ประวัติ รศ.ดร. วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์

Page 1

!

อาจารยดีเดน ป 2554 กองทุนเอกิ้น เลาเกเซนอนุสรณ อาจารยอุดมศึกษาดีเดน ผูทรงคุณธรรมความดี ป 2555 มูลนิธิอนุสรณ หมอมงามจิตต บุรฉัตร ศิษยเกาแมโจดีเดน ป 2555 ผูกอตั้ง คณะสารสนเทศและ การสื่อสาร มหาวิทยาลัยแมโจ ประธานบริหาร หลักสูตร ปริญญาเอก คนแรกของแมโจ ผูสราง หลักสูตรการสื่อสาร ดิจิทัล คนแรกของประเทศ “ตํานานคนกิน Dictionary”

“ขอโทษนะ...ที่ ผมไมไหว คนชั่ว...”

“คนดียอมมีคนทดสอบ”



ประวัติ : รศ.ดร. วิทยา ดํารงเกียรติศักดิ์ เกิด ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๕ ที่ ตําบลวังมหากร อําเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ พ่อ : ไมตรี ดํารงเกียรติศักดิ์ แม่ : เพ็ญพรรณ นมะหุต

ชีวิตเยาว์วัย - เกิดเมื่อ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๕ (วันศิลปินแห่งชาติ) ที่ ตําบลวังมหากร อําเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นย้ายไปเรียนอนุบาลที่ โรงเรียนหนองโพนิวาสานุสรณ์ (วัดหลวงพ่อเดิม เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ําแคว) - เรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียน บางไก่เถื่อน ตําบลตลุก อําเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท พออายุประมาณ ๘ ขวบ (ประถม ศึกษาปีท่ี ๓) เริ่มเห็นบุคคลในโลกวิญญาณ - จบมัธยมศึกษาปีท่ี ๓ ที่โรงเรียน สรรพยาวิทยา เป็นประธานนักเรียน จบด้วยคะแนน เป็นอันดับ ๒ ของจังหวัด - มาศึกษาต่อที่วิทยาลัยเกษตรกรรม เชียงใหม่ (แม่โจ้) ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ (แม่โจ้รุ่น ๓๒) มีญาติคือพระอนุรัฐนฤผดุง (ต้นสกุล พระราชทาน “นมะหุต” มีศักดิ์เป็นคุณตาทวด) (อดีตนายอําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม) ที่ถนนสามล้าน ซอย 5 ปัจจุบันเป็นสถานพยาบาลทางเลือกของ โรงพยาบาลสวนดอก - รู้สึกว่าการเรียนที่แม่โจ้เรียนง่าย ได้คะแนน กว่า ๙๐-๑๐๐% โดยตลอด เวลาลงงานช่วงบ่ายจึง ท่อง Dictionary (๒๕๑๐-๒๕๑๑) โดยฉีกไปวันละ แผ่น ท่องเสร็จทํางานเลิกก็เคี้ยวเล่น ผู้คนเล่าขาน จน เป็นตํานานคนกิน Dictionary

- ปี ๒๕๑๒-๒๕๑๓ ได้ทุน American Field Service (A.F.S)(รุ่นที่ ๘) ไปเรียน Grade ๑๒ ที่เมือง Angola, มลรัฐ Indiana, U.S.A - จบ ปวช. (เกษตรกรรม) (๒๕๑๔) ด้วยได้ คะแนนอันดับ ๑ ของประเทศ (ใช้ข้อสอบกลาง กรมอาชีวศึกษา มีโรงเรียน/วิทยาลัยเกษตรกรรม ทั่วประเทศราว ๒๒-๒๔ แห่ง) - ปี ๒๕๒๐ ได้รับเลือกเป็นผู้นํานักศึกษาไทย (ทุนกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐ) ร่วมใน โครงการผู้นํานักศึกษาเอเชียและแปซิฟิค (ประเทศ ละ ๑ คน) ไปศึกษา Impacts of Modernization ในราว ๒๐ มลรัฐทุกภาคของสหรัฐอเมริกา

ตํานานคนกิน Dictionary และผู้นํานักศึกษาเอเชียและแปซิฟิค

2


๑. วุฒิการศึกษา

๑.๑ ประถมศึกษา จากโรงเรียน บางไถ่เถื่อน อําเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ๑.๒ มัธยมศึกษาตอนต้น ๒๕๑๐ จากโรงเรียนสรรพยาวิทยา จังหวัดชัยนาท ๑.๓ มัธยมศึกษาตอนปลาย ๒๕๑๓ Grade ๑๒ จาก Angola High School, Indiana, U.S.A. (ทุน AFS) ๑.๔ อนุปริญญา พ.ศ. ๒๕๑๖ ปว.ส. (ธุรกิจการเกษตร) จากวิทยาลัย เกษตรกรรมแม่โจ้ ๑.๕ ปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๑๘ วท.บ. (เกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์) ๑.๖ ปริญญาโท พ.ศ. ๒๕๒๑ วท.ม. (เกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์) ๑.๗ ปริญญาเอก พ.ศ. ๒๕๒๗ Ph.D (เน้นด้าน Agricultural Communication) จาก The Pennsylvania State university, U.S.A. ทุนรัฐบาลไทย สมาชิกสมาคมเกียรตินิยม (Gamma Sigma Delta)

จบปริญญาเอกด้าน Agri. Communication จาก Pennsylvania State นักเรียนทุนรัฐบาล

3


๔. ประวัติการรับราชการและประสบการณ์ การบริหาร ๔.๑ รองหัวหน้าภาควิชาเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ จังดหวัดปทุมธานี (พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๒๔) ๔.๒ รองอธิการบดีฝา่ ยวางแผน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๙) ๔.๓ รองอธิการบดีฝา่ ยวางแผนและ เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ๔.๔ ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร ปริญญาโท สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๑๒๕๔๕/๒๕๔๘-๒๕๕๐) ๔.๕ ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร ปริญญาเอก สาขาวิชาการวางแผนและพัฒนาชนบท ๔.๖ ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร ปริญญาโท สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร ๔.๗ คณะกรรมการวิจัย มหาวิทยาลัย แม่โจ้ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ๒. ตําแหน่งทางวิชาการ ๔.๘ คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา รองศาสตราจารย์ ระดับ ๙ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (พ.ศ. ๒๕๔๕-ปัจจุบัน) ๓. ตําแหน่งบริหารปัจจุบัน ๔.๙ กรรมการบริหารหลักสูตร ๓.๑ คณบดีคณะสารสนเทศและการสื่อสาร ปริญญาโท สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๕๓.๒ กรรมการสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ๒๕๔๗) ๓.๓ กรรมการวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ๔.๑๐ ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร ๓.๔ กรรมการบัณฑิตศึกษา ปริญญาโท สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล (๒๕๕๒มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ๒๕๕๕) ๓.๕ กรรมการดําเนินงานตามจรรยาบรรณ วิชาชีพอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ๓.๖ กรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ประจํา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ๓.๗ กรรมการศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ๓.๘ กรรมการประจําสํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ๓.๙ ประธานกรรมการประจําหลักสูตร ปริญญาโท สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ๓.๑๐ กรรมการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ประธานหลักสูตรปริญญาเอกคนแรกของแม่โจ้ ประธานปริญญาโทนิเทศศาสตร์ คนแรกที่สอนในภูมิภาค

4


๕. งานสอน

๕.๑ ๕.๒

มุ่งเน้นให้แม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัย ที่เปิดสอน ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก

๕.๓

ระดับปริญญาตรี การสื่อสารในงานส่งเสริม ระดับปริญญาโท การวิจัยทางการสื่อสาร การสื่อสารในองค์การ การสื่อสารเพื่อการจัดการ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การผลิตรายการวิดีทัศน์ดิจิทัล การนําเสนอเพื่อให้ข่าวสารและโน้มน้าวใจ การสื่อสารการเกษตร การผลิตสารคดีวิดีทัศน์ทางการเกษตร ยุทธวิธีการสื่อสารในงานส่งเสริม ดนตรีเพื่อการสื่อสาร การถ่ายภาพเพื่องานส่งเสริม การถ่ายภาพดิจิทัลและการออกแบบนําเสนอ การเกษตร การสื่อสารเพื่อพัฒนาแบรนด์ การเขียนในงานส่งเสริม วิทยานิพนธ์ การพูดในงานส่งเสริม ทฤษฏีการสื่อสารประยุกต์ โทรทัศน์ในการส่งเสริม ปัญหาพิเศษ ระดับปริญญาเอก ยุทธวิธีการสื่อสารในการพัฒนาชนบท สังคมเศรษฐกิจและการเมืองในการพัฒนาชนบท

5


๖. ผลงานวิจัย! ๖.๑ ภาวะเศรษฐกิจ สังคมและความ ต้องการของเกษตรกรในจังหวัดชัยนาท (๒๕๒๑) ๖.๒ ภาวะเศรษฐกิจ สังคมและ ความต้องการของเกษตรกรในจังหวัดปทุมธานี และปราจีนบุรี (๒๕๒๒) ๖.๓ ทักษะทางการเกษตรตามความ ต้องการของนักศึกษาวิชาเอกเกษตรศาสตร์ ในวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ (๒๕๒๓) ๖.๔ ประสิทธิภาพการสื่อสาร ระหว่างเกษตรตําบลและชาวนา ในจังหวัด เชียงใหม่ (๒๕๒๗) ๖.๕ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการ เรียนวิชาสื่อสารการเกษตรของนักศึกษา วิชาเอกส่งเสริมการเกษตร (๒๕๒๘) ๖.๖ การประเมินผลประสิทธิภาพ โครงการส่งเสริมการเกษตร ในจังหวัดเชียงใหม่ (๒๕๒๘) ๖.๗ ทักษะวิชาชีพส่งเสริมการเกษตร ตามความต้องการของนักศึกษาวิชาเอกส่งเสริม การเกษตร : กรณีศกึ ษาเปรียบเทียบนักศึกษา ภาคปกติและภาคสมทบ (๒๕๓๐) ๖.๘ The Adoption of Technology in Growing Soybean After Rice by Farmers in Maejo and Boakmue Village, Meatang District, Chiangmai Province. (๒๕๓๒) ๖.๙ ผลของเทคโนโลยีการผลิต รายการโทรทัศน์ ต่อปริมาณการเรียนรู้ ของเกษตร (๒๕๓๓) ๖.๑๐ อิทธิพลของมุมกล้องในการผลิต รายการวีดิทัศน์ต่อการเรียนรู้ด้านทักษะของเกษ ตรกร (๒๕๓๔) ๖.๑๑ Farmers’ Learning from Three Different Content Structures of Slidetape presentation in Banpoa. Maetang, Chiangmai. (๒๕๓๔) ๖.๑๒ อิทธิผลของเทคนิคในการผลิต รายการโทรทัศน์ ต่อการเรียนรู้ด้านทักษะของ เกษตรกร (๒๕๓๕)

๖.๑๓ ความสนใจต่อองค์ประกอบในการ จัดรายการวิทยุโทรทัศน์การเกษตรของเกษตรกร อําเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (๒๕๓๕) ๖.๑๔ Options on Sources and Types of Information Required in Adoption of SoybeanGrowing Technology by Farmers in Maerim District. (๒๕๓๕) ๕.๑๕ ผลกระทบของการใช้สารเคมีกําจัด แมลง : กรณีศึกษาการยอมรับของเกษตรกรผู้ปลูก คะน้า (๒๕๓๖) ๖.๑๖ ความรู้ความสามารถในวิชาชีพของ นักส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย (๒๕๓๖) ๖.๑๗ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ อนุรักษ์ป่าชุมชน : กรณีศึกษาหมู่บา้ นแพะ อําเภอ สันกําแพง จังหวัดเชียงใหม่ (๒๕๓๗) ๖.๑๘ การประกันคุณภาพการศึกษา : แนวคิดเพื่อการปรับใช้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย (๒๕๔๐) ๖.๑๙ ผลของเทคนิคการนําเสนอใน รายการวิดีทัศน์ต่อการเรียนรู้ของเกษตรกร (๒๕๔๑) ๖.๒๐ ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม การเปิดรับข่าวสารกับรูปแบบของการใช้ชีวิตของ เจเนอเรชั่นเอ๊กซ์ จังหวัดเชียงใหม่ (๒๕๔๓) ๖.๒๑ รูปแบบและกลวิธีการดําเนินเรื่องใน การจัดรายการโทรทัศน์ตามทรรศนะของประชาชน จังหวัดเชียงใหม่ (๒๕๔๕) ๖.๒๒ การประเมินผลความสําเร็จของ รายการ “พลิกฟื้นคืนชีวิตเกษตรกรไทย" ตาม โครงการประชาสัมพันธ์การฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร หลังการพักชําระหนี้ของกรมประชาสัมพันธ์ (๒๕๔๖)

เน้นการวิจัยเพื่อปิดช่องว่างการสื่อสารของคนระดับล่างของสังคมไทย

6


๖.๒๓ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษา ปริญญาโทนิเทศศาสตร์” (๒๕๕๐) ๖.๒๔ การติดตามและประเมินผลการดําเนินงาน ประชาสัมพันธ์ในระดับประเทศ ในพื้นที่สํานัก ประชาสัมพันธ์ เขต ๓ (๘ จังหวัดภาคเหนือ ตอนบน) ๖.๒๕ ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ผ่านสื่อ มัลติมิเดีย แบบมีปฏิสัมพันธ์ของนักศึกษาระดับ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ (๒๕๕๔) ๖.๒๖ สมรรถวิสัยทางการสื่อสารดิจิทัลตาม ความต้องการนักศึกษา อาจารย ์และ ผู้ประกอบการ (๒๕๕๔) ๖.๒๗ ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมิเดีย แบบมีปฏิสัมพันธ์ของนักศึกษาอุดมศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ (๒๕๕๕)

๗. การบริการวิชาการ แก่สาธารณชน! ก. รายการโทรทัศน์มีผลงานการจัดทํา รายการโทรทัศน์ สไลด์ประกอบเสียง ประมาณ ๕๐๐ เรื่อง เช่น ๗.๑ จัดทําเทปโทรทัศน์ เรื่อง "การเกษตร ผสมผสานทางเลือกเกษตรกรไทย" ร่วมกับ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ๗.๒ จัดทําเทปโทรทัศน์ เรื่อง "โครงการ เวียงผาและการพัฒนาชนบท" ๕ ตอน ร่วมกับ United Nation Drug Control Program และกรมป่าไม้ ๗.๓ จัดทําเทปโทรทัศน์ เรื่อง " ๒๐ years partnership Thailand and UNDCP" ร่วมกับสหประชาชาติ ๗.๔ จัดทําสไลด์ประกอบเสียง "หมู่บ้าน พัฒนาดีเด่น" บ้านท่าข้าม อําเภอแม่แตง ร่วมกับ พัฒนากรอําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ๗.๕ จัดทําเทปโทรทัศน์ เรื่อง "การบําบัด ผู้เสพติดเฮโรอีนโดยการมีส่วนร่วม ของประชาชน" ร่วมกับสํานักงานป้องกัน และปราบปราม ยาเสพติด (ป.ป.ส.) ๗.๖ จัดทําสไลด์มัลติวิชั่น เรื่อง "๑๐ ปี ภาคส่งเสริม" ในวาระ ๑๗ ปี คณะธุรกิจ การเกษตร

มีผลงานสารคดีโทรทัศน์การ เกษตร ประมาณ 500 เรื่อง 7


๗.๗ จัดทําสไลด์มัลติวิชั่น เรื่อง "จากพี่ถึงน้อง และผองเพื่อน" และ "สู่อ้อมอกแม่" ในการ ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ๗.๘ จัดทําสไลด์มัลติวิชั่น เรื่อง "การพัฒนา ชนบท : ยุทธวิธีที่ควรทบทวน" ในการสัมมนา เรื่องการพัฒนาชนบท : ยุทธวิธีท่คี วรทบทวน ๗.๙ จัดทําสไลด์ประกอบเสียงเกี่ยวกับเทคโนโลยี การเกษตร จำนวน ๑๒ เรื่อง ๗.๑๐ จัดทําเทปโทรทัศน์ เรื่อง "การปลูกสักทอง" ๗.๑๑ จัดทําเทปโทรทัศน์ เรื่อง "พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวกับงานพัฒนาชนบท" ๗.๑๒ จัดทําสไลด์มัลติวิชั่นแนะนํา "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้" ๗.๑๓ จัดทําสไลด์มัลติวิชั่น เรื่อง "โครงการ พัฒนาบ้านโปงตามพระราชดําริ" ๗.๑๔ จัดทําสไลด์มัลติวิชั่น เรื่อง "โครงการ แม่บา้ นร่วมใจเฉลิมพระเกียรติ" ๗.๑๕ จัดทําสไลด์มัลติวิชั่น เรื่อง "ออสเตรเลีย กับการบริหารมหาวิทยาลัยเชิงคุณภาพ" ๗.๑๖ จัดทําสไลด์มัลติวิชั่น เรื่อง "University Funding and Financial Management in Australia" ๗.๑๗ จัดทําเทปโทรทัศน์ เรื่อง “แผนปฏิบัติการ รักษาสิ่งแวดล้อม จังหวัดลําพูน” ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๗.๑๘ จัดทําเทปโทรทัศน์ เรื่อง “แผนปฏิบัติการ รักษาสิ่งแวดล้อม จังหวัดแม่ฮ่องสอน” ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

๗.๑๙ จัดทําสไลด์มัลติวิชั่น เรื่อง “ทศวรรษการ พัฒนาแม่โจ้ : บทพิสูจน์คุณภาพคน” ๗.๒๐ จัดทําสไลด์มัลติวิชั่น เรื่อง “ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร” ๗.๒๑ จัดทําสไลด์มัลติวิชั่น เรื่อง “การท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์” ๗.๒๒ จัดทําเทปโทรทัศน์ เรื่อง “ไร่ B.B.D.” ๗.๒๓ จัดทํารายการโทรทัศน์ เรือ่ ง “การเลือกตั้ง กับการพัฒนาประชาธิปไตย” จำนวน ๑๐ ตอน ร่วมกับ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง ๑๑) ๗.๒๔ จัดทําเทปโทรทัศน์ “แม่ฮ่องสอน” ร่วมกับ สํานักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน ๗.๒๕ จัดทํารายการโทรทัศน์ “ท่องเที่ยวถิ่นเหนือ” จำนวน ๖ ตอน (ออกอากาศ ช่อง ๑๑)

เป็น Producer สารคดีโทรทัศน์ทางการเกษตร … การเมือง … การท่องเที่ยว … และสารคดีเฉลิมพระเกียรติ … ฯลฯ 8


๗.๒๖ จัดทํารายการโทรทัศน์ “แม่โจ้ ๗๐ ปี” ออกอากาศ ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๕ ความยาว ๑.๑๕ ชั่วโมง ๗.๒๗ จัดทําเทปโทรทัศน์ “แม่โจ้ ๗๐ ปี สร้างปัญญาเพื่อแผ่นดิน” ๗.๒๘ จัดทํารายการโทรทัศน์ “ชีวิตและแผ่นดิน” ประมาณ ๑๕๐ ตอน แต่ละ ตอนมี ๓-๔ ช่วง รวมเนื้อหาราว ๕๐๐ เรื่อง (ออกอากาศทาง We-TV Nation Channel / สถานี โทรทัศน์ ดาวเทียม IPM) (ปี ๒๕๔๖-๒๕๕๕) ๗.๒๙ จัดทําเทปโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติ “สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ” ๗.๓๐ จัดทําเทปโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ”

๗.๓๑ จัดทําเทปโทรทัศน์ ไม้แปลกและหายาก จํานวน ๕๕ เรื่อง (ปี ๒๕๔๘) เผยแพร่ผ่าน You tube เช่นเรื่อง เทียนนกแก้ว, กุหลาบพันปี, โมกราชินี, กล้วยด่าง, รวงผึง้ , ลําดวนดอย, กระโถนฤาษี, อูนป่า, มหาพรหม, บัวทอง, พิมพ์ใจ, สะเภาลม, ค้อเชียงดาว, แก้วมหาวัน,เอื้องแซะ เป็นต้น ๗.๓๒ จัดทําเทปโทรทัศน์การผลิตลําไยเพื่อการ ส่งออก จำนวน ๔๘ ตอน (ปี ๒๕๕๕) (ออกอากาศผ่านดาวเทียม สถานี K-Station ช่อง ๘๐)

! เรื่องราวชีวิตที่หลากหลาย

มากมายสาระที่น่ารู้ ศิลปะวัฒนธรรมน่าเชิดชู ความรู้เคียงคู่ความดีงาม… 9


ข. จัดทํานวัตกรรมการสอน ด้วยกระดาษ แผ่นเดียว ! รวมทั้งการและออกแบบงานกราฟิค "ผลึกแห่งปัญญา" จํานวนกว่า ๑๐๐ เรื่อง เผยแพร่ผ่าน Internet แบ่งแยก เป็นหมวดหมู่ เช่น การบริหารองค์กร การสื่อสารทั่วไป การบริหาร มหาวิทยาลัยและคณะ , การเรียนการสอน, การวิจัยและสร้างสรรค์ นวัตกรรม บทความเรื่องน่ารู้ทั่วไป

แรงบันดาลใจที่สําคัญในการจัดทําคือ หลังจากสอนนักศึกษามากว่า ๓๐ ปี ปัญหาหนึ่งที่ ครู อาจารย์ พบกันทั่วประเทศก็คือ นักศึกษายุคหลังอ่านหนังสือน้อยลง ส่งผลให้มีปัญหา ในการมองภาพรวม ภาพย่อย และความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยไม่ออก ทักษะการคิดระดับสูง เช่น การเข้าใจ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ การนําไปใช้และ การสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ไม่คอ่ ยดี เด็กและนักศึกษาจะ ใช้การจดจําซึ่งเป็นทักษะที่ต่ํามาก ประกอบกับ ความรู้ในโลกมีมากมายท่วมท้น นักศึกษาไม่สามารถ แยกเพชรออกจากขยะ หาผลึกหาแก่นไม่เจอ มีแต่ กระพี้ มีแต่เปลือก จึงคิดหาวิธีท่จี ะสอนให้น้อย เรียนรู้ ให้มาก (Tech less, Learn more) โดยการอ่านหนังสือ แต่ละเรื่อง มาหลายเล่ม แล้วให้ความรู้ตกผลึก กลั่น ออกมาเป็นปัญญา อยู่บนกระดาษหน้าเดียว เพื่อให้ นักศึกษา เห็นภาพรวม ภาพย่อย และความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัย เมื่อนํามาใช้สอน ปรากฏว่า นักศึกษาเข้าใจ เรียนรู้ได้ดีขึ้น ประหยัดเวลาอย่างมาก เอาเวลาที่ เหลือไปอภิปรายหรือฝึกภาคปฏิบัติได้มากขึ้น ประหยัดเวลา ประหยัดชีวิต นักศึกษามีระบบการคิด ดีขึ้น เข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้ไวขึน้ งานดังกล่าว จึงเป็นนวัตกรรมการสอน ซึ่งช่วยให้สอนน้อย เรียนรู้มาก (Tech less, Learn more) อันเป็น ปรัชญาการสอนยุคใหม่ ของโลก ตะวันตกขณะนี้ เพียงแต่ยังไม่มีใครบอกรายละเอียด ว่ามี วิธกี ารอย่างไร ผลึกความคิดทางปัญญา จึงเป็นนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี การสอนรูปแบบหนึ่ง การสอนด้วยกระดาษแผ่นเดียว

กรองขยะ … กลั่นกระพี้ … ออกเป็นปัญญา

10


!ค. งานประพันธ์เพลง! ได้แต่งเพลงและ บันทึกเสียงไว้ ประมาณ ๑๑๐ เพลง! บทเพลง ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นสารธารของจิตสํานึก (Stream of consciousness) ไม่ใช่เป็นเพียงการ บรรยายปรากฏการณ์ในสังคม ไม่ตอ้ งการบอก เพียงปัญหา แต่บอกสาเหตุและทางออก เพลงจึงมี เบื้องลึก /จิตวิญญาณ /และแก่นสาร จุดประสงค์ ประพันธ์เพลงเพื่อใช้ประกอบการสอนวิชาดนตรี เพื่อการสื่อสาร/การผลิตรายการโทรทัศน์/ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์/การผลิตรายการ วิทยุกระจายเสียง ตลอดจนการสร้าง Brand ของ องค์กร/ความเพลิดเพลิน/การสร้างจิตสํานึก/ ความสามัคคี เป็นต้น รวมทั้งเพื่อสร้างระบบคิดใน การวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่าง ๆ การมองภาพรวม/การหาทางออก อย่างสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์เพลง มุ่งการใช้ พลังแห่งคํา การอุปมาอุปไมยที่ ลึกซึ้งมีแง่งาม ประทับใจผู้ฟัง การสัมผัสนอกสัมผัสในที่มีเสน่ห์ ดนตรี/ทํานอง ง่าย ๆ ติดหูเพื่อการเข้าถึง บุคคลระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยกลางคน ไม่ต้องการทํา เพลงตามกระแส นักร้อง มีคุณภาพ เสียงดี เข้าถึงอารมณ์เพลง ร้องชัดเจน ถูกอักขระ

ประเภทของเพลง มีหลากหลายประเภท เพลงรัก เช่น ความรัก, คิดถึงทุกวันให้ฝันดี, ขอพรจันทร์ให้ฝันดี, ขอเพียงไม่มใี ครแทนเรา,ทุกวันทุกเวลา, สิ้นสุดของหัวใจ, ขอบคุณ, ปรับใจ, ใสใสที่ปลายฟ้า ฯลฯ เพลงธรรม เช่น รู้จักรัก รู้จักให้, เพลงใบไม้, พระคุณพ่อแม่, น้ําใจ, ปณิธานชีวติ , รุ้งงามกับ ความสุข, ครู ฯลฯ เพลงเพื่อการสื่อสารและองค์กร เช่น บทเพลงเพื่อปฏิญญา, การสื่อสารเพื่อปวงชน, สร้างปัญญาเพื่อแผ่นดิน, มาลัยน้องใหม่, สื่อคือพลัง เป็นต้น เพลงเพื่อชีวิต เช่น กล้าฝันกล้าสู้, ประชาธิปไตย, กล้า, จะสู้หรือจะยอม, วิบัติกาล, น้ํามาฟ้าปิด, แผ่นดินกว้าง ไม่ไกลเกินปลายปีก, คืนชีวิตโลก, ความรักร่วมสมัย ฯลฯ เพลงลูกทุ่ง เช่น ลูกทุ่งสื่อสาร, รําวงสื่อสาร, รดน้ําดําหัว, เพื่อน ฯลฯ เพลงสถาบัน เช่น กษัตริย์เกษตร,๗๕ ปี แม่โจ้, สารสนเทศการสื่อสาร, หอมกลิ่นแผ่นดินแม่/วิญญาณ, งาน,ชีวติ /นี่คือเรา, หมาเฝ้าบ้าน, ถิ่นไทยงาม เป็นต้น เพลงตามวาระโอกาส เช่น เกษียณวัย, Happy Birthday, ขอทุกวันเป็นวันวาเลนไทน์ เป็นต้น

ประพันธ์เพลง เพื่อเป็นสารธารแห่งจิตสํานึกกว่า 100 เพลง

11


จ. งานการจัดรายการวิทยุ! มีประสบการณ์การจัดรายการวิทยุเป็นเวลา ประมาณ ๔-๕ ปี (ประมาณ ๒๐๐ ครั้ง) และเป็นหัวหน้างานประเมินผลรายการ “เสียงบ้านล้านนา” ซึ่งเป็นรายการบุกเบิก ทดลองการเป็นวิทยุชุมชนแห่งแรกของจังหวัด เชียงใหม่ จัดที่สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ FM ๙๓.๒๕ ทุก ๆ ๒ อาทิตย์ เป็นเรื่องราวประเด็นร้อน ทางการเมืองและ การศึกษาผู้บริหารสถานีไม่ค่อยสบายใจนัก เพราะรายการแรง แต่มีผู้ฟังและผู้โทรศัพท์มา ร่วมรายการมาก เป็นช่วงที่ทักษิณเป็น นายกรัฐมนตรี เคยถูกปิดรายการกลาง อากาศ เพราะวิพากษ์ประโยชน์ทับซ้อน นายกรัฐมนตรี กรณีการเผาสถานทูตไทย

ฉ. คําขวัญ! เป็นผู้คิดคําขวัญให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในวาระสําคัญ มาโดยตลอด เช่น -วาระแม่โจ้ ๖๐ ปี คําขวัญคือ “แม่โจ้ก้าวไกล เกษตรไทยก้าวหน้า” -วาระแม่โจ้ ๗๐ ปี คําขวัญคือ “๗๐ ปี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สร้างปัญญาเพื่อแผ่นดิน” -วาระแม่โจ้ ๗๕ ปี คําขวัญคือ “อดีตที่ภาคภูมิใจ ความสดใสในอนาคต” -วาระแม่โจ้ครบรอบ ๘๐ ปี คําขวัญคือ “มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 80 ปี ฝากความดีไว้ในแผ่นดิน”

ถูกปิดรายการวิทยุ กลางอากาศ … เพราะวิพากษ์การเมืองร้อน

-วาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมี พระชนมพรรษา ๘๔ ปี แม่โจ้ได้จัดงานกษัตริย์เกษตร ขึน้ คําขวัญคือ “พระชนมพรรษา ๘๔ แม่โจ้ สามัคคี ทําดีเพื่อพ่อทําดีเพื่อแผ่นดิน 12


ช. งานถ่ายภาพ!

ซ. งานเขียนบทความทั่วไป/บทความ ทางวิชาการ/ข้อคิด!

จากการสอนวิชาการถ่ายภาพมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับ ปริญญาโท และการทํางานบริการวิชาการแก่ชุมชน มาโดยตลอด ทําให้มีภาพถ่ายกิจกรรม ในงานเกี่ยว ข้องสถานที่และบุคคลต่าง ๆ ไม่ต่ํากว่า ๑ แสนภาพ รูปแบบภาพที่ถนัดคือ การถ่ายภาพ Macro, ภาพ Landscape และ ภาพ Portrait

มีงานเขียนเผยแพร่ผ่านวารสารวิชาการ วารสารทั่วไป หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ประมาณ ๑๕๐ เรื่อง แต่ละปีจะมีผู้ร้องขอให้เขียนบทความ ในวาระ สําคัญต่าง ๆ หรือเพื่อจัดทําหนังสือในวาระพิเศษ บทความส่วนมากเกี่ยวข้องกับปัญหาแห่งยุค สมัย เช่น ปัญหาทางจริยธรรม ปัญหาเกี่ยวกับการ ศึกษา และปัญหาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปัญหาการสื่อสาร ปัญหาการสื่อสารยุคดิจิทัล และหลายเรื่อง หลายครั้งเกี่ยวกับพระอัจฉริยะของ พระเจ้าอยู่หัว บทความเหล่านี้เป็นดั่งประวัติศาสตร์ ทางความคิด และ นวัตกรรมทางปัญญา

เปิดสอนวิชาการถ่ายภาพในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท คนแรกของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

13


ฌ. นิทรรศการสําเร็จรูป ช่วงแรกที่มารับราชการที่แม่โจ้ได้จัดทํา นิทรรศการสําเร็จรูปทางการเกษตรที่เคลื่อน ย้ายง่าย เก็บรักษาง่าย ๑ เรื่อง ๑ แผ่น โปสเตอร์ เป็นการสื่อสารด้วยภาพที่เข้าใจง่าย คําอธิบายน้อย ๆ ในวงการส่งเสริมการเกษตร พัฒนารูปแบบขึ้นมาเรื่อย ๆ นิทรรศการ ช่วงหลัง ๆ ก็ยังเป็นชุดเรื่องราว เช่น “กษัตริย์เกษตร” “ศาสตร์แห่งพระราชา ดิน, น้ํา, ป่า, พลังงาน” ในหลวงกับแม่โจ้ / พระเทพฯกับแม่โจ้ /สมเด็จย่ากับแม่โจ้ นิทรรศการภาพถ่าย เป็นต้น

แรงบันดาลใจในการทํา นิทรรศการ “เฉลิมพระเกียรติศาสตร์แห่ง พระราชา ปัญญาแห่งแผ่นดิน” ก็คือ • นิทรรศการชุดนี้ ออกแบบและจัดทําขึ้นในวาระ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุครบ ๗ รอบ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดงานวันเกษตร โดยมีหัวข้อ งานว่า “พระชนมพรรษา ๘๔ แม่โจ้ สามัคคี ทําดีเพื่อพ่อ ทําดีเพื่อแผ่นดิน” • ในฐานะที่เป็นประธานฝ่ายนิทรรศการดังกล่าว จึงได้คิด concept ในการออกแบบเป็น ๒ ชุด คือ “ในหลวง กับแม่โจ้” และ “ศาสตร์แห่งพระราชา ปัญญาแห่งแผ่นดิน ดิน น้ํา ป่า พลังงาน” • สรุปพระราชดําริของพระองค์ต่อแม่โจ้ และต่อ การเกษตรเกี่ยวกับ ดิน น้ํา ป่า และพลังงาน ให้สั้น, ง่าย, ถึงแก่นอันแท้จริง • จากนั้นก็นํามาออกแบบให้น่าสนใจ ตรงกับเรื่องราว • นิทรรศการดังกล่าวได้รับการชื่นชม และมีผู้ขอ นําใช้, เผยแพร่ต่ออีกหลายครั้ง และยังใช้สอนในวิชา การออกแบบนิทรรศการอีกด้วย • แต่ทั้งสิ้นทั้งมวล ล้วนเป็นพระอัจฉริยะ แห่งพระองค์

14


ญ.ผลึกแห่งธรรม แรงบันดาลใจในการทํา ผลึกแห่งธรรมคือ! • จากประสบการณ์ด้านจิตวิญญาณ ตั้งแต่อายุ ๘ - ๙ ขวบ และศึกษาธรรมมากว่า ๔๐ ปี ประกอบกับขณะนี้มีผู้เขียนหนังสือ ธรรมะ ออกมา จําหน่ายมากมาย ทั้งธรรมแท้ ธรรมปลอม จึงได้สรุป ธรรมะจาก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ย่อลงหลือแก่น แห่งธรรม ให้สั้นง่าย ต่อการจดจํา เหลือ ๑๓ บท บางบทมี ๑ หน้า มากที่สุดมี ๓ หน้า ข้อธรรมมีตั้งแต่ง่าย ๆ สําหรับบุคคลทัว่ ไป ไปจนถึงการบรรลุอรหันต์

• การนําเสนอได้ใช้ภาพกราฟิค มาประกอบให้สวยงามชวนอ่าน ไม่ให้ธรรมะ เป็นเรื่องน่าเบื่อ เป็นยาขม • ที่เหลือคือต้องนําไปไตร่ตรอง ไปลงมือทํา รู้ธรรมแล้ว ไม่ทําก็ไม่ประโยชน์ เป็นทัพพีไม่รู้ รสแกง • ๓ เรื่องสุดท้าย เป็นนาทีบรรลุธรรม ของพระอริยสงฆ์ ในยุคปัจจุบัน เพื่อสร้างศรัทธา แก่สาธุชนว่า รู้ธรรมจริง ทําจริง ยังไป นิพพานได้ • ขอให้ผลึกแห่งธรรมนี้ เป็นไปเพื่อ ความสุขของชนเป็นจํานวนมาก เพื่ออนุเคราะห์ สาธุชน เพื่อเกื้อกูล และประโยชน์สุขของ ทวยเทพ และมนุษย์ทั้งหลาย

15


ฎ. ศาลาธรรมอุรวดี : บทพิสูจน์โลกวิญญาณ สิ่งพิสูจน์โลกวิญญาณ ปลายปี ๒๕๓๓ ดวงวิญญาณของ “พระนางอุรวดี” (นามแฝง) ได้มาขอ ให้จัดสร้างศาลาธรรมครอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์เดิม บริเวณ ใกล้อาคารหอสมุดแม่โจ้ เพื่อสร้างกุศลปลดปล่อยดวง วิญญาณที่ติดค้างอยู่ในแผ่นดินแม่โจ้จํานวนมาก โดย “ท่านอุรวดี” เป็นผู้กําหนดรูปแบบ ทิศทางตําแหน่งของ ศาลาพระพุทธรูปที่จะนํามาไว้ พระบรมสารีรกิ ธาตุ พระธาตุ และพิธกี รรม - ได้ตรวจสอบข้อมูลกับหลวงพ่อฤาษีลิงดํา, หลวงปู่สิม พุทธาจาโร, หลวงปู่ครูบาชัยวงษา, หลวงปู่สาม อากิญจโน, พระมหาทองอินทร์ กุสลจิตโต (พระพิสีพิศาลคุณ) - การก่อสร้าง เป็นการบริจาคของผู้มีจิต ศรัทธาทั้งหมด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ การบริจาคส่วนใหญ่ อยู่ในรูปวัสดุ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ปูน ฯลฯ การก่อสร้างเริ่มต้นด้วยทุนเพียงเล็กน้อย แต่ก็ทําได้ ม้วนเดียวจบ แม้จะมีอุปสรรคตลอดก็แก้ไขได้ การก่อสร้างครั้งนี้เป็นสิ่งพิสูจน์เชิงกายภาพให้เห็นว่า โลกวิญญาณมีจริง ที่ศาลาธรรมได้เขียนภาพ “พระนางอุรวดี” ไว้ดว้ ย คําว่า “อุรวดี” เริ่มการก่อสร้างเมื่อวันศุกร์ท่ี ๒๔ กุมภาพันธ์ ดวงวิญญาณให้ความหมายไว้ ๓ นัย ๒๕๓๔ เสร็จสิ้นและฉลองสมโภช เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑. หลวงพ่อฤาษีลิงดํา กล่าวว่า อุร ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๕ งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น มาจาก อุรคะ แปลว่านาค วดี แปลว่า ในวงล้อม ๑,๑๓๐,๑๙๙๙ บาท อุรวดีจึงเป็นการบอกที่มาของ “พระนาง” ว่าเป็น พงษ์พันธ์ของนาคภพ (เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา) ๒. อุร แปลว่า หัวใจ วดี แปลว่า ในวงล้อม อุรวดี แปลว่าในวงล้อมแห่งหัวใจ บ่งบอกถึงความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับบางคน ในภพชาติเดิม ๆ ๓. อุรวดีในความหมายของสาธุชน คือการมุ่งมั่น ทําความดีประดับไว้ในใจคน อยู่ที่ใดก็ให้คนรัก คนศรัทธา นั่งอยู่กลางใจคน

อุรวดี ... ไม่ใช่ชื่อ เจ้าแม่ แม่โจ้ แต่เป็นคําสอนให้มุ่งมั่นทําความดี ประดับไว้กลางใจคน … มีคุณงามความดีอยู่ในวงล้อมของหัวใจ

16


บูชาครูด้วยธรรม และความดี

คุรุแห่งธรรมและจิตวิญญาณ! พระมหากัสสปะอรหันตเถระ หลวงปู่บุดดา มหาพรหมชินนะปัญจะระ

หลวงพ่อฤาษีลิงดํา

หลวงปู่เทพโลกอุดร

ครูบาธรรมชัย

หลวงปู่ทวด

หลวงปู่สังวาลย์

หลวงปู่โต

ครูบาชัยวงศา

หลวงปู่กบ

หลวงปู่เกษม

หลวงปู่โอภาสี

ครูบาศรีวิชัย

หลวงพ่อเดิม

หลวงปู่บุญทืม

หลวงปู่ปาน

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

หลวงปู่ศุข

ปู่นาคราช

17


!

ฏ. การทํา Music Video การทํา Music Video เป็นงาน ส่วนหนึ่งในการสอน วิชาการผลิตรายการโทรทัศน์ ได้แต่งเพลงให้ นักศึกษาลองคิด ลองเขียน ลองลงมือทํา ต่อมานักศึกษามีปัญหาการท้องก่อนแต่ง บ้าง การทําแท้ง การดื่มสุรา ศีลธรรมเสื่อมถอย การไม่เข้าใจคุณค่าการศึกษา จึงได้แต่งเพลงแล้ว ทําเป็น MV มาสร้างการตระหนักรู้และฟื้นฟู จิตวิญญาณผู้คน ขณะนีม้ ี MV หลายชิน้ งาน post อยู่บน you-tube

! ! !

18


คําประกาศเกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา ดํารงเกียรติศักดิ์ กองทุนเอกิ้น เลาเกเซ่นอนุสรณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ๒๕๕๔

รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา ดํารงเกียรติศักดิ์ สําเร็จการศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา เกษตรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สําเร็จการศึกษา ระดับปริญญาเอก วุฒิ Ph.D. (Agriculture Education) เน้นด้านสื่อสารการเกษตร (Agricultural Communication) จาก Pennsylvania State University, U.S.A. ด้วยทุนรัฐบาลไทย ด้านการเรียนการสอนและการบริหาร รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา ดํารงเกียรติศักดิ์ นับเป็นบุคคลที่ประสบความสําเร็จอย่างดีเยี่ยม ในวิชาชีพ โดยเริ่มรับราชการในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ และเจริญก้าวหน้าในอาชีพขึ้นตามลําดับ เคยดํารงตําแหน่งเป็นรองอธิการบดีฝ่ายวางแผน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ๒ สมัย ปัจจุบันดํารง ตําแหน่งคณบดีคณะสารสนเทศการสื่อสาร ตลอดระยะเวลาการรับราชการ ท่านมีความรู้ ความสามารถด้านการสอน เป็นผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ ยาวไกลในการบริหารงาน

เป็นผู้เปิดหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชา นิเทศศาสตร์ ขึ้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นแห่งแรกในภูมิภาค เป็นผู้เปิดหลักสูตร ปริญญาตรี\โท สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัลขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นแห่งแรกของประเทศ เป็นผู้สร้างหลักสูตรปริญญาเอกหลักสูตรแรกของ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คือ หลักสูตร ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการวางแผน และพัฒนาชนบท) และเป็นผู้ก่อตั้งคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

19


ด้านการเรียนการสอน ท่านได้สร้าง นวัตกรรมการสอนที่ช่วยให้สอนน้อย เรียนรู้มาก (Teach less, Learn more) โดยการใช้ผลึกความคิด ทางปัญญาบนกระดาษแผ่นเดียว เพื่อให้นักศึกษามี เวลาฝึกฝนทักษะการคิดระดับที่สูงขึ้น ทั้งความเข้าใจ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ การคิดค้นใหม่ ได้ประพันธ์ บทเพลงกว่า ๑๐๐ เพลง มีลิขสิทธิ์ผลงานกว่า ๓๐๐ ชิน้ ทางด้านโทรทัศน์, บทความ, ผลึกแห่งปัญญา และผลงานเพลง เพื่อการบ่มเพาะจริยธรรม คุณธรรม และทักษะในการดํารงชีวิตแก่นักศึกษา มุ่งเน้นให้นักศึกษาก้าวไปสู่ การศึกษาที่แท้จริง คือ การมีอสิ รภาพจากอวิชชา และการพัฒนาความ เป็นมนุษย์ท่สี มบูรณ์

ด้านการบริการวิชาการ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถด้านการบริการวิชาการ โดยผสม ผสานองค์ความรู้เชิงเนื้อหากับหลักการสื่อสาร การศึกษา การตลาด ศิลปะและสุนทรียภาพ อย่างลงตัว เพื่อผลิตเป็นผลงานด้านวิดีทัศน์และ นวัตกรรมการสอน ในการบริการวิชาการแก่ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ เพื่อนําไปใช้เป็นสื่อการศึกษา สื่อในการฝึกอบรม ให้ความรู้ความเข้าใจ และสร้างการเปลี่ยนแปลง แก่เกษตรกร ชุมชน ประชาชนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ตลอดจนนักศึกษาและประชาชนทั่วไป อาทิ ผลงานการจัดทํารายการโทรทัศน์ “ชีวิตและ แผ่นดิน” โทรทัศน์การเกษตร กว่า ๕๐๐ เรื่อง ผลงานภาพถ่าย งานออกแบบ งาน Music video ผลงานการประพันธ์เพลง งานการเขียนบทความ นําออกเผยแพร่สู่สังคมผ่านเวปไซด์ของคณะ และ youtube วารสาร นิตยสาร ตลอดจนหนังสือพิมพ์ตา่ ง ๆ!

ด้านการวิจัย ท่านเป็นผู้มีความสามารถและ เชี่ยวชาญในศาสตร์การวิจัย ด้านการสื่อสาร การสื่อสารการเกษตรและศาสตร์ท่เี กี่ยวข้อง โดยมี ผลงานการวิจัยอย่างต่อเนื่อง เกือบทุกปี โดยเฉพาะ งานวิจัยเกี่ยวกับโทรทัศน์การเกษตร สื่อมัลติมิเดีย เป็นผู้คิดค้นวิธีวัดประสิทธิผลการสื่อสาร เชิงปริมาณด้วย communication mathematical model เป็นผู้คิดค้น communication matrix model เพื่อการวิจัยการสื่อสารเชิงคุณภาพ

20


ด้านทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม เป็นผู้ที่ ตระหนักในความสําคัญของศิลปวัฒนธรรมกับ วิถีชีวิตที่จะช่วยขัดเกลาให้คนเข้าถึงความจริง ความดี ความงาม จึงได้สอดแทรกศิลปวัฒนธรรม เข้าไปในการเรียนการสอน การวิจัย การบริการชุมชน โดยเฉพาะในรายวิชาการผลิตรายการโทรทัศน์และ วิชาการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ได้มอบหมายให้ นักศึกษาไปศึกษาหาความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น นํามาผลิตเป็นรายการโทรทัศน์ หรือวิดีทัศน์ท่นี ่าสนใจ รวมทั้งการสร้างวัฒนธรรม ใหม่ขององค์กรที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะ โดยใช้ แนวคิดเชิงบวกและหลักการศึกษามาประยุกต์ผสมกับ ความคิดสร้างสรรค์ทางการสื่อสาร ให้บุคคลก่อเกิด ปัญญาและความดีงาม เช่น การสร้างวัฒนาธรรมใน การรับน้องใหม่คือ “พิธีรินชา” แทนการรับน้อง ที่ใช้ความรุนแรง สร้างพิธี “จุดเทียนปฏิญญา” แทนการฉลองปริญญาด้วยการเต้นรําร่ําสุรา การสร้างวัฒนธรรมการทํางานแบบ “มืออาชีพ” ผลงานต้องมีคุณภาพสูงกว่าความคาดหวังและ ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มีมารยาท จริยธรรมสูง มีเจตคติท่ดี ี ยึดมั่นความดีงาม

21


จากประสบการณ์การสอนที่มหาวิทยาลัย แม่โจ้มาประมาณ ๓๐ ปี ท่านได้สร้างบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ที่ประสบความสําเร็จ ในวิชาชีพและชีวติ มากมาย ได้รับการยกย่องและ ความนับถือจากศิษย์ และหมู่คณะว่าเป็นผู้มีความ เข้มแข็งและไม่ประณีประนอมในคุณภาพ ยึดมั่นในความดีงาม สร้างผลงานสร้างสรรค์ มากมายต่อเนื่อง ได้รับการยอมรับจากผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศิษย์เก่า และสังคมภายนอก ว่าเป็นผู้มีความรู้ความ เชี่ยวชาญในศาสตร์และศิลป์ด้านการสื่อสาร การสื่อสารการเกษตร การสื่อสารดิจิทัล การบริหารจัดการองค์กร ตลอดจนศาสตร์แห่ง ธรรม เป็นผู้มีความกล้าหาญทางจริยธรรม กล้าแสดงความเห็นในสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่จริง สิ่งที่ ดีงามอย่างสม่ําเสมอมาโดยตลอด เป็นผู้ที่ขยัน หมั่นเพียรและความกระตือรือร้น ค้นคว้าหาความรู้ จากแหล่งต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศอย่างไม่ หยุดนิ่ง ใฝ่เรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ และไม่รีรอที่จะนําความรู้ใหม่ที่ได้ มาถ่ายทอดให้แก่นักศึกษาและบุคลากรผู้สนใจ เป็นผู้เสียสละและอุทิศตนเพื่อส่วนรวม โดยทุ่มเท เวลาให้กับการเรียนการสอน การให้คําแนะนํา ปรึกษาด้านงานวิจัย ให้แก่นักศึกษา บุคลากรและ บุคคลทั่วไปอย่างเต็มที่ รวมทั้งมีการคิดค้น รังสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าดึงดูดใจ เพื่อการบริการวิชาการแก่หน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง!

โดยที่ รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา ดํารงเกียรติศักดิ์ เป็นผู้ประสบความสําเร็จใน วิชาชีพ ดํารงชีพ และ ธํารงมั่นในธรรม บําเพ็ญตน เพื่อประกอบกิจการต่าง ๆ ด้วยความเป็นเลิศ สร้างสรรค์ และทําคุณประโยชน์สําคัญ ให้แก่ มหาวิทยาลัยเป็นอเนกประการ นับเป็นบุคคลที่มี เกียรติประวัติ และมีคุณสมบัติเหมาะสม

สมควรได้รับการสดุดีเกียรติคุณให้ เป็นอาจารย์ดีเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และรางวัลพระราชทานจากกองทุนเอกิ้น เลาเกเซ่นอนุสรณ์ ประจําปี ๒๕๕๔

22


คําประกาศเกียรติคุณ

คําประกาศเกียรติคุณ อาจารย์ระดับอุดมศึกษาดีเด่น “ผู้ทรงคุณธรรม ความดีงาม” รางวัลประทานจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาต ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ ชื่อ สกุล

รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา ดํารงเกียรติศักดิ์ อายุ ๖๐ ปี คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อายุงาน ๓๗ ปี

สรุปผลงานที่ได้รับรางวัล! รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา ดํารงเกียรติศักดิ์ เป็นอาจารย์ดีเด่น รางวัลพระราชทานกองทุนเอกิ้น เลาเกเซ่นอนุสรณ์แห่งมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นบุคคลที่ประสบความสําเร็จอย่าง ดีเยี่ยมในวิชาชีพ เป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์และศิลป์การใช้เทคโนโลยีและ นวัตกรรมการสอนที่ช่วยให้สอนน้อย เรียนรู้มาก โดยการใช้ผนึกความคิด ทางปัญญาบนกระดาษแผ่นเดียว เพื่อให้นักศึกษามีโอกาสพัฒนาฝึกฝน ทักษะการวิเคราะห์สังเคราะห์ บนพื้นฐานการบ่มเพาะคุณธรรมและ จริยธรรม มีวริ ยิ ะอุตสาหะในการบ่มเพาะ ให้นักศึกษามีสมรรถวิสัยใน วิชาชีพ มีวุฒิาภาวะ ใช้พลังแห่งความดีงาม สร้างวัฒนธรรมการอยู่ ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

23


ในบทบาทของผู้บริหาร เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกล ได้ก่อตั้งคณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดสอนด้านการสื่อสารดิจิทัลเป็นแห่งแรกของประเทศ ใช้หลักการสอนที่ยึดมั่นในปรัชญา “การสื่อสารเพื่อปัญญาและ พลังของความดีงาม” โดยสอดแทรกคุณธรรมและวัฒนธรรมอันดี เข้าไปในการเรียนการสอน การวิจัย การบริการชุมชน ใช้แนวคิด หลักธรรมและหลักการศึกษามาประสานกับความคิดสร้างสรรค์ ปลูกฝังให้นักศึกษาชื่นชมในภูมิปัญญาไทย สร้างวัฒนธรรมการ ทํางานแบบมืออาชีพ สร้างผลงานเพื่อการบริการวิชาการแก่ สาธารณชน โดยการประพันธ์เพลง และจัดทํารายการโทรทัศน์ เพื่อการเกษตร เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างปัญญา สร้างศรัทธา สร้างความสุขแก่สังคม ให้ผู้เรียนฝึกฝน จาก ประสบการณ์ท่เี ป็นจริง เพื่อการบ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรม และทักษะ ในการดํารงชีวิต ที่ดีงาม สมควรแก่การยกย่อง เป็น อาจารย์ระดับอุดมศึกษาดีเด่น “ผู้ทรงคุณธรรม ความดีงาม” ประจําปี ๒๕๕๕

24










































!


!

จงมีชีวิตอยูในความไมประมาท โดยใชสติตามรักษาจิตตน ใหตื่นรูในธรรมอยูเสมอ คนถึงธรรม ไดดวยปญญา ฌาน และ ปญญา มีในผูใด ผูนั้นใกลนิพพาน ปญญา จึงเปนยอดของความอิ่ม ผูอิ่มในธรรม ยอมมีความสุข

ศิลปกรรม : นพพร สุนะ สุพัตรา กลัดเจริญ !


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.