Al-Hikmah Journal

Page 54

วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ไฟซ็อล หะยีอาวัง

46

คือแหล่งที่มาของความรู้และแนวความคิดที่สําคัญเช่นกัน ซึ่งแนวความคิดของท่านเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏให้ เห็นอย่างชัดเจนในกีตาบ “อัล-ดุรฺ อัล-ษามีน” ว่าด้วยคํา จํากัดความของวิชาหลักการศรัทธา (Islamic Principle of Faith) และทฤษฎีความรู้ (Epistemology) (Frolov, 1984, 128) ในอิสลาม ดังที่ท่านเช็คดาวูดได้อธิบายเพื่อ ยื น ยั น ในเรื่ อ งดั ง กล่ า วว่ า “วิ ช า อุ ศู ลุ ด ดี น หรื อ วิ ช า หลักการศรัทธาในอิสลามนั้น คือวิชาที่ว่าด้วยการยึดมั่น ในหลักการศรัทธาแห่งอิสลาม ซึ่งความศรัทธาดังกล่าว เกิ ด ขึ้ น ได้ เ พราะมี ห ลั ก ฐานต่ า งๆ ที่ เ ชื่ อ ถื อ ได้ ม า สนับสนุน” (Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, 1812: 3) คําว่าหลักฐานต่างๆ ที่เชื่อถือได้ตามทัศนะของ ท่ า นเช็ ค ดาวู ด อั ล -ฟาฏอนี ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น หมายถึ ง หลักฐานต่างๆ ที่ได้จากหลักคําสอนปฐมภูมิของอิสลาม และข้อโต้แย้งที่ได้จากกระบวน การคิดและอ้างเหตุผลใน เชิงตรรกวิทยา (Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, 1812: 4) นอกจา กนี้ ท่ า น เช็ ค ดา วู ด ยั ง ไ ด้ ก ล่ า วถึ ง ความสํ า คั ญ ของการใช้ ส ติ ปั ญ ญาและเหตุ ผ ลในฐานะ แหล่งที่มาของความรู้ที่สําคัญของมนุษย์ในคําอธิบายของ ท่านว่า “...สําหรับคนที่มีความศรัทธามั่นเพราะการรอบ รู้นั้น คือผู้ที่ได้รับความรู้จริงผ่านหลักฐานที่ถูกต้อง ซึ่ง สอดคล้องกับหลักคําสอนที่มาจากพระองค์อัลลอฮฺและ ท่านศาสดาแห่งพระองค์ และข้อพิสูจน์ต่างๆ (ที่เกิดจาก กระบวนการคิดและเหตุผลทางปัญญาเป็นหลัก) ” (Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, 1812: 5) นอกจากนี้ เช็คดาวูดได้ หยิ บ ยกหลั ก ฐานจาก อั ล -ฮาดี ษ เพื่ อ ยื น ยั น ว่ า ท่ า น ศาสดามู ฮัม มัด (ขอความสั นติ สุข จงมี แด่ ท่า น) ได้เชิ ญ ชวนให้ มุ ส ลิ ม เรี ย นรู้ วิ ช าหลั ก การโต้ แ ย้ ง (‘Ilm alMunazarah) เพื่อประโยชน์ในการยืนยันหลักการศรัทธา ที่ ป รากฏอยู่ ใ นหลั ก คํ า สอนปฐมภู มิ อิ ส ลาม (Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, 1812: 4) ความว่า “จงเรียนวิชา หลักการโต้แย้ง (เพื่อยืนยันและรับรองหลักการศรัทธาใน อิ ส ลาม) กั น เถิ ด เพราะพวกเจ้ า ทุ ก คนจะต้ อ งเป็ น ผู้รับผิดชอบ (ในเรื่องดังกล่าว)8 8

อัล-ฮาดีษ หรือวจนะของท่านศาสดาดังกล่าว ผู้เขียนไม่สามารถจะสืบค้นสาย รายงานที่ชัดเจนได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถที่จะระบุสถานะภาพของ อัล-ฮาดีษ ดังกล่าว ว่า ถูกต้อง “ศอฮีหฺ” (sahih) หรือไม่ เช่นไร

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

ยั ง มี คํ า อธิ บ ายจากเช็ ค ดาวู ด ที่ ชั ด เจนกว่ า นี้ เกี่ ย วกั บ ความสํ า คั ญ ของการใช้ ปั ญ ญาและเหตุ ผ ลใน ฐานะแหล่ ง ที่ ม าของความรู้ ที่ สํ า คั ญ ในอิ ส ลามว่ า “แหล่ ง ที่ ม าของความรู้ สํ า หรั บ มนุ ษ ย์ นั้ น มี ทั้ ง หมด 3 แหล่งด้วยกันคือ ประสาทสัมผัสทั้งห้าที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ข้อมูล ความรู้ที่ เชื่อถือได้ และ สติสัม ปชัญ ญะ...” (Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, 1812: 6) ดังนั้นเราสามารถสรุปทัศนะของท่านเช็คดาวูด อัล-ฟาฏอนี ในเรื่องแหล่งที่มาของความรู้ (ญาณวิทยา อิสลาม) ได้ว่านอกจาก อัล-กุรอาน และอัล-ฮาดีษของ ท่านศาสดามูฮัมมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) แล้ว ปัญญาและเหตุผลก็นับว่าเป็นแหล่งที่มาของความรู้และ แนวความคิดอิสลามเช่นกัน 1.เครื่องมือและวิธีการนําเสนอแนวความคิด ดัง ที่ไ ด้ก ล่ าวมาแล้ ว ข้า งต้ น ว่า ท่ านเช็ค ดาวู ด อัล-ฟาฏอนี ได้รับแนวความคิด อัล-กาลาม มาจากสํานัก คิด อัล-อัชอารียฺยะห์ ซึ่งให้ความสําคัญกับการใช้เหตุผล ทางปั ญ ญาและข้ อโต้ แ ย้ ง เชิ ง ตรรกวิ ท ยา (Syllogism) ฉะนั้ น เพื่ อ ปู ท างไปสู่ ค วามเข้ า ใจปั ญ หา อั ล -กาลาม โดยเฉพาะประเด็ น เกี่ ย วกั บ คุ ณ ลั ก ษณะแห่ ง พระองค์ อัลลอฮฺ (Attributes of God) หรือ “ซีฟาติลลาฮฺ” (Sifatul-Lah) เช็คดาวูดได้นําเสนอเครื่องมือและระเบียบ วิ ธี เชิ ง ตรรกวิ ท ยาที่ จํ า เป็ น สํ า หรั บ การศึ ก ษาทํ า ความ เข้าใจปัญหาดังกล่าวเบื้องต้น โดยที่ท่านได้ให้คําจํากัด ความและคําอธิบายเครื่องมือและวิธีการต่างๆ เหล่านั้น ในบทนํ าของ กีตาบ อัล-ดุ รฺ อัล-ษามีน (al-Durr alThamin) อย่างละเอียดชัดเจนก่อนเข้าสู่กระบวนการถก ปัญหา อัล-กาลาม ที่ลึกลงไปเป็นรายประเด็น เครื่องมือทางตรรกวิทยาดังกล่าวท่านเรียกว่า “ฮุกมฺ อักลฺ” (Hukm ‘Aql) อันหมายถึงกฎเกณฑ์ทาง ปัญญา (The Law of Reason) ซึ่งแบ่งออกเป็นสาม ประการใหญ่ๆ ดังนี้ 1.วาญีบ (Wajib) หมายถึง จําต้องยอมรับด้วย ปัญญา 2.มุสตาฮีล (Mustahil) หมายถึง ยอมรับด้วย ปัญญาไม่ได้ 3.ญาอีซ (Ja’iz) หมายถึงยอมรับได้ด้วยปัญญา


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.