ภิกขุปาติโมกขปาฬิ ฉบับ จปร. อักษรสยาม

Page 1

ภิกขุปาติโมกข์ปาฬิ ฉบับ จปร. อักษรสยาม ปาฬิภาสา-อักษรสยาม เทียบกับ เสียงอ่าน ตามอักขรวิธเี ขียนพระไตรปิฎกปาฬิ อักษรสยาม ๒๔๓๖

พระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช อักษรสยาม ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล ๒๕๕๔



ภิกขุปาติโมกข์ปาฬิ ฉบับ จปร. อักษรสยาม จัดพิมพ์ในวาระ ๑๐๐ ปี วันสวรรคต

พระจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช และ เผยแผ่เป็นธัมมทานเนื่องในโอกาสที่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ในงานพระราชทานเพลิงถวายสรีระ

พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน) ณ วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี วันที่ ๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔



ภิกขุปาติโมกข์ปาฬิ ฉบับ จปร. อักษรสยาม ปาฬิภาสา-อักษรสยาม เทียบกับ เสียงอ่าน ตามอักขรวิธเี ขียนพระไตรปิฎกปาฬิ อักษรสยาม ๒๔๓๖

พระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช อักษรสยาม ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล ๒๕๕๔



สนทนาธัมม์นำสุข

กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

คำนำในการจัดพิมพ์ ภิกขุปาติโมกขปาฬิ ฉบับ จปร. อักษรสยาม (ภิกขุปาติโมกขปาฬิ อ่านว่า ภิกขุปาติโมกขะปาฬิ)

ในปี พ.ศ. 2431 เมือ่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 5 พระเจ้ากรุงสยามทรง โปรดให้จดั พิมพ์พระไตรปิฎก “ปาฬิภาสา” หรือ “ภาษาพระธัมม์” เป็นชุดหนังสือพระไตรปิฎกปาฬิ 39 เล่มนั้น ปัญหาที่สำคัญยิ่งคือ การสร้างระบบอักขรวิธีการเขียน “ปาฬิภาสา” ขึ้นใหม่ที่จะ พิมพ์ด้วย “อักษรสยาม” ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะพระไตรปิฎกปาฬิฉบับเก่าแก่ของชาติ ไทยนั้น เป็นฉบับที่เขียนด้วยมือเป็นอักษรขอมโบราณบนใบลานที่ได้สังคายนาไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2331 ในสมัยรัชกาลที่ 1 เหตุผลสำคัญที่ทรงโปรดให้ใช้อักขรวิธีการเขียนปาฬิภาสาด้วยอักษรสยาม ก็เพื่อให้คนไทย ทั่วทั้งประเทศสามารถอ่านปาฬิภาสาด้วยอักษรสยามได้โดยสะดวก แทนอักษรขอมที่ใช้บันทึกปาฬิ อยู่เดิม โดยไม่จำกัดให้รู้อยู่เฉพาะในวงการสงฆ์ หรือผู้ซึ่งคุ้นเคยกับปาฬิภาสาอักษรขอมที่มีจำนวน จำกัด เนื่องจากขอมเป็นอักษรโบราณในพระไตรปิฎกใบลานที่ประชาชนชาวไทยทั่วไปไม่สามารถ อ่านได้แล้ว 5


ในด้านบริบททางประวัติศาสตร์ยุคนั้น มหาอำนาจตะวันตกได้ยึดครองประเทศเพื่อนบ้าน ของสยามไปหมดสิ้นแล้ว การเปลี่ยนการบั น ทึ ก อารยธรรมภู มิปัญ ญาสู ง สุ ด ของสยามในพระ ไตรปิฎกที่สืบทอดมากว่าสองพันปี จากอักษรขอมเป็นอักษรสยาม ซึ่งเป็นการริเริ่มของพระมหา กษัตริยพ์ ุทธมามกะจึงเป็นความคิดที่ก้าวล้ำนำยุคของการอนุรักษ์คำสอนในพระพุทธศาสนาในยุค ใหม่ แม้อักษรขอมเคยเป็นวัฒนธรรมในการจารึกพระคัมภีร์ในดินแดนสุวรรณภูมิเป็นเวลานับพัน ปี และเคยนิยมว่าเป็นอักษรในคัมภีรใ์ บลานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิ์ แต่อกั ษรขอมก็เป็นภาษาในวัฒนธรรมเขมร ซึ่งในขณะนั้นได้ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสแล้ว การเปลี่ยนแปลงเป็นอักษรสยามที่ก้าวล้ำนำสมัย เช่นนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องง่าย อย่างไรก็ตามการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกอักษรสยามก็สำเร็จลุล่วงทันเวลา มีการประดิษฐ์อักขรวิธีการเขียนปาฬิภาสาพร้อมด้วยการใช้เครื่องหมายกำกับอักษรสยามที่เป็น เอกลักษณ์ของชาติไทย และตรงกับด้านคัมภี​ีร์สัททนีติที่เก่าแก่และวิชาการด้านสัททศาสตร์สมัย ใหม่ ในการอนุรักษ์เสียงพระธัมม์ในพระไตรปิฎกปาฬิ เป็นทีอ่ ศั จรรย์วา่ ต้องใช้เวลาถึง 6 ปี ในการดำเนินงานต่างๆ ได้แก่ การตรวจทาน การปริวรรต อักษรขอมเป็นอักษรสยาม การจัดทำต้นฉบับ และการจัดพิมพ์เป็นชุดหนังสือที่ทันสมัยเป็นชุดแรก ของโลก 39 เล่ม ซึ่งสำเร็จลงในปี พ.ศ. 2436 หรือรัตนโกสินทรศก ร.ศ. 112 ซึ่งเป็นปีที่สยามกำลัง มีวิกฤตร้ายแรงกับฝรั่งเศสที่หวังยึดกรุงสยาม แต่ด้วยอำนาจแห่งปัญญาบารมีของผู้นำประเทศที่ จะรักษาพระธัมมวินัย กรุงสยามจึงสามารถรักษาเอกราชและความเป็นไทมาได้ ทั้งนี้ก็ด้วยความ สุขุมคัมภีรภาพของผู้นำสยาม ที่ใช้วิเทโศบายทางการเมืองและการต่างประเทศอย่างชาญฉลาด ทำให้พระพุทธศาสนาและพระไตรปิฎกยังคงสืบทอดอยู่ในแผ่นดินไทยอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์มา จนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันพระไตรปิฎกปาฬิชุดนี้ ได้รับการขนานนามว่า “พระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้า บรมธัมมิกมหาราช อักษรสยาม พ.ศ. 2436” เป็นฉบับสำคัญที่ยอมรับกันทั่วโลกว่าเป็นการจัดพิมพ์ พระไตรปิฎกปาฬิเป็นชุดหนังสือชุดแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และปัจจุบันพบว่าได้ พระราชทานเป็นพระธัมมทานแก่ 260 สถาบัน ใน 30 ประเทศทั่วโลก ที่ ส ำคั ญ ยิ่ ง อี ก ประการคื อ ได้ มี ร ะบบการเที ย บอั ก ษรระหว่ า ง “อั ก ษรสยาม” กั บ “อักษรโรมัน” พร้อมทั้งมีการแสดงอักขรวิธีการเขียนปาฬิภาสา ด้วยอักษรสยามและอักษรโรมัน เป็นคู่มือในพระไตรปิฎก จปร. เล่มนี้ด้วย ตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นวิสัยทัศน์อันเลิศของไทยที่ ได้สามารถจัดสร้างพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ชุดนี้ได้สำเร็จเป็นมาตรฐานในระดับนานาชาติ ของยุค การนำเสนออักษรโรมันเพื่อเทียบกับอักษรสยามเป็นครั้งแรกของการจัดพิมพ์พระไตรปิฎก นับเป็นภูมิปัญญาไทยสากลที่ยิ่งใหญ่ และเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคมและ ประวัตศิ าสตร์โลกยุคนัน้ นอกจากนีย้ งั เป็นแนวทางในการพัฒนา “อักษรสยาม” ควบคู่ กันต่อไปกับ “อักษรโรมัน” ที่เป็นสากลยิ่งขึ้นในอนาคตด้วย เพราะปัจจุบันก็เป็นที่ประจักษ์ดีแล้วว่าวัฒนธรรม อักษรโรมันมีทั้งศักยภาพที่เป็นสื่อสากลด้านอิเล็คทรอนิกส์ และมีประสิทธิภาพในการเป็นอักษร สัญญลักษณ์นานาชาติ ทีช่ าวโลกรู้จักกันเป็นอย่างดี ใน​ปี​ ​พ.ศ​.​ ​2552​ อันเป็นวาระครบรอบ 10 ปี ของโครงการพระไตรปิฎกสากล ​กองทุน​ สน​ทนาธัมม์​นำ​สุข​ ​ท่านผู้หญิง​ ​ม.ล​.​ มณี​รัตน์​ ​บุนนาค​ ​ใน​พระ​สังฆ​ราชูปถัมภ์​สมเด็จ​พระ​ญาณ​ สังวร​ ​สมเด็จ​พระ​สังฆราช​ ​ร่วม​กับ​โครงการ​เผยแผ่​พระ​ไตรปิฎก​สากล​​ใน​สมเด็จ​กรม​หลวง​นราธิวาส​ 6


ราช​นครินทร์​ ​ได้​นอ้ ม​ถวาย​พระ​ไตร​ปฎิ ก​ปาฬิ​ ​“​จลุ จอม​เก​ลา้ ​บรม​ธมั ​ม​ิกม​หา​ราช​ ​พ.ศ​.​ ​2436​ ​อกั ษร​ สยาม​ ​:​ ​ฉบับอ​ นุรักษ์​ดิจิทัล​ ​พ.ศ​.​ 2​ 552”​ ​ชุด​ 4​ 0​ ​เล่ม​ ​แด่​สมเด็จ​พระ​ญาณ​สังวร​ ​สมเด็จพ​ ระ​สังฆราช​ สกล​มหา​สังฆ​ปริณายก​​เนื่อง​ใน​วาระ​ที่​เจ้า​ประคุณ​สมเด็จ​พระ​สังฆ​ราชฯ​​ทรง​เจริญ​พระ​ชนมายุ​9​ 6​​ปี​ โดย​สมเด็จ​พระ​วัน​รัต​ ​วัด​บวร​นิเวศ​น์วิหาร ​เป็น​ผู้​แทน​คณะ​สงฆ์​รับ​พระราชทานพระ​ไตรปิฎก​ ​จปร​.​ ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล​ ชุดน​ ี้ ​ ​จาก​สมเด็จพ​ ระเจ้า​ลูกเธอ​ เจ้า​ฟ้า​จุฬาภ​รณวลัย​ลักษณ์​ ​อัคร​ราช​กุมารี​ ​ณ​ วัด​พระ​ศรีรัตนศาสดาราม​ใ​ น​พระบรม​มหาราช​วัง​ การ​​พิมพ์​​“ภิกขุ​ปาติโมกข​ปาฬิ​​ฉบับ​​จปร. ​​อักษร​สยาม​พ.ศ​.​2​ 554” ​เป็นการ​นำ​อักขรวิธี​ การ​เขียน​อักษร​สยาม​ในพระไตรปิฎก จปร. พ.ศ. 2436 ​มา​จัด​พิมพ์​ใหม่​ ​ซึ่งเ​ป็น​ระบบ​การ​เขียน​ปาฬิ​ ภาสา​ที่​มปี​ ระสิทธิภาพ​สูง​​และ​เป็น​ระบบ​ทปี่​ ระชาชน​ทั่วไป​​แม้​ผู้ที่ไม่​คุ้น​กับ​ปาฬิ​ภาสาก็​สามารถ​อ่าน​ ออกเสียง​ได้​เป็น​อย่าง​ดี​ ​เพราะ​มี​เครื่องหมาย​ต่างๆ​ ​ที่​ใช้ใ​ น​ภาษา​ไทย​อยู่​แล้ว​ ​การ​จัด​พิมพ์​ใหม่​ครั้ง​นี้​​ จึง​เป็นการ​อนุรักษ์​ภูมิปัญญา​ไทย​สากล​ที่​เป็น​เลิศ​ ​เพื่อ​เป็น​พระราช​ศรัทธา​นุ​สรณ์​ใน​พระบาท​สมเด็จ​ พระ​จุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว พ.ศ. 2553 ​ใน​วาระ​ ​100​ ปี ​แห่ง​การเสด็จสวรรคตของพระบรมธัมมิก มหาราชพระองค์นั้น ผู้ซึ่งทรงพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นชุดแรกของมนุษยชาติ และได้พระราชทานเป็น พระธัมมทานไปในสากลโลก​​ การจัดทำ​ตน้ ฉบับ​“​ ป​ าฬิภ​ าสา​-อ​ กั ษร​สยาม​”​และ ระบบการ​เทียบ​กบั “เสียงอ่าน”​​ห​ รือ สัททอักษร ดังที่มีคำ​อธิบาย​ใน​ตอนท้าย​ของ​หนังสือน​ ี้​แล้ว ​ซึ่งจัดทำ​เพื่อ​เผยแผ่​วิธี​​เขียน​และ​​อ่าน​อักษรสยามตาม​ ที่​สืบทอด​มา​ใน​พระพุทธ​ศาสนาเถรวาทให้ได้ตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความสถิตย์​สถา​พร​ของ พระธัมม์คำสอน​ในพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ในนามของผู้ จั ด ทำต้ น ฉบั บ ขออนุ โ มทนาทุ ก ท่ า นที่ ไ ด้ ร่ ว มกั น จั ด ทำต้ น ฉบั บ นี้ ใ ห้ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ตลอดจนขอขอบพระคุณองค์กรต่างๆ ที่มีกุศลเจตนาอย่างแรงกล้าในการ นำต้นฉบับนี้มาจัดพิมพ์เผยแผ่ การศึกษาพระไตรปิฎกให้แพร่หลายต่อไปเป็นพระธัมมทานตาม พระประสงค์ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์พระสังฆราชู ปถัมภ์โครงการพระไตรปิฎกสากล

นายสิริ เพ็ชรไชย ป.ธ. 9 ประธานกองทุน​สน​ทนาธัมม์​นำ​สุข​ ท่านผู้หญิง​​ม.ล​.​มณี​รัตน์​​บุนนาค ใน​พระ​สงั ฆ​ราชูปถัมภ์​ สมเด็จ​พระ​ญาณ​สงั วร​​​สมเด็จ​พระ​สงั ฆราช​สกล​มหา​สังฆ​ปริณายก​ ผู้ดำเนินการโครงการพระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน 5 7

มีนาคม พ.ศ. 2554



พระอาทิตย์สว่างในกลางวัน, พระจันทร์ทอแสงในกลางคืน; กษัตริย์ทรงเกราะงามสง่า, พราหมณ์เจริญฌานสง่างาม; แต่ตลอดกาลทั้งกลางวันและกลางคืน, พระพุทธเจ้ารุ่งเรืองด้วยพระเดช

พระไตรปิฎก ธั​ัมมบท คาถาที่ 387

9



ที่พิเศษ ๒/๒๕๕๔ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เรื่อง อนุโมทนาการสนับสนุนข้อมูลพระไตรปิฎกปาฬิ อักษรต่างๆ แก่มลู นิธเิ สียงธรรมเพือ่ ประชาชนฯ เรียน นายสิริ เพ็ชรไชย ป.ธ.๙ ประธานกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขท่านผูห้ ญิง ม.ล. มณีรตั น์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ​ ​ตาม​ทก​ี่ องทุนส​ น​ทนาธัมม์น​ ำ​สขุ ฯ​ใน​พระ​สงั ฆ​รา​ชปู ถ​ มั ภ์ฯ​ม​ ห​ี นังสือถ​ งึ พระ​ธรรม​วส​ิ ทุ ธิม​ งคล​ (​หลวง​ตาพ​ระ​มหา​บวั ​ญ ​ าณ​สมั ป​ นั โ​น​)​ป​ ระธาน​มลู นิธเ​ิ สียง​ธรรม​เพือ่ ป​ ระ​ชา​ชนฯ​ล​ ง​วนั ท​ ​ี่ ๗​ ​ม​ กราคม​​ ๒๕๕๔​ ​ด้วย​มี​จิต​ศรัทธา​ใน​การ​ดำเนิน​งาน​ของ​มูลนิธิ​เสียง​ธรรมเพื่อ​ประ​ชา​ชนฯ​ ​แจ้ง​กุศล​เจตนา​ สนับ​สนุ​นวิธิีการ​เรียง​พิมพ์​อักษร​โรมัน​สำหรับ​ปาฬิ​ภาสา​ ​ใน​โครงการ​เผยแผ่​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ใน​ สมเด็จ​กรม​หลวง​นราธิวาส​ราช​นครินทร์​​พร้อม​ทั้งไ​ ด้​นิมนต์​คณะ​สงฆ์ก​ รรมการ​มูลนิธเิ​สียง​ธรรม​เพือ่ ​ ประ​ชา​ชนฯ​ ​เข้าร​ ่วม​ประชุม​เรื่อง​ราย​ละเอียด​ของ​โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ​อักษร​โรมัน​ ​ตาม​รอย​ พระ​ไตรปิฎก​ ​จปร​.​ ​อักษร​สยาม​ ​สำหรับ​มูลนิธิ​เสียง​ธรรม​เพื่อ​ประ​ชา​ชนฯ​ ​จะ​ได้​เผยแผ่​ให้​แพร่​หลาย​ ต่อ​ไป​​ดัง​ราย​ละเอียด​แจ้ง​แล้ว​นั้น​ ​ มูลนิธิ​เสียง​ธรรม​เพื่อ​ประ​ชา​ชนฯ​ ขอ​อนุโมทนา​ใน​กุศล​เจตนา​ดัง​กล่าว​ ​ใน​เบื้อง​ต้น​ขอ​ให้​ ทาง​โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ได้​พิจารณา​ตรวจ​สอบ​ข้อ​มูลป​ าฬิ​ภาสา​ใน​บท​ทำวัตร​เช้า​-​เย็น​​เป็น​ อักษร​โรมัน​​เพื่อ​เผยแพร่ท​ าง​สถานี​โทรทัศน์​เสียง​ธรรม​เพื่อ​ประชาชนฯ​​เป็นต้น​แบบ​ก่อน​​ซึ่ง​ต่อ​ไป​จะ​ ได้​พัฒนา​เป็น​ข้อมูล​สำหรับ​หนังสือ​สวด​มนต์​ประกอบ​การก​ระ​จาย​เสียง​ของ​สถานี​วิทยุ​ ​ตลอด​จน​การ​ จัด​พิมพ์​พระ​ธัมม​วินัย​ใน​พระ​ไตรปิฎก​​สำหรับ​เผยแผ่​ต่อ​ไป​ด้วย​ ​ ​นอกจาก​การ​เรียง​พิมพ์​ด้วย​อักษร​โรมัน​แล้ว​ ​เนื่อง​ใน​โอกาส​ที่​จะ​มี​การ​จัด​พิมพ์​ต่างๆ​ ​ใน​ งาน​พระราชทาน​เพลิง​พระ​สรีระ​พระ​ธรรม​วิ​สุทธิ​มงคล​ ​(​หลวง​ตา​พระ​มหา​บัว​ ​ญาณ​สัม​ปัน​โน​)​ ​ขอ​ ให้​ทาง​โครงการ​พระ​ไตรปิฎก​สากล​ ​ได้​พิจารณา​รูป​แบบ​การ​พิมพ์​ปาฬิ​ภาสา​ ​โดย​เฉพาะ​การ​เรียง​ พิมพ์​เป็น​ ​“​อักษร​สยาม​”​ ​ด้วย​ ​ซึ่ง​เป็น​ระบบ​การ​เขียน​ปาฬิ​ภาสา​ ​ที่​มี​ความ​สมบูรณ์​และ​ทรง​คุณค่า​ ที่สุด​ระบบ​หนึ่ง​ ​เนื่องจาก​เป็น​ฉบับ​ที่​พระบาท​สมเด็จ​พระ​จุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ได้​โปรด​ให้​จัด​พิมพ์​ อักษร​สยาม​ใว้​ใน​พระ​ไตรปิฎก​​ฉบับ​​จปร​.​​พ.ศ​.​​๒๔๓๖​​รูป​แบบ​นี้​ทำให้​การ​ออก​เสียง​ปาฬิ​มี​ความ​ถูก​ ต้อง​แม่นยำ​เหมือน​ครัง้ พ​ ทุ ธกาล​ก​ าร​พมิ พ์เ​ผย​แพร่เ​่ ท่ากับเ​ป็นการ​ฟนื้ ฟูร​ ปู แ​ บบ​อนั ท​ รง​คณ ุ ค่าเ​หล่าน​ ​ี้ ให้ค​ ืนก​ ลับม​ า​​เป็นการ​อนุรักษ์แ​ ละ​สืบทอด​มรดก​อันล​ ้ำค่าข​ อง​พระองค์ใ​ ห้ด​ ำรง​มั่นคง​ถาวร​คชู่​ าติไ​ ทย​ สืบไป​ ​การ​นำ​ปาฬิ​ภาสา​ ​อักษร​สยาม​ มา​จัดพ​ ิมพ์​ใหม่ใ​ ห้​แพร่​หลาย​ใน​โอกาส​ครั้ง​สำคัญ​นี้​ ​นอกจาก​ จะ​เป็น​ประวัติศาสตร์​ที่​ต้อง​จารึก​ไว้​แล้ว​ ​ยัง​เป็น​พุทธ​บูชา​และ​เป็น​ธัม​มา​นุ​สรณ์​ใน​งาน​พระราชทาน​ เพลิง​พระ​สรีระ​องค์​หล​วง​ตาฯ​ ​ที่​ละ​ขันธ์​เข้า​สู่​พระ​นิพพาน​ ผู้​ซึ่ง​ได้​เคร่งครัด​ปฏิบัติ​ตาม​คำ​สอน​ของ​ องค์พ​ ระบรม​ศาสดา​สมั มา​สมั พ​ ทุ ธ​เจ้าต​ ามพ​ระ​ไตรปิฎก​อย่าง​งดงาม​พ​ ร้อม​ทงั้ ม​ ค​ี ณ ุ ปู การ​แก่ช​ าติแ​ ละ​ ประชาชน​อันป​ ระมาณ​มิได้​ ​ ​จึง​เรียน​มา​เพื่อโ​ ปรด​ทราบ​​ ​ขอ​เจริญพร​มา​พร้อม​นี้​ ​ ​ ​พระ​สุดใจ​​ทันต​มโน​ ​ผู้​แทน​คณะ​สงฆ์​ศิษยานุศิษย์ฯ​ ​กรรมการ​มูลนิธิ​เสียง​ธรรม​เพื่อ​ประชาชน​​ใน​พระ​อุปถัมภ์​ ​สมเด็จ​พระเจ้าล​ ูกเธอ​​เจ้า​ฟ้า​จุฬา​ภ​รณ​วลัยล​ ักษณ์​​อัคร​ราช​กุมารี



พ​ ระ​ไตรปิฎก​ ​จปร​.​ ​อักษร​สยาม​ ​พ.ศ​.​ ​2436​ ​นี้​ ​ใช้เนื้อหาพระไตรปิฎกที่สังคายนาไว้ในสมัยรัชกาล ที่ 1 เป็นต้นฉบับใบลานอักษรขอม ฉบับ จปร. อักษรสยามชุดนี้เป็นฉ​ บับ​ทตี่​ ี​พิมพ์​เป็น​ชุด​ ​ชุด​แรก​ ใน​ประวัติศาสตร์​พระพุทธ​ศาสนา​ ​ซึ่ง​นับ​เป็น​พระ​ราช​ปรีชา​ญาณ​อัน​เป็น​เลิศ​ของ​สถาบัน​พระ​มหา​ กษัตริย์​พุทธมามกะ​​ที่​ได้​อนุรักษ์พ​ ระพุทธ​พจน์​ที่​ได้​สืบทอด​จาก​การ​สังคายนา​ตั้งแต่​​พ.ศ​.​1​ ​​ใว้​อย่าง​ ประเสริฐ​ ​และ​ยัง​สามารถ​เผยแผ่​พระราชทาน​เป็น​พระ​ธัมม​ทาน​แก่​สถาบัน​ชั้น​นำ​ต่างๆ​ ​ใน​นานา​ ประเทศ​ทวั่ โ​ลก​ท​ ส​ี่ ำคัญก​ าร​บนั ทึกพ​ ระพุทธ​พจน์​“​ ป​ าฬิภ​ าสา​”​ด​ ว้ ย​อกั ขรวิธก​ี าร​เขียน​เป็นอ​ กั ษร​สยาม​ ใน​ครั้งน​ ั้น​​เป็นก​ระ​บวน​การ​ทาง​ภูมิปัญญา​อัน​ล้ำเ​ลิศ​​เพราะ​ต้อง​แปลง​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​​จาก​อักษร​ ขอม​โบราณ​มา​เป็นอ​ ักษร​สยาม​ที่​ทัน​สมัยใ​ นรัช​กาล​ที่​ 5​ ​ ​และ​ต้อง​จัดเ​รียง​พิมพ์​ด้วย​อักขรวิธี​การ​เขียน​ ที่​ถ่าย​ทอด​เสียง​ปาฬิ​ให้​แม่น​ตรง​กับ​ต้นฉบับ​ ​ซึ่ง​ก็​สามารถ​ตี​พิมพ์​เป็น​อักษร​สยาม​ได้​อย่าง​ยอด​เยี่ยม​​ พร้อมทั้งได้มีการเทียบ ปาฬิภาสา-อักษรสยาม กับ ปาฬิภาสา-อักษรโรมัน ด้วย 13


อารัมภกถา​* ​ ​ศุภมัสดุ​พระพุทธ​สาสนา​2​ 431​ ​ ​.​..​​แต่​ก่อน​มา​ประเทศ​ที่​นับถือ​พระพุทธ​สาสนา​ ยัง​มี​อำนาจ​ปกครอง​บ้าน​เมือง​โดย​ลำพังต​ ัว​​ พระเจ้าแ​ ผ่นด​ ิน​เป็น​ผู้​นับถือ​พระพุทธ​สาสนา​ ​ได้​ทำนุ​บำรุงอ​ ุดหนุน​การ​สาสนา​อยู่​หลาย​ประเทศ​ด้วย​ กัน​คือ​​กรุง​สยาม​​เมือง​ลังกา​​เมือง​พม่า​​เมือง​ลาว​​เมือง​เขมร​​เมื่อ​เกิด​วิบัติอันตราย​​พระ​ไตรปิฎก​ขาด​ สูญ​บกพร่อง​ไป​ใน​เมือง​ใด​ ​ก็​ได้​อาศัยห​ ยิบ​ยืม​กัน​มา​ลอก​คัด​คง​ฉบับ​บริบูรณ์​ ​ถ่าย​กัน​ไป​ถ่าย​กัน​มา​ได้​​ แต่ใ​ น​กาล​ปัจจุบัน​ ​ประเทศ​ลังกา​แล​พม่า​ ​ตก​อยู่​ใน​อำนาจ​อังกฤษ​ ​ผู้​ปกครอง​บ้าน​เมือง​ไม่​ได้​นับถือ​ พระพุทธ​สาสนา​ก็​ทำนุ​บำรุงแ​ ต่อ​ าณา​ประชา​ราษฎร​ไพร่​บ้าน​พลเมือง​ หา​ได้​อุดหนุน​การ​พระพุทธ​ สาสนา​เหมือน​อย่าง​พระเจ้าแ​ ผ่นดิน​ ​ซึ่ง​นับถือ​พระพุทธ​สาสนา​แต่​ก่อน​ไม่​ ​พระ​สงฆ์ซ​ ึ่งป​ ฎิบัติ​ตาม พ​ระ​พุทธ​สาสนา​ ​ก็​ต่าง​คน​ต่าง​ประพฤติต​ าม​ลำพัง​ตน​ ​คน​ที่ชั่วม​ ากกว่า​ดี​อยู่​เป็น​ธรรมดา​ ​ก็​ชักพา​ให้​ พระ​ปริยัติ​ธัมม์​คำ​สั่ง​สอน​ของ​พระ​สัมมา​สัม​พุทธ​เจ้า​ ​วิปริต​ผิด​เพี้ยน​ไป​ตา​มอัธย​ าศัย ​ส่วน​เมือง​เขมร​ นั้นเ​ล่า​ ​ก็​ตก​อยูใ่​ น​อำนาจ​ฝรั่ง​เศส ​ไม่มี​กำลังท​ ี่​จะ​อุดหนุน​พระพุทธ​สาสนา​ให้เ​ป็นการ​มั่นคง​ถาวร​ ไป​ได้​ ​ส่วน​เมือง​ลาว​ที่​อยู่​ใน​พระ​ราช​อาณาเขต​สยาม​ ​เจ้า​นาย​แล​ไพร่​บ้าน​พลเมือง​ก็​นับถือ​พระพุทธ​ สาสนา​วิปริต​แปรปรวน​ไป​ด้วย​เจือปน​ฝี​สาง​เทวดา​​จะ​หา​เอา​เป็น​หลัก​ฐาน​มั่นคง​ก็​ไม่​ได้​.​.​.​ ​.​.​.ก​ าร​พระพุทธ​สาสนา​ยังเ​จริญม​ ั่นคง​ถาวร​อยู่​แต่​ใน​ประเทศ​สยาม​นี้​ประเทศ​เดียว​ ​จึงเ​ป็น​ เวลา​สมควร​ที่​จะ​สอบสวน​พระ​ไตรปิฎก​ ​ให้​ถูก​ต้อง​บริบูรณ์​แล้วส​ ร้าง​ขึ้น​ไว้​ให้​มาก​ฉบับ​แพร่​หลาย​ ​จะ​ ได้​เป็นห​ ลัก​ฐาน​​เชื้อส​ าย​ของ​สา​สน​ธัมม์​คำ​สั่ง​สอน​ของ​พระ​สัมมา​สัม​พุทธ​เจ้า​สืบไป​ภาย​หน้า​​ก็​ธัมมะ​ อันใ​ ด​ที่​พระ​ผู้​มพี​ ระ​ภาค​เจ้าไ​ ด้​ตรัส​สั่งส​ อน​ ​ย่อม​เป็น​ธัมมะ​วิเศษ​เที่ยง​แท้​ ​ย่อม​จะ​นำ​สัตว์​พ้น​จาก​ทุกข์​ ภัย​ได้​โดย​จริง​เป็น​ธัมม​ะวิเศษ​​อุดม​ยิ่ง​ ​ซึ่งจ​ ะ​เป็น​ที่​ปรารถ​นา​ของ​ผู้​ซึ่งม​ ี​ปัญญา​ ​ได้​เล่า​เรียน​ตริตรอง​ แล้ว​ปฏิบัติ​ตาม​ได้​รับ​ผล​มาก​น้อย​ตาม​ประสงค์​.​.​.​​ .​.​.​พระบาท​สมเด็จพ​ ระเจ้าอยู่หัว​ทรง​พระ​ราชดำริ​เห็น​การ​เช่น​กล่าว​มา​แล้วข​ ้าง​ต้นน​ ี้​ พระ​ราช​ประสงค์​ที่​จะ​ให้​ตรวจ​สอบ​พระ​ไตรปิฎก​ให้​ถูก​ถ้วน​แล้วแ​ ล​ตี​พิมพ์​ด้วย​อักษร​สยาม​.​.​.​

​จึง​มี​ ​

​*​เ​รียง​พิมพ์​ใหม่​ตาม​รูป​ศัพท์ภ​ าษา​ปาฬิ​​เช่น​​สาสนา​​ปริยัติ​ธัมม์​​ธัมมะ​​เป็นต้น​​ตาม​ที่​พิมพ์​ใน​พระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​​อักษร​สยาม​​และ​โปรด​ดู​อักขรวิธี​ใน​ ต้นฉบับท​ ี่​ได้​ทำการ​อนุรักษ์​ไว้ท​ ี่​h​ all.worldtipitaka.info

14


อา​รัม์​ภ​กถา​ (​ถอ้ ยคำ​ทก​ี่ ล่าว​นำ)​เ​ป็นข​ อ้ั ค​ วาม​ภาษา​ไทย​ทเ​ี่ รียง​พมิ พ์ด​ ว้ ย​อกั ษร​สยาม​ป​ ระกาศ​พระ​ราช​ประสงค์ข​ อง​พระบาท​ สมเด็จพ​ ระ​จุลจอมเกล้าเ​จ้าอ​ ยูห่​ ัว​​ทจี่​ ะ​พิมพ์พ​ ระ​ไตร​ปิฎก​ปาฬิ​​อักษร​สยาม​​แก่ค​ ณะ​สงฆ์แ​ ละ​ข้าราชการ​​ณ​​วัด​ พระ​ศรีรัตนศาสดาราม​​​เมื่อ​​ร.ศ​.​​112 (2436)​

15


การปริวรรตอักษรสยามกับอักษรโรมัน (Transliteration of Siam-script to Roman-script) ซึ่งจัดพิมพ์ ไว้ตอนต้นก่อนเนื้อหาปาฬิของแต่ละคัมภีร์ ด้วยหลักการปริวรรตอักษรสยามดังกล่าว นักวิชาการชาวต่าง ประเทศจึงสามารถอ่านเนื้อหาปาฬิในพระไตรปิฎกได้ แม้ว่าจะเขียนปาฬิภาสา ด้วยอักษรสยาม สังเกตเครื่องหมายกำกับอักษรสยามปาฬิ : “ไม้วัชฌะการ” ( ์ ) บนพยัญชนะวรรคต่างๆ (ยกเว้น ง) เพื่อแสดงการห้ามเสียง สระ-อะ และเครื่องหมาย “ไม้ยามักการ” ( ๎ ) บนพยัญชนะอวรรค เพื่อแสดงเสียงควบกล้ำ 16


ตาราง การปริวรรต “อักษร” ไทย

16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43

[ɦ]

ก [ก]

kh

จ [จ]

ch

มุทธชะ 1 ṭ ที่ปลายลิ้นมวน

ฏ [ฏ]

ṭh

ทันตชะ 1 ที่ฟนบน

ต [ต]

th

ป [ป]

ph

Velar

ตาลุชะ 1 ที่เพดานแข็ง Palatal

Retroflex

Dental

โอฏฐชะ 1 ที่ริมฝปาก Bilabial

k [k] c [c]

[ʈ] t [t̪ ] p [p]

[kʰ] [cʰ] [ʈʰ] [ t̪ʰ] [pʰ]

ข [ข] ฉ [ฉ] ฐ [ฐ] ถ [ถ] ผ [ผ]

g [ɡ] j [ɟ] ḍ [ɖ] d [d̪ ] b [b]

ทันโตฏฐชะ 1 ทีร่ มิ ฝปากกับฟน สระปาิ

Pāḷi Vowels

สูง

high

กลาง

mid

หนา / fr ont

i อิ ī อี [i][อิ] [iː][อี]

1 2

[ɡʱ]

ช [ช]

jh

ฑ [ฑ]

ḍh

ท [ด]

dh

[ɟʱ ]

[ɖʱ]

[d̪ʱ ]

พ [บ]

bh [bʱ]

ฆ [ฆ] ฌ [ฌ] ฒ [ฒ] ธ [ธ] ภ [ภ]

ṅ [ŋ] ñ [ɲ] ṇ [ɳ] n [n̪] m [m]

.

ญ [ญ] ณ [ณ]

y [j] r [ɻ ]

ก อักษรไทยปาิ

Thai Alphabet Pāḷi

[ก]

ย [ย] ร [ร ]

ḷ [ɭ ]

น [น]

l [l̪ ]

ฬ [ฬ ] ล [ล]

s [s̪ ]

ส [ส]

ม [ม]

iṃ อิํ [ĩ][อิง]ํ

.

ห [ห ]

ง [ง]

[ʋ]

a อะ [a][อะ]

low

อักษรโรมันปาิ

gh

e เอ [eː][เอ]

ต่ำ

Roman Alphabet Pāḷi

ค [ค]

v

Labio-dental

k

Fricative

Lateral

h

Glottal

กัณฐชะ 1 ที่เพดานออน

เสียงเสียดแทรก

เสียงขางลิ้น

Non-lateral

กัณฐชะ 1 ที่ชองเสนเสียง

ว [ว]

.

uṃ อุํ [ũ][ อุง]ํ

พยัญชนะ นาสิกัฎฐานชัง 1 เสียงขึน้ จมูก Nasalised

aṃ อํ [ã][ อัง]ํ

สัททอักษรไทยปาิ

.

.

Thai Phonetic Alphabet Pāḷi

[k]

หลัง / ba ck

u อุ ū อู [u][อุ] [uː][อู] o โอ [oː][โอ] ā อา [aː][อา]

2554

15

วิจินตน ภาณุพงศ โครงการพระไตรปฎกสากล กองทุนสนทนาธัมมนำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภฯ

14

ไมใชเสียงขางลิ้น

13

Nasal

12

Voiced

สกัฎฐานนาสิกฏั ฐานชัง1 เสียงนาสิก

11

Voiceless

Aspirated

10

โฆสะ 1 เสียงกอง ธนิต 1 มีลม

9

อโฆสะ 1 เสียงไมกอง Unaspirated

8

Approximant

สิถิล 1 ไมมีลม

7

Stops

Aspirated

6

อัฑฒสระพยัญชนะ 1 เสียงเปด

เสียงกัก

ธนิต 1 มีลม

5

Unaspirated

4

[ ก]

k

Manner of Articulation : Pāḷi Consonant

สิถิล 1 ไมมีลม

3

ก) และการถายถอด “เสียง” ปาิ

ลักษณะการเปลงเสียง : พยัญชนะ ปาิ

Place of Articulation : Pāḷi Consonant

2

อ2 a2 อา ā อิ i อี ī อุ u อู ū เอ e โอ o ก k ข kh ค g ฆ gh ง ṅ จ c ฉ ch ช j ฌ jh  ñ ฏ ṭ  ṭh ฑ ḍ ฒ ḍh ณ ṇ ต t ถ th ท d ธ dh น n ป p ผ ph พ b ภ bh ม m ย๎ y ร๎ r ล๎ l ว๎ v ส๎ s ห๎ h ฬ๎ ḷ อํ aṃ อิ ํ iṃ อุํ uṃ

ฐานที่เกิดเสียง : พยัญชนะปาิ

1

โรมัน (k

สัททอักษรสากลปาิ IPA Pāḷi

เปนคำที่ใชในคัมภีรสัททนีติ พ.ศ. 1456 ซึ่งไดพิมพเปรียบเทียบไวกับคำศัพททางสัททศาสตรในปจจุบัน อักษรสยามกับอักษรโรมัน จากการปริวรรตในพระไตรปฎก จปร. พ.ศ. 2436 พระไตรปฎกปาิฉบับพิมพชุดแรก

ระบบการเขียนเสียงอ่าน (Phonetic Writting) หรือ อักขรวิธกี ารเขียนด้วยอักษรไทย คือ ระบบการเขียนเสียงอ่าน ที่ไม่คำนึงถึงเสียงสูงต่ำของอักษรที่กำหนดไว้ในภาษาไทย นอกจากนี้ยังได้กำหนดชุดสัททอักษรไทยปาฬิ (Thai Phonetic Alphabet Pāḷi) ขึ้นใหม่ แทนเสียงปาฬิภาสา ซึ่งถือกันว่าเป็นเสียงที่สืบทอดมาเมื่อสังคายนา พ.ศ.​๑ และยังได้มีคำอธิบายระบบการออกเสียงปาฬิภาสาไว้ในคัมภีร์สัททนีติ พ.ศ. 1456 อีกด้วย 17


ตัวอย่างปาฬิภาสา หรือ ภาษาพระธัมม์ ที่ได้ปริวรรตเป็นอักษรสยามและอักษรโรมัน อักขระวิธีเขียนด้วยอักษรสยามและอักษรโรมันนี้ทำให้คนทั่วโลกสามารถอ่านออกเสียงสังวัธยาย “ปาฬิ” ใน พระไตรปิฎกปาฬิได้ถูกต้องตรงกัน เพราะอักษรโรมันเป็นอักษรสากล ดูรายละเอียดเรือ่ ง “ปาฬิ กับ สัททอักษรสากล” จัดพิมพ์อยูใ่ นพระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ฉบับประมวลเนื้อหา เล่มที่ 40 ของชุดนี้ 18


การเขียนเสียงอ่าน ปาฬิภาสา : [ สัททอักษรไทยปาฬิ ] เทียบกับปาฬิภาสา อักษรโรมันปาฬิ [ บุดโธ สุสุดโธ กะรุณามะหัณณะโว ] Buddho Susuddho karunāmahaṇṇavo [ โยจจันตะสุดธับบะระญาณะโลจะโน ] Yoccantasuddhabbarañāṇalocano [ โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก ] Lokassa pāpūpakilesaghātako [ วันดามิ บุดธัง อะหะมาดะเรนะ Vandāmi Buddhaṃ ahamādarena [ ธัมโม Dhammo

ปะทีโป

padīpo

วิยะ

viya

ตัสสะ

tassa

ตัง]

taṃ

สัตถุโน ]

satthuno

[ โย มัคคะปากามะตะเภดะภินนะโก ] Yo maggapākāmatabhedabhinnako [ โลกุตตะโร โย จะ ตะดัตถะดีปะโน ] Lokuttaro yo ca tadatthadīpano [ วันดามิ ธัมมัง อะหะมาดะเรนะ Vandāmi Dhammaṃ ahamādarena

ตัง ]

taṃ

[ สังโฆ สุเขตตาภ ​ย๎ ะติเขตตะสัญญิโต ] Saṅgho sukhettābhy ‿atikhettasaññito [ โย ดิฏฐะสันโต สุคะตานุโบธะโก ] Yo diṭṭhasanto sugatānubodhako Phonetic writing of Pāḷi sounds : [ Thai Phonetic Alphabet Pāḷi ] and Roman Script Pāḷi

ในทีน่ ี้ คำว่า สังโฆ (Saṅgho) เขียนตามรูปศัพท์ ง สะกด ตามความนิยมของคนไทยทัว่ ไป แต่ในพระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช พ.ศ. 2436 อักษรสยาม เขียนศัพท์ปาฬิที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ ด้วยเสียงนิคหิต ด้วยเครื่องหมายพินทุโปร่ง ( ํ ) ทุกครั้ง เช่น สํโฆ สํทิเสสัส์ส และ สํวัต์ถา เป็นต้น ซึ่งต่อมาในการประชุม สังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500 ที่ประชุม ก็ได้มีมติให้เขียนรูปศัพท์เสียงนิคหิตที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ เช่นเดัยวกับฉบับอักษรสยาม ดังนัน้ ในหนังสือนีจ้ งึ เขียนคำทีเ่ กีย่ วกับ พระสงฆ์ในรูปเสียงนิคหิต ว่า สํฆ.. ทัง้ หมด เช่น สํโฆ ซึ่งเขียนเป็นอักษรโรมันว่า Saṃgho 19


วิธีอ่านเครื่องหมายกำกับอักษรสยาม 4 ประเภท จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ไม้หันอากาศ ( ั ) ไม้หันอากาศ ( ั ) แสดง “เสียง สระ-อะ ( ะ ) ลดรูปเป็น ( ั )” ซึ่งในปาฬิภาสาใช้เขียน อยู่เหนือพยัญชนะที่ตามด้วยตัวสะกด ซึ่งจะกำกับด้วย ไม้วัชฌการ ( ์ ) เสมอ เช่น อัส์โสสิ พยัญชนะเสียง อะ ที่ไม่มีตัวสะกดตามในปาฬิภาสา เช่น น (นะ) คือให้อ่านเสมือนประวิสรรชนีย์ (ใส่เครื่องหมาย ะ ) เช่น เตน สมเยน... อ่านว่า (เต-นะ สะ-มะ-เย-นะ...) แต่ในทางกลับกัน พยัญชนะเสียง อะ ทีม่ ตี วั สะกดตาม ก็จะต้องประวิสรรชนีย์ ( ะ ) ทีเ่ ป็นแบบลดรูปด้วย คือใส่ไม้หันอากาศ ( ั ) เช่น อ (อะ) ตามด้วย ส เป็นตัวสะกด จะเขียนไม้วัชฌการ ( ์ ) บนพยัญชนะตัวสะกด คือ ส์ แสดงเสียงสะกดที่ตามมาด้วย เป็น อัส์โสสิ (ดูข้อ 2)

1.

ไม้วัชฌการ ( ์ ) ไม้วัชฌการ ( ์ ) ใช้แสดง “เสียงสะกด” ในปาฬิภาสา โดยเขียน อยู่เหนือพยัญชนะ ตัวสะกด เช่น เวรั์โช หมายถึงเสียง  (ระ) +  ตัวสะกด เมื่อเขียนเครื่องหมายวัชฌการ ( ์ ) บนตัวสะกด เป็น เวรั์โช เป็นต้น วัชฌการ มาจากศัพท์ว่า วัชฌ (อ่านว่า วัขฌะ แปลว่า ฆ่า) + การ (อ่านว่า การะ แปลว่า การกระทำ) จึงหมายถึงการฆ่าเสียง อะ ทีป่ ระกอบกับพยัญชนะ ส ในปาฬิภาสา (ดูขอ้ 1) ไม้วัชฌการที่ใช้ในปาฬิภาสานี้มีหน้าที่ต่างจากเครื่องหมายที่ใช้ ในภาษาไทย ซึ่งเรียกว่า ทัณฑฆาต ซึง่ ใช้กำกับพยัญชนะ หรือ สระ เพือ่ ไม่ให้ออกเสียง เช่น จันทร์ (ไม่ออกเสียงพยัญชนะ ทร ทัง้ สองตัว), องค์ (ไม่ออกเสียงพยัญชนะ ค), และ สิทธิ์ (ไม่ออกเสียงทั้งพยัญชนะ ธ และ สระ )ิ เป็นต้น

2.

ไม้ยามักการ ( ๎ ) ไม้ยามักการ ( ๎ ) เป็นเครื่องหมายกำกับ “เสียงควบกล้ำ” ในอักขรวิธีการเขียนปาฬิภาสา อักษรสยาม มาจากรากศัพท์ว่า ยมก (อ่านว่า ยะมะกะ แปลว่า สอง) + การ (อ่านว่า การะ แปลว่ า การกระทำ ) ในภาษาไทย ไม้ยามั ก การจึ ง หมายถึ ง การกระทำให้ เ ป็ น สอง คื อ แสดง เสียงควบกล้ำสองเสียงเป็นคู่กัน เช่น สพ๎ยั์ชนํ ไม้ยามักการแสดงเสียงควบกล้ำ สัก๎ยปุต์โต ไม้ยามักการแสดงเสียงสะกดควบกล้ำต่อเนื่องกันไป สพ๎รห๎มกํ ไม้ยามักการแสดงเสียงควบกล้ำทั้งสองคู่ ในกรณีที่แสดงการออกเสียงสะกดควบกล้ำ เช่น ในคำว่า สัก๎ยปุต์โต จะออกเสียง ก เป็นตัวสะกดของพยางค์แรก และออกเสียงต่อเนื่องไปเป็น พยัญชนะควบกล้ำ ก๎ย ในพยางค์ตอ่ ไป ไม่ออกเสียงว่า (สัก-กะ-ยะ..) แต่ตอ้ งออกเสียงว่า (สัก-ก๎ยะ..) 4. พินทุโปร่ง ( ํ ) เครื่องหมาย “พินทุโปร่ง” ( ํ ) แสดงเสียงนิคหิต คือเสียงขึ้นจมูก ปรากฏหลังสระสั้น 3 เสียง ซึ่งออกเสียงต่างจาก ง ที่เกิดจากเพดานอ่อน แล้วเสียงขึ้นจมูกด้วย เช่น ภัง ใน มหาวิภัง ไม่เขียนว่า วิภํ ซึ่งเป็นเสียง นิคหิตขึ้นจมูกอย่างเดียว เป็นต้น เสียงนิคหิตนี้ เมื่อเขียนเป็นเสียงอ่าน หรือ สัททอักษร ในหนังสือนี้ จะเขียนพินทุโปร่งไว้บนพยัญขนะ ง เป็น งํ เพือ่ ให้แตกต่างจากเสียง ง เช่น เสียง อํ เขียนในปาฬิภาสาว่า สํโฆ เขียนเสียงอ่านว่า [สังํโฆ] อิํ เขียนในปาฬิภาสาว่า ตัส์มํิ เขียนเสียงอ่านว่า [ตัสมิ​ิงํ] อํ เขียนในปาฬิภาสาว่า อภิภุํ เขียนเสียงอ่านว่า [อภิภุงํ]

3.

20


ตัวอย่างจากพระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช อักษรสยาม พ.ศ. 2436

พยัญชนะเสียง อะ ที่ไม่มีตัวสะกดตามในปาฬิภาสา เช่น น (นะ) คือให้อ่านเสมือนประวิสรรชนีย์ (ใส่เครื่องหมาย ะ ) เช่น เตน สมเยน... อ่านว่า (เต-นะ สะ-มะ-เย-นะ...) เหนือพยัญชนะที่ตามด้วยตัวสะกด ซึ่งจะกำกับด้วย ไม้วัชฌการ ( ์ ) เสมอ เช่น อัส์โสสิ

สพ๎ยั์ชนํ ไม้ยามักการแสดงเสียงควบกล้ำ สัก๎ยปุต์โต ไม้ยามักการแสดงเสียงสะกดควบกล้ำต่อเนื่องกันไป สพ๎รห๎มกํ ไม้ยามักการแสดงเสียงควบกล้ำทั้งสองคู่ เช่น ในคำว่า สัก๎ยปุต์โต จะออกเสียง ก เป็นตัวสะกดของพยางค์แรก และออกเสียงต่อเนื่องไปเป็น พยัญชนะควบกล้ำ ก๎ย ในพยางค์ต่อไป ไม่ออกเสียงว่า (สัก-กะ-ยะ..) แต่ต้องออกเสียงว่า (สัก-ก๎ยะ..)

“สํโฆ” เรียงพิมพ์อักขรวิธีการเขียนตามต้นฉบับ จปร. อักษรสยาม 21

พ.ศ. 2436 เล่มที่ 1 หน้า 15


“ภิกขุปาติโมกขปาฬิ” เรียงพิมพ์อกั ขรวิธกี ารเขียนตามต้นฉบับ จปร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ตัวอย่าง เล่มที่ 25 หน้า 33 ตามคำว่า “ปาติโมก์เข”

“ปาฬิ” เรียงพิมพ์อักขรวิธีการเขียนตามต้นฉบับ จปร. อักษรสยาม พ.ศ. 2436 ตัวอย่าง เล่มที่ 19 หน้า 290 มีคำ ปาฬิ 2 คำ

22


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.