กุญแจชีวิต

Page 1

รวบรวมเรียบเรียงโดย ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม


ภาพหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์รายวัน และถ่ายทอดทางโทรทัศน์ สาธารณรัฐประชาชนจีน

พิธีรับ-มอบพระสูตรส�ำคัญนิกำยเซน วันเสำร์ที่ ๗ กันยำยน พ.ศ.๒๕๕๖

ในวโรกาสครบรอบ ๑,๓๐๐ ปี พระสังฆปริณายกเว่ยหล่าง (ฮุ่ยเหนิง) องค์ที่ ๖ ณ วัดหนานหัวสื่อ เมืองเส้ากวน มณฑลกวางตุ้ง


กุญแจชีวิต

รวบรวมและเรียบเรียงโดย ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม พุทธสถานอินเดียน้อย วัดพระธาตุแสงแก้วมงคล ตำาบลสันโค้ง อำาเภอดอกคำาใต้ จังหวัดพะเยา


หนังสือ “กุญแจชีวิต” ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม

พุทธสถานอินเดียน้อย วัดพระธาตุแสงแก้วมงคล ตำาบลสันโค้ง อำาเภอดอกคำาใต้ จังหวัดพะเยา พิมพ์ครั้งที่

: 1

จำานวนพิมพ์

: 10,000 เล่ม

ออกแบบและพิมพ์ที่ : โรงพิมพ์นันทพันธ์พริ้นติ้ง 33/4-5 หมู่ 6 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โทร. 053-804908-9


ค�าน�า ธรรมะฉบับพกพาทีไ่ ด้รวบรวมเรียบเรียงขึน้ ใน ครัง้ นี้ ได้พยายามกลัน่ กรองรวมทุกถ้อยคำา เพือ่ เป็น ดุจ “กุญแจชีวิต” ไขประตูอิสรเสรี สู่ความว่าง อันไพศาลไร้ขอบเขตจนมองทะลุโลก ทะลุภาพมายา อันไหลไปตามกระแสอารมณ์ความรู้สึก ด้วยภาษา ที่อยู่นอกเหนือบทเรียนในตำารา แต่เป็นภาษาจาก บทเรียนในชีวิตของผู้รู้แจ้งโลกและธรรมอย่างเช่น พระพุทธองค์เป็นต้น เพราะปราศจากการแต่งแต้ม สีสันให้เลอะเทอะเลือนราง จนมองไม่เห็นภาพ ความจริงที่ปราศจากหมอกม่านฝ้ามัว ซึ่งเป็น ความบริสทุ ธิง์ ดงามของความว่างคือ “ปรมัตถธรรม” ที่ผสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว กับสรรพสิ่งที่ เรียบง่ายตามธรรมชาติและสุดแสนจะธรรมดาทีส่ ดุ ในเนื้อหาสาระทั้งหมด ซึ่งทรงเป็นปรีชาชาญ ของเพชรนำ้าเอกหลายท่านที่ได้ประสบความสำาเร็จ


สุดยอดมาแล้ว จึงควรอย่างยิง่ แก่การเผยแพร่ ซึง่ เป็น บทพิสจู น์ทไี่ ด้ใช้เวลาศึกษามาเป็นเวลายาวนานกว่า 50 ป แม้จะเป็นเพียงภิกษุผู้ชรา อยู่ท่ามกลาง ธรรมชาติตามปาเขามาตลอด แต่ก็ได้พยายามเฝ้า มองชีวิต สังเกตสิ่งแวดล้อม มองดูโลก ค้นหาความ จริงของสรรพสิง่ เรือ่ ยมา จนเป็นสายสัมพันธ์ตอ่ เนือ่ ง มาตราบทุกวันนี้ จึงหวังว่าธรรมบรรณาการ “กุญแจ ชีวิต” จากจิตใจภิกษุผู้ชรา จักเป็นคุณประโยชน์ จุดประกายธรรม ให้สว่างไสวในดวงใจท่านสาธุชน โดยทั่วไป


หยุด!!! “หยุดความคิดรวมใจให้เป็นหนึ่ง ถอนความรู้สึกว่าเป็นเราหรือเป็นอะไรให้หมดสิ้น ทำาจิตให้ว่าง หายใจให้ลึกปลอดโปร่งปล่อยวาง คือกุญแจดอกสำาคัญไขสู่ความสงบสุขของชีวิต ล้านความคิดจนล้นสมองทำาให้ยุ่งเหยิงหมดสภาพ หมดเรี่ยวแรงหมดหนทาง ไร้ความคิด สู่จุดจบ ศิโรราบพ่ายแพ้สังขารถ้วนทุกตัวตน จงกลับคืนสู่ธรรมชาติเดิมที่ว่างและสงบเรียบง่ายที่สุด ใช้ชีวิตอย่างธรรมดาผสานกลมกลืนกับธรรมชาติ คือกุญแจชีวิตเปิดประตูไขสู่ความว่าง...” ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม ยอดเขาคิชฌกูฏ พุทธสถานอินเดียน้อย วัดพระธาตุแสงแก้วมงคล วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. ๒55๗ เวลา 05.40 น.


“อรุณเบิกฟา..... แสงทองส่องหล้านภาลัย..... ท่ามกลางชลธาราดอกบัว..... บานสะพรั่งงดงามกลางดวงใจ..... สรรพสัตว์คือเมล็ดพันธุ์องค์พระพุทโธ….. คู่โลกทุกยุคสมัย..... ทุกชีวิตคือสัจธรรม..... สู่สุญตาว่างเปล่าไร้ตัวตนคนสัตว์”


สารบัญ อริยสัจ 4 ประการ พุทธอุทานในอรุณรุ่งหลังทรงตรัสรู้ ญาณทัศนะของพระพุทธเจ้า ธรรมสายตรง พระพุทธโอวาทครั้งสุดท้าย สัจธรรมคำาสอนของพระโพธิธรรม สัจธรรมคำาสอนของพระเว่ยหล่าง (ฮุ่ยเหนิง) สัจธรรมคำาสอนของพระครูบาฮวงโป บทส่งท้าย กุญแจชีวิต - ศิลปะการมองโลกสู่วิถีชีวิตตามธรรมชาติ - ชีวิตคือทะเลทุกข์ - บาทวิถีของมนุษย์ - ภัยใหญ่ที่ต้องระวังที่สุด - มหาวิทยาลัยชีวิต

9 1๒ 13 16 18 ๒1 ๒9 6๗ 109 115 116 11๗ 118



อริยสัจ ๔ ประการ 1. ความรู้จริงเรื่องของชีวิตมีธรรมชาติ ที่จะต้อง เผชิญกับความทุกข์ ปญหาความยาก ความลำาบาก จะต้องต่อสู้กับอุปสรรคนั้น เป็นเรื่องธรรมดา ที่จะต้องรู้ประจักษ์แจ้ง อย่างถ่องแท้ ๒. ความรอบรูบ้ อ่ เกิดของสมุฏฐาน ต้นตอเหตุทมี่ า ของปญหาความยุ่งยากสับสน คือตัวอุปาทาน ความสำาคัญมั่นหมาย ทำาให้หลงงมงายยึดมั่น ถือมั่นสำาคัญตน ทำาให้เกิดความโลภ ความใคร่ ความอยาก ความทะเยอทะยาน ความโกรธ ความอาฆาตพยาบาท และความหมกมุ่น ลุ่มหลงสำาคัญตนด้วยประการต่างๆ ดังนั้นจะ ต้องใช้ดวงตาอันแหลมคมทำาลายหมอกม่าน ภาพลวงตา (อุปาทาน) ด้วยการมีสติปญญา อันชาญฉลาด เป็นกุญแจดอกสำาคัญของชีวิต ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๙


เปิดประตูใจสู่อิสรเสรี ทำาลายสิ่งสมมุติฐาน ทุกอย่างทุกประการสู่ความจริง คือแสงสว่าง ของชีวิต 3. มองเห็นชัดเจนแจ่มแจ้งอย่างทะลุปรุโปร่ง ว่าสรรพสิ่งตามความเป็นจริงมีความว่าง เป็นสภาพและดับเย็นสงบเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดาของทุกชีวิตอยู่แล้ว คือเป็นสุญตา ความว่างเป็นอนัตตาไร้ตวั ตนคนสัตว์ เป็นภาวะ ที่ปราศจากการแยกแยะว่าเป็นอะไร ทั้งหมด ทั้งสิ้น 4. ประจักษ์แจ้งความจริงถึงที่สุด คือความสมดุล ของชีวิต จะดำาเนินชีวิตบนเส้นทางสายกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา ด้วยจักรเฟองแห่งธรรม หมุนล้อแห่งชีวติ ตามทางอริยมรรค ๘ ประการ คือ ๑) ความเห็นชอบ ๒) ความด�าริชอบ ๓) การพูดจาชอบ ๔) การท�าการงานชอบ ๑๐  กุญแจชีวิต


๕) การมีอาชีพชอบ ๖) การมีความเพียร พยายามชอบ ๗) การมีสติชอบ ๘) การมี สมาธิความตั้งใจมั่นชอบ ซึ่งเมื่อพระสัมมา สัมพุทธเจ้าใกล้จะดับขันธปรินิพพาน ได้ทรง ตรัสสอนสาวกองค์สุดท้ายชื่อ สุภัทรปริพาชก วา อริยมรรค มีองค์ ๘ เปนไปในธรรมวินัย ย่อมยังบุคคล ให้ได้อานิสงส์แห่งอริยบุคคล ภิกษุพึงอยู่โดยชอบไซร้ โลกจะไม่ว่างจาก พระอรหันต์ ดังนี้ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย.....เมื่อใดบุคคลเห็นด้วย ปญญาว่าสังขารทัง้ ปวง ไมเทีย่ ง เปนทุกข์ เปนอนัตตา (ไรตวั ตน) เมือ่ นัน้ ย่อมเหนือ่ ยหน่ายในสิง่ ทีเ่ ป็นทุกข์ ทีต่ นหลง นัน่ แหละคือทางแห่งพระนิพพาน อันเป็น ธรรมที่สงบ บริสุทธิ์ สะอาด หมดจด”

ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๑


พุทธอุทานในอรุณรุงหลังทรงตรัสรู เมื่อเรายังไม่พบญาณ... ได้แล่นท่องเที่ยว ไปท่ามกลางสงสารเป็นอเนกชาติ เสาะแสวงหาอยู่ ซึ่งนายช่างผู้ปลูกเรือน คือวิ่งตามตัณหา ผู้สร้างภพ สูก่ ารเกิดครัง้ แล้วครัง้ เล่า การเกิดทุกคราว ต้องเป็น ทุกข์ สู้ทนยากลำาบากอยู่รำ่าไป นี่แน่ะ!!! นายช่างผู้ปลูกสร้างเรือน...บัดนี้ เรารู้จักเจ้าแล้วนะ!!! เจ้าจะมาทำาเรือนให้เราไม่ได้ อีกต่อไป!!! เพราะโครงเรือนทั้งหมดของเจ้า... เราหักเสียแล้ว ยอดเรือน... เรารือ้ ทิง้ ไม่มเี ยือ่ ใยอะไร เสียหมดแล้ว จิตของเราได้ถึงซึ่งที่สุด สภาพที่อะไร จะมาปรุงแต่งไม่ได้อกี ต่อไป... มันได้ถงึ แล้ว ซึง่ ความ สิ้นไป ดับกระแสตัณหา เป็นความสงบร่มเย็นที่สุด ของชีวิต..... คือถึงนิพพาน

๑๒  กุญแจชีวิต


ญาณทัศนะของพระพุทธเจา ภิกษุทั้งหลาย!!! สิ่งๆ หนึ่งเป็นสิ่งซึ่งในนั้น ไม่ มี ดิ น ไม่ มี นำ้ า ไม่ มี ล ม ไม่ มี ไ ฟ ไม่ ใช่ ฌ าน ที่เพ่งอากาศจนปราศจากอารมณ์ การรับรู้อันหา ทีส่ ดุ มิได้ ไม่ใช่ฌานทีเ่ พ่งความไม่มอี ะไรอย่างสิน้ เชิง เป็นอารมณ์ ไม่ใช่สภาพจิตที่อยู่ในอารมณ์ ความจำา ได้หมายรู้ก็ไม่ใช่ จะว่าไม่มีเลยก็ไม่เชิง อีกทั้งไม่ใช่ โลกนี้ ไม่ใช่โลกอืน่ ไม่ใช่พระจันทร์ หรือพระอาทิตย์ ทั้งสองอย่าง ภิกษุทงั้ หลาย!!! ในกรณีอนั เกีย่ วกับสิง่ ๆ นัน้ เรา ไม่กล่าวว่ามีการมา ไม่กล่าวว่ามีการไป ไม่กล่าวว่า มีการหยุด ไม่กล่าวว่ามีการเกิดขึ้น ไม่กล่าวว่า มีการดับไป สิ่งนั้นไม่ได้ตั้งอยู่ สิ่งนั้นไม่ได้เป็นไป และสิ่งนั้นไม่ใช่อารมณ์ นั่นแหละคือที่สุดแห่งทุกข์ คือนิพพาน ความว่าง สงบร่มเย็นที่สุดของชีวิต ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๓


พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมีปกติสอนชี้ตรงตัว ชีวติ ให้มองเห็นตามความเป็นจริงว่าชีวติ เป็นอนิจจัง ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน สังขารอันเกิดจากการปรุงแต่ง เป็นบ่อเกิดของความทุกข์ และทุกสรรพสิง่ ไร้ซงึ่ ตัว ตนคนสัตว์ จะยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด ๆ ไม่ได้ทั้งนั้น โดย ทรงแยกแยะให้ได้มองเห็นว่า “รูปรางกายลวนเปน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เวทนาความรูส กึ ทุกอยางเปน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สัญญาความจดจํา ทุกอยางเปน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สังขารการปรุงแตงตางๆ นานาเปน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา วิญญาณการรับรูอารมณทั้งหลาย เปน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” รวมทัง้ สรรพสิง่ ล้วนเป็นอนิจจัง ไม่มอี ะไรเทีย่ ง แท้แน่นอน และเป็นอนัตตาไร้ความเป็นตัวตนคน สัตว์ จะยึดมัน่ ถือมัน่ สิง่ ใดไม่ได้ ทรงเน้นให้รเู้ ห็นเท่า ทันความจริง แล้วปล่อยวางทำาจิตใจให้ว่าง สงบอยู่ ๑๔  กุญแจชีวิต


เสมอ อยู ่ ใ นสุ ญ ตาเป็ น วิ ห ารธรรม เป็ น ชี วิ ต ปลอดโปร่งเบาสบายที่สุด….. “สุญญตัป ปฏิสังยุตตา โลกุตตรา ธัมมา ธรรมทั้งหลายอยูเหนือวิสัยโลกอันเนื่องอยูดวย สุญตา... อนิจจา วะตะสังขารา สังขารทั้งหลาย ไมเที่ยงหนอ... อุปททวา ยะ ธัมมิโน มีความเกิด ขึ้นและความเสื่อมไปเปนธรรมดา... อุปชฌิตวา นิรุต ฌันติ เกิดขึ้นแลวก็ดับไป... เตสังวู ปสโม สุโข การเขาไประงับสังขารเหลานัน้ เสียไดเปนความสุข...”

ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๕


ธรรมสายตรง ดูก่อนโมคคัลลานะ!!! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่าบรรดาธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ครั้นได้ สดับดังนัน้ แล้ว เธอทราบชัดธรรมทัง้ ปวง ด้วยปญญา อันดียิ่งดังนั้นแล้ว เธอได้เสวยเวทนา อย่างใด อย่างหนึ่ง เป็นสุขก็ดี เป็นทุกข์ก็ดี มิใช่สุขก็ดี มิใช่ ทุกข์ก็ดี เธอพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณาเห็น ด้วยปญญาเป็นเครือ่ งหน่าย พิจารณาเห็นด้วยปญญา เป็นเครื่องดับ พิจารณาเห็นด้วยปญญาเป็นเครื่อง สละคืนในเวทนานั้น เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้นย่อม ไม่ยึดมั่นสิ่งใดๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง หวาดหวั่น เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลส ให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ ได้อยู่จบแล้ว กิจที่จะต้องทำาได้ทำา เสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำาอย่างนี้อีกมิได้มี ว่า โดยย่อข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าน้อมไป ๑๖  กุญแจชีวิต


แล้วในธรรม ที่สิ้นตัณหา มีความสำาเร็จล่วงส่วน เกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารีบคุ คลล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลายฯ “ดู ก  อ นภิ ก ษุ ทั้ ง หลาย!!! พรหมจรรย นี้ เราประพฤติมิใชเพื่อหลอกลวงคนใหมานับถือ มิใชเพื่อใหคนมารูจักตนดวยคุณวิเศษ อยางนั้น อยางนี้ มิใชเพื่อการไดลาภสักการะเกียรติยศ ชื่อเสียง มิใชสําคัญตนเปนเจาสํานัก เจาลัทธิ คณาจารย ที่แทพรหมจรรยนี้เราประพฤติ เพื่อ ความสํารวม เพื่อทําลายความหยิ่ง ความถือตัว เพือ่ ทําลายความกําหนัดยินดี เพือ่ ความดับทุกข”

ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๗


พระพุทธโอวาทครั้งสุดทาย “ดูกอนภิกษุทั้งหลาย!!! สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเปนธรรมดา ทานทั้งหลายจงทํา ความไมประมาทใหถึงพรอมเถิด... นี่เปนวาจา มีในครั้งสุดทายของพระตถาคตเจา......” พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงถ่ายทอด ธรรมให้แก่พระมหากัสสปะ อย่างไร้เสียงว่า “จิตหนึง่ ซึ่งเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของทุกสรรพสิ่งนั้น เป็นสิ่ง ที่แผ่กว้างควบคู่กันไปเป็นเนื้อเดียวกับความว่าง และบรรจุเต็มอยูท่ วั่ ในทุกสรรพสิง่ ทีป่ รากฏอยูใ่ นโลก นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่าบทบัญญัติของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย…..” ณ ยอดเขาคิชฌกูฏ ท่ามกลางบริษัทในกาล ครั้ ง นั้ น ท้ า วมหาพรหมได้ ถ วายดอกบั ว แด่ พระโลกนาถเจ้า เมือ่ ทรงรับแล้วและทรงจับดอกบัว ๑๘  กุญแจชีวิต


ชู ขึ้ น เป็ น นั ย ปริ ศ นา แล้ ว ประทั บ นิ่ ง สงบมิ ไ ด้ ทรงตรัสถ้อยคำาใดๆ ท่ามกลางความเงียบสงบนั้น มีเพียงพระมหากัสสปะที่หยั่งรู้ความหมายและ ได้แสดงกิริยายิ้มน้อยๆ เป็นประกายฉายความรู้สึก ลึกซึง้ ต่อสภาพความนิง่ สงบและสว่างไสวของจิตใจ ที่ว่างจนไร้คำาอรรถาธิบาย และพระพุทธองค์ ได้ทรงยกย่องถึงขนาดแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิและ บาตร กับพระมหากัสสปะผูเ้ ป็นสาวกเพียงองค์เดียว เท่านั้น และถือเป็นธรรมเนียมถ่ายทอดธรรมจาก จิตสู่จิต โดยชี้ตรงตามอุปนิสัยโดยเฉพาะ เป็นสิ่ง ที่จะต้องประจักษ์แจ้งรู้ซึ้งถึงสัจธรรมความจริง ของชีวติ ได้ดว้ ยตนเองตัง้ แต่นนั้ มาจนตราบทุกวันนี้

ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๙


มองดูที่สุดของชีวิตและโลก ลวนเปนความวางและสงบ ๒๐  กุญแจชีวิต


สัจธรรมค�าสอนของพระโพธิธรรม ท่านโพธิธรรมถ่ายทอดธรรมะคือ จิตหนึ่งนี้ เท่านั้น ไม่มีอะไรที่นอกเหนือกว่านี้อีกเลย ท่านได้ เน้นชี้ตรงสู่ความจริงที่ว่า สัตว์โลกทั้งหลาย ต่างก็มี เนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่แล้วตลอดเวลา เพียงแต่ทำาความเข้าใจต่อจิตให้สำาเร็จเท่านั้นก็จะ พบธรรมชาติเดิมแท้ของจิตพุทธะ ได้จากภายในใจ ไม่ต้องสิ้นเปลืองเวลาท่องเที่ยว เสาะแสวงหาจาก ที่ไหนเลย จงมุ่งเป้าสู่ใจที่ว่างเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งปราศจาก ความรู้สึกอันหลากหลายนานาชนิด หรือการ หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว เป็นสิ่งที่ปราศจากความ เป็นเหตุ และความเป็นผลเป็นต้น ทีว่ า่ วิธหี ลายแบบ ที่พระพุทธเจ้าท่านนำามาใช้สอนเป็นแค่เพียงฐานะ อุบายล้วนๆ เพื่อปลดเปลื้องสัตว์โลกที่ยังหมกจม อยู่ในความหลงผิดเต็มที่เท่านั้นเอง ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๒๑


ท่านโพธิธรรมกล่าวว่า จิตที่เป็นธรรมชาติ เดิมแท้ของคนเรานั้น อันเป็นบ่อเกิดของสิ่งทั้งปวง เป็นสิ่งซึ่งใครจะทำาให้เกิดขึ้นหรือทำาลายไม่ได้ ถึงแม้นมันจะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมให้เป็น ปรากฏการณ์หลากหลาย แต่ในขณะที่มันมิได้ ตอบสนอง มันก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึง ในการ ที่จะบัญญัติว่า เป็นความมีอยู่หรือความไม่มี ยิ่งไป กว่านั้นขณะที่มันทำาหน้าที่ตามกฎแห่งเหตุปจจัย เป็นเหตุและผลแก่กันและกัน มันก็ยังเป็นสิ่งที่ ไม่อาจจะรูส้ กึ ได้ โดยทางอายตนะอยูน่ นั้ เอง จงเพียง แต่อยู่อย่างสงบเงียบสนิทในภาวะแห่งความว่าง ปราศจากความรู้สึกว่าเป็นอะไร นั้นคือขณะแห่ง การเดินตามทางของพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้ ศูนย์รวมโดยตรงของทุกสิ่ง ต้องมุ่งสู่จิตใจ ของคน ซึ่งโดยจิตเท่านั้นเขาสามารถรู้แจ้งเห็นจริง ถึงธรรมชาติเดิมของเขาเอง และเข้าถึงความเป็น พุทธะได้โดยจิตนั้นเอง ๒๒  กุญแจชีวิต


ท่านโพธิธรรม ท่านชี้ตรงไปยังทุกสิ่ง ล้วนคือ จิต และจิตก็คือพุทธะ มันจะรวมทุกสรรพสิ่งเข้าไว้ ในตัวมัน รวมทั้งพระพุทธเจ้าและสัตว์โลกทั้งหลาย ย่อมมีส่วนแห่งธรรมชาติของความเป็นพุทธะ เท่ากันหมด เพียงแต่สามารถเข้าใจในจิตหนึ่งนี้ ให้สาำ เร็จ จากการค้นพบความจริงอันเป็นธรรมชาติ เดิมแท้เช่นนีเ้ ท่านัน้ มันจะเป็นทีแ่ น่นอนว่าไม่มอี ะไร เลยที่จะต้องเสาะแสวงหาอีกต่อไปแม้แต่นิดเดียว จิตของพวกเราทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธะ มาแล้วตัง้ แต่แรกเริม่ เดิมที และไม่มที างทีจ่ ะแยกกัน ได้แต่อย่างใดเลย เพราะว่าทุกคนมีสว่ นแห่งธรรมชาติ ของความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และมีเนื้อหา เป็นอันเดียวกันกับพุทธะอยู่ตลอดเวลา ธรรมะไม่อาจจะบรรยายได้ด้วยคำาพูด และ พุทธะก็ไม่อาจจะมองเห็นได้ด้วยตาหรือสัมผัสได้ ด้วยมือเพราะความจริงของสิง่ ทัง้ สองนัน้ ก็คอื “จิต” ซึ่งเป็นต้นกำาเนิดของสิ่งทั้งปวง นี่คือสัจธรรม เพียงหนึ่งเดียว ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๒๓


สิ่งที่ทุกคนมีส่วนร่วมประกอบโดยปราศจาก การแบ่งแยกแยะเป็นนัน่ นี!่ !! นัน้ แหละ...คือ “พุทธะ” ซึ่งอยู่ในจิตของทุกคน จงทำาให้ว่าง...ทั้งกายทั้งใจ โดยสิ้นเชิง ซึ่งนำาไปสู่การเพิกถอนเสียซึ่งความรู้สึก (ยึดติดสิ่งสมมุติ) ต่างๆ ทางอายตนะ ในการทำาให้ ว่างไปโดยสิน้ เชิงนีเ้ อง ทางสูค่ วามเป็นพุทธะทัง้ หลาย ได้เป็นไปอย่างรุง่ เรือง และในขณะเดียวกัน จากการ (ยึดติดสิ่งสมมุติ) เที่ยวแยกแยะออกไปว่าเป็นนั่น เป็นนี่ อย่างตรงกันข้ามเป็นคูๆ่ (คติทวินยิ ม) นัน่ แหละ ฝูงปศาจร้าย ก็รุ่งเรืองโชติช่วง..... ท่านโพธิธรรมได้เข้าฌานหันหน้าเข้าผนังถำ้า ถึง 9 ป ท่านจะไม่ยอมหาทางที่จะนำาตนให้มี ความคิดเห็นอะไรมากมาย โดยมุง่ สูว่ ถิ ที าง การออก จากใจเสียให้หมดสิ้น แม้กระทั่งหลักซึ่งเป็นที่เกิด แห่งการประกอบกรรมต่างๆ นี่แหละ...คือทางลัด อย่างฉับพลันของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๔  กุญแจชีวิต


ขณะที่มีการเห็นแจ้งต่อความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันของจิตและ “เนื้อหา” อันนั้นซึ่งก่อให้ เกิดมีหลักสัจธรรมขึ้นมานั่นแหละ เป็นขณะที่อาจ กล่าวได้อย่างแท้จริงว่า ขณะแห่งการเลิกล้าง การพรำ่าพูด การบรรยาย... ธรรมชาติที่แท้ของจิตนั้นถ้าเข้าใจซึมซาบแล้ว คำาพูดของมนุษย์ทกุ ภาษาไม่สามารถจะอรรถาธิบาย หรือเปิดเผยมันได้ “ความตรัสรู”้ คือความไม่มอี ะไร ให้ต้องบรรลุถึง และผู้ซึ่งได้ตรัสรู้แล้ว ก็จะไม่พูดว่า เขารู้อะไร!!! ท่านโพธิธรรมได้กล่าวว่า แม้เราได้ถ่ายทอดให้ แล้วซึ่งธรรมะแห่งจิต ธรรมะก็จะเป็นธรรมะไปได้ อย่างไรกัน? เพราะว่าไม่ใช่ทั้งธรรมะ ไม่ใช่ทั้งจิต ที่สามารถมีอยู่อย่างความเป็นตัวเป็นตน เข้าใจได้ เช่นนี้เท่านั้น เธอจึงจะเข้าใจธรรมะซึ่งถ่ายทอด ด้วยจิตถึงจิต... ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๒๕


จิตพื้นเกิด.... จึงเกิดเหตุและผล จิตพื้นเกิดทุกสิ่งที่ปลูกจึงมี เพราะมี เรือ่ งอีก จึงเกิดเหตุและผล... ผลเต็มโพธิญาณ ก็สมบูรณ ดอกไมบาน โลกธาตุกบ็ งั เกิดขึน้ .... ฉันแตแรกมาถึงแผนดินนี้ (ประเทศจีน) ก็ ไ ด ถ  า ยทอดธรรมช ว ยผู  ห ลงงมงาย อารมณ หนึ่ง* ดอกไมบานครบ ๕ กลีบแลว ที่สุดผลจะปรากฏขึ้นมาเองตามธรรมชาติ (คือยุคของทานเวยหลาง หรือ ฮุยเหนิง สังฆปริณายกองคที่ ๖) * หนึ่งคือทานโพธิธรรม และดอกไมบานครบหากลีบ หมายถึง การถายทอดธรรมแตละรุน ตั้งแตทานฮุยเขอ ถึง ทานฮุยเหนิง ๒๖  กุญแจชีวิต


ภาพทานโพธิธรรม ปฐมาจารยทางพุทธศาสนา (นิกายเซ็น) องคแรกจากอินเดียสูป ระเทศจีน (ประมาณ พ.ศ. ๑๐๖๗) ผูว าดภาพนี้ ชือ่ ภิกษุมก เคย ในสมัยราชวงศซอ ง (๘๐๐ กวาป) ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๒๗


รูปรูถปาถยองค ายองค จริจงริพระสั งพระสั งฆปริ งฆปริ ณณ ายกเว ายกเว ยหล ยหล างา(ฮุ ง (ฮุ ยเหนิ ยเหนิ ง)ง) ๒๘  กุญแจชีวิต อายุ อายุ ๗๖๗๖ป ปนั่งนัสมาธิ ่งสมาธิ ดับดขั​ับนขัธนมธาแล มาแล ว ว๑,๓๐๐ ๑,๓๐๐กวกว าปาป


สัจธรรมค�าสอนของพระเวยหลาง (ฮุยเหนิง) จิตเดิมแท้ของเรา ซึง่ เป็นเมล็ดพืชหรือแก่นของ การตรัสรู้นั้น เป็นของบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ และ ต้องอาศัยจิตเดิมแท้นี้เท่านั้นมนุษย์เราจึงจะเข้าถึง ความเป็นพุทธะได้โดยตรง.... การทีใ่ ครจะบรรลุอนุตระสัมโพธิได้นนั้ ผูน้ นั้ จะ ต้องสามารถรูแ้ จ้งด้วยใจในธรรมชาติแท้ ของตัวเอง หรือที่เรียกว่า “จิตเดิมแท้” อันเป็นสิ่งที่ใครสร้าง ขึ้นไม่ได้หรือทำาลายให้สูญหายไปก็ไม่ได้ ชั่วเวลา ขณะจิตเดียวเท่านั้น ผู้นั้นสามารถเห็นแจ้ง จิตเดิม แท้ได้โดยตลอดกาลทั้งปวง ต่อจากนั้น ทุกๆ สิ่งก็ จะเป็นอิสระจากการถูกกักขัง กล่าวคือจะเป็นวิมุติ หลุดพ้น ตถตา (คือความเป็น แต่ที่เป็นอยู่เช่นนั้น ไม่อาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้) ปรากฏขึ้นเพียง ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๒๙


ครั้งเดียวหรือชั่วขณะจิตเดียว ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ จากความหลงได้ตลอดกาล ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่า สถานการณ์รอบข้างจะเป็นเช่นไร ใจของผู้นั้นก็จะ ยังคงอยู่ในสภาพแห่ง “ความเป็นเช่นนั้น” สถานะ เช่นนี้ที่จิตได้ลุถึง นั้นแหละ...คือตัวสัจธรรมแท้ ถ้า สามารถเห็นสิ่งทั้งปวงโดยลักษณะการเช่นนี้ ก็จะ ได้รู้แจ้งจิตเดิมแท้ ซึ่งเป็นการตรัสรู้อันสูงสุด

๓๐  กุญแจชีวิต


โคลงโศลกส�านวนที่ ๑ ไม่มีต้นโพธิ์… ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด… เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว… ฝุนจะลงจับอะไร ???

โคลงโศลกส�านวนที่ ๒ โพธิ์เดิมไร้ต้น... กระจกยลแท่นหามีไม่... เดิมทีไม่มีสิ่งใด... ฝุนเกาะใส่ที่ใดกัน ???

โคลงโศลกส�านวนที่ ๓ อันโพธิ์นี้ไซร้ไร้ต้นใบ... กระจ่างใสใช่คันฉ่องมิต้องหลง.... ไม่เคยมีตัวตนที่มั่นคง... แล้วฝุนผงจะลงจับกับอะไร ??? ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๓๑


โอ!!! ใครจะไปคิดว่าจิตเดิมแท้ นั้นเป็นของ บริสุทธิ์อย่างบริสุทธิ์แท้จริง ใครจะไปคิดว่าจิตเดิม แท้นั้น เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำานาจความต้องเป็น อยู่หรือภายใต้ความดับสูญ อย่างอิสระแท้จริง.... ใครจะไปคิดว่าจิตเดิมแท้นนั้ เป็นสิง่ ทีม่ คี วามสมบูรณ์ อยู่ในตัวมันเอง อย่างสมบูรณ์แท้จริง…. ใครจะไป คิดว่าจิตเดิมแท้นั้น เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความ เปลี่ยนแปลงอย่างนอกเหนือแท้จริง... ใครจะไป คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมานี้ ไหลเท ออกมาจากตัวจิตเดิมแท้.... สำาหรับผูท้ ไี่ ม่รจู้ กั จิตใจตัวเองว่าคืออะไร? ก็ปว ย การที่ผู้นั้นจะศึกษาพระพุทธศาสนา ตรงกันข้าม... ถ้าผู้ใดรู้จักจิตใจของตนเองว่าเป็นอะไร และเห็น ด้วยปญญาอย่างซึมซาบว่าธรรมชาติแท้ของตนเอง คืออะไรด้วยแล้ว ผูน้ นั้ คือวีระมนุษย์ คือครูของเทวดา และมนุษย์คือพุทธะ... ๓๒  กุญแจชีวิต


สัตว์โลกที่มีความรู้สึกนึกคิด ซึ่งเราหว่าน เมล็ดพันธุ์แห่งการตรัสรู้ลงในเนื้อนาแห่งความเป็น ไปตามอำานาจแห่งเหตุ แล้วจะเก็บเกีย่ วผลถึงพุทธภูมิ วัตถุมิใช่สัตว์ที่มีความรู้สึกนึกคิด เป็นสิ่งว่างเปล่า จากธรรมชาติแห่งพุทธะ ย่อมไม่หว่าน และไม่ เก็บเกี่ยวเลย เมือ่ มีความประสงค์ทจี่ ะรูธ้ รรมแล้ว จงระงับใจ ไม่ให้คดิ ถึงสิง่ ใดๆ และทำาในใจให้วา่ งเปล่า ไม่คดิ ถึง ทั้งฝายดีและฝายชั่ว... (รู้จักสิ่งที่ไม่ดีและไม่ชั่ว) นั่นแหละคือธรรมชาติเดิมแท้หรือหน้าตาดั้งเดิม ของเรา ธรรมะที่เราจะต้องรู้นั้น ไม่ใช่ความเร้นลับ อะไร คือถ้าเรามองย้อนเข้าข้างใน ก็จะเห็นสิ่งซึ่ง เร้นลับมีอยู่ภายในตัวเรานี่เอง ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้น คือธรรมชาติ แห่งความเป็นพุทธะ ถ้านอกไปจากธรรมชาตินแี้ ล้ว หามีพุทธะที่ไหนอีกไม่เลย ธรรมชาติของความเป็น ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๓๓


พุทธะนั้นจะเป็นของถาวรตลอดอนันตกาลก็ไม่ใช่ จะว่าไม่ถาวรก็ไม่ใช่ เพราะพุทธธรรมที่ปรากฏไม่มี ทางถึงสองทาง ตามความคิดของคนทัว่ ไปนัน้ เข้าใจ ว่า มีส่วนย่อยๆ ของขันธ์และธาตุทั้งหลายนั้นเป็น ของที่แบ่งแยกออกเป็นสองอย่าง แต่ผู้ที่ได้บรรลุ ธรรมแล้ว ย่อมเข้าใจว่าพุทธะนัน้ ไม่ได้เป็นของคูเ่ ลย ปญญาที่ทำาสัตว์ให้บรรลุถึงการตรัสรู้นั้น มีอยู่ ในตัวเราทุกคนอยูแ่ ล้ว แต่เป็นเพราะมีอวิชชาความ มืดบอดที่ครอบงำาใจเราไว้ จึงไม่อาจมองเห็นมัน ด้วยตนเองจนเราต้องเที่ยวเสาะแสวงหาคำาแนะนำา จากผู้อื่นที่เขาได้เห็นแจ้งแล้วก่อนหน้าที่เราจะรู้จัก จิตเดิมแท้ของเราเอง ตามความจริงแล้วมันไม่มี ความแตกต่ า งอะไรกั น ระหว่ า งผู ้ เ ห็ น แจ้ ง กั บ ผู้มืดบอด ใจนั้นเหมือนกับอวกาศ มันเป็นสิ่งที่บัญญัติ ไม่ได้ คือมันไม่ใช่ของกลมหรือของเหลีย่ ม ไม่ใช่ของ ๓๔  กุญแจชีวิต


โตหรือของเล็ก ไม่ใช่สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว ไม่ใช่ของสูงหรือตำ่า ไม่ใช่ของสั้นหรือยาว ไม่ใช่ความชัง หรือความชืน่ ไม่ใช่ความถูกหรือความผิด ไม่ใช่ของดี หรือของชั่ว ไม่ใช่ของอันแรกหรือของอันสุดท้าย และไม่ใช่เป็นภูมิธรรมอันเดียวเรื่องเดียวเท่านั้น ทีเ่ ราบรรลุถึงการตรัสรู้ ซึ่งมันเป็นของสิ่งเดียวกันกับ จิตเดิมแท้ อันเป็นภาวะแห่งความว่างแต่ประการเดียว ความว่างอันไม่มีขอบเขตจำากัดของสากล จักรวาล เป็นสิ่งที่มีความจุมากพอที่จะรวมเอา สิ่งต่างๆ ซึ่งมีรูปและสัณฐานแปลกแตกต่างรวม เข้าไว้ในตัวมันได้ สิ่งเหล่านั้น เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวทั้งหลาย ภูเขา แม่นำ้า แผ่นดิน นำ้าพุ ลำาธาร พุม่ ไม้ ปาไม้ คนดี คนชัว่ ธรรมะฝายดี ธรรมะ ฝายชั่ว เมืองสวรรค์ เมืองนรก มหาสมุทร ภูเขา ทัง้ หลาย ในเทือกเขามหาสุเมรุ (หิมาลัย) อากาศนัน้ ซึมเข้าไปอยู่ทั่วสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้ทั้งหมด ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๓๕


และ “ความว่าง” แห่งธรรมชาติแท้ของเราก็เข้าไป มีอยู่ในสิ่งต่างๆ อย่างเดียวกัน ที่ว่าจิตเดิมแท้ เป็นของใหญ่หลวงก็เพราะว่ามันรวมสิง่ ต่างๆ เข้าไว้ ทัง้ หมด โดยทีส่ งิ่ ทุกสิง่ มันรวมอยูใ่ นตัวธรรมชาติแท้ ของเรา ดังนั้นเมื่อเราพบเห็นความดีหรือความชั่ว ของบุคคลอื่น เราไม่ถูกดึงดูดให้ชอบหรือไม่ถูกมัน ผลักดันให้ชังหรือเราไม่เกาะเกี่ยวกับมัน เมื่อนั้น ลักษณะแห่งจิตใจของเราเป็นของว่าง เท่ากันกับ อวกาศ โดยเหตุที่ใจนั้นสิงซึมตลอดทั่วสากลธรรมธาตุ (คือวงล้อแห่งธรรมณาจักรทั่วจักรวาล) เมื่อเรานำา มาใช้ก็จะสามารถรู้อะไรได้หลายสิ่งจากสิ่งที่มีอยู่ ทั้งหมด แต่เมื่อเราใช้มันอย่างเต็มขนาด เมื่อนั้นเรา ก็รู้ได้สารพัดสิ่งไม่มีอะไรเหลือ คือรู้ทุกๆ สิ่งภายใน สิ่งหนึ่งและรู้หนึ่งสิ่งภายในทุกๆ สิ่ง เมื่อนั้นแหละ ใจก็จะเป็นอิสระจะอยู่จะไปจะมาไม่มีติดขัด ๓๖  กุญแจชีวิต


จิตเดิมแท้ของเราเป็นของบริสุทธิ์หมดจด เด็ดขาด และถ้าเราได้รู้จักจิตใจของตนเอง ผสาน ความรู้แจ้งถึงตัวธรรมชาติแท้ของเราคืออะไรแล้ว? ทันใดนั้นเราจะตรัสรู้แจ่มแจ้งสว่างไสวได้รับใจของ เราเองกลับคืนมา พร้อมกับได้บรรลุถงึ พุทธภาวะได้ ทุกๆ คน การเพ่งพิจารณาในภายใน เราจะมีความสว่างไสว แจ่มแจ้งทัง้ ภายในและภายนอก และเราอยูใ่ นฐานะ ที่รู้จักใจของตนเอง การรู้จักใจของเราเองก็คือ การลุถึงวิมุติ (การหลุดพ้นเป็นอิสระ) การลุถึงวิมุติ ก็คอื การลุถงึ สมาธิและปญญาซึง่ เป็น “ความไม่ตอ้ งคิด” (หยุดการคิดปรุงแต่ง) คือการเห็นและการรู้สิ่ง ทั้งหลายทั้งปวง (ตามที่เป็นจริง) ด้วยใจที่ไม่มีอะไร ห่อหุ้มพัวพัน เมื่อเราใช้มัน มันแทรกเข้าไปได้ใน ทุกสิง่ แต่ไม่ตดิ แจอยูใ่ นสิง่ ใดเลย สิง่ ทีเ่ ราจะต้องทำา นั้ น มี แ ต่ ก ารชำ า ระจิ ต ให้ ใ สกระจ่ า งแต่ เ พี ย ง ประการเดียวเท่านั้น ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๓๗


โพธิเป็นสิ่งที่มีอยู่ประจำาภายในจิตเดิมแท้ ของเราเองอยู่แล้ว การพยายามมองหาโพธิจาก ที่อื่นเป็นความเขลา จิตที่บริสุทธิ์นั้นจะหาพบได้ ภายในจิตอันไม่บริสุทธิ์ของเรานั่นเอง ในทันใด ทีเ่ ราดำารงจิตถูกต้อง เราย่อมเป็นอิสระจากสิง่ บดบัง 3 ประการ คือ 1) กิเลส ๒) บาปกรรม 3) การต้อง ทนใช้บาปอยู่ในนรก ถ้าเราเดินอยูใ่ นมรรคาแห่งการตรัสรู้ เราไม่ตอ้ ง กลุม้ ใจด้วยสิง่ ทีจ่ ะทำาให้เราสะดุดล้ม ถ้าเราคอยสอด สายตาระวังความผิดของเราอยู่เสมอ เราก็เดินไถล ออกไปนอกทางที่ถูกไม่ได้ เพราะเหตุที่ชีวิตทุกๆ แบบย่อมมีวิถีทางแห่งความรอดพ้นเฉพาะของมัน เองทุกแบบ ฉะนั้นชีวิตทั้งหลายจะไม่ก้าวก่ายหรือกระทบ กระทัง่ ซึง่ กันและกัน ผูท้ ดี่ ว่ นเดินมุง่ แน่วไปตามทาง ทีถ่ กู ต้องนัน้ ย่อมไม่มองเห็นความผิดต่างๆ ในโลกนี้ ๓๘  กุญแจชีวิต


ถ้าเราพบความผิดในบุคคลอื่น เราเองก็ตกอยู่ใน ความผิดนั้นด้วยเหมือนกัน เมื่อผู้อื่นทำาผิดเราไม่จำา ต้องเอาใจใส่ เพราะมันจะเกิดความผิดขึน้ แก่เราเอง ในการที่จะไปรื้อหาความผิด โดยการสลัดนิสัยที่ ชอบค้นหาความผิดของคนอืน่ ออกไปเสียจากสันดาน เราย่อมตัดวิถีทางของกิเลสได้เป็นอย่างดี บุคคลใดตั้งใจจะเป็นครูสอนคนอื่นๆ เขาเอง ควรจะมีความคล่องแคล่วในวิธีที่เหมาะสมนานา ประการที่จะนำาผู้อื่นเข้าถึงความสว่างไสว เมื่อศิษย์ พ้นจากความสงสัยสนเท่ห์โดยประการทั้งปวง มันย่อมแสดงว่าเขาได้พบจิตเดิมแท้ของเขาเอง “หากประสงคอนุศิษยสอนผูคน มิอับจนทนตองพรอมธรรมอุบาย จงอยาไดใหบังเกิดสงกาใจ ฉะนี้ไซรคือธรรมญาณปรากฏฉาย” ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๓๙


รูปหลอพระสังฆปริณายกเวยหลาง (ฮุยเหนิง) ตรงหั๔๐ วนอนกระท  กุญแจชีอวมหญ ิต าคาบนยอดเขาคิชฌกูฏ-พะเยา


จักรวรรดิของพระพุทธเจ้าอยู่ในโลกนี้ การที่ เราจะเสาะแสวงความสว่างไสวในที่อื่นจากโลกนี้ เป็นของพิลึกกึกกือ เหมือนกับเที่ยวหาเขากระต่าย สัมมาทิฐิเป็นสิ่งถูกขนานนามว่า “เลิศเหนือโลก” มิจฉาทิฐิ เป็นสิง่ ทีถ่ กู ขนานนามว่า “ข้องอยูใ่ นโลก” เมื่อทิฐิทั้งสองอย่าง ไม่ว่าสัมมาทิฐิ หรือ มิจฉาทิฐิ ถูกสลัดพ้นออกไปเมื่อนั้นโพธิ์แท้ย่อมปรากฏ นี่คือ วิถที างฉับพลันทีถ่ กู ขนานนามว่า “มหาธรรมนาวา” สู่การตรัสรู้เข้าถึงพุทธภูมิ... “อันโพธิจําเดิมคือธรรมญาณ.... จิตอาการสั่นไหวคือมายา.... สุทธิจิตจักพบไดในมายา..... ชาวโลกาหากบําเพ็ญในธรรมา..... ทุกปญหาลวนมิอาจมาแผวผลาญ..... เพียงหมั่นคนความผิดตนในดวงมาน..... ก็เทียบปานเทาธรรมาไมบิดเบือน....” ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๔๑


ผู้มีใจเที่ยงธรรมการรักษาศีลไม่ใช่สิ่งจำาเป็น ผู้มีความประพฤติตรงแน่ว การปฏิบัติในทางฌาน มันจะมีมาเอง (แม้ไม่ตงั้ ใจทำา) สำาหรับหลักแห่งความ กตัญูกตเวทีนนั้ เราอุปฏ ฐากบิดามารดารับใช้ทา่ น อย่างฐานลูก สำาหรับหลักแห่งความเป็นธรรมนั้น ผู้ยิ่งใหญ่กับผู้ตำ่าต้อยยืนเคียงข้างอาศัยกันและกัน (ในคราวคับขัน) สำาหรับหลักแห่งขันตินนั้ เราไม่ให้มี การทะเลาะเบาะแว้งแม้จะตกอยู่ในท่ามกลาง หมู่อมิตรอันกักขฬะ ถ้าเรามีความเพียรรอคอยจน ได้ไฟอันเกิดจากการเอาไม้มาสีกนั เมื่อนัน้ บัวสีแดง (พุทธภาวะ) ก็จะโผล่ออกมาจากตมสีดาำ สิง่ ทีม่ รี สขม ย่อมถูกใช้เป็นยาทีด่ ี สิง่ ทีฟ่ ง แล้วไม่ไพเราะหู นัน่ คือ คำาตักเตือนอันจริงใจของผู้เตือนที่แท้จริง จากการ แก้ไขความผิดให้เป็นของถูก เราย่อมได้รบั สติปญ  ญา โดยการต่อสู้เพื่อรักษาความผิดของตัวไว้ เราแสดง นิมิตแห่งความมีจิตผิดปกติออกมา.... ๔๒  กุญแจชีวิต


การบำาเพ็ญสมาธิภาวนาที่ถูกวิธีนั้น ได้แก่ การทำาเป็นระบบระเบียบเป็นบรรทัดฐานเพือ่ ให้ชวี ติ มีมาตรฐานตรงแน่วในทุกโอกาส ขณะเดิน ยืน นั่ง หรือนอนต้องมีสติให้ตรงแน่วอยู่ในสมาธิภาวนา จริงๆ อย่าเป็นคนเหลวไหลเหลาะแหละ ปล่อยใจ ให้คดเคีย้ วไปมา อย่าสักแต่วา่ ทำาเพียงแค่พธิ ผี วิ เผิน เล่นลิ้น แค่ริมฝปาก การบำาเพ็ญจิตทำาสมาธิภาวนา ที่แท้จริง ต้องไม่มีการผูกพันตัวเองกับสิ่งใดๆ จะเปลือ้ งตนออกจากความหลงงมงาย โดยไม่ยดึ ติด อยู ่ กั บ ท่ า ที กิ ริ ย าอาการเสแสร้ ง ด้ ว ยลั ก ษณะ อันเคร่งขรึม หรือมิใช่การนัง่ อย่างเงียบติดต่อกันไป โดยไม่ให้ความคิดอันหนึ่งอันใดเกิดขึ้นในจิตใจ การทำาดังนี้ ก็เหมือนวัตถุทไี่ ร้วญ ิ ญาณทัง้ หลายและ ยังจะทำาให้เป็นอุปสรรคกีดขวางต่อหนทางตรง ดังนัน้ เราจะต้องทำาใจให้เปิดโล่งอยูเ่ สมอไม่ขอ้ งแวะ ยึดติดอยู่กับสิ่งทั้งหลาย... นี่แหละคือทางสายตรง ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๔๓


ความไม่ตกอยู่ภายใต้วิสัยของอารมณ์ คือ มูลรากอันเป็นประธานสำาคัญ โดยไม่ให้อารมณ์ ถูกดึงดูดเอาไป ในเมือ่ รูส้ กึ สัมผัส ไม่ปล่อยตนให้ถกู ลากกระชากเป็นคนเจ้าอารมณ์ ทำาให้เกิดปญหา ความคิดอันแตกแยกแต่อย่างหนึ่งอย่างใด ในขณะ กำาลังบำาเพ็ญภาวนาจิตต้องไม่ข้องติด นั่นหมายถึง ลักษณะเฉพาะแห่งจิตเดิมแท้นั้นเอง… สิง่ ทุกสิง่ ไม่วา่ ดีหรือเลว สวยงามหรือน่าเกลียด ควรมองให้เห็นเป็นของว่างอย่างเดียวกันและ ไม่นกึ ถึงการแก้แค้น ในการฝกความนึกคิดของตนเอง จะปล่อยให้อดีตเป็นอดีต อย่าเผลอปล่อยตนคิดถึง อดีต ปจจุบัน และอนาคต มาปะติดปะต่อกันเป็น ห่วงโซ่อยู่กับกรอบกงขัง ฉะนั้นอย่าปล่อยใจให้ข้อง ติดอยู่กับสิ่งใดๆ เราก็จะบรรลุถึงความหลุดพ้น ซึ่งถือว่าเป็นหลักประธานสำาคัญต่อการบำาเพ็ญ ภาวนา.... ๔๔  กุญแจชีวิต


จงดำารงใจไว้ให้เป็นอิสระจากการครอบงำาของ สิ่งแวดล้อมทุกๆ ลักษณะไม่ให้มีอำานาจอิทธิพล ในทุกกรณี ใจของเราจะอยู่สูงเหนือสิ่งต่างๆ ที่แวดล้อมเรา คือการที่ใจของเราได้ทำาหน้าที่อย่าง สมบูรณ์ แต่ทว่ามีการสอนให้บีบบังคับใจไม่ให้คิด อะไรเสียหมด แม้เราจะทำาได้สำาเร็จแต่มันก็เป็น ความผิดธรรมชาติอย่างใหญ่หลวง ในการเร้าใจให้ ผู้อื่นพากันทำาตามเป็นบริวารเช่นนั้น... การบำาเพ็ญสมาธิภาวนาที่จะทำาให้ก้าวหน้า พัฒนาสูส่ ติปญ  ญาญาณนัน้ ไม่ใช่จะต้องหลับตาหรือ หรืออุดหูเก็บตัวเงียบเพือ่ หลีกจากอารมณ์ภายนอก เท่านัน้ ... ตามหลักทางลัดฉับพลัน เราทุกคนสามารถ เข้าถึงพุทธภาวะได้โดยจังๆ หน้ากับอารมณ์ ชนิดเผชิญกับความจริงโดยมิต้องหวั่นไหวใดๆ อยู่เหนือโลกสู่โมกขธรรม

ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๔๕


ตัวแท้ของตถตา ซึง่ เบ่งบานขึน้ ถึงระดับเด่นชัด นัน้ ต่างหากทีท่ าำ ให้กาำ เนิดกระแสความรูส้ กึ แบ่งแยก อะไรต่างๆ อย่างตรงกันข้าม หาใช่เพราะอวัยวะ สำาหรับรู้สึกในอารมณ์แต่ประการใดไม่ ตถตาย่อม ทรงไว้ซงึ่ คุณลักษณะของตัวมันเอง ปราศจากตถตา เสียแล้ว อวัยวะสำาหรับรู้สึกอารมณ์ต่างๆ ของเรา ไม่จาำ เป็นจะต้องพลอยด่างพร้อยหรือเศร้าหมองไป ด้วยในทุกๆ เหตุการณ์ แม้ว่ามันจะทำาหน้าที่ในการดู การฟง การสัมผัส การรับรู้ก็ตาม เพราะฉะนั้นตัว ภาวะแท้ของเราก็ยังแสดงตัว ให้ปรากฏได้ทุกเวลา เพราะจิตเดิมแท้ซึ่งเป็นตัวสำาแดงแห่งความว่างนั้น ไม่มอี ะไรสำาหรับให้ใครลุถงึ เสียเลย ผูท้ มี่ คี วามเข้าใจ อันถูกต้องก็จะมีความคล่องแคล่ว ในการแยกแยะ ธรรมลักษณะนานาประการ จักเป็นผู้ตั้งอยู่อย่าง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมอันเอก กล่าวคือ แดนอันสงบเย็นของพระอริยะหรือนิพพาน ๔๖  กุญแจชีวิต


ระบบการปฏิบัติธรรมเจริญกัมมัฏฐานภาวนา ไม่จำาเป็นต้องกำาหนดลงไปที่จิต หรือกำาหนดลงไป ที่ความบริสุทธิ์ หรือว่าไปจับเอาที่ตัวความหยุดนิ่ง ปราศจากการเคลื่ อ นไหวทุ ก ประการก็ ห าไม่ การกำาหนดจดจ่อไปที่จิตไม่ควรทำาเพราะจิตเป็น เพียงมายา ส่วนการกำาหนดลงไปที่ตัวความบริสุทธิ์ นัน้ เล่า ตัวธรรมชาติเดิมแท้ของเราก็บริสทุ ธิอ์ ยูแ่ ล้ว ถ้าเราเพ่งจิตกำาหนดไปที่ความบริสุทธิ์ก็จะสร้าง อวิชชาเป็นกำาแพงขึน้ มาบดบังคือ อวิชชาแห่งความ บริสุทธิ์ เพราะเหตุที่อวิชชาไม่มีที่ตั้งอาศัย จึงเป็น ความเขลาที่จะอิงอาศัยมัน ตัวความบริสุทธิ์ ไม่มี สัณฐานไม่มีรูปร่าง แต่มีคนอุตริถึงกับประดิษฐ์ รูปร่างของความบริสุทธิ์ขึ้นมาแล้วก็กุลีกุจออยู่กับ มันในฐานะเป็นปญหาสำาคัญของความหลุดพ้น สำาหรับผู้ฝกตัวอยู่ในความแน่วแน่ไม่หวั่นไหว แม้จะเผชิญกับคนทุกชนิดก็จะไม่รู้ ไม่เห็นความผิด ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๔๗


ของผูอ้ นื่ อยู่เสมอ จะไม่มคี วามวิปริตผิดแปลกอะไร เมื่อประสบบุญหรือบาป ความดีหรือความชั่วของ ผูอ้ นื่ นีค่ อื ลักษณะของความแน่วแน่ ไม่หวัน่ ไหวของ จิตเดิมแท้ ส่วนผูม้ จี ติ ยังมืดมนนัน้ อาจมีทา่ ทีทาำ สงบ ทางร่างกายภายนอกดูดี แต่พอเผยอริมฝปากเท่านัน้ เขาก็ติชมวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นด้วยเรื่องบุญบาป ความสามารถ ความอ่อนแอ ความดีความชั่วของ คนเหล่านั้น นั่นแหละเป็นการ เฉออกไปนอกทาง สัมมาปฏิบัติ และอีกฝายหนึ่ง การที่จ่อง่วนอยู่ที่จิต หรือความบริสุทธิ์ก็จะกลายเป็นสิ่งสะดุดกีดขวาง หนทางด้วยเหมือนกัน จุดมุ่งหมายของการเข้ากัมมัฏฐานภาวนาจะ ต้องเพือ่ การได้รบั อิสรภาพอันเด็ดขาดและมีจติ สงบ ได้ทุกกรณีที่สิ่งแวดล้อมเข้ามาจากภายนอก ไม่ว่า จะเป็นฝายดีหรืออะไรมาก็จะมีความแน่วแน่ ไม่หวัน่ ไหว ด้วยการเห็นชัดแจ้งภายในต่อจิตเดิมแท้ ๔๘  กุญแจชีวิต


การเข้าฌานหมายถึง การหลุดพ้นจากความ พัวพันด้วยอารมณ์ภายนอกทุกประการ และเป้าหมาย ของการทำาสมาธิก็เพื่อให้ได้รับศานติภายใน ถ้าเรา พัวพันอยูก่ บั อารมณ์ภายนอก จิตภายในก็จะปน ปวน จิตเดิมแท้ของเราเป็นของบริสทุ ธิอ์ ยูแ่ ล้วโดยธรรมชาติ ผู้ท่ีสามารถรักษาจิตใจให้แน่วแน่ไม่หวั่นไหวต่อ จิตเดิมแท้ ไม่ว่าจะอยู่ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมชนิด ไหนทัง้ หมดนัน่ แหละ!!! ชือ่ ว่าได้บรรลุถงึ ฌานสมาธิ มีจิตสงบได้ในทุกขณะเวลา ตลอดกาลทุกเมื่อ สิง่ ทีต่ อ้ งระวังอย่างยิง่ อย่าให้สติรวั่ !!! อย่าปล่อย ให้พลังงานทางกายและพลังจิตถูกใช้ผิดทางไปใน ทางยึดมัน่ ถือมัน่ สำาคัญตนต่อสิง่ ทัง้ ปวง เพราะไม่ใช่ ทางที่จะพึงเอาเป็นสิ่งคุ้มกันอะไรได้อย่างแท้จริง ดังนัน้ จึงควรอย่างยิง่ ทีจ่ ะทุม่ เทพลังศรัทธาและ พลังทุกอณูแห่งสติปญญา ถึงพระรัตนตรัยคือ พุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ภายในตัวเราเองเถิด ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๔๙


โดยวิธดี งั นี้ ในภายในเราบังคับใจของเราเอง ภายนอก เราจะนอบน้อมต่อผู้อ่ืน...นี่แหละคือวิถีทางการถือ ที่พึ่งพระพุทธเจ้ารวมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ภายในตัวเราเอง ในการน้อมใจของเราถือเอาพระพุทธเจ้า คือ การถือเอาความถูกต้องตามธรรมแท้เป็นทีพ่ งึ่ จนถึง กับเป็นอิสระอยู่เสมอจากความเห็นผิด ปราศจาก ความเห็นผิด ก็จะไม่เกิดความยึดถือตัวตน ความ เย่อหยิง่ ความทะเยอทะยาน นีแ่ หละคือหนทางอัน ประเสริฐที่จะตัดกระแสตัณหา ด้วยอาศัยความรู้ แจ้งกระจ่างถึงจิตเดิมแท้บริสุทธิ์อยู่โดยธรรมชาติ จนถึงกับไม่ว่าจะอยู่ในท่ามกลางสถานการณ์ใดๆ ก็ไม่ถูกทำาให้แปดเปอนด้วยวัตถุกามารมณ์อันน่า ขยะแขยง ด้วยความทะเยอทะยานตามกระแสตัณหา นั่นแหละคือคุณชาติอันประเสริฐของการได้เกิดมา เป็นคน ดังนัน้ การทีจ่ ะถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นทีพ่ งึ่ ย่อมหมายถึงการทำาที่พึ่ง ภายในตัวเรา คือการ ๕๐  กุญแจชีวิต


ประจักษ์แจ้งถึงจิตเดิมแท้ อันเป็นธรรมชาติจาก ภายในใจ ถ้าไม่รู้จักใจของตนเองแล้วจะรู้จัก พระพุทธเจ้าได้อย่างไร? จนกว่าเมือ่ ไหร่เราสามารถ ผสานความเป็นหนึง่ กับธรรมชาติได้จนกลมกลืนกับ ความจริงได้ในทุกโอกาส นั่นแหละคือสุดยอดแห่ง บุญและปญญา อันเป็นหนทางแห่งมรรคปฏิปทา เป็นหนทางที่สุดยอดแล้ว.... การถือที่พึ่งในพระพุทธเจ้าที่แท้จริง ย่อมจะ พรากสิ่งต่อไปนี้ออกเสียจากจิตใจ คือจิตตำ่าชั่ว จิตสอพลอ คดๆ งอๆ ความถือตัวสำาคัญตน ความ คดโกงและมดเท็จ ความดูถกู ดูแคลน ความยะโสโอหัง ความเห็นผิด ความเย่อหยิ่งจองหอง และความ ตำ่าทรามอื่นๆ อันจะเกิดขึ้นในจิตไม่ว่าเวลาใด จะมี ความเชื่อมั่นในตนเองมีสติระวังระไวอยู่ตลอดเวลา ในการที่จะไม่ทำาความชั่วความผิด และจะงดขาด จากการวิพากษ์วิจารณ์ความดีหรือความผิดของ บุคคลอืน่ เป็นผูอ้ อ่ นน้อมถ่อมตนอยูเ่ สมอทุกโอกาส ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๕๑


จะมีอัธยาศัยสุภาพต่อทุกๆ คน ผู้ที่ได้เห็นแจ่มแจ้ง จิตใจของตนเอง ก็จะส่งผลให้รู้จักจิตใจของผู้อื่น จนถึงกับหนทางข้างหน้าของเขาจะปราศจากอุปสรรค ทุกประการ นี่แหละ... คือการถือพระพุทธเจ้าเป็น ที่พึ่งจากภายในตัวเรา เมือ่ สามารถเปลือ้ งตนเองออกจากความผูกพัน อยู่กับวัตถุต่างๆ ที่มีลักษณะหลากหลายและขจัด ความเห็นผิดเรื่องความขาดสูญอันเกี่ยวกับคำาสอน เรื่องสุญตา เมื่อทำาได้เช่นนี้ก็จะหลุดพ้นอิสระจาก อวิชชาความหลงผิดในภาพมายาทัง้ ภายในภายนอก หัวใจจะมีความสว่างไสวแจ่มแจ้ง เห็นความจริงตาม ธรรมชาติซึ่งถือว่าเป็นการเปิดตา เพื่อการเห็นแจ้ง พุทธธรรมภายในตนเอง พระพุทธองค์ผทู้ รงพระมหากรุณาได้ทรงแสดง ศานติแห่งนิพพาน ย่อมไม่มีปรากฏการณ์แห่งการ เปลี่ยนแปลงหรือการแตกดับ ไม่มีแม้กระทั่งความ ๕๒  กุญแจชีวิต


สิน้ สุดของการทำาหน้าทีข่ องความเกิดขึน้ หรือความ แตกดับ นิพพานเป็นการแสดงออกของ “ความหยุด ได้โดยสมบูรณ์” ผูท้ จี่ ติ ใจสูงเหนือสิง่ ทัง้ หลายเหล่านัน้ จะรู้ได้เฉพาะตนว่านิพพานคืออะไร วางตนไว้ใน ลักษณะที่เข้าพัวพันด้วยก็ไม่ใช่ เฉยเมยก็ไม่ใช่ ทั้งสองอย่าง ย่อมรู้ว่าขันธ์ห้าที่ผู้คนเข้าใจว่าเป็น ตัวตนอันเกิดจากการประชุมของสังขารการปรุงแต่ง รวมทั้งวัตถุและรูปธรรมภายนอกทุกชนิด และ ปรากฏการณ์ต่างๆ ของศัพท์และสำาเนียงภาษา ทีใ่ ช้สอื่ สารล้วนแต่เป็นเพียงสิง่ สมมุตเิ ทียบเคียงมิใช่ ความจริง มันเป็นเหมือนความฝนภาพลวงแห่งมายา เสมอภาคกันหมด ตามความจริงแล้วสรรพสิ่งล้วน เป็นของว่าง ไร้ชื่อไร้ความแตกต่างกันระหว่าง พระมุนีกับคนธรรมดา นิพพานมิสามารถที่จะ เปรียบเทียบว่าเป็นอะไรได้ เพราะอยูเ่ หนือการรับและ การปฏิเสธ สิ่งที่ว่าเป็นอดีต ปจจุบันและอนาคต เป็นประดุจภาพอันเลือนรางไร้ตัวตนที่จะยึดถือ ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๕๓


ไขว่คว้าเอาไว้ได้ เมือ่ จำาเป็นก็จะระบุเจาะจงสิง่ ต่างๆ ว่าเป็นนั่นนี่ได้ทุกอย่าง จะใช้อวัยวะสัมผัสและรู้สึก ได้ตามปกติตามความเหมาะสม แต่ว่าความรู้สึก ยึดถือในสิง่ สมมุตนิ นั้ มิได้มเี ลยแม้ขณะทีไ่ ฟประลัยกัลป ล้างโลกในทีส่ ดุ ของกัลปจนท้องมหาสมุทรเหือดแห้ง ไป หรือลมประลัยพัดทำาลายโลกจนภูเขาล้มชนกัน ระเกะระกะนิพพานความหยุดได้โดยสมบูรณ์ และความสิ้นสุดของความเปลี่ยนแปลงจะคงอยู่ใน สภาพเดิม การเห็นแจ้งจิตใจอันเป็นธรรมชาติเดิมแท้ทวี่ า่ ง อยู่แล้ว ก็จะดำารงตนเป็นอิสระจากการเวียนเกิด จัดการกับปญหาข้อนี้ให้ลุล่วงไปได้เพียงข้อเดียว สิ่งที่เกิดจากปญหาเรื่องความแปรปรวนไม่เที่ยงแท้ แน่นอนทั้งหลายแหล่ ก็จะไม่มีเหลืออีกต่อไป ขันธ์ทั้งห้าเป็นของว่าง อายตนะภายนอกทั้งหกเป็น ของว่างจากตัวตน การทำาสมาธิภาวนาไม่ใช่จะต้อง เข้าๆ ออกๆ ไม่มีทั้งความเงียบหรือความวุ่นวาย ๕๔  กุญแจชีวิต


ธรรมชาติของฌานไม่ใช่เป็นความเข้าอยู่ ดังนั้นจึง ควรอยู่เหนือภาวะแห่ง “การเขาอยู ในความสงบ แหงฌาน” เพราะธรรมชาติของฌานไม่ใช่เป็นสิ่งที่ ใครจะสร้างขึ้นได้ และภาวะของจิตนั้นอาจเปรียบ ได้กับอวกาศซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตปราศจากการ จำากัด เป็นธรรมชาติที่เรียบง่ายผสานสรรพสิ่งอย่าง ธรรมดาที่สุด จงทำาใจให้อยู่ในสภาพเหมือนกับความว่าง อันหาขอบเขตมิได้ แต่อย่าให้มันเข้าไปติดในทิฐิว่า “ดับสูญ” จงให้ใจทำาหน้าทีอ่ ย่างอิสรเสรี ขณะกำาลัง ทำางานหรือหยุดพัก จงขจัดความรู้สึกว่า มีความ แตกต่างระหว่างอริยบุคคลกับบุคคลธรรมดา อย่าไป คิดว่ามีความแตกต่างระหว่างตัวผู้กระทำาและสิ่งที่ ถูกทำา และจงขจัดความรูส้ กึ ว่ามีเรามีผอู้ นื่ จงปล่อย ให้ใจทำาหน้าที่ของมันอย่างอิสระ อย่าได้เกาะเกี่ยว กับสิ่งใด จงปล่อยวางจิตเดิมแท้ และสิ่งทั้งปวงให้ ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๕๕


กลมกลืนกับธรรมชาติทเี่ รียบง่ายตามสภาพทีบ่ ริสทุ ธิ์ ของมันเอง นี้คือการอยู่ในฌานสมาธิที่ปราศจาก การเสแสร้งดัดจริต อันเป็นความสงบและสมถะ อยู่ในสุญตาวิหารธรรมตลอดเวลา วิถีที่จะทำาให้คุ้นชินกับธรรมชาติของสรรพสิ่ง ภายในจิต และโดยวิธนี เี้ ท่านัน้ ทีจ่ ะนำาสูก่ ารตระหนัก ชัดถึงธรรมชาติแห่งพุทธะ การรู้จักพระพุทธเจ้า ไม่ได้มีอะไรนอกเหนือไปจากการเป็นกัลยาณมิตร กับสัตว์ทงั้ หลายซึง่ มีพทุ ธะอยูโ่ ดยอานุภาพปราศจาก ความแตกต่างระหว่างผู้รู้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ภายในจิตของเรามีพทุ ธะอยูโ่ ดยธรรมชาติและ พุทธะที่อยู่ในนั้นเป็นสัจธรรมความเป็นจริงที่สุด ถาไมคนหาพุทธเจาภายในจิตของเราแลว จะไป หาพุทธเจาทีแ่ ทจริงไดจากไหน? อย่าได้สงสัยเรือ่ ง การเข้าถึงสัจธรรมแห่งพุทธะภายในจิตของเราท่าน ทัง้ หลาย นอกจากทีน่ นั่ แล้วไม่มอี ะไรจะปรากฏขึน้ ได้ ๕๖  กุญแจชีวิต


เนื่องจากปรากฏการณ์ของสรรพสิ่งเป็นผลิตผล อันเกิดมาจากจิต เมื่ออาการของจิตเริ่มขึ้นสิ่งต่างๆ ก็ปรากฏ เมื่ออาการของจิตดับลงสรรพสิ่งทั้งหลาย ก็ดับไร้ร่องรอย ไร้รูป ไร้นามเป็นอนัตตาไร้ตัวตน หลักธรรมนัน้ จะตระหนักชัดได้ดว้ ยจิต ไม่ได้ขนึ้ อยู่กับการนั่งขัดสมาธิ เป็นความเข้าใจผิดที่ใครจะ ยืนยันว่า ตถาคตมาหรือไปและนัง่ หรือนอน เพราะว่า สมาธิอนั บริสทุ ธิข์ องพระตถาคต ไม่ได้หมายความว่า มาจากแห่งใดหรือจะไปที่ใด ไม่ได้หมายความว่ามี การเกิดหรือการดับ ธรรมทัง้ หลายย่อมว่างและสงบ โดยทำานองเดียวกัน บัลลังก์แห่งความบริสุทธิ์ไม่มี แม้แต่สิ่งเหล่านี้ ที่จะบรรลุได้ด้วยเหตุนี้ ทำาไมจะ ต้องทรมานตัวเอง ด้วยการนั่งขัดสมาธิ สิ่งที่ควรทำาก็คือ จงรู้จักจิตของเราเองและ ตระหนักชัดถึงธรรมชาติแห่งพุทธะจากภายในตัวเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สงบนิ่งหรือเคลื่อนไหว ไม่เกิด ไม่ดับ ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๕๗


ไม่มา ไม่ไป ไม่รบั ไม่ปฏิเสธ ไม่คงอยู่ ไม่จากไป เมือ่ มองเห็นและปฏิบตั จิ นสามารถตระหนักชัดถึงภาวะ ที่แท้ของจิตเช่นนี้ไม่เป็นการฝนธรรมชาติ จนอยู่ เหนืออารมณ์เหนือเหตุผลเหนือโลก ด้วยความเยือกเย็นและไม่กระวนกระวาย บุคคล ชั้นเลิศไม่ต้องปฏิบัติความดี ด้วยความเที่ยงธรรม และเป็นตัวของตัวเอง ท่านไม่ต้องกระทำาบาป ด้วยความสงบและสงัดท่านเพิกเฉยการดูและ การฟง ด้วยความเสมอภาคและเที่ยงตรง จิตของ ท่านไม่ข้องแวะและพำานัก ณ ที่ใด สรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ดังนั้น ควรเปลื้องตนออกเสียจากความคิดเห็นถึงความ มีอยูจ่ ริงของวัตถุทงั้ สิน้ ใครทีส่ าำ คัญผิดยึดติดในความ เป็นนั้น เป็นนี่ของสิ่งทั้งปวง ย่อมถูกผูกพันธนาการ กับความคิดเห็นเช่นนั้นซึ่งล้วนแต่เป็นภาพลวง แม้ปรากฏการณ์อันหลากหลายที่ปรากฏให้เห็น ก็เป็นเพียงภาพลวงตาหาความจริงแท้มิได้ ๕๘  กุญแจชีวิต


ดังนั้นใครที่ตระหนักชัดถึงสัจธรรมความจริง จากใจตนเอง ย่อมรู้ว่าต้องค้นความจริงจากจิต ไม่ต้องวิ่งตามปรากฏการณ์ให้เหนื่อยเปล่า สัตว์ทั้ง หลายย่อมเคลื่อนไหววัตถุทั้งปวงย่อมหยุดนิ่ง ใครฝกตนให้เป็นผู้ไร้ความเคลื่อนไหวจะไม่ได้รับ ประโยชน์อะไร นอกจากทำาตนให้แน่นิ่งอย่างวัตถุ ความสงบนิ่งที่แท้ต้องเป็นความสงบนิ่งภายในการ เคลือ่ นไหว ความสงบนิง่ อย่างวัตถุกเ็ ป็นเพียงความ สงบนิ่ง ไม่ใช่ฌานที่เป็นปญญาญาณ ในสรรพวัตถุทั้งหลายจะไม่มีเมล็ดพันธุ์แห่ง ความเป็นพุทธะ ผูท้ มี่ คี วามเชีย่ วชาญในการจำาแนก ธรรมลักษณะต่างๆ ย่อมพำานักอยู่อย่างสงบนิ่ง อยูก่ บั ความเรียบง่ายบนพืน้ ฐานของสัจธรรม นีแ่ หละ คือหน้าตาของ “ตถตา” บรรดาผู้ที่ดำาเนินไปตาม มรรคปฏิปทาคือทางสายกลาง จงอย่าด่วนรวบรัด ความรู้ประเภทที่ผูกพันกับกงจักรแห่งความเกิด ความตาย ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๕๙


เมื่อพบกับผู้ที่มีความรู้เข้าใจสอดคล้องกัน จงปฏิสัณฐานกันด้วยหลักความจริงแห่งสัจธรรม ส่วนบุคคลทีม่ ที ศั นะทีเ่ ห็นต่าง จงปฏิบตั ติ อ่ เขาอย่าง สุภาพ ซึ่งจะเป็นการอำานวยความสุขให้กับเขา ตามอัตภาพ เพราะการขัดแย้งโต้เถียงกัน เป็นการ แสดงออกถึงความยึดมัน่ ในอัตตาตัวตน ย่อมเป็นการ ผลักไสให้ภาวะเดิมแท้ของจิตที่ว่าง ต้องตกไปสู่ ความขมขื่นแห่งโลกียภูมิ จงทำาจิตให้บริสุทธิ์และวางท่าทีต่อสิ่งที่หลาย อย่างเป็นกลาง ไม่ยนิ ดียนิ ร้ายไม่ยดึ ติดในความทุกข์ หรือความสุข อย่าปล่อยให้ชยั ชนะหรือความปราชัย การได้มาหรือการสูญเสียก่อความกังวลแก่เราได้ จงสงบและเยือกเย็น จงสุภาพอ่อนโยนและอารี จงซือ่ ตรงเทีย่ งธรรม คือจุดประสงค์ของการทำาสมาธิ ทุกขณะเวลาทุกโอกาส ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ทุกอิรยิ าบถทีเ่ คลือ่ นไหวจงเป็นคนตรงแน่ว ก็เหมือน ๖๐  กุญแจชีวิต


กับเราดำารงอยู่สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ในอาณาจักร แห่งดินแดนอันบริสุทธิ์ ผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนาอย่างนี้ได้โดยบริบูรณ์ ก็ เ หมื อ นเนื้ อ นาที่ ไ ด้ ห ว่ า นเมล็ ด พั น ธุ ์ ดี ล งไป แล้วกลบไว้ด้วยโคลน เมล็ดพืชได้รับการบำารุงจน เจริญเติบโต ตราบจนผลิผล การปฏิบัติธรรมอย่าง สมำ่าเสมอก็เหมือนสายฝนตกตามฤดูกาล ซึ่งจะนำา ความชุม่ ชืน่ มาสูผ่ นื แผ่นดินอันกว้างใหญ่ ธรรมชาติ แห่งพุทธะซึ่งมีอยู่ภายในตัวเราเสมือนกับเมล็ดพืช ที่ได้รับความชุ่มชื่นจากสายฝน ก็จะเจริญเติบโต อย่างรวดเร็วจนบรรลุถึงโพธิได้รับผลอันสูงเลิศ เป็นแน่แท้ เมล็ ด พื ช แห่ ง พุ ท ธะมี อ ยู ่ ใ นจิ ต ของเรา ย่อมงอกงามตามสายฝนที่ซึมซาบไปในทุกสิ่ง ดอกไม้ แ ห่ ง หลั ก ธรรมเมื่ อ ได้ ผ ลิ ด อกออกมา ด้วยปญญาญาณผู้นั้นย่อมแน่แท้ที่จะเก็บเกี่ยวผล แห่งการตรัสรู้ ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๖๑


ธรรมนัน้ ไม่เป็นของคูแ่ ละจิตก็ฉนั นัน้ มรรคนัน้ บริสทุ ธิแ์ ละอยูเ่ หนือรูปทัง้ มวล ฉะนัน้ อย่าได้ปฏิบตั ิ สมาธิในเรื่องของความเงียบสงบ หรือทำาจิตให้ ว่างเปล่า จิตนัน้ ว่างและบริสทุ ธิอ์ ยูแ่ ล้วโดยธรรมชาติ ดังนั้นจึงไม่มีอะไรที่เราจะต้องไปใฝหาหรือยกเลิก จงทำาหน้าที่และปฏิบัติตนให้ดีที่สุดและจงไป ในทุกที่ทุกแห่งตามแต่เหตุการณ์อันควรจะนำาไป ผู้เดินทางควรจะกำาจัดความคิดเห็นทั้งมวล ความดีก็เช่นเดียวกับความชั่ว สิ่งนี้ย่อมเป็นหนทาง ที่เรียกกันว่า “ภาวะที่แทแหงจิต” เท่านั้น ตาม ความจริงย่อมไม่อาจเรียกเป็นชื่อใดๆ ได้ ธรรมชาติ อันไม่เป็นของคู่นี้คือธรรมชาติที่แท้จริง และหลัก คำาสอนทั้งหลายก็อาศัยมูลฐานจากสิ่งนี้ ในทัศนะของสามัญชน ปญญาและอวิชชา เป็นของสองสิ่งแยกจากกัน ส่วนผู้ได้ตระหนักชัด ถึงภาวะทีแ่ ท้แห่งจิตโดยตลอดแล้วย่อมรูว้ า่ สิง่ เหล่านี้ ๖๒  กุญแจชีวิต


มีธรรมชาติเป็นอย่างเดียวกันอันไม่เป็นของคู่ ซึง่ ในกรณีของสามัญชนก็ไม่ได้มนี อ้ ยลง และในกรณี ของปราชญ์ผู้บรรลุความรู้แจ้งแล้วก็ไม่ได้มีมากขึ้น เป็นสิง่ ทีไ่ ม่ได้ไหวสะเทือนในเหตุการณ์ทวี่ นุ่ วาย และ ก็ไม่ได้สงบนิ่งในสภาพที่มีสมาธิ ไม่ใช่เป็นสิ่งถาวร หรือไม่ถาวร ไม่ได้ไปหรือมา ไม่อาจพบได้จากภายใน หรือภายนอก หรือไม่อาจพบได้จากอวกาศ เป็นสิ่ง ที่อยู่เหนือความมีอยู่และความไม่มีอยู่ สิ่งนี้แหละ คือหลักธรรมขั้นปรมัตถ์ การบังคับตัวเองให้คอยนัง่ สมาธิอยูต่ ลอดเวลานัน้ ตามหลักแห่งเหตุและผลแล้ว ไม่เกิดผลดีอะไรขึน้ มา เพราะคนเป็นย่อมจะนั่งและไม่นอนอยู่ตลอดเวลา คนตายนั้นนอนและไม่น่ัง สำาหรับร่างกายอันเป็น เนื้อหนังของเรานี้ทำาไมจะต้องคอยนั่งสมาธิ

ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๖๓


โศลกโครงสรุป เราไมมีวิธีและเครื่องมือ….. ที่จะกั้นจิตเสียจากความนึกคิดทั้งปวง….. อารมณตางๆ ยอมกลุมรุมจิตของเราอยูเสมอ… สงสัยวาตนโพธิ์จะงอกงามไดอยางไรกัน!!!

๖๔  กุญแจชีวิต


รูปทานเวยหลาง (ฮุย เหนิง) สังฆปริณายกนิกายเซน องคที่ ๖ ถายภาพนี้ตอนแรกเปดเจดีย ยุค ดร.ซุน ยัตเซ็น ปฏิวัติประเทศจีน ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๖๕


พระครูบาฮวงโปเถระ คณาจารยแหงนิกายเซน ๖๖  กุญแจชีวิต


สัจธรรมค�าสอน ของพระครูบาฮวงโป พระพุทธเจ้าทั้งปวงและสัตว์โลกทั้งสิ้น ไม่ได้ เป็นอะไรเลย นอกจากจิตหนึ่งนี้แล้วมิได้มีอะไร ตั้งอยู่เลย.... จิตหนึ่ง... ซึ่งปราศจากการตั้งต้นนี้ เป็นสิ่งที่ ไม่ได้เกิดขึน้ และไม่อาจจะถูกทำาลายได้เลย มันไม่ใช่ เป็นของมีสีเขียวหรือสีเหลือง และไม่มีทั้งรูปไม่มี ทัง้ ปรากฏการณ์ มันไม่นบั รวมอยูใ่ นบรรดาสิง่ ทัง้ ทีม่ ี การตัง้ อยูแ่ ละไม่มกี ารตัง้ อยู่ มันไม่อาจถูกลงความเห็น ว่าเป็นของใหม่หรือของเก่า มันไม่ใช่ของยาวของสัน้ ของใหญ่ของเล็ก ทั้งนี้เพราะมันอยู่เหนือขอบเขต เหนือการวัดเหนือการตัง้ ชือ่ เหนือการทิง้ ร่องรอยไว้ และเหนือการเปรียบเทียบโดยประการทั้งปวง จิตหนึ่ง... นี้เป็นสิ่งที่เราเห็นตำาตาเราอยู่แท้ๆ แต่จงลองไปใช้เหตุผลกับมันเข้าดูซิเราจะตกลงไป ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๖๗


สู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเหมือนความว่าง อันปราศจากขอบทุกด้าน ซึ่งไม่อาจหยั่งหรือวัดได้ จิตหนึง่ ... นีเ้ ท่านัน้ เป็นพุทธะ ไม่มคี วามแตกต่าง ระหว่างพุทธะกับสัตว์โลกทัง้ หลาย เพียงแต่สตั ว์โลก ไปยึดมั่นต่อรูปธรรมต่างๆ และเพราะเหตุนั้น จึงได้ แสวงหาพุทธภาวะจากภายนอก การแสวงหาของ สัตว์เหล่านั้นนั่นเองทำาให้เขาพลาดจากพุทธภาวะ การทำาเช่นนัน้ เท่ากับการใช้สงิ่ ซึง่ เป็นพุทธะให้เทีย่ ว แสวงหาพุทธะ การใช้จิตให้เที่ยวจับฉวยจิต แม้เขา เหล่านั้นได้พยายามจนสุดความสามารถเขาอยู่ต้ัง กัปปหนึ่งเต็มๆ เขาก็จะไม่สามารถลุถึงมันได้เลย เขาไม่รู้ว่าถ้าเขาเองเพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่านัน้ พุทธะก็จะปรากฏตรงหน้าเขา เพราะว่า จิตนีก้ ค็ อื พุทธะนัน่ เอง สิง่ ๆ นีเ้ มือ่ ปรากฏอยูท่ สี่ ามัญ สัตว์จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็หาไม่ และเมื่อปรากฏอยู่ที่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเป็นสิ่งใหญ่หลวงก็หาไม่ ๖๘  กุญแจชีวิต


ถ้าเราไม่เห็นตระหนักอย่างเด็ดขาดลงไปว่าจิต นัน้ คือพุทธะก็ดี และต่อพิธกี ารบำาเพ็ญบุญกุศลและ ได้บุญมากมายนับไม่ถ้วนดุจเมล็ดทรายในแม่นำ้า คงคาก็ดี เหล่านี้นั้นจงคิดดูเถิดถ้าเมื่อเราเป็น ผู้สมบูรณ์ด้วยสัจจะพื้นฐานในทุกกรณีอยู่แล้ว เราก็ไม่ควรพยายามทีจ่ ะเพิม่ อะไรให้แก่สงิ่ ซึง่ สมบูรณ์ อยู่แล้วนั้นมิใช่หรือ? เมื่อใดโอกาสอำานวยให้ทำา ก็ทาำ มันไป และเมือ่ โอกาสผ่านไปแล้วอยูเ่ ฉยๆ ก็แล้ว เนื้อแท้แห่งสิ่งสูงสุดสิ่งนั้นโดยภายในแล้ว ย่อมเหมือนกับหิน คือภายในนัน้ ปราศจากการเคลือ่ นไหว และโดยภายนอกแล้วย่อมเหมือนกับความว่าง กล่าวคือปราศจากขอบเขตหรือสิ่งกีดขวางใดๆ สิง่ นีม้ ใิ ช่เป็นฝายนามธรรมหรือฝายรูปธรรม มันไม่มี ที่ตั้งเฉพาะ ไม่มีรูปร่างและไม่อาจจะหายไปได้ ผู้ที่รีบจะไปให้ถึงก็ไม่กล้าเข้าไปเพราะกลัวว่า จะพุ่งลงไปสู่ที่ว่างโดยไม่มีสิ่งใดที่เกาะหรืออาศัย ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๖๙


ไม่ให้ตก เมื่อเป็นอย่างนั้น เขาจึงดูอยู่แต่ที่ขอบและ ถอยออกมา ข้อนี้เล็งถึงพวกแสวงหาความหลุดพ้น โดยการเรียนรู้จึงมีมากเหมือนขนสัตว์ และพวกที่ ประสบความรูแ้ ห่งทาง ทางโน้นด้วยใจตนเองมีนอ้ ย เหมือนเขาสัตว์ จิตนี้... มิใช่สิ่งซึ่งเป็นความคิดปรุงแต่ง มันเป็น สิง่ ซึง่ อยูต่ า่ งหากปราศจากการเกีย่ วข้องกับรูปธรรม โดยสิ้นเชิง เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าทั้งหลายและ สัตว์โลกทัง้ ปวง จึงไม่แตกต่างกันเลย ถ้าเราเพียงแต่ สามารถปลดเปลื้องตนเองออกเสียจากความคิด ปรุงแต่งเท่านั้น เราจะประสบความสำาเร็จทุกอย่าง ทุกประการ การสร้างสมความดีและความชั่วทั้งสองอย่าง เนือ่ งมาจากความยึดมัน่ ถือมัน่ ต่อรูปธรรม ผูท้ ยี่ ดึ มัน่ ในรูปธรรมซึง่ ทำาความชัว่ จะต้องทนรับการเกิดแล้ว เกิดอีกด้วยประการต่างๆ อย่างไม่จำาเป็น ส่วนผู้ที่ ๗๐  กุญแจชีวิต


ยึดมั่นในรูปธรรมซึ่งทำาความดี ก็ทำาตัวเองให้ตกลง ไปเป็นทาสของความพยายาม จะเกิดความรู้สึกว่า ตนเองเป็นผู้ขาดแคลนอยู่เสมอโดยเท่าเทียมกัน อย่างไม่มีที่มุ่งหมาย ในทั้งสองกรณีนั้นมันจะ เป็นการดียิ่งกว่าถ้าหากเขาทำาให้เกิดความเห็นแจ้ง ในตนเองอย่างฉับพลันในหลักธรรมอันเป็นหลัก มูลฐานของสัตว์ทั้งหลาย หลักธรรมนี้ก็คือจิต ซึ่งถ้านอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย จิตนั้นโดยตัวมันเอง ก็ไม่ใช่จติ แต่ถงึ กระนัน้ มันก็ยงั มิใช่จติ นัน่ แหละย่อม หมายความถึงสิง่ บางสิง่ ขอให้มคี วามเข้าใจอย่างนิง่ เงียบเถิด!!! ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ จงเลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิน้ เมื่อนั้นเราอาจกล่าวได้ว่าคลองแห่งคำาพูดได้ถูก ตัดขาดไปแล้ว และพฤติกรรมของจิตก็ถูกเพิกถอน โดยสิ้นเชิงแล้ว ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๗๑


พระพุทธเจ้าพร้อมพระโพธิสตั ว์ทงั้ ปวงและสัตว์ ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิดกระดุกกระดิกได้ทั้งหมด ล้วนเป็นของสิ่งหนึ่งแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น และไม่แตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิด ขึน้ จากความคิดผิด ๆ เท่านัน้ และนำาไปสูก่ ารก่อสร้าง กรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดัง้ เดิมของเรานัน้ โดยความจริงอันสูงสุดแล้วเป็นสิง่ ทีไ่ ม่มคี วามหมาย แห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สกั ปรมาณูเดียว สิง่ นีเ้ ป็น ความว่าง เป็นสิง่ ทีม่ อี ยูใ่ นทุกแห่ง สงบเงียบและไม่มี อะไรเจือปน มันเป็นศานติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ แล้วก็สิ้นสุดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งนี้ให้ ลึกซึ้งโดยลืมตาต่อมันด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานั้นแหละคือสิ่งๆ นั้น ในอัตราเต็มทีท่ งั้ หมดของมันและสมบูรณ์ถงึ ทีส่ ดุ แล้ว แม้วา่ จะมีการปฏิบตั เิ ป็นขัน้ ลำาดับจนถึงความรูแ้ จ้ง ๗๒  กุญแจชีวิต


ที่สุดเต็มที่โดยแวบเดียว ก็หาได้เป็นการเพิ่มอะไร ให้แก่สิ่งๆ นี้ไม่เลยแม้แต่นิดเดียว ธรรมสภาวะนีเ้ ป็นสิง่ ซึง่ ไม่มที างทีจ่ ะถูกแยกแยะ เป็นฝกฝายโดยเด็ดขาด เช่นไม่เป็นของสูงหรือ ของตำา่ และมันมีชอื่ ว่าโพธิ สิง่ นีค้ อื จิตล้วนๆ มันเป็น สิ่งที่ให้กำาเนิดของทุกๆ สิ่ง ไม่ว่าจะปรากฏออกมา เป็นแม่นำ้าและภูเขาในโลก สิ่งซึ่งมีรูปหรือไม่มีรูป เป็นสิง่ ทีซ่ มึ แทรกอยูท่ วั่ สากลโลกก็ตาม มันไม่สามารถ แบ่งแยกเป็นฝกฝายโดยเด็ดขาดอยูน่ นั้ เอง ไม่มที าง ทีจ่ ะเกิดสมญาณามว่าตัวเอง หรือผูอ้ นื่ ขึน้ มาได้เลย เมื่อชาวโลกได้ฟงคำากล่าวว่าพระพุทธเจ้า ทั้งหลายทรงถ่ายทอดธรรมคือจิต เขาก็พากันเหมา เอาว่ามีอะไรบางสิ่งที่จะต้องบรรลุถึงหรือเห็นแจ้ง ต่างไปจากจิต ดังนั้นเขาจึงใช้จิตเพื่อแสวงหาธรรม โดยไม่รู้เลยว่าจิตและธรรมที่เขาพากันแสวงหา เป็นสิ่งๆ เดียวกัน จิตไม่ใช่สิ่งที่อาจนำาไปแสวงหา ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๗๓


สิ่งอื่นนอกจากจิต เพราะฉะนั้นจงขจัดความคิด ปรุงแต่งโดยฉับพลัน ซึง่ นัน่ แหละคือตัวธรรมอันเป็น หลักมูลฐาน มันเหมือนกับนักรบคนหนึ่ง เขาลืมไปว่า ได้ประดับไข่มุกไว้ที่หน้าผากตัวเองเรียบร้อยแล้ว กลับสับสนวุ่นวายเที่ยวแสวงหามันไปในที่ทุกแห่ง เขาอาจจะท่องเที่ยวเสาะแสวงหาไปทั่วทั้งโลก แต่ ก็ไม่อาจจะพบมันได้ แต่ถา้ มีใครสักคนหนึง่ รูว้ า่ นักรบ คนนัน้ ทำาผิดอยูอ่ ย่างไร? แล้วชีไ้ ปยังไข่มกุ ทีห่ น้าผาก ให้เขาเห็น นักรบคนนั้นก็จะเกิดความรู้แจ้งขึ้นใน ทันทีทันใดว่าไข่มุกได้อยู่ที่นั่นแล้วตลอดเวลา ข้อนี้ฉันใดเรื่องของผู้ที่กำาลังสำาคัญผิดเกี่ยวกับ สัจธรรมความจริงก็พากันจับฉวยความจริงไม่ได้ ว่าจิตนัน่ แหละคือสัจธรรมดังนีแ้ ล้ว ก็พากันท่องเทีย่ ว หาสัจธรรมนั้นไปในทุกหนทุกแห่ง เฝ้าสาละวน อยู่แต่กับการบำาเพ็ญวัตรปฏิบัติและเก็บเกี่ยวผล ๗๔  กุญแจชีวิต


ของการปฏิบตั มิ ปี ระการต่างๆ วิธกี ารอย่างนีไ้ ม่อาจ นำามาเปรียบเทียบกับการขจัดความคิดปรุงแต่ง อย่างฉับพลัน ด้วยความรูอ้ นั เด็ดขาดว่าไม่มอี ะไรเลย ที่จะตั้งอยู่อย่างไม่ต้องแปรผัน ไม่มีอะไรเลยที่จะ อิงอาศัยได้ ไม่มอี ะไรเลยทีจ่ ะตัง้ อยูใ่ นฐานะผูก้ ระทำา หรือผู้ถูกกระทำา ตามความจริงแล้วไม่มีอะไรสักอย่างเดียว ที่มี อยู่จริง การสลัดสิ่งทุกๆ สิ่งออกไปเสียนั่นแหละคือ ตัวธรรม ผู้ซึ่งเข้าใจความจริงข้อนี้นั่นแหละ คือ พุทธภาวะ แต่การสลัดสิ่งที่เป็นมายาทุกสิ่งออกไป เสียนั้น ต้องไม่เหลือธรรมะอะไรๆ ไว้ให้ยึดถือ อีกจริงๆ คนทั่วไปชอบมองสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขา ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมจะมองดูจิต แต่ธรรมที่แท้ต้อง ไม่ใส่ใจมันเลยทั้งสองอย่าง... พฤติ ก รรมทางจิ ต ไม่ ว ่ า ชนิ ด ไหนทั้ ง หมด ย่อมนำาเราไปสู่ความผิดพลาดทั้งนั้น มีสิ่งที่ต้องทำา ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๗๕


คือขจัดเสียซึ่งความโลภ ความโกรธ และความไม่รู้ ด้วยความสำารวม ความสงบและปญญาเป็นที่ตั้ง ถ้าไม่มคี วามหลงผิดแล้วการตรัสรูจ้ ะมีขนึ้ ได้อย่างไร? ด้วยเหตุนี้ท่านโพธิธรรมจึงได้กล่าวว่า “พระพุทธเจาไดประกาศธรรมทั้งปวงโดยมุงหวังที่ จะขจัดเสียซึ่งลูทางทุกๆ ชนิดแหงความคิดปรุงแตง ถาฉันปราศจากความคิดปรุงแตง โดยสิ้นเชิงแลว ธรรมทั้งปวงจะมีประโยชนอะไรแกฉัน...” ดังนี้

๗๖  กุญแจชีวิต


ปฎิมากรรมมือทานพระโพธิธรรมถือดอกบัวบานหากลีบ สัญลักษณการถายทอดธรรมชวยเหลือผูหลงงมงาย สูแสงสวางของชีวิต ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๗๗


จงระวังอย่าผูกพันตัวเองกับสิ่งใดนอกจากกับ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ซึ่งเป็นต้นกำาเนิด ของสิ่งทั้งปวง สมมุติว่าถ้าเอาเพชรพลอยจำานวน นับไม่ถ้วนไปประดับที่ความว่าง มันจะติดอยู่ที่นั่น ได้อย่างไร...? ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเป็นเหมือนกับ ความว่าง แม้นจะประดับมันด้วยบุญและปญญาอัน มากมายจนประมาณมิได้ สิ่งเหล่านั้นจะติดอยู่ที่ ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะได้อย่างไร...? บุญและ ปญญาชนิดนั้นก็รังแต่จะปิดคลุมธรรมชาติดั้งเดิม ของพุทธภาวะเสีย และกลายเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ไป เสียเท่านั้น ส่วนใหญ่คนธรรมดาทั่วไปพากันปล่อยตัวไป ตามความคิดปรุงแต่งซึง่ อาศัยปรากฏการณ์ทงั้ หลาย ทีแ่ วดล้อมรอบอยู่ เพราะฉะนัน้ เขาจึงเกิดความรูส้ กึ ที่เป็นความรักและความชัง ถ้าขจัดปรากฏการณ์ ๗๘  กุญแจชีวิต


ซึ่งเป็นเหมือนเครื่องร้อยรัดที่แวดล้อมเหล่านั้นเสีย ก็เพียงแค่หยุดความคิดปรุงแต่ง เมือ่ ความคิดปรุงแต่ง หยุดไป ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เป็นเครื่องแวดล้อม ก็จะกลายเป็นของว่างเปล่า เมือ่ ปรากฏการณ์ตา่ งๆ เป็นของว่างเปล่าความคิดก็สิ้นสุดลง... ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีอะไรทำาลายไป จงเหวี่ยง คติทวินยิ ม (ความรูส้ กึ ยึดติดเปรียบเทียบเป็นของคู)่ ไปเสียให้พ้น รวมทั้งความชอบและความไม่ชอบ เป็นอิสระอยู่เหนืออารมณ์คือจิตหนึ่ง เมื่อเข้าถึง สิง่ ๆ นีด้ ว้ ยใจแล้วก็จะได้ขนึ้ สู่ ราชรถของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย การพยายามเพียงแค่ขจัดสิ่งแวดล้อม ที่เป็น ปรากฏการณ์โดยไม่ให้ความคิดปรุงแต่งหยุดไป เสียก่อน ก็จะไม่สามารถประสบความสำาเร็จ กลับมีแต่จะเพิ่มกำาลังให้แก่ส่ิงแวดล้อมปะทุขึ้นมา รบกวนหนักยิ่งขึ้น ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๗๙


เพราะฉะนั้นสิ่งทั้งปวงมิได้เป็นอะไร นอกจาก จิตซึ่งสัมผัสไม่ได้ทางอายตนะ เป็นความจริงที่ ไม่ต้องรู้หรือบรรลุถึง การพูดว่า “ข้าพเจ้าสามารถ รู้ถึงสิ่งบางสิ่ง” หรือว่า “ข้าพเจ้าสามารถบรรลุ เป้าหมายประสบความสำาเร็จถึงสิ่งบางสิ่ง” นั้นคือ การจัดตัวเองไว้ในระหว่างบรรดาคนผูเ้ ป็นนักโอ้อวด อุตริเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ตามความจริงคือความ เข้าใจซึมซาบอย่างเงียบกริบและดำารงตนอยู่อย่าง เรียบง่ายที่สุดเท่านั้นไม่มีอะไรอีกแล้ว... เมือ่ เข้าใจพุทธธรรมได้อย่างลึกซึง้ จะปราศจาก ความรูส้ กึ ทีแ่ บ่งแยกความสำาคัญตนจนปลาสนาการ จนรู้สึกกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับพุทธะ มีความ เข้าใจซึมซาบด้วยจิตอย่างหุบปากเงียบ ไม่มีอะไร จะต้องพูดเท่านัน้ ไม่จาำ เป็นต้องเทีย่ วแสวงหาธรรม จากที่ใดเลย เพราะเมื่อทำาได้ดังนี้ จิตนั้นแหละ คือธรรมนั้นเอง ๘๐  กุญแจชีวิต


ถ้าคนธรรมดาสามัญคนหนึ่งเมื่อเขาร่อแร่ จวนจะตาย หากเขาสามารถเพียงแต่เห็นว่ามวลธาตุ ทั้งห้าซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นวิญญาณนั้น เป็นของ ว่างเปล่า และเห็นว่ามูลธาตุทางรูปกายนั้นไม่ใช่ สิ่งซึ่งประกอบขึ้นเป็นตัวตน... เห็นว่าจิตจริงแท้นั้น ไม่มรี ปู ร่าง ไม่ใช่การมาหรือการไป เห็นว่าธรรมชาติ เดิมแท้นั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งมิได้มีการเริ่มต้นที่การ เกิดหรือมิได้สนิ้ สุดลงทีก่ ารตาย แต่เป็นของสิง่ เดียว รวดปราศจากการเคลือ่ นไหวใดๆ ในส่วนลึกของมัน ทั้งหมด และว่าจิตของเขากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อม เขาอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าสามารถทำาตามนี้ ก็จะบรรลุถึงการรู้แจ้งได้โดยฉับพลัน แม้หากว่าจะได้มองเห็นภาพอันรุ่งโรจน์ของ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เสด็จมาต้อนรับเขา ห้อมล้อม ไปด้วยสิ่งอันวิจิตรตระการตาทุกชนิด เขาก็ไม่เกิด ความรู้สึกอยากเข้าไปใกล้ หรือถ้าเขาได้มองเห็น ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๘๑


ภาพอันน่าหวาดเสียวทุกชนิดมาแวดล้อมอยูร่ อบตัว เขาจะไม่รู้สึกกลัว เขาได้เข้าสู่สภาวะอิสระไม่มีอะไรมาครอบงำา ปราศจากความคิดปรุงแต่งโดยสิ้นเชิง จะผสาน กลมกลืนเป็นหนึง่ เดียวกับสิง่ สูงสุด เขาได้ลถุ งึ ภาวะ ที่อะไรจะมายั่วยุให้เกิดความฟุ้งซ่านปรุงแต่งไม่ได้ อีกต่อไป ฉะนั้นนี่แหละคือธรรมะที่เป็นธรรมชาติ โดยพื้นฐานในที่นี้..... นิพพานอันเป็นแดนเกษมก็คือจิต และจิต ก็คือ ธรรม ความจริงก็คือเนื้อแท้ดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า ทัง้ หลายและเป็นขุมทรัพย์แห่งสัจธรรมอันเป็นภาวะ ดั้งเดิมของเราท่านทั้งหลายอีกนั่นเอง เพชรพลอย เหล่านี้วัดหรือตวงไม่ได้ สะสมให้มากขึ้นก็ไม่ได้ มัน เป็นสิง่ ทีไ่ ม่อาจระบุวา่ เป็นอะไร ทัง้ ไม่อาจจะชีท้ ศิ ทาง ให้แก่ใครได้เลย อย่างมากที่สุดก็พูดได้เพียงว่ามัน อยู่แค่ปลายจมูกนี่เอง มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจระบุตรงๆ ๘๒  กุญแจชีวิต


ได้วา่ มันคืออะไรจริงๆ แต่เมือ่ เรา มีความเข้าใจซึมซาบ ถึงเนือ้ แท้ของมันอยูอ่ ย่างหุบปากเงียบ โดยไร้คาำ พูด บรรยาย ไร้คำาอรรถาธิบาย มันก็อยู่ตรงนั้นเอง คนส่วนใหญ่ทั่วไปมักจะถูกปิดกั้นเสียจากการ รู้แจ้งต่อจิตโดยปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งแวดล้อมอยู่ รอบๆ ตัวเขา และถูกปิดกั้นเสียจากการรู้แจ้งต่อ หลักธรรมทีส่ าำ คัญทีส่ ดุ โดยเหตุการณ์ตา่ งๆ เฉพาะตน ดังนัน้ เขาจึงหาทางหลีกเลีย่ งจากปรากฏการณ์ตา่ งๆ ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นเสีย ด้วยหวังว่าจะ ยึดหน่วงเอาธรรมะนั้นให้ได้ เขาไม่เห็นอย่าง แจ่มแจ้งว่าการกระทำาเช่นนี้เป็นการกลบเกลื่อน ปรากฏการณ์ต่างๆ ด้วยจิต กลบเกลื่อนเหตุการณ์ ต่างๆ ด้วยหลักธรรม ขณะที่เมื่อมีความรู้แจ้งต่อจิต ก็เพียงทำาใจ ให้ว่างเท่านั้น ปรากฏการณ์ที่เป็นสิ่งแวดล้อม ทัง้ หลายก็จะเป็นของว่างและสงบอยูต่ ามธรรมชาติ ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๘๓


จงให้หลักการทั้งหมดหยุดนิ่ง แล้วเหตุการณ์ อันหลากหลายก็หยุดวุ่นวายได้ด้วยตัวมันเอง อย่างเป็นปกติ จงอย่าใช้จิตไปในทางอุตริแผลงๆ เช่นนั้นเลย คนส่วนมากขี้ขลาดต่อการทำาจิตให้ว่าง โดย เกรงไปว่าจะพลัดตกลงไปในความว่าง ตามธรรมชาติ สิ่งที่เรียกว่า “จิต” เป็นของว่างมาแต่เดิมอยู่แล้ว คนโงมัวแตหลบหลีกปรากฏการณ์ตางๆ ไม หลบหลีกจากความคิดปรุงแตง สวนคนฉลาดหยุด ความคิดปรุงแตงไมจา� ตองหลบหลีกปรากฏการณ์ เมื่อสรรพสิ่งทั้งภายในและภายนอก ทั้งที่เป็น รูปธรรมนามธรรมถูกเพิกถอนแล้ว เมือ่ ความยึดมัน่ ถือมั่นต่อสิ่งทั้งหลายไม่มีเหลืออยู่ เช่นเดียวกับ ความว่าง เมื่อการกระทำาทั้งหมดเป็นไปแต่ตาม สมควรแก่สถานที่สิ่งแวดล้อมล้วนๆ และความรู้สึก ว่ามีตวั ตนในฐานะผูก้ ระทำาและในฐานะผูถ้ กู กระทำา ๘๔  กุญแจชีวิต


ได้ถูกลบล้างไปหมดแล้ว นี่คือวิธีอันชาญฉลาด แห่งการอยู่เหนืออารมณ์ชนิดเยี่ยมยอดที่สุด การถ่ายทอดธรรมสุญตาความว่าง ไม่สามารถ สื่อได้โดยทางคำาพูด การถ่ายทอดตามความหมาย อย่างทางฝายวัตถุนั้นไม่สามารถใช้กันได้กับธรรมะ สุญตาความว่าง เมื่อเป็นดังนั้นธรรมะ จึงเป็นสิ่งที่ ถูกถ่ายทอดด้วยจิต เมือ่ รูแ้ จ้งต่อจิตแล้วจะไม่มองเห็น ความแตกต่างของสิ่งทั้งหลาย การถ่ายทอดธรรมและการรับการถ่ายทอด ทัง้ สอง อย่างนีเ้ ป็นความเข้าใจอันเร้นลับทีจ่ ะรูไ้ ด้เฉพาะตน มันจึงเป็นสิง่ ทีผ่ รู้ เู้ ข้าใจถึงอุปนิสยั จริงๆ ทีจ่ ะสามารถ ถ่ายทอดและรับกันโดยตรงจากจิตสู่จิต ถึงอย่างไรก็ตามสิ่งที่พอจะสื่อให้เห็น ภาพ ความจริงของจิตนั้นก็ยังไม่ใช่จิต และการถ่ายทอด ธรรม ก็มิใช่การถ่ายทอดที่เป็นจริงเป็นจังอะไรเลย เพราะฉะนั้นธรรมะจึงเป็นสิ่งไม่อาจนำามาอธิบาย ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๘๕


ด้วยคำาพูด นั้นแหละเรียกว่าการเผยแพร่ธรรม และสิง่ ทีน่ าำ มาพูดแสดงเปรียบเทียบธรรมะคืออะไร? นั้นยังหาใช่ธรรมสัจจะที่แท้จริง มันไม่มีวิถีทางใดเลยที่สาธยายธรรมะแห่งจิต หนึ่งนี้ให้แก่กันและกันได้โดยเด็ดขาด เมื่อเป็น ดังนัน้ พระตถาคตเจ้าจึงได้รบั สัง่ ให้พระมหากัสสปะ มาเฝ้า และนัง่ กับพระองค์บนอาสนะแห่งการประกาศ สัจธรรม ทรงมอบธรรมะแห่งจิตหนึง่ นี้ ซึง่ เป็นธรรมะ ทีไ่ ม่เกีย่ วกับคำาพูดแต่ประการใดเลยให้แก่ทา่ นเป็น กรณีพิเศษ ธรรมที่ไม่อาจจะแตกแขนงข้อนี้เป็น ธรรมวิเศษ “ขั้นปรมัตถ์” ผู้ที่รู้แจ้งเห็นจริงอย่าง ทะลุปรุโปร่งแล้วโดยมิตอ้ งมีอะไรจะพูดกันนัน่ แหละ จะได้บรรลุถึงภาวะแห่งธรรมนั้น.... สมณะได้นามว่าสมณะก็เพราะรูแ้ จ้งแทงตลอด แหล่งกำาเนิดของสิ่งทั้งปวง ผลอานิสงส์ความเป็น สมณะเช่นนั้นบรรลุถึงได้ด้วยการทำาความสิ้นสุดให้ ๘๖  กุญแจชีวิต


แก่ความกระหายใคร่จะลุถึงทุกอย่างเสีย เพราะถ้า มัวแต่สาละวนในการใช้จิตแสวงหาจิต มัวอยู่แต่ ค้นคว้าศึกษาจากตำารับตำาราหรือติดอยู่แค่ฟง คำาสอนจากผู้อื่นอยู่รำ่าไป เมื่อไรเล่าจะบรรลุถึง จุดหมายปลายทางประสบความสำาเร็จ ผู้มีจิตใจแหลมคมจะรีบสลัดความรู้สึกทั้งหมด เสียได้โดยการทำาจิตให้ว่างและสงบ จึงได้นามว่า “ปราชญผูสลัดการศึกษาเสียได สูทางลัดอยาง ฉับพลันโพลงรวดเดียวถึงธรรมะ คือความวาง โดยธรรมชาติอยูแลว” คนส่วนใหญ่มัวแต่แสวงหาการบรรลุ จนมีความรู้ ล้นสมองเลอะเทอะ แถมยังเที่ยวประกาศความรู้ ความสามารถในการใช้เหตุผลข้อมูลทางอนุมาน ศึกษาความรูท้ างพระคัมภีรอ์ ยูท่ วั่ ทุกหนแห่ง เข้าใจ เอาเองว่านีค่ อื การปฏิบตั ธิ รรม โดยหารูไ้ ม่วา่ ความรู้ และสติปญญาชนิดนั้นยิ่งมีมากก็ยิ่งมีผลในทางตรง ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๘๗


กันข้าม คือเป็นการสุมกองข้อสงสัยให้กังขา เป็น สิ่งกีดขวางทวีมากยิ่งขึ้น ลำาพังการรวมความรู้ สติปญญาอันเฉลียวฉลาดเข้าไว้อย่างท่วมหัว ชนิดนั้น เกิดมันติดขัดยึดติดอะไรมากเกินจนจิตฟุ้ง ไม่ปล่อยวาง มันก็จะกลายเป็นพิษเป็นอันตราย ต่อความสงบ เพราะมันเป็นได้แต่เพียงของใน เครือข่ายเดียวกันกับสังสารวัฏ ความรู้สึกนึกคิดใน รูปต่างๆ ที่เป็นความเคยชินตามโลกบัญญัติสมมุติ ซึ่งมันได้ก่อขึ้นไว้ในอดีตเหลืออยู่ในรูปแห่งสัญญา ความทรงจำานัน้ ต้องสลัดทิง้ ให้หมด ปล่อยวางให้จติ อยู่กับความว่าง เมื่อใดคติทวินิยมการเปรียบเทียบ สิ้นสุดลง เมื่อนั้นทุกสิ่งก็จะอยู่ในสภาพความว่าง อันหมายถึงไม่มีพื้นที่พอที่จะให้สิ่งใด ซึ่งมีขนาดแม้ เท่าเส้นขนที่เล็กที่สุดตั้งอยู่ได้นั่นแหละ!!!! คือข้อ ที่ว่าเหตุใดพระพุทธเจ้าผู้ที่ทำาลายความยึดถือว่า มีตัวตนลงเสียได้และทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏ ต่อชาวโลก ๘๘  กุญแจชีวิต


คำาตรัสนีท้ รงมุง่ หมายโดยตรงเพือ่ ให้ความรูแ้ ละ สติปญญามิให้เหลือร่องรอยของการปฏิบัติอย่าง คว้าไปคว้ามาอย่างเคว้งคว้าง เพราะติดแน่นอยู่กับ ความรู้อันมากมายทุกประการเสียจนไม่รู้สึกว่า มีอะไรแม้แต่อนุภาคเดียวทีจ่ ะบรรลุถงึ อะไรทัง้ หมด แล้วเท่านั้นที่จะสามารถเป็นผู้สงบถึงที่สุดได้ ทีย่ งิ่ กว่าอืน่ ใด เป็นเรือ่ งสำาคัญทีส่ ดุ คือ อย่ายึดติด ต่ อ คำ า สอนที่ พ ระพุ ท ธองค์ ไ ด้ ต รั ส สอนเฉพาะ บางโอกาสบางเรื่องตามอุปนิสัยของแต่ละบุคคล เพราะถือว่าเรือ่ งเฉพาะตน ของบุคคลนัน้ ๆ มิใช่เป็น หลักโดยทั่วไปที่คนอื่นจะถือเอาเป็นหลักตายตัวที่ เปลีย่ นแปลงไม่ได้อกี ต่อไป เพราะมันประทับใจและ เป็นสิง่ ทีป่ รากฏอยูใ่ นพระคัมภีร์ เพราะโดยความจริง สภาวะเดิมแท้แห่งธรรมนั้นไร้ตัวตนมิได้เป็นอะไร เลย มันว่างและสงบอยู่โดยธรรมชาติ อย่าได้เที่ยว สร้างภาพมายาแสวงหาความรู้เรื่องอะไรมากมาย แล้วจบลงแค่ความฉงนสนเท่ห์นานาชนิด ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๘๙


สิ่งที่ควรทำาอย่างยิ่งคือทำาให้การเคลื่อนไหว ต่างๆ ทางจิตใจให้หยุดเสียหมด หยุดความคิด ปรุงแต่งฟุ้งซ่าน อย่าได้สงสัยเป็นกังวลเกี่ยวเกาะ กับสิ่งใดๆ นั้นแหละคือความว่างและสงบ อย่าง แท้จริง ในทันทีที่ความคิดปรุงแต่งหรือความรู้สึก ทางอายตนะเกิดขึน้ ก็จะทำาให้พลัดตกลงสูค่ ติทวินยิ ม กาลเวลาทั้งหมดซึ่งปราศจากการตั้งต้นหรือที่สุด และขณะหนึ่งของปจจุบันก็คือสิ่งเดียวกันไม่มีนี้ ไม่มีโน้น การเข้าใจซึมซาบในสัจจะเช่นนี้เรียกว่า การรู้แจ้งเห็นจริงที่สมบูรณ์ไม่มีอะไรยิ่งกว่า ฉันจะปลอยเสีย....ทั้งสองมือ เพียงแต่หยุดปล่อยตนไปตามความคิดแบ่งแยก ความเป็นเขาเป็นเราหรือของเราของเขา หรือเป็น อะไรๆ ที่ตรงกันข้ามกันเสียเท่านั้น มายาความ ๙๐  กุญแจชีวิต


แปรปรวนเปลี่ ย นแปลงก็ จ ะสิ้ น สุ ด สู ่ สุ ญ ตา ความว่างโดยธรรมชาติ ทันทีที่รู้สึกว่ามีอะไรมา รบกวนจนอยากจะทำาลายมันในทีท่ กุ แห่ง ทีม่ นั อาจ จะมีอยู่ ในทีส่ ดุ จะพบว่าไม่มสี งิ่ ใด เหลืออยูเ่ ลยแม้แต่ เท่าเส้นขนเส้นเดียวให้ยึดเกาะ...นี่แหละ!!! คือ ความหมายของคำาว่า “ฉันจะปล่อยเสียทัง้ สองมือ” แล้วจะพบธรรมชาติแห่งพุทธะ ในจิตอย่างแน่แท้ นั่นเอง ความสำาเร็จอันสูงสุดคืออ้ามือทั้งสอง จนไม่มี อะไรจะปล่อยอีกแล้ว อย่าได้เที่ยวมัวเสียแรงไปกับ การโอ้อวดว่ามีอะไรพิเศษสารพัดอย่าง หรือว่า มีความรูเ้ รือ่ งอะไรต่างๆ มากมายหลายประเภทนัน้ ไม่อาจจะเปรียบกันได้กับการที่สามารถเพิกถอน เสียได้ซึ่งการแสวงหาทุกอย่างทุกประการ ซึ่งการ ทำาได้ดังนั้นเป็นสิ่งเลิศสุดเหนือสิ่งทั้งปวง จิตมิได้ เป็นสิ่งที่มีมากมายหลายชนิด และไม่มีหลักธรรม ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๙๑


ที่แท้จริงอะไรที่อาจนำามาสื่อภาษากันได้ทางคำาพูด เมื่อไร้คำาอรรถาธิบาย “จงหุบปากนิ่งสงบอยูใน สุญตาวิหารธรรม ทามกลางโลกและตอบสนองตอ สิง่ ตางๆ อยางแผวเบาทีส่ ดุ เทาทีค่ วรตามแตโอกาส” ขอเพียงแต่ทำาใจให้ว่าง หยุดยึดติดตามโลก สมมุติความหมายว่าดีและชั่วเสียให้หมด ตรง ขณะนี้แหละจงย้อนกลับสู่ภาวะเดิมแท้ก่อนแต่ ที่มารดาบิดาจะให้กำาเนิดมา ก็จะทำาให้หัวใจ ได้ซึมซาบต่อความว่าง จึงคู่ควรแก่นามว่าภิกษุ ผู้เชี่ยวชาญต่อธรรมปฏิบัติ จักรวาลเดิมอันรุง่ เรืองและบริสทุ ธิน์ นั้ ไม่ใช่ของ เหลี่ยมหรือของกลม ไม่ใช่ของใหญ่ หรือของเล็ก มันปราศจากความแตกต่างว่ายาวหรือสั้น มันอยู่ เหนือการเกี่ยวข้องเหนือการกระทำาใดๆ ทั้งหมด เหนืออวิชชาและเหนือการตรัสรู้ ตามความจริงแล้ว ทุกสรรพสิ่งเป็นของว่าง ไม่มีสามัญชน ไม่มีพุทธะ ๙๒  กุญแจชีวิต


ทั้ ง หลาย มหาโลกธาตุ นั บ จำ า นวนไม่ ถ ้ ว นดุ จ เมล็ดทรายในโลก ก็เป็นเพียงฟองนำา้ เม็ดเล็กๆ ญาณ ทั้งหลายและอริยภาวะทั้งปวง ก็เป็นเส้นแฉกๆ ของสายฟ้าแลบ ในบรรดาสิ่งเหล่านั้นทั้งหมดไม่มี อะไรซึ่งเป็นตัวตนที่แท้จริง นั่นแหละคือธรรมชาติ เดิมแท้ของจิต คำาสอนของพระพุทธเจ้าทัง้ หมด เป็นเพียงอุบาย วิธีเพื่อจะกลับใจมหาชนออกจากความหลงงมงาย ในอารมณ์ มันเหมือนกับแสร้งลวงด้วยของเล่น มาล่อให้เด็กเล่น เพื่อให้เด็กหยุดร้องไห้เท่านั้น ฉะนั้นมันต้องไม่ถูกถือว่าเป็นความจริงที่เด็ดขาด แต่ประการใดไม่.... สัจธรรมอันเป็นรากฐานของธรรมนัน้ คือหลักที่ ว่าไม่มธี รรม ถึงกระนัน้ หลักทีว่ า่ ไม่มธี รรมนัน่ แหละ เป็นธรรมอยู่ในตัวมันเอง และบัดนี้หลักที่ว่าธรรม ไม่มีนั้นก็ได้ถูกเปิดเผยโดยสิ้นเชิงแล้ว หลักที่ว่า ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๙๓


มีธรรม จะเป็นธรรมได้อย่างไร!!! เพราะสัจธรรมเป็น อนัตตาไร้ตัวตนคนสัตว์โดยธรรมชาติ ดังนั้นจงน้อมรับธรรมหฤทัยอันลึกซึ้งที่สุด ของพระตถาคตเจ้า...อย่างหุบปากนิ่งเงียบเถิด จิตกับพุทธะคือสิ่งเดียวกัน วิธีที่ฉลาดที่สุดคือ การเพาะให้พุทธ – จิตผลิออกมาให้เห็นเท่านั้นเอง ไม่มีความจำาเป็นที่จะต้องมีวิธีปฏิบัติการบรรลุถึง การตรัสรูอ้ ะไรนานาชนิดเลย คำาสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหมดมีวัตถุประสงค์ปลดเปลื้องความหลงงมงาย ในอารมณ์ ถ้าเพียงหยุดความลุม่ หลงมัวเมาได้สาำ เร็จ สิ่งยั่วยวนที่เป็นรสชาติเอร็ดอร่อยอันน่ารื่นรมย์ ก็จะจืดชืดไร้ความหมาย ไร้รูปไร้นาม สิ่งที่เป็น รูปธรรม–นามธรรมทั้งหลายก็เพียงภาพว่าง เมื่อ รูแ้ จ้งว่าลักษณะอาการทีป่ รากฏหาใช่ลกั ษณะทีเ่ ป็น ตัวตนแต่ประการใดไม่... นั่นแหละคือการได้รู้จัก พระตถาคตเจ้า ๙๔  กุญแจชีวิต


ถ้าฝนยึดติดในรูปแห่งพระพุทธองค์ ก็จะถูก ปิดกั้นเสียด้วยพุทธะนั้นนั่นเอง และเมื่อยังยึดติด ว่ามีสตั ว์โลกก็จะถูกปิดกัน้ เสียด้วยสัตว์โลกเหล่านัน้ ความคิดปรุงแต่งที่เป็นคติทวินิยมเช่นเห็นว่ามี ผู้ที่ยังโง่หลงหรือผู้ที่ตรัสรู้แล้ว มีเรามีเขา มีบริสุทธิ์ และไม่บริสุทธิ์ ความเป็นนั่นเป็นนี่อะไรมากมาย นัน่ แหละคือสิง่ กีดกัน้ ปิดบังไม่ให้เห็นแจ้งความจริง... จิตเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกแบ่งแยกให้เป็นนั่น เป็นนี่ได้เลย เพราะฉะนั้นปรากฏการณ์ทั้งหลาย ที่ปรากฏ ต้องไม่ถูกแยกเป็นชนิดต่างๆ ตามคติ ทวินิยมโดยเสมอกัน และเป็นสิ่งที่อยู่เหนือการ กระทำากรรมทั้งปวง เพียงแต่ทำาจิตให้ว่าง วัตถุหรือ อารมณ์ทรี่ สู้ กึ ได้ทางอายตนะไม่วา่ มันจะอยูใ่ นจำาพวก ไหนสักกี่หมื่น กี่แสนจำาพวก ตามความจริงทุก สรรพสิง่ มันเป็นของว่างตามธรรมชาติ โดยตัวมันเอง และครอบคลุมไปทั่วทุกทิศทุกทาง เป็นสิ่งเดียว กับจิตนั้น ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๙๕


ผูใ้ ดก็ตามสำาคัญว่าตัวตนมีอยูใ่ นสสารหรือเป็น พลังงาน นั่นคือการเฉออกไปนอกทางสัมมาปฏิบัติ จึงไม่สามารถเข้าใจเรือ่ งของพระตถาคตเจ้าได้อย่าง ถูกต้อง อีกทั้งความหยิ่งความภาคภูมิใจในความ สำาเร็จความรู้อันลึกซึ้งความรอบรู้จากการศึกษา อันกว้างขวาง การมีระบบวิถีปฏิบัติธรรมและหลง สำาคัญว่าตนได้หลุดพ้นแล้วดังนีน้ นั้ ความสำาเร็จของ เราย่อมทำาให้ความรู้สึกนึกคิดเป็นความสุขแก่เรา เป็นที่สุด แต่ความจริงแล้วมันเป็นความผิดพลาด อย่างน่าทุเรศหาประโยชน์อันใดมิได้ อย่าได้ลวง ตัวเองเทีย่ วมองหาสัจธรรมในทีใ่ ดๆ เลย จงหยุดนิง่ อยางมีระบบ คงสภาพความเงียบสงบอยาง เรียบงายกับธรรมชาติที่ธรรมดาที่สุด ในทันทีที่ความคิดแบบคติทวินิยมเกิดขึ้น เช่นคิดว่ามีพุทธะผู้หลุดพ้น มันก็จะถูกบังคับว่า มีสัตว์โลกที่เป็นสามัญตามขึ้นมาเป็นต้น เพราะ ความคิดอันหลากหลายภายในใจและความรูส้ กึ ต่างๆ ๙๖  กุญแจชีวิต


ที่เกิดจากอารมณ์ภายนอก จะถูกตีกรอบถูกบีบให้ เตีย้ แคระโดยภูเขาเหล็กทัง้ สองลูกซึง่ ปิดกัน้ โดยไม่มี ทางออก เมือ่ ธรรมะได้ประจักษ์แจ้ง เราย่อมพูดถึงพุทธะ ได้ ครัน้ ประจักษ์ตอ่ ไปว่าไม่มที งั้ ธรรมะ ไม่มที งั้ พุทธะ นั่นเรียกว่าเข้าถึงสังฆะหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ บรรพชิตผูอ้ ยูเ่ หนือกรรมทัง้ ปวง แล้วผลทัง้ หมดอาจ เรียกได้ว่า ตรีรัตนะ หรือเพชรพลอยสามชนิดใน เนื้อหาอันเดียวกัน ในสัจธรรมนั้นไม่มีอะไรเลยแม้สักอย่างเดียว ที่ดำารงอยู่ที่อาจจะยึดถือเอาได้ เข้าถึงได้ บรรลุตรัสรู้ ได้ หรือเสวยผลได้ นั่นคือการนั่งอยู่ในโพธิมณฑล ซึ่งปราศจากความคิดแบ่งแยกอะไรต่างๆ นี้คือ การลืมตามองเห็นความว่างอันแท้จริงจากสิง่ ทัง้ ปวง ที่เป็นปรากฏการณ์ที่ปรากฏ ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๙๗


การแสวงหาสัจธรรมโดยวิธขี องการ ใช้สติปญ ญา และการศึกษานัน้ มีแต่จะทำาให้เกิดความสงสัยรวนเร และถอยห่างจากความจริงจนไกลเกินเอือ้ มถึง จนกว่า เมื่อไหร่สามารถสลัดความคิดในการแสวงหาอะไร บางอย่างเสียได้ทกุ ๆ ทาง จนจิตหยุดการเคลือ่ นไหว ราวกับว่ามันเป็นท่อนไม้หรือก้อนหินเท่านั้น นี่คือ ปากทางประตูสู่ความนิ่งเงียบเหนือกรรมทั้งปวง สากลโลกธาตุอันไพศาลก็ตั้งอยู่แต่ภายในใจ สิ่งที่เป็นปรากฏการณ์นานาชนิดและทิวเขาเขียว เป็นพืดจับสายตาอยูท่ กุ ทิศทุกทาง ท้องฟ้าอันเวิง้ ว้าง ที่เห็นสว่างอยู่เหนือโลก ภาพและเสียงแต่ละอย่าง ทัง้ หมดนัน้ ไม่มอี ะไรสักเส้นผมเดียวทีอ่ ยูน่ อกไปจาก จิตที่คิดมันขึ้นมาเอง!!!...... ปรากฏการณ์ทั้งหลายไม่ได้เกิดขึ้นโดยลำาพัง แต่มันอาศัยสิ่งแวดล้อมที่คิดปรุงแต่งขึ้น ที่ปรากฏ ออกมาเป็นวัตถุและเรื่องราวต่างๆ จึงทำาให้เกิด ๙๘  กุญแจชีวิต


ความจำาเป็นที่จะต้องมีวิชาความรู้ชนิดที่เป็นของ เหมาะเฉพาะตัวเป็นคนๆ ขึ้นมา เราอาจจะพูดไปได้ตลอดทั้งวัน ถึงกระนั้นก็จะ มีอะไรบ้างทีไ่ ด้พดู ออกมา??? เราอาจจะฟงได้ตงั้ แต่ เช้าจนพลบคำา่ ถึงกระนัน้ ก็มอี ะไรบ้างทีไ่ ด้ยนิ ได้ฟง ??? แม้ที่ว่าพระพุทธองค์ทรงประกาศธรรมเป็นเวลาถึง 45 ป โดยความจริงแล้วไม่มถี อ้ ยคำาใดๆ ทีพ่ ระองค์ ได้ตรัสเลย จากความวางสูความวาง จากอนัตตา สูอนัตตา ไมมีเบื้องตน และสิ้นสุด ความหมายของโพธิ ญ าณมิ ใช่ เ ป็ น ภาวะ พระพุทธองค์มิได้ทรงบรรลุถึงโพธิญาณ สัตว์โลก ก็มิได้ไร้จากโพธิญาณ เพราะมันมิใช่ถึงได้ด้วยกาย หรือแสวงหาได้ด้วยใจ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเป็น สิ่งเดียวกันกับโพธิญาณมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว โพธิญาณมิได้เป็นสิ่งที่ต้องบรรลุถึง เดี๋ยวนี้ นี่แหละถ้าเราสามารถเข้าใจซึมซาบถึงความเป็น ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๙๙


อันหนึ่งอันเดียวกันด้วยใจเอง และเป็นผู้เห็นอย่าง ชัดเจนว่าไม่มีอะไรเลยที่ใครๆ จะลุถึงก็จะเป็นผู้มี โพธิจิตอยู่แล้วในทันที ธาตุแท้ซึ่งเป็นเนื้อหาของ ความเป็นพุทธะนั้นเป็นสิ่งๆ เดียว ซึ่งเต็มเปยมอยู่ เสมอไม่มีการล้น ไม่มีการพร่อง มันแทรกซึมอยู่ทั่ว ในภูมิแห่งความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหกภูมิ และเป็น เนื้อเดียวกันซึ่งเต็มเปยมอยู่เสมอทั่วทุกหนทุกแห่ง ดังนั้นสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์อันมากมายนับไม่ถ้วน ในสากลจักรวาลนี้ทุกๆ อย่างล้วนเป็นสิ่งเดียวกับ พุทธะอย่างเสมอภาค พระพุทธเจ้าทั้งหลายอุบัติขึ้นมาในโลก ทรงมี พระประสงค์จะทำาความสิ้นสุดให้ปรากฏการณ์ ทั้งหลายที่เป็นกาย รูป อรูป และโลกทั้งสามจะดับ หายไป ถ้าปราศจากความคิดปรุงแต่ง แต่ถา้ ยังข้องแวะ ยึดเหนี่ยวอยู่ในความสังเกตเห็นว่ายังมีอะไรบาง อย่างแม้จะเล็กเท่าเศษหนึง่ ส่วนร้อยของธุลเี ม็ดหนึง่ ก็ตาม ทีอ่ าจตัง้ อยูไ่ ด้โดยความเป็นตัวเป็นตนอยูแ่ ล้ว ๑๐๐  กุญแจชีวิต


ไซร้ ต่อให้ความรู้เชี่ยวชาญแตกฉานอย่างสมบูรณ์ ในคัมภีร์ตำารับตำาราทั้งหมดทั้งมวลก็ยังล้มเหลว ต่อการที่จะเอาชนะ เหนือโลกทั้งสามอยู่นั่นเอง จนกว่าเมื่อส่วนละเอียดที่สุดถูกเห็นเป็นความ ไม่มีตัวตน ไม่มีกายไม่มีจิต คือการทำาความสิ้นสุด สู่ความสำาเร็จดุจพระพุทธองค์จะมีปรกติอยู่ใน สุญตาเป็นวิหารธรรม อยูด่ ว้ ยความว่างผสานกันกับ ธรรมชาติเป็นธรรมเครื่องอาศัยอยู่เป็นนิจ บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่ผูกพันอยู่กับวงล้อแห่ง การเวียนเกิดเวียนตายนั้น เป็นสิ่งที่ถูกสร้าง ย้อนสู่ กรรมแห่งตัณหาของตัวเอง!!!! หัวใจของเขาเองยัง ผูกพันอยู่กับภูมิแห่งกำาเนิดทั้งหกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้นจึงยังผูกพันตนเองอยู่กับความทุกข์กาย ทุกข์ใจจนว้าวุ่นเหมือนด้ายยุ่ง มีคนจำาพวกหนึง่ ทีม่ จี ติ เหมือนจิตของวานร (ลิง) ซึ่งเป็นพวกที่สอนได้ยากนัก เป็นพวกที่ต้องการ ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๐๑


ข้อบัญญัติวิธีการระบบคำาสอนแบบแผนนานาชนิด ทีจ่ ะเอาใช้บงั คับจิตของตนให้ยอมจำานนเท่านัน้ เอง ดังนั้นเมื่อความคิดฟุ้งซ่านเกิดขึ้น ธรรมะต่างๆ ที่ เขาได้ศึกษาอัดเข้าไว้ทุกชนิดก็ตามมา แต่แล้วมันก็ สูญสิ้นไปเพราะการหยุดลงของความคิดปรุงแต่ง นั้นเอง ขอเพียงแต่ศกึ ษาให้รวู้ า่ ทำาอย่างไรจึงจะประสบ ความสำาเร็จในการทีจ่ ะไม่ให้สติปญ  ญาทำาหน้าทีข่ อง มันเท่านัน้ สายโซ่แห่งสังสารวัฏก็จะหักเผาะออกไป ทันที จงเลิกละความคิดเห็นผิดๆ ทีน่ าำ ไปสูก่ ารแบ่งแยก จำาแนกความแตกต่างนานาชนิดอย่างผิดๆ เหล่านัน้ เสียให้หมดอย่างสิ้นเชิงเถิด!!!! ไม่มีตัวเรา ไม่มีผู้อื่น ไม่มีอยากอย่างผิด ไม่มีอยากอย่างถูก ไม่มีความ เกลียดชัง ไม่มีความรัก ไม่มีชัยชนะ ไม่มีล้มเหลว ๑๐๒  กุญแจชีวิต


จงขจัดขบวนการแห่งความคิดปรุงแต่งทีส่ ะสม เป็นความรู้ทางสติปญญาเสียให้หมดสิ้นเท่านั้น ธรรมชาติเดิมแท้ของจิตก็จะถูกเปิดเผย แสดง ความว่างบริสทุ ธิอ์ อกมาให้เห็น ด้วยวิธเี ดียวนีเ้ ท่านัน้ ที่จะทำาให้ถึงความตรัสรู้ ทำาให้เห็นธรรมชาติของ ทุกสรรพสิ่ง จะทำาให้เป็นพุทธะขึ้นมา ถ้านอกเหนือจากนีแ้ ล้วความรอบรูอ้ ะไรทัง้ หมด ทัง้ สิน้ ความเพียรพยายามอย่างเจ็บปวด การบำาเพ็ญ ตบะต่างๆ อันเกี่ยวกับอาหาร และเครื่องนุ่งห่มจะ ไม่ชว่ ยให้ได้ความรูส้ กึ เห็นแจ้งต่อจิต ทีเ่ ป็นธรรมชาติ ดั้งเดิมได้เลย.... ร่างกายเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นด้วยจิต แล้วใครหวัง ที่จะได้รับความรู้ธรรมชาติเดิมแท้ของจิตจากตำารา คัมภีร์ได้อย่างไร??? ถ้าเข้าใจจิต อันเป็นธรรมชาติ ดัง้ เดิมและทำาทีส่ ดุ จบให้แก่ความคิดแบ่งแยกจำาแนก ความแตกต่างนานาชนิดเสียให้ได้เท่านั้น มันก็จะ ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๐๓


ไม่มีเนื้อที่เหลือไว้ให้ความผิดพลาดต่างๆ เกิดขึ้นได้ แม้แต่นิดเดียว!!! จงเจริญจิตหยุดอยูบ่ นความไม่มอี ะไร คือทำาจิต ให้วา่ งปลอดโปร่งอยูเ่ สมอเป็นนิจ ความรูแ้ ละอุปนิสยั ที่ยังถูกครอบงำาอยู่กับวงล้อมของความหลงสำาคัญ ว่ายังมีผหู้ ลงใหลและผูต้ รัสรู้ ว่าเป็นภาวะทีแ่ ตกต่าง กันอยู่ ก็จะพบว่าตนเองกลับสู่วงล้อของความเกิด และความตายอยู่รำ่าไป เพราะความรู้ชนิดนั้นเป็น ของชั่วแล่น แม้ความเพียรพยายามอันแข็งขันและ การยอมทนทุกข์ทรมาน อย่างใหญ่หลวง มันเหมือน ลูกศรที่เล็งพลาดในการยิงขึ้นไปไม่ได้สูง และ หมดแรงตกอยูก่ ลางดิน ใกล้ผยู้ งิ นัน่ เอง ถือเป็นความ ผิดพลาดอันมหาศาล การปฏิบัติตนเองโดยปราศจากพฤติการณ์ เคลื่อนไหวใดๆ ทุกขณะเวลา เดิน ยืน นั่ง นอน โดยไม่อิงอาศัยสิ่งอื่นใดทั้งภายในภายนอก ในการ ๑๐๔  กุญแจชีวิต


ปล่อยให้สิ่งทั้งปวงเป็นไปตามเหตุปจจัยของมัน ราวกับว่าเราปวยหนักเกินกว่าที่จะไปเป็นห่วง สิ่งใดๆ หรือมีจิตเหมือนหินแท่งทึบที่ไม่มีรอย ต้องอุดต้องซ่อมแล้ว เมือ่ นัน่ แหละธรรมทัง้ หลายจะ ซึมซับเข้าสูห่ วั ใจอย่างทะลุปรุโปร่ง ปฏิกริยาของเรา ต่อปรากฏการณ์อนั หลากหลายจะลดลง เมือ่ กรรมวิธี ทางจิตทุกชนิดหยุดลงแล้ว กรรมก็จะไม่ถกู สร้างขึน้ แม้แต่สักอนุภาคเดียว ใจและกายก็จะเป็นอิสระ โดยสมบูรณ์ที่สุดอยู่เหนือโลกทั้งสาม และมหาชน จะได้กล่าวกันว่าพุทธะองค์หนึ่งได้ปรากฏขึ้น ในโลกแล้ว ควรดำาเนินชีวติ ในลักษณะทีอ่ นุโลมกันได้อย่าง กลมกลืนกับสถานการณ์ตา่ งๆ ตามโอกาสอันเหมาะสม แต่มิใช่ปล่อยตนไปตามกระแสโลก หรือไม่เป็นคน ขวางโลก จงทำาใจให้ว่างอิสรเสรี อยู่เสมอ ชีวติ เดิมแท้เป็นสิง่ ว่างจากตัวตนมาแต่ตน้ ตัณหา กิเลสความหลงสำาคัญตนเป็นดุจกองปุยคอก ที่ต้อง ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๐๕


ขนใส่เกวียนไปทิง้ เสียด้วยอภิปรัชญาและเล่หอ์ บุ าย อันแยบคาย ดังนัน้ แหล่งกำาเนิดของพระตถาคตเจ้า ทั้งหลาย คือความว่างและสงบเงียบอย่างแท้จริง ซึ่งไม่ประกอบอยู่ด้วยธรรมลักษณะใดๆ ที่เป็น ตัวตนแต่อย่างไรหรือชนิดไหนเลย เพราะเหตุว่า ทัว่ ทุกๆ อาณาจักรแห่งพระพุทธเจ้าทัง้ หลายจะเป็น ของว่างโดยเสมอภาค แม้จะมีใครเที่ยวโอ้อวดโฆษณาถึงเรื่องวิถีทาง ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่าเป็นสิ่งอาจบรรลุถึงได้ ด้วยการบำาเพ็ญบารมีด้วยประการต่างๆ หรือด้วย การศึกษาพระสูตรและคัมภีร์ทั้งหลายแม้จะมีผู้ที่ อาจจะดีอกดีใจอยู่ด้วยการค้นพบวิถีทางแห่งการ ตรัสรู้ ก็อย่าได้ปล่อยตนให้เขาชักจูงไป หรือถ้าพบ กับผูท้ ไี่ ม่ยอมเข้าใจอะไรเลย เราก็ตอ้ งทำาตนขอเป็น ผู้ไม่รู้อะไร เราจะไม่ได้รับความยินดีปรีดาอะไรและ ความรูส้ กึ ชนิดนัน้ ก็ไม่เกีย่ วกับ ความรูเ้ รือ่ งของชีวติ ๑๐๖  กุญแจชีวิต


การเกิดความรู้สึกซึมซาบได้ในเวลาชั่วพริบตา เดียว ว่าผู้กระทำาและสิ่งที่ถูกกระทำาเป็นของ สิง่ เดียวกัน นัน่ แหละจะนำาไปสูค่ วามเข้าใจอันลึกซึง้ เหนือคำาบรรยาย และโดยความเข้าใจเช่นนี้เอง คือการลืมตาต่อสัจธรรมของชีวิต.... ธรรมชาติเดิมแท้ของชีวิตเป็นสิ่งที่มิได้หายไป ขณะที่กำาลังหลงผิดด้วยความไม่รู้ และมิได้รับกลับ มาในขณะรู้แจ้ง เพราะในธรรมชาติเดิมแท้มันไม่มี ทั้งอวิชชาและสัมมาทิฐิ มันเป็นความว่างที่มีอยู่ ทัว่ ทุกแห่งหนและเป็นเนือ้ หาอันเดียวกันกับธรรมชาติ เดิมแท้ของชีวิต ดังนั้นอารมณ์ต่างๆ ที่จิตปรุงแต่ง ขึ้นมามากมายก็กลับสู่ความว่างดุจเดิม โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่างนั้นเป็นสิ่งซึ่ง ปราศจากมิตติ า่ งๆ แห่งการกินเนือ้ ทีป่ ราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชา ปราศจากสัมมาทิฐิ จะเข้าใจได้เองอย่างชัดเจนว่า ในความว่างนั้นไม่มี อะไรเลยที่จะติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๐๗


ความว่างนั้นเป็นสิ่งที่ซึ่งสิงซึมอยู่ทั่วไปทุกหน ทุกแห่ง อันเป็นความงดงามไร้ที่ตำาหนิ เป็นสิ่งซึ่งมี อยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไร สร้างขึ้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้วมันจะเกิดปญหาที่ต้อง ถกเถียงกันขึ้นได้อย่างไรในข้อที่ว่า พระพุทธะที่แท้ ไม่มปี าก และมิได้ประกาศธรรมใดๆ เลย และว่าการ ได้ยินที่แท้นั้นไม่ต้องการหู เพราะว่าใครหนอ??? อาจได้ยนิ มันได้... โอ!!! มันเป็นเพชรพลอยอันอลังการ งดงามที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริงๆ ทุกสรรพสิง่ จากความวางสูค วามวาง จากอนัตตา สูอ นัตตา จากความเงียบสูค วามเงียบ จากความสงบ สูความสงบ และกลับสูธรรมชาติ ที่เงียบสงบ เรียบงาย ไรมารยาเสแสรง สูภาวะที่เปนธรรมดา ที่สุด......... นี่คือกุญแจชีวิต ไขสูสัจธรรมของชีวิต

๑๐๘  กุญแจชีวิต


ศิลปะการมองโลกสูวิถีชีวิต ตามธรรมชาติ “สื่อสารเป็นจะเห็นชัยชนะ มองให้เป็น จะเห็นประโยชน์มหาศาล ชี้ให้ถูกจุด จะพบความมหัศจรรย์ของชีวิต ผู้รู้ยิ่ง จะผสานความคิดที่แตกต่างให้เป็นหนึ่งเดียว ผู้มีใจบริสุทธิ์ จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องอันไร้สาระ จะเป็นผู้หนักแน่นมั่นคง อ่อนน้อมถ่อมตัวอยู่เสมอ จะสงบนิ่ง อิสรเสรี และไร้กังวล จงรู้จักช่างสังเกตสิ่งแวดล้อมวงจรชีวิต ฉลาดรู้ทันเหตุการณ์ทุกอย่างที่ต้องเผชิญ การสังคม จงมองเห็นเอกลักษณ์ของผู้อื่นให้ได้ จะนำาสู่การสื่อสารเข้าใจกันทุกเรื่องอย่างเป็นกันเอง จงใช้คนให้เหมาะสมกับงานที่เขาถนัด บางครั้งก็ต้องยอมลดตัวเสียสละได้ทุกสิ่ง เพื่อถนอมนำ้าใจด้วยความอดทน และเปิดใจกว้าง นี้คือศิลปะการดำาเนินชีวิต ให้ผสานธรรมชาติอย่างชาญฉลาด” ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๐๙


“ของดีที่สุด ย่อมพบอุปสรรคมากที่สุด” “ชีวิตที่ไม่เคยประสบการต่อสู้ ย่อมเป็นชีวิตที่อ่อนแอ” “มิตรภาพประกอบขึ้นจากหูที่ยอมรับฟง หัวใจที่เมตตาและมือพร้อมที่จะช่วยเหลือ” “เพื่อนควรทนรับความบกพร่องของเพื่อน” “ผู้ที่มีประโยชน์มากที่สุดคือผู้ซึ่งรู้วิธีอยู่ร่วมกับผู้อื่น” “มนุษย์สัมพันธ์คือ ศาสตร์ที่สำาคัญที่สุดในการดำาเนินชีวิต” “บุคคลแรกที่เราต้องตรวจสอบคือตัวเราเอง” “ผู้ไม่รู้จักตัวเองมักทำาลายความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเสมอ” “ศัตรูตัวร้ายกาจของเรา คือความเข้าใจตัวเองผิด” “ผู้ที่ไม่ให้อภัยคนอื่นก็เท่ากับทำาลายสะพาน ซึ่งตนเองจะต้องใช้ข้าม” ๑๑๐  กุญแจชีวิต


“ความยากลำาบาก กุศลธรรมเจริญยิ่ง” “ความสามารถก็ไร้ความหมาย ถ้าไม่มีการเผชิญอุปสรรค” “ความหายนะทั้งหลายในโลกนี้ ครึ่งหนึ่งมาจากคนเราอยากมีความสำาคัญ” “จงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ เมื่อถึงคราวจำาเป็นจงสละอวัยวะอันเป็นที่รักยิ่ง สิ่งจำาเป็นที่สุดควรสละทั้งทรัพย์และชีวิต เพื่อรักษาธรรม” “ผู้ที่ประสบความสำาเร็จมากที่สุดคือคนที่มองตัวเองดี และมองได้ตรงกับความเป็นจริง และมองผู้อื่นว่ามีศักยภาพที่จะพบความสำาเร็จ ขณะเดียวกันเขาจะถูกดูดเข้าหาผู้ที่ประสบความสำาเร็จเหมือนกัน” “มนุษย์เรามีความสามารถตามธรรมชาติมากมาย ที่จะเข้าใจทุกคนในโลก ยกเว้นตัวของเราเอง ถ้าไม่รู้จักตัวเองแล้วก็ยากที่จะเข้าใจผู้อื่น” ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๑๑


“ไม่มีความสำาเร็จที่ยิ่งใหญ่ครั้งใด จะสำาเร็จลุล่วงด้วยบุคคลเพียงคนเดียว คนที่มีความเจ็บปวด มักทำาให้คนอื่นเจ็บปวดด้วย และตนเองก็เจ็บปวดเพราะคนอื่นได้ง่าย” “ศิลปะในการพูดไม่ใช่พูดในจังหวะที่เหมาะสมเท่านั้น แต่จะต้องเว้นไม่พูดเรื่องบางอย่างออกไป ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเย้ายวนการพูดสักเพียงไรก็ตาม” “ถ้าถูกด่าว่าด้วยถ้อยคำารุนแรงดุร้าย จงตอบกลับด้วยวาจาสุภาพอ่อนโยนและนุ่มนวล ต้องทำาใจดีสู้เสือเอาชนะความชั่วด้วยความดี ถ้าเจอคนอารมณ์ร้ายจงพยายามเอ่ยชมเขาให้มากๆ จากร้ายก็กลายเป็นดี” “ในคนดีย่อมมีเลวปนอยู่กึ่งหนึ่ง ในคนเลวย่อมมีคนดีปนอยู่กึ่งหนึ่งด้วย” ๑๑๒  กุญแจชีวิต


“การเอ่ยชมคำาหวาน ช่วยให้จิตใจคนเบิกบาน คำาวิพากษ์วิจารณ์ ทำาให้คนฟงห่อเหี่ยว” “การเอาชนะใจคนต้องเริ่มต้นด้วยการคำานึงถึงคนอื่นก่อน นี้เป็นหลักพื้นฐานของผู้นำาในหมู่ชน” “คนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองจะมีสุขภาพดี มีอายุยืนยาวและมีหัวใจที่แข็งแกร่ง” “วิธีจูงใจคนที่ได้ผลดีคือ การรับฟงสิ่งที่เขาพูด และต้องทำาให้เขาเชื่อว่าคุณเป็นเพื่อนผู้จริงใจ” “สาเหตุแห่งความแตกร้าวคือ การหมดสิ้นความไว้วางใจกัน ความไว้วางใจเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ทุกชนิด ถ้าปราศจากความไว้วางใจ ผู้นำาก็ทำางานไม่ได้” “การไว้วางใจผู้อื่นเป็นการเสี่ยง ทว่าสิ่งที่ได้รับกลับมากคุ้มค่า” ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๑๓


“คนย่อมมีความสำาคัญเหนือสิ่งอื่นใด ทรัพย์สินอำานาจเป็นของชั่วคราว ไม่จีรังยั่งยืน ไม่มีของขวัญใดยิ่งใหญ่กว่าการทำาให้คนอื่นรู้สึกสบายใจ” “ผู้นำาต้องมีหัวใจดุจราชสีห์ มุ่งมั่นสิ่งใดจงก้าวไปเถิด อุปสรรคสิ่งกีดขวาง คนจริงฝาไปได้ไม่ยากเย็น เทพเจ้าแห่งความสำาเร็จ ชอบคนกล้า กล้าๆ กลัวๆ มิใช่ผู้นำา” “ได้ก็ไม่ดีใจ ไม่ได้ก็ไม่เสียใจ ไม่รีบไม่เร่ง ไม่ทะยานอยากได้ ถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่าง เดินไปเรื่อย ๆ มุ่งสู่ทางสงบ เหนื่อยก็พัก”

........................................

๑๑๔  กุญแจชีวิต


ชีวิตคือทะเลทุกข์ ณ หวงแหงความทุกขและยุคเข็ญ บรรดามหาบุรุษ และวีรสตรีมักจะเกิดขึ้น ขณะนั้นเสมอ ธรรมชาติแหงสัจธรรมของความทุกขทกุ ประการ ยอมชดเชยโอกาสงามๆ แกคนผูคนหาวิถีทาง ทุกขณะเวลา แมนองคพระจอมมุนกี อ็ บุ ตั ขิ นึ้ ดวยเหตุอนั เดียวกันนี้ เพราะฉะนั้นความทุกข จึงเปนบรมครูของโลก และเพราะความทุกขนี้แหละทําใหโลกงดงาม มีคุณคา หวงแหงทะเลทุกขนี้แหละ คือแหลงอมฤต ที่บัวแดง แหงพุทธชาดไดอุบัติเบงบานสะพรั่ง ทุกยุคทุกสมัย และตลอดกาล” ........................................ ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๑๕


บาทวิถีของมนุษย์ ความทุกขทําใหเกิดความคิด วิปสสนาญาณ ความผิดพลาด คือทางผานสูความสําเร็จ ตราบใดที่ยังมีชีวิตลมปราณ จงสูไปเถิดอยา สิ้นหวัง ความมุงมั่นดวยกุศลเจตนา คือนํ้าทิพยแหง สรวงสวรรค อยาคิดวาการทําความดีจะตองมีความสุข เสมอไป แตการฟนฝาความทุกขยากดวยดวงใจอันสุขมุ นั่นคือ มงกุฎอันลํ้าคาและประเสริฐยิ่งของ ยอดมนุษย ........................................ ๑๑๖  กุญแจชีวิต


ภัยใหญที่ตองระวังที่สุด คือความใคร ความอยาก อํานาจยศถาบรรดาศักดิ์ ความหยิ่งผยองสําคัญตัว ลาภสักการะ ชื่อเสียง เกียรติคุณ เสียงสรรเสริญเยินยอ เปนสิ่งแสลง เลวรายตอความสงบสุข เปนพิษภัยอันตราย ตอการประพฤติธรรม และเปนศัตรูรายกาจที่สุด ของชีวิต ........................................

ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๑๗


มหาวิทยาลัยชีวิต บทเรียนที่จะสามารถสอบผานสูเปาหมาย ความสําเร็จของชีวิต ตองเปนตัวประสบการณ เฉพาะตัว ไมมีใครหนาไหนจะใหผูอื่นได ดังนั้น บทเรียนทีด่ ที สี่ ดุ คือ จากตัวชีวติ ของเราเองเทานัน้ เมื่อเขาใจถึงชีวิตจิตใจตัวเองไดแลว จะเปน วิถที างสูค วามเขาถึงใจซึง่ กันและกัน จนเปดใจกวาง ยอมรับจุดเดนของผูอื่นใหผสานความคิดที่ แตกตางใหหลอมรวมกันไดจนถึงที่สุด จะไมมี การแยกแยะ ความเปนพวกเขา–พวกเรา ตัวเรา หรือผูอื่น ความสําคัญตน ความหยิ่งยโสโอหัง ถือตัว จะถูกพัฒนาสูค วามสุภาพออนนอมถอมตน ความเขมแข็งอดทน ความเสียสละ ความเมตตา อารี ความเห็นอกเห็นใจ การใหอภัยอันเปนสายธาร แหงชีวติ สูค วามสงบรมเย็นดวยมิตรภาพ ภราดรภาพ ๑๑๘  กุญแจชีวิต


“พระพุทธศาสนาสอนใหขามพนความหลงงมงายอารมณ ไมใหหลงสําคัญตน ไมใหมองโลกเพียงแคผิวเผิน สัมผัสจับตองอารมณอันเราใจชั่ววูบชั่วคูเทานั้น แตใหเจาะลึกถึงความจริงของชีวิตและสรรพสิ่ง แลวบูรณาการชีวิตใหผสานสัมพันธกับธรรมชาติ บนพื้นฐานความจริง” “นี่คือกุญแจชีวิต”

******************************

วิหารสุญตาพุทธธัมโม ณ กระทอมหญาคาบนยอดเขาคิชฌกูฏ มองดูหมูมวลมนุษยชาติลวนเปนกัลยาณมิตร ลมหายใจของขาสื่อสารการภาวนาองคพระพุทโธ ทามกลางธรรมชาติ สรรพสัตวขับขานดุจเสียงธรรมสุดซาบซึ้ง ชีวิต จิตวิญญาณ สัมผัสการปลอยวาง ผสานความวาง สูสุญตาวิหารธรรมนิจนิรันดร ภิกษุอานันท์ พุทธธัมโม  ๑๑๙


หุบปากนิ่งเงียบไรความทรนงไมหลงสําคัญตน อยูกับธรรมชาติธรรมดาที่เรียบงายที่สุด ๑๒๐  กุญแจชีวิต


พระ โพธิธรรม จาก อินเดีย สู่ จีน สู่ พะเยา

ไร้ ยึดติด ไร้ เยื่อใย ใจ จะว่าง และ สงบ กว๊านพะเยา

ธรรมชาติที่แท้สัจธรรมของชีวิตนั้น ถ้าเข้าถึงความจริงของมันแล้ว ค�าพูดของมนุษย์ทุกภาษา ไม่สามารถที่จะอรรถาธิบายหรือเปิดเผยมันได้


แข็งแกร่ง…ดุจหิน อ่อนโยน…ดุจทราย

…และไร้ร่องรอย


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.