จดหมายข่าวเทวาลัยปีที่ 10 ฉบับที่ 6 วันที่ 17 มีนาคม 2561

Page 1

1

ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๖ วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๑


2

จดหมายข่าวเทวาลัย ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๖ วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๑

วาดภาพโดย น.ส.สุธรี า ศรีตระกูล (อักษรศาสตร์#80)

จดหมายข่าวเทวาลัย ที่ปรึกษา

รศ.ดร.กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา คณบดี รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ รองคณบดี ผศ.ดร.นิรดา จิตรกร ผู้ช่วยคณบดี ผศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล อ.William Whorton

ผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ และสื่อสารองค์กร ผศ.ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ ผู้ช่วยคณบดี (Siraprapa.C@chula.ac.th)

A LECTURE SERIES BY Dr.Brian C. Lewis หน้า 6

อ่านจดหมายข่าวเทวาลัยฉบับย้อนหลังได้ท่ี http://www.arts.chula.ac.th/~sandbox/dhevalai/ ส่งข่าวประชาสัมพันธ์ได้ท่ี http://artscu.net คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. (662) 218 - 4870 www.arts.chula.ac.th


3

CORPUS AND USAGE-BASED APPROACHES TO GRAMMAR

4 ซีรีส์งานเสวนา "ก้าวผ่านความอดกลั้น: ว่าด้วยการโอบรับ และการด�ำเนินการเพื่อความ หลากหลายทางเพศ

6

8

11

ฅนอักษรฯ ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์

15

ข่าวจากฝ่ายพัฒนาความเป็น นานาชาติ งานวิจัย หลักสูตรอ.บ.(ภาษาและวัฒนธรรม) ภาควิชาภาษาอังกฤษ และภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ

ข่าวจากสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้

12

ข่าวจากภาควิชา วรรณคดีเปรียบเทียบ

13

ข่าวจากงานวิจัย

14

20

ข่าวจากภาควิชาภาษาศาสตร์

ปฏิทินกิจกรรม: เดือนมีนาคม


4

ภาควิชาภาษาอังกฤษ และหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต/ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (หลักสูตร นานาชาติ/สหสาขาวิชา)

CORPUS AND USAGE-BASED APPROACHES TO GRAMMAR ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต/ ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (หลักสูตรนานาชาติ/สหสาขา วิชา) จัดงานบรรยายในหัวข้อ CORPUS AND USAGE-BASED APPROACHES TO GRAMMAR โดย Assoc. Prof. Dr. Michael Barlow ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ คลังข้อมูลจาก University of Auckland ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อวันอังคารที 27 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 13.30 – 15.30 น. ณ ห้อง 301 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีคณาจารย์และนิสิตนักศึกษาจากสถาบัน ต่างๆ เข้าฟังการบรรยายอย่างคับคั่ง


5


6

A LECTURE SERIES BY Dr.Brian C. Lewis

ฝ่ายพัฒนาความเป็นนานาชาติ ฝ่ายวิจัย หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม (หลักสูตรนานาชาติ) ภาควิชาภาษาอังกฤษ และภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ


7


8

ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการนิสิตอักษรศาสตร์

ซีรีส์งานเสวนา

ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการนิสิตอักษรศาสตร์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมซีรีส์งานเสวนา ก้าว ผ่านความอดกลั้น: ว่าด้วยการโอบรับและ การด�ำเนินการเพื่อความหลากหลายทางเพศ (Transcending Tolerance: On Embracing and Implementing Gender Diversity) เนื่องจากในปัจจุบันคนในสังคมไทยจ�ำนวน มากยั ง ขาดความตระหนั ก รู ้ ว ่ า ความหลาก หลายทางเพศเป็นปกติวิสัยของมนุษย์ แม้จะมี ความอดทนอดกลั้น (tolerance) ต่อประเด็น ดังกล่าวอยู่ในระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดการ โอบรับ และการด�ำเนินการเพื่อสนับสนุนให้ เกิดความเท่าเทียมทางเพศขึ้นจริง ทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสิทธิเสรีภาพ ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการนิสิต อักษรศาสตร์ (ก.อศ.) จึงจัดชุดงานเสวนา เรื่อง “ก้าวผ่านความอดกลั้น ว่าด้วยการโอบรับและ การด�ำเนินการเพื่อความหลากหลายทางเพศ Transcending Tolerance : On Embracing and Implementing Gender Diversity” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ สร้างความตระหนัก และ เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความ คิดเห็นเรื่องความหลากหลายทางเพศ รวม ถึงตีพิมพ์เผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากงานสู่ สาธารณะ อันจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการ ด�ำเนินการเพื่อความเท่าเทียมกันทางเพศต่อ ไป วันที่ 20, 23, 27, 29 มีนาคม 3, 5 เมษายน 2561 เวลา 16.30 น. – 18.30 น. ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ติดต่อ ประธานจัดงาน นายพลรวี ประเสริฐสม นิสิตอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 อีเมล vichakarn.arts@gmail.com

"ก้าวผ่านความอดกลั้น: ว่าด้วยการโอบรับ และการด�ำเนินการเพื่อความหลากหลายทางเพศ (Transcending Tolerance: On Embracing and Implementing Gender Diversity)"


9

ซีรีส์งานเสวนา

ก้าวผ่านความอดกลั้น: ว่าด้วยการโอบรับและการด�ำเนินการเพื่อความหลากหลายทางเพศ

20 มีนาคม 2561

กิจกรรมบรรยาย: เควียร์มุสลิม อมนุษย์ และความเป็นอื่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คุณสมัคร์ กอเซ็ม (นักวิจัย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม) กิจกรรมบรรยาย: เมื่อนิทรรศการจัดวางความหลากหลายทางเพศ มิวเซียมสยาม

23 มีนาคม 2561

กิจกรรมบรรยาย: มุมมองเรื่องความเท่าเทียมทางเพศในสังคม คุณวิภาพรรณ วงษ์สว่าง (เจ้าของเพจเฟซบุ๊ก Thaiconsent)

27 มีนาคม 2561

(จะประชาสัมพันธ์ให้ทราบในภายหลัง)

29 มีนาคม 2561

กิจกรรมบรรยาย: Embracing Gender Diversity and Ensuring Human Dignity : ทะนุถนอม ความหลากหลายของเพศสภาพและตอบสนองต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ศาสตราจารย์กิตติคุณวิทิต มันตาภรณ์ (คณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราภิชานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านการป้องกันความรุนแรงและการ เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศวิถีหรืออัตลักษณ์ทางเพศคนแรกของสหประชาชาติ)

3 เมษายน 2561 16.30 น. – 19.00 น.

กิจกรรมการฉายภาพยนตร์และเสวนา: วัยรุ่นโรแมนติก พลังทางเพศ และฝันร้ายสยองขวัญ กับ The Blue Hour อนธการ คุณอนุชา บุญยวรรธนะ (ผู้ก�ำกับภาพยนตร์เรื่องอนธการ และมะลิลา)

5 เมษายน 2561

(จะประชาสัมพันธ์หัวข้อให้ทราบในภายหลัง) คุณนาดา ไชยจิตต์ (นักเคลื่อนไหวเพื่อความหลากหลายทางเพศ และผู้ดูแลโครงงาน “Safeguarding the Rights of Population with Respect to Sexual Orientation and Gender Identity” ณ ส�ำนักงานธนาคารโลก กรุงเทพมหานคร) คุณเคท ครั้งพิบูลย์ (นักเคลื่อนไหวเพื่อความหลากหลายทางเพศ และผู้ร่วมก่อตั้งและสมาชิกปัจจุบัน ของเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย (Thai Transgender Alliance: ThaiTGA)


10

เควียร์มุสลิม อมนุษย์ และความเป็นอื่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคุณสมัคร์ กอเซ็ม (นักวิจัย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม)


11

มุมมองเรื่องความเท่าเทียมทางเพศในสังคม โดยตัวแทนเพจเฟซบุ๊ก THAICONSENT


12

สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้

งานเสวนาภารตวิทยาครั้งที่ ๓/๒๕๖๑

"มิงกะลาบา-ภารตะ: บาลีสันสกฤตในเมียนมา"

สาขาภาษาเอเชียใต้ขอเชิญ "ท่านผู้รักความรู้" ร่วมงานเสวนาภารตวิทยา ครั้งที่ ๓/๒๕๖๑ หัวข้อ "มิงกะลาบา-ภารตะ: บาลีสันสกฤตในเมียนมา" เรื่องค�ำยืมภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาพม่า และปรัมปรานิทานของพม่าที่มาจากดินแดนภารตะ มาฟังกันว่าชาวพม่ารับ วัฒนธรรม ค�ำภารตะมาใช้อย่างไร แล้วเขารู้หรือไม่ว่านี่เป็นสิ่งที่ยืมมา โดยวิทยากร คุณวทัญญู ฟักทอง นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต ของสาขาวิชา และ ผู้เชี่ยวชาญภาษาพม่า ในวันพฤหัสบดี ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม ๗๐๗ อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ ด�ำเนินรายการโดย ผศ. ดร. ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว (ผู้รับผิดชอบโครงการเสวนาภารตวิทยา) ท่านผู้สนใจ กรุณาแจ้ง ชื่อ-สกุลจริง และอีเมล หรือ หมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ที่ paliskt.artscu@gmail.com


13 ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ

ดิสโทเปีย แฟนตาซี ในโลกวรรณกรรมของจิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท


14 งานวิจัย

รายการอักษรพาที (ประจ�ำเดือนมีนาคม)


15 ภาควิชาภาษาศาสตร์

A syntactic Universal in a contact language: The story of Singlish already Michael Yoshitaka Erlewine (mitcho) National University of Singapore


16

ฅนอักษรฯ เรียบเรียงโดย มีเกียรติ แซ่จิว

คุณนงเยาว์ จันทร์เขียน

ศาสตราจารย์ ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์

เหมือนว่าเมื่อวานนี้เองที่ใบไม้กลายเป็นเรือ ล่องไปในธารา... ต้นไม้ กิ่ง ก้าน ใบ และ การผลัดใบ ก็คงไม่ต่างจากชีวิตของคนเรา เท่าไหร่นัก ที่ต่างต้องเติบโตและก้าวไปสู่วิถี ทางของตน หากมองย้อนกลับไปสู่วันวานเก่าก่อนของ ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จวบจนวันนี้ คณะฯ ที่ อาจารย์เคยเป็นนิสิตและเป็นอาจารย์สอน มากว่าครึ่งชีวิตนั้น น่าจะเรียกได้เต็มปากว่า เป็นบ้านหลังที่สองของอาจารย์ไปแล้ว ...เหมือนว่าเมื่อวานนี้เองที่ยังเป็นนักศึกษา แต่ก็ผ่านพ้นมาเนิ่นนานแล้ว จนเรือล�ำนั้น ได้ล่องไปไกลลับตา วันนี้จึงนับเป็นโอกาส อันดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ได้กรุณามาแบ่งปันเรื่อง ราวต่างๆ ให้เราชาวอักษรฯ ได้รับฟังเป็น วิทยาทาน ประสบการณ์ของอาจารย์คง เป็นดังค�ำพูดที่ว่า เมื่อเราจัดดอกไม้ ดอกไม้ ก็จัดเรา ไม่ต่างกัน เมื่อเราสอนปรัชญา ปรัชญาก็สอนเรา และเป็นวิถีชีวิตของเรา


17

ประวัติและประสบการณ์ ผมเข้าเรียนในคณะอักษรศาสตร์ที่ปี พ.ศ. 2522 ด้วยการสอบเทียบจาก ม.ศ. 4 เข้า มหาวิทยาลัยไปเลย ท�ำให้ไม่ได้เรียน ม.ศ. 5 ชอบวิชาทางอักษรศาสตร์มานานแล้ว มีขัด แย้งกับทางบ้านนิดหน่อย เพราะคิดกันว่า ผมจะเรียนสายวิทย์ แต่ในที่สุดก็เข้าใจ ตอน เรียนก็ชอบปรัชญาเหมือนกัน เนื่องจากเคย อ่านหนังสือเรื่อง "ปัญญา" ของสมัคร บุรา วาศในห้องสมุดของโรงเรียนแล้วประทับใจ มาก เป็นหนังสือเกี่ยวกับปรัชญาเล่มแรกที่ เคยอ่าน และจากนั้นก็อ่านหนังสือแปลเรื่อง "ปรัชญา" ของ C.E.M. Joad ที่อาจารย์วิทย์ วิศทเวทย์แปล นอกจากนั้นก็มีเรื่อง "ปรัชญา" ของพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กับที่อาจารย์ สุลักษณ์ แปลจากเพลโต ซึ่งมีเรื่องยูไทโฟรกับ เรื่องเฟโด หนังสือเหล่านี้อ่านตอนเข้ามหา วิทยาลัยใหม่ๆ เป็นหนังสือที่มีประโยชน์มากๆ และเป็นหนังสือที่หล่อหลอมผมให้เป็นอย่าง ที่เป็นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามผมก็มีความ

สนใจทางด้านวรรณคดีอยู่ด้วย ซึ่งในตอนนั้น มากกว่าปรัชญา ก็เลยเลือกวิชาภาษาอังกฤษ เป็นวิชาเอก แล้วก็ปรัชญากับภาษาศาสตร์ ซึ่ง ตอนนั้นเพิ่งตั้งเป็นภาควิชา เป็นวิชาโทคู่ พอ เรียนจบก็ไปเรียนต่อสาขาวรรณคดีอเมริกันที่ มหาวิทยาลัยอินเดียน่า สหรัฐฯ แต่เมื่อเรียน ไปได้ปีนึง พ่อก็เดินทางมาพบและมาบอกว่า จุฬาฯก�ำลังเปิดรับสมัครทุน "ปริญญาขั้นสูง" สาขาปรัชญา เพื่อให้เรียนจนจบปริญญาเอก และกลับมาเป็นอาจารย์ ผมไม่อยากเป็นภาระ ของพ่อแม่ ก็เลยตัดสินใจบินกลับมาสมัครทุน นี้ (ตอนนั้นยังไม่เปิดสาขาภาษาอังกฤษ ไม่ อย่างนั้นตอนนี้คงสอนอยู่ที่ภาคอังกฤษแทน) แล้ว พอได้ก็กลับมาที่อินเดียน่าท�ำเรื่องเปลี่ยน สาขาโดยคงหน่วยกิตเดิมไว้ แล้วก็ย้ายสาขา มาเรียนจนจบปริญญาเอก ท�ำวิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับหนังสือ Critique of Pure Reason ของ Immanuel Kant จบปริญญาเอกในปี พ.ศ. 2534 แล้วก็เริ่มท�ำงานที่คณะมาตั้งแต่ปี นั้น

ท�ำไมอาจารย์ถึงสนใจ/เลือกเรียนปรัชญา วิชาปรัชญามีลักษณะเด่นตรงที่เป็นการศึกษา "รูปแบบ" ของการเป็นความรู้ หมายความว่า เป็นการศึกษาว่าความรู้ต่างๆ มีลักษณะร่วมกัน อย่างไร เพื่อที่จะก�ำหนดล่วงหน้าได้ว่าแบบใด จึงสามารถได้ชื่อว่าเป็น "ความรู้" ได้ ลักษณะ เช่นนี้ไม่มีในศาสตร์อื่นๆ เพราะศาสตร์อื่นๆ จะ ยอมรับไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วว่า ลักษณะแบบ ใดถือเป็นความรู้ ไม่ได้มาตั้งค�ำถามย้อนกลับ แบบปรัชญาว่าอะไรคือความรู้ การที่ปรัชญา เป็นเช่นนี้ท�ำให้ปรัชญาน่าสนใจเพราะเป็นการ วิเคราะห์และอ้างเหตุผลลงไปถึงแก่นรากของ ความเข้าใจของเราทั้งหมด มโนทัศน์พื้นฐาน ของวิชาการสาขาต่างๆ ก็มาจากปรัชญาทั้งสิ้น การเรียนปรัชญาจึงท�ำให้เห็นความเชื่อมโยงกัน ของวิชาการต่างๆ ซึ่งคนไม่ได้เรียนจะไม่มีทาง มองเห็น การมองเห็นความเชื่อมโยงเช่นนี้ท�ำให้ เข้าใจวิชาการต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ อย่ า งมากเวลาคนเรี ย นปรั ช ญาไปเรี ย นสาขา อื่นๆ ที่ว่ามานี้ทั้งหมดจริงๆ ก็ไม่ได้เกี่ยวกะ ค�ำถามว่าท�ำไปถึงสนใจปรัชญา อาจตอบได้ ว่าเพราะปรัชญาเป็นแบบที่ว่ามานี้ เลยสนใจ ก็ได้ คือปรัชญามีความน่าสนใจในตัวของตัวเอง อย่างไรก็ตามอย่างที่บอกไปแล้ว สาเหตุที่เลือก เรียนปรัชญาจนจบปริญญาเอก ก็เป็นเพราะ มีเหตุผลในเชิงปฏิบัติอย่างที่บอกไปแล้ว แต่ เหตุผลที่เลือกเรียนปรัชญาเป็นวิชาโทในระดับ ปริญญาตรี มาจากความสนใจในตัววิชาปรัชญา เอง อาจารย์ คิ ด ว่ า การศึ ก ษาปรั ช ญามี ป ระโยชน์ อย่างไรบ้างคะ มีคนสนใจศึกษาประโยชน์ของการเรียนปรัชญา ไว้มาก ส่วนใหญ่เขาจะเห็นพ้องกันว่า ประโยชน์ หลั ก ของการเรี ย นปรั ช ญาคื อ ท� ำ ให้ ส ามารถ คิดอย่างเป็นนามธรรมได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น เวลานิสิตมาเรียนวิชาการใช้เหตุผล ซึ่งเป็นวิชา ปรัชญาวิชาแรกในหลักสูตร (ตรรกวิทยาถือ เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญามาตั้งแต่สมัยของอา ริสโตเติล กว่าสองพันสี่ร้อยกว่าปีมาแล้ว) สิ่ง แรกๆ ที่นิสิตต้องท�ำคือท�ำความเข้าใจว่าวิชา นี้ไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาอะไรเลย ไม่ได้เกี่ยวกับ


18

โสกราตีส (อย่างในตัวอย่างว่าโสกราตีสเป็นคน คน ทุกคนต้องตาย เพราะฉะนั้นโสกราตีสต้องตาย) ไม่ ได้เกี่ยวกับปลาโลมา ไม่ได้เกี่ยวกับฝนตก หรืออะไร เลยทั้งสิ้น แต่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กันของข้อความ ได้แก่ถ้าข้อความนี้เป็นจริง ข้อความนั้นก็ต้องเป็นจริง ไปด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด วิชาอื่นๆ ไม่มีการท�ำเช่น นี้ (เว้นแต่วิชานั้นยืมเอาหลักการของตรรกวิทยาไป ใช้) การคิดได้ว่าความสัมพันธ์กันของข้อความสามารถ เป็นสาระของวิชาที่ศึกษากันได้ ไม่ใช่เนื้อหาแบบที่ นิสิตเคยเรียนมาตลอดชีวิตตั้งแต่อนุบาลเป็นต้นมา เป็นการ "เปิดโลก" ทางปัญญาของนิสิตอย่างแท้จริง เพราะนิสิตจะเข้าใจว่านอกจากเนื้อหาต่างๆ ที่เป็น ความหมายของประโยคต่างๆ ในข้อความที่ประกอบ กันเป็นองค์ความรู้ที่นิสิตต้องเรียนแล้ว ยังมีเรื่องรูป แบบและความสัมพันธ์กันของข้อความต่างๆ ซึ่งนิสิต เคยมองข้ามมาตลอดด้วย การต้องหันมามองรูปแบบ เช่นนี้ ท�ำให้นิสิตรู้จักคิดอย่างเป็นนามธรรมอย่าง แท้จริง ซึ่งหากนิสิตมีความช�ำนาญในการคิดเช่นนี้ ก็ จะท�ำให้การเรียนวิชาอื่นๆ ท�ำได้อย่างง่ายดายมากขึ้น เพราะได้รับการฝึกฝนมาก่อนแล้ว นอกจากนี้ประโยชน์ส�ำคัญอีกอย่างหนึ่งของปรัชญา ก็คือว่า นิสิตจะได้รับการฝึกฝน (ถ้าในหลักสูตรมี การสอนกันอย่างถูกต้อง) ให้เขียนหนังสือและแสดง ความคิดเห็นที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง เรื่องนี้เป็นเรื่องส�ำคัญ มาก เพราะหากเราสังเกตการเขียนของคนไทยใน ปัจจุบัน เราจะพบว่าการเขียนเหล่านี้ไม่มีความชัดเจน อยู่เลย คือไม่รู้ว่าคนเขียนต้องการสื่อประเด็นอะไร กันแน่ การใช้ค�ำและการก�ำหนดความหมายของค�ำก็ ท�ำอย่างหละหลวมไม่มีความแน่นอนชัดเจนใดๆ เรื่อง นี้เป็นหน้าที่ส�ำคัญที่วงการปรัชญาสามารมอบให้แก่ สังคม ตัวอย่างเช่นค�ำว่า "ประชาธิปไตย" มีการใช้กัน กว้างขวางหลากหลายมาก ในบางกรณีผู้ใช้ค�ำนี้ในการ เขียนหรือการพูดก็ขาดความคงเส้นคงวาหรือความเข้า ใจจริงๆ เกี่ยวกับความหมายของค�ำๆ นี้จนท�ำให้งาน เขียนปั่นป่วนไปหมด ไม่สามารถสื่อเนื้อความที่ชัดเจน ให้แก่ผู้อ่านได้ ทั้งนี้ผมไม่ได้หมายความว่า การเขียน เกี่ยวกับประชาธิปไตย ผู้เขียนต้องมีทรรศนะแบบใด แบบหนึ่งเกี่ยวกับระบอบการปกครองแบบนี้ แต่ไม่ ว่าจะมีทรรศนะแบบใด การมีความชัดเจนแจ่มแจ้งใน การเขียน ไม่มีความคลุมเครือ มีเหตุผล ก็เป็นลักษณะ ส� ำ คั ญ ที่ จ ะท� ำ ให้ ผู ้ เ ขี ย นสามารถสื่ อ เนื้ อ ความของ ตนเองออกไปจนท�ำให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามได้ เรื่อง

นี้ยังขาดอยู่มากในการเรียนการสอนของ ประเทศไทย ตั้งแต่ระดับประถมเป็นต้นมา เลย เราต้ อ งไม่ ลื ม ว่ า วิ ช าปรั ช ญาในระดั บ ปริ ญ ญาตรี อ ย่ า งที่ ส อนในคณะอั ก ษร ศาสตร์ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของหลั ก สู ต รอั ก ษร ศาสตรบัณฑิตซึ่งมีอยู่หลักสูตรเดียว ไม่ แยกเป็นหลายๆ หลักสูตรตามวิชาเอก เหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ เรื่องนี้เป็น เรื่องที่ดี เพราะการพูดถึงประโยชน์ของ ปรัชญาในระดับปริญญาตรีจะเป็นไปไม่ได้ เลยหากเราแยกเอาปรัชญาออกมาจากวิชา อื่นๆ ที่นิสิตต้องเรียนในระดับปริญญาตรี ประเด็นของผมคือว่าประโยชน์อะไรก็ตาม ที่ได้จากการเรียนปรัชญาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อ เมื่อปรัชญาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่มี วิชาอื่นๆ เรียนพร้อมๆ กันไปด้วย เช่น

วรรณคดีกับประวัติศาสตร์ เราไม่สามารถ มีคนจบวิชาเอกปรัชญาที่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยว กับวรรณคดีหรือประวัติศาสตร์ได้ เพราะ เนื้อหาของเรื่องเหล่านี้เกี่ยวข้องกันอย่าง แยกไม่ออก และที่ส�ำคัญก็คือว่า ประโยชน์ จากการเรียนวิชาปรัชญา ก็เป็นประโยชน์ อย่างเดียวกันกับการเรียนประวัติศาสตร์ กับวรรณคดีด้วย ตัวอย่างเช่นความคิด เชิงวิจารณ์ เราอาจคิดว่าเป็นงานของวิชา ปรัชญาโดยตรง แต่จริงๆ แล้ววิชาอื่นๆ เขาก็ สอนให้นิสิตรู้จักความคิดเชิงวิจารณ์เหมือน กัน เพียงแต่ว่าเขาเน้นในแบบของเขา สิ่ง ส�ำคัญก็คือว่า นิสิตมองเห็นความเชื่อมโยง กันของสิ่งต่างๆ ด้วยเหตุนี้ถึงมีข้อบังคับว่า นิสิตอักษรในระดับปริญญาตรีต้องเรียนทั้ง ปรัชญา วรรณคดี และประวัติศาสตร์ไปด้วย กัน รวมทั้งภาษาต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องมือใน

“...ประโยชน์อะไรก็ตามที่ได้จากการเรียนปรัชญาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ปรัชญาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่มีวิชาอื่นๆ เรียนพร้อมๆ กันไปด้วย เช่นวรรณคดีกับประวัติศาสตร์ เราไม่สามารถมีคนจบวิชาเอกปรัชญาที่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับวรรณคดีหรือ ประวัติศาสตร์ได้ เพราะเนื้อหาของเรื่องเหล่านี้เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก และที่สำ�คัญก็คือว่า ประโยชน์จากการเรียนวิชาปรัชญา ก็เป็นประโยชน์อย่างเดียวกันกับการเรียนประวัติศาสตร์กับวรรณคดีด้วย..."


19

การหาความรู้ในศาสตร์เหล่านี้ด้วย ด้ ง นั้ น เวลามี ใ ครมาถามว่ า วิ ช าปรั ช ญามี ประโยชน์อย่างไร และจะให้ปรัชญา "ปกป้อง ตัวเอง" ต่อข้อเสนอของบางมหาวิทยาลัยที่จะ ให้ยุบวิชานี้ไป ผมมักจะตอบว่าหากเราเห็น ความส�ำคัญของวิชามนุษยศาสตร์ทั้งหมด เราก็ เลือกไม่ได้ที่จะต้องเก็บรักษาวิชาปรัชญาเอาไว้ เพราะหากเราเห็นว่าวิชาอักษรศาสตร์ส�ำคัญ วิชาปรัชญาก็ต้องมีความส�ำคัญไปด้วย เพราะ ปรัชญาแยกออกไม่ได้จากวิชาอักษรศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์ อาจารย์บางท่านในคณะ อาจคิ ด ว่ า นิ สิ ต ควรจะเน้ น วิ ช าที่ เ น้ น วิ ช าชี พ เพื่อให้ออกไปท�ำงานได้ทันที เช่นการฝึกนัก แปลหรือล่าม อันนั้นเป็นสิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับ สังคมปัจจุบัน แต่นักแปลหรือล่ามจะเป็นนัก แปลหรือล่ามที่ดีไม่ได้หากไม่ได้เรียนปรัชญา มาบ้าง เพราะปรัชญามีประโยชน์มากๆ ใน การฝึกการจับประเด็นและการเรียบเรียงความ คิด การเป็นล่ามที่ดีต้องรู้เนื้อหาของเรื่องที่ ตัวเองจะล่าม และก็ไม่มีอะไรดีกว่าปรัชญาใน การฝึกให้เกิดความรู้กว้างๆหรือทักษะในการ

หาความรู้และมองเห็นความเชื่อมโยงของสิ่ง ต่างๆ มากเท่าปรัชญา จริงๆ แล้วความช�ำนาญ เหล่านี้ก็ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะคนเป็นนักแปล หรือล่ามเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อการ ประกอบอาชีพทั้งหมดอีกด้วย ปัจจุบันมีการเรียนการสอนปรัชญาในระดับ มหาวิทยาลัย อาจารย์คิดว่าควรมีการเรียนการ สอนวิชานี้ในโรงเรียนไหมคะ ควรอย่างยิ่ง จริงๆ แล้วควรจะมีตั้งแต่ระดับ ประถมด้วยซ�้ำ ปรัชญาเริ่มต้นที่การถาม ค�ำถาม แล้วเด็กๆ ก็มักจะมีค�ำถามต่างๆ ออก มาเป็นธรรมชาติของเด็กเอง ดังนั้นเราจึงพูด ได้ว่าปรัชญากับเด็กๆ มีธรรมชาติแบบเดียวกัน การเรียนในโรงเรียนในประเทศไทย (โดย เฉพาะโรงเรียนของรัฐ ส่วนโรงเรียนอินเตอร์ มักจะไม่มีปัญหานี้) บ่อยครั้งมากเป็นการ ท� ำ ลายความคิ ด สร้ า งสรรค์ แ ละพรสวรรค์ ในการตั้งค�ำถามของเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องน่า เสียดาย และมีส่วนอย่างมากในการลดระดับ ความสามารถในการแข่ ง ขั น ของระบบการ

ศึ ก ษาไทยในระดั บ นานาชาติ อ ย่ า งที่ เ ห็ น กั น อยู่ ดังนั้นการให้โอกาสนักเรียนตั้งแต่ระดับ ประถมขึ้ น มาได้ เ รี ย นปรั ช ญาจึ ง มี ป ระโยชน์ มากในการเพิ่มคุณภาพการศึกษาไทย การ เรียนปรัชญาในโรงเรียนก็ไม่ใช่ว่าเราจะเรียน แบบเดียวกับในมหาวิทยาลัย ในโรงเรียนเรา ไม่มีความจ�ำเป็นที่จะต้องให้นักเรียนรู้เนื้อหา ของวิชาปรัชญาอย่างละเอียด เพราะเขาจะ ได้เรียนในมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว หรือหาอ่าน เอาจากหนังสือต่างๆ ได้ สิ่งที่นักเรียนควร จะได้รับก็คือโอกาสในการตั้งค�ำถาม และ โอกาสในการค้ น คว้ า หาค� ำ ตอบต่ อ ค� ำ ถาม เหล่ า นั้ น ได้ อ ย่ า งเต็ ม ที่ แ ละอย่ า งเป็ น อิ ส ระ ตัวอย่างเช่น เราอาจตั้งเวทีสนทนากับ นั ก เรี ย นเพื่ อ ค้ น คว้ า และอภิ ป รายเกี่ ย วกั บ ปัญหาเช่น โลกท�ำด้วยอะไร หรือความดีคือ อะไร การกระท�ำแบบใดเรียกว่าการกระท�ำ ที่ดี นักเรียนมีโอกาสในการคิดเกี่ยวฃวกับ เรื่องนี้อย่างเป็นอิสระ ไม่เหมือนกับที่เคย เรียนๆ กันมาที่ครูเป็นฝ่ายบอกอยู่ฝ่ายเดียว ว่าความดีคืออะไร แต่นักเรียนอาจจะมาคิด


20

เรื่ อ งนี้ กั บ กรณี ศึ ก ษาที่ ก ระตุ ้ น ให้ เ กิ ด ความ คิด ซึ่งตัวอย่างเหล่านี้มีอยู่มากในวิชา จริยศาสตร์ ประเด็นก็คือว่าเราไม่จ�ำเป็นต้อง ให้นักเรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆ เช่ น ประโยชน์ นิ ย มหรื อ จริ ย ศาสตร์ ข องคา นท์ แต่เขาได้รับโอกาสในการใช้เหตุผลและ ความคิดอย่างเสรี ตัวอย่างเช่นอาจมีการตั้ง โจทย์ให้นักเรียนช่วยกันคิดว่า ภูมิภาคแห่ง หนึ่ ง ก� ำ ลั ง ขาดแคลนไฟฟ้ า เนื่ อ งจากมี ก าร ขยายตัว โรงไฟฟ้าที่มีอยู่ไม่มีก�ำลังพอจะผลิต ไฟฟ้าในเพียงพอได้ มีข้อเสนอว่าให้สร้างโรง ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากถ่านหิน โดยขนมา จากย่านใกล้เคียง แล้วก็ให้นักเรียนอภิปราย เกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของนโยบายนี้ ใน การเรี ย นทั่ ว ไปครู มั ก จะตั ด สิ น ใจให้ นั ก เรี ย น เรียบร้อยแล้ว แต่ในการเรียนปรัชญา ครูจะเป็น เพียงคนคอยชี้ให้นักเรียนพูดแล้วก็สรุปประเด็น หรืออาจไม่ต้องสรุปก็ได้ แต่ให้นักเรียนทุกคน ได้พูดอย่างอิสระ ที่เสนอนี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง เท่านั้น การเรียนปรัชญาในระดับโรงเรียนมีราย ละเอียดอีกมาก และหลายประเทศก็ได้เริ่มท�ำ ไปแล้ว มีงานวิจัยหลายชิ้นให้ผลตรงกันว่าการ เรียนปรัชญาในระดับโรงเรียน ส่งผลโดยตรง ต่อความสามารถทางวิชาการของนักเรียนใน วิชาอื่นๆด้วย ทราบมาว่าอาจารย์ด�ำรงต�ำแหน่งนายกสมาคม ปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย และ เห็ น ว่ า ช่ ว งที่ ผ ่ า นมาทางสมาคมมี บ ทบาทใน การเปิ ด พื้ น ที่ ท างวิ ช าการและผลั ก ดั น เกี่ ย ว กับการศึกษาวิจัยทางด้านปรัชญาทั้งในระดับ อุดมศึกษาและในโรงเรียน อยากให้อาจารย์ ช่วยเล่าถึงพันธกิจหรือตัวอย่างกิจกรรมของ สมาคมฯ ให้ฟังหน่อยค่ะ สมาคมปรั ช ญาและศาสนาแห่ ง ประเทศไทย (http://www.parst.or.th/) เป็นสมาคม วิ ช าชี พ ของผู ้ ส อนปรั ช ญาและศาสนาศึ ก ษา ในประเทศไทย เป็นเวทีที่ให้ผู้สอนวิชาเหล่า นี้ ไ ด้ ม าแลกเปลี่ ย นทรรศนะและผลงานวิ จั ย ต่างๆ และส่งเสริมการเรียนวิชาปรัชญาใน ประเทศ และเนื่องจากการเรียนปรัชญาใน ระดั บ โรงเรี ย นประถมและมั ธ ยมมี ป ระโยชน์

อย่างมากทั้งแก่นักเรียนและประเทศชาติโดย รวมดังที่ได้กล่าวไปแล้ว สมาคมฯ จึงได้จัด กิจกรรมหลายอย่างเพื่อสร้างความตระหนักรู้ แก่ประชาชนถึงความส�ำคัญตรงนี้ ที่ได้จัดไป แล้วก็มีกิจกรรมเสวนาทั้งใน กทม. และในต่าง จังหวัด เช่นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งได้เชิญผม ผศ.ดร.สิริเพ็ญ พิริยจิตรกร กิจ และอ.ดร.พุฒวิทย์ บุนนาค ซึ่งในการ ประชุมครั้งนั้นทางมหาวิทยาลัยราชภัฏได้เชิญ ศึกษานิเทศก์ และอาจารย์ในโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียงมา ร่วมฟังด้วยกว่าหนึ่งร้อยคน นอกจากนี้สมาคม ก็ก�ำลังจัดกิจกรรมโอลิมปิคปรัชญานานาชาติ ซึ่งได้จัดสอบคัดเลือกนักเรียน ได้ตัวแทน ประเทศไทยมาสองคน ซึ่งจะไปร่วมแข่งขัน โอลิมปิคนานาชาติที่เมืองบาร์ ประเทศมอนเต เนโกรในระหว่างวันที่ 23 ถึง 27 พฤษภาคม ศกนี้ ในการสอบคัดเลือกเราใช้วิธีการเดียวกัน กับที่แข่งขันระดับนานาชาติ คือให้กรรมการ ออกโจทย์มาเป็นข้อความที่คัดมาจากข้อเขียน ของนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงมาให้ผู้เข้าสอบเลือก แล้วผู้เข้าสอบเขียนบทความหนึ่งบทเพื่อแสดง ปฏิสัมพันธ์กับข้อความนั้นในเชิงอธิบาย โต้ แย้ง หรือสนับสนุนข้อเสนอในข้อความนั้นด้วย เหตุผล โดยมีเวลาให้เขียนคนละสี่ชั่วโมง เป็น ภาษาอังกฤษ กรรมการที่อ่านข้อสอบต่างก็ ประหลาดใจว่านักเรียนระดับมัธยมปลายเหล่า นี้หลายคนเขียนบทความเป็นภาษาอังกฤษได้ดี มาก ผิดคาด เพราะคิดว่านักเรียนคงเขียนภาษา อังกฤษไม่ได้ดีเท่าใดนัก แต่เมื่ออ่านค�ำตอบ กันแล้ว กรรมการก็เห็นพ้องกันว่าส่งนักเรียน ไปแบบนี้ ไม่น่าท�ำให้ประเทศไทยต้องอับอาย แต่อย่างใด แต่จะเป็นประโยชน์มากๆ แก่ตัว นักเรียนเอง และที่ส�ำคัญก็คือว่าสมาคมฯ ตั้งใจ ว่ า การเปิ ด โอกาสให้ นั ก เรี ย นไปร่ ว มแข่ ง ขั น โอลิมปิคปรัชญาครั้งแรกในประวัติศาสตร์นี้ จะ จุดประกายให้เกิดความสนใจให้มีการเรียนวิชา ปรัชญาในระดับมัธยมและในระดับประถมต่อ ไป นอกจากนี้สมาคมก็มีกิจกรรมที่ท�ำเป็นประจ�ำ ได้แก่การจัดอบรมกลางปี ซึ่งในปีนี้ตกลงกัน ว่าจะจัดในหัวข้อ "จริยธรรมทางวิชาการ"

(academic ethics) งานนี้คาดว่าจะจัดใน เดือนพฤษภาคมนี้ และการประชุมใหญ่ประจ�ำ ปีซึ่งจะจัดในเดือนธันวาคม สถานที่จะประกาศ ให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง ความประทับใจต่อคณะอักษรศาสตร์ สิ่งที่ผมประทับใจมากที่สุดก็คือว่า ผมเติบโตมา กับคณะอักษรศาสตร์มาตั้งแต่เป็นนิสิตปีหนึ่ง ตอนนั้นอายุยังไม่ถึง 18 ปีเลย ก็ตื่นเต้นไปกับ โอกาสทางวิ ช าการและโอกาสในการพั ฒ นา ตัวเองให้เป็นผู้ใหญ่ที่ได้จากทั้งคณาจารย์ รุ่น พี่และเพื่อนๆ ในคณะ จนมาถึงปัจจุบันผม อายุ 56 แล้ว ก็อยู่กับคณะมาตลอด จะเรียก ได้ว่าความประทับใจสูงสุดที่มีต่อคณะ คือการ ที่คณะเปิดโอกาสให้นิสิตแสวงหาตัวเอง และ พัฒนาตัวเองในแบบที่ตัวเองคิดว่าเหมาะสม ที่สุดส�ำหรับตัวเอง ผมยังจ�ำได้ว่ามีวิชาหนึ่งที่ นิสิตปีหนึ่งทุกคนในสมัยนั้นต้องเรียน คือวิชา พัฒนาการของวรรณกรรมตะวันตก วิชานี้คิด ว่าปัจจุบันไม่มีเป็นวิชาบังคับแล้ว ที่จ�ำได้และ ประทับใจมาถึงตอนนี้ก็คือว่า ต�ำราของวิชานี้ เล่มใหญ่มาก เป็นกระดาษพิมพ์ดีดโรเนียวเย็บ เป็นเล่ม ราว 500 กว่าหน้าได้ บรรจุไปด้วย บทสรุปและตัวอย่างของงานวรรณกรรมในโลก ตะวันตกตั้งแต่สมัยกรีก โรมัน มาจนถึงยุโรป ศตวรรษที่ยี่สิบ ที่ประทับใจจริงๆ ไม่ใช่หนังสือ เล่มใหญ่เล่มนี้ แต่เป็นเนื้อหาในหนังสือ ที่ท�ำให้ ผมมองเห็ น ภาพพั ฒ นาการของวรรณกรรม แบบมุมกว้างมากๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานให้แก่การ เข้าใจเรื่องอื่นๆ ที่จะเรียนในคณะรวมทั้งวิชา ต่างๆ ของภาคปรัชญาได้เป็นอย่างดี บังเอิญผม จ�ำไม่ได้แล้วว่าวิชานี้ใครเป็นคนสอน ถ้าจ�ำไม่ ผิดคงมีคนสอนหลายคนผลัดกันมา เดี๋ยวนี้นิสิต ไม่มีประสบการณ์หอบหนังสือเล่มใหญ่ๆ แบบ นี้เวลาเรียนแล้ว เพราะทุกอย่างอยู่ในรูปไฟล์ดิ จิตัลหมด เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างหนึ่ง


21

ปฏิทินกิจกรรมคณะอักษรศาสตร์ เดือนมีนาคม 2561

20

21

22

23

ฝ่ายวิชาการ ก.อศ.

ภาควิชาประวัติศาสตร์

สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้

ฝ่ายวิชาการ ก.อศ.

เควียร์มุสลิม อมนุษย์ และความ เป็ น อื่ น ในสามจั ง หวั ด ชายแดน ภาคใต้ โดย คุณสมัคร์ กอเซ็ม (เวลา 16:30 - 18:30 น. ณ ห้อง อเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหา จักรีสิรินธร )

การกลั บ มาของการเมื อ งขวาจั ด ในยุโรป โดย อ.ดร.ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา และวุฒิชัย ม่องพร้า (เวลา 16:30 - 18:30 น. ณ ห้อง 401/18-19 อาคารมหาจักรีสิรินธร)

"มิงกะลาบา-ภารตะ: บาลีสันสกฤต ในเมียนมา" โดย คุณวทัญญู ฟักทอง (เวลา 13:00 - 16:00 น. ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี)

มุ ม มองเรื่ อ งความเท่ า เที ย มทาง เพศในสังคม โดย คุณวิภาพรรณ วงษ์สว่าง (เวลา 16:30 - 18:30 น. ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร)

27

28

28

29

ฝ่ายพัฒนาความเป็นนานาชาติ ฝ่ายวิจัย BALAC ภาค ฝ่ายพัฒนาความเป็นนานาชาติ ฝ่ายวิจัย BALAC ภาค วิชาภาษาอังกฤษ ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ วิชาภาษาอังกฤษ ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ

ภาควิชาประวัติศาสตร์

ฝ่ายพัฒนาความเป็นนานาชาติ ฝ่ายวิจัย BALAC ภาค วิชาภาษาอังกฤษ ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ

Teaching Writing and Literature Courses Online: What Works? What Doesn’t? โดย Dr. Brian C. Lewis (เวลา 13:30 - 15:30 น. ณ ห้อง 301/2 อาคารมหาจักรีสิรินธร)

The Role of Diversity in the Changing Canon of American Literature โดย Dr. Brian C. Lewis (เวลา 13:00 - 15:00 น. ณ ห้อง 501/29 อาคารมหาจักรี สิรินธร)

ท�ำไมภาษาอังกฤษไม่ไปไหนสักที? การจัดการศึกษาภาษาอังกฤษจาก ยุคอาณานิคมถึงยุครัฐชาติ โดย อ.ดร.อาวุธ ธีระเอก (เวลา 16:30 - 18:30 น. ณ ห้อง 401/18-19 อาคารมหาจักรีสิรินธร)

Teaching Graphic Novels in American Literature Courses โดย Dr. Brian C. Lewis (เวลา 10:00 - 12:00 น. ณ ห้อง 708 อาคารบรมราชกุมารี)

29

30

30

30

ฝ่ายวิชาการ ก.อศ.

ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ

ฝ่ายพัฒนาความเป็นนานาชาติ ฝ่ายวิจัย BALAC ภาค วิชาภาษาอังกฤษ ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ

ภาควิชาภาษาศาสตร์

Embracing Gender Diversity and Ensuring Human Dignity : ทะนุถนอมความหลากหลาย ของเพศสภาพและตอบสนอง ต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณวิทิต มัน ตาภรณ์ (เวลา 16:30 - 18:30 น. ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร)

ดิสโทเปีย แฟนตาซี ในโลก วรรณกรรมของจิดานันท์ เหลือง เพียรสมุท โดย จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท และนิวัต พุทธ ประสาท (เวลา 10:00 - 12:00 น. ณ ห้อง 707 อาคารบรมราชกุมารี)

Gender Trouble in a World of Alternative Facts: Transgender Identity in Contemporary American Literature and Culture โดย Dr. Brian C. Lewis (เวลา 13:00 - 15:00 น. ณ ห้อง 404 อาคาร บรมราชกุมารี)

A syntactic Universal in a contact language: The story of Singlish already โดย Michael Yoshitaka Erlewine (เวลา 13:30 - 14:30 น. ณ ห้อง 401/17 อาคารมหาจักรีสิรินธร)


22

Year 10, No. 6: 17 March 2018 News from the International Affairs Section

Guests from Aoyama Gakuin University

On March 15, 2018, the Faculty of Arts

culture. At the moment, there are more

international

welcomed

traffic

between

the

two

Aoyama

outbound than inbound students for the

universities. Aoyama Gakuin agreed to

The group,

Faculty of Arts due to the high English

increase the number of incoming students

Sumire Kiriyama, Mika Miyake, and

proficiency required by the Faculty of Arts.

majoring in Japanese from their Faculty

Tadashi Nakamura, dropped by at the

To encourage more Japanese students

from five to ten students.

BALAC program to share information

to spend time at the Faculty, a tailor-

on the exchange program that has been

made Summer Program organized by

Founded in 1949 and highly regarded

continuous between the two universities.

the Faculties’ Academic Services Center

At Aoyama Gakuin, the current exchange

(CASCA) was proposed for a group of

students from the Faculty of Arts are

international students who wish to visit

performing impressively both in academic

Thailand and to learn more about Thai

and extra-curricular activities.

culture without having to join an exchange

delegates

from

Gakuin University, Japan.

One of

them demonstrated her leadership by

program.

becoming a leading figure in English

Last year, the MoU between Aoyama

language activities. At the Faculty of Arts, Aoyama Gakuin students are having a great time immersing themselves in Thai

universities in Japan, Aoyama Gakuin University

is

a

Japanese

Christian

university with two campuses located in Tokyo and Kanagawa. Among its most celebrated alumni are Hajime Satomi, President of SEGA, and Ryo Morikawa,

Gakuin and the Faculty of Arts was renewed

as one of the most prestigious private

to

further

strengthen

the

academic relationship and increase the

President of LINE Corporation.


23 Academic Affairs Section, the Arts Student Committee

The Academic Affairs Section of the Arts Student Committee, Faculty of Arts, Chulalongkorn University, cordially invites students, activists, academics and the interested public to attend a lecture series on the topic of “Transcending Tolerance: On Embracing and Implementing Gender Diversity”. Each session of this lecture series is held to raise awareness and disseminate a deeper understanding of gender diversity to the public. Each event serves as a platform where students, activists, academics and the interested public can connect, share and exchange knowledge and experiences. The ultimate objective of this lecture series is the implementation of gender diversity in all aspects of life lived in the 21st century for all sexes and in all areas of profession, as well as in all spheres and on all levels —legal, social, cultural, political and economic. Each public lecture held as part of the series will be lecture-based with Q&A sessions. On 3 April 2018, there will be a screening of a film entitled “The Blue Hour” and post-screening discussion with the film director, Anucha Boonyawatana. For each lecture, there will be a summary essay contest. Upon submission, the essays will be judged by the speakers. The selected ones will be published in a collection of articles and essays, which also includes articles by the guest speakers. Copies of the collection will be distributed to governmental as well as non-governmental organizations, and particularly to the libraries of various institutions after the lecture series. Dates: 20, 23, 27, 29 March and 3, 5 April 2018 Time:16.30 -18.30 hrs Place: Auditorium, 9th floor, Maha Chakri Sirindhorn Building, Faculty of Arts, Chulalongkorn University Language: Thai Facebook Page: vichakarnartscu

http://facebook.com/

Registration (For 20 & 23 March Events): https://goo.gl/forms/fz5glTCOtkakg9uj1

a lecture series “Transcending Tolerance: On Embracing and Implementing Gender Diversity”


24

Public Lecture Series TRANSCENDING TOLERANCE: ON EMBRACING TOLERANCE AND IMPLEMENTING GENDER DIVERSITY

20 March 2018

“Muslim Queer, the Nonhuman and Otherness in Southern Border Provinces of Thailand” By Samak Kosem (Researcher at Center of Excellence on Women and Social Security)

“When an Exhibition Arranges Gender Diversity” By Museum Siam

23 March 2018

“Perspectives on Gender Equality in Society” By Representative from “Thaiconsent” Facebook Page

27 March 2018

(To be announced)

29 March 2018

“Embracing Gender Diversity and Ensuring Human Dignity” By Professor Emeritus Dr. Vitit Muntarbhorn (Distinguished Scholar at Faculty of Law, Chulalongkorn University, the first Independent Expert on the Protection against Violence and Discrimination based on Sexual Orientation and Gender Identity)

3 April 2018

Film screening and post-watch discussion “Romantic Teenager, Sexual Power and Horror Nightmare” featuring The Blue Hour By Anucha Boonyawatana (Director of The Blue Hour and Malila)

5 April 2018

(To be announced) By Nada Chaiyajit (Gender diversity activist, project coordinator of “Safeguarding the Rights of Population with Respect to Sexual Orientation and Gender Identity” at The World Bank Office, Bangkok) Kath Khangpiboon (Gender diversity activist and one of the co-founders and currently group worker of Thai Transgender Alliance)


25

CALENDAR OF EVENTS 20

21

Academic Affairs Section, Department of History The Arts Student Committee “Muslim Queer, the Nonhuman The Return of Far Right Poland Otherness in Southern itics in Europe by Tul IsranBorder Provinces of Thailand” gula na Ayudhya, PhD, and By Samak Kosem (16:30-18:30 Wutthichai Mongpra (16:30hrs, 9th floor, Maha Chakri Sir18:30 hrs, Room 401/18-19, indhorn Building) Maha Chakri Sirindhorn Building)

27

28

22

23

South Asian Languages Section

Academic Affairs Section, The Arts Student Committee “Perspectives on Gender Equality in Society” by Representative from “Thaiconsent” Facebook

"Pali Sanskrit in Myanmar" by Watanyu Fakthong (13:0016:00 hrs, Room 707, Borom-

Page (16:30-18:30 hrs, 9th floor,

rajakumari Building)

Maha Chakri Sirindhorn Building)

28

International Affairs Section, Research International Affairs Section, Research Department Section, BALAC, Department of English and Section, BALAC, Department of English and Department of Comparative Literature Department of Comparative Literature

29 of History

International Affairs Section, Research Section, BALAC, Department of English and Department of Comparative Literature

Teaching Writing and Liter- The Role of Diversity in the Managing the Education of ature Courses Online: What Changing Canon of American English from the Colonial Works? What Doesn’t? by Dr. Literature by Dr. Brian C. Lewis Period to the Age of NaBrian C. Lewis (13:30-15:30 (13:30-15:30 hrs, Room 301-2, tion-State by Arwut Teeraeak,

Teaching Graphic Novels in

hrs, Room 301-2, Maha Chakri Maha Chakri Sirindhorn Building) PhD (16:30-18:30 hrs, Room Sirindhorn Building) 401/18-19, Maha Chakri Sir-

Chakri Sirindhorn Building)

American Literature Courses by Dr. Brian C. Lewis (13:3015:30 hrs, Room 301-2, Maha

indhorn Building)

29

30

30

30

Academic Affairs Section, The Arts Student Committee

Department of Comparative Literature

International Affairs Section, Research Section, BALAC, Department of English and Department of Comparative Literature

Department of Linguistic

Embracing Gender Diversity "Dystopia and Fantasy in the Gender Trouble in a World and Ensuring Human Dignity Literary World of Jidanan Lu- of Alternative Facts: Transby Professor Emeritus Dr. engpiansamut" by Jidanan gender Identity in ContempoVitit Muntarbhorn (16:30- Luengpiansamut and Niwat rary American Literature and 18:30 hrs, 9th floor, Maha Puttaprasart (10:00-12:00 hrs, Culture by Dr. Brian C. Lewis Chakri Sirindhorn Building) Room 707, Boromrajakumari (13:00-15:00 hrs, Room 404, Building)

A syntactic Universal in a contact language: The story of Singlish already by Michael Yoshitaka Erlewine

(13:30-

14:30 hrs, Room 401/17, Maha Chakri Sirindhorn Building)

Maha Chakri Sirindhorn Building)

The Faculty of Arts Public Relations and Internal Communications Assistant Professor Dr Siraprapa Chavanayarn –PR Coordinator

Please send any announcements or information on your current as well as past events to Ms Kankanok Chimsang at artspr08@hotmail.com, pr.arts.chulalongkorn@gmail.com Tel. 662 218 4885


The Faculty of Arts Public Relations and Internal Communications Assistant Professor Dr Siraprapa Chavanayarn –PR Coordinator

Please send any announcements or information on your current as well as past events at artscu.net Tel. 662 218 4885


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.