eco169

Page 70

หรือหากเจ้าของสิทธิผูกขาดไม่ยอมถ่ายทอดเทคโนโลยีออกไป ก็จะเกิดความไม่ยุติธรรมอีก แบบหนึ่ง ตัวอย่างเช่น หากยารักษาโรคมีราคาแพง เนื่องจากผู้ผลิตซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ทางปัญญาสามารถผูกขาดได้ จนทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหาซื้อมาได้ และไม่สามารถรักษา โรคให้หาย หรืออาจถึงต้องเสียชีวิต ก็จะเกิดประเด็นว่า เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย หรือละเมิดศีลธรรมหรือไม่ นี่คือปัญหาโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วด้านอุตสาหกรรมและ ประเทศที่กำลังพัฒนา กล่าวคือ สินค้าและบริการที่มีเทคโนโลยีสูง ซึ่งมาจากประเทศที่ พัฒนาแล้วนั้นมักมีราคาแพงมาก สินค้าและบริการเหล่านี้หลายอย่างทำได้ในประเทศที่ กำลังพัฒนาด้วยราคาที่ถูกกว่า โดยการลอกเลียนวิธีการที่เจ้าของได้จดทะเบียนทรัพย์สิน ทางปัญญาไว้ จึงเกิดปัญหาการลอกเลียนหรือปลอมแปลงสินค้าหรือบริการที่เป็นปัญหา ระดับโลก ในปัจจุบัน มีความพยายามแก้ปัญหาดังกล่าว และความพยายามทำให้เกิด กฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศที่ยุติธรรม โดยมีองค์การค้าโลกเป็นตัวกลาง ประเด็นทรัพย์ สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights, TRIPS) เป็นเรื่องที่ต้องมีการเจรจาเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการค้าระหว่างประเทศ ใน ประเด็นเกี่ยวกับยารักษาโรคจากบริษัทต่างประเทศที่มีราคาแพง แต่มีความจำเป็นที่ประชาชน ต้องใช้ เนื่องจากโรคนั้นคุกคามชีวิตนั้น รัฐก็อาจมีการบังคับใช้สิทธิ ให้สามารถจัดซื้อหรือ หรือจัดหามาเองได้ ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้บังคับใช้สิทธิเช่นนี้กับยาบางตัว คือยาต้าน เอดส์และยาโรคหัวใจ การบังคับใช้สิทธินี้เป็นประเด็นที่มีความขัดแย้งอยู่มาก เพราะใน แง่หนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า เป็นการดูแลให้คนไทยได้เข้าถึงยาที่บริษัทที่เป็นเจ้าของตั้งราคาไว้ แพงเกินไป แต่ในอีกแง่หนึ่ง อาจทำให้บริษัทที่เป็นเจ้าของตอบโต้โดยการไม่นำยาใหม่ที่ดี มาวางตลาดในประเทศไทย หรือประเทศที่พัฒนาแล้วถือว่ามาตรการของไทยเป็นการละเมิด สิทธิทรัพย์สินทางปัญญาและมีมาตรการตอบโต้ เช่น มาตรการทางภาษีอากรสินค้าจาก ประเทศไทย เป็นต้น เราได้เห็นแล้วว่า การเคารพกฎเกณฑ์เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญ การที่ประเทศไทยพึ่งการส่งสินค้าออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกเป็นแนวทางสำคัญในการ การหารายได้ ยิ่งทำให้เราต้องพยายามรักษากฏเกณฑ์สากลมากขึ้น และในขณะเดียวกัน ก็ ควรดูแลให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์จากวิทยาการทั่วโลก โดยไม่มีขีดจำกัดมากเกินไป ที่ สำคัญคือ ควรหาแนวทางพัฒนาในอนาคต ที่จะทำให้ประเทศไทยมีทรัพย์สินทางปัญญา ของตนเองมากขึ้น จะได้สามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้นด้วย วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร? ศ.ดร.ยงยุทธ์ ยุทธวงศ์

69


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.