สัพเพเหระ จากชาญวิทย์ เกษตรศิริ ตอน "ฟูกูโอกะ ข้าพเจ้าได้เห็นมา"

Page 1


福岡 สัพเพเหระ จากชาญวิทย์ เกษตรศิริ ตอน

ฟูกูโอกะ ข้าพเจ้าได้เห็นมา


1. From Fukuoka to Bangkok with Love not War

From Fukuoka to Bangkok with Love อีเมล์จาก Fukuoka Japan from Charnvit and Chaiwat (แม่เรียกว่า No. 1 and No. 2) สวัสดี ครับ Dear ALL: kon ni chiwa: ตอนนี้ Fukuoka Japan ตีสาม เกือบตีสี่แล้ว วันพุธ ที่ 12 กันยา 2012 No. 2 คงอยู่บนเครื่อง บินตรงจาก กทม. และจะมาถึงประมาณ 8 โมงเช้า เมื่อวาน No. 1 เดินทาง วันกับคืน จาก US มา Japan พระครู เบน ไปส่งที่สนามบินอิธากะ ตี 4 วันจันทร์ที่ 10 (ทั้งสอง สว. ประสาทมาก เลยไม่ได้นอนทั้งคืน) ไปเปลื่ยนเครื่องที่ Newark/Liberty New Jersey บิน 10 กว่า ช.ม. ถึงโตเกียว รออีก 3 ช.ม. แล้วต่อเครื่องอีก 2 ช.ม. มาถึง ฟูกูโอกะประมาณ 1 ทุ่ม ของวันอังคารที่ 11 สาม/สาว/สาว ทีม Ueno San เจ้าหน้าที่มหานครฟูกูโอกะ ... ปราสาทฟูกูโอกะ

(福岡城跡)


ของ Mayor (หนุ่ม) มารับ แล้วสรุปประเด็นรายการยาวเหยียด งาน 5 วัน มีทั้งพิธีรับ เลคเชอร์วิชา 2 ครั้ง (เรื่องอยุธยา) พบและบรรยาย น.ร. มัธยมปลาย 700 คน 1 ครั้ง Fukuoka เป็นเมืองใหญ่สุดด้านนี้ อยู่อีกเกาะหนึ่ง คือ คิวชู ประชากร 1.5 ล้าน อยู่เหนือเมืองนางาซากิ ที่โดนปรมาณู WW.II อยู่ติดไปทางด้านเกาหลี เหนื่อยและสุด มันสสส ........... คนได้รับรางวัล อีก 3 ก็มาถึงแล้ว จากอินเดีย V. Shiva (นักคิดนักเขียน สิ่งแวดล้อม) อินโดฯ Koes Murtiyah (นาฎศิลป์ ชื่อจริงของเธอ ยาวหนึ่งวา ตามแบบ เจ้าโบราณๆ) และปินส์ Kidlat T. (ภาพยนตร์ น่าให้ Film Kawan จัดฉาย) Koes Murtiyah สาวใหญ่ คนได้รางวัลจากอินโด เป็นหม่อม เป็นชายา เจ้าของวังสุรกาตาร์ เป็นราชวงศ์ ที่ยังอยู่ แต่ไม่มีอานาจ/บารมีแบบ วงศ์เชียงใหม่ วงศ์อุบล วงศ์ ปัตตานี ที่วังโซโล มีวงปี่พาทย์สยาม ที่อดีตกษัตริย์ชวา ได้รับจาก ร.7 ส่วน ร.7 ก็ได้รับเครื่อง Gamelan ตอบแทน ตอนนี้ อยู่ที่มิวเซียมชาติ ติด มธ. (แต่ นศ. มธ. คงไม่เคยเข้าไปดู เหมาะให้ นศ. Seas ทากิจกรรมใช้สมาน สามัคคี Asean ครับ) ... Fukuoka Tower


ผมได้พบเธอแล้วเมื่อ 3 เดือนก่อน งาน ปวศ. เอเชีย IAHA ที่ได้ดูหนุมานเผาลงกา ที่ Prambanan เธอเอาลูกสาวมาด้วย จะฟ้อนถวายพระบรมฯ มกุฎราชกุมารอากิชิโน และชายา ซึ่งจะเป็นองค์ประธานงาน คงมันสสสสสส พ่ะย่ะค่ะ แปลกดี พอบอกว่า No. 1 จะ speech เริ่มด้วย Your Imperial Highnesses, Prince and Princess Akishino แล้วต่อด้วย Your Excellencies, Ladies, and Gentlemen ทีม สาว/สาว/สาว บอกว่า ไม่เป็นไร แค่บอกว่า Your Excellencies, L.. and G... ก็พอ ศาลเจ้าฮาโกะซากิ

(筥崎宮)


จะว่า ญี่ปุ่น เต็มไปด้วยพิธีรีตอง ก็ใช่ และก็ ไม่ใช่ ด้วย Yes and No แถมยังไม่มี กม. หมิ่น แบบ ม. 112 ของบางประเทศ อีกด้วย แต่สถาบันกษัตริย์/จักรพรรดิ ก็ดูแข็งแรง มั่นคง ครับ ทาไงดี เนี่ย ว่ากันว่า งานพิธีมอบรางวัลนี้ จะมีคนเข้าร่วม 1 พันคนเท่านั้น ผู้รับรางวัลทั้ง 4 ได้เวลากล่าว คนละ 2 นาที พระครูเบน บอกว่า ให้สวัสดี ขอบคุณมากๆ สวัสดี ครับ (Good Evening, Thank you very much, and Good Bye) From Fukuoka to Bangkok with Love Charnvit ปล. รางวัล Fukuoka Prize มีมาแต่ปี 1990/2533 เพื่อประกาศตัวตน ของเมืองนี้ คนไทยที่เคยได้รางวัลนี้ ตามลาดับ คือ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช 1990/2533 มจ. สุภัทรดิศ ดิศกุล 1994/2537 นิธิ เอียวศรีวงศ์ 1999/2542 ถวัลย์ ดัชนี 2001/2544 ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม 2007/2550 and No. 1 krab 2012/2555 who is next ? โคมไฟยาเมะ

(八女提灯)

เป็นงานหัตถกรรมเก่าแก่ของจังหวัดฟูกูโอกะ


สาหรับ ชาวต่างชาติ ที่เคยได้ มี Ba Jin, Akira Kurosawa, Joseph Needham, Ravi Shankar, Taufik Abdllah, Clifford Geertz, Wang Gungwu, Yoneo Ishii, S. Tambiah, Pramoedya, B. Anderson, Than Tun, Anthony Reid, Lat, Partha Chatterjee, J.C. Scott, Ang Choulean (ใครเป็นใคร ถาม อ. กู๋ ถ้ารู้จักหมด ได้ความรู้มากกว่าได้ ป. เอก ครับ) ผู้ได้รับ ส่วนใหญ่ เป็น สว. หาหนุ่มๆ สาวๆ ไม่ค่อยมี หลายคน หามีชีวิตอยู่ไม่แล้ว หลายคนเป็นไม้ใกล้ฝั่ง ตามหลักอนิจจัง ครับ Charnvit


2. From HAKATA / Fukuoka to SIAM/ Thailand

13 Sept 2012, a big day for Fukuoka Prize วันนี้ เป็นวันสาคัญ เบอร์หนึ่ง กับเบอร์สอง (แม่เรียก) เพิ่งกินเช้าเสร็จ สิบเอ็ดโมง แวบไป Fukuoka Tower บ่ายสาม ต้องซ้อมพิธีรับ ก่อนบ่ายห้า เข้าเฝ้าเจ้าอากิชิโน อนุชาเจ้านารุฮิโตะ พระบรมฯ มกุฎราชกุมารญี่ปุ่น และชายา หลังหกโมง เป็นงานพิธี ผู้รับ ได้พูด คนละ 2 นาที คือ good evening, nice to be here in Hakata/Fukuoka, thank you very much, and goodbye, cK@Siam/Thailand จากนั้น ดินเนอร์ใหญ่ ได้ข่าวว่า ที่สององค์ มางานนี้ เพราะชายา มี อจ. ที่เคยได้รางวัลนี้ ชื่อ HOKOMA Shuzen 2003 ปีเดียวกับ Reynaldo Illeto (Phi-NUS) เลยสนพระทัยเป็นพิเศษ เจ้าชายอากิชิโน และพระชายา


Prince Akishino เอง ก็เคยเสด็จฯ อยุธยา ไปชม หมู่บ้านญี่ปุ่น Nihon machi ที่พวกเรา ได้ปรับปรุง เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์อย่างดี ใครยังไม่เคยชม โปรดไปชม ครับ With Love from Japan to Siam/Thailand cK@Hakata/Fukuoka PS: ปวศ. เดิม กับ ปวศ. เพิ่งสร้าง กล่าวคือ เมือง Fukuoka เดิมชื่อเมือง Hakata Hakata เป็นชื่อเมืองท่าการพาณิชย์ คงเหมือนๆ กับ Siam or Paknam or Bangkok Fukuoka เป็นชื่อใหม่ พวกศักดินาขุนพลซามูไร ตั้งให้เป็น เมืองทหาร คงเหมือนๆ กับ Thailand or Samutprakan or Krungthep ครับ

วัดโทโชจิ

(東長寺)


3. FUKUOKA PRIZE AWARD 13 SEPT 2012

FUKUOKA PRIZE AWARD 13 SEPT 2012 once upon a time in Japan งานมอบรางวัล Fukuoka 13 กันยา ที่มีคนเข้าร่วมในหอประชุมใหญ่ หนึ่งพันคน ผ่านไปอย่างดี เรามาดูกันว่า งานแบบญี่ปุ่นๆๆ ที่เจ้านายระดับสูงมาเป็นประธาน ทากันอย่างไร ต้องบอกว่า "แปลก" คือ งามสง่า เป็นระบบ (ต้องซ้อม) และเป็น "ประชาธิปไตย" (?) กระจาย "ความเท่าเทียม" ให้กับคนที่ "ไม่ (น่า) จะเท่าเทียมกัน" นัก อย่างน่าพิศวง องค์ประธาน คือ เจ้าชาย Akishino ผู้มีสิทธิสืบบัลลังก์อันดับสอง ของประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์/จักรพรรดิมั่นคงสุดๆ (ไม่มี กม. หมิ่นฯ ?!) เจริญสุดๆ และอารยะสุดๆ กับชายา นั่งเป็นประธานจริงๆ ด้านขวาของเวที ได้รับเชิญให้ทรงกล่าวสั้นๆ ...


ที่นั่งตรงกลางเวที เด่นเป็นสง่า กลับกลายเป็นที่นั่งของผู้รับรางวัลทั้ง 4 จากอินเดีย (นามศิวะ บอกว่ารู้จัก อ. สุลักษณ์ อย่างดี เธอเป็นนักคิดนักเขียน สิ่งแวดล้อม) ไทย (ผมเอง) ฟิลิปปินส์ (คิตลัต นักสร้างหนัง น่าเชิญมาให้ SeasTU ฉายหนังเขา) อินโดฯ (นาฎศิลป์) ที่นั่งด้านซ้าย เป็นของกลุ่ม กก. ที่มีผู้ว่า ฯ Mayor (หนุ่มวัย 37) เป็นประธาน เขาบอกว่า เขาเป็น new generation นุ่งกางเกงขาลีบ รองเท้าหนังปลายงอน พูดเก่งแบบ "เซเล็บ" กับคนอย่างประธานมูลนิธิฯ (ผู้เฒ่า ที่ให้ เงินกับงานนี้หลายๆ ล้าน) กับอธิการ ม. คิวชู กับตัวแทนการค้า กับ นักวิชาการ คละชายหญิง ส่วนใหญ่ สว. (สูงวัย) ผู้มอบและประกาศเกียรติคุณรางวัล กับเหรียญ คล้องคอ คือ สองท่านนี้ ไม่ยักกะใช่เจ้า Akishino รับเสร็จ แขกเกียรติยศทั้ง 4 ก็กระเถิบมานั่ง ด้านหน้า กลางเวที ให้สัมภาษณ์ ตอบคาถาม 2 ข้อ ว่าประทับใจอะไร และจะทาอะไร (กับชีวิต ที่ยังเหลืออยู่น้อยนิด)


แน่นอน ผมตอบว่าชอบ ราเมน อร่อยมาก เมืองนี้ ทั้งราเมน/ramen และโซบะ/soba เอามาจากจีนสมัยหยวน มา "กาเนิด" ที่นี่ 700 ปีที่แล้ว แถมมีอนุสาวรีย์ราเมน และโซบะด้วย (เข้าท่าดี) และผมตบท้ายอีกว่า ในฐานะ สว. ผมมีอภิสิทธิ์ จะทางานบ้าง ไม่ทาบ้าง และก็จะเดินทาง ท่องเที่ยว ไปในอุษาคเนย์ และเอเชีย เพื่อใช้เวลาที่เหลือ getting to know our ASEAN neighbors และ Make Love not War ครับ (especially with Cambodia and Laos) เชื่อไหม ตอนเราให้สัมภาษณ์นั้น เจ้า Akishino และชายา ลงจากเวที ไปประทับนั่งเก้าอี้แถว (แบบหอประชุมศรีบูรพา) ตรงกลาง เหมือนๆ และเท่าๆ กับ กก. และ ผู้เข้าร่วมงานทั้งหมด ต้องบอกว่า อือ "รู้เล่น กับลูกชาวบ้าน" ให้ความรู้สึก spectre of comparison แปลกๆ และดีๆ อย่างบอกไม่ถูก ครับ cK@FukuokaHakataJapan


PS: ก. ตอนท้ายรายการ มีเด็ก นร. เล็กๆ ขึ้นมามอบพวงดอกไม้ ให้กับคนรับรางวัล และผู้ติดตาม (เบอร์สอง) ของทุกทีม ข. ก่อนพิธี เจ้า Akishino ตรัสถาม เบอร์หนึ่งว่า รู้จัก อจ. อิชิอิ โยเนะโอะ Ishii Yoneo (ผู้ล่วงลับไปแล้ว) ใช่ไหม เบอร์หนึ่งซึม และมึนไปเลย ท่านถามต่อว่า แล้วคิดอย่างไรกับ ปวศ. สุโขทัย กับ อยุธยา ต้องบอกว่า เบอร์หนึ่ง ก็ซึมไปอีก (เล็กๆ) ครับ ไม่รู้ว่า ทรงแอบไปพลิก The Rise of Ayudhya หรือเปล่า เนี่ย ค. คลิ๊กดู รายละเอียดรางวัลได้ที่ http://www.asianmonth.com/prize/english/23/index.html


4 Birth of Soba and Udon HAKATA / FUKUOKA กาเนิดโซบะ และอุดง


ครั้งหนึ่ง นานมาแล้ว 700 ปี ที่เมือง ฮากาตะ (ฟูกูโอกะ) ยังมีพระรูปหนึ่ง นาม โชอิชิ โกกุชิ ท่านเดินทางไปศึกษาพระธรรม ที่เมืองจีน สมัยซุ่ง ได้รับรสพระธรรม กลับมาสั่งสอนกุลบุตร กุลธิดา (นับแต่ ค.ศ. 1241 หรือ พ.ศ. 1784 ก่อนสุโขทัย 20 ปี)

อนุสาวรีย์ โซบะ


อนุสาวรีย์ ซาลาเปา

ท่านนาวิชาการทา เส้นอาหารมาจากจีนด้วย และแล้ว โซบะ กับ อุดง ก็ถือกาเนิดขึ้นมา ณ ที่วัดโจเท็งจิ (Jotenji) ท่านแถมตาราทา ซาลาเปาไส้หวาน ให้อีกด้วย เพื่อราลึกถึง ปวศ. ของสังคม ทางวัดจึงสร้างอนุสาวรีย์ ให้กับโซบะ และซาลาเปา ให้ เห็นเป็นประจักษ์พยาน จนตราบเท่าทุกวันนี้ (แปลก และ ตื่นเต้น ครับ กับ ปวศ. สังคมว่าด้วย โซบะ อุดง และ ซาลาเปา) ไม่รู้ว่า ก๋วยเตี๋ยว เส้นเล็ก เส้นใหญ่ ทั้งวุ้นเส้น และ เส้นหมี่ เดินทางมาถึง สยามประเทศไทย เมื่อไร ใครนามา แล้วสมัยอยุธยา กับ สุโขทัย มีกว๋ ยเตี๋ยว เล็ก ใหญ่ ไหม เอ่ย) cK@HakataFukuoka รูปเล่มโดย ทีมนิตยาสาร


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.