การออกแบบอินโฟกราฟิกการปลูกสมุนไพรสำหรับครัวเรือน

Page 1

ก า ร อ อ ก แ บ บ อิ น โ ฟ ก ร า ฟิ ก ก า ร ป ลู ก ส มุ น ไ พ ร ส �ำ ห รั บ ค รั ว เ รื อ น INFOGRAPHIC DESIGN FOR EASY HERB GROWING โดย

นาย ชารีย์ บุญญวินิจ รหัสประจำ�ตัวนักศึกษา 57156347

เสนอ

ผศ.ดร.วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน อ.ดร.ธนาทร เจียรกุล อ.ดร.ยอดขวัญ สวัสดี รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Individual Study รหัสวิชา 362524(3) หลักสูตรปริญญา มหาบัณฑิต คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร


2


บทนำ�

รายงานฉบับนี้จัดทำ�ขึ้นเพื่อรวบรวมกระบวนการการออกแบบอินโฟ กราฟิกการปลูกสมุนไพรสำ�หรับครัวเรือน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวิชา Individual Study หลักสูตรปริญญา มหาบัณฑิต คณะศิลปะและการ ออกแบบ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยได้รีับคำ�แนะนำ�ในด้านต่างๆจาก อาจารย์ประจำ�รายวิชาคือ ผศ.ดร.วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน, อ.ดร.ธนา ทร เจียรกุล, อ.ดร.ยอดขวัญ สวัสดี จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ครับ

3


ก า ร อ อ ก แ บ บ อิ น โ ฟ ก ร า ฟิ ก ก า ร ป ลู ก ส มุ น ไ พ ร ส �ำ ห รั บ ค รั ว เ รื อ น INFOGRAPHIC DESIGN FOR EASY HERB GROWING

ความเป็นมาและความสำ�คัญของปัญหา

กรรมที่ถูกกล่าวว่าเป็นอาชีพที่ล้าสมัยให้หันมายึดถือเป็นทักษะพื้น ฐาน ด้วยความภาคภูมิใจ นคร ลิมปคุปตถาวร. (2557)

องค์ความรู้การเกษตรกรรมนั้นเป็นองค์ความรู้เก่าแก่แต่เดิมซึ่งได้ สร้างวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ให้เกิดสมดุลในแต่ละพื้นฐื่นนั้นมีวิธีการที่ เป็นเสน่ห์ที่ต่างกันออกไปตามปัจจัยต่างๆเช่น ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุดิบและอื่นๆโดยเฉพาะผู้มีความรู้การกสิกรรมที่ผสมผสานใน เกษตรกรรม ได้ถูก ใช้คำ�แทนเรียกต่างเช่น หมอดิน ปราชญ์ชาว บ้าน หรือผู้ศึกษาศาสตร์พระราชานั้น ได้บันทึกข้อมูล เก็บตัวอย่าง ทำ�การทดลอง ทั้งหมดนี้จะไม่สำ�เร็จหากขาดความเข้าใจที่ถ่องแท้ และการวางแผนที่ดี เพื่อที่จะได้ผลผลิต มีพืชผักอาหารกินตลอดปี ซึ่งด้วยเหตุสำ�คัญนี้จึงจับเอาเนื้อหาสาระของปัจจัยที่ส่งผลต่อการ วางแผนมาศึกษาและตีความในลักษณะการทำ�กสิกรรมของเกษตร คนเมืองยุคปัจจุบันที่ต้องการหันมาพึ่งพาตนเองและสร้างพื้นที่ผลิต อาหารอย่างมั่นใจให้ตนเอง โดยเฉพาะพืชผักสวนครัว นาถศิริ โกมล พันธุ์. (2556)

การกินอาหารให้เป็นยานั้นเป็นภูมิปัญญาหนึ่งที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำ� วันของเรา อาหารไทยเองนั้น ประกอบด้วยสมุนไพรที่มีประโยชน์นา นาๆชนิด ซึ่งได้จัดหมู่เลือกสรรให้ผสานผสานกลมกลืนผ่านเมนูยอด นิยม ไม่ว่าจะเป็น ต้ม ผัด หรือแกง ล้วน มีการใช้สมุนไพรอย่างมีชั้น เชิง จนเป็นที่น่าสนอกสนใจ ของประเทศตะวันตก ในยุคอารยธรรม หวนกลับ ซึ่งปฎิเสธยาสำ�เร็จรูปที่พาเอาสารตกค้างเข้าสู่ร่างกาย การเลือกกินหรือกินอาหารอย่างรู้เท่าทันการเป็นกระแสสังคมที่ ทำ�ให้ เราลุกขึ้นมาใส่ใจต้นตอของสุขภาพที่ดีนั่นคืออาหารการกิน ที่ นอกจากต้องสด สะอาด ยังมีมีศาสตร์ และศิลป์ ในการเลือกปรุง ใน บางครั้งชีวิตที่เร่งรีบทำ�ให้ความประณีตในการกินอาหารนั้นหายไป ชีวิตสำ�เร็จรูปที่ถูกป้อนโดยอาหารสำ�เร็จรูปทำ�ลายความลุ่มลึกใน ความพิถีพิถัน ที่สืบต่อกันรุ่นสู่รุ่น สมุนไพรที่แทรกใส่ในอาหาร โดย เฉพาะเมืองไทยถือว่ามีชื่อเสียงมากอย่างที่สุด ประเทศหนึ่ง จากกา รสังเกตุพฤติกรรมการบริโภคและทำ�การศึกษาจากตัวอย่างเมนูตาม สั่งในชีวิตประจำ�วันแล้ว พบว่าผักสมุนไพรเพียงไม่กี่ชนิดก็สามารถ สลับสับเปลี่ยนปรุงเป็นเมนูได้สารพัด โดยได้จำ�แนกจัดกลุ่มได้ดังนี้ ผักสมุนไพร 16 ชนิดได้แก่ หอมแดง, แมงลัก, โหระพา, กระเทียม, ต้นหอม, ข่า, ผักชี, คื่นไช่, สะระแหน่, กระชาย, กระเพรา, หอมใหญ่, พริกขี้หนู, มะกรูด, ตระไคร้, มะนาว

ปัจจุบันโทษของการใช้สารเคมีนั้นส่งผลลัพธ์ ในมุมกว้างปัญหาการ เจ็บป่วยโรคภัยที่ตามมาเร็วกว่ากำ�หนดเป็นภัยเงียบวิกฏษอันตกใจ ทั้งนี้เพราะระบบเกษตรกรรมเคมีนั้นมีอิทธิพลกับประเทศบ้านเรากึ่ง ผูกขาดโดยการให้ความรู้เป็นทางออกที่ดีที่สุดของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องมีวิธีการชักจูงให้สนใจและนำ�เสนอเรื่องใกล้ตัวนี้ อย่างแยบยล ปลูกฝังและปลูกรากทางความคิด บูรณาการกับศิลปะการออกแบบ เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่ออาชีพเกษตรกรรมที่ล่อเลี้ยงปากท้องชนชาติ ไทย สร้างภาพลักษณ์ะมุมมองของเกษตรกร ให้เป็นอาชีพต้นแบบที่ มีเกียรติ์และเป็นที่สนใจของคนรุ่นใหม่เพื่อเปลี่ยนมุมมองการเกษตร

(รายการผักสมุนไพรนี้เป็นตัวอย่างที่ยกมาเพื่อสร้างรูปแบบการ ปรุงที่เอื้อต่อการปรุง สามารถปรับเปลี่ยนได้) 4


ความมุ่งหมายของวัตถุประสงค์ของการศึกษา

8. กำ�หนดขอบเขตการทำ�งาน 9. ทดลองออกแบบชุดข้อมูล Infographic 10. ทดลองออกแบบภาประกอบและ โลโก้ชื่อผลงาน 11. ทดลองใช้งานเพื่อสังเกตุและนำ�ข้อผิดผลาดมาแก้ ไขต่อไป 12. เก็บข้อมูลผลงาน 13. ประเมิณผลงาน 14. วิเคราะห์และอภิปรายผล 15. สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ

1. ศึกษาการปลูกพืชผักสมุนไพรไทย เพื่อการปรุงอาหาร 2. ศึกษาการสร้างข้อมูลด้วย Infographic 3. ศึกษาการใช้พื้นที่ปลูก ผู้ ใช้งาน และกิจกรรมที่เกิดขึ้น

สมมติฐานของการศึกษา

1. ผลงานออกแบบสามารถสื่อสารและสร้างทัศนคติที่ดีในการปลูก สมุนไพร กระตุ้นให้ริเริ่มลงมือปลูกในระดับครัวเรือน 2. นักปลูกสามารถสร้างสรรค์รูปแบบการปลูกเพื่อปรุงด้วยตนเองได้ ตามความชอบส่วนบุคคล 3. ผลงานออกแบบสามารถส่งต่อแนวคิดเรื่องความมันคงทางอาหาร และสร้างแนวโน้มการพึ่งพาตนเองด้วยการปลูก

เวลาที่ใช้ในการวิจัย ประมาณ 1 ภาคการศึกษา วิธีการศึกษา

1. สังเกตุและศึกษาข้อมูลด้วยการค้นคว้าข้อมูล ปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ 2. กลุ่มเป้าหมายคือคนเมืองรุ่นใหม่ 20-25 ปีที่สนใจในการเกษตร และรักการทำ�อาหาร รักสุขภาพและการกำ�ลังกาย 2. สร้างเครื่องมือที่ใช้ ในการรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม เพื่อสร้าง ประเด็น 3. รวบรวมข้อมูล 4. แบ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูล 5. วิธีในการออกแบบ 5.1 เขียนแบบร่าง 5.2 ทดลองวาดภาพประกอบ 5.3 ทดลองจัดวางหน้ากระดาษ

ขอบเขตของการศึกษา

ข้อมูล Infographic ขนาด A2 จำ�นวน 2 ชิ้นงาน

ขั้นตอนการศึกษา

1. ศึกษาการปลูกพืชผักสมุนไพรไทย เพื่อการปรุงอาหาร 2. ศึกษาการสร้างข้อมูลด้วย Infographic 3. ศึกษาการใช้พื้นที่ปลูก ผู้ ใช้งาน และกิจกรรมที่เกิดขึ้น 4. วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในแนวทางการออกแบบ 5. กำ�หนดแนวทางและแนวคิดในการออกแบบ 6. สร้างเครื่องมือเก็บข้อมูล 7. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภค 8. ทดลองปลูกผักสมุนไพร วิเคราะห์ปัญหาและปรับปรุงแก้ ไข 5


แหล่งข้อมูล

1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ 1.1 ข้อมูลเรื่องผลิตผลจากการปลูกสมุนไพร ที่มา : จากการบันทึกการทดลองด้วยตนเอง ณ สวนผัก โรงรถ และดูงานศูนย์เรียนรู้ ในการดูแลของโครงการสวน ผักคนเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนประเทศไทย 2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ 2.1 การปลูกพืชผักสมุนไพรไทย เพื่อการปรุงอาหาร ที่มา : กัณฑมาศ ปาลวัตน์. (2557) สวนผักในบ้านกินฟรี ทั้งปี. สำ�นักพิมพ์อินสปายร์ 2.2 ข้อมูลตัวอย่างผลงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกับ โครงการ เพื่อเป็นกรณีศึกษา ที่มา : หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเลคทรอนิค

อุปกรณ์ที่ใช้ในการค้นคว้า

1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง 2. กล้องภ่ายภาพ 3. เครื่องบันทึกเสียง

การเสนอผลงาน

1. รูปเล่มภาคเอกสาร 2. ผลงานออกแบบ ออกแบบอินโฟกราฟฟิกการปลูกสมุนไพร สำ�หรับครัวเรือน จำ�นวน1 ชุด

รายการอ้างอิง

นาถศิริ โกมลพันธุ์. (2556) มากกว่าผัก บนเส้นทางนักปลูกเมือง ปลูกชีวิต. บริษัทออนป้าจำ�กัด Fern Marchell BradleyZ (2004) Vegatable gardening. The Reader’s Digest Association ,Inc. นคร ลิมปคุปตถาวร. (2557) ปลูกผักแบบคนเมือง. บริษัทอัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนท์พับลิชชิ่ง จำ�กัด มหาชน กัณฑมาศ ปาลวัตน์. (2557) สวนผักในบ้านกินฟรีทั้งปี. สำ�นักพิมพ์ อินสปายร์

ลายมือชื่อผู้เสนอ ........................................ ( ) วันที่

6


7


ผักตารางฟุตของ Mel Bartholomew Mel Bartholomew ได้คิดค้น ทดลองทำ� และเผยแพร่ สวนผักตาราง ฟุตหรือ Square Foot garden มาตั้งแต่ปี 1976 แล้ว แรงบันดาล ใจที่ทำ�ให้เขาคิดการปลูกผักวิธีการนี้ขึ้นมาเพราะเขาพบว่าการปลูก ผักเป็นแถวแบบปกติที่คนส่วนใหญ่ทำ�นั้นเป็นงานหนัก และพบปัญหา เรื่องวัชพืช เสียเวลาดูแลมาก และเสียน้ำ� เสียปุ๋ยไปจำ�นวนมาก ทั้งๆ ที่พื้นที่ที่ผักเจริญเติบโตจริงๆ ไม่ได้มีขนาดใหญ่ขนาดนั้น รวมทั้งเรา ไม่ได้ต้องการกินผักชนิดเดียวที่ปลูกเป็นแถวนั้นทั้งหมด เขาจึงคิดค้น สวนผักตารางฟุตหรือ Square Foot garden นี้ขึ้น คือการให้ปลูก ผักในพื้นที่เล็กๆขนาดประมาณ 4x4 ฟุต แบ่งเป็นช่องๆ เพื่อปลูกผัก ได้หลากหลายชนิด ไม่ต้องลงแรงขุดดิน และช่วยประหยัดน้ำ� เขากล่าว ว่าการทำ�สวนผักตารางฟุตนี้สามารถให้ผลผลิตได้เท่ากับการปลูก ผักเป็นแถวปกติ โดยใช้พื้นที่แค่ 1/5 ของพื้นที่ที่ปลูกผักเป็นแถวปกติ เลยทีเดียว

วิธีทำ�ผักตารางฟุตของ Mel Bartholomew 1. เตรียมไม้สำ�หรับทำ�แปลงขนาด 4 x4 ฟุต สูงประมาณ 6 นิ้ว และไม้ สำ�หรับแบ่งช่องอีก6 ชิ้น 2. ใช้เครื่องมือ หรือตะปูตอกไม้ ให้เข้ากัน 3. ปูผ้าใบ หรือกระสอบ ด้านล่าง เพื่อช่วยป้องกันวัชพืช 4. ย้ายแปลงไปไว้ ในตำ�แหน่งที่ต้องการปลูก 5. ใส่ดินที่ปรุงแล้ว รดน้ำ�ให้ชุ่ม 6. วางแผ่นไม้ที่เตรียมไว้สำ�หรับแบ่งช่องขนาดเท่าๆกัน หรืออาจใช้ เชือกขึงแบ่งช่องก็ ได้

วิธีคัดเลือกผักตารางฟุตของ Mel Bartholomew

1. หากเป็นพืชผักขนาดใหญ่มาก เช่นกะหล่ำ�ปลี พริก มะเขือเทศ มะเขือยาว ปลูกช่องละ 1 ต้น 2. หากเป็นพืชผักขนาดใหญ่เช่นผักกาด, กระเพรา ปลูกช่องละ 4 ต้น 3. หากเป็นขนาดกลาง อย่างผักโขม หัวบีทรูท ปลูกช่องละ 9 ต้น 4. หากเป็นพืชผักขนาดเล็ก เช่นแครอท หัวหอม ปลูกช่องละ 16 ต้น

8


9


10


ความหมายของ Infographic Infographic ย่อมาจาก Information Graphic คือ ภาพหรือ กราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ความรู้ ตัวเลข ฯลฯ เรียก ว่าเป็นการย่นย่อข้อมูลเพื่อให้ประมวลผลได้ง่ายเพียงแค่กวาดตา มอง ซึ่งเหมาะสำ�หรับผู้คนในยุคไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อน มหาศาลในเวลาอันจำ�กัด ( เหตุผลเพราะมนุษย์ชอบและจดจำ�ภาพ สวยๆ ได้มากกว่าการอ่าน ) และในปัจุบันกำ�ลังเป็นที่นิยมในโลกของ Social Netword ประโยชน์และพลังของ Infographic นั้นมีอยู่มากมาย เพราะด้วยแผน ภาพสวยๆนี้ สามารถทำ�ให้คนทั่วๆไปสามารถเข้าถึง เข้าใจ ข้อมูลปริ มาณมากๆ ด้วยแผนภาพภาพเดียวเท่านั้น ด้วยข้อมูลที่ถูกคัดกรอง มาเป็นอย่างดี ทำ�ให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย เป็นวิธีการนำ�เสนอข้อมูลเชิง สร้างสรรค์ ซึ่งเราสามารถหยิบยกเรื่องราวเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องราว ใหญ่โตมานำ�เสนอ ในมุมมองที่แปลกตา ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ใน โลกปัจจุบัน

ประเภทของ Infographic

โดยรูปแบบหรือประเภทของ Infographic ตามวัตถุประสงค์ ในการใช้ งานสามารถจัดหมวดหมู่ใหญ่ๆได้ดังนี้ 1.ข่าวเด่น ประเด่นร้อน และสถานการณ์วิกฤต เป็น Infographics ที่ได้รับการแชร์มากๆ มักจะเป็นประเด็นใหญ่ระดับประเทศ เช่น ประเด็นการแก้ ไขรัฐธรรมนูญ 2.สอน ฮาวทู บอกเล่ากลยุทธ์ต่างๆอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น เล่าถึง กลยุทธ์การออมเงิน ที่ใครๆก็มักมองข้าม 3.ให้ความรู้ ในรูปแบบของ Did You Know หรือ สถิติสำ�คัญทาง ประชากรต่างๆตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการที่น่าเบื่อ ให้ มีสีสัน สนุก และ น่าติดตาม 4.บอกเล่าตำ�นานหรือวิวัฒนาการ เรื่องราวบางอย่างอาจต้อง ถ่ายทอดผ่านตำ�ราหนาๆ แต่ด้วย Infographics จะช่วยทำ�ให้ตำ�นาน เหล่านั้นบรรจุอยู่ในพื้นที่ๆจำ�กัดได้อย่างน่าทึ่ง

5.อธิบายผลสำ�รวจ และ งานวิจัย Infographics เหมาะที่สุดที่จะ ถ่ายทอดงานวิจัยที่ดูยุ่งเหยิงไปด้วยตัวเลขและข้อมูลมหาศาลออกมา เป็นแผนภาพสวยๆและทรงพลัง มีหลายบริษัทเริ่มใช้เครื่องมือนี้ เพื่อ ทำ�ให้งานวิจัยของตัวเองเข้าถึงคนหมู่มาก 6.กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น ภัยของการสูบ บุรี่ที่มีต่อคนสูบและคนที่ไม่ได้สูบแต่ต้องได้รับผลกระสูบจากการสูบ บุรี่ด้วย ขอเท็จจริงเหล่านี้ล้วนมุ่งหวังให้คนอ่านเกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของคนในสังคมให้ดีขึ้น หากได้รับการแชร์มากๆในโลก ออนไลน์ ก็อาจสร้างกระแส จนถึงขั้นนำ�พาไปสู่การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมในโลกออนไลน์ ในที่สุด 7.โปรโมทสินค้าและบริการ ตัวอย่างการใช้ Infographic ในการ โปรโมทสินค้า เช่น เหตุผลว่าทำ�ไมถึงเปลี่ยนไปใช้ Nokia Lumia ใน สไตล์ Infographic

อิทธิพลของ Infographic ปรากฎการณ์ที่เห็นเด่นชัดในทุกวันนี้คือ Infographic แทรกซึม และซอกซอนไปได้ ในทุกๆสื่อ ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และสื่อ DIgital อย่าง Website ,Blog และ Social Media รู้หรือไม่ว่าคำ�ว่า Infograpphics มีการรายงานสืบค้นใน Google มากถึง 14.5 ล้าน ข้อมูล ณ.วันที่ 15 พย. 2555 เพิ่มขึ้นถึง 800% ภายในระยะเวลา เพียง 2 ปีเท่านั้น พลังของ Infographic มีผลต่อการรับรู้ของมนุษย์ โดยตรง ตัวอย่างที่มักมีการหยิบยกไปอ้างอิงอยู่เสมอ คือ 90% ของข้อมูล ที่เข้าสู่สมองของคนเราคือข้อมูลที่เป็นรูปภาพ เพราะรูปภาพและ ไอคอนกราฟฟิกต่างๆเร้าความสนใจได้ดีกว่า คนจดจำ�เรื่องราวจาก การอ่านได้เพียง20% และ 40%ของผู้บริโภคจะตอบสนองต่อข้อมูล ที่เป็นรูปภาพมากว่าข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือธรรมดา และการ Post Infographic ใน social Media อย่าง Twitter จะมีการ ReTwitter มากกว่าการ Post ในรูปแบบเทรดดิชั่นแนลถึงขณะที่ 45% ของผู้ ใช้ งาน Website จะ Click Link นั้น หากเป็นข้อมูล Infographics ขณะ ที่ 30% จะ Forword หรือ Shareต่อข้อมูลนั้นจะไร้สาระ



13


แบบร่างภาพประกอบผักที่ใช้

กระชาย (Fingerroot) วิธีใช้

เป็นพืชที่ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารโดยเฉพาะรากกระชาย ใช้เป็น เครื่องจิ้มหรือเป็นส่วนประกอบของน้ำ�พริกแกงโดยเฉพาะแกงที่ใส่ปลา เช่น แกงป่า ต้มโฮกอือ กระชายดับกลิ่นคาวของปลาได้ดี

สรรพคุณ

ตำ�รายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปาก แห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการ ทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้าน เชื้อราที่ทำ�ให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร

กระเทียม (Garlic) วิธีใช้

หัวของกระเทียมมีรสเผ็ดร้อน รับประทานได้ทั้งสดและตากแห้ง หรือ นำ�ไปดอง เป็นส่วนผสมที่สำ�คัญของน้ำ�จิ้มและอาหารสด น้ำ�พริกแกง หลายชนิดใส่กระเทียมเป็นส่วนประกอบ เช่นแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน หรือใส่ในยำ�ต่างๆ

สรรพคุณ

ใช้รักษาโรคบิด (ใบกระเพราะ) ป้องกันมะเร็ง (กระเทียม) ระงับกลิ่นปาก และแบคทีเรียในช่องปาก (สาเหตุนอนดึก) ลดระดับไขมัน คอลเลสเต อรอล และลดน้ำ�ตาลในเลือด(ถั่วงอก) ขับพิษ และ สารอันตรายที่ปน เปื้อนในเม็ดเลือด มีกลิ่นที่ฉุนจึงสามารถไล่ยุงได้ดี(ปลูกต้นไผ่ไล่ยุง) ช่วยขับลม(รับประทาน”ขิง”ช่วยขับลม) และช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน เม็ดเลือดขาว(Leucocyte)ให้แข็งแรง (ไม่มีผลกับผู้ป่วยติดเชื้อ HIV)

14


แบบร่างภาพประกอบผักที่ใช้

กระเพรา (Ocimum sanctum) วิธีใช้

นิยมนำ�ใบมาประกอบอาหารคือ ผัดกะเพรา

สรรพคุณ

1. ใบบำ�รุงธาตุไฟธาตุ ขับลมแก้ปวดท้องอุจจาระ แก้ลมตานซาง แก้ จุกเสียด แก้คลื่นเหียนอาเจียน “แก้โรคบิด” และขับลม 2. เมล็ด เมื่อนำ�ไปแช่น้ำ�เมล็ดจะพองตัวเป็นเมือกขาว ใช้พอกบริเวณ ตา เมื่อตามีผง หรือฝุ่นละอองเข้า ผงหรือฝุ่นละอองนั้นก็จะออกมา ซึ่งจะไม่ทำ�ให้ตาเรานั้นช้ำ�อีกด้วย 3. ราก ใช้รากที่แห้งแล้ว ชงหรือต้มกับน้ำ�ร้อนดื่ม แก้โรคธาตุพิการ 4. น้ำ�สกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำ�ไส้ สามารถรักษาแผล ในกระเพาะอาหาร ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำ�ดี ช่วยย่อยไขมันและลด[อาการ จุกอก] 5. ใบและกิ่งสดเมื่อนำ�มาสกัดน้ำ�มันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำ�มันหอมระเหยร้อยละ 0.08-0.10 ซึ่งมีราคา 10,000 บาทต่อกิโลกรัม

ข่า (Alpinia galanga) วิธีใช้

ข่าเป็นพืชที่นำ�มาใช้ประโยชน์ทางด้านอาหารมากมาย ใช้ ใส่ในต้มข่า ต้มยำ� น้ำ�พริกแกงทุกชนิดใส่ข่าเป็นส่วนประกอบ ยกเว้น แกงเหลือง และแกงกอและทางภาคใต้ที่ไม่นิยมใส่ข่า มีบทบาทในการดับกลิ่นคาว ของเนื้อและปลา

สรรพคุณ

ข่ายังมีฤทธิ์ทางยา เหง้าแก่แก้ปวดท้อง จุกเสียด แน่น ดอกใช้ทาแก้ กลากเกลื้อน ผลช่วยย่อยอาหาร แก้คลื่นเหียน อาเจียน ต้นแก่นำ�ไป เคี่ยวกับน้ำ�มันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อย เป็นตะคริว ใบมีรสเผ็ดร้อน แก้พยาธิ สารสกัดจากข่ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย น้ำ�มันหอมระเหย จากข่ามีฤทธิ์ทำ�ให้ ไข่แมลงฝ่อ กำ�จัดเชื้อราบางชนิดได้ ใช้ผสมกับ สะเดาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำ�จัดแมลง[4] ข่า ลดการบีบตัว ของลำ�ไส้ ขับน้ำ�ดี ขับลม ลดการอักเสบ ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อราใช้รักษากลากเกลื้อน

15


แบบร่างภาพประกอบผักที่ใช้

คื่นช่าย (Celery) วิธีใช้

เป็นผักและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม นิยมใช้ ในการปรุงอาหารที่ต้องการ ดับกลิ่นคาว หรือเพิ่มความหอมของน้ำ�ซุป หรือ นำ�ไปผัดเพื่อดับ คาวปลา

สรรพคุณ

มีโพแทสเซียมสูง ทำ�ให้หลอดเลือดขยายตัว ช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคปวดข้อ เช่น รูมาติกและโรคเกาต์ มีโซเดียม อินทรีย์ที่สามารถช่วยปรับความเป็นกรดและด่างในเลือดให้สมดุล น้ำ� คั้นจากขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณเป็นยากล่อมประสาท ทำ�ให้รู้สึกสบาย และ นอนหลับได้ดี การกินขึ้นฉ่ายจะทำ�ให้อสุจิลดลงถึง 50% หลังจากยุติ การกินแล้ว จำ�นวนเชื้ออสุจิจะเพิ่มกลับมาระดับปกติใน 8-13 สัปดาห์ สารสกัดด้วยเอทานอลจากผลและเมล็ดยับยั้งการเจริญและการงอก ของถั่วเขียวผิวดำ�ได้

ต้นหอม (Spring onion) วิธีใช้

ต้นหอมกินได้ทั้งใบ ดอก และหัว มีกลิ่นฉุนและรสซ่า นิยมนำ�ไปกินเป็น ผักเคียงกับอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ข้าวหมูแดง ส่วนใบใช้ตกแต่งโรยหน้า อาหาร และใส่ในต้ม ผัด ยำ� แกงต่างๆ หรือนำ�ไปดอง

สรรพคุณ

ต้นหอมช่วยในการขับเหงื่อและบำ�รุงหัวใจ ถ้ากินสดๆ อย่างต่อเนื่อง สามารถลดไขมันในเส้นเลือดได้ ถ้านำ�ต้นหอม 5-6 ก้าน ต้มกับขิง 2 แว่น กรองน้ำ�ดื่ม ขับเหงื่อ ลดไข้

16


แบบร่างภาพประกอบผักที่ใช้

ต้นหอมแดง (Ocimum sanctum) วิธีใช้

คนไทยนิยมนำ�หอมแดง มาเป็นส่วนประกอบเครื่องแกงเผ็ด เป็นส่วน ประกอบของไข่เจียวหมูสับ ซุปหางวัว รับประทานสดโดยฝานเป็นแว่น บางๆ รับประทานร่วมกับแหนมสด เมี่ยงคำ� ปลาเค็มทอดบีบมะนาว หอมแดงซอย กับพริกขี้หนูสวนหั่นฝอย เป็นส่วนประกอบของน้ำ�พริก กะปิ หอมแดงเผาตำ�ผสมกับน้ำ�พริกปลาร้า และเป็นส่วนประกอบของ หลนทุกอย่าง เป็นส่วนประกอบของขนมหวาน เช่น หอมแดงซอยเจียว ใส่ในข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง ขนมหม้อแกงถั่ว และไข่ลูกเขย

สรรพคุณ

หัวหอม มีรสฉุน ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ช่วยย่อยและเจริญอาหาร แก้ บวมน้ำ� แก้อาการอักเสบต่าง ๆ แก้บวมน้ำ� ขับพยาธิ ช่วยให้ร่างกาย อบอุ่น เมล็ด แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้กินเนื้อสัตว์เป็นพิษ ร่างกายซุบ ผอม(ใช้เมล็ดแห้ง 5-10 กรัมต้มน้ำ�ดื่ม) ตำ�รายาไทยใช้หัวหอมแดง ผสมรวมกับเหง้าเปราะหอมสุมหัวเด็ก แก้หวัดคัดจมูก และกินเป็นยา ขับลม หอมแดงมีสารเคอร์ซิติน และสารฟลาโวนอยด์ (quercetin และ flavonoid glycosides) อาจป้องกันโรคมะเร็งได้

ต้นหอมใหญ่ (Onion) วิธีใช้

หัวกินสดเป็นผัก ปรุงอาหาร เป็นเครื่องเทศและสมุนไพร

สรรพคุณ

หอมใหญ่ช่วยลดการอุดตันไขมันในเส้นเลือด ลดคลอเลสเตอรอล ในเลือด ช่วยเพิ่มโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL: High-density lipoproteins) และช่วยทำ�หน้าที่ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน สาร กำ�มะถันในหอมใหญ่ช่วยยับยั้งการก่อตัวของเซลล์มะเร็ง เมื่อตำ�ผสม กับเหล้าเล็กน้อยแล้วนำ�มาพอกลดการอักเสบอาการบวมได้

17


แบบร่างภาพประกอบผักที่ใช้

ตะไคร้ (Lemon grass) วิธีใช้

ใช้ส่วนของเหง้าและลำ�ต้นแก่ ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำ�คัญ หลายชนิดเช่น ต้มยำ� และอาหารไทยหลายชนิด

สรรพคุณ

ให้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำ�รุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำ�ไส้ทำ�ให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำ�รุง สมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำ�ใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอา น้ำ�ดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามาก ๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัว สามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว มากไปกว่านั้นยัง สามารถทำ�เป็นยาช่วยนอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำ�มันตะไคร้ หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่น ๆ จะช่วยกันแมลงได้และยังให้ กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่ หอม และที่กำ�จัดยุงบางชนิดก็ ใช้ตะไคร้เป็นส่วนผสมด้วยเนื่องจากมี กลิ่นที่แรงจึงช่วยทำ�ให้ ไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือ ดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ ได้ดีมาก ๆ

ผักชี (Coriander) วิธีใช้

ใช้รับประทานเป็นผัก และตกแต่งในอาหารหลายชนิด เช่น ใส่ในลาบ ก้อย แหนมสด รากผักชีใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำ�พริกแกง ใส่ใน ทอดมัน ห่อหมก น้ำ�จิ้ม เมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศ ใส่ในน้ำ�พริกแกง สะเต๊ะ บาเยีย ข้าวหมกไก่

สรรพคุณ

ใบผักชี ช่วยย่อย บำ�รุงกระเพาะอาหาร เจริญอาหาร ขับลมขับพิษ แก้หวัด ขับเหงื่อ ช่วยย่อยอาหาร ลดน้ำ�ตาลในเลือด แก้โรคหัด พอก ทาแก้ผื่นคัน แก้ ไฟลามทุ่ง แก้ตับอักเสบ ลดการปวดบวมข้อ ต้มดื่ม แก้ ไอ แก้หวัด อาหารเป็นพิษ แก้สะอึก กระตุ้นการทำ�งานของเลือด พลาสมา และกล้ามเนื้อ มีสารต้านมะเร็ง ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และไข่ ของแมลง จึงใช้เพื่อการถนอมอาหาร ราก เป็น กระสายยา กระทุ้งพิษ ไข้หัว เหือดหัด อีสุกอีใส อีดำ�อีแดง แว่น กรองน้ำ�ดื่ม ขับเหงื่อ ลดไข้

18


แบบร่างภาพประกอบผักที่ใช้

พริก (Chilli Peppers) วิธีใช้

คนไทยนิยมนำ�หอมแดง มาเป็นส่วนประกอบเครื่องแกงเผ็ด เป็นส่วน ประกอบของไข่เจียวหมูสับ ซุปหางวัว รับประทานสดโดยฝานเป็นแว่น บางๆ รับประทานร่วมกับแหนมสด เมี่ยงคำ� ปลาเค็มทอดบีบมะนาว หอมแดงซอย กับพริกขี้หนูสวนหั่นฝอย เป็นส่วนประกอบของน้ำ�พริก กะปิ หอมแดงเผาตำ�ผสมกับน้ำ�พริกปลาร้า และเป็นส่วนประกอบของ หลนทุกอย่าง เป็นส่วนประกอบของขนมหวาน เช่น หอมแดงซอยเจียว ใส่ในข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง ขนมหม้อแกงถั่ว และไข่ลูกเขย

สรรพคุณ

ผลสด แห้ง ป่นใช้เป็นเครื่องเทศ ทำ�ซอสพริก สารสกัดใช้ทำ�ยา

มะกรูด (Kaffir Lime) วิธีใช้

ใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนมะนาวได้ เช่นในปลาร้าหลน น้ำ�พริกปลาร้า น้ำ� พริกมะกรูด มะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ส่วนเปลือกนิยมนำ�ผิวมา ประกอบอาหารบางชนิดด้วย ในมะกรูดมีน้ำ�มันหอมระเหยอยู่มาก ใบ มะกรูดนั้นใส่ในต้มยำ�ทุกชนิด น้ำ�ยาขนมจีน ยำ�หอย ใส่ในแกง

สรรพคุณ

มีส่วนช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายและต้านทานโรคหลาย ชนิดรวมทั้งมะเร็งบางชนิดด้วย นอกจากนี้มะกรูดยังมีฤทธิ์ในการ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ อย่างเช่นเชื้ออีโคไล (E.coli) และซาลโมเนลลา (Salmonella) ได้ ช่วยบำ�รุงประจำ�เดือน ขับ ระดู และมักเป็นส่วนผสมสำ�คัญในยาสตรีต่าง ๆ อีกด้วย

19


แบบร่างภาพประกอบผักที่ใช้

มะนาว (Lime) วิธีใช้

น้ำ�มะนาวนอกจากใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารหลายประเภทแล้ว ยังนำ� มาใช้เป็นเครื่องดื่ม ผสมเกลือ และน้ำ�ตาล เป็นน้ำ�มะนาว ซึ่งเป็นที่รู้จัก กันดีทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์บางชนิดยังนิยมฝานมะนาวเป็นชิ้นบางๆ เสียบไว้กับขอบ แก้ว เพื่อใช้แต่งรส

สรรพคุณ

มะนาวเป็นผลไม้ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดซิตริก กรดมา ลิค ไวตามินซี จากน้ำ�มะนาว ส่วนน้ำ�มันหอมระเหยจากผิวมะนาว มี ไวตามินเอ และซี ทั้งยังมีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในน้ำ� มะนาวอีกด้วย มะนาวมีประโยชน์ ใช้เป็นยาสมุนไพร ขับเสมหะ แก้ ไอ เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม

แมงลัก (Hoary) วิธีใช้

ใช้ประกอบอาหารเช่นเดียวกับกะเพราและโหระพา ส่วนมากจะใช้รับ ประทานกับขนมจีน หรือใส่เครื่องแกงต่างๆ ส่วนเมล็ดแมงลักใช้ทำ� เป็นขนมอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ เมล็ดแมงลักนำ�มาทำ�เป็นยาระบายและ อาหารเสริมลดความอ้วนได้

สรรพคุณ

ใบมีฤทธิ์ขับลมในลำ�ไส้ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร เมล็ดช่วย ย่อยอาหาร เป็นยาระบาย สกัดน้ำ�มันหอมระเหยจากใบไปใช้ ใน อุตสาหกรรมสบู่และเครื่องสำ�อาง กิ่งและใบทุบแล้ววางในเล้าไก่ ช่วย ไล่ไรตัวเล็กๆได้

20


แบบร่างภาพประกอบผักที่ใช้

สาระแหน่ (Kitchen Mint) วิธีใช้

มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำ�ไอศกรีมและชาสมุนไพร ทั้งร้อนและเย็น และมักผสมในอาหารกับสมุนไพรชนิดอื่นเช่น สแปร์มิ้นต์ อีกทั้งยัง เหมาะในการเป็นเครื่องเคียงในอาหารจำ�พวกผลไม้สดและขนมหวาน

สรรพคุณ

มักนำ�ใบสะระแหน่มาบดแล้วทาลงบนผิวหนังจะทำ�ให้ผิวหนังชุ่มชื่น อีกทั้งยังช่วยไล่ยุง นอกจากนี้ยังใช้ทำ�ยาผสมลงไปในชาสมุนไพร หรือคั้นน้ำ�มาผสมลงในเครื่องดื่ม สะระแหน่ยังสามารถนำ�ไปทำ�เป็น ยาปฏิชีวนะและยังใช้เป็นตัวขับไล่อนุมูลอิสระออกจากร่างกาย อีกทั้ง ยังใช้เป็นยาเย็นและใช้เป็นยาคลายความเครียด และมีงานวิจัยอย่าง น้อยชิ้นหนึ่งระบุว่ามันช่วยคลายความกดดันของกล้ามเนื้ออันมา จากความเหนื่อยล้าและความเครียด สะระแหน่ยังใช้ ไปทำ�น้ำ�มันหอม ระเหยเพื่อใช้ ในการทำ�สุคนธบำ�บัด อีกทั้งยังใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยว กับต่อมไทรอยด์

โหระพา (Ocimum basilicum Linn) วิธีใช้

ใช้เป็นอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร แต่งกลิ่นสำ�อางบางชนิด นิยมรับ ประทานร่วมกับอาหารประเภทหลน ลาบ ยำ� ส้มตำ� ใส่ในแกง

สรรพคุณ

โหระพามีสรรพคุณทางยาสมุนไพรที่หลากหลาย ใบสดของโหระพามี สรรพคุณแก้ท้องอืด เฟ้อ ขับลมจากลำ�ไส้ ต้มดื่มแก้ลมวิงเวียน

21


แบบตัวอักษรที่ใช้ EDPenSook, Regular ก ฎ ป ศ

ข ฏ ผ ษ

ฃ ฐ ฝ ส

ค ฑ พ ห

ฅ ฒ ฟ ฬ

ฆ ณ ภ อ

ง ด ม ฮ

จ ต ย ฯ

ฉ ถ ร

ช ท ฤ

ซ ธ ล

ฌ น ฦ

ญ บ ว

a b c d f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z 1 2 3 4 5 6 7 8 9 0

EDPenSook, Bold ก ฎ ป ศ

ข ฏ ผ ษ

ฃ ฐ ฝ ส

ค ฑ พ ห

ฅ ฒ ฟ ฬ

ฆ ณ ภ อ

ง ด ม ฮ

จ ต ย ฯ

ฉ ถ ร

ช ท ฤ

ซ ธ ล

ฌ น ฦ

ญ บ ว

a b c d f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z 1 2 3 4 5 6 7 8 9 0

22


23


24


25


26


27


28


29


30


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.