ลุม่ หนึง่ มีความรูส้ กึ ว่าการวาดภาพให้ได้สตางค์อย่าง เดียว คนเขาท�ำเยอะแล้ว แต่การวาดภาพให้ได้บุญด้วย มันน่าสนใจมาก ใน ทีส่ ดุ ก็เลยจับกลุม่ มารวมกัน แล้วก็มาเปิดนิทรรศการอยูท่ อี่ ะไร ? ที่ ริเวอร์ซติ ี้ นักวาดภาพกลุ่มนั้นมีชื่อว่า “จิด.ตระ.ธานี” สาธุดังๆ ให้คุณโยมด้วย ภาพนี้ไม่ได้วาดเพื่อที่จะให้ได้สตางค์อย่างเดียว แต่วาดให้ได้บุญด้วย เพราะพอคนเข้ามาศึกษา ท�ำให้เขาเข้าใจเรื่องของชีวิต ปุจฉา (วิสัชนา) สิ่งที่พวกเราต้องการในชีวิตคืออะไร ? โยมตอบ : ความสุข ทีนที้ ำ� อย่างไรจึงจะมีความสุข ตอนนีต้ า่ งชาติให้ความสนใจพุทธศาสนา กันมาก อาตมาเคยเจอฝรั่งมาเรียนภาษาไทย สอบถามเขาว่า you มาเรียน ท�ำไม จะเอาไปพูดกับภรรยาหรือ ? ฝรั่งตอบ : “พ้มพูดไทยได้ขรับ” เขาพูดไทยได้ อาตมาก็ถามต่อ แล้ว you มาเรียนท�ำไม ? ฝรั่งตอบ : “พ้มอยากอ่านพระไตรปิฎก” เขาอยากอ่านพระไตรปิฎก ถ้าอาตมาเอาพระไตรปิฎกมาตั้งด้านขวา หนังสือพิมพ์ตั้งด้านซ้าย พวกเราจะหยิบอะไร ? โยมตอบ : หนังสือพิมพ์ (โยมหัวเราะกราว) ถ้าอาตมาเอาพระไตรปิฎกมาตัง้ ด้านขวา เอาหนังสือพิมพ์ตงั้ ด้านซ้าย คิดว่าพระเณรจะหยิบอะไรกัน ? โยมตอบ : ทั้งพระไตรปิฎก และหนังสือพิมพ์ น่าสนใจนะตรงนี้

42

มีสติ รู้สึกตัว


ฝรั่งบอกอยากอ่านพระไตรปิฎก อาตมาก�ำลังจะเดิน เลยเดินไม่ออก ฟังแล้วขนแขนสแตนอัพ (stand up) เลยต้องหยุดถามเขาอีกว่า Why are you interested in Buddhism ? (ท�ำไมคุณจึงสนใจพุทธศาสนา) ฝรั่งตอบ : No, I’m not interested. I respect. (ไม่ได้สนใจแต่นับถือ) ฟังเที่ยวนี้ ขนหัวลุก ขนาดไม่มีผมนะ มันยังลุก ก็เลยต้องหยุดนั่งคุยกับเขา บอกเดี๋ยวๆ ท�ำไม you ใช้ค�ำว่า “นับถือ” ฝรั่งตอบ : “ที่ I นับถือเพราะว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้บังคับให้ I เชื่อ แต่ สอนให้ I คิดเป็น” สอนให้คิดเป็น ตรงนี้ที่ฝรั่งเขาสนใจ เขาทึ่ง! พระพุทธเจ้าท่านสอน ให้ “รู้ที่จะคิด” เรามาดูเรื่องความทุกข์กันอีกครั้งหนึ่ง ปุจฉา (วิสัชนา) ทุกวันนี้คนเราเป็นทุกข์เพราะอะไร ? ใครตอบได้ยก มือสูงๆ พรึ่บ! ว่าไงข้างหลัง โยมตอบ : ทุกข์เพราะความคิด แต่เป็นคิดที่ผิด สาธุดังๆ ให้คุณโยมด้วย คนทุกข์เพราะ “คิดผิด” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สัมมาทิฏฐิ สมาทานัง สัพพะทุกขัง อุปัจจะคุง” คนจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะมีสัมมาทิฏฐิ คือ ความคิดเห็นที่ถูกต้อง ถูกตรง เพราะฉะนั้นหัวข้อวันนี้ “มีสติ รู้สึกตัว” ในอริยมรรคมีองค์แปด ที่ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเป็นหนทางไปสู่การพ้นทุกข์ ในปัจจุบันคนไม่ค่อย ให้ความสนใจเท่าไหร่ อริยมรรคมีองค์แปด ใครท่องได้บ้าง ยกมือสูงๆ พอมีบ้างหลายคน มีอะไรบ้าง ? ๑) สัมมาทิฏฐิ ๒) สัมมาสังกัปปะ ๓) สัมมาวาจา ๔) สัมมากัมมันตะ ๕) สัมมาอาชีวะ ๖) สัมมาวายามะ ๗) สัมมาสติ .๘) สัมมาสมาธิ พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

43


คิด ต้องคิดให้เป็น ต้องคิดให้ถูกต้อง ต้องคิดให้ถูกตรง ทีนี้ค�ำสอน พระพุทธเจ้าน่าสนใจ ตรงที่ท่านสอนให้คิดชอบ แต่คนปัจจุบันชอบคิด และ ไอ้เรือ่ งทีค่ ดิ ก็ไม่ใช่เรือ่ งทีช่ อบ แต่เป็นเรือ่ งทีเ่ ขาชอบ แต่มนั ไม่ใช่ในทางทีช่ อบ ถ้าเราคิดชอบ ใจจะไม่มีปัญหา แต่ชอบคิดนี่มีปัญหามั้ย ? มีปัญหา เรื่องอะไรที่จะท�ำให้ทุกข์ มันชอบคิด พระพุทธเจ้าสอนให้พูดชอบ แต่คน ปัจจุบัน “ชอบพูด” แล้วเรื่องที่พูดก็ไม่ใช่เรื่องที่ชอบ เรื่องที่ชอบมันก็ไม่พูด มันจะพูดแต่เรื่องที่มันชอบ พระพุทธเจ้าสอนให้พูดในเรื่องที่ชอบธรรม แต่เขาพูดในเรื่องที่ชอบ พูด ปัญหามันก็เลยเกิด ท่านบอกว่า “พูดดีมัดใจ พูดร้ายมัดคอ” มัดใจกับ มัดคอนี่ มัดอะไรดีกว่ากัน โยมตอบ : มัดใจกัน แล้วปัจจุบนั ทีเ่ รามัดๆ คนทีอ่ ยูก่ ะเรา เรามัดใจหรือมัดคอ มัดคอเลยเหรอ ? น�้ำลายของเราท�ำให้เป็นน�้ำอมฤตก็ได้ หรือท�ำให้เป็นน�้ำกรดก็ได้ คน บางคนพูดแต่ละครั้งมันเจ็บแสบใช่มั้ย ? มันบาดลึกเข้าไปนี่สิ น่ากลัวมาก ใครอยู่ที่บ้านลองเปลี่ยนค�ำพูดบ้าง คนที่บ้านอาจจะงงก็ได้ เกิดอะไรขึ้น กินยาผิดเม็ดหรือเปล่า ? พระพุทธเจ้าสอนให้ทำ� ชอบ แต่คนปัจจุบนั ชอบท�ำ และเรือ่ งทีท่ ำ� ไม่ใช่ เรื่องที่ชอบ แต่มันชอบ ตรงนี้ก็เลยท�ำให้เกิดปัญหา พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องสูตรแห่งความทุกข์ ครั้งหนึ่งมีพราหมณ์เข้าไป หาพระพุทธเจ้า ถือดอกไม้เข้าไปสองก�ำมือ ไปถึงปั๊บ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “วางเสียเถิดพราหมณ์” พราหมณ์ก็วางดอกไม้ที่มือข้างหนึ่ง พระพุทธเจ้า ตรัสอีก “วางเสียเถิดพราหมณ์” พราหมณ์ก็วางดอกไม้ที่มืออีกข้างหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสอีก “วางเสียเถิดพราหมณ์” พราหมณ์แบมือสองข้างบอกว่า Nothing หมดแล้ว ให้วางอะไร ? พระพุทธเจ้าให้วางอะไร ? วางเรื่องในใจ

44

มีสติ รู้สึกตัว


มันมีสูตร มีสมการ มีสิ่งต่างๆ เยอะแยะ ถ้าไม่วางคุยกันไม่รู้เรื่อง พราหมณ์พอได้ยินก็ตื่นเต้น เอ้อ...ค�ำสอนแบบนี้ศาสดาของเราไม่เคยสอน ก็เลยตั้งใจฟังพระพุทธเจ้า พอตั้งใจปั๊บพระพุทธเจ้าตรัสว่า “อโรคยา ปรมาลาภา” แปลว่า “ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” พอตรัสแค่นั้น พราหมณ์ลุกขึน้ เอามือลูบตัว แล้วบอกว่า “ตัง้ แต่เล็กแต่นอ้ ย ข้าพเจ้าไม่เคย ป่วยไข้ เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าเป็นผู้มีลาภอันประเสริฐ” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนพราหมณ์ เราไม่ได้หมายความเช่นนั้น” ปุจฉา (วิสัชนา) แล้วพระพุทธเจ้าหมายความเช่นไร ค�ำว่า อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ หมายความว่า ไม่ป่วยไม่ไข้ ใช่มั้ย ? นี่คือความเข้าใจของคนยุคปัจจุบัน แต่ในพระไตรปิฎกจริงๆ ท่าน หมายถึงอะไรทราบมั้ย ? โยมตอบ : ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง สุดยอด สาธุดังๆ ให้เพื่อนเราด้วย พราหมณ์ลุกขึ้นเอามือลูบตัวบอกว่า ตั้งแต่เล็กแต่น้อย ข้าพเจ้าไม่เคย ป่วยไข้ เพราะฉะนัน้ ข้าพเจ้าเป็นผูม้ ลี าภอันประเสริฐ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดู ก่อนพราหมณ์เราไม่ได้หมายความเช่นนั้น” โรคที่เราว่านี้ ก็คือ โลภะพยาธิ โทสะพยาธิ โมหะพยาธิ ก็คือโรคความโลภ ความโกรธ ความหลง แล้วพวกเราทราบมั้ย ? ว่าทุกข์เกิดจากอะไร ? ครัง้ หนึง่ มีพราหมณ์เข้าไปหาพระพุทธเจ้า แล้วทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ความทุกข์นี่ คนอืน่ สร้างให้เราใช่ไหม ?” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อย่ากล่าวเช่น นั้นพราหมณ์” พราหมณ์ก็ว่า “เอ๊ะ! ถ้าไม่ใช่คนอื่นสร้าง อย่างงั้นเราสร้างเอง ใช่มั้ย ?” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อย่ากล่าวเช่นนั้นพราหมณ์” ฮัลโหล เริ่มงงหรือยัง ? พราหมณ์ก็ว่า “ถ้าอย่างงั้นความทุกข์นี่ ทั้งเขา และเราสร้างขึน้ มาใช่มยั้ ?” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อย่ากล่าวเช่นนัน้ พราหมณ์” พราหมณ์ก็ถามอีก “อย่างงั้นทุกข์ไม่มีอยู่จริงสิ ?” พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

45


“ทุกข์มีอยู่พราหมณ์” พราหมณ์ก็เลยงง (ก็เมื่อกี้บอกว่า คนอื่นไม่ได้สร้าง เราก็ไม่ได้สร้าง ทั้งเขาและเราก็ไม่ได้ร่วมกันสร้าง พอเราบอกว่าทุกข์ไม่มี ท่านกลับบอกว่าทุกข์มีอยู่) พราหมณ์จึงทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “แล้วทุกข์เกิดจากอะไร ?” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เมือ่ ผัสสะด้วยอวิชชา ทุกข์จงึ เกิด” ฮัลโหล! ยังอยูม่ ยั้ ? แล้วค�ำว่าผัสสะแปลว่าอะไร ? แปลว่า “การกระทบ” ค�ำว่าผัสสะมี องค์ประกอบอยู่ ๓ ประการ ก็คือ มีอายตนะภายในทั้ง ๖ อายตนะภายนอก ทั้ง ๖ และก็มีวิญญาณทั้ง ๖ เมื่ออายตนะภายในทั้ง ๖ กระทบกับอายตนะภายนอกทั้ง ๖ แล้วมี วิญญาณทั้ง ๖ เข้ามารับรู้ ธรรม ๓ ประการนี้ รวมกันเรียกว่า “ผัสสะ” เมื่อผัสสะด้วยอวิชชา ทุกข์จึงเกิด มาทวนกันอีกนิดนึง อายตนะ ภายในมีอะไรบ้าง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอกมี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ วิญญาณทั้ง ๖ มี จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ เมื่อผัสสะด้วย อวิชชา ทุกข์จึงเกิด ปุจฉา (วิสชั นา) เมือ่ ตาเห็นรูป ทุกข์เกิดหรือยัง ? ตกลงเกิดหรือไม่เกิด โยมตอบ : ยังไม่เกิด เมื่อมีจักขุวิญญาณเข้ามารับรู้ ทุกข์เกิดหรือยัง ? โยมตอบ : ยังไม่เกิด ทุกข์เกิดเมื่อไหร่ ? เมื่อมีอวิชชาเข้ามาผสม อวิชชาคือความไม่รู้ ไม่รู้จริง ตามความเป็นจริงของมัน ตัวนี้แหละคือตัวปัญหา ที่ท�ำให้เกิดทุกข์ ปุจฉา (วิสัชนา) เมื่อหูได้ยินเสียง ทุกข์เกิดหรือยัง ? โยมตอบ : ยังไม่เกิด เมื่อมีวิญญาณทางหูเข้ามารับรู้ ทุกข์เกิดหรือยัง ?

46

มีสติ รู้สึกตัว


Mysterious Old Town 4 : Fine art photography พรรษา สุนาวี (ศิลปินรับเชิญ)

โยมตอบ : ยังไม่เกิด ทุกข์จะเกิดเมื่อไหร่ ? เมื่อมีอวิชชาเข้ามาผสม อวิชชาคือความไม่รู้จริง ตามความเป็นจริง จึงเกิดปัญหา มีบทเพลงน่ารักมาก ใครเคยร้องเพลงนี้ได้ ช่วยกันร้อง เขาขึ้นต้นว่า “จะหลับตาลงไปได้อย่างไร” ฮัลโหล! ดูหน้าตาน่า จะร้องเพลงนี้ได้ (หัวเราะ) เอาดังๆ หน่อย หนึ่ง สอง สาม “จะหลับตาลงไปได้อย่างไร หัวใจมันเจ็บ ไอ้หนุ่มกรุงเทพจะมาแย่ง

แฟน” ๑

ฟังให้ดนี ะ ท่อนนีน้ า่ สนใจมาก ไอ้หนุม่ คนนีห้ ลับตาไม่ลงเพราะอะไร ? ถามว่าตาเขาเห็นรูปแล้วใช่หรือเปล่า ? ไอ้หนุ่มกรุงเทพนี่มันมาหรือยัง ? โยมตอบ : ยังไม่มา ๑ ขันหมากเศรษฐี เป็นเพลงลูกทุ่ง ขับร้องโดย เสกศักดิ์ ภู่กันทอง (บันทึกเสียงใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๘) ค�ำร้อง/ท�ำนอง : ฉลอง ภู่สว่าง พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

47


มันผิวด�ำหรือผิวขาวรูม้ ยั้ ? มันอ้วนหรือผอมรูม้ ยั้ ? มันสูงหรือเตีย้ รูม้ ยั้ ? โยมตอบ : ไม่รู้ แล้วมันจะมาจริงมั้ย ? ไม่รู้ทั้งสิ้น แต่กูจะทุกข์ไว้ก่อน เห็นมั้ย ? เขา ไม่เข้าใจหลักค�ำสอนตรงนี้ ? เขาไม่เข้าใจ ทีนี้คนนี้ที่เป็นทุกข์เพราะอะไร ? หูไปได้ยินเสียงมา เสียงเขาบอกว่าไง ? “ไอ้หนุ่มกรุงเทพจะมาแย่งแฟน” ไม่ แน่สึนามิเอาไอ้หนุ่มกรุงเทพไปกินแล้วก็ได้ ใครจะไปรู้ แต่วา่ เขาทุกข์แล้ว ตรงนีอ้ าตมาเสียดายมาก ถ้าเขามาศึกษาพระไตรปิฎก สักนิดนึง เขาจะไม่ร้องแบบนี้ หลับตาไม่ลงมันน่าจะเป็นเรื่องของตาใช่มั้ย ? แต่นี่ของเขามันเป็นเรื่องของใจ ที่ไปบีบจนกระทั่งตาค้าง ที่จริงมันน่าจะร้อง ใหม่ว่า “จะหลับตาลงไปได้อย่างไร เพราะตามันเจ็บ ไอ้หนุ่มกรุงเทพเอาไม้ ทิ่มตา” ถ้าอย่างนี้โอเคเลย มีปัญหาที่ตาแล้วก็หลับตาไม่ลง มาดูใหม่อีกเพลงหนึ่งน่าสนใจ บทเพลงเขาบอกว่า “แสบเข้าไปถึง ทรวง เมื่อเห็นน้องควงคนอื่น” ๑ หมอนี่มีปัญหากับตาอีกแล้ว เห็นมั้ย ? คนนี้เป็นทุกข์เพราะอะไร ? “แสบเข้าไปถึงทรวง เมื่อเห็นน้องควงคนอื่น” ตาไปเห็นเขาควงคนอื่น ทุกข์ เกิดรึยัง ? โยมตอบ : ยังไม่เกิด มีวิญญาณทางตาเข้ามารับรู้ ทุกข์เกิดรึยัง ? โยมตอบ : ยังไม่เกิด ทุกข์เกิดเมือ่ ไหร่ ? เมือ่ มีอวิชชาเข้ามาผสม อวิชชาแปลว่า ความไม่รจู้ ริง ตามความเป็นจริงของมัน เลยหลงไปยึดมั่นถือมั่น ไม่เข้าใจค�ำสอนของ พระพุทธเจ้า เขาจึงเกิดทุกข์ขึ้นมา น่าสนใจมั้ย ? ๑

แสบหัวใจ เป็นเพลงลูกทุ่ง ขับร้องโดย พรชัย สร้อยเพชร (บันทึกเสียงในปี พ.ศ. ๒๕๑๔) ค�ำร้อง/ท�ำนอง : กานท์ (บารมี) การุณวงศ์

48

มีสติ รู้สึกตัว


เวลาที่ตาเห็นรูปเขาเรียกว่า “ผัสสะ” คือมีการกระทบ พอผัสสะปั๊บ เวทนามันเกิดขึ้นทันที ทีนี้พอเวทนาเกิด ถ้าเรารู้ไม่เท่าทัน มันจะหลงเข้าไป ในเวทนา หากยินดี รักใคร่ ชอบใจเรียกว่า “สุขเวทนา” พอสุขเวทนาเกิดเรา ก็อยากจะดึงไว้ อยากให้มันอยู่กับเรานานๆ อย่างคนบางคนไปซื้อเสื้อ พอไปเจอเสื้อสวยมาก ถูกใจ แต่พอจับปั๊บ เห็นราคาแล้วขนลุก จะปล่อยก็ปล่อยไม่คอ่ ยออก จะดึงออกมาเงินในกระเป๋า สตางค์มันก็ไม่พอ พอตัดใจถอยมานิดนึง พอคนอื่นเดินเข้าไปปั๊บ ท�ำใจไม่ ได้ รีบกลับไปจับใหม่ แล้วเอาไปซ่อนไว้ลึกๆ สักวันหนึ่งฉันจะมาเอาแกนะ ทีนี้ถ้าเราไปดู พอเห็นแล้วชอบ ลองไปสัก ๑๐ ครั้ง ไปดูมันทุกวันเลย ไปจับมันทุกวันเลย พอวันที่ ๑๐ ปั๊บ ความรู้สึกมันจะค่อยๆ เริ่มจางลง แต่ คนบางคนแปลก คือก็ชอบอยู่นั่นแหละ จะเริ่มคลายชอบ ในวันที่ซื้อไปแล้ว พอซื้อได้เรียบร้อย ก็ไปแขวนในตู้ที่บ้าน แล้วหลังจากนั้น ก็ไม่เคยหยิบมา ใส่เลย มีมั้ยบางคน ที่ป้ายยังไม่ได้เอาออกเลย ยังแขวนอยู่ แล้วพอไปเจอ ชุดใหม่ ก็ไปซื้อมาอีก เคยเจอคนประเภทนี้บ้างมั้ย ? พอตาเห็นปั๊บ เวทนาเกิด แล้วเขาไม่เห็นเวทนาตัวนั้น จึงหลง หลง เข้าไปในเวทนา อันนี้เป็นสุขเวทนาดึงเข้าหาตัว พอเป็นทุกขเวทนาผลักไส ออกนอกตัว แล้วก็มีบางตัวงงๆ ไม่รู้ว่าจะดึงหรือผลัก สุขตรงนั้นชอบกลายเป็น “ราคะ” ทุกข์ไม่ชอบผลักออกไปกลายเป็น “โทสะ” ส่วนตัวงงๆ ไม่รู้จะชอบหรือจะผลัก จะดึงหรือจะผลักดี เขาเรียกว่า “ตัวโมหะ” คือความหลง และไอ้ตัวความหลงนี่แหละน่ากลัว ที่มันจะก่อภพ ก่อชาติไม่รจู้ กั จบสิน้ พอหลงปับ๊ เดีย๋ วก็ชอบ หลงปับ๊ เดีย๋ วก็ไม่ชอบ มันก็เกิด ขึ้นมา ฮัลโหล! พอเข้าใจใช่มั้ย ? ค�ำว่า “ราคา” มาจากค�ำว่า “ราคะ” พอเกิดราคะขึ้นมา เช่น ผู้ชายคน นึงไปชอบผู้หญิงคนนึง พอชอบมากๆ ปั๊บ เขาเรียกสินสอด ๕ แสน เป็นไง ยอมมั้ย ? ยอม บางทีเรียกเป็นล้าน เราก็ซื้อ แต่ถ้าเราไม่มีราคะในสิ่งนั้นเลย ผูช้ ายคนนึงไปเห็นผูห้ ญิงคนนึงแล้วเฉยๆ เขายกให้ฟรีๆ ยังไม่อยากจะเอาเลย ไม่รู้จะเอาไปท�ำไม เกะกะบ้าน พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

49


หลักทีพ่ ระพุทธเจ้าสอนอย่างหนึง่ ก็คอื ให้เข้าใจเรือ่ ง “ขันธ์ ๕” อาตมา ขอพูดเรื่องขันธ์ ๕ อีกสักนิด จะได้สรุปจบ ปุจฉา (วิสัชนา) เข้าใจค�ำว่า ขันธ์ ๕ มั้ย ? ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง ขัน พลาสติกใช่มั้ย ? (โยมหัวเราะ) ใช่ หรือไม่ใช่ ? ไม่ใช่นะ ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง ? รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เรียกว่า ขันธ์ ๕ ตัวกายนี้ก็คือ ตัวรูป ส่วน ตัวเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้น ก็คือตัวนาม เป็นทางด้านจิตใจไป กลับมาดูตรงที่ รูปจริงๆ มันใช่เรามัย้ ? ใช่หรือไม่ใช่ กายนีม่ นั ประกอบ ด้วยอะไร ? ธาตุ ๔ ธาตุ ๔ มีอะไรบ้าง ? โยมตอบ : ดิน น�้ำ ลม ไฟ ยอดเยี่ยม ตอนนั้นอาตมาเคยไปเทศน์ แล้วถามโยมว่า ธาตุ ๔ มีอะไร บ้าง ? โยมตอบด้วยความมั่นใจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (หัวเราะ) จริงๆ ท่านบอกว่า ดิน น�้ำ ไฟ ลม ตรงนี้น่าคิดนะ ท�ำไมถึงพูดว่าเป็น ดิน น�้ำ ไฟ ลม เพราะเวลามันจะตาย พอลมหยุดปั๊บ ไฟในร่างกายดับ พอ ไฟดับปั๊บ น�้ำในร่างกายเน่า พอน�้ำเน่าปั๊บ ดินพัง เพราะฉะนั้นร่างกายจึง ประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น�้ำ ไฟ ลม ที่จับกลุ่มประชุมรวมกันขึ้นมา ท่านผู้รู้ ทางวงการแพทย์บอกว่า ภายในร่างกายมีน�้ำอยู่ประมาณ ๓๘ ลิตร มีไขมัน ท�ำสบู่ชั้นเลวได้ ๗ ก้อน ถูตัวไม่ได้ แต่ล้างจานได้ มีฟอสฟอรัส ท�ำหัวไม้ขีด ไฟ ได้ ๒,๒๐๐ ก้าน และมีธาตุเหล็กท�ำตะปูขนาด ๓ นิว้ ได้ ๔ ตัว รวมกันแล้ว ขายได้ ๖๖ บาท ๑๕ สตางค์ นี่เป็นสถิติเมื่อ ๔๐ ปีที่แล้ว ที่เคยรวบรวมไว้ เพราะฉะนัน้ เวลาเจอกับใคร ไม่ตอ้ งไปอวดเบ่ง อวดโก้ อวดดี ก็แค่ ๖๖ บาท ๑๕ สตางค์ เท่านั้นแหละ มี ๙๐ บาท บ้าง ท�ำสบู่ได้หลายก้อนอยู่ตรง นัน้ (พระอาจารย์ชไี้ ปทีโ่ ยมทีร่ ปู ร่างใหญ่คนหนึง่ ) อาจจะแพงกว่าคนอืน่ นิดนึง หลักการนี้พระพุทธเจ้าสอนไว้น่ารัก เวลาเราเจอกับใคร อย่าไปนึกว่า

50

มีสติ รู้สึกตัว


เราเหนือกว่าเขา อย่าไปนึกว่าเราต�ำ่ กว่าเขา แล้วเราอย่าไปนึกว่าเสมอกันอีก พอนึกว่าเหนือกว่าอีโก้ (ego) เกิด นึกว่าต�่ำกว่า ปมด้อยเกิด นึกว่าเสมอกัน การแข่งขันชิงดีชิงเด่นเกิด เพราะฉะนัน้ เราควรเห็นทุกคนเป็นเพือ่ นร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย ตกลง ว่า “รูป” ก็เป็นเพียงธาตุ ๔ รูปใช่เรามั้ย ? โยมตอบ : ไม่ใช่ แล้วเราคิดว่าใช่เราหรือเปล่า ? “ใช่” มาถึงเวทนา เอามือลูบตัวซิ นีค้ อื ใคร โยมตอบ : ตัวเรา อาจารย์พทุ ธทาส ใช้คำ� ว่าอะไร ? ตัวกู ของกู อันนีม้ นั ใช่เราหรือไม่ใช่ ? ไม่ใช่ แต่เราคิดว่าใช่ ตีมันทีนึงซิ เจ็บมั้ย ? โยมตอบ : เจ็บ ใครเจ็บ กูเจ็บ นี่หยิบเวทนาว่ามาเป็นกูแล้ว เวทนาใช่เราหรือเปล่า ? โยมตอบ : ไม่ใช่ “สัญญา” คือ ความจ�ำได้หมายรู้ ที่นี่เรียกว่าอะไร ? โยมตอบ : ริเวอร์ซิตี้ งานคืนนี้เป็นงานของใคร ใครเป็นคนจัด อาจารย์อะไร ? โยมตอบ : จิด.ตระ.ธานี ใครจ�ำได้ กูจำ� ได้ นีย่ ดึ สัญญา ความจ�ำได้หมายรูว้ า่ เป็นกู เอ้ามาถึงสังขาร ปุจฉา (วิสัชนา) ๔ + ๗ เป็นเท่าไหร่ ? ไม่ได้ใบ้หวยนะ ๔ + ๗ เป็น เท่าไหร่ (ตอบ) ๑๑ ใครคิดได้ กูคิดได้ นี่เอาสังขาร การปรุงแต่งมาเป็นเรา ปุจฉา (วิสัชนา) ๔ + ๗ + ๘ + ๙ แล้ว คูณด้วย ๓ เป็นเท่าไหร่ ? กูคิดไม่ทัน นี่คือเอาสังขารความคิดปรุงแต่งมาเป็นกู แล้วมันใช่กูมั้ย ? โยมตอบ : ไม่ใช่ พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

51


ตัวสุดท้าย วิญญาณ เห็นอาตมามัย้ ? ใครเห็น กูเห็น ได้ยนิ เสียงอาตมา พูดมั้ย ? ใครได้ยิน กูได้ยิน นี่คือยึดเอาวิญญาณมาเป็นกู ตกลงรูปใช่กูมั้ย ? เวทนาใช่กูมั้ย ? สัญญาใช่กูมั้ย ? สังขารใช่กูมั้ย ? วิญญาณใช่กูมั้ย ? แล้วกู คิดว่าใช่กูมั้ย ? โยมตอบ : ใช่ (หัวเราะ) สรุปแล้ว พระพุทธเจ้าท่านให้ท�ำอย่างไรกับขันธ์ ๕ ในบทสวดมนต์ที่ เราสวดกันอยู่เป็นประจ�ำ ท่านอาจารย์พุทธทาส ดึงจากพระไตรปิฎกออก มา มาท�ำเป็นหนังสือสวดมนต์แปล ขึ้นต้นด้วย “ภารา หะเว” ใครสวดได้ ช่วยสวดพร้อมๆ กัน หนึ่ง สอง สาม (เงียบ) สุดยอดเลย ไปอ่านกันสักนิด

ภารสุตตคาถา (หันทะ มะยัง ภาระสุตตะคาถาโย ภะณามะ เส) เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงภารสูตรเถิด ภารา หะเว ปัญจักขันธา, ภาระหาโร จะ ปุคคะโล, ภาราทานัง ทุกขัง โลเก, ภาระนิกเขปะนัง สุขัง, นิกขิปิต๎วา คะรุง ภารัง, อัญญัง ภารัง อะนาทิยะ, สะมูลัง ตัณ๎หัง อัพพุย๎หะ, นิจฉาโต ปะรินิพพุโต.

ขันธ์ทั้งห้า เป็นของหนักเน้อ บุคคลแหละ เป็นผู้แบกของหนักพาไป การแบกถือของหนัก เป็นความทุกข์ในโลก การสลัดของหนักทิ้งลงเสีย เป็นความสุข พระอริยเจ้าสลัดทิ้งของหนัก ลงเสียแล้ว ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่น ขึ้นมาอีก เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้ กระทั่งราก เป็นผูห้ มดสิง่ ปรารถนา ดับสนิทไม่มสี ว่ นเหลือ

นีค่ อื สิง่ ทีพ่ ระพุทธเจ้าท่านสอนให้ทำ� ตกลงท่านให้ทำ� อย่างไรกับขันธ์ ๕ ท่านบอกให้ปล่อยวางขันธ์

52

มีสติ รู้สึกตัว


Song of nature 5 : Fine art photography พรรษา สุนาวี (ศิลปินรับเชิญ)



จุติ ๑

ก ิด

ปล่อยวาง

ี �ด .ต รอยวางขั การปล่ ะ. ธ า นนธ์

อาตมาก�ำอยู่เห็นมั้ย ? (พระอาจารย์ถือแก้วน�้ำแล้วชูขึ้น) ปล่อยแล้ว ก�ำอยู่ ปล่อยแล้ว ยังอยู่มั้ย ? พระพุทธเจ้าสอนอย่างไร ? ท่านสอนให้ ปล่อยแล้วก็วางด้วย (พระอาจารย์วางแก้วน�้ำลง) ภาษาไทยนี้สุดยอดมาก มีมั้ย ? เรื่องบางเรื่อง เราปล่อยแต่ไม่วาง ข้างนอกปล่อย แต่ข้างในมันไม่ปล่อย กูปล่อยละ กูไม่ปล่อย กูไม่คิด กูจะ คิด (โยมหัวเราะ) นี่คือปัญหาที่มันเกิด วิธีแก้ไข ตกลงสิ่งที่พวกเราต้องการ ในชีวิตคือต้องการอะไรกัน โยมตอบ : ความสุข อุปสรรคของความสุขคือ “ความทุกข์” ปุจฉา (วิสัชนา) ใครอยากออกจากความทุกข์ให้เร็วที่สุด ยกมือสูงๆ พรึ่บ! ยอดเยี่ยม ปุจฉา (วิสัชนา) ใครอยากออกจากความทุกข์ให้เร็วที่สุด ขอเชิญออก มาหน้าเวที ๓ ท่าน “กูอยากออก แต่กูก็ไม่ออก” (โยมหัวเราะกราว) ขอข้างหน้า ๓ ท่าน มาตรงนี้ได้เลย รบกวนนิดนึง ยืนข้างหน้า กลุ่มเราทั้ง ๓ คน รู้จักกันใช่มั้ย ? รู้จักกันหมดนะ โยมชื่อเล่นชื่อ “อ้วนค่ะ” “แก้วค่ะ” และโยมชื่อ “ตุ้มค่ะ” พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

55


ตกลงโยมคนแรกชื่อ อ้วน แก้ว แล้วก็ ตุ้ม ขอให้ยกนิ้วชี้มือขวาขึ้น ๑ นิ้ว อาตมานับหนึ่งถึงสาม ช่วยชี้ไปตรงคนที่งี่เง่าที่สุดในกลุ่มเรา (โยมหัวเราะ กันลั่น) ใครที่มันงี่เง่าที่สุดในกลุ่มเรา หนึ่ง สอง สาม โอ้...ชี้เข้าตัวเอง สุดยอด สาธุดังๆ ให้คุณโยมด้วย คนเราพอเริ่มเข้าใจศาสนาปั๊บ พอบอกใครงี่เง่าต่างๆ เขาจะเห็นเลย ว่าตัวเองงี่เง่า แล้วเริ่มสงสารคนที่อยู่กับเราแล้วหรือยัง ? (โยมหัวเราะ) เคยมั้ยความงี่เง่าของเรา ท�ำให้เขาเป็นทุกข์ มีบ้างมั้ย ? ในกลุ่มพวก เรา ใครมักมีปัญหากัน โยมตอบ : เหมือนว่าจะไม่เคย โยมเคยทุกข์กับเรื่องราวในอดีตบ้างมั้ย ? โยมตอบ : เคยค่ะ เคย เคยทุกข์กับเรื่องราวในอนาคตบ้างมั้ย ? โยมตอบ : เคยค่ะ แล้วปัจจุบันยังมีอยู่บ้างมั้ย ที่บางทีเรื่องราวในอดีตยังมาท�ำร้ายใจเรา อยู่ มีบ้างมั้ย ? มีเหมือนกันใช่มั้ย ? ในกลุ่มพวกเราไหน ใครอายุน้อยที่สุด ในกลุ่มพวกเรา (โยมหัวเราะ) โยมตอบ : เท่ากันค่ะ เท่ากันหมดเลยใช่มั้ย โอเค นับถือเป็นเพื่อนนะ เอาล่ะ.! ขอเชิญโยม อ้วนเขยิบมาตรงนี้นิดนึง เอาล่ะนะ โยมอ้วนลองหมุนรอบตัวเอง ๑ รอบซิ คล่องตัวดีใช่มั้ย ? สบายนะ โยมอ้วนเชิญนั่งตรงนี้เลย โยมอ้วนช่วยยืนขึ้น อีกครั้งหนึ่ง ยืนก็สบาย นั่งก็สบาย หมุนรอบตัวเองก็สบายใช่มั้ย ? ขอเชิญนั่งอีกครั้งหนึ่ง อาตมาขอสมมุติให้โยมอ้วนเป็นปัจจุบันขณะ ทีนี้ในชีวิตของเรามันจะมี ปัจจุบัน อดีต แล้วก็อนาคต ขณะนี้โยมอ้วนอยู่

56

มีสติ รู้สึกตัว


กับปัจจุบันขณะ ยืนก็สบาย นั่งก็สบาย หมุนรอบตัวเองก็สบาย แต่โยมอ้วนรูส้ กึ ว่า อยูก่ บั ปัจจุบนั มันสบายเกินไป ก็เลย ดึงเรื่องราวในอดีตมาทับใจตัวเอง ขอเชิ ญ โยมแก้ ว มาช่ ว ยนั่ ง ทั บ ปัจจุบันหน่อย (โยมแก้วตกใจนิดหนึ่ง พร้อมกับหัวเราะกันดังลัน่ ) นัง่ ทับลงไป เลย อย่าเกรงใจ งานนีอ้ ย่าเกรงใจ เดีย๋ ว ไม่จบ โยมอ้วนช่วยกอดอดีตไว้นิดหนึ่ง กอดอดีตไว้ มีมั้ยที่เราเคยคิดถึงเรื่องใน อดีตแล้วเราเป็นทุกข์ มีมั้ย ? โยมอ้วนตอบ : มีค่ะ มีใช่มั้ย ? เขาดึงอดีตมาทับแล้ว เขายังรู้สึกไม่สะใจ คนยืมเงิน แล้วมัน ไม่คนื ทวงแล้วมันด่าเราอีก เพือ่ นชวนเล่นแชร์ ล้มแล้วมันไม่รบั ผิดชอบอะไร เลย สารพัดเรื่องที่เอามาท�ำร้าย แค่นั้นยังไม่พอ อนาคต ตกลงปีหน้าน�้ำจะ ท่วมหรือไม่ท่วม ขอเชิญโยมตุ้มที่เป็นตัวแทนอนาคต มานั่งทับลงไปอีกที (โยมหัวเราะ) นัง่ ทับลงไปเลย โยมอ้วนช่วยกอดให้ถงึ อนาคตนะ (โยมหัวเราะ) ถามจริงๆ ตอนนี้โยมอ้วนรู้สึกอย่างไรบ้าง โยมอ้วนตอบ : หนักเจ้าค่ะ (หัวเราะ) หนัก! ในชีวิตของเรานี่ ถ้าเรื่องทางกายเวลาอะไรมาทับ หรืออะไร สกปรก หรืออะไรเลอะเทอะปั๊บ เราจะท�ำยังไง ? เราเอาออกไปทันทีเลย ใช่มั้ย ? ไม่ให้มาทับ แต่เรื่องทางจิตใจ ฟังให้ดีนะ กายของเรานี่มันฉลาด แต่ใจมันโง่ กายฉลาดถ้าอะไรจะมาท�ำร้ายปั๊บ เจออะไรร้อนๆ เรากระตุก หลบทันทีเลย เราไม่เอา อะไรแหลมๆ อะไรคมๆ เราไม่เอา อะไรบูดๆ เน่าๆ เราไม่ยุ่ง

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

57


แต่ใจมันโง่ อดีตเรื่องดีๆ มีให้คิดตั้งเยอะแยะ มันไม่คิด มันกลับไปเอา เรือ่ งทีม่ าท�ำร้ายใจตัวเอง อาตมาแกล้งพูดถ่วงเวลาให้มนั หนักไปเรือ่ ยๆ (โยม หัวเราะลั่น) ถามโยมอ้วนอีกครั้ง ตอนนี้รู้สึกอย่างไรบ้าง โยมอ้วนตอบ : หนักค่ะ หนักมาก ถามโยมอ้วนว่า ตอนนี้โยมอ้วนคิดจะท�ำอย่างไร ? กับอดีตกับอนาคต ที่ก�ำลังทับเราอยู่ โยมตอบ : อยากยกออกไปค่ะ (โยมหัวเราะลั่น) อย่า อย่าเพิ่งออกเดี๋ยวมันไม่จ�ำ เข้าใจใช่มั้ย ? โยมอ้วนคิดว่าจะเอาออกปีหน้า เดือนหน้า หรือเอาออกเมื่อไหร่ดี โยมอ้วนตอบ : เดี๋ยวนี้เลยค่ะ (โยมหัวเราะ) เอาออกเดี๋ยวนี้ เรื่องทางกายพอทับปั๊บต้องการเอาออกเดี๋ยวนี้ ทีนี้ เรื่องทางใจที่ท�ำให้โยมอ้วนเป็นทุกข์นี่ โยมอ้วนคิดว่าจะเอามันทิ้งเอามัน ออกเมื่อไหร่ดี ? โยมอ้วนตอบ : อื่ม...มันก็เป็นพักๆ ค่ะ บางทีมันก็มา บางทีมันก็ไม่มา แล้วแต่เป็นบางเรื่อง เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยเท่าไหร่แล้วค่ะ ทีนี้ถ้ามันมีบางครั้งบางคราว บางเรื่องที่มันยังฝังอยู่ในใจ ยืมเงินแล้ว ยังไม่ยอมคืน อาตมาไม่ได้บอกไม่ให้ไม่เอาคืนนะ เอาคืนได้ แต่ว่าในใจคิด ว่าจะเอาเรื่องที่มันท�ำร้ายใจ เอาออกเมื่อไหร่ดี ? โยมอ้วนตอบ : ปัจจุบันนี้เลยค่ะ ปัจจุบันนี้เลย ปัจจุบันเขาจะเอาออกแล้ว ช่วยลุกให้เขาหน่อย สาธุจ้ะ เดี๋ยว.! โยมอ้วนอย่าเพิ่งไป โยมอ้วนหมุนรอบตัวเองซิ โยมอ้วนเชิญนั่ง แล้ว ยืนอีกครั้งหนึ่ง ถามโยมอ้วนว่า โยมอ้วนชอบตอนไหนมากกว่ากัน ระหว่าง ที่มีอดีตกับอนาคตมาทับโยมอ้วน กับอยู่กับปัจจุบันขณะ โยมอ้วนตอบ : ปัจจุบันค่ะ

58

มีสติ รู้สึกตัว


ปัจจุบนั ขณะ เพราะฉะนัน้ หลักของวิธกี ารดับทุกข์ พระพุทธเจ้าให้ทำ� อย่างไร กับอดีต กับอนาคต โยมตอบ : ปล่อยวาง ขอเชิญ โมทนาบุญกับโยมอ้วน โยมแก้ว โยมตุ้ม เดี๋ยวช่วยแจกรางวัล พิเศษให้กับปัจจุบันด้วยนะ (หัวเราะ) มาดูพระสูตรบทนี้ พระพุทธเจ้าให้ท�ำ อย่างไรกับอดีต ปัจจุบัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า

ภัทเทกรัตตคาถา อะตีตัง นาน๎วาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง, บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ด้วยอาลัย และไม่พึงพะวง ถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง, ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง, สิ่งที่เป็นอดีตก็ละไปแล้ว สิ่งที่เป็นอนาคตก็ยังไม่มา, ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย. ผู้ใดเห็นธรรม อันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้นๆ อย่างแจ่มแจ้ง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้. อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว. ความเพียรเป็นกิจที่ต้องท�ำวันนี้, ใครจะรู้ความตาย แม้พรุ่งนี้, นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา. เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามาก ย่อมไม่มีส�ำหรับเรา, เอวัง วิหาริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง, ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนิ. มุนีผู้สงบ ย่อมกล่าวเรียก ผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น, ไม่เกียจคร้านทั้ง กลางวันกลางคืน ว่า, “ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม”. พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

59


ให้ท�ำปัจจุบันให้ถึงพร้อม เพราะฉะนั้นให้ท�ำปัจจุบันให้ดีที่สุด แล้ว อนาคตมันจะตามดูแลตัวมันเอง อนาคตมันจะจัดการตัวมันเอง เมือ่ กีอ้ าตมา ไปเดินดูรอบๆ มาแล้ว แต่วา่ เดินคร่าวๆ พอดีได้เวลา ก็เลยต้องออกมาก่อน เดี๋ยวจะเข้าไปดูต่อ มีภาพที่น่าประทับใจด้วย เด็ก ๑๒ ขวบ ก็ยังวาดภาพมา โชว์ในงานนี้ โยมไม่ต้องมาจองนะ เพราะเขาจองไปแล้ว แต่ภาพอื่นที่ยังไม่ จองรีบไปจองกัน เพราะว่าเดีย๋ วคนอืน่ จองแล้วก็ไม่ได้ อาตมาไม่มเี ปอร์เซ็นต์ ประกาศโปรดทราบ ไม่ได้จะขอเปอร์เซ็นต์ แต่ว่าประทับใจอาจารย์ธานี ตอนนี้ฝรั่งเขามาสนใจอ่านพระไตรปิฎกกันแล้ว แต่คนไทยยังไม่ได้ให้ ความสนใจ หลวงพ่อชา สุภทั โท ท่านพูดประโยคหนึง่ ไว้นา่ รักมาก ท่านบอก ว่า “กบเฒ่านั่งเฝ้ากอบัว อยู่เทิงหัวกลิ่นบัวบ่ต้อง แหม่งภู่ง่องบินผ่ายแอ่ว มา เอาเกศาดอกบัวไปจ้อย” เข้าใจหมดเลยใช่มั้ย ? (โยมหัวเราะ) ท่านบอกว่า “กบเฒ่าเฝ้าบัวบาน นานนักหนา อยู่ใกล้บัว ไม่เห็นบัว โอ้อนิจจา ภมรมาบินช้อน เกสรบัวไป” คนไทยอยู่กับพระพุทธศาสนา แต่ ไม่ได้ประโยชน์จากพระพุทธศาสนา ฝรัง่ มาถึง มาเอาหัวใจศาสนาไป เพราะ ฉะนัน้ ตรงนีอ้ ย่าให้เสียหาย ต่างประเทศตอนนีใ้ ห้ความสนใจเรือ่ งจิตวิญญาณ จนกระทั่งยืนยันชัดเจนว่า คนที่ประสบความส�ำเร็จในชีวิต พวกที่ไอคิวสูงๆ (I.Q. = Intelligence Quotient) ประสบความส�ำเร็จเพียงแค่ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ แต่พวกอีคิวสูง (E.Q. = Emotional Quotient) ประสบความส�ำเร็จถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ไอคิวก็คือ ความฉลาดทางด้านมันสมอง พวกคิดเก่งๆ ไปไม่ถึง ดวงดาวเยอะ แต่ E.Q. คือความฉลาดในด้านอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ตนเอง ได้ พวกนี้ประสบความส�ำเร็จถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ การที่อาจารย์ธานี จัดให้มีพระมาบรรยาย มาคุยก่อนเปิดนิทรรศการ นี้ เจตนาต้องการให้พวกเราได้ ๒๐ หรือ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ โยมตอบ : ๘๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วเดี๋ยวอย่าลืมไปเอา ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ข้างในด้วย เพราะไอ้ตัว ๒๐ เปอร์เซ็นต์ข้างใน มันจะเป็นตัวต่อ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าดูภาพแล้วสงสัยความ

60

มีสติ รู้สึกตัว


หมายของภาพ ลองเข้าไปศึกษาค้นคว้าในพระไตรปิฎกดู จะได้ประโยชน์มาก ขออนุโมทนา ขอเจริญพร (สาธุ)

(พิธีกรกราบขอบพระคุณ พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ ที่เมตตา แสดงธรรม จากนั้น ผู้จัดงานน�ำกล่าวถวายเครื่องปัจจัยไทยธรรมแด่พระ อาจารย์ จากนั้นจึงนิมนต์พระอาจารย์กล่าวให้พร) โยมจะเอาแบบไหน ? จะเอาพรแบบธรรมดา หรือจะเอาแบบดีที่สุด โยมตอบ : เอาดีที่สุด อาตมาเคยรับนิมนต์ และให้พรแบบดีที่สุดไปครั้งเดียว ได้ผล ๑๐ ปี ไม่เคยเจอหน้าโยมท่านนั้นอีกเลย แสดงว่าพรขลังมาก คนส่วนมากจะเข้าใจว่า พรที่ดีที่สุดคือ “หลับได้เงินหมื่น ตื่นให้ได้เงิน แสน เดินแกว่งแขนให้ได้เงินล้าน” เขากะชาตินี้ไม่ต้องท�ำงาน หลับๆ ตื่นๆ แล้วก็รวย แต่จริงๆ มันไม่ใช่ วันนั้นโยมขอดีที่สุด อาตมาก็เลยให้แบบดีที่สุด ไปว่า “ขอให้ไม่มีอนาคต ขอให้หมดเนื้อหมดตัว ขอให้อย่าได้ผุดได้เกิด” ให้พรยังไม่เสร็จ แกเอามือลง ไม่กล้ารับ (หัวเราะ) จริงๆ ไม่มีอนาคตก็คือ มีสติรู้อยู่กับปัจจุบันขณะ ถามโยมอ้วนสิ เมื่อกี้มีอดีตกับอนาคตมาทับน่ะ เป็นไงบ้าง เห็นมั้ย ? เพราะฉะนั้นเอาออก ไปเลย ให้มีสติรู้อยู่กับปัจจุบันขณะ ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต แต่ให้รู้อยู่กับ ปัจจุบันขณะ ชีวิตก็คือ ตัวปัจจุบัน คือลมหายใจตัวนี้ หมดเนื้อหมดตัว ก็คือ การจะเข้าสู่กระแสพระโสดาบันได้ จะต้อง ละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส หรือว่ามีศีล ๕ บริสุทธิ์ ตรงนี้ พระอินทร์ท่านแว้บไปแล้วนะ พระอินทร์ปิ๊งไปแล้ว ของพวกเราจะปิ๊งเมื่อ ไหร่ก็ไม่ทราบ (หัวเราะ) สักกายทิฏฐิ ก็คือเห็นกายว่าเป็นกู ต้องเห็นก่อนว่า กายไม่ใช่กู พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

61


และก็ขออย่าได้ผุดได้เกิด ก็คือ ให้ถึงพระนิพพาน ไม่ต้องกลับมา เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีก คนโบราณเวลาให้พร เขาให้พรไม่เหมือน คนปัจจุบัน เคยได้ยินมั้ย ? “ให้เย็นเหมือนฟัก ให้หนักเหมือนแตง ให้มีเรี่ยว มีแรงเหมือนหนุมาน ให้ปัญญาชาญเหมือนพระมโหสถ ให้มีน�้ำใจอดเหมือน พระเตมีย์ ให้เป็นเศรษฐีเหมือนเจ้ากรุงสญชัย” นีค่ อื การให้พรของคนโบราณ ตัวละครแต่ละตัวที่อยู่ข้างใน ลองไปดูในภาพ อาตมาไม่ทราบว่าจะเจอหรือ เปล่า ? แต่มันจะมีอย่างเช่น พระเจ้าสิบชาติบ้าง แล้วก็เรื่องหลายๆ เรื่อง ที่ เกีย่ วกับชาดก เราดูแล้วเราจะได้ศกึ ษา อยากให้เปิดพระไตรปิฎกกันบ้าง วัน นี้ขอให้พรเป็นภาษาไทยกับพวกเราก็แล้วกัน ขอผลบุญที่เราได้มาร่วมบ�ำเพ็ญบุญกันในครั้งนี้ จงส่งผลให้พวกเรา ทั้งหลาย จงได้มีความสุข ความเจริญ มีความก้าวหน้า ทั้งในด้านการศึกษา ในด้านหน้าทีก่ ารงาน และในด้านการประพฤติปฏิบตั ธิ รรม ธรรมใดทีย่ งั ไม่รู้ ไม่เห็น ก็ขอให้ได้รู้ ได้เห็น ได้เข้าถึงธรรมนั้นๆ และขอความปรารถนาดี ที่ พวกเราทั้งหลายได้ตั้งไว้ จงส�ำเร็จ จงส�ำเร็จ และจงส�ำเร็จ ยะถา วริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง, ห้วงน�้ำที่เต็ม ย่อมยังสมุทรสาครให้บริบูรณ์ได้ ฉันใด, เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ, ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้ ย่อมส�ำเร็จประโยชน์แก่ผู้ที่ละโลกนี้ ไปแล้วได้ ฉันนั้น, อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง, ขออิฏฐผลที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว, ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ, สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา, จงส�ำเร็จโดยฉับพลัน, ขอความด�ำริทั้งปวงจงเต็มที่, จันโท ปัณณะระโส ยะถา, มะณิโชติระโส ยะถา ฯ เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ, เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี ฯ

62

มีสติ รู้สึกตัว


สัพพีติโย วิวัชชันตุ, สัพพะโรโค วินัสสะตุ, ความจัญไรทั้งปวงจงบ�ำราศไป, โรคทั้งปวง (ของท่าน) จงหาย, มา เต ภะวัตวันตะราโย, สุขี ทีฆายุโก ภะวะ, อันตรายอย่ามีแก่ท่าน, ท่านจงเป็นผู้มีความสุข มีอายุยืน, (กล่าวซ�้ำ ๓ หน) อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ฯ ธรรมสี่ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคล ผู้มีปรกติกราบไหว้, มีปรกติอ่อนน้อม (ต่อผู้ใหญ่) เป็นนิตย์ ๚๛

พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ

63


เนื่องจากหนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์ ด้วยสีเดียว ถ้าท่านใดสนใจสามารถ เยี่ ย มชมผลงานร่ ว มแสดงทั้ ง หมด ได้ที่เว็บไซต์นิทรรศการ www.jitdrathanee.com/ rebirth/2012

จ�ด .

ก ิด

นิทรรศการครั้งนี้ มีทั้งผลงาน จิตรกรรมและประติมากรรม ร่วมแสดง กว่า ๙๔ ชิ้น เป็น ผลงานของศิลปิน มืออาชีพและมือสมัครเล่น ผลงาน จิตรกรรมส่วนใหญ่เป็นผลงานลายเส้น ขาวด�ำ แต่ผลงานบางส่วนเป็นภาพสี

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

ผลงานศิลปะ WOR K OF A RT


และแต่ละท่านยังเป็นก�ำลังส�ำคัญ ในการให้ความรูเ้ ป็นวิทยาทาน โดยไม่ เคยหวงวิชา แก่สมาชิกในกลุ่ม “วาด เล่นๆ กับ จิด.ตระ.ธานี” ที่ส่งผลงาน ร่วมแสดงในครั้งนี้ด้วย

66

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

ศิลปินรับเชิญทัง้ ๘ ท่าน ล้วนมีผล งานเป็นทีป่ ระจักษ์ ด้วยฝีไม้ลายมือชัน้ ครูในระดับต้นๆ ของประเทศไทย หลาย ท่านยังเป็นครูบาอาจารย์ ที่ถ่ายทอด ความรู้ให้แก่ศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

ศิลปินรับเชิญ I N V I T E D A RT I STS

อนุเทพ พจน์ประสาท สุดสาคร บุษบก ภูษิต กาญจนศิริปาน ผศ. สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์ ยุทธนา วิวัฒน์เดชากุล พรรษา สุนาวี ธณาเศรษฐ์ ศิรอภิวัลย์ ชัชวาล รอดคลองตัน


อนุเทพ พจน์ประสาท (ครูกบ) An u t h e p Pojpras at ( Mas ter G ob)

๒๕ กรกฎาคม ๒๕๐๖ , จ.กรุงเทพฯ ปริญญาตรี (จิตรกรรมไทย) วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อาชีพ : ครูช่าง / ศิลปินอิสระ

จ�ด .

เ ี ต ร ะ. ธ า น

แนวความคิด พระพุทธเจ้าทรงชนะพญานันโทปนันทนาคราช

68

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

นันโทปนันทนาคราช : Nandopanada Naga 42 x 29.7 cm. วาดเส้นดินสอด�ำบนกระดาษ : Drawing on paper


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

69


พระพิราพ : Phra Pirab | 37 x 55 cm. วาดเส้นดินสอด�ำบนกระดาษ : Drawing on paper

70

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”


หนุมาน : Hanuman 30 x 40 cm. วาดเส้นดินสอด�ำบนกระดาษ : Drawing on paper 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

71


นางอากาศตะไล : Nang A-gard Ta Lai | 30 x 10 cm. วาดเส้นดินสอด�ำบนกระดาษ : Drawing on paper

72

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”


พระพิฆเนศทรงเครื่อง : Ganesh | 30 x 23 x 80 cm. ขี้ผึ้งต้นแบบ ส�ำหรับหล่อโลหะ : Original wax model 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

73


74

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

จ�ด .

เ ี ต ร ะ. ธ า น

หัวโขน “อสุรผัด” : Khon Mask, Asurapat | 31 x 30 x 34 cm. ช่างสิบหมู่ เขียนสี ปิดทอง : Unique traditional Thai techniques


ิ๑

ด จุต

หัวโขน “มัจฉานุ” : Khon Mask, Matchanu | 31 x 30 x 34 cm. ช่างสิบหมู่ เขียนสี ปิดทอง : Unique traditional Thai techniques 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

75


สุดสาคร บุษบก S u ds a k h or n B us abok

๒๐ มิถุนายน ๒๕๐๔ , จ.ขอนแก่น ปวส. (จิตรกรรมไทย) วิทยาลัยเพาะช่าง ปริญญาตรี (นิเทศศาสตร์, สื่อสิ่งพิมพ์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อาชีพ : ช่างเขียนโบสถ์

แนวความคิด นางกินรีรื่นเริงในสวนขวัญ

76

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

กินรี : Kinnaree 42 x 29.7 cm. วาดเส้นดินสอด�ำบนกระดาษ : Drawing on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

77


ภูษิต กาญจนศิริปาน Pu s i t K a rnchanas ir ipan

๒๙ ตุลาคม ๒๕๑๓ , จ.สมุทรปราการ ปริญญาตรี (จิตรกรรมไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร อาชีพ : ธุรกิจส่วนตัว / ศิลปินอิสระ

แนวความคิด ข้าพเจ้ามีความรักในงานศิลปะ โดยเฉพาะ ศิลปะไทย ข้าพเจ้ามีโอกาส ได้รู้จักคุณธานี จากเว็บไซต์ จิด.ตระ.ธานี ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เข้าไปเยี่ยมชม และทักทาย ก็รู้สึกชื่นชมคุณธานี ในหลายๆ ส่วน เมื่อคุณธานี ชวนแสดงผล งาน ข้าพเจ้ามีความรูส้ กึ ยินดีเป็นอย่างยิง่ แต่กไ็ ม่รจู้ ะเขียนอะไรดี เพราะห่าง เหินจากการขีดเขียนมานาน งานนี้ถือว่า ข้าพเจ้ามีโอกาสได้พบปะเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่มีความรัก ในงานศิลปะไทยร่วมกัน ดังนั้นข้าพเจ้าจึงน�ำเสนอภาพ “พระพุทธเปิดโลก” เปรียบเสมือนเป็นสิริมงคล ในการเปิดโลกทัศน์ให้แก่ข้าพเจ้า ในอีกมุมหนึ่ง ที่ห่างหายไป ถือเป็นการเริ่มต้นใหม่ในงานอันเป็นที่รัก

78

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

พระพุทธเปิดโลก : Miracle of the Lord Buddha 37 x 55 cm. วาดเส้นดินสอด�ำบนกระดาษ : Drawing on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ด จุต

ิ๑


เยาวคเณศ : Young Ganesh 74 x 55 cm. วาดเส้นดินสอด�ำบนกระดาษ : Drawing on paper แนวความคิด เห็นผลงานของครูกบ (อนุเทพ พจน์ประสาท) ในเว็บ ก็เลยได้แรงบันดาล ใจมาสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้

80

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”



สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์ S u wat S aenk at t iyarat

๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ , จ.เชียงราย ปริญญาตรี (จิตรกรรมไทย) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ปริญญาโท (ทัศนศิลป์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร อาชีพ : อาจารย์มหาวิทยาลัย / ศิลปินอิสระ

แนวความคิด ในพระไตรปิฎกเล่ม ๓๓ กล่าวถึงอดีตพระพุทธเจ้าชือ่ “สุเมธะ” พระองค์ ประสงค์ความสงัด จึงเสด็จไปป่าหิมพานต์

82

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

เสด็จแดนหิมพานต์ : Sumedha Buddha travels to Himavanta forest 60 x 80 cm. สีอะคริลิกบนผ้าใบ : Acrylic on canvas

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ด จุต

ิ๑


แนวความคิด นกหัสดีลิงค์ เป็นตัวแทนแห่งความดีงาม อาศัยอยู่ในอุตตรกุรุทวีป ข้าพเจ้าจึงน�ำมาเป็นสัญลักษณ์แทนความดี จึงน�ำมาเป็นแรงบันดาลใจใน การสร้างสรรค์ผลงาน เพือ่ ให้ผคู้ นระลึกถึงการท�ำความดีเพือ่ ไปสูส่ ถานที่ ทีด่ ี

84

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

นกหัสดีลิงค์ : Husadiling Bird 31 x 37 cm. วาดเส้นปากกา ปิดทองค�ำเปลวบนกระดาษ Pen drawing & Gold leaf on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ด จุต

ิ๑


ยุทธนา วิวัฒน์เดชากุล Yu t t h a n a Wiwatdachakul

๒๙ กรกฎาคม ๒๕๑๔ , จ.กรุงเทพฯ ปวช. วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร ปริญญาตรี (ศิลปกรรมศาสตร์, จิตรกรรม) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อาชีพ : ครูประจ�ำโรงเรียนจิตรลดา / ศิลปินอิสระ

จ�ด .

เ ี ต ร ะ. ธ า น

แนวความคิด การเกิดแห่งพุทธศาสนา คือการเกิดแห่งภูมปิ ญ ั ญาความงามในศิลปะไทย

86

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

การเกิดแห่งพุทธะ : Birth of Buddha 90 x 63 cm. วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

87


จ�ด .

เ ี ต ร ะ. ธ า น

แนวความคิด ประติมากรรมไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นสิง่ ซึง่ ควรค่าแก่การเรียนรู้

88

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

พระพิราพ : Phra Pirab 30 x 30 cm. หล่อซีเมนต์เทียม : Artificial Stone


ด จุต

ิ๑


พรรษา สุนาวี Pa n s a S unavee

๒๖ กรกฎาคม ๒๕๑๕ , จ.สระบุรี ปวส. (จิตรกรรมไทย) วิทยาลัยเพาะช่าง ปริญญาตรี (คณะมนุษย์ศาสตร์, เอกปรัชญา) มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง อาชีพ : ธุรกิจส่วนตัว / ศิลปินอิสระ

จ�ด .

เ ี ต ร ะ. ธ า น

แนวความคิด อย่าปล่อยให้ตวั เองตกอยูใ่ นวงล้อมของก�ำแพงแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน

90

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

ก�ำแพง (นกสดายุ) : The Wall (Sadayu Bird) 36 x 36 cm. ดินสอ, ปากกาลูกลื่น บนกระดาษ : Pen & pencil drawing on paper


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

91


ก�ำแพง (ครุฑ) : The Wall (Garuda) 36 x 36 cm. ดินสอ, ปากกาลูกลื่น บนกระดาษ : Pen & pencil drawing on paper แนวความคิด อย่าปล่อยให้ตวั เองตกอยูใ่ นวงล้อมของก�ำแพงแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน

92

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”



ธณาเศรษฐ์ ศิรอภิวัลย์ Ta n a s a de S il aaphiwon

๓ กรกฎาคม ๒๕๑๑ , จ.กรุงเทพฯ วิทยาลัยในวัง (ชาย) จิตรกรรมไทยประเพณี ปริญญาตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ภาพพิมพ์ : เกียรตินิยมอันดับ ๒) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาชีพ : ธุรกิจส่วนตัว / ศิลปินอิสระ

แนวความคิด ต้นไม้มีชีวิต มองต้นไม้สะท้อนเรื่องราวต่างๆ ความทุกข์ความสุข ความ สงบนิ่ง เรื่องราวต่างๆ มากมายบันทึกอยู่ในต้นไม้อย่างเงียบๆ

94

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

สาละ : Cannonball Tree 56 x 75 cm. หมึกด�ำบนกระดาษ : Ink on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ด จุต

ิ๑


ชัชวาล รอดคลองตัน Ch atc h awan Rodkl ongt an

๔ มิถุนายน ๒๕๑๗ , จ.กรุงเทพฯ ปวส. (จิตรกรรม) วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ ปริญญาตรี (จิตรกรรม) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี อาชีพ : ศิลปินอิสระ

แนวความคิด พระโพธิสัตว์ที่จะทรงมาตรัสรู้ธรรม เป็นพระศาสดา สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป จนสิ้นภัทรกัป

96

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

พระศรีอริยเมตไตรย์ : Phra Sri Ariya Metteyya 50 x 70 cm. สีพาสเทลบนกระดาษ : Pastel on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

97


98

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

จ�ด .

พระพุทธอัษฎางกูรธร : Assadangkuldhorn Buddha 53 x 35 cm. | หล่อส�ำริด : Bronze

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

พระพุทธหทัยวัตถุ : Hataiyawattu Buddha 22 x 55 cm. | หล่อส�ำริด : Bronze 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

99


ผลงาน ๘ รูปสุดท้าย เป็นภาพจาก ชุด “จิด.ตระ.ธานี วาดน�ำ้ ท่วม ๒๕๕๔” ทีผ่ มวาดไว้ ในช่วงทีป่ ระเทศไทยเกิดมหา อุทกภัยครั้งใหญ่ ปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๔

100

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

หนังสือเล่มนี้ รวบรวมผลงานวาด เส้นด้วยพู่กันของผมเพียงบางส่วน จากที่ร่วมแสดงในนิทรรศการทั้งหมด กว่า ๓๐ ภาพ แต่ละภาพล้วนสะท้อน อารมณ์ความรูส้ กึ ของผม ณ ขณะเวลา นั้นๆ บางรูปได้แนวความคิดมาจาก เรือ่ งราวในคัมภีรท์ างพระพุทธศาสนา บางรูปก็สะท้อนแนวความคิดเฉพาะที่ เป็นปัจเจกบุคคล

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

จิด.ตระ.ธานี JI T DR AT H A N E E

ธานี ชินชูศักดิ์


จิด.ตระ.ธานี (ธานี ชินชูศักดิ์) J i tdrat h a nee ( Thanee Chinchus ak)

๒๖ กรกฏาคม ๒๕๑๕ , จ.อุทัยธานี ปวส. (ศิลปะไทย) วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร ปริญญาตรี (จิตรกรรมไทย) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี อาชีพ : ศิลปินอิสระ

แนวความคิด พระโพธิสัตว์พระองค์สุดท้าย ที่จะเสด็จลงมาตรัสรู้เป็น พระสัมมาสัม พุทธเจ้าในภัทรกัป ต่อจากพระสมณโคดม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)

102

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

พระมหาโพธิสัตว์ ศรีอริยเมตไตรย์ Phra Maha Bodhisattva, Sri Ariya Metteyya 50 x 65 cm. วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

103


นอบน้อมสาธุการ : Paying respect to the Lord Buddha 50 x 65 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper

104

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”


มหาพรหมา : Maha Brahma | 50 x 65 cm. วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

105


ทิวา : Day (Solar deity)| 50 x 65 cm. วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper

106

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”


ราตรี : Night (Lunar deity) | 50 x 65 cm. วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

107


เกิด จุติ ๑ : The Cycle of Rebirth I 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper

108

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”


เกิด จุติ ๒ : The Cycle of Rebirth II 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

109


เกิด จุติ ๓ : The Cycle of Rebirth III 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper

110

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”


เกิด จุติ ๔ : The Cycle of Rebirth IV 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

111


เกิด จุติ ๕ : The Cycle of Rebirth V 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper

112

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”


เกิด จุติ ๘ : The Cycle of Rebirth VIII 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

113


เกิด จุติ ๙ : The Cycle of Rebirth IX 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper

114

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”


เกิด จุติ ๑๓ : The Cycle of Rebirth XIII 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

115


เกิด จุติ จ.๓ : The Cycle of Rebirth S.III 32 x 24 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper

116

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”


เกิด จุติ จ.๙ : The Cycle of Rebirth S.IX 32 x 24 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

117


เกิด จุติ จ.๘ : The Cycle of Rebirth S.VIII 32 x 24 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper

118

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”


เกิด จุติ จ.๑๒ : The Cycle of Rebirth S.XII 32 x 24 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

119


ผลงานชุด “จิด.ตระ.ธานี วาดน�้ำ ท่วม ๒๕๕๔” เป็นภาพวาดเส้นด้วยพูก่ นั ทีผ่ มวาดไว้ ระหว่างการอพยพหนีมหา อุทกภัยครัง้ ใหญ่ ช่วงนัน้ ผมไม่สามารถ จะท�ำอะไรเพื่อระบายความเครียด ได้ ดีไปกว่าการวาดรูป เพือ่ สะท้อนความ รู้สึกกดดันของตัวเองออกมา

ถ้าท่านสนใจภาพต้นฉบับ สามารถ ดาวน์โหลดฟรีได้ที่ www.jitdrathanee.com/Galleries

120

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

ภาพชุดนี้ผมเคยท�ำเป็นสมุดภาพ อิเล็กทรอนิกส์ (E-book) ให้ดาวน์โหลด ผ่านเว็บไซต์ จิด.ตระ.ธานี นานแล้ว แต่ ภาพทีต่ พี มิ พ์ลงในหนังสือเล่มนี้ ผมได้ ตกแต่งพื้นหลังให้ดูคล้ายกับภาพเก่า

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ด จุต

ิ๑


น้องน�้ำ ไม..? รุนแรงจัง : Water fiercely . . . 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper

122

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”


เพลาๆ หน่อยก็ได้ท่าน : Treat me softly 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

123


น�้ำท่วม...ใครว่าดีกว่าฝนแล้ง : What is worst..? (Drought or Flood) 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper

124

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”


เอาอยู่..? ? : Can we handle it ? 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

125


ราษฎร์โศก : Victim 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper

126

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”


ครุ่นพินิจหลังน�้ำลด : Aftermath 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

127


พิลาปร�ำพัน : Our tragedy 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper

128

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”


นิราศน้องน�้ำ : Poetry of the water. . . 42 x 30 cm. | วาดเส้นพู่กันบนกระดาษ : Brush drawing on paper 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

129


กลุม่ “วาดเล่นๆ กับ จิด.ตระ.ธานี” เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ที่รักการ วาดภาพจิตรกรรมไทยแนวประเพณี จากเว็บไซต์ชื่อเดียวกัน ซึ่งมีหลาก อายุ หลายอาชีพ หลากสถาบัน และ มีภูมิล�ำเนาอยู่ในหลายจังหวัดของ ประเทศไทย สมาชิกส่วนใหญ่เป็นมือ สมัครเล่น อีกส่วนเป็นสมาชิกที่มีผล งานในระดับมืออาชีพ หลังจากที่รู้จักกันผ่านเว็บไซต์มา นานกว่า ๕ ปี โดยไม่เคยเห็นหน้าค่า ตากันมาก่อน ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรก ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่ม ส่งผล งานมาจัดแสดงร่วมกับศิลปินไทยมือ อาชีพ และยังได้ท�ำบุญร่วมกันอีกด้วย www.jitdrathanee.com/Learning

และเพื่อเป็นการน้อมระลึกบูชา เนื่องในวาระ “พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ธรรม” ขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่จัดแสดงผลงานร่วมกันอีกด้วย

130

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

ภาพวาดของสมาชิกส่วนใหญ่ สะท้อนคติ แนวคิดในพระพุทธศาสนา ตามระดับความเข้าใจของแต่ละคน

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

กลุ่ม วาดเล่นๆ กับ จิด.ตระ.ธานี JI T DR AT H A N E E FUN LE A R N I N G COMMUN I T Y

จิรพันธุ์ สัมภาวะผล นิศิษย์ ฤทธิเวช สิรวิชญ์ จตุรภัทรานนท์ อรรถนิติ ลาภากรณ์ ชนะภัย เทาศิริ, พลวัฒน์ ภาเรือง เทอดสิทธิ์ พันธุ์ทองค�ำ ธีรวัฒน์ ภาคีพร, วิวัฒน์ งามสัจจพร กฤษณ์ นาทีทิพย์, กิตติพงษ์ ทุมกิ่ง เกรียงกมล นาคบางแก้ว กิติพงษ์ กล�่ำกองกูล นิธินันท์ วัลลจารุสิทธิ์ บรรยงค์ ศรีประทุม, มติกร ยุระตา มนัสศักดิ์ จันประดับ ภูรวี สมฤดี, อิสรพงษ์ ใจค�ำ ธวัชชัย ค�ำนนท์ใส อภิเดช ศิริบุรี, เสรี เจริญชัย มงคล โรจนวิสุทธิกุล นพพล นุชิตประสิทธิชัย ธรรมรัตน์ กังวาลก้อง ธราธร แก้วโสนด, เสาวณีย์ ชูจั่นหรุ่ม


จิรพันธุ์ สัมภาวะผล Ch i ra ph a n S ampawapon

สมาชิกหมายเลข

๑๗ มีนาคม ๒๕๓๐ , จ.ระยอง ปวส. (ไฟฟ้าก�ำลัง) โรงเรียนเทคโนโลยีไออาร์พีซี (ทีพีไอ) อาชีพ : ช่างไฟฟ้า บริษัท อูเบะ เคมิคอลส์ เอเชีย จ�ำกัด อริยสัจจะ : Ariyasacca (The Four Noble Truths) 42 x 29.7 cm. วาดเส้นปากกาบนกระดาษ : Drawing on paper กลางภาพ ปลาทั้ง ๔ ที่ว่ายวนอยู่นั้น อุปมาดั่งวัฏสงสาร คือมีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ซึ่งการว่ายวนในสังสารวัฏนี้ล้วนเป็น “ทุกข์” เทียนฝัง่ ซ้าย ทีม่ เี ปลวไฟลุกโชน อุปมาดัง่ สรรพชีวติ เมือ่ เกิดขึน้ ย่อมมีไฟแห่งตัณหา ราคะ อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ทว่าเปลวไฟนี้ หาได้เป็นเปลวไฟที่จะส่องสว่างให้กับชีวิต แต่กลับท�ำให้ชีวิตนั้นหม่นหมอง ภาพนี้จึงอุปมาดั่ง “สมุทัย” นั่นเอง... เทียนฝั่งขวา ที่ดับลง และมีรังสีที่สงบนิ่งนั้น อุปมาดั่ง “นิโรธ” คือการดับทุกข์ ดับ กิเลส ทุกข์กิเลสตัณหาอุปาทานทั้งหลายเมื่อดับลง ย่อมบังเกิดความนิ่ง ความสงบ... ด้านล่างของภาพ ชนผูเ้ จริญสติ ด้านหลังกอปรด้วยกระหนกแบ่งเป็น ๘ แถว อุปมา ดั่ง “มรรค” คือการดับทุกข์ มรรคมีองค์ ๘ มรรคนี้ควรปฏิบัติ ควรท�ำให้มีขึ้น ด้วยการ เจริญสติปัฏฐาน อันมีศีล สมาธิ และปัญญา เป็นปฐม และภาพบนสุด เทวดา นางฟ้าที่กระท�ำการอัญชลี ทิพยวิมานที่ว่างเปล่า อุปมา ดั่ง การไม่มีตัวตน การหลุดพ้น เป็นสิ่งอันประเสริฐสุด

132

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

แนวความคิด

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

133


นิศิษย์ ฤทธิเวช N i s i t R i t t iwe d

สมาชิกหมายเลข

๑๔ กันยายน ๒๕๒๕ , จ.ปทุมธานี ปริญญาตรี คณะศิลปกรรม (เอกช่างทองหลวง) กาญจนาภิเษกวิทยาลัย ช่างทองหลวง อาชีพ : เจ้าหน้าที่โครงการวิจัย ในพระบรมมหาราชวัง

แนวความคิด อุปมา ความติด ความจมของชีวติ คือติดในกิเลส ติดในตัวกูของกู จมอยู่ ในความทุกข์ เหมือนดังช้างติดจมเลน เลื่อยติดไม้ พระโยคาวจรผู้มีปัญญา มองเห็นความจริงในรูปนี้แล

134

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

ความติดความจม : Ignorance 28 x 60 cm. วาดเส้นพู่กันบนกระดาษข่อย : Brush drawing on khoi paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ด จุต

ิ๑


สิรวิชญ์ จตุรภัทรานนท์ S i raw i t Chat urapat t aranon

สมาชิกหมายเลข

๑๑

๘ มิถุนายน ๒๕๔๓ , จ.ระยอง โรงเรียนธัมมสิริศึกษา สัตหีบ อาชีพ : ก�ำลังศึกษาอยู่

แนวความคิด ภาพนี้ผมสื่อถึงเจ้าชายสิทธัตถะตัดสินใจออกผนวช ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ของการเป็นพระพุทธเจ้าครับ

136

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ : The Great Renunciation of Buddha 42 x 29.7 cm. วาดเส้นดินสอด�ำบนกระดาษ : Drawing on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

137


อรรถนิติ ลาภากรณ์ Ar t h a n i t i Lapakor n

สมาชิกหมายเลข

๑๕

๗ สิงหาคม ๒๕๒๒ , จ.ลพบุรี ปริญญาตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ (เอกจิตรกรรมไทย) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี (คลอง ๖) อาชีพ : ศิลปินอิสระ

แนวความคิด พระพุทธองค์ทรงพิจารณา บุคคลในโลกนี้เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ด้วยพระปรีชาญาณ ก็ทรงอธิษฐานว่าจะแสดงธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ และ ตั้งพุทธปณิธานที่จะด�ำรงพระชนม์อยู่ จนกว่าจะได้อยู่ประกาศพระพุทธ ศาสนา ให้แพร่หลายส�ำเร็จประโยชน์แก่ชนทุกหมู่เหล่า (จริงๆ เป็นตอน ขณะที่พระพุทธเจ้า ประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นไทร แต่ผมเขียนเป็นต้น โพธิ์ เพราะสื่อถึงอริยสัจ ด้วยเพราะอริยสัจเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า ผมต้องการสื่อถึงธรรม เลยไม่ได้เน้นสถานที่จริงตามพุทธประวัติครับ)

138

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

พระพุทธเจ้าปางร�ำพึง : Consideration of the Lord Buddha 42 x 29.7 cm. วาดเส้นปากกาบนกระดาษ : Pen drawing on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ด จุต

ิ๑


จ�ด .

เ ี ต ร ะ. ธ า น

แนวความคิด สันดุสิตเทพบุตรได้จุติมายังโลกมนุษย์ เพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

140

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

จุติแห่งสันดุสิตเทวบุตร : The Incarnation of Sundusit Devabutra 42 x 29.7 cm. | วาดเส้นปากกาบนกระดาษ : Pen drawing on paper


ิ๑

ด จุต

พุทธปาฏิหาริย์ : The Miracle of Buddha 42 x 29.7 cm. | วาดเส้นปากกาบนกระดาษ : Pen drawing on paper แนวความคิด ครั้งเมื่อเกิดอุทกภัยน�้ำท่วมใหญ่ พวกชฎิลเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าจมน�้ำเสียแล้ว ต่างลงเรือพาย มาดู ก็เห็นพระพุทธเจ้าเดินจงกรมอยู่ภายใต้ท้องน�้ำ โดยน�้ำได้เว้นพื้นที่ ที่พระพุทธองค์ทรงประทับ เดินจงกรมไว้ ท�ำให้พวกชฎิลเห็นเป็นอัศจรรย์ แห่งพุทธปาฏิหาริย์ในครั้งนั้น 1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

141


ชนะภัย เทาศิริ Ch a n a pa i Taos ir i

สมาชิกหมายเลข

๓๘

๗ ตุลาคม ๒๕๒๕ , จ.อุบลราชธานี ปริญญาตรี เกษตรศาสตรบัณฑิต (การจัดการการเกษตร, การผลิตสัตว์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อาชีพ : ช่างเขียนโบสถ์

แนวความคิด มรณะเตือนสติตั้งมิพลั้งจิต เพียรเพ่งพิศแผดเผาฆ่าอัตตาสลาย เร่งเรียนเถิดวิชาตายก่อนตาย พ้นเวียนว่ายสู่วิมุตติหลุดพ้นเอย

142

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

มรณสติ : Mindfulness of death 42 x 59.4 cm. วาดเส้นพู่กันบนผ้าใบ : Brush drawing on canvas

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

143


พลวัฒน์ ภาเรือง Ph o n l awat Pharuang

สมาชิกหมายเลข

๔๖

๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙ , จ.อุบลราชธานี โรงเรียนวารินช�ำราบ (วิทย์-คณิต) อาชีพ : ก�ำลังศึกษาอยู่ ศรัทธาแห่งชีวิต : Faith 39 x 26 cm. วาดเส้นพู่กันบนแผ่นไม้อัด : Brush drawing on plywood

ภาพชิ้นนี้ผมได้สร้างขึ้น เพื่อส่งเข้าร่วมแสดงในนิทรรศการ “จิด-ตระ-ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น” ได้แรงบันดาลใจมาจากชีวิตของมนุษย์ ที่มีการเกิดแก่เจ็บตาย ดอกบัวทั้งสี่ดอก ที่วาด เปรียบกับชีวิตของมนุษย์ ย่อมมีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย ไม่จีรัง ดวงแก้วที่มี ประกายไฟลุกไหม้ ทีอ่ ยูบ่ นดอกบัวทัง้ หกดอก ก็เปรียบกับสังขารของมนุษย์เมือ่ เกิดมา ก็เหมือนกับการเริม่ ติดไฟให้สว่าง เมือ่ เวลาล่วงเลยผ่านไป ไฟก็เริม่ สว่างน้อยลงจนดับ ไป ก็เปรียบกับสังขารมนุษย์ เมื่อเกิดมามีชีวิต เป้าหมายเบื้องหน้าก็คือความตายไม่มี ใครหนีพ้น ผมเปรียบต้นโพธิ์ทองเป็นดั่งพระพุทธศาสนา มือทั้งสองข้างเปรียบกับแรง ศรัทธาของผูค้ น ทีม่ ตี อ่ พระพุทธศาสนา ดอกบัวทีเ่ บ่งบานสะพรัง่ ก็เปรียบกับพระพุทธ ศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองไปทั่วหล้า ที่มีผู้คนศรัทธาอย่างล้นหลาม

144

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

แนวความคิด

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

145


เทอดสิทธิ์ พันธุ์ทองค�ำ Te rds i t Puntongkum

สมาชิกหมายเลข

๕๕

๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๘ , จ.กรุงเทพฯ ปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ศิลปศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อาชีพ : ผู้รับเหมาก่อสร้าง

แนวความคิด นาค ศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงแปลงร่างเป็นคนมาบวช (เกิด) เมื่อ หลับใหลกลับร่างเป็นนาค จึงสิ้นสุดเพศบรรพชิต (จุติ) ดั่งเช่นดอกบัวที่โผล่ พ้นน�้ำขึ้นมาได้.. ไม่ช้าไม่นานก็กลายเป็นฝักบัวที่เหี่ยวเฉา

146

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

นาคศรัทธา ๒ : The faith of Naga 2 37.5 x 55.5 cm. วาดเส้นปากกาลูกลื่นบนกระดาษ : Ball pen on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ด จุต

ิ๑


ธีรวัฒน์ ภาคีพร Te e rawat Pakeepor n

สมาชิกหมายเลข

๕๗

๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๕ , จ.พระนครศรีอยุธยา คณะครุศาสตร์ (วิทยาศาสตร์ทั่วไป) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อาชีพ : ก�ำลังศึกษาอยู่

แนวความคิด เนือ่ งจากตอนทีเ่ รียนวิชาวิทยาศาสตร์ ในหัวข้อสิง่ มีชวี ติ ผมได้เรียนเรือ่ ง การถ่ายทอดพลังงาน นั่นก็คือห่วงโซ่อาหาร (The Food Chain) เป็นการ กินต่อกันเป็นทอดๆ โดยที่สัตว์ใหญ่จะกินสัตว์ที่เล็กกว่า ผมจึงนึกถึงเรื่อง เวรกรรม ซึ่งมีส่วนที่เหมือนกันคือ เมื่อเราท�ำอะไรเขาไว้ สุดท้ายเราก็ต้อง โดนกระท�ำเช่นเดียวกัน ซึง่ กรรมนัน้ จะตอบสนองผูท้ กี่ ระท�ำ ไม่วา่ เราจะเป็น ใคร ก็ต้องหนีไม่พ้นกรรมอยู่ดี

148

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

ห่วงโซ่กรรม : The Karma Chain 42 x 59.4 cm. วาดเส้นดินสอด�ำบนกระดาษ : Drawing on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

149


วิวัฒน์ งามสัจจพร Wi wat N g ams ajjapor n

สมาชิกหมายเลข

๕๘

๓๐ กรกฏาคม ๒๕๑๐ , จ.กรุงเทพฯ โรงเรียนโยธินบูรณะ (ศิลป์ภาษา) อาชีพ : ออกแบบกราฟิก

แนวความคิด ภาพนี้แสดงถึงการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดย ใช้สัญลักษณ์ดอกบัวที่พ้นน�้ำ ที่มีการเวียนว่ายตายเกิด คือการหลงอยู่ใน วัฏสงสาร ซึง่ พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ จึงหลุดพ้นจากวัฏฏะและกิเลสทัง้ ปวง

150

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

พ้นวัฏฏะ : Nirvana 40 x 55 cm. วาดเส้นพู่กันบนกระดาษสีทอง : Brush drawing on gold colored paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ด จุต

ิ๑


กฤษณ์ นาทีทิพย์ K ri t N ate et hip

สมาชิกหมายเลข

๖๑

๓๑ กรกฏาคม ๒๕๑๗ , จ.บุรีรัมย์ ปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ออกแบบนิเทศศิลป์) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อาชีพ : ออกแบบกราฟิก

แนวความคิด กิเลสมนุษย์ที่วนเวียนอยู่รอบตัว มีทั้งรูปแบบที่สวยงาม และโหดร้าย ดุจดัง่ สายธาราทีถ่ าโถมเข้ามา ซึง่ จะพานพบได้ทงั้ หมด คือ รูป รส กลิน่ เสียง เปรียบดั่งกิเลสของมนุษย์ ที่ไม่มีที่สิ้นสุดดั่งสายธารา แม้แต่สัตว์ในต�ำนาน อย่างนาคาและนาคี ยังแสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้น

152

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

กิเลส : The passion 42 x 29.7 cm. วาดเส้นดินสอด�ำบนกระดาษ : Drawing on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

153


กิตติพงษ์ ทุมกิ่ง K i t t i po n g Toomking

สมาชิกหมายเลข

๗๐

๑ มกราคม ๒๕๓๓ , จ.นครปฐม ปวส. วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี คณะศิลปวิจิตร (ภาควิชาศิลปะไทย) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ อาชีพ : ก�ำลังศึกษาอยู่

แนวความคิด เมือ่ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประสูตบิ นโลกมนุษย์ ก็เปรียบเสมือน ว่า ประตูเเห่งเเสงสว่างได้เริ่มเเง้มเปิดออก ท�ำให้หมู่มวลมนุษย์เริ่มมองเห็น เเสงเเห่งพระธรรมที่ก�ำลังจะสว่างไสวในอีกไม่ช้า

154

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

ปางประสูติ : Buddha’s birth 42 x 55 cm. วาดเส้นดินสอด�ำบนกระดาษ : Drawing on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

155


แนวความคิด ลายเทพพนม เป็นรูปเเบบลายไทยที่ข้าพเจ้าพบเห็นในชีวิตประจ�ำวัน ตั้งเเต่เด็กจนถึงปัจจุบัน เเละเกิดความรู้สึกชื่นชอบประทับใจในลายไทย ถือได้ว่าเป็นเเรงบันดาลใจเริ่มเเรก ให้เกิดความหลงใหลในงานศิลปะ เเละ เมื่อมีโอกาสได้ปั้นปูนสด จึงอยากสร้างสรรค์งาน ชิ้นเเรกเป็นภาพเทพพนม อย่างที่ตั้งใจไว้

156

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

เทพพนม : Deva 30 x 50 cm. ปั้นปูนสด : Stucco

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

157


เกรียงกมล นาคบางแก้ว K ri e a n gk amon N akbangke aw

สมาชิกหมายเลข

๘๑

๑๓ มีนาคม ๒๕๒๒ , จ.อุตรดิตถ์ ปริญญาตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ (เอกจิตรกรรมไทย) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (คลอง ๖) อาชีพ : ช่างเขียนโบสถ์

แนวความคิด “การชนะสิง่ ใด เปรียบไม่ได้กบั การชนะจิตแห่งตน” เฉกเช่นเดียวกับองค์ พระโพธิสัตว์ ผู้ทรงก้าวข้ามความทุกข์ กิเลส เหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิด อันเกีย่ วเนือ่ งกันเป็นลูกโซ่ไม่มที สี่ นิ้ สุด เมือ่ ชนะจิตมารแห่งตนแล้ว พระองค์ ก็ได้ทรงตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

158

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

พระผู้ชนะจิตแห่งตน : Buddha’s Enlightenment 42 x 59.4 cm. วาดเส้นปากกา/ ดินสอด�ำ/ สีอะคริลิก บนกระดาษ Pen, Pencil & Acrylic on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

159


กิติพงษ์ กล�่ำกองกูล K i t i po n g K l amkongkool

สมาชิกหมายเลข

๘๒

๒๒ พฤษภาคม ๒๕๑๐ , จ.พระนครศรีอยุธยา ปริญญาตรี (นิติศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง อาชีพ : ที่ปรึกษาวางระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์

แนวความคิด “จุติ” คือการตายเพื่อมา “เกิด” แสดงแนวคิดจุติ (ตาย) แล้วก็ต้องผ่าน วิถีแห่งจิต ในการเลือกทางที่เหมาะสม (ดวงแก้วจากปากมารด้านล่าง) โดย มีทั้งพญามาร (ยักษ์ + นาค) และความดี (ครุฑ) คอยเฝ้ามอง และมีพุทธะ อยู่กึ่งกลาง หากเราสามารถหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้ (แทนด้วย สัญลักษณ์รูปดวงแก้วด้านบน)

160

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

จุติ - เกิด : Death - Birth 42 x 59.4 cm. ลายเส้นปากกาหมึกด�ำ ปิดทองค�ำเปลวบนกระดาษ Pen drawing & Gold leaf on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

161


นิธินันท์ วัลลจารุสิทธิ์ N i t i n a n Wanracharus it

สมาชิกหมายเลข

๑๐๐

๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ , จ.กรุงเทพฯ โรงเรียนวัดอินทาราม (ศิลป์-ฝรั่งเศส) อาชีพ : ก�ำลังศึกษาอยู่

แนวความคิด การที่เราพบสิ่งต่างๆ มากมาย ลวดลายต่างๆ ที่เคยผ่านตามา ท�ำให้ เราน�ำลวดลายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นลายใบไม้ ลายเมฆ ที่เราสามารถน�ำมา ปรับเปลี่ยนเป็นลายไทยได้ ท�ำให้เราเกิดความคิดใหม่ๆ ลวดลายใหม่ๆ ที่ แสดงออกถึงตัวเรา

162

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

ครุฑยุดนาค : Garuda & Naga 42 x 29.7 cm. วาดเส้นปากกาด�ำบนกระดาษ : Pen drawing on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

163


บรรยงค์ ศรีประทุม B a nyo n g S r iprat um

สมาชิกหมายเลข

๑๐๓

๑๙ กันยายน ๒๕๐๖ , จ.ชลบุรี วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ (เอกหัตถกรรม) อาชีพ : นักวางแผนการตลาด / นักเขียนอิสระ

ปฏิสนธิ : Rebirth 42 x 59.4 cm. วาดเส้นดินสอด�ำ และเขียนสีบนกระดาษ : Drawing & Paint on paper

พระไตรปิฎกกล่าวถึงความยากของการเกิดเป็นมนุษย์ ทีม่ โี อกาสเท่ากับเต่าตาบอด ว่ายเข้าลอดรูแอก (แอกเกวียน) ที่ล่องลอยอยู่ในมหาสมุทร แต่ในความจริงของแอก แล้ว เป็นอีกนัยหนึ่งของวัฏสังสาร อันมีฐานคือตัณหากับอุปาทาน (งูกินหาง) นี่แหละ ที่เป็นแอกกดทับดวงจิตดั้งเดิม ที่มีลักษณะพิศุทธิ์ ดังนั้นภาพนี้เป็นการชี้ชวนให้เห็น ประโยชน์ของการเกิด ให้มองเห็นจิตพิศุทธิ์ แล้วมองให้เห็นรากเหง้า เพื่อลอดรูแอก สู่หนทางแห่งโลกุตระ แทนที่จะเป็นเต่าตาบอด โดยที่ต้องแบกกระดองที่ประกอบด้วย “ผัสสะทั้ง ๖” (ชิ้นกระดอง ๖ เหลี่ยม) อันเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหาและอุปาทาน รวม เป็นความปรารถนาจะเกิด เป็นคติให้เพ่งมองการเกิดหรือปฏิสนธิ ให้เป็นพุทธะแทน ราคะนั่นเอง

164

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

แนวความคิด

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

165


มติกร ยุระตา M at i ko r n Yurat a

สมาชิกหมายเลข

๑๐๕

๑๙ สิงหาคม ๒๕๓๗ , จ.เชียงใหม่ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม อาชีพ : ก�ำลังศึกษาอยู่

แนวความคิด มหาบุรุษได้ตัดสินใจที่จะออกบวช ละทิ้งจากกิเลส ปลงซึ่งเส้นพระ เกศา สลัดทิ้งจากสังสารวัฏ ด้วยมหาบารมีที่ได้สะสมมาแล้วในอดีตชาติ จึงปลดเปลื้องในสัญญา ทุกขเวทนาทั้งหลาย เข้าสู่มหาสมณเพศ เพื่อถึงที่ สุดแห่งอริยสัจ

166

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

ตัดออกจากสังสารวัฏ : Separating from transmigration 42 x 59.4 cm. วาดเส้นปากกาบนกระดาษ : Pen drawing on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

167


มนัสศักดิ์ จันประดับ M a n a s s a k J anpradab

สมาชิกหมายเลข

๑๐๖

๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ , จ.อุดรธานี ปริญญาตรี (เทคโนโลยีไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อาชีพ : ครูช่าง วิทยาลัยเทคโนโลยีเลิศสหพันธ์ จ.อุดรธานี

แนวความคิด การร่วมเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ธรรม และ ประกาศพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึง่ ให้รำ� ลึกถึง พระพุทธ คุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ที่มีพระกรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ตลอด สามแดนโลกธาตุ ให้ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมค�ำสอนเพื่อแสวงหาความ หลุดพ้น ที่ยากจะเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง ในสังสารวัฏอันยาวไกลนี้

168

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

พุทธบารมีชยันตีศรีอุดร : Buddha Jayanti Sri Udon 42 x 59.4 cm. สีน�้ำบนกระดาษ : Water color on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

169


ภูรวี สมฤดี Ph u rav i S omrue dee

สมาชิกหมายเลข

๑๐๗

๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ , จ.กรุงเทพฯ คณะศิลปวิจิตร (ภาควิชาศิลปะไทย แขนงวิชาจิตรกรรมไทย) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ อาชีพ : ก�ำลังศึกษาอยู่

แนวความคิด ข้าพเจ้าได้แรงบันดาลใจ จากภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณ ที่เขียนเล่า เรื่องมหาชาติ (มหาเวสสันดรชาดก) ซึ่งเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะตรัสรูเ้ ป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกัณฑ์ ฉกษัตริย์ คือเป็นตอนทีพ่ ระ เวสสันดร เสด็จกลับสู่แคว้นสีวีราษฎร์ ยังเกิดความปลื้มปิติยินดี จนกลั้นน�้ำ พระเนตรของพระราชบิดา และพระราชมารดาของพระองค์ เอาไว้ไม่ได้ ที่ พระราชโอรส พระสุณิสา แลพระราชนัดดาทั้งสอง จากลาทั้งสองพระองค์ ไปเป็นเวลานานหลายปี ได้กลับสู่บ้านเมืองอีกครั้ง

170

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

ปีติยินดีหลังจากลาไป : Returning to Happiness 42 x 29.7 cm. วาดเส้นดินสอด�ำบนกระดาษ : Drawing on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

171


ธวัชชัย ค�ำนนท์ใส Th awatc hai Kumnons ai

สมาชิกหมายเลข

๑๒๙

๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๓ , จ.ร้อยเอ็ด คณะศิลปกรรมศาสตร์ (เอก ศิลปะไทย) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คลอง ๖ อาชีพ : ก�ำลังศึกษาอยู่

แนวความคิด ข้าพเจ้าได้พบเห็นสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว ที่ได้เสื่อมสลายและผุพังไปตาม กาลเวลา จึงได้สร้างสรรค์เป็นผลงานชิ้นนี้ขึ้นมา

172

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

กาลเวลา : Time 100 x 70 cm. วาดเส้นบนกระดาษ : Drawing on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

173


อภิเดช ศิริบุรี Aph i de t S ir ibure e

สมาชิกหมายเลข

๑๓๐

๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔ , จ.มหาสารคาม คณะศิลปกรรม (จิตรกรรมไทย) วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อาชีพ : ก�ำลังศึกษาอยู่

จ�ด .

เ ี ต ร ะ. ธ า น

แนวความคิด แสงสว่างแห่งพระธรรม ส่องน�ำทางนันโทปนันทะไปสู่เส้นทางที่ถูกต้อง

174

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

นันโทปนันทะ : Nandopanada Naga 59.4 x 84 cm. วาดเส้นปากกาบนกระดาษ : Pen drawing on paper


ด จุต

ิ๑


เสรี เจริญชัย S e re e Ch aroe nchai

สมาชิกหมายเลข

๑๓๒

๒๗ ตุลาคม ๒๕๐๙ , จ.นครปฐม โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม อาชีพ : ธุรกิจส่วนตัว

แนวความคิด จากการที่ได้วาดงานไทยอยู่บ่อยๆ ท�ำให้รู้สึกมีความสุข ท�ำให้เรานิ่งขึ้น สงบขึ้น ไม่สนใจในสิ่งที่จะมากระทบจิตใจได้มากขึ้น เลยเอาแนวคิดง่ายๆ นี้มาประกอบกับหลักค�ำสอนของพระพุทธเจ้า มาเขียนเป็นงานชิ้นนี้ เป็น แนวคิดตามความเข้าใจของผม ที่คนเราตั้งมั่นอยู่ในสมาธิ ไม่ไหวหวั่นต่อสิ่ง รอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นกิเลส สุรา นารี ความโกรธ คนคอยใส่ร้ายทิ่มแทงเรา การนินทาว่าร้าย การใส่หัวโขนเข้าหากัน แล้วย่อมพบกับความสุขที่แท้จริง

176

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

ความสงบ : Peaceful 42 x 59.4 cm. วาดเส้นพู่กันบนผ้ายืดผสมยาง : Brush drawing on stretch fabric

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

177


มงคล โรจนวิสุทธิกุล M o n gko l Rojjanaw is ut t hikun

สมาชิกหมายเลข

๑๓๓

๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ , จ.กรุงเทพฯ คณะศิลปกรรม (สาขาจิตรกรรม) วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อาชีพ : ก�ำลังศึกษาอยู่

แนวความคิด ผมต้องการน�ำเสนอสาระทางพระพุทธศาสนา จากผลไปหาเหตุปัจจัย โดยผ่านสัญลักษณ์ทางรูปธรรมที่ชวนให้ฉุกคิด

178

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

อวิชชา : Ignorance 150 x 155 cm. เครยองบนผ้าใบ : Crayon on canvas

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

179


นพพล นุชิตประสิทธิชัย No ppo n N uchit pras it t ichai

สมาชิกหมายเลข

๑๓๔

๓๑ ตุลาคม ๒๕๓๓ , จ.นครปฐม คณะศิลปกรรม (จิตรกรรมไทย) วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อาชีพ : ก�ำลังศึกษาอยู่

แนวความคิด พระมหาบุรุษทรงบ�ำเพ็ญเพียร เพื่อแสวงหาหนทางที่จะหลุดพ้นจาก ไตรภูมิ ทรงละทุกอย่างที่จะท�ำให้พระองค์ติดอยู่ในวัฏฏะ เมื่อมหาบุรุษทรง เอาชนะเหล่ามารทั้งปวงแล้ว พระองค์จึงได้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ และ หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง

180

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

ละกิเลส : Free from the Cycle of Rebirth 42 x 59.4 cm. วาดเส้นดินสอโฉบน�้ำสีบนกระดาษ : Drawing & Water color on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

181


เทวาสูรสงคราม ๑ : The war of Deva (Angel) & Asura (Demon) 100 x 200 cm. สีฝุ่นบนผ้าพระบฏ : Tempera on canvas เกิดจากการอ่านวรรณกรรมของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เรือ่ ง “สมบัตอิ มรินทร์ ค�ำกลอน” แล้วเกิดความประทับใจในเนือ้ หาวรรณกรรม และด้วยสังเกตเห็นว่า ต�ำแหน่ง พระอินทร์ ซึ่งเป็นเทวดาที่ใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ต้น เป็นผู้อ�ำนวยความ สะดวกให้กับพระโพธิสัตว์ ตั้งแต่สมัยท่านยังเสวยพระชาติเป็นสัตว์ชนิดต่างๆ จึง เกิดการเชื่อมโยงเนื้อหาในวรรณกรรม ที่กล่าวถึงประวัติของพระอินทร์ จึงเกิดความ ประทับใจ และน�ำมาถ่ายทอดออกเป็นรูปแบบศิลปกรรม

182

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

แนวความคิด

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ด จุต

ิ๑


ธรรมรัตน์ กังวาลก้อง Th a m m a rat K angwankong

สมาชิกหมายเลข

๑๓๖

๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ , จ.นครปฐม ปริญญาตรี คณะศิลปกรรม (ศิลปะไทย) วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อาชีพ : ช่างเขียน

แนวความคิด เป็น ผลงานที่เขียนด้วยความศรัทธาในพุทธศาสนา แสดงประวัติเมื่อ พระพุทธเจ้า ยังเป็นพระโพธิสตั ว์อยูส่ วรรค์ชนั้ ดุสติ เมือ่ สมควรแก่กาลทีต่ อ้ ง ลงมาโปรดสรรพสัตว์ เทวดาทั้งหลายมาทูลเชิญให้จุติ

184

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

อัญเชิญพระสันดุสิตจุติ : The incarnation of Sundusit devabutra 42 x 29.7 cm. วาดเส้นดินสอบนกระดาษ : Drawing on paper

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

185


ธราธร แก้วโสนด Th a rat h o rn K ae w s anod

สมาชิกหมายเลข

๑๓๗

๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ , จ.สระบุรี คณะศิลปกรรม (จิตรกรรมไทย) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (คลอง ๖) อาชีพ : อาจารย์ประจ�ำ วิทยาลัยอาชีวศึกษาลพบุรี

แนวความคิด สมเด็จพระจอมมุนี ทรงผจญกับพญานาคราช นันโทปนันทะผูม้ ฤี ทธิม์ าก แต่เป็นอันธพาล และหลงผิด ทรงโปรดให้พระโมคคัลลานะผู้เป็นพุทธบุตร พิชติ นันโทปนันทะด้วยฤทธิท์ เี่ หนือกว่า ก�ำราบสอนนาคร้ายนัน้ ให้สำ� นึกผิด ในการหลงอ�ำนาจโดยตน

186

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

นันโทปนันทะ : Nandopanada Naga 40 x 60 cm. สีอะคริลิกบนผ้าใบ : Acrylic on canvas

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

187


เสาวณีย์ ชูจั่นหรุ่ม S a owa n e e Chujanroom

สมาชิกหมายเลข

๑๓๘

๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ , จ.กรุงเทพฯ ปริญญาตรี (จิตรกรรมไทย) วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อาชีพ : ช่างเขียนโบสถ์

จ�ด .

เ ี ต ร ะ. ธ า น

แนวความคิด “กมฺมุนา วตฺตตี โลโก” สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรม

188

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

สกุณา : Bird 21 x 29.7 cm. ดินสอด�ำบนกระดาษ : Drawing on paper


ิ๑

ด จุต

1 st Dhamma Art Exhibition: Jitdrathanee The Cycle of Rebirth (Drawing)

189


ขอขอบพระคุณ พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณฺโณ คุณนฤมล พันธ์รัตนมงคล : IMCO PAC K CORP., LTD. ทันตแพทย์หญิง สุนทรี ศักดิ์ทวีกุลกิจ คุณพีรัช จารุโกศล : ATM S G RO UP CO., LTD. คุณชนันญา ประทีปอุษานนท์ : BR AVOA N US CO., LTD. คุณสุปรีย์ ศรีส�ำราญ : FI NE EXIT S TUDIO คุณวัชรพงศ์ ระดมสิทธิพัฒน์ : บริษัท สยามปุระ จ�ำกัด คุณสุวรรณา จิวฒ ั นไพบูลย์ : XONGDUR THAI ORGANIC FOOD CO., LTD. คุณศิติรัตน์ แจ่มสุธี : ร้านวัชราการ จ.ระยอง

ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ : R I VER C IT Y S HO PPIN G C EN TER สื่อมวลชนที่ช่วยประชาสัมพันธ์นิทรรศการ ญาติธรรมที่กรุณาช่วยเหลือวันงาน และร่วมฟังการแสดงธรรม

190

จ�ด .

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

ก ิด

คุณอนุเทพ พจน์ประสาท (ครูกบ) คุณภูษิต กาญจนศิริปาน, คุณชัชวาล รอดคลองตัน (โต้ง) คุณธณาเศรษฐ์ ศิรอภิวัลย์ (ตี่), คุณอรนิศวร์ เพชรวงศ์ศิริ (เอ๋) คุณธรธร สิริพันธ์วราภรณ์ (ผู้ก�ำกับซ้งธ์) คุณพงศ์เพชร อมรสิทธิ์ (ยอด) คุณดุสิต อาวร (มด), คุณอัญชลี เรืองแสง (กิ๊ป) คุณอรรถนิติ ลาภากรณ์ (บิ๊ก), คุณกิติพงษ์ กล�่ำกองกูล (อาร์ท) คุณณัฐนิชา สถิตจินดาวงศ์ (หนูเล็ก) คุณจุฬาลักษณ์ ศรีประเสริฐ (หมุ่ยลักษณ์) คุณธารา แซ่เบ๊ : PH O E N I X G A L L ERY, 4 th Fl oor RIVER C IT Y คุณเพ็ญพรรณ บุญพร (เจเจ) เพื่อน พี่ๆ น้องๆ ศิลปิน สมาชิกกลุ่ม “วาดเล่นๆ กับ จิด.ตระ.ธานี”

เ ี ต ร ะ. ธ า น


ิ๑

ด จุต

รายได้ส่วนหนึ่ง จากการจ�ำหน่ายผลงานศิลปะในนิทรรศการฯ ร่วมสร้าง “ธรรมสถาน อาศรมน้อมสู่ใจ” ณ จ.ราชบุรี


โปสการ์ดสี่สี ผลงานศิลปินรับเชิญ ขนาด ๖ x ๘ นิ้ว

www.jitdrathanee.com/rebirth/2012 www.jitdrathanee.com/dhamma

192

นิทรรศนา ศิลปะ ธรรมะ “จิด.ตระ.ธานี เกิด จุติ ๑ วาดเส้น”

จ�ด .

เ ี ต . ธาน




Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.