หนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 62 ฉบับที่ 5

Page 1

2

“สมัชชาคนจน” เป็ นแรงงานแล้ว ยังต้องจนอีกหรือ?

6

เสพสื่อบันเทิง ทัง้ เพลง ภาพยนตร์ และหนังสือให้เป็ นสุข

7

8

สิงห์ วรรณสิงห์ กับจังหวะพักเพือ่ หันกลับมาดูแลโลก

มาชิมเมนูปั่น ก่อนเข้านอนหลับฝั น หวาน @ลิงกัง มธ.

ฉบับที่ 5 ปี ท่ี 62 ประจ�ำวันที่ 6 - 19 พฤศจิกายน 2562 ราคา 15 บาท

มธ.ไวนิลประชาสัมพันธ์เกินร้อยป้าย รองอธิ ก ารบดี ฝ่ ายความยังยื ่ นฯ มธ. พร้อมสนั บสนุ นนั กศึกษาใช้ ป้ าย LED พลังงานแสงอาทิ ตย์ใน การประชาสัมพันธ์ชมรมแทนป้ าย ไวนิ ล เพื่ อ ความเป็ นมิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้อม จากการทีผ่ สู้ อ่ื ข่าวได้ลงพืน้ ทีส่ ำ� รวจในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 พบ ว่ า ชมรมและองค์ ก รต่ า งๆ ใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์ รังสิต ใช้ป้ายไวนิลเพือ่ ประชาสัมพันธ์ โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ตัง้ แต่ บริเวณหน้ าหอพักนักศึกษาโซน B จนถึ ง โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ และบริเวณหน้าหอ สมุดป๋ วยจนถึงประตูเชียงราก 1 ไป แล้วทัง้ สิ้นจ�ำนวน 158 ป้ าย ซึ่งไม่ ส อ ด ค ล้ อ ง กั บ น โ ย บ า ย ข อ ง มหาวิทยาลัยทีม่ ุ่งจะเป็ นผูน้ � ำด้านสิง่ แวดล้อมและความยังยื ่ น นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความ ยังยื ่ น มธ. กล่าวว่า ถึงเวลาแล้วทีท่ งั ้ ทางมหาวิทยาลัย องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) สภา นักศึกษา และชมรมต่างๆ จะต้องร่วม มือกันหาทางแก้ไขปั ญหาการใช้ป้าย ไวนิลเพือ่ ประชาสัมพันธ์ อ่านต่อหน้า 3

ป้ ายไวนิ ลเกลื่อน – ป้ ายไวนิลประชาสัมพันธ์ชมรมต่างๆ ถูกติดตัง้ เต็มสองข้างทางเดินบริเวณทางออก ประตู เชียงราก 1 มธ. ศูนย์รงั สิต ขัดแย้งกับนโยบายมหาวิทยาลัยผูน้ � ำด้านสิง่ แวดล้อมและความยังยื ่ น

อ.รัฐศาสตร์ชธ ี้ นาธร

่ งคุกคดีปล่อยกูอ เสีย ้ นค. อาจารย์มธ.เผยคดีโอนหุ้นธนาธร โอกาสรอดคดีครึ่ง-ครึ่ง ซ�ำ้ มีคดี ปล่อยอนค.ที่น่าเป็ นห่วงมากกว่า ด้านนักกฎหมายเพจ iLaw ชี้คดี ธนาธรจะท� ำ ให้ ค นตัง้ ค�ำ ถาม ความเป็ นธรรมกับศาล จากกรณีท่ี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ทีผ่ า่ นมาศาลรัฐธรรมนูญนัด ไต่สวนพยานจ�ำนวน 10 ปาก ในคดี ทีค่ ณะกรรมการการเลือกตัง้ (กกต.) ขอให้พจิ ารณาว่าความเป็ นส.ส.ของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้ า พรรคและส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค อนาคตใหม่สน้ิ สุดลง เนื่องจากถือ หุน้ สือ่ บริษทั วี-ลัค มีเดีย จ�ำกัด จึง เกิ ด เป็ นข้ อ สงสั ย ว่ า กรณี น้ี เ ข้ า ลัก ษณะต้อ งห้า มมิใ ห้ล งสมัค รรับ เลือกตัง้ เป็ นส.ส.หรือไม่ นายวิโรจน์ อาลี อาจารย์ ประจ�ำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ในส่วน ของคดีโ อนหุ้น นายธนาธร ยัง มี โอกาสรอดครึง่ ต่อครึง่ เพราะศาล อาจวิเคราะห์ได้สองกรณี แบบหนึ่ง คือยึดตามตัวบทกฎหมายทีเ่ ข้มข้น วิเ คราะห์จ ากกรณี เ ก่ า ๆ ที่เ คยมี

นัก การเมือ งถูก ตัด สิท ธิจ์ ากกรณี มีช่ือ ถือ หุ้น สื่อ หรือ อีก แบบหนึ่ ง หนึ่งอาจจะมองว่าบริษทั สื่อทีน่ าย ธนาธรถือหุน้ ไม่ได้ดำ� เนินกิจการมา หลายปี และไม่สามารถครอบง�ำ ประชาชนได้เพราะไม่เกีย่ วข้องกับ การด�ำเนินการทางการเมือง แต่ท่ี น่ า ห่ ว งคื อ อี ก คดี ท่ี น่ า จะรุ น แรง มากกว่านี้ คอื คดีท่ีนายธนาธรถูก ร้อ งว่ า กระท�ำ ผิด พ.ร.ป.ว่ า ด้ว ย พรรคการเมื อ ง กรณี ใ ห้ พ รรค อนาคตใหม่กู้ยมื เงิน 191.2 ล้าน บาท เพื่อด�ำเนินกิจการพรรค ซึง่ อ า จ เ ข้ า ข่ า ย ผิ ด ก ฎ ห ม า ย พรรคการเมือง เพราะเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนู ญฉบับนี้คอื ต้องการ ตัดนายทุนออกจากพรรคการเมือง ให้ได้ แต่ทงั ้ นี้ถอื ว่าเป็ นวิบากกรรม ของนายธนาธรเพราะมีอกี หลายคน ที่เ กี่ย วข้อ งกับ สื่อ โดยตรงแต่ ย ัง สามารถท�ำหน้าทีต่ ่อได้ แต่มเี พียง นายธนาธรที่โ ดนสัง่ หยุ ด ปฏิบ ัติ หน้าที่ กรณีเช่นนี้จงึ สร้างค�ำถามถึง ตัว บรรทัด ฐานของการบัง คับ ใช้ กฎหมายว่าท�ำไมไม่ตรวจสอบให้ อยูใ่ นมาตรฐานเดียวกัน อ่านต่อหน้า 3

ค่าครองชีพมธ.สูงนศ.ทุนกยศ.ไม่พอใช้

ปรับโฉมใหม่ศน ู ย์อาหาร ทิวสนโดมตอบโจทย์นศ.มธ.

ผู้บริ หารศูนย์อาหารทิ วสนโดม จับมือส�ำนักงานทรัพย์สินฯ มธ. ผลักดันศูนย์อาหารทิ วสนเป็ นโรง อาหารหอพักในเพื่อสิ่ งแวดล้อม ตามโครงการ Thammasat Smart City ผู้ส่อื ข่าวรายงานว่า เมื่อ เดือนพฤศจิกายน ปี 2561 ทีผ่ า่ นมา ส� ำ นั ก ง า น ท รั พ ย์ ส ิ น แ ล ะ กี ฬ า มหาวิท ยาลัย ธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รงั สิต เปลีย่ นแปลงรูปโฉมศูนย์ อาหารทิวสนโดม บริเวณหน้าหอพัก ในโซน B ให้สวยงามมากขึน้ และ เพิม่ นโยบายใหม่ท่จี ะปรับตัวตาม โครงการ Thammasat Smart City ที่ใ ห้ม ธ.เป็ น มหาวิท ยาลัย สีเ ขีย ว รักษาสิง่ แวดล้อมอย่างยังยื ่ น นายทศพล ทรวงแสวง ผู้ บ ริ ห ารศู น ย์ อ าหารทิ ว สนโดม

กล่าวว่า ปั จจุบนั ศูนย์อาหารทิวสน โดมมีน โยบายงดการใช้พ ลาสติก และนโยบายว่าหากผูซ้ ้อื น� ำภาชนะ มาใส่อาหารและเครื่องดื่มเองจะลด ราคาให้ และก�ำลังจะมีแผนน� ำร่อง โครงการใช้ ว ัส ดุ ธ รรมชาติ แ ทน ภาชนะพลาสติกส�ำหรับการบรรจุไป รับประทานทีอ่ น่ื เช่น ใบตองส�ำหรับ ใส่อาหาร ติหมาใส่น้�ำ (ภาชนะใส่น้�ำ ทีท่ ำ� ด้วยใบกาบ) เป็ นต้น โดยจะเริม่ น� ำ ร่ อ งเดือ นพฤศจิก ายนนี้ และ ทดลองท�ำเดือนละ 1 ครัง้ เพือ่ วัดผล ส�ำเร็จก่อน ซึง่ ในเดือนแรก ทางศูนย์ อาหารทิวสนโดมจะเป็ นผูจ้ ดั หาวัสดุ ธรรมชาติให้ผคู้ า้ รายย่อยก่อน และ ให้อิสระร้านค้าประยุกต์ใช้วสั ดุดงั ก ล่ า ว ต า ม ค ว ามเห มาะส มกั บ ลักษณะอาหาร อ่านต่อหน้า 3

สนับสนุนข่าวโดยโรงอาหารทิวสนโดม

นศ.มธ.ชี้เงินรายเดือนจากกยศ.ไม่ พอใช้ เหตุภาระค่าใช้จา่ ยมาก ด้าน เจ้ า หน้ าที่ ก องกิ จ ฯ มธ. แจงไม่ สามารถเพิ่ มเงิ นให้ ได้ เ พราะ เป็ นการจัดสรรจากรัฐ ผูส้ อ่ื ข่าวรายงานว่า จากการ รวบรวมข้อมูลจาก “แบบสอบถามเพือ่ เก็บข้อมูลลงหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย” ที่ส่งต่อในสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รงั สิต จ�ำนวน 135 คน มีคา่ ครองชีพเฉลีย่ ต่อวันทัง้ หมด 203 บาท แบ่งเป็ นค่าเดินทาง 44 บาท และค่า อาหาร 159 บาท แต่นกั ศึกษาทีก่ ยู้ มื เงินค่าครองชีพรายเดือนจากกองทุน เงินให้กยู้ มื เพือ่ การศึกษา (กยศ.) จะ ได้รบั เงินจ�ำนวน 2,400 บาท ต่อเดือน เทียบเป็ น 80 บาทต่อวันเท่านัน้ ซึง่ ไม่ เพียงพอต่อค่าใช้จา่ ยในชีวติ ประจ�ำวัน นางสาวฟักทอง รอดเรืองฤทธิ ์ นักศึกษาชัน้ ปี ท่ี 4 คณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มธ. ผู้กู้ยมื เงิน กยศ. ให้สมั ภาษณ์ว่า หากมีแค่เงิน จากกยศ.เพียงทางเดียวจะไม่เพียง พอต่อค่าใช้จ่ายในชีวติ ประจ�ำวันอยู่ แล้ว เพราะปกติจะเสียค่าเดินทางมา เรียนไปกลับจากบ้านประมาณ 200 บาท และไม่สามารถอาศัยอยู่หอพัก บริเวณมหาวิทยาลัยได้ เนื่องจากต้อง จ่ายค่าหอพักซึง่ เป็ นเงินก้อนจ�ำนวน มาก และทางกยศ.ไม่มเี งินให้กยู้ มื ใน ส่วนของค่าหอพัก นอกจากนี้ ยังมีคา่ ใช้จ่ายทีต่ อ้ งช่วยทางบ้านรับผิดชอบ เช่น ค่าน�้ำ ค่าไฟ และเงินส�ำหรับให้ น้องๆ ไปโรงเรียน จึงต้องหารายได้ เสริม จากการท�ำ งานเพิ่ม เติม โดย

ค าครองชีพนักศึกษามธ. ถูกที่สุด-แพงที่สุด (บาท/วัน) ถูกที่สุด ค ากลาง แพงที่สุด

800

500 300 203 159

130

110

20 ค าอาหาร

44 ค าเดินทาง

รายจ ายเฉลี่ย/วัน

ข อมูลจากแบบสอบถามออนไลน ส งต อทางสื่อสังคมออนไลน ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร ศูนย รังสิต ระหว างวันที่ 17 ตุลาคม - 31 ตุลาคม โดยมีผู ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 135 คน

ตอนนี้ทำ� งานฟรีแลนซ์อยู่ ซึง่ ไม่ได้ม ี รายได้แน่นอน หนึ่งเดือนจะมีเพียง 2 - 3 งานเท่านัน้ นางสาวฟั กทอง กล่าวเพิม่ เติมว่า เมื่อน� ำเงินทีไ่ ด้จากกยศ.และ เงินจากการท�ำฟรีแลนซ์มารวมกันแล้ว ก็สามารถน�ำไปหมุนเป็ นค่าใช้จ่ายใน บ้านรวมกับเงินจากพีค่ นโต ทีท่ ำ� งาน เต็มตัวแล้วได้ แต่กเ็ ป็ นการหมุนทีไ่ ม่ ได้ทำ� ให้อยูอ่ ย่างสะดวกสบายนัก “มัน ไม่ได้ลำ� บากรันทดขนาดนัน้ แค่เราไม่ ได้ใช้ชวี ติ อย่างเต็มทีเ่ ท่านัน้ เอง อย่าง พวกกิจกรรมคณะหลายๆ งานทีอ่ ยาก ท�ำก็ทำ� ไม่ได้เพราะมีขอ้ จ�ำกัดเรือ่ งค่า ใช้จา่ ย เช่นงานทีต่ อ้ งมาเตรียมมาซ้อม

ตอนปิ ดเทอม แล้วต้องไปกลับจาก บ้านตลอด เสียเงินเยอะ ก็ไม่ได้ท�ำ หรือบางงานทีต่ อ้ งอยู่ทม่ี หาวิทยาลัย จนเย็นมากๆ ถ้าช่วงนัน้ ไม่มเี งินพอจะ ซือ้ ข้าวเย็นกิน ก็ไม่ได้ทำ� ” น า ย วี ร ศั ก ดิ ์ บุ ญ ม า ก นักวิชาการศึกษา กองกิจการนักศึกษา มธ. เจ้าหน้าทีผ่ รู้ บั ผิดชอบงานกยศ.ให้ สัมภาษณ์วา่ เงินรายเดือนจากกองทุน ไม่เพียงพอกับค่าครองชีพทีต่ อ้ งใช้ใน หนึ่งวันของมธ.อยู่แล้ว หากค�ำนวณ จากค่าอาหารในโรงอาหาร น�ำมาคูณ 3 มือ้ ก็เป็ นจ�ำนวนเงินเกิน 100 บาท แล้ว 2,400 บาทต่อ 30 วันจึงไม่น่าจะ เพียงพอ แต่ในขณะเดียวกันการกูย้ มื

เงิน จากกยศ.มัน เป็ นเรื่ อ งของทัง้ ประเทศ ดังนัน้ โดยงบประมาณแล้ว ทางรัฐก็ไม่สามารถเพิม่ วงเงินให้ได้ เนื่ อ งจากถ้ า จะเพิ่ม ก็ ต้ อ งเพิ่ม ทัง้ ประเทศ และทางรัฐไม่มงี บประมาณที่ เพีย งพอ เพราะฉะนั น้ ค่ า ครองชีพ จากกยศ.จึงอาจช่วยทุเลาได้ประมาณ หนึ่งเท่านัน้ ซึง่ แต่เดิมทางกยศ.ก็เคย มีสว่ นของค่าหอพักให้กยู้ มื ด้วย แต่พอ จ� ำ นวนนั ก ศึ ก ษาที่ม ากู้ ย ืม เพิ่ม ขึ้น เรือ่ ยๆ ท�ำให้มคี า่ ใช้จา่ ยทีต่ อ้ งรองรับ เพิม่ จ�ำนวนมากโดยเฉพาะค่าเทอม ทางกองทุนจึงต้องตัดเงินทีจ่ ะให้กูย้ มื ในส่วนของค่าหอพักออกไป


หน้า 2

ฉบับที่ 5 ปี ท่ี 62 วันที่ 6 - 19 พฤศจิกายน 2562

เสรีภาพที่ถูกก�ำหนด ด้วยทุนนิยม

ในขณะทีค่ า่ ครองชีพของคนในสังคมสูงขึน้ แต่ กลับไม่ใช่ทุกคนทีจ่ ะมีรายได้สงู ตาม หรือได้รบั คุณภาพ ชีวติ ทีด่ เี หมาะสมแก่ค่าครองชีพ บางคนมีโอกาส และมี คุณภาพชีวติ ทีด่ เี พราะมีปัจจัยหลายอย่างทีเ่ กือ้ หนุน ท�ำให้ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวติ ได้ตามทีต่ วั เองต้องการ แต่ คนบางกลุ่มกลับต้องแบกความยากจนไว้อย่างไร้ซง่ึ ทาง เลือก และกลายเป็ นปั จจัยทีส่ ง่ ผลต่อคุณภาพชีวติ สองสิง่ ทีต่ า่ งกันนี้ถกู เรียกว่าความเหลือ่ มล�ำ้ โดยหนึ่งสิง่ ทีจ่ ะช่วย ลดความเหลื่อ มล�้ำดัง กล่าวให้น้อยลงได้คอื การศึกษา ก�ำแพงแห่งโอกาสทีก่ ารดิน้ รนโดยพึง่ พาการศึกษามักเป็ น สิง่ ที่สามารถยกคนออกจากความยากจน และในขณะ เดียวกัน ก�ำแพงนัน้ ก็เป็นก�ำแพงทีก่ นคนส่ ั ้ วนหนึง่ ไว้ขา้ งหลัง มธ.มีนศ.รายได้น้อยจ�ำนวนมากทีต่ อ้ งกูย้ มื เรียน หรือพึง่ พาการให้ทุนสนับสนุ นการศึกษา จากการส�ำรวจ เพือ่ ท�ำข่าวในหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยโดยคร่าว พบว่า 75% ของนศ.เหล่านัน้ มีเงินไม่พอใช้ ซึง่ ในทีน่ ้หี มายถึง ไม่ สามารถกินอาหารทีต่ วั เองต้องการ หรือซือ้ ของทีจ่ ำ� เป็ น ต้ อ งซื้อ ทัง้ หมดได้ ถึง แม้ว่ า ผลจากการส� ำ รวจจะไม่ สามารถสรุปในภาพรวมทัง้ หมดของนศ.ทัง้ มหาวิทยาลัย ได้ แต่กท็ ำ� ให้ตอ้ งยอมรับว่านศ.เหล่านี้ไม่สามารถพึง่ พา เงินทุนทีไ่ ด้รบั แต่ละเดือนได้ทางเดียว และต้องท�ำงาน พิเศษควบคูเ่ พือ่ หาเงินเพิม่ ด้วย แหล่งข่าวนศ.รายได้น้อย คนหนึ่งได้ให้ความคิดเห็นถึงสาเหตุหนึ่งของภาวะนี้ว่า นศ.ทีม่ รี ายได้น้อยหลายคนเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ด้วยความเชือ่ ว่าจะมีการสนับสนุ นทุนการศึกษา แต่เมือ่ ได้เข้าเรียน ทุนทีไ่ ด้กลับไม่พอใช้ ถึงแม้วา่ มธ.จะยึดถือในเรือ่ งความเท่าเทียม การ ไม่เลือกปฏิบตั ิ แต่ถา้ สังคมยังเต็มไปด้วยความเหลือ่ มล�้ำ จากปั ญหาความยากจน ก็มแี นวโน้มทีส่ งั คมนัน้ จะมีความ ไม่เท่าเทียมเกิดขึน้ ยิง่ สังคมมธ.ทีป่ ล่อยให้มกี ารผูกขาด ของกลุม่ ทุน จนจ�ำกัดทางเลือกของนศ. เช่น โรงอาหาร กลางที่ก�ำหนดราคาอาหารโดยกลุ่มทุนที่ได้สมั ปทาน ในมธ. จนท�ำให้ราคาอาหารไม่ใช่สวัสดิการขัน้ พืน้ ฐาน ราคาถูก แต่เป็ นสินค้าทีถ่ กู ตัง้ ราคาเพือ่ หวังผลก�ำไรอย่าง เต็มรูปแบบ มีราคาอาหารทีเ่ ริม่ ต้นด้วย 25 บาทจริง แต่ หลายรายการของแทบทุกร้านยังคงมีราคาทีส่ งู เกินจริง หรือแม้แต่รา้ นค้าสหกรณ์ทค่ี วรมีในมหาวิทยาลัย เพือ่ ให้ ผูบ้ ริโภคในมธ.ได้มสี ่วนร่วมกับการจัดหาสินค้าและร่วม กันลงทุน กลับถูกแทนทีด่ ว้ ยร้านค้าของกลุม่ ทุนดังกล่าว สิง่ เหล่านี้คอื การเก็บเกีย่ วผลประโยชน์จากคนภายนอกที่ ทุกคนในมธ.ต้องยอมรับอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ “มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจดังบ่ ่ อน�้ำบ�ำบัด ความกระหายของราษฎรผูส้ มัครแสวงหาความรู”้ สิง่ นี้คอื จิตวิญญาณทีแ่ ท้จริงของมธ. ทีส่ อ่ื ถึงการเป็ นพืน้ ทีส่ ำ� หรับ เสรีภาพทางการศึกษา มิใช่พน้ื ทีส่ ำ� หรับนายทุนผูแ้ สวงหา ผลประโยชน์เพียงกลุม่ เดียว เพราะฉะนัน้ ค�ำตอบของการ พัฒ นาจะยังยื ่ น ได้ห รือ ไม่ นั น้ ก็อ ยู่ท่ีว่า คนในสัง คมมี ส่วนร่วมกับกระบวนการดังกล่าวมากน้อยแค่ไหน และเรา จะก้าวไปข้างหน้าโดยทีค่ นในสังคมยังคงวนอยู่กบั การ หาเงินได้อย่างไร สุดท้ายนี้กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยหวังเป็ นอย่างยิง่ ว่า สถานศึกษาทีเ่ ป็ นบ่อเกิด แห่งความหวังและพืน้ ทีเ่ พือ่ ประชาชน จะเป็ นมิตรส�ำหรับ ทุ ก คนที่ ผ่ า นเข้ า มา เมื่ อ ถึ ง เวลานั ้น หนั ง สื อ พิ ม พ์ มหาวิทยาลัยหวังเป็ นอย่างยิง่ ว่าจะได้เป็ นพืน้ ทีเ่ พื่อร่วม ตัง้ ค�ำถาม และหาค�ำตอบของเรื่องราวทีเ่ กิดขึน้ ในสังคม เพือ่ ทุกเสียงของทุกคนอีกครัง้ หนึ่ง บรรณาธิ การบริหาร หทัยธร หลอดแก้ว บรรณาธิ การ ข่าว ธนารีย์ รัตนฉายา บรรณาธิ การบทความ ทัศนา พุทธประสาท บรรณาธิ การฝ่ ายศิ ลป์ มารยาท บุญรัตน์ บรรณาธิ การภาพ ณัฐกานต์ ศรีสมบูรณ์ บรรณาธิ การ ฝ่ ายจัด จ�ำ หน่ าย ณั ฎ ฐ์ พ่ ว งแสง พิ สู จ น์ อ ัก ษร ณัฎฐ์ พ่วงแสง ฝ่ ายโฆษณา ชุตกิ าญจน์ อ่อนเอม กอง บรรณาธิ การ ศิรกิ ร เอือ้ ไพจิตร, วรรษมณ หม่าและอัน ตา จิตตา-ศิรนิ ุวตั ร อาจารย์ที่ปรึกษา ถมทอง ทองนอก กองบรรณาธิ การหนังสือพิ มพ์มหาวิ ทยาลัย ห้อง ปฏิบตั กิ ารชัน้ 1 อาคารมีเดียเซ็นเตอร์ 99 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุ ม ธานี 12120 หนั ง สือ พิม พ์ มหาวิท ยาลัย ด� ำ เนิ น งานภายใต้ ข้ อ บัง คับ ว่ า ด้ ว ย จริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์ แห่งชาติ พ.ศ.2559

คิดอย่างไรกับปัญหาแรงงานไทยในปัจจุบัน? บุญยืน สุขใหม่ ผูป้ ระสานงานกลุม่ พัฒนาแรงงาน สัมพันธ์ตะวันออก และกรรมการบริหาร สมัชชาคนจน นายทุนไทยน�ำเข้าเทคโนโลยีกบั แรงงานจากต่างประเทศ หมุน พนักงานต่างชาติเข้ามาท�ำงานด้วยสัญญา Subcontract แต่อยู่ดว้ ยวีซ่า ท่ อ งเที่ ย ว ส่ ว นคนไทยเป็ นได้ แ ค่ แ รงงานเขา รัฐ ไม่ เ คยปกป้ อง สหภาพแรงงานเลย เวลามีขอ้ พิพาทขึน้ มา รัฐบอกว่า “นายจ้างก็ปฏิบตั ติ าม กฎหมายแล้วนี่” แต่การเข้าถึงกระบวนการยุตธิ รรมมันต้องใช้เงินกับเวลา มาก แรงงานธรรมดาจะเอาต้นทุนทีไ่ หนไปสู้ ทัง้ ทีส่ งิ่ ทีส่ หภาพแรงงานท�ำ ก็มแี ค่เรียกร้องสิทธิของลูกจ้างให้เป็ นธรรม สวัสดิการคุม้ ครองชีวติ ค่าจ้าง ทีเ่ หมาะสมกับงาน มีทมี กฎหมายให้ความรูเ้ ป็ นสิง่ พืน้ ฐานทีเ่ ราควรได้ดว้ ย ซ�้ำ แต่ทำ� ไมคนอืน่ หรือนายจ้างถึงมองว่าขอมากเกินไป?

น�้ำผึ้งหยดเดียวของชิลี เรือ่ ง: ศิรกิ ร เอือ้ ไพจิตร

พูดถึงประเทศที่เจริ ญที่สดุ ในทวีป อเมริ ก าใต้ ห รื อ ที่ เ รี ย กกัน อย่ า งติ ด ปากว่ า ลาติ น อเมริ กา หลายคนคงนึ กถึงบราซิ ล แต่ ร้หู รือไม่ว่ามี เพี ย งประเทศเดี ย วเท่ า นั ้น ในทวี ป นี้ ที่ ถ กู จัด อยู่ ใ น สถานะเป็ นประเทศที่ พฒ ั นาแล้ ว ขององค์การเพื่ อ ความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิ จ (Organization for Economic Co-operation and Development - OECD) คือประเทศชิ ลี เพราะในการจัดอันดับของ ธนาคารโลกในปี ที่ผา่ นมา ชิ ลีมีเศรษฐกิ จที่มงคั ั ่ งอย่ ่ าง มาก ดูได้ จากผลิ ตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่ อหัว (GDP per capita) ที่เติ บโตขึน้ ถึง 4% ในปี ที่ผา่ นมา คือ เฉลี่ยกว่า 16,000-20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อจ�ำนวน ประชากรราว 18 ล้านคน ที่สำ� คัญคือรัฐได้จดั สวัสดิ การ ให้ ป ระชาชนอย่ า งทั ว่ ถึ ง ไม่ ว่ า จะเป็ นการศึ ก ษา สาธารณสุข ระบบบ�ำนาญ และมีอตั ราการคอร์รปั ชัน ต�ำ่ กว่าประเทศอื่นในอเมริ กาใต้มาก ท�ำให้ในปัจจุบนั ชิ ลีมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิ จมากที่ สุดประเทศหนึ่ ง ของโลก แต่ดเู หมือนว่าประเทศทีผ่ า่ นร้อนผ่านหนาวมานับ ครัง้ ไม่ถ้วนอย่างชิลีต้องเผชิญกับบททดสอบส�ำคัญที่ม ี ชนวนมาจากน�้ำผึง้ หยดเดียว เมือ่ รัฐบาลประกาศขึน้ ราคา ค่ารถไฟใต้ดนิ ในวันที่ 6 ตุลาคม ซึง่ ท�ำให้กรุงซานติอาโก กลายเป็ นหนึ่ ง ในเมือ งที่ค่ า รถไฟฟ้ าแพงที่สุ ด ในกลุ่ ม ประเทศลาตินอเมริกา โดยขึน้ จาก 800 เปโซชิลี (ราว 34.10 บาท) เป็ น 830 เปโซชิลี (ราว 35.40 บาท) ส�ำหรับชัวโมง ่ เร่งด่วน หากเทียบกับเงินไทยก็คอื เพิม่ ขึน้ เพียง 1 บาท ซึง่ ก่อนหน้านี้ในเดือนมกราคมรัฐบาลได้ประกาศขึน้ ราคาค่า โดยสารก่อนหน้าไปแล้วราว 20 เปโซ โดยรัฐบาลแจงว่า เป็ นผลมาจากค่าเงินเปโซที่อ่อนตัวลง และต้นทุนทาง พลังงานทีส่ งู ขึน้ แม้วา่ จ�ำนวนเงินเพียง 1 บาทจะไม่ได้ม ี มูลค่ามากมายอะไร แต่เป็ นเหมือนฟางเส้นสุดท้าย ทีท่ ำ� ให้ ประชาชนจ�ำนวนมากลุกฮือขึน้ ออกมาประท้วง และกลาย

เป็ นความรุนแรงขนาดปิ ดบริการขนส่งสาธารณะ เผาห้าง สรรพสินค้า ปะทะกับเจ้าหน้ าที่ต�ำรวจ จนรัฐบาลต้อง ประกาศภาวะฉุกเฉินในเมืองหลวงและขยายไปเมืองอื่นๆ อีกด้วย แน่ นอนว่าเหตุผลหลักคงไม่ได้มาจากการขึน้ ค่า รถไฟฟ้ าเพียง 1 บาทนี้อย่างแน่นอน แต่เป็ นปั ญหาทีถ่ กู ซุกซ่อนอยูใ่ ต้พรมอันสวยงามมานับทศวรรษ แม้วา่ ชิลจี ะมีเศรษฐกิจทีม่ งคั ั ่ งมาตลอดระยะเวลา ่ หลายปี แต่ในทางกลับกันความเหลือ่ มล�ำ้ ก็สงู ขึน้ ตามสภาพ เศรษฐกิจ ตามรายงานของ OECD พบว่าชิลเี ป็ นประเทศ ทีม่ คี วามเหลื่อมล�้ำมากทีส่ ุดในกลุ่มและมากกว่าค่าเฉลีย่ ของกลุม่ ประเทศ OECD ด้วยกัน คือมีชอ่ งว่างทางรายได้ ต่อประชากรสูงถึง 65% คนงานชิลรี าวครึง่ หนึ่งมีรายได้ไม่ เกินเดือนละ 16,000 บาท ในขณะทีก่ ลุม่ ชนชัน้ น�ำมีรายได้ มากกว่าเกือบ 14 เท่า กิจการหลายภาคส่วนของชิลถี ูก แปรรูปไปเป็ นของเอกชนรวมถึงสวัสดิการต่างๆ ท�ำให้ ระบบชลประทาน ระบบบ�ำนาญ การเข้าถึงการรักษา พยาบาล และการศึกษาอาจจะต้องใช้เงินจ�ำนวนมากขึน้ นันหมายความว่ ่ าแม้ระบบสวัสดิการต่างๆ จะมีมาตรฐาน ทีด่ ี แต่คนจ�ำนวนมากต้องช�ำระค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ใน ราคาสูงขึน้ อันเป็ นผลมาจากการทีร่ ฐั บาลให้เอกชนเข้ามา ท�ำสัมปทานในกิจการพืน้ ฐานของประเทศ จากเหตุผลดังกล่าวท�ำให้ตงั ้ แต่วนั ที่ 18 ตุลาคม เป็ นต้นมามีผู้ชุมนุ มออกมาประท้วงกันเป็ นจ�ำนวนมาก ไม่ใช่เฉพาะในเมืองหลวง แต่ลุกลามไปยังทัวประเทศ ่ และ เป็ นเรื่องที่คาดเดาได้ว่าการประท้วงที่มตี ้นเหตุ มาจาก ความโกรธและอัดอัน้ จะถูกยกระดับเป็ นการจลาจล ผูช้ มุ นุม ปะทะกับต�ำรวจ สถานีรถไฟใต้ดนิ แทบทุกสถานีในกรุง ซานติอาโกลุกโชนจากระเบิดเพลิงและการบุกท�ำลายข้าว ของจากผูช้ มุ นุ ม กว่า 41 สถานีหมดสภาพทีจ่ ะใช้งานได้ อีก รัฐบาลแจ้งระงับแผนขึน้ ค่ารถไฟฟ้ าใต้ดนิ พร้อมกันนัน้ ได้ประกาศเคอร์ฟิวและสภาวะฉุ กเฉินในเมืองหลวง ส่ง

ทหารเข้ารักษาการณ์ แต่ยงิ่ เป็ นเติมเชือ้ ไฟสร้างความไม่ พอใจให้ผชู้ มุ นุมมากขึน้ ไปอีก เพราะเป็ นการท�ำให้ภาพจ�ำ ของชิลสี มัยปกครองภายใต้เผด็จการอันเลวร้ายย้อนกลับ มาในความทรงจ�ำของประชาชนอีกครัง้ หนึ่ง เนื่องจากนับ เป็ นครัง้ แรกในรอบหลายทศวรรษที่ชลิ สี ่งทหารลงถนน ปราบผูช้ มุ นุมประท้วง จากวันที่ 18 ตุลาคม จนถึงวันนี้ การประท้วงได้ กลายเป็ นหน้าประวัตศิ าสตร์ครัง้ ใหญ่ของชิลจี ากจ�ำนวนผู้ ประท้วงหลักล้านคนนับเป็ นกว่า 5% ของประชากรทัง้ หมด จากเหตุความรุนแรงท�ำให้มผี เู้ สียชีวติ อย่างน้อย 19 ราย ผูบ้ าดเจ็บหลายร้อยคน และมีผูช้ ุมนุ มถูกจับกุมไปเกือบ 7,000 คน สิง่ ที่รฐั บาลท�ำเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้ าคือ นโยบายลดแลกแจกแถม ตัง้ แต่เพิม่ เงินบ�ำนาญขัน้ ต�่ำ เพิม่ ค่าแรงขัน้ ต�่ำ เพิม่ ค่าจ้าง ขึน้ ภาษีคนรวย ไปจนถึงระงับค่า ไฟ ให้คำ� มันในการเร่ ่ งปฏิรปู ระบบสวัสดิการและสังคม แต่ ก็ไม่สามารถลดทอนความโกรธของผูช้ มุ นุมได้เลย การชุมนุมประท้วงทีช่ ลิ แี ตกต่างจากการประท้วง ใหญ่ๆ ทัวโลกที ่ ่เกิดในระยะเวลาเดียวกัน เช่น ฮ่องกง อัง กฤษ อิ ร ัก หรือ สเปน (ติ ด ตามได้ ใ นหนั ง สือ พิม พ์ มหาวิทยาลัยฉบับก่อนหน้า) เพราะเป็ นการประท้วงทีไ่ ม่ม ี แกนน� ำคนส�ำคัญ และเป้ าหมายการประท้วงไม่ชดั เจน ท�ำให้การต่อรองกับรัฐบาลเป็ นเรือ่ งทีล่ ำ� บาก หลายฝ่ ายที่ เกีย่ วข้องหวาดหวันกั ่ บสถานการณ์ทไ่ี ม่รวู้ า่ จะด�ำเนินไปใน ทิศทางใด แม้แต่สำ� นักข่าวหรือนักวิชาการหลายคนก็ให้ ข้อมูลทีเ่ ป็ นแตกต่างกัน เนื่องจากเป็ นการประท้วงทีม่ คี วาม ต้องการหลากหลายมิติ ในมุมหนึ่ง ผูค้ นต้องการความเป็ น ธรรมทางสังคมและชนชัน้ เพือ่ ชีวติ ความเป็ นอยูท่ ด่ี ขี น้ึ ใน อีก ทางหนึ่ ง หลายคนต้อ งการปฏิรูป ทางการเมือ งและ ระบอบต่างๆ ให้มคี วามโปร่งใสมากยิง่ ขึน้ เป็ นการประท้วง ทีร่ วมระหว่างฝ่ ายซ้ายทีต่ ่อต้านตลาดทุนนิยมทีท่ ำ� ให้พวก เขาไม่ได้ลมื ตาอ้าปาก กับประชาชนทีไ่ ม่พอใจกับค่าครอง ชีพทีส่ งู ขึน้ เราไม่อาจตัดสินได้วา่ เหตุผลของใครส�ำคัญกว่า กัน และจนถึง ตอนนี้ ก็ย งั ไม่แ น่ ช ดั ว่า มิติด้า นใดกัน แน่ ท่ี ส�ำคัญทีส่ ุดในการประท้วงทีเ่ กิดขึน้ แต่จุดร่วมของคนใน การประท้วงครัง้ นี้มอี ยูห่ นึ่งข้อคือต้องการให้ประธานาธิบดี เซบาสเตียน ปิ เญรา ลาออกจากต�ำแหน่ง

เป็น “แรงงาน” ไม่พอ แล้วยังต้องเป็น “คนจน” อีกหรือ?

เรือ่ ง: ณัฐกานต์ ศรีสมบูรณ์

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคมที่ผา่ นมา มีคนกลุ่มใหญ่ พยายามเรียกร้องในสิ่ งที่หลายคนไม่เคยต้องออกไป ดิ้ นรนค้ น หาริ มถนนใจกลางกรุ ง เทพมหานคร ท่ามกลางแดดร้อน ฝุ่ นควันจากยานพาหนะและห่าฝน พวกเขาคือ “สมัชชาคนจน” ซึ่งก่อตัง้ มาตัง้ แต่ปี 2538 ได้ ปั ก หลัก ชุ ม นุ ม อยู่ ที่ ห น้ าส� ำ นั ก งานกรรมการ อาชีวศึกษา ริมคลองผดุงกรุงเกษมใกล้ทำ� เนี ยบรัฐบาล ตัง้ แต่วนั ที่ 6 ตุลาคม และตัดสิ นใจพับเสื่อกลับบ้านไป เมื่อสิ้ นวันปิ ยมหาราช สมัชชาคนจนเป็ นการรวมตัว ของผู้คนหลายจังหวัด มีข้อเรียกร้องให้ รฐั บาลช่ วย เหลื อ หลายด้ า น ทัง้ ปั ญ หาพื้น ที่ ส าธารณะทับ ที่ อ ยู่ อาศัย ผลกระทบจากการสร้างเขื่อน การขาดแคลน ที่ ดินท�ำกิ น และข้อเรียกร้องที่ แม้แต่ สื่อกระแสหลัก และสื่อทางเลือกก็ไม่มีใครน� ำเสนออย่างละเอียดนัก คือ ปัญหาสิ ทธิ แรงงาน แต่โดยมากจะตีแผ่ปัญหาด้าน ที่ ดินและปั ญหาจากการสร้างเขื่อนมากกว่า จึงเป็ น เรื่องน่ าเศร้าที่ในบรรดาผู้ชุมนุมที่เรียกตัวเองว่าเป็ น คนจนก็ยงั มี ลำ� ดับความส�ำคัญที่ ไม่เท่ ากันอยู่ดี ซึ่ ง คนจนที่หลายคนมองข้ามก็มีอาชีพ “แรงงาน” นี่ เอง “ชาวบ้านกลุ่มอื่นกลับไปเขายังมีท่ดี นิ ให้ท�ำไร่ ไถนา ยังเลีย้ งชีพต่อได้ แต่พวกเราเป็ นแรงงานมีแค่กำ� ลัง ไม่มที ่ที �ำกินเป็ นของตัวเอง ถ้าแรงงานกลับไปโดยไม่ม ี ความคืบ หน้ า จากรัฐบาล ไม่ไ ด้ร บั ความเป็ นธรรมจาก นายจ้าง แล้วจะท�ำอย่างไรต่อ?” บุญยืน สุขใหม่ กรรมการ บริหารสมัชชาคนจนด้านแรงงานกล่าวเช่นนัน้ เขาเป็ นหนึ่ง ในสมาชิกสหภาพแรงงานผูม้ ากับปั ญหาหลายประการของ แรงงานไทย ซึง่ หนึ่งในเรือ่ งเร่งด่วนทีส่ ดุ ทีเ่ ขาต้องการคือ ให้รฐั บาลแก้ไข พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ทีม่ ี คียเ์ วิรด์ ส�ำคัญคือ “การปิ ดงาน” ของนายจ้างและ “การนัด หยุดงาน” ของลูกจ้าง มีกรณีทเ่ี กิดขึน้ จริงทีล่ ูกจ้างในโรงงานกว่าหนึ่ง พันคนในจ.ชลบุรตี อ้ งพบเจอ เริม่ ต้นเรื่องจากตามมาตรา 13 ของพ.ร.บ.ดังกล่าวทีว่ า่ ถ้ามี “ข้อเรียกร้อง” หรือเรียก ง่ายๆ ว่ามีเรือ่ งผิดใจ มีความเห็นไม่ลงรอยกับนายจ้าง แล้ว ลูกจ้างจะนัดหยุดงานประท้วงได้นนั ้ จะต้องแจ้งนายจ้างที่ เป็ นคู่กรณีให้รบั ทราบก่อนภายใน 24 ชัวโมงก่ ่ อนจะเริม่ หยุดงาน ข้อเรียกร้องส่วนใหญ่ทเ่ี กิด เช่น เรือ่ งให้คา่ จ้างไม่ เป็ นธรรม ก�ำหนดเวลาท�ำงานเกินพอดี ความปลอดภัยขณะ ปฏิบตั งิ านต�่ำ เป็ นต้น แต่บางครัง้ ก็มกี รณีทล่ี กู จ้างไม่ยอม แจ้งเพราะกลัวว่านายจ้างจะไหวตัวทัน และท�ำให้สามารถ ใช้กลวิธหี รือหาข้อกฎหมายมาท�ำให้ลกู จ้างนัดหยุดงานไม่ ได้ โดยทัง้ สองฝ่ ายต้องเจรจาให้เสร็จภายใน 3 วันนับตัง้ แต่ รับข้อเรียกร้อง แต่ถา้ ตกลงกันไม่ได้กถ็ อื ว่าเกิด “ข้อพิพาท แรงงาน” ขึน้ ในสถานประกอบการแล้ว เมือ่ เกิดข้อพิพาท ฝ่ ายทีย่ น่ื ข้อเรียกร้องต้องแจ้ง “พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน” เป็ นหนังสือให้มาช่วย เจรจาระหว่างทัง้ สองฝ่ ายให้เรียบร้อยภายใน 5 วันนับตัง้ แต่ ยืน่ หนังสือ แต่ถา้ เกินจากนัน้ จะเรียกว่าเกิด “ข้อพิพาทที่

ไม่สามารถตกลงกันได้” โดยตามกฎหมายแล้วนายจ้าง สามารถ “งดจ้าง” คือการไม่ให้ทำ� งาน และไม่จา่ ยเงินค่าจ้าง แก่ “พนักงานทีม่ ขี อ้ พิพาทกับตน” จนกว่าจะหาข้อตกลงได้ จึงจะให้กลับเข้ามาท�ำงานใหม่ กรณีทช่ี ลบุรจี งึ มีปัญหาคือ นายจ้างไม่ยอมจ่ายให้กบั “สมาชิกสหภาพแรงงาน” ภายใน สถานประกอบการทีย่ น่ื เรือ่ งขอประท้วง แต่กลับจ่ายให้กบั ลูกจ้างทัวไปที ่ ไ่ ม่ได้เป็ นสมาชิกสหภาพฯ หรือไม่ได้ร่วม ประท้วงนันเอง ่ ดังนัน้ ลูกจ้างจึงลาออกจากสหภาพแรงงาน เพราะการปิ ดงานดังกล่าวมักกินเวลามากกว่า 5 วันและ ข้อตกลงมักไม่เป็ นทีพ่ อใจของลูกจ้าง ระยะเวลาการนัด หยุดงานและปิ ดงานจึงยาวนานมาก ลูกจ้างทนสภาพทีไ่ ม่ ได้ค่าจ้างไม่ไหวก็ขอลาออกจากสหภาพแรงงานท�ำให้ตวั สหภาพฯ อ่อนแอลง อ�ำนาจการต่อรองจึงน้อยและเทไปยัง ฝ่ ายนายจ้างมากกว่า เพราะไม่มนี ายทุนทีไ่ หนอยากให้มสี หภาพแรงงาน แม้วา่ กลุม่ คนเหล่านี้เรียกร้องในสิทธิทล่ี กู จ้างทุกคนควรจะ ได้ แต่ในสายตาคนนอกรวมถึงนายจ้างเองกลับมองว่า “ขอมากไป”

ยิง่ ไปกว่านัน้ ระหว่างการหยุดงานของลูกจ้าง ตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 35 วรรค 3 นายจ้างสามารถจ้างบุคคลอื่นมาท�ำงานแทนชัวคราวได้ ่ โดยลูกจ้างห้ามขัดขวางบุคคลเหล่านัน้ เข้าท�ำงาน และห้าม ไม่ให้ขดั ขวางนายจ้างทีจ่ ะจ่ายเงินตามอัตราทีจ่ า่ ยให้ลกู จ้าง ปั ญหาจึงซับซ้อนยิง่ กว่าเดิม เพราะส่วนมากนายจ้างก็ไป ติดต่อ “บริษทั ตัวกลาง” ให้รบั เหมาแรงงาน (Subcontract) มาท�ำงานแทนลูกจ้างเดิมทีห่ ยุดงาน ในอัตราเดียวกับทีจ่ า่ ย ลูกจ้างรายวัน ท�ำให้ลกู จ้างกลุม่ ใหม่น้ีไม่ได้สทิ ธิสวัสดิการ เหมือนทีล่ ูกจ้างประจ�ำจะได้ แล้วถ้านายจ้างประวิงเวลา เจรจาไปเรือ่ ยๆ โดยจบข้อพิพาทไม่ได้ ลูกจ้างประจ�ำก็ตอ้ ง หยุดงานต่อไปโดยไม่ได้เงินเดือน ขณะทีล่ กู จ้างเหมาราย วันก็ไม่ได้บรรจุเข้าเป็ นแรงงานในระบบเสียที ส่วนนายจ้าง ก็ลอยตัว ลดต้นทุนค่าจ้างพนักงานได้ เพราะจ่ายบริษทั Subcontract ในอัตราลูกจ้างรายวัน ไม่ตอ้ งเลีย้ งดูปเู สือ่ หรือ ให้สวัสดิการทีด่ อี ะไร “เดีย๋ วนี้ตกงานแค่เดือนเดียวก็ไม่มอี ะไรกินแล้ว นี่ผมสูม้ า 6 ปี ยงั แทบไม่ไหว แล้วคนอืน่ ทีไ่ ม่มเี งิน ไม่มเี วลา

มีครอบครัวต้องดูแลจะเอาอะไรมาสูใ้ นชัน้ ศาล กระบวนการ ยุตธิ รรมมันเข้าถึงยาก ยิง่ กินเวลาไปเรือ่ ยๆ จนอายุเราเพิม่ ขึน้ ก็หางานยากกว่าเดิม ถ้าอายุเกิน 30 ปี โรงงานไหนก็ไม่ รับแล้ว เป็ นได้แค่ยามเท่านัน้ แหละ” อัศวุฒ ิ สินทวี เปิ ดเผย ว่าเขาเป็ นอดีตเลขาธิการสหภาพแรงงานทีถ่ ูกเลิกจ้างไป ตัง้ แต่ปี 2556 เพราะออกมาประท้วงหยุดงาน และคนนอก อาจมองว่า “ถ้าอยูไ่ ม่ไหว ก็ลาออกไปหางานใหม่ส”ิ แต่มนั ไม่ใช่ประเด็น ในเมื่อมันคือการเลิกจ้างโดยไม่ชอบด้วย กฎหมาย หลายคนเจอสภาพทีน่ ายจ้างไม่จา่ ยเงินเดือนแม้ จะติดแหง็กเป็ นพนักงานประจ�ำอยูก่ ต็ อ้ งเซ็นใบลาออก ถึง แม้ในทางกฎหมายจะไม่เรียกว่าเป็ นการบังคับขูเ่ ข็ญ แต่ การกดดันให้เจอสภาพแย่ๆ แล้วลาออกไปเอง เช่นนี้ไม่ ใจร้ายกับลูกจ้างไปหน่อยหรือ ยิง่ ในยุคเศรษฐกิจถดถอยอย่างนี้ ค่าเงินบาทวัน ที่ 25 ตุลาคมทีผ่ า่ นมาแข็งค่าทีส่ ดุ ในรอบ 6 ปี ทร่ี ะดับ 30.17 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ กระทบการส่งออก ส่งผลโดยตรง ต่อธุรกิจขนาดใหญ่ต่างๆ กระเทือนไปถึงลูกจ้างตัวเล็กตัว น้อยในโรงงานทีถ่ กู ปลดแบบฟ้ าผ่า โดยเฉพาะช่วงนี้ทม่ี ขี า่ ว ปลดพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกอยูบ่ อ่ ยๆ อย่างข่าวล่าสุดคือเมือ่ วันที่ 25 ตุลาคมทีผ่ า่ นมา โรงงาน ผลิต ผ้า ใบยางรถยนต์ท่ีม าบตาพุ ด จ.ระยอง เลิก จ้า ง พนักงานกว่า 400 คนโดยพนักงานรูล้ ว่ งหน้าแค่เดือนเดียว ด้วยเหตุผล “สภาพเศรษฐกิจไม่น่าไว้วางใจ” แม้ว่าได้รบั เงินเยียวยาก็ใช่วา่ ออกไปแล้วจะหางานใหม่ได้ทนั ที ต่อให้ มีโครงการ Early retirement ทีว่ า่ ให้สมัครใจลาออกเองก่อน เกษียณ แต่ขนาดคนเก่ายังต้องลาออกก่อนก�ำหนด แล้วจะ มีทใ่ี ห้คนใหม่เข้าไปแทนมากน้อยแค่ไหน? ยิง่ สมัยนี้กม็ ี ลูก จ้า งนอกระบบมากขึ้น เรื่อ ยๆ ที่เ ราเรีย กว่า อาชีพ ฟรีแลนซ์ พวกทีไ่ ด้ค่าจ้างตามจ�ำนวนงาน จ้างเป็ นครัง้ ๆ ไป ถึงนายทุนใหญ่ๆ จะเริม่ หันมาจ้างฟรีแลนซ์หรือบริษทั Subcontract มากขึน้ แต่ประโยชน์กต็ กไปอยู่ทน่ี ายจ้าง มากกว่าเพราะเขาก็ไม่ตอ้ งจ่ายเหมือนลูกจ้างในระบบ และ ในอนาคตก็ไม่จำ� เป็ นต้องรับลูกจ้างประจ�ำเข้าไปในระบบอีก “เป็ นแรงงานเนี่ยเกีย่ วข้องกับกฎหมายหลายฉบับ ความปลอดภัยในการท�ำงานก็ฉบับหนึ่ง ค่าจ้าง ประกัน สังคม สวัสดิการก็ฉบับหนึ่ง รวมแล้วเราต้องรูก้ ฎหมาย 8-9 ฉบับ แต่ถามว่าลูกจ้างธรรมดาทีไ่ ม่ได้เรียนจบสูงมาเขาจะ รูเ้ หรอ ถึงได้โดนเอาเปรียบอย่างนี้ไง แล้วคุณก�ำลังจะเป็ น เด็กจบใหม่ รูอ้ ะไรพวกนี้บา้ งหรือเปล่า?” คุณบุญยืนถาม อย่างนัน้ ฉันจึงนึกถึงภาพเหล่าแม่บา้ นในธรรมศาสตร์ทถ่ี กู เหมาแรงงานแบบ Subcontract มา เป็ นลูกจ้างนอกระบบ ผูใ้ ช้ชวี ติ ร่วมกับนักศึกษาทีค่ าดหวังจะออกไปเป็ นลูกจ้างใน ระบบ ได้ทำ� งานในบริษทั ทีม่ นคง ั ่ ทัง้ ทีค่ วามเป็ นจริงคือไม่ม ี อาชีพไหนทีม่ นคงอี ั ่ กแล้วในสภาพเศรษฐกิจฝืดเคืองอย่างนี้ ปั ญหาสิทธิแรงงานทีส่ มัชชาคนจนออกมาเรียก ร้อง จึงไม่ใช่เรือ่ งของ “คนจน” เพียงอย่างเดียว แต่เป็ นเรือ่ ง ของ “แรงงานทุกคน” ทีจ่ ะได้รบั ผลกระทบจากกฎหมาย แรงงานทีใ่ ช้รว่ มกันทุกสาขาอาชีพ


ฉบับที่ 5 ปี ท่ี 62 วันที่ 6 - 19 พฤศจิกายน 2562

ไวนิล

(ต่อจากหน้า 1) โครงการต่างๆ ภายในมธ. เพราะถึงแม้ป้ายไวนิลมีผลดีใน การสร้างบรรยากาศและแรงจูงใจในกิจกรรมนัน้ ๆ ก็จริง แต่ เป็ นการเพิม่ ก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต และท้าย ที่สุดแล้วก็กลายเป็ นขยะที่ย่อยสลายได้ยาก ซึ่งจะต้อง ยกเลิกการใช้วสั ดุประเภทนี้ได้แล้ว โดยในเบือ้ งต้นมธ. อาจ เริม่ ด้วยการเชิญชวนนักศึกษามาพูดคุย เสนอวิธกี ารแก้ไข ปั ญหานี้ ซึง่ ทางมหาวิทยาลัยยินดีให้การสนับสนุ น อาจ เป็ นการติดตัง้ ป้ าย LED พลังงานแสงอาทิตย์แทน เพือ่ ทีจ่ ะ ได้ เ ป็ นพื้น ที่ส่ ว นกลางให้ นั ก ศึก ษาใช้ ป ระชาสัม พัน ธ์ กิจกรรม โดยทางอมธ. อาจจัดโควตาวันเวลา ล�ำดับการใช้ งานของชมรมต่างๆ และจัดหาสถานทีต่ ดิ ตัง้ ในบริเวณที่ ผูค้ นจ�ำนวนมากสามารถเห็นได้เด่นชัด หรืออาจสร้างกฎ กติกาว่าหากใครหรือองค์กรใดทีต่ อ้ งการใช้ป้ายไวนิล จะ ต้องมีการยื่นเสนอมาตรการในการจัดการป้ ายไวนิลหลัง จากใช้งานเสร็จแล้ว เช่น จะน�ำไปรีไซเคิลเป็ นผลิตภัณฑ์ จึงจะอนุญาตให้ใช้ป้ายไวนิลได้ แต่ถา้ มหาวิทยาลัยมีคำ� สัง่ ในลักษณะนี้ อาจถูกมองว่าเป็ นการจ�ำกัดสิทธิเสรีภาพใน การแสดงออกของนักศึกษาได้ “ผมเห็นด้วยทีม่ หาวิทยาลัยจะลงทุนท�ำจอ LED เพื่อ ลดการใช้ไ วนิ ล มัน จะสามารถใช้ไ ปได้เ ป็ นสิบ ปี สามารถเชือ่ มกับมือถือหรือสือ่ ออนไลน์อน่ื ๆ ได้ดว้ ย แต่คง ไม่สามารถท�ำแทนทีท่ ุกป้ ายทีน่ ักศึกษาท�ำได้ เพราะงบ ประมาณสูงมาก อมธ.ก็อาจจะเลือก 5 จุดทีผ่ มู้ ชมเข้าถึง เยอะทีส่ ดุ ” นายปริญญากล่าว นางสาวพิช ชา จิต ต์ไ ชยวัฒ น์ นัก ศึก ษาคณะ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ชัน้ ปี ท่ี 3 มธ. ประธานทูต อนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุน่ ที่ 6 กล่าวว่า หลายองค์กรในมหาวิทยาลัยใช้ป้ายไวนิลในการ ประชาสัมพันธ์เป็ นจ�ำนวนมาก โดยตัวกรอบไม้ขา้ งหลังที่ ใช้คำ� ป้ ้ ายนัน้ จะผลัดเปลีย่ นหมุนเวียนกันใช้ เมือ่ ชมรมใดใช้ เสร็จก็จะน� ำไปวางรวมกันไว้บริเวณหลังหอพักนักศึกษา โซน F แต่ ต วั ไวนิ ล นัน้ ขึ้น อยู่ก บั ว่า ชมรมจะจัด การต่ อ อย่างไร เหตุผลทีท่ ตู อนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมเลือกใช้ป้ายไวนิล ในการประชาสัมพันธ์ เพราะอยากให้นักศึกษาเห็น และ สนใจเข้ามาสมัครคัดเลือกเป็ นทูตสิง่ แวดล้อม ซึง่ หลังจาก การติดตัง้ ป้ ายก็ได้ผลตอบรับจากนักศึกษาทีด่ ขี น้ึ ส่วนวิธี การจัดการป้ ายไวนิลหลังจากใช้งานเสร็จแล้วนัน้ จะด�ำเนิน โดยการประสานงานร่วมกับโครงการรีไซเคิลป้ ายไวนิล เป็ นกระเป๋ า ทีอ่ มธ. จัดท�ำขึน้ หรืออาจน�ำไปให้ชมรมทีท่ ำ� ค่ายอาสาหรือค่ายสร้าง เพือ่ น�ำไปผลิตเป็ น Eco brick ซึง่ เป็ นการน�ำไวนิลไปบรรจุอดั ในขวดพลาสติกเพื่อให้มแี ข็ง แรงคงทนและใช้เป็ นวัสดุแทนอิฐในการก่อสร้าง ทัง้ นี้ใน อนาคตก็มแี ผนทีจ่ ะเลิกใช้ป้ายไวนิล เพราะเป็ นการย้อน แย้ง กับ วิส ัย ทัศ น์ ข องทู ต สิ่ง แวดล้อ ม และอาจท� ำ การ ประชาสัมพันธ์ผา่ นสือ่ ออนไลน์อน่ื ๆ ให้มากขึน้ เช่น กลุม่ สนทนาแบบเปิ ดในแอปพลิเคชันไลน์

ทิวสน (ต่อจากหน้า 1)

“หลังจากรับโจทย์มาให้ปรับปรุงศูนย์อาหารทิว สนโดมให้อำ� นวยความสะดวกแก่ชาวหอพักในมากขึน้ จึง เพิม่ ความหลากหลายของอาหาร หลังจากนัน้ ก็มจี ำ� นวนผู้ ใช้บริการศูนย์อาหารทิวสนโดมมีมากขึน้ ซึง่ ช่วยลดความ แออัดจากโรงอาหารอืน่ ๆ ได้ ก็ถอื ว่าประสบผลส�ำเร็จ จึง รับโจทย์ใหม่จากส�ำนักงานทรัพย์สนิ ฯ ทีศ่ นู ย์อาหารทิวสน โดมต้องค�ำนึงถึงปั ญหาสิง่ แวดล้อมตามนโยบายของมธ.” นางสาวนนทิ ช า จรตพื ช นั ก ศึ ก ษาคณะ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ. ชัน้ ปี ท่ี 3 ให้ความเห็นว่า แม้ ส่วนตัวจะอาศัยอยู่หอพักนอก แต่ก็เข้ามารับประทาน อาหารที่ศู น ย์อ าหารทิว สนโดมเป็ นประจ� ำ เพราะเมื่อ ปรับ ปรุง แล้ว มีอ าหารหลากหลายมากกว่ า ปี ก่ อ น และ โครงการใช้วสั ดุธรรมชาติทก่ี ำ� ลังจะจัดท�ำก็มคี วามน่าสนใจ แต่กต็ อ้ งรอดูผลลัพธ์หลังเริม่ ด�ำเนินการไปแล้วอีกทีหนึ่ง

ธนาธร

(ต่อจากหน้า 1) นายณัช ปกร นามเมือ ง เจ้า หน้ า ที่โ ครงการ อินเทอร์เน็ตเพือ่ กฎหมายประชาชน (iLaw) กล่าวว่าสิง่ ที่ เห็นได้จากคดีของนายธนาธรคือมุมมองของผูม้ อี ำ� นาจใน ปั จจุบนั ทีไ่ ม่ได้ไปในทิศทางเดียวกับสังคม หลายคนจะมอง ว่ า ระบบยุ ติ ธ รรมไทยมี ภ าวะที่ อ าจารย์ เ ข็ ม ทอง ตันสกุลรุ่งเรือง คณะนิตศิ าสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายไว้วา่ นิตศิ าสตร์นิยมล้นเกิน (Hyper-legalism) คือ การอ้างกฎหมายแต่ไม่เกิดความเป็ นธรรม คนสนใจแต่นาย ธนาธรโอนหุน้ วันใด พยายามเอาตัวบทมาบังคับใช้อย่าง เคร่งครัดแต่ไม่ดูว่าเป็ นธรรมกับผูถ้ ูกบังคับใช้หรือเปล่า และแสดงให้เห็นถึงบรรทัดฐานความแตกต่างของการใช้ กฎหมาย เช่นกรณีสามีของส.ส. พรรคพลังประชารัฐคน หนึ่งถือหุ้นสื่อแต่ไม่โดนพิจารณาคดีความใดๆ ซึ่งตาม ความเป็ นจริง ถ้าเขาต้องการใช้ส่อื ครอบง�ำประชาชนก็ สามารถให้สามีช่วยโดยไม่ตอ้ งถือหุน้ ก็ได้ คดีหุน้ วีลคั จึง สะท้อนความแปลกประหลาดพิสดารของระบบหลายๆ อย่างในประเทศไทย “ศาลรัฐธรรมนูญจะโดนตัง้ ค�ำถามอย่างมากว่าวิธี คิดของศาลมีปัญหาหรือเปล่า ทีม่ าของศาลมีปัญหาหรือ เปล่า สิง่ ทีร่ า้ ยแรงไปกว่านัน้ คือประชาชนจะสามารถเชื่อ มันในระบบยุ ่ ตธิ รรมของสังคมไทยได้หรือเปล่า ซึง่ สังคมที่ ไม่เชือ่ มันในระบบยุ ่ ตธิ รรมนัน้ เป็ นปัญหามาก ผมคิดว่าหาก เพดานขัน้ สุดท้ายอย่างระบบยุตธิ รรมเชือ่ มันไม่ ่ ได้มนั ก็จะ กลายเป็ นสังคมทีไ่ ม่มขี อ่ื ไม่มแี ป” นายณัชปกรกล่าว

หน้า 3

หอสมุดมธ.ย้ายธีสิส ป.โท-เอกเข้าออนไลน์ มธ. เปลี่ ยนการส่ งรูป เล่ ม วิ ท ยานิ พนธ์ เ ป็ น แบบออนไลน์ ส�ำ หรับ นศ.ป.โทและป.เอก เ พื่ อ ส ะ ด ว ก ใ น ก า ร ต ร ว จ ส อ บ แ ล ะ เ พิ่ ม พืน้ ที่ในหอสมุดฯ แต่ยงั มี น ศ . ที่ ไ ม่ รู้ ร า ย ละเอียดชัดเจน ผูสื้ อ่ ข่าวรายงานว่า หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ม ีโ ครงการ Thammasat University Library Catalogue หรือ การน�ำเอาสือ่ สิง่ พิมพ์ของ หอสมุ ด ฯ เข้ า สู่ ร ะบบ ออนไลน์ ทัง้ นี้ยงั ร่วมมือ กั บ ฝ่ ายวิ ช าการ กอง บ ริ ห า ร ง า น วิ ช า ก า ร

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(มธ.) เพื่อ น� ำ เอาระบบ ออนไลน์มาใช้ตรวจสอบ การคัดลอกข้อมูลและการ อ้างอิงในวิทยานิพนธ์ของ นักศึกษาปริญญาโทและ ปริ ญ ญาเอก และเพื่ อ ยกเลิกการใช้วทิ ยานิพนธ์ แบบรูปเล่ม นายเอกริน ทร์ ยลระบิล ผูอ้ ำ� นวยการหอ สมุ ด แห่ ง มหาวิท ยาลัย ธรรมศาสตร์ กล่ า วว่า ทางหอสมุดฯ ต้องรองรับ จ�ำนวนวิทยานิพนธ์ของ นักศึกษาปริญญาโทและ ปริญ ญาเอกในแต่ ล ะปี เป็ น จ� ำ นวนมาก ท� ำ ให้ พื้ น ที่ ส� ำ ห รั บ จั ด เ ก็ บ หนังสือประเภทอืน่ ๆ ลด น้อยลงไปด้วย พร้อมทัง้ ฝ่ ายวิชาการต้องการร่วม มือกับทางหอสมุดซึง่ เป็ น ผู้ร วบรวมวิท ยานิ พ นธ์ ของนักศึกษาเพื่อหาวิธี ตรวจสอบการคัด ลอก ข้อ มู ล วิท ยานิ พ นธ์ ข อง นักศึกษา ทางหอสมุดจึง จ้างบริษัทเอกชนคิดค้น โปรแกรมตรวจสอบขึ้น โดยเมื่อ น� ำ วิท ยานิ พ นธ์ เ ข้ า สู่ ร ะ บ บ อ อ น ไ ล น์ ประกอบกับหนังสือ วารสารฯ หรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ใน ระบบออนไลน์อยูแ่ ล้ว จะ กลายเป็ นก้ อ นข้ อ มู ล ข น า ด ใ ห ญ่ ที่ ท� ำ ใ ห้ สามารถตรวจสอบได้ว่า วิทยานิพนธ์นนั ้ ๆ มีสว่ น ที่ซ้�ำกับวิทยาพนธ์ฉบับ อืน่ หรือซ�้ำกับข้อมูลจาก สือ่ อืน่ ๆ ข้างต้นมากน้อย เพีย งใด อีก ทัง้ อาจารย์ และนักศึกษาจะสามารถ แลกเปลีย่ นความคิดเห็น ผ่านระบบออนไลน์ และ แก้ ไ ขวิ ท ยานิ พ นธ์ ไ ด้ โดยตรง ท�ำให้นักศึกษา ไม่ตอ้ งรอเข้าพบอาจารย์ และไม่ ต้ อ งคอยส่ ง เล่ ม

วิ ท ย า นิ พ น ธ์ ที่ ย ั ง อ ยู่ ระหว่างการปรับแก้ทลี ะ ฉบับๆ “ฝ่ ายวิชาการให้ ค�ำสังลงมาเมื ่ อ่ 4 ปี ทแ่ี ล้ว หลังจากนัน้ ทางห้องสมุด ก็เอาวิทยานิพนธ์ทม่ี เี ข้า สูร่ ะบบออนไลน์ เริม่ จาก ของปี ปั จ จุ บ ัน ย้อ นหลัง ลงไป ซึ่ง ในตอนนี้ ย้อ น เก็ บ วิท ยานิ พ นธ์ ไ ปได้ จนถึงปี 2547 แล้ว” นาย เอกรินทร์กล่าว นางสาวณัฐณิชา กงแจ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจั ด การ บ ริ ห า ร ธุ ร กิ จ แ ล ะ เทคโนโลยี (DBTM) ภาค ภ า ษ า อั ง ก ฤ ษ ค ณ ะ สถาปั ตยกรรมศาสตร์ และการผัง เมื อ ง มธ. กล่าวว่า ทราบเรื่องทีจ่ ะ ต้องส่งวิทยานิ พนธ์ทาง ออนไลน์ อยู่แล้ว เพราะ พอเข้า เรีย นปริญ ญาโท ทางมหาวิทยาลัยมีคอร์ส เรีย นเรื่อ งนี้ โ ดยเฉพาะ และต้อ งเซ็น ยิน ยอมใน ก า ร เ ผ ย แ พ ร่ ข้ อ มู ล วิท ยานิ พ นธ์ข องตัว เอง ด้วย เนื่องจากพอเข้าสู่ ระบบออนไลน์ ทุกคนจะ เข้า ถึง ได้ห มด แต่ โ ดย ส่ ว น ตั ว รู้ สึ ก อึ ด อั ด ที่ วิท ยานิ พ นธ์ข องตัว เอง เมื่อเข้าสู่ระบบออนไลน์ แล้วจะถูกเผยแพร่กว้าง ขวางมากขึ้น เพราะไม่ อยากให้มคี นเห็นงานของ ตัวเองมากขนาดนัน้ แต่ก็ คุม้ ค่าเพราะเธอสามารถ อ่ า นวารสารอื่น ๆ ที่ล ง ทะเบียนออนไลน์เหมือน กันแบบไม่ตอ้ งเสียเงินด้วย นายวิภพ หุยากรณ์ นั ก ศึ ก ษ า ป ริ ญ ญ า โ ท สาขาวิชาประวัตศิ าสตร์ ภาควิช าประวัติศ าสตร์ ปรั ช ญาและวรรณคดี อังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ ม ธ . ก ล่ า ว ว่ า เ รื่ อ ง วิ ท ยานิ พ นธ์ ใ นระบบ ออนไลน์ ท่มี จี ุดประสงค์ เพื่อ ให้ค้นคว้า นัน้ ทราบ มานานแล้ว ส่วนในเรือ่ ง ของการส่ง วิท ยานิ พ นธ์ ในรูปแบบออนไลน์นนั ้ ยัง ไม่ทราบรายละเอียดมาก นัก เพราะรุ่นพี่ปีก่อนๆ ยังต้องส่งทัง้ แบบรูปเล่ม และเป็ นแผ่นซีดี ซึง่ โดย ส่วนตัวนัน้ คิดว่าหากท�ำ เป็ นออนไลน์ได้หมด จะ เป็ น เรื่อ งที่ส ะดวก และ อยากให้ป ระชาสัม พัน ธ์ และชีแ้ จงรายละเอียดการ ใช้งานให้ชดั เจน เพราะ เป็ นเรื่องทีม่ รี ายละเอียด ยิบย่อยมาก

รุงรัง – เสาไฟฟ้ าฝัง่ ตรงข้ามประตูเชียงราก 1 มธ.รังสิต เอียงและสายไฟพันระโยงระยางน่าหวาดเสียว

ยังว่าง - โรงแยกขยะครบวงจรแห่งใหม่กอ่ สร้างเสร็จแล้วแต่ภายในยังโล่งเนื่องจากอยูใ่ นขันตอนหาบริ ้ ษทั เอกชนเข้ามาดูแล

มธ.เปิดโรงแยกขยะใหม่ม.ี ค.63 มธ. เตรี ยมเปิ ดโรงแยก ขยะใหม่ มี น าคม 2563 พร้อมเปิ ดเป็ นแหล่งเรียน รู้การจัดการขยะ ผูส้ อ่ื ข่าวรายงานว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รงั สิต เตรียมเปิ ด โรงแยกขยะครบวงจรแห่ง ใหม่ช่วงเดือน มีนาคม ปี 2563 หลังโรงแยกขยะแห่ง เ ก่ า ท รุ ด โ ท ร ม จ า ก เหตุ ก ารณ์ น้� ำ ท่ ว มใหญ่ ปี 2 5 5 4 แ ล ะ เ พิ่ ง ไ ด้ ง บ ประมาณการก่อสร้าง นางสาวศราวดี ชั ย ทองสกุ ล เจ้ า หน้ า ที่ บริ ห ารงานทั ว่ ไป งาน พั ฒ นากายภาพ ระบบ ส า ธ า ร ณู ป โ ภ ค แ ล ะ สิ่ ง แวดล้อม กองบริหารศูนย์ รังสิต มธ. ให้สมั ภาษณ์วา่

โ ร ง คั ด แ ย ก ข ย ะ ห ลั ง มหาวิท ยาลัย มีม าตัง้ แต่ ปี 2549 จนเหตุการณ์น้�ำท่วม ใหญ่ ปี 2554 ท�ำให้ระบบ บ� ำ บัด ขยะและโครงสร้า ง อาคารเสียหาย จึงต้องการ จะสร้า งโรงแยกขยะแห่ ง ใหม่ขน้ึ แต่มปี ั ญหาเรือ่ งงบ ประมาณล่าช้า จึงเพิง่ ได้เริม่ สร้างตอนต้นปี 2562 โดย ปั จจุบนั สร้างเสร็จเรียบร้อย แล้ว และจะเปิ ด ให้บ ริก าร ประมาณเดือ นมีน าคม ปี 2563 พร้อมสร้างเป็ นแหล่ง เรียนรูเ้ รื่องการจัดการขยะ ควบคูไ่ ปด้วย เนื่องจากมธ. เป็ นสถาบันการศึกษาและ ยังมีวชิ า TU100 พลเมือง กับการลงมือแก้ปัญหา ที่ นักศึกษาต้องเข้าไปศึกษาดู งานตลอด และปัจจุบนั ก�ำลัง

อยู่ ใ นขั น้ ตอนหาบริ ษั ท เอกชนภายนอกเข้ามาดูแล เพื่อหาวิธใี ช้ประโยชน์จาก ขยะสู ง สุ ด และลดจ� ำ นวน ขยะทีต่ อ้ งส่งให้เทศบาลลง นางสาวศราวดี กล่าวว่า ขัน้ ตอนการแยก ขยะของมธ. ในปั จจุบนั เริม่ จากคนในมหาวิทยาลัยแยก กันเองก่อน เมื่อเสร็จแล้ว ขยะทัง้ หมดจะน� ำไปให้โรง แ ย ก ข ย ะ คั ด แ ย ก ข ย ะ รีไซเคิลออกก่อนเพือ่ น�ำไป ใช้ประโยชน์ ต่อไป ส่วนที่ เหลือน�ำส่งเทศบาลเมืองท่า โขลง โดยเทศบาลจะน� ำ ขยะไปฝั งกลบตามบ่อขยะ บ ริ เ ว ณ ชุ ม ช น ใ ก ล้ มหาวิทยาลัย ซึง่ ท�ำให้เกิด ปั ญ หาน�้ ำ เสีย และกลิ่น ไม่

จักรยานยนต์รบั จ้างมธ. รังสิ ตเข้าใจผิ ด เรียกเก็บ ค่าโดยสารช่ วงทดลองที่ ยัง ไม่ มี ก ารอนุ ญ าตให้ เ ก็ บ ค่ า โ ด ย ส า ร ต า ม มิ เ ตอร์ ด้ า นผู้ช่ ว ยรอง อ ธิ ก า ร บ ดี ฝ่ า ย ค ว า ม ยังยื ่ นฯ แจงคืนเงิ นส่ วน ต่างให้ผโู้ ดยสารแล้ว ฝ่ าย คนขับ รถจัก รยานยนต์ รับจ้างได้รบั การชีแ้ จงแล้ว ผู้ส่อื ข่าวรายงาน ว่า เมื่อ วัน ที่ 24 ตุ ล าคม นั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูน ย์ รังสิต เผยแพร่ขอ้ ความผ่าน เฟซบุ๊ ก เกี่ ย วกั บ การติ ด มิเตอร์ค�ำนวณค่าโดยสาร ของจักรยานยนต์รบั จ้างใน มธ. ว่าท�ำให้ค่าโดยสารที่ ต้องจ่ายมีราคาแพงขึน้ จาก เดิมทีเ่ คยจ่ายราคา 20 บาท แต่ตอ้ งจ่ายตามราคามิเตอร์ 33 บาท ในระยะเท่าเดิม นายเอกดนัย วงษ์วัฒนะ ผูช้ ่วยรองอธิการบดี ฝ่ ายความยังยื ่ นและบริหาร ศูนย์รงั สิต มธ. กล่าวว่า มี การติดมิเตอร์และเก็บเงิน จริง แต่เป็ นการเข้าใจผิด ของคนขับ จัก รยานยนต์ รั บ จ้ า ง ผู้ ร่ ว ม โ ค ร ง ก า ร ทดลองการติดมิเตอร์ในรถ บริก ารสาธารณะ เพื่อ แก้ ปั ญหาการเก็บค่าโดยสาร ของจักรยานยนต์รบั จ้างที่ ไม่ม ีม าตรฐานกลาง โดย ทดลองระบุ ร ะยะทางกับ ราคาจากเกณฑ์ทก่ี ฎหมาย ก�ำหนด ซึง่ ทางกองบริหาร ศู น ย์ รั ง สิ ต ผู้ ดู แ ล ร ถ จักรยานยนต์รบั จ้างอนุญาต ให้ตดิ มิเตอร์ได้ แต่ยงั ไม่ให้

เก็บค่าโดยสารตามมิเตอร์ “ ใ น วั น ที่ เ กิ ด ปั ญ ห า มี มอเตอร์ไซค์รว่ มการทดลอง 4 คัน แต่ม ี 1 คันทีเ่ รียกเก็บ เงินผูโ้ ดยสารจ�ำนวน 3 คน ซึ่งได้ด�ำเนินการคืนเงินให้ กับผูโ้ ดยสาร และประสาน ไปยั ง หั ว หน้ าคนขั บ รถ จักรยานยนต์รบั จ้างแล้ว” นายเดชาธร จินาพันธ์ คนขับรถจักรยานยนต์ รับจ้าง ผูเ้ ข้าร่วมโครงการ ทดลองติดตัง้ มิเตอร์วดั ค่า โดยสาร กล่าวว่า คนทีเ่ รียก เก็บค่าโดยสาร (ไม่ทราบ ชือ่ ) เป็ นผูเ้ ข้าร่วมโครงการ ใหม่ ยังไม่ได้เข้าร่วมอบรม กับโครงการ ท�ำให้เข้าใจผิด แต่ ไ ด้ ร ั บ การชี้ แ จงจาก หั ว ห น้ า ค น ขั บ ร ถ จัก รยานยนต์ ร ับ จ้ า งแล้ ว หลังจากนัน้ ก็ตดิ มิเตอร์ต่อ ไปแต่ไม่มกี ารเรียกเก็บเงิน ค่าโดยสารตามมิเตอร์ นายนพพร ลี ป รี ช า น น ท์ ผู้ ช่ ว ย ศาสตราจารย์ ภ าควิ ช า วิ ศ ว ก ร ร ม ไ ฟ ฟ้ า แ ล ะ ค อ ม พิ ว เ ต อ ร์ ค ณ ะ วิ ศ วกรรมศาสตร์ มธ.

หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า ได้ให้คนขับรถจักรยานยนต์ รับจ้างทดสอบกับผูโ้ ดยสาร ซึง่ ให้บอกกับผูโ้ ดยสารก่อน ว่าคันนี้มกี ารติดตัง้ มิเตอร์ และยัง อยู่ ใ นช่ ว งทดสอบ โดยให้ถ ามความสมัค รใจ ของผู้โ ดยสารว่า จะยิน ดี ช�ำระค่าโดยสารตามมิเตอร์หรือไม่ นายนพพร กล่าว อีกว่า ระบบมิเตอร์อจั ฉริยะ นอกจากจะค� ำ นวณค่ า โดยสารตามระยะทางจริง ด้วยกลไกราคาทีก่ ำ� หนดไว้ ประมาณกิโ ลเมตรละ 10 บาท ขณะท�ำโครงการติด มิ เ ตอร์ ร ถจั ก รยานยนต์ รับจ้างก็ได้สำ� รวจความพึง พ อ ใ จ ข อ ง ผู้ โ ด ย ส า ร ที่ ยิ น ยอมให้ เ ก็ บ เงิ น ตาม มิเตอร์แบบสมัครใจ โดยจัด ท� ำ ก ลุ่ ม ไ ล น์ ค น ขั บ ร ถ จั ก ร ย า น ย น ต์ รั บ จ้ า ง มอเตอร์ไซค์กบั นักวิจยั เพือ่ พูด คุ ย แลกเปลี่ย นถึง การ ทดสอบมิ เ ตอร์ อ ย่ า งต่ อ เนื่อง และขอความร่วมมือ ว่าเมื่อรับผูโ้ ดยสารแล้วให้ ถ่ายรูปหน้าปั ดมิเตอร์แสดง จ� ำ นวนเงิน และระยะทาง

พึงประสงค์ในชุมชน โดย โรงแยกขยะแห่งใหม่แตก ต่างจากเดิมคือมีการบริหาร จัดการเองภายในโรงแยก ขยะทัง้ หมด ท�ำให้ไม่ตอ้ งน�ำ ขยะทีเ่ หลือจากการคัดแยก ออกไปให้ เ ทศบาลแล้ ว ปัญหาน�้ำเสียและกลิน่ เหม็น ในชุมชนก็จะลดลง “พอเปิ ด โรงแยก ข ย ะ ค ร บ ว ง จ ร อั น ใ ห ม่ เรียบร้อยแล้ว โรงแยกขยะ เก่าก็จะปิ ดท�ำการ เพราะ พื้นที่ท่โี รงแยกขยะเก่าตัง้ อยู่ จ ะเป็ นเส้ น ทางสร้ า ง รถไฟฟ้ าในอีก 5 ปี ขา้ งหน้า และจะเริ่ม รื้อ ถอนโรงเดิม เมื่อ โรงแยกขยะแห่ ง ใหม่ เปิ ดท�ำการในเดือนมีนาคม” นางสาวศราวดีกล่าว

ว ินมธ.เผลอเร ียกเก็บค่าโดยสาร ในระหว่างช่วงทดลองมิเตอร์

ห ลั ง จ า ก ส่ ง ถึ ง ที่ ห ม า ย พร้อมขอสัมภาษณ์และถ่าย รูปผู้โดยสารส่งผลในกลุ่ม ไลน์ พบว่าส่วนใหญ่ 99% พอใจมากและได้การตอบ รับทีด่ จี ากผูโ้ ดยสาร ส่วนใน มุ ม ของผู้ ข่ี ม อเตอร์ ไ ซค์ รับจ้าง บางระยะอาจจะได้ รายได้น้อยลงเมือ่ เทียบกับ อัต ราแบบคงที่ท่ีใ ช้อ ยู่ ใ น ปั จ จุ บ ัน แต่ เ ห็น ว่ า ก็ต้อ ง เป็ นธรรมกับผูโ้ ดยสาร ใน ขณะเดีย วกัน บางระยะก็ อาจจะได้มากขึน้ ซึง่ เป็ นไป ตามกลไกราคาทีก่ รมขนส่ง ก� ำ หนด แต่ ค่ อ นข้า งต่ า ง จากการเก็บเงินในปัจจุบนั ที่ เป็ นการเก็บค่าโดยสารแบบ เฉลีย่ คงที่ ไม่ได้ขน้ึ กับระยะ ทางที่ว ิ่ง จริง นอกจากนี้ มิเตอร์ดงั กล่าวมีระบบตรวจ จับความเร็วและพฤติกรรม การขับขี่ รวมทัง้ แจ้งเหตุไป ยังศูนย์ควบคุมได้เมื่อเกิด อุบตั เิ หตุและสามารถตรวจ สอบข้อ มูล ของผู้ข บั ขี่แ ละ สถานะการเดิน รถได้ต าม ฐานเวลาจริง เพือ่ เพิม่ ความ มันใจในความปลอดภั ่ ยให้ กับผูโ้ ดยสารอีกด้วย นวัตกรรมล�ำ้ – โครงการทดลอง ติด มิเ ตอร์ใ นรถ จั ก ร ย า น ย น ต์ รั บ จ้ า ง ค ณ ะ วิศวกรรมศาสตร์ มธ. แสดงระยะ ทางและราคาตรง ตามกลไกราคา ไ ป ที่ โ ท ร ศั พ ท์ สมาร์ตโฟนของผู้ ใช้บริการ


หน้า 4

ฉบับที่ 5 ปี ท่ี 62 วันที่ 6 - 19 พฤศจิกายน 2562

ปฏิทน ิ กิจกรรมประจำ�สัปดาห์ พ.ย. 62 รายการ

พฤศจิกายน 6

6-7

ความซับซ้อนของ Sexual Identity บนโลกออนไลน์ ฉันก็ทนไม่ได้ สงสารทีแ่ ฟนพีตอ้ งมาพร�่ำเพ้อว่า คิดถึงพีอยู่ตลอด ขอให้ฉันส่งรูปพีไปให้ดูบ้าง ประกอบกับทีเ่ วลาผ่านไปนานมากแล้วและพีก็ ไม่มที ที า่ ว่าจะสารภาพความจริงกับแฟนเลย ฉัน ถึงตัดสินใจบอกความจริงไปว่าเพราะอะไรพีถงึ ไม่ยอมมาเจอ ไม่ยอมกลับมาคุยด้วยอีกครัง้ เหตุ ผ ลเดี ย วเลยก็ ค ื อ พี ไ ม่ ใ ช่ ผู้ ช ายแบบที่ แสดงออกมาตลอด เมือ่ สารภาพไปก็เป็ นอย่าง ทีค่ ดิ แฟนพีรบั ไม่ได้ ความสัมพันธ์ของฉันกับ แฟนพีกจ็ บลง เราไม่ได้คยุ กันอีกเลยตังแต่ ้ ตอนนัน้ แฟนพีผดิ หรือที่ยอมรับไม่ได้ว่าพีจะ เป็ นเพศหญิง? แล้วพีผดิ ไหมทีแ่ สดงตัวตนไม่ ตรงกับเพศสภาพ? เรือ่ งนี้ทำ� ให้ฉนั เกิดค�ำถาม ว่าจริงๆ แล้ว Sexual identity ในโลกออนไลน์ ส่งผลกับโลกจริงอย่างไรบ้างหรือเปล่า? การที่แสดงเพศในโลกออนไลน์ ต่าง จากความจริงแบบนี้หมายความว่า อยากจะเป็ น เพศนัน้ เลยไหม? ฉันคงตอบแทนใครไม่ได้ ฉัน ท�ำได้เพียงสังเกตเท่านัน้ เท่าที่เห็นพีก็ยงั คง ชอบผูช้ าย เป็ นสาววาย และไม่ได้แสดงออกว่า อยากเป็ นผูช้ ายเลย แต่เมือ่ อยูใ่ นออนไลน์ ไม่วา่ จะเป็ นคุยกันปกติ หรือในเกมออนไลน์ พีจะ แสดงตัวตนเป็ นผูช้ ายและเล่นตัวละครผูช้ าย ซึง่ ฉันก็ชนิ ไปแล้ว บางความรูส้ กึ ยังเชือ่ ไปด้วยว่า พีเป็ นผูช้ ายเมือ่ เจอกันในจอ แต่กลับกันเวลาคุย กับฉัน ตัวจริงของพีกค็ ยุ เรือ่ งศิลปิ นชายเกาหลี ทีช่ อบ เรือ่ งนิยายวายทีอ่ า่ นกันอย่างออกรส และ ไม่ได้สนใจเพศหญิงในชีวติ จริงเลย ฉันเลยสรุป ได้วา่ พีมตี วั ตนอยูใ่ นสองโลกทีแ่ ยกออกจากกัน ฉันไม่รวู้ า่ แฟนของพีเป็นอย่างนัน้ เหมือนกันหรือไม่ ฉันได้แต่สงสัยว่าหากทัง้ คูเ่ ปิ ดเผยเพศ ของทัง้ คูต่ งั ้ แต่ตน้ แล้วเขาทัง้ สองจะรักกันหรือไม่

รักของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่รกั ของพีและ แฟนนัน้ เพศหรือความชอบในนิสยั มีน้�ำหนัก มากกว่ากัน? ฉันไม่มนใจว่ ั ่ าการตัง้ ข้อตกลง ก่อนเริม่ ความสัมพันธ์จะช่วยความสัมพันธ์น้ี หรือไม่ เพราะฉันไม่ใช่พวกเขา อย่างทีบ่ อกไป แล้วฉันเองคงตอบค�ำถามเหล่านี้ไม่ได้เพราะ การสังเกตมองได้เพียงจากภายนอก ฉันจึงหยุดมองพีแล้วมองเข้าไปในตัว เอง หากฉันไปตกอยูใ่ นสถานะเดียวกับพีตอน นัน้ เพศจะส�ำคัญกับความสัมพันธ์มากขนาด ไหน ส�ำ หรับ ฉัน ฉัน ให้ค่ า ต่ อ นิ ส ยั ที่ล งล็อ ก มากกว่าเพศของฝั ง่ ตรงข้าม แม้จะเป็ นความ สัมพันธ์ออนไลน์ กเ็ ถอะ หากฉันมีแฟนเป็ นผู้ หญิงแบบพี จะให้นยิ ามตัวเองว่าเป็ นเลสเบีย้ นก็ ไม่เข้าเค้า เพราะถึงแฟนตัวเองจะชอบกันจริงๆ แต่ไม่ได้ชอบผูห้ ญิงคนอื่นเลย แปลว่าส�ำหรับ ฉันความรูส้ กึ ต่อคนคนนัน้ คงมีน้�ำหนักเกินจาก รสนิยมทางเพศไป และเพื่อทีจ่ ะตอบค�ำถามทีก่ ่อให้เกิด บทความนี้แต่ตน้ ส�ำหรับฉันอัตลักษณ์ทางเพศ ในโลกออนไลน์ไม่ได้สง่ ผลอะไรเลยกับชีวติ จริง เลย ฉัน เป็ น ผู้ห ญิง ที่ห ากจะสวมบุ ค ลิก เป็ น ผูช้ ายทีร่ กั ผูห้ ญิงในโลกออนไลน์อย่างไร กลับ มาโลกจริงก็ยงั เห็นว่าเป็ นผูห้ ญิงทีช่ อบผูช้ าย เช่นเดิม ฉันคิดว่าอัตลักษณ์ ทางเพศในโลก ออนไลน์และโลกจริงแยกจากกันโดยสิน้ เชิง แม้นนจะเป็ ั่ นความเห็นของฉัน ฉันไม่ คิดว่าเรื่องของพีเป็ นเรื่องทีไ่ ม่จริงก็ไม่ถูก ใน ห้วงเวลานัน้ และในโลกนัน้ ความรูส้ กึ ของเขาทัง้ คู่เป็ นของจริง หากแต่เช่นเดียวกับโลกของ ความเป็ นจริง ตัวตนในโลกนัน้ อาจเปลีย่ นแปลง ไปได้ทกุ เมือ่

แล้วบนโลกออนไลน์ยังมีการใช้อัตลักษณ์ตัวตนแบบอื่นอีกไหมนะ?

นอกจากอัตลักษณ์ทางเพศแล้ว ในสังคมออนไลน์ยงั มีการสร้างอัตลักษณ์ตวั ตนในรูปแบบอืน่ ๆ ด้วย เช่น ในสังคมทวิตเตอร์ของ ไทย มีสงิ่ ทีเ่ รียกว่า “บอท”(BOT) คือการใช้รปู โปรไฟล์เป็ นศิลปิ นเกาหลี การ์ตนู ฯลฯ เพือ่ แสดงคาแรคเตอร์แนวเดียวกันกับรูปโปรไฟล์ท่ี เลือกใช้ เช่น บอทฟิ ค ทีผ่ เู้ ล่นจะน�ำคาแรคเตอร์ทเ่ี ป็ นตัวละครในแฟนฟิ คชัน(FanFiction ่ มาจากค�ำว่า Fanclub + Fiction คือเรือ่ งทีแ่ ต่งขึน้ จากจินตนาการโดยแฟนคลับถึงศิลปิ นทีช่ อบ) มาเป็ นรูปภาพโปรไฟล์ และสวมบทบาทให้เหมือนตัวละครนัน้ ทัง้ การพูดคุย และแสดงออก นอกจากค�ำว่าบอทยังมีคำ� ว่า “ยืมเมจ” หมายถึงการยืม ‘เมจ’ ทีย่ อ่ มาจาก อิมเมจ(รูปภาพ) ของไอดอลหรือศิลปิ นมาเป็ นภาพโปรไฟล์ และ น�ำมาใช้พดู คุย โดยอาจจะสวมบทบาทหรือไม่สวมบทบาทตามคาแรคเตอร์ของคนทีย่ มื อิมเมจมาก็ได้ แฮชแท็กทีน่ ิยมใช้กนั เช่น #ยืมเมจforsex คือการยืมเมจมาเพือ่ ใช้ในกิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับกามารมณ์อย่างตรงไปตรงมา ตามชือ่ แฮชแท็กว่ายืม for sex

ปล่อยใจ ย้อนวัย คลายเครียด ตุ๊กตากระดาษ เป็ นของ เล่นที่ว่ากันว่าเก่าแก่พอๆ กับที่ มนุ ษย์ประดิษฐ์กระดาษขึน้ มาบน โลกใบนี้ อดีตตุ๊กตากระดาษเป็ น ของเล่นของผูใ้ หญ่ในวงสังคมชัน้ สูง ต่อมาถูกน�ำไปใช้เป็ นโฆษณา ในนิตยสาร และกลายเป็ นของเล่น ขวัญใจเด็กๆ แทน ในวันทีร่ ่างกายอ่อนแรง จิตใจอ่อนล้า ลองวางเรือ่ งเครียดๆ แล้ว หยิบ กรรไกรกับ ดิน สอสีม า ย้อนวัยสร้างสีสนั ให้ชวี ติ สักหน่อย ก็ ค งไม่ เ สีย หายอะไร โดยการ ระบายสีทช่ี อบแมตช์การแต่งตัวที่ ใช่ให้กบั เจ้าตุ๊กตาตัวน้อยนี้ดู

- TU OPEN HOUSE

7

- งานเสวนารัฐศาสตร์วชิ าการ 2562 “การเมืองกับ Social Media” โซเชีย ล(มีเดีย)ธิปไตย พลวัตใหม่ประชาธิปไตยบนโลกออนไลน์ @ห้อง Chaba the grand2 ศู น ย์ป ระชุ ม ธรรมศาสตร์ รัง สิต (ยิม 1) มหาวิท ยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รงั สิต เวลา 13.00-16.00 น. จัดโดยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

10

- โครงการ RUN FOR PUEY วิง่ เพือ่ สวนป๋ วย จัดขึน้ เพือ่ ระดมทุนสร้าง “สวนป๋ วย” @มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รงั สิต เวลา 16.00 น.

10-12

- งานปล่อย Full moon shine @สวนป๋ วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ รังสิต เวลา 17.00-22.00 น.

12

- งานประกวดร้องเพลง Thammasat Singing Contest ครัง้ ที4่ 0 @อาคาร ยิมเนเซียม4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รงั สิต เวลา 17.30 น. เป็ นต้น ไป จัดโดยชุมนุม TU Band

15

- งานเสวนาวิชาการ “การระดมทุนและสื่อสารงานเพื่อสังคม ผ่านสื่อ Digital” @ห้องประชุมคึกฤทธิ ์ปราโมช ชัน้ 9 สถาบันไทยคดีศกึ ษา อาคาร อเนกประสงค์1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เวลา 13.30-16.00 น. จัดโดยวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋ วย อึง๊ ภากรณ์

20

- ปิ ดรับสมัครเข้าร่วมอบรมระยะสัน้ หลักสูตรเตรียมความพร้อมทางด้าน การแสดงและการออกแบบ หลักสูตร Basic Acting Workshop หลักสูตร ระยะสัน้ พืน้ ฐานการแสดง จัดโดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ - ปิ ดรับสมัครเข้าร่วมอบรมระยะสัน้ หลักสูตรเตรียมความพร้อมทางด้าน การแสดงและการออกแบบ หลักสูตร Basic Textile and Fashion Design เทคนิคพื้นฐานการออกแบบสิง่ ทอและแฟชัน จัดโดยคณะศิลปกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

21

- งานเทศกาลดนตรีสะพานดาว 2019 @ชัน้ 1 อาคารเรียนและปฏิบตั กิ าร รวม ปิ ยชาติ2 เวลา 17.00 น. เป็ นต้นไป - ปิ ดรับสมัคร Sport Science Football Championship 2019 (รับจ�ำกัด 12 ทีม) แข่งขันวันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 @สนามฟุตบอลมินิสเตเดีย ม(สนามโซน A) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รงั สิต จัดโดย Sport Science Football Championship 2019

22

- สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญร่วม งานสัมมนาประจ�ำปี East Asia in 2020 ในหัวข้อเรือ่ ง “เอเชียตะวันออก ในปี 2020: อนาคตของคาบสมุทรเกาหลีกบั ความมันคงของเอเชี ่ ยตะวัน ออก” @ห้องสัมมนากลาง สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รงั สิต เวลา 09.00-12.30 น.

23

- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญเข้าชมและร่วม บริจาคเงินเพือ่ ระดมทุนในการพัฒนา และส่งเสริมการเรียนการสอนของ คณะแพทยศาสตร์ รวมทัง้ สบทบทุนในการจัดสร้างศูนย์ไตเทียมเพือ่ ผูป้ ่ วย โรคไตในการจัดงานฟุตบอลการกุศล “ฟุตบอล 30 ปี แพทย์โดม” เนื่องในโอกาสก้าวสูป่ ี ท่ี 30 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์ ระหว่าง ทีมรวมดารา All Star ช่อง 3 พบกับทีม VIP MED TU @สนาม ฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รงั สิต เวลา 13.00-20.00 น.

เรือ่ ง: ชุตกิ าญจน์ อ่อนเอม

โลกออนไลน์ เป็ นพื้นที่ที่เปิ ดกว้าง ให้บคุ คลเป็ นอะไรก็ได้ตามที่เขาอยากเป็ น คนคนหนึ่ ง อาจสร้ า งตัว ตนที่ ต นเองเป็ น สัตว์ได้ในสังคม Furries อีกคนอาจลบล้าง ตัวตนเป็ นผู้ใช้นิรนามที่ วิจารณ์ ทุกอย่างที่ ขวางหน้ า แต่การสร้างตัวตนใหม่ที่อาจเป็ น ได้ทงั ้ เรียบง่ายหรือซับซ้อนที่ สุด ก็คือการ สร้างอัตลักษณ์ ทางเพศ (Sexual Identity) ใหม่ให้แก่ตวั เอง ฉันจะเล่าเรื่องของเพื่อน ฉันคนหนึ่ งให้ฟัง เพือ่ นของฉันชื่อพี เธอเป็ น ผูห้ ญิ งในโลกจริง และเธอมีอีกตัวตนในโลก ออนไลน์ ในโลกเสมือนเธอแสดงออกว่าเป็ น ผูช้ าย ใช้ค�ำพูดแทนตัวว่า ‘ผม’ ลงท้ายด้วย ‘ครับ’ ด้วยส�ำนวนการพิมพ์ตา่ งๆ ใครเห็นก็คาด เดาว่าพีนัน้ เป็ นผูช้ ายแน่ ๆ พีคุยกับผูห้ ญิงคน หนึ่ง ทัง้ คู่ชอบพอกันแล้วลงเอยด้วยการเป็ น แฟน ทัง้ ๆ ทีแ่ ฟนพีเองไม่เคยรูจ้ กั ตัวจริงของพี เลยแม้แต่นิด ฉันเองรู้จกั กับแฟนพี และค่อนข้าง สนิทกันในนามของเพือ่ นในชีวติ จริงของพี อยู่ มาวันหนึ่งพีกห็ ายไปจากโลกออนไลน์ แฟนพี คิดถึงพีมาก ถามหาพีจากฉันตลอด ฉันเป็ น ความหวังของเธอทีอ่ าจท�ำให้เธอได้คยุ กับแฟน ตัวเองอีกครัง้ ฉันก็ได้แต่บา่ ยเบีย่ งไม่กล้าตอบ มาก เพราะอย่างไรก็เป็ นเรื่องของคนสองคน เหตุทพ่ี หี ายไปเพราะว่าพีรสู้ กึ ผิดทีต่ วั เองไม่ได้ บอกแฟนว่าเขามีเพศสภาพต่างกับการแสดง ตัวตนในออนไลน์ ฉันเองก็รสู้ กึ ผิดทีช่ ่วยพีปิด มาตลอด เพราะแฟนพีเป็ นคนทีน่ ่ ารักมากคน หนึ่ง ฉันก็ไม่อยากจะท�ำลายมิตรภาพนีไ้ ปเช่นกัน ในทีส่ ุดเมื่อแฟนพีถามจี้ฉันบ่อยเข้า

- ปิ ดรับสมัครค่าย “ป๊ ะกั ๋นตีน้ ่าน ฮักกั ๋นตีป้ ั ว” จัดโดยค่ายรัฐฯ กลุม่ ศึกษาพัฒนาชนบท - สัมมนาวิชาการ “บริการสุขภาพ ‘หลังก�ำแพง’” @ห้อง2014 ชัน้ 2 อาคาร เรียนปฏิบตั กิ ารรวม(ปิ ยชาติ2) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รงั สิต เวลา 15.00-16.30 น. จัดโดยนศ.คณะสาธารณสุขศาสตร์ ชัน้ ปี ท4่ี ส่วนหนึ่ง ของรายวิชา สธ.491 สัมมนาสาธารณสุข


ฉบับที่ 5 ปี ท่ี 62 วันที่ 6 - 19 พฤศจิกายน 2562

่ สือ ่ มวลชน เมือ ่ ชุมชน กลายเป็นสือ เรือ่ งและภาพ: มารยาท บุญรัตน์

แวะเวียนแนะน�ำวิชาจากหลากสาขาทัง้ วิทย์ฯ ทัง้ ศิ ลป์ ฯ ไปแล้ว ไหนๆ กองบรรณาธิ การก็อยูใ่ นคณะ วารสารศาสตร์ฯ จะไม่ให้ อวย...เอ้ย แนะน� ำวิ ชาใน คณะเลยมันก็น่าเสียดาย เพราะฉะนัน้ ฉบับนี้ ผเู้ ขียนก็ เลยขอแนะน�ำวิ ชาของคณะที่เป็ นหนึ่ งในวิ ชาน่ าเรียน หนึ่ งในดวงใจเพราะความสนุกสนาน ความรู้ ประโยชน์ และหยาดน�้ำตา... JC313 สิง่ พิมพ์ชมุ ชน แต่เดีย๋ วก่อน อย่าพึง่ หัน หน้าหนีเพราะค�ำว่า “สิง่ พิมพ์” เพราะหลักสูตรใหม่ปี 61 นี้ ได้เปลีย่ นชือ่ วิชาเป็ น สือ่ ชุมชน เป็ นทีเ่ รียบร้อย สอนโดย รศ.รุจน์ โกมลบุตร และทีส่ ำ� คัญคือเปิ ดสอนในภาคเรียนที่ 2 เท่านัน้ (เพราะฉะนัน้ ตอนลงทะเบียนเรียนก็กดลงได้ทนั ที นะจ๊ะ) แถมยังไม่มเี งือ่ นไขว่าต้องเรียนตัวไหนก่อนด้วย วิชานี้ไม่มสี อบกลางภาค มีเพียงสอบปลายภาค เท่านัน้ ตลอดภาคเรียนนักศึกษาจะต้องพูดคุย แลกเปลีย่ น ความคิดเห็นเพือ่ สร้างสือ่ ให้กบั ชุมชนทีต่ อ้ งลงพืน้ ที่ แว่วๆ มาว่าปี น้ีลงใต้ไปยังนครศรีธรรมราชเสียด้วย โดยจะมีตวั แทนเพือ่ นๆ นักศึกษาในคลาสเป็ นตัวแทนลงพืน้ ทีไ่ ปก่อน หลัง จากนั น้ ก็จ ะน� ำ ปั ญ หาที่ค นในชุ ม ชนก� ำ ลัง พบเจอ อารมณ์ประมาณว่าเขาอยากให้ชว่ ยเรือ่ งนี้ อยากให้พดู เรือ่ ง นี้ โดยมีจดุ เริม่ ต้นเล็กๆ จากงานวิจยั ทีอ่ .รุจน์มาเล่าสูก่ นั ฟั ง ว่า “ชุมชนที่มกี ารสื่อสารภายในที่ดี จะท�ำให้ชุมชนนัน้ พัฒนาได้ดอี กี ด้วย” เพือ่ บอกกับนักศึกษาว่าสือ่ ใหญ่ๆ อาจ ไม่ได้มอี ทิ ธิพลเท่ากับสือ่ ภายในพืน้ ทีน่ นั ้ ๆ เสมอไปนะ ตามแบบฉบับ วิ ช าของคณะวารสารฯ การ ลงพืน้ ทีอ่ าจจะไม่ใช่เพือ่ เปลีย่ นแปลงในเชิงกายภาพ ทาสี ต่อเติม ซ่อมแซมหรือแจกจ่าย แต่กไ็ ม่ได้แปลว่าจะไม่ได้ทำ� อะไรพวกนี้นะ...ลงเรียนแล้วอาจจะมีเซอร์ไพรส์กเ็ ป็ นได้ จุดมุง่ หมายของวิชานี้คอื ช่วยพัฒนาชุมชนหรือแก้ปัญหาที่ ก� ำ ลัง เกิด ขึ้น ด้ว ยสื่อ อาจจะผ่ า นสื่อ สิ่ง พิม พ์ สื่อ วิดีโ อ ภาพยนตร์ เรือ่ งสัน้ หรืออะไรก็ได้ทงั ้ นัน้ ระยะเวลาลงพืน้ ทีน่ นั ้ 1 สัปดาห์ถว้ น เพราะฉะนัน้ ตลอดภาคเรียนทีผ่ า่ นมาคือการวางแผน ต่อยอดความคิด และหาทางท�ำอย่างไรก็ได้ให้สอ่ื ตอบโจทย์คนในชุมชนมาก ทีส่ ดุ และเมือ่ เท้าแตะชุมชนแล้วนัน้ คือเริม่ ท�ำงานทันที บอก เลยว่า เหนื่อยมากแต่กค็ มุ้ ค่ามากเช่นกัน นักศึกษาแต่ละ คนได้ไปใช้ชวี ติ อยูก่ บั คนในชุมชนจริงๆ เป็ นโครงการแลก เปลีย่ นระยะสันที ้ ท่ ำ� ให้เห็นมุมใหม่ๆ แนวคิดของคนอืน่ นอก รัว้ มหาวิทยาลัย อย่างในปี ทผ่ี า่ นมาก็ได้ประสบการณ์ใหม่ๆ จากการต้องตื่นตี 5 เพือ่ เก็บภาพพระอาทิตย์ขน้ึ ลงเรือหา ปลา เดินตลาดเช้ากินข้าวเหนียวไก่ หรือขีม่ อเตอร์ไซค์ครัง้ แรก สภาพเวลาลงพืน้ ทีน่ นั ้ แต่ละคนสะบักสะบอม เครียด จนร้ อ งไห้ หัว ฟู เ พราะไม่ ไ ด้ น อน แต่ เ มื่อ กลับ มาถึ ง มหาวิทยาลัยทีม่ รี วั ้ กัน้ จากโลกภายนอกแล้วนัน้ ปฏิเสธไม่ ได้เลยว่า ข้าวเทีย่ งในปิ่ นโตทีค่ นในชุมชนท�ำให้นนั ้ อร่อย จริงๆ เอ้ย! มันเป็ นความทรงจ�ำทีด่ แี ละคุม้ ค่าจริงๆ ต่างหาก อาจารย์ประจ�ำวิชานัน้ เป็ นคนมาดเข้ม ละเอียด ตรงต่อเวลา แต่ว่าตลกเฮฮาเมื่อได้ใกล้ชดิ และภาพของ อาจารย์ในห้องเรียนกับตอนอยู่ในชุมชนก็ไม่เหมือนกัน ฝากนักศึกษาหน้าใหม่ทอ่ี ยากจะลงวิชานี้ไปลองสังเกตดู วิชานี้จะพาไปพบประสบการณ์ตา่ งบ้านต่างถิน่ ทีแ่ ท้จริง อยู่ กับมันจริงๆ ระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์นนั ้ สัน้ มาก (แต่ตอนปั น่ งานนะเธอเอ้ยยยยย เหมือนนานเป็ นปี ) เป็ นวิชาทีร่ บั รอง ได้วา่ คุม้ ค่า และจะกลายเป็ นเรือ่ งราวทีส่ ขุ หรืออาจจะเศร้า เคล้าน�้ำตาทีอ่ ยูต่ ดิ ตัว ติดใจ หรืออาจจะติดปากไปอีกนาน

หน้า 5

ใส่ไปปุ๊ปได้เงินเลยปั๊ป? เครื่องรีไซเคิลขวดพลาสติก

เรือ่ งและภาพ: ชุตกิ าญจน์ อ่อนเอม มหาวิ ทยาลัยของเราเคยมีนวัตกรรมที่ก่อให้ ขนาดนัน้ นะคะ แค่รปู อปป้ าก็เหมาไปครึง่ เมมแล้ว อยากใช้ เกิ ดความมหัศจรรย์ใจกับนักศึกษาอยู่ช่วงหนึ่ ง เรียก แต่เมมเต็มก็น่าล�ำไยไปอีกต้องซือ้ เมมใหม่เหรอ เมื่อเริม่ โครงการมีผสู้ นใจใช้เครื่องในระดับหนึ่ง ได้ว่าเมื่อเครื่องถูกติ ดตัง้ อยู่ที่หน้ าโรงอาหาร SC แล้ว ก็เป็ นที่ ฮือฮาและกลายเป็ นประเด็นร้อนเลยที เดี ยว ตอนนัน้ ดิฉนั ก็ดอ้ มๆ มองๆ สังเกตการณ์หา่ งๆ แต่เห็นว่า และเจ้าเครื่องนี้ กค็ ือ!! เครื่องรีไซเคิ ลขวดพลาสติ กที่ เครือ่ งมีอาการผีเข้าผีออก พังหลายรอบจนยือ้ ไม่อยูอ่ กี ต่อ ไป เล่าไปแล้วก็เศร้า เพราะตอนนี้มนั ไม่มอี กี แล้วแต่ถงึ สามารถสะสมแต้มและแลกเป็ นเงิ นให้เราได้ แค่ฟังก็ถงึ กับเอามือทาบอก อะไรมันจะดีปานนัน้ ต�ำนานเครือ่ งรีไซเคิลขวดพลาสติกจะจบลง ก็ยงั เป็ นทีจ่ ดจ�ำ เอาขยะใส่เครือ่ งแล้วก็ได้แต้มสะสมมาเพือ่ แลกเป็ นเงินได้ เสมอ และยังติดค้างในใจว่าเจ้าเครื่องน่ ามหัศจรรย์น้ีไม่ เลยเนี่ยนะ? ถึงจะแปลกใจกับเครื่องใหม่ทไ่ี ม่เคยเจอมา สามารถกลับมาได้แล้วจริงๆ หรือ? ล้มเลิกไปแล้วใช่ไหม? ก่อนในประเทศแต่ถา้ ลองศึกษาในต่างประเทศดู ก็พบว่า ปั ญหามันเกิดจากอะไร ยังแก้ไขได้อยูไ่ หม? ดิฉนั ว่า เครือ่ งรีไซเคิลขวดพลาสติกไอเดียดีมากๆ น�ำหน้าก่อนเราไปนานมากแล้ว ในทีส่ ดุ ก็มอี ะไรใหม่ๆ เข้า แต่ผจู้ ดั ซือ้ บอกว่า เครือ่ งทีเ่ คยตัง้ อยูเ่ ป็ นเพียงโมเดลน�ำร่อง ประเทศเราบ้างสักทีแหละนะ ส�ำหรับน้องใหม่ทเ่ี พิง่ เข้ามหาวิทยาลัยคงงงไป ทีผ่ ลิตออกมาจากบริษทั ยังไม่เป๊ ะพอในด้านกลไกภายใน สามตลบ แต่จริงๆ แล้วน้องๆ ก็น่าจะเคยเห็นเครือ่ งนี้กนั เครือ่ งทีจ่ ะท�ำให้เครือ่ งสามารถไปต่อได้ พอน�ำขวดใส่เข้าไป เพราะเครือ่ งยังคงวางอยูท่ เ่ี ดิมไม่จากไปไหนตัง้ แต่ปี 2559 เกิด ปั ญ หาสัญ ญาณอิน เทอร์เ น็ ต ไม่โ หลด เครื่อ งจึง ไม่ ท�ำงาน นอกจากนี้ยงั มีคนร่วมโครงการทีไ่ ม่เข้าใจหลักการ เพียงแต่ใช้การไม่ได้แค่นนั ้ ท�ำงานของเครื่องอาจจะใส่ขวดเข้าไปในเวลาทีไ่ ม่ถูกต้อง เริม่ แรกน้องงอแงอยู่หลายครัง้ จนในทีส่ ุดก็เดดสะมอเร่ไป เรียบร้อย ในเวลานี้เครื่องก็ยงั ไม่สามารถใช้ได้ เมื่อลอง สอบถามว่าจะมีการซ่อมแซมเครือ่ งไหม ก็ได้คำ� ตอบมาว่า คงไม่แล้ว เพราะเครือ่ งพังบ่อยเกินไป ระบบการท�ำงานข้าง ในยังไม่ดี และชิน้ ส่วนในเครือ่ งนัน้ ไม่ได้มขี ายในท้องตลาด ซึ่งหากตอนต้นเครื่อ งใช้ได้ดีและตอบโจทย์ ก็จ ะมีการ ต่อยอดจนเป็ นรูปร่างทีส่ มบูรณ์กว่านี้อยูแ่ ล้ว แต่เมือ่ เครือ่ ง รีไซเคิลขวดพลาสติกระบบนี้ใช้การไม่ดจี งึ ต้องทิง้ ไปก่อน นี่แหละนะสัจธรรมของโลก น่าเสียดายจริงๆ เพราะหากท�ำได้รบั รองว่าขวด พลาสติกจะถูกน�ำมารีไซเคิลได้อกี มาก นักศึกษาเองก็ได้ ประโยชน์จากส่วนนี้ดว้ ย เห็นว่าเครือ่ งรีไซเคิลขวดพลาสติกหรือทีเ่ รียกกัน ว่า Refun Machine นัน้ ยังมีการท�ำอยูอ่ ย่างต่อเนื่องในที่ เครื่องรีไซเคิลขวดพลาสติกเกิดจากนโยบายลด อืน่ ๆ เช่น เซ็นทรัลเวิลด์ สยามดิสคัฟเวอรี จุฬาฯ โรงเรียน ขยะพลาสติกของมหาวิทยาลัยทีจ่ บั มือร่วมกับบริษทั ผลิต อัสสัมชัญ แสนสิร ิ คอนโด The line แต่มรี ปู แบบการท�ำงาน เครือ่ งเพือ่ น�ำมาใช้ในมหาวิทยาลัย มีหลักการท�ำงานคือ ทีง่ า่ ยกว่าเพราะไม่ตอ้ งแสกน QR code ก่อน แค่เอาขวด เอาขวดแสกน QR Code ก่อนและใส่ขวดเข้าไปในช่องที่ ใส่และเลือกรูปแบบวิธกี ารรับเงินไปใช้เท่านัน้ อุตส่าห์เป็ นเครือ่ งทีต่ ดิ ตัง้ ทีม่ หาวิทยาลัยเราเป็ น ก�ำหนดไว้ให้และเพราะขวดแต่ละชนิดมี QR Code ทีต่ ่าง กัน แต่ละขวดเลยได้คะแนนไม่เท่ากันอย่างขวดน�้ำโดมที่ อันดับต้นๆ แต่ดนั ไม่สามารถครองต�ำแหน่ งอยู่ต่อไปได้ รณรงค์ให้นกั ศึกษาใช้จะมีแต้มมากทีส่ ดุ 1 ขวดเท่ากับ 30 โถ น่าสงสาร แต่ในเมือ่ เครือ่ งไม่สามารถกลับมาได้แล้ว ก็ได้ แต้ม ส่วนชนิดอืน่ ๆ ได้ 10 แต้ม เมือ่ ครบ 100 แต้มเท่ากับ แต่ภาวนาให้วนั ข้างหน้ าจะมีเครื่องที่ตอบโจทย์อีกครัง้ เป็ นเงินได้ 1 บาท และต้องโหลดแอปพลิเคชันด้วยเพือ่ ใช้ ใช้ได้นานขึน้ ไม่วา่ จะพังเพราะระบบของเครือ่ งหรือเพราะ คนใช้ แต่เราก็ตอ้ งร่วมกันรักษานวัตกรรมใหม่ๆ ให้อยูไ่ ด้ สะสมแต้ม การโหลดแอปเป็ นอีกหนึ่งสิง่ ทีก่ วนใจในการเริม่ อีกนาน และกลายเป็ นมหาวิทยาลัยไฮเทคทีเ่ ต็มไปด้วย ใช้นวัตกรรมโทรศัพท์เราทุกคนไม่ได้มพี น้ื ทีส่ ำ� หรับทุกแอป นวัตกรรมล�้ำหน้าต่อไป

่ สารทีด ่ จ การสือ ี ะส่งผลต่อการลด Single Use Plastic ในมหาวิทยาลัยอย่างไร? เรือ่ ง: ทัศนา พุทธประสาท

ลองจิ นตนาการภาพว่าวันหนึ่ งคุณเดิ นเข้าไป ในร้านไอศกรีมร้านโปรดของคุณ คุณสัง่ Milkshake หลัง จ่ า ยเงิ น เสร็จ แล้ ว เครื่ อ งดื่ ม มาอยู่ ต่ อ หน้ า คุณ พนักงานในร้านพูดกับคุณว่า “ตอนนี้ ทางร้านไม่ให้ หลอดแล้วนะครับ” คุณจะท�ำหน้ าอย่างไร? แน่ นอนว่า เราทุกคนต่ างเข้าใจดี ว่าหลอดและถุงพลาสติ กเป็ น ประเภทสิ นค้าที่ไม่เป็ นมิ ตรต่อสิ่ งแวดล้อม แต่คณ ุ คง คิ ดว่าเราจะดื่มเครือ่ งดื่มของเราอย่างไรถ้าไม่ได้มีใคร บอกให้เราเตรียมหลอดมาเองก่อนเดิ นเข้าร้าน? เทรนด์การงดใช้ Single use plastic ก�ำลังเติบโต มากๆ ในองค์กรหลากหลายขนาด ห้างสรรพสินค้าชัน้ น�ำ ในไทยเริ่ม หยุ ด แจกถุ ง พลาสติ ก หรือ มหาวิท ยาลัย ธรรมศาสตร์เองเริม่ ใช้กล่องข้าวและหลอดกระดาษแทนที่ พลาสติก และยังมีการขอความร่วมมือร้านค้าแฟรนไชส์ ภายนอกทีม่ าเปิ ดในมหาวิทยาลัยเลิกให้ Single use plastic ด้วย ในเชิงความตัง้ ใจ เรือ่ งนี้เป็ นเรือ่ งทีก่ ำ� เนิดจากความ ตัง้ ใจดีอย่างแน่นอน แต่ปัญหาคือในบางครัง้ เกิดการหยุด ใช้อุปกรณ์บางอย่างโดยไม่มคี ำ� เตือนทีค่ นหมูม่ ากเห็นและ ไม่มอี ุปกรณ์มาแทนนัน้ ท�ำให้ผบู้ ริโภคท�ำตัวไม่ถกู ได้ เหตุการณ์ แบบนี้จะเกิดขึ้นทุกครัง้ เมื่อเกิดการ เปลีย่ นแปลงแบบกระทันหัน จึงมีศาสตร์ในการสือ่ สารทีช่ อ่ื Change Communication ขึน้ มา ซึง่ คือการสือ่ สารเกีย่ วกับ การเปลีย่ นแปลง ไม่ว่าจะเป็ นการเปลีย่ นแปลงทีเ่ ล็กทีส่ ดุ อย่างการปรับความรับผิดชอบ ต�ำแหน่งงานในบริษทั ถึง การเปลีย่ นผูบ้ ริหารระดับสูง โดยจุดประสงค์หลักๆ ของ ศาสตร์น้ีคอื การเรียนรูว้ ธิ ที จ่ี ะสือ่ สารการเปลีย่ นแปลงให้ผู้ มีสว่ นได้สว่ นเสียได้รบั ผลกระทบในทางลบน้อยทีส่ ดุ ในกรณีการเปลีย่ นแปลงเรื่องการงดใช้ Single use plastic นัน้ หากไม่มกี ารสื่อสารการเปลีย่ นแปลงที่ ชัดเจนมากพอจะท�ำให้เกิดผลกระทบแง่ลบกลับมาจากผูม้ ี ส่วนได้สว่ นเสียในหลายกลุม่ เช่น ผูค้ า้ หลายรายไม่โฟกัส ที่ก ารรัก ษาสิ่ง แวดล้อ ม แต่ โ ฟกัส เรื่อ งก� ำ ไรที่น้ อ ยลง เนื่องจากราคาของภาชนะทีส่ งู ขึน้ และนักศึกษาจ�ำนวนมาก ปรับตัวไม่ทนั กับการทีต่ อ้ งซือ้ สินค้าจ�ำนวนมากแต่ไม่มถี ุง พลาสติกหิว้ ใส่เพือ่ ความสะดวกทีจ่ ะเดินทาง

อาจมีขอ้ โต้เถียงว่านี่เป็ นแคมเปญทีเ่ ริม่ มานาน แล้ว ท�ำไมจึงไม่เริม่ ปรับตัวกัน? ค�ำตอบคือการสือ่ สารของ มหาวิทยาลัยอาจไปไม่ถงึ ตัวของนักศึกษาและผูค้ า้ กล่าว คือมหาวิทยาลัยสื่อสารความเปลีย่ นแปลงนี้ผ่าน Social Media และ Out of Home Media เช่นป้ ายไวนิล ซึง่ กลุม่ มหาวิทยาลัยต้องการจะสือ่ สาร มักไม่เห็น เพราะไม่ใช่ทกุ คนที่จะมี Social Media ไม่ต้องพูดถึงว่ามีไม่ก่คี นที่จะ ติดตามเพจมหาวิทยาลัยหรือตัวแทนการเปลีย่ นแปลง เช่น อาจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ส่วนป้ ายไวนิลนัน้ ก็ไม่ได้ อยูใ่ นจุดทีท่ กุ คนผ่าน แล้วในหนึ่งวันแค่การตืน่ ออกมาเรียน ก็ถอื ว่าต้องเร่งรีบแล้ว ก็ไม่ใช่วา่ จะมีการหยุดดูได้ อีกปั จจัยส�ำคัญคือการเปลีย่ นแปลงควรเกิดจาก ความรูส้ กึ ทางบวกมากกว่าลบ การเปลีย่ นแปลงครัง้ นี้ให้ ความรูส้ กึ ว่าผูท้ ต่ี อ้ งเปลีย่ นก�ำลังถูกบังคับให้เปลีย่ น ตัว เลือกในการใช้ชวี ติ น้อยลง และรูส้ กึ ถึงการโดนผลักภาระ ใหม่ๆ เช่นการพกกล่องข้าว หลอดอะลูมเิ นียม หรือซื้อ ภาชนะรูปแบบใหม่ทท่ี ำ� ให้กำ� ไรลดลงเสียมากกว่า วิธกี ารเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้องในเรื่องนี้อาจต้อง ปรับ เปลี่ ย นในมุ ม มองของผู้ ม ี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสีย โดย มหาวิทยาลัยต้องสือ่ สารให้ความต้องการทีเ่ ปลีย่ นแปลงมา จากภายในของกลุม่ ทีต่ อ้ งการจะสือ่ สารด้วย ว่าการเปลีย่ น ครัง้ นี้สง่ ผลดีตอ่ ธรรมชาติอย่างไร เพราะแม้การเคลือ่ นไหว นี้ จะเป็ นการเคลื่อนไหวระดับโลก แต่คนหมู่มากยังคง ต้องการความสะดวกสบายและผลตอบแทนทีจ่ บั ต้องได้ อย่างรวดเร็วอยู่ ทีก่ ล่าวมาไม่ใช่วา่ นักศึกษาไม่อยากให้ความร่วม มือเลย เป็ นไปในทางตรงกันข้ามเสียด้วยซ�้ำ แต่มาตรการ การเลิกใช้ Single use plastic นัน้ ถือเป็ นการเปลีย่ นระดับ องค์กรที่ต้องพึ่งทัง้ ตัวองค์กรและผู้มสี ่วนได้ส่วนเสียไป พร้อมๆ กัน การตัดเครือ่ งอ�ำนวยความสะดวกบางอย่างเช่น ถุงพลาสติก โดยไม่มนี วัตกรรมอืน่ มาทดแทน ไม่ใช่วธิ ที ด่ี ี ทีส่ ดุ เพราะจะท�ำให้เกิดปฏิกริ ยิ าตอบกลับทางลบ เป็ นผล ให้คนไม่เห็นด้วยกับแคมเปญไปเสียอย่างนัน้ ทัง้ ๆ ทีม่ นั เป็ นแคมเปญทีด่ ตี ่อโลกของเรา

่ สบาย อ่านสนุก ลุกนัง ่ ามัญสถาน NOC C1 ทีส เรือ่ งและภาพ: ณัฎฐ์ พ่วงแสง

หอสมุดคนก็แน่ นเอี๊ยด หอพักก็ร้อนจนท�ำเอา เหงือ่ ไหลไคลย้อย จะหาสถานทีอ่ ่านหนังสือ ประชุมงาน ให้สะดวกกาย สบายใจก็แสนจะยากล�ำบาก แต่วนั นี้ NOC C1 และ C2 บริเวณหอใน ได้ถูกปรับปรุงให้กลายเป็ น “สามัญสถาน” (Common room) ทีเ่ ปิ ดให้เป็ น Co-Learning Space มี Wifi ฟรี เครือ่ งปรับอากาศและห้องน�้ำในตัว ให้ ชาวธรรมศาสตร์ได้ใช้เป็ นพืน้ ทีอ่ เนกประสงค์ จะยืน นอน นัง่ ตีลงั กาอ่านหนังสือเตรียมสอบหรือรวมตัวดูซรี สี ์กบั เพือ่ นๆ ก็ยอ่ มได้ พืน้ ทีส่ ว่ นกลางนี้ถกู จัดแบ่งออกเป็ นโซน ต่างๆ ให้ทกุ คนได้เลือกใช้ตามสะดวก ทัง้ โต๊ะกลุม่ โต๊ะเดีย่ ว โต๊ะบาร์ยาว โต๊ะญีป่ ่ นุ หรือห้องกิจกรรมพร้อมกระดานไวท์ บอร์ด ถ้าเรียนหนักประชุมเหนื่อยก็สามารถพักเอนหลังกัน ได้ เพราะทีน่ ่ีมเี ตียงนอน มุมหมอนอิงใบใหญ่ทเ่ี ต็มไปด้วย สารพัดตุ๊กตาน่ารักน่ากอด มีอุปกรณ์เครือ่ งเขียน ไปจนถึง อุปกรณ์ไฟฟ้ า ปลักพ่ ๊ วงสามตา Adapter ไฟส�ำหรับอ่าน หนังสือ ให้ได้หยิบยืมกันตามสบาย แต่อย่าเผลอหยิบติดมือ กลับกันไปนะ เพราะยังมีเพือ่ นอีกหลายคนรอใช้ต่อ ช่วง สอบกลางภาคหรือปลายภาคก็ยงั มีของว่าง ขนม ผลไม้ คอยเติมพลังให้นกั รบมิดเทอมนักสูไ้ ฟนอลทัง้ หลายอีกด้วย สามัญสถานเปิ ดให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชม. ช่วง 7.00 - 8.00 น. จะเป็ นเวลาท�ำความสะอาด แต่กย็ งั สามารถใช้บริการได้ตามปกติ


หน้า 6

ฉบับที่ 5 ปี ท่ี 62 วันที่ 6 - 19 พฤศจิกายน 2562

่ บันเทิงกันเถอะ” “มาเสพสุขจากสือ เรือ่ ง: อันจา จิตตาศิรนิ ุวตั ร

ร้านช�ำส�ำหรับคนอยากตาย หนังสือเกี่ยวกับคนอยากตาย ที่จะท�ำให้คุณเลิกอยากตาย “ล้มเหลวทุกเรื่องในชีวิต อย่างน้ อยคุณยังมี สิ ทธิ์ ประสบความส�ำเร็จในการตาย” นี่เป็ นทัง้ ประโยคแรกที่ถูกท�ำตัวหนาอยู่บนปก หลังของหนังสือเรื่อง “ร้านช�ำส�ำหรับคนอยากตาย” โดย ฌอง เติลเล่ นักเขียนชาวฝรังเศส ่ และเป็ นทัง้ สโลแกนบน ถุงของร้านช�ำชือ่ เดียวกันในเรือ่ ง ซึง่ เราเดาว่ามันคงใช้ตหี วั เหล่าคนสิน้ หวังทีค่ ดิ ว่าตัวเอง “ล้มเหลวทุกเรือ่ งในชีวติ ” ให้ เข้าไปใช้บริการในร้านได้ดเี ช่นเดียวกับทีอ่ าจใช้ตหี วั คน กลุม่ เดียวกันให้หยิบหนังสือเล่มนี้ขน้ึ มาเปิ ดอ่านได้ ร้านช�ำส�ำหรับคนอยากตาย เป็ นร้านขายอุปกรณ์ ส�ำหรับฆ่าตัวตายของตระกูลตูวาช ตัง้ อยูใ่ นเมืองหนึ่งทีไ่ ม่ม ี ศาสนา การฆ่าตัวตายจึงกลายเป็ นเรื่องปกติเพราะไม่ม ี ศีลธรรมหรือเรือ่ งบาปบุญมาห้าม ร้านช�ำแห่งนี้ขบั เคลือ่ นด้วยความเชือ่ มันอย่ ่ างแรง กล้าของตระกูลตูวาชเป็ นหลัก พวกเขาเชือ่ มันในความเศร้ ่ า โศก เชื่อ มันในความบั ่ ด ซบของชีว ิต นอกจากจะคอย สนับสนุ นให้กลุ่มลูกค้าอมทุกข์มคี วามกล้าที่จะตายและ ลงมือท�ำให้สำ� เร็จแล้ว การเลีย้ งดูลกู ๆ ของพวกเขาก็เป็ น ไปในทิศทางเดียวกันด้วย ตัง้ แต่การตัง้ ชื่อลูกตามบุคคล ส�ำคัญทีเ่ สียชีวติ จากการฆ่าตัวตาย ทัง้ มารีลนิ มอนโร วินเซนต์ แวนโก๊ะ และอลัน ทูรงิ ไปจนถึงการพร�่ำสอนให้พวก เขาเอาแต่จมจ่อมอยูก่ บั ความเศร้าหมองในชีวติ แม้เรื่องราวอาจฟั งดูบดิ เบี้ยวและมืดมน แต่มนั กลับถูกเล่าด้วยอารมณ์ขนั แบบตลกร้าย ด้วยการน�ำเสนอ ตัวละครทีม่ ที ศั นคติกลับตาลปัตรจากโลกแห่งความเป็ นจริง ทีเ่ รารูจ้ กั อย่างสุดโต่ง โดยมองว่าการแบกความทุกข์และ ความต้องการทีจ่ ะจบชีวติ ไว้บนบ่าตลอดเวลาเป็ นเรื่องดี งามน่ายกย่อง ส่วนการมองโลกในแง่ดแี ละการมีความสุข คือเรือ่ งแปลกประหลาด ความตลกร้ายอีกอย่างทีเ่ ป็ นแก่นหลักของเรือ่ งก็

คือ ท่ามกลางความเหีย่ วเฉาในตระกูลตูวาช อลัน ลูกชาย คนสุดท้องของพวกเขากลับเกิดมาพร้อมรอยยิม้ สดใส ทัง้ มองโลกในแง่ดแี ละเต็มเปี่ ยมไปด้วยความสุขจนถูกคนอืน่ ๆ ในครอบครัวมองว่าเพีย้ น แถมยังพยายามท�ำลายกิจการ ร้านช�ำแบบไม่รอู้ โิ หน่ อเิ หน่ โดยการไล่ลูกค้าออกจากร้าน ด้วยค�ำพูดปลอบใจทีช่ ใ้ี ห้เห็นถึงคุณค่าของการมีชวี ติ ไม่ใช่ ชัก จูง พวกเขาให้เ ดิน เข้า ไปหาความตายอย่า งที่ค นอื่น พยายามท�ำ สารภาพว่าตอนแรกๆ ทีอ่ ่าน เรานึกร�ำคาญอลัน เช่นเดียวกับทีพ่ อ่ และแม่ของเขารูส้ กึ เพราะในบางครัง้ เรา ก็ยงั เลือกทีจ่ ะเชื่อในความบัดซบของชีวติ มากกว่าเชื่อว่า ชีวติ มีคณ ุ ค่ามากพอจะให้อยูต่ ่อ จนกระทังอ่ ่ านไปเกินครึง่ เล่ม เราถึงมองเห็นว่าความอยากมีชวี ติ อยูอ่ าจไม่ได้มาจาก การตระหนักถึงคุ​ุณค่าของชีวติ แต่เป็ นการเข้าใจชีวติ ใน แบบทีม่ นั เป็ น ไม่เรียกร้องเอาอะไรจากมันมากมายจนมอง ข้ามสิง่ ดีๆ ทีม่ อี ยู่ ทัง้ การหาความสวยงามเล็กๆ น้อยๆ ใน สิง่ รอบตัว และการหัดมอบความรักให้กบั คนทีจ่ อ้ งมองเรา กลับทุกครัง้ ทีส่ อ่ งกระจก ต่อให้ไม่สามารถรักได้อย่างสนิท ใจเพราะนึ ก อยู่เ สมอว่า มัน ไม่ม ีอ ะไรให้ร กั แต่ ก ารลอง แสดงออกถึงความรักให้ตวั เองดูบา้ งก็ถอื เป็ นการเริม่ ต้นที่ ดี ไม่วา่ จะเป็ นเรือ่ งง่ายๆ อย่างการสระผมด้วยแชมพูกลิน่ ที่ ช อบ การใส่ เ สื้อ ผ้ า ตัว โปรด หรือ พาตัว เองไปกิ น อาหารอร่อยๆ ก็ตาม ถึงแม้วา่ ทุกวันนี้จะมีบางช่วงขณะทีท่ ำ� ให้เราเผลอ เอาหัวมุดอยูก่ บั ความเศร้าจนไม่รบั รูถ้ งึ อะไรดีๆ ทีม่ อี ยูร่ อบ ข้างหรืออะไรดีๆ ทีค่ วรท�ำให้ตวั เองไปบ้าง แต่หนังสือเล่ม นี้กย็ งั คงท�ำงานได้ผลกับเราเสมอเมือ่ หยิบมันขึน้ มาอ่าน เรา จึงเชื่อว่าไม่มคี วามมืดแบบใดจะมืดสนิทจนไม่มแี สงสว่าง อยูเ่ ลย เราอาจต้องการแค่ใครหรืออะไรมาสะกิดให้หนั ไป มองมันบ้างก็เท่านัน้ หวังว่าคุณจะเชือ่ อย่างนัน้ เหมือนกัน

Swiss Army Man

เมือ่ ตด มอบบทเรียนให้ชวี ติ

ในโลกที่ก ารตดเป็ นเรื่อ งน่ า เกลีย ดและเสีย มารยาท ไม่วา่ จะด้วยเสียงรบกวนตลกๆ ของลมทีเ่ สียดสี ออกมาผ่านทวารหนัก หรือกลิ่นเหม็นจากของเสียใน ร่างกายทีฟ่ ้ ุงตามมาหลังจากนัน้ ภาพยนตร์เรือ่ ง “Swiss Army Man คูเ่ พีย้ นผจญภัย” กลับเลือกใช้ “ตด” เป็ นตัวแปร ส�ำคัญในการด�ำเนินเรือ่ งร่วมกับอีกสองตัวละครหลัก แฮงก์ ทอมสัน ชายหนุ่มทีต่ ดิ อยูบ่ นเกาะ และแมนนี่ ศพตดได้ หนังเล่าถึงความพยายามในการเอาชีวติ รอดเพือ่ หาทางกลับ บ้า นของแฮงก์ โ ดยการใช้ป ระโยชน์ จ าก ร่างกายของแมนนี่ ตลอดการเดินทาง ศพทีม่ สี ภาพผุพงั จึงถูกใช้เป็ นทัง้ เรือเจทสกี ตูก้ ดน�้ำ ไฟแช็ก และเข็มทิศ แม้ ช่ ว งแรกของหนั ง จะท� ำ ให้ เ ราอุ ท านว่ า “อะไรวะ” ตลอดเวลา ด้วยความมหัศจรรย์ของร่างกายแมน นี่ทใ่ี ช้ประโยชน์ได้สารพัดในรูปแบบประหลาดๆ แต่เมือ่ หนังกล่อมเราไปเรื่อยๆ ด้วยบทสนทนาทีต่ งั ้ ค�ำถามกับ ชีวติ ผ่านเรือ่ งราวทีส่ งั คมส่วนใหญ่มองเป็ นเรือ่ งน่ าเกลียด เช่นการตดและการช่วยตัวเอง “ตด” ทีเ่ ข้าใจว่าถูกใช้เป็ น เพียงมุกตลกในตอนแรกจึงกลายเป็ นสัญลักษณ์ หนึ่งที่ ท�ำให้เราสามารถเชือ่ มโยงตัวเองเข้ากับแฮงก์ได้โดยมีแกน กลางเป็ น ความปรารถนาที่จ ะได้ร บั ความรัก และการ ยอมรับจากใครสักคน ไม่น่าเชื่อว่าหนังทีพ่ ดู ถึงตดแทบตลอดเวลาจะ ท� ำ ให้เ ราเปลี่ย นจากการอุ ท านว่ า อะไรวะเป็ น การนั ง่ ซาบซึ้งน�้ ำตาไหลในช่วงสุดท้าย หากเปลีย่ นหนังเรื่องนี้ เป็ นคน มันก็คงพูดกับเราว่า “จงตดออกมาดังๆ เมือ่ ใด ก็ตามทีอ่ ยากตด เพราะมันโอเคทีจ่ ะน่าเกลียด และต่อให้ ไม่มใี ครยอมรับ ก็จงยอมรับแม้กระทังส่ ่ วนทีน่ ่าเกลียดทีส่ ดุ ของตัวเอง” เมือ่ ในท้ายทีส่ ดุ แล้ว การได้รบั การยอมรับจาก ใครสัก คนก็ค งไม่ ท� ำ ให้ส บายใจเท่ า กับ การได้ร ับ การ ยอมรับจากตัวเองทีเ่ ราต้องใช้ชวี ติ อยูด่ ว้ ยทุกวันหรอก

“To Feel Good” Swim Deep

ให้เสียงเพลง ปลอบโยนใจ

เสียงประสานสูงลิบแบบกอสเปลดังขึน้ เป็ น สิง่ แรกเมือ่ กดฟั งเพลง To Feel Good เพลงแรกจาก อัลบัม้ Emerald Classics ของวง Swim Deep ทีแ่ ง้ม มาให้เราฟั งเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ก่อนปล่อย อัลบัม้ เต็มในวันที่ 4 ตุลาคมทีผ่ า่ นมา แน่นอนว่ามัน ไม่ใช่สงิ่ ทีเ่ ราคาดหวังจะได้ยนิ เลยสักนิดหลังวงป๊ อ ปวงนี้หายหน้าไปนานกว่า 4 ปี จนกระทังมั ่ นตามมา ด้วยเสียงดนตรีแบบ Dream pop ทีม่ กี ลิน่ อายคล้าย อัล บัม้ แรกของพวกเขา และเสีย งของนัก ร้อ งน� ำ ออสติน วิล เลีย ม ที่แ ทรกตัว เข้า มารวมกับ เสีย ง ประสานอย่างแนบเนียน ความรูส้ กึ อิม่ เอมทีค่ นุ้ เคย ก็กลับมาอีกครัง้ ออสตินพาเราย้อนกลับไปทีช่ วี ติ ในวัย 18 ปี ของเขา ตอนทีเ่ ขาเซ็นสัญญากับค่ายเพลงเป็ นครัง้ แรก และมีความรูส้ กึ เบื่อหน่ ายในชีวติ ไม่ต่างจาก เราๆ อีกหลายคนในขณะนี้นกั พร้อมสอดแทรกด้วย สิง่ ทีเ่ ขาใช้ในการท�ำให้ตวั เองรูส้ กึ ดีขน้ึ ผ่านเสียงร้อง กึ่ ง พู ด สลับ กับ ท่ อ นฮุ ก แบบกอสเปลจากคณะ ประสานเสียง Margate ทีถ่ กู ท�ำให้กลมกล่อมขึน้ ไป อีก ด้วยเสียงทรัมเป็ ตกับเปี ยโนทีล่ อ่ งลอยและเคล้าคลออยูด่ า้ นหลัง เพลงนี้จงึ เหมาะเหลือเกินทีจ่ ะเปิ ดฟั งขณะ นอนโง่ๆ อยูบ่ นเตียงหลังผ่านวันแย่ๆ มาแล้วทัง้ วัน เพราะทุกครัง้ ทีเ่ พลงวนไปถึงประโยค “Everybody’s free to feel good.” เราจะรูส้ กึ คล้ายได้รบั การปลอบ ประโลมว่าต่อให้ชวี ติ จะโยนความทุกข์แบบใดมาให้ เราทุกคนก็ยงั มีอสิ ระทีจ่ ะท�ำอะไรสักอย่างให้ตวั เอง รูส้ กึ ดีเสมอ และในกรณีน้ี เราก็หมายถึงการฟังเพลงดีๆ แบบนี้นนแหละ ั่

เกาหลีใต้

จากประเทศทีใ่ ช้พลาสติกมหาศาล สู่ต้นแบบการจั ด การขยะ เรือ่ ง: ธนารีย์ รัตนฉายา เกาหลี ใ ต้ ก ลายมาเป็ นอี ก ประเทศหนึ่ งที่ ประกาศแบนการใช้ ถ งุ พลาสติ ก ใช้ แ ล้ ว ทิ้ ง ในร้ า น สะดวกซื้อและห้างสรรพสิ นค้า ร้านกาแฟทัง้ รายเล็ก และรายใหญ่กห็ ้ามแจกแก้วพลาสติ กส�ำหรับลูกค้าที่ นั ง่ ทานในร้ า นเรี ย บร้ อ ยแล้ ว โดยนโยบายนี้ เริ่ ม ประกาศใช้ไปเมื่อเดือนตุลาคมปี 2018 โดยห้างร้านที่ ละเมิ ดจะต้ องเสี ยค่าปรับถึงสามล้านวอน หรือ เจ็ด หมื่นบาทเลยทีเดียว ถือเป็ นการผลักดันนโยบายด้าน สิ่ งแวดล้อมอย่างจริงจังเพือ่ ให้ประเทศบรรลุเป้ าหมาย ของรัฐบาลปัจจุบนั ที่จะลดขยะพลาสติ กให้ได้ถึง 70% ในปี 2030 ซึ่ ง ปั จ จุบ นั ที่ เ กาหลี ใ ต้ ส ามารถลดขยะ พลาสติ กได้ 34% แล้วจากการน�ำเสนอของส�ำนักข่าว Arirang จากการส�ำรวจในปี 2015 ของ EUROMAP (European Plastics and Rubber Machinery) องค์กรทีด่ แู ล เกีย่ วกับเครือ่ งจักรทีผ่ ลิตพลาสติกและยางในสหภาพยุโรป พบว่าเกาหลีใต้มปี ริมาณการใช้พลาสติกต่อหัวอยูท่ ่ี 132.7 กิโลกรัม ซึ่งน� ำหน้ าประเทศยักษ์ใหญ่สหรัฐอเมริกาที่ม ี ประชากรมากกว่าเกาหลีใต้ถงึ 5 เท่า และหากคุณเคยไป เทีย่ วแดนโสม คุณก็จะไม่แปลกใจกับจ�ำนวนพลาสติกที่ เกาหลีใต้ผลิตออกมา เพราะไม่วา่ คุณจะเข้าร้านเสือ้ ผ้า ร้าน กาแฟ หรือร้านอาหารข้างทาง พลาสติกก็เป็ นหนึ่งในสิง่ ที่ จะต้อ งมีใ นร้า น รัฐ บาลเล็ง เห็น ปั ญ หานี้ ดีจึง เริ่ม คิด ค้น นโยบายการจัดการขยะในประเทศ ไม่วา่ จะเป็ นการลดการ แจกถุ งพลาสติก การรีไซเคิลถุ​ุ ง หรือการสร้างวินัยให้ ประชาชนแยกขยะ

ครัง้ แรกทีฉ่ นั ไม่ได้รบั ถุงพลาสติกหลังจากซือ้ ของ ในร้านสะดวกซือ้ เกิดขึน้ ทีเ่ กาหลีใต้ พูดตรงๆ ว่ามันท�ำฉัน อึง้ ไปครูห่ นึ่งเลยทีเดียว สามปี ก่อนทีก่ ารรณรงค์เรือ่ งขยะ พลาสติกยังไม่เป็ นกระแสอย่างปั จจุบนั ฉันเองก็เป็ นผูห้ ญิง คนหนึ่งทีย่ งั แยกขยะรีไซเคิลออกจากขยะทัวไปไม่ ่ ถกู ท�ำให้ ถึงกับยืน่ นิง่ ตอนจ่ายเงินค่านมกล้วยแพ็คใหญ่และบะหมีก่ ง่ึ ส�ำเร็จรูปทีร่ า้ นสะดวกซือ้ และพนักงานไม่ยอมใส่ถุงให้ เรา ยืนมองหน้ากันโดยทีต่ า่ งฝ่ ายต่างไม่พดู อะไรเพราะก�ำแพง ภาษา จนเพือ่ นมาสะกิดว่า “เขาไม่ให้ถุงพลาสติกเว้ยแก” ฉัน เลยถึง บางอ้อ และหอบของที่ซ้ือ กลับ โฮสเตลอย่ า ง ทุลกั ทุเล แม้ในตอนนัน้ รัฐบาลจะยังไม่ได้แบนการใช้ถุง พลาสติกอย่างจริงจัง แต่เกาหลีใต้กม็ กี ารรณรงค์ไม่แจกถุง พลาสติกในร้านสะดวกซือ้ อยูแ่ ล้ว โดยถ้าลูกค้าต้องการถุง พลาสติกกลับบ้านจะต้องซื้อถุงเพิม่ ในราคาหนึ่งร้อยวอน หรือราว สองบาทสิบสตางค์ ถึงจะเป็ นจ�ำนวนเงินทีซ่ อ้ื ไม่ ได้แม้แต่ลูกอม แต่คนเกาหลีกห็ นั มาพกถุงผ้ากันมากขึน้ เมือ่ ไปร้านสะดวกซือ้ อีกสิง่ หนึ่งที่หากคุณเคยไปเที่ยวเกาหลีใต้หรือ ชอบดูซรี สี ข์ องแดนกิมจิกจ็ ะเห็นเป็ นปกติกค็ อื ผูค้ นทีม่ กั ถือถุงพลาสติกสีดำ� เวลาออกมาจากร้านอาหาร ฉันเองตอน ซื้อต็อกบกกีจากร้านหนึ่งแถวมยองดงก็ได้ถุงด�ำกลับมา เช่นกัน ส�ำหรับเจ้าถุงด�ำนี้คนไทยบางคนเห็นก็อาจนึกว่า เป็ นถุงขยะเพราะคุน้ ชินกับการใช้ถุงขยะสีดำ� แต่ทจ่ี ริงแล้ว มันคือถุงพลาสติกใส่ของทัวไปนั ่ น่ แหละ แต่ท่มี นั มีสสี นั แปลกตาเพราะถุงเหล่านี้มาจากการรีไซเคิลถุงพลาสติก ประเภทต่างๆ รวมกันแล้วผลิตออกมาเป็ นถุงราคาถูกอีกที หนึ่ง ถุงพลาสติกสีดำ� จึงเป็ นทีน่ ิยมส�ำหรับร้านขายอาหาร

ข้างทางเพื่อลดต้นทุน ถือเป็ นวิธกี ารหนึ่งในการน� ำขยะ พลาสติกมารีไซเคิลทีเ่ กิดประโยชน์อย่างมาก และเมือ่ คุณไปเทีย่ วเกาหลีและพักทีโ่ ฮสเตล สิง่ หนึ่งทีจ่ ะต้องท�ำก็คอื การแยกขยะก่อนน�ำไปทิง้ โดยตัง้ แต่ วันแรกทีเ่ ข้าพัก เจ้าของโฮสเตลก็จะก�ำชับคุณอย่างดีเรือ่ ง การแยกขยะ เนื่องจากเขาจะถูกปรับหากคุณไม่แยกขยะ ให้ถกู ต้องก่อนไปทิง้ ถ้าถามว่าต�ำรวจจะรูไ้ ด้อย่างไรว่าคุณ ทิง้ ขยะถูกไหม ก็จากกล้องวงจรปิ ดทีต่ ดิ อยู่ทท่ี ง้ิ ขยะน่ ะสิ ใช่แล้ว แดนโสมแห่งนี้ถงึ กับติดกล้องวงจรปิ ดเพือ่ ให้คนทิง้ ขยะอย่างถูกต้อง ซึง่ ดูเหมือนจะเป็ นวิธกี ารทีไ่ ด้ผลดีทเี ดียว ในตอนแรกคุณอาจจะยืนมองกองขยะอยูส่ กั ครูเ่ หมือนทีฉ่ นั และเพือ่ นๆ เป็ น เพราะการแยกขยะในเกาหลีใต้มปี ระเภท หลากหลายและมีขนั ้ ตอนทีม่ ากกว่าของไทย โดยทีน่ นจะ ั่ มีการแบ่งสีถุงขยะตามประเภทของขยะ ซึง่ สีถุงเหล่านี้จะ ต่างกันไปในแต่ละเขตพักอาศัย ผูอ้ าศัยจะต้องไปซือ้ จาก ส�ำนักงานเขตของตัวเอง และคุณจะแอบใช้ถุงอืน่ ทิง้ ก็ไม่ได้ นะ เพราะพนักงานเก็บขยะเขาก็จะไม่ยอมเก็บ และเพือ่ เพิม่ ความยุง่ ยากขึน้ ไปอีก ขยะบางประเภทจะมีวนั ทิง้ ทีต่ า่ งจาก วัน อื่น และต้ อ งเสีย เงิน ค่ า ทิ้ง ด้ ว ย เช่ น ขยะประเภท เฟอร์นิเจอร์ หากยกตัวอย่างให้คุณเห็นภาพล่ะก็ ในเย็นวัน หนึ่งทีค่ ณ ุ ซือ้ ปูกลับมาทานทีบ่ า้ น ขยะทีค่ ณ ุ ต้องแยกก็มถี งึ 3 ประเภทเลยทีเดียว โดยแยกกระดองปูใส่ถงั ประเภททัวไป ่ แยกเนื้อปูทค่ี ณ ุ กินเหลือไว้กบั ขยะประเภทเศษอาหารเพือ่ ทีจ่ ะน�ำไปรีไซเคิลเป็ นปุ๋ ยต่อไป และแยกถุงพลาสติกทีค่ ณ ุ ใช้หว้ิ กลับมาไปทีข่ ยะประเภทพลาสติก ซึง่ ความยุง่ ยากใน การทิง้ ขยะเป็ นส่วนหนึ่งทีท่ ำ� ให้คนเกาหลีมวี นิ ยั ในการทิง้

ขยะและพยายามจะรีไซเคิลมากขึน้ เพือ่ ทีจ่ ะไม่ตอ้ งเสียเงิน ไปกับค่าถุงขยะหรือค่าทิง้ ขยะพวกเขาจึงต้องลดขยะทีจ่ ะ ทิง้ ให้มากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้นนเอง ั่ คงปฏิเสธไม่ได้วา่ สิง่ หนึง่ ทีท่ ำ� ให้เกาหลีใต้สามารถ ลดขยะพลาสติกได้เรือ่ ยๆ นัน้ ก็เป็ นเพราะรัฐบาลให้ความ ส�ำคัญกับเรือ่ งนี้เป็ นอย่างมาก โดยนอกจากความพยายาม ทีจ่ ะลดขยะพลาสติกทีไ่ ด้กล่าวไปข้างต้น รัฐบาลเกาหลีใต้ ยังมีโครงการ Plastic zero waste picnic ซึง่ เป็ นการใช้ ประโยชน์ จ ากนิ ส ัย รัก การปิ กนิ ก ของคนในประเทศ มารณรงค์ใ ห้ป ระชาชนน� ำ อาหารใส่ ก ล่ อ งอาหารแทน พลาสติกออกไปปิ กนิกทีส่ วนสาธารณะ และยังมีนโยบาย น� ำขยะประเภทเศษอาหารมารีไซเคิลให้เป็ นปุ๋ ยส�ำหรับ เกษตรกรรมอีกด้วย ส�ำหรับประเทศไทยของเรา รัฐบาลก็เริม่ ลงมือ จัดการเรือ่ งปั ญหาพลาสติกแล้วเช่นกัน แม้จะช้าอยูบ่ า้ งแต่ ก็เริม่ ไปแล้วเมื่อต้นปี ท่ผี ่านมา มีการรณรงค์ไม่แจกถุ ง พลาสติกในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นและห้างสรรพสินค้า ซึ่ง เป็ นการร่ ว มมื อ กั น ระหว่ า งเอกชนกั บ กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม และเมือ่ เดือนกันยายน ปี น้ี กระทรวงก็ตงั ้ เป้ าหมายใหม่ให้รา้ นสะดวกซือ้ ทัง้ หมด ในประเทศไทยเลิกแจกถุงพลาสติก 100% ภายในเดือน มกราคม ปี 2021 และจะเริม่ โครงการตัง้ แต่เดือนมกราคม ปี 2020 ทีก่ ำ� ลังจะถึง โดยถ้าประชาชนอยากได้ถงุ พลาสติก ก็จะต้องจ่ายในราคา 2 - 3 บาท จึงยังไม่ใช่การแบนถุง พลาสติกอย่างเด็ดขาดแบบเกาหลี แต่กถ็ อื เป็ นก้าวหนึ่งที่ ประชาชนไทยจะต้องปรับตัว


ฉบับที่ 5 ปี ท่ี 62 วันที่ 6 - 19 พฤศจิกายน 2562

หน้า 7

เรือ่ ง: หทัยธร หลอดแก้ว

“สิงห์”

วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล กับช่วงชีวิตที่หยุดพั ก เพื่ อหันมารักษ์โลก คุยกับสิงห์ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล ชายหนุ่มนักเดินทาง ทีม่ กั จะออกเดินทางเพือ่ เก็บ เรือ่ งราวทีน่ ่าสนใจจากทัวทุ ่ กมุมโลก แล้วน�ำมาส่ง ให้กบั ผูช้ มผ่านรายการ ‘เถื่อน Travel’ การพูดคุย ครัง้ นี้จะพาไปรูจ้ กั เรือ่ งราวของสิงห์อกี ครัง้ ในช่วง ชีวติ ทีเ่ ขาแวะพักเพือ่ เรียนรูเ้ รือ่ งสิง่ แวดล้อม และ เตรียมน�ำมาบอกเล่ากับทุกคน พร้อมทัง้ ช่วงชีวติ เมือ่ ครัง้ เป็ นนักศึกษาธรรมศาสตร์ และฝากก�ำลัง ใจถึงคนรุน่ ใหม่ทกุ คน ชีวิตสมัยเป็ นนักศึกษาที่ธรรมศาสตร์เป็ นอย่างไรบ้าง เราจบจากคณะเศรษฐศาสตร์ ภาคอินเตอร์ ซึง่ ไม่ตรงกับสายงานทีท่ ำ� อยูเ่ ลย ตอนทีเ่ ข้าไปก็เนิรด์ ๆ เป็ น เด็กเรียนมาก เรียนเสร็จกลับบ้านก็มานังสรุ ่ ปใจความที่ เรียนมา ให้เพือ่ นเอาไปถ่ายเอกสารแจกต่อกัน แต่ในขณะ เดียวกันก็ทำ� กิจกรรมไปด้วย เราอยูใ่ นองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรืออมธ.ด้วย มีทำ� แมกกาซีน ท�ำค่ายอาสา ละครเวที ก็คอื ท�ำแทบทุกกิจกรรมทีท่ ำ� ได้ ท�ำไมเลือกเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ ตอนเรียนจบมัธยมก็ยงั ไม่คอ่ ยมีไอเดียว่าจะเรียน อะไรดี แต่วา่ ทีต่ งั ้ ใจอย่างหนึ่งเลยก็คอื อยากเรียนจบไปแล้ว ท�ำงานทีม่ ปี ระโยชน์กบั สังคม ท�ำงานทีช่ ่วยพัฒนาสังคม ตอนนัน้ ลังเลระหว่างรัฐศาสตร์กบั สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ แต่แม่ (จิระนันท์ พิตรปรีชา อดีตแกนน�ำนักศึกษาเหตุการณ์ 14 ตุลา และนักเขียนรางวัลซีไรต์ จากกวีนิพนธ์เรือ่ ง ใบไม้ ทีห่ ายไป) แนะน�ำว่าลองเรียนเศรษฐศาสตร์ดไู หม เพราะ เรามีหวั ด้านเลขอยูแ่ ล้ว แล้วมันก็เป็ นคณะทีค่ อ่ นข้างเชือ่ ม โยงความเป็ นสังคมกับด้านทีเ่ ป็ นตัวเลข ตอนแรกไม่แน่ใจ ว่าจะเรียนได้ไหม แต่เรียนไปเทอมหนึ่งก็ชอบ แล้วอินไป กับการเรียนคณะนี้ มันท�ำให้เราเข้าใจสังคมในมิตทิ เ่ี ราไม่ เคยเข้าใจมาก่อนผ่านการคิดค�ำนวณ แล้วก็ชอบคิดเลข ชอบเรือ่ งกราฟอยูแ่ ล้ว ก็เลยสนุกสนานกับมันไป

มีแฟนคลับที่เป็ นวัยรุ่นหรือเยาวชนเยอะมากที่มอง สิ งห์ วรรณสิ งห์ เป็ นตัวอย่างในการใช้ชีวิต เรามอง เขาเหล่านัน้ กลับไปอย่างไรบ้าง เราตัง้ ใจท�ำสิง่ ที่เรารักและตัง้ เป็ นเป้ าหมายมา ตลอดว่าจะท�ำอะไรก็ตามทีท่ ำ� แล้วมีผลกระทบเชิงบวกต่อ สังคม เด็กหลายคนชื่นชมเราก็ดใี จ แต่ในแง่หนึ่งเราไม่ อยากให้เขายึดทีต่ วั บุคคลมากเกินไป อยากให้เขาสนใจ ข้อความทีเ่ ราพูดเยอะๆ สิง่ ทีพ่ ูดถ้าเขาเห็นว่ามีคุณค่าก็ อยากให้เขาเอาไปใช้เป็ นแรงบันดาลใจในการท�ำสิง่ ต่างๆ ทีด่ เี พื่อสังคมต่อไป โดยส่วนตัวเรารูส้ กึ ว่าเรายังไม่ได้ท�ำ อะไรเยอะขนาดนัน้ ยังมีอกี หลาอย่างมากที่ยงั อยากท�ำ มากกว่านี้ ต้องคอยเตือนตัวเองตลอดเวลาว่าอย่าไปเหลิง สิง่ นี้แค่เป็ นหนึ่งในแรงผลักดันทีน่ ้องๆ เขาจะใช้เป็ นตัวย่าง ได้ แต่ตวั เราเองก็อย่าไปคิดว่าเราเป็ นที่สุด แล้วก็ต้อง พยายามต่อไปมากขึน้ เรือ่ ยๆ

กรุงเทพฯ จะอยูก่ นั ได้ไหมเพราะว่าเราก�ำลังจมลงทุกปี ซึง่ เรือ่ งความจมลงเนี่ยเราได้ยนิ ทุกปี แต่เราไม่เคยศึกษาว่ามัน จะจมปี ไหนอย่างไร หรือจะท�ำยังไงเพือ่ ปกป้ องกรุงเทพได้ บ้าง หรืออย่างน�้ำท่วมทีอ่ บุ ลฯ หลายคนก็ไม่ได้เชือ่ มเข้ากับ รูปแบบของ Climate change เรารูส้ กึ ว่าสังคมก�ำลังต้องการ การสือ่ สารทีช่ ดั เจนว่าสิง่ นี้มนั ไม่ได้เกิดแล้วก็จบไป แต่มนั ก�ำลังทวีความรุนแรงมากขึน้ เรือ่ ยๆ ไม่ใช่แค่รนุ่ ลูกรุน่ หลาน แต่รนุ่ เรานี่แหละในอีก 10 ปี ขา้ งหน้า เรือ่ งนี้มนั คือวิกฤตใน ระดับการเอาตัวรอดของสิง่ มีชวี ติ

ไม่มที างเป็ นไปได้หรอก หรือว่าเป็ นความกลัวจะล้มเหลว สิง่ เหล่านี้เราแก้ไขได้ดว้ ยการปรับแต่งจิตใจ ยึดมันในความ ่ คิดของเราแล้วก็มุ่งไปข้างหน้ าอย่างแข็งแรง เพราะว่า เงือ่ นไขทีเ่ ราควบคุมไม่ได้อย่างเช่นพ่อแม่ สมมุตพิ อ่ แม่ป่วย หรือทีบ่ า้ นเศรษฐกิจไม่ดี สิง่ เหล่านี้กต็ อ้ งยอมรับกันไป ใน ขณะที่ตวั เรายอมรับว่าโชคดีท่เี กิดมาก็มพี ้นื ที่ให้ใช้ชวี ติ เยอะมาก แล้วการทีพ่ อ่ แม่มชี อ่ื เสียงก็ทำ� ให้ประตูบานแรกๆ มันเปิ ดออกให้เราได้ลองท�ำนู่นท�ำนี่ตงั ้ เยอะ มันเป็ นเรื่อง ดวงประมาณ 50% ทีเ่ ราจะท�ำอะไรแบบนี้ได้

แต่งบประมาณด้านสิ่ งแวดล้อมของประเทศปี 2563 ได้น้อยมากเลยนะ ตอนนี้ไม่ใช่แค่รฐั บาลไทยแต่เป็ นรัฐบาลทัวโลก ่ ที่ มีทที า่ ไม่สนใจสิง่ แวดล้อม ก่อนหน้านี้ประเทศมักน�ำเสนอ ประเด็นสิง่ แวดล้อมให้เป็ นเรื่องของคนดีต้องอนุ รกั ษ์สงิ่ แวดล้อม ไปมองในเชิงจริยธรรม แต่ตอนนี้ไม่ใช่แค่เรือ่ งของ จิตส�ำนึกหรือจริยธรรม แต่เป็ นเรือ่ งของสังคม เศรษฐศาสตร์ การเมือง ทีเ่ ราจะสามารถออกแบบระบบใหม่ๆ เพือ่ อยูก่ บั ข้อจ�ำกัดทางด้านสิง่ แวดล้อมได้ไหม ก่อนหน้านี้ทเ่ี ราผลิต อะไรหลายอย่างโดยไม่สนใจเลยว่าข้อจ�ำกัดทางสิง่ แวดล้อม ของเราจะเป็ นยังไง ซึง่ สุดท้ายรัฐบาลเป็ นกลไกส�ำคัญอย่าง หนึ่งในการแก้ไขปั ญหา แต่การเปลีย่ นแปลงไม่ได้เริม่ ต้น จากรัฐบาล เพราะรัฐบาลเป็ นการเชื่อมต่อสุดท้ายที่จะ เปลีย่ น เราต้องเปลีย่ นมหาชนให้ได้ก่อน เพราะถ้าสังคม เริม่ เปลีย่ นไปมากพอ รัฐบาลก็คงต้องเปลีย่ นตาม

มีสิ่งไหนที่เราจดจ�ำจากพ่อแม่แล้วน�ำมาใช้บา้ งไหม ทัง้ พ่อทัง้ แม่จะสอนคนละแบบกัน แต่วา่ ของพ่อ (เสกสรรค์ ประเสริฐกุล แกนน�ำนักศึกษาเหตุการณ์ 14 ตุลา และศิลปิ นแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ) สิง่ ทีช่ อบมากก็คอื เขา จะบอกเสมอว่า คนเรามีความสัมพันธ์ 3 ระดับ ให้เราดูแล 1.ความสัมพันธ์กบั ตัวเอง คือเราท้อแท้กบั ตัวเองหรือเปล่า เข้าใจตัวเองขนาดไหน ซื่อสัตย์กบั ตัวเองขนาดไหน แล้วก็ มีก ารส�ำ รวจตัว เองมากขึ้น เท่ า ไหร่ ใ นช่ ว งวัย ที่ผ่า นไป 2.ความสัมพันธ์กบั ผูอ้ ่นื คือดูแลคนรอบข้างดีไหม ดูแล ครอบครัวดูแลแฟน ดูแลเพือ่ นดีไหม 3.ความสัมพันธ์กบั สังคม กับจักรวาล กับสิง่ ทีใ่ หญ่กว่า สิง่ ทีอ่ ยูร่ อบข้าง เรา เห็นประโยชน์อะไรจากสิง่ เหล่านัน้ หรือยัง แล้วเราเห็นพืน้ ที่ ของเราในจักรวาลนี้ สามารถเชือ่ มโยงดวงดาวกับภูเขากับ แม่น้�ำล�ำธารได้มากขนาดไหน ซึง่ สิง่ เหล่านี้มนั เป็ นเรือ่ งทาง จิตวิญญาณที่ลกึ ลงไปอีก ก็เป็ นวิถีชวี ติ ที่เรายึดมาโดย ตลอดนะ แล้วในขณะทีแ่ ม่เขาจะไม่ได้สอนเป็ นค�ำสอนที เดียว แต่จะใช้ชวี ติ เป็ นตัวอย่างให้ดู สิง่ หนึ่งทีไ่ ด้จากแม่ เสมอก็คอื Be kind ใจดีกบั ผูอ้ น่ื อันนี้เป็ นเรือ่ งทีไ่ ม่ได้ซบั ซ้อนอะไรแต่แม่เขาท�ำตลอดเวลา กระจายความรักความ รูส้ กึ ดีๆ กับคนรอบข้างได้รวดเร็วและทัวถึ ่ งมาก แล้วบางที เราบกพร่องเรือ่ งพวกนี้ไปมากเหมือนกัน ก็เลยใช้แม่เป็ น ตัวอย่างทีด่ ใี นเรือ่ งนี้

มีแฟนคลับเยอะขึน้ แล้วต้องแบกรับอะไรมากขึน้ ไหม พยายามจะไม่ค่อยรับ คือด้านหนึ่งเราพูดเรื่อง สังคม แต่อกี ด้านเรือ่ งงานเรือ่ งรายการทีท่ ำ� ยันหนังสือที่ เขียน เราค่อนข้างทีจ่ ะท�ำตามใจตัวเองมาตลอด ไม่เคยคิด เลยว่าคนดูจะรูส้ กึ ยังไง หรือจะขายสปอนเซอร์ได้ไหม เรา ท�ำงานได้ดที ส่ี ดุ ด้วยอารมณ์แบบนี้ โดยความคิดทีแ่ ค่อยาก ท�ำหรือมีแรงบันดาลใจจะท�ำ เลยไม่ไปใส่ใจตรงนัน้ มาก รับ ไว้เป็ นก�ำลังใจเป็ นแรงผลักดัน แต่ไม่รบั หรือไปถือมันเอา ไว้เป็ นหัวโขนอะไร อย่างช่วงก่อนหน้านี้ประมาณเกือบปี ท่ี ได้เอาใบปริ ญญาที่ได้มาไปใช้ประโยชน์ อะไรบ้าง ไม่ ไ ด้ ใ ช้ เ ลย ไม่ เ คยต้ อ งสมัค รงาน เราเป็ น หยุดพักไปยาว เพราะรูส้ กึ ว่าเราไม่มสี งิ่ ทีอ่ ยากจะท�ำหรือ ถ้าท�ำรายการที่น�ำเสนอเรื่อง Climate change แล้ว สิง่ ทีอ่ ยากจะพูดเพิม่ เติมผ่านงานตัวเอง ถ้าเราใช้สงิ่ ทีส่ งั คม ฟรีแลนซ์มาตลอด สิง่ ทีไ่ ด้คงเป็ นการเรียนรูเ้ รือ่ งการท�ำงาน ต้องการเป็ นแรงผลักดัน ต้องมีกระแสตอบรับทีด่ เี ป็ นตัว วางเป้ าหมายคนดูเป็ นคนกลุ่มไหน การใช้ชวี ติ ในสังคม และก็ได้เอามาประยุกต์แนวคิดทาง จูงใจ บางทีมนั ท�ำให้เราได้ทำ� ในสิง่ ทีเ่ ราไม่ได้อยากท�ำจริงๆ ก็เป็ นค�ำถามทีห่ ลายคนถามแต่ไม่เคยตอบตัวเอง สังคม เศรษฐศาสตร์ การเมืองหลายอย่าง ไปใช้เขียนบท ได้เลย ค�ำตอบก็คอื ใครอยากดูเดีย๋ วก็คงมาดูเอง ไม่ได้ตอบ ในรายการ ทีเ่ หลือก็เป็ นความรูท้ เ่ี ราขวนขวายเองหลังจาก กวนตีนนะ ตอนท�ำเถื่อน Travel ก็ไม่ได้คดิ เลยว่าคนดูคอื ช่วงนี้ ทำ� อะไรอยู่บา้ ง เรียนจบไปแล้ว ใบปริญญาทีเ่ คยได้มาไม่ได้ใช้สกั ครัง้ เลย ในช่วงปลายปี น้ีจะมีการกลับมาปล่อยรายการ ใคร คิดว่าไม่มคี นดูด้วยซ�้ำแล้วคนดูเขาก็หากันเจอเอง เถือ่ น Travel อีกครัง้ แต่จะเป็ นช่องทางออนไลน์อย่างเดียว ค�ำถามนี้กเ็ ลยตอบไม่ได้เพราะว่าไม่ได้คดิ ไว้ตงั ้ แต่แรก ธรรมศาสตร์สมัยที่เรียนเป็ นอย่างไรบ้าง สัง คมสมัย ก่ อ นพยายามท�ำ ให้ค นรุ่น ใหม่ใ ส่ใ จ มีชอ่ื ช่องว่า เถื่อน Channel ในช่องก็จะมีรายการต่างๆ ซึง่ ถ้าท�ำแล้วไม่มีคนดู การเมือง ซึง่ เป็ นเรือ่ งทีค่ อ่ นข้างยากเหมือนกัน เพราะเรียก เนื้อหาส่วนใหญ่ จะเป็ นเรือ่ ง Climate change (สภาพภูม ิ ก็ตอ้ งลองปรับดู เราก็ตอ้ งดูวา่ เราแฮปปี้ ทจ่ี ะท�ำ ได้ว่าตอนนัน้ เป็ นช่วงทีบ่ า้ นเมืองไม่ได้มปี ั ญหาหมักหมม อากาศทีเ่ กิดขึน้ จากการไต่ระดับสูงขึน้ ของอุณหภูม)ิ หรือ มากพอทีค่ นหนุ่มสาวจะสนใจ แต่สำ� หรับเรามีสงิ่ ทีต่ กทอด เรือ่ งสิง่ แวดล้อม โดยอาจจะไม่ทำ� เถื่อน Travel แบบเดิม ต่อไหม ถ้าปรับไปแล้วมีความสุขก็จะท�ำต่อไปแต่ถา้ ปรับ มาจากรุ่นพ่อรุ่นแม่อยู่ในตัวมาเยอะเลยทีเดียว แล้วพอ แล้วก็ได้ เพราะว่าเราไม่ได้มแี รงอยากจะไปเดินทางท่อง แล้วไม่ใช่สงิ่ ทีเ่ ป็ นตัวเรา ก็เลิกไปเลยดีกว่า ในตอนแรกที่ เข้าไปเรียนในธรรมศาสตร์กร็ สู้ กึ ได้วา่ สิง่ ทีเ่ ป็ นธรรมศาสตร์ เทีย่ วดูอะไร ดูมาเยอะจนไม่คอ่ ยอยากจะเห็นอะไรแล้ว แต่ เราสร้างเราไม่ได้คดิ เรือ่ งธุรกิจขนาดนัน้ ไม่ใช่วา่ ไม่แคร์เงิน ในรุน่ ก่อน ทีไ่ ด้รบั ฟั งมาตลอด กับสิง่ ทีไ่ ด้เข้าไปเรียนแล้ว จะพาผูค้ นไปดูสงิ่ ทีม่ นั เกิดขึน้ กับโลกจริงๆ ผ่านสายตาเรา เลยแต่ไม่อยากใช้ธรุ กิจเป็ นตัวตัง้ ต้น เราเชือ่ ว่าถ้าท�ำดีพอ เห็นมามันเป็ นคนละอย่างกัน คือเด็กในมหาวิทยาลัยไม่ได้ เกีย่ วกับเรือ่ ง Climate change เพราะเรือ่ งนี้เป็ น Mission เดีย๋ วจะมีคนมาซือ้ มันเอง ซึง่ มันก็เป็ นอย่างนัน้ แทบทุกครัง้ มีจติ วิญญาณทางด้านสังคมหรือการเมืองเท่ากับทีเ่ ราได้ยนิ ใหม่ทเ่ี รารูส้ กึ ว่ากระทบใจ แล้วอยากพูดอะไรเกีย่ วกับมัน ในการท�ำงานทีผ่ า่ นมา แต่ว่าในอนาคตก็อาจตกกระป๋ อง ให้เ กิด ผลกระทบทางความคิด ทางอารมณ์ มัน น่ า จะมี แล้วก็ได้ เดีย๋ วรอดูอกี ที มาก่อนทีจ่ ะเข้าไปเรียน ประโยชน์ ก็เลยกลับมาท�ำอีกครัง้ เป็นโปรเจ็กต่อไปหลังจากนี้ ถ้าหลายๆ คนไม่ได้มีต้นทุนในชีวิตมากขนาดนัน้ สมัยที่เรียนกับสมัยปัจจุบนั คิ ดว่า ตอนนี้ ยงั มี Passion เท่าช่วงที่เริ่ มท�ำงานแรกๆไหม จะสามารถใช้ชีวิตแบบสิ งห์ วรรณสิ งห์ได้ไหม ธรรมศาสตร์เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง เราอยู่ ใ นวัย ที่ไ ม่ ไ ด้ อ ยากพิสู จ น์ ต ัว เองอะไร บางทีกห็ นักใจเหมือนกันทีเ่ ด็กหลายคนเห็นเรา ไม่รวู้ า่ ธรรมศาสตร์เปลีย่ นไปยังไงบ้าง แต่เท่าที่ มากมาย เราท� ำ เมื อ ่ อยากท� ำ เมื อ ่ มี แ รงจะท� ำ แล้ ว ก็ ร จ ู ้ ก ั การ เป็ นไอดอลต้นแบบอะไร เพราะเงือ่ นไขของเราค่อนข้างที่ เคยได้ไปพูดในมหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่ใช่แค่ธรรมศาสตร์ท่ี ท� ำ และการผ่ อ น อย่ า งแต่ ก อ ่ นเราจะท� ำ 100% ตอนนี ้ ก ท ็ ำ � จะแตกต่ า งจากคนอื่น อยู่ เ ยอะ อย่ า งแรกเลยคือ เรื่อ ง เดียวโดยรวมส่วนมากทุกๆ มหาวิทยาลัย รูส้ กึ ว่าเด็กสมัย อิสรภาพคือเรามีอสิ ระมากๆ ตัง้ แต่ในบ้านเลยก็คอื เรา นี้ใส่ใจสังคมกันค่อนข้างเยอะ หลายครัง้ เขาจะมีคำ� ถามที่ เหลือประมาณ 60 - 70% อีก 30 - 40% ก็เอาไปพัก สามารถท�ำสิง่ ต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ บางคนเขาอาจ เราไม่คาดคิดว่าจะถามได้แหลมคมขนาดนัน้ พอสังคมมี ่ งแวดล้อม ท� ำ ไมมาสนใจเรื อ ่ งสิ จะทางตันตัง้ แต่ทบ่ี า้ นเลย ยังไม่ได้เริม่ ท�ำพ่อแม่อาจจะห้าม ปั ญหาหมักหมมเยอะๆ เขาก็ตดิ ตามว่ามันมีอะไรเกิดขึน้ ต้องถามว่าท�ำไมทุกคนไม่สนใจมากกว่า เรือ่ งนี้ แล้ว เราเลยไม่สามารถทีจ่ ะมีขอ้ เสนอแนะ หรือว่าแรงจะ บ้าง อะไรคือค�ำตอบของทางออกของปั ญหาเหล่านี้ แล้วเรา รูส้ กึ ว่าเขากระหายความรูก้ นั มาก ซึง่ เราดีใจทีม่ โี อกาสได้ คือประเด็นทีใ่ หญ่ทส่ี ดุ ในยุคสมัยของเราแล้ว ไม่ว่าจะเป็ น สนับสนุ นไปในทางนัน้ ให้เขาได้เลย ทีน้ีเลยอยากบอก ไปพูดตามมหาวิทยาลัยต่ างๆ มันเหมือนท�ำให้ได้แลก ประเทศไหนๆ ต่างเก็บเรือ่ งนี้เป็ นวาระท้ายสุดในสังคมและ ส�ำหรับคนทีม่ เี งือ่ นไขแตกต่างกันไป ไม่วา่ จะเป็ นเงือ่ นไข เปลีย่ นความรูก้ นั และบางทีเด็กก็สอนเราด้วย ถ้าเทียบกับ ระบบการเมืองเสมอ ถ้าเราศึกษาจริงๆ มันเป็ นประเด็นเรือ่ ง ทางเศรษฐกิจหรือว่าเงื่อนไขทางครอบครัว คือมันจะมี ความอยู่รอดของทัง้ สปี ชสี เ์ ลย แล้วส่งผลกระทบแทบทุก เงือ่ นไขทีเ่ ราต้องยอมรับจริงๆ อย่างทีเ่ ราควบคุมไม่ได้อยู่ ตอนทีเ่ รียนอยูร่ สู้ กึ ว่าเด็กจะใส่ใจสังคมขึน้ เยอะ อย่าง ทัง้ ราคาอาหารทีเ่ ราต้องกิน ทัง้ น�้ำทีเ่ ราต้องมีดม่ื หรือ กับอีกเงือ่ นไขทีเ่ ราสร้างขึน้ เองในหัว เช่น ท�ำไม่ได้หรอก

เคยคิ ดอยากกลับไปเป็ นเด็กอีกครัง้ ไหม ไม่เคยเลย เพราะทุกวันนี้กย็ งั ท�ำตัวเป็ นเด็กอยู่ แล้ว พอเป็ นผูใ้ หญ่เนี่ยมันมีโอกาสดีกว่าตอนเป็ นเด็กอย่าง หนึ่งคือเราเล่นสนุ กกับมัน แต่ในขณะเดียวกันเรามาสร้าง เป็ นผลงานของเราได้ แล้วก็ส่งต่อไปให้คนข้างนอกได้ เรือ่ ยๆ ขณะทีต่ อนเด็กเราอาจจะได้แค่สนุกกับมันอย่างเดียว มี Mission ไหนในชีวิตทีย่ งั ไม่ได้ทำ� หรือยังท�ำไม่เสร็จไหม ไม่มที ย่ี งั ท�ำไม่เสร็จมีแต่ทำ� ไปเรือ่ ยๆ ถ้าเป็ นตอน อายุน้อยก็จะคิดว่าต้องท�ำอันนี้ให้ได้กอ่ นอายุเท่านี้ แต่ตอน นี้มเี วลาเหลืออีก 60 ปี กว่าจะตายคิดไรออกก็ทำ� อันนัน้ เท่า ทีจ่ ะท�ำได้ ถ้าท�ำไม่ได้กแ็ ค่วางมัน ถ้าท�ำได้กท็ ำ� ให้เต็มทีไ่ ป เรือ่ ยๆ ให้กำ� ลังใจเด็กที่กำ� ลังจะจบใหม่หน่ อย เรียนจบมหาวิทยาลัยมันเป็ นแค่กา้ วเล็กนิดเดียว ก่อนทีเ่ ราจะไปต่อในอนาคต โลกนี้มที งั ้ โจทย์ทง่ี า่ ยขึน้ แล้ว ก็ยากขึน้ เรื่อยๆ คิดว่าโลกทีน่ ้องทุกคนจะออกไปเจอ จะ เป็ นโลกทีน่ ่ าสนใจ คือมันง่ายมากทีจ่ ะหาจุดของตัวเองที่ แตกต่างท�ำอะไรแปลกใหม่ แต่ในทางเดียวกันก็ยากทีจ่ ะ โดดเด่นขึน้ มาเพราะมันมีคนท�ำอะไรแปลกใหม่เป็ นล้านคน ลองดูหวั ใจเราดีๆ แล้วพยายามอย่าเปรียบเทียบตัวเองกับ คนอื่นมาก ถ้าเจอจุดที่ทงั ้ ตัวเรา ทัง้ คนรอบข้างมีความ สุขร่วมกัน เราว่าตรงนัน้ ก็เป็ นจุดดีพอ แล้วก็ใจเย็นกับชีวติ ไม่ตอ้ งรีบมาก ไม่ตอ้ งกดดันตัวเองมาก


หน้า 8

ฉบับที่ 5 ปี ท่ี 62 วันที่ 6 - 19 พฤศจิกายน 2562

เมนูป่ ันชวนฝันหวาน เดิ นทางมาถึงมือ้ สุดท้ายแล้วคุณผูอ้ ่านที่น่ารักทุกท่าน หลังผ่าน การเดิ นทางมาอย่างหนักหน่ วง ทัง้ ไปกิ นโจ๊กที่โชคชัยสี่ เดิ นอารียต์ ามใจ สายหวาน ข้าวแกงย่านจตุจกั ร พบรักกับราเมนที่สขุ มุ วิ ท เมื่อมาถึงมือ้ สุดท้ายก็เริ่ มเหนื่ อยล้าขีเ้ กียจเข้าเมืองกรุงอันวุ่นวายเสียแล้ว เลยตัดสิ น ใจบุกเข้าร้านใกล้มธ. ที่กน็ ่ าประทับใจไม่แพ้ร้านในเมืองเลย “ลิงกัง” ถือเป็ นร้านประจ�ำของสมาชิกในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัย และเหมือนๆ จะเป็ นร้านประจ�ำของผูเ้ ขียนเองทีไ่ ปกินตัง้ แต่ปีหนึ่ง จนตอนนี้เรียนจะจบแล้วก็ยงั คงไปอุดหนุ นอยู่เรื่อยมา วิธกี ารเดินทางนัน้ ง่าย แสนง่าย ถ้าออกประตูเชียงรากหนึ่งก็เดินมาเรือ่ ยๆ ผ่านหอพักยูเฮ้าส์ ผ่านร้าน บัวลอยปริญญา และร้านเครื่องเขียน หรือหากใครออกมาจากประตูเชียงราก สองก็เพียงเลีย้ วขวาแล้วเดินผ่านร้านย่างเนยอีก 10 เมตร ก็จะถึงร้านทันที ร้านเป็ นร้านเล็กๆ ขนาด 1 คูหา หน้าร้านไม่ได้ตกแต่งหวือหวาสะดุด ตาเท่าไร ตอนเดินทางไปก็สงั เกตดีๆ เดีย๋ วจะเดินเลยเอา ข้างในร้านมีโต๊ะเล็กๆ 5 – 6 ตัว ตกแต่งด้วยผ้าปูโต๊ะลายดอกไม้น่ารัก ผนังทัง้ สองด้านละลานตาไป ด้วยกระดาษโพสต์อทิ บอกความในใจของลูกค้าจากรุน่ สูร่ นุ่ นอกจากนัน้ แล้วยัง มีโพสต์อทิ บอกไอดีไลน์อยูป่ ระปราย ชวนสงสัยเหมือนกันว่ามีคไู่ หนได้พบรักที่ ลิงกังกันบ้างหรือเปล่า เมนูในร้านนัน้ หลากหลาย มีทงั ้ บิงซู ปั งเย็น น�้ำปั น่ วาฟเฟิ ล โดยแต่ละ เมนูมสี ารพัดรสชาติ ผลไม้ นม ช็อกโกแลต และด้วยความทีว่ นั นี้ยกโขยงกันไป กินเหมือนฉลองปิ ดเล่มหนังสือพิมพ์กลายๆ (เล่มสุดท้ายแล้วค่ะคุณผูอ้ ่าน) ก็ เลยกินหลายเมนู เลยทีเดียว ทัง้ โกโก้ปัน่ ปั งเย็นบราวนีโกโก้ ลิงหิมะปี โป้

วาฟเฟิ ลซุปข้าวโพด โอรีโอปั น่ และยังมีไวท์มอลต์ปัน่ อีกด้วย เมือ่ สังเสร็ ่ จเสียง ทีเ่ ป็ นเอกลักษณ์ประจ�ำร้านก็ดงั ขึน้ ในทันที “ครืดดด ครืด ครืด ครืดดดดดดด” เสียงเครือ่ งปั น่ ขนาด 6.5 ริกเตอร์ สันสะท้ ่ านไปทัวทั ่ ง้ ร้าน ประกอบกับบทสนทนาทีด่ งั ขึน้ พร้อมๆ กัน (เหมือนมี มนต์สะกดให้คยุ กันตอนเครือ่ งปั น่ เริม่ ท�ำงาน ไม่รทู้ ำ� ไมเหมือนกัน) แต่เมือ่ มอง ผ่านเคาน์เตอร์ปรุงอาหารผ่านเครือ่ งปั น่ พลังท�ำลายสูงไปนัน้ ก็เห็นเพียงผูห้ ญิง ตัวเล็กๆ คนเดียว “ป้ าแอน” เจ้าของร้านลิงกังเป็ นผูห้ ญิงตัวเล็กๆ ทีด่ คู ล่องแคล่ว เดาได้ ว่าสมัยสาวๆ คงเปรีย้ วไม่เบา ดูแลร้านลิงกังเพียงคนเดียวจนร้านจะย่างเข้าปี ท่ี 12 แล้ว ก่อนหน้านี้รา้ นเคยอยูใ่ ต้หอพักยูเฮ้าส์เป็ นเวลา 7 ปี แล้วจึงย้ายมาอยู่ ทีน่ ่ีซง่ึ จะย่างเข้าสูป่ ี ท่ี 5 แล้วเหมือนกัน “ตอนแรกร้านเป็ นของพีส่ าว ส่วนชือ่ ก็ มาจากพีส่ าวทีเ่ กิดปี ลงิ ตอนแรกป้ าเป็ นสาวออฟฟิ ศของดีแทค ท�ำมาเป็ น 20 ปี แล้วก็อยากหาอะไรท�ำทีท่ ำ� คนเดียวได้ ดูแลเองได้ เพราะเบือ่ ทีจ่ ะคุมลูกน้องแล้ว” ป้ าก็เลยหันมาฝึกงานจากพีส่ าว ฝึกอยูส่ องเดือนก็รสู้ กึ ว่าตัวเองพอจะมาทางนี้ ได้ แถมเวลามีเด็กๆ นักศึกษาเข้ามากินขนม ก็มเี พือ่ นให้พดู คุย ให้แกล้ง ก็ม ี ความสุขไปอีกแบบ จากความถูกใจในวันนัน้ ผ่านมาเกือบ 12 ปี ป้ าก็เลยมานัง่ ให้สมั ภาษณ์อยูใ่ นตอนนี้ ก่อนจะเข้าสูก่ ารรีววิ เมนูหลัก ก็อยากจะแนะน�ำกลยุทธ์เรียกลูกค้าทีป่ ้ า แอนพึง่ คิดค้นมาใหม่สดๆ ร้อนๆ เสียหน่อย เพราะร้านของหวานในเชียงราก ผุดขึน้ เป็ นดอกเห็ด ยังไม่รบั ร้านน�้ำปั น่ ชานม หรือน�้ำหวานทัง้ หลายทีอ่ ยู่ใน มหาวิทยาลัยซึง่ ขึน้ มาเป็ นคูแ่ ข่งในตลาดของหวานแบบไม่หยุดหย่อน ป้ าแอนก็

เลยปรึกษากับเพือ่ นและได้เมนูใหม่มาเป็ น “เครปพยากรณ์” ใช่แล้ว นอกเหนือจากของหวานทีบ่ รรยายไปข้างบน ร้านยังขายเครป อีกด้วย เรื่องไส้เครปนัน้ เป็ นไปตามมาตรฐานร้านป้ า เยอะ ถึงใจ ไม่ผดิ หวัง เพราะมีครัง้ หนึ่งป้ าราดท็อปปิ งช็อกโกแลตโดยให้ลกู ค้าทีส่ งบอกให้ ั่ หยุดเมือ่ ได้ ปริมาณตามทีพ่ อใจ แต่นางนัน้ เลิกลัก่ พูดช้าไปนิด ตัดภาพไปก็คอื เครปบนเตา ท็อปปิ งนัน้ ท่วมท้นมาก ส่วนทีเ่ ป็ นพยากรณ์นนั ้ เพราะว่า สังเครปหนึ ่ ่งเมนู ถาม ค�ำถามดูดวงได้หนึ่งค�ำถาม รออะไรล่ะทีน้ี ไปสังเครปกั ่ นสิคะ เรือ่ งดูดวงนี่เด็ก มธ. ไม่พลาดอยูแ่ ล้ว โดยทีเ่ พือ่ นคุณป้ าจะเป็ นคนดู เนื่องจากมีความรูเ้ รือ่ งไพ่ ยิปซี จากการเม้าท์มอยกับลูกค้าทีไ่ ปใช่บริการมาก็ได้ใจความสรุปมาว่า “ค�ำถาม เดียวมันน้อยไป” และเหมือนคุณป้ าจะรู้ ก็เลยบอกกับลูกค้าว่ากินไปก่อนแล้ว สะสมเป็ นแต้มเพือ่ ทีจ่ ะได้มาถามตอนดูดวงทีเดียวก็ได้นะจ๊ะ กลับมาบนโต๊ะของหวานกันบ้าง สองเมนูแรกทีม่ าถึงมือคือโกโก้ปัน่ และปั งเย็นบราวนีโกโก้ ด้วยความทีเ่ ป็ นลูกค้าประจ�ำในระดับหนึ่งก็อยากจะ แนะน�ำให้ผอู้ ่านทีไ่ ม่ใช่สายหวานเขียนบอกไปว่า หวานน้อย ไม่หวาน หวาน จึง๋ หนึ่ง หรือ หวานเท่าไร อะไรก็แล้วแต่ทจ่ี ะถูกปาก เพราะป้ าจะท�ำหวานไว้กอ่ น ใส่ไม่ยงั ้ ใส่แบบสะใจ ส่วนเรือ่ งท็อปปิ งนัน้ ไม่ตอ้ งกังวล ไม่ทำ� ให้ผดิ หวังแน่นอน อย่างปั งเย็นบราวนีก็มาด้วยขนมปั งน้ อยใหญ่วางเรียงอยู่บนน�้ ำแข็งปั น่ เนื้อ ละเอียดสีดาร์กช็อกโกแลต แถมยังมีบราวนีอกี ห้าหกชิน้ (ใหญ่ๆ) วางอยูด่ ว้ ย ท็อปปิ งรสช็อกโกแลตถูกราดลงมาอย่างทัวถึ ่ ง (ขนาดทีม่ องไม่เห็นขนมปั งและ บราวนีเลยเพราะท็อปปิ งทับไปหมดแล้ว) ส่วนโกโก้ปัน่ หวานน้อยนัน้ ก็รสชาติ คงเดิม ขมปลายๆ ให้สายโกโก้ได้สะใจ เมนูถดั มาคือวาฟเฟิ ลกับซุปข้าวโพด วาฟเฟิ ลบางๆ กลิน่ เนยหอมฟุ้ง มีความกรุบๆ ข้างนอก แถมนุ่มข้างในอร่อยขนาดไหนนัน้ ไม่ทราบ แต่วาฟเฟิ ล ถูกกินจนหมดเกลีย้ ง ซุปข้าวโพดนัน้ หวานเกินลิน้ ไปหน่ อย (อย่าลืมสังหวาน ่ น้อยนะ!) แต่สายหวานคงถูกใจเพราะมีแก้วช็อตใส่นมข้นหวานวางไว้เคียงข้าง เอาให้เลือดมันกลายเป็ นน�้ำตาลกันไปเลย นอกจากนัน้ แล้วก็มลี งิ หิมะปี โป้ หรือ นมปั น่ ราดหน้าด้วยปี โป้ นนแหละ ั่ ก็ไม่มอี ะไรมาก ถ้าชอบปี โป้ เป็ นพืน้ เดิมอยู่ แล้ว เมนูน้ีกค็ งถูกใจไม่น้อยเช่นกัน อีกสองเมนู ทเ่ี หลือเป็ นโอรีโอปั น่ และไวท์มอลต์ปัน่ ทีถ่ ูกกินจนหมด เกลีย้ งเหมือนกัน สนนราคาทัง้ หมดอยูท่ ่ี 305 บาท แพงทีส่ ดุ ก็คงเป็ นบราวนีบิงซู ทีร่ าคาอยูท่ ่ี 100 บาท แต่เมือ่ เทียบแล้ว ถ้าสังมากิ ่ นกับเพือ่ ก็ถงึ ว่าถูกอยู่ ไม่เบา เพราะขนาดก็ใหญ่พอสมควร กิน 5 คนได้สบายๆ ตกคนละ 20 บาท ถือว่าถูกกว่าบิงซูแถวเชียงรากร้านอืน่ ๆ อีกนะ ในส่วนของราคาน�้ำปั น่ หรือนม ปั น่ ทัง้ หลายก็อยูท่ ่ี 35 – 60 บาท วาฟเฟิ ลก็ราคาประมาณนี้เหมือนกัน แถมป้ า แอนยังบอกอีกว่าขายราคาเดียวกับเมือ่ 12 ปี ทแ่ี ล้วเลย ใครทีเ่ ริม่ ยุกยิกๆ อยากกินของหวานก็ไปได้เลยเพราะร้านเปิ ดตัง้ แต่บา่ ย สามจนถึงห้าทุม่ หรือใครทีอ่ ยากไปดูดวงก็พาเพือ่ นไปเยอะๆ จะได้สงของหวาน ั่ ทีร่ า้ นมากินระหว่างรอไปด้วย ป้ าฝากมาว่าตอนนี้คนมาดูดวงแล้วติดลม จ่าย เพิม่ อีก 299 บาท ก็จะได้ดยู าวๆ กันไปเลย จนคนมาดูดวงมากกว่าคนสังเครป ่ แล้ว ไหนๆ ก็ตดิ ใจดูดวงแล้ว ก็ไปลองของหวานร้านป้ าจะได้ตดิ ใจในรสชาติเพิม่ ไปด้วยอีกอย่างหนึ่งนะ

ครุยมาเอ

รับสั่งตัดและให เช า ชุดข าราชการ สูทสากล ครุยปริญญาทุกสถาบัน ในราคายุติธรรม

092 - 776 - 3330 081 - 564 - 9889

ท าพระจันทร 09.00 - 18.00 น. (หยุดวันจันทร ) รังสิต 11.00 - 18.00 น.

Organic shade-grown coffee ลด 10% ส�ำหรับ​นักศึกษา​ ธรรมศาสตร์​

ตึกคณะวิทยาการเรียนรูแ​้ ละ​ ศึกษาศาสตร์​(ข้างตึกศกร.)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.