dhamma

Page 1

Dhamma

ธร

ะ ม ร



้ ธรรมะน่ารู

เวลาคนเราไปฟังธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมะขั้นปฏิบัติทั้งนั้นท่านไม่ได้สอนเเบบ ปริยัติ เเต่เป็นเรื่องการปฏิบัติล้วนๆเลยทุกคน ที่มาฟังท่านเทศน์นะ ก็มีความรู้สึกเหมือนกับว่า ท่านเทศน์เฉพาะเจาะจงให้เราฟังเนี่ยเป็นความ รู้สึกอย่างนี้ทุกคนในความเป็นจริงแล้วแต่ละคน นั้นมีความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากันเลยบางคนฟัง ก็ได้ขั้นต้นๆ บางคนฟังก็ได้ธรรมะที่สูงขึ้นๆเป็น ลำ�ดับๆสิ่งที่ท่านพูดเป็นประโยคเดียวกันนั้นเอง พอถ่ า ยทอดเข้ า สู่ ใ จของเราแล้ ว เข้ า มาไม่ เ ท่ า กัน เเต่มาตามคุณภาพของจิตใจผู้ฟัง แต่ผู้ฟัง ทุกคนจะมีความรู้สึกเหมือนว่าท่านเทศน์เฉพาะ เจาะจงให้เราฟังเนี่ยความอัศจรรย์ของธรรมะ พระพุ ท ธเจ้ า เป็ น อย่ า งนี้ ภ าวนาต่ อ ไปอี ก ก็ จ ะ เห็นว่า ขันธ์นั่นแหละตัวทุกข์ จิตจะมีความอยาก จิตจะมีความยึดหรือไม่ก็ตาม ขันธ์นั่นแหละเป็น ตั ว ทุ ก ข์ เ นี่ ย ท่ า นถึ ง ว่ า โดยย่ อ อุ ป าทานขั น ธ์ ทั้ ง ๕ เป็นตัวทุกข์คำ�ว่า อุปาทานขันธ์ ไม่ได้แปลว่า ขันธ์ที่ถูกยึดมั่นแต่มันเป็นขันธ์ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ความยึดมั่นได้คือขันธ์ที่พวกเราทั้งหลายมีกัน อยู่นี่แหละ ใจเราเองมีความยึดมั่นในขันธ์ทั้งหลาย อยู่พอเราฟังเรื่องอุปาทานขันธ์นะเราก็เลยนึก เอาว่าถ้าไม่มีความยึดมั่นก็ไม่ทุกข์ขันธ์ทั้งหลาย เนี่ยอันนี้ไม่นับพวกโลกุตรจิตที่ว่านะอันนั้นมัน พ้นจากกองทุกข์ไปคนส่วนใหญ่เรียนไปไม่ถึง หรอกขันธ์ที่พวกเรามีนั่นแหละตัวอุปาทานขันธ์ ทั้ ง หลายแต่ ถ้ า เข้ า ใจแจ่ ม แจ้ ง ในคำ � สอนของ พระพุทธเจ้านะ จะรู้เลยว่าขันธ์นั่นแหละตัวทุกข์ ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อยถ้ารู้ทุกข์แจ่ม แจ้ง ความอยากให้ขันธ์เป็นสุขไม่เกิดขึ้น ความ อยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ไม่เกิดขึ้น อยากให้มีสุข ไปทำ�ไม? อยากให้โง่เหรอ มันไม่มีทางมีความ สุขได้เพราะมันเป็นตัวทุกข์อยากให้มันพ้นทุกข์ เหรอ? อยากให้ โ ง่ น่ ะ สิ เ พราะยั ง ไงมั น ก็ ทุ ก ข์ ไม่มีทางพ้นเลย

ถ้ า ปั ญ ญาแก่ ร อบจริ ง มั น จะเห็ น ขั น ธ์ นั่ น แหละ ตัวทุกข์พอเห็นแจ้งอย่างนี้ ความอยากให้ขันธ์ เป็นสุขก็ไม่เกิดความอยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ก็ไม่ เกิดความอยากทั้งหลายแหล่มันก็มีอยู่แค่นี้เอง นะความอยากที่ว่ากิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด อะไรนั้ น จริ ง ๆก็ อ ยากให้ ขั น ธ์ เ ป็ น สุ ข อยากให้ ขั น ธ์ พ้ น ทุ ก ข์ นั่ น แหละย่ อ ๆลงมารั ก สุ ข เกลี ย ด ทุกข์นั่นแหละถ้าปัญญาแจ้งนะ มีแต่ทุกข์ล้วนๆ อยากไปก็เท่านั้นแหละอยากให้สุขเหรอ โง่แท้ๆ จะสุ ข ได้ ยั ง ไงมั น เป็ น ตั ว ทุ ก ข์ เ หมื อ นอยากให้ ไฟไม่ร้อนนะก็โง่เปล่าๆ อยากให้พระอาทิตย์ไม่ ร้ อ นนะก็ โ ง่ เ ปล่ า ๆ อยากให้ มั น มี ค วามสุ ข เหรอ มันมีไม่ได้ เพราะมันเป็นตัวทุกข์เนี่ยใจเข้าใจ ขันธ์เท่านั้นแหละ ความอยากดับเองเลยไม่ต้อง ไปทรมานกายทรมานใจเพื่อจะดับตัณหาเลย ถ้าปัญญาแจ้งนะมีแต่ทุกข์ล้วนๆ อยากไป ก็เท่านั้นแหละอยากให้สุขเหรอ โง่แท้ๆ จะสุขได้ ยังไง มันเป็นตัวทุกข์เหมือนอยากให้ไฟไม่ร้อน นะก็โง่เปล่าๆ อยากให้พระอาทิตย์ไม่ร้อนนะก็ โง่เปล่าๆอยากให้มันมีความสุขเหรอ มันมีไม่ได้ เพราะมันเป็นตัวทุกข์เนี่ยใจเข้าใจขันธ์เท่านั้น แหละ ความอยากดั บ เองเลยไม่ ต้ อ งไปทรมาน กายทรมานใจเพื่อจะดับตัณหาเลย ตัณหาจะดับอัตโนมัติเลยถ้าเราเข้าใจตัวนี้ นะ ความเข้าใจมันจะประณีตมากนะ จิตมันจะ สลัดคืนขันธ์ให้โลกไปเลยพอจิตมันเห็นแล้วว่า ขันธ์ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ขันธ์นี้เป็นทุกข์ล้วนๆ กระทั่งตัวจิตก็เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตมันก็อยู่ในขันธ์ นั่ น เองอยู่ ใ นวิ ญ ญาณขั น ธ์ พ อมั น ปล่ อ ยขั น ธ์ ทิ้งไป ไม่มีอะไรให้ยึดอีกมันก็พ้นจากอุปาทาน ขันธ์ อุปาทานขันธ์ก็กองอยู่อย่างนั้นแหละ กอง อยู่กับโลกนั่นเอง ไม่ใช่ต้องไปทำ�ลายล้างมัน มันมีเหตุมันก็เกิด หมดเหตุมันก็ดับ บังคับมันไม่ ได้ แต่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันแล้วที่ใจไม่เข้าไป ยึ ด ถื อ มั น เพราะว่ า รู้ ทุ ก ข์ แ จ่ ม แจ้ ง รู้ ว่ า ขั น ธ์ ทั้ ง หลายทั้งปวงนี้แหละเป็นตัวทุกข์


สถานท ี่ปฏิบตั ธรรม

วันนี้เราขอเเนะนำ�สถานที่สวยๆเพื่อให้คนรักการปฏบัติธรรมได้เลือกสถานที่ ทำ�จิตใจให้ผ่องใสตามสไตล์ของความพอใจเลยคะ

วัดอัมพวัน อำ�เภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เป็นชื่อเดิมมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ� เจ้าพระยาฝั่งตะวันออกสภาพทั่วไปนัน ้ มีต้นไม้ประมาณ ๓๐๐ ต้น สวนโมกขพลาราม อยู่บริเวณเขาพุทธทอง ริมทางหลวงหมายเลข 41 บริเวณกิโลเมตรที่ 134 เดิม ชื่อวัดธารน้ำ�ไหล มีท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ริเริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2502 เพื่อเป็นสถานที่แสวงหา ความสงบและศึกษาธรรม มีโรงมหรสพทางวิญญาณ ซึ่งประกอบด้วยภาพศิลป์ บทกวี คติธรรมคำ� สอนในพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ ภาพพุทธประวัติ ภาพจำ�ลองจากภาพหินสลัก เรื่องพุทธประวัติใน อินเดีย รอบบริเวณร่มรื่น เหมาะสำ�หรับเป็นที่ฝึกอบรมจิตใจและศึกษาพุทธศาสนา วัดถ้ำ�ขาม อยู่ในเขตบ้านคำ�ป่า ตั้งอยู่บนภูขามซึ่งเป็นเขาลูกหนึ่งบนเทือกเขาภูพานการเดิน ทาง ใช้เส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี วัดถ้ำ�ขามนี้เดิมเป็นที่ปฏิบัติธรรมของ พระอาจารย์ฝั้นอาจา โร นอกจากนี้ยังเป็นวัดหนึ่งที่เก็บอัฐิของพระอาจารย์เทศก์ เทศรังสี ซึ่งมีผู้คนยังเดินทางมาสักการะ บูชาอยู่เป็นประจำ�


ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ง “คณะยุวพุทธิกะ” ขึ้นเมื่อวันพุธ ที่ ๑๕ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ โดย มีความเห็นพ้องกันว่า จะต้องตั้งสมาคมเผยแผ่พระพุทธ ศาสนา สำ�หรับคนวัยเดียวกัน เพื่อจะได้ ชักจูงคนหนุ่มสาว ให้มาสนใจในพระพุทธศาสนา และแก้ ความเข้าใจผิดของคนปัจจุบันที่ว่า ศาสนาเป็นของคนคร่ำ�ครึ โดยได้รับความเมตตาจาก พระศรี วิสุทธิญาณ หรือสุชีโวภิกขุ (ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ถึงแก่กรรม ) แห่งวัดกันมาตุยาราม อนุญาตให้ใช้พระอุโบสถเป็นสำ�นักงานในขณะนั้น สำ�นักปฏิบัติธรรมแสงธรรมส่องชีวิต ได้จัดปฏิบัติธรรมบวชเนกขัมมะ (ศีล 8) สัมมาปฏิบัติ ทุก วันเสาร์-อาทิตย์ และในวันสำ�คัญทางพระพุทธศาสนาและวันสำ�คัญของชาติ อาทิเช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันเฉลิม พระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันสงกรานต์ วันปีใหม่ ฯลฯ โดยจัดอบรม และปฏิบัติธรรมตลอดทั้งปีอย่างต่อเนื่อง วัดถ้ำ�ผาบิ้ง ตั้งอยู่ ณ วัดถ้ำ�ผาบิ้ง บ้านนาแก ตำ�บลผาบิ้ง อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็น การจะสอนเรื่องการบริจาคทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา ท่านมักจะเน้นเรื่องศีลอยู่เสมอ เพราะ ศีล แปลว่า ความปกติ เป็นการรักษาใจให้ปกติ อันเป็นบาทเบื้องต้นของการภาวนา หาก


์ ย ร า จ า อ ะ ร ุสดยอดแห่งพ ย ท ไ ง ื อ ม เ ะ ม ธรร พระอาจารย์สมภพโชติปัญโญ ถือว่าเป็น นักปราชญ์แห่งภาคอีสานที่หลายท่านยัง ไม่รู้จัก จึงถือโอกาสเปิดกรุพระป่า พระ นักปฏิบัติ พระนักเทศน์ พระนักปราชญ์ แห่งภาคอีสานรูปหนึ่ง พระผู้เสียสละอุทิศ ตนทำ�งานเพื่อพระศาสนา รับกิจนิมนต์ไป แสดงธรรมในที่ต่างๆทั้งใกล้ทั้งไกลทั้งต่าง ประเทศ ชีวิตอยู่กับการเดินทางเป็นส่วน มาก การพักผ่อนไม่ค่อยจะพอประกอบ กับสุขภาพไม่ค่อยจะดี จึงเป็นเหตุให้เกิด อุ บั ติ เ หตุ ขึ้ น ในขณะนั่ ง แสดงธรรมอยู่ นั้ น ซึ่ ง ท่ า นร่ า งกายไม่ แ ข็ ง แรงจึ ง ยั ง เหลื อ แต่ ผลงานเก่าๆ ที่จัดทำ�เป็น ซีดี วีซีดี ซึ่งเป็น ผลงานพหุสูตรจริงๆ

พระพิศาลธรรมพาที (พยอม กัลยาโณ) นามเดิม

พยอม จั่นเพชร เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๔๙๒ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี บรรพชาเมื่อเมษายน ๒๕๐๒ และอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๑๓ ณ วัดสังวรณ์วิมลไพบูรย์ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี สำ�เร็จการศึกษา น.ธ.เอก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ และได้ไปจำ�พรรษาอยู่กับท่านพุทธทาสที่ สวนโมกขพลารามในการปฏิบัติธรรมแล้วจึงได้ กลับมาทำ�การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนา วัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี จนได้รับการยกย่องว่า เป็นพระนักเทศน์และพระผู้เสียสละ ดังกวีนิพนธ์ โดย อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์


พุทธทาสภิกขุ หรือ พระธรรมโกศาจารย์ นามเดิม เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ณ บ้านกลาง ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๗ สำ�เร็จการศึกษาชั้น น.ธ.เอก, ป.ธ.๓ คำ�สอนอันโดดเด่นของท่านคือเรื่อง “การ ปล่ อ ยวาง”ผลงานอั น ยิ่ ง ใหญ่ ข องท่ า นคื อ งาน นิพนธ์ชุด “ธรรมโฆษณ์” และงานนิพนธ์อีก ไม่น้อยกว่า ๓๕๐ เล่ม ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ ท่ า นพุ ท ธทาสภิ ก ขุ ไ ด้ รั บ การสดุ ดี ว่ า เป็ น มหา ปราชญ์แห่งพุทธธรรมทางบูรพาทิศ ที่มีเกีตรติ คุณไม่น้อยไปกว่าท่านนาคารชุน ปราชญ์ใหญ่ ฝ่ายมหายานในอดีต ัญญาชนทั้งไทยและต่าง ประเทศถือว่า ่านเป็นนักปฏิรูปพระพุทธศาสนา ที่สำ�คัญที่สุดรูปหนึ่งของเมืองไทย

ว. วชิรเมธี เป็นนามปากกาของ พระมหาวุฒิ ชัย วชิรเมธี ภูมิลำ�เนาของท่านอยู่ที่บ้านครึ่ง ใต้ ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ท่านเป็น คนที่รักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก อ่านทุกอย่างที่ ขวางหน้า จึงทำ�ให้ท่านซึมซับความรู้ทุกรูป แบบ เมื่อยังเด็ก มารดาได้พาท่านไปทำ�บุญ ที่วัดบ่อยๆ ทุกวันพระ ซึ่งผลจากการติดตาม มารดาไปทำ�บุญบ่อยๆ นี้เอง ต่อมาได้กลายเป็น แรงบันดาลใจให้ท่านสนใจหลักธรรมคำ�สอน ในพระพุทธศาสนา และทำ�ให้หนังสือที่ท่าน อ่านไม่ได้ถูกจำ�กัดอยู่เพียงหนังสือความรู้หรือ หนังสือบันเทิงทั่วไปเท่านั้น แต่หนังสือธรรมะ ก็เป็นหนังสือที่ท่านสนใจด้วยเช่นกัน นอกจาก นั้ น ก็ ยั ง รั บ เชิ ญ เป็ น วิ ท ยากรบรรยายวิ ช าการ ทางพระพุทธศาสนาให้กับหน่วยงานต่างๆ อีก มากมาย ในแง่จริยวัตรส่วนตัวนั้นนอกจาก ท่านจะเป็นพระนักวิชาการ พระนักคิด นัก เขียน แล้วท่านก็ยังสนใจฝึกสมาธิภาวนาอย่าง ต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่าสิบปี ผลงานหนังสือของท่านมีเกือบ 20 เล่ม ผล งานซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ ธรรมะติด ปีก, ธรรมะหลับสบาย, ธรรมะดับร้อน, ธรรมะ บันดาล, ธรรมะรับอรุณ, ธรรมะราตรี, ปรัชญา หน้ากุฏิ, ปรัชญาหน้าบ้าน, DNA ทางวิญญาณ, ตายแล้วเกิดใหม่ตามนัยพระพุทธศาสนา และ ท่านยังได้เขียนบทความลงในนิตยสารหลาย ฉบับ เช่น เนชั่นสุดสัปดาห์, ชีวจิต, หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ, WE, HEALTH &CUISINE ฯลฯ


ข้อคิดในการใช้ชวี ติ

1.อย่าทำ�ลายความหวังของใคร เพราะทั้งชีวิตเขาอาจเหลืออยู่แค่นั้นก็ได้

2.เมื่อมีคนเล่าว่าเขามีส่วนร่วมในเหตุการณ์สำ�คัญ จง เป็นผู้ฟังที่ดีอย่าไปคุยทับ อย่าไปขัดคอ 3.จงตั้งใจฟังให้ดี โอกาสทองบางทีมันก็มาถึงแบบแว่วๆเท่านั้น 4.หยุดอ่านคำ�อธิบายสถานที่ทางประวัติศาสตร์ตามทางบ้างเพราะมีอะไรดีๆบางอย่างซ่อนอยู่ 5.จะคิดทำ�การใดจงคิดการให้ใหญ่เข้าไว้ แต่ให้เติมความสนุกสนานลงไปด้วยเล็กน้อย 6.หัดทำ�สิ่งดีๆให้กับผู้อื่นจนเป็นนิสัยโดยไม่จำ�เป็นต้องให้เขารับรู้ 7.จงจำ�ไว้ว่า ข่าวทุกชนิดล้วนถูกบิดเบือนมาแล้วทั้งนั้น 8.เวลาเล่นเกมกับเด็กๆก็ปล่อยให้เด็กชนะไปเถอะ 9.ใครจะวิจารณ์เรายังงัยก็ตาม อย่าเสียเวลาไปโต้ตอบ แต่ให้ปรับปรุงตนเอง 10.จงให้โอกาสผู้อื่นเป็นครั้งที่ “สอง” แต่อย่าให้ถึง “สาม” 11.อย่าให้วิจารณ์นายจ้าง ถ้าทำ�งานไม่มีความสุขก็ลาออกดีกว่า 12.อย่าคิดมาก ถ้าไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตายแล้วอะไรๆ มันก็ไม่สำ�คัญอย่างที่คิดไว้แต่แรกหรอก 13.ใช้เวลาให้น้อยๆในการคิดว่า”ใครผิด” แต่ใช้เวลาให้มากในการคิดว่า”อะไร” เป็นสิ่งที่ผิด 14.จงจำ�ไว้ว่าเราไม่ได้ต่อสู้กับ ” คนโหดร้าย ” แต่กำ�ลังสู้กับ ” ความโหดร้าย ” ในตัวคน 15.โปรดคิด คิด คิด และคิดให้รอบคอบ ก่อนที่จะให้เพื่อนเรามีภาระในการเก็บรักษาความลับ 16.ยอมที่จะแพ้ในสงครามย่อยๆ เมื่อการแพ้นั้นจะทำ�ให้เราชนะในสงครามใหญ ่ข้อคิดเล็กๆน้อยๆก็ทำ�ให้เราดำ�เนินชีวิตได้อย่างมีความสุขกับตัวเองเเละสังคมภายนอก


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.