Library Bulletin January - March 2012

Page 1

1

ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – มีนาคม พ.ศ.2555

สารบัญ แนะนําสิ่งพิมพ์ที่น่าสนใจ (ก.พ. 54) แนะนํา...วารสารที่น่าสนใจ ความสําคัญของห้องสมุดในการเป็นแหล่งเรียนรู้ การใช้ภาษาอังกฤษในการให้บริการห้องสมุด บารากู่ คืออะไร ? ปัญหาหมอกควัน

2-3 4 5-6 7 - 12 13 - 14 15 - 16

ภาพกิจกรรมสํานักสมุด

17 - 24


2

แนะนําสิ่งพิมพ์ที่น่าสนใจ (ก.พ. 54) อริศรา สิงห์ปัน บรรณารักษ์ชํานาญการพิเศษ

ไชยยศ ปั้นสกุลไชย. 2554. Innovative Trainer #2 วิทยากรนอกกรอบ ตอน “Enjoy Learning ทุกสิ่งคือครู”. กรุงเทพฯ: เอช อาร์ เซ็นเตอร์. หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนตั้งใจจะให้เป็นหนังสือที่อ่านง่ายๆ สบายๆ แฝงด้วยความสนุกที่ให้ท้ังสาระและความรู้ไป พร้อมๆ กัน และที่ใช้ชื่อตอนว่า “Enjoy Learning ทุกสิ่งคือครู” เพื่อต้องการให้ผู้อ่านได้ทราบว่า ไม่ว่าอาชีพใดๆ ก็ตามก็ จะมีวันหยุด แต่ที่เราไม่ควรหยุดคือ หยุดการเรียนรู้ เพราะทุกคน ทุกอาชีพต้องปรับปรุง พัฒนาความรู้ความสามารถ ของตนเองให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้จากการฝึกอบรม เรียนรู้จากหนังสือ การเรียนรู้จาก ภาพยนตร์ การเรียนรู้จากเกม ตลอดจนการเรียนรู้ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ฉะนั้นการเรียนรู้จึงไม่มีวันหยุด และไม่มีที่ สิ้นสุด สิริเทพ อินทรวิรัตน์. 2554. พูดดี คิดเป็น เปลี่ยนชีวิต (รวย 100 ล้าน). กรุงเทพฯ: กันยา วีร์. การพูดเป็นการสื่อสารที่สําคัญสําหรับมนุษย์และคําพูดมีบทบาทอย่างมากในการสื่อสาร ดังนั้นจึงควรมีการ เรียนรู้ทําความเข้าใจให้ดีเกี่ยวกับหลักการพูด เพื่อที่จะพูดให้ถูกต้องและสื่อสารให้เข้าใจได้ตรงกัน หลายครั้งมักมีการ พูดที่ผิด ไม่ตรงกับความต้องการของผู้พูด ทําให้ตีความหมายผิด นอกประเด็นอยู่บ่อยครั้งจึงทําให้เข้าใจผิดกันได้ง่ายๆ หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้ผ้อู ่านได้เข้าใจว่ามีหลักการพูดอย่างไร การพูดในลักษณะใดบ้างที่จะทําให้ประสบความสําเร็จทั้ง ในหน้าที่การงาน การคบหาเพื่อนฝูง รวมไปถึงคนภายในครอบครัวเองด้วย กฤษณ์ ทองเลิศ. 2554. การถ่ายภาพเชิงวารสารศาสตร์ : แนวคิด เทคนิค การ วิเคราะห์. กรุงเทพฯ: อินทนิล. หนั ง สื อ เล่ ม นี้ มี เ นื้ อ หาเกี่ ย วกั บ เทคนิ ค การถ่ า ยภาพ แนวคิ ด ทางการสร้ า งสรรค์ แ ละการสื่ อ สารด้ ว ยภาพ ตลอดจนการวิเคราะห์และการประเมินคุณค่างานภาพข่าว ภาพถ่ายเชิงสารคดี ภาพชุดเล่าเรื่อง ภาพบุคคลสําหรับ คอลัมน์สัมภาษณ์ และหน้าแฟชั่นบนความถูกต้องเป็นจริงของภาพเป็นหัวใจของงานภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ ในตัว เล่มแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 หมวด ได้แก่ หมวด 1 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาพ หมวด 2 มีเนื้อหาเกี่ยวกับเทคนิค การถ่ายภาพเชิงวารสารศาสตร์ประเภทต่างๆ หมวด 3 มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินคุณค่าและการวิเคราะห์ ภาพถ่ายเชิงวารสารศาสตร์ ปรีชา แสงโชติ. 2554. ภูมิศาสตร์การเกษตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิด หลักการ และทฤษฎีทางภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นแหล่งความรู้สําหรับผู้ที่สนใจ ในวิชาภูมิศาสตร์ ซึ่งนับได้ว่าภูมิศาสตร์มีอิทธิพลอย่างมากสําหรับการทําเกษตรกรรมของทุกพื้นที่บนโลก พืชบางชนิด สามารถปลูกและให้ผลผลิตดีในเฉพาะบางพื้นที่ ทําให้เกิดสินค้าเกษตรที่มีชื่อเสียงและเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เช่น มะขามหวานเพชรบูรณ์ ส้มโอนครชัยศรี กาแฟดอยช้าง สับปะรดนางแล เป็นต้น การทําการเกษตรให้สอดคล้องกับ


3

สภาพทางภูมิศาสตร์จึงเป็นเรื่องสําคัญ และช่วยให้มีผลผลิตที่ดีข้ึน การเผยแพร่แหล่งความรู้นี้ก็เพื่อนํามาประยุกต์ใช้ใน การพัฒนาการเกษตรของชุมชน ประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป กิตติเมธี. 2552. เข้าวัด...ง่ายกว่าที่คิด. กรุงเทพฯ: ใยไหม. หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนต้องการสื่อข้อคิดให้ผู้อ่านได้เห็นว่า การสร้างความสุขจากการทําความดี ทําได้ไม่ยาก เพราะในความคิดของหลายคน การเข้าวัดเหมือนการตีตราตัวเองว่า ผิดหวังกับชีวิต ไม่มีที่ไป หรือหวังประโยชน์อะไร บางอย่าง จึงทําให้หลายคนเลี่ยงไปที่อื่นมากกว่า หรือบางทีการเข้าวัดอาจเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ทํายาก แต่ผู้เขียนพยายาม หาคําตอบผ่านประสบการณ์ที่พบเจอเอง มีคนเล่าให้ฟังบ้าง หรือจากเรื่องเล่าในตํารา เพื่อบอกเล่าให้กับผู้ที่สนใจอยาก เข้าวัดได้ร้จู ักวัด รู้จักพระมากขึ้น


4

แนะนํา...วารสารที่น่าสนใจ จิณาภา ใคร้มา นักเอกสารสนเทศ

ชื่อ ISSN สํานักพิมพ์

นิตยสาร บาโคนี (Balcony Magazine) บริษัท นิมมานา พับลิชชิง่ จํากัด 254/4 ถนนเจริญราษฏร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000 โทร 053-306-692 Email : nimmanagroup@hotmail.com ราคา อัตราค่าสมาชิก 1 ปี 12 เล่ม ราคา 450 บาท วาระการจัดพิมพ์ รายเดือน เนื้อหา จากนิตยสาร ปาธโซะ (Paszo Magazine) เปลี่ยนเป็น นิตยสารบาโคนี (Balcony Magazine) และได้ เพิ่มเติมเนื้อหาให้ครอบคลุมการใช้วิธีชีวิตประจําวันมากยิ่งขึ้น เป็นนิตยสารที่เปรียบเหมือนเพื่อนคูใ่ จ ทีใ่ ห้ความรู้ และไอเดีย การตกต่างบ้านและสวนที่ครบวงจร รู้จริงเรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม วิศวกรรม การจัดสวน พันธ์ไม้ต่าง ๆ รวมเรื่องเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ซึ่งเป็นเนื้อหาสาระของนิตยสารเดิม โดยเน้นการออกแบบรูปเล่มที่ สวยงามสะดุดตา ................................. ชื่อ HALLO CHIANG MAI ISSN สํานักพิมพ์ บริษัทจํากัด ฮัลโหล เชียงใหม่ วาไรตี้ จํากัด 2 อาคาร The Star Palace ถนนเลียบคันคลองชลประทาน ต.ช้างเผือก อ.เมือ จ.เชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ 0-5322-3953 โทรสาร 0-5322-3957 มือถือ 086 429-7586, 089 191 6495 ราคา

อัตราค่าสมาชิก 1 ปี 12 ฉบับ 1,100 บาท โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี บจก. ฮัลโหล เชียงใหม่ วาไรตี้ จํากัด ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนสุเทพ เชียงใหม่ เลขที่บัญชี 471-2-32714-1 วาระการจัดพิมพ์ รายเดือน เนื้อหา นิตยสาร HALLO CHIANG MAI เป็นนิตยสารที่เป็นสื่อกลางการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ เชียงใหม่ใน ทุกแง่มมุ เช่นบุคคลสําคัญในเชียงใหม่ และรวมถึง ด้านการท่องเที่ยว ร้านอาหาร โรงแรมและสถานที่พกั ผ่อน สถานที่ จับจ่าย ทําให้ผ้อู ่านได้พบกับภาพและเรือ่ งราวทีน่ ่าสนใจเก็บไว้เพือ่ เป็นข้อมูลให้มิตรสหายในยามเดินทางมาเยือน เชียงใหม่ ซึ่งรับรองว่าจะได้รับความประทับใจแน่นอน ...................................


5

บทบาท ความสําคัญของห้องสมุดในการเป็นแหล่งเรียนรู้ จิณาภา ใคร้มา นักเอกสารสนเทศ

ระหว่างวันที่ 26-27 มกราคม 2555 ผู้เขียนได้มีโอกาสไปร่วมสัมมนา PULINET วิชาการครัง้ ที่ 2 “ห้องสมุด กับสังคมแห่งการเรียนรู้” ณ สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ได้รบั ฟังบรรยายในหัวข้อเกี่ยวกับ บทบาท ความสําคัญของห้องสมุดในการเป็นแหล่งเรียนรู้ ซึ่งสรุปเนื้อหาได้ ดังนี้ 1. สังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) เป็นกิจกรรมของสังคมทุกด้านต้อง มีความรู้เป็นพื้นฐาน 1.1 ความรู้เพื่อการพัฒนา ความรู้เป็นปัจจัยสําคัญที่สุดของการดําเนินชีวิต เป็นทุกสิ่งที่ทําต้องขึ้นอยู่กบั ความรู้ 1.2 ทุกสังคมมุ่งในการ แสวงหาความรู้ สะสมความรู้ สื่อสารความรู้ สร้างความรู้ ใช้ความรู้ 2. การพัฒนาขีดความสามารถด้านความรู้ 2.1 การกําหนดยุทธศาสตร์ชาติด้านความรู้ จะเห็นได้ว่าปัจจุบันประชากรของประเทศด้อยความรู้ จึงต้อง กําหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา คือพยายามใช้ความรู้ในการพัฒนาประชาชนของประเทศ 2.2 การขยายฐานความรู้ของนักเรียน เช่น การกําหนดพระราชบัญญัติการศึกษา ให้มีการเรียนฟรี 12 ปี เป็นเรียนฟรี 15 ปี เป็นต้น 2.3 การสร้างและการใช้ความรูเ้ พื่อการพัฒนา เช่นการพัฒนาสถาบันวิจยั ต่าง ๆ 3. ยุทธศาสตร์สาํ คัญในการสร้างขีดความสามารถด้านความรู้ 3.1 การศึกษาตลอดชีวิต โดยมีการแยกออกเป็นการศึกษาในระบบ คือการเรียนตามหลักสูตรทีเ่ ปิดสอนใน สถาบันการศึกษาทั่วไปเช่น การหลักสูตรวิชาชีพ และเรียนในระดับอุดมศึกษาเป็นต้น การศึกษานอกระบบ การเรียน แบบศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย (ทุกคนสามารถเรียนด้วยตัวเอง เรียนตามความสามารถและความ สนใจ เรียนได้ทุกสาถนที่ สามารถเรียนจากสื่อต่าง ๆ เรียนตามพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น 3.2 การสร้างแหล่งเรียนรู้ ในสถาบันการศึกษา เช่นห้องสมุด สํานักวิทยบริการ ศูนย์สารสนเทศ และนอก สถาบันการศึกษา เช่นพิพธิ ภัณฑ์ หอศิลป์ อุทยานวิทยาศาสตร์ เป็นต้น 3.3 การจัดการความรู้ มีการจัดการทั้งในองค์กร ระหว่างองค์กร และนอกองค์กร เป็นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ในกลุ่มวิชาชีพเดียวกันเพื่อพัฒนางานพัฒนาองค์กร 4. ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรูห้ ลักที่เอื้ออํานวยต่อการศึกษาตลอดชีวิตสําหรับทุกคนและ


6

เป็นกลไกสําคัญของการจัดการความรู้ในยุคปัจจุบนั ห้องสมุดเป็นแหล่งสะสมความรู้ เป็นขุมวิชา มีเอกสาร สิ่งพิมพ์ และสื่อต่าง ๆ มากมาย เป็นแหล่งแสวงหาความรู้เพือ่ ให้เกิดการนําไปใช้ เป็นทีช่ ี้แนะวิธีการแสวงหาความรู้เกีย่ วกับสื่อ ความรู้ต่าง ๆ 5. การศึกษาตลอดชีวิต จะเป็นจริงต่อเมื่อ ทุกคนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง มีแหล่ง เรียนรูท้ ี่พร้อมจะใช้ความรู้ มีเทคโนโลยีที่จะสื่อสารความรู้ได้สะดวก รวดเร็ว และเป็นมิตรกับผู้แสวงหาความรู้ 6. ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรูห้ ลักที่เอื้ออํานวยต่อการศึกษาตลอดชีวิต สําหรับทุกคนเป็น กลไกสําคัญของการจัดการความรู้ในยุคปัจจุบัน เอกสารอ้างอิง วิจิตร ศรีสอ้าน. 2555. “บทบาท ความสําคัญของห้องสมุดในการเป็นแหล่งเรียนรู้” น.587-589. ใน เอกสารการ สัมมนา PULINET วิชาการ ครั้งที่ 2. 26-27 มกราคม 2555 ณ สุรสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสรุ นารี. นครราชสีมา: ศูนย์บรรณสารและสือ่ การศึกษา มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีสุรนารี.


7

การใช้ภาษาอังกฤษในการให้บริการห้องสมุด น้ําใจ จุลพุ์ปสาสน์ บรรณารักษ์

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่นิยมใช้สือ่ สารกันโดยทั่วไป และใช้มากเป็นอันดับ 3 หรือ 4 ของโลก รองลงมา จากภาษาจีน ภาษาฮินดี และใกล้เคียงกับภาษาสเปน (วิกิพีเดีย, 2554) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยทีม่ ีการเรียนการสอนหลักสูตรปกติ และนานาชาติ จึงทําให้มีชาวต่างชาติ มาร่วมเรียน และร่วมสอนในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังนั้น บุคลากรสํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะ ให้บริการแก่บุคคลเหล่านี้ และเพื่อให้การบริการมีประสิทธิภาพ และสร้างความประทับใจต่อผู้ใช้ ผู้เขียนจึงรวบรวม คําศัพท์ภาษาอังกฤษ และวลีที่เกี่ยวข้องในการให้บริการห้องสมุด หวังเป็นอย่างยิง่ ว่าจะเป็นประโยชน์ต่อบุคลากร สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และบุคคลที่สนใจทัว่ ไป คําศัพท์ ประเภทของสิ่งพิมพ์ (Types of Printed Matter) คู่มือมหาวิทยาลัย University Manual จุลสาร Pamphlet ซีดี-รอม CD-ROM นวนิยาย Fiction นิตยสาร Magazine ราชกิจจานุเบกษา Royal Thai Government Gazette รายการงานวิจัย Research รายงานประจําปี Annual Report วารสาร Journal วิทยานิพนธ์ Thesis สิ่งพิมพ์รัฐบาล Government Publication หนังสือพิมพ์ Newspaper หนังสือทั่วไป Book in general หนังสือสํารอง Reserved Book หนังสืออ้างอิง Reference Book บริการต่างๆ นิตยสาร ฉบับปัจจุบนั Current Magazine บริการตอบคําถามและช่วยการค้นคว้า Reference Service บริการยืม-คืน ทรัพยากร Circulation Service บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุด Interlibrary Loan มุมหนังสือ LLC LLC Corner วารสารเย็บเล่มภาษาไทย Bound Thai Periodical วารสารเย็บเล่มภาษาอังกฤษ Bound English Periodical


8

หนังสือพิมพ์ ฉบับปัจจุบนั ห้องเก็บเอกสารจดหมายเหตุ ห้องจดหมายเหตุและสารนิเทศท้องถิน่ ห้องบริการนักวิจัย ห้องบริการวีดีทัศน์ ห้องบริการอินเตอร์เน็ต ห้องมัลติมีเดีย ห้องวารสารล่วงเวลา ห้องศึกษาเฉพาะกลุ่ม ห้องอ่านเดี่ยว ห้องอบรมคอมพิวเตอร์

Current Newspaper Northern Information and Maejo University Keeping Room Northern Information and Maejo University Archives Research Service Room Audio-Visual Service Internet Room Multimedia Room Back Issue of Periodical Collection Overtime Study Room Single Reading Room Training Room

คําศัพท์ทั่วไป เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ชั้นบน ชั้นล่าง ชั้นหนังสือ ชาวต่างประเทศ ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น ตู้รบั คืนหนังสือ คําศัพท์ทั่วไป

Library Staff First Floor Second Floor Third Floor Upstairs Downstairs Book Shelves Foreigner Library Use Only Book Drop

ทางเข้า ทางออก บรรณารักษ์ บัตรประจําตัวนักศึกษา บุคคลภายนอก พื้นทีท่ ํางานบุคลากร พื้นที่อ่านหนังสือ รถเข็นหนังสือ วันหยุดราชการ

Entrance Exit Librarian Student’s Identification Card General Public Staff Area Reading Area Book Cart Official Holiday


9

ห้องน้ํา ห้องประชุม

Toilet Conference Room

วลีน่าจํา ใช้กับผู้ใช้ห้องสมุด 1. คําทักทาย (Greeting) สวัสดี (หลังเที่ยงคืนถึงเวลาเที่ยงวัน)

Good morning

สวัสดี (หลังเที่ยงวันถึงหกโมงเย็น)

Good afternoon

สวัสดี (หลังหกโมงเย็นถึงเที่ยงคืน)

Good evening

สวัสดี

How do you do?

2. การเสนอความช่วยเหลือ Offering Help มีอะไรให้ฉัน ช่วยไหม

Can I help you?

ฉันขอช่วยคุณได้ไหม

Can I give you a hand?

คุณต้องการคําช่วยเหลือไหม

Do you need any help?

มีอะไรให้ฉันช่วยคุณไหม

May I help you with anything?

คุณอยากให้ฉนั ช่วยไหม

Would you like me to help you?

3. การขอให้รอ กรุณารอสักครู่

Just a moment, please.

กรุณารอสักครู่

Just a minute, please.

กรุณารอสักครู่ ฉันจะไปดูให้

Just a moment, please. I’ll go and see for you.

กรุณารอสักครู่ ฉันจะไปหาใครบางคนที่

Just a moment, please. I’ll find somebody


10

สามารถช่วยคุณได้

who can help you.

กรุณารอสักครู่ ฉันจะไปหาใครบางคนที่

Just a moment, please. I’ll go and get

สามารถช่วยคุณได้

somebody who can help you.

สักครู่

One moment, please.

มีค่ะ กรุณารอสักครู่ ฉันจะไปเอามาให้คุณ Yes, we do. Just a moment, please. I’ll go and get it for you.

4. การตอบรับคําขอบคุณ ยินดีเสมอ

Any time

ไม่เป็นไร

Don’t mention it

ยินดีช่วย

I’m glad I could help

ฉันยินดีช่วยคุณ

I’m glad to help you.

ด้วยความยินดี

It’s my pleasure.

ฉันยินดีช่วยคุณ

I would be glad to help you.

ด้วยความยินดี

My pleasure

ไม่เป็นไร

Not at all

ด้วยความยินดี

You’re welcome

5. การบอกทาง (Telling Direction) ตรงหัวมุม

At the corner

ติดกับ

Beside

เชิญตามฉันมา

Follow me, please

ตรงไป

Go straight


11

อยู่โน่น

It’s over there

อยู่โน่น ที่มมุ

It’s over there in the corner

ตรงไปเรื่อย ๆ

Keep going straight

ด้านซ้าย

Left

ถัดจาก

Next to

ฝั่งซ้าย/ขวา

On your left/right

ฝั่งขวาของ

On the left/right side of

ด้านขวา

right

บล็อกแรก

The first block.

เลี้ยวซ้าย/ขวา

Turn left/right

6. คําถามกรณีฟังไม่ทัน ให้ฝรั่งพูดอีกรอบ ช่วยพูดซ้ําอีกได้ไหม

Could you repeat that please?

ขอโทษ คุณช่วยพูดช้าหน่อยได้ไหม

I’m sorry. Could you please slow down?

ขอโทษ คุณพูดว่าอะไร

I’m sorry. What did you say?

ขอโทษ คุณพูดว่าอะไร

I’m sorry. What was that?

7. การอําลา (Leaving) ลา

Bye – bye

ลา

Goodbye

เจอกัน

See you

แล้วพบกันใหม่

See you later

แล้วพบกันใหม่

See you again


12

แล้วพบกันในเร็วๆนี้

See you around

แล้วพบกันในเร็วๆนี้

See you soon

พบกันใหม่พรุ่งนี้นะ

See you tomorrow

8. การแสดงความปรารถนาดีหลังคําอําลา โชคดีนะ

Good luck

ขอให้สนุก

Have a good time

โชคดีนะ

Have a nice day

ขอให้พักผ่อนในวันหยุดสนุก

Have a nice vocation

ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ

Have a nice trip

ยินดีทไี่ ด้ร้จู ัก

Nice to meet you

ดูแล

Take care

บรรณานุกรม ณัฐดินี ชมพูเอี่ยม. 2554. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในหอสมุดสาขา วังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร. บรรณสาร มศก.ท 24(1-2), 23-34 Greeting (การทักทาย). 2548. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2554, จาก http://www.kr.ac.th/ebook2/sangduan/04.html ประพนธ์ จุนทวิเทศ. 2545. คําและสํานวนประโยคภาษาอังกฤษที่จําเป็นสําหรับนักเรียนและครูอาชีวศึกษา. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2554, จาก english-for-thais-2.blogspot.com/2008/12/904.html วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 2554. ภาษาอังกฤษ. ค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2554, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/ ภาษาอังกฤษ


13

บารากู่ คืออะไร? นางพอตา สุวรรณหล่อ นักเอกสารสนเทศ

“บารากู่” หรือที่ชาวอาหรับเรียกว่า ฮุกก้า (Hookah) หรือ ชีช่า (Sheesha) เป็นอุปกรณ์สําหรับการสูบยาเส้น ชนิดหนึง่ ทีม่ ีมานานแล้ว ซึ่งนําเข้าจากประเทศอียิปต์หรืออินเดีย นิยมใช้อุปกรณ์ชิ้นเดียว ล้อมวงกันสูบหลาย ๆ คน

การสูบบารากู่ จะใช้เครือ่ งมือการสูบที่เป็นภาชนะเนื้อโลหะ รูปทรงคล้ายตะเกียงอาหรับ ทรงสูงปากแคบ ส่วนบนสุดใช้วาง ยาเส้นที่เรียกว่า มาแอสเซล ซึ่งเป็นส่วนผสมของใบยาสูบกับสารทีม่ ีความหวานอย่าง น้ําผึ้ง กากน้ําตาล ผลไม้หรือดอกไม้ตากแห้ง เช่น แอบเปิ้ล สตรอเบอร์รี่ เชอร์รี่ องุ่น มะม่วง กาแฟ วานิลลา มะนาว กุหลาบ รวมไปถึงสมุนไพรต่าง ๆ ทําให้เกิดกลิน่ หอม ซึ่งมักจะห่อไว้ในกระดาษฟอยด์ โดยจะใช้ถ่านหรือความร้อนจากไฟฟ้าใน การเผายาเส้น ควันจากการเผาไหม้จะผ่านน้ํามายังส่วนล่างสุด ซึ่งด้านล่างจะเป็นกระเปาะใส่น้ํา เมื่อมีการทําความร้อน ยาสูบจะเกิดควันแล้วลอยผ่านมาทางน้าํ ซึ่งผู้สูบเชื่อว่าจะสามารถกรองเอาของเสียต่าง ๆ เอาไว้ และผ่านไปยังท่อทีต่ ่อ กับส่วนปากดูดเพื่อใช้ในการดูดควัน โดยมีกระแสร่ําลือว่า การสูบบารากู่ สามารถช่วยเลิกสูบบุหรี่ ช่วยฟอกปอดให้ สะอาดขึ้น และแก้โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ เช่น โรคแพ้อากาศ หรือไซนัส รวมถึงช่วยกระตุ้นอารมณ์เพศ

อันตรายของบารากู่ วิธีการที่สูบยาเส้นผ่านน้ํานี้ ทําให้ผ้สู ูบเข้าใจผิดว่า จะทําให้ปลอดภัยมากขึ้น แต่ผลการวิจัยได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ยาเส้นประเภทสูบผ่านน้ําอย่างบารากู่ มีอันตรายมากกว่าการสูบบุหรี่ทั่วไป เพราะมีสารนิโคติน และสารทาร์จํานวน มากกว่า อีกทั้งการสูบผ่านน้ําและการผสมกับผลไม้กลิ่นต่าง ๆ จะทําให้ความเข้มข้นของควันจางลง ทําให้ผู้สูบ สูบได้ ลึกมากขึ้น และจํานวนมากขึ้น ถ้าใช้เวลาสูบนาน 45 นาที จะได้รับสารทาร์เป็น 36 เท่า คาร์บอนมอนนอกไซด์เป็น 15 เท่า และนิโคตินเป็น 70 เท่า เมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่ 1 มวน ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก ผู้สบู จะได้รบั ก๊าซ คาร์บอนมอนอกไซด์ ซึง่ เป็นสารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค หัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดแข็งตัว และโรคเรื้อรัง ของระบบทางเดินหายใจ ผู้สูบจะมี อาการปวดศีรษะ ตามองเห็นภาพไม่ชัด ใจสั่น เวียนศีรษะ และมีระดับ โคเลสเตอรอลในกระแสเลือดมากกว่าผูท้ ี่สูบบุหรีท่ ั่วไป ยังอาจกระตุ้นให้เกิดหลอดลมตีบตัวในผู้ป่วยโรคหอบหืด และ


14

เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ ยังพบว่าทําให้ เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติของทารกในครรภ์อีกด้วย

ด้านนายแพทย์จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โดยทั่วไปคําว่า “บารากู่” ของตะวันออก กลางเป็นการนําเอาใบยาสูบแห้ง มาผสมกับผลไม้ ทําให้เกิดกลิ่นรสชาติ เผาและส่งควันผ่านน้ํา แล้วดูดควันเข้าทาง ปาก เมื่อเทียบแล้วก็เหมือนกับการสูบบุหรี่ธรรมดา ดังนั้น การที่ผ้ปู ระกอบการอ้างว่าสามารถฟอกปอด ช่วยให้เลิก บุหรีไ่ ด้น้นั ไม่จริงอย่างแน่นอน เพราะในควันบุหรีม่ ีสารเคมีมากมาย และสารเคมีก่อให้เกิดโรคมะเร็ง แหล่งข่าววัยรุ่นนัก เที่ยวคนหนึ่ง เปิดเผยว่า ขณะนี้การสูบบารากู่ นอกเหนือจากลูกค้าชาวไทยที่มที ้งั หญิงทั้งชายแล้ว ลูกค้าชาวต่างชาติ ก็ นิยมสูบ สําหรับสนนราคาการสูบบารากู่น้นั หากเป็นบารากู่แบบธรรมดา อัตราค่าสูบตกครั้งละ 380 บาท แพงที่สุดคือ 480 บาท แต่ที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้คือ มีนักเที่ยวบางคนฉวยโอกาสนํายาเสพติด เช่น ยาเค ยาอี ยาบ้า กัญชา หรือผง ขาว ผสม เข้าไปในยาสูบบารากู่ หากร้านสูบบารากู่ร้านใดมีลกู ค้าแนวนี้ ก็จะคิดราคาเพิ่มอีกในอัตราตั้งแต่ 200 – 1,000 บาท ดังนั้น บารากู่จึงเป็นช่องทางหนึ่ง ในการขายยาเสพติด โดยพ่อค้าจะมีกลวิธีล่อใจลูกค้าด้วยการบอกว่า ใครสูบบารากู่แล้ว จะทําให้มีรปู ร่างและผิวพรรณดี นอนหลับ กินได้ ที่สําคัญจะช่วยกระตุ้นอารมณ์เพศได้อีกด้วย

ที่มาข้อมูล : http://www.pattayadailynews.com/


15

ปัญหาหมอกควัน ไพสน พระก่ํา นักเอกสารสนเทศ

ถ้าจะกล่าวถึงเรื่องฤดูกาล ในรอบปีฤดูหนาวถือว่าเป็นฤดูที่มีสีสนั มีชีวิตชีวามากที่สุด เพราะถือว่าช่วงไฮซีซั่น เป็นฤดูของการท่องเที่ยว โดยเฉพาะช่วงหยุดยาวในเทศกาลปีใหม่ ซึ่งประชาชนมีการใช้จ่าย และท่องเที่ยวกันอย่าง คึกคัก จังหวัดทางภาคเหนือจะได้รับความนิยมจากนักท่องเทีย่ วเป็นจํานวนมาก แต่นอกจากรายได้จากการท่องเทีย่ วแล้วสิ่งที่ตามมาในช่วงฤดูหนาวที่ชาวภาคเหนือได้รบั อีกอย่างคือ ปัญหา หมอกควัน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาทีต่ ้องเจออยู่ทุกปี จะรุนแรงหรือเบาก็ขึ้นอยู่กับการจัดการของหน่วยงานภาครัฐ และ ความร่วมมือของประชาชน ในการร่วมมือกันป้องกันและลดปัญหาหมอกควันให้น้อยลง สาเหตุของปัญหาหมอกควันคือการเผา มีท้งั การเผาขยะในบ้าน และการเผาซากพืช,วัสดุเหลือทิ้งทาง การเกษตร ซึ่งมักจะเกิดขึ้นประมาณเดือน ก.พ.- มี.ค. เพราะเป็นช่วงที่อากาศแห้งแล้ง เกษตรกรมักจะเผากันใน ช่วงเวลานี้เพาะวัสดุหรือเศษซากพืชแห้งสามารถทําการเผาได้ง่ายกว่าในฤดูกาลอื่นฯ ทางหน่วยงานราชการ มีความ พยายามส่งเสริมให้มีการไถ่พรวน,ฝังกลบ เศษซากพืช เพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด เพื่อลดปัญหาการเผาของเกษตรกร ซึ่ง สามารถลดปัญหาการเผาลงได้พอสมควร

ภาพจาก ies.2nd-2none.com/view.php?type=article&ct_id=7

การเผาอีกอย่างเป็นการเผาแบบตั้งใจ ซึ่งเรียกว่า การชิงเผา การชิงเผาเป็นวิธีการหนึ่งของการเผาตามกําหนด (Prescribe Burning) อันเป็นการใช้ประโยชน์จากไฟเพื่อการจัดการป่าไม้ การชิงเผามีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อลดปริมาณ เชื้อเพลิงในป่าลง ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดโอกาสในการเกิดไฟป่า หรือถ้าเกิดไฟป่าขึ้น ความรุนแรงและอันตรายของไฟนั้น จะมีน้อยลง สามารถควบคุมไฟได้ง่ายและปลอดภัย อีกสาเหตุหนึง่ ของปัญหาหมอกควันในภาคเหนือคือการเกิดไฟป่าจากประเทศเพือ่ นบ้าน ทั้งจากพม่า ลาว นอกจากนี้สภาวะอากาศทีน่ ิ่งทําให้ฝ่นุ ละอองที่เกิดขึ้นสามารถแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศได้นานโดยไม่ตกลงสู่พื้นดิน


16

และเนื่องจากอากาศหนาวเย็น ประชาชนมีการก่อไฟเพือ่ ให้ความอบอุ่น จึงส่งผลให้มีปริมาณฝุ่นละอองเพิ่มสูงขึ้นจาก การเผาไหม้ดงั กล่าว ในรอบปีมีการเผาขยะ เผาซากพืชทางภาคเกษตรกรรมอยู่ตลอด แต่ทําไมปัญหาหมอกควันจึงปรากฏเฉพาะ ในช่วงฤดูแล้ง สาเหตุอกี อย่างคือ ความกดอากาศ เนื่องจากในช่วงฤดูหนาวมีความกดอากาศสูง การระบายอากาศ เป็นไปได้ยาก เมื่อมีหมอกควันอากาศเย็นจะกดหมอกควันไว้ ทําให้ไม่สามารถระบายออกจากชั้นบรรยากาศได้ ยิง่ ใน พื้นทีร่ าบลุ่มระหว่างหุบเขาจะได้รบั ผลกระทบมากที่สดุ เป็นเหตุทําให้จงั หวัดทางภาคเหนือได้รบั ผลกระทบมากเพราะ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ถึงแม้ว่าทางหน่วยงานราชการจะมีมาตรการป้องกันและควบคุมแล้ว การจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการแก้ปญ ั หา นี้ได้ สิง่ สําคัญคือการให้ความร่วมมือจากประชาชน ในการปฏิบัติตาม บทบาทของประชาชน มีถือว่ามีความสําคัญ อย่างยิ่ง โดยประชาชนจะต้องเห็นคุณค่า ในการช่วยกันแก้ไขปัญหา ช่วยกันลดกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ และสนับสนุนให้ชุมชนเกิดความตระหนักถึงปัญหาเพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง และชุมชน ให้ยงั่ ยืนต่อไป

ภาพจาก http://photos3.hi5.com/0065/333/910/Hb0UwX333910-02.jpg แหล่งข้อมูลอ้างอิง http://www.hiso.or.th/hiso/health_event/ghealth_event5.php http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000161291 http://www.dnp.go.th/forestfire/FIRESCIENCE/lesson%204/lesson4_3.htm


17

ภาพกิจกรรมสํานักสมุด นุชา มณีโชติ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา

บรรยายพิเศษ เรือ่ ง การจัดการความรู้แบบบูรณาการ โดย นพ.พิเชฐ บัญญัติ วันที่ 12 มกราคม 2555

ม.ราชภัฏกําแพงเพชร ศึกษาดูงาน สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันที่ 12 มกราคม 2555


18

สัมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนแผนกลยุทธและแผนปฏิบัติราชการ ประจําปีงบประมาณ 2555 วันที่ 19-20 มกราคม 2555

งานจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ ศึกษาดูงาน กลุ่มภารกิจจดหมายเหตุฯ สํานักหอสมุด วันที่ 22 ธันวาคม 2555


19

เครือข่ายรักการอ่าน สํานักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันที่ 25 มกราคม 2555

สํานักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วม สัมมนา Pulinetวิชาการ ครั้งที่ 2 ม.เทคโนโลยี สุรนารีย์ วันที่ 26 ถึง27 มกราคม 2555


20

สํานักหอสมุด ทําการตรวจ 5ส ครั้งที่ 1 วันที่ 31 มกราคม 2555

ฝึกอบรมการสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรานิกส์เพื่อการสืบค้น สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันที่ 1-3 กุมภาพันธ์ 2555


21

การจัดการความรู้ กลุ่ม www เรื่อง การสื่อสารภายในองค์กร วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555

การจัดการความรู้ กลุ่ม ESC เรื่อง เปิดอก Best Practice ความภาคภูมิใจ และ การเล่าผลงานทาง วิชาการ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555


22

กิจกรรมเข้าค่ายแทนคุณ ชมรมรักการอ่าน สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555

มหาวิทยาลัย มหาสารคาม ศึกษาดูงาน สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555


23

คณะกรรมการโครงการจัดเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาดูงาน การใช้งาน ThaiLis วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555

สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศึกษาดูงานด้านบริหารจัดการงานห้องสมุดและ แลกเปลีย่ นเรียนรู้ คณะพยาบาล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555


24

สํานักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ศึกษาดูงาน สํานักหอสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ วันที่ 1 มีนาคม 2555

MJU Love Reading จัดซื้อหนังสือที่ร้านดวงกมล วันที่ 12 มีนาคม 2555


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.