วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2556

Page 13

ส่วนหนึ่งของงานวิจัย ปัญหาและทางแก้เกี่ยวกับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม(รวมศีลธรรม) ในประเทศไทย จากมุมมองของแซมมวล ฮันทิงทัน

หมายความว่า ฮันทิงทันขอร้องให้ผู้รับผิดชอบ การอบรมคุณภาพชีวิตของมนุษย์ รวมทั้งนัก การศาสนาของทุกศาสนาที่มีหน้าที่อบรมสั่ง สอนธรรมะแก่สมาชิกของศาสนาทุกคน จะ ต้ อ งตระหนั ก รู ้ ใ ห้ ชั ด เจนว่ า ตนมี ห น้ า ที่ อบรมคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมแบบใด ก็ ใ ห้ มุ ่ ง อบรมสั่งสอนให้ดีที่สุดในทิศทางของตน ไม่ ต้องดูแคลนฝ่ายอื่น คือต้องไม่สอนให้เหลื่อม ล�้ำกันและต้องไม่โจมตีกัน เพื่อป้องกันมิให้ เกิดความกระทบกระทั่งต่อกัน ครั้นฮันทิงทัน ได้สาธยายทุกแง่ทุกมุมเพื่อสนับสนุนทางแก้ ปั ญ หาของตนอย่ า งละเอี ย ดและยื ด ยาวพอ สมควรแล้ว ในที่สุดก็อดสรุปด้วยความเป็น ห่วงไม่ได้ว่า หากได้จัดระเบียบโลกใหม่ (The World New Order) ตามคติพหุอารยธรรม กั น อย่ า งดี แ ล้ ว ก็ เชื่ อ ได้ ว ่ า “สงครามโลก ระหว่างขั้วอารยธรรมใหญ่ ๆ ของโลกไม่น่า อย่างยิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ (highly improbable) แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ (but not impossible)” แน่นอนข้อแม้หรือข้อยกเว้นที่ เปิดเผยในวรรคสุดท้ายนี้ แม้แต่จะมีแค่เสี้ยว ของเปอร์เซ็นต์ก็ไม่น่าจะมองข้าม นักปรัชญา จึงพยายามคิดค้นทางแก้ปัญหาที่สร้างความ มั่นใจได้มากกว่านั้น วิจักษ์กติกา 5 ข้อของฮันทิงทัน ในฐานะนั ก ปรั ช ญาหลั ง นวยุ ค สาย

8

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

กลาง ผู้วิจัยเห็นด้วยกับฮันทิงทันเฉพาะใน ส่วนที่เห็นปัญหาว่า มนุษยชาติอยู่ในอันตราย ของสงครามโลกและสงครามท้องที่เกิดจาก ความขัดแย้งต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความ ขั ด แย้ ง ทางอารยธรรมซึ่ ง รวมถึ ง ความขั ด แย้งทางศรัทธา ศาสนา และอุดมคติทางการ เมืองการปกครอง แต่ไม่อาจเห็นด้วยกับทาง แก้ปัญหาด้วยกติกา 5 ข้อของระเบียบสังคม ใหม่ ซึ่งหมายถึงว่าจะต้องช่วยกันอบรมพลโลก ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของกติกา 5 ข้อ ซึ่ง เป็นยูโทเปีย มีอุปสรรคมากมายจนไม่สามารถ เอาชนะได้หมด เริ่มตั้งแต่ 1) การระดม ปั ญ ญาชนให้ ม าเห็ น ด้ ว ยและมี ศ รั ท ธาต่ อ กติกา 5 ข้อเพื่อเป็นวิทยากร 2) ระดมงบ ประมาณเป็นค่าใช้จ่ายส�ำหรับวิทยากรให้ท�ำ งานได้ทั่วถึง 3) แม้ท�ำได้ส�ำเร็จตามข้อ 1 และข้อ 2 ข้างต้นแล้ว ก็ยังไม่มีอะไรค�้ำประกัน ได้ว่าจะไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น และวิธีการ แก้ความขัดแย้งของฮันทิงทันคือ อาศัยน�้ำใจดี ของชาติผู้น�ำกลุ่มอารยธรรมซึ่งเปราะบางมาก กติกาทั้ง 5 ข้อจึงเหมือนกับแขวนอยู่กับเส้น ด้าย เปอร์เซ็นต์แห่งความล้มเหลวค่อนข้างสูง ตัวฮันทิงทันเองก็ได้แสดงความลังเลใจไว้ใน ตอนท้ายของหนังสือซึ่งจะอ้างไว้ในหัวข้อถัด จากนี้ ซึ่งผิดกับความรู้สึกในตอนต้นที่เขียน ด้วยความรู้สึกกระตือรือร้นมาก ว่า


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.