Blpd Newsletter Vol.64

Page 1

BLPD NEWSLETTER ปีที่ 6 ฉบับที่ 64 เดือน กุมภาพันธ์ 2557

เพราะอากาศเปลีย่ นแปลงบ่อย.................................................................................................. 3 เมื่อธารน้​้าแข็งขนาดใหญ่ในแอนตาร์กติกาลดลง ถึงจุดที่ควบคุมไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้น !! .......... 4 แมคคาเดเมีย : ถัว่ แพงที่สดุ ในโลก............................................................................................ 5 แนะน้าหลักสูตร เทคนิคการเตรียมสารละลาย........................................................................... 6 จับตาพม่ากับบทบาทประธานอาเซียน...................................................................................... 7 MSDS แตกต่างจาก SDS อย่างไร............................................................................................. 10 โปรดส่งข้อคิดเห็น ค้าแนะน้าหรือค้าถามที่ blpd@dss.go.th โทร. 02-2017425 โทรสาร 02-2017429 หากต้องการยกเลิกการรับข่าวสาร กรุณาแจ้งที่ blpd@dss.go.th ข้อมูลเพิ่มเติม http://blpd.dss.go.th/


สวัสดีสมาชิก พศ. สารทุกท่าน ในที่สุดก็เข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ เดือนที่ 2 ของปี พ.ศ. 2557 นะคะ หวังว่าทุกๆ ท่านยังคงสนุกสนานกับ การทางาน แม้ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาจะเกิดความวุ่นวาย เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง ทาให้สานักฯ ไม่สามารถจัดฝึกอบรมได้ตามแผนที่วางไว้ ซึ่งสานักฯ จะจัดฝึกอบรมหลักสูตรที่เลื่อนทั้งหมดในภายหลัง สามารถ ติด ตามรายละเอี ย ดได้ ที่ เ ว็ บ ไซท์ http://blpd.dss.go.th หากท่ านมี ข้ อ สงสั ย สามารถติ ด ต่ อ สอบถามได้ ท าง E-mail : blpd@dss.go.th หรือ โทรศัพท์ : 087-095-7475 ทางสานักฯ พร้อมที่จะตอบคาถามและให้บริการ ทุกๆ ท่านด้วยความเต็มใจคะ เรียน ผู้ลงทะเบียนเรียน ทุกท่าน เนื่องจากเกิดเหตุชุมนุมทางการเมือง ส่งผลให้ส้านักฯ ไม่สามารถเปิดบริการฝึกอบรมได้ โดยเฉพาะหลักสูตรที่ต้องใช้ ห้องปฏิบัติการส้าหรับฝึกปฏิบัติ จึงขอแจ้งประชาสัมพันธ์การฝึกอบรมดังต่อไปนี้ 1. เลื่อนฝึกอบรมหลักสูตรเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ดังต่อไปนี้ไปโดยไม่มีก้าหนด 1.1 การสอบเทียบเครื่องชั่ง วันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2557 1.2 การใช้ AAS ในงานวิเคราะห์ทดสอบ วันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2557 2. ย้ายสถานที่ฝึกอบรม หลักสูตรเดือนมีนาคม 2557 ดังนี้ 2.1 ความไม่แน่นอนของการวัดทางเคมี วันที่ 4-5 มี.ค. 57 2.2 ความสอบกลับได้ของการวัด วันที่ 7 มี.ค. 57 2.3 การตรวจสอบความสมเหตุสมผลของวิธีทางเคมี วันที่ 11-12 มี.ค. 57 2.4 การตรวจติดตามคุณภาพภายในตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 วันที่ 13-14 มี.ค. 57 (เลื่อนอบรมจากเดือนมกราคม 2557) 2.5 การก้าจัดของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ วันที่ 18-19 มี.ค. 57 2.6 การทวนสอบผลการสอบเทียบเครื่องมือวัด วันที่ 20 มี.ค. 57 (เลื่อนอบรมจากเดือนมกราคม 2557) 2.7 ความไม่แน่นอนของการวัดทางสอบเทียบ วันที่ 27-28 มี.ค. 57

อบรม อาคารอมรภูมิรัตน สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน คลิกดูแผนที่ : รถประจ้าทาง 513, 513 ทางด่วน, 520, 522, 543, ต.14, ต.40, ต.62, ต.79 ————————————————————————————————————————-3. เลื่อนฝึกอบรมหลักสูตรเดือนมีนาคม 2557 ดังต่อไปนี้ไปโดยไม่มีก้าหนด 3.1 เทคนิคการเตรียมสารละลาย วันที่ 3-4 มี.ค. 57 3.2 เทคนิคการวิเคราะห์แบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในอาหาร วันที่ 3-7 มี.ค. 57 3.3 เทคนิคการใช้และการดูแลรักษาพีเอชมิเตอร์ วันที่ 12 มี.ค. 57 3.4 การออกแบบห้องปฏิบัติการเคมีเพื่อความปลอดภัย วันที่ 13-14 มี.ค. 57 3.5 การวิเคราะห์คุณภาพน้​้าเสีย (TS TDS SS ไขมันและน้​้ามัน) วันที่ 20-21 มี.ค. 57 3.6 การใช้ GC ในงานวิเคราะห์ทดสอบ วันที่ 25-28 มี.ค. 57

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณา โทร 087-095-7475 และทางอีเมลที่ blpd@dss.go.th ส้าหรับผู้ลงทะเบียนในหลักสูตรดังกล่าวไว้แล้วจะมีเจ้าหน้าทีต่ ิดต่อเพื่อแจ้งรายละเอียดอีกครั้ง ขออภัยเป็นอย่างสูง ที่ท้าให้ทุกท่านไม่ได้รับความสะดวก ส้านักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ 2 |BLPD NEWSLETTER

ปี ที่ 6 ฉ บั บ ที่ 6 4 เ ดื อ น กุ ม ภ า พั น ธ์ 2 5 5 7


เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ดร. ณัฏฐกานต์ เกตุคุ้ม natthakarn@dss.go.th

สภาพอากาศที่แปรปรวนหนาวเย็นลงฉับพลันอีก ระลอกในช่วงกลางเดื อน มกราคม 2557 สืบเนื่ องจาก ในช่วงที่มีอุณหภูมิและอากาศหนาวเย็น ในเดือนธันวาคม 2556 ซึ่งเป็นเดือนที่อยู่ในช่วงกลางฤดูหนาวของประเทศ ไทย สภาพอากาศโดยทั่วไปได้รับอิทธิพลจากบริเวณความ

กดอากาศสู ง หรื อ มวลอากาศเย็ น จากประเทศจี น และ มองโกเลียแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยเป็นระยะๆ ประกอบ กับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยเกือบ ตลอดเดือน ทาให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็น และแห้งเกือบตลอดเดือน โดยอุณหภูมิจะลดลงตามความ แรงและช่วงระยะเวลาของบริเวณความกดอากาศสูงที่แผ่ลง มาปกคลุมประเทศไทย จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา1 ในระยะครึ่ ง หลั ง ของเดื อ นธั น วาคม 2556 อุ ณ หภู มิ ใ น ประเทศไทยลดลงฉับพลัน 4-7°ซ. เกือบทั่วไปในประเทศ ไทยตอนบน และลดลง 3–5°ซ. ในภาคใต้ตอนบน รวมทั้ง กรุงเทพมหานคร ก็ยังได้รับอิทธิพลความเย็นดังกล่าวด้วย BLPD NEWSLETTER

เช่นกัน โดยเฉพาะช่วงเช้าและช่วงค่าจะค่อนข้างหนาวจัด และลมพัดแรง หมอกลงหนา ซึ่งส่งผลต่อการจราจรอย่าง หนาแน่นในช่วงเช้า จากข้อมูลโรงพยาบาลในช่วงเวลาดังกล่าว แจ้งว่า ด้วยสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันนี้ ส่งผลให้ ประชาชนโดยเฉพาะเด็ก แ ล ะ ค น ช ร า ที่ มี ภู มิ ต้านทานต่าเกิดเจ็บป่ว ย ด้ ว ยโรคระบบทางเดิ น ห า ย ใ จ เ ช่ น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่และ ปอดบวม เข้ า รั บ การ ต ร ว จ รั ก ษ า ต า ม โรงพยาบาลต่ า งๆ ใน ห ล า ย ๆ จั ง ห วั ด อ ย่ า ง ต่อ เนื่ องเพิ่ มขึ้ น จากช่ ว ง ปกติ เ ท่ า ตั ว จากข้ อ มู ล ทางการแพทย์ 2 หลายๆ แ ห ล่ ง ก ล่ า ว ว่ า ประชาชนควรหั น มาดู แ ลรั กษาสุ ข ภาพให้ ม ากเป็น พิ เ ศษ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กอ่อน เด็กเล็กและผู้สูงอายุ ซึ่งนับว่าเป็น กลุ่มเสี่ยงที่มักได้รับผลกระทบต่อสุขภาพได้โดยง่าย พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้สูงอายุ จึงต้องมีความเข้าใจและรู้จักการ ดู แ ลสุ ข ภาพตนเอง และลู ก หลานเพื่ อ ป้องกันโรคต่างๆ ที่ เ กี่ ย ว กั บ ร ะ บ บ ท า ง เ ดิ น ห า ย ใ จ โดยเฉพาะ อ่านต่อหน้าที่ 4 ปี ที่ 6 ฉ บั บ ที่ 6 4 เ ดื อ น กุ ม ภ า พั น ธ์ 2 5 5 7 | 3


โรคไข้หวัด เพราะหากป่วยเป็นไข้หวัดในช่วงอากาศหนาว และไม่มีการดูแล สุขภาพที่ดี อาจส่งผลให้กลายเป็นโรคหลอดลมอักเสบและโรคปอดบวมได้ใน ที่สุด คาแนะนาวิธีที่ทาให้ร่างกายอบอุ่นคลายหนาว ที่เหมาะกับทุกกลุ่มวัย สามารถทาได้อย่างง่ายๆ และควรทาอย่างสม่าเสมอ อาทิเช่น การเดินเร็ว ๆ การวิ่งเหยาะ ๆ การเล่ นกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย สั ป ดาห์ ล ะ 5 วั น วั น ละ 30 นาที และที่ ส าคั ญ ควรพั ก ผ่ อ นให้ เ พี ย งพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นประเภทผักและผลไม้สดที่มีวิตามินซีสูง ซึ่งจะมีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคระบบทางเดินหายใจ เอกสารอ้างอิง - ศูนย์ภูมิอากาศ สานักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา 26 ธันวาคม 2556 - ข่าวสารเพื่อสื่อมวลชน กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ สานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่ 

เมื่อธารน้​้าแข็งขนาดใหญ่ในแอนตาร์กติกาลดลง เบญจพร บริสทุ ธิ์ ถึงจุดที่ควบคุมไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้น !! benchaporn@dss.go.th

ภาพถ่ายจากดาวเทียมขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) เผยธารน้​้าแข็งไพน์ไอส์แลนด์และ ภูเขาน้​้าแข็งขนาดใหญ่เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2013 ที่ผ่านมา โดย ผู้จัดการออนไลน์

จากงานวิจัยจานวนมากเชื่อว่าธารน้าแข็งขนาดใหญ่ในแอนตาร์กติกาที่มีผลต่อระดับน้าทะเลมากที่สุดจะลดลงถึงจุดที่ ควบคุมไม่ได้ ซึ่งจะทาให้ส่งผลกระทบเป็นโดมิโนไปยังธารน้าแข็งรอบๆ และในที่สุดจะทาให้พืดน้าแข็งทั้งหมดแตกสลาย และ อาจจะเพิ่มระดับน้าทะเลเฉลี่ยระหว่าง 3-5 เมตรในอีกหลายปีข้างหน้า นี่เป็นสิ่งที่คนทั้งโลกจะต้องกลับมาให้ความสนใจใน ภาวะที่ โ ลกร้ อ นขึ้ น ท าให้ “น้ าท่ ว มโลก” เป็ น จริ ง อ่ า นต่ อ http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx? NewsID=9570000006452 4 |BLPD NEWSLETTER

ปี ที่ 6 ฉ บั บ ที่ 6 4 เ ดื อ น กุ ม ภ า พั น ธ์ 2 5 5 7


แมคคาเดเมีย : ถั่วแพงที่สุดในโลก ดร. สมบัติ คงวิทยา sombat@dss.go.th

ถั่วที่มีราคาแพงที่สุดในโลก คือ ถั่วแมคคาเดเมีย ถั่วชนิดนี้จะให้ผลผลิตต่อเมื่อมีอายุตั้งแต่ 7-10 ปีขึ้นไป ซึ่ง การปลูกให้ได้ผลผลิตที่ดีนั้นจะต้องหมั่นคอยดูแลใส่ปุ๋ย และ ปลู กในที่ๆ มีฝ นตกชุ ก ถั่ ว ชนิ ด นี้ เป็ น พืช เศรษฐกิ จ ที่มี อ ยู่ หลายสายพั น ธุ์ ด้ ว ยกั น โ ดยมี ถิ่ น ก าเนิ ด ที่ ป ระเทศ ออสเตรเลี ยมากถึง 7 สายพันธุ์ ที่นิว คาเลโดเนีย 1 สาย พันธุ์ และ ที่เมืองสุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย อีก 1 สาย พันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่มีความสาคัญและมีมูลค่าในเชิงการค้า มากที่สุดมีเพียง 2 สายพันธุ์ คือ Macadamia integrifolia และ Macadamia tetraphylla ซึ่งมีถิ่นกาเนิดในรัฐนิวเซาธ์ เวลส์ และควีนสแลนด์ ของประเทศออสเตรเลีย ไร่แมคคา เดเมีย ที่ปลู กขึ้นเพื่อการค้าเป็น ครั้ งแรก เกิดขึ้นในช่ว งต้น ของยุคปี ค.ศ. 1880 (พ.ศ. 2423) ในรัฐนิวเซาธ์ เวลส์ ของ ประเทศออสเตรเลีย อีก 2 ปีต่อมาได้มีการนาเข้าเมล็ดพันธุ์ แมคคาเดเมียจากออสเตรเลียไปทดลองปลูกที่ ฮาวาย และ

เริ่มมีการปลูกแมคคาเดเมียในเชิงการค้าที่นั่นอย่างจริงจัง นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 (พ.ศ. 2463) เป็นต้นมา นอกจาก ออสเตรเลีย และฮาวายแล้ว ยังมีประเทศอื่นๆ ที่ ปลู กแมคคาเดเมียเป็นพืช เศรษฐกิจอีก ได้ แก่แอฟริกาใต้ บราซิล สหรัฐอเมริกา (แคลิฟอร์เนีย) คอสตา ริก้า อิสราเอล เคนย่า โบลิเวีย นิวซีแลนด์ และมาลาวี โดยมีออสเตรเลีย เป็นผู้ ผ ลิตรายใหญ่ที่สุ ดของโลก ส าหรับราคาขายของถั่ว ชนิดนี้จะอยู่ที่มากกว่า 30 เหรียญสหรัฐต่อ 1 ก.ก. (มากกว่า 1 พันบาท/ก.ก.) หากว่าเปรียบเทียบกับถั่วลิสงบ้านเราแล้วราคาจาก ตลาดกลางสินค้าเกษตรแห่งประเทศไทยแล้ว ราคาตกอยู่ที่ ก.ก. ละ 40-55 บาท ถือได้ว่าต่างกันเยอะพอสมควร หาก ว่ากรมส่ งเสริมการเกษตร มีการสนั บสนุนและทาวิจัยให้ เกษตรกรปลู ก ถั่ว ชนิ ด นี้ เพิ่ ม มากขึ้ น น่ า จะเป็ น ทางเลื อ ก ให้กับเกษตรกรในการสร้างรายได้ อีกทั้งเป็นการสร้างแหล่ง อาหารชนิดใหม่ ๆ ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นแทนการนาเข้า จากต่างประเทศ หากดูแหล่งเพาะปลูกเทียบกันแล้ว คิดว่า ประเทศไทยน่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะให้มีการปลูกถั่วชนิด นี้ในประเทศไทยได้ ที่มา: 1. http://www.thaibizcenter.com/ knowledgecenter.asp?kid=10905 2. http://taladsimummuang.com/dmma/Portals/ PriceListItem.aspx?id=030005012

BLPD NEWSLETTER

ปี ที่ 6 ฉ บั บ ที่ 6 4 เ ดื อ น กุ ม ภ า พั น ธ์ 2 5 5 7 | 5


เทคนิคการเตรียมสารละลาย ปัญญา คงพยา kpanya@dss.go.th

การเตรียมสารละลายเป็นกิจกรรมที่จ้าเป็นอย่างมากต่อการปฏิบัติงานวิเคราะห์ทดสอบ ทั้งด้านการวิเคราะห์โดย ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และการวิเคราะห์ด้วยวิธีทางเคมีที่เป็นพื้นฐาน บุคลากรที่ปฏิบัติงาน และผู้เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ ทดสอบทางห้องปฏิบัติการ จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะเกี่ยวกับการเตรียมสารละลายชนิดต่างๆ การจัดเก็บและ การเลือกใช้เครื่องมือในการเตรียม เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความถูกต้องแม่นยา และส่งผลให้ผลการวัดน่าเชื่อถือ การ ฝึกอบรมหลักสูตรเทคนิคการเตรียมสารละลาย จึงมีความจาเป็นสาหรับผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง โดย พศ. จะจัดฝึกอบรมหลักสูตรเทคนิคการเตรียมสารละลาย ในระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2557 นี้ ซึ่งเป็นหลักสูตร ที่น่าสนใจสาหรับห้องปฏิบัติการที่กาลังจะเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ซึ่งมีทั้งการบรรยายและฝึกปฏิบัติการ เตรียมสารละลายและหาปริมาณตัวอย่าง โดยเฉพาะสอนโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ หัวข้อฝึกอบรมประกอบด้วย - เทคนิคการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ - เครื่องชั่งไฟฟ้า - เครื่องแก้ววัดปริมาตร - วิธีการเตรียมสารละลาย - หน่วยวัดและความเข้มข้น และการคานวณ - เทคนิคการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ในการเตรียมสาร - ปฏิบัติการ : เตรียมสารละลายและหาปริมาณสารในตัวอย่าง

ท่านที่สนใจสามารถสมัครฝึกอบรมได้ที่ http://blpd.dss.go.th

6 |BLPD NEWSLETTER

ปี ที่ 6 ฉ บั บ ที่ 6 4 เ ดื อ น กุ ม ภ า พั น ธ์ 2 5 5 7


จับตาพม่ากับบทบาทประธานอาเซียน ปัทมา นพรัตน์ nopparat@dss.go.th

พศ. สาร ฉบับนี้ขอกล่าวถึงประเทศพม่าต่อนะคะ เนื่ อ งจากชาติ ส มาชิ ก สมาคมประชาชาติ แ ห่ ง เอเชี ย ตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน เห็นพ้องให้ทาง "สหภาพ พม่า" เป็นประธานอาเซียน ในปี 2014 ตามคาร้องขอของ ประธานาธิบดี เต็ง เส่ง ผู้นาพม่า ประเทศพม่า หรือชื่อทางการว่า “สาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมี ย นมาร์ ” (The Republic of the Union of Myanmar) ชาวพม่า เรี ย กชื่อ ประเทศตนเองว่า มยะหม่ า หรือ เมีย นมา ส่ ว นในประเทศไทยจะสะกดว่า เมียนมาร์ ประเทศพม่า ใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ สกุลเงินของ พม่า คือ จั๊ต มีเมืองหลวงชื่อ เนปีดอว์ (เมืองหลวงแห่งใหม่ ของพม่า) ซึ่งอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ ปัจจุบันพม่ามีระบบการ ปกครองแบบรั ฐ สภาโดยมี ป ระธานาธิ บ ดี เ ป็ น ประมุ ข คน ปัจจุบัน คือ พลเอกเต็งเส่ง การเข้าเป็นสมาชิกของอาเซียน ประเทศพม่า ได้เข้าร่ วมเป็ นสมาชิกอาเซียน เมื่อ วั น ที่ 23 กรกฎาคม 2540 พร้ อ มๆ กั บ ประเทศลาว BLPD NEWSLETTER

ท่ามกลางคาวิพากษ์วิจารณ์จากรัฐบาลของประเทศในซีก โลกตะวันตก ซึ่งในขณะนั้นประเทศพม่ายังคงมีปัญหาทาง การเมื อ งและมี ก ารละเมิ ด สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนอยู่ สู ง โดยในปี พ.ศ.2533 รัฐ บาลประเทศพม่าได้จัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่ง พรรคฝ่ายค้านนาโดยนางอองซานซูจี ชนะการเลือกตั้งท่วม ท้นถึง 80% แต่รัฐบาลทหารพม่า ภายใต้การนาของ นาย พลซอ หม่อง ในนามของ "สภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ " หรื อ "สลอร์ ค " (The State Law and Order Pestoration Council ; SLORC) ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ทาให้ ประชาชนต่อต้านและเกิดเหตุการณ์จลาจลเพื่อเรียกร้อง ประชาธิปไตย รัฐบาลทหารจึงปราบปรามผู้ประท้วงอย่าง รุนแรง ประชาชนเสียชีวิตหลายพันคน และยังคงกักตัวนาง อองซานซูจีไว้ในบ้านพัก และปกครองประชาชนชาวพม่า อย่างกดขี่ ไร้สิทธิเสรีภาพ เหตุการณ์นี้เป็นที่สนใจของทั่ว โลก และรัฐบาลทหารพม่าได้ถูกประณามจากสหประชาชาติ และกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ ดังนั้น เมื่อถึงเวลาที่พม่าเข้า ร่วมเป็นสมาชิกอาเซียน จึงทาให้หลายประเทศมหาอานาจ อ่านต่อหน้าที่ 8 ปี ที่ 6 ฉ บั บ ที่ 6 4 เ ดื อ น กุ ม ภ า พั น ธ์ 2 5 5 7 | 7


ฝ่ายตะวัน ตก อาทิ สหรั ฐ อังกฤษ ออสเตรเลี ย และกลุ่ ม ประเทศสหภาพยุโรป คัดค้านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ พม่า โดยแสดงความเห็นว่า “อาเซียนยังไม่ควรรับพม่าเข้า เป็นสมาชิกจนกว่าสภาพทางการเมืองและการละเมิดสิทธิ มนุษยชนในพม่าจะดีขึ้น” แต่อย่างไรก็ตาม อาเซียนยังคงยืนยันที่จะรับพม่า ในช่วงระยะเวลาที่กาหนดไว้ โดยมีประเทศที่เป็นหัวหอก สาคัญในการสนับสนุน ให้พม่าเข้าเป็ นสมาชิกอาเซียน คือ มาเลเซี ย ในสมั ย อดี ต นายกรั ฐ มนตรี มหาเธี ย ร์ และ อิ น โดนี เ ซี ย ในสมั ย อดี ต ประธานาธิ บ ดี ซู ฮ าร์ โ ต เหตุ ผ ล ส าคั ญ ในการที่ ป ระเทศสมาชิ ก อาเซี ย นน ามาอ้ า งเพื่ อ สนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของพม่า คือ 1) ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และความต้องการสร้างเอกภาพ ของประเทศอาเซียน เนื่ อ งจากประเทศพม่ า ตั้ ง อยู่ ใ นภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวันออกเฉียงใต้เหมือนกัน จึงสมควรรับเข้ามาเป็นสมาชิก อาเซีย น ซึ่ง จะมี ผ ลทาให้ ส มาคมอาเซี ย นมี ขนาดใหญ่ขึ้ น และมี อ านาจต่ อ รองและอิ ท ธิ พ ลในเวที ก ารเมื อ งและ เศรษฐกิจระหว่างประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการส่ง สั ญ ญาณให้ ป ระชาคมระหว่ า งประเทศเห็ น ว่ า ประเทศ สมาชิกอาเซียนมีความเป็ น ปึกแผ่น เป็น อิสระ มีอธิปไตย ของตนเอง และไม่ อ ยู่ ภ ายใต้ ก ารชี้ น าของกลุ่ ม ประเทศ มหาอานาจฝ่ายตะวันตก 2) ปัจจัยทางยุทธศาสตร์ของอาเซียน การรั บ พม่ า เข้ า เป็ น สมาชิ ก สมาคมอาเซี ย นได้ สนับสนุนเหตุผลทางยุทธศาสตร์ของอาเซียนที่มีความวิตก กัง วลต่ อ การแผ่ อิ ทธิ พ ลในด้ านต่ างๆ ของจี น ที่ นั บวั น ได้ เพิ่มขึ้นในภูมิภาคอาเซียน โดยในปี พ.ศ. 2531 พม่าและจีน ได้มีความสั มพัน ธ์ทางการเมื องและเศรษฐกิจ ระหว่างกั น อย่างแนบแน่น สืบเนื่องจากพม่าถูกตัดความช่วยเหลือจาก นานาประเทศ เป็นผลให้พม่าต้องรับความช่วยเหลือจากจีน และพึ่งพาจีนอย่างเต็มที่ตั้งแต่นั้นมา ความใกล้ชิดระหว่าง 8 |BLPD NEWSLETTER

พม่ากับจีนได้ทาให้เกิดความกังวลใจกับอาเซียน เนื่องจาก ประเทศสมาชิกหลายประเทศทั้งมาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ มีประเด็นปัญหากับจีนในกรณีการอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะส แปรตลีย์ ดังนั้น การรับพม่าเข้ามาในสมาคมอาเซียนจึงถือ ได้ว่าเป็นการช่วยลดภาวะการพึ่งพาที่พม่ามีต่อจีน และลด อิทธิพลของจีนในพม่าลงได้ 3) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพม่า การรับพม่าเข้ามาเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียน ซึ่งถือ ได้ว่าเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียง มีภาพลักษณ์ และเป็นที่ยอมรับ นับถือของประชาคมระหว่างประเทศ กรอบของอาเซียนจะ มี ผ ลท าให้ พ ม่ า ต้ อ งปรั บ ตั ว และนโยบายของพม่ า ให้ สอดคล้องกับนโยบาย หลักปฏิบัติ และประเพณีค่านิยมของ สมาคมอาเซียนเอง ในทางกลับกัน หากมองในมุมมองของพม่าต่อการ เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนนั้น จะพบว่ามีหลายปัจจัยที่ผลักดัน ให้พม่าเข้าร่วมสมาชิกอาเซียน กล่าวคือ พม่าต้องการสร้าง ความสั ม พั น ธ์ ที่ ดี ต่ อ ประเทศในภู มิ ภ าค และได้ รั บ การ ยอมรับจากประชาชนภายในประเทศของรัฐบาลทหารพม่า เพื่ อ ลดความนิ ย มของอองซาน ซู จี และพรรคสั น นิ บ าต แห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย นอกจากนี้ พม่ายังมีความกังวล ใจเกี่ยวกับภัยคุกคามทางเศรษฐกิจของประเทศอินเดียที่ได้ เข้าไปลงทุนในประเทศพม่าเป็นจานวนมาก และประเทศจีน ที่ เ ริ่ ม มี บ ทบาทเพิ่ ม มากขึ้ น ในพม่ า จนพม่ า ไม่ ส ามารถ ควบคุ ม จี น ได้ อี ก ต่ อ ไป เนื่ อ งจากพื้ น ที่ ฝั่ ง ตะวั น ออกของ แม่น้าสาละวินเกือบทั้งหมดอยู่ภายใต้อิทธิพลจีน อีกทั้งที่ พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ชนกลุ่มน้อยที่รัฐบาลทหารพม่ายังเข้า ไปไม่ได้ ประเด็นสาคัญก็คือ พื้นที่ที่จีนเข้าไปครอบครองนั้น เป็นประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า ซึ่งอิทธิพลจีน ตรงนี้จะทาให้พม่าต้องหันมาจับมือกับอาเซียนและมองว่า อาเซี ย นเป็ น ทางออกในการเจรจากั บ จี น ยิ่ ง กว่ า นั้ น ใน ความสั ม พั น ธ์ กั บ องค์ ก รอาเซี ย นภายใต้ น โยบาย “ไม่ แทรกแซงกิจการภายใน” เป็นเหตุผลที่จูงใจให้พม่าเปิดตัว เข้าสัมพันธ์กับอาเซียนมากขึ้น อ่านต่อหน้าที่ 9

ปี ที่ 6 ฉ บั บ ที่ 6 4 เ ดื อ น กุ ม ภ า พั น ธ์ 2 5 5 7


บทบาทของพม่าในอาเซียน พม่าเป็ น ประเทศที่ มีความส าคัญประเทศหนึ่งใน ภูมิภ าคเอเชีย ตะวันออกเฉีย งใต้ ไม่ว่าจะเป็น ความส าคัญ ทางด้านภูมิศาสตร์ที่มีพรมแดนเป็นประตูเชื่อมโยงจีนและ อินเดีย ทั้งยังเป็น ประตูห รื อทางออกไปสู่ ตะวัน ออกกลาง และยุ โ รป ดั ง นั้ น สภาพทางภู มิ ศ าสตร์ ข องพม่ า จึ ง มี ความสาคัญในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นยุคที่โลกไร้พรมแดน เนื่องจากพม่าสามารถเป็นทางผ่านของวัตถุดิบและสินค้า ร ะ ห ว่ า ง ภู มิ ภ า ค ไ ด้ เ ป็ น อ ย่ า ง ดี น อ ก จ า ก นี้ ยั ง มี ทรัพยากรธรรมชาติโ ดยเฉพาะด้านพลังงานอันเป็นปัจจัย สาคัญของยุคอุตสาหกรรม เป็นตลาดสินค้าประเภทอุปโภค บริโภค ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกของประเทศในภูมิภาค อีกทั้ง พม่ า มี แ รงงานขั้ น ต่ าราคาถู ก สิ่ ง เหล่ า นี้ ไ ด้ ท าให้ พ ม่ า มี บทบาทสาคัญ เป็นที่ต้องการของกลุ่มประเทศอาเซียนใน การชักชวนให้เข้าเป็นสมาชิก ด้ า นบทบาทการเป็ น ประธานอาเซี ย น ในปี พ.ศ.2549 ประเทศพม่าได้ถูกกดดันจากสหรัฐอเมริกาและ สหภาพยุ โ รปให้ ถ อนตั ว จากการเป็ น ประธานอาเซี ย น เนื่องจากมีการต่อต้านและวิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับปัญหา สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนและประชาธิ ป ไตยในพม่ า จนท้ า ยที่ สุ ด ประเทศพม่าต้องยอมถอนตัวจากประธานอาเซียนในครั้งนั้น และไม่ได้เป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน ประจาปี 2549 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในพม่าเริ่มคลี่คลายมากขึ้น หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปของพม่าในปี พ.ศ.2553 ได้ทาให้ เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ของพม่า โดย ถือเป็ น จุ ด สิ้ น สุ ด รั ฐ บาลเผด็จ การทหารและได้ รั ฐ บาลพล เรือนชุดใหม่ อีกทั้งพม่ายังมีการปล่อยนักโทษการเมือง และ แสดงท่าทีในการสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในพม่า เป็น ผลทาให้สถานะของพม่าในสายตาของประชาคมโลกดีขึ้น จนท าให้ น ายนู ซ าดั ว คณะรั ฐ มนตรี ช าติ ส มาชิ ก อาเซี ย น ประกาศว่ า อาเซี ย นจะรั บ รองพม่ า ในการเป็ น ประธาน สมาคมอาเซียน ประจาปี 2557 ถือเป็นแรงสนับสนุนให้กับ BLPD NEWSLETTER

รัฐบาลใหม่ของพม่า หลังพยายามปฏิรูปประเทศในช่วงที่ ผ่านมา อีกทั้ง นายอานิฟะห์ อามาน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาเลเซีย ยังได้กล่ าวต่อผู้ สื่ อข่าวในการประชุมอาเซียนที่ เกาะบาหลีว่า “บรรดาประเทศสมาชิกต่างเห็นตรงกันว่าจะ ให้พม่าเป็นประธานอาเซียนปี 2557 หลังจากที่พม่าดาเนิน แนวทางอย่างสร้างสรรค์ในการปฏิรูปประชาธิปไตย และ ควรสนับสนุนด้วยการให้พม่าได้เป็นประธานอาเซียน” ประธานอาเซียนพม่าจะต่างออกจากกัมพูชาหรือ บรูไน เนื่องจากพม่าต้องการใช้ตาแหน่งนี้ เพิ่มความชอบ ธรรมและเพิ่มบทบาทในเวทีภูมิภาค อย่าลืมว่ารัฐบาลพม่ามี การเปลี่ยนแปลงเพียงสองปีที่ผ่านมาเท่านั้น ต้องยอมรับว่า พม่ า ได้ รั บ คะแนนสู ง มากในการปฏิ รู ป เศรษฐกิ จ และ การเมือง ถึงแม้นว่ายังมีปัญหารากเหง้าอยู่ โดยเฉพาะเรื่อง การปรองดองกับชนกลุ่มน้อย ซึ่งรัฐบาลให้ความสาคัญเป็น อันดับหนึ่ง เชื่อว่าสัญญายุติการสู้รบจะสาเร็จภายในเดือน สองเดือนข้างหน้า เมื่อหันมาดูประเทศไทย รู้สึกว่าเราเสียเวลาที่มีค่า ที่ได้ผ่ านมาเป็นเวลา 50 กว่าปี โดยไม่มีคู่แข่ง ขณะนี้ทุก ประเทศในอาเซียนมีโอกาสเท่ากันหมด ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่ มีการกีดกันทางเศรษฐกิจและการเมือง... เอกสารอ้างอิง 1. กวี จงกิจถาวร. พม่ากับบทบาทประธานอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2557 จาก http://www.komchadluek.net/ detail/20131203/174060.html 2. 2. ไอเอ็นเอ็น. อาเซียนรับพม่าเป็นประธานอาเซียน ปี 2014. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2557 จาก http://aec.kapook.com/view49542.html 3. แพรภัทร. บทบาทของประเทศพม่ากับอาเซียน. สืบค้น เมื่อ 30 มกราคม 2557 จาก http://www.gotoknow.org/posts/501048

ปี ที่ 6 ฉ บั บ ที่ 6 4 เ ดื อ น กุ ม ภ า พั น ธ์ 2 5 5 7 | 9


MSDS แตกต่างจาก SDS อย่างไร ปวีณา เครือนิล paweena@dss.go.th

Material Safety Data Sheet หรื อ MSDS หรื อ ที่ เ รี ย กกั น ในปั จ จุ บั น ว่ า Safety Data Sheet หรือ SDS เป็นเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของวัตถุอันตราย ที่แสดงข้อมูลเฉพาะของสารเคมีหรือของผสมต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้สารเคมีมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสารเคมี และสามารถจัดการสารเคมีอันตรายต่างๆ เหล่านั้นได้ อย่างถูกต้องและปลอดภัย เป็นการช่วยลดอุบัติเหตุจากสารเคมีที่อาจจะเกิดขึ้นได้ SDS เป็นชื่อของเอกสารข้อมูลความปลอดภัยที่กาหนดตามระบบการจาแนกประเภทและการติดฉลาก สารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก หรือ Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals หรือ GHS เนื่องจากในอดีตเอกสาร MSDS ที่ใช้หรือคุ้นหูกันนั้นมาจากแหล่งต่างๆ ซึ่งมีชื่อเรียกที่ แตกต่างกัน ตลอดจนมีข้อมูลและรูปแบบที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น องค์การต่างๆ เช่น ILO, UNCED และอีก หลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เรียกเอกสารนี้ว่า Material Safety Data Sheet (MSDS) กลุ่ม สหภาพยุโรป (EU) เรียก Safety Data Sheet (SDS) ขณะที่ประเทศมาเลเซีย เรียก Chemical Safety Data Sheet (CSDS) ตัวอย่างชื่อเรียกและข้อมูลของเอกสารข้อมูลความปลอดภัยขององค์กรและประเทศต่างๆ ดังนี้ พ.ศ.

องค์กร/ประเทศ

ชื่อเรียกเอกสารข้อมูลความปลอดภัย

จ้านวนห้วข้อ

2489

CMA (USA)

SD

3

2526

OSHA (USA)

MSDS

8

2531

ประเทศแคนาดา

SDS

9

2534

สหภาพยุโรป (EU)

SDS

16

2545

สหประชาชาติ (UN)

SDS

16

2549

สหภาพยุโรป (EU)

SDS + Exposure scenario

16

10 |BLPD NEWSLETTER

ปี ที่ 6 ฉ บั บ ที่ 6 4 เ ดื อ น กุ ม ภ า พั น ธ์ 2 5 5 7


สาหรับประเทศไทยเองก็ปรับเปลี่ยนมาใช้ชื่อ SDS ตามระบบสากล ซึ่งเป็นไปตามประกาศกระทรวง อุตสาหกรรม เรื่อง ระบบการจาแนกและการสื่อสารความเป็นอันตรายของวัตถุอันตราย พ.ศ. 2555 ในราชกิจจา นุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษ 48 ง หน้า 15 วันที่ 12 มีนาคม 2555 โดยให้ข้อกาหนดในประกาศดังกล่าวอ้างอิง ต า ม Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS), third revised edition, UNITED NATIONS, New York and Geneva, 2009 ให้ SDS ประกอบด้วย 16 หัวข้อ ได้แก่ 1. การบ่งชี้สารเดี่ยวหรือสารผสม และผู้ผลิต (Identification of the substance or mixture and of the supplier) 2. การบ่งชี้ความเป็นอันตราย (Hazards identification) 3. องค์ประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม (Composition / information on ingredients) 4. มาตรการปฐมพยาบาล (First-aid measures) 5. มาตรการผจญเพลิง (Fire-fighting measures) 6. มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหลของสาร (Accidental release measures) 7. การขนถ่าย เคลื่อนย้าย ใช้งาน และเก็บรักษา (Handling and storage) 8. การควบคุมการรับ สัมผัสและการป้องกันส่วนบุคคล (Exposure controls/personal protection) 9. คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี (Physical and chemical properties) 10. ความเสถียรและการเกิดปฏิกิริยา (Stability and reactivity) 11. ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological information) 12. ข้อมูลด้านนิเวศวิทยา (Ecological information) 13. ข้อพิจารณาในการกาจัด (Disposal considerations) 14. ข้อมูลการขนส่ง (Transport information) 15. ข้อมูลด้านกฎข้อบังคับ (Regulatory information) 16. ข้อมูลอื่นๆ รวมทั้งข้อมูลการจัดทาและการปรับปรุงแก้ไขเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Other information)

BLPD NEWSLETTER

ปี ที่ 6 ฉ บั บ ที่ 6 4 เ ดื อ น กุ ม ภ า พั น ธ์ 2 5 5 7 | 1 1


สานักพัฒนาศักยภาพ นักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ 75/7 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 Phone: 0 2201 7425 Fax: 0 2201 7429 E-mail: blpd@dss.go.th

ที่ปรึกษา ดร. จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ นายอนุสิทธิ์ สุขม่วง บรรณาธิการ นางสาวปัทมา นพรัตน์ กองบรรณาธิการ นางชุติมา วิไลพันธ์ นางอารีย์ คชฤทธิ์

โปรดส่งข้อคิดเห็น ค้าแนะน้าหรือค้าถามที่ blpd@dss.go.th โทร. 02-2017425 โทรสาร 02-2017429 หากต้องการยกเลิกการรับข่าวสาร กรุณาแจ้งที่ blpd@dss.go.th ข้อมูลเพิ่มเติม http://blpd.dss.go.th/


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.