“จุดคานงัด” ประเทศไทยเพื่อฝ่าวิกฤตการณ์สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่ซับซ้อน

Page 1

october features

“จุดคานงัด” ประเทศไทย เพื่อฝ่าวิกฤตการณ์สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่ซับซ้อน สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ( a r c h i m e d e s & t h e l a w o f l e ve r )

"Magnitudes are in equilibrium at distances reciprocally proportional to their weights" 274 o c t o b e r

o c t o b e r 275


“ขอที่และคาน ยาวๆ สั ก อั น ผมจะงั ด โลก ให้ด”ู –อาคิมดี สิ (นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ และวิศวกร ชาวกรีก เกิดเมื่อ 287 ปีก่อนคริสตกาล)

276 o c t o b e r

1 แนวคิดเรื่อง “จุดคานงัด”

h

แนวความคิดเรื่อง “จุดคานงัด” เป็นแนวความคิดตามโลกทัศน์แบบ จักรกล (Mechanistic Worldview) ในอียปิ ต์โบราณ ผูส้ ร้างอาคารหรือพีระมิด สามารถย้ายและยกโอบีลิสก์ (Obelisk) ซึ่งมีนํ้าหนักกว่า 100 ตันได้ เพราะ มีคานช่วยทุ่นแรง เสน่ห์ของแนวคิดเรื่อง “จุดคานงัด” ก็คือ เราสามารถใช้ พลังงานหรือทรัพยากรที่มีอยู่จำ�กัดในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดู เหมือนเกินกำ�ลังได้ “จุดคานงัด” จึงเป็นเสมือน “จอกศักดิ์สิทธิ์” (The Holy Grail) ที่นักปฏิรูปสังคมมุ่งเสาะแสวงหา ปัญหาก็คือ เราจะหา “จุดคานงัด” ในการปฏิรูปสังคมได้ที่ไหน? การจะตอบคำ�ถามดังกล่าวได้ เราจะต้องตอบคำ�ถามเชิงอุปมาอุปไมย ต่อไปนี้ให้ได้ทั้งชุดก่อนว่า อะไรคือ “ไม้คาน” (lever) ที่จะใช้งัดปัญหา? อะไร คือ “จุดคํ้าจุน” (fulcrum) ที่จะรองรับไม้คาน? และเราจะหา “จุดคานงัด” หรือ ตำ�แหน่งที่จะเอาจุดคํ้าจุนไปวางได้อย่างไร? ในความเห็นของผู้เขียน “ไม้คาน” ก็คือเครื่องมือของนักปฏิรูป ในการเปลี่ยนนโยบายสาธารณะ ซึ่งจะขอกล่าวถึงในหัวข้อที่ 2 ส่วน “จุด คํา้ จุน” ก็คอื สิง่ ทีร่ องรับการใช้เครือ่ งมือการปฏิรปู ทีท่ ำ�ให้เครือ่ งมือนัน้ สามารถ แสดงศักยภาพออกมาได้ ซึ่งจะขอกล่าวถึงในหัวข้อที่ 3 ในขณะที่การหา “จุดคานงัด” หมายถึง การที่นักปฏิรูปจะต้องอ่านความเคลื่อนไหวในสังคมให้ ออก เพื่อจะได้รู้ว่าต้องมีจังหวะก้าวในการปฏิรูปสังคมอย่างไร ซึ่งจะกล่าวถึง o c t o b e r 277


ภาพที่ 1 การเปลี่ยนแปลงของระดับความแพร่หลายรูปตัว S

ในหัวข้อแรกนี้ “จุดคานงัด” ในการปฏิรูปสังคมมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร? เพื่อตอบ คำ�ถามนี้ ผู้เขียนจะขอทบทวนปรากฏการณ์ธรรมชาติและปรากฏการณ์ทาง สังคมทั้งในและนอกวงการธุรกิจ ว่ามีสถานการณ์ใดบ้างที่การเปลี่ยนแปลง เล็กๆ สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่กว่ามาก โดยใช้แบบจำ�ลอง หรือ “โมเดล” 5 แบบจำ�ลองคือ “รอเวลา” (waiting for taking off) “ยืมแรง” (leveraging) “ลดคอขวด” (de-bottlenecking) “ผีเสื้อกระพือปีก” (butterfly effect) และ “สร้างเงื่อนไขสุกงอม” (pushing to the tipping point)

1.1 โมเดล “รอเวลา”

h ตัวอย่างปรากฏการณ์การเปลีย่ นแปลงทีม่ ากับเวลาคือ การทีป่ ระเทศ หนึ่งก้าวเข้าสู่ยุคใช้รถยนต์มาก (Motorization Phase) จนกลายเป็นสังคม รถยนต์ ซึง่ มักเกิดขึน้ ตามระดับรายได้ของประชากรในประเทศนัน้ เช่นเดียว กับการรับเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งสัมพันธ์กับรายได้ของประชากร เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โดยระดับของความแพร่หลายมักเป็นรูปตัว S ดังภาพที่ 1 กล่าวคือ ในช่วงแรกจะมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่เมื่อถึง จุดหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงก็จะพุ่งทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว (Takeoff) ก่อนที่จะ ค่อยๆ ชะลอตัวลงเมื่อใกล้จะถึงจุดอิ่มตัว

278 o c t o b e r

ตามโมเดลนี้ นักปฏิรูปสังคมอาจไม่ต้องทำ�อะไรมาก เพราะการ เปลี่ยนแปลงใหญ่จะเกิดขึ้นเองเมื่อเวลามาถึง สิ่งที่จำ�เป็นต้องทำ�ก็คือ การ อ่านแนวโน้มการเปลีย่ นแปลงใหญ่ๆ ทีม่ คี วามสำ�คัญ (Megatrend) ทีจ่ ะเกิดขึน้ เช่น แนวโน้มด้านโครงสร้างประชากร (Demography) เศรษฐกิจ เทคโนโลยี หรือการศึกษา แล้วลงมือดำ�เนินการเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งในจังหวะนั้น การออกแรงเพียงเล็กน้อยก็จะได้ผลมาก เช่น สามารถใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ ในการปฏิรูปการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผลเมื่อระดับการใช้อินเทอร์เน็ตใน ประเทศถึงจุดทะยานขึ้นพอดี อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี นักปฏิรูปสังคมอาจ “เร่งเวลา” ให้การ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาถึงเร็วขึ้น เช่น การ “ลดคอขวด” (De-bottleneck) หรืออุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งจะกล่าวถึงในโมเดล ที่ 3 นอกจากนี้ นักปฏิรูปสังคมอาจใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อสังคม (Social o c t o b e r 279


Marketing) ในการเร่งให้การเปลี่ยนแปลงเกิดเร็วขึ้น เช่นเดียวกับการที่นัก การตลาดในภาคธุรกิจใช้กัน ทั้งนี้ กลยุทธ์การตลาดเพื่อสังคมอาจใช้วิธี เดียวกันกับการตลาดเชิงธุรกิจ คือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ หรือ การใช้กลยุทธ์แบบปากต่อปาก (Word of Mouth) ซึ่งเคยประสบความสำ�เร็จ จนเกิดหนังทำ�เงิน (เช่น แฟนฉัน) ละครเวทียอดนิยม (เช่น แม่นาค) เป็นต้น

1.2 โมเดล “ยืมแรง”

h ในภาคธุรกิจ บริษัทต่างๆ มักถูกตัดสินโดยนักลงทุนจากความ สามารถในการทำ�กำ�ไรให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งสามารถวัดได้จากอัตราผลตอบแทน ต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity: ROE) โดยบริษัทที่มีค่า ROE สูง ก็คือบริษัทที่สามารถสร้างผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นได้มาก ทั้งนี้ ROE มีความสัมพันธ์กับอัตราการทำ�กำ�ไรต่อทรัพย์สินและโครงสร้างทางการเงิน ของบริษัท ดังสมการต่อไปนี้

ROE = ROA x Leverage กำ�ไร/ส่วนผู้ถือหุ้น = (กำ�ไร/ทรัพย์สิน) x (ทรัพย์สิน/ส่วนผู้ถือหุ้น)

จากสมการ การเพิ่ม ROE ให้สูงขึ้น สามารถทำ�ได้ 2 วิธีคือ หนึ่ง บริษัทเพิ่มกำ�ไรต่อหน่วยทรัพย์สินที่ใช้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องเพิ่ม 280 o c t o b e r

ยอดขายหรือเพิ่มอัตรากำ�ไรต่อหน่วยการขายให้สูงขึ้น สอง บริษัทอาจปรับ โครงสร้างทางการเงินให้ใช้เงินจากผูถ้ อื หุน้ น้อยลง โดยเปลีย่ นไปใช้เงินกูแ้ ทน ตัวอย่างเช่น บริษทั ทีม่ อี ตั ราส่วนกำ�ไรต่อทรัพย์สนิ ทีร่ อ้ ยละ 10 จะมีอตั ราส่วน กำ�ไรต่อส่วนผู้ถือหุ้นที่ร้อยละ 10 เช่นเดียวกัน หากทรัพย์สินทั้งหมดที่บริษัท ใช้ดำ�เนินการมาจากผู้ถือหุ้นโดยไม่ได้กู้ยืมจากภายนอกเลย บริษัทดังกล่าว จะสามารถเพิ่มอัตราส่วนกำ�ไรต่อส่วนผู้ถือหุ้นเป็นร้อยละ 40 หากปรับ สัดส่วนทรัพย์สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นให้เป็น 4 เท่า (นั่นคือ ทรัพย์สินมาจาก การกู้ยืม 3 ส่วน และมาจากผู้ถือหุ้นเพียง 1 ส่วน) การกู้ยืมจึงเป็นการใช้ “คานงัด” ทางการเงิน ซึ่งมีประโยชน์มาก สำ�หรับธุรกิจที่มีเงินทุนตั้งต้นไม่มาก แต่มีธุรกิจที่มีอนาคตและมีเครดิตดี พอที่จะกู้ยืมจากภายนอกได้ น่าสนใจว่าวงการธุรกิจเรียกการปรับโครงสร้าง ทางการเงินโดยใช้เงินกู้เพิ่มขึ้นว่า Financial Leverage ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก คำ�ว่า lever (ไม้คาน) นั่นเอง1 การยืมแรงไม่จำ�เป็นต้องเกี่ยวข้องกับการเงินเท่านั้น ในโลกความ เป็นจริง เรายังพบการ “ยืมแรง” หรือ “ขอแรง” ในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น การยืมแรงเกี่ยวข้าวในสมัยก่อนที่เรียกว่า “ลงแขก” ไปจนถึงการ “ขอแรง” ในการทำ�กิจกรรมสาธารณประโยชน์ทางอินเทอร์เน็ตมากมาย ตัวอย่างที่น่า สนใจในการยืมแรงทำ�กิจกรรมสาธารณประโยชน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้แก่ การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า “โอเพนซอร์ส” (Open-Source Software) ซึ่ง หมายถึงซอฟต์แวร์ที่เปิดเผยโปรแกรมต้นฉบับ (Source Code) ให้แก่ทุกคน ที่ ส นใจใช้ โ ดยไม่ คิ ด ค่ า ลิ ข สิ ท ธิ์ การพั ฒ นาซอฟต์ แ วร์ ดั ง กล่ า วมั ก ทำ�โดย อาสาสมัครจำ�นวนมาก ซึ่งศึกษาโปรแกรมต้นฉบับและช่วยกันแก้ไขข้อ ผิดพลาด (Bug) ต่างๆ ทำ�ให้ได้ซอฟต์แวร์ที่มีข้อผิดพลาดน้อย ตัวอย่างของ อย่างไรก็ตาม การยืมแรงในลักษณะนี้ก็มีต้นทุน คือดอกเบี้ย ที่ต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ นอกจากนี้ บริษัทยังอาจ ล้มละลายได้ หากมีหนี้สินมากเกินไป 1

o c t o b e r 281


ซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สได้แก่ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux) และเว็บ บราวเซอร์ไฟร์ฟอกซ์ (Firefox) ซึ่งเชื่อกันว่ามีคุณภาพดีกว่าระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ (Windows) และเว็บบราวเซอร์อนิ เทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์ (Internet Explorer) ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ในทำ�นองเดียวกัน สารานุกรม ออนไลน์ชื่อ วิกิพีเดีย (Wikipedia) ซึ่งอาศัยการยืมแรงจากอาสาสมัคร ทั่วโลกในการจัดทำ� ก็เป็นสารานุกรมที่มีจำ�นวนรายการมากที่สุดในโลก มากกว่าสารานุกรมที่จัดทำ�โดยผู้เชี่ยวชาญอย่างบริตานิกา (Britanica) หลายสิบเท่า ในขณะทีเ่ ชือ่ กันว่ามีระดับของความถูกต้องแม่นยำ�ทีไ่ ม่แตกต่าง กันมากนัก (ดูภาพที่ 2) มองในมุมกลับ การไม่สามารถยืมแรงผู้อื่นมาช่วยได้ถือเป็นการเสีย โอกาส ตัวอย่างของการเสียโอกาสในการยืมแรงเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ก็คือ การที่กฎระเบียบต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นปัญหา จนทำ�ให้ ภาคีทั้งหลายไม่สามารถมีส่วนร่วมในการช่วยจัดการศึกษาได้ ไม่ว่าจะเป็น เครื อ ข่ า ยพ่ อ แม่ บ างกลุ่ ม ที่ ต้ อ งการจั ด การศึ ก ษาทางเลื อ กแบบโฮมสคู ล (Home School) และภาคธุรกิจที่ต้องการจัดการศึกษาแบบเรียนควบคู่ไป กับการฝึกงานภาคปฏิบัติ ดังตัวอย่างของโรงเรียนปัญญาภิวัฒน์ของบริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำ�กัด (มหาชน)

282 o c t o b e r

ภาพที่ 2 เปรียบเทียบงานสร้างสรรค์แบบโอเพนซอร์ส และงานมีลิขสิทธิ์

o c t o b e r 283


1.3 โมเดล “ลดคอขวด”

h

ตัวอย่างหนึ่งของการเร่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็คือ การ “ลด คอขวด” ที่ขัดขวางไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เช่น แม้ว่ารายได้ของ ประชาชนในประเทศจะเป็นปัจจัยสำ�คัญในการกำ�หนดระดับความแพร่หลาย ของอินเทอร์เน็ตดังที่กล่าวมาแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมาก ทั้ง ในด้านอุปสงค์และด้านอุปทาน ซึ่งต่างมีผลในการกำ�หนดระดับความแพร่ หลายของอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเป็น “คอขวด” ระดับ ความแพร่หลายของอินเทอร์เน็ตก็จะตํ่ากว่าที่ควรจะเป็น (ดูตัวอย่างในภาพ ที่ 3) ภาพที่ 3 ปัจจัยที่กำ�หนดระดับการแพร่หลายของอินเทอร์เน็ต

284 o c t o b e r

หากเราสามารถระบุได้วา่ ในช่วงเวลาหนึง่ ๆ “คอขวด” ทีเ่ ป็นอุปสรรค ต่อการแพร่หลายของอินเทอร์เน็ตอยูท่ จี่ ดุ ใด และสามารถแก้ปญ ั หาดังกล่าวได้ แม้ปัญหานั้นจะเป็นปัญหาเล็กๆ แต่ถ้าได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม ระดับ ความแพร่หลายของอินเทอร์เน็ตก็อาจเพิ่มสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เช่น ใน กรณีของประเทศไทย การศึกษาของ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และ เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ เมื่อปี 2540 ทำ�ให้ทราบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว อุปสรรคต่อการ แพร่หลายของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเกิดจากอัตราค่าบริการทีอ่ ยูใ่ นระดับ สูงเกินไป ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น การที่การสื่อสารแห่งประเทศไทย กำ�หนดราคาขัน้ ตํา่ ในการให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึง่ มีผลในการจำ�กัดไม่ให้ผใู้ ห้ บริการสามารถลดอัตราค่าบริการลงมาได้ ทัง้ ๆ ทีม่ ผี ปู้ ระกอบการจำ�นวนมาก ในตลาด เมือ่ ยกเลิกการกำ�หนดราคาดังกล่าว ความแพร่หลายของอินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการแข่งขันทางราคาที่ตามมา ในด้านเศรษฐศาสตร์การพัฒนา (Development Economics) เชื่อ กันว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะเกิดจากการลงทุนของภาคเอกชน ศาสตราจารย์ดานิ รอดริก (Dani Rodrik) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เสนอ เครื่องมือในการวิเคราะห์คอขวดในการพัฒนาเศรษฐกิจที่เรียกว่า Growth Diagnostic Tool (ดูภาพที่ 4 ประกอบ) เราสามารถใช้เครื่องมือนี้วิเคราะห์ ได้ว่า การที่ภาคเอกชนของบางประเทศมีการลงทุนในระดับตํ่านั้นมีสาเหตุ มาจากอะไร เช่น เกิดจากอัตราผลตอบแทนในการลงทุนทีต่ าํ่ หรือการทีต่ น้ ทุน ทางการเงินสูงเกินไป และสามารถไล่ไปเป็นทอดๆ จนพบสาเหตุที่เป็นต้นตอ ทีแ่ ท้จริงของปัญหา ซึง่ ช่วยทำ�ให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำ�ได้ตรงจุดมากขึน้ ประชาคมปฏิรปู ในประเทศไทยควรมีการวิเคราะห์คอขวดของระบบ ต่างๆ ที่เป็นเป้าหมายในการปฏิรูป เพื่อให้ทราบว่าควรใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ จำ�กัดในการปฏิรูประบบที่จุดใดก่อน

o c t o b e r 285


ภาพที่ 4 การวิเคราะห์คอขวดในการพัฒนาเศรษฐกิจ ของศาสตราจารย์ดานิ รอดริก

1.4 โมเดล “ผีเสื้อกระพือปีก”

h นักปฏิรปู สังคมให้ความสนใจเป็นอย่างสูงต่อปรากฏการณ์ทเี่ รียกกัน ว่า “ผลกระทบผีเสื้อ” (Butterfly Effect) ซึ่งระบุว่า ผีเสื้อตัวหนึ่งที่กระพือปีก ที่ประเทศไทย อาจทำ�ให้เกิดพายุฝนในประเทศที่ห่างไกลได้ ทั้งนี้เนื่องจาก ดินฟ้าอากาศของโลกเป็น “ระบบโกลาหล” (Chaotic System) หรือระบบที่มี ความอ่อนไหวสูงต่อสภาพตั้งต้น (Sensitive to Initial Condition) แรงลมจาก การกระพือปีกของผีเสื้อตัวหนึ่ง จึงอาจถูกขยายใหญ่จนกลายเป็นลมพายุได้ 286 o c t o b e r

(ดูเรื่องระบบโกลาหลได้ใน สมเกียรติ, 2546) ในทางวิศวกรรมศาสตร์ ได้มกี ารประยุกต์ใช้ทฤษฎีโกลาหล (Chaos Theory) ให้เป็นประโยชน์อย่างน่าสนใจหลายตัวอย่าง เช่น การสร้างเลเซอร์ โกลาหล (Chaotic Laser) ที่มีกำ�ลังมากกว่าเลเซอร์ทั่วไป การจงใจออกแบบ เครื่องบิน F-16 ให้ไม่เสถียร (unstable) เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่าง รวดเร็ว และการส่งยานอวกาศไปยังดวงจันทร์แบบประหยัดพลังงาน การส่งยานอวกาศไปยังดวงจันทร์โดยทั่วไปจะใช้วิธีการที่เรียกว่า Hohmann Transfer (ภาพที่ 5 (ก)) ซึ่งเริ่มจากการส่งยานอวกาศขึ้นไปโคจร รอบโลก แล้วจุดระเบิดเร่งเครือ่ งให้ยานพ้นจากวงโคจรของโลกไปยังดวงจันทร์ และเมื่อใกล้ถึงดวงจันทร์ก็จะจุดระเบิดจรวดย้อนกลับ (retro-rocket) เพื่อ ชะลอให้ยานอวกาศช้าลงพอทีจ่ ะเข้าสูว่ งโคจรของดวงจันทร์ได้โดยไม่เลยออก ไป วิธีนี้มีจุดอ่อนคือ ต้องใช้พลังงานมาก โดยลำ�พังค่าเชื้อเพลิงสำ�หรับจรวด ย้อนกลับก็สูงถึง 4.5 พันล้านบาท เพือ่ แก้ปญ ั หานี้ เอ็ดวาร์ด เบลบรูโน (Edward Belbruno) อดีตวิศวกร ขององค์การนาซา (NASA) ได้เสนอให้ใช้เส้นทางที่เรียกว่า fuzzy-boundary trajectory ในหนังสือของเขาที่ชื่อ Fly Me to the Moon เขาอธิบายว่า วิธี ของเขาอาศัยหลักทฤษฎีโกลาหล ซึ่งช่วยทำ�ให้ยานอวกาศ Hiten ของญี่ปุ่น สามารถใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยในการเดินทางไปยังดวงจันทร์ แม้การเดิน ทางดังกล่าวจะใช้เวลานานถึง 5 เดือน เพราะต้องอ้อมไปถึง 1 ล้านไมล์เพื่อ ใช้เส้นทางที่แรงดึงดูดของโลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ ที่มีต่อยานอวกาศ หักล้างกันพอดี (ภาพที่ 5 (ข))

o c t o b e r 287


ภาพที่ 5 เส้นทางการส่งยานอวกาศไปดวงจันทร์ ตามแนวทางของ Hohmann และ Belbruno

1.5 โมเดล “เงื่อนไขสุกงอม”

คำ�ถามก็คือ ในการปฏิรูปสังคมซึ่งซับซ้อนกว่าการแก้ปัญหาทาง วิศวกรรมหลายเท่า เราจะสามารถหาจุด “ผีเสื้อกระพือปีก” ได้อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าการปฏิรูปของเราจะได้ผล เพราะการ เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ อาจสามารถเบี่ยงเบนหรือ กระทั่งหักล้างการปฏิรูปของเราได้เช่นกัน? ในปัจจุบัน เรายังไม่มีทฤษฎีใดที่ จะช่วยให้การปฏิรูปสังคมตามแนวทางนี้ประสบความสำ�เร็จ นอกจากต้องใช้ วิธี “ลองถูกลองผิด” ประกอบกับ “จินตนาการ” ทีไ่ ด้จากทฤษฎีโกลาหลเท่านัน้ ตัวอย่างทีอ่ าจให้ความหวังแก่เราว่าการเปลีย่ นแปลงแก้ไขเรือ่ งเล็กๆ อาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงตามแนวคิด “ผลกระทบผีเสื้อ” เป็นสิ่งที่ เป็นไปได้ก็คือ ความสำ�เร็จที่เมืองใหญ่ๆ หลายแห่งในสหรัฐอเมริกาสามารถ ลดอาชญากรรมต่างๆ เช่น การลักเล็กขโมยน้อย จากการปรับปรุงเมืองให้ สะอาดเรียบร้อย ลบ “จิตรกรรมฝาผนัง” (Graffiti) ของเด็กวัยรุ่น และปรับปรุง บ้านเรือนทีท่ รุดโทรมให้อยูใ่ นสภาพดี เรือ่ งนีถ้ กู เล่าไว้อย่างละเอียดในหนังสือ The Tipping Point ของ มัลคอล์ม แกลดเวลล์ (Malcolm Gladwell)

288 o c t o b e r

h ระบบซับซ้อนบางระบบมีแนวโน้มที่จะ “จัดตัวเองเข้าสู่ภาวะวิกฤต” (Self-organizing Criticality) ดังตัวอย่าง “โมเดลกองทราย” (Sand Pile Model) ซึง่ แสดงให้เห็นว่า โดยปรกติ การโปรยเม็ดทรายลงบนพืน้ ทีละเม็ดจะไม่ทำ�ให้ เกิดการเปลีย่ นแปลงอะไรมาก จนกระทัง่ ถึงจุดหนึง่ ซึง่ การโปรยทรายลงไปอีก เพียงเม็ดเดียว อาจทำ�ให้กองทรายที่อยู่ในสภาพสุกงอม หรือ “สภาพวิกฤต” พังทลายลงมาทั้งกอง จากการกระทบกันเป็นทอดๆ ของเม็ดทราย (ดูโมเดล กองทรายใน สมเกียรติ, 2544) ในโลกความเป็นจริง มีตัวอย่างในทำ�นองเดียวกัน ซึ่งแรงกระทบ เบาๆ จากภายนอก อาจทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ได้ เช่น ใน สหรัฐอเมริกาเคยมีเหตุการณ์ที่เที่ยวบินจำ�นวนมากต้องถูกยกเลิก เพราะ สนามบินถูกปิด เนื่องจากมีผู้โดยสารคนหนึ่งลืมของไว้บนเครื่องบิน แล้ววิ่ง สวนทางออกมาเอาของหลั ง จากผ่ า นด่ า นตรวจคนเข้ า ไปแล้ ว ซึ่ ง ทำ�ให้ เครื่องบินลำ�นั้นขึ้นบินไม่ได้ และเครื่องบินลำ�อื่นๆ ก็ไม่สามารถขึ้นลงได้เช่น กัน เนื่องจากสนามบินถูกออกแบบให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงมาก จนไม่ได้เผื่อสำ�หรับการรับมือกับกรณีฉุกเฉินไว้เลย แนวความคิดเรื่อง “เงื่อนไขที่สุกงอม” ยังอาจช่วยให้เราเข้าใจได้ว่า เหตุใดการลอบปลงพระชนม์อาร์กดยุกฟรานซ์ เฟอร์ดนิ านด์ (Archduke Franz Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยชาวเซอร์เบีย o c t o b e r 289


จึงเป็นเหตุให้เกิดสงครามใหญ่ในยุโรป ซึ่งลุกลามกลายมาเป็นสงครามโลก ครั้งที่ 1 ทั้งที่พระองค์ไม่เป็นที่ชื่นชอบของชาวออสเตรียเท่าใดนัก คำ�ตอบ ก็คือ สภาพของยุโรปในขณะนั้น “สุกงอม” อยู่แล้ว จากการที่ประเทศต่างๆ ซึ่งมีความขัดแย้ง ได้จับกลุ่มกันเป็นพันธมิตร 2 กลุ่ม คือกลุ่ม “ไตรพันธมิตร” (The Triple Alliance) ซึ่งประกอบด้วยเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี ฝ่ายหนึง่ กับกลุม่ “ไตรภาคี” (Triple Entente) ซึง่ ประกอบด้วยฝรัง่ เศส อังกฤษ และรัสเซีย อีกฝ่ายหนึ่ง โดยทั้งสองฝ่ายพร้อมที่จะเผชิญหน้ากัน ในตลาดเงินและตลาดทุนต่างๆ เช่น ตลาดหุน้ เราก็มกั พบเหตุการณ์ ที่การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ เช่น ข่าวลือที่ดูเหมือนไม่ได้มีความสำ�คัญมาก สามารถทำ�ให้ตลาดเกิดความแตกตื่นถึงขั้นโกลาหลได้บ่อยครั้ง ดังการ์ตูน ล้อเลียนในภาพที่ 6 การแห่ตามกัน (herding) เช่นนี้นี่เองที่ทำ�ให้ตลาดเงิน และตลาดทุนมีแนวโน้มที่จะ “จัดตัวเองเข้าสู่ภาวะวิกฤต” ซึ่งเปราะบางต่อ การได้รับผลกระทบ ดังตัวอย่างการเกิดเหตุการณ์ “จันทร์ทมิฬ” (Black Monday) เมื่อปี 1987 ซึ่งดัชนีราคาหลักทรัพย์ดาวน์โจนส์ของสหรัฐอเมริกา ลดลงถึงร้อยละ 22.6 ในวันเดียว หรือการเกิดวิกฤตการณ์ซับไพรม์ของ สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2007 ซึ่งในที่สุดได้ลุกลามจนกลายเป็นวิกฤตการณ์ การเงินโลก

ภาพที่ 6 การ์ตูนล้อเลียนการแห่ตามกัน (herding) ในตลาดหุ้นอย่างไม่มีเหตุผล

ปัญหาในการปฏิรูปสังคมโดยแนวคิดนี้ ก็คล้ายกับปัญหาในการ ปฏิรูปสังคมแบบ “ผีเสื้อกระพือปีก” คือยากมากที่เราจะรู้ว่าระบบถึงจุดวิกฤต แล้วหรือยัง เรารู้แต่เพียงว่าเราควรออกแบบระบบให้ไม่เข้าสู่ภาวะ “สุกงอม” ซึ่งอ่อนไหวมากที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ควรหลีกเลี่ยง การสร้างความตึงเครียดหรือความขัดแย้งของคนกลุ่มต่างๆ หรือหลีกเลี่ยง การออกแบบระบบที่เน้นประสิทธิภาพมากเกินไป โดยไม่ได้เผื่อไว้สำ�หรับ 290 o c t o b e r

o c t o b e r 291


กรณีฉุกเฉิน ในทางตรงกันข้าม เราควรพยายามผลักดันระบบให้เข้าสู่ภาวะ “สุกงอม” ทีจ่ ะเกิดการเปลีย่ นแปลงทีพ่ งึ ประสงค์ โดยการสร้างความรูท้ จี่ ำ�เป็น การสร้างเครือข่าย และสะสมทุนทางสังคมทีเ่ อือ้ ต่อการปฏิรปู ดังทีจ่ ะกล่าวถึง ต่อไป

2 สังคมในฐานะระบบซับซ้อน

h จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า เราจึงไม่สามารถนำ�เอาแนวคิดเรื่อง “จุด คานงัด” ของโลกทัศน์แบบจักรกล มาประยุกต์ใช้ในทางสังคมได้โดยง่าย เพราะสังคมเป็น “ระบบซับซ้อน” (Complex System) ซึ่งหมายถึงระบบที่มี ลักษณะดังต่อไปนี้ 1. มีองค์ประกอบต่างๆ ซึง่ มีความหลากหลาย (Diversity) ดังจะเห็น ได้จากการที่แต่ละสังคมจะประกอบไปด้วยคนที่หลากหลายและแตกต่างกัน ในมิติต่างๆ 2. องค์ประกอบเหล่านั้นมีความเชื่อมต่อกัน (Connectedness) และ การกระทำ�ขององค์ประกอบแต่ละส่วนส่งผลซึง่ กันและกัน (Interdependence) 3. ระบบมีการปรับตัว (Adaptation) ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง การที่สังคมเป็นระบบซับซ้อนนั้นมีนัยต่อแนวทางในการวิเคราะห์ สังคมเป็นอย่างมาก กล่าวคือ โดยทั่วไป สังคมมักมีความทนทานต่อแรง กระแทก (Robustness) ได้ดพี อควร เช่น แม้เกิดภัยธรรมชาติเช่นแผ่นดินไหว หรือสึนามิ ระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมก็ยังดำ�เนินต่อไปได้ อย่างไร 292 o c t o b e r

ก็ตาม ในสภาวะ “เงื่อนไขสุกงอม” ซึ่งพบไม่บ่อยนัก การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ในสังคมอาจทำ�ให้เกิดเหตุการณ์ใหญ่ได้ ผลที่ตามมาก็คือ เราไม่สามารถ ทำ�นายผลลัพธ์ของระบบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้โดยง่าย ทั้งนี้ยัง ไม่ต้องกล่าวถึงการหา “จุดคานงัด” ซึ่งจะยากขึ้นไปอีก นอกจากนี้ หากพบ “จุดคานงัด” คำ�ตอบที่พบในวันนี้ก็อาจจะใช้ไม่ได้ในอนาคต เนื่องจากระบบ มีการปรับตัวตลอดเวลา เช่น การออกกฎห้ามไม่ให้นักการเมืองถือครอง หุ้นในบริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐจะได้ผลเฉพาะช่วงแรกๆ เท่านั้น เมื่อนัก การเมืองปรับตัวและหาทางหลบเลี่ยงได้ กฎดังกล่าวก็จะใช้ไม่ได้ผล เราจึง ต้องสร้างความรู้เพื่อแสวงหาคำ�ตอบใหม่ตลอดเวลา สิ่งที่ไม่ควรลืมก็คือ การที่เราจะสามารถใช้ประโยชน์จาก “จุดคาน งัด” ได้ เราจำ�เป็นต้องมี “ไม้คาน” ซึ่งหมายถึงเครื่องมือในการปฏิรูป และ “จุดคํ้าจุน” ซึ่งหมายถึงโครงสร้างพื้นฐานรองรับการใช้เครื่องมือดังกล่าว ผู้เขียนเชื่อว่า “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” เป็นเสมือน “ไม้คาน” หรือ เครื่องมือที่ภาคประชาสังคมใช้ในการทำ�งานใน “แนวดิ่ง” กับรัฐ ส่วน “INN” ซึ่งเป็นแนวคิดในการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมที่สัมพันธ์กัน ใน “แนวราบ” เป็นเสมือน “จุดคํ้าจุน” ของไม้คานแห่งการปฏิรูปดังกล่าว

3 “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ในฐานะที่เป็น “ไม้คาน”

h แนวคิด “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ถูกนำ�เสนอโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการปฏิรูป “ภูเขา” ในที่นี้หมายถึงปัญหาใหญ่ o c t o b e r 293


ที่มีความยากลำ�บากที่จะแก้ไข ส่วนสามเหลี่ยมนั้นประกอบด้วย การสร้าง ความรู้ การเคลื่อนไหวทางสังคม และการเชื่อมต่อกับการเมือง (ดูภาพที่ 7) แนวคิด “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ได้รับการประยุกต์ใช้ในการปฏิรูประบบ สุขภาพ ซึ่งประสบความสำ�เร็จอย่างสูง ภาพที่ 7 ปฏิรูปสังคมด้วย “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา”

อย่างไรก็ตาม สำ�หรับนักปฏิรูปจำ�นวนไม่น้อย “สามเหลี่ยมเขยื้อน ภูเขา” ยังคงเป็น “เส้นผมบังภูเขา” อยู่ เพราะแม้จะสอดคล้องกับสามัญสำ�นึก แต่กย็ งั ฟังดูเป็นนามธรรม ทำ�ให้ไม่ทราบว่าจะประยุกต์ใช้อย่างไรในทางปฏิบตั ิ เราจึงควรถอดแนวความคิดในสามเหลีย่ มเขยือ้ นภูเขาออกมาให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้สามารถใช้ในการปฏิบัติได้ง่ายยิ่งขึ้น สามเหลี่ยมจึงจะสามารถเป็น “ไม้คาน” ในการปฏิรูปสังคมได้ 294 o c t o b e r

3.1 การสร้างความรู้

h บ่อยครัง้ ทีเ่ รามักได้ยนิ ว่า เรือ่ งทีเ่ ป็นปัญหานัน้ ไม่ตอ้ งการการศึกษา วิจัยใดๆ อีกแล้ว ขอเพียงแต่รัฐบาลหรือผู้มีอำ�นาจลงมือแก้ปัญหาเสีย ปัญหา ก็จะหมดไปทันที ในบางกรณี คำ�กล่าวนั้นอาจเป็นความจริง แต่ส่วนมากก็ ไม่เป็นความจริง และเป็นเพียงการสะท้อนความเชือ่ ในเชิงอำ�นาจนิยม ว่าการ ปฏิรูปใดๆ ต้องเริ่มจากฝ่ายการเมืองหรือผู้มีอำ�นาจเท่านั้น แม้ว่า ศ.นพ.ประเวศ วะสี จะกล่าวไว้หลายครั้งว่า การสร้างความ รู้เป็นขั้นตอนที่ต้องมาก่อนเสมอในสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา แต่ในทางปฏิบัติ เราก็มักจะพบเห็นความพยายามของนักปฏิรูปในการเคลื่อนไหวหรือการ โน้มน้าวฝ่ายการเมืองก่อนการสร้างความรู้ให้กระจ่างชัดอยู่บ่อยครั้ง วิธีที่เราจะตรวจสอบว่าเรามีความรู้เพียงพอที่จะแก้ปัญหาหรือไม่ ก็คือ การตั้งคำ�ถามในเชิงสมมติว่า หากเราสามารถ “กระซิบ” นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือผู้มีอำ�นาจต่างๆ ซึ่ง “ดวงตาเห็นธรรม” พร้อมที่จะแก้ปัญหา ประเทศโดยไม่สนใจกลุม่ ผลประโยชน์แล้ว เราจะ “กระซิบ” ให้ทา่ นดำ�เนินการ อย่างไร หากเราไม่สามารถบอกได้อย่างมีรายละเอียดและเป็นรูปธรรมพอ ก็หมายความว่าเรายังไม่มีความรู้ที่เราคิดเอาเองว่ารู้แล้ว หรือแม้พอจะมี ความรู้อยู่บ้าง ความรู้นั้นก็ยังไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนการปฏิรูป ทั้งนี้ ความรู้ที่จะสามารถสนับสนุนการปฏิรูปได้จะต้องมีลักษณะดังนี้ - ผ่านการตรวจสอบกับหลักฐานต่างๆ อย่างเพียงพอที่จะยุติข้อ สงสัยที่สำ�คัญต่างๆ ทำ�ให้การปฏิรูปสามารถเดินหน้าไปได้ โดยไม่ต้องมา o c t o b e r 295


ถกเถียงกันในเรื่องความถูกต้องของแนวทางในการปฏิรูปอยู่ตลอดเวลา - มีข้อเสนอในเชิงปฏิบัติการที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมเพียงพอ เช่น สามารถเขียนเป็นกฎหมายในรูปของพระราชบัญญัติหรือกฎหมายลูกต่างๆ หรือมติคณะรัฐมนตรีได้ - ต้องพิจารณาถึงปัจจัยสนับสนุนและข้อจำ�กัดในการปฏิบัติจริง ซึ่ง หมายความว่า ผู้เสนอจะต้องตระหนักถึงความต้องการและข้อจำ�กัดของผู้มี ส่วนได้-เสียฝ่ายต่างๆ ทัง้ ฝ่ายราชการและฝ่ายการเมือง ในการจัดทำ�ข้อเสนอ ทางนโยบาย ผูเ้ ขียนเห็นว่า ประชาคมวิชาการทีท่ ำ�งานด้านการปฏิรปู ควรร่วมกัน สังเคราะห์บทเรียนเรื่องการสร้างความรู้เพื่อการปฏิรูปสังคม และจัดเวทีเพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

3.2 การสื่อสารกับสังคม

h เมื่อมีองค์ความรู้ที่จำ�เป็นต่อการปฏิรูปแล้ว การสื่อสารกับสังคม ก็เป็นขั้นตอนสำ�คัญที่ต้องดำ�เนินการต่อไป ความท้าทายในขั้นตอนนี้ก็คือ การแปลงองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องให้เป็น “สาร” ที่ง่ายต่อการ “เข้าใจ” และ “กิน ใจ” กลุ่มเป้าหมาย โดยพยายามแปลงความหมายของปัญหาและข้อเสนอ ทางนโยบายต่างๆ ให้เชื่อมโยงกับชีวิตประจำ�วันของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ควร ระลึกว่าประเด็นและแนวทางในการสือ่ สารกับสังคมจำ�ต้องมีการปรับอยูต่ ลอด เวลา เช่น ประเด็นในการรณรงค์ให้เกิดความตื่นตัวในช่วงแรก ย่อมจะต้อง 296 o c t o b e r

แตกต่างจากประเด็นในช่วงรณรงค์ให้ฝ่ายการเมืองยอมรับข้อเสนอทาง นโยบาย นอกจากนี้ยังควรปรับแนวทางในการสื่อสารกับสังคมตลอดเวลา เพราะเมื่อเวลาผ่านไป ผู้รับสารอาจชาชินต่อสารที่ได้รับ จนการสื่อสารไม่มี ประสิทธิผล นักปฏิรูปสังคมมักบ่นในเชิงท้อแท้ว่า สื่อมวลชนไม่ให้ความสำ�คัญ กับการรายงานความเคลื่อนไหวในการปฏิรูปของตน ซึ่งก็อาจมีส่วนจริง จากธรรมชาติของสื่อมวลชนที่มักให้ความสนใจกับปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่ในอีกด้านหนึ่ง นักปฏิรูปสังคมควรตั้งคำ�ถามต่อตนเองด้วยว่า ได้เลือก ประเด็นในการปฏิรูปที่สำ�คัญเพียงพอ และสามารถนำ�เสนอได้อย่าง “เข้าใจ” และ “กินใจ” หรือยัง โดยควรเรียนรูท้ จี่ ะเข้าใจวิธคี ดิ และข้อจำ�กัดของสือ่ มวลชน สื่อมวลชนเองก็อยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง การเกิดขึ้นของ โทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทีวีหลายร้อยช่อง วิทยุชุมชนหลายพันสถานี ตลอดจนสื่อใหม่ เช่น อินเทอร์เน็ต ได้เปลี่ยนภูมิทัศน์ของสื่อ จากเดิมที่ช่อง ทางในการสื่อสารเป็นข้อจำ�กัด กลายเป็นความสนใจของผู้บริโภคสื่อเป็นข้อ จำ�กัดแทน นอกจากนี้ การหลอมรวมของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Media Convergence) ได้เริ่มเปลี่ยนวิธีการทำ�งานของสื่อมวลชนในประเทศไทยแล้ว การ เปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นเรื่องสำ�คัญที่ควรจับตามองอย่างใกล้ชิด และเรียนรู้ โดยการลองผิดลองถูกจากการปฏิบัติจริง เพื่อหาแนวทางในการสื่อสารกับ สังคมอย่างมีประสิทธิผลที่สุด น่าเสียดายว่า แม้ว่าองค์ความรู้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทาง ธุรกิจจะได้รับการพัฒนาไปไกลมาก แต่องค์ความรู้ในการตลาดเชิงสังคม (Social Marketing) กลับยังไม่ได้รับการพัฒนาให้ไปไกลเท่าที่ควร ผู้เขียนมี ความเห็นว่า นักปฏิรูปสังคมควรเอาใจใส่ในเรื่องการสื่อสารให้มากขึ้น โดย ควรเรียนรู้และปรับใช้ประสบการณ์ของภาคธุรกิจ เพื่อพัฒนาทักษะในการ สื่อสารกับสังคม ประชาคมปฏิรูปและประชาคมสื่อควรจัดให้มีการสังเคราะห์ o c t o b e r 297


องค์ความรู้เรื่องการสื่อสารเพื่อการปฏิรูปสังคม และจัดหลักสูตรฝึกอบรม ให้แก่ภาควิชาการและภาคประชาสังคม

3.3 การผลักดันทางการเมือง

h ในปัจจุบัน การเมืองไทยได้เปิดกว้างกว่าในอดีต ในแง่ที่เกิดเวที จำ�นวนมากให้ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมสามารถมีส่วนร่วมได้ ทั้งหน่วย งานด้านนิติบัญญัติ หน่วยงานด้านบริหารในส่วนกลางและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และองค์กรด้านตุลาการ ตลอดจนองค์กรอิสระต่างๆ เช่น คณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตลอดจนองค์กรต่างๆ อีกจำ�นวนหนึง่ ทีต่ อ้ งจัดตัง้ ขึน้ ตามที่รัฐธรรมนูญกำ�หนด เช่น องค์กรเพื่อปฏิรูปกฎหมาย องค์กรเพื่อปฏิรูป กระบวนการยุตธิ รรม องค์การอิสระเพือ่ การคุม้ ครองผูบ้ ริโภค ในฝ่ายตุลาการ เองก็มีทั้งศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนแผนกต่างๆ ภายในศาลยุติธรรม เช่น ศาลคดีผู้บริโภค ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาคดีที่ เป็นมิตรกับประชาชนมาก เช่นเดียวกับเครื่องมือที่ภาคประชาสังคมสามารถ ใช้ในการตรวจสอบและต่อรองกับรัฐ เช่น สิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย การเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล โดยกฎหมายข้ อ มู ล ข่ า วสารของราชการ และสิ ท ธิ ข อง ประชาชนในด้านต่างๆ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าเสียดายว่า นักปฏิรูปสังคมยังใช้ประโยชน์ จากองค์กรและกลไกต่างๆ เหล่านี้ไม่มากเท่าที่ควร และมักใช้ในเชิงรับ คือ 298 o c t o b e r

ใช้เฉพาะเพื่อขัดขวางการกระทำ�ของรัฐที่ตนคิดว่าจะก่อให้เกิดผลเสีย เช่น การฟ้องศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง เพื่อให้ศาลมีคำ�สั่งคุ้มครองสิทธิของ ตน แต่ยังไม่ได้ใช้ในเชิงรุก ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงผลักดันให้ ข้อเสนอของตนเข้าสูก่ ระบวนการทางนโยบายหรือกระบวนการทางนิตบิ ญ ั ญัติ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ประชาชนยังมองเครื่องมือในการมีส่วนร่วมทางการเมือง เหล่านีใ้ นฐานะทีเ่ ป็น “เบรก” ไม่ได้มองในฐานะ “คันเร่ง” เช่น ไม่มกี ารฟ้องร้อง ให้รัฐบาลออกกฎหมายลูกซึ่งจำ�เป็นต่อการป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจ ให้ครบถ้วน ทั้งที่เวลาล่วงเลยมาเกือบ 10 ปีแล้ว เป็นต้น การใช้เฉพาะ “เบรก” โดยไม่ใช้ “คันเร่ง” ทำ�ให้ขอบเขตในการปฏิรูปโดยประชาชนถูกจำ�กัด เป็นอย่างมาก สาเหตุที่การใช้ประโยชน์จากองค์กรและกลไกต่างๆ น้อยกว่าที่ควร อาจเนื่องมาจากการที่องค์กรและกลไกต่างๆ เหล่านั้นยังมีข้อจำ�กัดอยู่มาก เช่น องค์กรบางแห่งไม่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่กลไกต่างๆ ที่มีอยู่ เช่น การ เข้าถึงข้อมูลตามกฎหมายข้อมูลข่าวสารยังมีความล่าช้า และการรวบรวม รายชื่อประชาชนเพื่อเสนอกฎหมายยังมีต้นทุนที่สูงเกินไป ซึ่งก็จำ�เป็นต้อง ได้รับการแก้ไข อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเชื่อว่า ปัญหาการใช้ประโยชน์น้อย ยังเกิดจากการที่นักปฏิรูปสังคมมีความเข้าใจในการทำ�งานขององค์กรและ กลไกต่างๆ เหล่านั้นน้อยเกินไปด้วย การใช้ประโยชน์จากองค์กรและกลไกต่างๆ เหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อนักปฏิรูปเข้าใจอย่างเพียงพอในกระบวนการกำ�หนดนโยบาย ทั้ง กระบวนการนิติบัญญัติ การบริหาร ตุลาการ การเมืองระดับท้องถิ่น และ องค์กรอิสระทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น ต้องเข้าใจกระบวนการนำ�เรือ่ งเข้าสูก่ ารพิจารณา ของคณะรัฐมนตรีให้ออกเป็นมติคณะรัฐมนตรี โดยไม่ถูกขัดขวางจากหน่วย ราชการที่เสียผลประโยชน์ ต้องเข้าใจกระบวนการในการพิจารณากฎหมาย ของรัฐสภา ทัง้ การพิจารณาร่างกฎหมายทีเ่ สนอขึน้ ใหม่และการแก้ไขกฎหมาย o c t o b e r 299


ที่มีอยู่ ตลอดจนเข้าใจกระบวนการยุติธรรมในด้านเขตอำ�นาจศาลและวิธีการ ฟ้องร้องคดีที่มีประสิทธิผล นอกจากนี้ นักปฏิรปู ยังควรเข้าใจแรงจูงใจ (Incentive) และข้อจำ�กัด (Constraint) ของผูเ้ ล่นทางการเมือง (Political Actor) ทีส่ ำ�คัญ โดยควรมีความ สามารถในการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้-เสีย (Stakeholder Analysis) และกลุ่ม ผลประโยชน์ (Interest Group) ว่าแต่ละกลุ่มจะสนับสนุนหรือขัดขวางการ ปฏิ รู ป ในส่ ว นใด และจะสามารถสร้ า งแนวร่ ว มเพื่ อ การปฏิ รู ป ได้ อ ย่ า งไร มิฉะนั้นภาคประชาสังคมก็จะต้องบ่นต่อไปอีกว่า ฝ่ายการเมืองหรือราชการ ขัดขวางการปฏิรูป ทั้งที่ในหลายกรณี ปัญหาเกิดขึ้นเพียงเพราะข้อเสนอ ในการปฏิรูปนั้นไม่ได้พิจารณาถึงแรงจูงใจและข้อจำ�กัดต่างๆ อย่างเพียงพอ ประเด็นเหล่านี้ควรถูกสังเคราะห์ออกมาอย่างละเอียด และจัดหลักสูตรฝึก อบรมให้ภาคประชาสังคมและภาควิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปเข้าใจ จากที่กล่าวมาในหัวข้อนี้ จะเห็นได้ว่าภาคประชาสังคมควรร่วม กันสังเคราะห์บทเรียนการดำ�เนินการทั้งสามส่วนตามแนวคิด “สามเหลี่ยม เขยื้อนภูเขา” ออกมา เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ และยกระดับการปฏิรูป ให้มีประสิทธิผลมากขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการถอดบทเรียนการปฏิรูป นโยบายด้านสุขภาพออกมาบ้าง (เช่น หนังสือ ถอดบทเรียนชี้น�ำ สังคมและ ผลักดันนโยบายสาธารณะ โดย ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ) แต่บทเรียนการ ปฏิรูปและการรณรงค์ทางสังคมในด้านอื่นๆ เช่น การคุมกำ�เนิดประชากร การลดการทุจริตในภาครัฐในบางด้าน เช่น การทำ�ใบขับขีร่ ถยนต์ ก็ยงั รอคอย การสังเคราะห์และถ่ายทอดออกมาให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงกว้าง

300 o c t o b e r

4 “INN” ในฐานะที่เป็น “จุดคํ้าจุน”

h แนวความคิดเรื่อง INN เป็นอีกแนวความคิดหนึ่งที่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี นำ�เสนอเป็นเครื่องมือในการทำ�งานทางสังคม โดยเชื่อว่าจะนำ�ไปสู่ “โครงสร้างแห่งความสุข” ซึ่งจะช่วยให้ภาคประชาสังคมหลุดพ้นจากภาวะ ติดขัดที่คิดว่าตนไร้อำ�นาจ (powerless) จนมีแต่ความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง (hopeless) INN ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ I = Individual หมายถึงปัจเจกชนแต่ละคนซึ่งมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า N = Node หมายถึงการที่ปัจเจกชนรวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือ จัดตั้งองค์กรด้านประชาสังคม N = Network หมายถึงการเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและเครือข่าย ผู้เขียนคิดว่าประชาคมปฏิรูปควรมีแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนา INN ทั้งสามระดับ เพื่อสร้างรากฐานในการปฏิรูปดังนี้

o c t o b e r 301


4.1 การพัฒนา Individual

h แนวความคิดเรือ่ ง INN เชือ่ ว่าปัจเจกชนทุกคนมีศกั ดิศ์ รีและมีคณ ุ ค่า

การพัฒนาปัจเจกชนจึงควรมุ่งให้คนทุกคน รวมถึงคนชายขอบ ได้มีโอกาส แสดงคุณค่าของตน อย่างไรก็ตาม กฎว่าด้วยคนส่วนน้อย (The Law of the Few) ระบุว่า เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่มีความสำ�คัญ มักมีคนไม่กี่คน เท่านั้นที่เป็นกำ�ลังสำ�คัญ หากความเชื่อนี้เป็นจริง การเร่งให้เกิดการปฏิรูป สังคมสามารถทำ�ได้โดยการจัดให้มีกลไกพิเศษที่แสวงหาคนส่วนน้อยที่มี ศักยภาพในการเป็นผู้นำ�การปฏิรูปในวงการต่างๆ ในอนาคต และพัฒนาให้ เขาเหล่านั้นสามารถเป็นผู้นำ�ได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิผลมากขึ้น ควบคู่ไปกับ การพัฒนาปัจเจกชนทั้งหมด ในต่างประเทศจะมีกลไกมากมายในการสร้างผู้นำ�ของวงการต่างๆ โดยเฉพาะผู้นำ�รุ่นใหม่ เช่น ในวงการการเมืองของประเทศพัฒนาแล้ว จะมี การเมืองท้องถิ่นเป็นสนามพัฒนานักการเมืองรุ่นใหม่ให้เป็นผู้นำ�ทั้งในระดับ ท้องถิน่ และระดับชาติในอนาคต ในภาคประชาสังคมเองก็มตี วั อย่างกิจกรรม การสร้างผู้นำ�รุ่นใหม่จำ�นวนมาก เช่น โครงการ Asia 21 ซึ่งมีเป้าหมายหลัก ในการพัฒนาผู้นำ�รุ่นใหม่ของเอเชียที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี หรือ Eisenhower Fellowship ซึง่ มีเป้าหมายพัฒนาผูน้ ำ�รุน่ ใหม่ โดยเชิญผูน้ ำ�รุน่ ใหม่จากประเทศ ต่างๆ ทั่วโลกไปพบปะกับผู้นำ�ในวงการต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาคนใดก็ได้ ตามทีต่ อ้ งการในช่วงเวลา 6 สัปดาห์ของโครงการ กิจกรรมเหล่านีม้ ปี ระโยชน์ ในการเติมเต็มทั้งความรู้ ทักษะ และแรงบันดาลใจของผู้นำ�รุ่นใหม่ 302 o c t o b e r

“คนส่วนน้อย” ทีป่ ระชาคมปฏิรปู ควรค้นหาให้พบ และพัฒนาให้เป็น ผู้นำ�รุ่นใหม่ของสังคม ได้แก่ - “5 ตัวจี๊ด” ซึ่งประกอบไปด้วยนักวิชาการ นักจัดการ นักประสาน งาน นักยุทธศาสตร์ และนักสือ่ สารสาธารณะ ซึง่ เป็นกำ�ลังสำ�คัญในการปฏิรปู ตามแนวคิดของประชาคมสุขภาพ - “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม” (social entrepreneur) ซึ่งหมายถึง นักธุรกิจ นักกิจกรรม หรือนักพัฒนา ทีน่ ำ�องค์ความรูใ้ นภาคธุรกิจมาประยุกต์ ใช้นอกภาคธุรกิจกระแสหลัก เพื่อแก้ปัญหาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่าง ยัง่ ยืน ทัง้ นี้ ตัวอย่างของผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคมทีม่ ชี อื่ เสียงหาดูได้ในหนังสือ พลังของคนหัวรั้น - นักสร้างเครือข่าย (Connector) นักสะสมความรู้ (Maven) และนัก ขายความคิด (Salesperson) ซึง่ เป็นคนส่วนน้อยทีท่ ำ�ให้เกิดการเปลีย่ นแปลง ใหญ่ๆ ตามแนวคิดของ มัลคอล์ม แกลดเวลล์ ในหนังสือ The Tipping Point

4.2 การพัฒนา Node

h การรวมกลุ่มเป็นองค์กรหรือ node เป็นการเสริมพลังในการทำ�งาน เพื่อสังคมของ “คนส่วนน้อย” ให้เต็มศักยภาพของตน โจทย์สำ�คัญในการ พัฒนาภาคประชาสังคมจึงต้องรวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวกันเป็น กลุ่ม ทั้งที่เป็นทางการ เช่น สมาคม มูลนิธิ สหกรณ์ และที่ไม่เป็นทางการ เช่น ชมรมต่างๆ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเหล่านั้นให้สูงขึ้น o c t o b e r 303


ในปัจจุบัน มีองค์กรสาธารณประโยชน์หลายแห่งในประเทศไทย ที่มีความสามารถในการบริหารจัดการและการดำ�เนินงาน อย่างไรก็ตาม ยัง มีหน่วยงานอีกไม่น้อยที่มีบุคลากรที่มีคุณภาพ แต่ยังขาดการบริหารจัดการ ที่ดีพอทั้งในด้านการใช้ความรู้ การสื่อสารกับสังคม และการผลักดันทาง การเมือง ซึง่ เป็นทักษะสำ�คัญ 3 ประการตามแนวคิด “สามเหลีย่ มเขยือ้ นภูเขา” ตลอดจนยังไม่มีการจัดองค์กรให้มีธรรมาภิบาลในระดับที่ได้มาตรฐาน ทำ�ให้ ไม่สามารถรับการสนับสนุนจากภายนอกได้มากเท่าที่ควร และไม่สามารถ เป็นสนามที่ปัจเจกชนจะใช้ในการแสดงศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่ ในต่างประเทศ ซึ่งองค์กรสาธารณประโยชน์ได้รับการพัฒนามา นาน มักมีองค์กรสาธารณะประโยชน์ที่ทำ�หน้าที่ช่วยพัฒนาองค์กรสาธารณประโยชน์อื่นๆ เช่น ในด้านธรรมาภิบาล มีหน่วยงานในสหรัฐอเมริกาที่ เรียกว่า Board Source2 ช่วยฝึกอบรมและให้คำ�ปรึกษาแก่กรรมการของ องค์กรสาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่น สมาคมและมูลนิธิ ให้สามารถจัดองค์กร ให้มีธรรมาภิบาล และบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ เราควรช่วยกันพัฒนาให้เกิด “องค์กรสาธารณประโยชน์สายพันธุ์ ใหม่” ในประเทศไทย ที่เน้นการบริหารแบบมืออาชีพ จัดองค์กรอย่างมี ธรรมาภิบาล และที่สำ�คัญคือใช้ความรู้ในการขับเคลื่อนสังคม ในเบื้องต้น องค์กรเหล่านีอ้ าจประกอบด้วยบุคลากรหลักๆ เพียง 2-3 คน ทำ�หน้าทีต่ ดิ ตาม ตรวจสอบเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป เช่น หน่วยงานติดตามการออก กฎหมายและกฎระเบียบของรัฐ หน่วยงานติดตามและวิเคราะห์งบประมาณ ของรัฐ หน่วยงานติดตามการทำ�งานของฝ่ายนิติบัญญัติ หน่วยงานติดตาม กระบวนการยุติธรรมและสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน และหน่วยงาน ติดตามความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม ฯลฯ 2

ค้นหาข้อมูลกิจกรรมของ Board Source ได้ที่ www.boardsource.org

304 o c t o b e r

4.3 การพัฒนา Network

h Node แต่ละแห่งโดยธรรมชาติมกั เป็นแหล่งรวมผูค้ นทีม่ คี วามคิดและ

ค่านิยมคล้ายกันเข้ามาอยูด่ ว้ ยกัน ซึง่ ช่วยทำ�ให้การรวมกลุม่ มีความแน่นแฟ้น เพราะการเกิด “สายสัมพันธ์ทเี่ ข้มแข็ง” (Strong Link) ระหว่างคนทีต่ ดิ ต่อและ ปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีเครือข่าย (Network Theory) ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมากในทศวรรษที่ผ่านมา ได้ชี้ให้เราเห็นความสำ�คัญ ของ “สายสัมพันธ์ที่อ่อน” (Weak Link) ซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์ที่เกิดจาก การติดต่อและปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนที่ไม่ได้มีความเข้มข้นสูงมาก เช่น ความ สัมพันธ์แบบ “คนรูจ้ กั ” (Acquaintance) ดังปรากฏตัวอย่างว่า คนจำ�นวนมาก สามารถหางานได้จากการแนะนำ�ของคนรู้จักมากกว่าจากการแนะนำ�จาก เพื่อนสนิทหรือญาติพี่น้อง ทั้งนี้เนื่องจากเรามักมีข้อมูลชุดเดียวกันกับเพื่อน สนิทหรือญาติพี่น้องของเราอยู่แล้ว เป็นไปได้หรือไม่วา่ องค์กรสาธารณประโยชน์และเครือข่ายทางสังคม ในประเทศไทยมักจำ�กัดกิจกรรมอยู่ในกลุ่มคนที่รู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี ในลักษณะที่เรียกว่า inbreeding โดยไม่ได้ขยายออกไปยังกลุ่มคนใหม่ๆ เท่าที่ควร ซึ่งทำ�ให้ความพยายามในการปฏิรูปต่างๆ อยู่ในวงแคบและไม่ ประสบความสำ�เร็จเท่าที่ควร หากข้อสังเกตดังกล่าวเป็นเช่นนั้นจริง โจทย์ที่ ท้าทายก็คือ ทำ�อย่างไรให้องค์กรสาธารณประโยชน์และเครือข่ายทางสังคม เพื่อการปฏิรูปในประเทศไทยก้าวไปให้พ้นจากแวดวงเดิม โดยสามารถใช้ ประโยชน์ได้จากทั้ง “สายสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง” และ “สายสัมพันธ์ที่อ่อน” o c t o b e r 305


5 “จุดคานงัด” ของ “จุดคานงัด” ในการปฏิรูปสังคม

h ดังทีก่ ล่าวมาแล้วว่า สังคมเป็นระบบทีซ่ บั ซ้อน ซึง่ ประกอบด้วยระบบ ย่อยที่เกี่ยวเนื่องกัน เวทีปฏิรูปประเทศไทยของเครือข่ายสถาบันทางปัญญา ซึ่งสนับสนุนโดยสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ กำ�หนดกรอบในการปฏิรปู ไว้ถงึ 10 เรือ่ ง คือ การสร้างจิตสำ�นึกใหม่ การสร้าง สัมมาชีพเต็มพื้นที่ การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น การสร้างระบบ การศึกษาที่พาชาติออกจากวิกฤต การสร้างธรรมาภิบาลทางการเมืองการ ปกครองและระบบความยุติธรรม การสร้างระบบสวัสดิการสังคม การสร้าง ความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและพลังงาน การสร้างระบบสุขภาพเพื่อสุขภาวะ คนทั้งมวล การสร้างสมรรถนะในการวิจัยและจัดทำ�ยุทธศาสตร์ชาติ และการ สร้างระบบการสื่อสารที่ผสานการสร้างสรรค์ทั้งหมด ระบบที่ต้องการการปฏิรูปทั้ง 10 เรื่องนี้มีความสัมพันธ์กัน เช่น มักกล่าวกันว่า เราไม่อาจปฏิรูปเศรษฐกิจได้โดยไม่ปฏิรูปการเมือง ในขณะ เดียวกันก็มีผู้ที่เชื่อว่า เราไม่อาจปฏิรูปการเมืองได้ หากเศรษฐกิจยังมีความ เหลื่อมลํ้ากันในระดับสูง นอกจากนี้ คนจำ�นวนมากยังเชื่อว่า คุณภาพของ คนเป็นสิง่ ทีส่ ำ�คัญทีส่ ดุ เราจึงไม่อาจปฏิรปู ประเทศได้เลย หากไม่ปฏิรปู ระบบ การศึกษาเสียก่อน คำ�ถามก็คือ เราจะเริ่มปฏิรูประบบแต่ละระบบที่มีความ สลับซับซ้อนและเชือ่ มโยงกันอย่างไร? เราจะใช้แนวทางทีอ่ าจเรียกว่า “ปฏิรปู 306 o c t o b e r

แบบบิ๊กแบงหรือบิ๊กพุช” (Big Bang/Big Push) คือปฏิรูปพร้อมกันหมดทุก ด้าน3 หรือจะเลือกเน้นปฏิรูปบางด้านก่อน แล้วใช้พลังความสำ�เร็จจากการ ปฏิรูปในด้านนั้นไปสร้างความสำ�เร็จในการปฏิรูปด้านอื่น ซึ่งก็เหมือนกับการ หา “จุดคานงัด” ของการปฏิรูปทั้งระบบนั่นเอง เครือข่ายสถาบันทางปัญญาเชื่อว่า แม้การปฏิรูปทั้ง 10 ด้านจะ ต้องดำ�เนินการไปทั้งหมด เราก็ควรให้นํ้าหนักเป็นพิเศษต่อการปฏิรูปเชิง ยุทธศาสตร์ใน 2 ด้าน คือการปฏิรูประบบสื่อและการสร้างสถาบันยุทธศาสตร์ ในมุมมองของแนวคิด “สามเหลีย่ มเขยือ้ นภูเขา” การสร้างสถาบันยุทธศาสตร์ ก็คือการสร้างกลไกในการสร้างความรู้เพื่อการปฏิรูประบบทั้งหมด ส่วนการ ปฏิรปู ระบบสือ่ ก็คอื การสร้างกลไกในการสือ่ สารกับสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นเอง

5.1 การปฏิรูประบบสื่อ

h ในความเห็นของผู้เขียน การปฏิรูประบบสื่อในประเทศไทยในช่วง

ทศวรรษทีผ่ า่ นมาประสบความสำ�เร็จบางส่วน ดังเห็นได้จากการมีบทบัญญัติ

Big Bang เป็นแนวความคิดว่า การปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศสังคมนิยมมาสู่ประเทศที่มีเศรษฐกิจแบบ ตลาด ไม่สามารถทำ�อย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละด้านได้ แต่ต้องทำ�ไปพร้อมกันหมดทุกด้าน ส่วน Big Push เป็นแนวความคิดทางทฤษฎีในวงการเศรษฐศาสตร์การพัฒนา ซึ่งเชื่อว่าการตัดสินใจลงทุนของบริษัทหนึ่งๆ ว่าจะเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่หรือไม่ จะขึ้นอยู่กับความคาดหวังว่าบริษัทอื่นจะเข้าสู่อุตสาหกรรมเดียวกันด้วย เพราะการเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมใหม่พร้อมกันจะช่วยลดต้นทุนของทุกราย ในขณะที่บริษัทใดบริษัทเดียว ไม่สามารถแบกรับต้นทุนทั้งหมดได้

3

o c t o b e r 307


ในรัฐธรรมนูญทั้งฉบับปี พ.ศ. 2540 และปี พ.ศ. 2550 ซึ่งให้การรับรองว่า คลืน่ ความถีเ่ ป็นทรัพยากรเพือ่ ประโยชน์สาธารณะ นอกจากนีย้ งั มีความสำ�เร็จ ในการออกกฎหมายประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ช่วย ลดการผูกขาดในธุรกิจสื่อ การจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกขึ้น ในประเทศไทย การยกเลิกกฎหมายการพิมพ์ซึ่งปิดกั้นเสรีภาพสื่อ และการ จัดตั้งองค์กรวิชาชีพขึ้นมากำ�กับดูแลกันเอง ทั้งในส่วนของสื่อหนังสือพิมพ์ และสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนความพยายามอื่นๆ อีกมากมายที่มีความ คืบหน้าแต่ยังไม่เห็นผลสำ�เร็จเป็นรูปธรรม ความสำ�เร็จบางส่วนดังกล่าว ช่วยให้ปัญหาในเชิงโครงสร้างของระบบสื่อในปัจจุบันคลี่คลายลงกว่าในอดีต โจทย์ในการปฏิรูประบบสื่อของประเทศไทยจึงได้เคลื่อนตัวออก จากการปฏิรูปเชิงโครงสร้างไปสู่การปฏิรูปเนื้อหา (content) เพราะในตลาด สื่อที่มีการเปิดเสรีและมีช่องทางในการสื่อสารมากมาย เช่น มีสถานีโทรทัศน์ หลายร้อยช่อง วิทยุชมุ ชนหลายพันสถานีและมีการใช้สอื่ อิเล็กทรอนิกส์ตดิ ต่อ สือ่ สารกันอย่างคึกคัก ช่องทางในการสือ่ สารไม่ได้เป็น “จุดคอขวด” เช่นในอดีต อีกแล้ว แต่ “จุดคอขวด” อยู่ที่การขาดเนื้อหาดีๆ ที่เอื้อต่อการปฏิรูป ซึ่งต้อง อาศัยการระดมทรัพยากร โดยเฉพาะทรัพยากรทางการเงิน เพื่อผลิตเนื้อหา โดยคำ�ตอบหนึ่งอาจอยู่ในรูปของการมีกองทุนสนับสนุนการสร้างเนื้อหา ทั้ง โดยมืออาชีพและประชาชนที่สนใจ นอกจากนี้ เมื่อมีการสร้างเนื้อหาโดย ภาคีต่างๆ แล้ว ก็จำ�เป็นต้องมีการสร้างแพลตฟอร์ม (platform) เพื่อให้มีการ แลกเปลี่ยนเนื้อหาเหล่านั้นระหว่างผู้ผลิตเนื้อหาและสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ทั้งหลาย4 ตลอดจนแพลตฟอร์มในการสะท้อนปัญหาจากสื่อทางเลือกเข้าสู่ สื่อกระแสหลักและกระบวนการทางนโยบาย ตัวอย่างของแพลตฟอร์มดังกล่าวได้แก่ Public Radio Exchange (PRE) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่พัฒนา ขึ้นโดย Berkman Center แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด 4

308 o c t o b e r

5.2 สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์

h ตามแนวคิด “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” การปฏิรูปใดๆ จะต้องเริ่ม ต้นจากการสร้างความรู้ก่อนเสมอ ไม่เว้นแม้การปฏิรูประบบใหญ่ทั้งระบบ ตามแนวความคิดของเครือข่ายสถาบันทางปัญญา ความรู้ที่จำ�เป็นอย่างยิ่ง ในกรณีนี้ก็คือ ความรู้ในเชิงยุทธศาสตร์ ทั้งในเชิงเนื้อหาในแต่ละด้าน และ ความรู้ในเชิงการวิเคราะห์ “จุดคานงัด” ของแต่ละระบบ การมีสถาบันวิจัย ยุทธศาสตร์จึงเป็นปัจจัยที่สำ�คัญอย่างยิ่งต่อการปฏิรูปประเทศไทยให้ประสบ ผลสำ�เร็จ ในการดำ�เนินการดังกล่าว การระดมทรัพยากร โดยเฉพาะทรัพยากร ด้านการเงิน เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำ�คัญ แต่ปัจจัยสำ�คัญที่สุดที่จะชี้ขาด ความสำ�เร็จของการจัดตั้งสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์ก็คือ การมีบุคลากรจำ�นวน หนึง่ ซึง่ มีขดี ความสามารถสูงในการทำ�งานวิจยั เชิงยุทธศาสตร์ ทีใ่ ห้คำ�มัน่ ทีจ่ ะ ทำ�งานดังกล่าวอย่างทุ่มเทเป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอ แม้ประเทศไทยจะมีนักวิจัยที่สามารถทำ�งานวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ ได้จำ�นวนหนึ่งก็ตาม แต่ปัญหาในปัจจุบันก็คือ นักวิจัยเหล่านั้นไม่ได้ทำ�วิจัย ด้านยุทธศาสตร์อย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากถูกเบี่ยงเบนความสนใจให้ไปทำ� วิจยั ด้านอืน่ การชักจูงให้นกั วิจยั เหล่านีห้ นั กลับมาทำ�งานวิจยั เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อตั้งสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์ให้ประสบความสำ�เร็จอย่างยั่งยืน จะต้องมี หลักประกันในการสนับสนุนอย่างน้อยในระยะกลาง (3-5 ปี) ควบคู่ไปกับการ สร้างกลไกในการกำ�กับและประเมินผลการวิจัย o c t o b e r 309


ผูเ้ ขียนมีความเห็นว่า หากยังไม่สามารถจัดตัง้ สถาบันวิจยั ยุทธศาสตร์ ได้ เนื่องจากไม่สามารถระดมบุคลากรที่มีคุณภาพได้เพียงพอ ในเฉพาะหน้า นี้ ควรส่งเสริมให้มีการจัดตั้งองค์กรวิจัยขนาดเล็กในแต่ละสาขา เพื่อทำ�งาน ในเชิงติดตาม (monitoring) แจ้งเตือน (warning) และจัดทำ�รายงานประจำ�ปี (reporting) เพื่อสรุปสถานการณ์และเสนอวาระเร่งด่วนในการปฏิรูปในแต่ละ ด้านเป็นรายปี ตลอดจนเตรียมข้อมูลพื้นฐานเพื่อการปฏิรูปในสาขานั้นๆ

เอกสารอ้างอิง ประกิ ต วาที ส าธกกิ จ , ถอดบทเรี ย นชี้ นำ � สั ง คมและผลั ก ดั น นโยบายสาธารณะ, แผนงานโรงเรี ย น แพทย์ ส ร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ ระยะที่ 4, กลุ่ ม สถาบั น แพทยศาสตร์ แ ห่ ง ประเทศไทย, 2552 สมเกี ย รติ ตั้ ง กิ จ วานิ ช ย์ , เดื อ นเด่ น นิ ค มบริ รั ก ษ์ , “สภาพการแข่ ง ขั น และราคาค่ า บริ ก าร อิ น เตอร์ เ น็ ต ในประเทศไทย,” สถาบั น วิ จั ย เพื่ อ การพั ฒ นาประเทศไทย, 2540 (มี อ ยู่ ในเว็บไซต์ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย www.tdri.or.th) สมเกี ย รติ ตั้ ง กิ จ วานิ ช ย์ , “ทฤษฎี ค วามโกลาหล,” สถาบั น วิ จั ย เพื่ อ การพั ฒ นาประเทศไทย, 2546 (มีอยู่ในเว็บไซต์ของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย www.tdri.or.th) สมเกี ย รติ ตั้ ง กิ จ วานิ ช ย์ , “ธรรมชาติ ข องสรรพสิ่ ง : มุ ม มองจากระบบซั บ ซ้ อ น,” สถาบั น วิ จั ย เพื่ อ การพั ฒ นาประเทศไทย, 2546 (มี อ ยู่ ใ นเว็ บ ไซต์ ข องสถาบั น วิ จั ย เพื่ อ การพั ฒ นา ประเทศไทย www.tdri.or.th) Belbruno, Edward. Fly Me to the Moon: An Insider's Guide to the New Science of Space Travel, Princeton University Press, 2007. Gladwell, Malcolm. The Tipping Point: How Little Things Can Make a Big Difference, Back Bay Books, 2002 (ฉบั บ ภาษาไทยใช้ ชื่ อ ว่ า จุ ด ชนวนคิ ด พลิ ก สถานการณ์ แปลโดย ยาดา สุยะเวช สำ�นักพิมพ์ดีเอ็มจี 2550) Hartigan, Pamela. and Elkington, John. The Power of Unreasonable People, Harvard Business School Press, 2008 (ฉบั บ ภาษาไทยใช้ ชื่ อ ว่ า พลั ง ของคนหั ว รั้ น แปลโดย สฤณี อาชวานันทกุล สำ�นักพิมพ์มติชน 2552) Rodrik, Dani. One Economics, Many Recipes: Globalization, Institutions, and Economic Growth, Princeton University Press, 2007 Watts, Duncan J. Small Worlds: The Dynamics of Networks between Order and Ran domness, Princeton University Press, 2003

310 o c t o b e r


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.