สรุปกระบวนการประชาเสวนาหาทางออก

Page 1

สรุปกระบวนการประชาเสวนาหาทางออก เรื่อง สิทธิชุมชนรอบโรงไฟฟ้าและโรงสีเมืองร้อยเอ็ด วันที่ 27 - 29 พฤศจิกายน 2554ณ อาเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด วันที่ 27 พฤศจิกายน 2554 (การประชุมเตรียมการกับทีมงานในพื้นที่) ผู้เข้าประชุม 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.

ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ดร.ถวิลวดี บุรีกุล น.ส.ปัทมา สูบกาปัง นายสติธร ธนานิธิโชติ น.ส.นิตยา โพธิ์นอก น.ส.ดวงจันทร์ ศิริรักษ์โสภณ นายศรายุทธ อันทะไชย์

นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันพระปกเกล้า ผู้อานวยการสานักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า นักวิชาการผู้ชานาญการ สถาบันพระปกเกล้า นักวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า นักวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า พนักงานบริหารโครงการ สถาบันพระปกเกล้า สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง จ.ร้อยเอ็ด

การประชุมเพื่อเตรียมการเริ่มขึน้ เวลา 15.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานจานวนผู้เข้าร่วม การประชาเสวนาครั้งนี้มีทั้งหมด 78 ท่าน กว่า 30 คนเป็นผู้ใหญ่บ้าน กานัน และตัวแทนภาคประชาชน ภาคส่วนรองลงมา คือ ส่วนราชการในพื้นที่ประมาณ 15 คน หน่วยราชการส่วนกลาง 8 คน สถาบัน พระปกเกล้า 6 คน รวมทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน จากนั้น ทีมงาน (ผู้เข้าประชุม) จึงร่วมกันปรับกระบวนการอีกครั้ง ซึ่งกระบวนการที่จะจัดขึ้นใน วันที่ 28 เริ่มต้นด้วยการกล่าวเปิดโดยรองผู้ว่าราชการจังหวัด จากนั้นเป็นการแนะนาสถาบัน ต่อมา ศ. นพ.วั น ชั ย จะบรรยายกระบวนการประชาเสวนาให้ ผู้ เ ข้ า ร่ ว มประชาเสวนาได้ เ ข้ า ใจเกี่ ย วกั บ กระบวนการโดยการดูวีดิโอที่เป็นกรณีศึกษาของจังหวัดระยอง และกว๊านพะเยา จากนั้น ในช่วงบ่าย เป็นกระบวนการให้ค้นหาวิสัยทัศน์ ซึ่งวิทยากรจะให้ผู้เข้าร่วมทุกท่านศึกษาโจทย์ เป็นโจทย์กรณีศึกษา เกี่ยวกับการเลือกที่จะช่วยเหลือผู้ติดเกาะและให้เหตุผลของตนเอง จากนั้นเป็นการแบ่งกลุ่มย่อยและ ให้ทุกคนแสดงเหตุผลในการเลือกนั้น หลังจากทีท่ ุกคนแสดงความคิดเห็นในกลุ่มย่อยแล้วก็รวมเข้าเป็น กลุ่มใหญ่เพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโจทย์ซึ่งกลุ่มและตนเองตัดสินใจเลือกพร้อมให้เหตุผล ซึ่งหาก เวลาไม่เพียงพอก็อาจให้เฉพาะตัวแทนกลุ่มนาเสนอผลและเหตุผลของกลุ่ม แทนการนาเสนอทุกคน จากนั้นจะให้ทุกคนใช้สติ๊กเกอร์เลือกคาตอบที่ตนเองเห็นด้วย ซึ่งอาจมีบางคนเปลี่ยนใจก็ได้

~1~


กระบวนการต่อมา วิทยากรจะให้ผู้เข้าร่วมทุกคนวางจุดยืนร่วมกันแล้วกาหนดโจทย์แยกกลุ่ม โดยมีหลักว่าจะทาอะไร ใครทา อย่างไร และมีการติดตามเมื่อไหร่ หลังจากที่มีการกาหนดวิสัยทัศน์ ของพื้นที่ เช่น อาจมี 3 วิสัยทัศน์ที่ไม่ซ้ากัน คือ สวยงาม การใช้ประโยชน์ การมีส่วนร่วม การกาหนด โจทย์ที่มีประเด็น “อย่างไร” นั้นจาเป็นต้องมีเพราะเป็นเรื่องของกระบวนการซึ่ง มีความสาคัญ เพื่อที่ว่า หลังจากเวทีประชาเสวนาครั้งนี้แล้ว คุณศรายุทธจะสามารถนาพาให้เกิดการขับเคลื่อนของพลเมืองได้ ซึ่งทางสถาบันจะมีการสนับสนุนงบประมาณ และเจ้าหน้าที่สถาบันจะลงพื้นที่เพื่อติดตามการทางาน ของคณะกรรมการจากบันทึกข้อตกลง แล้วอาจมีการจัดเวทีใหญ่อีกครั้งหนึ่ง สาหรับการเข้าร่วมของหน่วยราชการส่วนกลางที่ เข้ามาร่วมนั้น ทางสถาบันได้ เชิญหน่วยงาน ส่วนกลาง ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ยุติธรรมจังหวัด กรมพัฒนาพลังงานทดแทน กรมคุ้มครอง สิทธิและเสรีภาพ ในส่วนคนในพื้นที่ตามที่ตอบรับมาส่วนใหญ่รู้จักกัน อยู่แล้วเพราะมีกิจกรรมให้ต้อง พบกันหลายครั้ง การเข้าพบโรงงาน หลังจากประชุมหัวหน้าทีมงานในพื้นที่แล้ว เจ้าหน้าที่สถาบันได้เดินทางไปสมทบกับผู้ร่วมทีม ท่านอื่นเพื่อเข้าพบผู้บริหารโรงงาน ในเวลา 16.00 น. โดยผู้นาชุมชนได้พาทีมงานสถาบันพระปกเกล้า เข้าไปสารวจโรงงาน บริษัท ร้อยเอ็ดกรีน จากัด เฉพาะบริเวณส่วนหน้าโรงงาน จากนั้นได้ ร่วมกันเดิน ทางเข้าไปในโรงงาน ของบริษัท บัวสมหมาย จากัด เพื่อเข้าพบประธานผู้บริหาร และผู้จัดการ บ.บัว สมหมาย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม 5 ท่าน และผู้ร่วมทีมที่เป็นผู้นาชุมชน 5 ท่าน ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการเข้าพบผู้บริหารโรงงานครั้ง นี้ เกิดขึ้นเนื่องด้วย สถาบันพระปกเกล้ามี โครงการเสริมสร้างพลังงานทางกฎหมายแก่ ภาคประชาชน ซึ่ งได้มีการจัดที่ จังหวัดน่าน นครศรีธรรมราช และจังหวัดพะเยามาแล้ว และสถาบันพระปกเกล้าก็มองว่าในภาคอีสาน น่าจะได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพระปกเกล้ าเพื่อให้พื้นที่มีการเสริมพลังทางกฎหมายแก่ภาค ประชาชน และเวทีประชาเสวนาถือเป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการ ศ.นพ.วั น ชั ย วั ฒ นศั พ ท์ ชี้ แ จงโครงการว่ า ปั ญ หาที่ พื้ น ที่ ร้ อ ยเอ็ ด ประสบอยู่ นี้ เ ป็ น ปั ญ หา ระดับประเทศ เพราะที่ใดๆก็ประสบปัญหาเหมือนกัน ที่เมื่อเกิดปัญหาแล้วไม่มีการพูดคุยกันอย่างสันติ ซึ่งลักษณะปัญหาเหล่านี้ ศ.นพ.วันชัย ได้เคยเข้าไปมีส่วนช่วยให้เกิดการแก้ไขปัญหาเช่นที่จังหวัด ระยอง ซึ่งทุกครั้งก่อนเข้าไปจะมีการพูดคุยกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ก่อน เช่น ภาคธุรกิจ ภาค NGOs ดังนั้น จึงเชิญหน่วยงานส่วนกลางอย่างกรมโรงงานเข้ามาเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

~2~


กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้จะเข้ามาช่วยเสริมให้ คนในพื้นที่ได้มีทางออกของปัญหาร่วมกัน เจ้าหน้าทีก่ รมโรงงานอุตสาหกรรมชี้แจงว่า ขณะนี้ได้จัดทาแผนงบประมาณเกี่ยวกับเรื่องการมี ส่วนร่วม และได้ทราบว่าสถาบันพระปกเกล้าจะจัดเวทีประชาเสวนา จึงเห็นว่าเป็นประโยชน์และจะ นาไปศึกษาต่อเพื่อดาเนินการตามแผนที่วางไว้ ซึ่งแนวทางตามที่กรมโรงงานทานี้ ศ.นพ.วันชัยมองว่า เป็นสิ่งที่ดี และกรมโรงงานน่าจะได้ไปศึกษาในพื้นที่ระยอง ซึ่งกาลังจะมีการทาโครงการ Hedley index หลังจากการเข้าพบผู้บริหารโรงงาน ทีมงานสถาบันพระปกเกล้าได้กลับมายังที่พักเพื่อเตรียม สถานที่จัดกิจกรรมวันที่ 28 สรุปบทเรียน 1. กิจกรรมเตรียมการในวันนี้มีการประสานจากหลายภาคส่วนทั้งหน่วยงานส่วนกลาง ตัวแทนชุมชนในพื้นที่ และภาคเอกชน รวมทั้งการนัดหมายกับภาคเอกชนยังได้รับการตอบรับภายใน วันเดียวกัน ดังนั้น จึงต้องมีการปรับกาหนดการกะทันหัน การประสานงานจึงต้องมีความคล่องตัว และ ลาดับความสาคัญของงานและปรับกาหนดการอยู่ตลอดเวลา และการปรับกาหนดการนี้อาจจะต้องมี การขอความคิดเห็นจากทีมงานเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ 2. การเข้าพบโรงงานอุตสาหกรรมครั้งนี้ ทีมวิจัยได้ มีโอกาสเข้าไปสารวจสภาพแวดล้อม ส่วนหน้าโรงงานร้อยเอ็ดกรีน เนื่องจากผู้นาชุมชนซึ่งมีความคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่โรงงานนาเข้าชม แม้ จะไม่ได้เข้าพบผู้บริหารของโรงงาน (เป็นวันหยุดของโรงงานและโรงงานไม่ได้ตอบรับ) แต่ทีมงานก็ได้ เรียนรู้สภาพแวดล้อมโรงงานบางส่วนจากสถานที่จริงและจากคาบอกเล่าของผู้นาชุมชนที่นาทีมงาน เข้าไปสารวจ 3. การทาวิจัยและกระบวนการประชาเสวนา ผู้วิจัยและผู้จัดกระบวนการจะต้องมีความ เป็นกลางสูง เพราะกระบวนการประชาเสวนาต้องการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและต้อ งสร้าง ความไว้ ว างใจให้ เ กิ ด ขึ้ น เสี ย ก่ อ น ดั ง นั้ น การเข้ า พบกั บ ภาคส่ ว นใดในครั้ ง แรกๆ ที ม งานจึ ง ต้ อ ง ระมัดระวังในเรื่องการสานสัมพันธไมตรี เช่น เมื่อได้รับเชิญรับประทานอาหารจากโรงงานอุตสาหกรรม อาจปฏิเสธอย่างนิ่มนวลไว้ก่อนแต่ไม่ตัดความสัมพันธ์ทั้งหมด เป็นต้น

~3~


วันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 พิธีเปิด ดร.ถวิลวดี บุรีกุล กล่าวรายงานในพิธีเปิดถึงวัตถุประสงค์โครงการ แนวทางของการประชา เสวนาในเบื้องต้น จานวนผู้เข้าประชุมซึ่งตอบรับจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้นรวม 72 ท่าน และเรียน เชิญรองผู้ว่าราชการจังหวัด นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ กล่าวเปิดการประชาเสวนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าวเปิดการประชาเสวนา โดยมีสาระสาคัญว่าผู้ ที่มาเข้าร่วมครั้งนี้ เป็ น ผู้ แ ทนจากทุ ก ภาคส่ ว นมาช่ ว ยกั น หาทางออกเพื่ อ ให้ ทุ ก คนยอมรั บ และสามารถปฏิ บั ติ ไ ด้ กระบวนการประชาเสวนานี้น่าจะเป็นกระบวนการที่สังคมไทยน่าจะนาไปใช้ได้ในหลายประเด็นทั้ง ความแตกต่างทางการเมือง และโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่ อให้ประชาชนได้ เข้าไปมีส่วนร่วมซึ่งช่วยสร้างความสมดุล ลดความแตกต่าง ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและ สังคมโดยรวม และคิดว่ากระบวนการนี้น่าจะช่วยให้พื้นที่อาเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดได้พัฒนาไปอย่าง เหมาะสม โดยมีทีมงานสถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้ชี้แนะและให้คาปรึกษา ดร.ถวิ ล วดี บุ รี กุ ล กล่ า วแนะน าที ม งานและบทบาทของส านั ก วิ จั ย และพั ฒ นา สถาบั น พระปกเกล้ า ที่มี บทบาทหลั กในการทางานวิจั ย สาหรับการประชาเสวนาในจัง หวัดร้อยเอ็ดครั้ง นี้ เกิดขึ้นเนื่องจากว่าพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดมีผู้ประสานงานภาคพลเมืองที่เข้มแข็ง นาเข้าสู่กระบวนการ หลังจากนั้นเป็นการเริ่มกระบวนการประชาเสวนาโดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ได้เสนอวิดีโอ เกี่ยวกับการจัดเวทีประชาเสวนาที่จังหวัดระยอง ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวมีความขัดแย้งระหว่างโรงงาน อุตสาหกรรมและชุมชนรอบโรงงาน โดยหลายหน่วยงานพยายามหาแนวทางแก้ปัญหา และสถาบัน พระปกเกล้าเป็นหน่วยงานหนึ่งที่นากระบวนการประชาเสวนาหาทางออกสู่อารยะอุตสาหกรรมมาใช้ กระบวนการนี้เป็นทาให้ตัวแทนโรงงานและชุมชนมาพูดคุยหาทางออกร่วมกัน เพราะชาวบ้านไม่ได้ ต่อต้านโรงงาน เพียงแต่ว่ามีโรงงานแล้วต้องควบคุมผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งชาวบ้านมองว่า หลังจาก มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแล้ว ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลดลง วางกติกาเวทีประชาเสวนา วิทยากรได้ร่วมกันวางกติกากับผู้เข้าร่วมการสานเสวนา ดังนี้ 1. หากวิทยากรหรือใครก็ตามพูดไม่ชัดเจน ให้ยกมือและสอบถามทันที หรือยกมือแสดงความ ไม่เห็นด้วยแสดงความคิดเห็นต่างกันได้ ~4~


2. ฟังอย่างตั้งใจ แสดงออกได้โดยการมองตาและมองตรงๆ พยักหน้าและน้าเสียงแสดงการ รับรู้และเข้าใจ 3. เมื่อคนหนึ่งพูด คนที่เหลือต้องฟัง เพราะการพูดระหว่างที่ผู้อื่นพูดจะทาให้ไม่ฟังซึ่งกันและ กัน 4. งดคุยโทรศัพท์ หากมีธุระจาเป็นให้คุยโทรศัพท์นอกห้องประชุม ความคาดหวังและความไว้วางใจ วิทยากรบรรยายความคาดหวัง กับความไว้วางใจ สาระสาคัญคือ หากพฤติกรรมที่ตรงกับ ความคาดหวังหรือดีเกินกว่าความคาดหวังจะทาให้เกิดความไว้วางใจ หากเมื่อใดพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ต่ากว่าความคาดหวังจะทาให้เกิดความไม่ไว้วางใจ เช่น กรณีซื้อรถใหม่แต่สตาร์ทไม่ติดถือเป็นเรื่องที่ ไม่คาดหวังให้เกิดขึ้น เมื่อไปร้องเรียนยังผู้ขาย ก็กลับไม่แก้ปัญหาให้และโทษว่าเป็นโชคร้ายของผู้ซื้อ เช่ นนี้ ย่อมทาให้เ กิ ดความไม่ ไ ว้ วางใจกับ บริษั ทที่ผ ลิตและขายรถจนไม่ ซื้ อ รถยี่ ห้อดั ง กล่ าวอี กเลย อย่างไรก็ตาม บางพฤติกรรมที่เ กินกว่าความคาดหวังก็ทาให้เกิดความไม่ไว้วางใจได้ เช่น สามีซื้ อ ของขวัญให้ภรรยาในวันเกิด ทั้งที่ปีก่อนหน้านี้ไม่เคยซื้อให้เลย ภรรยาก็อาจเกิดความไม่ไว้วางใจเพราะ เกรงว่าสามีจะมีเจตนาแอบแฝง นอกจากนี้ เมื่อมนุษย์มีความคาดหวังที่ต่างกันยังทาให้มีความคิ ดเห็น ที่แตกต่างกัน ส่วนความกลัวนั้นหลายคนมักมองว่าเป็นสิ่งไม่ดี ทุกคนมีพื้นฐานที่ต่างกัน ทาให้มีการ แสดงออกและความคิดที่แตกต่างกัน จึงไม่ควรตัดสินว่าใครเป็นอย่างไร แต่ควรพยายามทาความ เข้าใจผู้อื่นมากกว่า หัวใจของการสานเสวนา คือ ผู้เข้าร่วมสานเสวนาเป็นผู้แสดงความคิดเห็นและ ตัดสิน คนกลางเป็นเพียงผู้ช่วยให้กระบวนการดาเนินการต่อไปได้ ไม่ใช่ผู้ตัดสิน การมีส่วนร่วมหาทางออก การพั ฒ นาแบบมี ส่ ว นร่ ว ม เป็ น การพั ฒ นาโดยทุ ก ภาคส่ ว นหั น หน้ า พู ด คุ ย กั น เมื่ อ มี ก าร ดาเนินการไปแล้ว ก็ควรมีโอกาสติดตามโดยภาคประชาชน ซึ่งจะไม่ทาให้เกิดปัญหาเพราะทุกฝ่ายรับรู้ ร่วมกัน เมื่อหันหน้ามาพูดคุยกัน ผู้ตัดสินจะเป็นผู้ มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังตัวอย่างเช่นความขัดแย้งใน เกาหลี ที่เกิดจากการเร่งพัฒนามากเกินไปจนเกิดความเสียหายและเกิดความขัดแย้ง ประธานาธิบดี เกาหลีจึงตัดสินใจใช้กระบวนการแก้ไขความขัดแย้งที่เรียกว่า CIA หรือการประชาเสวนาซึ่งจะมีการใช้ ฉันทามติ ในกรณี เ กี่ยวกับ NIMBY นั้น คือ การไม่ ยอมรับให้มี โครงการต่างๆใกล้บ้านของตน เช่ น โครงการสร้ า งโรงไฟฟ้ า สร้ า งที่ กั ก เก็ บ ขยะ เพราะการก่ อ สร้ า งโครงการเหล่ า นี้ มี ค วามเสี่ ย งต่ อ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีนี้ เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความเสี่ยง กล่าวคือ หากคนรู้สึกว่ามีความเสี่ยง ~5~


มากก็จะไม่ยอมรับ การจะทาให้รู้สึกว่าเสี่ยงน้อยจะต้องทาให้รู้สึกว่าเป็นไปโดยสมัครใจ มีความคุ้นเคย ควบคุมได้ ยุติธรรม ไม่น่าจดจา ไม่น่ากลัว ตรวจสอบได้ ต่อจากนั้น วิทยากรฉายวิดีโอเกี่ยวกับการเวทีสานเสวนาที่กว๊านพะเยาเพื่อแสดงให้เห็นว่า ชุมชนที่กว๊านพะเยามีวิธีการหาทางออกร่วมกันอย่างไร ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งทาง การเมืองระหว่างคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดงต่อก็ยังสามารถพูดคุยกันได้ ด้วยการใช้การสานเสวนา ทางออกหนึ่งของการประชาเสวนาหาทางออก คือ การให้อภัย ไม่นาอดีตมาพูดด่ากันแต่นาไป เป็นบทเรียนเพื่อจะได้ไม่เกิดความผิดพลาดซ้ารอย ดังเช่น ความร่วมมือของสหภาพยุโรปที่ในอดีตอาจ เคยสู้รบกันมาก่อน แต่ก็ทิ้งอดีตไว้ข้างหลังและเดินหน้าร่วมมือกันพัฒนาภูมิภาคร่วมกัน การหาฉันทามติ กระบวนการต่อไปเป็นกิจกรรมการหาฉันทามติ วิทยากรให้ผู้เข้าร่วมศึกษาโจทย์ นักท่องเที่ยว เกาะสวาทหาดสวรรค์ ดังนี้ เกาะสวาทหาดสวรรค์ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของฮาวาย มีเสียงเล่าลือกันว่าเป็นเกาะที่สวยงามมาก ถ้าใครได้ไปเที่ยวชมแล้วถือว่ามีบุญวาสนาไม่เสียชาติเกิด แต่ ณ เกาะแห่งนี้ไม่มีคนอาศัยอยู่เลย วัน หนึ่งมีนักท่องเที่ยว 7 คนได้เช่าเครื่องบินลาเล็กเพื่อเข้าไปเที่ยวชม ปรากฎว่าเครื่องบินลาดังกล่าวตก ลงไปในป่าลึกที่เกาะแห่งนี้ โดยไม่มีผู้ใดเสียชีวิต 7 วันต่อมาได้มีเครื่องบินลาหนึ่งบินผ่านมาและได้พบ สัญ ญาณที่นักท่องเที่ยวกลุ่ ม นี้ส่ง มาเพื่อขอความช่วยเหลือ นักบินจึ งนาเครื่องลงจอด ณ ที่แห่ง นี้ ปรากฎว่าเครื่องบินล านี้ส ามารถช่ วยเหลือนักท่องเที่ยวกลุ่ม นี้ไ ด้เพียง 1 คนเท่านั้น และอาหารที่ เหลืออยู่สามารถประทังชีวิตพวกเขาได้เพียง 7 วันเท่านั้น “ขอให้ท่านช่วยวิเคราะห์ด้วยเถอะว่าเครื่องบินลานี้ควรจะช่วยเหลือใครมากที่สุด” 1.สมสี ผู้หญิงท้องแก่ใกล้คลอด มีประวัติว่าคลอดยาก ต้องไปพบแพทย์อย่างสม่าเสมอ 2.สมชาย หมอผ่าตัดฝีมือดี เขาวางแผนว่าจะต้องเดินทางไปผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจให้กับเด็กที่ อเมริกาในเดือนหน้า 3.สมพิศ เด็กผู้หญิงวัยรุ่น กาพร้า จิตใจไม่มั่นคง 4.สมคิด เป็นรองประธานาธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้ประธานาธิบดีกาลังป่วยหนัก ต้องการให้สมคิดกลับประเทศด่วน 5.สมศักดิ์ เป็นคนแก่อายุ 87 ปี มีอาชีพขายอาหารทะเล ได้รับบาดเจ็บหลังหัก 6.สมหญิง เป็นนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ ซึ่งกาลังเป็นที่ต้องการตัวด่วนในประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้ ไปช่วยแก้ปัญหาเตาเผาที่กาลังจะระเบิดและเป็นอันตรายมาก 7.สมใจ เป็นลูกสาวของสมหญิง อายุ 3 ขวบ ~6~


จากนั้น วิทยากรให้เวลา 2 นาทีแก่ผู้เข้าร่วมประชาเสวนาว่าแต่ละคนจะช่วยใคร 1 ใน 7 คนนี้ แล้ววงชื่อลงไปในโจทย์นั้น หลังจากนั้น วิทยากรแบ่งกลุ่มโดยการให้ผู้อยู่ในวงกลมนับ 1 ถึง 6 เพื่อ แบ่งกลุ่มทั้งหมดเป็น 6 กลุ่ม แต่ละกลุ่มหาฉันทามติของกลุ่มในการเลือกที่จะช่วยเหลือใครคนใดคน หนึ่งในโจทย์ที่ได้มา โดยการแสดงเหตุผลของตัวเองในกลุ่มโดยห้ามยกมือโหวต ใช้เวลา 10 นาที เมื่อครบเวลาดังกล่าวแล้ว วิทยากรเชิญผู้เข้าร่วมเวทีกลับเข้ากลุ่มใหญ่ แม้กลุ่มจะยังหาฉันทา มติไม่เรียบร้อยก็ตามเพื่อเป็นการรักษาเวลาไว้ และวิทยากรได้ให้แต่ละคนแสดงความคิดเห็นในการ เลือกหรือบางคนจะไม่แสดงความคิดเห็นก็ได้ หลังจากที่ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและไม่แสดงความคิดเห็นแล้ ว วิทยากรได้ให้เจ้าหน้าที่ แจกสติ๊กเกอร์คนละ 1 ดวง เพื่อให้แต่ละคนตัดสินใจเลือกคนที่จะช่วย สรุปได้ว่ามีผู้เลือกทั้งหมด 42 คน แบ่งเป็นสมสี 1 คน สมคิด 1 คน สมศักดิ์ 7 คน สมหญิง 33 คน จากนั้น วิทยากรสรุปการเลือกว่า การเลื อกเช่ นนี้เ ป็นฉั นทามติ ไม่ ใช่เ อกฉัน ท์ เพราะเป็นการเลือกที่คนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเหตุผล ขณะเดียวกันก็มีคนที่เปลี่ยนใจในการเลือกหลังจากที่เข้ากลุ่มและร่วมรับฟังเหตุผลของคนอื่นๆ โดย วิทยากรนาเข้าสู่ความเข้าใจว่าการทาฉันทามติต่างจากการยกมือโหวต เพราะการทาฉันทามตินี้เป็น การให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองและยอมรับความคิดเห็นกัน และการให้ทุกคนไปติด สติก๊ เกอร์นั้นเป็นลดการเผชิญหน้าเพราะเหมือนกับการลงคะแนนลับ หากยกมือโหวตก็อาจจะเป็นการ สร้างความขัดแย้งเพิ่มขึ้นเพราะมองเห็นว่าใครเห็นด้วยไม่เห็นด้วยบ้างและทาให้มีการผูกใจเจ็บ ภาพชุมชนที่อยากเห็น วิทยากรได้แบ่งผู้เข้าร่วมเป็น 3 กลุ่มใหญ่ แบ่งเป็นกลุ่มที่มาจาก ต.เหนือเมือง 1 เหนือเมือง 2 และกลุ่มต่างตาบล จากนั้น ทุกกลุ่มช่วยกันวาดภาพหรือเขียนสิ่งที่ตนเองฝันอยากให้ตาบลเหนือเมือง เป็น โดยให้เวลากลุ่มละ 15 นาที โดยใช้อุปกรณ์ที่แจกให้ คือ กระดาษ flip chart กลุ่มละ 3 แผ่น ปากกาหัวตัด 4 สี สีละ 2 ด้าม กระดาษการ์ดสีบางส่วน หลังจากที่แต่ละกลุ่มได้วาดภาพชุมชนแล้ว ได้มีการนาเสนอ ดังนี้ กลุ่มแรก กลุ่มตาบลเหนือเมือง 1 กล่าวถึงสิ่งที่มีในชุมชนตาบลเหนือเมืองด้านทิศตะวันตกที่มี ป่าชุมชน มีห้างสรรพสินค้า มีที่กักเก็บขยะ ส่วนด้านทิศตะวันออกมี อบต.เหนือเมือง มีประปาหมู่บ้าน ส่วนภาพฝัน อยากให้มีการแก้ปัญหาเรื่องขยะ โรงไฟฟ้า และโรงสี อยากให้โรงงานเป็นโรงงานสีเขียว กลุ่มที่สอง กลุ่มตาบลเหนือเมือง 2 อยากเห็นชุมชนมีเศรษฐกิจที่ดี คือชุมชนมีอาชีพมีงานทาและรายได้จึงจะทาให้ชุมชน มีความสุข ซึ่งส่วนราชการควรจะให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ประการต่อมาอยากให้มีการทาระบบ ส่งน้าเพื่อส่งน้าและชาวบ้านทาเกษตรได้ อยากให้มีกองทุนในการพัฒนาที่เป็นระบบที่ไม่ขาดตอน ~7~


อยากให้มีสิ่งแวดล้อมและอากาศที่บริสุทธิ์ อยากให้ย้ายกองขยะไปอยู่ที่อื่น อยากให้ คนในตาบลเหนือเมืองหรือโรงงานปลูกต้นไม้ให้มากเพื่อช่วยลดมลพิษ อยากให้มีการแก้ไขและป้องกันปัญหาสังคม เรื่องยาเสพติด อยากให้ชุมชนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน อยากได้วัดที่เป็นวัดอย่างแท้จริง เป็นไปได้หากทุกคนช่วยกันสอดส่อง อยากเห็นความสามัคคี ไม่ใช่ว่าร่วมรับผลประโยชน์อย่างเดียว อยากได้สถานที่ออกกาลังกาย มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลบริหารจัดการอย่าสงเป็นระบบ อยากได้โรงเรียนที่ดี เพราะมีครูสอนดี อยากให้มีโรงเรียนซึ่งสอนคนไม่ดีเป็นคนดีได้ อยากให้มีถนนดี ฝนตกระบายน้าได้ กลุ่ม ต่างตาบล วาดภาพชุมชนที่อยากให้เป็น อันดับแรก คนร้อยเอ็ดต้องอยู่ดีมีสุข ต้องมี ความปลอดภัยทางสุขภาพ คือ กินอาหารที่เหมาะสมภายใต้หลักการเศรษฐกิจพอเพียง มีโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตาบลที่ต้องมีหมอเวรเพื่อช่วยคนเจ็บป่วยได้ในเบื้องต้น ถนนปลอดฝุ่นไม่เป็นหลุมบ่อ และไม่อยากให้มีกองขยะอยู่ที่ร้อยเอ็ด ด้านเศรษฐกิจคนในร้อยเอ็ดควรมีรายได้เพิ่ม มีแหล่งน้าและ ที่ดินเพื่อการเกษตร ในด้านสังคมโรงเรียนมีการสอนนักเรียนให้สนองต่อความต้องการของท้องถิ่น เช่น สอนนักเรียนปลูกข้าวเจ้าแต่ท้องถิ่นกินข้าวเหนียว ก็อาจเป็นการเรียนการสอนที่ไม่เหมาะสม ด้าน ความสวยงาม มีการปลูกต้นไม้ เลี้ ยงสัตว์ สิ่งที่ไม่ต้องการ คือ โรงสีและโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพราะมี แล้วเกิดปัญหากับพื้นที่ จากนั้นเป็นการสรุปภาพฝันชุมชนของทั้ง 3 กลุ่ม โดยคุณปัทมา สูบกาปัง ดังนี้ ส่วนแรกเป็นเรื่องสั งคม ชุม ชนอยากให้มี วัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นวัดอย่าง แท้จริง โรงเรียนก็มกี ารเรียนการสอนให้คนเป็นคนดี และมีหลักสูตรที่เหมาะกับท้องถิ่น ส่ ว นที่ ส องเป็ น โครงสร้ า งพื้ น ฐาน ได้ แ ก่ การประปา ถนนที่ ดี และแหล่ ง น้ าเพื่ อ การเกษตร ส่วนที่สามเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ ได้แก่ อยากให้มี อาชีพ มี กองทุนเงิ นล้าน ราคา ผลผลิตที่เป็นธรรม มีการเลี้ยงสัตว์เลี้ ยงและไร่นาสวนผสม อยากให้มีบ่อนการพนันเพื่อไม่ให้รายได้ รั่วไหลออกนอกประเทศ ส่วนที่สี่ เป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม อยากให้มีภูมิทัศน์สวยงาม ปลูกต้นไม้เยอะๆ มีการย้าย กองขยะออกไป อยากให้มีโรงงานที่มีระบบบริหารจัดการขยะ ส่วนที่ห้า อยากให้มีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ ปลอดพิษ มีการปรับปรุงคุณภาพของ โรงพยาบาลระดับตาบลให้มีการทางานตลอด 24 ชั่วโมง ~8~


วิทยากรสรุปว่าความต้องการดังกล่าวสามารถที่จะใช้เป็นวิสัยทัศน์ได้ แต่ในขณะนี้ยังไม่มีการ กาหนดวิสัยทัศน์ของชุมชน จึงขอให้มีการเสนอวิสัยทั ศน์ของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าและโรงสี ยกตัวอย่าง ที่กว๊านพะเยามีวิสัยทัศน์ คือ สวยงาม สิ่งแวดล้อมดี และยั่งยืน จากนั้นจึงแตกเป็นประเด็นย่อยที่จะทา ในวันนี้จึงขอให้เป็นการกลับไปคิดเป็นการบ้านว่าวิสัยทัศน์คืออะไร ทาอย่าง ใครเป็นคนทา และทา เมื่อใด อุปกรณ์ 1. กระดาษ flip chart ประมาณ 20 แผ่น 2. กระดาษการ์ด 4 สี (ตัดขนาด 1/3 ของกระดาษ A4) 3. ปากกาสีดา/น้าเงิน จานวนเท่ากับผู้เข้าร่วมเวที 4. สติ๊กเกอร์รูปหัวใจคนละ 1 ดวง 5. กระดานไวท์บอร์ด 6. โจทย์เรื่องฉันทามติ คนละ 1 แผ่น 7. Power point นาเสนอเรื่อง ความไว้วางใจ NIMBY ข้อพิพาท / ความขัดแย้ง การ พัฒนาแบบมีส่วนร่วม กระบวนการประชาพิจารณ์ กระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้งของประเทศเกาหลี ภาพ ข่าวปัญหาขยะในจังหวัดขอนแก่น ภาพข่าวการประท้วงกรณีโรงไฟฟ้า 8. วิดีโอการประชาเสวนาที่จังหวัดระยอง วิดีโอการประชาเสวนาและการขับเคลื่อน คณะกรรมการพัฒนากว๊านพะเยา 9. จัดโต๊ะและเก้าอี้ช่วงเช้าเป็นแบบครึ่งวงกลม 1 ส่วนทางด้านหลังห้องและส่วนหน้า ห้องเป็นแบบ class room ส่วนช่วงบ่ายจัดแบบวงกลมวงเดียว การจัดโต๊ะเก้าอี้แบบวงกลมวงเดียวจะ ช่วยทาให้ผู้เข้าร่วมเห็นหน้ากันทุกคนและเกิดความรู้สึกเท่าเทียม สรุปบทเรียน 1. โรงงานของ บ.ร้อยเอ็ดกรีน และ บ.บัวสมหมายที่ตอบรับเข้ามาซึ่งถือเป็นภาคส่วนที่ สาคัญไม่มาเข้าร่วมการประชาเสวนา ดังนั้น เวทีประชาเสวนาครั้งนี้จึงขาดตัวแทนภาคส่วนสาคัญที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ในพื้นที่รอบโรงสีและโรงไฟฟ้าได้มีการทาบันทึกข้อตกลงระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีโรงงานลงนามด้วยมาแล้ว ดังนั้น จึงมีการปรับ กระบวนการประชาเสวนาครั้งนี้ โดยไม่ต้องทา บันทึกข้อตกลงอีกเพราะขาดตัวแทนทุกภาคส่วนและมีความซ้าซ้อนกับสิ่งที่พื้นที่เคยทาร่วมกันมาแล้ว ซึ่งไม่ได้ช่วยในการแก้ปัญหาที่เป็นอยู่

~9~


2. สถานที่จัดเวทีประชาเสวนามีความสาคัญต่ อการเรียนรู้ โดยช่วงเช้า จัดให้เป็นครึ่ง วงกลมในส่วนของหลังห้อง ส่วนครึ่งวงกลมหน้าเป็น class room เพราะกิจกรรมช่วงเช้าส่วนใหญ่เป็น การบรรยายซึ่งผู้เข้าร่วมเวทีต้องเน้นความสนใจไปที่วิทยากรและหน้าจอ power point เป็นหลัก ในช่วงบ่ายจึงเป็นการจัดแบบวงกลมวงเดียว ทาให้ไม่ต้องเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทั้งหมดและสนับสนุนต่อ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดี 3. การดาเนินกิจกรรมในครั้งนี้ ไม่สามารถเริ่มต้นเปิดประชุมตามเวลาในกาหนดการได้ เนื่องจากผู้เ ข้าร่วมเวทีส่วนใหญ่ มาลงทะเบียนล่าช้ า ทาให้กาหนดการเดิม เลื่อนไปกว่าครึ่ง ชั่วโมง ดั ง นั้ น จึ ง ต้ อ งมี ก ารปรั บ เลื่ อ นเวลาในพิ ธี เ ปิ ด และแจ้ ง ถึ ง ความจ าเป็ น แก่ ผู้ เ ข้ า ร่ ว มเวที ที่ ม าตาม กาหนดเวลาให้เข้าใจ พร้อมทั้งแจ้งเวลาที่จะเริ่มเวทีจริง 4. จากกิจกรรมการแบ่งกลุ่มและให้ผู้ร่วมร่างภาพฝัน ผู้เข้าร่วมมีการวาดฝันชุม ชนที่ หลากหลายและกว้างมาก ซึ่งวิทยากรไม่ได้กาหนดขอบเขตของภาพฝันไว้มากนักเพื่อเปิดโอกาสให้ ชุมชนแสดงความเห็นอย่างเต็มที่และจะได้ทราบมุมมองของผู้เข้าร่วมเวที อย่างไรก็ดี ภาพฝันดังกล่าว กว้างมากเกินกว่าที่จะทาได้สาเร็จในระยะเวลาอันสั้น วิทยากรจึงแนะนาให้ลาดับความสาคัญของภาพ ฝันที่จาเป็นและควรจะดาเนินการก่อนหลัง 5. การสรุปกิจกรรมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเวทีเข้าใจถึงความสาคัญและสิ่งที่ได้รับจากการทา กิจกรรมนั้น วิทยากรไม่จาเป็นต้องเป็นผู้สรุปเสมอไป อาจเปิดโอกาสให้ผู้เข้า ร่วมเวทีได้ช่วยกันคิดและ สรุปให้ผู้เข้าร่วมท่านอื่นฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจกรรมฉันทามติ และกิจกรรมวาดภาพฝัน ซึ่งเป็น กิจกรรมที่ทาให้ผู้เข้าร่วมเวทีเข้าถึงและเข้าใจกระบวนการประชาเสวนาและมีส่วนร่วม การให้ช่วยกัน สรุปจะทาให้ผู้เข้าร่วมเวทีได้ร่วมกันคิดและแสดงความเห็นทั้งที่เหมือนและต่าง ตลอดจนวิทยากรและ ทีมงานยังได้เรียนรู้ความคิดเห็นที่หลากหลายของผู้เข้าร่วมเวทีอีกด้วย วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 ทบทวนกิจกรรมและกาหนดวิสัยทัศน์ วิทยากรฉายวิดีโอการศึกษาวิจัยเรื่องการค้นหาทุนทางสังคมในพื้นที่ตาบลคลองขนาน ตาบล ตลิ่งชัน และตาบลปกาสัย จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นการค้นหาสิ่งดีที่มีอยู่ในชุมชนและช่วยทาให้ชุมชนรู้ว่า จะทาอย่างไรกับทุนทางสังคมที่ชุมชนมีอยู่ จากนั้นวิทยากรได้ทบทวนถึงโจทย์ที่ได้มอบหมายให้ผู้เข้าร่วมประชุมไปคิดเพิ่มเติมมาซึ่งแบ่ง ได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม โดยเจ้าหน้าที่แจกกระดาษการ์ดสี 3 สีให้กับผู้เข้าประชุมสีล ะ 1 แผ่ น พร้อมปากกาหัวตัดคนละ 1 ด้าม โดยให้เขียนสิ่งที่อยากเห็นใน ~ 10 ~


ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมลงในบัตรคาสีเขียว ด้านเศรษฐกิจเขียนลงในกระดาษสีฟ้า และด้านสังคม เขียนลงในกระดาษสีส้ ม จากนั้น ส่ งทีมงานเพื่อนาไปติดไว้ที่บอร์ดกลางและสรุปเป็นประเด็นหลัก ออกมา ดังนี้ ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ กินดีอยู่ดี เศรษฐกิจพอเพียง อู่ข้าวอู่น้า มีรายได้ ด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ชุมชนสีเขียว ปลอดมลพิษ สิ่งแวดล้อมดีชีวีเป็นสุข สุขภาพจิตสุขภาพ กายดี ชุมชนสะอาดอากาศบริสุทธิ์ สดชื่นสวยงาม ด้านสังคม ได้แก่ สามัคคี วิถีพุทธ คุณธรรมจริยธรรม การมีส่วนร่วม จากการเสนอสิ่งที่อยากเห็นจากผู้เข้าร่วม ได้สรุปเป็นวิสัยทัศน์ของชุมชน คือ “สังคมวิถีพุทธ บริสุทธิ์ ปลอดมลพิษ เศรษฐกิจแบบพอเพียง” อย่างไรก็ดี ทีมงานได้ นาวิสัยทัศน์ไปติดไว้บริเวณ ทางเข้าออกของห้องประชุม หากผู้เข้าร่วมท่านใดประสงค์จะแก้ไขเพิ่มเติมก็ทาได้ ภารกิจเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ วิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมเสนอวิธีการเพื่อนาไปสู่วิสัยทัศน์ในแต่ละด้าน โดยให้เจ้าหน้าที่แจก กระดาษบัตรคาสีฟ้า เขียว และส้ม อย่างละ 2 แผ่น แก่ผู้เข้าร่วมทุกคน โดยเขียนแนวทางให้บรรลุ วิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจลงในบัตรคาสีฟ้า ด้านสิ่งแวดล้อมในบัตรคาสีเขียว และด้านสังคมเขียนลงใน บัตรคาสีส้ม ทุกคนจะได้เขียนภารกิจเพื่อทาให้บรรลุวิสัยทัศน์ ด้านละ 2 ภารกิจ ซึ่งแม้วิสัยทัศน์แต่ละ ด้านจะมีหลายประเด็น ก็ให้ผู้เข้าร่วมเขียน 2 เรื่องที่สาคัญและจาเป็นมาก่อน จากนั้นทีมงานรับบัตรคาที่ผู้เข้าร่วมเขียนแล้วไปติดที่กระดานและจัดกลุ่มประเด็นที่คล้ายกัน ไว้ แล้วกาหนดชื่อของประเด็นหลักลงในกระดาษ A4 และติดเป็นหัวข้อของแต่ละภารกิจให้เห็นเด่นชัด การจัดทาแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม หลังจากกิจกรรมดังกล่าว วิทยากรได้นาผู้เข้าร่วมเข้าสู่กระบวนการวางแผนปฏิบัติการแบบมี ส่ วนร่วม โดยแท้ จ ริง แล้ ว เป็น กระบวนการอย่า งหนึ่ ง ของการทางานร่วมกัน โดยใช้ การประชุ ม เชิ ง ปฏิบัติการในการกาหนดภารกิจหลักและเป็นการทางานร่วมกันด้วยการผสมผสานความคิดเห็นที่ แตกต่างได้โดยมีการตัดสินใจร่วมกันอย่างมีฉันทามติ โดยมีรายละเอียดดังนี้ ขั้นที่ 1 บริบท กล่าวถึง ขอบเขตงานที่จะทา เป็นการกาหนดพื้นที่ของเรื่องที่จะทาเพื่อตอบ คาถามว่าจะทาอะไร ทาที่ไหน ทาเมื่อไหร่ โดยใคร งบประมาณที่ใช้เป็นเท่าไหร่ และได้งบประมาณมา จากไหน ขั้นที่ 2 หัวใจแห่งชัยชนะ เป็นการสร้างความมุ่งมั่นหลังจากที่กาหนดขอบเขตงานที่จะทาใน ขั้นตอนที่ 1 แล้ว ซึ่งการสร้างความมุ่งมั่นในขั้นตอนนี้เป็นการค้นหาว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร ~ 11 ~


จากงานที่จะทา และหากประชาชนได้ประโยชน์ตามนั้นแล้วจะชื่นชมว่าอย่างไร ในขั้นตอนนี้มีการ จัดทาแผนภาพหัวใจแบ่งครึ่งซีกซ้ายและขวาแล้วให้ผู้เข้าร่วมทาแผนเขียนบัตรคาลงไปว่าประชาชนจะ ได้ประโยชน์อะไร และประชาชนจะชื่นชมท่านอย่างไร ขั้นที่ 3 ข้อดี / ข้อเสีย เป็นการพิจารณาสภาวการณ์ปัจจุบัน ภายหลังจากที่มีการสร้างความ มุ่งมั่นและกาลังใจในการทางานแล้ว ผู้ร่วมทาแผนก็มาพิจารณาสิ่งที่มีในชุมชนของตนเอง โดยระบุจุด แข็ง/ผลดี กับ จุดอ่อน/ผลเสียของชุมชน เพื่อให้ทราบสถานะปัจจุบันในพื้นที่ว่ามีสิ่งใดสามารถช่วย ส่งเสริมให้งานที่ตั้งใจสาเร็จไปได้ และมีปัจจัยใดที่เป็นอุปสรรคต่อการทางานให้บรรลุผล โดยการระบุ จุดแข็ง/ผลดี กับ จุดอ่อน/ผลเสียของชุมชนซึ่งจะรวมทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คน สถานที่ ชาวบ้าน ผู้นา สภาพปัญหา ฯลฯ ขั้นที่ 4 สัญญาใจ เมื่ อสร้างความมุ่ งมั่นและรู้จุดอ่อนจุดแข็งในชุม ชนของตนเองแล้ว ใน ขั้นตอนนี้จะเป็นการเป็นการสร้างพันธะสัญญาร่วมกันในเรื่องที่จะทา ขั้นที่ 5 ภารกิจ เป็นขั้นการกาหนดภารกิจหลักในการพัฒนาหมู่บ้านโดยใช้เทคนิคการประชุม เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Workshop) ขั้นที่ 6 ทาแผนปฏิบัติการของหมู่บ้าน เป็นการจัดทาปฏิทินแผนพัฒนาหมู่บ้านโดยนางานแต่ ละด้านมาจั ดไว้เป็นแผนงานโครงการ ประกอบด้วยภารกิจ หลัก วัตถุประสงค์ ระยะเวลา ตัวชี้ วัด / ผลสาเร็จ ตัวชี้วัด งบประมาณ/แหล่งทุน ผู้รับผิดชอบ จากกิจกรรมดังกล่าว ผู้เข้าร่วมได้วางแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สรุปได้ดังนี้

~ 12 ~


ตารางที่ 1 การวางแผนปฏิบัตกิ ารแบบมีส่วนร่วมขัน้ ที่ 1 – 5 กลุ่ม

ขั้นที่1 บริบท

สังคม

- โครงการเสริ ม สร้ า งคุ ณ ธรรมจริ ย ธรรม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน - วั ตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังจิตส านึกคนใน ชุมชน ให้ ชุมชนน าหลักคุ ณ ธรรมไปใช้ใ น ชีวิ ต ประจาวั น เพื่อฟื้น ฟูอนุ รักษ์ป ระเพณี อย่ า งยั่ ง ยื น เพื่ อ สร้ า งผู้ น าต้ น แบบด้ า น คุณธรรม - เริ่ม 5 ธ.ค.54-12 ส.ค.55 - งบประมาณ 450,000 บาท - ผู้ รั บ ผิ ด ชอบโครงการได้ แ ก่ เครื อ ข่ า ย องค์กรชุมชน ชมรมกานันผู้ใหญ่บ้าน คณะ สงฆ์สานักพุทธศาสนา ผู้นาทางศาสนา

สิ่งแวดล้อม

- โครงการสร้างจิตสานึกชุมชนเรื่องอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม - วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีจิตสานึก รักธรรมชาติและสร้างการมีส่วนร่วมในการ รักษาสิ่งแวดล้อม - ระยะเวลา 6 เดือน

ขั้นที่ 2 หัวใจแห่งชัยชนะ -ประชาชนได้ประโยชน์อะไร -ประชาชนจะชื่นชมท่านว่าอย่างไร - ประชาชนจะได้ประโยชน์ ได้แก่ มีจิตใจดี งาม การละเมิด สิท ธิ น้ อยลง คนในชุมชน สามัคคีและเห็นใจกันมากขึ้น ประชาชนมี ความสงบสุ ข อยู่ เ ย็ น เป็ น สุ ข มี จิ ต อาสา ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม คนแก่ได้มีกิจกรรม ร่ ว มกั บ ชุ ม ชน ได้ แ บบอย่ า งที่ ดี ไม่ เบียดเบียนกัน เกิดธรรมะขึ้นในจิตใจ ได้อยู่ ในสังคมที่ดี ปลอดอาชญากรรม - ประชาชนจะชื่ น ชม ได้ แ ก่ สั ง คมมี ความสุข น่าจะทานานแล้ว ชื่นชมในความ ดี เป็นต้นแบบด้านคุณธรรมจริยธรรม คิดดี ทาดี ขอให้ท าต่อไป ได้ ส ร้า งสรรค์ สิ่งดี แ ก่ บุตรหลานและสังคม เป็นผู้นาที่ดี ขยายผล ให้ครอบคลุมทุกตาบล -ประชาชนจะได้ ป ระโยชน์ อ ะไร ได้ แ ก่ สิ่ ง แ ว ดล้ อ มที่ ดี สุ ข ภา พที่ ดี ชุ ม ชนมี ความรู้สึกสบายใจ อากาศดีไม่มีฝุ่นละออง มีป่า เพิ่มขึ้น รับ ฟัง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มากขึ้นและรับรู้ข้อดีของการอยู่ร่วมกัน -ประชาชนจะชื่นชมว่าอย่างไร ได้แก่ น่าจะ

ขั้นที่ 3 -จุดแข็ง/จุดดี -จุดอ่อน/จุดเสีย

ขั้นที่ 4 สัญญาใจ

ขั้นที่ 5 ภารกิจ

- ข้ อ ดี ได้ แ ก่ ประชาชนตื่ น ตั ว และเห็ น เรามั่ ง มุ่ น ที่ จ ะสร้ า ง คุณค่าในการปฏิบัติธรรม ทาให้มีความ แ ก น น า ท า ใ ห้ ไ ด้ รับผิดชอบ ส่งเสริมคุณธรรม ประชาชนมี ขยายผลต่อเนื่อง ส่วนร่วม มีเป้าประสงค์ร่วมกัน - จุดอ่อน ได้แก่ ผู้นาต้นแบบมีน้อย ขาด การสนับสนุนจากภาครัฐ งบประมาณไม่ เพียงพอ อาจขาดความต่อเนื่อง มีบางวัด ที่ชาวบ้านไม่นับถือ ขาดแรงจูงใจ และถูก ละเลย

1.สรรหาผู้นา 2.พัฒนาศักยภาพผู้นาต้นแบบ 3 . ก า ห น ด ก ลุ่ ม เ ป้ า ห ม า ย บ ริ ห า ร งบประมาณ 4.สร้างเครือข่าย 1 ตาบล 1 หมู่บ้าน 5.เข้าไปมีส่วนร่วมกับกลุ่มต่างๆแล้ วน า คุณธรรมไปเผยแพร่ในกลุ่มนั้นๆ 6.ติดตามประเมินผลโครงการ 7.ศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาโครงการต่อไป

- ข้อดี ได้แ ก่ มีจิต อาสา ความมุ่งมั่น ใน การจะทาให้ส าเร็จ เข้าใจ มีค วามตั้งใจ ชุมชนได้ประโยชน์ร่วมกัน - จุด อ่อน ได้ แก่ ขาดการมีส่วนร่วม เงิน ต้องมาก่อน ขาดพลังชุมชน ขัดแย้งกันไม่ เข้าใจกัน อาจเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ที่

1.ตั้งคณะทางาน 2.สร้างเครือข่าย 3.วางแผนด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อร่วมกันทา 4 . จั ด ท า กิ จ ก ร ร ม เ พื่ อ ดู แ ล รั ก ษ า สิ่ ง แวดล้ อ ม ได้ แ ก่ ช่ ว ยกั น ปลู ก ต้ น ไม้ สร้างกติกาชุมชน หน้าบ้านน่ามอง

~ 13 ~

เรามุ่งมั่นที่จะร่วมมือ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ เ พื่ อ ป ร ะ โ ย ชน์ สุ ข ข อ ง ส่วนร่วมอย่างยั่งยืน


กลุ่ม

เศรษฐกิจ

ขั้นที่1 บริบท

ขั้นที่ 2 หัวใจแห่งชัยชนะ -ประชาชนได้ประโยชน์อะไร -ประชาชนจะชื่นชมท่านว่าอย่างไร - งบประมาณ 100,000 บาท ท าตั้ ง นานแล้ ว ให้ ค วามศรั ท ธา เป็ น - ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้แก่ ตัวแทนชุมชน โครงการดี ข องส่ ว นรวมในชุ ม ชน ผู้ น ามี ตาบลเหนือเมือง ผลงานดี เ ยี่ ย ม เป็ น ตั ว อย่ า งที่ ดี ใ นการ เสริมสร้างจิต สานึ กจากตนเอง ทาให้ ชีวิ ต เป็นสุขมากขึ้น ทาดีแล้วจงทาต่อไป เป็นที่ ยอมรับในการคิด แก้ไขมลพิษสิ่งแวดล้อม ชุมชนพอใจในผลงาน - โครงการแหล่งอาหารปลอดสารพิษ - ประชาชนจะได้ประโยชน์ ได้แก่ มีรายได้ - วั ตถุป ระสงค์ เพื่อปลูกผักปลอดสารพิษ เพิ่ม มีผักปลอดสารพิษบริโภค สิ่งแวดล้อม เพื่ อ บริ โ ภคและจ าหน่ า ย เพิ่ ม รายได้ ล ด ดีไม่มีส ารเคมี สุข ภาพแข็งแรง เพิ่มโลกสี รายจ่าย เขียวลดโลกร้อน ได้ออกกาลังกาย - ระยะเวลา 1 ปี - ประชาชนจะชื่นชมว่าอย่างไร ได้แก่ ยอด - งบประมาณ 100,000 บาท เยี่ยม ขอบคุณที่ให้โอกาส ดีมาก ขอบคุณ หลายเด้อ ขยันดี สร้างวินัยให้ชุมชน ช่วยให้ โลกมีแหล่งอาหารปลอดสารพิษ ขอบคุ ณ สาหรับอาหารปลอดภัย เป็นแบบอย่างที่ดี

ขั้นที่ 3 -จุดแข็ง/จุดดี -จุดอ่อน/จุดเสีย

ขั้นที่ 4 สัญญาใจ

ขั้นที่ 5 ภารกิจ

ขาด คว ามพร้ อ ม ไม่ มี ง บป ระ มา ณ เพียงพอ พวกนิ่ งดู ด าย ผู้น าไม่เข้มแข็ ง ขาดการศึกษา

5.จัดการขยะ 6.ติดตามและประเมินผล

- ข้อดี ผู้ประกอบการไม่เสี่ยงต่อสารเคมี เรามุ่ งมั่ น ที่ จะท าให้ สิน ค้ า เป็น ที่ ย อมรับ สุข ภาพดี มี รายได้ ไ ด้ ไ ป ใ ห้ ถึ ง ซึ่ ง ตลาดต้ อ งการมาก ราคาดี พ อใช้ มี ผั ก จุดหมาย ปลอดสารพิษให้ประชาชนบริโภค อยู่ใกล้ บ้าน ขายได้ตลอดไป - ข้ อ ด้ อ ย ได้ แ ก่ ดู แ ลรั ก ษาโรคแมลง มากกว่ า ใช้สารเคมี ลงทุน สูง ใช้ค วาม พยายามสูง ผลผลิตช้า และน้อยกว่ า ใช้ สารเคมี น้ าไม่ เ พี ย งพอ เกิ ด การเกี่ ย ง ความรับผิดชอบในการดูแล

ภารกิจเป็นวงรอบแบบต่อเนื่อง เริ่มจาก สร้างความเข้าใจแบ่งหน้ าที่ และส ารวจ ความต้องการผู้บริโภค เตรียมพื้นที่และ เมล็ ด พั น ธุ์ ด าเนิ น การเพาะปลู ก ดู แ ล รั ก ษาและการตลาด ตั้ ง ศู น ย์ จ าหน่ า ย ขยายกิจการ และประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่ม ความมั่นใจในการผลิต

~ 14 ~


ตารางที่ 2 ขั้นที่ 6 แผนปฏิบัตกิ ารแบบมีส่วนร่วม กลุ่ม

ภารกิจ

วัตถุประสงค์

54 12

สังคม

1.สรรหาผู้นา

2555 1

2

3

4

5

6

7

สร้างแกนนาต้นแบบ

ตัวชี้วัด 8

9

10

11

งบฯ / แหล่งทุน

12

มีแกนนา 60 คน

10,000

ผู้รับ ผิดชอบ

ดวงพร

2.พัฒนาศักยภาพผู้นา เพื่อให้แกนนามีความรู้ ต้นแบบ ในการถ่ า ยทอดเรื่ อ ง คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรมสู่ สังคมชุมชน 3 . ก า ห น ด กาหนดพื้นที่ปฏิบัติการ กลุ่ ม เป้า หมายบริ ห าร แ ล ะ บ ริ ห า ร งบประมาณ ง บ ป ร ะ ม า ณ คุ้ ม ค่ า โปร่งใส 4.ส ร้ า งเครื อ ข่ า ย 1 เพื่อให้เกิดการขยายผล ตาบล 1 หมู่บ้าน

แกน น ามี ค ว ามรู้ ผ่ า น 60,000 แบบทดสอบมากกว่ า ร้อยละ 80 หรือประเมิน โดยชุมชน ได้ พื้น ที่ ปฏิบัติ การอย่า ง 10,000 น้ อ ย 1 0 ชุ ม ช น แ ล ะ บริหารแบบบัญชีงบดุล

ศรายุทธ

เกิ ด ภาคี เครือ ข่า ยอย่า ง 50,000 น้อย 5 เครือข่าย

สิริ ญ ชา (ส านั กงาน ยุติธรรม)

5.เข้า ไปมีส่ว นร่ว มกั บ ก ลุ่ ม ต่ า ง ๆ แ ล้ ว น า คุณธรรมไปเผยแพร่ใน กลุ่มนั้นๆ 6.ติ ด ตามประเมิ น ผล โครงการ

เพื่ อ ให้ ค นในชุ ม ชนมี คุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม และนาไปปฏิบัติ

เกิด กิจกรรมไม่น้ อยกว่ า 300,000 1กิจกรรมต่อเดือน

ช ม ร ม ก า นั น ผู้ใหญ่บ้าน

เพื่ อ ประเมิ น ผลการ ด า เ นิ น ง า น ข อ ง โครงการ

รายงานผลการประเมิ น 20,000 โครงการอย่ า งน้ อ ย 1 ฉบับ

สงกรานต์

~ 15 ~

ภัทร / ปรัชญา


กลุ่ม

ภารกิจ

วัตถุประสงค์

54 12

สิ่ ง แวดล้ 1.ตั้งคณะทางาน อม 2.สร้างเครือข่าย

2555 1

2

3

4

5

6

7

แ บ่ ง ห น้ า ที่ ค ว า ม รับผิดชอบ เพื่อหาแนวร่วมปฏิบัติ

3 . ว า ง แ ผ น ด้ า น สิ่งแวดล้อมเพื่อร่วมกัน ทา และจัดทากิจกรรม เ พื่ อ ดู แ ล รั ก ษ า สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ไ ด้ แ ก่ ช่ ว ย กั น ป ลู ก ต้ น ไ ม้ สร้างกติกาชุมชน หน้า บ้านน่ามอง

เพื่ อ ให้ ไ ด้ แ นวทางใน ก า ร ท า ง า น ร่ ว ม กั น ได้ แ ก่ การปลู ก ต้ น ไม้ และดูแลสิ่งแวดล้อม

4.จัดการขยะ

รักษาความสะอาดของ สิ่งแวดล้อมและชุมชน

ตัวชี้วัด 8

9

10

11

งบฯ / แหล่งทุน

12

ค ณ ะ ท า ง า น จ า ก ทุ ก หมู่บ้าน ภาครัฐ / เอกชน/ ชุมชน/ ท้องถิ่น - มี แ ผนจากการมี ส่ ว น ร่วมของภาคีเครือข่าย - ได้ แ นวป้อ งกั น ฝุ่ น เพิ่ ม ออกซิ เ จน เพิ่ ม ควา ม ความสวยงาม และผ่อน คลาย

ผู้รับ ผิดชอบ

-

สุรเดช/อภิชาต/สง่ า อันทะไชย์ อภิ ช าต/ศิ ริ ว รรณ/ สาเร็จผล 100,000 บาทจาก ปัญญา/ประดิษฐ์ กรมโรงงานอุ ต สาห กรรม ป่ า ไม้ จั ง หวั ด ทรัพยากรธรรมชาติ แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม - อภิชาต/เหรียญชัย/ จังหวัด สาคร/สุรเดช

เกิ ด ธนาคารขยะ สร้ า ง 100,000 จาก เกรียงศักดิ์/ประดิษฐ์/ รายได้ เพิ่ ม มี ร ายได้ เ พิ่ ม กองทุนไฟฟ้า / อบต. ศรายุ ท ธ/วิ เ ชี ย ร/ค า 5% ห มุ น / พิ ม ม า ด า / ส าราญ/คุ ณ ากร/สุ ร เดช ประ ชา ชนมี ค ว า มพึ ง 5,000 / จากธนาคาร พอใจต่อการแก้ไขปัญหา ขยะ 5% สิ่ ง แวดล้ อ ม (ประชุ ม / แบบสอบถาม)

5 . ติ ด ต า ม แ ล ะ ติ ด ตามความคื บ หน้ า ประเมินผล และความส าเร็ จ ของ โครงการ

~ 16 ~


กลุ่ม

ภารกิจ

วัตถุประสงค์

54 12

2555 1

2

3

4

5

6

7

เศรษฐกิจ 1.ประชาสัมพันธ์

เพื่ อ ทรา บโค รงกา ร นาเสนอเจตนารมณ์ 2.สร้างความเข้าใจ ชี้แจงทาความเข้าใจใน ปัญ หา ข้ อ สงสัย และ สร้างความตระหนัก 3.แบ่งหน้าที่ เพื่ อ ทราบถึ ง บทบาท หน้าที่ 4.สารวจความต้องการ เ พื่ อ ท ร า บ ค ว า ม ต้ อ งการของผู้ บ ริ โ ภค เ รื่ อ ง ป ริ ม า ณ แ ล ะ ประเภทของพืชผัก 5 . เ ต รี ย ม พื้ น ที่ แ ล ะ เพื่อให้มีพื้นที่และเมล็ด เมล็ดพันธุ์ พั น ธุ์ ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร ข อ ง ผู้ผลิตและผู้บริโภค 6.ลงพื้ น ที่ เ พาะปลู ก เพื่ อ ให้ ไ ด้ ผ ลผลิ ต ที่ มี ดูแลรักษา คุ ณ ภาพและเพื่ อ ให้ ได้ ผ ลผลิ ต ที่ มีป ริ มาณ ต ร ง ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร ผู้บริโภค 7.การตลาด เพื่อโฆษณาผลผลิต

ตัวชี้วัด 8

9

10

11

12

งบฯ / แหล่งทุน

ผู้รับ ผิดชอบ

ประชาชนในทุกครัวเรือน 1,000 จากสมาชิก เนตรนภา เข้าใจ กลุ่ม มี ผู้ ส มั ค ร ใ จ เ ข้ า ร่ ว ม นงเยาว์ โครงการ ส ม า ชิ ก มี ห น้ า ที่ รับผิดชอบ จ า น ว น ผู้ บ ริ โ ภค แ ล ะ ประเภทของพืชผัก

1,000 จากสมาชิก พ่อประสิทธิ์ กลุ่ม 3,000 จากสมาชิก พ่อถวิล กลุ่ม

10 ไร่ / เมล็ ด พั น ธุ์ 1 ตั น 30,000 จากสมาชิก พี่มนต์รัก (5 ประเภท) กลุ่ม

20 ตั น ปลอดสารพิ ษ 50,000 จากสมาชิก พ่อพนมและสมาชิก 100 % กลุ่ม

มีการสั่งซื้อผลผลิตอย่าง 2,000 จากสมาชิก คาสิวิไลและทีมงาน น้อย 15 ตัน กลุ่ม

~ 17 ~


กลุ่ม

ภารกิจ

วัตถุประสงค์

54 12

8.ตั้งศูนย์จาหน่าย

9.ขยายกิจการ

2555 1

2

3

4

5

6

7

เพื่อรวบรวม จาหน่ า ย แปรรู ป ผลผลิ ต และ เ ป็ น ส ถ า น ที่ ประสานงาน เพื่ อ ส ร้ า ง เค รื อ ข่ า ย ผู้ ผ ลิ ต ผู้ บ ริ โ ภค เพิ่ ม ทุน เพิ่มผลผลิต

ตัวชี้วัด 8

9

10

11

งบฯ / แหล่งทุน

12

ผู้รับ ผิดชอบ

มี ศู น ย์ จ าห น่ า ยอย่ า ง 5,000 จากสมาชิก พ่อประสิทธิ์ น้อย 1 ศูนย์ กลุ่ม

มี ส มาชิ ก และเครื อ ข่ า ย 8,000 เพิ่ม 20 % ของที่มีอยู่

~ 18 ~

พี่ ม น ต์ รั ก แ ล ะ ครอบครัว


อุปกรณ์ 1. จัดโต๊ะและเก้าอี้แบบวงกลมวงเดียวเช่นเดิมและให้ผู้เข้าร่วมโยกย้ายกันเองเมื่อมีการ เปลี่ยนกิจกรรม 2. กระดาษการ์ดสี 5 สี ตัดขนาด 1/3 ของกระดาษ A4 3. ปากกาสีหัวตัด สีดา เขียว น้าเงิน และสีแดง จานวนเท่ากับผู้เข้าประชุม 4. กระดาษ filp chart 40 แผ่น 5. กระดาษ A 4 6. กระดานไวท์บอร์ดเพื่อติดกระดาษ 5 กระดาน 7. กระดาษกาวม้วนอย่างน้อย 10 ม้วน 8. วิดีโอเรื่องการศึกษาทุนทางสังคมในจังหวัดกระบี่ สรุปบทเรียน 1. ในกรณีที่ผู้เข้าร่วมเวทีบางส่วนเดินทางมาเข้าร่วมช้ากว่าในกาหนดการจนไม่สามารถ เริ่มกิจกรรมได้ ทีมงานควรเตรียมวิดีโอเพื่อให้ผู้เข้าร่วมที่มาถึง ก่อนได้ศึกษาไปก่อน เพื่อเป็นการลด ความเบื่อหน่ายและยังเป็นบทนาก่อนเข้าสู่กระบวนต่อไป 2. หากมีการปรับกระบวนการ ควรมีการประชุมทีมงานทั้งหมดเพื่อซักซ้อมความเข้าใจ ในกระบวนการที่ ป รั บ ใหม่ ร่ ว มกั น เพราะแม้ ที ม งานบางส่ ว นจะเคยผ่ า นการจั ด กิ จ กรรมการท า แผนปฏิบัติการมาบ้างแล้ว แต่ถ้าไม่ได้รับรู้ขั้นตอนพร้อมๆกันก็อาจทาให้ระหว่างกระบวนการมีความ วุ่นวายและสับสน 3. ผู้เข้าร่วมเวทีครั้งนี้มีความหลากหลายค่อนข้างสูง โดยมีที่มาต่างกันจากหน่วยราชการ ส่วนกลาง หน่วยงานราชการในพื้นที่ สื่อมวลชนในพื้นที่ ตัวแทนชุ ม ชน ตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน กานัน ผู้ใหญ่บ้าน ทาให้การแสดงออกด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมการเข้าร่วมเวทีประชาเสวนาครั้งนี้ แตกต่างกัน เช่น ผู้เข้าร่วมที่เป็นตัวแทนชุมชนและผู้ใหญ่บ้านบางส่วนมาเข้าร่วมกิจกรรมเฉพาะช่วง บ่าย หรือมาลงทะเบียนแล้วก็เดินทางกลับโดยไม่ได้เข้าร่วมในเวที หรือผู้เข้าร่วมในเวทีบางส่วนมีส่วน ร่วมทั้ง 2 วันแต่แทบไม่ ได้แสดงออกในกิจกรรมยกเว้นแต่จะมีการเขียนความคิดเห็นลงในบัตรคา ดังนั้น หากจะมีการจัดเวทีในลักษณะนี้ต่อไปควรจะมีการทาความเข้าใจกับผู้ประสานงานในพื้นที่ให้ ช่วยพิจารณาเฉพาะผู้ที่สนใจ พร้อมที่จะเรียนรู้ และนาไปขับเคลื่อนต่อไปได้ 4. ในส่วนของกระบวนการควรเน้นสร้างความเข้าใจกระบวนการ เหตุและผลของการ จัดทาแผนปฏิบัติการซึ่งเชื่อมโยงกับสาระสาคัญของเวทีประชาเสวนาหาทางออกเรื่อง “สิทธิชุมชนรอบ ~ 19 ~


โรงไฟฟ้าและโรงสี เ มื องร้อยเอ็ด ” อย่างไรก็ดี การจั ดท าแผนปฏิบัติก ารในครั้ง นี้มี ข้อจ ากัดด้า น ระยะเวลาจึงไม่สามารถเชื่อมโยงความเข้าใจถึงเหตุและผลดังกล่าวได้ ซึ่งอาจแก้ไขข้อจากัดนี้ได้ด้วย การจัดกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากเวทีประชาเสวนาครั้งนี้แล้วทบทวนทาความเข้าใจกับกลุ่มผู้เข้าร่วมเวที อีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะมีการขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการต่อไป

_______________________________________________ นางสาวนิตยา โพธิ์นอก (ผู้สรุป) 6 ธันวาคม 2554

~ 20 ~


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.