Serials

Page 1

การให้บริการวารสาร ความหมายของวารสาร (Serials) วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่ โดยมีชื่อของสิ่งพิมพ์ที่แน่นอน แจ้งกาหนดเวลาพิมพ์ไว้ชดั แจ้ง เช่น รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน และรายอื่นๆ เป็นสิ่งพิมพ์ที่เสนอเรื่องราวต่างๆ อยู่ในฉบับเดียวกัน เรื่องจะจบในฉบับหรือต่อเนื่องกันจบใน หลายฉบับก็ได้ อาจเป็นเรื่องในแขนงวิชาเดียวกันหรือไม่ก็ได้ เขียนโดยนักเขียนหรือนักวิชาการหลายคน รูปเล่มของ วารสารชือ่ หนึ่งๆ มักจะเป็นแบบเดียวกัน มีหมายเลขฉบับต่อเนื่องและออกต่อเนื่องกันไปโดยไม่กาหนดระยะเวลาสิ้นสุด ลักษณะของวารสาร 1. เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง มีกาหนดเวลาออก แน่นอนระยะเวลาที่นิยมกาหนดออก เช่น -รายสัปดาห์ (Weekly) กาหนดออกสัปดาห์ละครั้ง ปีละ 52 ฉบับ -รายปักษ์ (Fortnightly) กาหนดออกทุก 2 สัปดาห์ ปีละ 26 ฉบับ -รายครึ่งเดือน (Semimonthly) กาหนดออกเดือนละ 2 ครั้ง ปีละ 24 ฉบับ -รายเดือน (monthly) กาหนดออกเดือนละครัง้ ปีละ 12 ฉบับ -รายหกเดือนหรือรายครึ่งปี (Semiannually) กาหนดออกทุก 6 เดือน -รายปี (Annually) กาหนดออกปีละฉบับ 2. มีเลขกากับประจาฉบับ ได้แก่ เลขปีที่ (Volume) เลขฉบับที่ ( Issue Number) และวัน เดือน ปี (Date) การนับลาดับ ฉบับที่อาจนับเป็นปีๆ เช่น วารสารรายเดือน แต่ละปีจะมีตั้งแต่ฉบับที่ 1-12 หรืออาจนับต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เช่นวารสารราย เดือน ฉบับแรกของปีที่ 2 ก็นับเป็นฉบับที่ 13 นอกจากเลขปีที่ ฉบับที่ และวันเดือนปี ซึง่ เป็นเลขที่ตอ้ งต่อเนื่องเป็นลาดับกัน ไปแล้วยังมีเลขอีกชุดหนึ่งเป็นเลขเฉพาะที่แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงถือเป็นรหัสประจาวารสารแต่ละชื่อ เพื่อการ ควบคุมทางบรรณานุกรม ในระบบข้อมูลวารสารระหว่างชาติ เรียกว่า เลขสากลประจาวารสาร (International Standard Serial Number-ISSN) ซึ่งศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติระดับสากล มอบให้ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติ

ประจาประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ เป็นผู้กาหนดให้แก่วารสารแต่ละชื่อในประเทศของตน สาหรับประเทศไทยมีหอสมุด แห่งชาติ เป็นศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทย เป็นผู้กาหนดวารสารแต่ละชื่อให้ได้รบั หมายเลขสากลประจา วารสาร และจะต้องพิมพ์ไว้ที่หน้าปกหรือหน้าปกใน หรือสันวารสารใกล้ ๆ กับชื่อวารสาร มีอักษร ISSN ตามด้วยเลข อาร บิค 8 ตัว มีเครื่องหมายยติภังค์ (-) คั่นระหว่าง เลข 4 ตัวแรก กับเลข 4 ตัวหลัง เช่น วารสาร ไทย เลข ISSN 0125-572X 3. รูปเล่ม มักทาให้มีบางส่วนมีลักษณะเหมือนกันทุกฉบับ เพื่อให้ผู้อ่านสังเกตและจาได้งา่ ย เช่น ขนาดความกว้าง ยาว รูปแบบและสีของตัวอักษร ชื่อวารสารที่หน้าปก และสัญลักษณ์ประจาวารสาร


4. เนื้อหา ประกอบด้วยบทความหลายบทความ จากผู้เขียนหลาย ๆ คน ถ้าเป็นวารสารมักจะเป็นวิชาการเฉพาะแขนงวิชา ถ้าเป็นนิตยสารมักจะมีบทความทั่ว ๆ ไป สารคดี หรือบันเทิง เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น ลงติดต่อกันเป็นหลายๆ มีคอลัมน์ บรรณาธิการ คอลัมน์ประจา วารสารบางชื่อเนื้อหาอาจเป็นรูปภาพ เป็นบทวิจารณ์ สรุปข่าวและวิเคราะห์ เหตุการณ์ บ้านเมือง ฯลฯ ทั้งนี้เป็นไปตามประเภทและวัตุประสงค์ของวารสารแต่ละฉบับ 5. ผู้จัดพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์วารสารอาจเป็นเอกชน หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบัน องค์การ สมาคม ชมรม โดยมี วัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ประชา-สัมพันธ์หน่วยงาน ให้ความบันเทิง ความรู้ทวั่ ไป หรือ เพื่อธุรกิจการค้า เป็นต้น 6. การเผยแพร่ มีทงั้ การจาหน่ายและแจกฟรี การจาหน่ายอาจวางจาหน่ายตามร้านขายหนังสือ การให้ผู้อ่านบอกรับเป็น สมาชิกประจา ชาระค่าวารสารล่วงหน้าแล้วผู้จัดพิมพ์เป็นผู้ส่งวารสารไปให้สมาชิก

การแบ่งประเภทของวารสารฉบับตัวเล่ม 1.

วารสารลงทะเบียน คือวารสารทีบ่ อกรับเป็นสมาชิก และวารสารทางวิชาการที่ได้รับอภินันทนาการ

2.

วารสารเบ็ดเตล็ด คือ วารสารที่ได้รับอภินันทนาการไม่ต่อเนื่องจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก มหาวิทยาลัย เพื่อบริการผู้ใช้โดยไม่มีเงื่อนไข (ไม่ต้องลงทะเบียน)

3.

วารสารฉบับซ้า คือ วารสารที่ได้รับปีที่ ฉบับที่ และปีพ.ศ.,ค.ศ เดียวกัน มากกว่า 1 เล่ม


การจัดเรียงตัวเล่มให้บริการ วารสารฉบับลงทะเบียนจัดทาสัญลักษณ์ที่ตวั เล่ม แยกประเภทภาษาไทยและต่างประเทศ โดยเขียนเลขกากับ วารสาร เช่น B16,ท 43 ติดที่มุมล่างด้านซ้ายของหน้าปกวารสาร และประทับตราห้องสมุด พร้อมจัดส่งงานเรียงขึ้นชั้น โดยแยกเป็น - วารสารลงทะเบียนภาษาไทย ฉบับย้อนหลังและปัจจุบัน บริการที่ชั้น 4 - วารสารลงทะเบียนภาษาต่างประเทศ ฉบับปัจจุบัน บริการทีช่ ั้น 1 และชั้น 5 - วารสารลงทะเบียนภาษาต่างประเทศ ฉบับย้อนหลัง บริการที่ชน ั้ 4

วารสารฉบับเบ็ดเตล็ด แยกประเภทภาษาไทยและต่างประเทศ ติดสัญลักษณ์จุดเล็กบนผนึกแห้งไว้มุมบนซ้าย ของปกวารสารและประทับตราวันที่รับวารสารโดยฉบับเบ็ดเตล็ดปัจจุบันใส่กล่องให้บริการและจัดเรียงฉบับย้อนหลังขึ้น ชั้นไว้ต่างหาก ที่ชั้น 4 วารสารฉบับซ้า แยกประเภทภาษาไทยและต่างประเทศ ติดสัญลักษณ์ dup อักษรสีแดงบนผนึกแห้งไว้มมุ บน ซ้ายของปกวารสาร ไม่ต้องประทับตรา เพื่อสะดวกในการแทงจาหน่ายภายหลัง และจัดเรียงไว้ทชี่ ั้น 4


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.